การสอบไล่ภาค   1  ปีการศึกษา 2554

 

Advertisement

ข้อสอบกระบวนวิชา  RAM1000 ความรู้คู่คุณธรรม

 

คำสั่ง     ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

 

  1. “ความหลง ความสงสัย วนเวียนพัวพันด้วยความโง่” มีความหมายสอดคล้องกับข้อใด

 

  1. โลภะ

 

  1. โทสะ

 

  1. โมหะ

 

  1. ราคะ

 

ตอบ 3 (คำบรรยาย) อกุศลมูล หมายถึง รากเหง้าหรือเหตุแห่งความชั่ว มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้

 

  1. โลภะ (ความอยากได้) คือ ความเป็นผู้มีความทะยานอยาก อยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน

 

  1. โทสะ (การคิดประทุษร้าย) คือ ความโกรธหรือไม่พอใจอย่างแรง ผูกพยาบาท คิดร้ายต่อผู้อื่น

 

  1. โมหะ (ความหลง) คือ ความประมาท ความหลง ความสงสัย ความโง่งมงาย มัวเมาในอบายมุขอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง

 

  1. หลักคุณธรรมพื้นฐานของความสำเร็จคือข้อใด

 

  1. มีความตั้งใจ

 

  1. รู้จักใช้ความคิด

 

  1. สวดมนต์ไหว้พระ

 

  1. รู้จักเมตตา

 

ตอบ 1 หน้า 356, 135 (H), 149 (H), 216 (H) อิทธิบาท 4 คือ คุณธรรมที่เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต การทำงาน และการศึกษา ประกอบด้วย

 

  1. ฉันทะ (มีใจรัก) คือ รักงาน พอใจจะทำ ทำด้วยใจรัก ต้องการทำให้เสร็จอย่างดี ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจที่ดีอันดับแรกในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้น

 

  1. วิริยะ (มีความเพียร) คือ สู้งาน ขยันหมั่นกระทำด้วยความพยายาม มีความตั้งใจ เข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย

 

  1. จิตตะ (มีความฝักใฝ่) คือ ใส่ใจงาน เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำด้วยความอุทิศตัวและใจ

 

  1. วิมังสา (ใช้ปัญญาสอบสวน) คือ ทำงานด้วยปัญญา รู้จักไตร่ตรองพิจารณา ใคร่ครวญหาเหตุผล ตรวจสอบข้อบกพร่อง รู้จักทดลอง วางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง

 

  1. “ไม่ทะเยอทะยานอย่างบ้าๆ” หมายความตามข้อใด

 

  1. ความเข้มแข็ง

 

  1. เอาชนะอุปสรรค

 

  1. ระงับความฟุ้งซ่าน

 

  1. ดีใจแต่พอดี

 

ตอบ 3 (คำ บรรยาย) คำว่า “ไม่ทะเยอทะยานอย่างบ้าๆ” หมายถึง ให้รู้จักสงบใจ และระงับความฟุ้งซ่านหวั่นไหวในใจให้ได้ ในเมื่อมีเหตุที่ทำให้เกิดความทะเยอทะยานอยากจนเกินพอดี กลายเป็นกิเลสที่ทำให้คนเราอยากได้อยากมี ไม่มีความพอดีในชีวิต ก็รู้จักระงับความอยากความฟุ้งซ่านนั้น เพื่อเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความยั้งคิดได้

 

  1. วิชิตขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 80 กิโลเมตร จึงพุ่งชนไหล่ทางบนทางด่วน บ่งชี้พฤติกรรมที่ไม่พึงปฏิบัติข้อใด

 

  1. หลงตัว

 

  1. ลืมตัว

 

  1. อวดดี

 

  1. ประมาท

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ความ ประมาท หมายถึง การขาดความรอบคอบ ขาดความระมัดระวังเพราะทะนงตน โดยเฉพาะผู้ที่ชอบขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือผู้ที่ดื่มสุราแล้วเมาก็จะทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ ขาดความระมัดระวัง ซึ่งจะทำให้ประสบอุบัติเหตุ เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

 

  1. ผู้บริหารและนักการเมืองพึงมีคุณธรรมข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

 

  1. ไม่ริษยา

 

  1. ไม่คดโกง

 

  1. ไม่เกียจคร้าน

 

  1. ไม่ผิดศีลธรรม

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) คุณธรรม สำคัญที่สุดที่ผู้บริหารและนักการเมืองพึงมี คือ ความเป็นผู้มีศีลธรรมซึ่งจะส่งผลให้บุคคลผู้นั้นมีความประพฤติ การกระทำ และความคิดที่ถูกต้อง สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ รู้จักเว้นในสิ่งที่ควรเว้น กระทำในสิ่งที่ควรกระทำ โดยมีสำนึกที่มุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก

 

  1. คนช่างสังเกตมักฝึกตนตามข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

 

  1. ค้นหาคำตอบจากตำรา

 

  1. ฟังผู้รู้บรรยาย

 

  1. ค้นคว้าจากพจนานุกรม

 

  1. ซักถามปัญหา

 

ตอบ 4 หน้า 230, 22 (H), (คำบรรยาย) วิธีฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตมีดังนี้

 

  1. พยายาม ดูสิ่งต่างๆ อย่างถี่ถ้วน ไม่มองผ่านสิ่งใด โดยใช้ปัญญาช่วยดูเพื่อให้เห็นสิ่งนั้นๆ ตามที่เป็นจริง และต้องหมั่นเป็นคนช่างสงสัย ช่างซักถามปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ตนได้พบเจอ

 

  1. พยายามทำให้การสังเกตของตนถูกต้อง โดยจะต้องทำเสมือนว่าจะต้องถูกใครสอบถามเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตและพร้อมที่จะตอบคำถาม

 

  1. ข้อใดบ่งชี้ความเป็นผู้มีคุณธรรมอย่างชัดเจนที่สุด

 

  1. พิจารณาใคร่ครวญ

 

  1. ปฏิบัติดีอยู่เสมอ

 

  1. เป็นพลเมืองดี

 

  1. ทราบข่าวสารของบ้านเมือง

 

ตอบ 2 หน้า 229 (H), (คำบรรยาย) คุณธรรม (Virtue) คือ ความประพฤติปฏิบัติตนดีอยู่เสมอทั้งทางกาย วาจา และจิตใจจนเคยชินเป็นนิสัย หรือหมายถึงการประพฤติปฏิบัติด้านกาย วาจา ใจ ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติหรือผู้อื่นไม่เดือดร้อน และสังคมมีความสุข

 

  1. นักศึกษาจะมีส่วนร่วมเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศได้ตามข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

 

  1. รู้ว่าตนเป็นคนไทย

 

  1. รับประทานข้าวหมดจาน

 

  1. มิให้มีนิสัยมักง่าย

 

  1. รักชาติ ศาสนา กษัตริย์

 

ตอบ 4 หน้า 258, 275 – 276, (คำบรรยาย) แนว ทางปฏิบัติในการมีส่วนร่วมเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศที่สำคัญที่สุด คือ มีความรักชาติ ศาสนา กษัตริย์ ซึ่งหมายถึง มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยยอมสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติมีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ รักวินัย ซื่อตรงต่อหน้าที่ ช่วยทะนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ให้ความร่วมมือเผยแพร่และเทิดทูนเกียรติคุณของชาติ

 

  1. การอยู่ร่วมกัน เห็นอกเห็นใจกัน เป็นหลักของพลเมืองดีที่พึงเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่สุดตามข้อใด

 

  1. นิ้วของเรายาวไม่เท่ากัน

 

  1. การเรียกชื่อนิ้วไม่เหมือนกัน

 

  1. นิ้วแต่ละนิ้วย่อมมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน

 

  1. ไม่สามารถทำให้นิ้วเท่ากันและทำหน้าที่เท่ากัน

 

ตอบ 1 (คำบรรยาย) หลัก ของพลเมืองดีประการหนึ่ง คือ บุคคลพึงปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งพวกเขาพวกเรา เพราะถึงแม้ว่านิ้วมือของคนเราจะยาวไม่เท่ากันหรือทุกคนต่างมีความแตกต่าง กัน มีฐานะความเป็นอยู่ไม่เท่าเทียมกัน แต่ก็ต้องอยู่ร่วมกันด้วยความเห็นอกเห็นใจกัน และปฏิบัติต่อกันด้วยความเป็นธรรมอย่างเสมอภาค ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีความสุข

 

  1. คุณธรรมข้อใดเสริมสร้างความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติได้ในภาวะวิกฤต

 

  1. ความสามัคคี

 

  1. การอยู่ร่วมกัน

 

  1. เมตตาต่อผู้มีฐานะต่ำกว่า

 

  1. รู้สิทธิหน้าที่ของตนเองและต่อเพื่อนร่วมชาติ

 

ตอบ 1 หน้า 123 (H) ความ สามัคคี ถือเป็นคุณธรรมที่ช่วยเสริมสร้างความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติได้ในภาวะ วิกฤต ดังพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า “…คราวใดที่ชาวไทยมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อประเทศชาติแล้ว ชาติก็ได้รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความสุขความเจริญ แต่คราวใดที่ขาดความสามัคคีกลมเกลียวกัน ก็ต้องประสบเคราะห์กรรมกันทั้งชาติ…”

 

  1. ทุกศาสนามีคำสอนที่สอดคล้องตรงกันตามข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

 

  1. จิตใจใสสะอาด

 

  1. ปฏิบัติตามหลักศีลธรรม

 

  1. มีขันติธรรม

 

  1. มีอุปนิสัยงดงาม

 

ตอบ 2 หน้า 168, 159 (H), (คำบรรยาย) ศาสนา ทุกศาสนาต่างมีคำสั่งสอนที่แตกต่างกันไปในรายละเอียด แต่มีสิ่งที่เหมือนกันคือ ทุกศาสนาล้วนมุ่งอบรมสั่งสอนให้บุคคลทุกคนเป็นคนดีมีคุณธรรมและมีความเมตตา กรุณาเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยมีคำสอนที่สอดคล้องตรงกันเป็นสำคัญที่สุดก็คือ สอนให้บุคคลปฏิบัติตามหลักศีลธรรมของแต่ละศาสนา

 

  1. สมถะ สันโดษ เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องตามข้อใด

 

  1. พอใจในสิ่งที่เรียบง่าย

 

  1. ได้ทำ ได้ปฏิบัติ

 

  1. ได้เกิดความเข้าใจ

 

  1. ได้มีชีวิตที่เจริญและสุขสงบ

 

ตอบ 1 หน้า 137 (H) พระพุทธเจ้าได้แสดงมงคล 38 ประการไว้ข้อหนึ่งว่า ให้มีความสันโดษ ซึ่งหมายถึง การพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ พอใจในสิ่งที่เรียบง่าย หรือเป็นอยู่อย่างสมถะ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

 

  1. ยถาลาภสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามมีตามเกิด มีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น

 

  1. ยถาพลสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามกำลัง มีกำลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น

 

  1. ยถาสารูปสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามควรในรูปลักษณ์ของตนเอง และฐานะที่เป็นอยู่

 

  1. นักกีฬาพิการได้รับเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก บ่งชี้ความมีคุณธรรมข้อใด

 

  1. ความตั้งใจ

 

  1. ความคิด

 

  1. ความเข้มแข็ง

 

  1. ความไม่พ่ายแพ้แก่ชีวิต

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ความ ไม่พ่ายแพ้แก่ชีวิต หมายถึง การไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อโชคชะตาหรือความบกพร่องทางร่างกาย และพยายามยืนหยัดลุกขึ้นต่อสู้ชีวิต โดยมีความมุ่งมั่นมานะพยายาม ไม่ท้อแท้หรือไม่ท้อถอย เพื่อพิสูจน์ตัวเอง หรือเพื่อให้ได้รับผลสำเร็จตามที่ตนได้ตั้งเป้าหมายไว้

 

  1. นิโรธ หมายความตามข้อใด

 

  1. ความพลัดพราก

 

  1. ดิ้นรนทะยานอยาก

 

  1. ดับตัณหา

 

  1. ดำริชอบ

 

ตอบ 3 หน้า 170-171, 176, 672-673, 75 (H) อริยสัจ 4 หมาย ถึง ความจริงหรือสัจธรรมอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งพุทธศาสนาได้มุ่งเน้นถึงการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยปัญญาและเหตุผลอย่างเป็นระบบ และเป็นขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้

 

  1. ทุกข์ คือ ปัญหาที่ทำให้บุคคลรู้สึกไม่สบายกายหรือไม่สบายใจ อันเป็นรูปธรรมที่ทุกคนควรกำหนดรู้ตามความเป็นจริง

 

  1. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหาหรือบ่อเกิดแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความอยาก (โลภะ โทสะ โมหะ) ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรละเลิกหรือละทิ้ง

 

  1. นิโรธ คือ หนทางในการดับทุกข์ (ดับตัณหา) หรือความพ้นทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรทำให้รู้แจ้ง

 

  1. มรรค คือ ทางแก้ทุกข์หรือวิธีการดับทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรนำไปปฏิบัติให้เกิดหรือเจริญขึ้น

 

  1. เมื่อถูกนินทาว่าร้าย ควรยึดหลักคุณธรรมข้อใด

 

  1. วิริยะ

 

  1. ขันติ

 

  1. จาคะ

 

  1. ทาน

 

ตอบ 2 หน้า 384-385, 137 (H), 193 (H) หลักขันติ (ความอดทน) แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

 

  1. ความอดทนต่อความลำบากตรากตรำ คือ อดทนต่อการทำหน้าที่การงาน ไม่ย่อท้อหรือเกียจคร้าน

 

  1. ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือ อดทนต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือ ทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง

 

  1. ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือ อดทนต่อการที่คนอื่นทำให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจานินทาว่าร้าย ต่อว่าให้เจ็บช้ำใจ

 

  1. ความอดทนต่ออำนาจกิเลศ คือ อดทนต่อความอยากต่างๆ ที่เป็นกิเลศทั้งทางใจและทางกาย

 

  1. อวิโรธนํ ในทศพิธราชธรรม หมายความตามข้อใด

 

  1. การสละ

 

  1. ความไม่โกรธ

 

  1. ความไม่ผิดคำสอน

 

  1. ความไม่เบียดเบียน

 

ตอบ 3 หน้า 96-99 (H), 108-109 (H) หลักทศพิธราชธรรม 10 ประกอบด้วย

 

  1. ทานัง (ทาน) คือ การให้ปันช่วยประชา

 

  1. สีลัง (ศีล) คือ รักษาความสุจริต

 

  1. ปะริจจาคัง (บริจาค) คือ บำเพ็ญกิจด้วยความเสียสละ

 

  1. อาชชะวัง (ความซื่อตรง) คือ ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง

 

  1. มัททะวัง (ความอ่อนโยน) คือ ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงธรรม

 

  1. ตะปัง (ความพากเพียร) คือ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส

 

  1. อักโกธัง (ไม่โกรธ) คือ ถือเหตุผลไม่โกรธา

 

  1. อวิหิงสา (ไม่เบียดเบียน) คือ มีอหิงสานำร่มเย็น

 

  1. ขันติ (อดทน) คือ ชำนะเข็ญด้วยขันติ

 

  1. อวิโรธนัง (อวิโรธนํ – ไม่มีอะไรพิรุธ ไม่ผิดไปจากคำสอน) คือ มิปฏิบัติคลาดจากธรรม

 

  1. หัวหน้าส่วนราชการนำเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องตามคุณธรรมข้อใด

 

  1. ใช้ลาภยศในทางที่ถูก

 

  1. ถึงคราวจะเสียก็ไม่เสียใจ

 

  1. รักษาความดี

 

  1. รู้โทษของความผิด

 

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การ ใช้ลาภยศในทางที่ถูก หมายถึง เมื่อได้ลาภยศมาแล้วก็ไม่หลงใหลในลาภยศที่ตนได้มา ไม่หลงตัวลืมตัว ใช้ลาภยศและตำแหน่งหน้าที่ในทางที่ถูกเพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและผู้อื่น ไม่ใช้ลาภยศนั้นในทางที่เสียหาย หรือใช้ทรัพย์และอำนาจไปในทางคุกคามข่มเหงรังแกผู้อื่น ตลอดจนสร้างความเดือดร้อนเบียดเบียน ทำความเสียหายแก่โลกและชีวิตได้

 

  1. ความสุขที่แท้คือหลักคิดตามข้อใด

 

  1. จะมีความสุขดีไม่ช้านัก

 

  1. จะมีความสุขยิ่งกว่าผู้อื่นออกจะยาก

 

  1. เชื่อว่าคนอื่นๆ เป็นสุขยิ่งกว่าที่เขาเป็นจริงๆ

 

  1. สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี

 

ตอบ 4 หน้า 171 (H) พุทธศาสนาได้สอนถึงธรรมที่จะนำไปสู่ความสุขที่แท้จริงไว้ดังนี้

 

  1. สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี 2. การไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก 3. ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง คือความพอใจจะทำให้เรามีความสุขซึ่งเป็นทรัพย์อันลำค่าของมนุษย์ 4. ฆ่าความโกธรได้เป็นสุข 5. ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งโลกนี้โลกหน้า

 

  1. ข้อใดหมายความถึงการมีอวิชชา

 

  1. ทุกคนเกิดมาแต่ตัวเท่ากันหมด

 

  1. ยศบรรดาศักดิ์เป็นของสมบัติ

 

  1. ระลึกถึงความจริงได้ว่าชีวิตที่แท้จริงเป็นอย่างไร

 

  1. รู้อะไรเหมือน ๆ กัน แต่รู้ผิดจากความจริง

 

ตอบ 4 หน้า 106 (H) การมี “อวิชชา” ที่แปลว่า ไม่รู้ มิได้หมายความว่าไม่รู้อะไรเลยเหมือนอย่างก้อนดินแต่หมายถึง รู้อะไรเหมือน ๆ กัน แต่รู้ผิดจากความจริง หรือรู้ไม่จริงเท่ากับไม่รู้

 

  1. การไม่รู้จักตนเอง หมายความตามข้อใด

 

  1. ยกพวกไปตีกันต้องการแสดงว่าเก่งกล้า

 

  1. ขวนขวายจะได้ฐานะสูงกว่าที่ตนควรจะได้

 

  1. ต้องการให้ทุกคนเสมอกันไปหมด

 

  1. เห็นผู้อื่นได้รับผลดีจากความดีเกิดความริษยา

 

ตอบ 2 หน้า 106 (H) การไม่รู้จักตนเอง หมายถึง ความไม่รู้จักตนเองโดยฐานะต่าง ๆ เกี่ยวแก่ความรู้ ความสามารถ และตำแหน่งหน้าที่อันควรแก่ตน ซึ่งจะเป็นเหตุให้ขวนขวายจะได้ฐานะที่สูงกว่าที่ตนควรจะได้ หรือน้อยใจในเมื่อไม่ได้ฐานะที่คิดเอาเองว่าตนควรจะได้

 

  1. ข้อใดไม่ใช่ทุจริตทางกาย

 

  1. ลักทรัพย์

 

  1. ฆ่าสัตว์

 

  1. ละเมิดคู่ครองผู้อื่น

 

  1. พูดส่อเสียด

 

ตอบ 4 หน้า 132 (H) , (คำบรรยาย) ลักษณะของคนพาลมี 3 ประการ ได้แก่

 

  1. คิดชั่ว (ทุจริตทางใจ) คือ การมีจิตคิดอยากได้ในทางมโนทุจริต มีความพยาม คิดปองร้ายผู้อื่น และมีมิจฉาทิฐิ (เห็นผิดเป็นชอบ)

 

  1. พูดชั่ว (ทุจริตทางวาจา) คือ คำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริต เช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ

 

  1. ทำ ชั่ว (ทุจริตทางกาย) คือ ทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริต เช่น การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร และพฤติกรรมผิดในกามหรือละเมิดคู่ครองผู้อื่น

 

  1. สำนวนสุภาษิตในข้อใดตรงกับคำว่า “พอประมาณ”

 

  1. กบในกะลาครอบ

 

  1. นกน้อยทำรังแต่พอตัว

 

  1. ตักน้ำรดหัวตอ

 

  1. ดินพอกหางหมู

 

ตอบ 2 หน้า 198 (H) , 206 (H), 209 (H) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป พอควรแก่อัตภาพโดยไม่เบียดตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ หรือตรงกับสำนวนสุภาษิตไทยว่า “นกน้อยทำรังแต่พอตัว” (ทำอะไรให้พอเหมาะกับฐานะหรือความสามารถของตน)

 

  1. ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ในเรื่อง การยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทสอดคล้องกับมรรค 8 ในข้อใด

 

  1. สัมมาสติ

 

  1. สัมมาทิฐิ

 

  1. สัมมาสมาธิ

 

  1. สัมมาวายามะ

 

ตอบ 1 หน้า 675,81 (H) , (คำบรรยาย) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) คือ ระลึกไปในที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลาย หรือการมีสติระลึกอยู่เป็นนิจว่าเราเป็นใคร มีหน้าที่อะไร และกำลังทำอะไรอยู่ไม่เป็นเผลอ ไม่ประมาท ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ ตามหลักธรรมที่เรียกว่า “สติปัฏฐาน 4” ได้แก่ 1. ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบาย หรือไม่สบาย 2. ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ 3. ลึกได้ว่าจิตกำลังเสร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว 4. ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในจิตใจ

 

  1. ข้อใดเป็นคุณธรรมสู่ความสำเร็จในชีวิต การทำงาน และการศึกษา

 

  1. หิริ โอตตัปปะ

 

  1. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

 

  1. ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

 

  1. ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา

 

ตอบ 3 ดูคำตอบข้อ 2. ประกอบ

 

  1. ข้อใดมิใช่ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถฟื้นฟูและสร้างใหม่ได้

 

  1. ปิโตรเลียม

 

  1. ถ่านหิน

 

  1. แร่ธาตุ

 

  1. ป่าไม้

 

ตอบ 4 หน้า 462 – 463 , 240 – 241 (H) ทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป ตาสามารถกลับพื้นตัวใหม่ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ฯลฯ 2. ประเภทที่ใช้แล้วหมดไปแต่ไม่อาจสร้างหรือทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติทางธรรมชาติของดิน แร่ธาตุ ฯลฯ 3. ประเภทใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้กลับมาเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น สังกะสี ทองแดง ทองคำ เหล็ก เงิน ฯลฯ 4. ประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไปฟื้นฟูและนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน (ปิโตรเลียม) ก๊าซ ฯลฯ

 

  1. ข้อใดมิใช่วิธีการอนุรักษ์ดิน

 

  1. การปลูกพืชคลุมดิน

 

  1. การปลูกพืชหมุนเวียน

 

  1. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์

 

  1. การเผาทำลายซากพืชในพื้นที่เกษตร

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การอนุรักษ์ดินทำได้หลายวิธีดังนี้ 1. ปลูกพืชคลุมดิน จะเป็นการช่วยยึดดิน ลดแรงปะทะของลมและฝน 2. ปลุกพืชหมุนเวียน เป็นการปลูกพืชมากกว่าสองชนิดสลับเปลี่ยนลงในที่ดินแปลงเดียวกัน เพื่อรักษาธาตุอาหารในดินในสมดุล 3. ปรับปรุงดิน เป็นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงในดินเพื่อเพิ่มแร่ธาตุสารอาหารในดิน 4. ใช้วิธีการไถกลบซากพืชเพื่อคืนแร่ธาตุกลับสู่ดินและเพิ่มอินทรียวัตถุ แทนการเผาทำลายซากพืช ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายแต่ทำลายสิ่งแวดล้อม

 

  1. ข้อใดเป็นประโยชน์ของป่าโกงกาง

 

  1. ป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ

 

  1. ช่วยย่อยสารพิษที่จมอยู่ในโคลน

 

  1. ป้องกันแสงแดดให้แก่สัตว์น้ำ

 

  1. ดูดซับเกลือแร่ที่เจือปนในน้ำเค็ม

 

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ประโยชน์ของป่าชายเลน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ป่าโกงกาง” มีดังนี้

 

  1. ช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ 2. เป็นแนวกำบังคลื่นลมที่เคลื่อนเข้าปะทะชายฝั่ง และช่วยป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ 3. เป็นที่วางไข่และฟักตัวอ่อนของสัตว์ทะเล 4. เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน 5. ช่วยทำให้เกิดการงอกของแผ่นดินขยายออกไปสู่ทะเล ฯลฯ

 

  1. ข้อใดกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมไม่ถูกต้อง

 

  1. เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

 

  1. เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

 

  1. สิ่งแวดล้อมทางสังคมก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

 

  1. สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

 

ตอบ 3 หน้า 462 – 463 , 240 (H) สิ่งแวดล้อมคือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

 

  1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ดิน แหล่งน้ำ ลักษณะ ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ภูเขา ทะเลสาบ มหาสมุทร อุทยานธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของสวนป่า ตลอดจนสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงมนุษย์

 

  1. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งก่อสร้างโบราณวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ ศิลปกรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และศาสนา

 

  1. ข้อใดเป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

 

  1. ขนบธรรมเนียม ประเพณี

 

  1. ศิลปกรรม แหล่งน้ำ

 

  1. โบราณวัตถุ อุทยานธรรมชาติ

 

  1. ความเจริญเติบโตของสวนป่า

 

ตอบ 1 ดุคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

 

  1. ข้อใดเป็นวิธีการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนที่สุด

 

  1. การใช้บทโทษที่รุนแรง

 

  1. การนำเทคโนโลยีมาใช้

 

  1. การให้การศึกษาแก่ประชาชน

 

  1. การจ้างต่างชาติมาแก้ไขปัญหา

 

ตอบ 3 หน้า 243 (H) (คำ บรรยาย) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้นส่วนใหญ่จะเกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้นไม่ ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหามลพิษ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เกิดมาจากการกระทำที่ไม่อยู่บนพื้นบานของความสมดุลพอดี รวมทั้งความเห็นแก่ตัวและขาดความรับผิดชอบของมนุษย์ ดังนั้นการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมให้ได้ผลและยั่งยืนที่สุดจึงต้องแก้ที่พฤติกรรมของประชาชนใน สังคมก่อนเป็นสำคัญ เช่น การให้การศึกษา และการปลูกฝังจิตสำนึก เป็นต้น

 

  1. กิจกรรมใดต่อไปนี้ส่งผลต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด

 

  1. การนั่งเรือชมหิ่งห้อย

 

  1. การให้อาหารสัตว์ข้างทาง

 

  1. การไปตั้งค่ายพักแรมกลางป่า

 

  1. การสร้างสนามกอล์ฟใกล้เนินเขา

 

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การนั่งเรือชมหิ่งห้อย เป็น กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด โดยนักท่องเที่ยวควรใช้เรือพายแทนการใช้เรือยนต์ และควรพายไปเงียบ ๆ กับตะเตียงส่องทางแทนการใช้สปอตไลท์ ระหว่างที่ชมก็ไม่ควรส่งเสียงดังหรือถ่ายรูปเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชน

 

  1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมในข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

 

  1. ภาวะโลกร้อน

 

  1. ป่าไม้ถูกทำลาย

 

  1. ประชากรเพิ่มมากขึ้น

 

  1. การเสียสมดุลทางธรรมชาติ

 

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ป่าไม้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต หากป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามมา เนื่องจากป่าไม้มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรน้ำ ดิน อากาศ สัตว์ป่า และมนุษย์ ซึ่งผลกระทบจากการทำลายป่าไม้ได้แก่ 1. เกิดการชะล้างพังทลายของดิน 2. เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน และเกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง 3. เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน 4. พืชและสัตว์ป่ามีจำนวนและชนิดลดลง ฯลฯ

 

  1. อุปกรณ์ไฟฟ้าในข้อใดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

 

  1. พัดลม

 

  1. ตู้เย็น

 

  1. เตาถ่าน

 

  1. โทรทัศน์

 

ตอบ 2 หน้า 467 – 468, (คำบรรยาย) ตู้เย็น เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เพราะตู้เย็นมีสารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFC) เป็นสารที่ใช้ความเย็นซึ่งมีผลทำให้ชั้นโอโซนเบาบางลงและเกิดรูรั่ว ส่งผลให้รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) สามารถแผ่เข้ามาสู่ผิวโลกได้อย่างเข้มข้น จนทำให้โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนจัดและก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก

 

  1. โครงการแก้มลิงเป็นโครงการในพระราชดำริเกี่ยวข้องกับด้านใด

 

  1. การบริหารจัดการป่าไม้

 

  1. การบริหารจัดการสัตว์ป่า

 

  1. การบริหารจัดการดิน

 

  1. การบริหารจัดการน้ำ

 

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) โครงการแก้มลิง เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ (Detention Area) หรือขุดบ่อน้ำพัก ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขต ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยจะประกอบด้วยการขุดลอกและกำจัดวัชพืชตามคูคลองต่าง ๆ รวมทั้งปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำส่วนเกินออกจากพื้นที่ลุ่มให้ไหลมารวมกันในบ่อพักน้ำ (ลักษณะเดียวกับที่ลิงสะสมกล้วยไว้ที่กระพุ้งแก้ม) จนเมื่อในทะเลลดลงจึงค่อยระบายน้ำลงทะเล

 

  1. ข้อใดเป็นต้นเหตุแห่งความดี

 

  1. โลภะ โทสะ โมหะ

 

  1. อโลภะ อโทสะ อโมหะ

 

  1. โลภ โกธร หลง

 

  1. กิเลส ตัณหา อุปาทาน

 

ตอบ 2 (คำบรรยาย) กุศลมูล หมายถึง รากเหง้าหรือต้นเหตุแห่งความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับอกุศลมูล มีอยู่ 3 ประการดังนี้ 1 อโลภะ (ความไม่อยากได้) คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก ไม่อยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน 2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) คือ ความไม่โกธร ไม่ผูกพยาบาท 3. อโมหะ (ความไม่หลง) คือ ความไม่หลงงมงายไม่มัวเมาในอบายมุข อันเป็นเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคง

 

  1. ข้อใดมิใช่บ่อเกิดแห่งปัญญา

 

  1. สุตมยปัญญา

 

  1. จินตมยปัญญา

 

  1. ภาวนามยปัญญา

 

  1. กายกรรมปัญญา

 

ตอบ 4 หน้า 200 – 201 , 185 – 186 (H), (คำบรรยาย) ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ซึ่งจะเกิดประกอบกับจิต โดยที่มาหรือบ่อเกิดของหลักปัญญา มีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่

 

  1. สุตมยปัญญา คือ ปัญญาความรอบรู้ที่เกิดจากการฟัง

 

  1. จินตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิด

 

  1. ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา

 

  1. ปัจจัยในข้อใดที่ฟังแล้วไม่ก่อให้เกิดปัญญา

 

  1. ฟังแล้วจดบันทึก

 

  1. ฟังเพราะสนใจใฝ่รู้

 

  1. ฟังเพื่อต้องการจับผิด

 

  1. ฟังแล้วมีคำถามข้อสงสัย

 

ตอบ 3 หน้า 200, 185 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ) สุตมยปัญญา คือ ปัญญา ความรอบรู้ที่เกิดจากการฟังธรรม ฟังครูสอนวิชาการต่าง ๆ หรือศึกษาเล่าเรียนจากการอ่านหนังสือค้นคว้าวิชาการ โดยการฟังที่ก่อให้เกิดปัญญาต้องเป็นการฟังเพราะสนใจใฝ่รู้ เมื่อฟังแล้วก็ต้องจดบันทึกหรือเกิดคำถามข้อสงสัย แต่ต้องไม่ใช่การฟังเพื่อต้องการจับผิดผู้อื่น หรือฟังสิ่ง ที่ทำให้เกิดกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) อันเป็นเหตุให้เกิดความไม่สบายใจ หรือเป็นเหตุให้ผู้ฟังเกิดอกุศลมูลนิธิจิตคิดทำชั่ว ซึ่งหากฟังสิ่งไม่ดี จิตก็จะไม่ดีไปด้วย

 

  1. การคบคนดีมีความหมายตรงกับข้อใด

 

  1. กัลยาณมิตตตา

 

  1. สมชีวิตา

 

  1. รูปขันธ์

 

  1. สัญญาขันธ์

 

ตอบ 1 หน้า 408, 87 (H), 132 (H) กัลยาณมิตตตา คือ รู้จักคบคนดีหรือคบบัณฑิต ซึ่งหมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจดีงาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง อันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยชักนำเราให้ไปในทางที่ถูกที่ควร ทำ ให้เรามีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ทำให้รู้เห็นช่องทางและโอกาสต่าง ๆ ในการทำงาน และรู้จักปฏิบัติต่อทรัพย์ของตนอย่างถูกต้อง ไปถูกบาปมิตรชักจูงไปในทางอบายมุข ซึ่งจะทำให้ทรัพย์สินไม่เพิ่มพูนหรือมีแต่จะหดหายลง

 

  1. ข้อใดเป็นผลกระทบน้อยที่สุดจากการสร้างเขื่อน

 

  1. สัตว์ป่าจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย

 

  1. ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลาย

 

  1. สัตว์น้ำวางไข่ได้ยากเพราะบริเวณแหล่งน้ำกว้าง

 

  1. สัตว์ป่าจำนวนมากต้องอพยพไปหาที่อยู่ใหม่

 

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การ สร้างเขื่อน เป็นสิ่งวิธีการพัฒนาแหล่งน้ำให้มีน้ำใช้ในเวลาที่ขาดแคลนแต่อีกด้านหนึ่งก็ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เพราะการก่อสร้างเขื่อนจำเป็นต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ทำให้ต้องตัดไม้ทำลายป่า พอสร้างเขื่อนเสร็จ ป่าส่วนหนึ่งก็จะจมหายไปในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งทำให้แหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายไป เป็นผลให้สัตว์ป่าต้องอพยพไปหาที่อยู่ใหม่ หรือบางชนิดก็อาจสูญพันธุ์และส่งผลให้จำนวนสัตว์ป่าลดน้อยลงไป

 

  1. ข้อใดหมายถึงสัมมาอาชีวะ

 

  1. กระทำชอบ

 

  1. เลี้ยงชีพชอบ

 

  1. เพียรชอบ

 

  1. ระลึกกชอบ

 

ตอบ 2 หน้า 674 – 675, 81 (H) มรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่

 

  1. สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) 3. สัมมาวาจา (วาจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (การชอบงาน) 5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพ) 6. สัมมาวายามะ (เพียรพยายามชอบ) 7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ)

 

  1. ใครมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติ

 

  1. เต้ยแต่งกายแบบสากลนิยม

 

  1. ติ๋มชอบรับประทานอาหารจีน

 

  1. เกษไหว้พ่อแม่ก่อนไปทำงาน

 

  1. แก้วพูดภาษาถิ่นกับเพื่อน ๆ

 

ตอบ 3 หน้า 361 , 369 – 370 , 214 – 215 (H) , 230 (H) เอกลักษณ์ ของชาตินั้นนอกจากจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความเป็นชาติและลักษณะไทยว่าแตก ต่างจากชาติอื่นแล้ว ยังมีความสำคัญต่อความอยู่รอดความมั่งคง และความเจริญก้าวหน้าของชาติไทยอีกด้วย ซึ่งการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติที่คนไทยควรธำรงรักษาไว้ก็ คือ การพูดและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง การไหว้ทำความเคารพผู้มีพระคุณหรืออาวุโสกว่า การแต่งกายแบบไทย การกินอาหารไทย ฯลฯ

 

  1. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรม

 

  1. เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันได้

 

  1. เป็นสิ่งที่ห้ามเปลี่ยนแปลง

 

  1. เกิดจากการอบรมสั่งสอน

 

  1. ช่วยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผน

 

ตอบ 2 หน้า 420, (บรรยาย) วัฒนธรรม คือ สิ่ง ที่มนุษย์สร้างขึ้น ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาจากการเรียนรู้ การอบรมสั่งสอน และประสบการณ์ โดยถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมีคุณค่าควรที่คนในสังคมจะประพฤติปฏิบัติเพื่อ ช่วยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผน ทั้งนี้วัฒนธรรมจะมีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสภาวะแวดล้อมของสังคมมนุษย์

 

  1. “ไฟในอย่านำออก” มีความหมายว่าอย่างไร

 

  1. อย่านำความลับต่าง ๆ ไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง

 

  1. อย่านำความทุกข์ในใจไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง

 

  1. อย่านำความลับหรือความทุกข์ร้อนมาวิจารณ์ภายในครอบครัว

 

  1. อย่านำความลับหรือความไม่ดีในครอบครัวไปเล่าให้คนภายนอกฟัง

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พระพุทธเจ้าได้ให้โอวาทในการเป็นแม่ศรีเรือนไว้ประการหนึ่ง คือ “ไฟในอย่านำออก” หมายถึง อย่านำความลับหรือความไม่ดีงามภายในครอบครัวไปบอกเล่าให้คนภายนอกได้รับรู้ และ “ไฟนอกอย่านำเข้า” หมาย ถึง อย่านำคำนินทาว่าร้ายเสียดสีด้วยความอิจฉาริษยาจากบุคคลภายนอกมาสู่ครอบครัว อันจะเป็นเหตุทำให้เกิดเรื่องไม่ดีงามและความบาดหมาง

 

  1. เมื่อเรามีความทุกข์เกิดขึ้น ควรปฏิบัติอย่างไรเป็นอันดับแรก

 

  1. ดับทุกข์

 

  1. หาสาเหตุแห่งทุกข์

 

  1. หาวิธีการดับทุกข์

 

  1. แก้ไขสาเหตุแห่งทุกข์

 

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

 

  1. คุณพ่อไม่อนุญาตให้มาลีไปชมการแสดงคอนเสิร์ตของเบิร์ด มาลีเสียใจมาก สาเหตุความทุกข์ที่แท้จริงของมาลีคืออะไร

 

  1. กรรม

 

  1. ตัณหา

 

  1. หิริ

 

  1. จิต

 

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

 

  1. ข้อใดจัดเป็นมโนกรรม

 

  1. นิ่มช่วยพยุงคนแก่ข้ามถนน

 

  1. น้อยพูดปลอมใจเพื่อนที่สอบตก

 

  1. นวลรู้สึกสงสารเด็กที่นั่งร้องไห้

 

  1. นกเล่นกีฬากับน้องอย่างสนุกสนาน

 

ตอบ 3 (คำบรรยาย) มโนกรรม 3 คือ การ ทำความดีทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลมีจิตใจบริสุทธิ์มองโลกในแง่ดี มีความสงสารและปรารถนาให้คนอื่นพันทุกข์ และประสบแต่ความสุขมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1. การไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์ของคนอื่นมาเป็นของตนเอง 2. การไม่อาฆาตพยาบาทหรือจองเวรกับใคร 3. มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและตรงตามความเป็นจริง

 

  1. ความเป็นคนไทยพิจารณาได้จาก ยกเว้นสิ่งใด

 

  1. ชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย

 

  1. ความเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ

 

  1. ความเป็นอิสระไม่ชอบขึ้นกับใคร

 

  1. การประพฤติปฏิบัติที่มีลักษณะกดขี่ข่มเหง

 

ตอบ 4 หน้า 230 (H) ความเป็นไทย หรือความเป็นคนไทย พิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

 

  1. เอกลักษณ์เฉพาะของคนไทย ภาษาไทย เครื่องแต่งกาย กิริยามารยาท ศิลปะ ดนตรีไทยกีฬา และขนบธรรมเนียมประเพณี 2. การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย สงบชอบช่วยเหลือ 3. ความเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ ใจดี อดทน เสียสละ จริงใจ 4. รักความเป็นอิสระ ไม่ชอบขึ้นกับใคร

 

  1. การทตัวหรูหรา ฟุ่มเฟือย เที่ยวกลางคืน เป็นสาเหตุของปัญหาในข้อใด

 

  1. สุขภาพเสื่อมโทรม

 

  1. อาชญากรรม

 

  1. อบายมุข

 

4.ทุจริต

 

ตอบ 3 หน้า 661, 145 (H), 171 (H) อบายมุข เป็นหนทางแห่งความเสื่อม มีอยู่ 6 ประการ คือ

 

  1. ติดสุรายาเมา เสพสิ่งเสพติด 2. เอาแต่เที่ยวกลางคืน เที่ยวไม่รู้เวลา เป็นนักเลงผู้หญิง หรือนักเลงผู้ชาย 3. จ้องหาแต่รายการบันเทิง เที่ยวดุการละเล่น 4. เหลิงไปหาการพนัน 5. พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว หรือคบคนชั่วเป็นมิตร 6. มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน ไม่ทำการงาน

 

  1. ธนูชอบประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ การกระทำของธนูเป็นการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีอย่างไร

 

  1. ใฝ่หาความรู้

 

  1. ปฏิบัติตามกฎหมาย

 

  1. สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

  1. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พลเมืองดีมีลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ช่วย กันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ รวมทั้งช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ เพื่อช่วยลดปัญหาขยะมูลฝอย เป็นต้น

 

  1. การกระทำในข้อใดเป็นการรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบบประชาธิปไตย

 

  1. เป็นสมาชิกชมรม

 

  1. ผลิตเครื่องใช้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

  1. เสียภาษีอาการทุกปีตามกำหนดเวลา

 

  1. นำเสนอชิ้นงานแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ

 

ตอบ 3 (คำบรรยาย) หน้าที่สำคัญของชนชาวไทยในการรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบบประชาธิปไตย คือ การเสียภาษีอากรให้รัฐทุกปีตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด เพื่อ ที่รัฐจะได้นำเงินรายได้จากการจัดเก็บมาใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และจัดบริการขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชน ซึ่งภาษีที่รัฐกำหนดให้เก็บมีหลายประเภท เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีได้นิติบุคคล ภาษีการค้า ค่าอาการแสตมป์ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ฯลฯ

 

  1. หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยมีหลายประการ ยกเว้นข้อใด

 

  1. อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

 

  1. มีกฎหมายเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง

 

  1. ประชาชนใช้อำนาจปกครองด้วยตนเอง

 

  1. รัฐบาลต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นมูลฐานของประชาชน

 

ตอบ 3 หน้า 190 (H), (บรรยาย) หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญมีดังนี้

 

  1. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ

 

  1. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเพื่อไปใช้สิทธิใช่เสียงแทนตน

 

  1. รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นมูลฐานของประชาชน

 

  1. รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง ฯลฯ

 

  1. ข้อใดเป็นข้อดีของการปกครองระบบประชาธิปไตย

 

  1. ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

 

  1. สามารถตัดสินใจในการดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

 

  1. เหมาะสมกับประเทศที่ยากจนหรือประเทศที่กำลังพัฒนา

 

  1. เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้เสมอกัน

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ข้อดีของการปกครองระบบประชาธิปไตยมีดังนี้

 

  1. เปิด โอกาสให้ประชาชนส่วนข้างมากดำเนินการปกครองประเทศ โดยประชาชนาส่วนข้างน้อยมีสิทธิที่จะดำรงอยู่และทำการคัดค้านการปกครองของ ฝ่ายข้างมากได้

 

  1. เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างเสมอกัน

 

  1. ถือกฎหมายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปกครอง โดยใช้กฎหมายบังคับแก่ทุกคนส่งผลให้ทุกคนเสมอกันโดยกฎหมาย ฯลฯ

 

  1. เก๋แอบหยิบรองเท้าคู่ใหม่ของผู้มาทำบุญ ซึ่งวางไว้หน้าโบสถ์ แล้วเอารองเท้าคู่เก่าของเธอวางไว้แทนการกระทำของเก๋ขาดคุณธรรมข้อใด

 

1 . ศีล

 

  1. ความซื่อสัตย์สุจริต

 

  1. ความเมตตากรุณา

 

  1. สังคหวัตถุ 4

 

ตอบ 2 หน้า 191 – 192 (H), (คำบรรยาย) ความ ซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ทำทุกอย่างตรงไปตรงมา มีความซื่อตรงจริงใจทั้งทางความคิด คำพูด และการกระทำทั้งต่อตนเองและผู้อื่น จริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควรถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ซึ่งถือเป็นคุณธรรมสำคัญที่จะช่วยขจัดปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

 

  1. ประเพณีในข้อใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

 

  1. พิธีสืบชะตา

 

  1. พิธีบายศรีสู่ขวัญ

 

  1. ประเพณีสารทเดือนสิบ

 

  1. การทำขวัญข้าว

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญา ชาวบ้านที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ คือ การที่ชาวบ้านเชื่อว่ามีเทพเจ้าสถิตอยู่ในดิน น้ำ ป่าเขา และสถานที่ทุกแห่ง ดังนั้นเวลาจะทำอะไรต้องขออนุญาตและทำด้วยความเคารพ จึงได้มีประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงการรู้คุณของธรรมชาติที่ได้ให้ชีวิตแก่ตน เช่น ประเพณีทำขวัญข้าวหรือสู่ขวัญข้าว เพื่อเป็นการขอขมาและขอบคุณพระแม่โพสพหรือเทพีแห่งข้าว เป็นต้น

 

  1. การกระทำในข้อใดเป็นการระลึกชอบ

 

  1. แดงตั้งใจอ่านหนังสือให้จบเล่ม

 

  1. แมวรู้ว่าตนเป็นนักศึกษาจึงตั้งใจเรียน

 

  1. ชายพยายามเก็บเงินเพื่อซื้อมอเตอร์ไซค์

 

  1. มุกหลีกเลี่ยงการพูดกับเหมี่ยวที่มีนิสัยก้าวร้าว

 

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

 

  1. การประสบความสำเร็จในการงานนั้น จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใด

 

  1. วิริยะ ฉันทะ วิมังสา จิตตะ

 

  1. ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

 

  1. ฉันทะ จิตตะ วิริยะ วิมังสา

 

  1. จิตตะ วิริยะ ฉันทะ วิมังสา

 

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

 

  1. เจตนาชอบชวนเดือนฉานไปอ่านหนังสือทุกเช้าก่อนเข้าเรียน ทำให้เดือนฉายมีความรู้รอบตัวหลายอย่างเหตุการณ์นี้สอดคล้องกับข้อใด

 

  1. กายกรรม

 

  1. ความพยายาม

 

  1. ความเอาใจใส่

 

  1. คบบัณฑิต

 

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

 

  1. ข้อใดสอดคล้องกับคุณของอริยสัจ 4

 

  1. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

 

  1. การแก้ปัญหาด้วยปัญญาและเหตุผล

 

  1. การแก้ปัญหาร่วมกันเป็นหมู่คณะ

 

  1. การแก้ปัญหาที่เกิดจากธรรมชาติ

 

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

 

  1. วิทย์ ไปเล่นไพ่กับเพื่อนเป็นการสังสรรค์หลังเลิกงาน และมีการดื่มสุราเพื่อความเพลิดเพลิน การกระทำของวิทย์จะเป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์ในเรืองใด

 

  1. เสียทรัพย์ เสียสุขภาพ

 

  1. เสียทรัพย์ เสียมิตร

 

  1. เสียสุขภาพ เสียทรัพย์ เสียเวลา

 

  1. เสียทรัพย์ เสียสุขภาพ เสียชื่อเสียง

 

ตอบ 4 หน้า 136 (H), (คำบรรยาย) , (ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ) โทษ ของการเล่นการพนัน ได้แก่ทำให้เสียทรัพย์ ทำให้ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ ทำให้เสียชื่อเสียงและเป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อนทำให้ไม่มีใครประสงค์จะ แต่งงานด้วย นอกจากนี้เมื่อเล่นชนะย่อมก่อเวร และเมื่อเล่นแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป ส่วนโทษของการดื่มสุรายาเมา ได้แก่ ทำให้เสียทรัพย์ ทำให้เสียสุขภาพทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ทำให้เสียชื่อเสียงผู้คนติเตียน ทำให้ลืมไม่รู้จักอาย และบั่นทอนกำลังปัญญา

 

  1. ข้อความคู่ใดที่มีความสัมพันธ์กันถูกต้องที่สุด

 

  1. ฉันทะ – การเอาใจใส่

 

  1. จิตตะ – การใช้ปัญญาประกอบการทำงาน

 

  1. วิมังสา – การไตร่ตรองพิจารณา

 

  1. วิริยะ – ความสนใจในสิ่งที่กระทำ

 

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

 

  1. “มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง” ใจมนุษย์จะสูงได้เพราะมีสิ่งต่าง ๆ บรรจุอยู่ภายใน ข้อใดไม่ใช่

 

  1. ความรู้

 

  1. คุณธรรม

 

  1. ฐานะดี

 

  1. ความสงบสุข

 

ตอบ 3 หน้า 64 (H) คำว่า “มนุษย์” แปลว่า ผู้มีใจสูง ซึ่งใจมนุษย์จะได้สูง เพราะมีสิ่งเหล่านี้บรรจุอยู่ภายใน ได้แก่ 1. ความรู้ 2. ความสามารถ 3. คุณธรรม 4. อุดมคติ 5. อุดมการณ์ 6. ความสงบสุข

 

  1. นวล ผ่องเป็นคนผิวคล้ำ ซ้ำหน้าตาไม่สวย แต่เธอไม่รู้สึกเดือนร้อน พอใจในรูปร่างหน้าตาของตนเองและไม่คิดจะไปทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า การกระทำของนวลผ่อง ตรงกับมงคลในข้อใดมากที่สุด

 

  1. อดทน

 

  1. สันโดษ

 

  1. มีวินัย

 

  1. ว่านอนสอนง่าย

 

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ

 

  1. การปฏิบัติในข้อใดที่แสดงว่าผู้ปฏิบัติยึดสิ่งที่เป็นมงคลผิดไปจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในมงคลสูตร

 

  1. การไหว้ศาลพระภูมิ

 

  1. การทำบุญกระดูกบรรพบุรุษ

 

  1. การบวชในช่วงปิดภาคฤดูร้อน

 

  1. การอุทิศศพให้โรงพยาบาล

 

ตอบ 1 หน้า 132 (H), (คำบรรยาย) มงคลสูตร หรือ มงคล 38 ประการ เป็นพระสูตรหรือหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธมงคลภาย นอกที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ว่าเป็นมงคลหรือมีมงคล โดยอธิบายว่ามงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำซึ่งถือเป็นมงคลภายใน คือ ต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลได้โดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ศาล พระภูมิหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการขอมงคลจากนอกตัว

 

  1. คำ คมจากเรื่องสามก๊ก “เพราะแสวงหามิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญมิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถมิใช่เพราะโชคช่วย” คำคมนี้เตือนเราในเรื่องใด

 

  1. ความมานะอดทน

 

  1. อย่าแข่งบุญแข่งวาสนา

 

  1. การศึกษาเล่าเรียน

 

  1. การรู้จักกาลเทศะ

 

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ปรัชญา คำคมตอนหนึ่งของท่านขงเบ้งในเรื่องสามก๊ก ได้เตือนสติเราให้รู้จักมีความมานะอดทนไว้ว่า “เพราะแสวงหามิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญมิใช่เพราะโอกาสเพราะสามารถมิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้วลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน”

 

  1. สำนวนไทยในข้อใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการไม่คบคนพาล

 

  1. เอาทองไปรู่กระเบื้อง

 

  1. เอาเนื้อไปแลกกับหนัง

 

  1. เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ

 

  1. เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) สำนวน ไทยที่ว่า “เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน” หมายถึง แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า (ส่วนสำนวนไทยที่ว่า เอาทองไปรู่กระเบื้อง เอาเนื้อไปแลกกับหนัง และเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ จะเกี่ยวข้องกับการไม่คบคนพาล และมีความหมายไปในทางเดียวกัน คือ โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลหรือมีคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร)

 

  1. สำนวนไทยในข้อใดเตือนสติเรื่อง ความพอประมาณ

 

  1. นกน้อยทำรังแต่พอตัว

 

  1. ฝนทั้งให้เป็นเข็ม

 

  1. ขี่ช้างจับตั๊กแตน

 

  1. เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ

 

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ

 

  1. หลักคิดข้อใดที่ตรงข้ามกับหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

 

  1. ประชานิยม

 

  1. บริโภคนิยม

 

  1. ทุนนิยม

 

  1. สังคมนิยม

 

ตอบ 2 หน้า 205 (H), (คำบรรยาย) ลัทธิบริโภคนิยม หมายถึง การนิยมบริโภคสิ่งต่าง ๆ ฟุ่มเฟือยเกินความต้องการที่จำเป็นในชีวิต และเกินกว่ามาตรฐานะรายได้ของตนหรือของประเทศ ซึ่งถือเป็นลัทธิที่ตรงข้ามกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง คือ พอเหมาะพอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะ แต่ให้ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและคุณธรรม ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นหลักคิดที่อยู่ตรงกลางระหว่างความตระหนี่ถี่เหนียว (ไม่ใช่แม้จะเป็นสิ่งจำเป็น) และความสุลุ่ยสุราย (ใช้จนไม่เหลือ ใช้เกินความจำเป็น)

 

  1. เศรษฐกิจพอเพียงต่างจากความตระหนี่ในข้อใด

 

  1. ใช้จ่ายให้น้อยที่สุด

 

  1. หากำไรสูงสุด

 

  1. ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและคุณธรรม

 

  1. เก็บออมให้ได้มากที่สุด

 

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

 

  1. “ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ” เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับอาชีพใด

 

  1. นักธุรกิจ

 

  1. ประชาชนทั่วไป

 

  1. ข้าราชการ

 

  1. เกษตรกร

 

ตอบ 4 หน้า 201 (H) ทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ถือเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหา ทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตรให้สามารถผ่าน พ้นช่วงเวลาวิกฤติโดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยที่ไม่เดือนร้อนและยากลำบากนัก

 

  1. นักปราชญ์กล่าวว่า “เราไม่ต้องกลัวคำวิพากษ์วิจารณ์” เหตุผลในข้อใดที่ไม่สนับสนุนคำกล่าวนี้

 

  1. คำวิจารณ์เป็นกระจกวิเศษสำหรับผู้ถูกวิจารณ์

 

  1. การรับฟังคำวิจารณ์อย่างมีสติ คือ โอกาสในการพัฒนาตนเอง

 

  1. การไม่ถูกวิจารณ์เลย แสดงว่าสิ่งที่เราทำไม่มีคุณค่าพอ

 

  1. ผู้วิจารณ์คนอื่นจะถูกกลืนหายไปจากกาลเวลา

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) นัก ปราชญ์กล่าวว่า “เราไม่ต้องกลัวคำวิพากษ์วิจารณ์” เพราะการไม่ถูกวิจารณ์เลยแสดงว่าสิ่งที่เราทำไปไม่มีคุณค่าพอที่เขาจะ วิจารณ์เรา และคำวิจารณ์ก็ถือเป็นกระจกวิเศษสำหรับผู้ถูกวิจารณ์ให้ได้รับทราบข้อดีและ ข้อด้อยของตน ซึ่งหากเรารับฟังคำวิจารณ์อย่างมีสติก็จะถือเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาและ ปรับปรุงตนเองให้ดียิ่งขึ้น

 

  1. การแก้ปัญหาในข้อใดไม่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา

 

  1. จงระงับความโกธรด้วยความเมตตา

 

  1. จงระงับความโลภด้วยการให้

 

  1. จงระงับความฟุ้งซ่านด้วยสมาธิ

 

  1. จงระงับความสุรุ่ยสุร่ายด้วยความตระหนี่

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พุทธศาสนาได้ให้แนวทางการแก้ปัญหาชีวิตไว้ดังนี้

 

  1. พึงระงับความโลภและความตระหนี่ด้วยการให้ทาน 2. พึงระงับความโกธรด้วยความเมตตา 3. พึงระงับความหลงด้วยวิชชา (ปัญญา) 4. พึงระงับความฟุ้งซ่านด้วยการเจริญสมาธิ 5. พึงระงับความสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยด้วยความมัธยัสถ์ (จำเป็นใช้ ไม่จำเป็นไม่ใช้) ฯลฯ

 

  1. บริษัทยา คิดค้นผลิตวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ได้ แต่จำหน่ายในราคาแพงมาก ๆ จนผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่มีโอกาสเข้าถึงยาได้ การกระทำดังกล่าวตรงกับบาป 7 อย่างต่อสังคม ของมหาตมะ คานธี ในข้อใด

 

  1. หาความสำราญโดยไม่ยั้งคิด

 

  1. ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน

 

  1. มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี

 

  1. วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์

 

ตอบ 4 หน้า 109 – 110 (H), (คำบรรยาย) ท่านมหาตมะ คานธี กล่าวว่าสิ่งต่อไปนี้ธรรมแห่งมนุษย์ซึ่งมีอยู่ 7 ประการ 1. เล่นการเมืองโดยไม่มีอุดมการณ์หรือหลักการ 2. หาความสำราญโดยไม่ยั้งคิด 3. ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน 4. มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี 5. ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลหลักธรรม 6. วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์ 7. บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ

 

  1. ภูมิปัญญาชาวบ้าน เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

 

  1. การทำมาหากิน

 

  1. สืบสานวัฒนธรรม

 

  1. ความรู้ความสามารถของบุคคล

 

  1. ความอดทนอดกลั้นต่อสู้ชีวิต

 

ตอบ 1 หน้า 431 ,221 (H), (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หมายถึง ความ รู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากบรรพบุรุษที่ได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดสืบต่อกันมาซึ่ง ภูมิปัญญาชาวบ้านมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การปลูกพืชการเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การทำเครื่องมือการเกษตร ฯลฯ

 

  1. แนวคิดพื้นฐานภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย “ร่างกายมีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 4” หมายถึงอะไร

 

  1. ปัจจัย 4

 

  1. แร่ธาตุ 4 ชนิด

 

  1. อากาศ อาหาร เครื่องนุ่งห่มปัจจัย 4

 

  1. ดิน น้ำ ลม ไฟ

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) แนว คิดพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย หรือที่เรียกกันว่าการแพทย์แผนโบราณนั้น มีหลักการเรื่องความสมดุลของชีวิตว่า คนมีสุขภาพดีเมื่อร่างกายมีความสมดุลระหว่างาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเมื่อคนเจ็บไข้ได้ป่วยเนื่องจากธาตุขาดความสมดุลก็จะมีการปรับธาตุโดย ใช้ยาสมุนไพรหรือวิธีการอื่น ๆ เพื่อให้ร่างกายมีความสมดุลขึ้น เช่น คนเป็นไข้ตัวร้อน หมอยาพื้นบ้านจะให้ยาเย็นเพื่อลดไข้ เป็นต้น

 

  1. จะมีวิธีการอย่างไรกับความสัมพันธ์เหนือสิ่งธรรมชาติ

 

  1. ทำบุญ

 

  1. บูชายัญ

 

  1. ตั้งจิตอธิษฐาน

 

  1. สวดมนต์อ้อนวอน

 

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญา ชาวบ้านที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ คือ การที่ชาวบ้านรู้ว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของจักรวาล ซึ่งเต็มไปด้วยความเร้นลับ มีพลังและอำนาจที่เขาไม่อาจจะหาคำอธิบายได้ และความเร้นลับดังกล่าวยังรวมไปถึงญาติพี่น้องและผู้คนที่ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นชาวบ้านจึงมีวิธีการรักษาความสัมพันธ์กับพวกเขา โดยการทำบุญและรำลึกถึงอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรือในโอกาสสำคัญ

 

  1. ภูมิปัญญาของผู้มีความรู้ความสามารถ การถ่ายทอดความรู้ในชนรุ่นหลังมีจุดประสงค์อย่างไร

 

  1. เพื่อค้าขาย

 

  1. เพื่ออนุชนรุ่นหลัง

 

  1. เพื่อประโยชน์ส่วนตน

 

  1. เพื่อประโยชน์แก่สังคม

 

ตอบ 4 หน้า 431 , 211 (H), (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาไทย (Wisdom) หมายถึง ความ รู้ ความสามารถและวิธีการที่คนไทยค้นคว้า รวบรวม ปรับปรุง เพื่อถ่ายทอดมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่งหรืออนุชนรุ่นหลังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ชนรุ่นหลังนำไปใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมจนเกิดมีคุณค่า

 

  1. ปัญหาภูมิปัญญาไทยที่สำคัญที่สุดคือเรื่องใด

 

  1. สูญหาย

 

  1. ถูกนำไปดัดแปลง

 

  1. ถูกนำไปใช้ผิดเป้าหมาย

 

  1. ถูกชาวต่างชาตินำไปใช้เป็นของตน

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ปัญหาภูมิปัญญาไทยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีดังนี้

 

  1. สูญหายและถูกทำลายเพราะภัยสงครามในอดีต และความขัดแย้งทางการเมือง

 

  1. ถูกชาวต่างชาตินำไปใช้เป็นของตนโดยไม่ขออนุญาต ซึ่งนับเป็นปัญหาภูมิปัญญาไทยที่

 

สำคัญที่สุด 3. ไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศในการวางมาตรการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ 4. ฐานข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยมีอยู่กระจัดกระจาย 5. ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลโดยตรง

 

  1. พระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” พอเพียงหมายความว่าอย่างไร

 

  1. ไม่ละโมบ โลภมาก

 

  1. ความพอประมาณ ความมีเหตุผล

 

  1. ไม่ฟุ่มเฟือย ประหยัด

 

  1. การดำรงชีวิตอย่างมั่นคง

 

ตอบ 2 หน้า 197 (H) ความพอเพียง หมาย ถึง ความประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล กระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “ความพอเพียงนี้ อาจจะมีของหรูหราก็ได้แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียงปฏิบัติตนก็พอเพียง”

 

  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่ออะไรเป็นสำคัญที่สุด

 

  1. เพื่อให้ปรากฏแก่สายตาชาวโลก

 

  1. เป็นพระราชภารกิจเพื่อการเกษตร

 

  1. เพื่อแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของราษฎร

 

  1. เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกร

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม หมายความว่า ทรง ปกครองประชาชนโดยปฏิบัติพระองค์ตามหลักธรรมราชาสำหรับกษัตริย์และทรงปฏิบัติ พระราชากรณียกิจเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรชาวไทย ทำให้ทรงเป็นศูนย์รวมจิตของประชาชนตลอดจนมาถึงปัจจุบัน

 

  1. หลักการทำงานร่วมกันที่สำคัญที่สุดคือเรื่องใด

 

  1. ต้องช่วยกันทำงาน

 

  1. ต้องกล้าเผชิญหน้าร่วมกัน

 

  1. ต้องร่วมกันรับผิดชอบ

 

  1. ต้องระดมความคิดเห็นด้วยกัน

 

ตอบ 3 (คำบรรยาย) หลักปฏิบัติในการทำงานร่วมกันเป็นทีมมีดังนี้ 1. ต้องช่วยกันทำงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตน 2. มี การแลกเปลี่ยนหรือระดมความคิดเห็นร่วมกันในการทำงาน 3. เมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน ต้องกล้าเผชิญหน้าเพื่อจัดการปัญหาร่วมกัน 4. ต้องถือกฎกติกาและกรอบในการทำงานเดียวกัน 5. ต้องร่วมกันรับผิดชอบในความสำเร็จและความล้มเหลวของงานเป็นสำคัญที่สุด

 

  1. ช่วงเวลาใดที่ถือเป็นเวลาที่สำคัญที่สุด

 

  1. อดีต

 

  1. ปัจจุบัน

 

  1. อนาคต

 

  1. ปัจจุบัน อนาคต

 

ตอบ 2 (คำบรรยาย) พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบัน ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่ ใช่อยู่กับอดีตหรืออนาคต ทั้งนี้ก็เพื่อให้อยู่กับความจริงที่กำลังเกิดขึ้น โดยเน้นให้บุคคลรู้จักฝึกสติให้อยู่กับเนื้อกับตัว อย่าไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ อย่าไปคิดเรื่องอดีตเรื่องอนาคต พยายามให้อยู่กับปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด และให้อยู่กับสิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่

 

  1. ทุกศาสนาต่างมีคำสั่งสอนที่แตกต่างกันไปในรายละเอียด แต่มีสิ่งที่เหมือนกันคือเรื่องใด

 

  1. ละเว้นความชั่ว

 

  1. บริจาคทาน

 

  1. สอนให้เป็นคนดี

 

  1. มีความขยันอดทน

 

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

 

  1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือสิ่งของใดต่อไปนี้

 

  1. งอบ

 

  1. เตาถ่าน

 

  1. รองเท้า

 

  1. เครื่องนุ่งห่ม

 

ตอบ 1 หน้า 431 , 211 (H), (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย หมายถึง องค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลในท้องถิ่น รวมถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ในการทำมาหากิน เช่น สุ่ม ข้อง ไซ งอบ กะโล่ ฯลฯ

 

  1. การสร้าง “ฝาย” เป็นภูมิปัญญาเกี่ยวกับเรื่องใด

 

  1. การป้องกันน้ำท่วม

 

  1. การคมนาคม

 

  1. การเก็บกักน้ำ

 

  1. การระบายน้ำ

 

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การสร้างฝ่าย (Check Dam) เป็นภูมิปัญญาของภาคเหนือเพื่อเก็บกักน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ราบ โดยมีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ขวางหรือกั้นทางน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำหัวหรือธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากเป็นช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนเอาไว้ไม่ให้ไปทับถมน้ำตอนล่าง จึงถือเป็นวิธีเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง

 

  1. บุคคลใดต่อไปนี้คือผู้อนุรักษ์ร้องเพลงพื้นบ้าน (เพลงอีแซว)

 

  1. พุ่มพวง ดวงจันทร์

 

  1. ขวัญจิต ศรีประจันต์

 

  1. สุทธิราช วงษ์เทวัญ

 

  1. หวังเต๊ะ

 

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน – อีแซว) ถือ เป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เนื่องจากท่านได้อุทิศชีวิตในการอนุรักษ์ เผยแพร่ และถ่ายทอดเพลงอีแซวให้กับลูกศิษย์และผู้สนใจมาโดยตลอด นอกจากนี้ท่านยังได้ใช้ความรู้ความสามารถช่วยเหลือสถาบันการศึกษาและหน่วย งานราชการในการเป็นวิทยากรสาธิต รวมทั้งรับแขกบ้านแขกเมืองด้วยการแสดงำพื้นบ้านติดต่อกันมาอย่างยาวนาน

 

  1. ปฏิจจสมุปบาท ท่านเข้าใจว่าอย่างไร

 

  1. การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยซึ่งกันและกัน

 

  1. กฎที่ว่าด้วยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย

 

  1. กระบวนการแห่งการเกิดทุกข์

 

  1. เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดทุกข์

 

ตอบ 1 หน้า 85 (H), (คำบรรยาย) ปฏิจจสมุปทาน เป็น หลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนาที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมกันแห่งธรรมทั้ง หลายเพราะอาศัยกัน หรือการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยซึ่งกันและกันจึงเกิดมีขึ้น โดยพุทธศาสนาสอนว่าทุกชีวิตมีส่วนเป็นเหตุเป็นผลเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาด สายเมื่อมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ก็เป็นเหตุให้อีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสืบต่อกันเป็นลูกโซ่ ไม่รู้จักจบสิ้น

 

  1. ข้อใดแสดงว่าเป็นผู้ “เกิดปัญญา”

 

  1. รู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็น

 

  1. ทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัยอาศัยกันและกัน

 

  1. เข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง

 

  1. มีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง

 

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ภาวะ ทางปัญญาของผู้บรรลุนิพพานนั้น เมื่อกลายเป็นผู้ที่ “เกิดปัญญา” คือ ผู้ที่รู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็น เห็นอาการที่มันเกิดจากเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันจึงมีขึ้นก็จะเข้าใจโลก และชีวิตตามที่เป็นจริง หรือเรียกว่าเกิดมีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้ความยืดถือทิฐิและทฤษฎีทั้งหลายในทางอภิปรัชญา รวม ทั้งความสงสัยในปัญหาต่าง ๆที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ (อัพยากตปัญหา) เช่น โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นต้น ก็พลอยหายหมดไปด้วยพร้อมกันอย่างเป็นไปเอง

 

  1. บุคคลใดมี “สติ” ควบคุมตนได้ เรียกว่าคนประเภทใด

 

  1. คนหลุดพ้น

 

  1. คนพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส

 

  1. คนผู้ชนะตนเอง

 

  1. คนที่ฝึกแล้ว

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ผู้มี “สติ” ควบคุมตนได้ เรียกว่าเป็นคนที่ฝึกแล้ว หรือผู้ชนะตนเอง ซึ่งเป็นยอดของผู้ชนะสงคราม มีจิตหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวโยกคลอนไปตามอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เปรียบเหมือนภูเขาหินใหญ่ไม่ หวั่นไหวด้วยแรงลม หรือเหมือนผืนแผ่นดินที่รองรับทุกสิ่งไม่ขัดเคืองผูกใจเจ็บต่อใคร ไม่ว่าใครจะทิ้งของดีของเสีย หรือของสะอาดไม่สะอาดลงไป

 

  1. การเปรียบเทียบใบบัวที่ไม่เปียกน้ำ และดอกที่เกิดในโคลน แต่สะอาดสวยงามบริสุทธิ์ไม่เปื้อนโคลนท่านเข้าใจอย่างไร

 

  1. เปรียบกับคนอื่นที่ไม่ติดความชั่ว

 

  1. เปรียบกับความหลุดพ้นเป็นอิสระ

 

  1. เปรียบกับการไม่ติดในกาม ไม่ติดบุญบาป ไม่ติดอารมณ์

 

  1. เปรียบกับคนที่มีจิตใจสะอาด

 

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ภาวะ ทางจิตของผู้บรรลุนิพานที่สำคัญเป็นพื้นฐาน คือ ความหลุดพ้นเป็นอิสระ หมายถึง ความไม่ติดในสิ่งที่ต่าง ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ไม่ติดในกาม ไม่ติดในบาปบุญ ไม่ติดในอารมณ์อันจะเป็นเหตุให้ต้องรำพึงหลังหวังอนาคต ซึ่งความหลุดพ้นเป็นอิสระนี้มักเปรียบเทียบกับใบบัวที่ไม่เปียกน้ำ และดอกบัวที่เกิดในโคลนตม แต่สะอาดสวยงามบริสุทธิ์ไม่เปื้อนโคลน

 

  1. คำตรงข้ามของปุถุชนคือข้อใด

 

  1. วิญญูชน

 

  1. อนารยชน

 

  1. อริยชน

 

  1. ปัญญาชน

 

ตอบ 3 (คำบรรยาย) คำว่า “ปุถุชน” หมายถึง คนธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ดังที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน หมายถึง ผู้ที่มีจิตเต็มเปี่ยมไปด้วยกิเลสตัณหา อุปาทาน อกุศลธรรม..” ส่วนคำว่า “อริยชน” หมายถึง บุคคลผู้เป็นอริยะ เป็นผู้ที่ได้ความพอใจไม่พอใจ ไม่หลงไปตามอารมณ์ที่เข้ามาตกกระทบสัมผัสได้

 

  1. ข้อใดเป็นปัจจัยให้คนประพฤติชั่วมากที่สุด

 

  1. ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

 

  1. ความโลภ ความโกธร ความหลง

 

  1. อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

 

  1. ขาดสติ

 

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้คนประพฤติชั่วมากที่สุด ได้แก่

 

  1. อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้ตามความเป็นจริง หรือตามสภาวะที่ทำให้เกิดอัตตาหรือตัวตนขึ้นมาเป็นที่ข้องขัด

 

  1. ตัณหา หมายถึง ความ อยากที่จะให้อัตตาหรือตัวตนเกี่ยวข้องกับสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอาการที่ สนองความขาดความพร่องของอัตตา หรือหล่อเลี้ยงเสริมขยายอัตตานั้น

 

  1. อุปาทาน หมายถึง ความยึดติดกับสิ่งหรือภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีคามหมายสำคัญต่อการสนองอัตตา ทั้งนี้เพื่อความยิ่งใหญ่เข้มแข็งมั่นคงอัตตาหรือตัวตนนั้น

 

  1. ข้อใดไม่ใช่งานหลักของผู้หลุดพ้น (นิพพาน)

 

  1. ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างในคุณธรรม

 

  1. การให้ความรู้ ส่งเสริมสติปัญญา

 

  1. การแนะนำสั่งสอนให้ความเข้าใจแก่ผู้อื่น

 

  1. ปลีกวิเวกอยู่คนเดียว ละทิ้งทุกอย่าง

 

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ผู้ที่บรรลุนิพพาน (ผู้หลุดพ้น) ถือ เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ตนเสร็จสิ้นแล้วก็จะต้องดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อ ปฏิบัติประโยชน์แก่ผู้อื่น ซึ่งงานหลักของผู้ที่บรรลุนิพพานแล้วได้แก่ การแนะนำสั่งสอน การให้ความรู้ การส่งเสริมสติปัญญาและคุณธรรมต่าง ๆ ตลอดจนการดำเนินชีวิตและการประพฤติตัวเป็นแบบอย่างในทางที่มีความสุข มีคุณธรรม และเป็นชีวิต ที่ดีงาม ซึ่งคนภายหลังจะถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามได้

 

  1. โรคของสัตว์แบ่งเป็นกี่ชนิด ประกอบด้วยอะไรบ้าง

 

  1. 3 ชนิด คือ โรคทางกาย โรคทางใจ และโรคทางวิญญาณ

 

  1. 2 ชนิด คือ โรคทางกาย และโรคทางใจ

 

  1. ในปัจจุบันมีโรคมากมายนับไม่ได้

 

  1. 2 ชนิด โรคที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม

 

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ท่านพุทธทาสภิกขุได้แบ่งโรคของสัตว์โลกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

 

  1. โรคทางกาย คือ การเจ็บป่วยทางร่างกาย ก็ไปหาโรงพยาบาลตามธรรมดา

 

  1. โรคทางใจ คือ การเจ็บป่วยทางใจ จิตไม่สมประกอบหรือโรคทางจิตก็ไปหาโรงพยาบาลประสาทหรือโรงพยาบาลประสาทหรือโรงพยาบาลโรคจิต

 

  1. โรคทางวิญญาณ คือ โรคทางสติปัญญา ก็ต้องไปหาโรงพยาบาลของพระพุทธเจ้าซึ่งจะรักษาด้วย “ธรรม” เพื่อช่วยขจัดโรคทางวิญญาณ

 

  1. ข้อใดเป็นส่วนประกอบของขันธ์ห้า

 

  1. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

 

  1. รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

 

  1. ตา หู จมูก ลิ้น กาย

 

  1. สุข ทุกข์ ไม่สุข มาทุกข์

 

ตอบ 1 หน้า 209 – 210 , (คำบรรยาย) ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ปัญญา) หมายถึง ร่างกายของคนเรา ซึ่งแยกร่างกายออกเป็นส่วน ๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน ได้แก่

 

  1. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม และไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต ฯลฯ

 

  1. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกต่อสิ่งที่สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

 

  1. สัญญา ได้แก่ ความจำในสิ่งที่ได้รับและรู้สึก

 

  1. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่ได้รับ รู้สึก และจำได้

 

  1. วิญญาณ ได้แก่ ระบบการรับรู้สิ่งนั้น ๆ หลังจากแยกแยะแล้ว

 

  1. ยาป้องกันไม่ให้เกิดโรค ทางธรรมเรียกว่าอะไร

 

  1. ธรรมารมณ์

 

  1. เทพโอสถ

 

  1. ธรรมโอสถ

 

  1. อโรคาโอสถ

 

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ท่าน พุทธทาสภิกขุได้กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นนายแพทย์ผู้เยียวยาโรคทั้งหลายของสัตว์โลกทั้งปวง ได้ทรงประทาน “ธรรมโอสถ” เพื่อความมีจิตปกติ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งจะเป็นยาที่ช่วยรักษา แก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดโรคทั้งปวง เพราะถ้าจิตปกติแล้วโรคทางกาย โรคทางใจ และโรคทางวิญญาณก็จะไม่เกิดขึ้น ที่สูงกว่านั้นก็คือ จะพ้นจากอารมณ์ร้ายที่มาบีบคั้นจิตใจ ปลอดภัยจากความโลภ ความโกธร และความหลง

 

  1. พระพุทธศาสนาทรงให้สัมมาทิฐิเป็นข้อแรกในมรรค 8 เพราะเหตุใด

 

  1. ความยุ่งยากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทุกระดับล้วนมีสาเหตุจากการขาดสติสัมมาทิฐิ

 

  1. สัตว์ทั้งปวงล่วงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงด้วยสัมมาทิฐิ

 

  1. สัมมาทิฐิเป็นรุ่งอรุณแห่งกุศลกรรมทั้งหลาย

 

  1. สัมมาทิฐิเป็นตัวนำให้เกิดธรรมะข้ออื่นอย่างครบถ้วน

 

ตอบ 4 หน้า 674 , (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 40. ประกอบ) สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงจัดให้สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นธรรมะข้อแรกของมรรค 8 ก็เนื่องมาจากสัมมาทิฐิเป็นตัวนำร่องให้เกิดองค์มรรคอื่น ๆ อย่างครบถ้วน ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสวงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิตฉันใด สัมมาทิฐิก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อการตรัสรู้ตามที่เป็นจริงซึ่งอริยสัจ 4 ประการฉันนั้น… สัมมาทิฐิเป็นหัวหน้าอย่างไร เมื่อมาสัมมาทิฐิสัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจาจึงพอเหมาะสมได้….”

 

  1. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีพื้นฐานมาจากคำตอบในข้อใดต่อไปนี้

 

  1. ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

 

  1. การปรับตัวของสังคมไทย

 

  1. วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย

 

  1. วิถีชีวิตยุคใหม่ของสังคมไทย

 

ตอบ 3 หน้า 58 (H), 198 (H) กรอบ แนวคิดจองปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยมุ่งเน้นให้รอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

 

  1. คุณลักษณะของการมีภูมิคุ้มกัน ตรงกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

 

  1. การคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสภาพการณ์

 

  1. การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

  1. การคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

  1. การตั้งรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

 

ตอบ 2 หน้า 58 (H), 198 (H), (คำบรรยาย) คุณลักษณะของ “การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตังเอง” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การ เตรียมตัวให้พร้อมที่ตะรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้ง ใกล้และไกล เช่น การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสำหรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นต้น

 

  1. การเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นับได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้อใด

 

  1. ความพอประมาณ

 

  1. ความมีเหตุผล

 

  1. การมีภูมิคุ้มกัน

 

  1. การมีส่วนร่วม

 

ตอบ 3 ดุคำอธิบายข้อ 98. ประกอบ

 

  1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นเงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

  1. พอประมาณ

 

  1. คุณธรรม

 

  1. ภูมิคุ้มกัน

 

  1. มีเหตุผล

 

ตอบ 2 หน้า 58 (H), 199 (H) การตันสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยเงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน ดังนี้ 1. เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนการปฏิบัติ 2. เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทนมีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ ไม่ตระหนี่

 

  1. เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสมกับประชาชนกลุ่มใด

 

  1. ระดับผู้บริหาร

 

  1. ระดับปฏิบัติการ

 

  1. ประชาชนทั่วไป

 

  1. ประชาชนทุกระดับ

 

ตอบ 4 หน้า 200 (H) เป้า ประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะมุ่งเน้นถึงแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จงถึงระดับรัฐ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดย เฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

 

  1. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมมากที่สุด

 

  1. พึ่งพาตนเองได้

 

  1. ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

  1. ความมั่นคงปลอดภัย

 

  1. การอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข

 

ตอบ 2 หน้า 200 (H) ประโยชน์ ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

 

  1. จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงตรงกับข้อใดต่อไปนี้

 

  1. การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น

 

  1. การต่อยอดทางเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน

 

  1. การแก้ปัญหาหนี้สินของชาติ

 

  1. การสร้างเครือข่ายทางเศรษฐกิจ

 

ตอบ 3 หน้า 195 – 197 (H), 205 (H) , (คำบรรยาย) พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครั้งแรกในงานพระราช ทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 แต่ จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ที่แท้จริงจะเริ่มขึ้น เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและปัญหา หนี้สินของชาติ

 

  1. ทฤษฏีอันเกิดจากแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือทฤษฏีใดต่อไปนี้

 

  1. ทฤษฏีระบบ

 

  1. ทฤษฎีใหม่

 

  1. ทฤษฎีจูงใจ

 

  1. ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ

 

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

 

  1. ความรู้อันเกิดจากการทดลองปฏิบัติ เป็นความรู้ที่มาจากส่วนใดต่อไปนี้

 

  1. ตำรา

 

  1. ประสบการณ์

 

  1. คำบอกเล่า

 

  1. การคิดไตร่ตรอง

 

ตอบ 2 หน้า 185 (H) ความรู้มีบ่อเกิดหรือที่มาดังนี้

 

  1. ประสบการณ์ คือ ความรู้อันเกิดจากการทดลองปฏิบัติ หรือความรู้ที่ได้จากการสรุปบทเรียน

 

  1. คำบอกเล่า คือ ความรู้อันเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้

 

  1. ตำรา คือ ความรู้อันเกิดจากนักวิชาการในสาขาต่าง ๆ

 

  1. การคิดไตรตรองจากที่มาของความรู้ 3 ข้อข้างต้น

 

  1. ข้อใดไม่ใช่ที่มาของปัญญาตามหลักปัญญา 3

 

  1. การฟัง

 

  1. ความรู้ฝังลึก

 

  1. ความรู้นามธรรม

 

  1. ความรู้รูปธรรม

 

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

 

  1. ความรู้ที่อยู่ในรูปของตำรา เอกสาร คู่มือ จัดเป็นความรู้ประเภทใด

 

  1. ความรู้ชัดแจ้ง

 

  1. ความรู้ฝังลึก

 

  1. ความรู้นามธรรม

 

  1. ความรู้รูปธรรม

 

ตอบ 1 หน้า 186 (H) ความรู้แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้

 

  1. ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในสมองของคน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด

 

  1. ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปของตำรา เอกสาร วารสาร คู่มือ คำอธิบาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น วีซีดี คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และฐานข้อมูล

 

  1. ลักษณะของความรู้สำคัญ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

 

  1. ความรู้ทั่วไป

 

  1. ความรู้เฉพาะทาง

 

  1. ความรู้ที่เป็นสัจจะ

 

  1. ความรู้ใหม่ๆ

 

ตอบ 3 หน้า 65 (H), 186 (H) ลักษณะของความรู้ที่สำคัญ คือ ความรู้ที่เป็นสัจจะ หมายถึง รู้ในสิ่งที่ควรรู้ โดยมนุษย์จะแสวงหาสัจจะจาก 2 ส่วน ได้แก่

 

  1. ความรู้ที่เป็นสัจจะโลก คือ การหาความรู้ตามศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ หรือตามสรรพวิชาต่าง ๆ

 

  1. ความ รู้ที่เป็นสัจจะธรรม คือ การหาความรู้ตามหลักความเชื่อของแต่ละลัทธิศาสนาซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดในการ แสวงหาความรู้เพื่อทำให้เกิดความสงสุข

 

  1. เป้าหมายสูงสุดในการแสวงหาความรู้ตามหลักความเชื่อ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

 

  1. ทำให้เข้าใจตนเอง

 

  1. ทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

 

  1. ทำให้เกิดความสงสุข

 

  1. ทำให้เกิดการยอมรับทางสังคม

 

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ

 

  1. ความรู้ที่มีลักษณะเป็นสัจจะ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้

 

  1. รู้ในเรื่องทั่ว ๆ ไป

 

  1. รู้ในสิ่งที่ควรรู้

 

  1. รู้ในทุก ๆ เรื่อง

 

  1. รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้

 

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ

 

  1. ความรู้ที่เป็นสัจจะธรรม คือความรู้ในลักษณะใด

 

  1. ความรู้ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ

 

  1. ความรู้ตามศาสตร์ต่าง ๆ

 

  1. ความรู้ตามหลักความเชื่อ

 

  1. ความรู้ตามแนวคิดทฤษฎี

 

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ

 

  1. ความรู้ที่เป็นสัจจะโลก คือความรู้ในลักษณะใด

 

  1. ความรู้ตามหลักความเชื่อ

 

  1. ความรู้ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ

 

  1. ความรู้ตามศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ

 

  1. ความรู้ตามสมัยนิยม

 

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ

 

  1. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดด้านคุณธรรมทางการเมืองของโสเครติส

 

  1. เป้าหมายแห่งชาติ

 

  1. ความรอบคอบ

 

  1. ความรู้เกี่ยวกับความดี

 

  1. ปราชญ์เป็นผู้มีความรู้จึงเป็นผู้มีคุณธรรม

 

ตอบ 2 หน้า 189 (H), (คำบรรยาย) แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับคุณธรรมทางการเมืองของโสเครติส (Socrates) มีดังนี้

 

  1. เป้าหมายแห่งชีวิตมนุษย์ คือ การได้อยู่ในสังคมที่ดีงามเหมาะสม และได้รับความยุติธรรม ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์

 

  1. ความรู้เกี่ยวกับความดีที่สังคมพึงกระทำให้กันหรือแสดงออกต่อกัน

 

  1. ปราชญ์เป็นผู้ที่มีความรู้จึงเป็นผู้มีคุณธรรม

 

  1. “อำนาจและความยุติธรรม” เป็นแนวคิดคุณธรรมทางการเมืองของใคร

 

  1. อริสโตเติล (Aristotle)

 

  1. เพลโต (Plato)

 

  1. โสเครติส (Socrates)

 

  1. โคลเบิร์ก (Kohlberk)

 

ตอบ 2 หน้า 189 (H) แนวคิดด้านคุณธรรมทางการเมืองของเพลโต (Plato) ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ อุตมรัฐ (The Republic) ซึ่งประกอบด้วยแนวความคิดที่สำคัญดังนี้ 1. อำนาจและความยุติธรรม 2. การปกครองเป็นศิลปะ 3. ราชาปราชญ์ควรเป็นผู้ทรงคุณธรรม คือ เป็นผู้เสียสละ และเป็นผู้ที่ไม่ควรมีทรัพย์สินและครอบครัว 6. ผู้ปกครองเป็นปราชญ์ที่ทรงคุณธรรมจึงปกครองด้วยปัญญา

 

  1. “การกระทำความดีและยกย่องคนดี” เป็นแนวคิดด้านคุณธรรมทางการเมืองของใคร

 

  1. โสเครติส (Socrates)

 

  1. เพลโต (Plato)

 

  1. อริสโตเติล (Aristotle)

 

  1. ออกัสก๊อง (Orguskong)

 

ตอบ 1 หน้า 189 (H) แนวคิดคุณธรรมทางการเมืองของโสเครติส (Socrates) มีดังนี้

 

  1. ปัญญา (Wisdom) 2. ความกล้าหาญ (Courage) 3. การควบคุมตนเอง (Temperance) 4. ความยุติธรรม (Justice) 5. การกระทำความดีและยกย่องคนดี (Piety)

 

  1. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของเศรษฐกิจได้ครอบคลุมมากที่สุด

 

  1. ระบบการผลิตที่ครบวงจร

 

  1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า

 

  1. งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย การบริโภค

 

  1. การลงทุนที่ต้องการผลกำไร

 

ตอบ 3 หน้า 388 , 191 (H) ราชบัณฑิตสถานได้ให้ความหมายของ “เศรษฐกิจ” ที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ในชุมชนและในสังคมทั่วไป

 

  1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ

 

  1. ความมีวินัย

 

  1. ความซื่อสัตย์

 

  1. ความเกรงใจ

 

  1. ความมีน้ำใจ

 

ตอบ 3 หน้า 191 – 192 (H) หลักคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีอยู่ 8 ประการ ได้แก่

 

  1. ความขยัน 2. ความประหยัด 3. ความซื่อสัตย์ 4. ความมีวินัย

 

  1. ความสุภาพ 6. ความสะอาด 7. ความสามัคคี 8. ความมีน้ำใจ

 

  1. คำตอบในข้อใดคือหลักธรรมที่ทำให้โลกดำรงอยู่ได้

 

  1. อิทธิบาท

 

  1. พรหมวิหาร

 

  1. โลกบาลธรรม

 

  1. สังคหวัตถุ

 

ตอบ 3 หน้า 193 (H), 238 (H) โลกบาล ธรรม คือ ธรรมะสำหรับคุ้มครองโลก ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ทำให้โลกดำรงอยู่ได้ เพราะจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่ช่วยควบคุมจิตใจของมนุษย์ให้อยู่ในความดี ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและมีระเบียบไม่สับสน มีอยู่ 2 ประการ ได้แก่ 1. หิริ หมายถึง ความละอายแก่ใจต่อการที่จะทำความชั่วหรือบาปทุกชนิด เมื่อคิดจะทำชั่วแล้วไม่กล้าทำ 2. โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาป เกรงกลัวต่อผลจากการทำชั่วกลัวว่าความชั่วจะทำให้เกิดผลร้ายต่อตนเองและผู้อื่น

 

  1. เพราะเหตุใดจึงจัดความละอายแก่ใจและความเกรงกลัว เป็นคุณธรรมที่คุ้มครองโลก

 

  1. กุศโลบายให้เกิดความกลัว

 

  1. สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้อง

 

  1. แนวทางให้คนปฏิบัติ

 

  1. ปรับวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน

 

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 118. ประกอบ

 

  1. คุณธรรมในข้อใดที่ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความงดงาม

 

  1. การให้

 

  1. การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย

 

  1. การบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์

 

  1. ความอดทน

 

ตอบ 4 หน้า 193 (H) คุณธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติมีความงดงาม หรืออันทำให้งาม มีอยู่ 2 ประการได้แก่ 1. ขันติ คือ ความอดทน ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น อดทนต่อราคะ (ความกำหนัดยินดี) อดทนต่อโทสะ (การประทุษร้ายผู้อื่น) อดทนต่อโมหะ (ความโง่เขลาเบาปัญญาที่เกิดขึ้น) อดทนต่อการล่วงเกินหรือคำด่าของผู้อื่น อดทนต่อความยากลำบาก ฯลฯ (ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ) 2. โสรัจจะ คือ ความเสงี่ยมทางกาย วาจา และใจ ซึ่งบางครั้งจะใช้คำว่า “อวิโรธนัง” (ความไม่มีอะไรพิรุธ) นอกจากนี้ความโกธรหรือใจเย็นก็ทำให้งดงามได้เหมือนกัน

Advertisement