การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2552

ข้อสอบกระบวนวิชา RAM1000 ความรู้คู่คุณธรรม

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 การกระทำของใครไม่เข้าหลักเศรษฐกิจพอเพียง

1 สมศรีเป็นคนช่างพูด จะพูดโดยไม่คำนึงว่าใครจะเดือดร้อนบ้าง

2 สมหวังขายข้าวได้ราคาดี จึงเปลี่ยนรถใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าคันเก่า

3 สมเดชยังคงใช้เครื่องมือเก่า เพราะยังใช้งานได้ดี

4 สมจิตซื้อเครื่องปรับอากาศใหม่ เพราะเครื่องเก่าเสียบ่อยและเปลืองไฟ

ตอบ 1 สมศรีเป็นคนช่างพูด จะพูดโดยไม่คำนึงว่าใครจะเดือดร้อนบ้าง

การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประพฤติปฏิบัติตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอดี ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนมุ่งเน้นการใช้ความรอบรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนและการตัดสินใจกระทำการต่างๆอย่างผู้มีปัญญา โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น

2 ข้อความใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1 ประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจเอกชนได้น้อยมาก

2 ไม่ขัดกับการทำธุรกิจเพื่อแสวงหากำไร

3 ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

4 เป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจร่วมมือกัน

ตอบ 1 ประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจเอกชนได้น้อยมาก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจได้ โดยไม่ขัดกับหลักการของการแสวงหากำไร และยังช่วยส่งเสริมสังคมคุณธรรม เพราะการได้มาซึ่งกำไรของธุรกิจจะอยู่บนพื้นฐานของการไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น หรือแสวงหาผลกำไรจนเกินควรจากการเบียดเบียนผลประโยชน์ของสังคม โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะก่อให้เกิดวิกฤตตามมา ตลอดจนการใช้ทรัพยากรในธุรกิจที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงจะคำนึงถึงความประหยัดและมีคุณภาพ เพื่อให้ธุรกิจสามารถร่วมมือกันและแข่งขันกันได้อย่างยั่งยืน

3 สำหรับภาคธุรกิจ “ความพอประมาณ” ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดมุ่งหมายในข้อใดเป็นสำคัญ

1 เน้นกำไรสูงสุด 2 ขยายการลงทุนอย่างค่อยเป็นค่อยไป

3 มุ่งผลประโยชน์ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น 4 เน้นการสร้างพันธมิตรธุรกิจ

ตอบ 3 มุ่งผลประโยชน์ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารงานสำหรับภาคธุรกิจ ดังนี้ 1 ความพอประมาณในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งหวังผลประโยชน์ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น 2 ความมีเหตุผลในการดำเนินธุรกิจ คือ การรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง 3 การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำเนินธุรกิจ คือ การเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม โดยกระจายผลิตภัณฑ์และตลาดเพื่อลดความเสี่ยง ปรับผลิตภัณฑ์จากสินค้าฟุ่มเฟือยมาเป็นสินค้าที่ลูกค้าใช้ประจำ และกระจายตลาดในหลายประเทศเพื่อลดผลกระทบจากวัฏจักรเศรษฐกิจต่อสินค้าฟุ่มเฟือย

4 พฤติกรรมในข้อใดเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำเนินธุรกิจ

1 เข้าใจในธุรกิจของตนอย่างถ่องแท้

2 พัฒนาความรู้ของพนักงานอย่างต่อเนื่อง

3 เน้นการผลิตเพื่อลูกค้าบางกลุ่มมากกว่าการผลิตเพื่อขายทั่วไป

4 กระจายผลิตภัณฑ์และตลาดเพื่อลดความเสี่ยง

ตอบ 4 กระจายผลิตภัณฑ์และตลาดเพื่อลดความเสี่ยง ดูคำอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 การกระทำในข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ

1 รักษาความลับของลูกค้าอย่างเคร่งครัด 2 รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้คงเดิม

3 ปกครององค์กรด้วยหลักความเมตตา 4 ใช้กระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบ 4 ใช้กระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

การส่งเสริมคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้ 1 มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง 2 มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และรักษาความลับของลูกค้าอย่างเคร่งครัด 3 มีคุณธรรมกับสังคมรอบข้าง โดยการป้องกันผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและจัดทำโครงการเพื่อสังคม 4 ส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นวัฒนธรรมองค์การ โดยการปกครองด้วยหลักความเมตตา การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัดและยอมรับผลกระทบอย่างเท่าเทียมกันในช่วงวิกฤติ

6 ข้อใดไม่ใช่การสร้างภูมิคุ้มกันทางศีลธรรมแก่ลูกหลาน

1 มีฐานเครือญาติที่มั่นคง 2 มีเงินออมไม่ก่อหนี้

3 สอนลูกหลานให้รู้จักเก็บออมและทำบุญ 4 ฝึกใจตนเองให้เข้มแข็ง ปฏิเสธความชั่ว

ตอบ 2 มีเงินออมไม่ก่อหนี้

การสร้างภูมิคุ้มกันทางศีลธรรมแก่ลูกหลาน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันต่อสิ่งชั่วร้ายทางศีลธรรม อันได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ ซึ่งมีวิธีการดังนี้

1 มีฐานเครือญาติที่มั่งคง 2 เน้นคำสอนของครอบครัวหรือตระกูล

3 พาลูกเข้าวัดเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม 4 สอนลูกให้รู้จักเก็บออมและทำบุญ

5 ฝึกใจตนเองให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ได้แก่ รู้จักข่มใจตนเอง ปฏิเสธความชั่วและยึดมั่นความดี

7 ชุมชนในข้อใดขาดภูมิคุ้มกันที่ดี

1 ชุมชนบางรักซอย 9 รักใคร่สามัคคีกัน 2 ชุมชนรามคำแหงเป็นชุมชนสีขาว

3 ชุมชนนางเลิ้งร่วมมือร่วมใจกัน 4 ชุมชนบางเขนต่างคนต่างอยู่

ตอบ 4 ชุมชนบางเขนต่างคนต่างอยู่

ระบบภูมิคุ้มกันด้านสังคมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1 ลักษณะภูมคุ้มกันเข้มแข็ง ได้แก่ การรู้รักสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกัน การมีคุณธรรมหรือใฝ่ในศาสนาธรรม สังคมสีขาว อยู่เย็นเป็นสุข และการมีทุนทางสังคมสูง

2 ลักษณะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ การระแวงและทะเลาะเบาะแว้งกัน ต่างคนต่างอยู่ ทุศีลหรือห่างไกลศีลธรรม เป็นเหยื่อแห่งอบายมุขทั้งปวง อยู่ร้อนนอนทุกข์ และการมีทุนทางสังคมต่ำ

8 การกู้เงินของใครไม่เหมาะสมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

1 นาย ก กู้เงินไปไถ่ที่นา 2 นาย ข กู้เงินไปเรียนการทำอาหาร

3 นาง ค กู้เงินไปซื้อรถจักรยานยนต์ให้ลูกชาย 4 นาง จ กู้เงินไปซื้อเครื่องซักผ้าเพื่อรับจ้างซักรีดผ้า

ตอบ 3 นาง ค กู้เงินไปซื้อรถจักรยานยนต์ให้ลูกชาย

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธการเป็นหนี้ หรือการกู้ยืมเงินในภาคธุรกิจแต่จะเน้นการบริหารความเสี่ยงต่ำ หมายความว่า ถึงแม้จะกู้ยืมเงินมาลงทุนก็เพื่อดำเนินกิจการชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมากนัก สามารถจัดการได้แก้ในภาวะที่โอกาสจะเกิดขึ้นจริงมีไม่มากนักก็ตาม โดยมีหลักการที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติดังนี้

1 กู้เงิน > ลงทุน > มีรายได้ > ใช้หนี้ (หนี้เพื่อการลงทุน ก่อรายได้)

2 กู้เงิน > ซื้อของไม่จำเป็น > หนี้เพิ่ม (หนี้ไม่ก่อรายได้ ทำให้คนเป็นหนี้ขาดความมั่นใจ)

9 การกระทำของใครไม่พอประมาณ

1 เศรษฐีซื้อบ้านหลังใหญ่ 2 คนฐานะปานกลางซื้อบ้านหลังเล็ก

3 เด็กเล่นเกมคอมพิวเตอร์จนดึกดื่น 4 นายห้างไม่ปลดคนงานแต่ลดชั่วโมงทำงานแทน

ตอบ 3 เด็กเล่นเกมคอมพิวเตอร์จนดึกดื่น

ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง “ความพอประมาณ” มีความหมายดังนี้

1 ความพอเหมาะพอดีแก่ประโยชน์ของตน ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป

2 พอควรแก่อัตภาพ ไม่ทำอะไรเกินฐานะของตน

3 ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

10 สำนวนไทยในข้อใดที่ตรงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องพอประมาณและมีภูมิคุ้มกัน

1 สิบเบี้ยใกล้มือ ; กันไว้ดีกว่าแก้ 2 มิตรจิตรมิตรใจ ; นกน้อยทำรังแต่พอตัว

3 หวังน้ำบ่อหน้า ; สร้างวิมานในอากาศ 4 ขี่ช้างจับตั๊กแตน ; หนักเอาเบาสู้

ตอบ 1 สิบเบี้ยใกล้มือ ; กันไว้ดีกว่าแก้

สำนวนไทยที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีดังนี้

1 ความพอประมาณ คอ พอเหมาะพอดีต่อความจำเป็น เช่น สิบเบี้ยใกล้มือ (พอมองเห็นทางได้แม้จะเล็กน้อยก็หยิบฉวยไว้ก่อนดีกว่ามุ่งหวังจะเอาสิ่งใหญ่) นกน้อยทำรังแต่พอตัว (ทำอะไรให้พอเหมาะกับฐานะหรือความสามารถของตน)ฯลฯ

2 ความมีเหตุผล คือ มีเหตุผลในการกระทำสิ่งต่างๆเช่น กินน้ำให้เผื่อแล้ง (ทำอะไรให้คิดไกลไปถึงวันข้างหน้าด้วย) ผ่อนสั่นผ่อนยาว (รู้จักประนีประนอมในปัญหาต่างๆ ที่ขัดแย้งกัน) ฯลฯ

3 การสร้างภูมิคุ้มกันในตัว คือ เตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น กันไว้ดีกว่าแก้ (ป้องกันเหตุที่เกิดขึ้นล่วงหน้าดีกว่ามาตามแก้ภายหลัง) หนักเอาเบาสู้ (สู้งาน มานะบากบั่น) ฯลฯ

11 การกระทำในข้อใดที่แสดงว่า ค่านิยมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

1 เคารพครูบาอาจารย์

2 กราบไหว้ภิกษุ – นักบวช

3 ยกย่องผู้อุทิศตนให้สังคม

4 ยอมรับนับถือคนรวยแม้ไม่สุจริต

ตอบ 4 ยอมรับนับถือคนรวยแม้ไม่สุจริต

ค่านิยมดั้งเดิมของสังคมไทยคือ การยกย่องผู้มีคุณธรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน เป็นต้น แต่ค่านิยมของสังคมไทยปัจจุบันกลับสะท้อนสิ่งต่างๆดังนี้

1 ยกย่องผู้มีเงิน ผู้ที่มีตำแหน่งสูง แม้จะเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม

2 ลุ่มหลงในวัฒนธรรมและค่านิยมต่างประเทศ

3 ตกเป็นทาสวัตถุนิยมและบริโภคนิยมตามแนวคิดของต่างประเทศ จนกลายเป็นผู้แสวงหาความสุขทางวัตถุ ฯลฯ

12 “อย่าให้คำพูดเป็นนายเรา” คำกล่าวนี้เจตนาเตือนในเรื่องใด

1 อย่าพูดมาก 2 อย่าพูดก่อนเจ้านาย 3 พูดทุกคำที่คิด 4 หยุดคิดตั้งสติก่อนพูด

ตอบ 4 หยุดคิดตั้งสติก่อนพูด

คำกล่าวที่ว่า “อย่าให้คำพูดเป็นนายเรา” หมายความว่า ก่อนพูดเราคือนายของคำพูดแต่เมื่อใดก็ตามที่เราได้พูดออกไปแล้ว คำพูดย่อมเป็นนายของเราเสมอ ดังนั้นไม่ว่าจะพูดอะไรออกไปก็ตามขอให้หยุดคิดตั้งสติก่อนพูด มิฉะนั้นอาจจะทำให้กลายเป็นคนที่ขาดความน่าเชื่อถือ รวมถึงเมื่อพูดอะไรออกไปแล้วก็ตาม ไม่ว่าคำพูดของเราจะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียก็ต้องรับผิดชอบต่อคำพูดของตนเองเสมอ

13 คำอธิบายในข้อใดไม่ตรงกันกับคำกล่าว “ความรู้คู่คุณธรรม”

1 ศาสนาให้สติปัญญา การศึกษาให้ความรู้ 2 การศึกษาและศาสนามีความสัมพันธ์กัน

3 ความดีเป็นตัวควบคุมความเก่ง 4 คุณธรรมเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต

ตอบ 1 ศาสนาให้สติปัญญา การศึกษาให้ความรู้

คำว่า “ความรู้คู่คุณธรรม” หมายถึง บุคคลจะมีความรู้เพียงอย่างเดียวไม่พอ หรือมีคุณธรรมอย่างเดียวก็ไม่พอเช่นกัน จะต้องมีทั้งสองสิ่งประกอบกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การศึกษา (ความรู้) และศาสนา (คุณธรรม) มีความสัมพันธ์กัน เพราะการศึกษาจะให้สติปัญญาความรู้ ส่วนศาสนาจะให้แนวทางปฏิบัติหรือหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต ซึ่งได้แก่ หลักจริยธรรมและคุณธรรม ดังนั้นบุคคลที่สมบูรณ์จึงต้องมีทั้งความเก่งและความดีไปพร้อมๆกัน โดยให้ความดีเป็นตัวควบคุมความเก่งให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร

14 ถ้านักศึกษาต้องการเรียนให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่ คุณธรรมข้อแรกที่นักศึกษาต้องมีคืออะไร

1 มีศรัทธาในสิ่งที่เรียน 2 ไม่ดูถูกตนเอง 3 มีความจริงใจ 4 ไม่ประมาทปัญญาผู้อื่น

ตอบ 1 มีศรัทธาในสิ่งที่เรียน

กุศโลบายในการปฏิบัติงานหรือกิจการต่างๆให้ได้ผลดีมีอยู่ 5 ประการ คือ 1 สร้างศรัทธาความเชื่อถือในงานที่ทำ โดยเริ่มต้นที่ใจ ความศรัทธาจึงถือเป็นคุณธรรมที่ต้องมีเป็นอันดับแรก เพราะเมื่อใจศรัทธาแล้วจะเกิดฉันทะ (พอใจจะทำ) 2 ไม่ประมาทในปัญญาความรู้ความสามารถของตนเองและผู้อื่น 3 รักษาความจริงใจทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 4 กำจัดจิตใจที่ต่ำทราม รวมทั้งสร้างเสริมความคิดจิตใจที่สะอาดและเข้มแข็ง 5 รู้จักสงบใจ

15 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของ “ความขยันหมั่นเพียร”

1 ดำ พยายามทำแบบฝึกหัดสม่ำเสมอ 2 แดงเป็นคนเอาการเอางานไม่ดูดาย

3 ขาวทำงานถูกต้องตามกฎเกณฑ์ 4 เขียวไม่ท้อถอยทำงานจนเสร็จ

ตอบ 3 ขาวทำงานถูกต้องตามกฎเกณฑ์

ความขยันหมั่นเพียร หมายความว่า การมีความวิริยะอุตสาหะหรือมุมานะพยายามเอาใจใส่ต่องานด้วยความกระตือรือร้น สม่ำเสมอ ไม่นิ่งเฉยหรือไม่ดูดายให้เวลาล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ท้อถอย หรือไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ เพื่อให้งานสำเร็จตามความมุ่งหมายหรือความต้องการ

16 การกระทำข้อขาดวินัย

1 บอลกลับเข้าพอหักก่อหอปิดเสมอ 2 บาสส่งรายงานตามกำหนดเวลา

3 เบสทิ้งขยะลงคลอง 4 บูมงดเหล้าเข้าพรรษา

ตอบ 3 เบสทิ้งขยะลงคลอง

การมีวินัยในตน หมายถึง การที่บุคคลมีความเชื่อและเต็มใจที่จะเชื่อถือตลอดจนบังคับให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ในการทำกิจกรรมส่วนตนและสังคมและสามารถที่จะตัดสินใจหรือใช้วิจารณญาณของตนได้โดยไม่ต้องให้บุคคลใดหรือกลุ่มใดมาบังคับ เช่น การรักษาสัญญากับตนเองหรือผู้อื่นจะกระทำหรืองดเว้นการกระทำใดๆ การตรงต่อเวลาที่มีการนัดหมายกัน การเคารพต่อกฎระเบียบของสังคมที่ยึดถือปฏิบัติร่วมกัน การรับผิดชอบตามบทบาทตามสถานภาพของตน เป็นต้น

17 ความขยันอดทนในการทำงานต่างๆ จะลดลงหรือหายไป ถ้านักศึกษาขาดคุณธรรมในข้อใด

1 ความตั้งใจจริง 2 ความเห็นแก่ตัว 3 ความสามัคคี 4 ความเมตตา

ตอบ 1 ความตั้งใจจริง

ความขยันอดทนในการทำงานใดๆ ให้สำเร็จได้ด้วยดีโดยตลอดนั้น ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงเป็นส่วนใหญ่ เพราะความตั้งใจจริงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยกำจัดความเกียจคร้าน ความอ่อนแอ และความท้อถอยได้อย่างดี โดยจะปลูกฝังความเอาใจใส่ ความขยันหมั่นเพียร และความอดทนเข้มแข็งให้เกิดขึ้นเป็นนิสัย

18 นักศึกษาไม่คล้อยตามคำโฆษณาสินค้า แสดงว่านักศึกษามีคุณธรรมในเรื่องใด

1 ไม่มีอคติ 2 มีสติรอบคอบ 3 ความรับผิดชอบ 4 ความอดทน

ตอบ 2 มีสติรอบคอบ

หลักการปฏิบัติตนในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคมนั้น บุคคลต้องดำรงตนอย่างผู้มีวิจารณญาณ นั่นคือ มีสติรอบคอบ สามารถใช้ปัญญาไตร่ตรองสิ่งต่างๆอย่างมีเหตุมีผล รู้จัดคิดวิเคราะห์โดยใช้สติปัญญาไต่สวนหาความจริงอย่างรอบคอบ ถ่องแท้ ไม่เลื่อนไหลไปตามกระแส ไม่เชื่อง่าย งมงาย หูเบา ใครหว่านล้อมอะไรก็คล้อยตาม

19 ค่านิยมของชาวตะวันตกข้อใดที่ไทยควรรับมาไว้เป็นแบบอย่าง

1 เสรีภาพในการทำงาน 2 การเห็นคุณค่าของงานมากกว่าบุคคล

3 มีความเป็นสุภาพบุรุษทางการเมือง 4 เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมทางวัตถุ

ตอบ 2 การเห็นคุณค่าของงานมากกว่าบุคคล

ค่านิยมของชาวตะวันตกที่คนไทยควรรับมาไว้เป็นแบบอย่าง คือ การเห็นคุณค่าของงานมากกว่าบุคคล เพราะคนไทยชอบยึดถือตัวบุคคลเป็นหลัก รักพวกพ้องและมีความรู้สึกผูกพันกันเป็นส่วนตัว ทำให้ในการทำงานหรือเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งมักพิจารณาจากการเป็นพวกเขาพวกเรามากกว่าผลงานของบุคคลนั้นๆ

20 นิสัยคนไทยมักถือตนเป็นใหญ่ ทำให้เกิดผลต่อสังคมอย่างไร

1 ไม่ยอมรับคำแนะนำจากผู้อื่น 2 ไม่ช่วยกันรักษาสาธารณสมบัติ

3 ไม่ชอบรับความช่วยเหลือจากผู้อื่น 4 ไม่ชอบทำตามแบบอย่างของผู้อื่น

ตอบ 1 ไม่ยอมรับคำแนะนำจากผู้อื่น

ลักษณะเด่นในนิสัยของคนไทยอย่างหนึ่ง คือ คนไทยมักถือตนเป็นใหญ่ มีความรู้สึกเกี่ยวกับการถือตัวมาก ชอบเอาดีเอาเด่นเฉพาะตัว ตลอดจนมีการแสดงออกในลักษณะที่ไม่ยอมกันไม่ลงให้กัน เวลาทำงานก็เลยทำงานเป็นทีมไม่ได้ เพราะแต่ละคนถือตัวมาก ต้องการเอาดีเอาเด่นคนเดียว ทำให้ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำจากผู้อื่น เพราะรู้สึกตัวเองจะด้อยลงไป จะแพ้เขาไม่ได้

21 ค่านิยมของชาวชนบทข้อใดที่ควรปรับปรุงแก้ไข

1 ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

2 ใครมาถึงเรือนชานต้องต้นรับ

3 ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน

4 รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ

ตอบ 1 ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

ค่านิยมของชาวบนบทที่ควรแก้ไขคือ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ เสียทรัพย์ไปโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร) ซึ่งเป็นค่านิยมของความหรูหราและการจัดงานพิธีอย่างฟุ่มเฟือย

22 การกระทำในข้อใดแสดงความภาคภูมิใจในความเป็นไทย

1 ร่วมกิจกรรมทางศาสนา 2 มีกริยามารยาทเรียบร้อย

3 แต่งกายได้ถูกต้องตามกาลเทศะ 4 พูดและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง

ตอบ 4 พูดและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง

ความภาคภูมิใจหรือความสำนึกในความเป็นไทย หมายถึง ความภาคภูมิใจในสิ่งต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นความเป็นชาติไทยหรือเอกลักษณ์ไทย โดยการพูดและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี รักษาวัฒนธรรมอันดีงาม รวมทั้งช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและอุดหนุนสินค้าไทย เพื่อความอยู่รอด ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าของชาติไทย

23 ถ้าท่านกำลังเผชิญกับความเครียด ท่านควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อคลายเครียด

1 ทำสมาธิ 2 จดบันทึกคลายเครียด

3 ทำกิจกรรมที่ตนชอบ 4 หายใจลึกๆแล้วผ่อนลมหายใจออกช้าๆ

ตอบ 1 ทำสมาธิ

เทคนิคในการคลายเครียดมีอยู่หลายวิธีดังนี้ 1 การจดบันทึกคลายเครียดโดยบันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดว่าเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร สาเหตุคืออะไร และมีวิธีจัดการอย่างไร 2 การทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง ฯลฯ 3 ฝึกการหายใจลึกๆแล้วผ่อนลมหายใจออกช้าๆ 4 ฝึกบริหารจิตโดยการทำสมาธิซึ่งเป็นวิธีผ่อนคลายความเครียดอย่างลึกที่สุดในระยะเวลาอันสั้น และถือเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด

24 ผู้มีจิตใจ ยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข และพร้อมให้การสนับสนุน เป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใด

1 เมตตา 2 กรุณา 3 มุทิตา 4 อุเบกขา

ตอบ 3 มุทิตา

พรมวิหาร 4 เป็นธรรมประจำใจสำหรับผู้มีจิตใจประเสริฐหรือผู้ใหญ่ที่ต้องปกครองคนใต้บังคับบัญชา เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจและส่งเสริมให้เป็นผู้มีจิตใจดี มีจิตใจกว้างขวาง ป้องกันใจไม่เป็นสุข ประกอบด้วย

1 เมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี ต้องการช่วยให้ผู้อื่นประสบแต่ความสุข

2 กรุณา คือ ความสงสารและปรารถนาดีที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

3 มุทิตา คือ ความเบิกบานพลอยยินดีที่เห็นผู้อื่นมีความสุข มีจิตใจดี และพร้อมให้การสนับสนุน

4 อุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลางและมองตามสภาพความเป็นจริง มีจิตเรียบเที่ยงธรรมดุจตาชั่งไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง รู้จักวางเฉย สงบใจมองดูเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำด้วยพิจารณาในทางกรรมว่า ใครทำกรรมดีย่อมได้ผลดีตอบสนอง ใครทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลจากการกระทำนั้น

25 การรู้จักสังเกตเป็นประโยชน์ต่อการทำงานอย่างไร

1 เกิดความรู้ 2 ก้าวหน้าในงานอาชีพ

3 เป็นคนละเอียดรอบคอบ 4 ทำงานสำเร็จโดยไม่เสียเวลา

ตอบ 4 ทำงานสำเร็จโดยไม่เสียเวลา

การรู้จักสังเกตจะทำให้เกิดความจำ เกิดความรู้และความคิดเป็นของตัวเอง เป็นคนละเอียดลออ มีไหวพริบ และมีสติปัญญา นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อการทำงาน คือ ทำให้ปฏิบัติภารกิจต่างๆได้สำเร็จ โดยไม่เสียเวลาหรือเสียแรงงานไปโดยเปล่าประโยชน์

26 การระลึกถึงผู้มีพระคุณด้วยการดูแลและเอาใจใส่ เป็นผลดีต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร

1 มีความสุขใจในการกระทำ 2 มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น

3 เกิดความรักสามัคคี 4 ได้รับการยกย่องจากผู้พบเห็น

ตอบ 1 มีความสุขใจในการกระทำ

ความกตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น ซึ่งบุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกันไป แต่หมายถึงการระลึกถึงผู้มีบุญคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่งและตอบแทนพระคุณด้วยการดูแลเอาใจใส่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจที่ชุ่มชื้นมีความสุขใจในการกระทำ ทั้งนี้การแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนั้นควรกระทำทุกเวลาไม่ควรมีข้อแม้ในการกระทำ

27 ข้อใดเป็นการยกมือไหว้บิดามารดาได้ถูกต้อง

1 กระพุมมือไหว้โดยไม่แบมือ 2 ประนมมือยกขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว

3 ประนมมือยกขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก 4 ประนมมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดปลายคาง

ตอบ 3 ประนมมือยกขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก

การไหว้ตามประเพณีไทยมี 4 ลักษณะ ดังนี้

1 การไหว้ผู้มีฐานะเสมอกันหรือรับไหว้ ผู้ไหว้จะประนมมือกลางอก ปลายนิ้วตั้งตรงขึ้นเบื้องบน โดยอาจก้มหน้าลงเล็กน้อย

2 การไหว้ผู้ที่อาวุโสกว่า ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้อยู่ตรงปลายสันจมูก แล้วก้มหน้าลง

3 การไหว้บิดามารดาหรือผู้อันเป็นที่เคารพยิ่ง ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดปลายจมูกปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง

4 การไหว้พระภิกษุสงฆ์ ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผมแนบหน้าผาก พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง

28 ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการฝึกสมาธิ

1 เพื่อให้เรียนเก่ง 2 เพื่อให้มีสติปัญญาดี

3 เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง 4 เพื่อให้มีจิตใจแน่วแน่มั่นคง

ตอบ 4 เพื่อให้มีจิตใจแน่วแน่มั่นคง

การฝึกสมาธิ คือ การใช้สติกำหนดระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา (อานาปานสติ) เพื่อทำให้จิตใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวและแน่วแน่มั่นคง ไม่ปล่อยให้จิตถูกครอบงำจากอำนาจใดๆ และเมื่อจิตมีสติก็จะทำให้ใจสงบเยือกเย็น รู้จักละวางทำให้จิตใจสบาย เกิดความผ่อนคลาย ไม่ฟุ้งซ่าน ซึ่งการฝึกสมาธินี้ควรทำโดยเฉพาะเมื่อรู้สึกเครียด ไม่สบายใจ โกรธ หรือกังวล เพราะจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง สมองแจ่มใส คิดแก้ปัญหาต่างๆได้ดีกว่าเดิม ทำให้เครื่องเสียดแทงหัวใจ (โทสจริต) ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในใจระงับไปได้

29 ข้อใดเป็นท่านั่งบนเก้าอี้ที่เหมาะสม

1 นั่งเท้าแขน 2 นั่งขาชิด 3 นั่งไขว่ห้าง 4 นั่งถ่างขา

ตอบ 2 นั่งขาชิด

มารยาทในการนั่งเก้าอี้ที่เหมาะสม ควรนั่งให้ตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าชิด เข่าและขาชิด มือวางไว้บนหน้าขา และควรนั่งเต็มเก้าอี้ อย่านั่งเก้าอี้ให้โยกหน้าหรือเอนหลัง ไม่ควรนั่งถ่างขา หรือไม่นั่งโดยเอาปลายเท้าหรือขาไขว้กันอย่าง “ไขว่ห้าง” แต่ถ้าจำเป็นต้องนั่งไขว่ห้างควรนั่งหันเท้าที่ไขว่ห้างห้อยลงขนานกับพื้น

30 การใช้ช้อนกลางที่ถูกต้องควรใช้อย่างไร

1 ใช้ตักแกงจืดขึ้นมาซด 2 ใช้ตักเฉพาะอาหารเผ็ด

3 ใช้ตักอาหารจากจานกลางโต๊ะมาใส่จานอาหารของเรา 4 ใช้ตักแบ่งอาหารให้สมาชิกในโต๊ะ

ตอบ 3 ใช้ตักอาหารจากจานกลางโต๊ะมาใส่จานอาหารของเรา

สมบัติของผู้ดีที่เป็นมารยาทในการรับประทานอาหารที่สำคัญประการหนึ่งคือ การใช้ช้อนกลางตักอาหารจาก

จานกลางโต๊ะมาใส่จานอาหารของตน ไม่ใช้เครื่องใช้ช้อนหรือส้อมที่เป็นส่วนของตนเองตักอาหารจากจานกลางเป็นอันขาด ทั้งนี้ประโยชน์จากการใช้ช้อนกลางก็คือ เพื่อป้องกันโรคติดต่อ

31 เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่าการพูดหรือหัวเราะขณะอาหารเต็มปากเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ

1 อาหารจะติดคอ

2 อาหารจะเข้าไปในหลอดลม

3 อาหารจะหลุดออกจากปาก

4 อาหารจะกระเด็นไปถูกผู้อื่น

ตอบ 4 อาหารจะกระเด็นไปถูกผู้อื่น

มารยาทในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ได้แก่

1 ไม่คนอาหารเพื่อเลือกแต่ของที่ตนชอบ 2 ไม่พูดหรือหัวเราะขณะอาหารเต็มปาก เพราะถือเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ เนื่องจากอาหารอาจจะกระเด็นออกจากปากไปถูกผู้อื่นได้ 3 ไม่เคี้ยวอาหารเร็วจนเกินไป และควรหุบปากเวลาเคี้ยวอาหารเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง 4 ใช้ช้อนกลางตักอาหาร 5 หากจะไอหรือจามควรใช้มือหรือผ้าปิดปาก แล้วก้มหน้าลงเพื่อป้องกันการกระจายของโรค ฯลฯ

32 คำสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้พูดที่เราพูดด้วย เป็นคำสุภาพที่ใช้ได้กับบุคคลทุกระดับ ควรใช้คำใด

1 เรียกตามวัยวุฒิ 2 เรียกตามตำแหน่ง 3 เรียกตามชื่อ 4 เรียกว่าคุณ

ตอบ 4 เรียกว่าคุณ

คำสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ที่เราพูดด้วยมีอยู่หลายคำ เช่น ใช้คำว่า “เธอ” กับบุคคลที่เสมอกันหรือเยาว์วัยกว่า ถ้ากับบุคคลที่อาวุโสกว่าใช้คำว่า “คุณ ท่าน ใต้เท้า” แต่คำสุภาพที่ใช้ได้ทุกโอกาสและกับบุคคลทุกระดับ คือ คำว่า “คุณ” บางคนใช้คำแทนตัวผู้ที่พูดด้วยว่า “พี่ ป้า น้า อา ยาย ลุง” โดยคิดว่าเป็นการแสดงความเป็นกันเอง แต่อาจทำให้ผู้ที่พูดด้วยไม่พอใจเพราะเขาไม่ใช่ญาติของผู้พูด นอกจากนี้ยังมีคำที่ถือว่าไม่สุภาพ แต่ชอบนำมาใช้กัน เช่น ลื้อ เจ้ เฮีย เป็นต้น

33 ถ้าจำเป็นต้องนั่งไขว่ห้าง ควรจะนั่งอย่างไร

1 นั่งกระดิกเท้าที่ไขว่ห้าง 2 หันเท้าที่ไขว่ห้างยื่นไปข้างหน้า

3 หันเท้าที่ไขว่ห้างห้อยลงขนานกับพื้น 4 หันฝ่าเท้าที่ไขว่ห้างออกไปด้านนอก

ตอบ 3 หันเท้าที่ไขว่ห้างห้อยลงขนานกับพื้น ดูคำอธิบายข้อ 29 ประกอบ

34 ข้อใดมิใช่ผลของภาวะโลกร้อน

1 อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น 2 แนวปะการังเปลี่ยนสี

3 การเผาซังข้าวโพด 4 น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย

ตอบ 3 การเผาซังข้าวโพด

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมีหลายประการ ดังนี้

1 การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก ทั้งที่เป็นธารน้ำแข้งและแหล่งน้ำแข้งที่ขั้วโลกเหนือ กรีนแลนด์

2 ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อาจทำให้เมืองสำคัญๆริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล

3 อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นผิดปกติ จนทำให้แนวปะการังเปลี่ยนสีเป็นสีขาว เติบโตช้า และอาจไม่สามารถสืบพันธุ์ได้

4 สภาวะอากาศแปรปรวน ซึ่งส่งผลให้เกิดพายุหมุนที่มีความถี่และรุนแรงมากขึ้น

5 บริเวณบางส่วนของโลกประสบกับภาวะแห้งแล้ง ฯลฯ

35 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม

1 ตัดไม้ทำลายป่า 2 ทำเหมืองแร่ 3 ปลูกพืชชนิดเดิมๆ 4 ปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงาน

ตอบ 1 ตัดไม้ทำลายป่า

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมมีดังนี้

1 การตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ เพราะนอกจากจะทำให้ดินขาดธาตุอาหารที่ควรจะได้จากป่าแล้ว ยังทำให้ฝนตกลงมาชะล้างหน้าดินได้ง่ายยิ่งขึ้น

2 การปลูกพืชชนิดเดิมในที่ดินซ้ำๆกันหลายครั้งเป็นเวลานาน ทำให้แร่ธาตุและอินทรีย์สารจากดินหมดไปกลายเป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด เป็นพืชที่ทำให้ดินเสื่อมเร็วกว่าปกติ

3 การทำเหมืองแร่ที่จำเป็นจะต้องมีการขุดเจาะ ระเบิดหรือฉีดน้ำ เพื่อให้ได้แร่ออกมาทำให้ดินสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อและไม่สามารถใช้ประโยชน์อะไรได้อีกเลย ฯลฯ

36 การไถกลบตอซังส่งผลต่อข้อใดน้อยที่สุด

1 อนุรักษ์ดิน 2 เพิ่มคุณภาพ 3 บรรเทาภาวะโลกร้อน 4 ป้องกันวัชพืช

ตอบ 4 ป้องกันวัชพืช

การไถกลบตอซัง หมายถึง การไถกลบวัสดุเศษซากพืชที่มีอยู่ในไร่น่าหลังจากทำการปลูกพืชต่อไป ซึ่งมีผลดีต่อการอนุรักษ์ดินดังนี้ 1 ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ดินโปร่งร่วมซุย อุ้มน้ำได้ดี และความหนาแน่นของดินลดลง 2 เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและหมุนเวียนธาตุอาหารพืชคืนสู่ดิน ทำให้ดินมีคุณภาพดีขึ้น 3 เพิ่มผลผลิตให้กับพืชเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่มีการเผาตอซัง 4 บรรเทาภาวะโลกร้อนจากการเผาตอซังหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ฯลฯ

37 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทนแบบหมุนเวียน

1 การใช้พลังงานลม 2 การใช้พลังงานแสงอาทิตย์

3 การใช้ก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ 4 การใช้ถ่านหินในโรงงานอุตสาหกรรม

ตอบ 4 การใช้ถ่านหินในโรงงานอุตสาหกรรม

พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีใช้อยู่ในท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาด้านมลพิษและแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต ซึ่งสามารถแบ่งออกตามแหล่งที่ได้มาเป็น 2 ประเภท คือ

1 พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น

2 พลังงานทดแทนจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนนำมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น

38 เทคโนโลยีสะอาดหมายถึงข้อใด

1 การลดมลพิษจากแหล่งกำเนิด 2 การเจือจางมลพิษจากแหล่งกำเนิด

2 การบำบัดมลพิษจากแหล่งกำเนิด 4 การกำจัดมลพิษจากแหล่งกำเนิด

ตอบ 1 การลดมลพิษจากแหล่งกำเนิด

เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology : CT) หมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีการใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปลี่ยนเป็นของเสียให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย จึงเป็นการลดมลพิษจากแหล่งกำเนิด รวมไปถึงการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตไปพร้อมกัน

39 พฤติกรรมข้อใดไม่สอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

1 นำขวดแก้วที่ใช้แล้วมาใส่น้ำดื่ม

2 การเติมออกซิเจนในน้ำเสียจากโรงงาน

3 การสร้างบ่อดักไขมันตามบ้านเรือน

4 ใช้สเปรย์ที่มีสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ

ตอบ 4 ใช้สเปรย์ที่มีสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ

สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น โฟม กระป๋องสเปรย์ สารทำความเย็นในตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม โดยทำให้โลกร้อนขึ้นก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก และทำลายบรรยากาศโลกจนเกิดรูรั่วในชั้นโอโซนได้

40 ข้อใดเป็นวิธีกำจัดขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน

1 Reuse 2 Repair 3 Reduce 4 Recycle

ตอบ 3 Reduce

หลัก 5 R ในการลดปริมาณขยะ ได้แก่

1 Reduce เป็นการลดการใช้หรือป้องกันให้มีขยะใหม่เกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งถือเป็นวิธีกำจัดขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน เช่น ใช้ตะกร้า ปิ่นโต ถุงผ้า ฯลฯ ใส่อาหารหรือของแทนการใช้ถึงพลาสติก เลือกใช้สินค้าที่มีหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์น้อยและมีอายุการใช้งานยาวนาน ใช้สินค้าชนิดเติม เป็นต้น

2 Recycle เป็นการเอาวัสดุที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ มาแปรรูปใช้ใหม่โดยกรรมวิธีต่างๆซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับขยะในเมืองใหญ่ได้ดีที่สุด

3 Reuse เป็นการใช้ซ้ำหรือใช้วัสดุให้คุ้มค่าที่สุดก่อนที่จะทิ้งไป

4 Repair เป็นการซ่อมแซมหรือนำสิ่งของที่ชำรุดมาซ่อมแซมเพื่อใช้งานอีกครั้ง

5 Reject เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ขยะพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี โดยหันมาใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน

41 การปฏิบัติในข้อใดน่าจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับขยะในเมืองใหญ่ได้ดีที่สุด

1 เผาขยะ

2 ขุดหลุมฝังกลบ

3 นำไปทิ้งในพื้นที่ว่าง

4 นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

ตอบ 4 นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ดูคำอธิบายข้อ 40 ประกอบ

42 พฤติกรรมในข้อใดที่มีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

1 การเดินสายกลาง

2 การลดการอุปโภคบริโภค

3 การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้

4 การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้

ตอบ 4 การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้

หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพมีดังนี้

1 การสร้างจิตสำนึก 2 การศึกษา เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์

3 การลดอัตราการเสื่อมสูญ 4 การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

5 การใช้สิ่งประหยัดพลังงาน สิ่งทดแทนหรือพลังงานทดแทน

6 การใช้สิ่งที่มีคุณภาพรองลงมา 7 การสำรวจแหล่งทรัพยากรใหม่

8 การรู้จักป้องกัน 9 การลดการอุปโภคบริโภคเมื่อไม่จำเป็น

10 การเดินสายกลาง และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้

43 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

1 การไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ 2 การไม่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้

3 การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ 4 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เสื่อมโทรม

ตอบ 2 การไม่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ โดยใช้อย่างประหยัดและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาปรับปรุงและบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดคือการมีทรัพยากรไว้ใช้นานๆ ดังนั้นการอนุรักษ์จึงไม่ได้หมายถึงการเก็บรักษาเอาไว้เฉยๆ หรือการไม่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้

44 ข้อใดเป็นวิธีการปฏิบัติเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ดีที่สุด

1 การปรับเลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ 2 การนำเข้าของเทคโนโลยีจากต่างชาติ

3 ออกกฎหมายที่มีบทบัญญัติรุนแรงขึ้น 4 ประชุมหารือกับทุกประเทศเพื่อหาทางแก้ปัญหา

ตอบ 1 การปรับเลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์

วิธีการปฏิบัติเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ดีที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ โดยการช่วยกันประหยัดและลดการใช้พลังงานในด้านต่างๆ ดังนี้ 1 ปิดสวิตช์ไฟทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน 2 ไม่ควรเปิดไฟโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าจำเป็นต้องเปิดไฟทิ้งไว้ทั้งคืนควรใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำ 3 ควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเททุกครั้ง ก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศประมาณ 15 นาที เพื่อทดแทนการใช้พัดลมระบายอากาศ 4 เลือกใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองร้อน เพื่อช่วยประหยัดไฟในการเปิดเครื่องปรับอากาศ 5 เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว อย่าใช้ตู้เย็นใหญ่เกินความจำเป็นเพราะจะกินไฟมาก 6 ไม่ควรรีดผ้าทีละชิ้นเพราะการเสียบปลั๊กเตารีดแต่ละครั้งจะมีช่วงสิ้นเปลืองไฟในเวลาที่รอให้ความร้อนสูงถึงระดับ 7 ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก 8 หันมาใช้ไม้ขีดไฟแทนไฟแช็ค เพราะไฟแช็คเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก ฯลฯ

45 วัตถุดิบในข้อใดที่ใช้ผลิตไปโอดีเซล

1 สบู่ดำ 2 อ้อย 3 มันสำปะหลัง 4 แกลบ

ตอบ 4 แกลบ

ไบโอดีเซล เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ เช่น ปาล์ม สบู่ดำ มะพร้าว ทานตะวัน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เมล็ดเรพ ละหุ่ง งา ฯลฯ และน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว เช่น น้ำมันทอดไก่ แคปหมู ปาท่องโก๋ หรือกล้วยแขก เพื่อนำมาทำปฏิกิริยาทางเคมี Transesterification ร่วมกับแอลกอฮอล์ จนเกิดเป็นสารเอสเตอร์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล (ส่วนพืชจำพวกแป้ง เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ ใช้ผลิตแก๊สโซฮอล์)

46 การผลิต Biogas ได้มาจากแหล่งวัตถุดิบแหล่งใดจึงเหมาะสมที่สุด

1 วัตถุดิบประเภทแป้ง 2 วัตถุดิบประเภทข้าวโพด

3 การหมักขยะอินทรีย์ 4 การหมักน้ำหมักชีวภาพ

ตอบ 3 การหมักขยะอินทรีย์

ก๊าซชีวภาพ (Biogas) เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ด้วยแบคทีเรียในกระบวนการทางเคมีโดยปราศจากออกซิเจน ซึ่งก๊าซที่ได้จะเป็นก๊าซมีเทน 55 – 75 % สามารถนำไปเผาไม้เพื่อให้ได้ความร้อนไปใช้งาน นำไปเป็นพลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้าหรือผลิตก๊าซหุงต้มใช้ในครัวเรือน โดยวัตถุดิบที่นำมาผลิตก๊าซชีวิภาพที่สำคัญของไทย ได้แก่ มูลสัตว์จากฟาร์มปศุสัตว์โดยเฉพาะฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ ขยะชุมชนเฉพาะส่วนที่เป็นขยะอินทรีย์ และน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เช่น โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง

47 ร้านค้าใดไม่สามารถนำวัตถุดิบไปผลิตเชื้อเพลิงไปโอดีเซลได้

1 ไก่ทอด McDonald 2 ขายน้ำอ้อย 3 ขายปาท่องโก๋ 4 ทำสวนมะพร้าว

ตอบ 2 ขายน้ำอ้อย ดูคำอธิบายข้อ 45 ประกอบ

48 การสร้างบ่อดักไขมัน เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรใดโดยตรง

1 ทรัพยากรดิน 2 ทรัพยากรป่าไม้ 3 ทรัพยากรน้ำ 4 ทรัพยากรแร่ธาตุ

ตอบ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ มีดังนี้

1 การพัฒนาแล่งน้ำ ได้แก่ การขุดลอกหนองคลองบึง และแม่น้ำที่ตื้นเขินเพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้มากขึ้น ตลอดจนการสร้างเขื่อนและอ่างกักเก็บน้ำ

2 การใช้น้ำอย่างประหยัด ไม่ปล่อยให้น้ำสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาหมุนเวียนใช้ได้ใหม่อีก

3 การควบคุมรักษาต้นน้ำลำธาร โดยการไม่ตัดไม้ทำลายป่าอย่างเด็ดขาด

4 ควบคุมมิให้เกิดมลพิษแก่แหล่งน้ำ เช่น ไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง สร้างบ่อดักไขมัน เพื่อแยกไขมันออกจากน้ำก่อนปล่อยน้ำสู่ท่อน้ำสาธารณะ ฯลฯ

49 สิ่งก่อสร้างใดที่ทำลายที่อยู่ของสัตว์ป่ามากที่สุด

1 ฝายแม้ว 2 เขื่อน 3 คลองชลประทาน 4 ทำนบกั้นน้ำ

ตอบ 2 เขื่อน

การสร้างเขื่อน เป็นวิธีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้ในเวลาที่ขาดแคลน แต่อีกด้านหนึ่งก็ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เพราะการก่อสร้างเขื่อนจำเป็นต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ทำให้ต้องตัดไม้ทำลายป่า พอสร้างเขื่อนเสร็จ ป่าส่วนหนึ่งก็จะจมหายไปในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งการที่ธรรมชาติถูกทำลายเช่นนี้ทำให้แหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายไป เป็นผลให้สัตว์ป่าบางชนิดอาจสูญพันธ์และจำนวนสัตว์ป่าลดน้อยลงไป

50 การปฏิบัติในข้อใดประหยัดพลังงานได้น้อยที่สุด

1 ปิดสวิตช์ไฟทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

2 ใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำถ้าต้องการเปิดทิ้งไว้ทั้งคืน

3 เปิดประตูเพื่อให้อากาศถ่ายเททุกครั้งก่อนใช้เครื่องปรับอากาศ

4 เลือกใส่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองร้อน

ตอบ 2 ใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำถ้าต้องการเปิดทิ้งไว้ทั้งคืน ดูคำอธิบายข้อ 44 ประกอบ

51 ผู้ใดมีพฤติกรรมที่ช่วยลดโลกร้อนน้อยที่สุด

1 เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสม

2 รีดผ้าครั้งละชิ้นแทนหลายๆชิ้น

3 ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

4 ใช้ไม้ขีดไฟแทนการใช้ไฟแช็ค

ตอบ 2 รีดผ้าครั้งละชิ้นแทนหลายๆชิ้น ดูคำอธิบายข้อ 44 ประกอบ

52 การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดสามารถช่วยลดโลกร้อนได้มากที่สุด

1 ไม่เชื่อมต่อระบบเครือข่าย

2 ใช้คอมพิวเตอร์วันละ 1 ชั่วโมงและรักษาความสะอาด

3 ปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้ พิมพ์งานเมื่อจำเป็น

4 ใช้จอ LCD และปรับปรุงซอฟต์แวร์

ตอบ 3 ปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้ พิมพ์งานเมื่อจำเป็น

วิธีใช้คอมพิวเตอร์อย่างชาญฉลาดเพื่อลดปัญหาโลกร้อน มีดังนี้

1 ปิดเครื่องและถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งานแทนการใช้สกรีนเซฟเวอร์พักหน้าจอ

2 ใช้งานเท่าที่จำเป็น และเร่งทำงานให้เสร็จ ไม่เปิดโปรแกรมทิ้งไว้

3 ใช้จอขนาดเล็กหรือเปลี่ยนมาใช้จอ LCD (จอแบน) แทนจอแบบ CRT (คล้าย TV) เพราะจอ LCD จะประหยัดไฟมากกว่าถึง 60 %

4 ปรับปรุงซอฟต์แวร์และตั้งค่าให้เป็นระบบประหยัดพลังงาน

5 เลือกใช้ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ประหยัดไฟ ฯลฯ

53 อริยมรรคในข้อใดเกี่ยวข้องกับไตรสิกขาที่กล่าวถึงปัญญา

1 สัมมาทิฐิ 2 สัมมามติ 3 สัมมาวายามะ 4 สัมมากัมมันตะ

ตอบ 1 สัมมาทิฐิ

อริยมรรคหรือมรรค เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มีองค์ 8 ประการ สามารถย่อลงได้ในไตรสิกขา (ข้อที่พึงศึกษาปฏิบัติ) ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ ดังนี้ 1 ศีล (ศีลสิกขา) ซึ่งตรงกับอริยมรรคคือ สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) และสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีวิตชอบ) 2 สมาธิ (จิตสิกขา) ซึ่งตรงกับอริยมรรคคือ สัมมาวายามะ (เพียรพยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) 3 ปัญญา (ปัญญาสิกขา) ซึ่งตรงกับอริยมรรคคือ สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) และสัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)

54 ข้อใดกล่าวถึงสัมมาสมาธิได้ถูกต้องที่สุด

1 การเพ่งจิต 2 การทำให้จิตสงบนิ่ง

3 การบังคับให้จิตเกิดพลัง 4 การที่จิตหยั่งรู้อบายภูมิ

ตอบ 2 การทำให้จิตสงบนิ่ง

สัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) คือ การทำใจให้เป็นสมาธิ เป็นการทำให้จิตสงบนิ่งตั้งมั่นแน่วแน่ในเรื่องที่ตั้งใจจะทำในทางที่ชอบ จึงเป็นสมาธิที่ใช้ถูกทางเพื่อจุดหมายในการหลุดพ้น เป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง มิใช่เพื่อผลในทางสนองความอยากของตัวเอง โดยในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ดังนี้

1 สัมมาสมาธิ คือ การที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน

2 สัมมาสมาธิ คือ มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ

55 หลักธรรมที่เน้นการละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ตรงกับข้อใด

1 อิทธิบาท 4 2 อหิงสา 8 3 ทิศ 10 4 โอวาทปาติโมกข์

ตอบ 4 โอวาทปาติโมกข์

โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในวันมาฆบูชา ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่แสดงถึงหลักการและแนวทางที่พุทธศาสนิกชนควรนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ อันประกอบด้วยสาระสำคัญที่สรุปได้สั้นๆดังนี้ การไม่ทำบาปทั้งปวง (การละเว้นความชั่ว) การยังกุศลให้ถึงพร้อม (การทำแต่ความดี) และการทำจิตของตนให้ผ่องใส (การทำจิตใจให้บริสุทธิ์)

56 สัมมาอาชีวะหมายถึงข้อใด

1 ชอบด้วยกลอุบายและกฎหมาย 2 ชอบด้วยเหตุและผล

3 ชอบด้วยตนและบุคคลอื่น 4 ชอบด้วยกฎหมายและธรรมมะ

ตอบ 4 ชอบด้วยกฎหมายและธรรมมะ

สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีวิตชอบ) หมายถึง เว้นจากมิจฉาอาชีวะ (อาชีพที่ผิด) หรือการประกอบอาชีพที่ถูกต้อง เลี้ยงชีพโดยสุจริต หรือสำเร็จชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบด้วยกฎหมายและธรรมมะ คือ ไม่ผิดกฎหมายและไม่ผิดศีลธรรม ไม่ประกอบอาชีพที่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ชีวิตอื่น สังคม หรือที่จะทำให้ชีวิต จิตใจ และสังคมเสื่อมทรามตกต่ำ

57 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของ “พอเพียง”

1 สันโดษ 2 สมชีวิตา 3 มัตตัญญุตา 4 มัชฌิมาปฏิปทา

ตอบ 4 มัชฌิมาปฏิปทา

คำว่า “พอเพียง” ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ ซึ่งมีความหมายตรงกับหลักธรรมต่อไปนี้ 1 สันโดษ หมายถึง ความพอใจ ความยินดีด้วยของของตนซึ่งได้มาด้วยเรี่ยวแรงความเพียรโดยชอบธรรม ความยินดีด้วยปัจจัยสี่ตามมีตามได้ความรู้จักอิ่มรู้จักพอเพียง 2 สมชีวิตา หมายถึง ความเป็นอยู่พอดีหรือสมดุล คือ (เลี้ยงชีพแต่พอดี ไม่ให้ฟุ่มเฟือย ไม่ให้ฝืดเคือง 3 มัตตัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักความพอดี ความพอเหมาะ มามากเกินไป ไม่น้อยเกินไปในทุกๆเรื่อง (ส่วนมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ทางสายกลาง ข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป)

58 ข้อใดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่เกื้อหนุนให้คนได้รับความสำเร็จ

1 คบคนดี 2 ตั้งตนไว้ชอบ 3 ตั้งในถิ่นเหมาะสม 4 บุญในชาติก่อน

ตอบ 1 คบคนดี

มงคลชีวิต 38 ประการ เป็นสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรปฏิบัติที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญก้าวหน้า ได้แก่

1 คบคนดีหรือบัณฑิต คือ คนที่มีจิตใจผ่องใสอยู่เป็นปกติ ทำให้มีความเห็นถูก ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา รู้ว่าอะไรดี – ชั่ว ถูก – ผิด บุญบาป ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนให้คนได้รับความสำเร็จและเจริญก้าวหน้า

2 ตั้งอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม คือ สิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่เป็นพิษภัยแก่สุขภาพกายใจ แต่กลับสนับสนุนให้กิจการงานเป็นสัมมาอาชีพ ก้าวหน้าโดยง่าย และสร้างความดีได้เต็มที่

3 มีบุญวาสนามาก่อน คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ส่งผลให้จิตใจชุ่มชื่น เป็นสุข ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด

4 ตั้งตนไว้ชอบ คือ การตั้งเป้าหมายชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมไว้ถูกต้อง แล้วประคับประคองตนให้ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายนั้นด้วยความระมัดระวัง ฯลฯ

59 กำนันแม้นรู้สึกยินดีเบิกบานใจมากที่ทราบข่าวว่านายสุข ลูกบ้านได้รับรางวัลลูกกตัญญูจากผู้ว่าราชการจังหวัด แสดงว่ากำนันแม้นมีคุณธรรมในข้อใด

1 เมตตา 2 กรุณา 3 มุทิตา 4 อุเบกขา

ตอบ 3 มุทิตา ดูคำอธิบายข้อ 24 ประกอบ

60 การกระทำในข้อใดมีคุณธรรมข้ออุเบกขา

1 การที่เขาตั้งใจเรียนอย่างจริงจังสมควรแล้วที่จะได้เกียรตินิยม

2 ถูกจับเสียบ้างก็ดี อยากขับรถซิ่งดีนัก

3 ใครนะช่างใจร้าย ทำได้แม้แต่หมาจรจัด

4 ดีใจด้วยนะที่ถูกล็อตเตอรี่ สักวันฉันคงโชคดีบ้าง

ตอบ 1 การที่เขาตั้งใจเรียนอย่างจริงจังสมควรแล้วที่จะได้เกียรตินิยม ดูคำอธิบายข้อ 24 ประกอบ

61 ผู้นำคนใดขาดสัมมาวาจา

1 ผู้ใหญ่บ้านจะทักทายลูกบ้านอย่างเป็นกันเองเสมอ

2 กำนันรับปากชาวบ้านไว้หลายเรื่องแต่ทำไม่ได้สักเรื่อง

3 นายอำเภออธิบายระเบียบการเบิกเงินผู้สูงอายุอย่างชัดเจน

4 ผู้ว่าราชการจังหวัดออกมาต้อนรับกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างมีไมตรีจิต

ตอบ 2 กำนันรับปากชาวบ้านไว้หลายเรื่องแต่ทำไม่ได้สักเรื่อง

สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) คือ มีการเจรจาถูกต้อง พูดในสิ่งที่เป็นจริง มีประโยชน์ ไพเราะอ่อนหวาน พูดมีสาระ และพูดถูกกาลเทศะ โดยแสดงในทางเว้น (วจีสุจริต) หรือการไม่พูดชั่ว 4 ประการ คือ 1 ไม่พูดเท็จหรือพูดไม่จริง 2 ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้แตกสามัคคี 3 ไม่พูดคำหยาบ 4 ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ

62 นักการเมืองบางคนเคยร่ำรวย มีชื่อเสียงเกียรติยศ แต่ต่อมาถูกศาลลงโทษฐานฉ้อโกง ติดคุกหลายปี พฤติกรรมเหล่านี้แสดงธรรมะในเรื่องใด

1 อกุศลกรรม 2 โลกธรรม 3 พรหมวิหาร 4 สัปปุริสธรรม

ตอบ 2 โลกธรรม

ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือ ความไม่เที่ยงไม่แน่นอน ไม่ดำรงอยู่เป็นนิจนิรันดร์ ทุกสิ่งเปลี่ยนผันไปตามกาลเวลา มีเกิดและมีดับไปในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริงของโลก คือ หลักโลกธรรม 8 ที่ว่า ได้ลาภ – เสื่อมลาภ ได้ยศ – เสื่อมยศ สรรเสริญ – นินทา สุข – ทุกข์ ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งธรรมดาที่อยู่คู่มนุษย์ตลอดมา

63 ค่านิยมในข้อใดมีผลต่อการผลิตสินค้าของชุมชนน้อยที่สุด

1 สินค้าฟุ่มเฟือยจะขายดีในสังคมที่คนชอบฟุ้งเฟ้อ

2 สินค้าที่มีคุณภาพมีราคาย่อมเยาจะขายดีในสังคมที่พอเพียง

3 การโฆษณาสินค้าจะขายสินค้าได้มากเพราะเร้าใจให้ซื้อ

4 การพิจารณาความจำเป็น / ประโยชน์ของสินค้านั้นๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ

ตอบ 3 การโฆษณาสินค้าจะขายสินค้าได้มากเพราะเร้าใจให้ซื้อ

ค่านิยมของคนในสังคมก็มีผลต่อการผลิตสินค้าของชุมชนเช่นกัน เช่น ในสังคมที่คนชอบโก้ฟุ้งเฟ้อ สินค้าที่ฟุ่มเฟือยหรูหราโอ่อ่าก็จะขายดีกว่าสินค้าที่มีคุณภาพดี แต่ตรงกันข้ามอีกสังคมหนึ่งที่คนมีค่านิยมในทางชอบโก้ฟุ้งเฟ้อน้อย ก็จะซื้อสินค้าโดยมองถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริง และจะพิจารณาถึงความจำเป็น ประโยชน์ของสินค้า และราคาที่ย่อมเยาก่อนตัดสินใจซื้อ ทำให้สินค้าที่ขายในสังคมสองประเภทนี้มีผลการขายในตลาดต่างกัน

64 กากระทำในข้อใดที่แสดงว่าผู้นั้นรู้จักปกป้องรักษาทรัพย์สินที่หามาได้อย่างดี

1 นิพินธ์ฝากเงินไว้เป็นทุนการศึกษาของลูก 2 นิวัฒน์เล่นหวยทุกงวดเพราะหวังรวย

3 นิยมจะไปบ่อนชายแดนเป็นประจำทุกเดือน 4 นิพัทธ์จะเที่ยวเธคบาร์เป็นประจำทุกสุดสัปดาห์

ตอบ 1 นิพินธ์ฝากเงินไว้เป็นทุนการศึกษาของลูก

อารักขสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการรักษา สามารถปกป้องคุ้มครองรักษาทรัพย์สินที่หามาโดยสุจริตนั้นให้คงอยู่ ให้ได้ประโยชน์ใช้สอยนานที่สุดทั้งนี้ให้รู้จักเก็บออมหรือจัดการกับทรัพย์สินให้เพิ่มพูนเจริญงอกงามขึ้น ไม่ให้สูญหายพินาศไปด้วยภัยต่างๆ หรือด้วยเหตุอันไม่ควร เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน เป็นต้น

65 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความสุขของคฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน) ตามหลักพุทธศาสนา

1 สุขจากการมีทรัพย์ 2 สุขจากการมีคู่ครองที่ดี

3 สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์ 4 สุขจากการไม่เป็นหนี้

ตอบ 2 สุขจากการมีคู่ครองที่ดี

สุขของคฤหัสถ์ (กามโภคีสุข) คือ ความสุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรพยายามทำให้เกิดขึ้นแก่ตนอยู่เสมอ มี 4 ประการ ดังนี้

1 อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ ภูมิใจว่าตนมีโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความเพียรของตนโดยชอบธรรม

2 โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ให้เกิดประโยชน์

3 อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ไม่ต้องทุกข์ใจ

4 อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ ใครติเตียนไม่ได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ

66 พุทธสุภาษิต กล่าวว่า “พึงหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม” ใครมิได้ประพฤติตามพุทธภาษิตข้อนี้

1 แก้วเก็บกระดาษและพลาสติกใช้แล้วไปขาย 2 กิ่งรับสอนภาจีนในวันเสาร์ – อาทิตย์

3 กาญจน์ทำคุกกี้มาฝากขายที่โรงอาหารของบริษัท 4 แก้มเป็นเอเยนต์รับซื้อหวยใต้ดินส่งนายทุนใหญ่

ตอบ 4 แก้มเป็นเอเยนต์รับซื้อหวยใต้ดินส่งนายทุนใหญ่ ดูคำอธิบายข้อ 56 ประกอบ

67 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับจริยธรรมกับการเมือง

1 จริยธรรมเป้นความดีส่วนบุคคล การเมืองเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม

2 ความผิดทางการเมือง มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรระบุโทษ

3 จุดมุ่งหมายของการเมืองเพื่อความเป็นเลิศของแต่ละบุคคล

4 จริยธรรมเป็นเรื่องภายในจิตใจของแต่ละบุคคลประเมินผลยาก

ตอบ 3 จุดมุ่งหมายของการเมืองเพื่อความเป็นเลิศของแต่ละบุคคล

จริยธรรมกับการเมืองมีความแตกต่างกันดังนี้

1 จริยธรรมเป็นความดีส่วนบุคคล ในขณะที่การเมืองเป็นเรื่องความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม

2 จริยธรรมเป็นเรื่องภายในจิตใจของแต่ละบุคคลจึงค่อนข้างยากแก่การประเมิน ในขณะที่การเมืองเป็น เรื่องภายนอกที่สามารถประเมินได้

3 ความผิดทางจริยธรรมเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้กระทำไม่ดีจะถูกลงโทษทางจิตใจและยากที่จะเลือนหายไป ในขณะที่ความผิดทางการเมืองจะมีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรระบุโทษ

4 จริยธรรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อความเป็นเลิศของแต่ละบุคคล ในขณะที่การเมืองมีจุดมุ่งหมายเพื่อความเป็นเลิศของสาธารณชน

68 จริยธรรมกับการเมืองจะผูกพันต่อกันเป็นอย่างดีจะต้องมีเรื่องใดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

1 อำนาจ – ความรู้ 2 ภาระ – หน้าที่ 3 อำนาจ – ผลประโยชน์ 4 สิทธิ – หน้าที่

ตอบ 4 สิทธิ – หน้าที่

จริยธรรมกับการเมืองจะมีผลผูกพันต่อกันได้เป็นอย่างดีนั้น จะต้องมีสิทธิและหน้าที่ (Rights and Duty) ของปัจเจกชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งอธิบายความหมายได้ดังนี้

1 สิทธิ คือ อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายรับรอง เช่น สิทธิของชุมชนที่จะดำรงชีพอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตน ซึ่งสิทธิเหล่านี้จะต้องได้รับความคุ้มครอง แต่ต้องไม่ก้าวก่ายหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่นในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม

2 หน้าที่ คือ ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลในฐานะที่เป็นพลเมืองของรัฐหรือสมาชิกของสังคม

69 การกระทำในข้อใดที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

1 ไพศาลคิดจะเปลี่ยนงานใหม่ 2 เทศบาลนำขยะมาทิ้งใกล้ชุมชนของเรา

3 อรนุชตัดสินใจเรียนต่อในประเทศไทย 4 โรงเรียนมุ่งหวังให้นักเรียนเป็นคนดี มีวินัย

ตอบ 2 เทศบาลนำขยะมาทิ้งใกล้ชุมชนของเรา ดูคำอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 การกระทำในข้อใดที่ขาดสำนึกจิตสาธารณะ (Public Mind)

1 สมาชิก จ.ส.100 ร่วมกันแจ้งข่าวจราจรใน กทม.

2 โครงการบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำที่จังหวัดน่าน

3 นักเรียนและครูร่วมกันปลูกป่าชายเลน

4 การไม่รักษาความสะอาดของห้องน้ำในมหาวิทยาลัย

ตอบ 4 การไม่รักษาความสะอาดของห้องน้ำในมหาวิทยาลัย

การมีจิตใจหรือสำนึกสาธารณะ (Public Mind) หมายถึง การกระทำของเราเพื่อคนอื่น หรือการมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ได้แก่ การที่บุคคลมีความรู้สึกเห็นคุณค่าของส่วนรวม ปรารถนาที่จะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน โดยการร่วมกันคิดร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม รวมถึงยอมรับหรือรับผิดชอบร่วมกันในผลของการกระทำนั้นๆเพื่อช่วยพัฒนาสังคมและชาติบ้านเมือง ตลอดจนโลกของเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

71 ตามหลักปรัชญา หน้าที่สำคัญของมนุษย์คืออะไร

1 การฝึก – พัฒนา – เข้าใจตนเอง

2 การทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

3 การรับผิดชอบครอบครัว

4 การแสวงหาสัจธรรม

ตอบ 1 การฝึก – พัฒนา – เข้าใจตนเอง

หน้าที่สำคัญของมนุษย์แต่ละคนตามหลักปรัชญาและคำสอนทางศาสนา คือ การฝึกตนเอง พัฒนาตนเอง และเข้าใจตนเอง เพราะการเข้าใจจิตใจของตนเองเป็นบันไดสำคัญที่จะก้าวไปสู่ความเข้าใจจิตใจของผู้อื่น และการพัฒนาตนเองด้วยตนเองก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เป็นรากฐานที่จะช่วยเหลือพัฒนาบุคคลอื่นและสังคมได้ ดังนั้นผู้ที่มุ่งความเจริญจึงจำเป็นต้องพิจารณาดูตนเองและพัฒนาตนเองเสียก่อนที่จะไปพยายามพัฒนาคนอื่น

72 “ถ้ารัฐบาลจะสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ รัฐบาลจะต้องทำประชาพิจารณ์ก่อน” ข้อความนี้แสดงถึงสิทธิของประชาชนในด้านใด

1 สิทธิในร่างกาย 2 สิทธิทางเศรษฐกิจ 3 สิทธิในการชุมนุม 4 สิทธิของสตรี

ตอบ 2 สิทธิทางเศรษฐกิจ

สิทธิทางเศรษฐกิจ ตามรัฐธรรมนูญฯ ระบุว่า โครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการศึกษาสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชาคม ถ้าไม่ศึกษาหรือศึกษาแล้วพบว่ามีผลกระทบก็ไม่สามารถดำเนินการสร้างได้ ยิ่งกว่านั้นประชาชนยังมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและทำประชาพิจารณ์ได้อีกด้วย

73 “รถไฟฟ้าควรมีลิฟต์ทุกสถานี เพื่อให้ประชาชนที่นั่งรถเข็นมีโอกาสใช้รถไฟฟ้าบ้าง”

ข้อความนี้แสดงถึงสิทธิของประชาชนในด้านใด

1 สิทธิทางเศรษฐกิจ 2 สิทธิในชีวิตร่างกาย 3 สิทธิโดยทั่วไป 4 สิทธิของผู้ด้อยโอกาส

ตอบ 4 สิทธิของผู้ด้อยโอกาส

สิทธิของผู้ด้อยโอกาสย่อมได้รับความคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญฯโดยผู้ด้อยโอกาสไม่ว่าจะเป็นคนพิการ คนชรา คนยากไร้ เด็กหรือผู้หญิงตามรัฐธรรมนูญ จะได้รับการดูแลจากรัฐเพื่อที่จะให้มีโอกาสเท่าเทียมกับผู้มีโอกาสคนอื่นๆในสังคม

74 ข้อใดไม่ใช่ธรรมนูญชีวิตของศาสนาอิสลาม

1 การกล่าวคำปฏิญาณตน 2 การทำละหมาด

3 การปฏิบัติตนตามพระบัญญัติ 10 ประการ 4 การไปจาริกแสวงบุญที่เมืองมักกะห์

ตอบ 3 การปฏิบัติตนตามพระบัญญัติ 10 ประการ

มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติตามธรรมนูญชีวิตของศาสนาอิสลาม หรือที่เรียกว่ามุขยบัญญัติ 5 ประการ ได้แก่

1 การกล่าวคำปฏิญาณตน 2 การทำละหมาด (นมัสการ) 5 เวลา คือ เช้า บ่าย เย็น ค่ำ และกลางคืน

3 การบริจาคทรัพย์ตามศาสนบัญญัติ 4 การถือศีลอดในเดือนรอมดอน 5 การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการไปจาริกแสวงบุญที่เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย (ส่วนพระบัญญัติ 10 ประการ เป็นธรรมนุญชีวิตของศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์)

75 ข้อใดคือลักษณะของบุคคลที่มีคุณลักษณะที่พึ่งตนเองมากที่สุด

1 กบเลือกนาย 2 อดอย่างเสือ ล่าเหยื่อด้วยตนเอง

3 โลเลเป็นไม้หลักปักเลน 4 น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า

ตอบ 2 อดอย่างเสือ ล่าเหยื่อด้วยตนเอง

การพึ่งตนเอง หมายถึง การเคารพตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถที่จะกระทำการใดๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง และไม่ทำตัวให้เป็นปัญหาหรือเป็นภาระแก่ผู้อื่นหรือหมู่คณะ จึงเป็นความสามารถในการดำรงตนอยู่ได้อย่างอิสระ มั่นคง สมบูรณ์ สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาและเบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่า “อดอย่างเสือ ล่าเหยื่อด้วยตนเอง”

76 ข้อใดแสดงว่าผู้คิดขาดความเชื่อมั่นในตนเอง

1 ไม่มีสิ่งใดที่เกินความสามารถของฉัน 2 เมื่อตัดสินใจว่าจะเรียนแล้ว ฉันต้องเรียนให้จบเร็วที่สุด

3 ฉันจะไม่ประมาทเพราะใดใดในโลกล้วนอนิจจัง 4 ฉันควรฟังคำเตือนของเพื่อนๆดีไหมนะ

ตอบ 4 ฉันควรฟังคำเตือนของเพื่อนๆดีไหมนะ

บุคคลที่มีความเชื่อมั่นในตนเองว่ามีความสามารถที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ มักมีความคิดในเบื้องต้นดังนี้ ฉันไม่คิดว่าจะมีสิ่งใดที่เกินความสามารถของฉัน เมื่อฉันตัดสินใจว่าจะทำแล้ว ฉันจะไม่ท้อถอยและทำจนประสบความสำเร็จให้ได้ ฉันจะไม่ประมาทเพราะใดใดในโลกล้วนอนิจจัง คุณควรทำด้วยตัวของคุณเองด้วยความมั่นใจ และไม่ควรทำตามผู้อื่น(ที่ด้อยกว่า) ฯลฯ

77 การกระทำของใครแสดงความรู้จักยับยั้งใจตนเองได้ดีที่สุด

1 นารีจะหน้าบึ้งทุกครั้งที่ถูกหัวหน้าตำหนิ 2 สีดานำเงินที่เก็บได้ไปคืนเจ้าของ

3 มารศรียอมเป็นภรรยาน้อยของสมชายเพราะรักเขามาก 4 ปรียาจะบีบแตรไล่รถคันหน้าเพราะขับช้า

ตอบ 3 มารศรียอมเป็นภรรยาน้อยของสมชายเพราะรักเขามาก

หลักทมะ หมายถึง การฝึกฝนจิตใจไม่ให้หวั่นไหววู่วามง่าย รู้จักข่มใจ แก้ไขปรับปรุงตนให้เจริญด้วยสติปัญญา และรู้จักระงับยับยั้งจิตใจของตนเองเมื่อได้พบเห็นสิ่งที่จะนำพาตนเองไปในทางที่ไม่ดี หรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมอันดีงาม สิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักของวัฒนธรรมหรือกฎหมายก็จะรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง สามารถยับยั้งตนเองได้ไม่ถลำลึกไปในการปฏิบัติสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ผิด อันจะนำไปสู่การเป็นภาระของสังคมในอนาคต

78 การกระทำของใครมีผลดีต่อเศรษฐกิจของส่วนรวม

1 ไกด์ผีหลอกลวงนักท่องเที่ยวไปปลดทรัพย์

2 พ่อครัวแอบยักยอกอาหารกระป๋องจากภัตตาคาร

3 พนักงานขายดูแลลูกค้าอย่างดีทั้งก่อนและหลังการขาย

4 เจ้าหน้าที่พัสดุมาสายเสมอทำให้เบิกของไม่ค่อยได้

ตอบ 3 พนักงานขายดูแลลูกค้าอย่างดีทั้งก่อนและหลังการขาย

จริยธรรมของคนในสังคมย่อมมีผลต่อเศรษฐกิจเป็นอันมาก เช่น หากในสังคมไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จะกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือคุณธรรม เช่น ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความรักงาน และความตรงต่อเวลา ย่อมมีผลต่อคุณภาพของผลผลิตและการเพิ่มผลผลิตของเศรษฐกิจส่วนรวม

79 ข้อใดแสดงถึงคุณธรรมความรักชาติอย่างชัดเจน

1 โต้แย้งอย่างจริงจังด้วยเหตุผล 2 เคารพซึ่งกันและกัน

3 รับฟัง ไตร่ตรอง 4 ชั่งน้ำหนักประโยชน์ส่วนรวมก่อนตัดสินใจ

ตอบ 4 ชั่งน้ำหนักประโยชน์ส่วนรวมก่อนตัดสินใจ

คุณธรรมความรักชาติประการหนึ่ง คือ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและจงรักภักดีต่อชาติ โดยยอมสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติ ดังนั้นในการคิดอะไรต่อมิอะไรทั้งหลายนั้น ให้รู้จักคิดต่อยอดโดยมองประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่และรู้จักชั่งน้ำหนักประโยชน์ส่วนรวมก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร

80 วิธีคิดแบบ “กันไว้ดีกว่าแก้” ควรกระทำในระยะเวลาใด

1 การคาดการณ์ว่าจะเกิด 2 ห้วงเวลาก่อนจะเกิด 3 ห้วงเวลาขณะเกิด 4 ห้วงเวลาที่เกิดขึ้นแล้ว

ตอบ 1 การคาดการณ์ว่าจะเกิด

วิธีคิดแบบ “กันไว้ดีกว่าแก้” หมายถึง เตรียมตัวไว้ก่อนดีกว่ารอให้ปัญหาเกิดขึ้นป้องกันเหตุที่เกิดขึ้นเป็นการล่วงหน้าดีกว่ามาตามแก้ภายหลัง หรือป้องกันไว้ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น คือ จะกระทำการใดต้องรู้จักวางแผนและเตรียมการไว้ล่วงหน้า จึงเป็นวิธีคิดที่ควรกระทำในระยะเวลาที่คาดการณ์ว่าจะเกิด เพื่อจะได้มีวิธีแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น

81 การ “อดออม” ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย มีความหมายสอดคล้องตามข้อใด

1 อยู่อย่างพอเพียง

2 อย่าวางใจใคร

3 ดูแลระมัดระวังทรัพย์สิน

4 พึงมีพึงเก็บ

ตอบ 1 อยู่อย่างพอเพียง

การอดออม หมายถึง การรู้จักใช้ รู้จักออมทรัพย์สินตามความจำเป็นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด มีความมัธยัสถ์พอเหมาะพอดีในการกระทำทั้งปวง รวมทั้งรู้จักดำรงชีวิตให้อยู่อย่างพอเพียง มีความพอประมาณ เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ส่วนตนและสังคม ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบัน

82 ข้อใดแสดงการเป็นมิตรเทียม

1 มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง 2 เพื่อนมีทุกข์พลอยไม่สบายใจ

3 เขาติเตียนเพื่อนก็เออออด้วย 4 เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยสนับสนุน

ตอบ 3 เขาติเตียนเพื่อนก็เออออด้วย

มิตรเทียม หรือศัตรูผู้มาในร่างมิตร (มิตรปฏิรูปก์) ประเภทหนึ่ง คือ คนหัวประจบ มีลักษณะ 4 อย่าง ได้แก่

1 จะทำชั่วก็เออออ 2 จะทำดีก็เออออ 3 ต่อหน้าสรรเสริญ 4 ลับหลังนินทา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นมิตรแท้ หรือมิตรด้วยใจจริง)

83 นักการเมืองควรมีคุณธรรมข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1 เผื่อแผ่แบ่งปัน 2 พูดจามีน้ำใจ 3 ช่วยเหลือเกื้อกูล 4 ซื่อสัตย์จริงใจ

ตอบ 4 ซื่อสัตย์จริงใจ

ผู้นำหรือนักการเมืองที่ดีควรตระหนักถึงความสุจริตจริงใจ 4 ประการ ดังนี้ 1 จริงต่อตนเอง คือ จริงต่อการกระทำและจริงต่อวาจา 2 จริงต่อผู้อื่น คือ มีความซื่อตรง ซื่อสัตย์ ไม่หลอกลวงกัน 3 จริงต่อศาสนา คือ ประพฤติปฏิบัติดี 4 จริงต่อประเทศชาติ คือ มุ่งทำงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม

84 การปกครองบ้านเมืองตามข้อใดจะทำให้ประชาชนมีความร่วมเย็นเป็นสุขอย่างแท้จริงได้

1 ประชาธิปไตย 2 อัตตาธิปไตย 3 โลกาธิปไตย 4 ธรรมาธิปไตย

ตอบ 4 ธรรมาธิปไตย

คนที่มีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี ต้องมีหลักอธิปไตย 3 ประการ คือ

1 อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ เว้นชั่ว ทำดี ด้วยความเคารพตน

2 โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ เว้นชั่ว ทำดี ด้วยความเคารพเสียงหมู่ชน

3 ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ ถือความถูกต้อง ดีงาม มีเหตุผล ชอบธรรม ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างแท้จริง

85 ในสังคมแห่งการเรียนรู้ การศึกษาในข้อใดสำคัญที่สุด

1 รู้กว้าง 2 รู้ลึก 3 รู้จริง 4 เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

ตอบ 4 เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสังคมที่มนุษย์มีความจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกปัจจุบัน ระบบการศึกษาต้องเป็นการศึกษาที่ผสมผสานทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต หรือที่เรียกว่าการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่สำคัญที่สุด

86 นักศึกษาพึงปฏิบัติตนอย่างไรในการอยู่ร่วมกันในสังคม

1 อ่านออกเขียนได้ มีอาชีพ

2 ดำรงตนสมฐานะความเป็นมนุษย์

3 มีคุณธรรมกำกับความรู้ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้

4 ประหยัดใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ตอบ 3 มีคุณธรรมกำกับความรู้ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้

ในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น นักศึกษาพึงปฏิบัติตนให้มีคุณธรรมกำกับความรู้ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมั่นคงปลอดภัย นอกจากนี้นักศึกษาต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ มีความเข้าใจผู้อื่น อันเป็นหลักพื้นฐานที่จะสามารถขจัดหรือลดความขัดแย้งและสร้างสันติภาพทั้งในระดับประเทศ รวมทั้งระดับประชาคมระหว่างประเทศสืบต่อไป

87 “พลศึกษา” ไม่ได้มุ่งเน้นข้อใด

1 การกินที่ถูกต้องตามสุขบัญญัติ 2 การเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง

3 การดูแลทางจิตใจ 4 การใช้อุปกรณ์กีฬาและการแข่งขันเอาชนะ

ตอบ 4 การใช้อุปกรณ์กีฬาและการแข่งขันเอาชนะ

พลศึกษา หมายรวมถึงสุขศึกษา สุขาภิบาล ความสะอาด การกินที่ถูกต้องตามสุขบัญญัติ ตลอดจนการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์กีฬาแพงๆเสมอไป และไม่จำเป็นต้องเล่นกีฬาแข่งขันเอาชนะกันอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้พลศึกษายังต้องดูแลทางจิตใจด้วย เพราะกายกับจิตต้องพัฒนาคู่กันไป

88 “ครูคนละอย่าง” หมายความตามข้อใด

1 คิดว่าตนเองวิเศษ ตนเองดีแล้ว 2 คิดว่าตนเองเก่งแล้วไม่ฟังใคร

3 มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง 4 ต่างคนต่างแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

ตอบ 4 ต่างคนต่างแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

“ครูคนละอย่าง” หรือ “เราเป็นครูกันคนละอย่าง” หมายถึง คนเรามีความรู้ไม่เท่ากัน เราจึงไม่ได้รู้อะไรไปทุกเรื่อง หรือวันนี้อาจรู้ทุกเรื่อง แต่วันพรุ่งนี้ก็เริ่มจะไม่รู้ เพราะโลกเรามีความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน เราจึงรู้บางเรื่องในเรื่องที่คนอื่นไม่รู้ ในขณะที่คนอื่นก็รู้หลายเรื่องที่เราไม่รู้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การรู้จักให้เกียรติคนอื่น ไม่ยกตนข่มท่าน และการตระหนักว่าคนเรานั้นต่างคนต่างสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ แนวความคิด และประสบการณ์ซึ่งกันและกันได้เสมอ

89 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการพัฒนาตนเอง

1 เพื่อความสำเร็จสูงสุดในชีวิต 2 เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนด

3 เพื่อเอาชนะบุคคลอื่น 4 เพื่อให้ตนเป็นที่พึ่งของตนและสังคม

ตอบ 3 เพื่อเอาชนะบุคคลอื่น

การพัฒนาตนเอง (Self Development) หมายถึง การนำเอาศักยภาพของตนที่มีอยู่มาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เจริญงอกงามขึ้นในทุกๆด้าน โดยการกระทำของตนเอง ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ตนเป็นที่พึ่งของตนและสังคม เพื่อให้การดำเนินงานต่างๆของตนเองบรรลุเป้าหมายที่กำหนด สามารถเอาชนะอุปสรรคและปัญหาต่างๆได้โดยตลอด เพื่อความสำเร็จสูงสุดและความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

90 คุณสมบัติทางใจข้อใดที่ทำให้ชีวิตประสบผลสำเร็จ

1 ความมีอุดมการณ์ 2 ความช่างสังเกต 3 ความเพียร 4 ความเข้มแข็ง

ตอบ 3 ความเพียร

อิทธิบาท 4 คือ หลักธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติประสบความสำเร็จในชีวิต และเจริญก้าวหน้าในกิจการงานต่างๆประกอบด้วย

1 ฉันทะ (มีใจรัก) คือ รักงาน พอใจจะทำ ทำด้วยใจรัก ต้องการทำให้สำเร็จอย่างดี ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆด้วยความกระตือรือร้น

2 วิริยะ (มีความเพียร) คือ สู้งาน ขยันหมั่นกระทำด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย

3 จิตตะ (มีความฝักใฝ่) คือ ใส่ใจงาน เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำด้วยความอุทิศตัวและใจ

4 วิมังสา (ใช้ปัญญาสอบสวน) คือ ทำงานด้วยปัญญา ใคร่ครวญหาเหตุผล ตรวจสอบข้อบกพร่อง รู้จักทดลอง วางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง

91 คนตรงต่อเวลาตรงกับจริยธรรมข้อใด

1 อุปนิสัยที่ดี

2 ความมีวินัย

3 ความมีมารยาท

4 ความรับผิดชอบ

ตอบ 2 ความมีวินัย ดูคำอธิบายข้อ 16 ประกอบ

92 การฝึกให้เป็นคนเสมอต้นเสมอปลายในการทำงานควรปฏิบัติอย่างไร

1 กำจัดความใจร้อน หรือในเร็วด่วนได้

2 ทำงานช้าแต่สม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา

3 นึกถึงวัตถุประสงค์และผลของงาน

4 รักษามาตรฐานและคุณค่าของตนเอง

ตอบ 2 ทำงานช้าแต่สม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา

การฝึกให้เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย มีดังนี้ 1 ต้องไม่เป็นคนใจร้อนหรือทำอะไรเร่งรีบเกินไป 2 ในการทำงาน ทำงานให้ช้าลงแต่สม่ำเสมอและตรงต่อเวลา 3 หัดเป็นคนใจเย็น รู้จักใคร่ครวญ คิดหน้าคิดหลัง คิดอย่างสุขุม และทำให้ดีที่สุด 4 ทำงานให้มีวัตถุประสงค์และนึกถึงวัตถุประสงค์บ่อยๆ 5 หัดทำอะไรให้เป็นกิจวัตรประจำวัน

93 ความไต่ตรองแสดงออกอย่างไร

1 รู้จักวิเคราะห์ 2 รู้จักสังเคราะห์

3 การใคร่ครวญ ค้นหาข้อเท็จจริง 4 การสรุปหลักการเป็นของตนเอง

ตอบ 3 การใคร่ครวญ ค้นหาข้อเท็จจริง

ความไตร่ตรอง หมายถึง การคิดทบทวนประเมินผล คิดให้ลึกซึ้ง คิดใคร่ครวญเพื่อค้นหาว่าอะไรคือข้อเท็จจริง อะไรคือสิ่งถูกต้อง โดยอาศัยสติปัญญาและความรู้พื้นฐานต่างๆมาประกอบประมวลกันแล้วค่อยตัดสินใจ ซึ่งจะทำให้บุคคลรู้จักเลือกเชื่อสิ่งต่างๆด้วยเหตุผล ไม่ใช่เชื่อตามที่เขาว่ากัน หรือเชื่อตามหนังสือไปทุกอย่าง

94 การฝึกให้เป็นคนละเอียดต้องมีคุณสมบัติข้อใด

1 สติ 2 ปัญญา 3 สมาธิ 4 ขันติ

ตอบ 3 สมาธิ

การฝึกให้เป็นคนละเอียด คือ คิดในเชิงรายละเอียดที่มีลักษณะเกาะติดประสานและต่อเนื่องนำไปสู่ความลุ่มลึก จำเป็นต้องอาศัยสมาธิเป็นหลักเพื่อให้จิตใจจดจ่ออยู่กับที่กำลังกระทำ จนเกิดความตั่งมั่นรู้ชัดในสิ่งนั้นๆ ซึ่งย่อมจะทำให้การทำงานได้ผลดี ไม่ผิดพลาดแม้แต่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ

95 ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตต้องปฏิบัติอย่างไร

1 เรียกสติตลอดเวลา 2 ใช้ปัญญาช่วย ไม่มองผ่านสิ่งใด

3 ดูความแตกต่างคิดเปรียบเทียบสิ่งที่พบเห็น 4 หมั่นจดจำอดีตและปัจจุบัน

ตอบ 2 ใช้ปัญญาช่วย ไม่มองผ่านสิ่งใด

วิธีฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตมีดังนี้

1 พยายามดูสิ่งต่างๆอย่างถี่ถ้วน ไม่มองผ่านสิ่งใด โดยใช้ปัญญาช่วยดูเพื่อให้เห็นสิ่งนั้นๆตามที่เป็นจริง ไม่ใช่ตามที่ดูเหมือนจะเห็นหรือตามที่คิดเอาเอง

2 พยายามทำให้การสังเกตของตนถูกต้อง โดยจะต้องทำเสมือนว่าจะต้องถูกใครสอบถามเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกต และพร้อมที่จะตอบคำถาม

96 “การคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง” หมายความว่าอย่างไร

1 ไม่คิดเข้าข้างฝ่ายใดก่อน 2 ทำใจให้นิ่งๆมีสมาธิ

3 ไม่มีอคติลำเอียง 4 การคิดด้วยหลักวิชาการ

ตอบ 3 ไม่มีอคติลำเอียง

หลักของคุณธรรมประการหนึ่ง ได้แก่ การคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง หมายถึง ก่อนที่จะพูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือจะทำสิ่งใดต้องปฏิบัติตนดังนี้

1 หยุดคิดก่อน เพื่อรวบรวมสติให้มั่น 2 ไม่โอนเอน

3 ให้จิตสว่าง มองอะไรให้เป็นกลาง ไม่มีอคติลำเอียง 4 ต้องฝึกฝนจนชำนาญ

97 การที่นักเรียนแอบเจียดเงินค่าเทอมไปซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม

คำตอบข้อใดเป็นเหตุผลที่เหมาะสมที่สุด

1 เพราะเบียดเบียนตนเองและบิดามารดา 2 เพราะเงินนั้นเป็นหยาดเหงื่อของบิดามารดา

3 เพราะใช้เงินไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ 4 เพราะเป็นการใช้เงินเกินฐานะของตนเอง

ตอบ 1 เพราะเบียดเบียนตนเองและบิดามารดา

การกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสม เพราะเป็นการกระทำที่เบียดเบียนตนเองและบิดามารดา ส่งผลให้ตนเองและบิดามารดาต้องเดือดร้อนในภายหลัง เนื่องจากมีเงินไม่พอจ่ายค่าเทอมจึงเป็นการกระทำที่ตรงกับสำนวนไทยว่า “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” หมายถึง เห็นคนร่ำรวยทำอะไรใหญ่โต ตัวเองไม่ได้ร่ำรวยเหมือนเขา แต่อยากทำตามเขา เช่น เห็นเขามีเสื้อผ้าแบรนด์เนมก็อยากใส่บ้าง เห็นเขามีมือถือรุ่นใหม่ก็อยากมีบ้าง ทั้งๆที่ตัวเองมีรายได้น้อย จึงต้องไปกู้หรือหารายได้ในทางไม่สุจริต จนสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและคนใกล้ชิด

98 สมศักดิ์ต้องขายที่นาหลายแปลงเพื่อส่งเงินให้ลูกเรียนโรงเรียนนานาชาติ เพราะกลัวลูกจะไม่ทัดเทียมเพื่อนบ้าน การกระทำของสมศักดิ์ตรงกับสำนวนใด

1 กันไว้ดีกว่าแก้ 2 ขายผ้าเอาหน้ารอด 3 เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง 4 แมงเม่าบินเข้ากองไฟ

ตอบ 3 เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง ดูคำอธิบายข้อ 97 ประกอบ

99 ศรรามเรียนคณะบริหารธุรกิจมาได้ 2 ภาคเรียน เกิดความท้อแท้อยากเลิกเรียน แต่สงสารแม่ที่อยากเห็นเขารับปริญญา นักศึกษาคิดว่าคุณธรรมในข้อใดที่จะช่วยกระตุ้นให้ศรรามหันกลับมามุมานะเรียนต่อจนสำเร็จ

1 ความกตัญญู 2 ความรอบคอบ 3 ความขยัน 4 ความเมตตา

ตอบ 1 ความกตัญญู

คุณธรรมชุดปัจจัยหล่อเลี้ยงที่ทำให้การทำงานต่างๆดำเนินต่อไปได้ด้วยดี ประกอบด้วย 1 ฉันทะ 2 สัจจะ

3 ความรับผิดชอบ 4 ความสำนึกในหน้าที่ 5 ความกตัญญู (ดูคำอธิบายข้อ 26 ประกอบ)

100 ข้อใดเป็นการใช้หลักการประชาธิปไตย

1 รับฟังเสียงส่วนน้อย 2 ทำตามใจที่ตนประสงค์

3 ใช้เหตุผลเพื่อยุติความขัดแย้ง 4 ลงโทษผู้ทำผิดอย่างรุนแรง

ตอบ 3 ใช้เหตุผลเพื่อยุติความขัดแย้ง

หลักการประชาธิปไตยที่สำคัญ ได้แก่

1 หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของ มีอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ

2 หลักความเสมอภาค หมายถึง ทุกคนที่เกิดมาเท่าเทียมกันในฐานะเป็นประชากรของรัฐ

3 หลักนิติธรรม หมายถึง ใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน

4 หลักเหตุผล หมายถึง ใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินใจหรือยุติความขัดแย้งรุยแรงในสังคม

5 หลักการถือเสียงข้างมาก หมายถึง การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่

6 หลักการประนีประนอม หมายถึง ลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบา ร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ

101 ใครปฏิบัติตนตามหลักวิถีประชาธิปไตย

1 เอกทิ้งขยะบนถนน

2 ก้อยใช้ความรู้สึกตัดสินปัญหา

3 เจตกล่าวคำทักทายว่า “สวัสดี”

4 เนตรถือว่าความคิดของตนถูกเสมอ

ตอบ 3 เจตกล่าวคำทักทายว่า “สวัสดี”

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ 1 การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล 2 การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น 3 การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดี 4 การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก 5 การเคารพซึ่งกันและกันทั้งทางกายและวาจา ตลอดจนสิทธิของผู้อื่น และกฎระเบียบของสังคม 6 การมีจิตสาธารณะ คือ เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ

102 การแผ่เมตตาหมายถึงข้อใด

1 ระลึกถึงผู้มีพระคุณ 2 อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ

3 ระลึกถึงพระรัตนตรัย 4 อธิษฐานให้มนุษย์และสัตว์มีความสุข

ตอบ 4 อธิษฐานให้มนุษย์และสัตว์มีความสุข

การแผ่เมตตา หมายถึง การอธิษฐานหรือส่งกระแสจิตของตนไปสู่ผู้อื่นทั้งที่เป็นเทวดา มนุษย์ และสัตว์ด้วยความหวังดีที่จะให้เขามีความสุข ได้รับความสมหวังในชีวิตเป็นการแสดงออกซึ่งน้ำใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมของผู้แผ่เมตตา ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นประจำมีจิตใจอ่อนโยน เยือกเย็นลงได้ และทำให้มองเห็นว่าการที่มนุษย์หวังดีต่อกันนั้นเป็นทางนำให้โลกเกิดสันติสุขได้

103 การระงับความโกรธทำได้อย่างไร

1 เก็บความโกรธไว้ในใจ 2 ละวางทำจิตใจให้สบาย

3 พูดระบายความรู้สึกออกมา 4 แสดงความรู้สึกทางสีหน้า

ตอบ ละวางทำจิตใจให้สบาย ดูคำอธิบายข้อ 28 ประกอบ

104 ข้อใดเป็นการปฏิบัติเพื่อส่วนรวม

1 ขุดลอกคูคลอง 2 ปลูกต้นไม้ในบ้าน

3 หารายได้มาเลี้ยงครอบครัว 4 อบรมลูกหลานให้เป็นคนดี

ตอบ 1 ขุดลอกคูคลอง ดูคำอธิบายข้อ 70 ประกอบ

105 ข้อใดแสดงถึงความซื่อสัตย์สุจริต

1 ทำตามคำพูด 2 ทำตามที่ตนคิดว่าดี 3 ทำผิดแล้วยอมรับผิด 4 ทำทุกอย่างตรงไปตรงมา

ตอบ 4 ทำทุกอย่างตรงไปตรงมา

ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ทำทุกอย่างตรงไปตรงมา มีความซื่อตรงจริงใจทั้งทางความคิด คำพูดและการกระทำ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น จริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง

106 ควรแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่เมื่อใด

1 เมื่อท่านชรา 2 เมื่อมีเวลาว่าง 3 เมื่อถึงวันสำคัญ 4 เวลาใดก็ได้

ตอบ 4 เวลาใดก็ได้ ดูคำอธิบายข้อ 26 ประกอบ

107 ข้อใดเป็นการทำดีทางกาย

1 ไม่คิดทำร้ายต่อผู้อื่น 2 ให้อภัยผู้ที่ทำผิดพลาด

3 พูดให้เกิดความสามัคคี 4 ช่วยพัฒนาชุมชนของตน

ตอบ 4 ช่วยพัฒนาชุมชนของตน

สุจริต แปลว่า การประพฤติดีงาม คือ มีความประพฤติดีประพฤติชอบ 3 ประการดังนี้

1 กายสุจริต คือ มีความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง หรือประพฤติชอบด้วยกาย

2 วจีสุจริต คือ มีความสุจริตทางวาจา พูดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง หรือประพฤติชอบด้วยวาจา

3 มโนสุจริต คือ มีความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง หรือประพฤติชอบด้วยใจ

108 คุณธรรมข้อใดทำให้ผู้ปฏิบัติประสบความสำเร็จ มีความเจริญ

1 อิทธิบาท 4 2 สังคหวัตถุ 4 3 พรหมวิหาร 4 4 ฆราวาสธรรม 4

ตอบ 1 อิทธิบาท 4 ดูคำอธิบายข้อ 90 ประกอบ

109 การฝึกตนด้วยการข่มใจ ปรับปรุงตนให้เจริญด้วยสติปัญญา เป็นการปฏิบัติตามคุณธรรมข้อใด

1 สัจจะ 2 ทมะ 3 ขันติ 4 จาคะ

ตอบ 2 ทมะ ดูคำอธิบายข้อ 77 ประกอบ

110 หลักธรรมใดเหมาะกับวัยผู้ใหญ่ เช่น ผู้นำ บิดามารดา ผู้บริหาร

1 อริยสัจ 4 2 สังคหวัตถุ 4 3 อิทธิบาท 4 4 พรหมวิหาร 4

ตอบ 4 พรหมวิหาร 4 ดูคำอธิบายข้อ 24 ประกอบ

111 ศาสนาพุทธเน้นการสอนในข้อใด

1 กฎแห่งกรรม

2 ความทุกข์

3 การดับทุกข์

4 ทุกข์และการดับทุกข์

ตอบ 4 ทุกข์และการดับทุกข์

ศาสนาพุทธมุ่งเน้นการสอนเรื่องการพ้นทุกข์เน้นสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง โดยสัจธรรมที่เป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 ได้แก่ 1 ทุกข์ คือ ปัญหา 2 สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหาหรือทุกข์ 3 นิโรธ คือ ความดับทุกข์หรือความพ้นทุกข์ 4 มรรค คือ ทางแก้ทุกข์หรือวิธีการดับทุกข์

112 การรักษาศีลอย่างมีสติ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร

1 ศิลปะในการมีสติ 2 สติสัมปชัญญะ 3 สติปัญญา 4 สติ โสรัจจะ

ตอบ 2 สติสัมปชัญญะ

การรักษาศีลอย่างมีสติ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สติสัมปชัญญะ เพราะคำว่าศีลในความหมายหนึ่ง แปลว่า มีสติดี (ความระลึกได้ในการกระทำ การพูด การคิด) และมีสัมปชัญญะดี (ความรู้ตัวที่เป็นไปในปัจจุบันในขณะที่กำลังทำ พูด คิด) ซึ่งธรรมทั้ง 2 ประการนี้ มีส่วนเกื้อกูลอย่างมากต่อการพัฒนาจริยธรรมและคุณธรรม หรือการทำความดีทุกอย่าง โดยสามารถที่จะรักษาศีลได้อย่างมีสติและรักษาวินัยคฤหัสถ์ได้อย่างบริบูรณ์หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับสติและสัมปชัญญะ

113 เมื่อความแตกแยกเกิดขึ้นในสังคมใด บุคคลมักจะกล่าวอ้างเปรียบเทียบกับเรื่องเล่าเรื่องใด

1 พันท้ายนรสิงห์ 2 พระอภัยมณี 3 กษัตริย์ลิจฉวี 4 ขุนช้างขุนแผน

ตอบ 3 กษัตริย์ลิจฉวี

กษัตริย์ลิจฉวี เป็นเรื่องเล่าที่อยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์ของนายชิต บุรทัตกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโทษของการแตกความสามัคคีกันระหว่างเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี จนทำให้สังคมแตกแยก แบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่ายและนำไปสู่การเสียแคว้นวัชชีให้แก่พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ครองแคว้นมคธในที่สุด

114 อะไรไม่ใช่สิ่งที่ขัดขวางพัฒนาจริยธรรม

1 ตัณหา 2 มานะ 3 ทิฐิ 4 สติ

ตอบ 4 สติ

สิ่งที่มาขัดขวางการพัฒนาจริยธรรมและคุณธรรม ได้แก่

1 ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก ซึ่งได้มาจากสิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

2 มานะ หมายถึง ความถือตัวหรือการเปรียบเทียบตนกับผู้อื่นว่าตัวเองเหนือกว่า ด้อยกว่าหรือเสมอกับผู้อื่น

3 ทิฐิ หมายถึง ความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แบ่งออกเป็น สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ เห็นถูกต้อง และมิจฉาทิฐิ คือ ความเห็นผิดพลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับความจริง ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ปิดกั้นความดีงามของมนุษย์ (ดูคำอธิบายข้อ 112 ประกอบ)

115 ข้อใดไม่ใช่วิธีใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

1 ไม่บริโภคเมื่อจำเป็น 2 ใช้สิ่งประหยัดพลังงาน

3 นำของเก่าที่ใช้ได้มาใช้ใหม่ 4 ใช้ของดีมีราคาที่ทนนาน

ตอบ 4 ใช้ของดีมีราคาที่ทนนาน ดูคำอธิบายข้อ 42 ประกอบ

116 ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้อง

1 การสร้างศรัทธาในงานที่ทำ เริ่มต้นที่ใจ 2 เมื่อใจศรัทธาแล้วจะเกิดฉันทะ (ความพอใจ)

3 ฉันทะจะช่วยให้กระตือรือร้นทำงาน 4 ความศรัทธาทำให้ใจอ่อนเชื่อง่าย

ตอบ 4 ความศรัทธาทำให้ใจอ่อนเชื่อง่าย ดูคำอธิบายข้อ 14 และ 90 ประกอบ

117 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ที่เกิดจากการรักษาความจริงใจต่อผู้อื่น

1 เกิดความไว้วางใจ 2 ได้รับความร่วมมือ 3 มีความขยันอดทน 4 ทำงานสำเร็จราบรื่น

ตอบ 3 มีความขยันอดทน

การรักษาความจริงใจต่อผู้อื่น คือ มีความซื่อสัตย์ บริสุทธิ์ใจ ไม่โกหกหลอกลวงผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลนั้นประสบความสำเร็จในภารกิจต่างๆ ตลอดจนได้รับความเชื่อถือความร่วมมือ และความไว้วางใจจากผู้อื่น ส่วนการรักษาความจริงใจต่อตัวเอง คือ มีความซื่อตรงไม่หลอกตัวเอง สามารถประเมินค่าตัวเองได้ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลนั้นทำงานได้ตรงตามความสามารถของตัวเอง

118 การกระทำของใครแสดงว่ามีวินัยในตนเอง

1 ส้มไม่ยอมจ่ายค่าเก็บขยะของหมู่บ้าน 2 กล้วยอ่านตำราก่อนเรียนเสมอ

3 อ้อยขัยรถฝ่าไฟแดง 4 เงาะชอบตกปลาในบริเวณวัด

ตอบ 2 กล้วยอ่านตำราก่อนเรียนเสมอ ดูคำอธิบายข้อ 16 ประกอบ

119 คุณธรรมข้อใดที่ทำให้นารีต้องคิดทบทวนทุกครั้งที่จะซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่

1 อดทน 2 ฉันทะ 3 มีวินัย 4 สัจจะ

ตอบ 1 อดทน

อดทนต่ออำนาจกิเลส คือ ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ซึ่งเป็นการอดทนต่ออารมณ์อันน่าใคร่น่าเพลิดเพลินใจ อดทนต่อสิ่งที่เราอยากทำแต่ไม่สมควรทำ ในที่นี้มุ่งหมายถึงการไม่เอาแต่ใจตัว ไม่ยอมปล่อยตัวตามกระแสโลก และความเพลิดเพลิน เช่น ความสนุกสนาน การเที่ยวเตร่ การใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อต่างๆ หรือการได้ผลประโยชน์ในทางที่ไม่ควร เป็นต้น

120 คุณธรรมอันดับแรกที่คอยเหนี่ยวรั้ง ไม่ให้นักศึกษาประพฤติตนออกนอกลู่นอกทาง คือข้อใด

1 มีสติ 2 อดกลั้น 3 รอบคอบ 4 มีสัจจะ

ตอบ 1 มีสติ

คุณธรรมชุดปัจจัยเหนี่ยวรั้งไม่ให้บุคคลประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ไม่ดีแต่จะคอยส่งเสริมให้การกระทำเป็นไปในทางที่ดีและรอบคอบ ประกอบด้วย 1 ความมีสติ 2 ความรอบคอบ 3 ความตั้งจิตให้ดี

Advertisement