การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 6 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 3 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1 จงให้นิยามหรือความหมายของคําว่า “เมือง” และ “ชุมชนเมือง” พร้อมทั้งระบุเหตุผลของการเกิดชุมชนเมืองมาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้

– การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (เช่น บ้านเรือน) มีสิ่ง อํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า ถนน)

– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ใน ระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม

– เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง

– เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี

– เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน

– เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/อุปโภคอย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

ชุมชนเมือง (Urban Community) หมายถึง ชุมชนที่ประกอบไปด้วยคนทุกสถานะทั้งคน รวยและคนจนรวมกันอยู่อย่างแออัดในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนแตกต่างจากสังคมในชนบท และเนื่องจากการที่ชุมชนเมืองจะประกอบไปด้วยผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีจํานวนจํากัด คนในชุมชนเมืองจึงมักจะ มีความเป็นอยู่หนาแน่น จนกระทั่งเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งมักจะมีปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น

 

เหตุผลของการเกิดชุมชนเมือง

1 ในแง่การผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรม เมืองหลายเมืองได้กลายมาเป็นเมืองมหานคร โดยมีจุดเริ่มและก่อกําเนิดมาจากบทบาทในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจหรือเป็นเมืองหลวง (เช่น กรุงเทพฯ, จากาตาร์, เม็กซิโก ซิตี้ ฯลฯ) หรือเป็นเมืองใหญ่ริมชายฝั่งทะเล (เขน กัลกัตตา เซาเปาโล, เซี่ยงไฮ้ ฯลฯ) ซึ่งการ รวมตัวเป็นชุมชนหนาแน่นเป็นกลุ่มก้อนดังกล่าวจะช่วยเอื้อให้เกิดความประหยัดหรือการขาดแคลนในด้าน แรงงาน วิทยาการความรู้ การบริการธุรกิจการเงิน การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทาง เศรษฐกิจและการขนส่ง

2 ในทางสังคมวิทยานั้น พบว่าการรวมกันเข้าเป็นชุมชนเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ และ สิ่งแวดล้อมในสังคมเป็นตัวกําหนด ซึ่งแนวโน้มการตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หมู่บ้าน เมือง นคร ตามลําดับ เป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการและกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การบริการ การค้า การลงทุน ประกอบการ การดําเนินกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ที่มีทั้งแรงผลักแรงดันระหว่างชุมชนเมืองกับชุมชนชนบท ดังนั้นความต้องการเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมืองจึงเป็นความคาดหวังว่า จะมีชีวิตที่ดีกว่าของมนุษย์

3 ความเป็นชุมชนเมืองไม่มีหลักเกณฑ์ของจํานวนเลขที่แน่ชัดมากําหนดว่ามีจํานวน เท่าใด สิ่งนี้จะแปรตามหรือขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศจะกําหนดขึ้น เช่น การพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสองชุมชน

หากชุมชนหนึ่งมีประชากรเป็น 50 เท่าของอีกชุมชนหนึ่ง จะถือว่าชุมชนนั้นเป็นชุมชนเมือง ส่วนอีกชุมชนหนึ่ง เป็นชุมชนชนบท เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงวิเคราะห์สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก พร้อมกับอธิบายถึงผลกระทบอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง 5 ข้อ

แนวคําตอบ

สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

สถานการณ์ในปัจจุบันของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโลกนั้นเป็นลักษณะการอยู่อาศัยในโลกแห่ง ชุมชนเมือง (Urban World) กล่าวคือ ปัจจุบันประชากรโลก (World Population) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้น จะมีอัตราการเข้ามาอยู่อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้ กลายเป็นชุมชนเมืองไปร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กําหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2011 เป็นวันที่ประชากรโลก มีจํานวนครบ 7 พันล้านคน ซึ่งเรียกว่า “Day of 7 billion” และในปัจจุบันนี้จํานวนประชากรโลกก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหาร และน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกัน มลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการในการ อยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการอยู่ อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลนและ ทรัพยากรสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ

ผลกระทบอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

1 ปริมาณความต้องการน้ำจืด (fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผล กระทบต่อปริมาณน้ำจืดที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้เพราะมนุษย์จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไป เรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ําจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆแล้วก็กลั่นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 75

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึงปี ค.ศ. 2050 โดยมีการคาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี ค.ศ. 2050 จะมีน้ำจืดเหลือเพียง 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำจืดในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศ ก็จะประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็จะเกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้นั่นเอง

2 ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมีระบบนิเวศ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้ก็เกิดปัญหาความเดือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปีที่ผ่าน มานี้ สิ่งมีชีวิตได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 เท่าของอัตราปกติ โดยที่มนุษย์มิใช่เป็นเพียงพยาน ผู้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นเหตุของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว

3 การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่ง เรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เองด้วย

4 การประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ เพิ่มขึ้นมาก จาก 19 ล้านตัน มาเป็น 83 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี ค.ศ. 1988 เป็นต้นมา อัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี ค.ศ. 1996 ลดลงเหลือ 16 กิโลกรัมต่อคน อย่างไรก็ตาม การจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวนเพิ่มมากขึ้นและยังมีการใช้ ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ําในปัจจุบันนี้มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก และอีกไม่นานมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหารเหล่านี้ รับประทานกันได้น้อยลงและยากขึ้น

5 งานหรือการมีงานทํา (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โลกมีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าคือ จาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 พันล้านคน จากข้อมูลขององค์การแรงงานสากล (The United Nations International Labor Organization : LO) ได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานกว่า 1 พันล้านคน หรือ 30% ของคน ในวัยแรงงาน และในช่วงอีกครึ่งศตวรรษต่อไปจะมีคนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงาน ที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาในประเทศกําลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะประเทศ เหล่านั้นมีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่ง งานที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงาน เป็นต้น

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึง “เมือง” ในทางทฤษฎีของศาสตร์สาขาต่าง ๆ มา 3 ทฤษฎี พร้อมทั้งอธิบายขยายความโดยละเอียดในแต่ละทฤษฎี ?

แนวคําตอบ

ทฤษฎีและแนวความคิดของศาสตร์สาขาต่าง ๆ

1 แนวความคิดในทางเศรษฐศาสตร์

กระบวนการในการเกิดขึ้นของเมืองในทางเศรษฐศาสตร์จะเกี่ยวโยงกับกระบวนการ ทางโครงสร้างของสังคมที่ก่อให้เกิดพลวัต หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจ จากเศรษฐกิจชนบทไปเป็นเศรษฐกิจเมืองในแง่ของการแปลงสภาพ ประชากร กระบวนการผลิต และสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจชนบทไปสู่ฐานะของเศรษฐกิจเมือง เช่น

1 การใช้แรงงานเข้มแข็งขึ้นและมีความเป็นปัจเจกภาพสูง

2 มีการกระจุกตัวของแรงงานมากขึ้น

3 มีความชํานาญในการผลิตสินค้าและบริการค่อนข้างสูง

4 มีการพึ่งพาต่อกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลอย่างใกล้ชิด

5 มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และลักษณะของการประกอบการในระดับสูง 6 ความหนาแน่นของประชากรทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งสําคัญที่จะเกิดขึ้นในแง่ความเป็นเมือง คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมเนื่องจากการ เกิดความชํานาญ การแบ่งงานกันทําตามความสามารถเฉพาะการใช้ทุนเข้มข้นในการผลิตและใช้เทคโนโลยี ตลอดจนประดิษฐกรรมที่ทันสมัย ทําให้เกิดการพัฒนาอุตสาหารรมและกระบวนการเกิดเป็นเมืองซึ่งเป็น กระบวนการที่ควบคู่กัน

2 แนวความคิดของนักสังคมวิทยา

ในทางสังคมวิทยา มองว่าระบบชุมชนเป็นระบบของปัจจัย 3 ประการที่เกี่ยวข้องกัน คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Areas) การปะทะสังสรรค์กันทางสังคม (Social Interaction) และ ความผูกพันรวมกัน (Common Ties, กล่าวคือ ในสังคมนั้นจะประกอบด้วยบุคคลที่มีการปะทะสังสรรค์กันทาง สังคมในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และมีความผูกพันร่วมกันในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง

ผลผลิตของชุมชนหรือสังคม ซึ่งได้แก่

– การกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization)

– การควบคุมทางสังคม (Social Control)

– การมีส่วนร่วมในสังคม (Social Participation)

– การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (Mutual Support)

– การผลิต การบริโภค และการกระจายสินค้าและบริการภายในชุมชน

(Production-Consumption-Distribution)

 

ในแง่ของจิตใจและวัฒนธรรมนั้น คนจะมีความรู้สึกในความเป็นคนถิ่นนั้นถิ่นนี้ ทั้งนี้ เพราะเกิดความรู้สึกมั่นคงในการมีที่ยึดเหนียวด้านจิตใจ (Community Sentiment) ที่เกิดจากการหล่อหลอม ทางค่านิยมของกฎเกณฑ์และเป้าหมายรวมกัน ซึ่งกระบวนการของคนในสังคมหรือชุมชนโดยลักษณะธรรมชาติ ดังกล่าวก็คือ ความเป็นเมืองนั่นเอง

3 แนวความคิดของนักมานุษยวิทยา

นักมานุษยวิทยา มองว่ากระบวนการสร้างความเป็นเมือง (Urbanization) เป็นรูป หนึ่งของกระบวนการปรับตัวของมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากชุมชนเมืองเป็นรูปแบบที่สําคัญที่มนุษย์ได้พัฒนาขึ้น การปรับตัวจึงเป็นความสําเร็จอย่างหนึ่งของกลุ่ม และความสําเร็จนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ว่าจะเป็นไปได้ดีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องอาศัยความกลมกลืนกันระหว่างปัจจัยในด้านต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “บ่มในเชิงนิเวศวิทยา” (Ecological Complex) ซึ่งจะประกอบด้วย

1 ปัจจัยด้านประชากร (Population) โดยมีปัจจัยด้านโครงสร้างของประชากรที่มีผลต่อกระบวนการเป็นเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้จะชี้ให้เห็นมิติของประชากรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนการกระจายตัวหรือโครงสร้างซึ่งประกอบด้วยลักษณะของคนในแต่ละช่วงอายุ เช่น คุณภาพการศึกษา ทักษะการทํางาน อาชีพ จํานวน การพัฒนา และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของคนในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งจะส่งผล ถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ

2 ปัจจัยด้านการจัดองค์กร (Organization) โดยมีมิติที่จะพิจารณาได้ในเรื่องนี้ ได้แก่ แบบขององค์กร สภาพแวดล้อม จํานวนสมาชิก ความสามารถ ผู้นํา เทคโนโลยีที่ใช้ ตลอดจนความร่วมมือ ร่วมใจตามแนวคิดของประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อสภาพของชุมชนและสังคมนั้น ๆ

3 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อ สังคมและชุมชนในแง่ของพฤติกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรมในแต่ละระดับนั้นอาจพิจารณาปัจจัยแวดล้อมทางด้าน ธรรมชาติ และปัจจัยแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือพิจารณาในแง่ปัจจัยเอื้อหรือไม่เอื้อต่อชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ

4 ปัจจัยด้านเทคนิควิทยาการ (Technology) เป็นปัจจัยสําคัญที่มนุษย์จะสามารถ เอาชนะธรรมชาติได้ และสามารถแข่งขันท่ามกลางภาวะที่จํากัดในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ ประดิษฐกรรม และนวัตกรรมของสังคม

 

ข้อ 4 จงอธิบายการบริหารหรือจัดการชุมชนเมืองตั้งแต่เริ่มมีแนวคิด อุดมการณ์ ไปสู่การปฏิบัติ ว่ามีหลักการ และวิธีการอะไรอย่างไร พร้อมตัวอย่างโดยสังเขป ?

แนวคําตอบ

การบริหารชุมชนเมืองมุ่งที่จะเสนอแนวคิดและวิธีการปฏิบัติในการบริหารชุมชนเมือง โดยมี วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการบริหารเพื่อตอบสนองต่อผู้อยู่อาศัยในชุมชนนั้น ๆ เป็นหลัก จึงจําเป็นต้องศึกษา ฮ์ในแง่ของประเด็นปัญหาและบริบทของปัญหาทั้งในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับสากล ตลอดจนแนวทาง ในการพัฒนาชุมชนเมือง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาในเชิงระบบทั้งในด้านปัญหาและข้อเรียกร้อง ของชุมชนเมืองในฐานะปัจจัยนําเข้า (Input) ตลอดจนความจําเป็นและแนวทางของกิจกรรมในฐานะปัจจัยนําออก (Output) และศึกษาผลกระทบของการบริหารชุมชนเมือง โดยจะศึกษาทั้งตัวองค์กรหรือสถาบันหลักที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ในการบริหารชุมชนเมือง หรือศึกษาแยกย่อยไปที่ประเด็นรายละเอียดหรือเนื้อหาสาระในชุมชนเมือง ดังนั้นการบริหารชุมชนเมืองจึงมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่การกําหนดเป้าหมายการวางแผน การบริหารและลงมือปฏิบัติ จนบังเกิดผล ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้

การบรรลุภารกิจและความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง

การบริหารชุมชนเมืองสมัยใหม่ไม่ใช่เป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการตระหนักใน ความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง โดยชาวชุมชนเองเท่านั้นที่จะนําไปสู่ความสําเร็จในการบริหารชุมชนเมือง กล่าวคือ เมืองที่ประชาชนมีความสนใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมของส่วนรวม รวมไปถึงการตรวจสอบ ติดตามการทํางานของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในลักษณะการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) ระบบการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนสําคัญในการกําหนดแนวทางและวิธีการ ซึ่งอาจได้รับการ สนับสนุนจากภายนอกจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมเพราะได้สร้างให้เกิดความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง ของชาวชุมชนเมืองโดยแท้จริง โดยจะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่สําคัญหลายด้าน เช่น

1 ด้านเกียรติภูมิและสิทธิของประชาชน (Right and Dignity) คือ การให้ สาธารณชนได้ตัดสินใจบริหารงานอย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติและความสําเอียง ตลอดจนบริหารงานโดย ยึดหลักกฎหมาย และต้องพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบผ่านกระบวนการกลไกการปกครอง ทั้งนี้เพื่อเอื้อประโยชน์ แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยสามารถตรวจสอบการบริหารนั้นได้ซึ่งเป็นการให้สิทธิและคํานึงถึงศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของชาวเมือง

2 ด้านความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) คือ การ บริหารงานนั้นต้องอยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนในทุกขั้นตอนของการดําเนินงาน ทั้งการอาศัยการมีส่วนร่วม ของประชาชน หรือบริหารงานบนพื้นฐานความต้องการของประชาชน ซึ่งการบริหารงานนั้นจะต้องเป็นไปโดย เปิดเมย ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ในขณะที่ทุกฝ่ายต่างก็มีความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

3 ด้านความมีประสิทธิผล (Effectiveness) คือ การบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย หรือสามารถบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาและเสนอทางออกให้กับประชาชนได้ รวมทั้งต้องบริหารงานด้วยความ คุ้มค่าคือ การใช้ทุนน้อยแต่สามารถบรรลุมาตรฐานด้านต่าง ๆ ตามที่ประชาชนชาวเมืองต้องการ โดยมุ่งสร้าง หรือยกระดับมาตรฐานชีวิตของประชาชน หรือตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของคนในด้านต่าง ๆ ได้อย่าง ครบถ้วนและเพียงพอ เช่น ความต้องการอาหารที่เพียงพอ อากาศที่บริสุทธิ์ น้ําสะอาดเพื่อการบริโภค ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม ที่น่าพอใจ ความต้องการมีสุขภาพอนามัยที่ดี เป็นต้น

จุดเริ่มต้นในการบริหารชุมชนเมือง

การบริหารชุมชนเมืองจะเริ่มต้นที่การวางแผน และการมีแผนเพื่อให้เป้าหมายที่มนุษย์ ต้องการอยู่ในสังคมชุมชนเมืองได้รับการตอบสนอง ซึ่งในการบริหารชุมชนเมือ นิยมเรียกโดยรวมว่า “แผนหรือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง” ภายใต้ชื่อที่หลากหลาย เช่น แผนพัฒนา (Development Plan), แผนเมือง (Urban Plan), แผนแม่บท (Master Plan), แผนทั่วไป (General Plan) เป็นต้น แต่การบริหารชุมชนเมืองมักจะเน้นหนัก แผนกายภาพที่เรียกว่า ผังเมือง (City Pian) และแผนจัดการการเจริญเติบโต (Growth Management Plan)

การบริหารชุมชนเมืองที่ดีจะมีแผนภารกิจ (Action Plan) หรือแนวทางที่ชัดเจนเพื่อ มารองรับกิจกรรมการบริหารชุมชนเมืองให้ได้ผล เช่น

1 การออกแบบเมือง (Urban Design) เป็นการสร้างวิสัยทัศน์ของเมืองหรือ สร้างสรรค์ให้เกิดสภาพเมืองที่พึงปรารถนา โดยคํานึงถึงปัจจัยที่สําคัญในด้านความสวยงามน่าชวนมอง คุณค่า ด้านจิตใจ เอกลักษณ์ที่โดดเด่น และศักยภาพดั้งเดิมเป็นสําคัญ ซึ่งถือเป็นขั้นการผลักดันให้เกิดแนวคิดและ วิสัยทัศน์ของคนในชุมชน

– การทําให้เป้าหมายหรือแนวคิดของการออกแบบเมือง ปรากฏออกมาเป็น รูปธรรมที่สวยงามให้คนภายนอกมองเห็นได้นั้น ต้องมีการวางภูมิทัศน์ของเมือง (Cityscape) ด้วยการสร้าง รูปลักษณ์ของเมืองตามที่ได้รับเอาแนวคิดต่าง ๆ มาใช้กําหนดเป็นทิศทางและลักษณะของเมือง ซึ่งจะปรากฎ ออกมาเป็นแนวทางในการก่อสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย ที่สาธารณะ ถนนหนทาง และที่ตั้งของสิ่งอํานวยความ สะดวกในเมือง เป็นต้น

2 แผนเมือง (City Plan) จะชี้ให้เห็นถึงแนวคิดพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของ เมืองนั้น ๆ ไปสู่ทิศทางที่ต้องการ โดยส่วนร่วมก็จะมีแนวคิดพื้นฐานเพื่อสร้างให้เมืองนั้นมีความสะดวกสบายน่าอยู่ อาศัย หรือสร้างให้ผู้คนมีความหวังและสามารถมองไปในอนาคตได้ ซึ่งแผนเมืองนี้อาจจะกําหนดเป็นแผนแม่บท หรือแผนหลัก (Master Plan) ที่จะเป็นกรอบหรือแนวทางไปสู่การวางแผนปฏิบัติ หรือนโยบายในการวางแผน เมือง (City Planning Politics) ต่อไป ซึ่งได้แก่

1) แผนในภาพรวม อาจจะต้องอาศัยทิศทางและความสอดคล้องในระดับ กว้าง เช่น แผนภูมิภาคหรือแผนระดับประเทศที่ต้องอาศัยความเกี่ยวพันและการตัดสินใจและความร่วมมือจาก หน่วยงานอื่นไม่เฉพาะเมืองนั้นเมื่องเดียว

2) การผังเมืองและการวางแผนการใช้พื้นที่ ดําเนินการโดยอาศัยกฎหมาย การผังเมืองและการบริหารงานในเชิงนโยบาย จนกลายเป็นผังเมืองรวม (Comprehensive Plan) หรือผังเมือง เฉพาะ (Specific Plan)

– ผังเมืองรวม คือ แผนที่แสดงการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นบนพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของท้องถิ่นในอนาคต

– ตั้งเมืองเฉพาะ เป็นผังที่จัดทําขึ้นหลังจากมีผังเมืองรวม มีความละเอียดมากกว่าผังเมืองรวม และจะจัดทําในพื้นที่บางส่วนของผังเมืองรวม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสําคัญสูง หรือมีความจําเป็นสูงที่จะต้องสงวนรักษา เช่น พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ พื้นที่ที่มีคุณค่าทางสภาพแวดล้อม หรือพื้นที่ธุรกิจการค้า เป็นต้น

3 การวางแผนด้านอื่น ๆ เป็นการวางแผนที่อาจผสมผสานการวางแผนในเชิง กายภาพและในเชิงการบริหาร เช่น การวางแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจ, การวางแผนทิศทางการเจริญเติบโต ของเมือง, การวางแผนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

 

ข้อ 5 จงอภิปรายปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาเมืองในสังคมที่กําลังพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรม 3 – 5 ประเด็นปัญหา ?

แนวคําตอบ

ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเมือง

1 ปัญหาการจราจร มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้นภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ำของเวลาการทํางาน เพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการ เชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัดอยู่แล้ว

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้งขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางลัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

2 ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทาง

อากาศ และมลพิษทางเสียง ปัญหามลพิษทางน้ํา มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การบําบัดน้ำเสีย

– การจํากัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

– การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางน้ำแก่ประชาชน

– การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ

– การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสํารวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ปัญหามลพิษทางอากาศ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ

– สํารววและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เป็นประจํา

– ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด ทําได้โดยการเปลี่ยนชนิดของ เชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับ ความสําคัญของอากาศบริสุทธิ์ และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนให้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ และเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ปัญหามลพิษทางเสียง มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์

– การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ บังคับ

– การกําหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกําหนดผังเมือง

– การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย

– การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

3 ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัด มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ย้ายไปอยู่ชานเมืองโดยการเช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของรัฐบาล

– มีการควบคุมความหนาแน่นของประชากร

– ส่งเสริมหรือขยายความเจริญออกไปสู่จุดอื่น ๆ ของประเทศ อย่างที่เรียกกันว่า“สร้างเมืองใหม่” หรือ “ชุมชนใหม่”

– มีการกําหนดผังเมืองและควบคุมการใช้ที่ดิน เช่น ไม่ให้มีการสร้างอาคารพาณิชย์หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในย่านที่อยู่อาศัย

– รัฐควรส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสําหรับประชากรที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

– ควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชนให้สอดคล้องกับผังเมือง

4 ปัญหาด้านความปลอดภัยของประชาชน มีแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้

– ให้มีอาสาสมัคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจรร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจในการช่วยเหลือเบื้องต้นในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่ายชุมชน

– มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจรอาสาตํารวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตํารวจ

– ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีรายได้พอเพียง เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมปัญหาการลักทรัพย์ เป็นต้น

5 ปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ใช้นโยบายสาธารณูปโภคเป็นเครื่องมือควบคุมทางผังเมือง เช่น ลดอัตราสาธารณูปโภคในเขตที่กําหนด หรือกําหนดเขตที่ไม่จ่ายสาธารณูปโภค

– ให้มีการวางนโยบายระบบบริการสาธารณูปโภคในเมือง ให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางโดยลงทุนค่าบริการให้น้อยที่สุด แต่ให้ทั่วถึงประชาชนมากที่สุด

 

ข้อ 6 การจัดการภัยพิบัติมีความสําคัญอย่างไร จงอธิบายการจัดการอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนเมืองมาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

ความสําคัญของการจัดการภัยพิบัติ

การจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่การเตรียมการก่อนเกิดเหตุ การรับมือในภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์ ช่วยชีวิตและฟื้นฟูบูรณะหลังเหตุการณ์ ซึ่งในอดีตการจัดการภัยพิบัติมักเน้น เรื่องการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันแนวโน้มของการจัดการภัยพิบัตินั้นจะมีลักษณะของการ เตรียมการเชิงรุกมากขึ้น โดยดําเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินที่จะ เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ รวมทั้งมีมาตรการที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเป็นการวางแผน เพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ตั้งแต่ก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างเกิดภัยพิบัติ และหลังจากที่เกิดภัยพิบัติแล้ว

แนวทางในการจัดการปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับชุมชนเมือง สรุปได้ดังนี้

1 การวางแผนบริหารจัดการอุทกภัย

ชุมชนเมืองมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจําทุกๆ ปี เนื่องจากชุมชนเมืองส่วนใหญ่ มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นทางผ่านของแม่น้ำและลําคลองจํานวนมาก และได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวเมืองทําให้กลายเป็นแหล่งธุรกิจและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการไหลและการระบายน้ำออกจากพื้นที่ แม้ปริมาณน้ำที่เกิดจากฝนตกหนักในเขตพื้นที่ตัวเมืองจะมีการท่วมขังอยู่บ่อยครั้งก็ตาม ด้วยสรรพกําลังและความสามารถในการระบายน้ำของหน่วยงานที่มีอยู่ก็ย่อมจะทําให้คลี่คลายไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากเป็น ลักษณะของมวลน้ํามหาศาลที่ไหลบ่ามาจากนอกพื้นที่โดยเฉพาะผ่านทางลําคลองที่มีอยู่รอบด้าน ก็จะเป็นการยากที่จะสามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ จึงจําเป็นต้องนําไปสู่การกําหนดนโยบายและการวางแผนการจัดการ ปัญหาอุทกภัยและภัยพิบัติในด้านต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ แนวทางการป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม ในการรับมือ การเตรียมความพร้อมสําหรับการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงแผนการจัดการหลังจากเกิด ภัยพิบัติทั้งในระยะเร่งดวนและระยะยาว เช่น การดําเนินการลอกท่อระบายน้ําในเขตชุมชน ขุดลอกคูคลอง แหล่งน้ำสาธารณะ รวมทั้งกําจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่อุทกภัยได้อย่าง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน เป็นต้น

2 การสร้างคันกั้นน้ำถาวร

พื้นที่ที่ติดแม่น้ำส่วนใหญ่ยังไม่มีแนวคันกั้นน้ำที่ได้มาตรฐาน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง สําคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ดํารงชีวิตและอาศัยอยู่ริมแม่น้ำ อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่มีงบประมาณมหาศาลและยังส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจํานวนมาก ซึ่งจะต้องมีการสํารวจ ผลกระทบที่จะเกิดต่อชุมชน รวมถึงจะต้องเป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจผ่านทางการทําประชาพิจารณ์ และการตรวจสอบความโปร่งใสในการดําเนินการทุกขั้นตอนเสียก่อน เพราะอาจกลายเป็นปัญหากับ ท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงได้

3 การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

การแก้ไขปัญหากับภัยน้ำท่วมนั้นมีความจําเป็นในการสร้างความร่วมมือกับองค์กร ภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อผนึกกําลังต่อสู้กับมวลน้ำที่มีปริมาณมหาศาลที่พร้อมจะเข้าโจมตีเมือง นั่นคือการขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการในจังหวัด เพื่อดําเนินการฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการเตรียมรับมือกับสาธารณภัยในเขตพื้นที่จังหวัด รวมไปถึงการขอความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่สําคัญ เช่น เครื่องสูบน้ำ อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

นอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ภาคเอกชนนับเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาท สําคัญในการสนับสนุนยุทธปัจจัยในการต่อสู้กับมวลน้ำที่มีปริมาณมหาศาลนี้ ด้วยการสนับสนุนหลายช่องทาง เช่น บริจาคทราย ถุงบรรจุกระสอบทราย เป็นต้น รวมไปถึงสื่อมวลชนที่มีการติดตามและรายงานสถานการณ์ ช่วงเกิดภัยน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง มีการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

การสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการบริหารจัดการน้ำนั้น แม้จะมีระบบ บริหารจัดการที่ดีเพียงใด ย่อมบรรลุผลได้ยาก หากไม่สามารถจัดการคนได้ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการความขัดแย้ง และการเฝ้าระวังการพังคันกั้นน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างมากในการสร้างความเข้าใจระหว่างพื้นที่ประสบภัยกับ พื้นที่เหนือแนวคันกั้นน้ำ รวมถึงการมีมิตรไมตรีที่ดีของผู้อยู่เหนือแนวคันกั้นน้ําในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการสร้างสิ่งอํานวยความสะดวก เช่น สะพาน การจัดส่งอาหารยาและเวชภัณฑ์ กรณีที่ประชาชนไม่ย้ายเข้าศูนย์อพยพ

นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครหรือกลุ่มจิตอาสาจํานวนมากที่จะเข้าร่วมช่วยเหลือ ทั้งใน เรื่องการกรอกกระสอบทราย การทําอาหาร หรือการจัดกิจกรรมคลายเครียดในศูนย์พักพิงนั้นด้วย

4 การจัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราว

การจัดเตรียม ศูนย์พักพิงเพื่อรองรับกับผู้ประสบภัยจะต้องคํานึงถึงวิถีชีวิตความรู้สึกที่มี ต่อชุมชน และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ด้วยเป็นสําคัญ โดยมีแนวทางปฏิบัติที่สําคัญ คือ การตั้งศูนย์ พักพิงขนาดเล็กในพื้นที่ขึ้น นอกจากจะทําให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังทําให้การบริการมีความใกล้ชิดเป็นกันเอง สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของคนในแต่ละพื้นที่เป็นสําคัญ โดยอาจจะอาศัยสถานที่ที่มีความเป็นสาธารณะและผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ เช่น โรงเรียน วัด มัสยิด อาคารหน่วยงาน ราชการในพื้นที่ เป็นต้น

Advertisement