หน้าแรก บล็อก

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

“คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)”

1. ข้อใดคือความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) เป็นการเผยแพร่ข้อค้นพบหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ

(2) ส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์

(3) บอกเล่าให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาที่ผู้วิจัยศึกษา

(4) แสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 89 – 90, (คำบรรยาย) ความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ได้แก่
1 เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม” หรือ “ข้อค้นพบ” ใหม่ ๆ ในวงวิชาการ
2 สามารถส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทำวิจัยแล้วมีคนเพียงจำนวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น
3 เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาที่ผู้วิจัยศึกษา
4 เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของใน “ลิขสิทธิ์” ของวรรณกรรม หรือ “สิทธิบัตร” ในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ ได้

2. เอกสารประเภทใดที่ผู้วิจัยจะเขียนก่อนการลงมือทำวิจัย

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร

(4) โครงร่างการวิจัย

(5) รายงานความก้าวหน้างานวิจัย

ตอบ 4 หน้า 34 โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) คือ โครงการโดยทั่วไปที่เขียนขึ้นโดยผู้วิจัย ก่อนที่จะลงมือทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้า ในการทำวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทำเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อ ขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทำวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทำโครงร่างการวิจัยทุกครั้งเพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้นเสีย

ตัวอย่างเช่น กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับข้อเสนอวิจัยด้าน สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 เป็นต้น

3. หลัก 3R ในการทำวิจัยประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) Research, Reproduce, Report

(2) Research, Report, Reference

(3) Research, Report, Reply

(4) Research, Reproduce, Reply

(5) Research, Reproduce, Reference

ตอบ 2 หน้า 90, (คำบรรยาย) หลัก 3R ในการทำวิจัย ประกอบด้วย
1 Research หมายถึง การลงมือทำวิจัยด้วยนักวิจัยเอง
2 Report หมายถึง การเขียนรายงานที่สะท้อนถึงการทำวิจัย
3 Reference หมายถึง การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้อย่างครบถ้วน

4. “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึงงานวิจัยที่มีลักษณะอย่างไร

(1) งานวิจัยที่ศึกษาประเด็นความเชื่อ ศาสนา จิตวิญญาณ

(2) งานวิจัยเก่า ๆ

(3) งานวิจัยที่ถูกเก็บไว้บนหิ้ง

(4) งานวิจัยที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการ

(5) งานวิจัยที่ผู้คนเคารพบูชา

ตอบ 4 หน้า 89, (คำบรรยาย) “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึง งานวิจัยที่ทำเสร็จจนสมบูรณ์หรือเสร็จสิ้นโครงการแล้ว แต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง หรือไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการแต่อย่างใด

5. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด

(2) ภาคผนวกจะอยู่ในส่วนประกอบตอนท้าย

(3) ประกอบไปด้วย 5 บทหลัก

(4) ไม่จำเป็นต้องมีบทคัดย่อ

(5) ปกหลัก และปกใน มีเนื้อหาและรายละเอียดเหมือนกัน

ตอบ 4 หน้า 91 – 92, 95, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกหลัก, หน้าปกใน ซึ่งมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก หน้าอนุมัติ, บทคัดย่อภาษาไทย, บทคัดย่อภาษาอังกฤษ, หน้าประกาศคุณูปการหรือกิตติกรรมประกาศ เป็นต้น
2 ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 5 บทหลัก
3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติย่อผู้วิจัย

6. องค์ประกอบใดไม่อยู่ในส่วนเนื้อเรื่องของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) บทนำ

(2) การทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

(5) บรรณานุกรม

ตอบ 5 หน้า 92 – 94, (คำบรรยาย) “ส่วนเนื้อเรื่อง” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้

บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา คำถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดำเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสำคัญทั้งต่อการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม

บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

7. เนื้อหาในบทใดของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่สามารถแยกเนื้อหาได้มากกว่า 1 บท

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ข้อค้นพบของการวิจัย

(5) บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล

ตอบ 4 หน้า 94, 109 บทที่ 4 ข้อค้นพบของการวิจัย หรือ “ผลการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล” ของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ในบางกรณีนั้นพบว่า งานวิจัยในบางฉบับสามารถที่จะแยกเนื้อหา บทที่ 4 ออกเป็นหลายบทตามจำนวนของวัตถุประสงค์ที่ปรากฏอยู่ในบทที่ 1 ได้เช่นกัน

8. รายงานการวิจัยฉบับสั้นมักจะมีความยาวประมาณกี่หน้า

(1) 10 – 15 หน้า

(2) 20 – 25 หน้า

(3) 50 – 70 หน้า

(4) 90 – 100 หน้า

(5) 120 – 150 หน้า

ตอบ 3 หน้า 96, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียด ย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการ เผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักจะมีความหนาประมาณ 50 – 70 หน้า

9. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของบทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสารได้ถูกต้อง

(1) ผู้วิจัยสามารถกำหนดรูปแบบการเขียนและการจัดรูปหน้าเองได้

(2) มีความยาวประมาณ 40 – 50 หน้า

(3) ไม่ต้องใส่ข้อเสนอแนะ

(4) การใช้ระบบอ้างอิงขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละวารสาร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 96 – 97, (คำบรรยาย) บทความวิจัย (Research Article) หรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ ลงในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจาก รายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไปแล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งจะมีรูปแบบ การเขียน ลักษณะการจัดรูปหน้า และระบบการอ้างอิงที่แตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของแต่ละ วารสาร กรณีของประเทศไทยในปัจจุบัน วารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภท โดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)

10. หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่จัดประเภทวารสารทางวิชาการของไทยในปัจจุบัน

(1) ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

(2) วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ

(3) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

(4) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

(5) สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

11. หากผู้วิจัยต้องการใส่บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มลงไปในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผู้วิจัยควรใส่ข้อมูลดังกล่าวไว้ในส่วนใดของรายงาน

(1) กิตติกรรมประกาศ

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ภาคผนวก

(5) บรรณานุกรม

ตอบ 4 หน้า 95, (คำบรรยาย) ภาคผนวก (Appendix) ซึ่งปรากฏในส่วนประกอบตอนท้ายของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ จะเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิ่มเติม ของรายงานการวิจัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความ จากกฎหมายฉบับเต็ม เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล (แบบสอบถาม/บทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม) รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงสถิติและผลการคำนวณของโปรแกรม SPSS หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น

12. ลักษณะสำคัญของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย” ที่แตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น คืออะไร

(1) เป็นรายงานที่ยาวที่สุดเมื่อเทียบกับรายงานประเภทอื่น

(2) เป็นรายงานที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

(3) เป็นรายงานที่สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับรายงานประเภทอื่น

(4) เป็นรายงานที่เขียนขึ้นก่อนเสนอโครงการวิจัย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 99, (คำบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Interim Report) เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีความแตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดในส่วนของขอบเขตของการวิจัยและผลการศึกษา แต่ผู้วิจัยจะมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือสัมฤทธิผลที่ได้ทำสัญญากันไว้

13. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

(1) เป็นรายงานวิจัยที่เกิดขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

(2) มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามแผนวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้กับความก้าวหน้าในงานวิจัยที่เกิดขึ้นจริง

(3) การรายงานผลการวิจัยขั้นต้น คือการจัดทำรายงานหลังจากที่ได้ดำเนินการวิจัยไปแล้วสักระยะหนึ่ง

(4) การรายงานความก้าวหน้ามักรายงานในช่วงระยะเวลาร้อยละ 50 ของระยะเวลาตามสัญญา

(5) การรายงานผลวิจัยขั้นสุดท้ายจะเขียนขึ้นเมื่อทำวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างการเขียนวิจัยฉบับสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 100 – 101, (ค่าบรรยาย) ลักษณะของรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย ได้แก่
1. ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานความก้าวหน้า มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามแผนวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้กับความก้าวหน้าในงานวิจัยที่เกิดขึ้นจริง
2. การรายงานผลการวิจัย การวิจัยขั้นต้น ผู้วิจัยจะต้องแสดงให้เห็นถึงแผนการดำเนินงานในขั้นแรก ตลอดจนรายละเอียดของการปรับแก้ในส่วนต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาโครงร่างได้เสนอแนะไว้
3. การรายงานความก้าวหน้า เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นภายหลังจากที่ได้ดำเนินการวิจัยไปแล้วระยะหนึ่ง โดยมักรายงานในช่วงระยะเวลาร้อยละ 50 ของระยะเวลาตามสัญญา
4. การรายงานผลวิจัยขั้นสุดท้าย เป็นรายงานที่เขียนขึ้นเมื่อทำวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างการเขียนวิจัยฉบับสมบูรณ์ (ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ)

14. เนื้อหาส่วนใดในรายงานการวิจัยที่ทำหน้าที่เปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสำคัญของปัญหา

(1) บทนำ

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ผลการวิจัย

(5) ข้อเสนอแนะ

ตอบ 1 หน้า 102 บทนำ (Introduction) เป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญอย่างมากในการเปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาปัญหาวิจัย อันจะนำไปสู่ “การออกแบบงานวิจัย” (Research Design) ต่อไป ซึ่งบทนำที่ดีและน่าสนใจย่อมดึงดูดให้ผู้อ่านต้องการติดตามต่อไป ว่างานวิจัยฉบับนี้จะตั้งประเด็นปัญหา เลือกวิธีการนำเสนอ และคลี่คลายไปในทิศทางใด

15. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของบทนำ

(1) ที่มาและความสำคัญของปัญหา

(2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย

(3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

(4) ข้อเสนอแนะ

(5) สมมติฐานงานวิจัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

16. ในการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาผู้วิจัยควรจะคำนึงถึงหลักการข้อใด

(1) เขียนให้ตรงประเด็น

(2) เขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ

(3) เขียนให้มีความยาวเหมาะสม

(4) อ้างอิงแหล่งที่มาเสมอ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 103 (คำบรรยาย) การเขียน “ที่มาและความสำคัญของปัญหา” ผู้วิจัยควรจะคำนึงถึงหลักสำคัญดังนี้:
1 การเขียนให้ตรงประเด็น ไม่เยิ่นเย้อหรืออ้อมค้อมวกวน
2 การเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญของปัญหา
3 การเขียนให้มีความยาวเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป
4 การหลีกเลี่ยงการนำตัวเลข ตารางยาว ๆ หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาใส่
5 การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสารประกอบอย่างสมบูรณ์เสมอ
6 ผู้วิจัยต้องขมวด หรือสรุปประเด็นในย่อหน้าสุดท้ายให้มีส่วนเชื่อมโยงกับหัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นต้น

17. หลักการที่เรียกว่า “หลัก 3R” ไม่สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้

(1) การลงมือเก็บข้อมูลวิจัยในพื้นที่ด้วยการแจกแบบสอบถาม

(2) การนำเสนอแหล่งที่มาของข้อมูลวิจัยเพียงบางส่วน

(3) การเขียนรายงานการวิจัยโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงมากกว่าอคติ

(4) การนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบของตารางตามลำดับเวลา

(5) การออกแบบการวิจัยที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

18. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ SMART ในการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย

(1) ความเหมาะสม (Sensible : S)

(2) การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M)

(3) การเป็นที่สนใจ (Attention : A)

(4) การคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : T)

(5) ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R)

ตอบ 3 หน้า 104 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทำได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : T)

19. ข้อใดไม่ใช่หลักการของการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย

(1) อยู่ในรูปของวิธีการดำเนินการ

(2) มีลักษณะของ “SMART”

(3) อยู่ในขอบเขตของการวิจัย

(4) มีความชัดเจน

(5) เรียงลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบ

ตอบ 1 หน้า 103 – 104, (คำบรรยาย) หลักการของการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่:
1 การเขียนให้มีความชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร
2 การเขียนให้อยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้
3 การจัดเรียงลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบ
4 การเขียนไม่ควรอยู่ในรูปของวิธีการดำเนินการ
5. การเขียนไม่ควรมีจํานวนข้อมากจนเกินไป
6. การเขียนวัตถุประสงค์ควรให้มีลักษณะของ “SMART” เป็นต้น

20. “นโยบายต่างประเทศเปรียบเทียบของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัย ประธานาธิบดีบารัค โอบามา และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” จากชื่อวิจัยดังกล่าวอะไรจัดเป็นขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหา

(1) นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

(2) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(3) ประธานาธิบดีบารัค โอบามา

(4) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 104 (คำบรรยาย) ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัยว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกําหนดขอบเขตที่ชัดเจนนั้นจะทําให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับ อาณาบริเวณของคลังข้อมูลจํานวนมหาศาลเพียงใด เช่น การวิจัยเรื่อง “นโยบายต่างประเทศ เปรียบเทียบของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” จะเห็นได้ว่าขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาก็คือ นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

21. ข้อใดกล่าวถึงหลักการในการทบทวนวรรณกรรมได้ถูกต้อง

(1) สัมพันธ์กับหัวข้อวิจัยที่กําลังทําอยู่

(2) เลือกเฉพาะรายละเอียดที่สําคัญ

(3) ควรสังเคราะห์มาแล้ว และเลือกเขียนเฉพาะจุดที่มีการศึกษาอยู่

(4) เรียบเรียงสาระอย่างเป็นขั้นตอนโดยชี้ให้เห็นว่างานวิจัยก่อนหน้านี้มีข้อบกพร่องอย่างไร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 107 – 108, (บรรยาย) จินตนาภา โสภณ ได้สนอหลักการในการทบทวนวรรณกรรม ไว้ดังนี้
1 วรรณกรรมที่ผู้วิจัยเลือกมาทบทวนต้องมีความสัมพันธ์กับหัวข้อวิจัยที่กําลังทําอยู่
2 วรรณกรรมที่นํามาทบทวนผู้วิจัยสามารถอภิปรายทีละเรื่องในแต่ละย่อหน้า โดยเลือกเฉพาะรายละเอียดที่สําคัญเท่านั้น
3 ในกรณีที่มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่ศึกษาในประเด็นคล้ายคลึงกัน ผู้วิจัยควรนํามาทบทวน รวมกันในย่อหน้าเดียวกันและสรุปผลออกมาเป็นกลุ่ม มากกว่าการสรุปผลแยกกัน
4 การเขียนทบทวนวรรณกรรมควรเลือกที่ได้มีการรวบรวมและสังเคราะห์มาแล้ว และเลือกเขียนเฉพาะจุดที่มีการศึกษาอยู่
5 การทบทวนวรรณกรรมควรมีการเรียบเรียงสาระสําคัญอย่างเป็นขั้นตอน โดยชี้ให้เห็นว่าผลงานวิจัยก่อนหน้านี้มีข้อบกพร่องอย่างไร เป็นต้น

22. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนทบทวนวรรณกรรม

(1) เป็นการทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้

(2) เป็นการทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา

(3) เป็นการทบทวนงานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้อง

(4) การทบทวนวรรณกรรมจะปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัย

(5) เป็นการเรียบเรียงความคิด จากการทบทวนวรรณกรรมทุกเรื่องที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 106, (คำบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมาไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกำลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกำลังศึกษามาทำการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

23. “ประชากรที่ใช้ในการศึกษานี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 กลุ่ม คือ (1) หัวหน้าสถานีตำรวจ สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยเน้นสถานีตำรวจนครบาลที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก (2) เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาล และกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวรวม 361 คน” ข้อความในเครื่องหมายคำพูดเหมาะที่จะปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) วัตถุประสงค์ในการวิจัย

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) อภิปรายผล

(5) สรุปผลการวิจัย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

24. ข้อใดเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล

(2) การแจกแบบสอบถามทางไปรษณีย์

(3) การทำแบบทดสอบ

(4) การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 109, (คำบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เป็นการอธิบายถึงวิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าทำอย่างไร มีขั้นตอนในการตรวจสอบข้อมูลและควบคุมข้อมูลอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้วิธีการดังกล่าว และข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือและครบถ้วนอย่างไร เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ (การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ฯลฯ) การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ (การทำแบบทดสอบ, การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ฯลฯ) เป็นต้น

25. ข้อใดกล่าวถึงการนำเสนอข้อมูลในการเขียนผลการวิจัยไม่ถูกต้อง

(1) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลเป็นความเรียง

(2) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลเป็นความเรียงกิ่งตาราง

(3) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภูมิ

(4) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัยและนิรนัยผสมกันได้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 109 – 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data) ในการเขียนผลการวิจัย ผู้วิจัยสามารถทำเป็นลักษณะความเรียง (Text Presentation) ความเรียงกึ่งตาราง (Semi-Tabulation Presentation) หรือแบบตาราง (Tabulation Presentation) ซึ่งในกรณีที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมาก การมีตารางหรือแผนภูมิประกอบย่อมจะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจข้อมูลทั้งหมดของงานวิจัยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้วิจัยยังสามารถนำเสนอข้อมูลแบบ “นิรนัย” หรือแบบ “อุปนัย” ก็ได้ แต่เมื่อเลือกนำเสนอด้วยวิธีการใดแล้วก็ควรใช้วิธีการดังกล่าวตลอดรายงานการวิจัย

26. ข้อความใดใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลแบบนิรนัย (Deductive)

(1) เงาะลูกนี้หวาน เงาะในตะกร้าทุกลูกมีรสหวาน

(2) นายแดงชาวบ้านนาเป็นคนจน ชาวบ้านนาทุกคนเป็นคนจน

(3) อสูรทุกคนกลัวแสงแดด เนโกะเป็นอสูร เนโกะจึงกลัวแสงแดด

(4) นางสาวมานี้ถนัดทำงานบ้าน ผู้หญิงทุกคนถนัดทำงานบ้าน

(5) เด็กชายมานพไม่ชอบสีชมพู เด็กผู้ชายไม่ชอบสีชมพู

ตอบ 3 หน้า 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูลแบบนิรนัย (Deductive) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น อสูรทุกคนกลัวแสงแดด เนโกะเป็นอสูร เนโกะจึงกลัวแสงแดด, แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาจึงเป็นคนรวย เป็นต้น

27. ข้อความใดใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัย (Inductive)

(1) ผู้ชายมักชอบดูฟุตบอล นายสมศักดิ์จึงชอบฟุตบอล

(2) เอเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน

(3) ผู้หญิงชอบแต่งหน้า นางสาวสมศรีจึงชอบแต่งหน้า

(4) แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาจึงเป็นคนรวย

(5) เจ้าหญิงดิสนีย์มักมีผมสีทอง ซินเดอเรลล่ามีผมสีทอง ซินเดอเรลล่าเป็นเจ้าหญิง

ตอบ 2 หน้า 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัย (Inductive) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น เอเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน, นายแดงชาวบ้านนาเป็นคนจน ชาวบ้านนาทุกคนเป็นคนจน เป็นต้น

28. ข้อใดกล่าวถึงหลักการในการเขียนอภิปรายผลได้ถูกต้อง

(1) เขียนตอบวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน

(2) แสดงผลการวิจัยที่สนับสนุน ขยายความ หรือถกเถียงในแนวคิดทฤษฎี และผลงานวิจัยที่มีอยู่

(3) ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของการวิจัยที่อาจส่งผลต่อผลของการศึกษา

(4) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่เกิดจากข้อค้นพบว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 110 หลักในการเขียนอภิปรายผล มีดังนี้
1. เขียนตอบวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน
2. แสดงผลการวิจัยที่สนับสนุน ขยายความ หรือถกเถียงในแนวคิดทฤษฎี และผลงานวิจัยที่มีอยู่
3. ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของการวิจัยที่อาจส่งผลต่อผลของการศึกษา
4. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่เกิดจากข้อค้นพบว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

29. ข้อใดกล่าวถึงข้อควรระวังในการสรุปผลได้ถูกต้อง

(1) ต้องอยู่ภายในขอบเขตของงานวิจัย

(2) ต้องตอบคำถามการวิจัยและสมมติฐานที่ตั้งไว้

(3) ต้องตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูล

(4) ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้และการวิจัยเพิ่มเติม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คำบรรยาย) ข้อควรระวังในการสรุปผล มีดังนี้
1. ต้องตอบคำถามการวิจัย ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ และสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ต้องอยู่ภายในขอบเขตของงานวิจัย
3. ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้และการวิจัยเพิ่มเติม
4. ต้องตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูล
5. ต้องกำจัดความลำเอียงและอคติส่วนบุคคลออกไป เป็นต้น

30. ในการเขียนข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยควรนำเสนอประเด็นใดบ้าง

(1) การนำผลวิจัยไปใช้

(2) จุดเด่น จุดด้อยของระเบียบวิธีวิจัย

(3) ข้อจำกัดของงานวิจัย

(4) ข้อ 1 – 3 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3 ผิด

ตอบ 4 หน้า 112, (คำบรรยาย) การเขียนข้อเสนอแนะ สามารถนำเสนอได้ 3 ประเด็น ดังนี้
1. ประเด็นที่เกี่ยวกับการนำผลวิจัยไปใช้ เพื่อแสดงว่าผลการวิจัยสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ใดได้บ้าง หรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใดบ้าง
2. ประเด็นที่เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย โดยชี้ให้ผู้อ่านเห็นถึงจุดเด่น จุดด้อย หรือข้อควรระวัง ของระเบียบวิธีวิจัยที่ผู้วิจัยได้ทำไว้
3. ประเด็นที่เกี่ยวกับการทำวิจัยต่อไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจทำปัญหาวิจัยคล้ายคลึงกัน ได้เห็นประเด็นที่ควรศึกษาต่อไป รวมไปถึงข้อจำกัดของงานวิจัย

31. ส่วนใดในรายงานการวิจัยที่มีหน้าที่สำคัญในการทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยได้ในเวลาอันรวดเร็ว

(1) หน้าปก

(2) บทคัดย่อ

(3) กิตติกรรมประกาศ

(4) บทนำ

(5) บรรณานุกรม

ตอบ 2 หน้า 114 บทคัดย่อ (Abstract) มีความสำคัญในการทำให้ผู้อ่านวิจัยสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยหรือบทความวิชาการทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นบทคัดย่อจึงเป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่สั้นกะทัดรัด แต่ได้ข้อความครอบคลุมเนื้อหาของรายงาน

32. ข้อใดผิด การวิจัยทั้งหมด

(1) บทคัดย่อในงานวิจัยต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(2) บทคัดย่อมักมีความยาวอยู่ที่ครึ่งถึงหนึ่งหน้ากระดาษ A4

(3) ไม่ควรเอาชื่อเรื่องมากล่าวในบทคัดย่อ

(4) ผู้วิจัยสามารถใส่อ้างอิงรูปภาพ หรือตารางในบทคัดย่อได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 114 – 115, (คำบรรยาย) การเขียนบทคัดย่อ ควรมีลักษณะดังนี้
1. บทคัดย่อควรทำเป็นภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. เนื้อหาในบทคัดย่อไม่ควรนำเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ
3. บทคัดย่อไม่ควรอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตารางใด ๆ
4. ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทคัดย่อ
5. บทคัดย่อมักมีความยาวอยู่ที่ครึ่งหน้ากระดาษ A4 (กรณีของบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ ลงในวารสาร) ถึง 1 หน้ากระดาษ A4 (กรณีของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์) เป็นต้น

33. บทสรุปสำหรับผู้บริหารควรมีความยาวประมาณกี่หน้ากระดาษ A4

(1) 3 – 5 หน้า

(2) 20 – 25 หน้า

(3) 30 – 45 หน้า

(4) 50 – 70 หน้า

(5) ไม่มีการกำหนดความยาว

ตอบ 1 หน้า 116 – 117, (คำบรรยาย) การเขียนบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ควรมีลักษณะดังนี้
1. มีเป้าหมายด้านการบริหารมากกว่าด้านวิชาการ
2. ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนำเอาชื่อเรื่องมากล่าว
3. อาจมีรูปภาพและตารางในบทสรุปผู้บริหารเท่าที่จำเป็นได้
4. ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปผู้บริหาร
5. บทสรุปสำหรับผู้บริหารควรมีความยาวประมาณ 3 – 5 หน้ากระดาษ A4 เป็นต้น

34. ข้อใดกล่าวถึงการเขียนบทสรุปผู้บริหารได้ถูกต้อง

(1) มีความยาวเท่าบทคัดย่อ

(2) มีเป้าหมายด้านการบริหารมากกว่าด้านวิชาการ

(3) ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบวิธีวิจัย

(4) ต้องใส่รายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปผู้บริหาร

(5) ไม่ควรมีตารางหรือรูปภาพ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35. ส่วนใดในรายงานการวิจัยที่ผู้วิจัยจะใช้เป็นพื้นที่ในการเขียนคำขอบคุณสถาบันหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความสำเร็จของงานวิจัย

(1) บทคัดย่อ

(2) บทนำ

(3) กิตติกรรมประกาศ

(4) ประวัติผู้วิจัย

(5) ภาคผนวก

ตอบ 3 หน้า 92, 117 – 113, (คำบรรยาย) กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งอยู่ในส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่าเป็น “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคำว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่ในส่วนนี้ในการกล่าวขอบคุณสถาบันหรือให้เกียรติผู้ที่มีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือผลักดันให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำ หน่วยงานต้นสังกัด หรือผู้ให้ทุนวิจัย

36. ข้อใดไม่ควรทำในการเขียนรายงานการวิจัย

(1) จัดหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยโดยใช้ตัวเลขทศนิยม

(2) ตรวจสอบความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์

(3) เรียบเรียงเนื้อหาของงานวิจัยให้อยู่ภายใน 1 ย่อหน้า

(4) ใช้ภาษาเขียนที่อ่านแล้วรื่นหู ไม่เยิ่นเย้อหรือใช้คำหรูหรามากเกินไป

(5) ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์

ตอบ 3 หน้า 118 – 121, (คำบรรยาย) หลักการในการเขียนรายงานการวิจัย มีดังนี้
1. จัดหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยโดยใช้ตัวเลขทศนิยม หรือใช้ตัวเลขผสมกับตัวอักษร
2. เรียบเรียงเนื้อหา ของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน
3. ตรวจสอบความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์
4. ใช้ภาษาเขียนที่อ่านแล้วรื่นหู ไม่เยิ่นเย้อหรือใช้คำหรูหรามากเกินไป
5. ระวังพฤติกรรมในการคัดลอก (Copy) และวาง (Place) เพราะจะทำให้ผู้วิจัยมีโอกาส กระทำความผิดข้อหาคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง (Plagiarism) ดังนั้นควรตรวจสอบ การคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ หรือโปรแกรม Turn it in เป็นต้น

37. พฤติกรรมใดที่จะทำให้ผู้วิจัยมีโอกาสกระทำความผิดข้อหาคัดลอกผลงาน (Plagiarism)

(1) ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรม Turn it in

(2) ใช้การคัดลอก (Copy) และวาง (Place)

(3) สรุปข้อความที่ได้จากแหล่งข้อมูลอื่นด้วยภาษาของตนเองและใส่อ้างอิง

(4) ใช้ภาษากึ่งทางการ

(5) ไม่ตรวจสอบการสะกดคำ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ในการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

(1) สถานที่ในการนำเสนอผลงาน

(2) กำหนดการและรูปแบบของการจัดงาน

(3) ลักษณะของผู้เข้าชมงาน

(4) เนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 122 – 124, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้วิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ส่วน ได้แก่
1 การวางแผน เช่น สถานที่ในการนำเสนอผลงาน ขนาดของโปสเตอร์ วันและเวลากำหนดการ รูปแบบของการจัดงาน จำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ
2 เนื้อหาของโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องเลือกเนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์ให้เหมาะสม กับลักษณะของผู้เข้าชมงาน
3 รูปแบบโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สีตัวอักษร สีพื้นหลังโปสเตอร์ ประเภทและ ขนาดของตัวอักษร เป็นต้น

39. องค์ประกอบใดไม่ควรมีอยู่ในโปสเตอร์ที่ผู้วิจัยใช้นำเสนอผลงาน

(1) ชื่อเรื่อง

(2) บทคัดย่อ

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ทบทวนวรรณกรรม

(5) ผลการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 123 (คำบรรยาย) องค์ประกอบของการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ประกอบด้วย เนื้อหา 5 ส่วนหลัก ดังนี้
1 ชื่อเรื่อง (Title)
2 บทคัดย่อ (Summary)
3 บทนำและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)
4 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย”
5 ผลการวิจัย (Research Results)

40. ข้อใดกล่าวถึงการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจาได้ถูกต้อง

(1) เป็นวิธีการนำเสนอผลงานวิจัยที่ไม่ค่อยได้รับความนิยม

(2) บทความของผู้วิจัยจะปรากฏอยู่ในรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์เมื่อผู้วิจัยมีรายชื่อในเวทีนำเสนอ โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นเวทีนำเสนอจริง

(3) เอกสารที่ผู้วิจัยต้องเตรียมในการนำเสนอผลงาน ได้แก่ สไลด์สำหรับนำเสนอเพียงอย่างเดียว

(4) ผู้นำเสนอควรสบตาผู้ฟังเป็นระยะเพื่อสังเกตว่าผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่นำเสนอหรือไม่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 124 – 126, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเชิงวิชาการ ซึ่งในทางปฏิบัติ เมื่อผู้วิจัยมีรายชื่อเป็น ผู้นำเสนอผลงาน ผู้วิจัยจำเป็นต้องขึ้นเวทีนำเสนอจริง แต่หากไม่ได้ขึ้นเวที บทความของผู้วิจัยผู้นั้นจะถูกตัดออกจากรายชื่อผู้นำเสนอและไม่ปรากฏอยู่ในรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ ซึ่งในส่วนของเอกสารที่ผู้วิจัยต้องเตรียมในการนำเสนอผลงาน ได้แก่ บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ สไลด์สำหรับการนำเสนอ และสำเนาสไลด์นำเสนอ สำหรับในช่วงของการนำเสนอ ผู้นำเสนอ จำเป็นต้องมีสติและความมั่นใจ สิ่งที่พึงระวังอย่างยิ่งคือ การหลีกเลี่ยงการอ่านข้อความให้ผู้ฟังฟังตาม ดังนั้นผู้นำเสนอควรสบตาผู้ฟังเป็นระยะเพื่อสังเกตว่าผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอหรือไม่ อย่างไร

41. โดยปกติแล้วการนําเสนอด้วยวาจาจะถูกกําหนดระยะเวลาในการนําเสนอยาวกี่นาที

(1) 5 – 10 นาที

(2) 15 – 20 นาที

(3) 30 – 40 นาที

(4) 60 นาที

(5) ไม่มีการกําหนดระยะเวลา

ตอบ 2 หน้า 125 การนําเสนอด้วยวาจา ผู้วิจัยจําเป็นต้องเตรียมสไลด์สําหรับการนําเสนอ ทั้งนี้เพื่อ ความสะดวกในการลําดับความคิดและเนื้อหาสําหรับผู้นําเสนอ โดยทั่วไปแล้วผู้นําเสนอมักจะ ถูกกําหนดให้นําเสนอในช่วงระยะเวลาเพียง 15 – 20 นาทีเท่านั้น

42. การนําเสนอผลงานด้วยวาจา ผู้วิจัยควรคํานึงถึงสิ่งใด

(1) จํานวนสไลด์

(2) ลักษณะของเวที

(3) รูปแบบของสไลด์

(4) การฝึกตอบคําถาม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 124 – 126 สิ่งที่ผู้วิจัยควรคํานึงถึงในการนําเสนอผลงานด้วยวาจา ได้แก่ จํานวนสไลด์ ลักษณะของเวทีและผู้เข้าฟัง รูปแบบของสไลด์ การเตรียมตัวผู้นําเสนอ (การฝึกจับเวลา การฝึก ท่าทางในการนําเสนอ การฝึกตอบคําถามและป้องกันข้อเสนอของตนจากผู้วิพากษ์) เป็นต้น

43. ข้อใดไม่ใช่การแบ่งประเภทการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามแนวทางของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงชาติพันธุ์

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 2 หน้า 128, (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้แบ่งประเภท ของการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย
1 งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ 2. งานวิจัยเชิงนโยบาย
3 งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 4. งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

44. งานวิจัยประเภทใดมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการ

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อ สร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือ เครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของงานวิจัยลักษณะนี้ก็คือ การมีความเป็น อิสระ การมีระเบียบวิธีที่เข้มข้น การมีวงการหรือชุมชนวิชาการในการตรวจสอบ

45. งานวิจัยประเภทใดที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบาย

(1) งานวิจัยด้านสาธารณะ

(2) งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 3 หน้า 130 (คําบรรยาย) งานวิจัยเชิงนโยบาย เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนข้อมูล ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือสนับสนุนทางเลือก เชิงนโยบาย (Policy Choice) ของรัฐบาล ตลอดจนการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพื่อนําไปสู่การ ประเมินผลกระทบและการผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะในการแก้ไขปัญหาให้แก่ ประชาชน

46. งานวิจัยประเภทใดที่คํานึงถึงการลงทุนและผลตอบแทนเป็นหลัก

(1) งานวิจัยแบบวิเคราะห์เนื้อหา

(2) งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 4 หน้า 131, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่คํานึงถึงการลงทุน และผลตอบแทนเป็นหลัก และให้ความสําคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน ผู้วิจัย สามารถสํารวจความต้องการของภาคการผลิตต่าง ๆ เป็นรายสาขา เพื่อนําไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ําตั้งแต่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นธรรมชาติของงานวิจัย ประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาดและนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจําเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด

47. งานวิจัยประเภทใดมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม

(1) งานวิจัยกึ่งทดลอง

(2) งานวิจัยเชิงประเมินผล

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 5 หน้า 132, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา ท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ออกมาจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาของ ชุมชน ปัญหาในท้องถิ่น และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติ ของงานวิจัยประเภทนี้มักจะมีอุดมการณ์ในการกํากับการพัฒนาของท้องถิ่นให้สูงขึ้น

48. เอกสารประเภทใดที่ผู้วิจัยจะต้องนําเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทําวิจัยไว้ล่วงหน้า

(1) โครงร่างการวิจัย

(2) รายงานความก้าวหน้างานวิจัย

(3) บทความวิชาการ

(4) แบบสอบถาม

(5) แบบทดสอบก่อนเข้าร่วมวิจัย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

49. เนื้อหาของโครงร่างงานวิจัยจะปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) หน้าปก

(2) บทนํา

(3) ทบทวนวรรณกรรม

(4) ระเบียบวิธีวิจัย

(5) บทสรุป

ตอบ 2 หน้า 36, (คำบรรยาย) บทที่ 1 “บทนํา” ของรายงานการวิจัย ซึ่งเนื้อหาในบทนํานี้ก็คือ โครงร่างการวิจัยที่ผู้วิจัยได้เขียนขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นการทําวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะนําโครงร่างดังกล่าว มาใส่ไว้ โดยจะมีหัวข้อหลัก ได้แก่ ที่มาของปัญหา คําถามการวิจัย วัตถุประสงค์ในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย ขอบเขตในการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับในการวิจัย และระยะเวลาที่ใช้ ในการดําเนินการวิจัย โดยทั่วไปแล้วในบทที่ 1 ของรายงานการวิจัยอาจจะไม่มีการทบทวน วรรณกรรมและระเบียบวิธีวิจัยอยู่ในบทนี้

50. “กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับข้อเสนอวิจัยด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ประจําปีงบประมาณ 2566 ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

51. การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อมาพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 3 หน้า 2 – 3 (คำบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับเนื้อหาของบทนำในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสำคัญของปัญหา”
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคำถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทำจะไม่สามารถกำหนดแนวทางในการค้นหาคำตอบได้
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคำถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด

52. การสรุปผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. นายทำวิจัยเรื่องบทบาทของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC) ในระบบเศรษฐกิจโลก ขั้นตอนการวิจัยขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องทำคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

54. นายป้อมมีความสนใจที่จะทำวิทยานิพนธ์หัวข้อการรักษาอำนาจทางการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 10 ปี ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยตั้งคำถามในสิ่งที่มีความสนใจ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

55. นายป๊อกทำวิจัยเรื่องข้อเสนอการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีการคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

56. นายอนุทินวิจัยเรื่องทัศนคติทางการเมืองของประชาชนในภาคใต้ที่มีต่อพรรคภูมิใจไทย โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 5,000 คน เพื่อต้องการข้อมูลไปวิเคราะห์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

57. นายสาทิตทําวิจัยเรื่องนโยบายประกันรายได้เกษตรกรของพรรคประชาธิปัตย์เปรียบเทียบกับนโยบายจํานําข้าวของพรรคเพื่อไทย หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ขั้นตอนการวิจัยต่อไปที่ต้องทําคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

58. วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

59. ที่มาและความสําคัญของปัญหา ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

60. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

61. “Scientific Method” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Recycle

(2) Responsibility

(3) Research

(4) Representative

(5) Resolution

ตอบ 3 หน้า 11, 16, (คําบรรยาย) การวิจัย (Research) หมายถึง การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือ จากการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ สําหรับการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นจะมีขั้นตอนในการวิจัยที่คล้ายคลึงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) คือ เริ่มต้นด้วยการกําหนดปัญหาให้ชัดเจน ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล

62. โครงร่างการวิจัย มีความสัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) Vitae

(2) Research Proposal

(3) TCI

(4) Gantt’s Chart

(5) Bibliography

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

63. นายชัชพงศ์ทําวิจัยเรื่องรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 กับบทบาททางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยศึกษาจากหนังสือ ตํารา งานวิจัย และบทความวิชาการ การทําวิจัยของนายชัชพงศ์ คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 3 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลจากเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารทางราชการ หนังสือ ตํารา งานวิจัย บทความวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของการวิจัยนี้ ได้แก่ การวิจัยเรื่อง นโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การวิจัยเรื่องรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 กับบทบาททางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

64. นายชัชชาติทําวิจัยเรื่องข้อเสนอ การทําโครงการฟลัดเวย์ 11 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย มีจุดมุ่งหมายให้กองอํานวยการน้ําแห่งชาติ (กอนซ.) นําไปใช้ในการแก้ปัญหาน้ําท่วม การทําวิจัยของ นายชัชชาติคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องข้อเสนอการทําโครงการฟลัดเวย์ 11 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนําไปใช้ในการแก้ปัญหาน้ําท่วม, การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง การเลือกตั้ง เป็นต้น.

65. นางสาวรุ้งทําวิจัยเรื่องสาเหตุการออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะราษฎร 2563 การทําวิจัยของนางสาวรุ้งคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 4 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงอธิบาย (Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่จะวิเคราะห์ ความเกี่ยวกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปว่าส่งผลอย่างไรกัน กล่าวคือ การวิจัยนี้ จะมุ่งอธิบายว่า ทําไมปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ถึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร และทําไมถึงเป็นเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ําท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, การวิจัยเรื่อง สาเหตุการออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะราษฎร 2563 เป็นต้น

66. กองอํานวยการน้ําแห่งชาติทําวิจัยสํารวจจํานวนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุดีเปรสชันโนรู การทําวิจัยของกองอํานวยการน้ําแห่งชาติคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล พื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิกี่คน และไม่มาใช้สิทธิคน การสํารวจผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การสํารวจจํานวนประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุดีเปรสชันโนรู เป็นต้น

67. นายวรัญชัยทำวิจัยเรื่องการชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของกลุ่มทะลุฟ้า โดยเข้าไปสังเกต การขึ้นเวทีปราศรัยของแกนนํากลุ่มทะลุฟ้า การทําวิจัยของนายวรัญชัยคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้น จะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างเช่น การเข้าไปสังเกต การบริหารจัดการน้ำของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร, การเข้าไปสังเกตการขึ้นเวทีปราศรัยของแกนนํากลุ่มทะลุฟ้า เป็นต้น

68. Positivism มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์ยุคใด

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Post Behavioral Period

ตอบ 3 หน้า 7 – 3, (คำบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) ซึ่งพบว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมี ลักษณะเป็นการศึกษาแนว “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) และยังเน้นการทํานายพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจในทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทํานาย ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์จะถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นําทางการเมือง (Political Psychology) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นต้น

69. “วิทยาศาสตร์การเมือง” เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Past Behavioral Period

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. การศึกษารัฐศาสตร์ต้องเปลี่ยนมาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Port Behavioral Period

ตอบ 4 หน้า 7, (คำบรรยาย) ยุคเปลี่ยนผ่าน (The Transitional Period) เป็นยุคที่มีการก่อตั้งสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association : APSA) ในปี ค.ศ. 1908 โดยนักรัฐศาสตร์อเมริกันมองว่า วิธีการศึกษาแบบเก่า คือ การศึกษาเชิงโครงสร้างไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงออกมาได้ เพราะบางครั้งในแต่ละรัฐแม้ว่าจะมีการกําหนด โครงสร้างทางการเมืองอย่างชัดเจน แต่สมาชิกของรัฐก็ไม่ได้ปฏิบัติตามโครงสร้างทางการเมืองที่วางไว้ ดังนั้นการศึกษารัฐศาสตร์ควรจะเปลี่ยนมาศึกษาถึงสิ่งที่สามารถจะสะท้อนความเป็นจริงทางการเมือง นั่นก็คือ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์

71. การวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของการศึกษารัฐศาสตร์ยุคพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Post Behavioral Period

ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 8, (คำบรรยาย) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (The Post Behavioral Period) เป็นยุคของการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบัน คือยุคตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นยุคที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของการศึกษารัฐศาสตร์ยุคพฤติกรรมศาสตร์ ว่าหมกมุ่นอยู่กับระเบียบวิธีการศึกษา จนละเลยตัวเนื้อหาหรือจุดมุ่งหมายในทางการเมืองไป ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงถือเป็นยุคแห่งการกลับมาของการศึกษาแบบเดิมที่ถูกละทิ้งและไม่ให้ความสนใจจากการพยายามครอบงำของพวกพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาแบบปรัชญาการเมืองและการศึกษาแบบสถาบันจึงได้เริ่มกลับมาได้รับความสนใจและทำการศึกษากันอีกครั้งหนึ่ง โดยนักวิชาการบางคนนั้นจะเรียกยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์นี้ว่า ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป (Period of Re-Europeanization)

72. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด

(1) Political Thought

(2) Political Institution

(3) Political Ideology

(4) Political Philosophy

(5) Political Psychology

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

73. นางสาวทิพานันท์วิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทำวิจัยของนางสาวทิพานันท์คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 คำบรรยาย: หน้า 13, (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง บทบาททางการเมือง ความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ชีวประวัติของคน ๆ หนึ่ง เป็นต้น

74. นางสาวรัชดาวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ โดยอาศัยข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทำวิจัยของนางสาวรัชดาคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75. ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีทำวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันและปราบปรามทุจริตของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในรอบ 8 ปี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ การทำวิจัยของศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยในทางเชิงทฤษฎีต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันและปราบปรามทุจริตของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์, การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

76. หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอนใดที่ต้องกำหนดควบคู่กับการตั้งคำถามการวิจัย

(1) Research Proposal

(2) Research Objective

(3) Conceptual Framework

(4) Data Collection

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 28, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอน “การตั้งวัตถุประสงค์ ในการวิจัย” (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยว่าจะทำไปเพื่อ อะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คำขึ้นต้นคำว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง กำหนดควบคู่ไปกับการตั้งคำถามการวิจัย

77. “องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 1 หน้า 11, (คำบรรยาย) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น สามารถนำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ

78. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อ ปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 3 หน้า 11 วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคำตอบ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ

79. ข้อใดถูกต้อง

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด

(2) การทบทวนเอกสารควรเขียนเรียงต่อ ๆ กันให้มีลักษณะเหมือน “ขนมชั้น”

(3) การทบทวนเอกสารคือการเขียนทบทวนสิ่งที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด

(4) หากผู้วิจัยเขียนเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยชิ้นอื่นด้วยภาษาของตนเองแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่อ้างถึง

(5) ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้การอ้างอิงในบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารได้ตามใจชอบ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

80. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย

(1) Research Question

(2) Conceptual Framework

(3) Research Methodology

(4) Executive Summary

(5) Problem Statement

ตอบ 4 หน้า 34 – 35 (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย
1 ชื่อเรื่อง (Title)
2 สภาพปัญหาหรือที่มาของปัญหา (Problem Statement)
3 คำถามในการวิจัย (Research Question)
4 วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective)
5 สมมติฐาน (Hypothesis)
6 การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Frairework)
7 ขอบเขตของการวิจัย (Scope)
8 ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อวิจัยชิ้นนี้ทำสำเร็จแล้ว (Expected Benefits)
9 นิยามศัพท์สำคัญหรือคำศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition)
10 วิธีการในการดำเนินการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นต้น

81. “เป็นการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถาม ผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา 6 ต่อ 3 ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

82. นางสาวกุ้งอึ้งทำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 2,000 คน นางสาวอุ้งอิงต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 4 หน้า 46, (คำบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเป็นรายการของคำถามที่ถูกจัดหมวดหมู่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน เป็นการรวบรวมคำถามอย่างเป็นระบบในการส่งไปยังตัวอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาในแบบสอบถามจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก และความสนใจต่างๆ ของผู้ตอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

83. นายทักษิณต้องการได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา 6 ต่อ 3 ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ โดยทำการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก นายทักษิณต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

84. นายวรงค์ต้องการได้ข้อมูลการออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะหลอมรวมประชาชน ว่ามีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่จำนวนเท่าใด นายวรงค์ต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 3 หน้า 53, (คำบรรยาย) การสังเกต (Observation) เป็นการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเอาใจใส่และกำหนดไว้อย่างมีระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่
เกิดขึ้นนั้นกับสิ่งอื่น โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส เพื่อทําความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การสังเกต การออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะหลอมรวมประชาชนว่ามีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่จํานวนเท่าใด เป็นต้น

85. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย

(1) การตั้งสมมติฐานการวิจัย

(2) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย

(3) การตั้งคําถามการวิจัย

(4) การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย

(5) การทบทวนวรรณกรรม

ตอบ 1 หน้า 26 (คําบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Frarnework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น

86. แบบสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติอ่าน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 5 หน้า 14 – 16, (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่
1 การกําหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทํา ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคําถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคําตอบ ดังนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนําไปสู่การทําวิจัย
2 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะ ทําการหาคําตอ
4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน
5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลข้อมูล
6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคําตอบของการวิจัย
7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียน รายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์และทําการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย

87. การจัดทํารายงานวิจัยเล่มสมบูรณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

89. ข้อสงสัยที่จะนำมาสู่การทำวิจัย ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

90. การคาดเดาคำตอบ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

91. นายเจ๋งดอกจิกนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ในการขับไล่พี่น้อง 3 ป.” หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนายเจ๋งดอกจิกสอดคล้องกับแนวการวิเคราะห์ใด

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 5 หน้า 20, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่าสาเหตุในการกระทำเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การออกไปยืนชูสามนิ้วต่อต้านเผด็จการรัฐประหารที่ถนนสุขุมวิทในช่วงปี พ.ศ. 2557 การชุมนุมทางการเมืองของประชาชนในการขับไล่พี่น้อง 3 ป. เป็นต้น

92. นายวันชัยทำวิจัยเรื่อง “กระบวนการบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของรัฐสภาไทย” นายวันชัยใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 4 หน้า 22 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทำการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐก็เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทำงานสอดประสานกัน ซึ่งการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ นี้ก็คือระบบนั่นเอง หากสังคมใดหรือระบบการเมืองใดไม่มีการทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ระบบนั้นก็คงจะล่มสลาย หรือไม่ก็พิการในไม่ช้า ตัวอย่างเช่น การที่รัฐบาลออกกฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง เป็นต้น

93. ข้อค้นพบการวิจัยที่ว่า “การที่ประชาชนขายเสียงในการเลือกตั้งเพราะคำนวณแล้วว่ารับเงินมาแล้วไปเลือกตั้งดีกว่า ดังนั้นจึงรับเงินและไปลงคะแนนให้คนที่ให้เงินมากที่สุดจึงเป็นการตอบสนองประโยชน์ของตนได้ดีที่สุด” ข้อค้นพบการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับแนวการวิเคราะห์ใด

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 1 หน้า 21 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล (Rational Approach/ Rational Choice Approach) มีสมมุติฐานที่สำคัญคือ มนุษย์ทุกคนเป็นมนุษย์ที่มีเหตุมีผล เวลาจะทำอะไรแล้วจะคำนวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์อย่างไร และเมื่อคํานวณดูผลลัพธ์ในทางต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว คน ๆ นั้นก็จะทําตามในทางที่ ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด หรือในกรณีที่ตนเองไม่มีทางจะได้ประโยชน์ คน ๆ นั้นก็จะเลือก วิธีการที่ตนเองจะเสียเปรียบน้อยที่สุด ซึ่งแนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลนี้ได้รับ อิทธิพลมาจากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)

94. นายนกเขานำเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนในการเมืองไทย” นายนกเขาใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการนำเสนอหัวข้อวิจัย?

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 2 หน้า 22 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลำดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนในการเมืองไทย, การวิจัยเรื่องพัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทยหลังปี พ.ศ. 2540 เป็นต้น

95. Rational Choice Approach เป็นแนวทางการวิเคราะห์ที่ได้รับอิทธิพลจากสาขาวิชาใด?

(1) Sociology

(2) Biology

(3) Economics

(4) Anthropology

(5) Mathematics

ตอบ 3 (ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ)

96. นายจตุพรทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทของคณะหลอมรวมประชาชนในการออกมาชุมนุมขับไล่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายจตุพรใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิทยานิพนธ์?

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 3 หน้า 24 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องบทบาทของคณะหลอมรวมประชาชนในการออกมาชุมนุมขับไล่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

97. ญาณวิทยาของการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ คือแบบใด?

(1) Normativism

(2) Institutionalism

(3) New Institutionalism

(4) New Positivism

(5) Positivism

ตอบ 5 (คำบรรยาย) แนวคิดสำนักปฏิฐานนิยม (Positivism) เป็นแนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเชื่อว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินั้นสามารถอธิบายได้ด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยความรู้จะเข้าสู่จิตใจ ของมนุษย์ผ่านประสาทสัมผัสและมนุษย์จะเก็บความรู้นั้นไว้ในรูปของความจํา อีกทั้งความจํา จะสามารถผสมผสานหรือรวมกันได้โดยใช้จินตนาการ ซึ่งในแง่ของญาณวิทยานั้นพบว่าวิธีการแสวงหาความรู้แบบปฏิฐานนิยมเป็นวิธีการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์หรือแบบสมัยใหม่

98. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งคําถามการวิจัย

(1) คําถามการวิจัยประเภท “ทําไม” ต้องการทราบสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมือง

(2) คําถามการวิจัยประเภท “อะไร” เป็นการหาคําตอบในลักษณะบรรยาย

(3) คําถามการวิจัยประเภท “อย่างไร” ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง

(4) การตั้งคําถามการวิจัยที่ดีควรใช้คําถาม “ใช่หรือไม่ใช่”

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการวิจัยภายหลังจากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ รอบตัว การตั้งคําถามที่ดีนั้นไม่ควร ใช้คําถาม “ใช่หรือไม่” แต่ควรใช้คําถาม “ทําไม อย่างไร อะไร” โดยคําถามประเภท “ทําไม” จะเป็นคําถามที่ต้องการทราบสาเหตุหรือเหตุผลของปรากฏการณ์ทางการเมือง คําถามประเภท “อย่างไร” จะเป็นคําถามที่ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง ส่วนคําถามประเภท “อะไร” จะเป็นคําถามที่มุ่งให้ค้นหาคําตอบในลักษณะบรรยาย

99. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใดที่ถูกนํามาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) In-depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

100. บุคคลใดคือผู้บรรยายรายวิชา POL 4100 ภาค 1/2565

(1) จักรี ไชยพินิจ

(2) ศุภชัย ศุภผล

(3) ปิยะภพ เอนกทวีกุล

(4) ปรีชญา ยศสมศักดิ์

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 มีอยู่ 2 ท่าน คือ 1. อาจารย์ปิยะภพ เอนกทวีกุล 2. อาจารย์ปรีชญา ยศสมศักดิ์

 

 

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

“คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1. ปัญหาในการวิจัยที่เรียกว่า “Plagiarism” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด

(1) SPSS

(2) อักขราวิสุทธิ์

(3) Microsoft Word

(4) Acrobat Reader

(5) Google

ตอบ 2 คำบรรยายจากเอกสาร: หน้า 102 การคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง หรือปัญหาในการวิจัยที่เรียกว่า “Plagiarism” เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยหรือผู้อ่านที่จะนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ต้องพึงระวังอย่างมาก ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงอย่างมากในวงวิชาการ ซึ่งในปัจจุบันการตรวจสอบสามารถกระทำได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน เช่น โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ หรือโปรแกรมเทิร์น อิท อิน (Turn it in) เป็นต้น

2. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) ข้อมูลของผู้วิจัยและคณะ

(2) ข้อมูลของชื่องานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(3) ข้อมูลแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย

(4) ข้อมูลแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของรูปภาพ

(5) ข้อมูลแสดงรายชื่อของผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ

ตอบ 5 คำบรรยายจากเอกสาร: หน้า 72, (คำบรรยาย) “ส่วนประกอบตอนต้น” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ได้แก่ 1. ปกหลัก โดยจะระบุถึงคำว่า “รายงานการวิจัย” ชื่องานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อของผู้วิจัยและคณะ ชื่อหน่วยงานต้นสังกัด ชื่อแหล่งทุน และปีที่เผยแพร่งานวิจัย 2. หน้าปกใน จะมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก 3. หน้าอนุมัติ จะระบุถึงคำอนุมัติจากต้นสังกัด 4. บทคัดย่อภาษาไทย 5. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ 6. หน้าประกาศคุณูปการหรือกิตติกรรมประกาศ เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความขอบคุณ ผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย 7. สารบัญ จะระบุถึงหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และหัวข้อย่อยอย่างครบถ้วน 8. สารบัญตาราง (ถ้ามี) จะแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของตาราง 9. สารบัญภาพ (ถ้ามี) จะแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของรูปภาพ 10. คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อที่ใช้ในการวิจัย

3. ข้อใดต่อไปนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนำเสนอการวิจัยด้วยวาจา

(1) 5 – 10 นาที

(2) 15 – 20 นาที

(3) 20 – 30 นาที

(4) 45 – 60 นาที

(5) 60 นาทีขึ้นไป

ตอบ 2 คำบรรยายจากเอกสาร: หน้า 106 การนำเสนอด้วยวาจา ผู้วิจัยจำเป็นต้องเตรียมสไลด์สำหรับการนำเสนอ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการลำดับความคิดและเนื้อหาสำหรับผู้นำเสนอ โดยทั่วไปแล้วผู้นำเสนอมักจะถูกกำหนดให้นำเสนอในช่วงระยะเวลาเพียง 15 – 20 นาทีเท่านั้น

4. ระเบียบวิธีการวิจัยดังกล่าวเป็นระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ หรือเป็นระเบียบแบบผสม คือบทใดของรายงานการวิจัย

(1) บทที่ 1

(2) บทที่ 2

(3) บทที่ 3

(4) บทที่ 4

(5) บทที่ 5

ตอบ 3 หน้า 83 – 93, (คำบรรยาย) การเขียนรายงานการวิจัย ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ดังนี้

บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา คำถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดำเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสำคัญทั้งต่อการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม

บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5. “นายกนกศักดิ์ให้ความสำคัญอย่างมากกับการตรวจสอบการสะกดคำและการใช้ภาษาราชการ เขาตรวจสอบงานวิจัยด้วยตนเองทุกหน้า หน้าละสามรอบ” การกระทำดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้

(1) ความเป็นเอกภาพ

(2) ความถูกต้อง

(3) ความสำรวมระมัดระวัง

(4) ความตรงประเด็น

(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคำ

ตอบ 2 หน้า 100, (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความถูกต้อง” หมายถึง การที่ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเนื้อหาของการวิจัยในทุกส่วนทุกวรรคตอนให้ถูกต้องทั้งตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์ โดยจะให้ความสำคัญอย่างมากกับการตรวจสอบการสะกดคำและการใช้ภาษาราชการ เพราะการสะกดคำผิดแม้แต่ที่เดียวหรือหลายที่นั้น อาจส่งผลให้ความหมายของคำและประโยคเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังทำให้คุณค่าของงานวิจัยด้อยลงตามไปด้วย

6. “บทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร” มีความสัมพันธ์กับหน่วยงานในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) TCI

(2) TGI

(3) NECTEC

(4) สป.อว.

(5) TDRI

ตอบ 1 หน้า 76 – 77, (คำบรรยาย) บทความวิจัย (Research Article) หรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไปแล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งวารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)

7. นางสาวิกาไม่แน่ใจว่าเครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์กันแน่ จากประเด็นที่ว่านี้ เธอควรพิจารณาเนื้อหาดังกล่าวปรากฏได้จากบทใด

(1) บทที่ 1 บทนํา

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

8. ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป คือบทใดของรายงานการวิจัย

(1) บทที่ 1

(2) บทที่ 2

(3) บทที่ 3

(4) บทที่ 4

(5) บทที่ 5

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

9. นายแรมโบ้ทําวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ การทําวิจัยของนายแรมโบ้คือการวิจัยแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 1 หน้า 17, (คําบรรยาย) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยในทางเชิงทฤษฎีต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท, การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

10. นางวิชุดาต้องการทราบว่า งานวิจัยในหัวข้อใกล้เคียงกันได้ผลการศึกษาแบบใด เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ใน

(1) บทที่ 1 บทนํา

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 5 หน้า 91, (คําบรรยาย) บทที่ 5 บทสรุป (การสรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ) ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์นั้นพบว่า การอภิปรายผลเป็นการเขียนเพื่อประเมินและขยายความผลการวิจัยที่ได้ เพื่อยืนยันให้ผู้อ่านได้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้นั้นน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และเป็นจริง โดยชี้ให้เห็นว่าผลการศึกษานั้นสอดคล้องกับงานวิจัยที่มีมาก่อนหน้าอย่างไร หรือมีแตกต่างจากผลการศึกษาของงานเราอย่างไร ซึ่งผู้วิจัยจะต้องขยายความต่อว่าเพราะเหตุใดหรือปัจจัยใดที่อาจส่งผลให้ผลการศึกษาดังกล่าวไม่สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นอื่นในหัวข้อใกล้เคียงกัน อีกทั้งจะต้องเขียนตอบวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน หากมีการวิจัยครั้งต่อไป ผู้วิจัยควรเสนอแนะเพื่อให้ผู้ที่สนใจทําปัญหาวิจัยคล้ายคลึงกันได้เห็นประเด็นที่ควรศึกษา ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มให้งานวิจัยในหัวข้อนั้นมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

11. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 3 หน้า 16 – 17 วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคําตอบ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ

12. หัวข้อวิจัยเรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ในการนําเสนอหัวข้อวิจัย

(1) นายสาธิตนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 กับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2560”

(2) นายจุรินทร์นําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “นโยบายการประกันราคาสินค้าและผลผลิตทางการเกษตร ของพรรคประชาธิปัตย์”

(3) นายเฉลิมชัยนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์”

(4) นายไตรรงค์นําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “พัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทยหลังปี พ.ศ. 2540”

(5) นายชวนนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบระบอบปกครองระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ”

ตอบ 4 หน้า 49, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลาย ตามลําดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจําเป็นที่จะต้อง ย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหน เป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น พัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทย หลังปี พ.ศ. 2540, พัฒนาการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสังคมไทย เป็นต้น

13. นายศิธาทําวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยอาศัยข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทําวิจัยของนายศิธาคือการวิจัยแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 หน้า 19, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูล ที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็น ในเรื่องต่าง ๆ ชีวประวัติของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

14. นายประยุทธ์ต้องการได้ข้อมูลการออกมาชุมนุมเรียกร้องให้มีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ไปอยู่กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่ามีผู้อํานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลออกมาชุมนุมเรียกร้อง จํานวนเท่าใด นายประยุทธ์ต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 3 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) การสังเกต (Observation) เป็นการเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยออกไปรับรู้ โดยตรงจากปฏิกิริยาท่าทางหรือเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งหรือ ที่ใดที่หนึ่ง ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของตัวผู้วิจัยเอง ตัวอย่างเช่น การสังเกตว่ามีผู้อํานวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลออกมาชุมนุมเรียกร้องจํานวนเท่าใด เป็นต้น

15. คําว่า “Appendix” สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของเอกสาร

(2) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของผู้ให้ข้อมูลคนสําคัญ

(3) เอกสารแสดงประวัติผู้วิจัยและคณะ

(4) เอกสารแสดงข้อมูลเชิงสถิติและผลการคํานวณของโปรแกรม SPSS

(5) เอกสารแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย

ตอบ 4 หน้า 75, (คำบรรยาย) ภาคผนวก (Appendix) ซึ่งปรากฏในส่วนท้ายของ “รายงานการวิจัย ฉบับสมบูรณ์” จะเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิ่มเติมของรายงานการวิจัย ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความจากกฎหมายฉบับเต็ม เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงสถิติและ ผลการคำนวณของโปรแกรม SPSS หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น

16. นายสุชัชวีร์ทำวิจัยการสำรวจจำนวนรถแท็กซี่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครภายหลังการประกาศขึ้นราคาน้ำมันของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การทำวิจัยของนายสุชัชวีร์คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 2 หน้า 18 – 19. (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล พื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสำรวจผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิกี่คน ไม่มาใช้สิทธิที่คน, การสำรวจ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การสำรวจจำนวนรถแท็กซี่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานครภายหลังการประกาศขึ้นราคาน้ำมันของรัฐบาล เป็นต้น

17. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การเตรียมตัวในการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ที่ถูกต้อง

(1) นายพรเทพเลือกใช้สีของอักษรในโปสเตอร์ที่อ่านง่ายที่สุด

(2) นายพรพันธ์ตรวจสอบขนาดพื้นที่ติดโปสเตอร์ก่อนสั่งพิมพ์

(3) นายพรศักดิ์สอบถามผู้จัดงานถึงคุณลักษณะของผู้เข้าชม

(4) นายพรทิวายืนประจำจุดแสดงโปสเตอร์ตั้งแต่เริ่มงาน

(5) นายพรหล้าสอบถามผู้จัดงานถึงความสนใจของผู้เข้าชม

ตอบ 5 หน้า 104 – 105, (คำบรรยาย) การเตรียมตัวในการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ ได้แก่ 1. ผู้วิจัยจำเป็นต้องทราบถึงสถานที่นำเสนอ ขนาดพื้นที่ติดโปสเตอร์ที่ผู้จัดงานกำหนดให้ วันและเวลาในการนำเสนอ รูปแบบของงาน จำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนค่าใช้จ่าย 2. ผู้วิจัยอาจถูกกำหนดให้ทำหน้าที่เพียงติดโปสเตอร์เท่านั้น ในขณะที่บางงานผู้นำเสนอ อาจต้องมาประจำยังจุดแสดงโปสเตอร์ของตนเองตามวันและเวลาที่กำหนด 3. ผู้วิจัยต้องเลือกเนื้อหาสาระของงานวิจัยให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของผู้เข้าชม 4. ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สีตัวอักษร สีพื้นหลัง ประเภทและขนาดของตัวอักษร เป็นต้น

18. ผลการศึกษา คือบทใดของรายงานการวิจัย

(1) บทที่ 1

(2) บทที่ 2

(3) บทที่ 3

(4) บทที่ 4

(5) บทที่ 5

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

19. “Objective, Value-Free, Verify, Explanation, Predictive” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research

(2) Resolution

(3) Result

(4) Resurne

(5) Response

ตอบ 1 หน้า 3, 22, (คำบรรยาย) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ หรือ การค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้
โดยอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ และเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถ สังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถพิสูจน์ได้ มีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) และการอธิบาย (Explanation) ตลอดจนการทํานาย (Predictive)

20. “นางสาวชมพู่หลีกเลี่ยงการพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 ในการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์” การกระทำดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้

(1) ความเป็นเอกภาพ

(2) ความถูกต้อง

(3) ความสำรวมระมัดระวัง

(4) ความตรงประเด็น

(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคำ

ตอบ 3 หน้า 101, (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความสำรวมระมัดระวัง” หมายถึง การที่ผู้วิจัยได้พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในการนำเสนอผลงานวิจัย โดยเขียนรายงานให้อยู่ในขอบเขตของข้อมูลที่ปรากฏอยู่จริง และใช้ข้อมูลดังกล่าวอย่างครบถ้วน ไม่ควรกล่าวเกินความเป็นจริงหรือเกินกว่าสิ่งที่ได้ศึกษามา รวมทั้งหลีกเลี่ยงการพาดพิงถึงบุคคลที่ 3

21. “สถาบันพระปกเกล้าประกาศให้ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ ประจำปีงบประมาณ 2565” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 2 หน้า 65 โครงร่างการวิจัย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ “Research Proposal” ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้าในการทำวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทำเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทำวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทำโครงร่างการวิจัยทุกครั้ง เพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้นก่อนที่จะทำการวิจัย

22. หัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์สถาบันในการนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์

(1) นายอนุทินเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “ประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของโรคระบาด : ศึกษากรณีโรคไข้หวัดสเปน”

(2) นายเนวินเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทของกลุ่มทุนระบบยาในสาธารณสุขไทย”

(3) นายศักดิ์สยามเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “พัฒนาการขนส่งมวลชนของไทย : ศึกษากรณีขนส่งมวลชนระบบราง”

(4) นางสาวมนัญญาเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาระบบรัฐสภาเปรียบเทียบ : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบรัฐสภาไทยกับระบบรัฐสภาอังกฤษ”

(5) นายชาดาเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางการเมืองในการเมืองไทย : ศึกษากรณีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ”

ตอบ 4 หน้า 50 – 51, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของโครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เป็นตัวกำหนดให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ออกมา ซึ่งแนวการวิเคราะห์นี้เลือกที่จะศึกษาเป็นรายประเทศ หรือนำสองประเทศหรือหลายประเทศมาทำการเปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง องค์กร และสถาบันทางการเมืองในประเทศนั้น ๆ มาร่วมด้วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบรัฐสภาไทยกับระบบรัฐสภาอังกฤษ เป็นต้น

23. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย

(1) การตั้งสมมติฐานการวิจัย

(2) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย

(3) การตั้งคําถามการวิจัย

(4) การทบทวนวรรณกรรม

(5) การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย

ตอบ 1 หน้า 54, (คําบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น

24. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการกําหนดตัวแปรในการวิจัย

(1) การค้นหาตัวแปรจะต้องมาจากการสํารวจวรรณกรรม

(2) การวิจัยที่ดีจะต้องมีตัวแปรที่น้อยที่สุดที่จะตอบปัญหาการวิจัยได้

(3) ผู้วิจัยควรคัดเลือกเฉพาะตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยเท่านั้น

(4) ตัวแปรและความสัมพันธ์ของตัวแปรเป็นตัวกําหนดวัตถุประสงค์

(5) งานวิจัยในอดีตสามารถนํามาใช้กําหนดตัวแปรในการวิจัยได้

ตอบ 4 หน้า 124 (คําบรรยาย) การกําหนดตัวแปรในการวิจัยนั้นจะขึ้นอยู่กับปัญหาการวิจัยและกรอบความคิด ซึ่งการค้นหาตัวแปรจะต้องมาจากการสํารวจวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือผลงานวิจัยในอดีตที่จะนํามาใช้กําหนดตัวแปรและความสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าว เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่างานวิจัยลักษณะเดียวกันมีใครศึกษาอะไรไปแล้วบ้าง การวิจัยที่ดีจะต้องมีตัวแปรที่น้อยที่สุดที่จะตอบปัญหาการวิจัยได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องคัดเลือกตัวแปรที่ไม่สําคัญออกไป หรือควรคัดเลือกเฉพาะตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยเท่านั้น ซึ่งจะสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการวิจัยด้วย กล่าวคือ วัตถุประสงค์จะเป็นตัวกําหนดตัวแปรและความสัมพันธ์ของตัวแปร

25. นายหมอปลาทําวิจัยเรื่องนโยบายการปราบปรามทุจริตเงินทอนวัด หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ขั้นตอนการวิจัยต่อไปที่ต้องทําคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 4 หน้า 3 – 4 (คําบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิด ความสงสัยจนนําไปสู่การตั้งคําถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับ เนื้อหาของบทนําในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสําคัญของปัญหา”
2. การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคําถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหา คําตอบได้
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคําถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่า เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5. การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในข้างต้นนั้นถูกหรือผิด

26. “นายกิตติต้องการหาสมการโมเดลเชิงโครงสร้างด้วยตัวแปรแบบใหม่ในงานวิจัยของเขา” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 110, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือเครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ โดยงานวิจัยประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับนักคิด นักปรัชญา และการถกเถียง ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของงานวิจัยลักษณะนี้ก็คือ การมีความเป็นอิสระ การมีระเบียบวิธีที่เข้มข้น การมีวงการหรือชุมชนวิชาการในการตรวจสอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเพื่อต้องการหาสมการโมเดลเชิงโครงสร้างด้วยตัวแปรแบบใหม่ เป็นต้น

27. นายมงคลกิตติ์ทำวิจัยเรื่องปัญหากระบวนการสืบสวนสอบสวนของตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี : กรณีศึกษาคดีแตงโม และมีการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือ

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

28. ตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ใน “การบริหาร” มากที่สุด

(1) Executive Summary

(2) Abstract

(3) Research Design

(4) Interim Report

(5) Vitae

ตอบ 1 หน้า 97 – 98, (คำบรรยาย) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) เป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่กะทัดรัด ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาการวิจัยทั้งหมด โดยจะมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารซึ่งมีเวลาไม่มาก สามารถทำความเข้าใจงานวิจัยทั้งหมดเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจหรือการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ดังนั้นการเขียนบทสรุปสำหรับผู้บริหารของผู้วิจัยจึงมีคุณูปการอย่างมากในการช่วยให้ผู้บริหาร ซึ่งมีข้อจำกัดคือ “เวลา” ได้ทราบสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมด โดยไม่ต้องใช้เวลาอ่านรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์หรือบทความฉบับเต็ม

29. ที่มาและความสำคัญของปัญหา ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Literature Review

(5) Problem Statement

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

30. นางสุนิสาต้องการทราบถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูลและการเก็บข้อมูลของนายโกศลว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

31. คำว่า “รายงานการวิจัย” สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของเอกสาร

(2) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ

(3) เอกสารแสดงประวัติผู้วิจัยและคณะ

(4) เอกสารในการเผยแพร่นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

(5) เอกสารแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย

ตอบ 4 หน้า 70, (คําบรรยาย) ความสําคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ได้แก่
1 เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม” หรือ “ข้อค้นพบ” ใหม่ในวงวิชาการ
2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทําวิจัยแล้วมีคนเพียงจํานวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น
3 เพื่อบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว
4 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของใน “ลิขสิทธิ์” ของวรรณกรรม หรือ “สิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น

32. การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อใดของการเขียนรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) เพื่อเผยแพร่ข้อค้นพบใหม่และนวัตกรรม

(2) เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้

(3) เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่างานวิจัยลักษณะเดียวกันมีใครศึกษาอะไรไปแล้วบ้าง

(4) เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในทางทรัพย์สินทางปัญญา

(5) เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

ตอบ 2 หน้า 70, (คําบรรยาย) “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึง งานวิจัยที่ทําเสร็จจนสมบูรณ์หรือเสร็จสิ้นโครงการแล้ว แต่ไม่สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง หรือมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในวงวิชาการ แต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวควรมีวัตถุประสงค์ในการเขียนรายงานการวิจัย ก็คือ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้

33. “เปรียบเทียบแว่นตาใช้การมองดูปรากฏการณ์ต่าง ๆ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 5 หน้า 43 – 44, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หรือกรอบการวิเคราะห์ เป็นเครื่องมือในการมองปรากฏการณ์ ซึ่งเปรียบเสมือนแว่นตาที่ใช้การมองดูปรากฏการณ์ต่าง ๆ กล่าวคือ วิธีการมองปรากฏการณ์ใด ๆ โดยผ่านกรอบการวิเคราะห์นั้นมันจะเหมือนกับการใส่แว่นสีต่าง ๆ หรือด้วยเลนส์ขนาดต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เรามองเห็นปรากฏการณ์นั้นชัดขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องวิธีการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองด้วย ทั้งนี้เพราะกรอบการวิเคราะห์หนึ่งจะมาพร้อมกับวิธีการวิจัยหรือวิธีการศึกษาปรากฏการณ์โดยอัตโนมัติ

34. นายสนธยามีความสนใจที่จะทําวิทยานิพนธ์หัวข้อบทบาททางการเมืองของกลุ่มการเมืองในการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา โดยตั้งคําถามในสิ่งที่มีความสนใจ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

35. นายพิธาทําวิจัยเรื่องการปรับตัวของราคาพลังงานที่สูงขึ้นในช่วงสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ขั้นตอนการวิจัยขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องทําคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

36. “นายเอกเขียนงานวิจัยด้วยการนําเสนอข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริง แม้ว่าข้อมูลนั้นจะขัดกับความเข้าใจ ของนายเอกก็ตาม” การกระทําดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้

(1) ความเป็นเอกภาพ

(2) ความถูกต้อง

(3) ความสํารวมระมัดระวัง

(4) ความตรงประเด็น

(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคํา

ตอบ 4 หน้า 101, (คําบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความตรงประเด็น” หมายถึง การที่รายงานการวิจัยมีความตรงไปตรงมา สามารถสะท้อนให้เห็นถึงจุดเน้นที่ผู้วิจัยต้องการ ได้เป็นอย่างดี และผู้วิจัยต้องสามารถนําเสนอสิ่งที่ได้ไปทําการศึกษามาเพื่อนํามาสู่การถ่ายทอด ได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น นายเอกเขียนงานวิจัยด้วยการนําเสนอข้อมูลที่ตรงกับความ เป็นจริง แม้ว่าข้อมูลนั้นจะขัดกับความเข้าใจของตนเองก็ตาม เป็นต้น

37. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การเขียนองค์ประกอบของบทคัดย่อที่ถูกต้อง

(1) นาย ก. เขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยครบทุกข้อ

(2) นาย ข. เขียนอธิบายถึงจํานวนประชากรและขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

(3) นาย ค. เขียนอธิบายผลการศึกษาและข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์

(4) นาย ง. เขียนบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิง

(5) นาย จ. เขียนถึงผลของการศึกษา ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ

ตอบ 4 หน้า 95 – 96, (คําบรรยาย) บทคัดย่อที่ดี ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน ได้แก่ 1. การกล่าวถึงปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ครบถ้วน เพื่อชี้ให้ผู้อ่านเห็นว่า เพราะเหตุใดหัวข้อวิจัยชิ้นนี้จึงควรคุณค่าแก่การศึกษา 2. การกล่าวถึงวิธีการในการดําเนินการวิจัย เพื่อชี้ให้เห็นว่าตามวัตถุประสงค์ในข้างต้น โดยเขียนอธิบายถึงจํานวนประชากรและขนาดของกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยมีการนําเสนอเครื่องมือวิจัยหรือวิธีการวิจัย ในการค้นหาคําตอบเหล่านั้นได้อย่างไร 3. การกล่าวถึงผลของการศึกษา ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ และข้อเสนอแนะ เพื่อชี้ให้อ่าน ได้เห็นภาพของงานวิจัยอย่างรวดเร็วหรือทราบสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งมีประโยชน์ อย่างมากในเชิงวิชาการ

38. นางลลิตาต้องการทราบถึงขอบเขตของการวิจัยว่า ผู้วิจัยทําวิจัยในช่วงเวลาใดถึงเวลาใด เนื้อหาดังกล่าว ปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนํา

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

39. “นางศิริรักษ์ทําวิจัยเพื่อสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของรัฐบาล เพื่อนําไปสู่การแก้ไข ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ให้ได้ภายในสามปี” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) งานวิจัยเชิงนโยบาย เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุน ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือสนับสนุน ทางเลือกเชิงนโยบาย (Policy Choice) ของรัฐบาล ตลอดจนการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพื่อนํา
ไปสู่การประเมินผลกระทบและการผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะ ตัวอย่างเช่น แนวทางในการแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร, แนวทางในการพัฒนาพุน้ําร้อนเค็มคลองท่อมจังหวัดกระบี่อย่างยั่งยืน เป็นต้น

40. รายงานการวิจัยเรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์จิตวิทยาในการทํารายงานการวิจัย

(1) นายวิชญ์ทํารายงานการวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบระบบการเลือกตั้งระหว่างระบบเขตกับ ระบบบัญชีรายชื่อ”

(2) นายธรรมนัสทํารายงานการวิจัยเรื่อง “นโยบายการหาเสียงของพรรคการเมืองไทย : ศึกษากรณี พรรคเศรษฐกิจไทย”

(3) นางสาวธนพรทํารายงานการวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 : จังหวัดพะเยา”

(4) นายบุญสิงห์ทํารายงานการวิจัยเรื่อง “วิวัฒนาการของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย”

(5) นายไผ่ทํารายงานการวิจัยเรื่อง “บทบาททางการเมืองของกลุ่มการเมืองในพรรคพลังประชารัฐ”

ตอบ 3 หน้า 47 แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่า สาเหตุในการกระทําเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การตัดสินใจของผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, การออกไปชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ของกลุ่มเยาวชน ปลดแอก เป็นต้น

41. จากภาพด้านล่างนี้ เป็นการสํารวจ “ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการใช้รถโดยสารสาธารณะ” ตารางดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงมาตรวัดแบบใด

ข้อ ความคาดหวัง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1 ความสะอาด
2 ความปลอดภัย
3 ความสะดวก
4 ความประหยัด

 

(1) Rating Scale

(2) Likert Scale

(3) Sum Meted Scale

(4) Guttman Scale

(5) Semantic Differential Scale

ตอบ 2 หน้า 147 (คําบรรยาย) Likert Scale เป็นมาตรวัดที่มีผู้นิยมมากที่สุด และใช้กันอยู่แพร่หลาย เพราะความง่ายในการสร้าง โดยจะเรียงข้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา ซึ่งข้อความแต่ละ ข้อความจะมีตัวเลือกในการตอบได้ 5 ทาง เช่น การสํารวจ “ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อ การใช้รถโดยสารสาธารณะ” ด้วยการกําหนดให้ คาดหวังมากที่สุด คือ 5, คาดหวังมาก คือ 4, คาดหวังปานกลาง คือ 3, คาดหวังน้อย คือ 2 และคาดหวังน้อยที่สุด คือ 1 เป็นต้น

42. นางสาวรสนาทําวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ําท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การทําวิจัยของนางสาวรสนา คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 4 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงอธิบายหรือการวิจัยเชิงวิเคราะห์ เป็นการวิจัยที่จะวิเคราะห์ความเกี่ยวกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปว่าส่งผลอย่างไรกัน กล่าวคือ

การวิจัยนี้จะมุ่งอธิบายว่า ทำไมปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ถึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงเป็น เช่นนั้น ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, การวิจัย เรื่องสาเหตุการเกิดรัฐประหารบ่อยครั้งของประเทศไทย เป็นต้น

43. นายอิทธิพลต้องการทราบว่าเพราะเหตุใดผู้วิจัยจึงเลือกศึกษาประเด็นการขาดแคลนแหล่งน้ำในภาคอีสาน แทนที่จะเป็นภาคเหนือ เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

44. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงประโยชน์ของ “ตัวแปรเชิงพัฒนา” ได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด

(1) ตัวแปรที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้วิจัย

(2) ตัวแปรที่ใช้ในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้า

(3) ตัวแปรมาตรฐานที่ต้องมีในทุกการวิจัย

(4) ตัวแปรที่นำไปสู่ข้อเสนอแนะของการวิจัยต่อไป

(5) ตัวแปรที่จะนำไปใช้ตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา

ตอบ 5 หน้า 125 ตัวแปรเชิงพัฒนา หมายถึง ตัวแปรที่จะทำให้คำตอบของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือ ที่จะนำไปใช้ตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา ว่าต้องการพรรณนา อธิบาย ทำนาย หรือควบคุม ตัวอย่างของตัวแปรประเภทนี้ ได้แก่ ความสามารถในการบริหารของหน่วยงานของรัฐ, การมี ส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่าง ๆ เป็นต้น

45. ข้อสงสัยที่จะนำมาสู่การทำวิจัย ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 20 – 22, (คำบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การกำหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทำ ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคำถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคำตอบ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนำไปสู่การทำวิจัย
1 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะทำการหาคําตอบ
3 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน
4 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนำมาประมวลข้อมูล
5 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคำตอบของการวิจัย
6 การจัดทำและนำเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียน รายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มและทำการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย

46. ข้อใดต่อไปนี้คือการกระทําที่ใกล้เคียงกับ “การวิจัย” มากที่สุด

(1) นายเอกต้องการทราบว่าเดือนหน้าเขาจะถูกลอตเตอรี่หรือไม่ เขาจึงไปหาหมอดูเพื่อดูดวง

(2) นายบีต้องการทราบว่าข้อเท็จจริงของข่าวดาราถูกทําร้ายร่างกายเป็นอย่างไร เขาจึงไปพบร่างทรงเพื่อให้ดูเหตุการณ์ให้

(3) นายอาร์มต้องการทราบว่าผลการวิจัยในเรื่องทัศนคติทางการเมืองก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร เขาจึงใช้การคาดเดาอย่างมีหลักการ

(4) นางสาวนุชต้องการทราบว่าปลาที่เธอเลี้ยงไว้หายไปไหน เธอจึงนั่งสังเกตและจดบันทึกในแต่ละวัน

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 18 (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้นจะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา เช่น การเข้าไปสังเกตการบริหารจัดการน้ําของสํานักการระบายน้ํา กรุงเทพมหานคร, การเข้าไปสังเกตการเคลื่อนไหวของม็อบ ทะลุฟ้า, การเข้าไปสังเกตเพื่อต้องการทราบว่าปลาที่เลี้ยงไว้หายไปไหน เป็นต้น

47. “นางอิงอรนําผลการวิจัยที่ได้มาตรวจสอบว่าข้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในบทที่ 1 ของงานวิจัย” การกระทําดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้

(1) ความเป็นเอกภาพ

(2) ความถูกต้อง

(3) ความสํารวมระมัดระวัง

(4) ความตรงประเด็น

(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคํา

ตอบ 1 หน้า 100 (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความเป็นเอกภาพ” หมายถึง การที่ผู้วิจัยเขียนเนื้อหาของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันตลอด ตั้งแต่ส่วนนําของงานวิจัยไปจนกระทั่งถึงส่วนสรุปของงานวิจัย เช่น การนําผลการวิจัยที่ได้มาตรวจสอบว่าข้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในบทที่ 1 ของงานวิจัย, การตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานวิจัยอย่างละเอียดว่างานทุกบทมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ที่มาและความสําคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย เครื่องมือวิจัย ผลการวิจัย และการสรุปผล เป็นต้น

48. หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอนใดที่ต้องกําหนดควบคู่กับการตั้งคําถามการวิจัย

(1) การจัดทําแบบสมภาษณ์ในการวิจัย

(2) การเขียนโครงการวิจัย

(3) เครื่องมือต่าง ๆ ในการวิจัย

(4) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย

(5) การจัดทําแบบสอบถามในการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 56 – 57 (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอน “การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย” (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทําวิจัยว่าจะทําไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คําขึ้นต้นคําว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสํารวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกําหนดควบคู่ไปกับการตั้งคําถามการวิจัย

49. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์

(1) นายแพทย์โอภาสมีความสนใจเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอน ขั้นตอนแรกที่ต้องทําคือการกําหนดปัญหาการวิจัย

(2) นายแพทย์สมศักดิ์ได้ตั้งคําถามการวิจัยเรื่องการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทําคือการไปศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

(3) นายแพทย์สุวรรณชัยทําการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเรื่องการผลิตยาฟาวิพราเวียร์ครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทําคือการวิเคราะห์ข้อมูล

(4) นายแพทย์ประสิทธิ์ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบของการวิจัยเรื่องภาวะสุขภาพจิตของคนไทย ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือต้องเขียนรายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มและเผยแพร่ผลการวิจัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 45 ประกอบ

50. นายโสภณต้องการหาทฤษฎีอันเป็นที่มาของกรอบแนวคิดในงานวิจัยของนายกอบศักดิ์ เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4 ประกอบ

51. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เกณฑ์การทดสอบความเชื่อถือได้

(1) Stability (เสถียรภาพ)

(2) Original (ความเป็นต้นฉบับ)

(3) Equivalence (การทดแทนซึ่งกันและกันได้)

(4) Homogeneity (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 2 หน้า 152 เกณฑ์การทดสอบความเชื่อถือได้ ประกอบด้วย เสถียรภาพ (Stability) การทดแทนซึ่งกันและกันได้ (Equivalence) และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity)

52. นายชัชชาติทำวิจัยเรื่องการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทำวิจัยของนายชัชชาติคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 13 ประกอบ

53. นายเทพไททำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 2,000 คน นายเทพไทต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview (การสัมภาษณ์เชิงลึก)

(2) Research Proposal (โครงร่างงานวิจัย)

(3) Observation (การสังเกต)

(4) Questionnaire (แบบสอบถาม)

(5) Focus Group (กลุ่มสนทนา)

ตอบ 4 หน้า 63, (คำบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งส่วนมากวิธีการนี้มักจะถูกใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงสำรวจ ในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างหรือประชากรที่จะรวบรวมข้อมูลนั้นอยู่ในลักษณะที่กระจัดกระจายกันมากๆ เช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

54. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคสถาบันเน้นการศึกษาในเรื่องใด

(1) Political Philosophy (ปรัชญาการเมือง)

(2) Political Psychology (จิตวิทยาการเมือง)

(3) Political Institution (สถาบันทางการเมือง)

(4) Political Theory (ทฤษฎีการเมือง)

(5) Political Thought (แนวความคิดทางการเมือง)

ตอบ 3 หน้า 10, (คำบรรยาย) การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคสถาบันนิยม (Institutional Period) เป็นยุคที่เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาคือ เน้นศึกษา “รัฐ” ดังนั้น นักรัฐศาสตร์จึงเลือกศึกษาสถาบันที่เป็นทางการของรัฐ (Formal Institution) เพราะเชื่อว่าสถาบันทางการเมือง (Political Institution) ที่ประกอบกันขึ้นเป็นรัฐนั้นจะสามารถสะท้อนความเป็นจริงของรัฐได้ เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน รัฐสภา ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร เป็นต้น ซึ่งทำให้การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้ถูกเรียกว่า ศาสตร์แห่งรัฐ (Staatswissenschaft)

55. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การออกแบบการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การนำเสนอรายงานการวิจัย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 45 ประกอบ (หมายเหตุ: ในเอกสารไม่ได้ระบุคำอธิบายข้อ 45)

56. วิทยานิพนธ์เรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์

(1) นายโทนี่ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเปรียบเทียบนโยบายประชารัฐของรัฐบาลประยุทธ์กับนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ”

(2) นางสาวกุ้งอึ้งทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การก่อเกิดรัฐบาลพรรคเดียวในการเมืองไทย : ศึกษากรณีพรรคไทยรักไทย”

(3) นางสาวปูทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 : จังหวัดเชียงใหม่”

(4) นายโอ๊คทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “พัฒนาการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยระหว่างปี พ.ศ. 2544 – 2549”

(5) นายชลน่านทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเกิดขึ้นของกลุ่มทางการเมืองภายในพรรคเพื่อไทย”

ตอบ 5 หน้า 52, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของกลุ่มการเมืองภายในพรรคเพื่อไทย เป็นต้น

57. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Literature Review

(5) Problem Statement

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ (หมายเหตุ: ในเอกสารไม่ได้ระบุคำอธิบายข้อ 25)

58. “นายกานต์ต้องการเพิ่มมูลค่าของมะขามด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อขายในเทศกาลสำคัญ เขาจึงสำรวจรสนิยมและความต้องการของผู้บริโภคผ่าน Google Form” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 111 – 112, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อผลตอบแทนหรือการลงทุนเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน โดยผู้วิจัยสามารถสำรวจความต้องการของภาคการผลิตต่าง ๆ เป็นรายสาขา เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ําตั้งแต่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น ธรรมชาติของงานวิจัยประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาดและนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจำเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด ตัวอย่างเช่น การเพิ่มมูลค่าของมะขามด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อขายในเทศกาลสำคัญ โดยสำรวจรสนิยมและความต้องการของผู้บริโภคผ่าน Google Form เป็นต้น

59. การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อมาพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(3) Data Analysis

(1) Conclusion

(4) Literature Review

(2) Data Collection

(5) Problem Statement

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

60. “หากมีการวิจัยครั้งต่อไป ผู้วิจัยควรพิจารณาอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อทำให้การศึกษามีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น” ประโยคดังกล่าวนี้เป็นเนื้อหาที่น่าจะปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใดมากที่สุด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

61. ข้อใดต่อไปนี้คือหลักการที่สำคัญที่สุดในการนำเสนอด้วยโปสเตอร์

(1) ความตื่นตาตื่นใจ

(2) ความหรูหรา

(3) ความเรียบง่าย

(4) ความถูกต้อง

(5) ความสำรวมระมัดระวัง

ตอบ 3 หน้า 104, (คำบรรยาย) การนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้วิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ส่วน ได้แก่ การวางแผน รูปแบบโปสเตอร์ และเนื้อหาของโปสเตอร์ โดยผู้วิจัยจะต้องเลือกเนื้อหาที่มีความเรียบง่าย (Simplify) มากที่สุด

62. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึง “ที่มา” ของบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารได้ใกล้เคียงที่สุด

(1) แบบสอบถามที่ผ่านการเก็บข้อมูลแล้ว

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บรรณานุกรม

(4) การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ

(5) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

63. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย

(1) Appendix

(2) Conceptual Framework

(3) Research Methodology

(4) Problem Statement

(5) Research Question

ตอบ 1 หน้า 65 – 66, (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่อง (Research Title) 2. สภาพปัญหาหรือที่มาของปัญหา (Problem Statement) 3. คำถามในการวิจัย (Research Question) 4. วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective) 5. สมมติฐาน (Hypothesis) 6. การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) 7. ขอบเขตของการวิจัย (Scope) 8. ประโยชน์ที่จะได้รับ 9. นิยามศัพท์สำคัญ (Operational Definition) 10. วิธีการในการดำเนินการวิจัยหรือ ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นต้น

64. นายสกลธีทำวิจัยเรื่องการออกแบบอุโมงค์ระบบน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดมุ่งหมายนำไปใช้ประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การทำวิจัยของนายสกลธีคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 5 หน้า 19. (คำบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องการออกแบบอุโมงค์ระบบน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปใช้
ประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการซื้อ สิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้ง เป็นต้น

65. ในการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ผู้นำเสนอจำเป็นต้องอยู่ในห้องนำเสนอเมื่อการนำเสนอเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่ เพราะเหตุใด

(1) ไม่จำเป็น เนื่องจากการอยู่ในห้องนำเสนอต่อสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พร้อม

(2) ไม่จำเป็น เนื่องจากการนำเสนอได้เสร็จสิ้นแล้วและควรออกจากห้องเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้นำเสนอท่านต่อไป

(3) จำเป็น เนื่องจากอาจมีผู้ที่สนใจในงานวิจัยเข้ามาซักถามเพิ่มเติม

(4) จำเป็น เนื่องจากเป็นข้อกำหนดตามระเบียบของสมาคมวิชาชีพ

(5) ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้จัดงานและเวลาของผู้นำเสนอ

ตอบ 2 หน้า 105, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) ผู้นำเสนอ อาจจะนำเสนอด้วยแบบสไลด์หรือ Power Point ก็ได้ ซึ่งในช่วงหลังการนำเสนอ ผู้นำเสนอควร กล่าวขอบคุณผู้ดำเนินรายการและผู้ประสานงาน อย่ารีบปิดสไลด์ที่นำเสนอ เพราะอาจมีผู้สนใจ ซักถามเพิ่มเติม หากมีผู้ซักถามควรตั้งใจฟังคำถาม และตอบคำถามด้วยความสุภาพ ไม่ควรบอก แก่ผู้ฟังว่าหมดเวลาการนำเสนอ หรือหมดเวลาการซักถามแล้ว แต่ควรรอให้ผู้ดำเนินรายการ หรือกรรมการเป็นผู้บอก เมื่อผู้ดำเนินรายการหรือกรรมการบอกหมดเวลา ควรขอบคุณอีกครั้ง แล้วปิดสไลด์ และลงจากเวทีนำเสนอ เมื่อการนำเสนอเสร็จสิ้นแล้ว ผู้นำเสนอไม่จำเป็นต้องอยู่ ในห้องนำเสนอ ควรออกจากห้องเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้นำเสนอท่านต่อไป

66. นายปัญญาต้องการเห็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเอกสารของกระทรวงว่ามีข้อความอย่างไรบ้าง เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

67. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะสำคัญของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย”

(1) เป็นการแสดงระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยต่อต้นสังกัด

(2) เป็นการแสดงระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยต่อหน่วยงานผู้ให้ทุน

(3) เป็นการแสดงรายละเอียดของโครงการวิจัยพอสังเขป

(4) เป็นการแสดงงบประมาณที่ใช้ในการทำวิจัย

(5) เป็นการเขียนขึ้นหลังจากที่งานวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว

ตอบ 5 หน้า 79 – 80, (คำบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Interim Report) เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่การวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมี รายละเอียดในส่วนของขอบเขตของการวิจัยและผลการศึกษา แต่ผู้วิจัยจะมีเป้าหมายเพื่อ รายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้า ๆ ดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือ สัมฤทธิผลที่ได้ทำสัญญากันไว้ และยังมีผลในการพิจารณาขยายระยะเวลาส่งงานวิจัยตาม กำหนดอีกด้วย

68. การจัดทำรายงานวิจัยเล่มสมบูรณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

69. “เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

70. นางสาวมุทิดาต้องการทราบถึงผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

71. “นายปองกูลตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานวิจัยอย่างละเอียดว่า งานทุกบทมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ที่มา และความสำคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย เครื่องมือวิจัย ผลการวิจัย และการสรุปผล การกระทำดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้”

(1) ความเป็นเอกภาพ

(2) ความถูกต้อง

(3) ความสำรวมระมัดระวัง

(4) ความตรงประเด็น

(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคำ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

72. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึง “ที่มา” ของรายงานการวิจัยฉบับสั้นได้ใกล้เคียงที่สุด

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานประจำปีของบริษัท

(3) รายงานประจำของมหาวิทยาลัย

(4) เอกสารจากหอจดหมายเหตุ

(5) การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ

ตอบ 1 หน้า 76, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียด ย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักมีความหนาประมาณ 50 หน้ากระดาษ A4

73. “เป็นการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 หน้า 63, (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันตรงที่ว่า การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถามผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลรายใหญ่ เป็นต้น

ข้อ 74. ข้อใดต่อไปนี้เรียงลำดับความเป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรมได้อย่างถูกต้องมากที่สุด

(1) Real Definition – Nominal Definition – Measurement – Conceptualization

(2) Conceptualization – Operation Definition – Real Definition – Measurement

(3) Nominal Definition – Reat Definition – Measurement – Conceptualization

(4) Conceptualization – Real Definition – Nominal Definition – Measurement

(5) Conceptualization – Nominal Definition – Real Definition – Measurement

ตอบ 5 หน้า 117 กระบวนการเปลี่ยนรูปจากนามธรรม (Abstract) ไปสู่รูปธรรม (Concrete) เขียนได้ดังนี้
1 การสร้างกรอบแนวความคิด (Conceptualization)
2 นิยามความหมาย (Nominal Definition)
3 นิยามความจริง (Real Definition)
4 นิยามปฏิบัติการ (Operation Definition)
5 การสร้างเครื่องมือวัด (Measurement)

ข้อ 75. นายวิโรจน์ทําวิจัยเรื่องนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากหนังสือ ตํารา งานวิจัย และบทความวิชาการ การทําวิจัยของนายวิโรจน์คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 3 หน้า 18, 158, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัย ที่ใช้ข้อมูลจากเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารทางราชการ เอกสารการวิจัย หนังสือ ตํารา บทความต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของการวิจัยนี้ ได้แก่ การวิจัย เรื่องนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ข้อ 76. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการเขียนบทสรุปผู้บริหารได้อย่างถูกต้องมากที่สุด

(1) ห้ามมีรูปภาพ

(2) ห้ามมีตาราง

(3) ห้ามอ้างอิง

(4) ห้ามกล่าวชื่อเรื่อง

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 – หน้า 98 การเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหารมีข้อควรระวังอยู่ 4 ประการ คือ
1 ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและน่าเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ
2 อาจมีรูปภาพและตารางในบทสรุปผู้บริหารเท่าที่จําเป็นได้
3 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร
4 ควรพยายามรักษาบทสรุปสําหรับผู้บริหารให้มีความยาวไม่เกิน 3 – 5 หน้ากระดาษ A4 และถ้าเป็นบทสรุปเพื่อสื่อมวลชนไม่ควรมีความยาวเกินกว่า 2 หน้ากระดาษ A4

ข้อ 77. ในช่วงเวลาใดต่อไปนี้ถือได้ว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมีลักษณะเป็นแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) มากที่สุด

(1) ค.ศ. 1800 – 1810

(2) ค.ศ. 1850 – 1860

(3) ค.ศ. 1890 – 1900

(4) ค.ศ. 1901 – 1910

(5) ค.ศ. 1950 – 1960

ตอบ 5 หน้า 12, (คำบรรยาย) การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) โดยนักรัฐศาสตร์มองว่า การศึกษาการเมืองจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้ (Scientific Method) บางครั้งมักถูกเรียกว่า “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) โดยเน้นการทำนายพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทำนาย (Predictive) ไม่เน้นพรรณนาบรรยาย มีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) ซึ่งรัฐศาสตร์ ในยุคนี้ถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นำทางการเมือง (Political Psychology) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นต้น

78. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งคำถามการวิจัย

(1) การตั้งคำถามการวิจัยที่ดีควรใช้คำถาม “ทำไม อย่างไร อะไร”

(2) คำถามการวิจัยประเภท “ทำไม” เป็นการหาคำตอบในลักษณะบรรยาย

(3) คำถามการวิจัยประเภท “อะไร” ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์

(4) คำถามการวิจัยประเภท “อย่างไร” ต้องการทราบสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมือง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 54 – 56, (คำบรรยาย) การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยภายหลังจากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ รอบตัว การตั้งคำถามที่ดีนั้นไม่ควร ใช้คำถาม “ใช่หรือไม่” แต่ควรใช้คำถาม “ทำไม อย่างไร อะไร” ซึ่งคำถามประเภท “ทำไม” จะเป็นคำถามที่ต้องการทราบสาเหตุหรือเหตุผลของปรากฏการณ์ทางการเมือง คำถามประเภท “อย่างไร” จะเป็นคำถามที่ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง ส่วนคำถามประเภท “อะไร” จะเป็นคำถามที่มุ่งให้ค้นหาคำตอบในลักษณะบรรยาย

79. “นายเพิ่มศักดิ์ศึกษาว่าเพราะเหตุใดบริเวณสี่แยกจึงมีเด็กและเยาวชนมาขายพวงมาลัยเป็นจำนวนมาก และจะช่วยเพิ่มสิทธิในการเข้าถึงสถานศึกษาได้อย่างไร” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 113, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาในท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ออกมาจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชน ปัญหาในท้องถิ่น และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น กระบวนการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินทำกินเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้คนในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง, การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่มาขายพวงมาลัยบริเวณสี่แยก เพื่อจะช่วยเพิ่มสิทธิในการเข้าถึงสถานศึกษา เป็นต้น

80. การคาดเดาคำตอบ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

81. “หน้าอนุมัติ” ปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) ไม่ใช่ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) หน้าปก

(3) ส่วนประกอบตอนต้น

(4) ส่วนประกอบตอนท้าย

(5) บทสรุปของการวิจัย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

82. นางสาวภารดีต้องการทราบว่า นายพงศกรซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักมีความเห็นอย่างไรต่อผลการศึกษาของเขา ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยอื่นก่อนหน้านี้อย่างมาก เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา

(5) บทที่ 5 บทสรุป

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

83. ความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) เพื่อแสดงอาณาเขตของงานวิจัยเพื่อมิให้ผู้อื่นทำหัวข้อคล้ายกัน

(2) เพื่อแสดงความสามารถอันโดดเด่นของนักวิจัย

(3) เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ

(4) เพื่อป้องกันผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ

(5) เพื่อจับจองพื้นที่ของประเด็นที่ทำการศึกษา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

84. แนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลได้รับอิทธิพลจากสาขาวิชาใด

(1) Economics

(2) Sociology

(3) History

(4) Anthropology

(5) Mathematics

ตอบ 1 หน้า 48, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล (Rational Approach) หรือบางทีก็เรียกว่า “Rational Choice Approach” จะมีสมมุติฐานที่สำคัญคือ มนุษย์ทุกคน เป็นมนุษย์ที่มีเหตุมีผล เวลาจะทำอะไรแล้วจะคำนวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์อย่างไร และเมื่อคำนวณดูผลลัพธ์ในทางต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว คน ๆ นั้นก็จะทำตามในทางที่ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด หรือในกรณีที่ตนเองไม่มีทางจะได้ประโยชน์ คน ๆ นั้นก็จะเลือกวิธีการที่ตนเองจะเสียเปรียบน้อยที่สุด ซึ่งแนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลนี้ได้รับอิทธิพลมาจากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)

85. นายอัศวินทำวิจัยเรื่องนโยบายการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเข้าไปสังเกตการบริหารจัดการน้ำของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร การทำวิจัยของนายอัศวินคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

86. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์

(1) Normative

(2) Value-Free

(3) Scientific Method

(4) Predictive

(5) Positivism

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

87. “ชุดในการอธิบายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในทางการเมือง” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Political Philosophy

(2) Political Psychology

(3) Political Institution

(4) Political Theory

(5) Political Thought

ตอบ 4 หน้า 45 – 46, (คำบรรยาย) ทฤษฎีการเมือง (Political Theory) หมายถึง ชุดของภาษาหรือ ชุดในการอธิบายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในทางการเมือง หรือเรื่องราวของความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ

88. การสรุปผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Literature Review

(5) Problem Statement

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

89. “นายนพพลทำการสำรวจวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการทำวิจัยของเขา” การกระทำของนายนพพลดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อใดของการเขียนรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) เพื่อเผยแพร่ข้อค้นพบใหม่และนวัตกรรม

(2) เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้

(3) เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่างานวิจัยลักษณะเดียวกันมีใครศึกษาอะไรไปแล้วบ้าง

(4) เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในทางทรัพย์สินทางปัญญา

(5) เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

90. นายโจ๊กทำวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลรายใหญ่ โดยนายโจ๊กจะเป็นคนตั้งประเด็นในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง นายโจ๊กต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

91. “องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่างๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 1 หน้า 17, (คำบรรยาย) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่างๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น สามารถนำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ

92. “สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ” ขึ้นตรงต่อกระทรวงใดในปัจจุบัน

(1) กระทรวงศึกษาธิการ

(2) กระทรวงมหาดไทย

(3) กระทรวงการต่างประเทศ

(4) กระทรวงสาธารณสุข

(5) กระทรวงการอุดมศึกษา

ตอบ 5 (คำบรรยาย) “สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ” เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย และยังมีบทบาทเป็น หน่วยงานกลางในการทําหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการวิจัยทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์

93. ในประเทศไทย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ได้แบ่งประเภทของวารสารวิชาการในประเทศไทย ออกเป็นกี่กลุ่ม

(1) ประเทศไทยไม่มีการแบ่งกลุ่มวารสาร มีเพียงในต่างประเทศเท่านั้น

(2) หน่วยงานข้างต้นไม่ได้ทําหน้าที่ในการแบ่งกลุ่มวารสาร

(3) 1 กลุ่ม

(4) 2 กลุ่ม

(5) 3 กลุ่ม

ตอบ 5 หน้า 77 – 78 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) ได้แบ่งประเภทของวารสารวิชาการในประเทศไทยออกเป็น 3 กลุ่ม (ข้อมูล ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560) คือ
1 วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือก เข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Iridex (ACI) ต่อไป
2 วารสารที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ และอยู่ในฐานข้อมูล TCI
3 วารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต

94. แบบสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

95. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด

(1) Political Philosophy

(2) Political Psychology

(3) Political Institution

(4) Political Theory

(5) Political Thought

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

96. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง “รายงานขั้นต้นของการวิจัย

(1) Interim Report

(2) Inception Report

(3) Inceptual Report

(4) Research Proposal

(5) Final Report

ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย) รายงานขั้นต้นของการวิจัย (Inception Report) หมายถึง การสรุปผล การดําเนินงานหลังจากที่ผู้วิจัยได้รับการอนุมัติหัวข้อวิจัยและโครงร่างนําเสนอการวิจัย โดยผู้วิจัย ต้องแสดงให้เห็นถึงแผนการดําเนินงานในขั้นแรกหรือในช่วงเริ่มต้น ตลอดจนรายละเอียดของ การปรับแก้ในส่วนต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาโครงร่างได้เสนอแนะไว้

97. วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

98. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์มากที่สุด

(1) เป็นรายงานการวิจัยที่มีความยาวประมาณ 50 – 60 หน้า

(2) เป็นรายงานการวิจัยที่นักวิจัยทุกคนต้องทํา

(3) เป็นรายงานการวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อย่นระยะเวลาในการอ่าน

(4) เป็นรายงานการวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ในห้องสมุด

(5) เป็นรายงานการวิจัยที่พัฒนามาจากบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์

ตอบ 2 หน้า 71 – 75, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานการวิจัยที่มีความหนา มากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด เนื่องจากเป็นรายงานที่มีรายละเอียดของการทําวิจัย ครบทั้งหมด มีรูปแบบเคร่งครัด ส่วนใหญ่ใช้ศัพท์ทางวิชาการ เป็นการนําเสนอที่ผ่านขั้นตอน ต่าง ๆ จนพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์แบบ โดยจะประกอบด้วย ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย นอกจากนี้ยังถือเป็นรายงานการวิจัยที่นักวิจัยทุกคน ต้องเขียนขึ้น และจําเป็นต้องมีลายเซ็นของคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ปรากฏอยู่เสมอ

99. นายภูมิธรรมทําวิจัยเรื่องทัศนคติทางการเมืองของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อพรรคเพื่อไทย โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 3,000 คน เพื่อต้องการข้อมูลไปวิเคราะห์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

100. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบหลักของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย”

(1) รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการวิจัย

(2) แหล่งที่มาของเอกสารการวิจัย

(3) รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ

(4) แผนงานที่จะดําเนินการต่อไป

(5) ปัญหาหรืออุปสรรคจากการทําวิจัย

ตอบ 2 หน้า 78 – 80, (คําบรรยาย) องค์ประกอบหลักของรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย ได้แก่
1 รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการวิจัยหรือแผนงานวิจัย
2 รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานความก้าวหน้า
3 รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ
4 แผนงานตามโครงการวิจัยที่จะดําเนินการต่อไป
5 คําชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคจากการทําวิจัย

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ s/2566

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566

ข้อสอบกระบวนวิชา POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) มีการแบ่งงานกันทำภายในพรรคตามความถนัด

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

(4) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(5) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้น พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
2 มีการแบ่งงานกันทำภายในพรรคตามความถนัด
3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

2. ตามคำนิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 (คำบรรยาย) หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คำนิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมือง ได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริม ผลประโยชน์ของชาติ”

3. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (คำบรรยาย) (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหารได้มีผลทำให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง และทำให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภาสิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดำรงอยู่ แต่ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

4. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ (หมายเหตุ: น่าจะเป็น “ดูคำอธิบายข้อ 4 ประกอบ” เนื่องจากเป็นข้อที่ 4)

5. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คำบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทำให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ภายใต้เงื่อนไขการออกกฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทำให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใคร เสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

6. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คำบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ “ฟาสซิสต์ และนาซี ที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมือง ที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

7. ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นำ เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ มี 3 ประการ คือ 1. การวิจารณ์สังคม หรือระเบียบในปัจจุบัน 2. การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต 3. การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

8. ในยุคที่พรรคนาซีมีอำนาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอำนาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็น การแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

9. ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทำลายสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วย กับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทำลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

10. พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นำพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จำกัดจำนวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ
1 ต้องมีความยั่งยืน โดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออำนาจของผู้นำพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการ หรืออุดมการณ์เป็นหลัก
2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกัน ระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น
3 ผู้นำพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลำพังพรรคเดียว หรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้
4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไป เมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

11. พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อำนาจ หรือการดำเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้ จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

12. อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

13. อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจ อยู่เท่านั้นไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์ และนาซี) เช่น จีน ลาว เวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

14. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchisin) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิด ทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมือง หรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความ ชั่วร้ายนานาประการ

15. ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) อิทธิพร บุญประคอง

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ปัจจุบัน คณะกรรมการการเลือกตั้งมี 7 คน ประกอบด้วย ประธาน กกต. ได้แก่ นายอิทธิพร บุญประคอง และกรรมการอีก 6 คน ได้แก่ นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ, นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ, นายชาย นครชัย และนายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ

16. ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรค เพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่อง……………..สมาชิก

(1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษา โครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

17. พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ชอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและ ทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจ ฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

18. ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคม และวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

19. ปัจจัยที่ทำให้ประเทศอังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาค

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทำให้ประเทศอังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมี วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

20. พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสำคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3, 5 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

21. การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกันแก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงทำให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

22. ผู้นำประเทศใดในปัจจุบันต่อไปนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

(1) อินโดนีเซีย

(2) มาเลเซีย

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) ไทย

(5) เมียนมา

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้นำประเทศในปัจจุบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง คือ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำประเทศเมียนมา ซึ่งมาจากการทำรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2564

23. ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2020 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2020 นายโจ ไบเดน (Joe Biden) ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด และได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน

24. Joe Biden เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

25. การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก

(2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพ เชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไปอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

26. โดยปกติแล้วการประกาศกำหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกำหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา (รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 102 – 103)

27. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ การเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้ง วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28. ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาลแล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29. เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30. ตำแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพรรคการเมือง

(1) เป็นการรวมตัวของปัจเจกบุคคล

(2) มีแนวคิด อุดมการณ์

(3) แสวงหาอำนาจรัฐ

(4) นำเสนอนโยบายในการเลือกตั้ง

(5) ประกอบธุรกิจการค้า

ตอบ 5 หน้า 6 ลักษณะที่สำคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้
1 เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ
2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน
3 มีการกำหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดำเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอำนาจรัฐ

32. พรรคการเมืองเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

(1) ศตวรรษที่ 16

(2) ศตวรรษที่ 17

(3) ศตวรรษที่ 18

(4) ศตวรรษที่ 19

(5) ศตวรรษที่ 20

ตอบ 4 หน้า 33 พรรคการเมืองในรูปแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นในประเทศยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ก่อนแล้วขยายไปสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองในระยะเริ่มต้นนี้เป็นเพียงการรวมกลุ่มของพรรคสมาชิกสภาผู้แทนที่มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์คล้ายคลึงกัน เช่น พวกเสรีนิยม พวกอนุรักษนิยม พวกสาธารณรัฐนิยม พวกประชาธิปไตยนิยม พวกนิยมกษัตริย์ เป็นต้น

33. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(2) ชี้ขาดข้อพิพาทในสังคม

(3) เสนอนโยบาย

(4) เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

(5) จัดตั้งรัฐบาล

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้
1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข
3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ
4 จัดตั้งรัฐบาล
5 เป็นฝ่ายค้าน
6 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

34. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ

(3) รักษาอำนาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน

(4) ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้
1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพ
2 ช่วยทำให้กลไกทางการเมืองดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องต้องกัน
3 ช่วยผดุงรักษาอำนาจในการปกครองให้สืบเนื่องกัน และการถ่ายทอดอำนาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง
4 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
5 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
6 ช่วยพัฒนาการเมือง

35. ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมือง ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว ในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

36. พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาลแล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

37. ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 2 หน้า 163 – 165, 220 ระบบหลายพรรค เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มี พรรคการเมืองเป็นจํานวนมาก (ตั้งแต่ 3 พรรคขึ้นไป) ซึ่งแต่ละพรรคจะมีความสําคัญและ ได้รับความนิยมจากประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงทําให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ลําพัง เพียงพรรคเดียว ดังนั้นรัฐบาลในประเทศที่เป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคจึงมักจะ ขาดเสถียรภาพ ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบหลายพรรคในปัจจุบัน เช่น ไทย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

39. พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ความคิดแบบใดที่ถูกจัดว่าเป็นพรรคเคร่งวินัย

(1) คอมมิวนิสต์

(2) เสรีนิยม

(3) อนุรักษนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 34 พรรคคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นพรรคการเมือง ที่เคร่งวินัยและยึดถือความซื่อสัตย์ของสมาชิกพรรคเป็นสิ่งสําคัญ ดังนั้นสมาชิกจึงต้อง ทํางานและปฏิบัติกิจกรรมตามกฎข้อบังคับของพรรคอย่างเคร่งครัด

40. พรรคการเมืองเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) อิตาลี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

41. ข้อใดคือความหมายของพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม

(1) ไม่รับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกเป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ

(2) บริหารงานโดยผู้นําพรรคจํานวนน้อย

(3) บริหารงานโดยผู้แทนสาขาพรรค

(4) พรรคที่มีสมาชิกจํานวนน้อย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 47, 50 – 52 พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม หมายถึง พรรคการเมืองที่ไม่มีการรับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกที่เป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สหพันธ์ สหกรณ์ องค์การ สมาคม ชมรม ซึ่งคณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของพรรคนี้จะประกอบด้วยผู้แทนที่มาจากองค์การดังกล่าว โดยมีหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค และจัดการเรื่องทุนที่จะใช้หาเสียง พรรคการเมืองโดยทางอ้อมนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ พรรคสังคมนิยม พรรคคาทอลิก และพรรคชาวไร่ชาวนา

42. ข้อใดไม่ถูกจัดว่าเป็นพรรคการเมืองโดยอ้อม

(1) พรรคสังคมนิยม

(2) พรรคกรีน

(3) พรรคคาทอลิก

(4) พรรคชาวไร่ชาวนา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 คำบรรยาย: ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43. พรรคการเมืองใดที่จัดโครงสร้างแบบมิลิเซีย

(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) พรรคแรงงานอังกฤษ

(4) พรรครีพับลิกัน

(5) พรรคฟาสซิสต์

ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

44. ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองประเภทใดมีบทบาทแข็งขันมากที่สุด

(1) Militant

(2) Member

(3) Supporter

(4) Voter

(5) Sympathizer

ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 83 – 87 บทบาทของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองมีแตกต่างกันซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากสุดไปหาน้อยสุดได้ดังนี้ 1. ผู้ดําเนินงานพรรค (Militant) 2. สมาชิกพรรค (Member) 3. ผู้สนับสนุน (Supporter or Sympathizer) 4. ผู้เลือกตั้ง (Elector or Voter)

45. พรรคการเมืองที่มีชื่อย่อว่า CDU เป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) เยอรมนี

ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 166 พรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศเยอรมนี มี 3 พรรค คือ 1. พรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU) 2. พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD) 3. พรรคฟรีเดโมแครตหรือเสรีประชาธิปไตย (FDP)

46. การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คำบรรยาย): การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการกำหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ ตามจำนวน ส.ส. ที่ลดลง

47. กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาท ในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความสามัคคี และเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ สมาคมนักเรียนเก่า เป็นต้น

48. หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

49. ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคำอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) สังคมโครงสร้างหลวม

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คำบรรยาย): ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอำนาจ การเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงำโดยภาคราชการ นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

50. ใครนำเสนอคำอธิบาย “ไตรลักษณรัฐ” อันเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองของคนภายในสังคมกับรัฐ

(1) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช

(2) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

(3) ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

(4) ศ.ดร.อิมรอน มะลูลีม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คำบรรยาย): ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้นำเสนอคำอธิบาย “ไตรลักษณรัฐ” หรือลักษณะของรัฐ 3 ประการ อันได้แก่ การพัฒนา การมีส่วนร่วม และความมั่นคง เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองของคนภายในสังคมกับรัฐ

51. แนวคิดที่นำไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คำบรรยาย): จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นำไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

52. ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคำอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย” เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกำหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีผู้นำและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิด ความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

53. กลุ่มผลประโยชน์ที่มีจำกัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 (คำบรรยาย) หน้า 240, กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้านการทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

54. ไลออนส์สากล โรตารี่ ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทำงานให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่
1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากล สมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) ยุวสมาคม (เจ.ซี.) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง มูลนิธิการกุศล ฯลฯ
2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ
3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ
4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

55. ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทำในระดับ

(1) กระทรวง

(2) รากหญ้า

(3) ประธานหอการค้า

(4) กรม

(5) ทุกระดับ

ตอบ 5 (คำบรรยาย) หน้า 277, วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทำได้ในหลายระดับ เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ (ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือคนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

56. ชนชั้นนำ (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นำ

(4) คนที่มีอำนาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

57. ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

58. ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

59. จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลัก เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า “กลุ่มผลักดันแฝง”

60. หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อจุดประสงค์ใด เป็นสำคัญ

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทำนุบำรุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก

(2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทำนุบำรุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลง ในปี พ.ศ. 2486

61. การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสำคัญคือ ขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 – 310, (คำบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้ง เป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสำคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

62. ผู้นำการต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อชาวมุสลิมที่ถูกอุ้มหายไปใน 2547 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) หะยีสุหลง โต๊ะมีนา

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) นายสมชาย นีละไพจิตร เป็นผู้นำการต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อชาวมุสลิม ซึ่งถูกอุ้มหายไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547

63 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ…..

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไท่ผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุน ยัต เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ “ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

64. ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

65. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ (หมายเหตุ: ข้อ 6 ในเอกสารที่ให้มาไม่มี กรุณาตรวจสอบเอกสารต้นฉบับ)

66. กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลุ่ม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 – 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์ มีเป้าหมายที่จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

67. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ (หมายเหตุ: ข้อ 6 ในเอกสารที่ให้มาไม่มี กรุณาตรวจสอบเอกสารต้นฉบับ)

68. หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 10 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใด ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยื่น บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมือง เป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

69. การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่

(1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) กึ่งศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คำบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่กึ่งศาล เช่น การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. การรับรองหรือไม่รับรอง ผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

70. พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
1 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3 การกําหนดเขตเลือกตั้ง
4 การกําหนดวันเลือกตั้ง และการเลื่อนการเลือกตั้ง
5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
6 การดูแลการดําเนินงานของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย ฯลฯ (ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นอํานาจของศาลฎีกา)

71. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

72. ข้อใดไม่ใช่บทบาทและหน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์

(1) เรียกร้องหรือเสนอนโยบาย

(2) ต่อรองเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 235 – 237, (คำบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) เป็นกลุ่มที่มีบทบาท ในการเรียกร้องหรือต่อรองผลประโยชน์ของกลุ่ม ผลักดัน สนับสนุน นําเสนอข้อคิดเห็นหรือ นโยบายต่อพรรคการเมือง ต่อรัฐบาลให้ไปสู่การตัดสินใจกําหนดนโยบาย หรือพยายามสร้าง อิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นกลุ่มผลประโยชน์จึงแตกต่างจากพรรคการเมือง ตรงที่กลุ่มผลประโยชน์มิได้มีเป้าหมายที่จะใช้อํานาจรัฐหรือจัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศ

73. ข้อใดคือทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีอุดมการณ์

(2) ทฤษฎีทางวัฒนธรรม

(3) ทฤษฎีระบบ

(4) ทฤษฎีชนชั้นนํา

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้
1 ทฤษฎีจิตวิทยา
2 ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม
3 ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ
4 ทฤษฎีทางการจัดองค์การ
5 ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน
6 ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ
7 ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

74. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

75. อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลง พรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

76. พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริช ดูแวร์เช่ (Maurice Duverger) ได้แบ่งพรรคการเมือง ออกเป็น 3 แบบ คือ 1. พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมา ยาวนานที่สุด 2. พรรคมวลชน 3. พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้นหรือพรรคแบบผสม

77. ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหา สมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78. การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell) นั้น ถือว่าเป็น ลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79. ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus (แบบคณะกรรมการ)

(2) Branch (แบบสาขา)

(3) Cell (แบบหน่วยหรือเซลล์)

(4) Militia (แบบทหาร)

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 63 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ
1 แบบคณะกรรมการ (Caucus)
2 แบบสาขา (Branch)
3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)
4 แบบทหาร (Militia)

80. ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

(1) สหภาพแรงงาน

(2) สหภาพแรงงานไทย

(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย

(4) สหภาพกรรมกรกลาง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 310 – 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้ 1. สหภาพกรรมกรกลาง 2. สหภาพกรรมกรชาติไทย 3. สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

81. จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์

(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3 เท่านั้น

ตอบ 5 หน้า 235 – 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้ 1. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม 2. เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ 3. เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

82. การใช้อิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลได้นําไปปฏิบัติ หากแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น กลุ่มดังกล่าวมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด คือลักษณะของ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอุดมการณ์

(4) ล็อบบี้ยิสต์

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วัดนั้น (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆ ที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

83. ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุมหรือ มีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่า เป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

84. ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยั่งเสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้ง ทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและ ตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

85. พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 – 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาด ในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์ และพรรคนาซี

86. พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Militia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

87. ประเทศใดมีระบบพรรคครึ่ง

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

88. ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

89. สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ําซากของ การเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งแล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทย ยังไม่เข้มแข็งพอ

90. ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้
1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ในทางเศรษฐกิจ
4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91. คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวนเก้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 2 (คำบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

92. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 (คำบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปีในขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ

93. คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระเท่านั้น

ตอบ 2 (คำบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1 เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระใด
2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา
3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
4 เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
5 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

94. สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดแรกหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 มีจำนวน 200 ท่าน

ตอบ 2 (คำบรรยาย) สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดแรกหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 มีจำนวน 250 ท่าน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติถวายคำแนะนำ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

95. นโยบายของพรรคการเมืองมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆ จะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนำนโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่างของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา
แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล

96. การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

98. พรรคพลังประชารัฐมีหัวหน้าพรรคเป็นอดีตข้าราชการทหาร

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 ปัจจุบันมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตข้าราชการทหาร เป็นหัวหน้าพรรค

99. “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย ไม่ใช่ความคิดของ Robert Michels

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

100. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬอันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1. ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 3

(คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ำซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งแล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

2. กลุ่มผลประโยชน์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1

(คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้านการทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรม ประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น (หน้า 240)

3. ข้าราชการท่านใดใช้นามแฝงในขบวนการเสรีไทยเขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ

(1) น.พ.ประเวศ วะสี

(2) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล

(3) นายจํากัด พลางกูร

(4) นายป๋วย อึ๊งภากรณ์

(5) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

ตอบ 4

(ความรู้ทั่วไป) ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ใช้นามแฝง สมัยเป็นเสรีไทยว่า เข้ม เย็นยิ่ง เขียนจดหมายจากประเทศอังกฤษถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อเรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอํานาจการปกครองอยู่ในขณะนั้นคืนรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนโดยเร็ว

4. กรณี 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีท่านใดต้องลาออก

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกกฤษณ์ สีวะรา

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร

(5) จอมพลถนอม กิตติขจร

ตอบ 5

(ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นถูกเรียกว่า “วันมหาวิปโยค” หรือ “วันมหาประชาปีติ” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จนทําให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์นี้ทําให้เกิดแรงกดดันจากพลังทางการเมืองหลายฝ่ายจนทําให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

5. รัฐธรรมนูญฉบับใดถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ

(1) 2515

(2) 2517

(3) 2519

(4) 2520

(5) 2521

ตอบ 5

(คำบรรยาย) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร (นายทหารยังเตอร์ก) เป็นผู้ที่ขนานนามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521 ว่าเป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจากได้ให้อำนาจมากแก่วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง อีกทั้งยังไม่ได้แยกข้าราชการประจำ ออกจากข้าราชการการเมือง ทำให้ข้าราชการประจำเป็นวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งพบว่ามีลักษณะเป็นการประนีประนอมทางอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจำ

6. รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เนื่องจาก

(1) วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง

(2) วุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง

(3) ข้าราชการประจำเป็นวุฒิสมาชิกได้

(4) วุฒิสมาชิกเป็นนายกรัฐมนตรีได้

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ)

7. ผู้ที่ขนานนามว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ คือ

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร

(3) นายธงทอง จันทรางศุ

(4) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(5) นายชัยอนันต์ สมุทวณิช

ตอบ 2 (ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ)

8. ไลออนส์สากล โรตารี่ ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3

หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทำงานให้แก่ ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่
1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากล สมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) ยุวสมาคม (เจ.ซี.) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง มูลนิธิการกุศล ฯลฯ
2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ
3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ 4. กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

9. การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอำนาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2

(คำบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการกำหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ ตามจำนวน ส.ส. ที่ลดลง

10. ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ

(1) กระทรวง

(2) รากหญ้า

(3) ประธานหอการค้า

(4) กรม

(5) ทุกระดับ

ตอบ 5 หน้า 277, (คำบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ใน หลายระดับ เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาลหรือ คณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือ คนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

11. ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็น การแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

12. ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลายสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วย กับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

13. พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ
1 ต้องมีความยั่งยืน โดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการ หรืออุดมการณ์เป็นหลัก
2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกัน ระหว่างสํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น
3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียว หรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้
4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไป เมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

14. พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจ หรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

15. ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อิทธิพร บุญประคอง

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ปัจจุบัน คณะกรรมการการเลือกตั้งมี 6 คน ประกอบด้วย ประธาน กกต. ได้แก่ นายอิทธิพร บุญประคอง และกรรมการอีก 5 คน ได้แก่ นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ, นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ และนายชาย นครชัย

16. อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิย

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

17. อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจ อยู่เท่านั้นไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์ และนาซี) เช่น จีน ลาว เวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

18. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิด ทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมือง หรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความ ชั่วร้ายนานาประการ

19. ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรค เพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่อง…………….สมาชิก

(1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาโครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของสมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

20. พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน:

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ชอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรคจะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

21. ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่:

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

22. ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร:

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และจากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

23. พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสำคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(3) มีสาขาพรรคมากๆ

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

ตอบ 3, 5 ดูคำอธิบายข้อ 13 ประกอบ

24. การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(3) Yellow Mask Movement

(5) Hong Kong United Youth Front

(2) Yellow Ribbon Revolution

(4) Umbrella Revolution

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกันแก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงทำให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

25. ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ

(1) นายซูฮาร์โต

(2) นางซูการ์โน บุตรี

(4) พลเอกปราโบโว สุเบียนโต

(5) นายบัมบัง ยูโดโยโน

(3) นายโจโก วิโดโด

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ นายโจโก วิโดโด (Joko Widodo) สังกัดพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียแห่งการต่อสู้ (PDI-P) ซึ่งเข้ารับตำแหน่งสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

26. โดยปกติแล้วการประกาศกำหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกำหนด

(3) กฎกระทรวง

(5) ประกาศของ กกต.

(4) พระราชกฤษฎีกา

ตอบ 4 (คำบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกำหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา (รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 102 – 103)

27. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ การเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดำเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28. ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแต่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาลแล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29. เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30. ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31. ประธานรัฐสภาคนปัจจุบันของไทยหลังการเลือกตั้งปี 2566 คือ

(1) นายชวน หลีกภัย

(2) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(3) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

(4) นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์

(5) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ประธานรัฐสภาคนปัจจุบันของไทยหลังการเลือกตั้งปี 2566 คือ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ซึ่งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่วนรองประธานรัฐสภา คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ซึ่งเป็นประธานวุฒิสภา

32. ข้อครหาใหญ่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติโดนวิจารณ์ในเดือนมีนาคม 2558 คือ

(1) การแต่งตั้งภรรยาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป

(2) การแต่งตั้งคนขับรถเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(3) การแต่งตั้งหัวคะแนนเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(4) การแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สื่อมวลชนได้เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีการแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยประจําตัว ซึ่งทําให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในการแต่งตั้งเครือญาติ ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ดังนั้นวิป สนช. และวิป สปช. จึงมีมติให้สมาชิกปรับเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ และผู้ช่วยประจําตัวที่เป็นเครือญาติออกจากตําแหน่งทันที

33. ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกหรือไม่

(1) ยังมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ

(2) บังคับใช้เฉพาะสามจังหวัดภาคใต้

(3) บังคับใช้เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล

(4) บังคับใช้เฉพาะจังหวัดที่มีเสื้อแดง

(5) ยกเลิกไปแล้ว

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกฎอัยการศึกที่ใช้บังคับทั่วประเทศตามประกาศของกองทัพบก ฉบับที่ 1/2557 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 และตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 แต่กฎอัยการศึกในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งบังคับใช้ก่อนวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ได้ถูกยกเลิกตามกฎอัยการศึกทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว

34. การสั่งยุบพรรคการเมืองเป็นไปตาม “หลักการพื้นฐาน” ว่าด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบันหรือไม่

(1) เป็น หากพรรคการเมืองคอร์รัปชั่น

(2) เป็น หากนํานโยบายที่ได้หาเสียงไว้ แต่คนกลุ่มหนึ่งคัดค้านว่าทําเพื่อสร้างคะแนนเสียง

(3) ไม่เป็น เพราะพรรคการเมืองเป็นของประชาชนที่มีอุดมการณ์หรือมีแนวคิดทางการเมืองร่วมกัน หากแต่การทําผิดของนักการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องดําเนินการตามกฎหมายเฉพาะบุคคล

(4) เป็น หากนักการเมืองทุจริตในการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสั่งยุบพรรคการเมืองถือว่าไม่เป็นไปตามหลักการพื้นฐานว่าด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองเป็นที่รวมของประชาชนที่มีอุดมการณ์หรือมีแนวความคิดทางการเมืองร่วมกัน แต่ถ้าหากนักการเมืองที่มีตําแหน่งในพรรคการเมืองกระทําผิดก็ต้องดําเนินการตามกฎหมายเฉพาะบุคคลนั้น

35. หากพรรคการเมืองตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นฝ่ายตรวจสอบหรือฝ่ายค้านเพียงอย่างเดียว นับได้ว่าเป็นไปตามหลักการพื้นฐานของระบบพรรคการเมืองในระบบประชาธิปไตยที่ถูกต้องหรือไม่

(1) ถูกต้อง เพราะมีความจําเป็นที่ต้องมีพรรคการเมืองฝ่ายค้านไว้ตรวจสอบรัฐบาล

(2) ถูกต้อง เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการแสวงหาอํานาจในการปกครองประเทศ

(3) ไม่ถูกต้อง เพราะพรรคการเมืองต้องมีเป้าหมายสําคัญคือ การชนะการเลือกตั้งเพื่อเป็นรัฐบาล

(4) ไม่ถูกต้อง เพราะพรรคการเมืองต้องมีความพร้อมในการเป็นทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน

(5) ถูกเฉพาะข้อ 3 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายตรวจสอบเพียงอย่างเดียวนั้น ตามหลักการพื้นฐานของระบบพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแล้วถือว่าไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองต้องมีเป้าหมายสําคัญคือชนะการเลือกตั้งเพื่อเป็นรัฐบาล แต่ถ้าแพ้การเลือกตั้งก็ต้องพร้อมที่จะเป็นฝ่ายค้าน

36. การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง คือ

(1) 14 ตุลาคม 2516

(2) 6 ตุลาคม 2519

(3) 26 มีนาคม 2524

(4) 17 – 20 พฤษภาคม 2535

(5) 13 – 20 พฤษภาคม 2553

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ประชาชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

37. ศัพท์ทางรัฐศาสตร์เรียกการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมืองว่า

(1) Salamandering

(2) Gerrymandering

(3) Psudo Electionman

(4) Idiocratic Commission

(5) Fraudmandering

ตอบ 2 (คำบรรยาย) Gerrymandering หมายถึง การบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคใดพรรคหนึ่ง เช่น กรณีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดโดยให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกันอยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักวิชาการว่ามีการบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง

38. ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ

(1) นุรักษ์ มาประณีต

(2) วรวิทย์ กังศศิเทียม

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) กฤษฎา บุญราช

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563

39. บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ

(1) ดร.สมภพ โหตระกิตย์

(2) นายชัยวัตย์ ฤชุพันธุ์

(3) นายมีชัย ฤชุพันธุ์

(4) นายไพศาล พืชมงคล

(5) นายธง แจ่มศรี

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งท่านได้เคยทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521, รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2534 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549, รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 รวมทั้งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

40. ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(3) มีการแบ่งงานกันทำภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค

(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้น พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
2 มีการแบ่งงานกันทำภายในพรรคตามความถนัด
3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

41. ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมือง ได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริม ผลประโยชน์ของชาติ”

42. ประธานวุฒิสภาคนปัจจุบัน คือ

(1) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(2) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(3) นายชลชัย วิชิตพรเพชร

(4) นายไพบูลย์ นิติตะวัน

(5) นายชวน หลีกภัย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

43. ในการเลือกตั้งทั่วไปของไทยปี พ.ศ. 2562 พรรคการเมืองใดชนะได้ที่นั่งมากที่สุด

(1) พรรคพลังประชารัฐ

(2) พรรคอนาคตใหม่

(3) พรรคภูมิใจไทย

(4) พรรคเพื่อไทย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การเลือกตั้งทั่วไปของไทยปี พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ซึ่งผลจากการเลือกตั้งดังกล่าว มีพรรคการเมืองได้ที่นั่งในสภามากที่สุด ได้แก่ พรรคเพื่อไทย 136 ที่นั่ง รองลงมาได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ 116 ที่นั่ง, พรรคอนาคตใหม่ 81 ที่นั่ง, พรรคประชาธิปัตย์ 53 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย 51 ที่นั่ง ฯลฯ

44. Anwar Ibrahim ปัจจุบันเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคอัมโน (UMNO)

(2) พรรคพาส (PAS)

(3) พรรคเกออาดิลันรักยัต (PKR)

(4) พรรค Malaysian United Indigenous

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนปัจจุบัน คือ นายอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) ซึ่งมาจากพรรคเกออาดิฉันรักยัต (PKR) โดยเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

45. การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึง ประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก

(2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพ เชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4

(คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไปอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

46. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่
(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค
(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ
(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ
(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ
(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

47. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ
(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ
(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว
(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ
(4) ประธาน กกต. ถูกปลด
(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐสังคมนิยม
(2) ในรัฐสวัสดิการ
(3) ในรัฐแบบใดก็ได้
(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใคร เสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

49. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ
(1) ฟาสซิสต์
(2) อนุรักษนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) ประชาธิปไตย
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และนาซี ที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมือง ที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

50. ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นำ เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3

(คำบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ มี 3 ประการ คือ 1. การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน 2. การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต 3. การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

51. ชนชั้นนำ (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นำ

(4) คนที่มีอำนาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

52. ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1.5 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

(1) อุดมการณ์

(4) กลุ่มอาชีพ

53. ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

ตอบ 1.5 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(5) กลุ่มอุดมการณ์

54. จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลัก เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า “กลุ่มผลักดันแฝง”

55. หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อจุดประสงค์ใด เป็นสำคัญ

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทำนุบำรุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก

(2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2486

56. กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาททางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความสามัคคี และเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ สมาคมนักเรียนเก่า เป็นต้น

57. ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคำอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอำนาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงำโดยภาคราชการ นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

58. หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

59. นักวิชาการท่านใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมืองเพราะถือว่าพรรคทำให้สมาชิกขาดอิสรภาพ

(1) Edmund Burke

(2) Jean Jacques Rousseau

(3) George Washington

(4) Maurice Duverger

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 33 ซัง ซากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เป็นนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า พรรคการเมืองได้ทำให้เจตนาทั่วไปของประชาชนถูกปลอมแปลง เพราะสมาชิกจะผูกพันต่อพรรคการเมืองอันทำให้ขาดอิสรเสรี

60. แนวคิดที่นำไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คำบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นำไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

61. การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสำคัญคือ ขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 – 310, (คำบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้งเป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสำคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครองประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

62. ผู้นำแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นำระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

63. ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ…..

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไท่ผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุน ยัต เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กำหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ “ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

64. ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คำบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

65. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

66. กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลุ่ม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 – 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์ มีเป้าหมายที่จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

67. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

68. หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิด ฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 10 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใด ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยื่น บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตำแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือตำแหน่งใดในพรรคการเมือง เป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

69. การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทำหน้าที่

(1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) กึ่งศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คำบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทำหน้าที่กึ่งศาล เช่น การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทำ การฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. การรับรองหรือไม่รับรอง ผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

70. พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกำหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
2 การจัดทำและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3 การกำหนดเขตเลือกตั้ง
4 การกำหนดวันเลือกตั้ง และการเลื่อนการเลือกตั้ง
5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
6 การดูแลการดำเนินงานของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย ฯลฯ (ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นอำนาจของศาลฎีกา)

71. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สำคัญของพรรคการเมือง
(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ
(2) มีการกำหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
(4) ดำเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากำไร
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 6 ลักษณะที่สำคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้
1 เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ
2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน
3 มีการกำหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดำเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอำนาจรัฐ

72. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง
(1) เสนอนโยบาย
(2) ชี้ขาดข้อพิพาท
(3) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง
(4) จัดตั้งรัฐบาล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้ 1. เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง 2. เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข 3. เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ 4. จัดตั้งรัฐบาล 5. เป็นฝ่ายค้าน 6. ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

73. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง
(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ
(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้ 1. ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ 2. ช่วยทำให้กลไกทางการเมืองดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องต้องกัน 3. ช่วยผดุงรักษาอำนาจในการปกครองให้สืบเนื่องกัน และการถ่ายทอดอำนาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง 4. ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม 5. เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน 6. ช่วยพัฒนาการเมือง

74. ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกำเนิดของพรรคการเมือง
(1) ทฤษฎีจิตวิทยา
(2) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม
(3) ทฤษฎีอุดมการณ์
(4) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ
(5) ทฤษฎีระบบ
ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกำเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้ 1. ทฤษฎีจิตวิทยา 2. ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม 3. ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ 4. ทฤษฎีทางการจัดองค์การ 5. ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน 6. ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ 7. ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

75. อุดมการณ์เริ่มมีความสำคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด
(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(4) หลังปี 1980
(5) หลังปี 2000
ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลง พรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

76. พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริช ดูแวร์เช่ (Maurice Duverger) ได้แบ่งพรรคการเมือง 1. พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด 2. พรรคมวลชน 3. พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้นหรือพรรคแบบผสม

77. ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหาสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78. การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79. ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus

(2) Branch

(3) Cell

(4) Militia

(5) Sect

ตอบ 5

หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ
1 แบบคณะกรรมการ (Caucus)
2 แบบสาขา (Branch)
3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)
4 แบบทหาร (Militia)

80. ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุมหรือ มีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่า เป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

81. สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้ ๆ

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง
ตอบ 5 (คำบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ำซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งแล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น
โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

82. ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 เพื่อเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง มีดังนี้
1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3 จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

83. ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยั่งเสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้ง ทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

84. พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 – 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหารระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

85. พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Militia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

86. ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมือง ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว ในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

87. พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาลแล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

88. ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

(1) สหภาพแรงงาน

(2) สหภาพแรงงานไทย

(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย

(4) สหภาพกรรมกรกลาง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 310 – 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้ 1. สหภาพกรรมกรกลาง 2. สหภาพกรรมกรชาติไทย 3. สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

89. จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์

(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3 เท่านั้น

ตอบ 5 หน้า 235 – 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้ 1. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม 2. เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ 3. เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

90. การใช้อิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลได้นําไปปฏิบัติ หากแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น กลุ่มดังกล่าวมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด คือลักษณะของ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอุดมการณ์

(4) ล็อบบี้ยิสต์

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วัดต้น (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆ ที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91. พรรคการเมืองชื่อโบว์น้ําเงินในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือ หลวงวิจิตวาทการ

ตอบ 2 (ผิด)

(คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการเลือกตั้ง นคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ําเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และ พรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

92. นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (ถูก)

(คําบรรยาย) ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆ จะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาล เข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล

93. การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 (ถูก) ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 2 (ผิด)

(คําบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1. เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด
2. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิก สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา
3. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
4. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
5. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

95. สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตอบ 2 (ผิด)

(คําบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการเป็น ผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลาง ทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้ง และมีอายุไม่เกิน 65 ปีในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

96. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97. “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เป็นความคิดของ Robert Michels

ตอบ 1 (คำบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนำได้เสนอแนวคิด เกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอำนาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอำนาจในการตัดสินใจในพรรค

98. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

99. คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 1 (คำบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

100. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565

ข้อสอบกระบวนวิชา POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้
(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง
(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น
(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอำนาจต่อรอง
(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ
(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง
ตอบ 2 (คำบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทำให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกำหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ ตามจำนวน ส.ส. ที่ลดลง

2. กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่ม เพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง
(1) อุดมการณ์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอิทธิพลมืด
(4) กลุ่มอาชีพ
(5) กลุ่มอุดมการณ์
ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาท ในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความสามัคคี และเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ สมาคม นักเรียนเก่า เป็นต้น

3. หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี
(1) ปัจเจกชนนิยม
(2) พหุนิยม
(3) อัตตาธิปไตย
(4) สังคมนิยม
(5) อนาธิปัตย์
ตอบ 2 หน้า 234, (คำบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และนาซี ที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมือง ที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

4. ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคำอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น
(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย
(3) วงจรอุบาทว์
(4) สองนคราประชาธิปไตย
(5) สังคมโครงสร้างหลวม
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอำนาจ การเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อำมาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงำโดยภาคราชการ นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

5. ใครนำเสนอคำอธิบาย “ไตรลักษณรัฐ” อันเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองของคนภายในสังคมกับรัฐ
(1) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช
(2) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
(3) ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์
(4) ศ.ดร.อิมรอน มะลูลีม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้นำเสนอคำอธิบาย “ไตรลักษณรัฐ” หรือลักษณะของรัฐ 3 ประการ อันได้แก่ การพัฒนา การมีส่วนร่วม และความมั่นคง เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองของคนภายในสังคมกับรัฐ

6. ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคำอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น
(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย
(3) วงจรอุบาทว์
(4) สองนคราประชาธิปไตย
(5) สังคมโครงสร้างหลวม
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย” เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียงและผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกำหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลางหรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีผู้นำและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิด ความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

7. แนวคิดที่นำไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ
(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย
(3) วงจรอุบาทว์
(4) สองนคราประชาธิปไตย
(5) สังคมโครงสร้างหลวม
ตอบ 4 (คำบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นำไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

8. กลุ่มผลประโยชน์ที่มีจำกัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม
(1) อุดมการณ์
(2) อาชีพ
(3) อาสาสมัคร
(4) มาตุภูมิ
(5) ผลักดัน
ตอบ 1 หน้า 240, (คำบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้านการทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

9. ไลออนส์สากล โรตารี่ ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน
(1) อุดมการณ์
(2) อาชีพ
(3) อาสาสมัคร
(4) มาตุภูมิ
(5) ผลักดัน
ตอบ 3 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทำงานให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่
1. กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากล สมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) ยุวสมาคม (เจ.ซี.) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง มูลนิธิการกุศล ฯลฯ
2. กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ
3. กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ
4. กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์ เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

10. ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ
(1) กระทรวง
(2) รากหญ้า
(3) ประธานหอการค้า
(4) กรม
(5) ทุกระดับ
ตอบ 5 หน้า 277, (คําบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ใน หลายระดับ เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาลหรือ คณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ (ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือ คนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

11. ชนชั้นนํา (Elite) คือ
(1) คนที่เกิดมาเป็นผู้นําา
(2) คนที่มีรสนิยมสูง
(3) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย
(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด
(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม
ตอบ 5 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษา – โครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

12. ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม
(1) อุดมการณ์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอิทธิพลมืด
(4) กลุ่มอาชีพ
(5) กลุ่มอุดมการณ์
ตอบ 1, 5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

13. ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม
(1) อุดมการณ์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอิทธิพลมืด
(4) กลุ่มอาชีพ
(5) กลุ่มอุดมการณ์
ตอบ 1.5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

14. จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน
(1) นอมินี
(2) เอกชน
(3) จริง
(4) แฝง
(5) เฉพาะเรื่อง
ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลัก เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า “กลุ่มผลักดันแฝง”

15. หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสำคัญ
(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทำนุบำรุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก
(2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร
(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง
(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทำนุบำรุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2486

16. การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสำคัญคือขาดการสนับสนุนของ
(1) รัฐบาล
(2) นายจ้าง
(3) กรรมกร
(4) โรงงาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 309 – 310, (คำบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้งเป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสำคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครองประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

17. ผู้นำการต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อชาวมุสลิมที่ถูกอุ้มหายไปใน 2547 คือ
(1) นายอิศรา อมันตกุล
(2) นายทนง โพธิ์อ่าน
(3) นายถวัติ ฤทธิเดช
(4) นายสมชาย นีละไพจิตร
(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) นายสมชาย นีละไพจิตร เป็นผู้นำการต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อชาวมุสลิม ซึ่งถูกอุ้มหายไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547

18. ดร.ซุน ยัต เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ
(1) ไตรราษฎร์
(2) เสรีจีน
(3) บ็อกเซอร์
(4) มาตุภูมิ
(5) ไท่ผิง
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กำหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ “ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

19. ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
(1) รากหญ้า
(2) เสื้อแดง
(3) อำมาตย์
(4) ทหาร
(5) คนชั้นกลาง
ตอบ 5 (คำบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดำรงตนเป็นทหารอาชีพไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

20. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด
(1) ปัจเจกชนนิยม
(2) ประชาธิปไตย
(3) คณาธิปไตย
(4) สังคมนิยม
(5) อนาธิปัตย์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 3 ประกอบ

21. กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด
(1) เป้าหมาย
(2) กิจกรรม
(3) หลักบริหารกลุ่ม
(4) ไม่แตกต่าง
(5) สมาชิก
ตอบ 1 หน้า 236 – 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์ มีเป้าหมายที่จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

22. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด
(1) ปัจเจกชนนิยม
(2) ประชาธิปไตย
(3) คณาธิปไตย
(4) สังคมนิยม
(5) อนาธิปัตย์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 3 ประกอบ

23. หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี
(1) 5 ปี
(2) 7 ปี
(3) 10 ปี
(4) 15 ปี
(5) 20 ปี
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใด ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือตำแหน่งใดในพรรคการเมือง เป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

24. การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทำหน้าที่
(1) กึ่งฝ่ายบริหาร
(2) กึ่งศาล
(3) กรรมการ
(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คำบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทำหน้าที่กึ่งศาล เช่น การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทำ การฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. การรับรองหรือไม่รับรอง ผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

25. พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง
(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(3) การกำหนดเขตเลือกตั้ง
(4) การทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
2 การจัดทำและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3 การกำหนดเขตเลือกตั้ง
4 การกำหนดวันเลือกตั้ง และการเลื่อนการเลือกตั้ง
5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
6 การดูแลการดำเนินงานของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย ฯลฯ (ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นอำนาจของศาลฎีกา)

26. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สำคัญของพรรคการเมือง
(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ
(2) มีการกำหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
(4) ดำเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากำไร
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 6 ลักษณะที่สำคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้
1 เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ
2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน
3 มีการกำหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดำเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอำนาจรัฐ

27. ข้อใดไม่ใช่บทบาทและหน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์
(1) เรียกร้องหรือเสนอนโยบาย
(2) ต่อรองเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม
(3) จัดตั้งรัฐบาล
(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 235 – 237, (คำบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) เป็นกลุ่มที่มีบทบาท ในการเรียกร้องหรือต่อรองผลประโยชน์ของกลุ่ม ผลักดัน สนับสนุน นำเสนอข้อคิดเห็นหรือ นโยบายต่อพรรคการเมือง ต่อรัฐบาลให้ไปสู่การตัดสินใจกำหนดนโยบาย หรือพยายามสร้าง อิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นกลุ่มผลประโยชน์จึงแตกต่างจากพรรคการเมือง ตรงที่กลุ่มผลประโยชน์มิได้มีเป้าหมายที่จะใช้อำนาจรัฐหรือจัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศ

28. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง
(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ
(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพ
2. ช่วยทำให้กลไกทางการเมืองดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องต้องกัน
3. ช่วยผดุงรักษาอำนาจในการปกครองให้สืบเนื่องกัน และการถ่ายทอด อำนาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง
4. ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
5. เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

29. ข้อใดคือทฤษฎีที่กล่าวถึงกำเนิดของพรรคการเมือง
(1) ทฤษฎีอุดมการณ์
(2) ทฤษฎีทางวัฒนธรรม
(3) ทฤษฎีระบบ
(4) ทฤษฎีชนชั้นน่า
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกำเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. ทฤษฎีจิตวิทยา
2. ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ
4. ทฤษฎีทางการจัดองค์การ
5. ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน
6. ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ
7. ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

30. อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด
(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(4) หลังปี 1980
(5) หลังปี 2000
ตอบ: 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลง พรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

31. พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด
(1) พรรคชนชั้น
(2) พรรคมวลชน
(3) พรรคแบบผสม
(4) พรรคแนวร่วม
(5) พรรคจัดตั้ง
ตอบ: 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริซ ดูแวร์เช่ (Maurice Duverger) ได้แบ่งพรรคการเมือง ออกเป็น 3 แบบ คือ 1. พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมา ยาวนานที่สุด 2. พรรคมวลชน 3. พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้นหรือพรรคแบบผสม

32. ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม
(1) ชนะการเลือกตั้ง
(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด
(3) เผยแพร่ความรู้
(4) ระดมทุน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ: 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหา สมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

33. การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด
(1) พรรคแรงงาน
(2) พรรคเสรีนิยม
(3) พรรคคอมมิวนิสต์
(4) พรรคอนุรักษนิยม
(5) พรรคกรีน
ตอบ: 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

34. ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง
(1) Caucus
(2) Branch
(3) Cell
(4) Militia
(5) Sect
ตอบ: 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ 1. แบบคณะกรรมการ (Caucus) 2. แบบสาขา (Branch) 3. แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell) 4. แบบทหาร (Militia)

35. ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
(1) สหภาพแรงงาน
(2) สหภาพแรงงานไทย
(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย
(4) สหภาพกรรมกรกลาง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ: 4 หน้า 310 – 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้
1. สหภาพกรรมกรกลาง 2. สหภาพกรรมกรชาติไทย 3. สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

36. จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์
(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม
(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ
(3) เพื่อทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน
(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3 เท่านั้น
ตอบ 5 หน้า 235 – 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้ 1. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม 2. เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ 3. เพื่อทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

37. การใช้อิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลได้นำไปปฏิบัติ หากแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น กลุ่มดังกล่าวมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด คือลักษณะของ
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอุดมการณ์
(4) ล็อบบี้ยิสต์
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วูดคั้น (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆ ที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

38. ลักษณะที่ผู้นำพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอำนาจมากถูกเรียกว่าอะไร
(1) โลกาธิปไตย
(2) เอกาธิปไตย
(3) ธรรมาธิปไตย
(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นำหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตำแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุมหรือ มีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสำคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอำนาจมากจนถูกเรียกว่า เป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

39. ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ
(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค
(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า
(3) การหยั่งเสียงของผู้สนับสนุนพรรค
(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้ง ทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและ ตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

40. พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย
(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ
(2) พรรคเดโมแครต
(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย
(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ
(5) พรรคนาซี
ตอบ 5 หน้า 106 – 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอำนาจเด็ดขาด ในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์ และพรรคนาซี

41. พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Militia
(1) พรรคคอมมิวนิสต์
(2) พรรคฟาสซิสต์
(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย
(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ
(5) พรรครีพับลิกัน
ตอบ 2 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่า เป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน
โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

42. ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว
(1) จีน
(2) อังกฤษ
(3) ฝรั่งเศส
(4) ญี่ปุ่น
(5) ไทย
ตอบ 4 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมือง ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล
ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว ในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

43. พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) นิวซีแลนด์
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาลแล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

44. สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ
(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้
(2) เพราะนักการเมืองทุจริต
(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ
(4) เพราะประชาชนสนับสนุน
(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ําซากของ การเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งแล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้นโดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

45. ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร
(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา
(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ
(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้
(4) เปิดเสรีทางการค้า
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎร 1 ฉบับที่ 1 เพื่อเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง มีดังนี้
1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

46. ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค
(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค
(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้น พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด
3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

47. ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล
(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ
(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ
(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ
(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค
ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมือง ได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

48. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่
(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค
(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ
(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ
(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ
(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของ นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

49. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ
(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ
(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว
(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ
(4) ประธาน กกต. ถูกปลด
(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐสังคมนิยม
(2) ในรัฐสวัสดิการ
(3) ในรัฐแบบใดก็ได้
(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คำบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทำให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ภายใต้เงื่อนไขการออกกฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทำให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

51. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ
(1) ฟาสซิสต์
(2) อนุรักษนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) ประชาธิปไตย
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

52. ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นำ เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ มี 3 ประการ คือ 1. การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน 2. การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต 3. การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

53. ในยุคที่พรรคนาซีมีอำนาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอำนาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

54. ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทำลายสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทำลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

55. พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นำพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ
1 ต้องมีความยั่งยืน โดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการ หรืออุดมการณ์เป็นหลัก
2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกัน ระหว่างสํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น
3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียว หรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้
4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไป เมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

56. พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจ หรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้ จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

57. อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

58. อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจ อยู่เท่านั้นไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์ และนาซี) เช่น จีน ลาว เวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

59. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 2 (คำบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมือง หรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จำเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

60. ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) อิทธิพร บุญประคอง

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ปัจจุบัน คณะกรรมการการเลือกตั้งมี 6 คน ประกอบด้วย ประธาน กกต. ได้แก่ นายอิทธิพร บุญประคอง และกรรมการอีก 5 คน ได้แก่ นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ, นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ และนายชาย นครชัย (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2566)

61. ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจำนวนของผู้เข้าร่วมในพรรค เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่อง…………ของสมาชิก

(1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

62. พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ชอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรคจะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

63. ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

64. ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และจากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

65. พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3, 5 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

66. การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกันแก๊สน้ําตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

67. ผู้นําประเทศใดในปัจจุบันต่อไปนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

(1) อินโดนีเซีย

(2) มาเลเซีย

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) ไทย

(5) เมียนมา

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้นําประเทศในปัจจุบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง คือ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นําประเทศเมียนมา ซึ่งมาจากการทํารัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2564

68. ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2020 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2020 นายโจ ไบเดน (Joe Biden) ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด และได้ดํารงตําแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน

69. Joe Biden เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึง ประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก

(2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพ เชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4

(คำบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไปอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

71. โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4

(คำบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา (รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 102 – 103)

72. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ การเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3

(ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้ง วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

73. ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาลแล้วตั้งผู้นำคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

74. เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”
(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม
(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดำรงตำแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นำในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทำงานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

75. ตำแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์
(2) ขบวนการเสรีไทย
(3) ขบวนการพูโล
(4) พรรคเสรีมนังคศิลา
(5) พรรคประชาธิปัตย์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 74 ประกอบ

76. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพรรคการเมือง
(1) เป็นการรวมตัวของปัจเจกบุคคล
(2) มีแนวคิด อุดมการณ์
(3) แสวงหาอำนาจรัฐ
(4) นำเสนอนโยบายในการเลือกตั้ง
(5) ประกอบธุรกิจการค้า
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 26 ประกอบ

77. พรรคการเมืองเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
(1) ศตวรรษที่ 16
(2) ศตวรรษที่ 17
(3) ศตวรรษที่ 18
(4) ศตวรรษที่ 19
(5) ศตวรรษที่ 20
ตอบ 4 หน้า 33 พรรคการเมืองในรูปแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นในประเทศยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ก่อนแล้วขยายไปสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองใน ระยะเริ่มต้นนี้เป็นเพียงการรวมกลุ่มของพรรคสมาชิกสภาผู้แทนที่มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์ คล้ายคลึงกัน เช่น พวกเสรีนิยม พวกอนุรักษนิยม พวกสาธารณรัฐนิยม พวกประชาธิปไตยนิยม พวกนิยมกษัตริย์ เป็นต้น

78. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง
(1) เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
(2) ชี้ขาดข้อพิพาทในสังคม
(3) เสนอนโยบาย
(4) เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ
(5) จัดตั้งรัฐบาล
ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้ 1. เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง 2. เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข 3. เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับ องค์การของรัฐ 4. จัดตั้งรัฐบาล 5. เป็นฝ่ายค้าน 6. ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

79. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ

(3) รักษาอำนาจในการปกครองให้สืบเนื่องกัน

(4) ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

80. ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ

81. ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

82. ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

83. ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 2 หน้า 163 – 165, 220 ระบบหลายพรรค เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองเป็นจำนวนมาก (ตั้งแต่ 3 พรรคขึ้นไป) ซึ่งแต่ละพรรคจะมีความสำคัญและได้รับความนิยมจากประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงทำให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ลำพังเพียงพรรคเดียว ดังนั้นรัฐบาลในประเทศที่เป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคมักจะขาดเสถียรภาพ ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบหลายพรรคในปัจจุบัน เช่น ไทย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

84. พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ความคิดแบบใดที่ถูกจัดว่าเป็นพรรคเคร่งวินัย

(1) คอมมิวนิสต์

(2) เสรีนิยม

(3) อนุรักษนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 34 พรรคคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่เคร่งวินัยและยึดถือความซื่อสัตย์ของสมาชิกพรรคเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นสมาชิกจึงต้องทำงานและปฏิบัติกิจกรรมตามกฎข้อบังคับของพรรคอย่างเคร่งครัด

85. พรรคการเมืองเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) อิตาลี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

86. ข้อใดคือความหมายของพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม

(1) บริหารงานโดยผู้นำพรรคจำนวนน้อย

(2) บริหารงานโดยผู้แทนสาขาพรรค

(3) พรรคที่มีสมาชิกจำนวนน้อย

(4) ไม่รับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกเป็นองค์การผลประโยชน์ต่างๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 47, 50 – 52 พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม หมายถึง พรรคการเมืองที่ไม่มี การรับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกที่เป็นองค์การผลประโยชน์ต่างๆ เช่น สหพันธ์ สหกรณ์ องค์การ สมาคม ชมรม ซึ่งคณะกรรมการระดับต่างๆ ของพรรคนี้จะประกอบด้วยผู้แทน ที่มาจากองค์การดังกล่าว โดยมีหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค และจัดการเรื่องทุนที่จะใช้หาเสียง พรรคการเมืองโดยทางอ้อมนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ พรรคสังคมนิยม พรรคคาทอลิก และพรรคชาวไร่ชาวนา

87. ข้อใดไม่ถูกจัดว่าเป็นพรรคการเมืองโดยอ้อม

(1) พรรคสังคมนิยม

(2) พรรคกรีน

(3) พรรคคาทอลิก

(4) พรรคชาวไร่ชาวนา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. พรรคการเมืองใดที่จัดโครงสร้างแบบมิลิเซีย

(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) พรรคแรงงานอังกฤษ

(4) พรรครีพับลิกัน

(5) พรรคฟาสซิสต์

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

89. ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองประเภทใดมีบทบาทแข็งขันมากที่สุด

(1) Militant

(2) Member

(3) Supporter

(4) Voter

(5) Sympathizer

ตอบ 1 หน้า 83 – 87 บทบาทของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองมีแตกต่างกันซึ่งสามา ามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยสุดได้ดังนี้
ผู้ดำเนินงานพรรค (Militant)
สมาชิกพรรค (Member)
ผู้สนับสนุน (Supporter or Sympathizer)
ผู้เลือกตั้ง (Elector or Voter)

90. พรรคการเมืองที่มีชื่อย่อว่า CDU เป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) เยอรมนี

ตอบ 5 หน้า 166 พรรคการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในประเทศเยอรมนี มี 3 พรรค คือ
1 พรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU)
2 พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD)
3 พรรคฟรีเดโมแครตหรือเสรีประชาธิปไตย (FDP)

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91. คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม คําแนะนําของวุฒิสภาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคําแนะนําของวุฒิสภา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

92. เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็น สมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลาง ทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความ ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุ ไม่เกิน 65 ปีในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

93. คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรที่ขึ้นตรงกับสํานักนายกรัฐมนตรี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

94. สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

95. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1 เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด
2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิก สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา
3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
4 เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
5 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

96. พรรคพลังประชารัฐก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2562
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 ปัจจุบันมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตข้าราชการทหาร เป็นหัวหน้าพรรค

97. นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆ จะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาล เข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล

98. การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ

99. “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เป็นความคิดของ Robert Michels
ตอบ 1 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิด เกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงิน สนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

100. รัฐธรรมนูญปี 2502 เป็นรัฐธรรมนูญที่ต่อต้านประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญปี 2502 เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกนําไปใช้ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะ ในบทบัญญัติมาตรา 17 ที่ให้อํานาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่นายกรัฐมนตรี ทําให้เกิดการ ปราบปรามผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นถือว่าเป็นการกระทําที่เป็นภัยต่อ ความมั่นคงของรัฐบาลและประเทศชาติ

 

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้
(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง
(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น
(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง
(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ
(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ในขณะที่พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. สัดส่วนน้อยลง

2. กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่ม
เพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง
(1) อุดมการณ์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอิทธิพลมืด
(4) กลุ่มอาชีพ
(5) กลุ่มอุดมการณ์
ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาท ในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความสามัคคี และเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ สมาคมนักเรียนเก่า เป็นต้น

3. หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี
(1) ปัจเจกชนนิยม
(2) พหุนิยม
(3) อัตตาธิปไตย
(4) สังคมนิยม
(5) อนาธิปัตย์
ตอบ 2 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และนาซี ที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมือง ที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

4.ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น
(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
(3) วงจรอุบาทว์
(4) สองนคราประชาธิปไตย
(5) สังคมโครงสร้างหลวม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว, ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจ การเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Eureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการ นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

5.ใครนําเสนอคําอธิบาย “ไตรลักษณรัฐ” อันเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองของคนภายในสังคมกับรัฐ (1) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช
(2) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
(3) ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์
(4) ศ.ดร.อิมรอน มะลูลีม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้นําเสนอคําอธิบาย “ไตรลักษณรัฐ” หรือลักษณะ ของรัฐ 3 ประการ อันได้แก่ การพัฒนา การมีส่วนร่วม และความมั่นคง เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ ทางสังคมการเมืองของคนภายในสังคมกับรัฐ

6.ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น
(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
(3) วงจรอุบาทว์
(4) สองนคราประชาธิปไตย
(5) สังคมโครงสร้างหลวม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย” เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียงและผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

7. แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ
(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
(3) วงจรอุบาทว์
(4) สองนคราประชาธิปไตย
(5) สังคมโครงสร้างหลวม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลาง ในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจน ในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

8. กลุ่มผลประโยชน์ที่มีจํากัดขนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม
(1) อุดมการณ์
(2) อาชีพ
(3) อาสาสมัคร
(4) มาตุภูมิ
(5) ผลักดัน
ตอบ 1 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้ เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้าน การทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรม ประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

9.ไลออนส์สากล โรตารี่ ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน
(1) อุดมการณ์
(2) อาชีพ
(3) อาสาสมัคร
(4) มาตุภูมิ
(5) ผลักดัน
ตอบ 3 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางานให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่
1. กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากล สมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) ยุวสมาคม (เจ.ซี.) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง มูลนิธิการกุศล ฯลฯ
2. กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ
3. กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ
4. กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์ เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

10. ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ
(1) กระทรวง
(2) รากหญ้า
(3) ประธานหอการค้า
(4) กรม
(5) ทุกระดับ
ตอบ 5 หน้า 277, (คําบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ใน หลายระดับ เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาลหรือ คณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ (ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือ คนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

11. ชนชั้นนํา (Elite) คือ
(1) คนที่มีรสนิยมสูง
(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย
(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา
(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด
(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม
ตอบ 5 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษา โครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

12. ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม
(1) อุดมการณ์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอิทธิพลมืด
(4) กลุ่มอาชีพ
(5) กลุ่มอุดมการณ์
ตอบ 1.5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

13. ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม
(1) อุดมการณ์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอิทธิพลมืด
(4) กลุ่มอาชีพ
(5) กลุ่มอุดมการณ์
ตอบ 1.5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

14. จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน
(1) นอมินี
(2) เอกชน
(3) จริง
(4) แฝง
(5) เฉพาะเรื่อง
ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลัก แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมืองเพื่อธุรกิจการค้าเพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

15. หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อจุดประสงค์ใด เป็นสําคัญ
(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก
(2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร
(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง
(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลง ในปี พ.ศ. 2486

16. การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือขาดการสนับสนุนของ
(1) รัฐบาล
(2) นายจ้าง
(3) กรรมกร
(4) โรงงาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 309 – 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้งเป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

17. ผู้นําการต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อชาวมุสลิมที่ถูกอุ้มหายไปใน 2547 คือ
(1) นายอิศรา อมันตกุล
(2) นายทนง โพธิ์อ่าน
(3) นายถวัติ ฤทธิเดช
(4) นายสมชาย นีละไพจิตร
(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) นายสมชาย นีละไพจิตร เป็นผู้นําการต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อชาวมุสลิม ซึ่งถูกอุ้มหายไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547

18. ดร.ซุน ยัต เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ
(1) ไตรราษฎร์
(2) เสรีจีน
(3) บ็อกเซอร์
(4) มาตุภูมิ
(5) ไท่ผิง
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกัน ในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ “ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

19. ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
(1) รากหญ้า
(2) เสื้อแดง
(3) อํามาตย์
(4) ทหาร
(5) คนชั้นกลาง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้าง ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

20. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด
(1) ปัจเจกชนนิยม
(2) ประชาธิปไตย
(3) คณาธิปไตย
(4) สังคมนิยม
(5) อนาธิปัตย์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

21. กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ได
(1) เป้าหมาย
(2) กิจกรรม
(3) หลักบริหารกลุ่ม
(4) ไม่แตกต่าง
(5) สมาชิก
ตอบ 1 หน้า 236 – 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์ มีเป้าหมายที่จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้วกลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

22. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด
(1) ปัจเจกชนนิยม
(2) ประชาธิปไตย
(3) คณาธิปไตย
(4) สังคมนิยม
(5) อนาธิปัตย์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

23. หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี
(1) 5 ปี
(2) 7 ปี
(3) 10 ปี
(4) 15 ปี
(5) 20 ปี
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใด ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมือง เป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

24. การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่
(1) กึ่งฝ่ายบริหาร
(2) กึ่งศาล
(3) กรรมการ
(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่ กึ่งศาล เช่น การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. การรับรองหรือไม่รับรอง ผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

25. พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง
(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง
(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
1. การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
2. การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3. การกําหนดเขตเลือกตั้ง
4. การกําหนดวันเลือกตั้ง และการเลื่อนการเลือกตั้ง
5. การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
6. การดูแลการดําเนินงานของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย ฯลฯ (ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นอํานาจของศาลฎีกา)

26. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง
(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ
(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ
2. เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน
3. มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
4. มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
5. มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอํานาจรัฐ

27. ข้อใดเป็นลักษณะของพรรคการเมืองอเมริกัน
(1) มีการรวมตัวกันตามชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม
(2) มีการจัดองค์กรแบบรวมศูนย์
(3) มีการฝึกกองกําลังคอยอารักขาหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหาร
(4) มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 42 พรรคการเมืองอเมริกันมีลักษณะเป็นพรรคชนชั้นเหมือนในยุโรป คือ มีการจัดองค์กร แบบรวมศูนย์อํานาจไว้ที่ส่วนกลาง ไม่ต้องการสมาชิกจํานวนมากแต่ต้องการบุคคลที่มีชื่อเสียง โครงสร้างพรรคหลวม มีภารกิจทางการเมืองอย่างเดียวก็คือการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา โดยการส่งสมาชิกของพรรคเข้าสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษหรือมีความโดดเด่น ในเรื่องของการกําหนดระบบการเลือกตั้งชั้นต้น (System of Primary Election) หรือ การทดสอบคะแนนเสียง (Prevoting) หรือการหยั่งเสียงก่อนเลือกผู้สมัครอีกด้วย

28. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง
(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ
(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพ
2. ช่วยทําให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องต้องกัน
3. ช่วยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอด อํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง
4. ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
5. เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
6. ช่วยพัฒนาการเมือง

29. ข้อใดคือทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง
(1) ทฤษฎีอุดมการณ์
(2) ทฤษฎีทางวัฒนธรรม
(3) ทฤษฎีระบบ
(4) ทฤษฎีชนชั้นนํา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. ทฤษฎีจิตวิทยา
2. ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ
4. ทฤษฎีทางการจัดองค์การ
5. ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน
6. ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ
7. ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

30. อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด
(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(4) หลังปี 1980
(5) หลังปี 2000
ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

31. พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด
(1) พรรคชนชั้น
(2) พรรคมวลชน
(3) พรรคแบบผสม
(4) พรรคแนวร่วม
(5) พรรคจัดตั้ง
ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริช ดูแวร์เช่ (Maurice Duverger) ได้แบ่งพรรคการเมือง ออกเป็น 3 แบบ คือ
1. พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมา ยาวนานที่สุด
2. พรรคมวลชน
3. พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้นหรือพรรคแบบผสม

32. ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม
(1) ชนะการเลือกตั้ง
(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด
(3) เผยแพร่ความรู้
(4) ระดมทุน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหา สมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

33. การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด
(1) พรรคแรงงาน
(2) พรรคเสรีนิยม
(3) พรรคคอมมิวนิสต์
(4) พรรคอนุรักษนิยม
(5) พรรคกรีน
ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

34. ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง
(1) Caucus
(2) Branch
(3) Cell
(4) Militia
(5) Sect
ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ
1. แบบคณะกรรมการ (Caucus)
2. แบบสาขา (Branch)
3. แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)
4. แบบทหาร (Militia)

35. ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
(1) สหภาพแรงงาน
(2) สหภาพแรงงานไทย
(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย
(4) สหภาพกรรมกรกลาง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 310 – 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้
1. สหภาพกรรมกรกลาง
2. สหภาพกรรมกรชาติไทย
3. สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

36. จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์
(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม
(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ
(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน
(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3 เท่านั้น
ตอบ 5 หน้า 235 – 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้
1. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม
2. เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ
3. เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

37. การใช้อิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลได้นําไปปฏิบัติ หากแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น กลุ่มดังกล่าวมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด คือลักษณะของ
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอุดมการณ์
(4) ล็อบบี้ยิสต์
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วัดคั้น (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

38. ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร
(1) โลกาธิปไตย
(2) เอกาธิปไตย
(3) ธรรมาธิปไตย
(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุมหรือ มีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่า เป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

39. ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ
(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค
(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า
(3) การหยั่งเสียงของผู้สนับสนุนพรรค
(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้ง ทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและ ตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

40. พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย
(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ
(2) พรรคเดโมแครต
(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย
(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ
(5) พรรคนาซี
ตอบ 5 หน้า 106 – 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาด ในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

41. พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Militia
(1) พรรคคอมมิวนิสต์
(2) พรรคฟาสซิสต์
(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย
(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ
(5) พรรครีพับลิกัน
ตอบ 2 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่า เป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉินโดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

42. ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว
(1) จีน
(2) อังกฤษ
(3) ฝรั่งเศส
(4) ญี่ปุ่น
(5) ไทย
ตอบ 4 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมือง ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว ในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

43. พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) นิวซีแลนด์
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาลแล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

44. สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ
(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้
(2) เพราะนักการเมืองทุจริต
(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ
(4) เพราะประชาชนสนับสนุน
(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ําซากของ การเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งแล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้นโดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

45. ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร
(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา
(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ
(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้
(4) เปิดเสรีทางการค้า
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 เพื่อเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง มีดังนี้
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
6. จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

46. ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็น
สถาบันการเมืองโดย
(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค
(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค
(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้น พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
1. มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
2. มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด
3. มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

47. ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล
(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ
(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ
(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ
(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค
ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมือง ได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

48. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่
(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค
(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ
(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ
(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ
(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของ นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

49. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ
(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ
(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว
(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ
(4) ประธาน กกต. ถูกปลด
(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐสังคมนิยม
(2) ในรัฐสวัสดิการ
(3) ในรัฐแบบใดก็ได้
(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ภายใต้เงื่อนไขการออกกฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใคร เสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

51. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ
(1) ฟาสซิสต์
(2) อนุรักษนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) ประชาธิปไตย
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

52. ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ
(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า
(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า
(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน
(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ
1. การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน
2. การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต
3. การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้าง ระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

53. ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว
(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ
(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว
(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย
(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง
(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง
ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็น การแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

54. ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลายสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี
(1) โทมัส ฮอบส์
(2) คาร์ล มาร์กซ์
(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก
(4) แม็กซ์ เวเบอร์
(5) รุสโซ
ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วย กับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

55. พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร
(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก
(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง
(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล
(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น
(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค
ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ
1. ต้องมีความยั่งยืน โดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการ หรืออุดมการณ์เป็นหลัก
2. ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น
3. ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียว หรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้
4. ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อ ไม่มีการเลือกตั้ง

56. พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์
(1) เสรีนิยม
(2) อนุรักษนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) คอมมิวนิสต์
(5) ฟาสซิสต์
ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจ หรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้
จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

57. อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ
(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์
(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย
(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม
(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย
(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์
ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

58. อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว
(1) เสรีนิยม
(2) อนุรักษนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) คอมมิวนิสต์
(5) ฟาสซิสต์
ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจ อยู่เท่านั้นไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์ และนาซี) เช่น จีน ลาว เวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

59. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ
(1) ฟาสซิสต์
(2) อนาธิปัตย์
(3) ประชาธิปัตย์
(4) ประชาธิปไตย
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิด ทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมือง หรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความ ชั่วร้ายนานาประการ

60. ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ
(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร
(2) ศุภชัย สมเจริญ
(3) อิทธิพร บุญประคอง
(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์
(5) อมรา พงศาพิชญ์
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มี 7 คน ประกอบด้วย ประธาน กกต. ได้แก่ นายอิทธิพร บุญประคอง และกรรมการอีก 6 คน ได้แก่ นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย, นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ และนายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ

61. ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรค เพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่อง…………..สมาชิก
(1) ลัทธิความเชื่อ
(2) ศาสนา
(3) อายุ
(4) คุณภาพ
(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

62. พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน
(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง
(2) ไม่ชอบความรุนแรง
(3) นวัตกรรมทางการค้า
(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
(4) นิยมรัฐสวัสดิการ
ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและ ทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

63. ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่
(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง
(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง
(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง
(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคม และวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

64. ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร
(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา
(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง
(3) การใช้ระบบสภาคู่
(4) การมีสถาบันกษัตริย์
(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว
ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมี วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
2. พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

65. พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ
(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง
(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ
(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา
(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล
ตอบ 3, 5 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

66. การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า
(1) Hong Kong Spring
(2) Yellow Ribbon Revolution
(3) Yellow Mask Movement
(4) Umbrella Revolution
(5) Hong Kong United Youth Front
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้อง ประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกัน แก๊สน้ําตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญ ของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

67. ผู้นําประเทศใดในปัจจุบันต่อไปนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
(1) อินโดนีเซีย
(2) มาเลเซีย
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) ไทย
(5) เมียนมา
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้นําประเทศในปัจจุบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง คือ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นําประเทศเมียนมา ซึ่งมาจากการทํารัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2564

68. ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2020 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด
(1) พรรคเดโมแครต
(2) พรรครีพับลิกัน
(3) พรรคกรีน
(4) พรรคแรงงาน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2020 นายโจ ไบเดน (Joe Biden) ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด และได้ดํารงตําแหน่งเป็น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน

69. Joe Biden เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด
(1) พรรคกรีน
(2) พรรครีพับลิกัน
(3) พรรคคองเกรส
(4) พรรคเดโมแครต
(5) เป็นรัฐบาลผสม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึง ประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่
(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก
(2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์
(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพ เชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไปอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

71. โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น
(1) พระราชบัญญัติ
(2) พระราชกําหนด
(3) กฎกระทรวง
(4) พระราชกฤษฎีกา
(5) ประกาศของ กกต.
ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา (รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 102 – 103)

72. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น
(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ
(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ การเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้ง วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

73. ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร
(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ
(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่
(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล
(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาลแล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

74. เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”
(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม
(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดำรงตำแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นำในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

75. ตำแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์
(2) ขบวนการเสรีไทย
(3) ขบวนการพูโล
(4) พรรคเสรีมนังคศิลา
(5) พรรคประชาธิปัตย์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพรรคการเมือง
(1) เป็นการรวมตัวของปัจเจกบุคคล
(2) มีแนวคิด อุดมการณ์
(3) แสวงหาอำนาจรัฐ
(4) นำเสนอนโยบายในการเลือกตั้ง
(5) ประกอบธุรกิจการค้า
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ (หมายเหตุ: เอกสารนี้อ้างอิงถึงข้อ 26 ซึ่งไม่ได้อยู่ในเอกสารที่ให้มา)

77. พรรคการเมืองเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
(1) ศตวรรษที่ 16
(2) ศตวรรษที่ 17
(3) ศตวรรษที่ 18
(4) ศตวรรษที่ 19
(5) ศตวรรษที่ 20
ตอบ 4 หน้า 33 พรรคการเมืองในรูปแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นในประเทศยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ก่อนแล้วขยายไปสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองในระยะเริ่มต้นนี้เป็นเพียงการรวมกลุ่มของพรรคสมาชิกสภาผู้แทนที่มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์คล้ายคลึงกัน เช่น พวกเสรีนิยม พวกอนุรักษนิยม พวกสาธารณรัฐนิยม พวกประชาธิปไตยนิยม พวกนิยมกษัตริย์ เป็นต้น

78. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง
(1) เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
(2) ชี้ขาดข้อพิพาทในสังคม
(3) เสนอนโยบาย
(4) เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ
(5) จัดตั้งรัฐบาล
ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
2. เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข
3. เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ
4. จัดตั้งรัฐบาล
5. เป็นฝ่ายค้าน
6. ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

79. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง
(1) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี
(2) ช่วยให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ
(3) รักษาอำนาจในการปกครองให้สืบเนื่องกัน
(4) ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

80. ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว
(1) ไทย
(2) สหราชอาณาจักร
(3) ญี่ปุ่น
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) ฝรั่งเศส
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ

81. ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค
(1) ไทย
(2) สหราชอาณาจักร
(3) ญี่ปุ่น
(4) อิตาลี
(5) ฝรั่งเศส
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

82. ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรครัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด
(1) รัฐบาลพรรคเดียว
(2) รัฐบาลผสม
(3) รัฐบาลแห่งชาติ
(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย
(5) ไม่แน่นอน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

83. ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด
(1) รัฐบาลพรรคเดียว
(2) รัฐบาลผสม
(3) รัฐบาลแห่งชาติ
(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย
(5) ไม่แน่นอน
ตอบ 2 หน้า 163 – 165, 220 ระบบหลายพรรค เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองเป็นจำนวนมาก (ตั้งแต่ 3 พรรคขึ้นไป) ซึ่งแต่ละพรรคจะมีความสำคัญและได้รับความนิยมจากประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงทำให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ลำพังเพียงพรรคเดียว ดังนั้นรัฐบาลในประเทศที่เป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคจึงมักจะขาดเสถียรภาพ ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบหลายพรรคในปัจจุบัน เช่น ไทย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

84. พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ความคิดแบบใดที่ถูกจัดว่าเป็นพรรคเคร่งวินัย
(1) คอมมิวนิสต์
(2) เสรีนิยม
(3) อนุรักษนิยม
(4) ธรรมชาตินิยม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 34 พรรคคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่เคร่งวินัยและยึดถือความซื่อสัตย์ของสมาชิกพรรคเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นสมาชิกจึงต้องทำงานและปฏิบัติกิจกรรมตามกฎข้อบังคับของพรรคอย่างเคร่งครัด

85. พรรคการเมืองเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) สหราชอาณาจักร
(3) ฝรั่งเศส
(4) รัสเซีย
(5) อิตาลี
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

86. ข้อใดคือความหมายของพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม
(1) บริหารงานโดยผู้นําพรรคจํานวนน้อย
(2) บริหารงานโดยผู้แทนสาขาพรรค
(3) พรรคที่มีสมาชิกจํานวนน้อย
(4) ไม่รับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกเป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 47, 50 – 52 พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม หมายถึง พรรคการเมืองที่ไม่มี การรับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกที่เป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สหพันธ์ สหกรณ์ องค์การ สมาคม ชมรม ซึ่งคณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของพรรคนี้จะประกอบด้วยผู้แทน ที่มาจากองค์การดังกล่าว โดยมีหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค และจัดการเรื่องทุนที่จะใช้หาเสียง พรรคการเมืองโดยทางอ้อมนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ พรรคสังคมนิยม พรรคคาทอลิก และพรรคชาวไร่ชาวนา

87. ข้อใดไม่ถูกจัดว่าเป็นพรรคการเมืองโดยอ้อม
(1) พรรคสังคมนิยม
(2) พรรคกรีน
(3) พรรคคาทอลิก
(4) พรรคชาวไร่ชาวนา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. พรรคการเมืองใดที่จัดโครงสร้างแบบมิลิเซีย
(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(3) พรรคแรงงานอังกฤษ
(4) พรรครีพับลิกัน
(5) พรรคฟาสซิสต์
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

89. ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองประเภทใดมีบทบาทแข็งขันมากที่สุด
(1) Militant
(2) Member
(3) Supporter
(4) Voter
(5) Sympathizer
ตอบ 1 หน้า 83 – 87 บทบาทของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองมีแตกต่างกันซึ่งสามารถ เรียงลําดับจากมากสุดไปหาน้อยสุดได้ดังนี้
ผู้ดําเนินงานพรรค (Militant)
สมาชิกพรรค (Member)
ผู้สนับสนุน (Supporter or Sympathizer)
ผู้เลือกตั้ง (Elector or Voter)

90. พรรคการเมืองที่มีชื่อย่อว่า CDU เป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) สหราชอาณาจักร
(3) ฝรั่งเศส
(4) รัสเซีย
(5) เยอรมนี
ตอบ 5 หน้า 166 พรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศเยอรมนี มี 3 พรรค คือ
พรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU)
พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD)
พรรคฟรีเดโมแครตหรือเสรีประชาธิปไตย (FDP)

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91. คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560
ตอบ 1 (คำบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กำหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคำแนะนำของวุฒิสภา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

92. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง
ตอบ 1 (คำบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กำหนดให้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปีในขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ

93. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
ตอบ 2 (คำบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กำหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1 เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระใด
2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา
3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
4 เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
5 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

94. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

95. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

96. พรรคพลังประชารัฐมีหัวหน้าพรรคเป็นอดีตข้าราชการทหาร
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 ปัจจุบันมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตข้าราชการทหาร เป็นหัวหน้าพรรค

97. นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆ จะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาล เข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล

98. การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ

99. “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เป็นความคิดของ Robert Michels
ตอบ 1 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิด เกี่ยวกับกฎเหล็กแหงคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงิน สนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

100. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป รัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬอันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป การเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น ประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร
(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ
(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่
(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล
(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาลแล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

2. เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”
(1) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม
(2) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
(5) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

3.ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) ขบวนการเสรีไทย
(2) พรรคประชาธิปัตย์
(3) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์
(4) พรรคเสรีมนังคศิลา
(5) ขบวนการพูโล
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

4.ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ
(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร
(2) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์
(3) อิทธิพร บุญประคอง
(4) อมรา พงศาพิชญ์
(5) ศุภชัย สมเจริญ
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มี 7 คน ประกอบด้วย ประธาน กกต. ได้แก่ นายอิทธิพร บุญประคอง และกรรมการอีก 6 คน ได้แก่ นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย, นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ และนายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ

5. ข้อครหาใหญ่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติโดนวิจารณ์ในเดือนมีนาคม 2558 คือ
(1) การแต่งตั้งภรรยาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป
(2) การแต่งตั้งคนขับรถเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย
(3) การแต่งตั้งหัวคะแนนเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย
(4) การแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สื่อมวลชนได้เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีการแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและ ผู้ช่วยประจําตัว ซึ่งทําให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในการแต่งตั้งเครือญาติ ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ดังนั้นวิป สนช. และวิป สปช. จึงมีมติให้สมาชิกปรับเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ และผู้ช่วยประจําตัวที่เป็นเครือญาติออกจากตําแหน่งทันที

6. ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกหรือไม่
(1) บังคับใช้เฉพาะจังหวัดที่มีเสื้อแดง
(2) ยังมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ
(3) บังคับใช้เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล
(4) ยกเลิกไปแล้ว
(5) บังคับใช้เฉพาะสามจังหวัดภาคใต้
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกฎอัยการศึกที่ใช้บังคับทั่วประเทศตามประกาศของกองทัพบก ฉบับที่ 1/2557 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 และตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 แต่กฎอัยการศึกในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งบังคับใช้ก่อนวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ยังคงมีผล บังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ได้ถูกยกเลิกตามกฎอัยการศึกทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว

7. ปัจจุบันประเทศไทยยังมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อยู่หรือไม่
(1) มี และแยกไปบริหารในกระทรวงต่าง ๆ
(2) มี แต่พ้นหน้าที่ราชการเพราะเกษียณไปแล้ว
(3) หมดสภาพไปแล้ว แต่สามารถกลับคืนสู่อํานาจได้เมื่อจําเป็น
(4) หมดสภาพไปตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบันคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้หมดสภาพไปแล้วตาม บทบัญญัติในบทเฉพาะกาล มาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติให้คณะรักษา ความสงบแห่งชาติสิ้นสุดลงเมื่อคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 เข้ารับหน้าที่

8.ประเทศไทยมีการเลือกตั้งในปี 2562 เป็นไปตาม Road Map เดิมของ คสช. หรือไม่
(1) ไม่รู้ ไม่แน่นอน
(2) ไม่รู้ ต้องรอหัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรีหารือกันก่อน
(3) เป็นไปตามที่แจ้งเดิม
(4) ช้าลงกว่าเดิมที่อ้างว่าจะมีการเลือกตั้งในปี 2560
(5) ถูกเฉพาะข้อ 3 และ 4
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเลือกตั้งของประเทศไทยในปี 2562 นั้น ช้าลงกว่า Road Map เดิม ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่อ้างว่าจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2560

9. ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่
(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง
(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง
(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง
(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคม และวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

10. ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร
(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา
(2) การใช้ระบบสภาคู่
(3) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง
(4) การมีสถาบันกษัตริย์
(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว
ตอบ 3 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมี วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
2. พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

11. พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ
(1) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา
(2) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
(3) บอยคอตต์การเลือกตั้ง
(4) มีสาขาพรรคมาก ๆ
(5) คอยเป็นรัฐบาล
ตอบ 4 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ
1. ต้องมีความยั่งยืน โดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการ หรืออุดมการณ์เป็นหลัก
2. ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกัน ระหว่างสํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น
3. ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียว หรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้
4. ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

12. การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า
(1) Yellow Mask Movement
(2) Yellow Ribbon Revolution
(3) Hong Kong United Youth Front
(4) Hong Kong Spring
(5) Umbrella Revolution
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกัน แก๊สน้ําตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญ ของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

13. ผู้นําที่ไม่เคยดํารงตําแหน่งผู้นําสูงสุดของประเทศ คือ
(1) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
(2) นางอองซาน ซูจี
(3) นายโจโก วิโดโด
(4) นายนาญิบ ตุนอับดุลรอซัก
(5) นางเมกาวาตี ซูการ์โน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) นางอองซาน ซูจี เป็นนักการเมืองชาวเมียนมา ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งสําคัญ ๆ ทางการเมืองหลายตําแหน่ง เช่น ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีประจําทําเนียบประธานาธิบดี ที่ปรึกษา แห่งรัฐ เป็นต้น แต่ไม่เคยดํารงตําแหน่งผู้นําสูงสุดของประเทศ (ประธานาธิบดี)

14. โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น
(1) พระราชกฤษฎีกา
(2) พระราชกําหนด
(3) พระราชบัญญัติ
(4) กฎกระทรวง
(5) ประกาศของ กกต.
ตอบ 1 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา (รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 102 – 103)

15. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น
(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ
(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ การเลือกตั้งจึงไม่ขอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้ง วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

16. การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง คือ
(1) 14 ตุลาคม 2516
(2) 13 – 20 พฤษภาคม 2553
(3) 17 – 20 พฤษภาคม 2535
(4) 6 ตุลาคม 2519
(5) 26 มีนาคม 2524
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬอันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป การเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น ประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

17. ศัพท์ที่ใช้เรียกการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง คือ
(1) Idiocratic Commission
(3) Psudo Electionman
(2) Gerrymandering
(4) Fraudmandering
(5) Salamandering
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Gerrymandering หมายถึง การบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อผลประโยชน์ทาง การเมืองของพรรคใดพรรคหนึ่ง เช่น กรณีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดโดยให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน อยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ทําให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักวิชาการว่ามีการบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง

18. ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ
(1) วรวิทย์ กังศศิเทียม
(2) ศุภชัย สมเจริญ
(3) นุรักษ์ มาประณีต
(4) กฤษฎา บุญราช
(5) เชาวนะ ไตรมาศ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563

19. บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ
(1) ดร.สมภพ โหตระกิตย์
(2) พระยาอรรถการีย์นิพนธ์
(3) นายมีชัย ฤชุพันธุ์
(4) นายธง แจ่มศรี
(5) นายไพศาล พืชมงคล
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งท่านได้เคยทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521, รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2534, รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549, รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 รวมทั้ง รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

20. ประธานรัฐสภาคนปัจจุบัน คือ
(1) นางสุชาดา กีระนันทน์
(2) นายพรเพชร วิชิตชลชัย
(3) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
(4) นายเทียนฉาย กีระนันทน์
(5) นายชวน หลีกภัย
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประธานรัฐสภาคนปัจจุบัน คือ นายชวน หลีกภัย ส่วนรองประธานรัฐสภา คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัย

21. ข้อใดเป็นลักษณะของพรรคการเมืองอเมริกัน
(1) มีการฝึกกองกําลังคอยอารักขาหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหาร
(2) มีการรวมตัวกันตามชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม
(3) มีการจัดองค์กรแบบรวมศูนย์
(4) มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 42 พรรคการเมืองอเมริกันมีลักษณะเป็นพรรคชนชั้นเหมือนในยุโรป คือ มีการจัดองค์กร แบบรวมศูนย์อํานาจไว้ที่ส่วนกลาง ไม่ต้องการสมาชิกจํานวนมากแต่ต้องการบุคคลที่มีชื่อเสียง โครงสร้างพรรคหลวม มีภารกิจทางการเมืองอย่างเดียวก็คือการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา โดยการส่งสมาชิกของพรรคเข้าสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษหรือมีความโดดเด่น ในเรื่องของการกําหนดระบบการเลือกตั้งชั้นต้น (System of Primary Election) หรือ การทดสอบคะแนนเสียง (Prevoting) หรือการหยั่งเสียงก่อนเลือกผู้สมัครอีกด้วย

22. พรรคการเมืองใดเป็นพรรครัฐบาลอเมริกันในปัจจุบัน
(1) เป็นรัฐบาลผสม
(2) พรรครีพับลิกัน
(3) พรรคคองเกรส
(4) พรรคเดโมแครต
(5) พรรคกรีน
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) พรรคการเมืองที่เป็นพรรครัฐบาลของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน (ปี 2565) คือ พรรคเดโมแครต โดยมีนายโจ ไบเดน (Joe Biden) เป็นประธานาธิบดี

23. เหตุใดจึงต้องจํากัดวงเงินบริจาคให้แก่พรรคการเมือง
(1) เพื่อรักษาดุลยภาพทางสังคมระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ให้มีโอกาสเข้าถึงพรรคที่ตนชื่นชอบ
(2) เพื่อประกันความเป็นอิสระของพรรคการเมือง
(3) เพื่อป้องกันมิให้พรรคถูกครอบงําจากกลุ่มธุรกิจ
(4) เพื่อให้พรรคสามารถเลือกรับบริจาคจากกลุ่มที่สนับสนุนนโยบายอย่างเปิดเผย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญของการจํากัดวงเงินบริจาคให้แก่พรรคการเมืองก็คือ เพื่อป้องกันมิให้พรรคถูกครอบงําจากกลุ่มธุรกิจ ซึ่งต้องการเข้ามามีอํานาจต่อรองผลประโยชน์ภายในพรรคอันเป็นผลนําไปสู่การทําลายอุดมการณ์หรือนโยบายที่แท้จริงของพรรค

24. ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็น สถาบันการเมืองโดย
(1) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค
(2) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
(3) มีการแบ่งงานกันท์ ภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค
(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมากๆ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
1. มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ด
2. มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด
3. มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

25. ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล
(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ
(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ
(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ
(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค
ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมือง ได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริม ผลประโยชน์ของชาติ”

26. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่
(1) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ
(2) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล
(3) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค
(4) พรรคเพื่อไทยถูกย
(5) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของ นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เช่น
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

27. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ
(1) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ
(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว
(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ
(4) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ
(5) ประธาน กกต. ถูกปลด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

28. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม
(2) ในรัฐสวัสดิการ
(3) ในรัฐแบบใดก็ได้
(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ภายใต้เงื่อนไขการออกกฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใคร เสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

29. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ
(1) ฟาสซิสต์
(2) อนุรักษนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) ประชาธิปไตย
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และนาซี ที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมือง ที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

30. ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ
(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า
(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า
(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน
(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ
1. การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน
2. การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต
3. การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้าง ระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

31. ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว
(1) เพื่อพัฒนาให้เยอรมันมีความเป็นประชาธิปไตย
(2) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง
(3) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ
(4) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง
(5) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว
ตอบ 4 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็น การแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

32. ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลาย
สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี
(1) แม็กซ์ เวเบอร์
(2) โทมัส ฮอบส์
(3) คาร์ล มาร์กซ์
(4) เอ็ดมันด์ เบอร์ก
(5) รุสโซ
ตอบ 4 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วย กับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

33. พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร
(1) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค
(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง
(3) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก
(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น
(5) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

34. พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์
(1) อนุรักษนิยม
(2) สังคมนิยม
(3) ฟาสซิสต์
(4) เสรีนิยม
(5) คอมมิวนิสต์
ตอบ 5 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจ หรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

35. อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ
(1) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์
(2) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์
(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม
(4) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย
(5) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย
ตอบ 2 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

36. อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว
(1) คอมมิวนิสต์
(2) ฟาสซิสต์
(3) สังคมนิยม
(4) อนุรักษนิยม
(5) เสรีนิยม
ตอบ 1.2 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาล ที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครองระบอบเผด็จการ หรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์และนาซี) เช่น จีน เวียดนาม ลาว คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

37. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ
(1) ประชาธิปัตย์
(2) ประชาธิปไตย
(3) อนาธิปัตย์
(4) ฟาสซิสต์ .
(5) ฟาสซิสต์และอนาธิปัตย์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิด ทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมือง หรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความ ชั่วร้ายนานาประการ

38. บุคคลใดต่อไปนี้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(1) สุชาติ เศรษฐมาลินี
(2) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์
(3) สมชัย ศรีสุทธิยากร
(4) อมรา พงศาพิชญ์
(5) ศุภชัย สมเจริญ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ปัจจุบันคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมี 7 คน ประกอบด้วย ประธาน กรรมการ ได้แก่ นางสาวพรประไพ กาญจนรินทร์ และกรรมการอีก 6 คน ได้แก่ นางปรีดา คงแป้น, นายสุชาติ เศรษฐมาลินี, นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์, นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช, นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และนางสาวสุภัทรา นาคะผิว

39. ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรค เพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่อง…………….สมาชิก
(1) ศาสนา
(2) คุณภาพ
(3) ความรู้ภาษาอังกฤษ
(4) อายุ
(5) ลัทธิความเชื่อ
ตอบ 2 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษา โครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

40. พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน
(1) นวัตกรรมทางการค้า
(2) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
(3) ไม่ชอบความรุนแรง
(4) นิยมรัฐสวัสดิการ
(5) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง
ตอบ 2 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและ ทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

41. ข้าราชการท่านใดใช้นามแฝงในขบวนการเสรีไทยเขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
(1) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร
(2) น.พ.ประเวศ วะสี
(3) นายป๋วย อึ๊งภากรณ์
(4) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล
(5) นายจํากัด พลางกูร
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ใช้นามแฝง สมัยเป็นเสรีไทยว่า เข้ม เย็นยิ่ง เขียนจดหมายจากประเทศอังกฤษถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อเรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอํานาจการปกครอง อยู่ในขณะนั้นคืนรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนโดยเร็ว

42.กรณี 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีท่านใดต้องลาออก
(1) จอมพลถนอม กิตติขจร
(2) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
(3) พลเอกกฤษณ์ สีวะรา
(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร
(5) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นถูกเรียกว่า “วันมหาวิปโยค” หรือ “วันมหาประชาปิติ” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จนทําให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์นี้ทําให้เกิดแรงกดดันจากพลังทางการเมือง หลายฝ่ายจนทําให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

43. รัฐธรรมนูญฉบับใดถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ
(1) 2521
(2) 2515
(3) 2519
(4) 2517
(5) 2520
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร (นายทหารยังเตอร์ก) เป็นผู้ที่ขนานนามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521 ว่าเป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจากได้ให้อํานาจมากแก่วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง อีกทั้งยังไม่ได้แยกข้าราชการประจํา ออกจากข้าราชการการเมือง ทําให้ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งพบว่ามีลักษณะเป็นการประนีประนอมทางอํานาจระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจํา

44. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521 ถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เนื่องจาก
(1) วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง
(2) วุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง
(3) ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้
(4) วุฒิสมาชิกเป็นนายกรัฐมนตรีได้
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45. ผู้ที่ขนานนามว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ คือ
(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
(2) นายชัยอนันต์ สมุทวณิช
(3) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ
(4) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร
(5) นายธงทอง จันทรางศุ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46. การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้
(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง
(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น
(3) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง
(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ
(5) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

47.ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น
(1) วงจรอุบาทว์
(2) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(3) สองนคราประชาธิปไตย
(4) สังคมโครงสร้างหลวม
(5) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย” เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียงและผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

48. กลุ่มผลประโยชน์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม
(1) อุดมการณ์
(2) อาสาสมัคร
(3) อาชีพ
(4) มาตุภูมิ
(5) ผลักดัน
ตอบ 1 หน้า 240 (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้ เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้าน การทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรม ประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

49. ไลออนส์สากล โรตารี ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน
(1) อาชีพ
(2) อุดมการณ์
(3) มาตุภูมิ
(4) ผลักดัน
(5) อาสาสมัคร
ตอบ 5 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางานให้แก่ ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่
1. กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากล สมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) ยุวสมาคม (เจ.ซี.) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง มูลนิธิการกุศล ฯลฯ
2. กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ
3. กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ
4. กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์ เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

50. ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ
(1) กระทรวง
(2) กรม
(3) ประธานหอการค้า
(4) รากหญ้า
(5) ทุกระดับ
ตอบ 5 หน้า 277, (คําบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ใน ระดับต่าง ๆ กัน เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา)
ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือ คนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

51. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง
(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ
(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ
2. เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน
3. มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
4. มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
5. มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอํานาจรัฐ

52. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง
(1) เสนอนโยบาย
(2) ชี้ขาดข้อพิพาท
(3) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง
(4) จัดตั้งรัฐบาล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
2. เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข
3. เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ
4. จัดตั้งรัฐบาล
5. เป็นฝ่ายค้าน
6. ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

53. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง
(1) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ
(3) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ
2. ช่วยทําให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องต้องกัน
3. ช่วยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอดอํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง
4. ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
5. เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
6. ช่วยพัฒนาการเมือง

54. ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง
(1) ทฤษฎีระบบ
(2) ทฤษฎีจิตวิทยา
(3) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ
(4) ทฤษฎีอุดมการณ์
(5) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม
ตอบ 1 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. ทฤษฎีจิตวิทยา
2. ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ
4. ทฤษฎีทางการจัดองค์การ
5. ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน
6. ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ
7. ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

55. อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด
(1) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
(2) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(3) หลังปี 1980
(4) หลังปี 2000
(5) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ตอบ 5 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

56. พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด
(1) พรรคมวลชน
(2) พรรคจัดตั้ง
(3) พรรคชนชั้น
(4) พรรคแนวร่วม
(5) พรรคแบบผสม
ตอบ 3 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริซ ดูแวร์เช่ (Maurice Duverger) ได้แบ่งพรรคการเมือง ออกเป็น 3 แบบ คือ
1. พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมา ยาวนานที่สุด
2. พรรคมวลชน
3. พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้นหรือพรรคแบบผสม

57. ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม
(1) ชนะการเลือกตั้ง
(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด
(3) เผยแพร่ความรู้
(4) ระดมทุน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหา สมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

58. ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง
(1) Caucus
(2) Branch
(3) Militia
(4) Cell
(5) Sect
ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ
1. แบบคณะกรรมการ (Caucus)
2. แบบสาขา (Branch)
3. แบบหน่วยหรือเซลล์ (Celt)
4. แบบทหาร (Militia)

59. ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร
(1) โลกาธิปไตย
(2) เอกาธิปไตย
(3) ธรรมาธิปไตย
(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุมหรือ มีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่า เป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

60. ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ
(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค
(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า
(3) การหยั่งเสียงของผู้สนับสนุนพรรค
(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้งทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและ ตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

61. การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด
(1) พรรคเสรีนิยม
(2) พรรคแรงงาน
(3) พรรคกรีน
(4) พรรคคอมมิวนิสต์
(5) พรรคอนุรักษนิยม
ตอบ 4 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

62. พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย
(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ
(2) พรรคนาซี
(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย
(5) พรรคเดโมแครต
(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ
ตอบ 2 หน้า 106 – 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาด ในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

63. การจัดองค์การแบบ Militia เป็นลักษณะของพรรค
(1) พรรคแรงงานของอังกฤษ
(2) พรรคฟาสซิสต์
(3) พรรคคอมมิวนิสต์
(4) พรรครีพับลิกัน
(5) พรรคเสรีประชาธิปไตย
ตอบ 2 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่า เป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับ หารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ขี่ การจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

64. ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว
(1) ฝรั่งเศส
(2) ไทย
(3) ญี่ปุ่น
(4) อังกฤษ
(5) จีน
ตอบ 3 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมือง ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว ในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

65. พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) นิวซีแลนด์
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค “มายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาล แล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุดซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) นิวซีแลนด์ ฟิริ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

66. สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ
(1) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ
(2) เพราะนักการเมืองทุจริต
(3) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้
(4) เพราะประชาชนสนับสนุน
(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง
ตอบ 5. (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ําซากของ การเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งแล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้นโดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

67. ข้อใดคือหนึ่งในหลักหกประการของคณะราษฎร
(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา
(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ
(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้
(4) เปิดเสรีทางการค้า
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
6. จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

68. ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
(1) สหภาพแรงงาน
(2) สหภาพแรงงานไทย
(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย
(4) สหภาพกรรมกรกลาง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 310 – 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้
1. สหภาพกรรมกรกลาง
2. สหภาพกรรมกรชาติไทย
3. สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

69. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์
(1) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน
(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ
(3) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม
(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 235 – 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้
1. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม
2. เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ
3. เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

70. การแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาลแต่ปฏิเสธความรับผิดชอบในองค์การของรัฐคือลักษณะของ
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอุดมการณ์
(4) ลอบบี้ยีสต์
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วัดต้น (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆ ที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

71. ชนชั้นนํา (Elite) คือ
(1) คนที่มีรสนิยมสูง
(2) คนที่มีอํานาจสูงสุด
(3) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม
(4) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา
(5) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

72. ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม
(1) อุดมการณ์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอาชีพ
(4) กลุ่มอิทธิพลมืด
(5) กลุ่มอุดมการณ์
ตอบ 1.5 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

73. ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม
(1) กลุ่มอุดมการณ์
(2) กลุ่มอิทธิพลมืด
(3) กลุ่มผลักดัน
(4) อุดมการณ์
(5) กลุ่มอาชีพ
ตอบ 1, 4 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

74. จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน
(1) เอกชน
(2) นอมินี
(3) แฝง
(4) เฉพาะเรื่อง
(5) จริง
ตอบ 3 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลัก เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมืองเพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

75. หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก เมื่อปี พ.ศ.
(1) 2499
(2) 2484
(3) 2476
(4) 2486
(5) 2475
ตอบ 3 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลง ในปี พ.ศ. 2486

76. กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง
(1) กลุ่มอิทธิพลมืด
(2) กลุ่มอาชีพ
(3) กลุ่มอุดมการณ์
(4) อุดมการณ์
(5) กลุ่มผลักดัน
ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาท ในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความ สามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้สมาคมนักเรียนเก่า เป็นต้น

77. หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี
(1) ปัจเจกชนนิยม
(2) อัตตาธิปไตย
(3) อนาธิปัตย์
(4) สังคมนิยม
(5) พหุนิยม
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

78.ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น
(1) สังคมโครงสร้างหลวม
(2) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(3) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
(4) วงจรอุบาทว์
(5) สองนคราประชาธิปไตย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว, ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจ การเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการ นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

79. ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น
(1) สองนคราประชาธิปไตย
(2) วงจรอุบาทว์
(3) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(4) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
(5) สังคมโครงสร้างหลวม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

80. แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ
(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(2) วงจรอุบาทว์
(3) สังคมโครงสร้างหลวม
(4) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
(5) สองนคราประชาธิปไตย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลาง ในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจน ในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

81. การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือขาดการสนับสนุนของ
(1) รัฐบาล
(2) นายจ้าง
(3) กรรมกร
(4) โรงงาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 309 – 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้งเป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

82. ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ
(1) นายสมชาย นีละไพจิตร
(2) นายอิศรา อมันตกุล
(3) นายจิตร ภูมิศักดิ์
(4) นายถวัติ ฤทธิเดช
(5) นายทนง โพธิ์อ่าน
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นําระดับสูง ของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

83, ดร.ซุน ยัต เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ…
(1) ไท่ผิง
(2) เสรีจีน
(3) มาตุภูมิ
(4) บ็อกเซอร์
(5) ไตรราษฎร์
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุน ยัต เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกัน ในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ “ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

84. ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
(1) อํามาตย์
(2) เสือแดง
(3) คนชั้นกลาง
(4) รากหญ้า
(5) ทหาร
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

85. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด
(1) อนาธิปัตย์
(2) คณาธิปไตย
(3) ปัจเจกชนนิยม
(4) ประชาธิปไตย
(5) สังคมนิยม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

86. กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด
(1) กิจกรรม
(2) ไม่แตกต่าง
(3) เป้าหมาย
(4) หลักบริหารกลุ่ม
(5) สมาชิก
ตอบ 3 หน้า 236 – 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์ มีเป้าหมายที่จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้วกลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

87. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด
(1) ปัจเจกชนนิยม
(2) ประชาธิปไตย
(3) คณาธิปไตย
(4) อนาธิปัตย์
(5) สังคมนิยม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

88. การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่
(1) กึ่งฝ่ายบริหาร
(2) กึ่งศาล
(3) กรรมการ
(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่ กึ่งศาล เช่น การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. การรับรองหรือไม่รับรอง ผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

89. หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ
ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี
(1) 5 ปี
(2) 7 ปี
(3) 10 ปี
(4) 15 ปี
(5) 20 ปี
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใด ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้นพ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมือง เป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

90. พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง
(2) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(3) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
(4) การกําหนดเขตเลือกตั้ง
(5) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
1. การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
2. การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3. การกําหนดเขตเลือกตั้ง
4. การกําหนดวันเลือกตั้ง และการเลื่อนการเลือกตั้ง
5. การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
6. การดูแลการดําเนินงานของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย ฯลฯ (ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นอํานาจของศาลฎีกา)

91. เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลาง ทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความ ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปีในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

92. พรรคการเมืองชื่อโบว์น้ําเงินในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือ หลวงวิจิตวาทการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ําเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และ พรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

93. นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆ จะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภาแสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาล เข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล

94. การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง เป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

95. “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เป็นความคิดของ Edmund Burke
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิด เกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Citigarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงิน สนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

96. คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม คําแนะนําของวุฒิสภาตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคําแนะนําของวุฒิสภา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

97. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1. เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด
2. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิก สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา
3. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
4. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
5. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

98. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ

99. สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

100. สมาชิกวุฒิสภาไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 272 บัญญัติว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรก ให้สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร โดยมติเห็นชอบต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

 

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์
(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม
(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ
(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน
(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 235 – 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้
1. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม
2. เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ
3. เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

2. ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่
(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง
(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง
(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง
(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคม และวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

3. การแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาลแต่ปฏิเสธความรับผิดชอบในองค์การของรัฐคือลักษณะของ
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอุดมการณ์
(4) ลอบบี้ยีสต์
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วัดสั้น (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆ ที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

4.แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐสังคมนิยม
(2) ในรัฐสวัสดิการ
(3) ในรัฐแบบใดก็ได้
(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ภายใต้เงื่อนไขการออกกฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใคร เสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

5. เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”
(1) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
(2) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
(3) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
(4) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม
(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

6.ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) พรรคเสรีมนังคศิลา
(2) พรรคประชาธิปัตย์
(3) ขบวนการเสรีไทย
(4) ขบวนการพูโล
(5) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

7. ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
(1) สหภาพแรงงาน
(2) สหภาพแรงงานไทย
(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย
(4) สหภาพกรรมกรกลาง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 310 – 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 — พ.ศ. 2516 มีดังนี
1. สหภาพกรรมกรกลาง
2. สหภาพกรรมกรชาติไทย
3. สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

8.ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น
(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
(3) วงจรอุบาทว์
(4) สองนคราประชาธิปไตย
(5) สังคมโครงสร้างหลวม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย” เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

9.การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้
(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง
(2) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ
(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง
(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง
(5) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

10. ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลายสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี
(1) แม็กซ์ เวเบอร์
(2) รุสโซ
(3) คาร์ล มาร์กซ์
(4) เอ็ดมันด์ เบอร์ก
(5) โทมัส ฮอบส์
ตอบ 4 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วย กับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ(สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

11. เหตุใดจึงต้องจํากัดวงเงินบริจาคให้แก่พรรคการเมือง
(1) เพื่อรักษาดุลยภาพทางสังคมระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ให้มีโอกาสเข้าถึงพรรคที่ตนชื่นชอบ
(2) เพื่อประกันความเป็นอิสระของพรรคการเมือง
(3) เพื่อป้องกันมิให้พรรคถูกครอบงําจากกลุ่มธุรกิจ
(4) เพื่อให้พรรคสามารถเลือกรับบริจาคจากกลุ่มที่สนับสนุนนโยบายอย่างเปิดเผย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญของการจํากัดวงเงินบริจาคให้แก่พรรคการเมืองก็คือ เพื่อป้องกันมิให้พรรคถูกครอบงําจากกลุ่มธุรกิจ ซึ่งต้องการเข้ามามีอํานาจต่อรองผลประโยชน์ภายในพรรคอันเป็นผลนําไปสู่การทําลายอุดมการณ์หรือนโยบายที่แท้จริงของพรรค

12. ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร
(1) โลกาธิปไตย
(2) เอกาธิปไตย
(3) ธรรมาธิปไตย
(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็น
คณะรัฐบาลและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุมหรือ มีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่า เป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

13. ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ
(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค
(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า
(3) การหยั่งเสียงของผู้สนับสนุนพรรค
(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้ง ทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและ ตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

14. ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรค เพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่อง………….สมาชิก
(1) อายุ
(2) คุณภาพ
(3) ศาสนา
(4) ลัทธิความเชื่อ
(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ
ตอบ 2 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษา โครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

15. ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร
(1) การมีสถาบันกษัตริย์
(2) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา
(3) การใช้ระบบสภาคู่
(4) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง
(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว
ตอบ 4 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมี วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
2. พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

16. ผู้ที่ขนานนามว่ารัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521 เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ คือ
(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
(2) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ
(3) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร
(4) นายชัยอนันต์ สมุทวณิช
(5) นายธงทอง จันทรางศุ
ตอบ 3(คําบรรยาย) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร (นายทหารยังเตอร์ก) เป็นผู้ที่ขนานนามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521 ว่าเป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจากได้ให้อํานาจมากแก่วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง อีกทั้งยังไม่ได้แยกข้าราชการประจํา ออกจากข้าราชการการเมือง ทําให้ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งพบว่ามีลักษณะเป็นการประนีประนอมทางอํานาจระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจํา

17. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ
(1) ฟาสซิสต์
(2) อนุรักษนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) ประชาธิปไตย
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และนาซี ที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมือง ที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

18. ในประเทศที่เป็นระบบพรรคการเมืองหลายพรรคจะเกิดแนวโน้มข้อใด
(1) การทุจริต
(2) รัฐบาลขาดเสถียรภาพ
(3) การซื้อสิทธิขายเสียง
(4) ความเป็นประชาธิปไตย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 163 – 165, 220 ระบบหลายพรรค เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มี พรรคการเมืองเป็นจํานวนมาก (ตั้งแต่ 3 พรรคขึ้นไป) ซึ่งแต่ละพรรคจะมีความสําคัญและ ได้รับความนิยมจากประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงทําให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสมเพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ลําพังเพียงพรรคเดียว ดังนั้นรัฐบาลในประเทศที่เป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคจึงมักจะขาดเสถียรภาพ ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบหลายพรรคในปัจจุบัน เช่น ไทย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

19. การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือขาดการสนับสนุนของ
(1) รัฐบาล
(2) นายจ้าง
(3) กรรมกร
(4) โรงงาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 309 – 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้งเป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

20. พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(1) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
(2) การกําหนดเขตเลือกตั้ง
(3) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(4) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(5) การเลื่อนการเลือกตั้ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
1. การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง
2. การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3. การกําหนดเขตเลือกตั้ง
4. การกําหนดวันเลือกตั้ง และการเลื่อนการเลือกตั้ง
5. การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
6. การดูแลการดําเนินงานของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย ฯลฯ (ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นอํานาจของศาลฎีกา)

21. อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ
(1) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย
(2) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์
(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม
(4) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย
(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์
ตอบ 2 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม

22. ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ…
(1) บ็อกเซอร์
(2) ไตรราษฎร์
(3) เสรีจีน
(4) ไท่ผิง
(5) มาตุภูมิ
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุน ยัต เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกัน ในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ “ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

23. ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม
(1) กลุ่มอุดมการณ์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) กลุ่มอิทธิพลมืด
(4) กลุ่มอาชีพ
(5) อุดมการณ์
ตอบ 1, 5 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางานให้แก่ ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่
1. กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากล สมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) ยุวสมาคม (เจ.ซี.) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง มูลนิธิการกุศล ฯลฯ
2. กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ
3. กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ
4. กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์ เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

24. หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก เมื่อปี พ.ศ.
(1) 2484
(2) 2475
(3) 2486
(4) 2476
(5) 2499
ตอบ 4 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลง ในปี พ.ศ. 2486

25. ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว
(1) ญี่ปุ่น
(2) อังกฤษ
(3) ไทย
(4) จีน
(5) ฝรั่งเศส
ตอบ 1 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมือง ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว ในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

26. คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม คําแนะนําของวุฒิสภาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง 7 ตามคําแนะนําของวุฒิสภา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

27. นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆ จะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภาแสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาล เข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล

28. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพรรคการเมือง
(1) บุคคลรวมตัวกัน
(2) มีอุดมการณ์
(3) แสวงหากําไร
(4) ต้องการมีอํานาจ
(5) นําเสนอนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ
2. เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน
3. มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
4. มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
5. มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอํานาจรัฐ

29. ข้อใดไม่ได้เป็นชื่อของพรรคการเมืองในระบบสองพรรค
(1) Bolshevik
(2) Democrat
(3) Republican
(4) Labour
(5) Conservative
ตอบ 1 หน้า 145, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของระบบสองพรรคก็คือ จะมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคเท่านั้นที่มีโอกาสเป็นรัฐบาลซึ่งแล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยม สูงสุด ส่วนพรรคเล็ก ๆ นั้นไม่อยู่ในฐานะจะจัดตั้งรัฐบาลได้ ตัวอย่างของพรรคการเมืองดังกล่าว ได้แก่ พรรคแรงงาน (Labour Party) และพรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) ของอังกฤษ พรรคเดโมแครต (Democrat Party) และพรรครีพับลิกัน (Republican Party) ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

30.ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น
(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
(3) วงจรอุบาทว์
(4) สองนคราประชาธิปไตย
(5) สังคมโครงสร้างหลวม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว, ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจ การเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการ นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

31. สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลาง ทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความ ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุ ไม่เกิน 65 ปีในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

32. กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง
(1) กลุ่มอิทธิพลมืด
(2) กลุ่มอุดมการณ์
(3) กลุ่มอาชีพ
(4) อุดมการณ์
(5) กลุ่มผลักดัน
ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาท ในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความ สามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ สมาคมนักเรียนเก่า เป็นต้น

33. รัฐธรรมนูญฉบับใดถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ
(1) 2520
(2) 2521
(3) 2515
(4) 2519
(5) 2517
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

34. การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง เป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

35. หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี
(1) 5 ปี
(2) 7 ปี
(3) 10 ปี
(4) 15 ปี
(5) 20 ปี
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใด ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมือง เป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

36. ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ
(1) ศุภชัย สมเจริญ
(2) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์
(3) ประวิช รัตนเพียร
(4) อมรา พงศาพิชญ์
(5) อิทธิพร บุญประคอง
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มี 7 คน ประกอบด้วย ประธาน กกต. ได้แก่ นายอิทธิพร บุญประคอง และกรรมการอีก 6 คน ได้แก่ นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย, นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ และนายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ

37. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ได้รับการขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่าง และแสดงความคิดเห็นมากที่สุด จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

38. พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์
(1) สังคมนิยม
(2) ฟาสซิสต์
(3) เสรีนิยม
(4) อนุรักษนิยม
(5) คอมมิวนิสต์
ตอบ 5 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจ หรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

39. มูลนิธิการกุศล จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม
(1) กลุ่มอุดมการณ์
(2) กลุ่มผลักดัน
(3) อุดมการณ์
(4) กลุ่มอาชีพ
(5) กลุ่มอิทธิพลมืด
ตอบ 1, 3 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

40. กรณี 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีท่านใดต้องลาออก
(1) พลเอกกฤษณ์ สีวะรา
(2) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
(3) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร
(5) จอมพลถนอม กิตติขจร
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นถูกเรียกว่า “วันมหาวิปโยค” หรือ “วันมหาประชาปิติ” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จนทําให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์นี้ทําให้เกิดแรงกดดันจากพลังทางการเมือง หลายฝ่ายจนทําให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

41. พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน
(1) ไม่ชอบความรุนแรง
(2) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
(3) นิยมรัฐสวัสดิการ
(4) นวัตกรรมทางการค้า
(5) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง
ตอบ 2 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและ ทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

42. ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล
(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ
(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ
(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ
(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค
ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมือง ได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริม
ผลประโยชน์ของชาติ”

43. สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ
(1) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง
(2) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ
(3) เพราะนักการเมืองทุจริต
(4) เพราะประชาชนสนับสนุน
(5) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ําซากของ การเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งแล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้นโดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

44. พรรคการเมืองเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) อังกฤษ
(2) สเปน
(3) โปรตุเกส
(4) เบลเยียม
(5) สวีเดน
ตอบ 1 หน้า 33 พรรคการเมืองในรูปแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นในประเทศยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ก่อนแล้วขยายไปสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองใน ระยะเริ่มต้นนี้เป็นเพียงการรวมกลุ่มของพรรคสมาชิกสภาผู้แทนที่มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์คล้ายคลึงกัน เช่น พวกเสรีนิยม พวกอนุรักษนิยม พวกสาธารณรัฐนิยม พวกประชาธิปไตยนิยม พวกนิยมกษัตริย์ เป็นต้น

45. แนวคิดเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมสอดคล้องกับแนวคิดใด
(1) สังคมนิยม
(2) ปัจเจกชนนิยม
(3) คณาธิปไตย
(4) อนาธิปไตย
(5) ประชาธิปไตย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งให้ความสําคัญกับเสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างมาก โดยเชื่อว่าเมื่อประชาชนถูกกดขี่ข่มเหงหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม พวกเขาย่อมมีสิทธิ ออกมาแสดงความเห็น วิพากษ์วิจารณ์ ประท้วง และเรียกร้องความยุติธรรมให้ตัวเองได้

46. อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด
(1) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(2) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(3) หลังปี 2000
(4) หลังปี 1980
(5) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
ตอบ 1 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

47. ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค
(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค
(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1(คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้น พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
1. มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
2. มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด
3. มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

48. ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น
(1) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
(2) สองนคราประชาธิปไตย
(3) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(4) วงจรอุบาทว์
(5) สังคมโครงสร้างหลวม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

49.พรรค UMNO เกิดขึ้นในประเทศใด
(1) เมียนมา
(2) บังกลาเทศ
(3) ฟิลิปปินส์
(4) มาเลเซีย
(5) อินโดนีเซีย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พรรคอัมโน (UMNO) เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ซึ่งมีอํานาจ ครอบงําการเมืองมาเลเซียตั้งแต่ได้รับเอกราช โดยพรรคอัมโนเป็นพรรคสายอนุรักษนิยม ที่เน้นการปกป้องวัฒนธรรมมาเลเซีย คุณค่าอิสลาม และนโยบายที่เอื้อกับธุรกิจ

50. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1. เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด
2. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิก สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา
3. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
4. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
5. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

51. ไลออนส์สากล โรตารี่ ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน
(1) ผลักดัน
(2) อาชีพ
(3) ศาสนา
(4) อุดมการณ์
(5) มาตุภูมิ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

52. ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง
(1) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม
(2) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ
(3) ทฤษฎีจิตวิทยา
(4) ทฤษฎีอุดมการณ์
(5) ทฤษฎีระบบ
ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. ทฤษฎีจิตวิทยา
2. ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ
4. ทฤษฎีทางการจัดองค์การ
5. ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน
6. ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ
7. ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

53. ข้อใดเป็นลักษณะของพรรคการเมืองอเมริกัน
(1) มีการรวมตัวกันตามชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม
(2) มีการจัดองค์กรแบบรวมศูนย์
(3) มีการฝึกกองกําลังคอยอารักขาหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหาร
(4) มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 42 พรรคการเมืองอเมริกันมีลักษณะเป็นพรรคชนชั้นเหมือนในยุโรป คือ มีการจัดองค์กร แบบรวมศูนย์อํานาจไว้ที่ส่วนกลาง ไม่ต้องการสมาชิกจํานวนมากแต่ต้องการบุคคลที่มีชื่อเสียง โครงสร้างพรรคหลวม มีภารกิจทางการเมืองอย่างเดียวก็คือการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา โดย การส่งสมาชิกของพรรคเข้าสมัครรับเลือกตั้งนอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษหรือมีความโดดเด่น ในเรื่องของการกําหนดระบบการเลือกตั้งชั้นต้น (System of Primary Election) หรือ การทดสอบคะแนนเสียง (Prevoting) หรือการหยั่งเสียงก่อนเลือกผู้สมัครอีกด้วย

54. ก่อนการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475 กลุ่มผลประโยชน์ของไทยมักเป็นตัวแทนของกลุ่ม
(1) อาสาสมัคร
(2) มาตุภูมิ
(3) อุดมการณ์
(4) อาชีพ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 309 310 ก่อนการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475 กลุ่มผลประโยชน์ของไทยมักเป็นตัวแทน ของกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มคนงานรถราง ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ ผู้มีอาชีพขับรถราง หรือสหภาพกรรมกรจีนโพ้นทะเล ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2450 ในนามของ สมาคมอุตสาหกรรมและพาณิชย์ เป็นต้น

55. หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี
(1) ปัจเจกชนนิยม
(2) อัตตาธิปไตย
(3) สังคมนิยม
(4) พหุนิยม
(5) อนาธิปัตย์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

56. ประเทศใดมีระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเด่นพรรคเดียว
(1) อังกฤษ
(2) ญี่ปุ่น
(3) นิวซีแลนด์
(4) อิตาลี
(5) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

57. ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้
เพื่อประชาธิปไตย
(1) คนชั้นกลาง
(2) รากหญ้า
(3) ทหาร
(4) อํามาตย์
(5) เสื้อแดง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

58. พรรคการเมืองแบบใดมีจํานวนสมาชิกมากที่สุด
(1) พรรคมวลชน
(2) พรรคชนชั้น
(3) พรรคถึงชนชั้น
(4) พรรคการเมืองโดยอ้อม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 43, (คําบรรยาย) พรรคมวลชน (Mass Party) ถือกําเนิดขึ้นจากแนวคิดของ กลุ่มสังคมนิยมหรือขบวนการสังคมนิยมในยุโรปในปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นพรรคที่เน้น ปริมาณของสมาชิกเป็นเรื่องหลัก และคุณภาพของสมาชิกเป็นเรื่องรอง หรือให้ความสําคัญ แก่มวลชนเป็นอย่างมาก จึงเป็นพรรคที่มีจํานวนสมาชิกมากที่สุด

59. นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนล่าสุด คือ
(1) นาญิบ ตุนอับดุลรอซัก
(2) อิสมาแอล ซอบรี ยะฮ์กับ
(3) อันวาร์ อิบราฮิม
(4) มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน
(5) มหาเธร์ โมฮัมหมัด
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนล่าสุด คือ นายอิสมาแอล ซอบรี ยะฮ์กับ (Ismait Sabri Yaakob) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2564

60. ศัพท์ที่ใช้เรียกการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง คือ
(1) Idiocratic Commission
(2) Gerrymandering
(3) Fraudmandering
(4) Psudo Electionman
(5) Salamandering
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Gerrymandering หมายถึง การบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อผลประโยชน์ทาง การเมืองของพรรคใดพรรคหนึ่ง เช่น กรณีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดโดยให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน อยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ทําให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักวิชาการว่ามีการบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง

61. จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน
(1) แฝง
(2) นอมินี
(3) เฉพาะเรื่อง
(4) จริง
(5) เอกชน
ตอบ 1 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลัก เพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมืองเพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

62. ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ
(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า
(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า
(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน
(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ
1. การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน
2. การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต
3. การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้าง ระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

63. ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร
(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา
(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ
(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้
(4) เปิดเสรีทางการค้า
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
6. จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

64. ข้อใดไม่ใช่แหล่งรายได้ของพรรคการเมือง
(1) เงินบริจาค
(2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(3) กําไรจากการประกอบกิจการ
(4) ค่าบํารุงพรรค
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แหล่งรายได้ของพรรคการเมือง ได้แก่
1. เงินค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรค
2. เงินได้จากการจําหน่ายสินค้าหรือบริการของพรรค
3. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
4. การจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง ฯลฯ

65. ข้าราชการท่านใดใช้นามแฝงในขบวนการเสรีไทยเขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
(1) นายจํากัด พลางกูร
(2) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร
(3) นายป๋วย อึ๊งภากรณ์
(4) น.พ.ประเวศ วะสี
(5) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้ใช้นามแฝงสมัยเป็นเสรีไทยว่า เข้ม เย็นยิ่ง เขียนจดหมายจากประเทศอังกฤษถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อเรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอํานาจการปกครอง อยู่ในขณะนั้นคืนรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนโดยเร็ว

66. กลุ่มบรีตันเกิดขึ้นในประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) สเปน
(3) เยอรมนี
(4) ฝรั่งเศส
(5) อิตาลี
ตอบ 4 หน้า 29 กลุ่มบรีตัน (Breton) ในประเทศฝรั่งเศส เป็นตัวอย่างของการเกิดพรรคการเมือง ในสภา ซึ่งเกิดจากผู้แทนคนหนึ่งจากเมืองบุรีตันได้เช่าห้องในร้านกาแฟและจัดให้มีการประชุม ในกลุ่มผู้แทนที่อยู่ใกล้เคียงกันเพื่อต่อสู้ในสภาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของท้องถิ่นและปัญหานโยบายพื้นฐานของชาติ

67. พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ
(1) คอยเป็นรัฐบาล
(2) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
(3) บอยคอตต์การเลือกตั้ง
(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา
(5) มีสาขาพรรคมาก ๆ
ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ
1. ต้องมีความยั่งยืน โดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมืองแต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก
2. ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกัน ระหว่างสํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น
3. ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียว หรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้
4. ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไป
เมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

68. ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว
(1) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง
(2) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง
(3) เพื่อพัฒนาให้เยอรมันมีความเป็นประชาธิปไตย
(4) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ
(5) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว
ตอบ 1 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็น การแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

69. อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว
(1) สังคมนิยม
(2) คอมมิวนิสต์
(3) เสรีนิยม
(4) ฟาสซิสต์
(5) อนุรักษนิยม
ตอบ 2, 4 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจ อยู่เท่านั้นไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์ และนาซี) เช่น จีน ลาว เวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

70. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง
(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ
(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพ
2. ช่วยทําให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องต้องกัน
3. ช่วยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอด อํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง
4. ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม
5. เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
6. ช่วยพัฒนาการเมือง

71. พรรคการเมืองใดเป็นพรรครัฐบาลอเมริกันในปัจจุบัน
(1) พรรคกรีน
(2) พรรคคองเกรส
(3) พรรคเดโมแครต
(4) เป็นรัฐบาลผสม
(5) พรรครีพับลิกัน
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พรรคการเมืองที่เป็นพรรครัฐบาลของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน (ปี 2565)
คือ พรรคเดโมแครต โดยมีนายโจ ไบเดน (Joe Biden) เป็นประธานาธิบดี

72. โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น
(1) พระราชบัญญัติ
(2) ประกาศของ กกต.
(3) พระราชกําหนด
(4) กฎกระทรวง
(5) พระราชกฤษฎีกา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา (รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 102 – 193)

73. ข้อใดไม่ใช่การสนับสนุนของสมาชิกต่อพรรคการเมือง
(1) เผยแพร่นโยบาย
(2) ช่วยหาเสียง
(3) ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง
(4) บริจาคเงิน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสนับสนุนของสมาชิกต่อพรรคการเมือง ได้แก่
1. การเผยแพร่อุดมการณ์หรือแนวนโยบายของพรรค
2. การช่วยหาเสียงเลือกตั้ง
3. การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง
4. การบริจาคเงินให้แก่พรรค
5. การเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของพรรค ฯลฯ ๆ

74.การจัดองค์การแบบ Militia เป็นลักษณะของพรรค
(1) พรรคแรงงานของอังกฤษ
(2) พรรคเสรีประชาธิปไตย
(3) พรรคฟาสซิสต์
(4) พรรครีพับลิกัน
(5) พรรคคอมมิวนิสต์
ตอบ 3 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่า เป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉินโดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

75. ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกหรือไม่
(1) บังคับใช้เฉพาะสามจังหวัดภาคใต้
(2) ยกเลิกไปแล้ว
(3) บังคับใช้เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล
(4) ยังมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ
(5) บังคับใช้เฉพาะจังหวัดที่มีเสื้อแดง
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกฎอัยการศึกที่ใช้บังคับทั่วประเทศตามประกาศของกองทัพบก ฉบับที่ 1/2557 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 และตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 แต่กฎอัยการศึกในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งบังคับใช้ก่อนวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ยังคงมีผล บังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ได้ถูกยกเลิกตามกฎอัยการศึกทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว

76. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง
(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ
(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

77. พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย
(1) พรรคนาซี
(2) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ
(3) พรรคแรงงานของอังกฤษ
(4) พรรคเดโมแครต
(5) พรรคเสรีประชาธิปไตย
ตอบ 1 หน้า 106 – 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาด ในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

78. พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด
(1) พรรคแนวร่วม
(2) พรรคชนชั้น
(3) พรรคแบบผสม
(4) พรรคมวลชน
(5) พรรคจัดตั้ง
ตอบ 2 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริช ดูแวร์เช่ (Maurice Duverger) ได้แบ่งพรรคการเมือง ออกเป็น 3 แบบ คือ
1. พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมา ยาวนานที่สุด
2. พรรคมวลชน
3. พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้นหรือพรรคแบบผสม

79. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง
(1) เสนอนโยบาย
(2) ชี้ขาดข้อพิพาท
(3) จัดตั้งรัฐบาล
(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้
1. เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
2. เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข
3. เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ
4. จัดตั้งรัฐบาล
5. เป็นฝ่ายค้าน
6. ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

80. อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ
(1) ลิเบอรัลลิสต์
(2) อนาธิปัตย์
(3) ประชาธิปัตย์
(4) ประชาธิปไตย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คำบรรยาย) อนาธิปไตย หรืออนาคิสต์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมศูนย์เป็นประเทศเป็นภัย เป็นบ่อนทำลาย หรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จำเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

81. การจัดองค์กรพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจำเพาะของพรรคใด
(1) พรรคเลนิน
(2) พรรคคอมมิวนิสต์
(3) พรรคจีน
(4) พรรคเหมา
(5) พรรคอนุรักษ์นิยม
ตอบ 2: หน้า 65 การจัดองค์กรพรรคการเมืองแบบหน่วยเซลล์ (Cell) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจำเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

82. การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ใด
(1) ฝ่ายบริหาร
(2) ฝ่ายศาล
(3) กรรมการ
(4) ปกป้องรัฐบาล
(5) ไม่ชัดเจน
ตอบ 2 (คำบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ออกใบเหลืองใบแดงถือว่าเป็นการทำหน้าที่ฝ่ายศาล เช่น การพิจารณาแถลงใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง ฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. การรับรองหรือไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

83. “พรรคการเมืองที่มีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เป็นความคิดของ Robert Michels
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คำบรรยาย) โรเบิร์ต มิคเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชั้นนำได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั่นมีระบบคณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยมีอำนาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีแต่หัวหน้าพรรคและผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้นำพรรคหรือผู้ใหญ่เท่านั้นที่มีอำนาจในการตัดสินใจในพรรค

84. กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผู้กดดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด
(1) สมาชิก
(2) กิจกรรม
(3) หลักการกลุ่ม
(4) เป้าหมาย
(5) ไม่แตกต่าง
ตอบ 4: หน้า 236 – 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผู้กดดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์มีเป้าหมายที่จะมีอิทธิพลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อการออกนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผู้กดดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

85. พรรคการเมืองที่ทั่วราษฎรต้องมีลักษณะอย่างไร
(1) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค
(2) ไม่ร่วมกับพรรคตั้งรัฐบาล
(3) จำกัดจำนวนสมาชิกที่ตัดสินใจ
(4) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง
(5) ยึดอุดมการณ์เป็นหลัก
ตอบ 1: ดูคำอธิบายหน้า 67. ประกอบ

86. ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ
(1) กระทรวง
(2) กรม
(3) ประธานหอการค้า
(4) รากหญ้า
(5) ทุกระดับ
ตอบ 5 หน้า 277, (คําบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ใน ระดับต่าง ๆ กัน เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือ คนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

87. เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

88. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของพรรคการเมืองโดยแบ่งตามโครงสร้าง
(1) เซลล์
(2) คอคัส
(3) มิลิเซีย
(4) ยูนิต
(5) บรานซ์
ตอบ 4 หน้า 56, 62, 65, 68, (คําบรรยาย) ประเภทของพรรคการเมืองซึ่งแบ่งตามโครงสร้าง มี 4 ประเภท คือ
1. แบบคณะกรรมการหรือคอคัส (Caucus)
2. แบบสาขาหรือบรานซ์ (Branch)
3. แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)
4. แบบทหารหรือมิลิเซีย (Militia)

89. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521 ถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เนื่องจาก
(1) วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง
(2) วุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง
(3) ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้
(4) วุฒิสมาชิกเป็นนายกรัฐมนตรีได้
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

90. ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร
(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ
(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่
(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล
(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาลแล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

91. คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

92. พรรคการเมืองชื่อโบว์น้ําเงินในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือ หลวงวิจิตวาทการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการเลือกตั้ง นคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ําเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และ พรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

93. ชนชั้นนํา (Elite) คือ
(1) คนที่มีรสนิยมสูง
(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย
(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา
(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด
(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

94. ข้อใดเป็นพรรคการเมืองแบบพรรคเด่นพรรคเดียว
(1) Democrat
(2) Republican
(3) PAP
(4) Forza Italia
(5) Green
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตัวอย่างของพรรคการเมืองแบบพรรคเด่นพรรคเดียว เช่น
1. พรรคกิจประชาชน (PAP) ของสิงคโปร์
2. พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ของญี่ปุ่น
3. พรรคอัมโน (UMNO) ของมาเลเซีย
4. พรรคคองเกรส (Congress) ของอินเดีย ฯลฯ
(ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ)

95. ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม
(1) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด
(2) ชนะการเลือกตั้ง
(3) เผยแพร่ความรู้
(4) ระดมทุน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหาสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่ มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

96. ระบบการเลือกตั้งชั้นต้นในสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) ศตวรรษที่ 16
(2) ศตวรรษที่ 17
(3) ศตวรรษที่ 18
(4) ศตวรรษที่ 19
(5) ศตวรรษที่ 20
ตอบ 5 หน้า 42 ระบบการเลือกตั้งชั้นต้น (System of Primary Election) หรือการทดสอบ คะแนนเสียง (Prevoting) ในสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นระบบ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจในพรรคการเมืองได้มีโอกาสเข้าร่วมเสนอชื่อและ ลงคะแนนหยั่งเสียงแก่ผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งในนามของพรรคใดพรรคหนึ่ง

97. แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ
(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์
(2) สองนคราประชาธิปไตย
(3) สังคมโครงสร้างหลวม
(4) วงจรอุบาทว์
(5) ระบอบอํามาตยาธิปไตย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลาง ในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจน ในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

98. แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด
(1) คณาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) สังคมนิยม
(4) ปัจเจกชนนิยม
(5) อนาธิปัตย์ .
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

99. กลุ่มผลประโยชน์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม
(1) อาชีพ
(2) มาตุภูมิ
(3) ผลักดัน
(4) อุดมการณ์
(5) อาสาสมัคร
ตอบ 4 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้ เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้าน การทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรม ประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

100. พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) นิวซีแลนด์
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาล แล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุดซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ)

POL2101 ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง s/2566

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

พุทธศาสนาและบริบทแวดล้อม

1. เทพดั้งเดิมที่อารยันลุ่มน้ําสินธุบูชาคือ
(1) ศิวลึงค์
(2) พระราม
(3) พระวิษณุ
(4) พระแม่ธรณี
(5) พระอาทิตย์
ตอบ 5 หน้า 95 – 96, (คําบรรยาย) ดั้งเดิมพวกอารยันนับถือธรรมชาติ เช่น ฟ้า ตะวัน เดือน เป็นเทวะ หรือเทพ ซึ่งต่อมาอารยันลุ่มน้ําสินธุได้พัฒนาเทวะออกเป็น 3 พวก ได้แก่ พวกที่อยู่ในสวรรค์ เช่น วรุณหรือพิรุณ สูรยะหรือสุริยะ (พระอาทิตย์) ฯลฯ พวกที่อยู่ในฟ้า เช่น วาตะ อินทระ ฯลฯ และพวกที่อยู่บนพื้นโลก เช่น อัคนี ยม เป็นต้น

2. บทสวดที่เป็นมนต์ป้องกันและเสกเป่าความชั่วร้ายไปให้ศัตรูคือ
(1) ฤคเวท
(2) ยชุรเวท
(3) สามเวท
(4) ไสยเวท
(5) อถรรพเวท
ตอบ 5 หน้า 96, (คําบรรยาย) ในสมัยพราหมณะ (พราหมณ์) ได้เกิดคัมภีร์พระเวทเล่มที่ 4 ขึ้น เรียกว่า อถรรพเวท ซึ่งมีข้อความจากพระเวทเดิมปะปนอยู่บ้าง โดยเรื่องราวของอถรรพเวท ส่วนมากเป็นมนต์ป้องกันและเสกเป่าเพื่อแก้เสนียดและนําความชั่วร้ายไปให้ศัตรู การสักยันต์
เป็นตัวเลข หรือคาถาเพื่อปกป้องตัวเองหรือให้มีโชคลาภ

3.การนับถือพระพรหม ศิวะ นารายณ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) สรรพเทวนิยม
(2) พหุเทวนิยม
(3) อติเทวนิยม
(4) อเทวนิยม
(5) เอกเทวนิยม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าหรือเทพเจ้า แบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่
1. เอกเทวนิยม (Monotheism) เชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว หรือมีเทพองค์หนึ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เทพทั้งหลาย ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาคริสต์
2. พหุเทวนิยม (Polytheism) เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ และเทพทุกพระองค์ล้วนยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู การนับถือพระพรหม ศิวะ นารายณ์
3. อติเทวนิยม (Herotheism) เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ แต่จะยกย่องให้เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ให้ยิ่งใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ
4. อเทวนิยม (Atheism) เชื่อว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริง หรือปฏิเสธการมีอยู่ของเทพเจ้า ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาพุทธ

4.แนวคิดฮินดูถือว่าชีวิตทั้งหลายมีต้นกําเนิดมาจากที่ใด
(1) เกิดขึ้นเอง
(2) พรหม
(3) กรรม
(4) ฤๅษี
(5) การกินง้วนดิน
ตอบ 2 หน้า 97 (คําบรรยาย) แนวคิดฮินดู เชื่อว่า พรหมเป็นศูนย์รวม และวิญญาณต่าง ๆ ทั้งหลาย มีต้นกําเนิดมาจากพรหม (ปฐมวิญญาณ) สิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนถือกําเนิดจากพรหม วิญญาณ ที่แยกออกไปจากพรหม อาจเข้าสถิตในร่างกายมนุษย์ สัตว์ พืช หรือแม้แต่เทวดาก็ได้ ทุกครั้ง ที่ร่างเดิมแตกดับ วิญญาณก็จะเวียนว่ายตายเกิดในสังสาระหรือภพชาติต่าง ๆ ตามแต่กรรม ที่ได้กระทําไว้ จนกว่าจะพบความหลุดพ้น (โมกษะ) จากการเกิดเข้าสู่พรหมเช่นเดิม

5.ลัทธิอวตารในศาสนาฮินดูสัมพันธ์กับ
(1) การอดอาหาร
(2) การบูชาศิวลึงค์
(3) การแบ่งภาคมาเกิด
(4) การบูชาพระวิษณุ
(5) การบูชาพระแม่กาลี
ตอบ 3 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาฮินดูในสมัยราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. 863 – 1078) เกิดคัมภีร์ปุราณะ กล่าวถึงกําเนิดโลก เทวดา และสิ่งอื่น ๆ การแข่งขันแต่ละนิกายมีมากขึ้น โดยอ้างว่าเทพของตน เป็นต้นกําเนิดของสรรพสิ่ง (เป็นแนวคิดแบบเทวนิยม) เช่น ฮินดูนิกายไศวะถือพระศิวะเป็นใหญ่ ฮินดูนิกายไวษณพถือพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นใหญ่ มีลัทธิอวตารหรือการแบ่งภาคมาเกิด เป็นปางต่าง ๆ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็เป็นอวตารหนึ่งของพระนารายณ์

6. หลักธรรมใดสัมพันธ์กับศาสนาเชนมากที่สุด
(1) ศรัทธา
(2) เมตตา
(3) ขันติ
(4) ทาน
(5) การเห็นชอบ
ตอบ 5 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาเชน เป็นศาสนาอเทวนิยม (Atheism) คือ ไม่มีเทพหรือพระเจ้า และไม่นับถือเทพหรือพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด เป็นศาสนาแห่งเหตุผล โดยมีหลักความเชื่อที่สําคัญ ก็คือ ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสาระไปสู่การบรรลุ “โมกษะ” เพื่อที่จะ ได้ไม่กลับมาเกิดอีก ซึ่งมีหลักธรรมที่เป็นหนทางอันนําไปสู่การบรรลุโมกษะ ได้แก่ การเห็นชอบ ความรู้ชอบ และประพฤติชอบ

7.หลักอาศรม 4 วัยแห่งการศึกษาหาความรู้คือ
(1) วานปรัสถ์
(2) สันยาสี
(3) พรหมจารี
(4) คฤหัสถ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักอาศรม 4 ในศาสนาฮินดู แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนตามวัย ได้แก่
1. พรหมจารี (อัตถะ) เป็นวัยแห่งการศึกษาหาความรู้
2. คฤหัสถ์ (กามะ) เป็นวัยแห่งการครองเรือน
3. วานปรัสถ์ (ธรรมะ) เป็นวัยแห่งการแสวงหาความวิเวก ปลีกตัวออกจากสังคมไปอยู่ป่าหรือออกจาริก เพื่อฝึกจิตของตน
4. สันยาสี (โมกษะ) เป็นวัยแห่งการสละชีวิตคฤหัสถ์ของผู้ครองเรือน ละทิ้งทางโลก

8. ในโพธิราชกุมารสูตร มีการเปรียบมนุษย์เหมือนบัวที่เหล่า
(1) 1 เหล่า
(2) 2 เหล่า
(3) 3 เหล่า
(4) 4 เหล่า
(5) 5 เหล่า
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในโพธิราชกุมารสูตร พระพุทธเจ้าทรงเปรียบมนุษย์เหมือนบัว 3 เหล่า คือ บัว เกิดในน้ำบัวเสมอน้ำ และบัวพ้นน้ำ โดยกล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อยก็มี มีธุลี ในดวงตามากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้า ที่มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลก และโทษว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว ในกออุบล บัวขาบ) ในกอปทุม (บัวหลวง) หรือในกอบุณฑริก (บัวขาว) ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ และมีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่พ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ

9. พระอาทิพุทธในศาสนาพุทธนิกายมหายานมีที่มาจาก
(1) มนุษย์ธรรมดา
(2) พระโพธิสัตว์
(3) เทวดา
(4) พรหม
(5) เกิดขึ้นเอง
ตอบ 5 หน้า 103 ศาสนาพุทธนิกายมหายาน เชื่อว่า พระอาทิพุทธคือพระศาสดาเจ้าที่ยิ่งใหญ่ และ เป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริง ซึ่งตรัสรู้พระสัมโพธิญาณมาช้านานจนนับไม่ได้ ยังไม่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน และจะดํารงอยู่ไม่ดับขันธ์ปรินิพพานอีกยาวนานจนไม่อาจกําหนดเวลาได้ โดยเป็น พระสวยัมภูเกิดขึ้นเอง

10. วรรณะต่าง ๆ ตามแนวคิดของศาสนาพุทธนั้นถือว่ามีที่มาจาก
(1) กฎหมาย
(2) อํานาจ
(3) พรหม
(4) พระเจ้า
(5) การทํางานที่ต่างกัน
ตอบ 5 หน้า 115, (คําบรรยาย) ตามแนวคิดของศาสนาพุทธ เห็นว่า “ระบบวรรณะ” หรือวรรณะ ต่าง ๆ นั้นมีที่มาจากการทํางานที่ต่างกัน กล่าวคือ กษัตริย์หรือผู้ปกครองมีทําหน้าที่คอยควบคุม การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ส่วนพราหมณ์เกิดจากสัตว์บางพวกต้องการหลีกพ้นจากสิ่งชั่วร้ายที่มี ขึ้นในหมู่สัตว์คือ การลักทรัพย์ การมุสา เป็นต้น จึงได้พากันลอยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย และมีวิถีชีวิตคือการไปปลูกกระท่อมอยู่ในป่า ขออาหารเป็นมื้อ ๆ จากชาวบ้าน รวมทั้งแพศย์ และศูทรเองก็เกิดจากการแบ่งหน้าที่การทํางานกัน ดังคํากล่าวที่ว่า “ สัตว์เหล่านั้นยึดมั่น เมถุนธรรมแล้ว แยกประกอบการงาน…..”

11. ที่มาของผู้ปกครองของศาสนาพุทธในอัคคัญญสูตรสอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) การแต่งตั้ง
(2) การเลือกตั้ง
(3) สงคราม
(4) การสอบคัดเลือก
(5) สืบทายาท
ตอบ 1 หน้า 115, (คําบรรยาย) สมมุติฐานการเกิดผู้ปกครองตามคติความเชื่อในอัคคัญญสูตรของ ศาสนาพุทธนั้น กษัตริย์หรือผู้ปกครองจะเป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่คนทั้งหลายเห็นพ้องต้องกัน จัดให้มีหรือแต่งตั้งขึ้น เรียกว่า “มหาสมมุติ” เพื่อคอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์มิให้มี การละเมิดซึ่งกันและกัน โดยเขาทั้งหลายก็จะให้ค่าตอบแทนแก่มหาสมมุตินั้นด้วย

12. ข้อใดคือความเชื่อของศาสนาพุทธ
(1) Pantheism
(2) Polytheism
(3) Atheism
(4) Monotheism
(5) Henotheism
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

13. ข้อใดไม่จัดอยู่ในอบายมุข 6
(1) คบคนชั่วเป็นมิตร
(2) เที่ยวกลางคืน
(3) เกียจคร้าน
(4) เล่นการพนัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) อบายมุข 6 คือ วิถีชีวิต 6 อย่างแห่งตัณหาความอยาก ความโลภหลงมัวเมาที่ ทําให้เกิดความเสื่อม ความฉิบหายของชีวิต ประกอบด้วย
1. ดื่มน้ำเมา
2. เที่ยวกลางคืน
3. เที่ยวดูการละเล่น
4. เล่นการพนัน
5. คบคนชั่วเป็นมิตร
6. เกียจคร้านการทํางาน

14. คําสอนที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองต่อพลเมืองด้วยกันคือ
(1) ศีล 5
(2) กรรมบถ
(3) ธรรมราชา
(4) ทิศ 6
(5) ทศพิธราชธรรม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทิศ 6 คือ คําสอนที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองต่อพลเมืองด้วยกัน
ซึ่งประกอบด้วยบุคคล 6 ส่วน แบ่งเป็นทิศต่าง ๆ รอบตัว ดังนี้
1. ปรัตถ์มทิส หมายถึง ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา
2. ทักขิณทิส หมายถึง ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูบาอาจารย์
3. ปัจฉิมทิส หมายถึง ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามี ภรรยา
4. อุตตรทิส หมายถึง ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย
5. เหฏฐิมทิส หมายถึง ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้าง คนรับใช้
6. อุปริมทิส หมายถึง ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์

15. ที่ใดที่ถือว่าประมุขของศาสนจักรเป็นประมุขของฝ่ายอาณาจักรด้วย
(1) พม่า
(2) ญี่ปุ่น
(3) มองโกเลีย
(4) จีน
(5) ทิเบต
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ทิเบต เป็นรัฐที่มีประมุขฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรเป็นคนเดียวกัน ซึ่งก็คือ “องค์ดาไล ลามะ” โดยชาวพุทธมหายานในทิเบตเชื่อมั่นว่าองค์ดาไล ลามะ เป็นพระโพธิสัตว์ ลงมาเกิดในร่างมนุษย์เพื่อโปรดสรรพสัตว์ เมื่อองค์ดาไล ลามะ สิ้นชีวิต ดวงจิตวิญญาณจะกลับมา เกิดในร่างใหม่ และสาวกก็จะติดตามไปจนได้พบเด็กที่เป็นร่างใหม่ขององค์ดาไล ลามะ แล้วนํามา เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้การศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน จนแตกฉาน แล้วให้ดํารงตําแหน่ง ดาไล ลามะ องค์ต่อไป วนเวียนอยู่เช่นนี้ตลอดมา

ความหมายของทฤษฎีการเมือง

ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 16. – 20.
(1) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์
(2) ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน
(3) สสารวาท
(4) เหตุผลนิยม
(5) ทฤษฎีการเมืองร่วมสมัย

16. ถือว่าคนแตกต่างจากสัตว์อื่นคือเป็นผู้ที่มีเหตุผล
ตอบ 4 หน้า 8, คําบรรยาย) กลุ่มวิตรรกวาทหรือกลุ่มเหตุผลนิยม เชื่อว่า บรรดาสถาบันทางการเมือง ต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากแนวความคิดของมนุษย์ คนแตกต่างจากสัตว์อื่นคือเป็นผู้ที่มีเหตุผล และสถาบันการเมืองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมด้วยเหตุผลของคน

17. ใช้การตัดสินเชิงคุณค่า คือความรู้สึก ค่านิยม หรือประสบการณ์ของตัวนักคิดมาอธิบาย
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8 – 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน (Normative Political Theory) คือสิ่งเดียวกับปรัชญาการเมือง ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาโดยใช้การตัดสินเชิงคุณค่า คือ ความรู้สึก ค่านิยม หรือประสบการณ์ของตัวนักคิดมาอธิบาย ซึ่งจะไม่มีการแยกคุณค่าออก จากสิ่งที่ศึกษา โดยคําอธิบายนั้นสามารถเข้าใจหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยเหตุผล และไม่จําเป็น ต้องทดลองให้เห็นในเชิงประจักษ์ ดังนั้นวิชา “ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1” หรือวิชา POL 2101 จึงมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน โดยเนื้อหาในการศึกษาวิชานี้จะ บรรจุทัศนะทางการเมืองของเมธีผู้มีชื่อเสียงที่สําคัญ ๆ นับแต่สมัยคลาสสิค/โบราณ จนกระทั่ง ถึงสมัยกลางตอนต้น หรือครอบคลุมความคิดทางการเมืองสมัยกรีก (Greek) และโรมัน (Roman) รวมถึงยุคกลางแห่งอาณาจักรไบเทนไทน์ (Byzantine)

18. มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบวิทยาศาสตร์
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบ วิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเน้นทํานาย ปรากฏการณ์ทางการเมือง ซึ่งการศึกษาการเมืองในลักษณะดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลจากรัฐศาสตร์ กระแสหลักแบบอเมริกัน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

19. ถือว่าความคิดทางการเมืองเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่
ตอบ 3 หน้า 9 – 11, (คําบรรยาย) สํานักวัตถุนิยม (Materialism) หรือเรียกอีกอย่างว่า สสารวาท ซึ่งสํานักนี้เห็นว่า สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นรากฐานของความคิดมนุษย์ หรืออาจกล่าว ได้ว่านามธรรมนั้นเกิดมาจากรูปธรรม และถือว่าสถาบันการเมืองและทฤษฎีการเมืองต่าง ๆ หรือความคิดทางการเมืองล้วนแต่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ หรือบทบาทของ ผลประโยชน์ทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ ซึ่งผลประโยชน์ของชนทั้งหลายคือ สถานภาพทางสังคม รายได้ และทรัพย์สมบัติ

20. เน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

21.จริยธรรม เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) กฎธรรมชาติ
(2) หลักตัดสินพฤติกรรมมนุษย์
(3) ทวินิยม
(4) หลักการใช้กฎหมาย
(5) หลักการปกครองมนุษย์
ตอบ 2 หน้า 3, (คําบรรยาย) คํานิยามของทฤษฎีการเมืองในทรรศนะของ Edward C. Smith และ Arnold J. Zurcher นั้น เห็นว่าลักษณะแบบจริยธรรม (Ethical) ได้แก่ ส่วนของทฤษฎีการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดควรทําหรือไม่ควรทํา ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องในกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งมัก ใช้เป็นหลักตัดสินพฤติกรรมมนุษย์

22. ทฤษฎี มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) ความถูกต้อง
(2) ความชอบธรรม
(3) สัจจะ
(4) ความเห็น
(5) ความซื่อสัตย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “ทฤษฎี” ในภาษาไทย มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตคือ ทฤษฎี (ภาษาบาลีใช้ ทิฏฐิ) ซึ่งหมายถึง ความเห็น ข้อเสนอ ทิฐิ

ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 23 – 25
(1) ปรัชญาการเมือง
(2) อุดมการณ์ทางการเมือง
(3) ความคิดทางการเมือง
(4) สถาบันทางการเมือง
(5) มโนทัศน์ทางการเมือง

23. การศึกษาเกี่ยวกับความคิดทางการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคล
ตอบ 3 หน้า 1 – 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) คือ ความคิดความเข้าใจเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความเข้าใจ ว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร หรือเป็นความคิดที่เกี่ยวกับเรื่อง การเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยมีแนวโน้มหนักไปในทางด้านการพรรณนาและความคิดเชิงประวัติศาสตร์

24. มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์
ตอบ 2 หน้า 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) มักใช้ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก โดยไม่จําเป็นต้องเป็น สิ่งที่ถูกต้องหรือยึดหลักศีลธรรมหรือคุณธรรมทางการเมือง แต่จะเป็นความคิดหรือความเชื่อ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกล่อมเกลาสมาชิกที่ยึดถือ และมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์

25. การตอบคําถามอมตะทางการเมือง เช่น ระบอบการเมืองที่ดีควรเป็นอย่างไร
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (คําบรรยาย) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) จะมุ่งเน้นเรื่องการตั้งคําถามอมตะ (Philosophia Perennis) เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค์ความรู้ อันแท้จริงและไม่เปลี่ยนแปลงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด เช่น ระบอบการเมืองที่ดีควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

บริบทความคิดทางการเมืองในยุคกรีกและโซฟิสต์

26. ขอบเขตเนื้อหาในการศึกษาของวิชานี้ครอบคลุมถึงช่วงเวลาที่เกิดรัฐใดบ้าง
(1) Greek
(2) Roman
(3) Byzantine
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

27. สงครามเพโลโพนีเชียน เป็นสงครามระหว่าง
(1) เอเธนส์กับเปอร์เซีย
(2) เอเธนส์รบกันเอง
(3) สปาร์ตากับเปอร์เซีย
(4) สปาร์ตากับเอเธนส์
(5) กรีกกับโรมัน
ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) สงครามเพโลโพนีเซียน (Peloponesian War) เป็นสงครามระหว่าง นครรัฐสปาร์ตา (Sparta) และเอเธนส์ (Athens) แต่ในทางปฏิบัติแล้วบรรดานครรัฐกรีกอื่น ๆ ทุกนครรัฐถูกดึงเข้ามามีส่วนร่วมในสงครามระหว่างพวกเดียวกัน จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง ที่สร้างความระส่ําระสายไปทั่วรัฐกรีกในขณะนั้น ซึ่งจบลงโดยชัยชนะของสปาร์ตา

28. ผลของสงครามเพโลโพนเซียนคือ
(1) ชัยชนะของเปอร์เซีย
(2) ชัยชนะของเอเธนส์
(3) ชัยชนะของสปาร์ตา
(4) ชัยชนะของโรมัน
(5) ไม่มีผลแพ้ชนะ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29. ประชาธิปไตยเอเธนส์มีลักษณะที่สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) ประชาธิปไตยรวมศูนย์
(2) ประชาธิปไตยปรึกษาหารือ
(3) ประชาธิปไตยประชาชน
(4) ประชาธิปไตยทางตรง
(5) ประชาธิปไตยตัวแทน
ตอบ 4 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองแรกเริ่มของบรรดานครรัฐต่าง ๆ ของกรีก เช่น นครรัฐเอเธนส์ สปาร์ตา เดลไฟ โรดส์ โอลิมเปีย เป็นต้น จะเป็นระบอบกษัตริยาธิปไตยหรือ ราชาธิปไตย(Monarchy) ต่อมาในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ระบอบการปกครองก็เปลี่ยนเป็น ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) จากนั้นในระยะต่อมาระบอบทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) จึงเข้ามาแทนที่ และสิ้นสุดลงเมื่อบรรดาประชาชนผู้ถูกทรราชกดขี่ได้ร่วมมือกับเหล่าขุนนางและผู้ทรงความรู้ทั้งหลายทําการปฏิวัติกวาดล้างทรราช จนกระทั่งในราวศตวรรษที่ 5 และ 4 ก่อนคริสตกาล บรรดานครรัฐต่าง ๆ ของกรีกรวมทั้งนครรัฐเอเธนส์ก็ได้เปลี่ยนรูปการปกครอง มาเป็นระบอบ “ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) ยกเว้นนครรัฐสปาร์ตาที่เปลี่ยน รูปการปกครองมาเป็นแบบเผด็จการทหารนิยม (Military City-State)

ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 30. – 35.

(1) สภาประชาชน
(2) ศาล
(3) คณะสิบนายพล
(4) คณะมนตรีห้าร้อย
(5) การเนรเทศ

30. มาจากการเลือกตั้ง
ตอบ 3 หน้า 20 – 22, (คําบรรยาย) สถาบันการเมืองการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มี 4 องค์กร ได้แก่
1. สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วย พลเมืองชายทุกคนที่กําหนดคุณสมบัติ โดยวัยวุฒิ คือ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นสถาบันที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของประชาชน คือทําหน้าที่ทางนิติบัญญัติสูงสุด ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร

2. คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) ประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน และเป็นองค์กรปกครองประจํา ทําหน้าที่คล้ายรัฐบาล

3. ศาล (Court) จะพิจารณาตัดสินคดีโดยคณะลูกขุน (Jury) ซึ่งประกอบด้วย พลเมืองชายที่มี อายุ 30 ปีขึ้นไปจํานวน 6,000 คน จะคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 600 คน ทําหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ซึ่งคําตัดสินจะถือเป็นเด็ดขาด ไม่มีอุทธรณ์ ทั้งโจทก์และจําเลยต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยตนเอง ไม่มีทนายความ

4. คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นตําแหน่งที่ขึ้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสามารถ จะครองตําแหน่งต่อไปได้อีกเมื่อหมดวาระแล้วหากได้รับเลือกซ้ําอีก ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอํานาจที่แท้จริงในทางปฏิบัติ และเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอิทธิพลสูงที่สุดในเอเธนส์

31. มาจากพลเมืองชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

32. เป็นองค์กรปกครองประจําทําหน้าที่คล้ายรัฐบาล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

33. เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอิทธิพลสูงที่สุดในเอเธนส์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

34. ทําหน้าที่ทางนิติบัญญัติสูงสุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

35. ใช้แผ่นกระเบื้องดินเผาในการลงมติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเนรเทศ (Ostracism) มีกระบวนการเริ่มต้นจากการริเริ่มของสภาประชาชน ว่าจะให้มีการลงคะแนนเพื่อเนรเทศหรือไม่ จากนั้นอีก 2 เดือนต่อมาจึงจัดให้มีการลงคะแนน โดยเขียนชื่อคนที่ต้องการให้เนรเทศในจานหรือเศษแผ่นกระเบื้องดินเผาในการลงมติ โดยใช้ เสียงส่วนใหญ่ซึ่งมีองค์ประชุมอย่างน้อย 6,000 คน หากผู้ใดโดนเนรเทศให้ออกไปจากเมือง เอเธนส์ภายใน 10 วัน และห้ามกลับเข้ามาเอเธนส์อีกจนกว่าจะครบ 10 ปี

36. “Sophist” มีความหมายตรงกับ
(1) ความรัก
(2) ความรู้
(3) ผู้ถ่อมตน
(4) ผู้รู้
(5) ผู้รักในความรู้
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22), (คําบรรยาย) คําว่า “Sophist” หมายถึง ผู้มีความรู้ ผู้รู้ ผู้มีปัญญา หรือผู้ฉลาดรอบรู้

37. แนวคิดของกลุ่มโซฟิสต์สัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) สตรีนิยม
(2) สัมพัทธนิยม
(3) สัมบูรณ์นิยม
(4) อนุรักษนิยม
(5) วัตถุนิยม
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) มีชีวิตอยู่ ในช่วงปี 490 – 420 ก่อนคริสตกาล เป็นผู้ที่ก่อตั้งกลุ่มโซฟิสต์ขึ้นมาในกรุงเอเธนส์ และเป็น โซฟิสต์คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยม (Relativism) ที่ว่า คนแต่ละคนมีอิสระที่จะทําตามสิ่งที่ตนเองคิด ในแต่ละสังคมก็มีความจริงกันคนละอย่าง เพราะความจริงเป็นเรื่องของการให้คุณค่าของแต่ละคน กล่าวคือ “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน” ดังนั้นความเห็นกับความจริงจึงมีความแตกต่างกัน เพราะความเห็น ขึ้นอยู่กับอัตวิสัยของบุคคล

38. เขียนบันทึกเรื่องบทสนทนาแห่งชาวมีเลียน
(1) กอร์กอัส
(2) ธราชิมาคัส
(3) ยูซิดิดีส
(4) โปรทากอรัส
(5) เดโมเครตุส
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27), (คําบรรยาย) ซูซิดิดีส (Thucydides) เป็นผู้เขียนเรื่อง “บทสนทนาแห่งมีเสี่ยน” (Metian Dialogue) ซึ่งเป็นบทหนึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์สงคราม เพโลโพนิเชียน (The Peloponesian War) โดยจะมีสนทนาระหว่างพวกมีเลี่ยน (Melian) กับ เอเธนส์ (Athens) ในช่วงของสงครามดังกล่าว ซึ่งตัวธูซิดิดิสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงคราม ดังกล่าวนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนําทัพเอเธนส์ไปรบต่างแดน หลายครั้ง แต่ประสบความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส (Amphipolis) ทําให้ถูกเนรเทศออกจากเอเธนส์

39. อธิบายว่ามนุษย์คือแกนกลางในการตัดสินคุณค่าในเรื่องต่าง ๆ
(1) กอร์กิอัส
(2) ธราชิมาคัส
(3) ซูซิดิดีส
(4) โปรทากอรัส
(5) เดโมเครตุส
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส อธิบายว่า มนุษย์คือแกนกลาง ในการตัดสินคุณค่าในเรื่องต่าง ๆ โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นผู้กําหนดคุณค่าความหมาย ของสรรพสิ่งต่าง ๆ ทําให้สิ่งต่าง ๆ นั้นเป็นอยู่อย่างที่มันเป็น และทําสิ่งต่าง ๆ ไม่ให้เป็นอยู่อย่าง ที่มันไม่เป็น” (Man Is the measure of all things, of things that are as how they, and of things that are not as to how they are not)

40. ข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มโซฟิสต์
(1) กอร์กิอัส
(2) ธราชิมาคัส
(3) โปรดิคุส
(4) โปรทากอรัส
(5) ไดโอจีนีส
ตอบ 5 หน้า 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) นักปรัชญาของกลุ่มโซฟิสต์ ได้แก่ โปรทากอรัส (Protagoras), กอร์กีอัส (Gorgias), โปรดิคุส (Prodicus), ฮิปเปียส (Hippias) และธราซิมาคัส (Thrasymachus)

ซอคราตีส เพลโต อริสโตเติล

41.ซอคราตีสต้องคําตัดสินประหารชีวิตในศาลเอเธนส์ด้วยข้อกล่าวหาใด
(1) ทําให้เยาวชนเสียคน
(2) ลบหลู่เทพเจ้า
(3) พูดความจริง
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 22, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40 – 41) เพลโต ได้เล่าเรื่องของซอคราตีสไว้ใน หนังสือที่ชื่อว่า ยูไธโฟร (Euthyphro) โดยเล่าถึงสาเหตุที่ซอคราตีสโดนฟ้องต่อศาลเอเธนส์ ในข้อหาที่ว่า ทําให้เยาวชนเสียคน และลบหลู่เทพเจ้า ส่วนในหนังสือเรื่อง อโพโลจี (Apology) เป็นเล่มที่เล่าว่า ซอคราตีสพยายามแก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวเอง และสุดท้ายถูกศาลตัดสินพิพากษาประหารชีวิตด้วยการกินยาพิษ

42. ซอคราตีสหาความรู้จาก
(1) ตํารา
(2) สังเกตทดลอง
(3) ใช้เหตุผล
(4) เทพบันดาล
(5) สนทนา
ตอบ 5 หน้า 22 (คําบรรยาย) ซอคราตีส (โสเกรติส) เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่นิยมเผยแพร่ทัศนะและหาความรู้จากการสนทนาอภิปราย โดยกิจวัตรประจําวันของเขาคือการเสาะแสวงหา คู่สนทนาปัญหาการเมือง และเริ่มต้นการสนทนาด้วยการตั้งปัญหา (ตั้งคําถาม) และนําหัวข้อ มาอภิปรายจนกระทั่งพบข้อสรุป ซึ่งวิธีการแบบนี้เรียกว่า “Dialogue”

43. งานที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่ซอคราตีสกําลังรอการประหารชีวิตและมีเพื่อนมาช่วยคือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41 – 42) ในบทสนทนา “ไครโต” (Crito) ของเพลโตนั้น เป็นส่วนที่จะนํามาอธิบายในการตอบปัญหาที่ว่าทําไมเราถึงต้องเชื่อฟังกฎหมาย โดยเล่มนี้ เป็นตอนที่ซอคราตีสโดนพิพากษาจากศาลแล้วกําลังรอเวลาประหารชีวิตอยู่ ซึ่งในเวลานั้น ไครโต ผู้เป็นเพื่อนสนิทก็ได้มาช่วยและพยายามหาทางหว่านล้อมให้ซอคราตีสหนี แต่ไม่ว่าจะ หว่านล้อมแค่ไหน ซอคราตีสก็ไม่ยอมหนีไป

44. งานเขียนที่เกี่ยวกับการแก้คดีความในศาลของซอคราตีสคือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 22 – 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41) ซอคราตีส โจมตีระบอบประชาธิปไตย ของนครรัฐเอเธนส์เป็นอย่างมาก แต่เป็นผู้ที่สนับสนุนรูปการปกครองแบบอภิชนาธิปไตยนอกจากนี้เขายังเป็นอาจารย์ของเพลโตที่ต้องจบชีวิตลงด้วยคําพิพากษาของศาลเอเธนส์ ลงโทษให้ดื่มยาพิษสังหารชีวิตตนเอง ซึ่งในหนังสือของเพลโตที่ชื่อว่า “อโพโลจี” (Apology) เป็นเล่มที่เล่าเรื่องต่อมาจากการที่ซอคราตีสโดนฟ้อง โดยเนื้อหาในเล่มนี้จะเกี่ยวกับการพยายาม แก้คดีความในศาลด้วยตัวของเขาเอง และสุดท้ายศาลก็ได้ตัดสินพิพากษาประหารชีวิตให้เขากินยาพิษดังกล่าว

45. ข้อใดไม่ใช่พันธะหน้าที่ของมนุษย์ในมุมมองของซอคราตีส
(1) มโนสํานึกของตัวเอง
(2) เป็นพันธะของทุกคน
(3) ความจริง
(4) การแสวงหาอํานาจ
(5) การแสวงหาคุณธรรม
ตอบ 4 หน้า 23 (คําบรรยาย) ซอคราตีส เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีพันธะหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ 3 ประการ คือ พันธะต่อมโนสํานึกของตัวเขาเอง พันธะต่อความจริง และพันธะต่อการแสวงหาคุณธรรม

46. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเพลโต
(1) เป็นคนเชื้อสายมาเซโดเนีย
(2) เป็นศิษย์ของอริสโตเติล
(3) สนับสนุนประชาธิปไตยเอเธนส์
(4) เป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์
(5) เคยถูกจับเป็นทาส
ตอบ 5 หน้า 33, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41) เพลโต เกิดเมื่อปี 427 ก่อนคริสตกาลในครอบครัว ชนชั้นสูงของนครเอเธนส์ เติบโตในช่วง “สงครามเพโลโพนีเซียน” ระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา เพลโตได้ใช้ชีวิตท่องเที่ยวไปในดินแดนต่าง ๆ แถบอิตาลี อียิปต์ และบางส่วนของแอฟริกา ซึ่งเขา ประสบโชคร้ายเคยถูกจับให้เป็นทาสที่เมืองไซราคิวส์ ต่อมาในปี 387 ก่อนคริสตกาล เพลโตได้ กลับมานครเอเธนส์และก่อตั้งสํานัก Academy ส่วนในเรื่องผลงานนั้นเพลโตมีผลงานมากมาย ซึ่งหนังสือของเขามักมีซอคราตีสเป็นตัวเอก เช่น ในบทสนทนาที่ชื่อว่า ไครโต (Crito) เป็นต้น

47. ข้อใดคือสํานักศึกษาของเพลโต
(1) College
(2) Academy
(3) University
(4) Lyceum
(5) Colloquium
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48. ผลงานที่เกี่ยวกับการสร้างรัฐในอุดมคติของเพลโตคือ
(1) Apology
(2) The Republic
(3) Politics
(4) Euthyphro
(5) Crito
ตอบ 2 หน้า 37 ในหนังสือ The Republic นั้น เพลโตได้เสนอรูปแบบของอุดมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (ideal State) ที่เขาเห็นว่าดีที่สุดไว้ โดยเชื่อว่ารัฐที่ดีที่สุดคือรัฐที่มีความยุติธรรมสถิตเป็นหลัก ของรัฐ นั่นคือ ชนในรัฐทุกคนทําหน้าที่ตามที่คุณธรรมประจําจิตของตนกําหนดให้โดยไม่ก้าวก่าย หน้าที่ซึ่งกันและกัน

49. ผู้ที่เหมาะสมกับหน้าที่ผู้ปกครองในทัศนะของเพลโตต้องมีคุณธรรมแบบใด
(1) รักความยุติธรรม
(2) มีความกล้าหาญ
(3) มีเหตุผล
(4) รักธรรมชาติ
(5) มีความปรารถนามาก
ตอบ 3 หน้า 36, (คําบรรยาย) เพลโต จําแนกความยุติธรรม (Justice) ของบุคคลในรัฐโดยใช้คุณธรรม ประจําจิต โดยเขาเห็นว่าการที่ผู้ใดควรจะเป็นชนชั้นใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณธรรมประจําจิตของ แต่ละคน ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยเหตุผล เขาผู้นั้นก็เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง ถ้าจิตของ ผู้ใดถูกครอบงําด้วยความกล้าหาญ หน้าที่ของเขาก็ควรจะเป็นผู้พิทักษ์หรือทหาร และถ้าจิตของ ผู้ใดถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความอยากก็ควรจะทําหน้าที่เป็นผู้ผลิต (ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ)

50. การคัดเลือกผู้ที่ไปทําหน้าที่ต่าง ๆ ในรัฐอุดมคติของเพลโตทําอย่างไร
(1) จับสลาก
(2) การเลือกตั้ง
(3) ระบบการศึกษา
(4) ผู้มีอํานาจเลือก
(5) สืบตระกูล
ตอบ 3 หน้า 37 ใน The Republic เพลโตได้วางหลักเกี่ยวกับการศึกษาในอุดมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) ของเขา โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมืออบรมและคัดเลือกผู้ที่ไปทําหน้าที่ต่าง ๆ ในรัฐ

51. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติของเพลโต
(1) ผู้ปกครองไม่สามารถมีทรัพย์สินส่วนตัวได้
(2) ผู้ชายเท่านั้นที่เป็นผู้ปกครอง
(3) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(4) มีกฎหมายรัฐธรรมนูญกํากับ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 37 – 39, (คําบรรยาย) รัฐในอุดมคติ (Ideal State) ของเพลโต มีลักษณะดังนี้คือ
1. ปกครองในระบอบราชาธิปไตย (Monarchy) หรืออภิชนาธิปไตย (Aristocracy) ก็ได้
2. ชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นนักรบจะต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและห้ามการมีครอบครัว
3. การประเวณีจะมีได้เป็นครั้งคราว เพื่อที่จะได้มาซึ่งพันธุ์ที่ดีที่สุดเท่านั้น
4. ผู้หญิงมีโอกาสเป็นผู้ปกครองหรือนักรบได้เช่นเดียวกับผู้ชาย
5. ไม่มีกฎหมายในรัฐในอุดมคติ เพราะหากกําหนดตัวบทกฎหมายขึ้นก็เท่ากับเป็นการวาง กฎเกณฑ์ให้ราชาปราชญ์ปฏิบัติตาม ประโยชน์ที่จะได้รับจากความเฉลียวฉลาดของ ราชาปราชญ์ย่อมหมดไป และถ้าเป็นเช่นนั้น ใคร ๆ ก็อาจจะเป็นผู้ปกครองได้ในเมื่อ มีกฎหมายเป็นเครื่องกําาหนดวิถีปฏิบัติไว้แล้ว เป็นต้น

52. คุณธรรมที่ทําให้แต่ละคนไม่ก้าวก่ายหน้าที่กันของรัฐในอุดมคติของเพลโตคือ
(1) ความรักในความรู้
(2) ความกล้าหาญ
(3) ความทะเยอทะยาน
(4) ความรู้
(5) ความอดทนอดกลั้น
ตอบ 5 หน้า 36, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า ความยุติธรรมจะปรากฏขึ้นหรือมีขึ้นในบุคคลก็ต่อเมื่อ บุคคลนั้นรู้จักขันติหรือความอดทนอดกลั้น (Temperance) ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ทําให้คนยอมรับ สภาพความสามารถของตน และแสดงบทบาทตามคุณธรรมประจําจิตของตนเท่านั้น โดยเขา กล่าวว่า “ความยุติธรรมหมายถึงการผูกพันอยู่กับธุรกิจของตน และไม่ก้าวก่ายงานของคนอื่น”

53.ความ……ให้เรายืนหยัดกระทําในสิ่งที่เป็นความฉลาดรอบรู้ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ
(1) รักในความรู้
(2) มุ่งมั่น
(3) กล้าหาญ
(4) มีเหตุผล
(5) จริงใจ
ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า คุณความดีที่สําคัญมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความฉลาดรอบรู้ประการเดียวทําให้การกระทําเป็นไปตามธรรมชาติ
2. ความยุติธรรมทําให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการแท้จริง
3. ความกล้าหาญช่วยให้เรายืนหยัดกระทําสิ่งที่เป็นความฉลาดรอบรู้ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ
4. ความรู้จักประมาณช่วยประสานจิตใจต่าง ๆ ให้กลมกลืนไปกับเหตุผล

54. ประยุกตรัฐของเพลโตมีลักษณะเป็นการปกครองรูปแบบใด
(1) Oligarchy
(2) Democracy
(3) Monarchy
(4) Aristocracy
(5) Mixed Constitution
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า โครงสร้างการปกครองของประยุกตรัฐนั้นมีแนวโน้ม เป็นการปกครองแบบผสม (Mixed Constitution) ระหว่างคณาธิปไตย (Oligarchy) กับ ประชาธิปไตย(Dernocracy) หรือระหว่างความเฉลียวฉลาดกับจํานวน

55. การใช้ทรัพย์สินวัดความสามารถของคนในประยุกตรัฐสะท้อนหลักการใด
(1) ทุชนาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) คณาธิปไตย
(4) ราชาธิปไตย
(5) ผสม
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) การใช้ทรัพย์สินวัดความสามารถของคนในประยุกตรัฐของเพลโตนั้น สะท้อนหลักการคณาธิปไตย โดยเขากําหนดให้ชนชั้นที่ร่ํารวยมีสิทธิทางการเมืองมากกว่าคนจนแม้จะมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยที่ให้คนทุกคนมีส่วนในการปกครอง แต่ก็มีลักษณะคณาธิปไตย ผสมอยู่มากเพราะให้สิทธิทางการเมืองคนรวยมากกว่า ซึ่งเพลโตใช้ทรัพย์สินเป็นมาตรการวัด ความสามารถ โดยตั้งสมมุติฐานว่า “ผู้ที่มีความสามารถสร้างทรัพย์สินได้มากกว่าบุคคลอื่น ย่อมมีความสามารถในทางการเมือง (หรืออื่น ๆ) เหนือกว่าบุคคลอื่น”

56. อริสโตเติลมาจากตระกูลที่ประกอบอาชีพใด
(1) นักปราชญ์
(2) นักการเมือง
(3) แพทย์
(4) ช่างทําหิน
(5) เกษตรกรรม
ตอบ 3 หน้า 45, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เกิดเมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากิรัส (Stagirus) ทางชายฝั่งของมาเซโดเนีย โดยเขามาจากตระกูลที่ประกอบอาชีพแพทย์ และเป็นศิษย์ของเพลโต ภายหลังจากการเสร็จสิ้นการศึกษาวิชาชีววิทยาทางทะเลที่เมืองเรสบอส (Resbos) อริสโตเติล ได้ทํางานเป็นที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการของเฮอร์เมียส (Hermias) เจ้าเมืองอาตาร์เนอส และได้แต่งงานกับหลานสาวของเฮอร์เมียสด้วย

57. ในทัศนะของอริสโตเติล รัฐเกิดมาจาก
(1) การทําสัญญา
(2) ธรรมชาติ
(3) การร่วมมือ
(4) อํานาจ
(5) พระเจ้า
ตอบ 2 หน้า 46 อริสโตเติล เห็นว่า รัฐเป็นสถาบันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งจําเป็นคนจะสามารถค้นพบจุดหมายปลายทางแห่งชีวิตที่แท้จริงได้ภายในรัฐเท่านั้น คนจะขาดรัฐไม่ได้ แม้จะอยู่ภายในรัฐที่ปกครองด้วยทรราชก็ยังดีกว่าอยู่ภายนอกรัฐ

58. ผลงานชิ้นสําคัญของอริสโตเติลคือ
(1) Ideal State
(2) Politics
(3) Republic
(4) Apology
(5) Crito
ตอบ 2 หน้า 45 ผลงานของอริสโตเติล ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรวมเล่มหรือจัดพิมพ์ด้วยตัวเขาเองวรรณกรรมของเขาเป็นเพียงงานเขียนที่ใช้สําหรับการสอนที่สํานักศึกษาของเขา แม้ว่าบางเรื่องอาจจะเขียนขึ้นก่อนที่เขาจะเปิดสํานักศึกษาลีเซียม โดยหนังสือและผลงานของเขาที่ได้รับการจัดพิมพ์ขึ้นภายหลังที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 400 ปี คือ รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์(The Constitution of Athens) และการเมือง (Politics)

59.Telos ของมนุษย์ตามที่อริสโตเติ้ลเสนอหมายถึง
(1) การมีความสุข
(2) การมีชีวิตที่ดี
(3) การมีคุณธรรม
(4) การมีพฤติกรรมที่ดี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56 – 58), (คําบรรยาย) ในทัศนะของอริสโตเติลนั้น เห็นว่า Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ก็คือ “การมีชีวิตที่ดี” โดยอธิบายว่ามนุษย์โดยธรรมชาติ เป็นสัตว์การเมือง มนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลย ถ้าเขาอยู่คนเดียว เนื่องจาก มนุษย์จําเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง ซึ่งการที่ จะมีชีวิตที่ดี หรือบรรลุ Telos ได้นั้น มนุษย์จะต้องลงมือทํา หรือลงไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นคําอธิบายแนวคิดที่ว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมือง” จึงหมายถึง ธรรมชาติ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันถึงจะมีชีวิตที่ดีนั่นเอง

60. สิ่งที่บ่งชี้ว่ามนุษย์แตกต่างจากสัตว์ในทัศนะของอริสโตเติลคือ
(1) มีเหตุผล
(2) มีการศึกษา
(3) อยู่ภายในรัฐ
(4) มีความสูงส่งทางจริยธรรม
(5) มีความเพียร
ตอบ 3 หน้า 46 อริสโตเติล เห็นว่า “สิ่งที่สร้างมนุษย์ให้เป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล ซึ่งแตกต่างจาก สัตว์เดรัจฉานอื่น ๆ คือ ความสามารถในการพูดและการสมาคมกับคนอื่น ๆ ดังนั้นชีวิตที่อยู่ ภายในรัฐเท่านั้นที่จะสร้างให้มนุษย์มีฐานะสูงกว่าสัตว์ป่า และมีความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง”

61. อริสโตเติลใช้เกณฑ์ใดจําแนกรูปแบบการปกครองที่ดีและไม่ดีออกจากกัน
(1) กฎหมาย
(2) ทฤษฎี
(3) ความสามารถ
(4) จุดมุ่งหมาย
(5) จํานวน
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 60 – 61), (คําบรรยาย) ในหนังสือ Politics นั้น อริสโตเติล ได้ใช้เกณฑ์ “จุดมุ่งหมายของการใช้อํานาจในการปกครอง” เพื่อจําแนกรูปแบบการปกครอง ที่ดีและไม่ดีออกจากกัน กล่าวคือ หากรูปแบบการปกครองใดที่ผู้ปกครองใช้อํานาจไปเพื่อ ผลประโยชน์ของสาธารณะหรือคนทั้งหมดแล้ว จะเรียกรูปแบบการปกครองนั้นว่าเป็นรูปแบบ การปกครองที่ “ดี” แต่หากรูปแบบการปกครองใดที่ผู้ปกครองนั้นใช้อํานาจไปเพื่อผลประโยชน์ ส่วนตัว จะเรียกรูปแบบการปกครองนั้นว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่ “เลว” (ไม่ดี)

62. ชนชั้นใดในประยุกตรัฐของอริสโตเติลที่ควรมีจํานวนมากที่สุด
(1) ชนชั้นล่าง
(2) ชนชั้นกลาง
(3) ชนชั้นสูง
(4) ปัญญาชน
(5) นักบวช
ตอบ 2 หน้า 53, (คําบรรยาย) อริสโตเติล กล่าวว่า ประยุกตรัฐจะสมบูรณ์แบบและสร้างสมชีวิตที่ดี ให้กับพลเมือง หากว่าภายในรัฐนั้นมีชนชั้นกลางจํานวนมากที่สุด หรือมากเพียงพอที่จะมีพลัง เหนือกว่าชนชั้นอื่นทั้งสองชนชั้น กล่าวคือ ต้องมากกว่าชนชั้นสูงและชนชั้นต่ำ

63. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับประยุกตรัฐของอริสโตเติล
(1) ทุชนาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) คณาธิปไตย
(4) ราชาธิปไตย
(5) ผสม
ตอบ 5 หน้า 52, (คําบรรยาย) ในประยุกตรัฐนั้น อริสโตเติลได้กําหนดรูปการปกครองบนรากฐาน ของหลักการผสมระหว่างประชาธิปไตย (Democracy) กับคณาธิปไตย (Oligarchy) หรือที่ เรียกว่า ระบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย หรือ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy) ซึ่งหมายถึง การปกครองโดยมหาชนที่ดี

64.Demos ที่มาจากคําว่าประชาธิปไตย ในสมัยกรีกหมายถึง
(1) กฎหมาย
(2) ประชาชนทั่วไป
(3) ชนชั้นกลาง
(4) คนจน
(5) คนรวย
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21, 62) ศัพท์คําว่าประชาธิปไตย หรือ Democracy มาจาก ภาษากรีกคําว่า Dermokratia ซึ่งเป็นการผสมกันของรากศัพท์ 2 คํา คือ “Demos” (ชนชั้นต่ํา ชนชั้นล่าง คนจน ฝูงชน) และคําว่า “Kratia” (รูปแบบการปกครอง)

65. เหตุที่อริสโตเติลได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์คือ
(1) เขียนหนังสือการเมืองคนแรก
(2) เป็นศิษย์คนสําคัญของเพลโต
(3) ใช้วิธีการตรวจสอบและการสังเกตการณ์
(4) ใช้วิธีการบรรยายในการเขียนหนังสือ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 46, (คําบรรยาย) อริสโตเติล ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์หรือนักรัฐศาสตร์คนแรก เนื่องจากเขาใช้และสนับสนุนวิธีการศึกษาแบบศาสตร์ คือ การตรวจสอบ (Investigation) และการสังเกตการณ์ (Observation) เมื่อจะศึกษาสิ่งใดก่อนอื่นจําเป็นต้องย้อนไปตรวจสอบ ความเป็นมาของสิ่งนั้นเสียก่อน

ความคิดทางการเมืองในยุคกรีกตอนปลายและโรมัน

66. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความคิดในยุคเฮลเลนนิสติก
(1) ให้ความสําคัญกับรัฐอย่างเดียว
(2) เกิดหลังการล่มสลายของโรมัน
(3) สนับสนุนรัฐแห่งโลก
(4) ให้ความสําคัญกับปัจเจกชนนิยม
(5) เชื่อเรื่องเหตุผลอย่างเดียว
ตอบ 4 57, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76) ยุคเฮลเลนนิสติก (Hellenistic) หมายถึง ยุคที่ใช้ วัฒนธรรมเหมือนกรีก แต่กรีกไม่ได้เรื่องอํานาจอีกต่อไป จะเป็นเพียงแค่สืบวัฒนธรรมมาจากกรีกเท่านั้น และเป็นยุคต่อกับยุคเฮลเลนนิก (Hellenic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่กรีกตอนปลายไปจนถึงยุคโรมัน ก่อนถึงยุคกลาง โดยยุคนี้มีความเชื่อว่าบุคคลกับสังคมสงเคราะห์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันเลย และ รัฐไม่ใช่สิ่งจําเป็นในการที่จะมีชีวิตที่ดี แต่ให้ความสําคัญกับพลเมืองโลก (Cosmopolitanism) ลัทธิสากลนิยม (Universalism) และปัจเจกชนนิยม (Individualism)

67. คําว่าซินนิคส์มีความหมายถึง
(1) ผู้ทรงภูมิ
(2) ผู้ผ่านโลกมาก
(3) ผู้ทวนกระแส
(4) มนุษย์ที่แท้
(5) สุนัข
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80), (คําบรรยาย) คําว่า ซินนิคส์ หรือ “Cynics” มาจากคํา ในภาษากรีก หมายถึง สุนัข (หมา) สําหรับชื่อของลัทธินี้ถ้าแปลตรงตัวก็คือ “มีชีวิตเหมือนสุนัข” ซึ่งเหตุผลที่ได้ชื่อนี้ก็เนื่องมาจากค่าสอนของสํานักนี้สอนให้มนุษย์นั้นดํารงชีวิตอย่างเรียบง่าย ปราศจากพิธีรีตองใด จนทําให้บางคนมักเรียกสํานักนี้ว่า พวกที่ดํารงชีวิตเหมือนสุนัข

68. สิ่งที่สามารถควบคุมความชั่วร้ายได้ตามทัศนะของสโตอิกส์คือ
(1) กฎหมาย
(2) ทรัพย์สิน
(3) ร่างกาย
(4) ชื่อเสียง
(5) ทัศนคติ
ตอบ 1 หน้า 71, (คําบรรยาย) ซีนีคา (Seneca) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่อธิบายว่ารัฐเกิดมา จากปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของมนุษย์ โดยเชื่อว่าครั้งหนึ่งมนุษย์เราอยู่อย่างมีความสุข และมีจิตใจที่บริสุทธิ์ในสมัยสังคมดึกดําบรรพ์ ต่อมาเมื่อคนเกิดตัณหา เกิดความละโมบ และ รู้จักกับคําว่า “ทรัพย์สินส่วนตัว” ความชั่วร้ายก็จะบังเกิดขึ้นจากการแสวงหาประโยชน์ใส่ตัว ผู้ปกครองที่ดีก็จะกลายเป็นทรราชกดขี่ประชาชน ด้วยเหตุนี้เองความจําเป็นที่จะต้องมีสถาบันการปกครองหรือมีกฎหมายเพื่อใช้เป็นมาตรการควบคุมและแก้ไขความชั่วร้ายจึงเกิดขึ้น

69. บุคคลที่ใช้ชีวิตตามแนวทางอีพิคิวเรียนคือ
(1) ต่อต้านสถาบันทางการเมือง
(2) มีชีวิตตามแนวทางดึกดําบรรพ์
(3) นิยมเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
(4) ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 58, (คําบรรยาย) อิพิคิวเรียน (Epicurean) สอนว่า คนฉลาดควรหลีกหนีจากการเมือง ทั้งนี้เพราะว่าเป็นสิ่งที่นําความยุ่งยากมาให้ และเป็นอุปสรรคสําคัญที่ทําให้ไม่สามารถจะค้นพบ จุดหมายปลายทางของชีวิตนั่นคือความสุขสําราญ ดังนั้นจะเห็นว่าหากมีการต่อต้านผู้ปกครองผู้ที่ใช้ชีวิตตามแนวทางอิพิคิวเรียนนี้จะไม่เข้าร่วมหรือไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง

ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 70 – 75.

(1) ซินนิคส์
(2) สโตอิกส์
(3) อิพิคิวเรียน
(4) โพลิเบียส
(5) ไม่มีข้อใดถูก

70. Anacyclosis
ตอบ 4 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) โพลิเบียส (Polybius) เห็นว่า รูปการปกครองของกรีกนั้นมีการ หมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า วงจรของการปฏิวัตินิรันดร์ (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) โดยเริ่มต้นจากรูปการปกครองแบบราชาธิปไตย (Monarchy) ต่อมาจะเสื่อมลงไปเป็นเป็นทุชนาธิปไตย (Tyranny) หรือทรราช อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy) ประชาธิปไตย (Democracy) ฝูงชนบ้าคลั่ง (Mob Rule) และสุดท้าย ก็จะกลับมาสู่ระบอบราชาธิปไตยอีกไม่มีที่สิ้นสุด

71. เสนอให้ใช้ชีวิตเหมือนมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
ตอบ 1 หน้า 61, (คําบรรยาย) แนวคิดซินนิคส์นั้น ต้องการให้คนกลับไปสู่ยุคดึกดําบรรพ์ ในสมัยที่ สถาบันทางสังคมยังไม่เกิดขึ้น โดยโจมตีว่า “ชีวิตแห่งอารยชนและนักการเมืองเป็นสิ่งที่ไม่เป็น ธรรมชาติ เพราะเป็นชีวิตที่ละทิ้งความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ แห่งสมัยดึกดําบรรพ์” ดังนั้นจึงอาจ กล่าวได้ว่า กลุ่มซินนิคส์เป็นพวกนิยมอนาธิปไตย (Anarchy) คือประสงค์จะไม่ให้มีรัฐบาลหรือ สถาบันการเมืองใด ๆ ให้คนอยู่กันเองตามสภาพที่ธรรมชาติให้มา หรือให้ใช้ชีวิตเหมือนมนุษย์ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์หรือใช้ชีวิตแบบยุคหิน

72. เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวโรมันมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 73, (คําบรรยาย) พาเนเทียส (Panaetius) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่ปรับแนวคิด ให้เข้ากับบริบทของโรมัน หรือดัดแปลงแนวคิดสโตอิกส์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวโรมันมากที่สุด โดยเขาอธิบายว่า “คนที่ดีนั้นจะไม่อุทิศตนเพียงเพื่อบริการตัวเขาเองเท่านั้น หากแต่ จะมุ่งกระทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า ด้วยการพยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยกันผ่านทางสถาบันแห่งรัฐ นั่นคือการยินดีจะกระทํากิจกรรมบริการสาธารณะต่าง ๆ นั่นเอง”

73. เป็นแนวคิดที่เชื่อว่ารัฐเป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็น
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน เชื่อว่า รัฐหรือสถาบันการปกครองเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ จําเป็น แม้ว่าจะเป็นสถาบันที่เป็นอุปสรรคต่อความสุขของมนุษย์ แต่ก็ต้องได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อผดุงไว้ซึ่งเสถียรภาพของสังคม ขจัดความรุนแรงและความอยุติธรรม

74. ใช้เหตุผลควบคุมอารมณ์
ตอบ 2 หน้า 68, 73, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ (Stoics) เชื่อว่า คุณธรรมขึ้นอยู่กับความรอบรู้ ซึ่งสามารถหาได้จากเหตุผล เมื่อมีเหตุผลก็สามารถเข้าใจกฎธรรมชาติ ดังนั้นคุณธรรมจึงมีรากฐานมาจากธรรมชาติ มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผลเป็นหลักในการนําทางชีวิตและ อยู่ร่วมกัน โดยจะใช้เหตุผลควบคุมอารมณ์

75. เสนอให้ยกเลิกรัฐ
ตอบ 1 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ปรัชญาซินนิคส์ มุ่งไปในทางต่อต้านรัฐ คือ ไม่ต้องการให้มีรัฐ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ทางปกครองและสังคม ไม่ว่าจะเป็นระบบกรรมสิทธิ์ ระบบการเมือง การศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา และระบบชนชั้นด้วย โดยกล่าวว่าสิ่งเหล่านั้นทําให้คนไม่สามารถ บรรลุถึงศีลธรรม ความฉลาด ความสมบูรณ์ในตัวเอง และความเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังเป็น สิ่งที่ทําให้คนมีสถานะแตกต่างกันเป็นคนจน คนรวย ทาส ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว คนเรา ไม่ว่าเจ้าฟ้ายาจกมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งนั้น ดังนั้นแนวคิดซินนิคส์จึงเสนอให้ยกเลิกรัฐ

76. นักคิดสโตอิกส์ที่อธิบายว่ารัฐเกิดมาจากปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของมนุษย์
(1) Zeno
(2) Cicero
(3) Marcus Aurelius
(4) Panaetius
(5) Seneca
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

77. นักคิดสโตอิกส์ที่ปรับแนวคิดให้เข้ากับบริบทของโรมัน
(1) Zeno
(2) Cicero
(3) Marcus Aurelius
(4) Panaetius
(5) Seneca
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

78. ชีวิตแบบใดที่สอดคล้องกับแนวคิดแบบซินนิคส์
(1) เดินทางสายกลาง
(2) อยู่ในรัฐ
(3) ใช้ชีวิตแบบยุคหิน
(4) มีความมั่งคั่ง
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

79. สถาบันการเมืองใดของโรมันที่สะท้อนลักษณะราชาธิปไตย
(1) Consul
(2) Assemblies
(3) Senate
(4) Tribune
(5) Praetor
ตอบ 1 หน้า 64, (คําบรรยาย) โพลิเบียส เห็นว่า ในรัฐธรรมนูญของโรมันนั้น คอนซูล (Consul) เป็น ลักษณะของราชาธิปไตย (Monarchy), สภาซีเนต (Senate) เป็นลักษณะของอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) และสภาประชาชน (Popular Assembly) เป็นลักษณะของประชาธิปไตย (Democracy) สถาบันทั้งสามนี้ได้กระทําการถ่วงดุลแห่งอํานาจซึ่งกันและกัน ไม่มีสถาบันใดที่สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปราศจากการยินยอมของสถาบันอีกสองสถาบัน

80. อิพิคิวเรียนสนับสนุนการปกครองแบบใด
(1) ราชาธิปไตย
(2) อภิชนาธิปไตย
(3) ประชาธิปไตย
(4) ผสม
(5) อํานาจนิยม
ตอบ 5 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicureanism) ยอมรับในรูปการณ์ปกครองใดก็ได้ ที่สามารถรักษาสันติภาพและส่งเสริมให้คนพบกับความสําราญ แต่มีแนวโน้มว่าพวกอิพิคิวเรียน จะสนับสนุนการปกครองแบบอํานาจนิยม (Authoritarianism) เพราะเชื่อว่าอํานาจเท่านั้น ที่สามารถบังคับจิตใจชั่วของคนได้

81. กฎหมายโรมันประเภทใดที่เป็นต้นกําเนิดของกฎหมายโรมันอื่น ๆ
(1) Jus Civile
(2) Jus Gentium
(3) Jus Natural
(4) Jus Universal
(5) Jus of the Twelve Tables
ตอบ 3 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) กฎหมายโรมันแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. กฎหมายภายใน (Jus Civite) เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้กับชาวโรมันเท่านั้น
2. กฎหมายทั่วไป (Jus Gentium) เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยการดัดแปลงมาจากกฎหมาย ภายในดั้งเดิมผสมกับหลักกฎหมายของบาบิโลเนีย ฟินิเซียน และกรีก ซึ่งกฎหมายนี้จะมี ผลบังคับใช้กับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัยอยู่ภายใต้อาณาจักรโรมัน
3. กฎหมายธรรมชาติ (Jus Natural) เป็นกฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นสากลและเป็นต้นกําเนิด ของกฎหมายโรมันอื่น ๆ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะไม่มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมและไม่ยอมรับ การมีทาส โดยเห็นว่ามนุษย์เกิดมามีความเป็นอิสรเสรีและมีความเสมอภาคกัน

82. ประชาธิปไตยจะเสื่อมลงเป็นระบอบการปกครองรูปแบบใดในทัศนะของโพลิเบียส
(1) Aristocracy
(2) Mob Rule
(3) Oligarchy
(4) Tyranny
(5) Monarchy
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

ความคิดทางการเมืองในคริสต์ศาสนา

83.Man’s Fallen Nature เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) อาดัมกับอีฟ
(2) บาปกําเนิด
(3) Original Sin
(4) การล้างบาป
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 123), (คําบรรยาย) Aquinas เชื่อว่า มนุษย์นั้นมีเหตุผล แต่มนุษย์บางคนมีความสามารถในการใช้เหตุผลที่ต่ํา บางคนไม่ยอมใช้เหตุผล ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ มาจากความบกพร่องของเผ่าพันธุ์มนุษย์เองที่มีบาปกําเนิด (Original Sin) นับแต่อดัมกับอีฟ ได้ถือกําเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ แต่มนุษย์คู่แรกก็ได้หลงผิดไปทําบาปด้วยการไม่เชื่อฟังพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าจึงสาปให้มนุษย์ต้องทนทุกข์ทรมานและกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สมบูรณ์อีกต่อไป (Man’s Fallen Nature) และนําไปสู่การล้างบาปในที่สุด

84. สิ่งที่ชักชวนมนุษย์คู่แรกให้กินผลไม้ต้องห้ามคือ
(1) ซาตาน
(2) พญามาร
(3) แวมไพร์
(4) งู
(5) แมว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในสวนเอเดนนั้น พระเจ้าได้บอกกับอดัมและอีฟไว้ว่า “เจ้าสามารถกินผลของ ต้นไม้ได้ทุกต้น ยกเว้นต้นแห่งความสํานึกในความดี และความชั่วนั้นห้ามกิน หากเจ้ากินเจ้าจะ ต้องตายแน่” แต่ในสวนเอเดน พระเจ้าทรงประทานให้สัตว์ทั้งปวงนั้นฉลาดน้อยกว่า “งู” และ นั่นทําให้มนุษย์สองคนที่ใสซื่อบริสุทธิ์โดนล่อลวง ในวันหนึ่งงูได้ถามอีฟว่า “พระเจ้าอนุญาตให้ เจ้ากินทุกอย่างได้หมดเลยหรอ” อีฟจึงบอกว่า “มีแค่ต้นตรงกลางสวนเท่านั้นที่ไม่สามารถกินได้ เพราะถ้ากินจะต้องตาย” งูจึงบอกอีฟว่า “เจ้าจะไม่ตายจริงหรอก เพราะพระเจ้าทราบอยู่แล้ว ว่า หากเจ้ากินผลไม้นั้นในวันใด ตาของเจ้าจะสว่างขึ้น” อีฟจึงเชื่อและหยิบผลของต้นนั้นมากินและแบ่งให้อดัมกินด้วย

85. ชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนข้อใดของพระเยซู
(1) เป็นพระบุตรของพระเจ้า
(2) จงรักศัตรูของท่าน
(3) เป็นพระเมสซิยาห์
(4) เป็นตัวแทนของพระเจ้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) เป็นชาวยิว และเคย เป็นช่างไม้มาก่อน มาจากเมืองนาซาเร็ท (Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอน คนเมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็น “พระบุตรของพระเจ้า” (Son of God) แต่ภายหลังจาก เยซูเผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกนักพรตชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนและกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและ ไปฟ้องต่อโรมัน ซึ่งในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขนจนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี

86. จักรพรรดิโรมันพระองค์ใดที่ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาต้องห้าม
(1) Nero
(2) Theodosius
(3) Julius
(4) Galerius
(5) Marcus Aurelius
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 90 – 91), (คําบรรยาย) ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถูกปราบปราม และกลายมาเป็นศาสนาต้องห้ามสําหรับชาวโรมตั้งแต่ในยุคของจักรพรรดิเนโร (Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus) โดยในปี ค.ศ. 64 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในกรุงโรม จักรพรรดิ เนโรได้ใส่ร้ายชาวคริสต์ว่าเป็นคนเผากรุงโรมและจับมาประหารชีวิตด้วยวิธีการโหดร้ายทารุณรวมทั้งประกาศห้ามไม่ให้ผู้ใดในอาณาจักรนับถือศาสนาคริสต์ แต่กระนั้นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ก็ได้ ประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ให้ศาสนาคริสต์ไม่ใช่ศาสนาต้องห้าม ของโรมอีกต่อไป และในช่วงปี ค.ศ. 379 – 395 จักรพรรดิเธโอดอเสียส (Theodosius)ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจําชาติของโรม ซึ่งจากจุดเริ่มต้นนี้เองที่ทําให้ผู้คน ในยุโรปต่างเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 87. – 91.

(1) St. Aquinas
(2) Boniface Vill
(3) St. Augustine
(4) Marsiglio of Padua
(5) John of Salsbury

87. เสนอแนวคิดองค์อินทรีย์
ตอบ 5 หน้า 86 – 87, (คําบรรยาย) จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salsbury) เป็นนักทฤษฎีการเมือง ยุคกลางคนแรกที่ใช้ทฤษฎีองค์อินทรีย์ (Organic Analogy Theory) ในการบรรยายองค์ประกอบ ของประชาคมการเมือง โดยเปรียบเทียบว่ารัฐเปรียบเสมือนร่างกายของมนุษย์ กษัตริย์คือศีรษะ หรือสมอง ฝ่ายศาสนาคือดวงวิญญาณ ทหารคือมือ ข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ เปรียบเสมือนอวัยวะ น้อยใหญ่ที่จะต้องทํางานอย่างสอดคล้องกัน เพื่อสร้างองค์อินทรีย์ที่ดีขึ้นมา

88. อธิบายการต่อสู้กันระหว่างความดีและความชั่วร้ายภายในจิตใจ
ตอบ 3 หน้า 80, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองนครของเซ็นต์ ออกัสติน (St. Augustine) นั้น อธิบายว่า นครทั้งสองนี้มิใช่สรวงสวรรค์กับพื้นพิภพ ไม่ใช่วัดกับรัฐ แต่เป็นพลังของความดีและพลังของ ความชั่ว โดยพลังดังกล่าวได้ต่อสู้กันภายในจิตใจเพื่อที่จะแย่งกันเป็นเจ้าของดวงจิตหรือจิตใจ ของมนุษย์มานานแล้ว ซึ่งนครทั้งสองนี้ก็คือ นครของพระเจ้า และนครของซาตาน

89. ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของอริสโตเติลเป็นอย่างมาก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 113), (คําบรรยาย) ความคิดทางการเมืองของเซ็นต์ อไควนัส (St. Aquinas) ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของอริสโตเติล (Aristotle) เป็นอย่างมาก โดยเขาพยายามที่จะเอาความคิดของอริสโตเติลมาใช้อธิบายและสร้างความชอบธรรมให้กับศาสนาคริสต์ที่เป็นกระแสหลักของยุค

90. เสนอว่าอํานาจการปกครองมีที่มาจากประชาชน
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 128 – 129) มาร์ซิกลิโอแห่งปาตัว (Marsiglio of Padua) ได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” (Defensor Pacis/The Defender of Peace) ตีพิมพ์ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 โดยเสนอว่า อํานาจการปกครองมีที่มาจากประชาชน และ ประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งผู้ปกครองหรือกษัตริย์ มากไปกว่านั้นเขายังสนับสนุน ให้กษัตริย์นั้นยึดที่ดินทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักรด้วย

91. อํานาจทางโลกต้องอยู่ภายใต้อํานาจแห่งจิตวิญญาณ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109 – 110) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Boniface VIII) กล่าวว่า “มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณและดาบที่ใช้ปกครองทางโลก ซึ่งดาบ สองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาสนจักร…กล่าวคือ ดาบเล่มแรกนั้น คือ ดาบแห่ง จิตวิญญาณ มันถูกใช้โดยตรงโดยศาสนจักร ส่วนดาบอีกเล่มหนึ่งคือ ดาบที่ใช้ปกครองทางโลกนั้น มันถูกมอบให้ใช้ในนามของศาสนจักร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้โดยมือของนักบวช ส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบทั้งหลาย แต่กระนั้นการใช้ดาบเล่มที่สองนี้ มันจะต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายและการยินยอมของนักบวช ดาบเล่มที่สองนี้ต้องอยู่ภายใต้ ดาบเล่มแรก หรือกล่าวให้ถูกต้องก็คือ อํานาจทางโลกต้องอยู่ภายใต้อํานาจแห่งจิตวิญญาณ”

92.Teutons เป็นคําที่ชาวโรมันใช้เรียกกลุ่มชนที่พูดภาษาใด
(1) อังกฤษ
(2) เยอรมัน
(3) ฝรั่งเศส
(4) สก็อต
(5) กรีก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) ในช่วงอาณาจักรโรมันเริ่มเสื่อมความยิ่งใหญ่ ลงมาจนกระทั่งถึงช่วง ค.ศ. 410 ก็สิ้นสุดลงจากการบุกปล้นของพวกอนารยชนหรือชนเผ่าตัวตัน (Teutons) และประวัติศาสตร์ยุโรปได้เข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age/Medieval Period) หรือ ยุคมืด (Dark Age) ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยคําว่า Teutons นั้นเป็นคําที่ชาวโรมัน ใช้เรียกกลุ่มชนที่พูดภาษาเยอรมัน

93. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับบริบททางการเมืองในปลายยุคโรมันถึงยุคกลาง
(1) ศาสนจักรมีอิทธิพลสูง
(2) ดินแดนต่าง ๆ ปกครองกันเอง
(3) เกิดสภาวะอนาธิปไตย
(4) ขุนนางจะมีอํานาจมากกว่ากษัตริย์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 102 – 104), (คําบรรยาย) บริบททางการเมืองในปลายยุคโรมัน ถึงยุคกลาง พบว่าหลังจากการล่มสลาย อาณาจักรหรือดินแดนต่าง ๆ ก็ขาดที่พึ่ง ตลอดจน ไม่มีอํานาจกลางในการปกครอง รักษาความปลอดภัยหรือจัดระเบียบสังคมอีกต่อไป ดินแดน ต่าง ๆ ต้องดูแลตนเอง ปกครองกันเอง เกิดสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ซึ่งการปกครองใน ยุคนี้จะเป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบบฟิวดัล (Feudal) ที่ขุนนางจะมีอํานาจมากกว่า กษัตริย์ ส่งผลให้ศาสนจักรมีอิทธิพลสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นที่พึ่งพิงอย่างหนึ่งหลังจากที่อาณาจักร โรมันล่มสลายลง กล่าวคือ สถาบันศาสนาคริสต์หรือศาสนจักรที่มีผู้นําคือ สันตะปาปา (Pope) เป็นผู้ที่จะคอยให้กําลังใจแก่ประชาชน ผู้ปกครอง หรือนักรบท้องถิ่น

94. ความสัมพันธ์เชิงอํานาจระหว่างวัดกับรัฐในทฤษฎีสองดาบของ Gelasius I คือ
(1) วัดมีอํานาจเหนือ
(2) รัฐมีอํานาจเหนือ
(3) มีอํานาจไล่เลี่ยกัน
(4) มีอํานาจเท่าเทียมกัน
(5) วัดมีอํานาจเหนือเฉพาะศาสนกิจ
ตอบ 5 หน้า 85, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองดาบของสันตะปาปาเจลาเซียสที่ 1 (Gelasius I) มีหลักการ ว่า พระเจ้าจะแบ่งอํานาจการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อํานาจปกครองทางโลก กับอํานาจปกครองทางธรรม ซึ่งจะมอบให้สถาบันศาสนา (วัด) และสถาบันการปกครอง (รัฐ) เป็นผู้ใช้ อํานาจนี้ โดยกําหนดว่า อํานาจปกครองฝ่ายทางธรรม สันตะปาปามีอํานาจเหนือจักรพรรดิ ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจ ส่วนอํานาจปกครองฝ่ายทางโลก จักรพรรดิมีอํานาจเหนือสันตะปาปา ในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับทางโลก แต่เนื่องจากอํานาจทั้งสองฝ่ายมาจากพระเจ้า ดังนั้นควรใช้อํานาจทั้งสองด้วยความสมานฉันท์เพื่อรับใช้พระเจ้า

95. เครื่องมือใดที่ฝ่ายศาสนจักรใช้ในการต่อสู้กับอํานาจของฝ่ายกษัตริย์
(1) การเรียกมาชําระบาป
(2) ทหาร
(3) การขับออกจากศาสนา
(4) ศาลศาสนา
(5) การปลดออกจากตําแหน่ง
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 107), (คําบรรยาย) การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) หมายถึง การขับออกจากศาสนา หรือการไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย ซึ่งเป็นวิธีการที่สันตะปาปาใช้ขับคน ที่มีความคิดหรือพฤติกรรมนอกรีตออกจากศาสนา และห้ามคริสต์ศาสนิกชนคบค้าสมาคมด้วยโดยวิธีการดังกล่าวนี้ถือเป็นเครื่องมือที่ฝ่ายศาสนจักรใช้ในการต่อสู้กับอํานาจของฝ่ายกษัตริย์

ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 96. – 100.

(1) St. Ambrose
(2) St. Augustine
(3) John of Salsbury
(4) St. Aquinas
(5) Jesus

96. “กษัตริย์ที่ชั่วร้ายและหฤโหดถูกส่งมาปกครองเพื่อเป็นการลงโทษคนในบาปของเขา”
ตอบ 2 หน้า 79, (คําบรรยาย) เซ็นต์ ออกัสติน (St. Augustine) เชื่อว่า ในบางครั้งพระเจ้าทรงประทาน กษัตริย์ที่ชั่วร้ายและ หฤโหดมาให้กับประชาชนเพื่อเป็นการลงโทษคนในบาปของเขา และไม่ว่าเขา จะใช้อํานาจไปในสถานใดผู้ถูกปกครองไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะผู้ปกครอง ทุกคนคือผู้แทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพนั่นเอง

97. “ประชาชนไม่มีพันธะที่จะต้องเคารพเชื่อฟังกษัตริย์ที่เป็นทรราช”
ตอบ 3 หน้า 87, (คําบรรยาย) จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salsbury) เห็นว่า กษัตริย์ที่ ไม่เป็นทรราชจะเคารพกฎหมายและปกครองประชาชนโดยถือกฎหมายเป็นหลัก โดยถือว่า ตัวเองเป็นเพียงผู้รับใช้ประชาชน ส่วนกษัตริย์ที่เป็นทรราชนั้นจะไม่ยึดถือกฎหมาย ประชาชน ไม่มีพันธะที่จะเคารพเชื่อฟังกษัตริย์ที่เป็นทรราช และมีสิทธิที่จะถอดถอนออกจากตําแหน่ง หรือหากจําเป็นจะปลงพระชนม์เสียก็ได้

98. “ของของซีซาร์ก็จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้าก็จงคืนให้พระเจ้า”
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 94), (คําบรรยาย) คําสอนของพระเยซูหรือจีซัส (Jesus) มีดังนี้
1. จงรักศัตรูของท่านและจงอธิฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน
2. ถ้าใครตบท่านแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย
3. ใครก็ตามที่บังคับให้ท่านเดินไป 1 ไมล์ ก็จงเดินไปพร้อมกับเขา 2 ไมล์
4. ของของซีซาร์ก็จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้าก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด ฯลฯ

99.“การยอมทนทรราชบางคนเป็นสิ่งที่ดีกว่าการเสี่ยงที่จะสร้างความแตกแยกในรัฐ”
ตอบ 4 หน้า 89, (คําบรรยาย) เซ็นต์ อไควนัส (St. Aquinas) เห็นว่า หากผู้ปกครองใช้อํานาจไม่เป็นธรรรมอันเป็นลักษณะของทรราช ผู้ปกครองก็ควรจะถูกถอดถอน แต่การถอดถอนนั้น ต้องเป็นไปโดยกระบวนการแห่งกฎหมาย และสิ่งที่เขาหวาดระแวงคือ กลัวว่าการถอดถอน ผู้ปกครองจะกลายเป็นนิสัยและทําลายเอกภาพ เพราะเขาเชื่อว่า การยอมทนทรราชบางคน เป็นสิ่งที่ดีกว่าการเสี่ยงที่จะสร้างความแตกแยกในรัฐ

100. “พระมีสิทธิโต้แย้งเมื่อจักรพรรดิประพฤติมิชอบ แต่ไม่มีสิทธิยุยงให้ประชาชนเป็นกบฏ”
ตอบ 1 หน้า 78, (คําบรรยาย) เซ็นต์ แอมโบรส (St. Ambrose) บิชอปแห่งเมืองมิลาน ได้อธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการปกครองและสถาบันศาสนาไว้ว่า ในเรื่องทางโลกนั้นเป็นเรื่อง ของฆราวาส พระไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย พระมีสิทธิจะโต้แย้งเมื่อจักรพรรดิประพฤติหรือปกครอง มิชอบ แต่ไม่มีสิทธิยุยงให้ประชาชนเป็นกบฏหรือต่อต้านคําสั่งของจักรพรรดิ โดยทั้งสองสถาบันควรร่วมมือกันในการสนับสนุนคนให้มีชีวิตที่ดี เพื่อจะได้เข้าสู่ประตูสวรรค์ในโลกหน้า

POL2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง1 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ชนชาติใดที่ไม่ได้ใช้ภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน
(1) กรีก
(2) อินเดีย
(3) อิหร่าน
(4) เยอรมัน
(5) ตุรกี
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ประกอบด้วยกลุ่มย่อยต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มภาษาบอลต์-สลาฟ (รัสเซีย เซอร์เบีย เช็ก โปแลนด์) กลุ่มภาษาเยอรมัน (อังกฤษ เยอรมัน ดัตช์ เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์) กลุ่มภาษาโรแมนซ์ (อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส) กลุ่มภาษาอินเดีย-อิหร่าน กลุ่มภาษาแอลเบเนีย กลุ่มภาษาอาร์มีเนีย และกลุ่มภาษาอื่น ๆ เช่น กรีก สกอตแลนด์ เวลส์ เป็นต้น

2.แนวคิดที่ถือว่ามีเทพองค์หนึ่งยิ่งใหญ่กว่าเทพทั้งหลายเรียกว่า
(1) Pantheism
(2) Polytheism
(3) Atheism
(4) Monotheism
(5) Henotheism
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าหรือเทพเจ้า แบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้
1. Monotheism (เอกเทวนิยม) เชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว หรือมีเทพองค์หนึ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เทพทั้งหลาย ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาคริสต์
2. Polytheism (พหุเทวนิยม) เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ และเทพทุกพระองค์ล้วนยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู
3. Henotheism (อติเทวนิยม) เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ แต่จะยกย่องให้เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ให้ยิ่งใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ
4. Atheism (อเทวนิยม) เชื่อว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริง หรือปฏิเสธการมีอยู่ของเทพเจ้า ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาพุทธ

3.คัมภีร์ที่เป็นบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าของพราหมณ์คือ
(1) ยชุรเวท
(2) ฤคเวท
(3) สามเวท
(4) ไสยเวท
(5) อถรรพเวท
ตอบ 2 หน้า 95, (คําบรรยาย) ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้าของพราหมณ์ หรือเป็น บทสวดบูชาเทวะที่พวกพราหมณ์ได้รวบรวมขึ้นเป็นหมวดหมู่ ซึ่งฤคเวทถือเป็นหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวที่สามารถนํามาใช้ศึกษาอารยธรรมในยุคไตรเพทได้

4. ในสมัยฮินดูแท้ถือว่าวิญญาณต่าง ๆ มีต้นกําเนิดมาจากที่ใด
(1) นารายณ์
(2) ศิวะ
(3) พรหม
(4) ราม
(5) เกิดขึ้นเอง
ตอบ 3 หน้า 97 (คําบรรยาย) ในสมัยฮินดูแท้มีความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด โดยเชื่อว่า วิญญาณต่าง ๆ ทั้งหลายมีต้นกําเนิดมาจากพรหม (ปฐมวิญญาณ) และจะเวียนว่ายตายเกิด ในสังสาระหรือภพชาติต่าง ๆ ตามแต่กรรมที่ได้กระทําไว้ จนกว่าจะพบความหลุดพ้น (โมกษะ) จากการเกิดเข้าสู่พรหมเช่นเดิม

5. แนวคิดบูชาสตรีของฮินดูเรียกว่า
(1) อวตาร
(2) สันยาสี
(3) ศักติ
(4) ปุราณะ
(5) อติเทวะ
ตอบ 3 หน้า 97 – 98, (คําบรรยาย) ลัทธิศักติของฮินดู คือ ลัทธิที่บูชาและนับถือชายาของเทพ (สตรี) เป็นลัทธิที่เกิดจากชนพื้นเมืองเดิมทางตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เบงกอล และอัสสัม มีคัมภีร์ ที่เรียกว่า “ตันตระ” ซึ่งลัทธิศักตินี้จะมีการบูชาพระนางลักษมี เจ้าแม่อุมาเทวี และเจ้าแม่กาลี โดยมีการบูชายัญด้วยโลหิต ผู้หญิงเปลือยกายเต้นรํา ดื่มสุรา และเสพเมถุน

6.ข้อใดไม่ใช่หลักมหาพรต 5 ของศาสนาเชน
(1) ไม่เบียดเบียน
(2) พูดความจริง
(3) ไม่ลักขโมย
(4) นับถือพระชิน
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักมหาพรต 5 ของศาสนาเชน ได้แก่
1. อหิงสา หมายถึง การไม่เบียดเบียน
2. สัตยะ หมายถึง การพูดความจริง
3. อัสเตยะ หมายถึง การไม่ลักขโมย
4. พรหมจริยะ หมายถึง การไม่ประพฤติผิดทางกาม
5. อปริครหะ หมายถึง การไม่โลภ

7. นิกายของนักบวชที่นุ่งขาวห่มขาวเรียกว่า
(1) ไศวนิกาย
(2) สุขาวดี
(3) โมกษะ
(4) เศวตัมพร
(5) ทิคัมพร
ตอบ 4 หน้า 98 ศาสนาเป็น แยกออกเป็น 2 นิกาย คือ
1. เศวตัมพร (พวกนุ่งขาวห่มขาว)
2. ทิคัมพร (พวกนั่งทิศ ไม่นุ่งผ้า) ซึ่งปัจจุบันได้เสื่อมความนิยมไปมากแล้ว

8. ข้อใดไม่ใช่นิกายในศาสนาพุทธที่เกิดขึ้นหลังการสังคายนาครั้งที่ 2
(1) สถวีระ
(2) เถรวาท
(3) อาจริยวาท
(4) มหายาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 100 – 101, (คําบรรยาย) การสังคายนาครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน ได้ 100 ปี ภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองไพศาลี ได้ปรับปรุงแก้ไขพระวินัยรวม 10 ประการ และแยกไป ทําการสังคายนาฝ่ายของตนขึ้นเรียกว่า มหาสังคีติ โดยพระยศเถระได้ประชุมพระเถระผู้ใหญ่ วินิจฉัยเพื่อคัดค้านการแก้ไขพระวินัย แต่ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ จนนําไปสู่การแตกแยกนิกายของ ซึ่งได้แก่ เถรวาท (สถวีระ นิกายเก่าแก่) อาจริยวาท (มหาสังฆิกะ) เป็นต้น

9. ระบบวรรณะในแนวคิดของศาสนาพุทธมีที่มาจาก
(1) พระเจ้ากําหนด
(2) พราหมณ์กําหนด
(3) การแบ่งงานกันทํา
(4) ธรรมเนียมประเพณี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 115, (คําบรรยาย) ตามแนวคิดของศาสนาพุทธ เห็นว่า “ระบบวรรณะ” นั้นมีที่มาจาก การแบ่งงานกันทํา กล่าวคือ กษัตริย์หรือผู้ปกครองมีทําหน้าที่คอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของ มนุษย์ สําหรับพราหมณ์เกิดจากสัตว์บางพวกต้องการหลีกพ้นจากสิ่งชั่วร้ายที่มีขึ้นในหมู่สัตว์คือ การลักทรัพย์ การมุสา เป็นต้น จึงได้พากันลอยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย และมีวิถีชีวิตคือ การไปปลูกกระท่อมอยู่ในป่า ขออาหารเป็นมื้อ ๆ จากชาวบ้าน รวมไปถึงแพศย์และศูทรเอง ก็เกิดจากการแบ่งหน้าที่การทํางานกัน ดังคํากล่าวที่ว่า “สัตว์เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรมแล้ว แยกประกอบการงาน…”

10. นิกายที่มุ่งบําเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า มีความสอดคล้องกับ
(1) เถรวาท
(2) มหานิกาย
(3) มหายาน
(4) ธรรมยุติ
(5) นิกายฝ่ายใต้
ตอบ 3 หน้า 103, (คําบรรยาย) พุทธนิกายมหายาน เป็นนิกายที่มุ่งบําเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า มีพระโพธิสัตว์มากมายจนนับไม่ได้ ซึ่งเป็นผู้รู้แจ้งจะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อใดก็ได้แต่ยังไม่ยอมเป็น ทั้งนี้เพราะต้องการอยู่ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์และไปเป็นพุทธด้วยกัน เช่น พระอวโลกิเตศวร กวนซีอิมหรือกวนอิม) พระมัญชุศรี พระศรีอารยเมตไตร เป็นต้น

11. ผู้ปกครองตามหลักการของศาสนาพุทธมีต้นกําเนิดจาก
(1) กฎหมาย
(2) แนวคิดแบบพราหมณ์
(3) เทพกําาหนด
(4) ปัญหาสังคม
(5) ข้อ1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 115, (คําบรรยาย) ตามหลักการของศาสนาพุทธ กษัตริย์หรือผู้ปกครองนั้นมีต้นกําเนิด จากปัญหาสังคม โดยเห็นว่าผู้ปกครองจะเป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่คนทั้งหลายเห็นพ้องต้องกัน จัดให้มีหรือแต่งตั้งขึ้น เรียกว่า มหาสมมุติ เพื่อทําหน้าที่คอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ มิให้มีการละเมิดซึ่งกันและกัน โดยเขาทั้งหลายก็จะให้ค่าตอบแทนแก่มหาสมมุตินั้นด้วย

12. การละคําเท็จ คําหยาบคาย คําส่อเสียด และคําเพ้อเจ้อ อยู่ในคุณธรรมข้อใดของผู้ปกครอง
(1) สังคหวัตถุ
(2) อคติ 4
(3) พรหมวิหาร
(4) อปริหานิยธรรม
(5) กุศลกรรมบถ
ตอบ 5 หน้า 117 – 118, (คําบรรยาย) คุณธรรมของผู้ปกครองในเรื่องของกุศลกรรมบถ 10 มีดังนี้
1. การประพฤติเรียบร้อยทางกาย 3 คือ ละการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการละเมิดประเวณี
2. การประพฤติเรียบร้อยทางวาจา 4 คือ ละการกล่าวเท็จ คําส่อเสียด คําหยาบ และคําเพ้อเจ้อ
3. การประพฤติเรียบร้อยทางใจ 3 คือ ไม่เพ่งเอาทรัพย์ผู้อื่น ไม่มีจิตพยาบาท และมีความเห็น ถูกต้อง

13. ข้อใดเป็นอบายมุขตามหลักการของพุทธศาสนา
(1) เที่ยวกลางคืน
(2) เที่ยวดูมหรสพ
(3) เกียจคร้าน
(4) คบคนชั่วเป็นมิตร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) “อบายมุข” ตามหลักการของพุทธศาสนา ได้แก่ ดื่มน้ําเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูมหรสพ (การละเล่น) เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และเกียจคร้านการทํางาน

14. รัฐที่ประมุขฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรเป็นคนเดียวกันในศาสนาพุทธคือ
(1) กบิลพัสดุ์
(2) มองโกล
(3) ทิเบต
(4) ทวารวดี
(5) สุโขทัย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ทิเบต เป็นรัฐที่มีประมุขฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรเป็นคนเดียวกัน ซึ่งก็คือ “องค์ดาไล ลามะ” โดยชาวพุทธมหายานในทิเบตเชื่อมั่นว่าองค์ดาไล ลามะ เป็นพระโพธิสัตว์ ลงมาเกิดในร่างมนุษย์เพื่อโปรดสรรพสัตว์ เมื่อองค์ดาไล ลามะ สิ้นชีวิต ดวงจิตวิญญาณจะกลับมา เกิดในร่างใหม่ และสาวกก็จะติดตามไปจนได้พบเด็กที่เป็นร่างใหม่ขององค์ดาไล ลามะ แล้วนํามา เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้การศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน จนแตกฉาน แล้วให้ดํารงตําแหน่ง ดาไล ลามะ องค์ต่อไป วนเวียนอยู่เช่นนี้ตลอดมา

15. พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ฉบับแรกเกิดขึ้นในสมัยใด
(1) ร.1
(2) ร.4
(3) ร.5
(4) ร.7
(5) ร.9
ตอบ 3 (คําบรรยาย) มหาเถรสมาคม เป็นองค์กรบริหารกิจการพระพุทธศาสนาสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งคําว่า “มหาเถรสมาคม” ได้เริ่มต้นใช้เป็นครั้งแรก เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะ ปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 5

16. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Political Theory
(1) ช่วยทํานายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
(2) ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดีที่สุดใช่หรือไม่
(3) ช่วยให้มนุษย์วิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองอย่างเป็นระบบ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมือง (Political Theory) คือ ชุดของคําอธิบายที่มีต่อระบอบการเมือง หรือคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองภายใต้หลัก ของเหตุผลที่ผ่านการพิสูจน์หรือทดลองมาแล้ว ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถวิเคราะห์และอธิบาย ปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างเป็นระบบ

17. ข้อใดเกี่ยวข้องกับจริยศาสตร์ (Ethics) มากที่สุด
(1) การโกหกผิดหรือไม่
(2) ความงามคืออะไร
(3) เรารู้ได้อย่างไร
(4) พระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่
(5) ความจริงคืออะไร
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (คําบรรยาย) จริยศาสตร์ (Ethics) คือ องค์ความรู้ที่ มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ควรจะเป็น ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ที่ควรจะเป็น กล่าวคือ สาขานี้จะ ศึกษาว่าอะไรคือสิ่งที่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ไม่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ผิด อะไรคือสิ่งที่ถูก ตัวอย่างเช่น การโกหกเป็นสิ่งที่ผิดหรือไม่ ฯลฯ

18. ลักษณะสําคัญของ Empirical Political Theory
(1) เป็นการศึกษาระบอบการเมืองที่ดีที่สุด
(2) เกี่ยวกับการตัดสินเชิงคุณค่า
(3) มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบวิทยาศาสตร์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองแบบเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) เป็นการใช้วิธีการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองของ นักรัฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า การศึกษาแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) ซึ่งมีฐานคิด อยู่บนหลักการแบบวิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง อาศัยการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบ โดยนักทฤษฎีสําคัญที่ใช้แนวทางนี้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ คือ David Easton

19. ทฤษฎีการเมืองเป็นสาขาวิชาที่มีรากฐานมาจาก
(1) รัฐศาสตร์
(2) ปรัชญา
(3) ประวัติศาสตร์
(4) สังคมศาสตร์
(5) พฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 2 หน้า 13 – 14 ในข้อเขียนของ ดร.ทินพันธุ์ นาคะตะ นั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการของ วิชาทฤษฎีการเมือง โดยเขาเชื่อว่าทฤษฎีการเมืองเป็นสาขาวิชาที่มีรากฐานมาจากวิชาปรัชญาหรือความคิดทางการเมือง

20. การศึกษาถึงแนวคิดของนักคิดทางการเมืองอย่างกว้าง ๆ คือ
(1) Political Philosophy
(2) Political Ideology
(3) Political Thought
(4) Political Institution
(5) Political Concept
ตอบ 3 หน้า 1 – 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) คือ ความคิดความเข้าใจเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความ เข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร หรือเป็นความคิดที่ เกี่ยวกับเรื่องการเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยมีแนวโน้มหนักไปในทางด้านการพรรณนาและความคิด เชิงประวัติศาสตร์

21. การออกไปร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Political Philosophy
(2) Political Ideology
(3) Political Thought
(4) Political Institution
(5) Political Concept
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9, 16), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) คือ ระเบียบแบบแผนหรือรูปแบบทางความคิดอันเกี่ยวข้องกับการเมืองของคนใด คนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งในสังคม ซึ่งรูปแบบทางความคิดนี้จะส่งผลต่อการแสดงออกหรือพฤติกรรม ของคนนั้น ๆ หรือกลุ่มด้วย ตัวอย่างเช่น แดงเป็นคนที่มีความใส่ใจทางการเมืองสูงและมักออกไป ร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น

22. นักทฤษฎีสําคัญที่ใช้แนวการศึกษาทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์อธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ คือ
(1) Machiavelli
(2) John Locke
(3) Aristotle
(4) Kart Marx
(5) David Easton
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

23. ข้อใดผิดเกี่ยวกับแนวคิดของสํานัก Materialism
(1) สถาบันการเมืองเกิดจากสภาพแวดล้อม
(2) นามธรรมเกิดมาจากรูปธรรม
(3) จิตสําคัญกว่าวัตถุ
(4) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสสารวาท
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 3 หน้า 9 – 11, (คําบรรยาย) สํานักวัตถุนิยม (Materialism) หรือเรียกอีกอย่างว่า สสารวาท ซึ่งสํานักนี้เห็นว่า สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นรากฐานของความคิดมนุษย์ หรืออาจกล่าว ได้ว่านามธรรมนั้นเกิดมาจากรูปธรรม และเชื่อว่าสถาบันการเมืองและทฤษฎีการเมืองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์ หรือบทบาทของผลประโยชน์ทางวัตถุหรือ เศรษฐกิจ ซึ่งผลประโยชน์ของชนทั้งหลายคือ สถานภาพทางสังคม รายได้ และทรัพย์สมบัติ

24. ข้อสรุประหว่างแนวคิดของสํานัก Materialism และ Idealism คือ
(1) Materialism กำหนดIdealism
(2) Idealism กำหนด Materialism
(3) พบกันคนละครึ่งทาง
(4) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) จากข้อบกพร่องในการอรรถาธิบายของสํานักวัตถุนิยม (Materialism) กับสํานักจิตนิยม (Idealism) สรุปได้ว่า แนวคิดของสํานัก Materialism ที่ถือว่าสถาบันการเมือง มาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้นยังไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ยอมรับถึงอิทธิพลของความคิดที่มีต่อ สถาบัน ขณะเดียวกันแนวคิดของสํานัก Idealism ที่ถือว่าสถาบันการเมืองมาจากแนวความคิด ของมนุษย์นั้นก็ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ยอมรับถึงอิทธิพลของสถาบันที่มีต่อความคิด ซึ่งความสัมพันธ์ ของทั้งสองฝ่ายต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน และยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่

25. การล่มสลายของอาณาจักรโรมันทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญคือ
(1) ระบบฟิวดัล
(2) ศาสนจักรมีอิทธิพลสูงขึ้น
(3) สภาวะอนาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 101 – 104), (คําบรรยาย) ในช่วงศตวรรษที่ 5 (ค.ศ. 476) อาณาจักรโรมันก็ได้ล่มสลายลงจากการโจมตีของพวกอนารยชน (Barbarians) หรือชนเผ่าตัวตัน (Teutons) ทําให้ยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age/Medieval Period) หรือยุคมืด (Dark Age) หรือที่คนในยุคนั้นมองว่าเป็นยุคใหม่ (Modern) กล่าวคือ ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปต้องดูแลตนเองปกครองกันเอง มีการอพยพจากเมืองสู่ชนบท เกิดสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ขาดศูนย์รวม อํานาจ การปกครองในยุคนี้จึงเป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบบฟิวดัล (Feudal) ที่ขุนนาง จะมีอํานาจมากกว่ากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้ศาสนจักรเรืองอํานาจและมีอิทธิพลสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นที่พึ่งพิงและคอยให้กําลังใจแก่ประชาชน ผู้ปกครอง หรือนักรบท้องถิ่น

26. ข้อใดไม่ใช่นครรัฐกรีก
(1) Corinth
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Thales
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) ในยุคโบราณจะเรียกนครรัฐต่าง ๆ ที่อยู่ บริเวณทะเลอีเจียน ทะเลครีต และทะเลไอโอเนียนว่า กรีก โดยนครรัฐกรีกที่สําคัญในยุคนี้ ได้แก่ เอเธนส์ (Athens), สปาร์ต้า (Sparta), โครินทร์ (Corinth), เดลไฟ (Delphi), โรดส์ (Rhodes), โอลิมเปีย (Olympia) เป็นต้น

27. ข้อใดผิดเกี่ยวกับนครรัฐกรีก
(1) เป็นพันธมิตรกัน
(2) เคยทําสงครามกัน
(3) เป็นจักรวรรดิกรีก
(4) เคยมีระบอบการปกครองเหมือนกัน
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 3 หน้า 17, (คําบรรยาย) นครรัฐกรีกในช่วงศตวรรษที่ 9 และ 8 ก่อนคริสตกาล ประกอบด้วย นครรัฐต่าง ๆ ที่ตั้งกระจัดกระจายตามหุบเขากรีกและดินแดนแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยบรรดานครรัฐเหล่านี้มีขนบธรรมเนียม ระบบสังคม และลัทธิศาสนาคล้ายคลึงกัน ซึ่งในสมัย แรก ๆ ของบรรดานครรัฐกรีกเหล่านี้มีระบอบการปกครองเหมือนกันคือ กษัตริยาธิปไตยหรือราชาธิปไตย (Monarchy) ส่วนทางด้านการเมืองต่างก็เป็นอิสระต่อกันและมีอธิปไตยเป็นของ ตนเอง และร่วมกันอยู่แบบพันธมิตร แม้ว่านครรัฐใหญ่ ๆ บางนครรัฐพยายามที่จะครอบงํากัน หรือต่อสู้กันและทําสงครามกันเพื่อเป็นรัฐนําของบรรดานครรัฐเล็ก ๆ อื่น ๆ ก็ตาม

28. นครรัฐสปาร์ต้ามีรูปแบบการปกครองแบบใด
(1) Tyranny
(2) Aristocracy
(3) Democracy
(4) Oligarchy
(5) Military City-State
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของนครรัฐสปาร์ต้า (Sparta) ได้แก่
1. เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ล้อมรอบด้วยภูเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตก
2. เป็นนครรัฐที่มีความสามารถทางการทหาร โดยมีรูปแบบการปกครองแบบเผด็จการทหารนิยม (Military City-State)
3. มีพลเมืองส่วนใหญ่ของนครรัฐเป็นชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า พวกเฮลอท (Helot) หรือพวกทาส (Slave)
4. มีกษัตริย์ 2 พระองค์จากต่างราชวงศ์เป็นแม่ทัพในการรบและเป็นผู้นําทางศาสนา เป็นต้น

29. “Isogoria” มีความหมายถึง
(1) พลเมืองทุกคนเท่ากัน
(2) พลเมืองอยู่ใต้กฎหมายเหมือนกัน
(3) พลเมืองมีสิทธิในการพูดเสมอกัน
(4) พลเมืองรับสวัสดิการแห่งรัฐเสมอกัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21 – 22) การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democracy) ของนครรัฐเอเธนส์ มีหลักการพื้นฐานอยู่ 2 ประการ คือ
1. Isonomia คือ หลักการที่ว่าทุกคนเสมอเท่าเทียมกันต่อหน้าของกฎหมาย คนทําผิดแบบ เดียวกันก็ต้องได้รับโทษแบบเดียวกัน
2. Isogoria คือ หลักการที่ว่าทุกคนมีสิทธิในการพูดเสมอกัน ด้วยหลักการทั้ง 2 ประการนี้ ทําให้พลเมืองจะต้องทําอะไรด้วยตนเองในทางสาธารณะ เช่น เมื่อพลเมืองถูกฟ้องจะ ไม่มีทนายเป็นตัวแทนแก้ต่างให้ พลเมืองที่ถูกฟ้องจะต้องขึ้นศาลและแก้ต่างด้วยตนเองนอกจากนี้พลเมืองยังต้องทําหน้าที่เป็นลูกขุนในการตัดสินคดีเองอีกด้วย

30. สถาบันการปกครองใดของนครรัฐเอเธนส์ที่กําหนดคุณสมบัติโดยวัยวุฒิ
(1) สภาประชาชน
(2) คณะมนตรีความมั่นคง
(3) ศาล
(4) คณะสิบนายพล
(5) คณะรัฐมนตรี
ตอบ 1 หน้า 20 – 22, (คําบรรยาย) สถาบันการเมืองการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มี 4 องค์กร ได้แก่
1. สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วย พลเมืองชายทุกคนที่กําหนดคุณสมบัติ โดยวัยวุฒิ คือ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นสถาบันที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของเอเธนส์ ซึ่งจะทําหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร
2. คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) ประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน เป็นองค์การปกครองประจํา ๆ ปฏิบัติงานในระหว่างสมัยประชุมของสภาและอํานวยงานของสภาในวาระประชุม
3. ศาล (Court) จะพิจารณาตัดสินคดีโดยคณะลูกขุน (Jury) ซึ่งประกอบด้วย พลเมืองชายที่มี อายุ 30 ปีขึ้นไปจํานวน 6,000 คน จะคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 600 คน ทําหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ซึ่งคําตัดสินจะถือเป็นเด็ดขาด ไม่มีอุทธรณ์ ทั้งโจทก์และจําเลยต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยตนเอง ไม่มีทนายความ
4. คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นตําแหน่งที่ขึ้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและสามารถ จะครองตําแหน่งต่อไปได้อีกเมื่อหมดวาระแล้วหากได้รับเลือกซ้ําอีก ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอํานาจที่แท้จริงในทางปฏิบัติ โดยองค์กรนี้จะมีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายและทางการเมืองมาก

31. ข้อใดผิดเกี่ยวกับคณะสิบนายพล
(1) มีอํานาจที่แท้จริงในทางปฏิบัติ
(2) เพริคลีสเป็นหัวหน้าคณะสิบนายพล
(3) มาจากการเลือกตั้ง
(4) ไม่มีวาระ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เพริดลิส ถือเป็นผู้นํานครรัฐเอเธนส์ของกรีกในยุคกรีกตอนต้น โดยเขาได้รับ การเลือกให้ดํารงตําแหน่งเป็นหัวหน้าคณะสิบนายพลหลายครั้งหลายหน นอกจากนี้เขายังเป็นนักพูด นักเขียน นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง และเป็นรัฐบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของชาวเอเธนส์อีกด้วย (ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ)

32. ข้อใดผิดเกี่ยวกับศาลเอเธนส์
(1) มาจากการจับสลาก
(2) มีการอุทธรณ์ได้หนึ่งครั้ง
(3) โจทก์และจําเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเอง
(4) มีคณะลูกขุน
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

33. เหตุการณ์สําคัญที่ส่งผลให้นครรัฐเอเธนส์ล่มสลายคือ
(1) การทุจริตคอร์รัปชั่นภายใน
(2) การพ่ายแพ้ต่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์
(3) การพ่ายแพ้ต่ออาณาจักรโรมัน
(4) สงครามเพโลโพนิเซียน
(5) การประหารชีวิต ซอคราตีส
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76), (คําบรรยาย) ยุคกรีกตอนปลายหรือในช่วง 300 ปี ก่อนคริสตกาล นครรัฐเอเธนส์ก็ได้ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงจากการพ่ายแพ้สงครามต่อมาเซโดเนีย จากการบุกของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์แห่งมาเซโดเนีย (Alexander The Great) เมื่อกรีกตกอยู่ ภายใต้อํานาจของจักรวรรดิมาเซโดเนีย ความคิดทางการเมืองหรือปรัชญาการเมืองของกรีกของ เพลโตและอริสโตเติลก็ได้เสื่อมความนิยมลง ตลอดจนความคิดทางการเมืองแบบโซฟิสต์ที่ทรงอิทธิพลก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากนครรัฐกรีกสูญเสียเอกราช และขาดอิสระในการปกครอง ของนครรัฐตนเอง

34. ข้อใดผิดเกี่ยวกับโซฟิสต์
(1) ความจริงแท้สามารถเข้าถึงได้
(2) อัตวิสัย
(3) มนุษย์เห็นแก่ตัวโดยธรรมชาติ
(4) ข้อ 1 และ 2 ผิด
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24 – 26), (คําบรรยาย) กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) มีความเชื่อ ที่สําคัญดังนี้
1. ในโลกนี้ไม่มีความจริงแท้ แต่ความจริงคือสิ่งที่มนุษย์เป็นคนกําหนดขึ้น
2. ความเห็นกับความจริงแตกต่างกัน เพราะความเห็นขึ้นอยู่กับ “อัตวิสัย” ของบุคคล
3. โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เห็นแก่ตัว และไม่ชอบการรวมกันเป็นสังคม
4. ความรู้ทางการเมือง (Political Wisdom) เป็นสิ่งที่สามารถสอนกันได้ เป็นต้น

35. “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน” สอดคล้องกับคําอธิบายของ
(1) Gorgias
(2) Thrasymachus
(3) Hippias
(4) Prodicus
(5) Protagoras
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี 490 – 420 ก่อนคริสตกาล เป็นผู้ที่ก่อตั้งกลุ่มโซฟิสต์ขึ้นมาในกรุงเอเธนส์ และเป็นโซฟิสต์ คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยม (Relativism) ที่ว่าคนแต่ละคน มีอิสระที่จะทําตามสิ่งที่ตนเองคิด ในแต่ละสังคมก็มีความจริงกันคนละอย่างเพราะความจริงเป็น เรื่องของการให้คุณค่าของแต่ละคน กล่าวคือ “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน” ดังนั้นความเห็นกับความจริงจึงมีความแตกต่างกัน เพราะความเห็นขึ้นอยู่กับอัตวิสัยของบุคคล

36. “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” เป็นคําอธิบายของ
(1) Gorgias
(2) Thrasymachus
(3) Hippias
(4) Prodicus
(5) Protagoras
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25 – 26), (คําบรรยาย) ธราซิมาคัส (Thrasymachus) เชื่อว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” (Justice is nothing but the advantage of the stronger) ตัวอย่างข้อความที่สอดคล้องกับคําอธิบายนี้ เช่น “การรัฐประหารของ คสช. เป็นสิ่งที่ชอบธรรม” เป็นต้น

37. “การรัฐประหารของ คสช. เป็นสิ่งที่ชอบธรรม” สอดคล้องกับคําอธิบายของใครมากที่สุด
(1) Gorgias
(2) Thrasymachus
(3) Hippias
(4) Prodicus
(5) Protagoras
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสุนทรพจน์ของเพริคลีส
(1) เชิดชูการปกครองแบบคณาธิปไตย
(2) กล่าวในเหตุการณ์หาเสียงเลือกตั้งคณะสิบนายพล
(3) เชิดชูนครรัฐสปาร์ต้า
(4) เชิดชูการพลีชีพเพื่อรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 27 – 29, (คําบรรยาย) จากเนื้อหาของสุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส (Pericles’s Funeral Oration) ที่ให้ไว้ต่อชาวเอเธนส์ ทําให้ทราบว่าสภาพบรรยากาศทางสังคมและการเมืองของกรีกยุคนครรัฐเอเธนส์มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ให้ความสําคัญกับรัฐ
2. เชิดชูทหารหาญผู้พลีชีพเพื่อรัฐ
3. เชิดชูคุณธรรมความดี
4. ไม่มีนโยบายรุกรานเพื่อนบ้าน
5. ใช้หลักความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง
6. มีความเมตตากรุณา
7. ยึดมั่นในความกตัญญู
8. รู้จักการตอบแทนบุญคุณคน มีเมตตาธรรม และไม่เห็นแก่ตัว
9. ดําเนินชีวิตด้วยความกระเหม็ดกระแหม่ ไม่ฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย
10. สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ฯลฯ

39. ผลของสงครามระหว่างเอเธนส์กับมีเลี่ยนคือ
(1) เอเธนส์ได้รับความพ่ายแพ้
(2) สปาร์ต้ายกทัพเข้ามาช่วย
(3) มีลอสยอมเป็นพันธมิตรกับเอเธนส์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28), (คําบรรยาย) ในช่วงสงครามเพโลโพนีเชียนนั้น เอเธนส์ได้ส่งกําลังจะไปบุกสปาร์ต้า แต่ด้วยยุทธศาสตร์เอเธนส์ต้องยึดเมืองมีเลี่ยนให้ได้เพราะ เป็นเกาะใกล้กับสปาร์ต้า ดังนั้นเอเธนส์จึงส่งทูตไปเจรจาให้เมืองมีเลี่ยนยอมแพ้จะได้ไม่ต้องทําสงคราม แต่มีเลี่ยนเลือกที่จะทําสงครามกับเอเธนส์จนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ซึ่งใน “บทสนทนาแห่ง มีเลี่ยน” (Melian Dialogue) นั้นชาวเอเธนส์ได้อ้างถึงความยุติธรรมในการโจมตีชาวเกาะมีลอส (Melos) หรือมีเลียน (Melian) โดยกล่าวว่า “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่าย่อมทําในสิ่งที่พวกเขา สามารถทําได้ ส่วนฝ่ายที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความทุกข์ยาก”

40. ข้อใดผิดเกี่ยวกับหลักคิดแบบสัมพัทธนิยม
(1) ความเห็นขึ้นอยู่กับวัตถุวิสัย
(2) ปัจเจกบุคคลนิยม
(3) มนุษย์มีอิสระ
(4) สังคมมีความจริงแตกต่างกัน
(5) ความจริงเป็นการให้คุณค่าของแต่ละคน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

41. บทสนทนาที่เกี่ยวกับซอคราตีสกําลังรอเวลาประหารชีวิตคือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41 – 42) ในบทสนทนา “ไครโต” (Crito) ของเพลโตนั้น เป็นส่วนที่จะนํามาอธิบายในการตอบปัญหาที่ว่าทําไมเราถึงต้องเชื่อฟังกฎหมาย โดยเล่มนี้ เป็นตอนที่ซอคราตีสโดนพิพากษาจากศาลแล้วกําลังรอเวลาประหารชีวิตอยู่ ซึ่งในเวลานั้น ไครโต ผู้เป็นเพื่อนสนิทก็ได้มาหาและพยายามหาทางหว่านล้อมให้ซอคราตีสหนี แต่ไม่ว่าจะ หว่านล้อมแค่ไหน ซอคราตีสก็ไม่ยอมหนีไป

42. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับซอคราตีส
(1) เป็นอาจารย์ของเพลโต
(2) ผลงานสําคัญคือ Apology
(3) ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ
(4) สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 22 – 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41) ซอคราตีส โจมตีระบอบประชาธิปไตยของนครรัฐเอเธนส์เป็นอย่างมาก แต่เป็นผู้ที่สนับสนุนรูปการปกครองแบบอภิชนาธิปไตยนอกจากนี้เขายังเป็นอาจารย์ของเพลโตที่ต้องจบชีวิตลงด้วยคําพิพากษาของศาลเอเธนส์ลงโทษให้ดื่มยาพิษสังหารชีวิตตนเอง ซึ่งในหนังสือของเพลโตที่ชื่อว่า “อโพโลจี” (Apology) เป็นเล่มที่เล่าเรื่องต่อมาจากการที่ซอคราตีสโดนฟ้อง โดยเนื้อหาในเล่มนี้จะเกี่ยวกับการพยายาม แก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวของเขาเอง และสุดท้ายศาลก็ได้ตัดสินพิพากษาประหารชีวิตให้เขากินยาพิษดังกล่าว

43. งานที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่ซอคราตีสเดินทางไปแก้คดีที่ศาลเอเธนส์คือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) Politics
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44. “เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตาม คําสั่งของรัฐ” ปรากฏอยู่ในงานเขียนเรื่องใด
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41 – 43) ในบทสนทนาไครโต (Crito) นั้น ซอคราตีส ได้กล่าวไว้ว่า “ทุก ๆ คนมีอิสระในการที่จะหนีออกจากรัฐไปโดยจะเอาสมบัติของตนเองไปที่ ไหนก็ได้ทั้งสิ้น จะไปอาณานิคมของเอเธนส์ หรือต่างประเทศที่เขาจะไปอยู่อย่างคนต่างด้าวก็ได้ เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะ ปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” โดยเขาพยายามอธิบายว่า เราและตัวเขาเองควรเชื่อฟังรัฐ เนื่องจาก รัฐเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เด็ก จริงอยู่ว่าพ่อแม่ก็คือ คนที่เลี้ยงเรา แต่รัฐต่างหากที่ออกกฎหมายให้ พ่อแม่เราเลี้ยงดูเราหรือไม่เอาเราไปทิ้งถังขยะ ตลอดจนออกกฎหมายและสั่งให้พ่อแม่เราส่งเราไปเรียนหนังสือ

45. พันธะหน้าที่ของมนุษย์ตามทัศนะของซอคราตีสคือ
(1) เป็นพันธะของทุกคน
(2) มโนสํานึกของตัวเอง
(3) แสวงหาคุณธรรม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 23, (คําบรรยาย) ซอคราตีส เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีพันธะหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ 3 ประการ คือ พันธะต่อมโนสํานึกของตัวเขาเอง พันธะต่อความจริง และพันธะต่อการแสวงหาคุณธรรม

46. ข้อใดผิดเกี่ยวกับเพลโต
(1) เติบโตในช่วงสงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ต้า
(2) เคยถูกจับเป็นทาส
(3) มีผลงานที่เป็นบทสนทนา
(4) ถูกลงโทษประหารชีวิตในบั้นปลาย
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 33, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41) เพลโต เกิดเมื่อปี 427 ก่อนคริสตกาล ในครอบครัวชนชั้นสูงของนครเอเธนส์ เติบโตในช่วง “สงครามเพโลโพนีเชียน” ระหว่าง เอเธนส์กับสปาร์ต้า เพลโตได้ใช้ชีวิตท่องเที่ยวไปในดินแดนต่าง ๆ แถบอิตาลี อียิปต์ และบางส่วนของแอฟริกา ซึ่งเขาประสบโชคร้ายถูกลงโทษให้เป็นทาสที่เมืองไซราคิวส์ ต่อมาในปี 387 ก่อนคริสตกาล เพลโตได้กลับมานครเอเธนส์และก่อตั้งสํานัก Academy ส่วนในเรื่องผลงานนั้นเพลโตมีผลงานมากมาย ซึ่งหนังสือของเขามักมีซอคราตีสเป็นตัวเอก เช่น ในบทสนทนาที่ชื่อว่า ไครโต (Crito) เป็นต้น

47. ในบทสนทนาเรื่อง The Republic เพลโตใช้คําอุปมาเปรียบเทียบรัฐกับอะไร
(1) ครอบครัว
(2) เรือ
(3) รถม้า
(4) อากาศยาน
(5) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 45 – 46) หนังสือ The Republic ของเพลโตได้อุปมา เปรียบเทียบรัฐว่าเหมือนกับเรือ โดยการเดินเรือหรือการนํารัฐให้เดินหน้าหรือไปในทิศทางที่ต้องการนั้น จะต้องมีผู้ควบคุมเรือหรือผู้ควบคุมรัฐที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม

48.ความ……ช่วยให้เรายืนหยัดที่จะกระทําสิ่งที่ฉลาดและกระทําไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ
(1) รักในความรู้
(2) มุ่งมั่น
(3) กล้าหาญ
(4) มีเหตุผล
(5) จริงใจ
ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า คุณความดีที่สําคัญมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความฉลาดรอบรู้ประการเดียวทําให้การกระทําเป็นไปตามธรรมชาติ
2. ความยุติธรรมทําให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการแท้จริง
3. ความกล้าหาญช่วยให้เรายืนหยัดที่จะกระทําสิ่งที่ฉลาดและกระทําไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ
4. ความรู้จักประมาณช่วยประสานจิตใจต่าง ๆ ให้กลมกลืนไปกับเหตุผล

49.สัมมาร่วม (Common Good) มีความหมายถึง
(1) ความยุติธรรม
(2) ประโยชน์ส่วนรวม
(3) ความมีเหตุผล
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 35 “ความยุติธรรม” ตามหนังสือ The Republic ของเพลโต ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ ว่าความเที่ยงธรรมหรือการไม่ลําเอียงตามความเข้าใจทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงคําว่ายุติธรรม แต่หมายถึง สิ่งที่เป็น “สัมมาร่วม” (Common Good) ที่จะบันดาลความสุขให้กับคนและรัฐ

50. บุคคลที่มีตัณหาหรือความทะยานอยาก (Appetite) มาก ควรทําหน้าที่ใดในรัฐอุดมคติ
(1) ผู้ปกครอง
(2) ทหาร
(3) ทาส
(4) ผู้ผลิต
(5) นักบวช
ตอบ 4 หน้า 36, 38, (คําบรรยาย) เพลโต อธิบายว่า จิตของคนนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ตัณหา (Appetite) ความกล้าหาญ (Courage) และตรรกะหรือเหตุผล (Reason) แต่ในดวงจิตแต่ละดวงจะถูกครอบงําโดยคุณธรรมอย่างหนึ่งมากกว่าอีกสองอย่างเสมอ กล่าวคือ ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความทะยานอยากก็ควรจะทําหน้าที่เป็นผู้ผลิต (ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ) ส่วนจิตของผู้ใดที่ถูกครอบงําโดยความกล้าหาญ หน้าที่ของเขาก็ควรจะเป็น ทหาร และถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยเหตุผล เขาผู้นั้นก็เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง

51. รัฐอุดมคติของเพลโต ถ้าสอบผ่านการศึกษาขั้นกลางจะต้องไปทําหน้าที่อะไรต่อ
(1) ผู้ผลิต
(2) ผู้ปกครอง
(3) ทหาร
(4) ผู้บริหาร
(5) นักบวช
ตอบ 4หน้า 37 – 38 (คําบรรยาย) เพลโต ได้วางหลักสูตรการศึกษาในรัฐอุดมคติไว้เป็น 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นต้น เป็นการให้การศึกษาแก่ทุกคนในแบบบังคับจนถึงอายุ 18 ปี และต่อด้วยการฝึกอบรม ทางทหารอีก 2 ปี (รวมเป็น 20 ปี) หากผู้ใดสอบไม่ผ่านก็จะต้องออกไปเป็นผู้ผลิต

2. ขั้นที่สอง (ขั้นกลาง) กําหนดไว้สําหรับผู้ที่ผ่านการศึกษาขั้นแรกมาแล้ว ซึ่งกําหนดระยะเวลา ไว้ 15 ปี ถ้าผู้ใดสอบไม่ผ่านก็จะต้องออกจากการศึกษาไปรับใช้รัฐในฐานะผู้พิทักษ์ คือเป็น ทหารหรือผู้ป้องกันรัฐ ส่วนผู้ที่สอบผ่านจะใช้เวลา 5 ปีสุดท้ายศึกษาวิชาปรัชญา เมื่อสําเร็จ ตามหลักสูตรจะถูกกําหนดให้ทํางานในตําแหน่งผู้บริหารทางพลเรือนและทหาร

3. เมื่อสําเร็จการศึกษาทั้งสองขั้นแล้ว อายุของผู้เรียนก็จะครบ 35 ปี ในระยะนี้จะเป็นการทํางาน อีก 15 ปี (รวมเป็น 50 ปี) ผู้ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างแท้จริงด้วยการปฏิบัติงานได้ดีเยี่ยมก็จะได้เป็นสมาชิกของคณะราชาปราชญ์ซึ่งทําหน้าที่บริหารรัฐต่อไป

52. ข้อใดผิดเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติของเพลโต
(1) ผู้ปกครองไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว
(2) มีความสัมพันธ์ส่วนตัวได้
(3) การประเวณีจะมีเป็นครั้งคราว
(4) ปกครองโดยคณะราชาปราชญ์
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 หน้า 37 – 39, (คําบรรยาย), รัฐในอุดมคติ (Ideal State) ของเพลโต มีลักษณะดังนี้
1. รัฐอาจจะปกครองในระบบราชาธิปไตยหรืออภิชนาธิปไตยก็ได้
2. ถ้าปกครองโดยราชาปราชญ์เพียงคนเดียวก็เป็นราชาธิปไตย (Monarchy) หากปกครองโดยคณะราชาปราชญ์ก็จะกลายเป็นอภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
3. ชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นนักรบจะต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและห้ามการมีครอบครัว
4. การประเวณีจะมีได้เป็นครั้งคราว เพื่อที่จะได้มาซึ่งพันธุ์ที่ดีที่สุดเท่านั้น
5. เด็กที่เกิดมาจากการผสมพันธุ์ภายใต้การควบคุมนี้จะอยู่ในความเลี้ยงดูของรัฐ
6. ไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวในฐานะพ่อ แม่ ลูก เพราะภาวะครอบครัวจะทําให้ชนชั้นผู้ปกครอง เสื่อมความใส่ใจในกิจการของรัฐและการแสวงหาความรู้ เป็นต้น

53. ในทัศนะของเพลโต ระบอบประชาธิปไตยจะเสื่อมลงเป็นการปกครองรูปแบบใด
(1) Oligarchy
(2) Timocracy
(3) Anarchy
(4) Tyranny
(5) Communism
ตอบ 4 หน้า 42, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองใน The Republic นั้น เพลโตได้เรียกชื่อตาม วิธีการปกครอง โดยเขาเห็นว่ารัฐสมบูรณ์แบบหรือรัฐในอุดมคติที่ปกครองโดยราชาปราชญ์นั้น หากก้าวไปสู่ความเสื่อมแล้วก็จะเสื่อมลงเป็นขั้น ๆ โดยในขั้นแรกจะเสื่อมลงไปเป็นระบอบ วีรชนาธิปไตย (Timccracy) หรือการปกครองโดยทหาร ต่อมาจะเสื่อมเป็นระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) ที่ผู้ปกครองที่เคยเป็นทหารหันไปปกครองเพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของตน ชนชั้น ที่ยากจนก็จะรวมตัวกันเป็นพลังทําการปฏิวัติไปสู่ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ซึ่งจะอยู่ได้ไม่นาน เนื่องจากมีนักการเมืองบางคนฉวยโอกาสหากําลังสนับสนุนจากประชาชนสถาปนา ตนเองเป็นผู้ปกครอง และเมื่อใดที่ได้รับการต่อต้านก็จะกลายเป็นทรราชปกครองในระบอบ ทุชนาธิปไตย (Tyranny) ในท้ายที่สุด

54. ข้อใดผิดเกี่ยวกับประยุกตรัฐของเพลโต
(1) ต้องอยู่ห่างจากชายฝั่ง
(2) เป็นสังคมกสิกรรม
(3) ผสมผสานระหว่างคณาธิปไตยและประชาธิปไตย
(4) พลเมืองทุกคนมีทรัพย์สินเท่ากัน
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 40, (คําบรรยาย) ประยุกตรัฐ (Practical State) ของเพลโต มีลักษณะดังนี้
1. อาณาบริเวณของประยุกตรัฐควรอยู่ห่างจากชายทะเลพอสมควร
2. เพลโตประสงค์ที่จะให้มีประชาคมเป็นสังคมกสิกรรม
3. มีแนวโน้มเป็นลักษณะผสมผสานระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตย
4. รัฐจะแบ่งที่ดินของรัฐให้กับพลเมืองทุกคนโดยเท่าเทียมกัน ส่วนทรัพย์สินอื่น ๆ ทุกคนอาจมีไม่เท่ากันได้ เป็นต้น

55. ตําแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งของประยุกตรัฐของเพลโตคือ
(1) คณะมนตรี 360
(2) คณะมนตรีรัตติกาล
(3) รัฐมนตรีกลาโหม
(4) ประธานาธิบดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 ในประยุกตรัฐนั้น เพลโตกําหนดให้มี “คณะมนตรี 360” ขึ้น โดยแบ่งจํานวน ผู้แทนออกเป็น 4 ชนชั้น ตามมูลค่าทรัพย์สินที่แต่ละคนมี ชนชั้นละเท่า ๆ กัน คือ 90 คน ซึ่ง แต่ละชนชั้นจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ที่เป็นชนชั้นเดียวกับตนเข้าไปนั่งในคณะมนตรี 360

56. ข้อใดผิดเกี่ยวกับอริสโตเติล
(1) เกิดที่เมืองสตาภิรัส
(2) เชี่ยวชาญทางด้านชีววิทยา
(3) เคยศึกษาในสํานักอเค็ดเด
(4) เสียชีวิตที่เอเธนส์
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 45, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เกิดเมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตาภิรัส ทางชายฝั่ง ของมาเซโดเนีย ซึ่งเมื่ออริสโตเติลมีอายุได้ 18 ปี ก็ได้เดินทางมาศึกษาที่สํานักอเค็ดเดมี่ของ เพลโตที่กรุงเอเธนส์ โดยเขาเป็นศิษย์ของเพลโตอยู่นานถึง 20 ปี จากนั้นได้ย้ายไปศึกษาเพิ่มเติม ที่เมืองแอสสส (Assus) และได้ศึกษาวิชาชีววิทยาทางทะเลที่เมืองเรสบอส (Resbos) ซึ่งทําให้ มีความเชี่ยวชาญทางด้านชีววิทยา นอกจากนี้อริสโตเติลยังได้เปิดสํานักศึกษาของตนเองขึ้นมา ณ กรุงเอเธนส์ โดยใช้ชื่อว่า ลีเซียม (Lyceum) แต่ภายหลังได้เกิดจลาจลในเมืองเอเธนส์ขึ้น จึงต้องลี้ภัยไปยังเมืองซาลซิส (Chalcis) และถึงแก่กรรมที่เมืองนี้

57. เหตุที่อริสโตเติลได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์คือ
(1) เป็นการตัดสินเชิงคุณค่า
(2) เป็นศิษย์คนสําคัญของเพลโต
(3) ใช้วิธีการตรวจสอบและการสังเกตการณ์
(4) ใช้วิธีการบรรยายในการเขียนหนังสือ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 46, (คําบรรยาย) อริสโตเติล ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์หรือนักรัฐศาสตร์คนแรก เนื่องจากเขาใช้และสนับสนุนวิธีการศึกษาแบบศาสตร์ คือ การตรวจสอบ (Investigation) และ การสังเกตการณ์ (Observation) เมื่อจะศึกษาสิ่งใดก่อนอื่นจําเป็นต้องย้อนไปตรวจสอบความ เป็นมาของสิ่งนั้นเสียก่อน

58. ข้อใดไม่ใช่ผลงานของอริสโตเติล
(1) Politics
(2) The Constitution of Athens
(3) The Statesman
(4) Comparative Politics
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 หน้า 45 ผลงานของอริสโตเติล ส่วนใหญ่มิได้รับการรวมเล่มหรือจัดพิมพ์ด้วยตัวเขาเองวรรณกรรมของเขาเป็นเพียงงานเขียนที่ใช้สําหรับการสอนที่สํานักศึกษาของเขา แม้ว่าบางเรื่องอาจจะเขียนขึ้นก่อนที่เขาจะเปิดสํานักศึกษาลีเซียม โดยหนังสือและผลงานของเขาที่ได้รับการ จัดพิมพ์ขึ้นภายหลังที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 400 ปี คือ รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์ (The Constitution of Athens) และการเมือง (Politics)

59. เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ตามทัศนะของอริสโตเติลคือ
(1) การมีความสุข
(2) การมีชีวิตที่ดี
(3) มีพฤติกรรมที่ดีงาม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56 – 58), (คําบรรยาย) ในทัศนะของอริสโตเติลนั้น เห็นว่า Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ก็คือ “การมีชีวิตที่ดี” โดยอธิบายว่ามนุษย์โดยธรรมชาติ เป็นสัตว์การเมือง มนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลย ถ้าเขาอยู่คนเดียว เนื่องจากมนุษย์จําเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง ซึ่งการที่ จะมีชีวิตที่ดี หรือบรรลุ Telos ได้นั้น มนุษย์จะต้องลงมือทํา หรือลงไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นคําอธิบายแนวคิดที่ว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมือง” จึงหมายถึง ธรรมชาติ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันถึงจะมีชีวิตที่ดีนั่นเอง

60.Lawfulness มีความหมายถึง
(1) ความชอบด้วยกฎหมาย
(2) หลักการเขียนกฎหมาย
(3) ข้อปฏิบัติของกฎหมาย
(4) วิธีเขียนกฎหมาย
(5) หลักการบังคับใช้กฎหมาย
ตอบ 1 หน้า 49 ในทัศนะของอริสโตเติลนั้น ความยุติธรรมมีอยู่ 2 ความหมาย คือ
1. ความชอบด้วยกฎหมาย (Lawfulness) หมายถึง การปกครองด้วยกฎหมาย หรือ กระทําการใด ๆ ในขอบเขตแห่งกฎหมาย หรือปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ไม่มีใครมีอํานาจโดยไม่มีกฎหมาย

2. Fairness หมายถึง ใครควรจะได้รับสิ่งใดก็ให้เขาได้รับสิ่งนั้น

61. อริสโตเติลใช้ระบบใดในการพัฒนาคุณสมบัติตามธรรมชาติของมนุษย์ในรัฐอุดมคติ
(1) การศึกษาของรัฐ
(2) การมีระเบียบ
(3) การมีเหตุผล
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 50 อริสโตเติ้ล เห็นว่า พลเมืองของรัฐมีเครื่องมือในการค้นพบความดีอยู่ 3 ประการ คือ
1. คุณสมบัติตามธรรมชาติ
2. อุปนิสัยอันเหมาะสม
3. หลักการแห่งเหตุผล โดยในข้อแรกนั้นรัฐไม่สามารถจะช่วยเหลือได้ เพราะมนุษย์ทุกคนที่ เกิดมาจะได้รับมอบความสามารถและคุณสมบัติจากธรรมชาติมาขีดหนึ่งซึ่งไม่สามารถเพิ่มพูน หรือเปลี่ยนแปลงได้ แต่ในสองประการหลังอาจเพิ่มพูนหรือเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการศึกษา

62. ข้อใดผิดเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติของอริสโตเติล
(1) อยู่ในหุบเขา
(2) มีทางติดต่อกับทะเล
(3) พลเมืองมีที่ดินคนละหนึ่งแปลง
(4) ใช้ธรรมชาติป้องกันภัย
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 3 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) โครงสร้างของรัฐในอุดมคติของอริสโตเติล มีลักษณะดังนี้
1. ต้องเป็นรัฐที่มีขนาดไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไป
2. ควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นหุบเขาและมีทางติดต่อกับทะเล เพราะจะได้ใช้ธรรมชาติป้องกันภัย
3. พลเมืองควรมีที่ดินคนละ 2 แปลง โดยแปลงหนึ่งอยู่ในเมืองและอีกแปลงหนึ่งอยู่นอกเมือง
4. การแต่งงานรัฐเป็นผู้กําหนด โดยจะกําหนดอายุที่เหมาะสมในการสมรส
5. รัฐมีหน้าที่จัดระบบการศึกษาให้พลเมือง เป็นต้น

63. การปกครองที่ดีในอุดมคติของอริสโตเติล
(1) ราชาธิปไตย
(2) อภิชนาธิปไตย
(3) ประชาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 51, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า ระบบราชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด ในทางทฤษฎี หากว่าสามารถที่จะหากษัตริย์ที่เฉลียวฉลาดเลิศมนุษย์ได้ แต่เมื่ออริสโตเติลหวนมา สังเกตและตรวจสอบระบบราชาธิปไตยที่มีอยู่ในหลายนครในเวลานั้น ก็พบว่าไม่ถูกต้องตามอุดมคติของเขาเลย

64. ชนชั้นใดในประยุกตรัฐของอริสโตเติลที่จะเป็นชนชั้นสําคัญในการทําให้เกิดรัฐที่ดีที่สุด
(1) ผู้อาวุโส
(2) ชนชั้นกลาง
(3) ชนชั้นสูง
(4) ชนชั้นล่าง
(5) ชนชั้นนักปราชญ์
ตอบ 2 หน้า 52 อริสโตเติล เชื่อว่า รัฐที่ดีที่สุดที่สามารถสถาปนาขึ้นได้ในความเป็นจริง ต้องเป็นรัฐ ที่มี “ชนชั้นกลาง” มากที่สุด โดยจะต้องมากกว่าชนชั้นสูงและชนชั้นต่ํา และมีรัฐธรรมนูญ ที่กําหนดรูปการปกครองบนรากฐานของหลักการผสมระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า ระบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy)

65. ประยุกตรัฐของอริสโตเติลเป็นการปกครองในรูปแบบใด
(1) Democracy
(2) Oligarchy
(3) Tyranny
(4) ข้อ 1 และ 2 ผสมกัน
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ผสมกัน
ตอบ 4 หน้า 52, (คําบรรยาย) ในประยุกตรัฐนั้น อริสโตเติลได้กําหนดรูปการปกครองบนรากฐาน ของหลักการผสมระหว่างประชาธิปไตย (Democracy) กับคณาธิปไตย (Oligarchy) หรือที่ เรียกว่า ระบบมัชฌิม วิถีอธิปไตย หรือ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy) ซึ่งหมายถึง การปกครองโดยมหาชนที่ดี

66. Hellenic มีความหมายถึง
(1) ยุคที่ใช้วัฒนธรรมเหมือนกรก
(2) ยุควัฒนธรรมโรมัน
(3) ยุคกรีก
(4) ยุคปลายโรมัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76) ยุคเฮลเลนนิก (Hellenic) หมายถึง ยุคที่กรีกเรืองอํานาจ ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของมาซิโดเนีย ส่วนยุคที่เกิดหลังยุคนี้เรียกว่า ยุคเฮลเลนนิสติก (Hellenistic) ซึ่งหมายถึง ยุคที่ใช้วัฒนธรรมเหมือนกรีก แต่กรีกไม่ได้เรืองอํานาจอีกต่อไป โดยยุคนี้จะเป็นเพียงแค่สืบวัฒนธรรมมาจากกรีก หรือวัฒนธรรมกรีกมีอิทธิพลเท่านั้น

67. ผู้ก่อตั้งสํานักชินนิคส์คือ
(1) Dionysus
(2) Diogenes
(3) Democritus
(4) Zeno
(5) Antisthenes
ตอบ 5 หน้า 60 ผู้ก่อตั้งสํานักชินนิคส์คือ แอนทิสซิเนส (Antisthenes) และมีปรัชญาเมธีคนสําคัญ ของลัทธินี้ ได้แก่ ไดโอจีนิส (Diogenes) และเครทิส (Crates)

68. ชีวิตแบบใดที่สอดคล้องกับแนวคิดซินนิคส์
(1) เดินทางสายกลาง
(2) อยู่ในรัฐ
(3) ใช้ชีวิตแบบยุคหิน
(4) มีความมั่งคั่ง
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 61, (คําบรรยาย) แนวคิดซินนิคส์นั้น ต้องการให้คนกลับไปสู่ยุคดึกดําบรรพ์ ในสมัยที่ สถาบันทางสังคมยังไม่เกิดขึ้น โดยโจมตีว่า “ชีวิตแห่งอารยชนและนักการเมืองเป็นสิ่งที่ไม่เป็น ธรรมชาติ เพราะเป็นชีวิตที่ละทิ้งความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ แห่งสมัยดึกดําบรรพ์” ดังนั้นจึงอาจ กล่าวได้ว่า กลุ่มซินนิคส์เป็นพวกนิยมอนาธิปไตย (Anarchy) คือประสงค์จะไม่ให้มีรัฐบาลหรือ สถาบันการเมืองใด ๆ ให้คนอยู่กันเองตามสภาพที่ธรรมชาติให้มา หรือการใช้ชีวิตแบบยุคหิน

69. ในทัศนะของซินนิคส์ สิ่งที่ทําให้เกิดความเลวร้ายในสังคมคือ
(1) ผู้ปกครองที่ชั่วร้าย
(2) วัฒนธรรม
(3) สถาบันการศึกษา
(4) กฎหมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ปรัชญาซินนิคส์ (Cynics) นั้นต่อต้านรัฐ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ทางปกครองและสังคม ไม่ว่าจะเป็นระบบกรรมสิทธิ์ การเมือง การศึกษา ผู้ปกครอง วัฒนธรรม กฎหมาย ศาสนา รวมทั้งระบบ รวมทั้งระบบชนชั้นด้วย โดยกล่าวว่าสิ่งเหล่านั้นทําให้คนไม่สามารถบรรลุถึง ศีลธรรม ความฉลาด ความสมบูรณ์ในตัวเอง และความเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ทําให้คน มีสถานะแตกต่างกันเป็นคนจน คนรวย ทาส ทั้ง ๆ ที่ในความจริงแล้ว คนเราไม่ว่าเจ้าฟ้ายาจก มีความเท่าเทียมกันทั้งนั้น

70. ข้อใดผิดเกี่ยวกับอิพิคิวเรียน
(1) มีพระเจ้า
(2) พระเจ้ากําหนดชีวิตมนุษย์
(3) ชอบชีวิตสันโดษ
(4) จักรวาลไร้ระเบียบ
(5) จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร
ตอบ 2 หน้า 58, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicurean) มีลักษณะดังนี้
1. พระเจ้าทั้งหลายแม้จะมีจริง แต่ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์
2. มนุษย์ไม่ควรจะเกรงกลัวหรือศรัทธาในบรรดาพระเจ้า เพราะเรื่องของมนุษย์ไม่มีอะไร เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของพระผู้เป็นเจ้าเลย
3. ยึดคําขวัญที่ว่า “จงมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย” ดังนั้นจึงทําให้ดํารงชีวิตแบบไม่เบียดเบียนใคร และชอบชีวิตสันโดษ
4. จักรวาลเป็นสิ่งยุ่งเหยิง (ไร้ระเบียบ) และไม่มีกําหนดกฎเกณฑ์ ประกอบขึ้นด้วย ปรมาณู (Atorn) และความว่างเปล่า (Void)
5. ถือคติชีวิตว่า “จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร” เป็นต้น

71. สิ่งต่าง ๆ นี้เกิดขึ้นมาจากสิ่งที่เล็กที่สุด เรียกว่า
(1) อะตอม
(2) ปรมาณู
(3) 201
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78), (คําบรรยาย) อิพิคิวเรียน เป็นลัทธิที่พัฒนาต่อยอด ความคิดมาจากนักคิดกรีก คือ เดโมเครส และลูซิส ที่เชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ นี้เกิดขึ้นมาจากสิ่งที่เล็ก ที่สุด ที่เรียกว่า “อะตอม” หรือ “ปรมาณู” (Atom) โดยนําแนวคิดนี้มาพัฒนาต่อในการอธิบาย เกี่ยวกับเทพเจ้าต่าง ๆ ของพวกกรีกว่าไม่มีอยู่จริง หรืออาจจะไม่มีอยู่จริง เพราะทุกสิ่งเกิดขึ้น จากปรมาณูที่เคลื่อนย้ายอย่างไร้ทิศทาง

72. หากมีการต่อต้านผู้ปกครอง ผู้ที่ใช้ชีวิตตามแนวทางอิพิคิวเรียนจะทําสิ่งใด
(1) อยู่แนวหน้า
(2) สนับสนุนเงินทอง
(3) ช่วยเท่าที่ช่วยได้
(4) รออยู่ข้างคนชนะ
(5) ไม่ยุ่ง
ตอบ 5 หน้า 58, (คําบรรยาย) อิพิคิวเรียน (Epicurean) สอนว่า คนฉลาดควรหลีกหนีจากการเมือง ทั้งนี้เพราะว่าเป็นสิ่งที่นําความยุ่งยากมาให้ และเป็นอุปสรรคสําคัญที่ทําให้ไม่สามารถจะค้นพบ จุดหมายปลายทางของชีวิตนั่นคือความสุขสําราญ ดังนั้นจะเห็นว่าหากมีการต่อต้านผู้ปกครอง ผู้ที่ใช้ชีวิตตามแนวทางอิพิคิวเรียนนี้จะไม่ยุ่งหรือไม่เข้ารวม

73. รัฐบาลในทัศนะของลัทธิอิพิคิวเรียนคือ
(1) สิ่งชั่วร้ายที่จําเป็น
(2) มีการปกครองโดยกฎหมาย
(3) องค์กรที่สร้างความสุขให้ประชาชน
(4) อยู่ภายใต้กฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน เชื่อว่า รัฐบาลหรือสถาบันการปกครองเป็นสิ่งชั่วร้าย ที่จําเป็น แม้ว่าจะเป็นสถาบันที่เป็นอุปสรรคต่อความสุขของมนุษย์ แต่ก็ต้องได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อผดุงไว้ซึ่งเสถียรภาพของสังคม ขจัดความรุนแรงและความอยุติธรรม

74. ความรอบรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของสรรพสิ่งของพวกสโตอิกส์ทําได้โดย
(1) ศึกษาปรัชญาสโตอิกส์
(2) อยู่ในรัฐ
(3) ใช้เหตุผล
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 67, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ เชื่อถือและให้ความสําคัญในเรื่องธรรมชาติมากที่สุด โดยเปรียบธรรมชาติเป็นเสมือนพระเจ้า ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลเกิดขึ้น ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ โดยมีกฎหมายธรรมชาติเป็นกฎสากล ทําหน้าที่ปกครองสิ่งมีชีวิตทั้งมวล เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกําหนดวิถีความเป็นไปของทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ซึ่งมีรากฐานมาจากเหตุผล ดังนั้นความรอบรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของสรรพสิ่งจึงสามารถทําได้โดยใช้เหตุผล

75. “คนที่ดีนั้นจะไม่อุทิศตนเพียงเพื่อบริการตัวเขาเองเท่านั้น หากแต่จะมุ่งกระทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า ด้วยการพยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันผ่านทางสถาบันแห่งรัฐ นั่นคือการยินดี ที่จะกระทํากิจกรรมบริการสาธารณะต่าง ๆ นั่นเอง” เป็นคําอธิบายของ
(1) Cicero
(2) Panaetius
(3) Seneca
(4) Marcus Aurelius
(5) Zeno
ตอบ 2 หน้า 73, (คําบรรยาย) พาเนเทียส (Panaetius) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่ดัดแปลง แนวคิดสโตอิกส์มาปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในอาณาจักรโรมัน โดยเขาอธิบายว่า “คนที่ดี นั้นจะไม่อุทิศตนเพียงเพื่อบริการตัวเขาเองเท่านั้น หากแต่จะมุ่งกระทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า ด้วยการพยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันผ่านทางสถาบันแห่งรัฐ นั่นคือ การยินดีจะกระทํากิจกรรมบริการสาธารณะต่าง ๆ นั่นเอง”

76. สิ่งที่สามารถควบคุมความชั่วร้ายได้ตามทัศนะของสโตอิกส์คือ
(1) ร่างกาย
(2) กฎหมาย
(3) ตําแหน่ง
(4) เงินทอง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 71, (คําบรรยาย, ซีนคา (Seneca) เชื่อว่า ครั้งหนึ่งมนุษย์เราอยู่อย่างมีความสุขและมีจิตใจ ที่บริสุทธิ์ในสมัยสังคมดึกดําบรรพ์ แต่ต่อมาเมื่อคนเกิดตัณหา เกิดความละโมบ รู้จักกับคําว่า “ทรัพย์สินส่วนตัว” ความชั่วร้ายก็จะบังเกิดขึ้นจากการแสวงหาประโยชน์ใส่ตัว ผู้ปกครองที่ดี ก็จะกลายเป็นทรราชกดขี่ประชาชน ด้วยเหตุนี้เองความจําเป็นที่จะต้องมีสถาบันการปกครองหรือมีกฎหมายเพื่อใช้เป็นมาตรการควบคุมและแก้ไขความชั่วร้ายจึงเกิดขึ้น

77. นักคิดสโตอิกส์คนใดที่มองว่าความชั่วร้ายของมนุษย์มาจากแนวคิดเรื่องทรัพย์สินส่วนตัว
(1) Cicero
(2) Panaetius
(3) Seneca
(4) Marcus Aurelius
(5) Zeno
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

78. ในทัศนะของ Cicero สิ่งใดที่เป็นมาตรวัดในการตัดสินใจว่าการกระทําใดยุติธรรมหรือไม่
(1) กฎหมาย
(2) ศีลธรรม
(3) เหตุผล
(4) พระเจ้า
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 69 ซิซีโร (Cicero) เชื่อว่า ความยุติธรรมกําเนิดและค้นพบได้ในกฎหมายธรรมชาติโดยคนฉลาดสามารถใช้เหตุผลเป็นมาตรวัดว่าสิ่งใดหรือการกระทําใดยุติธรรมหรืออยุติธรรม ใครก็ตามที่เลื่อมใสและศรัทธาในกฎหมายอื่นอันผิดไปจากกฎหมายธรรมชาตินั้น เรียกได้ว่าเป็นคนที่ปราศจากความยุติธรรม

79. ในทัศนะของโพลิเบียส ระบอบการปกครองใดที่จะเสื่อมลงเป็นระบอบการปกครองแบบ Mob Rule
(1) Democracy
(2) Mob Rule
(3) Monarchy
(4) Aristocracy
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 63 – 64, 69, (คําบรรยาย) ซีซีโร (Cicero) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่มีแนวคิด เช่นเดียวกับโพลิเบียส ในเรื่อง “วงจรของการปฏิวัตินิรันดร์” (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) ที่เห็นว่ารูปการปกครองของกรีกนั้นมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด โดยเริ่มต้นจากรูปการปกครองแบบราชาธิปไตย (Monarchy) ต่อมาจะเสื่อมลงไปเป็นทุชนาธิปไตย (Tyranny) หรือทรราช อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy) ประชาธิปไตย (Democracy) ฝูงชนบ้าคลั่ง (Mob Rule) และสุดท้ายก็จะกลับมาสู่ระบอบราชาธิปไตยอีกไม่มี ทีสิ้นสด

80. ในทัศนะของโพลิเบียส สถาบันการปกครองใดเป็นองค์ประกอบแบบราชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญโรมัน
(1) Senate
(2) Assembly
(3) Tribune
(4) Consul
(5) King
ตอบ 4 หน้า 64, (คําบรรยาย) โพลิเบียส เห็นว่า ในรัฐธรรมนูญของโรมันนั้น คอนซูล (Consul) เป็น ลักษณะของราชาธิปไตย (Monarchy), สภาซีเนต (Senate) เป็นลักษณะของอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) และสภาประชาชน (Popular Assembly) เป็นลักษณะของประชาธิปไตย (Democracy) สถาบันทั้งสามนี้ได้กระทําการถ่วงดุลแห่งอํานาจซึ่งกันและกัน ไม่มีสถาบันใดที่สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปราศจากการยินยอมของสถาบันอีกสองสถาบัน

81. ในอาณาจักรโรมัน ถือว่าอํานาจการปกครองมีที่มาจาก
(1) พระเจ้า
(2) จักรพรรดิ
(3) ธรรมชาติ
(4) เหตุผล
(5) ประชาชน
ตอบ 5 หน้า 63, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของกฎหมายโรมันประการหนึ่งคือ อํานาจของผู้ปกครอง มาจากประชาชน เหตุที่เจตนารมณ์ของจักรพรรดิมีอํานาจบังคับของกฎหมาย ทั้งนี้เป็นเพราะประชาชนได้ยินยอมมอบอํานาจทั้งหมดให้แก่จักรพรรดิ นั่นแสดงให้เห็นว่าอํานาจในการปกครอง ในอาณาจักรโรมันต้องมาจากประชาชน

82. กฎหมายโรมันประเภทใดที่บังคับใช้กับชาวต่างชาติที่อาศัยในอาณาจักรโรมัน
(1) Jus Civic
(2) Jus Gentium
(3) Jus Natural
(4) Jus Universal
(5) Jus of the Twelve Tables
ตอบ 2 หน้า 62, (คําบรรยาย) กฎหมายทั่วไป (Jus Gentium) ของอาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นโดยการดัดแปลงมาจากกฎหมายภายในดั้งเดิมของโรมันผสมผสานหลักกฎหมายของบาบิโลเนีย ฟินิเซียน และกรีก โดยกฎหมายนี้จะมีผลใช้บังคับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัย อยู่ในอาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรมเป็นจุดประสงค์

83. ชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนข้อใดของพระเยซู
(1) เป็นพระบุตรของพระเจ้า
(2) จงรักศัตรูของท่าน
(3) เป็นพระเมสซียาห์
(4) เป็นตัวแทนของพระเจ้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) เป็นชาวยิว และเคย เป็นช่างไม้มาก่อน มาจากเมืองนาซาเร็ท (Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอนคน เมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็น “พระบุตรของพระเจ้า” (Son of God) แต่ภายหลังจากเยซู เผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกนักพรตชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนและกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและไปฟ้อง ต่อโรมัน ซึ่งในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขนจนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี

84. ข้อใดผิดเกี่ยวกับคําสอนของพระเยซู
(1) จงรักศัตรูของท่านและจงอธิฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน
(2) ถ้าใครตบท่านแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย
(3) พระมีสิทธิโต้แย้งเมื่อจักรพรรดิประพฤติมิชอบ แต่ไม่มีสิทธิยุยงให้ประชาชนเป็นกบฏ
(4) ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 94), (คําบรรยาย) คําสอนของพระเยซู มีดังนี้
1. จงรักศัตรูของท่านและจงอธิฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน
2. ถ้าใครตบท่านแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย
3. ใครก็ตามที่บังคับให้ท่านเดินไป 1 ไมล์ ก็จงเดินไปพร้อมกับเขา 2 ไมล์
4. ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด ฯลฯ

85. ผลงานชิ้นสําคัญของ St. Augustine คือ
(1) Policraticus
(2) City of God
(3) Summa Contra Gentiles
(4) Summa Theologica
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย) เซ็นต์ ออกัสติน (St. Augustine) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “นครของพระเจ้า” (City of God) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโต้แย้งเรื่องสาเหตุความเสื่อมของอาณาจักรโรมัน ซึ่งได้ ตีแผ่ประวัติศาสตร์ของโรมและยืนยันว่า บรรดาพระเจ้าทั้งหลายที่ชาวโรมันนับถือนั้นมิได้ช่วย ให้อาณาจักรโรมันพ้นจากความหายนะ แต่เป็นคริสต์ศาสนาต่างหากที่สามารถช่วยคุ้มครองอาณาจักรไว้ได้ หากว่าผู้ปกครองและประชาราษฎร์ทั้งหลายยอมรับนับถืออย่างแท้จริง

86“ในความเป็นจริงบางครั้ง รัฐก็เป็นอุปสรรคต่อการหลุดพ้นจากบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐนั้นไม่ได้เป็นรัฐ ที่นับถือศาสนาคริสต์” เป็นคํากล่าวของ
(1) Aquinas
(2) Augustine
(3) Boniface VIII
(4) Saint Paul
(5) Gelasius I
ตอบ 2 หน้า 80, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 99 – 100) St. Augustine ให้ความสําคัญแก่ สถาบันทางศาสนามากกว่าสถาบันทางการปกครอง โดยกล่าวว่า “พระเจ้าได้ทรงจัดหาตัวแทนเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาปได้สําเร็จ และประสบความสําเร็จในการมีชีวิตนิรันดร หลังความตาย ตัวแทนที่ว่านี้ก็คือศาสนจักร (วัด) และรัฐ อย่างไรก็ดี ศาสนจักรมีความสําคัญ มากกว่ารัฐ เพราะในความเป็นจริงบางครั้ง รัฐก็เป็นอุปสรรคต่อการหลุดพ้นจากบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐนั้นไม่ได้เป็นรัฐที่นับถือศาสนาคริสต์”

87. จักรพรรดิโรมันพระองค์ใดที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นพระองค์แรก
(1) Nero
(2) Caracalla
(3) Constantine
(4) Theodosius
(5) Justinian
ตอบ 3 หน้า 75, (คําบรรยาย) ศาสนาคริสต์เริ่มเข้ามามีอิทธิพลเหนืออาณาจักรโรมันเมื่อศตวรรษที่ 4 โดยจักรพรรดิกาลีเรียส (Galerius) ทรงยินยอมให้ผู้นับถือศาสนาคริสต์ประกอบพิธีทางศาสนาได้ โดยเสรีในปี ค.ศ. 311 ต่อมาจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ผู้ซึ่งทรงเลื่อมใสศรัทธาใน ศาสนาคริสต์ก็ได้ประกาศพระองค์เป็นคริสตชนคนหนึ่ง ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์แรก ที่นับถือศาสนาคริสต์ และก่อนสิ้นศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิเธโอดอเสียส (Theodosius) ก็ได้ ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจําอาณาจักรโรมัน

88. นักคิดที่เป็นผู้ประดิษฐ์ทฤษฎีสองดาบคือ
(1) Pope Gelasius I
(2) St. Ambrose
(3) St. Augustine
(4) St. Aquinas
(5) St. Paul
ตอบ 1 หน้า 85, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองดาบ (Theory of Two Swords) ของสันตะปาปาเจลาเซียส 1 (Pope Gelasius I) มีหลักการว่า พระเจ้าจะแบ่งอํานาจการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อํานาจปกครองทางโลกกับอํานาจปกครองทางธรรม ซึ่งมอบให้สถาบันศาสนา (ศาสนจักร) และ สถาบันการปกครอง (อาณาจักร) เป็นผู้ใช้อํานาจนี้ โดยกําหนดว่า อํานาจปกครองฝ่ายทางธรรม สันตะปาปามีอํานาจเหนือจักรพรรดิในเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจ ส่วนอํานาจปกครองฝ่ายทางโลก จักรพรรดิมีอํานาจเหนือสันตะปาปาในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับทางโลก แต่เนื่องจากอํานาจทั้งสองฝ่ายมาจากพระเจ้า ดังนั้นควรใช้อํานาจทั้งสองด้วยความสมานฉันท์เพื่อรับใช้พระเจ้า

89. ข้อใดผิดเกี่ยวกับผลที่ตามมาหลังข้อพิพาทระหว่างสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 กับจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(1) จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 สั่งปลดสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7
(2) สันตะปาปาประกาศบัพพาชนียกรรมพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4
(3) จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ยอมเดินเท้าเปล่าบนหิมะจึงได้รับการอภัยโทษ
(4) เกิดการจลาจลของประชาชน
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 107 – 109) ในปี ค.ศ. 1076 จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ได้พยายาม ที่จะตั้งสังฆราชด้วย พระองค์เอง โดยขัดกับคําสั่งของสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 (Gregory VII) ที่ ทรงยกเลิกธรรมเนียมของกษัตริย์ที่จะเข้าแทรกแซงการแต่งตั้งสังฆราช (Bishop) ซึ่งผลสุดท้าย จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ถูกประกาศบัพพาชนียกรรม (Excommunication) หรือถูกขับออกจาก ศาสนา และเกิดการจลาจลของประชาชน บรรดานักรบที่เคยสนับสนุนต่างกลัวและถอนตัวจาก การเป็นข้ารับใช้ จนถึงขั้นที่จะตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นปกครองแทน ในที่สุดจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ทรงไม่มีทางเลือกจึงยอมเดินเท้าเปล่าบนหิมะ 3 วันโดยไม่สวมมงกุฎเพื่อไปขอขมาสันตะปาปา พระองค์จึงได้รับการอภัยโทษ

90. “ในบางครั้งพระเจ้าทรงประทานกษัตริย์ที่ชั่วร้ายมาให้กับประชาชนเพื่อเป็นการลงโทษในบาปของประชาชนเหล่านั้น” เป็นคํากล่าวของ
(1) St. Ambrose
(2) Boniface VIII
(3) St. Augustine
(4) Jesus
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 79, (คําบรรยาย) St. Augustine กล่าวว่า ในบางครั้งพระเจ้าทรงประทานกษัตริย์ที่ชั่วร้ายมาให้กับประชาชนเพื่อเป็นการลงโทษในบาปของประชาชนเหล่านั้น และไม่ว่าเขาจะใช้อํานาจ ไปในสถานใดผู้ถูกปกครองไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะผู้ปกครองทุกคนคือ ผู้แทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพนั่นเอง

91. ข้อใดผิดเกี่ยวกับทฤษฎีเทวสิทธิ์
(1) อํานาจการปกครองเป็นของพระเจ้า
(2) อํานาจการปกครองมาจากพระเจ้า
(3) ผู้ปกครองคือพระเจ้า
(4) ประชาชนไม่มีสิทธิวินิจฉัยผู้ปกครอง
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) พระคัมภีร์ใหม่ของยุโรปในยุคกลาง เชื่อว่ากษัตริย์หรือผู้ปกครอง เป็นรากฐานของลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right) อํานาจการปกครองทั้งหมดเป็นของพระเจ้า กษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองโดยได้รับสิทธิการปกครองมาจากพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงทรง มีอํานาจอย่างไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเจ้า พระเจ้าจะเลือก กษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัย

92. การที่ขุนนางเข้าไปสวามิภักดิ์กับขุนนางที่ใหญ่กว่าในช่วงยุคกลาง ขุนนางที่เข้าไปสวามิภักดิ์นั้นจะถูกเรียกว่าอะไร
(1) Vassal
(2) King
(3) Lord
(4) Serf
(5) Feudalism
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 102 – 103), (คําบรรยาย) ในยุคกลางนั้น รูปแบบการปกครอง ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudal) แบ่งองค์ประกอบที่สําคัญออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. ไพร่ (Serf) คือ “ชาวนา ชาวไร่ หรือคนทั่วไปที่ทําอาชีพเกษตรกรรม
2. เจ้านาย (Lord) คือ นักรบ หรือขุนนางที่ประชาชนมายอมสวามิภักดิ์
3. ข้า (Vassal) คือ ขุนนางที่เข้าไปสวามิภักดิ์กับขุนนางที่ใหญ่กว่าหรือนักรบที่มีกําลังมากกว่าตน
4. กษัตริย์ (King) คือ ขุนนางที่ถูกเลือกขึ้นมาจากตระกูลหนึ่งเพื่อให้เป็นผู้นํา แต่ไม่ได้มีอํานาจมาก

93. นักคิดที่เสนอการอธิบายรัฐเสมือนร่างกายของมนุษย์คือ
(1) Gelasius I
(2) St. Paul
(3) St. Ambrose
(4) Marsiglio of Padua
(5) John of Salisbury
ตอบ 5 หน้า 86 – 87, (คําบรรยาย) จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salisbury) เป็นนักทฤษฎีการเมือง ยุคกลางคนแรกที่ใช้ทฤษฎีองค์อินทรีย์ (Organic Analogy Theory) ในการบรรยายองค์ประกอบ ของประชาคมการเมือง โดยเปรียบเทียบว่ารัฐเปรียบเสมือนร่างกายของมนุษย์ กษัตริย์คือศีรษะ หรือสมอง ฝ่ายศาสนาคือดวงวิญญาณ ทหารคือมือ ข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ เปรียบเสมือนอวัยวะ ๆ น้อยใหญ่ที่จะต้องทํางานอย่างสอดคล้องกัน เพื่อสร้างองค์อินทรีย์ที่ดีขึ้นมา

94. นักคิดในสมัยคลาสสิคที่ St. Aquinas ได้รับอิทธิพลทางความคิดอย่างมากคือ
(1) Socrates.
(2) Plato
(3) Aristotle
(4) Epicurus
(5) Cicero
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 113), (คําบรรยาย) ความคิดทางการเมืองของเซ็นต์ อไควนัส (St. Aquinas) นั้นได้พยายามเอาความคิดของนักคิดในสมัยคลาสสิคอย่างอริสโตเติล (Aristotle)
มาใช้และอธิบายสร้างความชอบธรรมให้กับศาสนาคริสต์ที่เป็นกระแสหลักของยุค

95. ในทัศนะของ St. Aquinas หากมีผู้ปกครองที่เป็นทรราช ผู้ใต้ปกครองควรทําอย่างไรก่อน
(1) ก่อกบฏโค่นล้ม
(2) ถอดถอนตามขั้นตอนของกฎหมาย
(3) สวดมนต์ภาวนา
(4) อดทนเพราะเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 89, (คําบรรยาย) St. Aquinas เห็นว่า หากผู้ปกครองใช้อํานาจไม่เป็นธรรมจนกลายเป็น ทรราช ผู้ปกครองก็ควรจะต้องถูกถอดถอน แต่การถอดถอนนั้นจะต้องเป็นไปโดยถูกต้องตาม ขั้นตอนของกฎหมาย หากว่าไม่สามารถถอดถอนหรือควบคุมทรราชได้โดยกระบวนการทางกฎหมาย ประชาชนควรหันไปสู่การสวดภาวนาต่อพระเจ้า เพราะพระองค์อาจจะบันดาลให้จิตใจทรราชเปลี่ยนไปในทางที่ดี หรืออาจลงโทษทรราชผู้นั้นด้วยพระองค์เอง

96.St. Aquinas เสนอว่ากฎหมายใดศาสดาพยากรณ์ท่านต่าง ๆ นํามาเผยแสดงให้กับมนุษย์
(1) Eternal Law
(2) Divine Law
(3) St. Aquinas
(4) Natural Law
(5) Political Law
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 123), (คําบรรยาย) ตามความเห็นของ St. Aquinas นั้น “กฎหมายศักดิ์สิทธิ์” (Divine Law) คือ กฎเกณฑ์ที่พระเจ้าบัญญัติขึ้นไว้ให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้ที่เชื่อในพระองค์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ศาสดาพยากรณ์ท่านต่าง ๆ นํามาเผยแสดงให้กับ มนุษย์ โดยกฎดังกล่าวพระองค์ได้บัญญัติผ่านพระเยซูซึ่งเป็นพระบุตรและประกาศกฎต่าง ๆ ไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิล ทั้งในพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่

97. “ประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งผู้ปกครอง” เป็นคําอธิบายของ
(1) Benedict XII
(2) Boniface VIII
(3) St. Aquinas
(4) Marsiglio of Padua
(5) John of Salisbury
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 128 – 129) มาร์ซิกลิโอแห่งปาดัว (Marsiglio of Padua) ได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” (Defensor Pacis/The Defender of Peace) ตีพิมพ์ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 โดยมีเนื้อหายืนยันว่า อํานาจในการปกครองมาจากประชาชน และประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งผู้ปกครองหรือกษัตริย์ มากไปกว่านั้นเขายัง สนับสนุนให้กษัตริย์นั้นยึดที่ดินทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักรด้วย

98. “มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณ (Spiritual Sword) และดาบที่ใช้ปกครองทางโลก (Temporal Sword) ซึ่งดาบสองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาสนจักร” เป็นคําอธิบายของ
(1) Benedict XII
(2) Boniface VIII
(3) St. Aquinas
(4) Marsiglio of Padua
(5) John of Salisbury
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109) สันตะปาปาโบนเฟสที่ 8 (Boniface VIII) กล่าวว่า “พวกเราถูกสั่งสอนโดยถ้อยคําจากพระคัมภีร์ว่า ภายใต้ศาสนจักรนี้และภายใต้การควบคุม ของศาสนจักร มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณ (Spiritual Sword) และดาบที่ใช้ปกครองทางโลก (Temporal Sword) ซึ่งดาบสองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้ การควบคุมของศาสนจักร…กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้โดยมือของนักบวช ส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบทั้งหลาย”

99. ข้อใดผิดเกี่ยวกับยุคกลาง
(1) เกิดระบบฟิวดัล
(2) มีการรวมศูนย์อํานาจ
(3) ศาสนจักรเรืองอํานาจ
(4) มีการอพยพจากเมืองสู่ชนบท
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

100. ข้อใดผิดเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากข้อพิพาทระหว่างสันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 กับกษัตริย์ฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
(1) พระสันตะปาปาออกพระราชกฤษฎีกาห้ามไม่ให้กษัตริย์เก็บภาษีศาสนสมบัติ
(2) พระสันตะปาปาประกาศบัพพาชนียกรรมกษัตริย์ฟิลิป
(3) กษัตริย์ฟิลิปส่งทหารฝรั่งเศสบุกเข้าไปจับตัวพระสันตะปาปา
(4) กษัตริย์ฟิลิปถูกปลดออกจากตําแหน่งและเดินเท้าไปขอขมาพระสันตะปาปา
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 127), (คําบรรยาย) ผลที่ตามมาจากข้อพิพาทระหว่าง สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 กับกษัตริย์ฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส คือ กษัตริย์ฟิลิปได้ส่งทหารบุกเข้าไป จับตัวพระสันตะปาปา เนื่องจากเหตุขัดแย้งเรื่องการที่พระสันตะปาปาออกพระราชกฤษฎีกา ห้ามไม่ให้กษัตริย์เก็บภาษีศาสนสมบัติ โดยสันตะปาปาได้ประกาศบัพพาชนียกรรมกษัตริย์ฟิลิป และผู้สวามิภักดิ์ ซึ่งกษัตริย์ฟิลิปไม่ได้สนใจ แต่กลับประกาศปลดตําแหน่งสันตะปาปากลับและ ส่งทหารเข้าไปจับกุมตัว จากนั้นได้แต่งตั้งพระชาวฝรั่งเศสให้เป็นสันตะปาปาองค์ต่อ ๆ มาถึง 7 พระองค์ และให้ย้ายที่ประทับจากนครวาติกันในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญองในฝรั่งเศสตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1309 – 1377 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า “การคุมขังแห่งบาบิโลน” หรือการคุมขัง แห่งอาวิญอง (Babylonian Captivity/Avignon Captivity)

WordPress Ads
error: Content is protected !!