การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

(1) เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

(2) เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

(3) เพื่อกําหนดจุดเริ่มต้นโครงการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

1 เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในโครงการมีความเป็นไปได้ที่จะประสบผลสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หรือไม่

2 เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

3 เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

2 ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่

(1) ด้านเทคนิค การจัดการ

(2) ด้านการตลาด การเงิน

(3) ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

(4) ด้านสิ่งแวดล้อม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่

1 การศึกษาด้านเทคนิคหรือด้านวิชาการ

2 การศึกษาด้านการจัดการ

3 การศึกษาด้านการตลาด

4 การศึกษาด้านการเงิน

5 การศึกษาด้านเศรษฐกิจ

6 การศึกษาด้านสังคมและการเมือง

7 การศึกษาด้านสภาพแวดล้อมและสภาวะนิเวศ

3 ข้อใดคือเครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค

(1) บรรทัดฐานด้านเวลา

(2) บรรทัดฐานด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

(3) บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค มีดังนี้

1 บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

2 บรรทัดฐานด้านเวลา

3 บรรทัดฐานด้านการเงิน

4 บรรทัดฐานด้านประสิทธิผล

4 สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

(1) หน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้

(2) ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน

(3) การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ

(4) ควรจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

1 ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน ซึ่งหน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้ การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ และควรมีการจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

2 ความต้องการของลูกค้าและผู้รับบริการมีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบางครั้งความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

3 ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่าด้วย

4 การใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ามีความจําเป็นและสําคัญมากขึ้น ควรคํานึงถึงเรื่องความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้ และผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

5 การเพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการให้บริการลูกค้า

6 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

7 การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์

8 การเผชิญกับภาวะวิกฤติและความเสี่ยงต่าง ๆ

5 สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ

(1) สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก

(2) สภาพแวดล้อมไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป

(3) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงมาก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก และไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป ซึ่งลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํามักจะมีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

6 ลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํา คือ

(1) ไม่จําเป็นต้องมีทักษะใด ๆ

(2) มีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

(3) มีทักษะรอบด้านในการทํางานให้สําเร็จ

(4) มีทักษะในการตัดสินใจ

(5) มีทักษะในด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

7 การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ควรประเมินความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้

(2) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงช้า จึงควรลงทุนในด้านเทคโนโลยี

(3) ควรคํานึงถึงผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

8 ลักษณะเฉพาะที่สําคัญของโครงการ คือ

(1) ผลลัพธ์ของโครงการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

(2) ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศ แตกต่างจากงานประจํา

(3) มีองค์การรับผิดชอบโดยเฉพาะ

(4) องค์การที่รับผิดชอบทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของโครงการ มีดังนี้

1 ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศหรือมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากงานประจํา

2 มีองค์การรับผิดชอบในการจัดการ โดยเฉพาะ และทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว 3 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหาร และทีมงานโครงการต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่าง ๆ เสมอ

4 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารโครงการต้องคํานึงถึงข้อจํากัดด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และคุณภาพตามที่กําหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการ

5 ในการจัดการโครงการ จําเป็นต้องเน้นความสําคัญของการบูรณาการกับองค์การหลักหรือหน่วยงานหลักของเจ้าของโครงการ

9 “การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ โครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการตลาด มีดังนี้

1 การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม

2 ศึกษาสภาพความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ

10 “การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการเงิน มีดังนี้

1 การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ

2 การวิเคราะห์การใช้จ่ายทางการเงินล่วงหน้า ฯลฯ

11 “การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกัน” เป็นการประเมิน โครงการในด้านใด

(1) การประเมินโครงการในภาพรวม

(2) การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม

(3) การประเมินด้านการตลาด

(4) การประเมินด้านการเงิน

(5) การประเมินด้านการจัดการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประเมินโครงการในภาพรวม (Project Appraisal) คือ

1 การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกันโครงการนี้เหมาะสมกว่าหรือไม่

2 โครงการที่เสนอจะสามารถดําเนินการให้สําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งจะบรรลุจุดมุ่งหมายของแผนงาน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานระดับสูงมากน้อยเพียงใด

12 EIA คืออะไร

(1) การวิเคราะห์ผลกระทบทั่วไปของโครงการ

(2) การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ

(3) หลักการประเมินผลโครงการ

(4) หลักการบริหารงบประมาณโครงการ

(5) การจัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการดําเนินโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Environmental Impact Assessment : EIA คือ การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการในภาพรวม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการตามบรรทัดฐานที่กําหนด

13 ข้อใดเป็นวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคม

(1) การจัดทําประชาพิจารณ์

(2) การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

(3) การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

(4) การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคมอย่างกว้างขวาง อาจทําได้โดยวิธีดังนี้

1 การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

2 การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

3 การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

4 การจัดทําประชาพิจารณ์

14 ความต้องการของผู้รับบริการจากองค์การภาครัฐในปัจจุบันเป็นอย่างไร

(1) ความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

(2) ความต้องการมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

(3) ความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

(4) บางครั้งความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

15 การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านการจัดการ

(2) ด้านเทคนิค

(3) ด้านการตลาด

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านเทคนิค คือ เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ อันจําเป็นต่อการทํางานในแต่ละกิจกรรมให้สมบูรณ์

16 กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่องใด

(1) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) ทรัพย์สินทางปัญญา

(3) สิทธิมนุษยชน

(4) ธรรมาภิบาล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่อง ดังนี้

1 ทรัพย์สินทางปัญญา

2 สิทธิมนุษยชน

3 ธรรมาภิบาล

4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

17 ทรัพยากรในการบริหารงานภาครัฐมีลักษณะอย่างไรในปัจจุบัน

(1) ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้นมาก

(2) การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่า

(3) ทรัพยากรมีลักษณะคงที่เหมือนเช่นในอดีต

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

18 ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่ข้อใด

(1) การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

(3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

(4) การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่

1 การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

2 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

4 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

19 สิ่งที่จําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการ คือข้อใด

(1) ข้อมูล

(2) เวลา

(3) ค่าใช้จ่าย

(4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการก็คือเวลา เพราะแต่ละโครงการจะมีระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาเสร็จสิ้นโครงการที่แน่นอน

20 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่องใด

(1) องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

(2) มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

(3) มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

(4) มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่อง ดังนี้

1 มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

2 มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

3 องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

4 มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

21 โครงการประเภท “ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา” ได้แก่ข้อใด

(1) การใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น

(2) การแก้ไขปัญหาครอบครัว

(3) การจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

(4) การแก้ไขปัญหาส่วนตัว

(5) การสร้างอาคารสํานักงานใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเภทของโครงการ จําแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 โครงการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหา เช่น โครงการ One Stop Service เป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว และการจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

2 โครงการริเริ่มหรือนวัตกรรม เช่น การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่การสร้างอาคารสํานักงานใหม่ การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต และการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรใหม่

3 โครงการวิจัยและพัฒนา มีลักษณะเป็นโครงการใหม่หรือโครงการบุกเบิก อาจใช้ชื่อเรียกว่าโครงการนําร่อง (Pilot Project) หรือเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

22 โครงการประเภท “ริเริ่มหรือนวัตกรรม” ได้แก่ข้อใด

(1) การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต

(2) การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่

(3) การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่

(4) การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรใหม่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

23 โครงการประเภท “วิจัยและพัฒนา” มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นโครงการบุกเบิก

(2) เป็นโครงการนําร่อง

(3) เป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

24 ขั้นตอนแรกของการวางแผนโครงการ คือ

(1) การจัดทําข้อเสนอโครงการ การ

(2) การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

(3) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

(4) การคิดค้นทางเลือก

(5) การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนโครงการ มีดังนี้

1 การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทําให้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ และสามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริง ได้อย่างถูกต้อง

2 การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

3 การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย คือ การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

4 การเสนอเพื่อพิจารณา จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

5 การคิดค้นทางเลือก เป็นขั้นตอนที่ต้อง ทํารายละเอียด 6W 2H

6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือก โดยการใช้ข้อมูลจากผล การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมาพิจารณา

7 การเสนอเพื่อพิจารณาอีกรอบหนึ่ง จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

8 การจัดทําข้อเสนอโครงการ

25 ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ข้อใด (1) องค์การการค้าโลก

(2) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

(3) องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่

1 องค์การการค้าโลก

2 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

3 องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

26 ผลประโยชน์ของโครงการจะพิจารณาอย่างไร

(1) พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

(2) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่เป็นตัวเงิน

(3) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ของโครงการ จะพิจารณาในเรื่องดังนี้

1 พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

2 พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

27 ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ

(1) การจัดการโครงการของสํานักงานโครงการ

(2) การจัดทําแผนดําเนินงาน

(3) การจัดตั้งองค์กรโครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ การจัดทําแผนดําเนินงาน (Operation Plan) มีการจัดตั้งองค์กรโครงการ มีการจัดการโครงการของ สํานักงานโครงการ และมีผู้จัดการโครงการ (Project Manager) เป็นผู้รับผิดชอบหลักรวมถึงการควบคุมงาน เป็นต้น

28 ข้อใดเป็นขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการที่เรียงลําดับถูกต้อง

(1) การส่งผลงาน การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(2) การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(3) การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การส่งผลงาน

(4) การตรวจรับงาน การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน

(5) การปิดโครงการ การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การตรวจการจ้าง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการ เรียงลําดับได้ดังนี้

1 การตรวจรับงาน

2 การปิดโครงการ

3 การตรวจการจ้าง

4 การส่งผลงาน

29 บันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด (1) การกําหนด TOR

(2) การวางแผนโครงการ

(3) การวิเคราะห์โครงการ

(4) การตัดสินใจลงทุนในโครงการ

(5) การดําเนินงานโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วงจรโครงการของภาคเอกชน มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดแนวคิดโครงการ

2 การวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการ

3 การดําเนินงานโครงการ

4 การยุติและส่งมอบโครงการ

30 ข้อความในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนเหมือนกับภาคเอกชน

(2) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

(3) แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

(4) โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน (5) นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างโครงการขององค์การภาครัฐกับภาคเอกชน มีดังนี้

1 วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

2 แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

3 โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน

4 นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ

5 โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนไม่เหมือนกับภาคเอกชน

31 ในการบริหารโครงการ ผู้บริหารควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ข้อจํากัดด้านเวลา

(2) ค่าใช้จ่าย

(3) คุณภาพของงาน

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

32 ข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) ผลผลิตของโครงการแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ

(2) การบริหารโครงการต้องบูรณาการกับองค์การหลักที่เป็นเจ้าของโครงการ (3) ผู้บริหารโครงการต้องบริหารงานภายใต้วงเงินงบประมาณที่ได้รับ

(4) การบริหารโครงการต้องมีความยืดหยุ่นด้านเวลา

(5) การบริหารโครงการต้องกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในการบริหารหรือการจัดการโครงการต้องมีการกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน และผลผลิตของโครงการต้องแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ (ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ) 33 ข้อความใดที่ถูกต้อง

(1) งานโครงการมีบริบทคงที่ งานประจํามีบริบทยืดหยุ่น

(2) งานโครงการมีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก งานประจํามีลักษณะเฉพาะ

(3) งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว งานประจําค่อยเป็นค่อยไป

(4) งานโครงการเน้นประสิทธิภาพ งานประจําเน้นประสิทธิผล

(5) งานโครงการต่อเนื่องไม่สิ้นสุด งานประจํามีจุดเริ่มต้นและแล้วเสร็จ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความเตกต่างระหว่างงานโครงการกับงานประจํา มีดังนี้

1 ขอบข่ายงาน งานโครงการจะมีลักษณะเฉพาะ ส่วนงานประจํามีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก

2 เวลา งานโครงการมีจุดเริ่มต้นและจุดเสร็จสิ้นโครงการแน่นอน ส่วนงานประจําต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

3 การเปลี่ยนแปลง งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่วนงานประจําค่อยเป็นค่อยไป

4 แนวโน้ม งานโครงการไม่คํานึงถึงความสมดุล ส่วนงานประจําคํานึงถึงความสมดุล

5 วัตถุประสงค์ งานโครงการเน้นที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง ส่วนงานประจําเน้นที่ความเท่าเทียมกัน

6 ทรัพยากร งานโครงการจํากัดตามวงเงินที่กําหนด ส่วนงานประจําเพิ่มเติมได้ถ้าจําเป็น

7 บริบท งานโครงการมีบริบทยืดหยุ่น ส่วนงานประจํามีบริบทคงที่

8 ผลลัพธ์ งานโครงการเน้นที่ประสิทธิผล ส่วนงานประจําเน้นประสิทธิภาพ

9 ทีมงาน งานโครงการประสานกันด้วยจุดมุ่งหมาย ส่วนงานประจําประสานกันด้วยบทบาท

34 วงจรโครงการของภาคเอกชน แบ่งออกเป็นงานสําคัญที่ขั้นตอน

(1) 3 ขั้นตอน

(2) 4 ขั้นตอน

(3) 5 ขั้นตอน

(4) 6 ขั้นตอน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

35 การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน กําหนดโดยผู้ใด

(1) เจ้าของกิจการ

(2) ผู้บริหารสูงสุด.

(3) ผู้บริหารระดับกลาง

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน จะถูกกําหนดโดยเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งการกําหนดแนวคิดโครงการจะเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการ ของภาคเอกชน รวมถึงข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (Terms of Reference : TOR) ก็พัฒนา มาจากแนวคิดโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของกิจการ

36 จุดศูนย์กลางของวงจรโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด

(1) การกําหนดแนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

37 เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร (2) วัตถุประสงค์ ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร

(3) วัตถุประสงค์ บุคลากรที่รับผิดชอบ ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ (4) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ

(5) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากรอายุโครงการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากร และอายุโครงการ

38 ขั้นตอนสุดท้ายของวงจรโครงการของภาครัฐ คือ

(1) การอนุมัติโครงการ

(2) การลงทุนในโครงการ

(3) การส่งมอบงานโครงการ

(4) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(5) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1 การวางแผน การประเมิน และการจัดทําข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย

1.1 การกําหนดแนวคิดโครงการ เช่น การกําหนดเงื่อนไขของโครงการ (Terms of -Reference : TOR)

1.2 การศึกษาความเป็นไปได้และประเมินโครงการ ซึ่งมีประโยชน์เพื่ออนุมัติโครงการให้มีการดําเนินการต่อไปได้หรือไม่

1.3 การจัดทําข้อเสนออันเป็นรายละเอียด หรือการออกแบบโครงการ

2 การคัดเลือก การอนุมัติ และการเตรียมความพร้อม

3 การปฏิบัติการ การควบคุม การยุติและส่งมอบ เช่น การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นการทํางานของผู้จัดโครงการและผู้ร่วมงาน

4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เช่น การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ

39 ข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (TOR) พัฒนามาจากข้อใด

(1) แนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

40 ขั้นตอนแรกของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(2) การเตรียมความพร้อมของโครงการ

(3) การกําหนด TOR

(4) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(5) การออกแบบโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

41 สิ่งที่จําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น คือ

(1) การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง

(2) การประมวลสถานการณ์แวดล้อม

(3) การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น คือ การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง และการกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์ไว้อย่างชัดเจน

42 การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐ คือ

(1) การจัดทําแผนการดําเนินงานล่วงหน้า

(2) การจัดทําแนวทางการประเมินผล

(3) การจัดทําแผนกําลังคน

(4) การจัดทําแผนการเงิน

(5) การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐคือ การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

43 การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็นอะไรบ้าง

(1) เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ

(3) ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

(4) ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็น ดังนี้

1 เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

3 ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

4 ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

44 การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติเป็นการทํางานของผู้ใด

(1) ปลัดกระทรวง

(2) อธิบดี

(3) ผู้จัดการโครงการ

(4) ข้าราชการระดับล่าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

45 การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(2) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(3) การบริหารโครงการ

(4) การปรับปรุงนโยบายและแผนงาน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

46 ปัญหา “การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน” เป็นปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาทั่วไป

(2) ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

(3) ปัญหาในเชิงป้องกัน

(4) ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น ปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน ปัญหาน้ำท่วม

2 ปัญหาในเชิงป้องกัน

3 ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

47 การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยวิธีใด

(1) วิเคราะห์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้

(2) คาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น

(3) ใช้วิธีการหยั่งรู้

(4) สอบถามผู้บริหารระดับสูง

(5) สอบถามผู้ปฏิบัติงาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้ เพื่อยืนยันความชัดเจนของปัญหาในอดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาดูว่า เป็นปัญหาอะไร เป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือเป็นปัญหาในเชิงป้องกัน หรือเป็นปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

48 6W 2H คืออะไร

(1) เทคนิคการวางแผนโครงการ

(2) เทคนิคการประเมินผลโครงการ

(3) เทคนิคการริเริ่มโครงการ

(4) การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ

(5) เทคนิคการตรวจรับโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) 6W 2H คือ การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นการตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้

1 Why (จะทําทําไม) คือ การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของ โครงการ การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ SMART Principle) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา ด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน 2 What (จะทําอะไร) คือ การระบุกิจกรรมหลักที่ต้องทํา

3 When (จะทําเมื่อไหร่) คือ การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

4 Where (จะทําที่ไหน) คือ การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

5 Who (จะทําโดยใคร) คือ การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

6 Whom (จะทําเพื่อใคร) คือ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผล

7 How (จะทําอย่างไร) คือ กฎระเบียบ เทคโนโลยีและมาตรการปฏิบัติงาน

8 How Much (จะจ่ายเท่าไหร่) คือ งบประมาณ ค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม

49 การตอบคําถาม “ทําไม” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา

(4) การระบุตัวชี้วัดด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

50 SMART Principle เป็นหลักการในเรื่องใด

(1) การกําหนดคุณสมบัติผู้รับผิดชอบโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การกําหนดรายละเอียดของโครงการ

(4) การกําหนดหลักการการประเมินผลโครงการ

(5) การกําหนดคุณภาพของโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

51 การตอบคําถาม “อะไร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

52 การตอบคําถาม “ใคร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

53 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงในการวางแผนโครงการจะให้ผลลัพธ์อะไร

(1) รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ

(2) สามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

(3) สามารถทราบถึงความสําเร็จของการดําเนินงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

54 การกําหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผนโครงการ คือข้อใด

(1) การกําหนดบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

(2) การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

(3) การกําหนดตัวชี้วัดของผลการปฏิบัติงาน

(4) การกําหนดระยะเวลาการดําเนินงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

55 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกในการแก้ไขปัญหา จะใช้ข้อมูลอะไรมาพิจารณา

(1) ข้อมูลภายในองค์การที่รับผิดชอบดําเนินงานโครงการ

(2) ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) ข้อมูลจากการสํารวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(4) ข้อมูลจากความคิดเห็นของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

56 “ความคิดสร้างสรรค์” จําเป็นสําหรับขั้นตอนใด

(1) การวิเคราะห์โครงการ

(2) การคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา

(3) การริเริ่มโครงการ

(4) การดําเนินโครงการ

(5) การประเมินผลโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การใช้ความคิดสร้างสรรค์ จําเป็นสําหรับขั้นตอนการคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1 ความรู้ที่ประมวลจากประสบการณ์ หรือเป็นความรู้ตามสัญชาตญาณของเรา ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่าเป็น “ชั่วโมงบิน”

2 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ เช่น การเรียนรู้จากการสอนงาน การให้คําแนะนํา ก ารสาธิต การฝึกอบรม การวิจัยและการพัฒนาในองค์การ

3 การเรียนรู้จากผู้อื่น เช่น เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา การศึกษาดูงาน

4 การเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ เช่น การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกองค์การ

57 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ ได้แก่อะไร

(1) การฝึกอบรม

(2) การสอนงาน

(3) การให้คําแนะนํา

(4) การสาธิต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 การเรียนรู้จากผู้อื่น จะเรียนรู้ในเรื่องใด

(1) เรียนรู้ความล้มเหลวขององค์การประเภทเดียวกัน

(2) เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา

(3) การศึกษาดูงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

59 ปัญหา “การบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด”อาจมีสาเหตุมาจากข้อใด

(1) พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน

(2) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

(3) ขั้นตอนการทํางานเยิ่นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

(4) ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาการบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด มีสาเหตุดังนี้

1 พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะ ในการปฏิบัติงาน

2 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

3 ขั้นตอนการทํางานเป็นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

4 ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

60 การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมเรื่องใด

(1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) ค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ

(3) ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ

(4) เงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมถึงเรื่องค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ อัตราเงินเฟ้อ และเงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ เพราะงบประมาณโครงการมีจํากัดตามวงเงินที่กําหนดไว้

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

หากสรุปว่ากระบวนการของแผนประกอบด้วยกระบวนการ ได้แก่

(1) กําหนดปัญหา

(2) ตั้งเป้าหมาย

(3) ศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

(4) ลงมือวางแผน

(5) ประเมินผล

 

61 ขั้นตอนใดที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (คําบรรยาย) อาจสรุปได้ว่ากระบวนการของแผน ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้

1 กําหนดปัญหา

2 การตั้งเป้าหมาย/วัตถุประสงค์

3 การศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

4 ลงมือวางแผน เป็นการลงมือเขียนแผนให้ถูกต้อง โดยหน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการนี้

5 การประเมินแผน เป็นกระบวนการที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์ โดยการศึกษาวิเคราะห์แผนว่า มีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ จากนั้นจึงนําเสนอแผนให้ผู้มีอํานาจ พิจารณาอนุมัติ เพื่อนําแผนไปปฏิบัติ

6 การนําแผนไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดผลงาน ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

7 การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการที่ทําให้ทราบถึงผลสําเร็จและเก็บเป็นข้อมูลสะสม เพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

62 หน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 กระบวนการใดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญหลายสาขามากที่สุด

ตอบ 4 หน้า 27 งานวางแผนเป็นงานระดับกลุ่ม ดังนั้นการลงมือวางแผนจึงต้องประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขามาร่วมกันสร้างแผน โดยมีนักวางแผนเป็นผู้ประสานให้การวางแผนไปสู่จุดหมายร่วมกันขององค์การได้

64 กระบวนการใดทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

65 กระบวนการใดทําให้ได้รับข้อมูลสะสมเพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

66 การกําหนดโครงการ หมายถึงอะไร

(1) การศึกษาหาความสมบูรณ์ของโครงการที่ร่างเสร็จแล้ว

(2) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) การตรวจสอบข้อมูลของโครงการ

(4) การตรวจสอบผลของการดําเนินโครงการที่ผ่านไปแล้ว

(5) การตรวจสอบความสามารถของผู้ร่างโครงการซ้ำอีกครั้ง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกําหนดโครงการ หมายถึง การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ หรือการเสาะหาลู่ทางการลงทุนที่ดีและมีความเป็นไปได้ เช่น โครงการงทุนของภาคเอกชนที่มีแววว่าจะสามารถทํากําไร หรือให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่า และถ้าเป็นโครงการลงทุนของภาครัฐ ก็เป็นโครงการลงทุนที่มีศักยภาพและความสําคัญสูงต่อการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการและโอกาสในการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ของประเทศ เป็นต้น

67 สถาบันที่มีหน้าที่ริเริ่มกําหนดนโยบายและมีอํานาจอิทธิพลต่อนโยบายมาก คือ

(1) สถาบันทหาร

(2) สถาบันศาล

(3) สถาบันทางรัฐสภา

(4) สถาบันการปกครอง

(5) สถาบันการปกครองท้องถิ่น

ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบหรือทฤษฎีสถาบัน (Institution Model/Theory) เชื่อว่านโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ ก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นนโยบายสาธารณะ ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไปตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบัน การปกครอง ตัวอย่างสถาบันการปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันรัฐสภา สถาบันบริหาร (เช่น นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ สถาบันตุลาการ (เช่น ศาล) และสถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

68 การส่งมอบงานตึก 12 ชั้น คณะรัฐศาสตร์

(1) Policy Formulation

(2) Policy Analysis

(3) Policy Evaluation

(4) Policy Implementation

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนของการแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของ คณะรัฐมนตรีให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา/ การตระเตรียมวิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ที่กําหนดไว้

ตั้งแต่ข้อ 69 – 73 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Alternative

(2) Social Analysis

(3) Feasibility Study

(4) Financial Analysis

(5) Process

69 การวิเคราะห์ประเมินโครงการไม่ใช่ราชการ

ตอบ 4 หน้า 40 การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านการเงิน (Financial Analysis) เป็นแนวทางการประเมินโครงการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่ได้รับ (Cost-Benefit) เพื่อดูว่าโครงการที่จัดทําขึ้นมานั้นมีลักษณะคุ้มทุนหรือไม่

70 สอดคล้องเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม

ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านสังคม (Social Analysis)จะพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้

1 ความเหมาะสมสอดคล้องต้องกันระหว่างแนวทาง ของโครงการกับปัจจัยทางสังคม เช่น ศาสนา การศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม กฎหมาย การเมืองและการปกครอง เป็นต้น

2 โอกาสที่สังคมจะยอมรับ/สนับสนุน หรือต่อต้าน/คัดค้านโครงการ

71 ประเมินดู Cost-Benefit

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

72 กระบวนการต่าง ๆ ทางวิชาการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กระบวนการ (Process) หมายถึง ขั้นตอนวิธีปฏิบัติ หรือกิจกรรมการดําเนินงานที่กระทําอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

73 ทางเลือกในการวางแผนโครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ทางเลือก (Alternative) หมายถึง มาตรการหรือแนวทางการดําเนินงานที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ซึ่งอาจมีหลายทางเลือกในการบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ

ตั้งแต่ข้อ 74 – 78 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Looking Ahead

(2) Making Choices

(3) Actions

(4) Setting Limits

(5) Desired end State

 

74 การนําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

ตอบ 5 หน้า 25 Jose Villamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporally Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการ ตัดสินแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”

75 Vision

ตอบ 1

หน้า 25 Albert Waterston กล่าวว่า “การวางแผนทุกชนิดจะต้องมีลักษณะร่วมกัน หลายประการ เช่น ต้องประกอบด้วยการมองล่วงหน้า (Looking Ahead) ต้องมีทางเลือก (Making Choices) และหากเป็นไปได้ต้องจัดเตรียมวิธีการกระทํา (Actions) ที่แน่นอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรืออย่างน้อยที่สุดต้องกําหนดข้อจํากัด (Setting Limits) ที่อาจจะ เกิดจากการกระทําดังกล่าวไว้ด้วย”

76 จะต้องมีทางเลือก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

77 การจัดเตรียมวิธีการกระทํา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

78 การกําหนดข้อจํากัด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

79 คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporally Linked Actions” เป็นของใคร

(1) José Villamil

(2) ดร.อมร รักษาสัตย์

(3) Albert Waterston

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

80 ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน

(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป

(2) แผนระยะสั้น 3 ปี

(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี

(4) แผนระยะสั้น 4 ปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ระยะเวลา (Time Span) อาจจําแนกได้ดังนี้

1 แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ

3 แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

81 TP. หมายถึง

(1) เวลาที่ผ่านไป

(2) Target Planning

(3) Team Planning

(4) การทํางานเป็นทีม

(5) ทฤษฎีการวางแผน

ตอบ 3 หน้า 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) มากที่สุด ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน

2 ร่วมกันมองไปในอนาคต (Vision/Scenario)

3 ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4 ร่วมกันกําหนดทางเดินหรือแผนกลยุทธ์ (Strategies) ที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

5 ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้ 6 ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ ซึ่งเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วันหรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan

ตั้งแต่ข้อ 82 – 86 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Targets

(2) Vision

(3) Obstructions

(4) Strategies

(5) Tactics

 

82 การมองไปในอนาคต

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 การที่หน่วยงานตกลงกําหนดเป้าหมาย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

84 ข้อจํากัดที่เกิดขึ้นในอนาคต

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

85 กําหนดทางเดินที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

86 การร่วมกันกําหนดกลวิธีให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 87 – 91 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การระบุปัญหา

(2) การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

(3) การออกแบบทางเลือกนโยบาย

(4) การวิเคราะห์ทางเลือก

(5) การทดสอบทางเลือก

 

87 การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้เทคนิควิเคราะห์ และการประยุกต์ทั้งหลายเป็นระบบ

ตอบ 5 หน้า 14 การทดสอบทางเลือก คือ การทบทวนความเหมาะสมของขั้นตอนและข้อมูลที่ใช้ทั้งทางด้านหลักการ เหตุผลทางเลือกนโยบาย คุณภาพและปริมาณของข้อมูลว่ายังพอเพียงและดีอยู่ ตลอดจนตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ เทคนิควิธีวิเคราะห์และการประยุกต์ทั้งหลายว่าเป็นระบบและสอดคล้องต้องกันอย่างแท้จริง

88 กําหนดทางเลือกซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และรวบรวมทางเลือกทุก ๆ ทางเลือกให้ครบถ้วน

ตอบ 3 หน้า 13 การออกแบบทางเลือกนโยบาย คือ การใช้ความรู้ ประสบการณ์ของผู้กําหนดนโยบายร่วมกับข้อมูลที่รวบรวมและการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ เพื่อกําหนดว่าทางเลือกซึ่งเป็นแนวทาง ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้นควรเป็นทางเลือกใดบ้าง โดยพิจารณาว่ามีทางเลือกใดที่สามารถ ปฏิบัติตามแล้วให้ผลสําเร็จดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้บ้าง ซึ่งในขั้นนี้ต้องรวบรวมทางเลือกทุก ๆ ทางเลือกที่เป็นไปได้ให้ครบถ้วน

89 ศึกษาถึงความเหมาะสมระหว่างทางเลือกกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งศึกษาถึงประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย

ตอบ 4 หน้า 14 การวิเคราะห์ทางเลือก คือ การนําเอาทางเลือกที่มีทั้งหมดมาทําการศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในแต่ละทางเลือกที่ละทางเลือก เช่น ศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ศึกษาถึงความเหมาะสมระหว่างทางเลือกกับสถานการณ์แวดล้อม ศึกษาถึงผลประโยชน์ข้อดี ข้อเสียของแต่ละทางเลือก ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด

90 ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพที่แท้จริง หรือข้อมูลภาคสนาม หรือข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิเพื่อจะทราบปัญหา

ตอบ 1 หน้า 12 การระบุปัญหา คือ การศึกษาว่าอะไรคือปัญหา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริงหรือข้อมูลภาคสนามหรือข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ หรือข้อมูล ทุติยภูมิ เพื่อที่จะทราบปัญหาและจําแนกว่าปัญหาใดเร่งด่วนกว่า มีสาเหตุจากอะไร และ ประชาชนรับรู้เพียงใด ดังนั้นโดยสรุป การระบุปัญหาก็คือ การศึกษาวิเคราะห์เพื่อกําหนด ปัญหาที่ถูกต้องและศึกษาค่านิยมที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับปัญหาเพื่อกําหนดแนวทางของ นโยบายที่เหมาะสมกับความเป็นจริงต่อไป

91 ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย รวมทั้งการยอมรับต่อนโยบาย ตอบ 2 หน้า 13 การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย คือการศึกษาข้อจํากัดด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ข้อมูล

2 ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย

3 การรับรู้และการยอมรับต่อนโยบาย

4 สิ่งแวดล้อมทั่วไป

92 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ได้มีจุดเริ่มต้นที่ใด

(1) เมื่อ Max Weber ได้ศึกษาระบบราชการ

(2) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

(3) เมื่อ Mayo ได้ทดลองค้นคว้าที่เรียกว่า Howthorne Study

(4) เมื่อมีกลุ่มนักทฤษฎีสมัยใหม่

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็นการศึกษารายกรณี และ มีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของวิชาการหลายสาขามาศึกษาวิเคราะห์ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

93 ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก คือ

(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง

(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)

(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Value)

(4) ข้อมูลทุกประเภท

(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการของดิน

ตอบ 3 หน้า 11 ข้อมูลในการวางนโยบายหรือแผน อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ว่า เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ และภูมิศาสตร์

2 ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่นเชื่อถือของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

94 นักวิชาการที่กล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ คือ

(1) Harry Harty

(2) Walter

(3) Thomas R. Dye

(4) William Dunn

(5) Theodore Poister

ตอบ 5 หน้า 16 Theodore Poister กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ ดังนั้นจําเป็นต้องมีการศึกษาอย่างจริงจังถึงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาของนโยบายกับผลกระทบทั้งปวงที่จะเกิดขึ้น”

95 แบบอะไรที่ถูกต้องในการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของนโยบายหรือแผน

(1) แผนการรายงาน

(2) แผนตรวจงาน

(3) แผนประเมินผลงาน

(4) แบบวิธีทดลอง

(5) แบบการวัดประสิทธิภาพ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายนั้นตรงกับ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 แบบธรรมดาหรือแบบที่ไม่ใช้วิธีการทดลอง

2 แบบวิธีกึ่งทดลอง

3 แบบวิธีทดลอง

96 นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด

(1) ให้ประโยชน์กับสังคม

(2) ให้คํานึงถึงรัฐสภา

(3) ประโยชน์โดยทั่วไป

(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด

(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

97 ความเป็นธรรมของนโยบายสามารถวัดได้อย่างไร

(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม

(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน

(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน

(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย

(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณาหรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

98 เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐจะเป็นอย่างไร

(1) มีขนาดเล็กลง

(2) คงที่เหมือนเดิม

(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา

(4) มีขนาดใหญ่โตล้ำหน้าเวลา

(5) มีขนาดจะเล็กลงหรือจะโตขึ้นเป็นไปตามจํานวนประชากร

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 Randall Ripley และ Grace Franklin กล่าวว่า ในการนํานโยบายไปปฏิบัตินั้นมีประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติต้องทําความเข้าใจอยู่ 5 ประการ ได้แก่

1 มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมากมาย

2 มีความต้องการหลากหลายต่อนโยบาย

3 ธรรมชาติของนโยบายมักจะมีขนาดที่ใหญ่โตขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป

4 ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในหลายระดับ หลายสังกัด และหลายหน่วยเสมอ

5 มีปัจจัยมากมายที่นโยบายไม่สามารถควบคุมได้

99 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีหลายรูปร่างและหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้

1 มีรูปร่างเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง

2 มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ

3 มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด

4 มีรูปเป็นสัญญา

5 มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรี หรือของรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

100 ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักรัฐศาสตร์

(2) นักสังคมวิทยา

(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์

(4) นักวิทยาศาสตร์

(5) นักเศรษฐศาสตร์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

 

101 ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว

(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป

(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด

(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน

(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มีความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ำลงตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผนที่แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า

102 Controlled Environment หมายถึง

(1) ภาวะทางธรรมชาติ

(2) ค่านิยมของคนในภาคใต้ของประเทศไทย

(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 12 สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น 2 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ/ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น 103 แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด

(1) แผนรายปี

(2) แผนงบประมาณ

(3) แผนการเงิน

(4) แผนโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก

ตั้งแต่ข้อ 104 – 108 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Integration

(2) Dynamic

(3) Subjectivity

(4) Artificiality

(5) ปัญหามีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจน

 

104 เป็นปัญหาที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว

ตอบ 4 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality) หมายถึง ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นที่ยอมรับหรือตระหนักได้ของคนบางกลุ่มบางหมู่ในขณะที่บางกลุ่มอาจไม่ยอมรับก็ได้

105 ทางราชการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ไม่มีที่ทําการต้องเช่าอาคารเอกชนเป็นที่ทําการชั่วคราว

ตอบ 5 หน้า 10 ปัญหาที่มีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจนแน่นอน (Well-Structured Problem) หมายถึง ปัญหาที่มีผลลัพธ์แน่นอน มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย มีทางออกในการแก้ไขปัญหา เพียงไม่กี่ทางเลือก (1 – 3 ทาง) ซึ่งแต่ละทางเลือกสามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือก ได้ชัดเจน ไม่เป็นที่ถกเถียงกันได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหาในการจัดสร้างที่ทําการของหน่วยงาน หรือองค์การ เป็นต้น

106 การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) สูง หมายถึง การที่ปัญหาได้แปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

107 จะกําหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องพิจารณาผลกระทบด้านเทคนิค การเมือง สังคม

ตอบ 1 หน้า 9 ปัญหาทั้งหลายมักมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration) อยู่เสมอ ดังนั้นในการพิจารณาปัญหาของนโยบายจึงพิจารณาเพียงด้านหนึ่งด้านใดเป็นเอกเทศไม่ได้ เช่น ในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจะพิจารณาเพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ได้ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยทางด้านการเมือง สังคม หรืออื่น ๆ อีกตามแต่สถานการณ์ที่เผชิญอยู่

108 การมีความหมายในตัวของปัญหาเอง

ตอบ 3 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) สูง หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้นต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้หรือผู้กําหนดนโยบายว่าจะสามารถรับรู้ หรือตระหนักได้ถึงความเป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่งความเป็นอัตนัยของปัญหานี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพราะปัญหาที่คนคนหนึ่งตระหนักได้อาจเป็นปัญหาที่คนอื่น ๆ อาจยังไม่ตระหนักถึงก็ได้

109 ใครกล่าวว่านโยบายคือ “สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา”

(1) Thomas R. Dye

(2) David Easton

(3) Woodrow Wilson

(4) William Dunn

(5) ดร.อมร รักษาสัตย์

ตอบ 1 หน้า 1 Thomas R. Dye กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือกิจกรรมหรือสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา และเกี่ยวข้องกับเหตุผลว่าทําไมจึงเลือกเช่นนั้น”

110 ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่แตกต่างจากแผนอื่น

(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน

(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน

(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม

(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

(5) เป็นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นการวางแผนที่ยังคงน้อมนําและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่าง มีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคงมั่งคั่ง ยั่งยืน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

111 หน่วยงานใดมีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน

(1) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท

(2) กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม

(3) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

(4) สํานักงาน ก.พ.

(5) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบันการกําหนดนโยบายสาธารณะและการวางแผนพัฒนาประเทศของไทยจะอยู่ในความรับผิดชอบของ “สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่ข้อ 112 – 116 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การก่อรูปของนโยบาย

(2) การกําหนดนโยบาย

(3) การวิเคราะห์นโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย

 

112 คํานึงถึงแนวทางการปฏิบัติที่มีศักยภาพอันนําไปสู่การตอบสนองในปัญหาของนโยบายได้

ตอบ 2 หน้า 8, 16, (คําบรรยาย) การกําหนดนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์

2 การกําหนดทางเลือก ได้แก่ การวิเคราะห์ทางเลือกนโยบาย (Policy Alternative) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงแนวทางปฏิบัติที่มีศักยภาพอันนําไปสู่การตอบสนองในปัญหาของนโยบายได้ โดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit) เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

3 การจัดทําร่างนโยบาย เพื่อนําเสนอพิจารณาขออนุมัติ/ไม่อนุมัติและประกาศเป็นนโยบายต่อไป

113 การวิเคราะห์ข่าวสารในด้านความรู้เกี่ยวกับสภาพการณ์ หรือเงื่อนไขก่อนจะมีนโยบาย

ตอบ 1 หน้า 8, 16, (คําบรรยาย) การก่อรูปของนโยบาย (Policy Formation) เป็นขั้นตอนที่ผู้กําหนดนโยบายต้องทําความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยสําคัญในการกําหนดนโยบาย ก่อนที่จะ เริ่มกําหนดนโยบาย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้ ได้แก่ ปัญหาของนโยบาย สิ่งแวดล้อมของนโยบาย และขั้นตอนในการกําหนดนโยบาย โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์สภาพปัญหา ของนโยบาย (Policy Problem) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข่าวสารในด้านความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์หรือเงื่อนไขก่อนจะมีนโยบาย

114 เป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกแล้วของนโยบาย

ตอบ 3 หน้า 16, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) มีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์ผลของนโยบาย (Policy Outcomes) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกแล้วของนโยบาย

115 การวิเคราะห์ในแง่มุมที่ต้องอาศัยการประเมินและการพยากรณ์เป็นเครื่องมืออย่างมาก

ตอบ 4 หน้า 16 – 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่ทําให้เกิดผลลัพธ์ของนโยบายขึ้น โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์แนวปฏิบัติ ของนโยบาย (Policy Action) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงแนวทางหรือชุดของแนวทางที่เลือกสรร มาจากทางเลือกของนโยบายว่ามีความเหมาะสมจริงหรือไม่ ซึ่งการวิเคราะห์ในแง่มุมนี้ต้องอาศัยการประเมินและการพยากรณ์เป็นเครื่องมืออย่างมาก

116 การวิเคราะห์ระดับความสามารถในการบรรลุถึงคุณค่าในการตอบสนองความต้องการของนโยบาย

ตอบ 5 หน้า 16, 20, (คําบรรยาย) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย (Policy Evaluation)เป็นการศึกษาผลของการปฏิบัติตามนโยบายว่าเป็นอย่างไร โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์ผลสัมพัทธ์ของนโยบาย (Policy Performance) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ระดับ ความสามารถในการบรรลุถึงคุณค่าในการตอบสนองความต้องการของนโยบาย อันหมายถึง ผลลัพธ์ของนโยบายที่ทําให้กลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมายได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่จึงแสดงว่านโยบายประสบความสําเร็จแล้ว

117 ปัญหาโครงสร้างของปัญหาไม่ชัดเจน หมายถึง

(1) จํานวนบุคลากรที่เข้ามาบริหารนโยบาย

(2) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(3) ลักษณะในทางภูมิศาสตร์

(4) ค่านิยมของคนในสังคม

(5) วัสดุอุปกรณ์ที่จะนํามาใช้กับนโยบาย

ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน (Ill-Structured Problem) หมายถึง ปัญหาที่เป็นค่านิยมของคนในสังคม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้คนจํานวนมาก เป็นปัญหา ที่มีทางออกได้หลายหนทาง โดยแต่ละหนทางไม่สามารถมองเห็นผลประโยชน์ได้ชัดเจนจึงเป็นที่ถกเถียงกันได้และมีผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน

118 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเน้นหลักในด้านใดบ้าง

(1) เศรษฐกิจ การจัดการ เทคโนโลยี

(2) สังคม เศรษฐกิจ การเมือง

(3) เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเมือง

(4) ผลตอบแทน สิ่งแวดล้อม การเมือง

(5) การเงิน การคลัง เทคโนโลยี และการจัดการ

ตอบ 1 หน้า 42 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) มักจะประเมินเพียงตัวแปรหลัก ๆ ดังนี้

1 ด้านเศรษฐกิจ ความคุ้มทุนหรือผลตอบแทนของโครงการ (นิยมประเมินในด้านนี้เป็นประจํา)

2 ด้านการบริหารหรือการจัดการ

3 ด้านเทคนิค เช่น สถานที่ตั้ง วัตถุดิบ และเทคโนโลยีของโครงการ

4 ด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ

119 การทํา Feasibility ของโครงการมีจุดมุ่งหมายสําคัญเพื่อสิ่งใด

(1) เพื่อดูความพร้อมของโครงการ

(2) เพื่อประเมินผลที่เกิดจากโครงการ

(3) เพื่อตระเตรียมการแก้ปัญหาแต่เนิ่น ๆ

(4) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของโครงการ

(5) เพื่อประเมินโอกาสในการบรรลุผลสําเร็จของโครงการ

ตอบ 5 หน้า 40 – 42, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงการ (Program/Project Analysis) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์และประเมินโครงการในระบบปิด ซึ่งจะให้ความสําคัญกับปัจจัยภายในองค์การ/โครงการเป็นหลัก โดยจะนําเอาโครงการที่มีอยู่ทั้งหมดมาทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงข้อดีข้อด้อยของแต่ละโครงการ เพื่อเลือกเอาโครงการที่ดีที่สุด ซึ่งเหมาะสําหรับโครงการที่ไม่เร่งด่วน

2 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์และประเมินโครงการในระบบเปิด ซึ่งจะให้ความสําคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่มากระทบ โครงการโดยจะนําเอาโครงการที่ได้เลือกสรรไว้แล้วเพียงโครงการเดียวมาทําการศึกษาถึง ความเป็นไปได้ เพื่อประเมินโอกาสในการบรรลุผลสําเร็จของโครงการว่ามีโอกาสที่จะ ประสบผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด ซึ่งมักจะใช้ในกรณีที่เป็นโครงการเร่งด่วน

120 ข้อใดมิใช่ภารกิจที่สําคัญในการประเมินโครงการ

(1) การวิเคราะห์ความอยู่รอดของโครงการ

(2) การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ

(3) การคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ

(4) การทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้

(5) การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นว่าโครงการเหมาะสมที่สุดหรือยัง

ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ มีความหมายเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 เป็นการศึกษาถึงโอกาสความสําเร็จในการดําเนินโครงการ โดยการวิเคราะห์และประเมินหาความเชื่อมั่นว่าตัวโครงการที่ร่างเสร็จแล้วนั้นมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติ ได้จริงหรือไม่ เช่น การวิเคราะห์หรือการคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ

2 เป็นการศึกษาทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้ โดยการวิเคราะห์จําแนกแยกแยะ เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยและผลที่คาดว่าจะได้รับ หากมีการนําโครงการไปดําเนินการหรือ นําไปปฏิบัติจริง พร้อมกับศึกษาว่าผลที่คาดว่าจะได้รับหรือผลที่จะเกิดขึ้นนั้นเหมาะสม มีคุณค่า มีประโยชน์ สมควรแก่การลงทุนดําเนินโครงการต่อไปหรือไม่

Advertisement