การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. บุคคลใดที่นำแนวคิดเรื่องพาราไดม์ (Paradigm) มาศึกษาอย่างจริงจังและจัดแบ่งเป็นยุคต่างๆ

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Lawrence C. Mayer

(4) Woodrow Wilson

(5) Nicholas Henry

ตอบ 5 หน้า 46 – 48, 56 – 58, (คำบรรยาย) Nicholas Henry เป็นผู้นำแนวคิดเรื่องพาราไดม์ (Paradigm) มาศึกษาอย่างจริงจัง โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับพาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจ อย่างเป็นระบบนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่งถึงทศวรรษ 1970 พบว่า พาราไดม์ของวิชาการบริหารรัฐกิจจำแนกออกเป็น 5 พาราไดม์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้

พาราไดม์ที่ 1 : การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร

พาราไดม์ที่ 3 : การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์

พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร

พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ

2. บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพาราไดม์ (Paradigm)

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Lawrence C. Mayer

(4) Woodrow Wilson

(5) Martin Landau

ตอบ 2 หน้า 43 – 44, 64 – 65 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิด เกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” เขาได้อธิบายไว้ว่า พาราไดม์ หมายถึง ผลสำเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการ คือ 1. เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้หันเหจากกิจกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์อื่นๆ ที่มีลักษณะแข่งขันกัน โดยหันมายอมรับร่วมกันว่าผลสำเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นพื้นฐาน สำหรับการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 2. เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง รุ่นใหม่ๆ ได้แก้ไขปัญหาต่างๆ กันต่อไป

3. ในองค์ประกอบ 5 ข้อของแนวคิดเรื่องพาราไดม์ (Paradigm) ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่องค์ประกอบของพาราไดม์

(1) แนวความคิด ทฤษฎี

(2) กฎของการแปลความหมาย

(3) ปัญหา

(4) การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง

(5) การศึกษาค้นคว้าแบบเป็นขั้นเป็นตอน

ตอบ 5 หน้า 44 – 45 Robert T. Holt และ John M. Richardson กล่าวว่า พาราไดม์ (Paradigm) ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ 5 ประการ คือ
1 แนวความคิด
2 ทฤษฎี
3 กฎของการแปลความหมาย
4 ปัญหา
5 การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง

4. บุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) คือ

(1) Nicholas Henry

(2) Woodrow Wilson

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Martin Landau

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คำบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจ เป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกำเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวได้รับการยอมรับจาก นักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย

5. บทความทางบริหารรัฐกิจเรื่อง The Study of Administration เขียนโดย

(1) Woodrow Wilson

(2) Nicholas Henry

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Lawrence C. Mayer

(5) Martin Landau

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6. ใครเป็นผู้เสนอว่า การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

(1) Nicholas Henry

(2) Woodrow Wilson

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Robert T. Golembiewski

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

7. บุคคลใดที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

(1) Frank J. Goodnow

(2) Leonard D. White

(3) Thomas S. Kuhn

(4) Lawrence C. Mayer

(5) Goodnow and White

ตอบ 5 หน้า 47, (คำบรรยาย) นักวิชาการที่สนับสนุนแนวคิดการแยกการบริหารกับการเมือง ออกจากกันเป็นสองส่วนของ Woodrow Wilson มี 2 คน คือ
1 Frank J. Goodnow
2 Leonard D. White

8. บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เขียนตำราเรียนเล่มแรกของวิชาการบริหารรัฐกิจ

(1) Woodrow Wilson

(2) Thomas S. Kuhn

(3) Frank J. Goodnow

(4) Leonard D. White

(5) Lawrence C. Mayer

ตอบ 4 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราเรียน (Textbook) ที่สมบูรณ์ เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ เขาเสนอความเห็นว่า การเมือง ไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นำตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์
และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

9. ผลงานในหนังสือที่เสนอแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งเสนอ หลักการทำงานของคนงานระดับล่างขององค์การเป็นแนวคิดของใคร

(1) Mary Parker Follet

(2) Henri Fayol

(3) Frederick W. Taylor

(4) James D. Mooney

(5) Alan C. Reiley

ตอบ 3 หน้า 48 – 49 Frederick W. Taylor เป็นผู้เสนอแนวคิดการจัดการในเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) โดยเน้นในเรื่องการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และมุ่งเน้นที่ตัวบุคคลในระดับล่างขององค์การ

10. ในหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 เป็นผลงานของใคร

(1) Lillian Gilbreth

(2) Frederick W. Taylor

(3) Henri Fayol

(4) James D. Mooney and Alan C. Reiley

(5) Gulick and Lyndall Urwick

ตอบ 5 หน้า 48 – 49 ในช่วงพาราไดม์ที่ 2: หลักของการบริหารนั้น ได้มีผลงานเขียนชิ้นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “สุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจ” นั่นก็คือหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration (1937) ของ Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ซึ่งหนังสือเรื่องนี้ได้เสนอหลักการบริหารที่เรียกว่า POSDCORB

11. ในหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 ได้เสนอผลงานอะไร

(1) หลักของการบริหาร

(2) หลักการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

(3) หลักการของนักบริหารที่ดี

(4) หลักการบริหาร POSDCORB

(5) หลักการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

12. การเกิดวิกฤติทางความคิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1938 – 1947 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

(1) การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองสามารถแยกออกจากกันได้

(2) การโจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารมีความสอดคล้องกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

(3) การบริหารที่ปลอดจากค่านิยม แต่ความจริงเป็นการเมืองเต็มไปด้วยค่านิยมและการทุจริต

(4) หลักการบริหารที่กำหนดขึ้นมามีความสมบูรณ์เพียงพอ

(5) โจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารที่กำหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ เป็นได้แค่สุภาษิตทางการบริหาร (Proverbs)

ตอบ 5 หน้า 51 – 52 การเกิดวิกฤติทางความคิดเกี่ยวกับวิชาการบริหารรัฐกิจระหว่าง ค.ศ. 1938 – 1947 แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ดังนี้
1 การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยผู้คัดค้านเชื่อว่าการบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเมืองที่บรรจุไว้ด้วยค่านิยมต่างหาก
2 การโจมตีว่าหลักต่าง ๆ ของการบริหารมีความไม่สอดคล้องลงรอยกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ โดยฝ่ายโจมตีเห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่กำหนดขึ้นมานั้น ใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้แค่เพียงสุภาษิตทางการบริหาร (Proverbs)

13. บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย คือ

(1) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

(2) สมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

(3) สมเด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

(4) ปฐม มณีโรจน์

(5) มาลัย หุวะนันท์

ตอบ 1 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ทรงริเริ่มปลูกฝังและพัฒนาระบบการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ขึ้นในประเทศไทย จึงส่งผลให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้เป็น “บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย”

14. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การ

(1) วัตถุประสงค์

(2) บุคลากร

(3) โครงสร้างองค์การ

(4) สภาพแวดล้อม

(5) ระยะเวลา

ตอบ 5 หน้า 114 ลักษณะสําคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ
1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
3 มีการพัฒนาโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จ โดยองค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ

15. องค์การแบบเรียบง่าย (Simple Structure) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน

(2) มีกฎระเบียบเป็นทางการและเป็นแบบแผนมาก

(3) ไม่มีการกําหนดระดับการบริหารที่แน่นอนตายตัว มีอิสระในการทํางานได้เอง

(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด

(5) เป็นหน่วยงานอิสระ มีความยืดหยุ่น และไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่

ตอบ 1 หน้า 123 โครงสร้างแบบเรียบง่าย (Simple Structure) เป็นองค์การที่มีการจัดแบ่งหน่วยงานน้อยมาก มีช่วงการควบคุมกว้าง รวมอํานาจการบังคับบัญชาและการตัดสินใจไว้ที่บุคคลคนเดียว มีความเป็นทางการน้อย มีระดับความซับซ้อนต่ํา โครงสร้างองค์การรูปแบบนี้จะมีลักษณะเป็นโครงสร้างองค์การในแนวราบ (Flat Structure) มากกว่าโครงสร้างองค์การในแนวดิ่ง (Tall Structure) มีโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว สภาพแวดล้อมขององค์การไม่ซับซ้อน เช่น องค์การธุรกิจขนาดเล็ก เป็นต้น

16. องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีสายการบังคับบัญชาที่แน่นอนและมีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก

(2) มีโครงสร้างหลายรูปแบบผสมกันและมีความสลับซับซ้อน

(3) มีความยืดหยุ่นไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่

(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด

(5) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน

ตอบ 1 หน้า 125 – 126 องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) เป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีระดับชั้นการบังคับบัญชาที่แน่นอน เน้นการใช้ความสามารถหลักขององค์การและรับทรัพยากรจากพันธมิตรภายนอก รวมทั้งใช้การจ้างเหมาบุคคลภายนอกในการปฏิบัติงาน

17. Goldsmith and Eggers ได้แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การรูปแบบอะไร

(1) องค์การแบบเรียบง่าย

(2) องค์การแบบระบบราชการ

(3) องค์การแบบแมทริกซ์

(4) องค์การแบบเครือข่าย

(5) องค์การแบบผสม

ตอบ 4 หน้า 126 – 127 Goldsmith และ Eggers ได้แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การ แบบเครือข่ายออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1 เครือข่ายแบบการทําสัญญาในการให้บริการ
2 เครือข่ายแบบห่วงโซ่อุปทาน
3 เครือข่ายแบบเฉพาะกิจ
4 เครือข่ายแบบตัวแทนการให้บริการ
5 เครือข่ายแบบศูนย์เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ
6 เครือข่ายแบบศูนย์ประสานงานประชาชน

18. คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วยอะไร

(1) ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนความคิด การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การมีวิสัยทัศน์ และการคิด อย่างเป็นระบบ

(2) การให้บริการ เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ การประสานงาน การทํางานเป็นทีม

(3) รูปแบบองค์การ วัฒนธรรมองค์การ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ภาวะผู้นํา

(4) เป้าหมายขององค์การ ค่านิยม กลยุทธ์ โครงสร้าง และวัฒนธรรม

(5) สภาพแวดล้อมภายในองค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

ตอบ 3 หน้า 131 คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วย 4 ลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 รูปแบบองค์การที่ไม่มีขอบเขต การมีทีมงานที่ดี และการเอื้ออํานาจ
2 วัฒนธรรมองค์การ เน้นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องเปิดเผย คํานึงถึงเวลา และถูกต้อง
4 ภาวะผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

19. องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะอย่างไร

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(2) ช่วงการควบคุมกว้าง

(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน

(4) ความเป็นทางการสูง

(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ

ตอบ 4 หน้า 132 – 134 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 มีสายการบังคับบัญชามาก
2 ช่วงการควบคุมแคบ
3 มีระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก
4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวดิ่ง
5 มีความเป็นทางการสูง
6 รวมศูนย์อํานาจในการบริหารและตัดสินใจ
7 มีสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อนและคงที่
8 มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ฯลฯ

20. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแบบมีชีวิต (Organic Organization)

(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(2) ช่วงการควบคุมกว้าง

(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน

(4) ความเป็นทางการสูง

(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ

ตอบ 4 หน้า 133 – 134, (คําบรรยาย) องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงมาก
2 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
3 เน้นโครงสร้างแนวราบ
4 ขอบข่ายหรือช่วงการควบคุมกว้าง
5 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
6 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย
7 มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย
8 มีความเป็นทางการน้อย
9 กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

21. การบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบตามความหมายของอุทัย เลาหวิเชียร หมายถึง:

(1) เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับควบคุมบุคคล

(2) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับบุคคล

(3) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ

(4) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

(5) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์การ

ตอบ 1 หน้า 151 อุทัย เลาหวิเชียร ได้สรุปสาระสําคัญของการบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบ ไว้ดังนี้ 1. เป็นแนวการศึกษาที่เกี่ยวกับกระบวนการบริหารงาน ซึ่งประกอบด้วย การสรรหา การคัดเลือก การสอบ การเลื่อนขั้น เป็นต้น 2. ให้ความสําคัญกับการบริหารงานบุคคลภายในองค์การ โดยมองข้ามการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ 3. เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับการควบคุมบุคคล

22. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มอร์แกน (Morgan) นํามาใช้ในการจัดโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์:

(1) สิ่งแวดล้อม

(2) กลยุทธ์

(3) สายการบังคับบัญชา

(4) เทคโนโลยี

(5) คน/วัฒนธรรม

ตอบ 3 หน้า 135 – 136 มอร์แกน (Morgan) ได้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่มอร์แกนนํามาพิจารณาในการวิเคราะห์และจัดโครงสร้างองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้างองค์การ และการจัดการ

23. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PEST หรือ STEP:

(1) สภาพการเมือง

(2) เศรษฐกิจ

(3) บุคลากร

(4) สังคมและวัฒนธรรม

(5) เทคโนโลยี

ตอบ 3 หน้า 155 ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PEST หรือ STEP ประกอบด้วย 1. สภาพการเมือง (Political) 2. เศรษฐกิจ (Economic) 3. สังคม (Social) 4. เทคโนโลยี (Technological)

24. ปัจจัยทางการบริหารที่ถือว่ามีความสําคัญและเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้วก็ไม่สามารถทํางานได้ คือ:

(1) คน (Men)

(2) เงิน (Money)

(3) วัสดุอุปกรณ์ (Material)

(4) การจัดการ (Management)

(5) ขวัญกําลังใจ (Morale)

ตอบ 1 หน้า 154 – 155 ปัจจัยทางการบริหารที่เรียกว่า 4 M’s ประกอบด้วย คน (Men), เงิน (Money), วัสดุอุปกรณ์ (Material) และการจัดการ (Management) โดยปัจจัยเรื่องคน (Men) ถือว่ามีความสําคัญมากที่สุดและเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้วก็จะไม่สามารถทํางานได้

25. กฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ที่ใช้ในประเทศไทย คือ:

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472

(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2528

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545

(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

ตอบ 1 หน้า 167, (คําบรรยาย) กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ที่ใช้ในประเทศไทย ฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472 ส่วนในปัจจุบัน คือ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

26. ปัจจุบันประเทศไทยใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล คือ

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545

(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2550

(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2560

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ (คำบรรยาย) กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ที่ใช้ในประเทศไทย ฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472 ส่วนในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

27. ข้อใดคือขั้นตอนที่จัดว่าสำคัญที่สุดในการบริหารงานบุคคลในภาครัฐ

(1) ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนทรัพยากรบุคคล

(2) ขั้นตอนที่ 2 การได้มาซึ่งบุคลากร การโอนย้าย และการแต่งตั้ง

(3) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาบุคลากร

(4) ขั้นตอนที่ 4 การใช้ประโยชน์จากบุคลากร

(5) ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน

ตอบ 1 หน้า 163, 171 – 172 (คำบรรยาย) การวางแผนทรัพยากรบุคคล จัดว่าเป็นขั้นตอน และเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ โดยเป็นการวางแผนดำเนินงาน เพื่อเตรียมบุคลากรให้เหมาะสมกับงานและเวลา รวมทั้งพัฒนากำลังคนให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบ เช่น ปริมาณงาน ปริมาณบุคลากร ตลาดแรงงาน ลักษณะงาน เป็นต้น การวางแผนทรัพยากรบุคคลผิดพลาด จะทำให้องค์การเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การว่างงาน การจ้างคนไม่เหมาะสมกับงาน การหมุนเวียน เข้าออกจากงานสูง เป็นต้น

28. แนวคิดของแมคคินซี (McKinsey) ประกอบด้วย

(1) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง ระบบงาน การจัดการ ท่วงทำนองการบริหาร ทักษะ

(2) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง ระบบงาน การจัดการ สไตล์การทำงาน ทักษะ

(3) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง องค์การ การจัดการ สไตล์การทำงาน ทักษะ

(4) กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ โครงสร้าง องค์การ การจัดการ ท่วงทำนองการบริหาร ทักษะ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 154 (คำบรรยาย) กรอบแนวคิด 7s ของแมคคินซี (McKinsey) ประกอบด้วย Strategy (กลยุทธ์), Shared Value (วิสัยทัศน์ร่วม), Structure (โครงสร้าง), System (ระบบงาน), Staffing (การจัดบุคลากร), Style (ท่วงทำนองการบริหาร) และ Skill (ทักษะ) ซึ่ง 5 ที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับเรื่องบุคลากรมี 35 คือ Staffing, Style และ Skill

29. ตำราเรียนที่ใช้เป็นหนังสือหลักในการสอนวิชาการบริหารงานบุคคลมากเป็นของใคร

(1) Nicholas Henry

(2) Herbert Simon

(3) O. Glenn Stahl

(4) Mary Parker Follet

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 151 ตำราเรียนของ O. Glenn Stahl ถือเป็นหนังสือหลักที่ใช้สอนวิชาการบริหารงานบุคคลในทุกยุคทุกสมัย

30. องค์กรกลางที่ทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย คือ

(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(2) คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(3) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย

(4) คณะกรรมการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย

(5) คณะกรรมการจัดการบุคคลในมหาวิทยาลัย

ตอบ 3 หน้า 158 – 159 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรกลางที่ทำหน้าที่กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่การกำหนดตำแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัย การลงโทษ และการให้บุคลากรพ้นจากราชการ ดังนั้น คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจึงเป็น “ต้นแบบ” ให้แก่องค์กรกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายปกครอง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ฯลฯ ในการกำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล

31. “เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” วัดโดย

(1) GDP

(2) อัตราการออม

(3) อัตราเงินเฟ้อ

(4) ประสิทธิภาพการผลิต

(5) รายได้เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอาชีพ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐ มีดังนี้
1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
2 การกระจายทรัพยากร (Distribution Function) วัดจากรายได้เปรียบเทียบ อัตราการใช้จ่าย อัตราการออม มูลค่าการใช้จ่ายของภาคเอกชน
3 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization Function) วัดจากอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
4 การบริหารจัดการ (Management Function) วัดจากประสิทธิภาพการผลิต

32. อัตราเงินเฟ้อ เป็นตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐในเรื่อง

(1) Allocation Function

(2) Distribution Function

(3) Stabilization Function

(4) Management Function

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33. ผลกระทบจากการที่ “รัฐมีเศรษฐกิจที่ดี”

(1) รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้น

(2) ข้าราชการว่างงานมากขึ้น

(3) อัตราการว่างงานต่ำ

(4) ความเหลื่อมล้ำในสังคมลดลง

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 270, (คําบรรยาย) สภาวะเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อการบริหารองค์การภาครัฐ หากรัฐมีเศรษฐกิจที่ดี จะะส่งผลให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น ประชาชนมีอัตราการว่างงานต่ํา ในทางกลับกัน ถ้ารัฐมีเศรษฐกิจที่ไม่ดี จะส่งผลให้รัฐมีรายได้น้อยลง ประชาชนมีอัตราการว่างงานมากขึ้น

34. GDP เป็นตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐในเรื่องใด

(1) Allocation Function

(2) Distribution Function

(3) Stabilization Function

(4) Management Function

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

35. “ตัวอย่างของภาษีที่เก็บจากเงินได้” (Income Base) ได้แก่

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

(3) ภาษีสุรา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (หน้า 217, คำบรรยาย) การจำแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (Income Base) เป็นการนำเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล
2 ภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย (Consumption Base) เป็นการนำเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการใช้จ่าย ภาษีสรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ) ภาษีศุลกากร เป็นต้น
3 ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน (Wealth Base) เป็นการนำเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมรดก ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

36. “ตัวอย่างของภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย” (Consumption Base) ได้แก่

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

(3) ภาษีสุรา

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

37. “การแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวดและมีการกำหนดรายการค่าใช้จ่าย” เป็นลักษณะของงบประมาณระบบใด

(1) Line-Item Budget

(2) Tradition Budget.

(3) Performance Budget

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (หน้า 228, 237, คำบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการหรืองบประมาณแบบดั้งเดิม (Line-Item Budget or Tradition Budget) เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมการใช้จ่าย หรือการใช้ทรัพยากร การจัดเตรียมงบประมาณจึงมีลักษณะที่ค่อนข้างละเอียด โดยจะมีการแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวดและมีการกำหนดรายการค่าใช้จ่าย จึงทำให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณไม่สามารถนำเงินงบประมาณไปใช้จ่ายในรายการอื่นได้ ดังนั้นระบบงบประมาณแบบแสดงรายการจึงป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตในหน่วยงาน

38. การยกเลิก “ภาษีปากเรือ” เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 2

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 214 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศอังกฤษได้ส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับไทย โดยสนธิสัญญาได้ระบุให้ไทยยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ ที่เก็บตามสัญญาฉบับปี พ.ศ. 2369 และให้เก็บภาษีขาเข้าแทนในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของสินค้าเท่านั้น ซึ่งผลของสนธิสัญญาฉบับนี้ได้ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก

39. ภาษีในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจัดเก็บเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ ส่วย ……ที่หายไปอีกสองชนิด ได้แก่

(1) ฤชา และขนอน

(2) ขนอน และอากร

(3) อากร และฤชา

(4) เครื่องบรรณาการ และอากร

(5) ฤชา และเครื่องบรรณาการ

ตอบ 3 หน้า 214, (คำบรรยาย) การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ส่วยสาอากร” แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1 จังกอบ คือ ภาษีชนิดหนึ่ง เช่น ภาษีปากเรือ
2 อากร คือ ค่าธรรมเนียมที่รัฐเก็บจากสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติหรือสิ่งที่สร้างขึ้น เช่น อากรรังนกนางแอ่น อากรมหรสพ
3 ส่วย คือ ของที่เรียกเก็บจากท้องถิ่นพื้นเมืองเพื่อเป็นค่าภาคหลวง เช่น เงินช่วยเหลือราชการ
4 ฤชา คือ เงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานไพร่ที่ผู้ครอบครองไพร่ทดแทนให้หลวง

40. “หอรัษฎากรพิพัฒน์” เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 2

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระพุทธเจ้าหลวงหรือรัชกาลที่ 5) ทรงโปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ในปี พ.ศ. 2416 ด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ
1 เจ้าภาษีนายอากรมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
2 อำนาจในการจัดเก็บภาษีอากรอยู่ในอัตวิสัยของเจ้านายบางคน
3 ระบบบัญชีของกรมพระยาคลังไม่เป็นระบบระเบียบ
4 เกิดวิกฤติเงินแผ่นดินไม่พอใช้ในราชการ

41. “ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม” เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 2

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 215, (คำบรรยาย) ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 9 โดยรัฐบาลได้นำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้ในการจัดเก็บแทนภาษีการค้าที่มีปัญหาการจัดเก็บที่ซ้ำซ้อนไม่เป็นธรรม และไม่สนับสนุนต่อภาคการส่งออกของประเทศ

42. สภาพแวดล้อมเฉพาะ ได้แก่

(1) ลูกค้า

(2) คู่แข่งขัน

(3) แรงงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อ การบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ

2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบ โดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จําเป็นในการดําเนินงาน สําหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจําเป็นสําหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า/ ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร (ข้าราชการ/พนักงานราชการ) งบประมาณ วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหาร ความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้

43. ทุกข้อเป็นสาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย ยกเว้น

(1) การกีฬา

(2) ความไม่รู้ รู้เท่าไม่ถึงการณ์

(3) การลดลงของประชากร

(4) ความเจริญทางวิทยาศาสตร์

(5) การสร้างเขื่อน

ตอบ 3 หน้า 275 – 276, 282 – 283 สาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย มีดังนี้
1 การเพิ่มของประชากร
2 การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
3 ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4 การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ํา ถนน
5 การกีฬา เช่น การยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์
6 สงคราม
7 ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

44. ข้อใดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น ยกเว้น

(1) ดิน

(2) น้ำ

(3) สัตว์ป่า

(4) อากาศ

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 274 – 275 ทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Non-Exhausting Natural Resources) เช่น แสงอาทิตย์ อากาศ ดิน น้ํา เป็นต้น
2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Exhausting Natural Resources) เช่น แร่ธาตุ น้ํามันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น
3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Renewable Natural Resources) เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพรรณ กําลังงานของมนุษย์ เป็นต้น

45. ข้อใดเป็น “ธรรมเนียมประเพณี”

(1) การทักทายด้วยการไหว้ของคนไทย

(2) ประเพณีแห่นางแมว

(3) การเคารพผู้อาวุโส

(4) พิธีการไหว้ครู

(5) ทั้งข้อ 2 และ 4

ตอบ 1 หน้า 268 – 269 ประเพณี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เป็นประเพณีที่มีศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย เช่น การสมรสแบบ ผัวเดียวเมียเดียว การเคารพผู้อาวุโส เป็นต้น
2 ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่มีการกําหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ เช่น การไหว้ครู การแห่นางแมว การจุดบ้องไฟของภาคอีสาน เป็นต้น
3. ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาหรือเป็นบรรทัดฐานที่ปฏิบัติจนเป็นประเพณี เช่น การสวมรองเท้า การดื่มน้ำจากแก้ว การใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร การทักทายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝรั่งจับมือ จีนและญี่ปุ่นโค้งคำนับ คนไทยไหว้ เป็นต้น

46. ข้อใดเป็นลักษณะของ “วัฒนธรรม”

(1) เป็นมรดกทางสังคม

(2) เป็นวิถีชีวิต

(3) เป็นสิ่งไม่คงที่

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 267 ลักษณะของวัฒนธรรม มีดังนี้
1 เป็นสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
2 เป็นมรดกทางสังคม
3 เป็นวิถีชีวิตหรือแบบของการดำรงชีวิต
4 เป็นสิ่งที่ไม่คงที่

47. เทคโนโลยีที่มีลักษณะของ Process and Product ได้แก่

(1) E-Bidding

(2) Machine

(3) Computer System

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 270 เทคโนโลยี สามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1 เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (Process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนําไปสู่ผลในทางปฏิบัติ
2 เทคโนโลยีในลักษณะของการผลิต (Product) หมายถึง วัสดุอุปกรณ์และอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3 เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลิต (Process and Product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) ซึ่งมีการทํางานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม

48. “คนไทยใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร” จัดเป็นประเพณีแบบใด

(1) จารีตประเพณี

(2) กฎศีลธรรม

(3) ธรรมเนียมประเพณี

(4) ขนบประเพณี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

49. องค์การใดทําหน้าที่ “พิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน”

(1) ศาลยุติธรรม

(2) ศาลปกครอง

(3) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(4) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ตอบ 2 หน้า 186 – 187 ตามรัฐธรรมนูญศาลไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1 ศาลรัฐธรรมนูญ ทําหน้าที่พิจารณาความขัดแย้งระหว่างกฎหมายต่าง ๆ กับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างบทบาทหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
2 ศาลยุติธรรม ทําหน้าที่พิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนในกรณีต่าง ๆ
3 ศาลปกครอง ทําหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน และระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง
4 ศาลทหาร ทําหน้าที่พิจารณาคดีอาญาทหาร และคดีทหารอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกําหนด

50. แนวคิดในการควบคุมแบบใดเกิดก่อนแบบอื่น ๆ

(1) การควบคุมผลลัพธ์

(2) การควบคุมผลผลิต

(3) การควบคุมปัจจัยนำเข้า

(4) การควบคุมโดยผู้บริโภค

(5) การควบคุมกระบวนการ

ตอบ 3 หน้า 177, 205 – 206, (คำบรรยาย) แนวคิดในการควบคุมตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 ให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยนำเข้า โดยพิจารณาที่ความถูกต้องของการจัดสรรทรัพยากรขององค์การให้ตรงตามมาตรฐานและกฎระเบียบที่กำหนด ยุคที่ 2 ให้ความสำคัญกับการควบคุมกระบวนการทำงาน โดยพิจารณาความสำเร็จไปที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ยุคที่ 3 (ยุคปัจจุบัน) ใช้วิธีการตามยุคที่ 1 และ 2 และให้ความสำคัญกับการควบคุมผลผลิต และผลลัพธ์ รวมทั้งให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบ

51. “ความสามารถของผู้บริหาร” เป็นกลไกการควบคุมระดับใด

(1) กลไกภายในหน่วยราชการ

(2) กลไกภายนอกหน่วยราชการ

(3) กลไกตามรัฐธรรมนูญ

(4) กลไกจุลภาค

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 175, 200 – 233 กลไกการควบคุมภายในหน่วยงานราชการ ประกอบด้วย นโยบาย แผนงาน โครงการ วิธีปฏิบัติงาน คำสั่งและรายงาน ระบบการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน คู่มือ กฎ ระเบียบ วินัยและบทลงโทษ ระบบการติดตามประเมินผล ความสามารถของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ระบบการประกันคุณภาพ เทคโนโลยีขององค์กร เป็นต้น

52. ที่กล่าวว่า “งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม” หมายความว่า

(1) การใช้จ่ายของหน่วยราชการต้องมีกฎหมายรองรับและเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณ

(2) ผู้บริหารสามารถกำหนดการใช้จ่ายตามที่เห็นสมควร

(3) รายรับของรัฐเป็นตัวกำหนดรายจ่าย

(4) เงินเป็นสิ่งจูงใจในการทำงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 184, 205 – 206, (คำบรรยาย) งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม หมายถึง 1. งบประมาณเป็นกฎหมาย และการใช้จ่ายเงินของรัฐหรือหน่วยราชการต้องมีกฎหมายรองรับและเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณ 2. งบประมาณเป็นแผนการบริหารที่แสดงโครงการในการดำเนินงาน แสดงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ แสดงจำนวนเงินที่ต้องการใช้ ตลอดจนแสดงจำนวนบุคลากรและทรัพยากร ในการสนับสนุนการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ 3. งบประมาณเป็นทรัพยากรในการบริหาร ซึ่งจะต้องมีการใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

53. ตัวอย่างของนโยบายการบริหารจัดการภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุม ได้แก่

(1) การพัฒนาระบบงบประมาณ

(2) นโยบายการพัฒนาบุคลากร

(3) การจัดวางระบบติดตามประเมินผล

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 นโยบายการบริหารจัดการภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุมตรวจสอบ ได้แก่:
1 การพัฒนาระบบงบประมาณ
2 การพัฒนาบุคลากร
3 การจัดวางระบบการติดตามประเมินผล
4 ระบบประกันคุณภาพขององค์การ

54. ข้อใดเป็นการควบคุมตรวจสอบโดย “รัฐสภา”

(1) บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดิน

(2) บทบาทของศาลปกครอง

(3) การออกกฎหมาย

(4) การตรวจเงินแผ่นดิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ: (3) หน้า 187 – 188 การควบคุมตรวจสอบโดย “รัฐสภา” ได้แก่
1 การพิจารณาออกกฎหมายประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้ใน กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2 การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจําปีของส่วนราชการต่าง ๆ ตามวิธีการที่กฎหมายกําหนด
3 การตั้งกระทู้และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
4 การตั้งคณะกรรมาธิการติดตามการปฏิบัติงาน

55. การควบคุม หมายถึง

(1) การตรวจสอบประสิทธิภาพ

(2) การตรวจสอบวิธีปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ

(3) การเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ: (5) หน้า 178 – 179 การควบคุม หมายถึง
1 การตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
2 การตรวจสอบวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ และขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
3 การตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงานหรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
4 กระบวนการของการออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับ การใช้อํานาจหน้าที่สั่งการ ตลอดจน การตรวจสอบเปรียบเทียบ เพื่อที่จะให้องค์การสามารถปฏิบัติการต่อไปได้

56. ขั้นตอนสุดท้ายของการควบคุม ได้แก่

(1) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน

(2) การปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

(3) การกําหนดวิธีการในการวัดความสําเร็จ

(4) การกําหนดมาตรฐานในการทํางาน

(5) การรับเรื่องราวร้องทุกข์

ตอบ: (2) หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน
2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน
3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้
4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

57. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของ “คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน”

(1) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

(2) เป็นต้นเรื่องในการตรวจสอบคดีทุจริต

(3) ทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินให้กับส่วนราชการ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 186, 206 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา ทำหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชี หน่วยงานภาครัฐ ติดตามประเมินผลการดําเนินงาน กํากับตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี รวมทั้งเป็นต้นเรื่องในการตรวจสอบคดีทุจริต การใช้จ่ายเงิน

58. ข้อใดจัดเป็นระบบการประกันคุณภาพขององค์การ

(1) มาตรฐาน ISO

(2) เกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด

(3) มาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้าง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 202 ระบบการประกันคุณภาพขององค์การ เกิดจากแนวคิดในการพัฒนาองค์การ ที่ให้ความสําคัญต่อลูกค้าขององค์การ การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค การบริหารจัดการ ที่เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ การคํานึงถึงความเป็นสถาบันขององค์การในระยะยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทําให้องค์การมีการจัดตั้งฝ่ายประกันคุณภาพขึ้นเป็นแผนกหนึ่งขององค์การ และมีการนําระบบการประกันคุณภาพเข้ามาใช้ เช่น มาตรฐาน ISO มาตรฐาน HA (กรณี โรงพยาบาล) มาตรฐาน สมศ. (กรณีสถาบันการศึกษา) นอกจากนี้องค์การของรัฐทั้งหลาย ยังต้องรับข้อกําหนดต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นําเสนอ รวมถึงข้อกําหนดตามกฎหมาย เช่น พ.ร.บ. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เป็นต้น

59. ข้อใดมิใช่หน่วยงานอิสระที่บัญญัติขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2550

(1) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(2) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(3) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(4) ศาล

(5) องค์กรอัยการ

ตอบ 1 หน้า 186, 192, (คําบรรยาย) หน่วยงานหรือองค์กรอิสระที่บัญญัติขึ้นตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ สํานักงานคุ้มครองผู้บริโภค ศาล องค์กรอัยการ คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น

60. ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ระดับการนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรต่าง ๆ ในองค์การเปลี่ยนไป

(2) ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดําเนินการของหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกร้องให้ได้รับการเยียวยาแก้ไข

(3) เป้าหมายสุดท้ายของการควบคุมตรวจสอบคือการทําให้หน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนด

(4) กลไกภายในเกี่ยวกับการควบคุม ประกอบด้วย ข้อกําหนดทั้งหลายที่กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้

(5) นโยบายและแผนขององค์การเป็นเสมือนเข็มทิศที่กํากับทิศทางการดําเนินงาน

ตอบ 4 หน้า 176 – 178, 183, 203 “กลไกภายนอก” ที่เกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบหน่วยงาน มี 2 ประเภท คือ
1 การควบคุมตรวจสอบโดยหน่วยงานกลางในการบริหารราชการ เช่น สํานักงบประมาณ สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน เป็นต้น
2 การควบคุมตรวจสอบที่เกิดจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกลไกการควบคุมเพื่ออํานวย ความยุติธรรมและเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เช่น แนวนโยบายแห่งรัฐ และข้อกําหนดทั้งหลายที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบาทของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา บทบาทของศาล ในกระบวนการยุติธรรม การตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น (ดูค่าอธิบายข้อ 51. ประกอบ)

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Thomas R. Dye

(2) Ira Sharkansky

(3) David Easton

(4) James Anderson

(5) Theodore Lowi

61. ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะคือสิ่งที่รัฐเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

ตอบ 1 หน้า 73 Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาล เลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา

62. ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย

ตอบ 3 หน้า 74 David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจง คุณค่าต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม

63. ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดการบริการสาธารณะ

ตอบ 2 หน้า 74 Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาล กระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น

64. ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

ตอบ 4 หน้า 73 James Anderson กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาล กระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น

65. ใครเกี่ยวข้องกับการจําแนกประเภทของนโยบายสาธารณะ

ตอบ 5 หน้า 76, (คําบรรยาย) Theodore Lowi ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตาม เนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)
2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)
3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy)

66. ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) Harold Lasswell นโยบายเกี่ยวข้องกับแผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น

(2) Thomas R. Dye นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทําหรือไม่ทํา

(3) Theodore Lowi เป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(4) David Easton เกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 74, (คําบรรยาย) Harold Lasswell ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับ Abraham Kaplan ว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ

ตั้งแต่ข้อ 67 – 71. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Economic Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Administrative Policy

67. นโยบายการปฏิรูประบบราชการ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 5 หน้า 77, (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรอง ที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลัง โครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

68. นโยบายการมีถนนแยกเล่นไปสู่ทุกจังหวัด เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 76, (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็น นโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไป โดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเล่นไปสู่ทุกจังหวัด นโยบายการลดราคาน้ํามันเบนซิน โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ําประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

69. นโยบายกองทุนหมู่บ้าน เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างรายได้และการกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน อะไรที่ได้มาซึ่งรายได้หรือรายจ่าย และเมื่อจ่ายไปแล้วก็จะมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทําให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายจ่ายเงินให้ชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน โครงการธงฟ้าราคาประหยัด โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การพักชําระหนี้ให้เกษตรกร การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นต้น

70. นโยบายจัดระเบียบสังคม เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 1 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเพื่อวางระเบียบ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยอาจอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศต่าง ๆ เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร (เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

71. นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ ในการริเริ่มสร้างสรรค์ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม เช่น นโยบายการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ำลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

72. ทุกข้อเป็นบทบาทของ E-Learning ยกเว้น

(1) ช่วยให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนได้ตลอดเวลา

(2) ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและเพื่อน

(3) ช่วยให้เกิดการทำธุรกรรมในการบริการได้อย่างกว้างขวาง

(4) ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(5) เป็นบทบาทของ E-Learning ทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 312 บทบาทของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) มีดังนี้
1 ช่วยจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2ช่วยให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนได้ตลอดเวลา
3 ช่วยให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนเองได้
4 ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและเพื่อน
5 ช่วยส่งเสริมให้เกิดความรู้ทักษะใหม่ ๆ รวมทั้งเนื้อหามีความทันสมัย และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้อย่างทันที
6 ทำให้เกิดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ฯลฯ

73. การพยากรณ์อากาศ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Information

(2) Interchange Transaction

(3) Integration

(4) Intelligence

(5) Interaction

ตอบ 4 หน้า 310, (คำบรรยาย) ระดับอัจฉริยะ (Intelligence) เป็นการพัฒนาโปรแกรมอัจฉริยะขึ้นในระบบ โดยเว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถเรียนรู้พฤติกรรมของประชาชนที่มาใช้บริการ โดยสามารถเลือกรูปแบบข้อมูลที่ตนต้องการ หรือข้อมูลที่ประชาชนสนใจเรื่องเดียวกัน เช่น ราคายาง หรือราคาข้าว สามารถรับข้อมูลได้ทันที และสามารถพัฒนาไปถึงการทำนายหรือการพยากรณ์ เช่น การพยากรณ์อากาศ หรือการป้องกันอุบัติภัยต่าง ๆ ในอนาคตได้

74. การชำระภาษีออนไลน์ เป็นประเภทของการให้บริการแบบใด

(1) G2C

(2) G2G

(3) G2F

(4) G2E

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 308 G2C (Government to Citizen) คือ การให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชําระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียง และการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดําเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น

75. การศึกษาปฏิกิริยาเคมีของกัมมันตภาพรังสี เป็นเทคโนโลยีในด้านใด

(1) Material Technology

(2) Bio Technology

(3) Energy Technology

(4) Nano Technology

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 292, (คําบรรยาย) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีพลังงาน (Energy Technology) เป็น การพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาติที่อยู่ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อนํามาทดแทนทรัพยากรเชื้อเพลิง ที่นับวันจะหมดสิ้นไป ซึ่งพลังงานทดแทนอาจได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ํา คลื่นในมหาสมุทร ทรัพยากรใต้น้ํา ปฏิกิริยาทางเคมีของสารกัมมันตภาพรังสี รวมถึง สารให้พลังงานอื่น ๆ จากพืชและสัตว์ การเปลี่ยนพลังงานทดแทนเหล่านี้ให้เป็นพลังงานในรูปแบบ ที่ต้องการจะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยต่าง ๆ เช่น การใช้กังหันลม (Wind Mill) ในการแปลง พลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้า การใช้โซล่าเซลล์ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน ไฟฟ้า เป็นต้น

76. การหาวิธีการรักษาโรคในมนุษย์ เป็นเทคโนโลยีในด้านใด

(1) Material Technology

(2) Bio Technology

(3) Energy Technology

(4) Nano Technology

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 292, (คําบรรยาย) การพัฒนาเทคโนโลยีด้านชีวภาพ (Bio Technology) คือ การนําเอา ความรู้ทางด้านต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง ตามที่มนุษย์ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การจัดการ สิ่งแวดล้อม เช่น การหาวิธีการรักษาโรคในมนุษย์ การศึกษาเซลล์ต้นกําเนิด (Stem Cells) การตัดแต่งพืชพันธุกรรม (GMO) การบําบัดน้ําเสียโดยใช้กังหันชัยพัฒนา เป็นต้น

77. การนําเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลมาใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีในด้านใด

(1) Material Technology

(2) Bio Technology

(3) Energy Technology

(4) Nano Technology

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 293 – 294, (ค่าบรรยาย) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นการนําเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลมาใช้งานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลทําให้เกิดระบบการสื่อสารข้อมูลและข่าวสารที่ไร้พรมแดน ทําให้สามารถติดต่อสื่อสารกัน ได้ง่าย สะดวก และประหยัด รวมทั้งผู้คนสามารถค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่รวบรวมข้อมูล จากทุกมุมโลกได้ง่าย และสะดวก ตัวอย่างของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ เช่น การถ่ายทอดสด ฟุตบอลจากต่างประเทศ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนวังไกลกังวล เป็นต้น

78. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ตามหนังสือ

(1) เครื่องจักร

(2) โปรแกรม

(3) บุคลากร

(4) ข้อมูล

(5) เป็นส่วนประกอบทุกข้อ

79 การที่รัฐบาลให้บริการประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่าอะไร

(1) E-Commerce

(2) E-Education

(3) E-Government

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 305, (คำบรรยาย) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) คือ การที่รัฐบาลนำระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในองค์การภาครัฐเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการและระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกขึ้น เช่น การใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ในการติดต่อราชการ การชำระภาษี การเสียค่าปรับ การร้องเรียน การทำหนังสือเดินทาง ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

80 การจับจ่ายสินค้าทั่วโลกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่าอะไร

(1) E-Commerce

(2) E-Education

(3) E-Government

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 305, (คำบรรยาย) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมทุกรูปแบบซึ่งครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมีช่องทางในการทำธุรกรรมร่วมกันมากขึ้น

81 การสอบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) E-Commerce

(2) E-Education

(3) E-Government

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 306, (คำบรรยาย) การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education) คือ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาศึกษาในสถาบันการศึกษา ตัวอย่างของการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน เช่น การเรียนผ่านระบบ Online หรือการสอบผ่านระบบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น

82 ข้อใดเป็นกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก

(1) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(2) การระงับข้อพิพาท

(3) ยุติธรรมทางอาญา

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15 – 16), (คำบรรยาย) กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งลักษณะสำคัญของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก มีดังนี้
1. มีพื้นฐานจากการใช้อำนาจของรัฐในการควบคุมเพื่อไม่ให้มีการทำผิดกฎเกณฑ์หรือกติกาที่กำหนดไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม
2. รูปแบบในการดาเนินการเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมมีลักษณะเป็นการต่อสู้เพื่อเอาชนะ ระหว่างผู้กระทําความผิดฝ่ายหนึ่ง และรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีผู้เสียหายเป็นตัวประกอบ
3. การอํานวยความยุติธรรมมีลักษณะเป็น “กระบวนการดําเนินงานเชิงคดี” ฯลฯ

83. ข้อใดเป็นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

(1) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(2) การระงับข้อพิพาท

(3) ยุติธรรมทางอาญา

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) เป็นแนวคิดที่ให้ผู้เสียหายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผลการกระทํา อาชญากรรมเป็นศูนย์กลางของกระบวนการยุติธรรม โดยที่รัฐและบุคลากรทางกฎหมาย เป็นเพียงผู้ประสานงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งหรือระงับข้อพิพาท โดยให้ผู้กระทําผิดได้แสดงความรับผิดชอบในการกระทําของเขา และให้ความช่วยเหลือ/ บรรเทาผลร้ายแก่ผู้เสียหาย ซึ่งวิธีการของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ได้แก่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การประนอมข้อพิพาท เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 84 – 86. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิธีระงับข้อพิพาททางเลือก

(1) การประเมินความขัดแย้ง

(2) การประสานความขัดแย้ง

(3) การประนอมข้อพิพาท

(4) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(5) อนุญาโตตุลาการ

84. เป็นกระบวนการที่มีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยเหลือให้คู่ความเจรจาต่อรองกันได้สําเร็จ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ กระบวนการระงับข้อพิพาท ที่มีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยเหลือให้คู่ความเจรจาต่อรองกันได้สําเร็จ ซึ่งกระบวนการนี้ผู้ไกล่เกลี่ย จะเป็นคนกระตุ้นให้คู่ความตกลงกันง่ายขึ้น แต่ไม่มีอํานาจในการกําหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความ

85. เป็นเทคนิคที่ต้องอาศัยความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23) การประนอมข้อพิพาท คือ กระบวนการที่ผู้ประนอม ข้อพิพาทจะพยายามช่วยคู่พิพาทในการแก้ไขความเข้าใจผิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน พยายาม ลดทอนความรู้สึกหวาดระแวงและความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งเทคนิคนี้จะต้องอาศัยความสมัครใจ ของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ

86. มีการตั้งคนกลางขึ้นมาทําหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และผลแห่งข้อวินิจฉัยนี้เรียกว่าเป็นคําชี้ขาด มีผลผูกพันคู่พิพาทให้ต้องปฏิบัติตาม

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26) อนุญาโตตุลาการ เป็นกระบวนการที่มีการตั้งคนกลาง มาทําหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และผลแห่งข้อวินิจฉัยนี้ปรากฏในสิ่งที่เรียกว่าเป็น คําชี้ขาดที่มีผลตามกฎหมายผูกพันคู่พิพาทให้ต้องปฏิบัติตาม

87. ข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่

(1) สะดวก

(2) รวดเร็ว

(3) ประหยัดค่าใช้จ่าย

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 29 – 30), (คำบรรยาย) ข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่:
1 สะดวก
2 รวดเร็ว
3 ประหยัดค่าใช้จ่าย
4 ลดความเครียด
5 รักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่พิพาท
6 สร้างความพึงพอใจต่อคู่พิพาท
7 สร้างความสงบสุขให้กับชุมชน ฯลฯ

88. ข้อจำกัดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่
(1) รักษาสัมพันธ์ภาพระหว่างคู่พิพาท
(2) สร้างความพึงพอใจต่อคู่พิพาท
(3) คู่พิพาทได้เป็นช่องทางประวิงให้เกิดความล่าช้า
(4) สร้างความสุขให้กับชุมชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27), (คำบรรยาย) ข้อจำกัดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่
1. ไม่มีสภาพบังคับ การไกล่เกลี่ยขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคู่พิพาทเป็นสำคัญ
2. คู่พิพาทอาจใช้เป็นช่องทางประวิงเวลาให้คดีเกิดความล่าช้า
3. ผลของการไกล่เกลี่ยไม่สามารถบังคับได้หากกรณีนั้นเกี่ยวกับคำพิพากษา ฯลฯ

89. New Public Service ให้ความสำคัญกับเรื่องใด
(1) การตัดสินใจของการทำงาน
(2) ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
(3) สัญญลักษณ์ของงาน
(4) ประสิทธิภาพการทำงาน
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 2 หน้า 329 – 348, 355 – 357 การจัดการการรัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM)
มีแนวทางแตกต่างจากการบริหารราชการแผนใหม่/การบริหารการรัฐแนวใหม่ (New Public
Service : NPS) หรือการรวมการบริหารการนำเสนอแบบประชาธิปไตย (Democratic Governance
Management) ซึ่งมีลักษณะทางทฤษฎีเด่นชัดในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

1. การจัดการการรัฐแนวใหม่ ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของราชการ การลดขั้นตอน
การทำงาน การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result-Based Management) การจัดการ
ที่เน้นการแข่งขันแบบตลาดธุรกิจ (Market-Based Management) การให้ความสำคัญกับ
เทคโนโลยีการบริหารใหม่ ๆ เพื่อความเป็นเลิศ (Neo-Managerialism) การให้อำนาจกับ
ผู้บริหารเหมือนผู้ประกอบการที่เน้นเจ้าของกิจการเองหรือเรียกว่า การจัดการแบบผู้ประกอบการ
(Entrepreneurial Management) หรือแบบ CEO (CEO Management) เป็นต้น

2. การบริหารราชการแผนใหม่ ให้ความสำคัญกับความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมือง
ในระบอบประชาธิปไตย มนุษย์นิยม การสร้างเครือข่ายทางสังคม ประชาสังคม และชุมชน เป็นต้น

90. ข้อใดเป็นเรื่องของ New Public Service
(1) Democratic Governance Management
(2) Neo-Taylorism Management
(3) Market-Based Management
(4) CEO Management
(5) Entrepreneurial Management

ตอบ 1 ดูคำอธิบายในข้อ 89. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95. จะใช้คำสั่งเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
(2) การก่ออาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต
(3) ไวรัสคอมพิวเตอร์
(4) การสำรองข้อมูลในอารยธรรมคอมพิวเตอร์
(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

91. การส่งไปรษณีย์ขยะ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 หน้า 315 การก่อกวนผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น การส่งไปรษณีย์ขยะ (Junk Mail) หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ขยะ (E-mail) จำนวนมากใส่ตู้จดหมายของผู้ใช้ ทำให้ตู้จดหมายเต็มไปด้วยเรื่องราว ไร้สาระ โฆษณาชวนเชื่อ การใช้โปรแกรมยิงคำสั่งแปลก ๆ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

92. การส่งไฟล์ไปทำลายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ โดยวิธีการเรียกมาใช้งาน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ หน้า 315, (คำบรรยาย) ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีแหล่งที่แพร่กระจายไวรัส คอมพิวเตอร์อยู่มากมาย ทั้งการแพร่กระจายผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การส่ง ไฟล์ไปทำลายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ โดยวิธีการเรียกมาใช้งาน (Download) หรือ การแพร่กระจายจากการเข้าไปเว็บไซต์ (Web Site) ที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์แฝงตัวทำงานอยู่

93. การโฆษณาชวนเชื่อให้ร่วมทำธุรกิจ หรือลงทุนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 1 หน้า 315 การล่อลวงบนอินเทอร์เน็ต เช่น การโฆษณาชวนเชื่อให้ร่วมทำธุรกิจหรือลงทุน ในด้านต่าง ๆ การโฆษณาขายสินค้าที่ไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือ การล่อลวงเด็กและเยาวชน ไปทำอนาจาร ทารุณทางเพศ หรือบังคับค้าประเวณี เป็นต้น

94. การใช้วิธีการต่าง ๆ ในการฝ่าระบบป้องกันภัยเข้าไปทำลายข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 4 หน้า 316 การล้วงข้อมูลโดยจารชนคอมพิวเตอร์ หรือ “แฮกเกอร์” (Hacker) คือ การใช้ วิธีการต่าง ๆ ฝ่าระบบป้องกันภัยหรือรหัสลับบนเครือข่ายเพื่อเข้าไปดูข้อมูล และทำการ เปลี่ยนแปลง หรือนำไปใช้ หรือทำลายข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ที่เข้าสามารถบุกรุกเข้าไปได้ ซึ่งกลุ่มแฮกเกอร์ที่ชอบสร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่นนี้บางครั้งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผู้ทำลาย หรือ “แครกเกอร์” (Cracker)

95. การค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่รวบรวมข้อมูลจากทุกมุมโลก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

96. ผู้เขียน “Reinventing Government” ได้แก่

(1) Thomas Jefferson

(2) Osborne & Gaebler

(3) Frederick W. Taylor

(4) Christopher Pollitt

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 331, 338 – 339, (คำบรรยาย) Osborne and Gaebler ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reinventing Government” ในปี ค.ศ. 1992 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐหรือการเนรมิต ระบบราชการใหม่ด้วยแนวทางและอุดมการณ์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือรัฐบาลแบบ เถ้าแก่ ซึ่งรัฐบาลตามตัวแบบนี้ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ เช่น เป็นรัฐบาลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (Community-Owned Government) รัฐบาลที่มีการแข่งขัน (Competitive Government) รัฐบาลที่ขับเคลื่อนโดยลูกค้า (Customer-Driven Government) รัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Enterprising Government) หรือมีผู้นำแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Leadership) เป็นต้น

97. Thomas Jefferson ให้ความสำคัญกับเรื่องใดในการบริหารราชการ

(1) ประชาธิปไตย

(2) การขยายบทบาทภาครัฐ

(3) การลดบทบาทภาครัฐ

(4) ประสิทธิภาพ

(5) เทคโนโลยี

ตอบ 1 หน้า 326 – 327 โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ถือเป็นผู้วางรากฐานการเมือง และมีอิทธิพลต่อแนวคิดหลักในการบริหารราชการของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยแนวคิดของเจฟเฟอร์สันนั้นได้ให้ความสําคัญกับประชาธิปไตย (Democracy) ในการบริหารราชการ โดยต้องการให้รัฐบาลกระจายอํานาจให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ และต้องการจํากัดอํานาจของฝ่ายบริหารโดยอาศัยกฎหมายและรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด

98. “I AM READY” คืออะไร

(1) ภาวะผู้นํา

(2) นโยบายปฏิรูประบบราชการ

(3) กิจกรรมการปฏิรูประบบราชการ

(4) ค่านิยมใหม่ที่พึงประสงค์ของข้าราชการ

(5) การตอบสนองต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ตอบ 4 หน้า 352 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กําหนดค่านิยมใหม่ที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทยที่เรียกว่า “I AM READY” ประกอบด้วย:
I = Integrity (ทํางานอย่างมีศักดิ์ศรี)
A = Activeness (ขยัน ตั้งใจ ทํางานในเชิงรุก)
M = Morality (มีศีลธรรม คุณธรรม)
R = Relevancy (รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก)
E = Efficiency (มุ่งเน้นประสิทธิภาพ)
A = Accountability (มีความสํานึกรับผิดชอบต่อผลงานและสังคม)
D = Democracy (มีใจและการกระทําที่เป็นประชาธิปไตย)
Y = Yield (มุ่งเน้นผลงาน)

99. ใครเป็นผู้กําหนด “I AM READY”

(1) สํานักงาน ก.พ.

(2) สํานักงาน ก.พ.ร.

(3) คณะรัฐมนตรียุครัฐบาลทักษิณ

(4) Deming นักวิชาการอเมริกัน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

100. ประเทศแรกที่มีการริเริ่มให้มีการปฏิรูประบบราชการด้วย New Public Management ได้แก่

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) ญี่ปุ่น

(5) จีน

ตอบ 1 หน้า 330 – 331, 356 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูประบบราชการของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรกที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูประบบราชการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

 

 

Advertisement