การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ข้อใดไม่ได้ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
(1) Tao Bin
(2) Notebook Computer
(3) PC
(4) Smartphone
(5) Software
ตอบ 5 หน้า 298, (คำบรรยาย) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางนี้ จะประกอบด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยคำนวณคณิตศาสตร์และเชิงตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit) และหน่วยความจำภายใน (Memory Unit) ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง เช่น Personal Computer (PC), Notebook Computer, Smartphone, ตู้ Tao Bin เป็นต้น
2. ตำราเล่มแรกของรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้
(1) Adam Smith
(2) Leonard D. White
(3) Woodrow Wilson
(4) Max Weber
(5) ปฐม มณีโรจน์
ตอบ 2 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราเรียน (Textbook) ที่สมบูรณ์ เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ เขาเสนอความเห็นว่า การเมือง ไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นำตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง
3. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงอะไร
(1) ความสามารถในการประมวลผลและการพัฒนาสื่อข้ามเครือข่าย
(2) การศึกษาด้านพันธุกรรมของพืชและสิ่งมีชีวิต
(3) ปฏิกิริยาทางเคมีของสารกัมมันตรังสี
(4) วิธีการผลิตสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้วัสดุปลอดสารพิษ
(5) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการข้อมูล
ตอบ 1 หน้า 293 (คำบรรยาย) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การพัฒนาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการประมวลผลและการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น การพัฒนาสื่อข้ามเครือข่ายทั้งในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข ภาพลักษณ์ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และสี ให้สามารถเดินทางไปในระยะทางที่ห่างไกลได้ประเทศต่อประเทศ ทวีปต่อทวีป หรือแม้แต่ ติดต่อนอกโลก ทำให้สามารถโต้ตอบกันได้โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ ระยะทาง เพศ และวัย
4. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมเฉพาะขององค์การของรัฐ
(1) ประชาชนผู้รับบริการ
(2) งบประมาณแผ่นดิน
(3) ปัญหาเศรษฐกิจ
(4) ระเบียบพัสดุ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 260 – 280, (คำบรรยาย) สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ
2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นในการดำเนินงาน สำหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจำเป็นสำหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า/ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร งบประมาณ วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหาร ความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้
5. หนังสือของผู้ใดต่อไปนี้ที่นำเสนอถึงแนวทางในการเนรมิตระบบราชการใหม่
(1) Osborne and Gaebler
(2) Leonard D. White
(3) Woodrow Wilson
(4) อุทัย เลาหวิเชียร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 331, 338 – 339, (คำบรรยาย) Osborne and Gaebler ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reinventing Government” ในปี ค.ศ. 1992 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐหรือการเนรมิตระบบราชการใหม่ด้วยแนวทางและอุดมการณ์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือรัฐบาลแบบเถ้าแก่ ซึ่งรัฐบาลตามตัวแบบนี้ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ เช่น เป็นรัฐบาลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (Community-Owned Government) รัฐบาลที่มีการแข่งขัน (Competitive Government) รัฐบาลที่ขับเคลื่อนโดยลูกค้า (Customer-Driven Government) รัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Enterprising Government) หรือมีผู้นำแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Leadership) เป็นต้น
6. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับ William F. Willoughby
(1) แนวคิดทางการบริหารที่เป็นสากล
(2) หลักการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เขียนตำราโดยเชื่อว่าการบริหารเป็นวิทยาศาสตร์
(4) เน้นการศึกษาวิธีการจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม
(5) สถานะของวิชาการบริหารภาครัฐได้รับการยอมรับมากที่สุด
ตอบ 3 หน้า 48, 65, (คำบรรยาย) W.F. Willoughby เป็นนักวิชาการที่มีส่วนสำคัญในการบุกเบิก หรือนำเสนอพาราไดม์หลักของการบริหาร เขาได้เขียนตำราการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ที่สุด ชื่อ “Principles of Public Administration” (1927) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราเรียนที่สมบูรณ์เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยตำราเล่มนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงแรงผลักดันใหม่ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนนั้นเป็นสิ่งที่สามารถค้นพบได้ และนักบริหารสามารถจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในกิจการงานของตนได้ถ้าเขาได้เรียนรู้ว่าจะนำหลักต่าง ๆ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
7. ข้อใดคือประโยชน์ของการจัดทำงบประมาณ
(1) เป็นกลไกสำคัญในการวางแผน
(2) เป็นแหล่งรายได้ของรัฐบาล
(3) เป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ
(4) ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย
(5) ใช้ควบคุมทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ
ตอบ 1 หน้า 225, 249 – 250, (คำบรรยาย) ประโยชน์หรือความสำคัญของงบประมาณแผ่นดิน มีดังนี้ 1. เป็นทรัพยากรที่จะถูกจัดสรรเพื่อนําไปใช้ในการจัดบริการสาธารณะต่าง ๆ 2. เป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการวางแผนของรัฐบาล 3. เป็นเครื่องมือในการควบคุมการทำงานของภาครัฐ ฯลฯ
8 ผู้ใดกล่าวว่า “วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม”
(1) Dwight Waldo
(2) Stephen P. Robbins.
(3) Max Weber
(4) Taylor
(5) Richard L. Daft
ตอบ 4 หน้า 266, 282 Taylor กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะ เป็นสมาชิกของสังคม
9 ข้อใดต่อไปนี้ที่มีความสัมพันธ์กับ Denhardt and Denhardt
(1) Bureaucracy
(2) New Public Governance (NPG)
(3) New Public Service (NPS)
(4) Theory of Needs
(5) I AM READY
ตอบ 3 (คำบรรยาย) Janet V. Denhardt and Robert B. Denhardt ได้แบ่งพาราไดม์ของ การบริหารรัฐกิจออกเป็น 3 พาราไดม์ คือ
1 การจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Management : OPM)
2 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM)
3 การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service : NPS)
10 The Functions of the Executive เป็นหนังสือที่เขียนโดยบุคคลใด
(1) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
(2) Herbert A. Simon
(3) Chester I. Barnard
(4) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
(5) Abraham H. Mastow
ตอบ 3 หน้า 51 Chester I. Barnard เป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ “The Functions of the Executive” (198) ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้มีอิทธิพลอย่างมากต่อ Herbert A. Simon โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่องานเขียนของ Simon ในหนังสือชื่อ “Administrative Behavior” ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1947
11 ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการ “ควบคุมตรวจสอบ”
(1) การกําหนดมาตรฐาน
(2) การลงโทษ
(3) การเปรียบเทียบผลงาน
(4) การพัฒนาปรับปรุง
(5) การกําหนดวิธีการในการวัดผล
ตอบ 4 หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน
2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน
3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้
4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้
12 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของภาคประชาสังคม
(1) ส่งเสริมบทบาทของพลเมือง
(2) ส่งผลดีต่อการบริหารงานภาครัฐ
(3) ลงสมัครรับเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น
(4) เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร
(5) ช่วยลดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในการบริหารงานภาครัฐ
ตอบ 3 หน้า 342, 357 ภาคประชาสังคม (Civil Society) คือ การรวมตัวกันของประชาชน ซึ่งอาจเป็น กลุ่ม สมาคม หรือหน่วยงานที่รัฐก่อตั้งขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและร่วมกัน ทำให้บรรลุผลประโยชน์ของชุมชนของตน โดยบทบาทของภาคประชาสังคมนี้จะช่วยส่งเสริม
บทบาทของพลเมือง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริหารงานภาครัฐและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและยังช่วยลดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในการบริหารงานภาครัฐอีกด้วย
13 ข้อใดมิใช่หน้าที่ของนักบริหารตามที่ Luther Gulick และ Lyndall Urwick เสนอ
(1) Planning (การวางแผน)
(2) Organizing (การจัดองค์การ)
(3) Staffing (การจัดบุคคลเข้าทํางาน)
(4) Coordinating (การประสานงาน)
(5) Fighting
ตอบ 5 หน้า 49 – 50, 64 – 65, (คำบรรยาย) Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ได้เสนอว่า หน้าที่สำคัญของหัวหน้าฝ่ายบริหารมี 7 ประการ โดยสรุปเป็นคำย่อว่า POSDCORB ซึ่งประกอบด้วย
P = Planning (การวางแผน)
O = Organizing (การจัดองค์การ)
S = Staffing (การจัดบุคคลเข้าทํางาน)
D = Directing (การอำนวยการ)
Co = Coordinating (การประสานงาน)
R = Reporting (การรายงานผลการปฏิบัติงาน)
B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)
14 คณะกรรมการชุดใดมีหน้าที่ในการบริหารงานบุคคล
(1) ป.ป.ช.
(2) สตง.
(3) ก.พ.
(4) กกต.
(5) สตช.
ตอบ 3 หน้า 159 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคล โดยทำหน้าที่กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่ การกำหนดตำแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัย การลงโทษ และการให้บุคลากรพ้นจากราชการ
15 ข้อใดที่มิใช่เงื่อนไขสำคัญของภาษีอากร
(1) เพื่อนําเงินไปใช้เพื่อกิจการสาธารณะ
(2) การที่รัฐต้องให้ประโยชน์ตอบแทนโดยตรงแก่ผู้ชําระภาษี
(3) เก็บจากผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงเท่านั้น
(4) เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ
(5) เป็นการบังคับจัดเก็บจากรัฐ
ตอบ 2, 3 หน้า 216 ภาษีอากร เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ ซึ่งรัฐบังคับจัดเก็บจากบุคคลผู้มีรายได้เพื่อใช้ในการบริหารประเทศและกิจการสาธารณะ โดยผู้ชําระภาษีจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนทางอ้อม เพราะว่ารัฐนำเงินภาษีไปใช้จ่ายในการทํานุบํารุงประเทศ อันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อคนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศ
16 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์ (Regulative Policy)
(1) กำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้
(2) กำหนดโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
(3) อาจอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
(4) กำหนดโดยฝ่ายบริหาร
(5) มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม
ตอบ 5 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเพื่อวางระเบียบ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยอาจอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ เป็นต้น
17 ข้อใดคือมาตรการทางภาษีที่ดี
(1) ควรจัดเก็บภาษีทางอ้อมให้มากกว่าภาษีทางตรง
(2) ทํารายได้สูงสุดให้รัฐ
(3) จัดเก็บจากประชาชนทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น
(4) เป็นไปอย่างเสมอภาค
(5) ควรจัดเก็บจากคนในเมืองมากกว่าคนชนบท
ตอบ 4 หน้า 219 มาตรการทางภาษีที่ดี มีดังนี้
1 รายได้ของรัฐจะต้องมีเพียงพอสำหรับประเทศ
2 การจัดเก็บรายได้จากประชาชนจะต้องเป็นไปอย่างเสมอภาค
3 โครงสร้างภาษีจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการกำหนดนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้เกิดความมั่นคงและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
18. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นบทบาทและหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
(1) ตรวจสอบรายงานใช้จ่ายงบประมาณด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
(2) พัฒนาบุคลากร
(3) วางแผนอัตรากำลัง
(4) กำหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน
(5) พิจารณาด้านค่าตอบแทน
ตอบ 1 หน้า 172 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 246), (คำบรรยาย) บทบาทและหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้
1 คิดค้นวิธีการในการกำหนดหรือระบุตำแหน่งในองค์การ
2 กำหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน การคัดเลือก และการบรรจุพนักงาน
3 วางแผนอัตรากำลัง
4 พัฒนาบุคลากร
5 ประเมินผลการปฏิบัติงาน
6 พิจารณาด้านค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนต่างๆ ฯลฯ
19. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของปัญหาโลกร้อน
(1) หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงมีน้อยเกินไป
(2) การจราจรที่ติดขัด
(3) การเผาในที่โล่ง
(4) การคมนาคมขนส่ง
(5) วัฒนธรรมในการบริโภคแบบใช้แล้วทิ้ง
ตอบ 1 (คำบรรยาย) สาเหตุของปัญหาโลกร้อน ได้แก่
1 การปล่อยก๊าซพิษต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม
2 การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ จากการคมนาคมขนส่ง และการจราจรที่ติดขัด
3 การเผาในที่โล่ง (Open Burning) และพื้นที่การเกษตร
4 วัฒนธรรมในการบริโภคแบบใช้แล้วทิ้ง โดยเฉพาะถุงและขยะพลาสติก
5 การตัดและทำลายป่าไม้ ฯลฯ
20. ข้อใดคือความต้องการขั้นที่สองตามทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น
(1) ความต้องการความปลอดภัย
(2) ความต้องการการยอมรับ
(3) ความต้องการพื้นฐานทางกายภาพ
(4) ความต้องการความสำเร็จ
(5) ความต้องการความรัก
ตอบ 1 (หนังสือ POLL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 340 – 341), (คำบรรยาย) Abraham H. Maslow ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลว่า ผู้บริหารจะต้องรู้และเข้าใจถึงความต้องการของคนในองค์การ ซึ่งมีลักษณะเป็นลำดับขั้นจากต่ำสุดไปสูงสุดตามทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy’s Needs Theory) ทั้งนี้เมื่อความต้องการในลำดับต้นได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลำดับขั้นที่สูงขึ้นต่อไป ซึ่งความต้องการทั้ง 5 ลำดับขั้น ประกอบด้วย
1 ความต้องการทางกายภาพหรือชีววิทยา (Physiological Needs หรือ Biological Needs)
2 ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Security Needs หรือ Safety Needs)
3 ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคมหรือความต้องการการยอมรับ (Social Needs หรือ Love Needs)
4 ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในหน้าที่การงาน (Esteem Needs หรือ Ego Needs หรือ Status Needs)
5 ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในชีวิต ตามอุดมการณ์ที่ตัวเองตั้งไว้ (Self-Actualization Needs หรือ Self-Realization Needs)
21. ข้อใดแสดงถึงความเป็น “ศาสตร์” ของการบริหารรัฐกิจ
(1) มีการรวบรวมความรู้อย่างเป็นระบบ
(2) หยิบยืมความรู้ของการบริหารธุรกิจมาใช้
(3) ถ่ายทอดองค์ความรู้ได้
(4) ตัวเลือกที่ 1 และ 2 ถูกต้อง
(5) ตัวเลือกที่ 1 และ 3 ถูกต้อง
ตอบ 5 หน้า 6-7, 36, 38-39 การศึกษาการบริหารรัฐกิจ (การบริหารราชการ) มีลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ
1 ในฐานะที่มีความเป็นศาสตร์ (Science) คือ การมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการหรือองค์ความรู้ ซึ่งหมายถึงเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ เป็นวิชาที่มีการรวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้ และนำมาถ่ายทอดให้ความรู้กันได้
2 ในฐานะที่มีความเป็นศิลป์ (Art) คือ การมองในด้านการปฏิบัติงาน เรียกว่า การบริหารรัฐกิจ (public administration) ซึ่งเป็นการศึกษากิจกรรมของการบริหารงานในภาครัฐ ได้แก่ การใช้ศิลปะในการอำนวยการ การร่วมมือประสานงานกัน การควบคุมคนจำนวนมาก การมีความคิดสร้างสรรค์ การนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย
22. การจัดทำร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(2) การนำนโยบายไปปฏิบัติ
(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(4) การก่อตัวของนโยบาย
(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 88, 108 ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย
1 การกำหนดวัตถุประสงค์
2 การกำหนดทางเลือก
3 การจัดทำร่างนโยบาย
23. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับผลประโยชน์สาธารณะ
(1) กรอบทางแนวคิดทฤษฎีที่ชุมชนวิชาการให้การยอมรับในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
(2) วัตถุประสงค์ของการบริหารภาครัฐ
(3) หมายถึง การบริหาร มักใช้ในความหมายของการบริหารภาคเอกชน
(4) หมายถึง การบริหาร มักใช้ในความหมายของการบริหารภาครัฐ
(5) สถานภาพของวิชาทางการบริหารภาครัฐ
ตอบ 2 หน้า 12 การบริหารภาครัฐหรือการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ สนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน ดังนั้น การบริหารภาครัฐจึงมุ่งเน้นผลประโยชน์สาธารณะหรือความพอใจของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากการบริหารธุรกิจ (Business Administration) ที่มุ่งเน้นผลกำไรเพื่อความอยู่รอดของหน่วยงานเป็นหลัก
24. นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษจัดเป็นนโยบายประเภทใด
(1) Distributive Policy
(2) Capitalization Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Regulative Policy
(5) Ethical Policy
ตอบ 2 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ ในการริเริ่มสร้างสรรค์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม เช่น นโยบายการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ำลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น
25 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นฝ่ายบริหาร (Executive Branch)
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(3) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(4) คณะรัฐมนตรี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 8 – 9, (คำบรรยาย) อำนาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ
2 ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ทำหน้าที่ในการ บริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย
3 ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทำหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย
26 ข้อใดไม่ใช่วินัย 5 ประการในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
(1) ความรอบรู้แห่งตน
(2) แบบแผนของความคิด
(3) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
(4) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
(5) การคิดนอกกรอบ
ตอบ 5 หน้า 130, 138 Peter Senge ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยเห็นว่า การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ คือ 1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) 2. แบบแผนของความคิด (Mental Model) 3. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) 4. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) 5. การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)
27 ข้อใดสอดคล้องกับ One Best Way
(1) ระบบราชการ
(2) การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
(3) การเปลี่ยนแปลงส่วนเพิ่ม
(4) โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
(5) หน้าที่นักบริหาร
ตอบ 2 หน้า 48, (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 179 – 181, 227 – 228) Frederick W. Taylor เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกหลักการบริหารที่เรียกว่า “การจัดการแบบวิทยาศาสตร์” (Scientific Management) ซึ่งประกอบด้วย 1. Specialization คือ การทำงานตามความชำนาญเฉพาะอย่าง โดยจัดให้มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Work) ตามทักษะและความชำนาญของแต่ละคน 2. The One Best Way คือ การแสวงหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด โดยศึกษาจากเรื่องเวลา การปฏิบัติงานและท่าทางการเคลื่อนไหว (Time and Motion Study) 3. Incentive Wage System คือ ระบบการจูงใจคนงาน โดยใช้วิธีกำหนดมาตรฐานการทำงาน และกำหนดค่าตอบแทนหรือค่าจ้างเป็นรายชิ้น (Per Piece Wage)
28 แนวคิดเชิงอุดมการณ์แนวคิดใดที่มีอิทธิพลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่
(1) แนวคิดแบบเผด็จการอำนาจนิยม
(2) แนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่
(3) แนวคิดแบบอนุรักษนิยม
(4) แนวคิดของโจ ไบเดน
(5) แนวคิดแบบสังคมนิยม
ตอบ 2 หน้า 330 – 331, 356 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ได้รับ อิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูประบบราชการของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรกที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทซเซอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูป ระบบราชการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย
29. ข้อใดไม่ถือเป็นนโยบายที่มีส่วนในการแก้ปัญหาปรากฏการณ์เรือนกระจก
(1) ลดการอุดหนุนราคาพลังงาน
(2) เพิ่มพื้นที่สีเขียว
(3) ส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะ
(4) สนับสนุนให้ประชาชนมีรถยนต์เป็นของตนเอง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) นโยบายที่มีส่วนในการแก้ปัญหาปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) มีดังนี้
1 นโยบายลดการอุดหนุนราคาพลังงาน เพราะเมื่อใดที่ราคาน้ํามันสูงขึ้น ปริมาณการใช้รถยนต์จะน้อยลง
2 นโยบายส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว
3 นโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
4 นโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ฯลฯ
30. ปรัชญาของการจัดการที่มุ่งเน้นในรูปของกําไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาใด
(1) Administration
(2) Management
(3) Public Administration
(4) Business Administration
(5) Political Science
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ
31. ข้อใดไม่ใช่องค์การที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(1) ผู้ตรวจการแผ่นดิน
(2) ศาลปกครอง
(3) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(4) สํานักนายกรัฐมนตรี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 185 – 190, 203 องค์การที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศาลปกครอง เป็นต้น
32. ข้อใดคือประโยชน์ของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน
(1) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
(2) เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(3) เพื่อการจัดสรรและกระจายทรัพยากร
(4) เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 225 – 227, (คําบรรยาย) ประโยชน์ของการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน มีดังนี้
1 เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
3 เพื่อการจัดสรรและกระจายทรัพยากรและรายได้
4 เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารที่มีประสิทธิภาพ
5 เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติให้ดีขึ้น
6 เพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจและการบริหารราชการ
7 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการดําเนินงานตามระบบประชาธิปไตย
33. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของระบบราชการ (Bureaucracy)
(1) มีความยืดหยุ่นสูง
(2) มีสายการบังคับบัญชา
(3) มีความเป็นทางการ
(4) ไม่เน้นความเป็นส่วนตัว
(5) จ้างงานตลอดชีพ
ตอบ 1
(หน้า 123 – 124, คำบรรยาย) องค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) ตามแนวคิดของ Max Weber มีลักษณะดังนี้
1 มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดหรือความชำนาญเฉพาะด้าน
2 มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามสายการบังคับบัญชา
3 มีการคัดเลือกบุคคลอย่างเป็นทางการ
4 มีกฎ ระเบียบ และความเป็นทางการ
5 ไม่เน้นความเป็นส่วนตัว
6 เน้นการปฏิบัติงานเป็นอาชีพ
7 เน้นการจ้างงานตลอดชีพ
34. ผู้ใดโจมตีหลักการบริหารว่าเป็นเพียง “ภาษิตทางการบริหาร”
(1) Henri Fayol
(2) Frederick W. Taylor
(3) Herbert A. Simon
(4) Luther H. Gulick
(5) Max Weber
ตอบ 3 หน้า 52 Herbert A. Simon ได้เสนอความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Proverbs of Administration” (1946) ว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารรัฐกิจที่ได้กำหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้ก็เพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร
35. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดีที่สุด
(1) การรวมศูนย์อำนาจ
(2) การกระจายอำนาจ
(3) การแบ่งอำนาจ
(4) การรวบอำนาจ
(5) การหวงอำนาจ
ตอบ 2 (คำบรรยาย) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการปกครองตามหลักการกระจายอำนาจ เพื่อให้ท้องถิ่นได้มีอิสระในการดูแลปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมี 5 ประเภท คือ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
36. การจ้างเหมาบริการ (Contracting-Out) สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้
(1) New Public Governance (NPG)
(2) Good Governance
(3) New Public Management (NPM)
(4) Non-Government Organization (NGO)
(5) Civil Service Organization (CSO)
ตอบ 3 หน้า 329 – 330, 356 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) เป็น แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการบริหารภาครัฐ การลดบทบาทของรัฐและเพิ่มบทบาทของเอกชน การนำแนวคิดแบบเอกชนมาใช้ในภาครัฐ การจ้างเหมาบริการจากภาคเอกชน (Contracting-Cut) การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result-Based Management) การจัดการที่เน้นการแข่งขันแบบภาคธุรกิจ (Market-Based Management) การให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการบริหารใหม่ ๆ เพื่อความเป็นเลิศ (Neo-Managerialism) การให้อำนาจกับผู้บริหารเหมือนเป็นผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของกิจการเองหรือเรียกว่า การจัดการแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Management) หรือแบบ CEO (CEO Management) เป็นต้น
37. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
(1) เน้นการลดบทบาทของรัฐและเพิ่มบทบาทเอกชน
(2) การนำแนวคิดแบบเอกชนมาใช้ในภาครัฐ
(3) การมุ่งเน้นประสิทธิภาพ
(4) การจ้างเหมาบริการจากภาคเอกชน
(5) การยึดค่านิยมสาธารณะ
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ
38. ข้อใดไม่ใช่ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ
(1) วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน
(2) ที่มาของทุนในการดําเนินงาน
(3) กระบวนการในการบริหาร
(4) กลไกการตรวจสอบ
(5) คู่แข่งในการดําเนินงาน
ตอบ 3 หน้า 12 – 14, 37 – 39, (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของ CEO ธุรกิจสตาร์ทอัพ) มีสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้
1 วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน
2 ขนาดความรับผิดชอบ
3 แหล่งที่มาของทุนในการดําเนินงาน
4 การกําหนดราคาสินค้าและบริการ
5 คู่แข่งขันในการดําเนินงาน
6 การคงอยู่
7 การเป็นไปตามกฎหมาย
8 บทบาทของประชาชนในการกํากับดูแล และความพร้อมในการตรวจสอบจากสาธารณะ
39. การส่งเสริมให้ผู้พิการได้รับกายอุปกรณ์เป็นนโยบายด้านใด
(1) นโยบายการเงิน
(2) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม
(3) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ
(4) นโยบายด้านสาธารณสุข
(5) นโยบายด้านการศึกษา
ตอบ 2 หน้า 95 – 96, (คําบรรยาย) นโยบายด้านสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีดังนี้
1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทํากินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและรายได้
2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
3 สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ในกลุ่มผู้สูงอายุ
4 ส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ เช่น ส่งเสริมให้ผู้พิการได้รับกายอุปกรณ์ ฯลฯ
40. องค์การแบบผสม (Hybrid Organization) มีลักษณะอย่างไร
(1) มีเฉพาะในองค์การภาคประชาสังคม
(2) รวมศูนย์อํานาจ
(3) ใช้โครงสร้างองค์การหลายรูปแบบผสมกัน เพื่อตอบสนองต่อการปฏิบัติงานที่มีความสลับซับซ้อน
(4) มีกฎระเบียบมาก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 125, 141 องค์การแบบผสม (Hybrid Organization) เป็นองค์การที่มีการใช้โครงสร้าง องค์การหลาย ๆ รูปแบบผสมกัน เพื่อตอบสนองต่อการปฏิบัติงานที่มีความสลับซับซ้อน โดยใช้ประโยชน์จากลักษณะเด่นของรูปแบบโครงสร้างองค์การแต่ละแบบ
41. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(1) การวางแผนทรัพยากรบุคคล
(2) การได้มาซึ่งบุคลากร
(3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
(4) การสอบสวนทางวินัย
(5) การพ้นสภาพการเป็นบุคลากร
ตอบ 4 หน้า 163 – 164 การบริหารงานบุคคลภาครัฐ ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญ 6 ขั้นตอน คือ
1 การวางแผนทรัพยากรบุคคล
2 การได้มาซึ่งบุคลากร การโอนย้ายและแต่งตั้ง
3 การพัฒนาบุคลากร
4 การใช้ประโยชน์จากบุคลากร
5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
6 การพ้นสภาพการเป็นบุคลากร
42. ใครเป็นผู้นําเสนอแนวคิด POSDCORB
(1) Henri Fayol and Elton Mayo
(2) Luther H. Gulick and Lyndall Urwick
(3) Frederick W. Taylor
(4) Herbert A. Simon.
(5) Max Weber
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ
43. การจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมมีส่วนสนับสนุนหลักการในข้อใด
(1) หลักความโปร่งใส เป็นธรรม
(2) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(3) หลักการรับผิดชอบต่อสังคม
(4) หลักการกลไกการเมืองที่ชอบธรรม
(5) หลักธรรมาภิบาล
ตอบ 4 (คำบรรยาย) หลักการกลไกการเมืองที่ชอบธรรม หมายถึง ความชอบธรรมที่เกี่ยวพันกับความสามารถของระบบที่จะก่อให้เกิดและรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ว่าการคงอยู่ของระบบเป็นความพึงพอใจสูงสุดของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม หรือการให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
44. ข้อใดเป็น “สิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปของชนชาวไทย”
(1) การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
(2) การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
(3) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
(4) การสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 191 – 192 สิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปของชนชาวไทย มีดังนี้
1 การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
2 การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
3 การติดต่อสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย
4 การอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ
5 การได้รับบริการสาธารณสุข และสวัสดิการจากรัฐ
6 การเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของทางราชการ
45. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ Herbert A. Simon
(1) การวิเคราะห์กระบวนการในการตัดสินใจ
(2) ข้อจำกัดหรือขอบเขตของเหตุผล (Bounded Rationality)
(3) ภาษิตทางการบริหาร (The Proverbs of Administration)
(4) การศึกษาความต้องการของมนุษย์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 53 Herbert A. Simon ได้อธิบายว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารประสบกับปัญหาสําคัญ คือ ข้อจํากัดของความมีเหตุผล ซึ่งเกิดจากข้อจํากัดของบุคคลแต่ละคนใน 3 ประการ ดังนี้ 1. ข้อจํากัดเกี่ยวกับความชํานาญ นิสัย และสัญชาตญาณ 2. ข้อจํากัดเกี่ยวกับค่านิยมและ แนวความคิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ 3. ข้อจํากัดเกี่ยวกับความรู้และข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ Simon ยังได้เสนอสิ่งที่เป็นหัวใจของการศึกษาว่า การที่จะเข้าใจได้ว่าภายใต้เงื่อนไขอะไรที่ หลักของการบริหารอันไหนจะสามารถนําไปใช้ปฏิบัติได้นั้นจะต้องอาศัยการศึกษาวิเคราะห์ กระบวนการการบริหารในแง่ของการตัดสินใจ ส่วนการศึกษาความต้องการของมนุษย์นั้น เป็นผลงานของ Abraham H. Maslow (ดูคําอธิบายข้อ 20. และ 34. ประกอบ)
46. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงข้าราชการตามทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory)
(1) ข้าราชการมีโอกาสเติบโตในสายงานมากกว่าเอกชน
(2) ข้าราชการอุทิศตนเช่นเดียวกับอาสาสมัคร
(3) ข้าราชการคืออาชีพที่มีความมั่นคง
(4) ข้าราชการมีแรงกระตุ้นจากผลประโยชน์ส่วนตน
(5) ข้าราชการไม่มีเวลาส่วนตัว
ตอบ 4 หน้า 332 ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory) อธิบายดังนี้
1 มนุษย์ถูกชักนําให้ทํางานโดยระบบการจูงใจจากองค์การทั้งโดยการให้รางวัลและการลงโทษ
2 ข้าราชการก็เหมือนคนอื่น ๆ ที่มีแรงกระตุ้นจากผลประโยชน์ส่วนตัว เขาจะทําประโยชน์ สูงสุดให้ตัวเอง ไม่ใช่ให้ประชาชน ด้วยค่าใช้จ่ายของที่ทํางานของเขา
3 เพื่อลดหรือจํากัดการให้บริการประชาชน หน่วยงานราชการสามารถเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้ใช้บริการ หรือสงวนไว้สําหรับผู้มีรายได้สูง หรือขึ้นราคาค่าบริการ ฯลฯ
47. การจัดทําประชาคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้องกับหลักการข้อใด
(1) หลักการมีส่วนร่วม
(2) หลักการรับผิดชอบต่อสังคม
(3) หลักธรรมคําสอนของศาสนา
(4) หลักประสิทธิภาพ
(5) หลักยุติธรรม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม คือ การทําให้สังคมเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมแสดงความเห็นในการตัดสินใจที่สําคัญของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน มีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การทําประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ การทําประชาคม เป็นต้น
48. ข้อใดอยู่ในขั้นตอนของการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation)
(1) การนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ
(2) การอนุมัติ
(3) การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา
(4) การประเมินผลนโยบาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หน้า 87 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย 1. การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน 2. การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา 3. ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ 4. การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา
49. หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี 6 ประการ หมายถึง
(1) หลักการรับผิดชอบต่อสังคม
(2) หลักธรรมาภิบาล
(3) หลักคุณธรรม
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) หลักของระบบอาวุโส
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล หรือหลักธรรมรัฐ หรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) มีองค์ประกอบที่สําคัญ 6 ประการ ดังนี้ 1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักความโปร่งใส 4. หลักความมีส่วนร่วม 5. หลักความรับผิดชอบ 6. หลักความคุ้มค่า
50. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Interdisciplinary
(1) หมายถึง การบริหาร มักใช้ในความหมายของการบริหารภาคเอกชน
(2) สถานภาพของวิชาทางการบริหารภาครัฐ
(3) หมายถึง การบริหาร มักใช้ในความหมายของการบริหารภาครัฐ
(4) กรอบทางแนวคิดทฤษฎีที่ชุมชนวิชาการให้การยอมรับในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
(5) วัตถุประสงค์ของการบริหารภาครัฐ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หน้า 27 สถานภาพของวิชาทางการบริหารภาครัฐ (การบริหารรัฐกิจ) ที่สําคัญประการหนึ่ง คือ การเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ซึ่งหมายถึง การนําเอาองค์ความรู้จากหลากหลาย สาขาวิชามาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาการบริหารงานในองค์การ
51. ข้อใดคือหลักการในการจูงใจคนงานของ Frederick Winslow Taylor
(1) One Best Way หรือวิธีการทํางานที่ดีที่สุด
(2) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ
(3) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น
(4) เวลากับการเคลื่อนไหว
(5) หลักการจ้างงานตลอดชีพ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 227 – 228) Frederick Winslow Taylor ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้
1. ต้องมีวิธีการคัดเลือกและพัฒนาคนงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2 ต้องมีความประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีในการใช้เครื่องมือและวิธีการที่ดีที่สุด ในการบริหารกับการคัดเลือกและฝึกฝนพนักงาน
3 ต้องมีการนําระบบการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าจ้างแบบรายชิ้น (Piece Rate System) มาใช้ในการจูงใจคนงาน ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ)
52 นายอนุทินต้องการเปิดกิจการโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะสมุย และเกาะกูด การจัดโครงสร้างองค์การควรจะมีลักษณะที่สอดคล้องกับตัวเลือกใด
(1) Functional Departmentation
(2) Product Departmentation
(3) Geographical Departmentation
(4) Customer Departmentation
(5) Process Departmentation
ตอบ 3 หน้า 118 การจัดโครงสร้างองค์การตามเขตภูมิศาสตร์หรือตามพื้นที่ (Geographical Departmentation หรือ Territorial Departmentation) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การที่ เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่หรือองค์การที่มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบกว้างขวาง เพื่อทําให้เกิด ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เป็นการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมพื้นที่ ที่ต้องรับผิดชอบ และมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังสามารถตอบสนอง ความต้องการหรือแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ด้วย เช่น การเปิดกิจการ โรงแรมตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะสมุย เกาะกูด ๆ เป็นต้น
53 ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมในการบริหารงานคลังสาธารณะ
(1) การหารายได้ของรัฐ
(2) การบริหารนโยบายการเงิน
(3) การงบประมาณ
(4) การบริหารหนี้สาธารณะ
(5) การควบคุมอัตราดอกเบี้ย
ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 260 – 263), (คําบรรยาย) การศึกษาวิชา การบริหารงานคลังสาธารณะ (Public Finance Administration) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ขอบเขตหน้าที่และกิจกรรมในการบริหารงานคลังสาธารณะของรัฐบาล ดังนี้
1 ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และการบริหารการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล
2 ศึกษาการตัดสินใจด้านการคลังและการใช้จ่ายของรัฐบาล
3 ศึกษาอํานาจหน้าที่ในการหารายได้หรือการจัดหาทรัพยากรเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ของ รัฐบาล เช่น การจัดเก็บภาษีอากร การบริหารหรือก่อหนี้สาธารณะ เป็นต้น
4 ศึกษาการบริหารหรือการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังของรัฐบาล ให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์
54 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของทฤษฎีโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory)
(1) การจัดองค์การที่ดีต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
(2) ผู้ตัดสินใจขององค์การแนวโน้มเป็นผู้มีเหตุผล
(3) องค์การเป็นระบบปิด
(4) ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 134 เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามทฤษฎีโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory) มีดังนี้
1 ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ
2 การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน
3 การจัดองค์การที่ดีที่สุด ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
4 องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ
5 องค์การเป็นระบบเปิด
6 ผู้ตัดสินใจขององค์การมีแนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล
55. ข้อใดไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันที่มีบทบาทในการกําหนดนโยบาย
(1) ฝ่ายนิติบัญญัติ
(2) ฝ่ายการเมือง
(3) ฝ่ายบริหาร
(4) ระบบราชการ
(5) คณะกรรมการอุทธรณ์ร้องทุกข์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถาบันที่มีบทบาทในการกําหนดนโยบาย ได้แก่ ฝ่ายการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง ระบบราชการ (สถาบันราชการและข้าราชการ) และประมุขของประเทศ
56. ข้อใดเกี่ยวข้องกับนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher)
(1) การปฏิรูประบบราชการในนิวซีแลนด์
(2) การตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในสวีเดน
(3) การแก้ปัญหาการว่างงานของคนผิวดําในสหรัฐอเมริกา
(4) ความพยายามแก้ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงอุยกูร์
(5) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอังกฤษ
ตอบ 5 หน้า 330 ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปฏิรูปกิจการภาครัฐทั้งระบบราชการและรัฐวิสาหกิจในประเทศอังกฤษ ภายใต้โครงการปฏิรูปที่เรียกว่า “ขั้นต่อไป” (The Next Step) จนประสบความสําเร็จ ซึ่งสามารถลดขนาดของภาครัฐและลดงบประมาณรายจ่ายในการบริหารงานภาครัฐได้
57. ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Max Weber
(1) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น
(2) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น
(3) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม
(4) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ
(5) หลักการจ้างงานตลอดชีพ
ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 226), (คําบรรยาย) Max Weber ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้
1 การแต่งตั้ง พิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่งบุคคลในการปฏิบัติงานต้องมีการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบและอยู่บนพื้นฐานแห่งการตกลงกัน
2 การเลือกสรรบุคคลเข้าทํางานจะต้องพิจารณาในด้านความสามารถและหลักการแบ่งงานตามความชํานาญเฉพาะอย่าง
3 มีการจ้างงานตลอดชีพ
4 มีการกําหนดค่าตอบแทนในรูปเงินประจําสําหรับผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ
58. ค่านิยมทางการบริหารภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อใด
(1) New Public Service (NPS)
(2) New Public Governance (NPG)
(3) New Public Management (NPM)
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ
59. ใครเป็นผู้เขียนบทความเสนอว่าการบริหารรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ
(1) Herbert A. Simon
(2) Woodrow Wilson
(3) Robert A. Dahl
(4) Robert T. Golembiewski
(5) Luther H. Gulick
ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson เป็นบิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจ และเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” เขาได้เสนอแนวคิดไว้ในบทความเรื่อง
“The Study of Administration” ในปี ค.ศ. 1887 ว่า การบริหารรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องยาก ยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ และควรแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน โดย บทความดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจ…”
60. ข้อใดเป็นการจัดโครงสร้างองค์การตามอำนาจหน้าที่ (Functional Departmentation)
(1) ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
(2) สำนักงานภาคใต้ สำนักงานภาคกลาง สำนักงานภาคเหนือ สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(3) ฝ่ายลูกค้าบุคคล ฝ่ายลูกค้าองค์การ
(4) ฝ่ายรับคำสั่งซื้อ ฝ่ายจัดเตรียมสินค้า ฝ่ายบรรจุสินค้า ฝ่ายโลจิสติกส์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 117 การจัดโครงสร้างองค์การตามอำนาจหน้าที่ (Functional Departmentation) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การโดยพิจารณาจากประเภทของงานหรือหน้าที่ในการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยกลุ่มของกิจกรรมที่เหมือนกันและเกี่ยวข้องกันจะถูกจัดให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน การจัดโครงสร้างองค์การแบบนี้เหมาะกับองค์การที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมคงที่และมีลักษณะเป็นงานประจำ เช่น การจัดโครงสร้างองค์การโดยแบ่งออกเป็น ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
61. ข้อใดไม่จัดเป็นภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล
(1) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
(2) การวางแผนกำลังคน
(3) การจัดสวัสดิการ
(4) การสร้างขวัญกำลังใจ
(5) การวิเคราะห์นโยบาย
ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 247 – 249) ภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล มีดังนี้ 1. การกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ 2. การวางแผนกำลังคนหรือทรัพยากรมนุษย์ 3. การวัดและประเมินระบบการจัดการบุคคล 4. การจัดการด้านเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการต่าง ๆ 5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน 6. การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ฯลฯ
62. ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Frederick Winslow Taylor
(1) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น
(2) หลักการจ้างงานตลอดชีพ
(3) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ
(4) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม
(5) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51 ประกอบ
63. ข้อใดต่อไปนี้ที่มีความสัมพันธ์กับสำนักงาน ก.พ.ร.
(1) I AM READY
(2) นโยบายการคลัง
(3) การจัดทำงบประมาณ
(4) การปราบปรามการทุจริต
(5) การวางนโยบายด้านการศึกษา
ตอบ 1 หน้า 352 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดค่านิยมใหม่ ที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทยที่เรียกว่า “I AM READY” ประกอบด้วย I = Integrity (ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี), A = Activeness (ขยัน ตั้งใจ ทำงานในเชิงรุก), M = Morality (มีศีลธรรม คุณธรรม), R = Relevancy (รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก), E = Efficiency (มุ่งเน้นประสิทธิภาพ), A = Accountability (มีความสำนึกรับผิดชอบต่อผลงานและสังคม), D = Democracy (มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย), Y = Yield (มุ่งเน้นผลงาน)
64. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับงบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget)?
(1) ทําให้เกิดความเชื่อมโยงกับแผนงานต่าง ๆ
(2) ป้องกันปัญหาการทุจริต
(3) เป็นงบประมาณที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ง่าย
(4) เน้นการมีส่วนร่วม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 228, 237, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการหรืองบประมาณแบบดั้งเดิม (Line-Item Budget or Tradition Budget) เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมการใช้จ่าย หรือการใช้ทรัพยากร การจัดเตรียมงบประมาณจึงมีลักษณะที่ค่อนข้างละเอียด โดยจะมีการแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวดและมีการกําหนดรายการค่าใช้จ่าย ดังนั้นระบบงบประมาณแบบแสดงรายการจึงทําให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณ ไม่สามารถนําเงินงบประมาณไปใช้จ่ายในรายการอื่นได้ จึงป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตในหน่วยงาน
65. ข้อใดอธิบายถึงวินัย 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้?
(1) การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)
(2) กฎ ระเบียบ (Regulations)
(3) การปฏิรูประบบราชการ
(4) การแปรรูปกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน
(5) การลดต้นทุน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ
66. ข้อใดสอดคล้องกับระบบคุณธรรม (Merit System)?
(1) การแต่งตั้งโยกย้ายโดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ
(2) การสั่งการจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up)
(3) การมีสํานึกสาธารณะ
(4) การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่พวกพ้อง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคุณธรรม (Merit System) เป็นวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทํางาน บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง โดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถของบุคคล เป็นสําคัญ โดยไม่คํานึงถึงเหตุผลทางการเมืองหรือความสัมพันธ์ส่วนตัว
67. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะขององค์การแบบดั้งเดิม?
(1) ไม่มีความยืดหยุ่น
(2) ความมั่นคงในงาน
(3) ให้ความสําคัญกับความเป็นส่วนตัว
(4) เน้นกฎ ระเบียบ
(5) เน้นการสั่งการตามสายการบังคับบัญชา
ตอบ 3 หน้า 114 – 115 องค์การแบบดั้งเดิม มีลักษณะดังนี้
1 มีลักษณะคงที่
2 ไม่มีความยืดหยุ่น
3 ให้ความสําคัญกับงาน
4 งานถูกกําหนดจากตําแหน่ง
6 เน้นความมั่นคงของงาน
7 เน้นการสั่งการตามสายการบังคับบัญชา
8 เน้นกฎ ระเบียบ
9 ปฏิบัติงานในองค์การตลอดชั่วโมงการทํางาน ฯลฯ
68. นโยบายการบริหารจัดการที่มีผลต่อการควบคุมตรวจสอบ ได้แก่?
(1) การเก็บรักษาความลับ
(2) การจัดสวัสดิการ
(3) ระบบติดตามประเมินผล
(4) การพัฒนาเส้นทางอาชีพ
(5) การเสริมสร้างศักยภาพทางกายภาพ
ตอบ 3 หน้า 184 – 185, (คําบรรยาย) นโยบายการบริหารจัดการภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุม ตรวจสอบ มีดังนี้
1 การพัฒนาระบบงบประมาณ
2 การพัฒนาบุคลากร
3 การจัดวางระบบการติดตามประเมินผล
4 ระบบประกันคุณภาพขององค์การ
69. การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(3) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(4) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ
70. สิ่งที่อยู่ภายนอกองค์การแต่สามารถเป็นปัจจัยที่ส่งผลทั้งทางบวกหรือทางลบต่อองค์การ หมายถึงข้อใด
(1) สภาพแวดล้อม
(2) โครงสร้างองค์การตามสถานการณ์
(3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อองค์การ
(4) วิสัยทัศน์ขององค์การ
(5) ปัญหาขององค์การ
ตอบ 1 หน้า 260, (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมทั่วไป คือ สิ่งที่อยู่ภายนอกองค์การและส่งผลกระทบ ต่อการดําเนินงานขององค์การทั้งทางบวกและทางลบ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์การของรัฐ ทุกองค์การ ระดับของความสัมพันธ์ต่อองค์การอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ของแต่ละองค์การ
71. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของการจัดทํางบประมาณ
(1) งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
(2) งบประมาณแบบแสดงรายการ
(3) งบประมาณแบบแผนงาน
(4) งบประมาณแบบฐานศูนย์
(5) งบประมาณตามสถานการณ์
ตอบ 5 หน้า 237 – 238 ประเภทของการจัดทํางบประมาณ มี 5 ประเภท คือ
1 งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget)
2 งบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget)
3 งบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning or Programming Budget)
4 งบประมาณแบบฐานศูนย์ (Zero Base Budget)
5 งบประมาณแบบสะสม (Incremental Budget)
72. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง
(1) การสั่งการจากบนลงล่าง (Top-Down)
(2) การแบ่งงานกันทําตามความถนัด
(3) การมีสํานึกสาธารณะ
(4) การรับประโยชน์จากนโยบาย
(5) การวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
ตอบ 3 หน้า 341, (คําบรรยาย) Michael Sandal เห็นว่า ความเป็นพลเมืองแบบประชาธิปไตยนั้น พลเมืองจะคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว มีมุมมองที่กว้างไกลและต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของรัฐ (Public Affairs) มีสํานึกสาธารณะว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และมีความผูกพันในเชิงจริยธรรมกับชุมชนซึ่งร่วมชะตากรรมเดียวกัน
73. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะขององค์การแบบสิ่งมีชีวิต
(1) อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คงที่
(2) เน้นโครงสร้างแนวราบ
(3) เป็นทางการน้อย
(4) กระจายอํานาจการตัดสินใจ
(5) ขอบข่ายการควบคุมกว้าง
ตอบ 1 หน้า 133 – 134, (คําบรรยาย) องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้
1. อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงมาก
2. มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
3. เน้นโครงสร้างแนวราบ
4. ขอบข่ายหรือช่วงการควบคุมกว้าง
5. มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
6. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย
7. มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย
8. มีความเป็นทางการน้อย
9. กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ
74. นายสรยุทธ์เชื่อว่า นักบริหารมีหน้าที่ 5 ประการ คือ “Planning, Organizing, Commanding, Coordinating และ Controlling” ความเชื่อของนายสรยุทธ์สอดคล้องกับนักวิชาการท่านใด
(1) Henri Fayol
(2) Luther Gulick
(3) Max Weber
(4) ชุบ กาญจนประกร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1
หน้า 50, 65, (คำบรรยาย) Henri Fayol เสนอว่า หน้าที่การบริหารของนักบริหาร (Functions of Administration) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC ดังนี้
P = Planning (การวางแผน)
O = Organizing (การจัดองค์การ)
C = Commanding (การอำนวยการ)
C = Coordinating (การประสานงาน)
C = Controlling (การควบคุม)
75. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะด้อยของรัฐประศาสนศาสตร์ (การศึกษาการบริหารรัฐกิจ)
(1) การพัฒนาองค์ความรู้ล่าช้า
(2) ขาดเอกลักษณ์
(3) มีความเป็นสหวิทยาการ
(4) มีคุณลักษณะของความเป็นศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 28 ลักษณะด้อยของรัฐประศาสนศาสตร์ (การศึกษาการบริหารรัฐกิจ) มีดังนี้
1 มีลักษณะของการขาดเอกลักษณ์
2 มีคุณลักษณะของความเป็นศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์
3 การพัฒนาองค์ความรู้ล่าช้า
76. ข้อใดต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกันระหว่างการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดกับผู้บริหารในภาคเอกชน
(1) กระบวนการปฏิบัติงาน
(2) มีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน
(3) การสร้างแรงจูงใจ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 หน้า 11 – 12, (คำบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของผู้บริหารในภาคเอกชน) มีสิ่งที่เหมือนหรือสอดคล้องกัน ดังนี้
1 เป็นกระบวนการบริหารหรือการปฏิบัติงานที่ต้องนำเอาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
2 ต้องอาศัยพลังความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มในการปฏิบัติงาน
3 มีลักษณะการปฏิบัติงานตามสภาพแวดล้อมขององค์การ เช่น มีความเสี่ยงในการดำเนินงาน
4 ลักษณะการบริหารในแต่ละองค์การจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของงานที่ทำ
77. การพัฒนาและยกระดับจิตใจเป็นนโยบายด้านใด
(1) นโยบายด้านการศึกษา
(2) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม
(3) นโยบายด้านกีฬาและนันทนาการ
(4) นโยบายด้านสาธารณสุข
(5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ
ตอบ 5 หน้า 95, (คำบรรยาย) นโยบายด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม มีดังนี้
1 ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน
2 ส่งเสริมสถาบันศาสนาทุกศาสนาให้มีบทบาทในการเผยแผ่หลักคำสอนที่ดีงาม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต จิตใจ และพัฒนาสังคมให้มีความสามัคคี ปรองดอง และยั่งยืน
3 สนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน ฯลฯ
78. ข้อใดไม่ถือเป็นหน้าที่ของรัฐสภา
(1) กำหนดกฎกระทรวง
(2) พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ
(3) อภิปรายผลงานของรัฐบาล
(4) ตั้งกระทู้ถามรัฐบาล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (หน้า 187 – 188, คำบรรยาย) รัฐสภา มีหน้าที่ดังนี้:
1 พิจารณาออกกฎหมายประเภทต่างๆ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย (ส่วนการกำหนดกฎกระทรวงนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง)
2 พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3 ตั้งกระทู้และอภิปรายผลงานของรัฐบาล
4 ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญติดตามการปฏิบัติงาน
79. ข้อใดไม่ใช่วิชาที่ปรากฏในการศึกษาสาขาบริหารรัฐกิจของสถาบันการศึกษาต่างๆ
(1) ประชาสังคมกับการจัดการท้องถิ่น
(2) การคลังและงบประมาณ
(3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์
(4) จริยธรรมทางการบริหาร
(5) การส่งเสริมการขาย
ตอบ 5 (คำบรรยาย) วิชาที่ปรากฏในการศึกษาสาขาบริหารรัฐกิจของสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การคลังและงบประมาณ จริยธรรมทางการบริหาร ประชาสังคมกับการจัดการท้องถิ่น นโยบายสาธารณะ เป็นต้น ส่วนการส่งเสริมการขาย เป็นวิชาที่ปรากฏในการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ
80. การจัดเรื่องแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) การจัดการเรื่องสหภาพแรงงาน
(2) การวางแผนกำลังคน
(3) การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน
(4) การประเมินผลการปฏิบัติงานของคนในองค์การ
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 หน้า 172 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 249), (คำบรรยาย) แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรือ อุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relation) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการกับคนงานหรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวกับสิทธิและผลประโยชน์ในการทำงาน เช่น การเจรจาต่อรองร่วมกัน การบริหารแรงงานให้เป็นไปตามสัญญาการว่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
81. ใครเป็นผู้เสนอความเห็นว่าพาราไดม์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ
(1) Woodrow Wilson
(2) Luther H. Gulick
(3) Robert T. Gotembiewski
(4) Robert A. Dahl
(5) Herbert A. Simon
ตอบ 3 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 75 – 76) Robert T. Gotembiewski ได้เสนอความเห็นว่า พาราไดม์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และวิชาการบริหารรัฐกิจก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดขึ้นมาในรูปของพาราไดม์เบ็ดเสร็จ แต่ควรจะกำหนดขึ้นมาในรูปของมินิพาราไดม์หลายๆ มินิพาราไดม์จะดีกว่า
82. การจัดโครงสร้างองค์การแบบใดที่อาจนำไปสู่ปัญหาเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
(1) โครงสร้างแบบเรียบง่าย
(2) โครงสร้างแบบเมทริกซ์
(3) โครงสร้างแบบทีมงาน
(4) โครงสร้างแบบระบบราชการ
(5) โครงสร้างแบบแชมร็อค
ตอบ 2 หน้า 125 (คำบรรยาย) โครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix Structure) เป็นโครงสร้างองค์การแบบชั่วคราว ซึ่งเหมาะสมกับองค์การที่มีการดำเนินงานแบบโครงการและต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรฐานที่ต้องการภายในระยะเวลาและวงเงินงบประมาณที่กำหนด โดยจะมีการมอบหมายงานให้ผู้จัดการรับผิดชอบการดำเนินงานในโครงการ และมีการระดมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานประจำตามหน้าที่ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมให้มาร่วมปฏิบัติงาน ข้อเสียของโครงสร้างองค์การแบบนี้ก็คือ ทำให้เกิดปัญหาเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
83. การยอมรับฟังเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย เป็นไปตามหลักการของ
(1) ประสิทธิภาพ
(2) ประชาธิปไตย
(3) ประชาสงเคราะห์
(4) ประสิทธิผล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คำบรรยาย) หลักการประชาธิปไตยที่ดีจะต้องยอมรับฟังเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย และเปิดโอกาสให้ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถแสดงความคิดเห็น มีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของประเทศได้
84. ประมวลกฎหมายอาญาถือเป็นนโยบายประเภทใด
(1) นโยบายกระจายบริการของรัฐ
(2) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากร
(3) นโยบายเพื่อจริยธรรม
(4) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ
85. Turbulent Field มีลักษณะสอดคล้องกับข้อใด
(1) เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้สร้างสรรค์นวัตกรรม
(2) สงบสุข ปิดตัวเองจากภายนอก
(3) สภาพแวดล้อมแบบปิด
(4) สภาพแวดล้อมในยูเครนภายใต้สภาวะสงคราม
(5) สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นเริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก
ตอบ 4 หน้า 257 – 258, (คำบรรยาย) Fred Emery และ Eric Trist ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การออกเป็น 4 ประเภท คือ
1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ ไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่เร่ร่อน ทารกในครรภ์ ชุมชนที่ไม่มีการติดต่อกับสังคมภายนอก เป็นต้น
2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตเริ่มเรียนรู้และสัมผัสกับระบบของครอบครัว โรงเรียน เป็นต้น
3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่เริ่มมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ยุ่งเหยิง เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก เป็นต้น
4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา สภาพแวดล้อมในยูเครนภายใต้สภาวะสงคราม เป็นต้น
86. ข้อใดแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างบทบาทของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับ CEO ของธุรกิจสตาร์ทอัพ
(1) ขนาดความรับผิดชอบต่างกัน
(2) มีกระบวนการทำงานต่างกัน
(3) มีวัตถุประสงค์ต่างกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ
87. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกลไกการบริหารงานภาครัฐ
(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(2) พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551
(3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
(4) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 352 – 354, (คําบรรยาย) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกลไกการบริหารงานภาครัฐ มีดังนี้
1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545
2 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
3 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
4 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ฯลฯ
88. ผู้ใดถูกเรียกว่าเป็นบิดาแห่งพาราไดม์ (Paradigm)?
(1) Abraham H. Maslow
(2) Woodrow Wilson
(3) Robert T. Golembiewski
(4) Thomas S. Kuhn
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 43 – 44, 64 – 65 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับ พาราไดม์ (Paradigm) และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” เขาได้อธิบายไว้ว่า พาราไดม์ หมายถึง ผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติสําคัญ 2 ประการ คือ
1. เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้หันเหจากกิจกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ที่มีลักษณะแข่งขันกัน โดยหันมายอมรับร่วมกันว่าผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นพื้นฐาน สําหรับการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
2. เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องรุ่นใหม่ ๆ ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ กันต่อไป
89. ข้อใดสอดคล้องกับโปรแกรมระบบ (System Software)?
(1) Soft Power
(2) Hardware
(3) Operating System (OS)
(4) OTP
(5) Tao Bin
ตอบ 3 หน้า 299 – 300 โปรแกรมระบบ (System Software) คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการสั่งงานระบบคอมพิวเตอร์ให้ทํางานตามต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โปรแกรมแปลภาษา (Language Translator), โปรแกรมบรรณาธิกรณ์ (Editor), โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS), โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Program), โปรแกรมวิเคราะห์ข้อผิดพลาด และทดสอบเครื่อง (Diagnostics Routines) เป็นต้น
90. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับกฎของ Wagner?
(1) รายจ่ายสาธารณะมีแนวโน้มลดลง
(2) รายจ่ายสาธารณะต้องผ่านการพิจารณาอย่างรอบด้าน
(3) รายจ่ายสาธารณะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับการศึกษาของประชากร
(4) รายจ่ายสาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 239 Adolp Wagner กล่าวว่า เมื่อสังคมใดเริ่มกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรม ความสัมพันธ์ของสถาบันต่าง ๆ ทางด้านสังคม กฎหมาย และธุรกิจจะมีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะขยายบทบาทของตนในการกําหนด กํากับ หรือ ควบคุมความหลากหลายและความซับซ้อนของความสัมพันธ์ดังกล่าว ซึ่งทําให้รัฐต้องมีรายจ่ายสาธารณะเพิ่มขึ้น
91. ข้อใดเกี่ยวข้องกับหลักการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ?
(1) Scientific Management
(2) Bureaucracy
(3) Bounded Rationality
(4) Piece Rate Pay System
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 48 – 49 นักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ได้พัฒนาปรับปรุงหลักของการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การทํางาน ในโรงงานอุตสาหกรรมเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
92. ข้อใดไม่มีความเกี่ยวข้องกับ Abraham H. Maslow
(1) ความต้องการการยอมรับ
(2) ความต้องการความปลอดภัย
(3) การบริหารงานบุคคล
(4) การศึกษาความต้องการตามลำดับขั้น
(5) องค์การแบบเครื่องจักรกล
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 20 ประกอบ
93. ผู้ใดต่อไปนี้ที่เคยมีบทบาทในการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐในสหรัฐอเมริกา
(1) อดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน
(2) อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา
(3) อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์
(4) วุฒิสมาชิกแทมมี่ ดักเวิร์ธ
(5) นางแอมเบอร์ เฮิร์ด
ตอบ 3 หน้า 331 อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ (Al Gore) ได้มีบทบาทในการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีคลินตัน (Clinton) ภายใต้โครงการที่เรียกว่า “การทบทวนการปฏิบัติงานแห่งชาติ” (National Performance Review) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การบริหารงานในระดับสหพันธรัฐหรือรัฐบาลกลาง และได้มีการออกกฎหมายที่สำคัญในการปฏิรูป คือ พระราชบัญญัติการปฏิบัติงานและผลงานรัฐบาล ค.ศ. 1993
94. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของงบประมาณแผ่นดิน
(1) เป็นทรัพยากรที่จะถูกจัดสรรเพื่อนําไปใช้ในการจัดบริการสาธารณะต่าง ๆ
(2) เป็นเครื่องมือในการวางแผนของรัฐบาล
(3) เป็นเครื่องมือในการควบคุมการทํางานของภาครัฐ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 7 ประกอบ
95. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Elton Mayo
(1) การจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น
(2) การศึกษาเวลากับการเคลื่อนไหว
(3) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ
(4) การจ้างงานตลอดชีพ
(5) การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพในการทํางาน
ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 189 – 190, 230 – 231), (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพในการทํางาน โดยทําการทดลองที่เรียกว่า “Hawthorne Experiments” ซึ่งพบว่า:
1 ขวัญของคนงานเป็นสิ่งสําคัญและจะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
2 รางวัลทางจิตใจจะให้ความสุขในการปฏิบัติงาน และมีผลกระตุ้นในการทํางานมากกว่ารางวัลทางเศรษฐกิจ
3 ปทัสถานทางสังคมของกลุ่มมีผลต่อประสิทธิภาพและปริมาณของงาน
4 ภาวะผู้นํา (Leadership) จะมีบทบาทสําคัญในการกําหนดบรรทัดฐานของกลุ่มภายในองค์การ
96. ข้อใดสอดคล้องกับระบบอุปถัมภ์ (Patronage System)
(1) การแต่งตั้งโยกย้ายโดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ
(2) การมีสํานึกสาธารณะ
(3) ระบบเส้นสาย
(4) การแบ่งงานกันทําตามความถนัด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) หรืออาจเรียกว่า ระบบเส้นสาย ระบบ พวกพ้อง ระบบเครือญาติ เป็นระบบที่ยึดถือความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่พวกพ้อง ดังนั้นการคัดเลือกบุคคลเข้าทํางาน การบรรจุแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่ง จึงพิจารณาจากความเป็นพวกพ้องเป็นสําคัญ ไม่ได้พิจารณาจากความรู้ ความสามารถของบุคคล
97. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแบบเครื่องจักร
(1) มีความยืดหยุ่นสูง
(2) มีระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก
(3) ความเป็นทางการสูง
(4) มีสายการบังคับบัญชามาก
(5) รวมศูนย์อำนาจ
ตอบ 1 หน้า 132 – 134 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 มีสายการบังคับบัญชามาก
2 ช่วงการควบคุมแคบ
3 มีระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก
4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวดิ่ง
5 มีความเป็นทางการสูง
6 รวมศูนย์อำนาจในการบริหารและตัดสินใจ
7 มีสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อนและคงที่
8 มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ฯลฯ
98. ความเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ของการบริหารรัฐกิจ หมายถึง
(1) การนำองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในการบริหาร
(2) การบริหารงานที่เน้นการมีส่วนร่วม
(3) การบริหารภาครัฐองค์การขนาดใหญ่
(4) ความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ
99. ข้อใดมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นน้อยลงในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
(1) เน้นทีมงาน
(2) มีความยืดหยุ่น
(3) เน้นการมีส่วนร่วม
(4) การจ้างงานตลอดชีพ
(5) ไม่มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานต่อวัน
ตอบ 4 (คำบรรยาย) แนวโน้มที่มักจะเกิดขึ้นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้
1 มีความยืดหยุ่นในการทำงาน
2 ให้ความสำคัญต่อทักษะในการปฏิบัติงาน
3 เน้นทีมงาน
4 เน้นการมีส่วนร่วม
5 ไม่มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานต่อวัน ฯลฯ
6 ส่วนการจ้างงานตลอดชีพนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นน้อยลง
100. แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนัก Keynesian สนับสนุนแนวทางแบบใด
(1) การประหยัดทรัพยากรการบริหาร
(2) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
(3) การลดบทบาทและขนาดของภาครัฐ
(4) การจัดการแบบภาคเอกชน
(5) การขยายบทบาทภาครัฐ
ตอบ 5 หน้า 323, 326 – 329, 355 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ ในการบริหารรัฐกิจ มีดังนี้
1 คุณค่าที่เน้นประสิทธิภาพของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)
2 คุณค่าที่เน้นการขยายบทบาทของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นการลดบทบาทของภาครัฐ ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เซียนหรือเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian School) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์แบบนีโอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School)