การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1002 ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ

1. พระภิกษุเจ้าฟ้าวชิรญาณพบศิลาจารึกหลักที่ 1 นี้ ณ เมืองใด

(1) สวรรคโลก

(2) ศรีสัชชนาลัย

(3) สระหลวง

(4) สุโขทัย

ตอบ 4 หน้า 44, (ศิลาจารึก หน้า 5 – 6), (คำบรรยาย) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ (หรือรัชกาลที่ 4 ในเวลาต่อมา) ในขณะที่ ยังทรงผนวชเน้นพระภิกษุเจ้าฟ้าวชิรญาณ (ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์) ได้เสด็จประพาสเมืองเหนือ เพื่อนมัสการเจดียสถานต่าง ๆ และได้ทรงพบศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่นศิลารูปสี่เหลี่ยมมียอดแหลมมน พร้อมกับพระแท่นมนังคศิลาบาตรที่เนินปราสาทเก่าเมืองสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. 2376 จึงโปรดให้ชะลอมาไว้ที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ด้านเหนือชั้นบน ซึ่งเป็นห้องแสดงศิลปะสมัยสุโขทัย

2. จารึกหลักที่ 1 นี้เข้าใจว่าจารึกในรัชสมัยกษัตริย์พระองค์ใด

(1) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (2) พ่อขุนบานเมือง

(3) พ่อขุนรามคำแหง (4) ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้

ตอบ 3 (ศิลาจารึก หน้า 6) ศาสตราจารย์ยอร์ฃ เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญต้านศิลาจารึกชาวฝรั่งเศส

ได้สันนิษฐานไว้ว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงคงจะจารึกขึ้นในปีที่ฉลองพระแท่นมนังคศิลาบาตรซึ่งตรงกับมหาศักราช 1214 (หรือตรงกับ พ.ศ. 1835ใน รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง) เพราะมีข้อความกล่าวถึงพระแท่นมนังคศิลาบาตรในด้านที่ 3 นอกจากนี้หนังสือประชุมจารึกสยาม ภาคที่ 1 จารึกกรุงสุโขทัย ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2467 ยังได้ อธิบายว่า “ผู้แต่งศิลาจารึกนี้เห็นจะเป็นพ่อขุนรามคำแหงทรงแต่งเอง ถ้ามิฉะนั้นก็คงตรัสสั่ง ให้แต่งขึ้นแลจารึกไว้

3. ค่านิยมทางสังคมที่ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่เด่นชัดมากที่สุดได้แก่ข้อใด

(1) ให้เกียรติพ่อค้า (2) ยกย่องสถาบันครอบครัว

(3) ยกย่องเชิดชูผู้มีทรัพย์สมบัติ (4) ยกย่องและเคร่งครัดศาสนา

ตอบ 4 (ศิลาจารึก หน้า 23 – 24) ค่านิยมทางสังคมและลักษณะนิสัยของคนไทยที่ปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่เด่นชัดมากที่สุด ได้แก่ การยกย่องและเคร่งครัดศาสนา เนื่องจากคนไทยในสมัยสุโขทัยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก มักชอบให้ทานแก่คนทั่วไป และถวายทานกับพระสงฆ์ ดังข้อความในศิลาจารึกที่ว่า “คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน… ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน…’’

4. ข้อใดเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดี

(1) พูดสั้นกินความมาก (2) มิสัมผัสหลายตอนพรรณนาความละเอียดลออ

(3) ภาษาง่าย ประโยคสั้น (4) เรียบเรียงอย่างประณีตไพเราะอย่างยิ่ง

ตอบ 3 หน้า 44 – 45 ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นวรรณกรรมที่ต้องการ จะบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน ไม่ได้ตั้งใจแต่งให้เป็นเรื่องบันเทิง แต่มีเนื้อหาและศิลปะ การแต่งที่ดี มีการเรียบเรียงถ้อยคำ ทำให้มีลักษณะเป็นวรรณคดีประยุกต์ได้ กล่าวคือ

1. ใช้ประโยคสั้นและภาษาที่ง่ายไม่ซับซ้อนทำให้อ่านง่ายและเข้าใจได้สะดวก

2. ข้อความบางตอนมีลักษณะเป็นกลอน มีเสียงสัมผัสกระทบกระทั่ง ไพเราะ มีกวีโวหารลึกซึ้ง

3. ใช้ประโยคที่สมดุล มีจำนวนคำเท่ากัน มีความหมายเข้าคู่กัน และมีน้ำหนักเสียงก้ำกึ่งกัน

5. รูปศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีลักษณะเช่นไร

(1) กลมรี

(2) ยาวรี

(3) สี่เหลี่ยมยอดแหลมมน

(4) รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

6. คำว่า “กระพัดลยาง” ที่ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีความหมายว่าอย่างไร

(1) ขอสับช้าง (2) สายรัดสัปคับ (3) กูบช้าง (4) สัปคับ

ตอบ 2 (ศิลาจารึก หน้า 30, 41, 59) คำว่า ‘‘กระพัดลยาง” หมายถึง สายรัดสัปคับผูกช้างไม่ให้เคลื่อนที่ โดยคำว่า “กระพัด” แปลว่า ผูกหรือสายสำหรับผูกสัปคับ สายที่รัดสัปคับ ซึ่งเหนี่ยวไว้กับโคนหางของช้าง ส่วนคำว่า “ลยาง” แปลว่า สัปคับ (แหย่งช้าง หรือทีนั่งบนหลังช้าง)

7. ภาษาใดใช้มากที่สุดในจารึกพ่อขุนรามคำแหง

(1) ภาษาไทยแท้

(2) ภาษาบาลี

(3) ภาษาลาว

(4) ภาษาเขมร

ตอบ 1 หน้า 44 ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง นับเป็นเอกสารภาษาไทยที่ใช้ คำไทยแห้มากที่สุดฉบับหนึ่ง ถ้าจะประมวลคำที่ใช้ในจารึกจะมีประมาณ 1,500 คำ เมื่อตัดคำซ้ำออกจะเหลือประมาณ 405 คำ ในจำนวนนี้เป็นคำไทยแท้ราว 319 คำ เป็นคำที่มีรากศัพท์ มาจากเขมร 13 คำ ชื่อเฉพาะ 11 คำ มีมูลรากมาจากภาษาบาลีและอื่น ๆ อีกประมาณ 62 คำ

8. สำนวนภาษาที่ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า “สวนดูแท้แล” มีความหมายว่าอย่างไร

(1) ส่วนที่อุดมสมบูรณ์ (2) สอบสวนดูแล้ว (3) ทำสิ่งใดเฉพาะตัว (4) ดูแลสวนอย่างดียิ่ง

ตอบ 2 (ศิลาจารึก หน้า 19, 39, 52) คำวา “สวนดูแท้แล” หมายถึง สอบสวนดูแน่แล้ว สอบถามดู แน่แล้ว ไต่สวบ สอบสวน

9. ชาวต่างชาติท่านใดอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้วเผยแพร่สู่นานาชาติ

(1) หมอบรัดเลย์ (2) ศ.ศิลป์ พีระศรี (3) ศ.ยอร์ช เซเตส์ (4) ยอร์ข เอช.เอาห์

ตอบ 3 (ศิลาจารึก หน้า 6-7) ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลาจารึกชาวฝรั่งเศส นับเป็นผู้มีพระคุณต่อวงการศิลาจารึกของไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีส่วนสำคัญในการอ่านและ ตรวจแปลศิลาจารึกต่าง ๆ ให้ถูกต้องบริบูรณ์ และแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส เพื่ออำนวยประโยชน์ แกนักปราชญ์ทั้งหลายที่สนใจ รวมทั้งเพื่อเผยแพรความสำคัญของศิลาจารึกและชื่อเสียงของ ประเทศไทยไปยังนานาประเทศ

10. ข้อความใดหมายถึง การตัดสินคดีความอย่างเที่ยงธรรม

(1) บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน (2) จึงแล่งความแก่ขาด้วยซื่อ

(3) เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พีน (4) ผิดแผกแสกว้างกัน

ตอบ 2 (ศิลาจารึก หน้า 19, 39, 51 – 52) ข้อความที่ว่า “จึงแล่งความแก่ขาด้วยซื่อ” หมายถึง ตัดสินคดีความอย่างเที่ยงธรรม หรือตัดสินความแก่เขาทั้งสองด้วยความยุติธรรม (ส่วนข้อความที่ว่า “บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน” หมายถึงไม่เข้ากับผู้ร้ายลักทรัพย์ ไม่เห็นแก่ผู้รับของโจร “เห็นข้าว ท่านบ่ใคร่พีน” หมายถึง เมื่อใครเอาข้าวของมาให้ก็ไม่ยินดี, “ผิดแผกแสกว้างกัน” หมายถึง ผิดใจแตกแยกเป็นความกัน)

11. ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่แต่งสมัยเดียวกันวรรณคดีเรื่องใด

(1) ลิลิตโองการแช่งน้ำ (2) ลิลิตตะเลงพ่าย

(3) ลิลิตนารายณ์สิบปาง (4) ลิลิตเพชรมงกุฎ

ตอบ 1 หน้า 50. 64. (ลิลิตพระลอ หน้าคำนำ) วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่สมัย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) – สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 1893 – 2072) มีอยู่ 4 เรื่อง ได้แก่ 1. ลิลิตโองการแช่งน้ำ 2. ลิลิตยวนพ่าย 3. มหาชาติคำหลวง 4. ลิลิตพระลอ

12. ข้อใดกล่าวถึงลิลิตพระลอได้ถูกต้อง

(1) น่าจะมีเค้าเรื่องจริงจากนิยายล้านช้าง (2) เป็นวรรณคดีทีแต่งสมัยอยุธยาตอนต้น

(3) ผู้แต่งคือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (4) จบลงด้วยความโกรธแค้นของพระเจ้าย่า

ตอบ 2 หน้า 59, (ลิลิตพระลอ หน้าคำนำ) ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล กล่าวว่า ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เพราะเป็นเรื่องสำนวนเก่ารุ่นราวคราวเดียวกับมหาชาติคำหลวง โคลงคำสรวลศรีปราชญ์ ลิลิตยวนพ่าย และทวาทศมาส นอกจากนี้ยังมีเนื้อเรื่องเป็นนิทานปรัมปราของไทยโบราณ ทางภาคเหนือ (ล้านนาไทย คือ มณฑลพายัพ) ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นนิทานพื้นเมืองท้องถิ่น ของชาวจังหวัดแพร่ น่าน และเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริง

13. “รอนลาวกาวตาวตัดหัว ตัวกลิ้งกลาดดาษดวน ฝ่ายข้างยวนแพ้พ่าย… ฝ่ายข้างไทยไชเยศร์ คืนยัง ประเทศพิศาล” ข้อความนี้กล่าวถึงสงครามในรัชกาลใด

(1) สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง

(2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(3) สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

(4) สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ตอบ 2 หน้า 61, (ลิลิตพระลอ หน้า 1) ข้อความเริ่มเรื่องในลิลิตพระลอข้างต้น เป็นร่ายนำเรื่องที่ กล่าวถึงสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับล้านนาไทย ซึ่งผลปรากฏว่าฝ่ายล้านนาไทยเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อสอบสวนกับพงศาวดารจึงได้ความว่า สงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับล้านนาไทยเกิดขึ้น ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งตรงกับเรื่องลิลิตยวนพ่าย

14. จบเสร็จมหาราชเจ้า นิพนธ์

ยอยศพระลอคน หนึ่งแท้

พี่เลี้ยงอาจเอาตน ตายก่อน พระนา

ในโลกนี้สุดแล้ เลิศล้ำคุงสวรรค์ฯ

“มหาราชเจ้า นิพนธ์” สันนิษฐานว่าคือพระมหากษัตริย์องค์ใด

(1) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (2) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

(3) สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (4) สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ

ตอบ 2 หน้า 61 – 62, (ลิลิตพระลอ หน้า 150) ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้สันนิษฐานว่า เรื่องลิลิตพระลอน่าจะเขียนขึ้นก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ โดยมหาราชเจ้า ผู้นิพนธ์เรื่อง ลิลิตพระลอ คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติในระหว่าง ปี พ.ศ. 2034 – 2072 ส่วนพระเยาวราชผู้คัดเขียนลิขิต คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ผู้เป็นพระราชโอรส

15. จากโจทย์ข้อ 14. “พี่เลี้ยง” หมายถึงใคร

(1) พระเพื่อนพระแพง (2) นางรื่นนางโรย (3) นายแก้วนายขวัญ (4) ท้าวพิไชยพิษณุกร

ตอบ 3 (ลิลิตพระสอ หน้า 135, 150) โคลงท้ายเรื่องลิลิตพระลอข้างต้น ได้กล่าวถึงพี่เลี้ยงของ พระลอ คือ นายแก้วนายขวัญ ซึ่งถูกทหารของพระเจ้าย่ายิงธนูเข้าใส่จนสิ้นชีวิตไปก่อน พระลอ ผู้เป็นเจ้านาย

16. นางลักษณวดีคือใคร

(1) มเหสีของพระลอ (2) มเหสีของท้าวพิไชยพิษณุกร

(3) พระราชมารดาของพระลอ (4) พระราชมารดาของพระเพื่อนพระแพง

ตอบ 1 (ลิลิตพระสอ หน้า 2 – 4), (คำบรรยาย) เนื้อเรื่องตอนต้นของเรื่องลิลิตพระลอได้กล่าวถึงเมือง 2 เมือง ซึ่งเป็นศัตรูคู่อาฆาตกัน คือ เมืองสรวงและเมืองสรอง โดยมีตัวละครที่สำคัญดังนี้

1. เมืองสรวงมีกษัตริย์ชื่อว่า ท้าวแมนสรวง มีพระมเหสี คือ พระนางนาฎบุญเหลือ และ มีพระราชโอรสองค์หนึ่งชื่อ พระลอ ซึ่งต่อมาได้สมรสกับนางลักษณวดี ผู้เป็นอัครมเหสี

2. เมืองสรองมีกษัตริย์ชื่อว่า ท้าวพิมพิสาครราช ซึ่งเป็นพระสวามีของพระเจ้าย่า ผู้มีฐานะเป็น นางสนม โดยมีพระโอรสที่เกิดจากพระมเหสี คือ ท้าวพิไชยพิษณุกร ซึ่งต่อมาได้สมรสกับ เจ้าดาราวดี จนมีพระราชธิดา 2 พระองค์ คือ พระเพื่อนกับพระแพง

17. “พระองค์กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง” หมายถึงใคร

(1) พระเพื่อน (2) พระแพง (3) พระลอ (4) พระนางนาฎบุญเหลือ

ตอบ 3 (ลิ.ลิตพระสอ หน้า 5 – 6), (คำบรรยาย) พระลอ จัดเป็นตัวละครที่มีอุดมคติด้านความงามเลิศ และมีขัตติยมานะสมเป็นกษัตริย์ โดยพระองค์ทรงมีรูปโฉมงดงาม ดังบทชมความงาม ในโคลงและร่ายที่ยอเกียรติพระลอว่า “…พระองค์กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารมีฯ… พิศดูคางสระสม พิศศอกลมกลกลึง สองไหล่พึงใจกาม อกงามเงื่อนไกรสร พระกรกลงวงคช…”

18. พระสวามีของพระเจ้าย่าคือใคร

(1) ท้าวพิไชยพิษณุกร (2) ท้าวแมนสรวง

(3) ท้าวพิมพิสาครราช (4) ไม่ปรากฏนามในเรื่อง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

19. “พิศดูคางสระสม พิศศอกลมกลกลึง สองไหล่พึงใจกาม อกงามเงื่อนไกรสร พระกรกลงวงคช”

ข้อความนี้เป็นบทชมความงามของใคร

(1) พระเพื่อนพระแพง

(2) พระลอ

(3) พระนางนาฎบุญเหลือ

(4) ท้าวพิไชยพิษณุกร

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

20. เรื่องลิลิตพระลอมีคุณค่าด้านใดมากที่สุด

(1) ให้ข้อคิดและคติเตือนใจ

(2) ให้ความไพเราะและอารมณ์สะเทือนใจ

(3) ให้ทราบประวัติศาสตร์และการศึกสงคราม

(4) ให้ทราบการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

ตอบ 2 หน้า 57, 62 – 64, 198 เรื่องลิลิตพระลอมีคุณค่าในด้านการให้ความไพเราะและอารมณ์ สะเทือนใจมากที่สุด ทำให้ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่ไพเราะจับใจคนทั่วไป เพราะประกอบด้วย เนื้อเรื่องอันกินใจ มีศิลปะการเรียบเรียงถ้อยคำทีประณีตไพเราะ มีบทบรรยายพรรณนาถึง ความงามและความรู้สึกลึกซึ้งของอารมณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะความรัก จึงเข้าถึงอารมณ์และ จิตใจของผู้อ่านให้บังเกิดความซาบซึ้ง และตระหนักในอารมณ์เหล่านั้นอย่างแท้จริง

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 21. – 30.

(1) สารคดี (2) ร้อยกรอง (3) บทละคร (4) สารบันเทิง

21. สาวิตรี

ตอบ 3 หน้า 145, 192 บทละครร้องเรื่องสาวิตรี เป็นงานพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ซึ่งใช้เล่น ละครร้อง คือ ละครที่ใช้ร้องเพลงในการแสดงตลอดเรื่อง ไม่มีการพูด

22. พระราชพิธีสิบสองเดือน

ตอบ 1 หน้า 143 – 144, (คำบรรยาย) พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นงานพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 โดยมีลักษณะการแต่งเป็นความเรียงร้อยแก้วประเภทสารคดี และมีเนื้อหาเป็นการอธิบาย พระราชพิธีต่าง ๆ ที่ทำเป็นประจำในแต่ละเดือน ซึ้งต่อมาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า “เป็นยอดของความเรียงอธิบาย”

23. หลวงจำเนียรเดินทาง

ตอบ 3 หน้า 157, 191 บทละครพูดเรื่องหลวงจำเนียรเดินทาง เป็นงานพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงดัดแปลงมาจากบทละครฝรั่งเศสจากต้นฉบับของเออเยน ลาบีช โดยมักใช้เล่นละครพูด คือ ละครที่ตัวละครแสดงด้วยวิธีพูดล้วน ๆ ไม่มีดนตรี หรือการขับร้องใด ๆ ประสม

24. โคลงโลกนิติ

ตอบ 2 หน้า 138, 140 – 141, 162 งานพระนิพนธ์ประเภทร้อยกรองในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร กวีในสมัยรัชกาลที่ 3 มีดังนี้

1. โลกนิติคำโคลง หรือโคลงโลกนิติ ซึ่งเป็นงานที่สำคัญทีสุด และมีการรวบรวมชำระเมื่อ พ.ศ. 2374

2. โคลงนิราศเสด็จไปทัพเวียงจันทน์ (แต่เป็นนิราศที่แต่งไม่จบ)

3. ฉันท์ดุษฎีสังเวย ซึ่งมีอยู่หลายเรื่อง

25. กองทัพธรรม

ตอบ 4 หน้า 177 สารบันเทิง หมายถึง หนังสือประเภทบันเทิงคดี (เรื่องที่แต่งขึ้น) แต่มีเนื้อหา หนักไปทางสาระ และแม้จะมีความจริงปนอยู่ด้วย ก็ยังไม่นับเป็นสารคดีโดยแท้ทีเดียว เช่น เรื่องอานนท์พุทธอนุชา ของวศิน อินทสระ, เรื่องกองทัพธรรม หรือเชิงผาหิมพานต์ ของสุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นต้น

26. มหาเวสสันดรชาดก

ตอบ 2 หน้า 142, 162 งานพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 มีดังนี้ 1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์บางตอน

2. ร้อยกรองประเภทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก 5 กัณฑ์

3. ร้อยแก้วประเภทประกาศและพระบรมราชาธิบายต่าง ๆ

27. พม่าเสียเมือง

ตอบ 1 หน้า 175 สารคดีประเภทวิชาการตามสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ถึงขั้นเป็นตำรับตำรา แต่เป็นจำพวกหนังสืออ่านประกอบเพื่อความรู้เพิ่มเติม เช่น พม่าเสียเมือง ชอง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

28. รามเกียรติ์

ตอบ 3 หน้า 99 ละครรำคงรุ่งเรืองขึ้นมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมีบทละครที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง และสมัยที่แต่งว่าเป็นสมัยอยุธยาตอนใดเหลือมา 15 เรื่อง ขาดหายไม่ครบฉบับบริบูรณ์สักเรื่องเดียวได้แก่

1.รามเกียรติ์ 2.การเกษ 3. คาวี 4.ไชยทัต 5.พิกุลทอง

6. พิมพ์สวรรค์ 7. พิณสุริวงค์ 8. นางมโนห์รา 9. โม่งป่า 10. มณีพิไชย 11.สังข์ศิลป์ไชย 12.สุวรรณศิลป์ 13.สุวรรณหงส์ 14.สังข์ทอง 15.โสวัต

29. อานนท์พุทธอนุชา

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

30. เชิงผาหิมพานต์

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

31. ข้อใดเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ

(1) เพลงชาน้อง ร้องเรือ

(2) จดหมายเหตุลาลูแบร์

(3) ตำนานพระนางจามเทวีวงศ์

(4) นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย

ตอบ 1 หน้า 40 – 41 วรรณกรรมมุขปาฐะ คือ วรรณกรรมที่ถ่ายทอดด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร บางครั้งอาจเรียกว่า “วรรณกรรมปาก หรือวรรณคดีปาก” ซึ่งเป็น วรรณกรรมอีกประเภทหนึ่งที่สูญหายไปมาก แต่ก็แสดงให้เห็นลักษณะนิสัยของคนไทยได้ เป็นอย่างดี ได้แก่ เพลงพื้นเมืองต่าง ๆ เช่น เพลงชาน้อง ร้องเรือ เป็นต้น

32. ข้อใดไม่เป็นวรรณคดี

(1) สังข์ทองตอนทิ้งพวงมาลัย (2) วิวาห์พระสมุทร (3) เกิดวังปารุสก์ (4) ละครมืด

ตอบ 3 หน้า 3- 4, 177, 189 – 192, (คำบรรยาย) พระราชกฤษฎีกาวรรณคดีสโมสร พ.ศ. 2457 มาตรา 7 กำหนดว่า หนังสือที่เป็นวรรณคดีได้มีอยู่ 5 ชนิด คือ 1. บทกวีนิพนธ์ (บทร้อยกรอง ที่กวีเป็นผู้แต่งขึ้น) เช่น ลิลิตพระลอ เสภาเรื่องขุนข้างขุนแผน อิเหนา ฯลฯ 2. บทละครไทย ที่เป็นบทละครรำ ได้แก่ บทละครมืดหรือละครดึกดำบรรพ์ เช่น สังข์ทองตอนทิ้งพวงมาลัย ฯลฯ 3. นิทาน นวนิยาย และเรื่องสั้น 4. บทละครปัจจุบันตามแบบตะวันตก เช่น เรื่องวิวาห์พระสมุทร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 รวมทั้งบทภาพยนตร์ต่าง ๆ ฯลฯ 5. คำอธิบายในรูปของบทความต่าง ๆ เช่น บทวิจารณ์ บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ หรือเป็นหนังสือขนาดเล็ก (Pamphlet) ฯลฯ (ส่วนอัตชีวประวัติเรื่องเกิดวังปารุสก์ พระนิพนธ์ในพระองศ์เจ้าจุลจักรพงษ์ จัดเป็นวรรณกรรมที่ทรงแต่งเล่าเรื่องตนเอง)

33. ข้อไดไม่ถูกต้อง

(1) วรรณคดีไทยมีร้อยแก้วมากกว่าร้อยกรอง

(2) วรรณคดีไทยส่วนใหญ่น่าเสนอพุทธปรัชญา

(3) วรรณคดีในอดีตของไทยแต่งเพื่ออารมณ์มากกว่าเพื่อปัญญา

(4) วรรณคดีไทยให้ความสำคัญกับศิลปะการแต่งมากกว่าเนื้อหา

ตอบ 1 หน้า 193 – 200 ลักษณะของวรรณคดีไทยในอดีตก่อนรับอิทธิพลตะวันตก (ตั้งแต่สมัย สุโขทัย – สมัยรัชกาลที่ 3) มีดังนี้

1. วรรณคดีร้อยกรองมีจำนวนมากกว่าร้อยแก้ว

2. เนื้อเรื่องอยู่ในวงแคบ และเน้นใช้จินตนาการไกลตัว เช่น เรื่องยักษ์ เทวดา ฯลฯ

3. ให้ความสำคัญกับศิลปะการแต่งมากกว่าเนื้อหา 4. มีธรรมเนียมนิยมในการบรรยาย

5. เป็นวรรณคดีเพื่ออารมณ์มากกว่าเป็นวรรณคดีเพื่อปัญญา

6. ส่วนใหญ่นำเสนอพุทธปรัชญาแบบพื้น ๆ ง่าย ๆ

7. กวีมักแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ ฯลฯ

34. ข้อใดไม่ใช่ธรรมเนียมนิยมในการแต่งของวรรณคดีไทย

(1) มักมีบทอัศจรรย์แทรกอยู่เสมอ (2) มักจบท้ายด้วยบทประณามพจน์เสมอ

(3) มักมีบทชมความงามของบ้านเมือง (4) มักมีบทสรรเสริญพระมหากษัตริย์

ตอบ 2 หน้า 195 – 200 ธรรมเนียมนิยมในการแต่งของวรรณคดีไทยในอดีต มีดังนี้

1. มีโครงสร้างที่มีแบบแผน คือ ขึ้นต้นด้วยบทไหว้หรือประณามบท (ประณามพจน์)

และจบเรื่องด้วยการบอกชื่อผู้แต่งและสาเหตุที่แต่งขึ้น 2. มักเป็นร้อยกรองขนาดยาว

3. มีบทพรรณบาธรรมชาติ หรือบทชมความงามของบ้านเมือง 4. มีบทรักระหว่างเพศ หรือ บทอัศจรรย์แทรกอยู่เสมอ 5. มีบทสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ ฯลฯ

35. ลักษณะ “เข้าแบบ” หมายถึงอย่างไร

(1) มีโครงสร้างของเรื่องที่ชัดเจน (2) แต่งวรรณคดีได้อย่างวิจิตรบรรจง

(3) มีธรรมเนียมการแต่งตามบูรพาจารย์ (4.) แสดงความสามารถเชิงกวีอย่างเติมที่

ตอบ 3 หน้า 195 – 196 การแต่งวรรณคดีในลักษณะ “เข้าแบบ” หรือบางครั้งอาจเรียกว่า

“เหยียบความ” หมายถึง การแต่งที่เหมือนกันหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยจะนิยม ให้มีธรรมเนียมการแต่งตามบูรพาจารย์ แต่ถ้ากวีต้องการแสดงฝีมือหรือผีปากที่แท้จริงแล้ว จะใช้วิธีพรรณนาเรื่องเดียวกันให้มีกระบวนความแปลกและแตกต่างกันออกไปบ้าง

36. ถ้าเปรียบการแต่งวรรณคดีเหมือนการร้อยมาลัย เนื้อเรื่องจะเปรียบได้กับอะไร

(1) ดอกไม้ (2) เข็มร้อยมาลัย (3) ด้ายหรือเส้นไหม (4) ริบบิ้นตกแต่งมาลัย

ตอบ 3 หน้า 196 วรรณคดีร้อยกรองของไทยในอดีตมีลักษณะเป็นมัณฑนศิลป์ คือ ศิลปะในเชิง ตกแต่งประดับประดา หรือการประดิษฐ์ประดอยถ้อยคำ โดยกวีเปรียบเทียบถ้อยคำว่า ประดุจดอกไม้งาม ในขณะที่เนื้อเรื่องเปรียบประดุจด้ายหรือเส้นไหม ซึ่งร้อยเอาดอกไม้นั้น เป็นพวงมาลัยดอกไม้ที่ประดิษฐ์แล้วอย่างวิจิตรบรรจง ควรแก่การสวมไว้เหนือเศียร

37. “ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กวี ไว้เกียรติและไว้นามกร” ข้อความนี้ กวีแต่งวรรณคดีขึ้นเพื่ออะไร

(1) เพื่อฝากวรรณคดีให้อยู่คู่โลก

(2) เพื่อแสดงฝีมือเชิงกวีให้ประจักษ์

(3) เพื่อเน้นเกียรติยศของวงศ์ตระกูล

(4) เพื่อให้ผู้อ่านชื่นชมต่อไปภายหน้า

ตอบ 2 หน้า 147. 196 – 197 คำประพันธ์ข้างต้นมาจากวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ของนายชิต บุรทัต กวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งท่านได้แสดงจุดมุ่งหมายในการแต่งไว้ว่า เพื่อแสดงฝีมือ เชิงกวีให้ประจักษ์ไว้ในวงวรรณคดี และเพื่อเป็นเกียรติยศชื่อเสียง

38. ข้อความในข้อ 37. ข้างต้นนี้ น่าจะมาจากวรรณคดีเรื่องใด

(1) กากีคำกลอน (2) พระอภัยมณี (3) นิราศนรินทร์ (4) สามัคคีเภทคำฉันท์

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

39. ข้อใดไมใช่กวีโวหาร

(1) การเปรียบอุปมาอุปไมย (2) การใช้คำซ้ำหลายครั้ง (3) การใช้สัญลักษณ์ (4) การพูดเกินจริง

ตอบ 2 หน้า 199 กวีโวหาร ได้แก่ ภาพพจน์ซึ่งเป็นภาษาของอารมณ์ โดยกวีโวหารของวรรณคดีไทย ในอดีตมักจะกล่าวถึง 1. การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย 2. การพูดเกินจริง 3. การพูดน้อย กินความกว้าง 4. การใช้สัญลักษณ์ 5. การพูดอย่างหนึ่ง โดยมีเจตนาอีกอย่างหนึ่ง

40. ข้อใดไม่ใช่คุณค่าของวรรณคดี

(1) ให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน (2) ให้ความรู้เรื่องพิธีกรรมต่าง ๆ

(3) ให้เกิดความรู้ในการเอาตัวรอด (4) ให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์การเมือง

ตอบ 4 (คำบรรยาย) คุณคำของวรรณคดี มีดังนี้ 1. ให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน

2. ให้ได้รับความรู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ 3. ให้ได้รับความรู้ความคิด จากธรรมดาธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งแทนด้วยตัวละครในเรื่อง เช่น ความรู้เท่าทันคน ความรู้ ในการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ฯลฯ 4. ให้คติหรือแง่คิดทางศีลธรรม ฯลฯ

41. ข้อใดไม่ใช่เนื้อหาของวรรณคดีไทยในอดีต

(1) บทประกอบพิธีกรรม (2) บทสดุดีพระมหากษัตริย์

(3) บันทึกทางประวัติคาสตร์ (4) ปรัชญาเกี่ยวกับชีวิตและความตาย

ตอบ 4 หน้า 194 เนื้อหาของวรรณคดีไทยในอดีตจะจำกัดอยู่ในวงแคบ ดังนี้ 1. ศาสนาและคำสอน 2. เรื่องเล่า เช่น นิทาน บทพากย์โขน หนัง บทละครรำ 3. บทพรรณนา เช่น นิราศ 4 บทเพลง เช่น บทมโหรี 5. บทสดุดี ยอเกียรติพระมหากษัตริย์ 6. บทเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม เช่น บทกล่อมช้าง โองการแช่งน้ำ 7. บันทึกทางประวัติศาสตร์ พงศาวดาร และ จดหมายเหตุ 8. แบบเรียน 9. กฎหมาย (กฎมณเฑียรบาล) 10. ตำราบางเรื่อง

42. วรรณคดีเรื่องใดไม่มีบทไหว้ครู

(1) กำสรวลศรีปราชญ์ (2) สมุทรโฆษคำฉันท์ (3) อนิรุทธคำฉันท์ (4) นิราศเมืองเพชรบุรี

ตอบ 4 หน้า 135. (THA 3201 (TH 331) หน้า 113 – 114), (คำบรรยาย) พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีผลงานวรรณกรรมประเภทนิราศคำกลอนอยู่ 8 เรื่อง ซึ่งทั้งหมดจะดำเนินเรื่องทันที โดย ไม่มีบทไหว้ครู ได้แก่ 1. นิราศเมืองแกลง 2. นิราศพระบาท 3. นิราศภูเขาทอง 4. นิราศสุพรรณ 5. นิราศวัดเจ้าฟ้า 6. นิราศอิเหนา 7. นิราศพระประธม 8. นิราศเมืองเพชรบุรี

43. วรรณคดีเรื่องใดไม่ไม่รากฎชื่อผู้แต่ง

(1) ลิลิตโองการแช่งน้ำ

(2) ลิลิตยวนพ่าย

(3) ลิลิตตะเลงพ่าย

(4) ลิลิตนิทราชาคริต

ตอบ 2 หน้า 54 – 56 ลิลิตยวนพ่ายมีลักษณะดังนี้

1. แต่งเป็นลิลิต มีร่ายนำ (ร่ายดั้น) 60 วรรค และมีร่ายในระหว่างเรื่อง (ร่ายสุภาพ) อีก 10 วรรค รวมกับโคลงดั้นบาทกุญชรอีก 291 โคลง 2. กล่าวถึงการศึกสงครามระหว่างไทย (อยุธยา) ที่รบชนะเชียงใหม่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

3. เป็นลิลิตยอ/เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

4. ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและเวลาที่แต่งเอาไว้

44. ข้อไดมีความหมายตรงกับคำว่านิราศมากที่สุด

(1) บทพรรณนาเมื่อคนรักจากไป (2) บทพรรณนาเมื่อต้องพลัดพรากสมมุติ

(3) บทพรรณนาเมื่อต้องเดินทางท่องเที่ยว (4) บทพรรณนาเมื่อต้องจากสถานที่และหญิงที่รัก

ตอบ 4 หน้า 129 นิราศ หมายถึง บทประพันธ์พรรณนาความเมื่อต้องจากสถานที่และหญิงที่รักไป ซึ่งอาจเป็นบทพรรณนาความเมื่อผู้แต่งจากไปจริงก็มี ที่เป็นนิราศสมมุติแต่งคร่ำครวญถึงนางที่รักโดยไม่จากไปไหนก็มี และที่เอาเค้าเรื่องวรรณคดีมาแต่งเป็นบทคร่ำครวญของตัวละคร ที่จากกันก็มี

45. ข้อใดมีลักษณะของการพรรณนาความ

(1) โอ้แม่ฝรั่งข้างรั้ว แม่จะสุกคาขั้วคอยใคร อีกสักกี่เดือนกี่ปี แม่ถึงจะมีน้ำใจ

(2) ฝ่ายฟ้อนละครใน หริรักษจักรี โรงริมคีรีมี กลลับบ่แลชาย

(3) ลับแลเร่งแลลับ นกหว้าจับไปว่าวอน ชายใดได้ดวงสมร วานนกหว้าว่าขอคืน

(4) เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตรลบ ละอองอบรสรื่นชนนาสา สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์

ตอบ 4 หน้า 2, (ดูคำอธิบายข้อ 42. และ 44. ประกอบ) คำประพันธ์ในตัวเลือกข้อ 4 มาจากวรรณคดี เรื่องนิราศภูเขาทอง ของพระสุนทรโวหาร (ภู่) ซึ่งแสดงลักษณะของบทพรรณนาความตามแบบนิราศคำกลอนได้เป็นอย่างดี

46. จากข้อ 45. ตัวเลือกใด มีกวีโวหารในลักษณะของการเล่นคำอย่างชัดเจน

(1) ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (3) ข้อ 3 (4) ข้อ 4

ตอบ 3 หน้า 104 – 105, 166, 171 การเล่นคำ เป็นกลวิธีที่ให้ความไพเราะด้านเสียงอีกวิธีหนึ่ง

ซึ่งการซ้ำคำซ้ำความและเล่นอักษรล้วนช่วยให้เกิดเสียงเสนาะและให้ความรู้สึกในด้านความหมาย เช่น คำประพันธ์ในตัวเลือกข้อ 3 มาจากวรรณคดีเรื่องกาพย์นิราศพระบาท หรือกาพย์ห่อโคลง ประพาสธารโศก ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรฯ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งมีการเล่นคำด้วยการกล่าวซ้ำคำว่า “ลับ/แล/นกหว้า” ทำให้มีเสียงไพเราะ และยังได้ผลในการเน้นหรือย้ำความนั้นให้ชัดเจน ตระหนักยิ่งขึ้น เป็นการสร้างเอกภาพเน้นความนั้น

47. ข้อใดแสดงลักษณะของกวีที่แต่งวรรณคดีไทยในอดีตได้ชัดเจนที่สุด

(1) แสดงการเลียนแบบกวีในอดีตทั้งหมด

(2) แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนของกวีอยู่เสมอ

(3) แสดงการแข่งขันความสามารถเชิงกวีตลอดเวลา

(4) แสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

48. การเกลากลอน หมายถึงอย่างไร

(1) การแต่งด้วยคำกลอน (2) การแก้ไขให้ไพเราะขึ้น

(3) การวิพากษ์วิจารณ์คำประพันธ์ (4) การแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใดก็ได้

ตอบ 1 หน้า 161, (ลิลิตพระลอ หน้า 2) การเกลากลอน หมายถึง การแต่งด้วยคำกลอน ซึ่งใน ปัจจุบันเรียกว่าแต่งเป็นร้อยกรอง คือ วรรณกรรมประเภทที่มีลักษณะบังคับในการแต่ง หรือมีการกำหนดคณะ ทั้งนี้คำว่า “เกลากลอน” มีปรากฏในลิลิตพระลอ ดังโคลงที่ว่า “…เกลากลอนกล่าวกลการ กลกล่อมใจนา ถวายบำเรอท้าวไท้ ธิราชผู้มีบุญฯ”

49. ข้อใดเป็นวรรณศิลป์

(1) แสดงภาษาสุภาพไพเราะ

(2) แสดงเนื้อหาจรรโลงใจ

(3) แสดงภาพพจน์เปรียบเทียบ

(4) แสดงปรัชญาแง่คิดเรื่องชีวิต

ตอบ 3 หน้า 5, 7 – 33, 167 วรรณศิลป์ หมายถึง ศิลปะแห่งการเรียบเรียงถ้อยคำ อันประกอบไปด้วย ความรู้สึกสะเทือนใจและจินตนาการ และสร้างขึ้นเป็นรูปมีเรื่องราวเป็นรายละเอียดจนได้รับการยกย่อง โดยองค์ประกอบของวรรณศิลป์ ได้แก่

1. อารมณ์สะเทือนใจ

2. ความนึกคิดและ จินตนาการ เช่น การแสดงภาพพจน์โดยใช้โวหารเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย การใช้สัญลักษณ์ ฯลฯ

3. การแสดงออก

4. ท่วงทำนองแต่งหรือสไตล์

5. เทคนิคหรือกลวิธี

6. องค์ประกอบ

50. ข้อใดแสดงลักษณะโดดเด่นของคำประพันธ์บทนี้

“เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น” มากที่สุด

(1) เสียงสัมผัสสระสั้นยาวจัดวางอย่างไพเราะ (2) มีจังหวะและเสียงของคำสอดคล้องกับเนื้อหา

(3) มีการใช้คำที่เหมาะสมกับอารมณ์ของกวี (4) เสียงสัมผัสพยัญชนะสอดคล้องกับสัมผัสสระ

ตอบ 2 หน้า 33, 164 คำประพันธ์ข้างต้นมาจากวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ของนายชิต บุรทัต ตอนพระเจ้าอชาตคัตรูกริ้ววัสสการพราหมณ์ที่ทัดทานมิให้พระองค์ยกทัพไปลิจฉวี โดยผู้แต่ง ได้ใช้อิทีสังฉันท์ที่มีครุลหุสลับกันอย่างกระชั้น ทำให้มีลีลาจังหวะและเสียงของคำสอดคล้อง กับเนื้อหา คือ มีเสียงหนักเบากระชั้นกระชากเหมาะแก่การแสดงอารมณ์โกรธ

51. เหตุผลข้อใดที่นักวรรณคดีไทยตั้งต้นยุคสมัยวรรณคดีไทยเพียงสมัยสุโขทัยเท่านั้น

(1) ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์กรณีสมัยพระเจ้าปราสาททอง

(2) ก่อนสมัยสุโขทัยคนไทยยังอยู่ในระยะตั้งตัว

(3) อุปกรณ์การเขียนยังไม่ถาวรนัก

(4) ทั้ง 3 เหตุผลรวมกัน

ตอบ 4 หน้า 39 – 40 สาเหตุที่นักวรรณคดีไทยตั้งต้นยุคสมัยวรรณคดีไทยเพียงแค่สมัยสุโขทัยเท่านั้น มีดังนี้

1. ในสมัยก่อนสุโขทัยคนไทยยังอยู่ในระยะตั้งตัว จึงทำให้ไม่มีเวลาสร้างหรือเก็บรักษาวรรณกรรม

2. อุปกรณ์การเขียนยังไม่ถาวรนัก เช่น กระดาษ และมีศัตรูตามธรรมชาติช่วยทำลายหนังสือ

3. การศึกสงครามทำให้ชาติไทยต้องสูญเสียวรรณกรรมไปมาก

4. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์กรณีสมัยพระเจ้าปราสาททอง ทำให้ประชาชนเอาหนังสือไปทิ้งน้ำ

5. การศึกษายังอยู่ในวงแคบ คนที่รู้หนังสือมีน้อย

52. การแบ่งวรรณคดีไทยใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์

(1) เมืองหลวง (2) ราชวงศ์ (3) แบ่งตามยุค (4) ไม่กำหนดตายตัว

ตอบ 1 หน้า 41 – 43 การแบ่งสมัยวรรณคดีไทยมีอยู่หลายแบบ แต่ลงรอยกันโดยถือเอาเมืองหลวง หรือนครหลวงเป็นจุดศูนย์กลาง เรียกว่า แบ่งตามนครหลวง หรือแบ่งตามสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ 4 สมัย ดังนี้ 1. สมัยกรุงสุโขทัย 2. สมัยกรุงศรีอยุธยา 3. สมัยกรุงธนบุรี 4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หรือกรุงเทพฯ

53. ตำราเรียนกระบวนวิชา THA 1002 กำหนดให้นักศึกษาเรียนวรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัยกี่เรื่อง

(1)4 เรื่อง (2) 5 เรื่อง (3) 6 เรื่อง (4) 7 เรื่อง

ตอบ 2 หน้า 43, 49, 64 ตำราเรียนกระบวนวิชา THA 1002 (TH 102) กำหนดให้นักศึกษา เรียนวรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัยจำนวน 5 เรื่อง ได้แก่

1. ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ร้อยแก้ว)

2. ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง (ร้อยแก้ว)

3. สุภาษิตพระร่วง หรือบัญญัติพระร่วง (ร้อยกรอง)

4. ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา (ร้อยแก้ว)

5. นางนพมาศหรือเรวดีนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (ร้อยแก้ว)

54. วรรณคดีสมัยสุโขทัยเรืองใดแต่งเป็นร้อยกรอง

(1) ไตรภูมิพระร่วง (2) ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

(3) นางนพมาศ (4) สุภาษิตพระร่วง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 53. ประกอบ

55. วรรณคดีสมัยสุโขทัยเรื่องใดอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิทยานิพนธ์เล่มแรกของไทย

(1) ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

(2) ไตรภูมิพระร่วง

(3) ศิลาจารีกวัดป่ามะม่วง

(4) นางนพมาศ

ตอบ 2 หน้า 46 – 48. (คำบรรยาย) ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา เป็นงานพระราชนิพนธ์ของพญาลิไทยที่จัดเป็นวรรณคดีศาสนา และมีลักษณะเป็นงานค้นคว้า รวบรวมความรู้จากคัมภีร์ ต่าง ๆ ในพุทธศาสนาถึง 30 คัมภีร์ จึงนับได้ว่าเป็นวิทยานิพนธ์เล่มแรกของไทย โดยมีสารัตถะ สำคัญอยู่ที่แนวความคิดและความเชื่อถือของคนโบราณที่ใช้จินตนาการสร้างนรกและสวรรค์ขึ้น เพื่อช่วยควบคุมความประพฤติให้คนละชั่วและจูงใจให้ทำความดี จึงถือเป็นคู่มือสำคัญในการ สอนศีลธรรม และสกัดกั้นความประพฤติผิดของบุคคลในสังคมตลอดมาเป็นเวลานาน

56. ข้อใดกล่าวถึงสุภาษิตพระร่วงไม่ถูกต้อง

(1) เป็นภาษิตไทยแท้

(2) แสดงค่านิยมของคนไทยในอดีต

(3) เข้าใจว่าแต่งหลังสมัยสุโขทัยมาก

(4) ใช้คำยากและรูปประโยคต่างจากจารึกพ่อขุนราม

ตอบ 4 หน้า 45 – 46, (คำบรรยาย) สุภาษิตพระร่วง หรือบัญญัติพระร่วง มีลักษณะดังนี้

1. เขียนเป็นทำนองสั่งสอน (Didactic Poetry) เกี่ยวกับข้อประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสม กับบุคคลและสถานที่ 2. แต่งเป็นร้อยกรองทั้งเรื่อง 3. เข้าใจว่าแต่งหลังสมัยสุโขทัยมาก 4. รูปประโยคคล้ายหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นคำง่าย ข้อความไม่ซับซ้อน

5. เป็นภาษิตไทยแท้ 158 บท 6. มีคุณค่าแสดงถึงอุดมคติและค่านิยมของสังคมไทยในอดีต ฯลฯ

57. ไตรภูมิพระร่วงมีสารัตถะตรงกับข้อใด

(1) ให้ละชั่วทำความดี (2) อ้างนรกให้คนกลัว (3) เอาสวรรค์มาล่อ (4) เชื่อถือไม่ได้

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ

58. วรรณคดีเรื่องใดที่ถือว่าเป็นต้นแบบทางวัฒนธรรมและประเพณีของไทย

(1) ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง 12) สุภาษิตพระร่วง

(3) ไตรภูมิพระร่วง (4) นางนพมาศ

ตอบ 4 หน้า 48 – 49, (คำบรรยาย) นางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีเนื้อเรื่องตอนต้นกล่าวถึงมนุษยชาติ และกล่าวถึงกำเนิดนางนพมาศ การถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน พิธีต่าง ๆ ที่ทำกันอยู่เป็นประเพณีในกรุงสุโขทัยตลอดเวลา 9 เดือน และกล่าวถึงวัตรปฏิบัติอันควรประพฤติ ของข้าราชการฝ่ายในทั้งโดยตรงและโดยวิธีใช้นิทานเปรียบเทียบเชิงสอน ดังนั้นจึงถือเป็น วรรณคดีต้นแบบที่เป็นแบบแผนทางวัฒนธรรมและประเพณีให้กับสังคมไทยในสมัยต่อมา

59. วรรณคดีเรื่องใดที่แต่งเป็นทำนองสั่งสอนที่เรียกว่า “Didactic Poetry”

(1) ศิลาจารีกวัดป่ามะม่วง (2) สุภาษิตพระร่วง

(3) ไตรภูมิพระร่วง (4) ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ

60. ข้อไดกล่าวถึงลิลิตโองการแช่งน้ำไม่ถูกต้อง

(1) เลิกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2475

(2) เป็นวรรณคดีประเภทลิลิตเรื่องแรกของไทย

(3) ใช้ในพิธีแช่งน้ำที่ไทยรับมาจากอินเดียโดยตรง

(4) เนื้อความสาปแช่งผู้ทรยศและให้ศีลให้พรผู้จงรักภักดี

ตอบ 3 หน้า 50-51, (คำบรรยาย) ลิลิตโองการแช่งน้ำ มีลักษณะดังนี้

1. เชื่อกันว่าแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)

2. เป็นวรรณคดีประเภทลิลิตเรื่องแรกของไทย

3. มีวัตถุประสงค์การแต่งเพื่อประโยชน์ทางการเมืองการปกครอง

4. ใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่งเป็นพิธีแช่งน้ำที่ไทยรับมาจากขอมโดยตรง และเลิกใช้ไปเมื่อปี พ.ศ. 2475

5. เนื้อเรื่องขึ้นต้นด้วยคำว่า “โอม” เป็นการกราบไหว้เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู คือ “ตรีมูรติ” หมายถึง พระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม ดังตัวอย่างตอน ไหว้พระนารายณ์ที่ว่า “โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น…”

6. เนื้อความตอนท้ายเป็นการสาปแช่งผู้ทรยศและให้ศีลให้พรผู้จงรักภักดี ฯลฯ

61. คำว่า “โอม” มีความหมายตามข้อใด

(1) พระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหม

(2) สวรรค์ มนุษย์ นรก

(3) พระอินทร์ พระพรหม พระนารายณ์

(4) พระนารายณ์ พระศิวะ พระอิศวร

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ

62. ลิลิตโองการแช่งน้ำนักวรรณคดีเชื่อว่าแต่งขึ้นมาสมัยใด

(1) พระเจ้าทรงธรรม

(2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(3) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

(4) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ

63. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการแต่งลิลิตโองการแช่งน้ำ

(1) การเมืองการปกครอง

(2) เครื่องมือสอนศีลธรรม

(3) ความเชื่อที่มนุษย์มีต่อไสยศาสตร์

(4) พิธีสงฆ์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ

64. ข้อความต่อไปนี้ “โอมสิทธิสรวงศรแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุธมาขี่” เป็นคำกล่าวบูชาเทพเจ้าองค์ใด

(1) พระอิศวร (2) พระพรหม (3) พระนารายณ์ (4) พระยม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ

65. ข้อใดกล่าวถึงมหาชาติคำหลวงไม่ถูกต้อง

(1) แต่งเป็นร่ายยาว

(2) ใช้สำหรับสวดเข้าทำนองหลวง

(3) แต่งในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(4) เนื้อเรื่องกล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์

ตอบ 1 หน้า 56 – 57, (คำบรรยาย) มหาชาติคำหลวง เป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นในรัชสมัยของ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นประมุขในการแต่ง โดยมีการประชุมนักปราชญ์ ราชบัณฑิตและพระเถระผู้ใหญ่ร่วมกันแต่งเพื่อใช้สำหรับสวด (ไมใช่เทศน์) เข้าทำนองหลวง ให้อุบาสกและอุบาสิกาฟัง แต่งด้วยคำประพันธ์หลายชนิดปนกัน จึงจัดเป็นบทร้อยกรองที่มี ลักษณะครบทั้งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ และร่าย ส่วนเนื้อหานั้นจะเป็นเรื่องราวของการบำเพ็ญทานบารมี ทานอุปบารมี และทานปรมัตถบารมีในพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ หรือที่ เรียกว่า “มหาชาติ” (ชาติที่ยิ่งใหญ่ คือ การเป็นพระเวสสันดร)

66. ข้อใดกล่าวถึงลิลิตยวนพ่ายผิดจากความเป็นจริง

(1) ลักษณะคำประพันธ์เป็นร่ายสุภาพกับโคลงสี่สุภาพ (2) ยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(3) เรื่องการรบระหว่างอยุธยากับเชียงใหม่ (4.) ผู้แต่งและเวลาที่แต่งไม่ชัดเจน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

67. วรรณคดีสโมสรยกย่องวรรณคดีเรื่องใดว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทลิลิต

(1) ลิลิตโองการแช่งน้ำ

(2) ลิลิตยวนพ่าย

(3) ลิลิตพระลอ

(4) ลิลิตตะเลงพ่าย

ตอบ 3 หน้า 55, 57 – 58, 65, 134 วรรณคดีสโมสรได้ตัดสินเมื่อปี พ.ศ. 2459 ยกย่องว่า ลิลิตพระลอ ถือเป็นยอดในกระบวนกลอนลิลิตทั้งหลาย ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทาน อธิบายเหตุที่ยกย่องลิลิตพระลอว่ายอดเยี่ยมเป็นใจความโดยสรุปว่า ลิลิตพระลอดีโดย สำนวนโวหารการแต่ง และยังได้เปรียบลิลิตยวนพ่ายและลิลิตตะเลงพ่ายในด้านเนื้อเรื่อง เพราะลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีเพื่อความบันเทิงใจเรื่องแรกที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งผู้แต่งจะพรรณนาให้จับใจอย่างไรก็ได้ ไม่เหมือนกับลิลิตยวนพ่ายและลิลิตตะเลงพ่ายที่เป็น เรื่องพงศาวดารและเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ จะแต่งให้หรูหราออกไปนอกเรื่องไม่ได้

68. วรรณคดีเรื่องใดไม่ใช่วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ

(1) ลิลิตยวนพ่าย (2) ลิลิตตะเลงพ่าย (3) ลิลิตพระลอ (4)ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69. วรรณคดีเพื่อความบันเทิงใจเกิดขึ้นครั้งแรกสมัยใด

(1) สุโขทัย (2)อยุธยาตอนต้น (3) อยุธยาตอนกลาง (4) อยุธยาตอนปลาย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

70. วรรณคดีเรื่องใดเกิดขึ้นสมัยพระเจ้าทรงธรรม

(1) โคลงนิราศนครสวรรค์ (2) ปุณโณวาทคำฉันท์

(3) มหาชาติคำหลวง (4) กาพย์มหาชาติ

ตอบ 4 หน้า 66 – 67, (คำบรรยาย) ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมมีวรรณคดีที่ปรากฏหลักฐานว่าเกิดขึ้น ในสมัยของพระองค์อยู่เพียงเรื่องเดียว คือ กาพย์มหาชาติ ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราขานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์อธิบายไว้ในการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ค. 2459 ว่า “ข้าพเจ้าเข้าใจว่าประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมระหว่าง พ.ค. 2145 – 2170 ด้วยมีเนื้อความในพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่าในแผ่นดินนั้นได้แต่งมหาชาติคำหลวงอีกครั้งหนึ่ง…’’

71. คำประพันธ์ประเภทใดได้รับความนิยมอย่างยิ่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

(1) โคลงสี่สุภาพ (2) ฉันท์ (3) ร่ายยาว (4) กาพย์ห่อโคลง

ตอบ 1 หน้า 59, 68 – 69, 92 – 93 ความเจริญด้านร้อยกรองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ กวีมักจะนิยมแต่งฉันท์และโคลงสี่สุภาพมากกว่าลักษณะการแต่งอย่างอื่นโดยเฉพาะโคลงสี่สุภาพ จะนิยมแต่งกันอย่างแพร่หลายและเจริญเด่นที่สุด จนแม้แต่สตรีซึ่งถือกันว่ามีการศึกษาน้อย และ ไม่มีความสามารถในการแต่งหนังสือ หรือนายประตูพระราชวังก็สามารถแต่งโคลงกันได้เป็นอย่างดี

72. เรื่องใดเป็นบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

(1) โคลงตรีพิธประดับ

(2) เสือโคคำฉันท์

(3) สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนต้น

(4) โคลงท้าวทศรถสอนพระราม

ตอบ 4 หน้า 69, 71 – 72 งานพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มี 4 เรื่อง คือ

1. สมุทรโฆษคำฉันท์ (ตอนกลาง)

2. โคลงสุภาษิต 3 เรื่อง คือ โคลงท้าวทศรถสอนพระราม โคลงพาลีสอนน้อง และโคลงราชสวัสดิ์

3. เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา 4. โคลงเบ็ดเตล็ด

73. วรรณคดีเรื่องใดมีประวัติการแต่งที่ยาวนานที่สุดในการแต่งวรรณคดีของไทย

(1) สมุทรโฆษคำฉันท์

(2) เสือโคคำฉันท์

(3) รามเกียรติ์

(4) อนิรุทธคำฉันท์

ตอบ 1 หน้า 76 – 77 สมุทรโฆษคำฉันท์เป็นวรรณคดีที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของวรรณคดีประเภทคำฉันท์ นอกจากนี้ยังมีประวัติที่พิสดาร ดังนี้

1. มีกวีสำคัญต่างสมัยแต่งต่อกันถึง 3 คน นับเป็น 3 สำนวน และนับเวลาเริ่มต้นจนแต่งจบ ได้ประมาณ 2 ศตวรรษ จึงนับเป็นวรรณคดีไทยที่มีประวัติการแต่งยาวนานมากที่สุด

2. มีวัตถุประสงค์การแต่งเพื่อใช้เป็นบทพากย์หนังใหญ่ จึงมีการดำเนินเรื่องตามแบบ การเล่นหนังใหญ่ในสมัยนั้น

74. พระโหราธิบดีแต่งจินดามณีโดยมีวัตถุประสงค์ตามข้อใด

(1) เพื่อสดุดียอพระเกียรติ (2) เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม

(3) เพื่อใช้สอนความประพฤติของปวงชน (4) เพื่อใช้เป็นตำราและสารคดี

ตอบ 4 หน้า 70, 79, 92 วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางมีเนื้อเรื่องแบ่งตามวัตถุประสงค์การแต่งดังนี้

1. เพื่อเล่าเรื่องทำนองนิทาน (ทางศาสนา) เช่น เสือโคคำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์ ฯลฯ

2. เพื่อสอนใจสอนความประพฤติ เช่น โคลงพาลีสอนน้อง ฯลฯ

3. เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมโดยเฉพาะ เช่น ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ฯลฯ

4. เพื่อสดุดียอพระเกียรติ เช่นโคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์ ฯลฯ

5. เพื่อใช้เป็นนิราศคร่ำครวญแสดงความรู้สึกของกวี เช่น โคลงทวาทศมาส ฯลฯ

6. เพื่อใช้เป็นสารคดีและตำรา เช่น พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ และแบบเรียนจินดามณี ของพระโหราธิบดี ฯลฯ

75. เรื่องใดเป็นวรรณคดีทีแต่งขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมโดยเฉพาะ

(1) จินดามณี (2) ฉันท์กล่อมช้าง (3) โคลงทวาทศมาศ (4) โคลงพาลีสอนน้อง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76. กาพย์เจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยใด

(1) สมัยอยุธยาตอนต้น (2) สมัยอยุธยาตอนกลาง

(3) สมัยอยุธยาตอนปลาย (4) สมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง

ตอบ 3 หน้า 95, 110 – 111 วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย สรุปได้ดังนี้

1. จำนวนกวีและวรรณคดีน้อยกว่าสมัยอยุธยาตอนกลาง แต่มีกวีสตรีและพระภิกษุซึ่งมีฝีปากดีเยี่ยม

2. ลักษณะการแต่งมีครบทุกอย่าง โดยเฉพาะกาพย์และกลอนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด

3. การละครเจริญทั้งบทและวิธีแสดง

4. เนื้อเรื่องขยายออกโดยรับเอาเรื่องอิเหนาจากชวามา

5. ต้นฉบับขาดสูญไม่ครบตลอดเรื่องเป็นส่วนมาก ฯลฯ

77. กวีสมัยอยุธยาตอนปลายท่านใดที่มีผลงานไม่มาก แต่ได้รับการยกย่องว่ามีโวหารเชิงเปรียบเทียบอย่างยอดเยี่ยม

(1) เจ้าฟ้าอภัย (2) เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรฯ

(3) พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (4) พระมหานาควัดท่าทราย

ตอบ 4 หน้า 108 – 109 พระมหานาควัดท่าทราย เป็นกวีสมัยอยุธยาตอนปลายที่เป็นบรรพชิต

โดยผลงานของท่านมีไม่มากนัก ได้แก่ 1. บุณโณวาทคำฉันท์ เป็นฉันท์ที่ได้รับคำยกย่องเป็น อันมากจากผู้อ่าน เพราะได้พรรณนาความเกี่ยวกับประวัติและงานฉลองสมโภชพระพุทธบาท ที่สระบุรี 2. โคลงนิราศพระพุทธบาท ซึ่งได้รับการยกย่องว่าดีเยี่ยมเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะ โวหารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย

78. วรรณคดีเรื่องใดที่กล่าวถึงการมาตรัสรู้ของพระศรีอาริยเมตไตรยในอนาคตกาล

(1) ปุณโณวาทคำฉันท์ (2) มหาชาติคำหลวง

(3) นันโทปนันทสูตรคำหลวง (4) พระมาลัยคำหลวง

ตอบ 4 หน้า 103 – 104, (คำบรรยาย) พระมาลัยคำหลวง เป็นงานพระนิพนธ์ทางด้านศาสนาของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรฯ โดยได้เค้าเรื่องมาจากคัมภีร์มาเลยสูตร ซึ่งเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงพระอินทร์ และพระธรรมเทศนา (คำสอน) ของพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ คือ พระศรีอาริย์ (พระศรีอาริยเมตไตรย)ที่ลงมาตรัสรู้สั่งสอนประชาชนในอนาคตกาล จึงนับเป็นเรื่องที่ถูกใจคนไทย เพราะแม้จะเป็น คติข้างมหายาน แต่นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสั่งสอนให้คนอยู่ใบศีลธรรมอันดี ละเว้นความชั่วด้วยความเชื่อว่าจะได้ประโยชน์สุขภายหน้า

79. เจ้าฟ้ากุณฑล เจ้าฟ้ามงกุฎ สร้างสรรค์วรรณคดีเรื่องใดไว้

(1) กาพย์ห่อโคลง

(2)ดาหลัง อิเหนา

(3) กลบทศิริวิบุลภิติ

(4) โคลงชลอพระพุทธไสยาสน์

ตอบ 2 หน้า 107 – 108, 111, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็นผู้นิพนธ์บทละครรำเรื่องอิเหนาเป็นครั้งแรก โดยรับเอาเค้าเรื่อง จากชวามานิพนธ์ขึ้นพระองค์ละเรื่อง กล่าวคือ เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) และเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนาเล็ก (อิเหนา)

80. ข้อใดกล่าวถึงหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) ไม่ถูกต้อง

(1) เป็นต้นแบบแนวทางแต่งของสุนทรภู่ (2) นิยมแต่งกลอนที่ยากสลับซับช้อน

(3) คิริวิบุลกิติแต่งเป็นกลอนกลบท 86 ชนิด (4) นิยมแต่งเป็นกลอนกลบท

ตอบ1 หน้า 109 หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) เป็นกวีในสมัยอยุธยาตอนปลายที่แต่งเรื่องศิริวิบุลกิติ

เป็นกลอนกลบททั้งสิ้น 86 ชนิด ไม่มีกลอนธรรมดาเลย ซึ่งวิธีการแต่งกลอนกลบทเป็นเรื่องยาว ตลอดทั้งเรื่องนี้ถือเป็นวิธีที่ยากและซับช้อน เพราะมีการเพิ่มข้อบังคับในการแต่งให้มากขึ้น กว่าการแต่งกลอนธรรมดา ทำให้แต่งยากขึ้น และเป็นทางแสดงฝีมือของผู้แต่งได้มากขึ้น

81. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวรรณคดีในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

(1) เริ่มฟื้นฟูให้แต่งวรรณคดีขึ้นใหม่ (2) ดำรงลักษณะวรรณคดีเก่าให้คงอยู่

(3) รวบรวมวรรณคดีเก่าไว้อีกครา (4) ทุกเรื่องแต่งขึ้นอย่างดีมีศิลปะ

ตอบ 4 หน้า 112 – 116, (THA 3201 (TH 331) หน้า 22, 34) ลักษณะของวรรณคดีในสมัย

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีดังนี้ 1. ช่วงระยะเวลาการแต่งวรรณคดีมีระยะสั้นเพียง 15 ปี

2. มีวรรณคดีประมาณ 5 เรื่อง แต่งเป็นร้อยกรองทุกฉบับ

3. พระมหากษัตรีย์ทรงต้องการเก็บรวบรวมวรรณคดีเก่าไว้อีกวาระหนึ่ง

4. บทร้อยกรองสมัยนี้มิใช่เรื่องที่มีศิลปะการแต่งที่ดีเด่นนัก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่าได้เริ่มฟื้นฟู การแต่งวรรณคดีขึ้นใหม่ และดำรงลักษณะวรรณคดีเก่าให้คงอยู่ ฯลฯ

82. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ มีนัยยะในเรื่องใด

(1) ความรักแท้ (2) ความยุติธรรม (3) ความซื่อสัตย์ (4) ความแม่นยำทางกฎหมาย

ตอบ 2 หน้า 112- 114 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชนิพนธ์บทละครรำเรื่องรามเกียรติ์ ไว้ 4 ตอน (แต่ทั้ง 4 ตอนนี้เป็นตอนท้ายของเรื่องรามเกียรติ์) คือ

1. ตอนพระมงกุฎ

2. ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานรินทร์ (นางวานรินทร์เป็นนางฟ้าถูกสาป ต้องคอยบอกทางให้ หนุมานไปฆ่าวิรุณจำบัง จึงจะพ้นคำสาป)

3. ตอนท้าวมาลีวราชว่าความด้วยความเที่ยงตรง ให้โจทก์จำเลย (เหมาะที่จะเป็นคติธรรมด้านความยุติธรรมและสำหรับผู้พิพากษามากที่สุด)

4. ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรดและปลุกเสกหอกกบิลพัสดุ

83. บทละครในข้อ 82. เป็นผลงานของใคร

(1) สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (2) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ

(3) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (4) เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84. วรรณคดีเรื่องใดเป็นส่วนหนึ่งของนิทานเวตาล

(1) ลิลิตเพชรมงกุฎ (2) ลิลิตตะเลงพ่าย (3) ลิลิตศรีวิชัยชาดก (4) ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง

ตอบ 1 หน้า 114 – 115 ลิลิตเพชรมงกุฎ ของหลวงสรวิชิต (เจ้าพระยาพระคลัง หน) ซึ่งเป็นกวี

ในสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะการแต่งเป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพและร่ายสุภาพ โดยเนื้อเรื่องกล่าวถึงนิทานที่เวตาลเล่าถวายท้าววิกรมาทิตย์

85. วรรณคดีในข้อ 84. เป็นผลงานของใคร

(1) สุนทรภู่

(2) หลวงสรวิชิต

(3) นายสวนมหาดเล็ก

(4) พระมหามนตรี (ทรัพย์)

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 84. ประกอบ

86. “คนไทยรบพม่าไป แต่งรามเกียรติ์ไป” เป็นคำกล่าวในรัชสมัยใด

(1) พระเจ้ากรุงธนบุรี

(2) รัชกาลที่ 1

(3) รัชกาลที่ 2

(4) รัชกาลที่ 3

ตอบ1 หน้า 112 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกู้อิสรภาพได้สำเร็จในปีที่เสียกรุงแก่พม่าเมื่อ

ปี พ.ศ. 2310 การวรรณคดีของเรากลับตั้งตัวได้ใหม่ ประกอบกับความสนพระทัยของพระองค์ จึงได้มีการเริ่มแต่งหนังสือขึ้นใหม่ในระหว่างการฟื้นตัวและกู้เอกราช จนอาจารย์เจือ สตะเวทิน ได้กล่าวว่า “คนไทยรบพม่าไป แต่งรามเกียรติ์ไป’’

87. ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีจุดมุ่งหมายใดในการแต่งรามเกียรติ์

(1) เพื่อใช้เล่นละคร (2) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

(3) เพื่อรวบรวมเรื่องให้สมบูรณ์ (4) เพื่อแสดงความสามารถของกวี

ตอบ 3 หน้า 119 – 120 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ (รัชกาลที่ 1) ทรงมีพระเจตนาที่จะ

รวบรวมเรื่องรามเกียรติ์อันเป็นเรื่องขนาดยาวเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมดเพื่อให้เป็นฉบับที่สมบูรณ์ มากกว่าที่จะใช้เป็นบทละคร ฝีพระโอษฐ์อยู่ในขั้นปานกลาง โดยพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ผู้มี ความสามารถในการแต่งแบ่งกันแต่งเป็นตอนๆ ไป ทรงพระราชนิพนธ์เองบ้างและทรงแก้ไข ทักท้วงข้อความของผู้อื่น จึงได้รับถวายพระเกียรติยศว่าเป็นผู้ทรงพระราชนิพนธ์

88. วรรณคดีประเภทใดได้รับความนิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 2

(1) บทเสภา (2) บทละคร (3) บทเห่เรือ (4) บทกลอนมโหรี

ตอบ 2 หน้า 128, 132 รัชกาลที่ 2 ทรงมีความสนพระทัยในวรรณคดีประเภทการละครเป็นอย่างยิ่งโดยพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทละครไว้หลายเรื่อง ทั้งที่เป็นเรื่องทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ และที่ปรับปรุงของเก่า ทำให้ในระหว่างรัชกาลของพระองค์ วรรณคดีไทยโดยเฉพาะด้านบท ละครรำเจริญเฟื่องฟูมาก และได้รับความนิยมมากกว่าประเภทอื่น

89. ความเคลื่อนไหวใดไม่ได้เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3

(1) เกิดกวีหญิง (2) เกิดวรรณกรรมลื่อสารมวลชน

(3) เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (4) เกิดวรรณคดีที่ใช้ฉากต่างประเทศ

ตอบ 4 หน้า 137 – 142, 148 – 149 ความเคลื่อนไหวทางวรรณคดีในสมัยรัชกาลที่ 3 มีดังนี้

1. จารึกวัดโพธิ์ ซึ่งถือเป็นสถานที่ให้วิชาความรู้แก่ผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ตามอัธยาศัยด้วยตนเอง เป็นทำนองมหาวิทยาลัยเปิดในปัจจุบัน

2. การเกิดวรรณกรรมสื่อสารมวลชนขึ้นเป็นครั้งแรก โดยบาทหลวงชาวอเมริกันชื่อหมอบรัดเลย์ ได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย คือ บางกอกรีคอร์เดอร์ เมื่อ พ.ศ. 2387 แต่ออกได้ ไม่นานก็เลิกไป

3. มีกวีสตรีเกิดขึ้น ได้แก่ คุณพุ่ม (มีฉายาว่า “บุษบาท่าเรือจ้าง”) และคุณสุวรรณ ฯลฯ (ส่วนวรรณคดีที่ใช้ฉากต่างประเทศในการบรรยายเรื่องเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4)

90. วรรณกรรมเรื่องใดมีที่มาแตกต่างจากเรื่องอื่น

(1) สามก๊ก (2) ไซฮั่น (3) ราชาธิราช (4) ระเด่นลันได

ตอบ 4 หน้า 119, 124 – 125, 128, 140, 184 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เริ่มมีวรรณคดีร้อยแก้ว เพื่อความบันเทิงขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการแปลพงศาวดารต่างประเทศ 3 เรื่อง ได้แก่

1. สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลจากพงศาวดารจีน

2. ราชาธิราช เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลจากพงศาวดารมอญ

3. ไซฮั่น กรมพระราชวังหลังทรงอำนวยการแปลจากพงศาวดารจีน

(ส่วนเรื่องระเด่นลันได ของพระมหามนตรี (ทรัพย์) เป็นบทประพันธ์ล้อเลียนวรรณคดีเก่า)

91. วรรณคดีประเภทใดตรงกับคำกล่าวนี้ “เขียนเป็นร้อยกรองเกี้ยวกันระหว่างชายหญิง”

(1) นิราศ

(2) เสภา

(3) เพลงยาว

(4) บทดอกสร้อย

ตอบ 3 หน้า 107, 128 – 129 เพลงยาว เป็นบทประพันธ์ร้อยกรองเกี้ยวกันระหว่างหญิงชายถือเป็นนิพนธ์ศิลป์ที่เป็นสื่อของความรัก มีบทฝากรัก ชมโฉม ตัดพ้อ พรรณนาความอาลัย หรือแสดงความหมดหวัง โดยมีลักษณะการแต่งเป็นกลอนแปด (บางทีเรียกกลอนเพลงยาว)ขึ้นต้นด้วยวรรครับ คือ ขึ้นต้นด้วยวรรคทางขวามือ

92. พระมหามนตรี (ทรัพย์) แต่งวรรณคดีในลักษณะใด

(1) ล้อเลียนวรรณคดีเก่า (2) แสดงความตลกขบขัน

(3) สอบศาสนาและศีลธรรม (4) แสดงภูมิหลังทางวรรณกรรม

ตอบ 1 หน้า 140, (THA 3201 (TH 331) หน้า 156) พระมหามนตรี (ทรัพย์) เป็นกรีสมัยรัชกาลที่ 3 ที่มีชื่อเสียงมากเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว และนับเป็นผู้ที่ก้าวหน้าเกินยุคสมัยในด้านการแต่งกลอนทำนอง เสียดสี (Satire) คือ เพลงยาวแคะได้พระยามหาเทพ (ทองปาน) และบทประพันธ์ล้อเลียน วรรณคดีเก่า (Parody) คือ เรื่องระเด่นลันได ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อล้อเลียนวรรณคดีเรื่องอิเหนา โดย นอกจากกระบวนกลอนจะดีอย่างยิ่งแล้ว ยังได้แสดงอารมณ์ขันและบทล้อเลียนอันแยบยลอีกด้วย

93. วรรณคดีในข้อ 92. คือเรื่องใด

(1) พระมะเหลเถไถ (2) พระอภัยมณี (3) ลิลิตพระลอ (4) ระเด่นลันได

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. วรรณคดีเรื่องใดที่ผู้แต่งถูกกล่าวว่าเป็นผู้เสียจริต

(1) ระเด่นลันได (2) พระมะเหลเถไถ (3) กากีคำกลอน (4) สาวิตรี

ตอบ 2 หน้า 140, (THA 3201 (TH 331) หน้า 158 – 161) คุณสุวรรณ เป็นกวีสตรีในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นศิษย์ของสุนทรภู่ ต่อมาท่านได้เสียจริตแต่เขียนกลอนที่อ่านในเชิงขบขันกันทั่วบ้านทั่วเมือง คือ บทประพันธ์ล้อเลียนวรรณคดีเก่า (Parody) เรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง และพระมะเหลเถไถ ซึ่งเข้าใจ ว่าแต่งในสมัยรัชกาลที่ 4 นอกจากนี้ยังมีกลอนเพลงยาวทำนองเสียดสี (Satire) คือ เพลงยาว จดหมายเหตุเรื่องกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพประชวร และกลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 95-98

(1) Vendetta (2) Madame Butterfly (3) The Apple Tree (4) The Necklace

95. ข้อใดสัมพันธ์กับวรรณกรรมไทยเรื่องความพยาบาท

ตอบ 1 หน้า 144, 151, 156,(คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดนวนิยายแปลเรื่องแรกของไทย คือ เรื่องความพยาบาท ของแม่วัน (พระยาสุรินทรราชา) ซึ่งเป็นเรื่องแปลมาจากเรื่อง Vendetta ของ Marie Corelli นักเขียนสตรีชาวอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2443 และต่อมาเรื่องความพยาบาท ก็ได้ลงตีพิมพ์ในหนังสือประเภทนิตยสารชื่อ “ลักวิทยา” โดยมีพระราชวรวงศ์เธอ พระองศ์เจ้า- รัชนีแจ่มจำรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) เป็นผู้ดำเนินการ

96. ข้อใดสัมพันธ์กับวรรณกรรมไทยเรื่องสร้อยคอที่หาย

ตอบ 4 หน้า 146, 151, 158, (คำบรรยาย) เรื่องสั้นแปลเรื่องแรกของไทย คือ เรื่องสร้อยคอที่หาย เป็นผลงานที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (ประเสริฐอักษร) กวีในสมัย รัชกาลที่ 6 ทรงได้เค้าโครงเรื่องและดัดแปลงมาจากต้นฉบับเรื่อง The Necklace ของนักประพันธ์ ชาวฝรั่งเศสชื่อ Guy de Maupassant

97. ข้อใดสัมพันธ์กับวรรณกรรมไทยเรื่องพยอมไพร

ตอบ 3 หน้า 155, 159 เรื่องพยอมไพร เป็นผลงานที่แม่อนงค์ (มาลัย ชูพินิจ) ดัดแปลง (Adaptation) มาจากเรื่อง The Apple Tree ของ Galsworthy

98. ข้อใดสัมพันธ์กับวรรณกรรมไทยเรื่องสาวเครือฟ้า

ตอบ 2 หน้า 146, 157 – 158, 192, (คำบรรยาย) บทละครร้องสลับพูดเรื่องสาวเครือฟ้า

ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นเรื่องดัดแปลงจากโอเปร่าเรื่อง Madame Butterfly ซึ่งเป็นนวนิยายของ John Luther Long อุปรากรของ Giacomo Puccini โดยมักใช้เล่นละครร้องสลับพูด คือ การแสดงที่ใช้วิธีการร้องเพลงเป็นส่วนใหญ่ แต่พูดได้บ้าง (พูดทบทวนเรื่องที่ร้องไปแล้ว เพื่อให้ฟังเรื่องได้ชัดเจนขึ้น ถ้าอ่านบทที่ไม่มีคำพูดประกอบเลย ก็จะเข้าใจเรื่องได้ตลอด) ซึ่งในปัจจุบันได้นำมาแสดงเป็นละครเวทีใช้ชื่อว่า “มิสไชง่อน”

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 99. – 102.

(1) เรื่องแปล (2) เรื่องดัดแปลง (3) เรื่องแต่งใหม่ (4) เรื่องจริง

99. จดหมายจางวางหร่ำ เป็นวรรณกรรมประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 17 – 18, 146, 156, 158 จดหมายจางวางหร่ำ เป็นผลงานของพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจำรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ซึ่งเป็นเรื่องดัดแปลงแนวความคิด มาจากเรื่อง The Letters of a Self-made Merchant to His Son โดยมีเนื้อหาสาระ เป็นจดหมายจากบิดาถึงบุตร เพื่อตักเตือนสั่งสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของบุตรให้มีความขยัน หมั่นขวนขวายหาความรู้ใส่ตัว รู้จักประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย

100. สนุกนิ์นึก เป็นวรรณกรรมประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 144, 151,(คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดเรื่องสั้นเรื่องแรกของไทยที่เป็นเรื่อง แต่งขึ้นใหม่ คือ เรื่องสนุกนิ์นึก ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2429 โดยมีตัวละครเอกในเรื่องเป็นพระและใช้ฉากจริงในวัดบวรนิเวศวิหาร ทำให้เกิด ข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องสั้นเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง จนกระทั่งไม่สามารถตีพิมพ์ตอนจบได้

101. ลิลิตนิทราชาคริต เป็นวรรณกรรมประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 143 – 144, 150, 155 ลิลิตนิทราชาคริต เป็นงานพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นนิทานของชาวอาหรับ แต่รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์เป็นเรื่องดัดแปลงตามเค้าเรื่องในนิทานชุด Arabian Night ตอน The Sleeper Awaken จากต้นฉบับฝรั่งเศสของ Anthony Galland ทำให้เกิดเสภาอาบูหะซันและบทละครเรื่องอาบูหะซันขึ้นในเวลาต่อมา

102. เวนิสวาณิช เป็นวรรณกรรมประเภทใด

ตอบ 1 หน้า 150, 156 – 157 บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ที่เป็นเรื่องแปลและดัดแปลง มาจากต้นฉบับของวิลเลี่ยม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) ได้แก่

1. เวนิสวาณิช ทรงแปลจาก The Merchant of Venice

2. ตามใจท่าน ทรงแปลจาก As You Like It

3. โรเมโอและจูเลียต ทรงแปลจาก Romeo and Juliet

4. พญาราชวังสัน เป็นเสภาที่ทรงดัดแปลงจาก Othello ฯลฯ

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 103. – 106.

(1) ละครพูด (2) ละครร้องสลับพูด

(3) ละครสังคีต (4) ละครแบบเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง

103. วิวาห์พระสมุทร มักใช้เล่นละครประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 192 ละครสังคีต คือ ละครที่มีบทพูดและบทร้องสำคัญเท่าเทียมกัน จะตัดบทพูดหรือ บทร้องออกไปไม่ได้ เพราะจะทำให้เสียการดำเนินเรื่อง เช่น บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 เรื่องวั่งตี่ และเรื่องวิวาห์พระสมุทร เป็นต้น

104. ราชาธิราช ตอนมังมหานรธา มักใช้เล่นละครประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 190 ละครแบบเจ้าพระยามหินทรคักดิ์ธำรง เป็นละครผู้หญิงที่หัดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีลักษณะเป็นละครแบบรวม คือ รวมแบบละครนอก ละครใน และงิ้วจีนปนกัน จึงเป็น ละครอีกแบบหนึ่งที่แปลกออกไป มีผู้นิยมดูมาก และมีบทละครที่ดัดแปลงมาจากพงศาวดารมอญ เช่น เรื่องราชาธิราช ตอนสมิงนครอินทร์รบกับมังมหานรธา เป็นต้น

105. หลวงจำเนียรเดินทาง มักใช้เล่นละครประเภทใด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

106. สาวเครือฟ้า มักใช้เล่นละครประเภทใด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 98. ประกอบ

107. การใช้นามแฝงปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือใด

(1) ลักวิทยา

(2) ทวีปัญญา

(3) วชิรญาณ

(4) ถลกวิทยา

ตอบ 3 หน้า 143 ,149 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มมีการใช้นามแฝงอันเป็นแบบอย่างของประเทศตะวันตก ในการแต่งหนังสือ ซึ่งเริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรกในหนังสือวชิรญาณเมื่อ พ.ศ. 2427

108. หนังสือในข้อ 107. เกิดขึ้นในรัชสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 4 (2) รัชกาลที่ 5

(3) รัชกาลที่ 6 (4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 107. ประกอบ

109. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับจดหมายเหตุราชทูตไทยไปอังกฤษ

(1) ใช้ฉากประเทศยุโรป (2) เกิดการซื้อขายลิขสิทธิ์

(3) คำประพันธ์ประเภทร้อยแก้ว (4) บันทึกสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ .

ตอบ 2 หน้า 142, 149, (THA 3201 (TH 331) หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร) เป็นกวีในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่มีบทบาทเป็นนักการทูต โดยท่านมีผลงานสำคัญ 2 เรื่อง เป็นวรรณคดีไทยที่ใช้ฉากในประเทศยุโรปมาบรรยายเรื่องเป็นครั้งแรก ได้แก่

1. จดหมายเหตุราชทูตไทยไปอังกฤษ (ร้อยแก้ว) เป็นบันทึกเหตุการณ์เมื่อครั้งที่ไทยส่งคณะทูต ไปอังกฤษในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าๆ เมื่อปี พ.ศ. 2400

2. นิราศลอนดอน (ร้อยกรอง) เป็นวรรณคดีที่มีการซื้อขายลิขสิทธิ์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2405

110. ข้อใดไม่ใช่พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(1) ไกลบ้าน (2) ลิลิตนิทราชาคริต

(3) บทละครเรื่องเงาะป่า (4) กามนิต-วาสิฏฐี

ตอบ 4 หน้า 143 – 144, 147 งานพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5)มีดังนี้ 1.พระราชพิธีสิบสองเดือน 2.ไกลบ้าน 3.พระราชวิจารณ์ต่างๆ 4. ลิลิตนิทราชาคริต 5. บทละครเรื่องเงาะปา 6. กวีนิพนธ์เบ็ดเตล็ด

(ส่วนเรื่องกามนิต-วาลิฏฐี เป็นผลงานของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป)

111. ข้อใดคือลักษณะของละครแบบตะวันออก

(1) ถ่ายทอดชีวิตจริง (2) แสดงอารมณ์รุนแรง

(3) เป็นแบบอุดมคติมุ่งแต่เรื่องดีงาม (4) กล้าล้อเลียนและวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง

ตอบ 3 หน้า 186 ละครแบบตะวันออกจะมีลักษณะเป็นแบบอุดมคติ (Idealism) มุ่งแต่เรื่องดีงาม หรือเน้นความอภิรมย์หลีกหนีจากอารมณ์รุนแรงและเรื่องร้าย (Escape Literature) ซึ่งต่างจาก ละครแบบตะวันตกที่เป็นการถ่ายทอดเอาชีวิตจริงไปแสดงบนเวที การดูละครก็คือดูชีวิตของ ตนเอง บางครั้งอาจมีการแสดงอารมณ์รุนแรง กล้าล้อเลียนและวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง จึงเป็น ละครประเภทสมจริง (Realism)

112. จากการศึกษาประวัติวรรณคดีไทยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สรุปได้ว่าผู้แต่งวรรณคดีไทยเน้นเรื่องใด เป็นสำคัญ

(1) ใช้วรรณคดีถ่ายทอดจินตนาการใกล้ตัว (2) ใช้วรรณคดีเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศ

(3) ใช้วรรณคดีถ่ายทอดแนวคิดหริอปรัชญาชีวิต (4) ใช้วรรณคดีสร้างความบันเทิงและประเทืองปัญญา

ตอบ 4 (คำบรรยาย) จากการศึกษาประวัติวรรณคดีไทยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สรุปได้ว่า ผู้แต่ง วรรณคดีไทยเน้นใช้วรรณคดีเพื่อสร้างความบันเทิงและประเทืองปัญญาเป็นสำคัญ โดยมุ่งให้ ผู้อ่านได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินใจไปตามเนื้อเรื่อง ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ความคิด เพื่อประเทืองปัญญาไปพร้อม ๆ กัน

113. คำกล่าวข้อใดถูกต้อง

(1) วรรณคดีร้อยกรองและร้อยแก้วพัฒนามาพร้อมกัน

(2) วรรณคดีร้อยกรองได้รับความนิยมมาก่อนร้อยแก้ว

(3) วรรณคดีเรื่องแรกของไทยเป็นคำประพันธ์ร้อยกรอง

(4) ปัจจุบันวรรณคดีร้อยกรองได้รับความนิยมมากกว่าร้อยแก้ว

ตอบ 2 หน้า 193, 201, (ศิลาจารึก หน้า 7), (คำบรรยาย) วรรณคดีร้อยกรองพัฒนาขึ้นและได้รับ ความนิยมมาก่อนร้อยแก้ว ทั้ง ๆ ที่วรรณคดีเรื่องแรกของไทย คือ ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง จะแต่งเป็นวรรณคดีร้อยแก้วก็ตาม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน ความนิยมในการเขียนร้อยกรองค่อย ๆ ลดลง ส่วนร้อยแก้วกลับเจริญขึ้น อย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากกว่าร้อยกรองจนถึงปัจจุบัน

114. ข้อใดไมใช่ลักษณะของร้อยกรองในอดีต

(1) เนื้อเรื่องอยู่ใบวงแคบ (2) ใช้จินตนาการใกล้ตัว

(3) มีธรรมเนียมในการบรรยาย (4) เป็นพุทธปรัชญาพื้น ๆ ง่าย ๆ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

115. ข้อไดไมใช่ลักษณะของร้อยแก้วในปัจจุบัน

(1) เนื้อเรื่องขยายไปในวงกว้าง (2) มีรูปแบบการแต่งที่หลากหลาย

(3) มีเทคนิคในการแต่งมากขึ้นกว่าเดิม (4) นักเขียนมุ่งผลิตงานโดยไม่คำนึงถึงค่าตอบแทน

ตอบ 4 หน้า 202 – 204 ลักษณะของร้อยแก้วในปัจจุบันภายหลังได้รับอิทธิพลตะวันตกแล้ว มีดังนี้ 1. มีรูปแบบการแต่งที่หลากหลาย

2. เนื้อเรื่องขยายไปในวงกว้าง

3. แนวนิยมและปรัชญาการแต่งเบนแบบตะวันตก

4. มีเทคนิคในการแต่งมากขึ้นกว่าเดิม 5. มีความก้าวหน้าด้านสื่อมวลชน 6. มีแนวการเขียนแบบวิจารณ์ 7. นักเขียนมุ่งผลิตงาบโดยคำนึงถึงคำตอบแทน 8. มีการรวมกลุ่มนักเขียน

116. วรรณกรรมเรื่องใดได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2556

(1) คนแคระ (2) หัวใจห้องที่ห้า

(3) แม่น้ำรำลึก (4) แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้หนังสือประเภทกวีนิพนธ์เรื่อง “หัวใจห้องที่ห้า” ของอังคาร จันทาทิพย์ ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2556

117. ใครเป็นผู้แต่งวรรณกรรมในข้อ 116.

(1) อังคาร จันทาทิพย์ (2) วิภาส ศรีทอง

(3) จเด็จ กำจรเดช (4) เรวัตร พันธุพิพัฒน์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 116. ประกอบ

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 118. – 120.

(1) นวนิยาย (2) เรื่องสั้น (3) กวีนิพนธ์ (4) สารคดี

118. วรรณกรรมในข้อ 117. เป็นวรรณกรรมประเภทใด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 116. ประกอบ

119. ในปี 2557 เรื่องที่ได้รางวัลซีไรต์เป็นวรรณกรรมประเภทใด

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือซีไรต์ (The S.E.A. Write Award) ของประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 โดยแต่ละปีที่ผ่านมาจะประกาศ รับพิจารณาวรรณกรรมวนเวียนอยู่เพียง 3 ประเภท คือ นวนิยาย เรื่องสั้น และบทกวีนิพนธ์ ซึ่งหากในปี พ.ศ. 2556 วรรณกรรมประเภทกวีนิพนธ์ได้รับรางวัลซีไรต์ ดังนั้นในปีถัดไป วรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรต์ก็จะเป็นวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น (พ.ศ. 2557) และ นวนิยาย (พ.ศ. 2558) ตามลำดับ

120. ในปี 2558 เรื่องที่ได้รางวัลซีไรต์เป็นวรรณกรรมประเภทใด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 119. ประกอบ

Advertisement