การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา RAM1000 ความรู้คู่คุณธรรม

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. ความรู้คู่คุณธรรมมุ่งปลูกฝังสำนึกในข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1. สำนึกนำทีจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

2. สำนึกนำที่จะรักษาองค์กร

3. สำนึกนำที่จะรักษาสิ่งที่ดีงามไว้ให้เป็นมรดกของประเทศชาติ

4. สำนึกนำรับผิดชอบดูแลบ้านเมือง

ตอบ 4 (คำบรรยาย) บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรม นั้นคือนอกจากจะเป็นคนเก่ง มีความรู้ดี เก่งเรียน เก่งงาน เก่ง วิชาการ เฉลียวฉลาด มีเหตุผลแล้วบัณฑิตรามคำแหงยังต้องเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีความกตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริตขยันอดทน และที่สำคัญที่สุดคือ การมีสำนึกนำรับผิดชอบดูแลบ้านเมือง โดยต้องนำวิชาการที่ได้ศึกษามาไปรับใช้สังคมดูแลประเทศชาติ

2. มหาวิทยาลัยรามคำแหงร่วมสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของไทยสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯในเรื่องใด

1. การแสดงดนตรี

2. การแสดงหุ่นกระบอก

3. การแสดงโขน

4. การแสดงศิลปะพื้นบ้าน

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) มหาวิทยาลัยรมคำแหงได้ก่อตั้งโขนรามขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 และวิชาการแสดงโขนก็ได้ถูกบรรจุให้เป็นวิชาหนึ่งในคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานาฏกรรมไทยเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสืบทอดโขน และยังเป็นการร่วมมือสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของไทยให้คงอยู่ตลอดไป

3. นักศึกษาจะมีส่วนร่วมยกย่องมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ตามข้อใดเป็นสำคัญ

1. ร่วมคิด

2. ร่วมทำ

3. ร่วมภาคภูมิใจ

4. ร่วมช่วยเชิดชู

ตอบ 4 (คำบรรยาย) นักศึกษาจะมีส่วนร่วมยกย่องมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดย การร่วมช่วยเชิดชูชื่อเสียงเกียรติคุณของสถาบัน คือ การดำรงตนให้สมฐานะสมศักดิ์ศรีความเป็นบัณฑิต ไม่ใช้ความรู้เพื่อความได้เปรียบ หรือประพฤติตนไม่ดีงาม อันจะทำให้ตัวเองและสถาบันเสื่อมเสียชื่อเสียง

4. ข้อใดเป็นการพัฒนาที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง

1. ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

2. ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน

3. ทำวันนี้ให้ดียิ่งขึ้น

4. ทำวันนี้ให้ดีอย่างไม่มีจุดสุดท้าย

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การพัฒนาตนเองที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง คือ ทำวันนี้ให้ดีอย่างไม่มีจุดสุดท้ายหรือวันนี้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำ ให้ดีอย่างเต็มศักยภาพและเต็มความสามารถ โดยควรทำเสียตั้งแต่วันนี้ เพราะถ้ารอถึงพรุ่งนี้อาจจะสานเกินไป และไม่ต้องไปวัดว่าสิ่งที่ทำนั้นดีที่สุดดียิ่งขึ้น หรือดีกว่าเมื่อวาน

5. ทำดีในข้อใดบ่งชี้ความมีคุณธรรม

1. ทำดีเราเห็น

2. ทำดีเราทราบ

3. ทำดีเราได้

4. ทำดีเราสุขใจ

ตอบ 4 หน้า 244 – 245 , 41 (H) คุณธรรม หมายถึง ความ สามารถแยกแยะได้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดดีไม่ดีแล้วทำแต่สิ่งดีไปโดยตลอด จึงเป็นลักษณะที่ดีงามของบุคคลที่มีการยอมรับและเห็นคุณค่าอันเป็นพื้นฐาน การแสดงออกของการกระทำที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม โดยผู้ที่มีคุณธรรมจะถือส่าหน้าที่ที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ต้องกระทำด้วยความ รู้สึกสำนึกว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำและจงใจปฏิบัติด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่า “ทำดีเราสุขใจ”

6. การพึ่งตนเองได้ หมายความตามข้อใด

1. แบ่งเวลาในการเรียนได้

2. จะทำสิ่งที่ดีงามในชีวิต

3. ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

4. จะไม่เป็นภาระกับใคร

ตอบ 4 หน้า 257 , 377 – 378 (บรรยาย) การพึ่งตนเอง หมายถึง การ เคารพตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง และไม่ทำตัวให้เป็นปัญหาหรือเป็นภาระแก่ผู้อื่นหรือหมู่คณะ จึงเป็นความสามารถในการดำรงตนเองได้อย่างอิสระมั่นคง สมบูรณ์ และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาและเบียดเบียนผู้อื่นซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่า “ อดอย่างเสือ ล่าเหยื่อด้วยตนเอง”

7. การฝึกอาชีพของนักศึกษาอาจส่งผลดีต่ออนาคตอย่างไร

1. โอกาสได้งานทำ

2. เข้าใจระบบการทำงาน

3. ได้เรียนรู้งาน

4. ได้รับแนวคิด

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การฝึกอาชีพหรือฝึกงานของนักศึกษามีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ เพื่อ ให้ใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น สามารถวางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวุฒิภาวะหรือการเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ส่วนจุดมุ่งหมายรองลงมาก็คือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้แก่นักศึกษาว่าจะได้รับแนวคิด ได้ เรียนรู้งาน และได้เข้าใจระบบการทำงาน จนอาจส่งผลดีต่ออนาคต คือ มีโอกาสได้ทำงานสูง เนื่องจากมีประสบการณ์จากการฝึกงานในด้านนั้น ๆ มาบ้างแล้ว

8. ในการฝึกอาชีพของใดเป็นจุดหมายสำคัญน้อยที่สุด

1. การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น

2. การวางตัวเข้ากับสภาพรอบข้าง

3. การเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น

4. การสร้างความเชื่อมั่น

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

9. รู้รักษาตัวรอด หมายความตามข้อใด

1. กล้าเผชิญปัญหา

2. แก้ไขปัญหาได้

3. การปฏิบัติงานจริง

4. ใช้ความรู้คู่คุณธรรมดำรงชีวิต

ตอบ 4 (คำบรรยาย) รู้รักษาด้วยรอดเป็นยอดดี หมายถึง คน เราควรหมั่นศึกษาหาความรู้ให้มากเพราะเป็นของดีมีประโยชน์ แต่ที่ดีกว่านั้นคือการนำวิชาความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนได้พึ่งพาตน เองได้ ไม่ใช่มีแต่ความรู้ แต่ความสามารถในการ จัดการปัญหาไม่มีเลย ดังนั้นรู้รักษาตัวรอดจึงต้องใช้ความรู้คู่คุณธรรมในการดำรงชีวิต เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลุลวงไปได้ด้วยตนเอง และสามารถพาตัวเองให้รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น

10. ในสังคมข้อมูลข่าวสาร การศึกษาสำคัญอย่างไร

1. การเตรียมงาน

2. การเตรียมตัว

3. การสร้างฐานความรู้

4. การต่อสู้แข่งขัน

ตอบ 3 หน้า 26, (คำบรรยาย) มรศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารนั้น การศึกษานับว่ามีบทบาทสำคัญในด้านการสร้างฐานความรู้ (Base of Knowledge) เพื่อช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีคุณภาพ สามารถแก้ปัญหาและปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า เพื่อช่วยพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนได้

11. รามคำแหงขยายโอกาสทางการศึกษาสู่ภูมิภาคและต่างประเทศ หมายความได้ตามข้อใด

1. เป็นกำลังสำคัญของมหาวิทยาลัย

2. ตั้งหน้าตั้งตาเรียน

3. มีความมุ่มมั่น

4. อยู่ที่ไหนก็จบรามฯ ได้

ตอบ 4 หน้า 47 (H) (คำบรรยาย) รามคำแหงขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคและต่างประเทศ หมายถึง อยู่ที่ไหนก็สามารถจบรามฯ ได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการให้ การ เติมเต็ม และมีเมตตาแก่พี่น้องและลูกหลานไทยทั้งในส่วนภูมิภาคและต่างประเทศที่ยังขาด โอกาสทางการศึกษาโดยมีเป้าหมายที่จะสร้างนักปราชญ์ราชบัณฑิตชาวไทยในท้อง ถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศและต่างประเทศ

12. ข้อใดเป็นการกระทำที่บ่งชี้ความมีคุณธรรมสูงสุด

1. ทำด้วยความเชื่อมั่น

2. ทำอย่างมีเป้าหมายชัดเจน

3. ทำด้วยความพากเพียรเรียนรู้

4. ทำเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

13. รามคำแหงก้าวสู่ปีที่ 40 แสดงถึงข้อใดอย่างชัดเจน

1. รามคำแหงขยายโอกาสทางการศึกษา

2. รามคำแหงเจริญงอกงาม

3. รามคำแหงเป็นสมบัติของชาติ

4. รามคำแหงเป็นบ่อน้ำสำคัญให้ลูกหลานได้กินน้ำจากบ่อนี้

ตอบ 2 หน้า 584 – 585 (คำบรรยาย) รามคำแหงก้าวสู่ปีที่ 40 แสดงให้เห็นว่า รามคำแหงเจริญงอกงามไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิชาการ ด้านชื่อเสียงเกียรติคุณ ซึ่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงก้าวหน้าขึ้นไปมากมายและยังก้าวล้ำหน้ามหาวิทยาลัยอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพของบัณฑิตที่นักวิชาการทั้งในและต่างประเทศต่างประเมินและตรวจสอบคุณภาพแล้ว ได้ผลออกมาตรงกันว่ามีคุณภาพไม่ได้ด้อยไปกว่ามหาวิทยาลัยปิดของรัฐบาลแต่อย่างใด

14. ข้อใดไม่บ่งชี้คุณธรรม

1. เราเรียนต้องได้ความรู้

2. แบ่งเวลาเป็นปรับตนได้

3. จบมาแล้วสู่การสู้งาน

4. มีมานะอดทน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

15. ข้อใดเป็นเป้าหมายการเรียนที่มีคุณค่าของสำนึกน้อยที่สุดล

1. เรียนเพื่อรู้

2. เรียนเพื่อปริญญา

3. เรียนเพื่อพ่อแม่

4. เรียนเพื่อประกอบอาชีพ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) เป้าหมายการเรียนที่มีคุณค่าของการรู้สำนึกนั้น มิใช้เรียนเพื่อให้ได้ปริญญาหรือวิทยฐานะเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการเรียนเพื่อรู้ เพื่อ พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่จะดำรงชีพและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข และที่สำคัญคือ เรียนเพื่อพ่อแม่ผู้มีอุปกรณ์ที่ได้ส่งเสริมและเลี้ยงดูเรามา อันเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที

16. ข้อใดบ่งชี้ความมีคุณธรรมอย่างชัดเจน

1. เราจะดำรงชีวิตอย่างไร

2. เราจะมีอาชีพสำรองไว้

3. เราจะทำอาชีพโดยสุจริต

4. เราจะศรัทธาเชื่อมั่นมุ่งเป้าหมาย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

17. การปฏิบัติในข้อใดแสดงความมีคุณธรรม

1. มีอะไรพูดกันตรง ๆ

2. สงสัยอะไรก็ถาม

3. ไม่แน่ใจก็ตรวจสอบ

4. ผิดพลาดก็ขอโทษ และแก้ไข

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

18. หากนักศึกษาไปต่างประเทศ การปรับตัวในข้อใดจะเป็นผลดีอย่างชัดเจน

1. ปรับเวลา

2. ปรับอาหารการกิน

3. ปรับชีวิตการเป็นอยู่

4. ปรับทัศนคติความเชื่อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้น นอกจากนักศึกษาจะต้องปรับตัวในเรื่องเวลาที่แตกต่างกัน ปรับตัวในเรื่องอาหารการกิน และปรับชีวิตความเป็นอยู่แล้ว สิ่ง สำคัญทีสุดก็คือการปรับตัวในเรื่องทัศนคติความเชื่อให้สอดคล้องกับผู้คนใน ประเทศนั้น ๆ โดยต้องรู้และเข้าใจวัฒนธรรมประเพณี รู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของคนในประเทศนั้น ๆ

19. ในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง นักศึกษาพึงตระหนักในข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1. ทำงานไป เรียนไป

2. เรียนรู้สู้ชีวิต

3. รู้จักความทุกข์ ความผิดหวัง

4. รู้คุณค่าของเงิน

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง นักศึกษาพึงตระหนักในการรู้คุณค่าของเงิน รู้จักใช้ออมทรัพย์สินตามความจำเป็นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด รวมทั้งรู้จักดำรงชีวิตให้อยู่อย่างพอเพียง มีความพอประมาณ เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ส่วนตน

20. ข้อใดเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด

1. รู้จักว่าความสุขเป็นอย่างไร

2. รู้จักคำว่าทุกข์เป็นอย่างไร

3. รู้จักว่าความผิดหวังเป็นอย่างไร

4. รู้ร้อน รู้หนาว สัมผัสได้ในชีวิตจริง

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด คือ การ รู้เท่าทันในกฎของธรรมชาติอย่างมีสติสัมปชัญญะ รู้ร้อน รู้หนาว เรียนรู้และสัมผัสได้ในความเป็นจริงของธรรมชาติ เมื่อพบร้อนพบหนาวมากไปน้อยไปก็สงบใจอดทน เปรียบเสมือนกับความทุกข์เมื่อมีเกิดขึ้น ก็ย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดาดังนั้นจึงไม่ควรยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ เมื่อไม่ยึดไม่ติดแล้ว ใจก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์

21. การประชุม ซึ่งเป็นผลที่ดีในองค์กรคือข้อใด

1. การให้ความร่วมมือ

2. การประสานงาน

3. การเข้าใจที่ตรงกัน

4. การลดข้อผิดพลาดในการทำงาน

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การประชุม หมายถึง บุคคลที่ 2 คน ขึ้นไปมาร่วมปรึกษาหารือ ชี้แจงอธิบาย เสนอแนะ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกิดความร่วมมือเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และเป็นเครื่องมือในการติดต่อประสานงานแล้ว ยังส่งผลดีที่สุดต่อองค์กรคือ เกิดการปฏิบัติที่ถูกต้อง ช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงาน เนื่องจากมีการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

22. นวัตกรรมเกิดได้จากการกระทำในข้อใด

1. ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด

2. อย่าไปมองคนอื่นทำไมไม่ทำ

3. ถ้าเสร็จแล้วต้องคิดต่อยอด

4. ถ้าทำแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายควรหลีกเลี่ยง

ตอบ 3 (คำบรรยาย) คำว่า “นวัตกรรม” หมายถึง การทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีใหม่ ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การ เปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการคิดพัฒนาต่อยอด โดยกสนมราสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้นจะต้องมีความแปลกใหม่อย่าง เห็นได้ชัด และต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

23. มองตนออกมีความหมายตรงกับข้อใด

1. เราต้องตามโลกให้ทัน

2. เราต้องเลือกรับเอาแต่สิ่งดี เหมาะสม

3. เราต้องรักษาความเป็นไทย

4. เราไม่รู้จักตัวตนของตนเอง

ตอบ 4 หน้า 88 (H) 106 (H) (คำบรรยาย) มองตนออก หมายความว่า การรู้จักตัวตนของตนเองสำนึกได้ว่าตนเองเป็นใคร มีนิสัยอย่างไร มีข้อดีด้อยอะไร จึงเป็นความรู้จักตนเองโดยฐานะต่าง ๆ เกี่ยวแก่ความรู้ความสามารถและตำแหน่งหน้าที่อันควรแก่ตน

24. คิดว่าตนเองวิเศษ หมายความตามข้อใด

1. ดีแล้ว เก่งแล้ว ไม่ต้องฟังใคร

2. ให้เกียรติซึ่งกันและกัน

3. แลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน

4. แลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวคิด

ตอบ 1 หน้า 37 (H) สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ค่อยให้เกียรติกัน เพราะ คิดว่าตนเองวิเศษ คือ คิดว่าตนเองดีแล้ว เก่งแล้ว ไม่ต้องฟังใคร ไม่รู้เรื่องอะไรทั้งนั้น มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงดังนั้นในการเรียนจึงต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดย เรียนอย่างมีความรู้ ต่างคนต่างแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ต่างเป็นครูกันละอย่าง ถ้ามีอาวุโสสูงดีแล้วก็มาแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์แนวความคิดซึ่งกันและ กัน

25. เป้าหมายสูงสุดของการเรียนรู้คือข้อใด

1. มีความรู้แล้วใช้ความรู้ได้

2. มีสติปัญญาได้ด้วยการศึกษา

3. มีคุณธรรมแล้วต้องดำเนินกิจการอย่างมีคุณธรรม

4. สร้างปัญญาขจัดอวิชชา

ตอบ 4 หน้า 38 – 39 (H) เป้าหมายสูงสุดของการเรียนรู้ คือ การสร้างสติปัญญาเพื่อขจัดอวิชชาโดยการเรียนรู้ในสิ่งที่ควรรู้ สิ่งที่ไม่ควรรู้ก็อย่าไปรู้ พอมีสติปัญญาแล้วต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรองด้วยเหตุผล ไม่ตามกระแสสังคมที่ผิด ซึ่งเรียกว่า โยนิโสมนสิการ

26. อวิชชามีความหมายสมบูรณ์ตามข้อใด

1. รู้ไม่ถูกทาง

2. รู้ในสิ่งไม่ควรรู้

3. ไม่รู้ในสิ่งควรรู้

4. ได้ทั้งสองทาง คือ รู้กับไม่รู้

ตอบ 4 หน้า 38 (H) อวิชชา แปลว่า ไม่ รู้ แล้วก็แปลว่ารู้ทั้งสองอย่าง เพราะอวิชชา หมายถึง ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ คือ สิ่งที่ควรรู้กลับไม่รู้ แล้วไปรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ หรือรู้ไม่ถูกทาง สิ่งที่เขาไม่ให้รู้ก็ไปรู้เข้าให้ดังนั้นความหมายที่สมบูรณ์ของคำว่า “อวิชชา” จึงแปลได้ทั้งสองทาง คือ รู้กับไม่รู้

27. บุคคลสี่เหล่าเปรียบกับดอกไม้ชนิดใด

1. ดอกดาวเรือง

2. ดอกบัว

3. ดอกบานไม่รู้โรย

4. ดอกทานตะวัน

ตอบ 2 หน้า 574 (คำบรรยาย) พุทธศาสนาได้แบ่งประเภทของบุคคลโดยเปรียบเทียบกับดอกบัว 4 เหล่า คือ 1. ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำพร้อมที่จะบาน เปรียบได้กับคนที่มีความเฉลียวฉลาดสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้อง 2. ดอกบัวที่กำลังโผล่พ้นน้ำ เปรียบได้กับคนที่ฉลาดปานกลาง ซึ่งต้องใช่เวลาอบรมสั่งสอนมากกว่าพวกแรก 3. ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำเปรียบได้กับคนที่ฉลาดน้อย ซึ่งต้องใช้เวลาอบรมสั่งสอนมาก แต่สามารถพัฒนาให้มีความรู้ได้ 4. ดอกบัวที่อยู่ในโครนตน เปรียบได้กับคนที่มีสติปัญญาโง่ทึบ ซึ่งบางทีก็ไม่สามารถพัฒนาตนและไม่สามารถแยกแยะสิ่งที่ถูกผิดได้

28. บุคคลผู้ขาดสติปัญญามักประพฤติตนตามข้อใด

1. ไตร่ตรอง

2. เหตุผล

3. ตามกระแส

4. โยนิโสมนสิการ

ตอบ 3 หน้า 39 (H) บุคคลผู้ขาดสติปัญญาไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผลว่าสิ่งนั้นดีจริงหรือไม่ ที่ว่าดีดีอย่างไร ไม่ดีนั้นไม่ดีอย่างไร โดยสิ่งที่ควรก็ไม่รู้ สิ่งที่ควรไตร่ตรองก็ไม่ได้ไตร่ตรอง จึงมักตามกระแสสังคมที่ผิด แสดงว่าไม่มีโยนิโสมนสิการ หรือไม่มีกระบวนการสร้างสติปัญญานั้นเอง

29. การศึกษาที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือข้อใด

1. รู้

2. จำ

3. คิด

4. ประยุกต์

ตอบ 4 หน้า 40 (H) หลัก การศึกษาเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงในระดับปริญญาตรีนั้นปรารถนาให้นัก ศึกษาจำได้แล้วรู้จักคิด คือ จำได้ คิดได้ จำได้ ว่าตำราว่าอย่างไร ใครเขาว่าอย่างไรหรือหลักเกณฑ์ว่าอย่างไร แล้วนำไปคิดว่าจะนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและสังคมประเทศชาติ

30. การมาเรียนที่รามคำแหงจะได้อะไรเป็นสำคัญที่สุด

1. พบสิ่งที่แปลกใหม่

2. สั่งสมฐานความรู้

3. ได้สอบทานความรู้

4. พบสิ่งที่ควรรู้ควรคิด

ตอบ 2 หน้า 39 (H) การมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยรมคำแหง นอกจากจะได้พบสิ่งที่แปลกใหม่ พบสิ่งที่ควรรู้ควรคิด และได้สอบทานความรู้กับผู้รู้แล้ว นักศึกษายังได้สั่งสมความรู้ให้เป็นฐานความรู้ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นเรื่องของการสั่งสม บางที่เรียกว่าจิตวิญญาณ ซึ่งทุกคนควรที่จะปรับฐานความคิดให้ไปในทางเดียวกัน

31. ข้อใดไม่พึงปฏิบัติตามหลักการลามสูตร

1. ต้องตรวจสอบพิสูจน์ได้

2. เชื่อตาม ๆ กันมา

3. ทดลองได้

4. เป็นวิทยาศาสตร์

ตอบ 2 หน้า 39 – 40 (H) หลัก กาลามาสูตรในพุทธศาสนา เป็นหลักการคิดที่มีเหตุผลในตัว เป็นเรื่องที่ต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรอง และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่ทดลองได้ ตรวจสอบพิสูจน์ได้ไม่ใช้ใครมาพูดอะไรก็เชื่อทันที หรือเชื่อตาม ๆ กันมา โดยไม่ใช้เหตุผลว่าเป็นไปได้หรือไม่

32. ข้อใดคือความมุ่งหวังสูงสุดที่มีต่อบัณฑิตรามคำแหง

1. สั่งสมอบรมวิชาการ

2. วิจัยวิชาการ

3. นำวิชาการไปรับใช้สังคมดูแลประเทศชาติ

4. นำวิชาการไปใช้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

33. ข้อใดคือความรู้คู่คุณธรรมที่แท้จริง

1. มีความรู้ ไม่มีคุณธรรม

2. มีคุณธรรม ไม่มีความรู้

3. มีความรู้ มีคุณธรรม

4. มีคุณธรรม มีความรู้อย่างมีดุลยภาพกัน

ตอบ 4 หน้า 40 – 41 (H) ในเรื่องความรู้คู่คุณธรรม ถ้าหากมีแต่ความรู้ ไม่มีคุณธรรมก็ใช่ไม่ได้หรือหากมีแต่คุณธรรมไม่มีความรู้ก็ใช้ไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะความรู้คู่คุณธรรมที่แท้จริงจะต้องมีทั้งความรู้และคุณธรรมอย่างมีดุลยภาพกัน จะต้องให้ทั้งสองอย่างมี ทั้งสองอย่างเกิดถึงใช้ได้

34. ข้อใดไม่ใช่ความหมายที่แท้ของวิสัยทัศน์

1. คาดการณ์ได้ ทำนายได้

2. หยั่งรู้กาลในอนาคต

3. คิดได้ว่าจะมีอย่างนั้นเกิดขึ้น

4. มองเห็นภาพที่เป็นจริงได้

ตอบ 1 หน้า 41 (H) คนเราจะต้องมีวิสัยทัศน์ คือ หยั่งรู้กาลไกลในอนาคต สามารถคิดได้ว่าจะมีอย่างนั้นอย่างนี้เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่คาดการณ์หรือทำนายได้ แต่ เป็นการมองเห็นภาพที่เป็นจริงโดยเวลาคิดก็ควรคิดเป็นวงจรให้ครบ ตั้งแต่วิสัยทัศน์ไปถึงวิสัย คือ ต้องรู้จักวิธีการทำให้เกิดผล และต้องมีวิสัยทน คือ ต้องอดทน

35. คิดอย่างไรมีเหตุผลพิสูจน์ได้ หมายความตามข้อใด

1. คิดต่อยอด

2. คิดเป็นวงจร

3. คิดเป็นวิทยาศาสตร์

4. คิดเป็นนวัตกรรม

ตอบ 3 หน้า 39 (H) คิดอย่างมีเหตุผลพิสูจน์ได้ หมายถึง การ ใช้สติปัญญาไตร่ตรองด้วยเหตุผลและใช้ความรู้พื้นฐานต่าง ๆ มาประกอบประมวลกันแล้วค่อยตัดสิน โดยความคิดนั้นต้องสามารถทดลองและพิสูจน์ได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คิดเป็นวิทยาศาสตร์

36. ทะนงตน มีความหมายตามข้อใด

1. มีชาตินิยม

2. อยู่ในสังคมอย่างสันติสุข

3. ไม่คิดด้อยกว่าใคร

4. ไม่ยกตนข่มท่าน

ตอบ 2 หน้า 41 – 42 (H) การ ทะนงตนในชาติพันธุ์ มิได้หมายความว่าให้หลงชาติหรือปลึกให้มรชาตินิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่รู้ว่าใครผิดใครถูกไม่ใช่ แต่เป็นการอยู่ในสังคมอย่างสันติสุขได้โดยที่ไม่คิดว่าจะด้อยกว่าใคร แล้วก็ไม่ต้องยกตนข่มท่าน เพราะการเป็นครูกันคนละอย่าง

37. ปัญญาชนพึงปฏิบัติตามข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1. คุณธรรมนำชีวิต

2. พัฒนาสังคมให้เข็มแข็งมีคุณภาพ

3. นำชาติบ้านเมืองมาสู่ความเจริญมั่นคงสันติสุข

4. พร้อมอุทิศตน

ตอบ 3 หน้า 43 (H) ผู้เป็นบัณฑิตหรือปัญญาชนควรยึดหลักคุณธรรมนำชีวิต พร้อม อุทิศตนเพื่อประเทศชาติ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาสังคมให้เข้มแข็งและมีคุณภาพ และที่สำคัญที่สุดคือช่วยกันนำพาชาติบ้านเมืองให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความ เจริญอย่างมั่นคง วัฒนา สถาพร และสันติสุขสืบไป

38. เป็นครูคนละอย่าง มีความหมายที่แท้ตามข้อใด

1. มีความรู้แตกต่างกัน

2. มีความถนัดแตกต่างกัน

3. โอกาสที่ได้รับแตกต่างกัน

4. การไม่ดูถูกกันและกัน

ตอบ 4 หน้า 49 – 52 (H) “ครู คนละอย่าง” หรือ “เราเป็นครูกันคนละอย่าง” หมายถึง คนเรามีความรู้ความถนัดไม่เท่ากัน เราจึงไม่ได้รู้อะไรไปทุกเรื่อง หรือวันนี้อาจรู้ทุกเรื่อง แต่วันพรุ่งนี้ก็เริ่มจะไม่รู้ เพราะโลกเรามีความรู่ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การรู้จักให้เกียรติคนอื่นไม่ดูถูกกันและกัน ไม่ยกตนข่มท่านเพราะการเป็นครูกันคนละอย่าง โดยต่างคนต่างสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และประสบการณ์จากกันและกันได้

39. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย

1. สัมพันธภาพที่ดีระหว่างสถาบัน

2. ความสามัคคีสมานสามัคคี

3. การถือเรื่องแพ้หรือชนะเป็นใหญ่

4. ความเป็นมิตรในหมู่นักศึกษา

ตอบ 3 (คำบรรยาย) เป้าหมายของการแข่งกีฬามหาวิทยาลัย คือ เพื่อความสมัครสมานสามัคคีเพื่อให้เกิดความเป็นมิตรในหมู่นักศึกษา และเพื่อสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสถาบัน โดยมุ่งปลุกฝังให้นักศึกษามีน้ำใจอดทน ให้ความร่วมมือ ไม่เอาเปรียบกัน และที่สำคัญที่สุดคือ ให้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ไม่เล่นกีฬาแข่งขันเพื่อเอาชนะกันอย่างเดียว ซึ่งหากผู้ใดปฏิบัติได้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักกีฬาปัญญาชนที่แท้จริง

40. ข้อใดจึงได้ชื่อว่านักกีฬาปัญญาชนที่แท้

1. ความมีน้ำใจนักกีฬา

2. การทำหน้าที่ให้สมบูรณ์

3. การปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ได้รับการศึกษาสูง

4. การเสริมสร้างความร่วมมือทางสร้างสรรค์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41 นักศึกษาจะได้รับการบริการอย่างดีเยี่ยมตามนโยบายข้อใดของมหาวิทยาลัย

1. Course on Demand

2. Super Service

3. E – learning

4. E – testing

ตอบ 2 (คำบรรยาย) มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้นำระบบสุดยอดแห่งการบริการ หรือที่เรียกว่า “Super Service” มาใช้ในการรับสมัครนักศึกษาใหม่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553 เพื่อให้ขั้นตอนการรับสมัครเป็นไปด้วยความเร็ว และให้นักศึกษาได้รับการบริการอย่างดีเยี่ยม โดยระบบ Super Service นี้ได้พัฒนาการมาจากระบบ One stop Service ซึ่งเป็นขั้นตอนการให้บริการแบบครบวงจรเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ที่เคยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (กพร.)

42. โปรกอล์ฟท่านไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการจัดการกอล์ฟของรามคำแหง

1. โปรธงชัย ใจดี

2. โปรประหยัด มากแสง

3. โปรบุญชู เรืองกิจ

4. โปรชัพชัย นิราช

ตอบ 2 (คำบรรยาย) มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดการเรียนการสอนโครงการบริหาธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารจัดการกอล์ฟมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 โดย มีคณาจารย์สายกอล์ฟที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในกีฬากอล์ฟอยู่จำนวน มาก ซึ่งที่ผ่านมาโครงการ ฯ ได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานต่าง ๆ จากนักกอล์ฟทุกกลุ่มทั้งโปรกอล์ฟ นักกอล์ฟมืออาชีพและนักกอล์ฟมือสมัครเล่นจากทั่วประเทศ เช่น ธงชัย ใจดี , บุญชู เรืองกิจ , ชัพชัย นิราช , พรหม มีสวัสดิ์ เป็นต้น

43. นักศึกษาพึงปฏิบัติเพื่อประโยชน์สูงสุดตามข้อใด

1. เรียนรู้วิชาที่สาขากำหนด

2. เรียนจบหลักสูตร ไปประกอบอาชีพ

3. ฝึกฝนตนเองให้ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

4. พัฒนาตนเองด้วยการเพิ่มพูนความรู้

ตอบ 3 หน้า 1, 1 (H) การ เรียนของบุคคลมิได้มุ่งให้ผู้เรียนรู้เฉพาะวิชาที่สาขากำหนด หรือเรียนจบหลักสูตรสำเร็จการศึกษาไปประกอบอาชีพตามความถนัดและความสนใจของ แต่ละบุคคลเพราะหากบุคคลใดฝึกฝนตนเองให้ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องก็จะก่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ สามารถพัฒนาตนเองด้วยการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพในการปฏิบัติงานได้เต็มกำลังความสามารถของบุคคล

44. สังคมส่วนรวมได้ประโยชน์มาจากข้อใด

1. สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ

2. สมบูรณ์ด้วยปัญญา

3. สมบูรณ์ด้วยความรู้และคุณธรรม

4. มีวัฒนธรรมการดำรงชีวิต มุ่งผลดีต่อบ้านเมือง

ตอบ 4 หน้า 1, 1 (H) (คำบรรยาย) การ จัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม จริยธรรม และที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ก็คือ การมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต โดยมุ่งผลดีต่อบ้านเมืองเป็นสำคัญเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

45. การใฝ่ศึกษาบ่งชี้ข้อใดอย่างชัดเจน

1. ด้านวิชาการ

2. ด้านความคิดริเริ่ม

3. ด้านความกล้าหาญในการแสดงออก

4. ด้านความกระตือรือร้นที่จะก้าวหน้า

ตอบ 1 หน้า 2,2 (H) (คำบรรยาย) เจตนา ในการจัดการศึกษาข้อหนึ่งของมหาวิทยาลัย คือ มุ่งจะอบรมนักศึกษาให้เป็นคนเก่ง หรือให้มีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ รอบตัว เช่น ในด้านวิชาการจากการใฝ่ศึกษาใฝ่เรียนรู้ ด้านความคิดริเริ่ม ด้านความกล้าหาญสามารถในการแสดงออกและด้านความกระตือรือร้นที่จะก้าวหน้า เป็นต้น

46. ความพอเพียงสอดคล้องตามข้อใดเป็นสำคัญ

1. ความคิดพิจารณาที่รอบคอยกว้างไกล

2. ความนับถือและเกรงใจผู้อื่น

3. ความมัธยัสถ์พอเหมาะพอดีในการกระทำ

4. ความรู้จักผิดชอบชั่วดี

ตอบ 3 หน้า 405 – 406 , (คำบรรยาย) คำว่า “พอ เพียง “ ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองทำเท่านั้นแต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน ไม่หรูหรา ไม่ฟุ่มเฟือย พอในความต้องการ มีความโลภน้อยเบียนเบียดคนอื่นน้อย พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก ซึ่งพอเพียงนี้ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ มีความมัธยัสถ์พอเหมาะพอดีในการกระทำ และดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย

47. นักศึกษาควรเรียนอย่างไร

1. รู้กว้าง

2. รู้สึก

3. รู้จริง

4. เรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

ตอบ 4 หน้า 5, 26 – 27 , 5 (H) , 29 – 30 (H) ใน สังคมแห่งการเรียนรู้ นักศึกษาควรเรียนเพื่อให้รู้กว้างรู้ลึก รู้จริง และที่สำคัญทีสุดคือ เรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นระบบการศึกษาจึงต้องเป็นการศึกษาที่ผสมผสานทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยหรือที่เรียกว่า “การศึกษาตลอดชีวิต” (Lifelong Education)

48. ข้อใดเป็นการศึกษาเพื่อสิ่งแวดล้อม

1. อ่านออกเสียงได้ มีอาชีพ

2. ดำรงตนสมฐานะความเป็นมนุษย์

3. มีคุณธรรมกำกับความรู้ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้

4. ประหยัดใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบ 4 หน้า 7,7 (H) ความ รู้ที่จำเป็นสำหรับทศวรรษหน้าประการหนึ่ง คือ ต้องมีความรู้ที่จะประหยัดและใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญของทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษหน้าที่ประชากรมีแต่จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรไม่ได้เพิ่มเติมตามไปด้วยหรือเพิ่มแต่ช้ากว่าจำนวนประชากร

49. ใช้เทคโนโลยีอย่างมีประโยชน์สูงสุดคือข้อใด

1. ใช้เทคโนโลยีร่วมกับหน่วยการเรียน

2. ใช้เทคโนโลยีให้เต็มศักยภาพ

3. ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา

4. พัฒนาให้คนใช้เทคโนโลยีเป็น

ตอบ 2 หน้า 7 , 10 , 7 (H) 10 (H) (คำบรรยาย) การ นำเทคโนโลยีมาใช้นั้นได้มีการพูดกันมากในเรื่องการพัฒนาคนให้ใช้เทคโนโลยี เป็น และการใช้เทคโนโลยีการแก้ปัญหาต่าง ๆ แต่การที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างมีประโยชน์สูงสุดต้องคิดว่า จะ ใช้เทคโนโลยีให้เต็มศักยภาพหรือมีประสิทธิภาพได้อย่างไร นอกจากนั้นมีการวางแผนการใช้งานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้หรือ ไม่หรือผู้ใช้มีความเข้าใจเทคนิคการใช้เครื่องมือนั้นเพียงพอแค่ไหน

50. ข้อใดเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

1. ใช้เงินน้อยลง

2. ใช้ความคิดให้มาก

3. สร้างกำลังใจ

4. ฝึกความอดทน

ตอบ 2 หน้า 8 , 8 (H) (คำบรรยาย) เครื่อง มือสำคัญในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ คือ การใช้ความคิดให้มากขึ้น ใช้สติปัญญาไตรตรองในการแก้ปัญหาด้วยจิตใจที่เข็มแข็ง ไม่ท้อแท้ ดังปาฐกถาด้านการศึกษาในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตอนหนึ่ง ที่ว่า “…มีศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดี เงินไม่มี เราก็ใช้เงินให้น้อยลง ใช้ความคิดให้มากขึ้นหน่อยเราก็จะไปได้ไม่อับจน อันนี้ก็เป็นเนื่องของกำลังใจ

51. ข้อใดสอดคล้องกับการทำบัญชีครัวเรือนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

1. ฝึกทำงบประมาณ

2. จัดลำดับความต้องการ

3. ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4. ใช้อย่างถนอม

ตอบ 1 หน้า 9,9 (H) (คำบรรยาย) การทำบัญชีครัวเรือนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง หมาย ถึงการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือนและนำข้อมูลที่ได้มา พิจารณาหาวิธีการเพิ่มรายรับและลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เกิดความพอดี หากมีส่วนที่เหลือก็ให้เก็บออมไว้เพื่อใช้ในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับการฝึกทำงบประมาณ เพื่อวางแผนที่เกี่ยวกับรายได้และควบคุมค่าใช้จ่าย

52. การคิดมีคุณค่าอย่างยิ่ง สอดคล้องตามข้อใด

1. สุตมยปัญญา

2. จินตมยปัญญา

3. ปุจฉา

4. ลิขิต

ตอบ 2 หน้า 11 – 12 , 11 – 12 (H) หลักการศึกษา “สุ จิ ปุ ลิ” ประกอบด้วย

1. สุ – สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง 2. จิ – จินตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิดไตร่ตรอง รู้จักใช่เหตุผลวิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งต่าง ๆ 3. ปุ – ปุจฉา คือ การถาม 4. ลิ – ลิขิต คือ การจดบันทึก

53. “เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน” ข้อใดมีความหมายที่ต่าง

1. ให้พอเพียงกับตัวเอง

2. อุ้มชูตัวเองได้

3. พึ่งพาตนเองได้

4. พอเพียงในหมู่บ้าน อำเภอ

ตอบ 3 หน้า 57 (H) “เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน” หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง ความ พอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไรไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก

54. ข้อใดเป็นพระราชดำริที่ควรน้อมนำไปแก้ปัญหากลุ่มการเมืองต่าง ๆ ได้

1. ต้องเพียรและอดทน

2. ต้องไม่ใจร้อน

3. ต้องไม่พูดมาก ไม่ทะเลาะกัน

4. ต้องทำโดยเข้าใจกัน

ตอบ 4 หน้า 57 (H), (คำบรรยาย) พระ ราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ควรน้อมนำไปแก้ปัญหากลุ่มการเมืองต่าง ๆ คือ ต้องทำโดยเข้าใจกัน หมายความว่า ไม่ว่าจะคิดทำสิ่งใดต้องทำด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยใช้สติปัญญาพิจารณาถึงเหตุผลและประโยชน์ของชาติเป็นหลักรู้จักเอาใจเขามา ใส่ใจเรา ดังพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ตอนหนึ่งว่า “….ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้..”

55. ผลสัมฤทธิ์ส่วนตนและส่วนรวมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือข้อใด

1. พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน

2. รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง

3. ซื่อสัตย์ สุจริต ขยันอดทน แบ่งปัน

4. ชีวิตสมดุล เศรษฐกิจมั่นคง สังคมยั่งยืน

ตอบ 4 หน้า 57 – 58 (H) ผล สัมฤทธิ์ส่วนตัวและส่วนรวมจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ ชีวิตสมดุล เศรษฐกิจมั่นคง และสังคมยั่งยืน โดยเป้าหมายที่สำคัญคือการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุดด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

56. “รักบ้านเมืองมากกว่ารักบ้าน” หมายความตามข้อใด

1. จิตใจเข็มแข็ง พึ่งตนเองได้

2. มีจิตสำนึกที่ดี

3. มีความเอื้ออาทร

4. นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม

ตอบ 4 หน้า 58 (H) (คำบรรยาย) เจ้า พระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้กล่าวไว้ในหนังสือธรรมจริยาว่า “ให้รักบ้านเมืองมากกว่ารักบ้าน”หมายความว่า ให้นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนรู้จักเห็นคุณค่าของส่วนรวม จนสามารถที่จะสละเวลา ความสุขส่วนตัว หรือแม้กระทั่งชีวิตของตนเอง เพื่อช่วยพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญขึ้นได้

57. ลดการใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้า เพื่อรักษ์โลก เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องตามข้อใด

1. เป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ

2. ประหยักไปในทางที่ถูกต้อง

3. การประพฤติชอบ

4. ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต

ตอบ 2 หน้า 257 , 59 (H) (คำบรรยาย) การประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง หมายถึง รู้จัก ใช่ รู้จักออมทรัพย์สิน เวลา และทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งส่วนตนและส่วนรวมตามความจำเป็นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด โดยต้องรู้จักใช้สิ่งต่าง ๆ ด้วยความชาญฉลาดและก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดรวมทั้งมีระยะเวลาการใช้งานยาวนานที่สุดด้วย

58. สมหมายได้รับรางวัลเรียนดีและยังคงพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องตามข้อใด

1. พยายามไม่ก่อความชั่ว

2. พยายามลดละความชั่ว

3. พยายามก่อความดี

4. พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น

ตอบ 4 หน้า 59 (H), (คำบรรยาย) การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงประการหนึ่ง คือ ปฏิบัติตนในแนวที่ดี ลดละ สิ่งยั่วกิเลสให้หมดไปสิ้นไป และเพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม แต่ให้เจริญยิ่งขึ้น ดังพระบรมราโชวาทที่ว่า “…พยายามก่อความดีให้แก่ตัวเองเสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้นให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น…”

59. ข้อใดไม่พึงปฏิบัติ

1. ความเจริญที่แสวงหาด้วยความเป็นธรรม

2. ความเจริญที่ได้มาโดยบังเอิญ

3. ความเจริญที่ได้ด้วยการแก่งแย่งเบียดเบียน

4. ความเจริญจากการขวนขวายใฝ่หาความรู้

ตอบ 2, 3 หน้า 59 (H) พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตอนหนึ่งว่า “…ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดเบียนจากผู้อื่น…”

60. ในฐานะนักศึกษารามคำแหง พึงปฏิบัติตามข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1. สัจวาจา

2. เกียรติยศ

3. การทำตัวให้เรียบร้อย

4. การปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกต้องสมบูรณ์

ตอบ 4 หน้า 60 (H) (คำบรรยาย) สิ่ง สำคัญที่นักศึกษารามคำแหงพึงปฏิบัติ คือ การปฏิบัติหน้าที่ของนักศึกษาให้ถูกต้องสมบูรณ์ มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข็มแข็งอดทน โดยต้องรู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนต้องประพฤติปฏิบัติตามเหตุและผล รู้ว่าตนมีหน้าที่และความรับผิดชอบอะไรจะต้องทำอย่างไรจึงจะบรรลุผลสำเร็จ ตามหน้าที่และความรับผิดชอบนั้น ๆ

61. ขจัดคอร์รัปชั่นได้ด้วยคุณธรรม ข้อใดเป็นสำคัญ

1. ระมัดระวังกายใจให้มั่นคงเที่ยงตรง

2. ให้มีความสัตย์สุจริต

3. ให้มีความสมัครสมานสามัคคี

4. มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข็มแข็ง อดทน อดกลั้น

ตอบ 2 หน้า 60 (H) (คำบรรยาย) ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ทำทุกอย่างตรงไปตรงมา มีความซื่อตรงจริงใจทั้งทางความคิด คำพูดและการกระทำทั้งต่อตนเองและผู้อื่น จริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมไม่คิดทรยศ ไม่คดโกง ไม่หลวกลวง ซึ่งถือเป็นคุณธรรมสำคัญที่จะช่วยขจัดปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

62. ความรู้จากการนึกคิดข้อใด

1. โสตวิญญาณ

2. จักขุวิญญาณ

3. มโนวิญญาณ

4. กายวิญญาณ

ตอบ 3 หน้า 62 – 63 (H) ความรู้ระดับวิญญาณแบ่งออกเป็น 6 ประเภทได้แก่

1. จักขุวิญญาณ คือ ความรู้จากการเห็นและการจำได้

2. โสตวิญญาณ คือ ความรู้จากการได้ยินเสียงดัง เบา ไพเราะ

3. ฆานวิญญาณ คือ ความรู้จากการได้กลิ่นเหม็น หอม

4. ชิวหาวิญญาณ คือ ความรู้จากการู้รสหวาน มัน เค็ม

5. กายวิญญาณ คือ ความรู้จากการสัมผัสว่าแข็ง นิ่ม หรือกระด้าง

6. มโนวิญญาณ คือ ความรู้จากการนึกคิดว่าดี ชั่ว หรือหยาบ

63. ข้อใดบ่งชี้ความมีคุณธรรม

1. เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง

2. เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน

3. ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน

4. ย่อมเสียที่ ที่ตน ได้เกิดมา

ตอบ 1 หน้า 64 (H) คำว่า “มนุษย์” แปลว่า ผู้มีใจสูง ซึ่งใจมนุษย์จะสูงได้ เพราะมีสิ่งเหล่านี้บรรจุอยู่ภายใน ได้แก่ 1. ความรู้ 2. ความสามารถ 3. คุณธรรม 4. อุดมคติ 5. อุดมการณ์ 6. ความสงบสุข

64. ชีวิตต้องเทียมด้วยควายสองตัว มรรค 8 เป็นคุณธรรมที่มีคุณค่าที่สุดสำหรับข้อใด

1. ความตัวต้นเป็นตัวรู้

2. ความตัวปลายเป็นตัวแรง

3. สามารถดับทุกข์ที่เกิดได้

4. ป้องกันความทุกข์ที่ยังไม่เกิดได้

ตอบ 3 หน้า 674 – 675 , 77 – 78 (H) 81 (H) มรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่

1. สัมมาทิฐิ (ความชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)

3. สัมมาวาจา (วาจา) 4. สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ)

5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (เพียรพยายามชอบ)

7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ)

65. บุคคลที่ต้องการคำอธิบายคือข้อใด

1. อุคฆติตัญญู

2. วิปจิตัญญู

3. เนยยะ

4. ปทปรมะ

ตอบ 2 หน้า 78 – 79 (H) ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวถึงลักษณะของบุคคลไว้ 4 จำพวก ได้แก่

1. อุคฆติตัญญู คือ เฉียบแหลม ฉลาดมาก พอพูดขึ้นมาก็เข้าใจหมด หรือพูดคำเดียวรู้เรื่องรู้แจ้งทันทีโดยไม่ต้องอธิบาย 2. วิปจิตัญญู คือบุคคลที่ต้องการคำอธิบายจึงจะรู้เรื่อง 3. เนยยะ คือ บุคคลที่พอจะนำไปได้ มีปัญหาทึบ แต่พอจะฝึกฝนกันได้ด้วยความยากลำบาก 4. ปทปรมะ คือ บุคคลที่มีความถ่วงอย่างยิ่ง ทั้งโง่และดื้อ จนเหลือที่ใครจะนำได้

66. ค่านิยมมีความหมายที่ตรงข้ามกับข้อใด

1. อุดมคติ

2. อุดมการณ์

3. คุณธรรม

4. ความรู้ ความสามารถ

ตอบ 4 หน้า 71 (H) (คำบรรยาย) ค่านิยม (Values) จะมีความหมายสอดคล้องกับคำว่าอุดมคติ อุดมการณ์ และคุณธรรม ซึ่งหมายถึง ความ สามารถของบุคคลที่จะแยกแยะว่าอะไรคือสาระและสาระของชีวิต จึงเป็นคุณภาพจิตฝ่ายดีที่จะแยกแยะสิ่งดี – ไม่ดี เพื่อให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง ไม่เป็นบุคคลที่ใช้ความรู้ความสามารถเพื่อความได้เปรียบ หรือฉกฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ตน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมโดยรวม

67. ข้อใดเป็นการคิดเพื่อตัดสินใจ

1. คิดวิเคราะห์

2. คิดสังเคราะห์

3. คิดเปรียบเทียบ

4. คิดเชิงบูรณาการ

ตอบ 3 หน้า 68 – 70 (H) ความสามารถทางใจ คือ ความสามารถในการคิดมีหลายแบบ ได้แก่1. คิดวิเคราะห์ คือ คิดแยกแยะให้เห็นตัวประกอบต่าง ๆ 2. คิดสังเคราะห์ คือ คิดรวมตัวประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ หรือเรียกว่าคิดสร้างสรรค์ 3. คิดเชิงบูรณาการ คือ คิดในลักษณะของการขยายขอบเขตของการคิด 4. คิดเปรียบเทียบ คือ คิดนำเอาของสองสิ่งขึ้นมาเปรียบเทียบเพื่อหาความแตกต่าง และตัดสินใจ ฯลฯ

68. การกำหนดวิสัยทัศน์ ในการคิดตามข้อใดเป็นสำคัญ

1. คิดอย่างเข้าถึงความจริง

2. คิดอย่างมีลำดับขั้นตอน

3. คิดอย่างมีเหตุผล

4. คิดอย่างมีเป้าหมาย

ตอบ 1 หน้า 41 (H) 73 (H) (คำบรรยาย) โยนิโสมนสิการ คือ การคิดเป็น มีองค์ประกอบ 4 ส่วนดังนี้

1. อุบายมนสิการ คือ การคิดอย่างเข้าถึงความจริง โดยการกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมองเห็นภาพที่เป็นจริงได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันดำรงอยู่และดับสิ้นไปเป็นธรรมดา 2. ปถมนสิการ คือ การคิดอย่างมีลำดับขึ้นตอนไม่สับสน 3. การณมนสิการ คือ การคิดอย่างมีเหตุผล 4. อุปปาทกมนสิการ คือ การคิดอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน

69. กัลยาณมิตรเป็นคุณธรรมตามข้อใด

1. ความรักแบบชู้สาว

2. ความรักฉันเพื่อน

3. ความรักแบบเพื่อน

4. ความรักจากพระผู้เป็นเจ้า

ตอบ 2 หน้า 79 (H) (คำบรรยาย) กรีกโบราณมีแนวคิดเรื่องความรัก 3 แบบ ซึ่งศาสนาคริสต์ได้สอนต่อเนื่องมาดังนี้ 1. Erose ได้แก่ ความรักแบบชู้สาวหรือกามราคะ ซึ่งเป็นความรักของหนุ่มสาว 2. Philos ได้แก่ ความ รักฉันเพื่อน ซึ่งตรงกับกัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะที่ดี) ในทางพุทธศาสนา คือ มีผู้แนะนำสั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อนที่คบหาและบุคคลแวดล้อมที่ดี 3. Agape ได้แก่ ความรักจากพระเจ้า หรือความรักแบบพี่น้องร่วมโลก

70. มนุษย์ควรได้รับการพัฒนาที่ดีที่สุดตามข้อใด

1. การพัฒนามนุษย์ให้มีศีล

2. การพัฒนามนุษย์ให้มีสมาธิ

3. การพัฒนามนุษย์ให้มีปัญญา

4. การพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม

ตอบ 4 หน้า 80 (H) การฝึกฝนและพัฒนามนุษย์นั้น ทางพุทธศาสนาจัดวางเป็นหลักที่เรียกว่า “ไตรสิกขา” คือ การพัฒนามนุษย์ให้มีศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งหากพัฒนาครบทั้ง 3 ด้าน ก็จะทำให้บุคคลพัฒนาการอย่างมีบูรณาการ และถือเป็นการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวมที่มีคุณภาพและดีที่สุด

71. การฝึกวิสัยคือสิกขาตามข้อใด

1. ศีลสิกขา – วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ

2. จิตตสิกขา – เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ

3. ปัญญาสิกขา – ความเห็นชอบ ดำริชอบ

4. ไตรสิกขา – หลักสำคัญของการพัฒนามนุษย์

ตอบ 1 หน้า 675 , 80 – 81 (H) การปฏิบัติตามมรรคที่มีองค์ 8 สามารถย่อลงได้ในไตรสิกขาดังนี้ 1. ศีล (ศีลสิกขา) คือ การฝึกฝนในด้านพฤติกรรม หรือการฝึกวินัย ได้แก่ สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) และสัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ) 2. สมาธิ (จิตตสิกขา) คือ การฝึกในด้านจิต หรือระดับจิตใจ ได้แก่ สัมมาวายามะ (เพียรพยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) 3. ปัญญา (ปัญญาสิกขา) คือ การฝึกหรือพัฒนาในด้านการรู้ความจริง ได้แก่ สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) และสัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)

72. แปลความคิดเป็นการกระทำ หมายความตามข้อใด

1. ชำนาญในการใช้ภาษา

2. ประพฤติดี รสนิยมดี

3. มีวิจารณญาณใฝ่รู้

4. นำความคิดมาปฏิบัติได้

ตอบ 4 หน้า 83 (H) ผู้ที่สามารถนำความคิดของตนมาสู่การปฏิบัติได้ คือ ผู้ที่สามารถแปลความคิดเป็นการกระทำ เพราะเป็นผู้มีความคิดแน่ชัดเป็นของตนเอง และเป็นความคิดที่ประกอบด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่เป็นความคิดที่ไปคัดลอกหรือเลียนแบบมา โดยขาดพิจารณาหรือความเข้าใจอย่างถูกต้อง

73. ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง ความฉลาดในข้อใดสำคัญที่สุด

1. EQ – ความฉลาดด้านการจัดการอารมณ์

2. AQ – ความฉลาดรู้สู้ปัญญา

3. GQ – ความลาดรู้เท่าทันโลก

4. HQ – ความฉลาดรักษาสุขภาพของตน

ตอบ 3 หน้า 83 – 85 (H) (คำบรรยาย) ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง ความฉลาดที่สำคัญที่สุดได้แก่ ความ ฉลาดรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี วิทยากร และสรรพสิ่งทั้งหลายไม่วิ่งตามกระแสสังคมโดยไม่ได้ใช้สติปัญญาแยกแยะสิ่งถูก – ผิด นอกจากนี้ยังต้องรู้จักบูรณาการความคิดระดับโลกมาปฏิบัติในระดับท้องถิ่นได้ (Global and Local Integration)

74. อนาคตความมุ่งหวัง หมายความตามข้อใด

1. รู้สึกว่าตนเองมีเป้าหมายในชีวิต

2. รู้สึกกล้าที่จะปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

3. รู้สึกเปิดเผยและถ่อมตน

4. รู้สึกศรัทธามั่นคงและมีเสน่ห์ในตนเอง

ตอบ 1 หน้า 87 (H) การ พัฒนาตนเองในด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลที่จำเป็นประการหนึ่ง ได้แก่ ความรู้สึกว่าตนเองมีเป้าหมายในชีวิต คือ บุคคลจะต้องพัฒนาตนเองให้มีเป้าหมายในชีวิตมีอนาคต มีความมุ่งหวัง โดยเชื่อว่าตนเองสามารถพัฒนาได้

75. สติเป็นเครื่องช่วยให้บรรจุตามข้อใดที่จะเป็นประโยชน์สูงสุด

1. มองตนออก

2. บอกตนได้

3. ใช้ตนเป็น

4. เห็นตนชัด

ตอบ 4 หน้า 55 (H) 88 (H) (คำบรรยาย) การฝึกพัฒนาตนเองไห้มีสติ คือ ความรู้จักตนเองโดยสติจะเป็นเครื่องช่วยให้บุคคลมองตนออก (รู้จักตัวตนของตนเองว่าเป็นใคร) บอก ตนได้ (บอกตนได้ว่ามีหน้าที่อะไรและต้องทำอะไร) ใช้ตนเป็น (ใช้ความรู้ความสามารถของตนไปในทางที่ถูก) และที่จะเป็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งถือเป็นจุดประสงค์ของการเรียนความรู้คู่คุณธรรมก็คือเห็นตนชัด (ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ เตือนตนได้ว่าสิ่งใดดี – ไม่ดี)

76. ทานัง หมายความจามข้อใด

1. พึงชนะความโกธร ด้วยความไม่โกธรตอบ

2. ชนะความเลว ด้วยความดี

3. ชนะความตระหนี่ ด้วยการให้

4. ชนะคนพูดพล่อย ๆ ด้วยคำพูดจริง

ตอบ 3 หน้า 88 (H), 96-98 (H) ,108-109 (H) หลักทศพิธราชธรรม 10 ประกอบด้วย

1. ทานัง (ทาน) คือ การให้ปันช่วยประชา

2. สีลัง (ศีล) คือ รักษาความสุจริต

3. ปะริจจาคัง (บริจาค) คือ บำเพ็ญกิจด้วยความเสียสละ

4. อาชชะวัง (ความซื่อตรง) คือ ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง

5. มัททะวัง (ความอ่อนโยน) คือ ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงธรรม

6. ตะปัง (ความพากเพียร) คือ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส

7. อักโกธัง (ไม่โกรธ) คือ ถือเหตุผลไม่โกรธา

8. อวิหิงสา (ไม่เบียดเบียน) คือ มีอหิงสานำร่มเย็น

9. ขันติ (อดทน) คือ ชำนะเข็ญด้วยขันติ

10. อวิโรธนัง (อวิโรธนํ – ไม่มีอะไรพิรุธ ไม่ผิดไปจากคำสอน) คือ มิปฏิบัติคลาดจากธรรม

77. ข้อใดบ่งชี้ความมีคุณธรรม

1. อ่อนหวานมานมิตรล้น เหลือหลาย

2. หยาบบ่มีเกลอกราย เกลื่อนใกล้

3. ดุจดวงศศิฉาย ดาวดาษ ประดับนา

4. สุริยส่องดาราไร้ เมื่อร้อนแรงแสง

ตอบ 1 หน้า 89 (H) 100 (H) 105 (H) คุณธรรมสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ 1. ทาน คือ การให้ปันมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 2. ปิยะวาจา คือ การพูดถ้อยคำไฟเราะอ่อนหวาน ดังโครงโลกนิติตอนหนึ่งว่า “อ่อนหวานมานมิตรล้น เหลือหลาย…” 3. อัตถจริยา คือ การทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตา คือ การวางตัวสม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้ง เอาตัวเข้าสมาน

78. ข้อใดเป็นธรรมะในพรหมวิหาร 4

1. เมตตา กรุณา

2. สัมมาอาชีวะ

3. สำรวมในกาม

4. สัจจะ สติสัมปชัญญะ

ตอบ 1 หน้า 100 – 101 (H) 105 (H) พรหมวิหาร 4 ได้แก่ 1. เมตตา คือ ความรัก ความหวังดีปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข 2. กรุณา คือ ความสงสารเห็นใจ ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ 3. มุทิตา คือ ความรู้สึกพลอยชื่นชม เบิกบานพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข 4. อุเบกขา คือ ความรู้สึกวางเฉย มีใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียงเข้าข้างคนใดคนหนึ่ง

79. อ่อนน้อมถ่อมตน สอดคล้องตามข้อใด

1. คบคนดี

2. ยกย่องคนดี

3. ยอมรับฟังคำสั่งสอนของผู้รู้

4. ชื่นชมคนดีมีศีลธรรม

ตอบ 3 หน้า 155 , 91 (H) (คำบรรยาย) ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การ แสดงกิริยาวาจาอย่างมีคารวะรู้จักให้เกียรติผู้ที่อยู่ในฐานะสูงกว่าหรือ เป็นผู้ใหญ่กว่า มีความสุภาพอ่อนโยน ยอมรับฟังคำสั่งสอนของผู้รู้ โดยไม่อวดดี และไม่อวดเก่งว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น จึงเป็นคุณธรรมที่ตรงข้ามกับความเย่อหยิ่งทะนงตน

80. ข้อใดบ่งชี้การขาดคุณธรรม

1. พูดง่าย

2. รับฟังเหตุผล

3. กระด้างกระเดื่อง

4. ไม่ดื้อรั้น

ตอบ 3 หน้า 92 (H) หลักจริยธรรมและคุณธรรมของพระราชวรมุนีประการหนึ่ง คือ เป็นคนที่พูดกันง่ายไม่ดื้อรั้น ไม่กระด้างกระเดื่อง รู้จักรับฟังเหตุผล และพร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงตนเอง

81. นักศึกษาพึงปฏิบัติต่อบิดามารดาตามข้อใด

1. ขวนขวายช่วยเหลือกิจธุระ

2. รักษาสมบัติส่วนรวม

3. อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

4. ไม่นิ่งดูดายในสาธารณประโยชน์

ตอบ 1 หน้า 206, 92 (H) นักศึกษาพึงปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อบิดามารดาและครอบครัวดังนี้

1. เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของบิดามารดา

2.ขวนขวายช่วยเหลือกิธุระของบิดามารดาตามควรแก่โอกาส

3.ไม่นำความเดือนร้อนมาให้ครอบครัว

4.รักษาและเชิดชูชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล

82. เศรษฐกิจของประเทศจะเจริญ หากประชาชนปฏิบัติตามข้อใด

1. ประชาชนต้องเป็นผู้ใคร่ธรรม

2. ประชาชนมีแต่คนขยัน

3. ประชาชนมีรสติมั่นคง สันโดษ

4. ประชาชนมีปัญญาเหนืออารมณ์

ตอบ 2 หน้า 92 (H) หลักจริยธรรมของพระราชวรมุนีประการหนึ่ง คือ มีความขยันหมั่นเพียร โดยประชาชนในสังคมรัฐใดมีแต่คนขยันไม่เกียจคร้าน สังคมนั้นจะไม่ลำบาก ระบบเศรษฐกิจจะดีและเจริญก้าวหน้า ทุกคนจะไม่ยากจน เหมือนดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “ไม่มีความยากจนในหมู่ชนผู้ขยัน”

83. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หมายความตามข้อใด

1. คิด พูด ทำด้วยความเมตตา

2. มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน

3. ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

4. ประสานงานประสานประโยชน์

ตอบ 3 หน้า 159 , 93 (H) (คำบรรยาย) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หมายถึง การแสดงน้ำใจดีต่อผู้อื่นด้วยวาจา และใจ ตลอดจนการให้เป็นวัตถุและสิ่งของแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ไม่ ใจแคบเห็นแก่ตัวต่างคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งการเอื้อเฟื้อที่ถูกต้องควรเป็นการอุดหนุนเจือจุนคนที่สมควรอุดหนุนโดย ไม่เป็นที่เดือนร้อนแก่ผู้อื่นและสังคม

84. นักศึกษาแต่งกายเรียบร้อย ไม่นำโทรศัพท์มือถือเข้าห้องสอบ เป็นการปฏิบัติตามข้อใด

1. ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต

2. ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกฎกติกา

3. ทำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรง

4. มั่นคงอยู่ในเหตุในผล

ตอบ 2 หน้า 258 , 93 (H) การ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกฎกติกา คือ การที่บุคคลควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเพื่อความสงบสุขในชีวิตของตน และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ซึ่งสอดคล้องกับคุณธรรมเรื่องความมีระเบียบวินัย

85. การปฏิบัติตามข้อใดจะขจัดอุปสรรคของประเทศชาติร่วมกันได้

1. รู้สึกว่าเป็นประเทศของทุกคน

2. ต้องเข้าหากันแก้ปัญหา

3. ปฏิบัติการรุนแรงต่อกันด้วยความลืมตัว

4. ต่างคนต่างแพ้ ที่แพ้ที่สุดคือประเทศชาติ

ตอบ 2 หน้า 94 (H) วิธีปฏิบัติที่ช่วยขจัดอุปสรรคของประเทศชาติร่วมกันได้ดีที่สุด คือ ทุกคนต้องเข้าหากัน แก้ปัญหาด้วยความสันติ ดัง พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ตอนหนึ่งว่า “ประเทศของเราไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคน สองคน เป็นประเทศของทุกคนต้องเข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ปัญหาเพราะว่าอันตรายมี อยู่ เวลาคนเราเกิดความบ้าเลือด ปฏิบัติการรุนแรงต่อกันด้วยความลืมตัว ลงท้ายไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไรแล้วจะแก้ปัญหาอะไร…”

86. ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของการพัฒนาบ้านเมืองคือข้อใด

1. เมื่อไทยพังมาเพราะว่ามีทุจริต

2. ทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป

3. ถ้าสุจริตขอให้ต่ออายุได้ถึง 100 ปี

4. ประเทศไทยจะรอดพ้นอันตราย เพราะว่าผู้ที่ทำด้วยความตั้งใจในธรรม

ตอบ 1 หน้า 94 (H) ปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาบ้านเมือง คือ การทุจริตคอร์รัปชั่นดังพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ตอน หนึ่งว่า “ทำอย่างไรจึงจะปราบทุจริตได้ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพราะว่ามีทุจริต..เพราะว่าผู้ว่าฯ ซีอีโอต้องเป็นคนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้…”

87. ผู้บริหารหรือนักการเมืองพึงมีสำนึกในข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1. ทำงานอย่างผู้รู้จริง มีผลงานประจักษ์

2. อดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมมะความถูกต้อง

3. อ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่าย ประหยัด

4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก

ตอบ 4 หน้า 94 (H) (คำบรรยาย) คุณสมบัติ ที่สำคัญที่สุดของผู้บริหารหรือนักการเมืองที่ดี คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ และเหนือสิ่งอื่นใดควรมีสำนึกที่มุ่งประโยชน์ของส่วนใหญ่เป็นหลักหรือเพื่อ ส่วนรวม มิใช่เพื่อตนเองหรือเพื่อคนส่วนน้อย โดยควรคิดถึงประโยชน์ของประเทศและประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง

88. วิริยะพละ หมายความตามข้อใด

1. ตั้งใจขยันหมั่นเพียร

2. สุจริตกตัญญู

3. รักประชาชน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

4. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดี คนเก่ง

ตอบ 1 หน้า 95 (H) 100 (H) 124 (H) พละ คือ ธรรมอันเป็นพลัง 4 ประการ ดังนี้

1. ปัญญาพละ ได้แก่ กำลังปัญญาความรอบรู้ รู้คิด รู้ทำ รู้ตน รู้งาน 2. วิริยะพละ ได้แก่ กำลังความเพียรความพยายามมิหยุดหย่อน มีอสังขาริกวิริยะ คือ ไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ ตั้งใจจริง 3. อนวัชชะพละ ได้แก่ กำลังสุจริตหรือกำลังบริสุทธิ์ มีกำลังแห่งการงานที่ไม่มีโทษหรือข้อเสียหาย 4. สังคหพละ ได้แก่ กำลังหารสงเคราะห์ ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์

89. ธรรมาภิบาลสำเร็จได้ด้วยสามัคคี หมายความตามข้อใด

1.ความน่าเชื่อถือมีกฎเกณฑ์

2. ความโปร่งใส

3. การมีส่วนร่วม

4. ความสามารถคาดการณ์ได้

ตอบ 3 หน้า 95 (H) (คำบรรยาย) ธรรมาภิบาลสำเร็จได้ด้วนสามัคคี หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองจะสำเร็จได้หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ซึ่งตรงกับหลักสำคัญของ ธรรมาภิบาล (Good Governance) ประการหนึ่ง คือ การมีส่วนร่วม (Participation) ของ ประชาชน เช่น การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เป็นต้น

90. ผู้นำต้องยึดหลักข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1. ค่านิยม ซื่อสัตย์ โปร่งใส

2. กฎหมาย เป็นธรรม

3. ประสิทธิภาพ

4. ความจริงใจ

ตอบ 1 หน้า 95 – 96 (H) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แนะว่า การ ใช้จริยธรรมและคุณธรรมในการบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้นำจะต้องสำนึกที่จะนำสิ่งที่ดีไปใช้และขจัดสิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป โดยต้องยึดหลักมาตรฐานจริยธรรมที่สำคัญที่สุด คือ ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส และค่านิยม นอกจากนี้ยังต้องยึดหลักกฎหมาย ความมั่นคงของรัฐ ความเป็นธรรม และประสิทธิภาพในการในการบริหารงาน

91. ความซื่อตรงหมายความตามข้อใด

1. ทานัง

2. สีลัง

3. ปะริจจาคัง

4. อาชชะวัง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ

92. ความอ่อนโยน หมายความตามข้อใด

1. มัททะวัง

2. ตะปัง

3. อวิหิงสา

4. อวิโรธนัง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ

93. ข้อใดเป็นคุณธรรมตามคำสอนของศาสนาอิสลาม

1. จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง

2. การบริจาคทรัพย์ตามศาสนาบัญญัติ

3. อย่าเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้าน

4. จงให้เกียรติแก่บิดามารดาของเจ้า

ตอบ 2 หน้า 681 – 684 , 101 (H) มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติตามธรรมนูญชีวิตของศาสนาอิสลามหรือที่เรียกว่ามุขยบัญญัติ 5 ประการ ได้แก่ 1. การกล่าวคำปฏิญาณตน 2. การทำละหมาด (นมัสการ) 5 เวลา คือ เช้า บ่าย เย็น ค่ำ และกลางคืน 3. การบริจาคทรัพย์ตามศาสนาบัญญัติ 4. การถือศีลอดในเดือนรอมดอน 5. การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการไปจาริกแสวงบุญที่เมืองมักกะห์ ประเทศชาอุดิอาระเบีย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคุณธรรมตามคำสอนของศาสนาคริสต์)

94. การขยันทำมาหากิน หมายความตามข้อใด

1. อุฏฐานสัมปทา

2. อารักขสัมปทา

3. กัลยาณมิตตตา

4. สมชีวิตา

ตอบ 1 หน้า 408 , 120 (H) หัวใจหลักเศรษฐี (อุ อา กะ สะ) ทางพุทธศาสนา ประกอบด้วย

1. อุฏฐานสัมปทา (อุ) คือ ถึงความพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร ขยันทำงานหาเงิน

2. อารักขสัมปทา (อา) คือ ถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้

3. กัลยาณมิตตตา (กะ) คือ รู้จักคบคนหรือมีกัลยาณมิตร มีเพื่อนดีมากมาย

4. สมชีวิตา (สะ) คือ ใช้จ่ายเหมาะสม มีความเป็นอยู่พอดีหรือสมดุล

95. คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงบ่งชี้ให้เห็นคุณธรรมข้อใด

1. ความเพียรที่บริสุทธิ์

2. ความกตัญญูรู้คุณ

3. ปัญญาที่เฉียบแหลม

4. กำลังกายที่สมบูรณ์

ตอบ 2 หน้า 130 (H) คุณทองแดง สุนัข ทรงเลี้ยง บ่งชี้ให้เห็นคุณธรรมเรื่องความกตัญญูรู้คุณดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวทรงยกย่องว่า “ผิดกับคนอื่นที่เมื่อกลายมาเป็นคนสำคัญแล้วมักจะลืมตัว และดูหมิ่นผู้มีพระคุณซึ่งเป็นคนต่ำต้อย”

96. การเสียสละ เป็นฆราวาสธรรมตามข้อใด

1. สัจจะ

2. ทมะ

3. ขันติ

4. จาคะ

ตอบ 4 หน้า 104 (H) (คำบรรยาย) ฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย

1. สัจจะ คือ ความจริง ความซื่อสัตย์ จริงใจ ตรงไปตรงมาทั่งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อวิชาชีพ

2. ทมะ คือ การฝึกฝนตนเองในเรื่องต่าง ๆ

3. ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้น

4. จาคะ คือ การเสียสละแบ่งปัน

97. บัณฑิตรามคำแหงพึงปฏิบัติตามข้อใด

1. พวกไม่รู้ไม่ชี้ – เศษสวะสังคม

2. พวกไม่รู้แต่ชี้ – เกิดโกลาหล

3. พวกที่รู้แต่ไม่ชี้ – เห็นแก่ตัว

4. พวกที่รู้แล้วชี้ – ชี้นำสังคม

ตอบ 4 หน้า 560 , 110 – 111 (H) ประเภทของคนในสังคมมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

1. พวกไม่รู้ไม่ชี้ เป็นพวกเศษสวะสังคม ไม่ยอมรับรู้สิ่งที่ดี 2. พวกไม่รู้แต่ชี้ เป็นพวกที่ทำให้เกิดโกลาหล ทำความยุ่งยากให้แก่บ้านเมือง เพราะตนเองไม่รู้แต่ชี้นำสังคม 3. พวกที่รู้แต่ไม่ เป็นพวกเห็นแก่ตัว คิดแต่ว่าทำอย่างไรแล้วจะได้เท่าไร 4. พวก ที่รู้แล้วชี้ เป็นพวกที่เมื่อรู้และเข้าใจสิ่งใดก็จะชี้นำสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่บัณฑิตรามคำแหงพึงปฏิบัติ ดังคำขวัญที่ว่า “เปลวเทียนให้แสงรามคำแหงให้ทาง”

98. นักศึกษาจะมีส่วนร่วมสำคัญในการธำรงสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ด้วยคุณธรรมข้อใด

1. ความมีไหวพริบ

2. ความจงรักภักดี

3. ความรู้จักนิสัยคน

4. ความรู้จักผ่อนผัน

ตอบ 2 หน้า 116 (H) ความจงรักภักดี แปลว่า การยอมเสียสละตนเพื่อประโยชน์แห่งท่าน คือ ถึง แม้ว่าตนจะต้องได้รับความเดือนร้อนรำคาญ ตกระกำลำบาก หรือจนถึงต้องสิ้นชีวิตเป็นที่สุด ก็ยอมได้ทั้งสิ้นเพื่อมุ่งประโยชน์อันแท้จริงให้แก่ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

99. มิตรแม้พึงปฏิบัติตามข้อใด

1. อย่าใฝ่ตนให้เกิน 2. ที่ผิดช่วยเตือนตอบ 3. อย่าคะนึงถึงโทษท่าน 4. เมื่อพาทีพึงตอบ

ตอบ 2 หน้า 662 – 663 , 166 (H) 121 (H) รู้ถึงมิตรแท้ หรือมิตรด้วยใจจริงประการหนึ่ง คือ มิตรแนะนำประโยชน์ ซึ่งมีลักษณะ 4 ประการ ได้แก่ 1. จะทำชั่วเสียหาย คอยห้ามปรามไว้ดังที่สุภาษิตพระร่วงได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “…ที่ผิดช่วยเตือนตอบ” 2. แนะนำสนับสนุนให้ตั้งอยู่ในความดี 3. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง 4. บอกทางสุขทางสวรรค์ให้

100. ร่างกายที่สมบูรณ์ ความมีสติปัญญา เป็นหลักความรุ่งเรืองตามข้อใด

1. เลือกหาถิ่นทีเหมาะสม

2. เลือกคบคนดี

3. ตั้งตนไว้ถูก

4. เตรียมทุนที่ดี

ตอบ 4 หน้า 125 (H) หลักแห่งความเจริญรุ่งเรืองมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. เลือกหาถิ่นทีเหมาะสม คือ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี

2. เลือกคบคนดี คือ รู้จักเลือกคบหาบุคคลผู้รู้ ผู้ทรงที่จะเกื้อกูลความเจริญก้าวหน้างอกงาม

3. ตั้งตนไว้ถูก คือ รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิตและการงานให้ดีงามปฏิบัติไปสู่เป้าหมายอย่างมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง

4. เตรียมทุนที่ดี คือ ความมีสติปัญญาร่างกายสมบูรณ์ รู้จักรักษาสุขภาพตน แก้ไขปรับปรุงตนด้วยการศึกษาหาความรู้ ฝึกฝนความชำนาญ

101. นอกจากจริยธรรมแล้ว การนวดไทยต้องประกอบด้วยข้อใดเป็นสำคัญ

1. ยึดถือสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย

2. ประกอบอาชีพเต็มความสามารถ

3. ไม่ล่วงเกินผู้ป่วย

4. ติดตามความรู้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสมรรถภาพ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาด้านการนวดแผนไทย หรือนวดแผนโบราณ เป็นการนวดที่เป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดย จะเน้นในลักษณะการยึดเส้นและการกดจุด ซึ่งผู้นวดที่ดีจำเป็นต้องมีความรู้ทั้งทางทฤษฏีและฝึกฝนปฏิบัติการนวดจนมี ความชำนาญ โดยยึดถือสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

102. ประชาธิปไตยคือหลักตามข้อใด

1. รักสิทธิเสรีภาพ

2. ประนีประนอม

3. จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

4. ยึดหลักธรรม ธำรงประเพณี

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การนิยามคำว่า “ประชาธิปไตย” จะประกอบไปด้วยหลักการ 2 หลักการ คือ ความเสมอภาคและอิสรภาพ ซึ่งถูกสะท้อนให้เห็นผ่านทางความเสมอภาคทางกฎหมายของพลเมืองทุกคนที่มีสิทธิ เข้าถึงอำนาจโดยเท่าเทียมกัน ส่วนอิสรภาพนั้นได้มาจากสิทธิและเสรีภาพตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งจะต้องได้รับการคุ้มครองเสมอกันโดยรัฐธรรมนูญดังนั้นสิทธิเสรีภาพจึง เป็นรากฐานที่สำคัญของการปกครองในระบบประชาธิปไตย

103. วิถีชีวิตไทยพึงปฏิบัติคือข้อใด

1. การพนัน เสี่ยงโชค

2. ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์

3. รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขาด

4. เลียนแบบการบริโภค

ตอบ 3 (คำบรรยาย) วิถี ชีวิตที่คนไทยพึงปฏิบัติ คือ รักสงบและสันติ ไม่มีนิสัยก้าวร้าวเกะกะระรานผู้อื่นแต่เมื่อถึงคราวรบเพื่อชาติก็ควรสู่จน ใจขาดดิ้น ดังเช่นเนื้อหาในเพลงชาติไทยตอนหนึ่งที่ว่า “ไทยรี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่…”

104. คุณธรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือข้อใด

1. ไม่ปิดประเทศ

2. ไม่ประมาท

3. ไม่ปฏิเสธทุนนิยม

4. ไม่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) การ ดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประพฤติตนที่ตั้ง อยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอดีความพอประมาณความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนมุ่งเน้นการใช้ความรอบรู้ ความรอบครอบและคุณธรรม ประกอบการวางแผนและการตัดสินใจกระทำการต่าง ๆ อย่างผู้มีปัญญาโดยไม่สร้างความเดือนร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น

105. ภูมิปัญญาการคมนาคมข้อใด ต่างจากพวก

1. การขุดคลอง

2. ตลาดน้ำ

3. เรือนแพในน้ำ

4. เกวียนเทียมด้วยวัวหรือควาย

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญา ด้านการคมนาคมขนส่งของคนไทย จะเกี่ยวข้องกับเครื่องมือเครื่องใช้หรือยานพาหนะที่สอดคล้องกับสภาพท้อง ถิ่น เช่น การขุดคลองเพื่อโดยสารด้วยเรือพายเรือหางยาว , การปลูกเรือนแพในน้ำ , การใช้เกวียนเทียมด้วยวัวหรือควาย , การใช้หนวนที่เป็นเลื่อนสำหรับบรรทุกข้าวหรือสิ่งอื่น ๆ ไปตามทุ่งนา เป็นต้น

106. การกวน หมักดอง เป็นภูมิปัญญาตามข้อใด

1. การปลูกข้าว พืชผัก ผลไม้

2. การจับปลาในแม่น้ำลำคลอง

3. การถนอมอาหารทีเหลือจากการบริโภค

4. การนำพืชผักสมุนไพรมาประกอบอาหาร

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญา การถนอมอาหารที่เหลือจาการบริโภค เพื่อทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้นาน และสามารถรับประทานได้ตลอดฤดูกาล โดยที่อาหารไม่บูดเน่าเสียหรือต้องทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำได้หลายวิธี เช่น การตากแห้ง การเชื่อมกวน การหมักดองการแช่อิ่ม การแช่แข็ง ฯลฯ

107. ข้อใดไม่ถูกต้อง

1. ดอกแคต้องนำก้านเกสรออกก่อนปรุงอาหาร

2. สายบัวต้องลอกเปลี่ยนที่หุ้มออกก่อน

3. ดอกโสนต้องเก็บตอนเช้าจะรสหวาน

4. ขี้เหล็กต้องต้มเทน้ำทิ้งหลาย ๆ ครั้งก่อนปรุงอาหาร

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการนำพืชผักสมุนไพรมาประกอบอาหารมีดังนี้

1. การนำดอกแคมาทำอาหาร ต้องเด็ดก้านเกสรสีเหลืองออกก่อนเพื่อทำให้ไม่มีรสขม

2. สายบัวที่นำมาใช้เป็นผักต้องลอกเอาเปลือกหุ้มออกแล้วเด็ดดอกบัวทิ้ง

3. ดอกโสนควรเก็บในช่วงเย็น เพราะจำทำให้ได้ดอกตูม น่ารับประทาน

4. ขี้เหล็ก จะมีดอกตูมและใบอ่อนที่มีรสขม จึงต้องต้มเทน้ำทิ้งหลายๆ ครั้งก่อนถึงจะนำมาปรุงเป็นอาหารได้ ฯลฯ

108. ข้อใดไม่ใช่สมุนไพรร้อน

1. ข่า

2. ผักกระเฉด

3. โหระพา

4. กระเทียม

ตอบ 2 (คำบรรยาย) สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย กะเพรา โหระพา กระเทียม มะกรูด พริก พริกไทย ฯลฯ ส่วนสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นมีหลายชนิด ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักชะอม ตำลึง บวบ ฟัก แตงต่าง ๆ ถั่วงอก หัวไซเท้า มังคุด ชมพู่ แตงโม แคนตาลูป สับปะรด ส้มโอ ส้มเช้ง กล้วยน้ำว้า ฯลฯ

109. ข้อใดไม่ใช่สมุนไพรเย็น

1. ชมพู่

2. ผักชะอม

3. มะกรูด

4. ตำลึง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ

110. ข้อใดไม่ถูกต้อง

1. กะเพรา – ขับลม

2. โหระพา – แก้ฟกซ้ำ

3. กระถิน – บำรุงไต

4. มะเขือพวง – ลดความดันโลหิต

ตอบ 3 หน้า 452 (คำบรรยาย) ตัวอย่างพืชสมันไรที่ใช้สรรพคุณทางยามีดังนี้

1. กะเพรา ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ฯลฯ

2. โหระพา ใช้ต้มดื่มแก้วิงเวียน ช่อยย่อยอาหาร ใช้ตำพอกหรือประคบแก้ไขข้ออักเสบแผลฟกซ้ำจากการหกล้มหรือถูกกระทบกระแทก ฯลฯ

3. กระถิน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงตับ ถ่ายพยาธิ แก้โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ

4. มะเขือพวง ช่วยปรับระบบขับถ่ายให้สมดุล ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ ช่วยลด คอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ฯลฯ

111. สมุนไพรตามข้อใดมีธาตุเหล็ก

1. พริกขี้หนู

2. มะละกอสุก

3. หัวปลี

4 ตำลึง

ตอบ 4 หน้า 452 แร่ธาตุที่พบว่ามีในสมุนไพรมีดังนี้

1. ธาตุเหล็ก มีในดอกและใบขี้เหล็ก มะเขือพวง ตำลึง รำข้าว และงา

2. แคลเซียม มีในผักกระถิน ใบยอ มะเขือพวง ถั่ว งา และน้ำตาลทรายแดง

3. ฟอสฟอรัส มีในรำข้าว ข้าวโพด งาดำ ถั่วต่าง ๆ มะเขือพวง และผลไม้ต่าง ๆ

4. วิตามินซี มีในมะข้ามป้อม มะขามเทศ มะยม มะนาว ผักสีเขียว และส้ม

112. ภูมิปัญญาเกี่ยวกับสี ข้อใดไม่ถูกต้อง

1. สีแดง – จากครั่ง

2. สีเหลือง – จากดอกทานตะวัน

3. สีดำ – จากการเผากาบมะพร้าว

4. สีม่วง – จากดอกอัญชัน

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาเกี่ยวกับสีที่ได้จากธรรมชาติมีดังนี้ 1. สีแดง ได้จากครั่ง กระเจี๊ยบแดง ข้าวแดง หัวบีท ฯลฯ 2. สีเหลือง ได้จากขมิ้น ดอกคำฝอย หญ้าฝรั่น ฟักทองลูกตาลสุก ฯลฯ 3. สีดำ ได้จากการเผากะลาหรือกาบมะพร้าว ดอกดิน ฯลฯ 4. สีม่วง ได้จากอัญชัน ลูกผักปรัง ข้าวเหนียวดำ ฯลฯ 5. สีเขียว ได้จากใบเตย ย่านาง ฯลฯ

113. ข้อใดไม่ถูกต้อง

1. รสฝาด – ขับเสมหะ

2. รสมัน – ปวดเมื่อย

3. รสขม – ร้อนใน

4.รสหอมเย็น – บำรุงหัวใจ

ตอบ 2 หน้า 452 (คำบรรยาย) รสของยามีสรรพคุณดังนี้ 1. รสฝาด มีสรรพคุณสำหรับสมานแผลทั้งภายนอกและภายใน ชะล้างบาดแผล แก้บิด ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง ขับเสมหะ 2. รสมัน สรรพคุณแก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงร่างกาย บำรุงไขข้อ ทำให้เกิดความอบอุ่นแก่ร่างกาย 3. รสขม มีสรรพคุณบำรุงโลหิต แก้โรคทางโลหิต โรคดี แก้โลหิตพิการ เจริญอาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ 4. รสหอมเย็น มีสรรพคุณทำให้ชื่นใจ บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์ ฯลฯ

114. ข้อใดเป็นภูมิปัญญาการรักษาภายนอก

1. ยาดอง

2. ยาเป่า

3.ยาต้ม

4. ยาลูกกลอน

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาการรักษาภายนอก หมายถึง ยาที่ใช้ภายนอกร่างกาย เพื่อหวังผลในการรักษาเฉพาะที่ ได้แก่ ยาทา (ยาน้ำ ครีม ขี้ผึ้ง) ยาหยอด ยาดม ยาชำระล้างบาดแผล ยาเป่าเข้าลำคอเพื่อรักษาอาการเจ็บคอ ฯลฯ ส่วนภูมิปัญญาการรักษาภายใน หมายถึง ยาที่ใช้ภายในร่างกาย เพื่อหวังผลในทางรักษาทั้งตัว ได้แก่ ยาดอง ยาต้ม นาลูกกลอน ยาฉีด ฯลฯ

115. วันสำคัญข้อใดไม่ถูกต้อง

1. วันเข้าพรรษา – ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8

2. วันเยาวชนแห่งชาติ – 20 กันยายน

3. วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ – 18 สิงหาคม

4. วันอนุรักษ์มรดกไทย – 2 เมษายน

ตอบ 1 (คำบรรยาย) วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะจำพรรษาอยู่ ณ ที่ ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูกาลเพาะปลุกตามอาชีพเกษตรกรรมของประชาชน ทั้งนี้เพื่อมิให้พระสงฆ์ต้องจาริกผ่านไร่นาและเหยียบย่ำพืชกล้าเสียหาย อันจะส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือนร้อน

116. คำขวัญข้อใดระบุจังหวัดไม่ถูกต้อง

1. ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน – ยะลา

2. เมืองชาละวัน แข่งเรือยาว – พิจิตร

3. แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี – ศรีสะเกษ

4. เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ – สมุทรสาคร

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) คำขวัญประจำจังหวัดสมุทรสาคร คือ เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์ (ส่วนคำขวัญประจำจังหวัดสมุทรสงคราม คือ ดอนหอยหลอด ยอดลิ้นจี่มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม)

117. นักศึกษาไม่พึงปฏิบัติตามข้อใด

1. พูดถึงชาติในลักษณะที่ยกย่อง

2. นั่งสำรวจไม่พูดคุยเสียงดังในศาสนาสถาน

3. ติเตียนเมื่อผู้อื่นทำผิด

4. ใช้รถใช้ถนนโดยเคารพกฎเกณฑ์

ตอบ 3 หน้า 186 – 187 (คำบรรยาย) สิ่ง ที่นักศึกษาพึงปฏิบัติเพื่อให้เป็นที่รักของบุคคลอื่น คือ เมื่อเห็นผู้อื่นทำสิ่งใดผิดพลาดไปบ้างทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จงแกล้งทำเป็นไม่เห็นเสียบ้างอย่าไปตำหนิติเตียนหรือเยาะเย้ยถากถาง เพราะทุกคนย่อมผิดพลาดได้แม้แต่ตัวเราเองจึงควรให้อภัย เปิดโอกาสให้เขาได้ลองใหม่ ทำใหม่ และถือว่าสิ่งที่ผิดพลาดนั้นเป็นบทเรียน

118. สื่อควรมีบทบาทด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1. รับรู้ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น

2. ตระหนักผลกระทบจากการทำลายสิ่งแวดล้อม

3. กดดันผู้นำนักธุรกิจร่วมรับผิดชอบ

4. เปิดโปงปัญหาช่วยเหลือสังคมมีข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

ตอบ 4 (คำบรรยาย) บทบาท ของสื่อด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุด คือ การพิทักษ์ปกป้องสิ่งแวดล้อมและผลประโยชน์ของชาติจากการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ต่าง ๆ โดยการเปิดโปงประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้สังคมมี ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้สังคมไทยตื่นตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

119. ปัญหาร้ายแรงที่สุดในอนาคตจากภาวะโลกร้อนคือข้อใด

1. ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

2. พายุ อุทกภัย ภัยแล้งรุนแรงขึ้น

3. ผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต ผู้คน

4. ปัญหาต่อแหล่งทรัพยากร

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ผล กระทบภาวะโลกร้อน นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาต่อแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเกิดการละลายของน้ำแข็ง ทั่วโลก ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น สภาวะอากาศแปรปรวน เกิดพายุ อุทกภัยและภัยแล้งรุนแรงแล้ว ก็ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงที่สุดในอนาคต หากมนุษย์ยังไม่หยุดเพิ่มความร้อนให้กับโลกและปล่อยให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างที่เป็นอยู่ คือ อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดระดับที่ผู้คนและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะอยู่รอดได้

120. ใช้ก๊าชธรรมชาติช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามข้อใด

1. การทำเกษตรแบบยั่งยืน

2. หยุดการทำลายป่าไม้

3. ปกป้องแหล่งน้ำของประเทศ

4. ใช้พลังงานสะอาด

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การ นำก๊าซธรรมชาติมาใช้พลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง ถือเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด ไม่มีสีไม่มีกลิ่น และไม่มีพิษ จึง ไม่สร้างมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม เพราะจากการศึกษาพบว่าเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจะมีระดับการปล่อยสาร พิษที่ต่ำและไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองหรือเขม่าจากท่อไอเสีย

Advertisement