การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดมิใช่ภารกิจที่สําคัญในการประเมินโครงการ

(1) การวิเคราะห์ความอยู่รอดของโครงการ

(2) การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ

(3) การคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ

(4) การทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้

(5) การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นว่าโครงการเหมาะสมที่สุดหรือยัง

ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ มีความหมายเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 เป็นการศึกษาถึงโอกาสความสําเร็จในการดําเนินโครงการ โดยการวิเคราะห์และประเมินหาความเชื่อมั่นว่าตัวโครงการที่ร่างเสร็จแล้วนั้นมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติ ได้จริงหรือไม่ เช่น การวิเคราะห์หรือการคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการการวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ เป็นต้น

2 เป็นการศึกษาทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้ โดยการวิเคราะห์จําแนกแยกแยะเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยและผลที่คาดว่าจะได้รับ หากมีการนําโครงการไปดําเนินการหรือ นําไปปฏิบัติจริง พร้อมกับศึกษาว่าผลที่คาดว่าจะได้รับหรือผลที่จะเกิดขึ้นนั้นเหมาะสมมีคุณค่า มีประโยชน์ สมควรแก่การลงทุนดําเนินโครงการต่อไปหรือไม่

2 สถาบันที่มีหน้าที่ริเริ่มกําหนดนโยบายและมีอํานาจอิทธิพลต่อนโยบายมาก คือ

(1) สถาบันทหาร

(2) สถาบันศาล

(3) สถาบันทางรัฐสภา

(4) สถาบันการปกครอง

(5) สถาบันการปกครองท้องถิ่น

ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบหรือทฤษฎีสถาบัน (Institution Mode/Theory) เชื่อว่านโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ เก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นนโยบายสาธารณะ ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไปตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบัน การปกครอง ตัวอย่างสถาบันการปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันรัฐสภา สถาบันบริหาร (เช่น นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ สถาบันตุลาการ (เช่น ศาล) และสถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

3 การส่งมอบงานตึก 12 ชั้น คณะรัฐศาสตร์

(1) Policy Formulation

(2) Policy Analysis

(3) Policy Evaluation

(4) Policy Implementation

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนของการแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรี ให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา/การตระเตรียม วิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

4 คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporalty Linked Actions” เป็นของใคร

(1) José Villamil

(2) ดร.อมร รักษาสัตย์

(3) Albert Waterston

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 1 หน้า 25 Jose Villamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporally Linkec Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการตัดสินใจแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”

5 ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน

(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป

(2) แผนระยะสั้น 3 ปี

(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี

(4) แผนระยะสั้น 4 ปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ระยะเวลา (Time Span) อาจจําแนกได้ดังนี้

1 แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ

3 แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

6 TP. หมายถึง

(1) เวลาที่ผ่านไป

(2) Target Planning

(3) Team Planning

(4) การทํางานเป็นทีม

(5) ทฤษฎีการวางแผน

ตอบ 3 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) มากที่สุด ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน

2 ร่วมกันมองไปในอนาคต (Vision/Scenario)

3 ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4 ร่วมกันกําหนดทางเดินหรือแผนกลยุทธ์ (Strategies) ที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

5 ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้ 6 ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ ซึ่งเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วัน หรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan

7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ได้มีจุดเริ่มต้นที่ใด

(1) เมื่อ Max Weber ได้ศึกษาระบบราชการ

(2) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

(3) เมื่อ Mayo ได้ทดลองค้นคว้าที่เรียกว่า Hawthorne Study

(4) เมื่อมีกลุ่มนักทฤษฎีสมัยใหม่

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็นการศึกษารายกรณี และมีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของ วิชาการหลายสาขามาศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

8 ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก คือ

(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง

(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)

(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Value)

(4) ข้อมูลทุกประเภท

(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการของดิน

ตอบ 3 หน้า 11 ข้อมูลในการวางนโยบายหรือแผน อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ และภูมิศาสตร์

2 ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่น ความเชื่อถือของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

9 นักวิชาการที่กล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ คือ

(1) Harry Harty

(2) Walter SE TRATE

(3) Thomas R. Dye

(4) William Dunne med

(5) Theodore Poister

ตอบ 5 หน้า 16 Theodora Poister กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ ดังนั้นจําเป็นต้องมีการศึกษาอย่างจริงจังถึงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาของนโยบายกับผลกระทบทั้งปวงที่จะเกิดขึ้น”

10 แบบอะไรที่ถูกต้องในการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของนโยบายหรือแผน

(1) แผนการรายงาน

(2) แผนตรวจงาน

(3) แผนประเมินผลงาน

(4) แบบวิธีทดลอง

(5) แบบการวัดประสิทธิภาพ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายนั้นตรงกับ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 แบบธรรมดาหรือแบบที่ไม่ใช่วิธีการทดลอง

2 แบบวิธีกึ่งทดลอง

3 แบบวิธีทดลอง

11 นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด

(1) ให้ประโยชน์กับสังคม

(2) ให้คํานึงถึงรัฐสภา

(3) ประโยชน์โดยทั่วไป

(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด

(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

12 ความเป็นธรรมของนโยบายสามารถวัดได้อย่างไร

(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม

(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน

(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน

(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย

(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณาหรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการ ที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

13 เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐจะเป็นอย่างไร

(1) มีขนาดเล็กลง

(2) คงที่เหมือนเดิม

(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา

(4) มีขนาดใหญ่โตล้ําหน้าเวลา

(5) มีขนาดจะเล็กลงหรือจะโตขึ้นเป็นไปตามจํานวนประชากร

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 Randall Ripley และ Grace Franklin กล่าวว่า ในการนํานโยบายไปปฏิบัตินั้นมีประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติต้องทําความเข้าใจอยู่ 5 ประการ ได้แก่

1 มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมากมาย

2 มีความต้องการหลากหลายต่อนโยบาย

3 ธรรมชาติของนโยบายมักจะมีขนาดที่ใหญ่โตขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป

4 ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในหลายระดับ หลายสังกัด และหลายหน่วยเสมอ

5 มีปัจจัยมากมายที่นโยบายไม่สามารถควบคุมได้

14 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีรูปร่างและรูปแบบหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้

1 มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง

2 มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ

3 มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด

4 มีรูปเป็นสัญญา

5 มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

15 ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักรัฐศาสตร์

(2) นักสังคมวิทยา

(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์

(4) นักวิทยาศาสตร์

(5) นักเศรษฐศาสตร์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

16 ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว

(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป

(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด

(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน

(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มีความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ำลง ตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมันที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผนที่แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ)

17 Controlled Environment หมายถึง

(1) ภาวะทางธรรมชาติ

(2) ค่านิยมของคนในภาคใต้ของประเทศไทย

(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 12 สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ ในนโยบาย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

2 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ/ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น

18 แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด (1) แผนรายปี

(2) แผนงบประมาณ

(3) แผนการเงิน

(4) แผนโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก

19 ใครกล่าวว่านโยบายคือ “สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา”

(1) Thomas R. Dye

(2) David Easton

(3) Woodrow Wilson

(4) William Dunn

(5) ดร.อมร รักษาสัตย์

ตอบ 1 หน้า 1 Thomas R. Dye กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือกิจกรรมหรือสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา และเกี่ยวข้องกับเหตุผลว่าทําไมจึงเลือกเช่นนั้น”

20 ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่แตกต่างจากแผนอื่น

(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน

(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน

(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม

(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

(5) เป็นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นการวางแผนที่ยังคงน้อมนําและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา อย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดทิศทาง การพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

21 หน่วยงานใดมีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน

(1) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท

(2) กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม

(3) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

(4) สํานักงาน ก.พ.

(5) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศของไทย หรือที่เรียกว่า “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ”

22 นักวิชาการที่กล่าวว่า การวางแผนจะมีลักษณะร่วมกันหลายประการ เช่น ต้องมองล่วงหน้า มีการเลือกสรรต้องเตรียมวิธีการกระทําฯ คือใคร

(1) เนรู

(2) วิลลามิล

(3) วอเตอร์สตัน

(4) ดรอ

(5) เลอ เบรอตัน

ตอบ 3 หน้า 25 Albert Waterston กล่าวว่า “การวางแผนทุกชนิดจะต้องมีลักษณะร่วมกัน หลายประการ เช่น ต้องประกอบด้วยการมองล่วงหน้า (Looking Ahead) ต้องมีทางเลือก (Making Choices) และหากเป็นไปได้ต้องจัดเตรียมวิธีการกระทํา (Actions) ที่แน่นอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรืออย่างน้อยที่สุดต้องกําหนดข้อจํากัด (Setting Limits) ที่อาจจะเกิดจากการกระทําดังกล่าวไว้ด้วย”

23 การวางแผนแบบใดที่เป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน

(1) ทุกแบบของการวางแผน

(2) Integrated Public Investment Planning

(3) Comprehensive Planning

(4) Project-by-Project Planning

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 3 หน้า 29, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบสมบูรณ์แบบหรือประสมประสานหรือแผนรวม (Comprehensive Planning) เป็นการวางแผนที่กล่าวถึงเป้าหมายที่ต้องการก่อนเป็นอันดับแรก โดยเริ่มจากการสร้างเเบบจําลองการเจริญเติบโต (Growth Model) ของแผนก่อน ซึ่งเป็น การคํานวณอัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวังไว้ในรูปของการบริโภค เงินออม การลงทุน การนําเข้า-ส่งออก การจ้างงาน ความต้องการ (Demand) และความสามารถในการตอบสนอง (Supply) ของภาครัฐและภาคเอกชนรวมกัน โดยการวางแผนในรูปแบบนี้จะมีการวางแผน ทั้งแบบ Forward และ Backward และมีการกล่าวถึงบทบาทของภาคเอกชนไว้อย่างครบถ้วน จึงนับว่าเป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน และเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่หน่วยงานวางแผน มีความชํานาญแล้ว อย่างไรก็ตาม การวางแผนแบบนี้ยังไม่มีประเทศใดสามารถทําได้อย่าง สมบูรณ์แบบ ประเทศที่ใช้การวางแผนแบบนี้ได้ดีที่สุดก็มีเพียงประเทศกลุ่มสังคมนิยม (ซึ่งมีลักษณะการคุมอํานาจจากส่วนกลางมากที่สุด)

24 ปัญหาชนิดใดที่ต้องใช้ทักษะในการมองการณ์ไกลเป็นพิเศษ จึงจะวางแผนได้

(1) ปัญหาแก้ไข

(2) ปัญหาพัฒนา

(3) ปัญหาป้องกัน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 25, (คําบรรยาย) ปัญหาของแผน อาจจําแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1 ปัญหาแก้ไข คือ ปัญหาที่ปรากฏผลเสียหายให้เห็นอยู่แล้ว จึงต้องรีบวางแผนหาทางแก้ไข ซึ่งปัญหาชนิดนี้มักจะแก้ไขได้ง่ายที่สุด

2 ปัญหาป้องกัน คือ ปัญหาที่ยังไม่ปรากฏผลเสียหายขึ้น ในขณะวางแผน แต่สามารถรู้ได้ว่าหากไม่รีบวางแผนแก้ไขก็จะปรากฏผลเสียหายในอนาคตได้

3 ปัญหาพัฒนา คือ ปัญหาที่ไม่ปรากฏผลเสียหายทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ต้องมีการวางแผน เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งนักวางแผนต้องใช้ความสามารถในการมองการณ์ไกลมากเป็นพิเศษ

25 แผนที่มีลักษณะ Ease of Control จะแสดงให้เห็นได้อย่างไร

(1) เห็นได้จากการผ่านขั้นตอนของแผนอย่างครบถ้วนไม่ข้ามขั้นตอน

(2) เห็นได้จากการกําหนดที่มีเหตุผลและเป็นจริงในทางปฏิบัติ

(3) เห็นได้จากการมีมาตรฐานสําหรับการปฏิบัติอย่างชัดเจน

(4) เห็นได้จากการจัดทีมผู้วางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ

(5) เห็นได้จากการจัดทีมผู้ปฏิบัติตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบ 3 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนที่มีลักษณะง่ายในการควบคุม (Ease of Control) หมายถึง แผนที่มีมาตรฐานสําหรับการวัดและการปฏิบัติอย่างชัดเจน และโดยทั่วไปหากเป็นแผนที่มีลักษณะง่ายในการดําเนินการ (Ease of Implementation) ก็จะมีลักษณะง่ายในการควบคุมด้วย

26 กล่าวโดยสรุปขั้นตอนในการวางแผนอาจจําแนกได้ 3 ขั้นตอนสําคัญ ได้แก่ การเก็บรวบรวมประมวลข้อมูลการลงมือวางแผน และอะไร

(1) การวิเคราะห์ข้อมูล

(2) การปฏิบัติตามแผน

(3) การประเมินผลแผน

(4) การขออนุมัติใช้แผน

(5) การตระเตรียมที่จะวางแผน

ตอบ 5 หน้า 29 – 30 อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าขั้นตอนที่สําคัญในการวางแผนนั้น มี 3 ขั้นตอน คือ

1 การตระเตรียมการที่จะวางแผน เป็นการกําหนดเค้าโครงกลยุทธ์ของแผน โดยการกําหนดวัตถุประสงค์และแนวทางของแผน

2 การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ความถูกต้องของงานในขั้นตระเตรียมการ

3 การลงมือวางแผน เป็นการเขียนแผนให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ควรจะเป็นของแผน

27 ข้อมูลที่นับว่ามีอิทธิพลหรือเป็นกลไกสําคัญในการวางแผน ได้แก่ ข้อมูลทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษาอิทธิพลของธรรมชาติ และอะไร

(1) กลุ่มผลประโยชน์ .

(2) พรรคการเมือง

(3) ศาสนาและความเชื่อ

(4) กลไกราคา

(5) ความร่วมมือระหว่างองค์การที่เกี่ยวข้อง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อมูลที่นับว่ามีอิทธิพลหรือเป็นกลไกสําคัญในการวางแผน ได้แก่ ข้อมูลทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา อิทธิพลของธรรมชาติ ศาสนาและความเชื่อ เป็นต้น

28 การวางแผนอาจทําได้ 3 วิธี วิธีที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่หน่วยวางแผนเริ่มมีการสะสมข้อมูล ได้พอประมาณ คือวิธีใด

(1) Project-by-Project Planning

(2) Integrated Public Investment Planning

(3) Comprehensive Planning

(4) Aggregative Planning

(5) Global Planning

ตอบ 2 หน้า 28, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบประสานการลงทุนภาคสาธารณะ (Integrated Public Investment Planning) เป็นการวางแผนที่เริ่มต้นด้วยการประมาณการรายได้หรือรายรับของ ประเทศก่อน โดยคํานึงถึงการลงทุนของภาครัฐเป็นหลักว่าการลงทุนไปนั้นจะมีรายรับเท่าไรแล้ว จึงไปกําหนดรายจ่ายทีหลัง โดยที่การลงทุนนั้นจะต้องคํานึงถึงภาวะเศรษฐกิจทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกประเทศด้วย ซึ่งการวางแผนในรูปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง (ความไม่พอดี) ของการวางแผนแบบรายโครงการ (Program-by-Program or Project-by-Project Planning) เช่น การกําหนดงบประมาณของแต่ละโครงการที่มักกําหนดสูงเกินกว่า ความเป็นจริง ความขัดแย้งกันของโครงการทั้งหลายโดยเฉพาะในเรื่องของความไม่ลงตัวของ วงเงินงบประมาณ รวมถึงความไม่มีเอกภาพและการขาดทิศทางที่ชัดเจนในการกําหนดเป้าหมาย ของแผน ซึ่งเป็นการวางแผนที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่หน่วยงานเริ่มมีการสะสมข้อมูลได้พอประมาณแล้ว 29 การวางแผนแบบรายโครงการถือเป็นการวางแผนในกระสวน (Pattern) ชนิดใด

(1) Bottom-up Process

(2) Top-down Process

(3) Comprehensive Planning

(4) Aggregative Planning

(5) Global Planning

ตอบ 1 หน้า 28, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบรายโครงการ (Program-by-Program or Project-by Project Planning) เป็นเทคนิควิธีการวางแผนพัฒนารูปแบบแรก โดยเป็นการวางแผนในกระสวน ที่เรียกว่า “Bottom-up Process” กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้กําหนดให้หน่วยปฏิบัติการใน ระดับล่างร่างโครงการของตนเสนอขึ้นมา โดยที่ไม่ได้มีการกําหนดรายรับรายจ่ายก่อนว่าเป็นเท่าไร แต่จะมากําหนดหลังจากหน่วยงานย่อยต่าง ๆ เสนอโครงการขึ้นมาแล้ว เพื่อรวบรวมโครงการ เหล่านั้นรวมเป็นแผนเดียวกัน (แผนรวมของชาติ) ซึ่งวิธีการวางแผนในรูปแบบนี้จะไม่กล่าวถึง บทบาทของภาคเอกชนไว้เลย และใช้หลักการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด แต่จะเหมาะสําหรับการวางแผน ในภาวะขาดแคลนข้อมูลหรือขาดความชํานาญในการวางแผน เช่น การวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 เพราะหน่วยงานวางแผนยังมีข้อมูลไม่เพียงพอและเป็นการวางแผนที่สะดวกที่สุด เป็นต้น

30 วิธีการวางแผนทั้งหลายอาจจําแนกเป็นขั้นตอนในการวางแผนได้ 2 ระยะ คือ การวางแผนกลยุทธ์กับอะไร

(1) การวางแผนรวม

(2) การวางแผนบริหาร

(3) การวางแผนดําเนินการ

(4) การวางแผนสังคม

(5) การวางแผนพัฒนา

ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) กระบวนการวางแผน/โครงการ อาจจําแนกได้เป็น 2 ระยะ คือ

1 การวางแผน/โครงการกลยุทธ์ (Strategic Planning) มีเป้าหมายที่สําคัญที่สุด คือ การกําหนดกรอบเค้าโครง ทิศทางและแนวทางสําคัญของแผน/โครงการอย่างกว้าง หรือคราว ๆ ซึ่งประกอบด้วยงานที่ต้องทําหลายอย่าง เช่น การคัดเลือกข้อมูล วัตถุประสงค์ ภารกิจ และแนวทางกลยุทธ์ รวมทั้งการคาดคะเนแนวโน้ม เพื่อนําไปสู่การวิเคราะห์หาทางเลือกหรือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด (The Best Alternative)

2 การวางแผน/โครงการดําเนินการ (Operational Planning) เป็นการนําเอาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดมากําหนดรายละเอียดในวิธีการปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจําเป็นต้องรู้ให้ครบถ้วน

ตั้งแต่ข้อ 31 – 35 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

หากสรุปว่ากระบวนการของแผนประกอบด้วยกระบวนการ ได้แก่

(1) กําหนดปัญหา

(2) ตั้งเป้าหมาย

(3) ศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

(4) ลงมือวางแผน

(5) ประเมินผล

 

  1. ขั้นตอนใดที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (คําบรรยาย) อาจสรุปได้ว่ากระบวนการของแผน ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้

1 กําหนดปัญหา

2 การตั้งเป้าหมาย/วัตถุประสงค์

3 การศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

4 ลงมือวางแผน เป็นการลงมือเขียนแผนให้ถูกต้อง โดยหน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการนี้

5 การประเมินแผน เป็นกระบวนการ ที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์ โดยการศึกษาวิเคราะห์แผนว่ามีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนําไป ปฏิบัติได้จริงหรือไม่ จากนั้นจึงนําเสนอแผนให้ผู้มีอํานาจพิจารณาอนุมัติ เพื่อนําแผนไปปฏิบัติ

6 การนําแผนไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

7 การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการที่ทําให้ทราบถึงผลสําเร็จและเก็บเป็นข้อมูลสะสม เพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

32 หน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

33 กระบวนการใดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญหลายสาขามากที่สุด

ตอบ 4 หน้า 27 งานวางแผนเป็นงานระดับกลุ่ม ดังนั้นการลงมือวางแผนจึงต้องประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขามาร่วมกันสร้างแผน โดยมีนักวางแผนเป็นผู้ประสานให้การวางแผนไปสู่จุดหมายร่วมกันขององค์การได้

34 กระบวนการใดทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

35 กระบวนการใดทําให้ได้รับข้อมูลสะสมเพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 36 – 40 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Alternative

(2) Social Analysis

(3) Feasibility Study

(4) Financial Analysis

(5) Process

 

36 การวิเคราะห์ประเมินโครงการไม่ใช่ราชการ

ตอบ 4 หน้า 40 การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านการเงิน (Financial Analysis) เป็นแนวทางการประเมินโครงการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่ได้รับ (Cost-Benefit) เพื่อดูว่าโครงการที่จัดทําขึ้นมานั้นมีลักษณะคุ้มทุนหรือไม่

37 สอดคล้องเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม

ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านสังคม (Social Analysis)จะพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้

1 ความเหมาะสมสอดคล้องต้องกันระหว่างแนวทางของโครงการกับปัจจัยทางสังคม เช่น ศาสนา การศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม – กฎหมาย การเมืองและการปกครอง เป็นต้น

2 โอกาสที่สังคมจะยอมรับ/สนับสนุน หรือต่อต้าน/คัดค้านโครงการ

38 ประเมินดู Cost-Benefit

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

39 กระบวนการต่าง ๆ ทางวิชาการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กระบวนการ (Process) หมายถึง ขั้นตอนวิธีปฏิบัติ หรือกิจกรรมการดําเนินงานที่กระทําอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

40 ทางเลือกในการวางแผน โครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ทางเลือก (Alternative) หมายถึง มาตรการหรือแนวทางการดําเนินงานที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ซึ่งอาจมีหลายทางเลือกในการบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Integration

(2) Dynamic

(3) Subjectivity

(4) Artificiatity

(5) ปัญหามีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจน

 

41 เป็นปัญหาที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว

ตอบ 4 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality) หมายถึง ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นที่ยอมรับหรือตระหนักได้ของคนบางกลุ่มบางหมู่ในขณะที่บางกลุ่มอาจไม่ยอมรับก็ได้

42 ทางราชการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ไม่มีที่ทําการต้องเช่าอาคารเอกชนเป็นที่ทําการชั่วคราว

ตอบ 5 หน้า 10 ปัญหาที่มีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจนแน่นอน (Well-Structured Problem) หมายถึง ปัญหาที่มีผลลัพธ์แน่นอน มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย มีทางออกในการแก้ไขปัญหาเพียงไม่กี่ทางเลือก (1 – 3 ทาง) ซึ่งแต่ละทางเลือกสามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือกได้ชัดเจน ไม่เป็นที่ถกเถียงกันได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหาในการจัดสร้างที่ทําการของหน่วยงานหรือองค์การ เป็นต้น

43 การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) หมายถึง การที่ปัญหาได้แปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

44 จะกําหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องพิจารณาผลกระทบด้านเทคนิค การเมือง สังคม

ตอบ 1 หน้า 9 ปัญหาทั้งหลายมักมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration) อยู่เสมอ ดังนั้นในการพิจารณาปัญหาของนโยบายจึงพิจารณาเพียงด้านหนึ่งด้านใดเป็นเอกเทศไม่ได้ เช่น ในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจะพิจารณาเพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ได้ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยทางด้านการเมือง สังคม หรืออื่น ๆ อีกตามแต่สถานการณ์ที่เผชิญอยู่

45 การมีความหมายในตัวของปัญหาเอง

ตอบ 3 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้น ต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้หรือผู้กําหนดนโยบายว่าจะสามารถรับรู้หรือ ตระหนักได้ถึงความเป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่งความเป็นอัตนัยของปัญหานี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพราะปัญหาที่คนคนหนึ่งตระหนักได้อาจเป็นปัญหาที่คนอื่น ๆ อาจยังไม่ตระหนักถึงก็ได้

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Action Oriented

(2) Problem Solving

(3) Efficiency and Time Oriented

(4) Clear Objective

(5) Continuous

 

46 ถือหลักประหยัด ประโยชน์และตรงเวลา

ตอบ 3 หน้า 21 – 22 ลักษณะทั่ว ๆ ไปของแผน มีดังนี้

1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอนาคต (Future Oriented)

2 มีไว้เพื่อให้มีการปฏิบัติตามมา (Action Oriented)

3 เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือองค์การ (Organizational Oriented)

4 มีการแก้ปัญหาหรือข้อขัดแย้ง (Problem Solving Oriented)

5 ถือหลักประหยัด ประโยชน์และตรงเวลา (Economical/Efficiency and Time Oriented)

6 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดแจ้ง ตรงประเด็น (Clear Objective)

7 มีความต่อเนื่อง (Continuous) และปรับปรุงได้ (Dynamics) ฯลฯ

47 แผนต้องมีความต่อเนื่อง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 แผนมีไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามมา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

49 ต้องสร้างวัตถุประสงค์ให้ตรงประเด็น

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

50 เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการแก้ไขปัญหา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

51 การวางแผนเชิง “ยุทธศาสตร์” มีที่มาจากวงการใด

(1) วิทยาศาสตร์

(2) การทหาร

(3) การแพทย์

(4) การวิจัย

(5) การเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ที่มาของการวางแผนกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ มีดังนี้

1 ข้อเสนอของธนาคารโลก (World Bank) และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ แห่งสหรัฐอเมริกา (USAID)

2 การวางแผนทางการทหาร

3 เครื่องมือทางการบริหารจัดการของภาคเอกชน

52 ข้อใดคือที่มาของการวางแผนกลยุทธ์

(1) ข้อเสนอของ World Bank

(2) ข้อเสนอของ USAID

(3) เครื่องมือทางการบริหารของเอกชน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

53 ท่านจะหาเจตนารมณ์หรือเป้าหมายสูงสุดแห่งรัฐได้จากที่ใด

(1) คําแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี

(2) แผนบริหารราชการแผ่นดิน

(3) รัฐธรรมนูญ

(4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(5) ยุทธศาสตร์กระทรวง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศซึ่งกําหนดรูปแบบและหลักการในการจัดระเบียบการปกครอง ขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนเจตนารมณ์หรือเป้าหมายสูงสุดแห่งรัฐ

54 ท่านจะหาแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศได้จากที่ใด

(1) รัฐธรรมนูญ

(2) แผนบริหารราชการแผ่นดิน

(3) คําแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี

(4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(5) ยุทธศาสตร์กระทรวง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

55 การวางแผนกลยุทธ์สัมพันธ์กับระบบงบประมาณแบบใด

(1) ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ

(2) ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

(3) ระบบงบประมาณแบบแผนงานโครงการ

(4) ระบบงบประมาณแบบฐานศูนย์

(5) ระบบงบประมาณแบบสะสม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การวางแผนกลยุทธ์สัมพันธ์กับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance-Based Budgeting) ซึ่งเป็นระบบงบประมาณที่ให้ความสําคัญต่อ ความสําเร็จตามเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ของแผนงาน รวมทั้งให้ความสําคัญต่อการบ่งชีหรือการวัดผลที่เกิดจากการทํางาน ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

56 การวางแผนกลยุทธ์ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดใด

(1) Ideal Type of Bureaucracy

(2) Rational Theory

(3) New Public Administration

(4) New Public Management

(5) Blue Ocean Strategy

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนกลยุทธ์ มีดังนี้

1 การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM)

2 Reinventing Government ของ David Osborne & Ted Gaebler)

3 การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

4 ทฤษฎีระบบ (System Theory)

57 ข้อใดตรงที่สุดเกี่ยวกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์

(1) รัฐชี้นํามากกว่าลงมือทําเอง

(2) รัฐที่เน้นกลไกการตลาด

(3) การมีมาตรฐานและระบบการวัดผลการทํางานที่ชัดเจน

(4) การแบ่งหน่วยงานย่อยเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

(5) การมุ่งเน้นแสวงหากําไร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การมีมาตรฐานและระบบการวัดผลการทํางานที่ชัดเจน ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการวางแผนกลยุทธ์ เพราะเป็นสิ่งที่บอกว่าหน่วยงานปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ในแผนหรือไม่

58 ข้อใดตรงกับ Mission-Driven Government รัฐที่มุ่งขับเคลื่อนด้วยภารกิจ

(1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

(2) การกําหนดวิสัยทัศน์

(3) การกําหนดพันธกิจ

(4) การกําหนดตัวชี้วัด

(5) การประเมินผล

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐที่มุ่งขับเคลื่อนด้วยภารกิจ (Mission-Driven Government) เป็นการกําหนดภารกิจหรือพันธกิจให้ชัดเจน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

59 ภาพที่องค์การหวังหรือฝันจะเป็น คืออะไร

(1) วัตถุประสงค์

(2) พันธกิจ

(3) ยุทธศาสตร์

(4) วิสัยทัศน์

(5) ตัวชี้วัด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพที่องค์การหวังหรือฝันจะเป็น เป็นการกําหนดทิศทางขององค์การในอนาคต เช่น เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) มุ่งผลิตบัณฑิตในอุดมคติไทยที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อ สร้างสรรค์สังคมไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

60 ข้อใดตรงกับ Result-Oriented Government รัฐที่มุ่งเน้นผลการดําเนินงาน

(1) มุ่งเน้นเฉพาะผลผลิต (Output)

(2) มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome)

(3) การคํานึงถึงว่าผู้รับบริการจะได้อะไร

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 รายการ

(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐที่มุ่งเน้นผลการดําเนินงาน (Result-Oriented Government) หมายถึง การมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome) หรือการคํานึงถึงว่าผู้รับบริการ/ประชาชนจะได้อะไร

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 71 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การกําหนดวิสัยทัศน์

(2) การกําหนดพันธกิจ

(3) การกําหนดเป้าประสงค์

(4) การกําหนดกลยุทธ์

(5) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

(6) การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ

(7) การควบคุมกลยุทธ์

 

61 ข้อใดเรียงลําดับกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ถูกต้อง

(1) 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7

(2) 4, 1, 2, 3, 5, 6, 7

(3) 4, 1, 2, 5, 3, 6, 7

(4) 5, 4, 1, 2, 3, 6, 7

(5) 5, 1, 2, 3, 4, 6, 7

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ มี 7 ขั้นตอน ดังนี้

1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

2 การกําหนดวิสัยทัศน์

3 การกําหนดพันธกิจ

4 การกําหนดเป้าประสงค์

5 การกําหนดกลยุทธ์

6 การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ

7 การควบคุมกลยุทธ์

62 PEST Analysis

(1) 4

(2) 5

(3) 6

(4) 7

(5) 1 ตอบ 2 (คําบรรยาย) เครื่องมือวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ มีดังนี้

1 2’S 4’M

2 7’S

3 PMQA

4 PEST Analysis

5 STEPP Model

6 Five-Forces Model D

7 SWOT Analysis

63 ข้อใดคือขั้นตอนที่บอกถึงกิจกรรมที่องค์การจะต้องทํา

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกําหนดพันธกิจหรือภารกิจ (Mission) คือ การบอกถึงกิจกรรมที่องค์การจะต้องทํา เช่น จัดเก็บภาษีให้ได้ตามประมาณการ เป็นต้น

64 “จัดเก็บภาษีให้ได้ตามประมาณการ” ประโยคดังกล่าวเป็นการกําหนดอะไร

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 ข้อใดเป็นสิ่งที่บอกว่า “ใคร” ได้ประโยชน์จากการกระทําขององค์การ

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การกําหนดเป้าประสงค์ (Goat) คือ การบอกว่า “ใคร” ได้ประโยชน์จากการกระทําหรือการดําเนินตามพันธกิจขององค์การ เช่น ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ชายแดน และพื้นที่เฉพาะอื่น ๆ มีโอกาสได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น

66 “เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) มุ่งผลิตบัณฑิตในอุดมคติไทยที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ประโยคดังกล่าวคือการกําหนดอะไร

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

67 “ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ชายแดน และพื้นที่เฉพาะอื่น ๆ มีโอกาสได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต” ประโยคดังกล่าวคือการกําหนดอะไร

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

68 การกําหนดทิศทางขององค์การ อยู่ในขั้นตอนใด

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

69 “การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและอัตราการเกิดของประชากรลดลง ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีจํานวนนักศึกษาลดลง” ประโยคดังกล่าวจะปรากฏอยู่ในขั้นตอนใด

(1) 1

(2) 2

(3) 3 มกราคม

(4) 4 มกราคม

(5) 5

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม คือ การประเมินสถานภาพขององค์การ โดยการพิจารณาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้ทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อนําไปประกอบในการกําหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์การต่อไป

70 การกําหนดรายละเอียด/กิจกรรม หรือโครงการ คือขั้นตอนใด ๆ

(1) 3

(2) 4

(3) 5

(4) 6

(5) 7

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือ กระบวนการแปลงกลยุทธ์ไปสู่แผนการดําเนินงานกําหนดรายละเอียด/กิจกรรม หรือโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดําเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

71 การติดตามประเมินผล คือขั้นตอนใด

(1) 3

(2) 4

(3) 5

(4) 6

(5) 7

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การควบคุมกลยุทธ์ คือ การติดตามประเมินผลการดําเนินงานทั้งหมดตามแผนกลยุทธ์ที่กําหนดไว้ว่าการดําเนินงานบรรลุผลสําเร็จตามแผนมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องอาศัยการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปฏิบัติจริงกับผลการดําเนินงานที่ตั้งเป้าหมายไว้ หากปรากฏ ผลที่ได้จากการดําเนินงานจริงต่ํากว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน ผู้บริหารก็จะต้องหาทาง

ปรับปรุงแก้ไขต่อไป

72 ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

(1) PEST Analysis

(2) SWOT Analysis

(3) STEPP Model

(4) 7’S

(5) QQCT

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

73 ข้อใดคือปัจจัยในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน

(1) Strengths, Weaknesses

(2) Strengths, Social

(3) Strengths, Politics

(4) Opportunities, Treats

(5) Opportunities, Technology

ตอบ 1 (คําบรรยาย) SWOT Analysis เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การซึ่งประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ขององค์การ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

2 การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Treats) ขององค์การ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

74 ข้อใดคือปัจจัยในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

(1) Strengths, Weaknesses

(2) Strengths, Social

(3) Strengths, Politics

(4) Opportunities, Treats

(5) Opportunities, Technology

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

75 โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง วิเคราะห์สภาพแวดล้อมว่า

1 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มผู้เข้ารับบริการมากขึ้นส่งผลให้หน่วยงานได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น

2 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มผู้เข้ารับบริการมากขึ้นส่งผลให้บริการได้ไม่ทั่วถึง

การวิเคราะห์ดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

(1) ถูกต้อง เพราะสมเหตุสมผล

(2) ถูกต้อง เพราะสถานการณ์เป็นเช่นนั้น

(3) ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐมีงบประมาณจํากัด

(4) ไม่ถูกต้อง เพราะขัดแย้งกันเอง กําหนดทิศทางกลยุทธ์ได้ยาก

(5) ถูกทั้งข้อ 3 และ 4

ตอบ 4 (คําบรรยาย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะขัดแย้งกันเองทําให้กําหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์การได้ยาก

76 ตัวบ่งชี้ความสําเร็จในการดําเนินงาน หมายถึงอะไร

(1) ผลผลิต

(2) ผลลัพธ์

(3) กลุ่มเป้าหมาย

(4) ตัวชี้วัด

(5) ต้นทุน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัด คือ ตัวบ่งชี้ความสําเร็จในการดําเนินงาน ซึ่งคุณสมบัติของตัวชี้วัดที่ดีมีดังนี้

1 Validity คือ สมเหตุสมผล อธิบายได้

2 Availability คือ ความมีอยู่ของข้อมูล

3 Reliability คือ ความเชื่อถือได้

4 Sensitivity คือ ความเคลื่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง

77 ข้อใดคือคุณสมบัติของตัวชี้วัดที่ดี

(1) Validity

(2) Availability

(3) Reliability

(4) Sensitivity

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 กรมควบคุมมลพิษกําหนดตัวชี้วัดว่า “ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนทั่วประเทศมีค่าไม่เกิน 0.025 มก./ลบ.ม. ตลอดปี” การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานใด

(1) มาตรฐานเชิงนโยบาย

(2) เกณฑ์สัมบูรณ์

(3) มาตรฐานเชิงวิทยาศาสตร์

(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) มาตรฐานเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Criteria) เป็นการกําหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดโดยใช้ค่ากลางซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เช่น กรมควบคุมมลพิษ กําหนดตัวชี้วัดว่า “ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนทั่วประเทศมีค่าไม่เกิน 0.025 มก./ ลบ.ม. ตลอดปี” เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 79 – 84 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Impact

(2) Output

(3) Outcome

(4) QQCT

(5) 2Q2T1P

 

79 ข้อใดเรียงลําดับระดับของตัวชี้วัดจากใหญ่ไปเล็กได้ถูกต้อง

(1) 1, 2, 3

(2) 1, 3, 2

(3) 2, 3, 1

(4) 3, 2, 1

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระดับของตัวชี้วัดเรียงลําดับจากใหญ่ไปเล็กได้ดังนี้

1 ผลกระทบ (Impact) เป็นตัวชี้วัดระดับรัฐบาลและกระทรวง

2 ผลลัพธ์ (Outcome) เป็นตัวชี้วัดระดับกรม

3 ผลผลิต (Output) เป็นตัวชี้วัดระดับสํานัก (หน่วยปฏิบัติ)

80 ข้อใดคือตัวชี้วัดระดับกรม

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

 

81 ข้อใดคือตัวชี้วัดระดับกระทรวง

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

82 ข้อใดคือเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับกระทรวง

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 5 (คําบรรยาย) 2Q2T1P เป็นเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับรัฐบาล กระทรวง และกรมซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

1 Quantity (ปริมาณ)

2 Quality (คุณลักษณะ)

3 Time (เวลา)

4 Target Group (กลุ่มเป้าหมาย)

5 Place (สถานที่)

83 ข้อใดคือเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับกรม

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 ข้อใดคือเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับสํานัก (หน่วยปฏิบัติ)

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 4 (คําบรรยาย) QQCT เป็นเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับสํานัก (หน่วยปฏิบัติ)ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

1 Quantity (ปริมาณ)

2 Quality (คุณลักษณะ)

3 Cost (ต้นทุน)

4 Time (เวลา)

 

85 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโครงการ

(1) งานสร้างสรรค์

(2) งานประจํา

(3) งานซับซ้อน

(4) งานเชี่ยวชาญเฉพาะ

(5) งานจํากัดเวลา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของโครงการ มีดังนี้

1 เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง และความท้าทายบางอย่าง

2 มีข้อจํากัดด้านเวลา/มีระยะเวลาที่แน่นอน

3 เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

4 มีความซับซ้อน

5 ต้องใช้ความร่วมมือหลากหลายสาขาเพื่อการเปลี่ยนแปลง

6 ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

7 มีความชัดเจนแน่นอนสูง

8 ต้องใช้ทรัพยากร

9 ขนาดและความซับซ้อนขึ้นอยู่กับงบประมาณ วัตถุประสงค์ กําลังคน ความเสี่ยงของเส้นตาย

10 ต้องการความเป็นองค์การในการขับเคลื่อน

86 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของโครงการ

(1) งานที่ท้าทาย ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นเรื่องใหม่ ๆ มีระยะเวลาที่แน่นอน

(2) งานสร้างสรรค์ ต้องใช้ความร่วมมือหลากหลายสาขาเพื่อการเปลี่ยนแปลง มีระยะเวลาที่แน่นอน

(3) งานที่มีความซับซ้อน มีการลงทุนสูง ใช้ความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ไม่กําหนดระยะเวลา

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

87 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโครงการภาครัฐ

(1) รัฐเป็นเจ้าของโครงการ

(2) มาจากสภาพปัญหาของสังคม

(3) มีผลกระทบต่อสังคมสูง

(4) มีผลตอบแทนสูง

(5) ใช้เงินภาษี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของโครงการภาครัฐ มีดังนี้

1 รัฐเป็นเจ้าของโครงการ

2 มาจากปัญหาข้อเรียกร้องของประชาชนหรือสภาพปัญหา ของสังคม

3 เป็นประโยชน์สาธารณะ

4 มีระยะเวลาแน่นอน

5 ใช้เงินภาษี

6 ประเมินผลตอบแทนยาก

7 มีผลกระทบต่อสังคมสูง

88 ข้อใดคือขอบเขตและคุณภาพของการบริหารโครงการ

(1) เวลา ต้นทุน แผนงาน

(2) เวลา ต้นทุน นโยบาย

(3) เวลา ต้นทุน หนี้ ความเสี่ยง

(4) เวลา ต้นทุน กําไร ความเสี่ยง

(5) เวลา ต้นทุน ความพร้อมของทรัพยากร ความเสี่ยง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขอบเขตและคุณภาพของการบริหารโครงการ มีองค์ประกอบดังนี้

1 เวลา (Time)

2 ต้นทุน (Cost)

3 ความพร้อมของทรัพยากร (Resource Availability)

4 ความเสี่ยง (Risk)

89 ข้อใดถูกต้อง

(1) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการมีเสถียรภาพสูงและคล่องตัว

(2) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการประหยัด มีประสิทธิภาพ

(3) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการมักขาดการประสานงาน ไม่คล่องตัว (4) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการประสานงานได้รวดเร็วคล่องตัว

(5) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการมีต้นทุนสูง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การจัดโครงสร้างแบบดั้งเดิม (Traditional Bureaucracy) เป็นการจัดโครงการที่อยู่ในโครงสร้างเดิมแบบราชการ โดยจัดโครงสร้างตามหน้าที่ (Function) ตามกลุ่มงาน ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งข้อดีของการจัดโครงสร้างแบบนี้คือ ประหยัด ไม่ต้องปรับโครงสร้างใหม่ มีผู้รับผิดชอบชัดเจน และมีความเป็นเจ้าของผลงานชัดเจน ส่วนข้อจํากัดคือ ขาดการประสานงานไม่คล่องตัว และไม่เหมาะสมกับโครงการขนาดใหญ่หรือซับซ้อน

90 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างแบบโครงการ

(1) จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะหรือแยกออกมาจากโครงสร้างเดิม

(2) โครงสร้างเป็นแบบแนวราบ มีความคล่องตัว

(3) มีทรัพยากรเป็นของตัวเอง

(4) ประหยัด มีประสิทธิภาพ

(5) สนับสนุนการทํางานเป็นทีม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การจัดโครงสร้างแบบโครงการ (Project Organization) เป็นการจัดโครงสร้างขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะหรือแยกออกมาจากโครงสร้างเดิม โดยเน้นโครงสร้างแบบแนวราบและ เน้นการทํางานเป็นทีม ซึ่งข้อดีของการจัดโครงสร้างแบบนี้คือ มีความคล่องตัวและสะดวก ในการบริหารจัดการมุ่งเน้นผลลัพธ์ และมีทรัพยากรเป็นของตัวเอง ส่วนข้อจํากัดคือ สิ้นเปลืองทรัพยากรหากมีโครงการจํานวนมาก

91 ประยุทธ์มีตําแหน่งวิศวกร ประจําสํานักสํารวจวิศวกรรมและธรณีวิทยาประวิตรตําแหน่งนักบัญชีประจํากองการเงินและบัญชี, อนุพงษ์ ประจําสํานักกฎหมายและที่ดิน สังกัดกรมชลประทาน ทั้งสามคน เป็นคณะทํางานในโครงการออกแบบเขื่อน… ลักษณะที่กล่าวมาเป็นการจัดโครงสร้างโครงการแบบใด

(1) โครงสร้างแบบราชการ งานว่า

(2) โครงสร้างตามแนวตั้ง

(3) โครงสร้างแบบโครงการ

(4) โครงสร้างแบบราบ

(5) โครงสร้างแบบแมทริกซ์

ตอบ 5 (คําบรรยาย การจัดโครงสร้างแบบแมทริกซ์ (Matrix Organization) เป็นการจัดโครงสร้างที่ผสมระหว่างโครงสร้างแบบเดิมกับโครงสร้างแบบโครงการ โดยใช้กําลังคนในโครงสร้างเดิม มาร่วมในโครงการโดย ม่ละทิ้งหน้าที่เดิม ซึ่งในภาครัฐของไทยมักใช้วิธีการตั้งเป็นคณะกรรมการ โดยมีองค์ประกอบจากหน่วยงานต่าง ๆ ข้อดีของการจัดโครงสร้างแบบนี้คือ ประสานงานได้รวดเร็วและประหยัด ส่วนข้อจํากัดคือ ขาดความเป็นเจ้าของผลงาน

92 ข้อใดคือข้อจํากัดของการจัดโครงสร้างการบริหารโครงการแบบแมทริกซ์ (1) ประสานงานล่าช้า

(2) สิ้นเปลือง

(3) ไม่เหมาะกับโครงการขนาดใหญ่

(4) ขาดความเป็นเจ้าของผลงาน

(5) ลําดับชั้นการบังคับบัญชาสูง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อใดเรียงลําดับวงจรชีวิตโครงการได้ถูกต้อง

(1) สํารวจสถานะ วางแผน ดําเนินการ สิ้นสุดโครงการ

(2) กําหนดโครงการ วางแผน ดําเนินการ สิ้นสุดโครงการ

(3) วางแผนกําลังคน สํารวจสถานะ ดําเนินการ สิ้นสุดโครงการ

(4) รายงานสถานะโครงการ วางแผน ดําเนินการ สินสุดโครงการ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วงจรชีวิตโครงการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

1 การกําหนดโครงการ

2 การวางแผน

3 การดําเนินการ ซึ่งเป็นขั้นที่มีระดับความพยายามสูงสุด

4 การสิ้นสุดโครงการ

94 วงจรชีวิตขั้นใดมีระดับความพยายามสูงสุด

(1) สํารวจสภาพแวดล้อม

(2) กําหนดโครงการ

(3) วางแผน

(4) ดําเนินการ

(5) สิ้นสุดโครงการ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ

95 ผลสําเร็จจากการดําเนินกิจกรรมของโครงการเป็นผลสําเร็จในระดับใด

(1) Input

(2) Impact

(3) Outcome

(4) Output

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลสําเร็จจากการดําเนินกิจกรรมของโครงการ เป็นผลสําเร็จในระดับผลผลิต (Output)

96 ชุดรวมของบรรดาโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์เดียวกัน คืออะไร (1) Mega Project

(2) Program

(3) Policy

(4) Indicator HEBB

(5) Planning

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนงาน (Program) คือ ชุดรวมของบรรดาโครงการ (Project) ต่าง ๆที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์เดียวกัน

97 ข้อใดคือหัวข้อแรกในการเขียนโครงการ

(1) ความเป็นมาและความสําคัญ

(2) ชื่อโครงการ

(3) วัตถุประสงค์ของโครงการ

(4) เป้าหมาย

(5) วิธีดําเนินการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเขียนโครงการแบบบรรยาย เป็นการเขียนบรรยายรายละเอียดและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในโครงการไล่เรียงไปตามลําดับ ดังนี้

1 ชื่อโครงการ

2 ความเป็นมาและความสําคัญ

3 วัตถุประสงค์

4 เป้าหมาย

5 กิจกรรม/วิธีดําเนินการ

6 ทรัพยากร/งบประมาณที่ใช้ดําเนินโครงการ

7 ระยะเวลาดําเนินการ

8 หน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบ

9 อื่น ๆ

98 ข้อใดไม่ใช่หลักในการเขียนวัตถุประสงค์โครงการ

(1) สั้น กระชับ

(2) เขียนเป็นรายข้อ

(3ไม่ควรเกิน 3 ข้อ

(4) เรียงตามความสําคัญมากไปน้อย

(5) เรียงตามความสําคัญน้อยไปมาก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักในการเขียนวัตถุประสงค์โครงการ มีดังนี้

1 เขียนเป็นรายข้อว่าทําเพื่ออะไร

2 เรียงลําดับตามความสําคัญจากมากไปน้อย

3 เขียนสั้นกระชับได้ใจความ

4 ไม่ควรมีมากเกินไป ส่วนใหญ่ไม่เกิน 3 ข้อ

99 การเขียนแผนผัง/ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมในโครงการกับระยะเวลามักเขียนในรูปแบบใด

(1) Grand Chart

(2) Growth Chartered

(3) Gantt Chart

(4) Great Chart

(5) Grace Chart

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Gantt Chart คือ แผนผัง/ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมในโครงการกับระยะเวลาดําเนินการ ซึ่งจะทําให้ทราบจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานในแต่ละขั้นตอน

100 ข้อใดคือการประเมินเพื่อหาความจําเป็นหรือความต้องการของโครงการ (1) Pre-evaluation

(2) Post-evaluation

(3) Ongoing-evaluation

(4) Monitoring

(5) Strategic Assessment

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประเมินผลก่อนเริ่มโครงการ (Pre-evaluation) เป็นการประเมินเพื่อหาความจําเป็นหรือความต้องการของโครงการ (Need Assessment) และการประเมิน ความเป็นไปได้ของโครงการ (Project Appraisal/Project Feasibility Study)

 

 

Advertisement