การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

Advertisement

“คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)”

1. ข้อใดคือความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย

(1) เป็นการเผยแพร่ข้อค้นพบหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ

(2) ส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์

(3) บอกเล่าให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาที่ผู้วิจัยศึกษา

(4) แสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของในลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 89 – 90, (คำบรรยาย) ความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ได้แก่
1 เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม” หรือ “ข้อค้นพบ” ใหม่ ๆ ในวงวิชาการ
2 สามารถส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทำวิจัยแล้วมีคนเพียงจำนวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น
3 เป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาที่ผู้วิจัยศึกษา
4 เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของใน “ลิขสิทธิ์” ของวรรณกรรม หรือ “สิทธิบัตร” ในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ ได้

2. เอกสารประเภทใดที่ผู้วิจัยจะเขียนก่อนการลงมือทำวิจัย

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น

(3) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร

(4) โครงร่างการวิจัย

(5) รายงานความก้าวหน้างานวิจัย

ตอบ 4 หน้า 34 โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) คือ โครงการโดยทั่วไปที่เขียนขึ้นโดยผู้วิจัย ก่อนที่จะลงมือทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้า ในการทำวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทำเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อ ขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทำวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทำโครงร่างการวิจัยทุกครั้งเพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้นเสีย

ตัวอย่างเช่น กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับข้อเสนอวิจัยด้าน สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 เป็นต้น

3. หลัก 3R ในการทำวิจัยประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) Research, Reproduce, Report

(2) Research, Report, Reference

(3) Research, Report, Reply

(4) Research, Reproduce, Reply

(5) Research, Reproduce, Reference

ตอบ 2 หน้า 90, (คำบรรยาย) หลัก 3R ในการทำวิจัย ประกอบด้วย
1 Research หมายถึง การลงมือทำวิจัยด้วยนักวิจัยเอง
2 Report หมายถึง การเขียนรายงานที่สะท้อนถึงการทำวิจัย
3 Reference หมายถึง การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้อย่างครบถ้วน

4. “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึงงานวิจัยที่มีลักษณะอย่างไร

(1) งานวิจัยที่ศึกษาประเด็นความเชื่อ ศาสนา จิตวิญญาณ

(2) งานวิจัยเก่า ๆ

(3) งานวิจัยที่ถูกเก็บไว้บนหิ้ง

(4) งานวิจัยที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการ

(5) งานวิจัยที่ผู้คนเคารพบูชา

ตอบ 4 หน้า 89, (คำบรรยาย) “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึง งานวิจัยที่ทำเสร็จจนสมบูรณ์หรือเสร็จสิ้นโครงการแล้ว แต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง หรือไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการแต่อย่างใด

5. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด

(2) ภาคผนวกจะอยู่ในส่วนประกอบตอนท้าย

(3) ประกอบไปด้วย 5 บทหลัก

(4) ไม่จำเป็นต้องมีบทคัดย่อ

(5) ปกหลัก และปกใน มีเนื้อหาและรายละเอียดเหมือนกัน

ตอบ 4 หน้า 91 – 92, 95, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกหลัก, หน้าปกใน ซึ่งมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก หน้าอนุมัติ, บทคัดย่อภาษาไทย, บทคัดย่อภาษาอังกฤษ, หน้าประกาศคุณูปการหรือกิตติกรรมประกาศ เป็นต้น
2 ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 5 บทหลัก
3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติย่อผู้วิจัย

6. องค์ประกอบใดไม่อยู่ในส่วนเนื้อเรื่องของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

(1) บทนำ

(2) การทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

(5) บรรณานุกรม

ตอบ 5 หน้า 92 – 94, (คำบรรยาย) “ส่วนเนื้อเรื่อง” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีดังนี้

บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา คำถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดำเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสำคัญทั้งต่อการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม

บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

7. เนื้อหาในบทใดของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่สามารถแยกเนื้อหาได้มากกว่า 1 บท

(1) บทที่ 1 บทนำ

(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

(4) บทที่ 4 ข้อค้นพบของการวิจัย

(5) บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล

ตอบ 4 หน้า 94, 109 บทที่ 4 ข้อค้นพบของการวิจัย หรือ “ผลการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล” ของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ในบางกรณีนั้นพบว่า งานวิจัยในบางฉบับสามารถที่จะแยกเนื้อหา บทที่ 4 ออกเป็นหลายบทตามจำนวนของวัตถุประสงค์ที่ปรากฏอยู่ในบทที่ 1 ได้เช่นกัน

8. รายงานการวิจัยฉบับสั้นมักจะมีความยาวประมาณกี่หน้า

(1) 10 – 15 หน้า

(2) 20 – 25 หน้า

(3) 50 – 70 หน้า

(4) 90 – 100 หน้า

(5) 120 – 150 หน้า

ตอบ 3 หน้า 96, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียด ย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการ เผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักจะมีความหนาประมาณ 50 – 70 หน้า

9. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของบทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสารได้ถูกต้อง

(1) ผู้วิจัยสามารถกำหนดรูปแบบการเขียนและการจัดรูปหน้าเองได้

(2) มีความยาวประมาณ 40 – 50 หน้า

(3) ไม่ต้องใส่ข้อเสนอแนะ

(4) การใช้ระบบอ้างอิงขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละวารสาร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 96 – 97, (คำบรรยาย) บทความวิจัย (Research Article) หรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ ลงในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจาก รายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไปแล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งจะมีรูปแบบ การเขียน ลักษณะการจัดรูปหน้า และระบบการอ้างอิงที่แตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของแต่ละ วารสาร กรณีของประเทศไทยในปัจจุบัน วารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภท โดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)

10. หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่จัดประเภทวารสารทางวิชาการของไทยในปัจจุบัน

(1) ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

(2) วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ

(3) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

(4) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

(5) สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

11. หากผู้วิจัยต้องการใส่บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มลงไปในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผู้วิจัยควรใส่ข้อมูลดังกล่าวไว้ในส่วนใดของรายงาน

(1) กิตติกรรมประกาศ

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ภาคผนวก

(5) บรรณานุกรม

ตอบ 4 หน้า 95, (คำบรรยาย) ภาคผนวก (Appendix) ซึ่งปรากฏในส่วนประกอบตอนท้ายของ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ จะเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิ่มเติม ของรายงานการวิจัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความ จากกฎหมายฉบับเต็ม เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล (แบบสอบถาม/บทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม) รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงสถิติและผลการคำนวณของโปรแกรม SPSS หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น

12. ลักษณะสำคัญของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย” ที่แตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น คืออะไร

(1) เป็นรายงานที่ยาวที่สุดเมื่อเทียบกับรายงานประเภทอื่น

(2) เป็นรายงานที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

(3) เป็นรายงานที่สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับรายงานประเภทอื่น

(4) เป็นรายงานที่เขียนขึ้นก่อนเสนอโครงการวิจัย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 99, (คำบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Interim Report) เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีความแตกต่างจากรายงานการวิจัยประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดในส่วนของขอบเขตของการวิจัยและผลการศึกษา แต่ผู้วิจัยจะมีเป้าหมายเพื่อรายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือสัมฤทธิผลที่ได้ทำสัญญากันไว้

13. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย

(1) เป็นรายงานวิจัยที่เกิดขึ้นในช่วงที่งานวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์

(2) มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามแผนวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้กับความก้าวหน้าในงานวิจัยที่เกิดขึ้นจริง

(3) การรายงานผลการวิจัยขั้นต้น คือการจัดทำรายงานหลังจากที่ได้ดำเนินการวิจัยไปแล้วสักระยะหนึ่ง

(4) การรายงานความก้าวหน้ามักรายงานในช่วงระยะเวลาร้อยละ 50 ของระยะเวลาตามสัญญา

(5) การรายงานผลวิจัยขั้นสุดท้ายจะเขียนขึ้นเมื่อทำวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างการเขียนวิจัยฉบับสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 100 – 101, (ค่าบรรยาย) ลักษณะของรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย ได้แก่
1. ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานความก้าวหน้า มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามแผนวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้กับความก้าวหน้าในงานวิจัยที่เกิดขึ้นจริง
2. การรายงานผลการวิจัย การวิจัยขั้นต้น ผู้วิจัยจะต้องแสดงให้เห็นถึงแผนการดำเนินงานในขั้นแรก ตลอดจนรายละเอียดของการปรับแก้ในส่วนต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาโครงร่างได้เสนอแนะไว้
3. การรายงานความก้าวหน้า เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นภายหลังจากที่ได้ดำเนินการวิจัยไปแล้วระยะหนึ่ง โดยมักรายงานในช่วงระยะเวลาร้อยละ 50 ของระยะเวลาตามสัญญา
4. การรายงานผลวิจัยขั้นสุดท้าย เป็นรายงานที่เขียนขึ้นเมื่อทำวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างการเขียนวิจัยฉบับสมบูรณ์ (ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ)

14. เนื้อหาส่วนใดในรายงานการวิจัยที่ทำหน้าที่เปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสำคัญของปัญหา

(1) บทนำ

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ผลการวิจัย

(5) ข้อเสนอแนะ

ตอบ 1 หน้า 102 บทนำ (Introduction) เป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญอย่างมากในการเปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาปัญหาวิจัย อันจะนำไปสู่ “การออกแบบงานวิจัย” (Research Design) ต่อไป ซึ่งบทนำที่ดีและน่าสนใจย่อมดึงดูดให้ผู้อ่านต้องการติดตามต่อไป ว่างานวิจัยฉบับนี้จะตั้งประเด็นปัญหา เลือกวิธีการนำเสนอ และคลี่คลายไปในทิศทางใด

15. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของบทนำ

(1) ที่มาและความสำคัญของปัญหา

(2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย

(3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

(4) ข้อเสนอแนะ

(5) สมมติฐานงานวิจัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

16. ในการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาผู้วิจัยควรจะคำนึงถึงหลักการข้อใด

(1) เขียนให้ตรงประเด็น

(2) เขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ

(3) เขียนให้มีความยาวเหมาะสม

(4) อ้างอิงแหล่งที่มาเสมอ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 103 (คำบรรยาย) การเขียน “ที่มาและความสำคัญของปัญหา” ผู้วิจัยควรจะคำนึงถึงหลักสำคัญดังนี้:
1 การเขียนให้ตรงประเด็น ไม่เยิ่นเย้อหรืออ้อมค้อมวกวน
2 การเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญของปัญหา
3 การเขียนให้มีความยาวเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป
4 การหลีกเลี่ยงการนำตัวเลข ตารางยาว ๆ หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาใส่
5 การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสารประกอบอย่างสมบูรณ์เสมอ
6 ผู้วิจัยต้องขมวด หรือสรุปประเด็นในย่อหน้าสุดท้ายให้มีส่วนเชื่อมโยงกับหัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นต้น

17. หลักการที่เรียกว่า “หลัก 3R” ไม่สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้

(1) การลงมือเก็บข้อมูลวิจัยในพื้นที่ด้วยการแจกแบบสอบถาม

(2) การนำเสนอแหล่งที่มาของข้อมูลวิจัยเพียงบางส่วน

(3) การเขียนรายงานการวิจัยโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงมากกว่าอคติ

(4) การนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบของตารางตามลำดับเวลา

(5) การออกแบบการวิจัยที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

18. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ SMART ในการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย

(1) ความเหมาะสม (Sensible : S)

(2) การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M)

(3) การเป็นที่สนใจ (Attention : A)

(4) การคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : T)

(5) ความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R)

ตอบ 3 หน้า 104 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทำได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับปัญหา (Reasonable : R) และการคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : T)

19. ข้อใดไม่ใช่หลักการของการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย

(1) อยู่ในรูปของวิธีการดำเนินการ

(2) มีลักษณะของ “SMART”

(3) อยู่ในขอบเขตของการวิจัย

(4) มีความชัดเจน

(5) เรียงลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบ

ตอบ 1 หน้า 103 – 104, (คำบรรยาย) หลักการของการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่:
1 การเขียนให้มีความชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร
2 การเขียนให้อยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้
3 การจัดเรียงลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ให้เป็นระบบ
4 การเขียนไม่ควรอยู่ในรูปของวิธีการดำเนินการ
5. การเขียนไม่ควรมีจํานวนข้อมากจนเกินไป
6. การเขียนวัตถุประสงค์ควรให้มีลักษณะของ “SMART” เป็นต้น

20. “นโยบายต่างประเทศเปรียบเทียบของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัย ประธานาธิบดีบารัค โอบามา และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” จากชื่อวิจัยดังกล่าวอะไรจัดเป็นขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหา

(1) นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

(2) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(3) ประธานาธิบดีบารัค โอบามา

(4) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 104 (คำบรรยาย) ขอบเขตของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านเห็นภาพทั้งหมดของงานวิจัยว่า การศึกษาของผู้วิจัยนั้นครอบคลุมในประเด็นใด พื้นที่ใด หรือระยะเวลาใดบ้าง ซึ่งการกําหนดขอบเขตที่ชัดเจนนั้นจะทําให้ผู้วิจัยตีกรอบที่ชัดเจนว่างานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับ อาณาบริเวณของคลังข้อมูลจํานวนมหาศาลเพียงใด เช่น การวิจัยเรื่อง “นโยบายต่างประเทศ เปรียบเทียบของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” จะเห็นได้ว่าขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาก็คือ นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

21. ข้อใดกล่าวถึงหลักการในการทบทวนวรรณกรรมได้ถูกต้อง

(1) สัมพันธ์กับหัวข้อวิจัยที่กําลังทําอยู่

(2) เลือกเฉพาะรายละเอียดที่สําคัญ

(3) ควรสังเคราะห์มาแล้ว และเลือกเขียนเฉพาะจุดที่มีการศึกษาอยู่

(4) เรียบเรียงสาระอย่างเป็นขั้นตอนโดยชี้ให้เห็นว่างานวิจัยก่อนหน้านี้มีข้อบกพร่องอย่างไร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 107 – 108, (บรรยาย) จินตนาภา โสภณ ได้สนอหลักการในการทบทวนวรรณกรรม ไว้ดังนี้
1 วรรณกรรมที่ผู้วิจัยเลือกมาทบทวนต้องมีความสัมพันธ์กับหัวข้อวิจัยที่กําลังทําอยู่
2 วรรณกรรมที่นํามาทบทวนผู้วิจัยสามารถอภิปรายทีละเรื่องในแต่ละย่อหน้า โดยเลือกเฉพาะรายละเอียดที่สําคัญเท่านั้น
3 ในกรณีที่มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่ศึกษาในประเด็นคล้ายคลึงกัน ผู้วิจัยควรนํามาทบทวน รวมกันในย่อหน้าเดียวกันและสรุปผลออกมาเป็นกลุ่ม มากกว่าการสรุปผลแยกกัน
4 การเขียนทบทวนวรรณกรรมควรเลือกที่ได้มีการรวบรวมและสังเคราะห์มาแล้ว และเลือกเขียนเฉพาะจุดที่มีการศึกษาอยู่
5 การทบทวนวรรณกรรมควรมีการเรียบเรียงสาระสําคัญอย่างเป็นขั้นตอน โดยชี้ให้เห็นว่าผลงานวิจัยก่อนหน้านี้มีข้อบกพร่องอย่างไร เป็นต้น

22. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนทบทวนวรรณกรรม

(1) เป็นการทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้

(2) เป็นการทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา

(3) เป็นการทบทวนงานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้อง

(4) การทบทวนวรรณกรรมจะปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัย

(5) เป็นการเรียบเรียงความคิด จากการทบทวนวรรณกรรมทุกเรื่องที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 106, (คำบรรยาย) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) มักปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงความคิดจากการอ่านงานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ต้องการศึกษามากกว่าการรวมทุกเรื่องที่อ่านมาไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมจึงสามารถทบทวนได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1 การทบทวนแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ (Authority Review)
2 การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Review) ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้วิจัยกำลังศึกษา
3 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Research Review) ซึ่งผู้วิจัยกำลังศึกษามาทำการวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภูมิหลัง พัฒนาการตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

23. “ประชากรที่ใช้ในการศึกษานี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 กลุ่ม คือ (1) หัวหน้าสถานีตำรวจ สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยเน้นสถานีตำรวจนครบาลที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก (2) เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาล และกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวรวม 361 คน” ข้อความในเครื่องหมายคำพูดเหมาะที่จะปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) วัตถุประสงค์ในการวิจัย

(2) ทบทวนวรรณกรรม

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) อภิปรายผล

(5) สรุปผลการวิจัย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

24. ข้อใดเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ

(1) การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล

(2) การแจกแบบสอบถามทางไปรษณีย์

(3) การทำแบบทดสอบ

(4) การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 109, (คำบรรยาย) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เป็นการอธิบายถึงวิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าทำอย่างไร มีขั้นตอนในการตรวจสอบข้อมูลและควบคุมข้อมูลอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้วิธีการดังกล่าว และข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือและครบถ้วนอย่างไร เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ (การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ฯลฯ) การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ (การทำแบบทดสอบ, การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ฯลฯ) เป็นต้น

25. ข้อใดกล่าวถึงการนำเสนอข้อมูลในการเขียนผลการวิจัยไม่ถูกต้อง

(1) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลเป็นความเรียง

(2) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลเป็นความเรียงกิ่งตาราง

(3) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภูมิ

(4) ผู้วิจัยสามารถนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัยและนิรนัยผสมกันได้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 109 – 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data) ในการเขียนผลการวิจัย ผู้วิจัยสามารถทำเป็นลักษณะความเรียง (Text Presentation) ความเรียงกึ่งตาราง (Semi-Tabulation Presentation) หรือแบบตาราง (Tabulation Presentation) ซึ่งในกรณีที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมาก การมีตารางหรือแผนภูมิประกอบย่อมจะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจข้อมูลทั้งหมดของงานวิจัยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้วิจัยยังสามารถนำเสนอข้อมูลแบบ “นิรนัย” หรือแบบ “อุปนัย” ก็ได้ แต่เมื่อเลือกนำเสนอด้วยวิธีการใดแล้วก็ควรใช้วิธีการดังกล่าวตลอดรายงานการวิจัย

26. ข้อความใดใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลแบบนิรนัย (Deductive)

(1) เงาะลูกนี้หวาน เงาะในตะกร้าทุกลูกมีรสหวาน

(2) นายแดงชาวบ้านนาเป็นคนจน ชาวบ้านนาทุกคนเป็นคนจน

(3) อสูรทุกคนกลัวแสงแดด เนโกะเป็นอสูร เนโกะจึงกลัวแสงแดด

(4) นางสาวมานี้ถนัดทำงานบ้าน ผู้หญิงทุกคนถนัดทำงานบ้าน

(5) เด็กชายมานพไม่ชอบสีชมพู เด็กผู้ชายไม่ชอบสีชมพู

ตอบ 3 หน้า 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูลแบบนิรนัย (Deductive) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น อสูรทุกคนกลัวแสงแดด เนโกะเป็นอสูร เนโกะจึงกลัวแสงแดด, แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาจึงเป็นคนรวย เป็นต้น

27. ข้อความใดใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัย (Inductive)

(1) ผู้ชายมักชอบดูฟุตบอล นายสมศักดิ์จึงชอบฟุตบอล

(2) เอเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน

(3) ผู้หญิงชอบแต่งหน้า นางสาวสมศรีจึงชอบแต่งหน้า

(4) แพทย์ทุกคนเป็นคนรวย นิสาเป็นแพทย์ นิสาจึงเป็นคนรวย

(5) เจ้าหญิงดิสนีย์มักมีผมสีทอง ซินเดอเรลล่ามีผมสีทอง ซินเดอเรลล่าเป็นเจ้าหญิง

ตอบ 2 หน้า 110, (คำบรรยาย) การนำเสนอข้อมูลแบบอุปนัย (Inductive) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น เอเรนชาวเกาะพาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน, นายแดงชาวบ้านนาเป็นคนจน ชาวบ้านนาทุกคนเป็นคนจน เป็นต้น

28. ข้อใดกล่าวถึงหลักการในการเขียนอภิปรายผลได้ถูกต้อง

(1) เขียนตอบวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน

(2) แสดงผลการวิจัยที่สนับสนุน ขยายความ หรือถกเถียงในแนวคิดทฤษฎี และผลงานวิจัยที่มีอยู่

(3) ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของการวิจัยที่อาจส่งผลต่อผลของการศึกษา

(4) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่เกิดจากข้อค้นพบว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 110 หลักในการเขียนอภิปรายผล มีดังนี้
1. เขียนตอบวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน
2. แสดงผลการวิจัยที่สนับสนุน ขยายความ หรือถกเถียงในแนวคิดทฤษฎี และผลงานวิจัยที่มีอยู่
3. ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของการวิจัยที่อาจส่งผลต่อผลของการศึกษา
4. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่เกิดจากข้อค้นพบว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

29. ข้อใดกล่าวถึงข้อควรระวังในการสรุปผลได้ถูกต้อง

(1) ต้องอยู่ภายในขอบเขตของงานวิจัย

(2) ต้องตอบคำถามการวิจัยและสมมติฐานที่ตั้งไว้

(3) ต้องตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูล

(4) ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้และการวิจัยเพิ่มเติม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คำบรรยาย) ข้อควรระวังในการสรุปผล มีดังนี้
1. ต้องตอบคำถามการวิจัย ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ และสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ต้องอยู่ภายในขอบเขตของงานวิจัย
3. ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้และการวิจัยเพิ่มเติม
4. ต้องตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูล
5. ต้องกำจัดความลำเอียงและอคติส่วนบุคคลออกไป เป็นต้น

30. ในการเขียนข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยควรนำเสนอประเด็นใดบ้าง

(1) การนำผลวิจัยไปใช้

(2) จุดเด่น จุดด้อยของระเบียบวิธีวิจัย

(3) ข้อจำกัดของงานวิจัย

(4) ข้อ 1 – 3 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3 ผิด

ตอบ 4 หน้า 112, (คำบรรยาย) การเขียนข้อเสนอแนะ สามารถนำเสนอได้ 3 ประเด็น ดังนี้
1. ประเด็นที่เกี่ยวกับการนำผลวิจัยไปใช้ เพื่อแสดงว่าผลการวิจัยสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ใดได้บ้าง หรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใดบ้าง
2. ประเด็นที่เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย โดยชี้ให้ผู้อ่านเห็นถึงจุดเด่น จุดด้อย หรือข้อควรระวัง ของระเบียบวิธีวิจัยที่ผู้วิจัยได้ทำไว้
3. ประเด็นที่เกี่ยวกับการทำวิจัยต่อไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจทำปัญหาวิจัยคล้ายคลึงกัน ได้เห็นประเด็นที่ควรศึกษาต่อไป รวมไปถึงข้อจำกัดของงานวิจัย

31. ส่วนใดในรายงานการวิจัยที่มีหน้าที่สำคัญในการทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยได้ในเวลาอันรวดเร็ว

(1) หน้าปก

(2) บทคัดย่อ

(3) กิตติกรรมประกาศ

(4) บทนำ

(5) บรรณานุกรม

ตอบ 2 หน้า 114 บทคัดย่อ (Abstract) มีความสำคัญในการทำให้ผู้อ่านวิจัยสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยหรือบทความวิชาการทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นบทคัดย่อจึงเป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่สั้นกะทัดรัด แต่ได้ข้อความครอบคลุมเนื้อหาของรายงาน

32. ข้อใดผิด การวิจัยทั้งหมด

(1) บทคัดย่อในงานวิจัยต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(2) บทคัดย่อมักมีความยาวอยู่ที่ครึ่งถึงหนึ่งหน้ากระดาษ A4

(3) ไม่ควรเอาชื่อเรื่องมากล่าวในบทคัดย่อ

(4) ผู้วิจัยสามารถใส่อ้างอิงรูปภาพ หรือตารางในบทคัดย่อได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 114 – 115, (คำบรรยาย) การเขียนบทคัดย่อ ควรมีลักษณะดังนี้
1. บทคัดย่อควรทำเป็นภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. เนื้อหาในบทคัดย่อไม่ควรนำเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ
3. บทคัดย่อไม่ควรอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตารางใด ๆ
4. ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทคัดย่อ
5. บทคัดย่อมักมีความยาวอยู่ที่ครึ่งหน้ากระดาษ A4 (กรณีของบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ ลงในวารสาร) ถึง 1 หน้ากระดาษ A4 (กรณีของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์) เป็นต้น

33. บทสรุปสำหรับผู้บริหารควรมีความยาวประมาณกี่หน้ากระดาษ A4

(1) 3 – 5 หน้า

(2) 20 – 25 หน้า

(3) 30 – 45 หน้า

(4) 50 – 70 หน้า

(5) ไม่มีการกำหนดความยาว

ตอบ 1 หน้า 116 – 117, (คำบรรยาย) การเขียนบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ควรมีลักษณะดังนี้
1. มีเป้าหมายด้านการบริหารมากกว่าด้านวิชาการ
2. ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและนำเอาชื่อเรื่องมากล่าว
3. อาจมีรูปภาพและตารางในบทสรุปผู้บริหารเท่าที่จำเป็นได้
4. ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปผู้บริหาร
5. บทสรุปสำหรับผู้บริหารควรมีความยาวประมาณ 3 – 5 หน้ากระดาษ A4 เป็นต้น

34. ข้อใดกล่าวถึงการเขียนบทสรุปผู้บริหารได้ถูกต้อง

(1) มีความยาวเท่าบทคัดย่อ

(2) มีเป้าหมายด้านการบริหารมากกว่าด้านวิชาการ

(3) ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบวิธีวิจัย

(4) ต้องใส่รายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปผู้บริหาร

(5) ไม่ควรมีตารางหรือรูปภาพ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35. ส่วนใดในรายงานการวิจัยที่ผู้วิจัยจะใช้เป็นพื้นที่ในการเขียนคำขอบคุณสถาบันหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความสำเร็จของงานวิจัย

(1) บทคัดย่อ

(2) บทนำ

(3) กิตติกรรมประกาศ

(4) ประวัติผู้วิจัย

(5) ภาคผนวก

ตอบ 3 หน้า 92, 117 – 113, (คำบรรยาย) กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งอยู่ในส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่าเป็น “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคำว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่ในส่วนนี้ในการกล่าวขอบคุณสถาบันหรือให้เกียรติผู้ที่มีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือผลักดันให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำ หน่วยงานต้นสังกัด หรือผู้ให้ทุนวิจัย

36. ข้อใดไม่ควรทำในการเขียนรายงานการวิจัย

(1) จัดหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยโดยใช้ตัวเลขทศนิยม

(2) ตรวจสอบความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์

(3) เรียบเรียงเนื้อหาของงานวิจัยให้อยู่ภายใน 1 ย่อหน้า

(4) ใช้ภาษาเขียนที่อ่านแล้วรื่นหู ไม่เยิ่นเย้อหรือใช้คำหรูหรามากเกินไป

(5) ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์

ตอบ 3 หน้า 118 – 121, (คำบรรยาย) หลักการในการเขียนรายงานการวิจัย มีดังนี้
1. จัดหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยโดยใช้ตัวเลขทศนิยม หรือใช้ตัวเลขผสมกับตัวอักษร
2. เรียบเรียงเนื้อหา ของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน
3. ตรวจสอบความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์
4. ใช้ภาษาเขียนที่อ่านแล้วรื่นหู ไม่เยิ่นเย้อหรือใช้คำหรูหรามากเกินไป
5. ระวังพฤติกรรมในการคัดลอก (Copy) และวาง (Place) เพราะจะทำให้ผู้วิจัยมีโอกาส กระทำความผิดข้อหาคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง (Plagiarism) ดังนั้นควรตรวจสอบ การคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ หรือโปรแกรม Turn it in เป็นต้น

37. พฤติกรรมใดที่จะทำให้ผู้วิจัยมีโอกาสกระทำความผิดข้อหาคัดลอกผลงาน (Plagiarism)

(1) ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรม Turn it in

(2) ใช้การคัดลอก (Copy) และวาง (Place)

(3) สรุปข้อความที่ได้จากแหล่งข้อมูลอื่นด้วยภาษาของตนเองและใส่อ้างอิง

(4) ใช้ภาษากึ่งทางการ

(5) ไม่ตรวจสอบการสะกดคำ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ในการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

(1) สถานที่ในการนำเสนอผลงาน

(2) กำหนดการและรูปแบบของการจัดงาน

(3) ลักษณะของผู้เข้าชมงาน

(4) เนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 122 – 124, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้วิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ส่วน ได้แก่
1 การวางแผน เช่น สถานที่ในการนำเสนอผลงาน ขนาดของโปสเตอร์ วันและเวลากำหนดการ รูปแบบของการจัดงาน จำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ
2 เนื้อหาของโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องเลือกเนื้อหาของผลงานที่จะจัดวางลงในโปสเตอร์ให้เหมาะสม กับลักษณะของผู้เข้าชมงาน
3 รูปแบบโปสเตอร์ ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สีตัวอักษร สีพื้นหลังโปสเตอร์ ประเภทและ ขนาดของตัวอักษร เป็นต้น

39. องค์ประกอบใดไม่ควรมีอยู่ในโปสเตอร์ที่ผู้วิจัยใช้นำเสนอผลงาน

(1) ชื่อเรื่อง

(2) บทคัดย่อ

(3) ระเบียบวิธีวิจัย

(4) ทบทวนวรรณกรรม

(5) ผลการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 123 (คำบรรยาย) องค์ประกอบของการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ประกอบด้วย เนื้อหา 5 ส่วนหลัก ดังนี้
1 ชื่อเรื่อง (Title)
2 บทคัดย่อ (Summary)
3 บทนำและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literatures)
4 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) หรือ “ระเบียบวิธีวิจัย”
5 ผลการวิจัย (Research Results)

40. ข้อใดกล่าวถึงการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจาได้ถูกต้อง

(1) เป็นวิธีการนำเสนอผลงานวิจัยที่ไม่ค่อยได้รับความนิยม

(2) บทความของผู้วิจัยจะปรากฏอยู่ในรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์เมื่อผู้วิจัยมีรายชื่อในเวทีนำเสนอ โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นเวทีนำเสนอจริง

(3) เอกสารที่ผู้วิจัยต้องเตรียมในการนำเสนอผลงาน ได้แก่ สไลด์สำหรับนำเสนอเพียงอย่างเดียว

(4) ผู้นำเสนอควรสบตาผู้ฟังเป็นระยะเพื่อสังเกตว่าผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่นำเสนอหรือไม่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 124 – 126, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเชิงวิชาการ ซึ่งในทางปฏิบัติ เมื่อผู้วิจัยมีรายชื่อเป็น ผู้นำเสนอผลงาน ผู้วิจัยจำเป็นต้องขึ้นเวทีนำเสนอจริง แต่หากไม่ได้ขึ้นเวที บทความของผู้วิจัยผู้นั้นจะถูกตัดออกจากรายชื่อผู้นำเสนอและไม่ปรากฏอยู่ในรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ ซึ่งในส่วนของเอกสารที่ผู้วิจัยต้องเตรียมในการนำเสนอผลงาน ได้แก่ บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ สไลด์สำหรับการนำเสนอ และสำเนาสไลด์นำเสนอ สำหรับในช่วงของการนำเสนอ ผู้นำเสนอ จำเป็นต้องมีสติและความมั่นใจ สิ่งที่พึงระวังอย่างยิ่งคือ การหลีกเลี่ยงการอ่านข้อความให้ผู้ฟังฟังตาม ดังนั้นผู้นำเสนอควรสบตาผู้ฟังเป็นระยะเพื่อสังเกตว่าผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอหรือไม่ อย่างไร

41. โดยปกติแล้วการนําเสนอด้วยวาจาจะถูกกําหนดระยะเวลาในการนําเสนอยาวกี่นาที

(1) 5 – 10 นาที

(2) 15 – 20 นาที

(3) 30 – 40 นาที

(4) 60 นาที

(5) ไม่มีการกําหนดระยะเวลา

ตอบ 2 หน้า 125 การนําเสนอด้วยวาจา ผู้วิจัยจําเป็นต้องเตรียมสไลด์สําหรับการนําเสนอ ทั้งนี้เพื่อ ความสะดวกในการลําดับความคิดและเนื้อหาสําหรับผู้นําเสนอ โดยทั่วไปแล้วผู้นําเสนอมักจะ ถูกกําหนดให้นําเสนอในช่วงระยะเวลาเพียง 15 – 20 นาทีเท่านั้น

42. การนําเสนอผลงานด้วยวาจา ผู้วิจัยควรคํานึงถึงสิ่งใด

(1) จํานวนสไลด์

(2) ลักษณะของเวที

(3) รูปแบบของสไลด์

(4) การฝึกตอบคําถาม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 124 – 126 สิ่งที่ผู้วิจัยควรคํานึงถึงในการนําเสนอผลงานด้วยวาจา ได้แก่ จํานวนสไลด์ ลักษณะของเวทีและผู้เข้าฟัง รูปแบบของสไลด์ การเตรียมตัวผู้นําเสนอ (การฝึกจับเวลา การฝึก ท่าทางในการนําเสนอ การฝึกตอบคําถามและป้องกันข้อเสนอของตนจากผู้วิพากษ์) เป็นต้น

43. ข้อใดไม่ใช่การแบ่งประเภทการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามแนวทางของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยเชิงชาติพันธุ์

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 2 หน้า 128, (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้แบ่งประเภท ของการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย
1 งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ 2. งานวิจัยเชิงนโยบาย
3 งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 4. งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

44. งานวิจัยประเภทใดมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการ

(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(2) งานวิจัยด้านสาธารณะ

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อ สร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือ เครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของงานวิจัยลักษณะนี้ก็คือ การมีความเป็น อิสระ การมีระเบียบวิธีที่เข้มข้น การมีวงการหรือชุมชนวิชาการในการตรวจสอบ

45. งานวิจัยประเภทใดที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบาย

(1) งานวิจัยด้านสาธารณะ

(2) งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 3 หน้า 130 (คําบรรยาย) งานวิจัยเชิงนโยบาย เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนข้อมูล ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือสนับสนุนทางเลือก เชิงนโยบาย (Policy Choice) ของรัฐบาล ตลอดจนการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพื่อนําไปสู่การ ประเมินผลกระทบและการผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะในการแก้ไขปัญหาให้แก่ ประชาชน

46. งานวิจัยประเภทใดที่คํานึงถึงการลงทุนและผลตอบแทนเป็นหลัก

(1) งานวิจัยแบบวิเคราะห์เนื้อหา

(2) งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 4 หน้า 131, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่คํานึงถึงการลงทุน และผลตอบแทนเป็นหลัก และให้ความสําคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน ผู้วิจัย สามารถสํารวจความต้องการของภาคการผลิตต่าง ๆ เป็นรายสาขา เพื่อนําไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ําตั้งแต่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นธรรมชาติของงานวิจัย ประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาดและนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจําเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด

47. งานวิจัยประเภทใดมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม

(1) งานวิจัยกึ่งทดลอง

(2) งานวิจัยเชิงประเมินผล

(3) งานวิจัยเชิงนโยบาย

(4) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

(5) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน

ตอบ 5 หน้า 132, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา ท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ออกมาจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาของ ชุมชน ปัญหาในท้องถิ่น และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติ ของงานวิจัยประเภทนี้มักจะมีอุดมการณ์ในการกํากับการพัฒนาของท้องถิ่นให้สูงขึ้น

48. เอกสารประเภทใดที่ผู้วิจัยจะต้องนําเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทําวิจัยไว้ล่วงหน้า

(1) โครงร่างการวิจัย

(2) รายงานความก้าวหน้างานวิจัย

(3) บทความวิชาการ

(4) แบบสอบถาม

(5) แบบทดสอบก่อนเข้าร่วมวิจัย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

49. เนื้อหาของโครงร่างงานวิจัยจะปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยมากที่สุด

(1) หน้าปก

(2) บทนํา

(3) ทบทวนวรรณกรรม

(4) ระเบียบวิธีวิจัย

(5) บทสรุป

ตอบ 2 หน้า 36, (คำบรรยาย) บทที่ 1 “บทนํา” ของรายงานการวิจัย ซึ่งเนื้อหาในบทนํานี้ก็คือ โครงร่างการวิจัยที่ผู้วิจัยได้เขียนขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นการทําวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะนําโครงร่างดังกล่าว มาใส่ไว้ โดยจะมีหัวข้อหลัก ได้แก่ ที่มาของปัญหา คําถามการวิจัย วัตถุประสงค์ในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย ขอบเขตในการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับในการวิจัย และระยะเวลาที่ใช้ ในการดําเนินการวิจัย โดยทั่วไปแล้วในบทที่ 1 ของรายงานการวิจัยอาจจะไม่มีการทบทวน วรรณกรรมและระเบียบวิธีวิจัยอยู่ในบทนี้

50. “กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับข้อเสนอวิจัยด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ประจําปีงบประมาณ 2566 ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

51. การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อมาพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 3 หน้า 2 – 3 (คำบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1 การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิดความสงสัยจนนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับเนื้อหาของบทนำในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสำคัญของปัญหา”
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคำถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทำจะไม่สามารถกำหนดแนวทางในการค้นหาคำตอบได้
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) หรือวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคำถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด

52. การสรุปผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. นายทำวิจัยเรื่องบทบาทของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC) ในระบบเศรษฐกิจโลก ขั้นตอนการวิจัยขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องทำคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

54. นายป้อมมีความสนใจที่จะทำวิทยานิพนธ์หัวข้อการรักษาอำนาจทางการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 10 ปี ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยตั้งคำถามในสิ่งที่มีความสนใจ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

55. นายป๊อกทำวิจัยเรื่องข้อเสนอการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีการคาดเดาคำตอบล่วงหน้า ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

56. นายอนุทินวิจัยเรื่องทัศนคติทางการเมืองของประชาชนในภาคใต้ที่มีต่อพรรคภูมิใจไทย โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 5,000 คน เพื่อต้องการข้อมูลไปวิเคราะห์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

57. นายสาทิตทําวิจัยเรื่องนโยบายประกันรายได้เกษตรกรของพรรคประชาธิปัตย์เปรียบเทียบกับนโยบายจํานําข้าวของพรรคเพื่อไทย หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ขั้นตอนการวิจัยต่อไปที่ต้องทําคือขั้นตอนใด

(1) การสังเกตและระบุปัญหา

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(4) การวิเคราะห์ข้อมูล

(5) การสรุปผล

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

58. วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

59. ที่มาและความสําคัญของปัญหา ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

60. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

(1) Conclusion

(2) Data Collection

(3) Data Analysis

(4) Review Literature

(5) Problem Statement

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

61. “Scientific Method” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Recycle

(2) Responsibility

(3) Research

(4) Representative

(5) Resolution

ตอบ 3 หน้า 11, 16, (คําบรรยาย) การวิจัย (Research) หมายถึง การพยายามค้นหาคําตอบจากปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านการสังเกตอย่างรอบด้าน หรือการเก็บข้อมูลที่จะใช้นํามาวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้อาจจะได้มาจากการค้นหาตามเอกสารต่าง ๆ หรือ จากการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ทําให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ สําหรับการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นจะมีขั้นตอนในการวิจัยที่คล้ายคลึงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) คือ เริ่มต้นด้วยการกําหนดปัญหาให้ชัดเจน ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล

62. โครงร่างการวิจัย มีความสัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) Vitae

(2) Research Proposal

(3) TCI

(4) Gantt’s Chart

(5) Bibliography

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

63. นายชัชพงศ์ทําวิจัยเรื่องรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 กับบทบาททางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยศึกษาจากหนังสือ ตํารา งานวิจัย และบทความวิชาการ การทําวิจัยของนายชัชพงศ์ คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 3 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลจากเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารทางราชการ หนังสือ ตํารา งานวิจัย บทความวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของการวิจัยนี้ ได้แก่ การวิจัยเรื่อง นโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การวิจัยเรื่องรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 กับบทบาททางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

64. นายชัชชาติทําวิจัยเรื่องข้อเสนอ การทําโครงการฟลัดเวย์ 11 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย มีจุดมุ่งหมายให้กองอํานวยการน้ําแห่งชาติ (กอนซ.) นําไปใช้ในการแก้ปัญหาน้ําท่วม การทําวิจัยของ นายชัชชาติคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องข้อเสนอการทําโครงการฟลัดเวย์ 11 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนําไปใช้ในการแก้ปัญหาน้ําท่วม, การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง การเลือกตั้ง เป็นต้น.

65. นางสาวรุ้งทําวิจัยเรื่องสาเหตุการออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะราษฎร 2563 การทําวิจัยของนางสาวรุ้งคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 4 หน้า 12, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงอธิบาย (Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่จะวิเคราะห์ ความเกี่ยวกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปว่าส่งผลอย่างไรกัน กล่าวคือ การวิจัยนี้ จะมุ่งอธิบายว่า ทําไมปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ถึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร และทําไมถึงเป็นเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ําท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, การวิจัยเรื่อง สาเหตุการออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะราษฎร 2563 เป็นต้น

66. กองอํานวยการน้ําแห่งชาติทําวิจัยสํารวจจํานวนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุดีเปรสชันโนรู การทําวิจัยของกองอํานวยการน้ําแห่งชาติคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสํารวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล พื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสํารวจผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิกี่คน และไม่มาใช้สิทธิคน การสํารวจผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การสํารวจจํานวนประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุดีเปรสชันโนรู เป็นต้น

67. นายวรัญชัยทำวิจัยเรื่องการชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของกลุ่มทะลุฟ้า โดยเข้าไปสังเกต การขึ้นเวทีปราศรัยของแกนนํากลุ่มทะลุฟ้า การทําวิจัยของนายวรัญชัยคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยเชิงสังเกต

(2) การวิจัยเชิงสำรวจ

(3) การวิจัยเชิงเอกสาร

(4) การวิจัยเชิงอธิบาย

(5) การวิจัยประยุกต์

ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้น จะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างเช่น การเข้าไปสังเกต การบริหารจัดการน้ำของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร, การเข้าไปสังเกตการขึ้นเวทีปราศรัยของแกนนํากลุ่มทะลุฟ้า เป็นต้น

68. Positivism มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์ยุคใด

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Post Behavioral Period

ตอบ 3 หน้า 7 – 3, (คำบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) ซึ่งพบว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมี ลักษณะเป็นการศึกษาแนว “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) และยังเน้นการทํานายพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจในทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทํานาย ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์จะถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นําทางการเมือง (Political Psychology) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นต้น

69. “วิทยาศาสตร์การเมือง” เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Past Behavioral Period

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. การศึกษารัฐศาสตร์ต้องเปลี่ยนมาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Port Behavioral Period

ตอบ 4 หน้า 7, (คำบรรยาย) ยุคเปลี่ยนผ่าน (The Transitional Period) เป็นยุคที่มีการก่อตั้งสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association : APSA) ในปี ค.ศ. 1908 โดยนักรัฐศาสตร์อเมริกันมองว่า วิธีการศึกษาแบบเก่า คือ การศึกษาเชิงโครงสร้างไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงออกมาได้ เพราะบางครั้งในแต่ละรัฐแม้ว่าจะมีการกําหนด โครงสร้างทางการเมืองอย่างชัดเจน แต่สมาชิกของรัฐก็ไม่ได้ปฏิบัติตามโครงสร้างทางการเมืองที่วางไว้ ดังนั้นการศึกษารัฐศาสตร์ควรจะเปลี่ยนมาศึกษาถึงสิ่งที่สามารถจะสะท้อนความเป็นจริงทางการเมือง นั่นก็คือ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์

71. การวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของการศึกษารัฐศาสตร์ยุคพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคใดของพัฒนาการการศึกษารัฐศาสตร์

(1) Institutional Period

(2) Classical Period

(3) The Behavioral Period

(4) The Transitional Period

(5) The Post Behavioral Period

ตอบ 5 คำบรรยาย: หน้า 8, (คำบรรยาย) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (The Post Behavioral Period) เป็นยุคของการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบัน คือยุคตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นยุคที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของการศึกษารัฐศาสตร์ยุคพฤติกรรมศาสตร์ ว่าหมกมุ่นอยู่กับระเบียบวิธีการศึกษา จนละเลยตัวเนื้อหาหรือจุดมุ่งหมายในทางการเมืองไป ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงถือเป็นยุคแห่งการกลับมาของการศึกษาแบบเดิมที่ถูกละทิ้งและไม่ให้ความสนใจจากการพยายามครอบงำของพวกพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาแบบปรัชญาการเมืองและการศึกษาแบบสถาบันจึงได้เริ่มกลับมาได้รับความสนใจและทำการศึกษากันอีกครั้งหนึ่ง โดยนักวิชาการบางคนนั้นจะเรียกยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์นี้ว่า ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป (Period of Re-Europeanization)

72. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด

(1) Political Thought

(2) Political Institution

(3) Political Ideology

(4) Political Philosophy

(5) Political Psychology

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

73. นางสาวทิพานันท์วิจัยเรื่องบทบาททางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทำวิจัยของนางสาวทิพานันท์คือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 คำบรรยาย: หน้า 13, (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง บทบาททางการเมือง ความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ชีวประวัติของคน ๆ หนึ่ง เป็นต้น

74. นางสาวรัชดาวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ โดยอาศัยข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทำวิจัยของนางสาวรัชดาคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75. ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีทำวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันและปราบปรามทุจริตของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในรอบ 8 ปี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ การทำวิจัยของศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีคือการวิจัยรูปแบบใด

(1) การวิจัยบริสุทธิ์

(2) การวิจัยประยุกต์

(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ

(4) การวิจัยเชิงปริมาณ

(5) การวิจัยเชิงสังเกต

ตอบ 1 คำบรรยาย: หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยในทางเชิงทฤษฎีต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการป้องกันและปราบปรามทุจริตของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์, การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

76. หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอนใดที่ต้องกำหนดควบคู่กับการตั้งคำถามการวิจัย

(1) Research Proposal

(2) Research Objective

(3) Conceptual Framework

(4) Data Collection

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 28, (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอน “การตั้งวัตถุประสงค์ ในการวิจัย” (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยว่าจะทำไปเพื่อ อะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คำขึ้นต้นคำว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง กำหนดควบคู่ไปกับการตั้งคำถามการวิจัย

77. “องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 1 หน้า 11, (คำบรรยาย) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น สามารถนำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ

78. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อ ปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) Research Methodology

(2) Literature Review

(3) Research Method

(4) Conclusion

(5) Approach

ตอบ 3 หน้า 11 วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคำตอบ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ

79. ข้อใดถูกต้อง

(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นรายงานที่มีความหนามากที่สุด

(2) การทบทวนเอกสารควรเขียนเรียงต่อ ๆ กันให้มีลักษณะเหมือน “ขนมชั้น”

(3) การทบทวนเอกสารคือการเขียนทบทวนสิ่งที่ผู้วิจัยอ่านมาทั้งหมด

(4) หากผู้วิจัยเขียนเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยชิ้นอื่นด้วยภาษาของตนเองแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่อ้างถึง

(5) ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้การอ้างอิงในบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารได้ตามใจชอบ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

80. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย

(1) Research Question

(2) Conceptual Framework

(3) Research Methodology

(4) Executive Summary

(5) Problem Statement

ตอบ 4 หน้า 34 – 35 (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย
1 ชื่อเรื่อง (Title)
2 สภาพปัญหาหรือที่มาของปัญหา (Problem Statement)
3 คำถามในการวิจัย (Research Question)
4 วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective)
5 สมมติฐาน (Hypothesis)
6 การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Frairework)
7 ขอบเขตของการวิจัย (Scope)
8 ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อวิจัยชิ้นนี้ทำสำเร็จแล้ว (Expected Benefits)
9 นิยามศัพท์สำคัญหรือคำศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition)
10 วิธีการในการดำเนินการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นต้น

81. “เป็นการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถาม ผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา 6 ต่อ 3 ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

82. นางสาวกุ้งอึ้งทำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 2,000 คน นางสาวอุ้งอิงต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 4 หน้า 46, (คำบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเป็นรายการของคำถามที่ถูกจัดหมวดหมู่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน เป็นการรวบรวมคำถามอย่างเป็นระบบในการส่งไปยังตัวอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาในแบบสอบถามจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก และความสนใจต่างๆ ของผู้ตอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

83. นายทักษิณต้องการได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องการกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา 6 ต่อ 3 ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ โดยทำการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก นายทักษิณต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

84. นายวรงค์ต้องการได้ข้อมูลการออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะหลอมรวมประชาชน ว่ามีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่จำนวนเท่าใด นายวรงค์ต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด

(1) In-Depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 3 หน้า 53, (คำบรรยาย) การสังเกต (Observation) เป็นการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเอาใจใส่และกำหนดไว้อย่างมีระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่
เกิดขึ้นนั้นกับสิ่งอื่น โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส เพื่อทําความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การสังเกต การออกมาชุมนุมขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของคณะหลอมรวมประชาชนว่ามีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่จํานวนเท่าใด เป็นต้น

85. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย

(1) การตั้งสมมติฐานการวิจัย

(2) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย

(3) การตั้งคําถามการวิจัย

(4) การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย

(5) การทบทวนวรรณกรรม

ตอบ 1 หน้า 26 (คําบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Frarnework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น

86. แบบสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติอ่าน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 5 หน้า 14 – 16, (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่
1 การกําหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทํา ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคําถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคําตอบ ดังนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนําไปสู่การทําวิจัย
2 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะ ทําการหาคําตอ
4 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน
5 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนํามาประมวลข้อมูล
6 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคําตอบของการวิจัย
7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียน รายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์และทําการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย

87. การจัดทํารายงานวิจัยเล่มสมบูรณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

89. ข้อสงสัยที่จะนำมาสู่การทำวิจัย ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

90. การคาดเดาคำตอบ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด

(1) การทบทวนวรรณกรรม

(2) การตั้งสมมติฐาน

(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย

(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย

(5) การออกแบบการวิจัย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

91. นายเจ๋งดอกจิกนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ในการขับไล่พี่น้อง 3 ป.” หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนายเจ๋งดอกจิกสอดคล้องกับแนวการวิเคราะห์ใด

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 5 หน้า 20, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่าสาเหตุในการกระทำเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การออกไปยืนชูสามนิ้วต่อต้านเผด็จการรัฐประหารที่ถนนสุขุมวิทในช่วงปี พ.ศ. 2557 การชุมนุมทางการเมืองของประชาชนในการขับไล่พี่น้อง 3 ป. เป็นต้น

92. นายวันชัยทำวิจัยเรื่อง “กระบวนการบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของรัฐสภาไทย” นายวันชัยใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิจัย

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 4 หน้า 22 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (System Approach/Functional Approach) เชื่อว่าในทุกสังคมนั้นมีลักษณะเป็นระบบที่ทำการรักษาตนเองให้อยู่รอดเสมอ ๆ วิธีคิดในลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวิธีคิดในทางชีววิทยา (Biology) ที่มองสังคมหรือรัฐก็เหมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ทำงานสอดประสานกัน ซึ่งการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ นี้ก็คือระบบนั่นเอง หากสังคมใดหรือระบบการเมืองใดไม่มีการทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ระบบนั้นก็คงจะล่มสลาย หรือไม่ก็พิการในไม่ช้า ตัวอย่างเช่น การที่รัฐบาลออกกฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง เป็นต้น

93. ข้อค้นพบการวิจัยที่ว่า “การที่ประชาชนขายเสียงในการเลือกตั้งเพราะคำนวณแล้วว่ารับเงินมาแล้วไปเลือกตั้งดีกว่า ดังนั้นจึงรับเงินและไปลงคะแนนให้คนที่ให้เงินมากที่สุดจึงเป็นการตอบสนองประโยชน์ของตนได้ดีที่สุด” ข้อค้นพบการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับแนวการวิเคราะห์ใด

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 1 หน้า 21 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล (Rational Approach/ Rational Choice Approach) มีสมมุติฐานที่สำคัญคือ มนุษย์ทุกคนเป็นมนุษย์ที่มีเหตุมีผล เวลาจะทำอะไรแล้วจะคำนวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์อย่างไร และเมื่อคํานวณดูผลลัพธ์ในทางต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว คน ๆ นั้นก็จะทําตามในทางที่ ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด หรือในกรณีที่ตนเองไม่มีทางจะได้ประโยชน์ คน ๆ นั้นก็จะเลือก วิธีการที่ตนเองจะเสียเปรียบน้อยที่สุด ซึ่งแนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลนี้ได้รับ อิทธิพลมาจากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)

94. นายนกเขานำเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนในการเมืองไทย” นายนกเขาใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการนำเสนอหัวข้อวิจัย?

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 2 หน้า 22 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลำดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนในการเมืองไทย, การวิจัยเรื่องพัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทยหลังปี พ.ศ. 2540 เป็นต้น

95. Rational Choice Approach เป็นแนวทางการวิเคราะห์ที่ได้รับอิทธิพลจากสาขาวิชาใด?

(1) Sociology

(2) Biology

(3) Economics

(4) Anthropology

(5) Mathematics

ตอบ 3 (ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ)

96. นายจตุพรทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทของคณะหลอมรวมประชาชนในการออกมาชุมนุมขับไล่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายจตุพรใช้แนวการวิเคราะห์ใดในการทำวิทยานิพนธ์?

(1) Rational Choice Approach

(2) Historical Approach

(3) Group Approach

(4) System Approach

(5) Psychological Approach

ตอบ 3 หน้า 24 (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องบทบาทของคณะหลอมรวมประชาชนในการออกมาชุมนุมขับไล่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น

97. ญาณวิทยาของการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ คือแบบใด?

(1) Normativism

(2) Institutionalism

(3) New Institutionalism

(4) New Positivism

(5) Positivism

ตอบ 5 (คำบรรยาย) แนวคิดสำนักปฏิฐานนิยม (Positivism) เป็นแนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเชื่อว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินั้นสามารถอธิบายได้ด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยความรู้จะเข้าสู่จิตใจ ของมนุษย์ผ่านประสาทสัมผัสและมนุษย์จะเก็บความรู้นั้นไว้ในรูปของความจํา อีกทั้งความจํา จะสามารถผสมผสานหรือรวมกันได้โดยใช้จินตนาการ ซึ่งในแง่ของญาณวิทยานั้นพบว่าวิธีการแสวงหาความรู้แบบปฏิฐานนิยมเป็นวิธีการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์หรือแบบสมัยใหม่

98. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งคําถามการวิจัย

(1) คําถามการวิจัยประเภท “ทําไม” ต้องการทราบสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมือง

(2) คําถามการวิจัยประเภท “อะไร” เป็นการหาคําตอบในลักษณะบรรยาย

(3) คําถามการวิจัยประเภท “อย่างไร” ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง

(4) การตั้งคําถามการวิจัยที่ดีควรใช้คําถาม “ใช่หรือไม่ใช่”

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการวิจัยภายหลังจากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ รอบตัว การตั้งคําถามที่ดีนั้นไม่ควร ใช้คําถาม “ใช่หรือไม่” แต่ควรใช้คําถาม “ทําไม อย่างไร อะไร” โดยคําถามประเภท “ทําไม” จะเป็นคําถามที่ต้องการทราบสาเหตุหรือเหตุผลของปรากฏการณ์ทางการเมือง คําถามประเภท “อย่างไร” จะเป็นคําถามที่ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง ส่วนคําถามประเภท “อะไร” จะเป็นคําถามที่มุ่งให้ค้นหาคําตอบในลักษณะบรรยาย

99. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใดที่ถูกนํามาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ

(1) In-depth Interview

(2) Research Proposal

(3) Observation

(4) Questionnaire

(5) Focus Group

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

100. บุคคลใดคือผู้บรรยายรายวิชา POL 4100 ภาค 1/2565

(1) จักรี ไชยพินิจ

(2) ศุภชัย ศุภผล

(3) ปิยะภพ เอนกทวีกุล

(4) ปรีชญา ยศสมศักดิ์

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 มีอยู่ 2 ท่าน คือ 1. อาจารย์ปิยะภพ เอนกทวีกุล 2. อาจารย์ปรีชญา ยศสมศักดิ์

 

 

Advertisement