การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1000 ความรู้คู่คุณธรรม

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. ข้อใดคือความหมายของจริยธรรม

(1) สภาพคุณงามความดี

(2) ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ

(3) คุณสมบัติที่ดีของจิตใจ

(4) หลักแห่งความประพฤติ หรือแนวทางการปฏิบัติ

ตอบ 4

คําว่า “จริยธรรม” (Ethical) จะมาจากคําว่า“จริย (จรรยา) + ธรรม” ซึ่งคําว่า “จริย” หมายถึง ความประพฤติหรือกริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคําว่า “ธรรม” มีความหมายหลายอย่าง เช่น คุณความดี หลักปฏิบัติ หลักคําสอนของศาสนา ดังนั้นเมื่อนําทั้งสองคํามารวมกันเป็น “จริยธรรม” จึงมีความหมายว่า หลักแห่งความประพฤติหรือแนวทางของการประพฤติปฏิบัติ

2. การศึกษาที่พึงมีในสังคมควรประกอบด้วยข้อใด

(1) การศึกษาเฉพาะคดีโลก

(2) การศึกษาเฉพาะคดีธรรม

(3) การศึกษาคดีโลกและคดีธรรม

(4) การศึกษาความรู้ในวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

ตอบ 3

หลักจริยธรรมของพระราชวรมุนีข้อ 2 ได้แก่ ต้องได้รับการศึกษาคือ ประชากรในสังคม จะต้องได้รับการศึกษาทั้งคดีโลกและคดีธรรม ซึ่งการศึกษาคดีโลก ก็เพื่อแก้ปัญหาปากท้อง ส่วนการศึกษาคดีธรรมก็เพื่อแก้ปัญหาทางจิตใจไม่ให้ตกต่ำและคอยประคับประคองชีวิตให้ดําเนินตามครรลองคลองธรรม

3. ข้อใดเป็นหลักคําสอนของพระพุทธศาสนา

(1) สอนให้พึ่งตนเอง

(2) สอนให้พึ่งผู้อื่น

(3) สอนให้พึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์

(4) สอนให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว

ตอบ 1

หลักคําสอนของพระพุทธศาสนานั้น เป็นหลักความจริงตามธรรมชาติและมีความสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ เพราะศาสนาพุทธสอนให้เชื่อตามหลักเหตุและผลโดยใช้ปัญญาวิเคราะห์ไตร่ตรอง สอนให้รู้จักพึ่งตนเองไม่ใช่พึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ยังสอนให้ลดกิเลสตัณหาของตนเองและไม่เบียดเบียนผู้อื่น เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

4. “จน เครียด กินเหล้า แล้วไม่ทํางาน” จัดเป็นคนที่ขาดคุณธรรมในด้านใด

(1) ทรัพย์สิน

(2) ความขยันหมั่นเพียร

(3) โลภะ

(4) เมตตา

ตอบ 2 หน้า

หลักจริยธรรมของพระราชวรมุนีข้อ 7 ได้แก่ มีความขยันหมั่นเพียร คือ ประชาชนในสังคมรัฐใดมีแต่คนขยันไม่เกียจคร้าน สังคมนั้นจะไม่ลําบาก ระบบเศรษฐกิจจะดีและเจริญก้าวหน้า ทุกคนจะไม่ยากจน เหมือนดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “ไม่มีความยากจนในหมู่ชนผู้ขยัน”

5. ผู้ใดจัดว่าเป็นคนไม่มีความสันโดษ

(1) นาย ก ตั้งใจประกอบอาชีพค้าขายให้มีรายได้และผลกําไรเพียงพอต่อการใช้จ่าย

(2) นาย ข ทํางานหนักเพื่อหาเงินไปเที่ยวต่างประเทศแบบคนอื่น ๆ

(3) นาย ค รู้สึกว่ารถยนต์ของตนเป็นรถที่ดี และสามารถใช้งานได้ตามที่ต้องการ

(4) นาย ง ตั้งใจปฏิบัติงานของตนเองให้สําเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย

ตอบ 2 ความสันโดษ หมายถึง การพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ พอใจในสิ่งที่เรียบง่าย หรือเป็นอยู่อย่างสมถะ ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า “ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง” คือ ความพอใจจะทําให้เรามีความสุข หรือความสุขเกิดจากความพอใจ และความสันโดษนั้นเอง คือ ทรัพย์อันล้ำค่าของมนุษย์ ซึ่งความสันโดษแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

1. ยถาลาภสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามมีตามเกิด มีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น

2. ยถาพลสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามกําลัง มีกําลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น

3. ยถาสารูปสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามควรในรูปลักษณ์ของตนเอง และฐานะที่เป็นอยู่

6. ข้อใดหมายถึง “กัลยาณมิตร”

(1) ให้คําแนะนําที่ดีในการซื้อของมียี่ห้อ

(2) ให้ทําตามใจปรารถนาในเรื่องที่ต้องการ

(3) แนะนําการประพฤติที่ดี

(4) แนะนําให้ทําบุญครั้งละมาก ๆ

ตอบ 3

กัลยาณมิตร (กัลยาณมิตตตา) คือ รู้จักคบคนดีหรือคบหาบัณฑิต ซึ่งรูปแบบของกัลยาณมิตร (คนดีหรือบัณฑิต) มีดังนี้

1. ชักนําเราให้ไปในทางที่ถูกที่ควร

2. ชอบทําในสิ่งที่เป็นธุระ เช่น การทําหน้าที่ของตนให้ลุล่วง

3. ให้คําแนะนําการประพฤติที่ดีและถูกต้อง เช่น แนะนําให้ทําบุญและปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่อัตภาพ

4. รับฟังดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ถือโทษหรือโกรธเคือง ฯลฯ

7. เด็กชายหมีเป็นกะเทย ไม่มีนักเรียนชายอยากเป็นเพื่อน วันหนึ่งหมีเก็บเงินได้และนําไปให้ครูประกาศหาเจ้าของจนเจอ ครูประกาศความดีหน้าเสาธง ทุกคนยอมรับเด็กชายหมี สถานการณ์นี้ตรงกับข้อใด

(1) ทําดีได้ดี

(2) ทําชั่วได้ชั่ว

(3) พูดไปสิบไพเบี้ย นิ่งเสียตําลึงทอง

(4) คนดีผีคุ้ม

ตอบ 1

สุภาษิต “ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว” หมายถึง คนเราทําอย่างไรก็จะได้อย่างนั้นซึ่งในสมัยโบราณได้ใช้สอนคนให้กระทําแต่ความดี ละเว้นความชั่ว เพราะเมื่อเราทําดีก็จะได้ผลดี เป็นการตอบแทน ดังสุภาษิตท่อนแรก “ทําดีได้ดี” แต่ในทางกลับกันถ้าเราทําแต่ความชั่วก็จะได้สิ่งที่ไม่ดีเป็นการตอบแทน ดังสุภาษิตท่อนหลัง “ทําชั่วได้ชั่ว”

8. คุณธรรมสําหรับครู ตรงกับข้อใด

(1) เป็นแบบอย่างที่ดีในเวลางาน

(2) มีพฤติกรรมที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคม

(3) ต้องการให้นักเรียนสอบผ่านทุกคน

(4) ยอมรับทุกสิ่งที่ผู้ปกครองต้องการ

ตอบ 2

คุณธรรมสําหรับครู คือ คุณงามความดีของบุคคลที่เป็นครู ซึ่งได้กระทําไปด้วยความสํานึกในจิตใจ โดยมีเป้าหมายว่าเป็นการกระทําความดี หรือเป็นพฤติกรรมที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น ครูที่รักเด็กและรักเพื่อนมนุษย์ มีความเสียสละ มีน้ำใจงาม มีความเกรงใจ มีความยุติธรรม มีความเห็นอกเห็นใจลูกศิษย์ และมีมารยาทที่งดงาม ก็จะถือว่าเป็นครูที่มีคุณธรรมทั้งสิ้น

9. ข้อใดไม่ใช่ศาสนกิจของผู้นับถือศาสนาอิสลาม

(1) กล่าวปฏิญาณตน

(2) การบริจาคทรัพย์ตามศาสนบัญญัติ

(3) การนมัสการ 5 เวลา

(4) เว้นบริโภคเนื้อสัตว์ในเดือนรอมดอน

ตอบ 4

ศาสนาอิสลามนับถืออัลเลาะห์เป็นพระเจ้า โดยมีศาสดาผู้เผยแผ่หลักศาสนาของอิสลามพระองค์สุดท้าย คือ นบีมูฮัมหมัด ซึ่งผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะเรียกว่า มุสลิมหรืออิสลามิกชน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติศาสนกิจตามมุขยบัญญัติ 5 ประการ ได้แก่ 1. การกล่าวคําปฏิญาณตน 2. การนมัสการ (ละหมาด) 5 เวลา คือ เช้า บ่าย เย็น ค่ำ และกลางคืน 3. การบริจาคทรัพย์ตามศาสนบัญญัติ 4. การถือศีลอดในเดือนรอมดอน 5. การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการไปจาริกแสวงบุญที่เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

10. ข้อใดไม่ใช่พระบัญญัติ 10 ประการในศาสนาคริสต์

(1) อย่าลักทรัพย์

(2) อย่าฆ่าคน

(3) อย่าลืมสวดมนต์

(4) ให้ความนับถือบิดามารดา

ตอบ 3

พระบัญญัติ 10 ประการในศาสนาคริสต์ มีดังนี้
1. อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา 2. อย่าทํารูปเคารพสําหรับตน 3. อย่าออกพระนามของพระเจ้าอย่างไม่สมควร 4. จงระลึกถึงวันสะบาโต 5. จงนับถือให้เกียรติแก่บิดามารดาของเจ้า 6. อย่าฆ่าคน 7. อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา 8. อย่าลักทรัพย์ 9. อย่าเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้าน 10. อย่าโลภครัวเรือนของเพื่อนบ้าน

11. วันเข้าพรรษาเกิดขึ้นเพราะวัตถุประสงค์ในข้อใด

(1) ต้องการให้พระสงฆ์พักผ่อน

(2) เป็นช่วงเวลาให้พระสงฆ์แสดงธรรมต่อศาสนิกชน

(3) ไม่ต้องการให้เบียดเบียนผู้อื่น

(4) เพื่อให้พระสงฆ์ปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด

ตอบ 3

วันเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ํา เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ํา เดือน 11 รวม 3 เดือน เป็นวันสําคัญในพุทธศาสนาที่พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจํา ณ วัดใดวัดหนึ่ง ตลอดฤดูฝน เพื่อมิให้พระภิกษุสงฆ์สัญจรไปมาจนไปเหยียบข้าวกล้าเสียหาย ทําให้ สัตว์เล็กน้อยตาย อันเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันเข้าพรรษา มีดังนี้ 1. นําดอกไม้ ธูปเทียน พุ่มต้นไม้ เทียนพรรษาขนาดใหญ่ และเครื่องใช้ของพระสงฆ์ไปถวายที่วัด 2. ทําบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา และรักษาอุโบสถศีล 3. งดเว้นอบายมุขต่าง ๆ และเว้นการเลี้ยงฉลองรื่นเริงที่มีแอลกอฮอล์ ฯลฯ

12. การพัฒนาตนเองโดยรู้จักพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ด้วยปัญญาของตนจนพบคําตอบ ตรงกับหลักในข้อใด

(1) โยนิโสมนสิการ

(2) ทิฐิสัมปทา

(3) อัตตสัมปทา

(4) ฉันทสัมปทา

ตอบ 1

หลักการพัฒนาตนเองประการแรก ได้แก่ โยนิโสมนสิการ คือ การคิดเป็นรู้จักคิดพิจารณาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงด้วยปัญญาของตนจนพบคําตอบ ทําให้เกิดปัญญาที่เข้าถึงความจริงได้ประโยชน์ สนองความใฝ่รู้และใฝ่สร้างสรรค์โดยสมบูรณ์

13. “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” จากข้อความดังกล่าวข้อใดถูกต้องที่สุดในหลักสัปปุริสธรรม 7

(1) อัตถัญญุตา

(2) มัตตัญญุตา

(3) ปริสัญญุตา

(4) ปุคคลัญญุตา

ตอบ 3

ตามหลักคุณธรรมของสัปปุริสธรรม 7 นั้น การรู้จักชุมชน (ปริสัญญตา) คือ การรู้จักถิ่น รู้จักสังคมหรือชุมชนที่ตนอยู่ รู้ว่าเมื่อตนอยู่ในสังคมหรือชุมชนนั้นๆ เขามีระเบียบ ปฏิบัติหรือประเพณีวัฒนธรรมอย่างไร เมื่อเราจะเข้าร่วมในชุมชนหรือสังคมนั้น เราก็ต้องทําความเข้าใจวิถีชีวิต ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ และประเพณีวัฒนธรรมของ ชุมชน เพื่อให้ประพฤติหรือปฏิบัติตนให้เข้ากับบุคคลและอยู่ในสังคมนั้นได้อย่างมีความสุขดังสํานวนไทยที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” นั่นเอง

14. บริหารจัดการสูงกว่า 20 ล้านบาทนั้น นักศึกษาคิดว่าคนในสังคมมุ่งเน้นในการตรวจสอบรัฐบาลในเรื่องใด

(1) หลักจริยธรรมองค์กร

(2) หลักการบริหารสมัยใหม่

(3) หลักการบริหารงานคุณภาพ

(4) หลักธรรมาภิบาล

ตอบ 4

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หรืออาจเรียกได้ว่าการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หลักธรรมรัฐ และบรรษัทภิบาล ฯลฯ หมายถึง การปกครอง ที่เป็นธรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักความโปร่งใส สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ 4. หลักความมีส่วนร่วม 5. หลักความรับผิดชอบ 6. หลักความคุ้มค่า

15. “นายหมีซื้อน้ำมันพรายจากอินเทอร์เน็ตเพราะมีความเชื่อว่าจะทําให้ผู้หญิงที่ตนชอบหันมาสนใจ และ
อยู่กับตนในที่สุด” จากข้อความดังกล่าวแสดงว่านายหมียังมีสิ่งใดอยู่มาก

(1) โมหะ

(2) อวิชชา

(3) อบายมุข

(4) โยนิโสมนสิการ

ตอบ 1

ความหลงผิด (โมหะ) คือ ความขาดปัญญาในลักษณะต่าง ๆ จนถึงการถือเอาความผิดด้วยความเข้าใจผิดและความงุนงง ไม่พบทางออกเหมือนอย่างคนหลงทาง ซึ่งคนเราหากเผลอสติ เผลอปัญญาเมื่อใด ความหลงก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น และคนที่ถูกหลอกลวงได้ก็เพราะไปเชื่อในคําหลอกลวง เรียกว่าเป็นคนหลงอย่างหนึ่ง นั่นคือ หลงเชื่อ
ในสิ่งที่หลอกลวง ดังนั้นจึงไม่ควรด่วนเชื่อใคร หรือแม้แต่ใจตนเองทันที

16. ผู้ร้ายที่ขาดสติก่อเหตุข่มขืนพยาบาลสาวตามที่ตกเป็นข่าวนั้น แสดงว่าผู้ข่มขืนขาดวุฒิภาวะด้านใด

(1) IQ

(2) CQ

(3) EQ

(4) MQ

ตอบ 4

MQ (Morality Quotient) คือ ความฉลาดหรือวุฒิภาวะทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมของบุคคล ซึ่งเป็นความสามารถในการควบคุมตนเอง มีความโปร่งใส ยุติธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความกตัญญู เป็นคนดี มีระเบียบวินัย มีสํานึกผิดชอบชั่วดี เคารพนับถือผู้อื่น ตลอดจนมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองต่อสังคม และต่อมนุษยชาติ

17. “จุดมุ่งหมายและความฝันมีไว้ให้ชน” จากข้อความดังกล่าวตรงกับหลักธรรมข้อใด

(1) ทุกข์

(2) สมุทัย

(3) นิโรธ

(4) มรรค

ตอบ 2

สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) คือ สาเหตุของปัญหาหรือบ่อเกิดแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหา หรือความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจมนุษย์ที่อยากจะได้ใน กาม (กามตัณหา) อยากจะเป็นอะไรต่าง ๆ ตามที่ใฝ่ฝันไว้ (ภวตัณหา) และอยากที่จะไม่เป็น ในภาวะที่ไม่ชอบต่าง ๆ (วิภวตัณหา) โดยสิ่งที่ควรละเลิกหรือละทิ้งเพื่อไม่ให้เกิดทุกข์ มีดังนี้ 1. หลักกรรม (วิบัติ 4 หรือความบกพร่อง) 2. อกุศลกรรมบถ 10 หรือกรรมชั่วอันเกิดจาก โลภะ โทสะ และโมหะ 3. อบายมุข 6 หรือทางแห่งความเสื่อม

18. การที่ข้าราชการไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น แสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาตนในด้านใดตามหลักไตรสิกขา

(1) ศีล

(2) ปัญญา

(3) สมาธิ

(4) จริยธรรม

ตอบ 1

หลักไตรสิกขา เป็นหลักการสําคัญของการพัฒนามนุษย์ทําให้บุคคลพัฒนาอย่างมีบูรณาการและเป็นองค์รวมที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย 1. ศีล คือ การควบคุมกายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติสุข หรือข้อละเว้นการทําชั่วทั้งปวง หรือกฎระเบียบวินัยที่กําหนดให้ยึดถือปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบและความงามแห่งหมู่คณะ 2. สมาธิ คือ การทําจิตใจให้สงบตั้งมั่น แน่วแน่ในสิ่งที่กระทํา 3. ปัญญา คือ ความรอบรู้ การรู้แจ้งเห็นจริง รู้ถึงสภาวะความจริงแท้ของสิ่งต่าง ๆ

19. การมีจิตคิดดี ไม่ริษยา ยินดีเมื่อเห็นเพื่อนร่วมงานได้เลื่อนตําแหน่งที่สูงขึ้น ถือว่ามีหลักธรรมข้อใด

(1) เมตตา

(2) กรุณา

(3) มุทิตา

(4) อุเบกขา

ตอบ 3

พรหมวิหาร 4 แปลว่า ธรรมสําหรับเป็นที่อาศัยของจิตใจที่ดี หรือธรรมของผู้มีจิตใจประเสริฐ มีจิตใจกว้างขวาง ซึ่งเป็นคุณธรรม ที่สร้างสวรรค์ให้เกิดขึ้นบนดิน จึงเหมาะสําหรับผู้นํา ผู้บริหาร หรือหัวหน้างานที่ปกครอง ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อครองใจคนอื่นหรือบริหารคนให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนี้ 1. เมตตา คือ ความรักใคร่ ความหวังดี ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข ดังนั้นเมตตาจึงเป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยเอื้ออารี ทําให้มีความหนักแน่นในอารมณ์ ไม่โกรธแม้จะถูกด่าว่าเสียหาย 2. กรุณา คือ ความสงสารเห็นใจ ปรารถนาที่จะช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ 3. มุทิตา คือ ความมีมุทิตาจิต ซึ่งต้องมีพื้นฐานมาจากจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส รู้สึกปลาบปลื้มใจ เบิกบาน พลอยชื่นชมยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข ไม่คิดอิจฉาริษยาในความดีของผู้อื่น 4. อุเบกขา คือ ความรู้จักวางเฉย มีใจเป็นกลาง ปราศจากอคติในการตัดสิน ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง โดยพิจารณาเห็นกรรมที่ได้กระทําว่าควรได้รับผลดีหรือชั่ว

20. การได้มาซึ่งตําแหน่งหัวหน้าโดยการทําร้าย ทําลาย กล่าวร้ายหัวหน้าคนเก่านั้น แสดงว่าผู้ที่กระทํา
พฤติกรรมดังกล่าวมีจิตใจเป็นเช่นไร

(1) อิจฉา

(2) ริษยา

(3) ทะเยอทะยาน

(4) อกตัญญู

ตอบ 4

อกตัญญู แปลว่า ผู้ที่ไม่รู้สึกถึงบุญคุณที่ผู้อื่นทําแก่ตน หรือผู้ไม่มีความกตัญญู โดยจะมีลักษณะลบหลู่บุญคุณหรือเนรคุณ ทรยศ หักหลัง ไม่ปรารถนาที่จะตอบแทนความดีของใคร ชอบลืมเรื่องที่เขาเคยทําเคยช่วยเหลือตน แต่ก็ไม่มีความรู้สึกอิ่มที่จะรับจากคนอื่น หากยังมีช่องทางจะได้จากเขาอีกก็จะพอใจ แต่ถ้าเห็นว่าหมดโอกาสแล้วก็จะตีจากไปทันที หรือไม่ก็แสดงกิริยาพูดจาให้ร้ายต่าง ๆ

21. ข้อใดไม่ใช่หลักธรรมคําสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันมาฆบูชา “โอวาทปาติโมกข์”

(1) การไม่ทําบาปทั้งปวง

(2) การไม่ให้ทาน

(3) การทําจิตให้ผ่องใส

(4) การทํากุศลให้ถึงพร้อม

ตอบ 2

โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักธรรมคําสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้ในวันมาฆบูชา ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่แสดงถึงหลักการและแนวทางที่พุทธศาสนิกชนควรนําไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ คือ การไม่ทําบาปทั้งปวง (การละเว้นความชั่ว), การทํากุศลให้ถึงพร้อม (การทําแต่ความดี) และการทําจิตของตนให้ผ่องใส (การทําจิตใจให้บริสุทธิ์ หรือคิดถึงกรรมดีแล้วสบายใจ)

22. ตามหลักคําสอนของพระพุทธศาสนา ผู้ที่มี “ศรัทธา” ควรมีสิ่งใดควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ไม่หลงทาง

(1) ปัญญา

(2) ความหลง

(3) ความเพียร

(4) ความเป็นกลาง

ตอบ 1

ศรัทธา (สัทธา) หมายถึง ความเชื่อที่ถูกต้อง หรือสิ่งที่ควรเชื่อ ซึ่งต้องอาศัยปัญญาควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นตัวกํากับความเชื่อที่ถูกต้อง ไม่ให้หลงทาง หรือเกิดความหลงงมงายจนถูกผู้อื่นหลอกลวงได้ง่าย เช่น ความเชื่อที่ถูกต้องว่าบุญมีจริง บาปมีจริง, ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว, คุณของบิดามารดามีจริง คุณของครูอาจารย์มีจริง ตลอดจนความเชื่อมั่น
ในคุณของพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์) ความเชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม เป็นต้น

23. การเรียนรู้ด้วยการนําตนเองเหมาะสมกับข้อใดในยุคปัจจุบัน

(1) มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

(2) มีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติของผู้อื่น

(3) สามารถปรับปรุงและโน้มน้าวผู้อื่นได้

(4) นําไปใช้สร้างฐานะให้กับตนเองได้

ตอบ 1

ลักษณะของการเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง มีอยู่ 8 ประการ คือ
1. การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ 2. มโนคติของตนเองในด้านการเป็นผู้เรียน ที่มีประสิทธิภาพ 3. มีความคิดริเริ่มและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 4. มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน 5. มีความรักในการเรียน 6. มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 7. มองอนาคตในแง่ดี 8. สามารถใช้ทักษะในการศึกษาหาความรู้และทักษะในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

24. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ “โลกียธรรม”

(1) พรหมวิหาร 4

(2) ธรรมที่เป็นประโยชน์ในการดํารงอยู่ในสังคม

(3) สังสารวัฏ

(4) ชีวิตหลังความตาย

ตอบ 4

โลกียธรรม เป็นธรรมที่เป็นประโยชน์ในการดํารงอยู่ในสังคม ทําให้บุคคลมีประสิทธิภาพ เป็นคนดีและมีความสุข ประเทศชาติมีความมั่นคง แข็งแรง อยู่ด้วยกัน อย่างเอื้ออาทรและสมัครสมานสามัคคี ได้แก่

ศีลสัมปทา

ฉันทสัมปทา

อัตตสัมปทา

ทิฐิสัมปทา

โยนิโสมนสิการสัมปทา

อัปปามาทสัมปทา

สังสารวัฏ

อิทธิบาท 4

พรหมวิหาร 4

สังคหวัตถุ 4

กัลยาณมิตร 7

อปริหานิยธรรม 7

ฆราวาสธรรม 4

อธิษฐาน 4

สัปปุริสธรรม 7

สุจริต 3

และทศพิธราชธรรม 10

25. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการมีสุจริต 3

(1) พ้นจากความเดือดร้อน

(2) มีทรัพย์สินมากมาย

(3) มีความสุขทางโลก

(4) มีความสุขทางธรรม

ตอบ 2

คําว่า “สุจริต” แปลว่า การประพฤติดีงาม และมีความประพฤติดีประพฤติชอบ 3 ประการ ได้แก่ กายสุจริต (ประพฤติชอบ) วจีสุจริต (วาจาชอบ) และมโนสุจริต (ดําริชอบ) ซึ่งประโยชน์ของการมีสุจริต 3 มีดังนี้ 1. พ้นจากความเดือดร้อน 2. มีแต่คนสรรเสริญ 3. มีความสุขทางโลก 4. มีความสุขทางธรรม

26. ข้อใดไม่ใช่คุณธรรมของคํากล่าวที่ว่า “ไม่มีความยากจนในหมู่ชนผู้ขยัน”

(1) ความขยันหมั่นเพียร

(2) ความเมตตา

(3) ความมุ่งมั่นในการทํางาน

(4) สัมมาอาชีวะ

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ)

คุณธรรมของคํากล่าวข้างต้นตรงกับเรื่องความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด รองลงมาคือ ความมีจิตมุ่งมั่นในการทํางาน (จิตตะ) และ การหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต (สัมมาอาชีวะ)

27. ความรู้จริยธรรม หมายถึงข้อใด

(1) ความรู้เกี่ยวกับสังคม บอกได้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี

(2) การแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่อสังคม

(3) สอนให้พึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์

(4) สอนให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว

ตอบ 1

คําว่า “หลักคุณธรรมจริยธรรม” หมายถึงหลักความประพฤติที่ถูกต้อง ดีงาม และเหมาะสม โดยความรู้ในเชิงคุณธรรมจริยธรรมจะต้องเป็นความรู้เกี่ยวกับสังคมที่สะท้อนถึงการกระทําใดดี การกระทําใดไม่ดี สิ่งใดควรประพฤติ
สิ่งใดควรงดเว้นประพฤติ และประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ถูกที่ควรให้เป็นปกติวิสัย

28. ทุกข้อคือความหมายของจริยธรรม ยกเว้นข้อใด

(1) ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ

(2) การประพฤติที่ดีต่อสังคม

(3) กฎศีลธรรม

(4) ข้อห้ามที่ควรกระทําให้ถูกต้อง

ตอบ 4

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ให้ความหมายของจริยธรรมว่า คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม หรือคุณความดีที่พึงยึดเป็นข้อประพฤติปฏิบัติที่ดีต่อสังคม

29. ผู้ที่ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีคุณธรรมตรงกับด้านใดมากที่สุด

(1) สังคหวัตถุ 4

(2) อริยสัจ 4

(3) มรรค

(4) อิทธิบาท 4

ตอบ 4

อิทธิบาท 4 คือ หลักคุณธรรมที่เป็นพื้นฐานสําคัญให้ผู้ประพฤติปฏิบัติประสบความสําเร็จตามเป้าหมายทั้งในการครองชีวิต การศึกษา และหน้าที่ การทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. ฉันทะ (มีใจรัก) คือ รักในงานที่ตนทํา พอใจจะทํางานด้วยใจรัก 2. วิริยะ (มีความเพียร) คือ สู้งาน มีความวิริยะอุตสาหะ ขยันหมั่นกระทําด้วยความเพียรพยายามในทางที่ชอบธรรม เช่น เพียรพยายามทําความดี เพียรพยายามเอาชนะอุปสรรค และเพียรทําถูกต้องตามทํานองคลองธรรม 3. จิตตะ (มีความฝักใฝ่) คือ ใส่ใจงาน เอาใจใส่ในสิ่งที่ทําด้วยความอุทิศตัวและใจ 4. วิมังสา (ใช้ปัญญาสอบสวน) คือ ทํางานด้วยปัญญา หมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผลก่อนกระทํา ตรวจสอบข้อบกพร่อง รู้จักทดลอง วางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง

30. กิจกรรมใดเป็นกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนไม่ควรปฏิบัติในวัน “เข้าพรรษา”

(1) ถวายเทียนพรรษา

(2) งดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

(3) ทําบุญตักบาตร และเลี้ยงฉลองใหญ่

(4) ฟังธรรมเทศนา และรักษาอุโบสถศีล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

31. การ “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” ไม่มีความเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) สัจธรรม

(2) ฉันทะ

(3) สมุทัย

(4) สังขาร

ตอบ 2

การ “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” ซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตที่ทุกคนต้องประสบพบเจอ จะเกี่ยวข้องกับหลักธรรมทางศาสนาพุทธ ดังนี้ 1. สัจธรรม คือ ความจริงแท้ของชีวิต หรือความจริงตามธรรมชาติ 2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหา หรือสาเหตุที่ทําให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย 3. สังขาร คือ ร่างกาย ตัวตน สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน

32. ผู้ที่ขายยาบ้า เพราะมีข้อใดเป็นมูล

(1) โลภะ

(2) โทสะ

(3) โมหะ

(4) ราคะ

ตอบ 1

อกุศลมูล หมายถึง รากเหง้าหรือเหตุแห่งความชั่ว มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1. โลภะ (ความอยากได้) คือ ความเป็นผู้มีความต้องการ ทะยานอยากได้ของที่ไม่ใช่ของตนซึ่งคนที่โลภมากอาจทําทุกอย่างไม่ว่าถูกหรือผิดเพื่อตอบสนองความอยากของตนเอง 2. โทสะ (การคิดประทุษร้าย) คือ ความโกรธหรือไม่พอใจอย่างแรง ผูกพยาบาท คิดร้ายต่อผู้อื่น 3. โมหะ (ความหลง) คือ ความประมาท ความหลง ความสงสัย ความโง่งมงาย มัวเมาในอบายมุข อันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง

33. ข้อใดไม่ใช่ความคาดหวังของผู้ว่าจ้างที่มีต่อพนักงาน

(1) มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ดี

(2) มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ไม่ฟังใคร

(3) มีความกระตือรือร้นและไม่เลือกงาน

(4) มีวินัยเคร่งครัดต่อกฎระเบียบองค์กร

ตอบ 2

ผู้ว่าจ้างมีความคาดหวังให้พนักงานของตนมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ดี 2. มีความกระตือรือร้นและไม่เลือกงาน 3. มีวินัยเคร่งครัดต่อกฎระเบียบขององค์กร 4. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักรับฟังคําสั่งสอนของผู้อื่น ไม่หยิ่งยโสอวดดี ฯลฯ

34. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภายนอก

(1) การเลือกสรรเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

(2) อิริยาบถที่สุภาพสง่างามในการยืน เดิน

(3) มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง มุทะลุ วู่วาม

(4) การดูแลและบํารุงรักษาผิวหน้าอย่างถูกวิธี

ตอบ 3

การพัฒนาบุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 2 ประการ ดังนี้
1. การพัฒนาบุคลิกภายนอก เป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด ได้แก่ การเลือกสรรเสื้อผ้าและ เครื่องแต่งกาย การมีอิริยาบถที่สุภาพสง่างามในการยืน เดิน การดูแลและบํารุงรักษาผิวหน้าอย่างถูกวิธี ฯลฯ 2. การพัฒนาบุคลิกภายใน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จึงต้องใช้เวลาในการพัฒนา ได้แก่ การฝึกเป็นคนใจเย็น ไม่ใจร้อน มุทะลุ รู่วาม, การฝึกให้มีความเชื่อมั่นในตัวเอง แต่ต้องไม่เชื่อมั่นสูงเกินไปจนไม่ฟังใครหรือยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ฯลฯ

35. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของ “คุณธรรม” ได้ครอบคลุมมากที่สุด

(1) ความถูกต้องเหมาะสม

(2) หลักความประพฤติที่ดีงาม

(3) คุณค่าทางสังคม

(4) การยอมรับนับถือ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

36. กรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) การชี้แนะแนวทางการดํารงชีวิต

(2) ปฏิบัติตนในแนวทางที่ตนเองต้องการ

(3) การวางตนที่เหมาะสม

(4) การยกระดับตนให้สูงขึ้น

ตอบ 1

กรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางในการดํารงชีวิตและการปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย ซึ่งสามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยมุ่งเน้นให้รอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

37. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีพื้นฐานมาจากคําตอบในข้อใดต่อไปนี้

(1) ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

(2) การปรับตัวของสังคมไทย

(3) วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย

(4) วิถีชีวิตยุคใหม่ของสังคมไทย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. “ความพอประมาณ” มีความหมายตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) แดงยึดทางสายกลางเป็นสําคัญ

(2) ดําทําในสิ่งที่ตนพึงปรารถนา

(3) ขาวจัดหาสิ่งของดี ๆ ที่มีคุณค่า

(4) เขียวเลือกในสิ่งที่ตนพึงพอใจ

ตอบ 1

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไปพอควรแก่อัตภาพโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ซึ่งสอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา คือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

39. ข้อใดต่อไปนี้เป็นเงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

(1) พอประมาณ

(2) คุณธรรม

(3) ภูมิคุ้มกัน

(4) มีเหตุผล

ตอบ 2

การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ต้องอาศัยเงื่อนไขที่สําคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน ดังนี้ 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนําความรู้เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนการปฏิบัติ 2. เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน พากเพียร
มีสติและปัญญาในการดําเนินชีวิต ไม่โลภ ไม่ตระหนี่

40. เงื่อนไขด้านคุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยส่วนใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

(2) ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

(3) ซื่อสัตย์สุจริต อดทน พากเพียร มีสติและปัญญา

(4) รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ และรู้กาล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมมากที่สุด

(1) พึ่งพาตนเองได้

(2) ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

(3) ความมั่นคงปลอดภัย

(4) การอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข

ตอบ 2

ประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

42. ความรู้อันเกิดจากการทดลองปฏิบัติ เป็นความรู้ที่มาจากส่วนใดต่อไปนี้

(1) ตํารา

(2) ประสบการณ์

(3) คําบอกเล่า

(4) การคิดไตร่ตรอง

ตอบ 2

ความรู้มีบ่อเกิดหรือที่มา ดังนี้ 1. ประสบการณ์ คือ ความรู้อันเกิดจากการทดลองและการฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ หรือความรู้ที่ได้จากการสรุปบทเรียน 2. คําบอกเล่า คือ ความรู้อันเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้ 3. ตํารา เอกสาร หรือคู่มือ คือ ความรู้อันเกิดจากนักวิชาการในสาขาต่าง ๆ 4. การคิดไตร่ตรองจากที่มาของความรู้ 3 ข้อข้างต้น

43. ข้อใดไม่ใช่ที่มาของปัญญาตามหลักปัญญา 3

(1) การฟัง

(2) การคิด

(3) การกระทํา

(4) การเจริญภาวนา

ตอบ 3

ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ซึ่งจะเกิดประกอบกับจิต โดยที่มาหรือบ่อเกิดของหลักปัญญาในทางพุทธศาสนา มีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ 1. สุตมยปัญญา คือ ปัญญาความรอบรู้ที่เกิดจากการฟัง หรือศึกษาเล่าเรียนจากการอ่าน 2. จินตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิดไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญพิจารณาอย่างรอบคอบ 3. ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา หรือลงมือฝึกปฏิบัติอบรมจิต

44. ความรู้ที่อยู่ในรูปของตํารา เอกสาร คู่มือ จัดเป็นความรู้ประเภทใด

(1) ความรู้ชัดแจ้ง

(2) ความรู้ฝังลึก

(3) ความรู้นามธรรม

(4) ความรู้รูปธรรม

ตอบ 1

ความรู้แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ความรู้ฝังลึก หรือความรู้ที่ซ่อนเร้นไม่เปิดเผย (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคนหรืออยู่ในสมองของคน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของบุคคลที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน จึงเป็นความรู้ติดตัวที่เรียนรู้จากการสั่งสมประสบการณ์การทํางานต่าง ๆ รวมทั้งความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด 2. ความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ชัดแจ้งที่สามารถสัมผัสหรือจับต้องได้ ซึ่งจะอยู่ในรูปของตํารา/หนังสือ เอกสาร วารสาร คู่มือ กฎระเบียบรวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น วีซีดี คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และฐานข้อมูล

45. ลักษณะของความรู้ที่สําคัญ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) ความรู้ทั่วไป

(2) ความรู้เฉพาะทาง

(3) ความรู้ที่เป็นสัจจะ

(4) ความรู้ใหม่ ๆ

ตอบ 3

คุณลักษณะของความรู้ที่สําคัญที่สุด คือ ความรู้ที่เป็นสัจจะ หมายถึง ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ โดยมนุษย์จะแสวงหาสัจจะจาก 2 ส่วน ได้แก่ 1. ความรู้ที่เป็นสัจจะโลก คือ การแสวงหาความรู้ตามศาสตร์สาขาวิชาหรือตามสรรพวิชาต่าง ๆ 2. ความรู้ที่เป็นสัจจะธรรม คือ การแสวงหาความรู้ตามหลักความเชื่อของแต่ละลัทธิศาสนา ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดในการแสวงหาความรู้เพื่อทําให้เกิดความสงบสุข

46. เป้าหมายสูงสุดในการแสวงหาความรู้ตามหลักความเชื่อ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) ทําให้เข้าใจตนเอง

(2) ทําให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

(3) ทําให้เกิดความสงบสุข

(4) ทําให้เกิดการยอมรับทางสังคม

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47. ความรู้ที่มีลักษณะเป็นสัจจะ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) รู้ในเรื่องทั่ว ๆ ไป

(2) รู้ในสิ่งที่ควรรู้

(3) รู้ในทุก ๆ เรื่อง

(4) รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

48. ความรู้ที่เป็นสัจจะธรรม คือความรู้ในลักษณะใด

(1) ความรู้ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ

(2) ความรู้ตามศาสตร์ต่าง ๆ

(3) ความรู้ตามหลักความเชื่อ

(4) ความรู้ตามแนวคิดทฤษฎี

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

49. ความรู้ที่เป็นสัจจะโลก คือความรู้ในลักษณะใด

(1) ความรู้ตามหลักความเชื่อ

(2) ความรู้ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ

(3) ความรู้ตามศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ

(4) ความรู้ตามสมัยนิยม

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

50. ศรัทธาคือความเชื่อ ข้อใดต่อไปนี้คือสิ่งที่ไม่ควรเชื่อในทันที

(1) บุญและบาปมีจริง

(2) ทําดีได้ดี

(3) ทําชั่วได้ชั่ว

(4) ทําในสิ่งที่ทําตามกันมา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

51. “การกระทําความดีและยกย่องคนดี” เป็นแนวคิดด้านคุณธรรมทางการเมืองของใคร

(1) โสเครติส (Socrates)

(2) เพลโต (Plato)

(3) อริสโตเติล (Aristotle)

(4) ออกัสก๊อง (Orguskong)

ตอบ 1

หลักคุณธรรมในทางการเมืองที่สําคัญตามแนวคิดของโสเครติส (Socrates) มีดังนี้
1. ปัญญา (Wisdom) หรือความรอบรู้ 2. ความกล้าหาญ (Courage) หรือกล้าต่อสู้กับ ความไม่ถูกต้อง 3. การควบคุมตนเอง (Temperance) หรือการไม่ใช้อํานาจเอาเปรียบผู้อื่น 4. ความยุติธรรม (Justice) หรือความเที่ยงธรรม 5. การกระทําความดี (Piety) และยกย่องคนดี

52. คําตอบในข้อใดคือหลักธรรมที่ทําให้โลกดํารงอยู่ได้

(1) อิทธิบาท

(2) พรหมวิหาร

(3) ธรรมโลกบาล

(4) สังคหวัตถุ

ตอบ 3

โลกบาลธรรม หรือธรรมโลกบาล คือ คุณธรรมสําหรับคุ้มครองโลก หรือทําให้โลกดํารงอยู่ได้ เพราะจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่ช่วยควบคุมจิตใจของมนุษย์ให้อยู่ในความดี ทําให้ มนุษย์ดําเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสงบสุข มีระเบียบไม่สับสน ดังนั้นหากคนใน สังคมใดขาดหลักธรรมนี้จะสามารถทําชั่วได้ทุกอย่าง ซึ่งย่อมส่งผลเสียหายต่อสังคมมากที่สุด ได้แก่ 1. หิริ หมายถึง ความละอายแก่ใจต่อการที่จะทําความชั่วหรือบาปทุกชนิด 2. โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาป เกรงกลัวต่อผลจากการทําชั่ว

53. ผู้ที่ต้องการจะประสบความสําเร็จจะต้องประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรมในข้อใด

(1) อิทธิบาท

(2) พรหมวิหาร

(3) สังคหวัตถุ

(4) สัปปุริสธรรม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

54. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของเศรษฐกิจได้ครอบคลุมมากที่สุด

(1) ระบบการผลิตที่ครบวงจร

(2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า

(3) งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจําหน่าย และการบริโภค

(4) การลงทุนที่ต้องการผลกําไร

ตอบ 3

ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจที่ครอบคลุมมากที่สุดคือ งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจําหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ในชุมชนและในสังคมทั่วไป

55. “การได้ทํางานที่ตนรัก และรักในงานที่ตนทํา” ตรงกับหลักใดในอิทธิบาท 4

(1) ฉันทะ

(2) วิริยะ

(3) จิตตะ

(4) วิมังสา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

56. “เรามีความทุกข์ก็ไม่ใช่จะทุกข์ตลอดไป ถึงแม้จะมีความสุข ความสุขก็ไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดกาลเช่นกัน” จากข้อความดังกล่าวตรงกับหลักคําสอนใด

(1) กาลามสูตร

(2) ไตรสิกขา

(3) ไตรลักษณ์

(4) อริยสัจ

ตอบ 3

ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะทั่วไปแก่สังขารทั้งปวง หรือสามัญลักษณะ 3 ประการ คือ 1. อนิจจัง (อนิจจตา) ความเป็นของไม่เที่ยง คือ ไม่ดํารงอยู่เป็นนิตย์นิรันดร์ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไปในที่สุด 2. ทุกขัง (ทุกขตา) ความเป็นทุกข์ คือ ทนอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องผันแปรหรือเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ 3. อนัตตา (ความไม่มีตัวตน) คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่นกับตนเองจนเกินไป

57. “คุณอุบลในละครเรื่องพิศวาส ท้ายที่สุดยอมเสียสละอุทิศตัวเพื่อทําหน้าที่เฝ้าสมบัติของชาติต่อไป” จากละครเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าคุณอุบลยึดถือสิ่งใดเป็นสําคัญ

(1) สัจจะ

(2) ทมะ

(3) ขันติ

(4) จาคะ

ตอบ 4

ฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักคุณธรรมสําหรับฆราวาส หรือหลักการครองชีวิตให้มีความสุข ถูกต้องและเหมาะสม ประกอบด้วย 1. สัจจะ คือ ความจริง ความซื่อสัตย์ ดังคํากล่าวที่ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” 2. ทมะ คือ การข่มใจ ควบคุมอารมณ์ ยับยั้งหรือฝืนใจตนไม่ให้ปฏิบัติสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ผิด 3. ขันติ คือ ความอดทน ตั้งใจทํางานด้วยความขยันหมั่นเพียร 4. จาคะ คือ เสียสละ มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล บําเพ็ญประโยชน์

58. ผู้ที่วิเคราะห์ข้อมูลจาก Facebook ก่อนที่จะโพสต์ต่อนั้น ถือว่าคนผู้นั้นมีความเข้าใจหลักธรรมใด

(1) กาลามสูตร

(2) พรหมวิหาร 4

(3) อิทธิบาท 4

(4) สังคหวัตถุ 4

ตอบ 1

หลักกาลามสูตร 10 ในพุทธศาสนา เป็นหลักการคิดที่มีเหตุมีผลอยู่ในตัว เป็นเรื่องที่ต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรอง และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่ทดลองได้ ตรวจสอบพิสูจน์ได้ ไม่ใช่ใครมาพูดอะไรก็เชื่อทันที หรือเชื่อตาม ๆ กันมาโดยไม่วิเคราะห์เหตุผลว่าเป็นไปได้หรือไม่

59. ข้อใดไม่ใช่สมุทัย

(1) ตัณหา

(2) อหิงสา

(3) อบายมุข

(4) โมหะ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

60. อเนกเห็นเพื่อนซื้อกระทะ Korea King แล้วเกิดอยากได้บ้าง แสดงว่าอเนกยังละเว้นสิ่งใดไม่ได้

(1) กามตัณหา

(2) อิจฉา

(3) ริษยา

(4) โลภะ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

61. การทําบุญที่ถูกต้องควรมีลักษณะเช่นใด

(1) ทําบุญโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

(2) อยากได้บุญมากก็ต้องทําบุญมาก ให้สมเหตุสมผล

(3) ชวนคนทําบุญเยอะ ๆ เราจะได้ขึ้นสวรรค์

(4) วัดไหนที่เขาว่าดีก็ทําให้หมด สะสมบุญไปเรื่อย ๆ

ตอบ 1

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า การทําบุญที่ถูกต้องนั้นควรมีลักษณะที่เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 3” ได้เก่ 1. ทาน เป็นการทําบุญชั้นต่ำสุด หรือทําบุญด้วยการเผื่อแผ่แบ่งปันผู้อื่น 2. ศีล เป็นการทําบุญที่สูงขึ้นไปอีกชั้น หรือทําบุญเพื่อให้ประพฤติสุจริตโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น 3. ภาวนา เป็นบุญชั้นสูงขึ้นไปอีก หรือทําบุญด้วยการฝึกอบรมจิตใจให้เจริญด้วยปัญญา

62. นบีหรือศาสดาผู้เผยแผ่หลักศาสนาของอิสลามพระองค์สุดท้าย มีพระนามว่าอะไร

(1) นบีอาดัม

(2) นบีมูฮัมหมัด

(3) นบีมูซา

(4) นบีอีซา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

63. ข้อใดไม่ใช่การกระทําที่ไม่ประพฤติชั่วของผู้ดี

(1) ย่อมไม่เสพสุราจนถึงเมาและติด

(2) ย่อมไม่มั่วสุมกับสิ่งอันเลวทราม

(3) ย่อมไม่หมกมุ่นในการพนันเพื่อจะปรารถนาทรัพย์

(4) ย่อมไม่มีสัจจะในสิ่งที่ตนได้สัญญากับผู้อื่น

ตอบ 4

ผู้ดีย่อมไม่ประพฤติชั่ว ได้แก่ 1. ย่อมไม่เป็นพาลเที่ยวเกะกะระรานและทําร้ายคน 2. ย่อมไม่ข่มเหงผู้อ่อนแอกว่า เช่น เด็กหรือผู้หญิง 3. ย่อมไม่เสพสุราจนถึงเมาและติด 4. ย่อมไม่มั่วสุมกับสิ่งอันเลวทราม 5. ย่อมไม่หมกมุ่นในการพนันเพื่อจะปรารถนาทรัพย์ ฯลฯ

64. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์

(1) ความมีเหตุผล

(2) ความกตัญญูกตเวที

(3) การรักษาระเบียบวินัย

(4) ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น

ตอบ 4

การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม คือ การสร้างความตระหนักในคุณธรรมจริยธรรม เพื่อช่วยให้บุคคลเกิดความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสําคัญ รู้ประโยชน์ที่จะเกิดจาก การประพฤติปฏิบัติตามคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ เช่น การรู้จักประมาณตน รู้เหตุรู้ผล มีความกตัญญูกตเวที รักษาระเบียบวินัย และรู้จักละกิเลสตัณหา (ละความอยากได้ อยากมี
อยากเป็น) เป็นต้น

65. ข้อใดคือคุณลักษณะของบุคคลที่มีความซื่อสัตย์

(1) มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ดี ชอบพูดยกยอชื่นชมเพื่อน ๆ

(2) รักสงบ ไม่เล่นโซเชียล ไม่สุงสิงกับใครเลย

(3) ประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย วาจา และใจ

(4) มีวินัยเคร่งครัดต่อกฎระเบียบองค์กรจนน่าแปลกใจ

ตอบ 3

ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย วาจา และใจ มีความซื่อตรงจริงใจ ทั้งทางความคิด คําพูด และการกระทําต่อตนเองและผู้อื่น ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง
ทําทุกอย่างถูกต้องตามทํานองคลองธรรม

66. ความรู้สึกในการอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่มีต่อเรา รวมไปจนถึงการแสดงออกและการตอบแทนบุญคุณนั้น คือความหมายของข้อใด

(1) การมีขันติ

(2) ความมีเหตุผล

(3) ความกตัญญูกตเวที

(4) การมีความยุติธรรม

ตอบ 3

คําว่า “กตัญญ” หมายถึง รู้คุณท่าน รู้ว่าใครมีบุญคุณต่อตนโดยเป็นความรู้สึกในการอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่มีต่อเรา จึงมักใช้คู่กับคําว่า “กตเวที” แปลว่า สนองคุณท่านหรือการแสดงออกและรู้จักตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีพระคุณนั้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความกตัญญูกตเวทีนั้น ต้องสามารถแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ได้ทุกเวลา ไม่ควรมีข้อแม้ในการกระทํา

67. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการเสียสละ

(1) การละความเห็นแก่ตัว

(2) การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยกําลังกาย กําลังทรัพย์ และกําลังสติปัญญา

(3) การรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง

(4) การผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นถือมั่นของตนเองที่มีอยู่เดิม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความเสียสละ หมายถึง การตัดใจจากกรรมสิทธิ์หรือการตัดใจจากความยึดครองของตนไปให้ผู้อื่น ซึ่งเป็นการเสียสละแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยกําลังกาย กําลังทรัพย์ และกําลังสติปัญญา โดยความเสียสละมีอยู่ 2 ประการ คือ 1. สละวัตถุ คือ การสละทรัพย์หรือสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น 2. สละอารมณ์ คือ การปล่อยวางหรือรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเองที่ทําให้จิตใจไม่สงบ รวมไปถึงการสละความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ ความโลภ โกรธ หลง ฯลฯ

68. ความเมตตากรุณานั้น คําว่าเมตตาคือความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณาคือความสงสารคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ข้อใดไม่ใช่ความมีเมตตากรุณา

(1) แมททิวสงสารขอทานเลยซื้อข้าวกล่องให้

(2) มโนมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ชอบให้อาหารสุนัขจรจัด

(3) หลิงหลิงมีความกระตือรือร้นในงาน และชอบช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน

(4) บัณฑิตเป็นคนชอบเข้าวัดไปขโมยเงินบริจาค

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

69. ข้อใดคือบุคลิกภาพที่ดีเหมาะกับโลกในยุคปัจจุบัน

(1) มีมนุษยสัมพันธ์ดี แต่ชอบเดินหลังค่อมโกง

(2) มีรูปร่างหน้าตาดี แต่ชอบแต่งกายไม่สุภาพ

(3) มีความกระฉับกระเฉง และดูแลรักษาความสะอาดเครื่องแต่งกายดี

(4) ไม่มีความอ่อนน้อมในทุกครั้งที่นั่ง ยืน เดิน สนทนา และในทุกอิริยาบถ

ตอบ 3

บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะของบุคคลที่แสดงออกหรือมิได้แสดงออก โดยเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองทั้งทางด้านพฤติกรรมและทางด้านจิตใจ ทั้งนี้บุคลิกภาพที่ดีเหมาะกับโลกในยุคปัจจุบัน ได้แก่ 1. มีมนุษยสัมพันธ์ดี 2. มีรูปร่างหน้าตาสะอาดสะอ้าน 3. มีความกระฉับกระเฉง และดูแลรักษาความสะอาดเครื่องแต่งกายดี 4. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน 5. มีกิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย ฯลฯ

70. ปฏิกิริยาของจิตใจที่ตอบสนองต่อเรื่องราวที่มากระทบตามธรรมชาติของมนุษย์ หรือที่เราเรียกว่าอารมณ์นั้น ข้อใดเป็นอารมณ์ที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดนาน

(1) อารมณ์ขัน

(2) อารมณ์ดีใจเป็นสุข

(3) อารมณ์หดหูเบื่อหน่าย

(4) อารมณ์สนุกสนาน

ตอบ 3

อารมณ์ หมายถึง ปฏิกิริยาของจิตใจที่ตอบสนองต่อเรื่องราวที่มากระทบตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยผู้ที่มีอารมณ์ทางบวก ได้แก่ อารมณ์ขัน อารมณ์ดีใจเป็นสุข และ อารมณ์สนุกสนาน ฯลฯ จะทําให้เกิดฮอร์โมนชื่อแอนเดอร์ฟิน ซึ่งจะเป็นอาวุธต่อสู้กับความกลัว และความเครียดของคนได้ ส่วนผู้ที่มีอารมณ์ทางลบ ได้แก่ อารมณ์หดหูเบื่อหน่าย อารมณ์โกรธ อารมณ์เศร้าเสียใจ ฯลฯ หากปล่อยให้เกิดขึ้นนานจะทําให้เกิดฮอร์โมนชื่อแอดรีนาลีนออกมา ในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งจะทําให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ แก่ร่างกายได้

71. ข้อใดไม่ใช่พื้นฐานของบุคลิกภาพที่สง่างาม

(1) สิ่งแวดล้อมในทุกด้านของชีวิตที่ดีนับตั้งแต่เกิดมาจนถึงปัจจุบัน

(2) การสะสมข้อมูล รวมทั้งการกระทําตามความเคยชิน และข้อมูลที่ได้รับรู้มาจากแหล่งต่าง ๆประกอบกัน

(3) ความเชื่อที่ดี

(4) ค่านิยมการใช้ของแบรนด์เนม

ตอบ 4

พื้นฐานของบุคลิกภาพที่สง่างามเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1. สิ่งแวดล้อมในทุกด้านของชีวิตที่ดีนับตั้งแต่เกิดมาจนถึงปัจจุบัน 2. การสะสมข้อมูล รวมทั้งการกระทําตามความเคยชิน และข้อมูลที่ได้รับรู้มาจากแหล่งต่าง ๆ ประกอบกัน 3. ความเชื่อที่ดีและค่านิยมที่พึงประสงค์ ฯลฯ

72. ข้อใดไม่ใช่การพัฒนาบุคลิกภายนอกในด้านบุคลิกภาพการแต่งกาย

(1) วิเคราะห์บุคลิกและรูปลักษณ์รายบุคคลเพื่อการเลือกสรรเสื้อผ้า รองเท้า

(2) การแต่งกายตามวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม

(3) การใช้ความรู้พื้นฐานในเรื่องลายเส้นและแบบที่เหมาะสมกับรูปร่าง

(4) การแต่งกายในลักษณะนุ่งน้อยห่มน้อย

ตอบ 4

วิธีการพัฒนาบุคลิกภายนอกในด้านบุคลิกภาพการแต่งกายที่ดี มีดังนี้
1. วิเคราะห์บุคลิกและรูปลักษณ์เป็นรายบุคคลเพื่อการเลือกสรรเสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสม 2. ใช้ความรู้พื้นฐานในเรื่องลายเส้นและแบบที่เหมาะสมกับรูปร่าง 3. แต่งกายให้สุภาพ เหมาะสมกับสถานภาพ วัย และกาลเทศะ 4. แต่งกายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรม ฯลฯ

73. ข้อใดคือแนวทางที่ควรนํามาใช้ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

(1) ใช้อัตตาเป็นหลัก และไม่พิจารณาถึงผลที่จะติดตามมาด้วย

(2) เลือกโดยตัดสินจากความชอบใจ

(3) เลือกประพฤติตนให้ถูกต้องด้วยการรู้จักประมาณตน

(4) เลือกโดยการกระทําในสิ่งที่นําความสุขทางกายมาให้มากที่สุด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

74. ธรรมของพระราชาในความหมายของทศพิธราชธรรม คือ

(1) ธรรมที่พระราชายึดถือ

(2) ธรรมที่พระราชาใช้สอนประชาชน

(3) ธรรมที่พระราชาใช้เป็นแนวทางในการปกครอง

(4) ธรรมของศาสนาพุทธ

ตอบ 3

ธรรมของพระราชาในความหมายของทศพิธราชธรรม คือ ธรรมที่พระราชาใช้เป็นแนวทางในการปกครองบ้านเมืองให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้พระราชทานไว้ใน วันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ความว่า “เราจะครองแผ่นดิน โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งครองแผ่นดินโดยธรรมในที่นี้ หมายถึง ครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรมนั่นเอง

75. การศึกษาเรื่อง “การตามรอยพระยุคลบาทโดยทศพิธราชธรรม” ท่านใดเป็นผู้นําเสนอแนวคิดในเรื่องดังกล่าว

(1) พระธรรมนิเทศ

(2) พุทธทาสภิกขุ

(3) พระเทพมหามุนี

(4) พระพยอม

ตอบ 2

การศึกษาเรื่อง “การตามรอยพระยุคลบาทโดยทศพิธราชธรรม” ของท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวถึงหลักสําคัญของทศพิธราชธรรมที่เป็นพรหมจรรย์ใน พระพุทธศาสนา คือ ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นทศพิธราชธรรม จึงประกอบอยู่ด้วยไตรสิกขาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. ในหมวดศีลของทศพิธราชธรรม ได้แก่ ทานัง สีลัง อวิหิงสัง 2. ในหมวดสมาธิของทศพิธราชธรรม ได้แก่ ปริจจาทั้ง อาชชะวัง มัททะวัง ตะบัง อักโกธัง ขันติ 3. ในหมวดปัญญาของทศพิธราชธรรม ได้แก่ อะวิโรธนะ (ความไม่มีอะไรที่เป็นพิรุธ)

76. “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นั้น คําว่า ธรรมในความหมายนี้คืออะไร

(1) ทศพิธราชธรรม

(2) ศีล 5 ในพระพุทธศาสนา

(3) คุณธรรม ศีลธรรม

(4) โลกธรรม 8

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77. “การตามรอยพระยุคลบาทโดยทศพิธราชธรรม” เป็นหลักการที่จะนํามาในเรื่องใด

(1) ความสุข ความสําเร็จ

(2) ความเจริญรุ่งเรือง

(3) ความมุ่งมั่น ตั้งใจ

(4) ความยิ่งใหญ่ ก้าวหน้า

ตอบ 2

การตามรอยพระยุคลบาทโดยทศพิธราชธรรม กล่าวไว้เป็นหลักการสําคัญ 10 ข้อ เพื่อเป็นสิ่งที่จะนํามาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง ความสงบสุข สันติภาพ และความเป็นผู้เป็นอิสระ
เหนือความทุกข์เหนือปัญหาทุกอย่างทุกประการ

78. ข้อใดไม่ใช่หลักของการตามรอยพระยุคลบาทโดยทศพิธราชธรรม

(1) ทานัง สีลัง อวิหิงสัง

(2) อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

(3) ปริจจาทั้ง อาชชะวัง สัททะวัง

(4) ตะปัง อักโกธัง ขันติ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

79. การตามรอยพระยุคลบาทโดยทศพิธราชธรรมในหมวดของศีล ได้แก่ข้อใด

(1) อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

(2) ทานัง สีลัง อวิหิงสัง

(3) ปริจจาทั้ง อาชชะวัง มัททะวัง

(4) ตะบัง อักโกธัง ขันติ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

80. การตามรอยพระยุคลบาทโดยทศพิธราชธรรมในหมวดของสมาธิ ได้แก่ข้อใด

(1) อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

(2) ตะบัง อักโกธัง ขันติ

(3) อะวิโรธนะ

(4) ปริจจาทั้ง อาชชะวัง มัททะวัง

ตอบ 2, 4 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

81. ทศพิธราชธรรมในหมวดปัญญา คําว่า “อะวิโรธนะ” หมายถึงอะไร

(1) ความไม่มีอะไรที่พิรุธ

(2) ความไม่มีอะไรไม่ดี

(3) ความไม่มีอะไรเที่ยงแท้

(4) ความไม่มีอะไรเลย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

82 “ปุญญกิริยา 3” มีความหมายว่าอย่างไร

(1) บุญ ทาน กุศล

(2) ใส่บาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม

(3) พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

(4) ทาน ศีล ภาวนา

ตอบ 4

การศึกษาเรื่อง “การตามรอยพระยุคลบาทโดยทศพิธราชธรรม”ของท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวว่าหลักสําคัญทั้งหมดที่มีอยู่ในทศพิธราชธรรม ขยายไปเป็น ความถูกต้อง 10 ประการ แม้ว่าจะดูเป็น “ปุญญกิริยา 3” หมายถึง ทาน ศีล ภาวนา ก็ครบ แม้จะดูเป็น “กุศลกรรมบถ” ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ก็มีอยู่ครบ

83. “ในหมวดศีล” ในความหมายตามหลักการของทศพิธราชธรรม หมายถึงข้อใด

(1) การโมโห

(2) การมีน้ำใจเสียสละ

(3) การรักษาความสุจริต

(4) การรู้จักเหตุผล

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ)

หลักทศพิธราชธรรม 10 ประกอบด้วย
1. ทานัง (ทาน) คือ การให้ปันช่วยประชา 2. สีลัง (ศีล) คือ การรักษาความสุจริต 3. ปริจจาคัง (ปริจจาคะ) คือ บําเพ็ญกิจด้วยความเสียสละ 4. อาชชะวัง (อาชชวะ) คือ ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง 5. มัททะวัง (มัททวะ) คือ ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงธรรม 6. ตะปัง (ตปะ) คือ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส 7. อักโกธัง (อักโกธะ) คือ ถือเหตุผลไม่โกรธา 8. อวิหิงสัง (อวิหิงสา) คือ มีอหิงสานําร่มเย็น 9. ขันติ คือ ชำนะเข็ญด้วยขันติ 10. อะวิโรธนะ คือ มิปฏิบัติคลาดจากธรรม

84. “ในหมวดทาน” ในความหมายตามหลักการของทศพิธราชธรรม หมายถึงข้อใด

(1) รับประทานอย่างสุภาพ

(2) การรักษาความสุจริต

(3) ความไม่มัวเมา

(4) การให้ปันช่วยประชา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 83. ประกอบ

85. หลักสําคัญของทศพิธราชธรรมที่เป็นพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา คือข้อใด

(1) ไตรสิกขา

(2) กาลามสูตร

(3) สัจธรรม

(4) โลกุตรธรรม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

86. โลกธรรม 8 กล่าวถึงเรื่องใด

(1) สุข ทุกข์

(2) ความดี ความไม่ดี

(3) มีลาภ เสื่อมลาภ

(4) บริสุทธิ์

ตอบ 3

โลกธรรม 8 หมายถึง วิถีโลก ธรรมชาติของโลกที่ครอบงําสัตว์โลก และสัตว์โลกต้องเป็นไปตามธรรมดา ดังนั้นโลกธรรมจึงเป็นความจริง ที่สัตว์โลกต้องประสบด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ 1. ข้างชื่นชม (อิฏฐารมณ์) ได้แก่ มีลาภ (ได้ทรัพย์สินเงินทอง), มียศ (ได้ตําแหน่ง), สรรเสริญ (ได้คําชื่นชม) และสุข (ได้ความสบายกายและใจ) 2. ข้างขมขื่น (อนิฏฐารมณ์) ได้แก่ เสื่อมลาภ (เสียลาภที่ได้มา), เสื่อมยศ (ถูกถอดออกจากตําแหน่ง), นินทา (ถูกตําหนิติเตียน) และทุกข์ (ได้รับความทรมานกายและใจ)

87. หลักราชการ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลใด

(1) สมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5

(2) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

(3) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

(4) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

ตอบ 2

หลักราชการ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) มีอยู่ 10 ข้อ ได้แก่ 1. ความสามารถ 2. ความเพียร 3. ความมีไหวพริบ 4. ความรู้เท่าถึงการ 5. ความซื่อตรงต่อหน้าที่ 6. ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป 7. ความรู้จักนิสัยคน
8. ความรู้จักผ่อนผัน 9. ความมีหลักฐาน 10. ความจงรักภักดี

88. หลักราชการในบทพระราชนิพนธ์นั้นมีกี่ข้อ

(1) 10 ข้อ

(2) 11 ข้อ

(3) 12 ข้อ

(4) 13 ข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

89. ข้อใดไม่ใช่หลักราชการในบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

(1) ความฉลาด เก่ง รอบรู้

(2) ความเพียร

(3) ความซื่อตรงต่อหน้าที่ และความซื่อตรงต่อคนทั่วไป

(4) ความจงรักภักดี

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

90. คํากล่าวที่ว่า “ป่าพึ่งเสือ เรือพึ่งพาย นายพึ่งบ่าว เจ้าพึ่งข้า” เป็นคํากล่าวที่ตรงกับหลักราชการในข้อใด

(1) ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป

(2) ความรู้รักสามัคคี

(3) ความเพียรอันบริสุทธิ์

(4) ความจงรักภักดี

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ)

หลักราชการข้อ 6. ความซื่อตรงต่อคนทั่วไปคือ ความประพฤติซื่อตรงที่มีต่อคนทั่วไป โดยการรักษาวาจาสัตย์ ไม่คิดเอาเปรียบใคร ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่หาดีใส่ตัวหาชั่วใส่เขา เมื่อผู้ใดมีไมตรีต่อก็ตอบแทนด้วยไมตรีโดยสม่ำเสมอ ไม่ใช้ความรักใคร่ไมตรีซึ่งผู้อื่นมีต่อเรานั้นเพื่อเป็นเครื่องประหารเขาเองหรือใคร ๆ ทั้งสิ้นดังคํากล่าวที่ว่า “ป่าพึ่งเสือ เรือพึ่งพาย นายพึ่งบ่าว เจ้าพึ่งข้า”

91. ในหลักราชการในเรื่อง “ความมีหลักฐาน” หมายถึงข้อใด

(1) มีบ้านเป็นสํานักมั่นคง ครอบครัวอันมั่นคง ตั้งตนไว้ในที่ชอบ

(2) ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง มิตรภาพ AEC

(3) เก็บเอกสารดี เก็บข้อมูลได้ เรียกใช้งานสะดวก

(4) การมีพื้นฐานที่ดี

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ)

หลักราชการข้อ 9. ความมีหลักฐานแบ่งเป็น 3 ประการ ดังนี้ 1. มีบ้านเป็นสํานักมั่นคง 2. มีครอบครัวอันมั่นคง 3. ตั้งตนไว้ในที่ชอบ

92. “จริยธรรมของการบริหารภาครัฐ” เป็นแนวคิดแนะนําของอดีตนายกรัฐมนตรีท่านใด

(1) นายทักษิณ ชินวัตร

(2) นายอานันท์ ปันยารชุน

(3) พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

(4) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ตอบ 3

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แนะว่า ผู้นําต้องมีมาตรฐานจริยธรรมของการบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชน 7 ประการ ดังนี้ 1. ความซื่อสัตย์ 2. กฎหมาย 3. ความเป็นธรรม 4. ประสิทธิภาพ 5. ความโปร่งใส 6. ความมั่นคงของรัฐ 7. ค่านิยม

93. “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” เป็นคํากล่าวชนิดใด

(1) คํากล่าวชื่นชม

(2) คํากล่าวแสดงความคิดเห็น

(3) คํากล่าวเสนอแนะ

(4) คํากล่าวติเตียน

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ)

หลักราชการข้อ 4. ความรู้เท่าถึงการหมายถึง รู้จักปฏิบัติกิจการให้เหมาะด้วยประการทั้งปวง หรือรู้ว่าอะไรควรทํา อะไรไม่ควรทํา ซึ่งเป็นคํากล่าวชื่นชม ส่วนคําว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” หมายถึง เขลา คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น ซึ่งเป็นคําติเตียนว่าเป็นความบกพร่อง (คําว่า “การ/การณ์” ใช้ต่างกันตามราชบัณฑิตยสถาน)

94. รามไม่เชื่อข่าวสารเรื่องพระนามรัชกาลที่ 10 ที่ส่งมาทางไลน์ ถือว่ารามยึดถือหลักกาลามสูตรข้อใด

(1) อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์

(2) อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ

(3) อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นของเก่าเล่าสืบกันมา

(4) อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง

ตอบ 2

หลักกาลามสูตรข้อ 3 อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ (มา อิติกิราย)คือ อย่ารับถือเอาเพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่กําลังเล่าลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน หรือตื่นข่าว หมายถึง สิ่งน่าอัศจรรย์ที่กําลังลือกระฉ่อนกันอยู่ในขณะนั้น โดยต้องรู้จักวิเคราะห์และตรวจสอบหาแหล่งที่มาของข่าวที่น่าเชื่อถือก่อนตัดสินใจเชื่อหรือทําสิ่งต่าง ๆ

95. วิภามาเรียนสายทุกวัน คุณครูจึงคิดว่าวิภาเป็นเด็กเกียจคร้าน แสดงว่าครูขาดหลักกาลามสูตรในข้อใด

(1) อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง

(2) อย่าเพิ่งเชื่อเพราะอนุมานเอา

(3) อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ

(4) อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเล่าสืบต่อกันมา

ตอบ 1

หลักกาลามสูตรข้อ 5 อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง (มา ตกฺกเหตุ) คือ อย่ารับถือเอาด้วยการใคร่ครวญตามวิธีที่เรียกว่า “ตรรกะ” หรือปัจจุบันนี้ เรียกว่า “Logic โดยตรรกวิทยาเป็นวิชาที่แสดงเรื่องความคิดเห็น อ้างหาเหตุผลซึ่งอาจจะผิดก็ได้ ไม่ใช่ว่าจะถูก ไปเสียทุกอย่าง ทั้งนี้คําว่า “เดา” ในที่นี้ หมายถึง การใช้เหตุผลชั่วแล่นชั่วขณะตามวิสัยของคนธรรมดาทั่วไป

96. หลักกาลามสูตรไม่ยึดถือสิ่งใดเป็นเกณฑ์ตัดสิน

(1) เหตุผล

(2) ปัญญา

(3) หลักฐาน

(4) ประสบการณ์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

97. ข้อใดเป็นมารยาทในการเข้าสังคมอย่างมั่นใจ และการปฏิบัติตัวในการเข้าสังคมที่ถูกต้องตามกาลเทศะ

(1) มีบุคลิกภาพดี แนะนําตัวและพูดคุยตามความเหมาะสม

(2) พูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ ไม่ฟังใคร

(3) มีความจริงใจ เปิดใจ พูดทุกเรื่อง

(4) นินทา พูดความลับของผู้อื่นกับคนที่พึ่งรู้จัก

ตอบ 1

มารยาทในการเข้าสังคมอย่างมั่นใจและถูกต้องตามกาลเทศะ มีดังนี้ 1. มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ดี 2. แนะนําตัวและพูดคุยตามความเหมาะสม 3. พูดในเรื่องที่คู่สนทนาสนใจ ไม่ใช่พูดแต่เรื่องที่ตนสนใจฝ่ายเดียว 4. ไม่ควรพูดนินทาให้ร้ายคนอื่น หรือพูดความลับของผู้อื่นกับคนที่พึ่งรู้จัก 5. ไม่ควรพูดอวดตน ยกตนข่มท่าน หรือแสดงอาการว่าตนเหนือกว่าผู้ฟัง ฯลฯ

98. ข้อใดคือทักษะในการพูดและการสื่อสารที่ดีในด้านทักษะในการสร้างประสิทธิภาพของเสียง

(1) การใช้น้ำเสียงตามที่ตัวเองมี

(2) การใช้เสียงสร้างเสริมบุคลิกภาพ ฝึกหัดการพูดด้วยการบันทึกวิดีโอเทปเพื่อการพัฒนา

(3) มีความเสมอต้นเสมอปลาย ใช้น้ำเสียงโทนเดียว (Monotone)

(4) เป็นคนตัวใหญ่ฝึกฝนการพูดน้ำเสียงที่แหลมเล็ก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทักษะในการสร้างประสิทธิภาพของเสียงเพื่อการพูดและการสื่อสารที่ดี มีดังนี้ 1. ใช้น้ำเสียงให้เป็นธรรมชาติ อย่าดัดเสียงหรือเลียนแบบเสียงของผู้อื่น 2. ใช้เสียงสร้างเสริมบุคลิกภาพ โดยมีการฝึกหัดพูดเพื่อการพัฒนา เช่น การฝึกพูดโดยมี
ผู้เชี่ยวชาญแนะนํา หรือบันทึกเป็นวิดีโอเทปเพื่อดูความบกพร่อง ฯลฯ 3. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำเสียงโทนเดียว (Monotone) เพราะการพูดเสียงเดียวราบเรียบเสมอกันหมดจะทําให้ผู้ฟังง่วงและเกิดความเบื่อหน่าย ฯลฯ

99. เวลาที่เราต้องแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะนั้น ไม่ควรมีความรู้สึกแบบใด

(1) รวบรวมใจให้มีสติและสมาธิ

(2) ใช้ความคิดค้นหาจุดเด่นของตัวเอง

(3) ประหม่า ไม่กล้าแสดงออก

(4) สร้างบุคลิกภาพที่ดีตามแบบของตนเองให้เป็นธรรมชาติ

ตอบ 3

หลักปฏิบัติเมื่อต้องแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ มีดังนี้ 1. เตรียมตัวให้พร้อม โดยการอ่านหนังสือเยอะ ๆ เพื่อเก็บสะสมข้อมูลไว้ใช้อ้างอิงหรือ เสริมคําพูดของตน 2. หมั่นสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้คนที่หลากหลาย 3. ใช้ความคิดค้นหาจุดเด่นหรือเอกลักษณ์ของตัวเอง 4. รวบรวมจิตใจให้มีสติและสมาธิ ไม่ประหม่าหรือตื่นกลัวเมื่อต้องแสดงความคิดเห็น 5. สร้างบุคลิกภาพที่ดีตามแบบของตนเองให้เป็นธรรมชาติ ฯลฯ

100. ข้อใดไม่ใช่วิธีฝึกตัวเองให้พร้อมสําหรับการแสดงความคิดเห็นต่อที่สาธารณะ

(1) อ่านหนังสือเยอะ ๆ เก็บสะสมข้อมูลไว้เป็นทุน เวลาจะต้องพูดคุยจะได้ดูเก๋ ๆ เท่ ๆ

(2) เริ่มสร้างบุคลิกภาพที่ดีตามแบบของคุณให้เป็นธรรมชาติ

(3) ฝึกความอดทนจากการลงแข่งไตรกีฬา

(4) หมั่นสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้คนที่หลากหลาย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 99. ประกอบ

101. ข้อใดไม่ใช่คําที่ควรพูดเพื่อใช้สร้างทัศนคติที่ดี

(1) ขอโทษค่ะ

(2) ขอบคุณค่ะ

(3) ไม่ต้องค่ะ

(4) ไม่เป็นไรค่ะ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําที่ควรพูดเพื่อใช้สร้างทัศนคติที่ดี และถือเป็นมารยาทในการพูด ได้แก่การหมั่นฝึกพูดคําว่า “ขอบคุณ” เมื่อมีผู้แสดงคุณต่อตน, “ขอโทษ” เมื่อตนทําพลาดพลั้งสิ่งใดแก่บุคคลใด และ “ไม่เป็นไร” ซึ่งแสดงถึงการให้อภัยเมื่อมีผู้ทําพลาดพลั้งสิ่งใดแก่ตัวเรา

102. ข้อใดไม่ใช่วิธีการดูแลสุขภาพร่างกายและรูปร่างที่ดี

(1) เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

(2) เลี้ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่

(3) การออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ

(4) การรับประทานวิตามินอาหารเสริมชนิดเม็ด ฉีดโบท็อก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิธีการดูแลสุขภาพร่างกายและรูปร่างที่ดี มีดังนี้

1. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

2. ขับถ่ายทุกวันและให้เป็นเวลา

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

4. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว

5. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่

6. ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ

7. ทําจิตใจและอารมณ์ให้แจ่มใส ฯลฯ

103. ผู้ใดถือว่ามีความสันโดษ

(1) วิวพอใจในหน้าตาของตน

(2) แววชอบอยู่คนเดียว

(3) วิมชอบอยู่เงียบ ๆ

(4) วัฒน์ชอบเข้าป่า

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

104. ข้อใดเป็นงานไม่มีโทษ

(1) งานสบาย

(2) งานรายได้ดี

(3) งานไม่ผิดกฎหมาย

(4) งานมีเกียรติ

ตอบ 3

พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ในข้อ 18 ว่า การทํางานที่ไม่มีโทษ ได้แก่
1.งานไม่ผิดกฎหมาย คือ ทําให้ถูกต้องตามกฎหมายของบ้านเมือง 2. งานไม่ผิดประเพณี คือ แบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ควรดําเนินตาม 3. งานไม่ผิดศีล คือ ข้อห้ามที่บัญญัติไว้ในศีล 5 4. งานไม่ผิดธรรม คือ หลักธรรมทั้งหลาย เช่น งานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพนัน การหลอกลวง ฯลฯ

105. ผู้ใดถือเป็นผู้ที่ได้กุศลสูงสุดจากการทําทาน

(1) ฟางยกโทษให้โจรปล้นจี้

(2) ฟูช่วยคนเป็นลม

(3) ฟิวส์สอนหนังสือธรรมะให้เพื่อน

(4) ฟ้าบริจาคเงินสร้างวัด

ตอบ 3

พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ในข้อ 15 ว่า การให้ทาน คือ การให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน เพื่อชําระความโลภในจิตใจให้หมดสิ้นไป โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้รับได้พ้นจากความทุกข์ แบ่งออกเป็น 3 อย่าง ดังนี้ 1. อามิสทาน คือ การให้วัตถุ สิ่งของ ทรัพย์สินหรือเงินเป็นทาน 2. ธรรมทาน คือ การสอนให้ธรรมะ (หลักคุณธรรม) เป็นความรู้เป็นทาน ซึ่งถือเป็นคุณธรรมสูงสุด เพราะเป็นการให้ที่สําคัญที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด และได้กุศลสูงสุด ดังพุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งที่ว่า “สพพทานํ ธมมทานํ ชินาติ” แปลว่า การให้ธรรมะ ย่อมชนะการให้ทั้งปวง 3. อภัยทาน คือ การให้อภัยแก่บุคคลที่ทําไม่ดีกับเรา หรือล่วงเกินเราด้วยกาย วาจา และใจ ไม่จองเวรหรือพยาบาทกัน ซึ่งถือเป็นการให้ที่ยากที่สุดสําหรับคนในสังคมยุคปัจจุบัน

106. ข้อใดเป็นลักษณะของ “พหูสูต”

(1) รู้ทุกเรื่อง

(2) รู้ลึก รู้กว้าง

(3) รู้ในเรื่องที่ผู้อื่นไม่รู้

(4) รู้ดี

ตอบ 2

พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ในข้อ 7 ว่า ความเป็นพหูสูต คือ เป็นผู้ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 1. รู้ลึก คือ การรู้ในเรื่องนั้น ๆ อย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม 2. รู้รอบ คือ การรู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว 3. รู้กว้าง คือ การรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กัน 4. รู้ไกล คือ การศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคต

107. ข้อใดไม่จัดว่าเป็น “อาวาสเป็นที่สบาย”

(1) อยู่ใกล้แหล่งชุมชน

(2) เดินทางสะดวก

(3) โอ่อ่ากว้างขวาง

(4) สะอาด

ตอบ 3

พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ในข้อ 4 ว่า การอยู่ในถิ่นอันสมควรซึ่งประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม 4 อย่าง ได้แก่ 1. อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึง อยู่แล้วสบาย เช่น สะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดีเป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุข เป็นต้น 2. อาหารเป็นที่สบาย หมายถึง อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ 3. บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึง ที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย 4. ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึง มีที่พึงด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรม เช่น มีวัด มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้อยู่ในละแวกนั้น เป็นต้น

108. การบูชาบุคคลที่ดีที่สุดควรบูชาด้วยสิ่งใด

(1) เงินทอง

(2) การปฏิบัติตามคําสอน

(3) พวงมาลัย

(4) กราบไหว้

ตอบ 2

พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ในข้อ 3 ว่า การบูชาบุคคลที่ควรบูชา คือ การแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือยกย่องเลื่อมใสในบุคคลนั้น แบ่งออกเป็น 2 อย่าง ดังนี้ 1. อามิสบูชา คือ การบูชาด้วยสิ่งของ เช่น การนําเงินทองหรือทรัพย์สินไว้ให้พ่อแม่ใช้จ่าย การกราบไหว้พระด้วยพวงมาลัย ฯลฯ 2. ปฏิบัติบูชา ซึ่งเป็นการบูชาบุคคลที่ดีที่สุด คือ การบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การปฏิบัติตามคําสอนของศาสนา การฝึกจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลก ฯลฯ

109. ผู้ใดถือว่ามีมงคล 38 ประการว่าด้วย “การคบบัณฑิต”

(1) สุคบแต่คนจบมหาวิทยาลัย

(2) สนคบเพื่อนที่มีความรับผิดชอบ

(3) สินคบแต่คนฉลาด

(4) สันต์คบคนเรียบร้อย

ตอบ 2

พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ในข้อ 2 ว่า ให้คบคนดีเป็นเพื่อนหรือคบบัณฑิต หมายถึง ผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดําเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นคนคิดดี คือ ไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย ฯลฯ 2. เป็นคนพูดดี คือ มีวจีสุจริต พูดจริงทําจริง ไม่โกหก ฯลฯ 3. เป็นคนทําดี คือ ทําอาชีพสุจริต มีเมตตา มีความรับผิดชอบ ฯลฯ

110. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคนพาล

(1) พูดจาไร้สาระ

(2) เกียจคร้าน

(3) ขี้อิจฉา

(4) ชอบยุแยง

ตอบ 2

พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ในข้อ 1 ว่า การไม่คบคนพาลซึ่งมีลักษณะ 3 ประการ ดังนี้ 1. คิดชั่ว คือ มีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท ขี้อิจฉา และมีมิจฉาทิฐิ (เห็นผิดเป็นชอบ) 2. พูดชั่ว คือ คําพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริต ได้แก่ พูดเท็จ พูดส่อเสียดยุแยงให้แตกแยกพูดคําหยาบ และพูดจาเพ้อเจ้อไร้สาระ 3. ทําชั่ว คือ ทําอะไรที่ประกอบไปด้วยกายทุจริต เช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฯลฯ

111. เคราะห์ หมายถึงข้อใด

(1) น้ำทําธุรกิจขาดทุน

(2) นนท์เกิดปีชง

(3) หนึ่งหน้าตาหมองคล้ำ

(4) นันท์ถูกจิ้งจกทัก

ตอบ 1 คําว่า “เคราะห์” มาจาก คฺรห แปลว่า ยึด ความยึดมั่น ถือมั่น หรือปัญหา เช่น การทําธุรกิจแล้วเกิดปัญหาขาดทุน เป็นต้น ส่วนการสะเดาะเคราะห์ หมายถึง การทําให้ปัญหานั้นหลุดออกไป แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ 1. แบบโหราศาสตร์ที่เจือด้วยไสยศาสตร์ (ได้ความสบายใจที่เจือด้วยอวิชชา ผ่านกรรมวิธีตามความเชื่อ) เช่น การไหว้พระเก้าวัด เผาฮู้ไล่โชคร้าย และบวชต่ออายุ เพราะเชื่อว่าจะทําให้พ้นจากทุกข์ หรือได้รับในสิ่งที่ตนปรารถนาไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า เป็นต้น 2. แบบพุทธศาสตร์ (ได้ความสบายใจที่แท้จริง ผ่านกระบวนการของเหตุและผลตามหลักพระพุทธศาสนา) คือ การรู้ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดกับตนเองแล้วหาทางแก้ไข เช่นการรู้จักระมัดระวังตัวเองมากขึ้นหลังจากเคยถูกปล้น เป็นต้น

112. บุคคลใดสะเดาะเคราะห์ตามหลักพระพุทธศาสนา

(1) ปิ่นไหว้พระเก้าวัด

(2) ป่านเผาฮู้ไล่โชคร้าย

(3) ปีปถูกปล้น จึงระวังตัวมากขึ้น

(4) ปอนด์บวชต่ออายุ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 111. ประกอบ

113. ข้อใดไม่ใช่ภูมิปัญญาไทย

(1) ลูกประคบ

(2) หนังตะลุง

(3) การลอยโคม

(4) ตาข่ายดักฝัน

ตอบ 4

ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านต่าง ๆ ในการดํารงชีวิตของคนไทย อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีลักษณะเป็นองค์รวมทางความรู้ที่มีคุณค่าทาง วัฒนธรรม และเป็นพื้นฐานสําคัญในการดํารงชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทย เช่น การทําลูกประคบสมุนไพร การทําหนังตะลุง ประเพณีลอยโคมยี่เป็ง ฯลฯ

114. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

(1) เป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ

(2) เป็นทักษะ ความรู้ ความเชื่อ และพฤติกรรม

(3) มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

(4) ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ตอบ 4

ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้ 1. มีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม 2. เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน 3. แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ 4. มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง 5. เป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม 6. มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม ฯลฯ

115. ภูมิปัญญาไทยมีความสําคัญอย่างไร

(1) ทําให้คนดูฉลาด

(2) เป็นสัญลักษณ์ของความศิวิไลซ์

(3) ช่วยปรับปรุงวิถีชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น

(4) ใช้แยกแยะจําแนกชาติพันธุ์

ตอบ 3

เมื่อปี พ.ศ. 2541 คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้สรุปความสําคัญของภูมิปัญญาไทยไว้ ดังนี้ 1. ช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง 2. สร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรีเกียรติภูมิให้แก่คนไทย 3. สามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคําสอนทางศาสนามาใช้กับชีวิตได้อย่างเหมาะสม 4. สร้างความสมดุลระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
5. ช่วยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นและเหมาะสมกับยุคสมัย

116. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย

(1) ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ

(2) อิทธิพลของวัฒนธรรมภายนอก

(3) รายได้

(4) ศาสนา ความเชื่อ

ตอบ 3

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย มีดังนี้ 1. การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยที่เกิดจากการดํารงชีวิต 2. การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยที่เกิดจากความเชื่อและศาสนา และ 3. การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยที่เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม 4. การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยที่เกิดจากอิทธิพลของวัฒนธรรมภายนอก 5. การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยโดยอาศัยประสบการณ์

117. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาไทย

(1) คนกับวัตถุ

(2) คนกับคน

(3) คนกับสิ่งแวดล้อม

(4) คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 114. ประกอบ

118. ข้อใดคือภูมิปัญญาไทยสาขาศิลปกรรม

(1) ยาแผนโบราณ

(2) มโนราห์

(3) ประเพณีลอยโคม

(4) บุญบั้งไฟ

ตอบ 2

ภูมิปัญญาไทยสาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางศิลปะสาขาต่าง ๆ ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ และคีตศิลป์ เช่น การรํามโนราห์ ศิลปะมวยไทย การร้องลําตัด ฯลฯ

119. พิณไม่แชร์ข้อความทางไลน์โดยไม่ตรวจสอบ ถือว่าพิณมีคุณธรรมเรื่องใด

(1) กาลามสูตร

(2) ศีลธรรม

(3) สังคหวัตถุ 4

(4) พรหมวิหาร 4

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

120. ข้อใดไม่ใช่การวางตัวที่เหมาะสมในสังคมด้านการแต่งกายที่ดี

(1) เหมาะสมกับแฟชั่นแนวอินดี้ที่วัยรุ่นกําลังนิยม

(2) เหมาะสมกับสถานภาพ

(3) เหมาะสมกับวัย

(4) เหมาะสมกับกาลเทศะ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

Advertisement