การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1003 ปรัชญาเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 คําตอบจากข้อ 10 สัมพันธ์กับข้อใด
(1) ปรัชญากรีกโบราณ
(2) ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง
(3) ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
(4) ปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย
ตอบ 1 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) ทฤษฎีทวินิยมของปรัชญากรีกโบราณ เชื่อว่า สสารและจิต มีอยู่จริง โดยทฤษฎีนี้เห็นว่าสารเบื้องต้นที่มีลักษณะเป็นสสาร (Material) และสารเบื้องต้นที่มี ลักษณะเป็นจิต (Spiritual) นั้นเป็นความเป็นจริงและซ่อนอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทั้งหลายของโลก และยังเป็นสารเบื้องต้นที่คู่กันมาตั้งแต่เริ่มแรก
2 แนวคิดใดตอบคําถามเรื่องความเป็นจริงของโลกและมนุษย์
(1) สสารนิยม, จิตนิยม, ธรรมชาตินิยม
(2) จิตนิยม, มนุษยนิยม, ธรรมชาตินิยม
(3) จิตนิยม, สสารนิยม, มนุษยนิยม
(4) สสารนิยม, จิตนิยม, เหตุผลนิยม
ตอบ 1 หน้า 25, (คําบรรยาย) แนวคิดที่ตอบคําถามเรื่องความเป็นจริงของโลกและมนุษย์ มีอยู่ 3 ทัศนะคือ สสารนิยม จิตนิยม และธรรมชาตินิยม
3 แนวคิดที่อ้างว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงคล้ายการทํางานของเครื่องจักรเรียกว่าเป็นแนวคิดของ
(1) จักรกลนิยม / ธรรมชาตินิยม
(2) จักรกลนิยม / สสารนิยม
(3) นวนิยม / ธรรมชาตินิยม
(4) นวนิยม / สสารนิยม
ตอบ 2 หน้า 32, (คําบรรยาย) แนวคิดของสสารนิยม เห็นว่า จักรวาลอยู่ในระบบจักรกล โดยเชื่อว่าการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงคล้ายการทํางานของเครื่องจักร หรืออาจเรียกว่า “จักรกลนิยม”
4 ใครน่าจะมีแนวคิดแบบสสารนิยม
(1) แจ๋วเชื่อว่าทําดีย่อมได้ดี เพราะเป็นสัจธรรม
(2) เจ๋งอุทิศตนเพื่อความดี เพราะเป็นการสร้างบารมีให้กับตัวเอง
(3) จืดไม่เชื่อเรื่องการทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 25, (คําบรรยาย) สสารนิยม เชื่อว่า สสารหรือวัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง โดยมนุษย์จะแสวงหาความสุขทางกายเท่านั้น และปฏิเสธชีวิตหลังการตาย หรืออาจกล่าวได้ว่าการตายก็คือการสิ้นสุดของมนุษย์นั้นเอง
5 ทฤษฎีทอนลง หมายถึง ซึ่งเป็นแนวคิดของลัทธิ
(1) วัตถุไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งสมมติ / สสารนิยม
(2) คุณค่าไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งสมมติ / สสารนิยม
(3) วัตถุสามารถแยกย่อยเป็นหน่วยย่อยสุดท้าย / ธรรมชาตินิยม
(4) วัตถุสามารถแยกย่อยเป็นหน่วยย่อยสุดท้าย / สสารนิยม
ตอบ 4 หน้า 32, (คําบรรยาย) “ทฤษฎีทอนลง” ของลัทธิสสารนิยม หมายถึง วัตถุหรือสิ่ง ๆ หนึ่งสามารถแยกได้เป็นหน่วยย่อยสุดท้ายที่เล็กที่สุด นั่นคือ การทอนสิ่ง ๆ หนึ่งลงเป็นเพียงที่รวมหน่วยย่อย เช่น คน ๆ หนึ่ง (หน่วยรวม) คือกลุ่มของเซลล์ (หน่วยย่อย) เซลล์หนึ่ง ๆ (หน่วยรวม) ก็คือกลุ่มของโมเลกุล หลายอัน (หน่วยย่อย) โมเลกุลหนึ่ง ๆ (หน่วยรวม) คือกลุ่มของอะตอมหลายอะตอม (หน่วยย่อย)อะตอมหนึ่ง ๆ (หน่วยรวม) ก็คือกลุ่มของอิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน เป็นต้น
6 นักสสารนิยมมีทัศนะเรื่องการดับของจิตอย่างไร
(1) จิตดับเมื่อร่างกายตาย
(2) ไม่มีจิต มีแต่ผลจากการทํางานอันซับซ้อนของสมองเท่านั้น
(3) จิตไม่ดับแม้ร่างกายตาย
(4) จิตดับเมื่อหมดกิเลส
ตอบ 2 หน้า 35, (คําบรรยาย) สสารนิยม เชื่อว่า ไม่มีจิตวิญญาณ มีแต่ผลจากการทํางานอันซับซ้อนของสมองเท่านั้น ซึ่งสมองนั้นเป็นสสาร คือ เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วก็จะออกมาเป็นโมเลกุล และเมื่อแยกต่อไปก็จะเป็นอะตอม อิเล็กตรอน โปรตอน และอื่น ๆ ต่อไป ในโลกนี้ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับจะมีก็แต่การรวมตัวและการแยกตัวของสิ่งอันเป็นหน่วยเดิมเท่านั้น
7 ข้อใดกล่าวถูกต้อง ตามทัศนะสสารนิยม
(1) การตายคือ การสิ้นสุดของมนุษย์
(2) การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าคือ แสวงหาสัจธรรม
(3) มนุษย์อยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราว ยังมีดินแดนอันนิรันดร์รอมนุษย์อยู่
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ
8 ข้อใดที่แนวคิดจิตนิยมยอมรับว่าเป็นจริงแท้อย่างที่สุด
(1) สสาร
(2) โลก
(4) อสสาร
ตอบ 4 หน้า 25, (คําบรรยาย) จิตนิยม ยอมรับว่าอสสาร (Immaterial) หรือจิตเท่านั้นที่เป็นจริงแท้ที่สุดโดยมนุษย์จะแสวงหาความสุขทางใจเท่านั้น และไม่ปฏิเสธชีวิตหลังการตาย
9 โลกมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด การเปลี่ยนแปลงนี้จะทําให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเป็นแนวคิดของ
(1) อันตนิยม / จิตนิยม
(2) อันตนิยม / ธรรมชาตินิยม
(3) นวนิยม / ธรรมชาตินิยม
(4) นวนิยม / จิตนิยม
ตอบ 3 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) ลัทธินวนิยมเป็นแนวคิดของธรรมชาตินิยม ซึ่งมีลักษณะที่สําคัญคือ มีความเชื่อในความเป็น “พหุนิยม” หรือความมากมายหลายหลาก ในจักรวาลมีสิ่งที่เป็นจริง มากมายหลายสิ่ง และในกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาลนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่ ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นนี้จะมีคุณสมบัติใหม่ และคุณภาพใหม่ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด และการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา
10 ข้อใดสัมพันธ์อยู่กับแนวคิดแบบทวินิยม
(1) เชื่อว่าสสารและจิต มีอยู่จริง
(2) เชื่อว่าวัตถุและสสาร มีอยู่จริง
(3) เชื่อว่าอสสารและจิต มีอยู่จริง
(4) เชื่อว่าโลกและสสาร มีอยู่จริง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ
11 ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) “ปรัชญา” มีความหมายตามศัพท์ตรงกับคําว่า Philosophy
(2) คําตอบในเนื้อหาของวิชาปรัชญายังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนตายตัว
(3) การสงสัยและพยายามหาคําตอบไม่ใช่ลักษณะของ Philosophy
(4) ในวิชาปรัชญาเบื้องต้นเนื้อหาของวิชาเน้นในเรื่อง “ความรู้อันประเสริฐ
ตอบ 1 หน้า 1 คําว่า “ปรัชญา” เป็นศัพท์บัญญัติของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ซึ่งมีความหมายตามศัพท์ตรงกับคําว่า Philosophy ในภาษาอังกฤษ อันหมายถึง ผู้รักความปราดเปรื่อง หรือผู้ปรารถนาจะเป็นปราชญ์ หรือผู้ปรารถนาจะฉลาด หรือผู้ที่ยังไม่รู้และปรารถนาจะรู้มากขึ้นหรือความรักในความรู้ อันเป็นความปรารถนาจะรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้หรือมีความสงสัย
12 ข้อใดกําลังกล่าวถึง “ปรัชญา” ในความหมายตามวิชา PHI 1003
(1) ความรู้อันประเสริฐที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตได้
(2) คติสอนใจ คําคม และแง่คิดที่ให้ความหมายและคุณค่าของชีวิต
(3) แนวคิดโดยทั่วไปของมนุษย์ เป็นการตอกย้ำว่ามนุษย์ คือ สิ่งที่รู้คิด
(4) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่มีระเบียบวิธีในการศึกษาเป็นของตัวเอง
ตอบ 3 หน้า 1, (คําบรรยาย) “ปรัชญา” ในความหมายตามวิชา PHI 1003 นั้นเป็นเรื่องของผู้ใช้ปัญญาผู้ที่ไม่ยอมรับสิ่งใดโดยง่ายดาย และเป็นผู้ที่ใคร่รู้ตลอดเวลา ดังนั้นแนวคิดโดยทั่วไปของมนุษย์จึงเป็นการตอกย้ำว่ามนุษย์ คือ สิ่งที่รู้คิด
13 คําตอบของนักปรัชญาต่อปัญหาต่าง ๆ มีลักษณะอย่างไร
(1) ปัญหาเดียวกันมีได้หลายคําตอบ
(2) สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
(3) คําตอบมีความแน่นอนตายตัว
(4) ความจริงสูงสุด
ตอบ 1 หน้า 1, 9, (คําบรรยาย) ปรัชญาเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นผู้มีปัญญา ซึ่งลักษณะสําคัญประการหนึ่งของปรัชญาก็คือ แม้แต่คําตอบต่อปัญหาอันเดียวกันนั้น ก็อาจมีคําตอบที่เป็น ไปได้หลายคําตอบ โดยยังไม่มีการกําหนดหรือยอมรับกันลงไปว่าคําตอบใดเป็นคําตอบที่ถูกต้อง ที่สุด วิชาปรัชญาถือว่าคําตอบทุกคําตอบเป็นไปได้ทั้งสิ้น ดังนั้นปรัชญาจึงช่วยแก้ปัญหาให้แก่มนุษย์ด้วยการใช้ปัญญาแสวงหาคําตอบที่เป็นไปได้
14 ข้อใดแสดงให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์สงสัยก็มักจะพยายามหาคําตอบ ซึ่งลักษณะนี้มีมาตั้งแต่ยุคดึกดําบรรพ์แล้ว
(1) ปรากฏการณ์ในธรรมชาติน่าจะมีผู้มีอํานาจมากบันดาลให้เป็นไป
(2) ความเป็นไปในธรรมชาติน่าจะเกิดขึ้นจากความต้องการของผู้ที่ควบคุมธรรมชาติได้
(3) การไม่ทําให้ผู้ควบคุมธรรมชาติโกรธน่าจะทําให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) ปรัชญาของมนุษย์ในยุคดึกดําบรรพ์ มีปัญหาร่วมกันอย่างหนึ่งคือ ปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติ ว่ามาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะแก้ไขอย่างไร โดยมนุษย์ยุคนี้เชื่อว่าปรากฏการณ์ ธรรมชาติน่าจะเกิดจากเทพผู้มีอํานาจมากบันดาลให้เป็นไป ดังนั้นความเป็นไปในธรรมชาติน่าจะ เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้ที่ควบคุมธรรมชาติได้ และการไม่ทําให้ผู้ควบคุมธรรมชาติโกรธน่าจะทําให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น หรือมนุษย์จะรอดพ้นจากภัยธรรมชาติได้ก็ต้องเอาใจเทพ คือทําให้เทพ พึงพอใจด้วยการถวายของบูชา
15 ความเป็นปรัชญาเริ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากแนวคิดของทาเลส เนื่องจากเหตุผลใด
(1) ใช้เหตุผลมาอธิบายธรรมชาติ โดยไม่อ้างสิ่งเหนือธรรมชาติ
(2) ผสานแนวความคิดของตัวเองเข้ากับศาสนากรีกโบราณ
(3) สามารถอธิบายเหตุผลของเทพเจ้าในการควบคุมธรรมชาติได้
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 7, 22, (คําบรรยาย) ทาเลส (Thales) ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของชาวตะวันตกและเป็นผู้ริเริ่มปรัชญากรีกโบราณไว้ โดยเชื่อว่ามนุษย์สามารถใช้เหตุผลมาอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยไม่ต้อง อ้างสิ่งเหนือธรรมชาติหรือเทพเจ้า เพราะเอกภพมีกฎเกณฑ์ตายตัวของมันเอง ถ้ามนุษย์สามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติแล้ว มนุษย์ก็จะสามารถควบคุมธรรมชาติได้เช่นเดียวกัน
16 การถกเถียงกันเรื่องปฐมธาตุ แสดงให้เห็นว่านักปรัชญาสนใจในปรัชญาสาขาใด
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) สุนทรียศาสตร์
(4) จริยศาสตร์
ตอบ 1 หน้า 28 – 29, 47 – 43 นักปรัชญาสสารนิยม มีความสนใจในอภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ และได้มีการโต้เถียงกันเรื่องปฐมธาตุ โดยทาเลสบอกว่าน้ําคือปฐมธาตุของโลก แต่เอ็มพลิโดเคลส กลับเห็นว่า ทาเลสและกลุ่มของเขา อธิบายไว้ไม่ชัดเจน ดังนั้นเขาจึงได้เสนอทฤษฎีปฐมธาตุว่า มิใช่มีเพียงหนึ่งหากมีอยู่ถึง 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ
17 “เราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าไม่มีจริง” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด
(1) เพลโต
(2) เดส์การ์ตส์
(3) ล็อค
(4) ฮุม
ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) ซูม (Hume) นักประจักษนิยม เชื่อว่า ตัวคนเราเป็นเพียงการมารวมกันของผัสสะและความคิด ไม่มีจิต ไม่มีวิญญาณ และเมื่อคนเราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าจึงไม่มีอยู่จริง
18 นักสุขนิยมมีความคิดทางอภิปรัชญาแบบใด
(1) สสารนิยม
(2) จิตนิยม
(3) ธรรมชาตินิยม
(4) เทวนิยม
ตอบ 1 หน้า 155 นักสุขนิยม (Hedonism) มีความคิดทางอภิปรัชญาแบบสสารนิยม เช่น ลัทธิเอพิคิวรัส เป็นนักสุขนิยมที่มีทัศนะว่า ชีวิตเป็นเพียงสสาร เมื่อตายไปก็ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ดังนั้นถ้าเรายังมีชีวิตอยู่เราต้องแสวงหาความสุขและความพึงพอใจให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
19 ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง
(1) นักบวชในศาสนาคริสต์ศึกษาปรัชญาจนได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญา
(2) ศาสนาคริสต์ใช้วิธีการทางปรัชญาเพื่ออธิบายความเชื่อของตัวเอง
(3) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 8, 249, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง เป็นช่วงสมัยที่ศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับนับถือกันทั่วไป และทําให้ศาสนาคริสต์ใช้วิธีการทางปรัชญาเพื่ออธิบายความเชื่อของตนเอง ดังนั้น ปรัชญาตะวันตกยุคกลางจึงได้รับฉายาว่าสาวใช้ของศาสนา เนื่องจากปรัชญาถูกดึงไปเป็นเครื่องมือ สําหรับอธิบายและส่งเสริมคําสอนของศาสนาคริสต์ให้ดูมีเหตุมีผลยิ่งขึ้น โดยนักบวชในศาสนาคริสต์ ส่วนใหญ่ศึกษาปรัชญาดังกล่าวจนได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญา เช่น เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) เซนต์ โทมัส อควินัส (St. Thomas Aquinas) เป็นต้น
20 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้ชื่อว่า ได้รับอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(1) ยุคดึกดําบรรพ์
(2) ยุคโบราณ
(3) ยุคกลาง
(4) ยุคใหม่
ตอบ 4 หน้า 8, 251 – 255, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาตะวันตกที่นับตั้งแต่ปรัชญาตะวันตกสมัยกลางสิ้นสุดลง (ประมาณศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา) ซึ่งปรัชญาในยุคนี้จะได้รับ อิทธิพลจากวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยมีนักปรัชญาที่สําคัญ ได้แก่ เดส์การ์ตส์ (Descartes), สปิโนซา (Spin0Za), ไลบ์นิตซ์ (Leibnitz), จอห์น ล็อค (John Locke), เดวิด ฮูม(David Hume), โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นต้น