การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 คําจํากัดความของบุคลิกภาพที่ว่า “โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม” เป็นคําจํากัดความของใคร

(1) ฟรอยด์

(2) แอดเลอร์

(3) อัลพอร์ท

(4) มาสโลว์

(5) เอริกสัน

ตอบ 3 หน้า 284 อัลพอร์ท (Alport) กล่าวว่า บุคลิกภาพ คือ โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบจิตสรีระของมนุษย์นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุที่ทําให้บุคคลต้องปรับตัว และการปรับตัวที่ต่างกันของบุคคลแต่ละคนจะทําให้บุคลิกภาพต่างกันด้วย

2 ฟรอยด์กล่าวถึงบุคลิกภาพของมนุษย์ไว้อย่างไร

(1) บุคลิกภาพเกิดจากการวางเงื่อนไข

(2) บุคลิกภาพได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเท่านั้น

(3) การพัฒนาตัวตนไปสู่ความสมบูรณ์ต้องอาศัยความเข้าใจตนเองอย่างจริงแท้ (4) พฤติกรรมของมนุษย์ได้รับอิทธิพลมาจากจิตใต้สํานึก

(5) การเสริมแรงทางบวกจะทําให้เกิดพัฒนาการทางบุคลิกภาพ

ตอบ 4 หน้า 291 292, (คําบรรยาย) ฟรอยด์ (จิตวิเคราะห์) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์มาจากแรงจูงใจของจิตใต้สํานึกหรือได้รับอิทธิพลมาจากจิตใต้สํานึก โดยเน้นสัญชาตญาณทางเพศและความก้าวร้าวเป็นหลัก

3 ส่วนของบุคลิกภาพที่เป็นกระบวนการทํางานขั้นต้น (Primary Process) คือ

(1) Id

(2) Ego

(3) Superego

(4) Unconscious

(5) Conscious

ตอบ 1 หน้า 288 ส่วนของบุคลิกภาพที่เป็นกระบวนการทํางานขั้นต้น (Primary Process) คืออิด (Id) ที่ยึดแต่ความพึงพอใจเป็นหลักโดยไม่คํานึงถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนกระบวนการ ทํางานขั้นที่ 2 (Secondary Process) คือ อีโก้ (Ego) ที่ยึดหลักแห่งความเป็นจริงโดยร่วมกับกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล

4 ส่วนของจิตใจที่ฟรอยด์เปรียบเทียบว่าเหมือนส่วนยอดภูเขาน้ำแข็งที่ลอยพ้นน้ำคืออะไร

(1) Id

(2) Ego

(3) Superego

(4) Unconscious

(5) Conscious

ตอบ 5 หน้า 11, 289 ส่วนของจิตที่ฟรอยด์เปรียบเทียบว่าเหมือนส่วนยอดภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือน้ำหรือพ้นน้ำ คือ จิตสํานึก (Conscious), ส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ คือ จิตใต้สํานึก (Unconscious)และส่วนที่อยู่ปริ่มน้ำ คือ จิตก่อนสํานึก (Preconscious)

5 มนุษย์มีอิสรภาพที่จะตัดสินใจและกําหนดชะตาชีวิตของตนเอง เป็นแนวคิดในกลุ่มทฤษฎีใด

(1) จิตวิเคราะห์

(2) มนุษยนิยม

(3) เกสตัลท์

(4) พฤติกรรมนิยม

(5) ปัญญานิยม

ตอบ 2 หน้า 292 นักมนุษยนิยม มองว่า มนุษย์มีอิสรภาพที่จะตัดสินใจและกําหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเอง และสามารถ รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้กระทําลงไป

6 แนวคิดของเซลดอน (Sheldon) กล่าวว่า บุคคลที่มีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน ชอบกิน ๆ นอน ๆ คือ

(1) Endomorphy

(2) Mesomorphy

(3) Exsomorphy

(4) Suprememorphy

(5) Stablemorphy

ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) แบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบายโกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุหรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ

2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย เฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง  โมโหยากแต่หายช้า ไม่กล้าแสดงออก พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้งเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

7 การกล่าวว่า “คนไทยใจดี” “คนใต้รักพวกพ้อง” “คนเหนือพูดสุภาพ” เหล่านี้ถือว่าเป็นการแบ่งกลุ่มอุปนิสัย ในลักษณะใดตามทฤษฎีของอัลพอร์ท

(1) ลักษณะสามัญ

(2) ลักษณะเฉพาะเจาะจง

(3) ลักษณะแฝง

(4) ลักษณะประจําตัวดั้งเดิม

(5) ลักษณะพื้นผิว

ตอบ 1 หน้า 294 296 อัลพอร์ท (Allport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง เชื่อว่า การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน จะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกัน มีความคล้ายคลึงกันได้ เรียกว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือพูดจาสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยใจดี คนญี่ปุ่นมีระเบียบวินัย ฯลฯ

8 ตามทฤษฎีของฟรอยด์ หากบิดามารดาเคร่งครัดเข้มงวดต่อการขับถ่ายของเด็กช่วงอายุ 2 – 3 ปี บุคคลนั้น จะเติบโตมาโดยมีแนวโน้มบุคลิกภาพเช่นใด

(1) พูดคําหยาบ ปากจัด ชอบถากถาง

(2) ชอบกิน

(3) ติดบุหรี่หรือยาเสพติด

(4) เบี่ยงเบนทางเพศ

(5) จู้จี้เจ้าระเบียบ

ตอบ 5 หน้า 299 ขั้นพัฒนาการของฟรอยด์ในขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage) เกิดในช่วงอายุ 2 – 3 ปี ซึ่งเด็กจะมีศูนย์กลางความพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนัก เด็กจะพอใจที่ได้ปลดปล่อย หากในช่วงนี้บิดามารดาที่เคร่งครัดเข้มงวดกับเด็กมากเกินไปในเรื่องการขับถ่าย เมื่อเด็กโตขึ้น จะเกิดความขัดแย้งใจ มีแนวโน้มบุคลิกภาพที่จู้จี้เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดจนเกินเหตุ และบางครั้งอาจมีพฤติกรรมประเภทดื้อรั้นและดันทุรังได้

9 แบบทดสอบ MAPI คือแบบทดสอบกลุ่มใด

(1) แบบสอบถาม

(2) การสัมภาษณ์

(3) การสังเกต

(4) การฉายภาพจิต

(5) การกําหนดสถานการณ์

ตอบ 1 หน้า 304 – 308, 315 เครื่องมือที่ใช้วัดบุคลิกภาพของบุคคล มีดังนี้

1 การสัมภาษณ์

2 การสังเกตโดยตรง

3 การกําหนดสถานการณ์

4 การใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบทดสอบ MMPI, CPI และ 16 PF

5 การฉายภาพจิต ได้แก่ แบบทดสอบรอร์ชาค และ TAT

10 แบบทดสอบที่ให้ดูภาพหยดหมึกและให้ตอบว่าเหมือนอะไรคือแบบทดสอบใด

(1) TAT

(2) MMPI

(3) 16 PF

(4) Rorschach

(5) CPI

ตอบ 4 หน้า 308 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1 แบบทดสอบรอร์ช”ค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาตอบว่าภาพนั้นเหมือนอะไรหรือเขาเห็นอะไรในรูปนั้นบ้าง

2 แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาบรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

11 ใครคือผู้นิยามความหมายของสติปัญญา ดังนี้ “สติปัญญาเป็นความสามารถในการที่จะทํากิจกรรมต่าง ๆ ให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี”

(1) อัลเฟรด บิเนต

(2) เดวิด เวคสเลอร์

(3) จอร์จ สต๊อดดาร์ด

(4) โฮวาร์ด การ์ดเนอร์

(5) ฟรานซิสกัลตัน

ตอบ 3 หน้า 321 จอร์จ สต๊อดดาร์ด (George Stoddard) กล่าวว่า สติปัญญาเป็นความสามารถในการที่จะทํากิจกรรมต่าง ๆ ให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี อันได้แก่ กิจกรรมที่มีความสลับซับซ้อนที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ที่มีคุณค่าทางสังคม และที่ต้องใช้ความอดทน ฯลฯ

12 บุคคลที่พัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญาฉบับแรกคือ

(1) บิเนต์ และไซมอน

(2) เวคสเลอร์

(3) เทอร์แมน

(4) เทอร์สโตน และกิลฟอร์ด

(5) เมอร์ริล

ตอบ 1 หน้า 324, 336 อัลเฟรด บิเนต์ (Alfred Binet) และธีโอฟิล ไซมอน (Theophile Simon) ได้สร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญารายบุคคลขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1905 เพื่อแยกเด็กที่มีความผิดปกติทางสมองออกจากเด็กปกติ

13 จากทฤษฎีสองตัวประกอบของ สเปียร์แมน “G-factor” คืออะไร

(1) ความสามารถเฉพาะตัวของบุคคล

(2) ความสามารถใช้คําได้คล่องแคล่ว

(3) การใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไป และทุกคนมีเหมือนกันหมด

(4) ความสามารถในการจํา

(5) ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ

ตอบ 3 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1 ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด

2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

14 หากเด็กหญิงสมฤดีทําแบบทดสอบได้อายุสมอง 40 เดือน อายุจริงตามปฏิทินเท่ากับ 3 ปี เด็กหญิงสมฤดีจะมีคะแนนความสามารถทางสติปัญญา (IQ) เท่ากับ (หากมีเศษให้ปัดลง)

(1) 111

(2) 99

(3) 88

(4) 77

(5) 11

ตอบ 1

15 หากเด็กหญิงอมรรัตน์ทําแบบทดสอบได้คะแนนความสามารถทางสติปัญญา (IQ) เท่ากับ 95 แสดงว่า

(1) ปัญญาอ่อน

(2) ปัญญาคาบเส้น

(3) ปัญญาทึบ

(4) ปกติ

(5) ค่อนข้างฉลาด

ตอบ 4 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (I.O.) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้

1 ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70

2 คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ. 71 – 80

3 ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ I.Q. 81 – 90

4 เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.Q. 91 – 110 ซึ่งถือเป็นระดับปานกลาง

5 ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ I.Q. 111 – 120

6 ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140

7 อัจฉริยะ (Genius) มีระดับ I.Q. 140 ขึ้นไป

16 คุณสมบัติใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาตรฐาน (Standardization) ของแบบทดสอบ

(1) กําหนดเวลาที่แน่นอนในการทดสอบ

(2) กําหนดคําสั่งในการทดสอบไว้ชัดเจน

(3) แสดงตัวอย่างในการตอบ

(4) มีเกณฑ์ปกติ

(5) ทฤษฎีรองรับ

ตอบ 5 หน้า 328 329 ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) หมายถึง ความมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ การตรวจให้คะแนน และการแปลความหมายของคะแนน (การแปลผล) โดยแบบทดสอบที่มีมาตรฐานจะต้องมีลักษณะดังนี้

1 กําหนดเวลาในการทดสอบที่แน่นอน

2 กําหนดคําสั่งหรือคําแนะนําในการทดสอบไว้ชัดเจน

3 แสดงตัวอย่างในการตอบข้อสอบ

4 มีวิธีการให้คะแนนที่แน่นอน

5 มีเกณฑ์ปกติ (Norms) หรือค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนปกติทั่ว ๆ ไป

17 ข้อใดเป็นแบบทดสอบวัดสติปัญญาที่สามารถใช้ทดสอบเป็นรายกลุ่มได้

(1) Stanford-Binet

(2) WAIS

(3) WISC

(4) Standard PM

(5) WPPSI

ตอบ 4 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีพเมตริซีส (Progressive Matrices Test) เป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) มี 3 ฉบับ คือ Standard PM (ใช้กับผู้ใหญ่), Coloured PM (ใช้กับเด็ก) และ Advanced PM (ใช้กับผู้ใหญ่ที่ฉลาด) โดยแบบทดสอบทั้ง 3 ฉบับนี้ สามารถ

ใช้ทดสอบเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้

18 แบบทดสอบที่มีโครงสร้างที่วัดความสามารถด้านภาษา (Verbal) และการประกอบการ (Performance) คือ

(1) Stanford-Binet

(2) Coloured PM

(3) Advanced PM

(4) Standard PM

(5) WISC

ตอบ 5 หน้า 330, 333 แบบทดสอบสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechsler) มี 3 ฉบับคือ WAIS (ใช้กับผู้ใหญ่อายุ 16 – 75 ปี), WISC (ใช้กับเด็กอายุ 5 – 15 ปี) และ WPPSI (ใช้กับเด็ก อายุ 4 – 6 ปี) ซึ่งแบบทดสอบทั้ง 3 ฉบับนี้จะมีโครงสร้างเหมือนกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 เป็นแบบทดสอบที่วัดความสามารถเชิงภาษา (Verbal Scale) และหมวดที่ 2 เป็นแบบทดสอบประกอบการ (Performance Scale)

19 แบบทดสอบที่มีความเชื่อถือได้ (Reliability) คือลักษณะใด

(1) มีความคงที่ของคะแนน

(2) วัดในสิ่งที่ต้องการวัด

(3) มีแบบแผนในการทดสอบ

(4) มีคําสั่งในการทดสอบชัดเจน

(5) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครจะเป็นคนตรวจให้คะแนน

ตอบ 1 หน้า 328 ความเชื่อถือได้ (Reliability) เป็นความเที่ยงของแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน โดยแบบทดสอบที่ดีนั้นผู้รับการทดสอบจะต้องทําคะแนนได้ตรงกันทั้งสองครั้ง ในวันและเวลาต่างกัน

20 ข้อใดกล่าวผิด

(1) ผู้ทําแบบทดสอบสติปัญญาต้องชํานาญเกี่ยวกับเครื่องมือ

(2) ผู้รับการทดสอบสติปัญญาต้องให้ความร่วมมือ ผลการทดสอบจึงเที่ยงตรง

(3) สภาพแวดล้อมขณะทดสอบต้องสงบนิ่ง และมีสิ่งรบกวนน้อยที่สุด

(4) บุคคลทั่วไปสามารถซื้อแบบทดสอบสติปัญญามาฝึกฝนได้ด้วยตนเองได้ตามคู่มือแนะนํา

(5) ผู้รับการทดสอบที่มีความบกพร่องทางภาษาไม่สามารถทําแบบทดสอบสติปัญญาได้

ตอบ 4 หน้า 332 พื้นฐานสําคัญประการหนึ่งที่ผู้ใช้แบบทดสอบจะต้องมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ คือ การขายและการใช้แบบทดสอบจะกระทําได้แต่เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียงพอในการใช้ แบบทดสอบเท่านั้น (บุคคลทั่วไปจะไม่สามารถซื้อแบบทดสอบได้)

 

ข้อ 21 – 25 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ไม่รับรู้ความจริง

(2) การกล่าวโทษผู้อื่น

(3) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน

(4) การถอยหลังเข้าคลอง

(5) การชดเชยสิ่งที่ขาด

 

21 พรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งกล่าวว่าตนเองแพ้การเลือกตั้งเพราะอีกฝ่ายทุจริต ถือเป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

ตอบ 2 หน้า 357 – 358 การกล่าวโทษผู้อื่นด้วยการพยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเอง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาหน้าหรือภาพพจน์ของตัวเองเอาไว้ ถือเป็นกลไกป้องกันทางจิตที่ใช้กันอยู่เสมอ จัดเป็นการปรับอารมณ์อย่างหนึ่ง แต่ถ้าใช้มากไปก็อาจทําให้กลายเป็นคนที่ไม่กล้ายอมรับความจริงมีอะไรผิดพลาดก็โทษผู้อื่นหรือโทษสิ่งอื่นแทน

22 นายสมพรไม่เชื่อที่นายแพทย์แจ้งว่าบุตรของตนเสียชีวิตแล้ว ถือเป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

ตอบ 1 หน้า 359 การไม่รับรู้ความจริง (Denial) คือ การไม่ยอมรับหรือปฏิเสธความจริง เพราะสภาพจิตยอมรับไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยที่รู้ว่าตนเองเป็นโรคร้าย แต่ยอมรับสภาพความจริงไม่ได้ ก็จะปฏิเสธการเข้ารับการรักษา ฯลฯ ซึ่งฟรอยด์ถือว่าการปฏิเสธไม่รับรู้ความจริงนี้จัดเป็นกลไกทางจิตที่มีระดับความรุนแรงที่สุด

23 นางมยุรีร้องไห้สะอึกสะอื้นกับบุตร หลังพบว่าบุตรของตนสอบเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดังไม่ได้ ถือเป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

ตอบ 4 หน้า 359 การถอยหลังเข้าคลอง (Regression) เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่ใช้ในการปรับตัวของบุคคลที่รับสภาพปัจจุบันที่ถูกคุกคามไม่ได้ จึงถอยหลังไปแสดงพฤติกรรมเหมือนเด็ก ๆ อีกครั้งหนึ่ง ทั้งที่ผ่านพ้นช่วงพฤติกรรมนั้นมานานแล้ว เช่น การกระทืบเท้า การปิดประตูดังปัง การปัสสาวะรดที่นอน การพูดไม่ชัด การร้องไห้สะอึกสะอื้น ฯลฯ

24 ผู้อํานวยการกล่าวยินดีต้อนรับกับอธิบดีคนใหม่ที่เขาไม่ชอบขี้หน้า ถือเป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

ตอบ 3 หน้า 359 ปฏิกิริยากลบเกลื่อน (Reaction-formation) เป็นวิธีการที่บุคคลเก็บกดความรู้สึกที่แท้จริงไว้ และแสดงออกในทางตรงข้ามที่สังคมยอมรับ เช่น แม่ที่เกลียดลูกเลี้ยงของตนเอง แต่แกล้งแสดงออกด้วยความรัก ซึ่งเป็นการเสแสร้งไม่จริงใจ มีลักษณะปากหวานก้นเปรี้ยว หรือหน้าเนื้อใจเสือ ฯลฯ

25 นายสมศักดิ์กล่าวถึงตนเองว่าไม่หล่อแต่รวย ถือเป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

ตอบ 5 หน้า 358 การชดเชยสิ่งที่ขาด (Compensation) เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่บุคคลใช้เพื่อชดเชยจุดอ่อนหรือปมด้อยของตัวเอง โดยหาจุดเด่นอื่นมาลบล้าง เช่น หน้าตาไม่หล่อแต่นิสัยดี ตาพิการแต่ร้องเพลงเก่ง ฯลฯ ถือเป็นวิธีการปรับอารมณ์ทางบวกมากกว่าวิธีอื่น

26 นายมนัสต้องเลือกลงทะเบียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาสถิติ ซึ่งตนเองไม่ถนัดทั้งสองวิชา แสดงว่า นายมนัสเผชิญกับความขัดแย้งแบบใด

(1) Approach-Approach Conflict

(2) Approach-Avoidance Conflict

(3) Avoidance-Avoidance Conflict

(4) Double Approach Avoidance Conflict

(5) Double Avoidance Conflict

ตอบ 3 หน้า 361 ความขัดแย้งใจแบบอยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflict) หรือแบบชัง-ชัง เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงพอใจทั้งคู่ เปรียบได้กับการหนีเสือปะจระเข้ เช่น ต้องเลือกลงทะเบียนระหว่างวิชาคณิตศาสตร์หรือวิชาสถิติซึ่งตนเองไม่ถนัดทั้ง 2 วิชา ไม่อยากเป็นทหารแต่ก็ไม่อยากหนีการเกณฑ์ทหาร ฯลฯ

27 ข้อใดกล่าวผิด

(1) สมศรีค่อย ๆ ทํางาน ไม่รีบร้อน ค่อยเป็นค่อยไป แสดงว่ามีบุคลิกภาพแบบ B (2) ความเครียดมิได้มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์

(3) ภาวะที่ร่างกายเตรียมเผชิญกับความเครียดคือปฏิกิริยาตื่นตระหนก

(4) มนุษย์มีความทนต่อแรงกดดันแตกต่างกัน

(5) อุปนิสัยส่วนตัวเป็นสาเหตุหนึ่งของความเครียด

ตอบ 2 หน้า 368 ความเครียด เป็นสภาวะที่บุคคลเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือเป็นอันตราย ความเครียดมักมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ เช่น มีโรคหลายชนิดที่มีสาเหตุมาจากความเครียด ดังนั้นการลดความเครียดจึงเป็นสิ่งจําเป็นในชีวิตประจําวันของมนุษย์

28 ข้อใดกล่าวผิด

(1) ความก้าวร้าวเป็นผลจากความคับข้องใจ

(2) หากมีความคับข้องใจบ่อย จะยิ่งมีการตอบสนองที่รุนแรง

(3) การฝันกลางวันเป็นการปรับตัวประเภทหนึ่ง

(4) ความคับข้องใจจะมากหรือน้อยไม่ขึ้นอยู่กับแรงขับ

(5) การใช้สิ่งมึนเมาหรือยาเสพติดเป็นวิธีการปรับตัวประเภทหนึ่ง

ตอบ 4 หน้า 355 ความก้าวร้าวเป็นผลมาจากความคับข้องใจ ถ้าแรงขับไปสู่เป้าหมายมีความรุนแรงมากเท่าใด ความคับข้องใจก็จะเพิ่มอย่างรุนแรงตามไปด้วย และถ้าเราถูกกระตุ้นให้คับข้องใจบ่อยครั้งเท่าใดก็จะยิ่งมีการตอบโต้ที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

29 ข้อใดไม่ใช่วิธีการลดความเครียดในชีวิตประจําวัน

(1) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

(2) เรียนรู้วิธีพูดให้ตัวเองสบายใจ

(3) แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พอใจ

(4) นอนหลับให้เพียงพอ

(5) รับประทานอาหารที่ชอบ

ตอบ 5 หน้า 351 353 วิธีการลดความเครียดในชีวิตประจําวัน มีดังนี้

1 แสวงหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งพอใจ

2 ใส่ใจดูแลตนเองให้ดี เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

3 รู้จักทํากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น นั่งสมาธิ ออกกําลังกาย เล่นดนตรี ฯลฯ

4 เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ปลา ผัก ผลไม้ ฯลฯ

5 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

6 เรียนรู้วิธีพูดให้ตนเองสบายใจ

30 โรคใดต่อไปนี้ไม่ได้มีสาเหตุจากความเครียด

(1) โรคกระเพาะ

(2) โรคไมเกรน

(3) โรคท้องร่วง

(4) โรคสมองพิการ

(5) โรคความดันโลหิตสูง

ตอบ 4 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือโรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคท้องร่วง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) เป็นต้น

31 ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับการรับรู้และการสัมผัส

(1) การรับรู้ไม่จําเป็นต้องอาศัยการรับสัมผัส

(2) การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส

(3) การสัมผัสเป็นกระบวนการแปลความหมายของการรับรู้

(4) การรับรู้และการสัมผัสเป็นกระบวนการที่ไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของบุคคล (5) การสัมผัสคือการที่สิ่งเร้ามากระทบความต้องการ แล้วจึงเกิดพฤติกรรม

ตอบ 2 หน้า 57, 60 ความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้ คือ การสัมผัสเป็นกระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอกมาสู่ระบบประสาทและเปลี่ยนเป็นการรับรู้ ส่วนการรับรู้เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการสัมผัส เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส

32 การรับรู้คุณสมบัติของสีต่าง ๆ คือสีแดง หรือเขียว หรือน้ำเงิน เกิดจากการทํางานของสิ่งใด

(1) ตัวสี (Hue)

(2) ความสว่าง

(3) ความบริสุทธิ์

(4) รอดส์

(5) โคนส์

ตอบ 1 หน้า 63 ส่วนใหญ่แล้วสีต่าง ๆ มีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ

1 ตัวสี (Hue) เช่น สีเขียว แดง ม่วง ฯลฯ

2 ความสว่างของสี (Brightness) หมายถึง สีเดียวกันอาจมีความสว่างต่างกัน 3 ความบริสุทธิ์ของสี (Saturation) หมายถึง สีที่อิ่มตัวเป็นสีบริสุทธิ์จะมีคลื่นแสงเดียวไม่มีคลื่นแสงอื่นเข้ามาปะปนให้เจือจางลงไป

33 บริเวณบนเรตินาของลูกตาที่ไม่มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกอยู่เลย เรียกว่าอะไร

(1) โฟเวีย (Fovea)

(2) จุดบอด (Blind Spot)

(3) ปมประสาท (Ganglion)

(4) ตุ๊กตา (Pupils)

(5) ประสาทตา (Optic Nerve)

ตอบ 2 หน้า 61, (คําบรรยาย) บริเวณเรตินาของลูกตาที่ไม่มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกอยู่เลยเรียกว่า จุดบอด (Blind Spot) ซึ่งเป็นจุดที่การมองเห็นไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย

34 “หน้าผามายา” เป็นการทดลองเกี่ยวกับอะไร

(1) ความลึก

(2) ความสูง

(3) ความเหมือน

(4) ความคล้ายคลึงกัน

(5) ความสว่าง

ตอบ 1 หน้า 72 จากการทดลองเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทางโดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า“หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใสกับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน) เด็กจะไม่กล้าคลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้ถือเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์อันเป็นลักษณะที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง

35 การล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เรียกว่าอะไร

(1) Telepathy

(2) Precognition

(3) Clairvoyance

(4) Illusion

(5) Hallucinations

ตอบ 2 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

2 ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส

3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

36 แนวโน้มที่จะรับรู้วัตถุสองอย่างที่กําลังเคลื่อนไหวมากกว่าส่วนอื่น ๆ ที่อยู่โดยรอบ

(1) Commonfate

(2) Closure

(3) Continuity

(4) Similarity

(5) Proximity

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การมองความเคลื่อนไหว (Commonfate) คือ แนวโน้มที่คนเรามักจะมองและรับรู้วัตถุสองอย่างที่กําลังเคลื่อนไหวมากกว่าส่วนอื่น ๆ ที่อยู่โดยรอบ

37 ในทางพุทธศาสนา การสัมผัสสามารถจะเข้ามาได้กี่ทาง ทางใดบ้าง

(1) 5 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย

(2) 5 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น และใจ

(3) 6 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และวิญญาณ

(4) 6 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และสมอง

(5) 6 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ตอบ 5 หน้า 57, 83, (คําบรรยาย) ในทางพุทธศาสนา เชื่อว่า การสัมผัสสามารถจะเข้ามาได้ 6 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ผิวหนัง) และใจ กล่าวคือ มนุษย์นั้นนอกจากจะสามารถรับรู้ได้ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้ว มนุษย์ยังสามารถรับรู้ได้โดยทางใจ (จิต) ซึ่งสามารถฝึกได้โดยใช้สติและสมาธิ

38 ระดับอุณหภูมิเท่าไรที่จะทําให้มนุษย์รับรู้ถึงความรู้สึกร้อนหรือความรู้สึกเย็น

(1) สูงหรือต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส

(2) สูงหรือต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส

(3) สูงหรือต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส

(4) สูงหรือต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส

(5) สูงหรือต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

ตอบ 3 หน้า 67 ความรู้สึกร้อนหรือความรู้สึกเย็นเกิดจากการที่ประสาทผิวหนังอบอุ่นและเย็นได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ซึ่งถ้าสิ่งที่มากระตุ้นมีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส จะทําให้เรารู้สึกร้อน แต่ถ้ามีอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะทําให้เรารู้สึกเย็น

39 หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงเรียกว่าอะไร

(1) ความถี่

(2) เฮิรตซ์

(3) กิโลเมตร

(4) เทรชโฮลด์

(5) เดซิเบล

ตอบ 5 หน้า 65 กระแสเสียงหรือคลื่นเสียง (Sound Wave) มีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ

1 ความถี่ (Frequency) ของคลื่นเสียง มีหน่วยวัดเป็นเฮิรตซ์ (Hertz : Hz)

2 ความแรง (Amplitude) ของคลื่นเสียง มีหน่วยวัดเป็นเดซิเบล (Decibel : dB)

40 ความแตกต่างระหว่างภาพลวงตากับภาพหลอน คือ

(1) ภาพลวงตาและภาพหลอนไม่ต่างกันเพราะเป็นการเห็นภาพของผู้ป่วยทางจิต (2) ภาพลวงตา – เห็นโดยปราศจากความเป็นจริง / ภาพหลอน – เห็นผิดไปจากความเป็นจริง

(3) ภาพลวงตา – เน้นเรื่องของผู้ป่วยทางจิต / ภาพหลอน – เน้นเรื่องของคนปกติที่เกิดขึ้นได้

(4) ภาพลวงตาและภาพหลอนต่างกันที่คุณสมบัติของสิ่งเร้าภายนอกที่มีผลต่อการรับรู้

(5) ภาพลวงตา – เห็นผิดไปจากความเป็นจริง / ภาพหลอน – เห็นโดยปราศจากความเป็นจริง

ตอบ 5 หน้า 76 77 ภาพลวงตา (Illusion) เป็นภาพที่เกิดจากการมองเห็นหรือการรับรู้ที่ผิดพลาดไปจากความเป็นจริง ซึ่งอาจเกิดจากขนาดเปรียบเทียบที่อยู่ต่างสิ่งแวดล้อมกัน การเกิดมุม หรือการตัดกันของเส้น การต่อเติมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป และสภาพบรรยากาศของธรรมชาติ ส่วนภาพหลอน (Hallucination) เป็นการมองเห็นภาพโดยปราศจากความเป็นจริง

41 เราสามารถออกจากสัมปชัญญะ โดยวิธีใดบ้าง

(1) การนอน การตื่น

(2) การนอน การนั่ง การยืน

(3) การนอน การสะกดจิต การใช้ยาเสพติด การสูญเสียพลังจิต

(4) การนอน การสะกดจิต การใช้ยาเสพติด การนั่งสมาธิภาวนา

(5) การนอน การสะกดจิต การใช้ยาเสพติด การถอดจิตใจ การนั่งสมาธิภาวนา การหมดสติ

ตอบ 4 หน้า 89 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคลออกจากสัมปชัญญะหรือขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การหมดสติ การสะกดจิต การใช้ยาเสพติด การดื่มสุรา และการนั่งสมาธิภาวนา ฯลฯ

42 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการนอน

(1) คนเราเมื่ออายุมากขึ้นจะนอนน้อยลง

(2) ปกติเราจะต้องนอนให้ครบ 8 ชั่วโมง เพื่อสุขภาพที่ดี

(3) มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่ปรับตัวในเรื่องของการนอนได้อย่างรวดเร็ว

(4) ยิ่งนอนมากเท่าไร ร่างกายที่ได้รับการพักผ่อนจะยิ่งสดชื่นมากขึ้นเท่านั้น

(5) เราสามารถนอนโดยที่ไม่ฝันได้

ตอบ 1 หน้า 92 อายุของบุคคลจะเป็นตัวกําหนดระยะเวลาของการนอน กล่าวคือ เด็กแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน ส่วนผู้ใหญ่จะใช้เวลานอนลดน้อยลงไปเป็นลําดับจนถึงวัยสูงอายุเช่น คนอายุ 50 ปี อาจนอนเพียง 6 ชั่วโมง ถ้าอายุสูงกว่านี้ชั่วโมงนอนก็จะลดน้อยลงไปอีก ฯลฯ

43 ในช่วงที่บุคคลเกิด REM หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของลูกตาขณะที่นอนหลับนั้น พบว่า ร้อยละ 85 ของบุคคลกําลังทําอะไรอยู่

(1) กําลังหลับลึก

(2) กําลังฝัน

(3) กําลังจะตื่น

(4) กําลังเครียด

(5) กําลังละเมอ

ตอบ 2 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังคงหลับอยู่ ซึ่งในช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วงที่บุคคลกําลังฝัน โดยนักจิตวิทยารู้ได้จากการที่เขาได้ปลุกผู้นอนในช่วงที่มี REM ขึ้นและพบว่าร้อยละ 85 กล่าวว่า เป็นช่วงที่เขากําลังอยู่ในความฝัน

44 ผู้ใดเชื่อว่าความฝันเกิดจากความคิดความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงกลางวัน

(1) Freud

(2) Adler

(3) Jung

(4) Hopson & McCarley

(5) Roger

ตอบ 2 หน้า 98, 115, (คําบรรยาย) แอดเลอร์ (Adler) เชื่อว่า ความฝันเป็นเรื่องราวของความคิดคํานึงรวมทั้งความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงเวลากลางวันแล้วจึงต่อเนื่องนําไปฝันในช่วงเวลากลางคืน

45 ยาเสพติดแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

(1) มี 2 กลุ่ม คือ กระตุ้นประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน

(2) มี 3 กลุ่ม คือ กด กระตุ้น และออกฤทธิ์ผสมผสาน

(3) มี 4 กลุ่ม คือ กด กระตุ้น หลอนประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน

(4) มี 5 กลุ่ม คือ กติ กระตุ้น หลอน บีบคั้นประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน

(5) มี 6 กลุ่ม คือ กด กระตุ้น ผลักดัน หลอน ปิดกั้นกระแสประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน

ตอบ 3 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ

1 ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝืน มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ

2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ

3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ

4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

46 การศึกษาทดลองเกี่ยวกับการฝันของมนุษย์โดย วิลเลียม ดีเมนท์ สรุปได้ว่า

(1) คนเราจะนอนหลับและฝันทุกคืน

(2) ไม่จําเป็นที่คนเราจะต้องฝันทุกคืน

(3) การฝันเป็นเรื่องของสรีรร่างกายไม่ใช่จิตสํานึก

(4) ความฝันเป็นการชดเชยทางจิต

(5) ความฝันเป็นเรื่องการทําความปรารถนาให้เป็นจริง

ตอบ 1 หน้า 97 การศึกษาทดลองเกี่ยวกับการฝันของมนุษย์โดยวิลเลียม ดีเมนท์ (William Dement) สรุปได้ว่า คนเราจะนอนหลับและต้องฝันทุกคืน ถ้าบุคคลที่นอนหลับแล้วถูกปลุกห้ามมิให้ฝันติดต่อกันหลายคืน จากนั้นเมื่อให้โอกาสได้นอนและมีความฝันเกิดขึ้นได้ตามปกติ พบว่าจะฝันมากกว่าปกติ คล้ายกับเป็นการฝันทดแทนการฝันที่ถูกรบกวนไม่ให้เกิดขึ้นในช่วงคืนแรก ๆ

47 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความฝัน

(1) คนบางคนไม่เคยฝันเลย

(2) คนเราต้องฝันทุกคืน

(3) เราจะจําความฝันได้ทุกครั้ง

(4) เมื่อฝันแปลว่าไม่ได้หลับ

(5) ฝันคือการเพ้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 ข้อใดถูกต้องที่สุดในเรื่องของการสะกดจิต

(1) บุคคลทุกคนสามารถฝึกให้สะกดจิตตนเองได้

(2) ผู้ที่ทําจิตบําบัดเพื่อแก้ไขบุคลิกภาพผิดปกติของผู้ป่วยคือเมสเมอร์

(3) การสะกดจิตเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ถูกสะกดจิตถูกบังคับเท่านั้น

(4) การสะกดจิตช่วยให้ความจําดีขึ้นกว่าวิธีการอื่น ๆ

(5) การสะกดจิตมีประโยชน์รักษาโรคได้อย่าง “ครอบจักรวาล”

ตอบ 1 หน้า 103 – 105 การสะกดจิต คือ การนําเอาพลังของจิตใต้สํานึกออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์โดยบุคคลทุกคนสามารถฝึกให้สะกดจิตตนเองได้ การสะกดจิตตัวเองจะช่วยปรับปรุงนิสัย และพัฒนาบุคลิกภาพได้ การสะกดจิตเกิดขึ้นได้ทั้งในกรณีที่ผู้ถูกสะกดจิตยินยอม ไม่ยินยอม (ถูกบังคับ) และโดยไม่รู้ตัว การสะกดจิตไม่สามารถช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น เพียงแต่ช่วยโน้มน้าวจิตใจให้สนใจที่จะจดจําเท่านั้น และการสะกดจิตไม่ได้มีประโยชน์รักษาโรคได้อย่างครอบจักรวาล ส่วนผู้ที่ทําจิตบําบัดเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของผู้ป่วยคือเอริกสัน

49 การสะกดจิต คือสิ่งใด

(1) การสร้างความเชื่อโดยผู้อื่น

(2) การสร้างความเชื่อซ้ำ ๆ ด้วยตนเอง

(3) การหลอกตัวเอง

(4) การข้ามมิติสัมปชัญญะ

(5) อาการหลอน

ตอบ 4 หน้า 88, 103 การสะกดจิต เป็นภาวะที่บุคคลก้าวข้ามออกมาจากมิติแห่งสัมปชัญญะตกอยู่ในภวังค์ (ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว) มีอาการเคลิบเคลิ้มคล้ายหลับชั่วขณะหนึ่ง แต่มิใช่เป็นภาวะของการนอนหลับ เพราะคลื่นสมอง (EEG) มิได้มีลักษณะเป็นคลื่นเดียวกันกับผู้ที่นอนหลับ แต่เป็นคลื่นลักษณะคล้ายกับผู้ที่ตื่นอยู่มากกว่า

50 บุหรี่จัดเป็นสารเสพติดประเภทใด

(1) ยากดประสาท

(2) ยากระตุ้นประสาท

(3) ยาหลอนประสาท

(4) ยาออกฤทธิ์ผสมผสาน

(5) ยาระงับประสาท

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

51 การเรียนรู้คืออะไร

(1) พฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณ

(2) พฤติกรรมที่เกิดจากพันธุกรรม

(3) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองจากพลังดิบ

(4) พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน

(5) พฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต

ตอบ 5 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต (พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนและสัญชาตญาณ) เช่น การเข้าแถวซื้อตั๋ว การรอขึ้นรถเมล์ ฯลฯ

52 การลองทําแบบทดสอบท้ายบท ทําให้รักรามมีความเข้าใจการเรียนวิชานั้นดีขึ้น พฤติกรรมนี้เกิดจาก สิ่งเสริมแรงประเภทใด

(1) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม

(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ

(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ

(4) การป้อนกลับ

(5) การเรียนรู้แฝง

ตอบ 4 หน้า 180 – 181 การป้อนกลับ (Feedback) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับผลของการตอบสนองซึ่งมีความสําคัญต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ เพราะทําให้บุคคลได้พัฒนาการกระทําของตนเอง และทําให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น โดยนักศึกษาสามารถทําการป้อนกลับให้แก่ตนเองได้ด้วย การลองทํากิจกรรมในแต่ละบทรวมทั้งแบบทดสอบท้ายบทด้วย ก็จะทําให้ทราบว่าตนเองสามารถเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใดก่อนที่จะเข้าสอบจริง ๆ

53 ข้อใดเป็น “สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ”

(1) อากาศ

(2) ความรัก

(3) อาหาร

(4) แร่ธาตุ

(5) น้ำดื่ม

ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ (Secondary Reinforcers) เป็นรางวัลที่ได้เรียนรู้มาแล้วได้แก่ เงิน เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ ความสําเร็จ ความรัก คะแนนสอบ ฯลฯ ซึ่งบางครั้ง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอาจมีค่าโดยตรง เพราะสามารถแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้ เช่น เงินหรือธนบัตรสามารถนําไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหาร น้ำ และอื่น ๆ ได้ ฯลฯ

54 “การลงโทษ” ตรงกับการกระทําในข้อใด

(1) นักโทษทําความดีจึงได้อภัยโทษ

(2) การเสียสิทธิ์ถ้าไม่ไปเลือกตั้ง

(3) นักเรียนทําความดีจึงไม่ต้องกวาดห้อง

(4) นักศึกษาขยันเรียนจึงสอบผ่าน

(5) ทุกคนต้องเข้าเรียนจนครบ 12 ปี

ตอบ 2 หน้า 181 การลงโทษ หมายถึง การปรากฎของสิ่งที่ไม่ชอบหรือไม่พึงปรารถนาและนําสิ่งที่ชอบหรือพึงปรารถนาออกไป จึงมีผลให้การตอบสนองลดลง เช่น การตี การเสียสิทธิ์ การสอบตก ฯลฯ

55 ข้อใดคือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบการกระทํา

(1) การหายใจของมนุษย์

(2) กระโดดเมื่อเหยียบโดนตะปู

(3) น้ำลายไหลเมื่อเห็นมะม่วงดอง

(4) การขับถ่าย

(5) การเข้าแถวซื้อตั๋ว

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

56 การลงโทษจะได้ผลดีที่สุดต่อเมื่อ

(1) ทําทันที

(2) ทําบ่อย ๆ

(3) ทําโทษในสิ่งที่กลัว

(4) ทําในสิ่งที่ไม่ชอบ

(5) ทําโทษในสิ่งที่ไม่เคยทํา

ตอบ 1 หน้า 181 182 การลงโทษจะได้ผลดีที่สุดนั้นจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้

1 เวลาในการลงโทษ กล่าวคือ ลงโทษในระหว่างที่ยังกระทําพฤติกรรมอยู่หรือลงโทษทันทีที่พฤติกรรมสิ้นสุดลง (ภายหลังแสดงพฤติกรรม)

2 ความคงที่ในการลงโทษ กล่าวคือ ลงโทษทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมนั้น ๆ

3 ความรุนแรงในการลงโทษ กล่าวคือ ลงโทษที่รุนแรงจะสามารถทําให้พฤติกรรมหยุดลงได้และต้องไม่เสริมแรงเพื่อระงับพฤติกรรม

57 การได้รางวัลเดือนละครั้งจากพ่อแม่ เป็นการเสริมแรงประเภทใด

(1) แบบอัตราส่วนคงที่ (Fixed Ratio-FR)

(2) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน (Variable Ratio-VR)

(3) แบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval-FI)

(4) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (Variable Interval-VI)

(5) แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ (Variable Fixed-VF)

ตอบ 3 หน้า 177 การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval : FI) เป็นการให้แรงเสริมเมื่อถึงช่วงเวลาที่กําหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกไตรมาส ทุกปี ฯลฯ

58 กระบวนการเรียนรู้นั้นนักจิตวิทยาเรียกว่าเป็นกระบวนการที่เกิดจากสิ่งใด

(1) การเกิดพฤติกรรม

(2) ความพร้อม

(3) การวางเงื่อนไข

(4) ความสนใจ

(5) การรับรู้

ตอบ 3 หน้า 170 กระบวนการเรียนรู้นั้นนักจิตวิทยาเรียกว่า การวางเงื่อนไข (Conditioning) ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่ต้องเรียนรู้ 2 สิ่ง คือ ลําดับเหตุการณ์ที่คาดหวังไว้ และการกระทําพฤติกรรมในเหตุการณ์นั้น ๆ โดยกระบวนการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานมี 2 อย่าง คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก และการวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

59 ผู้ที่กลัวงู ปลาไหล จิ้งเหลน ลักษณะเช่นนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบใด

(1) การหยุดยั้งพฤติกรรม

(2) การฟื้นกลับของพฤติกรรม

(3) การปรับพฤติกรรม

(4) การสรุปความเหมือน

(5) การแยกความแตกต่าง

ตอบ 4 หน้า 171, 173, 188 การสรุปความเหมือน (Generalization) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขไว้แล้ว (สิ่งเร้าที่เรียนรู้) หรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ซึ่งเป็นการขยายผลของการเรียนรู้ ไปยังสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่คล้ายกัน เช่น คนที่ถูกวางเงื่อนไขเกี่ยวกับงู (อาจจะถูกงูกัดโดยบังเอิญ) การเห็นงูจะกลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขที่ทําให้กลัว จากการสรุปความเหมือน นอกจากงูแล้ว อาจคาดได้ว่าคนคนนี้ จะกลัวสัตว์ทุกชนิดที่มีลักษณะคล้ายงูด้วย เช่น ปลาไหล จิ้งเหลน ฯลฯ

60 ในการทดลองการเรียนรู้ของพาฟลอฟ (Pavlov) “การที่สุนัขน้ำลายไหล” ถือเป็นอะไร

(1) สิ่งแวดล้อมภายใน (OCS)

(2) สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS)

(3) สิ่งเร้าภายนอก (OS)

(4) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข (CR)

(5) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (US)

ตอบ 4 หน้า 170 171 ในการทดลองกระบวนการเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของอีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) นั้น เสียงกระดิ่งจัดเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus : CS), ผงเนื้อจัดเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus : US), การหลั่งน้ำลายจากการเห็นผงเนื้อจัดเป็นการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Response : UR) เพราะไม่ต้องเรียนรู้ และการหลั่งน้ำลายจากการสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียว จัดเป็นการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Conditioned Response : CR) เพราะเกิดจากการเรียนรู้

61 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสรีรจิตวิทยา

(1) การศึกษาเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทส่วนกลาง

(2) การศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนปลาย

(3) การศึกษาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต

(4) การศึกษาเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ

(5) การศึกษาเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ

ตอบ 3 หน้า 25, 27 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อสภาวะแวดล้อม ทั้งนี้การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยการทํางานของระบบต่าง ๆที่สําคัญภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ

62 กลไกของระบบประสาทใด ที่กล้ามเนื้อเกิดการยืดหดตัว ก่อเกิดเป็นพฤติกรรมตามการสั่งการของระบบประสาทส่วนกลาง

(1) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง

(2) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท

(3) กลไกการรับรู้

(4) กลไกการรับสิ่งเร้า

(5) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน

ตอบ 1 หน้า 31 กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง (Effectors) หรืออวัยวะสําแดงผล ได้แก่ กล้ามเนื้อและระบบต่อมต่าง ๆ ที่รับคําสั่งจากสมอง/ระบบประสาทส่วนกลางให้ทํางานโต้ตอบต่อสิ่งเร้าทําให้เกิดการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ ปรากฏเป็นพฤติกรรมการตอบสนองที่เรารู้เห็น

63 พฤติกรรมถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบเศษแก้วอย่างทันที เป็นผลจากการทํางานของสิ่งใด

(1) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท

(2) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง

(3) กลไกการรับสิ่งเร้า

(4) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน

(5) วงจรปฏิกิริยาเฉียบพลัน

ตอบ 4 หน้า 31 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Simple Reflex Action) ถือว่าเป็นวงจรที่เล็กที่สุดของกลไกการตอบสนอง ซึ่งเป็นการแสดงออกทางร่างกายโดยอัตโนมัติโดยที่สมองไม่ต้องสั่งงาน แต่วงจรของกระแสประสาทจะผ่านเฉพาะไขสันหลังเท่านั้น คือ ทํางานภายใต้การสั่งการของ ไขสันหลัง เช่น การกะพริบตาเมื่อถูกลมพัด การถอยเท้าหนี้เมื่อเหยียบก้นบุหรี่ การชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน การดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ ฯลฯ

64 ข้อใดคือโครงสร้างที่พบในระบบประสาทส่วนกลาง

(1) สมองและระบบประสาทอัตโนมัติ

(2) สมองและไขสันหลัง

(3) ระบบประสาทอัตโนมัติและระบบประสาทโซมาติก

(4) ไขสันหลังและเส้นประสาทสมอง

(5) ไขสันหลังและระบบประสาทโซมาติก

ตอบ 2 หน้า 34 โครงสร้างของระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ดังนี้

1 ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย สมองและไขสันหลัง

2 ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย ระบบประสาทโซมาติกและระบบประสาทอัตโนมัติ

65 ระบบประสาทส่วนใดทําหน้าที่สั่งการให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายลงเมื่อผ่านพ้นจากสถานการณ์ ฉุกเฉินไปแล้ว

(1) ระบบประสาทส่วนปลาย

(2) ระบบประสาทส่วนกลาง

(3) ระบบประสาทนําคําสั่งทั่วไป

(4) ระบบประสาทซิมพาเธติก

(5) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก

ตอบ 5 หน้า 37; 261 ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก (Parasympathetic Nervous System) เป็นระบบประสาทอัตโนมัติที่ทําหน้าที่ทําให้ร่างกายผ่อนคลาย อยู่ในภาวะสงบและพักผ่อน มีการย่อยดี และความดันโลหิตต่ำ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นระบบประสาทที่ทําให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังอาการตกใจเมื่อผ่านพ้นจากสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการทํางานในอัตราเร่งมาแล้วหรือหลังจากเกิดอารมณ์เต็มที่แล้ว

66 ศูนย์ควบคุมการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อ คือสมองส่วนใด

(1) ก้านสมอง

(2) ไฮโปธาลามัส

(3) ธาลามัส

(4) ซีรีบรัม

(5) ไขสันหลัง

ตอบ 2 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็กแต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกายการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

67 หน่วยที่เล็กที่สุดในระบบประสาท คือข้อใด

(1) ใยประสาท

(2) เซลล์ประสาท

(3) เส้นประสาท

(4) สมอง

(5) ไขสันหลัง

ตอบ 2 หน้า 37 เซลล์ประสาทหรือนิวโรน (Nerve Celt หรือ Neuron) เป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับส่งกระแสประสาทที่ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน และเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาทในสมองของคนเรามีเซลล์ประสาทประมาณ 10 – 12 พันล้านเซลล์

68 ในเซลล์ประสาทนิวโรน ข้อใดทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์

(1) แอ็กซอน

(2) สารสื่อประสาท

(3) ตัวเซลล์

(4) เดนไดรท์

(5) เซลล์ค้ำจุน

ตอบ 4 หน้า 37 เดนไดรท์ (Dendrite) ในเซลล์ประสาทนิวโรน จะทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์ประสาท

69 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเรียบ

(1) ทํางานภายใต้การสั่งการของระบบประสาทอัตโนมัติ

(2) ทํางานนอกอํานาจจิตใจ

(3) พบได้ที่กล้ามเนื้อแขน ขา สะโพก

(4) ทําปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายใน

(5) บังคับให้กล้ามเนื้อชนิดนี้ทํางานตามที่เราต้องการไม่ได้

ตอบ 3 หน้า 32 กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) จะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ เพราะทํางานภายใต้การสั่งการหรือถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นเราจะบังคับให้กล้ามเนื้อชนิดนี้ ทํางานตามที่เราต้องการไม่ได้ และกล้ามเนื้อเรียบจะทําปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายใน(กล้ามเนื้อแขน ขา สะโพก เป็นกล้ามเนื้อลาย)

70 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ

(1) ผลิตของเหลวเพื่อการหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้น

(2) ทําหน้าที่รักษาสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ

(3) ผลิตฮอร์โมนผ่านทางกระแสโลหิตไปสู่อวัยวะเป้าหมาย

(4) ทําหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนมด้วย

(5) ทําหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย

ตอบ 1 หน้า 44 – 45 ต่อมไร้ท่อ เป็นต่อมที่ไม่มีท่อสําหรับให้ฮอร์โมนซึ่งเป็นสารเคมีที่ต่อมนี้ผลิตได้ผ่านทางกระแสโลหิตไปสู่อวัยวะเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อแต่ละชนิด จะทํางานไปพร้อม ๆ กันเพื่อรักษาภาวะสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ โดยหน้าที่ที่สําคัญ ของฮอร์โมน คือ ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนม (ส่วนการผลิต ของเหลวเพื่อการหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นเป็นหน้าที่ของต่อมมีท่อ)

ข้อ 71 – 73 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความจําระยะสั้น

(2) ความจําระยะยาว

(3) ความจําจากการรับสัมผัส

(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(5) ความจําคู่

 

71 คลังข้อมูลถาวร

ตอบ 2 หน้า 196 197, 199 ความจําระยะยาว (Long-term Memory) จะทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ โดยมีความสามารถไม่จํากัดในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ และจะเก็บข้อมูลไว้บนพื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ

1 การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ 2 การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย จําอุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ

72 เก็บเสียงก้องในหูไว้ได้

ตอบ 3 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอดข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคง อยู่ได้ครึ่งวินาที (2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

73 เก็บข้อมูลได้ประมาณ 7+ 2 หน่วย

ตอบ 1 หน้า 98 มิลเลอร์ (Miller) ได้ทดสอบช่วงการจําตัวเลข (Digit-Span Test) แล้วพบว่าโดยทั่วไปมนุษย์สามารถจําข้อมูลระยะสั้นได้ประมาณ 7 +2 หน่วย

74 การที่เราจดจําเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันเลี้ยงครบรอบวันเกิดของปีที่ผ่านมาได้ เป็นเพราะเราจัดเก็บข้อมูลไว้ ในส่วนใด

(1) ความจําคู่

(2) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(3) การจําเหตุการณ์ในความจําระยะยาว

(4) การจําความหมายในความจําระยะยาว

(5) ความจําจากการรับสัมผัส

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

75 การที่เราเคยเรียนวิชาแคลคูลัสไว้แล้ว และไม่ได้เรียนอีกเลย แต่เมื่อมาเรียนอีกครั้ง ทําให้เราสามารถทําความเข้าใจกับเนื้อหาวิชาได้เร็วยิ่งขึ้น ลักษณะนี้จัดว่าตรงกับข้อใด

(1) การบูรณาการใหม่

(2) การระลึกได้

(3) การพิจารณาได้

(4) การเรียนซ้ำ

(5) การจําได้

ตอบ 4 หน้า 202 การเรียนซ้ํา (Relearning) เป็นการวัดความจําในสิ่งที่เราเคยเรียนรู้มาแล้วแต่ไม่อาจระลึกหรือจําได้ แต่เมื่อให้เรียนซ้ำอีกครั้งก็ปรากฏว่าเราเรียนได้เร็วขึ้น และใช้เวลาเรียนน้อยกว่าเดิม ทั้งนี้เพราะได้เคยมีคะแนนสะสมไว้แล้ว

76 เมื่อเราเรียนทฤษฎีจิตวิทยามาก่อน แล้วมาเรียนทฤษฎีปรัชญา ปรากฏว่าทําให้เกิดการลืมเนื้อหาของ ทฤษฎีจิตวิทยาไป ลักษณะเช่นนี้ จัดว่าเป็นการลืมเพราะเหตุใด

(1) การเรียนรู้เดิมรบกวนการเรียนรู้ใหม่

(2) ข้อมูลเสื่อมสลายตามกาลเวลา

(3) การระงับ เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่นึกถึงบางอย่าง

(4) ข้อมูลไม่ได้ถูกบันทึกเพราะไม่ได้เป็นเรื่องราวที่บุคคลเลือกใส่ใจ

(5) การเรียนรู้ใหม่รบกวนการเรียนรู้เดิม

ตอบ 5 หน้า 204 การรบกวน (Interfere) เป็นสาเหตุสําคัญของการลืม มี 2 ประเภท คือ

1 Retroactive Inhibition คือ การเรียนรู้ใหม่รบกวนการเรียนรู้เดิม

2 Proactive Inhibition คือ การเรียนรู้เดิมรบกวนการเรียนรู้ใหม่

77 ข้อใดเป็นหน่วยความคิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแบ่งข้อมูลเป็นประเภท ๆ ที่มีความหมาย

(1) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ

(2) การหยั่งเห็นคําตอบทันที

(3) จินตภาพ

(4) มโนทัศน์

(5) ภาษา

ตอบ 4 หน้า 207 มโนทัศน์ (Concept) เป็นความคิดหรือคําพูดที่ใช้แทนประเภทของสิ่งของหรือเหตุการณ์ และเป็นเครื่องมือสําคัญในการคิดเพราะช่วยทําหน้าที่ในระดับนามธรรม การสร้างมโนทัศน์เป็นกระบวนการแบ่งข้อมูลเป็นประเภท ๆ ที่มีความหมาย เช่น สุนัข รถยนต์ ปากกา ข้าวแกง ข้าวหอมมะลิ ดอกมะลิ ตํารวจ กฎหมาย ประชาธิปไตย ฯลฯ

78 การที่ชาวเอสกิโมมีคําเรียกหิมะเกือบ 30 คํา แต่คนไทยมีคําเรียกหิมะเพียงคําเดียว ลักษณะนี้เกี่ยวข้องกับหน่วยพื้นฐานของการคิดในข้อใด

(1) ภาพตรงหน้า

(2) ภาษา

(3) การหยั่งเห็นคําตอบทันที

(4) จินตภาพ

(5) มโนทัศน์

ตอบ 2 หน้า 208 ภาษา (Language) ของแต่ละชาติมีผลต่อระบบการคิดของคนในชาติที่เป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ เช่น ในประเทศอาหรับมีคํามากกว่า 6,000 คําที่หมายถึงอูฐ และชาวเอสกิโม มีคําเกือบ 30 คําที่แปลว่าหิมะและน้ำแข็ง ขณะที่ชาวโฮปมีเพียงคําเดียวที่หมายถึงแมลง เครื่องบิน และนักบิน ฯลฯ

79 การแก้ปัญหาของนักศึกษาแพทย์เกี่ยวกับการฉายแสงเซลล์มะเร็ง ที่ทําโดยทบทวนความรู้เกี่ยวกับการฉายแสงแล้วเริ่มฉายแสงที่มีความเข้มน้อย ๆ ไปที่ละจุด จนควบคุมการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ จัดเป็นการแก้ปัญหา แบบใด

(1) แก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ

(2) แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที

(3) แก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร

(4) แก้ปัญหาจากการลองผิดลองถูก

(5) แก้ปัญหาจากการท่องจํา

ตอบ 1 หน้า 209 – 210 การแก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ ซึ่งเป็นการคิดในระดับสูง เช่น ดังเคอร์ (Duncker) ให้นักศึกษาแพทย์แก้ปัญหาเกี่ยวกับการฉายแสงเพื่อทําลายเซลล์มะเร็งที่ทําโดย ทบทวนความรู้เกี่ยวกับการฉายแสง แล้วเลือกคําตอบที่ถูกต้องเพียงคําตอบเดียว คือ เริ่มฉายแสง ที่มีความเข้มน้อย ๆ ไปที่ละจุด หรือหมุนร่างของคนป่วยไปเรื่อย ๆ ขณะฉายแสง เพื่อไม่ให้แสงไปทําลายเนื้อเยื่อดีรอบ ๆ เนื้อร้าย จนสามารถควบคุมการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้

80 ตั๊ก สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างหลากหลาย จัดว่าเป็นคุณสมบัติใดของความคิดสร้างสรรค์

(1) ความริเริ่ม

(2) ความมีตรรกะ

(3) การแสวงหาใคร่รู้

(4) ความคล่อง

(5) ความยืดหยุ่น

ตอบ 4 หน้า 211 คุณสมบัติของผู้มีความคิดสร้างสรรค์มีหลายประการ เช่น

1 ความคล่อง คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างหลากหลาย

2 ความยืดหยุ่น คือ สามารถเปลี่ยนวิธีคิดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้โดยไม่ยึดติดอยู่กับ ความคิดเดิม ๆ

3 ความคิดริเริ่ม คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะที่แปลกใหม่และไม่ธรรมดา

81 ข้อใดไม่ใช่ฝาแฝดเหมือน

(1) สเปิร์ม 1 ไข่ 1

(2) สเปิร์ม 1 ไข่ 2

(3) ฝาแฝดเพศเดียวกัน

(4) มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

(5) หน้าตาเหมือนกัน

ตอบ 2 หน้า 125 ฝาแฝดเหมือนหรือแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิ 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด)ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน มีหน้าตาเหมือนกัน มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

82 ยีนส์มีโครโมโซม

(1) 45

(2) 46

(3) 47

(4) 48

(5) 49

ตอบ 2 หน้า 125 ยีนส์อันเป็นลักษณะของบรรพบุรุษจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยผ่านทางโครโมโซมซึ่งบุคคลคนหนึ่งจะมีโครโมโซมอยู่ในตัว 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ โดยโครโมโซมเหล่านี้บุคคลจะได้รับมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม

83 สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรรับประทานในระหว่างตั้งครรภ์

(1) ทานอาหารที่มีไขมัน

(2) ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต

(3) ทานอาหารหมักดอง

(4) ทานอาหารที่มีโปรตีน

(5) รับประทานวิตามินซี

ตอบ 3 หน้า 132 สิ่งที่มารดาควรบริโภคในระยะตั้งครรภ์ ได้แก่ อาหารที่มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินบี 6 ปี 12 ซี ดี อี และเค ส่วนสิ่งที่ต้องห้ามสําหรับผู้มีครรภ์ ได้แก่ บุหรี่ แอลกอฮอล์และเครื่องหมักดอง

84 จากการศึกษาของโลวิ่งเจอร์ (LOevinger) พบว่า อิทธิพลของสติปัญญากับสิ่งแวดล้อมมีกี่เปอร์เซ็นต์

(1) สติปัญญา 50% สิ่งแวดล้อม 50%

(2) สติปัญญา 25% สิ่งแวดล้อม 75%

(3) สติปัญญา 75% สิ่งแวดล้อม 25%

(4) สติปัญญา 60% สิ่งแวดล้อม 40%

(5) สติปัญญา 40% สิ่งแวดล้อม 50%

ตอบ 3 หน้า 137 จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loevinger) พบว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา 75% และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล 25% นอกจากนี้ในด้านเกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกาย โดยเฉพาะรูปร่างและหน้าตามีผลมาจากพันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม

85 ข้อใดอธิบายสภาวะของ Rh Factor ผิด

(1) ระบบเลือดของมารดาเข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อน

(2) มีอาการแท้ง

(3) เกิดการต่อต้านระหว่างเลือดของมารดา

(4) เลือดของมารดาจะทําลายเลือดของลูก

(5) ระบบการทํางานจากแม่สู่ลูก

ตอบ 5 หน้า 133 สภาวะของ Rh Factor หมายถึง การที่ระบบเลือดของมารดามีสารบางอย่างที่เข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อนในครรภ์ ทําให้เกิดอาการแท้งหรือตายหลังคลอดได้ สภาวะนี้ จะมี 2 ประเภท คือ ประเภทบวกและประเภทลบ ซึ่งถ้าลูกมีสภาวะของเลือดตรงข้ามกับมารดา (เลือดบิดาเป็น Rh บวก ซึ่งเป็นลักษณะเด่น แต่เลือดมารดาเป็น Rh ลบ ซึ่งเป็นลักษณะด้อย ลูกจะมี Rh บวก ตามลักษณะเด่นซึ่งตรงข้ามกับมารดา) จะทําให้เกิดการต่อต้านขึ้น โดยเลือดของมารดาจะก่อปฏิกิริยาทําลายเลือดของลูก

86 คนที่มีลักษณะ Endomorphy จะมีลักษณะอารมณ์เป็นอย่างไร

(1) อารมณ์ดี

(2) โมโหยาก

(3) มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

(4) มีอารมณ์มั่นคง

(5) ดื้อดึง

ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) แบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบายโกรธง่ายหายเร็วขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ และกินจุ ฯลฯ

2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย เฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่งโมโหยากแต่หายช้า ไม่กล้าแสดงออก พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้งเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

87 สิ่งใดที่ทําให้ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

(1) การใช้รังสี X-Ray

(2) การใช้ยา

(3) การเกิดอุบัติเหตุ

(4) การเกิดโรคไทรอยด์

(5) โลหิต

ตอบ 3 หน้า 124, 132 ในสภาพการณ์ที่เป็นปกติโดยทั่วไป ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์เรานั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการใช้รังสีเอกซเรย์ (X-Ray) หรือการใช้ยาบางชนิด รวมทั้งการเกิดโรคจากต่อมไทรอยด์และระบบเลือดของมารดา

88 สภาวะใดที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา

(1) ความต้องการ

(2) แรงขับ

(3) แรงจูงใจ

(4) สิ่งเร้า

(5) การตอบสนอง

ตอบ 3 หน้า 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

89 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของแรงจูงใจ

(1) เข้าใจพฤติกรรมและควบคุมให้สามารถเลือกพฤติกรรมที่เหมาะสม

(2) เข้าใจพฤติกรรมและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นได้

(3) เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มสังคมให้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการได้

(4) บังคับมิให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

(5) เป็นแรงผลักดันทําให้มนุษย์แสวงหาอาหาร น้ำ อากาศ

ตอบ 5 หน้า 226 แรงจูงใจจะช่วยให้บุคคลได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ทําให้เข้าใจพฤติกรรมตนเองและควบคุมตนเองให้สามารถเลือกแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและบังคับมิให้ตนเองแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

2 เข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่นและช่วยให้ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นได้

3 เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มสังคมและจูงใจให้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการได้

90 ข้อใดไม่ใช่สิ่งเร้าระดับความต้องการทางด้านร่างกาย

(1) อาหาร

(2) เครื่องนุ่งห่ม

(3) บ้าน

(4) ยา

(5) การแต่งกาย

ตอบ 4 หน้า 229 232 ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) มี 5 ระดับ ดังนี้

1 ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น อาหาร น้ำ – เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย (บ้าน) เพศตรงข้าม (การแต่งกาย) ฯลฯ

2 ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย (Safety and Security Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น อาหารเสริม อุปกรณ์บริหารร่างกาย อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ ฯลฯ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น บัตรอวยพร ภาพวาด หนังโรแมนติก ความสามัคคี ฯลฯ

4 ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self-Esteem Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น ตําแหน่ง – ถ้วยรางวัล โล่เกียรติยศ การประกาศเกียรติคุณ ปริญญาบัตร ฯลฯ

5 ความต้องการประจักษ์ตน (Self-Actualization) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น งานที่พึงพอใจ สถานที่หรือสถานการณ์ที่สร้างให้บุคคลเกิดความสุขทางใจ ฯลฯ

91 ข้อใดไม่ใช่สิ่งเร้าระดับความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย

(1) อุบัติเหตุ

(2) อุปกรณ์บริหารร่างกาย

(3) โรคภัยไข้เจ็บ

(4) อาหารเสริม

(5) ความหิว

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

92 ข้อใดไม่ใช่สิ่งเร้าระดับความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ

(1) ได้บัตรอวยพร

(2) หนังโรแมนติก

(3) ภาพวาด

(4) มอบยาบํารุงร่างกาย

(5) ความสามัคคี

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

93 ข้อใดไม่ใช่ Process ที่ทําให้เกิดกระบวนการจูงใจ

(1) แรงขับ

(2) ความต้องการ

(3) การตอบสนอง

(4) เป้าหมาย

(5) ความหิว

ตอบ 5 หน้า 227 กระบวนการ (Process) ที่ทําให้เกิดแรงจูงใจ มี 4 องค์ประกอบ คือ ความต้องการ (Needs), แรงขับ (Drive), การตอบสนอง (Response) และเป้าหมาย (Goal)

94 สถานที่หรือสถานการณ์ที่สร้างให้บุคคลเกิดความสุขทางใจ อยู่ในสิ่งเร้าลําดับขั้นความต้องการตามแนวคิด ของมาสโลว์ (Maslow)

(1) ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง

(2) ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ

(3) ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น

(4) ความต้องการประจักษ์ตน

(5) ความต้องการทางด้านร่างกาย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

95 เมื่อเกิดอารมณ์เครียด ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในด้านใด

(1) การไหลเวียนโลหิต

(2) ระบบการย่อยอาหาร

(3) ระบบหายใจ

(4) ระบบการทํางานประสาทอัตโนมัติ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 260 261, (คําบรรยาย) เมื่อเกิดอารมณ์เครียดจะทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น การทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต ระบบการย่อยอาหาร และระดับฮอร์โมนในสมองลดต่ำลง ซึ่งจะเป็นผลทําให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเชื่องช้าลง ฯลฯ

96 สมองส่วนใดของร่างกายที่ควบคุมอารมณ์

(1) ซิมพาเธติก

(2) พาราซิมพาเธติก

(3) ธาลามัส

(4) ระบบประสาทลิมปิก

(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ

ตอบ 3 หน้า 41 ธาลามัส (Thalamus) เป็นสมองส่วนหน้าของร่างกายที่ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางการส่งกระแสประสาทมอเตอร์จากซีรีบรัมไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นศูนย์กลางรับกระแสประสาทสัมผัส (ยกเว้นสัมผัสกลิ่น) จากส่วนต่าง ๆ ไปยังซีรีบรัม และเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตื่นและหลับ

97 อารมณ์ใดที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากที่สุด

(1) อารมณ์รัก

(2) อารมณ์เกลียด

(3) อารมณ์กลัว

(4) อารมณ์เศร้า

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 262 จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดอารมณ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรม พบว่า ในบรรดาอารมณ์ทั้งหลายนั้น อารมณ์ที่จัดว่าสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายได้มากที่สุด ก็คือ อารมณ์กลัวและอารมณ์โกรธ

98 อารมณ์ใดก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต

(1) อารมณ์กลัว

(2) อารมณ์โกรธ

(3) อารมณ์หวาดระแวง

(4) อารมณ์เศร้า

(5) อารมณ์วิตกกังวล

ตอบ 1 หน้า 263 อารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลิน (Adrenalin) จากต่อมหมวกไตส่วนอารมณ์โกรธจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน (Nor-adrenalin)

99 หลังจากเกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออกนําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์ ตรงกับทฤษฎีของใคร (1) ทฤษฎีเจมส์-แลง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแทคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 1 หน้า 269 ข้อสรุปของทฤษฎีอารมณ์ต่าง ๆ มีดังนี้ คือ

1 ทฤษฎีเจมส์-แลง สรุปว่า หลังจากที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

2 ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด สรุปว่า การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อม ๆ กัน

3 ทฤษฎีแซคเตอร์-ซิงเกอร์ สรุปว่า การเร้าอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย ฯลฯ

100 การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์ จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อม ๆ กัน ตรงกับทฤษฎีของใคร

(1) ทฤษฎีเจมส์-แลง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแซคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

101 ข้อใดเป็นพฤติกรรมภายใน

(1) เอื้อมมือไปหยิบสิ่งของ

(2) ตักอาหารเข้าปาก

(3) ชอบอาชีพทหาร

(4) วิ่งไล่ตีสุนัข

(5) ให้ลูกดูดนม

ตอบ 3 หน้า 3, (คําบรรยาย) นักจิตวิทยามักจะสนใจศึกษาพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์โดยพฤติกรรมของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ

2 พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ความพอใจ ฯลฯ

102 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา

(1) การบรรยาย

(2) ทําความเข้าใจพฤติกรรม

(3) ควบคุมพฤติกรรม

(4) นําความรู้ ไปประยุกต์ใช้

(5) การกําหนดให้ผู้อื่นในทุกสิ่ง

ตอบ 5 หน้า 3, 5 – 7 จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงจิตวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย (บรรยาย) ทําความเข้าใจ ทํานาย (พยากรณ์) และควบคุมพฤติกรรม (โดยการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้)

103 กลุ่มใดเน้นว่า “สิ่งแวดล้อมมีความสําคัญยิ่งจะช่วยทําให้เข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์”

(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(3) กลุ่มมนุษยนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มหน้าที่ทางจิต

ตอบ 2 หน้า 10, (คําบรรยาย) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เน้นว่าสิ่งแวดล้อมมีความสําคัญมากที่สุดเพราะจะปั้นแต่งให้เด็กเป็นอะไรก็ได้ โดยสกินเนอร์ (Skinner) นักจิตวิทยาสมัยใหม่ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มนี้ กล่าวว่า “สิ่งแวดล้อมเป็นกุญแจสําคัญ การเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เราจะต้องพิจารณาว่า สิ่งแวดล้อมอะไรเกิดขึ้นต่ออินทรีย์ ก่อนและหลังการตอบสนองพฤติกรรมจะถูกปั้นและคงทนอยู่ได้ก็ด้วยสิ่งแวดล้อมเช่นนั้นแหละ…”

104 กลุ่มใดเน้นว่า “บุคลิกภาพของบุคคลได้พัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก”

(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต

(3) กลุ่มจิตวิทยาการรู้คิด

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

ตอบ 1 หน้า 11 กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เกิดจากแนวความคิดของฟรอยด์ (Freud) ซึ่งได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเนื่องมาจากการเก็บกดในวัยเด็ก

105 กลุ่มใดที่เน้นในเรื่อง “ปัญญา การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์”

(1) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

(2) กลุ่มมนุษยนิยม

(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ

(5) กลุ่มหน้าที่ทางจิต

ตอบ 4 หน้า 12 กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาในเรื่องของปัญญาการคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิตอื่น ๆ เพื่อนํามาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์

106 ข้อใดเกี่ยวข้องกับลักษณะ “การวิเคราะห์ทางจิตด้วยตนเองหรือ Introspection”

(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(2) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

(3) กลุ่มมนุษยนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาการรู้คิด

(5) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

ตอบ 2 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) สนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก 3 ลักษณะ คือ การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันอยู่ ในกลุ่มนี้ ก็คือ วิธีการสังเกต-ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเองหรือเรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั้นเอง

107 “การศึกษาอิทธิพลของการเล่นมือถือที่มีผลต่อการมีจริยธรรมตามสังคม” เป็นการศึกษาแบบใด

(1) การทดลอง

(2) การสังเกต

(3) การสํารวจ

(4) การทํา Case Study

(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

ตอบ 3 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาลักษณะบางลักษณะจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา โดยการออกแบบสอบถาม หรือโดยการสัมภาษณ์ และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งวิธีการสํารวจนี้ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น การสํารวจประชามติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การสํารวจอิทธิพล ของรายการโทรทัศน์ที่มีต่อพฤติกรรมการเลียนแบบ เป็นต้น

108 “การแสวงหาข้อเท็จจริง โดยการเฝ้ามองสถานการณ์ตามที่เป็นจริง” เป็นการศึกษาแบบใด

(1) การสังเกต

(2) การทดลอง

(3) การทํา Case Study

(4) การสํารวจ

(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

ตอบ 1 หน้า 13 การสังเกต (Observation) เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ตามที่เป็นจริง โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว แล้วจึงบันทึกรายละเอียดไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมากที่สุด

109 ข้อใดเป็นนักจิตวิทยาประยุกต์

(1) นักจิตวิทยาการทดลอง

(2) นักจิตวิทยาสังคม

(3) นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

(4) นักจิตวิทยาพัฒนาการ

(5) นักจิตวิทยาวิศวกรรม

ตอบ 5 หน้า 16 – 18, 20 จิตวิทยาในปัจจุบันมีหลายสาขา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 จิตวิทยาบริสุทธิ์ ได้แก่ จิตวิทยาการทดลอง

2 จิตวิทยาประยุกต์ ได้แก่ จิตวิทยาคลินิกและบริการให้คําปรึกษา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาผู้บริโภค จิตวิทยาโรงเรียน จิตวิทยาวิศวกรรม จิตวิทยาประจําศาล และจิตวิทยาทางการแพทย์

3 จิตวิทยาบริสุทธิ์และประยุกต์ ได้แก่ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม และจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

110 ข้อใดเป็นนักจิตวิทยาบริสุทธิ์และจิตวิทยาประยุกต์

(1) นักจิตวิทยาการศึกษา

(2) นักจิตวิทยาผู้บริโภค

(3) นักจิตวิทยาการทดลอง

(4) นักจิตวิทยาพัฒนาการ

(5) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 109 ประกอบ

111 ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับลักษณะของการรวมกลุ่ม

(1) มีการคล้อยตาม

(2) มีบทบาทเหมือนกัน

(3) มีการทํางานร่วมกัน

(4) มีค่านิยมเหมือนกัน

(5) ต้องมีโครงสร้างและความสามัคคี

ตอบ 5 หน้า 377 – 378 กลุ่มประกอบด้วยคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มาปฏิสัมพันธ์กัน โดยกลุ่มทุกกลุ่มจะมีลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ โครงสร้างของกลุ่มและความสามัคคีในกลุ่ม

112 ข้อใดตรงกับการแบ่งระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะส่วนตัว

(1) กล่าวสุนทรพจน์

(2) ใช้กับเพื่อน เอื้อมมือถึงกัน

(3) ใช้กับคู่รัก

(4) การบรรยาย

(5) การแข่งมวยปล้ำ

ตอบ 2 หน้า 378 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

1 ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะกับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว รวมทั้งการแข่งมวยปล้ำ ฯลฯ

2 ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษาให้คําปรึกษากับนักศึกษา มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ

3 ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยทางสังคมและธุรกิจ

4 ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

113 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเป็นมิตรกัน

(1) ติดต่อกันอยู่เสมอ

(2) มีหน้าตาดี

(3) ไม่ชอบโต้แย้ง

(4) มีอารมณ์ขัน

(5) มีความคล้ายคลึงกัน

ตอบ 3 หน้า 380 381 ปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเป็นมิตรกัน ได้แก่ ความใกล้ชิดทางกาย (ทําให้มีการติดต่อกันอยู่เสมอ) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย (เช่น มีหน้าตาดี มีอารมณ์ขัน) ความสามารถ ความคล้ายคลึงกัน และการเปิดเผยตนเอง

114 ข้อใดไม่ใช้วิธีการล้างสมองหรือการยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

(1) มีการอภิปรายกลุ่ม

(2) มีการสื่อสารข้อมูลซ้ำ ๆ

(3) ใช้การสื่อสารทางเดียว

(4) ใช้การสะกดจิต

(5) สร้างสถานการณ์ให้คล้อยตาม

ตอบ 4 หน้า 383 วิธีการล้างสมองหรือการยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น เป็นสถานการณ์ที่ใช้องค์ประกอบ 4 ลักษณะพร้อม ๆ กัน คือ สถานการณ์การเสนอแนะ (มีการสื่อสารข้อมูลซ้ำ ๆ) สถานการณ์การคล้อยตาม การอภิปรายกลุ่ม และการใช้สารชักจูงใจ (ใช้การสื่อสารทางเดียว)

115 “เมื่อนักเรียนทําคุณงามความดี ครูให้คะแนนจิตพิสัย” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด

(1) อํานาจการให้รางวัล

(2) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

(3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจการบังคับ

(5) อํานาจตามการอ้างอิง

ตอบ 1 หน้า 385 386 อํานาจในการให้รางวัล (Reward Power) คือ ความสามารถในการให้รางวัลแก่บุคคลที่สามารถแสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้ เช่น ครูให้รางวัลนักเรียนด้วยคะแนน หรือนายจ้างให้รางวัลลูกจ้างที่แสดงพฤติกรรมตามที่ตนต้องการในรูปของเงินเดือนและโบนัส เป็นต้น

116 ข้อใดตรงกับ “การสรุปพฤติกรรมจากประสบการณ์เดิม และทํานายพฤติกรรมอนาคตได้”

(1) เจตคติ

(2) การเกิดอคติ

(3) ค่านิยมของบุคคล

(4) อิทธิพลทางสังคม

(5) การแสดงพฤติกรรมได้เหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 388 เจตคติ เป็นความพร้อมที่จะตอบสนองต่อบุคคล วัตถุ สถานการณ์ หรือสถาบันทั้งในทางบวกและทางลบ ไม่ว่าจะเป็นรสนิยม มิตรภาพระหว่างบุคคล การไปออกเสียงเลือกตั้ง ความชอบและจุดมุ่งหมาย ล้วนเกี่ยวข้องกับเจตคติทั้งสิ้น ดังนั้นเจตคติจึงเป็นการสรุปพฤติกรรมจากประสบการณ์เดิม และทํานายหรือชี้นําพฤติกรรมในอนาคตได้

117 “ก้าวร้าวแบบทดแทน เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เราไม่ยอมรับ” เรียกว่าอะไร

(1) ความไม่ใส่ใจ

(2) พฤติกรรมก้าวร้าว

(3) อคติ

(4) เจตคติ

(5) เป็นพฤติกรรมปกติของมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 392 อคติเป็นรูปแบบหนึ่งของแพะรับบาปซึ่งเป็นความก้าวร้าวทดแทน คือ การที่บุคคลแสดงความก้าวร้าวต่อผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้ทําให้ตนเกิดความไม่พอใจโดยตรง ทั้งนี้อคติอาจเกิดขึ้นได้จากการมีประสบการณ์โดยตรงกับผู้ที่เราไม่ยอมรับ 118 “เด็กแสดงความก้าวร้าวตามตัวแบบที่เห็นในภาพยนตร์” ตรงกับลักษณะใด (1) สัญชาตญาณ

(2) เป็นอาการทางสมอง

(3) การเรียนรู้ทางสังคม

(4) ต้องการเป็นฮีโร่

(5) ต้องการได้รับการยอมรับ

ตอบ 3 หน้า 395 แนวคิดที่อธิบายสาเหตุของความก้าวร้าวที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งอธิบายว่า คนเราเรียนรู้ความก้าวร้าวจากผู้อื่น นั่นคือ ความก้าวร้าว เป็นการเรียนรู้ที่ได้เห็นจากตัวแบบไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อม

119 เพราะเหตุใด “เห็นคนขี่มอเตอร์ไซค์ล้ม แต่ไม่เข้าไปช่วยเหลือ”

(1) ความแล้งน้ำใจ

(2) ไม่รู้วิธีการช่วยเหลือ

(3) ไม่มีเวลาพอเพียง

(4) มีความรู้สึกแปลกแยก

(5) ไม่ไว้ใจในสถานการณ์

ตอบ 4 หน้า 395 เหตุผลที่ทําให้คนหลายคนไม่ให้ความช่วยเหลือคนที่ถูกรถชน ได้แก่ ความรู้สึกแปลกแยกของคนในเมือง มีคนอยู่ในเหตุการณ์หลายคนจึงเกิดการกระจายความรับผิดชอบ

120 ข้อใดเป็นพฤติกรรม “มีการยอมรับนับถือตนเองทั้งในเวลานั้นและเวลาต่อมา” (1) ความก้าวร้าว

(2) การกระจายความรับผิดชอบ

(3) การเรียนรู้ทางสังคม

(4) การกล้าแสดงออก

(5) การแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 5 หน้า 397 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม มีดังนี้

1 มีอารมณ์ที่เหมาะสม แน่นอน จริงใจ ถูกต้อง เชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะแสดงความรู้สึก

2 มีความรู้สึกเชื่อมั่น ยอมรับนับถือตนเองทั้งในเวลานั้นและเวลาต่อมา

3 รู้สึกเห็นคุณค่าที่ได้รับการยอมรับและอยากสนทนาด้วย

4 รู้สึกว่าเป็นผู้น่าศรัทธา ทําให้เกิดการยอมรับนับถือ

Advertisement