การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์
คำสั่ง ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
จงเลือกตัวต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 1 – 12 ว่าตัวแปรแต่ละข้อต่อไปนี้มีระดับการวัดอยู่ในระดับใด
(1) Nominal Scale
(2) Ordinal Scale
(3) Interval Scale
(4) Ratio Scale
(5) ไม่ได้วัดแปร
1 อาชีพรับราชการ
ตอบ 1 หน้า 42 – 45, (คำบรรยาย) การวัดแบบจำแนกบัญญัติหรือแบบจัดประเภท (Nominal Scale)
เป็นระดับการวัดระดับตัวแปรเทียบง่ายที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ ทั้งนี้
การจัดเป็นกลุ่มดังกล่าวจะเป็นเพียงการจำกลุ่มหรือชนิดแบบประเภทเท่านั้น ซึ่งภายในกลุ่มย่อย
ที่มีการจัดแบ่งไม่สามารถบอกได้ว่ากลุ่มใดดีกว่า เหนือกว่า หรือไม่สามารถเรียงลำดับได้ และ
ไม่สามารถนำไปบวก ลบ คูณ หารกันได้ เช่น เพศ อายุ ศาสนา สถานภาพ ภูมิลำเนา ชาติพันธุ์
นักศึกษาสาขาพุทธ พุฒิโทิต ประเภทบุคลากรมหาวิทยาลัย เป็นต้น
2 อุณหภูมิ ☐ ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ☐ 20 – 29 องศาเซลเซียส ☐ 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ตอบ 2 หน้า 43 – 44, (คำบรรยาย) การวัดแบบเรียงลำดับ (Ordinal Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ
จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และสามารถจัดอันดับด้วยความแตกต่าง
ระหว่างลำดับแต่ไม่ได้ ช่วงของใช้บอกว่าอุณหภูมิ มากที่สุด มาก น้อย น้อยที่สุด ต่ำสุด
หรือสัญลักษณ์ใดๆแต่ไม่มีผลต่อการคำนวณ เช่นบอกความสำคัญในขั้น ไม่สามารถบอก
ปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับความพึงพอใจ ระดับคะแนนสอบ ระดับการศึกษา
ระดับชั้นนักโทษ ระดับอุณหภูมิ ระดับจำนวนบุคลากรในองค์กร ตำแหน่งทางวิชาการ
อันดับการแข่งขัน เป็นต้น
3 คะแนนสอบวิชา POL 4100 ………. คะแนน
ตอบ 3 หน้า 43 – 44, (คำบรรยาย) การวัดแบบช่วง (Interval Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ
จัดเป็นกลุ่มได้ สามารถบอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และมีค่าที่เป็นตัวเลขที่มีช่วงห่าง
เท่า ๆ กัน แต่จะไม่มีค่าศูนย์แท้ ค่าศูนย์ตัวเลขศูนย์ (0) จะเป็นเพียงศูนย์สมมติเพื่อการเปรียบเทียบ เช่น
คะแนนสอบวิชา POL 4100 ………. คะแนน, คะแนนเฉลี่ยรวมเพื่อจบ ………. คะแนน,
อุณหภูมิ …. องศาเซลเซียส, ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ……. มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
4 ชาติพันธุ์ ☐ ไทย ☐ คนตะวันออก ☐ มองโกเลอยด์ ☐ ออสเตรลอยด์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
5 จำนวนบุคลากรในองค์การ ☐ ต่ำกว่า 500 คน ☐ 500 – 1,999 คน ☐ 2,000 คนขึ้นไป
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
6 ตำแหน่งทางวิชาการ ☐ อาจารย์ ☐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ☐ รองศาสตราจารย์ ☐ ศาสตราจารย์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
7 ประสบการณ์ทำงาน ……… ปี
ตอบ 4 หน้า 43 – 45, (คำบรรยาย) การวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปร
ที่ละเอียดที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้
มีค่าตัวเลขที่มีช่วงห่าง ๆ กัน และมีจุดเริ่มต้นจากศูนย์ (0) หรือมีศูนย์แท้ เช่น จำนวน
บุคลากร ……… คน, จำนวนบุตร ……… คน, ประสบการณ์ทำงาน ……… ปี, อายุ ……… ปี,
จำนวนผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ……… คน, น้ำหนัก ……… กิโลกรัม, รายได้ ……… บาท/เดือน เป็นต้น
8 ขนาดโรงเรียน ☐ ใหญ่มาก ☐ ใหญ่ ☐ กลาง ☐ เล็ก
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
9 น้ำหนัก ……… กิโลกรัม
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
10 สถานภาพ ☐ โสด ☐ สมรส ☐ หย่าร้าง ☐ หม้าย
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
11 จำนวนผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ……… คน
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
12 ระดับชั้นนักโทษ ☐ ชั้นเยี่ยม ☐ ชั้นดีมาก ☐ ชั้นดี ☐ ชั้นกลาง ☐ ชั้นเลว
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
13 ตัวแปรใดมีระดับการวัดที่ละเอียดที่สุด
(1) ศาสนา
(2) รายได้
(3) คะแนนสอบ
(4) ระดับความผูกพันต่อองค์กร
(5) อุณหภูมิ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
14 ตัวแปรใดต่อไปนี้มีระดับการวัดที่หยาบที่สุด
(1) ศาสนา
(2) ตำแหน่งทางวิชาการ
(3) รายได้
(4) อันดับการแข่งขัน
(5) จำนวนบุตร
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
15 ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous Variable)
(1) คะแนนความพึงพอใจ
(2) จำนวนบุตร
(3) จำนวนสมาชิกในครอบครัว
(4) จำนวนรถยนต์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous Variable) เป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่วัด
ออกมาเป็นค่าตัวเลขต่อเนื่อง เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง รายได้ อุณหภูมิ คะแนนความพึงพอใจในการบริการ
คะแนนสอบ เป็นต้น
➭ จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 16 – 20.
(1) Independent Variable
(2) Dependent Variable
(3) Intervening Variable
(4) Suppressor Variable
(5) Main Variable
16. ตัวแปรที่เป็นแนวความคิดรวมในการศึกษา
ตอบ 5 หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรหลัก (Main Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นแนวความคิดรวมในการศึกษา เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล ธรรมาภิบาล ความเครียดในการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น
17. ตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้นเนื่องจากการได้รับอิทธิพลจากตัวแปรอิสระ
ตอบ 2 หน้า 40, (คำบรรยาย) ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้นเนื่องจากการได้รับอิทธิพลจากตัวแปรอิสระ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นตัวแปรที่ผันแปรไปตามตัวแปรอิสระ แทนด้วยสัญลักษณ์ Y
18. ตัวแปรที่ทำให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน (ทั้งๆ ที่จริง ๆ แล้วมีความสัมพันธ์กัน)
ตอบ 4 หน้า 41, (คำบรรยาย) ตัวแปรกด (Suppressor Variable) หมายถึง ตัวแปรที่ทำให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน (ทั้งๆ ที่จริง ๆ แล้วมีความสัมพันธ์กัน) โดยหากควบคุมตัวแปรกดแล้วจะพบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
19. ตัวแปรที่อยู่ตรงกลางระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
ตอบ 3 หน้า 41, (คำบรรยาย) ตัวแปรแทรก (Intervening Variable) หมายถึง ตัวแปรที่อยู่ตรงกลางระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม กล่าวคือ เป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรอิสระและเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม ซึ่งตัวแปรชนิดนี้ผู้วิจัยไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีอะไรบ้าง และจะเกิดขึ้นเมื่อใด จึงไม่สามารถหาทางควบคุมได้
20. ตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นสาเหตุให้เกิดผลต่อตัวแปรตาม
ตอบ 1 หน้า 40, (คำบรรยาย) ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นสาเหตุให้เกิดผลต่อตัวแปรตาม แทนด้วยสัญลักษณ์ X
21. ข้อใดเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ
(1) ส่วนสูง
(2) น้ำหนัก
(3) อายุงาน
(4) ศาสนา
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรเชิงคุณภาพหรือหรือตัวแปรเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Variable) หมายถึง ตัวแปรที่วัดในลักษณะการจัดประเภท เช่น ตัวแปรศาสนา (จัดกลุ่มได้เป็น พุทธ คริสต์ อิสลาม อื่น ๆ), ตัวแปรเพศ (จัดกลุ่มได้เป็นเพศชาย กับเพศหญิง) เป็นต้น
22. ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของแบบสอบถาม
(1) สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากผู้ตอบจำนวนมาก
(2) มีความเป็นวัตถุวิสัย
(3) สร้างได้ง่ายกว่าเครื่องมือวิจัยอื่น ๆ
(4) ประหยัดเวลาเมื่อเทียบกับแบบสัมภาษณ์
(5) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ตอบ 3 หน้า 49, (คำบรรยาย) ข้อดีของแบบสอบถาม ได้แก่
1 ทำให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากผู้ตอบจำนวนมาก
2 ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และแรงงานคนเมื่อเทียบกับการสัมภาษณ์และการสังเกต
3 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบเป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือมีความเป็นวัตถุวิสัย ไม่มีอคติ
4 ผู้ตอบเกิดความสบายใจที่จะตอบโดยอิสระ
5 ผู้ตอบมีเวลาคิดใคร่ครวญในคำตอบ เป็นต้น
23. การสร้างข้อคำถามในแบบสอบถามว่า “ท่านชอบอ่านหนังสือพิมพ์คอลัมน์ใดมากที่สุด (ขอให้ท่านเขียนหมายเลขตามลำดับความสำคัญ 1 2 3 …)” จัดเป็นลักษณะคำถามแบบใด
(1) Check-List Question
(2) Multiple Choice Question
(3) Multi-Response Question
(4) Rank Priority Question
(5) Rating Scale Question
ตอบ 4 หน้า 48, (คำบรรยาย) คำถามที่ให้จัดอันดับความสำคัญ (Rank Priority Question) เป็นประเภทหนึ่งของข้อคำถามปลายปิด มีคำตอบเป็นตัวเลือกเพื่อให้แสดงความคิดเห็น โดยการกำหนดระดับความคิดเห็นของผู้ตอบในแต่ละข้อว่ามากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งข้อคำถามต้องการให้ผู้ตอบใส่ตัวเลขเรียงลำดับคำตอบต่างๆ ตามความสำคัญจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมาก โดยเริ่มใส่ตั้งแต่หมายเลข 1 2 3 4 5 … ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ข้อคำถามในแบบสอบถามว่า “ท่านชอบอ่านหนังสือพิมพ์คอลัมน์ใดมากที่สุด (ขอให้ท่านเขียนหมายเลขตามลำดับความสำคัญ 1 2 3 …..)” เป็นต้น
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 24 – 26.
(1) Validity
(2) Reliability
(3) Difficulty
(4) Discrimination
(5) Sensitivity
24. ตัวเลือกใดหมายถึง “ความสามารถของเครื่องมือวิจัยในการจำแนกกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อน หรือกลุ่มที่มีทัศนคติบวกกับกลุ่มที่มีทัศนคติลบ”
ตอบ 4 หน้า 66, (คำบรรยาย) อำนาจจำแนก (Discrimination) หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือวิจัยในการจำแนกกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อน หรือกลุ่มที่มีทัศนคติบวกกับกลุ่มที่มีทัศนคติลบ โดยการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในประเด็นอำนาจจำแนก มักใช้ในกรณีแบบทดสอบ หรือแบบวัดทัศนคติ
25. การนำแบบสอบถามไปหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity Index : CVI) เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในลักษณะใด
ตอบ 1 หน้า 62 – 63, (คำบรรยาย) วิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) เชิงเนื้อหา โดยทั่วไปจะใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งจำนวนที่ใช้ไม่ควรต่ำกว่า 3 คน ในการพิจารณา โดยวิธีการหาค่านั้นสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น
1 การหาดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (Index of Item Objective Congruence : IOC)
2 การหาอัตราส่วนความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของข้อคำถาม (Content Validity Ratio : CVR)
3 การหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity Index : CVI) เป็นต้น
26. ตัวเลือกใดหมายถึง “เครื่องมือจะต้องสามารถวัดค่าตัวแปรได้ละเอียด และมีความไวเพียงพอที่จะจับความแตกต่างที่เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย”
ตอบ 5 (คำบรรยาย) ความไวในการแบ่งแยก (Sensitivity) หมายถึง เครื่องมือจะต้องสามารถวัดค่าตัวแปรได้ละเอียด และมีความไวเพียงพอที่จะจับความแตกต่างที่เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย
27. จากตัวเลขของชุดข้อมูลดังนี้ “10, 13, 15, 17, 23, 23, 25” ฐานนิยม คือค่าใด
(1) 10
(2) 17
(3) 18
(4) 23
(5) 25
ตอบ 4 หน้า 74, (คำบรรยาย) ฐานนิยม คือ ค่าของข้อมูลที่ปรากฏซ้ำบ่อยที่สุดหรือมีความถี่สูงสุด จากข้อมูลที่โจทย์ให้มา คือ 10, 13, 15, 17, 23, 23, 25 จะเห็นว่าข้อมูลเลข 23 ปรากฏซ้ำบ่อยที่สุดหรือมีความถี่สูงสุด (ซ้ำกัน 2 ตัว) ฐานนิยม มีค่าเท่ากับ 23
28. ข้อใดเป็นสถิติอ้างอิง
(1) Arithmetic Mean
(2) Percentage
(3) Standard Deviation
(4) Median
(5) Multiple Regression
ตอบ 5 หน้า 71, 77 – 79, (คำบรรยาย) สถิติอ้างอิงหรือสถิติอนุมาน (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปอ้างอิงข้อมูลหรือผลการศึกษาที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างไปยังประชากรเป้าหมาย เช่น การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test หรือ X-test), การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-test), การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test), การวิเคราะห์ถดถอยพหุหรือการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) เป็นต้น
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 29 – 33.
(1) Arithmetic Mean
(2) Independent Sample T-test
(3) Chi-Square Test
(4) One-Way ANOVA
(5) Correlation
29. นักวิจัยต้องการทราบว่า นักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้
ตอบ 2 หน้า 78 – 80, (คำบรรยาย) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-test) เป็นสถิติที่ใช้ทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง 2 ชุด ที่สุ่มมาจากประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 กลุ่ม และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่, การทดสอบว่านักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100 ต่างกันหรือไม่ เป็นต้น
30. นักวิจัยต้องการทราบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้
ตอบ 4 หน้า 80 – 81, (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test) เป็นสถิติที่คิดค้นโดย Sir Ronald A. Fisher เพื่อใช้ในการวิจัยด้านการเกษตร ต่อมาภายหลังจึงได้นำไปใช้ในงานวิจัยด้านอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวนั้นจะใช้ในการทดสอบนัยสำคัญว่าค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มขึ้นไป มีความแตกต่างกันหรือไม่ ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 3 กลุ่มขึ้นไป
และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ เป็นต้น
31. นักวิจัยต้องการทราบว่า ประสบการณ์การทํางานมีความสัมพันธ์กับคะแนนความสุขในการทํางานหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้
ตอบ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient หรือค่า r) หน้า 83 – 84, (คําบรรยาย) ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปรที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่มีระดับการวัด แบบช่วงหรือแบบอัตราส่วน โดย r จะมีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง +1 นั่นคือ หาก r มีค่าเข้าใกล้ -1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางตรงกันข้าม หาก r มีค่าเท่ากับ 0 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่หาก r มีค่าเข้าใกล้ +1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง ประสบการณ์การทํางานกับคะแนนความสุขในการทํางาน, ความสัมพันธ์ระหว่างอายุงาน กับคะแนนความผูกพันต่อองค์การ เป็นต้น
32. นักวิจัยต้องการทราบว่า อาชีพมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในการทํางาน (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด) หรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้
ตอบ การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test หรือ X-test) หน้า 78, 82 – 83, (คําบรรยาย) เป็นการทดสอบทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบตัวแปรเชิงคุณภาพที่มีระดับการวัดแบบนามบัญญัติ หรือแบบเรียงลําดับ ทั้งนี้พึงตระหนักว่าการทดสอบดังกล่าวจะเป็นเพียงการบอกว่าตัวแปรสองตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ใน กรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพกับระดับความเครียดในการทํางาน (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด) เป็นต้น
33. สถิติใดเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 3 กลุ่มขึ้นไป และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ
ตอบ ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
34. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรายงานการวิจัย
(1) เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามีข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ
(2) ส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์
(3) เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นมีผู้ศึกษาอยู่แล้ว
(4) แสดงถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมหรือสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ
(5) เป็นวรรณกรรมเพื่อประโยชน์ในเชิงสันทนาการ
ตอบ (5) หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) ความสําคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ได้แก่
1. เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม” หรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ
2. ส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทําวิจัยแล้วมีคนเพียงจํานวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น
3. เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว
4. แสดงถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมหรือสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ
35 ข้อใดเป็นองค์ประกอบของส่วนประกอบตอนต้นในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
(1) ปกหลัก ปกใน ที่มาและความสําคัญของปัญหา
(2) กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ ภาคผนวก
(3) หน้าอนุมัติ บทคัดย่อ สารบัญ
(4) ภาคผนวก อ้างอิง ประวัติผู้วิจัย
(5) ปกหลัก กิตติกรรมประกาศ ทบทวนวรรณกรรม
ตอบ 3 หน้า 92, (คําบรรยาย) “ส่วนประกอบตอนต้น” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้
1 ปกหลัก โดยจะระบุถึงคําว่า “รายงานการวิจัย” ชื่องานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อของผู้วิจัยและคณะ ชื่อหน่วยงานต้นสังกัด ชื่อแหล่งทุน และปีที่เผยแพร่งานวิจัย
2 หน้าปกใน จะมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก
3 หน้าอนุมัติ
4 บทคัดย่อภาษาไทย
5 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
6 หน้าประกาศคุณูปการหรือกิตติกรรมประกาศ
7 สารบัญ จะระบุถึงหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และหัวข้อย่อยอย่างครบถ้วน
8 สารบัญตาราง (ถ้ามี) จะแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของตาราง
9 สารบัญภาพ (ถ้ามี) จะแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของรูปภาพ
10 คําอธิบายสัญลักษณ์และคําย่อที่ใช้ในการวิจัย (ถ้ามี)
36 ข้อใดเป็นองค์ประกอบของส่วนเนื้อเรื่องในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
(1) ที่มาและความสําคัญของปัญหา ทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธีวิจัย
(2) ทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธีวิจัย หน้าอนุมัติ
(3) ระเบียบวิธีวิจัย ภาคผนวก อ้างอิง
(4) ทบทวนวรรณกรรม บทคัดย่อ ระเบียบวิธีวิจัย
(5) กิตติกรรมประกาศ บทสรุป ภาคผนวก
ตอบ 1 หน้า 92 – 94, (คําบรรยาย) “ส่วนเนื้อเรื่อง” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้
บทที่ 1 บทนํา ประกอบด้วย ที่มาและความสําคัญของปัญหา คําถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจํากัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ ที่ใช้ในการวิจัย
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย
บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดําเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสําคัญทั้งต่อการวิจัย เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม
บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
37. ข้อใดผิด
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่บอกรายละเอียดในการทำวิจัยอย่างครบถ้วน
(2) ผู้วิจัยสามารถใส่ลงรูปภาพ หรือกราฟในบทคัดย่อได้
(3) ไม่ควรเอาชื่อเรื่องมาซ้ำในบทคัดย่อ
(4) ผู้วิจัยสามารถเขียนบทคัดย่อได้ทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 หน้า 114 – 115 (คำอธิบาย) การเขียนบทคัดย่อ ควรมีลักษณะดังนี้
1 บทคัดย่อสามารถทำได้ทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2 เนื้อหาในบทคัดย่อไม่ควรนำเอาชื่อเรื่องมาซ้ำ
3 บทคัดย่อไม่ควรอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือกราฟใด ๆ
4 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทคัดย่อ
5 บทคัดย่อที่ดีควรมีระยะห่างหน้ากระดาษ A4 (กรณีของบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร) ถึง 1 หน้ากระดาษ A4 (กรณีของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์) เป็นต้น
38. ในการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี หากเอกสารไม่ปรากฏปีพิมพ์ให้ระบุอย่างไร
(1) ม.ป.ป. (2) ม.ม.ป. (3) ม.ป.ป. (4) ป.ม.ป. (5) ป.ม.ม.
ตอบ 3 (คำอธิบาย) การอ้างอิงที่แทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี หากเอกสารไม่ปรากฏปีที่พิมพ์
ให้ระบุคำว่า “ม.ป.ป.” (สำหรับงานที่เป็นภาษาไทย) หรือ “n.d.” (สำหรับงานที่เป็นภาษาอังกฤษ)
เอกสารทางวิชาการ หากเอกสารไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งให้ระบุ “ชื่อเรื่อง” หรือ “ชื่อบทความ” แทน
39. ในการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี หากเอกสารไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งให้ระบุอะไรแทน
(1) ชื่อสำนักพิมพ์
(2) สถานที่พิมพ์
(3) ชื่อบทความ
(4) ม.ป.ป.
(5) ไม่ต้องระบุอะไร
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ
40. รูปภาพดังกล่าวหมายถึงอะไร
(1) รูปแบบการจัดพิมพ์ในหน้าบรรยายแต่ละบท
(2) รูปแบบการจัดพิมพ์ในหน้าปก
(3) รูปแบบการจัดพิมพ์บทหลัก
(4) รูปแบบการจัดพิมพ์ปกรอง
(5) รูปแบบการจัดวางภาพประกอบ
ตอบ 1
41 หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่จัดประเภทวารสารทางวิชาการของไทยในปัจจุบัน
(1) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(2) วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ
(3) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(4) ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
(5) สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
ตอบ 4 หน้า 96 – 97, 99, (คำบรรยาย) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไปแล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งจะมีรูปแบบการเขียน ลักษณะการจัดรูปหน้า และระบบการอ้างอิงที่แตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของแต่ละวารสาร กรณีของประเทศไทย ในปัจจุบัน วารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) ตัวอย่างเช่น
1 “วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา” ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2 “วารสารรัฐศาสตร์พิจาร” ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น
42 ข้อใดถูกต้อง
(1) การทบทวนเอกสารคือการเขียนทบทวนสิ่งที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด
(2) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด
(3) การทบทวนเอกสารควรเขียนเรียงต่อ ๆ กันให้มีลักษณะเหมือนขนมชั้น
(4) ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้การอ้างอิงในบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารได้ตามใจชอบ
(5) หากผู้วิจัยเขียนเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยชิ้นอื่นด้วยภาษาของตนเองแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่อ้างอิง
ตอบ 2 หน้า 91, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด ในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1 ส่วนประกอบตอนต้น
2 ส่วนเนื้อเรื่อง
3 ส่วนประกอบตอนท้าย
43. คำว่า “American Psychological Association” (APA) สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) สารบัญ
(2) วิธีดำเนินการวิจัย
(3) วัตถุประสงค์
(4) บรรณานุกรม
(5) จิตวิทยาของผู้วิจัย
ตอบ 4 (คำบรรยาย) หน้า 95 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงหลักฐาน เอกสาร และวรรณกรรมทั้งหมดที่ใช้ในการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ รวมถึงรายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ด้วย โดยจัดเรียงเป็นหมวดหมู่และเรียงลำดับตามตัวอักษรให้เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งในปัจจุบัน ประเภทหรือระบบการอ้างอิงที่ได้รับความนิยมในงานวิจัยหรืองานวิชาการในสายสังคมศาสตร์ ได้แก่ การอ้างอิงระบบเอพีเอ (American Psychological Association : APA) และการอ้างอิงระบบทราเบียน (Turabian)
44. ในการเขียนเชิงอรรถเมื่อมีการอ้างซ้ำ ในกรณีที่ยังไม่มีเชิงอรรถเล่มอื่นมาคั่นให้ใช้คำว่าอะไร
(1) Ideat.
(2) Ibis.
(3) Idit.
(4) Ibid.
(5) Idol.
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การเขียนเชิงอรรถเมื่อมีการอ้าง ในกรณีอ้างอิงติดกัน และไม่มีเชิงอรรถเล่มอื่นมาคั่น ให้ใช้คำว่า “เพิ่งอ้าง” หรือ “Ibid.” (มาจากภาษาละตินว่า Ibidem) หรือ ในกรณีอ้างอิงซ้ำไม่ติดกัน มีเชิงอรรถเล่มอื่นคั่น และไม่ได้อ้างถึงเลขหน้าเดิม ให้ใช้คำว่า “(เชิงอรรถ)” หรือ “Op.cit.” (มาจากภาษาละตินว่า Opere citato)
45. ข้อใดต่อไปนี้คือชื่อของ “ประเภทรายการอ้างอิง” ในการศึกษาสังคมศาสตร์
(1) American Political Science Association
(2) American Psychological Association
(3) American Political Science Review
(4) British Companions of Law
(5) British Committee on the Theory of International Politics
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ
46. คำว่า “ระบบทราเบียน” สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) สารานุกรม
(2) กิตติกรรมประกาศ
(3) บรรณานุกรม
(4) ประวัติย่อผู้วิจัย
(5) รายการดัชนี
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ
47. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ SMART ในการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย
(1) Sensible
(2) Measurable
(3) Attainable
(4) Resource
(5) Time
ตอบ 4 (คำบรรยาย) หน้า 104 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทำได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : 7)
48. ในการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัยควรจะคำนึงถึงหลักการข้อใด
(1) เขียนให้ตรงประเด็น
(2) เขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ
(3) เขียนให้มีความยาวเหมาะสม
(4) อ้างอิงแหล่งที่มาเสมอ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103, (คำบรรยาย) การเขียน “ที่มาและความสำคัญของปัญหา” ผู้วิจัยควรจะคำนึงถึงหลักสำคัญดังต่อไปนี้
1 การเขียนให้ตรงประเด็น ไม่เยิ่นเย้อหรืออ้อมค้อมวกวน
2 การเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญของปัญหา
3 การเขียนให้มีความยาวเหมาะสมไม่สั้นจนเกินไป
4 การหลีกเลี่ยงการนำตัวเลข ตารางยาว ๆ หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาใส่
5 การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสารประกอบอย่างสมบูรณ์เสมอ
6 ผู้วิจัยต้องขมวดหรือสรุปประเด็นในย่อหน้าสุดท้ายให้มีส่วนเชื่อมโยงกับหัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นต้น
49. “การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อระบบกล้องวงจรปิด” ข้อความดังกล่าวบอกถึงการกำหนดขอบเขตการวิจัยด้านใด
(1) เนื้อหา
(2) พื้นที่
(3) ระยะเวลา
(4) ประชากร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 104, (คำบรรยาย) ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทำให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัยว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนนั้นจะทำให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับอาณาบริเวณของคลังข้อมูลจำนวนมหาศาลเพียงใด ดังนั้นขอบเขตของงานวิจัยจึงสามารถปรากฏได้ในหลายลักษณะ เช่น ขอบเขตด้านสถานที่ ประชากร เนื้อหาสาระ และเวลา ตัวอย่างเช่น “การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อระบบกล้องวงจรปิด” จะเห็นว่า ขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาก็คือ กระบวนการตัดสินใจซื้อระบบกล้องวงจรปิด เป็นต้น
50. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรม
(1) การเขียนทบทวนวรรณกรรมที่ดีจะมีลักษณะเป็นขนมชั้น
(2) เลือกเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญเท่านั้น
(3) วรรณกรรมที่คล้ายคลึงกันควรนำมารวมกันในย่อหน้าใหม่เสมอ
(4) ไม่จำเป็นต้องชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของวรรณกรรมที่ทบทวน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 107 – 108, (คำบรรยาย) หลักการของการเขียนการทบทวนวรรณกรรม มีดังนี้
1 สามารถอภิปรายทีละเรื่องในแต่ละย่อหน้า โดยเลือกเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญเท่านั้น
2 ต้องเรียบเรียงแนวคิดต่าง ๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน มีการจัดหมวดหมู่ในเรื่องที่คล้ายกันให้อยู่รวมกัน มากกว่าการเขียนในลักษณะของ “ขนมชั้น” ที่แยกแต่ละชิ้นออกจากกัน
3 ในกรณีที่มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่ศึกษาในประเด็นคล้ายคลึงกัน ควรนำมาทบทวนรวมกันในย่อหน้าเดียวกัน
4 ควรมีการเรียบเรียงสาระสำคัญอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยชี้ให้เห็นข้อบกพร่องต่าง ๆ ของวรรณกรรมที่ทบทวน เป็นต้น
51. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ
(1) การแจกแบบสอบถามทางไปรษณีย์
(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก
(3) การทำแบบทดสอบ
(4) การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 109 (คำบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เป็นการอธิบายถึงวิธีการ และขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าทำอย่างไร มีขั้นตอนในการตรวจสอบข้อมูลและควบคุมข้อมูลอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้วิธีการดังกล่าว และข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือและครบถ้วนอย่างไร เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ (การทำแบบทดสอบ, การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์, การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ) การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ (การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, การสัมภาษณ์เชิงลึก, การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ฯลฯ) เป็นต้น
52. “…การทำให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถ ควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น…” สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
(2) สมมติฐานงานวิจัย
(3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(4) ข้อจำกัดของการวิจัย
(5) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 4 หน้า 105 (คำบรรยาย) ข้อจำกัดของการวิจัย เป็นการทำให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 53. – 59. ว่าข้อความในโจทย์เป็นลักษณะของรายงานวิจัยประเภทใด
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น
(3) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร
(4) รายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย
(5) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
53. ดุษฎีนิพนธ์จัดว่าเป็นรายงานการวิจัยประเภทใด
ตอบ 1 (คำบรรยาย) วิทยานิพนธ์ (Thesis) ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) จัดว่าเป็นประเภทหนึ่งของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยเรียบเรียงขึ้นอย่างละเอียดรอบคอบ มีเหตุมีผลตามขั้นตอนระเบียบวิธีการวิจัย ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต
54. รายงานประเภทใดมีความยาวประมาณ 50 – 70 หน้า
ตอบ 2 หน้า 96 (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียด ย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักจะมีความหนาประมาณ 50 – 70 หน้า
55. รายงานประเภทใดที่ผู้วิจัยจะส่งไปตีพิมพ์ที่วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ (หมายเหตุ: ไม่มีข้อมูลข้อ 41. ในข้อมูลที่ให้มา)
56 รายงานประเภทใดเขียนในระหว่างที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์
ตอบ 4 หน้า 99, (คำบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Interim Report) เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีความแตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดในส่วนของขอบเขตของการวิจัยและผลการศึกษา แต่ผู้วิจัยจะมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือสัมฤทธิผลที่ได้ทำสัญญากันไว้
57 รายงานประเภทใดเหมาะแก่การแนะนำธุรกิจ เป้าหมายหรือพันธกิจ และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ
ตอบ 5 หน้า 115 – 116, (คำบรรยาย) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) เป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่กะทัดรัด ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาการวิจัยทั้งหมด โดยจะมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารซึ่งมีเวลาไม่มาก สามารถทำความเข้าใจงานวิจัยทั้งหมดเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจหรือการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งเหมาะแก่การแนะนำธุรกิจ เป้าหมายหรือพันธกิจ และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ
58 กิตติกรรมประกาศมักจะอยู่ในรายงานประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 92, 117 – 118, (คำบรรยาย) กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งอยู่ในส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่า “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคำว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่ในส่วนนี้ในการกล่าวขอบคุณสถาบันหรือให้เกียรติผู้ที่มีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือผลักดันให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำ หน่วยงานต้นสังกัด หรือผู้ให้ทุนวิจัย
59 รายงานประเภทใดที่มักจะระบุถึงรายละเอียดของแผนงานวิจัย
ตอบ 5 หน้า 116 – 117, (คำบรรยาย) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร มักจะระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการวิจัยและ/หรือแผนงานวิจัย ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย และข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
60 รายงานประเภทใดที่นำไปสู่การตัดสินใจหรือการกำหนดนโยบายต่าง ๆ
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ
61 งานวิจัยประเภทใดที่มักเน้นระเบียบวิธีวิจัยที่เข้มข้น
(1) งานวิจัยเชิงนโยบาย
(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ
(3) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน
ตอบ 3 หน้า 129, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือเครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของงานวิจัยลักษณะนี้ก็คือ การมีความเป็นอิสระ การมีระเบียบวิธีที่เข้มข้น การมีวงการหรือชุมชนวิชาการในการตรวจสอบ เช่น นักวิจัย A ค้นพบว่ามีแหล่งน้ำบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน เป็นต้น
62. ฝ่ายวิจัยประเภทใดที่อาจจะไม่เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด
(1) งานวิจัยเชิงนโยบาย
(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ
(3) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน
ตอบ 4 หน้า 131, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่คำนึงถึงการลงทุน และผลตอบแทนเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน ผู้วิจัยสามารถสำรวจความต้องการของภาคการผลิตต่างๆ เป็นรายสาขา เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนั้นธรรมชาติของงานวิจัยประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาด และนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจำเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด เช่น งานวิจัยของบริษัทเครื่องสำอางที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้หมดเพราะถือเป็นความลับทางธุรกิจ เป็นต้น
63. ในการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง
(1) สถานที่ในการนำเสนอผลงาน
(2) กำหนดการและรูปแบบของการจัดงาน
(3) ลักษณะของผู้เข้าชมงาน
(4) เนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 122 – 124, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้วิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ส่วน ได้แก่
1 การวางแผน เช่น สถานที่ในการนำเสนอผลงาน ขนาดของโปสเตอร์ วันและเวลากำหนดการ รูปแบบของการจัดงาน จำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ
2 เนื้อหาของโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องเลือกเนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์ให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เข้าชมงาน
3 รูปแบบโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สีตัวอักษร สีพื้นหลังโปสเตอร์ ประเภทและขนาดของตัวอักษร เป็นต้น
64. การนำเสนอผลงานด้วยวาจา ผู้วิจัยควรคำนึงถึงสิ่งใด
(1) จำนวนสไลด์
(2) ลักษณะของเวที
(3) รูปแบบของสไลด์
(4) การฝึกตอบคำถาม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 124 – 126 สิ่งที่ผู้วิจัยควรคำนึงถึงในการนำเสนอผลงานด้วยวาจา ได้แก่ จำนวนสไลด์ ลักษณะของเวทีและผู้เข้าฟัง รูปแบบของสไลด์ การเตรียมตัวผู้นำเสนอ (การฝึกจับเวลา การฝึกท่าทางในการนำเสนอ การฝึกตอบคำถามและป้องกันข้อเสนอของตนจากผู้วิพากษ์) เป็นต้น
65. หลัก 3R ในการทำวิจัยประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) Research, Reproduce, Report
(2) Research, Reproduce, Reply.
(3) Research, Report, Reply
(4) Research, Report, Reference
(5) Research, Reproduce, Reference
ตอบ 4 หน้า 90, (คำบรรยาย) หลัก 3R ในการทำวิจัย ประกอบด้วย
1. Research หมายถึง การลงมือทำวิจัยด้วยนักวิจัยเอง
2. Report หมายถึง การเขียนรายงานที่สะท้อนถึงการทำวิจัย
3. Reference หมายถึง การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้อย่างครบถ้วน
66. เอกสารประเภทใดที่ผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้า
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น
(3) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร
(4) โครงร่างการวิจัย
(5) รายงานความก้าวหน้างานวิจัย
ตอบ 4 หน้า 34 โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) คือ โครงการโดยทั่วไปที่เขียนขึ้นโดยผู้วิจัย ก่อนที่จะลงมือทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้า ในการทำวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทำเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทำวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทำโครงร่างการวิจัยทุกครั้งเพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้น เสียก่อน ดังนั้นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจึงจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารคือโครงร่างการวิจัยสำหรับการสอบป้องกันหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือสอบขออนุญาตในการทำการวิจัย
67. การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อมาพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) Conclusion
(2) Data Collection
(3) Data Analysis
(4) Review Literature
(5) Problem Statement
ตอบ 3 หน้า 2 – 3 (คำบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับเนื้อหาของบทนำในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสำคัญของปัญหา” 2. การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคำถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหาคําตอบได้ 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น 4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคําถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ 5. การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด
68. วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) Conclusion
(2) Data Collection
(3) Data Analysis
(4) Review Literature
(5) Problem Statement
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ
69. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) Conclusion
(2) Data Collection
(3) Data Analysis
(4) Review Literature
(5) Problem Statement
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ
70. “Scientific Method” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Recycle
(2) Responsibility
(3) Research
(4) Representative
(5) Resolution
ตอบ 3 หน้า 2, (คำบรรยาย) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ หรือ การค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ โดยอยู่บนพื้นฐานของวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถสังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถพิสูจน์ได้ มีการแยกค่านิยม ออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และยังมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) และ การอธิบาย (Explanation) ตลอดจนการทำนาย (Predictive)
71. Positivism มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์ยุคใด
(1) ยุคสถาบันนิยม
(2) ยุคคลาสสิก
(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(4) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 7 – 8 (คำบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) ซึ่งพบว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมีลักษณะเป็นการศึกษาแนว “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) และยังเน้นการทำนายพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจในทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทำนาย ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์จะถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นำทางการเมือง (Political Psychology) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นต้น
72. “วิทยาศาสตร์การเมือง” เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์
(1) ยุคสถาบันนิยม
(2) ยุคคลาสสิก
(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(4) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ
73. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด
(1) จิตวิทยาการเมือง
(2) สถาบันทางการเมือง
(3) สถาบันทางการเมือง
(4) ปรัชญาการเมือง
(5) การพัฒนาทางการเมือง
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ
74. นายเศรษฐาทําวิจัยเรื่องกระบวนการกําหนดนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยทําการสืบค้นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องนโยบายสาธารณะ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 1 หน้า 14 – 16, (คำบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่
1 การกำหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทำ ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคำถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคำตอบ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนำไปสู่การทำวิจัย
2 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะทำการหาคําตอบ
4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน เมื่อออกแบบสิ่งเหล่านี้ เรียบร้อยแล้วอาจจะต้องเขียนเป็น “โครงร่างการวิจัย” (Research Proposal)
5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลข้อมูล
6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคําตอบของการวิจัย
7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียน รายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์และทําการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย
75. นางสาวกุ้งอึ้งทําวิจัยเรื่องกระบวนการกําหนดนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์เพาเวอร์ หลังจากทําวิจัย เสร็จแล้วมีการจัดทําเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ
76. นายสุทินมีความสนใจที่จะทําวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์การดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เป็นพลเรือน โดยมีข้อสงสัยที่จะนํามาสู่การทําวิจัย ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ
77. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้ทฤษฎีการพัฒนาทางการเมืองเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 1 หน้า 106, (คําบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมา
ไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกําลังศึกษามาทําการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
78. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น สามารถนํามาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ
79. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อ ปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 2 หน้า 11 วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคําตอบ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ
80. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้แนวการวิเคราะห์เชิงระบบในการทําวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 5 หน้า 31, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หรือทฤษฎีนั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือ ที่ช่วยในการมองเห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ที่จะวิจัยโดยไม่มีกรอบคิดทฤษฎีกํากับอยู่ ดังนั้นก่อนที่ผู้วิจัยจะเริ่มลงมือทําการวิจัย หลังจากได้กําหนดปัญหาในการวิจัยเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะต้องเลือกทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ เป็นลําดับต่อมา เช่น แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา เป็นต้น
81. “รายงานการวิจัยฉบับนี้มีการตั้งคําถามในการวิจัยจํานวน 3 ข้อ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใด มากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 4 หน้า 26 – 27, (คำบรรยาย) การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการวิจัยภายหลังจากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ รอบตัว การตั้งคำถามที่ดีนั้นไม่ควร ใช้คำถาม “ใช่หรือไม่” แต่ควรใช้คำถาม “ทำไม อย่างไร อะไร” โดยคำถามประเภท “ทำไม” จะเป็นคำถามที่ต้องการทราบสาเหตุหรือเหตุผลของปรากฏการณ์ทางการเมือง คำถามประเภท “อย่างไร” จะเป็นคำถามที่ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง ส่วนคำถามประเภท “อะไร” จะเป็นคำถามที่มุ่งให้ค้นหาคำตอบในลักษณะบรรยาย
82. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
(1) คำถามการวิจัย
(2) กรอบแนวคิดการวิจัย
(3) ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทสรุปผู้บริหาร
(5) วัตถุประสงค์การวิจัย
ตอน 4 หน้า 34 – 35 (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่อง (Title) 2. สภาพปัญหา หรือ “ความสำคัญของปัญหา” หรือบางครั้งเรียกว่า “ที่มาของปัญหา” (Problem Statement) 3. คำถามการวิจัย (Research Question) 4. วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective) 5. สมมติฐาน (Hypothesis) 6. การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) 7. ขอบเขตของการวิจัย (Scope) 8. ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อวิจัยชิ้นนี้ทำสำเร็จแล้ว (Expected Benefits) 9. นิยามศัพท์สำคัญหรือคำศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition) 10. วิธีการในการดำเนินการวิจัย หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นต้น
83. นายบิ๊กโจ๊กทำวิจัยเรื่องการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 โดยศึกษาจากหนังสือ ตำรา งานวิจัย และบทความวิชาการ การทำวิจัยของนายบิ๊กโจ๊กคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสำรวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 3 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ ข้อมูลจากเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารทางราชการ หนังสือ ตำรา งานวิจัย บทความวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของการวิจัยนี้ ได้แก่ การวิจัยเรื่อง การแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565, การวิจัยเรื่องนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
84. นายบิ๊กต่อทำวิจัยเรื่องการชุมนุมขับไล่ใส่นายเศรษฐา ทวีสิน ของขบวนการสมัชชาคนจน โดยเข้าไปสังเกต การขึ้นเวทีปราศรัยของแกนนําขบวนการสมัชชาคนจน การทำวิจัยของนายบิ๊กต่อคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสำรวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้น จะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างเช่น การเข้าไปสังเกต การบริหารจัดการน้ำของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร, การเข้าไปสังเกตการขึ้นเวที ปราศรัยของแกนนําขบวนการสมัชชาคนจน เป็นต้น
85. นายอนันตชัยทําวิจัยเรื่องข้อเสนอการใช้ระบบอาวุโสในการแต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ โดยมี จุดมุ่งหมายให้คณะกรรมการข้าราชการตํารวจ (ก.ตร.) นําไปใช้ในการแก้ปัญหาการแต่งตั้งผู้บัญชาการ ตํารวจแห่งชาติที่มีการข้ามระบบอาวุโส การทําวิจัยของนายอนันตชัยคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสํารวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องข้อเสนอการใช้ระบบอาวุโสในการแต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจ แห่งชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายให้คณะกรรมการข้าราชการตํารวจ (ก.ตร.) นําไปใช้ในการแก้ปัญหา การแต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติที่มีการข้ามระบบอาวุโส, การวิจัยเรื่องข้อเสนอการเข้ารับ ราชการทหารกองประจําการแบบสมัครใจ โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระทรวงกลาโหมนําไปใช้ในการ แก้ปัญหาการเข้ารับราชการทหารกองประจําการแบบการเกณฑ์ทหาร เป็นต้น
86. นายชัยธวัชทําวิจัยเรื่องสาเหตุการออกมาชุมนุมขับไล่นายเศรษฐา ทวีสิน ของขบวนการสมัชชาคนจน การทําวิจัยของนายชัยธวัชคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสํารวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 4 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงอธิบาย (Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่จะวิเคราะห์ ความเกี่ยวกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปว่าส่งผลอย่างไรกัน กล่าวคือ การวิจัยนี้ จะมุ่งอธิบายว่า ทําไมปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ถึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร และทําไมถึงเป็นเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ําท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, การวิจัยเรื่อง สาเหตุการออกมาชุมนุมขับไล่นายเศรษฐา ทวีสิน ของขบวนการสมัชชาคนจน เป็นต้น
87. นายชาดาทําวิจัยสํารวจจํานวนผู้มีอิทธิพลในประเทศไทย การทําวิจัยของนายชาดาคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสํารวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล พื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิกี่คน ไม่มาใช้สิทธิที่คน, การสํารวจ จํานวนผู้มีอิทธิพลในประเทศไทย เป็นต้น
88. นางสาวศิริกัญญาทําวิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทําวิจัยของนางสาวศิริกัญญาคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 3 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูล ที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง บทบาททางการเมือง ความเชื่อในเรื่อง ต่าง ๆ ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ชีวประวัติของคน ๆ หนึ่ง เป็นต้น
89. นายไอติมทำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารของพรรคก้าวไกล โดยอาศัยข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทำวิจัยของนายไอติมคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 88. ประกอบ
90. นายกัณวีร์ทำวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ การทำวิจัยของนายกัณวีร์คือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยในทางเชิงทฤษฎีต่างๆ เช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ, การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง เป็นต้น
91. นายโรมทำวิจัยเรื่องข้อเสนอการเข้ารับราชการทหารกองประจำการแบบสมัครใจ โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระทรวงกลาโหมนำไปใช้ในการแก้ปัญหาการเข้ารับราชการทหารกองประจำการแบบการเกณฑ์ทหาร การทำวิจัยของนายโรมคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 85. ประกอบ (หมายเหตุ: ไม่มีข้อ 85 ในข้อมูลที่ให้มา)
92. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย
(1) การตั้งสมมติฐาน
(2) การตั้งวัตถุประสงค์
(3) การตั้งคำถาม
(4) การสร้างกรอบแนวคิด
(5) การทบทวนวรรณกรรม
ตอบ 1 หน้า 26, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น
93. หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอนใดที่ต้องกำหนดควบคู่กับการตั้งคำถามการวิจัย
(1) โครงร่างวิจัย
(2) วัตถุประสงค์การวิจัย
(3) เครื่องมือต่างๆ ในการวิจัย
(4) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(5) การเขียนโครงการวิจัย
ตอบ 2 หน้า 28, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอน “การตั้งวัตถุประสงค์การวิจัย” (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยว่าจะทำไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คำขึ้นต้นคำว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดควบคู่ไปกับการตั้งคำถามการวิจัย
94. นายอดิศรต้องการได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายทักษิณ ชินวัตร เรื่องการเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษานายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โดยทำการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก นายอดิศรต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถาม ผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องการเข้าตำแหน่งที่ปรึกษานายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นต้น
95. นายประยุทธ์ต้องการได้ข้อมูลการออกมาชุมนุมขับไล่นายเศรษฐา ทวีสิน ของขบวนการสมัชชาคนจน ว่ามีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่จำนวนเท่าใด นายประยุทธ์ต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 3 หน้า 53 (คำบรรยาย) การสังเกต (Observation) เป็นการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเอาใจใส่และกำหนดไว้อย่างมีระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นกับสิ่งอื่น โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การสังเกตการออกมาชุมนุมขับไล่นายเศรษฐา ทวีสิน ของขบวนการสมัชชาคนจนว่ามีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่จำนวนเท่าใด เป็นต้น
96. “นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต้องเตรียมเอกสารสำหรับการสอบป้องกันหัวข้อวิทยานิพนธ์” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ
97. นิด้าโพลทำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท มีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชนจำนวน 5,000 คน นิด้าโพลต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 4 หน้า 46, (คำบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเป็นรายการของคำถามที่ถูกจัดหมวดหมู่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน เป็นการรวบรวมคำถามอย่างเป็นระบบในการส่งไปยังตัวอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาในแบบสอบถามจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก และความสนใจต่าง ๆ ของผู้ตอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชนจำนวน 5,000 คน เป็นต้น
98. “เป็นการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ
99. นายปฏิพัทธ์ทำวิจัยเรื่อง “กระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ” นายปฏิพัทธ์ใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย
(1) Institutional Approach
(2) Psychological Approach
(3) System Approach
(4) Historical Approach
(5) Group Approach
ตอบ 3 หน้า 22 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่า ในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทำการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐ ก็เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทำงานสอดประสานกัน ซึ่งการทำงานของ อวัยวะต่าง ๆ นี้ก็คือระบบนั่นเอง หากสังคมใดหรือระบบการเมืองใดไม่มีการทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ระบบนั้นก็คงจะล่มสลาย หรือไม่ก็พิการในไม่ช้า ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องกระบวนการบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของรัฐสภาไทย, กระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
100. นายธนาธรทำวิจัยเรื่อง “บทบาททางการเมืองของขบวนการสมัชชาคนจน” นายธนาธรใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย
(1) Institutional Approach
(2) Psychological Approach
(3) System Approach
(4) Historical Approach
(5) Group Approach
ตอบ 5 หน้า 24, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมา จากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้น ไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมี พฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของขบวนการสมัชชาคนจน, การทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเพศของกลุ่ม LGBTQ เป็นต้น