การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1. จงอธิบายความหมาย และคุณลักษณะร่วม 4 ประการของการบริหารการพัฒนา (Development Administration) พร้อมทั้งอธิบายว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และการพัฒนาการเมืองเกี่ยวข้องอย่างไรกับการบริหารการพัฒนา

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 73 – 76), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว ซึ่งการบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะ ร่วมกันอยู่ 4 ประการ คือ

1 การบริหารการพัฒนามีความหมายที่บ่งชี้สภาพภูมิศาสตร์ (Geographical) แม้ว่า การบริหารการพัฒนาจะมีบ่อเกิดในประเทศที่เจริญแล้วคือสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ได้รับการนํามาประยุกต์ ในประเทศกําลังพัฒนาเสียเป็นส่วนใหญ่ และประเทศที่กําลังพัฒนานี้มักจะมีสถานที่ตั้งอยู่ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา

2 การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือผลลัพธ์ที่ได้มาจากสิ่งอื่น ๆ (Derivative) หมายถึง การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือเกิดจากองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม

3 การบริหารการพัฒนาเป็นกระบวนการของความเคลื่อนไหวจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง นั่นก็คือ จากสภาพด้อยพัฒนาไปสู่สภาพกําลังพัฒนา และจากสภาพกําลังพัฒนาไปสู่ สภาพการพัฒนาแล้ว และเป้าหมายสุดท้าย คือ การพัฒนาประเทศ

4 การบริหารการพัฒนา มีความหมายที่บ่งชี้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติภารกิจ ที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับภารกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอะไรบ้าง หากประเทศที่กําลังพัฒนาประสงค์ จะเจริญรอยตามประเทศที่เจริญแล้ว จําเป็นต้องปฏิบัติภารกิจทางการบริหารเพื่อให้มีระบบมากขึ้น

ในการพัฒนาประเทศนั้นเป็นที่ยอมรับว่าองค์ประกอบที่สําคัญประการหนึ่งของการบริหาร การพัฒนา คือ การมุ่งเน้นถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้มีความเจริญเติบโตเป็นหลัก แต่สําหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมองว่าเศรษฐกิจเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่จะต้องบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนา เพราะการพัฒนานั้นจะแบ่งออกเป็น การพัฒนา 4 ส่วน คือ

1 การพัฒนาเศรษฐกิจ โดยทั่วไปหมายถึง การเพิ่มผลผลิตประชาชาติมวลรวม (Gross National Product) การทําให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว (Per Capital Income) ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น และการทํา ให้มีการกระจายรายได้เท่าเทียมกันมีมากขึ้น

2 การพัฒนาสังคม หมายถึง การทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ซึ่งครอบคลุมทุกอย่าง ตั้งแต่ทําให้สภาพของประเทศมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองไปจนถึงการทําให้ลักษณะครอบครัวขยายในสังคมหมดสิ้นไป

3 การพัฒนาทางการเมือง โดยทั่วไปหมายถึง การเพิ่มความเท่าเทียมกันในระหว่าง ประชาชน ให้โอกาสแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการเลือกผู้นําในการปกครอง ตลอดจนมีบูรณภาพ แห่งชาติ หรือมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติมากขึ้นกว่าเดิม

4 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การนําเอาระบบคุณธรรมหรือคุณวุฒิมาใช้แทน ระบบอุปถัมภ์มากขึ้นในการสรรหาและบรรจุคนเข้าทํางานในราชการ ตลอดจนการจัดระบบงบประมาณของทาง ราชการให้มีความยืดหยุ่น และมีลักษณะรวมเป็นส่วนกลางให้เป็นที่รู้และเข้าใจได้

การพัฒนาทั้ง 4 ส่วนนี้เมื่อรวมเข้าด้วยกันทั้งหมดแล้วเรียกว่าเป็นการพัฒนาชาติ หรือพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมนั่นเอง ซึ่งในการพัฒนาถ้าจะให้เกิดผลดีจะต้องทําพร้อมกันไปทุกด้าน แบ่งแยกกันมิได้ เพราะทุกด้านต่างก็มีความสัมพันธ์กัน เช่น ระบบเศรษฐกิจที่มีหลักเกณฑ์และเหตุผลทางเศรษฐกิจแท้นั้นจะมีขึ้นไม่ได้ ถ้าสังคมนั้นไม่เคารพมนุษยชาติ ถ้าทางฝ่ายการเมืองไม่มีความรับผิดชอบ และฝ่ายบริหารไม่ทําตามกฎหมาย ใน ทํานองเดียวกันสังคมจะมีความเคารพในเกียรติมนุษยชาติไม่ได้ จนกว่าระบบเศรษฐกิจจะพัฒนาแล้ว ฝ่ายการเมือง มีความรับผิดชอบและฝ่ายบริหารทําตามกฎหมาย หรือในแง่ส่วนย่อยก็เช่นกัน สภาพการเป็นพลเมืองจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้ายังไม่สามารถประกอบการทางเศรษฐกิจได้อย่างอิสระ ไม่มีอิสรเสรีในการดํารงชีวิตในสังคม และข้าราชการ ไม่ยอมรับใช้บริการประชาชน เป็นต้น นี่คือทุกด้านมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นการพัฒนาเพื่อจะให้ได้ผลดีนั้น จําเป็นจะต้องพัฒนาพร้อมกันไปทุกด้านด้วย

 

ข้อ 2 ให้อธิบายทั้งข้อ 2.1 และข้อ 2.2

2.1 การพัฒนาการบริหารหมายถึงอะไร มีทฤษฎีและองค์ประกอบอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 31, 34 – 37,51 – 58), (คําบรรยาย)

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration 😀 of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

ทฤษฎีการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration)

ระบบบริหารมีหน้าที่ที่สําคัญ คือ การนํากฎระเบียบของสังคมที่ได้บัญญัติไว้แล้วนั้นไป ดําเนินการให้เป็นจริงหรือเป็นรูปธรรม หรือการนํานโยบายไปปฏิบัติ การพัฒนาการบริหารในลักษณะเช่นนี้เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และองค์กรที่เกี่ยวข้องนํานโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์

นักวิชาการส่วนหนึ่งได้เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารไว้เป็น 2 มิติ คือ มิติ ความสมดุลของการพัฒนา (Balanced Administration Growth) กับความไม่สมดุลของการพัฒนา (Unbalanced Administration Growth) และมิติการพัฒนาระบบบริหารแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive) หรือแบบรวบยอด กับค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบสะสมที่ละน้อย (Incremental) ดังนั้นหากพิจารณาจากแนวทางทั้ง 2 มิติ อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาการบริหารมี 4 แนวทาง ได้แก่

1 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและเบ็ดเสร็จ (Balanced and Comprehensive) คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการบริหารไปพร้อม ๆ กัน ระดมทรัพยากรจากทุกด้าน ปฏิรูป องค์ประกอบของระบบบริหารไปพร้อม ๆ กันภายในระยะเวลาอันสั้น และเป็นการวางแผนให้มีการเปลี่ยนแปลงจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานวางแผนกลาง

2 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Balanced and Incremental) เป็นการพัฒนาระบบบริหารที่เน้นความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ทุกกิจกรรมสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกัน อย่างมีเหตุผล และลดแรงกดดันจากพลังต่อต้านเนื่องจากบางส่วนได้รับทรัพยากรในการพัฒนาแต่บางส่วนไม่ได้รับ และต้องการรักษาสถานภาพเดิมไว้โดยไม่คํานึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลง จึงใช้แนวทางการพัฒนาแบบให้มีการ เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ มีการพัฒนาในทุกส่วนพร้อม ๆ กันหรือในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ไม่ให้ส่วนใด เปลี่ยนแปลงไปมากจนส่วนอื่นตามไม่ทัน

3 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและเบ็ดเสร็จรวบยอด (Unbalanced and Comprehensive) เป็นการพัฒนาที่มีแนวคิดว่า ระบบราชการเป็นกลไกที่สําคัญที่สุดของการพัฒนา โดยจะให้ ความสําคัญกับองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งของระบบบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น รวมทั้ง เป็นการวางแผนหรือกําหนดนโยบายจากส่วนกลาง ซึ่งปกติมักเป็นนโยบายเกี่ยวกับการทุ่มงบประมาณหรือการ ให้เงินจํานวนมากไปพัฒนา

4 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Unbalanced and Incremental) เป็นการพัฒนาโดยให้ความสําคัญกับส่วนใดส่วนหนึ่งของการบริหารหรือการไม่เร่งรัดการเปลี่ยนแปลง ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบสะสมทีละเล็กทีละน้อย เป็นการวางแผนระยะยาว

องค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) ได้แก่การพิจารณาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบขององค์กร ซึ่งครอบคลุมถึงโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรม โดยมีสาระสําคัญพอสรุปได้ ดังนี้

การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างจะมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อพฤติกรรม การทํางานของคนในองค์การ คือ เป็นทั้งสาเหตุและผลลัพธ์ของความไม่มีประสิทธิภาพของการบริหาร ซึ่งการที่ แต่ละองค์การมีโครงสร้างที่แตกต่างกันทําให้พฤติกรรมของคนในองค์การ ตลอดจนสัมฤทธิผลแตกต่างกันด้วย กล่าวคือ โดยรูปแบบทั่วไปแล้วองค์การส่วนใหญ่จะจัดรูปแบบการบริหารแบบพีระมิด คือ ผู้ที่อยู่บนสุดมีจํานวนน้อย แต่จะมีอํานาจในการตัดสินใจมากที่สุด

สําหรับแนวคิดในการจัดองค์กรยุคใหม่ คือ การจัดในรูปแบบองค์การแนวราบเป็นแบบแมทริกซ์ หรือหากสามารถใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยอาจจะสามารถก้าวเข้าสู่ยุคการจัดองค์กรยุคข้อมูล ข่าวสารแบบ Internal Market เช่น การตั้งผู้ว่า CEO มิใช่เป็นการลดอํานาจหรือก้าวก่ายการทํางานของท้องถิ่น ผู้ว่าฯ จะเป็นแกนประสานการพัฒนาระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติอย่างมี ประสิทธิภาพ เป็นต้น

การพัฒนากระบวนการทางการบริหาร องค์การแต่ละแห่งมักจะมีโครงสร้างที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ระบบการทํางานหรือกระบวนการทํางานในองค์การจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งกระบวนการในการทํางานนี้ จะมีตัวแปรหลายตัวแปร ได้แก่ กระบวนการทํางานของผู้บริหาร คือ การวางแผนงาน วิธีการสั่งงาน การจัดกําลังคน การจัดงบประมาณ การมอบหมายงาน การกํากับควบคุมงาน วิธีการประสานงาน การตัดสินใจ และการสื่อข้อความ นอกจากนั้นในองค์การยังมีหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ในการบริหารงานด้านบุคคล หน้าที่ การบริหารงานด้านการเงินการคลัง ฯลฯ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการทํางาน ของคนในองค์การ เช่น องค์การใดใช้บุคคลเป็นผู้กํากับดูแลตรวจสอบการทํางานมากกว่าที่จะใช้กฎหมายแต่เพียง อย่างเดียว การเบี่ยงเบนจากเป้าหมายใหญ่จะลดน้อยลง เป็นต้น

การพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในระบบบริหาร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลเป็น การเปลี่ยนแปลงที่ยากกว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือกระบวนการทํางาน และต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่ ซับซ้อนกว่าการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวที่อยู่ในระดับที่ต่างกัน (โดยเฉพาะตัวแปร เชิงจิตวิทยาสังคม) นับตั้งแต่ตัวแปรของปัจเจกชน เช่น ทัศนคติ การรับรู้ แรงจูงใจ ภูมิหลังของครอบครัว บุคลิกภาพ ส่วนตัว ตัวแปรกลุ่ม เช่น ผู้นําค่านิยมกลุ่ม ความขัดแย้ง การสื่อสารภายในกลุ่ม จนถึงตัวแปรขององค์การและ สังคมภายนอกองค์การ เช่น ระบบการให้รางวัลและระบบการลงโทษขององค์การ ความคาดหวังที่องค์การมีต่อบุคคล บรรยากาศการทํางาน ตลอดจนสถานการณ์ภายนอก ต่างก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนกําหนดพฤติกรรมการทํางานของมนุษย์ แทบทั้งสิ้น ดังนั้นในการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงตัวแปรแต่ละตัวจึงต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการเปลี่ยนแปลง ในด้านอื่น ๆ

2.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนการพัฒนาการบริหารมีอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 94), (เอกสารหมายเลข 47 หน้า 57)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนการพัฒนาการบริหาร

จากการศึกษาของวรเดช จันทรศร พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการปฏิรูป การบริหาร หรือปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลนั้น มีอย่างน้อย 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุ

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ในการปฏิรูป

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป

7 กิจกรรมนําเข้าที่เป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการปฏิรูป

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการปฏิรูป

9 การสร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิรูป

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายถึงแนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ แล้วอธิบายว่าแนวคิดเหล่านี้สามารถนํามาใช้ในการบริหารการพัฒนาประเทศไทยได้อย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 4 – 9)

แนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ จะเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการดําเนินงานขององค์กรเป็นสําคัญ โดยแนวคิดนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยในการปรับปรุงวิธีการดําเนินงาน ความสามารถและผลลัพธ์ของ องค์การ รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้มีการสื่อสารและแบ่งปันสารสนเทศ ตลอดจนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างองค์กร ต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนํามาใช้ในการจัดการดําเนินการขององค์กร รวมถึงใช้เป็นแนวทาง ในการวางแผนและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ ซึ่งแนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ พอสรุปได้ดังนี้

1 การนําองค์กร เป็นวิธีการบริหารที่ผู้นําระดับสูงนํามาใช้อย่างเป็นทางการ และอย่าง ไม่เป็นทางการทั่วทั้งองค์กร ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานและวิธีการใช้ในการตัดสินใจเรื่องที่สําคัญ การสื่อสารและ การนําไปปฏิบัติ รวมถึงโครงสร้างและกลไกในการตัดสินใจ การเลือกสรรและการพัฒนาผู้นํา รวมทั้งกระแส โครงสร้างค่านิยม พฤติกรรมที่มีจริยธรรม ทิศทางและความคาดหวังด้านผลการดําเนินการ

2 การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร เป็นการปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจร การประเมินผลและการปรับปรุง มีการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทางโดยใช้ นวัตกรรม การแบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงที่ดีขึ้น และนวัตกรรมกับหน่วยงาน และกระบวนการอื่นที่ เกี่ยวข้องภายในองค์กร

การเรียนรู้เน้นความรู้หรือทักษะใหม่ที่ได้รับจากการประเมิน การศึกษาประสบการณ์ และนวัตกรรม ซึ่งประกอบกับการเรียนรู้ขององค์กรที่ได้มาจากการวิจัยและการพัฒนาวงจรการประเมิน และ การปรับปรุง ความคิดและปัจจัยนําเข้าอื่น ๆ จากบุคลากรและลูกค้าขององค์กร การแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ และการจัดระดับเทียบเคียง ส่วนการเรียนรู้ของบุคลากรจะได้มาจากการศึกษา การฝึกอบรม และโอกาสในการ พัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้าของแต่ละบุคคล

การที่องค์กรจะบรรลุผลการดําเนินการที่เป็นเลิศได้ องค์กรจะต้องมีแนวทางที่ปฏิบัติ ได้เป็นอย่างดี ในเรื่องการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของแนวทางที่มีอยู่ และการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่นําไปสู่เป้าหมายและแนวทางใหม่ ๆ โดยการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรใน องค์กรจะต้องถูกปลูกฝังลงไปในทุกแนวทางที่องค์กรปฏิบัติการจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี

3 การมุ่งเน้นผลลัพธ์ หมายถึง การใช้ผลลัพธ์ขององค์กร เพื่อสนองคุณค่าและรักษา ความสมดุลของคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย การสร้างคุณค่าให้สมดุลนี้จึงเกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้น ลูกค้า/ประชาชน การให้ความสําคัญกับบุคลากร การมุ่งเน้นอนาคตและความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้

การมุ่งเน้นลูกค้าประชาชน เนื่องจากประชาชนเป็นผู้ตัดสินคุณภาพและผลดําเนินการ ขององค์กร เพราะฉะนั้นองค์กรจึงต้องคํานึงถึงรูปแบบ และคุณลักษณะทั้งหมดของผลิตภัณฑ์และบริการ

การให้ความสําคัญกับบุคลากร/พนักงานภายในองค์กร เป็นแนวทางการดําเนินการ ที่มุ่งสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานหรือบุคลากรมีความพึงพอใจในการทํางาน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพ ของงานและความสําเร็จขององค์กร

การมุ่งเน้นอนาคต เป็นแนวทางการดําเนินการที่มีผลต่อความยั่งยืนขององค์กร โดย องค์กรจะต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ การตลาด การเป็นผู้นําในตลาด และการมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

ความรับผิดชอบต่อสังคม การบําเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี เกี่ยวข้องกับการนําองค์กร และการสนับสนุนจุดประสงค์ที่สําคัญด้านสาธารณะ รวมถึงการปรับปรุงด้านการศึกษาและสุขอนามัยของชุมชน การทําให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี การอนุรักษ์ทรัพยากร การให้บริการชุมชน การปรับปรุงวิธีปฏิบัติขององค์กรและ อุตสาหกรรม และการแบ่งปันสารสนเทศที่ไม่เป็นความลับทางองค์กร

4 การจัดการองค์กร การจัดองค์กร เป็นการจัดการกระบวนการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ซึ่งมีนัยยะสําคัญต่อองค์การในด้านการสร้างคุณค่าต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ การจัดการองค์กรยังเป็นกระบวนการสนับสนุนที่สําคัญในการวางแผนดําเนินงาน โดยจะคํานึงถึงการจัดการด้าน การเงินและการวางแผนให้สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามหลักการแล้ว การจัดการองค์กรจะเน้น การวิเคราะห์ไปที่ส่วนสําคัญ 3 ประการ คือ ความคล่องตัว นวัตกรรม และการใช้ข้อมูลจริง

5 การจัดการเชิงระบบ แนวคิดนี้แสดงให้เห็นในกรอบการบริหารจัดการตามแนวทาง รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นมุมมองเชิงระบบที่ครอบคลุมถึงการที่ผู้นําระดับสูงมุ่งเน้นทิศทางเชิงกลยุทธ์และ มุ่งเน้นลูกค้า โดยผู้นําระดับสูงจะทําการตรวจ ติดตาม ปรับปรุงแก้ไข และจัดการผลการดําเนินการโดยระดับผลลัพธ์ ทางธุรกิจหรืองานบริการ นอกจากนี้การจัดการระบบยังรวมถึงการใช้ตัวชี้วัด ดัชนีชี้วัด และความรู้ขององค์การ เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่สําคัญและเชื่อมโยงกลยุทธ์ต่าง ๆ เข้ากับกระบวนการที่สําคัญและการจัดสรรทรัพยากรให้มี ความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อปรับปรุงผลการดําเนินการโดยรวมและทําให้ลูกค้าพึงพอใจ

 

ข้อ 4 ให้นักศึกษาอธิบายมินิพาราไดม์เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาว่าสามารถนํามาช่วยปรับปรุงสมรรถนะของการบริหารองค์การให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 244 หน้า 10 – 11)

มินิพาราไดม์เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

นับตั้งแต่รัฐบาลอเมริกันได้จัดทําโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ โดยมีการบริหารงานแบบ ภายนอกที่มุ่งเน้นการติดต่อกับหน่วยงานภายนอก ให้มาสนับสนุนโครงการพัฒนาของหน่วยงานนั้น ได้รับความสําเร็จ เป็นอย่างมาก การบริหารงานแบบภายนอกนี้ได้รับการศึกษาเรื่อยมา

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1962 Weidner ได้เรียกการศึกษานี้ว่า “การบริหารการพัฒนา” หลังจากนั้น ศัพท์ใหม่นี้ก็ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นมินิพาราไดม์ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก

ในทศวรรษ 1980 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการสร้างสมรรถนะทางการบริหาร เพื่อให้ องค์การบริหารสามารถส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ประชาชนได้ เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด ไม่สิ้นเปลือง และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษและความเสื่อมโทรม เน้นการพัฒนาประเทศร่วมกันระหว่าง ภาครัฐและภาคเอกชน โดยส่งเสริมการประกอบการแบบเสรีและสนับสนุนการบริหารแบบประชาธิปไตย และเน้น การเมืองของการปฏิบัติตามนโยบายพัฒนาโดยใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ทางการบริหารร่วมกับการต่อรองทางการเมือง

การบริหารการพัฒนามีจุดเน้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในทศวรรษที่ 1960 การบริหาร การพัฒนาเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยและต่อต้านภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์

ในทศวรรษที่ 1970 การบริหารการพัฒนาจะมุ่งเน้นความสนใจไปที่ความเสมอภาคทางสังคม การกระจายอํานาจ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของชาวชนบท

ในทศวรรษที่ 1980 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการสร้างสมรรถนะทางการบริหารหรือ การพัฒนาการบริหาร โดยการจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรม การบริหารให้มีสมรรถนะหรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมสําหรับ การพัฒนาประเทศ

ในทศวรรษที่ 1990 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการบริหารเพื่อการพัฒนา โดยการนําสมรรถนะ หรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบการบริหารมาปฏิรูปตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมการพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า

และในปัจจุบันนี้ต่างก็ทราบกันดีว่าการพัฒนาประเทศจะต้องอาศัยการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ในเบื้องต้นจะต้องมีการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารงานภายในองค์การราชการ ให้มี สมรรถนะสูงจนสามารถตอบสนองภารกิจของการบริหารเพื่อพัฒนา (Administration of Development) และ เมื่อองค์การราซการมีสมรรถนะในการบริหาร รัฐบาลย่อมสามารถบริหารโครงการพัฒนาต่าง ๆ ได้ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งโครงการพัฒนาชุมชนเมือง ชนบท รัฐวิสาหกิจ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การศึกษา ประชากร สาธารณสุขและอื่น ๆ

โดยหลักการสําคัญทางบริหารการพัฒนาอยู่ตรงที่ว่า ระบบราชการสามารถแปลงนโยบาย การพัฒนาออกมาเป็นแผนกลยุทธ์ แผนงาน โครงการและกิจกรรมการพัฒนาที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ กล่าวโดยสรุป ในปัจจุบันนิยมใช้หลายมินิพาราไดม์มาศึกษา ระบบราชการเป็นส่วน ๆ แล้วเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงระบบราชการอย่างเป็นส่วน ซึ่งก่อให้เกิดผลดีคือ ไม่ต้องรอให้มีการปฏิรูประบบราชการพร้อมกัน หน่วยราชการใดก็สามารถปฏิรูปก่อนได้ ทําให้ระบบราชการ มีความทันสมัยขึ้นเป็นอันมาก

 

Advertisement