การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ข้อใดไม่ใช่่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) กรอบแนวคิดการวิจัย
(3) บทคัดย่อ
(4) ความสำคัญของปัญหา
(5) วัตถุประสงค์การวิจัย
ตอบ 3 หน้า 34 – 35 (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย
1 ชื่อเรื่อง (Title)
2 สภาพปัญหา หรือ “ความสำคัญของปัญหา” หรือบางครั้งเรียกว่า “ที่มาของปัญหา” (Problem Statement)
3 คำถามในการวิจัย (Research Question)
4 วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective)
5 สมมติฐาน (Hypothesis)
6 การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
7 ขอบเขตของการวิจัย (Scope)
8 ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อวิจัยชิ้นนี้ทำสำเร็จแล้ว (Expected Benefits)
9 นิยามศัพท์สำคัญหรือคำศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition)
10 วิธีการในการดำเนินการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นต้น
2. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย
(1) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย
(2) การเขียนกิตติกรรมประกาศ
(3) การตั้งคำถามการวิจัย
(4) การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย
(5) การทบทวนวรรณกรรม
ตอบ 2 หน้า 26, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น
3. การเขียนโครงร่างการวิจัย ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 5 หน้า 14 – 16, (คำบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่
1 การกำหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทำ ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคำถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคำตอบ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนำไปสู่การทำวิจัย ๆ
2 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะทำการหาค่าตอบ
4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน เมื่อออกแบบสิ่งเหล่านี้ เรียบร้อยแล้วอาจจะต้องเขียนเป็น “โครงร่างการวิจัย” (Research Proposal)
5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลข้อมูล
6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคําตอบของการวิจัย
7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียน รายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์และทําการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย
4 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
5 ข้อสงสัยที่จะนํามาสู่การทําวิจัย ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
6 นางสาวอันทําการวิจัยเรื่องนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปีละ 12,000 บาท ของพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ในเวทีเสวนากับทีมเศรษฐกิจของพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยนางสาวอัน จะเป็นคนตั้งประเด็นในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง นางสาวอันต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด
(1) การสัมภาษณ์กลุ่ม
(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก
(3) โครงร่างการวิจัย
(4) การสังเกต
(5) การทบทวนวรรณกรรม
ตอบ 1 หน้า 34, (คําบรรยาย) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) หรือบางตําราอาจจะเรียกว่า การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มจาก ผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดําเนินการสนทนา (Moderator) ซึ่งอาจ จะเป็นผู้วิจัยเอง หรือเป็นคนอื่นที่ได้รับมอบหมายมาให้ทําหน้าที่เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการ สนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือแนวทางการสนทนา อย่างกว้างขวางละเอียดลึกซึ้ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปีละ 12,000 บาท ของพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นต้น
7 นายสรยุทธ์ต้องการได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายทักษิณ ชินวัตร เรื่องการเดินทางกลับสู่ประเทศไทย ภายหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยทําการสัมภาษณ์ซ้ําหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก นายสรยุทธ์ต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด
(1) การสัมภาษณ์กลุ่ม
(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก
(3) โครงร่างการวิจัย
(4) การสังเกต
(5) แบบสอบถาม
ตอบ 2 (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถาม ผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายทักษิณ ชินวัตร เรื่องการเดินทางกลับสู่ประเทศไทยภายหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้น
8 “นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต้องเตรียมเอกสารสําหรับการสอบป้องกันหัวข้อวิทยานิพนธ์” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) การสัมภาษณ์กลุ่ม
(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก
(3) โครงร่างการวิจัย
(4) การสังเกต
(5) แบบสอบถาม
ตอบ 3 หน้า 34 โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) คือ โครงการโดยทั่วไปที่เขียนขึ้นโดยผู้วิจัย ก่อนที่จะลงมือทําวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนําเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทําวิจัยไว้ล่วงหน้า ในการทําวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทําวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทําเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อ ขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทําวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทําโครงร่างการวิจัยทุกครั้งเพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้น เสียก่อน ดังนั้นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจึงจําเป็นจะต้องเตรียมเอกสารคือโครงร่างการวิจัย
สําหรับการสอบป้องกันหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือสอบขออนุญาตในการทําการวิจัย
9. นายชัยวุฒิทําวิจัยเรื่องความคิดทางการเมืองของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทําวิจัยของนายชัยวุฒิคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(2) การวิจัยเชิงปริมาณ
(3) การวิจัยบริสุทธิ์
(4) การวิจัยประยุกต์
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 1 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูล ที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง บทบาททางการเมือง ความเชื่อในเรื่อง ต่าง ๆ ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ชีวประวัติของคน ๆ หนึ่ง เป็นต้น
10. นางพรทิพย์ทําวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โดยอาศัยข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทําวิจัยของนางพรทิพย์ คือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(2) การวิจัยเชิงปริมาณ
(3) การวิจัยบริสุทธิ์
(4) การวิจัยประยุกต์
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ
11. นายชูวิทย์ทําวิจัยเรื่องการออกแบบระบบการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง โดยมีจุดมุ่งหมาย ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นําไปใช้ในการแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง การทําวิจัย ของนายชูวิทย์คือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(2) การวิจัยเชิงปริมาณ
(3) การวิจัยบริสุทธิ์
(4) การวิจัยประยุกต์
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 4 หน้า 12 (คำบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องข้อเสนอการทําโครงการฟลัดเวย์ 11 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนําไปใช้ในการแก้ปัญหาน้ําท่วม, การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง การเลือกตั้ง เป็นต้น
12. นายธนาธรมีความสนใจที่จะทําวิทยานิพนธ์หัวข้อนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารของพรรคก้าวไกล โดยตั้งคําถามในสิ่งที่มีความสนใจ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การสังเกตและระบุปัญหา
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) การวิเคราะห์ข้อมูล
(5) การสรุปผล
ตอบ 1 หน้า 2 – 3 (คําบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิด ความสงสัยจนนําไปสู่การตั้งคําถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับ เนื้อหาของบทนําในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสําคัญของปัญหา”
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคําถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหาคําตอบได้
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคําถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูกหรือผิด
13. นายปูนาทําวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ โดยการแจกแบบสอบถามจํานวน 1,000 ชุด เพื่อต้องการข้อมูลไปวิเคราะห์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การสังเกตและระบุปัญหา
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) การวิเคราะห์ข้อมูล
(5) การสรุปผล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ
14. นายแด็กทําวิจัยเรื่องพฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทย ของประชาชนในจังหวัดสงขลา ปี พ.ศ. 2566 หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ขั้นตอนการวิจัยต่อไปที่ต้องทําคือขั้นตอนใด
(1) การสังเกตและระบุปัญหา
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) การวิเคราะห์ข้อมูล
(5) การสรุปผล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ
15. “รายงานการวิจัยฉบับนี้ใช้ทฤษฎีชนชั้นนําทางการเมืองเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 1 (คำบรรยาย) หน้า 106, การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมาไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกําลังศึกษามาทําการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดถึงปัจจุบัน
16. “องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้า 11, ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้นสามารถนํามาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ
17. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 2 (คำบรรยาย) หน้า 11, วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคําตอบ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ
18. “เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยในการมองเห็นปัญหาขัดขึ้น” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Literature Review
(2) Research Method
(3) Research Methodology
(4) Research Question
(5) Approach
ตอบ 5 (คำบรรยาย) หน้า 31, แนวการวิเคราะห์ (Approach) หรือทฤษฎีนั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยในการมองเห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะวิจัยโดยไม่มีกรอบคิดทฤษฎีกํากับอยู่ ดังนั้นก่อนที่ผู้วิจัยจะเริ่มลงมือทําการวิจัย หลังจากได้กําหนดปัญหาในการวิจัยเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะต้องเลือกทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์เป็นลําดับต่อมา
19. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) การสรุปผลการวิเคราะห์
(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(3) การวิเคราะห์ข้อมูล
(4) การอ้างอิงข้อมูล
(5) การคาดคะเนคำตอบ
ตอบ 4 หน้า 2 – 3 (คำบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับเนื้อหาของบทนำในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสำคัญของปัญหา”
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคำถามการวิจัยแล้ว ซึ่งก็คือ การคาดคะเนคำตอบหรือคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทำจะไม่สามารถกำหนดแนวทางในการค้นหาคำตอบได้
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคำถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด
20. เนื้อหาของโครงร่างงานวิจัยจะปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด
(1) หน้าปก
(2) บทนำ
(3) ทบทวนวรรณกรรม
(4) ระเบียบวิธีวิจัย
(5) บทสรุป
ตอบ 2 หน้า 36, (คำบรรยาย) บทที่ 1 “บทนำ” ของรายงานการวิจัย ซึ่งเนื้อหาในบทนำนี้ก็คือ โครงร่างการวิจัยที่ผู้วิจัยได้เขียนขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นการทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะนำโครงร่างดังกล่าวมาใส่ไว้ โดยจะมีหัวข้อหลัก ได้แก่ ที่มาของปัญหา คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์ในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย ขอบเขตในการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับในการวิจัย และระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย โดยทั่วไปแล้วในบทที่ 1 ของรายงานการวิจัยอาจจะไม่มีการทบทวนวรรณกรรมและระเบียบวิธีวิจัยอยู่ในบทนี้
21. “Scientific Method” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Research
(2) Responsibility
(3) Recycle
(4) Representative
(5) Resolution
ตอบ 1 หน้า 2, (คำบรรยาย) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ หรือ การค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ โดยอยู่บนพื้นฐานของวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถสังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถพิสูจน์ได้ มีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และยังมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) และ การอธิบาย (Explanation) ตลอดจนการทำนาย (Predictive)
22. “Predictive” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) ปรัชญาการเมือง
(2) สถาบันทางการเมือง
(3) ทฤษฎีการเมืองคลาสสิค
(4) วิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์
(5) ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ
23. “Scientific Method” มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์ยุคใด
(1) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(2) ยุคคลาสสิค
(3) ยุคเปลี่ยนถ่าย
(4) ยุคสถาบัน
(5) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 7 – 8 (คำบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) โดยนักรัฐศาสตร์นั้นมองว่า การศึกษาการเมืองจำต้องใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้ (Scientific Method) ซึ่งการวิจัยในทางรัฐศาสตร์มีลักษณะเป็นการศึกษาแนว “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) และยังเน้นการทำนายพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจในทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทำนาย ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์จะถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาการเมือง พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นต้น
24. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด
(1) จิตวิทยาการเมือง
(2) ปรัชญาการเมือง
(3) สถาบันทางการเมือง
(4) ทฤษฎีการเมืองคลาสสิค
(5) ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ
25. นางสาวแพรรี่ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเพศของกลุ่ม LGBTQ” นางสาวแพรรี่ใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิทยานิพนธ์
(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน
(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา
(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ
(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์
(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 5 หน้า 24 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้น ไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเพศของกลุ่ม LGBTQ เป็นต้น
26. นายเศรษฐาทําวิจัยเรื่อง “กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2567
นายเศรษฐาใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทําวิจัย
(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน
(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา
(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ
(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์
(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 3 หน้า 22, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่า ในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทําการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐ เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทํางานสอดประสานกัน ซึ่งการทํางานของอวัยวะ ต่าง ๆ นี้ก็คือระบบนั่นเอง หากสังคมใดหรือระบบการเมืองใดไม่มีการทําหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ระบบนั้นก็คงจะล่มสลาย หรือไม่ก็พิการในไม่ช้า ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องกระบวนการบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของรัฐสภาไทย, กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2567 เป็นต้น
27. นายหนูนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “พัฒนาการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดบุรีรัมย์”
นายหนูใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการนําเสนอหัวข้อวิจัย
(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน
(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา
(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ
(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์
(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 4 หน้า 22 (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมติฐาน ว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลําดับเหตุการณ์ อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจําเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการ ของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็น สาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชน ในการเมืองไทย, พัฒนาการของพรรคการเมืองไทยระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2566, พัฒนาการ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
28. ญาณวิทยาของการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ คือแบบใด
(1) Normativism
(2) Positivism
(3) Institutionalism
(4) New Institutionalism
(5) New Positivism
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวคิดสํานักปฏิฐานนิยม (Positivism) เป็นแนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเชื่อว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินั้นสามารถอธิบายได้ด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยความรู้จะเข้าสู่จิตใจ ของมนุษย์ผ่านประสาทสัมผัสและมนุษย์จะเก็บความรู้นั้นไว้ในรูปของความจํา อีกทั้งความจํา จะสามารถผสมผสานหรือรวมกันได้โดยใช้จินตนาการ ซึ่งในแง่ของญาณวิทยานั้นพบว่าวิธีการ แสวงหาความรู้แบบปฏิฐานนิยมเป็นวิธีการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์หรือแบบสมัยใหม่ นั่นเอง
29. นายเต้นนําเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “ทัศนคติของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีต่อ การเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน” หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนายเต้นสอดคล้องกับ แนวการวิเคราะห์ใด
(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน
(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา
(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ
(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์
(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 2 หน้า 20, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่าสาเหตุในการกระทำเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องทัศนคติของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีต่อการเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน, พฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ของประชาชนในกรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2566, การออกไปยืนชูสามนิ้วต่อต้านเผด็จการรัฐประหารที่ถนนสุขุมวิทในช่วงปี พ.ศ. 2557 เป็นต้น
30. นายชวนทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเปรียบเทียบรัฐบาลพรรคเดียวกับรัฐบาลผสมในการเมืองไทย”
นายชวนใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิทยานิพนธ์
(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน
(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา
(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ
(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์
(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 1 หน้า 23 – 24, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของโครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เป็นตัวกำหนดให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ออกมา ซึ่งแนวการวิเคราะห์นี้เลือกที่จะศึกษาเป็นรายประเทศ หรือนำสองประเทศหรือหลายประเทศมาทำการเปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง องค์กร และสถาบันทางการเมืองในประเทศนั้น ๆ มาร่วมด้วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบรัฐบาลพรรคเดียวกับรัฐบาลผสมในการเมืองไทย, การเปรียบเทียบระหว่างระบบรัฐสภาไทยกับระบบรัฐสภาอังกฤษ เป็นต้น
31. นายแม้วทำวิจัยเรื่อง “พัฒนาการของพรรคการเมืองไทยระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2566
นายแม้วใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย
(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน
(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา
(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ
(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์
(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ
32. นางสาวเดียร์ทำวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ของประชาชนในกรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2556” นางสาวเดียร์ใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย
(1) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน
(2) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา
(3) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ
(4) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์
(5) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ
33. “Objective, Value-Free, Verify, Explanation, Predictive” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Resolution
(2) Result
(3) Resume
(4) Research
(5) Response
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ
34. บุคคลใดไม่ใช่ผู้บรรยายรายวิชา POL 4100 ภาคฤดูร้อน/2565
(1) ปิยะภพ เอนกทวีกุล
(2) ปรีชญา ยศสมศักดิ์
(3) ศุภชัย ศุภผล
(4) วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ
(5) ข้อ 3 ถูก
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ผู้บรรยายรายวิชา POL 4100 (หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์) ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565 มีอยู่ทั้งหมด 3 ท่าน คือ
อาจารย์ปิยะภพ เอนกทวีกุล
อาจารย์ปรีชญา ยศสมศักดิ์
อาจารย์วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ
ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 35 – 46. ว่าตัวแปรแต่ละข้อนั้นมีระดับการวัดอยู่ในระดับใด
(1) Nominal Scale
(2) Ordinal Scale
(3) Interval Scale
(4) Ratio Scale
(5) ไม่ใช่ตัวแปร
35. นิกายศาสนาพุทธ
ตอบ 1 หน้า 42 – 45, (คำบรรยาย การวัดแบบนามบัญญัติหรือแบบจัดประเภท (Nominal Scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปรที่หยาบที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ ทั้งนี้ การจัดเป็นกลุ่มดังกล่าวจะเป็นเพียงการจัดกลุ่มหรือจัดแยกประเภทเท่านั้น ซึ่งภายในกลุ่มย่อย ที่มีการจัดแบ่งไม่สามารถบอกได้ว่ากลุ่มใดดีกว่า เหนือกว่า หรือไม่สามารถเรียงลำดับได้ และ ไม่สามารถนำไปบวก ลบ คูณ หารกันได้ เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา สถานภาพการสมรส ภูมิลำเนา ประเภทบุคลากรมหาวิทยาลัย คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย นิกายศาสนาพุทธ หมู่โลหิต เป็นต้น ชาย หญิง
36. เพศ ชาย หญิง
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ
37. ระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
ตอบ 2 หน้า 43 – 44, (คำบรรยาย) การวัดแบบเรียงลำดับ (Ordinal Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และสามารถจัดอันดับอัตราความแตกต่าง ระหว่างกันและกันได้ ซึ่งอาจใช้ข้อความว่า มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ที่แสดงไม่มีผลต่อการคำนวณ แต่จะบอกความสำคัญเท่านั้น ไม่สามารถบอก ปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับความพึงพอใจ ระดับความเครียด ระดับการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ อันดับการแข่งขัน ระดับรายได้ ระดับคะแนนสอบ เป็นต้น
38. คะแนนความพึงพอใจในงาน …. คะแนน
ตอบ 3 หน้า 43 – 44, (คำบรรยาย) การวัดแบบช่วง (Interval Scale) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ สามารถบอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ และมีค่าเป็นตัวเลขที่มีช่วงห่าง เท่า ๆ กัน แต่จะไม่มีศูนย์แท้ ดังนั้นตัวเลขศูนย์ (0) จะเป็นเพียงศูนย์สมมติหรือศูนย์เทียม เช่น อุณหภูมิ องศาเซลเซียส, คะแนนความพึงพอใจในงาน มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
39. อันดับการแข่งขัน อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3 รางวัลชมเชย
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ
40. ศาสนา
□ พุทธ □ คริสต์ □ อิสลาม □ อื่น ๆ (โปรดระบุ) ……….
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ
41. อาชีพ
□ รับราชการ □ พนักงานเอกชน □ อื่น ๆ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ
42. ระดับความเครียด
□ มากที่สุด □ มาก □ ปานกลาง □ น้อย □ น้อยที่สุด
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ
43. ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ………. มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ
44. รายได้
□ ต่ำกว่า 10,000 บาท □ 10,000 – 19,999 บาท □ 20,000 – 29,999 บาท □ 30,000 บาทขึ้นไป
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ
45. รายได้ ………. บาท/เดือน
ตอบ 4 หน้า 43 – 45 (คำอธิบาย) การวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปรที่ละเอียดที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ จัดเป็นกลุ่มได้ บอกลำดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้ มีค่าเป็นตัวเลขที่มีความหมายต่าง ๆ กัน และมีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์ (0) หรือมีศูนย์แท้ เช่น จำนวนบุคลากร ……… คน, จำนวนชั่วโมง ……… คน, ประสบการณ์ทำงาน ……… ปี, อายุ ……… ปี, รายได้ ………. บาท/เดือน เป็นต้น
46. คะแนนสอบวิชา POL 4100 □ ต่ำกว่า 50 คะแนน □ 50 – 79 คะแนน □ 80 คะแนนขึ้นไป
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ
47. ตัวแปรใดต่อไปนี้มีระดับการวัดที่ละเอียดที่สุด
(1) เพศ
(2) อายุ
(3) อาชีพ
(4) ระดับความผูกพันขององค์กร
(5) อุณหภูมิ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ
48. ตัวแปรใดต่อไปนี้มีระดับการวัดที่หยาบที่สุด
(1) หมวดเลือก
(2) ตำแหน่งทางวิชาการ
(3) คะแนนความเครียดในการปฏิบัติงาน
(4) อันดับการแข่งขัน
(5) จำนวนบุตร
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ
49. ข้อใดจัดเป็นตัวแปรเชิงต่อเนื่อง (Continuous Variable)
(1) น้ำหนัก
(2) จำนวนนักเรียน
(3) จำนวนประชากร
(4) จำนวนรถยนต์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 42, (คำอธิบาย) ตัวแปรเชิงต่อเนื่อง (Continuous Variable) เป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่วัดออกมาเป็นปริมาณต่อเนื่องได้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง รายได้ อุณหภูมิ คะแนนความพึงพอใจในบริการ คะแนนสอบ เป็นต้น
50. ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของแบบสอบถาม
(1) สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากผู้ตอบจำนวนมาก
(2) มีความเป็นวัตถุวิสัย
(3) ประหยัดเวลาเมื่อเทียบกับการสัมภาษณ์
(4) ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก
(5) ผู้ตอบมีเวลาคิดใคร่ครวญในคำตอบ
ตอบ 4 หน้า 49, (คำบรรยาย) ข้อดีของแบบสอบถาม ได้แก่
1 ทำให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากผู้ตอบจำนวนมาก
2 ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และแรงงานคนเมื่อเทียบกับการสัมภาษณ์และการสังเกต
3 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบจะมีมาตรฐานเดียวกัน หรือมีความเป็นวัตถุวิสัย ไม่มีอคติ
4 ผู้ตอบเกิดความสบายใจที่จะตอบโดยอิสระ
5 ผู้ตอบมีเวลาคิดใคร่ครวญในคำตอบ เป็นต้น
51. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะข้อคำถามที่ดีของเครื่องมือวิจัย
(1) ข้อคำถามควรสั้น กระชับ แต่ได้ความหมายบริบูรณ์
(2) ควรถามคำถามนำ
(3) ไม่ใช้คำถามเชิงปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
(4) ไม่ถามในสิ่งที่เป็นความลับ
(5) ข้อคำถามควรมีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้ตอบ
ตอบ 2 หน้า 61 – 62, (คำบรรยาย) ลักษณะข้อคำถามที่ดีของเครื่องมือวิจัย ได้แก่
1 ข้อคำถามควรใช้คำหรือประโยคที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่มีความสลับซับซ้อน
2 ข้อคำถามควรสั้น กระชับ แต่ได้ความหมายครบถ้วนบริบูรณ์
3 ข้อคำถามควรมีความเหมาะสมกับผู้ตอบ ทั้งในแง่ระดับสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ หรือสภาพแวดล้อมของผู้ตอบ
4 ไม่ใช้คำถามเชิงปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เพราะจะทำให้ผู้ตอบเกิดความสับสน
5 ไม่ถามในสิ่งที่เป็นความลับ หรือผู้ตอบอึดอัดใจที่จะตอบ
6 ไม่ถามคำถามนำ เป็นต้น
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 52. – 54
(1) Validity
(2) Reliability
(3) Difficulty
(4) Discrimination
(5) Practicality
52. ตัวเลือกใดหมายถึง “คุณสมบัติของเครื่องมือวิจัยที่สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ”
ตอบ 1 หน้า 62, (คำบรรยาย) ความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือวิจัยที่สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เช่น หากนายเชษฐาต้องการทราบน้ำหนักของตนจึงไปชั่งตราชั่ง ตราชั่งเป็นเครื่องมือวัดน้ำหนัก) ปรากฏว่าเข็มตราชั่งชี้ไปที่น้ำหนัก 61 กิโลกรัม ทั้ง ๆ ที่น้ำหนักที่แท้จริงของนายเชษฐาคือ 56 กิโลกรัม กรณีนี้แสดงว่าตราชั่งมีปัญหาเรื่องความเที่ยงตรง เป็นต้น
53. การนำแบบสอบถามไปหาค่า IOC นั้นเป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในลักษณะใด
ตอบ 1 หน้า 62 – 63, (คำบรรยาย) วิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยทั่วไปจะใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งจำนวนที่ใช้ไม่ควรต่ำกว่า 3 คน ในการพิจารณา โดยวิธีการหาค่านั้นสามารถกระทำได้หลายวิธี ได้แก่
1 การหาดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (Index of Item Objective Congruence : IOC)
2. การหาอัตราส่วนความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของข้อคําถาม (Content Validity Ratio : CVR)
3. การหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity Index : CVI) เป็นต้น
54. การนำแบบสอบถามไปให้ผู้ตอบคนเดียวกันตอบ 2 ครั้ง ในต่างช่วงเวลากัน เพื่อตรวจสอบดูความคงเส้นคงวา ของคําตอบ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยในลักษณะใด
ตอบ 2 หน้า 65, (คําบรรยาย) ความเชื่อมั่นแบบคงที่ (Stability Reliability) คือ ความคงเส้นคงวา ของเครื่องมือวิจัยเมื่อนําไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่างเวลากัน กล่าวคือ เครื่องมือวิจัยที่มีความเชื่อมั่น แบบคงที่ก็คือ เครื่องมือวิจัยที่เมื่อนําไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่างเวลากันกับผู้ตอบคนเดียวกัน โดยใช้ เครื่องมือฉบับเดิมแล้วได้คําตอบที่เหมือน ๆ เดิม เช่น วิธีการทดสอบ (Test-Retest Method) โดยนักวิจัยจะนําเครื่องมือวิจัย (แบบสอบถาม) ฉบับเดียวกันไปให้ผู้ตอบคนเดียวกันตอบ 2 ครั้ง แต่ต่างช่วงเวลากัน หากผู้ตอบคนใดไม่สามารถตอบได้ทั้ง 2 ครั้ง นักวิจัยต้องตัดผู้ตอบคนนั้น ออกไปไม่นํามาใช้ในการคํานวณหาความเชื่อมั่น เป็นต้น
55. การหาค่า IOC ต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิขั้นต่ํากี่คนในการพิจารณา
(1) จำนวน 1 คน
(2) จำนวน 2 คน
(3) จำนวน 3 คน
(4) จำนวน 4 คน
(5) จำนวน 5 คน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ
56. จากตัวเลือกต่อไปนี้ข้อใดมีค่าความยากง่ายดีที่สุด
(1) P = 0.90
(2) P = 0.75
(3) P = 0.50
(4) P = 0.25
(5) P = 0.15
ตอบ 3 หน้า 66, (คําบรรยาย) ความยากง่าย (Difficulty) นิยมใช้กับเครื่องมือวิจัยประเภทแบบทดสอบ โดยค่าความยากง่ายของข้อคําถามโดยทั่วไปนิยมคิดคํานวณเป็นค่าสัดส่วน (Proportion : P) ของจํานวนผู้ตอบถูกจากจํานวนผู้ตอบทั้งหมดในข้อคําถามนั้น ๆ โดย P จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 – 1.00 ถ้า P ที่คํานวณได้เข้าใกล้ 0 แสดงว่าข้อคําถามนั้นยากมาก, ถ้า P ที่คํานวณได้ เข้าใกล้ 1 แสดงว่าข้อคําถามนั้นง่ายมาก แต่ถ้า P = 0.50 แสดงว่าข้อคําถามนั้นมีความยากง่าย ดีที่สุด ซึ่งหมายความว่าข้อคําถามในแบบทดสอบนั้นมีความยากง่ายปานกลาง คือไม่ยากหรือ ง่ายจนเกินไป
57. เครื่องมือชนิดใดที่นิยมนํามาใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ
(1) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
(2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
(3) แบบสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง
(4) แบบสังเกต
(5) แบบสอบถาม
ตอบ 5 หน้า 46, (คําบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ที่ถูกนํามาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเป็นรายการ ของคําถามที่ถูกจัดหมวดหมู่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน เป็นการรวบรวมคําถามอย่างเป็นระบบในการ ส่งไปยังตัวอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาในแบบสอบถามจะเป็น ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก และความสนใจต่าง ๆ ของผู้ตอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการกลับมา ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น
58. จากตัวเลขของชุดข้อมูลมีดังนี้ 10, 15, 15, 17, 20, 23, 25 ฐานนิยมคือค่าใด
(1) 10
(2) 15
(3) 17
(4) 25
(5) 17.86
ตอบ 2 หน้า 74, (คำบรรยาย) ฐานนิยม คือ ค่าของข้อมูลที่ปรากฏซ้ำบ่อยที่สุดหรือมีความถี่สูงสุด จากข้อมูลที่โจทย์ให้มา คือ 10, 15, 15, 17, 20, 23, 25 จะเห็นว่า ข้อมูลเลข 15 ปรากฏซ้ำบ่อยที่สุดหรือมีความถี่สูงสุด (ซ้ำกัน 2 ตัว) … ฐานนิยม มีค่าเท่ากับ 15
59. ข้อใดเป็นสถิติอ้างอิง
(1) Arithmetic Mean
(2) Mode
(3) Standard Deviation
(4) Range
(5) Independent Sample T-test
ตอบ 5 หน้า 71, 77 – 79, (คำบรรยาย) สถิติอ้างอิงหรือสถิติอนุมาน (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปอ้างอิงข้อมูลหรือผลการศึกษาที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างไปยังประชากรเป้าหมาย เช่น การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test หรือ X-test), การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-test), การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test) เป็นต้น
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 60. – 67.
(1) Arithmetic Mean
(2) Independent Sample T-test
(3) Chi-Square Test
(4) One-Way ANOVA
(5) Correlation
60. นักวิจัยต้องการทราบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้
ตอบ 4 หน้า 80 – 81, (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA หรือ F-test) เป็นสถิติที่คิดค้นโดย Sir Ronald A. Fisher เพื่อใช้ในการวิจัยด้านการเกษตร ต่อมาภายหลังจึงได้นำไปใช้ในงานวิจัยด้านอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวนั้นจะใช้ในการทดสอบนัยสำคัญว่าค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มขึ้นไป มีความแตกต่างกันหรือไม่ หรือเป็นวิธีทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระที่มีกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป นำไปวิเคราะห์กับตัวแปรตาม ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษหรือไม่ เป็นต้น
61. นักวิจัยต้องการทราบว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนำมาใช้เพื่อตอบวัตถุประสงค์วิจัย
ตอบ 2 หน้า 78 – 80, (คำบรรยาย) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 ประชากรที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-test) เป็นสถิติที่ใช้ทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง 2 ชุด ที่สุ่มมาจากประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 กลุ่ม และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น การทดสอบว่านักศึกษาเพศชายและเพศหญิง มีเหลี่ยความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100 ต่างกันหรือไม่ เป็นต้น
62. นักวิจัยต้องการทราบว่านักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการเรียนวิชา POL 4100 ต่างกันหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
63. นักวิจัยต้องการทราบว่าอายุงานมีความสัมพันธ์กับคะแนนความผูกพันต่อองค์การหรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้
ตอบ 5 หน้า 83 – 84, (คำบรรยาย) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient หรือค่า r) ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปรที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่มีระดับการวัดแบบช่วงหรือแบบอัตราส่วน โดย r จะมีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง +1 นั่นคือ หาก : มีค่าเข้าใกล้ -1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางตรงกันข้าม หาก ๆ มีค่าเท่ากับ 0 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่หาก 1 มีค่าเข้าใกล้ +1 หมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันมากในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างอายุงานกับคะแนนความผูกพันต่อองค์การ เป็นต้น
64. นักวิจัยต้องการทราบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับระดับความสุขในการทํางาน (มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด) หรือไม่ กรณีนี้สถิติใดเหมาะสมในการนํามาใช้
ตอบ 3 หน้า 78, 82 – 83, (คำบรรยาย) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test หรือ X-test) เป็นการทดสอบทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบตัวแปรเชิงคุณภาพที่มีระดับการวัดแบบนามบัญญัติหรือแบบเรียงลําดับ ทั้งนี้พึงตระหนักว่าการทดสอบดังกล่าวจะเป็นเพียงการบอกว่าตัวแปรสองตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ดังนั้นสถิติตัวนี้จึงเหมาะสมกับการใช้ใน กรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับระดับความสุขในการทํางาน เป็นต้น
65. สถิติตัวใดที่มีเงื่อนไขในการใช้ว่า ค่าความถี่ที่คาดหวังในแต่ละช่องเซลล์ต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 5
ตอบ 3 หน้า 82, (คำบรรยาย) ข้อตกลงเบื้องต้นของการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) ได้แก่ 1. ข้อมูลแต่ละค่า (ค่าที่สังเกตได้) ต้องอยู่ในช่องเซลล์ใดเซลล์หนึ่งเท่านั้น 2. ข้อมูลแต่ละค่าเป็นอิสระจากข้อมูลอื่น 3. ข้อมูลที่น่ามาวิเคราะห์เป็นความถี่ 4. ค่าความถี่ที่คาดหวังในแต่ละช่องเซลล์ต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 5 เป็นต้น
66. สถิติตัวใดเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ 2 กลุ่ม และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
67. สถิติตัวใดเหมาะสมกับการใช้ในกรณีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ
68. เอกสารประเภทใดที่ผู้วิจัยจะต้องนําเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทําวิจัยไว้ล่วงหน้า
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น
(3) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร
(4) โครงร่างการวิจัย
(5) รายงายความก้าวหน้างานวิจัย
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ
69. ข้อใดถูกต้อง
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด
(2) การทบทวนเอกสารควรเขียนเรียงต่อ ๆ กันให้มีลักษณะเหมือน “ขนมชั้น”
(3) การทบทวนเอกสารคือการเขียนทบทวนสิ่งที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด
(4) หากผู้วิจัยเขียนเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยชิ้นอื่นด้วยภาษาของตนเองแล้ว ก็ไม่จําเป็นต้องใส่อ้างอิง
(5) ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้การอ้างอิงในบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารได้ตามใจชอบ
ตอบ 1 หน้า 91 – 92, 95, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความหนา มากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกหลัก, หน้าปกใน ซึ่งมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก หน้าอนุมัติ, บทคัดย่อภาษาไทย, บทคัดย่อภาษาอังกฤษ, หน้าประกาศคุณูปการหรือ กิตติกรรมประกาศ เป็นต้น
2 ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาจํานวน 5 บทหลัก
3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติย่อผู้วิจัย
70. หลัก 3R ในการทําวิจัย ประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) Research, Reproduce, Report
(2) Research, Reproduce, Reference
(3) Research, Reproduce, Reply
(4) Research, Report, Reply
(5) Research, Report, Reference
ตอบ 5 หน้า 90, (คําบรรยาย) หลัก 3R ในการทําวิจัย ประกอบด้วย
1. Research หมายถึง การลงมือทําวิจัยด้วยนักวิจัยเอง
2. Report หมายถึง การเขียนรายงานที่สะท้อนถึงการทําวิจัย
3. Reference หมายถึง การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นํามาใช้อย่างครบถ้วน
71. “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึงงานวิจัยที่มีลักษณะอย่างไร
(1) งานวิจัยที่ศึกษาประเด็นความเชื่อ ศาสนา จิตวิญญาณ
(2) งานวิจัยที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการ
(3) งานวิจัยที่ถูกเก็บไว้บนหิ้ง
(4) งานวิจัยเก่า ๆ
(5) งานวิจัยที่ผู้คนเคารพบูชา
ตอบ 2 หน้า 89, (คําบรรยาย) “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึง งานวิจัยที่ทําเสร็จจนสมบูรณ์หรือเสร็จสิ้น โครงการแล้ว แต่ไม่สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง หรือไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการ แต่อย่างใด
72. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(1) เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด
(2) ภาคผนวกจะอยู่ในส่วนประกอบตอนท้าย
(3) ประกอบไปด้วย 3 บทหลัก
(4) ต้องมีบทคัดย่อ
(5) ปกหลัก และปกใน มีเนื้อหาและรายละเอียดเหมือนกัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ
73. องค์ประกอบใดไม่อยู่ในส่วนเนื้อเรื่องของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(1) บทนํา
(2) การทบทวนวรรณกรรม
(3) ระเบียบวิธีวิจัย
(4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
(5) บรรณานุกรม
ตอบ 5 หน้า 92 – 94, (คําบรรยาย) “ส่วนเนื้อเรื่อง” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้
บทที่ 1 บทนํา ประกอบด้วย ที่มาและความสําคัญของปัญหา คําถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจํากัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ ที่ใช้ในการวิจัย
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย
บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดําเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสําคัญทั้งต่อการวิจัย เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม
บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
74. เนื้อหาในบทใดของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่สามารถแยกเนื้อหาได้มากกว่า 1 บท
(1) บทที่ 1 บทนํา
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ข้อค้นพบของการวิจัย
(5) บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล
ตอบ 4 หน้า 94, 109 บทที่ 4 ข้อค้นพบของการวิจัย หรือ “ผลการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล” ของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ในบางกรณีนั้นพบว่างานวิจัยในบางฉบับสามารถที่จะแยกเนื้อหา บทที่ 4 ออกเป็นหลายบทตามจํานวนของวัตถุประสงค์ที่ปรากฏอยู่ในบทที่ 1 ได้เช่นกัน
75. รายงานการวิจัยฉบับสั้นมักจะมีความยาวประมาณกี่หน้า
(1) 10 – 15 หน้า
(2) 20 – 25 หน้า
(3) 50 – 70 หน้า
(4) 90 – 100 หน้า
(5) 120 – 150 หน้า
ตอบ 3 หน้า 96, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดย่อส่วน ลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักจะมีความหนาประมาณ 50 – 70 หน้า
76. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของบทนา
(1) สรุปผลการวิจัย
(2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
(3) สารบัญ
(4) แบบสอบถาม
(5) ข้อเสนอแนะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ
77. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของบทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสารได้ถูกต้อง
(1) มีความยาวประมาณ 40 – 50 หน้า
(2) ผู้วิจัยสามารถกําหนดรูปแบบการเขียนและการจัดรูปหน้าเองได้
(3) การใช้ระบบอ้างอิงขึ้นอยู่กับข้อกําหนดของแต่ละวารสาร
(4) ไม่ต้องใส่ข้อเสนอแนะ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) บทความวิจัย (Research Article) หรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไปแล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งจะมีรูปแบบการเขียน ลักษณะการจัดรูปหน้า และระบบการอ้างอิงที่แตกต่างกันไปตามข้อกําหนดของแต่ละวารสาร กรณีของประเทศไทยในปัจจุบัน วารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)
78. ลักษณะสําคัญของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย” ที่แตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น คืออะไร
(1) เป็นรายงานที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์
(2) เป็นรายงานที่ยาวที่สุดเมื่อเทียบกับรายงานประเภทอื่น
(3) เป็นรายงานที่สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับรายงานประเภทอื่น
(4) เป็นรายงานที่เขียนขึ้นก่อนเสนอโครงการวิจัย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 99, (คําบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Interim Report) เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีความแตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงไม่จําเป็นต้องมีรายละเอียดในส่วนของขอบเขตของการวิจัยและผลการศึกษา แต่ผู้วิจัยจะมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจะมีความสําคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือสัมฤทธิผลที่ได้ทําสัญญากันไว้
79. บทใดในรายงานการวิจัยที่ทําหน้าที่เสมือน “ม่านในโรงละคร”
(1) บทนํา
(2) ทบทวนวรรณกรรม
(3) ระเบียบวิธีวิจัย
(4) ผลการวิจัย
(5) ข้อเสนอแนะ
ตอบ 1 หน้า 102, (คําบรรยาย) บทนํา (Introduction) ทําหน้าที่เสมือน “ม่านในโรงละคร” ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความสําคัญอย่างมากในการเปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสําคัญของการศึกษาปัญหาวิจัย อันจะนําไปสู่ “การออกแบบงานวิจัย” (Research Design) ต่อไป ซึ่งบทนําที่ดีและน่าสนใจย่อมดึงดูดให้ผู้อ่านต้องการติดตามต่อไปว่างานวิจัยฉบับนี้จะตั้งประเด็นปัญหา เลือกวิธีการนําเสนอ และคลี่คลายไปในทิศทางใด
80. หากผู้วิจัยต้องการใส่บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มลงไปในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผู้วิจัยควรใส่ข้อมูลดังกล่าวไว้ในส่วนใดของรายงาน
(1) กิตติกรรมประกาศ
(2) ทบทวนวรรณกรรม
(3) ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บรรณานุกรม
(5) ภาคผนวก
ตอบ 5 หน้า 95, (คําบรรยาย) ภาคผนวก (Appendix) ซึ่งปรากฏในส่วนประกอบตอนท้ายของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ จะเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิ่มเติม ของรายงานการวิจัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความ จากกฎหมายฉบับเต็ม เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล (แบบสอบถาม/บทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม) รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงสถิติและผลการคํานวณของโปรแกรม SPSS หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น
81. หน่วยงานใดที่ทําหน้าที่จัดประเภทวารสารทางวิชาการของไทยในปัจจุบัน
(1) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(2) วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ
(3) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(4) ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
(5) สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ
82. ในการเขียนที่มาและความสําคัญของปัญหาผู้วิจัยควรจะคํานึงถึงหลักการข้อใด
(1) เขียนให้ตรงประเด็น
(2) เขียนให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญ
(3) เขียนให้มีความยาวเหมาะสม
(4) อ้างอิงแหล่งที่มาเสมอ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103, (คําบรรยาย) การเขียน “ที่มาและความสําคัญของปัญหา” ผู้วิจัยควรจะคํานึงถึงหลักสําคัญดังนี้
1 การเขียนให้ตรงประเด็น ไม่เยิ่นเย้อหรืออ้อมค้อมวกวน
2 การเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญของปัญหา
3 การเขียนให้มีความยาวเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป
4 การหลีกเลี่ยงการนําตัวเลข ตารางยาว ๆ หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาใส่
5 การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสารประกอบอย่างสมบูรณ์เสมอ
6 ผู้วิจัยต้องขมวดหรือสรุปประเด็นในย่อหน้าสุดท้ายให้มีส่วนเชื่อมโยงกับหัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นต้น
83. ข้อใดไม่ใช่หลักการของการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย
(1) อยู่ในรูปของวิธีการดําเนินการ
(2) มีลักษณะของ “SMART”
(3) อยู่ในขอบเขตของการวิจัย
(4) มีความชัดเจน
(5) เรียงลําดับความสําคัญของวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบ
ตอบ 1 หน้า 103 – 104, (คําบรรยาย) หลักการของการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่
1 การเขียนให้มีความชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร
2 การเขียนให้อยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้
3 การจัดเรียงลําดับความสําคัญของวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบ
4 การเขียนไม่ควรอยู่ในรูปของวิธีการดําเนินการ
5 การเขียนไม่ควรมีจํานวนข้อมากจนเกินไป
6 การเขียนวัตถุประสงค์ควรให้มีลักษณะของ “SMART” เป็นต้น
84. “งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อทําความเข้าใจข้อเสนอและแนวคิดของซินเธีย เอ็นโล เกี่ยวกับประเด็นทางเพศ ในบริบทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ข้อความในเครื่องหมายคําพูดเหมาะที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด
(1) วัตถุประสงค์ในการวิจัย
(2) ทบทวนวรรณกรรม
(3) ระเบียบวิธีวิจัย
(4) อภิปรายผล
(5) สรุปผลการวิจัย
ตอบ 1 หน้า 28, (คำบรรยาย) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective) ของรายงานการวิจัย คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยว่าจะทำไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คำขึ้นต้นคำว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อทำความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดควบคู่ไปกับการตั้งคำถามการวิจัย
85. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ SMART ในการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย
(1) ความเหมาะสม (Sensible :S)
(2) การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M)
(3) การเป็นที่สนใจ (Attention : A)
(4) การคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : T)
(5) ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R)
ตอบ 3 หน้า 104 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทำได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : 7)
86. “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมของสมัชชาสุขภาพจังหวัดภาคใต้ตอนบน” ส่วนที่ขีดเส้นใต้จัดเป็นขอบเขตการวิจัยด้านใด
(1) พื้นที่
(2) เวลา
(3) ประชากร
(4) เนื้อหา
(5) ปริมาณ
ตอบ 4 หน้า 104, (คำบรรยาย) ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทำให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัย ว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนนั้นจะทำให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับอาณาบริเวณของคลังข้อมูลจำนวนมหาศาลเพียงใด ดังนั้นขอบเขตของงานวิจัยจึงสามารถปรากฏได้ในหลายลักษณะ เช่น ขอบเขตด้านสถานที่ ประชากร เนื้อหาสาระ และเวลา ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมของสมัยสุขภาพจังหวัด ภาคใต้ตอนบน” จะเห็นได้ว่าขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาก็คือ นโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
87. ข้อใดกล่าวถึงหลักการในการทบทวนวรรณกรรมได้ถูกต้อง
(1) สัมพันธ์กับหัวข้อวิจัยที่กำลังทำอยู่
(2) เลือกเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญ
(3) ควรสังเคราะห์มาแล้ว และเลือกเขียนเฉพาะจุดที่มีการศึกษาอยู่
(4) เรียบเรียงสาระอย่างเป็นขั้นตอนโดยชี้ให้เห็นว่างานวิจัยก่อนหน้านี้มีข้อบกพร่องอย่างไร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 107 – 108, (คำบรรยาย) จินตนาภา โสภณ ได้เสนอหลักการในการทบทวนวรรณกรรมไว้ดังนี้
1 วรรณกรรมที่ผู้วิจัยเลือกมาทบทวนต้องมีความสัมพันธ์กับหัวข้อวิจัยที่กำลังทำอยู่
2 วรรณกรรมที่นำมาทบทวนผู้วิจัยสามารถอภิปรายทีละเรื่องในแต่ละย่อหน้า โดยเลือกเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญเท่านั้น
3 ในกรณีที่มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่ศึกษาในประเด็นคล้ายคลึงกัน ผู้วิจัยควรนำมาทบทวนรวมกันในย่อหน้าเดียวกันและสรุปผลออกมาเป็นกลุ่ม มากกว่าการสรุปผลแยกกัน
4 การเขียนทบทวนวรรณกรรมควรเลือกที่ได้มีการรวบรวมและสังเคราะห์มาแล้ว และเลือกเขียนเฉพาะจุดที่มีการศึกษาอยู่
5 การทบทวนวรรณกรรมควรมีการเรียบเรียงสาระสําคัญอย่างเป็นขั้นตอน โดยชี้ให้เห็นว่าผลงานวิจัยก่อนหน้านี้มีข้อบกพร่องอย่างไร เป็นต้น
88. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนทบทวนวรรณกรรม
(1) เป็นการทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้
(2) เป็นการทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา
(3) เป็นการทบทวนงานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้อง
(4) การทบทวนวรรณกรรมจะปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัย
(5) เป็นการเรียบเรียงความคิดจากการทบทวนวรรณกรรมทุกเรื่องที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 106, (คําบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมาไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกําลังศึกษามาทําการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
89. ข้อใดไม่ใช่การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ
(1) การแจกแบบสอบถามทางไปรษณีย์
(2) การสัมภาษณ์เชิงลึก
(3) การทําแบบทดสอบ
(4) การทําการทดลองในห้องปฏิบัติการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 109, (คําบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เป็นการอธิบายถึงวิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าทําอย่างไร มีขั้นตอนในการพราวสอบข้อมูลและควบคุมข้อมูลอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้วิธีการดังกล่าว และข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือและครบถ้วนอย่างไร เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ (การทําแบบทดสอบ, การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์, การทําการทดลองในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ) การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ (การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, การสัมภาษณ์เชิงลึก, การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ฯลฯ) เป็นต้น
90. “ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทําการศึกษาสําหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ จากการศึกษารายงานทางสถิติจํานวนประชากรในเขตจังหวัดสมุทรปราการ มีข้อมูลที่กระทรวงมหาดไทย อ้างอิงประกาศพบว่ามีจํานวนประชากร 1,261,530 คนอ้างอิงจากทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558” ข้อความในเครื่องหมายคําพูดเหมาะที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด
(1) วัตถุประสงค์ในการวิจัย
(2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(3) สมมติฐานการวิจัย
(4) ขอบเขตของการวิจัย
(5) ข้อเสนอแนะ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ
91. “อาวุธของนักล่าอสูรคือดาบนิจิริน ทันจิโร่เป็นนักล่าอสูรจึงมีดาบนิจิรินเป็นอาวุธ” ข้อความในเครื่องหมายคำพูดเป็นการให้เหตุผลแบบใด
(1) นิรนัย
(2) อุปนัย
(3) อัตนัย
(4) ปรนัย
(5) นิตินัย
ตอบ 1 หน้า 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูลแบบนิรนัย (Deductive) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น อาวุธของนักล่าอสูรคือดาบนิจิริน ทันจิโร่เป็นนักล่าอสูร จึงมีดาบนิจิรินเป็นอาวุธ, อสูรทุกคนกลัวแสงแดด เนโกะเป็นอสูร เนโกะจึงกลัวแสงแดด, แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาจึงเป็นคนรวย เป็นต้น
92. “มุซันเป็นอสูรที่แพ้แสงอาทิตย์ อสูรตนอื่น ๆ จึงมีโอกาสที่จะแพ้แสงอาทิตย์” ข้อความในเครื่องหมายคำพูดเป็นการให้เหตุผลแบบใด
(1) นิรนัย
(2) อุปนัย
(3) อัตนัย
(4) ปรนัย
(5) นิตินัย
ตอบ 2 หน้า 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัย (Inductive) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น มุขันเป็นอสูรที่แพ้แสงอาทิตย์ อสูรตนอื่น ๆ จึงมีโอกาสที่จะแพ้แสงอาทิตย์, เอเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน, นายแดง ชาวบ้านนาเป็นคนจน ชาวบ้านนาทุกคนเป็นคนจน เป็นต้น
93. หน้าที่ของ “บทคัดย่อ” คืออะไร
(1) ทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยได้ในเวลาอันรวดเร็ว
(2) แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีคุณูปการในงานวิจัย
(3) ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
(4) ให้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในอนาคต
(5) บอกประวัติผู้วิจัย
ตอบ 1 หน้า 114 บทคัดย่อ (Abstract) มีหน้าที่สำคัญในการทำให้ผู้อ่านวิจัยหรือบทความสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยหรือบทความวิชาการทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นบทคัดย่อจึงเป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่สั้นกะทัดรัด แต่ได้ข้อความครอบคลุมเนื้อหาของรายงานการวิจัยทั้งหมด
94. บทสรุปสำหรับผู้บริหารควรมีความยาวประมาณกี่หน้ากระดาษ A4
(1) ไม่เกิน 1 หน้า
(2) 3 – 5 หน้า
(3) 15 – 20 หน้า
(4) 50 – 70 หน้า
(5) ไม่มีการกำหนดความยาว
ตอบ 2 หน้า 116 – 117, (คำบรรยาย) การเขียนบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ควรมีลักษณะดังนี้
1 มีเป้าหมายด้านการบริหารมากกว่าด้านวิชาการ
2 ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนำเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ
3 อาจมีรูปภาพและตารางในบทสรุปผู้บริหารเท่าที่จำเป็นได้
4 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปผู้บริหาร
5 บทสรุปสำหรับผู้บริหารควรมีความยาวประมาณ 3 – 5 หน้ากระดาษ A4 เป็นต้น
95. โดยปกติแล้วการนำเสนอด้วยวาจาจะถูกกำหนดระยะเวลาในการนำเสนอยาวกี่นาที
(1) 5 – 10 นาที
(2) 15 – 20 นาที
(3) 30 – 40 นาที
(4) 60 นาที
(5) ไม่มีการกำหนดระยะเวลา
ตอบ 2 หน้า 125 การนำเสนอด้วยวาจา ผู้วิจัยจำเป็นต้องเตรียมสไลด์สำหรับการนำเสนอ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการลำดับความคิดและเนื้อหาสำหรับผู้นำเสนอ โดยทั่วไปแล้วผู้นำเสนอมักจะถูกกำหนดให้นำเสนอในช่วงระยะเวลาเพียง 15 – 20 นาทีเท่านั้น
96. พฤติกรรมใดที่จะทำให้ผู้วิจัยมีโอกาสกระทำความผิดข้อหาคัดลอกผลงาน (Plagiarism)
(1) ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรม Turn it in
(2) ไม่ตรวจสอบการสะกดคำ
(3) สรุปข้อความที่ได้จากแหล่งข้อมูลอื่นด้วยภาษาของตนเองและใส่อ้างอิง
(4) ใช้ภาษากึ่งทางการ
(5) คัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง
ตอบ 5 หน้า 118 – 121, (คำบรรยาย) หลักการในการเขียนรายงานการวิจัย มีดังนี้
1. จัดหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยโดยใช้ตัวเลขทศนิยม หรือใช้ตัวเลขผสมกับตัวอักษร
2. เรียบเรียงเนื้อหาของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน
3. ตรวจสอบความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์
4. ใช้ภาษาเขียนที่อ่านแล้วรื่นหู ไม่เยิ่นเย้อหรือใช้คำหรูหรามากเกินไป
5. ระวังพฤติกรรมในการคัดลอก (Copy) และวาง (Place) เพราะจะทำให้ผู้วิจัยมีโอกาสกระทำความผิดข้อหาคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง (Plagiarism) ดังนั้นควรตรวจสอบการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ หรือโปรแกรม Turn it in เป็นต้น
97. ในการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง
(1) สถานที่ในการนำเสนอผลงาน
(2) กำหนดการและรูปแบบของการจัดงาน
(3) ลักษณะของผู้เข้าชมงาน
(4) เนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 122 – 124, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้วิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ส่วน ได้แก่
1 การวางแผน เช่น สถานที่ในการนำเสนอผลงาน ขนาดของโปสเตอร์ วันและเวลากำหนดการ รูปแบบของการจัดงาน จำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ
2 เนื้อหาของโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องเลือกเนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์ให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เข้าชมงาน
3 รูปแบบโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สีตัวอักษร สีพื้นหลังโปสเตอร์ ประเภทและขนาดของตัวอักษร เป็นต้น
98. องค์ประกอบใดไม่ควรมีอยู่ในโปสเตอร์ที่ผู้วิจัยใช้นำเสนอผลงาน
(1) ชื่อเรื่อง
(2) ทบทวนวรรณกรรม
(3) ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทคัดย่อ
(5) ผลการวิจัย
ตอบ 2 หน้า 123, (คำบรรยาย) องค์ประกอบของการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ประกอบด้วยเนื้อหา 5 ส่วนหลัก ดังนี้
1. ชื่อเรื่อง (Title)
2. บทคัดย่อ (Summary)
3. บทนำและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)
4. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย”
5. ผลการวิจัย (Research Results)
99. นักวิจัย A ค้นพบว่ามีแหล่งน้ำบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน งานวิจัยของนักวิจัย A จะถูกจัดเป็นงานวิจัยประเภทใด
(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ
(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย
(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน
ตอบ 1 หน้า 129, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือเครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของงานวิจัยลักษณะนี้ก็คือ การมีความเป็นอิสระ การมีระเบียบวิธีที่เข้มข้น การมีวงการหรือชุมชนวิชาการในการตรวจสอบ เช่น นักวิจัย A ค้นพบว่ามีแหล่งน้ำบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน เป็นต้น
100. งานวิจัยของบริษัทเครื่องสำอางที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้หมดเพราะถือเป็นความลับทางธุรกิจ จัดเป็นงานวิจัยประเภทใด
(1) งานวิจัยแบบวิเคราะห์เนื้อหา
(2) งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย
(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน
ตอบ 4 หน้า 131, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่คำนึงถึงการลงทุน และผลตอบแทนเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน ผู้วิจัยสามารถสำรวจความต้องการของภาคการผลิตต่างๆ เป็นรายสาขา เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำตั้งแต่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นธรรมชาติของงานวิจัยประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาดและนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจำเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด เช่น งานวิจัยของบริษัทเครื่องสำอางที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้หมดเพราะถือเป็นความลับทางธุรกิจ เป็นต้น