การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4008 กฎหมายที่ดิน

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

Advertisement

ข้อ 1. นายอาทิตย์เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ใน พ.ศ. 2550 ได้มีประกาศ เดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน แตนายอาทิตย์ไม่ได้ไปนำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัดที่ดิน ใน พ.ศ. 2553 นายอาทิตย์ได้ยกที่ดินแปลงนั้นตีใช้หนี้ให้แก่นายศุกร์โดยส่งมอบที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้นายศุกร์ครอบครอง นายศุกร์ได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน ต่อเนื่องมา ใน พ.ศ. 2554 นายศุกร์ก็ถึงแก่ความตาย นางเดือนภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตลอดมา ขณะนี้นางเดือนได้นำที่ดินไปยื่นขอออกโฉนดที่ดิน ดังนี้ อยากทราบว่านางเดือนจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ การโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไมก็ตาม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาเห็นสมควร ให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กำหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่ง ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

มาตรา 59 ทวิ ผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยูก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้ บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจำเป็นจะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ประมวลกฎหมายนี้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นางเดือนจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เห็นวา การที่นายอาทิตย์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ได้ยกที่ดินแปลงดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่นายศุกร์ โดยส่งมอบ ที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้นายศุกร์ครอบครองนั้น เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงถือเป็นการโอนที่ไม่ทำตามกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ ที่กำหนดว่า การโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต้องทำเป็นหนังสือและต้อง จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” การยกที่ดินตีใช้หนี้ดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะ ส่งผลให้นายศุกร์เป็นเพียง ผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497)

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ใน พ.ศ. 2554 นายศุกร์ถึงแก่ความตาย และนางเดือนภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตลอดมา ดังนี้ นางเดือนซึ่งเป็นทายาทก็ย่อมมีสิทธิ เช่นเดียวกับนายศุกร์ คือ เป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ

และในขณะนี้นางเดือนได้นำที่ดินไปยื่นขอออกโฉนดที่ดิน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีประกาศของ ทางราชการเพื่อจะออกโฉนดแบบทั้งตำบล ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 จึงต้องพิจารณาการออก โฉนดที่ดินแบบเฉพาะราย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ แล้วแต่กรณี

สำหรับการขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะราย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ผู้ที่จะ ขอออกโฉนดที่ดินได้ จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ เป็นเจ้าของที่ดินโดยมี หนังสือแสดงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนางเดือนเป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมาย ที่ดินใช้บังคับโดยไมมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ดังนั้นนางเดือนจึงขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะราย ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ไม่ได้ อีกทั้งในกรณีดังกล่าวนี้ นางเดือนก็จะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่อง ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 วรรคสอง ไม่ได้เช่นกัน เพราะนางเดือนมิใช่ผู้ครอบครองต่อเนื่องจาก ผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)

ส่วนผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะราย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ได้นั้น กฎหมายกำหนดว่า จะต้องเป็นผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไมมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ มาตรา 5 เท่านั้น เมื่อได้ความว่า นางเดือนเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497) จึงไมต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าว ดังนั้น นางเดือนจึงไม่สามารถขอออกโฉนดที่ดิน เป็นการเฉพาะราย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ได้เช่นกัน

สรุป นางเดือนเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ จะขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะราย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้เลย


ข้อ 2. นายเพชรครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2527 โดยไม่มีหนังสือสำคัญ แสดงสิทธิในที่ดิน ใน พ.ศ. 2540 นายเพชรได้ขายที่ดินให้แก่นายทองโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองแล้วมอบที่ดินให้นายทองครอบครอง ใน พ.ศ. 2554 นายทองได้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการ ขณะนี้นายทองต้องการจะนำที่ดินไปจำนองเพื่อเป็นประกันเงินกู้เป็นเวลา 5 ปี ดังนี้ อยากทราบว่า นายทองจะจำนองที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 58 วรรคแรก วรรคสองและวรรคสาม เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรจะให้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในจังหวัดใดในปีใด ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดจังหวัดที่จะทำการสำรวจรังวัดทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์สำหรับปีนั้น เขตจังหวัดที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดไมรวมท้องที่ที่ทางราชการได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร

เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้น ของการเดินสำรวจรังวัดในท้องที่นั้น โดยปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานที่ดิน ที่ว่าการอำเภอ ที่ว่าการกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ก่อนวันเริ่มต้นสำรวจไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

เมื่อได้มีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคสอง ให้บุคคลตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง หรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าว นำพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมาย เพื่อทำการสำรวจรังวัด ทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นัดหมาย

มาตรา 58 ทวิ วรรคแรก วรรคสอง วรรคห้าและวรรคท้าย เมื่อได้สำรวจรังวัดทำแผนที่ หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แกบุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้น ครอบครองเป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทำประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทาง มรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชำระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์

ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามวรรคห้า ที่ดินนั้นไมอยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี” วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเพชรครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินแปลงหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2527 โดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินนั้น เมื่อปรากฏว่านายเพชรได้ขายที่ดินให้แก่นายทองโดยทำสัญญาซื้อขายกันเอง แล้วมอบที่ดินให้นายทองครอบครอง ย่อมมีผลทำให้นายทองเป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยพลการภายหลัง วันที่ประมวลที่ดินใช้บังคับด้วยเช่นเดียวกัน

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ใน พ.ศ. 2554 นายทองได้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการ จึงถือได้ว่า นายทองเป็นผู้ได้รับโฉนดที่ดินเนื่องจากเป็นผู้ครอบครองที่ดินและทำประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับและไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 และมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3) ดังนั้น นายทองจึงอยู่ในบังคับห้ามโอนที่ดินภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 58 ทวิ วรรคห้าตอนท้าย

แต่อย่างไรก็ตาม การจำนองที่ดินนั้นไมถือเป็นการโอนที่ดิน ดังนั้น นายทองจึงสามารถนำที่ดินไปจำนองเพื่อเป็นประกันเงินกูได้ และถ้าจำนองแล้ว หนี้ถึงกำหนดชำระนายทองไม่ได้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้รับจำนองก็ไมสามารถฟ้องบังคับจำนองเอากับที่ดินนี้ได้ หากยังไม่พ้นกำหนดห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ วรรคท้าย

สรุป นายทองสามารถจำนองที่ดินได้


ข้อ 3. นางส้มมีบ้านพักอยู่จังหวัดปทุมธานี ช่วงเกิดมหาอุทกภัยกระแสน้ำได้พัดพาทรัพย์สินในบ้านไป หลายรายการรวมทั้งโฉนดที่ดินด้วย นางส้มเกรงว่าอาจจะมีบุคคลเก็บโฉนดที่ดินได้และนำไปใช้ ในทางมิชอบ นางส้มจึงไปยื่นขออายัดที่ดินไว้ ดังนี้อยากทราบว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งรับอายัดไว้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 83 “ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินใดอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มี การเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ มีความประสงค์จะขออายัดที่ดิน ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงแล้ว ถ้าเห็นสมควรเชื่อถือ ก็ให้รับอายัดไว้มีกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สั่งรับอายัด เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดลง และผู้นั้นจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไมได้

ถ้าผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านว่า การอายัดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ สอบสวนพยานหลักฐานเท่าที่จำเป็น เมื่อเป็นที่เชื่อได้ว่าได้รับอายัดไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งให้ยกเลิกการอายัดนั้น และแจ้งให้ผู้ขออายัดทราบ

วินิจฉัย

การอายัด” หมายถึง การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับ ที่ดินไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อไปดำเนินการทางศาล ดังนั้น ถ้าที่ดินแปลงใดถูกอายัดจะมีการจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นการจดทะเบียนที่เป็นการปลดเปลื้องภาระผูกพัน เช่น ที่ดินที่ถูกอายัด แต่จะมีการ จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองไถถอนขายฝาก กรณีเช่นนี้ ย่อมให้จดทะเบียนได้ เพราะเป็นการทำให้ที่ดินปลอดจาก ภาระผูกพัน

ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการอายัดไว้ดังนี้

1. ผู้ขออายัดจะต้องมีส่วนได้เสียในที่ดินโดยตรงอันอาจฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินได้

2.         พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งรับอายัดไว้ได้มีกำหนด 30 วันนับแต่วันที่สั่งรับอายัด

3.         เมื่อครบกำหนด 30 วัน แล้วผู้ขออายัดยังไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งอายัด ที่ดิน ให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดลง ผู้นั้นจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันนี้อีกไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งรับอายัดที่ดินของนางส้มไว้ได้หรือไม่ เห็นว่า การที่กระแสน้ำได้พัดพาโฉนดที่ดินของนางส้มไปนั้น เมื่อปรากฏว่านางส้มเป็นเจ้าของที่ดินอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เป็น ผู้มีส่วนได้เสียอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนี้ได้

เพราะเจ้าของที่ดินย่อมมีสิทธิในที่ดินอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อนางส้มไมใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิขออายัดที่ดิน ตามมาตรา 83 ได้แต่อย่างใด พนักงานเจ้าหน้าที่จึงสั่งรับอายัดที่ดินไว้ไม่ได้

สรุป พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งรับอายัดที่ดินไว้ไมได้


ข้อ 4. อยากทราบว่าบุคคลจะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินกรณีใดบ้าง

ธงคำตอบ

บุคคลจะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินกรณีใดบ้างนั้น มีบัญญัติไวในมาตรา 3 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในกรณีต่อไปนี้

(1)       ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามบทกฎหมายก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ หรือได้มา ซึ่งโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้

(2)       ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือกฎหมายอื่น” ตามบทบัญญัติข้างต้นจะเห็นว่าบุคคลจะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินใน 4 กรณี คือ

1.         การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามบทกฎหมายก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ซึ่ง ถือเป็นกรรมสิทธิ์โดยชอบ โดยที่ดินนั้นจะเป็นที่ดินที่ได้รับหนังสือสำคัญแสดงสิทธิ ดังต่อไปนี้

1)         โฉนดแผนที่ ออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 120

2)         โฉนดตราจอง ออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดตราจอง ร.ศ. 124 เนื่องจาก การออกโฉนดแผนที่เป็นไปอย่างล่าช้า แต่มีราษฎรเป็นจำนวนมากที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยเร็ว จึงจำเป็น ต้องออกตราจองชั่วคราวให้ไปก่อน เพื่อจะได้นำมาเปลี่ยนเป็นโฉนดแผนที่ในภายหลัง

3)         ตราจองที่ตราว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว” ออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 เมื่อผู้ขอจับจองที่ดินได้ทำประโยชน์ครบตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้แล้ว ผู้ที่มีตราจองก็มีสิทธิที่จะมาขอตราจองที่ตราว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว” จากทางราชการได้

และนอกจากนี้ การได้กรรมสิทธิ์ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ยังรวมถึง การได้กรรมสิทธิ์ในฐานะที่เป็นที่บ้านหรือที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 อีกด้วย

2.         การได้มาซึ่งโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งอาจจะเป็นการได้โฉนดที่ดินโดยการที่ทางราชการประกาศออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล หรืออาจจะเป็นการยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดิน เป็นการเฉพาะราย

3.         การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 นั้น ทางราชการได้จัดที่ดินให้ราษฎรเข้าทำกินในที่ดินตาม เงื่อนไขและระเบียบการของเจ้าหน้าที่ เมื่อราษฎรได้ทำประโยชน์ในที่ดินครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แล้ว เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองให้ฉบับหนึ่งเรียกว่า หนังสือแสดงการทำประโยชน์” เพื่อให้ผู้นั้นมีสิทธิไปขอรับโฉนดที่ดิน จากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้

4.         การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายอื่น ซึ่งอาจจะเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือได้มาโดยการรับมรดก หรือได้มาซึ่งที่งอกริมตลิ่ง หรือโดยการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ ขายฝาก ขายทอดตลาด หรือตามพระราชบัญญัติ แลกเปลี่ยนที่ดินของรัฐกับของเอกชน หรือมีพระราชบัญญัติโอนที่ดินให้เป็นพิเศษ

Advertisement