การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น
“คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ”
1. ข้อใดเป็นนโยบายการเงิน
(1) การควบคุมสินเชื่อส่วนบุคคล
(2) การอนุมัติงบประมาณแผ่นดิน
(3) การปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) การขึ้นค่าไฟฟ้า
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คำบรรยาย) นโยบายการเงิน เป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การควบคุมอัตราดอกเบี้ย การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท การควบคุมสินเชื่อ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล การออก ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทางการเงิน เป็นต้น โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลนโยบายการเงิน ก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย
2. ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
(1) เน้นการพัฒนาความสามารถเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
(2) เป็นองค์การสมัยใหม่
(3) มีการมอบอำนาจในการตัดสินใจเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
(4) มีทีมงานที่กระชับ
(5) มีสายการบังคับบัญชาที่เหมาะสม
ตอบ 1 หน้า 130 องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นองค์การที่เน้นการพัฒนา ความสามารถเพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทุกสถานการณ์ โดยองค์การจะเน้นให้บุคลากรในองค์การได้รับความรู้ใหม่ ๆ พัฒนาทักษะในการสร้าง สรรหา และถ่ายโอนความรู้ให้เป็นองค์ความรู้ที่เอื้อประโยชน์ต่อองค์การโดยส่วนรวม มีข้อมูลข่าวสาร ที่ทันสมัย นำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล
3. ข้อใดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น
(1) ก๊าซธรรมชาติ
(2) ดิน
(3) ถ่านหิน
(4) ป่าไม้
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 274 – 275 ทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Non-Exhausting Natural Resources) เช่น แสงอาทิตย์ อากาศ ดิน น้ำ เป็นต้น
2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Exhausting Natural Resources) เช่น แร่ธาตุ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น
3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Renewable Natural Resources) เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพรรณ กำลังงานของมนุษย์ เป็นต้น
4. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของเทคโนโลยี
(1) คน
(2) เครื่องมือ
(3) กระบวนการ
(4) ความรู้
(5) เป็นเทคโนโลยีทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 290 ความรู้ทั้งหลาย (All Knowledge) คือ ความรู้ที่มาจากทฤษฎีและนํามาปฏิบัติให้เกิดผล
1 ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ (Products) คือ ผลที่ได้จากการนําเทคโนโลยีมาใช้
2 กระบวนการ (Processes) คือ ขั้นตอนของการนําเทคโนโลยีมาใช้
3 เครื่องมือ (Tools) คือ อุปกรณ์ วัสดุ เครื่องจักรในการใช้หรือที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี
4 วิธีการ (Methods) คือ กรรมวิธีหรือเทคนิคที่ใช้สําหรับเทคโนโลยี
5 ระบบ (Systems) คือ กลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อการคิดค้นในการสร้างสินค้าหรือการบริการ
5. ข้อจำกัดของความมีเหตุผลเกี่ยวกับปัญหาของหลักการบริหารในความหมายของ Herbert A. Simon หมายถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับอะไร
(1) ความชํานาญ ค่านิยม วิธีการปฏิบัติงาน
(2) ความชํานาญ ค่านิยม ความรู้และข้อมูลข่าวสาร
(3) ความชํานาญ ค่านิยม เป้าหมาย
(4) ความชํานาญ แนวความคิด วิธีการปฏิบัติงาน
(5) ความชํานาญ แนวความคิด เป้าหมาย
ตอบ 2 หน้า 53, (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1976 ได้เกิดวิกฤติในวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นครั้งที่สอง โดย Herbert A. Simon ได้อธิบายว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารประสบกับปัญหาสําคัญ คือ ข้อจํากัดของความมีเหตุผล ซึ่งเกิดจากข้อจํากัดของบุคคลแต่ละคนใน 3 ประการ ดังนี้
1 ข้อจํากัดเกี่ยวกับความชํานาญ นิสัย และสัญชาตญาณ
2 ข้อจํากัดเกี่ยวกับค่านิยมและแนวความคิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์
3 ข้อจํากัดเกี่ยวกับความรู้และข้อมูลข่าวสาร
6 บุคคลที่เป็นผู้นําในการโจมตีวิชาการบริหารรัฐกิจครั้งแรก คือใคร
(1) Thomas S. Kuhn
(2) Herbert A. Simon
(3) Leonard D. White
(4) Frank J. Goodnow
(5) William F. Willoughby
ตอบ 2 หน้า 51, (คำบรรยาย) วิชาการบริหารรัฐกิจมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมาจนถึง ค.ศ. 1938 ได้เกิดวิกฤติทางความคิดเป็นครั้งแรก โดยบุคคลที่เป็นผู้นําในการโจมตีวิชาการบริหารรัฐกิจ ครั้งแรกนี้ก็คือ Herbert A. Simon
7 การหาวิธีการรักษาโรคในมนุษย์ เป็นเทคโนโลยีในด้านใด
(1) Bio Technology
(2) Material Technology
(3) Nano Technology
(4) Energy Technology
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 292, (คำบรรยาย) การพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวภาพ (Bio Technology) คือ การนําเอา ความรู้ทางด้านต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง ตามที่มนุษย์ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การจัดการ สิ่งแวดล้อม เช่น การหาวิธีการรักษาโรคในมนุษย์ การศึกษาเซลล์ต้นกําเนิด (Stem Cells) การตัดแต่งพืชพันธุกรรม (GMO) การบําบัดน้ําเสียโดยใช้กังหันชัยพัฒนา เป็นต้น
8 ใครเสนอว่าอุปสรรคจะเป็นแรงผลักดันให้มีการเสนอนโยบายเพื่อไปใช้ประโยชน์
(1) Carl J. Friedrich
(2) David Easton
(3) William Greenwood
(4) Ira Sharkansky
(5) Theodore Lowi
ตอบ 1 หน้า 74, (คําบรรยาย) Carl J. Friedrich กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง ข้อเสนอ สําหรับแนวทางการดําเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาลภายในสภาพแวดล้อม แบบหนึ่ง ซึ่งอาจมีทั้งอุปสรรคและโอกาสบางประการ โดยอุปสรรคและโอกาสนี้จะเป็น แรงผลักดันให้มีการเสนอนโยบายเพื่อไปใช้ประโยชน์ และเอาชนะสภาพการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ก็เพื่อนําไปสู่เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง
9. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการในภาษาอังกฤษ คือ
(1) Public Personnel Administration
(2) Personnel Administration
(3) Public Administration
(4) Personnel Management
(5) Public Management
ตอบ 1 หน้า 148 การบริหารงานบุคคล ในภาษาอังกฤษจะใช้คําว่า “Personnel Administration” หรือ “Personnel Management” ซึ่งหากจะให้มีความหมายว่าเป็นการบริหารงานบุคคล ในระบบราชการหรือภาครัฐโดยเฉพาะก็จะใช้คําว่า “Public Personnel Administration” และหากจะให้มีความหมายเฉพาะถึงการบริหารงานบุคคลในภาคธุรกิจเอกชนก็จะใช้คําว่า “Business Personnel Management”
10. “หอรัษฎากรพิพัฒน์” ทําหน้าที่
(1) ดูแลโรงฝิ่นและยาสูบ
(2) ดูแลเก็บ “ส่วย” และ “ฤชา”
(3) เก็บเงินผลประโยชน์ รายได้ ภาษีอากรให้รัฐ
(4) ดูแลชาวต่างชาติ
(5) เก็บภาษีปากเรือ
ตอบ 3 หน้า 215 หอรัษฎากรพิพัฒน์ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2416 เพื่อเป็นสํานักงานกลางสําหรับ เก็บเงินผลประโยชน์ รายได้ ภาษีอากรของแผ่นดินมารวมไว้ในที่แห่งเดียว มิให้แยกย้าย กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ
11. ข้อใดเป็นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
(1) การระงับข้อพิพาท
(2) ยุติธรรมทางอาญาและการระงับข้อพิพาท
(3) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
(4) ยุติธรรมทางอาญา
(5) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการระงับข้อพิพาท
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) เป็นแนวคิดที่ให้ผู้เสียหายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผลการกระทํา อาชญากรรมเป็นศูนย์กลางของกระบวนการยุติธรรม โดยที่รัฐและบุคลากรทางกฎหมาย เป็นเพียงผู้ประสานงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งหรือระงับข้อพิพาท โดยให้ผู้กระทําผิดได้แสดงความรับผิดชอบในการกระทําของเขา และให้ความช่วยเหลือ/ บรรเทาผลร้ายแก่ผู้เสียหาย ซึ่งวิธีการของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ได้แก่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การประนอมข้อพิพาท เป็นต้น
12. ข้อใดไม่เป็นสาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย
(1) การสร้างเขื่อน
(2) ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
(3) ความเจริญทางวิทยาศาสตร์
(4) การลดของประชากร
(5) การกีฬา
ตอบ 4 หน้า 275 – 276, 282 – 283 สาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย มีดังนี้ 1. การเพิ่มของประชากร 2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจ 3. ความเจริญก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ํา ถนน 5. การกีฬา เช่น การยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์ 6. สงคราม 7. ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
13 การกําหนดเกณฑ์วัดและวิธีตรวจสอบ เป็นขั้นตอนใด
(1) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(2) การก่อตัวของนโยบาย
(3) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(5) การประเมินผลนโยบาย
ตอบ 5 หน้า 90 ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย
1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
2 การกําหนดเกณฑ์วัด และวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน
3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล และวิธีการรายงาน
4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนโยบาย
14 การแบ่งงานตามความชํานาญเฉพาะด้านตามแนวนอนขององค์การ (Horizontal Specialization) หมายถึง
(1) แบ่งตามกิจกรรมตามลําดับขั้นตอนของกระบวนการทํางาน
(2) แบ่งตามความถนัดของคน
(3) แบ่งตามสายการบังคับบัญชา
(4) แบ่งตามวิชาชีพ
(5) แบ่งตามภูมิลําเนา
ตอบ 1 หน้า 116 การแบ่งงานตามความชํานาญเฉพาะด้านตามแนวนอนขององค์การ (Horizontal Specialization) หมายถึง การแบ่งตามกิจกรรมต่าง ๆ ตามลําดับขั้นตอนของกระบวนการ ทํางานในองค์การ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดจําหน่าย เป็นต้น
15 ตัวชี้วัด “เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” ได้แก่
(1) รายได้เกษตรกร
(2) อัตราเงินเฟ้อ
(3) อัตราคนยากจน
(4) GDP
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐ มีดังนี้
1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
2 การกระจายทรัพยากร (Distribution Function) วัดจากรายได้เปรียบเทียบ อัตราการใช้จ่าย อัตราการออม มูลค่าการใช้จ่ายของภาคเอกชน
3 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization Function) วัดจากอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
4 การบริหารจัดการ (Management Function) วัดจากประสิทธิภาพการผลิต
16 ทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์ตามแนวคิดของ Morgan ได้นําปัจจัยอะไรบ้างมาใช้ในการวิเคราะห์องค์การ
(1) สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร โครงสร้าง และการจัดการ
(2) สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี ผู้นํา โครงสร้าง และการจัดการ
(3) สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้าง และการจัดการ
(4) สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน โครงสร้าง และการจัดการ
(5) สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี นวัตกรรม โครงสร้าง และการจัดการ
ตอบ 3 หน้า 135 – 136 มอร์แกน (Morgan) ได้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่มอร์แกนนํามาพิจารณาในการวิเคราะห์และจัดโครงสร้างองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้างองค์การ และการจัดการ
17. แนวคิดในการควบคุมแบบใดเกิดก่อนแบบอื่น ๆ
(1) ควบคุมผลลัพธ์
(2) ควบคุมด้วยนโยบาย
(3) ควบคุมด้วยประชาชน
(4) ควบคุมผลผลิต
(5) ควบคุมด้วยกฎระเบียบ
ตอบ 5 หน้า 177, 205 – 206, (คําบรรยาย) แนวคิดในการควบคุมตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 ให้ความสําคัญกับการควบคุมปัจจัยนําเข้า โดยพิจารณาที่ความถูกต้องของการจัดสรรทรัพยากรขององค์การให้ตรงตามมาตรฐานและกฎระเบียบที่กําหนด ยุคที่ 2 ให้ความสําคัญกับการควบคุมกระบวนการทํางาน โดยพิจารณาความสําเร็จไปที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทํางาน ยุคที่ 3 (ยุคปัจจุบัน) ใช้วิธีการตามยุคที่ 1 และ 2 และให้ความสําคัญกับการควบคุมผลผลิต และผลลัพธ์ รวมทั้งให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบ
18. ข้อจํากัดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่
(1) คู่พิพาทใช้เป็นช่องทางประวิงให้เกิดความล่าช้า
(2) สร้างความพึงพอใจต่อคู่พิพาท
(3) รักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่พิพาท
(4) สร้างความสงบสุขให้กับชุมชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27), (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่
1. ไม่มีสภาพบังคับ การไกล่เกลี่ยขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคู่พิพาทเป็นสําคัญ
2. คู่พิพาทอาจใช้เป็นช่องทางประวิงเวลาให้คดีเกิดความล่าช้าได้
3. ผลของการไกล่เกลี่ยไม่สามารถบังคับได้ทุกกรณีเช่นเดียวกับคําพิพากษา ฯลฯ
19. ตําราเรียน (Textbook) เล่มแรกของวิชาการบริหารรัฐกิจ
(1) Papers on the Science of Administration
(2) Principles of Public Administration
(3) Principles of Organization
(4) Introduction to the Study of Public Administration
(5) Politics and Administration
ตอบ 4 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียน (Textbook) ที่สมบูรณ์ เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยเขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นําตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชา การบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง
20. “การใช้โครงสร้างแผนงานเป็นเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์……กับกิจกรรมที่จะช่วย ให้บรรลุวัตถุประสงค์” เป็นลักษณะของระบบงบประมาณแบบใด
(1) Performance Budget
(2) Line-Item Budget
(3) Tradition Budget
(4) Line-Item Budget และ Tradition Budget
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 230 – 231, 237 งบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning or Programming Budget) เป็นระบบงบประมาณที่มีความมุ่งหมายที่จะให้มีการเชื่อมโยงการจัดสรรงบประมาณ เข้ากับระบบการวางแผน จึงมีการจัดทําแผนงาน (Programming) โดยใช้โครงสร้างแผนงาน เป็นเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุในรอบปีงบประมาณ หนึ่ง ๆ กับกิจกรรมที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ เพื่อเป็นกรอบการตัดสินใจในการ จัดสรรงบประมาณ
21. องค์การแบบเครือข่ายของภาครัฐในความคิดของ Goldsmith and Eggers มีลักษณะประกอบด้วย
(1) Speed & Flexibility, Increased Reach, Specialization, Quality
(2) Speed & Flexibility, Increased Reach, Specialization, Innovation
(3) Speed & Flexibility, Increased Reach, Specialization, Development
(4) Speed & Flexibility, Increased Reach, Specialization, Connection
(5) Speed & Flexibility, Increased Reach, Specialization, Information
ตอบ 2 คำบรรยาย: หน้า 126 องค์การแบบเครือข่ายของภาครัฐตามความคิดของ Goldsmith and Eggers มีลักษณะประกอบด้วย
1 มีความรวดเร็วและมีความยืดหยุ่น (Speed & Flexibility)
2 การเพิ่มขึ้นของการเข้าถึง (Increased Reach)
3 ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialization)
4 นวัตกรรม (Innovation)
22. ในปี ค.ศ. 1887 เกิดเหตุการณ์อะไร
(1) Woodrow Wilson เสนอแนวคิดการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน
(2) เป็นยุคทองของการบริหารรัฐกิจ
(3) William F. Willoughby เขียนตําราของวิชาการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์
(4) Gulick เสนอหลักการบริหารที่สําคัญคือ POSDCORB
(5) Frederick W. Taylor เสนอหลักการบริหาร Scientific Management
ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 31, 46, 64 – 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson เป็นบิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจ และเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” เขาได้เสนอแนวคิดไว้ในบทความเรื่อง “The Study of Administration” ในปี ค.ศ. 1887 ว่า การบริหารรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องยาก ยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ และควรแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน โดย บทความดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจ
23. Thomas Jefferson ให้ความสําคัญกับเรื่องใดในการบริหารราชการ
(1) เทคโนโลยี
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ประชาธิปไตย
(4) การลดบทบาทภาครัฐ
(5) การขยายบทบาทภาครัฐ
ตอบ 3 หน้า 326 – 327 โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ถือเป็นผู้วางรากฐานการเมือง และมีอิทธิพลต่อแนวคิดหลักในการบริหารราชการของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยแนวคิด ของเจฟเฟอร์สันนั้นได้ให้ความสําคัญกับประชาธิปไตย (Democracy) ในการบริหารราชการ โดยต้องการให้รัฐบาลกระจายอํานาจให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ และต้องการจํากัดอํานาจของฝ่ายบริหารโดยอาศัยกฎหมายและรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด
24. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแบบแชมร็อค (Shamrock Organization)
(1) เป็นองค์การที่เปรียบเหมือนใบแชมร็อค
(2) มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก กลุ่มพนักงานชั่วคราว
(3) เป็นองค์การสมัยใหม่ ไม่มีสายการบังคับบัญชา
(4) มีการแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเป็น 3 กลุ่ม เพื่อเป็นการลดจํานวนผู้ปฏิบัติงาน
(5) เป็นองค์การในอนาคตที่ให้คนเข้ามามีส่วนร่วมหรือดําเนินการด้วยตนเองบ้าง
ตอบ 3 หน้า 128 – 129 องค์การแบบแชมร็อค (Shamrock Organization) เป็นโครงสร้างองค์การ ที่เปรียบเหมือนใบแชมร็อค ซึ่งมี 3 แฉกติดกันอยู่บนก้านเดียวกัน โครงสร้างองค์การแบบนี้จะมี การแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในองค์การออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน จากภายนอก และกลุ่มพนักงานชั่วคราว เพื่อเป็นการลดจํานวนผู้ปฏิบัติงานในองค์การให้น้อยลง โดยจะให้ความสําคัญต่อผู้ปฏิบัติภารกิจหลักขององค์การเท่านั้น ทั้งนี้แนวโน้มขององค์การ แบบแชมร็อคในอนาคตนั้นอาจจะให้ลูกค้าขององค์การเข้ามามีส่วนร่วมหรือเข้ามาดําเนินการ ด้วยตนเองบ้างในบางส่วน
25. ผู้ที่กล่าวว่า “การวิจัยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วในอดีต” คือ
(1) Martin Landau
(2) Robert T. Golembiewski
(3) Thomas S. Kuhn
(4) Robert T. Holt
(5) Lawrence C. Mayer
ตอบ 3 หน้า 43 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” ได้อธิบายไว้ว่า วิทยาการที่เป็น ปกติ (Normal Science) หมายถึง การวิจัยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Achievements) ที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วในอดีต ผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ ดังกล่าวจึงเท่ากับเป็นตัวกําหนดปัญหาและวิธีการวิจัยให้กับผู้ศึกษาวิจัยรุ่นใหม่ ๆ ดําเนินการ ต่อไปบนพื้นฐานที่กําหนดไว้
26. The American Political Science Association มีความสําคัญอย่างไร
(1) การประชุมทางวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์
(2) การประชุมทางวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งภาคใต้
(3) การประชุมทางวิชาการของสมาคมการบริหารรัฐกิจเกี่ยวกับพาราไดม์แห่งอเมริกา
(4) การประชุมทางวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งอเมริกา
(5) การประชุมทางวิชาการของสมาคมการบริหารรัฐกิจแห่งอเมริกา
ตอบ 4 หน้า 43 The American Political Science Association คือ การประชุมทางวิชาการของ สมาคมรัฐศาสตร์แห่งอเมริกา
27. ข้อใดเป็นขั้นตอนหลังสุดในกระบวนการควบคุม
(1) แผนงาน
(2) ข้อมูลข่าวสาร
(3) นโยบาย
(4) การตรวจสอบ
(5) การปรับปรุง
ตอบ 5 หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 การกำหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดำเนินงาน
2 การกำหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดำเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสำเร็จของงาน
3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้
4 การดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้
28. องค์การควรมีลักษณะสำคัญประกอบด้วย
(1) คน การพัฒนา กิจกรรมตามโครงสร้าง
(2) คน วัตถุประสงค์ กิจกรรมตามโครงสร้าง
(3) คน การพัฒนา โครงสร้าง
(4) คน วัตถุประสงค์ การปฏิบัติงาน
(5) คน การปฏิบัติงาน โครงสร้าง
ตอบ 2 หน้า 114 ระบุว่า องค์การเป็นระบบย่อยของสังคม ซึ่งประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ ร่วมกันทำกิจกรรมตามโครงสร้างและรูปแบบที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยองค์การจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
3 มีการพัฒนาโครงสร้างให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จ
29. องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber มีลักษณะ ดังนี้
(1) มีการแบ่งงาน มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ การสอบคัดเลือกบุคคลเป็นการชั่วคราว
(2) มีการแบ่งงาน มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ การสอบคัดเลือกบุคคลเป็นการทั่วไป
(3) มีการแบ่งงาน มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ การสอบคัดเลือกบุคคลเป็นการแข่งขัน
(4) มีการแบ่งงาน มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ การสอบคัดเลือกบุคคลเป็นทางการ
(5) มีการแบ่งงาน มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ การสอบคัดเลือกบุคคลไม่เป็นทางการ
ตอบ 4 หน้า 124 ระบุว่า องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber มีลักษณะดังนี้
1 มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดหรือความชำนาญเฉพาะด้าน
2 มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามสายการบังคับบัญชา
3 มีการสอบคัดเลือกบุคคล อย่างเป็นทางการ
4 มีกฎระเบียบที่เป็นทางการมากมาย
5 ไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว
6 เน้นการปฏิบัติงานเป็นอาชีพ
30. “I AM READY” คืออะไร
(1) กิจกรรมการปฏิรูประบบราชการ
(2) นโยบายปฏิรูประบบราชการ
(3) ค่านิยมใหม่ที่พึงประสงค์ของข้าราชการ
(4) ภาวะผู้นำ
(5) การตอบสนองต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ตอบ 3 คำอธิบาย: หน้า 352 ระบุว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดค่านิยมใหม่ ที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทยที่เรียกว่า “I AM READY” ประกอบด้วย
I = Integrity (ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี)
A = Activeness (ขยัน ตั้งใจ ทำงานในเชิงรุก)
M = Morality (มีศีลธรรม คุณธรรม)
R = Relevancy (รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก)
E = Efficiency (มุ่งเน้นประสิทธิภาพ)
A = Accountability (มีความสำนึกรับผิดชอบต่อผลงานและสังคม)
D = Democracy (มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย)
Y = Yield (มุ่งเน้นผลงาน)
31. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของทฤษฎีโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory)
(1) การจัดองค์การที่ดีต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
(2) ผู้ตัดสินใจขององค์การแนวโน้มเป็นผู้มีเหตุผล
(3) องค์การเป็นระบบปิด
(4) ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 134 เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามทฤษฎีโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory) มีดังนี้:
1 ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ
2 การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
3 การจัดองค์การที่ดีที่สุด
4 องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ
5 องค์การเป็นระบบเปิด
6 ผู้ตัดสินใจขององค์การที่แนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล
32. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้ในปีใด
(1) 2550
(2) 2551
(3) 2552
(4) 2553
(5) 2554
ตอบ 2 (คำบรรยาย) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นพระราชบัญญัติที่บังคับใช้กับข้าราชการพลเรือนสามัญของไทยอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551
33. ใครเป็นผู้กำหนด “I AM READY”
(1) Deming นักวิชาการอเมริกัน
(2) สำนักงาน ก.พ.ร.
(3) คณะรัฐมนตรียุครัฐบาลทักษิณ
(4) สำนักงาน ก.พ.
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ (หมายเหตุ: ข้อ 30 ไม่ได้อยู่ในข้อมูลที่ให้มา)
34. ผู้ที่กล่าวว่า องค์การคือกระบวนการทำงานที่มีโครงสร้าง เพื่อให้บุคคลต่าง ๆ ได้ร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คือ
(1) Herbert Hicks
(2) Talcott Parson
(3) Stephen Robbins
(4) James Mooney and Alan Reiley
(5) Chester Barnard
ตอบ 1 หน้า 113 Herbert Hicks กล่าวว่า องค์การเป็นกระบวนการทำงานที่มีโครงสร้าง เพื่อให้บุคคลต่าง ๆ ได้ร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
35. ลักษณะของสภาพแวดล้อมของชุมชนที่ไม่มีการติดต่อกับสังคมภายนอก เรียกว่า
(1) Placid Randomized Environment
(2) Placid Clustered Environment
(3) Statics Environment
(4) Turbulent Field
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 257 – 258 Fred Emery และ Eric Trist ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การออกเป็น 4 ประเภท คือ
1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ ไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่เร่ร่อน ทารกในครรภ์ ชุมชนที่ไม่มีการติดต่อกับสังคมภายนอก เป็นต้น
2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตเริ่มเรียนรู้และสัมผัสกับระบบของครอบครัว โรงเรียน เป็นต้น
3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่เริ่มมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ยุ่งเหยิง เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก เป็นต้น
4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา เป็นต้น
36 ทุกข้อเป็น Task Environment ของ Daft ยกเว้น
(1) ปัจจัยจากต่างประเทศ
(2) ปัจจัยด้านการเงิน
(3) ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์
(4) ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
(5) ปัจจัยด้านการวางแผน
ตอบ 5 หน้า 255 – 256 Richard L. Daft ได้พิจารณาสภาพแวดล้อมขององค์การว่าประกอบด้วยปัจจัย หรือส่วนต่าง ๆ 10 ส่วน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นสภาพแวดล้อมของงาน (Task Environment) ที่มีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง ได้แก่ 1. ปัจจัยด้านอุตสาหกรรม 2. ปัจจัยด้านการผลิต 3. ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ 4. ปัจจัยด้านการเงิน 5. ปัจจัยด้านการตลาด 6. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี 7. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 8. ปัจจัยด้านการควบคุม 9. ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม 10. ปัจจัยจากต่างประเทศ
37 ข้อมูล หมายถึง
(1) ตำราเรียน
(2) ข้อสอบ
(3) ข่าวกีฬา
(4) แบบสอบถาม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 296, 318 – 319, (คำบรรยาย) ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อจริงหรือความจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุคคล วัตถุ สสาร สิ่งของ สถาบัน องค์การ การดำเนินงาน การปฏิบัติการ การจัดการ และอื่น ๆ ที่อาจอยู่ในลักษณะของสัญลักษณ์ ข้อความ ตัวเลข รูปภาพ และอื่น ๆ ทั้งนี้ข้อมูล จะอยู่ในรูปแบบที่ยังไม่มีการประเมินหรือตีความหมาย ซึ่งนับเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) เช่น แบบสอบถาม เป็นต้น ส่วนข่าวสาร (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ หรือเป็นข้อมูลบั้นปลายที่มีการเปลี่ยนรูปแล้วให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย เข้าใจได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ตำราเรียน ภาพยนตร์ ข่าวกีฬา รายงานข่าว รายงานการประชุมประจำปี หนังสือพิมพ์ วารสารข่าวรามคำแหง เป็นต้น
38 ข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่
(1) สะดวก
(2) ประหยัดค่าใช้จ่าย
(3) รวดเร็ว
(4) ลดความเครียดในการทำงาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 29 – 30), (คำบรรยาย) ข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่ 1. สะดวก 2. รวดเร็ว 3. ประหยัดค่าใช้จ่าย 4. ลดความเครียด 5. รักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่พิพาท 6. สร้างความพึงพอใจต่อคู่พิพาท 7. สร้างความสงบสุขให้กับชุมชน ฯลฯ
39 ข้อใดเป็นกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก
(1) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
(2) การระงับข้อพิพาท
(3) ยุติธรรมทางอาญาและการระงับข้อพิพาท
(4) ยุติธรรมทางอาญา
(5) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการระงับข้อพิพาท
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15 – 16), (คำบรรยาย) กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งลักษณะสำคัญของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก มีดังนี้
1 มีพื้นฐานจากการใช้อำนาจของรัฐในการควบคุมเพื่อไม่ให้มีการทำผิดกฎเกณฑ์หรือกติกาที่กำหนดไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม
2 รูปแบบในการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมมีลักษณะเป็นการต่อสู้เพื่อเอาชนะระหว่างผู้กระทำความผิดฝ่ายหนึ่ง และรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีผู้เสียหายเป็นตัวประกอบ
3 การอำนวยความยุติธรรมมีลักษณะเป็น “กระบวนการดำเนินงานเชิงคดี” ฯลฯ
40 Normal Science หมายถึง
(1) การวิจัยที่ยึดมั่นและมีความเห็นที่สอดคล้องกันต่อกฎเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกัน
(2) การวิจัยที่ยึดมั่นต่อกฎเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกัน
(3) การวิจัยที่ยึดมั่นต่อผลสำเร็จและมาตรฐานเดียวกัน
(4) การวิจัยที่ยึดมั่นต่อระเบียบวิจัย
(5) การวิจัยที่ยึดมั่นต่อผลสำเร็จในวิทยาการ
ตอบ 1 หน้า 44 Thomas S. Kuhn เห็นว่า การวิจัยของผู้ใดก็ตามที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของพาราไดม์ร่วมกัน แสดงว่าผู้วิจัยเหล่านั้นจะต้องผูกพันและยึดมั่นต่อกฎเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกัน ในการศึกษาวิจัย ซึ่งการยึดมั่นและมีความเห็นที่สอดคล้องต้องกันต่อกฎเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกันนี้ ถือเป็นเงื่อนไขจำเป็นอันดับแรกสำหรับวิทยาการที่เป็นปกติ (Normal Science)
41. “ภาษีเบิกร่อง” ถูกยกเลิกไปในรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 3
(2) รัชกาลที่ 6
(3) รัชกาลที่ 9
(4) รัชกาลที่ 5
(5) รัชกาลที่ 4
ตอบ 5 หน้า 214 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศอังกฤษได้ส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับไทย โดยสนธิสัญญาได้ระบุให้ไทยยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ ที่เก็บตามสัญญาฉบับปี พ.ศ. 2369 และให้เก็บภาษีขาเข้าแทนในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของสินค้าเท่านั้น ซึ่งผลของสนธิสัญญาฉบับนี้ได้ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก
42. ผู้ที่ให้ความหมายของการบริหารงานบุคคลว่าเป็น “กระบวนการเพื่อให้ได้มาและพัฒนาพนักงานให้มีความชำนาญในการปฏิบัติงานและส่งเสริมให้เขาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ” คือ
(1) Nigro, F.A. and Nigro, L.G.
(2) Henry, N.
(3) Kramer, F.A.
(4) Stahl, O.G.
(5) Stephen Robbins
ตอบ 1 หน้า 148 Nigro, F.A. and Nigro, LG. กล่าวว่า การบริหารงานบุคคลเป็นกระบวนการ เพื่อให้ได้มาและพัฒนาพนักงานให้มีความชำนาญในการปฏิบัติงาน และเพื่อเสริมสร้างสภาวะการทำงานในอันที่จะส่งเสริมให้เขาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ
43. หน่วยงานใดทำหน้าที่กำกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
(1) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(2) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(3) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(4) สำนักงบประมาณ
(5) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ตอบ 2 หน้า 177, (คําบรรยาย) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็น หน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยมีหน้าที่หลักในจัดทําแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนมหภาคที่ใช้เป็นกรอบและทิศทางการพัฒนาประเทศ
44. การรักษาดูแล “ภาวะเงินเฟ้อ” เป็นหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) Allocation Function
(2) Distribution Function
(3) Stabilization Function
(4) Promotion Function
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 213, (คําบรรยาย) หน้าที่ของรัฐบาลในการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจการคลัง มีดังนี้
1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) เช่น การให้สัมปทานคลื่นความถี่ในการสื่อสาร
2. การกระจายทรัพยากรหรือรายได้ (Distribution Function) เช่น การจัดสรรที่ทํากินแก่เกษตรกรผู้ยากไร้
3 การส่งเสริมการเจริญเติบโตหรือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ (Promotion Function) เช่น การส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจโดยการยกเว้นภาษีบางอย่าง
4 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ (Stabilization Function) เช่น การรักษา ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด และการมีงานทําของประชากร
45. ข้อใดเป็นการควบคุมและตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
(1) คณะกรรมาธิการสามัญของสภา
(2) สํานักงบประมาณ
(3) ศาลรัฐธรรมนูญ
(4) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(5) ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ตอบ 1 หน้า 187 – 188 การควบคุมและตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา ได้แก่
1 การพิจารณาออกกฎหมายประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้ใน กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2 การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจําปีของส่วนราชการต่าง ๆ ตามวิธีการที่กฎหมายกําหนด
3 การตั้งกระทู้และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
4 การตั้งคณะกรรมาธิการสามัญติดตามการปฏิบัติงาน
46. Robert T. Gotembiewski มีบทบาทอย่างไร
(1) เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เขียนตําราของวิชาการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ที่สุด
(2) เป็นผู้ให้ความหมายในเรื่องพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นคนแรก
(3) เป็นผู้กล่าวว่าพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจเริ่มตื่นตัวเป็นที่สนใจมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา
(4) เป็นผู้วิจารณ์ว่านักวิชาการได้ให้ความหมายของพาราไดม์ไว้แตกต่างกันมากจนทําให้มีปัญหาในการสรุปความหมายและปัญหาการนําไปใช้
(5) เป็นผู้กําหนดวิธีการศึกษาเกี่ยวกับพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจไว้ 5 พาราไดม์
ตอบ 3 หน้า 43 Robert T. Golembiewski ได้กล่าวถึงความตื่นตัวในเรื่องพาราไดม์ของวิชา การบริหารรัฐกิจว่า เมื่อประมาณต้นทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา มีนักวิชาการทางด้านบริหารรัฐกิจ ตลอดจนสมาคมทางวิชาการหลายแห่งในอเมริกาเริ่มตื่นตัวในเรื่องพาราไดม์ของวิชาการบริหาร รัฐกิจกันมาก สังเกตได้จากการประชุมทางวิชาการของสมาคมทางวิชาการหลายแห่งในอเมริกา เช่น การประชุมประจําปี ค.ศ. 1974 ของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งอเมริกา การประชุมประจําปี ค.ศ. 1974 ของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งภาคใต้ เป็นต้น ซึ่งได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับพาราไดม์ ของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นอย่างมาก
47. แนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดของใคร
(1) Peter Senge (1990)
(2) Handy (1990)
(3) Chester Barnard (1972)
(4) Galbraith (1973)
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 130, 138 Peter Senge ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยเห็นว่า การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ คือ 1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) 2. แบบแผนของความคิด (Mental Model) 3. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) 4. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) 5. การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)
48. ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจอย่างเป็นระบบ คือ
(1) Woodrow Wilson
(2) Nicholas Henry
(3) Martin Landau
(4) Richard J. Stillman
(5) Thomas S. Kuhn
ตอบ 2 หน้า 46 – 48, 56 – 58, (คำบรรยาย) Nicholas Henry ได้ศึกษาเกี่ยวกับพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจอย่างเป็นระบบนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่งถึงทศวรรษ 1970 พบว่า พาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจจำแนกออกเป็น 5 พาราไดม์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้ พาราไดม์ที่ 1 : การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร พาราไดม์ที่ 3 : การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์ พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ
49. ตัวอย่างของภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย (Consumption Base)
(1) ภาษีโรงเรือน
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(4) ภาษีล้อเลื่อน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 217, (คำบรรยาย) การจำแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (Income Base) เป็นการนำเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล 2. ภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย (Consumption Base) เป็นการนำเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการใช้จ่าย ภาษีสรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ) ภาษีศุลกากร เป็นต้น 3. ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน (Wealth Base) เป็นการนำเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมรดก ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น
50. “วัฒนธรรมองค์การ” มีผลต่อการควบคุมอย่างไร
(1) เป็นกลไกภายนอกที่กำกับการทำงานขององค์การ
(2) เป็นวิธีปฏิบัติงานขององค์การ
(3) เป็นกลยุทธ์ในการทำงาน
(4) เป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตในองค์การ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 202 วัฒนธรรมองค์การ คือ สภาพทางสังคมภายในองค์การที่เกิดจากการใช้ชีวิตร่วมกันภายในองค์การทำให้เกิดแบบแผนการใช้ชีวิต เช่น ลักษณะการใช้เวลาว่าง การพักผ่อนหย่อนใจ งานอดิเรก กลุ่มเพื่อน พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น
51. “Good Governance” เป็นแนวคิดในการควบคุมแบบใด
(1) ควบคุมผลลัพธ์
(2) ควบคุมด้วยกฎระเบียบ
(3) ควบคุมด้วยนโยบาย
(4) ควบคุมด้วยประชาชน
(5) ควบคุมผลผลิต
ตอบ 4 หน้า 177, (คำบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นแนวคิดในการควบคุม และตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยราชการโดยพิจารณาไปที่การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยราชการ ความโปร่งใสในการให้บริการ ตลอดจนผลระยะยาวที่เกิด ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
52. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทำ เช่น การบริการสาธารณะ
(1) Ira Sharkansky
(2) William Greenwood
(3) Carl J. Friedrich
(4) Theodore Lowi
(5) David Easton
ตอบ 1 หน้า 74 Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาล กระทำ เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น
53. ประเทศแรกที่มีการริเริ่มให้มีการปฏิรูประบบราชการด้วย New Public Management ได้แก่
(1) จีน
(2) ฝรั่งเศส
(3) ญี่ปุ่น
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) อังกฤษ
ตอบ 5 หน้า 330 – 331, 356, 360 – 361 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูประบบราชการ ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรกที่ริเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ ก็ได้ถูกนำไปใช้ในการปฏิรูประบบราชการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย
54. การที่หน่วยงานนำนโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด
(1) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(2) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(3) การนำนโยบายไปปฏิบัติ
(4) การประเมินผลนโยบาย
(5) การก่อตัวของนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 89 ขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ประกอบด้วย 1. การส่งต่อนโยบาย 2. การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ 3. การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย 4. การดำเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ 5. การจัดระบบสนับสนุน 6. การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน
55. เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ให้ความสำคัญในเรื่องใดในการแก้ปัญหา
(1) ประสิทธิภาพ
(2) การกระจายอำนาจ
(3) การลดบทบาทภาครัฐ
(4) การขยายบทบาทภาครัฐ
(5) ประชาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 328 – 329, 355 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian School) เน้นการขยาย บทบาทของภาครัฐ โดยต้องการให้รัฐเพิ่มการลงทุน และการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบนีโอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และ เศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School) ที่ต้องการลดบทบาทและขนาดของ ภาครัฐ โดยใช้วิธีการจัดการแบบเอกชนที่เน้นการแข่งขัน
56. New Public Service ให้ความสําคัญกับเรื่องใด
(1) ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
(2) การลดขั้นตอนการทํางาน
(3) สัมฤทธิผลของงาน
(4) สัมฤทธิผลของงานและประสิทธิภาพการทํางาน
(5) ประสิทธิภาพการทํางาน
ตอบ 1 หน้า 329 – 348, 356 – 357 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) มีแนวทางแตกต่างจากการบริการสาธารณะแนวใหม่/การบริการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Service : NPS) หรือการร่วมบริหารกิจการบ้านเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic Governance Management) ซึ่งแต่ละแนวทางมีจุดเน้นที่ให้ความสําคัญ ดังนี้
1. การจัดการภาครัฐแนวใหม่ ให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพของราชการ การลดขั้นตอน การทํางาน การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result-Based Management) การจัดการ ที่เน้นการแข่งขันแบบภาคธุรกิจ (Market-Based Management) การให้ความสําคัญกับ เทคโนโลยีการบริหารใหม่ ๆ เพื่อความเป็นเลิศ (Neo-Managerialism) การให้อํานาจกับ ผู้บริหารเหมือนเป็นผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของกิจการเองหรือเรียกว่า การจัดการแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Management) หรือแบบ CEO (CEO Management) เป็นต้น
2. การบริการสาธารณะแนวใหม่ ให้ความสําคัญกับความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย มนุษยนิยม การสร้างเครือข่ายทางสังคม ประชาสังคม และชุมชน เป็นต้น
57. การสังเคราะห์วัสดุที่มีความทนทาน เป็นเทคโนโลยีในด้านใด
(1) Nano Technology
(2) Material Technology
(3) Bio Technology
(4) Energy Technology
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 292 การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีวัสดุสังเคราะห์ (Material Technology) เป็นการศึกษา ค้นคว้าหาวิธีการผลิตสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้วัสดุปลอดสารพิษ เพื่อป้องกันการทําลายชั้นบรรยากาศ ของโลก หรือการสังเคราะห์วัสดุที่มีความทนทาน น้ําหนักเบา และสร้างความปลอดภัยให้แก่ ชีวิตและทรัพย์สิน เช่น เสื้อเกาะกันกระสุน พาหนะที่มีความแข็งแกร่งและปลอดภัยต่อชีวิต เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
58. “ความเชื่อหลัก 5 ประการของอุดมการณ์การจัดการนิยม” เป็นข้อเสนอของใคร
(1) Frederick W. Taylor
(2) Osborne & Gaebler
(3) Thomas Jefferson
(4) Christopher Pollitt
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 336 Christopher Pollitt ได้เสนอความเชื่อหลัก 5 ประการของอุดมการณ์ การจัดการนิยม (Managerialism) ไว้ดังนี้
1. สังคมจะก้าวหน้าได้ต่อเมื่อมีการเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
2. การเพิ่มผลิตภาพจะต้องเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
3. การนําเทคโนโลยีมาใช้ให้บรรลุผลต้องเกิดจากบุคลากรที่มีอุดมการณ์ในการเพิ่มผลิตภาพ
4. การจัดการเป็นหน้าที่หนึ่งในองค์การที่แยกออกจากหน้าที่อื่น ๆ
5. ผู้จัดการจะต้องมีอํานาจและสิทธิในการจัดการ
59. องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้
(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์มาก
(2) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน
(3) มีสายการบังคับบัญชามาก
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานแบบเครือข่าย
(5) มีการตัดสินใจน้อย
ตอบ 4 หน้า 133 องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
2 ช่วงการควบคุมกว้าง
3 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย
5 มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย
6 มีความเป็นทางการน้อย
7 กระจายอำนาจในการบริหารและตัดสินใจ
60. หนังสือที่สำคัญกล่าวถึงหน้าที่ทางการเมืองกับการบริหารของรัฐบาล คือ
(1) Introduction to the Study of Public Administration
(2) Principles of Public Administration
(3) The Study of Administration
(4) Politics and Administration
(5) American Political Science Review
ตอบ 4 หน้า 47 Frank J. Goodnow ได้เขียนหนังสือชื่อ “Politics and Administration” (1900) โดยแสดงความเห็นว่า รัฐบาลมีหน้าที่ที่แตกต่างกันอยู่ 2 ประการ คือ
1 หน้าที่ทางการเมือง ได้แก่ การกำหนดนโยบายหรือการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐ
2 หน้าที่ทางการบริหาร ได้แก่ การนำนโยบายหรือเจตนารมณ์ของรัฐไปปฏิบัติ
61. ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วนของ Woodrow Wilson คือ
(1) Nicholas Henry
(2) Herbert A. Simon
(3) Frank J. Goodnow
(4) Leonard D. White
(5) Martin Landau
ตอบ 3, 4 หน้า 47, (คำบรรยาย) นักวิชาการที่สนับสนุนแนวคิดการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วนของ Woodrow Wilson มี 2 คน คือ
1 Frank J. Goodnow
2 Leonard D. White
62. ปัจจัยสภาพแวดล้อมของการบริหารงานบุคคลภาครัฐตามกรอบแนวคิดของ McKinsey 7s ประกอบด้วย
(1) Strategy, Shared Value, Structure, System, Staffing, Style, Skill
(2) Strategy, Shared Value, Structure, System, Setting, Style, Skill
(3) Strategy, Shared Value, Structure, System, Social, Style, Skill
(4) Strategy, Shared Value, Structure, System, Satisfy, Style, Skill
(5) Strategy, Shared Value, Structure, System, Solution, Style, Skitt
ตอบ 1 หน้า 154 กรอบแนวคิด 7s ของแมคคินซี (McKinsey) ประกอบด้วย Strategy (กลยุทธ์), Shared Value (วิสัยทัศน์ร่วม), Structure (โครงสร้าง), System (ระบบงาน), Staffing (การจัดบุคลากร), Style (ท่วงทำนองการบริหาร) และ Skill (ทักษะ) ซึ่ง 5 ที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับเรื่องบุคลากรมี 3s คือ Staffing, Style และ Skill
63. ข้อใดเป็นเรื่องของ New Public Service**
(1) Neo-Taylorism Management
(2) CEO Management
(3) Entrepreneurial Management
(4) Market-Based Management
(5) Democratic Governance Management
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ
64. ความเป็นทางการ (Formalization) มีผลดีต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์การ คือ**
(1) ทำงานได้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีคุณภาพ
(2) ทำงานได้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน
(3) ทำงานได้สม่ำเสมอ เป็นมาตรฐานเดียวกัน
(4) ทำงานได้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และเกิดความสามัคคี
(5) ทำงานได้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และเกิดการพัฒนา
ตอบ 2 หน้า 122 ความเป็นทางการ (Formalization) หมายถึง ระดับของความมีมาตรฐานของงาน ภายในองค์การและการกำหนดกฎระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
ดังนั้นความเป็นทางการจึงมีผลดีต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์การ เพราะจะทำให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน
65. ภาวะเงินฝืด คนว่างงาน รัฐบาลควรมีนโยบายงบประมาณและนโยบายการเงินอย่างไร**
(1) สมดุล ดอกเบี้ยสูง
(2) เกินดุล ดอกเบี้ยสูง
(3) เกินดุล ดอกเบี้ยต่ำ
(4) ขาดดุล ดอกเบี้ยต่ำ
(5) ขาดดุล ดอกเบี้ยสูง
ตอบ 4 หน้า 236, (คำบรรยาย) งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) คือ การจัดทำงบประมาณ ที่รัฐบาลจัดเก็บรายได้น้อยกว่าการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้เงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการจ้างงาน ซึ่งการจัดทำงบประมาณขาดดุลนี้จะใช้ร่วมกับ นโยบายการเงินแบบดอกเบี้ยต่ำ โดยมักจะนำไปใช้ในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เงินฝืด คนว่างงาน รวมทั้งในกรณีที่เกิดโรคระบาดโควิด 19
66. ใครเสนอว่านโยบายสาธารณะเป็นแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินงานของหน่วยงาน**
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Cart J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton
ตอบ 4 หน้า 73 William Greenwood กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจขั้นต้น ของรัฐบาลเพื่อวางแนวทางกว้าง ๆ สำหรับเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินงานของหน่วยงาน ไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
67. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ตามหนังสือ**
(1) เครื่องจักร
(2) โปรแกรม
(3) ข้อมูล
(4) บุคลากร
(5) เป็นส่วนประกอบทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 297 – 301, (คำบรรยาย) ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง กลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์หรือเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเชื่อถือได้ โดยระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยฝ่ายต่าง ๆ หรือส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1. เครื่องจักรและอุปกรณ์ (Hardware)
2. โปรแกรมหรือคำสั่งงาน (Software)
3. บุคลากร (Peopleware)
68. ระบบงบประมาณแบบใดที่ให้ความสำคัญที่ “ต้นทุนต่อหน่วย”
(1) Line-Item Budget
(2) Zero-Based Budget
(3) PPBS
(4) Performance Budget
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 229, 237 งบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ให้ความสำคัญกับการประเมินผลงานและการคิดต้นทุนต่อหน่วย จึงเป็นงบประมาณที่อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายและผลสำเร็จของงานเป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลงานจากการปฏิบัติกิจกรรมเป็นไปโดยประสิทธิภาพสูงสุด
69. คำว่า PEST หรือ STEP หมายถึง
(1) ปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
(2) ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและมีอิทธิพลต่อองค์การ
(3) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อองค์การ
(4) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
(5) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์การ
ตอบ 2 หน้า 155 ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หมายถึง ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและมีอิทธิพลต่อองค์การ ซึ่งประกอบด้วย สภาพการเมือง (Political) เศรษฐกิจ (Economic) สังคม (Social) และเทคโนโลยี (Technology) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า PEST หรือ STEP
70. การจับจ่ายสินค้าทั่วโลกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่าอะไร
(1) E-Commerce
(2) E-Government
(3) E-Education
(4) E-Logistic
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 305, (คำบรรยาย) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมทุกรูปแบบซึ่งครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมีช่องทางในการทำธุรกรรมร่วมกันมากขึ้น
71. ข้อใดเป็นคุณค่าหลักในการบริหารรัฐกิจตามหนังสือ ยกเว้น
(1) เน้นการขยายบทบาทภาครัฐ
(2) เน้นการลดบทบาทภาครัฐ
(3) เน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(4) เน้นความเป็นประชาธิปไตย
(5) เน้นประสิทธิภาพภาครัฐ
ตอบ 3 หน้า 323, 326 – 329, 355 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ในการบริหารรัฐกิจ มีดังนี้
1 คุณค่าที่เน้นประสิทธิภาพของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)
2 คุณค่าที่เน้นการขยายบทบาทของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นการลดบทบาทของภาครัฐ ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เซียนหรือเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian School) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์แบบนีโอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School)
72. เงื่อนไขสําคัญของทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์ ได้แก่
(1) ขนาดขององค์การ
(2) โครงสร้างองค์การ
(3) โครงสร้างองค์การสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
(4) เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน
(5) สภาพแวดล้อมขององค์การ
ตอบ 3 หน้า 134 – 135, 138 ทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาว่าองค์การรูปแบบใดจะมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์มากที่สุด โดยพิจารณาเงื่อนไขของปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกัน เพื่อที่จะแสวงหารูปแบบองค์การที่ดี ทั้งนี้การออกแบบโครงสร้างองค์การที่มีประสิทธิผลควรสอดคล้องกับเงื่อนไขที่สําคัญ 2 ประการ คือ โครงสร้างองค์การต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก และระบบย่อยภายในองค์การ
73. การนําเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลมาใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีในด้านใด
(1) Material Technology
(2) Nano Technology
(3) Energy Technology
(4) Bio Technology
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 293 – 294, (คําบรรยาย) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นการนําเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลมาใช้งานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลทําให้เกิดระบบการสื่อสารข้อมูลและข่าวสารที่ไร้พรมแดน ทําให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สะดวก และประหยัด เช่น การถ่ายทอดสดฟุตบอลจากต่างประเทศ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนวังไกลกังวล เป็นต้น
74. “คนไทยใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร” จัดเป็นประเพณีแบบใด
(1) จารีตประเพณี
(2) กฎศีลธรรม
(3) ธรรมเนียมประเพณี
(4) ขนบประเพณี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 268 – 269 ประเพณี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เป็นประเพณีที่มีศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย เช่น การสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียว การเคารพผู้อาวุโส เป็นต้น
2 ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่มีการกําหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ เช่น การไหว้ครู การแห่นางแมว การจุดบ้องไฟของภาคอีสาน เป็นต้น
3 ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาหรือเป็นบรรทัดฐานที่ปฏิบัติจนเป็นประเพณี เช่น การสวมรองเท้า การดื่มน้ําจากแก้ว การใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร การทักทายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝรั่งจับมือ จีนและญี่ปุ่นโค้งคํานับ คนไทยไหว้ เป็นต้น
75. การสอบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) E-Logistic
(2) E-Government
(3) E-Education
(4) E-Commerce
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 306, (คําบรรยาย) การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education) คือ การนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จําเป็นต้องเดินทางมาศึกษาในสถาบันการศึกษา ตัวอย่างของการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน เช่น การเรียนผ่านระบบ Online หรือการสอบผ่านระบบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น
76 “การบริหารงานสาธารณะไม่สามารถดําเนินอยู่ได้ในสุญญากาศจําเป็นต้องเกี่ยวพันกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) Fred W. Riggs
(2) Richard L. Daft
(3) Dwight Waldo
(4) Stephen P. Robbins
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 255 Dwight Waldo กล่าวว่า “การบริหารงานสาธารณะไม่สามารถดําเนินอยู่ได้ ในสุญญากาศจําเป็นต้องเกี่ยวพันกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ”
77 “การลดบทบาทและขนาดของภาครัฐ” ได้รับอิทธิพลจากอุดมการณ์ใด
(1) Keynesian School
(2) Thomas Jefferson
(3) Neo-Liberalism a Keynesian School
(4) Neo-Liberalism
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 55. และ 71. ประกอบ
78 ศาลไทยแบ่งเป็นประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 3 หน้า 186 – 187 ตามรัฐธรรมนูญศาลไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1 ศาลรัฐธรรมนูญ ทําหน้าที่พิจารณาความขัดแย้งระหว่างกฎหมายต่าง ๆ กับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างบทบาทหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
2 ศาลยุติธรรม ทําหน้าที่พิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนในกรณีต่าง ๆ
3 ศาลปกครอง ทําหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน และระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง
4 ศาลทหาร ทําหน้าที่พิจารณาคดีอาญาทหาร และคดีทหารอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกําหนด
79 ใครเสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย
(1) Carl J. Friedrich
(2) Theodore Lowi
(3) David Easton
(4) Ira Sharkansky
(5) William Greenwood
ตอบ 2 หน้า 76, (คําบรรยาย) Theodore Lowi ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตาม เนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)
2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)
3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy)
80 ตัวอย่างภาษีที่เก็บจากฐานเงินได้
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ภาษีสรรพสามิต
(3) ภาษีบํารุงท้องที่
(4) ภาษีมรดก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ
81 การศึกษาปฏิกิริยาเคมีของกัมมันตภาพรังสี เป็นเทคโนโลยีในด้านใด
(1) Bio Technology
(2) Material Technology
(3) Energy Technology
(4) Nano Technology
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 292, (คําบรรยาย) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีพลังงาน (Energy Technology) เป็น การพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาติที่อยู่ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อนํามาทดแทนทรัพยากรเชื้อเพลิง ที่นับวันจะหมดสิ้นไป ซึ่งพลังงานทดแทนอาจได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ํา คลื่นในมหาสมุทร ทรัพยากรใต้น้ํา ปฏิกิริยาทางเคมีของสารกัมมันตภาพรังสี รวมถึง สารให้พลังงานอื่น ๆ จากพืชและสัตว์ การเปลี่ยนพลังงานทดแทนเหล่านี้ให้เป็นพลังงานในรูปแบบ ที่ต้องการจะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยต่าง ๆ เช่น การใช้กังหันลม (Wind Mill) ในการแปลง พลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้า การใช้โซล่าเซลล์ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน ไฟฟ้า เป็นต้น
82. สภาพแวดล้อมเฉพาะสําหรับองค์การหนึ่ง ๆ ของรัฐ
(1) การศึกษาของประชาชน
(2) ค่านิยมทางสังคม
(3) วัตถุดิบ
(4) ภาวะดอกเบี้ย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 260 – 280, (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐเป็นสิ่งที่ควบคุม ได้น้อยมากและมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อ การบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ
2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบ โดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จําเป็นในการดําเนินงาน สําหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจําเป็นสําหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า/ ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหาร ความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้
83. สายการบังคับบัญชา คืออะไร
(1) การกําหนดจํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา
(2) การกําหนดอํานาจการตัดสินใจในองค์การ
(3) การกําหนดอํานาจหน้าที่ลดหลั่นจากระดับสูงมายังระดับล่าง
(4) การจัดแบ่งงานในองค์การ
(5) ความมีมาตรฐานของงาน
ตอบ 3 หน้า 120 สายการบังคับบัญชา (Chain of Cornmand) หมายถึง สายการกําหนดอํานาจหน้าที่ ที่ลดหลั่นกันลงมาจากระดับสูงลงมายังระดับล่าง และกําหนดการรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยสายการบังคับบัญชาจะชี้ให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะขึ้นตรงต่อใคร หรือจะต้องรายงาน ต่อใคร การจัดสายการบังคับบัญชาจึงมีความเกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนในองค์การ รวมถึงเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
84. ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต ที่เรียกว่า PEST หรือ STEP ประกอบด้วย
(1) สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม
(2) สภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และประชาชน
(3) สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
(4) สภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และระบบ
(5) สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้าง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ
85. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการจัดองค์การในความหมายของ Stephen Robbins and Mary Coulter
(1) เพื่อให้มีการแบ่งภารกิจและงานที่ต้องปฏิบัติ
(2) เพื่อให้เกิดการประสานงานภายในองค์การ
(3) เพื่อกําหนดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการของบุคคล
(4) เพื่อการวางแผนงานในองค์การ
(5) เพื่อมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคล
ตอบ 4 หน้า 115 วัตถุประสงค์ของการจัดองค์การตามแนวคิดของ Stephen Robbins and Mary Coutter มีดังนี้
1 เพื่อให้มีการแบ่งภารกิจและงานที่ต้องปฏิบัติ
2 เพื่อมอบหมายภารกิจและความรับผิดชอบของบุคคลและแผนกงานทั้งองค์การ
3 เพื่อให้เกิดการประสานงานภายในองค์การ
4 เพื่อจัดกลุ่มบุคคลที่อยู่ในแผนกงาน และจัดกลุ่มแผนกงานภายในองค์การ
5 เพื่อกําหนดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่าง บุคคล กลุ่ม และแผนกงาน
6 เพื่อกําหนดระดับอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ ลําดับชั้น ของการบังคับบัญชาและการควบคุม
7 เพื่อจัดสรรและแบ่งทรัพยากรในองค์การ
86. งบประมาณ “ขาดดุล” เป็นสิ่งจําเป็นในสถานการณ์ใด
(1) เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง
(2) เกิดโรคระบาดโควิด 19
(3) สังคมมีความเหลื่อมล้ําสูง
(4) รัฐเก็บภาษีอากรได้มาก
(5) เงินคงคลังมีมาก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ
87. การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การประเมินผลนโยบาย
(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) การก่อตัวของนโยบาย
(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(5) การเตรียมและเสนอนโยบาย
ตอบ 5 หน้า 88, 108 ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย
1 การกําหนดวัตถุประสงค์
2 การกําหนดทางเลือก
3 การจัดทําร่างนโยบาย
88. “พิธีการไหว้ครู” จัดเป็นประเพณีประเภทใด
(1) ขนบประเพณี
(2) องค์พิธีการ
(3) จารีตประเพณี
(4) ธรรมเนียมประเพณี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 คําอธิบายข้อ 74. ประกอบ
89. ในปี ค.ศ. 1976 เกิดวิกฤติในวิชาการบริหารรัฐกิจครั้งที่สอง เกี่ยวกับเรื่องอะไร
(1) หลักการบริหารประสบกับปัญหาเกี่ยวกับการตัดสินใจภายในองค์การ
(2) หลักการบริหารประสบกับปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักเกณฑ์ที่เป็นสากล
(3) หลักการบริหารประสบกับปัญหาข้อจํากัดของความมีเหตุผลของบุคคลแต่ละคน
(4) หลักการบริหารประสบกับปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นหัวใจของการศึกษา
(5) หลักการบริหารประสบกับปัญหาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
90. ช่วงของการควบคุม (Span of Control) ในทางทฤษฎีกําหนดให้ผู้บังคับบัญชาควรมีผู้ใต้บังคับบัญชาในความรับผิดชอบกี่คน
(1) 20 คน
(2) 10 คน
(3) 25 คน
(4) 5 คน
(5) 15 คน
ตอบ 2 หน้า 120, (คำบรรยาย) ช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management) หมายถึง การกำหนดจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาภายใต้ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาแต่ละคน ซึ่งในทางทฤษฎี กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งควรมีผู้ใต้บังคับบัญชาในความรับผิดชอบ 10 คน จึงจะเหมาะสมและผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึง
91. เกิดวิกฤติในวิชาการบริหารรัฐกิจครั้งแรกในปี
(1) ค.ศ. 1938
(2) ค.ศ. 1940
(3) ค.ศ. 1947
(4) ค.ศ. 1946
(5) ค.ศ. 1950
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ (หมายเหตุ: อาจมีข้อผิดพลาดในการอ้างอิงถึงข้อ 6 ในเอกสารต้นฉบับ)
92. องค์กรใดทำหน้าที่ “รับเรื่องราวร้องทุกข์” จากการกระทำของรัฐบาล
(1) ศาลปกครอง
(2) สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(3) ผู้ตรวจการแผ่นดิน
(4) องค์กรอัยการ
(5) ศาลยุติธรรม
ตอบ 3 หน้า 189, 206 ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นองค์การที่ทำหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณีที่ภาครัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม
93. การควบคุมด้วยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ บทบาทของ
(1) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(2) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(3) สำนักงบประมาณ
(4) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 186, 189 – 190, (คำบรรยาย) องค์กรอิสระ รัฐธรรมนูญที่มีบทบาทในการควบคุม และตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยราชการ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น
94. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย
(1) Theodore Lowi
(2) William Greenwood
(3) Ira Sharkansky
(4) David Easton
(5) Cart J. Friedrich
ตอบ 4 หน้า 74 David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม
95. การที่รัฐบาลให้บริการประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่าอะไร
(1) E-Education
(2) E-Logistic
(3) E-Commerce
(4) E-Government
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 305, (คำบรรยาย) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) คือ การที่รัฐบาลนำระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในองค์การภาครัฐเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการและระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกขึ้น เช่น การใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ในการติดต่อราชการ การชำระภาษี การเสียค่าปรับ การร้องเรียน การทำหนังสือเดินทาง ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
96. ผลงานเขียนที่ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจ คือ
(1) Principles of Organization
(2) Papers on the Science of Administration
(3) Principle of Public Administration
(4) Creative Experience
(5) Science of Administration
ตอบ 2 หน้า 48 – 49 ในช่วงพาราไดม์ที่ 2 : หลักของการบริหารนั้น ได้มีผลงานเขียนชิ้นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “สุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจ” นั่นก็คือหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration (1937) ของ Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ซึ่งหนังสือเรื่องนี้ได้เสนอหลักการบริหารที่เรียกว่า POSDCORB
97. ผู้เขียน “Reinventing Government” ได้แก่
(1) Frederick W. Taylor
(2) Christopher Pollitt
(3) Osborne & Gaebler
(4) Thomas Jefferson
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 331, 338 – 339 Osborne and Gaebler ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reinventing Government” ในปี ค.ศ. 1992 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐด้วยแนวทาง และอุดมการณ์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือรัฐบาลแบบเถ้าแก่ ซึ่งรัฐบาลตามตัวแบบนี้ ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่สําคัญ เช่น เป็นรัฐบาลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (Community-Owned Government) รัฐบาลที่มีการแข่งขัน (Competitive Government) รัฐบาลที่ขับเคลื่อน โดยลูกค้า (Customer-Driven Government) รัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Enterprising Government) หรือมีผู้นําแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Leadership) เป็นต้น
98. “เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” วัดโดย
(1) อัตราเงินเฟ้อ
(2) GDP
(3) อัตราการออม
(4) รายได้เปรียบเทียบ
(5) ประสิทธิภาพการผลิต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
99. วิพากษ์วิจารณ์ว่าการบริหารงานให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการเขียนรัฐธรรมนูญ
(1) New Public Management
(2) Margaret Thatcher
(3) Woodrow Wilson
(4) Franklin D. Roosevelt
(5) การบริหารแบบ CEO หรือ Chief Executive Officer
ตอบ 3 หน้า 327 จากปัญหาการเมืองการปกครองของสหรัฐอเมริกาในยุคแรก ๆ ที่มีการสร้างบ้าน แปลงเมือง ทําให้ Woodrow Wilson ได้ออกมาโต้แย้งพวกนักรัฐศาสตร์ว่าสนใจแต่ปัญหา รัฐธรรมนูญ แต่ละเลยปัญหาการบริหารหน่วยงานของรัฐ และวิพากษ์วิจารณ์ว่าการบริหารงาน ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการเขียนรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ใช้หลักการ บริหารของภาคเอกชนในการบริหารราชการ เพื่อให้การบริหารงานภาครัฐมีประสิทธิภาพ เหมือนภาคเอกชน
100. นักวิชาการโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เป็นผู้วางรากฐานการเมืองและมีอิทธิพลต่อ แนวคิดหลักในการบริหารรัฐกิจของประเทศอะไร
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) เยอรมนี
(4) ฝรั่งเศส
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ