การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายเปรียบเทียบสถานภาพขององค์ความรู้ทางการบริหารรัฐกิจในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข หน้า 1 – 2)

สถานภาพของการบริหารรัฐกิจ

จากปฏิทินการบริหารรัฐกิจที่เสนอในหนังสือ Classic of Public Administration, 2005 จะพบว่า สถานภาพของการบริหารรัฐกิจได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างสม่ําเสมอ เริ่มจากปี ค.ศ. 1776 ประเทศ สหรัฐอเมริกาได้ประกาศเอกราชจนกระทั่งก่อนปี ค.ศ. 1887 การบริหารรัฐกิจของอเมริกายังอยู่ในขั้นของการ วางรากฐานของกระบวนทัศน์เท่านั้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 เป็นต้นมา การบริหารรัฐกิจของอเมริกาเริ่มปรับตัวเข้าสู่ กระบวนการทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแบบเฉพาะที่แตกต่างจากประเทศในยุโรป การบริหารรัฐกิจ จึงค่อย ๆ แยกตัวออกจากรัฐศาสตร์หรือการเมือง สถานภาพของการบริหารรัฐกิจในช่วงนี้อยู่ระหว่างการสร้าง เอกลักษณ์กระบวนทัศน์ แนวคิดและทฤษฎีของตน ต่อมาได้มีการพบว่า ยิ่งการบริหารรัฐกิจแสวงหาความเป็น เอกลักษณ์ของตนเท่าใดก็ยิ่งถอยห่างออกจากความเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น เพราะการบริหารรัฐกิจมีลักษณะ เป็นวิชาชีพสูงเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐศาสตร์

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 – 1968 การบริหารรัฐกิจได้พัฒนาวิชาชีพของตน เพื่อรับใช้ระบบราชการ ได้อย่างกว้างขวาง ขอบข่ายของการบริหารรัฐกิจได้พัฒนาและขยายตัวออกจากขอบข่ายดั้งเดิมที่เป็นการบริหารงาน บุคคล งานคลังและงานองค์การ โดยขยายเป็นการบริหารนโยบายการบริหารพัฒนา การบริหารงบประมาณ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารแรงงานสัมพันธ์ การบริหารงานองค์การปกครองท้องถิ่น การบริหารงาน ตุลาการ การบริหารรัฐสภา การบริหารงานรัฐบาล และการบริหารความมั่นคงสาธารณะ

และในปี ค.ศ. 1963 ได้เกิดคลื่นลูกใหม่ในวงวิชาการบริหารรัฐกิจ หรือเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ (New Public Administration) โดยนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้มุ่งเน้นความสนใจ ไปที่ความเสมอภาคทางสังคม ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากการเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการ

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา สถานภาพของการบริหารรัฐกิจก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีก ครั้งหนึ่ง เพราะได้รับอิทธิพลจากนักวิชาการหลังนวยุค (Postmodern) ซึ่งคําว่า หลังนวยุคหรือหลังสมัยใหม่นี้ หมายความว่า ความจริงย่อมแตกต่างไปตามกาลเทศะ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีชุดความเป็นจริงของตนเอง ด้วยกันทั้งนั้น และไม่มีระบบความเชื่อขุดใดชุดหนึ่งที่สามารถอธิบายความจริงได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นไม่ว่าเรา จะทําอะไรก็แล้วแต่เราต้องอาศัยความหลากหลายจากหลายฝ่าย การมีส่วนร่วม การเสริมพลังอํานาจ และการยอม ให้มีทางเลือกต่าง ๆ ในการพิจารณาความเชื่อต่าง ๆ

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผูกขาดวิธีคิด การใช้ระบบเหตุผล และการสร้างมาตรฐานสากล โดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น ไม่สามารถเข้าถึงความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรยึดวัฒนธรรมใด วัฒนธรรมหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจทุกเรื่อง แต่ต้องทําความเข้าใจร่วมกันในวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมตลอด ถึงไม่ควรมีการจัดรูปแบบความคิดหรือสร้างกฎเกณฑ์สากลมาครอบงํา แต่ควรจะยอมรับความแตกต่างและความขัดแย้งตามข้อเท็จจริง

แม้ว่าการบริหารรัฐกิจจะได้รับผลกระทบจากแนวคิดหลังนวยุค แต่สถานภาพของการบริหารรัฐกิจ ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงทิศทางหรือมุมมองของตนแต่อย่างใด ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาความรู้ทางการจัดการผลิตภาพและ คุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้มีการดึงการจัดการ (Management) ให้เข้าสู่สถานภาพการจัดการภาครัฐ (Public Management) เพื่อเสริมสร้างหลักการบริหารพัฒนาของวิชาการบริหารรัฐกิจซึ่งเห็นเด่นชัดขึ้นนับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา โดยเฉพาะที่โดดเด่นมากก็คือ ผลงาน Reinventing Government ของ Osborne และ Gaebler ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1992 และผลงาน Productivity and Quality Management ของ Holzer ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1995

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาอธิบายถึงบรรทัดฐานของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการบริหารพัฒนาองค์กร 9 แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 3)

บรรทัดฐานของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ มี 7 ประการ ดังนี้

1 ภาวะความเป็นผู้นํา เป็นการศึกษาว่าผู้บริหารอาวุโสขององค์กรนําพาองค์กรไปใน ทิศทางใดและบริษัทได้กล่าวถึงภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และความเป็นพลเมืองที่ดีไว้อย่างไรบ้าง

2 การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการศึกษาทิศทางกลยุทธ์ที่บริษัทวางแผนไว้ และวิธีการหรือ แผนการดําเนินงานเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล

3 การให้ความสําคัญที่ลูกค้าและตลาด ศึกษาว่าบริษัทกําหนดวิธีดําเนินงานเพื่อ ตอบสนองต่อความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้าและตลาดอย่างไร

4 การวิเคราะห์และเตรียมข้อมูล เป็นการศึกษาวิธีการจัดการการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนรายละเอียดเพื่อสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการดําเนินงานที่สําคัญ ๆ ของบริษัท รวมถึงระบบการจัดการด้านการดําเนินงานของบริษัท

5 การให้ความสําคัญแก่ทรัพยากรมนุษย์ เป็นการศึกษาดูว่าบริษัทสามารถนํากําลังคน มาใช้พัฒนาศักยภาพของบริษัทได้อย่างเต็มกําลังความสามารถหรือไม่ และแรงงานที่มีได้รับการมอบหมายการ ดําเนินงานให้ตอบสนองต่อเป้าหมายของบริษัทหรือไม่

6 การจัดการกระบวนการ เป็นการศึกษาแง่มุมการดําเนินงานต่าง ๆ เช่น การผลิต การส่งสินค้า กระบวนการสนับสนุนว่า ได้รับการออกแบบหรือการจัดการ และได้รับการปรับปรุงพัฒนาวิธีการ อย่างไร

7 ผลการดําเนินงานทางธุรกิจ เป็นการศึกษาผลการดําเนินงาน และการปรับปรุงบริษัท ในแง่มุมดังนี้ ได้แก่ ความพึงพอใจของลูกค้า ผลการดําเนินงานด้านการเงิน การตลาด และทรัพยากรบุคคล ผลการ ดําเนินงานของบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบ (Supplier) และหุ้นส่วนธุรกิจ ผลการดําเนินงานในระดับปฏิบัติการโดยเป็น การศึกษาเปรียบเทียบกับวิธีการของคู่แข่ง

 

ข้อ 3 การบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะร่วมกัน 4 ประการอะไรบ้าง การบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D) และการพัฒนาการบริหาร (Development of

Administration : D of A หมายถึงอะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร 9 แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 95, 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31)

(คําบรรยาย)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goal oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว ซึ่งการบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะ ร่วมกันอยู่ 4 ประการ คือ

1 การบริหารการพัฒนามีความหมายที่บ่งชี้สภาพภูมิศาสตร์ (Geographical) แม้ว่า การบริหารการพัฒนาจะมีบ่อเกิดในประเทศที่เจริญแล้วคือสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ได้รับการนํามาประยุกต์ ในประเทศกําลังพัฒนาเสียเป็นส่วนใหญ่ และประเทศที่กําลังพัฒนานี้มักจะมีสถานที่ตั้งอยู่ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา

2 การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือผลลัพธ์ที่ได้มาจากสิ่งอื่น ๆ (Derivative) หมายถึง การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือเกิดจากองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม

3 การบริหารการพัฒนาเป็นกระบวนการของความเคลื่อนไหวจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง นั่นก็คือ จากสภาพด้อยพัฒนาไปสู่สภาพกําลังพัฒนา และจากสภาพกําลังพัฒนาไปสู่ สภาพการพัฒนาแล้ว และเป้าหมายสุดท้าย คือ การพัฒนาประเทศ

4 การบริหารการพัฒนา มีความหมายที่บ่งชี้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติ ภารกิจที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับภารกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอะไรบ้าง หากประเทศที่กําลังพัฒนาประสงค์ จะเจริญรอยตามประเทศที่เจริญแล้ว จําเป็นต้องปฏิบัติภารกิจทางการบริหารเพื่อให้มีระบบมากขึ้น

ความหมายของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

การบริหารเพื่อการพัฒนา คือ การที่รัฐบาลมีนโยบายและโครงการพัฒนาขึ้น และต้องมี การจัดตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การนําเอาสมรรถนะหรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบ การบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริง ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการเจริญเติบโต ทั้งทางการบริหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของประเทศ

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารมีความแตกต่างกัน คือ

ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น สิ่งที่สําคัญคือ การมีนโยบายและโครงการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การมีนโยบายและโครงการ พัฒนาขึ้นมานั้น รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารจะต้องมีการจัดองค์การขึ้นมาเพื่อที่จะให้ดําเนินงานให้บรรลุผลสําเร็จ ตามเป้าหมายในการพัฒนา การจัดองค์การขึ้นเพื่อทําหน้าที่นี้จึงเป็นเรื่องของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development: A of D).

เมื่อองค์การได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว เรื่องที่สําคัญก็คือความสามารถในการบริหารงานให้สําเร็จตามเป้าเหมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับปัจจัยทางด้านคน เงิน วัสดุ และการจัดการ หรืออื่น ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องของ การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

 

ข้อ 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหารมีอะไรบ้าง มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับการบริหารการพัฒนาในประเทศไทย

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 94 – 99), (เอกสารหมายเลข 47 หน้า 57 – 63)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหาร

จากการศึกษาของวรเดช จันทรศร พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการปฏิรูป การบริหาร หรือปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลนั้น มีอย่างน้อย 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป ยิ่งขอบข่ายของการปฏิรูปมีความกว้างเพียงใด โอกาสที่ แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็ยิ่งจะมีน้อยลง ขณะเดียวกันโอกาสที่จะได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย ก็มีน้อยลงด้วย เพราะขอบข่ายการปฏิรูปที่กว้างขวางจําเป็นต้องได้รับการยอมรับหรือได้รับการสนับสนุนทางการเมือง อย่างเต็มที่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นไปได้ยากในประเทศที่กําลังพัฒนา เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นําใช้อํานาจอย่างเบ็ดเสร็จ โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะมีมากขึ้นด้วย เช่น การปฏิรูประบบราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศนโยบายการปฏิรูประบบราชการเป็นนโยบายหนึ่งภายใต้นโยบายด้าน การบริหารราชการแผ่นดินด้วย เป็นต้น

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุผล ยิ่งแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้การเปลี่ยนแปลง บรรลุผลรวดเร็วเพียงใด โอกาสที่แผนหรือข้อเสนอนั้นจะได้รับการยอมรับก็จะมีน้อยลง (ยกเว้นในกรณีวิกฤติ) ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเท่าใดก็จะทําให้เกิดการต่อต้านมากขึ้น เพราะเวลาที่จะสร้างความเข้าใจให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะน้อยลงด้วย ทําให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงหรือสูญเสียผลประโยชน์ จึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว เช่น กรณีการต่อต้าน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดในการนํา กฎหมายฉบับนี้มาใช้จึงขาดการสร้างความเข้าใจกับประชาชน หรือกรณีการนําวิธีตัดแต้มใบขับขี่มาใช้จัดระเบียบ การจราจรของตํารวจ ต้องเร่งการประชาสัมพันธ์ และการแก้ปัญหาของอุปกรณ์ที่ใช้ในการดําเนินการ

แต่ถ้าแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบช้าเนิ่นนานมากขึ้น โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกันโอกาสที่จะนําแผนการปฏิรูปไป ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีน้อยลง เพราะเวลาที่เนินนานออกไปจะทําให้ได้รับการมองจากฝ่ายปฏิบัติว่ามี ความสําคัญน้อยไม่เร่งด่วน เว้นเสียแต่ว่ามีผู้นําที่ตั้งใจจริง และสนับสนุนแผนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องก็จะทําให้ โอกาสที่แผนจะบรรลุผลมีมากขึ้นด้วย

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป การขาดความชัดเจนในวัตถุประสงค์ ของแผน ทําให้เกิดความยากลําบากในการปฏิบัติ ยากต่อการควบคุมตรวจสอบและประเมินความก้าวหน้าของแผน เช่น กรณีของแผนการบริหารเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้เริ่มแผนการปฏิรูป ระบบบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ได้ระบุเป้าหมายไว้กว้าง ๆ ไม่ชัดเจน และที่มาของ นโยบายแผนงาน และโครงการที่ติดตามอีกหลายเรื่อง เช่น นโยบายการจัดตั้งองค์กรการบริหารเหนือระดับจังหวัด คือ ศูนย์อํานวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพราะเหตุที่เป้าหมายในการปฏิรูปไม่ชัดเจนจึง ทําให้ไม่ได้รับการต่อต้าน แต่มีผลทําให้การปฏิบัติยากต่อการบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากขาดการกําหนดตัวชี้วัด ความมีสัมฤทธิผลของแผนที่มีความชัดเจนด้วย

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป ถ้าหากเป้าหมายย่อยในแผนการ ปฏิรูปมีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้น ขณะเดียวกันโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็มีสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าหากวัตถุประสงค์ย่อยใน แผนการปฏิรูปไม่มีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและ นําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะลดลงด้วย เช่น แผนการปฏิรูประบบบริหารของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีกิจกรรมย่อยมากมาย แต่ละกิจกรรมนั้นต่างก็มีวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งมีทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก และมีทั้งที่ห่างไกลจากเป้าหมายหลัก ฉะนั้นจึงยากต่อการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามแผน

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หมายถึง การนําเครื่องใช้ หรือวิธีการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในองค์การ เช่น การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ หรือการพัฒนาองค์การให้เข้าใจในระบบ สารสนเทศ แต่เครื่องมือที่ซับซ้อนยากแก่ความเข้าใจทําให้การยอมรับน้อยลง และโอกาสที่จะได้รับการนํานโยบาย ไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายยิ่งน้อยลงด้วย และยิ่งเป็นวิธีการที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมและพฤติกรรมดั้งเดิมของ ผู้ปฏิบัติงานก็ยิ่งไม่ได้รับการยอมรับมากขึ้น เช่น แผนการปฏิรูประบบการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัย ด้วย การเสนอให้มีการประเมินความรู้ความสามารถของอาจารย์เป็นช่วงเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี วิธีการเช่นนี้ขัดแย้งกับ พฤติกรรมของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน จึงไม่ได้รับการยอมรับและความพยายามของผู้บริหาร ระดับสูงที่จะผลักดันนโยบายนี้ก็ยากที่จะสําเร็จลงได้

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป หากต้องใช้ทรัพยากรมากเท่าใด โอกาสที่แผนการปฏิรูป จะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะน้อยลงด้วย เพราะการที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ จึงอาจเกิดการต่อต้านได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลมีทรัพยากรมากเพียงพอไม่ต้องแย่งชิงกัน โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะ ได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย เช่น กรณีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทํา การปฏิรูปการคลังเป็นจุดเริ่มต้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับแผ่นดินจึงมีทรัพยากรที่มากเพียงพอที่จะนําไปใช้ในการ วางแผนปฏิรูประบบบริหารในส่วนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น

7 กิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป แผนการปฏิรูปที่มีกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามประเมินผลมากเพียงใด โอกาสที่แผนนั้นจะได้รับ การยอมรับและถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะมีมากขึ้น กิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม เช่น จํานวน หลักสูตรฝึกอบรมที่จัดให้ข้าราชการ จํานวนบุคคลที่ถูกสับเปลี่ยนตําแหน่ง จํานวนบุคคลที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ทํางานใหม่ จํานวนเงินที่ใช้ จํานวนวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อใหม่ จํานวนกฎระเบียบที่ถูกยกเลิก

กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนการปฏิรูปสามารถควบคุม และตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนการปฏิรูปได้ และยิ่งมีกิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง มากเท่าใด โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงก็มีมากเท่านั้น เช่น ในองค์กรทหาร บุคคลที่เข้ารับราชการทหารจะต้องผ่าน การฝึกอบรมตั้งแต่ปีแรก และเป็นช่วง ๆ ตามหลักสูตรต่าง ๆ จนใกล้เกษียณอายุ หรือหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร เป็นต้น

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการ ปฏิรูป การพิจารณาแต่กิจกรรมการนําเข้าเพื่อวัดความสําเร็จของแผนนั้นอาจทําให้ผู้ปฏิบัติละเลยความสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หลักของการปฏิรูป ฉะนั้นจําเป็นจะต้องกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของผลลัพธ์การดําเนินการ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และควรเป็นตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น จํานวนคนมารับบริการ เวลาเฉลี่ยที่ประชาชน ต้องใช้ในการติดต่อราชการแต่ละเรื่อง ความพอใจของประชาชนผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดผลผลิต Output ของแผนการปฏิรูปนี้เป็นเรื่องที่กําหนดยาก อาจถูกโต้แย้งได้ง่าย ฉะนั้นโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะน้อยลง เพราะวัดสัมฤทธิผลยาก แต่หากได้รับการยอมรับ แล้วโอกาสที่แผนจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะสูงขึ้น การกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนการปฏิรูปใน เชิงปริมาณเช่นนี้ เป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้าใจในการนํานโยบายไปปฏิบัติ เช่น แผนการปฏิรูป การทํางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)

9 การสร้างการมีส่วนร่วม ในแผนการปฏิรูปจําเป็นจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในขั้นตอนการยอมรับแผนและในขั้นตอนของการนําไปปฏิบัติ การเปิดโอกาสให้ช่วยกันคิดกันทํา จะทําให้โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับสูงขึ้น และการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันจะทําให้การนําแผนการปฏิรูป ไปปฏิบัติมีโอกาสบังเกิดผลสําเร็จสูงขึ้นด้วย เช่น กรณีตํารวจตระเวนชายแดนระดมสรรพกําลังหยุดยั้งยาเสพติด เป็นต้น

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป ยิ่งแผนการปฏิรูปได้มีโอกาสถูก ทดลองหรือสาธิตมากเพียงใด โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับก็จะมีสูงขึ้น และโอกาสที่จะได้มีการนําไปปฏิบัติ ให้บังเกิดผลก็จะมีสูงขึ้นด้วย เพราะการทดลองจะช่วยให้ทราบถึงผลกระทบของแผน ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ทั้งในกระบวนการยอมรับและในกระบวนการของการนําไปปฏิบัติให้น้อยลงได้ เช่น กรณีการทดลองใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน กรณีการทดลองจัดตั้งสถานีตํารวจนครบาลจนขยายผลและนํามาใช้เต็มรูปแบบในปัจจุบัน

 

 

Advertisement