การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. “XXX คือคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่นักวิจัยสนใจศึกษา โดย XXX 1 ตัวจะมีค่ามากกว่า 1 ค่า” ค่า XXX ในที่นี้หมายถึงอะไร
(1) Variable
(2) Population
(3) Sample
(4) Distribution
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 40, (คำบรรยาย) ตัวแปร (Variable) หมายถึง คุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่นักวิจัยสนใจศึกษา โดยตัวแปร 1 ตัวจะมีค่ามากกว่า 1 ค่า เช่น ตัวแปรเพศ มีค่า 2 ค่า คือ เพศชาย และเพศหญิง, ตัวแปรระดับความเครียดในการปฏิบัติงานมี 5 ค่า คือ มากอย่างยิ่ง มาก ปานกลาง น้อย น้อยอย่างยิ่ง เป็นต้น
2. “ตัวแปรที่เป็นแนวความคิดรวมในการศึกษา” เรียกว่าตัวแปรใด
(1) ตัวแปรกด
(2) ตัวแปรองค์ประกอบ
(3) ตัวแปรหลัก
(4) ตัวแปรบิดเบือน
(5) ตัวแปรควบคุม
ตอบ 3 คำบรรยาย: หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรหลัก (Main Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นแนวความคิดรวมในการศึกษา เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล ธรรมาภิบาล ความเครียดในการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น
3. ข้อใดเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ
(1) รายได้
(2) จำนวนบุตร
(3) คะแนนสอบ
(4) อาชีพ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 คำบรรยาย: หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรเชิงคุณภาพหรือตัวแปรเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Variable) หมายถึง ตัวแปรที่วัดในลักษณะการจัดประเภท เช่น ตัวแปรศาสนา (จัดกลุ่มได้เป็น พุทธ คริสต์ อิสลาม อื่น ๆ), ตัวแปรเพศ (จัดกลุ่มได้เป็นเพศชาย กับเพศหญิง), ตัวแปรอาชีพ (จัดกลุ่มได้เป็นอาชีพรับราชการ พนักงานเอกชน อื่น ๆ) เป็นต้น
4. ข้อใดเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ
(1) สีผิว
(2) ศาสนา
(3) ภูมิลำเนา
(4) สถานภาพ
(5) ส่วนสูง
ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 42, (คำบรรยาย) ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variable) หมายถึง ตัวแปรที่วัดออกมาในลักษณะเชิงตัวเลข โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
1 ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous Variable) คือ ตัวแปรเชิงปริมาณที่วัดออกมาเป็นทศนิยมได้ เช่น รายได้ ส่วนสูง น้ำหนัก อุณหภูมิ คะแนนสอบ เป็นต้น
2 ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง (Concrete Variable) คือ ตัวแปรเชิงปริมาณที่วัดออกมาเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนนักศึกษา จำนวนบุตร จำนวนบุคลากร จำนวนรถยนต์ เป็นต้น
➲ จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 5 – 15. ว่าตัวแปรแต่ละข้อต่ำบนี้มีระดับการวัดอยู่ในระดับใด
(1) Nominal Scale
(2) Ordinal Scale
(3) Interval Scale
(4) Ratio Scale
(5) ไม่ใช่ตัวแปร
5. คะแนนสอบวิชา POL 4100
☐ 0 – 19 คะแนน
☐ 20 – 39 คะแนน
☐ 40 – 59 คะแนน
☐ 60 – 79 คะแนน
☐ 80 – 100 คะแนน
ตอบ 2 หน้า 43 – 44 (คำบรรยาย) การวัดแบบเรียงลำดับ (Ordinal Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และสามารถจัดอันดับด้วยความแตกต่างระหว่างกันและกันได้ ซึ่งอาจใช้ข้อความว่า มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ดีเลิศ หรือสัญลักษณ์แสดงไม่มีผลต่อค่ารวมคะแนน แต่บ่งบอกความสำคัญเท่านั้น ไม่สามารถบอกปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับความพึงพอใจ ระดับคะแนนสอบ ระดับการศึกษา ขนาดโรงเรียน ระดับชั้นนักเรียน ระดับคุณภูมิ ระดับจำนวนบุคลากรในองค์กร ตำแหน่ง ทางวิชาการ อันดับการแข่งขัน อันดับคณะรัฐศาสตร์ยอดเยี่ยม เป็นต้น
6. ระดับความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100
☐ มากอย่างยิ่ง
☐ มาก
☐ ปานกลาง
☐ น้อย
☐ น้อยอย่างยิ่ง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ
7. ความสูงของเด็กนักเรียน …. เซนติเมตร
ตอบ 4 หน้า 43 – 45 (คำบรรยาย) : การวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปรที่ละเอียดที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ มีค่าเป็นตัวเลขที่มีช่วงห่างเท่า ๆ กัน และมีจุดเริ่มต้นจากศูนย์ (0) หรือมีศูนย์แท้ เช่น จำนวนบุคลากร ……. คน, จำนวนบุตร …… คน, ประสบการณ์ทำงาน …. ปี, อายุ …… ปี, จำนวนผู้สูญเสียจากภัย …… คน, จำนวนยานพาหนะ …… คัน, รายได้ …… บาท/เดือน, จำนวนหนังสือในบ้าน …… เล่ม, ความเร็วในการรับรอบเสียง …… กิโลเมตร/ชั่วโมง, น้ำหนัก ……. กิโลกรัม, ความสูง …. เซนติเมตร, เป็นต้น
8. ภูมิลำเนา
☐ กรุงเทพฯ
☐ ต่างจังหวัด
ตอบ 1 หน้า 42 – 45 (คำบรรยาย) การวัดแบบนามบัญญัติหรือนามบัญญัติประเภท (Nominal Scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปรที่เบื้องต้นที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ ทั้งนี้การจัดเป็นกลุ่มดังกล่าวจะเป็นเพียงการจำแนกหรือแยกประเภทเท่านั้น เช่น การเลือกตั้งมีการจัดแบ่งเป็นสาขารายเขตได้ว่าคุณอยู่ในเขต กทม. หรือไม่สามารถเรียงลำดับค่าได้ และไม่สามารถนำไปบวก ลบ คูณ หารกันได้ เช่น เพศ ศาสนา สถานภาพ ภูมิลำเนา จัดตั้งพรรคในการสาขาพรรค หมู่โลหิต ประเภทอาคารมหาวิทยาลัย การเข้าร่วมโครงการ เป็นต้น
9. ความเร็วในการรับรอบเสียง ……. กิโลเมตร/ชั่วโมง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
10. การเข้าร่วมโครงการ
☐ เข้าร่วม
☐ ไม่เข้าร่วม
☐ ยังไม่ได้ตัดสินใจ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ
11 คะแนนความชื่นชอบต่อภาพยนตร์หลานม่า……..คะแนน
ตอบ 3 หน้า 43 – 44, (คำบรรยาย) การวัดแบบช่วง (Interval Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ สามารถบอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และมีค่าเป็นตัวเลขที่มีช่วงห่าง เท่า ๆ กัน แต่จะไม่มีศูนย์แท้ ดังนั้นตัวเลขศูนย์ (0) จะเป็นเพียงศูนย์สมมติหรือศูนย์เทียม เช่น คะแนนสอบวิชา POL 4100 …….คะแนน, ความพึงพอใจในการเรียน……คะแนน อุณหภูมิ……………เซลเซียส, คะแนนความชื่นชอบต่อภาพยนตร์หลานม่า …….. คะแนน, ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
12 จำนวนขยะ…..ตัน
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
13 อันดับคณะรัฐศาสตร์ยอดนิยมที่คนนึกถึงมาก
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ
14 คะแนนความพึงพอใจในการเรียนคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง……คะแนน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
15 จำนวนหนังสือในบ้าน…..เล่ม
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
16. ตัวแปรใดต่อไปนี้มีระดับการวัดที่หยาบที่สุด
(1) สถานภาพ
(2) คะแนนสอบ
(3) อุณหภูมิ
(4) คะแนนความเครียด
(5) จำนวนบุตร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ
17. ตัวแปรใดมีระดับการวัดที่ละเอียดที่สุด
(1) ศาสนา
(2) คะแนนสอบ
(3) อายุ
(4) สถานภาพ
(5) สัญชาติ
ตอบ: 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ
18. ข้อใดกล่าวผิด
(1) การวิจัยเชิงปริมาณ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Quantitative Research
(2) การวิจัยเชิงปริมาณมีลักษณะของข้อมูลที่ใช้ วัดออกมาเป็นตัวเลข
(3) การวิจัยเชิงปริมาณมีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data)
(4) การวิจัยเชิงปริมาณสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าตัวแปรได้
(5) การวิจัยเชิงปริมาณไม่จำเป็นต้องทำการศึกษาในเอกสารที่บันทึกไว้
ตอบ: 5
ข้อ 19. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาที่พบบ่อยจากแบบสอบถามโดยใช้คำถามปลายเปิด
(1) เขียนตอบในลักษณะที่สั้นเกินไป
(2) ประหยัดเวลาในการสรุปประเด็น
(3) ผู้ตอบเขียนเชิงเสียดสีหรือตำหนิ
(4) ผู้ตอบอิสระในการตอบ
(5) ผู้ตอบเกิดความเขินอายในการกล่าวถึงเนื้อหาบางส่วน
ตอบ 4 หน้า 47, (คําบรรยาย) ข้อดีของการสร้างแบบสอบถามโดยใช้คําถามปลายปิด ได้แก่
1. ประหยัดเวลาในการสรุปประเด็น และการทํารหัส
2. ผู้ตอบไม่ต้องเสียเวลาคิดหาคําตอบ เพราะได้สร้างตัวเลือกของคําตอบไว้ให้แล้ว
3. ผู้ตอบจะมีหน้าที่เพียงทําเครื่องหมายลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นหรือความเป็นจริง ในประเด็นนั้น ๆ เพราะเป็นลักษณะของคําถามที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบตอบโดยอิสระ
4. ผู้ตอบเกิดความสบายใจมากกว่าการสัมภาษณ์ เพราะไม่ต้องกังวลใจว่าผู้อื่นจะรู้ตัวตนว่า ใครเป็นผู้ให้ข้อมูล เป็นต้น
20. การตั้งคําถามว่า “ท่านต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยรามคําแหงหรือไม่” และมีตัวเลือก ให้ตอบ 2 รายการคือ 1) [ ต้องการ 2) ไม่ต้องการ เป็นลักษณะของคําถามแบบใด
(1) Rank Priority Question
(2) Check-List Question
(3) Multiple Choice Question
(4) Multi-Response Question
(5) Rating Scale Question
ตอบ 2 หน้า 47 – 48, (คําบรรยาย) คําถามที่ให้เลือกตอบเพียงคําตอบเดียวจากตัวเลือก 2 ตัว (Check-List Question) เป็นประเภทหนึ่งของข้อคําถามปลายปิด ซึ่งเป็นการวัดทัศนคติ โดยมีตัวเลือกให้ตอบ 2 รายการ เพื่อให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็น ตัวอย่างเช่น ข้อคําถามใน แบบสอบถามว่า “ท่านต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยรามคําแหงหรือไม่” (โดยมีตัวเลือกคือ ต้องการ หรือไม่ต้องการ), ข้อคําถามในแบบสอบถามว่า “ท่านเห็นด้วยกับ การทําให้หนังโป๊ถูกกฎหมายหรือไม่” (โดยมีตัวเลือกคือ เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย) เป็นต้น
21. ข้อใดไม่ใช่ข้อจํากัดของการใช้แบบสอบถาม
(1) อัตราการตอบกลับมักต่ํา
(2) ไม่เหมาะกับผู้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
(3) สร้างได้ยากกว่าเครื่องมือวิจัยอื่น ๆ
(4) ยากในการติดตามทวงถามจากผู้ไม่ตอบ
(5) ผู้ตอบเกิดความกังวลใจว่าผู้อื่นจะรู้ตัวตนว่าใครเป็นผู้ให้ข้อมูล
ตอบ 5 หน้า 49 – 50, (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการส่งแบบสอบถาม มีดังนี้ 1. สร้างได้ยากกว่าเครื่องมือวิจัยอื่น ๆ เพราะต้องอาศัยความรู้ ความชํานาญ 2. กรณีที่มีจํานวนข้อคําถามมากจนใช้เวลาในการตอบนาน อาจทําให้ผู้ตอบไม่ตั้งใจตอบ 3. อัตราการตอบกลับแบบสอบถามมักจะต่ํา และยากในการติดตามทวงถามจากผู้ไม่ตอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ 4. ไม่เหมาะสมกับผู้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เพราะผู้ตอบจะต้องเป็นผู้อ่านและตอบคําถาม ด้วยตนเอง เป็นต้น
22. การนําแบบสอบถามไปหาค่า IOC นั้นเป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในลักษณะใด
(1) Validity
(2) Reliability
(3) Discrimination
(4) Difficulty
(5) Sensitivity
ตอบ 1 หน้า 62 – 63, (คําบรรยาย) วิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) เชิงเนื้อหา โดยทั่วไป จะใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งจํานวนที่ใช้ไม่ควรต่ํากว่า 3 คน ในการ พิจารณา โดยวิธีการหาค่านั้นสามารถกระทําได้หลายวิธี เช่น 1. การหาดัชนีความสอดคล้องของข้อคําถาม (Index of Item Objective Congruence : IOC) 2. การหาอัตราส่วนความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของข้อคําถาม (Content Validity Ratio : CVR) 3. การหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity Index : CVI) เป็นต้น
23. ข้อใดหมายถึง “ความสามารถของเครื่องมือวิจัยในการจําแนกกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อน หรือกลุ่มที่มีทัศนคติบวกกับกลุ่มที่มีทัศนคติลบ
(1) Validity
(2) Reliability
(3) Discrimination
(4) Difficulty
(5) Sensitivity
ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้า 66, อํานาจจําแนก (Discrimination) หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือวิจัยในการจําแนกกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อน หรือกลุ่มที่มีทัศนคติบวกกับกลุ่มที่มีทัศนคติลบ โดยการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในประเด็นอํานาจจําแนกนี้ มักใช้ในกรณีแบบทดสอบ หรือแบบวัดทัศนคติ
24. จากตัวเลือกต่อไปนี้ข้อใดมีค่าความยากง่ายดีที่สุด
(1) P = 0.90
(2) P = 0.75
(3) P = 0.50
(4) P = 0.25
(5) P = 0.15
ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้า 66, ความยากง่าย (Difficulty) นิยมใช้กับเครื่องมือวิจัยประเภทแบบทดสอบ โดยค่าความยากง่ายของข้อคําถามโดยทั่วไปนิยมคิดคํานวณเป็นค่าสัดส่วน (Proportion : P) ของจํานวนผู้ตอบถูกจากจํานวนผู้ตอบทั้งหมดในข้อคําถามนั้น ๆ โดย P จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 – 1.00 ถ้า P ที่คํานวณได้เข้าใกล้ 0 แสดงว่าข้อคําถามนั้นยากมาก, ถ้า P ที่คํานวณได้เข้าใกล้ 1 แสดงว่าข้อคําถามนั้นง่ายมาก แต่ถ้า P = 0.50 แสดงว่าข้อคําถามนั้นมีความยากง่ายดีที่สุด ซึ่งหมายความว่าข้อคําถามในแบบทดสอบนั้นมีความยากง่ายปานกลาง คือไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป
25. การนําแบบสอบถามไปให้ผู้ตอบคนเดียวกันตอบ 2 ครั้ง ในต่างช่วงเวลากัน เพื่อตรวจสอบดูความคงเส้นคงวาของคําตอบ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในลักษณะใด
(1) Validity
(2) Reliability
(3) Discrimination
(4) Difficulty
(5) Sensitivity
ตอบ 2 (คำบรรยาย) หน้า 65, ความเชื่อมั่นแบบคงที่ (Stability Reliability) คือ ความคงเส้นคงวาของเครื่องมือวิจัยเมื่อนําไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่างเวลากัน กล่าวคือ เครื่องมือวิจัยที่มีความเชื่อมั่นแบบคงที่ก็คือ เครื่องมือวิจัยที่เมื่อนําไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่างเวลากันกับผู้ตอบคนเดียวกัน โดยใช้เครื่องมือฉบับเดิมแล้วได้คําตอบที่เหมือน ๆ เดิม เช่น วิธีการทดสอบ (Test-Retest Method) โดยนักวิจัยจะนําเครื่องมือวิจัย (แบบสอบถาม) ฉบับเดียวกันไปให้ผู้ตอบคนเดียวกันตอบ 2 ครั้ง แต่ต่างช่วงเวลากัน หากผู้ตอบคนใดไม่สามารถตอบได้ทั้ง 2 ครั้ง นักวิจัยต้องตัดผู้ตอบคนนั้นออกไปไม่นํามาใช้ในการคํานวณหาความเชื่อมั่น เป็นต้น
26. การหาค่า IOC ต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิขั้นต่ํากี่คนในการพิจารณา
(1) จํานวน 1 คน
(2) จํานวน 2 คน
(3) จํานวน 3 คน
(4) จํานวน 4 คน
(5) จํานวน 5 คน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ
27. ข้อใดเป็นสถิติที่ใช้ในการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of Central Tendency)
(1) พิสัย
(2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(3) ความแปรปรวน
(4) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
(5) การทดสอบไคสแควร์
ตอบ 4 (คำบรรยาย) หน้า 71 – 76, สถิติพรรณนาหรือสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่มุ่งศึกษาและอธิบายลักษณะต่าง ๆ ของข้อมูลจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาได้ โดยมิได้มุ่งสรุปอ้างอิงผลการศึกษาไปยังประชากร กล่าวคือ ผลการศึกษาที่ได้เป็นเรื่องเฉพาะของกลุ่มที่นักวิจัยทําการศึกษาเท่านั้น สําหรับสถิติที่ใช้บ่อยในการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ เช่น ร้อยละ (Percentage), การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
(Measures of Central Tendency) ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) มัธยฐาน (Median) ฐานนิยม (Mode), การวัดการกระจาย (Measures of Variation) ได้แก่ พิสัย (Range) ความแปรปรวน (Variation) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 28 – 33
(1) Arithmetic Mean
(2) Independent Sample T-test
(3) Chi-Square Test
(4) One-Way ANOVA
(5) Correlation
28. เป็นสถิติพรรณนา
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ
29. นักวิจัยต้องการทราบว่า ข้าราชการที่มีรายได้ต่างกัน (แบ่งเป็นรายได้น้อย รายได้ปานกลาง และรายได้มาก) จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้
ตอบ 4 หน้า 80 – 81, (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test) เป็นสถิติที่คิดค้นโดย Sir Ronald A. Fisher เพื่อใช้ในการวิจัยด้านการเกษตร ต่อมาภายหลังจึงได้นำไปใช้ในงานวิจัยด้านอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวจะใช้ในการทดสอบนัยสำคัญว่าค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มขึ้นไป มีความแตกต่างกันหรือไม่ ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 3 กลุ่มขึ้นไป และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ การทดสอบว่าข้าราชการที่มีรายได้ต่างกัน (แบ่งเป็นรายได้น้อย รายได้ปานกลาง และรายได้มาก) จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือไม่ เป็นต้น
30. นักวิจัยต้องการทราบว่า นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีเพศต่างกันจะมีความแตกต่างค่าเฉลี่ยความรู้ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้
ตอบ 2 หน้า 78 – 80, (คำบรรยาย) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-test) เป็นสถิติที่ใช้ทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง 2 ชุด ที่สุ่มมาจากประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 กลุ่ม และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีเพศต่างกันจะมีความแตกต่างค่าเฉลี่ยความรู้ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่, การทดสอบว่านักศึกษาชายและหญิงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100 ต่างกันหรือไม่ เป็นต้น
31. นักวิจัยต้องการทราบว่า นักศึกษาชายและหญิงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100 ต่างกันหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ
32. นักวิจัยต้องการทราบว่า รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับคะแนนประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้
ตอบ 5 หน้า 83 – 84, (คําบรรยาย) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient หรือค่า r) ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปรที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่มีระดับการวัด แบบช่วงหรือแบบอัตราส่วน โดย ” จะมีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง +1 นั่นคือ หาก ๆ มีค่าเข้าใกล้ – 1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางตรงกันข้าม หาก : มีค่าเท่ากับ 0 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่หาก : มีค่าเข้าใกล้ +1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับคะแนนประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นความสัมพันธ์ระหว่างอายุงานกับคะแนนความผูกพันต่อองค์การ เป็นต้น
33. นักวิจัยต้องการทราบว่าประเภทของบุคลากรในองค์การมีความสัมพันธ์กับระดับความผูกพันต่อองค์การ (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด) หรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้
ตอบ 3 หน้า 78, 82 – 83, (คําบรรยาย) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test หรือ X-test) เป็นการทดสอบทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบตัวแปรเชิงคุณภาพที่มีระดับการวัดแบบนามบัญญัติ หรือแบบเรียงลําดับ ทั้งนี้พึงตระหนักว่าการทดสอบดังกล่าวจะเป็นเพียงการบอกว่าตัวแปรสองตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณี ตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของบุคลากรในองค์การกับระดับความผูกพันต่อองค์การ (มากที่สุด มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด), ความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพกับระดับความเครียดในการทํางาน (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด) เป็นต้น
34. หลัก 3R ในการทําวิจัยประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) Research, Reproduce, Report
(2) Research, Reproduce, Reply
(3) Research, Report, Reply
(4) Research, Report, Reference
(5) Research, Reproduce, Reference
ตอบ 4 หน้า 90, (คําบรรยาย) หลัก 3R ในการทําวิจัย ประกอบด้วย
1 Research หมายถึง การลงมือทําวิจัยด้วยนักวิจัยเอง
2 Report หมายถึง การเขียนรายงานที่สะท้อนถึงการทําวิจัย
3 Reference หมายถึง การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นํามาใช้อย่างครบถ้วน
35. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของส่วนประกอบตอนท้ายในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
(1) ปกหลัก ปกใน ที่มาและความสําคัญของปัญหา
(2) กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ ภาคผนวก
(3) หน้าอนุมัติ บทคัดย่อ สารบัญ
(4) บรรณานุกรม ภาคผนวก ประวัติย่อผู้วิจัย
(5) ปกหลัก กิตติกรรมประกาศ ทบทวนวรรณกรรม
ตอบ 4 หน้า 91 – 92, 95, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความหนา มากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด และเป็นรายงานที่บอกรายละเอียดในการทําวิจัย อย่างครบถ้วน โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกหลัก, หน้าปกใน ซึ่งมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก หน้าอนุมัติ, บทคัดย่อภาษาไทย, บทคัดย่อภาษาอังกฤษ, หน้าประกาศคุณูปการหรือ กิตติกรรมประกาศ เป็นต้น
2 ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาจํานวน 5 บทหลัก
3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติย่อผู้วิจัย
36. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของส่วนประกอบของส่วนเนื้อเรื่องในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
(1) ปกหลัก ทบทวนวรรณกรรม ภาคผนวก
(2) ทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธีวิจัย หน้าอนุมัติ
(3) สารบัญ ระเบียบวิธีวิจัย สมมติฐาน
(4) ขอบเขตการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย อภิปรายผล
(5) กิตติกรรมประกาศ บทสรุป ภาคผนวก
ตอบ 4 หน้า 92 – 94, (คำบรรยาย) “ส่วนเนื้อเรื่อง” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้ บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา คำถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ ที่ใช้ในการวิจัย
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดำเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสำคัญทั้งต่อการวิจัย เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม
บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
37. ดุษฎีนิพนธ์จัดว่าเป็นรายงานการวิจัยประเภทใด
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น
(3) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร
(4) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย
(5) บทความพิเศษตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์
ตอบ 1 (คำบรรยาย) วิทยานิพนธ์ (Thesis) ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) จัดว่าเป็นประเภทหนึ่งของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยเรียบเรียงขึ้นอย่างละเอียดรอบคอบ มีเหตุมีผลตามขั้นตอน ระเบียบวิธีการวิจัย ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต
38. รายงานประเภทใดมักมีความยาวอยู่ระหว่าง 15 – 25 หน้า
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น
(3) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร
(4) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย
(5) บทความพิเศษตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์
ตอบ 3 หน้า 76 – 77 บทความการวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มักมีความยาวอยู่ที่ ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งวารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงาน ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)
39. ในการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี หากเอกสารไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ให้ระบุตัวย่อใด
(1) ม.ป.ม.
(2) ม.ม.ป.
(3) ม.ป.ป.
(4) ป.ป.ม.
(5) ป.ม.ม.
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การอ้างอิงที่แทรกในเนื้อหาระบบนาม-ปี หากเอกสารไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ระบุตัวย่อ “ม.ป.ป.” (สำหรับงานที่เป็นภาษาไทย) หรือ “n.d.” (สำหรับงานที่เป็นภาษาต่างประเทศ) แต่หากเอกสารไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งให้ระบุ “ชื่อเรื่อง” หรือ “ชื่อบทที่” หรือ “ชื่อบทความ” แทน
40. ในการเขียนเชิงอรรถเมื่อมีการอ้างซ้ำ ในกรณีที่ยังไม่มีเชิงอรรถเล่มอื่นมาคั่นให้ใช้คำว่าอะไร
(1) Ibid.
(2) Ibis.
(3) Idit.
(4) Ideal.
(5) Idot.
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การเขียนเชิงอรรถเมื่อมีการอ้างซ้ำ ในกรณีอ้างอิงติดกัน และไม่มีเชิงอรรถเล่มอื่นมาคั่น ให้ใช้คำว่า “เพิ่งอ้าง” หรือ “Ibid.” (มาจากภาษาละตินว่า Ibidem) หรือ ในกรณีอ้างอิงซ้ำไม่ติดกัน มีเชิงอรรถเล่มอื่นคั่น และไม่ได้อ้างถึงเลขหน้าเดิม ให้ใช้คำว่า “(เชิงอรรถ)” หรือ “Op.cit.” (มาจากภาษาละตินว่า Opere citato)
41. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Research Methodology
(2) Literature Review
(3) Research Method
(4) Conclusion
(5) Approach
ตอบ 3 หน้า 11 (คำบรรยาย) วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคำตอบ หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ ตัวอย่างเช่น วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน เป็นต้น
42. ข้อใดต่อไปนี้คือชื่อของ “ประเภทรายการอ้างอิง” ในการศึกษาสังคมศาสตร์
(1) American Political Science Association
(2) American Psychological Association
(3) American Political Science Review
(4) British Companions of Law
(5) British Committee on the Theory of International Politics
ตอบ 2 หน้า 95 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงหลักฐาน เอกสาร และวรรณกรรมทั้งหมดที่ใช้ในการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ รวมถึงรายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ด้วย โดยจัดเรียงเป็นหมวดหมู่และเรียงลำดับตามตัวอักษรให้เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งในปัจจุบัน ประเภทหรือระบบการอ้างอิงที่ได้รับความนิยมในงานวิจัยหรืองานวิชาการในสายสังคมศาสตร์ ได้แก่ การอ้างอิงระบบเอพีเอ (American Psychological Association : APA) และการอ้างอิงระบบทราเบียน (Turabian)
43. คำว่า “American Psychological Association” (APA) สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) สารบัญ
(2) วิธีดำเนินการวิจัย
(3) วัตถุประสงค์
(4) บรรณานุกรม
(5) จิตวิทยาของผู้วิจัย
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ
44. คำว่า “Appendix” สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของเอกสาร
(2) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ
(3) เอกสารแสดงประวัติผู้วิจัยและคณะ
(4) เอกสารแสดงข้อมูลเชิงสถิติและผลการคำนวณของโปรแกรม SPSS
(5) เอกสารแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย
ตอบ 4 หน้า 75, (คําบรรยาย) ภาคผนวก (Appendix) จะปรากฏในส่วนท้ายของ “รายงานการวิจัย ฉบับสมบูรณ์” เป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิ่มเติมของรายงานการ วิจัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความจากฎหมายฉบับ เต็ม เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงสถิติ และผลการคํานวณของโปรแกรม SPSS หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น
45. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ SMART ในการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย
(1) Sensible
(2) Measurable
(3) Attention
(4) Reasonable
(5) Time
ตอบ 3 หน้า 104 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทําได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคํานึงถึงระยะเวลาที่ เหมาะสม (Time : T)
46. “การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกพรรคก้าวไกล” ข้อความดังกล่าว บอกถึงการกําหนดขอบเขตการวิจัยด้านใด
(1) เนื้อหา
(2) พื้นที่
(3) ระยะเวลา
(4) ประชากร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 104 ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัยว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกําหนด ขอบเขตที่ชัดเจนนั้นจะทําให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับอาณาบริเวณ ของคลังข้อมูลจํานวนมหาศาลเพียงใด ดังนั้น ขอบเขตของงานวิจัยจึงสามารถปรากฏได้ ในหลายลักษณะ เช่น ขอบเขตด้านสถานที่ ประชากร เนื้อหาสาระ และเวลา ตัวอย่างเช่น “การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกพรรคก้าวไกล” จะเห็นว่า ขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาก็คือ บ้านเนื้อหาก็คือ กระบวนการตัดสินใจของประชาชน เป็นต้น
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคําถามข้อ 47. – 51. ว่าข้อความในโจทย์สอดคล้องกับเนื้อหาวิจัยบท
(1) บทที่ 1 (2) บทที่ 2 (3) บทที่ 3 (4) บทที่ 4 (5) บทที่ 5
47. เปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสําคัญของปัญหาในการวิจัย
ตอบ 1 หน้า 92, 102 บทที่ 1 บทนํา (Introduction) ทําหน้าที่เสมือน “ม่าน ในโรงละคร” ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความสําคัญอย่างมากในการเปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึง ความสําคัญของปัญหาในการวิจัย อันจะนําไปสู่ “การออกแบบงานวิจัย” (Research Design) ต่อไป ดังนั้นบทนําที่ดีและน่าสนใจย่อมดึงดูดให้ผู้อ่านต้องการติดตามต่อไปว่า งานวิจัยฉบับนี้จะตั้งประเด็นปัญหา เลือกวิธีการนําเสนอ และคลี่คลายไปในทิศทางใด
48. อธิบายให้ผู้อ่านทราบว่างานวิจัยเรื่องนั้นทําอย่างไร
ตอบ 3 หน้า 93, 108 บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) มีเป้าหมายหลักของเนื้อหาในส่วนนี้คือ เพื่ออธิบายให้ผู้อ่านได้ทราบว่า งานวิจัยเรื่องนั้นทําอย่างไร ผลการวิจัยและข้อสรุปที่ได้มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ซึ่งมักปรากฏ ในงานวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยแบบผสม อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย การสร้างเครื่องมือและการ ตรวจสอบเครื่องมือ วิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงการประมวลผลและ การวิเคราะห์ข้อมูล
49. ทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้
ตอบ 2 หน้า 106, (คำบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมาไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกำลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกำลังศึกษามาทำการวิเคราะห์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
50. นำเสนอผลวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้
ตอบ 4 หน้า 94, (คำบรรยาย) บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำเสนอผลการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาและรวบรวมมา โดยหลักการแล้วในส่วนนี้มักเดินเรื่องตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้ ผู้วิจัยต้องนำเสนอให้ผู้อ่านเห็นว่าผลการวิจัยนั้นตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์อย่างไร นอกจากนี้ผู้วิจัยยังสามารถนำเสนอการแปลผล การตีความข้อมูล และการหาข้อสรุปของคำตอบตามปัญหาวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้ ซึ่งในบางกรณีพบว่างานวิจัยในบางฉบับอาจมีการแยกบทที่ 4 ออกเป็นหลายบทตามจำนวนของวัตถุประสงค์ที่ปรากฏอยู่ในบทที่ 1 กรณีดังกล่าวนี้สามารถกระทำได้เช่นกัน
51. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในอนาคต
ตอบ 5 หน้า 94, (คำบรรยาย) บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะจากการวิจัย เป็นการนำเสนอความเรียงสรุปผลการศึกษาตั้งแต่ต้นจนจบ โดยชี้ให้เห็นถึงผลการวิจัยอย่างชัดเจนว่าได้ข้อสรุปอย่างไร เป็นไปตามทฤษฎีหรือสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ งานวิจัยชิ้นนี้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในอนาคตอย่างไร
52. “ในทัศนะของผู้วิจัยเห็นว่าความเป็นชายที่มีอำนาจนํานั้น จะมีลักษณะเฉพาะตัวตามแต่ละบริบท สถานที่ และช่วงเวลา ดังนั้นในอนาคตหากมีการเลือกศึกษาในบริบทที่จำเพาะเจาะจง เช่น การเลือกเฉพาะโฆษณารถยนต์นั่ง โฆษณารถเพื่อการเกษตร หรือสินค้าชนิดอื่น ๆ ที่มีกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ จะช่วยให้สามารถอภิปรายคุณลักษณะความเป็นชายที่ลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น” ข้อความดังกล่าวเหมาะที่จะเขียนในส่วนใดของรายงานการวิจัย
1 ระเบียบวิธีวิจัย
2 สมมติฐานการวิจัย
3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4 หลักการหรือทฤษฎี
5 ข้อเสนอแนะ
ตอบ 5 หน้า 112, (คำบรรยาย) การเขียนข้อเสนอแนะ (Recommendations) เป็นพันธกิจของผู้วิจัยในการส่งเสริมให้เกิดการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติอันเป็นการสะท้อนให้ผู้อ่านได้เห็นว่า งานวิจัยนั้นมีความสมเหตุสมผลและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ในกรณีของงานวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมักคาดหวังว่า ผู้วิจัยสามารถให้ข้อเสนอแนะเพื่อนําไปสู่นโยบาย พฤติกรรม หรือการปรับปรุงสิ่งที่ศึกษาให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น “ในทัศนะของผู้วิจัยเห็นว่าความเป็นชายที่มีอำนาจนํานั้น จะมีลักษณะเฉพาะตัวตามแต่ละบริบท สถานที่และช่วงเวลา ดังนั้นในอนาคตหากมีการเลือกศึกษาในบริบทที่จำเพาะเจาะจง เช่น การเลือกเฉพาะโฆษณารถยนต์นั่ง โฆษณารถเพื่อการเกษตร หรือสินค้าชนิดอื่น ๆ ที่มีกลุ่มเป้าหมายจำเพาะ จะช่วยให้สามารถอภิปรายคุณลักษณะความเป็นชายที่ลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น” เป็นต้น
53 “การทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถ ควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น…”
สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
(2) สมมติฐานงานวิจัย
(3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(4) ข้อจํากัดของการวิจัย
(5) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 4 หน้า 105 ข้อจํากัดของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น
54 “นกทุกตัวบินได้ เพนกวินเป็นนก…..” จากการอนุมานแบบแบบนิรนัย ข้อใดสรุปถูกต้อง
(1) เพนกวินบินไม่ได้
(2) เพนกวินบินได้
(3) เพนกวินไม่ใช่นก
(4) นกบางชนิดบินไม่ได้
(5) เพนกวินเป็นนก
ตอบ 2 หน้า 110, (คําบรรยาย) การนําเสนอข้อมูลแบบนิรนัย (Deductive) หมายถึง การนําเสนอข้อมูล จากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น นกทุกตัวบินได้ เพนกวินเป็นนก เพนกวินบินได้ อสูรทุกคนกลัวแสงแดด เนโกะเป็นอสูร เนโกะกลัวแสงแดด, แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาเป็นคนรวย เป็นต้น
55 ข้อความใดเป็นการอนุมานโดยวิธีอุปนัย
(1) สิ่งมีชีวิตทุกตัวต้องตาย นกเป็นสิ่งมีชีวิต นกต้องตาย
(2) เอเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน
(3) นักศึกษาที่เข้าเรียนสอบผ่าน นางสาวปีเข้าเรียน นางสาวปีสอบผ่าน
(4) แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาเป็นคนรวย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 110, (คําบรรยาย) การนําเสนอข้อมูลแบบอุปนัย (Inductive) หมายถึง การนําเสนอข้อมูล จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น มุซันเป็นอสูรที่แพ้แสงอาทิตย์ อสูรตนอื่น ๆ จึงมีโอกาส ที่จะแพ้แสงอาทิตย์, อเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน, นายแดง ชาวบ้านนาเป็นคนจน ชาวบ้านนาทุกคนเป็นคนจน เป็นต้น
56 ข้อใดถูกต้อง
(1) การทบทวนเอกสารคือการเขียนทบทวนสิ่งที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด
(2) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด
(3) การทบทวนเอกสารควรเขียนเรียงต่อ ๆ กันให้มีลักษณะเหมือนขนมชั้น
(4) ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้การอ้างอิงในบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารได้ตามใจชอบ
(5) หากผู้วิจัยเขียนเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยชิ้นอื่นด้วยภาษาของตนเองแล้ว ก็ไม่จําเป็นต้องใส่อ้างอิง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคําถามข้อ 57. – 61. ว่าข้อความในโจทย์เป็นลักษณะของรายงานวิจัย ประเภทใด
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น
(3) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร
(4) รายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย
(5) บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
57. รายงานประเภทใดที่มีรายละเอียดการทําวิจัยครบถ้วน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ
58. รายงานประเภทใดมีความยาวประมาณ 50 – 70 หน้า
ตอบ 2 หน้า 96, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดย่อส่วน ลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักจะมีความหนาประมาณ 50 – 70 หน้า
59. รายงานประเภทใดที่ใช้ระบบการอ้างอิงตามข้อกําหนดของแต่ละวารสาร
ตอบ 3 หน้า 96 – 97, 99, (คําบรรยาย) บทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มี รายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไป แล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งจะมีรูปแบบการเขียน ลักษณะการจัดรูปหน้า และระบบการอ้างอิงที่แตกต่างกันไปตามข้อกําหนดของแต่ละวารสาร กรณีของประเทศไทย ในปัจจุบัน วารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนี การอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) ตัวอย่างเช่น 1. “วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา” ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง 2. “วารสารรัฐศาสตร์พิจาร” ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น
60. รายงานประเภทใดเหมาะแก่การแนะนําหรือให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ
ตอบ 5 หน้า 115 – 116, (คําบรรยาย) บทสรุปสําหรับผู้บริหาร (Executive Summary) เป็นข้อความ โดยสรุปของรายงานการวิจัยที่กะทัดรัด ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาการวิจัยทั้งหมด โดยจะมี เป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารซึ่งมีเวลาไม่มาก สามารถทําความเข้าใจงานวิจัยทั้งหมดเพื่อนําไปสู่ การตัดสินใจหรือการกําหนดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งเหมาะแก่การแนะนําธุรกิจ เป้าหมายหรือพันธกิจ และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ
61. รายงานประเภทใดที่มักจะระบุถึงรายละเอียดของแผนงานวิจัย
ตอบ 5 หน้า 116 – 117, (คําบรรยาย) บทสรุปสําหรับผู้บริหาร มักจะระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ โครงการวิจัยและ/หรือแผนงานวิจัย ความสําคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ ของการทําวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย และข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
62. คําสําคัญ (Key words) ที่ใส่ในบทคัดย่อควรมีกี่คํา
ตอบ 2 หน้า หน้า 114 – 115, (คําบรรยาย) บทคัดย่อ (Abstract) มีหน้าที่สําคัญในการทําให้ผู้อ่านวิจัย หรือบทความสามารถทําความเข้าใจงานวิจัยหรือบทความวิชาการทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นบทคัดย่อจึงเป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่สั้น กะทัดรัด แต่ครอบคลุมเนื้อหา ของรายงานการวิจัยทั้งหมด ซึ่งในบทคัดย่อควรจะมีคําสําคัญ (Key words) จํานวน 3 – 5 คํา และมีเนื้อหาของบทคัดย่อไม่ควรมีความยาวเกิน 200 คํา หรือประมาณ 3% ของเนื้อเรื่อง
63. งานวิจัยของบริษัทเครื่องสําอางที่ไม่เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด ถือเป็นงานวิจัยประเภทใด
(1) งานวิจัยเชิงนโยบาย
(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ
(3) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน
ตอบ 4 หน้า 131, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่คำนึงถึงการลงทุน และผลตอบแทนเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน ผู้วิจัย สามารถสำรวจความต้องการของภาคการผลิตต่าง ๆ เป็นรายสาขา เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำตั้งแต่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นธรรมชาติของงานวิจัย ประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาดและนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจำเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด เช่น งานวิจัยของบริษัทเครื่องสำอางที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้หมดเพราะถือเป็นความลับทางธุรกิจ เป็นต้น
64. ข้อมูลใดที่ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องใส่ลงในโปสเตอร์
(1) ชื่อเรื่อง
(2) บทคัดย่อ
(3) วิธีดำเนินการวิจัย
(4) บรรณานุกรม
(5) ผลการวิจัย
ตอบ 4 หน้า 123, (คำบรรยาย) องค์ประกอบของการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ประกอบด้วย เนื้อหา 5 ส่วนหลัก ดังนี้
1 ชื่อเรื่อง (Title)
2 บทคัดย่อ (Summary)
3 บทนำและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)
4 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย”
5 ผลการวิจัย (Research Results)
65. ข้อใดผิด
(1) ผู้วิจัยสามารถใส่อ้างอิงรูปภาพ หรือตารางในบทคัดย่อได้
(2) บทคัดย่อมักมีความยาวอยู่ที่ครึ่งถึงหนึ่งหน้ากระดาษ A4
(3) ผู้วิจัยสามารถเขียนบทคัดย่อได้ทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(4) ไม่ควรเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำในบทคัดย่อ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 1 หน้า 114 – 115, (คำบรรยาย) การเขียนบทคัดย่อ ควรมีลักษณะดังนี้
1 บทคัดย่อสามารถทำได้ทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2 เนื้อหาในบทคัดย่อไม่ควรนำเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ
3 บทคัดย่อไม่ควรอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตารางใด ๆ
4 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทคัดย่อ
5 บทคัดย่อมักมีความยาวอยู่ที่ครึ่งหน้ากระดาษ A4 (กรณีของบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ ลงในวารสาร) ถึง 1 หน้ากระดาษ A4 (กรณีของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์) เป็นต้น
66. การคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) Hypothesis
(2) Data Collection
(3) Data Analysis
(4) Reporting
(5) Problem Statement
ตอบ 1 หน้า 2 – 3 (คำบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ได้แก่
1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิด ความสงสัยจนนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับ เนื้อหาของบทนำในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสำคัญของปัญหา”
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคำถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทำจะไม่สามารถกำหนดแนวทางในการค้นหาคำตอบได้
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคำถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด
67. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) Hypothesis
(2) Data Collection
(3) Data Analysis
(4) Reporting
(5) Problem Statement
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ
68. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรายงานการวิจัย
(1) เป็นวรรณกรรมเพื่อประโยชน์ในเชิงสันทนาการ
(2) ส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์
(3) เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นมีผู้ศึกษาอยู่แล้ว
(4) แสดงถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมหรือสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ
(5) เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามีข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ
ตอบ 1 หน้า 89 – 90, (คำบรรยาย) ความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ได้แก่
1 เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม” หรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ
2 ส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทำวิจัยแล้วมีคนเพียงจำนวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น
3 เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว
4 แสดงถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมหรือสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ
69. การสังเกตและระบุปัญหา ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) Hypothesis
(2) Data Collection
(3) Data Analysis
(4) Reporting
(5) Problem Statement
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ
70. “Scientific Method” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Recycle
(2) Responsibility
(3) Research
(4) Representative
(5) Resolution
ตอบ 3 หน้า 2, (คำบรรยาย) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ หรือ การค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ โดยอยู่บนพื้นฐานของวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถสังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถพิสูจน์ได้ มีการแยกค่านิยม ออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และยังมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) และ การอธิบาย (Explanation) ตลอดจนการทํานาย (Predictive)
71 Positivism มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์ยุคใด
(1) ยุคสถาบันนิยม
(2) ยุคคลาสสิก
(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(4) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) ซึ่งพบว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมี ลักษณะเป็นการศึกษาแนว “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) และยังเน้นการทํานายพฤติกรรมทาง การเมือง การตัดสินใจในทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทํานาย ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์จะถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์ การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นําทาง การเมือง (Political Psychology) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นต้น
72. “Political Science” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Institutional Period
(2) Classical Period
(3) The Behavioral Period
(4) The Transitional Period
(5) The Post Behavioral Period
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
73. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด
(1) ความคิดทางการเมือง
(2) ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม
(3) ปรัชญาการเมือง
(4) วัฒนธรรมทางการเมือง
(5) ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
74. นายภูมิธรรมทําวิจัยเรื่องนโยบาย รับจํานําข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยทําการสืบค้นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องนโยบายรับจํานําข้าว ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การออกแบบการวิจัย
(5) การกําหนดปัญหาการวิจัย
ตอบ 1 หน้า 14 – 16, (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่
1. การกําหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทํา ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคําถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคําตอบ ดังนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนําไปสู่การทําวิจัย
2 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะทำการหาคําตอบ
4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน เมื่อออกแบบสิ่งเหล่านี้ เรียบร้อยแล้วอาจจะต้องเขียนเป็น “โครงร่างการวิจัย” (Research Proposal)
5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลข้อมูล
6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคําตอบของการวิจัย
7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียนรายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์และทําการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย
75. นายเศรษฐาทําวิจัยเรื่องการเมืองไทยกับธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากทําวิจัยเสร็จแล้วมีการจัดทําเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ
76. นายเศรษฐพุฒิทําการวิจัยเรื่องบทบาทความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีข้อสงสัยที่จะนํามาสู่การทําวิจัย ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ
77. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้ทฤษฎีระบบการเมืองเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ
78. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณผสมกับเชิงคุณภาพ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิด พื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ สมัยใหม่นั้นสามารถนํามาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้า อย่างเป็นระบบ
79. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ให้ข้อมูลหลักจํานวน 10 คน ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ
80. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้แนวการวิเคราะห์เชิงระบบในการทําวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 5 หน้า 31, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หรือทฤษฎีนั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือ ที่ช่วยในการมองเห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ที่จะวิจัยโดยไม่มีกรอบคิดทฤษฎีกํากับอยู่ ดังนั้นก่อนที่ผู้วิจัยจะเริ่มลงมือทําการวิจัย หลังจากได้กําหนดปัญหาในการวิจัยเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะต้องเลือกทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ เป็นลําดับต่อมา เช่น แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา เป็นต้น
81. “รายงานการวิจัยฉบับนี้มีการตั้งคําถามในการวิจัยจํานวน 2 ข้อ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 4 หน้า 26 – 27 (คําบรรยาย) การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการวิจัยภายหลังจากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ รอบตัว การตั้งคําถามที่ดีนั้นไม่ควร ใช้คําถาม “ใช่หรือไม่” แต่ควรใช้คําถาม “ทําไม อย่างไร อะไร” โดยคําถามประเภท “ทําไม” จะเป็นคําถามที่ต้องการทราบสาเหตุหรือเหตุผลของปรากฏการณ์ทางการเมือง คําถามประเภท “อย่างไร” จะเป็นคําถามที่ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง ส่วนคําถามประเภท “อะไร” จะเป็นคําถามที่มุ่งให้ค้นหาคําตอบในลักษณะบรรยาย
82. นายปานปรีย์ทําวิจัยเรื่องนโยบายต่างประเทศของไทยกับกลุ่มประเทศอินโดจีนสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยศึกษาจากหนังสือ ตํารา งานวิจัย และบทความวิชาการ การทําวิจัยของนายปานปรีย์คือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสํารวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 3 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ ข้อมูลจากเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารทางราชการ หนังสือ ตํารา งานวิจัย บทความวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของการวิจัยนี้ ได้แก่ การวิจัยเรื่อง นโยบายต่างประเทศของไทยกับกลุ่มประเทศอินโดจีนสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ, การวิจัยเรื่องนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
83. นายมาวินทําวิจัยเรื่องนโยบายต่างประเทศกับเมียนมาสมัยนายทักษิณ ชินวัตร โดยเข้าไปสังเกตการเจรจา พูดคุยกันระหว่างนายทักษิณกับผู้นํารัฐบาลทหารเมียนมา การทําวิจัยของนายมาวินคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสํารวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 1 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้น จะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างเช่น การเข้าไปสังเกต การบริหารจัดการน้ําของสํานักการระบายน้ํา กรุงเทพมหานคร, การเข้าไปสังเกตการเจรจา พูดคุยกันระหว่างนายทักษิณกับผู้นํารัฐบาลทหารเมียนมา เป็นต้น
84. นายสุทินทําวิจัยเรื่องข้อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เพื่อป้องกันการทํารัฐประหาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระทรวงกลาโหมนําไปใช้เพื่อป้องกันการทํารัฐประหาร การทําวิจัยของนายสุทินคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสํารวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องข้อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม เพื่อป้องกันการทํารัฐประหาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระทรวงกลาโหมนําไปใช้ เพื่อป้องกันการทํารัฐประหาร, การวิจัยเรื่องข้อเสนอการสร้างแอปพลิเคชันของรัฐ โดยมี จุดมุ่งหมายให้กระทรวงการคลังนําไปใช้ในการโอนเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นต้น
85. นางสาวศิริกัญญาทําวิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทําวิจัยของนางสาวศิริกัญญาคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 3 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูล ที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง บทบาททางการเมือง ความเชื่อในเรื่อง ต่าง ๆ ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น
86. กกต. ทําวิจัยสํารวจจํานวนผู้เข้ารับสมัครสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 13 การทําวิจัยของ กกต. คือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสํารวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล พื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิที่คน ไม่มาใช้สิทธิคน, การสํารวจ จํานวนผู้เข้ารับสมัครสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 13 เป็นต้น
87. นางสาวกุ้งอึ้งทําวิจัยเรื่องบทบาทของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในการดูแลเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจ ของประเทศ โดยอาศัยข้อมูลจากประวัติการทํางานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน การทําวิจัยของนางสาวอุ้งอิงคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ
88. นายพรเพชรทําวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการทํางานของสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 12 โดยอาศัย ข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทําวิจัยของนายพรเพชรคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ
89. นายพิชิตทำวิจัยเรื่องบทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร ในการเจรจาสันติภาพระหว่างชนกลุ่มน้อยกับผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ การทำวิจัยของนายพิชิตคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยในทางเชิงทฤษฎีต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ, การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง, การวิจัยเรื่องบทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร ในการเจรจาสันติภาพระหว่างชนกลุ่มน้อยกับผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา เป็นต้น
90. นายเผ่าภูมิทำวิจัยเรื่องข้อเสนอการสร้างแอปพลิเคชันของรัฐ โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระทรวงการคลังนำไปใช้ในการโอนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ไปสู่ประชาชน การทำวิจัยของนายเผ่าภูมิคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 84. ประกอบ (หมายเหตุ: ในเอกสารที่ให้มาไม่มีข้อ 84 แต่ตอบ 2 คือการวิจัยประยุกต์)
91. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย
(1) การตั้งสมมติฐาน
(2) การตั้งวัตถุประสงค์
(3) การตั้งคำถาม
(4) การสร้างกรอบแนวคิด
(5) การทบทวนวรรณกรรม
ตอบ 1 หน้า 26, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น
92. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
(1) คำถามการวิจัย
(2) กรอบแนวคิดการวิจัย
(3) ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทคัดย่อ
(5) วัตถุประสงค์การวิจัย
ตอบ 4 หน้า 34 – 35 (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง (Title)
2. สภาพปัญหา หรือ “ความสำคัญของปัญหา” หรือบางครั้งเรียกว่า “ที่มาของปัญหา” (Problem Statement)
3. คำถามการวิจัย (Research Question)
4. วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective)
5. สมมติฐาน (Hypothesis)
6. การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)
7. ขอบเขตของการวิจัย (Scope)
8. ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อวิจัยชิ้นนี้ทำสำเร็จแล้ว (Expected Benefits)
9. นิยามศัพท์สำคัญหรือคำศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition)
10. วิธีการในการดำเนินการวิจัย หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) เป็นต้น
93. หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอนใดที่ต้องกำหนดควบคู่กับการตั้งคำถามการวิจัย
(1) โครงร่างวิจัย
(2) วัตถุประสงค์การวิจัย
(3) เครื่องมือต่างๆ ในการวิจัย
(4) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(5) การเขียนโครงการวิจัย
ตอบ 2 หน้า 28, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอน “การตั้งวัตถุประสงค์การวิจัย” (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยว่าจะทำไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คำขึ้นต้นคำว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดควบคู่ไปกับการตั้งคำถามการวิจัย
94. “สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2566” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 2 หน้า 34, โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) คือ โครงการโดยทั่วไปที่เขียนขึ้นโดยผู้วิจัย ก่อนที่จะลงมือทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้า ในการทำวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทำเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทำวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทำโครงร่างการวิจัยทุกครั้งเพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้นเสียก่อน ตัวอย่างเช่น กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับข้อเสนอวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2566 เป็นต้น
95. นิด้าโพลทำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของนายทหารชั้นนายพลในกองทัพบกที่มีต่อการซื้อข้าว 10 ปี โครงการรับจำนำข้าวเพื่อไปเลี้ยงกำลังพล โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังนายทหารชั้นนายพล จำนวน 100 คน นิด้าโพลต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 4 หน้า 46, (คำบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเป็นรายการของคำถามที่ถูกจัดหมวดหมู่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน เป็นการรวบรวมคำถามอย่างเป็นระบบในการส่งไปยังตัวอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาในแบบสอบถามจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก และความสนใจต่างๆ ของผู้ตอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของนายทหารชั้นนายพลในกองทัพบกที่มีต่อการซื้อข้าว 10 ปี โครงการรับจำนำข้าวเพื่อไปเลี้ยงกำลังพล โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังนายทหารชั้นนายพล จำนวน 100 คน เป็นต้น
96. นายพิชัยต้องการได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เรื่องบทบาทของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน โดยทำการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก นายพิชัยต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถาม ผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การสัมภาษณ์นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เรื่องบทบาทของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นต้น
97 นายเสรีทำวิจัยเรื่อง “ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 12”
นายเสรีใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย
(1) Institutional Approach
(2) Psychological Approach
(3) System Approach
(4) Historical Approach
(5) Group Approach
ตอบ 2 หน้า 20, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่าสาเหตุในการกระทำเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 12, การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ของประชาชนในกรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2566, การวิจัยเรื่องการออกไปยืนชูสามนิ้วต่อต้านเผด็จการรัฐประหารที่ถนนสุขุมวิทในช่วงปี พ.ศ. 2557 เป็นต้น
98 นายจักรพงษ์ทำวิจัยเรื่อง “กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ของสภาผู้แทนราษฎร” นายจักรพงษ์ใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย
(1) Institutional Approach
(2) Psychological Approach
(3) System Approach
(4) Historical Approach
(5) Group Approach
ตอบ 3 หน้า 22 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทำการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐ เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทำงานสอดประสานกัน ซึ่งการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ นี้ก็คือระบบนั่นเอง หากสังคมใดหรือระบบการเมืองใดไม่มีการทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ระบบนั้นก็คงจะล่มสลาย หรือไม่ก็พิการในไม่ช้า ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องกระบวนการบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของรัฐสภาไทย, กระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ, กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
99. นางสาวจิราพรทําวิจัยเรื่อง “พัฒนาการของกรมประชาสัมพันธ์ในการประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐบาลไทย”
นางสาวจิราพรใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทําวิจัย
(1) Institutional Approach
(2) Psychological Approach
(3) System Approach
(4) Historical Approach
(5) Group Approach
ตอบ 4 คำบรรยาย: หน้า 22 แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลำดับเหตุการณ์ อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนในการเมืองไทย, พัฒนาการของพรรคการเมืองไทยระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2566, การวิจัยเรื่อง พัฒนาการของกรมประชาสัมพันธ์ในการประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐบาลไทย เป็นต้น
100. นายอนุทินทําวิจัยเรื่อง “บทบาททางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์เชิงสถาบัน กรณีศึกษากระทรวงมหาดไทย”
นายอนุทินใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทําวิจัย
(1) Institutional Approach
(2) Psychological Approach
(3) System Approach
(4) Historical Approach
(5) Group Approach
ตอบ 5 คำบรรยาย: แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์เชิงสถาบัน กรณีศึกษากระทรวงมหาดไทย, การวิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของขบวนการสมัชชาคนจน เป็นต้น