การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ของแผนจะคุมอย่างไร

(1) คุมให้เสร็จตรงตามเวลา

(2) คุมให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่ตั้งไว้

(3) คุมให้ใกล้ชิดทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ

(4) คุมให้เกิดผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ของแผน

(5) คุมให้บุคลากรทุกคนทํางานอย่างเต็มความสามารถ

ตอบ 4 หน้า 44, (คําบรรยาย) การควบคุมแผน/โครงการ โดยทั่วไปมักจะกระทําใน 3 ด้าน คือ

1 ควบคุมเวลา (Time Control) คือ คุมให้เสร็จตรงตามเวลาที่ได้วางแผน/โครงการไว้ โดยใช้เทคนิค PERT

2 ควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost Control) เป็นการ คุมรายจ่ายของแผน/โครงการให้อยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ โดยใช้เทคนิค PPBS

3 ควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน (Quality Control) เป็นการคุมให้เกิดผลงานตรงตาม วัตถุประสงค์ของแผน/โครงการอย่างครบถ้วนและเคร่งครัด เทคนิคที่ใช้อาจกระทําได้ โดยการกําหนดมาตรฐาน (Standard) ของงาน

2 ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน

(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป

(2) แผนระยะสั้น 3 ปี

(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี

(4) แผนระยะสั้น 4 ปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ระยะเวลา (Time Span) อาจจําแนกได้ดังนี้

1 แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ

3 แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

3 คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporally Linked Actions” เป็นของใคร

(1) José Villamil

(2) ดร.อมร รักษาสัตย์

(3) Albert Waterston

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 1 หน้า 25 José Villamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporally Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการตัดสินแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”

4 TP. หมายถึง

(1) เวลาที่ผ่านไป

(2) Target Planning

(3) Team Planning

(4) การทํางานเป็นทีม

(5) ทฤษฎีการวางแผน

ตอบ 3 หน้า 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) มากที่สุด ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน

2 ร่วมกันมองไปในอนาคต (Vision/Scenario)

3 ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4 ร่วมกันกําหนดทางเดินหรือแผนกลยุทธ์ (Strategies) ที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

5 ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้ 6 ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ ซึ่งเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วันหรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan

5 แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด (1) แผนรายปี

(2) แผนงบประมาณ

(3) แผนการเงิน

(4) แผนโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก

6 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีหลายรูปร่างและหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้

1 มีรูปร่างเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง

2 มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ

3 มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด

4 มีรูปเป็นสัญญา

5 มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือของรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

7 ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว

(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป

(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด

(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน

(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มีความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ําลง ตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผนที่แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า

8 Controlled Environment หมายถึง

(1) ภาวะทางธรรมชาติ

(2) ค่านิยมของคนในภาคใต้ของประเทศไทย

(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 12 สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ ในนโยบาย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

2 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ/ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น

9 การวางแผนแบบประสมประสาน มีขั้นตอนสําคัญอยู่ที่ใด

(1) การเก็บข้อมูลที่กว้างขวาง

(2) การวิเคราะห์สถานการณ์แบบก้าวหน้า

(3) การทําแบบจําลอง (Model) ของแผน

(4) การสร้างเศรษฐกิจของแผน

(5) การขออนุมัติหลักการของแผนก่อนเขียนแผนขั้นตอนสุดท้าย

ตอบ 3 หน้า 29, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบสมบูรณ์แบบหรือประสมประสานหรือแผนรวม(Comprehensive Planning) เป็นการวางแผนที่กล่าวถึงเป้าหมายที่ต้องการก่อนเป็นอันดับแรก โดยเริ่มจากการสร้างแบบจําลองการเจริญเติบโต (Growth Model) ของแผนก่อน ซึ่งเป็น การคํานวณอัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวังไว้ในรูปของการบริโภค เงินออม การลงทุน การนําเข้า-ส่งออก การจ้างงาน ความต้องการ (Demand) และความสามารถในการตอบสนอง (Supply) ของภาครัฐและภาคเอกชนรวมกัน โดยการวางแผนในรูปแบบนี้จะมีการวางแผน ทั้งแบบ Forward และBackward และมีการกล่าวถึงบทบาทของภาคเอกชนไว้อย่างครบถ้วน จึงนับว่าเป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน และเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่หน่วยงานวางแผน มีความชํานาญแล้ว อย่างไรก็ตาม การวางแผนแบบนี้ยังไม่มีประเทศใดสามารถทําได้อย่าง สมบูรณ์แบบ ประเทศที่ใช้การวางแผนแบบนี้ได้ดีที่สุดก็มีเพียงประเทศกลุ่มสังคมนิยม (ซึ่งมีลักษณะการคุมอํานาจจากส่วนกลางมากที่สุด)

10 Bazi จําแนกกิจกรรมการนําโครงการไปปฏิบัติเป็น 3 กระบวนการ ข้อใดไม่ใช่กระบวนการทั้ง 3 นั้น

(1) เขียนโครงการอีกครั้ง

(2) วิเคราะห์โครงการอีกครั้ง

(3) เริ่มต้นการทํางาน

(4) กําหนดรูปแบบการทํางาน

(5) ไม่มีคําตอบที่ถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 42 – 43 Baz ได้แบ่งกระบวนการปฏิบัติงานตามโครงการออกเป็น 3 กิจกรรม คือ

1 การวิเคราะห์โครงการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง (Project Reappraisal)

2 การเริ่มต้นทํางาน (Action Initiation)

3 การกําหนดรูปแบบการทํางาน ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ แบบเน้นพิธีการ และแบบเน้นการปฏิบัติงาน

ข้อ 11 – 15 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคนิควิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ให้เลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กัน

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การกําหนดนโยบาย

(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) การประเมินผลนโยบาย

(5) การสิ้นสุดของนโยบาย

 

11 การวิจัยประเมินผล

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เทคนิควิธีการวิเคราะห์นโยบายที่ควรนํามาใช้วิเคราะห์นโยบายในช่วงต่าง ๆอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้

1 ในช่วงการก่อตัวของนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การระดมสมอง เทคนิคพยากรณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติและเนื้อหา

2 ในช่วงการกําหนดนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการตัดสินใจ และการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

3 ในช่วงการนํานโยบายไปปฏิบัติ เทคนิคที่ใช้คือ การวิเคราะห์ข่ายงาน การบริหารคุณภาพ เช่น การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์/ผลสําเร็จ

4 ในช่วงการประเมินผลนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การวิจัยประเมินผล

5 ในช่วงการสิ้นสุดของนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การจัดสร้างองค์การใหม่ เป็นต้น

12 การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์/ผลสําเร็จ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 การวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

14 การระดมสมอง/เทคนิคพยากรณ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

15 การสร้างองค์การใหม่

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

 

ข้อ 16 – 20 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลนโยบายสาธารณะ ให้เลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กัน

(1) Output Monitoring

(2) Process Monitoring

(3) Efficiency Measurement

(4) Effectiveness Evaluation

(5) Feasibility Study

 

16 มุ่งเน้นในการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายและผลผลิตที่ได้รับ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิภาพ (Efficiency Measurement) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าเมื่อดําเนินการตามนโยบายเสร็จแล้ว ได้ผลคุ้มค่าหรือไม่ ประหยัดหรือไม่ มีต้นทุนต่อหน่วยเท่าใด ซึ่งกระทําได้โดยการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่าย (Cost) ทั้งหมดกับผลผลิตหรือผลตอบแทน (Benefit) ที่ได้รับ ไม่ได้

17 ผลลัพธ์ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายนั้นตรงกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่

18 การวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของนโยบายคือ การศึกษาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของนโยบาย โดยมุ่งศึกษาหาคําตอบว่านโยบายมีโอกาสประสบผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด

19 การตรวจสอบผลการดําเนินงานว่าได้รับผลผลิต ซึ่งแสดงออกมาในรูปของหน่วยวัดต่าง ๆ ตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกํากับติดตามผลผลิต (Output Monitoring) ของนโยบาย คือ การตรวจสอบผลการดําเนินงานของนโยบายว่าได้รับผลผลิต ซึ่งแสดงออกมาในรูปของหน่วยวัดต่าง ๆ ตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่

20 การตรวจสอบการดําเนินกิจกรรมว่าเป็นไปตามแผนการดําเนินงานหรือไม่ ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกํากับติดตามการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนงาน (Activity/Process Monitoring) คือ การตรวจสอบการดําเนินกิจกรรมของนโยบายในแต่ละขั้นตอนว่า เป็นไปตามแผนการดําเนินงานหรือไม่

ข้อ 21 – 25 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Integration

(2) Dynamic

(3) Subjectivity

(4) Artificiality

(5) ปัญหามีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจน

21 เป็นปัญหาที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว

ตอบ 4 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality) หมายถึง ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นที่ยอมรับหรือตระหนักได้ของคนบางกลุ่มบางหมู่ในขณะที่บางกลุ่มอาจไม่ยอมรับก็ได้

22 ทางราชการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ ไม่มีที่ทําการต้องเช่าอาคารเอกชนเป็นที่ทําการชั่วคราว

ตอบ 5 หน้า 10 ปัญหาที่มีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจนแน่นอน (Well-Structured Problem) หมายถึงปัญหาที่มีผลลัพธ์แน่นอน มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย มีทางออกในการแก้ไขปัญหาเพียงไม่กี่ทางเลือก (1 – 3 ทาง) ซึ่งแต่ละทางเลือกสามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือกได้ชัดเจน ไม่เป็นที่ถกเถียงกันได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหาในการจัดสร้างที่ทําการของหน่วยงานหรือองค์การ เป็นต้น

23 การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) สูง หมายถึง การที่ปัญหาได้แปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

24 จะกําหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องพิจารณาผลกระทบด้านเทคนิค การเมือง สังคม

ตอบ 1 หน้า 9 ปัญหาทั้งหลายมักมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration) อยู่เสมอ ดังนั้นในการพิจารณาปัญหาของนโยบายจึงพิจารณาเพียงด้านหนึ่งด้านใดเป็นเอกเทศไม่ได้ เช่น ในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจะพิจารณาเพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ได้ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยทางด้านการเมือง สังคม หรืออื่น ๆ อีกตามแต่สถานการณ์ที่เผชิญอยู่

25 การมีความหมายในตัวของปัญหาเอง

ตอบ 3 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) สูง หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้นต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้หรือผู้กําหนดนโยบายว่าจะสามารถรับรู้ หรือตระหนักได้ถึงความเป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่งความเป็นอัตนัยของปัญหานี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพราะปัญหาที่คนคนหนึ่งตระหนักได้อาจเป็นปัญหาที่คนอื่น ๆ อาจยังไม่ตระหนักถึงก็ได้

ข้อ 26 – 30 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่าง ๆ ที่ร่วมกัน

(2) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) ความเป็นไปได้ทางการเมือง

(4) ลักษณะของหน่วยงานที่นํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การมีทรัพยากรที่เพียงพอ

 

26 ความเห็นพ้องต้องกันระหว่างรัฐบาลกับเอกชน นโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเอกชนด้วยดีจะได้รับความสําเร็จได้ดีกว่า

ตอบ 3 หน้า 19 นโยบายที่มีความเป็นไปได้ทางการเมือง ควรมีลักษณะดังนี้

1 มีความเห็นพ้องต้องกันระหว่างรัฐบาลกับเอกชน ซึ่งนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเอกชนด้วยดีจะได้รับความสําเร็จได้ดีกว่า

2 ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน เช่น ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง สื่อมวลชนกลุ่มชนชั้นนํา และกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ในสังคม เป็นต้น

27 ความสามารถของผู้นํา ผู้นําที่เข้มแข็งจะเป็นปัจจัยผลักดันให้นโยบายประสบความสําเร็จได้มากกว่าเพราะสามารถระดมความสนับสนุนจากฝ่ายต่าง ๆ ได้มากกว่า

ตอบ 4 หน้า 19 ลักษณะของหน่วยงานที่เอื้อต่อความสําเร็จในการนํานโยบายไปปฏิบัติได้แก่

1 มีการจัดองค์การที่ดี คือ มีระดับชั้นการบังคับบัญชาน้อย และแต่ละชั้นมีผู้ใต้บังคับบัญชามาก

2 ความสามารถของผู้นํา คือ ผู้นําที่เข้มแข็งจะเป็นปัจจัยผลักดันให้นโยบายประสบความสําเร็จได้มากกว่า เพราะสามารถระดมความสนับสนุนจากฝ่ายต่าง ๆ ได้มากกว่า

28 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติที่ไม่มีผลประโยชน์ทั้งทางบวกหรือทางลบกับนโยบาย เช่น ไม่กระทบต่อค่านิยม ศักดิ์ศรี อํานาจ และพฤติกรรมของตนเอง

ตอบ 2 หน้า 20 ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติที่ไม่มีผลประโยชน์ทั้งทางบวกหรือทางลบกับนโยบาย เช่น ไม่กระทบต่อค่านิยม ศักดิ์ศรี อํานาจ และพฤติกรรมของตนเอง ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผล ต่อความสําเร็จของนโยบาย เนื่องจากผู้นําที่มีทัศนคติดังกล่าวจะจริงใจและตั้งใจปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด โดยไม่ต้องกังวลกับผลประโยชน์และสถานะความต้องการของตนเองแต่อย่างใด

29 การนํานโยบายไปปฏิบัติต้องใช้หน่วยงานหลายหน่วย หลายระดับ หลายสังกัด ดังนั้นกลไกหน่วยงานจะเกี่ยวข้องกัน

ตอบ 1 หน้า 20 ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่าง ๆ ที่ร่วมกันนํานโยบายไปปฏิบัติ คือ ในการนํานโยบายไปปฏิบัตินั้นจะต้องใช้หน่วยงานหลายหน่วย หลายระดับ และหลายสังกัด ดังนั้นกลไก ความสัมพันธ์เหล่านี้ เช่น จํานวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จํานวนจุดตัดสินใจ ความสัมพันธ์ดั้งเดิม ของหน่วยงานทั้งหลาย รวมถึงการเข้าแทรกแซงของหน่วยงานระดับบน ล้วนมีผลต่อความสําเร็จของนโยบายทั้งสิ้น

30 การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และจํานวนเพียงพอ รวมทั้งมีงบประมาณและสถานที่พร้อม

ตอบ 5 หน้า 19 การมีทรัพยากรที่เพียงพอ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และจํานวนเพียงพอ รวมทั้งมีงบประมาณและสถานที่พร้อม ถือเป็น อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความสําเร็จของนโยบาย อีกทั้งยังเป็นดัชนีวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีด้วย

31 ใครคือผู้มีหน้าที่กําหนดนโยบายมากที่สุด

(1) ปลัดกระทรวง

(2) อธิบดี

(3) ผู้อํานวยการกองวิชาการ

(4) หัวหน้างาน

(5) ผู้อํานวยการสํานัก

ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) เนื่องจากนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องในระดับองค์การ ฉะนั้นผู้มีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะจะต้องเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์การ (Top-Level Administrator) เท่านั้น ซึ่งผู้มีตําแหน่งสูงกว่าย่อมมีอํานาจในการกําหนดนโยบายมากกว่า ผู้มีตําแหน่งน้อยกว่า ทั้งนี้หากมีตําแหน่งเท่ากัน ตําแหน่งที่จะกําหนดนโยบายมากกว่าย่อมเป็นตําแหน่งที่เกี่ยวกับนโยบาย แผน และโครงการ

32 ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักรัฐศาสตร์

(2) นักสังคมวิทยา

(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์

(4) นักวิทยาศาสตร์

(5) นักเศรษฐศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็นการศึกษารายกรณี และมีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของวิชาการหลายสาขา มาศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

33 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะแนวคิดในการวิเคราะห์

(1) คําตอบซ้ำ

(2) ต้องใช้หลายวิธี

(3) ต้องใช้หลักเหตุผล

(4) เป็นสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์

(5) เพื่อประโยชน์ในทางการเมือง

ตอบ 4 หน้า 15 – 16 แนวคิดในการวิเคราะห์นโยบายมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 เป็นสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์

2 ใช้วิธีการหลายวิธี

3 เป็นการใช้เหตุผล

4 มุ่งผลิตและแปรสภาพข่าวสาร

5 ข่าวสารที่ได้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในสภาพความเป็นจริงทางการเมือง

34 อาจารย์ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า ลักษณะของนโยบายที่มีแนวโน้มจะประสบความสําเร็จเป็นอย่างไร

(1) มีข้อมูลยืนยันชัดเจน

(2) เห็นผลได้ในระยะยาว

(3) ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

(4) เห็นผลได้ในระยะสั้น

(5) มีข้อมูลจํานวนมาก

ตอบ 1 หน้า 18 ศ.ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า ลักษณะของนโยบายที่มีแนวโน้มจะประสบความสําเร็จ ควรมีลักษณะดังนี้

1 เป็นนโยบายที่ไม่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป

2 การเห็นผลได้ชัดเจนของนโยบาย

3 การมีข้อมูลที่ยืนยันได้ชัดเจน เป็นต้น

35 ความเป็น Dynamic ของปัญหาคืออะไร

(1) การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม

(2) การเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันของปัญหา

(3) การที่ปัญหามีความหมายในตัวของปัญหาเอง

(4) การที่ปัญหาไม่มีตัวตนของปัญหาเอง

(5) การมีปัญหาหลายปัญหาในเวลาเดียวกัน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

36 เพราะเหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่าการศึกษานโยบายสาธารณะเป็นเหตุผลในเชิงวิชาชีพ

(1) วิชานโยบายสาธารณะเป็นวิชาชีพ

(2) เพราะมีการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย

(3) เพราะวิชานโยบายสาธารณะได้ฝึกคนให้เป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน (4) เพราะวิชานโยบายสาธารณะให้ความสําคัญในเรื่องของความสําเร็จในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) Thomas R. Dye เห็นว่า เหตุผลในการศึกษานโยบายสาธารณะ มี 3 ประการ คือ

1 เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ คือ การทําความเข้าใจถึงเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย

2 เหตุผลเชิงวิชาชีพ คือ เป็นการนํานโยบายไปใช้แก้ปัญหาในทางปฏิบัติ

3 เหตุผลทางการเมือง คือ การดัดแปลงนโยบายเพื่อนํามาใช้ให้บรรลุเป้าหมายที่ถูกต้องทางการเมือง

37 ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงน้อยคือ

(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง

(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)

(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Values)

(4) ข้อมูลทุกประเภท

(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงสร้างของดิน

ตอบ 2 หน้า 11 ข้อมูลในการวางนโยบายหรือแผน อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ และภูมิศาสตร์

2 ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่นเชื่อถือของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

38 กระบวนการใดเป็นกระบวนการที่นับว่ามีอิทธิพลต่อทุกกระบวนการมากที่สุด

(1) การวางโครงการ

(2) การนําโครงการไปปฏิบัติ

(3) การวิเคราะห์โครงการ

(4) การประเมินผลโครงการ

(5) การประเมินโครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการของแผน/โครงการนั้น กระบวนการหรือขั้นตอนที่ใช้ข้อมูลมากที่สุดและมีอิทธิพลต่อทุก ๆ กระบวนการมากที่สุดก็คือ การวางแผน/โครงการ เพราะโดยทั่วไปแล้ว การที่แผน/โครงการจะประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวนั้น จะขึ้นอยู่กับกระบวนการหรือขั้นตอน ที่ว่านี้เป็นสําคัญ กล่าวคือ ถ้าวางแผน/โครงการได้ดีมีรายละเอียดครอบคลุม มีการเก็บข้อมูล อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ย่อมส่งผลให้การวางโครงการมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ และประเมิน การนําไปปฏิบัติ ตลอดจนการประเมินผลสามารถทําได้โดยง่าย และโอกาสที่แผน/โครงการนั้นจะประสบความสําเร็จก็จะมีสูง

39 ดร.สมพร แสงชัย กล่าวว่า การพิจารณาสภาพแวดล้อมนั้นต้องพิจารณาอะไรบ้าง

(1) พิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ

(2) พิจารณาปัญหา

(3) พิจารณาความต้องการของประชาชน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 37 – 39 ดร.สมพร แสงชัย กล่าวว่า กระบวนการวางโครงการมีขั้นตอนสําคัญ ๆ 8 ขั้นตอน ดังนี้

1 การพิจารณาสภาพแวดล้อมและเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อศึกษาปัญหา (จําเป็นที่สุด)ความต้องการของประชาชน รวมถึงนโยบาย แผน หน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตลอดจนความจําเป็นที่จะต้องมีการร่างหรือวางโครงการ

2 การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

3 การหาทางเลือกหรือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด (The Best Alternative)

4 การจัดทําโครงการหรือการลงมือร่างโครงการหรือการเขียนโครงการตามทางเลือกหรือวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งประกอบด้วย การกําหนดเป้าหมายให้ละเอียด, การระบุชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ (Project Manager) และการจัดทําโครงการปฏิบัติหรือการจัดทํา “Project Programming

5 เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ (โดยทั่วไปกระบวนการวางโครงการจะสิ้นสุดที่ขั้นตอนนี้)

6 เสนอของบประมาณ

7 นําโครงการไปปฏิบัติ

8 ประเมินผลโครงการ

40 การถาม What เพื่อหาคําตอบอะไร

(1) ค้นหาปัญหา

(2) ค้นหาวิธีแก้ปัญหา

(3) ค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหา

(4) ผิดทุกข้อ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 39 การวางโครงการตามแนวดั้งเดิมหรือประเพณีนิยม (Traditional Model) จะประกอบด้วยการตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้

1 What – การค้นหาปัญหาหรือวิธีแก้ปัญหา จนเกิดทางเลือกต่าง ๆ

2 When – การระบุเวลาที่ควรแก้ไขปัญหา

3 Where – การกําหนดสถานที่และขอบเขตของโครงการ

4 Why – การระบุถึงความต้องการ

5 How – การกําหนดวิธีแก้ไขปัญหาหรือวิธีการดําเนินงาน

6 Who – บุคคลหรือองค์การที่ต้องรับผิดชอบในกระบวนการของโครงการ

41 ข้อใดไม่ใช่ปัญหาอุปสรรคในการประเมินนโยบายสาธารณะ

(1) กลัวว่าข้อมูลบางอย่างที่ได้รับจากการประเมินผลอาจจะถูกบิดเบือนและปรุงแต่ง

(2) เป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นและไม่มีประโยชน์

(3) เกิดการต่อต้านจากบุคคลต่าง ๆ

(4) ไม่มีระเบียบทางราชการให้ประเมินได้

(5) กลัวว่าการประเมินอาจจะนําไปสู่การยกเลิกสิ้นสุดนโยบาย

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัญหาและอุปสรรคในการประเมินผลนโยบายสาธารณะ ได้แก่

1 คิดว่าการประเมินผลเป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นและไม่มีประโยชน์

2 ผู้ถูกประเมินผลมักจะวิตกกังวลว่าอาจทําให้ตนเสียประโยชน์

3 มองว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ

4 กลัวว่าการประเมินผลอาจทําให้นโยบายต้องสิ้นสุดลง (ไม่ทําต่อ)

5 ผู้ถูกประเมินผลมักจะมองว่าการประเมินผลเป็นการจับผิดกัน ดังนั้นจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับผู้ประเมิน เป็นต้น

42 ข้อใดไม่ใช่ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) พรรคการเมือง

(3) สื่อมวลชน

(4) นักวิชาการ

(5) รัฐสภา

ตอน 5 หน้า 3, (คําบรรยาย) ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างเป็นทางการ ได้แก่ รัฐสภา รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และศาล เป็นต้น

2 ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มนักวิชาการ สื่อมวลชน เป็นต้น

43 ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่แตกต่างจากแผนอื่น

(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน

(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน

(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม

(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

(5) เป็นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นการวางแผนที่ยังคงน้อมนําและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่าง มีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

44 การศึกษาเพื่อรู้อาการของปัญหาต้องอาศัยองค์ประกอบอะไรของผู้กําหนดนโยบาย

(1) ความอดทน

(2) ความพากเพียร

(3) ภาวะผู้นํา

(4) ความคิดริเริ่ม

(5) ความละเอียดรอบคอบ

ตอบ 4 หน้า 11 การกําหนดสาเหตุและอาการของปัญหานี้จําเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความรู้ ความชํานาญ ประสบการณ์ และความคิดริเริ่มของผู้วางนโยบายอย่างมากจึงจะ ทําให้นโยบายสมบูรณ์ที่สุดได้ และหากสามารถกําหนดสาเหตุและอาการของปัญหาได้ชัดเจน แล้วก็จะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย

45 ความเป็นธรรมของนโยบายวัดได้อย่างไร

(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม

(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน

(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน

(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย

(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณาหรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

46 ใครได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์”

(1) Harold Lasswell

(2) Dwight Waldo

(3) Herbert Simon

(4) Thomas R. Dye

(5) Woodrow Wilson

ตอบ 1 (คําบรรยาย) Harold LasSwell ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ซึ่งเป็นผู้ที่ผสมผสานแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ ปรัชญาและสังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน

47 ขั้นตอนกระบวนการนโยบายประกอบด้วยอะไร

(1) วิเคราะห์นโยบาย กําหนดนโยบาย ติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) การกําหนดนโยบาย การวิเคราะห์นโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย

(3) การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบายการกําหนดนโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบาย การกําหนดนโยบาย การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย

(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติ การติดตามประเมินผลนโยบาย การกําหนดนโยบาย การวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 2 หน้า 8, (คําบรรยาย) กระบวนการของนโยบาย (Processes of Policy) ประกอบด้วยกระบวนการที่สําคัญเรียงตามลําดับ ดังนี้

1 การกําหนดนโยบาย (Policy Formulation or Policy Making)

2 การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)

4 การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย (Policy Evaluation)

48 นโยบายตามตัวแบบผู้นําจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด

(1) ให้ประโยชน์กับสังคม

(2) ให้กับผู้ด้อยโอกาส

(3) ประชาชนโดยทั่วไป

(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด

(5) ผู้ใต้บังคับบัญชา

ตอบ 4 หน้า 3 ตัวแบบหรือทฤษฎีผู้นํา (Elite Model/Theory) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ คือ แนวทางที่สะท้อนค่านิยมที่เลือกสรรแล้วของผู้นําหรือกลุ่มผู้นํา โดยไม่จําเป็นต้องสนใจว่า สาธารณชนจะพึงพอใจหรือไม่ ซึ่งนโยบายที่ออกมาก็มักจะให้ประโยชน์แก่ผู้นําและผู้ใกล้ชิดเอง ดังนั้นสถานการณ์ที่จะเกิดนโยบายตามตัวแบบนี้ได้ จึงต้องเป็นสถานการณ์ที่ผู้นํามีอํานาจ สูงมากในทางการเมืองหรือทางสังคม เช่น การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในภาวะการปฏิวัติ/รัฐประหาร เป็นต้น

49 การระบุอาการของปัญหาเป็นการอธิบายถึงปรากฏการณ์ของปัญหา พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงประจักษ์พยาน เพื่อยืนยันอะไร

(1) ลักษณะของปัญหา

(2) ความมีอยู่จริงของปัญหา

(3) จุดเด่นของปัญหา

(4) ความไม่มีอยู่จริงของปัญหา

(5) วิธีแก้ไขปัญหา

ตอบ 2 หน้า 11 การกําหนดอาการของปัญหา เป็นการอธิบายถึงปรากฏการณ์ของปัญหา พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงประจักษ์พยานเพื่อยืนยันถึง “ความมีอยู่จริงของปัญหา” โดยปัญหาที่มีอาการอยู่มากก็จะแสดงว่าเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง หรือมีความเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการแก้ไขก่อน

50 คํากล่าวที่กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายเป็นสาขาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งใช้วิธีการมากมายหลายวิธีในการค้นหาแสดงเหตุผล เพื่อที่จะผลิตและเปลี่ยนสภาพของข่าวสารที่เกี่ยวกับนโยบาย”

(1) William Dunn

(2) James Wilde RESTERAUSED

(3) Dumear Macrae

(4) Mel Dubnick

(5) ของทุกคนที่กล่าวมา

ตอบ 1 หน้า 15 William Dunn กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายเป็นสาขาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์ซึ่งใช้วิธีการมากมายหลายวิธี ในการค้นหาแสดงเหตุผลเพื่อที่จะผลิตและเปลี่ยนสภาพของข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย”

51 เราสามารถรับรู้นโยบายสาธารณะได้จากสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ ยกเว้น

(1) ระเบียบข้อบังคับขององค์การ

(2) แผนงานและโครงการ

(3) คําสั่งของผู้บังคับบัญชา

(4) กฎหมาย

(5) การตรวจงานของสํานักงบประมาณ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

52 แนวล่าสุดในการศึกษานโยบายสาธารณะคือแนวใด

(1) กระบวนการทางนโยบาย

(2) การวิเคราะห์นโยบาย

(3) เนื้อหาสาระของนโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การประเมินนโยบาย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการตามลําดับ ดังนี้

1 การศึกษาเนื้อหาทางด้านนโยบายสาธารณะ (Policy-Issue Knowledge)

2 การศึกษากระบวนการทางนโยบายสาธารณะ (Policy Process)

3 การศึกษาแนวทางการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (Policy Analysis)

53 คํากล่าวที่ว่านโยบายหมายถึง “การตัดสินใจขั้นต้นที่กําหนดแนวทางทั่วไปอย่างกว้าง ๆ เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้” เป็นของผู้ใด

(1) Thomas R. Dye

(2) William T. Greenwood

(3) ดร.กระมล ทองธรรมชาติ

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 2 หน้า 1 William T. Greenwood กล่าวว่า “นโยบาย (Policy) หมายถึง การตัดสินใจขั้นต้นที่กําหนดแนวทางทั่วไปอย่างกว้าง ๆ เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้”

54 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผนงาน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

55 เหตุใดรัฐสภาเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ

(1) ผู้แทนราษฎรในรัฐสภามาจากประชาชน

(2) รัฐสภามีหน้าที่ออกกฎหมาย

(3) รัฐสภาไม่ใช่ผู้กําหนดนโยบาย

(4) เป็นอํานาจของรัฐสภาในการบริหารประเทศ

(5) เฉพาะประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางที่รัฐกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อประโยชน์สุขของสังคม โดยนโยบายสาธารณะจะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน เช่น เป็นกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ สัญญา แผนงาน เป็นต้น ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงอาจมี ที่มาจากสถาบันที่มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน เช่น นโยบายสาธารณะอาจจะถูกกําหนดมาจากรัฐสภา เนื่องจากรัฐสภามีหน้าที่ออกกฎหมาย เป็นต้น

ข้อ 56 – 60 เป็นคําถามเกี่ยวข้องกับลักษณะของตัวแบบในแนวการอธิบายนโยบาย

(1) Elite Model

(2) Group Model

(3) Institution Model

(4) System Model

(5) Incremental Model

 

56 เป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง

ตอบ 3 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบหรือทฤษฎีสถาบัน (Institution Mode/Theory) เชื่อว่านโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ เก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นนโยบายสาธารณะ ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันการปกครองแล้ว เท่านั้น ตัวอย่างสถาบันการปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันรัฐสภา สถาบันบริหาร (เช่น นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ สถาบันตุลาการ (เช่น ศาล) และสถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

57 แสวงหาลู่ทางในการประนีประนอมเพื่อทําให้เกิดดุลยภาพของการแข่งขัน ตอบ 2 หน้า 4 – 5 ตัวแบบหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Mode/Theory) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเป็นข้อตกลง หรือเป็นผลผลิตที่เกิดจากดุลยภาพระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็ ดิ้นรนต่อสู้/แข่งขันกัน เพื่อเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลตอบสนองความต้องการของกลุ่มตนเอง หรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอํานาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ ในขณะที่ระบบการเมืองจะมี หน้าที่ในการจัดการความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม โดยการกําหนดกฎและกติกาในการต่อสู้แข่งขัน การเจรจาต่อรอง การประนีประนอม การตกลงแบ่งปัน และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และนําข้อตกลงหรือข้อประนีประนอมที่ได้มากําหนดเป็นนโยบาย

58 ไม่จําเป็นต้องสนใจว่าสาธารณชนจะพึงพอใจหรือไม่

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

59 ใช้ในภาวะการปฏิวัติรัฐประหาร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

60 ต่างดิ้นรนแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอํานาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

61 “การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ โครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการตลาด มีดังนี้

1 การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม

2 ศึกษาสภาพความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ

62 “การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการเงิน มีดังนี้

1 การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ

2 การวิเคราะห์การใช้จ่ายทางการเงินล่วงหน้า ฯลฯ

63 “การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกัน” เป็นการประเมิน โครงการในด้านใด

(1) การประเมินโครงการในภาพรวม

(2) การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม

(3) การประเมินด้านการตลาด

(4) การประเมินด้านการเงิน

(5) การประเมินด้านการจัดการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประเมินโครงการในภาพรวม (Project Appraisal) คือ

1 การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกันโครงการนี้เหมาะสมกว่าหรือไม่

2 โครงการที่เสนอจะสามารถดําเนินการให้สําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งจะบรรลุจุดมุ่งหมายของแผนงาน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานระดับสูงมากน้อยเพียงใด

64 EIA คืออะไร

(1) การวิเคราะห์ผลกระทบทั่วไปของโครงการ

(2) การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ

(3) หลักการประเมินผลโครงการ

(4) หลักการบริหารงบประมาณโครงการ

(5) การจัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการดําเนินโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Environmental Impact Assessment : EIA คือ การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการในภาพรวม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการตามบรรทัดฐานที่กําหนด

65 ข้อใดเป็นวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคม

(1) การจัดทําประชาพิจารณ์

(2) การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

(3) การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

(4) การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคมอย่างกว้างขวาง อาจทําได้โดยวิธีดังนี้

1 การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

2 การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

3 การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

4 การจัดทําประชาพิจารณ์

66 ความต้องการของผู้รับบริการจากองค์การภาครัฐในปัจจุบันเป็นอย่างไร

(1) ความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

(2) ความต้องการมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

(3) ความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

(4) บางครั้งความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

1 ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน ซึ่งหน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้ การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ และควรมีการจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

2 ความต้องการของลูกค้าและผู้รับบริการมีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบางครั้งความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

3 ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่าด้วย

4 การใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ามีความจําเป็นและสําคัญมากขึ้น ควรคํานึงถึงเรื่องความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้ และผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

5 การเพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการให้บริการลูกค้า

6 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

7 การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์

8 การเผชิญกับภาวะวิกฤติและความเสี่ยงต่าง ๆ

67 การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านการจัดการ

(2) ด้านเทคนิค

(3) ด้านการตลาด

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5ข้อ 1 – 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านเทคนิค คือ เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ อันจําเป็นต่อการทํางานในแต่ละกิจกรรมให้สมบูรณ์

68 กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่องใด

(1) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) ทรัพย์สินทางปัญญา

(3) สิทธิมนุษยชน

(4) ธรรมาภิบาล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่อง ดังนี้ การ

1 ทรัพย์สินทางปัญญา

2 สิทธิมนุษยชน

3 ธรรมาภิบาล

4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

69 ทรัพยากรในการบริหารงานภาครัฐมีลักษณะอย่างไรในปัจจุบัน

(1) ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้นมาก

(2) การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่า

(3) ทรัพยากรมีลักษณะคงที่เหมือนเช่นในอดีต

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

70 ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่ข้อใด

(1) การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

(3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

(4) การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่

1 การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

2 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

4 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

71 สิ่งที่จําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการ คือข้อใด

(1) ข้อมูล

(2) เวลา

(3) ค่าใช้จ่าย

(4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการก็คือเวลา เพราะแต่ละโครงการจะมีระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาเสร็จสิ้นโครงการที่แน่นอน

72 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่องใด

(1) องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

(2) มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

(3) มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

(4) มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่อง ดังนี้

1 มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

2 มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

3 องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

4 มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

73 โครงการประเภท “ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา” ได้แก่ข้อใด

(1) การใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น

(2) การแก้ไขปัญหาครอบครัว

(3) การจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

(4) การแก้ไขปัญหาส่วนตัว

(5) การสร้างอาคารสํานักงานใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเภทของโครงการ จําแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 โครงการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหา เช่น โครงการ One Stop Service เป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว และการจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

2 โครงการริเริ่มหรือนวัตกรรม เช่น การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ การสร้างอาคารสํานักงานใหม่ การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต และการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรใหม่

3 โครงการวิจัยและพัฒนา มีลักษณะเป็นโครงการใหม่หรือโครงการบุกเบิก อาจใช้ชื่อเรียกว่าโครงการนําร่อง (Pilot Project) หรือเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

74 โครงการประเภท “ริเริ่มหรือนวัตกรรม” ได้แก่ข้อใด

(1) การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต

(2) การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่

(3) การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ยบาย

(4) การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรใหม่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

75 โครงการประเภท “วิจัยและพัฒนา” มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นโครงการบุกเบิก

(2) เป็นโครงการนําร่อง

(3) เป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

76 ขั้นตอนแรกของการวางแผนโครงการ คือ

(1) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(2) การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

(3) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

(4) การคิดค้นทางเลือก

(5) การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนโครงการ มีดังนี้

1 การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทําให้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ และสามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

2 การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

3 การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย คือ การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

4 การเสนอเพื่อพิจารณา จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

5 การคิดค้นทางเลือก เป็นขั้นตอน ที่ต้องทํารายละเอียด 6W 2H

6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือก โดยการใช้ข้อมูล จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมาพิจารณา

7การเสนอเพื่อพิจารณาอีกรอบหนึ่ง จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

8 การจัดทําข้อเสนอโครงการ

77 เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

(1) เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

(2) เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

(3) เพื่อกําหนดจุดเริ่มต้นโครงการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

1 เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในโครงการมีความเป็นไปได้ที่จะประสบผลสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หรือไม่

2 เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

3 เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

78 ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่

(1) ด้านเทคนิค การจัดการ

(2) ด้านการตลาด การเงิน

(3) ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

(4) ด้านสิ่งแวดล้อม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่

1 การศึกษาด้านเทคนิคหรือด้านวิชาการ

2 การศึกษาด้านการจัดการ

3 การศึกษาด้านการตลาด

4 การศึกษาด้านการเงิน

5 การศึกษาด้านเศรษฐกิจ

6 การศึกษาด้านสังคมและการเมือง

7 การศึกษาด้านสภาพแวดล้อมและสภาวะนิเวศ

79 ข้อใดคือเครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค

(1) บรรทัดฐานด้านเวลา

(2) บรรทัดฐานด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

(3) บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค มีดังนี้

1 บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

2 บรรทัดฐานด้านเวลา

3 บรรทัดฐานด้านการเงิน

4 บรรทัดฐานด้านประสิทธิผล

80 สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

(1) หน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้

(2) ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน

(3) การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ

(4) ควรจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

81 สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ

(1) สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก

(2) สภาพแวดล้อมไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป

(3) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงมาก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก และไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป ซึ่งลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํามักจะมีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

82 ลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํา คือ

(1) ไม่จําเป็นต้องมีทักษะใด ๆ

(2) มีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

(3) มีทักษะรอบด้านในการทํางานให้สําเร็จ

(4) มีทักษะในการตัดสินใจ

(5) มีทักษะในด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ควรประเมินความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้

(2) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงช้า จึงควรลงทุนในด้านเทคโนโลยี

(3) ควรคํานึงถึงผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

84 ลักษณะเฉพาะที่สําคัญของโครงการ คือ

(1) ผลลัพธ์ของโครงการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

(2) ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศ แตกต่างจากงานประจํา

(3) มีองค์การรับผิดชอบโดยเฉพาะ

(4) องค์การที่รับผิดชอบทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของโครงการ มีดังนี้

1 ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศ หรือมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากงานประจํา

2 มีองค์การรับผิดชอบในการจัดการโดยเฉพาะ และทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

3 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารและทีมงานโครงการต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่าง ๆ เสมอ

4 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารโครงการต้องคํานึงถึงข้อจํากัดด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และคุณภาพตามที่กําหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการ

5 ในการจัดการโครงการ จําเป็นต้องเน้นความสําคัญของการบูรณาการกับองค์การหลักหรือหน่วยงานหลักของเจ้าของโครงการ

85 เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร (2) วัตถุประสงค์ ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร

(3) วัตถุประสงค์ บุคลากรที่รับผิดชอบ ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ (4) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ

(5) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากรอายุโครงการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากร และอายุโครงการ

86 ขั้นตอนสุดท้ายของวงจรโครงการของภาครัฐ คือ

(1) การอนุมัติโครงการ

(2) การลงทุนในโครงการ

(3) การส่งมอบงานโครงการ

(4) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(5) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1 การวางแผน การประเมิน และการจัดทําข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย

1.1 การกําหนดแนวคิดโครงการ เช่น การกําหนดเงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR)

1.2 การศึกษาความเป็นไปได้และประเมินโครงการ ซึ่งมีประโยชน์เพื่ออนุมัติโครงการให้มีการดําเนินการต่อไปได้หรือไม่

1.3 การจัดทําข้อเสนออันเป็นรายละเอียด หรือการออกแบบโครงการ

2 การคัดเลือก การอนุมัติ และการเตรียมความพร้อม

3 การปฏิบัติการ การควบคุม การยุติและส่งมอบ เช่น การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นการทํางานของผู้จัดโครงการและผู้ร่วมงาน

4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เช่น การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ

87 ข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (TOR) พัฒนามาจากข้อใด

(1) แนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน จะถูกกําหนดโดยเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งการกําหนดแนวคิดโครงการจะเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการ ของภาคเอกชน รวมถึงข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (Terms of Reference : TOR) ก็พัฒนามาจากแนวคิดโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของกิจการ

88 ขั้นตอนแรกของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(2) การเตรียมความพร้อมของโครงการ

(3) การกําหนด TOR

(4) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(5) การออกแบบโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

89 สิ่งที่จําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น คือ

(1) การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง

(2) การประมวลสถานการณ์แวดล้อม

(3) การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น คือ การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง และการกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์ไว้อย่างชัดเจน

90 การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐ คือ

(1) การจัดทําแผนการดําเนินงานล่วงหน้า

(2) การจัดทําแนวทางการประเมินผล

(3) การจัดทําแผนกําลังคน นะ

(4) การจัดทําแผนการเงิน

(5) การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐคือ การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

91 การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็นอะไรบ้าง

(1) เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ

(3) ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

(4) ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็น ดังนี้

1 เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

3 ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

4 ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

92 การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติเป็นการทํางานของผู้ใด

(1) ปลัดกระทรวง

(2) อธิบดี

(3) ผู้จัดการโครงการ

(4) ข้าราชการระดับล่าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

93 การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(2) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(3) การบริหารโครงการ

(4) การปรับปรุงนโยบายและแผนงาน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

94 ปัญหา “การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน” เป็นปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาทั่วไป

(2) ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

(3) ปัญหาในเชิงป้องกัน

(4) ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น ปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน ปัญหาน้ำท่วม

2 ปัญหาในเชิงป้องกัน

3 ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

95 การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยวิธีใด

(1) วิเคราะห์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้

(2) คาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น

(3) ใช้วิธีการหยั่งรู้

(4) สอบถามผู้บริหารระดับสูง

(5) สอบถามผู้ปฏิบัติงาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้ เพื่อยืนยันความชัดเจนของปัญหาในอดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาดูว่า เป็นปัญหาอะไร เป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือเป็นปัญหาในเชิงป้องกัน หรือเป็นปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

96 6W 2H คืออะไร

(1) เทคนิคการวางแผนโครงการ

(2) เทคนิคการประเมินผลโครงการ

(3) เทคนิคการริเริ่มโครงการ

(4) การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ

(5) เทคนิคการตรวจรับโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) 6W 2H คือ การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นการตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้

1 Why (จะทําทําไม) คือ การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของ โครงการ การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ SMART Principle) การระบุตัวชีวัดด้านเวลา ด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน 2 What (จะทําอะไร) คือ การระบุกิจกรรมหลักที่ต้องทํา

3 When (จะทําเมื่อไหร่) คือ การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

4 Where (จะทําที่ไหน) คือ การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

5 Who (จะทําโดยใคร) คือ การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

6 Whom (จะทําเพื่อใคร) คือ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผล

7 How (จะทําอย่างไร) คือ กฎระเบียบ เทคโนโลยีและมาตรการปฏิบัติงาน

8 How Much (จะจ่ายเท่าไหร่) คือ งบประมาณ ค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม

97 การตอบคําถาม “ทําไม” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา

(4) การระบุตัวชี้วัดด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

98 SMART Principle เป็นหลักการในเรื่องใด

(1) การกําหนดคุณสมบัติผู้รับผิดชอบโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การกําหนดรายละเอียดของโครงการ

(4) การกําหนดหลักการการประเมินผลโครงการ

(5) การกําหนดคุณภาพของโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

99 การตอบคําถาม “อะไร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

100 การตอบคําถาม “ใคร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

101 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงในการวางแผนโครงการจะให้ผลลัพธ์อะไร

(1) รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ

(2) สามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

(3) สามารถทราบถึงความสําเร็จของการดําเนินงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

102 การกําหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผนโครงการ คือข้อใด

(1) การกําหนดบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

(2) การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

(3) การกําหนดตัวชี้วัดของผลการปฏิบัติงาน

(4) การกําหนดระยะเวลาการดําเนินงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

103 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกในการแก้ไขปัญหา จะใช้ข้อมูลอะไรมาพิจารณา

(1) ข้อมูลภายในองค์การที่รับผิดชอบดําเนินงานโครงการ

(2) ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) ข้อมูลจากการสํารวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(4) ข้อมูลจากความคิดเห็นของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

104 “ความคิดสร้างสรรค์” จําเป็นสําหรับขั้นตอนใด

(1) การวิเคราะห์โครงการ

(2) การคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา

(3) การริเริ่มโครงการ

(4) การดําเนินโครงการ

(5) การประเมินผลโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การใช้ความคิดสร้างสรรค์ จําเป็นสําหรับขั้นตอนการคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1 ความรู้ที่ประมวลจากประสบการณ์ หรือเป็นความรู้ตามสัญชาตญาณของเรา ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่าเป็น “ชั่วโมงบิน”

2 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ เช่น การเรียนรู้จากการสอนงาน การให้คําแนะนํา การสาธิต การฝึกอบรม การวิจัยและการพัฒนาในองค์การ

3 การเรียนรู้จากผู้อื่น เช่น เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา การศึกษาดูงาน

4 การเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ เช่น การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกองค์การ

105 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ ได้แก่อะไร

(1) การฝึกอบรม

(2) การสอนงาน

(3) การให้คําแนะนํา

(4) การสาธิต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 104 ประกอบ

106 การเรียนรู้จากผู้อื่น จะเรียนรู้ในเรื่องใด

(1) เรียนรู้ความล้มเหลวขององค์การประเภทเดียวกัน

(2) เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา

(3) การศึกษาดูงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 104 ประกอบ

107 ปัญหา “การบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด”อาจมีสาเหตุมาจากข้อใด

(1) พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน

(2) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

(3) ขั้นตอนการทํางานเยิ่นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

(4) ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาการบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด มีสาเหตุดังนี้

1 พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน

2 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

3 ขั้นตอนการทํางานเป็นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

4 ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

108 การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมเรื่องใด

(1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) ค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ

(3) ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ

(4) เงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมถึงเรื่องค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ อัตราเงินเฟ้อ และเงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ เพราะงบประมาณโครงการมีจํากัดตามวงเงินที่กําหนดไว้

109 ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ข้อใด

(1) องค์การการค้าโลก

(2) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

(3) องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่

1 องค์การการค้าโลก

2 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

3 องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

110 ผลประโยชน์ของโครงการจะพิจารณาอย่างไร

(1) พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

(2) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่เป็นตัวเงิน

(3) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ของโครงการ จะพิจารณาในเรื่องดังนี้

1 พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

2 พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

111 ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ

(1) การจัดการโครงการของสํานักงานโครงการ

(2) การจัดทําแผนดําเนินงาน

(3) การจัดตั้งองค์กรโครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ การจัดทําแผนดําเนินงาน (Operation Plan) มีการจัดตั้งองค์กรโครงการ มีการจัดการโครงการของ สํานักงานโครงการ และมีผู้จัดการโครงการ (Project Manager) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก รวมถึงการควบคุมงาน เป็นต้น

112 ข้อใดเป็นขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการที่เรียงลําดับถูกต้อง

(1) การส่งผลงาน การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(2) การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(3) การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การส่งผลงาน

(4) การตรวจรับงาน การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน

(5) การปิดโครงการ การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การตรวจการจ้าง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการ เรียงลําดับได้ดังนี้

1 การตรวจรับงาน

2 การปิดโครงการ

3 การตรวจการจ้าง

4 การส่งผลงาน

113 บันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด (1) การกําหนด TOR

(2) การวางแผนโครงการ

(3) การวิเคราะห์โครงการ

(4) การตัดสินใจลงทุนในโครงการ

(5) การดําเนินงานโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วงจรโครงการของภาคเอกชน มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดแนวคิดโครงการ

2 การวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการ 3 การดําเนินงานโครงการ

4 การยุติและส่งมอบโครงการ

114 ข้อความในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนเหมือนกับภาคเอกชน

(2) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

(3) แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

(4) โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน (5) นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างโครงการขององค์การภาครัฐกับภาคเอกชน มีดังนี้

1 วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

2 แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

3 โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน

4 นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ

5 โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนไม่เหมือนกับภาคเอกชน

115 ในการบริหารโครงการ ผู้บริหารควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ข้อจํากัดด้านเวลา

(2) ค่าใช้จ่าย

(3) คุณภาพของงาน

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

116 ข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) การบริหารโครงการต้องมีความยืดหยุ่นด้านเวลา

(2) การบริหารโครงการต้องกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน

(3) การบริหารโครงการต้องบูรณาการกับองค์การหลักที่เป็นเจ้าของโครงการ (4) ผู้บริหารโครงการต้องบริหารงานภายใต้วงเงินงบประมาณที่ได้รับ

(5) ผลผลิตของโครงการแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการบริหารหรือการจัดการโครงการต้องมีการกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน และผลผลิตของโครงการต้องแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ (ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ)

117 ข้อความใดที่ถูกต้อง

(1) งานโครงการมีบริบทคงที่ งานประจํามีบริบทยืดหยุ่น

(2) งานโครงการมีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก งานประจํามีลักษณะเฉพาะ

(3) งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว งานประจําค่อยเป็นค่อยไป

(4) งานโครงการเน้นประสิทธิภาพ งานประจําเน้นประสิทธิผล

(5) งานโครงการต่อเนื่องไม่สิ้นสุด งานประจํามีจุดเริ่มต้นและแล้วเสร็จ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างงานโครงการกับงานประจํา มีดังนี้

1 ขอบข่ายงาน งานโครงการจะมีลักษณะเฉพาะ ส่วนงานประจํามีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก

2 เวลา งานโครงการมีจุดเริ่มต้นและจุดเสร็จสิ้นโครงการแน่นอน ส่วนงานประจําต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

3 การเปลี่ยนแปลง งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่วนงานประจําค่อยเป็นค่อยไป

4 แนวโน้ม งานโครงการไม่คํานึงถึงความสมดุล ส่วนงานประจําคํานึงถึงความสมดุล

5 วัตถุประสงค์ งานโครงการเน้นที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง ส่วนงานประจําเน้นที่ความเท่าเทียมกัน

6 ทรัพยากร งานโครงการจํากัดตามวงเงินที่กําหนด ส่วนงานประจําเพิ่มเติมได้ถ้าจําเป็น

7 บริบท งานโครงการมีบริบทยืดหยุ่น ส่วนงานประจํามีบริบทคงที่

8 ผลลัพธ์ งานโครงการเน้นที่ประสิทธิผล ส่วนงานประจําเน้นประสิทธิภาพ

9 ทีมงาน งานโครงการประสานกันด้วยจุดมุ่งหมาย ส่วนงานประจําประสานกันด้วยบทบาท

118 วงจรโครงการของภาคเอกชน แบ่งออกเป็นงานสําคัญกี่ขั้นตอน

(1) 3 ขั้นตอน

(2) 4 ขั้นตอน

(3) 5 ขั้นตอน

(4) 6 ขั้นตอน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 113 ประกอบ

119 การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน กําหนดโดยผู้ใด

(1) เจ้าของกิจการ

(2) ผู้บริหารสูงสุด

(3) ผู้บริหารระดับกลาง

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน จะถูกกําหนดโดยเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งการกําหนดแนวคิดโครงการจะเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการ ของภาคเอกชน รวมถึงข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (Terms of Reference : TOR) ก็พัฒนามาจากแนวคิดโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของกิจการ

120 จุดศูนย์กลางของวงจรโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด

(1) การกําหนดแนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 119 ประกอบ

Advertisement