การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1003 การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. คนแตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ อย่างไร
(1) คนมีสมอง แต่สัตว์ชนิดอื่น ๆ ไม่มีสมอง
(2) คนสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้ดีกว่าสัตว์
(3) คนสามารถพูดจาโต้ตอบกันได้ด้วยภาษา
(4) คนมีจิตใจ แต่สัตว์ไม่มีจิตใจ
ตอบ 3
สัตว์สังคมทุกชนิดยกเว้นมนุษย์จะสื่อสารกันด้วยอวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้คําพูด)แต่มนุษย์จะสื่อสารกันได้ทั้งวัจนภาษา (ภาษาที่เป็นภาษาพูด) และอวัจนภาษา จึงเห็นได้ว่า มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ดีกว่าสัตว์ประเภทอื่นมาก ด้วยเหตุที่มนุษย์แตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ คือ สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้ด้วยภาษานั้นเอง

Advertisement

2. “การพูดเป็น” แตกต่างจาก “การพูดได้” อย่างไร
(1) “พูดได้” เป็นศิลป์ในการพูด
(2) “พูดเป็น” อาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพูด
(3) “พูดได้” อาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพูด
(4) “พูดเป็น” เป็นศาสตร์ในการพูด
ตอบ 2
ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ให้แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพูดว่า ทุกคน “พูดได้”แต่บางคน “พูดเป็น” โดยการพูดเป็น หมายถึง การพูดให้คนฟังชื่นชอบ เชื่อถือ คล้อยตาม ปฏิบัติตาม เข้าใจง่าย สนุกสนาน ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพูด คือ เรียนกันได้แต่จะเก่งเท่ากันหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับศิลป์ อันเป็นความสามารถเฉพาะคน

3. การสื่อสารด้วยการพูดมีข้อดีอย่างไร
(1) มีโอกาสฟังซ้ำได้
(2) ผู้พูดสามารถพิสูจน์ผลของการพูดนั้น ๆ ทันที
(3) ผู้พูดสามารถเลือกพูดในสิ่งที่ดีได้
(4) ผู้พูดสามารถพัฒนาบุคลิกภาพได้ทันที
ตอบ 2
การสื่อสารด้วยคําพูดมีข้อดี ดังนี้
1. ทําให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็ว เพราะเป็นการสื่อสารสองทาง 2. เป็นเครื่องมือสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ได้ผลดีที่สุด 3. สามารถพิสูจน์ผลของการพูดได้ทันที โดยสังเกตจากปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้ฟังในขณะที่พูด 4. สามารถดัดแปลงแก้ไขคําพูดหรือยืดหยุ่นให้เหมาะกับเวลา โอกาส หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

4. ทําไมสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จึงสอนวิชาที่เกี่ยวกับการพูด
(1) นักพูดหรือพิธีกร เป็นอาชีพที่มีรายได้ดี
(2) ปัจจุบันผู้คนพิสูจน์กันด้วยการพูดมากกว่าความสามารถ
(3) ต้องการสอนมารยาท และความเหมาะสมในการพูด
(4) วิชาความรู้ต้องใช้ควบคู่กับศิลปะในการพูด
ตอบ 4
ในสถาบันการศึกษาชั้นสูงจํานวนมากมักจะมีการสอนวิชาการพูดโดยเฉพาะการพูดต่อหน้าชุมชนกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นวิชาความรู้ที่ต้องใช้ควบคู่กับศิลปะในการพูด เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการพูด และฝึกฝนให้ผู้ศึกษาเป็นนักพูดที่ดี ให้รู้จักพูดในสิ่งที่ควรพูด คือ สอนให้พูดแต่ดี ไม่ใช่ดีแต่พูด

5. องค์ประกอบ 5 ประการของการพูดให้ประสบความสําเร็จ คืออะไร
(1) ผู้พูด ผู้ฟัง สาร ภูมิปัญญา และสื่อ
(2) ผู้พูด ผู้ฟัง สาร สถานการณ์ และการวิเคราะห์การพูด
(3) ผู้พูด ผู้ฟัง สาร สถานการณ์ในการพูด และสื่อ
(4) ผู้พูด ผู้ฟัง สื่อ สถานการณ์ และการวิเคราะห์การพูด
ตอบ 3
องค์ประกอบของการพูดให้ประสบความสําเร็จมี 5 ประการ คือ 1. ผู้พูด 2. สาร 3. สื่อ 4. สถานการณ์การพูด 5. ผู้ฟัง

6. หากท่านต้องไปพูดให้วัยรุ่นอายุ 18 ปี ข้อใดที่ท่านไม่ควรพูดที่สุด
(1) ยุยงส่งเสริมให้แตกความสามัคคี
(2) สั่งสอนโดยใช้คําพูดดูถูก เพื่อให้วัยรุ่นอยากเอาชนะ
(3) สั่งสอนให้วัยรุ่นเรียนรู้ชีวิตด้วยประสบการณ์ตรงในทุกเรื่อง
(4) ใช้คําพูดปลุกระดม เพราะวัยรุ่นต้องการการปลุกเร้า
ตอบ 2
การพูดกับวัยรุ่น ต้องคํานึงถึงจิตวิทยาวัยรุ่นให้มาก พยายามทําตัวให้ผู้ฟังเลื่อมใสโดยใช้เหตุผลง่าย ๆ เเต่ชัดแจ้ง และแทรกเรื่องสนุกสนานหรือตลกขบขันเป็นระยะ ๆ ถ้าเป็นการสั่งสอนโดยตรงควรปรับปรุงให้เป็นแนวแนะนําอย่างมีเหตุผล อย่าพูดดูถูกเหยียดหยามคนฟัง เพราะคนวัยนี้จะมีปฏิกิริยาที่ไม่ดีสะท้อนกลับมาทันที

7. ข้อใดบอกจุดมุ่งหมายของการพูดได้ครบถ้วน
(1) ให้ความรู้ โน้มน้าวใจ และพูดเพื่อความบันเทิง
(2) ให้ความรู้ พูดเพื่อตอบคําถาม และพูดเพื่อชี้แนะเรื่องราวต่าง ๆ
(3) ให้ความรู้ โน้มน้าวใจ สร้างความบันเทิง เพื่อแก้ไขสถานการณ์ และชี้แนะเรื่องราวต่าง ๆ
(4) ให้ความรู้โน้มน้าวใจ สร้างความบันเทิง พูดเพื่อตอบคําถาม และชี้แนะเรื่องราวต่าง ๆ
ตอบ 4
จุดมุ่งหมายในการพูดโดยทั่วไป มีดังนี้ 1. ให้ความรู้หรือข้อเท็จจริง 2. โน้มน้าวจิตใจผู้ฟัง 3. สร้างความบันเทิง เพลิดเพลิน หรือจรรโลงใจ 4. แก้ปัญหาหรือตอบคําถามต่าง ๆ 5. แนะนําและชี้แนะเรื่องราวต่าง ๆ

8. “ท่านผู้ฟังครับ คนบางคนทําให้เราอยากพูดคุย คนบางคนทําให้เราอยากรู้จัก มีแค่บางคนเท่านั้นครับที่ทําให้เราอยากเป็นเพื่อนกับเขา…”
คําพูดนี้มีการขึ้นต้นการพูดด้วยวิธีไหน
(1) ขึ้นต้นด้วยการจี้จุดสําคัญของเรื่องนั้น ๆ
(2) ขึ้นต้นด้วยการยกตัวอย่างให้เห็นจริง
(3) ขึ้นต้นด้วยการยกข้อความที่เร้าใจ
(4) ขึ้นต้นด้วยการไล่ลําดับความสําคัญ
ตอบ 1
คํานําหรือการขึ้นต้นแบบจี้จุดสําคัญของเรื่องนั้น ๆ คือ การพุ่งเข้าสู่จุดโดยไม่ต้องอ้อมค้อม เพราะผู้ฟังก็รู้เรื่องอยู่แล้ว เป็นการแสดงทัศนะของผู้พูดเท่านั้น

9. ข้อใดที่ไม่ควรกระทําอย่างยิ่งในการใช้คํานําเพื่อการพูด
(1) ถ่อมตน
(2) ดูถูก ก้าวร้าวผู้ฟัง
(3) ออกตัวว่าไม่รู้เรื่องที่จะพูด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
ข้อบกพร่องในการใช้คํานําเพื่อการพูด มีดังนี้
1. อย่าพูดนอกเรื่องหรือพูดอ้อมค้อม 2. อย่าออกตัว เช่น เตรียมมาพูดไม่พร้อม กะทันหัน เป็นผู้รู้น้อยไม่รู้เรื่องที่จะพูด ฯลฯ 3. อย่าขอโทษ 4. อย่าถ่อมตน 5. อย่าดูถูกหรือก้าวร้าวผู้ฟังด้วยคําพูด ท่าที่หรือท่าทาง อย่าทะเลาะ โต้เถียง ขุ่นมัวกับผู้ฟัง

10. ข้อใดเป็นยุทธการสําคัญของการพูด
(1) การเลือกเรื่องที่จะพูด
(2) การเตรียมโครงเรื่องในการพูด
(3) การเตรียมข้อมูลในการพูด
(4) การสร้างบุคลิกภาพและความพร้อมในการพูด
ตอบ 2
การเตรียมโครงเรื่องในการพูด เป็นยุทธการสําคัญของการพูด ซึ่งถ้าหากวางโครงเรื่องดี การพูดจะดี มีความต่อเนื่องเป็นระเบียบ และผู้ฟังไม่เบื่อหน่าย ดังนั้นจึงควร ยึดหลักในการวางโครงเรื่อง ดังนี้ 1. วางโครงเรื่องตามลําดับเวลา 2. วางโครงเรื่องตามลําดับสถานที่หรือภูมิศาสตร์ 3. วางโครงเรื่องตามลําดับเนื้อหา 4. วางโครงเรื่องตามลําดับข้อความหรือเรื่อง 5. วางโครงเรื่องให้มีเงื่อนงําแก่ผู้ฟัง

11. การฝึกพูดเกี่ยวข้องกับการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของการพูดอย่างไร
(1) พูดดีเป็นศรีแก่ปาก
(2) การพูดสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้
(3) ผู้ฝึกหัดเห็นความสามารถของตนเอง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
การพูดจะมีประสิทธิภาพเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้พูดเอง คือ ผู้พูดต้องมีความสามารถหลายอย่างประกอบกัน และต้องหมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ เพราะการฝึกพูดเกี่ยวข้องกับการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นั่นคือ การพูดสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะได้ ยิ่งฝึกมากความชํานาญในการพูดยิ่งพัฒนาขึ้นตามลําดับ

12. หลักการสําคัญของการฝึกพูดให้เป็นสําเนียงการพูด คืออะไร
(1) ฝึกพูดให้เป็นธรรมชาติของผู้พูดมากที่สุด
(2) ฝึกพูดให้มีความมั่นใจในการพูด
(3) ฝึกการออกเสียงภาษาพูดให้ถูกต้องชัดเจน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หลักการสําคัญของการฝึกพูดให้เป็นสําเนียงภาษาพูด คือ ฝึกการออกเสียงภาษาพูดให้ชัดเจนถูกต้อง ดังนี้ 1. ออกเสียงอักษร ร ล และเสียงควบกล้ำให้ถูกต้อง 2. ฝึกออกเสียงคําศัพท์ต่าง ๆ เช่น คําสมาส คําสนธิ คําซ้อน คําประสม ฯลฯ ให้ถูกต้อง ตามหลักภาษา 3. ฝึกใช้ถ้อยคําให้ตรงกับความหมายโดยเฉพาะคําพ้องเสียง 4. ฝึกพูดโดยใช้ถ้อยคําง่าย ๆ อย่าใช้ศัพท์ยาก 5. ฝึกพูดให้มีเสียงดังฟังชัด ฯลฯ

13. นักพูดมือใหม่ควรใช้วิธีฝึกพูดแบบใดดีที่สุด
(1) ใช้ตําราประกอบ
(2) มีผู้เชี่ยวชาญแนะนํา
(3) ฝึกพูดหน้ากระจก
(4) บันทึกภาพและเสียงซ้ำ ๆ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
ตอบ 2 การฝึกพูดโดยมีผู้แนะนํา คือ มีพี่เลี้ยงหรือครูอาจารย์ดี ๆคอยแนะนําให้เป็นการส่วนตัว หรือจัดเป็นกลุ่ม มีการฝึกพูดกันเป็นประจําหรือสมัครเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพูด จัดเป็นวิธีฝึกพูดที่ประสบความสําเร็จและได้ผลดีที่สุด โดยเฉพาะ นักพูดมือใหม่ที่ฝึกพูดครั้งแรก เพราะผู้แนะนําจะชี้แจงข้อบกพร่องและให้ข้อแนะนําวิธีพูดที่ถูกต้อง ซึ่งจะทําให้ทราบว่าผู้พูดยังบกพร่องในเรื่องใด และควรปรับปรุงแก้ไขตนเองในข้อใด

14. ข้อใดเกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติในการฝึกพูดน้อยที่สุด
(1) หัดสร้างพลังใหม่ ๆ
(2) หัดทําสมาธิ
(3) หัดแสวงหาเครื่องแต่งตัวที่สวยงาม
(4) ฝึกระงับอารมณ์ต่าง ๆ
ตอบ 3
หลักปฏิบัติในการฝึกพูด มีดังนี้ 1. ฝึกตนเองให้รู้จักแสวงหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ (เช่น ฝึกนิสัยรักการอ่าน รักการฟัง ฝึกจิตให้มีสมาธิ ฯลฯ) 2. ฝึกการพูดให้เป็นสําเนียงภาษาพูด 3. ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเอง 4. ฝึกตนให้มีความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ฝึกระงับอารมณ์ต่าง ๆ ฝึกสร้างพลังใหม่ ๆ ฯลฯ) 5. ฝึกการพัฒนาบุคลิกภาพในการพูด

15. “บุคลิกภาพ เกี่ยวข้องกับ “การฝึกพูด” อย่างไร
(1) การฝึกพูดเป็นการฝึกบุคลิกภาพภายนอก
(2) บุคลิกภาพสะท้อนจากการพูด
(3) เมื่อผ่านการฝึกพูด บุคลิกภาพย่อมดีขึ้น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
การฝึกพูดถือเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายใน โดยเฉพาะผู้ที่มีโอกาสได้ฝึกพูดในที่ชุมชนบ่อย ๆ จะทําให้มีการพัฒนาบุคลิกภาพดีขึ้น การวางตัวดีขึ้นกิริยาท่าทางไม่เคอะเขิน แต่งกายได้เหมาะสม มีความเชื่อมั่น กระตือรือร้น ฯลฯ

16. เมื่อเราพูดในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ ควรใช้ภาษาท่าทางอย่างไร (1) ศีรษะตั้งตรง นัยน์ตาเบิกกว้าง
(2) ผงกศีรษะเข้าหาผู้ฟัง นัยน์ตาตื่นเต้น
(3) ผงกศีรษะไปเบื้องหลัง นัยน์ตาเบิกกว้าง
(4) สายศีรษะ นัยน์ตาตื่นเต้น
ตอบ 3
การวางท่าของศีรษะที่ใช้ประกอบการพูด ควรใช้ภาษาท่าทางดังนี้
1. ในการพูดปกติ ศีรษะควรตั้งตรง แสดงว่าผู้พูดเป็นคนจริง เข้มแข็ง กล้าหาญ และมีอํานาจ
2. ถ้าพูดถึงข้อความที่เป็นการขอร้อง ขอความเห็นใจ หรือขอความเห็น ควรยื่นศีรษะไปข้างหน้าเล็กน้อย
3. ถ้าพูดถึงเรื่องตื่นเต้น น่าหวาดกลัว หรือสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ ให้ผงกศีรษะไปเบื้องหลังเล็กน้อย นัยน์ตาเบิกกว้าง
4. ถ้ากล่าวปฏิเสธ แสดงความไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย ควรสั่นศีรษะช้า ๆ ขณะกล่าวเน้น

17. ภาษามือมีประโยชน์ในการพูดอย่างไร
(1) บอกขนาด หรือทิศทาง
(2) ประกอบการพูดอย่างเป็นทางการ
(3) ช่วยให้การพูดน่าสนใจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
การใช้ภาษามือควรใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพูดมากที่สุด และใช้ให้เป็นธรรมชาติใช้ให้เป็นจังหวะ เหมาะกับเรื่องและโอกาส เพื่อบอกจํานวน ขนาด รูปร่าง และทิศทาง ซึ่งจะทําให้การพูดมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น แต่อย่าใช้ภาษามือมากเกินไปหรือใช้อยู่ตลอดเวลาเหมือนกับการแสดงละคร นอกจากนี้การพูดในบางโอกาสห้ามใช้มือประกอบ เช่น การกล่าวรายงานอย่างเป็นพิธีการ การให้โอวาท การกล่าวเปิดงาน และการอ่านข่าวทางโทรทัศน์ เป็นต้น

18. เมื่อผู้พูดใช้เสียงต่ำเป็นการพูดในลักษณะใด
(1) โน้มน้าวใจคนฟัง
(2) แสดงความเสียใจ
(3) แสดงการท้าทาย
(4) อธิบายหรือให้ความรู้
ตอบ 2
การใช้เสียงต้องให้เหมาะกับเนื้อหาและอารมณ์ โดยพิจารณาว่าเนื้อหาที่พูดเป็นอย่างไร ควรจะใช้เสียงอย่างไรจึงจะเหมาะกับเรื่อง ได้แก่ การบรรยายธรรมดาหรืออธิบาย ความรู้ให้ใช้เสียงเรียบ ๆ ธรรมดา, ถ้าต้องการโน้มน้าวจิตใจควรใช้เสียงที่เชิญชวน, ถ้าพูดเรื่อง ที่มีอารมณ์ต่าง ๆ ต้องใช้เสียงให้ถูกต้อง เช่น การพูดที่แสดงการท้าทายให้ใช้น้ำเสียงแข็งกร้าว แต่ถ้าแสดงความเสียใจให้ใช้เสียงต่ำ ฯลฯ

19. ข้อใดถูกต้อง
(1) การตื่นเวทีจะไม่เกิดขึ้นกับคนที่ฝึกซ้อมการพูดมาอย่างดี
(2) การตื่นเวทีระดับ Audience Fear มีประโยชน์
(3) การตื่นเวทีทุกชนิดไม่ช่วยให้การพูดดีขึ้น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
การตื่นเวที่จะไม่เกิดขึ้นกับคนที่ฝึกซ้อมการพูดมาอย่างดีโดยเฉพาะการฝึกพูดในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นวิธีเอาชนะความสะทกสะท้าน และยังเป็นการปลูกฝังเสริมสร้างความกล้าหาญ และความเชื่อมั่นในตนเองที่ดีที่สุด เพราะผู้พูดสามารถ ควบคุมความกลัวและความเก้อเขินเอาไว้ได้ นอกจากนี้การตื่นเวทีในระดับ Audience Tension ยังมีประโยชน์ เพราะเป็นสัญชาตญาณในการเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการท้าทายที่ไม่คุ้นเคย

20. วิธีการไหนสามารถแก้ไขอาการตื่นเวทีได้ดีที่สุด
(1) สร้างความมั่นใจให้กับตนเอง
(2) เขียนโน้ตย่อให้ชัดเจน
(3) ซ้อมการพูดจนมั่นใจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
ข้อแนะนําเมื่อเกิดอาการตื่นเวที มีดังนี้
1. เตรียมตัวให้พร้อม ฝึกซ้อมการพูดจนมั่นใจ ถือเป็นวิธีป้องกันแก้ไขอาการตื่นเวทีที่ดีที่สุดเพราะถ้าเตรียมสองประการนี้ไม่ดีก็เท่ากับประสบความล้มเหลวก่อนขึ้นเวที่เสียแล้ว
2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง พยายามคิดว่าผู้ฟังทุกคนเป็นมิตรกับเรา
3. สร้างทัศนคติที่ดี ต้องคิดว่าเรามีความรู้ในเรื่องที่จะพูดมากเพียงพอ
4. สูดลมหายใจลึก ๆ ยาว ๆ เพื่อผ่อนคลาย แล้วนึกถึงคําพูดแรก ๆ ในการพูด

21. การพูดแบบไหนที่มีผลต่อการใช้ชีวิตของคนเรามากที่สุด
(1) การพูดจาทักทาย
(2) การพูดแบบไม่เป็นทางการ
(3) การพูดแบบเป็นทางการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 การพูดแบบไม่เป็นทางการ คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 1 – 5 คน ส่วนใหญ่จะเป็นการพูดแบบตัวต่อตัว ซึ่งมีผลต่อการใช้ ชีวิตประจําวันของคนเรามากที่สุด แบ่งออกได้ดังนี้
1. การทักทาย 2. การแนะนําตัว 3. การสนทนา
4. การเล่าเรื่อง 5. การพูดโทรศัพท์ 6. การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ

22. ข้อใดหมายถึงการสนทนาที่ถูกต้อง
(1) พยายามแลกเปลี่ยนความคิด
(2) พูดเป็นและฟังเป็น
(3) พยายามเล่าเรื่องที่ตนเองประสบมา
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2
การสนทนาเป็นกิจกรรมการพูดระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่านั้น ซึ่งถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง โดยการสนทนาที่ถูกต้องไม่ได้หมายถึงการพูดเท่านั้น แต่หมายถึง การฟังด้วย ดังนั้นผู้สนทนาที่ดีจึงไม่ใช่ผู้ที่พูดเป็นอย่างเดียว แต่ต้องฟังเป็นด้วย คือ ตั้งใจฟัง ยอมรับฟัง และทนฟังผู้อื่นได้ ซึ่งก็จะใช้หลักการพูดทั่ว ๆ ไปนั่นเอง คือ ต้องพิจารณาผู้ฟัง จุดประสงค์ในการพูด โอกาสและเรื่องที่จะพูด

ข้อ 23. – 26. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การอภิปราย
(2) การสนทนา
(3) การโต้วาที
(4) การปาฐกถา

23. เมื่อผู้คนมีความคิดเห็นแบ่งเป็นเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ควรใช้การพูดแบบใด ตอบ 3
การโต้วาที (Debate) คือ การพูดเสนอความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน แบ่งเป็นเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยมีฝ่ายที่เสนอความคิดเห็นฝ่ายหนึ่ง และฝ่ายที่ค้านความคิดเห็นอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งแต่ละฝ่ายจะใช้วาทศิลป์กล่าวค้านความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยใช้เหตุผล ข้อเท็จจริง และหลักวิชาการมาชี้ให้เห็นว่าความคิดของฝ่ายตนถูก เพื่อหักล้างอีกฝ่ายหนึ่งอย่างมีเหตุผลและคมคาย

24. เมื่อบุคคลหนึ่งซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พูดอธิบายให้คนจํานวนมากฟัง ตอบ 4
การพูดแบบปาฐกถา คือ การพูดที่บุคคลคนเดียวแสดงถึงความรู้ ความคิดเห็นของตนเองให้ผู้ฟังจํานวนมาก จึงเป็นการพูดแบบบรรยาย หรืออธิบายขยายความให้ผู้ฟัง ได้เข้าใจเรื่องที่พูดอย่างแจ่มแจ้ง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ อย่างเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

25. การพูดแสดงความรู้ ความคิดเห็นของบุคคลกลุ่มหนึ่ง
ตอบ 1
การอภิปราย คือ การพูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อปรึกษาหารือกันและออกความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดในเรื่องที่กําหนดให้ ดังนั้นความหมายของการอภิปรายที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระมากที่สุดน่าจะเป็น “กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข่าวสารของบุคคลจํานวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือมากกว่านั้น”

26. กิจกรรมการพูดระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่านั้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

ข้อ 27. – 30, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การพูดแบบบอกเล่าหรือบรรยาย
(2) การพูดโดยอาศัยอ่านจากร่าง
(3) การพูดแบบให้ความบันเทิง
(4) การพูดจากความทรงจํา

27. วิธีการพูดแบบใดที่เหมาะกับทุกโอกาส
ตอบ 4
การพูดจากความทรงจํา ถือเป็นการพูดจากใจและจากความรู้สึกที่แท้จริงของผู้พูด จึงเป็นวิธีการพูดที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับการพูดในทุกโอกาส โดยมักจะใช้ได้ดีกับการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ที่ตนเองได้ประสบมา หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ซึ่งคนที่จะพูดแบบนี้ได้ดีจะต้องเป็นตัวของตัวเอง มีความจําดี จดจําทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในสมองมีปฏิภาณไหวพริบ มีความรอบรู้ และสามารถนําเรื่องราวต่าง ๆ มาประสานกันได้เป็นอย่างดี

28. วิธีการพูดแบบใดเหมาะสมกับเนื้อหาที่เกี่ยวกับตัวเลข สถิติ
ตอบ 2
การพูดโดยอาศัยอ่านจากร่างหรือต้นฉบับ คือ การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่ได้เตรียมไว้ล่วงหน้าแล้วอย่างดี ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ส่วนมากจะเป็นการพูดที่เป็นพิธีการต่าง ๆ และอาจนํามาใช้กับการพูดที่ต้องเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเงิน ตัวเลข การอ้างสถิติ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในการเสนอรายงานต่าง ๆ ได้อีกด้วย

29. การพูดแบบใดเหมาะกับการกล่าวรายงานหรือประกาศ
ตอบ 1
การพูดแบบบอกเล่าหรือบรรยาย มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังเกิดความรู้และความเข้าใจต้องการให้ผู้ฟังได้รับทราบเรื่องราวต่าง ๆ หรือเป็นการสาธิตการทําสิ่งของบางอย่าง โดยทั่วไป จะเป็นการพูดแบบอบรม ชี้แจง ปฐมนิเทศ บรรยายสรุป การกล่าวรายงาน ประกาศ การพูดแถลงการณ์ การบรรยายหรือสอนในชั้นเรียน ฯลฯ

30. เมื่อพูดหลายคนจะใช้เวลาไม่เกินคนละ 10 นาที
ตอบ 3
หลักการพูดแบบให้ความบันเทิง มีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ผู้พูดควรจํากัดเวลาในการพูด เพราะถ้าพูดนานจะทําให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย โดยถ้ามีผู้พูดหลายคน แต่ละคนไม่ควรพูดเกิน 10 นาที หากพูดคนเดียวก็อาจจะใช้เวลาประมาณ 35 – 45 นาที
2. ผู้พูดต้องพูดให้ตรงเป้าหมายและพูดให้ได้เรื่องราวที่เหมาะสม 3. เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องสนุกสนาน เบาสมอง และให้ความบันเทิงจริง ๆ ถ้ามีเรื่องตลกขบขันแทรกก็ต้องเป็นเรื่องที่ไม่หยาบโลน

31. องค์ประกอบที่สําคัญที่สุดของการพูดที่ดี คือ
(1) การวิเคราะห์สถานการณ์
(2) การพูดด้วยถ้อยคําที่ดี
(3) การแสวงหาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ
(4) การดัดแปลงการพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟัง
ตอบ 2
ดร.นิพนธ์ ศศิธร กล่าวว่า การพูดที่ดี (การพูดต่อชุมนุมชน) มีองค์ประกอบ รายการที่สําคัญอยู่ 4 ประการ คือ 1. การพูดที่มีถ้อยคําดี 2. การพูดที่มีความเหมาะสม 3. การพูดที่มีความมุ่งหมาย 4. การพูดที่มีศิลปะการแสดงดี

32. ทัศนคติในทางลบที่ต้องกําจัดในเรื่องการพูด คืออะไร
(1) การใช้คําพูดซ้ำ ๆ
(2) การกล่าวย้ำคําพูดที่ไม่สําคัญ
(3) ความไม่มั่นใจ
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4
ทัศนคติของผู้พูด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ทัศนคติในทางลบ ซึ่งมีผลเสียต่อผู้ฟัง ได้แก่ ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าผู้ฟัง และความรู้สึกกลัว
2. ทัศนคติในทางบวก ซึ่งจะช่วยให้ผู้พูดประสบความสําเร็จในการพูดมากขึ้น ได้แก่ความปรารถนาที่จะพูด ความสนใจในเรื่องที่พูดและความสนใจในคนฟัง รวมทั้งความมั่นใจของผู้พูด

33. ทัศนคติในทางบวกที่ต้องส่งเสริมในเรื่องการพูด คืออะไร
(1) การฝึกซ้อมการพูดอยู่เสมอ
(2) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ฟัง
(3) ความปรารถนาที่จะพูด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

34. การพูดในที่สาธารณะมีลักษณะเป็นรูปแบบไหน
(1) วงกลม
(2) คู่ขนาน
(3) ปฏิกิริยาโต้กลับ
(4) แล้วแต่สถานการณ์
ตอบ 1 การพูดในที่สาธารณะโดยทั่วไป ผู้พูดมักจะคิดว่ามีลักษณะการสื่อสารเป็นเส้นตรง คือ เป็นแบบที่ผู้พูดส่งสารทางเดียว แต่ความจริงแล้วมีลักษณะการสื่อสารเป็นวงกลมมากกว่า เป็นเส้นตรง คือ ผู้ฟังจะต้องมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับมาด้วย ซึ่งเรียกว่า การตอบสนองหรือผลที่เกิดจากการพูด คือ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้พูดถ่ายทอดสารมาให้ผู้ฟัง

35. Empathy หมายถึงอะไรในแวดวงการพูด
(1) ความเห็นอกเห็นใจกัน
(2) การเข้าถึงจิตใจผู้อื่น
(3) ความสัมพันธ์ที่ดีของทุกฝ่าย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการโต้ตอบระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ซึ่งจะทําให้กระบวนการพูดกับการฟังได้ผลดี มีอยู่ 2 ประการ ดังนี้ 1. การเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy) คือ ความพยายามของผู้พูดและผู้ฟังที่จะรับรู้ในสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกัน โดยต้องเห็นในสิ่งที่เขาเห็น รู้สึกในสิ่งที่เขารู้สึก 2. การมีความสัมพันธ์ที่ดี (Rapport) คือ การที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังเข้ากันได้ มีการยอมรับร่วมกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy)

36. ลีลาของการพูด หมายถึงอะไร
(1) ท่วงท่าในการสื่อสาร
(2) วิธีการสื่อสารของการพูด
(3) การใช้ภาษาท่าทางในการพูด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
ลีลาของการพูด คือ วิธีการสื่อสารของการพูด หรือวิธีการที่จะส่งสารหรือคําพูดออกไป เป็นการแสดงถึงความคิดและบุคลิกลักษณะของตัวผู้พูดเอง ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้พูดที่เลียนแบบกันได้ยาก จึงเปรียบเสมือนเป็นลายเซ็นของมนุษย์ โดยมีลักษณะสําคัญก็คือ เป็นการแสดงออกซึ่งความคิด ความกระจ่างชัด ความน่าสนใจ และน่าจดจํา

37. การย่อความในการพูด หมายถึง
(1) พูดให้สั้น
(2) พูดให้ได้ใจความ
(3) พูดโดยใช้ภาษาได้น่าสนใจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
การย่อความ หมายถึง ลีลาการพูดให้สั้น รวบรัด สามารถรวมเอาความคิดต่าง ๆไว้ในข้อความสั้น ๆ ซึ่งมักทําให้ผู้ฟังพอใจมากกว่าผู้พูดที่พูดเพ้อเจ้อ ถ้าหากผู้พูดจะใช้ลีลาการพูดแบบนี้ก็ต้องมีความมั่นใจด้วยว่าผู้ฟังจะสามารถเข้าใจเรื่องราวไปพร้อม ๆ กับผู้พูด ดังนั้น การรวบรวมความคิดจึงควรตรงประเด็น กินความหมายได้มาก และน่าสนใจ

38. วิธีการอ้างอิงคําพูดของผู้อื่นทําอย่างไร
(1) ระบุแหล่งที่มาของคําพูด
(2) บอกชื่อหนังสือที่ได้อ่านมา
(3) ไม่ต้องอ้างอิง
(4) บอกชื่อผู้เป็นเจ้าของคําพูด
ตอบ 4 ชาคริต อนันทราวัน ได้กล่าวถึงมารยาทในการพูด สรุปได้ดังนี้
1. ไม่ควรสูบบุหรี่ อมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือหยิบยาอมขึ้นมาใส่ปากในขณะที่พูด
2. หากรู้สึกโกรธขึ้นมาในขณะที่พูด นักพูดควรหยุดนิ่งและระงับสติอารมณ์ให้ได้
3. ต้องตรงต่อเวลาในการพูด คือ พูดและสรุปให้จบก่อนหมดเวลา 1 – 2 นาที
4. ถ้ามีการอ้างอิงคําพูดของผู้อื่น ต้องบอกชื่อผู้เป็นเจ้าของคําพูดด้วย ฯลฯ

39. Be Confident ในการตอบคําถาม หมายถึงอะไร
(1) ตอบให้สมบูรณ์
(2) ตอบให้ถูกต้อง
(3) ตอบให้สุภาพ
(4) ตอบให้มั่นใจ
ตอบ 4
กฎเกณฑ์ของการตอบคําถาม ซึ่งเรียกว่า 4 Bs มีดังนี้
1. มีความถูกต้อง (Be Accurate) 2. มีความสมบูรณ์ (Be Complete)
3. มีความสุภาพ (Be Polite) 4. มีความมั่นใจ (Be Confident)

40. จงใช้ภาษาของผู้ฟัง หมายถึงสิ่งใด
(1) ใช้ภาษาถิ่น
(2) ใช้ภาษาให้เหมาะกับระดับภาษาของกลุ่มผู้ฟัง
(3) ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
จงใช้ภาษาของผู้ฟัง หมายถึง ผู้พูดใช้ภาษาให้เหมาะกับการรับฟังของกลุ่มผู้ฟัง หรือใช้ภาษาให้สอดคล้องกับพื้นฐานและเหมาะกับระดับภาษาของกลุ่มผู้ฟัง โดยผู้พูดต้องศึกษาว่าผู้ฟังเป็นใคร เพื่อปรับความยากง่ายของถ้อยคําภาษาของตนให้เข้ากับ ผู้ฟัง หรือเป็นภาษาของกลุ่มผู้ฟัง ไม่ใช้ศัพท์ยากเกินไป ถ้าใช้ศัพท์ยากหรือใช้ภาษาที่ผู้ฟังไม่อาจเข้าใจก็จะทําให้การพูดนั้นไร้ประโยชน์

41. “แม้ว่าการพูดจะไม่ค่อยเคร่งครัดในระเบียบกฎเกณฑ์สักเท่าเหร่ แต่ผู้ใช้ภาษาควรจะระมัดระวังในการใช้ภาษาพูด” ข้อใดตรงกันข้ามกับข้อความที่กล่าวไว้
(1) ธงชัยใช้ภาษาถิ่นกับผู้ฟังเพื่อสร้างความคุ้นเคย
(2) เกษมใช้ภาษาต่างประเทศกับผู้ฟังบ้างเป็นบางโอกาส
(3) สมศักดิ์ร้องต่อกลอนเพลงยาวกับผู้ฟังเพื่อสร้างความคุ้นเคย
(4) สมหมายใช้ภาษาสแลงกับผู้ฟังบ้างในคราวที่จําเป็น
ตอบ 1
ภาษาพูดที่ดี คือ ภาษาที่แสดงความคิดได้แจ่มแจ้งชัดเจนทุกขั้นตอนของการพูด ถึงแม้ว่าการพูดจะไม่ค่อยเคร่งครัดในระเบียบกฎเกณฑ์ของภาษามากเท่าภาษาเขียน แต่ผู้ใช้ภาษาก็ควรระมัดระวังในการใช้ภาษาพูดให้ถูกต้อง เช่น ผู้พูดไม่ควรใช้คําต่ำคําหยาบ คําผวน คําสแลง คําเฉพาะอาชีพ ศัพท์บัญญัติ ภาษาถิ่น และคำภาษาต่างประเทศในการพูดอยู่ตลอดเวลา แต่หากจําเป็นต้องใช้เป็นบางครั้งก็จะต้องอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจ

42. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม
(1) บํารุงเรียกภรรยาใหม่ของพ่อว่า “คุณน้า”
(2) บําราศเรียกพี่สาวว่า “น้อง” เพราะเป็นชื่อเล่น
(3) ดํารัสขานรับคุณครูว่า “จ้า” เมื่อคุณครูเรียก
(4) ดํารงขานรับว่า “ขอรับ” เมื่อภรรยาใหม่ของคุณพ่อเรียก
ตอบ 1
การใช้ภาษาในสังคมไทยมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม ได้แก่ การพูดกับบุคคลที่อาวุโส คนไทยนิยมใช้คําสรรพนามแทนบุคคลที่อาวุโสกว่าในลักษณะที่ยกย่อง เช่น เรียกว่า พี่ ป้า ลุง ยาย คุณน้า (ในกรณีที่มีอายุอ่อนกว่าแม่ตัวเอง) ฯลฯ แต่ถ้าบุคคลนั้นอายุน้อยกว่าก็เรียกว่า น้อง เป็นต้น

43. นักพูดจะต้องมีความรู้เรื่องหลักภาษา ข้อใดเกี่ยวข้องมากที่สุด
(1) นิดาเป็นนักพูดที่มีบุคลิกภาพดีเยี่ยม
(2) วรรณาเป็นนักพูดที่มีศิลปะการแสดงดีเยี่ยม
(3) กรณีเป็นนักพูดที่สื่ออารมณ์ได้ตรงกับเรื่องที่พูดได้ดีเยี่ยม
(4) วันดีเป็นนักพูดที่รักษาเวลาในการพูดได้ดีเยี่ยม

ตอบ 3
ความรู้ในเรื่องหลักภาษา คือ ผู้ใช้ภาษาพูดควรมีความรู้พอสมควรในด้านการสร้างประโยค การใช้ถ้อยคํา ความหมายของคํา และรู้จักเลือกใช้ภาษาที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ตรงกับเรื่องที่พูด

ข้อ 44. – 50. ข้อใดถูกให้เลือกข้อ 1 ข้อใดผิดให้เลือกข้อ 2

44. การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สามารถเรียนรู้และฝึกทักษะได้ ยิ่งฝึกมากยิ่งชํานาญมาก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

45. ภาษาพูดต่างจากภาษาเขียน คือ ภาษาพูดจะไม่ค่อยเคร่งครัดในระเบียบและกฎเกณฑ์มากนัก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

46. ความหมายโดยบริบท คือ ความหมายที่ขึ้นอยู่กับข้อความในประโยค ถ้าข้อความเปลี่ยนความหมายก็เปลี่ยน
ตอบ 1
ความหมายโดยปริบทหรือบริบท (Context) หมายถึง ความหมายที่ต้องดูจากคําหรือสังเกตข้อความแวดล้อมหรือใกล้เคียงคํานั้น ๆ ประกอบ จึงจะเข้าใจความหมาย ได้อย่างถูกต้อง หรือเป็นความหมายที่ขึ้นอยู่กับข้อความในประโยค ถ้าหากข้อความเปลี่ยนไปความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย

47. ผู้พูดควรใช้ภาษาที่ทําให้ผู้ฟัง ฟังแล้วต้องตีความเอาเองเพื่อแสดงภูมิปัญญาของผู้ฟัง
ตอบ 2
ภาษาพูดที่ดี คือ ภาษาที่ผู้พูดสื่อให้ผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นถ้อยคําที่ชัดเจน สื่อความหมายได้ดี ถูกต้องและเหมาะสม ไม่ควรใช้ภาษาที่ทําให้ผู้ฟังตีความเอาเองว่า เนื้อความที่พูดไปนั้นคนพูดต้องการหมายความว่าอย่างไรกันแน่ เพราะจะทําให้เกิดปัญหาที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อสารอย่างหนึ่ง แต่ผู้รับสารเข้าใจไปอีกอย่างหนึ่ง

48. ความหมายโดยนัย ความหมายโดยแฝง และความหมายเชิงอุปมา ล้วนคือความหมายเดียวกัน
ตอบ 2
การพิจารณาความหมายของคําแยกออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. ความหมายโดยตรง 2. ความหมายโดยนัย หรือความหมายเชิงอุปมา 3. ความหมายโดยแฝง 4. ความหมายตามบริบท

49. ภาษาที่มีชีวิตชีวา คือ ภาษาที่ประชดนิด ๆ หยิกแกมหยอกหน่อย ๆ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์สนุกสนาน
ตอบ 2
ภาษาที่ใช้ต้องมีชีวิตชีวาและกินใจ เพื่อก่อให้เกิดความสนใจและประทับใจ คือถ้อยคําสํานวนที่ทําให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะต้องอาศัยสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ภาษาที่มีชีวิตชีวาอาจประกอบด้วย ภาพพจน์ อุปมาอุปไมย ฯลฯก็ได้เช่นกัน

50. เมื่อคุณพ่อคุณแม่เรียก เราควรขานรับท่านว่า “จ้า” แต่เมื่อคุณครูเรียกเราขานรับว่า “ขา”
ตอบ 2 การใช้ภาษาพูดของเพศหญิงและเพศชายจะแตกต่างกันในบางครั้งทําให้แยกเพศได้ชัดเจน เช่น คําขานรับ เพศชายใช้ “ครับ/ครับผม” (ใช้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ), เพศหญิงใช้ “จ้า/ขา” (ไม่เป็นทางการ) และ “คะ” (เป็นทางการ) ฯลฯ

51. การประชุมที่จัดขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งและร่วมแสดงความเห็น เรียกว่าอะไร
(1) Work Shop
(2) Debate
(3) Panel
(4) Seminar
ตอบ 3
การประชุมคณะอภิปราย หรือการประชุมแบบแผง (Panel) คือ การประชุมที่บุคคลคณะหนึ่งจัดให้มีขึ้นด้วยเจตนาร่วมกันที่จะพิจารณาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และนําปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นขึ้นมากล่าวเป็นประเด็น เพื่อช่วยกันแสดงความคิดเห็นหรือแก้ไขปัญหา

52. การประชุมแบบใดที่สถาบันจัดขึ้นและเอื้อความสะดวกด้านวัสดุ
(1) Work Shop
(2) Debate
(3) Panel
(4) Seminar
ตอบ 1
การประชุมปฏิบัติงาน (Work Shop) คือ การประชุมที่สถาบันจัดให้มีขึ้น และจัดอํานวยความสะดวกในด้านวัสดุและอุปกรณ์การศึกษาให้พร้อม เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้ใช้ แก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ และให้ได้ร่วมปฏิบัติการหรือลงมือทําเพื่อให้ได้ผลงาน ตามที่กําหนดไว้

53. การอภิปรายแบบใดที่สมาชิกทุกคนมีโอกาสได้เห็นหน้ากัน
(1) แบบฟิลิปส์ 66
(2) แบบเวียนรอบ
(3) แบบระดมสมอง
(4) แบบโต๊ะกลม
ตอบ 4
การอภิปรายแบบโต๊ะกลม (Round Table Discussion) คือ การปรึกษาหารือกันในระหว่างสมาชิกอย่างใกล้ชิด โดยสมาชิกทุกคนมีสิทธิ์ในการอภิปราย และมีการจัดโต๊ะเป็นรูปวงกลมเพื่อให้เห็นหน้ากันได้ชัดเจน จึงทําให้การประชุมแบบนี้เกิดความคิดได้มากเพราะว่าเห็นหน้ากันถนัด และทุกคนมีสิทธิ์พิจารณาอย่างเท่าเทียมกัน

54. ประโยชน์ของการจัดประชุมหรือการจัดอภิปรายข้อใดไม่เกี่ยวข้อง
(1) มีโอกาสพบปะพูดจาสังสรรค์
(2) เรียนรู้มารยาทและการมีมนุษยสัมพันธ์
(3) สามารถสร้างความสามัคคีในหน่วยงาน
(4) มีโอกาสและส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
ตอบ 3
ประโยชน์ของการจัดประชุมหรือการจัดอภิปราย มีดังนี้
1. ทําให้มีโอกาสพบปะพูดจาสังสรรค์กัน 2. ทําให้รู้จักเรียนรู้มารยาทและการมีมนุษยสัมพันธ์ 3. ทําให้มีโอกาสปรึกษาหารือกันอยู่เสมอ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ฯลฯ

55. ข้อใดคือความแตกต่างระหว่าง “การประชุมแบบโต้แย้ง” กับ “การอภิปรายแบบโต้วาที” ที่ชัดเจนที่สุด
(1) การประชุมแบบโต้แย้งมีจุดมุ่งหมายแสดงเหตุผลเพื่อให้ตัดสินแพ้ชนะ
การอภิปรายแบบโต้วาที่ใช้ในกรณีตัดสินใจเลือกนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติ
(2) การประชุมแบบโต้แย้งมีผู้เสนอ ผู้ค้าน หัวข้อกําหนด และประธาน
การอภิปรายแบบโต้วาที่จะเรียกผู้เสนอว่า ฝ่ายเสนอ และผู้ค้านว่า ฝ่ายคัดค้าน
(3) การประชุมแบบโต้แย้งมีประธานเป็นผู้รักษาระเบียบการโต้
การอภิปรายแบบโต้วาที ประธานทําหน้าที่ควบคุมการอภิปรายให้เป็นไปตามระเบียบ (4) การประชุมแบบโต้แย้งต้องมีการโต้เถียงตามหัวข้อกําหนด
การอภิปรายแบบโต้วาที่ต้องแสดงความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ตอบ 1
การประชุมแบบโต้แย้ง (Debate) และการอภิปรายแบบโต้วาที (Debate Discussion) จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันหลายอย่าง แต่มีข้อแตกต่างที่ชัดเจนที่สุด คือ การประชุมแบบโต้แย้งมีจุดมุ่งหมายแสดงเหตุผลเพื่อให้ตัดสินแพ้ชนะ ส่วนการอภิปราย แบบโต้วาที่ใช้ในกรณีตัดสินใจเลือกนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อนําไป เป็นแนวทางการดําเนินงานขององค์การ

56. ข้อใดคือวลีฆาตกร
(1) เธอคิดมากเกินไปหรือเปล่า
(2) อย่าทําแบบนี้อีกนะ
(3) คนอื่นเขาไม่คิดว่าเธอไม่ดีหรอก
(4) ไม่มีใครเขาทําแบบเธอหรอก
ตอบ 4
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ได้เรียกการใช้ภาษาที่จะทําลายบรรยากาศอันดีในที่ประชุม และทําลายความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าประชุมว่า “วลีฆาตกร” (Killer Phrases) คือ การใช้ภาษาที่อาจทําให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบในทางปฏิปักษ์ นอกจากนี้วลีฆาตกรยังสามารถ เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจําวัน หากเป็นการใช้วาจาที่ก้าวร้าว ไม่สุภาพ จนก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง เช่น ไม่มีใครเขาทําแบบเธอหรอก เป็นต้น

ข้อ 57. – 60. จงพิจารณาว่าข้อใดใช้คําผิดความหมาย

57.
(1) สมชายอ่านหนังสืออย่างขมีขมันเพื่อจะสอบเข้านายร้อย
(2) สมหญิงกุลีกุจอช่วยคุณยายห่อขนมนําไปขายที่ตลาด
(3) สมสุขเปิดเผยความในใจว่า ชอบทานอาหารแบบใด
(4) สมจินตนาชอบทานขนมจุบจิบโดยไม่กลัวน้ำหนัก
ตอบ 1
ประโยคในตัวเลือกข้อ 1 ใช้คําไม่ถูกต้องตรงความหมาย หรือใช้คําผิดความหมาย เพราะคําบางคํามีความหมายคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกัน แต่ละคํามีความหมายโดยตรงที่ใช้เฉพาะความหมายคํานั้น จึงควรใช้คําให้ถูกต้องตรงความหมาย โดยใช้คําว่า “ขะมักเขม้น” = ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป ก้มหน้าก้มตาทํา (ส่วนคําว่า “ ขมีขมัน” = รีบเร่งในทันทีทันใด)

58.
(1) ขุนแผนสืบเสาะหาของดีติดตัวก่อนออกผจญภัย
(2) คุณยายวรนาฏดูออกจะจุกจิกขี้บ่นกับหลาน ๆ
(3) ภาพพจน์นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ ขยันและอดทน
(4) เปรี้ยวพูดจาขัดนวลตลอดเวลาจนทําให้นวลโกรธ
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ) ประโยคในตัวเลือกข้อ 3 ควรใช้คําว่า“ภาพลักษณ์” – ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น จินตภาพก็ว่า (ส่วนคําว่า “ภาพพจน์” = คําพูดที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็นภาพ)

59.
(1) คอนโดมิเนียมขึ้นอย่างหนาแน่นริมสถานีรถไฟฟ้า
(2) ตํารวจกําลังสอบปากคํานายดําที่ไปลักขโมยของ
(3) ดาวเรืองกําลังสอบถามกับพนักงานเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ
(4) ขุนไกรรู้สึกทราบซึ้งในความรักของดาวเรือง
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ) ประโยคในตัวเลือกข้อ 4 ควรใช้คําว่า“ซาบซึ้ง” = อาการที่รู้สึกจับใจอย่างลึกซึ้ง หรืออาการที่รู้สึกปีติปลาบปลื้ม (ส่วนคําว่า “ทราบซึ้ง” = รู้หรือเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ไม่สงสัยอะไรอีกแล้ว)

60.
(1) ไออุ่นรู้สึกวางใจในทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
(2) กําภูจนมุมที่จะทําให้ไกรขวัญ หันมาคืนดี
(3) วรุณยุพาตั้งใจจะเผยแผ่คําสอนพระพุทธเจ้าให้โลกรับรู้
(4) การสนทนานี้ดูจะยืดยาวไม่รู้จักจบสิ้นในคืนนี้
ตอน 2
(ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ) ประโยคในตัวเลือกข้อ 2 ควรใช้คําว่า “จนใจ” = หมดทางที่จะได้อย่างคิด (ส่วนคําว่า “จนมุม” = ไม่มีทางหนี หมดทางสู้)

61. ขั้นตอนในการเตรียมเพื่อการพูดและการเขียนข้อใดมาก่อนลําดับแรก
(1) การเตรียมเนื้อหา
(2) การเขียนโครงเรื่อง
(3) การเลือกหัวข้อเรื่อง
(4) การขยายความคิด
ตอบ 3
ก่อนที่จะพูดหรือเขียน เราต้องเลือกหัวข้อเรื่องที่จะพูดหรือเขียนก่อนสิ่งอื่นใดซึ่งการเลือกหัวข้อเรื่อง หมายถึง การพิจารณาเนื้อหาสาระของเรื่องว่ามีความเหมาะสมที่จะ นํามากล่าวหรือไม่ ดังนั้นการเลือกหัวข้อเรื่องจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกับประโยคใจความ และไม่ได้หมายถึง การเลือกชื่อเรื่องหรือการตั้งชื่อเรื่องให้โก้เก๋ แต่ต้องคํานึงถึงเนื้อหาหรือสาระสําคัญของเรื่องเป็นหลัก

62. ถ้าผู้เขียนมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบํารุงความงาม ควรเขียนเรื่องอะไร (1) สวยชาตินี้ ไม่ต้องรอชาติหน้า
(2) สวยอย่างไรให้มีคุณค่า
(3) ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
(4) เครื่องสําอางกับการปรุงโฉม
ตอบ 4
หลักการเลือกหัวข้อเรื่องประการหนึ่ง คือ หัวข้อเรื่องนั้นเหมาะกับความสามารถของผู้กล่าวผู้เขียนหรือไม่ ซึ่งหัวข้อเรื่องใดที่มีเนื้อหาตรงกับความรู้ สติปัญญา และความสนใจ หรือเป็นหัวข้อเรื่องที่เรามีความรู้ดีก็ควรเลือกเขียนเรื่องนั้น ไม่ควรเลือกหัวข้อเรื่องยากเกินกว่าสติปัญญาที่เรามีอยู่ เช่น ถ้าผู้เขียนมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบํารุงความงาม ควรเขียนเรื่อง “เครื่องสําอางกับการปรุงโฉม เป็นต้น

63. ที่มาของเรื่องที่เขียนหรือพูดมักมาจากแหล่งใดที่สําคัญที่สุด
(1) การพูด
(2) การฟัง
(3) การอ่าน
(4) การเขียน
ตอบ 3
แหล่งที่มาของหัวข้อเรื่องอาจได้มาจากหลายทาง เช่น จากการอ่าน การฟัง การสังเกต การคิดนึกตรึกเอา หรือได้มาจากประสบการณ์ตรง ฯลฯ แต่หัวข้อเรื่อง ส่วนใหญ่มักได้มาจากการอ่านหนังสือต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นแหล่งที่มาของหัวข้อเรื่องที่สําคัญที่สุด เพราะการอ่านเป็นการสั่งสมความรู้ที่ดีที่สุด และยังเป็นการพัฒนาตนเองในด้านความรู้ได้เร็วและรวบรัดที่สุดอีกด้วย

64. ในการจัดระเบียบความคิดนั้น เมื่อเขียนประโยคกล่าวนําแล้ว ขั้นตอนต่อมาคืออะไร
(1) วิเคราะห์ความคิด
(2จัดสรรความคิด
(3) จัดหมวดหมู่ความคิด
(4) จัดลําดับความคิด
ตอบ 1
ขั้นตอนการจัดระเบียบความคิด มีดังนี้
1. ขั้นวิเคราะห์ความคิด เป็นขั้นตอนแรกที่ทําต่อเนื่องจากการเขียนประโยคกล่าวนํา 2. ขั้นเลือกสรรความคิด 3. ขั้นจัดหมวดหมู่ความคิดของเรื่อง 4. ขั้นจัดลําดับความคิด 5. ขั้นขยายความคิดของเรื่อง

65. การแบ่งระดับหัวข้อย่อยในโครงเรื่องนิยมใช้แบบใดมากที่สุด
(1) แบบตัวอักษรย่อ
(2) แบบตัวเลข
(3) แบบตัวเลขสลับอักษรย่อ
(4) แบบใดก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้เขียน
ตอบ 1
การเเบ่งระดับหัวข้อย่อยในโครงเรื่องนิยมใช้แบบตัวอักษรย่อมากที่สุด หรือใช้แบบตัวเลขผสมกับตัวอักษรย่อสลับกันไป หรืออาจใช้หัวข้อย่อยแบบตัวเลขล้วน ๆ โดยใช้ เครื่องหมายมหัพภาค (.) เป็นเครื่องช่วยสังเกตประเด็นใหญ่และประเด็นย่อย แต่มีข้อควรระวัง คือ ถ้าเลือกหัวข้อประเด็นแบบใดก็ให้ใช้แบบนั้นตลอดไป อย่าใช้ปนกันหลาย ๆ แบบ

ข้อ 66. – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) โครงเรื่องแบบไม่มีพิธีรีตอง
(2) โครงเรื่องแบบหัวข้อ
(3) โครงเรื่องแบบย่อหน้า
(4) โครงเรื่องแบบประโยค
66. โครงเรื่องที่มีการกํากับด้วยตัวเลขหรืออักษรย่อที่สังเขปด้วยคําวลี
ตอบ 2
โครงเรื่องแบบหัวข้อ จะเขียนด้วยคําหรือวลีสั้น ๆ หรืออาจเป็นอนุประโยคที่ไม่ได้ความครบถ้วนในตัวเอง โดยมีตัวเลขหรืออักษรย่อกํากับทุกประเด็นที่สังเขป ด้วยคําวลีหรืออนุประโยคนั้น ๆ จึงเป็นโครงเรื่องที่ไม่ได้บอกแนวทางไว้ชัดเจน และผู้เขียนต้องรีบเขียนด้วยเวลาอันจํากัด เพราะหากทิ้งไว้นาน ๆ อาจลืมได้ว่าหัวข้อนั้นจะขยายความอย่างไร ทั้งนี้โครงเรื่องแบบหัวข้อควรใช้ถ้อยคําให้ขนานเป็นแนวเดียวกันโดยตลอด คือ ถ้าหัวข้อเรกขึ้นต้นด้วยคํานามหรือคํากริยา หัวข้อต่อไปก็ควรขึ้นต้นด้วยคํานามหรือคํากริยาด้วย

67. โครงเรื่องที่ไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กันมากนัก
ตอบ 3
โครงเรื่องแบบย่อหน้า ประกอบด้วยกลุ่มประโยคหลายกลุ่มประโยครวมกันในรูปของย่อหน้า โดยไม่ต้องแยกเป็นหัวข้อลงในบรรทัดใหม่ แต่จะกล่าวถึงทุกประเด็นปนกันไปในย่อหน้าเดียวกัน เนื่องจากโครงเรื่องแบบนี้ไม่แยกประเด็นความคิดของเนื้อหาออกอย่างชัดเจน จึงไม่เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป

68. โครงเรื่องที่นิยมตอนถูกเชิญให้เป็นคนกล่าวเวลากะทันหัน
ตอบ 1
โครงเรื่องแบบไม่มีพิธีรีตอง จะเขียนอย่างคร่าว ๆ ด้วยคําหรือวลีแบบหยาบ ๆ เพื่อวางแนวเรื่องสั้น ๆ หรือเรื่องที่จะต้องพูดหรือเขียนอย่างทันควันในเวลา อันจํากัด โดยไม่จําเป็นต้องคํานึงถึงระเบียบแบบแผนใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้เรื่องที่จะกล่าวเรียงลําดับกันไม่สับสนเท่านั้น เช่น การเตรียมตอบคําถามหรือทําข้อสอบแบบอัตนัย หรือการถูกเชิญให้กล่าวในเวลาอันกะทันหัน ฯลฯ

69. โครงเรื่องที่บอกประเด็นการเขียนที่ชัดเจน
ตอบ 4
โครงเรื่องแบบประโยค จะเขียนด้วยข้อความที่เป็นประโยคสมบูรณ์และชัดเจน มีเลขหรืออักษรย่อกํากับทุกประโยคที่เป็นประเด็นของเรื่องนั้น จึงเป็นโครงเรื่องที่บอกขอบข่ายและรายละเอียดของแต่ละประเด็นไว้ครบถ้วน ง่ายต่อการนําไปเขียนขยายเป็นย่อหน้าหรือเนื้อความ จึงเหมาะสําหรับผู้เริ่มหัดเขียน และมักใช้กับเรื่องที่มีรายละเอียดมากซึ่งต้องใช้เวลานานในการศึกษาค้นคว้า เช่น การทํารายงานทางวิชาการ การวิจัย ฯลฯ

70. โครงเรื่องที่เหมาะสําหรับผู้ที่เริ่มฝึกเขียน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

71. ประโยคในส่วนประกอบของย่อหน้าประโยคใดจะมีหรือไม่มีก็ได้
(1) ประโยคสรุป
(2) ประโยคสนับสนุน
(3) ประโยคใจความ
(4) ประโยคส่งความ
ตอบ 4
ประโยคส่งความหรือประโยคเชื่อมความ เป็นประโยคที่เชื่อมเนื้อหาจากย่อหน้าหนึ่งไปยังย่อหน้าต่อไป ซึ่งมักจะปรากฏในกรณีที่มีย่อหน้าตั้งแต่ 2 ย่อหน้าขึ้นไป แต่ถ้าหากมีเพียงย่อหน้าเดียวก็ไม่จําเป็นต้องมีประโยคส่งความ

ข้อ 72 – 75. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้จับคู่ให้ตรงกับประโยคใจความสําคัญของย่อหน้า
(1) ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
(2) ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมมีฐานบรรจบกัน
(3) ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมยอดบรรจบกัน
(4) ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วหัวกลับ

72. โดยทั่วไปผักที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่แล้ว เกษตรกรมักจะใช้สารกําจัดศัตรูพืชฉีดพ่น ถ้าหากไม่มีความรอบคอบในการใช้จะทําให้เกิดสารตกค้าง ทําให้มีปัญหาต่อสุขภาพ ฉะนั้นเมื่อซื้อผักไปรับประทาน จึงควรล้างผักด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง เพราะจะช่วยกําจัดสารตกค้างไปได้ไม่มากก็น้อย บางคนอาจแช่ผักโดยใช้น้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต แต่ก็อาจทําให้วิตามินในผักลดลง
ตอบ 3
ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมมียอดบรรจบกัน คือ ย่อหน้าที่เริ่มต้นด้วยการให้รายละเอียดกว้าง ๆ แล้วสรุปใจความสําคัญลงกลางย่อหน้า ก่อนจะค่อย ๆ ขยายความจากกลางย่อหน้า เป็นข้อความต่อไป กล่าวคือ มีประโยคใจความอยู่กลาง ๆ ย่อหน้า และมีประโยคสนับสนุนอยู่ตอนต้นกับตอนท้ายย่อหน้า

73. ความรู้ทั่วไปเป็นรากฐานอันจําเป็นอย่างหนึ่งของการสนทนา ผู้ที่มีความรู้ทั่วไปดีจะสนทนาได้อย่างสนุกสนานมีรสชาติยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าการสนทนากับผู้ที่มีความรู้ทั่วไปดีนั้น ก็เสมือนหนึ่งการไปเดินเล่นในหมู่บ้านหรือจังหวัดกับผู้ที่มีความช่ำชองในท้องถิ่นนั้น ๆ ดี ซึ่งทําให้การเที่ยวเตร่ของเราเป็นไปอย่าง สนุกสนานและได้ความรู้อย่างเต็มที่
ตอบ 1
ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว คือ ย่อหน้าที่มีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นย่อหน้า แล้วมีประโยคสนับสนุนหลักและประโยคสนับสนุนรองวางอยู่ในตําแหน่งถัดไป ทําให้จัดลําดับความคิดได้ง่ายที่สุด เนื่องจากเป็นการขยายความคิดจากประโยคใจความสําคัญไปสู่รายละเอียดที่จะนํามาสนับสนุน

74. เรารักษาศีลเพื่อบังคับตัวเองให้มีระเบียบวินัยในการกระทําทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น เรามาอยู่วัด มานุ่งขาวห่มขาว ไม่ใช่ถือศีล 8 ข้อเท่านั้น แต่เราต้องพยายามนึกว่า ศีล คือ การมีระเบียบวินัย ศีลฝึกให้เราเดิน อย่างมีระเบียบ นั่งอย่างมีระเบียบ กินอย่างมีระเบียบ ทําอะไรก็ล้วนแล้วแต่มีระเบียบ ถ้าเราไม่มีระเบียบ ก็ถือว่าไม่มีศีล
ตอบ 2
ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมมีฐานบรรจบกัน คือ ย่อหน้าที่มีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้น แล้วขยายความให้รายละเอียดด้วยประโยคสนับสนุนหลักและประโยคสนับสนุนรอง ต่อจากนั้นก็ค่อย ๆ สรุปรายละเอียดต่าง ๆ ให้แคบลง และจบลงด้วยประโยคใจความสําคัญ ในตอนท้ายอีกครั้งหนึ่ง จึงมีลักษณะเป็นย่อหน้าที่ขยายความให้กว้างออกแล้วจึงสรุปความให้แคบเข้า โดยมีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นและท้าย

75. เนื่องจากมีการเร่งรัดพัฒนาประเทศหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอุตสาหกรรม ทําให้ทรัพยากรที่มีอยู่ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว ป่าไม้ถูกทําลายไปจนเหลือไม่ถึงหนึ่งในสี่ของผืนป่าที่มีมาแต่เดิมลําธารก็ถูกทําลายลงไปมาก เกิดปัญหาภัยแล้ง สัตว์ป่าถูกล่าจนบางชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว น้ำในแม่น้ำตลอดจนลําคลองที่เคยใสและสะอาดก็กลับมาเน่าเสีย การใช้ธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงและ หลีกเลี่ยงไม่ได้ในปัจจุบัน
ตอบ 4
ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วหัวกลับ คือ ย่อหน้าที่มีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนท้าย เป็นการสรุปเอาสาระสําคัญทั้งหมดลงในตอนท้าย โดยกล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ อย่างคลุม ๆ ได้แก่ กล่าวถึงประโยคสนับสนุนหลักและประโยคสนับสนุนรองไว้ก่อนในตอนต้น แล้วจึงค่อยขมวดความคิดหรือใจความสําคัญเอาไว้ในตอนจบ ซึ่งจะตรงข้ามกับย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

ข้อ 76. – 90, ข้อความต่อไปนี้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน แต่แบ่งไว้เป็นข้อ ๆ จํานวน 15 ข้อ จงอ่านให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน แล้วพิจารณาว่าแต่ละข้อเข้าลักษณะใด
จากคําตอบข้างล่างนี้ ให้ระบายข้อที่เลือกในกระดาษคําตอบ
คําตอบ
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคใจความ ให้เลือกตอบข้อ 1
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคสนับสนุนหลัก ให้เลือกตอบข้อ 2
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคสนับสนุนรอง ให้เลือกตอบข้อ 3
– ถ้าข้อความนั้นทําให้เสียเนื้อความในย่อหน้า ให้เลือกตอบข้อ 4

(1) ภาษาไทยเป็นภาษาที่ร่ำรวยอุดมด้วยคํา (2) มีทั้งคําไทยและคําที่ยืมจากภาษาอื่น ทั้งที่ยืมมาโดยตรงและยืมผ่านภาษาอื่น ๆ อีกต่อหนึ่ง (3) ภาษาไทยมีคํายืมจากภาษาต่าง ๆ เช่น (4) บาลี สันสกฤต เขมร จีน ชวา มลายู (5) และภาษาทางยุโรปอื่น ๆ โดยเฉพาะอังกฤษ (6) คําที่ยืมมาเหล่านั้น เรายังแผลงและดัดแปลงออกไปได้อีกมาก (7) ภาษาไทยจึงมีเสียงดนตรีเกิดขึ้นมากมาย (8) การยืมภาษาต่างประเทศทําให้ภาษาขยายตัว (9) ภาษาต่างประเทศมีกลิ่นนมและเนย (10) คํายืมที่ใช้ไปนาน ๆ สังคมยอมรับและติดอยู่ในภาษาก็ถือเสมอเป็นคําไทย (11) แต่มีคํายืมอีกมากที่ผู้ใช้ภาษา (12) หรือเจ้าของภาษารู้สึกว่ายังเป็นคําต่างประเทศ (13) คําเหล่านี้ไม่ควรที่จะนํามาใช้ในการเขียนหรือพูดอย่าง เป็นทางการหรือกึ่งทางการ (14) เรื่องการใช้คําและสํานวนต่างประเทศนี้ (15) ตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นตัวอย่างจากภาษาอังกฤษ

76. ข้อความหมายเลข 1
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 1
ประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ คือ ข้อความที่เป็นตอนนำซึ่งเป็นส่วนที่มีความหมายครอบคลุมข้อความทั้งหมดในย่อหน้า หรือเป็นส่วนที่มีความหมาย เด่นชัดและมีน้ำหนักมากที่สุด โดยจะกล่าวถึงสาระสําคัญของเนื้อความในย่อหน้านั้นทั้งหมดหรือจํากัดขอบข่ายประเด็นที่จะพูดถึงในย่อหน้า ทั้งนี้อาจมีตําแหน่งอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนปลายของย่อหน้าก็ได้ (ข้อความที่ให้มาข้างต้นเป็นย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นย่อหน้า)

77. ข้อความหมายเลข 2
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 2
ประโยคสนับสนุนหลัก คือ ข้อความส่วนที่เป็นตอนอภิปราย หรือประเด็นความคิดหลัก ซึ่งจะทําหน้าที่นํารายละเอียดของเนื้อหาไปสนับสนุนหรือขยายประโยคใจความ ของย่อหน้า ดังนั้นการเขียนประโยคชนิดนี้จึงต้องวิเคราะห์ประโยคใจความ และจํากัดความคิดที่จําเป็นต้องนํามาสนับสนุนใจความในย่อหน้าเสียก่อน

78. ข้อความหมายเลข 3
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3
ประโยคสนับสนุนรอง คือ ข้อความที่เป็นตอนอภิปราย หรือความคิดย่อยในประเด็นความคิดหลัก ซึ่งทําหน้าที่ให้รายละเอียดหรือขยายความในประเด็นความคิดหลัก
หรือประโยคสนับสนุนหลัก (ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ)

79. ข้อความหมายเลข 4
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80. ข้อความหมายเลข 5
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81. ข้อความหมายเลข 6
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

82. ข้อความหมายเลข 7
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4
ประเด็นความคิดที่อยู่นอกขอบข่ายเนื้อหา คือ รายการความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับประโยคใจความ ประโยคสนับสนุนหลัก และประโยคสนับสนุนรอง เพราะเมื่อปนเข้ามาก็จะทําให้เนื้อความของเรื่องหรือของย่อหน้านั้นเสียไป

83. ข้อความหมายเลข 8
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

84. ข้อความหมายเลข 9
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

85. ข้อความหมายเลข 10
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

86. ข้อความหมายเลข 11
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

87. ข้อความหมายเลข 12
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

88. ข้อความหมายเลข 13
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

89. ข้อความหมายเลข 14
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

90. ข้อความหมายเลข 15
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

91. ข้อใดมีจํานวนพยางค์มากที่สุด
(1) นาฏดนตรี
(2) นาวิกโยธิน
(3) บูรพคณาจารย์
(4) ภูมิปัญญาประดิษฐ์
ตอบ 3
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ซึ่งพยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ตามกันออกมาอย่างกระชั้นชิด จนฟังดูเหมือนกับเปล่งเสียงออกมาในครั้งเดียวกัน เรียกว่า การประสมเสียงในภาษา ดังนั้น เสียงที่เกิดจากการประสมเสียงจึงเรียกว่า “พยางค์” เช่น คําว่า บูรพคณาจารย์ (6 พยางค์), นาวิกโยธิน/ภูมิปัญญาประดิษฐ์ (5 พยางค์), นาฏดนตรี (4 พยางค์) เป็นต้น

92. “งานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสของนิดาคราคร่ำไปด้วยผู้คน” ประโยคที่กําหนดให้บกพร่องในเรื่องใด
(1) ใช้คําเชื่อมผิด
(2) ใช้คําผิดความหมาย
(3) ความหมายกํากวม
(4) วางส่วนขยายผิดที่
ตอบ 2
(ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรใช้คําว่า “คลาคล่ำ” = ไปหรือมาเป็นจํานวนมาก มักใช้กับปลา ฝูงชน (ส่วนคําว่า “คราคร่ำ” เป็นคําที่เขียนผิด)

93. ข้อใดใช้คําได้ถูกต้องตามระเบียบของภาษา
(1) สุดามีกรมธรรม์หลายเล่ม
(2) เขายื่นใบสมัครแก่เจ้าหน้าที่
(3) หน้าตาของเขาเหมือนอย่างราวกับพ่อ
(4) ลูกศิษย์ของฉันคนนี้มีสติปัญญาแหลมคมมาก
ตอบ 4
ประโยคในตัวเลือกข้อ 4 ใช้คําถูกต้องตามระเบียบของภาษา (หลักภาษาหรือไวยากรณ์) คือ ระเบียบของถ้อยคําที่กําหนดไว้ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นควรใช้คําให้ถูกต้องตามระเบียบของภาษา โดยใช้ว่า สุดามีกรมธรรม์หลายฉบับ, เขายื่นใบสมัครต่อเจ้าหน้าที่,หน้าตาของเขาเหมือนกับพ่อ)

94. ข้อใดใช้ภาษาเขียนได้ถูกต้อง
(1) นักแข่งจักรยานทีมชาติไทยประสบอุบัติเหตุในการแข่งขัน
(2) การกินอาหารมังสวิรัติมีประโยชน์มาก ทําให้หุ่นเพรียวลมสมส่วน
(3) การทํากิจกรรมเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทําให้ดูน่าเบื่อหน่าย
(4) มัคคุเทศก์พาคณะนักศึกษานั่งรถชมวิวก่อนกลับบ้าน
ตอบ 1
การใช้คําในภาษาเขียนย่อมพิถีพิถันมากกว่าภาษาพูด โดยเฉพาะภาษาเขียนในระดับแบบแผนด้วยแล้ว ผู้เขียนย่อมทบทวนกันอย่างละเอียดเพื่อที่จะใช้คําได้อย่างหมดจด (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําที่เป็นภาษาพูด)

95. ข้อใดคือความหมายของพยางค์
(1) มีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
(2) เปล่งออกมาแล้วต้องมีความหมาย
(3) ประกอบด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

96. ข้อใดต่อไปนี้ไม่มีคําพ้องรูปพ้องเสียง
(1) ดูเสียก่อนว่าอาหารบูดหรือไม่ ลองชิมดูซิ
(2) ไปกันหรือยัง เพื่อน ๆ กลุ่มนั้นเขากันที่ไว้รอเรานะ
(3) รีบ ๆ มาช่วยกันขัด ไม่มีใครมาช่วยเราขัดหรอกนะ
(4) คุณลูกค้าไม่ต้องตกใจ ทางร้านขอรับรองว่าผ้าชิ้นนี้สีไม่ตก
ตอบ 3
ประโยคในตัวเลือกข้อ 3 ไม่มีคําพ้องรูปพ้องเสียง เพราะคําว่า “ขัด” ทั้ง 2 คํามีความหมายเหมือนกัน คือ ถูให้เกลี้ยง ถูให้ขึ้นเงา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําพ้องรูปพ้องเสียง แต่ความหมายต่างกัน ได้แก่ ดูเสียก่อนว่าอาหารบูดหรือไม่ ลองชิมดูซิ, ไปกันหรือยัง เพื่อน ๆกลุ่มนั้นเขากันที่ไว้รอเรานะ, คุณลูกค้าไม่ต้องตกใจ ทางร้านขอรับรองว่าผ้าชิ้นนี้สีไม่ตก)

97. ข้อใดมีจํานวนพยางค์เท่ากับคําว่า “ศุภอักษร”
(1) กัลปาวสาน ปัจฉิมลิขิต ปรัชญากร
(2) ขัดสมาธิ อภิวันทา อภัยโทษ
(3) เกษตรกร ทศนิยม กตัญชลี
(4) สุขลักษณะ สุนทรพจน์ กมลาไสย
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ) คําในตัวเลือกข้อ 3 ทุกคํา มีจํานวนพยางค์เท่ากับคําว่า “ศุภอักษร” คือ 4 พยางค์ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําที่ไม่ใช่ 4 พยางค์ ได้แก่ กัลปาวสาน/สุขลักษณะ = 5 พยางค์, ขัดสมาธิ = 3 พยางค์)

98. ข้อความที่กําหนดให้มีคําผิดกี่คํา
สุกานดาจบปริญญาตรีนิเทศน์ศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เธอเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ชอบทํางานผลัดวันประกันพรุ่งและเปลี่ยนงานมาหลายบริษัท ล่าสุดเธอทํางาน เป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธุ์ที่คลินิคแถวถนนประชาอุทิศน์ (1) 3 คํา
(2) 4 คํา
(3) 5 คํา
(4) 6 คํา
ตอบ 3 ข้อความที่กําหนดให้มีคําที่สะกดผิด 5 คํา ได้แก่ นิเทศน์ศาสตร์บัณฑิต ผัดวันประกันพรุ่ง ประชาสัมพันธุ์ คลินิค ประชาอุทิศน์ ซึ่งที่ถูกต้องคือ นิเทศศาสตรบัณฑิต ผัดวันประกันพรุ่ง ประชาสัมพันธ์ คลินิก ประชาอุทิศ

99. ข้อใดใช้ภาษาแบบแผน
(1) การมุ่งเอาชนะกันโดยปราศจากความรับผิดชอบ ก่อให้เกิดผลเสียเป็นอย่างยิ่ง (2) การเตะถ่วงมิใช่พฤติการณ์ของการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
(3) การนําเทคโนโลยีมาช่วยในการเกษตรกําลังเป็นที่สนใจของเกษตรกร
(4) ถ้ามิใช่ทําเพื่อพวกพ้อง แล้วเหตุไฉนจึงตัดสินใจอย่างฉุกละหุกลุกลี้ลุกลน
ตอบ 3
ภาษาระดับแบบแผน คือ คําที่ใช้ในระดับทางการ ซึ่งเป็นคําที่เลือกสรรใช้อย่างประณีต มีความถูกต้องทั้งในด้านหลักภาษา ความชัดเจน และมารยาท ในการใช้โดยสมบูรณ์ ได้แก่ ภาษาเขียนเชิงวิชาการและการเขียนเป็นทางการจะนิยมใช้ภาษา แบบแผนและคําศัพท์บาลี สันสกฤต หรือเขมร แทนคําไทยที่เป็นภาษาพูด แต่ไม่นิยมใช้คําซ้ำ

100. ข้อใดเว้นวรรคถูกต้อง
(1) หนังสือเป็นเสมือนคลังทรัพย์แห่งปัญญา/ที่ใครก็ปล้นไปไม่ได้และใช้ไม่รู้หมด/ดังนั้นทุกคนจึงควรอ่านหนังสือ
(2) หนังสือ/เป็นเสมือนคลังทรัพย์แห่งปัญญา/ที่ใครก็ปล้นไปไม่ได้และใช้ไม่รู้หมด/ดังนั้นทุกคนจึงควรอ่านหนังสือ (3) หนังสือเป็นเสมือนคลังทรัพย์แห่งปัญญาที่ใครก็ปล้นไปไม่ได้ และใช้ไม่รู้หมด/ดังนั้นทุกคนจึงควรอ่านหนังสือ
(4) หนังสือเป็นเสมือนคลังทรัพย์แห่งปัญญาที่ใครก็ปล้นไปไม่ได้และใช้ไม่รู้หมด/ดังนั้นทุกคนจึงควรอ่านหนังสือ
ตอบ 3
การรู้จักเว้นจังหวะในการพูด เป็นการเว้นวรรคตอนตรงข้อความที่ควรจะหยุดซึ่งการเว้นจังหวะโดยทั่วไป คือ การหยุดพูดเมื่อพูดจบหัวข้อหนึ่ง ๆ ก่อนที่จะพูดในหัวข้อใหม่ ต่อไป นอกจากนี้ก็ให้หยุดท้ายคําถาม หยุดท้ายกลุ่มคํา หยุดก่อนที่จะกล่าวคําหรือเรื่องสําคัญและหยุดเมื่อถึงคําสันธาน เช่น กับ, และ, อนึ่ง, อย่างไรก็ดี ฯลฯ

101. ข้อใดเป็นประโยคสองส่วน
(1) นกกางเขนสีสวยขนยาวบินสูงเสียดฟ้า
(2) นกกางเขนป้อนเหยื่อให้ลูกน้อย
(3) ลูกนกบินเกาะกินหนอน
(4) ลูกนกถูกแมวกัด
ตอบ 1
ข้อสังเกตเกี่ยวกับประโยค อาจมีลักษณะดังนี้
1. ประโยค 2 ส่วน ได้แก่ ประธาน + กริยา (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น นกกางเขนสีสวยขนยาวบินสูงเสียดฟ้า ฯลฯ 2. ประโยค 3 ส่วน ได้แก่ ประธาน + กริยา + กรรม (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น นกกางเขนป้อนเหยื่อให้ลูกน้อย, ลูกนกบินเกาะกินหนอน, ลูกนกถูกแมวกัด ฯลฯ

ข้อ 102 – 106. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ประโยคความเดียว
(2) ประโยคความรวม
(3) ประโยคความซ้อน
(4) ประโยคการิต

102. ฉันตื่นขึ้นมาอ่านหนังสือทุกเช้า
ตอบ 1 หน้า 124 ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) คือ ประโยคเล็ก ๆ หรือประโยคสามัญที่มีความหมายอย่างเดียว หรือมีความหมายเฉพาะอย่างหนึ่ง มักมีโครงสร้างประกอบด้วย ประธาน + กริยา (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) หรือประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น ฉันตื่นขึ้นมาอ่านหนังสือทุกเช้า เป็นต้น

103. คนที่กตัญญย่อมมีความเจริญในชีวิต
ตอบ 3
ประโยคความซ้อน หรือประโยคปรุงแต่ง (สังกรประโยค) หมายถึง ประโยคความเดียวที่มีประโยคยอยเข้ามาแทรกอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อแยกประโยคความซ้อนออกจากกันสองประโยคจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน กล่าวคือ ประโยคความเดียวที่เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) จะมีใจความสําคัญเพียงประโยคเดียว และมีประโยคย่อย (อนุประโยค) มาช่วย ขยายความ เช่น คนที่กตัญญย่อมมีความเจริญในชีวิต/ฉันนอนเฝ้าคุณพ่อที่นอนป่วยมาตลอด ทั้งคืน (ประโยคย่อยขยายนาม “คน/คุณพ่อ” โดยมีคําว่า “ที่” เป็นคําเชื่อมแทนคํานามที่อยู่ ข้างหน้า) เป็นต้น

104. เมื่อเธอรู้จักเก็บออม เธอก็จะสบายในภายหน้า
ตอบ 2
ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค) คือ ประโยคที่มีใจความสําคัญหลายใจความ เพราะเป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวเข้าด้วยกัน แล้วเชื่อมด้วยคําสันธาน ซึ่งประกอบด้วยคําต่อไปนี้
1. เนื้อความคล้อยตามกัน ได้แก่ แล้ว, และ, กับ, ถ้า….ก็, เมื่อ…ก็, พอ….ก็, ครั้นจึง ฯลฯ
2. เนื้อความขัดแย้งกัน ได้แก่ แต่, แต่ทว่า, ถึง…ก็, กว่า…ก็ ฯลฯ
3. เนื้อความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ หรือ, หรือไม่ หรือไม่เช่นนั้น, มิฉะนั้น ฯลฯ
4. เนื้อความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน ได้แก่ เพราะ, จึง, ดังนั้น เพราะฉะนั้น, เพราะ…จึง ฯลฯ
105. ฉันนอนเฝ้าคุณพ่อที่นอนป่วยมาตลอดทั้งคืน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 103. ประกอบ

106. สุนัขตัวโปรดของฉันไม่สบายจึงร้องครวญครางเสียงดัง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 104. ประกอบ

107. ข้อใดใช้ภาษากํากวม
(1) เขาอยู่ไม่ได้ไปแล้ว
(2) คนที่อยู่ก็ต้องรับผิดชอบ
(3) จะอยู่ที่ไหนก็ไม่สําคัญ
(4) อย่าอยู่อย่างอยาก
ตอบ 1
ประโยคในตัวเลือกข้อ 1 ใช้คําไม่ชัดเจนหรือไม่กระจ่าง ทําให้สื่อความหมายกํากวม และตีความหมายได้หลายทาง จนก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไขว้เขว ดังนั้นจึงควรเขียนให้ชัดเจนและกระจ่าง โดยใช้ว่า เขาอยู่ที่นี่ไม่ได้ ลาออกไปแล้ว/เขาอยู่บ้าน ไม่ได้ไปเที่ยวแล้ว

108. ข้อใดวางคําขยายได้ถูกต้อง
(1) ไฟดับลงก่อนที่บ้านทั้งชุมชนจะไหม้หมดด้วยฝีมือของตํารวจ
(2) เมื่อคุณแม่ซื้อของเสร็จในห้างสรรพสินค้าก็เดินทางกลับบ้าน
(3) คุณแม่ขับรถมาส่งฉันถึงโรงเรียน ฝากบอกกับคุณครูมอบให้ฉันอยู่ในความดูแลของท่าน
(4) ฉันชอบดื่มกับธรรมชาติ ส่งสายตามองดูนกที่กําลังโผผินบินพรูออกจากรัง
ตอบ 4
ประโยคในตัวเลือกข้อ 4 วางคําขยายถูกต้อง เพราะตําแหน่งของคําขยายย่อมอยู่ใกล้กับคําที่ต้องการขยายความ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นควรเรียงลําดับคําขยายให้ถูกต้อง โดยใช้ว่าด้วยฝีมือของตํารวจไฟดับลงก่อนที่บ้านทั้งชุมชนจะไหม้หมด, เมื่อคุณแม่ซื้อของในห้างสรรพสินค้าเสร็จก็เดินทางกลับบ้าน, คุณแม่ขับรถมาส่งฉันถึงโรงเรียน บอกกับคุณครูฝากมอบให้ฉันอยู่ในความดูแลของท่าน)

109. ข้อใดเป็นประโยคฟุ่มเฟือย
(1) คุณแม่ทําอาหารด้วยฝีมือของท่านเองทุกวัน
(2) เท่าที่ดูด้วยตาก็รู้ว่าเธอยังทํางานบกพร่องอยู่
(3) คนไทยทุกคนควรช่วยกันประหยัดพลังงานเพื่ออนาคตของประเทศ
(4) คุณพ่อดีใจที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานบริษัท
ตอบ 2
ประโยคในตัวเลือกข้อ 2 เรียงคําไม่กระชับ ใช้ประโยคฟุ่มเฟือย หรือใช้คําอย่างไม่ประหยัด เพราะคําบางคํามีความหมายสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว จึงไม่จําเป็นจะต้อง ใช้คําขยายมาเพิ่มเติมอีก เนื่องจากจะทําให้ประโยคยืดยาด ดังนั้นจึงควรใช้คําอย่างประหยัด เพื่อให้กระชับ โดยใช้ว่า เท่าที่ดูก็รู้ว่าเธอยังทํางานบกพร่องอยู่

110. ประโยคใดไม่ใช่สํานวนต่างประเทศ
(1) คุณมี 6 สิทธิ์ ในการแลกซื้อของ
(2) ความฟุ่มเฟือยนํามาซึ่งความลําบากในอนาคต
(3) ภายใต้การนําของรัฐบาลชุดนี้น่าจะทําให้เศรษฐกิจดีขึ้น
(4) นายกรัฐมนตรีขอร้องให้ประชาชนทุกคนประหยัดเพื่อประเทศชาติ
ตอบ 4
ประโยคในตัวเลือกข้อ 4 เรียงคําเป็นสํานวนภาษาไทย ไม่ใช่ประโยคที่เลียนแบบสํานวนพันทางหรือสํานวนต่างประเทศ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นควรเรียงคําให้เป็นสํานวนภาษาไทย โดยใช้ว่า คุณมีสิทธิ์ 6 สิทธิ์ ในการแลกซื้อของ, ความฟุ่มเฟือยทําให้เกิดความลําบากในอนาคต, รัฐบาลชุดนี้เป็นผู้นําน่าจะทําให้เศรษฐกิจดีขึ้น)

111. พจนานุกรมไทยที่จัดทําโดยราชการในข้อใดที่เรียงลําดับถูกต้อง
(1) พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2554
(2) พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2558
(3) พ.ศ. 2498 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2554
(4) พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2554
ตอบ 1
เมื่อมีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสถาน เป็นหน่วยงานที่รับโอนงานพจนานุกรมหรือปทานุกรมจากกรมตํารา กระทรวงธรรมการ นํามาชําระเพิ่มเติมคํา และตีพิมพ์เป็นพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493, พ.ศ. 2525, พ.ศ. 2542 และ พ.ศ.
2554 ซึ่งเป็นฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

112. ข้อใดไม่ได้หมายถึง ผู้หญิงหรือนางงาม
(1) นงคราญ
(2) นงพะงา
(3) นงราม
(4) นงนาถ
ตอบ 4 คําที่มีความหมายว่า ผู้หญิงหรือนางงาม ได้แก่ นงคราญ นงพะงา นงพุธ นงโพธ นงราม

113. คําศัพท์ข้อใดไม่ได้หมายถึง “พระเจ้าแผ่นดิน”
(1) ธรณิศวร์
(2) ธรารักษ์
(3) นรินทร์
(4) บุรินทร์
ตอบ 2 คําที่มีความหมายว่า “พระเจ้าแผ่นดิน ได้แก่ ธรณิศ ธรณิศวร์ นรินทร์ นริศ บุรินทร์

114. คําในข้อใดสะกดถูกต้องทุกคํา
(1) กัณเทศน์ เทศนา
(2) คริสต์กาล คริสต์ศาสนิกชน
(3) ชะม้อย ชม้าย
(4) เซปักตะกร้อ เซลเซียส
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ กัณเทศน์ คริสต์กาล ชะม้อย ซึ่งที่ถูกต้องคือ กัณฑ์เทศน์ คริสตกาล ชม้อย

115. ตัวสะกดในข้อใดที่มีรูปต่างกันแต่มีเสียงเดียวกัน
(1) ญ ณ ร
(2) ย ค ช
(3) ญ ช ฎ
(4) ป ณ ภ
ตอบ 1
พยัญชนะตัวสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ
1. แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ
2. แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส
3. แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ
4. แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ฬ ญ
5. แม่กง ได้แก่ ง
6. แม่กม ได้แก่ ม
7. แม่เกย ได้แก่ ย
8. แม่เกอว ได้แก่ ว

116. คําว่า “ไตรสรณคมน์” อ่านให้ถูกต้องตามข้อใด
(1) ไตร-สะ-ระ-นะ-คม
(2) ไตร-ระ-สะ-ระ-นะ-คม
(3) ไตร-สอ-ระ-นะ-คม
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 คําว่า “ไตรสรณคมน์ อ่านว่า ไตร-สะ-ระ-นะ-คม

117. ข้อใดอ่านถูกต้อง
(1) กฤดาญชลี อ่านว่า กริ-ดาน-ชะ-สี
(2) กฤดยาเกียรณ อ่านว่า กริด-ยา-เกียน
(3) กฤษฎาญชลี อ่านว่า กริด-สะ-ดาน-ยะ-ชะ-ลี
(4) กฤดายุค อ่านว่า กะ-ร-ดา-ยุก
ตอบ 1 คําในตัวเลือกข้อ 2 – 4 อ่านผิด ซึ่งที่ถูกต้องคือ กฤดยาเกียรณ (กริด-ตะ-ยา-เกียน), กฤษฎาญชลี (กริด-สะ-ดาน-ชะ-ลี), กฤดายุค (กริ-ดา-ยุก)

118. เครื่องหมาย ( ; ) เรียกชื่อว่าอะไร
(1) เครื่องหมายก้ามปู
(2) เครื่องหมายมหัพภาค
(3) เครื่องหมายอัฒภาค
(4) เครื่องหมายยัติภังค์
ตอบ 3 เครื่องหมาย ( ; ) เรียกว่า เครื่องหมายอัฒภาค ใช้สําหรับลั่นคําหรือประโยค

119. ข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น
(1) ทิพากร
(2) รัตติกร
(3) รัชนีกร
(4) นิศากร
ตอบ 1 คําที่มีความหมายว่า “พระจันทร์ ได้แก่ รัตติกร รัชนีกร นิศากร (ส่วนคําว่า “ทิพากร” = พระอาทิตย์)

120. ข้อใดไม่ได้หมายถึง “เครื่องอัฐบริขาร”
(1) สบง จีวร ประคดเอว
(2) สังฆาฏิ บาตร
(3) มีดโกน เข็ม กระบอกน้ำ
(4) แว่นตา ไฟฉาย ร่ม ธูปเทียน
ตอบ 4 คําว่า “อัฐบริขาร” = เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีอยู่ 8 อย่าง ได้แก่
1. สบง 2. จีวร 3. สังฆาฏิ 4, บาตร 5. มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ 6. เข็ม 7. ประคดเอว 8. กระบอกกรองน้ำ

Advertisement