การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1003 การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. หัวข้อเรื่องใดต่อไปนี้เหมาะสําหรับพูดหรือเขียนให้นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปี 1 ได้ฟังหรืออ่าน
(1) เรียนเพิ่มปริญญาตรีอีก 1 ใบ
(2) เรียนและทํากิจกรรมเสริมประสบการณ์
(3) เรียนอย่างไรให้ได้ทุน
(4) เรียนและหางานพิเศษทํา
ตอบ 2
หลักการเลือกหัวข้อเรื่องประการหนึ่ง คือ หัวข้อเรื่องนั้นเหมาะกับผู้ฟังผู้อ่านหรือไม่ซึ่งหัวข้อเรื่องที่เลือกควรมีเนื้อหาตรงกับความสนใจ รสนิยม อารมณ์ และระดับสติปัญญาของ ผู้รับสารนั้นๆ เพราะการเลือกหัวข้อเรื่องที่มีเนื้อหาซึ่งผู้ฟังและผู้อ่านไม่เข้าใจ ย่อมไม่ต่างกับการยัดเยียดสิ่งที่เขาไม่ต้องการให้แก่เขา ผลการสื่อสารย่อมจะได้ประโยชน์น้อยกว่าที่คาดคิดเอาไว้

Advertisement

2. ข้อใดที่ไม่ใช่นิสัยการอ่านที่ดี
(1) ช่างถาม
(2) ช่างค้นคว้า
(3) ทดสอบคุณค่าเรื่องที่อ่าน
(4) สร้างภาพขึ้นในใจ
ตอบ 2 นิสัยการอ่านที่ดีมีดังนี้ 1. มีนิสัยช่างถาม 2. มีนิสัยสร้างภาพพจน์ขึ้นในใจ 3. มีนิสัยต่อเติมใจความที่บกพร่อง 4. มีนิสัยบันทึกข้อความสําคัญไว้ 5. มีนิสัยทดสอบคุณค่าของเรื่องที่ตนอ่าน

3. หัวข้อเรื่องใดที่จํากัดขอบเขตได้แคบที่สุด
(1) พัฒนาการวรรณกรรมยุคแรกเริ่ม
(2) พัฒนาการวรรณกรรมยุครัชกาลที่ 5
(3) พัฒนาการวรรณกรรมยุค พ.ศ. 2475
(4) พัฒนาการวรรณกรรมยุค 14 ตุลา
ตอบ 3
ขั้นตอนสําคัญในการปรับปรุงหัวข้อเรื่อง คือ การจํากัดขอบข่ายเนื้อหาของหัวข้อเรื่องให้แคบลง เพื่อให้พอเหมาะกับความยาวที่กําหนดให้ โดยพยายามซอยเนื้อหาที่กว้างขวาง เกินไปของหัวข้อเรื่องนั้นให้แยกออกเป็นส่วน ๆ แล้วพิจารณาดูว่าส่วนที่ถูกซอยย่อยออกไปนั้น มีส่วนใดซึ่งมีเนื้อหาพอเหมาะที่จะใช้เป็นหัวข้อเรื่องใหม่ให้พอดีกับความยาวที่จะเขียนได้ (ตัวเลือกข้อ 3 เป็นหัวข้อเรื่องที่จํากัดขอบเขตได้แคบที่สุดเพราะระบุเวลาเอาไว้อย่างชัดเจน)

4. การแบ่งความคิดเป็นประโยคกล่าวนําควรแบ่งเป็นที่ส่วน เพื่อนําความคิดไปสู่รายละเอียดได้เร็วขึ้น
(1) หนึ่งหรือสองส่วน
(2) สองหรือสามส่วน
(3) สามหรือสี่ส่วน
(4) สี่หรือห้าส่วน
ตอบ 2 หลักการเขียนประโยคกล่าวนําที่ดีมีดังนี้
1. เขียนให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์เสมอ มีความชัดเจนแจ่มแจ้ง
2. เขียนให้กระชับรัดกุมและแม่นตรงที่สุด อย่าเขียนให้เยิ่นเย้อ และงดใช้คําฟุ่มเฟือย 3. เขียนให้ขยายรายละเอียดได้ง่าย คือ แบ่งความคิดประโยคกล่าวนําออกเป็นสองหรือสามส่วนเพื่อนําความคิดไปสู่รายละเอียดได้เร็วขึ้น
4. ไม่ควรเขียนเป็นประโยคบอกเล่าและไม่สามารถบ่งชี้เหตุผลที่จะนํามาสนับสนุนได้

5. การเขียนประโยคกล่าวนําข้อใดผิด
(1) เขียนเป็นประโยคบอกเล่า
(2) เขียนให้กระชับรัดกุม
(3) ไม่ควรเขียนให้เยิ่นเย้อ
(4) งดใช้คําฟุ่มเฟือย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6. ถ้านักศึกษาได้รับเชิญให้กล่าวในเวลากะทันหัน ควรเตรียมโครงเรื่องแบบใด
(1) แบบประโยค
(2) แบบหัวข้อ
(3) แบบย่อหน้า
(4) แบบไม่มีพิธีรีตอง
ตอบ 4
โครงเรื่องแบบไม่มีพิธีรีตอง จะเขียนอย่างคร่าว ๆ ด้วยคําหรือวลีแบบหยาบ ๆ เพื่อวางแนวเรื่องที่สั้น ๆ หรือเรื่องที่ต้องพูดหรือเขียนอย่างทันควันในเวลาอันจํากัด โดยไม่ต้องคํานึงถึงระเบียบแบบแผนใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้เรื่องที่จะกล่าวเรียงลําดับกัน ไม่สับสนเท่านั้น เช่น การเตรียมตอบคําถามหรือทําข้อสอบแบบอัตนัย หรือการถูกเชิญให้กล่าวในเวลาอันกะทันหัน ฯลฯ

7. ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียนประโยคใจความ
(1) เขียนให้เป็นข้อความที่สมบูรณ์
(2) เขียนให้เป็นข้อความสละสลวย
(3) เขียนให้กระจ่างชัดเจน
(4) เขียนให้แคบหรือเจาะจงลงไป
ตอบ 2
หลักการเขียนประโยคใจความที่ดีมีดังนี้
1. เขียนให้เป็นข้อความที่สมบูรณ์ ไม่ขาดห้วน หรือกล่าวลอย ๆ
2. เขียนให้กระจ่างชัดเจน ต้องแสดงความคิดสําคัญเพียงอย่างเดียวให้กระชับแน่นอนลงไป
3. เขียนให้แคบหรือเฉพาะเจาะจงลงไป จนพอเหมาะที่จะเขียนได้ใน 1 ย่อหน้า
4. ใช้คําให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นคําที่ดีที่สุดที่จะใช้สื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตรงจุดและควรเป็นคําที่แจ่มแจ้ง เห็นจริงเห็นจัง

8. ประโยคใจความสําคัญตําแหน่งใดที่ลําดับความคิดได้ง่าย
(1) ตอนต้นย่อหน้า
(2) ตอนท้ายย่อหน้า
(3) ตอนกลางย่อหน้า
(4) ตอนต้นและท้ายย่อหน้า
ตอบ 1 การเขียนประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นย่อหน้า จะเหมาะกับนักเขียนหน้าใหม่ที่เริ่มต้นฝึกหัดเขียน เพราะจัดลําดับความคิดได้ง่ายที่สุดและฝึกฝนได้สะดวกกว่าแบบอื่น ทั้งยังทําให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายอีกว่าเราจะกล่าวถึงประเด็นสําคัญอะไร โดยขมวดประเด็นนั้นลงไปในประโยคใจความตอนต้นย่อหน้า ผู้อ่านก็สามารถจับประเด็นของย่อหน้าได้

9. การเขียนประโยคใจความสําคัญแบบใดที่เหมาะสําหรับนักเขียนหน้าใหม่
(1) ตอนต้นย่อหน้า
(2) ตอนท้ายย่อหน้า
(3) ตอนกลางย่อหน้า
(4) ตอนต้นและท้ายย่อหน้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

ข้อ 10. – 11. ข้อความให้มายังไม่ได้เรียงลําดับ ให้นักศึกษาเรียงลําดับข้อความต่อไปนี้ให้มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน

10.
(1) ปัจจุบันนิยมพนันมวยหรือฟุตบอลทางจอโทรทัศน์
(2) เพราะการชนไก่สามารถเล่นได้ตลอดปี
(3) โดยเฉพาะผู้ชายที่มีความถนัดทางช่างหรือความรู้ติดตัว
(4) การชนไก่เป็นการพนันอีกประเภทหนึ่งที่นิยมกัน
(5) มีการเลี้ยงไก่เป็นงานอดิเรก
(6) แต่กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของชายล้านนาก็มีเช่นกัน
(1) (4)(2)(1)(5)(6)(3)
(2) (1)(4)(2)(3)(5)(6)
(3) (4)(5)(2)(1)(6)(3)
(4) (1)(3)(6)(5)(4)(2)
ตอบ 2
ย่อหน้าควรมีความสัมพันธ์และความต่อเนื่องกัน ซึ่งความสัมพันธ์ในที่นี้ หมายถึงแต่ละส่วนของย่อหน้าต้องเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกันตามเหตุผลได้เรื่องได้ราว โดยมีการจัดระเบียบและวางลําดับเนื้อหาได้เหมาะเจาะตามลําดับ ส่วนความต่อเนื่อง หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ในย่อหน้ามาปะติดปะต่อกันอย่างราบรื่น และมีคําเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหาให้ประสานกลมกลืนกัน

11.
(1) ทั้ง ๆ ที่การรับรู้ดนตรีใช้การฟังมากกว่าการดู
(2) การรับรู้ดนตรีสามารถเกิดสุนทรียะได้หลายระดับ
(3) บางครั้งเราใช้คําพูดเกี่ยวกับการรับรู้ดนตรีที่ไม่สอดคล้องกัน
(4) ดนตรีเป็นศิลปะที่มีคุณลักษณะพิเศษ หลายประการ
(5) ทั้งนามธรรมและรูปธรรม
(6) เช่น ไปดูคอนเสิร์ต
(1) (2)(1)4(5(3)(6)
(2) (4)(2)(5)(3)(1)(6)
(3) (4)(3)(2)(5)(1)(6)
(4) (2)(3)(4)(5)(1)(6)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

ข้อ 12. – 15. จงใช้คําตอบต่อไปนี้จับคู่กับลักษณะของข้อบกพร่องในการเขียนย่อหน้า
(1) คิดนอกเรื่อง
(2) คิดขาดตอน
(3) คิดสับสน
(4) คิดไม่สัมพันธ์กัน

12. พูดหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน จนลําดับไม่ถูกว่ากําลังพูดถึงเรื่องอะไร
ตอบ 3
ข้อบกพร่องในการเขียนย่อหน้ามีดังนี้
1. คิดนอกเรื่องหรือนอกประเด็นที่กําหนดให้ คือ เขียนผิดประเด็นหรือเฉียดประเด็นของเรื่องไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายและเจตนารมณ์ของคําสั่งหรือสิ่งที่กําหนดให้ทํา
2. คิดสับสน คือ พูดหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน จนลําดับไม่ถูกว่ากําลังพูดถึงเรื่องอะไร
3. คิดขาดตอน คือ มีความคิดอื่นมาแทรกจึงทําให้ความคิดที่กําลังเขียนค้างอยู่ และความคิดที่แทรกเข้ามานั้นทําให้เรื่องราวขาดความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
4. คิดไม่สัมพันธ์กัน คือ พูดถึงเรื่องสองเรื่องที่เข้ากันไม่ได้หรือไม่กลมกลืนกัน แต่ไม่ถึงกับขัดแย้งกัน ฯลฯ

13. มีความคิดอื่นมาแทรกจึงทําให้ความคิดที่กําลังเขียนค้างอยู่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

14. เขียนผิดประเด็นหรือเฉียดประเด็นของเรื่อง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

15. พูดสองเรื่องที่เข้ากันไม่ได้ แต่ไม่ถึงกับขัดแย้งกัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

ข้อ 16. – 30. ข้อความต่อไปนี้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน แต่แบ่งไว้เป็นข้อ ๆ จํานวน 15 ข้อ จงอ่านข้อความทั้งหมดนี้ให้ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน แล้วพิจารณาว่าแต่ละข้อจะเข้าลักษณะใดจากคําตอบข้างล่างนี้ ให้ระบายข้อที่เลือกในกระดาษคําตอบ
คําตอบ
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคใจความ ให้เลือกตอบข้อ 1
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคสนับสนุนหลักให้เลือกตอบข้อ 2
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคสนับสนุนรอง ให้เลือกตอบข้อ 3
– ถ้าข้อความนั้นปนเข้ามาทําให้เสียเนื้อความของย่อหน้า ให้เลือกตอบข้อ 4

(1) สังคมไทยเป็นสังคมที่มีพระมหากษัตริย์ต่อเนื่องมาหลายร้อยปี (2) พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทในการรักษาบ้านเมือง (3) คุ้มครองประชาชนและเป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชน (4) พุทธศาสนา ถือว่าพระมหากษัตริย์มีลักษณะ 3 ประการตามบทบาทต่อสังคมดังนี้คือ (5) ประการที่ 1 ทรงเป็น “มหาชนสมมติ” (6) คือ พระราชอํานาจมีฐานมาจากความพร้อมใจของประชาชน (7) ต้องทรงเป็นที่ ยอมรับของคนในสังคมนั้น (8) ประการที่ 2 ทรงเป็น “ผู้นําของแคว้น” (9) ทรงดูแลบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อย (10) จึงทรงเป็นศูนย์กลางของประเทศ (11) ประการที่ 3 ทรงเป็น “หัวหน้าที่มีธรรม” (12) ทรงปกครองด้วยธรรมเพื่อให้ประชาชนเป็นสุข (13) คติของคนไทยเกี่ยวแก่พระมหากษัตริย์ แยกออกเป็น 2 คติ (14) คติแรก คือ การเห็นว่าพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัวใหญ่ (15) คติที่ 2 คือ การเห็นว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขรัฐทางการเมือง

(ข้อมูล : เสาวณิต วิงวอน. “เทวราชาและธรรมราชาในวรรณกรรมยอพระเกียรติ” ใน อักษรสรรค์กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จํากัด, 2555 หน้า 57)

16. ข้อความหมายเลข
1 (1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4
ประเด็นความคิดที่อยู่นอกขอบข่ายเนื้อหา คือ รายการความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ ประโยคสนับสนุนหลักหรือประเด็นความคิดหลัก และประโยคสนับสนุนรองหรือประเด็นความคิดย่อย เพราะเมื่อปนเข้ามาก็จะทําให้เนื้อความของเรื่องหรือของย่อหน้านั้นเสียไป

17. ข้อความหมายเลข 2
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

18. ข้อความหมายเลข 3
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

19. ข้อความหมายเลข 4
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 1
ประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ คือ ข้อความที่เป็นตอนนําซึ่งเป็นส่วนที่มีความหมายครอบคลุมข้อความทั้งหมดในย่อหน้า หรือเป็นส่วนที่มีความหมาย เด่นชัดและมีน้ำหนักมากที่สุด โดยจะกล่าวถึงสาระสําคัญของเนื้อความในย่อหน้านั้นทั้งหมด หรือจํากัดขอบข่ายประเด็นที่จะพูดถึงในย่อหน้า อาจมีตําแหน่งอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนปลายของย่อหน้าก็ได้

20. ข้อความหมายเลข 5
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 2
ประโยคสนับสนุนหลัก คือ ข้อความที่เป็นตอนอภิปราย หรือประเด็นความคิดหลัก ซึ่งจะทําหน้าที่นํารายละเอียดของเนื้อหาไปสนับสนุนหรือขยายประโยคใจความ ของย่อหน้า ดังนั้นการเขียนประโยคชนิดนี้จึงต้องวิเคราะห์ประโยคใจความ และจํากัดความคิดที่จําเป็นต้องนํามาสนับสนุนใจความในย่อหน้าเสียก่อน

21. ข้อความหมายเลข 6
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3
ประโยคสนับสนุนรอง คือ ข้อความที่เป็นตอนอภิปราย หรือความคิดย่อยในประเด็นความคิดหลัก ซึ่งจะให้รายละเอียดหรือขยายความในประเด็นความคิดหลักหรือ ประโยคสนับสนุนหลัก (ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ)

22. ข้อความหมายเลข 7
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23. ข้อความหมายเลข 8
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

24. ข้อความหมายเลข 9
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

25. ข้อความหมายเลข 10
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

26. ข้อความหมายเลข 11
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

27. ข้อความหมายเลข 12
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

28. ข้อความหมายเลข 13
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

29.ข้อความหมายเลข 14
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

30. ข้อความหมายเลข 15
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

31. ข้อใดจํากัดความหมายของคําได้ถูกต้อง
(1) ภาษาพูด/มีความหมาย/จํากัดพยางค์/สื่อสารกันได้
(2) ภาษาพูดหรือภาษาเขียน/มีความหมาย/ไม่จํากัดพยางค์/สื่อสารกันได้
(3) ภาษาเขียนมีความหมาย/จํากัดพยางค์/สื่อสารกันได้
(4) ภาษาพูดและภาษาเขียน/มีความหมาย/จํากัดหรือไม่จํากัดพยางค์/สื่อสารกันได้ ตอบ 2
ความหมายของคํามีดังนี้
1. คํา คือ การสื่อสารด้วยภาษาพูด (เสียงพูด) หรือภาษาเขียน (การใช้อักษรเป็นสัญลักษณ์)
2. คําต้องมีความหมายจึงจะสื่อสารเข้าใจกันได้ชัดเจน
3. คํา คือ หน่วยเล็กที่สุดในภาษา ประกอบด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
4. คําไม่จํากัดพยางค์ มีอย่างน้อยตั้งแต่ 1 พยางค์ขึ้นไป

32. คําว่า “นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง” มีกี่คํา
(1) 2 คํา
(2) 3 คํา
(3) 4 คํา
(4) 5 คำ
ตอบ 2 หน้า 109 – 110 คําว่า “นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง” มี 3 คํา ได้แก่
1. นักศึกษา = ผู้ที่เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
2. มหาวิทยาลัย = สถาบันอุดมศึกษาที่ให้การศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา
3. รามคําแหง = ในที่นี้เป็นชื่อมหาวิทยาลัย

33. ข้อใดคือความหมายของคําว่า “พยางค์”
(1) เสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
(2) เสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้ง จะต้องมีความหมาย
(3) เสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้งหรือ 2 หรือ 3 ครั้ง และจะต้องมีความหมาย
(4) เสียงที่เปล่งออกมาหลาย ๆ ครั้งติดกัน และต้องมีความหมาย
ตอบ 1
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ซึ่งพยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ตามกันออกมาอย่างกระชั้นชิด จนฟังดูเหมือนกับเปล่งเสียงออกมาในครั้งเดียวกัน เรียกว่า การประสมเสียงในภาษา ดังนั้น เสียงที่เกิดจากการประสมเสียงจึงเรียกว่า “พยางค์”

34. ข้อใดออกเสียงแล้วมีจํานวนพยางค์น้อยที่สุด
(1) บรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
(2) เบญจราชกกุธภัณฑ์
(3) เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
(4) เชตุพนวิมลมังคลาราม
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ) คําที่ออกเสียงแล้วมีจํานวนพยางค์เรียงจากน้อยที่สุดไปมากได้แก่ เบญจราชกกุธภัณฑ์ (8 พยางค์), เชตุพนวิมลมังคลาราม (9 พยางค์), เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (10 พยางค์), บรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (12 พยางค์)

35. ข้อใดไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายทุกคํา
(1) ปู่แกตามัว
(2) ไม้หลักปักดิน
(3) กินของมองข้าง
(4) น้ำขึ้นให้รีบตัก
ตอบ 1
(คําบรรยาย) เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ คือ เสียงพยัญชนะสะกด ซึ่งในภาษาไทยมี 8 เสียง ได้แก่ แม่กก กด กบ กง กน กม เกย และเกอว นอกจากนี้คําที่มีเสียงสระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ/ไอ (อัย) = แม่เกย, สระเอา (อาว) = แม่เกอว (คําว่า “ปู่แกตามัว” มีแต่เสียงพยัญชนะ ต้นเท่านั้น ไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายทุกคํา)

36. ข้อใดใช้สํานวนการเขียนต่างประเทศ
(1) ฉันถูกแม่ตี
(2) พ่อถูกหวย
(3) นวนิยายเรื่องนี้ถูกเขียนโดยฉัน
(4) ธนาคารถูกโจรปล้น
ตอบ 3
ประโยคดังกล่าวเรียงคําไม่เป็นสํานวนไทย หรือใช้ประโยคที่เลียนแบบสํานวนต่างประเทศ (สํานวนพันทาง) คือ เป็นประโยคกรรมการกในภาษาอังกฤษ ทําให้กริยาวลี “ถูก” กลับนิยมในข้อความที่ดี ทั้ง ๆ ที่ตามหลักภาษาไทยถือว่ามีความหมายไปในทางไม่ดี จึงควรเรียงคําให้เป็นสํานวนไทย โดยใช้ว่า ฉันเขียนนวนิยายเรื่องนี้ (คําว่า “ถูก” ในภาษาไทย หากใช้เป็นกริยาช่วยจะใช้ในเรื่องที่ไม่ดีเท่านั้น เช่น ฉันถูกแม่ตี, ธนาคารถูกโจรปล้น ฯลฯ แต่ถ้าเป็นกริยาแท้ เช่น พ่อถูกหวย ฯลฯ คําว่า “ถูก” ในที่นี้หมายถึง ตรงกันกับ)

37. ข้อใดเป็นประโยคความร้อน
(1) แม่ไปซื้อกับข้าวที่ตลาดบางกะปิทุกเช้า
(2) แม่ไปซื้อกับข้าวที่ฉันชอบ
(3) แม่ทอดไข่ด้วยกระทะไฟฟ้ารุ่นใหม่จากญี่ปุ่น
(4) ฉันไม่ชอบดื่มน้ำหวาน
ตอบ 2
ประโยคความซ้อน หรือประโยคปรุงแต่ง (สังกรประโยค) หมายถึง ประโยคความเดียวที่มีประโยคย่อยเข้ามาแทรกอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อแยกประโยคความซ้อน ออกจากกันสองประโยคจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน กล่าวคือ ประโยคความเดียวที่เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) จะมีใจความสําคัญเพียงประโยคเดียว และมีประโยคย่อย (อนุประโยค) มาช่วย ขยายความ เช่น แม่ไปซื้อกับข้าวที่ฉันชอบ ฯลฯ (คําที่ขีดเส้นใต้เป็นประโยคย่อยทําหน้าที่ ขยายนาม โดยมีคําว่า “ที่” ซึ่งในที่นี้ไม่ใช่คําบุรพบทบอกสถานที่ แต่เป็นคําเชื่อมแทนคํานามที่อยู่ข้างหน้า)

38. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความเดียว
(1) คนรูปร่างอ้วนมักจะมีน้ำตาลมากกว่าคนรูปร่างผอม
(2) ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดจากการรับประทานน้ำตาลมากเกินไป
(3) การควบคุมอาหารมีความสําคัญมากเพราะจะทําให้ผอม
(4) การลดความอ้วนในขั้นแรกควรจะควบคุมอาหารโดยเฉพาะของหวาน
ตอบ 3
ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) คือ ประโยคเล็ก ๆ หรือประโยคสามัญที่มีความหมายอย่างเดียว หรือมีความหมายเฉพาะอย่างหนึ่ง มักมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย ประธาน + กริยา อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้ หรือประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้ (ส่วนตัวเลือกข้อ 3 เป็นประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน มักมีคําสันธาน เพราะ, จึง, ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ)

39. ข้อใดไม่ใช่ประโยคสองส่วน
(1) แม่ไก่วิ่งเล่นนอกชาน
(2) แม่ไก่และลูกไก่ร้องเสียงดังมาก
(3) ลูกไก่และแม่ไก่เดินเรียงแถวอย่างสวยงาม
(4) ไก่ฟักไข่สองฟอง
ตอบ 4
ประโยคที่สมบูรณ์ในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคประธานหรือผู้กระทํา และภาคแสดง (กริยา + กรรม) ซึ่งอาจมีโครงสร้างเป็นประโยค 2 ส่วน ได้แก่ ประธาน + กริยา (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) หรือเป็นประโยค 3 ส่วน ได้แก่ ประธาน + กริยา + กรรม (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น ไก่ฟักไข่สองฟอง (ประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนขยายกรรม) เป็นต้น ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นประโยค 2 ส่วน)

40. ข้อใดใช้ภาษาเขียนไม่ถูกต้อง
(1) บ้านของฉันมีรถเมล์วิ่งผ่านหลายสาย
(2) ฉันชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มาก
(3) เราไม่ควรดูโทรทัศน์ตลอดทั้งวัน
(4) ภาพยนตร์เรื่องนี้เธอดูแล้วใช่ไหม
ตอบ 1
การใช้คําในภาษาเขียนย่อมพิถีพิถันมากกว่าภาษาพูด โดยเฉพาะภาษาเขียนระดับแบบแผนด้วยแล้ว ผู้เขียนย่อมทบทวนกันอย่างละเอียดเพื่อที่จะใช้คําให้หมดจด เช่น บ้านของฉันมีรถเมล์วิ่งผ่านหลายสาย (ใช้ภาษาเขียนไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขเป็น บ้านของฉันมี รถประจําทางวิ่งผ่านหลายสาย

41. “หมอถือว่าคนป่วยเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน” ประโยคดังกล่าวบกพร่องในเรื่องใด
(1) ใช้คําไม่คงที่
(2) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(3) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(4) ใช้คํากํากวม
ตอบ 4
ประโยคดังกล่าวใช้คําไม่ชัดเจนหรือใช้คําไม่กระจ่าง ทําให้สื่อความหมายกํากวมและตีความหมายได้หลายทาง จนก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไขว้เขว ดังนั้นจึงควรเขียนให้ชัดเจนและกระจ่าง โดยใช้ว่า หมอถือว่าคนป่วยยากไร้ที่มารักษาโรคเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน

ข้อ 42, 46. ข้อใดตรงกับความหมายของตัวเลือกที่กําหนดให้ต่อไปนี้
(1) ความหมายโดยตรง
(2) ความหมายโดยแฝง
(3) ความหมายโดยบริบท
(4) ไม่ตรงกับความหมายใด ๆ

42. สมสีเป็นดาวเด่นในการประกวดร้องเพลงครั้งนี้
ตอบ 2
ความหมายโดยแฝง (Connotation) หมายถึง ความหมายโดยนัย ความหมายเปรียบเทียบ ความหมายเพิ่มหรือความหมายสมทบ เช่น ดาวเด่น = บุคคลที่เด่นในทางใด ทางหนึ่ง, ใจนักเลง = มีใจกล้าสู้, หมู = ง่าย สะดวก, เข้าฌาน = นั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอย ไม่รับรู้อะไร ฯลฯ

43. สมชายเป็นคนใจนักเลงเมื่อทําผิดก็ยอมรับผิดแต่โดยดี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44. เมื่อคืนสมชายนอนตกหมอนจนคอเคล็ด
ตอบ 1
ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายเดิมความหมายประจํา หรือความหมายกลาง ซึ่งเป็นความหมายตามปกติของคําที่เข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องทําการเปรียบเทียบ หรือดูข้อความแวดล้อมประกอบ ดังนั้นจึงเป็นความหมายตามพจนานุกรมที่ทุกคนเข้าใจได้ตรงกัน

45. ข้อสอบวิชาภาษาไทยปีนี้หมูมาก ๆ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

46. นักศึกษาห้องนี้ชอบนั่งเข้าฌานเรียนทุกวัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

ข้อ 47. – 52. ข้อใดตรงกับความหมายของตัวเลือกที่กําหนดให้ต่อไปนี้
(1) ใช้คําไม่ถูกต้องตรงความหมาย
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) ใช้ประโยคกํากวม

47. เมื่อเกิดอุบัติเหตุเข็มขัดนิรภัยจะช่วยเหนี่ยวรั้งคนขับให้ติดอยู่กับเก้าอี้
ตอบ 1
ประโยคดังกล่าวใช้คําไม่ถูกต้องตรงความหมาย หรือใช้คําผิดความหมาย เพราะคําบางคํามีความหมายคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกัน แต่ละคํามีความหมายโดยตรงที่ใช้เฉพาะความหมายคํานั้น จึงควรใช้คําให้ถูกต้องตรงความหมาย โดยใช้ว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุเข็มขัดนิรภัยจะช่วยรั้งคนขับให้ติดอยู่กับเก้าอี้ (คําว่า “รั้ง” = หน่วงเหนี่ยวไว้ ส่วนคําว่า “เหนี่ยวรั้ง” – ดึงไว้ ประวิงไว้ ชะลอไว้)

48. ตํารวจยิงโจรปล้นทองตายหมดไม่มีใครรอด
ตอบ 2
ประโยคดังกล่าวเรียงคําไม่กระชับ ใช้คําอย่างไม่ประหยัดหรือใช้คําฟุ่มเฟือย เพราะว่าคําบางคํามีความหมายสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว จึงไม่จําเป็นต้องใช้คําขยายมา เพิ่มเติมอีก เนื่องจากจะทําให้ประโยคมีความยืดยาด ดังนั้นจึงควรใช้คําอย่างประหยัดเพื่อให้กระชับ โดยใช้ว่า ตํารวจยิงโจรปล้นทองตายหมด

49. สมชายจะไปเรียนต่อต่างประเทศในอนาคตอันใกล้นี้
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวใช้สํานวนต่างประเทศ คือในอนาคตอันใกล้ (in the near future) จึงควรเรียงคําให้เป็นสํานวนไทย โดยใช้ว่า สมชายจะไปเรียนต่อต่างประเทศในเร็ว ๆ นี้

50. สุเชาว์พยายามมั่วสุมอยู่กับชาวบ้านหวังว่าจะได้เป็นผู้แทน
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรใช้คําให้ถูกต้องตรงความหมาย โดยใช้ว่าสุเชาว์พยายามคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านหวังว่าจะได้เป็นผู้แทน (คําว่า “คลุกคลี” = เข้าปะปนระคนกัน เข้าใกล้ชิดกัน ส่วนคําว่า “มั่วสุม” = ชุมนุมกันเพื่อกระทําการในทางไม่ดี)

51. ชาวบ้านมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลให้ความสนใจในโครงการนี้
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรใช้คําอย่างประหยัดเพื่อให้กระชับโดยใช้ว่า ชาวบ้านยินดีเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลสนใจในโครงการนี้

52. นางเอกดาวรุ่งมีคดีความกับสาวนอกวงการ
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรเขียนให้ชัดเจนและกระจ่าง โดยใช้ว่านางเอกดาวรุ่งมีคดีความกับสาวนอกวงการบันเทิง

53. ข้อใดมีคําสะกดผิดทุกคํา
(1) กะเทย, โควตา
(2) ต่าง ๆ นา ๆ, ผัดวันประกันพรุ่ง
(3) พะแนง, อย่าร้าง
(4) ทนง, โลกาภิวัฒน์
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ต่าง ๆ นา ๆ อย่าร้าง ทนง โลกาภิวัฒน์ซึ่งที่ถูกต้องคือ ต่าง ๆ นานา หย่าร้าง ทะนง โลกาภิวัตน์

54. ข้อใดมีคําทับศัพท์ที่เขียนถูก
(1) วอลเล่ย์บอล
(2) บุฟเฟต์
(3) คอร์รัปชั่น
(4) อิเล็กทรอนิก
ตอบ 3 คําทับศัพท์ที่เขียนผิด ได้แก่ วอลเล่ย์บอล บุฟเฟต์ อิเล็กทรอนิก ซึ่งที่ถูกต้องคือ วอลเลย์บอล บุฟเฟต์ อิเล็กทรอนิกส์

55. ข้อใดใช้คําทับศัพท์ได้
(1) ลิฟต์แก้ว
(2) กงสุลอเมริกา
(3) ออฟฟิศไปรษณีย์
(4) แบงก์กรุงไทย
ตอบ 1
คําต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษ หากมีการบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยใช้แพร่หลายอยู่แล้วก็ควรใช้ภาษาไทย เช่น กงสุล (Consul), ที่ทําการ (Office), ธนาคาร (Bank) ฯลฯ ยกเว้นหากคํานั้นยังไม่มีคําบัญญัติเป็นภาษาไทยก็สามารถใช้คําทับศัพท์ได้ เช่น ลิฟต์ (Lift) ฯลฯ

56. ข้อใดใช้ลักษณนามผิด
(1) สวิง, แห, อวน = ปาก
(2) เปียโน, บ้าน = เรือน
(3) เทียน, มีด, ขวาน, หนังสือ = เล่ม
(4) จระเข้, ขิม = ตัว
ตอบ 2
คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับ ซึ่งควรใช้ให้ถูกต้องตามหลักภาษา เช่น เปียโน, บ้าน = หลัง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้คําลักษณนามถูกต้อง)

57. เมื่อเครื่องหมาย “ฯลฯ” อยู่ท้ายข้อความจะอ่านว่าอย่างไร
(1) เป็นต้น
(2) ยาวไปเลย
(3) ละถึง
(4) ละ
ตอบ 4
เครื่องหมายไปยาลใหญ่ “ ฯลฯ” หากอยู่ท้ายข้อความ เช่น ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ จะอ่านว่า “ละ” แต่ถ้าอยู่ระหว่างข้อความ เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีที่ว่าข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย จะอ่านว่า “ละถึง”

58. ข้อใดอ่านไม่ถูกต้อง
(1) เด็กเล็ก ๆ อ่านว่า เด็ก-เล็ก-เล็ก
(2) ในวันหนึ่ง ๆ อ่านว่า ใน-วัน หนึ่ง-วัน-หนึ่ง
(3) เสียงอ่อย ๆ อ่านว่า เสียง-อ่อย-อ่อย
(4) แต่ละวัน ๆ อ่านว่า แต่-ละ-วัน-ละ-วัน
ตอบ 4
การอ่านเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) ที่เขียนหลังคํา วลี หรือประโยค ให้อ่านซ้ำคําวลี หรือประโยคอีกครั้งหนึ่ง เช่น แต่ละวัน ๆ อ่านว่า แต่-ละ-วัน-แต่-ละ-วัน เป็นต้น
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นอ่านถูกต้อง)

59. ข้อใดอ่านต่างจากข้ออื่น
(1) ชาติพันธุ์
(2) ซอมซ่อ
(3) ชักเย่อ
(4) ฐานกรณ์
ตอบ 4 คําว่า “ฐานกรณ์” อ่านว่า ถาน-กอน (ส่วนคําว่า “ ชาติพันธุ์” อ่านว่า ชาด-ติ-พัน,“ซอมซ่อ” อ่านว่า ซอม-มะ-ซ่อ, “ชักเย่อ” อ่านว่า ชัก-กะ-เย่อ)

60. ข้อใดมีคําไวพจน์ทุกคํา
(1) มโนมัย, ไอยรา, อาชาไนย
(2) หัสดิน, สาร, กุญชร
(3) รัชนีกร, ทิวากร, ประภากร
(4) ไตรทศ, ไตรทิพย์, เทวัญ
ตอบ 2
การหลากคํา หรือเรียกว่า “คําไวพจน์” คือ คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันมาก ซึ่งจัดเป็นคําพ้องความหมาย เช่น คําว่า “หัสดิน, สาร, กุญชร, ไอยรา” – ช้าง, “มโนมัย, อาชาไนย” = ม้า, “ทิวากร, ประภากร” – พระอาทิตย์ (ส่วนคําว่า “รัชนีกร” = พระจันทร์, “ไตรทศ” = เทวดา, “ไตรทิพย์” = สวรรค์, “เทวัญ” = พวกชาวสวรรค์ที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์)

61. คนแตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ อย่างไร
(1) คนมีสมอง แต่สัตว์ชนิดอื่น ๆ ไม่มีสมอง
(2) คนสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้ดีกว่าสัตว์
(3) คนสามารถพูดจาโต้ตอบกันได้ด้วยภาษา
(4) คนมีจิตใจ แต่สัตว์ไม่มีจิตใจ
ตอบ 3
สัตว์สังคมทุกชนิดยกเว้นมนุษย์จะสื่อสารกันด้วยอวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ต้องใช้คําพูด)แต่มนุษย์จะสื่อสารกันได้ทั้งวัจนภาษา (ภาษาที่เป็นภาษาพูด) และอวัจนภาษา จึงเห็นได้ว่า มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ดีกว่าสัตว์ประเภทอื่นมาก ด้วยเหตุที่มนุษย์แตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ คือ สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้ด้วยภาษานั่นเอง

62. “การพูดเป็น” แตกต่างจาก “การพูดได้” อย่างไร เพราะ
(1) “พูดได้” เป็นศิลป์ในการพูด
(2) “พูดเป็น” อาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพูด
(3) “พูดได้” อาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพูด
(4) “พูดเป็น” เป็นศาสตร์ในการพูด
ตอบ 2
ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ได้ให้แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพูดไว้ว่า ทุกคน“พูดได้” แต่บางคน “พูดเป็น” โดยการพูดเป็น หมายถึง พูดให้คนฟังชื่นชอบ เชื่อถือ คล้อยตาม ปฏิบัติตาม เข้าใจง่าย และสนุกสนาน ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพูด คือ เรียนกันได้แต่จะเก่งเท่ากันหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับศิลป์ อันเป็นความสามารถเฉพาะคน

63. การสื่อสารด้วยการพูดมีข้อดีอย่างไร
(1) มีโอกาสฟังซ้ำได้
(2) ผู้พูดสามารถพิสูจน์ผลของการพูดนั้น ๆ ทันที
(3) ผู้พูดสามารถเลือกพูดในสิ่งที่ดีได้
(4) ผู้พูดสามารถพัฒนาบุคลิกภาพได้ทันที
ตอบ 2
การสื่อสารด้วยคําพูดมีข้อดีดังนี้ 1. ทําให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็วเพราะเป็นการสื่อสารสองทาง 2. เป็นเครื่องมือสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ได้ผลดีที่สุด 3. สามารถพิสูจน์ผลของการพูดได้ทันที โดยสังเกตจากปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้ฟังในขณะที่พูด 4. สามารถดัดแปลงแก้ไขคําพูดหรือยืดหยุ่นให้เหมาะกับเวลา โอกาส หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

64. ทําไมสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จึงสอนวิชาที่เกี่ยวกับการพูด
(1) นักพูดหรือพิธีกร เป็นอาชีพที่มีรายได้ดี
(2) ปัจจุบันผู้คนพิสูจน์กันด้วยการพูดมากกว่าความสามารถ
(3) ต้องการสอนมารยาท และความเหมาะสมในการพูด
(4) วิชาความรู้ต้องใช้ควบคู่กับศิลปะในการพูด
ตอบ 4
ในสถาบันการศึกษาชั้นสูงจํานวนมากมักจะมีการสอนวิชาการพูดโดยเฉพาะการพูดต่อหน้าชุมชนกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นวิชาความรู้ที่ต้องใช้ควบคู่กับศิลปะในการพูด เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการพูด และฝึกฝนให้ผู้ศึกษาเป็นนักพูดที่ดีให้รู้จักพูดในสิ่งที่ควรพูด คือ สอนให้พูดแต่ดี ไม่ใช่ดีแต่พูด

65. องค์ประกอบ 5 ประการของการพูดให้ประสบความสําเร็จ คืออะไร
(1) ผู้พูด ผู้ฟัง สาร ภูมิปัญญา และสื่อ
(2) ผู้พูด ผู้ฟัง สาร สถานการณ์ และการวิเคราะห์การพูด
(3) ผู้พูด ผู้ฟัง สาร สถานการณ์ในการพูด และสื่อ
(4) ผู้พูด ผู้ฟัง สื่อ สถานการณ์ และการวิเคราะห์การพูด
ตอบ 3 องค์ประกอบของการพูดให้ประสบความสําเร็จมี 5 ประการ คือ
1. ผู้พูด 2. สาร 3. สื่อ 4. สถานการณ์การพูด 5. ผู้ฟัง

66. หากท่านต้องไปพูดให้วัยรุ่นอายุ 18 ปี ข้อใดที่ท่านไม่ควรพูดที่สุด
(1) ยุยงส่งเสริมให้แตกความสามัคคี
(2) สั่งสอนโดยใช้คําพูดดูถูก เพื่อให้วัยรุ่นอยากเอาชนะ
(3) สั่งสอนให้วัยรุ่นเรียนรู้ชีวิตด้วยประสบการณ์ตรงในทุกเรื่อง
(4) ใช้คําพูดปลุกระดม เพราะวัยรุ่นต้องการการปลุกเร้า
ตอบ 2
การพูดกับวัยรุ่น ต้องคํานึงถึงจิตวิทยาวัยรุ่นให้มาก พยายามทําตัวให้ผู้ฟังเลื่อมใสใช้เหตุผลง่าย ๆ แต่ชัดแจ้ง แทรกเรื่องสนุกสนานหรือตลกขบขันเป็นระยะ ๆ ถ้าเป็นการสั่งสอน โดยตรงควรปรับปรุงให้เป็นแนวแนะนําอย่างมีเหตุผล อย่าพูดแบบดูถูกเหยียดหยามคนฟังเพราะคนวัยนี้จะมีปฏิกิริยาที่ไม่ดีสะท้อนกลับมาทันที

67. ข้อใดบอกจุดมุ่งหมายของการพูดได้ครบถ้วน
(1) ให้ความรู้โน้มน้าวใจ และพูดเพื่อความบันเทิง
(2) ให้ความรู้ พูดเพื่อตอบคําถาม และพูดเพื่อชี้แนะเรื่องราวต่าง ๆ
(3) ให้ความรู้ โน้มน้าวใจ สร้างความบันเทิง เพื่อแก้ไขสถานการณ์ และชี้แนะเรื่องราวต่าง ๆ
(4) ให้ความรู้ โน้มน้าวใจ สร้างความบันเทิง พูดเพื่อตอบคําถาม และชี้แนะเรื่องราวต่าง ๆ
ตอบ 4 จุดมุ่งหมายในการพูดโดยทั่วไปมีดังนี้ 1. ให้ความรู้หรือข้อเท็จจริง 2. โน้มน้าวจิตใจผู้ฟัง 3. สร้างความบันเทิง ความเพลิดเพลิน หรือจรรโลงใจ 4. แก้ปัญหาหรือตอบคําถามต่าง ๆ 5. แนะนําและชี้แนะเรื่องราวต่าง ๆ

68. “ท่านผู้ฟังครับ อาหารไทยใคร ๆ ก็ทําได้ แต่ลงมือทําอาหารไทยให้อร่อยนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่ทําได้ครับ…” คําพูดนี้มีการขึ้นต้นการพูดด้วยวิธีไหน
(1) ขึ้นต้นด้วยการจี้จุดสําคัญของเรื่องนั้น ๆ
(2) ขึ้นต้นด้วยการยกตัวอย่างให้เห็นจริง
(3) ขึ้นต้นด้วยการยกข้อความที่เร้าใจ
(4) ขึ้นต้นด้วยการไล่ลําดับความสําคัญ
ตอบ 1
คํานําหรือการขึ้นต้นแบบจี้จุดสําคัญของเรื่องนั้น ๆ คือ การพุ่งเข้าสู่จุดโดยไม่ต้องอ้อมค้อม เพราะผู้ฟังก็รู้เรื่องอยู่แล้ว เป็นการแสดงทัศนะของผู้พูดเท่านั้น

69. ข้อใดที่ไม่ควรกระทําอย่างยิ่งในการใช้คํานําเพื่อการพูด
(1) ถ่อมตน
(2) ดูถูก ก้าวร้าวผู้พูด
(3) ออกตัวว่าไม่รู้เรื่องที่จะพูด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ข้อบกพร่องในการใช้คํานําเพื่อการพูดมีดังนี้
1. อย่าพูดนอกเรื่องหรือพูดอ้อมค้อม 2. อย่าออกตัว เช่น เตรียมมาพูดไม่พร้อม กะทันหัน เป็นผู้รู้น้อยไม่รู้เรื่องที่จะพูด ฯลฯ 3. อย่าขอโทษ 4. อย่าถ่อมตน 5. อย่าดูถูกหรือก้าวร้าวผู้ฟังด้วยคําพูด ท่าที่หรือท่าทาง อย่าทะเลาะ โต้เถียง ขุ่นมัวกับผู้ฟัง

70. ข้อใดเป็นยุทธการสําคัญของการพูด
(1) การเลือกเรื่องที่จะพูด
(2) การเตรียมโครงเรื่องในการพูด
(3) การเตรียมข้อมูลในการพูด
(4) การสร้างบุคลิกภาพและความพร้อมในการพูด
ตอบ 2 การเตรียมโครงเรื่องในการพูด เป็นยุทธการสําคัญของการพูด ซึ่งถ้าวางโครงเรื่องดี การพูดจะดี มีความต่อเนื่องเป็นระเบียบ ผู้ฟังไม่เบื่อหน่าย จึงควรยึดหลักในการวางโครงเรื่องดังนี้ 1. วางโครงเรื่องตามลําดับเวลา 2. วางโครงเรื่องตามลําดับ สถานที่หรือภูมิศาสตร์ 3. วางโครงเรื่องตามลําดับเนื้อหา 4. วางโครงเรื่องตามลําดับข้อความหรือเรื่อง 5. วางโครงเรื่องให้มีเงื่อนงําแก่ผู้ฟัง

71. การฝึกพูดเกี่ยวข้องกับการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของการพูดอย่างไร
(1) พูดดีเป็นศรีแก่ปาก
(2) การพูดสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้
(3) ผู้ฝึกหัดเห็นความสามารถของตนเอง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
การพูดจะมีประสิทธิภาพเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้พูดเอง คือผู้พูดต้องมีความสามารถหลายอย่างประกอบกัน และต้องหมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ เพราะการฝึกพูดเกี่ยวข้องกับการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นั่นคือ การพูดสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะได้ ยิ่งฝึกมากความชํานาญในการพูดยิ่งพัฒนาขึ้นตามลําดับ

72. หลักการสําคัญของการฝึกพูดให้เป็นสําเนียงการพูด คืออะไร
(1) ฝึกพูดให้เป็นธรรมชาติของผู้พูดมากที่สุด
(2) ฝึกพูดให้มีความมั่นใจในการพูด
(3) ฝึกการออกเสียงภาษาพูดให้ถูกต้องชัดเจน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
หลักการสําคัญของการฝึกพูดให้เป็นสําเนียงภาษาพูด คือ ฝึกการออกเสียงภาษาที่พูดให้ชัดเจนถูกต้อง ดังนี้ 1. ออกเสียงอักษร ร ล และเสียงควบกล้ำให้ถูกต้อง 2. ฝึกออกเสียงคําศัพท์ต่าง ๆ เช่น คําสมาส คําสนธิ คําซ้อน คําประสม ฯลฯ ให้ถูกต้อง ตามหลักภาษา 3. ฝึกใช้ถ้อยคําให้ตรงกับความหมายโดยเฉพาะคําพ้องเสียง 4. ฝึกพูดโดยใช้ถ้อยคําง่าย ๆ อย่าใช้ศัพท์ยาก 5. ฝึกพูดให้มีเสียงดังฟังชัด ฯลฯ

73. นักพูดมือใหม่ควรใช้วิธีฝึกพูดแบบใดดีที่สุด
(1) ใช้ตําราประกอบ
(2) มีผู้เชี่ยวชาญแนะนํา
(3) ฝึกพูดหน้ากระจก
(4) บันทึกภาพและเสียงซ้ำ ๆ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
ตอบ 2
การฝึกพูดโดยมีผู้แนะนํา คือ มีพี่เลี้ยงหรือครูอาจารย์ดี ๆคอยแนะนําให้เป็นการส่วนตัว หรือจัดเป็นกลุ่ม มีการฝึกพูดกันเป็นประจํา หรือสมัครเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพูด จัดเป็นวิธีฝึกพูดที่ประสบความสําเร็จและได้ผลดีที่สุด โดยเฉพาะ นักพูดมือใหม่ที่ฝึกพูดครั้งแรก เพราะผู้แนะนําจะชี้แจงข้อบกพร่องและให้ข้อแนะนําวิธีพูดที่ถูกต้อง ซึ่งจะทําให้ทราบว่าผู้พูดยังบกพร่องในเรื่องใด และควรปรับปรุงแก้ไขตนเองในข้อใด

74. ข้อใดเกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติในการฝึกพูดน้อยที่สุด
(1) หัดสร้างพลังใหม่ ๆ
(2) หัดทําสมาธิ
(3) หัดแสวงหาเครื่องแต่งตัวที่สวยงาม
(4) ฝึกระงับอารมณ์ต่าง ๆ
ตอบ 3
หลักปฏิบัติในการฝึกพูด มีดังนี้ 1. ฝึกตนเองให้รู้จักแสวงหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ (เช่น ฝึกนิสัยรักการอ่าน รักการฟัง ฝึกจิตให้มีสมาธิ ฯลฯ) 2. ฝึกการพูดให้เป็นสําเนียงภาษาพูด 3. ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเอง 4. ฝึกตนให้มีความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ (เช่น ฝึกระงับอารมณ์ต่าง ๆ ฝึกสร้างพลังใหม่ ๆ เลฯ)5. ฝึกการพัฒนาบุคลิกภาพในการพูด

75. “บุคลิกภาพ” เกี่ยวข้องกับ “การฝึกพูด” อย่างไร
(1) การฝึกพูดเป็นการฝึกบุคลิกภาพภายนอก
(2) บุคลิกภาพสะท้อนจากการพูด
(3) เมื่อผ่านการฝึกพูด บุคลิกภาพย่อมดีขึ้น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
การฝึกพูดถือว่าเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายใน โดยเฉพาะผู้ที่มีโอกาสได้ฝึกพูดในที่ชุมชนบ่อย ๆ จะทําให้มีการพัฒนาบุคลิกภาพดีขึ้น การวางตัวดีขึ้นกิริยาท่าทางไม่เคอะเขิน แต่งกายได้เหมาะสม มีความเชื่อมั่น กระตือรือร้น ฯลฯ
76. เมื่อเราพูดในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ ควรใช้ภาษาท่าทางอย่างไร (1) ศีรษะตั้งตรง นัยน์ตาเบิกกว้าง
(2) ผงกศีรษะเข้าหาผู้ฟัง นัยน์ตาตื่นเต้น
(3) ผงกศีรษะไปเบื้องหลัง นัยน์ตาเบิกกว้าง
(4) ส่ายศีรษะ นัยน์ตาตื่นเต้น
ตอบ 3
การวางท่าของศีรษะที่ใช้ประกอบการพูด ควรใช้ภาษาท่าทางดังนี้
1. ในการพูดปกติ ศีรษะควรตั้งตรง เพื่อแสดงว่าผู้พูดเป็นคนจริง เข้มแข็ง กล้าหาญ และมีอํานาจ
2. ถ้าพูดถึงข้อความที่เป็นการขอร้อง ขอความเห็นใจ หรือขอความเห็น ควรยื่นศีรษะไปข้างหน้าเล็กน้อย
3. ถ้าพูดถึงเรื่องตื่นเต้น น่าหวาดกลัว หรือสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ ให้ผงกศีรษะไปเบื้องหลังเล็กน้อย นัยน์ตาเบิกกว้าง
4. ถ้ากล่าวปฏิเสธ แสดงความไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย ควรสั่นศีรษะช้า ๆ ขณะกล่าวเน้น

77. ภาษามือมีประโยชน์ในการพูดอย่างไร
(1) บอกขนาด หรือทิศทาง
(2) ประกอบการพูดอย่างเป็นทางการ
(3) ช่วยให้การพูดน่าสนใจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
การใช้ภาษามือควรใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพูดมากที่สุด และควรใช้ให้เป็นธรรมชาติใช้ให้เป็นจังหวะเหมาะกับเรื่องและโอกาส เพื่อบอกจํานวน ขนาด รูปร่าง และทิศทาง ซึ่งจะทําให้การพูดมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น แต่อย่าใช้ภาษามือมากเกินไปหรือใช้อยู่ตลอดเวลาเหมือนกับ การแสดงละคร นอกจากนี้การพูดในบางโอกาสห้ามใช้มือประกอบ เช่น การกล่าวรายงานอย่างเป็นพิธีการ การให้โอวาท การกล่าวเปิดงาน และการอ่านข่าวทางโทรทัศน์ เป็นต้น

78. เมื่อผู้พูดใช้เสียงต่ำเป็นการพูดในลักษณะใด
(1) โน้มน้าวใจคนฟัง
(2) แสดงความเสียใจ
(3) แสดงการท้าทาย
(4) อธิบายหรือให้ความรู้
ตอบ 2
การใช้เสียงต้องให้เหมาะกับเนื้อหาและอารมณ์ โดยพิจารณาว่าเนื้อหาที่พูดเป็นอย่างไร ควรใช้เสียงอย่างไรจึงจะเหมาะกับเรื่อง ได้แก่ การบรรยายธรรมดาหรืออธิบาย ความรู้ให้ใช้เสียงเรียบ ๆ ธรรมดา, ถ้าต้องการโน้มน้าวจิตใจควรใช้เสียงที่เชิญชวน, ถ้าพูดเรื่อง ที่มีอารมณ์ต่าง ๆ ต้องใช้เสียงให้ถูกต้อง เช่น การพูดที่แสดงการท้าทายให้ใช้น้ำเสียงแข็งกร้าว แต่ถ้าแสดงความเสียใจให้ใช้เสียงต่ำ ฯลฯ

79. ข้อใดถูกต้อง
(1) การตื่นเวทีจะไม่เกิดขึ้นกับคนที่ฝึกซ้อมการพูดมาอย่างดี
(2) การตื่นเวทีระดับ Audience Fear มีประโยชน์
(3) การตื่นเวทีทุกชนิดไม่ช่วยให้การพูดดีขึ้น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
การตื่นเวทีจะไม่เกิดขึ้นกับคนที่ฝึกซ้อมการพูดมาอย่างดีโดยเฉพาะการฝึกพูดในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นวิธีเอาชนะความสะทกสะท้าน และยังเป็นการปลูกฝังเสริมสร้างความกล้าหาญ และความเชื่อมั่นในตนเองที่ดีที่สุด เพราะผู้พูดสามารถควบคุมความกลัว ความเก้อเขินเอาไว้ได้ นอกจากนี้การตื่นเวทีระดับ Audience Tensionยังมีประโยชน์ เพราะเป็นสัญชาตญาณในการเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับการท้าทายที่ไม่คุ้นเคย

80. วิธีการไหนสามารถแก้ไขอาการตื่นเวทีได้ดีที่สุด
(1) สร้างความมั่นใจให้กับตนเอง
(2) เขียนโน้ตย่อให้ชัดเจน
(3) ซ้อมการพูดจนมั่นใจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
ข้อแนะนําเมื่อเกิดอาการตื่นเวทีมีดังนี้
1. เตรียมตัวให้พร้อม ฝึกซ้อมการพูดจนมั่นใจ ถือเป็นวิธีป้องกันแก้ไขอาการตื่นเวทีที่ดีที่สุดเพราะถ้าเตรียมสองประการนี้ไม่ดีก็เท่ากับประสบความล้มเหลวก่อนขึ้นเวทีเสียแล้ว
2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง พยายามคิดว่าผู้ฟังทุกคนเป็นมิตรกับเรา
3. สร้างทัศนคติที่ดี ต้องคิดว่าเรามีความรู้ในเรื่องที่จะพูดมากเพียงพอ
4. สูดลมหายใจลึก ๆ ยาว ๆ เพื่อผ่อนคลาย แล้วนึกถึงคําพูดแรก ๆ ในการพูด

81. การพูดแบบไหนที่มีผลต่อการใช้ชีวิตของคนเรามากที่สุด
(1) การพูดจาทักทาย
(2) การพูดแบบไม่เป็นทางการ
(3) การพูดแบบเป็นทางการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
การพูดแบบไม่เป็นทางการ คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปแต่ไม่ควรเกิน 4 – 5 คน ส่วนใหญ่จะเป็นการพูดแบบตัวต่อตัว ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจําวัน ของคนเรามากที่สุด แบ่งออกได้ดังนี้ 1. การทักทาย 2. การแนะนําตัว 3. การสนทนา 4. การเล่าเรื่อง 5. การพูดโทรศัพท์ 6. การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ

82. ข้อใดหมายถึงการสนทนาที่ถูกต้อง
(1) พยายามแลกเปลี่ยนความคิด
(2) พูดเป็นและฟังเป็น
(3) พยายามเล่าเรื่องที่ตนเองประสบมา
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2
การสนทนาเป็นกิจกรรมการพูดระหว่างบุคคล 2 คนหรือมากกว่านั้นซึ่งถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง โดยการสนทนาที่ถูกต้องไม่ได้หมายถึงการพูดเท่านั้น แต่หมายถึง การฟังด้วย ดังนั้นผู้สนทนาที่ดีจึงไม่ใช่ผู้ที่พูดเป็นอย่างเดียว แต่ต้องฟังเป็นด้วย คือ ตั้งใจฟัง ยอมรับฟัง และทนฟังผู้อื่นได้ ซึ่งก็ใช้หลักการพูดทั่ว ๆ ไปนั่นเอง คือ ต้องพิจารณาผู้ฟังจุดประสงค์ในการพูด โอกาสและเรื่องที่จะพูด

ข้อ 83 – 86. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การอภิปราย
(2) การสนทนา
(3) การโต้วาที
(4) การปาฐกถา

83. เมื่อผู้คนมีความคิดเห็นแบ่งเป็นเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ควรใช้การพูดแบบใด ตอบ 3
การโต้วาที (Debate) คือ การพูดเสนอความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน แบ่งเป็นเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยมีฝ่ายที่เสนอความคิดเห็นฝ่ายหนึ่งและฝ่ายที่ค้านความคิดเห็นนั้นอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ละฝ่ายจะใช้วาทศิลป์กล่าวค้านความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยใช้เหตุผล ข้อเท็จจริง และหลักวิชาการมาชี้ให้เห็นว่าความคิดของฝ่ายตนถูก เพื่อหักล้างอีกฝ่ายหนึ่งอย่างมีเหตุผล และคมคาย

84. เมื่อบุคคลหนึ่งซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พูดอธิบายให้คนจํานวนมากฟัง ตอบ 4
การพูดแบบปาฐกถา คือ การพูดที่บุคคลคนเดียวแสดงถึงความรู้ ความคิดเห็นของตนเองให้ผู้ฟังจํานวนมาก จึงเป็นการพูดแบบบรรยาย หรืออธิบายขยายความให้ผู้ฟังได้ เข้าใจเรื่องที่พูดอย่างแจ่มแจ้ง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ อย่างเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

85. การพูดแสดงความรู้ ความคิดเห็นของบุคคลกลุ่มหนึ่ง
ตอบ 1
การอภิปราย คือ การพูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อปรึกษาหารือกันและออกความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดในเรื่องที่กําหนดให้ ดังนั้นความหมายของการอภิปรายที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระมากที่สุดน่าจะเป็น “กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข่าวสารของบุคคลจํานวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือมากกว่านั้น…”

86. กิจกรรมการพูดระหว่างบุคคล 2 คนหรือมากกว่านั้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

ข้อ 87. – 90. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การพูดแบบบอกเล่าหรือบรรยาย
(2) การพูดโดยอาศัยอ่านจากร่าง
(3) การพูดแบบให้ความบันเทิง
(4) การพูดจากความทรงจํา

87. วิธีการพูดแบบใดที่เหมาะกับทุกโอกาส
ตอบ 4
การพูดจากความทรงจํา ถือเป็นการพูดจากใจและจากความรู้สึกที่แท้จริงของผู้พูด จึงเป็นวิธีการพูดที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับการพูดในทุกโอกาส โดยมักจะใช้ได้ดีกับการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ที่ตนเองประสบมา หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ซึ่งคนที่จะพูดแบบนี้ได้ดีจะต้องเป็นตัวของตัวเอง มีความจําดี จดจําทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในสมองมีปฏิภาณไหวพริบ มีความรอบรู้ และสามารถนําเรื่องราวต่าง ๆ มาประสานกันได้อย่างดี

88. วิธีการพูดแบบใดเหมาะสมกับเนื้อหาที่เกี่ยวกับตัวเลข สถิติ
ตอบ 2
การพูดโดยอาศัยอ่านจากร่างหรือต้นฉบับ คือ การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ล่วงหน้าแล้วอย่างดี ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ส่วนมากจะเป็นการพูดที่เป็นพิธีการต่าง ๆ และอาจนำมาใช้กับการพูดที่ต้องเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเงิน ตัวเลข การอ้างสถิติ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในการเสนอรายงานต่าง ๆ ได้อีกด้วย

89. การพูดแบบใดเหมาะกับการกล่าวรายงานหรือประกาศ
ตอบ 1
การพูดแบบบอกเล่าหรือบรรยาย มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังเกิดความรู้และความเข้าใจต้องการให้ผู้ฟังได้รับทราบเรื่องราวต่าง ๆ หรือเป็นการสาธิตการทําสิ่งของบางอย่าง โดยทั่วไปจะเป็นการพูดแบบอบรม ชี้แจง ปฐมนิเทศ บรรยายสรุป การกล่าวรายงาน การพูดแถลงการณ์ ประกาศ การบรรยายหรือสอนในชั้นเรียน ฯลฯ

90. เมื่อพูดหลายคนจะใช้เวลาไม่เกินคนละ 10 นาที
ตอบ 3
หลักการพูดแบบให้ความบันเทิง มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ผู้พูดควรจํากัดเวลาในการพูด เพราะถ้าพูดนานจะทําให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย โดยถ้ามีผู้พูดหลายคน แต่ละคนไม่ควรพูดเกิน 10 นาที หากพูดคนเดียวก็อาจใช้เวลาประมาณ 35 – 45 นาที 2. ผู้พูดต้องพูดให้ตรงเป้าหมายและพูดให้ได้เรื่องราวที่เหมาะสม
3. เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องสนุกสนาน เบาสมอง และให้ความบันเทิงจริง ๆ ถ้ามีเรื่องตลกขบขัน การแทรกก็ต้องเป็นเรื่องที่ไม่หยาบโลน

91. ปัญหาอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในการพูด คือข้อใด
(1) ผู้พูดพลั้งปากไปโดยไม่ตั้งใจ
(2) ผู้พูดอาจทําให้ผู้ฟังเข้าใจผิด
(3) ผู้พูดแก้ไขสิ่งที่พูดไปไม่ทัน
(4) ผู้พูดไม่มีศิลปะในการพูดพอ
ตอบ 2
ปัญหาอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในการพูดสื่อสารแต่ละครั้ง คือ ผู้พูดอาจทําให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจผิดได้บ่อย ๆ ซึ่งมีสาเหตุดังนี้ 1. ผู้พูดมีความสามารถไม่เพียงพอที่จะพูดให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน หรือพูดบางสิ่งบางอย่างผิดไปโดยพลั้งเผลอ ไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ทันรู้สึกว่าตนผิดพลาดไป 2. ผู้พูดไม่ทราบว่าสิ่งที่พูดนั้นมีผลกระทบต่อผู้ฟัง หรือไม่คิดว่าผู้ฟังจะเข้าใจผิดและตีความหมายผิดไปจึงไม่ได้แก้ไข
3. ภาษาพูดไม่ค่อยปรากฏหลักฐานเหมือนภาษาเขียน เมื่อพูดแล้วก็จบไปเลย ไม่มีการทบทวนใหม่ในสิ่งที่พูด

92. การพูดต่อหน้าผู้ฟังมีผลดีกว่าพูดโดยไม่เห็นผู้ฟัง คือ
(1) ผู้พูดรู้สึกมีชีวิตชีวามากกว่า
(2) ผู้พูดมีโอกาสได้เห็นปฏิกิริยาของผู้ฟัง
(3) ผู้พูดสามารถประสานสายตากับผู้ฟัง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 การพูดต่อหน้าผู้ฟังมีข้อดี คือ ผู้พูดจะมีชีวิตชีวามากกว่าเพราะว่ากําลังพูดกับสิ่งมีชีวิตที่สามารถแสดงอาการโต้ตอบกลับมาได้ นอกจากนี้ผู้พูดยังสามารถประสาน สายตากับผู้ฟัง และมองเห็นปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้ฟังว่ามีความเข้าใจหรือไม่เข้าใจในเรื่องราวที่พูดมากน้อยเพียงใด แต่ก็อาจมีข้อเสีย คือ การได้เห็นปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้ฟัง หรือการมี สายตาของผู้อื่นมาจับจ้องอยู่ อาจทําให้ผู้พูดเกิดความประหม่า เก้อเขิน หรือเกิดความรู้สึกเครียดเพราะต้องระมัดระวังกิริยาท่าทางและคําพูดของตนเองมากเกินไปจนไม่เป็นธรรมชาติ

93. การพูดที่ดีควรจะต้องมีสิ่งใดสําคัญที่สุด
(1) มีถ้อยคําดี
(2) มีความมุ่งหมาย
(3) มีศิลปะการแสดง
(4) มีบุคลิกภาพดี
ตอบ 1
การพูดที่มีถ้อยคําดี คือ การพูดที่ประกอบด้วยถ้อยคําที่เป็นความจริง ซึ่งเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นและสําคัญที่สุดของการพูดที่ดี โดยควรเป็นถ้อยคําที่จริงใจหรือออกมาจาก ใจจริง และควรให้เป็นประโยชน์ต่อผู้พูดและผู้ฟัง นอกจากนี้ถ้อยคําที่พูดนี้ควรทําให้ผู้ฟังพึงพอใจด้วย

94. การมีปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้ฟัง คือสิ่งที่ใช้วัดอะไร
(1) ความจริงใจของผู้ฟัง
(2) ประสบการณ์ของผู้พูด
(3) ความสนใจของผู้ฟัง
(4) คุณภาพของการพูด
ตอบ 4
โดยทั่วไปแล้วการพูดมีจุดประสงค์ที่จะให้คนฟังมีความเข้าใจในเรื่องราวที่พูดและปฏิบัติตามคําแนะนําหรือคําชักชวนนั้น นั่นก็คือ การได้รับปฏิกิริยาโต้ตอบจากผู้ฟัง จึงกล่าวได้ว่าคุณภาพของการพูดสามารถวัดได้จากการมีปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้ฟัง

95. ข้อใดเป็นการแสดงในการพูด
(1) ความรู้สึกของผู้พูด
(2) การใช้น้ำเสียงของผู้พูด
(3) การแต่งกายของผู้พูด
(4) การรักษาเวลาในการพูด
ตอบ 2
การพูดที่มีศิลปะการแสดงดี ซึ่งสิ่งที่สําคัญที่สุดของการแสดงในการพูด คือ การใช้ศิลปะในด้านน้ำเสียงของผู้พูดมากที่สุด นอกจากนี้ก็มีการใช้มือ และกิริยาท่าทาง ของผู้พูดประกอบ ได้แก่ การแสดงสีหน้า การเคลื่อนไหว การวางท่า และการสบสายตากับผู้ฟัง เพื่อสร้างอารมณ์ สร้างบรรยากาศ ฯลฯ โดยจะต้องแสดงออกมาให้เป็นธรรมชาติ ไม่ประหม่าเพื่อช่วยเน้นความรู้สึก และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง

96. ข้อใดเป็นทัศนคติในทางบวกของผู้พูด
(1) เตรียมตัวพอประมาณ ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไร
(2) กลัวผู้ฟังนิด ๆ แต่ก็ไม่เป็นไร
(3) มั่นใจว่าทําได้แม้จะหวาด ๆ อยู่บ้าง
(4) ฉันเก่งมากไม่ต้องทําการบ้านมาก็ได้
ตอบ 3
ทัศนคติของผู้พูดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ทัศนคติในทางลบ ซึ่งมีผลเสียต่อผู้ฟัง ได้แก่ ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าผู้ฟัง และความรู้สึกกลัว 2. ทัศนคติในทางบวก ซึ่งช่วยให้ผู้พูดประสบความสําเร็จในการพูดมากขึ้น ได้แก่ ความปรารถนาที่จะพูด ความสนใจในเรื่องที่พูดและความสนใจในคนฟัง ตลอดจนความมั่นใจของผู้พูด

97. การเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น เกี่ยวข้องกับอะไรมากที่สุด
(1) Audience
(2) Empathy
(3) Rapport
(4) Speaker
ตอบ 2
สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการโต้ตอบระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ซึ่งจะทําให้กระบวนการพูดกับการฟังได้ผลดี มีอยู่ 2 ประการ ดังนี้ 1. การเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy) คือ ความพยายามของผู้พูดและผู้ฟังที่จะรับรู้ในสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกัน โดยต้องเห็นในสิ่งที่เขาเห็น รู้สึกในสิ่งที่เขารู้สึก 2. การมีความสัมพันธ์ที่ดี (Rapport) คือ การที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังเข้ากันได้ มีการยอมรับร่วมกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy)

98. ข้อใดคือสิ่งรบกวนที่ดึงความสนใจของผู้ฟังไปจากผู้พูด
(1) ผู้พูดเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
(2) ผู้พูดใช้ภาษาขยะซ้ำซากน่าเบื่อ
(3) ผู้พูดแต่งตัวเว่อร์มากแต่ไม่สวย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
ผู้พูดควรพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนที่ดึงความสนใจของผู้ฟังไปจากผู้พูดดังนี้ 1. ผู้พูดเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เช่น โยกตัวไปมา ขยับตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ฯลฯ 2. ผู้พูดใช้ภาษาขยะซ้ำซากน่าเบื่อตลอดเวลา เช่น เอ้อ อ้า แบบว่า นะครับ นะคะ ฯลฯ 3. ผู้พูดแต่งตัวโดดเด่นไม่เหมาะสมกับงาน หรือแต่งตัวแฟชั่นจัดเกินไป ฯลฯ

99. เรื่องใดเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้พูดซึ่งเลียนแบบกันได้ยาก
(1) มารยาทในการพูด
(2) บุคลิกภาพในการพูด
(3) ลีลาของการพูด
(4) ท่าทางที่แสดงออก
ตอบ 3
ลีลาของการพูด คือ วิธีการที่จะส่งสารหรือคําพูดออกไป เป็นการแสดงถึงความคิดและบุคลิกลักษณะของตัวผู้พูดเอง ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้พูดที่เลียนแบบกันได้ยาก เปรียบเสมือนเป็นลายเซ็นของมนุษย์ โดยมีลักษณะสําคัญคือ เป็นการแสดงออกซึ่งความคิด ความกระจ่างชัด ความน่าสนใจ และน่าจดจํา

100. วิธีช่วยให้ผู้ฟังตั้งคําถามให้ชัดเจน คือข้อใด
(1) ตั้งคําถามย้อนกลับ
(2) เปลี่ยนเรื่องอย่างระมัดระวัง
(3) ชมผู้ถามและถามว่าเขาต้องการอะไร
(4) จับประเด็นคําถามและอธิบายเพิ่มเติม
ตอบ 4
การช่วยผู้ฟังให้ตั้งคําถามให้ชัดเจน คือ การที่ผู้พูดพยายามจับประเด็นเนื้อหาเอาจากคําถามนั้นและอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ความกระจ่าง ถึงแม้ว่าผู้ฟังจะไม่ได้ถามตรงจุด แต่การถามนั้นก็ทําให้เราสามารถเดาได้ว่าเขาสงสัยเรื่องใด เราก็อธิบายได้โดยไม่ต้องรอให้เขาถามให้ตรงจุดเสียก่อน

101. เวลาพูดในที่ชุมนุมชนมีข้อแนะนําอยู่อย่างหนึ่ง คืออะไร
(1) รู้จักเว้นจังหวะในการพูด
(2) ใช้สํานวนโวหารเปรียบเทียบบ่อย ๆ
(3) ห้ามใช้คําภาษาต่างประเทศ
(4) คิดถึงประสิทธิผลของการพูดอยู่ตลอดเวลา
ตอบ 1 ข้อแนะนําเวลาพูดในที่ชุมนุมชนประการหนึ่ง คือ การรู้จักเว้นจังหวะในการพูดเป็นการเว้นวรรคตอนตรงข้อความที่ควรจะหยุด ซึ่งการเว้นจังหวะโดยทั่วไปคือ การหยุดพูด เมื่อพูดจบหัวข้อหนึ่ง ๆ ก่อนที่จะพูดในหัวข้อใหม่ต่อไป นอกจากนี้ก็ให้หยุดท้ายคําถาม หยุดท้ายกลุ่มคํา หยุดก่อนที่จะกล่าวคําหรือเรื่องสําคัญ และหยุดเมื่อถึงคําสันธาน

102. ข้อใดที่มีความหมายโดยตรง
(1) พอเธอเป็นดาว สกาวก็ลอยฟ้า
(2) โรงเรียนสีขาว คือ โรงเรียนปลอดยาเสพติด
(3) ต้นไม้ในอีสานก็เขียวเหมือนต้นไม้ที่อื่น
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ)
ข้อความในตัวเลือกข้อ 3 มีความหมายโดยตรงคือ คําว่า “เขียว” = สี (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีความหมายโดยนัย คือ คําว่า “ดาว” =ผู้มีชื่อเสียง, “สีขาว” = การปลอดยาเสพติด)

103. ข้อใดเป็นความหมายแฝงของการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
(1) เขารั้งเธอไปเที่ยวด้วยจนได้
(2) ลูกโป่งลอยลิบ ๆ อยู่บนโน้น
(3) เดินลิวไปเลยนะไม่รอกันด้วย
(4) ฉันฉิวแล้วนะเดี๋ยวจะว่าไม่บอก
ตอบ 3
ความหมายแฝงที่บอกการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ได้แก่ ฉิว ปลิว จิ๋ว เช่น แล่นฉิว,เดินตัวปลิว, เดินลิวไปเลยนะไม่รอกันด้วย ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 4 คําว่า “นิว” ในประโยคหมายถึง รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที)

104. คําว่า “ร้อน” ในข้อใดเป็นคํากริยา
(1) น้ำร้อนหรือยังจะได้ชงกาแฟ
(2) เส้นแกงร้อนใช้ต้มทําแกงจืดได้
(3) ในฤดูร้อนทุกสิ่งทุกอย่างจะดูแห้งแล้ง
(4) เสื้อตัวนี้ต้องใส่วันที่อากาศร้อน
ตอบ 1 คําว่า “ร้อน” ในตัวเลือกข้อ 1 เป็นคํากริยา หมายถึง น้ำทําอาการร้อนโดยผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นคําว่า “ร้อน” เป็นคําคุณศัพท์ เช่น ฤดูร้อน, อากาศร้อน และเป็นคํานามเช่น เส้นแกงร้อน = วุ้นเส้น)

105. หากจะกล่าวว่า ความลับที่ปกปิด ไว้ถูกเปิดเผย จะใช้ข้อความใด
(1) เรื่องเผยออกมาแล้ว
(2) เรื่องเปิดเผยออกมาแล้ว
(3) เรื่องโผล่ออกมาแล้ว
(4) เรื่องแดงออกมาแล้ว
ตอบ 4
เรื่องแดงออกมาแล้ว = ลักษณะของความลับที่ปกปิดไว้ถูกเปิดเผยออกมา(คําว่า “แดง” ในที่นี้เป็นคํากริยา หมายถึง อาการเปิดเผยออกมาของเรื่องที่ปกปิด)

ข้อ 106. – 110. ข้อความใดที่จัดว่าเป็น “วลีฆาตกร”

106.
(1) ไม่สบายหรือ ดูซีด ๆ ไปนะ ไปหาหมอรึยัง
(2) เป็นอะไร หน้าซีดเซียวไปหาหมอไหม
(3) เธอเป็นอะไรนี่ เซียวสุด ๆ เลย
(4) ดูหน้าเหมือนปลาสําลักน้ำเลยนะนี่ ไม่สบายใช่ไหม
ตอบ 4
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ได้เรียกการใช้ภาษาที่จะทําลายบรรยากาศอันดีในที่ประชุม และทําลายความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าประชุมว่า “วลีฆาตกร” (Killer Phrases) คือ ภาษาที่อาจทําให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบในทางปฏิปักษ์ นอกจากนี้วลีฆาตกรยังสามารถ เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจําวัน หากเป็นการใช้วาจาที่ก้าวร้าว ไม่สุภาพ จนก่อให้เกิดความรู้สึกที่ ไม่ดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง เช่น ดูหน้าเหมือนปลาสําลักน้ำเลยนะนี่ ไม่สบายใช่ไหม, เธอน่ะ อวบระดับสุดท้ายแล้วนะ, เธอมันน่าเกลียดน่าชังจนน่าทุเรศ, อย่าบอกนะว่าเด็กคนนี้เป็นออ, เดินงุ่มง่ามอย่างนี้ซิคนแก่ ฯลฯ

107.
(1) เธอนะอวบระดับสุดท้ายแล้วนะ
(2) ทําไมปล่อยตัวให้อ้วนมาก สุขภาพจะแย่นะ
(3) อ้วนมาก ๆ ก็ไม่ดีนะ ทําให้โรคภัยไข้เจ็บถามหา
(4) ลดน้ำหนักบ้างน่าจะดีไหม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 106. ประกอบ

108.
(1) ฝ้าย เด็กคนนี้น่าเกลียดน่าชังจัง
(2) ทําตัวให้น่าเกลียดน่าชังนะไม่ดีนะ
(3) ถ้ารู้ว่าเราเป็นที่เกลียดชัง ก็ควรปรับตัว
(4) เธอมันน่าเกลียดน่าชังจนน่าทุเรศ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 106. ประกอบ

109.
(1) อย่าบอกนะว่าเด็กคนนี้เป็นออ
(2) เด็กออทิสติกจริง ๆ แล้วน่าสงสาร
(3) เด็กพิเศษจึงได้รับการช่วยเหลือจากโรงเรียน
(4) เด็กออทิสติกต้องการความรักความเอาใจใส่
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 106. ประกอบ

110.
(1) เดินช้าหน่อยก็จะเป็นไรไป
(2) เดินไปคุยไปก็ยังได้ไม่ช้าหรอก
(3) เดินงุ่มง่ามอย่างนี้ซิคนแก่
(4) เดินดี ๆ นะคะ ถนนขรุขระมาก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 106. ประกอบ

111. การประชุมแบบใดที่นิยมกันมากในหน่วยงานต่าง ๆ
(1) การอภิปราย
(2) การโต้วาที
(3) การสัมมนา
(4) การปฏิบัติ
ตอบ 3
การสัมมนา (Seminar) เป็นการประชุมที่นิยมใช้ในหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ มากที่สุดในปัจจุบัน มีลักษณะสําคัญดังนี้ 1. เป็นการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น เพื่อนําไปสู่การตัดสินใจ หรือกําหนดนโยบายและแนวทางการทํางาน 2. การประชุมจะรวมสมาชิกที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 3. มีวิทยากรหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายหรืออภิปรายให้ความรู้ มีการซักถามปัญหา และแบ่งกลุ่มเพื่อพิจารณาปัญหาหรือนโยบาย 4. มีการพิมพ์สรุปผลการสัมมนาไว้เป็นหลักฐาน เพื่อนําผลการประชุมไปใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป

112. การประชุมปฏิบัติงาน ตรงกับภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
(1) Work Shop
(2) Work Permit
(3) Work Hard
(4) Work Point
ตอบ 1
การประชุมปฏิบัติงาน (Work Shop) คือ การประชุมที่สถาบันจัดให้มีขึ้น และจัดอํานวยความสะดวกในด้านวัสดุและอุปกรณ์การศึกษาให้พร้อม เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้ศึกษาปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ และให้ได้ร่วมปฏิบัติการหรือลงมือทําเพื่อให้ได้ผลงานตามที่กําหนดไว้

113. การอภิปรายกลุ่มมีลักษณะพิเศษอย่างไร
(1) มีสมาชิกจํานวนไม่จํากัด
(2) สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการอภิปราย
(3) มีเพื่อแก้ปัญหาและกําหนดนโยบายเท่านั้น
(4) ต้องมีประธานและเลขากลุ่มทุกครั้ง
ตอบ 2
การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) มีลักษณะพิเศษ คือ การอภิปรายที่สมาชิกทุกคนในกลุ่มเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการอภิปราย โดยทั่วไปจะมีจํานวนสมาชิกในกลุ่ม 5 – 20 คน ซึ่งสมาชิกในกลุ่มทุกคนมีสิทธิ์พูดเพื่อแสดงความรู้ ความคิดเห็น โดยจะผลัดกันพูด ผลัดกันฟัง ไม่มีผู้ฟังที่เป็นบุคคลภายนอก จึงมักใช้ประชุมปรึกษาหารือเพื่อดําเนินงานในขอบเขตของผู้ร่วมอภิปราย

114. การอภิปรายแบบ Debate Discussion เป็นการอภิปรายที่คล้ายกับการพูดแบบใด
(1) การสนทนา
(2) การกล่าวบรรยาย
(3) การโต้วาที
(4) การแลกเปลี่ยนความรู้
ตอบ 3
การอภิปรายแบบโต้วาที (Debate Discussion) คือ การอภิปรายเพื่อแสดง ความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างบุคคล 2 กลุ่มที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันตามหัวข้อที่กําหนด ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการโต้วาที โดยกลุ่มหนึ่งจะเป็นฝ่ายเสนอและอีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นฝ่ายคัดค้าน มีประธานเป็นผู้รักษาระเบียบการโต้

115. การอภิปรายที่สมาชิกทุกคนต้องช่วยกันแก้ปัญหาอย่างไม่ขัดแย้งกัน คือการอภิปรายแบบใด
(1) แบบโต๊ะกลม
(2) แบบฟิลิปส์ 66
(3) แบบระดมสมอง
(4) แบบเป็นคณะ
ตอบ 3
การอภิปรายกลุ่มแบบระดมสมอง (Brainstorming Discussion) คือการอภิปรายที่ต้องการระดมความรู้จากสมาชิกทุกคนในกลุ่ม โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนได้พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้ออกมาอย่างเสรีเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง อย่างไม่ขัดแย้งกัน ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์หรือโต้เถียงกัน

ข้อ 116. – 120. จงเติมคําที่เหมาะสมลงในช่องว่าง

116. ฝนตก………อย่างนี้ชาวนาก็แย่นะ
(1) กะปริดกะปรอย
(2) กะพร่องกะแพร่ง
(3) กะบ่อนกะแบ่น
(4) กะโตงกะเตง
ตอบ 1
คําว่า “กะปริดกะปรอย” = อาการออกหรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้างออกบ้าง,อาการที่ฝนตกน้อย ๆ ตก ๆ หยุด ๆ (ส่วนคําว่า “กะพร่องกะแพร่ง” = ขาด ๆ วิน ๆ มีบ้าง ขาดบ้าง, “กะบ่อนกะแบ่น” = กระท่อนกระแท่น ไม่เสมอทั่วกัน, “กะโตงกะเตง” = โตง ๆ เตง ๆ ติดอยู่รุงรัง)

117. ผู้สูงอายุหลายคนพอออกกําลังกายแล้วจะมีท่าทาง………………..
(1) กะปลกกะเปลี้ย
(2) กระตือรือร้น
(3) กะหนุงกะหนิง
(4) กระชุ่มกระชวย
ตอบ 4
คําว่า “กระชุ่มกระชวย” = มีผิวพรรณสดใสหรือมีอาการกระปรี้กระเปร่า มักใช้กับลักษณะของคนแก่ (ส่วนคําว่า “กะปลกกะเปลี้ย” = อ่อนเพลีย, “กระตือรือร้น” – รีบร้อน เร่งรีบ, “กะหนุงกะหนิง” = เสียงพูดจู่ระหว่างคู่รัก)

118. แม่ต้องรีบ………ไม่ให้พ่อตีลูก
(1) ขัดขืน
(2) ขัดคอ
(3) ขัดขวาง
(4) ขัดบท
ตอบ 3
คําว่า “ขัดขวาง” = ทําให้ไม่สะดวก ทําให้ติดขัด (ส่วนคําว่า “ขัดขืน” = ไม่ทําตามไม่ประพฤติตาม, “ขัดคอ” = พูดแย้งขวางเข้ามา พูดแทรก, “ขัดบท” = แทรกเข้ามาเมื่อเขาพูดยังไม่จบ ขัดคอ ขัดจังหวะ) ,

119, หน้า ม. รามคําแหง การจราจร………………..มาก
(1) คับขัน
(2) คับคั่ง
(3) คับแค้น
(4) คับแคบ
ตอบ 2
คําว่า “คับคั่ง” = แออัด ยัดเยียด มากจนต้องเบียดเสียดยัดเยียดกัน ส่วนคําว่า “คับขัน” = จําเป็นเฉพาะหน้าที่จะต้องทําหรือต้องสู้ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้, “คับแค้น” = ลําบากยากไร้ ฝืดเคือง, “คับแคบ” = ไม่กว้างขวางพอ)

120. เมื่อหมา………….แล้วมันก็หันหน้าเข้าสู้ทั้งนั้นแหละ
(1) จนแต้ม
(2) จนมุม
(3) จนตรอก
(4) จนด้วยเกล้า
ตอบ 3
คําว่า “จนตรอก” = ไม่มีทางไป หมดทางไป ไม่มีทางหนี ดังสํานวนไทยที่ว่า “หมาจนตรอก” (ส่วนคําว่า “จนแต้ม” = ไม่มีทางเดิน หมดทางสู้, “จนมุม” = ไม่มีทางหนี หมดทางสู้, “จนด้วยเกล้า” = หมดปัญญาคิด)

Advertisement