การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554
ข้อสอบกระบวนวิชา THA1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด) 120 ข้อ)

1. คำว่า “น้ำ” ข้อใดออกเสียงยาวกว่าข้ออื่น ๆ
1. น้ำตา
2. ห้องน้ำ
3. น้ำแข็ง
4. น้ำประปา

Advertisement

ตอบ 2 หน้า 15 – 16 , 40 – 42 , 90 -91 (52067), 33 – 34, 60 – 61, 80 81 (H) อัตราการออกเสียงสั้นยาวตามภาษาพูดมาตรฐานจะใช้มาตราในการวัดความยาวของ เสียงคือ สระเสียงสั้นออกเสียง 1 มาตรา สระเสียงยาวออกเสียง 2 มาตรา นอกจากนี้ถ้าเป็นคำหลายพยางค์หรือคำประสม มักจะลงเสียงเน้นที่พยางค์หรือคำท้าย (ออกเสียงยาว 2 มาตรา) ส่วนคำที่ไม่ได้ลงเสียงเน้นก็มักจะสั้นลง (ออกเสียงสั้นเพียง 1 มาตรา) และหากเป็นคำเดี่ยวที่มีจังหวะเว้นระหว่างคำ น้ำหนักเสียงจะเสมอกัน เช่น คำว่า “ห้องน้ำ” เป็นคำประสม จึงลงเสียงเน้นที่พยางค์ท้ายยาว 2 มาตรา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่น คำว่า “น้ำ” ที่อยู่พยางค์หน้าไม่ได้ลงเสียงเน้นจึงออกเสียงสั้นเพียง 1 มาตรา)

2. ข้อใดมีพยัญชนะที่เป็นอักษรควบแท้
1. จริงจัง
2. ทรงผม
3. สร้างสรรค์
4. ขวนขวาย

ตอบ 4 หน้า 22 – 26 (52067), 44 – 49 (H) การออกเสียงควบกล้ำในภาษาไทยมีอยู่ 2 ลักษณะดังนี้
1. เสียงกล้ำ กันสนิท (อักษรควบแท้) คือพยัญชนะคู่ที่ออกเสียงสองเสียงควบกล้ำไปพร้อมกันโดยเสียงทั้งสองจะร่วม เสียงสระและเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ซึ่งมีเพียงประเภทเดียวคือเมื่อพยัญชนะระเบิดนำแล้วตามด้วยพยัญชนะเหลวหรือ กึ่งสระ (ร ล ว) เช่น กราบกราน,เขลา,ขวาย,คลุกเคล้า,ตรอง,ปลา,ผลุด ฯลฯ
2. เสียงกล้ำ กันไม่สนิท (อักษรควบไม่แท้) คือ พยัญชนะคู่ที่มาด้วยกันแต่ไม่ได้ออกเสียงทั้งสองเสียงกล้ำไปพร้อมกัน และไม่ได้ร่วมเสียงสระและเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน เช่น จริง (จิง), สร้าง (ส้าง), สระ (สะ), แทรก (แซก),ทราบ (ซาบ), ทรง (ซง) ฯลฯ

3. ข้อใดเขียนตัวควบกล้ำไม่ถูกต้อง
1. เขาชอบกินหมูกระทะ
2. เธอรีบไปกะทันหัน
3. เธอใช้คำกะทัดรัดดี
4. เขาทำงานกระตือรือร้นดี

ตอบ 1 คำที่เขียนตัวควบกล้ำผิด ได้แก่ กระทะ ซึ่งที่ถูกต้องคือ กระทะ

4. ข้อใดเขียนรูปวรรณยุกต์ถูกต้อง
1. ขนมคุกกี้หอมหวาน
2. ขนมเค้กร้านอร่อย
3. เสียงโน้ตดนตรีไพเราะ
4. เสื้อเชิ้ตสีขาวตัวโปรด

ตอบ 2 หน้า 33 – 37 (56067), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป คือ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ), เสียงเอก ( ก่ ),เสียงโท ( ก้ ),เสียงตรี( ก๊ ),และเสียงจัตวา ( ก๋ )ซึ่งในคำบางคำ รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง เช่น ขนมเค้กร้านอร่อย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้รูปวรรณยุกต์ผิดจึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น ขนมคุกกี้หอมหวาน เสียงโน้ตดนตรีไพเราะ เสื้อเชิ้ตสีขาวตัวโปรด

5. “นายจางเป็นลูกจ้างที่ร้านละจ่างเขาชอบเรียกช้างว่า จ๊าง จ๊าง” ข้อความนี้แสดงลักษณะใดของภาษาไทย
1. มีระบบเสียงสูงต่ำ
2. มีคำขยายบอกจำนวนนับ
3. คำเดียวกันใช้ได้หลายหน้าที่
4. มีการใช้คำสุภาพตามฐานะของบุคคล

ตอบ 1 หน้า 2, 33 – 37 (52067),10,55, 58 (H) ระบบ เสียงสูงต่ำ (เสียงวรรณยุกต์)ในภาษาไทยคือ การกำหนดเสียงสูงต่ำไว้ตายตัวในคำแต่ละคำ เพื่อต้องการแยกความหมาย โดยให้เสียงหนึ่งมีความหมายอย่างหนึ่ง หากเปลี่ยนเสียงความหมายก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย เช่น จาง (เสียงสามัญ)=น้อยไป แต่ในที่นี้ใช้เป็นชื่อคน,จ่าง (เสียงเอก) = สว่าง แต่ในที่นี้เป็นชื่ออาหารจีน (บะจ่าง),จ้าง(เสียงโท)= ผู้รับทำงาน เรียกลูกจ้างหรือผู้รับจ้าง เป็นต้น

6. ประโยคใดแสดงกาล
1.ไปกินข้าวกันไหม
2. กินข้าวกันเถอะ
3. กินข้าวแล้ว
4. กินข้าวเวลาใด

ตอบ 3 หน้า 2, 121 –123 (52067),7 – 8 (H) การ แสดงกาล คือ การแสดงให้รู้ว่ากริยากระทำเมื่อไรซึ่งนอกจากจะต้องอาศัยกริยาช่วยเพื่อบอก กาลเวลาที่ต่างกันแล้ว เช่น จะ (บอกอนาคต),กำลัง/อยู่(บอกปัจจุบัน,ได้/แล้ว (บอกอดีต) ฯลฯ ยังมีคำกริยาวิเศษณ์หรือกิยาบางคำช่วยแสดงกาล โดยอาศัยเหตุการณ์และสภาแวดล้อมเป็นเครื่องชี้ดังนี้
1. บอกปัจจุบัน ได้แก่ เดี๋ยวนี้, ขณะนี้, ตอนนี้, วันนี้ ฯลฯ
2. บอกอนาคต ได้แก่ พรุ่งนี้, มะรืนนี้, ปีหน้า, เดือนหน้า, ฯลฯ
3. บอกอดีต ได้แก่ เมื่อวานนี้, เมื่อก่อนนี้, เมื่อปีก่อน, เพิ่ง, มา ฯลฯ

7. ข้อใดมีคำบ่งบอกเพศ
1. เป็นแม่ทัพคนเก่ง
2. เป็นแม่ครัวโรงแรม
3. เป็นแม่พิมพ์ของชาติ
4. เป็นแม่กองการทำงาน

ตอบ 2 หน้า 2, 85,109 –110 (52067),6 – 7, 97 – 98 (H) คำ นามในภาษาไทยบางคำก็ระบุเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คำที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย ตา ฯลฯ และคำที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ชี สะใภ้ หญิง สาว ป้า ยาย ฯลฯ นอกจากนี้คำประสมบางคำก็สามารถบ่งบอกเพศได้แจ่มแจ้งอยู่ในตัว เช่น แม่ครัว (ผู้หญิงที่ทำครัว), พ่อครัว (ผู้ชายที่ทำครัว)แต่บางคำก็ไม่สามารถบ่งบอกเพศได้ต้องอาศัยความแวดล้อม ประกอบ เช่น แม่ทัพ (ผู้คุมกองทัพ),แม่พิมพ์ (ครูอาจารย์ที่ถือเป็นแบบอย่างความประพฤติ),แม่กอง (ผู้เป็นนายกอง หัวหน้างาน) ฯลฯ

8. ข้อใดใช้สระเดี่ยวเสียงยาวทุกคำ
1.กอง แกง กิน
2. ไก่ เกลียด กลัง
3. เก่า ก้าว แกะ
4. แก้ว ก้อย โกง

ตอบ 1 หน้า 8-14 (52067),17, 26, 29 (H) เสียงสระในภาษาไทย ถ้านับทั้งเสียงสั้นและเสียงยาวจะมีอยู่ 28 เสียง คือ 1. สระเดี่ยว 18 เสียง ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ (เสียงสั้น) อา อี อื อู เอ แอ เออ โอ ออ (เสียงยาว) 2. สระ ผสม 10 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ (เสียงสั้น) เอีย เอือ อัว อาว อาย (เสียงยาว) (ส่วนคำว่า “แก้ว” กับ “ก้อย” ลงท้ายด้ายพยัญชนะกึ่งสระ ย/ว จึงอาจเป็นได้ทั้งสระเดี่ยวเสียงยาว และสระผสม 2 เสียง คือ สระแอ + ว (แอ + อู) = แก้ว และสระออ + ย (ออ + อี) = ก้อย

9. ข้อใดใช้สระเดี่ยวเสียงสั้นมากที่สุด
1. เพื่อน พู่ เพลา พอง พรุ่ง
2.พิง ไพร่ พอ เพลิน พัง
3. พัน ไพ่ พลุ พราน เพียง
4. พัก พูด เพราะ พริก แพะ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 8 ประกอบ (คำที่ใช้สระเดี่ยวเสียงสั้น ได้แก่ พรุ่ง พิง พัง พัน พลุ พัก เพราะ พริก แพะ

10. คำใดใช้สระผสมเสียงสั้น
1. เขิน
2. แข็ง
3. เขา
4. ขัด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 8 ประกอบ

11. คำใดใช้สระผสมเสียงยาว
1.ไล่
2. ลาว
3. เล่า
4. เลิศ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 8 ประกอบ

12. คำใดสะกดด้วยสระ อื + อา + อี
1. เมิน
2. แมว
3. เมีย
4. เมื่อย

ตอบ 4 หน้า 14 (52067),24, 28, (H) คำ ว่า “เมื่อย” ลงท้ายด้วย ย ซึ่ง เป็นพยัญชนะกึ่งสระจึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น เอือ + ย หรือเป็นสระผสม 3 เสียงก็ได้ เช่น อื + อา + อี = เอือย เช่น เมื่อย

13.คำใดสะกดด้วยสระ อี + อา + อู
1. เปรี้ยว
2. เปล่า
3. ปลุก
4. เปลี่ยน

ตอบ 1 หน้า 14 (52067),24, 26, (H) คำว่า “เปรี้ยว” ลงท้ายด้วย ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระจึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ว เช่น เอีย + ว หรือเป็นสระผสม 3 เสียงก็ได้ เช่น อี + อา + อู = เอียว เช่น เปรี้ยวเคี้ยว

14. “คำว่าไทยซึ้งใจมิใช่ทาสเขา” ประโยคนี้คำใดใช้สระผสม
1. คำ ไทย ใช่ เขา
2 . ว่า ซึ้ง ใจ ทาส
3. ไทย ใจ ใช่ เขา
4. ซึ้ง ใจ ใช่ ทาส

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 8 ประกอบ

15.พยัญชนะต้นข้อใดเป็นเสียงเสียดแทรก
1. กึกก้อง
2. จ๋อมแจ๋ม
3. ฟองฟู่
4. มอมแมม

ตอบ 3 หน้า 19 (52067), 41 (H) พยัญชนะ เสียงเสียดแทรก คือ พยัญชนะต้นที่เสียงถูกขัดขวางบางส่วนเพราะเมื่อลมหายใจผ่านช่องอวัยวะที่ เบียดชิดกันมาก แล้วถูกกักไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของปากแต่ก็ยังมีทางเสียดแทรกออกมาได้ เป็นเสียงที่ออกติดต่อกันได้นานกว่าเสียงระเบิด ได้แก่ พยัญชนะต้น ส (ซ ศ ษ) และ ฟ (ฝ) เป็นต้น

16. “เสด็จทางชลมารค” ข้อใดอ่านถูกต้อง
1. สะ – เด็ด –ทาง – ชน – มาด
2. สะ – เด็ด – ทาง – ชน – มาก
3. สะ – เด็ด –ทาง – ชน – ละ – มาด
4. สะ – เด็ด –ทาง – ชน – ละ – มาก

ตอบ 4 คำว่า “เสด็จทางชลมารค” อ่านว่า สะ – เด็ด –ทาง – ชน – ละ – มาก

17. ข้อใดออกเสียงแบบเคียงกันมา
1. วาสนา
2. ปริศนา
3. นาตยา
4. สยาม

ตอบ 3 หน้า 22 (52067), 44 (H) การ ออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา (การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ การออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียงทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เช่น นาตยา (นาด – ตะ – ยา), ขจร (ขะ – จอน), ขจี (ขะ – จี), ทวี (ทะ – วี) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นออกเสียงแบบนำกันมา หรืออักษรนำ (มีเสียง ห นำ)ได้แก่ วาด – สะ – หนา,ปริด – สะ – หนา,สะ – หยาม)

18. ข้อใดออกเสียงเป็นอักษรนำ (นำกันมา) ทุกคำ
1. สละ ขจร ปลัด
2. สมุด ขยะ จริต
3. ขจี สมุน ถนัด
4. ขยี้ สมาน ทวี

ตอบ 2 หน้า 22 (52067), 44 (H) การ ออกเสียงแบบนำกันมา (อักษรนำ) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะตัวหน้ามีอำนาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็จะเปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี ห นำ เช่น สมุด (สะ- หมุด),ขยะ (ขะ – หยะ),จริต (จะ – หริด), สละ (สะ –หละ), ปลัด (ปะ – หลัด), สมุน (สะ – หมุน), ถนัด (ถะ – หนัด), ขยี้ (ขะ – หยี้), สนาม (สะ – หนาม) เป็นต้น (ดูคำอธิบายข้อ 17 ประกอบ)

19. “บุญนำพา กลับมาถึงถิ่น ทรุดกายลงจูบดิน” ข้อความนี้มีคำตายกี่คำ
1. 2 คำ
2. 3 คำ
3. 4 คำ
4. 5 คำ

ตอบ 2 หน้า 28 (52067), 51 (H) (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 8 ประกอบ)
คำ เป็น คือ คำที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย เกอว และคำที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงยาวรวมทั้งสระอำ ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว) เช่น บุญ นำ พา มา ถึง ถิ่น กาย ลง ดิน เป็นต้น ส่วนคำตาย คือ คำที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคำที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงนั้น (ยกเว้นสระอำ ใอ ไอ เอา) เช่น กลับ ทรุด เป็นต้น

20. ข้อใดมีคำตายมากว่าคำเป็น
1. พระ ตัก น้ำ รด บาตร
2. พระ ดัง เสก น้ำ มนต์
3. พระ หาย ไป จาก วัด
4. พระ สงฆ์ กวาด ลาน วัด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 19 ประกอบ (คำตาย เช่น พระ ตัก รด บาตร เสก จาก วัด กวาด)

21. ข้อใดกระจายคำว่า “โหล” ถูกต้อง
1. พยัญชนะต้น = ห
2. สระ = สระโอะ
3. ตัวสะกด = ล
4. วรรณยุกต์ = เสียงจัตวา

ตอบ 4 หน้า 8, 17 , 35 – 36 (52067), 17, 37 (H) คำ ว่า “โหล” (ออกเสียงว่า โหล) มีพยัญชนะต้นคือ “หละ”เป็นพยัญชนะคู่เรียงกัน 2 ตัว และออกเสียงทั้งคู่ ใช้สระโอ ไม่มีตัวสะกด และมีวรรณยุกต์เสียงจัตวา(แต่ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์)

22. ข้อใดใช้คำถูกต้อง
1. พระสงฆ์ออกบิณฑบาตร
2. เธอชอบผัดวันประกันพรุ่ง
3. เขามีเครื่องรางของขลัง
4. คุณยายไปบังสุกุลที่วัด

ตอบ 2 คำที่เขียนผิด ได้แก่ บิณฑบาต เครื่องลาง บังสุกุล ซึ่งที่ถูกต้องคือ บิณฑบาต เครื่องราง บังสุกุล

23. ข้อใดไม่ใช่คำอุปาสื่อความหมาย
1. เพลงนี้ถูกใจจริง ๆ
2. อาหารร้านนี้ถูกปากฉันมาก
3. วันนี้ฉันถูกหวย
4. ฉันคุยกันเขาถูกคอกันเหลือกิน

ตอบ 3 หน้า 48 – 49, 86 (52067), 64, 80 (H) คำ อุปมา คือ คำที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่งซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. คำ อุปมาที่ได้มาจากคำที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ตุ๊กตา (นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก),ปลิง (เกาะไม่ยอมปล่อยเพื่อถือประโยชน์จากคนอื่น โดยที่ตัวเองไม่ต้องทำอะไร) เป็นต้น
2. คำ อุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งส่วนมากเป็นคำประสม เช่น ถูกใจ (ชอบ ต้องใจ), ถูกปาก (อร่อย),ถูกคอ (ชอบพอ ถูกอัธยาศัยกัน) เป็นต้น (ส่วนคำว่า “ถูกหวย” เป็นความหมายโดยตรงไม่ใช่คำเปรียบเทียบ)

24. คำว่า “ราด – ลาด” จัดเป็นคำประเภทใด
1. คำที่มีความหมายเหมือนกัน
2. คำแยกเสียงแยกความหมาย
3. เป็นคำอุปสรรคเทียม
4. คำพ้องเสียงพ้องความหมาย

ตอบ 2 หน้า 51, 53 – 55 (52067), 65 – 66 (H) การ แยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคำบางคำที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคำนั้นมีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกัน ได้แก่ พยัญชนะต้น ร กับ ล มีเสียงต่างกัน เช่น “ราด- ลาด” แปลว่า ทำให้แผ่กระจายออกไปเหมือนกันแต่ “ราด” เป็นการเทของเหลว เช่น น้ำให้กระจายแผ่ไป หรือให้เรี่ยรวดไปทั่ว ส่วน “ลาด” เป็นการปูให้แผ่ออกไป เช่น ลาดพรม ปูลาดอาสนะ เป็นต้น

25. “ข้างนอกฝนตก………ในบ้านน้ำประปาก็ไหล……..” ควรเติมคำใดลงในประโยค
1. กะปริบกะปรอย/ กะปริดกะปรอย
2. กะปริดกะปรอย/กะปริบกะปรอย
3. กระปริดกระปรอย/ กระปริบกระปรอย
4. กระปริบกระปรอย/ กระปริดกระปรอย

ตอบ 1 หน้า 56 – 57 (52067), (ดูคำอธิบายข้อ 24 ประกอบ) การ แยกเสียงแยกความหมายที่พยัญชนะตัวสะกดต่างกัน ได้แก่ แม่กดกับแม่กบ เช่น “กะปริบประปรอย- กะปริดกะปรอย” แปลว่า มีลักษณะไหล ๆ หยุด ๆ ทีละเล็กทีละน้อย คล้าย ๆ กัน แต่คำว่า “กะปริบกะปรอย” มักใช้กับฝนที่หยาดลงมาทีละน้อย

26. ข้อใดมีคำประสมอยู่ในประโยค
1. พี่น้องของฉันไปท่องเที่ยว
2. พ่อแม่ขึ้นรถไปเที่ยววัด
3. ฉันขึ้นรถไฟฟ้าไปลงที่สยาม
4. ลูกหลานไปเยี่ยมคุณย่า

ตอบ 3 หน้า 65, 80, 82 (52067), 69, 78 – 79 (H) คำ ประสม คือ คำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้คำใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสำคัญจะอยู่ที่คำต้น(คำตัวตั้ง)ส่วนที่ตามมาเป็นคำขยาย ซึ่งไม่ใช่คำที่ขยายคำต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คำทั้งคำมีความหมายจำกัดเป็นนัยเดียว ได้แก่ คำประสมที่ใช้เป็นคำนาม โดยมีคำตัวตั้งเป็นคำนามและคำขยายเป็นคำนามด้วยกัน เช่น รถไฟฟ้า หมายถึง รถที่พ่วงกันเป็นขบวนยาวโดยขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แล่นไปตามราง เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคำซ้อนเพื่อความหมาย ได้แก่ พี่น้อง พ่อแม่ ลูกหลาน)

27. ประโยคใดมีคำซ้อนเพื่อความหมาย
1. เขาอยู่กับพ่อตาแม่ยาย
2. ชาวบ้านอำเภอนี้สามัคคีกันดี
3. เธอเป็นคนหงุดหงิดตลอดเวลา
4. แถวนี้คนอยู่หนาแน่นต้องระมัดระวังให้ดี

ตอบ 4 หน้า 62 – 75 (52067), 67- 74 (H) คำซ้อน คือ คำเดี่ยว 2, 4 หรือ 6 คำ ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทำนองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดคำใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. คำซ้อนเพื่อความหมาย(มุ่งที่ ความหมายเป็นสำคัญ) ซึ่งอาจเป็นคำไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น หนาแน่น,ฆ่าฟัน,เดือดร้อน ฯลฯ หรืออาจเป็นคำไทยซ้อนกับคำภาษาอื่น เช่น เงียบสงัด (ไทย + เขมร) ฯลฯ หรือเป็นคำภาษาอื่นซ้อนกันเอง เช่น รูปภาพ (บาลีสันสกฤต + บาลีสันสกฤต) ฯลฯ 2. คำซ้อนเพื่อเสียง(มุ่งที่เสียงเป็นสำคัญ) เช่น หงุดหงิด (สระอุ + อิ), เหวอะหวะ (สระเออะ + อะ) ฯลฯ

28. ข้อใดใช้คำซ้อนเพื่อเสียง
1. ผู้ร้ายฆ่าฟันชาวบ้าน
2. ผู้รายทำให้ชาวบ้านเดือนร้อน
3. ผู้ร้ายถูกตำรวจจับเข้าคุก
4. ผู้ร้ายถูกทำร้ายจนมีแผลเหวอะหวะ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 27 ประกอบ

29. “แต่ละวัน ๆ คนหน้าขาว ๆ ที่ชอบสวมเสื้อสีดำ ๆ จะออกไปวิ่งที่หน้าบ้าน”
ข้อใดอ่านคำที่เขียนด้วยไม้ยมกถูกต้อง
1. แต่ละวัน ละวัน คนหน้าขาว ขาว ที่ชอบสวมเสื้อสีดำ ดำ…..
2. แต่ละวัน ละวัน คนหน้าขาว ขาว ที่ชอบสวมเสื้อสีดำ สีดำ…..
3. แต่ละวัน แต่ละวัน คนหน้าขาว ขาว ที่ชอบสวมเสื้อสีดำ ดำ…..
4. แต่ละวัน แต่ละวัน คนหน้าขาว หน้าขาว ที่ชอบสวมเสื้อสีดำ สีดำ…..

ตอบ 3 ข้อความนี้ อ่านว่า แต่ละวัน แต่ละวัน คนหน้าขาว ขาว ที่ชอบสวมเสื้อสีดำ ดำ จะออกไปวิ่งที่หน้าบ้าน

30. ข้อใดใช้ไม้ยมก (ๆ) ถูกต้อง
1. เจ้าหน้าที่ ๆ รับผิดชอบ
2. คนดี ๆ เขาไม่พูดเช่นนี้
3. พื้นที่ ๆ ใช้เพาะปลูก
4. คนมั่งมี ๆ เงินทองมากมาย

ตอบ 2 หน้า 76 – 77 (52067), 76 (H) คำ ซ้ำ คือ คำคำเดียวกันที่นำมากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายต่างจากคำเดี่ยว ซึ่งวิธีการสร้างคำซ้ำก็เหมือนกับการสร้างคำซ้อน แต่ใช้คำคำเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมกกำกับ เช่น คำซ้ำที่ซ้ำคำขยายนามแสดงพหูพจน์หรือเน้นลักษณะ ได้แก่ คนดี ๆ เขาไม่พูดเช่นนี้,มีแต่ปลาเป็น ๆ เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นไม่ใช้คำซ้ำ เพราะเป็นคำที่พูดติดต่อเป็นความเดียวกัน และเป็นคำคนละประเภทกัน)

31. ยะยิบยะยับ เป็นคำอุปสรรคเทียมชนิดใด
1. กร่อนเสียง
2. แบ่งคำผิด
3. เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน
4. เทียบแนวเทียบผิด

ตอบ 1 หน้า 93 – 95 (52067), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นการกร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่
1. “มะ” ที่นำหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช้ไม้ผล และหน้าคำบอกกำหนดวัน เช่น หมากอึก มะอึก,หมากขาม มะขาม,เมื่อรืน มะรืน
2. “ตะ” นำหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคำที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตอม้อ ตะม่อ,
ตาราง ตะราง,ต้นเคียน ตะเคียน,ต้นขบ ตะขบ
3. “สะ” เช่น สายดือ สะดือ,สาวใภ้ สะใภ้,สายดึง สะดึง
4. “ฉะ” เช่น ฉันนั้น ฉะนั้น,ฉาด ๆ ฉะฉาด,เฉื่อย ๆ ฉะเฉื่อย
5. “ยะ” / ระ / ละ เช่น รื่น ๆ ระรื่น,ยิบ ๆ ยับ ๆ ยะยิบยะยับ,เลาะ ๆ ละเลาะ
6. “อะ” เช่น อันไร / อันใด อะไร,อันหนึ่ง อนึ่ง ส่วนคำอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ได้แก่ ผู้ญาณ พยาน, ชาตา ชะตา,เฌอเอม ชะเอม,ชีผ้าขาว ชีปะขาว เป็นต้น

32. คำใดเป็นอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด
1. กระโดกกระแดก
2. กระโผลกกระเผลก
3. กระชุ่มกระชวย
4. กระโชกกระชาก

ตอบ 3 หน้า 94 – 96 (52067), 85 – 86 (H) อุปสรรค เทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิดเป็นการเพิ่มเสียง “กะ” (หรือ “กระ”)เข้าไปในคำซ้อนเพื่อเสียงที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “กะ” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนว เทียบแต่เป็นการเทียมแนวเทียบผิด เช่นชุ่มชวย กระชุ่มกระชวย,ปรี้เปร่า กระปรี้กระเปร่า,ดี๋ด๋า กระดี๋กระด๋า,จุ๋มจิ๋ม กระจุ๋มกระจิ๋ม,เจิดเจิง กระเจิดกระเจิง

33. ข้อใดเป็นอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียงทุกคำ
1. สะดือ กระดุม สะใภ้
2. ตะม่อ ตะราง มะอึก
3. ตะเคียน มะขาม กระจอก
4. ฉะนั้น กระโฉม ละเลาะ

ตอบ 2 หน้า 94 (52067), 84 – 85 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ)ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคำอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคำผิด ซึ่งเกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกันโดยการเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) ในคำที่พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “กะ” เช่น ลูกดุม ลูกกระดุม , นกจอก นกกระจอก,ผักโฉม ผักกระโฉม,จักจั่น จักกะจั่น,ผักสัง ผักกระสัง,ผักเฉด ผักกระเฉด,ตุ๊กตา ตุ๊กกะตา

34. ข้อใดเรียงลำดับคำอุปสรรคเทียมจากการกร่อนเสียง แบ่งคำผิด เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน และเทียบแนวเทียบผิด
1. จักจั่น ตะขบ กระดุกกระดิก กระปรี้กระเปร่า
2. กระสัง มะรืน กระจุกกระจิก กระดี๋กระด๋า
3. ชะตา ผักกระเฉด กระปลกกระเปลี้ย กระจุ๋มกระจิ๋ม
4. ฉะฉาด ตุ๊กตา กระเจิดกระเจิง กระอักกระอ่วน

ตอบ 3 หน้า 95 (52067), 85 (H),(ดู คำอธิบายข้อ 31,32และ 33 ประกอบ) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”)เข้าไปในคำซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้นและหน้าพยางค์ท้าย ซึ่งมีเสียงเสมอกันและสะกดด้วย “กะ” เหมือนกัน เช่น ดุกดิก กระดุกกระดิก,จุกจิก กระจุกกระจิก,ปลกเปลี้ย กระปลกกระเปลี้ย,อักอ่วน กระอักกระอ่วน

ข้อ 35 – 36 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม
1. แมวจับหนู

2. หนูวิ่งเร็ว

3. แมวจับหนูตัวเล็ก

4. แมวสีดำกระโดด

35. ข้อใดมีส่วนขยายกรรม

ตอบ 3 หน้า 105 (52067), 95 – 96 (H) ภาคขยายแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. ส่วนขยายประธานหรือผู้กระทำ และส่วนขยายกรรมหรือผู้ถูกกระทำ ซึ่งเรียกว่า คุณศัพท์ เช่น แมวสีดำกระโดด (ขยายประธาน),แมวจับหนูตัวเล็ก (ขยายกรรม)
2. ส่วนขยายกริยา ซึ่งเรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตำแหน่งอยู่หน้าคำกริยา เช่น แม่ชอบทำขนม(ขยายกริยา “ทำ”)หรือมีตำแหน่งอยู่หลังคำกริยาก็ได้ เช่น หนูวิ่งเร็ว (ขยายกริยา “วิ่ง”)

36. ข้อใดมีส่วนขยายกริยา

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 35 ประกอบ

37. ข้อใดมีครบทั้งภาคประธาน กริยา และกรรม
1. ฟ้าร้องครืน ๆ
2. ฝนตกทั้งคืน
3. นกกระจอกเทศวิ่งเร็ว
4. ผีเสื้อกันน้ำหวาน

ตอบ 4 หน้า 94 (H) ประโยค ที่สมบูรณ์ในภาษาไทยจะมีการเรียงลำดับคำ ประกอบไปด้วยภาคประธาน + ภาคแสดง (กริยา และกรรม) ซึ่งทั้ง 2 ภาคอาจมีคำขยายเข้ามาเสริมความให้สมบูรณ์ด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น ผีเสื้อ (ประธาน) กิน (กริยา) น้ำหวาน (กรรม) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นไม่มีกรรม มีแต่ภาคประธาน กริยา และส่วนขยายกริยาเท่านั้น)

38. ข้อใดไม่มีภาคประธาน
1. นักเรียนเข้าแถว
2. นักเรียนวิ่งเร็ว
3. นักเรียนชอบวิชาพละ
4. นักเรียนถูกตี

ตอบ 4 หน้า 110 (52067), (คำบรรยาย) การแสดงการก หมายถึง ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างคำในประโยค ซึ่งสามารถดูได้จากตำแหน่งของคำที่เรียงกันในประโยค แต่บางกรณีคำนามที่เป็นประธานหรือกรรมอาจเปลี่ยนที่ไปได้ คือ ประธานไปอยู่หลังกรรม กรรมมาอยู่หน้ากริยาได้ถ้าต้องการเน้น เช่น ประโยค “นักเรียนถูกตี” ย้ายกรรมมาไว้ที่ต้นประโยคหน้าคำกริยาแล้วละภาคประธานของประโยคไว้ เพราะจริง ๆ แล้วต้องมีผู้ที่ตีนักเรียน เพียงแต่ว่าคนนั้นไม่ปรากฏในประโยค (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นคำนาม “นักเรียน” เป็นประธานของประโยค)

ข้อ 39 – 41 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

1. ไม่ใกล้ไม่ไกล

2. ใกล้เข้าไปอีกนิด

3. ใกล้ไปไหม

4. อย่ามาเข้าใกล้นะ

39. ข้อใดเป็นประโยคคำสั่ง

ตอบ 4 หน้า 102 (52067), 91 – 92 (H) ประโยคคำสั่ง หมายถึง ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทำตามความประสงค์ของผู้พูดอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง มักเป็นประโยคที่ละประธานหรือผู้ทำไว้ในฐานที่เข้าใจและขึ้นต้นด้วนคำกริยา บางครั้งอาจจะมีกริยาช่วย “อย่า ห้าม จง ต้อง” มานำหน้ากริยาแท้เพื่อแสดงการสั่งไม่ให้ทำหรือให้ทำก็ได้ แต่ถ้ามีประธานก็จะเป็นการระบุชื่อหรือเน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ ตัว

40. ข้อใดเป็นประโยคคำถาม

ตอบ 3 หน้า 102 – 103 (52067), 93 (H) ประโยคคำถาม หมายถึง ประโยคที่มีคำวิเศษณ์แสดงคำถามอยู่ด้วย เช่น ใคร อะไร ที่ไหน ทำไม เมื่อไร อย่างไร หรือ หรือเปล่า หรือไม่ ไหม ฯลฯ ซึ่งตำแหน่งของคำแสดงคำถามนี้อาจอยู่ต้นหรือท้ายประโยคก็ได้

41. ข้อใดเป็นประโยคบอกเล่า

ตอบ 1 หน้า 103 (52067), 90 (H) ประโยคบอกเล่า หมายถึง ประโยคที่ใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา ซึ่งอาจใช้ไปในทางตอบรับ หรือตอบปฏิเสธก็ได้

42. ข้อใดมีคำนามทั้งเพศชายและเพศหญิง
1. แม่ชวนคุณป้าไปซื้อของ
2. พ่อไปหาพระที่วัด
3. เณรกับแม่ชีช่วยกันกวาดล้านวัด
4. แม่ผัวรักลูกสะใภ้มาก

ตอบ 3 ดูคำอธิบานข้อ 7 ประกอบ

43. “กล้วยทอดกินอร่อย” กล้วยเป็นคำนามที่ทำหน้าที่ใดของประโยค
1. ประธาน
2. ส่วนขยายประธาน
3. กรรม
4. ส่วนขยายกรรม

ตอบ 3 ดูคำอธิบาย ข้อ 38 ประกอบ (ประโยค “กล้วยทอดกินอร่อย” ย้ายกรรมมาไว้ที่ต้นประโยคหน้าคำกริยา แล้วละประธานของประโยคไว้ เพราะจริง ๆ แล้วต้องมีผู้ที่กินกล้วย เพียงแต่ว่าคนนั้นไม่ปรากฏในประโยค)

44. ข้อใดไม่ใช่สรรพนามแสดงคำถาม
1. เขาหายไปไหน
2. เรื่องไปถึงไหนแล้ว
3. ไหนล่ะเพลงที่เธอชอบ
4. ไหน ๆ เรื่องก็เกิดขึ้นแล้ว

ตอบ 4 หน้า 111,116 – 1118 (52067), 99 (H) สรรพนาม ที่บอกคำถาม ได้แก่ ใคร อะไร ใด ไหนซึ่งเป็นคำกลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกความไม่จำเพาะเจาะจง แต่สรรพนามที่แสดงคำถามจะใช้สร้างประโยคคำถาม เช่น เขาหายไปไหน, เรื่องไปถึงไหนแล้ว, ไหนล่ะ เพลงที่เธอชอบ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 4 เป็นสรรพนามที่บอกความไม่จำเพาะเจาะจง ซึ่งจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของหรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม)

45. ข้อใดมีสรรพนามเชื่อมประโยค
1. ต่างรักต่างชอบ
2. ที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์
3. นี่แหละรัก
4. ไหนล่ะคือรัก

ตอบ 2 หน้าที่ 111,119 (52067), 98,100 (H) สรรพนาม ที่ใช้แทนนามและเชื่อมประโยค ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ซึ่งจะใช้ในรูปประโยคที่มีประโยคเล็กซ้อนกับประโยคใหญ่ และสามารถทำให้คำที่ตามหลังมาทั้งหมดกลายเป็นคำขยายได้ เช่น ฉันรักคนที่ไม่เห็นแก่ตัว, ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์,ครูซึ่งใจดีย่อมไม่ดู,ความจริงอันปรากฏขึ้นมา ฯลฯ

46. คำว่าพ่อในข้อใดเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1
1. ไปหาพ่อเถอะ
2. ฟังพ่อนะ
3. พ่อได้ยินไหม
4. พ่อนอนหลับแล้ว

ตอบ 2 หน้า 112 (52067), 99 (H) สรรพนาม บุรุษที่ 1 คือ คำที่ใช้แทนตัวผู้พูดเอง เช่น ฉัน ดิฉัน อิฉัน กระผม ข้าพเจ้า เรา ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คำนามอื่น ๆ แทนตัวผู้พูดเพื่อความสนิทสนมรักใคร่ได้แก่ 1. ใช้ตำแหน่งเครือญาติแทน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ตา ยาย ฯลฯ 2. ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงานแทน เช่น ครู อาจารย์ หัวหน้า ฯลฯ 3. ใช้ชื่อผู้พูดทั้งชื่อเล่นจริงแทน เช่น น้อย ติ๋ว ต๋อย นุช แดง ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่น คำว่า “พ่อ” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 และ 3)

47. ข้อใดไม่มีคำกริยาช่วยแสดงกาล
1. เขาชอบกินข้าวคนเดียว
2. เขาจะไปกินข้าวกับเธอ
3. เขากินข้าวอยู่ที่บ้าน
4. เขาเพิ่มกินข้าว

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 6 ประกอบ

48. ข้อใดเป็นกริยาการีต
1. ไปไหว้พระ
2. ไปดูหนัง
3. ไปตรวจโรค
4. ไปซื้อของ

ตอบ 3 หน้า 128 (52067), (คำบรรยาย) คำ กริยาธรรมดาที่มีความหมายเป็นการีต (ทำให้) เป็นคำที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ และมีความหมายเฉพาะเป็นที่รู้กัน ซึ่งดูเหมือนว่าประธานเป็นผู้กระทำกริยานั้นเอง แต่ที่จริงแล้วประธานเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น ไปดูหมอ (ที่จริงคือ ให้หมอดูโชคชะตาให้ตน),ไปตรวจโรค (ที่จริงคือ ให้หมอยาตรวจโรคให้ตน),ไปตัดเสื้อทำผม (ที่จริงคือ ให้ช่างตัดเสื้อและทำผมให้ตน)เป็นต้น

49. คำว่า “มา” ในข้อใดไม่ใช่กริยาแท้
1. เขามาช้า
2. เขาไปเที่ยวมา
3. เขาไม่มานานแล้ว
4. เขาน่าจะมา

ตอบ 2 หน้าที่ 123 (52067), (ดูคำอธิบายข้อ 6 ประกอบ) คำว่า “มา” เป็นได้ทั้งกริยาแท้และกริยาช่วยถ้าเป็นกริยาช่วยจะมีตำแหน่งอยู่หลังกริยา แท้ โดยจะมีเสียงเบาและสั้นกว่ากริยาแท้ ได้แก่ “มา” ที่เป็นกริยาช่วยจะแสดงอดีต เช่น เขาไปเที่ยวมา (แสดงอดีตว่า ได้กลับจากที่อื่นมาถึงที่พัก) หรือแสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่น คำว่า “มา” เป็นกริยาแท้หมายถึง เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด)

50. คำคุณศัพท์ในข้อใดแสดงความชี้เฉพาะมากกว่าข้ออื่น ๆ
1. เขาอยู่นี่ไง
2. เขาอยู่ตรงนี้
3. เขาอยู่นั่นไง
4. เขาอยู่ตรงนั้น

ตอบ 2 หน้า 135 (52067), 102 (H) คำ คุณศัพท์ขยายนามที่ชี้เฉพาะได้แก่ นี้ นั้น โน้น นี่ นั่น โน่น ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำสรรพนามที่บอกความจำเพาะเจาะจง แต่ถ้าใช้เป็นคำคุณศัพท์จะต้องอยู่หลังคำนาม โดยคำว่า “นี่/นั่น/โน่น” จะใช้ขยายนามที่ไม่รู้แน่ว่าเป็นใคร ชื่ออะไร หรือเป็นของชนิดไหน แต่ถ้าใช้ “นี้/นั้น/โน้น” จะขยายนามที่ชี้เฉพาะมากกว่า เช่น เขาอยู่ตรงนี้ (ชี้เฉพาะที่ที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุด),เขาอยู่ตรงนั้น (ชี้เฉพาะที่ที่อยู่ไกลตัวออกไป)ฯลฯ

51. “ทุกวันฉันฝันถึงเธอ” ประโยคนี้มีคำคุณศัพท์ชนิดใด
1. ขอกจำนวนแบ่งแยก
2. บอกจำนวนนับไม่ได้
3. ขยายนามชี้เฉพาะ
4. บอกความไม่ชี้เฉพาะ

ตอบ 1 หน้า 133 – 134 (52067), 102 (H) คำ คุณศัพท์บอกจำนวนแบ่งแยก ได้แก่ ต่าง ต่าง ๆ ละ ทุก บ้าง บาง ฯลฯ เช่น ทุกวันฉันฝันถึงเธอ (คำว่า “ทุก” ใช้ไว้หน้านามเพื่อขยายนามนั้นบอกจำนวนที่เป็นสองหรือมากกว่านั้น แยกกันไปที่ละจำนวน เป็นจำนวนที่กำหนดแน่ไม่มีเว้นอาจแยกเป็นทีละหนึ่งเช่น ทุกวัน)

52. “ฉันฝันถึงเธอเสมอ” ประโยคนี้มีคำกริยาวิเศษณ์ชนิดใด
1. บอกประมาณ
2. บอกความแบ่งแยก
3. บอกอาการและภาวะ
4. บอกเวลา

ตอบ 1 หน้า 139 (52067), 103 (H) คำ กริยาวิเศษณ์บอกประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิดหน่อย มากมาย เหลือเกิน พอ ครบ ขาด หมด สิ้น แทบ เกือบ จวน เสมอ บ่อย ฯลฯ ซึ่งคำเหล่านี้สามารถใช้เป็นคุณศัพท์ได้แทบทุกคำ เช่น ฉันฝันถึงเธอเสมอ (คำว่า “เสมอ” ใช้ขยายเพื่อบอกเวลาหลายครั้ง หรือบอกประมาณหลายครั้ง)

53. ข้อใดสามารถละบุรพบทใด
1. เขาเป็นคนของประชาชน
2. คำบอกรักของเขามีค่ามาก
3. น้ำตาของเขาเหือดหายไปกับความรัก
4. คำว่ารักของเขาก้องอยู่ในใจฉันเสมอ

ตอบ 3 หน้า 143 – 144 (52067), 104 – 105 (H) คำ บุรพบทไม่สำคัญมากเท่ากับคำนาม คำกริยาและคำวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบทที่อาจละได้แล้วความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ เช่น น้ำตาของเขาเหือดหายไปกับความรัก (น้ำตาเขาเหือดหายไปกับความรัก) เป็นต้น แต่บุรพบทบางคำก็ละไม่ได้เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง จะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมายต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม

54. ขอใดไม่สามารถใช้คำบุรพบทอื่นแทนได้
1. เขาใช้ชีวิตอยู่ตามลำพัง
2. ดอกไม้ช่อนี้สำหรับเธอ
3. เยาอยากคุยกับเธอสองต่อสอง
4. เราควรพูดจากันด้วนดี

ตอบ 4 หน้า 144 – 146(52067), 105 – 106 (H) คำบุรพบท “ด้วยดี” กับ “โดยดี” จะมีความหมายคล้ายกัน แต่บางกรณีก็ใช้แทนกันไม่ได้ เช่น พูดจากกันด้วยดี (พูดกันด้วยอัธยาศัยไมตรี),พูดจากันโดยดี (ยอมพูดจากปรึกษาหารือ หรือประนีประนอมกันเมื่อเกิดการขัดแย้ง) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้คำบุรพบทอื่นแทนได้ เช่น เขาใช้ชีวิตอยู่ตาม/โดยลำพัง,ดอกไม้ช่อนี้สำหรับ/เพื่อเธอ,เขาอยากคุยกับเธอ สองต่อสอง ซึ่งคำว่า “ต่อ” ในที่นี้มีความหมายเท่ากับ “กับ/และ”)

ข้อ 55. – 57 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม
1. น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก

2. ฝนหยุดตกแล้ว แต่น้ำยังคงท่วมอยู่

3. ถ้าฝนไม่ตก น้ำคงไม่ท่วม

4. ครั้นฝนตก ดินก็ถล่มลงมา

55. คำสันธานใดเชื่อมความคล้อยตามกัน

ตอบ 4 หน้าที่ 153 – 154 (52067), 106 (H) คำ สันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน ทำนองเดียวกันไม่ขัดแย้งกัน โดยทำหน้าที่เชื่อมความที่เกี่ยวกับเวลา ได้แก่ ก็, แล้ว…ก็, แล้ว….จึง, ครั้น….ก็, เมื่อ….ก็,ครั้น….จึง,เมื่อ….จึง,พอ….ก็ ส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมความให้รวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ ทั้ง,ทั้ง…ก็, ทั้ง…และ, ก็ได้, ก็ดี,กับ,และ

56. คำสันธานใดเชื่อมความแบ่งรับแบ่งสู้

ตอบ 3 หน้า 156 – 157(52067), 107 (H) คำสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ ได้แก่ ถ้า, ถ้า…ก็,ถ้า…จึง, ถ้าหากว่า, แม้…แต่, แม้ว่า,เว้นแต่,นอกจาก

57. คำสันธานใดเชื่อมความขัดแย้งกัน

ตอบ 2 หน้า 155 – 156 (52067), 106 (H) คำสันธานที่เชื่อมความที่ขัดแย้งกันไปคนละทาง ได้แก่ แต่,แต่ว่า,แต่ทว่า,จริงอยู่…แต่,ถึง…ก็, กว่า…ก็

58. คำอุทานใดมีความหมายว่าเอิกเกริก
1. อื้ออึง
2. อึกทึก
3. ครื้นครั่น
4. ครึกครื้น

ตอบ 4 หน้า 159 – 160 (52067), 109 (H) คำอุทานที่ได้เลื่อนมาเป็นคำวิเศษณ์ ได้แก่
1.อื้ออึง หมายถึง ลั่น ดังลั่น
2. อื้อฉาว หมายถึง เซ็งแซ่ โจษจัน
3. อึกทึก หมายถึง เอ็ดอึง
4.ครึกโครม หมายถึง ดังตึงตัง น่าตื่นเต้น
5.ครืน หมายถึง เสียงดังลั่น
6.ครื้นครั่น หมายถึง กึงก้อง 7.ครึกครื้น หมายถึง เอิกเกริก

59. ข้อใดจับคู่คำนามกับคำลักษณะนามไม่ถูกต้อง
1. แว่นตา – คู่
2. จอบ – เล่ม
3. คำร้อง – ฉบับ
4. เข็มทิศ – อัน

ตอบ 1 หน้า 160 – 165 (52067), 109 – 110 (H) คำ ลักษณะนาม คือคำที่ตามหลังคำบอกจำนวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดของคำนามที่อยู่ข้าง หน้าคำบอกจำนวนนับ มักจะเป็นคำพยางค์เดียวแต่เป็นคำที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบ เทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ และการเทียบแนวเทียบ เช่น แว่นตา เข็มทิศ ใบพัด (อัน),จอบ (เล่ม),คำร้อง ใบรับรอง ใบลา ใบสำคัญคู่จ่าย (ฉบับ), ใบเสมา ใบขับขี่ ใบสั่ง ใบมีดโกน ใบเลื่อย (ใบ),ใบสุทธิ ใบเสร็จ(ฉบับ/ใบ),ใบปลิว (ใบ/แผ่น)เป็นต้น

60. ข้อใดใช้คำลักษณะนามใบทุกคำ
1. ใบเสมา ใบขับขี่ ใบสั่ง
2. ใบรับรอง ใบลา ใบมีดโกน
3. ใบเลื่อย ใบสุทธิ ใบพัด
4. ใบปลิว ใบสำคัญคู่จ่าย ใบเสร็จ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 59 ประกอบ

ข้อ 61 – 70 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม โดยให้สัมพันธ์กับข้อความนี้

ที่ อำเภอหนึ่งเขามีงานเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่ออนุรักษ์และสืบสานศิลปะการทอผ้า ตีนจกเอกไว้ไม่ให้สูญไปเป็นประจำทุกปีมาหลายปีแล้วละ งานนี้เป็นงานที่น่ารักมาก ชื่อว่างาน (นามสมมุติอีกเช่นกัน) “เทศกาลฮู้รักษาผ้าซิ่นตีนจก” อะไรทำนองนี้ ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่างานชื่ออะไร แต่อยู่ที่ว่างานนี้มีคำว่า “ตีน” และ “ซิ่น” อยู่ด้วย
ที นี้นายอำเภอ (ซึ่ง “มะสะลุม” สันนิษฐานเอาเองว่าท่านคงไม่ใช้คนท้องถิ่น) ท่านก็เกิดนิมิตคิดใหม่ทำใหม่ขึ้นมาว่า งานนี้น่ะชื่อน่าเกลียดแท้ มีคำว่า “ตีน” ซึ่งไม่สุภาพแล้วยังไม่พอ ซ้ำยังมีคำว่า “ซิ่น” ซึ่งฟังดูแล้วไม่เพราะไม่เป็นมงคล (ฟังแล้วเหมือน “สิ้น”) อีกด้วย น่าจะเปลี่ยนชื่อเสียงใหม่ ให้ฟังดูไพเราะเสนาะหู อย่างเช่น “งานเทศกาลเบิกฟ้าผ้าเชิงจกกนกพัสตราภรณ์” อะไรบ้า ๆ ทำนองนี้ (นี่ก็นามสมมุติอีกเหมือนกัน..เดี๋ยวนี้ไม่ได้…จะพูดอะไรต้องระวังปาก)

พวกเราพลพรรคนักจ้อทั้งหลายฟังแล้วก็อดวิพากษ์กันไม่ได้ว่ามันเรื่องอะไรของแกวะ ทำไมถึงได้มีความคิดสร้างสรรค์ถึงขนาดนั้น ทำไมถึงไม่เอาเวลาไปคิดอย่างอื่นที่มันประเทืองปัญญา และมีประโยชน์มากกว่านี้ ไปวุ่นวายกับชื่อที่ชาวบ้านเค้าตั้งมาดีแล้ว ถูกต้องชัดเจนทำไมกัน ชื่อเดิมของเขาฟังดูก็ตรงประเด็นไม่เห็นจะหยาบคายตรงไหนเลย ทั้งยังได้กลิ่นอายพื้นบ้านอีกด้วย

“มะสะลุม” นั้นมาคิดดูแล้วก็ให้นึกเสียดายว่า ในอดีตชื่อสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาษาถิ่นและแสดงออกถึงประวัติศาสตร์ ตลอดจนวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ถูกฝ่ายราชการทำลายไปด้วยความหวังดีเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์มากแล้ว ทำให้สูญเสียงความหมายและรากภาษาดั้งเดิม จน ในบางครั้งคนในท้องถิ่นรุ่นหลัง ๆ นั้นเอง ก็ยอมรับเอาชื่อและความหมายใหม่ซึ่งเพี้ยนไปแล้วนั้นเข้าไว้โดยเข้าใจผิดและ บางครั้งถึงกับเอาความหมายผิด ๆ นั้น ไปใช้ออกแบบตามสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นเสียด้วย

อย่างเช่น อำเภอ “ร้องกวาง” เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจกันว่า หมาย ถึง ที่ซึ่งมีกวางมา “ร้อง” ถึงกับเขียนไว้ในประวัติอำเภอและทำเป็นรูปกวางกำลังร้อง (ถ้าดูไม่ดีอาจนึกว่าเป็นรูปหมาหอน) แต่ความจริงคำที่ถูกต้องนั้นคือ “ล้องกวาง” คำว่า “ล้อง” เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิประเทศชนิดหนึ่งในภาษาเหนือ (เช่นเดียวกับภาษากลางมีคำว่า “บาง” เป็นต้น) และที่ “ล้อง” แห่งนี้มันมี “กวาง” เขาจึงเรียกว่า “ล้องกวาง” (ส่วนกวางมันจะ “ร้อง” หรือไม่ร้องนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องของมนุษย์)
บ้าน “สงเปลือย” นี่ก็อีก…บางทีก็เพี้ยนหนักเป็น “สงฆ์เปลือย” (อุ๊ยตายว้านกรี๊ด! ทั้งโป๊ ทั้งบาป)ที่จริงเขาชื่อ “สงเปือย” ต่างหาก “เปือย” เป็นภาษาอีสาน เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง

คนไทยเดี๋ยวนี้เป็นอะไรกันไปหมดนะ อายเรื่องที่ไม่ควรจะอาย แต่เรื่องที่ควรจะอาย กลับไม่อาย “ซิ่นตีนจก” แล้วมันจะเป็นไรไปหรือครับ คำว่า “ซิ่น” ก็เขียนต่างจาก “สิ้น” ความหมายก็ต่างกันเป็นคำพ้องเสียง ใคร ๆ ก็รู้ ส่วนคำว่า “ตีน” ก็ไม่เห็นจะหยาบคายตรงไหนเลย มันต้องดู “บริบท ( Contex)” ด้วย คำว่า “ตีน” นั้นมันจะอยู่ส่วนไหนของประโยค ถ้า อยู่อย่างที่กล่าวมาแล้ว คนทั่ว ๆ ไปเขาก็เข้าใจว่าหมายถึงอะไร (ไม่ใช่อยู่ดี ๆ พูดว่า “ตีนแน่ะ” อย่างนี้ก็ค่อนข้างหยาบคายนะครับ..ไม่ควรพูด)

คำว่า “ตีน” นั้น คนไทยเราใช้พูดกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งของพ่อขุนรามคำแหงฯ ก็ยังกล่าวถึง “เบื้องตีนนอน” ของกรุงสุโขทัยว่ามีอะไรบ้าง (ลองไปหาอ่านกันเองนะครับ)แปลกที่เบื้องตีนนอนของคนไทยสมัยสุโขทัยนั้นน่ะ หมายถึง “ทิศเหนือ” ไม่ยักใช่ทิศใต้ หรือทิศตะวันตกแสดงว่าคนไทยสมัยก่อนมีความนิยมนอนเอาหัวไปทางทิศใต้ เอาตีนไปทางทิศเหนือ ต่างจากความนิยมในปัจจุบันที่นิยมนอนเอาหัวไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก แล้วเอาตีนไปทางทิศใต้ หรือทิศตะวันตก

ต่อมาคนไทยเราก็เริ่ม (ดัดจริต) เปลี่ยนคำว่า “ตีน” บางคำมาเป็น “เท้า” แทน เช่น คำพังเพยว่า “มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ” (เหมือน บางคน) เดี๋ยวนี้ก็นิยมพูดกันว่า “มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ” นัยว่าสุภาพขึ้น หรือบางทีก็หลบไปใช้คำว่า “เชิง” (ซึ่งความจริงนั้นเป็นภาษาเขมร) แทน เช่น “ตีนดอย” “ตีนเขา” ก็ว่า “เชิงเขา” แต่ก็ยังมีอีกหลายคำที่เปลี่ยนจาก “ตีน” เป็นคำอื่นไม่ได้ ฟังแล้วไม่เป็นภาษาคนเลยทีเดียว อย่างเช่น “ตีนกา” (ที่ปรากฏอยู่บนหน้าคุณทั้งหลายที่อายุอ่อนกว่าหน้านั่นแหละ) จะให้เปลี่ยนเป็น “เท้ากา” หรือ “เชิงกา” ก็ฟังดูบ้า ๆ บอ ๆ ถึงมีที่เปลี่ยนไปเป็นภาษาบาลีเลยว่า “กากบาท”(ซึ่งแปลตรงตัวว่าตีนกา) แต่เราก็ใช้กันในคนละความหมายมานานแล้ว (แหมก็ใครอยากมี “กากบาท” ขึ้นเต็มหน้าบ้างล่ะแย่ยิ่งกว่า “ตีนกา” อีกนะ)

(เรียบเรียงและตัดจากเรื่อง อายตีน คอลัมน์ เลียบท่าพาที โดย “มะสะลุม” หนังสืออนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ 44 ฉบับที่ 3)

61. แนวคิดหลักของข้อความที่ให้อ่านคืออะไร
1. ภาษาถิ่นและภาษากลางสื่อวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ต่างกัน
2. ความหวังดีแต่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้ชื่อที่ถูกต้องกับความหมายเดิมถูกเปลี่ยนไป
3. ภาษาเป็นเรื่องยากที่จะทำให้อยู่ในระนาบเดียวกัน
4. ภาษาต่างถิ่นต่างสมัยย่อมมีเอกลักษณ์เฉพาะ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) แนวคิดหลัก (Theme) คือ สารัตถะ แก่นเรื่อง หรือสาระสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งจะสื่อถึงผู้อ่าน เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อเรื่อง โดยจะมีใจความครอบคลุมรายละเอียดทั้งหมดและมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งแนวคิดหลักหรือสารัตถะสำคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ ความหวังดีแต่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำใช้ชื่อที่ถูกต้องกับความหมายเดิมถูกเปลี่ยนไป

62. ผู้เขียนมีความเห็นอย่างไรต่อชื่องาน “เทศกาลฮู้รักษาผ้าซิ่นตีนจก”
1. ไม่น่าฟัง ไม่สุภาพ ไม่เป็นมลคล
2. ไม่สามารถสื่อความหมายให้กับคนในภูมิภาคอื่น ๆ ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง
3. ตรงประเด็น ไม่หยาบคาย มีกลิ่นอายพื้นบ้าน
4. ชัดเจน มีประโยชน์ ประเทืองปัญญา

ตอบ 3 จาก ข้อความ…ไปวุ่นวายกับชื่อที่ชาวบ้านเค้าตั้งมาดีแล้ว ถูกต้องชัดเจนทำไมกัน ชื่อเดิมของเขาฟังดูก็ตรงประเด็น ไม่เห็นจะหยาบคายตรงไหนเลย ทั้งยังได้กลิ่นอายพื้นบ้านอีกด้วย

63. ชื่อสถานที่ที่เป็นที่ต้องเป็นภาษาบ่งบอกลักษณะใด
1. สื่อความหมายแคบ
2. ต้องอาศัยบริบทจึงจะเข้าใจได้
3. สื่อความหมายได้เฉพาะรุ่น
4. สื่อวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

ตอบ 4 จาก ข้อความ…. ในอดีตชื่อสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาษาถิ่นและประวัติศาสตร์ตลอดจนวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ถูกฝ่ายราชการ ทำลายไปด้ายความหวังดีเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์มามากแล้ว ทำให้สูญเสียงความหมายและรากภาษาดั้งเดิม จนในบางครั้งคนในท้องถิ่นรุ่นหลัง ๆ นั้นเอง ก็ยอมรับเอาชื่อและความหมายใหม่ซึ่งเพี้ยนไปแล้วนั้นเข้าไว้โดยเข้าใจผิด

64. ชื่อสถานที่บางแห่งในปัจจุบันอยู่ในลักษณะใด
1. มีความเป็นสากล
2. ใช้สื่อความหมายได้เข้าใจทั่วประเทศ
3. สูญเสียความหมายและรากภาษาดั้งเดิม
4. ออกเสียงและเข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65. เบื้องตีนนอน ในสมัยสุโขทัยแสดงถึงอะไร
1. การใช้ภาษาบริสุทธิ์ในสมัยนั้น
2. คนไทยในอดีตเห็นความสำคัญของเท้า
3. คนไทยในอดีตไม่อายในเรื่องที่ไม่ควรอาย
4. ความนิยมในการกำหนดทิศทางนอนของอดีตและปัจจุบันตรงกันข้ามกัน

ตอบ 4 จากข้อความ…. แปลกที่เบื้องตีนนอนของคนไทยสมัยสุโขทัยนั้นน่ะ หมายถึง “ทิศเหนือ” ไม่ยักใช่ทิศใต้ หรือทิศตะวันตกแสดงว่าคนไทยสมัยก่อนมีความนิยมนอนเอาหัวไปทางทิศใต้ เอาตีนไปทางทิศเหนือ ต่างจากความนิยมในปัจจุบันที่นิยมนอนเอาหัวไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก แล้วเอาตีนไปทางทิศใต้ หรือทิศตะวันตก

66. การเลี่ยงใช้คำว่า ตีน ในภาษาปัจจุบันอยู่ในลักษณะใด
1. ไม่สามารถทำได้กับทุกคำเพราะไม่สื่อความหมายชัดเหมือนเดิม
2. ทำให้ภาษามีความหลากหลายจากการใช้คำพ้องความหมาย
3. ทำให้สื่อความหมายระหว่างภาคให้เข้าใจสะดวกขึ้น
4. ยังมีความลักลั่นเพราะพื้นฐานการศึกษาของผู้ใช้ภาษาต่างกัน

ตอบ 1 จากข้อความ… ต่อมาคนไทยเราก็เริ่ม (ดัดจริต) เปลี่ยนคำว่า “ตีน” บางคำมาเป็น “เท้า” แทน… แต่ก็ยังมีอีกหลายคำที่เปลี่ยนจาก “ตีน” เป็นคำอื่นไม่ได้ ฟังแล้วไม่เป็นภาษาคนเลยทีเดียว อย่างเช่น “ตีนกา” (ที่ปรากฏอยู่บนหน้าคุณทั้งหลายที่อายุอ่อนกว่าหน้านั่นแหละ) จะให้เปลี่ยนเป็น “เท้ากา” หรือ “เชิงกา” ก็ฟังดูบ้า ๆ บอ ๆ

67. ข้อความที่ให้อ่านจัดเป็นวรรณกรรมประเภทใด
1. ข่าว
2. บทความ
3. เรื่องสั้น ๆ
4. ปาฐกถา

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ปาฐกถา หมายถึง งานเขียนที่แสดงความคิดเห็นโดยคนคนเดียว หรืออาจจะเป็นความรู้และความคิดที่ได้มาจากวิทยากรเพียงคนเดียว

68. โวหารที่ใช้เป็นการเขียนแบบใด
1. บรรยาย
2. อธิบาย
3. อภิปราย
4. พรรณนา

ตอบ 2 หน้า 72 (46134),(คำบรรยาย) โวหาร เชิงอธิบาย คือโวหารที่ใช้ในการชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลเพียงด้านเดียวอาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ ก็ได้ โดยมีการชี้แจงแสดงเหตุและผล การยกตัวอย่างประกอบการเปรียบเทียบ และการจำแนกแจกแจง เช่น การอธิบายความหมายของคำ กฎเกณฑ์ ทฤษฎีและวิธีการต่าง ๆ

69. ท่วงทำนองเขียนแบบใด
1. เรียบง่าย เป็นภาษาเขียน
2. กระชับรัดกุม
3. สละสลวย เป็นภาษาพูด
4. ชัดเจน เป็นภาษาพูด

ตอบ 4 หน้า 62 (46134) ผู้เขียนใช้ท่วงทำนองเขียนแบบชัดเจนแจ่มแจ้ง คือ อ่านเข้าใจง่ายไม่คลุมเครือซึ่งขึ้นอยู่กับการเลือกใช้คำง่าย ๆ ตรงความหมาย ผูกประโยคและเรียบเรียงข้อความดี มีเว้นวรรคและย่อหน้าถูกต้อง ทั้งนี้จะมีการใช้ภาษาพูดเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง

70. ข้อความที่ให้นักศึกษาอ่านเป็นการนำเสนอจากผู้ใด
1. “มะสะลุม”
2. ผู้เขียนเดิมและผู้ออกข้อสอบ
3. “มะสะลุม”
4. ผู้เขียนเดิมและผู้บรรยาย

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ข้อ ความในวงเล็บท้ายสุดมีคำว่า “เรียบเรียงและตัดจาก..” หมายถึง ข้อความที่ให้อ่านเป็นการนำเสนอจากผู้เขียนเดิมและผู้ออกข้อสอบ โดยผู้ออกข้อสอบได้ตัดข้อความของผู้เขียนเดิมมกเรียบเรียงใหม่ ซึ่งอาจจะมีการปรับถ้อยคำ หรือตัดข้อความบางตอนที่ยาวเกินไปออก

ข้อ 71.-80. เลือกราชาศัพท์หรือคำที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดของแต่ละข้อ เพื่อเติมลงในช่วงว่างระหว่างข้อความที่เว้นไว้

ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พสกนิการยัง 71. 72. เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยความสำนึกใน 73. ของ 74.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 75. ให้สำนักการสังคีต กรมศิลปากรซึ่งเป็นวงดนตรีไทยที่มาประโคมย่ำยาม 76. 77. ของพระบาทสมเด็จพระมลกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 78. 79. สมเด็จฯเจ้าฟ้าเพชรรัตน์นำมาใส่ทำนองไทยเดิม 80. วันละเพลงที่งานดังกล่าวด้วย

71. 1. เข้าเฝ้าฯ พระศพ
2. เข้าถวายอาลัยพระศพ
3. เข้าสักการะพระศพ
4 เข้าถวายสักการะพระศพ

ตอบ 3 เข้าสักการะพระศพ หมาย ถึง ทำความเคารพพระศพ ซึ่งคำว่าสักการะนั้นถวายกันไม่ได้ ถ้าจะใช้คำว่า “ถวาย” ควรเป็นการมอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ เช่น วางพวงมาลาถวายสักการะพระศพ

72. 1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
2. สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ
3. สมเด็จพระมาตุจฉา
4. สมเด็จพระปิตุจฉา

ตอบ 2 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ หมาย ถึง พี่สาว น้องสาว ที่เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระมหากษัตริย์ (ส่วนคำว่า “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ” หมายถึง พี่สาวของพระมหากษัตริย์, “สมเด็จพระมาตุจฉา” หมายถึง น้าที่เป็นน้องสาวแม่, “สมเด็จพระปิตุจฉา” หมายถึง อาที่เป็นน้องสาวของพ่อ)

73. 1. พระกรุณา

2. พระกรุณาธิคุณ

3. พระมหากรุณา

4. พระมหากรุณาธิคุณ

ตอบ 2 พระกรุณาธิคุณ หมาย ถึง พระคุณอันยิ่งที่มีความกรุณา ซึ่งหากต้องการเน้นว่าเป็นพระคุณที่ใหญ่หลวง ก็ให้ใช้ว่าพระมหากรุณาธิคุณ แต่ในที่นี้ใช้เพียงพระกรุณาธิคุณจะเป็นการสมควรกว่า (ส่วนคำว่า “พระกรุณา” หมายถึง ความกรุณา, “พระมหากรุณา” หมายถึง ความกรุณาที่ใหญ่หลวง)

74. 1. ท่าน
2. องค์ท่าน
3. พระองค์
4. พระองค์ท่าน

ตอบ 3 หน้า 174 (52067) คำสรรพนามราชาศัพท์ที่ใช้แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3) ได้แก่
1. พระองค์ ใช้แทนพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าและเหนือขึ้นไป (จะไม่ใช้คำว่า พระองค์ท่าน ซึ่งเป็นภาษาปาก)
2. ทูลกระหม่อม ใช้แทนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าที่มีพระราชชนนีเป็นอัครมเหสี
3. เสด็จ ใช้แทนเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นลูกเธอและหลานเธอ ซึ่งมีพระอัยกาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
4. ท่าน ใช้แทนเจ้านายทั่วไป ขุนนาง พระสงฆ์ ฯลฯ
5

75. 1. โปรด
2.ทรงโปรด
3. โปรดเกล้า
4. โปรดเกล้าฯ
ตอบ 4 หน้า 113 (H) โปรดเกล้าฯ (โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม) หมายถึง ทรงมีพระเมตตาและพอพระราชหฤทัยให้ (ส่วนคำว่า “โปรด” หมายถึง ชอบ รัก เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้วจึงไม่ควรเติม “ทรง” ซ้อนราชาศัพท์เข้าไปอีก)

76. 1. นำ
2. คัด
3. เชิญ
4. อัญเชิญ

ตอบ 4 อัญเชิญ หมายถึง เชิญด้วยความเคารพนับถือ (ส่วนคำว่า “นำ” หมายถึง พา เช่น นำมา, “คัด” หมายถึง ลอกข้อความหรือลวดลายออกมาจากต้นฉบับ, “เชิญ” หมายถึง แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความเคารพหรืออ่อนน้อม)

77. 1. บทประพันธ์
2. บทพระนิพนธ์
3. บทพระราชนิพนธ์
4. เรื่องที่ทรงแต่ง

ตอบ 3 หน้า 113 (H) บทพระราชนิพนธ์ หมายถึง เรื่องที่แต่งขึ้นเอง ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระราชวงศ์ลำดับ 2 (ส่วนคำว่า “บทประพันธ์” หมายถึง เรื่องที่แต่งขึ้นเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง, “บทพระนิพนธ์”หมายถึง เรื่องที่แต่งขึ้นเอง ใช้กับสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า, “เรื่องที่ทรงแต่ง” ใช้กับเจ้านายชั้นรองลงมาถึงหม่อมเจ้า)

78. 1. ชนก
2. พระบิดา
3. พระชนก
4. พระราชชนก

ตอบ 4 พระราชชนก หมายถึง พ่อ ใช้กับพระมหากษัตริย์ ซึ่งในที่นี้ก็คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

79. 1. ของ
2. ใน
3. แห่ง
4. ไม่ต้องใช้คำใด ๆ

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 (52067) คำ ว่า “ใน” หมายถึง แห่ง ของ ใช้เป็นคำสุภาพนำหน้าคำแสดงความเป็นเจ้าของสำหรับเจ้านายในราชวงศ์ (ส่วนคำว่า “ของ” ใช้นำหน้านามที่เป็นผู้ครอบครองซึ่งเป็นบุคคลสามัญ, “แห่ง” ใช้นำหน้าคำแสดงความเป็นเจ้าของโดยเฉพาะที่เป็นนามธรรม)

80. 1. บรรเลง
2. ขับร้อง
3. ทรงบรรเลง
4. ทรงขับร้อง

ตอบ 2 ขับ ร้อง หมายถึง ร้องเพลงเป็นทำนอง ซึ่งในที่นี้สำนักการสังคีต กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาบุคคลที่เป็นสามัญชนมาขับร้อง จึงไม่ต้องเติม “ทรง” เพื่อทำให้เป็นคำราชาศัพท์ (ส่วนคำว่า “บรรเลง” หมายถึง ทำเพลงด้วยเครื่องดุริยางค์ให้เป็นที่เจริญใจ)

81. ข้อใดมีคำที่สะกดถูกสลับกับคำที่สะกดผิด
1. เหล็กใน เหล็กกล้า เหล็กไหล เหลือเข็ญ
2. เหลาะแหละ เหิรห่าง แห่แหน เหี้ยมเกียม
3. แหนงหน่าย ใบโหระพา ใบกระเพาะ ใบแมงลัก
4. แหลกลาญ โหวงเหวง หมิ่นเหม่ หนุบหนับ

ตอบ 2 คำที่สะกดผิด ได้แก่ เหิรห่าง แห่แหน เหี้ยมเกียม ซึ่งที่ถูกต้อง คือ เหินห่าง เหี้ยมเกรียม

82. ข้อใดมีคำที่สะกดถูกขนาบคำที่สะกดผิด
1. แสลงโรค สเน่ห์ เสถียรภาพ
2. คำสแลง สุลุ่ย สุร่าย สุลต่าน
3. สุญญากาศ สุขภัณฑ์ สัญลักษณ์
4. สัณฐาน สัญชาตญาณ สันนิษฐาน

ตอบ 1 คำที่สะกดผิด ได้แก่ สเน่ห์ ซึ่งที่ถูกต้อง คือ เสน่ห์

83. ข้อใดมีคำที่สะกดผิดปรากฏอยู่ด้วย
1. ยุคเข็ญ ยีราฟ เยินยอ
2. ไยดี เยื่อใย ผ้าเยียรบับ
3. แยบยล โยนกลอง เยื้องกาย
4. กลิ่นยี่หร่า ไม่ยี่หระ ยิ้มกริ่ม

ตอบ 3 คำที่สะกดผิด ได้แก่ ไข่พะโร้ พอกพูล พ้องพาล ซึ่งที่ถูกต้องคือ สัมพันธ์ ผูกพัน พันธกรณี

ข้อ 86. – 90. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

1.ร้อนตัว ร้อน ๆ หนาว ๆ ร้อนผ้าเหลือ 2. หน้าซื่อใจคต หน้าเนื้อในเสือ หน้าสิ่วหน้าขวาน
3. นกรู้ ไม่ร่มนกจับ ไก่อ่อนสอนขับ
4. ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ ซื้อความหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ

86. ข้อใดเป็นคำพังเพยทั้งสิ้น

ตอบ 2 หน้า 199- 121 (H) ข้อแตกต่างของสำนวน คำพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้

1. สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คำน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น นกรู้ (ผู้ที่มีไหวพริบ รู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน), ไม้ร่มนกจับ (ผู้มีวาสนาย่อมมีคนมาพึ่งบารมี),ไก่อ่อนสอนขับ(ผู้มีประสบการณ์น้อย ยังไม่รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน)

2. คำพังเพย หมาย ถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจให้นำไปปฏิบัติหรือไม่ให้นำไปปฏิบัติ เช่น หน้าซื่อใจคด (มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง),หน้าเนื้อใจเสือ (มีหน้าตาแสดงความเมตตาแต่ใจเหี้ยมโหด), หน้าสิ่วหน้าขวาน (อยู่ในระยะอันตรายเพราะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังโกรธหรือมีเหตุการณ์วิกฤต), ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ (ไม่ว่าผู้มีอำนาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ),ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ (ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน)

3. สุภาษิต หมาย ถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คำจูงใจ หรือคำห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ (ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลาย่อมได้ของแพง หรือทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลาย่อมได้รับความเดือดร้อน)

87. ข้อใดมีแต่สำนวน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. ข้อใดมีความหมายไปในทางลบทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

89. ข้อความที่มีความหมายตรงกันข้ามปรากฏอยู่

ตอบ 3 ข้อความที่มีความหมายตรงกันข้าม ได้แก่ นกรู้กับไก่อ่อนสอนขับ (ดูคำอธิบายข้อ 86.ประกอบ)

90. ข้อใดไม่ปรากฏว่ามีสำนวน คำพังเพย หรือสุภาษิตปรากฏอยู่เลย

ตอบ 1 ข้อ ความในตัวเลือกข้อ 1 เป็นคำกริยาทั้งหมด ได้แก่ ร้อนตัว (กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว), ร้อน ๆ หนาว ๆ (ครั่นเนื้อครั่นตัว มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวหรือมีความเร่าร้อนใจกลัว ว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิ), ร้อนผ้าเหลือง (อยากสึก)

ข้อ 91 – 95 จงเลือกคำที่มีความหมายต่างจากคำอื่น ๆ

91. 1. บทความ
2. สารคดี
3. วารสาร
4. นวนิยาย

ตอบ 3 คำ ว่า “วารสาร” หมายถึง หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา เช่น วารสารราชบัณฑิตยสถานวารสารศิลปากร วารสารกรมการแพทย์ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นวรรณกรรมหรือข้อเขียนในรูปร้อยแก้วประเภทต่างๆ)

92. 1.สามแว่น
2. สวมรอย
3. สวมเสื้อ
4. สวมหมวก

ตอบ 2 คำ ว่า “สวมรอย” หมายถึง เข้าแทนที่คนอื่นโดยทำเป็นทีให้เข้าใจว่าตนเองเป็นตัวจริง(ส่วนตัวเลือกข้อ อื่นเป็นกิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สวมหมวก,นุ่ง เช่น สวมกางเกง,ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมแว่น ฯลฯ)

93. 1. พัดชา
2. พัดชัด
3. พัดโบก
4. พัดยศ

ตอบ 1 คำว่า “พัดชา” หมายถึง ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นเครื่องมือสำหรับใช้โบกลม หรือพัดให้เย็น

94. 1. สีขาว
2. สีเข้ม
3. สีขาบ
4. สีเขียว

ตอบ 2 คำว่า “สีเข้ม” หมายถึง ลักษณะของสีที่แก่จัด (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นชนิดของสี เช่น สีขาว = มีสีอย่างสำลี, สีขาบ = สีน้ำเงินแก่อบม่วง, สีเขียว = มีสีอย่างใบไม้สด ฯลฯ)

95. 1. ทำนา
2. ทำไร่
3. ทำสวน
4. ทำเหมือง

ตอบ 4 คำว่า “ทำเหมือง” หมายถึง การประกอบอาชีพขุดแร่หรือหาแร่ในลักษณะที่เป็นอุตสาหกรรมซึ่งต้องใช้ทุนและแรงงานในการผลิตจำนวนมาก (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ)

96. ข้อใดใช้ลักษณนามเดียวกับ “ซอ”
1. หนังสือ
2. ดินสอ
3. รถ
4. ปากกา

ตอบ 3 หน้า 162,164 (52067), (ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ) คำลักษณนามที่เป็นการอนุโลมตามแนวเทียบ เช่น คำลักษณนาม “คัน” ใช้สำหรับรถยนต์ ไวโอลิน ช้อน เบ็ด จักร ร่ม ซอ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้ลักษณนามดังนี้ หนังสือ เล่ม, ดินสอ แท่ง, ปากกา ด้าม)

97. ลักษณนามของ “ลูกคิด” คืออะไร
1. ลูก
2. เครื่อง
3. อัน
4. ราง

ตอบ 4 (ดู คำอธิบายข้อ 59. ประกอบ) คำลักษณนาม “ราง” จะใช้เฉพาะสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง,ระนาด 2 ราง, รางรถไฟ 3 ราง เป็นต้น

98. “คนขยันไม่ย่อท้อ…ความยากลำบาก” ใช้บุรพบทคำใด
1. กับ
2. ต่อ
3. ใน
4. แก่

ตอบ 2 หน้า 146 (52067), 105 – 106 (H) คำ ว่า “ต่อ” เป็นบุรพบทที่ใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับการให้การรับ แต่มักจะใช้นำหน้าความที่เป็นผู้รับต่อหน้า เผชิญหน้าเป็นที่ประทุษร้าย เช่น คนขยันไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก (ความยากลำบากที่เห็นอยู่ต่อหน้า)

99. “เขาเน้นเสมอว่ากลัวอะไร…ความจน” ใช้บุรพบทคำใด
1. ต่อ
2. ซึ่ง
3. ใน
4. กับ

ตอบ 4 หน้า 144 (52067),105 (H) คำว่า “กับ” เป็นบุรพบทที่ใช้นำหน้าคำที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ได้ยินกับหู เขียนกับมือ ฯลฯ หรือใช้นำหน้าทำที่เป็นเครื่องประกอบ เครื่องเกี่ยวเนื่องกัน เช่น พูดกับเพื่อน กลัวอะไรกับความยากจน ฯลฯ

100. “เขามาโรงเรียน…ไม่เรียนหนังสือจึงสอบตก” ใช้สันธานใด
1. กับ
2. ด้วย
3. แต่
4. มิฉะนั้น

ตอบ 3 หน้า 155 – 156 (52067), (ดูคำอธิบาย) 57. ประกอบ) คำ ว่า “แต่” เป็นสันธานที่ใช้เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน ซึ่งใช้เชื่อมได้ทั้งที่ประธานคนเดียวกันทำกริยาต่างกัน เช่น เขามาโรงเรียนแต่ไม่เรียนหนังสือจึงสอบตกฯลฯ หรือประธานคนละคนกันก็ได้ เช่น ฉันชอบแมวแต่น้องชอบหมา ฯลฯ

101. ความสำเร็จของการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับสิ่งใด
1. ผู้ส่งสาร
2. ผู้รับสาร
3. ลักษณะของสาร
4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 1 (46134) ประสิทธิภาพหรือความสำเร็จของการใช้ภาษาย่อมขึ้นอยู่กันองค์ประกอบต่อไปนี้
1.ผู้ส่งภาษา (ผู้ส่งสาร) ซึ่งจะใช้ภาษาโดยการพูดและการเขียน 2. สาร (ลักษณะของภาษา) 3.ผู้รับภาษา (ผู้รับสาร) ซึ่งจะใช้ภาษาโดยการฟังและการอ่าน

102. ผู้รับภาษาใช้ภาษาในลักษณะใด
1. พูดและฟัง
2. ฟังและเขียน
3. อ่านและฟัง
4. เขียนและอ่าน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 101 ประกอบ

103. ปัญหาการใช้ภาษาที่เห็นได้ชัดเจนคือข้อใด
1. อ่านและเขียน
2. เขียนและพูด
3. ฟังและอ่าน
4. พูดและฟัง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ปัญหา การใช้ภาษาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน คือ การเขียนและพูด ซึ่งถือเป็นกระบวนการภายนอก เพราะเป็นการใช้ภาษาที่ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด ส่วนการฟังและอ่านถือเป็นกระบวนการภายใน เพราะเป็นการใช้ภาษาที่สังเกตเห็นได้อยาก กล่าวคือ ผู้พูดและผู้เขียนมิอาจทราบได้ว่าผู้ฟังและผู้อ่านเข้าใจสารที่ตนส่งหรือ สื่อออกไปหรือไม่ เพียงไร

104. การใช้ภาษาลักษณะใดที่ทำให้เกิดความรู้ความคิด
1. เขียนและอ่าน
2. ฟังและอ่าน
3. พูดและฟัง
4. ฟังและเขียน

ตอบ 2 หน้า 2, 81 (46134) การ ฟังและการอ่านเป็นการใช้ภาษาในการรับรู้เรื่องราวเพื่อจะได้เกิดความจำ ความเข้าใจ ความรู้ ความคิด และความบันเทิง ส่วนการพูดและการเขียนนั้นเป็นการใช้ภาษาในการนำความรู้ ความรู้ หรือความต้องการของเราถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ

105. การใช้ภาษาคือการใช้สิ่งใด
1. ภาพ
2. เสียงพูด
3. ตัวอักษร
4. ระบบสัญลักษณ์

ตอบ 4 หน้า 1 (46134), (คำบรรยาย) การใช้ภาษา หมายถึง การสื่อสารทำความเข้าใจกันโดยใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน อันเป็นระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ถึงกันดังนั้นการใช้ภาษาจึงหมายถึงการใช้ระบบสัญลักษณ์ ซึ่งก็คือ หลักภาษา ลักษณะภาษา หรือไวยากรณ์ต่าง ๆ ที่จัดขึ้นอย่างมีระบบระเบียบ

106. หน้าที่ของคำในประโยคเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

1. ระดับของคำ
2. น้ำหนักของคำ
3. ความหมายของคำ
4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 5 (46134) หน้าที่ ของคำในประโยคจะเกี่ยวข้องกับความหมายของคำ เพราะตามปกติคำจะมีความหมายอย่างไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับตำแหน่งหรือหน้าที่ ของคำในข้อความที่เรียบเรียบขึ้นนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความเข้าใจหรือการ แปลความหมายของผู้ใช้อีกด้วย

107. การใช้ภาษาให้ถูกระดับเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
1. กาละ
2. เทศะ
3. บุคคล
4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 6-10, 15 – 16 (46134) คำ ในภาษาไทยมีระดับต่างกัน นั่นคือ มีการกำหนดคำให้ใช้แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมแก่บุคคลและกาลเทศะ ซึ่งจะต้องรู้ว่าในโอกาสใด สถานที่เช่นไร และกับบุคคลใดจะใช้คำหรือข้อความใดจึงจะเหมาะสม ดังนั้นจึงมีการแบ่งคำเพื่อนำไปใช้ในที่สูงต่ำต่างกันตามความเหมาะสมหรือตาม การยอมรับของสังคมเป็น 2 ระดับ คือ

1. คำที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คำราชาศัพท์ คำสุภาพ และคำเฉพาะวิชาหรือศัพท์บัญญัติ

2. คำ ที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ สามารถใช้คำได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคำปากหรือคำตลาดคำสแลง คำเฉพาะอาชีพ คำโฆษณา คำภาษาถิ่น ฯลฯ และคำที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ

108. คำสแลงเป็นคำที่ใช้ในภาษาระดับใด
1. ทางการ
2. กึ่งทางการ
3. ไม่เป็นทางการ
4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 107. ประกอบ

109. ในโอกาสไม่เป็นทางการสามารถใช้คำประเภทใดได้
1. คำปาก
2. คำสุภาพ
3. คำภาษาถิ่น
4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 107. ประกอบ

110. ข้อใดใช้ภาษาเขียน
1. เมื่อไหร่เขาจะมา
2. อย่างไรก็ตาม
3. เธอจะมายังไง
4. ของราคาเท่าไหร่

ตอบ 2 หน้า 6 – 7 (46134) ระดับ ของคำในภาษาไทยมีศักดิ์ต่างกัน เวลานำไปใช้ก็ใช้ในที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาใช้คำให้เหมาะสม กล่าวคือ คำที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คำที่ใช้ในภาษาแบบแผน หรือภาษาเขียนของทางราชการ เช่น เมื่อใด เมื่อไร เท่าไร อย่างไร ฯลฯ ส่วนคำที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ คำที่ใช้ในการพูดหือการเขียนอย่างไม่เป็นทางการ เช่น เมื่อไหร่ เท่าไหร่ ยังไง ฯลฯ

111. คำว่า “เพลาเช้า เพลารถ” เป็นคำประเภทใด
1. คำเหมือน
2. คำพ้องเสียง
3. คำพ้องความหมาย
4. คำพ้องรูป

ตอบ 4 หน้า 14 (46134) คำ พ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่ความหมายและการออกเสียงจะต่างกันดังนั้นจึงต้องออกเสียงให้ถูกต้อง เพราะหากออกเสียงผิด ความหมายก็จะผิดไปด้วย เช่น “เพลา” อาจจะอ่านว่า “เพ – ลา” (กาล คราว เช่น เพลาเช้า เพลาเย็น) หรือ “เพลา” (แกนสำหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน เช่น เพลารถ)ฯลฯ

112. คำว่า “สรร สรรค์ สัน สันต์” เป็นคำประเภทใด
1. คำเหมือน
2. คำพ้องรูป
3. คำพ้องเสียง
4. คำเปรียบเทียบ

ตอบ 3 หน้า 14 (46134) คำ พ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายและการเขียน (รูป)ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเวลาเขียนจึงต้องเขียนให้ถูกต้อง เพราะถ้าเขียนผิด ความหมายก็จะผิดไปด้วย เช่น สรร (เลือก คัด),สรรค์ (สร้างให้มีให้เป็นขึ้น),สัน (สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว),สันต์ (เงียบ สงบ สงัด) ฯลฯ

113. การใช้ประโยคควรเพ่งเล็งแง่ใดมากที่สุด
1. มีน้ำหนัก
2. รัดกุม
3. ถูกต้อง
4. กระชับ

ตอบ 3 หน้า 35 – 36, 44 (46134) สิ่ง ที่ควรเพ่งเล็กและคำนึงถึงมากที่สุดในการใช้ประโยคทั้งในการพูดและการเขียน คือความถูกต้อง เพราะถ้าหากใช้คำหรือประโยคไม่ถูกต้องจะทำให้ไม่สามารถสื่อความหมายตามที่ ต้องการได้ รวมทั้งยังทำให้ผู้ฟังและผู้อ่านไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงกันกับผู้พูดและ ผู้เขียนอีกด้วย

114. การรวบความทำให้ประโยคมีลักษณะอย่างไร
1. ถูกต้อง
2. รัดกุม
3. มีน้ำหนัก
4. มีภาพพจน์

ตอบ 2 หน้า 39 – 40, 47 (46134) การผูกประโยคให้กระชับรัดกุมมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา คือ

1. การรวบความให้กระชับ
2. การจำกัดความ

115. ความถูกต้องชัดเจนของประโยคขึ้นอยู่กับสิ่งใด
1. การเรียงคำ
2. การเว้นวรรค
3. การขยายความ
4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 37 – 38, 47 (46134) การผูกประโยคให้ถูกต้องชัดเจนขึ้นอยู่กับการกระทำดังนี้ คือ
1.การเรียงคำให้ถูกที่
2. การขยายความให้ถูกที่
3.การใช้คำตามแบบภาษาไทย
4. การใช้คำให้สิ้นกระแสความ
5.การเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง

116. ข้อเขียนใดที่ควรใช้ประโยคที่มีน้ำหนักและภาพพจน์
1. ข่าว
2. ตำรา
3. บทความ
4. หนังสือเรียน

ตอบ 3 หน้า 44 (46134), (คำบรรยาย) ประโยค ที่มีน้ำหนักและภาพพจน์นั้นมักนำไปใช้กับข้อเขียนประเภทบทความ โดยควรนำไปใช้ก็ต่อเมื่อรู้ลึกว่าจะทำให้เรื่องราวดีขึ้น และควรใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะถ้านำไปใช้อย่างพร่ำเพรื่อและใช้อย่างไม่พิจารณาแล้วจะทำให้เฝือและ รู้สึกขัดเขิน

117. “ตำรวจตามจับ 5 คนร้าย” ข้อความนี้มีลักษณะอย่างไร
1. เรียงคำไม่ถูก
2. ขยายความไม่ถูก
3. ไม่มีกริยาสำคัญ
4. ไม่ใช้ลักษณนาม

ตอบ 4 หน้า 167 (52067), 12 – 13 (46134) การ ใช้ลักษณนามจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลัก คือ รู้ว่าจะใช้กับคำนามคำใดและใช้ที่ใด ซึ่งลักษณนามจะใช้ตามหลังจำนวนนับ เช่น หนังสือ 5 เล่ม ฯลฯและใช้ตามหลังนามเมื่อต้องการเน้นข้อความนั้น เช่น หนังสือเล่มนั้น ฯลฯ

118. “เขาเป็นนักเรียนและทุกเช้าจะไปตลาด” ข้อความนี้มีลักษณะอย่างไร
1. ไม่มีกริยาสำคัญ
2. ไม่กระชับ
3. ไม่รัดกุม
4. ไม่เกี่ยวข้องกัน

ตอบ 4 หน้า 40 (46134) ข้อ ความในประโยคหนึ่ง ๆ ควรจะมีเพียงอย่างเดียว หรือควรจะต้องเกี่ยวข้องกันไม่ควรให้กระจัดกระจายไปเป็นคนละเรื่อง ดังนั้นการใช้ประโยคหรือข้อความซ้อนกันจึงต้องระมัดระวังเรื่องใจความให้ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น เขาเป็นนักเรียนและทุกเช้าจะไปตลาด(ข้อความไม่เกี่ยวข้องกัน)จึงควรแก้ไข เป็น เข้าเป็นนักเรียนและทุกเช้าจะไปโรงเรียน

119. “ห้ามคนอย่าให้เข้าไปในเขตก่อสร้าง” ข้อความนี้มีลักษณะอย่างไร
1. ขยายความไม่ถูก
2. ใช้คำฟุ่มเฟือย
3. ไม่เกี่ยวข้องกัน
4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 18 – 19 (46134) การ ใช้คำฟุ่มเฟือยหรือการใช้คำที่ไม่จำเป็น จะทำให้คำโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความก็จะขาดความหนักแน่น เพราะเป็นคำที่ไม่มีความหมายอะไร แม้ตัดออกไปก็ไม่ได้ทำให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทำให้ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น ห้ามคนอย่าให้เข้าไปในเขตก่อสร้าง (ใช้คำฟุ่มเฟือย)จึงควรแก้ไขเป็น ห้ามคนเข้าไปในเขตก่อสร้าง)

120. “เขาพบตัวเองอยู่ในบ้างร้าง” ประโยคนี้ลักษณะอย่างไร
1. ถูกต้อง
2. เรียงคำไม่ถูก
3. ใช้คำขยายไม่ถูก
4. ไม่ใช้คำตามแบบภาษาไทย

ตอบ 4 หน้า 38 (46134), (ดูคำอธิบายข้อ 115.ประกอบ) การ ใช้คำตามแบบภาษาไทย คือ การให้ข้อความที่ผู้ขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ เช่น เขาพบตัวเองอยู่ในบ้างร้าง (เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น เขาอยู่ในบ้านร้าง ซึ่งจะทำให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และไม่เคอะเขิน

Advertisement