การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายถึงการบริหารรัฐกิจในฐานะที่เป็นฐานความรู้ทางการบริหารการพัฒนาตามหัวข้อ

ที่กําหนดพอสังเขป ดังนี้

1.1 สถานการณ์ของการบริหารรัฐกิจในปัจจุบัน

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 7 หน้า 1 – 2)

สถานการณ์ของการบริหารรัฐกิจในปัจจุบัน

จากปฏิทินการบริหารรัฐกิจที่เสนอในหนังสือ Classic of Public Administration, 2005 จะพบว่า สถานภาพของการบริหารรัฐกิจได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากปี ค.ศ. 1776 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเอกราชจนกระทั่งก่อนปี ค.ศ. 1887 การบริหารรัฐกิจของอเมริกายังอยู่ในขั้นของการวางรากฐานของ กระบวนทัศน์เท่านั้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 เป็นต้นมา การบริหารรัฐกิจของอเมริกาเริ่มปรับตัวเข้าสู่กระบวนการ ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแบบเฉพาะที่แตกต่างจากประเทศในยุโรป การบริหารรัฐกิจจึงค่อย ๆ แยกตัว ออกจากรัฐศาสตร์หรือการเมือง สถานภาพของการบริหารรัฐกิจในช่วงนี้อยู่ระหว่างการสร้างเอกลักษณ์กระบวนทัศน์ แนวคิดและทฤษฎีของตน ต่อมาได้มีการพบว่า ยิ่งการบริหารรัฐกิจแสวงหาความเป็นเอกลักษณ์ของตนเท่าใด ก็ยิ่งถอยห่างออกจากความเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น เพราะการบริหารรัฐกิจมีลักษณะเป็นวิชาชีพสูงเมื่อ เปรียบเทียบกับรัฐศาสตร์

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 1968 การบริหารรัฐกิจได้พัฒนาวิชาชีพของตน เพื่อรับใช้ระบบราชการได้อย่างกว้างขวาง ขอบข่ายของการบริหารรัฐกิจได้พัฒนาและขยายตัวออกจากขอบข่ายดั้งเดิมที่เป็น การบริหารงานบุคคล งานคลังและงานองค์การ โดยขยายเป็นการบริหารนโยบายการบริหารพัฒนา การบริหารงบประมาณ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิหารแรงงานสัมพันธ์ การบริหารงานองค์การปกครองท้องถิ่น การบริหารงานตุลาการ การบริหารรัฐสภา การบริหารงานรัฐบาล และการบริหารความมั่นคงสาธารณะ

และในปี ค.ศ. 1966 เห้เกิดคลื่นลูกใหม่ในวงวิชาการบริหารรัฐกิจ หรือเกิดปรากฏการณ์ที่ เรียกว่า การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ (New Public Administration) โดยนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้มุ่งเน้นความสนใจไปที่ความเสมอภาคทางสังคม ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากการเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการ

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา สถานภาพของการบริหารรัฐกิจก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีก ครั้งหนึ่ง เพราะได้รับอิทธิพลจากนักวิชาการหลังนวยุค (Postmodern) ซึ่งคําว่า หลังนวยุคหรือหลังสมัยใหม่นี้ หมายความว่า ความจริงย่อมแตกต่างไปตามกาลเทศะ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีชุดความเป็นจริงของตนเองด้วยกันทั้งนั้น และไม่มีระบบความเชื่อชุดใดชุดหนึ่งที่สามารถอธิบายความจริงได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นไม่ว่าเรา จะทําอะไรก็แล้วแต่เราต้องอาศัยความหลากหลายจากหลายฝ่าย การมีส่วนร่วม การเสริมพลังอํานาจ และการยอมให้มีทางเลือกต่าง ๆ ในการพิจารณาความเชื่อต่าง ๆ

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผูกขาดวิธีคิด การใช้ระบบเหตุผล และการสร้างมาตรฐานสากล โดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น ไม่สามารถเข้าถึงความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรยึดวัฒนธรรมใด วัฒนธรรมหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจทุกเรื่อง แต่ต้องทําความเข้าใจร่วมกันในวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมตลอดถึงไม่ควรมีการจัดรูปแบบความคิดหรือสร้างกฎเกณฑ์สากลมาครอบงํา แต่ควรจะยอมรับความแตกต่างและความขัดแย้งตามข้อเท็จจริง

แม้ว่าการบริหารรัฐกิจจะได้รับผลกระทบจากแนวคิดหลังนวยุค แต่สถานภาพของการบริหารรัฐกิจ ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงทิศทางหรือมุมมองของตนแต่อย่างใด ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาความรู้ทางการจัดการผลิตภาพและ คุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้มีการดึงการจัดการ (Management) ให้เข้าสู่สถานภาพการจัดการภาครัฐ (Public Management) เพื่อเสริมสร้างหลักการบริหารพัฒนาของวิชาการบริหารรัฐกิจซึ่งเห็นเด่นชัดขึ้นนับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา โดยเฉพาะที่โดดเด่นมากก็คือ ผลงาน Reinventing Government ของ Osborne และ Gaebler ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1992 และผลงาน Productivity and Quality Management ของ Holzer ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1995

 

1.2 การแปลงความรู้ทางการบริหารรัฐกิจให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 7 หน้า 5 – 7)

การแปลงความรู้ทางการบริหารรัฐกิจให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ

ความรู้ คือ สินทรัพย์ที่สําคัญขององค์การ ที่รัฐบาลจะต้องตระหนักถึงให้มากและสนใจที่จะ นําไปใช้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ เมื่อรัฐบาลมีนโยบายเครือข่ายการวิจัยทางการบริหารแล้วก็เท่ากับว่ารัฐบาล ได้ลงทุนทําวิจัย เมื่อลงทุนก็ต้องก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาฐานความรู้ทางการบริหารรัฐกิจ ที่ได้ลงทุนไปแล้วจะต้องมีวิธีการที่จะแปลงฐานความรู้ทางการบริหารรัฐกิจให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจให้ได้ โดยการประกาศให้หน่วยราชการระดับกระทรวง ต้องมีการเปลี่ยนแปลงฐานความรู้ทางการบริหารรัฐกิจให้เป็น ฐานความรู้ทางเศรษฐกิจของกระทรวง โดยวิธีการดังนี้

1 การสร้างพฤติกรรมแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการบริหาร ฐานความรู้ทางการ บริหารที่กระทรวงได้รับ จะต้องสามารถกระจายไปทั้งกระทรวง ลักษณะเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมข้าราชการในกระทรวงให้มีความเต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ทางการบริหาร การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างสูงและกินเวลานานพอสมควรกว่าที่กระทรวงจะเห็นการ เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน แต่ที่สําคัญกว่านั้นก็คือว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะต้องทําอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ พฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นกลายเป็นค่านิยมของข้าราชการในกระทรวง ปัจจัยที่สําคัญต่อการอํานวยการในเรื่องนี้มีอยู่ ด้วยกัน 2 ประการ คือ

1) ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นแบบอย่างของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการบริหาร

2) ต้องสร้างสภาพแวดล้อมของกระทรวงให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการบริหารโดยแก้ไขระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ปิดกั้นการแลกเปลี่ยนและเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนในรูปแบบต่าง ๆ

2 การสื่อสารภายในกระทรวงการสื่อสารถือเป็นหัวใจสําคัญที่ทําให้ข้าราชการทุกคน ในกระทรวง เข้าใจถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นว่า กระทรวงกําลังจะทําอะไร ทําไปเพื่ออะไร จะทําเมื่อไหร่และจะทําอย่างไร ถ้ากระทรวงสามารถสื่อสารความรู้ทางการบริหารให้ข้าราชการทุกคนรับทราบได้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว ก็จะเป็นก้าวแรก ที่ทําให้ข้าราชการสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง กระทรวงต้องมีการ วางแผนการสื่อสารอย่างเป็นระบบและทําการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตราบใดที่กระทรวงต้องการให้ฐานความรู้ทางการบริหารสามารถแปลงเป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ

3 กระบวนการส่งผ่านความรู้ทางการบริหาร จะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและ สะดวกยิ่งขึ้น ก็จะต้องเข้าใจในรูปแบบของการส่งผ่านความรู้ทางการบริหาร รูปแบบที่ว่านี้มี 2 ส่วน คือ

1) ความรู้ส่วนบุคคล (Tacit Knowledge) ความรู้ทางการบริหารที่อยู่ในตัว ข้าราชการจะสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ดีที่สุดก็โดยผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการระดับสูงกับระดับล่าง ด้วยการสัมมนาบ้าง สับเปลี่ยนงานบ้าง หรือการยืมตัวมาช่วยราชการบ้าง

2) ความรู้ขององค์การ (Explicit Knowledge) ความรู้ทางการบริหารขององค์การ ส่วนใหญ่ ได้มีการสรุปเป็นระเบียบกฎเกณฑ์ คู่มือหรือข้อบังคับ ข้อควรปฏิบัติ ตารางข้อมูลและอื่น ๆ ซึ่งจัดเก็บ อยู่ในเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้าราชการสามารถเรียกมาศึกษาได้ กระทรวงจึงต้องจัดทํา Knowledge Portal ซึ่งเป็น อินทราเน็ตของกระทรวง เพื่อให้สามารถส่งผ่านความรู้ทางการบริหารได้อย่างรวดเร็วทุกคน

4 การฝึกอบรมและการเรียนรู้ กระทรวงจะต้องจัดให้มีการเรียนรู้ทั้งนอกรูปแบบโดย ผ่านทางอินทราเน็ตของกระทรวง และการเรียนรู้ในรูปแบบโดยผ่านทางการฝึกอบรมโดยเฉพาะกระทรวงต้องจัด ให้มีการฝึกอบรมการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจว่าจะทําได้อย่างไร การอบรมนี้ จะช่วยให้ข้าราชการมองเห็นสิ่งที่พวกเขาจะได้รับประโยชน์จากการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารให้เป็น ฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ

5 การวัดผลฐานความรู้ทางการบริหาร การวัดผลถือเป็นสิ่งที่สําคัญมากที่จะช่วยบอก ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งจะช่วย ให้กระทรวงสามารถทบทวนปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ และเชิดชูส่วนที่ได้ผลสําเร็จแล้ว ทั้งนี้ผู้บริหารของกระทรวง ย่อมต้องการที่จะเห็นผลสัมฤทธิ์ของการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ เพื่อการ ตัดสินใจในการลงทุนสําหรับการแปลงฐานเหล่านี้ให้เหมาะสมกับผลประโยชน์ที่ได้รับ อย่างไรก็ดี การวัดผลตอบแทน ที่ได้จากการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ละเอียดและซับซ้อนมาก เพราะการทําธุรกิจของกระทรวงส่วนใหญ่เป็นภาพรวมมากกว่าภาพย่อย จึงยากแก่การวัดผลตอบแทนของการบริหาร ในส่วนย่อยได้ แต่การวัดผลตอบแทนอย่างเป็นรูปธรรมก็ทําได้อย่างแน่นอนเพียงแต่ต้องใช้ผู้ชํานาญการเท่านั้น มิใช่คนในกระทรวงวัดผลกันเอง

6 การให้เกียรติยศและรางวัล การสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการแปลงฐานความรู้ทางการ บริหารเป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจนั้นจะต้องกระทํา ตั้งแต่ช่วงแรกของการดําเนินการ เพื่อโน้มน้าวข้าราชการ ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ทางการบริหาร โดยเฉพาะแรงจูงใจที่เป็น “ประโยชน์” จะสามารถโน้มน้าวให้ข้าราชการในกระทรวงสนใจการแปลงฐานความรู้ โดยการแลกเปลี่ยนฐานความรู้ได้ถ้า ข้าราชการสามารถปฏิบัติได้ผลลัพธ์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะนําสู่การประกาศเกียรติคุณและการให้รางวัลต่าง ๆ เมื่อชูภาษิต “ใครทําใครได้” จะทําให้ข้าราชการมีกําลังใจที่จะทําเพราะได้ผลตอบแทนที่เด่นชัด นอกจากนั้นควรที่จะบูรณาการ แรงจูงใจนี้เข้ากับระบบประเมินผลและการให้ค่าตอบแทน

การแปลงฐานความรู้ทางการบริหารรัฐกิจให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยาก ถ้ารัฐบาลต้องการที่จะพัฒนาระบบราชการให้เกิดรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจน คือการที่ระบบราชการสามารถ เป็นเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้ไปสู่เป้าหมายอย่างทันสถานการณ์ ประหยัด และครอบคลุม รอบด้าน

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาอธิบายถึงแนวคิดหลักของการสร้างเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกาตามหัวข้อ

ที่กําหนดพอสังเขป ดังนี้

2.1 การนําองค์กร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 4)

การนําองค์กร

เป็นวิธีการบริหารที่ผู้นําระดับสูงนํามาใช้อย่างเป็นทางการ และอย่างไม่เป็นทางการทั่วทั้งองค์กร ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานและวิธีการใช้ในการตัดสินใจเรื่องที่สําคัญ การสื่อสารและการนําไปปฏิบัติ รวมถึงโครงสร้าง และกลไกในการตัดสินใจ การเลือกสรรและการพัฒนาผู้นํา รวมทั้งกระแสโครงสร้างค่านิยม พฤติกรรมที่มีจริยธรรม ทิศทางและความคาดหวังด้านผลการดําเนินการ แนวคิดเกี่ยวกับการนําองค์กรนี้ มีลักษณะที่เป็นรูปธรรม ดังนี้

1 ผู้นําระดับสูงขององค์กรสามารถกําหนดทิศทางและสร้างองค์กรที่มุ่งเน้นลูกค้า ค่านิยมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งกําหนดความคาดหวังขององค์กรให้มีความสมดุล

2 ผู้นําสามารถทําให้มั่นใจว่ามีการจัดทํากลยุทธ์และวิธีการต่าง ๆ ในเรื่องการกระตุ้นให้มีนวัตกรรมสําหรับความรู้และความสามารถ

3 ผู้นําควรสร้างแรงบันดาลใจ จูงใจและกระตุ้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการทําให้องค์กรประสบความสําเร็จ มีการพัฒนา มีการเรียนรู้ มีนวัตกรรม และมีความคิดสร้างสรรค์

4 ผู้นําควรมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติการและผลการดําเนินการ

5 ผู้นําและผู้ตามปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี โดยมุ่งเน้นพฤติกรรมที่มีจริยธรรมในการทํางาน

6 ผู้นําสามารถเสริมสร้างจริยธรรม ค่านิยม และความคาดหวังขององค์กรไปพร้อม ๆ กับการสร้างภาวะผู้นํา ความมุ่งมั่นและความคิดริเริ่มให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร

 

2.2 การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 5)

การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร

เป็นการปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรการประเมินผลและการปรับปรุง มีการกระตุ้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทางโดยใช้นวัตกรรม การแบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงที่ดีขึ้น และนวัตกรรมกับหน่วยงาน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร

การเรียนรู้เน้นความรู้หรือทักษะใหม่ที่ได้รับจากการประเมิน การศึกษาประสบการณ์ และ นวัตกรรม ซึ่งประกอบกับการเรียนรู้ขององค์กรที่ได้มาจากการวิจัยและการพัฒนาวงจรการประเมิน และการ ปรับปรุง ความคิดและปัจจัยนําเข้าอื่น ๆ จากบุคลากรและลูกค้าขององค์กร การแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศและ การจัดระดับเทียบเคียง ส่วนการเรียนรู้ของบุคลากรจะได้มาจากการศึกษา การฝึกอบรม และโอกาสในการพัฒนา เพื่อความเจริญก้าวหน้าของแต่ละบุคคล

การที่องค์กรจะบรรลุผลการดําเนินการที่เป็นเลิศได้ องค์กรจะต้องมีแนวทางที่ปฏิบัติได้เป็น อย่างดี ในเรื่องการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของแนวทางที่มีอยู่ และการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่นําไปสู่เป้าหมายและแนวทางใหม่ ๆ โดยการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรในองค์กร จะต้องถูกปลูกฝังลงไปในทุกแนวทางที่องค์กรปฏิบัติการจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี

 

ข้อ 3 จงอธิบายความหมายของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D) และการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A) มาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 95, 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31),

(คําบรรยาย) ความหมายของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

การบริหารเพื่อการพัฒนา คือ การที่รัฐบาลมีนโยบายและโครงการพัฒนาขึ้น และต้องมี การจัดตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การนําเอาสมรรถนะหรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบ การบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริง ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการเจริญเติบโต ทั้งทางการบริหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของประเทศ

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้สามารถ ดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า การเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

 

ข้อ 4 จงอธิบายมาพอสังเขป ดังนี้

4.1 การบริหารการพัฒนาของประเทศไทย

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 92 – 94), (เอกสารหมายเลข 47 หน้า 54 – 57), (คําบรรยาย)

การบริหารการพัฒนาของประเทศไทย

ประเทศไทยมีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกในสมัยพระบาท สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นการปรับจตุสดมภ์ให้ดีขึ้น ครั้งที่สองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งใหญ่ซึ่งเป็นรากฐานของการบริหารราชการแผ่นดิน ทีเดียว สาเหตุมาจากความเสื่อมหรือความไร้ประสิทธิภาพของระบบไพร่หรือระบบศักดินา ที่เปิดโอกาสให้ขุนนาง สร้างความมั่งคั่งและฐานอํานาจทางการเมือง รัฐบาลกลางถูกครอบงําโดยขุนนาง ประกอบกับการเผชิญการ คุกคามจากประเทศมหาอํานาจตะวันตก จึงจําเป็นต้องปฏิรูปการบริหารประเทศให้มีความทันสมัย

แนวคิดดังกล่าวได้ปรากฏแล้วตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3 และเริ่มดําเนินการปฏิรูปประเทศในสมัย รัชกาลที่ 4 โดยวางรากฐานการปรับสังคมไทยให้เป็นแบบตะวันตก (Westernization) ในด้านการศึกษา การแพทย์ การวางผังเมือง การทหาร และเทคโนโลยี ขณะเดียวกันยึดเอาประเทศอังกฤษเป็นแม่แบบในการปรับปรุงระบบ การบริหารเข้าสู่ความทันสมัย (Modemization) โดยพระองค์ทรงปรับสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ให้เหมาะสมกับ เงื่อนไขของสังคมไทย และสถานการณ์โลกในขณะนั้น

แนวทางการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะสําคัญ 2 ประการ

คือ

1 การปรับปรุงองค์การการบริหารให้มีประสิทธิภาพ เริ่มจากการปรับปรุงด้านการคลัง โดยการตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เป็นต้น

2 เน้นแนวปฏิบัติของข้าราชการให้มีลักษณะของความซื่อสัตย์สุจริต การไม่เห็นแก่พวกพ้องและอามิสสินจ้าง มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์

อย่างไรก็ตามกระบวนการปฏิรูประบบการบริหารมีทั้งฝ่ายที่ต่อต้านและฝ่ายที่สนับสนุน เกิดเหตุการณ์ใน ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) มีกลุ่มสยามหนุ่มหรือกลุ่มก้าวหน้าได้ร่วมกันเข้าชื่อถวายความเห็นในการ ปฏิรูประบบบริหาร เรียกร้องให้มีการมอบอํานาจและการกระจายอํานาจให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับไว้พิจารณาเป็นแนวทางในการปฏิรูประบบในเวลาต่อมา ซึ่งได้ทําการปฏิรูประบบบริหารในกิจกรรมหลักที่ ครอบคลุมภารกิจของรัฐ 6 ด้าน คือ

1 การปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษี โดยยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร

2 การปฏิรูปศาลส่วนกลาง

3 การปฏิรูปกฎหมายไทย โดยเริ่มใช้ประมวลกฎหมายแบบยุโรปแทนกฎหมายแบบอินเดีย

4 การปฏิรูปกฎหมายที่ดิน โดยมีการออกโฉนดเป็นครั้งแรก

5 การปฏิรูปการบริหารการเกษตร

6 การปฏิรูปการทหาร โดยการตั้งกรมทหารแบบใหม่

นอกจากนั้นช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้มีการตราพระราชบัญญัติ ระเบียบเทศบาลปี พ.ศ. 2476 และได้มีการปรับปรุงกฎหมายการจัดระเบียบเทศบาลอีกหลายครั้ง โดยมีลักษณะเป็นการรวมอํานาจ ทั้งนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมืองและความมั่นคงของประเทศ การปฏิรูปการบริหาร มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นหรือได้รับการยอมรับให้นําไปดําเนินการตามแผนปฏิรูปนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความพร้อม ช่วงเวลา ที่เหมาะสม และภาวะผู้นํา

4.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการปฏิรูปการบริหาร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 94), (เอกสารหมายเลข 47 หน้า 57)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการปฏิรูปการบริหาร มีดังนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุ

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ในการปฏิรูป

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป

7 กิจกรรมนําเข้าที่เป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการปฏิรูป

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการปฏิรูป

9 การสร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิรูป

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป

 

4.3 แนวทางการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 99 – 100), (คําบรรยาย) 5 แนวทางการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่

1 การทบทวนบทบาทภาครัฐให้ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถพิจารณาขจัดภารกิจที่ไม่จําเป็น และให้ความสําคัญต่อภารกิจหลัก ความชัดเจนของบทบาทภารกิจหลักจะเป็นกรอบในการปรับโครงสร้างของระบบราชการ ให้เป็นระบบราชการยุคใหม่ที่มีขนาดเล็กลง มีโครงสร้างกระชับ แต่มีประสิทธิภาพสูง และมีรูปแบบ การจัดองค์การที่หลากหลาย

2 กําหนดแนวทางการปรับปรุงระบบการบริหารงานของหน่วยราชการ เพื่อให้เกิดความ คล่องตัวในการบริหาร มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน โปร่งใส และสามารถ ตรวจสอบได้

3 การปรับระบบการบริหารการพัฒนาและการให้บริการประชาชนในระดับภูมิภาคให้ สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ และความต้องการของประชาชน โดยจัดระบบการบริหารราชการ ภูมิภาคให้เป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน สนับสนุนการกระจายอํานาจ สู่ท้องถิ่น

4 ปรับแนวทางและวิธีการบริหารงบประมาณ โดยเน้นให้นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา ของรัฐเป็นตัวกําหนด เพื่อใช้งบประมาณแนวใหม่เป็นเครื่องมือในการเคลื่อนระบบราชการ

5 จัดระบบการบริหารงานบุคคล และเงินเดือนค่าตอบแทนของระบบราชการใหม่ โดยเริ่มที่ มาตรฐานการประเมินผลงานการเลื่อนขั้นและการให้รางวัลตอบแทน เพื่อวางรากฐานในการสร้างข้าราชการมืออาชีพ และสร้างกลไกการบํารุงขวัญกําลังใจ เพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และคํานึงประโยชน์ส่วนรวม

6 วางแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ

7 วางแนวทางในการปฏิรูประบบกฎหมายและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนําไปสู่ การปฏิรูประบบราชการ

การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ได้แก่

-บทบาทหน้าที่ชัดเจน

– เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ชัดเจน

– ปฏิบัติโดยมืออาชีพที่มีความเป็นกลาง

– ข้อมูลกว้างขวาง เพียบพร้อม

– มอบอํานาจการบริหารจัดการ

– การกระจายความรับผิดชอบ :

– ระบบตรวจสอบข้อมูลจากภายนอก

– เน้นลูกค้า ผู้รับบริการ

– ใช้กลไกตลาด

– รูปแบบองค์กรเน้นให้เกิดความรับผิดชอบ

– มุ่งต่อผลสําเร็จมากกว่าเน้นกฎระเบียบและกระบวนการ

– แปรรูป/จ้างเหมาให้ภาคอื่นรับงานไป

– บทบาทและที่มาของภารกิจชัดเจน

– มีการทําสัญญา (Performance Agreement)

– นําเทคนิคการบริหารของภาคเอกชนมาปรับใช้

– การบริหารจัดการภาครัฐเกือบเหมือนกับภาคเอกชน

– แยกหน่วยนโยบายจากหน่วยปฏิบัติ

– แยกหน่วยจัดสรรทรัพยากรและผู้ซื้อบริการจากหน่วยที่ให้บริการ

– มีการแข่งขันระหว่างหน่วยที่ให้บริการ

– จัดกลุ่มปรับย้ายภารกิจ เพื่อความมีเอกภาพและประสิทธิภาพ

 

Advertisement