การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา SOC 1003 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. ตามทัศนะของค้องท์ (Comte) การศึกษาเรื่องราวภายในสถาบันทางสังคม คือการศึกษาในข้อใด

(1) สังคมสถิต

(2) การกระทำทางสังคม

(3) สังคมพลวัต

(4) วิวัฒนาการทางสังคม

ตอบ 1 หน้า 18 – 19 ค้องทํ (Comte) ได้แบ่งการศึกษาทางสังคมวิทยาออกเป็น 2 สาขา ได้แก่

1. สังคมสถิต (Social Statics) เป็นการศึกษาโครงสร้าง-หน้าที่และเรื่องราวภายในสังคม คือ ศึกษาส่วนย่อย ได้แก่ สถาบันต่าง ๆ ทางสังคม เช่น สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันครอบครัว สถาบันการเมือง สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา ฯลฯ

2. สังคมพลวัต (Social Dynamics) เป็นการศึกษาสังคมทั้งสังคม โดยเน้นการศึกษาในเรื่อง ที่ว่าสังคมเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีวิวัฒนาการความเป็นมาหรือเป็นไปอย่างไร ซึ่งเป็น การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

2. ข้อใดคือลักษณะของการศึกษาแบบ “แวร์สเตเฮ็น” (Verstehen) ของเวเบอร์ (Weber)

(1) เน้นความเข้าใจภาพรวม

(2) ไม่เน้นรายละเอียดของปรากฏการณ์

(3) เชื่อมโยงความหมายของส่วนย่อย

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 20 เวเบอร์ (Weber) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันที่สนับสนุนการใช้วิธีการศึกษาที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า “แวร์สเตเฮ็น” (Verstehen) แปลว่า Understanding (ความเข้าใจ) ซึ่งเป็นวิธีการที่เน้นความเข้าใจรวม ๆ กันมากกว่าในรายละเอียดของปรากฏการณ์ทางสังคม โดยเชื่อมโยงความหมายของส่วนย่อยเพื่อให้อยู่ในโครงสร้างใหญ่หรือประเด็นใหญ่

3. หลักตรรกศาสตร์ในทางสังคมศาสตร์ที่นำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ได้แก่วิธีการแบบใด

(1) นิรนัยและตรรกนัย

(2) อุปนัยและตรรกนัย

(3) นิรนัยและอัตนัย

(4) นิรนัยและอุปนัย

ตอบ 4 หน้า 43 ในทางสังคมศาสตร์ได้นำเอาหลักตรรกวิทยา (ตรรกศาสตร์) มาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ดังนี้ 1. วิธีนิรนัย (Deductive Method) เป็นการอธิบายส่วนใหญ่ มาหาส่วนน้อย 2. วิธีอุปนัย (Inductive Method) เป็นการอธิบายในเชิงเป็นไปไต้ เมื่อรู้ว่าส่วนน้อยเป็นอย่างไรก็นำไปอธิบายส่วนใหญ่

4. ข้อใดคือขอบเขตของการศึกษาทางสังคมวิทยา

(1) สถาบันทางสังคม

(2) ความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม (3) สังคมมนุษย์ทั้งสังคม (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 21 – 22 สาระของวิชาสังคมวิทยามีขอบเขตในการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ดังนี้

1. ความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม เช่น ระหว่างสามีภริยา มารดากับบุตร พี่กับน้อง ฯลฯ

2. สังคมมนุษย์ทั้งสังคม เช่น โครงสร้างของสังคม ลักษณะภายในของสังคม ฯลฯ

3. สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา ฯลฯ

5. ข้อใดชี้ให้เห็นว่า สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์

(1) ไม่ได้รับอิทธิพลจากศาสตร์อื่น (2) ช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคม

(3) ศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสังคม (4) ช่วยวางนโยบายพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม

ตอบ 3 หน้า 14 สิ่งทีชี้ให้เห็นว่าสังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ก็คือ เป็นการศึกษาหาความรู้ ต่าง ๆ ทางสังคมเท่านั้น มิได้นำความรู้มาใช้เพีอประโยชน์บางอย่าง เพียงแต่เป็นผู้เสาะแสวงหา องค์ความรู้ให้ผู้อื่นนำไปใช้ ทั้งนี้นักสังคมวิทยาไม่มีหน้าที่เข้าไปช่วยรัฐบาลวางนโยบายพัฒนา ด้านเศรษฐกิจและสังคม ไม่ได้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคม

6. คำว่า “วัฒนธรรม” ในสังคมไทยถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด

(1) สมัยรัชกาลที่ 6

(2) พ.ศ. 2475 (3) สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม (4) พ.ศ. 2500

ตอบ 2 หน้า 56 พ.ศ. 2475 พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ขณะทรงพระยศเป็นพระองศ์เจ้าวรรณไวทยากรทรงเป็นผู้ริ่เริมบัญญัติศัพท์คำว่า “วัฒนธรรม” ขึ้นเป็นคนแรก

7. ตัวเลือกใดเป็นความหมายของวัฒนธรรมตามนัยแห่งสังคมศาสตร์

(1) ความเชื่อ (2) ขนบธรรมเนียมและประเพณีต่าง ๆ

(3) ทุกสิ่งที่ดีงาม (4) ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นผลงานของมนุษย์

ตอบ 4 หน้า 56-61 ความหมายของวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 3 ความหมายใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ความหมายตามรากศัพท์เดิม วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ได้รับการปรุงแต่งให้ดีแล้ว หรือสิ่งที่ได้รับการยอมรับและยกย่องมาเป็นเวลานานแล้ว

2. วัฒนธรรม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมและประเพณีต่าง ๆ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งชื่อเด็ก การหมั้น การสมรส การขึ้นบ้านใหม่ การบวชนาค การลงแขกเกี่ยวข้าว ฯลฯ

3. ความหมายตามนัยแห่งสังคมศาสตร์ วัฒนธรรมมีความหมายกว้างขวางมาก คือ ครอบคลุม ถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นผลผลิต/ผลงาน/ผลแห่งการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทางวัตถุ หรืออวัตถุ รวมถึงพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

8. การตื่นตัวในวัฒนธรรมประจำชาติโดยจะมีการพูดถึง “เอกลักษณ์ของชาติหรือวัฒนธรรมอันดีงาม”มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

(1) กระแสความคิดชาตินิยมและการต่อสู้เพื่อเอกราช (2) ยามศึกสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน

(3) การไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติ (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 55 การตื่นตัวในทางวัฒนธรรมประจำชาติมักมีมากในช่วงที่มีความรู้สึกว่าวัฒนธรรม ต่างชาติกำลังไหลบ่าและแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามา ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะมีการพูดถึง “เอกลักษณ์ของชาติ” หรือ “วัฒนธรรมอันดีงาม” ของชาติอยู่บ่อย ๆ

9. ก่อนปรากฏการณ์การปฏิวัติอุตสาหกรรม การศึกษาสังคมเป็นแบบใด

(1) วิทยาศาสตร์ทางสังคม (2)สามัญสำนึก (3)วิทยาศาสตร์ (4)ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 2-3, (คำบรรยาย) การใช้สามัญสำนึก (Common Sense) ศึกษาสังคม เกิดขึ้น ในช่วงระยะเริ่มแรกก่อนที่วิชาสังคมวิทยาจะกำเนิดขึ้น คือ ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ต่อมาในราวปลายศตวรรษที่ 18 (หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม) การศึกษาสังคมก็เปลี่ยน จากการใช้สามัญสำนึกมาเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคม (Social Sciense)

10. ข้อใดที่ไม่ใช่ลักษณะของวิทยาศาสตร์ทางสังคม

(1) มีหลักการ สามารถอธิบายบนพื้นฐานของทฤษฎี มีความรู้สนับสบุน

(2) อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์

(3) มีการสังเกต ตรวจสอบ ทดลอง

(4) รับรู้ผ่านประสาทสัมผัส

ตอบ 4 หน้า 13 สังคมวิทยาเป็นศาสตร์ (วิทยาศาสตร์ทางสังคม) ซึ่ง “ศาสตร์” มีลักษณะดังนี้

1. มีการสังเกต ยืนยันข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน มีการอธิบาย ตรวจสอบ ทดลอง และอธิบาย ปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์

2. มีหลักการ มีวิทยาการ สามารถอธิบายบนพื้นฐานของทฤษฎีที่มีระบบระเบียบ

3. ต้องมาจากการศึกษาและค้นคว้า 4. มีความรู้สนับสนุน

11. มาร์กซ์ (Marx) มีทัศนะในการศึกษาสังคมอย่างไร

(1) การขัดกันระหว่างคน 2 กลุ่มในแต่ละสังคมเป็นไปตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

(2) สังคมมีโครงสร้างเหมือนร่างกายมนุษย์

(3) สังคมมีระบบความสัมพันธ์แบบเครือข่าย

(4) สังคมไม่จำเป็นต้องมีดุลยภาพ

ตอบ 1 หน้า 7 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ได้มองสังคมในแง่ของการ “ขัดกัน” ของคนในสังคม โดยเขากล่าวไว้ในหนังสือชื่อ Critique of Political Economy ว่า การขัดกันระหว่างคน 2 กลุ่มในแต่ละสังคมเกิดขึ้นตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ กล่าวคือ สังคมเศรษฐกิจโบราณมีการขัดแย้งกันระหว่างทาสกับนายทาส ในสังคมเศรษฐกิจ สมัยกลางมีการขัดแย้งกันระหว่างข้าติดที่ดินกับเจ้าของที่ดิน และในสังคมเศรษฐกิจทุนนิยม มีการขัดแย้งกันระหว่างชนชั้นกรรมาชีพ (กรรมกร) กับนายทุน

12. เพราะเหตุใดสังคมวิทยาจึงเน้นการศึกษาสังคมโดยการสุ่มตัวอย่าง

(1) เน้นการศึกษาส่วนบุคคล

(2) ง่ายและสะดวกต่อการศึกษา

(3) เพื่อทำนายปรากฏการณ์ในอนาคต

(4) ศึกษาสังคมปัจจุบันซึ่งมีขนาดใหญ่

ตอบ 4 หน้า 49 – 50, (คำบรรยาย) สังคมวิทยามีแนวโน้มศึกษาสังคมปัจจุบัน สังคมที่รู้หนังสือ และสังคมเชิงซ้อน โดยมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการศึกษาแบบสุ่มตัวอย่าง (Sampling) มากกว่า การศึกษาเป็นรายกรณี (Case Studies) ทั้งนี้เพราะการสุ่มตัวอย่างจะเน้นในเรื่องจำนวน (เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีขนาดใหญ่ต้องใช้วิธีสุ่มตัวอย่างจึงจะสามารถทำได้) ส่วนการศึกษา เป็นรายกรณีจะเน้นในเรื่องเวลาและความถี่ถ้วน

13. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้มนุษย์มารวมกันเป็นสังคม

(1) มีสัญชาตญาณที่คล้ายคลึงกัน

(2) มีระยะเวลาแห่งการเป็นทารกนาน

(3) มีความสามารถควบคุมธรรมชาติได้

(4) มีความสามารถในการสร้างวัฒนธรรม

ตอบ 1 หน้า 1-2 สาเหตุที่มนุษย์จึงต้องมาอยูรวมกันเป็นสังคม เพราะ

1. มนุษย์มีระยะแห่งการเป็นทารกนานและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในระยะเริ่มต้นของชีวิต ทำให้ มนุษย์จำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและสร้างแบบแผนความสัมพันธ์ในรูปของครอบครัวขึ้น

2. มนุษย์มีความสามารถด้านสมอง สามารถคิดค้นและควบคุมธรรมชาติได้ ก็เป็นสาเหตุสำคัญ ที่มนุษย์จะต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมตอบสนองความต้องการพื้นฐานของชีวิต

3. มนุษย์สามารถสร้างและถ่ายทอดวัฒนธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการด้านความรัก ความอบอุ่น ความคิด ความเชื่อ ศาสนา ค่านิยม ฯลฯ

14. การเปรียบสังคมเป็นเสมือนหนึ่งร่างกายของมนุษย์ เป็นตัวอย่างการศึกษาสังคมแบบใด

(1) การแข่งขัน (2) โครงสร้าง-หน้าที่

(3) ดุลยภาพทางสังคม (4) พฤติกรรมเฉพาะกิจ

ตอบ 2 หน้า 6 ทฤษฎีการศึกษาสังคมโดยเน้นการศึกษาด้านโครงสร้างและหน้าที่ด้วยการเปรียบเทียบว่า สังคมเป็นเสมือนหนึ่งร่างกายของมนุษย์ เช่น มีหัว แขน ขา ตา จมูก ฯลฯ และเมื่อประกอบกัน แล้วก็จะกลายเป็นร่างกายที่สมบูรณ์ อวัยวะทุกส่วนจะมีหน้าที่และจะแสดงกิริยาอาการหรือ พฤติกรรมที่ได้รับมอบหมาย สังคมก็เป็นเช่นเดียวกัน มีการแบ่งระบบความสัมพันธ์ของคน ออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมีหน้าที่แสดงไปตามบทบาทที่ถูกกำหนดไว้

15. สังคมวิทยากำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับศาสตร์แขนงใด

(1) ปรัชญา (2) รัฐคาสตร์ (3) จิตวิทยา (4) วิทยาศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 16 สังคมวิทยา (Sociology) กำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับจิตวิทยา (Psychology)ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19

16. ข้อใดมิใช่หน่วยเล็กที่สุด (Cultural Trait) ทางวัฒนธรรม

(1) การเคารพธงชาติ (2) การแสดงละคร (3) การขับรถชิดข้าย (4) การจับมือ

ตอบ 2 หน้า 91 โครงสร้างของวัฒนธรรมประกอบด้วย 2 หน่วยใหญ่ ๆ ได้แก่

1. หน่วยเล็กที่สุด (Cultural Trait) คือ พฤติกรรมอันเกิดจากการเรียนรู้หรือผลผลิตทางวัตถุ ซึ่งย่อยที่สุดจนเชื่อว่าแยกให้เล็กลงกว่านั้นโดยมีลักษณะแบบเดิมไม่ได้ ได้แก่ วัฒนธรรม ทางวัตถุ เช่น ตะปู ไขควง ดินสอ ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ และวัฒนธรรมทางอวัตถุ เช่น การไหว้ การจับมือ การขับรถชิดซ้าย การวิ่ง การเคารพธงชาติ ฯลฯ

2. หน่วยที่สลับซับซ้อน (Cultural Complex) คือ การรวมกลุ่มหรือการรวมเป็นชุดของ หน่วยย่อยที่สุดที่เกียวพันกัน เช่น การเต้นรำ การสวดมนต์ การแสดงละคร ฯลฯ

17. ข้อใดเป็นลักษณะของวัฒนธรรมตามคำนิยามมาตรฐาน

(1) พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

(2) พฤติกรรมตามธรรมชาติ (3) ปฏิกิริยาทางสรีระ (4) พฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณ

ตอบ 1 หน้า 61 ลักษณะของวัฒนธรรมตามคำนิยามมาตรฐาน มี 6 ลักษณะ คือ

1. เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (ไม่เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ ไม่เป็นพฤติกรรมที่เกิด จากสัญชาตญาณ และไม่เป็นปฏิกิริยาทางสรีระ)

2. เป็นรูปแบบหรือกระสวนแห่งพฤติกรรมอันเกิดขึ้นจากการเรียนรู้

3. เป็นผลหรือผลิตผลของพฤติกรรม (ทั้งที่มองไม่เห็นสัมผัสไม่ได้หรือมองเห็นสัมผัสได้)

4. เป็นสิ่งที่สมาชิกของสังคมรู้สึกว่ามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของไม่มากก็น้อย

5. มีการถูกส่งต่อหรือได้รับการถ่ายทอดมา 6. มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจศีล

18. ผู้ใดบัญญัติศัพท์ “ความล้าทางวัฒนธรรม” (Culture lag)

(1) ไทเลอร์ (Tylor)

(2) โครเบอร์ (Kroeber) (3) อ็อกเบิร์น (Ogburn) (4) ริสแมน (Riesman)

ตอบ 3 หน้า 92 ผู้บัญญัติศัพท์ “ความล้าหรือความเฉื่อยทางวัฒนธรรม” คือ ร็อกเบิร์น (Ogburn)นักวิชาการชาวอเมริกัน โดยเขาให้คำนิยามไว้ว่า ความล้าหรือความเฉื่อยทางวัฒนธรรม ได้แก่ ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่จนเกินเลยเวลาที่เป็นประโยชน์ได้โดยล้าหลังหรือตามไม่ทัน วัฒนธรรมส่วนอื่น ๆ ซึ่งแต่ก่อนนี้เคยเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน

19. ข้อใดไม่ใช่ขนบธรรมเนียมของสังคม

(1) การเกิดและการตายของมนุษย์

(2) การขึ้นบ้านใหม่ (3) การสมรส (4) การลงแขกเกี่ยวข้าว

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

20. ข้อใดคือสภาพของมนุษย์ที่เรียกว่า “ผูกพันกับกาลเวลา”

(1) มนุษย์อยู่ข้ามกาลเวลา (2) มนุษย์ชอบทำงานตามเวลา

(3) มนุษย์ต้องทำงานแข่งกับเวลา (4) มนุษย์ตายไปแล้วยังทิ้งผลงานไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

ตอบ 4 หน้า 81 สภาพของมนุษย์ที่เรียกว่า “ผูกพันกับกาลเวลา’’ (Time Binding) คือ เมื่อมนุษย์ ตายไปแล้วยังได้ทิ้งผลงานไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และไม่ใช่เพียงแค่ศึกษาจากอดีตเท่านั้น แต่ยังมีการคิดก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคตด้วย

21. กลุ่มชนิดใดที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนที่อยู่ห่างไกล

(1) กลุ่มปฐมภูมิ

(2) กลุ่มทุติยภูมิ

(3) กลุ่มอ้างอิง

(4) กลุ่มเอ็นจีโอ

ตอบ 1 หน้า 98 – 99 กลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) มีความสำคัญดังนี้

1. เป็นกลุ่มแรกที่มนุษย์เป็นสมาชิก คือ ครอบครัว

2. เป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่อบรมขัดเกลาทางสังคม (Socialization)

3. เป็นกลุ่มสำคัญที่ส่งเสริมหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ เช่น เอื้อประโยชน์หรือ ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนที่อยู่ห่างไกล

4. เป็นประโยชน์ในด้านการสร้างขวัญกำลังใจ

22. กลุ่มซึ่งมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน เนื่องจากมีประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกันหมายถึงกลุ่มใด

(1) กลุ่มทุติยภูมิ

(2) กลุ่มสมาคม

(3) กลุ่มอ้างอิง

(4) กลุ่มชาติพันธุ์

ตอบ 4 หน้า 100 กลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Group) เป็นกลุ่มคนซึ่งมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันมีประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกัน เช่น พวกชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างจาก คนกลุ่มใหญ่ในแง่เชื้อชาติ ประเพณี และวัฒนธรรม

23. กลุ่มชนชั้นจัดเป็นกลุ่มสังคมประเภทใด

(1) กลุ่มชนชั้น

(2) กลุ่มอาชีพ

(3) กลุ่มอ้างอิง

(4) กลุ่มทุติยภูมิ

ตอบ 4 หน้า 99 – 100 กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary Group) แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1. กลุ่มสมาคมหรือองค์การ 2. กลุ่มชาติพันธุ์ 3. กลุ่มชนชั้น

24. ระยะห่างทางสังคมเป็นการวัดอะไร

(1) ระยะทาง

(2) ระยะเวลา (3) ระดับความใกล้ชิดหรือการยอมรับ (4) ระดับการพัฒนาสังคม

ตอบ 3 หน้า 103 ระยะห่างทางสังคม (Social Distance) เป็นการวัดระดับของความใกล้ชิดสนิทสนมหรือการยอมรับ หรืออคติที่เรามีความรู้สึกต่อคนกลุ่มอื่น และสามารถนำมาใช้วัดความเป็น กลุ่มเรากลุ่มเขาได้เป็นอย่างดี

25. สถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของสังคมคือสถาบันในข้อใด

(1) ครอบครัว (2) ศาสนา (3) เศรษฐกิจ (4) การศึกษา

ตอบ 1 หน้า 107 ทางสังคมวิทยาถือว่า ครอบครัวมีลักษณะที่มีความเป็นสถาบัน 3 ประการ คือ

1. เป็นสถาบันทางสังคม ซึ่งมีรูปแบบหรือแบบแผนที่เป็นกระสวนทางพฤติกรรม

2. เป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของสังคม มีมาพร้อมกับมนุษย์ และคงอยู่กับมนุษย์ตลอดเวลา

3. เป็นสถาบันสากล เนื่องจากมีปรากฏในทุกสังคม

26. ข้อใดคือครอบครัวที่มีขนาดเล็กที่สุด

(1) ครอบครัวร่วม

(2) ครอบครัวขยาย (3) ครอบครัวหน่วยกลาง (4) ครอบครัวภาวะจำยอม

ตอบ 3 หน้า 114 – 115 การจัดประเภทครอบครัว สามารถจัดเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. จัดตามลักษณะและหน้าที่ มี 2 ประการ คือ ครอบครัวปฐมนิเทศ และครอบครัวสร้างสมาชิกใหม่

2. จัดตามขนาดและรูปแบบ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ครอบครัวหน่วยกลาง (มีขนาดเล็กที่สุด), ครอบครัวขยาย (เป็นครอบครัวร่วม) และครอบครัวประกอบร่วม (ครอบครัวซ้อน)

27. อะไรคือหน้าที่ที่สำคัญของครอบครัว

(1) สร้างสมาชิกให้กับสังคม (2) หล่อหลอมสมาชิกใหม่ให้อยู่ในสังคมได้ดี

(3) ทำหน้าที่แทนสถาบันอื่นในสังคม (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 116, (คำบรรยาย) หน้าที่ที่สำคัญของครอบครัวที่มีต่อสังคม มีดังนี้

1. ช่วยสร้างสมาชิกให้กับสังคม ซึ่งถือเป็นหน้าที่หลักที่สถาบันอื่นทำแทนไม่ได้

2. ช่วยหล่อหลอมให้สมาชิกของครอบครัวสามารถดำรงตนเป็นสมาชิกที่ดีและอยู่ในสังคมได้

3. ช่วยเสริมสร้าง/ปลูกฝังบุคลิกภาพและให้การศึกษาอบรมด้านศีลธรรม

4. ช่วยทำหน้าที่แทนสถาบันทางสังคมอื่น ๆ เช่น สถาบันการศึกษา ศาสนา ฯลฯ

28. ข้อห้ามการสมรสมีขึ้นระหว่างคนกลุ่มใด

(1) พี่น้องร่วมเฉพาะบิดา

(2) พี่น้องร่วมเฉพาะมารดา (3) บิดากับบุตร (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 119 – 120 ข้อห้ามการสมรส (Incest Taboo) คือ ห้ามสมรสกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกันทางสายโลหิต หรือห้ามสมรสกับญาติสนิทในครอบครัวหน่วยกลาง ซึ่งมี 2 สักษณะ ดังนี้

1. ญาติแนวดิ่ง/แนวตั้ง ซึ่งสืบสายโลหิตกันโดยตรง ได้แก่ บิดา/มารดากับบุตร

2. ญาติแนวราบ/แนวนอน ซึ่งร่วมสายโลหิตเดียวกัน ได้แก่ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมเฉพาะบิดา และพี่น้องร่วมเฉพาะมารดา

29. การศึกษาที่เน้นกำเนิดและวิวัฒนาการของครอบครัว คือแนวทางการศึกษาใด

(1) มานุษยวิทยา (2) สังคมวิทยา (3) จิตวิทยา (4) เพศศึกษา

ตอบ 1 หน้า 108 การศึกษาครอบครัวตามแนวทางมานุษยวิทยา เป็นการศึกษาที่เน้นกำเนิดและ วิวัฒนาการของครอบครัวโดยเริ่มจากการที่หญิงหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นอยู่ร่วมกับชายหนึ่งคน หรือมากกว่านั้นและมีบุตรด้วยกัน มีความสัมพันธ์ทางเพศอันเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ในการอยู่ร่วมกันเพี่อต้องการมีบุตรไว้สืบสกุล

30. ตัวเลือกใดคือตัวอย่างของศาสนาธรรมชาติ

(1) ลัทธิเต๋า

(2) ศาสนาชินโต (3) การเคารพบูชารุกขเทวดา (4) ศาสนาพราหมณ์

ตอบ 3 หน้า 129 – 130 ความเป็นมาของศาสนาโดยวิวัฒนาการ แบงออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ศาสนาธรรมชาติ เป็นระบบความเชื่อที่บริสุทธิ์ ไม่มีการดัดแปลงแก้ไข เช่น การนับถือผี นับถือวิญญาณ นับถือเจ้าป่าเจ้าเขา การเคารพบูชารุกขเทวดา ฯลฯ

2. ศาสนาสถาบันหรือศาสนาหลัก เป็นระบบความเชื่อที่เกิดขึ้นจากข้อกำหนดของสังคม โดยนำศาสนาธรรมชาติมาปรับปรุงแก้ไขและจัดรูปแบบให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ ชินโต ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ ฯลฯ

31. มาลินอฟสกี้ (Malinowski) มีความเห็นต่อศาสนาอย่างไร

(1) ทำให้เกิดความงมงาย

(2) เป็นยาเสพติด

(3) ช่วยปลอบใจยามทุกข์ยาก

(4) เกิดขึ้นเพราะมนุษย์ไม่แน่ใจในธรรมชาติ

ตอบ 4 หน้า 133,350 ความสำคัญของศาสนาในทางสังคมวิทยานั้น ได้มีผู้แสดงความเห็นไว้ดังนี้

1. ฟรอยด์ (Freud) เห็นว่า ศาสนามีประโยชน์ในด้านเป็นเครื่องปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก

2. มาร์กซ์ (Marx) ถือว่า ศาสนาเป็นยาเสพติด เพราะก่อให้เกิดความลุ่มหลงงมงาย และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิวัติทางการเมือง ซึ่งเป็นการมองศาสนาไปในแง่ร้าย

3. มาลินอฟสกี้(Malinowski) เห็นว่า ศาสนาและพิธีกรรมต่าง ๆ มักเกี่ยวพันกับความไม่แน่ใจในเรื่องธรรมชาติ ความเกรงกลัวในสิ่งที่ไม่แน่นอน/สิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ ทำให้คนมุ่งไปที่ศาสนาหรือพิธีกรรม

32. เพราะเหตุใดมนุษย์จึงจำเป็นต้องมีศาสนา

(1) เพื่อนำศาสนามาควบคุมพฤติกรรม

(2) ไม่เข้าใจสภาวะแวดล้อมที่แท้จริง

(3) ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 133 – 134 ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องมีศาสนาเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ กัน 3 ประการ คือ

1. มนุษย์ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จึงแสวงหาวิธีการมาช่วยปลอบประโลมใจ

2. มนุษย์ไม่เข้าใจสภาวะแวดล้อมที่แท้จริง จึงพยายามหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

3. มนุษย์ต้องการนำศาสนามาควบคุมพฤติกรรมของสังคม เพื่อให้สังคมอยู่ด้วยความสงบสุข

33. การจัดประเภทความเชื่อทางศาสนาเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ข้อใด

(1) เทวนิยมและอเทวนิยม

(2) พหุเทวนิยมและอเทวนิยม

(3) เอกเทวนิยมและพหุเทวนิยม

(4) เอกเทวนิยมและอเทวนิยม

ตอบ 1 หน้า 139 – 140 การจัดประเภทความเชื่อทางศาสนา มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. เทวนิยม (Theism) เป็นระบบความเชื่อที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก แบ่งออกเป็น

1.1 เอกเทวนิยม (เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว) เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม ฯลฯ

1.2 พหุเทวนิยม (นับถือพระเจ้าหลายพระองค์) เช่น ศาสนาฮินดู (พราหมณ์) ฯลฯ

1.3 สัพพัตถเทวนิยม (เชื่อว่าพระเจ้าและจักรวาลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) เช่น เชื่อว่า แม่นํ้ามีแม่คงคาและแผ่นดินมีแม่พระธรณีเป็นผู้ดูแลปกปักรักษา ฯลฯ

2. อเทวนิยม (Atheism) เป็นระบบความเชื่อที่อาศัยเหตุผลและความเป็นจริงเป็นสำคัญ โดยไม่ผูกพันอยู่กับเทพเจ้า เช่น ศาสนาพุทธ เชน เต๋า ฯลฯ

34. ข้อใดเป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม

(1) คริสต์ (2) อิสลาม (3) ฮินดู (4) พุทธ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35. หลักกาลามสูตรในทางพระพุทธศาสนาสอนเรื่องใด

(1) การใช้เหตุผล ไม่เชื่องมงาย (2) การพิจารณาการเกิดขึ้นของกิเลส

(3) การบริจาคทาน (4) การปฏิบัติกรรมฐาน

ตอบ 1 หน้า 140 หลักกาลามสูตรในทางพระพุทธศาสนานั้น เน้นสอนให้รู้จักการใช้วิจารณาญาณ คือ การไม่เชื่อใครง่าย ๆ และไม่เชื่องมงาย แต่ให้เชื่อโดยใช้หลักเหตุผล และให้ศึกษาพิจารณา ไตร่ตรองโดยถ่องแท้ด้วยลติปัญญาซองตนเอง ซึ่งหลักในกาลามสูตรมีด้วยกัน 10 ข้อ

36. ในอารยธรรมกรีกโบราณ การศึกษาผูกพันกับเพเดีย (Paedeia) หมายความว่าอย่างไร

(1) การศึกษาผูกพันกับผู้สอน (2) การศึกษาผูกพันกับปัญญา

(3) การศึกษาผูกพันกับคุณธรรม (4) การศึกษาผูกพันกับเทพเจ้า

ตอบ 3 หน้า 152 – 153 ในอารยธรรมกรีกโบราณ การศึกษาผูกพันกับคุณธรรม (ภาษากรีก เรียกว่า Paedeia) ซึ่งคำว่าการศึกษาในภาษากรีก หมายถึง การเรียนคุณธรรม โดยสรุป การศึกษาในทัศนะกรีกโบราณ หมายถึง การเป็นคนดีและเป็นพลเมืองดี

37. กระบวนการอันเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ที่เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” หมายถึงข้อใด

(1) สิ่งทั้งหลายย่อมเป็นอัตตา (2) สิ่งทั้งหลายย่อมอาศัยซึ่งกันและกัน

(3) สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (4) สิ่งทั้งหลายศึกษาได้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา

ตอบ 2 หน้า 152 พระพุทธศาสนาถือว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้มนุษย์หลุดพ้นจาก ความทุกข์ พระพุทธองค์ทรงถือว่าอวิชชา (ความไม่รู้) เป็นต้นเหตุแห่งวัฏสงสารอันเป็นการ เวียนว่ายตายเกิดในห้วงแห่งทุกข์ วัฏสงสารจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อพ้นจากอวิชชาอันเป็นจุดเริ่มต้น แห่งกระบวนการอันเกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ที่เรียกว่า “ปฎิจจสมุปบาท” (การที่สิ่งทั้งหลายอาศัย ซึ่งกันและกัน) ดังนั้นเป้าหมายของการศึกษาในเชิงพุทธศาสตร์จึงมีความหมายเพื่อให้หลุดพ้น จากอวิชชาหรือความไม่รู้เพื่อชีวิตจะได้ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก

38. ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับสังคมมีลักษณะเช่นไร

(1) ทวิวิถี (2) ยุคลวิถี (3) การจราจรสองทาง (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 153 – 154 ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับสังคมมีลักษณะเป็น “ทวิวิถี” หรือ “ยุคลวิถี” ซึ่งอาจเรียกว่า “การจราจรสองทาง” หรือ “การจราจรสวนกัน” ทั้งนี้เพราะ

1. การศึกษามีบทบาทสำคัญในการกำหนดสภาพและกระบวนการของสังคมภายนอก

2. สังคมภายนอกก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดสภาพและความเป็นไปในวงการศึกษา

39. มหาวิทยาลัยใดมีปรัชญาการศึกษาที่เน้นการแก้ปัญหาเพื่อสวัสดิการของปวงชน

(1) มหาวิทยาลัยเปิดของประเทศอังกฤษ (2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

(3) มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (4) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ตอบ 3 หน้า 177 – 178 ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติจะเน้นในเรื่องความเข้าใจกัน ระหว่างมวลมนุษย์ การอยู่รวมกันของคนต่างชาติต่างภาษาและต่างวัฒนธรรม การดำรงรักษาไว้ ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยมีปรัชญาหลัก คือ การมุ่งแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของมนุษยชาติ และเพื่อสวัสดิการของปวงชน

40. “ความรู้คืออำนาจ” เป็นทัศนะของปราชญ์ท่านใด

(1) เบคอน (Bacon)

(2) โซเครติส (Socrates) (3) เพลโต (Plato) (4) อริสโตเติล (Aristotle)

ตอบ 1 หน้า 152 – 153 ปราชญ์หลายท่านให้ทัศนะเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาไว้ต่าง ๆ กัน เช่น

1. พระพุทธเจ้า ทรงถือว่า ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ และการศึกษาคือการให้พ้นอวิชชา (ความไม่รู้) เพื่อมุ่งให้ชีวิตหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

2. อริสโตเติล (Aristotle) กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่เยาวชนมีผลกระทบต่อชะตากรรม (ความเจริญและความเสื่อม) แห่งอาณาจักร และเป้าหมายสูงสุดหรืออุดมคติของการศึกษา คือ การเตรียมบุคคลให้รู้จักหาความสุขอย่างถูกต้อง กล่าวคือ การเข้าถึงปัญญาอันเป็นทิพย์

3. เบคอน (Bacon) กล่าวว่า ความรู้คืออำนาจ ความรู้และอำนาจของมนุษย์เป็นของอย่างเดียวกัน

4. รัสเซลล์ (Russell) เห็นว่า การศึกษาควรมีจุดนุ่งหมายเพื่อให้เกิดบุคลิกภาพที่พึงปรารถนา 4 ประการ ได้แก่ พละ ธิติ สุขุมสัญญา และปัญญา

41. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการกระจายตัวของประชากรได้แก่อะไร

(1) การเกิดเมือง

(2) การพัฒนาอุตสาหกรรม

(3) สิ่งแวดล้อม

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 185 ปัจจุบันปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากรไม่ได้มีเพียง “ปัญหาที่เกิดจากการเพิมขึ้นของประชากรเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงปัญหาการกระจายตัวของประชากร” ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเกิดเมืองและสิ่งแวดล้อมตามมา เช่น ปัญหาด้านการพัฒนา อุตสาหกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ฯลฯ

42. การเปลี่ยนแปลงทางประชากรโลกในอดีตเป็นอย่างไร

(1) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสม่ำเสมอ

(2) เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ สม่ำเสมอ

(3) เพิ่มช้าในตอนแรก เร็วในตอนหลัง

(4) เพิ่มเร็วในตอนแรก ช้าในตอนหลัง

ตอบ 3 หน้า 187 – 188 Hauser นักประชากรชาวอเมริกัน ได้ทำการศึกษาจากสำมะโนประชากร แล้วคำนวณหาจำนวนประชากรย้อนหลัง พบว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกในอดีตเป็นไป อย่างช้า ๆ ในตอนแรก และค่อย ๆ เร็วขึ้นในตอนหลัง โดยเฉพาะในช่วง 3 ศตวรรษสุดท้าย คือ ศตวรรษที่ 18, 19 และ 20 ที่อัตราการเพิมขึ้นของประชากรโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก

43. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการเพิ่มของประชากรไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

(1) คนต่างชาติอพยพเข้ามามากขึ้น

(2) การเพิ่มขึ้นของอัตราเกิด

(3) การลดลงของอัตราเกิด

(4) การเพิ่มขึ้นของอัตราตาย

ตอบ 2 หน้า 192 สาเหตุที่ไทยมีอัตราเพิ่มของประชากรเร็วโดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เนื่องมาจากอัตราการตายลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่อัตราการเกิดยังอยู่ในระดับสูง

44. การปะทุทางประชากร (Population Explosion) มีลักษณะเช่นไร

(1) มีเด็กชายเกิดมากกว่าเด็กหญิง

(2) มีเด็กหญิงเกิดมากกว่าเด็กชาย

(3) มีเด็กเกิดจำนวนมากโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

(4) อัตราส่วนทางเพศของประชากรแรกเกิดอยู่ในระดับสมดุล

ตอบ 3 หน้า 189 การปะทุทางประชากร (Population Explosion) ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในภูมิภาคแถบเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา ทั้งนี้เพราะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา มีนโยบายพัฒนาประเทศ โดยนำเอาความเจริญด้านการแพทย์และด้านวิทยาการยารักษาโรค จากประเทศพัฒนาแล้วมาเผยแพร่ ทำให้อัตราการตายลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราการเกิด ยังอยู่ในระดับสูง จึงเป็นผลให้อัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

45. ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การปฏิวัติครอบครัว (Family Revolution) ข้อใดไม่ใช่

(1) ครอบครัวมีขนาดเล็กลง (2) สตรีออกทำงานนอกบ้านมากขึ้น

(3) หนุ่มสาวแต่งงานช้าหรือไม่แต่งงาน (4) อัตราการเพิ่มตามธรรมชาติมีค่าเป็นศูนย์

ตอบ 4 หน้า 188 – 189 นักประชากรชาวยุโรปเห็นพ้องต้องกันว่า สภาวการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านคุณค่าและแบบแผนการดำเนินชีวิต นอกจากนี้วิธีการควบคุม การเกิด (การคุมกำเนิด) ยังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สตรีออกทำงานนอกบ้านมากขึ้น ค่าเช่าบ้านแพงขึ้นและมีขนาดเล็กลง และยังมีแนวโน้มว่า คนหนุ่มสาวแต่งงานช้าลงหรือ ไม่แต่งงานเลย ซึ่งนักประชากรเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การปฏิวัติครอบครัว (Family Revolution)

46. กระบวนการทางประชากรที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนนปลงทางประชากร ได้แก่ข้อใด

(1) ครอบครัว การศึกษา และความเชื่อ (2) สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

(3) การเกิด การตาย และการย้ายถิ่น (4) สถานภาพ บทบาท และสถาบัน

ตอบ 3 หน้า 185 – 187 กระบวนการทางประชากรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางประชากร ได้แก่ 1. การเจริญพันธุ์ (การเกิด) 2. การตาย 3. การอพยพหรือการย้ายถิ่น

47. การแบ่งช่วงชั้นในยุโรปสมัยกลางใช้ระบบใด

(1) ชนชั้น (2) วรรณะ (3) ฐานันดร (4) สถานภาพ

ตอบ 3 หน้า 199 ฐานันดร (Estate) เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นทางสังคมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกลางของ ยุโรป เดิมมีเพียง 2 ฐานันดร ได้แก่ นักบวช (พระ) และขุนนาง ต่อมามีเพิ่มขึ้นอีก เช่น พ่อค้า สามัญชน เป็นระบบที่มีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ของบุคคลต่อที่ดิน โดยการเขยิบฐานะเป็นไปได้ และไม่มีศาสนาคํ้าจุนเหมือนระบบวรรณะ

48. ตัวเลือกใดเป็นการจัดช่วงชั้นโดยอิทธิพลของศาสนา

(1) วรรณะ (2) ฐานันดร (3) ชนชั้น (4) ศักดินา

ตอบ 1 หน้า 198 – 199 วรรณะ (Caste) เป็นระบบการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมโดยมีอิทธิพลของศาสนาคํ้าจุนหรือเกื้อหนุน และเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพของบุคคลในสังคม ซึ่งจำกัดบุคคลไม่ให้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่าเมื่อเขาเกิด ดังนั้นระบบวรรณะจึงเป็น ระบบช่วงชั้นซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว (ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ)

49. ตัวเลือกใดเป็นสถานภาพติดตัวของบุคคล

(1) สิทธิของคนในสังคม

(2) ชาติตระกูล (3) การเป็นสมาชิกของสังคม (4) ศักดิ์ศรีที่แต่ละคนมีอยู่

ตอบ 2 หน้า 25, 197 – 198 สถานภาพของบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Ascribed Status) เป็นสถานภาพที่ได้รับมาโดยอัตโนมัติ อันมีรากฐานมาจากการถือกำเนิด เช่น เพศ อายุ ผิวพรรณ ชาติตระกูล วรรณะ ศาสนา ฯลฯ

2. สถานภาพสัมฤทธิ์ (Achieved Status) เป็นผลสำเร็จจากการกระทำตามวิถีทางของบุคคล ที่ขึ้นอยู่กับความสามารถและการแสดงบทบาท เช่น การศึกษา อาชีพ อำนาจ รายได้ ฯลฯ

50. ตามทัศนะของเวเบอร์ (Weber) อำนาจทางสังคมของบุคคลเกิดจากอะไร

(1) เกียรติยศ (2) การศึกษา (3) อาชีพ (4) รายได้

ตอบ 1 หน้า 203 ตามทัศนะของแม็ก เวเบอร์ (Max Weber) อำนาจทางสังคมของบุคคลเกิดขึ้น จากเกียรติยศ ซึ่งได้รับจากบุคคลอื่น โดยสถานภาพขึ้นกับชุมชน ในขณะที่เกียรติยศขึ้นอยู่กับ การตัดสินโดยบุคคล ซึ่งเป็นผลให้บุคคลได้รับอำนาจทางสังคม

51. ข้อใดจัดเป็นตัวอย่างของฐานันดร (Estate)

(1) คนที่มีสถานะเท่าเทียมกันในสังคม

(2) พระและขุนนางในสมัยกลางของยุโรป

(3) นักบริหารที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ

(4) คนในวรรณะศูทรแต่งงานกับคนในวรรณะพราหมณ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

52. กลไกควบคุมทางสังคมข้อใดมีผลต่อการจัดระเบียบทางสังคม

(1) กลไกทางวัฒนธรรม

(2) กลไกกฎระเบียบ

(3) กลไกบังคับ

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 222 กลไกทางวัฒนธรรมที่ใช้ในการควบคุมทางสังคม ประกอบด้วย บรรทัดฐานการบังคับใช้ สถานภาพและบทบาท การเข้ากลุ่มและการเข้าสังคม ความแตกต่างทางสังคม และชั้นทางสังคม ซึ่งกลไกทางวัฒนธรรมแต่ละประเภทจะมีบทบาทสำคัญทั้งในกระบวนการ จัดระเบียบทางสังคมและการพัฒนาบุคคล

53. กลุ่มที่มีโครงสร้างแบบเป็นทางการ มักใช้กลไกควบคุมสังคมแบบใด

(1) สถานภาพ

(2) บทบาท

(3) กฎระเบียบ

(4) วัฒนธรรม

ตอบ 3 หน้า 243 ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ (Informal Groups) และ กลุ่มที่เป็นทางการ (Formal Groups) คือ กลุ่มที่มีโครงสร้างแบบไม่เป็นทางการจะไม่ใช้ กลไกกฎระเบียบ แต่กลุ่มที่มีโครงสร้างแบบทางการมักใช้กลไกเกี่ยวกับกฎระเบียบเสมอ ส่วนกลไกที่มักใช้กับทั้งกลุ่มทางการและกลุ่มไม่เป็นทางการ ได้แก่ กลไกการแลกเปลี่ยน กลไกกลอุบาย กลไกการรวมตัวเข้าด้วยกัน กลไกทางวัฒนธรรม กลไกบังคับใช้ เป็นต้น

54. การประนีประนอมและการมีผู้ชี้ขาด เป็นกลไกการควบคุมทางสังคมแบบใด

(1) กฎระเบียบ (2) การบังคับ (3) การแลกเปลี่ยนสมานลักษณ์ (4) การถอนตัว

ตอบ 3 หน้า 232 กลไกการแลกเปลี่ยนสมานลักษณ์ ประกอบด้วย

1. การประนีประนอม 2. การมีผู้ชี้ขาดหรือคนกลาง 3. การอดกลั้น

55. ข้อใดคือตัวอย่างของวิธีการควบคุมทางสังคมที่เป็นสัญลักษณ์เชิงปฏิฐาน

(1) การให้อำนาจ (2) การให้เหรียญตรา

(3) การให้รางวัลเป็นเงิน (4) การลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไร้คุณธรรม

ตอบ 2 หน้า 217 วิธีการควบคุมทางสังคมที่เป็นสัญลักษณ์เชิงปฏิฐาน (เชิงบวก) ได้แก่ การซุบซิบ ในทางดี การจงใจและการโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณา การยกย่องสรรเสริญเยินยอ และการให้ เหรียญตราเกียรติยศที่เป็นสิ่งแสดงสถานภาพที่สูงขึ้น เช่น การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ

56. ข้อใดเป็นการควบคุมทางสังคมที่ใช้กลไกการใช้อุบาย

(1) การใช้เทคโนโลยี (2) การใช้กฎระเบียบ ข้อบังคับ

(3) การใช้ถ้อยคำภาษา (4) การใช้คนจำนวนมากต่อรอง

ตอบ 3 หน้า 221, 234 กลไกกลอุบาย ประกอบด้วย 1. กลอุบายที่ใช้ถ้อยคำภาษา

2. กลอุบายที่ไม่ใช้ถ้อยคำภาษา

57. ข้อใดจัดเป็นพฤติกรรมทางการเมือง (1) การขยายตัวของเมือง

(2) การจัดองค์การทางการเมือง (3) การอพยพหรือย้ายถิ่นเข้าสู่เมือง

(4) การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 4 หน้า 247 – 248 สังคมวิทยาการเมืองสนใจศึกษาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. อิทธิพลของสังคมที่มีต่อกระบวนการทางการเมือง

2. โครงสร้างของสังคมกับสถาบันทางการเมือง

3. ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการจัดระบบ รูปแบบ และนโยบายทางการเมือง

4. ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส.

5. สภาพของสังคมต่อการจัดรูปแบบทางการเมืองการปกครอง

6. ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับการเมืองที่ก่อให้เกิดการพัฒนา

58. สังคมวิทยาการเมืองถือกำเนิดจากอะไร

(1) ระบบฟิวดัล (Feudalism) (2) ผลของสงครามครูเสด

(3) สมัยที่เจ้าผู้ครองนครรัฐต่าง ๆ ต่างจับจองอาณาเขตของตน

(4) การเปลี่ยนแปลงทางศาสนา เศรษฐกิจ และการเมืองหลังยุคกลางของยุโรป

ตอบ 4 หน้า 248 สังคมวิทยาการเมืองเริ่มมีจุดกำเนิดมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและการศาสนาในสมัยหลังยุคกลางของยุโรป (ประมาณศตวรรษที่ 16)

59. ในสมัยกลางของยุโรปผู้ใดมีอำนาจมากทั้งในทางธรรมและทางโลก

(1) ขุนนาง (2) พระ (3) จักรพรรดิ (4) ชนชั้นกลาง

ตอบ 2 หน้า 248 ในสมัยกลางของยุโรปซึ่งเป็นยุคของการรวมตัวกันเป็นจักรวรรดิ พระเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากทั้งทางโลก (อาณาจักร) และทางธรรม (ศาสนจักร) ซึ่งทั้ง 2 องค์กรนี้ รวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มิได้แยกจากกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า พระในศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะสันตะปาปามีบทบาทมากทั้งทางสังคม การเมืองการปกครอง และการศาสนา มีหน้าที่ควบคุมดูแลประชาชน และบริหารงานบ้านเมืองไปด้วยในขณะเดียวกัน

60. ตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) ความขัดแย้งที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมคือความขัดแย้งในข้อใด

(1) ความขัดแย้งระหว่างอาชีพ (2) ความขัดแย้งทางเพศ

(3) ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ (4) ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น

ตอบ 4 หน้า 250, 320 – 322 ตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสังคม คือ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น (นายทาสกับทาส เจ้าขุนมูลนายกับไพร่ นายทุนกับกรรมกร) โดยสังคมจะปราศจากการขัดแย้งก็ต่อเมื่อเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่แท้จริง นั่นคือ ไม่มีรัฐ ไม่มีรัฐบาล เพราะตราบใดที่มีรัฐนั่นก็จะหมายถึงมีการใช้อำนาจรัฐบังคับกดขี่

61. กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมฝูงชนคือข้อใด

(1) การระบาดทางอารมณ์

(2) การกำหนดสถานภาพและบทบาท

(3) การกำหนดจำนวนสมาชิก

(4) การควบคุมด้วยบรรทัดฐานทางสังคม

ตอบ 1 หน้า 254 – 255 การระบาดทางอารมณ์ (Emotional Contagion) เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ เกิดพฤติกรรมฝูงชน เพราะฝูงชนเป็นกลุ่มคนที่อยู่ใกล้ชิดกันในด้านร่างกาย ดังนั้นการติดต่อกัน ทางอารมณ์จึงเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้อารมณ์รุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ฝูงชนยังมี อิทธิพลมาก สามารถครอบงำความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มคนที่เข้าร่วมในฝูงชนให้มีอารมณ์และ มีพฤติกรรมคล้อยตามกัน โดยปราศจากเหตุผลและความมีสติ

62. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) บนท้องถนนในปัจจุบัน เช่น การต่อต้านการสร้างเขื่อน โรงไฟฟ้า การชุมนุมทางการเมือง ฯลฯ อาจจัดได้ว่าคือฝูงชนประเภทใด

(1) Casual Crowd

(2) Acting Crowd

(3) Conventional Crowd

(4) Expressive Crowd

ตอบ 2 หน้า 255 ฝูงชนลงมือกระทำ (Acting Crowd) เป็นฝูงชนที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ และ พร้อมที่จะแสดงออกถึงความก้าวร้าว รุนแรง เชิงทำลาย ซึ่งฝูงชนประเภทนี้จะได้รับความสนใจ จากนักสังคมวิทยาและนักรัฐศาสตร์มาก เพราะการระบาดทางอารมณ์จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเร่งด่วนในการปฏิบัติการ โดยฝูงชนประเภทนี้ได้แก่ Mob ประเภทต่าง ๆ

63. ข้อใดจัดว่าเป็นพฤติกรรมฝูงชน

(1) นักเรียนขั้น ป.4 เรียนวิชาภาษาไทย

(2) นักเรียนนั่งรอรถประจำทางที่หน้าโรงเรียบ

(3) นักเรียนชาย 4 คน เล่นไพ่หลังห้องเรียน

(4) นักเรียนเข้าร่วมฟังธรรมในหอประชุม

ตอบ 4 หน้า 255 ฝูงชนชุมนุม (Conventional Crowd) หมายถึง ฝูงชนที่มารวมตัวกันโดยจะมี สัญลักษณ์บางอย่าง (แบบแผนหรือความสำนึกเป็นพวกเดียวกัน) ควบคุมอยู่ เช่น การดูกีฬา ภาพยนตร์ ดนตรีหรือคอนเสิร์ต ฟังธรรม อภิปราย ปาฐกถา ฯลฯ ซึ่งจะมีการกำหนดเวลา และสถานที่เอาไว้ล่วงหน้า โดยสมาชิกที่เข้าร่วมจะต้องปฏิบัติตามแบบแผนที่กำหนดไว้

64. คำกล่าวว่า “มนุษย์เกิดความคับแค้นเพราะมีความต้องการมากแต่สมปรารถนาน้อย” เป็นคำกล่าว ที่บ่งถึงสิ่งใด

(1) สาเหตุของปัญหาสังคม (2) ประเภทปัญหาสังคม

(3) แนวทางแก้ไขปัญหาสังคม (4) แนวทางป้องกันปัญหาสังคม

ตอบ 1 หน้า 261, (คำบรรยาย) อุดม โปษะกฤษณะ กล่าวถึงสาเหตุของปัญหาสังคมว่า ความรุนแรง และความคุกรุ่นของคนต่อปัญหาต่าง ๆ จะแอบแฝงอยู่กับผู้ที่มีความคับแค้น เพราะมีความ ต้องการมากแต่ได้รับความสมปรารถนาน้อย การจะบรรเทาเบาบางหรือลดปัญหาต่าง ๆ ลง คนเราจะต้องตัดไฟความปรารถนา ตัณหา ความโลภ และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่

65. การนำเสื้อผ้า/อาหารไปแจกผู้ประสบภัยนํ้าท่วมเป็นการแก้ไขปัญหาสังคมแบบใด

(1) แบบย่อย (2) แบบป้องกัน (3) แบบวางแผน (4) แบบรวมถ้วนทั่ว

ตอบ 1 หน้า 261 แนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ ๆ ได้ 2 ประการ คือ

1. การแก้ไขปัญหาแบบย่อย (Piecemeal) เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่มีการวางแผนมาก่อน เช่น การแก้ปัญหาความยากจน ความอดอยากขาดแคลนและช่วยผู้ประสบภัยด้วยการแจกสิ่งของ เสื้อผ้า อาหาร นำดื่ม และยารักษาโรค ฯลฯ

2. การแก้ไขปัญหาแบบรวมถ้วนทั่ว (Wholesale) เป็นการแก้ปัญหาระยะยาวแบบมี การวางแผนมาก่อน (แก้ปัญหาที่ต้นตอหรือสาเหตุของปัญหา) มีการประเมินผลมีการตรวจสอบ และปัญหานั้น ๆ จะไม่เกิดขึ้นมาอีก เช่น การแก้ปัญหาความยากจน ด้วยการฝึกอาชีพให้ ฯลฯ

66. ข้อใดคือปัญหาสังคมที่เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่น ๆ

(1) การว่างงาน (2) ความยากจน (3) การค้ามนุษย์ (4) ยาเสพติด

ตอบ 2 หน้า 268, (คำบรรยาย) ความยากจน หมายถึง การขาดแคลนปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต ซึ่งถือเป็นปัญหาสังคมที่เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่น ๆ หรือเซื่อมโยงไปสู่ปัญหาอื่น ๆ

67. “การจับหนูให้แมวกิน” จัดเป็นแนวทางตามตัวเลือกใด

(1) ตัดไฟแต่ต้นลม (2) ล้อมคอกก่อนวัวหาย

(3) วัวหายล้อมคอก (4) แก้ไขปัญหาแบบเฉพาะหน้า

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ (แก้ไขปัญหาระยะยาวต้องฝึกแมวให้จับหนู)

68. ข้อใดหมายถึงการโกงประชาชน การเบียดบังของหลวง การใช้เวลาราชการไปทำงานส่วนตัว และการเลือกที่รักมักที่ชัง

(1) การบังหลวง

(2) การฉ้อราษฎร์ (3) การฉ้อราษฎร์บังหลวง (4) การใช้งบประมาณของรัฐบาลเกินความจำเป็น

ตอบ 3 หน้า 281 “การฉ้อราษฎร์” หมายถึง การเบียดบังเอาผลประโยชน์ของราษฎร (ประชาชน) ไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (การโกงราษฎร), “การบังหลวง” หมายถึง การกระทำด้วยวิธีหนึ่ง วิธีใดที่นำเอาผลประโยชน์จากราชการไปใช้ส่วนตัว หรือการเบียดบังของหลวงไปเป็นสมบัติของตนเอง “การฉ้อราษฎร์บังหลวง” ครอบคลุมไปถึงการใช้เวลาราชการไปทำงานส่วนตัว การเอาของราชการไปใช้ส่วนตัว การเลือกที่รักมักที่ชัง และการกินสินบน

69. ข้อใดคือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อมากที่ลุด

(1) นายทุน (2)เกษตรกร (3)ข้าราชการ (4)นักธุรกิจ

ตอบ 2 หน้า 266 เงินเฟ้อ หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นระยะเวลาติดต่อกันยาวนานพอสมควร ซึ่งเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น คนยากจนที่มีรายได้น้อย จะได้รับผลกระทบกระเทือนมาก เพราะรายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกัน ส่วนคนรํ่ารวยมีกิจการอุตสาหกรรมใหญ่โต มีที่ดินและอาคารมากมาย จะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเมื่อเงินเสื่อมค่าลงก็สามารถขึ้นราคาสินค้าและค่าเช่าได้ ในขณะที่ข้าราชการและชนชั้นกลางจะได้รับผลกระทบบ้างแต่ไมเท่าคนจน เพราะยังมีรายได้มากพอเป็นค่าใช้จ่าย

70. ข้อใดหมายถึงชนต่างถิ่นที่อพยพเข้ามาอาศัยรวมอยู่กับเจ้าของถิ่นหรือเจ้าของประเทศ

(1) กลุ่มคน (2) กลุ่มขนาดเล็ก (3) ชุมชน (4) ชนกลุ่มน้อย

ตอบ 4 หน้า 285 ชนกลุ่มน้อย (Minority Group) หรือชนต่างวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มชนที่มีการยึดถือ วัฒนธรรมในรูปแบบที่แตกต่างไปจากชนกลุ่มใหญ่ (Majority Group) หรือกลุ่มอิทธิพล (Dominant Group) และเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดในเรื่องจำนวน นักวิชาการบางท่านจึงเรียกชนกลุ่มใหญ่ว่า “กลุ่มครอบครอง” และเรียกชนกลุ่มน้อยว่า “กลุ่มใต้ครอบครอง” เพราะชนกลุ่มใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลและมีบทบาททั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ดังนั้น ชนกลุ่มใหญ่จึงเป็นผู้ที่กำหนดว่ากลุ่มใดเป็นชนกลุ่มน้อย เช่น ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอาศัย รวมอยู่กับเจ้าของถิ่นหรือเจ้าของประเทศจัดเป็นชนกลุ่มน้อย ส่วนเจ้าของถิ่นหรือเจ้าของประเทศ จัดเป็นชนกลุ่มใหญ่ ฯลฯ

71. ชนกลุ่มน้อยมีความหมายตรงข้ามกับตัวเลือกใด

(1) กลุ่มอาณานิคม

(2) กลุ่มใต้ครอบครอง

(3) กลุ่มอิทธิพล

(4) กลุ่มผลประโยชน์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72. ประเทศไทยใช้นโยบายใดในการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชาวจีน

(1) การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม

(2) การแยกพวก

(3) การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม

(4) การกีดกัน

ตอบ 1 หน้า 301 ประเทศไทยสามารถใช้นโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม (Assimilation) กับคนจีนได้ผลดีมากกว่าประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ เพราะมีปัจจัยเอื้ออำนวยหลายประการ เช่น มีความสัมพันธ์กันมานาน เป็นเชื่อชาติผิวเหลืองเหมือนกัน มีหลักศาสนา หลักปรัชญา ความเชื่อ ทัศนคติและการมองโลกคล้ายคลึงกัน ฯลฯ

73. ประเทศไทยใช้นโยบายใดในการแก้ไขปัญหาชาวเขา

(1) การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม

(2) การแยกพวก

(3) การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม

(4) การผสมผสานชาติพันธุ์

ตอบ 1 หน้า 299 การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม (Assimilation) เป็นนโยบายที่ประเทศไทยใช้ใน การแก้ไขปัญหาขาวเขา ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เกิดความเข้าใจและใกล้ชิดติดต่อกันมากขึ้น ทำให้ ชาวเขาไม่เกิดความรู้สึกแตกแยกโดดเดี่ยว และทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

74. ตัวอย่างใดเป็นความรู้สึกชาติพันธุ์นิยมที่เกิดภายในกลุ่มสมาชิกของชนกลุ่มน้อย

(1) คนนิโกรเรียกตัวเองว่าอาฟโรอเมริกัน (2) คนจีนถูกเรียกว่าเจ๊ก

(3) คนอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นถูกเรียกว่าแจ๊ป (4) คนอินเดียถูกเรียกว่าแขก

ตอบ. 1 หน้า 287 – 288 ภายในหมู่ชนกลุ่มน้อยและชนกลุ่มใหญ่ อาจเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า การมีอคติต่อเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์นิยม (Ethnocentrism) โดยจะแสดงพฤติกรรมดังนี้

1. อคติของชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อชนกลุ่มน้อย ด้วยการขนานนามกลุ่มอื่นในทางที่ไม่ดี เช่น คนจีนถูกเรียกว่าเจ๊ก, คนอินเดียถูกเรียกว่า แขก, คนเวียดนามถูกเรียกว่า แกว,คนอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นถูกเรียกว่า แจ๊ป, พวกนิโกรถูกเรียกว่า นิกเกอร์ ฯลฯ

2. อคติของชนกลุ่มน้อยที่มีต่อชนกลุ่มใหญ่ ด้วยการเรียกกลุ่มของตนในทางที่ดี เช่น คนนิโกร เรียกกลุ่มของตนเองว่า อาฟโรอเมริกัน, คนอเมริกาเชื้อสายเม็กซิกันเรียกตนเองว่า ชิคาโน ฯลฯ

75. ตามแนวคิดของริสแมน (Riesman) รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเป็นอย่างไร

(1) เปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นนำสู่ประเพณีนำ (2) เปลี่ยนแปลงจากประเพณีนำสู่สำนึกนำ

(3) เปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นนำสู่สำนึกนำ (4) เปลี่ยนแปลงจากประเพณีนำสู่ผู้อื่นนำ

ตอบ .4 หน้า 331 – 332 รูปแบบสังคมตามทัศนะของริสแมน (Riesman) แบ่งเป็น 3 รูปแบบและ เปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอนดังนี้ 1. สังคมประเพณีนำ 2. สังคมสำนึกนำ 3. สังคมผู้อื่นนำ ซึ่งสังคมอเมริกันจะเป็นไปตามรูปแบบที่ริสแมนได้กล่าวไว้ ส่วนสังคมไทยข้ามขั้นตอนจาก รูปแบบสังคมประเพณีนำไปสู่สังคมผู้อื่นนำ โดยขาดขั้นสังคมสำนึกนำ

76. แนวคิดของสเปนเซอร์ (Spencer) จัดอยู่ในทฤษฎีใด

(1) ทฤษฎีการหน้าที่ (2) ทฤษฎีวัฏจักร

(3) ทฤษฎีจิตวิทยาสังคม (4) ทฤษฎีวิวัฒนาการทางสังคม

ตอบ 4 หน้า 315 แนวคิดของสเปนเซอร์ (Spencer) จัดอยู่ในทฤษฎีวิวัฒนาการ (วิวัฒนาการทางสังคม) โดยเขากล่าวถึงการวิวัฒนาการว่าเป็นเสมือนกระบวนการแห่งการเติบโต ทั้งนี้โดยการ เปรียบเทียบสังคมว่าเป็นเสมือนสิ่งมีชีวิต

77. ตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) สังคมรูปแบบใดยุติการเปลี่ยนแปลง

(1) ระบบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ (2) ระบบทาสบรรพกาล

(3) ระบบศักดินา (4) ระบบนายทุน

ตอบ 1 หน้า 321 – 322 รูปแบบการเมืองการปกครองตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) มี 5 รูปแบบ ดังนี้

1. ระบบคอมมิวนิสต์ดั้งเดิม 2. ระบบทาสบรรพกาล 3. ระบบศักดินา

4. ระบบนายทุน (ทุนนิยม) 5. ระบบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ (หยุดการเปลี่ยนแปลง)

78. หัวใจสำคัญของทฤษฎีวัฏจักรคืออะไร

(1) มนุษย์เป็นผู้สร้างอารยธรรม (2) อารยธรรมจะคงอยู่ตลอดกาล

(3) อารยธรรมจะพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (4) อารยธรรมเมื่อมีการรุ่งเรืองย่อมมีการล่มสลาย

ตอบ 4 หน้า 309 – 312 ทฤษฎีวัฎจักร เป็นแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงในเชิงวัฏจักรหรือการสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เสมอ ไม่มีความถาวรของ ยุคใดยุคหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อมีจุดเริ่มต้นก็ต้องมีจุดสิ้นสุด เมื่อถึงจุดสิ้นสุด ก็จะกลับมาจุดเริ่มต้น หรือเมื่อมีการเจริญรุ่งเรืองก็ย่อมมีการล่มสลาย และเมื่อมีการล่มสลาย ก็จะกลับมาเจริญรุ่งเรืองสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เสมอ

79. กระบวนการเปลี่ยนแปลง 3 ขั้นตอน จุดยืน จุดแย้ง จุดยุบ เป็นแนวความคิดของใคร

(1) มาร์กซ์ (Marx) (2) ทอยน์บี (Toynbee) (3) ค้องท์ (Comte) (4) พาร์สัน (Parson)

ตอบ 1 หน้า 320 – 321 ทฤษฎีการขัดแย้งเป็นแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ซึ่งไต้อธิบาย การเปลี่ยนแปลงหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยกระบวนการ 3 อย่าง คือ

1. Thesis (จุดยืน) ได้แก่ สภาพที่เป็นอยู่แล้ว

2. Antithesis (จุดแย้ง) ได้แก่ สภาพที่ตรงข้ามหรือขัดแย้งกับสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่แล้ว

3. Synthesis (จุดยุบ) ได้แก่ ผลแห่งการปะทะกันหรือขัดแย้งกันของ 2 กระบวนการแรก

80. “สภาพสังคมที่สลับซับซ้อนถือว่าเป็นความก้าวหน้า” คำกล่าวนี้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงตามทฤษฎีใด

(1) ทฤษฎีการหน้าที่ (2) ทฤษฎีวัฏจักร (3) ทฤษฎีจิตวิทยาสังคม (4) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 4 หน้า 313 ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory) เป็นทฤษฎีที่นิยมกันมากในโลกตะวันตกโดยเชื่อว่า สังคมก้าวหน้าขึ้นจากสภาพที่อยู่กันง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนและขยายตัวไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีความซับซ้อนหรือสภาวะเชิงซ้อนสูงขึ้น ซึ่งการมีสภาพสังคมที่สลับซับซ้อนขึ้นนั้น ถือว่าเป็นความก้าวหน้า

81. ตามความคิดของเพลโต (Plato) “การเปลี่ยนแปลงจากราชาธิปไตย วีรชนาธิปไตย คณาธิปไตย ประชาธิปไตย และทุชนาธิปไตย” เป็นไปตามทฤษฎีใด

(1) ทฤษฎีการใช้อำนาจ

(2) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

(3) ทฤษฎีวัฏจักร

(4) ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่

ตอบ 3 หน้า 310 – 311 ตามทฤษฎีวัฏจักรหรือการหมุนเวียนนั้น เพลโต (Plato) ได้แบ่งการเปลี่ยนแปลง ของรัฐออกเป็น 5 ยุค ดังนี้ 1. อภิชนาธิปไตยหรือราชาธิปไตย 2. วีรชนาธิปไตย

3. คณาธิปไตย 4. ประชาธิปไตย 5. ทุชนาธิปไตย

82. การศึกษาเรื่องใดที่นำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรมของคนชนบท

(1) ประชากร

(2) สถาบันอนามัย

(3) ค่านิยม

(4) การตั้งถิ่นฐาน

ตอบ 3 หน้า 346 การศึกษาค่านิยมในสังคมชนบทนับเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรม ของคนชนบท ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อการติดต่อสัมพันธ์และการพัฒนาชนบทให้เป็นไปด้วยดี ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

83. ระบบเศรษฐกิจในชุมชนชนบทดั้งเดิม มีลักษณะอย่างไร

(1) ระบบพึ่งพาตัวเอง

(2) ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

(3) ระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า

(4) ระบบพึ่งพาหน่วยทางสังคมต่าง ๆ

ตอบ 1 หน้า 340 – 343 ระบบเศรษฐกิจในชุมชนชนบทดั้งเดิมมีลักษณะเป็นระบบพึ่งพาตัวเอง เป็นการผลิตเพื่อการบริโภคมากกว่าเพื่อการค้า การพึ่งพาหน่วยทางสังคมต่าง ๆ มีน้อย ซึ่งแตกต่างจากชีวีตชาวเมืองที่ต้องพึ่งพาอาศัยหน่วยทางสังคมต่าง ๆ อยู่มาก

84. ตัวเลือกใดเป็นสาเหตุจากภายนอกที่ทำให้สังคมชนบทเกิดการเปลี่ยนแปลง

(1) การแปรปรวนของธรรมชาติ (2) การอพยพย้ายถิ่น

(3) การพัฒนา (4) การตาย

ตอบ 3 หน้า 358 – 359 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมชนบทเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ

1. ปัจจัยภายในสังคมชนบท เช่น การเกิด การตาย การอพยพย้ายถิ่น การแปรปรวนของธรรมชาติ ผู้ร้ายหรือการสู้รบ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ (ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกิดจากนวัตกรรม) ฯลฯ

2. ปัจจัยภายนอกสังคมชนบท เช่น การผสมผสานทางวัฒนธรรม การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม การคมนาคมติดต่อสื่อสาร การเลียนแบบ (การขอยืมวัฒนธรรม) การพัฒนา ฯลฯ

85. การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านชนบทไทยโดยทั่วไป มีลักษณะแบบใด

(1) หมู่บ้านสหกรณ์ (2) หมู่บ้านป่าไม้ (3) หมู่บ้านเกษตรกรรม (4) นิคมสร้างตนเอง

ตอบ 3 หน้า 346 การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านชนบทไทยโดยทั่วไปจะเป็นแบบไม่มีการวางแผน โดยมีการตั้งถิ่นฐานแบบหมู่บ้านเกษตรกรรม ซึ่งจะตั้งบ้านเรือนตามที่ลุ่ม ที่ดอน ที่เนินชายป่า ชายเขา เส้นทางคมนาคม และส่วนใหญ่จะตั้งตามริมฝั่งนํ้า (ส่วนการตั้งถิ่นฐานชนิดที่มีการวางแผนนั้น นับว่ามีน้อยมาก คงมีแต่เฉพาะหมู่บ้านสหกรณ์ นิคมสร้างตนเอง และหมู่บ้านป่าไม้เท่านั้น)

86. ข้อใดคือคุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท

(1) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

(2) การใช้แรงงานเพื่อการเกษตร (3) ความโดดเดี่ยว (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 340 – 341 คุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนขนบท มีดังนี้

1. ความโดดเดี่ยว 2. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

3. การใช้แรงงานเพื่อการเกษตร 4. การเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค

87. สังคมวิทยาชนบทมักศึกษาเปรียบเทียบกับวิชาใด

(1) สังคมวิทยาอุตสาหกรรม

(2) สังคมวิทยาการพัฒนา (3) สังคมวิทยาบ้านนา (4) สังคมวิทยานคร

ตอบ 4 หน้า 335, 363 สังคมวิทยาชนบทมักจะนิยมศึกษาเปรียบเทียบกับสังคมวิทยานครหรือ สังคมวิทยานาครหรือสังคมวิทยาเมือง โดยจะศึกษาถึงความเกี่ยวพันกับสังคมเมือง เพราะปรากฏการณ์ในสังคมเมืองอาจจะส่งผลสะท้อนไปสู่ชนบท ทำให้ชนบทเปลี่ยนแปลงไป เป็นการหาวิธีเสริมสร้างชีวิตชนบทให้มั่นคง

88. ในการพัฒนาชนบทต้องพัฒนาอะไรเป็นอันดับแรก

(1) การศึกษา (2) คน (3) อุตสาหกรรม (4) สภาพแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 338 ในการพัฒนาชนบทนั้น ต้องมุ่งพัฒนาคน (คุณภาพของคน) เป็นอันดับแรกและการพัฒนาคนนั้นต้องพัฒนาความคิดของเขา อะไรคือตัวบงการให้คนชนบทคิดเช่นนั้น ทำเช่นนั้น ค่านิยมหรือวัฒนธรรม ซึ่งการศึกษาสังคมชนบทจะช่วยให้เราเข้าใจได้

89. ทฤษฎีใดกล่าวว่า “เมืองจะขยายตัวจากศูนย์กลางไปตามเส้นทางคมนาคมขนส่ง”

(1) ทฤษฎีหลายศูนย์กลาง (2) ทฤษฎีรูปสามเหลี่ยม

(3) ทฤษฎีรูปดาว (4) ทฤษฎีรูปวงกลม

ตอบ 3 หน้า 374 ทฤษฎีรูปดาว (Star Theory) เป็นทฤษฎีการขยายตัวของเมืองที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1903โดย อาร์.เอ็ม. เฮิร์ด (R.M. Hurd) ได้ศึกษาพบว่า “เมืองจะขยายตัว ออกจากศูนย์กลางไปตามเส้นทางการคมนาคมขนส่ง” ซึ่งทำให้เป็นรูปคล้ายดาวหรือแมงกะพรุน

90. ตามทัศนะของคูลีย์ (Cooley) ปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดเมืองมากที่สุด

(1) จำนวนประชากร

(2) เหมืองแร่ (3) การปกครองและศาสนา (4) เมื่อมีการหยุดพักขนสินค้า

ตอบ 4 หน้า 370 ปัจจัยที่ทำให้เกิดเมืองในทัศนะของคูลีย์ (Cooley) คือ การหยุดพักเพื่อขนส่งสินค้าโดยเขากล่าวว่า เส้นทางคมนาคมขนส่งไม่ได้ทำให้เกิดเมือง แต่เมื่อมีการหยุดพักเพื่อขนส่งสินค้า ก็จะทำให้เกิดเมือง ได้แก่ เมืองท่าบางเมือง เช่น ฮ่องกง และโคเปนเฮเกน ฯลฯ

91. เมืองไมอามี เป็นเมืองประเภทใด

(1) เมืองพักผ่อนตากอากาศ

(2) เมืองท่า

(3) เมืองศูนย์รวมการคมนาคมขนส่ง

(4) เมืองศูนย์กลางการขายส่งและปลีก

ตอบ 1 หน้า 370 – 371 เมืองซึ่งเกิดจากหน้าที่พิเศษ คือ เมืองที่เกิดขึ้นเนื่องจากการให้บริการ บางอย่าง เช่น เหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรม หรือการพักผ่อน ฯลฯ หรือเป็นเมืองที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะอย่าง เช่น เมืองไมอามี่ (เป็นเมืองพักผ่อนตากอากาศ) สแกนตัน พิททส์เบิร์ก พัทยา ฯลฯ

92. ข้อใดเป็นเมืองอันดับสองที่นำมาเปรียบเทียบกับความเป็นเอกนครของกรุงเทพมหานคร

(1)ขอนแก่น

(2)เชียงใหม่

(3)นครราชสีมา

(4)อุบลราชธานี

ตอบ 2 หน้า 381 ความเป็นเอกนครของประเทศไทยจะดูได้จากขนาดของกรุงเทพฯ ที่มีขนาดใหญ่ กว่าเชียงใหม่ที่เป็นเมืองอันดับ 2 ถึงประมาณ 35 เท่าตัว เมื่อพิจารณาจากจำนวนประชากรที่ อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเป็นศูนย์รวมของระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งหมด ประชากรในเขตเมืองของประเทศไทยกว่าครึ่งอาศัยในกรุงเทพฯ ในขณะเดียวกันเมืองรอง ๆ ลงไปก็มีระดับความเจริญที่เทียบกันไม่ได้เลยกับกรุงเทพฯ

93. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเมืองในประเทศกำลังพัฒนา

(1) มีความเป็นเมืองมากเกินไป

(2) มีลักษณะแบบเอกนครชัดเจน

(3) การขยายขนาดของเมืองมีอัตราสูงกว่าการขยายตัวทางอุตสาหกรรม

(4) การย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองเพราะแรงดึงดูดของเมืองมากกว่าแรงผลักดันจากชนบท

ตอบ 4 หน้า 380 ลักษณะความเป็นเมืองและการขยายขนาดของเมืองในประเทศกำลังพัฒนา มีดังนี้

1. การขยายขนาดของเมืองเป็นไปในอัตราสูงกว่าการขยายตัวทางอุตสาหกรรม

2. การขยายขนาดของเมืองขึ้นอยู่กับผลของการเพิ่มโดยธรรมชาติ (ผลต่างระหว่างจำนวน การเกิดและการตาย) ของประชากรในเมืองร่วมกับผลจากการย้ายถิ่นเข้าของชาวชนบท

3. การย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองมีสาเหตุผลักดันจากชนบทมากกว่าแรงดึงดูดของเมือง

4. มีความเป็นเมืองมากเกินไป 5. มีลักษณะเป็นแบบเอกนครอย่างชัดเจน

94. ข้อใดไม่ใช่เขตเมือง

(1) เทศบาลนคร (2) เทศบาลเมือง (3) เทศบาลตำบล (4) นอกเขตเทศบาล

ตอบ 4 หน้า 364, (คำบรรยาย) ประเทศไทยไม่ได้มีการให้คำจำกัดความที่แน่นอนของคำว่า“เมือง” เอาไว้ แต่เราถือว่า เมือง คือ เขตเทศบาล (ซึ่งประกอบด้วย เขตเทศบาลนคร เขตเทศบาลเมือง และเขตเทศบาลตำบล) รวมถึงกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

95. ข้อใดเป็นการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในระยะแรกเริ่ม

(1) การตั้งถิ่นฐานแบบรวมกลุ่ม

(2) การตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย (3) การตั้งถิ่นฐานแบบเส้นตรง (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 372 – 373 การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในระยะแรกเริ่ม แบ่งออกเป็น

1. การตั้งถิ่นฐานแบบรวมกลุ่ม (Cluster Settlement) เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบที่มิได้มีการ วางแผนไว้ล่วงหน้า เป็นการตั้งบ้านเรือนอยูรวมกันเนป็กลุ่ม ๆ บนพื้นที่ไร่นาของตน

2. การตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย (Scattered Settlement) เป็นการตั้งบ้านเรือนแบบครอบครัว ที่กระจัดกระจายอยู่รอบ ๆ ย่านชุมชน ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัด โรงเรียน ตลาด ฯลฯ

3. การตั้งถิ่นฐานแบบเส้นตรง (Line Settlement) เป็นการตั้งบ้านเรือนเรียงรายตาม เส้นทางคมนาคมทั้งทางนํ้าและทางบก เช่น ริมผฝั่งแม่นํ้า ลำคลอง สองฝั่งถนน ฯลฯ

96. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนํ้า

(1) นํ้าฝนเป็นนํ้าที่อยู่บนผิวดิน (2) นํ้าใช้ในการผลิตพลังงาน

(3) นํ้าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการอุตสาหกรรม (4) นํ้าเสียเกิดจากการเจือปนของสารพิษ

ตอบ 1 หน้า 398 น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อพืช สัตว์ การบริโภค การผลิตอาหาร การอุตสาหกรรม

และการผลิตพลังงาน น้ำธรรมชาติแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ นํ้าฝน น้ำทะเล น้ำท่า (น้ำที่อยู่ผิวดิน) และน้ำบาดาล (น้ำใต้ดิน) โดยน้ำเสียมีสาเหตุต่าง ๆ เช่น เกิดจากการเจือปนของสารพิษซึ่งถูกย่อยสลายไม่ได้ และอินทรีย์สารซึ่งถูกย่อยสลายได้ ฯลฯ

97. พลังงานไฮโดรอิเล็กตริก เกิดจากอะไร

(1) เขื่อนผลิตกระแสไพ่ฟ้า

(2) ก๊าชธรรมชาติ (3) แสงอาทิตย์ (4) นํ้ามัน

ตอบ 1 หน้า 395 พลังงานไฮโดรอิเล็กตริก เป็นพลังงานที่ได้จากการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพลังงานนี้ถูกนำมาใช้ในโลกได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้จากน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าชธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะการสร้างเขื่อนมีข้อจำกัดอยู่ที่สถานที่ที่จะต้อง เลือกใช้ และอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของป่าไม้ได้

98. ภเขา ทะเลทราย จัดเป็นระบบนิเวศน์ของมนุษย์ประเภทใด

(1) Managed Natural Ecosystems (2) Mature Natural Ecosystems

(3) Productive Ecosystems (4) Urban Ecosystems

ตอบ 2 หน้า 391 – 392 ระบบนิเวศน์ของมนุษย์ (มนุษยนิเวศวิทยา) แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1. Mature Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่อยู่ในสภาพธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่มีคนอยู่อาศัย เช่น ป่า ภูเขา ทะเลทราย ฯลฯ

2. Managed Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยดัดแปลงและปรับปรุง เช่น สวนสาธารณะ วนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ ฯลฯ

3. Productive Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อให้ได้ผลิตผลและทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ฟาร์ม ปศุสัตว์ เหมืองแร่ ฯลฯ

4. Urban Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้อาศัยประกอบกิจการทำงานต่าง ๆ เช่น บริเวณย่านอุตสาหกรรม บริเวณเมืองเล็กและเมืองใหญ่ ฯลฯ

99. ความดังของเสียงระดับใดที่มีอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์

(1) เกิน 30 เดซิเบล (2) เกิน 50 เดซิเบล (3) เกิน 60 เดซิเบล (4) เกิน 85 เดซิเบล

ตอบ 4 หน้า 403 ระดับปกติของเสียงที่เหมาะสมกับสุขภาพของมนุษย์ควรจะอยู่ในระดับไม่เกิน 85 เดซิเบล เพราะถ้าเกิน 85 เดซิเบล นับว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยในต่างประเทศได้ มีกฎหมายกำหนดระดับเสียงในโรงงานไม่ให้ดังเกิน 85 เดซิเบล

100. มนุษย์สายพันธุใดมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับมนุษย์ปัจจุบันมากที่สุด

(1) Rodisian Man (2) Pithecanthopus

(3) Ramapithecus (4) Cro-magnon Man

ตอบ 4 หน้า 417 – 418 มนุษย์โครมันยอง (Cro-magnon Man) มีชีวิตอยู่ราว 40,000 ปีมานี้เอง และเชื่อกันว่ามีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึง/ใกล้เคียงและมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับ มนุษย์ปัจจุบันมากที่สุด ดังนั้นจึงมีลักษณะเป็นตัวแทนหรือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน โดยมนุษย์เหล่านี้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่ เช่น Swanscombe Man, Fontechevade Man, Kanam Man และ Kanjera Man เป็นต้น

101. ผู้ใดคือผู้บุกเบิกวิชาอนุกรมวิธาน (Taxonomy) หรือศาสตร์การจำแนกสิ่งมีขีวิต ออกเป็นประเภทต่าง ๆ

(1) ลีล (Lyell)

(2) ลินเน (Linne)

(3) ลามาร์ก (Lamarck)

(4) ดาร์วิน (Darwin)

ตอบ 2 หน้า 414, (คำบรรยาย) ลินเน (Linne) นักชีววิทยาชาวสวีเดน เป็นผู้เริ่มวิชาอนุกรมวิธาน (Taxonomy) หรือศาสตร์การจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นประเภทต่าง ๆ ด้วยการจัดระบบวิธีการ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial) ไว้ในหนังสือชื่อ System of Nature โดยลักษณะของชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะประกอบด้วยชื่อ Genus (สกุล) และ species (ชนิด)

102. ข้อใดคือตัวอย่างของมนุษย์กลุ่มผิวเหลือง (Mongoloid)

(1) นอร์ติก

(2) เอสกิโม

(3) แฮมิติก

(4) เซมิติก

ตอบ 2 หน้า 420 มนุษย์ชาติพันธุ์ผิวเหลือง (Mongoloid) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้

1. พวกมองโกลอยด์ อยู่แถบทวีปเอเชียตะวันออก เช่น จีน ทิเบต และมองโกเลีย

2. พวกอินเดียนแดง อยู่แถบทวีปอเมริกาเหนือและใต้

3. พวกเอสกิโม อยู่แถบเหนือสุดของทวีปอเมริกา (รัฐอลาสก้าและตอนเหนือของแคนาดา)

4. พวกมาลายัน เช่น มลายู ชวา ไทย และบาหลี

103. นักมานุษยวิทยาท่านใดคือบิดาของวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรม

(1) ไทเลอร์ (Tylor)

(2) โบแอส (Boas)

(3) เบเนดิกท์ (Benedict)

(4) มาลินอฟสกี้ (Malinowski)

ตอบ 1 หน้า 428, (คำบรรยาย) ไทเลอร์ (Tylor) นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ ถือเป็นบิดาของวิชา มานุษยวิทยาวัฒนธรรม เพราะเขามีผลงานการเขียนและค้นคว้าวิจัยในทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมมากมาย และหนังสือของเขาที่ชื่อ Primitive Culture (ค.ศ. 1871) ก็ถือได้ว่าเป็นความพยายาม ในการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมของมนุษย์ที่เป็นระบบและมีความสมบูรณ์ที่สุดเล่มแรกของโลก

104. การศึกษาวัฒนธรรมกับบุคลิกภาพของชาวนาไทยจัดอยู่ในสาขาใดของมานุษยวิทยา (1) โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ (2) มานุษยวิทยาภาษาศาสตร์

(3) มานุษยวิทยาสังคม (4) ชาติพันธุ์วรรณนา

ตอบ 4 หน้า 436 – 437 ชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnography) เป็นวิชาที่ศึกษาวัฒนธรรมของสังคมใด สังคมหนึ่งโดยเฉพาะ โดยศึกษาลึกซึ้งถึงรายละเอียดทุกสิ่งทุกอย่างในวัฒนธรรมนั้น ๆ เช่น การศึกษาวัฒนธรรมกับบุคลิกภาพของชาวนาไทย โดยเฮอร์เบิร์ต ฟิลลิป ที่หมู่บ้านบางชัน เขตมีนบุรี ฯลฯ

105. การศึกษาวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรมมีแนวทางอย่างไร

(1) ศึกษาสังคมอย่างเป็นองค์รวมและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังคม

(2) เป็นการออกแบบสอบถามและสุ่มตัวอย่าง

(3) เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีหรือรายกรณี

(4) การศึกษาแบบมีส่วนร่วม

ตอบ 3 หน้า 432 – 433 การศึกษาวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรม ตามปกตินักมานุษยวิทยาจะสนใจ ศึกษาสังคมเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ห่างไกลอารยธรรมที่เจริญ วิธีการศึกษามักจะนิยมศึกษาเฉพาะกรณี หรือรายกรณี (Case Study) ของแต่ละสังคม โดยเลือกสังคมที่ต้องการศึกษาแล้วเข้าไปอาศัย อยู่ในสังคมนั้นระยะเวลาหนึ่งด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่าการศึกษางานสนาม โดยใช้เครื่องมีอ ในการทดสอบแบบเฝ้าสังเกต การตีความหมาย และการเปรียบเทียบ

106. ต้นกำเนิดชองวัฒนธรรมที่สำคัญของโลกแถบเมโสโปเตเมียตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มนํ้าใด

(1) แยงซีเกียง (2) ไนล์ (3) ไทกริส-ยูเฟรติส (4) ดานูบ

ตอบ 3 หน้า 442 บริเวณที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดของวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก คือ ลุ่มแม่นํ้า โดยวัฒนธรรมที่เจริญถึงที่สุดและได้รับการยอมรับว่าเป็นวัฒนธรรมโลกนั้น ได้เริ่มต้นขึ้น ที่แถบเมโสโปเตเมีย (แถบลุ่มแม่นํ้าไทกรีส-ยูเฟรติส), จีน (แถบลุ่มแม่นํ้าแยงซีเกียง),อินเดียตอนเหนือ (แถบลุ่มแม่นํ้าสินธุ) และอียิปต์ (แถบลุ่มแม่น้ำไนล์)

107. ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการแบ่งช่วงชั้นทางสังคมในวัฒนธรรมอเมริกาใต้ สอดคล้องกับค่านิยมข้อใด

(1) ชาติกำเนิด (2) ความร่ำรวย (3) ศาสนา (4) การศึกษา

ตอบ 2 หน้า 448 ชาวอเมริกาใต้มักมีคำขวัญทำนองไทย ๆ ว่า มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่หรือเงินทำให้ผิวคนขาวขึ้น ไพร่ดูเป็นผู้ดี คนไม่สวยดูเป็นคนสวย ความร่ำรวยทำให้คนผิวดำ ชาวนิโกรผิวขาวขึ้น แลดูเป็นผู้ดีน่าคบหาสมาคม ส่วนคนผิวขาวที่ยากจน คือ คนผิวดำที่ได้รับ การรังเกียจกีดกันทั่วไป คนร่ำรวยมีอำนาจได้รับการยกย่อง

108. วัฒนธรรมอเมริกาใต้ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตกใด

(1) โปรตุเกส (2) สเปน (3) กรีซ (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 446 วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในภูมิภาคอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) คือ สเปนและโปรตุเกส ซึ่งแต่เดิมนั้นประเทศในภูมิภาคนี้ได้รับวัฒนธรรมจากพวกอินเดียนแดง ที่เรียกตัวเองว่า อินคา หรือลูกพระอาทิตย์

109. ข้อใดสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอเมริกันน้อยที่สุด

(1) การดื่มไวน์ (2) ภาพยนตร์ฮอลลีวูด (Hollywood)

(3) กางเกงยีนส์ (4) อาหารจานด่วน (Fast Food)

ตอบ 1 (คำบรรยาย) วัฒนธรรมอเมริกัน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ถึอกำเนิดและถูกถ่ายทอดมาจาก อเมริกาไม่ว่าจะเป็นแนวทางการดำรงชีวิต ระเบียบประเพณี ค่านิยม ภาษาหรือคำศัพท์ต่าง ๆ ตลอดจนอาหารการกิน เช่น อาหารจานด่วน (Fast Food), กาแฟสตาร์บัค, ไก่ทอดเคเอฟซี, แฮมเบอร์เกอร์แมคโดนัล, วัฒนธรรมยีนส์, การ์ตูนเป็ดโดนัลและหนูมิกกี้เมาส์, คำว่า “hot dog”, “weekend”, “freeway”, ภาพยนตร์ฮอลลีวูด (Hollywood), สวนสนุก Disneyland ๆลฯ (ส่วนการดื่มไวน์เป็นวัฒนธรรมของฝรั่งเศส)

110. ตัวเลือกใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรมตะวันตก

(1) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย (2) เน้นความสำคัญของตัวบุคคล

(3) เชื่อฟังผู้มีอำนาจ ผู้มีอาวุโส (4) นิยมวัตถุ

ตอบ 3 หน้า 442 – 443, (คำบรรยาย) ลักษณะวัฒนธรรมในสังคมตะวันตกหรือสังคมที่พัฒนาแล้ว ดังเช่นประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและดินแดนที่ชาวยุโรปอพยพไปตั้งถิ่นฐาน เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ มักจะให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตย ยกย่อง ผู้ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง เน้นความสำคัญของตัวบุคคล (Individualism) มีประชาธิปไตย ทำงานตามระเบียบกฎเกณฑ์หรือหน้าที่อย่างเคร่งครัด และนิยมวัตถุ (Materialism)

111. ตัวเลือกใดคือลักษณะของภาพพิมพ์

(1) มักมีแนวโน้มในทางลบ

(2) ภาพรวมของชนชาติใดชนชาติหนึ่ง

(3) เป็นภาพแบบเดียวกัน

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 457 ภาพพิมพ์ (Stereotype) คือ การมองภาพรวมหรืออุปนิสัยประจำชาติของชนชาติใดชนชาติหนึ่งว่ามีลักษณะเป็นภาพแบบเดียวกัน ซึ่งมักมีแนวโน้มถูกมองไปในทางลบ หรือเชิงนิเสธ เช่น ภาพพิมพ์ของคนบางชาติมีระเบียบวินัย, คนบางชาติอยู่สบาย ๆ ไม่ค่อย มีหลักเกณฑ์อะไรนัก, คนบางชาติ (เช่น อังกฤษ) เป็นคนประเภท “เก็บตัว” มักไม่สนิทกับ คนแปลกหน้าได้ง่าย, ชาวยิวมีภาพพจน์ว่า “ตระหนี่” ฯลฯ

112. การมองภาพรวมหรืออุปนิสัยประจำชาติมักมีแนวโน้มไปลักษณะใด

(1) เชิงนิเสธ

(2) สร้างสรรค์

(3) เป็นกลาง

(4) เชิงปฏิฐาน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 111. ประกอบ

113. ชนชาติใดที่มีภาพพจน์ว่า “ตระหนี่” มากที่สุด

(1) อาหรับ

(2) จีน

(3) อังกฤษ

(4) ยิว

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 111. ประกอบ

114. ตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ค่านิยมข้อใดที่ไม่ส่งเสริมให้คนไทยเป็นนักคิดแบบนามธรรม

(1) ความเฉื่อย (2) การเล็งผลปฏิบัติ

(3) การถือประโยชน์ตนเอง (4) การถือหลักเกณฑ์

ตอบ 2 หน้า 472 ค่านิยมที่เด่นชัดอีกอย่างหนึ่งของคนไทยตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ คือ การเล็งผลปฏิบัติหรือสัมฤทธิคติ กล่าวคือ คนไทยมักไม่ยึดถือสิ่งที่ไม่เห็นผลหรือไม่สอดคล้อง กับประโยชน์ของตน นักคิดไทยมักจะแสดงความคิดออกมาในรูปซึ่งจับต้องได้ ดังนั้นจึงทำให้ เป็นการยากแก่คนไทยที่จะเป็นนักคิดแบบนามธรรม (Abstract Thinker)

115. ราชลัญจกรของญี่ปุ่น มีสิ่งใดเป็นสัญลักษณ์

(1) ดวงอาทิตย์ (2) ดอกซากุระ (3) ดอกเบญจมาศ (4) ดาบซามูไร

ตอบ 3 หน้า 459 รุธ เบเนดิกท์ (Ruth Benedict) ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลอเมริกันให้ศึกษา ลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่นซึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีผลงานเขียนชื่อ “ดอกเบญจมาศ และดาบซามูไร” โดยเห็นว่า บุคลิกของคนญี่ปุ่นจะเป็นเสมือนดอกเบญจมาศและดาบซามูไร คือ จะอ่อนน้อมภายนอกแต่จะแข็งแกร่งภายใน ทั้งนี้ดอกเบญจมาศเป็นราชลัญจกร (ตราประทับ) ของรัฐบาลแห่งพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่น

116. การเป็นคนกว้างขวาง เอาเพื่อนเอาฝูง เป็นคนกล้าหาญ เข้มแข็ง สะท้อนค่านิยมใดของคนไทย

(1) การเป็นเจ้านาย (2) ความเป็นผู้ใหญ่ (3) อำนาจ (4) จิตใจนักเลง

ตอบ 4 หน้า 476 ค่านิยมของคนไทยประการหนึ่งตามทัศนะของไพฑูรย์ เครือแก้ว คือ จิตใจนักเลง ซึ่งหมายถึง การมีจิตใจกว้างขวาง เอาเพื่อนเอาฝูง เป็นคนกล้าหาญ เข้มแข็ง ไม่ถือเนื้อถือตัว ไม่ตระหนี่เหนียวแน่น ไม่จุกจิกเรื่องเงินทอง และสามารถเลี้ยงเพื่อนฝูงได้

117. กฎหมายที่ถือว่าเป็นแม่บทของงานสังคมสงเคราะห์ในประเทศอังกฤษ เน้นความข่วยเหลือบุคคลกลุ่มใด

(1) เด็กกำพร้า (2) คนจน (3) คนชรา (4) หญิงหม้าย

ตอบ 2 หน้า 481 – 482, (คำบรรยาย) ประเทศอังกฤษนับว่าเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มและถือเป็นแม่แบบ ในการจัดการสังคมสงเคราะห์ โดยจะเห็นได้จากการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความผาสุก ของส่วนรวมเป็นลายลักษณ์อักษร เช่นในปี ค.ศ. 1601 พระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1ได้ทรง ออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือคนจนที่เรียกว่า Elizabethan Poor Law ซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บท ในการวางรากฐานด้านการสังคมสงเคราะห์

118. วิธีการสังคมสงเคราะห์ข้อใดที่ใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการพัฒนาความต้องการและความสามารถของสมาชิก

(1) การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย (2) การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม

(3) การพัฒนาชุมชน (4) การจัดองค์การชุมชน

ตอบ 2 หน้า 483 การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม (Social Group Work) โดยนักสังคมสงเคราะห์จะเป็นผู้นำในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นสื่อ เพื่อเป็นการพัฒนาความต้องการและความสามารถของสมาชิก

119. การสังคมสงเคราะห์กำเนิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่สมัยใด

(1) สุโขทัย (2) กรุงศรีอยุธยาตอนต้น

(3) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (4) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ตอบ 1 หน้า 482 สำหรับในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า การสังคมสงเคราะห์เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัย สุโขทัย คือ พ่อเมืองจะแจกอาหารและเครื่องนุ่งห่มให้แก่คนชรา นอกจากนั้นศาสนาพุทธ ก็มีอิทธิพลต่อการสังคมสงเคราะห์ด้วย เพราะหลักธรรมของพระพุทธเจ้าอบรมสั่งสอน ให้มีใจเมตตากรุณา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

120. งานสังคมสงเคราะห์มีหลักการให้บริการเพื่อช่วยขจัดปัญหาในระดับใด

(1) ระดับบุคคล (2) ระดับกลุ่ม (3) ระดับชุมชน (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 482 งานสังคมสงเคราะห์เป็นวิชาชีพที่ให้บริการแก่ประชาชนโดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะช่วยขจัดปัญหาซึ่งอาจจะเป็นของบุคคลคนเดียว กลุ่ม หรือชุมชน

Advertisement