การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1000 ความรู้คู่คุณธรรม

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. เป็นเรืออย่าทิ้งท่า เป็นเสืออย่าทิ้งป่า สอนให้มีธรรมอะไร

(1) สติสัมปชัญญะ

(2) กตัญญูกตเวที

(3) หิริโอตตัปปะ

(4) ขันติโสรัจจะ

ตอบ 2

สุภาษิต “เป็นเรืออย่าทิ้งท่า เป็นเสืออย่าทิ้งป่า” หมายถึง เป็นลูกหลานเมื่อได้ดีและมีความเจริญก้าวหน้าอย่าได้ลืมบุญคุณของพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ของตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นสุภาษิตที่สอนให้บุคคลมีความกตัญญูกตเวที (การรู้คุณและตอบแทนบุญคุณ)

2. ฆ่ากันโดยบันดาลโทสะ เป็นการผิดศีลลักษณะใด

(1) โดยจงใจ

(2) โดยไม่จงใจ

(3) โดยไตร่ตรอง

(4) โดยใคร่ครวญ

ตอบ 2

ศีล 5 หรือหลักเบญจศีลข้อ 1 ห้ามฆ่าสัตว์ ไม่ทําร้ายร่างกายทําลายชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์เดียรัจฉาน (ปาณาติปาตา เวรมณี) คือ เว้นจากการทําร้ายร่างกาย การทรมาน และการฆ่า ซึ่งการฆ่ามนุษย์โดยต่างเจตนามีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้ 1. ฆ่าโดยจงใจ ได้แก่ คิดไว้ทีแรกว่าจะฆ่าในขณะที่ใจไม่งุ่นง่าน เช่น โจรปล้นบ้านแล้วฆ่าเจ้าทรัพย์ตาย, ลอบฆ่าคนที่มีเวรต่อกัน ฯลฯ ดับ  2. ฆ่าโดยไม่จงใจ ได้แก่ ไม่ได้คิดไว้ก่อน แต่เพราะเหตุบังเอิญหรือบันดาลโทสะขึ้นมาแล้วฆ่ากันตาย และประสงค์ที่จะป้องกันตัว

3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันตนจากความเสียหายในเรื่องใด

(1) โหดร้าย

(2) มือไว

(3) ใจง่าย

(4) ขาดสติ

ตอบ 3

ศีล 5 หรือหลักเบญจศีลข้อ 3 ห้ามประพฤติผิดในกามด้วยอํานาจแห่งตัณหา (กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี) คือ เว้นจากการประพฤติที่ไม่เหมาะสมทางเพศ เช่น การประพฤติผิดประเวณี, ความใจง่าย นอกใจด้วยการคบชู้หรือมีกิ๊ก ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่ห้ามแต่เฉพาะการร่วมประเวณีเท่านั้น แม้แต่การเคล้าคลึง การพูดจาเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการปฏิพัทธ์ ด้วยสายตา (เช่น การดูสื่อลามกอนาจาร) ก็ถือว่าละเมิดศีลข้อนี้แล้ว

4. ของของใคร ใครก็รักก็หวง มีความหมายตรงกับศีลข้อใด

(1) ข้อ 2 ไม่ลักทรัพย์

(2) ข้อ 3 ไม่ประพฤติผิดในกาม

(3) ข้อ 4 ไม่พูดเท็จ

(4) ข้อ 5 ไม่ดื่มของมึนเมา

ตอบ 1

ศีล 5 หรือหลักเบญจศีลข้อ 2 ห้ามลักทรัพย์ละเมิดทรัพย์สิน(อทินนาทานา เวรมณี) คือ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เพราะของของใคร ใครก็รักก็หวง จึงไม่ควรลักขโมย ปล้นจี้ ฉกชิง หรือวิ่งราวทรัพย์สินของผู้อื่น อันจะเป็นการทําลายทรัพย์สมบัติและทําลายซึ่งจิตใจกัน

5 การกล่าววาจาที่ไพเราะมีประโยชน์ ตรงกับศีล 5 ข้อใด

(1) ข้อ 2

(2) ข้อ 3

(3) ข้อ 4

(4) ข้อ 5

ตอบ 3

ศีล 5 หรือหลักเบญจศีลข้อ 4 ห้ามพูดเท็จโกหกหลอกลวง (มุสาวาทาเวรมณี) คือ เว้นจากการมุสาวาทหรือการพูดปด รวมไปถึงห้ามพูดคําหยาบ ห้ามพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้สาระ และห้ามพูดส่อเสียดยุยงให้แตกสามัคคี ดังนั้นจึงควรประพฤติชอบทางวาจา(วจีสุจริต) ได้แก่ พูดความจริง พูดจาไพเราะอ่อนหวาน พูดในสิ่งที่มีประโยชน์ และพูดสมานไมตรี

6. ตัวเองติดยาเสพติด จึงชักชวนเพื่อน ๆ ให้ร่วมทดลองเสพด้วย จัดเป็นมิตรประเภทใด

(1) มิตรมีอุปการะ

(2) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์

(3) เพื่อนตาย

(4) มิตรชักชวนในทางฉิบหาย

ตอบ 4

มิตรเทียม หรือศัตรูผู้มาในร่างมิตรประเภทที่ 4 ได้แก่ มิตรชักชวนในทางฉิบหายซึ่งมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. ชวนกันดื่มน้ำเมา หรือเสพสิ่งมึนเมา 2. ชวนกันเที่ยวกลางคืน 3. ชวนกันเที่ยวดูการละเล่น 4. ชวนกันเล่นการพนัน

7. หากจะเปรียบศีล 5 กับส่วนประกอบของบ้าน คือข้อใด

(1) หลังคา

(2) เสา

(3) ประตู

(4) หน้าต่าง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศีล 5 หรือหลักเบญจศีล เป็นศีลพื้นฐานที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ชาวพุทธทุกคนยึดถือปฏิบัติเป็นหลักของชีวิต เพื่อทําให้โลกหรือสังคมเกิดความสงบสุข ดังนั้น หากจะเปรียบพระนิพพานเหมือนกับการสร้างบ้านแล้ว ศีล 5 ก็คือ เสาบ้าน ซึ่งเป็นหลักเป็นฐานที่สําคัญที่จะทําให้สร้างบ้านได้สําเร็จ

8. ข้อใดไม่เข้าลักษณะการเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ

(1) กู้เงินกองทุนหมู่บ้านทําขนมขาย

(2) คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น

(3) ทําลําไยอบแห้งส่งต่างประเทศ

(4) ทํางานเก็บกวาดขยะตามท้องถนน

ตอบ 2

สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) หมายถึง การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ การประกอบอาชีพที่ถูกต้อง เลี้ยงชีพโดยสุจริต หรือสําเร็จชีวิตด้วยอาชีพ ที่ชอบด้วยกฎหมายและธรรมะ คือ ไม่ผิดกฎหมายและไม่ผิดศีลธรรม ไม่ประกอบอาชีพที่มี การเบียดเบียนก่อความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ชีวิตอื่น สังคม หรือที่จะทําให้ชีวิต จิตใจ และสังคมเสื่อมโทรมตกต่ำ รวมถึงการเว้นจากมิจฉาอาชีวะ (อาชีพที่ผิด) เช่น การโกงหรือ หลอกลวง การต่อลาภด้วยลาภโดยไม่อาศัยกําลังแห่งสติปัญญาและแรงกาย ฯลฯ

9. สุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้คนอื่น ตรงกับข้อใด

(1) ไม่มีเจ้าหนี้มาคอยรบกวนให้รําคาญใจ

(2) ไม่ต้องคอยหลบหน้าซ่อนตัวจากเจ้าหนี้

(3) ไม่ต้องคอยหลบหน้าเพราะกลัวถูกจับ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4

สุขของคฤหัสถ์ (กามโภคีสุข) หรือคนที่มีความสุขประการที่ 3 ได้แก่ อนณสุข คือ สุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้คนอื่น ไม่ต้องทุกข์ใจ จิตใจสบายไม่กังวล เพราะไม่มีเจ้าหนี้ มาคอยรบกวนให้รําคาญใจ ไม่ต้องคอยหลบหน้าซ่อนตัวจากเจ้าหนี้ และไม่ต้องคอยหลบหน้า เพราะกลัวถูกตํารวจจับ

10. คนที่ชอบพูดแต่เรื่องเหลวไหลไร้สาระ จัดว่าผิดศีลข้อมุสาวาทลักษณะใด

(1) พูดปด

(2) พูดเพ้อเจ้อ

(3) พูดส่อเสียด

(4) พูดคําหยาบ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

11. พื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาจากคําตอบในข้อใดต่อไปนี้

(1) นโยบายของประเทศ

(2) การปรับตัวของเศรษฐกิจสมัยใหม่

(3) วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย

(4) วิถีชีวิตยุคใหม่ของสังคมไทย

ตอบ 3

กรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางในการดํารงชีวิตและการปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย ซึ่งสามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยมุ่งเน้นให้รอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

12. คําตอบในข้อใดต่อไปนี้ถือได้ว่าเป็นหลักคุณธรรมในการประกอบธุรกิจ

(1) การกําหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้

(2) การมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า

(3) การรับผิดชอบต่อสังคม

(4) การแสวงหากําไรสูงสุด

ตอบ 3

หลักคุณธรรมสําหรับการดําเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันและอนาคต นอกจากความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจแล้ว ยังมีอยู่อีกหลายประการ ได้แก่ 1. ความซื่อตรง 2. ความซื่อสัตย์สุจริต (ถือเป็นหลักธรรมที่สําคัญที่สุดในการครองใจลูกค้าได้) 3. ความมีศีลธรรม 4. ความยุติธรรม 5. ความรับผิดชอบต่อสังคมและการรักษาคํามั่นสัญญา 6. การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ 7. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ 8. การรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี

13. ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในสังคมในปัจจุบัน เนื่องจากมนุษย์ขาดคุณธรรมในข้อใดต่อไปนี้

(1) สติและสัมปชัญญะ

(2) ขันติและโสรัจจะ

(3) หิริและโอตตัปปะ

(4) สมาธิและปัญญา

ตอบ 3

โลกบาลธรรม หรือธรรมโลกบาล คือ คุณธรรมสําหรับคุ้มครองโลก หรือทําให้โลกดํารงอยู่ได้ เพราะจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่ช่วยควบคุมจิตใจของมนุษย์ให้อยู่ในความดี ทําให้มนุษย์ดําเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสงบสุข มีระเบียบไม่สับสน ดังนั้นหากคนในสังคมใด ขาดหลักธรรมนี้จะสามารถทําชั่วได้ทุกอย่าง ซึ่งย่อมส่งผลเสียหายต่อสังคมมากที่สุด ได้แก่ 1. หิริ หมายถึง ความละอายแก่ใจต่อการที่จะทําความชั่วหรือบาปทุกชนิด 2. โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาป เกรงกลัวต่อผลจากการทําชั่ว

14. “ความอดทน” สะท้อนถึงพฤติกรรมในข้อใดต่อไปนี้

(1) ความสามารถ

(2) ความงดงาม

(3) ความเรียบง่าย

(4) ความพร้อม

ตอบ 2

ธรรมอันทําให้งาม เป็นคุณธรรมที่ทําให้ผู้ปฏิบัติมีความงดงามอยู่เสมอในทุกที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ มีอยู่ 2 ประการ ได้แก่ 1. ขันติ คือ ความอดทน ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น อดทนต่อราคะ (ความกําหนัดยินดี) อดทนต่อโทสะ (การประทุษร้ายผู้อื่น) อดทนต่อโมหะ (ความโง่เขลาเบาปัญญาที่เกิดขึ้น) อดทนต่อการล่วงเกินหรือคําด่าว่าของผู้อื่น อดทนอดกลั้นต่อความยากลําบาก ฯลฯ ) 2. โสรัจจะ คือ ความเสงี่ยมทางกาย วาจา และใจ ซึ่งบางครั้งจะใช้คําว่า “อวิโรธนัง” (ความไม่มีอะไรพิรุธ) นอกจากนี้ความไม่โกรธหรือใจเย็นก็ทําให้งดงามได้เหมือนกัน

15. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมมากที่สุด

(1) พึ่งพาตนเองได้

(2) ความมั่นคงปลอดภัย

(3) การอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข

(4) ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ตอบ 4

ประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

16. พฤติกรรมใดต่อไปนี้ที่สะท้อนถึงความพอเพียง

(1) กินน้อย

(2) พักผ่อนน้อย

(3) โลภน้อย

(4) ทํางานพอประมาณ

ตอบ 3

โลภน้อย คือ พอเพียง ดังพระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตอนหนึ่งความว่า “คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทําอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข”

17. น่านน้ำแห่งคุณธรรมในการดําเนินธุรกิจ คือน่านน้ำในคําตอบใดต่อไปนี้

(1) Green Ocean

(2) Blue Ocean

(3) White Ocean

(4) Pink Ocean

ตอบ 3

น่านน้ำแห่งคุณธรรมในการดําเนินธุรกิจ (White Ocean) คือ การประกอบธุรกิจสีขาว หรือองค์กรธุรกิจสีขาว ซึ่งเป็นองค์กรที่ยึดมั่นในหลักของคุณธรรมทางธุรกิจ มีจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต รวมถึงการคิดแบ่งปันต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อทรัพยากร และต่อสิ่งแวดล้อม โดยการมีอยู่ขององค์กรจะต้องสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมไปในทางที่ดีขึ้นได้

18. การจัดความละอายแก่ใจและความเกรงกลัวต่อบาปให้เป็นคุณธรรมที่คุ้มครองโลก เพราะเหตุใด

(1) เป็นอุบายให้เกิดความกลัว

(2) เป็นการสร้างจิตสํานึกที่ถูกต้อง

(3) เป็นแนวทางให้คนปฏิบัติ

(4) เป็นการปรับมุมมองให้ชีวิตมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

19. ข้อใดกล่าวถึงการพัฒนาชีวิตได้ครอบคลุมที่สุด

(1) การทําให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

(2) การทําให้ชีวิตทันสมัยมากขึ้น

(3) การทําให้ชีวิตสะดวกสบายเพิ่มขึ้น

(4) การทําให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นไป

ตอบ 4

การพัฒนาตนเองและพัฒนาชีวิต คือ การทําให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นไปจนถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของชีวิต ได้แก่ อิสรภาพหรือภาวะไร้ปัญหา ไร้ทุกข์ ความเต็มอิ่มของชีวิตที่ไม่มีความบกพร่อง ไม่มีความขาดแคลน เป็นชีวิตที่มีความเต็มในตัวของตัวเอง

20. ความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับคนนั้น ตรงกับคําตอบในข้อใดต่อไปนี้

(1) สมรรถภาพทางร่างกาย

(2) ความรู้ความสามารถ

(3) คุณธรรมทางด้านจิตใจ

(4) ผลงานจากการปฏิบัติหน้าที่

ตอบ 3

ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวถึง การเป็นมนุษย์หรือเป็นคนว่ามีส่วนที่แตกต่างกัน คือ คุณธรรมทางด้านจิตใจ ดังบทกลอนที่ว่า “เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูง มีดีที่แววขน ถ้าใจต่ำเป็นได้แต่เพียงคน ย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา”

21. “สัปปุริสธรรม” เป็นคุณธรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะในข้อใดต่อไปนี้

(1) การครองตนที่เหมาะสม

(2) การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

(3) การมีอาชีพที่ดี

(4) การใช้ชีวิตที่ดีงาม

ตอบ 2

สัปปุริสธรรม แปลว่า ธรรมของสัปปุริสชน (คนดี หรือคนที่แท้) ซึ่งเป็นหลักคุณธรรมที่ทําให้ผู้ปฏิบัติเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีอยู่ 7 ประการ ได้แก่ 1. ธัมมัญญุตา (รู้หลักและรู้จักเหตุ) 2. อัตถัญญุตา (รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล)
3. อัตตัญญุตา (รู้จักตน) 4. มัตตัญญูุตา (รู้จักประมาณ) 5. กาลัญญุตา (รู้จักกาล) 6. ปริสัญญุตา (รู้จักชุมชน)
7. บุคคลญญุตา (รู้จักบุคคล รู้ว่าแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร ควรคบเป็นมิตรหรือไม่)

22. การรู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดีนั้น เสมือนการมีหลักความพอเพียงในด้านใด

(1) ความมีภูมิคุ้มกัน

(2) ความมีเหตุผล

(3) ความพอประมาณ

(4) การมีความรู้

ตอบ 1

การวิเคราะห์หลักความพอเพียงกับการคบเพื่อน มีดังนี้ 1.ความพอประมาณ คือ พอประมาณกับเวลาที่จะมีให้เพื่อนในการทํากิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันโดยไม่ทําให้งานอื่น ๆ เสียหาย 2. ความมีเหตุผล คือ คบเพื่อนเพื่อเป็นที่ปรึกษาในการเรียน การทํางาน หรือการทํากิจกรรมต่าง ๆ 3. ความมีภูมิคุ้มกัน คือ การเลือกคบเพื่อนที่ดี หรือเพื่อนที่ชักจูงแนะนําเราไปในทางที่ดี ฯลฯ

23. นักศึกษาที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย แสดงว่านักศึกษาปฏิบัติตนตามคุณลักษณะใด

(1) เป็นผู้มีศีล

(2) เป็นผู้มีสมาธิ

(3) เป็นผู้มีปัญญา

(4) เป็นผู้มีสติ

ตอบ 1

คําว่า “ศีล” แปลว่า ปกติ ระเบียบทางกาย วาจา ซึ่งหากผู้ใดรักษาศีลได้ก็จะทําให้การกระทําทางกาย วาจา ที่ผู้อื่นได้รู้เห็นเป็นระเบียบ งดงาม , เจริญตาเจริญใจ ดังนั้นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของ “ศีล” จึงหมายถึง ระเบียบวินัยที่กําหนด ให้ยึดถือปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบและความงามแห่งหมู่คณะ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้รักษาศีลกลายเป็นผู้มีระเบียบวินัย และมีชีวิตที่เป็นระเบียบ

24. “การควบคุมตนเอง” เป็นหลักคุณธรรมทางการเมืองตามแนวคิดของโสเครติสเพื่อให้เกิดสิ่งใดต่อไปนี้

(1) การเข้าใจตนเอง

(2) การเข้าใจบุคคลอื่น

(3) การยอมรับความแตกต่าง

(4) การไม่ใช้อํานาจเอาเปรียบผู้อื่น

ตอบ 4

หลักคุณธรรมในทางการเมืองที่สําคัญตามแนวคิดของโสเครติส (Socrates) มีดังนี้ 1. ปัญญา (Wisdom) หรือความรอบรู้ 2. ความกล้าหาญ (Courage) หรือกล้าต่อสู้กับ ความไม่ถูกต้อง 3. การควบคุมตนเอง (Temperance) หรือการไม่ใช้อํานาจเอาเปรียบผู้อื่น 4. ความยุติธรรม (Justice) หรือความเที่ยงธรรม
5. การกระทําความดี (Piety) และยกย่องคนดี

25. อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ตรงกับคําตอบในข้อใดต่อไปนี้

(1) เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง

(2) ความรู้คู่คุณธรรม

(3) บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ

(4) ยึดมั่นกตัญญ

ตอบ 2

อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่สะท้อนถึงคุณลักษณะของบัณฑิตที่ทําให้สังคมยอมรับ คือ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม นั่นคือ นอกจากจะเป็น คนเก่ง มีความรู้ดี เก่งเรียน เก่งงาน เก่งวิชาการ เฉลียวฉลาด มีเหตุผลแล้ว บัณฑิตรามคําแหง ยังต้องเป็นคนดี มีจิตใจดีงาม มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความกตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน และที่สําคัญที่สุดคือ การมีสํานึกนํารับผิดชอบดูแลบ้านเมือง โดยต้องนําวิชาการหรือ ความรู้ที่ได้ศึกษามาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

26. “เราเป็นครูกันคนละอย่าง” เป็นคํากล่าวของท่านใด

(1) รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล

(2) รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข

(3) รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต อินทวงศ์

(4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์

ตอบ 2

อดีตอธิการบดี รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข กล่าวไว้ว่า“เราเป็นครูกันคนละอย่าง” หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวความคิด ซึ่งกันและกัน เพราะคนเรามีความรู้ไม่เท่ากัน เราจึงไม่ได้รู้อะไรไปทุกเรื่อง หรือเราอาจรู้ในบางเรื่องที่คนอื่นไม่รู้ ในขณะที่คนอื่นก็รู้บางเรื่องที่เราไม่รู้เช่นกัน ดังนั้นเป้าหมายที่สําคัญที่สุด ก็คือ การรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ยกตนข่มท่านเพราะว่าการเป็นครูกันคนละอย่าง โดยต่างคนต้องยอมรับในความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล

27.“ครู” ในความหมายที่อดีตอธิการบดี รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข กล่าวไว้หมายความว่าอะไร

(1) ผู้สั่งสอนศิษย์ให้เก่ง

(2) ผู้ถ่ายทอดวิทยาการ

(3) ผู้ให้ ผู้เติมเต็ม ผู้เมตตา

(4) พ่อและแม่คนที่ 2

ตอบ 3

อดีตอธิการบดี รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข กล่าวไว้ว่า ครู คือ ผู้ให้ ผู้เติมเต็ม และผู้มีเมตตาในการอบรมสั่งสอนความรู้และคุณธรรมให้กับศิษย์ทุกคน ซึ่งการให้ เติมเต็ม และมีเมตตานี้ไม่ได้มีขอบเขตเฉพาะลูกศิษย์รามคําแหงเท่านั้น ยังหมายถึงบุคลากรและผู้ร่วมงานในมหาวิทยาลัย รวมทั้งสังคมภายนอก ปวงชนชาวไทย และประเทศชาติโดยรวมอีกด้วย

28. “จิต” มีหน้าที่อย่างไรตามแนวคิดของท่านพุทธทาสภิกขุ

(1) สั่งกาย

(2) ควบคุมกาย

(3) คิด

(4) สัมผัส

ตอบ 3

ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวไว้ว่า มนุษย์ที่สมบูรณ์จะประกอบด้วยกาย (Body) จิต (Mind) และวิญญาณ (Spirit) โดยจิตมีหน้าที่คิดนึกได้ สร้างเรื่องราวขึ้นมาได้ทุกเรื่อง ซึ่งเมื่อทําหน้าที่คิดก็เรียกว่า “จิต” แต่เมื่อทําหน้าที่รู้ เป็นความรู้หรือความรู้สึกชั่วดีก็จะเรียกว่า “มโน” (มโนธรรมสํานึก) และเมื่อทําหน้าที่รู้แจ้งทางอายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) ก็เรียกว่า “วิญญาณ”

29. “มนุษย์” ที่สมบูรณ์ประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้าง

(1) กาย จิต วิญญาณ

(2) ดิน น้ำ ลม

(3) กาย ความรู้สึกนึกคิด

(4) ธาตุทั้ง 4

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

30. “ความรู้ระดับวิญญาณ” มีกี่ประเภท

(1) 3 ประเภท

(2) 4 ประเภท

(3) 5 ประเภท

(4) 6 ประเภท

ตอบ 4

ความรู้ระดับวิญญาณแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1. จักขุวิญญาณ คือ ความรู้จากการเห็นและการจําได้
2. โสตวิญญาณ คือ ความรู้จากการได้ยินเสียงดัง เบา ไพเราะ 3. ฆานวิญญาณ คือ ความรู้จากการได้กลิ่นเหม็น หอม 4. ชิวหาวิญญาณ คือ ความรู้จากการรู้รสหวาน มัน เค็ม 5. กายวิญญาณ คือ ความรู้จากการสัมผัสว่าแข็ง นิ่ม หรือกระด้าง 6. มโนวิญญาณ คือ ความรู้จากการนึกคิดว่าดี ชั่ว หรือหยาบ

31. “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นั้น เป็นคํากล่าวของพระราชา
พระองค์ใด

(1) พ่อขุนรามคําแหงมหาราช

(2) ภูมิพลมหาราช

(3) พระปิยมหาราช

(4) พระมหาชนก

ตอบ 2

ธรรมของพระราชาในความหมายของทศพิธราชธรรม คือ ธรรมที่พระราชาใช้เป็นแนวทางในการปกครองบ้านเมืองให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน ดังพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งได้พระราชทานไว้ในวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม
พ.ศ. 2493 ความว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งครองแผ่นดินโดย “ธรรม” ในที่นี้ หมายถึง ครองแผ่นดินโดย “ทศพิธราชธรรม” นั่นเอง

32. ธรรมของพระราชาในความหมายของทศพิธราชธรรมกล่าวถึงพระราชาพระองค์ใด

(1) พ่อขุนรามคําแหงมหาราช

(2) พระปิยมหาราช

(3) ภูมิพลมหาราช

(4) พระมหาชนก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33. “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นั้น คําว่าธรรมในความหมายนี้คืออะไร

(1) ทศพิธราชธรรม

(2) เบญจศีล

(3) คุณธรรม ศีลธรรม

(4) พระธรรมคําสั่งสอน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

34. การให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย หมายถึง
การมีทศพิธราชธรรมในข้อใด

(1) ตะปัง

(2) ปะริจจาคัง

(3) ทานัง

(4) อักโกทัง

ตอบ 3

หลักทศพิธราชธรรมข้อ 1 ทานัง (ทาน) คือ การให้ปันช่วยประชา ซึ่งการให้ในที่นี้ หมายถึง การให้หรือเสียสละวัตถุภายนอกเป็นทรัพย์สิ่งของอะไร ต่าง ๆ โดยต้องมีผู้รับโดยตรง รวมไปถึงการให้ธรรมะ การให้ความรู้ การให้อภัย และการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย ซึ่งเมื่อให้แล้วก็มีผลเป็นความผูกพัน เป็นการสร้างสรรค์ความสงบสุข

35. ความหนักแน่น ถือความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคําพูด อารมณ์ หรือ
ลาภสักการะใด ๆ และไม่ผิดไปจากแนวแห่งความถูกต้อง แสดงถึงการมีทศพิธราชธรรมในข้อใด

(1) อวิโรธนะ

(2) ขันติ

(3) อะวิหิงสา

(4) ตะปัง

ตอบ 1

หลักทศพิธราชธรรมข้อ 10 อวิโรธนัง (อวิโรธนะ : ความไม่มีอะไรที่พิรุธ) คือ มิปฏิบัติคลาดจากธรรม ซึ่งเป็นความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคําพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใด ๆ ก็ตาม และไม่ผิดไปจากแนวแห่งความถูกต้องไม่ผิดไปจากทางที่ควรจะเป็น มีความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ทุกอย่างทุกประการ อันเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความมีคุณธรรมสูงสุด เพราะเป็นเรื่องของปัญญา

36. การมีภาวะปกติ ไม่มีอะไรวุ่นวาย รวมทั้งการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดภาวะปกติ แสดงถึงการมีทศพิธราชธรรม
ในข้อใด

(1) อาชชะวัง

(2) อะวิหิงสา

(3) ตะปัง

(4) สีลัง

ตอบ 4

หลักทศพิธราชธรรมข้อ 2 สีลัง (ศีล) คือ รักษาความสุจริต โดยคําว่า “สีลัง” แปลว่า การมีภาวะปกติ ไม่มีอะไรวุ่นวาย รวมทั้งการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสภาวะปกติ เช่นนั้นด้วย

37. การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม รวมถึงการให้ที่เป็นการให้ภายในทางจิตใจ และ
ไม่จําเป็นต้องมีผู้รับก็ได้ แสดงถึงการมีทศพิธราชธรรมในข้อใด

(1) ขันติ

(2) ปะริจจาคัง

(3) อักโกธัง

(4) อะวิหิงสา

ตอบ 2

หลักทศพิธราชธรรมข้อ 3 ปะริจจาคัง (บริจาค) คือบําเพ็ญกิจด้วยความเสียสละ ซึ่งบริจาคในที่นี้ หมายถึง การให้ภายในทางจิตใจ ไม่จําเป็นต้องมี SHEMALE ผู้รับก็ได้ โดยเป็นการบริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตนออกไป หรือสละสิ่งที่ไม่ต้องมีผู้รับ ดังนั้น จึงเป็นการสละที่มุ่งกําจัดกิเลสในตัวเองเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เช่น การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม, การเสียสละความเห็นแก่ตัว ฯลฯ

38. จากข่าวที่ผ่านมามีผู้ขับรถแท็กซี่พบกระเป๋าเงินแล้วตัดสินใจแจ้งเจ้าหน้าที่ตํารวจเพื่อนําส่งคืนเจ้าของ แสดงถึงการมีทศพิธราชธรรมในข้อใด

(1) อาชชะวัง

(2) อะวิหิงสา

(3) ตะปัง

(4) สีลัง

ตอบ 1

หลักทศพิธราชธรรมข้อ 4 อาชชะวัง (ความซื่อตรง) คือ ปฏิบัติภาระ โดยซื่อตรง เปิดเผย ไม่เกิดโทษภัย เป็นที่ไว้ใจได้ โดยต้องซื่อตรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น หรือซื่อตรงต่อหน้าที่ที่จะต้องทํา ทําหน้าที่ให้ถูกต้อง ให้เพียงพอ ให้เหมาะสมแก่ความเป็นมนุษย์

39. การอ่อนโยนต่อบุคคลซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นการสร้างสรรค์ซึ่งความรัก ความสามัคคี แสดงถึงการมีทศพิธราชธรรมในข้อใด

(1) อะวิหิงสา

(2) ตะปัง

(3) มันทะวัง

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3

หลักทศพิธราชธรรมข้อ 5 มันทะวัง (ความอ่อนโยน) คือ ทรงมีความอ่อนโยนเข้าถึงธรรม ทั้งที่เป็นความอ่อนโยนภายนอก หมายถึง การอ่อนโยนต่อบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นการสร้างสรรค์ ซึ่งความรัก ความสามัคคี และความอ่อนโยนภายใน หมายถึง ความอ่อนโยนของจิตใจที่อบรมไว้ดีแล้ว มีความเหมาะสมถูกต้องที่จะปฏิบัติธรรมะ
อันสูงขึ้นไปได้ทุกอย่างทุกประการจนสําเร็จประโยชน์

40. “ดูกรเทพธิดา เมื่อบุคคลทําความเพียรอยู่ ถึงจะตายไปก็ได้ชื่อว่าไม่เป็นที่ติเตียนของบิดามารดา วงศาคณาญาติ
ตลอดถึงเทพธิดาทั้งหลาย อีกประการหนึ่งเมื่อบุคคลตั้งใจทําหน้าที่ของตนอย่างสุดความสามารถแล้ว ย่อมจะไม่เสียใจภายหลัง” เป็นคํากล่าวในบทนิพนธ์เรื่องใด

(1) พระรถเมรี

(2) ปลาบู่ทอง

(3) พระมหาชนก

(4) ไกรทอง

ตอบ 3

คํากล่าวข้างต้นอยู่ในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก”ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ตอนที่พระมหาชนก ตอบคําถามนางมณีเมขลา ซึ่งเป็นนางฟ้าประจํามหาสมุทร ในระหว่างที่พระองค์เพียรพยายามว่ายน้ำอยู่ในทะเลเป็นเวลานาน 7 วัน

41. การมีความพากเพียร ความบากบัน ความก้าวหน้า ไม่ถอยหลัง ความไม่หยุดอยู่กับที่ มีคุณสมบัติเผาผลาญ
กิเลสและความชั่วด้วยประการทั้งปวง แสดงถึงการมีทศพิธราชธรรมในข้อใด

(1) อะวิหิงสา

(2) ตะปัง

(3) มันทะวัง

(4) สีลัง

ตอบ 2

หลักทศพิธราชธรรมข้อ 6 ตะบัง (ความพากเพียร) คือ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส โดยคําว่า “ตะปัง” แปลว่า วิริยะหรือความพากเพียร ความบากบั่น ความก้าวหน้า ไม่ถอยหลัง ความไม่หยุดอยู่กับที่ มีคุณสมบัติเผาผลาญกิเลสและความชั่ว ด้วยประการทั้งปวง ในที่นี้จะระบุไปยังสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาททั้ง 4 ประการ (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา) ก็ได้

42. ความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทําผิดก็ทําตามเหตุผล แสดงถึงการมีทศพิธราชธรรมในข้อใด

(1) ปะริจจาคัง

(2) อักโกธัง

(3) อะวิหิงสา

(4) มันทะวัง )

ตอบ 2

หลักทศพิธราชธรรมข้อ 7 อักโกธัง (ไม่โกรธ) คือ ถือเหตุผลไม่โกรธา ไม่มีความกําเริบทั้งภายใน (กลุ้มอยู่ในใจ) และไม่มีความกําเริบภายนอก (ประทุษร้ายบุคคลอื่น) โดยจะไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ที่ทําผิดก็ทําตามเหตุผล

43. การไม่เบียดเบียน ไม่มีการกระทําอันเบียดเบียนกระทบกระทั่งตนเองหรือผู้อื่น แสดงถึงการมีทศพิธราชธรรมในข้อใด

(1) อะวิหิงสา

(2) ตะปัง

(3) มันทะวัง

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1

หลักทศพิธราชธรรมข้อ 8 อะวิหิงสา (ไม่เบียดเบียน) คือ มีอหิงสานําร่มเย็น ไม่มีการกระทําอันเบียดเบียนกระทบกระทั่งตนเองหรือผู้อื่น หมายถึง ปฏิบัติให้ตัวเองไม่มีความเดือดร้อนหรือลําบาก และไม่เบียดเบียนผู้อื่น

44. การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการกาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย แสดงถึงการมีทศพิธราชธรรมในข้อใด

(1) อะวิหิงสา

(2) ตะปัง

(3) มันทะวัง

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4

หลักทศพิธราชธรรมข้อ 9 ขันติ (อดทน) คือ ชำนะเข็ญด้วยขันติ มีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รอคอยได้ และรักษาอาการกาย วาจา และใจให้เรียบร้อย ก็สมควรแก่ความเป็นผู้ที่จะทําอะไรได้สําเร็จ

45. การตั้งกระทู้ถามในเว็บบอร์ดต่าง ๆ มีลักษณะตรงกับข้อใดในหลัก “สุ จิ ปุ ลิ”

(1) สุ

(2) จิ

(3) ปุ

(4) ลิ

ตอบ 3

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้กล่าวปาฐกถาด้านการศึกษาเกี่ยวกับหลักการ “สุจิ ปุ ลิ” ไว้ดังนี้ 1. สุ-สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง ซึ่งเป็นปัญญาในการรับสารหรือสาระทั้งปวง รวมทั้งการได้รู้ ได้เห็น และการอ่านหนังสือ 2. จิ-จินตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิดไตร่ตรอง 3. ปุ-ปุจฉา คือ การถามเพื่อหาคําตอบเพิ่มเติม 4 ลิ-ลิขิต คือ การจดบันทึก

46. หลักราชการ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลใด

(1) สมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5

(2) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

(3) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

(4) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

ตอบ 2 หลักราชการ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) มีอยู่ 10 ข้อ ได้แก่ 1. ความสามารถ 2. ความเพียร 3. ความมีไหวพริบ 4. ความรู้เท่าถึงการ 5. ความซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน 6. ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป 7. ความรู้จักนิสัยคน 8. ความรู้จักผ่อนผัน 9. ความมีหลักฐาน และ 10. ความจงรักภักดี

47. คําอธิบายที่ว่า “ความเพียรเป็นเครื่องพาตนข้ามพ้นความทุกข์ ความเพียรเราได้ใช้แล้ว เราจึงได้มีวิชาความรู้
ได้ถึงปานนี้ ถ้าเราไม่ได้มีความเพียรมาแล้ว เรามิยังคงเป็นคนโง่อยู่อย่างเดิมหรือ ?” เป็นการอธิบายในเรื่องใด

(1) ความสามารถ

(2) ความมีไหวพริบ

(3) ความรู้จักผ่อนผัน

(4) ความเพียรพยายาม

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ)

หลักราซการข้อ 2. ความเพียร หมายถึง กล้าหาญไม่ย่อท้อต่อความยากลําบากและบากบั่นเพื่อจะข้ามความขัดข้องให้จงได้ โดยใช้ความอุตสาหวิริยภาพมิได้ลดหย่อน ดังคํากล่าวที่ว่า “ความเพียรเป็นเครื่องพาตนข้ามพ้น ความทุกข์ ความเพียรเราได้ใช้แล้ว เราจึงได้มีวิชาความรู้ได้ถึงปานนี้ ถ้าเราไม่ได้มีความเพียรมาแล้ว เรามิยังคงเป็นคนโง่อยู่อย่างเดิมหรือ

48. การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น มีลักษณะอย่างไร

(1) ผู้เรียนกําหนดประเด็นการเรียนรู้ แล้วให้ผู้สอนสอนตามที่ผู้เรียนอยากเรียน

(2) ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาข้อมูลที่ต้องการเรียนรู้เอง โดยผู้สอนทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและคอยแนะนํา

(3) ผู้สอนจัดเตรียมข้อมูลทุกอย่างเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เรียน ทําให้การเรียนไม่ติดขัด

(4) ผู้สอนอยู่เฉย ๆ ให้ผู้เรียนค้นคว้าอิสระตามต้องการ

ตอบ 2

การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered) คือ การเรียนที่ให้ความสําคัญกับผู้เรียนว่ามีความสามารถทางสมองที่จะเรียนรู้ได้ โดยจัดกิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้ค้นคว้าหาข้อมูลที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่วนผู้สอนจะทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและคอยแนะนํา เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนหมั่นคิดวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ

49. “เราเป็นครูกันคนละอย่าง” ข้อความดังกล่าวให้ความสําคัญกับสิ่งใดมากที่สุด

(1) ครู

(2) ผู้เรียน

(3) ความสัมพันธ์ที่ดีของครูกับผู้เรียน

(4) ความรู้ความสามารถ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

50. ข้อใดอธิบายความหมายของ “อวิชชา” ได้ดีที่สุด

(1) รู้ในสิ่งที่ควรรู้

(2) รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้

(3) ไม่รู้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

(4) ไม่รู้ถึงแม้จะเรียนเท่าไหร่ก็ตาม

ตอบ 2

ผู้เป็นบัณฑิตพึงหลีกเลี่ยงอวิชชา หมายถึง การไม่รู้ในสิ่งที่สมควรรู้ มีความโง่เขลา ความคับแคบ ความตื้นเขินทางปัญญา และรวมถึงการรู้ในสิ่งที่ไม่สมควรรู้หรือรู้ไม่ถูกทาง เพราะตามหลักการศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นบัณฑิตนั้นต้องเป็นกระบวนการสร้างสติปัญญาไตร่ตรองเหตุและผล เพื่อขจัดหรือทําลายกองแห่งความมืด (อวิชชา)
เรียนเพื่อเติมเต็มความรู้ให้มากขึ้น และเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง

51. รายการโทรทัศน์ที่ขึ้นหน้าจอว่า “โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม” นั้น สัมพันธ์กับคําตอบข้อใดที่สุด

(1) โยนิโสมนสิการ

(2) ปรโตโฆสะ

(3) จิตตะ

(4) อุเบกขา

ตอบ 1

โยนิโสมนสิการ คือ การคิดเป็น รู้จักคิดไตร่ตรองพิจารณาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงด้วยตนเอง ซึ่งเป็นความสามารถที่บุคคลรู้จักมอง รู้จักใช้วิจารณญาณพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ตามสภาวะ โดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัยสืบค้นจากต้นเหตุตลอดทาง จนถึงผลสุดท้ายที่เกิด แยกแยะเรื่องออกให้เห็นตามสภาวะที่เป็นจริง จนก่อให้เกิดปัญญาที่เข้าถึงความจริง

52. เราสามารถกําจัดอวิชชาได้อย่างไร

(1) ทําบุญมาก ๆ

(2) เข้าวัดเป็นประจํา

(3) สอบถามผู้รู้จากแหล่งต่าง ๆ

(4) ใช้สติปัญญาไตร่ตรองเหตุและผล

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

53. การเรียนรู้จากสื่อออนไลน์ เช่น Youtube สัมพันธ์กับข้อใด

(1) โยนิโสมนสิการ

(2) จักขุวิญญาณ

(3) ปรโตโฆสะ

(4) โสตวิญญาณ

ตอบ 3

ปัจจัยภายนอก เรียกว่า “ปรโตโฆสะ” ได้แก่ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และกัลยาณมิตรที่ดี เช่น ครู พ่อแม่ เพื่อน สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งการศึกษาทั้งหลายที่จัดกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันทํากันอย่างเป็นงานเป็นการ เป็นระบบระเบียบ จะถือว่าเป็นปรโตโฆสะก่อนในเบื้องต้น

54. ข้อใดไม่ใช่ไสยศาสตร์

(1) ถือผีสางเทวดา

(2) เชื่อได้หากมีวิจารณญาณ

(3) อธิบายไม่ได้

(4) ไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์

ตอบ 2

ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวถึงจิตของมนุษย์ในระดับที่ 2 คือ รู้สูงขึ้นมากกว่าสัตว์เดรัจฉาน หมายถึง รู้ในระดับคนป่าคนโง่ ยังนับถือผีสางเทวดา ไม่เข้าถึงธรรมะ เรียกว่า “ระดับไสยศาสตร์” ซึ่งเป็นเพียงแต่ดีกว่าสัตว์เดรัจฉาน ไม่ใช่มนุษย์สูงสุด ยังหลับอยู่ เพราะไสยศาสตร์จะเกณฑ์ให้เชื่อให้ยึดถือ ไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์ และอธิบายไม่ได้

55. ข้อใดไม่ใช่ความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge)

(1) ตํารา หนังสือ

(2) ประสบการณ์การทํางาน

(3) กฎระเบียบของบริษัทฯ

(4) คู่มือปฏิบัติงาน

ตอบ 2

ความรู้แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้ 1. ความรู้ฝังลึก หรือความรู้ที่ซ่อนเร้นไม่เปิดเผย (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคนหรืออยู่ในสมองของคน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของบุคคลที่สั่งสมมาอย่าง ยาวนาน จึงเป็นความรู้ติดตัวที่เรียนรู้จากการสั่งสมประสบการณ์การทํางานต่าง ๆ รวมทั้งความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด 2. ความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ชัดแจ้งที่สามารถสัมผัสหรือจับต้องได้ ซึ่งจะอยู่ในรูปของตํารา/หนังสือ เอกสาร วารสาร คู่มือ กฎระเบียบ รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น วีซีดี คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และฐานข้อมูล

56. “แม่ครัวที่ทําอาหารอร่อย ส่วนใหญ่มักมีเคล็ดลับในการปรุงอาหารที่ไม่บอกใครง่าย ๆ” จากข้อความ ดังกล่าว นักศึกษาคิดว่าตรงกับคําตอบในข้อใด

(1) Tacit Knowledge

(2) Explicit Knowledge

(3) Secret Knowledge

(4) Private Knowledge

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57. การบริหารบ้านเมืองในภาวะปัจจุบันควรใช้หลักคิดข้อใด

(1) การคิดเปรียบเทียบ

(2) การคิดเชิงบูรณาการ

(3) การคิดนิรนัย

(4) การคิดวิเคราะห์

ตอบ 2

การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) คือ การคิดในลักษณะของการขยายขอบเขตการคิด จึงเหมาะที่จะนํามาใช้เป็นหลักคิดในการบริหารบ้านเมืองในภาวะปัจจุบัน เพราะเป็นการขยายมุมมองออกไป 5 ด้าน ได้แก่ 1. การมององค์รวม 2. การมองสหวิทยาการ 3. การมองอย่างอุปนัย 4. การมองประสานขั้วตรงข้าม (สร้างดุลยภาพ) เอากลาง 5. การมองทุกฝ่ายชนะ

58. ข้อใดไม่ใช่วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม ตามหลักโยนิโสมนสิการ

(1) หนูหนิงดีใจที่ถูกหวยเลยซื้อเสื้อแบรนด์เนมมาใส่เป็นรางวัลชีวิต

(2) หนูดีช่วยแม่เก็บผักที่ริมรั้วมาทํากับข้าว

(3) หนูเบลชอบบ้านหลังใหญ่ที่พ่อซื้อใหม่เพราะจะได้ไปรับคุณปู่และคุณย่ามาอยู่ด้วยกัน

(4) แม่พาหนูปุ๊กขึ้นเครื่องบินไปเยี่ยมยายเพราะได้ตั๋วราคาถูก

ตอบ 1

วิธีคิดตามหลักโยนิโสมนสิการข้อ 7 คือ วิธีคิดแบบ รู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดถึงคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้เกิดความเข้าใจ จนสามารถที่จะแยกแยะและเลือกเสพคุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต ดังนี้ 1. คุณค่าแท้ คือ คุณค่าของสิ่งที่มีประโยชน์แก่ร่างกายโดยตรง อาศัยปัญญาที่ราคา จึงเป็นคุณค่าสนองปัญญา เพื่อพ้นจากการเป็นทาสของวัตถุ 2. คุณค่าเทียม คือ คุณค่าที่พอกเสริมสิ่งจําเป็นโดยตรง อาศัยตัณหาตีราคา จึงเป็นคุณค่า
สนองตัณหา ทําให้มนุษย์มุ่งตอบสนองแต่ความต้องการ (ตัณหา) ที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ

59. ผู้ใดมี EQ ที่ดี

(1) วิชาสอบได้ที่ 1 ทุกเทอม

(2)วิญญูไม่โกรธเพื่อนที่ล้อว่าเป็นลูกภารโรง

(3) ปัญญาถูกเลือกให้เป็นหัวหน้าชั้น

(4) ชัญญาส่งคืนกระเป๋าที่เก็บได้ให้เจ้าของ

ตอบ 2

ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient : EQ) หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับหรือ ควบคุมอารมณ์ของตนให้สามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์ ทําให้ประสบผลสําเร็จในการทํางานและดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

60. ข้อใดไม่ใช่หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance)

(1) ความโปร่งใส

(2) การมีส่วนร่วม

(3) ความอยู่ดีกินดี

(4) ความน่าเชื่อถือและมีกฎเกณฑ์ชัดเจน

ตอบ 3

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษได้กล่าวถึงหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี หรือหลักสําคัญของธรรมาภิบาล (Good Governance) ไว้ดังนี้ 1. Accountability คือ ความน่าเชื่อถือและมีกฎเกณฑ์ชัดเจน 2. Transparency คือ ความโปร่งใส 3. Participation คือ การมีส่วนร่วม 4. Predictability คือ ความสามารถในการคาดการณ์ได้ 5. ความสอดคล้องของ 4 หลักการข้างต้น

61. ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามไม่ต้องทํากิจใดดังต่อไปนี้

(1) นมัสการ 5 เวลา

(2) กล่าวคําปฏิญาณตน

(3) ถือศีลอดหลังพระอาทิตย์ตก

(4) บริจาคทรัพย์ตามศาสนบัญญัติ

ตอบ 3

ศาสนาอิสลามนับถืออัลเลาะห์เป็นพระเจ้า โดยมีศาสดาผู้เผยแผ่หลักศาสนาของอิสลามพระองค์สุดท้าย คือ นบีมูฮัมหมัด ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะเรียกว่า มุสลิมหรืออิสลามิกชน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติศาสนกิจตามมุขยบัญญัติ 5 ประการ ได้แก่ 1.การกล่าวคําปฏิญาณตน 2. การนมัสการ (ละหมาด) 5 เวลา คือ เช้า บ่าย เย็น ค่ำ และกลางคืน 3. การบริจาคทรัพย์ตามศาสนบัญญัติ 4. การถือศีลอดในเดือนรอมดอน 5. การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการไปจาริกแสวงบุญที่เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

62. ข้อใดคือแนวทางที่ควรนํามาใช้ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

(1) เลือกโดยตัดสินจากความชอบใจ

(2) ใช้อัตตาเป็นหลัก และไม่พิจารณาถึงผลที่จะติดตามมาด้วย

(3) เลือกประพฤติตนให้ถูกต้องด้วยการรู้จักประมาณตน

(4) เลือกโดยการกระทําในสิ่งที่นําความสุขทางกายมาให้มากที่สุด

ตอบ 3

การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม คือ การสร้างความตระหนักในคุณธรรมจริยธรรม เพื่อช่วยให้บุคคลเกิดความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสําคัญ รู้ประโยชน์ที่จะเกิดจากการประพฤติปฏิบัติตามคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ ได้แก่
1. การรู้จักประมาณตน มีความพอดี พอเพียง พอประมาณ 2. รู้เหตุผล รู้เท่าทัน คิดแบบโยนิโสมนสิการ
3. มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ 4. รักษาระเบียบวินัย ประพฤติตนตามจารีตประเพณีไทย 5. รู้จักละกิเลสตัณหา (ละความอยากได้ อยากมี อยากเป็น) ฯลฯ

63. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์

(1) ความมีเหตุผล รู้เท่าทัน คิดแบบโยนิโสมนสิการ

(2) ความไม่สํานึกต่อผู้มีพระคุณทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ

(3) การรักษาระเบียบวินัย ประพฤติตนตามจารีตประเพณีไทย

(4) ความพอดี พอเพียง พอประมาณ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

64. ข้อใดคือคุณลักษณะของบุคคลที่มีความซื่อสัตย์

(1) มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ดี ชอบพูดยกยอชื่นชมเพื่อน ๆ

(2) รักสงบ ไม่เล่นโซเชียล ไม่สุงสิงกับใครเลย

(3) ประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย วาจา และใจ

(4) มีวินัยเคร่งครัดต่อกฎระเบียบองค์กรจนน่าแปลกใจ

ตอบ 3

ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย วาจา และใจ มีความซื่อตรงจริงใจ ทั้งทางความคิด คําพูด และการกระทําต่อตนเองและผู้อื่น ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ทําทุกอย่างถูกต้องตามทํานองคลองธรรม

65. ความรู้สึกในการอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่มีต่อเรา รวมไปจนถึงการแสดงออกและการตอบแทนบุญคุณนั้น คือความหมายของข้อใด

(1) การมีขันติ

(2) ความมีเหตุผล

(3) ความกตัญญูกตเวที

(4) การมีความยุติธรรม

ตอบ 3

คําว่า “กตัญญ” หมายถึง รู้คุณท่าน รู้ว่าใครมีบุญคุณต่อตนโดยเป็นความรู้สึกในการอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่มีต่อเรา จึงมักใช้คู่กับคําว่า “กตเวที” แปลว่า สนองคุณท่านหรือการแสดงออกและรู้จักตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีพระคุณนั้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความกตัญญูกตเวทีนั้น ต้องสามารถแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ได้ทุกเวลา ไม่ควรมีข้อแม้ในการกระทํา

66. ปฏิกิริยาของจิตใจที่ตอบสนองต่อเรื่องราวที่มากระทบตามธรรมชาติของมนุษย์ หรือที่เราเรียกว่าอารมณ์นั้น
ข้อใดเป็นอารมณ์ที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดนาน

(1) อารมณ์อิ่มเอมใจ มีปีติ

(2) อารมณ์สนุกสนาน เอื้อต่อการเรียนรู้

(3) อารมณ์ดีใจเป็นสุข

(4) อารมณ์หลงใหลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ

ตอบ 4

อารมณ์ หมายถึง ปฏิกิริยาของจิตใจที่ตอบสนองต่อเรื่องราวที่มากระทบตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยผู้ที่มีอารมณ์ทางบวก ได้แก่ อารมณ์ขัน, อารมณ์ดีใจเป็นสุข หรือ อิ่มเอมใจ มีปีติ, อารมณ์สนุกสนาน ฯลฯ จะทําให้เกิดฮอร์โมนชื่อว่า “แอนเดอร์ฟิน” ซึ่งจะเป็น อาวุธต่อสู้กับความกลัวและความเครียดของคนได้ ส่วนผู้ที่มีอารมณ์ทางลบ ได้แก่ อารมณ์หดหู่ เบื่อหน่าย, อารมณ์หลงใหลหมกมุ่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ ฯลฯ จะทําให้เกิดฮอร์โมนชื่อว่า “แอดรีนาลีน” ออกมาในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งจะทําให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ แก่ร่างกายได้

67. ข้อใดคือบุคลิกภาพที่ดีเหมาะกับการทํางานในโลกยุคปัจจุบัน

(1) มีมนุษยสัมพันธ์ดี ชอบเอาของที่ทํางานกลับมาใช้ส่วนตัว

(2) มีรูปร่างหน้าตาดี แต่ชอบแต่งกายไม่สุภาพ

(3) มีความกระฉับกระเฉง และดูแลรักษาความสะอาดเครื่องแต่งกายดี

(4) ไม่มีความอ่อนน้อมในทุกครั้งที่นั่ง ยืน เดิน สนทนา และในทุกอิริยาบถ

ตอบ 3

บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะของบุคคลที่แสดงออกหรือมิได้แสดงออก โดยเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองทั้งทางด้านพฤติกรรมและทางด้านจิตใจ ทั้งนี้บุคลิกภาพที่ดีเหมาะกับการทํางานในโลกยุคปัจจุบัน ได้แก่ 1. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
2. มีรูปร่างหน้าตาสะอาดสะอ้าน 3. มีความกระฉับกระเฉง และดูแลรักษาความสะอาดเครื่องแต่งกายดี
4. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน 5. มีกิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย ฯลฯ

68. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการเสียสละ

(1) การละความเห็นแก่ตัว

(2) การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยกําลังกาย กําลังทรัพย์ และกําลังสติปัญญา

(3) การรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง

(4) การผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นถือมั่นของตนเองที่มีอยู่เดิม

ตอบ 4

จาคะ (ความเสียสละ) หมายถึง การตัดใจจากกรรมสิทธิ์หรือการตัดใจจากความยึดครองของตนไปให้ผู้อื่น ซึ่งเป็นการเสียสละแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วย กําลังกาย กําลังทรัพย์ และกําลังสติปัญญา โดยความเสียสละมีอยู่ 2 ประการ คือ 1. สละวัตถุ คือ การสละทรัพย์หรือสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น 2. สละอารมณ์ คือ การปล่อยวางหรือรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเองที่ทําให้จิตใจไม่สงบ รวมไปถึงการสละความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ ความโลภ โกรธ หลง ฯลฯ

69. ข้อใดไม่ใช่พื้นฐานของบุคลิกภาพที่สง่างาม

(1) สิ่งแวดล้อมในทุกด้านของชีวิตที่ดีนับตั้งแต่เกิดมาจนถึงปัจจุบัน

(2) ค่านิยมการใช้ของแบรนด์เนม

(3) ความเชื่อที่ดี

(4) การมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสาในการทํางาน

ตอบ 2

พื้นฐานของบุคลิกภาพที่สง่างามเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมในทุกด้านของชีวิตที่ดีนับตั้งแต่เกิดมาจนถึงปัจจุบัน  2. การสะสมข้อมูล รวมทั้งการกระทําตามความเคยชิน และข้อมูลที่ได้รับรู้มาจากแหล่งต่าง ๆประกอบกัน 3. ความเชื่อที่ดีและค่านิยมที่พึงประสงค์ 4. การยึดมั่นในหลักคุณธรรม ทางศาสนา เช่น อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสาในการทํางาน) ฯลฯ

70. ข้อใดไม่ใช่การพัฒนาบุคลิกภายนอกในด้านบุคลิกภาพการแต่งกาย

(1) วิเคราะห์บุคลิกและรูปลักษณ์รายบุคคลเพื่อการเลือกสรรเสื้อผ้า รองเท้า

(2) การแต่งกายในลักษณะตามแฟชั่นสมัยนิยมจนเกินพอดี

(3) การใช้ความรู้พื้นฐานในเรื่องลายเส้นและแบบที่เหมาะสมกับรูปร่าง

(4) การแต่งกายตามวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม

ตอบ 2

วิธีการพัฒนาบุคลิกภายนอกในด้านบุคลิกภาพการแต่งกายที่ดี มีดังนี้
1. วิเคราะห์บุคลิกและรูปลักษณ์เป็นรายบุคคลเพื่อการเลือกสรรเสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสม 2. ใช้ความรู้พื้นฐานในเรื่องลายเส้นและแบบที่เหมาะสมกับรูปร่าง 3. แต่งกายให้สุภาพ เหมาะสมกับสถานภาพ วัย และกาลเทศะ
4. แต่งกายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรม ฯลฯ

71. ข้อใดเป็นมารยาทในการเข้าสังคมอย่างมั่นใจ และการปฏิบัติตัวในการเข้าสังคมที่ถูกต้องตามกาลเทศะ

(1) ปัญญามีบุคลิกภาพดี แนะนำตัวและพูดคุยตามความเหมาะสม

(2) แทมมี่พูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ ไม่ฟังใคร

(3) ว่านมีความจริงใจ เปิดใจ พูดทุกเรื่อง

(4) ประสานชอบนินทา พูดความลับของผู้อื่นกับคนที่พึ่งรู้จัก

ตอบ 1 (คำบรรยาย) มารยาทในการเข้าสังคมอย่างมั่นใจและถูกต้องตามกาลเทศะ มีดังนี้
1. มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ดี
2. แนะนำตัวและพูดคุยตามความเหมาะสม
3. พูดในเรื่องที่คู่สนทนาสนใจ ไม่ใช่พูดแต่เรื่องที่ตนสนใจฝ่ายเดียว
4. ไม่ควรพูดนินทาให้ร้ายคนอื่น หรือพูดความลับของผู้อื่นกับคนที่พึ่งรู้จัก
5. ไม่ควรพูดอวดตน ยกตนข่มท่าน หรือแสดงอาการว่าตนเหนือกว่าผู้ฟัง ฯลฯ

72. ข้อใดคือทักษะในการพูดและการสื่อสารที่ดีในด้านทักษะในการสร้างประสิทธิภาพของเสียง

(1) การใช้น้ำเสียงตามที่ตัวเองมี

(2) มีความเสมอต้นเสมอปลาย ใช้น้ำเสียงโทนเดียว (Monotone)

(3) การใช้เสียงสร้างเสริมบุคลิกภาพ ฝึกหัดการพูดด้วยการบันทึกวิดีโอเทปเพื่อการพัฒนา

(4) เป็นคนตัวใหญ่ฝึกฝนการพูดน้ำเสียงที่แหลมเล็ก

ตอบ 3

ทักษะในการสร้างประสิทธิภาพของเสียงเพื่อการพูดและการสื่อสารที่ดี มีดังนี้
1. ใช้น้ำเสียงให้เป็นธรรมชาติ อย่าดัดเสียงหรือเลียนแบบเสียงของผู้อื่น
2. ใช้เสียงสร้างเสริมบุคลิกภาพ โดยมีการฝึกหัดพูดเพื่อการพัฒนา เช่น การฝึกพูดโดยมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำ หรือบันทึกเนินวิดีโอเทปเพื่อดูความบกพร่อง ฯลฯ
3. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำเสียงโทนเดียว (Monotone) เพราะการพูดเสียงเดียวราบเรียบ เสมอกันหมดจะทำให้ผู้ฟังง่วงและเกิดความเบื่อหน่าย ฯลฯ

73. เวลาที่เราต้องแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะนั้น ไม่ควรมีความรู้สึกแบบใด

(1) รวบรวมใจให้มีสติและสมาธิ

(2) ใช้ความคิดค้นหาจุดเด่นของตัวเอง

(3) คิดว่าตัวเองทำได้อยู่แล้วเลยไม่ซักซ้อม

(4) สร้างบุคลิกภาพที่ดีตามแบบของตนเองให้เป็นธรรมชาติ

ตอบ 3 หลักปฏิบัติเมื่อต้องแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ มีดังนี้
1. เตรียมตัวให้พร้อม โดยการอ่านหนังสือเยอะ ๆ เพื่อเก็บสะสมข้อมูลไว้ใช้อ้างอิงหรือเสริม คำพูดของตน และมีการซักซ้อมการพูดมาเป็นอย่างดี 2. หมั่นสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้คนที่หลากหลาย 3. ใช้ความคิดค้นหาจุดเด่นหรือเอกลักษณ์ของตัวเอง 4. รวบรวมจิตใจให้มีสติและสมาธิ ไม่ประหม่าหรือตื่นกลัวเมือต้องแสดงความคิดเห็น 5. สร้างบุคลิกภาพที่ดีตามแบบของตนเองให้เป็นธรรมชาติ ฯลฯ

74. ข้อใดไม่ใช่วิธีฝึกตัวเองให้พร้อมสำหรับการแสดงความคิดเห็นต่อที่สาธารณะ

(1) อ่านหนังสือเยอะ ๆ เก็บสะสมข้อมูล เวลาพูดคุยจะได้ดูเก๋ ๆ เท่ ๆ

(2) เริ่มสร้างบุคลิกภาพที่ดีตามแบบของคุณให้เป็นธรรมชาติ

(3) หมั่นสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้คนที่หลากหลาย

(4) ฝึกความไวในการพูดแซง พูดแทรกคนอื่น

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75. ข้อใดไม่ใช่วิธีการดูแลสุขภาพร่างกายและรูปร่างที่ดี

(1) เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

(2) การรับประทานวิตามินอาหารเสริมชนิดเม็ด ฉีดโบท็อก

(3) การออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

(4) เลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่

ตอบ 2
วิธีการดูแลสุขภาพร่างกายและรูปร่างที่ดี มีดังนี้
1. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ 2. ขับถ่ายทุกวันและให้เป็นเวลา 3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 4. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว 5. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่ 6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง 7. ทำจิตใจและอารมณ์ให้แจ่มใส ฯลฯ

76. ข้อใดไม่ใช่วจีจริยาหรือการพูดจาให้เรียบร้อย
(1) ประศักดิ์กล่าวขอโทษก่อนแล้วจึงคัดด้าน ไม่หักหาญน้ำใจ
(2) จิรพันธ์พูดด้วยน้ำเสียงกำลังดี ได้ยินชัดเจนชัดถ้อยชัดคำ
(3) เวหาชอบพูดแทรกในขณะที่คนอื่นกำลังพูดอยู่
(4) ประวิทย์ไม่ว่าจะพูดกับใคร ในเวลาใด สถานที่ใด ก็มีนํ้าเสียงนุ่มนวลสุภาพ อ่อนหวาน

ตอบ 3
หนังสือสมบัติของผู้ดี ภาค 1 ผู้ดีย่อมรักษาความเรียบร้อยด้านวจีจริยา (การพูดจา) ได้แก่ 1. ย่อมไม่สอดสวนวาจาไม่พูดแทรกหรือแย่งชิงพูด
2. ย่อมไม่พูดด้วยเสียงอันดังเหลือเกิน 3. ย่อมไม่ใช้เสียงตวาดหรือพูดจากระโชกกระชาก 4. ย่อมไม่ใช้วาจาอันหักหาญดึงดัน 5. ย่อมไมใช้ถ้อยคำอันหยาบคาย

77. “การตื่นรู้” ในทางพระพุทธศาสนาคือข้อใด
(1) การตื่นจากความฝัน
(2) พ้นจากความไม่รู้ พ้นจากความหลง เข้าถึงความจริง
(3) การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
(4) การตื่นจากความไม่รู้
ตอบ 2
“การตื่นรู้” ในทางพระพุทธศาสนา คือ การพ้นจากความไม่รู้ ซึ่งเป็นต้นตอของ อัตตา และพ้นจากความหลงงมงาย จากการหลอกลวงของกิเลสตัณหา ดังนั้นการตื่นรู้จึงเป็น สภาพจิตที่หลุดพ้นจากการถูกกิเลสครอบงำทั้งปวง จนกระทั่งเข้าถึงความจริงของสรรพสิ่ง

78. “ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น” พระพุทธเจ้าท่านเห็นอะไร
(1) จักรวาลกับพุทธศาสนา
(2) อริยสัจสี่
(3) ความว่างภายในอะตอม
(4) ความมหัศจรรย์ของไสยศาสตร์
ตอบ 2
อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงหรือสัจธรรมอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเห็นและได้แสดงสัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ) นี้ไว้ โดยมุ่งเน้นถึงการแก้ปัญหาที่เหตุปัจจัยด้วยบัญญาและเหตุผลอย่างเป็นระบบ เพื่อความพ้นทุกข์อย่างยั่งยืน มีขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้
1. ทุกข์ คือ ปัญหาที่ทำให้บุคคลรู้สึกไม่สบายกายหรือไม่สบายใจ
2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหาหรือบ่อเกิดแห่งทุกข์
3. นิโรธ คือ หนทางในการดับทุกข์ (ดับตัณหา) หรือความพ้นทุกข์
4. มรรค คือ ทางแก้ทุกข์หรือวิธีการดับทุกข์

79. ท่านพุทธทาสภิกขุ เปรียบเทียบวิถีชีวิตของมนุษย์ที่สมบูรณ์ว่า “ชีวิตต้องเทียมด้วยควายสองตัว” มีแบบใดบ้าง
(1) ตัวรู้กับตัวแรง
(2) ตัวแรงกับตัวชน
(3) ตัวตื่นกับตัวเบิกบาน
(4) ตัวมีปัญหากับตัวมีปัญญา
ตอบ 1
ท่านพุทธทาสภิกขุ เปรียบเทียบวิถีชีวิตของมนุษย์ที่สมบูรณ์ว่า “ชีวิตต้องเทียม ด้วยควายสองตัว” กล่าวคือ 1. ควายตัวต้นเป็นตัวรู้ คือ ตัวฉลาด ได้แก่ รู้คุณธรรม ทำให้มนุษย์มีความสว่างไสวทางวิญญาณ (Spiritual Enlightenment) 2. ควายตัวปลายเป็นตัวแรง คือ ตัวโง่ แต่แข็งแรงมาก ได้แก่ รู้เทคโนโลยี ซึ่งมีแต่เรี่ยวแรง ทำให้มนุษย์ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี ไม่มีความสว่างไสวทางวิญญาณ

80. คำคมข้อคิดจากสตีฟจอบส์ กล่าวว่า “หน้าที่ของผมไม่ใช่การทำตัวดีกับผู้คน หน้าที่ของผมคือช่วยให้ พวกเขาดีขึ้น” แสดงว่าสตีฟจอบส์ต้องการวางตัวเข้ากับสังคมแบบใด
(1) อมิตร
(2) รวมมิตร
(3) บาปมิตร
(4) กัลยาณมิตร
ตอบ 4
กัลยาณมิตร (กัลยาณมิตตตา) คือ รู้จักคบคนดี ซึ่งลักษณะของกัลยาณมิตร (เพื่อนที่ดี) มีอยู่ 7 ประการ คือ 1. ทำตัวน่ารัก มีไมตรี 2. วางตัวน่าเคารพนับถือ 3. ทำตนน่าเจริญตาเจริญใจ คือ คิดดี พูดดี ทำดี 4. พูดจาอ่อนหวาน ไม่ใส่ร้าย 5. มีความอดทน อดกลั้น ข่มใจ 6. รู้จักแนะนำการประพฤติที่ดี หรือช่วยแก้ปัญหาให้ชีวิตเราดีขึ้น 7. ชักนำเราให้ไปในทางที่ถูกที่ควร ไม่ชักจูงในสิ่งผิด

81. ไวรัสคอมพิวเตอร์ส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคม
(1) เกิดความไม่เสมอภาค
(2) เพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อม
(3) เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล
(4) เพิ่มจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์
ตอบ 3
ไวรัสคอมพิวเตอร์เมื่อเข้ามาในคอมพิวเตอร์จะส่งผลกระทบต่อสังคม ดังนี้
1. เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล ไม่สามารถเปิดใช้งานได้หรือสูญหาย
2. ขโมยข้อมูลสำคัญ โดยเฉพาะข้อมูลของทางราชการ และข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า
3. ทำให้โปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด
4. ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าหรือทำงานต่อไม่ได้ ฯลฯ

82. ในการใช้สื่อและเทคโนโลยี ควรตระหนักรู้ถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณในข้อใดมากที่ลุด
(1) ปาณาติปาตา
(2) อทินนาทานา
(3) กาเมสุมิจฉาจารา
(4) สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

83. บุคคลใดใช้เทคโนโลยีหรือมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณ
(1) นายแดงชอบใช้คอมพิวเตอร์ดูรูปอนาจาร
(2) นางเขียวชอบขับรถซิ่งแข่งกับผู้ชาย
(3) นางขาวชอบปิดไฟเวลาเลิกใช้
(4) นายดำชอบดัดฟันเพราะดูเท่ดี
ตอบ 3
ตัวอย่างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณในการ ใช้สื่อและเทคโนโลยี เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์, การใช้คอมพิวเตอร์ดูเนื้อหาหรือ ภาพลามกอนาจาร, การโจรกรรมข้อมูลหรือความลับของบริษัท, การให้ข้อมูลเท็จ การฉ้อโกง หรือบิดเบือนข้อมูล เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 3 เป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม เพราะช่วยประหยัดพลังงานและลดภาวะโลกร้อน)

84. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติในการใช้สื่อและเทคโนโลยี เป็นความหมายของข้อใด
(1) คุณธรรม
(2) จริยธรรม
(3) ศีลธรรม
(4) ค่านิยม
ตอบ 2
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ให้ความหมายของ จริยธรรมว่า คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม หรือคุณความดีที่พึงยึด เป็นข้อประพฤติปฏินัฅที่ดีต่อสังคม

85. นายแดงรู้สึกละอายแก่ใจตนเองในการกระทำความผิดที่ได้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของนางขาว โดยไม่ได้ ขออนุญาต เป็นความหมายของธรรมะข้อใด
(1) ศีล
(2) สมาธิ
(3) หิริ
(4) โอตตัปปะ
ตอบ 3
ดูคำอธิบายข้อ 13. ประกอบ

86. ผู้สอนใช้ Facebook Live สอนผ่านทางไกล และใช้ภาษาพูดที่มีแต่ความจริงใจอ่อนโยน ทำให้ผู้เรียน เกิดความเคารพนับถือ แสดงว่าครูมีคุณธรรมในข้อใด
(1) สัมมาทิฐิ
(2) สัมมาสังกัปปะ
(3) สัมมาวาจา
(4) สัมมากัมมันตะ
ตอบ3
สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) คือ มีการเจรจาถูกต้องพูดด้วยความจริงใจในสิ่งที่มีประโยชน์ มีสาระ พูดไพเราะอ่อนหวาน อ่อนโยน และพูดให้ถูก กาลเทศะ โดยแสดงในทางเว้น ได้แก่ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียดให้แตกร้าวกัน เว้นจากการพูดคำหยาบ และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นประโยชน์

87. การรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อค้นหาความรู้ เพื่อนำไปใช้ในการทำงาน ตรงกับหลักธรรมในข้อใด
(1) สัมมาอาชีวะ
(2) สัมมาวายามะ
(3) สัมมาสติ
(4) สัมมาสมาธิ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

88. สังคมก้มหน้า ยุคที่คนเรามีสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ทำให้คนเราไม่ค่อยใส่ใจคนรอบข้าง เป็นความหมายของค่านิยมใด
(1) ค่านิยมทางสังคม
(2) ค่านิยมทางวัตถุ
(3) ค่านิยมทางจริยธรรม
(4) ค่านิยมทางความจริง
ตอบ 2
ค่านิยม (Values) แบ่งออกได้ดังนี้
1. ค่านิยมทางสังคม (Social Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้เกิดความรักความเข้าใจ และเกิด ความต้องการทางสังคมของบุคคล
2. ค่านิยมทางวัตถุ (Material Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้ชีวิตร่างกายของคนเราสามารถ ดำรงอยู่ได้ต่อไป ได้แก่ ปัจจัยสี่ (อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และยารักษาโรค) รวมไปถึง วัตถุอื่น ๆ ที่ช่วยให้ชีวิตของมนุษย์สะดวกสบายขึ้น เช่น รถยนต์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
3. ค่านิยมทางจริยธรรม (Moral Values) เป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดี
4. ค่านิยมทางความจริง (Truth Values) เป็นค่านิยมที่เกี่ยวกับความจริง ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการความรู้ และนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการค้นหากฎของธรรมชาติ ฯลฯ

89. ค่านิยมที่กำหนดให้เกิดความรักความเข้าใจ ความต้องการทางสังคมของบุคคล เป็นความหมายของค่านิยมใด
(1) ค่านิยมทางสังคม
(2) ค่านิยมทางวัตถุ
(3) ค่านิยมทางจริยธรรม
(4) ค่านิยมทางความจริง
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90. ค่านิยมที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดีในการใช้สื่อและเทคโนโลยี เป็นความหมายของค่านิยมใด
(1) ค่านิยมทางสังคม
(2) ค่านิยมทางวัตถุ
(3) ค่านิยมทางจริยธรรม
(4) ค่านิยมทางความจริง
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 88. ประกอบ

91. ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้งาน Internet
(1) การรับส่ง E-mail
(2) การดาวน์โหลดฟรีแวร์
(3) การอัพโหลดข่าวการศึกษา
(4) การให้ข้อมูลเท็จเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 83. ประกอบ

92. ข้อใดกล่าวถึงคุณค่าของภูมิปัญญาไทยไม่ถูกต้อง
(1) ส่งเสริมการอนุรักษ์จารีตประเพณี
(2) ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม
(3) ส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้นใหม่
(4) ส่งเสริมอาชีพให้แก่ต่างชาติ
ตอบ 4
คุณค่าของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
1. ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและจารีตประเพณี 2. ช่วยจรรโลงวิถีชีวิตของชุมชน 3. ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น 4. สามารถประยุกต์หลักคำสอนทางศาสนามาใช้กับวิถีการดำเนินชีวิต 5. ส่งเสริมให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ 6. สร้างอาชีพใหม่ให้กับคนไทย ฯลฯ

93. ข้อใดหมายถึงภูมิปัญญาไทยที่ก่อให้เกิดศิลปะของชาติและแสดงความเป็นอารยธรรมของชาติ
(1) นวดแผนไทย
(2) สมุนไพรไทย
(3) เกษตรกรรม
(4) จิตรกรรมลายไทย
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาไทยที่ก่อให้เกิดศิลปะของชาติและแสดงความเป็นอารยธรรมของชาติ ซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของไทย เช่น ศิลปะการต่อสู้ มวยไทย, งานจิตรกรรมลายไทย, การฟ้อนรำมโนราห์ ฯลฯ

94. ข้อใดเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน
(1) ตำนานหลวงปู่ทวด
(2) ละครดึกดำบรรพ์
(3) เทศน์มหาชาติ
(4) สารทเดือนสิบ
ตอบ 1
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน หมายถึง วรรณกรรมที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิตชาวบ้านโดยครอบคลุมวรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยวิธีการบอกเล่า และที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่ 1.นิทานพื้นบ้านเช่นนิทานเข้าแบบ,นิทานจักร ๆวงศ์ๆ ฯลฯ
2. ตำนานพื้นบ้าน เช่น ตำนานหลวงปู่ทวด, ตำนานพระร่วง ฯลฯ
3. บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม เช่น บททำขวัญ, บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน ฯลฯ
4. บทร้องพื้นบ้าน เช่น บทกล่อมเด็ก, บทร้องเล่น ฯลฯ

95. ข้อใดจัดเป็นกระบวนการสืบสานและถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยอย่างไม่เป็นทางการ
(1) ได้รับการถ่ายทอดวิธีการแกะสลักจากโรงเรียน
(2) ได้รับการถ่ายทอดวิธีการแกะสลักจากการอบรมหลักสูตรระยะสั้น
(3) ได้รับการถ่ายทอดวิธีการแกะสลักจากบรรพบุรุษ
(4) ได้รับการถ่ายทอดวิธีการแกะสลักจากวิทยากร
ตอบ 3
กระบวนการสืบสานและถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยมีทั้งแบบที่เป็นทางการ เช่นการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยเรื่องต่าง ๆ ในสถานศึกษา หรือหน่วยงานภาครัฐ, การเข้ารับการฝึกอบรมจากวิทยากรที่เชี่ยวชาญ ฯลฯ และแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น การสืบสานภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ครอบครัว สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ฯลฯ

96. ข้อใดไม่ใช่แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
(1) บุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย
(2) ปิดเกาะเพื่อฟื้นฟูอุทยานทางทะเล
(3) ขยายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ครอบคลุมมากขึ้น
(4) รณรงค์การปลูกป่าโดยผ่านทางเฟสบุ๊ก
ตอบ 1
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้สามารถกระทำได้ ดังนี้
1. การกำหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาติ 2. การปลูกต้นไม้ทดแทน หรือส่งเสริมให้มีการสร้างสวนป่าทุกรูปแบบ 3. การขยายพื้นที่ป่าอนุรักษให้ครอบคลุมมากขึ้น 4. ป้องกันการบุกรุกทำลายป่า 5. ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม รวมถึงอุทยานทางทะเล 6. รณรงค์การปลูกป่าโดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ ฯลฯ

97. ข้อใดเป็นการแก้ไขปัญหาสื่งแวดล้อมได้ดีที่สุด
(1) เปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรมมนุษย์
(2) ปรับเปลียนเทคโนโลยีให้ทันสมัย
(3) ส่งเสริมให้ภูมิปัญญาชาวบ้านมีส่วนร่วมมากขึ้น
(4) ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
ตอบ 1
การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ตรงประเด็นและดีที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงแก้ไข พฤติกรรมซองมนุษย์ ซึ้งอาจได้ผลดีกว่าการใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา แต่ประชาชนทุกคน และทุกระดับภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพราะเรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ประชาชนทุกคน ต้องช่วยกันรักษา ไมใช่บทบาทหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง

98. ข้อใดมิใช่มรดกโลกทางวัฒนธรรม
(1) แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
(2) แหล่งโบราณคดีเวียงท่ากานต์
(3) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย
(4) อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ตอบ 2
ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในประเทศไทยไว้ 3 แหล่ง ดังนี้
1. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร (Historic City of Ayutthaya) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขึ้นทะเบียนเมื่อ พ.ศ. 2534
2. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ครีสัชนาลัยและเมืองบริวาร (Historic Town of Sukhorthai and Associated Historic Towns) จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดกำแพงเพชร ขึ้นทะเบียนเมื่อ พ.ศ. 2534
3. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (Ban Chiang Archaeological Site) จังหวัดอุดรธานี ขึ้นทะเบียนเมื่อ พ.ศ. 2535

99. การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี จัดเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเช่นเดียวกับหลักการในข้อใด
(1) ใช้ใบตองแทนโฟม
(2) บำบัดน้ำเสีย
(3) ปลูกป่าชายเลน
(4) ปิดอุทยานเพื้อฟื้นฟูสภาพ
ตอบ 1
หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแบบการใช้วัสดุหรือสิ่งอื่นทดแทนหมายถึง การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางชนิด เช่น การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้า การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง ในรถยนต์, การใช้ใบตองแทนโฟม, การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตมาช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นต้น

100. ข้อใดมิใช่สาเหตุหลักของการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
(1) ขาดจิตสำนึก
(2) ขยายตัวทางการศึกษา
(3) ขยายตัวทางอุตสาหกรรม
(4) เพิ่มจำนวนประชากร
ตอบ 2
สาเหตุสำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมก็คือ มนุษย์หรือการกระทำที่ขาดจิตสำนึกของมนุษย์ เช่น การเพิ่มจำนวนของประชากร ซึ่งนำไปสู่ปัญหา การขยายตัวของเมืองและกิจการด้านอุตสาหกรรม, การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยี, การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่ถูกวิธีและไม่มีการบำรุงรักษา รวมทั้งการบริโภคที่เกินความจำเป็น ฯลฯ

101. การปฏิบัติตนในข้อใดช่วยผ่อนคลายความเครียดได้น้อยที่สุด
(1) พยายามปรับความคิดทัศนคติของผู้อื่น
(2) พยายามพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตนเอง
(3) พยายามจัดลำดับความสำคัญของงาน
(4) เจริญสติ เจริญสมาธิเป็นประจำ
ตอบ 1
วิธีปฏิบัติเพื่อช่วยคลายเครียดในการทำงาน มีดังนี้
1. ออกกำลังกาย สมองจะได้หยุดคิดเรื่องที่เครียดชั่วคราว
2. พักผ่อนหย่อนใจด้วยการเลือกกิจกรรมที่ตรงข้ามกับงานประจำที่ทำอยู่
3. บริหารเวลา โดยพยายามจัดลำดับความสำคัญของงาน
4. แก้ปัญหาอย่างถูกวิธี โดยให้ปรับปรุงแก้ไขตนเอง เพราะย่อมง่ายกว่าที่จะไปปรับเปลี่ยนผู้อื่น
5. ฝึกบริหารจิต โดยการเจริญสติ เจริญสมาธิเป็นประจำ ฯลฯ

102. ข้อใดกล่าวถึงคุณค่าของภูมิปัญญาไทยได้ถูกต้อง
(1)ไม่ช่วยจรรโลงวิถีชีวิตชุมชน
(2)ก่อให้เกิดการสร้างอาชีพใหม่
(3) ไม่สามารถประยุกต์คำสอนทางศาสนามาใช้กับวิถีชีวิต
(4) ต่อต้านการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

103. ข้อใดไม่ได้หมายถึงภูมิปัญญาไทยที่ก่อให้เกิดศิลปะของชาติไทย
(1) สมุนไพรไทย
(2) จิตรกรรมไทย
(3) การฟ้อนรำ
(4) ศิลปะการต่อสู้มวยไทย
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

104. ข้อใดเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน
(1) โคมล้านนา
(2) ตำนานพระร่วง
(3) ละครดึกดำบรรพ์
(4) ผ้าทอไทยลื้อ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ

105. ข้อใดจัดเป็นกระบวนการสืบสานและถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยอย่างเป็นทางการ
(1) ถ่ายทอดวิธีการทอผ้าภายในครอบครัว
(2) ถ่ายทอดวิธีการทอผ้าผ่านเฟสบุ๊ก
(3) ถ่ายทอดวิธีการทอผ้าทางทีวี
(4) ถ่ายทอดวิธีการทอผ้าจากโรงเรียน
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

106. การสะเดาะเคราะห์ทางพุทธศาสตร์กับการสะเดาะเคราะห์ทางไสยศาสตร์ต่างกันอย่างไร
(1) พุทธ-แก้ปัญหา, ไสยศาสตร์-เพื่อสบายใจ
(2) พุทธ-ไม่ลงทุน, ไสยศาสตร์-ลงทุน
(3) พุทธ-ล้าสมัย, ไสยคาสตร์-ทันสมัย
(4) พุทธ-คนกลุ่มน้อย, ไสยศาสตร์-คนกลุ่มใหญ่
ตอบ 1
คำว่า “เคราะห์’’ มาจาก คฺรห แปลว่า ความยึดมั่น ถือมั่น หรือปัญหา ส่วนการสะเดาะเคราะห์ หมายถึง การทำให้ปัญหานั้นหลุดออกไป แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. แบบโหราศาสตร์ที่เจือด้วยไสยศาสตร์ (ได้ความสบายใจที่เจือด้วยอวิชชา ผ่านกรรมวิธีตาม ความเชื่อ) เช่น การไหว้พระเก้าวัด เผาฮู้ไล่โชคร้าย และบวชต่ออายุ เป็นต้น
2. แบบพุทธศาสตร์ (ได้ความสบายใจที่แท้จริง ผ่านกระบวนการของเหตุและผลตามหลักของพระพุทธศาสนา) คือ การรู้ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดกับตนเองแล้วหาทางแก้ปัญหา เช่น การรู้จักระมัดระวังตัวเองมากขึ้นหลังจากเคยถูกปล้น เป็นต้น

107. หลักกาลามสูตรสามารถปรับใช้กับสังคมปัจจุบันในด้านใด
(1) รู้จักพิจารณาข้อมูลข่าวสาร
(2) ให้รู้จักการเลือกใช้สื่อ
(3) รู้จักระวังตนไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ
(4) ให้เป็นคนเชื่อมั่นในตนเอง
ตอบ 1
หลักกาลามสูตร 10 ในพุทธศาสนา เป็นหลักการคิดที่ มีเหตุมีผลอยู่ในตัว เป็นเรื่องที่ต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรอง และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่ทดลองได้ตรวจสอนพิสูจน์ได้ ไม่ใช่ใครมาพูดอะไรก็เชื่อทันที หรือเชื่อตาม ๆ กันมา โดยไม่วิเคราะห์เหตุผลว่าเป็นไปได้หรือไม่ ดังนั้นหลักกาลามสูตรจึงสามารถนำมาปรับใช้กับสังคมปัจจุบัน คือ การรู้จักพิจารณาข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกิดป้ญญารู้เท่าทัน

108. ข้อใดถือว่าเป็นผู้มีความสันโดษตามหลักมงคลชีวิต
(1) กัลยาไม่สุงสิงกับใคร
(2) กิริณาชอบทำงานเดี่ยว ไม่ชอบงานกลุ่ม
(3) กุสุมารักเดียวใจเดียว ไม่นอกใจสามี
(4) กษมาชอบอยู่ในที่เงียบ ๆ
ตอบ 3
พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ในข้อ 24 ว่า มีความสันโดษ ซึ่งไม่ได้หมายถึง การอยู่ลำพังคนเดียว แต่หมายถึง การพอใจในสิ่งที่ตนมีลยู่ ในของของตัว เช่น พอใจในหน้าตาและคู่ครองของตนเอง ฯลฯ แบ่งออกเป็น3ลักษณะได้แก่
1. ยถาลาภสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามมีตามเกิด มีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น
2. ยถาพลสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามกำลัง มีกำลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น
3. ยถาสารูปสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามควรในรูปลักษณ์ของตนเอง และฐานะที่เป็นอยู่

109. กตัญพูตามหลักมงคลชีวิตนั้น ไม่ได้สอนให้กตัญญต่อสิ่งใด
(1) คน
(2) สัตว์
(3) สถานที่
(4) สิ่งของ
ตอบ 3 (ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ) พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการ ไว้ในข้อ 25 ว่า มีความกตัญญ ได้แก่ 1. กตัญญต่อบุคคล เช่น บุตรธิดาเคารพเชื่อฟังพ่อแม่, นักเรียนเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์ ฯลฯ 2. กตัญพูต่อสัตว์ เช่น ข้าง ม้า วัว ควาย ซึ่งช่วยทำงานให้เรา, สุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้าน ฯลฯ 3. กตัญญต่อสิ่งของ ได้แก่ สิ่งของทุกอย่าง ที่มีคุณต่อเรา เช่น หนังสือที่ให้ความรู้, อุปกรณ์ทำมาหากินต่าง ๆ ฯลฯ

110. โทษของกิเลสในข้อใดให้โทษหนักและละได้ยากที่สุด
(1) ราคะ
(2) โทสะ
(3) โมหะ
(4) โลภะ
ตอบ 3
พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ในข้อ 37 ว่า มีจิตปราศจากกิเลส คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง ได้แก่ ความโลภ โกรธ หลง ซึ่งแบ่งประเภทของกิเลสออกเป็น
1. ราคะ (ความกำหนัดยินดี) มีโทษน้อย แต่คลายช้า
2. โทสะ (ความโกรธ) มีโทษมาก แต่คลายเร็ว
3. โมหะ (ความหลงผิด) มีโทษหนักมาก แต่คลายช้าและละได้ยากที่สุด

111. ข้อใดเป็นโทษเกิดจากการดื่มสุราเมรัย
(1) อายุสั้น
(2) ยากจน
(3) เสียสัตย์
(4) เสียสติ
ตอบ 4
พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ในข้อ 20 ว่า สำรวมจากการดื่มน้ำเมา (สุราเมรัย) ซึ่งเป็นอบายมุขที่ก่อให้เกิดโทษ ดังนี้ 1. ทำให้เสียทรัพย์ 2. ก่อการทะเลาะวิวาท 3. ทำให้เกิดโรค 4. ทำให้เสียชื่อเสียง 5. ทำให้เสียสติลืมตัว ไม่รู้จักอาย 6. ทอนกำลังปัญญา

112. สามีภรรยาจะซื่อสัตย์ต่อกัน ต้องปฏิบัติตามกัลยาณธรรมข้อใด
(1) เมตตา-กรุณา
(2) อาชีพสุจริต
(3) สำรวมในกาม
(4) กตัญญ
ตอบ 3
กัลยาณธรรม (หรือเรียกว่า เบญจกัลยาณธรรม) หมายถึง ธรรมอันดีงาม ธรรมของ กัลยาณชน เพราะกำจัดธรรมที่ไม่สะอาดอันมีราคะ โทสะ และโมหะได้ มีอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. เมตตา-กรุณา คือ ความรักใคร่และความสงสารคิดช่วยเหลือให้พ้นทุกข์
2. สัมมาอาชีวะ คือ การหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต
3. กามสังวร คือ ความสำรวมในกาม ซื่อสัตย์ในสามีและภรรยาของตน
4. สัจจะ คือ ความสัตย์ ความซื่อตรง
5. สติสัมปชัญญะ คือ ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ

113. การเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ จัดเข้าในความมีสัตย์ข้อใด
(1) สวามิภักดิ์
(2) ซื่อตรง
(3) เที่ยงธรรม
(4) กตัญญ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 109. ประกอบ

114. ข้อใดเป็นลักษณะของคนมีขันติธรรม
(1) ทนดื่มเหล้า
(2) ทนเล่นการพนัน
(3) ทนลำบาก
(4) ทนเล่นเกม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

115. กตัญญูกตเวที เป็นหน้าที่ของใคร
(1) บิดามารดา
(2) พระมหากษัตริย์
(3) ครูอาจารย์
(4) บุตรธิดา
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 109. ประกอบ

116. คนทั่วไปเป็นบุพการีไม่ได้ เพราะเหตุใด

(1) มักโกรธ
(2) ริษยา
(3) ไม่เสียสละ
(4) หึงหวง
ตอบ 3
สาเหตุที่คนทั่วไปเป็นบุพการีไม่ได้ คือ ไม่มีความเสียสละ เนื่องจากคนที่เสียสละ ทำเพื่อคนอื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนถือว่าเป็นบุพการี เพราะมีบุญคุณ ดังคำกล่าวที่ว่า “พ่อแม่เป็นพระพรหมของลูก” หมายถึง พ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้ประเสริฐต่อชีวิตของลูก เพราะพ่อแม่มีความรักอันบริสุทธิ์ใจ สามารถเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างได้เพื่อลูก

117. การฝึกสมาธิ เชื่อว่าปฏิบัติตามโอวาทของพระพุทธเจ้าข้อใด
(1) เว้นทุจริต
(2) ประกอบสุจริต
(3) ทำใจให้ผ่องใส
(4) เว้นอบายมุข
ตอบ 3
โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงไว้ในวันมาฆบูชา ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่แสดงถึงหลักการและแนวทาง ที่พุทธศาสนิกชนควรนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง (การละเว้นความชั่ว), การทำกุศลให้ถึงพร้อม (การทำแต่ความดี) และการทำจิตของตนให้ผ่องใส (การทำจิตใจให้บริสุทธิ์)การฝึกสมาธิ หรือการคิดถึงกรรมดีแล้วสบายใจ)

118. โยนิโสมนสิการ มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) คิดไตร่ตรอง
(2) คิดวางแผน
(3) คิดเผื่อแผ่
(4) คิดจดจำ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

119. ก่อการทะเลาะวิวาท ตรงกับโทษของอบายมุขใดมากที่สุด
(1) ดื่มน้ำเมา
(2) เที่ยวกลางคืน
(3) ดูการละเล่น
(4) เล่นการพนัน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 111. ประกอบ

120. ข้อใดตรงกับโทษของการคบคนชั่วเป็นมิตรมากที่สุด
(1) ไม่มีใครเชื่อถือ
(2) ถูกหวาดระแวง
(3) ถูกติเตียน
(4) เป็นนักเลงหัวไม้
ตอบ 4
อบายมุขหรือหนทางแห่งความเสื่อมข้อ 5 คือ พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว หรือคบคนชั่วเป็นมิตร ซึ่งก่อให้เกิดโทษ ดังนี้ 1. เป็นนักเลงการพนัน 2. เป็นนักเลงเจ้าชู้ 3. เป็นนักเลงเหล้า 4. เป็นคนหลอกลวงเขาด้วยของปลอม 5. เป็นคนหลอกลวงเขาซึ่งหน้า 6.เป็นนักเลงหัวไม้

 

Advertisement