การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา
คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน
ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายความหมายและลักษณะ ข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.4
1.1 การพัฒนา
แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 5 – 6),
ความหมายของการพัฒนา Edward w. Weidner ได้รวบรวมแนวความคิดของนักวิชาการ ที่ให้ความหมายของการพัฒนา ว่าอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
1 กลุ่มแรก เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของความเจริญเติบโต (Growth) ซึ่งหมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงในผลที่ได้ (Output) ของระบบโดยมีปริมาณผลที่ได้สูงขึ้นกว่าเดิม
2 กลุ่มที่สอง เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในระบบที่กระทําการ (System Change หรือ Action Oriented) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบสังคมหรือระบบบริหารในประเทศที่ กําลังพัฒนา เป็นต้น
3 กลุ่มที่สาม เห็นว่า การพัฒนาเป็นการปฏิบัติการโดยมีจุดมุ่งหมาย (Goat Orientation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความทันสมัย
4 กลุ่มที่สี่ เห็นว่า การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า (Planned Change) แนวคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ เห็นว่า การพัฒนาที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้นจะต้อง มีการวางแผนระดับชาติ และมีการนําไปปฏิบัติโดยผู้ปฏิบัติงาน
กล่าวโดยสรุป การพัฒนา หมายถึง การทําให้เกิดความเจริญเติบโต และเพิ่มอัตราให้สูงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบ เพื่อให้ระบบมีความสามารถในการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการ ตัดสินใจหรือกําหนดนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพ และความพอใจแก่คนส่วนใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการ หรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ
1.2 การบริหารการพัฒนา
แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20)
ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)
การบริหารการพัฒนา เป็นการปรับกระบวนการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของโครงการรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า เราต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลก่อนว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไร แล้วจึงนํา การบริหารเข้ามาช่วยปฏิบัติการให้สําเร็จผลตามจุดมุ่งหมายนั้น
การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารงานของรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ และสังคม ตามนโยบายของรัฐที่ได้กําหนดไว้แล้ว โดยนักบริหารการพัฒนาจะต้องทํางานเป็นตัวนําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง
การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดําเนินการตามนโยบาย แผน และโครงการต่าง ๆ ที่ กําหนดขึ้นโดยรัฐบาล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่ทําให้การเปลี่ยนแปลงสําเร็จตามเป้าหมาย
สรุป การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว
1.3 ภาวะความทันสมัย
แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 7)
Eisenstaedt เห็นว่า ความทันสมัย หมายถึง กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบ การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
Wilbert E. Moore เห็นว่า ความทันสมัย หมายถึง การแปลงรูประดับส่วนรวมของสังคมโบราณ หรือสังคมที่ยังไม่เจริญไปสู่การยอมรับเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ และการขยายตัวขององค์กรสังคมในรูปสมาคม อันเป็นลักษณะเด่นชัดของบรรดาชาติทั้งหลายในโลกตะวันตก ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจรุ่งเรือง และมีระบบการเมือง ที่มีเสถียรภาพ
Fred W. Riggs เห็นว่า ความทันสมัย หมายถึง การที่คนหรือสังคมใดก็ตามที่เข้ามาเกี่ยวข้อง กับการลอกเลียนแบบยืมเอาไป หรือนําไปปรับใช้ ไม่ว่าต้นแบบ สถาบัน หรือการปฏิบัติของต่างประเทศ เพื่อให้สังคม ของตนมีฐานะดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก ทั้งนี้โดยรักษาและคงไว้ซึ่งสิ่งที่ดีงามเป็นเอกลักษณ์ ของตัวเอง
กล่าวโดยสรุป ความทันสมัย เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องอาศัยแบบอย่างจาก ต่างประเทศหรืออาจจะได้มาโดยวิธีการต่าง ๆ
1.4 คุณลักษณะร่วม 4 ประการของการบริหารการพัฒนา
แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20)
การบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะร่วมกันอยู่ 4 ประการ คือ
1 การบริหารการพัฒนามีความหมายที่บ่งชี้สภาพภูมิศาสตร์ (Geographical) แม้ว่า การบริหารการพัฒนาจะมีบ่อเกิดในประเทศที่เจริญแล้วคือสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ได้รับการนํามาประยุกต์ในประเทศ กําลังพัฒนาเสียเป็นส่วนใหญ่ และประเทศที่กําลังพัฒนานี้มักจะมีสถานที่ตั้งอยู่ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา
2 การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือผลลัพธ์ที่ได้มาจากสิ่งอื่น ๆ (Derivative) หมายถึง การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือเกิดจากองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม
3 การบริหารการพัฒนาเป็นกระบวนการของความเคลื่อนไหวจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง นั่นก็คือ จากสภาพด้อยพัฒนาไปสู่สภาพกําลังพัฒนา และจากสภาพกําลังพัฒนาไปสู่ สภาพการพัฒนาแล้ว และเป้าหมายสุดท้าย คือ การพัฒนาประเทศ
4 การบริหารการพัฒนา มีความหมายที่บ่งชี้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติภารกิจที่ เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับภารกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอะไรบ้าง หากประเทศที่กําลังพัฒนาประสงค์จะเจริญรอย ตามประเทศที่เจริญแล้ว จําเป็นต้องปฏิบัติภารกิจทางการบริหารเพื่อให้มีระบบมากขึ้น