การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 “คนเสื้อลายเสือคนนั้นกําลังคนแกงอยู่หน้าบ้าน” จากข้อความไม่ปรากฏภาพสะท้อนลักษณะของภาษาไทยประเภทใด

(1) บอกพจน์

(2) มีคําลักษณนาม

(3) มีระบบเสียงสูงต่ำ

(4) คําคําเดียวมีหลายความหมาย

ตอบ 1 หน้า 2 (56256), 2 – 10 (H) ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะของภาษาไทยดังนี้

1 คําคําเดียวมีหลายความหมาย เช่น คน (น.) = มนุษย์, คน (ก.) = กวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน

2 มีคําลักษณนาม เช่น คนเสื้อลายเสือคนนั้น

3 มีระบบเสียงสูงต่ำ เช่น เสื้อ (เสียงโท), เสือ (เสียงจัตวา)

2 “พี่เห็นน้องสาวถ่ายภาพพลายชุมพลกําลังกินอ้อยหน้าร้านยายทอง” จากข้อความปรากฏคําบอกเพศกี่คํา

(1) 1 คํา

(2) 2 คํา

(3) 3 คํา

(4) 4 คํา

ตอบ 3 หน้า 2, 109 – 110, 112 (56256), 6 – 7, 97 98 (H) คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดงเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ลุง พลาย (ช้างตัวผู้) ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ชี สะใภ้ หญิง สาว นาง ป้า ย่า ยาย ดิฉัน พัง (ช้างตัวเมีย) ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ เมื่อต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษาคําโดด ก็จะต้องใช้คําบ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือนํามาประสมกันตามแบบ คําประสมบ้าง เช่น พี่ชาย น้องสาว เด็กผู้หญิง น้าชาย อาหญิง ฯลฯ (ข้อความข้างต้นปรากฏคําบอกเพศ 3 คํา ได้แก่ พี่เห็นน้องสาวถ่ายภาพพลายชุมพลกําลังกินอ้อยหน้าร้านยายทอง)

3 ข้อใดไม่สะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดชัดเจนที่สุด

(1) เขาไปไหนกันบ้าง

(2) คนไหนไม่ชอบดื่มไวน์บ้าง

(3) คนดีมีที่ไหนบ้างนะ

(4) ข้อไหนที่หนูทําไม่ได้บ้างคะ

ตอบ 2 หน้า 2, 5 – 6 (56255), 2 – 3 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดมีดังนี้

1 คําแต่ละคําต้องออกเสียงพยางค์เดียว และอาจเป็นคําควบกล้ำก็ได้

2 ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่คํายืมจากภาษาอื่น

3 มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

4 มีระบบวรรณยุกต์ ฯลฯ

(คําว่า “ไวน์” เป็นคํายืมมาจากภาษาอังกฤษ = Wine)

4 “ฝูงนกกําลังบินตรงมายังลุงสมาน” จากข้อความไม่ปรากฏภาพสะท้อนลักษณะของภาษาไทยประเภทใด

(1) บอกพจน์

(2) บอกกาล

(3) บอกเพศ

(4) บอกมาลา

ตอบ 4 หน้า 2 (56256), 2 – 10 (H) ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะของภาษาไทยดังนี้

1 บอกเพศ เช่น ลุง (ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ)

2 บอกพจน์ (จํานวน เช่น ฝูง (มีจํานวนมากกว่า 2 ขึ้นไป) = พวก หมู่

3 บอกกาล (เวลา) เช่น กําลัง (บอกปัจจุบัน)

5 ข้อใดเป็นสระเดี่ยวเสียงยาวทุกคํา

(1) น้ำตาลสด

(2) ผ้าผืนนี้

(3) เงินปากผี

(4) ตุ่มสามโคก

ตอบ 2 หน้า 8, 13 – 14 (56256), 17, 29 – 30 (H) เสียงสระในภาษาไทย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อี อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ และเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ เออ โอ ออ

2 สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ และเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอื้อ อัว อาว อาย (ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะถึงสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย/ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)

6 ข้อใดไม่ใช่สระหลัง

(1) แม่

(2) คุณ

(3) ถอน

(4) โหล

ตอบ 1 หน้า 9 – 10 (56256), 18 – 19 (H) สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ซึ่งจะต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระกลาง ได้แก่ อา คือ เออ อะ อี เออะ

2 สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ

3 สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ

7 ข้อใดเป็นสระเดี่ยว

(1) ร้าย

(2) รั้ว

(3) กฤช

(4) ส่วน

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) คําว่า “กฤช” อ่านว่า กริด (สระอิ)

8 “นกบินผ่านหน้าบ้านยายผม” จากข้อความมีสระเดี่ยวเสียงยาวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 0 เสียง

(2) 1 เสียง

(3) 2 เสียง

(4) 3 เสียง

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระเดี่ยวเสียงยาว 1 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่ สระอา = ผ่าน/หน้า/บ้าน/ยาย

9 ข้อใดไม่เป็นสระผสม

(1) สิว

(2) พวง

(3) เขลา

(4) ผม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

10 ข้อใดเป็นสระผสม

(1) โชว์

(2) ศิลป์

(3) ไมล์

(4) เล่ห์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

11 ข้อใดประกอบด้วยเสียงสระอือ + อา + อี

(1) เปลือย

(2) ป้าย

(3) เอี่ยว

(4) เหมือน

ตอบ 1 หน้า 14 (562568), 28 (H) คําว่า “เปลือย” ประกอบด้วย เอื้อ + ย หรือเป็นสระผสม 3 เสียง คือ ฮือ + อา + อี = เอือย

12 ข้อใดเป็นสระผสม 2 เสียง

(1) เฉื่อย

(2) เห็น

(3) กล้วย

(4) หลุยส์

ตอบ 4 หน้า 14 (56256), 28 (H) คําว่า “หลุยส์” ประกอบด้วย อุ + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียงคือ อุ + อิ = อุย

13 “แค่จูบเบาเบา ใครว่าไม่น่าสนใจ” จากข้อความมีสระผสมที่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 0 เสียง

(2) 1 เสียง

(3) 2 เสียง

(4) 3 เสียง

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระผสม 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 สระเอา = เบา

2 สระไอ (ไอ) = ใคร/ไม่/ใจ

14 รูปพยัญชนะในภาษาไทยลําดับที่ 7 ตรงกับข้อใด

(1) ฆ

(2) ง

(3) จ

(4) ช

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ง = รูปพยัญชนะตัวที่ 7 ในภาษาไทย นับเป็นพวกอักษรต่ำและใช้เป็นตัวสะกดในแม่กง

15 พยัญชนะต้นในข้อใดเป็นประเภทเสียงหนัก

(1) ร้อง

(2) ก่อน

(3) ฟ้า

(4) ห้าม

ตอบ 4 หน้า 19 – 21 (56255), 39 – 43 (H), (คําบรรยาย) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามรูปลักษณะของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้

1 พยัญชนะระเบิด หรือพยัญชนะกัก ได้แก่ ก ค (ข ฆ) จ ด (ฎ) ต (ฎ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ

2 พยัญชนะนาสิก ได้แก่ ง น (ณ) ม

3 พยัญชนะเสียดแทรก ได้แก่ ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)

4 พยัญชนะถึงเสียดแทรก ได้แก่ ช (ฉ ณ)

5 พยัญชนะกึ่งสระ ได้แก่ ย ว

6 พยัญชนะเหลว ได้แก่ ร ล

7 พยัญชนะเสียงหนัก ได้แก่ ห (ฮ) รวมทั้ง พยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)

16 พยัญชนะต้นในข้อใดเกิดที่ฐานเพดานอ่อน

(1) ปาก

(2) ซุง

(3) กอด

(4) (อ้วน)

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 (56255), 37 38 (H) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์(ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

1 ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ

2 ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง

3 ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร

4 ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ฎ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)

5 ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ย ภ) มวและริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)

17 ข้อใดไม่ใช่พยัญชนะเคียงกันมา

(1) ธรรมชาติ

(2) ศตวรรษ

(3) สงคราม

(4) มหาราช

ตอบ 3 หน้า 22 (56256), 44 (H), (คําบรรยาย) การออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา(การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียง ทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้หากคําใดที่มีเสียงสระอะ อา อิ อี อุ อู อยู่ตรงกลางคํา และพยางค์หน้าออกเสียงเต็มเสียงทุกคําก็ให้ถือว่า เป็นพยัญชนะคู่แบบเคียงกันมา เช่น ธรรมชาติ (ทํามะชาด), ศตวรรษ (สะตะวัด), มหาราช (มะหาราด) ฯลฯ

18 ข้อใดเป็นพยัญชนะนํากันมา

(1) ไกล

(2) สบาย

(3) ทะนาน

(4) อย่าง

ตอบ 4 หน้า 22 (56256), 40 (H) การออกเสียงแบบนํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็จะเปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี “ห” นํา เช่น หนาม อย่าง (หย่าง) ฯลฯ

19 ข้อใดเป็นพยัญชนะควบกันมา

(1) หลุม

(2) เสร็จ

(3) สว่าง

(4) พหูพจน์

ตอบ 2 หน้า 22 – 26 (56256), 44 – 49 (H) การออกเสียงแบบควบกันมา (อักษรควบ) คือพยัญชนะคู่ที่ออกเสียง 2 เสียงควบกล้ำไปพร้อมกัน แบ่งออกเป็น

1 อักษรควบกล้ำแท้ หรือเสียงกล้ำกันสนิท โดยเสียงทั้งสองร่วมเสียงสระและวรรณยุกต์เดียวกัน เช่น ไกล เพลง ใคร กลับ ฯลฯ

2 อักษรควบกล้ำไม่แท้ หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น สร้อย (ส้อย), เสร็จ (เส็ด) ฯลฯ

20 “ความจริงแล้วภาษาเริ่มต้นมาแต่สมัยกรีกเชียวนะ” จากข้อความไม่ปรากฏพยัญชนะคู่ประเภทใด

(1) เคียงกันมา

(2) ควบกันมา

(3) นํากันมา

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 17 18 และ 19 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฎพยัญชนะคู่ดังนี้

1 ควบกันมา ได้แก่ ควบกล้ำแท้ = ความ/กรีก และควบกล้ำไม่แท้ = จริง (จิง)

2 นํากันมา ได้แก่ สมัย (สะไหม)

21 ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกด 1 เสียง

(1) เพื่อเธอ

(2) กรุงเทพ

(3) ต้นกล้า

(4) เทครัว

ตอบ 3 หน้า 27 – 29 (56255), 50 – 53 (H) พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ

1 แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ

2 แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส

3 แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ

4 แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ฬ ญ

5 แม่กง ได้แก่ ง

6 แม่กม ได้แก่ ม

7 แม่เกย ได้แก่ ย

8 แม่เกอว ได้แก่ ว นอกจากนี้สระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ/ไอ (อัย) = แม่เกย และสระเอา (อาว) = แม่เกอว (คําว่า “ต้นกล้า” มีเสียงพยัญชนะสะกดเพียง 1 เสียง คือ แม่กน = ต้น และมีคําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด คือ กล้า)

22 ข้อใดไม่มีเสียงพยัญชนะสะกดทุกคํา

(1) เท้าแชร์

(2) ลําไย

(3) เสือหิว

(4) กิโล

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ) คําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ กิโล/แชร์/เสือ

23 ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็นทุกคํา

(1) ไตรมาส

(2) บรรเทา

(3) กฎเกณฑ์

(4) ทวงสิทธิ์

ตอบ 2 หน้า 28 (56256), 51 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 21 ประกอบ)ลักษณะของคําเป็นกับคําตายมีดังนี้

1 คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่ กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงยาวรวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)

2 คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงสั้น

24 “จะคอยเป็นกําลังใจให้เสมอนะคะ” จากข้อความปรากฎพยัญชนะสะกดกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 2 เสียง

(2) 3 เสียง

(3) 4 เสียง

(4) 5 เสียง

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฎพยัญชนะสะกด 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 แม่เกย = คอย/ใจ/ให้

2 แม่กน = เป็น

3 แม่กม = กํา

4 แม่กง = ลัง (ส่วนคําอื่นไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด)

25 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โท

(1) เล่น

(2) งก

(3) เป็น

(4) น้า

ตอบ 1 หน้า 33 – 37 (56255), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยจะมี 5 เสียง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก  เสียงโท  เสียงตรี และเสียง จัตวา ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ ให้ถูกต้อง เช่น คําว่า “เล่น” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก เป็นต้น (ส่วนคําว่า “งก/เป็น/น้า” = ตรี/สามัญ/ตรี)

26 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากข้ออื่น

(1) กว่า

(2) ถั่ว

(3) สุก

(4) ท่อ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) คําว่า “ท่อ” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์เอก)

27 ข้อใดมีวรรณยุกต์เสียงเดียวกัน

(1) แม่ครัว

(2) ทรงเกียรติ

(3) เข้าชื่อ

(4) เลิศล้ำ

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) คําว่า “เข้า/ชื่อ” มีเสียงวรรณยุกต์โททั้งคู่ (ส่วนคําว่า “แม่/ครัว” – โท/สามัญ, “ทรง/เกียรติ” = สามัญ/เอก, “เลิศ/ล้ำ” = โท/ตรี)

28 “คนไหนบ้างไม่เคยทําผิด” จากข้อความไม่ปรากฎวรรณยุกต์เสียงใด .

(1) ตรี

(2) จัตวา

(3) โท

(4) เอก

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ดังนี้

1 เสียงสามัญ = คน/เคย/ทํา

2 เสียงเอก = ผิด

3 เสียงโท = บ้าง/ไม่

4 เสียงจัตวา = ไหน

29 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างเสียงกัน

(1) เชื่อม เหล็ก

(2) สระ ไผ่

(3) แย้ง โจ๊ก

(4) เลือก กล้วย

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) คําว่า “เชื่อม/เหล็ก” มีเสียงวรรณยุกต์โท/เอก(ส่วนคําว่า “สระ/ไผ่” – เอก/เอก, “แย้ง/โจ๊ก” = ตรี/ตรี, “เลือก/กล้วย” = โท/โท)

30 “คนเก่งและดีเริ่มมีน้อยลงทุกวัน” จากข้อความมีวรรณยุกต์เสียงใดมากที่สุด (1) จัตวา

(2) โท

(3) เอก

(4) ตรี

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ดังนี้

1 เสียงสามัญ = คน/ดี/มี/ลง/วัน

2 เสียงเอก = เก่ง

3 เสียงโท = เริ่ม

4 เสียงตรี = และ/น้อย/ทุก

31 “การมองโลกในแง่บวกช่วยทําให้สุขภาพจิตดี” จากข้อความมีเสียงวรรณยุกต์กี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 5 เสียง

(2) 4 เสียง

(3) 3 เสียง

(4) 2 เสียง

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 เสียงสามัญ = การ/มอง/ใน/ทํา/ดี

2 เสียงเอก = บวก/สุข/ขะ/จิต

3 เสียงโท = โลก/แง่/ช่วย/ให้/ภาพ

32 ข้อใดเป็นความหมายแฝงบอกทิศทาง

(1) เข้า

(2) กรู

(3) ไหว

(4) รุม

ตอบ 1 หน้า 44 – 46 (56255), 62 (H) ความหมายแฝงบอกทิศทาง ได้แก่

1 ขึ้นบน เช่น ขึ้น ฟู พอง เขย่ง

2 ลงล่าง เช่น ลง ตก ดิ่ง หล่น

3 เข้าใน เช่น เข้า ฉีด อัด ยัด

4 ออกนอก เช่น ออก ขย้อน บ้วน ถม

5 ถอยหลัง เช่น ถอย ร่น ดึง

6 ก้าวหน้า เช่น ก้าว รุน ดุน ผลัก

7 เข้าใกล้ เช่น กราย เฉียด ประชิด

8 แยกไปคนละทาง เช่น ปะทุ ระเบิด เตลิด

33 “ข้อสอบภาษาไทยนี่ ขนมหวานชัด ๆ” จากข้อความคําที่ขีดเส้นใต้ปรากฏความหมายลักษณะใด

(1) ความหมายแฝง

(2) ความหมายอุปมา

(3) ความหมายสัมพันธ์กับเสียง

(4) การแยกเสียงแยกความหมาย

ตอบ 2 หน้า 48 – 49 (56256), 64 (H) คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1 คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ตุ๊กตา (นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก), เทวดา/นางฟ้า(ดี สวย), ขนมหวาน (ที่ทําได้ง่าย ที่ทําได้สะดวก) ฯลฯ

2 คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แมวนอนหวด (ซื่อจนเซ่อ), เพชรในตม (สิ่งมีค่าที่ซ่อนอยู่ แต่คนยังไม่เห็นความสําคัญ) ฯลฯ

34 “แผลจากมีดบาดยังมีขนาดไม่เท่ากับแผลของคนที่ถูกฆ่าปาดคอเลย” จากข้อความนี้ปรากฎการแยกเสียงแยกความหมายในลักษณะใด

(1) พยัญชนะสะกดต่างกัน

(2) เสียงสูงต่ำต่างกัน

(3) เสียงสั้นยาวต่างกัน

(4) พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน

ตอบ 4 หน้า 51, 53 (56256), 65 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกันบ้าง เช่น คําว่า “บาด – ปาด” (พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน “เสียง บ กับ ป”) = ใช้ของมีคมทําให้ แตกแยกออก ซึ่ง “บาด” เป็นการทําให้เป็นแผลด้วยของมีคม แต่ “ปาด” อาจลึกกว่า

35 “ถึงคนเสื้อสีขาว ๆ คนนั้นจะดูดุ๊ดุ แต่ก็ยอมให้พวกเราเช่าห้องนานเป็นปี ๆ นะ” จากข้อความไม่ปรากฏคําซ้ำที่มีความหมายในลักษณะใด

(1) แบบไม่เจาะจง

(2) แบบแยกเป็นส่วน ๆ

(3) แบบเปลี่ยนความหมายไปจากเดิม

(4) แบบเน้นน้ําหนักความหมาย

ตอบ 3 หน้า 76 – 80 (56255), 76 – 78 (H) คําซ้ำ คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายแตกต่างจากคําเดียว ซึ่งวิธีการสร้างคําซ้ำ ก็เหมือนกับการสร้างคําซ้อน แต่ใช้คําคําเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) กํากับ เช่น เสื้อสีขาว ๆ (คําซ้ำที่ซ้ำคําขยายนาม เพื่อแสดงความไม่เจาะจง), ดูดุ๊ดุ คําซ้ำที่เปลี่ยน เสียงวรรณยุกต์ที่คําต้นเป็นเสียงตรี เพื่อเน้นน้ำหนักความหมาย), นานเป็นปี ๆ (คําซ้ําที่แยกความหมายออกเป็นส่วน ๆ เมื่อมีคําว่า “เป็น” มาข้างหน้า) ฯลฯ

36 ข้อใดเป็นคําซ้อน

(1) อดทน

(2) สิ่งของ

(3) มั่วนิ่ม

(4) รัดตัว

ตอบ 1 หน้า 62 – 73 (56255), 67 – 74 (H) คําซ้อน คือ คําเดี่ยว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1 คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น อดทน กดดัน บาปบุญ ทอดทิ้ง ฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่น เช่น เงียบสงัด (ไทย + เขมร) ฯลฯ

2 คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น พับเพียบ (สระอะ + เอีย) ฯลฯ

37 ข้อใดไม่เป็นคําซ้อน

(1) กดดัน

(2) ทดลอง

(3) พับเพียบ

(4) บาปบุญ

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ) คําว่า “ทดลอง” = ลองทํา ลองให้ทํา ไม่ใช่คําซ้อนแต่เป็นคําประสม

38 ข้อใดไม่เป็นคําประสม

(1) ข้าวต้มกุ้ง

(2) แผงขายผัก

(3) แมวกินปลา

(4) หมวกกันน็อก

ตอบ 3 หน้า 80 – 89 (56256), 78 – 82 (H) คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมาย จํากัดเป็นนัยเดียว เช่น ข้าวต้มกุ้ง แผงขายผัก หมวกกันน็อก ทอดสะพาน ทอดน่อง ทอดผ้าป่า งานครัว งานช้าง งานบ้าน งานดี ฯลฯ (ส่วน “แมวกินปลา” ไม่ใช่คําประสม แต่เป็นประโยคที่ประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม)

39 ข้อใดไม่เป็นคําประสม

(1) ทอดทิ้ง

(2) ทอดสะพาน

(3) ทอดน่อง

(4) ทอดผ้าป่า

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 และ 38 ประกอบ

40 คําประสมในข้อใดมีโครงสร้างต่างจากข้ออื่น

(1) งานครัว

(2) งานช้าง

(3) งานบ้าน

(4) งานดี

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ) คําว่า “งานดี” เป็นคําประสมที่มีคําตัวตั้งเป็นคํานาม และคําขยายเป็นวิเศษณ์ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําตัวตั้งและคําขยายเป็นคํานามด้วยกันทั้งคู่)

41 ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียงทุกคํา

(1) มะม่วง ตะไคร้ ผักกระเฉด

(2) ตะปู ฉะฉาด ยะยิบยะยับ

(3) ตะเคียน กระดุม ระคาย

(4) ชะตา สมยอม ระคน

ตอบ 2 หน้า 93 – 95 (56255), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นคําที่กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่

1 “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง + มะม่วง, หมากนาว – มะนาว, หมากพร้าว มะพร้าว, เมื่อคืน – มะรืน

2 “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวขาบ – ตะขาบ,ตาปู – ตะปู, ต้นไคร้ – ตะไคร้, ต้นเคียน + ตะเคียน, ตัวปลิง – ตะปลิง

3 “สะ” เช่น สายคือ 9 สะดือ, สาวใภ้ – สะใภ้, สายดึง – สะดึง

4 “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น, ฉันนี้ – ฉะนี้, เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด

5 “ยะ/ระ/ละ” เช่น ยิบ ๆ ยับ ๆ – ยะยิบยะยับ, รื่น ๆ – ระรื่น, ลิบ ๆ – ละลิบ

6 “อะ” เช่น อันไร/อันใด > อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ – พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู – ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว เป็นต้น

42 ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมชนิดแบ่งคําผิดและเทียบแนวเทียบผิด

(1) นกกระยาง ตุ๊กกะตา

(2) ลูกกระเดือก กระดุกกระดิก

(3) ตกกะใจ กระชดกระช้อย

(4) กระเสือกกระสน กระวนกระวาย

ตอบ 3 หน้า 94 – 96 (56255), 84 – 86 (H) คําอุปสรรคเทียมชนิดแบ่งคําผิดและคําอุปสรรคเทียมชนิดเทียบแนวเทียบผิด อธิบายได้ดังนี้

1 ชนิดแบ่งคําผิด เกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน โดยการเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 1 เสียงในคําที่พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “ก” เช่น ตกใจ > ตกกะใจ,นกยาง – นกกระยาง, ตุ๊กตา – ตุ๊กกะตา, ลูกเดือก – ลูกกระเดือก ฯลฯ

2 ชนิดเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไปในคําซ้อน เพื่อเสียงทั้งที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียม ที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น ชดช้อย – กระชดกระช้อย, เสือกสน – กระเสือกกระสน, วนวาย -กระวนกระวาย, ฟัดเฟียด – กระฟัดกระเฟียด ฯลฯ

43 ข้อใดไม่ใช่คําอุปสรรคเทียมที่เลียนแบบภาษาเขมร

(1) มะรืน

(2) ระย่อ

(3) สะพรั่ง

(4) ชะดีชะร้าย

ตอบ 1 หน้า 96 – 98 (56255), 86 – 87 (H) อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ได้แก่

1 “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะชะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ประเดี๋ยว ,ปะติดปะต่อ, ประท้วง, ประหวั่น, พะรุงพะรัง, พะเยิบ, สมรู้, สมยอม, สมสู่, สะสาง, สะพรั่ง, สะสวย, สะพรึบ ฯลฯ

  1. ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า“ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขยี้, ขยํา, ปลูก, ปลง, ปลด, ปละ, ปราบ, ผละ, พร่ำ ฯลฯ

(ส่วนคําว่า “มะรืน” เป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียง) (ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ)

44 “หญิงสาวเดินกระฟัดกระเฟียดงอนชายหนุ่มไปนั่งอยู่คนเดียวใต้ต้นมะพร้าว” ประโยคที่ยกมานี้ปรากฏคําอุปสรรคเทียมชนิดใดบ้าง

(1) เทียบแนวเทียบผิดและกร่อนเสียง

(2) เทียบแนวเทียบผิดและแบ่งคําผิด

(3) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและกร่อนเสียง

(4) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและแบ่งคําผิด

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 41 และ 42 ประกอบ) ประโยคข้างต้นปรากฏคําอุปสรรคเทียมดังนี้

1 ชนิดเทียบแนวเทียบผิด ได้แก่ กระฟัดกระเฟียด

2 ชนิดกร่อนเสียง ได้แก่ มะพร้าว

45 “หลวงพระบางในกระแสการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงต้องถูกท้าทายอย่างมากว่า จะยืนหยัดความเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่คนลาวภาคภูมิใจไปได้อีกนานแค่ไหน” ข้อความที่ยกมาเป็นประโยคชนิดใด

(1) คําสั่ง

(2) บอกเล่า

(3) คําถาม

(4) ขอร้องหรือชักชวน

ตอบ 2 หน้า 103 – 104 (56256), 90 – 91, 93 – 94 (H) ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา ซึ่งอาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ เช่น ไปแล้วจ้า, ไม่ได้ไปค่ะ ฯลฯ แต่บางครั้งประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร/อะไร/ที่ไหน/เมื่อไหร่/อย่างไร” อาจใช้ ในประโยคบอกเล่าก็ได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ได้ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ไปไหนก็ไป ฯลฯ

46 “ความรักดูจะเป็นเรื่องสําคัญที่คงอยู่คู่มนุษยชาติ หากแต่อํานาจและพลังความรักนั้นเป็นแรงขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์” ข้อความที่ยกมานี้เป็นประโยคชนิดใด

(1) คําสั่ง

(2) ขอร้องหรือชักชวน

(3) คําถาม

(4) บอกเล่า

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 “ที่ควรสังวรก็คือ อย่ามัวแต่อ่านหรือฟังอย่างเดียว ควรมีการปฏิบัติควบคู่กันไปด้วยอย่างจริงจัง”ข้อความที่ยกมานี้เป็นประโยคชนิดใด

(1) คําสั่ง

(2) ขอร้องหรือชักชวน

(3) คําถาม

(4) บอกเล่า

ตอบ 1 หน้า 102 (56256), 91 – 92 (H) ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่งมักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้ เช่น ห้ามรับประทาน เป็นต้น

48 ประโยคในข้อใดไม่มีกรรม

(1) เด็ก ๆ กําลังเล่นฟุตบอล

(2) คนเดินอย่างพร้อมเพรียง

(3) คนเข้าแถวซื้อของอย่างเป็นระเบียบ

(4) พนักงานเตือนผู้โดยสารให้นั่งประจําที่

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โครงสร้างประโยคในภาษาไทย แบ่งออกเป็น

1 ประโยค 2 ส่วน คือ ประธาน + กริยา (อาจจะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น คนเดินอย่างพร้อมเพรียง ฯลฯ

2 ประโยค 3 ส่วน คือ ประธาน + กริยา + กรรม (อาจจะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น เด็ก ๆ กําลังเล่นฟุตบอล, คนเข้าแถวซื้อของอย่างเป็นระเบียบ, พนักงานเตือนผู้โดยสาร ให้นั่งประจําที่ ฯลฯ

49 ประโยคในข้อใดไม่มีส่วนขยายกริยา

(1) สุดากินอาหารอย่างอร่อย

(2) สายพิณอยากกินอาหารแปลก ๆ

(3) สมชายชอบกินอาหารเพื่อสุขภาพ

(4) อาหารจานเด็ดปรุงโดยพ่อครัวฝีมือดี

ตอบ 4 หน้า 105 – 106 (56256), 95 – 96 (H) ภาคขยายแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1 ส่วนขยายประธานหรือผู้กระทํา และส่วนขยายกรรมหรือผู้ถูกกระทํา เรียกว่า คุณศัพท์ เช่น นักร้องหนุ่ม (ขยายประธาน) ร้องเพลงบุพเพสันนิวาส (ขยายกรรม) เป็นต้น

2 ส่วนขยายกริยา เรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตําแหน่งอยู่หน้าคํากริยาหรือหลังคํากริยาก็ได้ เช่น สุดากินอาหารอย่างอร่อยสายพิณอยากกินอาหารแปลก ๆ/สมชายชอบกินอาหารเพื่อสุขภาพ (ขยายกริยา “กิน” ทั้งหมด) เป็นต้น

50 คํากริยาใดทําหน้าที่เสมือนคํานาม

(1) ช้าเป็นเต่าคลาน

(2) ดีชั่วอยู่ที่ตัวทํา

(3) นอนหลับทับสิทธิ์

(4) หวานเป็นลมขมเป็นยา

ตอบ 3 หน้า 108 – 109 (56256), 98 (H) คํากริยาที่ทําหน้าที่เป็นคํานาม เช่น หาบดีกว่าคอน,นอนดีกว่านั่ง, นอนหลับทับสิทธิ์, รักแท้แพ้เงิน, ความรักสีดํา ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําวิเศษณ์ที่ทําหน้าที่อย่างนาม)

51 ประโยคในข้อใดมีส่วนขยายประธานและส่วนขยายกรรม

(1) นักร้องวัยรุ่นเต้นอย่างสนุก

(2) นักร้องเสียงทองร้องเพลงเพราะ

(3) นักร้องหนุ่มร้องเพลงบุพเพสันนิวาส

(4) นักร้องสาวเสียงใสกําลังร้องเพลง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

52 “นักเทนนิสชายเดี่ยวคว้าชัยได้แล้ว” คํานามในประโยคนี้บอกให้รู้อะไรบ้าง

(1) บอกคําลักษณนาม

(2) บอกคําแสดงเพศ

(3) บอกคําแสดงพจน์

(4) บอกคําแสดงเพศและคําแสดงพจน์

ตอบ 4 หน้า 108 – 110 (56256), 6 – 7 (H) คํานามในประโยคข้างต้นบอกลักษณะของภาษาไทยดังต่อไปนี้

1 บอกคําแสดงเพศ เช่น ชาย (ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ)

2 บอกคําแสดงพจน์ (จํานวน) เช่น เดี่ยว (จํานวนหนึ่ง หรือเอกพจน์)

53 “ผม” ในข้อใดแสดงความเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 ไม่ชัดเจน

(1) ผมอิ่มแล้ว

(2) ผมเปียกแล้ว

(3) ผมไปล่ะ

(4) ผมกลับก่อน

ตอบ 2 หน้า 112 (56256), 99 (H) สรรพนามบุรุษที่ : คือ คําที่ใช้แทนตัวผู้พูดเอง เช่น ฉัน ดิฉัน อิฉัน ผม กระผม ข้าพเจ้า เรา ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คํานามอื่น ๆ แทนตัวผู้พูดเพื่อแสดง ความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่ ใช้ตําแหน่งเครือญาติ เช่น พ่อ แม่ ฯลฯ ใช้ตําแหน่งในการงาน เช่น ครู หัวหน้า ฯลฯ หรือใช้ชื่อของผู้พูดเอง เช่น นิ้ว นุช ฯลฯ (ส่วนคําว่า “ผม” ในตัวเลือก ข้อ 2 เป็นคํานาม – ในที่ขึ้นอยู่บนศีรษะ)

54 คําสรรพนามในข้อใดแสดงความไม่เฉพาะเจาะจง

(1) อะไรที่ชอบ

(2) อยากทําอะไรบ้าง

(3) ทําอะไรอยู่

(4) อยากทําอะไรก็ตามใจ

ตอบ 4 หน้า 111, 116 – 113 (56256), 99 (H) สรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่“ใคร/อะไร/ใด/ไหน” ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกคําถาม แต่สรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจงจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะ เจาะจงว่าเป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม เช่น อยากทําอะไรก็ตามใจ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสรรพนามที่บอกคําถาม)

55 ข้อใดมีคําสรรพนามแสดงความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ

(1) ใครก็ได้

(2) คนนี้ใช่เลย

(3) ต่างคนต่างมา

(4) คนที่พูดถึงมาแล้ว

ตอบ 3 หน้า 111, 118 119 (56256), 99 – 100 (H) สรรพนามที่บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆได้แก่ คําว่า “ต่าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนทํากริยาเดียวกัน แต่ไม่ได้ทําพร้อมกัน เช่น ต่างคน ต่างมา), “บ้าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนแยกกันทํากริยาคนละอย่าง เช่น บ้างยืนบ้างนั่ง), “กัน” (ใช้แทนนามที่ต่างก็ทํากริยาเดียวกัน เกี่ยวข้องกัน เช่น มาด้วยกันไปด้วยกัน)

56 กริยาในข้อใดมีกรรมมารับ

(1) ม้าวิ่งเร็ว

(2) นกร้องเพลง

(3) สุนัขเห่าเสียงดัง

(4) แมววิ่งซุกซน

ตอบ 2 หน้า 105 (56256), 95 (H) ภาคแสดงหรือกริยา เป็นส่วนที่แสดงกิริยาอาการหรือการกระทําของภาคประธาน ซึ่งตามธรรมดากริยาจะมีตําแหน่งอยู่หลังประธาน และอยู่หน้ากรรม เช่น นกร้องเพลง (กริยาที่มีกรรมมารับ) ฯลฯ แต่กริยานั้นจะไม่มีกรรมก็ได้ เช่น ม้าวิ่งเร็ว/สุนัขเห่าเสียงดัง/แมววิ่งซุกซน (ประธาน + กริยา + ส่วนขยายกริยา โดยไม่มีกรรม) ฯลฯ

57 ไม่ควรใช้คํากริยา “ถูก” ในความหมายว่าถูกกระทํากับข้อใด

(1) ผู้ตัดสินถูกคนดูโห่ไล่

(2) ทีมฟุตบอลถูกคนดูตําหนิ

(3) ทีมวอลเลย์บอลถูกชื่นชม

(4) คนดูถูกเจ้าหน้าที่ห้ามส่งเสียงดัง

ตอบ 3 หน้า 126 (56256) ในภาษาไทยไม่นิยมใช้คํากริยา “ถูก” แสดงกรรมวาจก นอกจากจะใช้ในเรื่องไม่ดีเท่านั้น เช่น ผู้ตัดสินถูกคนดูโห่ไล่, ทีมฟุตบอลถูกคนดูตําหนิ, คนดูถูกเจ้าหน้าที่ห้าม ส่งเสียงดัง ฯลฯ หากเป็นเรื่องที่จะละคํากริยา “ถูก” หรือไม่ก็ใช้คําอื่นหรือเปลี่ยนรูปประโยคเป็นอย่างอื่นไป เช่น ทีมวอลเลย์บอลถูกชื่นชม – ทีมวอลเลย์บอลได้รับการชื่นชม ฯลฯ

58 ข้อใดใช้คํากริยาการีต

(1) ฉันจะไปดูคอนเสิร์ต

(2) ฉันจะไปซอยผม

(3) ฉันจะไปเดินเล่น

(4) ฉันจะไปซื้อของ

ตอบ 2 หน้า 128 (56256), (คําบรรยาย) คํากริยาธรรมดาที่มีความหมายเป็นการีต (ทําให้) เป็นคําที่กําหนดขึ้นเป็นพิเศษ และมีความหมายเฉพาะเป็นที่รู้กัน ซึ่งดูเหมือนว่าประธานเป็นผู้กระทํากริยานั้นเอง แต่ที่จริงแล้วประธานเป็นผู้ถูกกระทํา เช่น ไปดูหมอ (ที่จริงคือ ให้หมอดูโชคชะตา ให้ตน), ไปตรวจโรค (ที่จริงคือ ให้หมอยาตรวจโรคให้ตน), ไปตัดเสื้อทําผม (ที่จริงคือ ให้ช่างตัดเสื้อและทําผมให้ตน), ไปทําฟัน (ที่จริงคือ ให้หมอฟันทําฟันให้ตน) ฯลฯ

59 ข้อใดไม่ใช้คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้

(1) ดินดําน้ำชุ่ม

(2) ลักเล็กขโมยน้อย

(3) เหลือกินเหลือใช้

(4) มากหมอมากความ

ตอบ 1 หน้า 132 133 (56256), 102 (H) คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้ (ประมาณคุณศัพท์)หรือคําคุณศัพท์บอกจํานวนประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิด หน่อย ครบ พอ เกิน เหลือ ขาด ถ้วน ครบถ้วน หมด หลาย ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ทั้ง ฯลฯ

60 ข้อใดใช้คําคุณศัพท์แสดงคําถาม

(1) เหตุใดจึงมาช้า

(2) บอกก่อนได้ไหม

(3) คนอะไรใจร้ายจัง

(4) ของใครใครก็รัก

ตอบ 1 หน้า 135 – 137 (56256), 102 (H) คุณศัพท์ที่เป็นคําถาม ได้แก่ ใด อะไร ไหน ไร ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับคุณศัพท์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง แต่คุณศัพท์ที่เป็นคําถามจะใช้ถามคําถาม และต้องมีนามมาข้างหน้า เช่น เหตุใดจึงมาช้า ฯลฯ

61 ข้อใดใช้คํากริยาวิเศษณ์แสดงภาวะ

(1) เขาถามถึงเธอเสมอ

(2) เขานั่งห่างจากเธอ

(3) เขานอนตื่นสาย

(4) เขามาแน่นอน

ตอบ 4 หน้า 138 (56256), 103 (H) กริยาวิเศษณ์แสดงภาวะ ได้แก่ แน่นอน สะดวก ง่ายดาย ง่วงงุน เด็ดขาด ซึ่งจะต้องวางไว้หลังกริยาที่ไปขยาย เช่น เขามาแน่นอน ฯลฯ

62 “คนที่อ่อนแอย่อมแพ้อุปสรรคง่าย ๆ ส่วนคนที่เข้มแข็งย่อมไม่ยอมแพ้” ข้อความที่ยกมานี้ใช้คําสันธานชนิดใดเชื่อมประโยค

(1) เชื่อมความขัดแย้งกัน

(2) เชื่อมความเปรียบเทียบกัน

(3) เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผล

(4) เชื่อมความตอนหนึ่งที่กล่าวยังไม่จบ

ตอบ 4 หน้า 157 – 158 (56256), 107 (H) คําสันธานเชื่อมความตอนหนึ่งที่กล่าวยังไม่จบกับอีกตอนหนึ่งที่เริ่มต้นกล่าว เป็นคําสันธานเชื่อมความที่เป็นคนละเรื่อง แยกกันคนละส่วนแต่มีความเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ส่วน, ฝ่าย, อนึ่ง, อีกประการหนึ่ง

63 “คนเรานอกจากมีปัญญาแล้ว ยังต้องมีความคิดอีกด้วย” ข้อความที่ยกมานี้ใช้คําสันธานชนิดใด เชื่อมประโยค

(1) แบ่งรับแบ่งสู้

(2) รวมเข้าด้วยกัน

(3) เป็นเหตุเป็นผลกัน

(4) ให้ได้เนื้อความสละสลวย

ตอบ 1 หน้า 156 157 (56256), 107 (H) คําสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ได้แก่ ถ้า, ถ้า…ก็, ถ้า…จึง, ถ้าหากว่า, แม้…แต่, แม้ว่า, เว้นแต่, นอกจาก

64 “ความเชื่อเรื่องกรรม ถ้าเชื่อให้ถูกทางก็จะเป็นการดี” ข้อความที่ยกมานี้เชื่อมด้วยคําสันธานชนิดใด

(1) แบ่งรับแบ่งสู้

(2) เปรียบเทียบ

(3) รวมเข้าด้วยกัน

(4) เป็นเหตุเป็นผล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 ข้อใดไม่สามารถใช้คําบุรพบทอื่นแทนได้

(1) พูดจากันด้วยดี

(2) เดินทางด้วยเครื่องบิน

(3) กินข้าวตามด้วยผลไม้

(4) ติดต่อด้วยโทรศัพท์

ตอบ 1 หน้า 144 145 (56256) คําบุรพบท “ด้วยดิ” กับ “โดยดี” ถึงแม้จะมีความหมายคล้ายกันแต่บางกรณีก็ใช้แทนกันไม่ได้ เช่น พูดจากันด้วยดี (พูดกันด้วยอัธยาศัยไมตรี), พูดจากันโดยดี (ยอมพูดจาปรึกษาหารือ หรือประนีประนอมกันเมื่อเกิดการขัดแย้ง) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นสามารถใช้คําบุรพบท “โดย” แทน “ด้วย” ได้)

66 ข้อความในข้อใดไม่สามารถละบุรพบทได้

(1) เราควรทําความดีด้วยตัวของเราเอง

(2) เราควรเปิดรับทุกอย่างชนิดที่ไม่มีอคติแต่ต้น

(3) เขาไม่ใส่ใจในการศึกษาเล่าเรียนเลยแม้แต่น้อย

(4) รากฐานทุกศาสนามักวางอยู่บนความเชื่อและความศรัทธา

ตอบ 3 หน้า 143 144, 147 (56256), 104 – 106 (H) คําบุรพบทจะไม่สําคัญมากเท่ากับคํานามคํากริยา และคําวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบทที่อาจละได้ แต่ความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ แต่บุรพบทบางคําก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง หากจะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมาย ต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นละบุรพบท “ของ, ที่, และ” ได้ดังนี้ เราควรทําความดีด้วยตัวเราเอง เราควรเปิดรับทุกอย่างชนิดไม่มีอคติแต่ต้น, รากฐานทุกศาสนามักวางอยู่บนความเชื่อ ความศรัทธา)

67 ข้อใดไม่ใช่คําอุทาน

(1) ตายแล้วทําไปได้ยังไง

(2) ตายกันไปข้างหนึ่งล่ะ

(3) ตายจริงจําแทบไม่ได้เลย

(4) ตายจริงฉันลืมกระเป๋าตังค์

ตอบ 2 หน้า 158 – 160 (56256), 109 (H) คําอุทาน คือ คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆซึ่งคําอุทานบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอน แล้วแต่การออกเสียง และสถานการณ์ เช่น คําว่า “บ๊ะ” แสดงอารมณ์ไม่พอใจหรือประหลาดใจ, “เฮ้ย/อุ้ย/อุ้ยตาย/ ตายแล้ว/ตายจริง/ต๊ายตาย” แสดงอารมณ์ตกใจหรือแปลกใจ, “โธ่ถัง/โธ่/โถ” แสดงอารมณ์เสียใจ, “เออนะ/เออน่า” แสดงคํารับอย่างรู้สึกรําคาญ เป็นต้น

68 ข้อใดคือคําลักษณนามของ “ไม้จิ้มฟัน”

(1) ซี่

(2) ซีก

(3) อัน

(4) ไม้

ตอบ 3 หน้า 160 – 165 (56256), 109 110 (H) คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดคํานามที่อยู่ข้างหน้า คําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (กรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่น ไม้จิ้มฟัน/ชิงช้า (อัน), พระโกศ (องค์), แตร/ช่อฟ้า/ปั้นจั่น (ตัว) เป็นต้น

69 ข้อใดคือลักษณนามของ “พระโกศ”

(1) ใบ

(2) ลูก

(3) องค์

(4) พระโกศ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 คําใดใช้ลักษณนามต่างจากคําอื่น ๆ

(1) แตร

(2) ชิงช้า

(3) ช่อฟ้า

(4) ปั้นจัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

ข้อ 71 – 80. ให้นักศึกษาเลือกคําราชาศัพท์ที่ถูกต้องที่สุด เติมในช่องว่างที่เว้นไว้

“ประชาชนทุกสาขาอาชีพนําแจกันดอกไม้มา 71. พร้อมกับลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ให้ทรงหายจาก 72. สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 73. ต่อปวงชนชาวไทย พระองค์ 74. กับ 75. มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และ 76. ต่องานมรดกและวัฒนธรรมไทย มาโดยตลอด พระองค์ 77. ในงานศิลปาชีพ ทรงเป็นพุทธมามกะ และ 78. ศาสนาต่าง ๆ ในการนี้ประชาชนจึงพร้อมใจกันถวายพระพรให้ทรงมี 79. แข็งแรงสมบูรณ์พ้นจากโรคภัย มี 80. ยืนนาน”

71 (1) ถวาย

(2) ทรงถวาย

(3) ทูลเกล้าฯ ถวาย

(4) น้อมเกล้าฯ ถวาย

ตอบ 3 หน้า 176 (56256), 116 (H) ทูลเกล้าฯ ถวาย = ถวายสิ่งของขนาดเล็ก (ของที่ยกได้) หรือ ถวายสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้, ทูลเกล้าฯ ถวายมาลัยข้อพระกรทูลเกล้าฯ ถวายเงิน ฯลฯ (ส่วนคําว่า “น้อมเกล้าฯ ถวาย” = ถวายสิ่งของขนาดใหญ่ (ของที่ยกขึ้นไม่ได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น น้อมเกล้าฯ ถวายพระพร ฯลฯ)

72 (1) ประชวร

(2) พระประชวร

(3) พระอาการพระประชวร

(4) พระอาการประชวร

ตอบ 4 พระอาการประชวร = สภาพเจ็บป่วย อาการป่วย

73 (1) ทรงเมตตา

(2) ทรงมีพระเมตตา

(3) ทรงพระเมตตา

(4) เมตตา

ตอบ 3 หน้า 173 (56256), 113 (H), (คําบรรยาย) ตามหลักเกณฑ์การเติมคําว่า “ทรง” หน้ากริยาราชาศัพท์นั้น จะเติม “ทรง” หน้าคํานามหรือคํากริยาสามัญเพื่อทําให้คํานั้นเป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงงาน (ทํางาน), ทรงทะนุบํารุง ซ่อมแซมรักษา อุดหนุนให้เจริญขึ้น) ฯลฯ และเติม “ทรง” หน้านามราชาศัพท์เพื่อทําให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระเมตตา (มีความเมตตา) ฯลฯ แต่ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น สนพระราชหฤทัย รับสั่ง โปรดเสด็จฯ พระราชทาน ทอดพระเนตร ฯลฯ

74 (1) เสด็จฯ ไปทรงงาน

(2) เสด็จฯ ทรงงาน

(3) เสด็จไปทรงงาน

(4) เสด็จทรงงาน

ตอบ 1 เสด็จฯ (เสด็จพระราชดําเนิน) – เดินทางโดยยานพาหนะ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระราชวงศ์ลําดับ 2 ดังนั้นในที่นี้จึงควรใช้ว่า เสด็จฯ ไปทรงงาน (ส่วนคําว่า “เสด็จ”ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นเจ้าฟ้าลงมา)

75 (1) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร

(2) พระบาทสมเด็จพระปรมินทร

(3) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทร

(4) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทร

ตอบ 2 พระนามที่ถูกต้อง คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

76 (1) มีพระกรุณาธิคุณ

(2) มีพระมหากรุณาธิคุณ

(3) ทรงมีพระกรุณาธิคุณ

(4) ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ

ตอบ 2 หน้า 117 (H) คํากริยา มี/เป็น เมื่อใช้เป็นราชาศัพท์มีข้อสังเกตดังนี้

1 หากคําที่ตามหลัง มี/เป็น เป็นนามราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติม “ทรง” หน้าคํากริยา มี/เป็น อีก เช่น มีพระมหากรุณาธิคุณ = มีพระคุณที่ใหญ่หลวง ใช้กับพระมหากษัตริย์พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 ฯลฯ

2 หากคําที่ตามหลัง มีเป็น เป็นคําสามัญ ให้เติม “ทรง” หน้าคํากริยา มี/เป็น เพื่อทําให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงมีลูกสุนัข, ทรงเป็นประธาน ฯลฯ(ส่วนคําว่า “พระกรุณาธิคุณ” ใช้กับเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช)

77 (1) สนใจ

(2) สนพระทัย

(3) สนพระฤทัย

(4) สนพระราชหฤทัย

ตอบ 4 สนพระราชหฤทัย = สนใจ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 (ส่วนคําว่า “สนพระทัย” ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าลงมา จนถึงพระอนุวงศ์ชั้น หม่อมเจ้า)

78 (1) บํารุง

(2) ทะนุบํารุง

(3) ทรงทะนุบํารุง

(4) ได้ทะนุบํารุง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

79 (1) พลานามัย

(2) พระอนามัย

(3) พระพลานามัย

(4) พระพลาอนามัย

ตอบ 3 พระพลานามัย = สุขภาพ

80 (1) ชนมายุ

(2) พระชนมายุ

(3) ชนมพรรษา

(4) พระชนมพรรษา

ตอบ 4 พระชนมพรรษา = อายุ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 (ส่วนคําว่า “พระชนมายุ” ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าลงมา จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)

ข้อ 81 – 90 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม โดยให้สัมพันธ์กับข้อความที่ให้อ่าน

วิทยาศาสตร์ พบว่า พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว หากแต่น่าจะเป็นดินฟ้าอากาศ ต่างหากที่ลิขิตให้มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพต่าง ๆ กัน ตลอดจนสุขภาพเมื่อตอนเติบโตขึ้นด้วย

หนังสือพิมพ์ “เดอะซันเดย์ เทเลกราฟ” ชื่อดังของอังกฤษรายงานว่า คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัย เฮิร์ทฟอร์ดเชียร์ของอังกฤษศึกษา พบว่า ฤดูเกิดมีอิทธิพลลิขิตนิสัยสันดานคนต่าง ๆ กัน

อย่างเช่น ผู้หญิงทางซีกโลกเหนือที่เกิดในเดือนพฤษภาคมมักจะเป็นคนใจร้อน ในขณะที่ผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ร่วง เดือนพฤศจิกายน จะเป็นคนช่างพินิจพิจารณา ขณะที่ถ้าเป็นชายเกิดในฤดูใบไม้ผลิ จะเป็นคนที่มีความอดกลั้นต่างกับผู้ที่เกิดในฤดูหนาว

ผู้ที่เกิดตรงกับฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นคนแข็งแรงว่องไว เหมาะกับจะเป็นนักฟุตบอล ส่วนผู้ที่เกิด ในฤดูใบไม้ผลิก็จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี มีฝีไม้ลายมือดีในการเล่นหมากรุก

ในทํานองเดียวกัน ผู้ที่เกิดช่วงระหว่างเดือนกันยายนและธันวาคมมักจะเป็นคนที่อาจเกิด มีอาการหวาดกลัวหรือหวาดผวาสุดขีด พร้อมทั้งกําลังมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่า ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและ ต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง

ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน หัวหน้าคณะ กล่าวว่า “ท่านอาจพอจะคาดได้ว่า ตัวการเป็น เพราะอุณหภูมินั่นเอง ดังนั้นผลหลายอย่างจะกลับกันอยู่ในซีกโลกทั้งสอง” พร้อมกันนั้นศาสตราจารย์จอห์น อีเกิล มหาวิทยาลัยอะเบอร์ดีน ยังให้ความเห็นว่า “ตัวการใหญ่มีอยู่ 2 ตัว คือ อาหารกับความแปรผัน ของโภชนาการ และโรคภัยไข้เจ็บที่ซุกอยู่ในฤดูหนาว นอกจากนั้นสาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม

อย่างอื่นก็มีส่วนด้วย ดังนั้นฤดูกาลในการเกิดเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น”

81 ข้อความที่อ่านจัดเป็นวรรณกรรมประเภทใด

(1) บทความ

(2) บทรายงานข่าว

(3) สรุปผลงานวิจัย

(4) สรุปผลการค้นคว้า

ตอบ 1 (คําบรรยาย) บทความ คือ งานเขียนที่มีการนําเสนอข้อมูลที่ได้มาจากเอกสารทางวิชาการหรือผลงานการวิจัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นเพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ และมีการสรุปให้เห็นความสําคัญของเรื่อง พร้อมทั้งเสนอข้อคิดให้ผู้อ่านนําไปพิจารณา

82 โวหารการเขียนเป็นแบบใด

(1) บรรยาย

(2) อภิปราย

(3) อธิบาย

(4) พรรณนา

ตอบ 3 หน้า 72 (54351), (คําบรรยาย) โวหารเชิงอธิบาย คือ โวหารที่ใช้ในการชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลแต่เพียงด้านเดียว อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ โดยมีการชี้แจงแสดงเหตุและผล การยกตัวอย่างประกอบ การเปรียบเทียบ และการจําแนกแจกแจง เช่น การอธิบายความหมายของคํา กฎเกณฑ์ ทฤษฎีและวิธีการต่าง ๆ

83 น้ำเสียงของคณะผู้วิจัยเป็นอย่างไร

(1) มั่นใจ

(2) ลังเล

(3) ภาคภูมิใจ

(4) คาดคะเน

ตอบ 4 น้ำเสียงของคณะผู้วิจัยจากข้อความที่อ่านเป็นแบบคาดคะเน หรือคาดหมายว่าน่าจะเป็นเช่นนั้นโดยส่วนใหญ่

84 ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด

(1) เรียบง่าย

(2) สับสนวกวน

(3) สละสลวย

(4) กระชับรัดกุม

ตอบ 1 หน้า 58 (54351) ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ๆชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการขบคิดมากนัก

85 เหตุใดจึงจําแนกบุคลิกและสุขภาพของแต่ละคนตามฤดูใบไม้ร่วงใบไม้ผลิ ฯลฯ

(1) เพราะธรรมชาติมีอิทธิพลต่อชีวิต

(2) เพราะคณะวิจัยเป็นชาวอังกฤษ

(3) เพราะเป็นที่คุ้นเคยต่อชีวิตประจําวัน

(4) เพราะธรรมชาติส่งผลต่อความเป็นอยู่

ตอบ 1 จากข้อความ วิทยาศาสตร์ พบว่า พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว หากแต่น่าจะเป็นดินฟ้าอากาศต่างหากที่ลิขิตให้มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพต่าง ๆ กัน ตลอดจนสุขภาพเมื่อตอนเติบโตขึ้นด้วย

86 ยังมีสิ่งใดอีกที่แสดงอิทธิพลของฤดูกาลนอกเหนือจากบุคลิกและสุขภาพ

(1) รสนิยม

(2) โรคภัยไข้เจ็บ

(3) อาหารการกิน

(4) การกีฬา

ตอบ 2 จากข้อความ… ในทํานองเดียวกัน ผู้ที่เกิดช่วงระหว่างเดือนกันยายนและธันวาคมมักจะเป็นคนที่อาจเกิดมีอาการหวาดกลัวหรือหวาดผวาสุดขีด พร้อมทั้งกําลังมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่า ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน หัวหน้าคณะ กล่าวว่า “ท่านอาจพอจะคาดได้ว่า ตัวการเป็นเพราะอุณหภูมินั้นเอง ดังนั้นผลหลายอย่างจะกลับกันอยู่ในซีกโลกทั้งสอง”

87 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยหลักในการกําหนดบุคลิกและสุขภาพ

(1) ฤดูกาลในการเกิด

(2) โรคภัยในบางฤดู

(3) ความเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการ

(4) กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 จากข้อความ…. ตัวการใหญ่มีอยู่ 2 ตัว คือ อาหารกับความแปรผันของโภชนาการ และโรคภัยไข้เจ็บที่ซุกอยู่ในฤดูหนาว นอกจากนั้นสาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นก็มีส่วนด้วย ดังนั้นฤดูกาลในการเกิดเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น

88 ผู้วิจัยค้นพบว่าเกิดในฤดูกาลใดส่งผลดีต่อสุขภาพ

(1) ต้นฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ร่วง

(2) ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิ

(3) ฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ

(4) ต้นฤดูใบไม้ร่วงและต้นฤดูใบไม้ผลิ

ตอบ 2 จากข้อความ ผู้ที่เกิดตรงกับฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นคนแข็งแรงว่องไว เหมาะกับจะเป็นนักฟุตบอลส่วนผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ผลิก็จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี มีฝีไม้ลายมือดีในการเล่นหมากรุก

89 “ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง” ข้อความนี้ผลวิเคราะห์ เป็นเนื่องจากสาเหตุใด

(1) อุณหภูมิ

(2) อาหาร

(3) สิ่งแวดล้อม

(4) ความเครียด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

90 ข้อใดคือใจความสําคัญของเรื่องที่อ่าน

(1) สิ่งสําคัญที่ทําให้คนแตกต่างกัน คือ อาหารและโรคภัยไข้เจ็บ

(2) สาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมมีส่วนทําให้คนแตกต่างกัน

(3) ดินฟ้าอากาศลิขิตมนุษย์ให้มีบุคลิกภาพและสุขภาพที่แตกต่างกัน

(4) พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว แต่มนุษย์นั้นลิขิตตัวเอง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ คือ ข้อความที่เป็นตอนนํา ซึ่งเป็นส่วนที่มีความหมายครอบคลุมข้อความทั้งหมดในย่อหน้า หรือเป็นส่วนที่มีความหมายเด่นชัดและมีน้ำหนักมากที่สุด โดยจะกล่าวถึงสาระสําคัญของเนื้อความในย่อหน้านั้นทั้งหมด อาจจะมีตําแหน่งอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนปลายของย่อหน้าก็ได้ (เรื่องที่อ่านมีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นย่อหน้า) (ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ)

ข้อ 91 – 94 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) เขม็ดแขม่ ประสีประสา ตาหลับขับตานอน

(2) แพแตก ทอดสะพาน งงเป็นไก่ตาแตก

(3) พุ่งหอกเข้ารก กินน้ำใต้ศอก ตําข้าวสารกรอกหม้อ

(4) เฒ่าหัวงู ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

91 ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิตมีดังนี้

1 สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น แพแตก (ครอบครัวที่แตกแยกย้าย กันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต), ทอดสะพาน (แสดงกิริยา ท่าทางเป็นทํานองอยากติดต่อด้วย), งงเป็นไก่ตาแตก (งงมากจนทําอะไรไม่ถูก), เฒ่าหัวงู (คนแก่เจ้าเล่ห์) เป็นต้น

2 คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจให้ นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น พุ่งหอกเข้ารก (ทําพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมาย), กินน้ำใต้ศอก (จําต้องยอมเป็นรองเขา), ตําข้าวสารกรอกหม้อ (หาแค่ให้พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ),ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง (พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา) เป็นต้น

3 สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจหรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ (อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจหรือผู้ที่กําลังโกรธจัด) เป็นต้น

92 ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อใดไม่ปรากฏว่ามีสํานวน คําพังเพย หรือสุภาษิตเลย

ตอบ 1 หน้า 74 (56256) คําว่า “เขม็ดแขม่” (ก.) = รู้จักใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้, “ประสีประสา” (น.) = วิสัย เรื่องราว ความเป็นไป, “อดตาหลับขับตานอน”(เป็นคําซ้อน 6 คํา ที่ทําหน้าที่เป็นกริยา) = สู้ทนอดนอน

94 ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

95 ข้อใดมีความหมายว่า “เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ”

(1) เนื้อเต่ายําเต่า

(2) ฝนตกขี้หมูไหล

(3) น้ำลดตอผุด

(4) บนข้าวผี ตีข้าวพระ

ตอบ 3 น้ำลดตอผุด = เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ (ส่วนเนื้อเต่ายำเต่า = นําเอาทรัพย์สิน ในส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีก โดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม, ฝนตกขี้หมูไหล = พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน, บนข้าวผี ตีข้าวพระ = ขอร้องให้มีสางเทวดาช่วยเหลือโดยจะแก้บนเมื่อประสบผลสําเร็จเล้ว)

96 “ลางเนื้อชอบลางยา” มีความหมายตรงกับข้อใด

(1) ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างเพื่อป้องกันตัวเอง

(2) คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนใช้ประโยชน์ไม่ได้

(3) คนที่อาละวาดพาลหาเรื่อง ทําให้วุ่นวายไปหมด

(4) ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง

ตอบ 4 ลางเนื้อชอบลางยา = ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง

97 ข้อใดมีคําที่สะกดไม่ถูกต้อง

(1) ต๊ายตาย ชีวิตดี๊ดี

(2) ไปบ๊อยบ่อย เขาจ๊นจน

(3) ฉันช๊อบชอบ กินอิ๊มอิ่ม

(4) ผ้าเก๊าเก่า ตัวโต๊โต

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ฉันช๊อบชอบ ซึ่งที่ถูกต้องคือ ฉันช้อบชอบ

98 ข้อใดสะกดถูกทุกคํา

(1) สังเกต จตุรัส เซ็นต์ชื่อ

(2) ไอศกรีม จัดสรร กะทัดรัด

(3) แมลงสาบ ลําใย กระทันหัน

(4) ปิกนิก ผัดเวร โลกาภิวัฒน์

ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ จตุรัส เซ็นต์ชื่อ ลําใย กระทันหัน ผัดเวร โลกาภิวัฒน์ซึ่งที่ถูกต้องคือ จัตุรัส เซ็นชื่อ ลําไย กะทันหัน ผลัดเวร โลกาภิวัตน์

99 ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด

(1) ผาสุข คุ้กกี้ นัยตา

(2) พังทลาย เกล็ดปลา รื่นรมย์

(3) เบญจเพส บังสกุล กะเพรา

(4) อานิสงส์ รื่นรมย์ บิณฑบาต

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผาสุข คุ้กกี้ นัยตา บังสุกุล ซึ่งที่ถูกต้องคือ ผาสุก คุกกี้ นัยน์ตา บังสุกุล

100 ข้อใดสะกดผิดทุกคํา

(1) มุกตลก สัมมนา พะแนง

(2) ไม่ไยดี พรางตา มัธยัสถ์

(3) เบรค ถั่วพลู โน๊ตเพลง

(4) จลาจล ไท้เก๊ก บิดพลิ้ว

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ เบรค ถั่วพลู โน๊ตเพลง ซึ่งที่ถูกต้องคือ เบรก ถั่วพู โน้ตเพลง

101 ข้อใดมีคําที่สะกดผิดสลับกับคําที่สะกดถูก

(1) วิ่งผลัด ผัดเวร ใบไม้ผลัดใบ ผลัดแป้งแต่งหน้า

(2) ผลัดหนี้ ผัดผ่อน ผัดเปลี่ยน ผัดวันประกันพรุ่ง

(3) ผลัดผ้า ผลัดเวร ผัดหนี้ ผัดแป้งแต่งหน้า

(4) ผลัดเปลี่ยน ข้าวผัด ผลัดผ้า ทหารเกณฑ์ผลัดสอง

ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผัดเวร ผลัดแป้งแต่งหน้า ผลัดหนี้ ผัดเปลี่ยน

ซึ่งที่ถูกต้องคือ ผลัดเวร ผัดแป้งแต่งหน้า ผัดหนี้ ผลัดเปลี่ยน

102 เด็กวัยรุ่น……………..เกเร ลั่น…………………ปืนใส่คู่อริ

(1) เกกมะเหรก ไก

(2) เกมะเรก ไกล่

(3) เกมะเหรก ไก

(4) เกกมะเรก ไกล่

ตอบ 1 คําว่า “เกกมะเหรก” = เกเร, “ไก” = ที่สําหรับเหนี่ยวให้ลูกกระสุนลั่นออกไป เช่น ไกหน้าไม้ ไกปืน (ส่วนคําว่า “ไกล่” = ทา ไล้, “เกมะเรก/เกมะเหรก/เกกมะเรก” เป็นคําที่เขียนผิด)

103 เจ้าหน้าที่กําลัง…………. เพื่อทํา………..

(1) ลาดยางถนน ถนนลาดยาง

(2) ราดยางถนน ถนนราดยาง

(3) ราดยางถนน ถนนลาดยาง

(4) ลาดยางถนน ถนนราดยาง

ตอบ 3 คําว่า “ราดยางถนน” = อาการที่เทยางมะตอยที่ผสมกับหินหรือทรายให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรียรายไปทั่วเพื่อทําถนน, “ถนนลาดยาง” = ใช้เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทราย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

104 พ่อเหวี่ยงแหลงในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว………. พอจับปลาได้ก็รีบขอด……….

(1) กราก เกร็ดปลา

(2) กลาด เกล็ดปลา

(3) กราด เกร็ดปลา

(4) กราก เกล็ดปลา

ตอบ 4 คําว่า “กราก” = รวดเร็ว เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก, “เกล็ดปลา” = ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลี่ยมกันห่อหุ้มตัวปลา (ส่วนคําว่า “กลาด” = ดาษดื่น, “กราด” = กวดให้แน่น เช่น กราดลิ่ม, “เกร็ดปลา” เป็นคําที่เขียนผิด)

105 วันนี้ฝนตก……….ข้าว………. คงสดชื่นขึ้นมาได้

(1) ปอย ๆ นาปรัง

(2) ปรอย ๆ นาปรัง

(3) ปอย ๆ นานาปลัง

(4) ปรอย ๆ อานาปลัง

ตอบ 2 คําว่า “ปรอย ๆ” = ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง”= นาที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

106 ร่างเธอสูง…………………มีคุณสมบัติ………………..

(1) เพียว เพียบพร้อม

(2) เพรียว เพียบพร้อม

(3) เพียว เพรียบพร้อม

(4) เพรียว เพรียบพร้อม

ตอบ 2 คําว่า “เพรียว” = เปรียว ฉลวย เรียว เช่น รูปร่างสูงเพรียว, “เพียบพร้อม” = เต็มเปี่ยมครบทุกอย่าง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

107 การศึกษายุค………….ต้องสร้างคนให้มี……………กว้างไกล

(1) โลกาภิวัตน์ วิสัยทัศน์

(2) โลกาภิวัฒน์ วิสัยทัศน์

(3) โลกาภิวัฒน์ โลกทัศน์

(4) โลกาภิวัตน์ ทัศนวิสัย

ตอบ 1 คําว่า “โลกาภิวัตน์” = การแพร่กระจายไปทั่วโลก, “วิสัยทัศน์” = การมองการณ์ไกล(ส่วนคําว่า “โลกาภิวัฒน์” เป็นคําที่เขียนผิด, “โลกทัศน์” = การมองโลก การรู้จักโลก, “ทัศนวิสัย” = ระยะทางไกลที่สุด ซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร)

108 ผู้ใหญ่บ้าน………….และชาวบ้าน…………..เงินสร้างอาคาร………….

(1) กํานัล เรียไร เอนกประสงค์

(2) กํานัล เรียราย อเนกประสงค์

(3) กํานัน เรี่ยไร อเนกประสงค์

(4) กํานัน เรี่ยราย เอนกประสงค์

ตอบ 3 คําว่า “กํานัน” = ตําแหน่งพนักงานฝ่ายปกครอง ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตตําบล, “เรี่ยไร” = ขอร้องให้ช่วยออกเงินทําบุญตามสมัครใจ, “อเนกประสงค์” -ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างแล้วแต่ความต้องการ (ส่วนคําว่า “กํานัล” = การให้ของกันด้วยความนับถือ, “เรี่ยราย” = กระจายเกลื่อนไป, “เอนกประสงค์” เป็นคําที่เขียนผิด)

ข้อ 109. – 113. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ใช้คํากํากวม

(2) ใช้คําผิดความหมาย

(3) ใช้คําฟุ่มเฟือย

(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ

109 “แม่ค้าขายไก่ตายในตลาดสด” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 1 หน้า 11 (54351) การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วยทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําที่แวดล้อมอยู่เป็น เครื่องช่วยกําหนดความหมาย เช่น แม่ค้าขายไก่ตายในตลาดสด (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไข ให้มีความหมายที่แน่ชัดลงไป โดยใช้ถ้อยคําแวดล้อมเสียใหม่เป็น แม่ค้าขายไก่ถูกคนร้ายฆ่าตายในตลาดสด

110 “บ้านของผู้คนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 หน้า 18 – 19, 39 (54351) การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็นจะทําให้คําโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย แม้จะตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น บ้านของผู้คนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็นบ้านตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (คําว่า “บ้าน” = สิ่งที่คนปลูกสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย)

111 “มหาวิทยาลัยแห่งนี้เต็มไปด้วยสุนัขจรจัด” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 38 (54351) การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การทําให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และ ไม่เคอะเขิน เช่น มหาวิทยาลัยแห่งนี้เต็มไปด้วยสุนัขจรจัด (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น สุนัขจรจัดอยู่เต็มมหาวิทยาลัยแห่งนี้

112 “ในป่าแห่งนี้มีประชากรผึ้งอยู่เป็นจํานวนมาก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 10 – 11 (54351) การใช้คําในการพูดและเขียนต้องรู้จักเลือกคํามาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม คือ จะต้องมีความรู้ว่าคําที่จะนํามาใช้นั้นมีความหมายว่าอย่างไร ใช้แล้วเหมาะสม ไม่ผิดความหมาย และจะเป็นที่เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงไร เช่น ในป่าแห่งนี้มีประชากรผึ้ง อยู่เป็นจํานวนมาก (ใช้คําไม่ถูกต้อง หรือใช้คําผิดความหมาย) จึงควรแก้ไขเป็น ในป่าแห่งนี้ มีฝูงผึ้งอยู่เป็นจํานวนมาก (คําว่า “ฝูง” = พวก หมู่ ซึ่งสามารถใช้กับสัตว์ได้ (ยกเว้นช้าง) เช่น ฝูงมด ฝูงผึ้ง ฝูงควาย ฯลฯ ส่วนคําว่า “ประชากร” = หมู่คน หมู่พลเมือง)

113 “บัณฑิตผู้มีความรู้และความคิดต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 110 ประกอบ) ประโยคจากโจทย์ข้างต้นที่ว่า บัณฑิตผู้มีความรู้และความคิดต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็น บัณฑิตต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี (คําว่า “บัณฑิต” = ผู้ทรงความรู้ ผู้มีปัญญา)

ข้อ 114 – 116 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ใช้คําไม่ชัดเจน

(2) ใช้คําขัดแย้งกัน

(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ

(4) วางส่วนขยายผิดที่

 

114 “คุณยายค่อย ๆ เดินออกไปอย่างรวดเร็ว” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 41 (54351) การใช้คําขัดแย้งกัน คือ การใช้คําที่ทําให้เนื้อความขัดกัน หรือใช้คําที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น คุณยายค่อย ๆ เดินออกไปอย่างรวดเร็ว (ใช้คําขัดแย้งกัน) จึงควรแก้ไขเป็น คุณยายรีบเดินออกไปอย่างรวดเร็ว (คําว่า “ค่อย ๆ” – ช้า ๆ ส่วนคําว่า “รวดเร็ว” = เร็วไว)

115 “ขยะถูกกําจัดออกไปจากสวนสาธารณะ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 57 เละ 111 ประกอบ) ประโยคจากโจทย์ข้างต้นที่ว่า ขยะถูกกําจัดออกไปจากสวนสาธารณะ (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น สวนสาธารณะกําจัดขยะออกไป

116 “มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยจํานวนมาก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 37 (54351) การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ คือ การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะถ้าหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือ มีความหมายไม่ตรงกับที่เราต้องการ เช่น มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยจํานวนมาก (วางส่วนขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขเป็น มีนักศึกษาจํานวนมากลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย

117 คําว่า “พัน พันธ์ พันธุ์ พรรณ” เป็นคําประเภทใด

(1) คําพ้องรูป

(2) คําพ้องเสียง

(3) คําพ้องรูปและคําพ้องเสียง

(4) คําพ้องความหมาย

ตอบ 2 หน้า 14 (54351) คําพ้องเสียง คือ คําที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายและการเขียน(รูป) ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเวลาเขียนจึงต้องเขียนให้ถูกต้อง เพราะถ้าหากเขียนผิด ความหมาย ก็จะผิดไปด้วย เช่น คําว่า “พัน” = เรียกจํานวน 10 ร้อย, “พันธ์” = ผูก มัด ตรึง, “พันธุ์” = พวกพ้อง เชื้อสาย วงศ์วาน, “พรรณ” = สีของผิว ชนิด เช่น พรรณพืช เป็นต้น

118 คําว่า “คลินิก ออกซิเจน สปาเกตตี” เป็นคําประเภทใด

(1) คําทับศัพท์

(2) คําศัพท์แปลกใหม่

(3) คําศัพท์บัญญัติ

(4) คําไทยประเภทคําสร้างใหม่

ตอบ 1 หน้า 123 – 125 (H), (คําบรรยาย) คําทับศัพท์ คือ คําภาษาต่างประเทศที่นํามาใช้ในภาษาไทย โดยมีการถ่ายเสียงให้ใกล้เคียงภาษาเดิมมากที่สุด และถอดอักษรในภาษาเดิม พอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ แล้วเขียนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศใช้ของราชบัณฑิตยสถาน เช่น คลินิก (Clinic), ออกซิเจน (Oxygen), สปาเกตตี (Spaghetti) ฯลฯ

119 ข้อใดใช้ภาษาไม่เป็นทางการ

(1) เมื่อใด

(2) เท่าไหร่

(3) เหตุใด

(4) อย่างไร

ตอบ 2 หน้า 6 – 7 (54351) ระดับของคําในภาษาไทยมีศักดิ์ต่างกัน เวลานําไปใช้ก็ใช้ในที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาใช้คําให้เหมาะสม กล่าวคือ

1 คําที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาแบบแผน หรือภาษาเขียนของทางราชการ เช่น เมื่อใด เหตุใด อย่างไร เท่าไร ฯลฯ

2 คําที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาพูด หรือการเขียนจดหมายส่วนตัวถึงบุคคลที่สนิทสนมกัน ซึ่งในบางครั้งก็มักจะตัดคําให้สั้นลง เช่น เมื่อไหร่เท่าไหร่ มหาลัย คณะวิศวะ นายก ฯลฯ

120 การศึกษาลักษณะภาษาไทย เพื่อประโยชน์อย่างไร

(1) สอบได้ตามที่มุ่งหมาย

(2) ความรู้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

(3) เพิ่มประสบการณ์ให้มากขึ้น

(4) ใช้ภาษาได้ถูกต้องและเหมาะสม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประโยชน์ในการศึกษาลักษณะภาษาไทย คือ เพื่อให้มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องและเหมาะสม เป็นประโยชน์ในการศึกษาและในชีวิตประจําวัน

Advertisement