การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1000 ความรู้คู่คุณธรรม

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงคือข้อใด

(1) ความรุ่งเรือง

(2) ทางสายกลาง

(3) การพัฒนา

(4) ความทันสมัย

ตอบ 2

แนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง ซึ่งหมายถึงแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับ ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

2. การมีจิตสำนึกที่ดีต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการจะมีลักษณะในข้อใด

(1) ปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศให้ได้ตามเกณฑ์

(2) ดำเนินธุรกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม

(3) ไม่เอาเปรียบสังคมมากเกินไป

(4) คำนึงถึงผลกำไรเป็นสำคัญ

ตอบ 2

การมีจิตสำนึกที่ดีต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ คือ การดำเนิน ธุรกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม หรือการทำธุรกิจที่หากำไรอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น การป้องกันและกำจัดมลพิษในกระบวนการผลิตไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน

3. ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม ตรงกับความหมายในข้อใด

(1) จิตสำนึก

(2) จิตสาธารณะ

(3) จิตนิยม

(4) จิตวิญญาณ

ตอบ 2

จิตสาธารณะ (Public Mind) คือ ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม หรือเป็นการตระหนักรู้ตนที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 อยู่ในช่วงพุทธศักราชใด

(1) 2545 – 2549

(2) 2560 – 2564

(3) 2546 – 2550

(4) 2561 – 2565

ตอบ 2

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ซึ่งไดัอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำแผน ตั้งแต่ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) จนถึงฉบับที่ 12 เพื่อนำสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน”

5. สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอาชญากรรม คือส่วนใดมากที่สุด
(1) การว่างงาน
(2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
(3) ความเครียด
(4) สภาพครอบครัว
ตอบ 1

สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอาชญากรรมมากที่สุดคือ การว่างงาน เพราะผู้ที่ว่างงานย่อมขาดรายได้สำหรับการดำรงชีวิต ทำให้สภาพจิตใจและ อารมณ์ไม่ปกติ ส่วนผู้ว่างงานที่อยู่ในชนบท มักใช้เวลาว่างไปในทางอบายมุข เที่ยวเตร่ ดื่มสุรา เล่นการพนัน จึงทำให้ขาดรายได้เลี้ยงชีพจนเป็นชนวนให้ก่อปัญหาอาชญากรรมในที่สุด

6. นายญวง เอี่ยมศิลา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัย รามคำแหง ขณะนั้นเป็สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดใด
(1) ชุมพร
(2) อุดรธานี
(3) นครสวรรค์
(4) กาญจนบุรี
ตอบ 2

ในปี พ.ศ. 2512 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากทุกภาคของประเทศ ที่สังกัดพรรคสหประชาไทยได้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ (มหาวิทยาลัยรามคำแหง) ได้แก่
1. นายประมวล กุลมาตย์ ส.ส. จังหวัดชุมพร เป็นผู้จัดทำร่าง
2. นายสวัสดิ์ คำประกอบ ส.ส. จังหวัดนครสวรรค์
3. นายญวง เอี่ยมศิลา ส.ส. จังหวัดอุดรธานี
4. นายประสิทธิ์ ชูพินิจ ส.ส. จังหวัดกำแพงเพชร ฯลฯ

7. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญเด่นขัดในช่วงปีพุทธศักราชใดเป็นต้นมา
(1) 2540
(2) 2541
(3) 2542
(4) 2543
ตอบ 1

เมื่อเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นช่วงเวลาที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญอย่างเด่นชัด และถูกนำมาพิจารณาเป็น แนวทางในการใช้ชีวิตให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์

8. ปัจจัยทางจิตในด้านเอกลักษณ์แห่งตน ก่อให้เกิดสิ่งใด
(1) ความฉลาดทางอารมณ์
(2) จิตสาธารณะ
(3) ความเสียสละ
(4) ความเป็นประชาธิปไตย
ตอบ 2

เรียม นมรักษ์ ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะ และพบว่าเกิดจาก 2 ปีจจัยหลักดังนี้ 1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน ลักษณะการมุ่งอนาคต การคล้อยตามผู้อื่น ฯลฯ
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

9. แนวทางที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาทุจริตคือข้อใด
(1) การบังคับอย่างเด็ดขาด
(2) การปลูกฝังค่านิยมที่ดี
(3) การลงโทษให้รุนแรง
(4) การใช้มาตรการทางสังคม
ตอบ 2

ปัญหาการทุจริตคดโกงที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากความต้องการที่เกินความพอดีมากที่สุด จนกลายเป็นกิเลสที่ทำให้มนุษย์เกิดความละโมบโลภมาก อยากได้อยากมี ไม่มีความพอดีในชีวิต ดังนั้นแนวทางที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาทุจริตก็คือ การปลูกฝังค่านิยมที่ดี โดยเฉพาะการมีความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งอาจได้ผลที่ยั่งยืนกว่าการใช้มาตรการทางสังคม หรือมาตรการทางกฎหมายที่เน้นการบังคับอย่างเด็ดขาดและการลงโทษที่รุนแรง เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า

10. มหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนภูมิภาคของไทย มหาวิทยาลัยใดจัดตั้งขึ้นก่อน
(1) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
(3) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(4) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตอบ 3

ก่อนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนภูมิภาคที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่ภาคใต้ 3 แห่ง เรียงตามลำดับ การจัดตั้งขึ้นก่อนไปหลังได้ดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

11. โดยส่วนใหญ่ที่มาปัญหาของมนุษย์นั้นมาจากอะไร
(1) การใช้คำพูด
(2) การลักทรัพย์
(3) การดื่มสุรา
(4) การนิ่งเฉย
ตอบ 1
จากผลงานวิจัยระบุว่า โดยส่วนใหญ่ที่มาปัญหาของมนุษย์นั้นจะมาจากการใช้ คำพูด (วาจา) ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ได้มากที่สุด เพราะคนเราจะได้สิ่งที่ต้องการหรือไม่ต้องการก็ขึ้นอยู่กับการใช้คำพูดหรือมธุรสวาจาทั้งสิ้น

12. สิ่งที่แสดงการยอมรับร่วมกันว่าเป็นสิ่งดีงามของคนในสังคม คือคำตอบในข้อใด
(1) ความเชื่อความศรัทธา
(2) วัฒนธรรม
(3) ประเพณี
(4) จารีต
ตอบ 2
วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้ และประสบการณ์ โดยถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม มีคุณค่า ควรที่จะประพฤติปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังหมายถึง สิ่งที่แสดงความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจ วัตถุ ความเป็นระเบียบ แบบแผนร่วมกันในการดำเนินชีวิต ความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ดังนั้นวัฒนธรรมจึงสามารถวัดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคมนั้นๆได้

13. กรรมาธิการวิสามัญในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย…..พ.ศ…..ในวาระที่หนึ่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎรเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจแบ่งเป็นฝ่ายใดบ้าง
(1) ฝ่ายที่เห็นชอบ
(2) ฝ่ายที่เห็นชอบแต่มีข้อสังเกต
(3) ฝ่ายที่ไม่เห็นชอบ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
ในวาระที่หนึ่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อภิปราย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ 1. ฝ่ายที่เห็นชอบ 2. ฝ่ายที่เห็นชอบแต่มีข้อสังเกต 3. ฝ่ายที่ไม่เห็นชอบ ในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรลงมติรับหลักการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว

14. ข้อใดคือคุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ
(1) ความพอประมาณ
(2) ความอดทน
(3) ความมีเมตตา
(4) เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
ตอบ 4
ยุทธนา วรุณปิติกุล กล่าวถึงบุคคลที่มีจิตสาธารณะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1. การทุ่มเทและอุทิศตน 2. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม 4. การลงมือกระทำ

15. เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้มั่นคง ได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
(1) การศึกษาที่ดี
(2) การชี้นำที่ดี
(3) กฎหมายที่ดี
(4) คำสอนที่ดี
ตอบ 1
เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้มั่นคง ได้แก่ การศึกษาที่ดีทั้งการศึกษาตามหลักวิชาการหรือตามทฤษฎี และการศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งจะทำให้มนุษย์มีความสมบูรณ์อย่างมีคุณภาพ อันจะเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาในทุกด้าน ของสังคมและประเทศชาติ

16. ก่อนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนภูมิภาคกี่แห่ง
(1) 2 แห่ง
(2) 3 แห่ง
(3) 4 แห่ง
(4) 5 แห่ง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

17. การไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ยอมรับผลจากการกระทำด้วยความใจกว้างอย่างมีเหตุผล เป็นการประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงด้านใด
(1) เศรษฐกิจ
(2) จิตใจ
(3) สังคมและวัฒนธรรม
(4) เทคโนโลยี
ตอบ 2
การประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงในด้านจิตใจ คือ มีจิตใจเข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้าต่อปัญหาและปฏิเสธการรับผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง มีจิตสำนึกที่ใฝ่ดี เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีคุณธรรมในการดำรงอยู่ ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ตลอดจนยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำด้วยความใจกว้างและมีเหตุผล

18. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ได้ขอรับการสนับสนุนจากใคร เพื่อเสนอรัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการ เตรียมการเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ทันปีการศึกษา2514
(1) จอมพลถนอม กิตติขจร
(2) พลเอกประภาส จารุเสถียร
(3) นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์
(4) พลโทแสวง เสนาณรงค์
ตอบ 4
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ได้ขอรับการสนับสนุนจากพลโทแสวง เสนาณรงค์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงในสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอรัฐบาล แต่งตั้งคณะกรรมการตรียมภารเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ทันปีการศึกษา พ.ศ. 2514

19. การทุจริตที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใดมากที่สุด
(1) ความท้าทาย
(2) ความต้องการที่เกินความพอดี
(3) ความสามารถส่วนตน
(4) กฎหมายหย่อนยาน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

20. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปัจจุบัน เป็นแผนฉบับที่เท่าใด
(1) ฉบับที่ 9
(2) ฉบับที่ 10
(3) ฉบับที่ 11
(4) ฉบับที่ 12
ตอบ 4 .ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

21. ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “เศรษฐกิจพอเพียง” หมายถึงอะไร
(1) ทำเศรษฐกิจให้พอเพียงกับตนเอง 100%
(2) มุ่งเน้นกิจกรรมเศรษฐกิจแบบก้าวหน้า
(3) ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะตนเอง
(4) สร้างความสมดุลระหว่างความต้องการซื้อและความต้องการขาย
ตอบ 3
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงมีพระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ความว่า “…ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือ ทำจากรายได้ 200 – 300 บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท…”

22. สถาบันการศึกษาสามารถช่วยในการพัฒนาจิตสาธารณะให้กับสังคมได้อย่างไร
(1) การพัฒนาจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ
(2) อบรมขัดเกลานิสัยใจคอให้มีความรักในชุมชน
(3) การปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะ
(4) สร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย
ตอบ 3
สถาบันการศึกษาสามารถช่วยพัฒนาจิตสาธารณะให้กับสังคม คือ การปลูกฝัง จิตสำนึกสาธารณะโดยการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างจิตสำนึก ทางจริยธรรมให้เข้มแข็งในทุกระดับการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา โดยมีจุดหมาย รวบยอดว่า การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีจิตสำนึกเป็นมนุษย์ที่เต็มที

23. นายกรัฐมนตรีในช่วงระยะเวลาก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงคือใคร
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิตติขจร
(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร
ตอบ 3
นายกรัฐมนตรีในช่วงระยะเวลาก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตหัวหน้าพรรคสหประชาไทย

24. นายสมขายขายสินค้าหมดอายุให้กับลูกค้า สะท้อนถึงการขาดคุณธรรมข้อใด
(1) ความไม่ซื่อสัตย์ในอาชีพ
(2) ความเห็นแก่ตัว
(3) ความมักง่าย
(4) เกิดความโลภ
ตอบ 1
ความซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพ หมายถึง การประกอบอาชีพด้วยความสุจริต ซื่อตรง จริงใจ รักในอาชีพที่ตนทำอยู่ ไม่คดโกงเอาเปรียบ ไม่นำสิ่งปลอมปนมาใช้ในการ ประกอบอาชีพ เช่น ไม่ขายของเหลือหรือสินค้าหมดอายุให้กับลูกค้า, ไม่นำสินค้าเกรดต่ำ ๆ มาขายในราคาสูง, ตรวจสอบคุณภาพของสินค้าก่อนส่งมอบทุกครั้ง ฯลฯ

25. นายประมวล กุลมาตย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นผู้จัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย……พ.ศ…… ซึ่งเป็นร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ ขณะนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดใด
(1)นครสวรรค์
(2)ชุมพร
(3) อุดรธานี
(4) หนองคาย
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

26. ปัจจัยภายในใดที่ทำให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การแยกแยะความดี ความชั่ว
(2) การประเมินพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคม
(3) การตระหนักถึงส่วนรวม
(4) การคิดวิเคราะห์พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
ตอบ 4
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจน กล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะไว้ดังนี้
1. ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์ ภาวะทางสังคม
2. ปัจจัยภายใน หมายถึง การคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลในการพิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ

27. การแบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ไม่ทุจริตในการสอบ พอใจในผลสอบที่ได้ เป็นเงื่อนไขในข้อใดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(1) คุณธรรม
(2) หลักวิชา
(3) วัฒนธรรม
(4) ชีวิต
ตอบ 1
เงื่อนไขคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตนให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น เช่น การที่นักศึกษาแบ่งบันความรู้ให้เพื่อน ไม่ทุจริตในการสอบ และพึงพอใจในผลสอบที่ ได้รับ เป็นตัน

28. ปัญหาสังคมอันเนื่องมาจากสิ่งเสพติดควรแก้ปัญหาอย่างไร
(1) การให้ความรู้เกี่ยวกับโทษยาเสพติด
(2) การใช้กฎหมายควบคุมอย่างเด็ดขาด
(3) การให้อิสระทางความคิด
(4) การลงโทษผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องด้วย
ตอบ 1
แนวทางแก้ไขปัญหาสังคมอันเนื่องมาจากสิ่งเสพติดมีดังนี้
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษยาเสพติด
2. ป้องกันและปราบปรามผู้ซื้อและผู้ขายอย่างเด็ดขาด
3. ร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของเด็กอย่างใกล้ชิด
4. จัดให้มีการบำบัดและรักษาผู้ติดยาเสพติด ฯลฯ

29. ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผลคนแรกของมหาวิทยาลัย รามคำแหง คือใคร
(1) นายไพบูลย์ สุวรรณโพธิ์ศรี
(2) นายธนกาญจน์ ภัทรากาญจน์
(3) นายอภิรมย์ ณ นคร
(4) นายสง่า ลีนะสมิต
ตอบ 2
ในรายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงครั้งแรกที่ประชุมมีมติและเสนอแต่งตั้งนายธนกาญจน์ ภัทรากาญจน์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล ทั้งนี้นายกสภามหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งแต่งตั้งรักษาการก่อน และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามระเบียบของราชการในเวลาต่อมา

30. การที่นายสมประสงค์โฆษณาสินคาเกินความเป็นจริง แสดงถึงความบกพร่องในข้อใด
(1) การใช้สื่อผิดวัตถุประสงค์
(2) การหลอกลวงให้หลงเชื่อ
(3) การสร้างกระแสให้กับสินค้า
(4) การสกัดคู่แข่งทางธุรกิจ
ตอบ 2
การโฆษณาสินค้าเกินความเป็นจริง จะเข้าข่ายความผิดเรื่องการหลอกลวงให้ ผู้บริโภคหลงเชื่อ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วย ประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

31. ข้อใดเป็นหลักการของความพอเพียง
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอเพียง ซึ่งหมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก

32. แนวทางในการเสริมสร้างคุณธรรมที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือแนวทางใด
(1) การสอน
(2) การอบรม
(3) การฝึกฝน
(4) การเป็นแบบที่ดี
ตอบ 4
แนวทางในการเสริมสร้างคุณธรรมที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การส่งเสริมให้ครู เป็นตัวแบบที่ดี (Modeling) ให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธาและอยากกระทำตาม เพราะกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (Social Learning) เชื่อว่า ตัวแบบที่ดีเป็นเครื่องมือ สำคัญที่สุดในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม

33. ก่อนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาของไทยสิ้นสภาพการเป็นมหาวิทยาลัย แบบตลาดวิชาอย่างบริบูรณ์ตั้งแต่ พ.ศ. อะไร
(1) 2500
(2) 2501
(3) 2502
(4) 2503
ตอบ 4
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ได้ก่อตั้งขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาแห่งแรกในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไทย แต่ด้วยเหตุผลทาง การเมืองบางประการในขณะนั้น การเป็นตลาดวิชาของมหาวิทยาลัยก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไป เป็นระบบมหาวิทยาลัยบปิด และสิ้นสภาพความเป็นตลาดวิชาอย่างบริบูรณ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จึงได้เกิดมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาแห่งที่สองในประวัติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยไทย คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ข้อ 34. – 35. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) จริยธรรม
(2) คุณธรรม
(3) ศีลธรรม
(4) มโนธรรม

34. หากท่านพบว่าหัวหน้าตนเองแอบโกงเงินบริษัท ท่านจึงแจ้งเจ้าของบริษัทให้เอาผิด ถือว่าท่านมีสิ่งใด
ตอบ 1
ความหมายของคำว่า “คุณธรรม” และ “จริยธรรม” เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกันในด้านคุณงามความดี แต่จะมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ
1. คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล เช่น ความกตัญญู- กตเวที ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีนํ้าใจ เสียสละ อดทน ฯลฯ
2. จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติที่ถูกต้องดีงามทั้งกายและวาจา สมควรที่บุคคลจะประพฤติปฏิบัติเป็นพฤติกรรมภายนอก ดังนั้นจริยธรรมจึงเป็นเรื่องของการแสดงออก ให้เห็นเป็นประจักษั

35. หากท่านพบว่าหัวหน้าตนเองแอบโกงเงินบริษัท แต่หัวหน้าขอร้องไม่ให้บอกใคร ท่านจึงไม่บอกใครเพราะ หัวหน้าคนนี้มีบุญคุณต่อท่าน ถือว่าท่านมีสิ่งใด
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ

36. จริยธรรมของบุคคลมีองค์ประกอบอย่างน้อยสามประการคืออะไร
(1) ด้านความรู้ นำไปใช้ และเลี้ยงตนเอง
(2) ด้านความเข้าใจ นำไปใช้ และใช้สอน
(3) ด้านความรู้ ความเข้าใจ และสร้างทฤษฎี
(4) ด้านความรู้ อารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรม
ตอบ 4
กรมวิชาการ กล่าวถึงจริยธรรมของบุคคลว่ามีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ด้านความรู้ 2. ด้านอารมณ์ความรู้สึก 3. ด้านพฤติกรรม

37. ข้อใดต่อไปนี้คือหลักคุณธรรมสำหรับการทำหน้าที่ได้ถูกต้องและเหมาะสม
(1) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
(2) ยอมรับผลงานที่ตนเองได้ปฏิบัติ
(3) ยอมรับรางวัลที่ได้รับ
(4) ยอมรับการปฏิบัติเมื่อมีคนสั่ง
ตอบ 2
หลักคุณธรรมสำหรับการทำหน้าที่ได้ถูกต้องและเหมาะสม คือ การยอมรับ ผลงานที่ตนเองได้ปฏิบัติ หรือยอมรับผลการกระทำของตนเอง โดยไม่โยนความรับผิดชอบ ไปให้ผู้อื่น ไม่ว่างานที่ทำไปจะบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงถึง ความรับผิดชอบและนำมาปรับปรุงแก้ไขงานนั้นให้ดีขึ้นกว่าเดิม

38. ข้อใดคือความหมายของคำว่า “เมตตา”
(1) ความรักและปรารถนาดีต่อมิตร
(2) อยากให้ผู้อื่นพบความสุข
(3) บุญและบาปมีจริง
(4) เขาดีเราดีตอบ เขาร้ายเราร้ายตอบ
ตอบ 2
พระธรรมปีฎก (ป.อ. ปยุตโต) กล่าวว่า คุณธรรม คือ ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม ประกอบด้วย
1. เมตตา คือ ความรักปรารถนาดีเป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นพบความสุข
2. กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสำเร็จให้มีความสุข
4. อุเบกขา คือ การวางตัว การวางใจเป็นกลางเพื่อรักษาธรรม
5. จาคะ คือ ความมีนํ้าใจ เสียสละ เอื้อเพื่อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว

39. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
(1) คุณธรรม คือ การวางใจเพื่อความดีงาม
(2) คุณธรรมไม่สัมพันธ์กับหน้าที่ของบุคคล
(3) คุณธรรม คือ เรื่องปล่อยวางและนิ่งเฉย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40. ข้อใดกล่าวถึงหลักการครองตนได้ถูกต้องที่สุดตามหลักคุณธรรม
(1) แดงรับประทานมาม่าเพื่อช่วยพ่อแม่ประหยัด
(2) ดำทำความเคารพผู้อื่นเสมอ
(3) การรู้จักตนเองและทำตามที่ตนเองต้องการ
(4) สมศรีเรียนรู้การให้และการรับ
ตอบ 3
หลักในการครองตน คือ การรู้จักตนเองและทำตามที่ตนเองต้องการ เข้าใจ ตนเอง และสามารถควบคุมตนเองได้ เป็นผู้ที่มีเป้าหมายในชีวิตที่แน่นอน หรือเรียกกันว่า “มีเป้าหมายแห่งตน” ซึ่งหลักการครองตนตามหลักคุณธรรมนั้นจะต้องประกอบไปด้วย “ภูมิ” หรือคุณลักษณะ 3 ประการ ดังนี้
1. ภูมิรู้ คือ มีรากฐานความรู้ตามศาสตร์สาขาวิชาการที่ดีหรือมีเทคนิคความชำนาญเฉพาะอย่าง
2. ภูมิธรรม คือ มีคุณธรรมกำกับการทำงาน
3. ภูมิฐาน คือ มีพื้นฐานของบุคลิกลักษณะที่ดี

41. อะไรคือตัวควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้เป็นอิสระ เป็นสุขจากแรงกระทบที่เกิดขึ้น
(1) ปัญญา
(2) ปัญหา
(3) ปรัชญาชีวิต
(4) ความคาดหวัง
ตอบ 1
ปัญญาหรือความรู้ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมให้บุคคลแสดงพฤติกรรมในทางที่ถูกต้อง เพราะปัญญาเป็นตัวควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้เป็นอิสระ เป็นสุขจากแรงกระทบกระทั่งทั้งปวงนั้น

42. เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุใดมากที่สุด
(1) สภาพสังคม
(2) ความเชื่อที่ผิด
(3) ต้องการเอาชนะกัน
(4) ความขัดแย้ง
ตอบ 4
เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุความขัดแย้ง มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนา ภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ผลประโยชน์ในพื้นที่ อุดมการณ์ในการปกครอง ฯลฯ

43. ข้อใดเป็นคุณสมบัติผู้ที่มีคุณธรรม
(1) ไม่เชื่อในการกระทำของบุคคลอื่น
(2) มีทัคนคติในทางบวกในทุก ๆ เรื่อง
(3) ไม่เกิดความทุกข์
(4) อยู่ในระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้
ตอบ 3
การที่คนในสังคมมีความรู้ความเข้าใจคุณธรรมจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาดและสว่างต่อจิตใจ จะปฏิบัติการงานชนิดใดก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไม่เกิดทุกข์ภัยทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม

44. การมองคนอื่นในแง่ดีอยู่เสมอและพร้อมให้โอกาส เป็นหลักการของคุณธรรมข้อใด
(1) การครองงาน
(2) การครองตน
(3) การครองคน
(4) การครองตำแหน่ง
ตอบ 3
การครองคน คือ การรู้จักและเข้าใจธรรมชาติผู้อื่น โดยการมองคนอื่นในแง่ดีอยู่เสมอและพร้อมให้โอกาส ซึ่งในการทำงานร่วมกับคนอื่นนั้น การครองคนถือเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะคนเรามีหลายประเภทหรือดอกบัว 4 เหล่า จึงควรยึดหลักการครองใจคนตามหลักการของพระพุทธศาสนา เช่น หลักสังคหวัตถุ 4

45. ข้อใดคือผลสุดท้ายที่เกิดขึ้นกับทุกหน่วยของสังคม ถ้าทุกหน่วยดำเนินการตามแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ความมีหน้ามีตา
(2) ความมั่งคั่ง
(3) ความน่าเชื่อถือ
(4) ความยั่งยืน
ตอบ 4
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในสังคมระดับต่าง ๆ นั้น หากทุกหน่วยสังคม สามารถดำเนินการได้ตามแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง สังคมก็จะมีความมั่นคงและยั่งยืน เพราะทุกหน่วยในสังคมพึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุขตามสถานภาพของตน

46. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงวิธีครองงานได้ครอบคลุมที่สุด
(1) การครองงานตามความต้องการ
(2) การครองงานในอาชีพของตนเท่านั้น
(3) การครองงานโดยใช้ความรู้และปัญญา
(4) การครองงานตามที่หัวหน้าสั่ง
ตอบ 3
หลักในการครองงาน คือ การรู้จักงานที่ตนเองกำลังทำอยู่ และทำงานอย่าง มีความสุข รักและชอบในงานที่ตนเองกำลังทำอยู่ ซึ่งมีวิธีการครองงานดังนี้
1. การครองงานโดยใช้ความรู้และปัญญา
2. การครองงานโดยใช้หลักธรรมมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ คือ การมีใจรัก มีความพากเพียรทำ ตั้งใจฝักใฝ่ และใช้ปัญญาไตร่ตรอง
3. การให้ความรักและความเคารพในงานอาชีพของตน ไม่ดูถูกหรือให้ใครดูหมิ่นในงานของตน มีจริยธรรมในอาชีพ

47. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
(1) การพัฒนาบ้านเมืองต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน
(2) ทำวันนี้ให้ดีที่สุดวันหน้าเป็นเรื่องของกรรม
(3) วันนี้ยากจนวันหน้าต้องร่ำรวย
(4) อำนาจและวาสนาถ้าได้มาต้องรักษาไว้ให้ได้ทุกวิธี
ตอบ 1
วศิน อินทสระ กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของจริยธรรมไว้ดังนี้
1. จริยธรรมเป็นรากฐานอับสำคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง
2. การพัฒนาบ้านเมืองต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน
3. จริยธรรมมิได้หมายถึง การถือศีล เข้าวัดฟังธรรม จำศีลภาวนา โดยไม่ช่วยเหลือทำประโยชน์ ให้แก่สังคม แต่จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติ การกระทำ และความคิดที่ถูกต้องเหมาะสม ต่อการทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ฯลฯ

48. การนำคุณธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต หมายถึงข้อใด
(1) ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
(2) เรียนหนังสือเท่าที่อาจารย์บรรยาย
(3) ทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้
(4) วางใจเป็นและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ตอบ 4
การนำคุณธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต หมายถึง การวางใจเป็น และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลาได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

49. ข้อใดตอไปนี้กล่าวได้ถูกต้องที่สุด
(1) จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคล
(2) จริยธรรมนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินชีวิตเท่านั้น
(3) จริยธรรมเป็นรากฐานแห่งความเจริญรุ่งเรือง
(4) จริยธรรมและคุณธรรมเป็นพื้นฐานของความจริง
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

50. มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ห้าของไทย คืออะไร
(1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(2) มหาวิทยาลัยศิลปากร
(3) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(4) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตอบ 2
ก่อนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐที่กรุงเทพมหานคร 5 แห่ง เรียงตามลำดับการจัดตั้งขึ้นก่อนไปหลังได้ดังนี้
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4. มหาวิทยาลัยมหิดล 5. มหาวิทยาลัยศิลปากร

51. คำกล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา” เป็นข้อความอธิบายอะไรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
(1) เอกลักษณ์
(2) รูปลักษณ์
(3) ลักษณะ
(4) อัตลักษณ์
ตอบ 1
เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ เป็นมหาวิทยาลัยแบบ ตลาดวิชา ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 1. รับไม่จำกัดจำนวน 2. ไม่จำเป็นต้องเข้าเรียน 3. มีอิสระในการเสือกสาขาวิชาที่เรียน 4. สนองตอบต่อการเรียนตลอดชีวิต

52. การปลูกฝังจริยธรรมควรเริ่มต้นจากที่ใดเป็นลำดับแรก
(1) สถานศึกษา
(2) ศาสนสถาน
(3) กลุ่มสังคม
(4) ครอบครัว
ตอบ 4
การปลูกฝังจริยธรรมควรเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวก่อนเป็นลำดับแรกเพราะเด็กในช่วงอายุก่อน 6 ปี จะสามารถเรียนรู้และซึมซับจริยธรรมในช่วงนั้นได้มากที่สุด ดังนั้นพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และผู้ใกล้ชิดของเด็กในวัยนี้จึงมีบทบาทสำคัญมากในการปลูกฝัง จริยธรรม และควรกระทำอย่างต่อเนื่องผ่านทางกิจกรรมต่าง ๆ

53. การอาศัยองค์ความรู้ในการวางแผนและปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ เป็นเงื่อนไขใดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(1) คุณธรรม
(2) หลักวิชา
(3) วัฒนธรรม
(4) ชีวิต
ตอบ 2
เงื่อนไขหลักวิฃาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำเนินกิจกรรมใดต้องอาศัย ความรอบรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เช่น การอาศัยองค์ความรู้ในการวางแผนและปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้อย่างระมัดระวัง โอกาสผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นน้อยมาก เป็นต้น

54. ในฐานะ “สมาชิกของสังคม” ท่านจะสามารถนำจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
(1) การช่วยปลูกป่าที่เสื่อมโทรม
(2) การใช้น้ำ น้ำมัน ไฟฟ้าอย่างประหยัด
(3) การเรี่ยไรเงินเพื่อบริจาคสร้างโบสถ์
(4) การร่วมต่อต้านนักการเมืองทุจริต
ตอบ 2
ในฐานะสมาชิกของสังคม เราสามารถนำจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเริ่มจากตนเองในกิจกรรมเล็ก ๆ เช่น การใช้ทรัพยากรน้ำ น้ำมัน หรือไฟฟ้าอย่างประหยัด ฯลฯ จนไปถึงกิจกรรมใหญ่ๆ ในระดับชุมชน เช่น การพัฒนาชุมชน การรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ฯลฯ หรือจนถึงระดับประเทศชาติ เช่น การสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ต่าง ๆ ฯลฯ

55. วัฒนธรรมมีหน้าที่ตามข้อใดมากที่สุด
(1) แสดงถึงความเป็นตัวตน
(2) กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
(3) หล่อหลอมสมาชิกในสังคม
(4) สร้างความแตกต่างให้ชัดเจน
ตอบ 2
วัฒนธรรมทำหน้าที่ควบคุมสังคม โดยการกำหนดกฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้แก่สังคม เพราะในวัฒนธรรมจะมีทั้งความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน ตลอดจนผลตอบแทนในการปฏิบัติและบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืน

56. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ สอนกระบวนวิชาใดในวันเปิดเรียนครั้งแรกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
(1) EN 101 วิชาภาษาอังกฤษ
(2) PS 110 วิชาการปกครองของไทย
(3) LS 103 วิชาการใช้ห้องสมุด
(4) TH 101 วิชาการใช้ภาษาไทย
ตอบ 2
กระบวนวิชาแรกที่สอนในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นวันเปิดเรียนครั้งแรก ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ LS 103 วิชาการใช้ห้องสมุด สอนโดย อ.อัมพร วีระวัฒน์ และคาบต่อมาก็คือ กระบวนวิชา PS 110 วิชาการปกครองของไทย สอนโดยศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุกนิรันต์

57. ข้อใดต่อไปนี้แสดงถึงความซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพมากที่สุด
(1) อาทิตย์พยายามขายสินค้าให้หมดทุกวิธี
(2) จันทร์นำของเหลือมาขายเพื่อหารายได้เพิ่ม
(3) อังคารตรวจสอบสินค้าก่อนส่งมอบให้ลูกค้า
(4) พุธคัดเลือกสินค้าเกรดต่ำ ๆ เพื่อจะได้กำไรมากขึ้น
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

58. ข้อใดคือการตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน ตามหลักทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริขั้นที่สาม
(1) หน่วยงานให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่
(2) ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก
(3) บริษัทเอกชนสนับสนุนด้านเงินทุนระยะสั้น
(4) พ่อค้าคนกลางที่อำนวยความสะดวกด้านการรับซื้อสินค้าเกษตร
ตอบ 2
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริขั้นที่ 3 คือ การตระหนักถึงการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชนด้วยการติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่
1. หน่วยงานที่สนับสนุนุด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง 2. ธนาคารที่จะให้การสนับสนุบเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก 3. บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง

59. จิตสาธารณะเกิดจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในวัยเด็ก
(2) ประสบการณ์ในวัยรุ่น
(3) ประสบการณ์ในวัยผู้ใหญ่
(4) ประสบการณ์ในวัยชรา
ตอบ 1
จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนา ไปอย่างช้าๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการพัฒนาจิตสาธารณะจึงจำเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันในสังคม

60. กรรมาธิการวิสามัญในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย…..พ.ศ…..ประกอบด้วย กรรมาธิการฝ่ายรัฐบาลจำนวนกี่คน
(1) 6 คน
(2) 7 คน
(3) 8 คน
(4) 9 คน
ตอบ 2
นายประมวล กุลมาตย์ เจ้าของร่างฯ เสนอแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งที่ประชุม ลงมติให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาจำนวน 15 คน ประกอบด้วย กรรมาธิการฝ่ายรัฐบาล จำนวน 7 คน และกรรมาธิการฝ่ายผู้แทนจำนวน 8 คน

61. ข้อใดไม่ใช่ความเสี่ยงที่เกษตรกรมักพบอยู่เป็นประจำ
(1) มีหนี้สินจนต้องสูญเสียที่ดิน
(2) ราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า
(3) การไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศที่มีราคาสูง
(4) การขาดแคลนน้ำ ฝนทิ้งช่วง ความแห้งแล้ง
ตอบ 3
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ กล่าวถึงความเสี่ยงที่เกษตรกรมักพบอยู่เป็นประจำ ได้แก่ 1. การขาดแคลนน้ำ ฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง 2. ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ 3. สภาพดินที่ไม่เหมาะสม 4. โรคระบาดและศัตรูพืช 5. การพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่ จากต่างประเทศที่มีราคาสูง 6. การขาดแคลนแรงงาน 7. มีหนี้สินจนต้องสูญเสียที่ดินทำกิน

62. เหตุผลสำคัญของความรู้ที่ต้องควบคู่คุณธรรม ตรงกับคำตอบข้อใคต่อไปนี้
(1) ความรู้ทำให้องอาจ
(2) การนำความรู้ไปใช้ในทางที่ถูกต้อง
(3) ความรู้กับคุณธรรมเป็นของคู่กัน
(4) ความรู้กับคุณธรรมทำให้เกิดการยอมรับ
ตอบ 2
ในวิชาความรู้คู่คุณธรรมนั้น บุคคลจะมีความรู้เพียงอย่างเดียว ไม่พอ หรือมีคุณธรรมอย่างเดียวก็ไม่พอเช่นกัน จะต้องมีทั้งสองสิ่งควบคู่กัน เพราะหากมี ความรู้แต่ไม่มีคุณธรรม เวลานำความรู้ไปใช้ก็อาจเกิดเหตุที่เป็นผลร้ายกับสังคมได้ ดังนั้น จึงต้องมีคุณธรรมประกอบด้วย เพื่อช่วยส่งเสริมให้บุคคลนำความรู้ไปใช้ในทางที่ถูกที่ควร หรือนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

63. ในปีการศึกษา 2516 มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีคณะวิชาที่จัดการเรียนการสอนกี่คณะ
(1) 4 คณะ
(2) 5 คณะ
(3) 6 คณะ
(4) 7 คณะ
ตอบ 4
ในวาระเริ่มแรก (พ.ศ. 2514) มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้จัดตั้งคณะวิชา 4 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ต่อมามหาวิทยาลัยได้ขอจัดตั้งเพิ่มอีก 3 คณะ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และ คณะเศรษฐศาสตร์ แต่สภาการศึกษาแห่งชาติไม่ให้จัดตั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามโครงการจัดตั้งคณะใหม่ ทำให้ในปีการศึกษา พ.ศ. 2516 มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีคณะวิชาที่จัดการเรียนการสอนทั้งหมด 7 คณะ

64. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
(1) มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ๆ ออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่เกษตรกร
(2) มีการคำนวณปริมาณน้ำที่จะต้องจัดเก็บให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชนานาชนิดได้อย่างเหมาะสมตลอดทั้งปี
(3) มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อยโดยแยกเป็นสามขั้นตอน
(4) สร้างผลผลิตที่สามารถทำกำไรสูงสุด
ตอบ 4
ความสำคัญของทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริมีดังนี้
1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ๆ ออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร
2. มีการคำนวณปริมาณน้ำที่จะต้องจัดเก็บไว้ให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชนานาชนิด ได้อย่างเหมาะสมตลอดทั้งปี โดยใช้หลักวิชาการที่ถูกต้อง
3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อยโดยแยกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1, 2 และ 3

65. กลไกในข้อใดที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ควบคุมจริยธรรมนักการเมือง
(1) การสอนหรืออบรม
(2) การสร้างความรับรู้
(3) การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับปัญหาการขาดจริยธรรม
(4) การตรวจสอบที่เข้มงวดกวดขันในการปฎิบ้ติหน้าที่
ตอบ 4
ปัญหาจริยธรรมของนักการเมืองได้ส่งผลต่อปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์ ในหน้าที่โดยมิชอบมากที่สุด เช่น การทุจริตเลือกตั้ง, การช่วยเหลือพวกพ้องให้ได้ดำแหน่ง, การใช้ทรัพย์สินงบประมาณราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ฯลฯ ดังนั้นกลไกที่เหมาะสมที่สุด ในการใช้ควบคุมจริยธรรมนักการเมืองก็คือ การตรวจสอบที่เข้มงวดกวดขันในการปฏิบัติ หน้าที่ โดยมีบทลงโทษที่รุนแรงและบังคับใช้อย่างจริงจัง ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่สองมาตรฐาน

66. ข้อใดไม่ใช่การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(1) จัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(2) ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
(3) ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสภาพแวดล้อมที่ทันสมัย
(4) รักษาสมดุลระหว่างวัตถุกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 3
การประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูเพื่อทดแทนสิ่งเก่าที่ถูกทำลายไป จึงจะสามารถรักษาสมดุลระหว่าง วัตถุกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน

67. คุณธรรมที่สะท้อนถึงความเอื้อเฟื้อ คือคุณธรรมข้อใด
(1) สังคหวัตถุ
(2) อิทธิบาท
(3) ฆารวาสธรรม
(4) สัปปุริสธรรม
ตอบ 1
สังคหวัตถุ 4 คือ หลักคุณธรรมที่ช่วยรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ช่วยสะสมมิตรไมตรี ทำให้มนุษย์ในสังคมดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างเอื้อเพื่อเผื่อแผ่ เอื้ออาทร หรือช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน หมายถึง การให้ การบริจาค การเสียสละแบ่งปันวัตถุ สิ่งของ ทรัพย์สิน
2. ปิยวาจา หมายถึง การพูดด้วยความปรารถนาดี จริงใจ พูดจาสุภาพไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา หมายถึง ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคม มีจิตอาสา สละแรงกาย แรงใจเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมสาธารณะ
4. สมานัตตา หมายถึง การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย เมื่อเกิดปัญหาต่อส่วนรวมก็ต้องร่วมกัน แก้ปัญหา

68. นายประสิทธิ์ ชูพินิจ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัย รามคำแหง ขณะนั้นเป็สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดใด
(1) นครสวรรค์
(2) อุดรธานี
(3) กำแพงเพชร
(4) นครราชสีมา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

69. ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป้าประสงค์ คือ การสร้างความสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านใด
(1) วัตถุ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
(2) วัตถุ สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม
(3) วัตถุ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
(4) วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
ตอบ 4
เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความสมดุลและพร้อมรับการ เปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายถึง การสร้างสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

70. ความรุนแรงในสังคมจะเป็นเหตุให้ต้องเข่นฆ่ากันส่วนหนึ่งเพราะขาดคุณธรรมข้อใด
(1) เมตตา
(2) กรุณา
(3)มุทิตา
(4)อุเบกขา
ตอบ 1 (ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ) เมตตา หมายถึง ความรักที่จะทำให้เป็นสุข ตรงกันข้ามกับความเกลียดที่จะทำให้เป็นทุกข์ จึงเป็นความรักและปรารถนาดีต่อผู้อื่น ไม่เข่นฆ่าหรือเบียดเบียนทำร้ายใครแม้สัตว์เล็กเพียงไหนให้เดือดร้อนทรมานด้วยความโกรธ เกลียด หรือสนุก ดังนั้นเมตตาจึงเป็นคุณธรรมค้ำจุนให้โลกมีแต่สันติสุข ถ้าขาดเมตตาก็จะเต็ม ไปด้วยความโหดเหี้ยมทารุณ เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อันเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงในสังคม

71. รูปธรรมของการแสดงความมีจิตสาธารณะคืออะไร
(1) การสร้างฝายน้ำล้นในพื้นที่แห้งแล้ง
(2) การต่อต้านนายทุนที่บุกรุกป่าสงวน
(3) การปัดกวาดลานวัด
(4) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้น้อง ๆ
ตอบ 1
การแสดงความมีจิตสาธารณะอาจทำได้ทั้งแบบรูปธรรม (วัตถุสิ่งของ)ได้แก่ การสร้างฝายน้ำล้นในพื้นที่แห้งแล้ง การสร้างโรงเรียนให้แก่เด็กในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น และ แบบนามธรรม (การกระทำ) ได้แก่ การต่อต้านนายทุนที่บุกรุกป่าสงวน การปัดกวาดลานวัด การเป็นแบบอย่างที่ดีให้น้อง ๆ เป็นต้น

72. องค์กรใดเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ทันปีการศึกษา 2514 ก่อนพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหงประกาศใช้
(1) วุฒิสภา
(2) สภาผู้แทนราษฎร
(3) กรรมาธิการสามัญของวุฒิสภา
(4) คณะรัฐมนตรี
ตอบ 4
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ทันปีการศึกษา พ.ศ. 2514 มีรายนามดังต่อไปนี๋ 1. นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นประธานกรรมการ 2.นายประภาศน์ อวยชัย เป็นกรรมการ 3. นายไพบูลย์ สุวรรณโพธิ์ศรี เป็นกรรมการ ฯลฯ

73. ผู้ดำเนินการแปรญัตติขอตั้งงบประมาณปี 2513 จำนวน 5 ล้านบาท ตัดฝากไว้สำหรับเตรียมการเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือใคร
(1) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(2) นายประภาศน์ อวยชัย
(3) นายประมวล กุลมาตย์
(4) นายสวัสดิ์ คำประกอบ
ตอบ 3
นายประมวล กุลมาตย์ ส.ส. จังหวัดชุมพร เบ็เนผู้ดำเนินการแปรญัตติขอตั้ง งบประมาณปี พ.ศ. 2513 จำนวน 5 ล้านบาท ตัดฝากไว้สำหรับเตรียมเปิดมหาวิทยาลัย รามคำแหง

74. เพราะอะไรธุรกิจเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่มีความสำคัญยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ช่วยให้ประชาชนมีกินมีใช้ตลอดเวลาของทุกช่วงชีวิต
(2) ช่วยสร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการให้ทันสมัย
(3) ภาคส่วนช่วยให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่ความมั่งคังได้ดีอย่างรวดเร็วขึ้น
(4) ภาคส่วนที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากร
ตอบ 4
ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ธุรกิจเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่มีความสำคัญยิ่งต่อ ระบบเศรษฐกิจ เพราะธุรกิจ คือ ภาคส่วนที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากร ดังนั้นจึงต้อง คำนึงถึงความพอเพียงระดับธุรกิจ ได้แก่
1. ธุรกิจควรมองถึงผลในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
2. แสวงหาผลกำไรบนพื้นฐานของการแบ่งปันประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
3. พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และสร้างคุณค่าตราสินค้าให้มีความน่าเชื่อถือ
4. แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

75. ข้อใดคือเงื่อนไขพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
(1) น้ำใจ
(2) วัฒนธรรม
(3) ชีวิต
(4) มีอาชีพสุจริต
ตอบ 3
เงื่อนไขพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
1. เงื่อนไขคุณธรรม 2. เงื่อนไขหลักวิชา 3. เงื่อนไขชีวิต

76. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ก่อนดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยดำรง ตำแหน่งทางบริหารมหาวิทยาลัยใด
(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(3) มหาวิทยาลัยศิลปากร
(4) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 2 ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เคยดำรงดำแหน่งทางบริหารโดยการเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และยังได้ทำงานด้านการเมืองในตำแหน่งรองโฆษกรัฐบาลในขณะนั้นด้วย

77. ปัญหาจริยธรรมของนักการเมืองส่งผลต่อปัญหาใดมากที่สุด
(1) การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
(2) การละเว้นการปฏินัติหน้าที่
(3) ขาดความรับผิดชอบ
(4) คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

78. ในวาระเริ่มแรกมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีคณะวิชาที่จัดการเรียนการสอน คือคณะใด
(1) คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์
(2) คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะรัฐศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
(3) คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะรัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
(4) คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

79. หลักทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริขั้นที่หนึ่ง ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นสี่ส่วนด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 เพื่อการบริหารจัดการอย่างไร
(1) ปลูกที่อยู่อาศัย : ปลูกข้าว : ปลูกผลไม้ : ขุดเป็นสระ
(2) ขุดเป็นสระ : ปลูกข้าว : ปลูกผลไม้ : ปลูกที่อยู่อาศัย
(3) ปลูกข้าว : ปลูกผลไม้ : ปลูกที่อยู่อาศัย : ขุดเป็นสระ
(4) ปลูกที่อยู่อาศัย : ขุดเป็นสระ : ปลูกข้าว : ปลูกผลไม้
ตอบ 2
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริขั้นที่ 1 คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 โดยบริหารจัดการดังนี้
1. ขุดเป็นสระสำหรับใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน 30%
2. ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
3. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ 30%
4. ปลูกเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนทางเดิน และโรงเรือนอื่น ๆ 10%

80. หลักคำสอนเกี่ยวกับความรักในศาสนาคริสต์ ตรงกับคำตอบข้อใด
(1) ความรักในทุกสิ่ง
(2) ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
(3) ความรักระหว่างคนกับความดี
(4) ความรักระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
ตอบ 2
หลักคำสอนของศาสนาคริสต์เน้นเรื่องความรัก โดยให้ความสำคัญว่าความรัก เป็นสิ่งที่อยู่สูงสุด ความรักเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และจำเป็นต่อผู้คนที่อยู่บนโลกใบนี้ ซึ่งความรักใน ศาสนาคริสต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า 2. ความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

81. ในวาระที่สามในการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย…..พ.ศ…..ที่ประชุมได้ลงมติอย่างไร
(1) ลงมติโดยเสียงข้างมาก
(2) ลงมติเป็นเสียงเอกฉันท์
(3) ลงมติโดยเสียงไม่เป็นเอกฉันท์
(4) ลงมติโดยมีเสียงคัดค้านเพียงสองเสียง
ตอบ 2
ในวาระที่สามในคราวประชุมสภาผู้แทน ครั้งที่ 4/2513 (สามัญ) วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 ที่ประชุมได้ลงมติเป็นเสียงเอกฉันท์ให้ใช้ได้ และให้เสนอต่อ วุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้วุฒิสภาได้รับไว้พิจารณา วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2513

82. สถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ เราควรนำหลักคุณธรรมข้อใดมาใช้ในการดำเนินชีวิตมากที่สุด
(1) การรู้จักกินรู้จักใช้
(2) ความกล้าหาญ
(3) การรู้จักพึ่งผู้อื่น
(4) ความอดทนและประหยัด
ตอบ 4
หลักคุณธรรมที่ควรนำมาใช้ดำเนินชีวิตในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ได้แก่
1. ความอดทน (ขันติ) คือ อดทนอดกลั้นต่อความลำบากตรากตรำ อดทนต่อการทำหน้าที่ การงานด้วยความขยันหมันเพียร ไม่เกียจคร้าน
2. การประหยัด คือ ใช้จ่ายแต่พอควรแก่ฐานะ ความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ฟุ่มเฟือย ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง

83. การวัดระดับของคุณธรรมและจริยธรรม สามารถวัดได้ด้านใดบ้าง
(1) ด้านดีและด้านชั่ว
(2) ด้านทุกข์และด้านสุข
(3) ด้านความประพฤติและด้านจิตใจ
(4) ด้านตนเองและด้านผู้อื่น
ตอบ 3 (ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ) การวัดระดับของคุณธรรมและจริยธรรมสามารถวัดได้ 2 ด้านดังนี้ 1. ด้านความประพฤติ (จริยธรรม) 2. ด้านจิตใจ (คุณธรรม)

84. นายแคล้ว นรปติ ผู้เสนอชื่อมหาวิทยาลัยในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย…..พ.ศ……ว่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ขณะนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดใด
(1) นครราชสีมา
(2) นครสวรรค์
(3) ขอนแก่น
(4) หนองคาย
ตอบ 3
ในวาระที่สองมีประเด็นที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ชื่อร่างพระราชบัญญัติ”เกี่ยวกับประเด็นนี้ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หลายคนอภิปรายอย่างกว้างขวาง สำหรับชื่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นชื่อที่นายแคล้ว นรปติ ส.ส. จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้เสนอ

85. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของจริยธรรมได้ถูกต้อง
(1) เป็นรากฐานของความเจริญรุ่งเรือง
(2) ทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการของตน
(3) ทำให้เกิดความสงบสุขต่อตนเอง
(4) ทำให้เกิดการยอมรับทางสังคมโดยทั่วไป
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

86. การวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้ เป็นการประยุกต์ใช้ หลักการเศรษฐกิจพอเพียงด้านใด
(1)จิตใจ
(2) เศรษฐกิจ
(3)เทคโนโลยี
(4)สังคมและวัฒนธรรม
ตอบ 2
การประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงในด้านเศรษฐกิจ คือ ต้องมีการสร้าง งบประมาณสมดุล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผน ด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสมและสามารถรับได้

87. การมองคนอื่นในแง่ดี เป็นหลักการของคุณธรรมข้อใดต่อไปนี้
(1) เข้าใจธรรมชาติของตนเอง
(2) เข้าใจธรรมชาติผู้อื่น
(3) เข้าใจธรรมชาติของโลก
(4) เข้าใจหลักของการอยู่ร่วมกัน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ

88. คณะใดไม่ใช่คณะที่จัดตั้งในวาระแรกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
(1) คณะนิติศาสตร์
(2) คณะมนุษยศาสตร์
(3) คณะเศรษฐศาสตร์
(4) คณะบริหารธุรกิจ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

89. แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรมคือข้อใด
(1) สังคม
(2) การเมืองการปกครอง
(3) ศาสนาต่าง ๆ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1. ปรัชญา 2. ศาสนาต่างๆ 3.วรรณคดี 4.สังคม 5.การเมืองการปกครอง

90. มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาแห่งที่สองในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไทย คืออะไร
(1) มหาวิทยาลัยธรรมศาลตร์
(2) มหาวิทยาลัยศิลปากร
(3) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
(4) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

91. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย…..พ.ศ…..ได้เข้าสู่วาระในการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ประธานสภาผู้แทบราษฎรได้เปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายและลงมติรับหลักการ โดยเจ้าของร่างฯ เสนอแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาจำนวนกี่คน
(1) 10 คน
(2) 15 คน
(3) 18 คน
(4) 20 คน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ

92. ข้อใดคือการดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดในทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริขั้นที่สอง
(1) เตรียมผลผลิตที่มีคุณภาพสูง แล้วกำหนดราคาให้สูงเพื่อกระตุ้นความต้องการตลาด
(2) เตรียมผลผลิตให้มีคุณลักษณะสอดคล้องกับความต้องการตลาด
(3) การผลิตผลผลิตให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ต้นทุนต่ำ
(4) ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก
ตอบ 2
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริขั้นที่ 2 ในด้านการดำเนินกิจกรรมทาง การตลาด คือ เมื่อเกิดผลิตผลทางการเกษตรแล้ว ต้องร่วมมือกันในการเตรียมผลผลิตให้มี คุณลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ และเวลาที่ เหมาะสม

93. คำกล่าวว่า “ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม” เป็นข้อความอธิบายอะไรของมหาวิทยาลัยรวมคำแหง
(1) อัตลักษณ์
(2) นโยบาย
(3) เอกลักษณ์
(4) พันธกิจ
ตอบ 1
อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่สะท้อนถึงคุณลักษณะของบัณฑิตที่ทำให้สังคมยอมรับ คือ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม นั่นคือ นอกจากจะเป็นคนเก่ง มีความรู้ดี เก่งเรียน เก่งงาน เก่งวิชาการ เฉลียวฉลาด มีเหตุผลแล้ว บัณฑิตรามคำแหงยังต้องเป็นคนดี มีจิตใจดีงาม มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความกตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน และที่สำคัญที่สุดคือ การมีสำนึกนำรับผิดชอบดูแลบ้านเมือง โดยต้องนำวิชาการหรือความรู้ที่ได้ศึกษามาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

94. การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทำในวัยใด
(1) ก่อนอายุ6ปี
(2) อายุ6-12ปี
(3)อายุ 12-15ปี
(4)หลังอายุ5ปี
ตอบ 1 หน้า 85 การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทำก่อนอายุ 6 ปี เพราะการเกิดจิตสำนึกตามหลักการทางจิตวิทยาจะถูกพัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดูในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ปี ซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตและความเสียสละจะเกิดขึ้นตั้งแต่การอบรมบ่มเพาะในครอบครัว โดยพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวจะเป็นตัวแบบในการดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม

95. พลโทแสวง เสนาณรงค์ เป็นบุคดลที่ร่วมในรัฐบาลใบช่วงระยะเวลาก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ดำรงตำแหน่งใดในขณะนั้น
(1) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงในสำนักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ

96. การประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า อยู่ในหัวข้อใดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี
(4) ความรับผิดชอบ
ตอบ 3
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้ พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ตั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรมที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้และประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที

97. การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศหรือบริหารองค์กร สอดคล้องกับข้อใด
(1) การรักษาความถูกต้อง
(2) การรักษามาตรฐาน
(3) การคำนึงถึงผลกระทบ
(4) การใช้ดุลพินิจที่ดี
ตอบ 1
หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มาจากคำว่า “ธรรมะ” แปลว่า ความถูกต้อง งดงาม และคำว่า “อภิบาล” แปลว่า การปกครองหรือการปกปักรักษา ดังนั้นหลักธรรมาภิบาล จึงหมายถึง การปกครองที่รักษาความถูกต้องชอบธรรมเป็นหลักหรือ การปกครองโดยธรรม ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการบริหาร1ประเทศหรือบริหารองค์กรต่าง ๆ

98. ข้อใดเป็นคุณสมบดีของหัวหน้าครอบครัว
(1) รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่า
(2) ให้ความร่วมมือเสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น
(3) ดูแลความสะอาดและความปลอดภัยของชุมชน
(4) ช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ
ตอบ 1
คุณสมบัติของหัวหน้าครอบครัวมีดังนี้
1. รับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2. บริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้เกิดความสมดุล
3. รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่า
4. มีการออมเงิน แต่ไม่ตระหนี่
5. มีการแน่งปันตามสมควร
6. ลดละเลิกอบายมุข ฯลฯ

99. แนวคิดธรรมาธิปไตยเป็นแนวคิดตรงตามข้อใด
(1) ประชาชนเป็นใหญ่
(2) ผู้นำเป็นใหญ่
(3) สังคมเป็นใหญ่
(4) มีธรรมเป็นใหญ่
ตอบ 4
คนที่มีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี ต้องมีหลักอธิปไตย 3 ประการ คือ
1. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ เว้นชั่ว ทำดี ด้วยความเคารพตน
2. โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ เว้นชั่ว ทำดี ด้วยความเคารพเสียงหมู่ชน
3. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ ถือความถูกต้อง ดีงาม มีเหตุผล ชอบธรรม ซึ่งเป็น หลักการปกครองทีดีที่สุด เพราะจะทำให้ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างแท้จริง

100. ข้อใดคือความหมายที่ดีที่สุดของ “จริยธรรม”
(1) การถือศีล
(2) การเข้าวัดฟังธรรม
(3) การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมตามหน้าที่
(4) การไม่รับประทานเนื้อสัตว์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

101. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในยุคเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสมาขิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด
(1) ฉบับ พ.ศ. 2889
(2) ฉบับ พ.ศ. 2490
(3) ฉบับ พ.ศ. 2502
(4) ฉบับ พ.ศ. 2511
ตอบ 4
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ในยุคเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็น ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ. 2511 และส่วนใหญ่จะสังกัดพรรคสหประชาไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรคและขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

102. “ความเป็นหนึ่งเดียวของมนุษยชาติ” เป็นหลักคำสอนของศาสนาใด
(1) พุทธ
(2) คริสต์
(3) อิสลาม
(4) พราหมณ์
ตอบ 4
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกโดยมีหลักคำสอนที่ ถือว่าเป็นอุดมคติสูงสุด คือ ปรมาตมัน หรือการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นสภาวะที่การแบ่งแยกหรือความแตกต่างถูกทำให้หมดไปและความเป็นหนึ่งเดียวได้เข้ามา แทนที่ ดังนั้นในความคิดของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู จึงไม่มีที่ว่างหลงเหลืออยู่สำหรับการ คิดถึงปัจเจกบุคคลในลักษณะแยกส่วน

103. ข้อใดไม่ใช่ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(1) ธุรกิจควรมองถึงผลในระยะสั้นมากกว่าผลระยะยาว
(2) แสวงหาผลกำไรบนพื้นฐานของการแบ่งปันประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย
(3) พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ สร้างคุณค่าตราสินค้าให้มีความน่าเชื่อถือ
(4) แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

104. การตีความ “กตัญญู” สะท้อนถึงคุณลักษณะที่สำคัญของบุคคลตามข้อใด
(1) ความเป็นคนเข้มแข็ง
(2) ความยุติธรรม
(3) ความเป็นคนดี
(4) ความเป็นคนสงบสุข
ตอบ 3
คำว่า “กตัญญู” หมายถึง รู้คุณท่าน รู้ว่าใครมีบุญคุณต่อตน โดยเป็นความรู้สึกในการอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมีต่อเรา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของความเป็นคนดี จึงมักใช้คู่กับคำว่า “กตเวที” แปลว่า สนองคุณท่านหรือการแสดงออกและรู้จัก ตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีพระคุณนั้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความกตัญญูกตเวทีนั้น ต้องสามารถแสดงความกตัญญกตเวทีต่อผู้มีพระคุณได้ทุกเวลา ไม่ควรมีข้อแม้ในการกระทำ

105. ใครคือผู้ดำรงดำแหน่งคณบดีคณะบริหารธุรกิจคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
(1) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(2) นายไพบูลย์ สุวรรณโพธิ์ศรี
(3) นายสง่า ลีนะสมิต
(4) นายอภิรมย์ ณ นคร
ตอบ 2
ในรายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงครั้งแรก ที่ประชุม มีมติและเสนอแต่งตั้งนายไพบูลย์ สุวรรณโพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะบริหารธุรกิจ

ข้อ 106. – 109. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) สมดุล พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
(2) ทางสายกลาง
(3) ความพอเพียง
(4) หลักวิชา

106. ข้อใดคือแนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

107. ข้อใดคือหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

108. ข้อใดคือเป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

109. ข้อใดคือเงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 75. ประกอบ

110. หลักการในข้อใดที่ใช้ในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) หลักจริยธรรม
(2) หลักคุณธรรม
(3) หลักศีลธรรม
(4) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 4
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถือเป็นหลักการที่ใช้พัฒนาจิตสาธารณะของ บุคคลได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะหากเรานำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างจริงจัง เชื่อว่าทุกคนในชาติหรือในระดับโลกจะเป็นบุคคลที่มีจิตสาธารณะที่มองเห็นแต่ประโยชน์ของ ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขของสังคมไทยและ สังคมโลกได้อย่างแน่นอน

111. ตามหลักการของกรรมการตราพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวข้องกับการเงิน ต้องได้รับความเห็นชอบหรือยินยอมจากผู้ใดจึงจะถูกต้องสมบูรณ์
(1) ประธานรัฐสภา
(2) ประธานวุฒิสภา
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 3
ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยรามคำแหงครั้งนี้ เป็นร่างฯ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล (นายกรัฐมนตรี) ต้องเห็นชอบด้วยตามหลักการของกระบวนการตราพระราชบัญญัติจึงจะถูกต้องสมบูรณ์

112. “อำนาจ” ในทางการเมืองนั้นต้องมาพร้อมกับสิ่งใด
(1) ความเหมาะสม
(2) ความยุติธรรม
(3) ความสง่างาม
(4) ความสงบสุข
ตอบ 2
แนวคิดที่สำคัญในทางการเมืองของเพลโต (Plato) ประการหนึ่ง คือ อุตมรัฐ (The Republic) ประกอบด้วย
1. อำนาจและความยุติธรรม คือ อำนาจต้องมาพร้อมกับความยุติธรรม
2. การปกครองเป็นศิลปะ คือ การใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ
3. ธาตุแท้ของบุคคลในสังคม คือ การยอมรับกันของบุคคลในสังคม
4. การศึกษาเป็นสิงที่มีคุณค่าสำหรับสังคม
5. ราชาปราชญ์ควรเป็นผู้ทรงคุณธรรม คือ เป็นผู้เสียสละ ไม่ควรมีทรัพย์สินและครอบครัว
6. ผู้ปกครองเป็นปราชญ์ที่ทรงคุณธรรมจึงปกครองด้วยปัญญา

113. เหตุผลบางประการของการเสนอบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย…..พ.ศ…..คือ
(1) เนื่องจากประเทศไทยมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นเป็นเหตุให้นักเรียน นักศึกษาไม่มีที่เรียน
(2) เพื่อให้มีมหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพอีกแห่งหนึ่ง
(3) เพื่อให้มีมหาวิทยาลัยของรัฐมากขึ้น และขยายโอกาสการศึกษา
(4) เพื่อให้มีมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาอย่างเพียงพอ
ตอบ 1
บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างฯ ข้างต้น คือ เนื่องจากประเทศไทยมีพลเมือง เพิ่มมากขึ้นเป็นเหตุให้นักเรียน นักศึกษาไม่มีที่เล่าเรียน ดังปรากฏปัญหาเป็นประจำมาทุก ๆ ปี เพราะมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก แต่ที่เล่าเรียนคับแคบ ไม่อาจรับนักศึกษา ที่เพิ่มจำนวนขึ้นได้

114. สิ่งที่ช่วยในการควบคุมให้บุคคลปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในทางสังคม คือคำตอบในข้อใด
(1) ประเพณี
(2) ระเบียบวินัย
(3) ธรรมเนียมปฏิบัติ
(4) กฎหมาย
ตอบ 4
กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์ในทางสังคมที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ ได้ตราขึ้น หรืออาจเกิดจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ และใช้บังคับควบคุมให้บุคคลปฏิบัติตาม โดยมีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร หากผู้ใดฝ่าฝืน ย่อมต้องถูกลงโทษตามที่ได้กำหนดไว้

115. จริยธรรมตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) นักศึกษาถือศีลห้า
(2) พ่อค้าขายปลาด้วยความยุติธรรม
(3) แดงต้องการเลิกสูบบุหรี่
(4) ส้มขับรถในเลนขวาสุด
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ

116. หนึ่งในคณะกรรมการเตรียมการเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ทันปีการศึกษา 2514 คือใคร
(1) นายประมวล กุลมาตย์
(2) พลโทแสวง เสนาณรงค์
(3) นายประภาศน์ อวยชัย
(4) นายสง่า ลีนะสมิต
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

117. คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคนเกิดจากสิ่งใด
(1) การเลียนแบบ
(2) การอบรม
(3) การได้รับรางวัล
(4) การถูกลงโทษ
ตอบ 1
คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคนอาจเกิดจากลักษณะดังนี้ 1. การเลียนแบบ 2. การสร้างในตนเอง 3.การบำเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม

118. ข้อใดไม่เป็นการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชน
(1) การให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
(2) สวัสดิการชุมชน
(3) รักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดงาม
(4) การดูแลความสงบและความปลอดภัย
ตอบ 3
ความพอเพียงระดับชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การสร้างเครือข่าย เพื่อการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย
1. สวัสดิการชุมชน
2. การช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อม
3. การช่วยกันดูแลความสงบและความปลอดภัย
4. การให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

119. วิธีการที่ทำให้นักศึกษาสามารถฝึกจิตให้บริสุทธิ์ได้นั้น ตรงกับคำตอบใด
(1) การทำจิตให้หลุดพ้น
(2) การทำจิตให้ร่าเริงแจ่มใส
(3) การทำจิตให้สงบสุข
(4) การควบคุมจิตจากกิเลส
ตอบ 4
การฝึกจิตใจให้บริสุทธิ์ หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้สะอาดหมดจดจาก สิ่งอันเป็นเครื่องเศร้าหมองที่เรียกว่า “กิเลส” หรือหมายถึงการควบคุมจิตจากกิเลส อันได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ ซึ่งรวมเรียกว่า “อกุศลมูล”

120. มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยอันดับที่เท่าใด
(1) 6
(2) 7
(3) 8
(4) 9
ตอบ 4 (ดูคำอธิบายข้อ 10. และ 50. ประกอบ) หลังจากที่มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐที่กรุงเทพมหานคร 5 แห่ง และจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนภูมิภาค อีก 3 แห่ง ก็ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ดังนั้นมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยอันดับที่ 9

 

Advertisement