การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น
คำสั่ง: ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. ข้อใดเกี่ยวข้องกับนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher)?
(1) การปฏิรูประบบราชการในนิวซีแลนด์
(2) การจัดการกับปัญหาไฟป่าในออสเตรเลีย
(3) การระงับข้อพิพาทระหว่างยูเครนกับรัสเซีย
(4) ความพยายามแก้ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงอุยกูร์
(5) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอังกฤษ
ตอบ 5 หน้า 330 ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปฏิรูปกิจการภาครัฐทั้งระบบราชการและรัฐวิสาหกิจในประเทศอังกฤษ ภายใต้โครงการปฏิรูปที่เรียกว่า “ขั้นต่อไป” (The Next Step) จนประสบความสำเร็จ ซึ่งสามารถลดขนาดของภาครัฐและลดงบประมาณรายจ่ายในการบริหารงานภาครัฐได้
2. หนังสือของผู้ใดต่อไปนี้ที่นำเสนอถึงแนวทางในการเนรมิตระบบราชการใหม่?
(1) Leonard D. White
(2) Woodrow Wilson
(3) Rishi Sunak
(4) Osborne and Gaebler
(5) Max Weber
ตอบ 4 หน้า 331, 338 – 339, (คำบรรยาย) Osborne and Gaebler ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reinventing Government” ในปี ค.ศ. 1992 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐหรือการเนรมิตระบบราชการใหม่ด้วยแนวทางและอุดมการณ์การจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือรัฐบาลแบบเถ้าแก่ ซึ่งรัฐบาลตามตัวแบบนี้ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ เช่น เป็นรัฐบาลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (Community-Owned Government) รัฐบาลที่มีการแข่งขัน (Competitive Government) รัฐบาลที่ขับเคลื่อนโดยลูกค้า (Customer-Driven Government) รัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Enterprising Government) หรือมีผู้นำแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Leadership) เป็นต้น
3. ข้อใดไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกลไกการบริหารงานภาครัฐ?
(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(2) พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551
(3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
(4) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 352 – 354, (คำบรรยาย) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกลไกการบริหารงานภาครัฐ มีดังนี้ 1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 4. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ฯลฯ
4 ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดีที่สุด
(1) การรวมศูนย์อํานาจ
(2) การแบ่งอํานาจ
(3) การหวงอํานาจ
(4) การกระจายอํานาจ
(5) การรวบอํานาจ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการปกครองตามหลักการกระจายอํานาจ เพื่อให้ท้องถิ่นได้มีอิสระในการดูแลปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมี 5 ประเภท คือ องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
5 ข้อใดไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันที่มีบทบาทในการกําหนดนโยบาย
(1) ฝ่ายนิติบัญญัติ
(2) ฝ่ายการเมือง
(3) ฝ่ายบริหาร
(4) ระบบราชการ
(5) ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ตอบ 5 (คำบรรยาย) สถาบันที่มีบทบาทในการกําหนดนโยบาย ได้แก่ ฝ่ายการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง ระบบราชการ (สถาบันราชการและข้าราชการ) และประมุขของประเทศ
6 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นฝ่ายบริหาร (Executive Branch)
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) วุฒิสภา
(3) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
(4) คณะรัฐมนตรี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คำบรรยาย) อํานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทําหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ
2 ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ทําหน้าที่ในการ บริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย
3 ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทําหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย หน้า 8 – 9
7 ข้อใดสอดคล้องกับระบบอุปถัมภ์ (Patronage System)
(1) การมีสํานึกสาธารณะ
(2) การแต่งตั้งโดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ
(3) การกําหนดหลักเกณฑ์อย่างชัดเจน
(4) การคํานึงถึงเรื่องส่วนตัวมากกว่างาน
(5) การแบ่งงานกันทําตามความถนัด
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) หรืออาจเรียกว่า ระบบเส้นสาย ระบบ พวกพ้อง ระบบเครือญาติ เป็นระบบที่คํานึงถึงเรื่องส่วนตัวมากกว่าเรื่องงานหรือยึดถือ ความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่พวกพ้อง ดังนั้นการคัดเลือกบุคคล เข้าทํางาน การบรรจุแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง ฯลฯ จึงพิจารณาจาก ความเป็นพวกพ้องเป็นสําคัญ ไม่ได้พิจารณาจากความรู้ความสามารถของบุคคล
8 ข้อใดสอดคล้องกับระบบคุณธรรม (Merit System)
(1) การสั่งการจากล่างขึ้นบน
(2) ยึดความรู้ความสามารถเป็นหลักในการพิจารณา
(3) การมีสํานึกสาธารณะ
(4) การช่วยเหลือกันในหมู่พวกพ้อง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ระบบคุณธรรม (Merit System) เป็นวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทํางาน บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง โดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถของบุคคล เป็นสําคัญ โดยไม่คํานึงถึงเหตุผลทางการเมืองหรือความสัมพันธ์ส่วนตัว
9 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง
(1) การสั่งการจากบนลงล่าง (Top-Down)
(2) การแบ่งงานกันทําตามความถนัด
(3) การมีสํานึกสาธารณะ
(4) การรับประโยชน์จากนโยบาย
(5) การวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
ตอบ 3 หน้า 341, (คําบรรยาย) Michael Sandal เห็นว่า ความเป็นพลเมืองแบบประชาธิปไตยนั้น พลเมืองจะคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว มีมุมมองที่กว้างไกลและต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของรัฐ (Public Affairs) มีสํานึกสาธารณะว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และมีความผูกพันในเชิงจริยธรรมกับชุมชนซึ่งร่วมชะตากรรมเดียวกัน
10 ข้อใดต่อไปนี้ที่มีความสัมพันธ์กับสํานักงาน ก.พ.ร.
(1) พัฒนาระบบราชการ
(2) นโยบายการคลัง
(3) การจัดทํางบประมาณ
(4) การปราบปรามการทุจริต
(5) การวางนโยบายด้านการศึกษา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นส่วนราชการ สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 โดยมีหน้าที่ในการริเริ่ม ผลักดัน และเสนอแนะนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการและการพัฒนาระบบราชการผ่านกลไกต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
11 ผู้ใดต่อไปนี้ที่เคยมีบทบาทในการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐในสหรัฐอเมริกา
(1) นายโดนัลด์ ทรัมป์
(2) นายอัล กอร์
(3) นายบารัค โอบามา
(4) นางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์
(5) นายบอริส จอห์นสัน
ตอบ 2 หน้า 331 อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ (Al Gore) ได้มีบทบาทในการปฏิรูปการบริหารงาน ภาครัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีคลินตัน (Clinton) ภายใต้โครงการที่เรียกว่า “การทบทวนการปฏิบัติงานแห่งชาติ” (National Performance Review) โดยมีเป้าหมาย อยู่ที่การบริหารงานในระดับสหพันธรัฐหรือรัฐบาลกลาง และได้มีการออกกฎหมายที่สําคัญ ในการปฏิรูป คือ พระราชบัญญัติการปฏิบัติงานและผลงานรัฐบาล ค.ศ. 1993
12 ข้อใดต่อไปนี้ที่มีความสัมพันธ์กับ Denhardt and Denhardt
(1) Bureaucracy
(2) New Public Governance (NPG)
(3) New Public Service (NPS)
(4) Theory of Needs
(5) I AM READY
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Janet V. Denhardt and Robert B. Denhardt ได้แบ่งพาราไดม์ของ การบริหารรัฐกิจออกเป็น 3 พาราไดม์ คือ 1. การจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Management : OPM) 2. การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) 3. การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service : NPS)
ตั้งแต่ข้อ 13. – 17. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) William F. Willoughby
(2) Thomas R. Dye
(3) Herbert A. Simon
(4) Gareth Morgan
(5) Vincent Ostrom la Elinor Ostrom
13 เป็นผู้กล่าวถึงข้อจำกัดของความมีเหตุผล
ตอบ 3 หน้า 53 Herbert A. Simon ได้อธิบายว่า หลักต่างๆ ของการบริหารประสบกับปัญหาสําคัญ คือ ข้อจำกัดของความมีเหตุผล ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดของบุคคลแต่ละคนใน 3 ประการ ดังนี้ 1. ข้อจำกัดเกี่ยวกับความชํานาญ นิสัย และสัญชาตญาณ 2. ข้อจำกัดเกี่ยวกับค่านิยมและแนวความคิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ 3. ข้อจำกัดเกี่ยวกับความรู้และข้อมูลข่าวสาร
14 เป็นผู้เขียนตําราที่สมบูรณ์เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ
ตอบ 1 หน้า 48, 65, (คําบรรยาย) William F. Willoughby เป็นนักวิชาการที่มีส่วนสําคัญในการ บุกเบิกหรือนําเสนอพาราไดม์หลักของการบริหาร เขาได้เขียนตําราการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ ที่สุดชื่อ “Principles of Public Administration” (1927) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียน ที่สมบูรณ์เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยตําราเล่มนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงแรงผลักดันใหม่ ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่ แน่นอนนั้นเป็นสิ่งที่สามารถค้นพบได้ และนักบริหารสามารถจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในกิจการงาน ของตนได้ถ้าเขาได้เรียนรู้ว่าจะนําหลักต่าง ๆ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
15 เป็นผู้เสนอแนวคิด Public Choice
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Vincent Ostrom และ Etinor Ostrom เป็นผู้เสนอแนวคิดทางเลือกสาธารณะ (Public Choice) ซึ่งเป็นสาขาใหม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ที่สามารถนํามาใช้ในการพัฒนาและ เพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารงานภาครัฐได้ภายใต้กรอบเค้าโครงความคิดการบริหารงาน แบบประชาธิปไตย
16 เป็นผู้กล่าวว่านโยบายสาธารณะหมายถึงสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา
ตอบ 2 หน้า 73 Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาล เลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา
17 เป็นผู้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย
ตอบ 4 หน้า 135 – 136 Gareth Morgan ได้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่ Morgan นํามาพิจารณา ในการวิเคราะห์และจัดโครงสร้างองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้างองค์การ และการจัดการ
18 การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(3) การก่อตัวของนโยบาย
(4) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
(5) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
ตอบ 2 หน้า 88, 108 ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย 1. การกําหนดวัตถุประสงค์ 2. การกําหนดทางเลือก 3. การจัดทําร่างนโยบาย
19 ข้อใดที่มิใช่เงื่อนไขสําคัญของภาษีอากร
(1) การที่รัฐต้องให้ประโยชน์ตอบแทนโดยตรงแก่ผู้ชําระภาษี
(2) เป็นการบังคับจัดเก็บจากรัฐ
(3) เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ
(4) เพื่อนําเงินไปใช้เพื่อกิจการสาธารณะ
(5) เก็บจากผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงเท่านั้น
ตอบ 1. 5 หน้า 216 ภาษีอากร เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ ซึ่งรัฐบังคับจัดเก็บจาก บุคคลผู้มีรายได้เพื่อใช้ในการบริหารประเทศและกิจการสาธารณะ โดยผู้ชําระภาษีจะได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนทางอ้อม เพราะว่ารัฐนําเงินภาษีไปใช้จ่ายในการทํานุบํารุงประเทศ อันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อคนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศ
20. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(1) การได้มาซึ่งบุคลากร
(2) การวางแผนทรัพยากรบุคคล
(3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
(4) การสอบสวนทางวินัย
(5) การพ้นสภาพการเป็นบุคลากร
ตอบ 4 หน้า 163 – 164 การบริหารงานบุคคลภาครัฐ ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญ 6 ขั้นตอน คือ
1 การวางแผนทรัพยากรบุคคล
2 การได้มาซึ่งบุคลากร การโอนย้ายและแต่งตั้ง
3 การพัฒนาบุคลากร
4 การใช้ประโยชน์จากบุคลากร
5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
6 การพ้นสภาพการเป็นบุคลากร
21. คณะกรรมการชุดใดมีหน้าที่ในการบริหารงานบุคคล
(1) สตง.
(2) ป.ป.ช.
(3) ก.พ.
(4) กกต.
(5) สตช.
ตอบ 3 หน้า 159 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ในการบริหารงาน บุคคล โดยทําหน้าที่กําหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่ การกําหนดตําแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตําแหน่ง การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัย การลงโทษ และการให้บุคลากรพ้นจาก ราชการ
22. การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(3) การก่อตัวของนโยบาย
(4) การประเมินผลนโยบาย
(5) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 87 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย
1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน
2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา
3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ
4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา
23. การส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ เป็นนโยบายด้านใด
(1) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม
(2) นโยบายด้านการศึกษา
(3) นโยบายด้านสาธารณสุข
(4) นโยบายด้านกีฬาและนันทนาการ
(5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ
ตอบ 2 หน้า 91 – 92 นโยบายด้านการศึกษา มีดังนี้
1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ
3 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี
4 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ ฯลฯ
ตั้งแต่ข้อ 24-25. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) Policy Formation (การกำหนดนโยบาย)
(2) Policy Formulation (การร่างนโยบาย)
(3) Policy Adoption (การนำนโยบายไปใช้)
(4) Policy Implementation (การนำนโยบายไปปฏิบัติ)
(5) Policy Evaluation (การประเมินนโยบาย)
24. คำถาม: การตีความหรือแปลงนโยบายอยู่ในขั้นตอนใดของนโยบาย?
ตอบ: (4) Policy Implementation (การนำนโยบายไปปฏิบัติ)
คำบรรยาย: หน้า 89 ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ประกอบด้วย:
1 การส่งต่อนโยบาย
2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ
3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย
4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ
5 การจัดระบบสนับสนุน
6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน
25. คำถาม: การกําหนดเกณฑ์ชี้วัดและวิธีตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมินอยู่ในขั้นตอนใดของนโยบาย?
ตอบ: (5) Policy Evaluation (การประเมินนโยบาย)
คำบรรยาย: หน้า 90 ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย:
1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
2 การกําหนดเกณฑ์ชี้วัดและวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน
3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน
4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนโยบาย
ตั้งแต่ข้อ 26-27. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม
(2) นโยบายด้านการศึกษา
(3) นโยบายด้านสาธารณสุข
(4) นโยบายด้านแรงงาน
(5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ
26. คำถาม: การแก้ไขปัญหาความยากจน จัดสรรที่ดินทํากินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย เป็นนโยบายด้านใด?
ตอบ: (1) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม
คำบรรยาย: หน้า 95-96, (คําบรรยาย) นโยบายด้านสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีดังนี้:
1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดสรรที่ดินทํากินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและรายได้
2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
3 สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ในกลุ่มผู้สูงอายุ
4 ส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ เช่น ส่งเสริมให้ผู้พิการได้รับกายอุปกรณ์ ฯลฯ
27. คำถาม: การพัฒนาและยกระดับจิตใจ เป็นนโยบายด้านใด?
ตอบ: (5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ
คำบรรยาย: หน้า 95, (คําบรรยาย) นโยบายด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม มีดังนี้:
1 ส่งเสริมการทํานุบํารุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน
2 ส่งเสริมสถาบันศาสนาทุกศาสนาให้มีบทบาทในการเผยแผ่หลักคําสอนที่ดีงาม ปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต จิตใจ และพัฒนาสังคมให้มีความสามัคคี ปรองดอง และยั่งยืน
3 สนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะ ที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน ฯลฯ
คำถาม: ตั้งแต่ข้อ 28-33. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) Robert T. Golembiewski
(2) Woodrow Wilson
(3) Herbert A. Simon
(4) Thomas S. Khun
(5) Luther H. Gulick
28 ใครเป็นผู้เสนอความเห็นว่าพาราไดม์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ?
ตอบ 1 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 75 – 76) Robert T. Golembiewski ได้เสนอความเห็นว่าพาราไดม์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และวิชาการบริหารรัฐกิจก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดขึ้นมาในรูปของพาราไดม์เบ็ดเสร็จ แต่ควรจะกำหนดขึ้นมาในรูปของมินิพาราไดม์หลาย ๆ มินิพาราไดม์จะดีกว่า
29 ใครเป็นผู้วิจารณ์ว่าหลักการบริหารรัฐกิจเป็นเพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร?
ตอบ 3 หน้า 52 Herbert A. Simon ได้เสนอความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Proverbs of Administration” (1946) ว่า หลักต่างๆ ของการบริหารรัฐกิจที่ได้กำหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้ก็เพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร
30 ใครเขียนบทความเสนอว่าการบริหารรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ?
ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คำบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจ เป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกำเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจาก นักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย
31 ใครเสนอว่าหัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ 7 ประการ โดยสรุปเป็นคำย่อว่า POSDCORB?
ตอบ 5 หน้า 49 – 50, 64 – 65, (คำบรรยาย) Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ได้เสนอว่า หน้าที่สำคัญของหัวหน้าฝ่ายบริหารมี 7 ประการ โดยสรุปเป็นคำย่อว่า POSDCORB ซึ่งประกอบด้วย 1. P = Planning (การวางแผน) 2. O = Organizing (การจัดองค์การ) 3. S = Staffing (การจัดบุคคลเข้าทำงาน) 4. D = Directing (การอำนวยการ) 5. Co = Coordinating (การประสานงาน) 6. R = Reporting (การรายงานผลการปฏิบัติงาน) 7. B = Budgeting (การจัดทำงบประมาณ)
32 ใครเป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่ความคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm)?
ตอบ 4 หน้า 43 – 44, 64 – 65 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิด เกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” เขาได้อธิบาย ไว้ว่า พาราไดม์ หมายถึง ผลสำเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการ คือ 1. เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้หันเหจากกิจกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ที่มีลักษณะแข่งขันกัน โดยหันมายอมรับร่วมกันว่าผลสำเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นพื้นฐาน สำหรับการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 2. เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง รุ่นใหม่ ๆ ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ กันต่อไป
33 ใครเป็นต้นกำเนิดแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน?
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ
34 Personnel Administration หมายถึงข้อใด?
(1) การบริหารรัฐกิจ
(2) การบริหารธุรกิจ
(3) การบริหารงานบุคคล
(4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์
(5) การบริหารคน
ตอบ 3 หน้า 148 การบริหารงานบุคคล ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า “Personnel Administration” หรือ “Personnel Management” ซึ่งหากจะให้มีความหมายว่าเป็นการบริหารงานบุคคล ในระบบราชการหรือภาครัฐโดยเฉพาะก็จะใช้คำว่า “Public Personnel Administration” และหากจะให้มีความหมายเฉพาะถึงการบริหารงานบุคคลในภาคธุรกิจเอกชนก็จะใช้คำว่า Business Personnel Management”
35. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางการบริหารที่เรียกว่า 4 M’s
(1) Material
(2) Money
(3) Management
(4) Man
(5) Monarchy
ตอบ 5 หน้า 154 ปัจจัยทางการบริหารที่เรียกว่า 4 M’s ประกอบด้วย 1. คน (Man) 2. เงิน (Money) 3. วัสดุอุปกรณ์ (Material) 4. การจัดการ (Management)
36 – 42. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) หลักธรรมาภิบาล
(2) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(3) การบริการสาธารณะแนวใหม่
(4) ทฤษฎีต้นทุนทางธุรกรรม
(5) หลักการกลไกการเมืองที่ชอบธรรม
36. New Public Service หมายถึงข้อใด
ตอบ 3 หน้า 341 – 348, 356 – 357 การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service : NPS) หรือการร่วมบริหารกิจการบ้านเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic Governance Management) เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย มนุษยนิยม การสร้างเครือข่ายทางสังคม ประชาสังคม และชุมชน เป็นต้น
37. การทำประชาพิจารณ์สะท้อนถึงหลักการในข้อใด
ตอบ 2 (คำบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ การทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมแสดงความเห็นในการตัดสินใจที่สำคัญของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน มีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การทำประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ การทำประชาคม เป็นต้น
38. กระบวนการเลือกตั้งที่ยุติธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดหลักการในข้อใด
ตอบ 5 (คำบรรยาย) หลักการกลไกการเมืองที่ชอบธรรม หมายถึง ความชอบธรรมที่เกี่ยวพันกับความสามารถของระบบที่จะก่อให้เกิดและรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ว่าการคงอยู่ของระบบเป็นความพึงพอใจสูงสุดของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการเลือกตั้งที่ยุติธรรม หรือการให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
39. Transaction-Cost Theory หมายถึงข้อใด
ตอบ 4 หน้า 333 ทฤษฎีต้นทุนทางธุรกรรม (Transaction-Cost Theory) อธิบายว่า ไม่มีธุรกรรมอะไร ที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนต่างก็มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น เงินเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าจึงควรลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม กล่าวคือธุรกรรมบางอย่างอาจเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงถ้ามีการทำสัญญาให้ภาคเอกชนรับไปทำ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการแข่งขันซึ่งจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพของสินค้าและบริการ
40. Good Governance หมายถึงข้อใด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Good Governance หมายถึง หลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 6 ประการ ดังนี้
1 หลักนิติธรรม
2 หลักคุณธรรม
3 หลักความโปร่งใส
4 หลักความมีส่วนร่วม
5 หลักความรับผิดชอบ
6 หลักความคุ้มค่า
41. การทําประชาคมหมู่บ้านส่งผลให้เกิดหลักการในข้อใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ (หมายเหตุ: ไม่พบข้อ 37 ในเอกสารนี้)
42. หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี 6 ประการ คือข้อใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ
43. คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ คือ
ตอบ 3 หน้า 323, 326 – 329, 355 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ ในการบริหารรัฐกิจ มีดังนี้
1 คุณค่าที่เน้นประสิทธิภาพของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)
2 คุณค่าที่เน้นการขยายบทบาทของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นการลดบทบาทของภาครัฐ ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สํานักเคนส์เซียนหรือเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian School) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์แบบนีโอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School)
44. ข้อใดไม่ใช่สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่
(1) เชื่อในการผูกขาดของภาครัฐ
(2) ให้ความสําคัญกับปัจจัยนําออกมากกว่าวิธีการ
(3) การจัดการแบบภาคเอกชน
(4) มีมาตรฐานการทํางานและตัวชี้วัดที่เด่นชัด
(5) ให้ความสําคัญกับวินัยและความประหยัดในการใช้ทรัพยากร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ตามแนวคิดของ Hood มีดังนี้
1 ให้อํานาจในการจัดการอย่างอิสระแก่มืออาชีพ เพื่อให้เกิดการควบคุมและความรับผิดชอบในองค์การที่แน่ชัด
2 มีมาตรฐานการทํางานและตัวชี้วัดที่เด่นชัด
3 ให้ความสําคัญกับปัจจัยนําออกมากกว่าวิธีการ
4 มีการกระจายหน่วยงานเป็นหน่วยย่อย ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
5 ให้ความสําคัญกับการแข่งขัน เชื่อในกลไกตลาด
6 ใช้แนวคิดการจัดการแบบภาคเอกชน มีความยืดหยุ่นในการจ้างงานและให้รางวัล
7 ให้ความสําคัญกับวินัยและความประหยัดในการใช้ทรัพยากร
45. แนวคิดใดให้ความสำคัญกับความเป็นพลเมือง (Citizenship)
(1) New Public Management
(2) Public Administration
(3) Reinventing Government
(4) Public Management
(5) New Public Service
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ
46. ข้อใดไม่ใช่คุณค่าหลัก 4 ประการของการจัดการภาครัฐแนวใหม่
(1) ประสิทธิภาพ
(2) ประสิทธิผล
(3) ประหยัด
(4) คุณภาพ
(5) ประชาธิปไตย
ตอบ 5 หน้า 330 คุณค่าหลัก 4 ประการของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีดังนี้
1 ประสิทธิผล (Effectiveness หรือ Result)
2 ประสิทธิภาพหรือความคุ้มค่า (Efficiency)
3 ประหยัด (Economy)
4 ความเป็นเลิศหรือคุณภาพ (Excellence หรือ Quality)
47. ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างองค์การแบบใหม่กับองค์การแบบเดิม
(1) แผนภูมิแสดงโครงสร้างองค์การ
(2) ความยืดหยุ่นในการทำงาน
(3) การจัดแผนกงาน
(4) ระบบย่อยในองค์การ
(5) จำนวนคนในองค์การ
ตอบ 2 หน้า 114 – 115 องค์การแบบใหม่กับองค์การแบบเดิม มีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1 องค์การแบบใหม่: มีลักษณะเปลี่ยนแปลง, มีความยืดหยุ่นในการทำงาน, ให้ความสำคัญต่อทักษะในการปฏิบัติงาน, งานกำหนดจากสิ่งที่ต้องปฏิบัติ, เน้นทีมงาน, งานมีลักษณะชั่วคราว, ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ, ให้ความสำคัญต่อลูกค้า/ผู้รับบริการ, ไม่มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานต่อวัน, เน้นการมีส่วนร่วม ฯลฯ
2 องค์การแบบเดิม: มีลักษณะคงที่, ไม่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน, ให้ความสำคัญต่องาน, งานถูกกำหนดจากตำแหน่ง, เน้นบุคคล, ความมั่นคงของงาน, ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ตัดสินใจ, เน้นกฎ ระเบียบ, ปฏิบัติงานในองค์การตลอดชั่วโมงการทำงาน, เน้นการออกคำสั่ง การสั่งการตามสายการบังคับบัญชา ฯลฯ
48. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญขององค์การ
(1) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
(2) มีลักษณะคงที่
(3) มีลักษณะชั่วคราว
(4) มีผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ตัดสินใจ
(5) ลักษณะงานมีความแตกต่างกัน
ตอบ 1 หน้า 114 ลักษณะสำคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ 1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 2. มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 3. มีการพัฒนาโครงสร้างให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จ
49. องค์การแบบสิ่งมีชีวิตมีลักษณะอย่างไร
(1) ช่วงการควบคุมแคบ
(2) รวมอำนาจในการบริหาร
(3) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
(4) ระดับชั้นการบังคับบัญชามาก
(5) ความเป็นทางการสูง
ตอบ 3 หน้า 133 – 134, (คำบรรยาย) องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงมาก
2 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
3 เน้นโครงสร้างแนวราบ
4 ขอบข่ายหรือช่วงการควบคุมกว้าง
5 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
6 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย
7 มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย
8 มีความเป็นทางการน้อย
9 กระจายอำนาจในการบริหารและตัดสินใจ
50. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างองค์การ
(1) Division of Labor
(2) Departmentation
(3) Span of Control
(4) Formalization
(5) Personnel Administration
ตอบ 5 หน้า 116 องค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างองค์การ มี 6 ประการ คือ
1 การแบ่งงาน (Division of Labor หรือ Work Specialization)
2 การจัดแบ่งหน่วยงาน (Departmentation)
3 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command)
4 ช่วงของการควบคุม (Span of Control)
5 การรวมอำนาจและการกระจายอำนาจ (Centralization and Decentralization)
6 ความเป็นทางการ (Formalization)
51. ข้อใดไม่ใช่ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ
(1) วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
(2) ที่มาของทุนในการดำเนินงาน
(3) การคงอยู่
(4) กระบวนการในการบริหาร
(5) คู่แข่งในการดำเนินงาน
ตอบ 4 หน้า 12 – 14, 37 – 39, (คำบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของ CEO ธุรกิจสตาร์ทอัพ) มีสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้
1 วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
2 ขนาดความรับผิดชอบ
3 แหล่งที่มาของทุนในการดำเนินงาน
4 การกำหนดราคาสินค้าและบริการ
5 คู่แข่งขันในการดำเนินงาน
6 การคงอยู่
7 การเป็นไปตามกฎหมาย
8 บทบาทของประชาชนในการกำกับดูแล และความพร้อมในการตรวจสอบจากสาธารณะ
52. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์นโยบายโดย Quade
(1) Objective
(2) Alternative
(3) Validity
(4) Impact
(5) Models
ตอบ 3 (คำบรรยาย) องค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์นโยบายตามแนวคิดของ Quade มีดังนี้
1 วัตถุประสงค์ (Objective)
2 ทางเลือก (Alternative)
3 ผลกระทบ (Impact)
4 มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน (Criteria)
5 ตัวแบบ (Models)
53. นายธนกรเชื่อว่า นักบริหารมีหน้าที่ 5 ประการ คือ “Planning, Organizing, Commanding, Coordinating และ Controlling” ความเชื่อดังกล่าวสอดคล้องกับใคร
(1) Max Weber
(2) Henri Fayol
(3) Luther Gulick
(4) ชุบ กาญจนประกร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 50, 65, (คำบรรยาย) ความเชื่อของนายธนกรสอดคล้องกับแนวคิดของ Henri Fayol ซึ่งเสนอว่า หน้าที่การบริหารของนักบริหาร (Functions of Administration) ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC ดังนี้
P = Planning (การวางแผน)
O = Organizing (การจัดองค์การ)
C = Commanding (การอำนวยการ)
C = Coordinating (การประสานงาน)
C = Controlling (การควบคุม)
54. ข้อใดไม่ใช่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในองค์การแบบใหม่
(1) มีความยืดหยุ่น
(2) เน้นทีมงาน
(3) เน้นการมีส่วนร่วม
(4) เน้นความมั่นคงในงาน
(5) ไม่มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานต่อวัน
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ
55. นายชูชัยตั้งโรงงานผลิตอาหารแปรรูป โดยจัดแบ่งส่วนงานออกเป็นงานผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ งานผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากพืช งานผลิตภัณฑ์อาหารคีโต การจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งในลักษณะใด
(1) Functional Departmentation
(2) Product Departmentation
(3) Geographical Departmentation
(4) Customer Departmentation
(5) Process Departmentation
ตอบ 2 หน้า 117 – 118, (คำบรรยาย) องค์การแบบแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ (Product Departmentalization) เป็นการจัดองค์การที่ทำให้ผลผลิตแต่ละประเภทอยู่ภายใต้อำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารที่มีความชำนาญเฉพาะด้านนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถ ควบคุมกระบวนการผลิตได้ดีและเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน แต่อาจทำให้เกิดความ ซ้ำซ้อนของงานและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยส่วนรวมได้ เช่น การจัดองค์การโดยแบ่งฝ่ายการผลิต ออกเป็นฝ่ายผลิตอาหาร และฝ่ายผลิตเสื้อผ้า หรือจัดแบ่งส่วนงานออกเป็นงานผลิตภัณฑ์ อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ งานผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากพืช และงานผลิตภัณฑ์อาหารคีโต เป็นต้น
56. การจัดโครงสร้างองค์การแบบใดเป็นองค์การที่มีระดับความซับซ้อนต่ำที่สุด
(1) โครงสร้างแบบเมทริกซ์
(2) โครงสร้างแบบทีมงาน
(3) โครงสร้างแบบระบบราชการ
(4) โครงสร้างแบบเรียบง่าย
(5) โครงสร้างแบบที่เน้นการรวมศูนย์อำนาจ
ตอบ 4 หน้า 123 โครงสร้างแบบเรียบง่าย (Simple Structure) เป็นองค์การที่มีการจัดแบ่ง หน่วยงานน้อยมาก มีช่วงการควบคุมกว้าง รวมอำนาจการบังคับบัญชาและการตัดสินใจไว้ที่ บุคคลคนเดียว มีความเป็นทางการน้อย มีระดับความซับซ้อนต่ำ โครงสร้างองค์การรูปแบบนี้ จะมีลักษณะเป็นโครงสร้างองค์การในแนวราบ (Flat Structure) มากกว่าโครงสร้างองค์การ ในแนวดิ่ง (Tall Structure) เช่น องค์การธุรกิจขนาดเล็ก เป็นต้น
57 ข้อใดไม่ใช่วินัย 5 ประการในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
(1) ความรอบรู้แห่งตน
(2) แบบแผนของความคิด
(3) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
(4) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
(5) การคิดนอกกรอบ
ตอบ 5 หน้า 130, 138 Peter Senge ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยเห็นว่า การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ คือ
1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)
2 แบบแผนของความคิด (Mental Model)
3 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
4 การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)
5 การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)
58 ข้อใดเป็นลักษณะขององค์การแบบเครื่องจักร
(1) มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน
(2) มีระเบียบ กฎเกณฑ์น้อย
(3) ความเป็นทางการสูง
(4) รวมอํานาจต่ํา
(5) ช่วงการควบคุมกว้าง
ตอบ 3 หน้า 132 – 134 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 มีสายการบังคับบัญชามาก
2 ช่วงการควบคุมแคบ
3 มีระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก
4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวดิ่ง
5 มีความเป็นทางการสูง
6 รวมศูนย์อํานาจในการบริหารและตัดสินใจ
7 มีสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อนและคงที่
8 มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ฯลฯ
59 ข้อใดไม่ใช่สมมติฐานของทฤษฎีการจัดโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์
(1) องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ
(2) องค์การเป็นระบบเปิด
(3) ผู้ตัดสินใจขององค์การมีแนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล
(4) การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน
(5) โครงสร้างองค์การส่งผลต่อกลยุทธ์ขององค์การ
ตอบ 5 หน้า 134 สมมติฐานหรือเงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามทฤษฎีการจัดโครงสร้างองค์การ ตามสถานการณ์ (Structural Contingency Theory) มีดังนี้
1 ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ
2 การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน
3 การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
4 องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ
5 องค์การเป็นระบบเปิด
6 ผู้ตัดสินใจขององค์การมีแนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล
60 ข้อใดไม่ใช่บรรยากาศชั้นแรกของการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(1) Sociat
(2) Strategy
(3) Shared Value
(4) Skill
(5) System
ตอบ 1 หน้า 154, 168 ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่จัดเป็นบรรยากาศชั้นแรกของการบริหารงานบุคคล ภาครัฐ ประกอบด้วย 1. ปัจจัยทางการบริหาร 4 M’s คือ คน (Man) เงิน (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Material) และการจัดการ (Management) 2. การตลาด (Marketing) 3. ขวัญกําลังใจ (Mcrate) 4. กลยุทธ์ (Strategy) 5. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Value) 6. โครงสร้าง (Structure) 7. ระบบงาน (System) 8. การจัดบุคลากร (Staffing) 9. ท่วงทํานองการบริหาร (Style) 10. ทักษะ (Skill)
61. นายชายได้รับมอบหมายจากอาจารย์ให้จัดทำรายงานเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายรัฐที่ส่งผลต่อองค์การ ข้อใดสอดคล้องกับหัวข้อรายงานของนายชาย
(1) สภาพแวดล้อม
(2) โครงสร้างองค์การตามสถานการณ์
(3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อองค์การ
(4) วิสัยทัศน์ขององค์การ
(5) ทรัพยากรขององค์การ
ตอบ 1 (คำบรรยาย) หัวข้อรายงานของนายชายเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งส่งผลต่อองค์การ โดยสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การ ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย นโยบายของรัฐ สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
62. ข้อใดไม่ได้แสดงลักษณะความเป็น “ศาสตร์” ของการบริหารรัฐกิจ
(1) มีการรวบรวมความรู้อย่างเป็นระบบ
(2) มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้
(3) จัดให้มีการร่วมมือประสานงาน
(4) ถ่ายทอดองค์ความรู้ได้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้า 6-7, 36, 38-39 การศึกษาการบริหารรัฐกิจ (การบริหารราชการ) มีลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ
1 ในฐานะที่มีความเป็นศาสตร์ (Science) คือ การมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการ หรือองค์ความรู้ ซึ่งหมายถึงเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ เป็นวิชาการที่มีการรวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้ และนำมาถ่ายทอดให้ความรู้กันได้
2 ในฐานะที่มีความเป็นศิลป์ (Art) คือ การมองในด้านการปฏิบัติงาน เรียกว่า การบริหารรัฐกิจ (public administration) ซึ่งเป็นการศึกษากิจกรรมของการบริหารงานในภาครัฐ ได้แก่ การใช้ศิลปะในการอำนวยการ การร่วมมือประสานงานกัน การควบคุมคนจำนวนมาก การมีความคิดสร้างสรรค์ การนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย
63. การร่วมมือดำเนินการในองค์การใด ๆ หมายถึงข้อใด
(1) Administration
(2) Management
(3) Public Administration
(4) Business Administration
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คำบรรยาย) หน้า 5 ดร.ชุบ กาญจนประกร ศาสตราจารย์ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงการบริหารของไทย ได้ให้ความหมายของคำว่า การบริหาร (Administration) ว่าหมายถึง การร่วมมือดำเนินการ หรือปฏิบัติงานในองค์การใด ๆ
64. ปรัชญาของการจัดการที่มุ่งเน้นในรูปของกำไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาใด
(1) Administration
(2) Management
(3) Public Administration
(4) Political Science
(5) Business Administration
ตอบ 5 (คำบรรยาย) หน้า 12 การบริหารภาครัฐหรือการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ สนองความต้องการส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น การบริหารภาครัฐจึงมุ่งเน้นผลประโยชน์สาธารณะหรือความพอใจของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากการบริหารธุรกิจ (Business Administration) ที่มุ่งเน้นผลกำไรเพื่อความอยู่รอดของหน่วยงานเป็นหลัก
65. แนวคิด POSDCORB นั้น “S” ย่อมาจาก:
(1) Structure
(2) Strategy
(3) Systems Thinking
(4) Shared Value
(5) Staffing
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 31 ประกอบ
66. ผู้ใดเสนอการจัดองค์การแบบ Bureaucracy:
(1) Henri Fayol
(2) Luther H. Gulick
(3) Frederick W. Taylor
(4) Herbert A. Simon
(5) Max Weber
ตอบ 5 หน้า 123 – 124, (คำบรรยาย) Max Weber เสนอการจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้:
1 มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดหรือความชำนาญเฉพาะด้าน
2 มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามสายการบังคับบัญชา
3 มีการคัดเลือกบุคคลอย่างเป็นทางการ
4 มีกฎ ระเบียบ และความเป็นทางการ
5 ไม่เน้นความเป็นส่วนตัว
6 เน้นการปฏิบัติงานเป็นอาชีพ
7 เน้นการจ้างงานตลอดชีพ
67. ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมเฉพาะขององค์การของรัฐ:
(1) ผู้รับบริการ
(2) คู่แข่งขัน/คู่เทียบ
(3) เทคโนโลยี
(4) วัตถุดิบ
(5) ข้าราชการ/พนักงานราชการ
ตอบ 3 หน้า 260 – 280, (คำบรรยาย) สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ:
1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ
2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นในการดำเนินงาน สำหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจำเป็นสำหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า/ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร (ข้าราชการ/พนักงานราชการ) งบประมาณ วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหาร ความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้
68. ข้อใดคือลักษณะของ Placid Randomized Environment:
(1) มีความซับซ้อน ยุ่งเหยิง
(2) มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
(3) การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมมีความยุ่งยาก
(4) การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมไม่คงที่แน่นอน
(5) มีการกำหนดกลุ่มในการติดต่อกับสภาพแวดล้อม
ตอบ 4 หน้า 257 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมมีน้อยมาก และมีลักษณะไม่คงที่แน่นอน เป็นการสุ่ม (Randomized) มากกว่า เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่เร่ร่อน ทารกในครรภ์ ไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก
69. สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ไม่ได้มีอยู่เองตามธรรมชาติ เรียกว่าอะไร
(1) ข้อมูล
(2) ความรู้
(3) เทคโนโลยี
(4) ข่าวสาร
(5) การประมวลผล
ตอบ 3 (คำบรรยาย) เทคโนโลยี (Technology) คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ไม่ได้มีอยู่เองตามธรรมชาติ เป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์
70. การที่ประชาชนสามารถยื่นจ่ายภาษีออนไลน์ได้เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับใด
(1) การให้ข้อมูล
(2) การโต้ตอบ
(3) การทำธุรกรรม
(4) การบูรณาการ
(5) ระดับอัจฉริยะ
ตอบ 3 หน้า 310 การทำธุรกรรม (Interchange Transaction) คือ การที่เว็บไซต์ต่างๆ สามารถดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสมบูรณ์ในตัวเองเช่นเดียวกับร้านอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถดำเนินกิจกรรมซื้อขายและชำระเงิน ตลอดจนส่งสินค้าได้ในการทำธุรกรรมเดียว ในกรณีของรัฐบาลการบริการจะเสมือนกับติดต่อกับส่วนราชการตามปกติ เช่น การจ่ายภาษีออนไลน์ การจ่ายค่าปรับจราจร การดำเนินการนี้จะเป็นการตัดตอนการให้บริการของรัฐหลายอย่างที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปทำธุรกรรมด้วยตนเอง
71. เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) การสื่อสาร
(2) อาหาร เครื่องดื่ม
(3) ไฟฟ้า น้ำประปา
(4) ประชาธิปไตย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 293 – 294, (คำบรรยาย) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นการนำเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลมาใช้งานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลทำให้เกิดระบบการสื่อสารข้อมูลและข่าวสารที่ไร้พรมแดน ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สะดวก และประหยัด
72. ใครได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย
(1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) ศาสตราจารย์อมร รักษาสัตย์
(3) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(4) พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 60 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงริเริ่มปลูกฝังและพัฒนาระบบการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ขึ้นในประเทศไทย จึงส่งผลให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้เป็น “บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย”
73. New Public Governance เกี่ยวข้องกับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) เน้นการทำงานเชิงเครือข่าย
(2) เน้นประสิทธิภาพ
(3) ถ่ายโอนภารกิจให้ภาคเอกชน
(4) จริยธรรมและธรรมาภิบาล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การจัดการภาคีสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance : NPG) เป็นแนวคิดที่เน้นการทำงานเชิงเครือข่าย คือ การให้ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ชุมชน องค์การพัฒนาเอกชน และกลุ่มผลประโยชน์ทางด้านวิชาชีพต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ ดังนั้นกิจกรรมต่างๆ อันเป็นสาธารณะจึงมิได้ผูกขาดอยู่ที่ภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่เกิดจากปฏิสัมพันธ์อันหลากหลายของผู้คนจากหลายๆ ภาคส่วน ที่คำนึงถึงผลประโยชน์และให้ความสนใจที่จะเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมสาธารณะ
74 การจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชิ้นเกี่ยวข้องกับผู้ใด
(1) Thomas R. Dye
(2) Elton Mayo
(3) Frederick W. Taylor
(4) Douglas McGregor
(5) Abraham H. Maslow
ตอบ 3 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 227 – 228) Frederick W. Taylor ได้เสนอ แนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้
1. ต้องมีวิธีการคัดเลือกและพัฒนาคนงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2. ต้องมีความประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีในการใช้เครื่องมือและวิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารกับการคัดเลือกและฝึกฝนพนักงาน
3. ต้องมีการนําระบบการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าจ้างแบบรายชิ้น (Piece Rate System) มาใช้ในการจูงใจคนงาน ฯลฯ
75 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) ลดต้นทุน
(2) เพิ่มความรวดเร็ว
(3) ช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
(4) รักษาวัฒนธรรมองค์การ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการทํางาน
2. ทําให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายและสะดวกขึ้น
3. ช่วยลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
4. ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ
76 ใครเห็นว่า การบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเมืองที่บรรจุไว้ด้วยค่านิยม
(1) Max Weber
(2) Aristotle
(3) Frederick Herzberg
(4) Woodrow Wilson
(5) Fritz Von Morstein Marx
ตอบ 5 หน้า 52 Fritz Von Morstein Marx บรรณาธิการหนังสือชื่อ Elements of Public Administration ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1946 เห็นว่า การบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเมืองที่บรรจุไว้ด้วยค่านิยม
77 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารงานท้องถิ่น
(1) การจัดการตนเองของคนในท้องถิ่น
(2) การส่งคนจากส่วนกลางเข้าไปบริหาร
(3) คือการบริหารจากส่วนกลาง
(4) การบริหารโดยไม่มีการเลือกตั้ง
(5) การจัดเก็บรายได้โดยส่วนกลางและแบ่งให้กับท้องถิ่น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การบริหารงานท้องถิ่น เป็นการบริหารงานภายใต้แนวคิดการกระจายอํานาจ การปกครอง โดยรัฐบาลกลางได้มอบอํานาจหน้าที่บางอย่างในการปกครองและการบริการสาธารณะให้ท้องถิ่นรับไปดําเนินการด้วยงบประมาณและบุคลากรของท้องถิ่นเอง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการปกครองและดําเนินกิจการบางอย่างได้เองโดยมีอิสระพอสมควร เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นรวมทั้งทําให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอํานาจในการกําหนดผู้บริหารของท้องถิ่นโดยผ่าน กระบวนการเลือกตั้ง และควบคุมตรวจสอบการทํางานของผู้บริหารท้องถิ่นได้โดยตรง
78 ผู้ใดต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์
(1) Adam Smith
(2) Frederick W. Taylor
(3) Max Weber
(4) Elton Mayo
(5) Abraham H. Mastow
ตอบ 4 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 189 – 190, 230 – 231), (คำบรรยาย) George Elton Mayo เป็นผู้นำแนวคิดหรือทฤษฎีแบบมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) มาเผยแพร่ในการบริหารองค์การ โดยได้ทำการทดลองที่เรียกว่า “Hawthorne Experiments” และพบว่า
1 ขวัญของคนงานเป็นสิ่งสำคัญและจะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
2 รางวัลทางจิตใจจะให้ความสุขในการปฏิบัติงานและมีผลกระตุ้นในการทำงานมากกว่ารางวัลทางเศรษฐกิจ
3 ปทัสถานทางสังคมของกลุ่มมีผลต่อประสิทธิภาพและปริมาณของงาน
4 ภาวะผู้นำ (Leadership) จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดบรรทัดฐานของกลุ่มภายในองค์การ
79. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) ผู้ว่าฯ กทม. คือการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
(2) ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ กับผู้ว่าฯ กทม. มีที่มาเหมือนกัน
(3) ผู้ว่าราชการของทุกจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง
(4) ผู้ว่าฯ กทม. คือการปกครองท้องถิ่น
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) กรุงเทพมหานคร (กทม.) คือ รูปแบบหนึ่งของการปกครองหรือการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมีผู้ว่าฯ กทม. เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ดังนั้นผู้ว่าฯ กทม. จึงมีที่มาจาก การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนซึ่งแตกต่างจากผู้ว่าราชการของจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งมีที่มาจากการแต่งตั้ง
80. ใครคือผู้แต่งตำราเล่มแรกทางรัฐประศาสนศาสตร์
(1) Max Weber
(2) Woodrow Wilson
(3) Robert Golembiewski
(4) Thomas Kuhn
(5) Leonard D. White
ตอบ 5 (หน้า 47, 65) Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราเรียน (Textbook) ที่สมบูรณ์เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ เขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นำตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง
81. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการคลังสาธารณะ
(1) การบริหารหนี้เอกชน
(2) การควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
(3) การบริหารรายจ่ายสาธารณะ
(4) การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน
(5) การกระตุ้นการบริโภค
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การคลังสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการคลังสาธารณะ จึงมีขอบเขตเกี่ยวข้องกับภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน การบริหารรายจ่ายสาธารณะ และการก่อหนี้สาธารณะ
82. ข้อใดคือมาตรการที่ดีทางภาษี
(1) จัดเก็บจากคนจำนวนน้อยมาช่วยคนส่วนใหญ่
(2) กำหนดโทษสูงสุดต่อผู้หนีภาษี
(3) การจัดเก็บรายได้จากประชาชนอย่างเสมอภาค
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 219 มาตรการที่ดีทางภาษี มีดังนี้
1 รายได้ของรัฐจะต้องมีเพียงพอสำหรับประเทศ
2 การจัดเก็บรายได้จากประชาชนจะต้องเป็นไปอย่างเสมอภาค
3 โครงสร้างภาษีจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการกำหนดนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้เกิดความมั่นคง และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
83. การจัดโครงสร้างองค์การของมหาวิทยาลัยรามคำแหงโดยมีการจัดแบ่งส่วนงานออกเป็นสาขาวิทยบริการต่างๆ ทั่วประเทศ สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Product Departmentation
(2) Functional Departmentation
(3) Geographical Departmentation
(4) Customer Departmentation
(5) Process Departmentation
ตอบ 3 หน้า 118 การจัดโครงสร้างองค์การตามเขตภูมิศาสตร์หรือตามพื้นที่ (Geographical Departmentation หรือ Territorial Departmentation) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การที่เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่หรือองค์การที่มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบกว้างขวาง เพื่อทำให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เป็นการกระจายอำนาจในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมพื้นที่ ที่ต้องรับผิดชอบ และมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังสามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการของแต่ละพื้น พื้นที่ด้วย เช่น การจัดโครงสร้างองค์การของมหาวิทยาลัยรามคำแหงโดยมีการจัดแบ่งส่วนงานออกเป็นสาขาวิทยบริการต่างๆ ทั่วประเทศ หรือการเปิดกิจการโรงแรมตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะสมุย เกาะกูด เป็นต้น
84. ข้อใดคือประโยชน์ของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน
(1) เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(2) เพื่อจัดสรรและกระจายทรัพยากร
(3) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
(4) เป็นเครื่องมือในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 225 – 227, (คำบรรยาย) ประโยชน์ของการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน มีดังนี้
1 เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
3 เพื่อการจัดสรรและกระจายทรัพยากรและรายได้
4 เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารที่มีประสิทธิภาพ
5 เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติให้ดีขึ้น
6 เพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจและการบริหารราชการ
7 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานตามระบบประชาธิปไตย
85. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะขององค์การแบบดั้งเดิม
(1) ไม่มีความยืดหยุ่น
(2) ความมั่นคงในงาน
(3) ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว
(4) เน้นกฎ ระเบียบ
(5) เน้นการสั่งการตามสายการบังคับบัญชา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ
86. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะขององค์การแบบสิ่งมีชีวิต
(1) เน้นโครงสร้างแนวราบ
(2) เป็นทางการน้อย
(3) กระจายอำนาจการตัดสินใจ
(4) เน้นการทำงานตามสายการบังคับบัญชา
(5) ขอบข่ายการควบคุมกว้าง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ
87. ข้อใดเป็นการจัดโครงสร้างองค์การตามอำนาจหน้าที่ (Functional Departmentation)
(1) ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
(2) สำนักงานภาคใต้ สำนักงานภาคกลาง สำนักงานภาคเหนือ
(3) ฝ่ายลูกค้าบุคคล ฝ่ายลูกค้าองค์การ
(4) ฝ่ายรับคำสั่งซื้อ ฝ่ายจัดเตรียมสินค้า ฝ่ายบรรจุสินค้า ฝ่ายโลจิสติกส์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 117 การจัดโครงสร้างองค์การตามอำนาจหน้าที่ (Functional Departmentation) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การโดยพิจารณาจากประเภทของงานหรือหน้าที่ในการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยกลุ่มของกิจกรรมที่เหมือนกันและเกี่ยวข้องกันจะถูกจัดให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน การจัดโครงสร้างองค์การแบบนี้เหมาะกับองค์การที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมคงที่และมีลักษณะเป็นงานประจำ เช่น การจัดโครงสร้างองค์การโดยแบ่งออกเป็น ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
88. องค์การแบบ Hybrid Organization มีลักษณะอย่างไร
(1) รวมศูนย์อำนาจ
(2) มีเฉพาะในองค์การภาคประชาสังคม
(3) มีกฎระเบียบมาก
(4) ใช้โครงสร้างองค์การหลายรูปแบบผสมผสานกัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 125, 141 องค์การแบบผสม (Hybrid Organization) เป็นองค์การที่มีการใช้โครงสร้างองค์การหลาย ๆ รูปแบบผสมกัน เพื่อตอบสนองต่อการปฏิบัติงานที่มีความสลับซับซ้อน โดยใช้ประโยชน์จากลักษณะเด่นของรูปแบบโครงสร้างองค์การแต่ละแบบ
ตั้งแต่ข้อ 89. – 94. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Ethical Policy
89. เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นเพื่อวางระเบียบ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
ตอบ 1 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเพื่อวางระเบียบ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยอาจจะอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ เป็นต้น
90. นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
ตอบ 4 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ ในการริเริ่มสร้างสรรค์ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม เช่น นโยบายการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ำลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น
91. โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต
พื้นที่บางพื้นที่ตามความจําเป็น หรือเป็นนโยบายเพื่อดึงทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่ง ไปเป็นประโยชน์ให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี นโยบายปฏิรูปที่ดิน โครงการช่วยเหลือชาวสลัม เป็นต้น
92 โครงการช่วยเหลือชาวสลัม เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ
93 เป็นนโยบายที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม เพียงแต่ส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึก
ตอบ 5 หน้า 76, (คำบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม เพียงแต่ต้องการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชนมีความ รู้สึกสำนึกที่ดี มีจิตสำนึกในทางที่ถูกที่ควร โดยต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน มีวินัยและจริยธรรมที่ดี เช่น โครงการงดเหล้าเข้าพรรษา โครงการพลังแผ่นดิน โครงการ เมืองน่าอยู่ โครงการถนนสีขาว นโยบายหน้าบ้านน่ามอง นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ในประเทศ นโยบายส่งเสริมให้มีน้ำใจกับนักท่องเที่ยว และการรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น
94 โครงการงดเหล้าเข้าพรรษา เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ
95 ค่านิยมทางการบริหารภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อใด
(1) New Public Service (NPS)
(2) New Public Governance (NPG)
(3) New Public Management (NPM)
(4) ไม่มีข้อใดถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 329 – 330, 356 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการบริหารภาครัฐ การลดบทบาทของรัฐ และเพิ่มบทบาทของเอกชน การนำแนวคิดแบบเอกชนมาใช้ในภาครัฐ การจ้างเหมาบริการ จากภาคเอกชน (Contracting-Out) การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result-Based Management) การจัดการที่เน้นการแข่งขันแบบภาคธุรกิจ (Market-Based Management) การให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการบริหารใหม่ ๆ เพื่อความเป็นเลิศ (Neo-Managerialism) การให้อำนาจกับผู้บริหารเหมือนเป็นผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของกิจการเองหรือเรียกว่า การจัดการแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Management) หรือแบบ CEO (CEO Management) เป็นต้น
96 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับ “รายจ่ายสาธารณะ” ตามกฎของ Wagner
(1) เปลี่ยนแปลงไปตามระดับการศึกษาของประชากร
(2) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(3) ต้องผ่านการพิจารณาอย่างรอบด้าน
(4) มีแนวโน้มลดลง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 239 Adolp Wagner กล่าวว่า เมื่อสังคมใดเริ่มกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรม ความสัมพันธ์ของสถาบันต่าง ๆ ทางด้านสังคม กฎหมาย และธุรกิจจะมีความซับซ้อนและ หลากหลายมากขึ้น รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะขยายบทบาทของตนในการกำหนด กำกับ หรือ ควบคุมความหลากหลายและความซับซ้อนของความสัมพันธ์ดังกล่าว ซึ่งทำให้รัฐต้องมีรายจ่ายสาธารณะเพิ่มขึ้น
97 ข้อใดไม่ถือเป็นหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(1) สรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
(2) พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ
(3) ตั้งกระทู้ถามรัฐบาล
(4) อภิปรายผลงานของรัฐบาล
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 187 – 188, (คำบรรยาย) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (รัฐสภา) มีหน้าที่ดังนี้
1 พิจารณาออกกฎหมายประเภทต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย
2 พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3 ตั้งกระทู้และอภิปรายผลงานของรัฐบาล
4 ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญติดตามการปฏิบัติงาน
98 การจ้างเหมาบริการ (Contracting-Out) สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Good Governance
(2) New Public Management (NPM)
(3) New Public Governance (NPG)
(4) Non-Government Organization (NGO)
(5) Civil Service Organization (CSO)
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ
99 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะด้อยของรัฐประศาสนศาสตร์ (การศึกษาการบริหารรัฐกิจ)
(1) การพัฒนาองค์ความรู้ล่าช้า
(2) ขาดเอกลักษณ์
(3) มีความเป็นสหวิทยาการ
(4) มีคุณลักษณะของความเป็นศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 28 ลักษณะด้อยของรัฐประศาสนศาสตร์ (การศึกษาการบริหารรัฐกิจ) มีดังนี้
1 มีลักษณะของการขาดเอกลักษณ์
2 มีคุณลักษณะของความเป็นศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์
3 การพัฒนาองค์ความรู้ล่าช้า
100 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงข้าราชการตามทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory)
(1) มีแรงกระตุ้นจากผลประโยชน์ส่วนตน
(2) อุทิศตนเช่นเดียวกับอาสาสมัคร
(3) เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง
(4) มีความก้าวหน้ามากกว่าพนักงานเอกชน
(5) ไม่มีเวลาส่วนตัว
ตอบ 1 หน้า 332 ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory) อธิบายดังนี้
1 มนุษย์ถูกชักนำให้ทำงานโดยระบบการจูงใจจากองค์การทั้งโดยการให้รางวัลและการลงโทษ
2 ข้าราชการก็เหมือนคนอื่นๆ ที่มีแรงกระตุ้นจากผลประโยชน์ส่วนตัว เขาจะทำประโยชน์สูงสุดให้ตัวเอง ไม่ใช่ให้ประชาชน ด้วยค่าใช้จ่ายของที่ทำงานของเขา
3 เพื่อลดหรือจำกัดการให้บริการประชาชน หน่วยงานราชการสามารถเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้ใช้บริการ หรือสงวนไว้สำหรับผู้มีรายได้สูง หรือขึ้นราคาค่าบริการ ฯลฯ