การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1 – 2 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ป้าขนนมข้นหวานลงจากตึก

(2) สาวน้อยตกน้ำหลังจากถูกปาบอล

(3) เขาบอกผมว่า ข้อสอบยากมาก

(4) ต้นไม้ทับชายคาบ้านหนู

 

1 ข้อใดไม่มีคําบอกเพศ

ตอบ 4 หน้า 2, 109 – 110, 112 (56256), 6 – 7, 97 – 98 (H) คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดงเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ลุง ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ ชี สะใภ้ หญิง สาว นาง ป้า ย่า ยาย ดิฉัน ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ หากเราต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษาคําโดดจะต้องใช้คําที่บ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือประสมกันตามแบบคําประสมบ้าง เช่น พี่สาว น้องชาย เด็กสาว น้าชาย อาหญิง ลูกชาย หลานสาว เพื่อนหญิง เพื่อนชาย ฯลฯ

2 ข้อใดสะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ

ตอบ 1 หน้า 2, 33 – 37 (56256), 10, 55 – 60 (H) ระบบเสียงสูงต่ำ (เสียงวรรณยุกต์) ในภาษาไทยคือ การกําหนดเสียงสูงต่ำไว้ตายตัวในคําแต่ละคํา เพื่อต้องการแยกความหมาย โดยให้เสียงหนึ่ง มีความหมายอย่างหนึ่ง หากเปลี่ยนเสียงความหมายก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย เช่น ขน (เสียงจัตวา) = เอาสิ่งของจํานวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง, ข้น (เสียงโท) = ลักษณะของเหลวที่มีการรวมตัวกันแน่นเข้า ไม่ใส เป็นต้น

3 ข้อใดสะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดทุกคํา

(1) โต๊ะจีนต้องมีหูฉลามนะ

(2) ของคาวหวานอยู่ในตู้กับข้าว

(3) แดงห้อยพระไว้ที่คอทุกครั้ง

(4) ปลาดุกฟูขายมากในร้านอาหาร

ตอบ 3 หน้า 2, 5 – 6 (56256), 2 – 3 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดด มีดังนี้

1 คําแต่ละคําต้องออกเสียงพยางค์เดียว และอาจเป็นคําควบกล้ำก็ได้

2 ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่คํายืมจากภาษาอื่น

3 มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

4 มีระบบวรรณยุกต์ ฯลฯ

(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําที่ไม่ได้ออกเสียงพยางค์เดียว = ฉลาม, ตู้กับข้าว และมีตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา = อาหาร)

4 ข้อใดมีอัตราเสียงสั้นยาวที่เหมือนกับคําว่า “บางกะปิ”

(1) คนบ้านนอก

(2) วิทยุ

(3) ถมทะเล

(4) รูปธรรม

ตอบ 4 หน้า 15 – 16, 40 – 12, 90 91 (56256), 33 – 34, 60 – 61, 80 81 (H) อัตราในการออกเสียงสั้นยาวตามภาษาพูดมาตรฐานจะใช้มาตราวัดความยาวของเสียง คือ สระเสียงสั้นจะออกเสียง 1 มาตรา สระเสียงยาวออกเสียง 2 มาตรา นอกจากนี้ถ้าเป็นคําหลายพยางค์หรือ คําประสม มักจะลงเสียงเน้นที่พยางค์ท้าย (ออกเสียงยาว 2 มาตรา) ส่วนคําที่ไม่ได้ลงเสียงเน้น ก็มักจะสั้นลง (ออกเสียงสั้น 1 มาตรา) หากเป็นคําเดี่ยวที่มีจังหวะเว้นระหว่างคํา น้ำหนักเสียง จะเสมอกัน เช่น คําว่า “บางกะปิ” กับ “รูปธรรม” มีอัตราเสียงสั้นยาวที่เหมือนกัน คือ เป็นคํา หลายพยางค์จึงลงเสียงเน้นที่พยางค์ท้ายออกเสียง 2 มาตรา ส่วนพยางค์แรกเป็นสระเสียงยาวออกเสียง 2 มาตรา และพยางค์กลางเป็นสระเสียงสั้นออกเสียง 1 มาตรา

5 ข้อใดเป็นสระเดี่ยว

(1) ข้าว

(2) ใกล้

(3) แทรก

(4) เชื่อม

ตอบ 3 หน้า 8, 13 – 14 (56256), 17, 24 – 30 (H) เสียงสระในภาษาไทย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะและเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ เออ โอ ออ

2 สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอและเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอือ อัว อาว อาย (ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย/ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)

6 ข้อใดเป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น

(1) พฤกษ์

(2) เปิด

(3) ฤกษ์

(4) น้า

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

7 “เธอควรทําข้อสอบอย่างตั้งใจ” จากข้อความมีสระเดี่ยวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) (1) 3 เสียง

(2) 4 เสียง

(3) 5 เสียง

(4) 6 เสียง

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระเดี่ยว 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 สระเออ = เธอ

2 สระอะ = ทํา/ตั้ง

3 สระออ = ข้อ/สอบ

4 สระอา = อย่าง

8 ข้อใดไม่ใช่สระหลัง

(1) อบ

(2) ชุ่ม

(3) เพลิน

(4) คอย

ตอบ 3 หน้า 9 – 10 (56256), 18 – 19 (H) สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ซึ่งจะต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระกลาง ได้แก่ อา อือ เออ อะ อึ เออะ

2 สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ

3 สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ

9 ข้อใดเป็นสระผสม 2 เสียงทุกคํา

(1) เช็ค เงิน

(2) เผย ตัว

(3) แก้ว เล็ก

(4) เที่ยว ด้วย

ตอบ 2 หน้า 12, 14 (56256), 23 – 24, 27 (H) คําว่า “เผย” และ “ตัว” ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะถึงสระ จึงอาจพิจารณาได้ดังนี้

1 เผย อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น เออ + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียงก็ได้ เช่น เออ + อี = เอย

2 ตัว อาจเป็นตัวสะกด ว เช่น อัว +ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียงก็ได้ เช่น อู + อา = อัว

10 ข้อใดมีเสียงสระอะ

(1) ไทย

(2) กลอน

(3) เลี้ยว

(4) เมือก

ตอบ 1 หน้า 14 (56256), 24, 27 (H) คําว่า “ไทย” ลงท้ายด้วย ย ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น อะ + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียงก็ได้ เช่น อะ + อิ = ไอ

11 ข้อใดเป็นสระผสม 3 เสียง

(1) โอ๊ย

(2) ร้าย

(3) จอย

(4) ป่วย

ตอบ 4 หน้า 14 (56256), 24, 30 (H) คําว่า “ป่วย” ลงท้ายด้วย ย ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น อัว + ย หรือเป็นสระผสม 3 เสียงก็ได้เช่น อู + อา + อี = อวย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสระผสม 2 เสียง)

12 “แสงชาวบ้านดอนเลือกเข้าเรียนคณะมนุษย์” จากข้อความไม่ปรากฏสระผสมเสียงใด

(1) อา + อู

(2) อือ + อา

(3) อิ + อะ

(4) อะ + อุ

ตอบ 3 หน้า 11 – 14 (56255), 21, 23 – 24 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏสระผสม 2 เสียง ดังต่อไปนี้

1 อา + ว (อา + อู) : อาว เช่น ชาว

2 อือ + อา = เอือ เช่น เลือก

3 อะ + ว (อะ + อุ) = เอา เช่น เข้า

4 อี + อา = เอีย เช่น เรียน

13 ข้อใดเป็นพยัญชนะเสียงหนัก

(1) เสียด

(2) แหก

(3) เปียก

(4) โอ่ง

ตอบ 2 หน้า 19 – 21 (56255), 39 – 43 (H), (คําบรรยาย) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามรูปลักษณะ ของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้

1 พยัญชนะระเบิด หรือพยัญชนะกัก ได้แก่ ก ค (ข ฆ) จ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ

2 พยัญชนะนาสิก ได้แก่ ง น (ณ) ม

3 พยัญชนะเสียดแทรก ได้แก่ ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)

4 พยัญชนะกึ่งเสียดแทรก ได้แก่ ช (ฉ ณ)

5 พยัญชนะกึ่งสระ ได้แก่ ย ว

6 พยัญชนะเหลว ได้แก่ รล

7 พยัญชนะเสียงหนัก ได้แก่ ห (ฮ) รวมทั้งพยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)

14 ข้อใดไม่ใช่พยัญชนะเหลวทุกคํา

(1) ตอบรับ

(2) ลองมุข

(3) ไม่เรียบ

(4) ยากมาก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

15 ข้อใดเป็นพยัญชนะเกิดที่ฐานเพดานอ่อนทุกคํา

(1) เขาฆ่าคนโง่ก่อน

(2) ยายซื้อเสื้อเชิ้ต

(3) เต่านอนที่ท่าน้ำ

(4) แมวว่าฟ้าผอมไป

ตอบ 1 หน้า 17 – 18 (56256), 37 – 38 (H) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์(ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

1 ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ

2 ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง

3 ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร

4 ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)

5 ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ผ ภ) ม  ว และริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)

ข้อ 16 – 17 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

“ขนมโก๋ของสหกรณ์บ้านสร้างออกอากาศขายผ่านวิทยุชุมชนทุกวัน”

16 จากข้อความไม่ปรากฏพยัญชนะคู่ลักษณะใด

(1) นํากันมา

(2) เคียงกันมา

(3) ควบกันมา

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 21 – 26 (56256), 44 – 49 (H) พยัญชนะคู่ คือ พยัญชนะต้นที่มาด้วยกัน 2 เสียงซึ่งจะมีอยู่ 3 ลักษณะดังนี้

1 เคียงกันมา (เรียงพยางค์) คือ แต่ละเสียงจะออกเสียงเต็มเสียง และไม่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน เช่น สหกรณ์ (สะหะกอน), วิทยุ (วิดทะยุ), พรรณนา (พันนะนา), นพเก้า (นบพะเก้า), ซอมซ่อ (ซอมมะซ่อ), ฉบับพิมพ์ (ฉะบับพิม) เป็นต้น

2 นํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยพยัญชนะตัวหน้าออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็เปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียง เหมือนกับเสียงที่มี ห นํา เช่น ขนม (ขะหนม), ไถล (ถะไหล), ปลัด (ปะหลัด), ฉนวน (ฉะหนวน) เป็นต้น

3 ควบกันมา (อักษรควบ) แบ่งออกเป็น อักษรควบกล้ำแท้หรือเสียงกล้ำกันสนิท เช่นเกล้า ตรง, กล้อง, ขว้าง เป็นต้น และอักษรควบกล้ำไม่แท้หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น สร้าง (ส้าง), แสร้ง (แส้ง), ทรุด (ซุด) เป็นต้น

17 จากข้อความมีพยัญชนะนํากันมากี่คํา

(1) ไม่ปรากฏคํา

(2) 1 คํา

(3) 2 คํา

(4) คํา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

18 ข้อใดเป็นพยัญชนะเคียงกันมาทุกคํา

(1) สรรพสิ่ง สนอง

(2) นายบ้าน สนมเอก

(3) พรรณนา นพเก้า

(4) วันพุธ เขนย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

19 ข้อใดเป็นพยัญชนะควบกันมา นํากันมา และเคียงกันมา ตามลําดับ

(1) เกล้า ไถล ซอมซ่อ

(2) จริต สมาน กาฬโรค

(3) เปล่า ขโมย นิติศาสตร์

(4) แคล้ว สภาพ ปฏิทิน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

20 ข้อใดไม่มีคําที่เป็นอักษรนํา

(1) ปลัดขิก

(2) ขนมปัง

(3) ฉนวนไฟ

(4) ฉบับพิมพ์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

21 ข้อใดเป็นคําควบกล้ำไม่แท้ทุกคํา

(1) ตรง กล้อง

(2) อย่า ขว้าง

(3) แสร้ง ทรุด

(4) แสลง หลวง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

22 ข้อใดมีพยัญชนะสะกด 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) พระ คุณ เจ้า

(2) ชื่น ชั่ว กัลป์

(3) เด็ก ใจ แข็ง

(4) กา น้ำ เสีย

ตอบ 3 หน้า 27 – 29 (56256), 50 – 53 (H) พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ

1 แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ

2 แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส

3 แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ

4 แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ฬ ญ

5 แม่กง ได้แก่ ง

6 แม่กม ได้แก่ ม

7 แม่เกย ได้แก่ ย

8 แม่เกอว ได้แก่ ว

นอกจากนี้สระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ/ใอ (อัย) = แม่เกย และสระเอา (อาว) = แม่เกอว (คําว่า “เด็ก ใจ แข็ง” มีพยัญชนะสะกด 3 เสียงที่ไม่ซ้ำกัน ได้แก่ แม่กก = เด็ก, แม่เกย = ใจ และแม่กง = แข็ง ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีพยัญชนะสะกดไม่ครบ 3 เสียง)

23 ข้อใดมีพยัญชนะสะกดประเภทนาสิกทุกคํา

(1) ดุจดั่ง

(2) คนช้ำ

(3) แคล้วคลาด

(4) ตอบโจทย์

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 13 และ 22 ประกอบ) พยัญชนะสะกดหรือพยัญชนะท้ายคําประเภทนาสิก (เสียงออกมาทางจมูก) คือ พยัญชนะสะกดแม่กง กน กม เช่น คําว่า “คนช้ำ” มีพยัญชนะสะกดประเภทนาสิกทุกคํา ได้แก่ แม่กน = คน และแม่กม = ช้ำ

24 “เพราะครูเสียงดังเกินไปจึงทําให้ทุกคนรู้สึกกลัว” จากข้อความมีคําเป็นกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 2 เสียง

(2) 3 เสียง

(3) 4 เสียง

(4) 5 เสียง

ตอบ 4 หน้า 28 (56256), 51 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 22 ประกอบ)ลักษณะของคําเป็นกับคําตาย มีดังนี้

1 คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงยาว รวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)

2 คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงสั้น (ข้อความข้างต้นมีคําเป็น 5 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) คือ แม่กง = เสียง/ดัง/จึง, แม่กน = เกิน/คน,แม่กม = ทํา, แม่เกย = ไป/ให้ และแม่เกอว = กลัว)

25 “คนคดโกงควรได้รับการประณามจากสังคมเป็นอย่างยิ่ง”

จากข้อความปรากฏคําประเภทใดมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) คําตาย เสียงยาว

(2) คําเป็น เสียงยาว

(3) คําตาย เสียงสั้น

(4) คําเป็น เสียงสั้น

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 24 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏคําเป็น เสียงสั้นมากที่สุดจํานวน 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 แม่กน = คน (สระ โอะ)/เป็น (สระเอะ)

2 แม่กง = สัง (สระอะ)/ยิ่ง (สระอิ)

3 แม่เกย = ได้ (สระไอ)

4 แม่กม – คม (สระโอะ)

26 ข้อใดมีคําเป็น 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) พ่อ นัก รบ

(2) ลวก หอย จุ๊บ

(3) ครรภ์ อ่อนเพลีย

(4) ความ ถูก ต้อง

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 24 ประกอบ) คําว่า “ความ ถูก ต้อง” มีคําเป็นจํานวน 2 เสียง(ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 แม่กม = ความ

2 แม่กง = ต้อง

27 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เอก

(1) ศักดิ์

(2) ภพ

(3) เฒ่า

(4) แท่ง

ตอบ 1 หน้า 33 – 37 (56256), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก , เสียงโท , เสียงตรี  และเสียง จัตวา  ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ ถูกต้อง เช่น คําว่า “ศักดิ์” เป็นพยัญชนะเสียงสูง (ข ฉ ถ ผ ฝ ส ศ ห) ที่มีตัวสะกดเป็นคําตาย (แม่กก) และใช้สระเสียงสั้น (สระอะ) จึงผันได้ 2 เสียง คือ เสียงเอก (ไม่มีรูปวรรณยุกต์) และเสียงโท (ใช้ไม้โท) เป็นต้น ส่วนคําว่า “ภพ เฒ่า แท่ง” = ตรี โท โท)

28 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์สามัญ เอก ตรี ตามลําดับ

(1) ดํา บอก เก็บ

(2) คง ซัด โป๊ะ

(3) เตรียม ฝัก ถั่ว

(4) นาย ดื่ม น้ำ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ) คําว่า “นาย ดื่ม น้ำ” มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ เอก และตรี ตามลําดับ (ส่วนคําว่า “ดํา บอก เก็บ” = สามัญ เอก เอก, “คง ซัด โป๊ะ” = สามัญ ตรี ตรี,“เตรียม ฝัก ถั่ว” = สามัญ เอก เอก)

29 “เธอต้องเข้าเรียนทุกครั้งเพื่อพัฒนาความเข้าใจ” จากข้อความปรากฎวรรณยุกต์เสียงใดมากที่สุด

(1) เอก

(2) โท

(3) ตรี

(4) สามัญ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้ 1 เสียงสามัญ = เธอ/เรียน/นา/ความ/ใจ

2 เสียงโท = ต้อง/เข้า/เพื่อ

3 เสียงตรี = ทุก/ครั้ง/พัฒ

4 เสียงเอก = ฒะ

30 ข้อใดมีวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง

(1) ข้อสอบยากรึเปล่าคะ ทุกคน

(2) ทําได้กับได้ทําน่ะมันต่างกัน

(3) เห็นนะว่าแอบดูเพื่อนอยู่

(4) จงอย่าลืมฝนรหัสชัด ๆ

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ) ข้อความ “เห็นนะว่าแอบดูเพื่อนอยู่” มีวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง ดังนี้

1 เสียงสามัญ = ดู

2 เสียงเอก = แอบ/อยู่

3 เสียงโท = ว่า/เพื่อน

4 เสียงตรี = นะ

5 เสียงจัตวา = เห็น

31 ข้อใดเป็นความหมายแฝงที่บอกลักษณะต่างจากข้ออื่น

(1) ตะคอก

(2) ตะโกน

(3) ตะเบ็ง

(4) ตะบิดตะบอย

ตอบ 4 หน้า 44, 47 (56256), 62 – 63 (H) ความหมายแฝงบอกอาการที่กระทําอย่างช้า ๆ หรือชักช้า ได้แก่ คําว่า “ตะบิดตะบอย” = ทําให้ชักช้า, “โอ้เอ้” = ชักช้า, เนิบนาบ” = ช้า ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นความหมายแฝงของคํากริยาที่ใช้กับเสียงดัง ได้แก่ คําว่า “ตะคอก” = ขู่ตวาดเสียงดัง, “ตะโกน” = ออกเสียงดังกว่าปกติให้ได้ยิน, “ตะเบ็ง” = กลั้นใจเปล่งเสียงให้ดัง)

32 คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นความหมายแฝงเพื่อบอกทิศทาง

(1) นักเลงกรูเข้าไปกระทืบเหยื่อ

(2) ธนเดชผลุนผลันออกไปจากบ้าน

(3) จันทราถอยหลังรับลูกบอล

(4) เข้มวิ่งหนีตํารวจหน้าตลาด

ตอบ 3 หน้า 44 – 46 (56256), 62 (H) ความหมายแฝงบอกทิศทาง ได้แก่

1 ขึ้นบน เช่น ขึ้น ฟู พอง เขย่ง

2 ลงล่าง เช่น ลง ตก ดิ่ง หล่น

3 เข้าใน เช่น เข้า ฉีด อัด ยัด

4 ออกนอก เช่น ออก ขย้อน บ้วน ถ่ม

5 ถอยหลัง เช่น ถอย รุ่น ดึง

6 ก้าวหน้า เช่น ก้าว รุน ดุน ผลัก

7 เข้าใกล้ เช่น กราย เฉียด ประชิด

8 แยกไปคนละทาง เช่น ปะทุ ระเบิด เตลิด

33 ข้อใดมีคําอุปมา

(1) หนุ่มใหญ่ตกเรือกลางทะเล

(2) เพชรในตมเกิดขึ้นในวิชาภาษาไทย

(3) เรือจ้างพบมากในคลองแสนแสบ

(4) แม่พิมพ์ลายกุหลาบสีขาวลงบนผ้า

ตอบ 2 หน้า 48 – 49 (56256), 64 (H) คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1 คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ตุ๊กตา (นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก), เทวดา/นางฟ้า(ดี สวย), เจว็ด (มีแต่ตําแหน่ง ไม่มีอํานาจ ไม่มีใครนับถือ) ฯลฯ

2 คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แมวนอนหวด (ซื่อจนเซ่อ), เพชรในตม (สิ่งมีค่าที่ซ่อนอยู่ แต่คนยังไม่เห็นความสําคัญ) ฯลฯ

34 ข้อใดสะท้อนลักษณะการแยกเสียงแยกความหมายที่พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกันชัดเจนที่สุด

(1) นักดําน้ำลึกระดับโลกกําลังสึกออกมา

(2) นายแดงลูกโทนของบ้านชอบโยนลูกบอลขึ้นฟ้า

(3) ชมพู่อยากพบทหารที่รบอยู่ชายแดนมากเหลือเกิน

(4) พอแง้มประตูออกมาก็เห็นมะลิเริ่มแย้มกลีบบาน

ตอบ 4 หน้า 51, 53 – 54 (56256), 65 – 66 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกัน ได้แก่ คําว่า “แย้ม – แง้ม” (พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน “เสียง ย กับ ง”) = เปิดแต่น้อย แต่ใช้ต่างกัน คือ แง้มมักใช้กับประตูและหน้าต่าง ส่วนแย้มใช้กับดอกไม้ที่บานแต่น้อย ๆ

35 ข้อใดมีคําประสมน้อยที่สุด

(1) หนุ่มใหญ่ดึงผมหงอกกลางแม่น้ำ

(2) สะพานแขวนสร้างขึ้นมาหลายร้อยปีแล้ว

(3) คนรักของผมเป็นหลานสาวนายพลครับ

(4) การตั้งใจทําความดีมักสร้างความสุขให้แก่ตนเอง

ตอบ 2 หน้า 80 – 89 (56256), 78 – 82 (H) คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมาย จํากัดเป็นนัยเดียว เช่น หนุ่มใหญ่ ผมหงอก แม่น้ำ สะพานแขวน คนรัก นายพล ตั้งใจ ความดี ความสุข เป็นต้น

36 ข้อใดเป็นคําประสม

(1) บ้านนอก

(2) คอยท่า

(3) แปดเปื้อน

(4) สาปแช่ง

ตอบ 1 หน้า 82 83 (56256), (ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ) คําประสมที่ใช้เป็นคํานาม โดยมีคําตัวตั้งเป็นคํานาม และคําขยายเป็นบูรพบท เช่น คําว่า “บ้านนอก” = เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป เขตที่อยู่นอกตัวเมืองห่างไกลความเจริญ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําซ้อน)

37 “ขนมจันอับซื้อขายกันมากในร้านยาจีนแถวเยาวราช” จากข้อความมีคําประสมกี่คํา

(1) ไม่ปรากฏคํา

(2) 1 คํา

(3) 2 คํา

(4) 3 คํา

ตอบ 3 หน้า 78 – 79 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีคําประสม 2 คํา คือ คําประสมที่ใช้เป็นคํานาม ซึ่งจะใช้เป็นชื่อเรียกสิ่งต่าง ๆ ที่มีความหมายจํากัด โดยมีคําตัวตั้ง เป็นคํานาม และคําขยายเป็นอะไรก็ได้ไม่จํากัด ได้แก่

1 “ขนมจันอับ” = ชื่อขนมหวานอย่างแห้งของจีน

2 “ร้านยาจีน” – ร้านขายยาและสมุนไพรจีน

38 ข้อใดมีคําซ้อน 1 คํา

(1) คัดเลือก ทุบตี

(2) โดดเดี่ยว เร้นลับ

(3) โหดร้าย ผิดถูก

(4) เลวทราม ปรับทุกข์

ตอบ 4 หน้า 62 – 73 (56256), 67 – 74 (H) คําซ้อน คือ คําเดียว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1 คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น คัดเลือก ทุบตี โดดเดี่ยว เร้นลับ โหดร้าย ผิดถูก เลวทราม ลูกหลาน เนื้อตัว อบรมฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่น เช่น เงียบสงัด (ไทย + เขมร) ฯลฯ

2 คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น มอมแมม (สระออ + แอ) ฯลฯ

39 ข้อใดไม่มีคําซ้อนเพื่อความหมาย

(1) ลูกค้าสั่งซื้อปลาร้าผ่านพ่อค้า

(2) ลูกหลานเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัด

(3) เนื้อตัวเขาดูสกปรกมอมแมม

(4) เขาเข้าอบรมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

40 “ของชําร่วยมีไว้แจกคนที่มาร่วมงานแต่งเท่านั้น” ข้อความนี้มีคําประสมคํา

(1) 0 คํา

(2) 1 คํา

(3) 2 คํา

(4) 3 คํา

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีคําประสม 2 คํา ได้แก่

1 “ของชําร่วย” = ของตอบแทนผู้มาช่วยงาน เช่น งานแต่งงาน งานศพ ฯลฯ

2 “งานแต่ง” = งานแต่งงาน ซึ่งเป็นการทําพิธีให้ชายหญิงอยู่กินเป็นผัวเมียตามประเพณี

41 คําในข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันทุกคํา

(1) กระโตกกระตาก กระโชกกระชาก กระชุ่มกระชวย

(2) กระดุกกระดิก กระยึกกระยัก กระเสือกกระสน

(3) กระอักกระอ่วน กระอ้อมกระแอ้ม กระชึกกระชัก

(4) กะหลุกกะหลิก กระอิดกระเอื้อน กระดักกระเดี้ย

ตอบ 2 หน้า 95 (56256), 85 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 2 เสียงในคําซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้น และหน้าพยางค์ท้าย ซึ่งมีเสียงเสมอกันและเป็นคําที่สะกดด้วย “ก” เหมือนกัน ได้แก่

1 ดุกดิก – กระดุกกระดิก

2 ยึกยัก – กระฝึกกระยัก

3 เสือกสน – กระเสือกกระสน

4 โตกตาก – กระโตกกระตาก

5 โชกชาก – กระโชกกระชาก

6 อักอ่วน – กระอักกระอ่วน

7 ชึกชัก – กระชึกกระชัก

8 หลุกหลิก – กะหลุกกะหลิก

9 ดักเดี้ย – กระดักกระเดี้ย

10 โดกเดก – กระโดกกระเดก ฯลฯ

42 คําในข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเลียนแบบภาษาเขมรทั้ง 2 คํา

(1) ระคาย ปราบ

(2) ระย่อ สะใภ้

(3) ละเลาะ ฉะเฉื่อย

(4) ชีปะขาว นกกระจอก

ตอบ 1 หน้า 96 – 98 (56255), 86 – 87 (H) อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ได้แก่

1 “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะดีชะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ประเดี๋ยว,  ปะติดปะต่อ, ประท้วง, ประหวั่น, พะรุงพะรัง, พะเยิบ, สมรู้, สมยอม, สมสู่, สะสาง, สะพรั่ง,สะสวย, สะพรึบ ฯลฯ

2 ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า “ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขยี้, ขยํา, ปลุกปลง, ปลด, ปละ, ปราบ, ผละ, พร่ำ ฯลฯ

43 “น้องโบว์เดินกระต้วมกระเตี้ยมจนหกกะล้ม” ประโยคนี้มีคําอุปสรรคเทียมชนิดใด

(1) กร่อนเสียงและแบ่งคําผิด

(2) เทียบแนวเทียบผิดและแบ่งคําผิด

(3) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและกร่อนเสียง

(4) เทียบแนวเทียบผิดและเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน

ตอบ 2 หน้า 94 – 96 (56255), 84 – 86 (H) ประโยคข้างต้นมีคําอุปสรรคเทียม ดังนี้

1 อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไปในคําซ้อนเพื่อเสียงทั้งที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น ต้วมเตี้ยม + กระต้วมกระเตี้ยม

2 อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิด จะเกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน โดยการเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 1 เสียงในคําที่พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “ก” เช่น หกล้ม + หกกะล้ม

44 คําในข้อใดเป็นอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียงทุกคํา

(1) ตะวัน ตะไคร้ ระย่อ

(2) ฉะฉาด ชะพลู สะพรั่ง

(3) ตะขาบ ละลิบ ฉะนี้

(4) มะรืน ระรื่น ระคาย

ตอบ 3 หน้า 93 – 95 (56256), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นคําที่กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่

1 “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง – มะม่วง, -หมากนาว – มะนาว, หมากพร้าว – มะพร้าว, เมื่อรืน – มะรืน

2 “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวขาบ + ตะขาบ,ตาวัน – ตะวัน, ต้นไคร้ – ตะไคร้, ตัวโขง – ตะโขง, ตัวปลิง – ตะปลิง

3 “สะ” เช่น สายดือ – สะดือ, สาวใภ้ – สะใภ้, สายดึง – สะดึง

4 “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น, ฉันนี้ – ฉะนี้, เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด

5 “ยะ/ระ/ละ” เช่น ยิบ ๆ ยับ ๆ + ยะยิบยะยับ, รื่น ๆ – ระรื่น, ลิบ ๆ – ละลิบ

6 “อะ” เช่น อันไร/อันใด – อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง

สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ – พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู -ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว เป็นต้น

ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําอุปสรรคเทียมที่ เลียนแบบภาษาเขมร ได้แก่ ระย่อ สะพรั่ง ระคาย) (ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ)

45 ข้อใดเป็นประโยคบอกเล่า

(1) ไปได้แล้ว

(2) ไปแล้วจ้า

(3) ไปไหนมาจ๊ะ

(4) ไปด้วยกันหน่อยนะ

ตอบ 2 หน้า 103 104 (56256), 90 – 91, 93 – 94 (H) ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา อาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ เช่น ไปแล้วจ้า, ไม่ได้ไปค่ะ ฯลฯ แต่บางครั้งประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร/อะไร/ที่ไหน/เมื่อไหร่/อย่างไร” อาจใช้ ในประโยคบอกเล่าได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ไปไหนก็ไป ฯลฯ

46 ข้อใดเป็นประโยคคําสั่ง

(1) ยารักษาแผลสด

(2) โปรดดูคําเตือนบนฉลากก่อนใช้ยา

(3) ยาใช้สําหรับภายนอก ห้ามรับประทาน

(4) ยานี้อาจทําให้ง่วงซึม ควรงดขับขี่ยวดยาน

ตอบ 3 หน้า 102 (56256), 91 – 92 (H) ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่ง มักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้ เช่น ห้ามรับประทาน เป็นต้น

47 ข้อใดไม่ใช่ประโยคคําถาม

(1) ไปไหนดี

(2) ไปไหนมา

(3) ไปไหนก็ไป

(4) ไปไหนล่ะ

ตอบ 3 หน้า 102 103 (56256), 93 – 94 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 45ประกอบ) ประโยคคําถามคือ ประโยคที่ต้องการคําตอบ อาจมีคําแสดงคําถาม ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ทําไม เมื่อไร อย่างไร หรือ หรือเปล่า หรือไม่ ไหม บ้าง ฯลฯ เช่น ไปไหนดี, ไปไหนมา, ไปไหนล่ะ เป็นต้น

48 ประโยคในข้อใดไม่มีกรรม

(1) ลูกค้าสอบถามวิธีการใช้สินค้า

(2) พนักงานต้อนรับลูกค้าอย่างสุภาพ

(3) เจ้าหน้าที่บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว

(4) ประชาชนชื่นชอบเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โครงสร้างประโยคในภาษาไทย แบ่งออกเป็น

1 ประโยค 2 ส่วน คือ ประธาน + กริยา (จะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น ลูกค้าสอบถามวิธีการใช้สินค้า, เด็ก ๆ เล่นซุกซน, ชายสูงอายุเดินอย่างเชื่องช้า, หญิงสาวยิ้มอย่างมีเลศนัย ฯลฯ

2 ประโยค 3 ส่วน คือ ประธาน + กริยา + กรรม (จะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น พนักงานต้อนรับลูกค้าอย่างสุภาพ, เจ้าหน้าที่บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว, ประชาชนชื่นชอบเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ, ชายหนุ่มมองหญิงสาวอย่างมีไมตรี ฯลฯ

49 ประโยคในข้อใดไม่มีส่วนขยายกริยา

(1) สมศรีร้องเพลงเพราะ

(2) สมบัติชอบเล่นกีต้าร์

(3) สมชายสีไวโอลิน

(4) สมหวังยืนเดียวดาย

ตอบ 3 หน้า 105 106 (56.256), 96 (H) ส่วนขยายกริยา เรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตําแหน่งอยู่หน้าคํากริยาหรืออยู่หลังคํากริยาก็ได้ เช่น สมศรีร้องเพลงเพราะ (ขยายกริยา “ร้อง”), สมบัติชอบเล่นกีต้าร์ (ขยายกริยา “เล่น”), สมหวังยืนเดียวดาย (ขยายกริยา “ยืน”) ฯลฯ (ส่วนประโยค “สมชายสีไวโอลิน” ประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม)

50 ประโยคในข้อใดมีกรรมของประโยค

(1) เด็ก ๆ เล่นซุกซน

(2) ชายสูงอายุเดินอย่างเชื่องช้า

(3) หญิงสาวยิ้มอย่างมีเลศนัย

(4) ชายหนุ่มมองหญิงสาวอย่างมีไมตรี

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

51 คํานามในข้อใดแสดงเพศเดียวกันชัดเจนทั้งสองคํา

(1) พ่อโทรศัพท์ไปหาผู้ใหญ่บ้าน

(2) ผู้จัดการบริษัทเดินทางไปพบ ร.อ.วิชัย

(3) เจ้าหน้าที่สอบถามข้อมูลจากป้า

(4) ร.ต.อ.วิทยาได้รับโทรศัพท์จากชายลึกลับ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ) คํานามในตัวเลือกข้อ 4 แสดงเพศเดียวกัน (เพศชาย) ชัดเจนทั้ง 2 คํา ได้แก่

1 ร.ต.อ.วิทยา = ร้อยตํารวจเอก ซึ่งเป็นยศของตํารวจ

2 ชาย

52 ข้อใดมีคํานาม

(1) หวานอมขมกลืน

(2) หยิกแกมหยอก

(3) หยิกเล็บเจ็บเนื้อ

(4) หลงใหลได้ปลื้ม

ตอบ 3 หน้า 108 (56256), 97 (H) คํานาม คือ คําที่ใช้เรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งที่เป็นรูปธรรมและเป็นนามธรรม ทั้งชื่อเฉพาะเจาะจงและไม่เฉพาะเจาะจง เช่น คน หมู หมา โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ บางทีคํานามนั้นก็ใช้เป็นสํานวนได้ เช่น หยิกเล็บเจ็บเนื้อ (มีคํานาม “เล็บ/เนื้อ”) เป็นต้น

53 ข้อใดเป็นคําสรรพนามไม่จําเพาะเจาะจง

(1) เขาเปลี่ยนไปเพราะอะไร

(2) อย่างไรก็ตามเราควรเชื่อใจกัน

(3) ไปเที่ยวไหนมา

(4) กลับมาเมื่อไหร่แน่

ตอบ 2 หน้า 111, 116 – 118 (56256), 99 (H) สรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่“ใคร อะไร ใด ไหน” ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกคําถาม แต่สรรพนามที่บอก ความไม่เฉพาะเจาะจงจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่า เป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม เช่น อย่างไรก็ตามเราควรเชื่อใจกัน อย่างไร = อย่างใด อย่างไหน) ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสรรพนามที่บอกคําถาม)

54 ข้อใดไม่ใช่สรรพนามบอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ

(1) มาด้วยกันไปด้วยกัน

(2) คนนี้ชอบร้อง คนนั้นชอบเต้น

(3) บ้างยืนบ้างนั่ง

(4) ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตากิน

ตอบ 2 หน้า 111, 118 – 119 (56256), 99 – 100 (H) สรรพนามที่บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆได้แก่ คําว่า “ต่าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนทํากริยาเดียวกัน แต่ไม่ได้ทําพร้อมกัน เช่น ต่างคน ต่างก้มหน้าก้มตากิน), “บ้าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนแยกกันทํากริยาคนละอย่าง เช่น บ้างยืน บ้างนั่ง), “กัน” (ใช้แทนนามที่ต่างก็ทํากริยาเดียวกัน เกี่ยวข้องกัน เช่น มาด้วยกันไปด้วยกัน)

55 ข้อใดไม่ใช่คําสรรพนามบุรุษที่ 2

(1) คุณสมชายลาป่วยครับ

(2) คุณสมบัติจะรับประทานอะไรดี

(3) คุณสมศรีมีอะไรให้ผมช่วยบ้างครับ

(4) คุณสมรขับรถตรงไปอีก 100 เมตร ครับ

ตอบ 1 หน้า 112 – 113 (56256), 99 (H) สรรพนามบุรุษที่ 2 คือ คําที่ใช้แทนตัวผู้ที่พูดด้วย เช่น คุณ เธอ ท่าน เรา เจ้า แก เอ็ง ถึง ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คํานามอื่น ๆ แทนตัวผู้ที่พูดด้วย เพื่อแสดงความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่

1 ใช้ตําแหน่งเครือญาติแทน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ตา ยาย ฯลฯ

2 ใช้ตําแหน่งหน้าที่แทน เช่น ครู อาจารย์ หัวหน้า ฯลฯ

3 ใช้เรียกบรรดาศักดิ์แทน เช่น ท่านขุน คุณหลวง เจ้าคุณ คุณหญิง ฯลฯ

4 ใช้ชื่อผู้พูดทั้งชื่อเล่นชื่อจริงแทน เช่น คุณสมบัติ คุณสมศรี คุณสมร นุช แดง ฯลฯ

(ส่วนตัวเลือกข้อ 1 คําว่า “คุณสมชาย” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่พูดถึง)

56 ข้อใดเป็นคํากริยาที่มีกรรมมารับ

(1) คนเดินเร็ว

(2) คนพูดเสียงดัง

(3) คนวิ่งเป็นกลุ่ม ๆ

(4) คนขี่จักรยานแข่งกัน

ตอบ 4 หน้า 105 (56256), 95 (H) ภาคแสดงหรือกริยา เป็นส่วนที่แสดงกิริยาอาการหรือการกระทําของภาคประธาน ซึ่งตามธรรมดาจะมีตําแหน่งอยู่หลังประธาน และอยู่หน้ากรรม เช่น คนขี่ จักรยานแข่งกัน (กริยาที่มีกรรมมารับ) ฯลฯ แต่กริยานั้นจะไม่มีกรรมก็ได้ เช่น คนเดินเร็ว/คนพูดเสียงดัง/คนวิ่งเป็นกลุ่ม ๆ (มีเฉพาะกริยา + ส่วนขยายกริยา โดยไม่มีกรรม) ฯลฯ

57 คําว่า “ได้” ในข้อใดเป็นคํากริยาแท้

(1) เขาดีใจที่ได้พบเธอ

(2) เขาได้ซื้อหนังสือให้เธอ

(3) ไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย

(4) เขาภูมิใจที่ได้ทําความดี

ตอบ 3 หน้า 121 – 123 (56256), 100 101 (H) คําว่า “ได้” เป็นทั้งคํากริยาแท้และคํากริยาช่วย ถ้าเป็นกริยาแท้จะออกเสียงชัดเต็มที่และหมายถึง ได้รับ ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมา เช่น ไม่มีอะไรที่ได้ มาง่าย ฯลฯ แต่ถ้าเป็นกริยาช่วยจะบอกอดีต เสียงจะเบาและสั้นกว่า เช่น เขาดีใจที่ได้พบเธอเขาได้ซื้อหนังสือให้เธอ, เขาภูมิใจที่ได้ทําความดี ฯลฯ

58 คําข้อใดมีคํากริยาแสดงความเป็นการีต

(1) ฉันจะไปตลาด

(2) ฉันจะกินขนมหวาน

(3) ฉันจะอ่านหนังสือ

(4) ฉันจะไปทําผม

ตอบ 4 หน้า 128 (56256), (คําบรรยาย) คํากริยาธรรมดาที่มีความหมายเป็นการีต (ทําให้) เป็นคําที่กําหนดขึ้นเป็นพิเศษ และมีความหมายเฉพาะเป็นที่รู้กัน ซึ่งดูเหมือนว่าประธานเป็นผู้กระทํากริยานั้นเอง แต่ที่จริงแล้วประธานเป็นผู้ถูกกระทํา เช่น ไปดูหมอ (ที่จริงคือ ให้หมอดูโชคชะตา ให้ตน), ไปตรวจโรค (ที่จริงคือ ให้หมอยาตรวจโรคให้ตน), ไปตัดเสื้อทําผม (ที่จริงคือ ให้ช่างตัดเสื้อและทําผมให้ตน), ไปทําฟัน (ที่จริงคือ ให้หมอฟันทําฟันให้ตน) ฯลฯ

59 “ต้นเหตุแห่งความทุกข์ของคนเรา ล้วนมีที่มาจากตัวเองทั้งสิ้น” คําที่ขีดเส้นใต้เป็นคําคุณศัพท์ชนิดใด

(1) บอกจํานวนนับไม่ได้

(2) บอกความแบ่งแยก

(3) บอกจํานวนนับได้

(4) บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง

ตอบ 1 หน้า 132 133 (56256), 102 (H) คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้ (ประมาณคุณศัพท์)หรือคําคุณศัพท์บอกจํานวนประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิด หน่อย ครบ พอ เกิน เหลือ ขาด ถ้วน ครบถ้วน หมด หลาย ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ทั้ง ฯลฯ

60 ข้อใดเป็นคํากริยาวิเศษณ์บอกประมาณ

(1) คิดถึงเหลือเกิน

(2) ต่างคนต่างอยู่

(3) จะไปหาอยู่ที่เดียว

(4) พูดจริงนะเธอ

ตอบ 1 หน้า 139 (56256), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิดหน่อย มากมาย เหลือเกิน พอ ครบ ขาด หมด สิ้น แทบ เกือบ จวน เสมอ บ่อย ฯลฯ ซึ่งคําเหล่านี้ ต้องวางอยู่หลังคํากริยา เช่น คิดถึงเหลือเกิน ฯลฯ

61 “เขามาแน่นอน” เป็นคํากริยาวิเศษณ์ชนิดใด

(1) บอกเวลา

(2) บอกภาวะ

(3) บอกอาการ

(4) บอกความชี้เฉพาะ

ตอบ 2 หน้า 138 (56256), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกภาวะ ได้แก่ แน่นอน สะดวก ง่ายดาย ง่วงงุน เด็ดขาด เช่น เขามาแน่นอน ฯลฯ

62 ข้อใดสามารถละบุรพบทได้

(1) พี่อยู่บ้านกับน้อง

(2) เขามาจากต่างจังหวัด

(3) บ้านของฉันอยู่ไกล

(4) เหรียญทองดีกว่าเหรียญเงิน

ตอบ 3 หน้า 143 – 144, 147 148 (56256), 104 – 106 (H) คําบุรพบทไม่สําคัญมากเท่ากับคํานาม คํากริยา และคําวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบท ที่อาจละได้แต่ความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ เช่น บ้านของฉันอยู่ไกล – บ้านฉันอยู่ไกล ฯลฯ แต่บุรพบทบางคําก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง หากจะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมายต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นไม่สามารถละบุรพบท “กับ, จาก, กว่า” ได้)

ข้อ 63 – 65 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

“ภายในห้องนอนที่บ้าน บนเตียงโลหะที่ใครก็อาจคุ้นตาเพราะผลิตขึ้นมาสําหรับผู้ป่วย แม่ได้ลุกขึ้นนั่งโดยไม่สนใจกับสายของเครื่องช่วยหายใจ”

63 ข้อความนี้มีคําบุรพบทกี่คํา

(1) 3 คํา

(2) 4 คํา

(3) 5 คํา

(4) 6 คํา

ตอบ 4 หน้า 142 – 152 (56256), 104 – 106 (H) ข้อความข้างต้นมีคําบุรพบททั้งหมด 6 คํา ได้แก่ ภายในห้องนอนที่บ้าน บนเตียงโลหะที่ใครก็อาจคุ้นตาเพราะผลิตขึ้นมาสําหรับผู้ป่วย แม่ได้ลุกขึ้นนั่งโดยไม่สนใจกับสายของเครื่องช่วยหายใจ

64 ข้อความนี้ไม่ปรากฏคําบุรพบทชนิดใด

(1) นําหน้าคําที่บอกสถานที่

(2) นําหน้าคําที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้

(3) นําหน้าคําที่แสดงความเป็นเจ้าของ

(4) นําหน้าคําที่เกี่ยวกับการให้หรือการรับ

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏคําบุรพบท 4 ชนิด ดังนี้

1 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่บอกสถานที่ ได้แก่ ภายใน, ที่, บน

2 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่เกี่ยวกับการให้หรือการรับ ได้แก่ สําหรับ

3 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่เป็นเครื่องประกอบหรือเครื่องเกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ กับ

4 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่แสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ ของ

65 ข้อความนี้เชื่อมด้วยคําสันธานชนิดใด

(1) คล้อยตามกัน

(2) เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน

(3) เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน

(4) บอกความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้

ตอบ 3 หน้า 156 (56256), 106 (H) คําสันธานที่เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่ เพราะ เพราะว่า, ด้วย, ด้วยว่า, เหตุว่า, อาศัยที่, ค่าที่, เพราะฉะนั้น ดังนั้น จึง, เลย, เหตุฉะนี้

66 คําอุทานใดมาจากคําภาษาอังกฤษ

(1) วัย

(2) เว้ย

(3) ว้าว

(4) โว้ย

ตอบ 3 หน้า 158 – 160 (56.256), 109 (H) คําอุทาน หมายถึง คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอน แล้วแต่การออกเสียงและสถานการณ์ เช่น คําว่า “ว้าว” มาจากคําภาษาอังกฤษคือ “Wow” ซึ่งเป็นคําอุทานแสดงความยินดี หรือประหลาดใจ เป็นต้น

67 ข้อใดคือคําลักษณนามของพราหมณ์

(1) รูป

(2) คน

(3) องค์

(4) พราหมณ์

ตอบ 2 หน้า 160 – 165 (56256), 109 – 110 (H) คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดคํานามที่อยู่ข้างหน้าคําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบการเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (กรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่น พราหมณ์ (คน), อุโบสถ/โบสถ์ (หลัง), ตรายาง (อัน), พัด/ไม้พาย/กรรไกร (เล่ม), รุ้งกินน้ำ (ตัว) เป็นต้น

68 ข้อใดคือคําลักษณนามของอุโบสถ

(1) แห่ง

(2) สถานที่

(3) อุโบสถ

(4) หลัง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

69 คําใดไม่ได้ใช้ลักษณนามว่า “เล่ม”

(1) ตรายาง

(2) พัด

(3) ไม้พาย

(4) กรรไกร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

70 ข้อใดคือลักษณนามของรุ้งกินน้ำ

(1) สาย

(2) เส้น

(3) ตัว

(4) รุ้งกินน้ำ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

ข้อ 71 – 80 ให้นักศึกษาเลือกคําราชาศัพท์ที่ถูกต้องเติมในช่องว่าง

เนื่องใน 71. 72. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฒมหาเถร) ซึ่งเป็นโอกาสอันสําคัญอีกวาระหนึ่งที่ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้ แสดงความกตัญญูกตเวทีรําลึกถึง 73. อันใหญ่หลวงของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฒมหาเถร) โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 74. สมเด็จพระ ญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒมหาเถร) เป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันศุกร์ เดือน 5 แรม 1 ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. 1351 ตรงกับวันที่ 21 เมษายน 2532 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับเป็นพระสังฆราช 75. ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุต

พระองค์ได้ 76. 77. อันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประชาชนอย่าง ต่อเนื่องและยาวนานตลอด 78. ด้วยพระวิริยอุตสาหะ เพื่อเกื้อกูลประโยชน์แก่มหาชน เป็นผู้มีพระจริยวัตรอันงามพิสุทธิ์สมควรที่ชาวไทยจักได้เจริญรอยตาม 79. สืบสาน 80. นานาประการ และยึดถือพระจริยวัตรเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนสืบไป

71 (1) งาน

(2) พิธี

(3) พระราชพิธี

(4) งานพระราชพิธี

ตอบ 3 พระราชพิธี = งานพิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงจัดขึ้น ส่วนคําว่า “งาน” = สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา,“พิธี” = งานที่จัดขึ้นตามลัทธิความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณี, “งานพระราชพิธี”เป็นคําฟุ่มเฟือย)

72 (1) เพลิงศพ

(2) เพลิงพระศพ

(3) พระราชทานเพลิงศพ

(4) พระราชทานเพลิงพระศพ

ตอบ 4 หน้า 111, 113 (H) พระราชทานเพลิงพระศพ = ให้ไฟจุดพระศพ ซึ่งในที่นี้เป็นงานศพที่พระมหากษัตริย์ทรงจัดให้ จึงต้องใช้คําว่า “พระราชทานเพลิง” = ให้ไฟ นอกจากนี้สมเด็จพระสังฆราชเป็นบุคคลที่ต้องใช้ราชาศัพท์ในระดับพระองค์เจ้าจึงต้องใช้คําว่า “พระศพ” =ร่างคนที่ตายแล้ว

73 (1) พระคุณ

(2) พระกรุณาคุณ

(3) พระกรุณาธิคุณ

(4) พระมหากรุณาธิคุณ

ตอบ 3 พระกรุณาธิคุณ = พระคุณอันยิ่งที่มีความกรุณา ซึ่งจะใช้กับเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช (ส่วนคําว่า “พระคุณ” – บุญคุณ, “พระกรุณาคุณ” = พระคุณที่มีความกรุณา “พระมหากรุณาธิคุณ” = พระคุณที่ใหญ่หลวง มักจะใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2)

74 (1) ทรงโปรดสถาปนา

(2) ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา

(3) ทรงโปรดฯ สถาปนา

(4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา

ตอบ 4 หน้า 113 (H) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา = มีความกรุณาและพอพระราชหฤทัยยกย่องหรือแต่งตั้งให้สูงขึ้น ใช้กับพระมหากษัตริย์ ซึ่งในที่นี้คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช

75

(1) องค์

(2) พระองค์

(3) รูป

(4) พระรูป

ตอบ 2 หน้า 174 (56256) คําสรรพนามราชาศัพท์ที่ใช้แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3) ได้แก่

1 พระองค์ ใช้แทนพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้า และเหนือขึ้นไป รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราช (จะไม่ใช้คําว่า “พระองค์ท่าน” ซึ่งเป็นภาษาปาก)

2 ทูลกระหม่อม ใช้แทนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าที่มีพระราชชนนีเป็นอัครมเหสี

3 เสด็จ ใช้แทนเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นลูกเธอและหลานเธอ ซึ่งมีพระอัยกาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

4 ท่าน ใช้แทนเจ้านายทั่วไป ขุนนาง พระสงฆ์ ฯลฯ

76 (1) ทรงประกอบ

(2) ประกอบ

(3) ทรงสร้าง

(4) สร้าง

ตอบ 3 หน้า 173 (56256), 113 (H), (คําบรรยาย) ตามหลักเกณฑ์การเติมคําว่า “ทรง” หน้ากริยาราชาศัพท์นั้น จะเติม “ทรง” หน้าคํานามหรือคํากริยาสามัญเพื่อทําให้คํานั้นเป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงสร้างคุณูปการ (สร้างคุณความดี) ฯลฯ และเติม “ทรง” หน้านามราชาศัพท์เพื่อทําให้เป็น กริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระกรุณา (มีความกรุณา) ฯลฯ แต่ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น พระราชทาน เสด็จฯ รับสั่ง โปรด ฯลฯ

77 (1) คุณ

(2) พระคุณ

(3) คุณูปการ

(4) พระคุณูปการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 (1) ชนม์ชีพ

(2) พระชนม์ชีพ

(3) ชนมายุ

(4) พระชนมายุ

ตอบ 2 พระชนม์ชีพ = ชีวิต (ส่วนคําว่า “ชนม์ชีพ/ชนมายุ” จะต้องเติมคําว่า “พระ” นําหน้าเพื่อให้เป็นราชาศัพท์, “พระชนมายุ” = อายุ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2)

79 (1) ยุคลบาท

(2) เบื้องยุคลบาท

(3) พระยุคลบาท

(4) เบื้องพระยุคลบาท

ตอบ 4 เบื้องพระยุคลบาท = ทางเท้าทั้งคู่ ซึ่งในที่นี้จะหมายถึง เดินตามรอยเท้า หรือประพฤติตามแบบอย่างพระจริยวัตรอันงดงามนั้น

80 (1) กรณียกิจ

(2) พระกรณียกิจ

(3) พระราชกรณียกิจ

(4) พระมหากรณียกิจ

ตอบ 2 พระกรณียกิจ = ภารกิจ ซึ่งจะใช้กับเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช (ส่วนคําว่า “กรณียกิจ” = กิจที่พึงทํา, “พระราชกรณียกิจ” = ภารกิจ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระราชวงศ์ลําดับ 2 “พระมหากรณียกิจ” ไม่มีที่ใช้)

ข้อ 81 – 90 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

เราคงจะสังเกตได้นะครับว่า ทุกวันนี้คนไทยให้ความสําคัญกับประเด็นด้าน “ความเป็นไทย” มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปบรรยายให้กับครูทั่วประเทศในประเด็นด้านเอกลักษณ์แห่งชาติ ซึ่งหลากหลายคนเมื่อถามไปว่า

ความเป็นไทยคืออะไร? หรือความเป็นไทยเป็นอย่างไร?

สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือ เสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือ ศิลปวัฒนธรรมไทย

ทั้งนี้ในมุมมองของผม ความเป็นไทยนั้นต้องศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เข้าใจที่มาและ ที่ไปของเชื้อชาติและความดิ้นรนของบรรพบุรุษหลายร้อยปีกว่าจะสามารถสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น ดั่งทุกวันนี้

การที่เราจะเข้าใจประวัติศาสตร์ได้ผู้ศึกษามีความจําเป็นต้องมีทักษะในการเรียนรู้ และ ที่สําคัญก็คือ เข้าใจการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

คือ อ่านออกเขียนได้ แต่เท่านี้ยังไม่พอ ผมขอเพิ่มเติมไว้ด้วยว่าต้องสามารถใช้ภาษาไทยได้ อย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน

เราคงต้องยอมรับว่าภาษาไทยในวันนี้ผิดเพี้ยนและแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะมีคําศัพท์แปลก ๆ ออกมาแบบที่ตั้งตัวไม่ติด อาทิ เดี๋ยวนี้ได้รับเอสเอ็มเอสแปลก ๆ ประมาณว่า ใช้ภาษาไทยแบบวัยรุ่น อาทิ จิ่งดิ แปลว่า จริงเหรอ มาแว้ว แปลว่า มาแล้ว หรือ ชิมิ ชิมิ ซึ่งมีความหมาย ออกมาเป็น ใช่ไหมใช่ไหม

บางทีคุยกับเด็กรุ่นใหม่เวลาเห็นผู้หญิงสวยก็พูดออกมาว่า “โอ้โฮแหล่มจริง ๆ เธอคนนั้น ห่านมาก ๆ” แปลว่า เธอคนนั้นสุดยอด สวยจริง ๆ

แต่ที่ฮิตล่าสุดคือ พูดแบบเหวงเหวง ซึ่งไม่รู้ว่าอ้างอิงจากใคร แต่มีความหมายสะท้อนถึง ความไม่ชัดเจน ไม่ตรงประเด็น โหวงเหวง นั่นแหละครับ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างการใช้ภาษาไทยในสังคมยุคปัจจุบัน แต่จะว่าไปแล้วแทบจะทุกสังคมและทุกวัฒนธรรมย่อมมีความผิดเพี้ยนทางด้านภาษาอยู่แล้ว

เพียงแต่จะมากหรือน้อยก็เท่านั้นเอง

เพราะภาษามีความเป็นพลวัตของตัวเอง ต้องทันตามบริบทของสังคม และปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้คนในสังคม

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ภาษาไทยจะผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ประเด็นที่ผมต้องการนําเสนอ คือ แก่นของความเป็นภาษาไทยจะถูกทําลายและละเลยไปมากกว่านี้หรือไม่

สุดท้ายเราคงได้แต่หวังว่าภาษาไทยที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการควรที่จะได้รับการดํารงรักษาให้ลูกหลานในอนาคตได้สืบทอดต่อไป มิใช่ค่อย ๆ ถูกกลืนด้วยแนวทางและการใช้ศัพท์ใหม่ ๆ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดําเนินไปทรง อภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คําไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดํารัสตอนหนึ่งความว่า “เราโชคดีที่มีภาษาของ ตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษา ให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คํามาประกอบประโยคนับเป็นปัญหาที่สําคัญ

ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคําของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สําหรับคําใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจําเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคําที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คําเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของวันภาษาไทยแห่งชาติได้แลเห็นว่าเป็นวันที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อกระตุ้น และปลุกจิตสํานึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสําคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือ ร่วมใจทํานุบํารุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

สังคมไทยในปัจจุบันอยู่ท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม และไม่ใช่วัฒนธรรมของประเทศไทยเราอย่างเดียว แต่เป็นวัฒนธรรมต่างแดน เราคงบอกไม่ได้ว่า ห้ามให้ คนรุ่นใหม่บริโภควัฒนธรรมของเขา

แต่คําถามสําคัญก็คือ เราจะสามารถทําให้คนรุ่นใหม่แลเห็นถึงความสําคัญของความเป็นไทย ได้อย่างไร เพราะบางที่มันเป็นเรื่องยากในการดํารงรักษาภาษาไทยให้ดี มันเป็นความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เราบริโภคทุกวัน กับสิ่งที่เราควรระลึกถึง ซึ่งเป็นเรื่องของการสร้างความสมดุลระหว่างโลกที่เปลี่ยนแปลง กับความสวยงามในอดีต เอาแค่นักร้องบางคนเมื่อก่อนร้องเพลงไทยชัดมากเสียเหลือเกิน

แต่เดี๋ยวนี้ต้องลากเสียงจะได้ฟังแล้วเนียน ซึ่งบางทีมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะขนาดบทความ ของผมชิ้นนี้ก็ยังมีการใช้ภาษาที่แตกต่างและอาจจะไม่มีในพจนานุกรมก็ได้ แต่อย่างน้อยสิ่งสําคัญอยู่ที่การเข้าใจความสําคัญของภาษาไทย การใช้ภาษาไทยอย่างถูกวิธี

81 โวหารการเขียนเป็นแบบใด

(1) บรรยาย

(2) อธิบาย

(3) อภิปราย

(4) พรรณนา

ตอบ 3 หน้า 74 (54351), (คําบรรยาย) โวหารเชิงอภิปราย คือ โวหารที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็นซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ โดยผู้เขียนจะแสดงทัศนะรอบด้านทั้งในด้านบวกและลบ เพื่อโน้มน้าว จิตใจผู้อ่านให้คล้อยตามความคิดเห็นนั้น ๆ จนนําไปสู่ข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเก็บไปคิด

82 ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด

(1) ภาษาเขียน

(2) ภาษาพูด

(3) ภาษาปาก

(4) ทั้งข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 หน้า 58 (54351) ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ๆชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาขบคิดมากนัก แต่จะมีการใช้ภาษาพูดและภาษาปากเป็นส่วนใหญ่

83 ข้อความที่ให้อ่านเป็นวรรณกรรมประเภทใด

(1) ข่าว

(2) บทความ

(3) เรียงความ

(4) ปาฐกถา

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปาฐกถา หมายถึง งานเขียนที่แสดงความคิดเห็นโดยคนคนเดียว หรืออาจจะเป็นความรู้และความคิดที่ได้มาจากวิทยากรเพียงคนเดียว

84 จุดประสงค์ที่ผู้เขียนนําเสนอคืออะไร

(1) ให้ความรู้

(2) ให้ความรู้และความรู้สึก

(3) ให้ข้อมูลและความคิด

(4) วิเคราะห์และวิจารณ์

ตอบ 3 ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในการนําเสนอ คือ ให้ข้อมูลและแสดงความคิดของตนเองเกี่ยวกับประเด็นเรื่องความเป็นไทยและการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

85 คําใดใช้ผิดจากความหมายเดิมได้

(1) ซึ่งเป็นสิ่งดี

(2) ตระหนักถึง

(3) แลเห็นว่า

(4) ประมาณว่า

ตอบ 4 ประมาณ = กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจํานวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่น ราคาประมาณ 800 บาท ฯลฯ แต่ในปัจจุบันได้นําไปใช้ผิดจากความหมายเดิม และกลายเป็นคําฟุ่มเฟือยไป ซึ่งหากตัดออกก็ไม่ทําให้ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม ดังข้อความ สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือเสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือศิลปวัฒนธรรมไทย

86 สารัตถะสําคัญของเรื่องคืออะไร

(1) ภาษาไทยสําคัญกว่าธงชาติไทย

(2) ภาษาไทยสําคัญกว่าศิลปวัฒนธรรมไทย

(3) การใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักภาษาและกาลเทศะเป็นเรื่องควรคํานึง

(4) ความสําคัญของความเป็นไทยท่ามกลางอิทธิพลวัฒนธรรมต่างชาติเป็นเรื่องสําคัญ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวคิดหลัก (Theme) คือ สารัตถะ แก่นเรื่อง หรือสาระสําคัญของเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งจะสื่อถึงผู้อ่าน เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อเรื่อง โดยจะมีใจความครอบคลุมรายละเอียด ทั้งหมดและมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งแนวคิดหลักหรือสารัตถะสําคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ การใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักภาษาและกาลเทศะเป็นเรื่องควรคํานึง

87 ข้อความที่ให้อ่านเป็นผลงานของผู้ใด

(1) เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล

(2) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน

(3) เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล และอาจารย์ผู้บรรยาย

(4) ไม่มีข้อมูลของผู้เขียน

ตอบ 4 ข้อความที่ให้อ่านไม่มีข้อมูลของผู้เขียน ทําให้ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นผลงานของใคร

88 ข้อความใดไม่ถูกต้อง

(1) ทุกภาษาย่อมมีความผิดเพี้ยน

(2) ภาษาต้องเปลี่ยนตามบริบทของสังคม

(3) วันภาษาไทยแห่งชาติ คือ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505

(4) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทย

ตอบ 3 จากข้อความ วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เสด็จพระราชดําเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คําไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

89 คําตอบของผู้รับฟังคําบรรยาย เรื่องเอกลักษณ์ไทยเป็นอย่างไร

(1) ถูกต้อง 50%

(2) ถูกต้องเกินครึ่ง

(3) แตกต่างจากทัศนะของผู้บรรยาย

(4) แตกต่างจากความเชื่อที่สืบต่อกันมา

ตอบ 3 จากข้อความ…. ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปบรรยายให้กับครูทั่วประเทศในประเด็นด้านเอกลักษณ์แห่งชาติ ซึ่งหลากหลายคนเมื่อถามไปว่า ความเป็นไทยคืออะไร? หรือความเป็นไทยเป็น อย่างไร? สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือ เสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งนี้ในมุมมองของผม ความเป็นไทยนั้นต้องศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เข้าใจที่มาและที่ไปของเชื้อชาติและความดิ้นรนของบรรพบุรุษหลายร้อยปีกว่าจะสามารถสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นดั่งทุกวันนี้

90 ภาษาไทยในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเรื่องใดบ้าง

(1) ความหมายและการออกเสียง

(2) โครงสร้างของประโยค

(3) การสะกดการันต์

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 จากข้อความ… เราคงต้องยอมรับว่าภาษาไทยในวันนี้ผิดเพี้ยนและแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะมีคําศัพท์แปลก ๆ ออกมาแบบที่ตั้งตัวไม่ติด อาทิ ชิมิ ชิมิ ซึ่งมีความหมาย ออกมาเป็น ใช่ไหมใช่ไหม… ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน… เอาแค่นักร้องบางคนเมื่อก่อนร้องเพลงไทยชัดมากเสียเหลือเกิน แต่เดี๋ยวนี้ต้องลากเสียงจะได้ฟังแล้วเนียน

ข้อ 91 – 94 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) นกสองหัว คงเส้นคงวา พูดเป็นต่อยหอย

(2) ได้ทีขี่แพะไล่ เชือดไก่ให้ลิงดู ได้คืบจะเอาศอก

(3) กินน้ำกินท่า ได้หน้าลืมหลัง ได้ฤกษ์ได้ยาม

(4) ได้หน้าได้ตา งมเข็มในมหาสมุทร เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด

91 ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้

1 สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น นกสองหัว (คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วย ทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังเพื่อประโยชน์ตน), คงเส้นคงวา (เสมอต้นเสมอปลาย), พูดเป็นต่อยหอย (พูดฉอด ๆ ไม่หยุดปาก), ได้หน้าได้ตา (ได้เกียรติ ได้ชื่อเสียง) เป็นต้น

2 คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจ ให้นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น ได้ทีขี่แพะไล่ (ซ้ำเติมเมื่อผู้อื่นเพลี่ยงพล้ำลง), เชือดไก่ให้ลิงดู (ทําโทษเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง), ได้คืบจะเอาศอก (ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว), งมเข็มในมหาสมุทร (ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้) เป็นต้น ไป

3 สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจหรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด (ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย) เป็นต้น

92 ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อใดไม่ปรากฏว่ามีสํานวน คําพังเพย หรือสุภาษิตเลย

ตอบ 3 คําในตัวเลือกข้อ 3 ไม่ใช่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต แต่เป็นคํากิริยาที่มีสัมผัสคล้องจองกัน

94 ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

95 ข้อใดมีความหมายว่า “ไม่ถูกกัน”

(1) ศรศิลป์ไม่กินกัน

(2) ศิษย์นอกครู

(3) ศึกหน้านาง

(4) ศึกเสือเหนือใต้

ตอบ 1 ศรศิลป์ไม่กินกัน = ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ชอบหน้ากัน (ส่วนศิษย์นอกครู = ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคําสั่งสอนของครูบาอาจารย์, ศึกหน้านาง = การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตนหมายปอง, ศึกเสือเหนือใต้ = สงคราม)

96 “หมาเห่าใบตองแห้ง” มีความหมายตรงกับข้อใด

(1) คนที่ลอบทําร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นลับหลัง

(2) คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่งแต่ไม่กล้าจริง

(3) คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนใช้ประโยชน์ไม่ได้

(4) คนที่อาละวาดพาลหาเรื่องทําให้วุ่นวายไปหมด

ตอบ 2 หมาเห่าใบตองแห้ง = คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่งแต่ไม่กล้าจริง

97 “หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น” ตรงกับข้อใด

(1) น้ำลดตอผุด

(2) เนื้อเต่ายําเต่า

(3) ทํานาบนหลังคน

(4) ดีดลูกคิดรางแก้ว

ตอบ 3 ทํานาบนหลังคน = หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น (ส่วนน้ำลดตอผุด = เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ, เนื้อเต่ายําเต่า = นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม, ดีดลูกคิดรางแก้ว = คิดถึงผลที่จะได้อยู่ทางเดียว)

98 ข้อใดมีคําที่สะกดผิดปรากฏอยู่ด้วย

(1) อเนก ผาสุก อาเพศ

(2) ตระเวน ถั่วพู โลกาภิวัตน์

(3) เกล็ดปลา โน้ตบุ๊ค อานิสงส์

(4) ผลัดผ้า อาเจียน ผุดลุกผุดนั่ง

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ โน้ตบุ๊ค ซึ่งที่ถูกต้องคือ โน้ตบุ๊ก

99 ข้อใดสะกดถูกทุกคํา

(1) บังสุกุล ปฏิสันถาร ปิกนิก

(2) อนุญาติ กระทันหัน ผัดผ่อน

(3) กระเพรา กร้าวร้าว เครื่องยนต์

(4) โครงการ เครื่องลาง เซ็นติเมตร

ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ อนุญาติ กระทันหัน กระเพรา กร้าวร้าว เครื่องลาง เซ็นติเมตร ซึ่งที่ถูกต้องคือ อนุญาต กะทันหัน กะเพรา ก้าวร้าว เครื่องราง เซนติเมตร

100 ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด

(1) เค้ก คุ้กกี้ กะเพรา

(2) งมงัม บังสุกุล โครงการณ์

(3) ไนต์คลับ กะเพรา เครื่องยนต์

(4) ถั่วพู กะโหลก ตกล่องปล่องชิ้น

ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ คุ้กกี้ จึมงัม โครงการ ซึ่งที่ถูกต้องคือ คุกกี้ จึมงํา โครงการ

101 ข้อใดมีคําที่สะกดผิดสลับกับคําที่สะกดถูก

(1) รื่นรมย์ สีสัน โน๊ตดนตรี ปราณีต

(2) คลินิก จตุรัส เกล็ดปลา ภาพยนต์

(3) ลายเซ็นต์ ผาสุข เผอเรอ ละเอียดละออ

(4) อนุญาติ ปิกนิก กระเพรา มาตรฐาน

ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ โน้ตดนตรี ปราณีต จตุรัส ภาพยนต์ ลายเซ็นต์

ผาสุข ละเอียดละออ อนุญาติ กระเพรา

ซึ่งที่ถูกต้องคือ โน้ตดนตรี ประณีต จัตุรัส ภาพยนตร์ ลายเซ็น

ผาสุก ละเอียดลออ อนุญาต กะเพรา

102 ข้อใดเขียนคําผิดทุกคํา

(1) เสื้อเชิ้ต ขนมคุกกี้ เครื่องสําอาง กระทะ

(2) พู่ระหง วิ่งผัด รสชาติ บ้านจัดสรร

(3) ผาสุก ดาดฟ้า จึมงัม เหลวไหล

(4) จตุรัส อนุญาติ โน้ตดนตรี รื่นรมณ์

ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ เสื้อเชิ้ต วิ่งผัด จึมงัม จตุรัส อนุญาติ โน้ตดนตรี รื่นรมณ์

ซึ่งที่ถูกต้องคือ เสื้อเชิ้ต วิ่งผลัด จึมงํา จัตุรัส อนุญาต โน้ตดนตรี รื่นรมย์

103 ข้อใดใช้คําถูกต้อง

(1) นําไม้ลวกไปลวกน้ำร้อน

(2) คนงานกําลังขุดรอกคูคลอง ก็เห็นงูกําลังลอกคราบ

(3) เราไม่ควรร่วงล้ำเข้าไปเก็บของที่ร่วงหล่นในบ้านคนอื่น

(4) เขานําลวดมากั้น แล้วบอกว่าค่าผ่านประตู 10 บาทรวด

ตอบ 4 คําว่า “ลวด” = โลหะที่เอามารีดเป็นเส้น, “รวด” = เสมอเท่ากันหมด (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้คําผิด จึงควรแก้ไขเป็น นําไม้รวกไปลวกน้ำร้อน, คนงานกําลังขุดลอกคูคลอง ก็เห็นงูกําลังลอกคราบ, เราไม่ควรล่วงล้ำเข้าไปเก็บของที่ร่วงหล่นในบ้านคนอื่น)

  1. พระธรรมทูต……………….พุทธศาสนาไปทั่วโลก

(1) แผ่

(2) แพร่

(3) เผยแผ่

(4) เผยแพร่

ตอบ 3 คําว่า “เผยแผ่” = ทําให้ขยายออกไป เช่น เผยแผ่พระศาสนา (ส่วนคําว่า “แผ่” = คลี่ขยายกระจายออกไปให้มีลักษณะแบนราบหรือกว้างกว่าเดิม เช่น แผ่อาณาเขต, “แพร่” = กระจายออกไป แผ่ออกไป เช่น แพร่ข่าว แพร่เชื้อโรค, “เผยแพร่” – โฆษณาให้แพร่หลาย)

105 ฉันยินดีจะ ………….. ค่าเสียหายให้คุณ

(1) ชดใช้

(2) ชดเชย

(3) ทดแทน

(4) ตอบแทน

ตอบ 1 คําว่า “ชดใช้” = ใช้ค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไปก่อนแล้ว ให้ทดแทนสิ่งที่ใช้หรือเสียไป เช่น ชดใช้ค่าเสียหาย (ส่วนคําว่า “ชดเชย” = ใช้แทนสิ่งที่เสียไป เพิ่มเติม, “ทดแทน” = ตอบแทน ชดใช้หรือชดเชยสิ่งที่เสียไป, “ตอบแทน” = ทําทดแทนแก่ผู้ทําก่อน)

106 การเตรียมงานไม่ดี จะทําให้เกิดความ ………. ขึ้นมาได้

(1) ขุกขัก

(2) ขุกขลัก

(3) ขลุกขลัก

(4) ขรุกขรัก

ตอบ 3 คําว่า “ขลุกขลัก” = ติดกุกกักอยู่ในที่แคบ ติดขัด ไม่สะดวก เสียงดังอย่างก้อนดินกลิ้งอยู่ในหม้อหรือในไห (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

107 คุณขอ…………….เงินมาหลายครั้งแล้ว ครั้งนี้ผมไม่ยอมให้ …………… อีกแล้ว

(1) ผัด ผัด

(2) ผัด ผลัด

(3) ผลัด ผัด

(4) ผลัด ผลัด

ตอบ 1 คําว่า “ผัด” = ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวัน ผัดหนี้ ส่วนคําว่า “ผลัด” = เปลี่ยนแทนที่ เช่น ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร ผลัดใบ ผลัดขน

108 คนป่วยอยู่ในอาการ…………………….เต็มที่

(1) ล่อแล่

(2) ร่อแร่

(3) ล่อยแล่

(4) ร่อยแร่

ตอบ 2 คําว่า “ร่อแร่” = อาการหนักจวนตาย เช่น อยู่ในอาการร่อแร่ (ส่วนคําว่า “ล่อแล่” = พูดไม่ชัดพูดไม่ได้ความ, “ล่อยแล่, ร่อยแร่” เป็นคําที่เขียนผิด)

109 ผู้ร้าย………. ไม่ยอมให้ตํารวจจับตัวไป

(1) ขัดเขิน

(2) ขัดข้อง

(3) ขัดขืน

(4) ขัดขวาง

ตอบ 3 คําว่า “ขัดขืน” = ไม่ประพฤติตาม ไม่ทําตาม (ส่วนคําว่า “ขัดเขิน” = กระดากอาย, “ขัดข้อง”= ไม่ยอมให้ทํา ไม่ตกลงด้วย ติดขัด, “ขัดขวาง” = ทําให้ไม่สะดวก ทําให้ติดขัด)

110 วัยรุ่นไทยมักจะ…………….และ …………… นักร้องจากประเทศเกาหลี

(1) คั่งไคล้ หลงไหล

(2) คั่งไคร้ หลงใหล

(3) คลั่งไคล้ หลงไหล

(4) คลั่งไคล้ หลงใหล

ตอบ 4 คําว่า “คลั่งไคล้” = หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หมกมุ่นอยู่กับงานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง,“หลงใหล” = คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หลงใหลนักร้องหรือดาราดัง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

111 วันนี้ฝนตก ………… ข้าว ………… คงสดชื่นขึ้นมาได้

(1) ปอย ๆ นาปลัง

(2) ปอย ๆ นาปรัง

(3) ปรอย ๆ นาปรัง

(4) ปรอย ๆ นาปลัง

ตอบ 3 คําว่า “ปรอย ๆ” = ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง” = นาที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

112 ข้อใดมีคําผิดอยู่ในประโยค

(1) สมชายเรี่ยรายเงินไปสร้างศาลาการเปรียญ

(2) สมชาติมีบ้านจัดสรรอยู่ใกล้กับสถานกงสุล

(3) สมพรชอบกินขนมคุกกี้กับขนมเค้กจนตัวอ้วนตุ๊ต๊ะ

(4) สมศรีใส่เสื้อสีสันฉูดฉาดและแต่งหน้าด้วยเครื่องสําอางราคาแพง

ตอบ 1 ประโยคในตัวเลือกข้อ 1 ใช้คําผิด จึงควรแก้ไขเป็น สมชายเรี่ยไรเงินไปสร้างศาลาการเปรียญ(คําว่า “เรี่ยไร” = ขอร้องให้ช่วยออกเงินทําบุญตามสมัครใจ ส่วนคําว่า “เรี่ยราย” = กระจาย เกลื่อนไป)

 

ข้อ 113 – 116 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ใช้คําพุ่มเฟือย

(2) ใช้คําขยายผิดที่

(3) ใช้คํากํากวม

(4) ใช้คําผิดความหมาย

 

113 “เขาทําลายไทย” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 หน้า 11 (54351) การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วยเพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําที่แวดล้อมอยู่เป็นเครื่องช่วย กําหนดความหมาย เช่น เขาทําลายไทย (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไขให้มีความหมายแน่ชัดลงไป โดยใช้ถ้อยคําแวดล้อมเสียใหม่เป็น เขาทําลายประเทศไทย/เขาทําศิลปะรูปลายไทย

114 “วันนี้ฉันมาคนเดียวไม่มีใครเป็นเพื่อน” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 1 หน้า 18 – 19, 39 (54351) การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็นจะทําให้คําโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย แม้จะตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น วันนี้ฉันมาคนเดียวไม่มีใครเป็นเพื่อน (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็นวันนี้ฉันมาคนเดียว

115 “นางแบบลูกครึ่งคนนี้พูดภาษาไทยไม่แข็งแรง” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 10 – 11 (54351) การใช้คําในการพูดและเขียนต้องรู้จักเลือกคํามาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม คือ ต้องมีความรู้ว่าคําที่จะนํามาใช้นั้นมีความหมายว่าอย่างไร ใช้แล้วเหมาะสม ไม่ผิดความหมาย และจะเป็นที่เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงไร เช่น นางแบบลูกครึ่งคนนี้พูดภาษาไทยไม่แข็งแรง ใช้คําไม่ถูกต้อง หรือใช้คําผิดความหมาย) จึงควรแก้ไขเป็น นางแบบลูกครึ่งคนนี้พูดภาษาไทยไม่คล่อง (คําว่า “แข็งแรง” = มีกําลังมาก ส่วนคําว่า “คล่อง” =สะดวก ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง)

116 “ฉันทํารายงานส่งอาจารย์เรื่องละครไทยน้ำเน่าหรือน้ำดี” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 37 (54351) การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ คือ การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะถ้าหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือมีความหมายไม่ตรงกับที่เราต้องการ เช่น ฉันทํารายงานส่งอาจารย์เรื่องละครไทยน้ำเน่าหรือน้ำดี (ใช้คําขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขเป็น ฉันทํารายงานเรื่องละครไทยน้ำเน่าหรือน้ำดีส่งอาจารย์

 

ข้อ 117 – 120 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) วางส่วนขยายไม่ถูกต้อง

(2) ใช้คําขัดแย้งกัน

(3) ใช้คําไม่เป็นเหตุเป็นผล

(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ

 

117 “ห้องสอบที่เต็มไปด้วยนักศึกษา” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 38 (54351) การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และ ไม่เคอะเขิน เช่น ห้องสอบที่เต็มไปด้วยนักศึกษา (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น นักศึกษาอยู่เต็มห้องสอบ

118 “อาหารถูกทําให้เย็นด้วยการนําไปแช่ตู้เย็น” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 126 (56256), (ดูคําอธิบายข้อ 117 ประกอบ) ประโยคข้างต้นใช้สํานวนต่างประเทศเพราะในภาษาไทยไม่นิยมใช้คํากริยา “ถูก” แสดงกรรมวาจก นอกจากจะใช้ในเรื่องที่ไม่ดี เท่านั้น หากเป็นเรื่องดีมักจะละคํากริยา “ถูก” ไว้ หรือไม่ก็ใช้คําอื่นหรือเปลี่ยนรูปประโยคเป็นอย่างอื่นไป จึงควรแก้ไขเป็น อาหารเย็นเพราะนําไปแช่ตู้เย็น

119 “ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างหนัก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 41 (54351) การใช้คําขัดแย้งกัน คือ การใช้คําที่ทําให้เนื้อความขัดกัน หรือใช้คําที่มีความหมายตรงข้าม เช่น ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างหนัก (ใช้คําขัดแย้งกัน) จึงควรแก้ไขเป็นฝนตกลงมาอย่างหนัก (คําว่า “ค่อย ๆ” – ช้า ๆ ส่วนคําว่า “หนัก” = แรง)

120 “มีตึกเรียนในมหาวิทยาลัยหลายหลังที่ไม่ได้ใช้งาน” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 116 ประกอบ) ประโยคข้างต้นวางส่วนขยายไม่ถูกต้อง จึงควรแก้ไขเป็นในมหาวิทยาลัยมีตึกเรียนหลายหลังที่ไม่ได้ใช้งาน

Advertisement