การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3300 การบริหารการคลัง

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 หนี้สาธารณะในข้อใดที่เกิดการผลักภาระให้แก่อนุชน

(1) หนี้ที่กู้จากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ

(2) หนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์

(3) หนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อโครงการลงทุน

(4) หนี้ที่เกิดจากการค้ําประกันรัฐวิสาหกิจ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-3309 หน้า 47) หนี้สาธารณะที่เกิดการผลักภาระให้แก่อนุชน มีดังนี้

1 หนี้ที่กู้จากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ 2 หนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์

3 หนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อโครงการลงทุน 4 หนี้ที่เกิดจากการค้ำประกันรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ

 

2 การใช้จ่ายของรัฐบาลมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลไกในข้อใด

(1) ดุลการค้า

(2) ดุลการชําระเงิน

(3) อุปสงค์มวลรวม

(4) เงินคงคลัง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 46 – 47) ปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามาช่วยในการ แก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำนี้โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดําเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลโดยรัฐบาล ซึ่งเป็นการทํางานของกลไกอุปสงค์มวลรวม

3 เพื่อไม่ให้การก่อหนี้สาธารณะเป็นข้อจํากัดของการพัฒนาประเทศ รัฐบาลควรคํานึงถึงหลักการใด

(1) ความสมดุลทางการคลัง

(2) ความเท่าเทียมทางการคลัง

(3) ความยั่งยืนทางการคลัง

(4) การกระจาย

(5) ความพอเพียง

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 43) เพื่อไม่ให้การก่อหนี้สาธารณะเป็นข้อจํากัดของการพัฒนาประเทศ รัฐบาลควรคํานึงถึงความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) ซึ่งมี เครื่องชี้วัดที่สําคัญ เช่น ภาระหนี้ต่างประเทศภาครัฐต่อรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio) เป็นต้น

4 ภาระหนี้ต่างประเทศภาครัฐต่อรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าและบริการ เรียกว่าอะไร

(1) Burden

(2) Deficit

(3) Debt Service Ratio

(4) Debt to GDP

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 ข้อใดไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ

(1) การท่าเรือแห่งประเทศไทย

(2) บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)

(3) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

(4) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด

(5) วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจในปัจจุบัน เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จํากัด องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย  ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น

 

6 บุคคลใดดํารงตําแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) รองนายกรัฐมนตรี

(3) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

(5) ปลัดกระทรวงการคลัง

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 50) คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ ประกอบด้วย

1 ประธานกรรมการ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

2 รองประธานกรรมการ ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

3 กรรมการ ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน

4 กรรมการและเลขานุการ ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ

7 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ มีวาระการดํารงตำแหน่งเท่าใด

(1) 2 ปี

(2) 3 ปี

(3) 4 ปี

(4) 5 ปี

(5) 6 ปี

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 3 ปี ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ต้องรายงานสถานะของหนี้สาธารณะต่อคณะรัฐมนตรี

8 คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะต้องรายงานสถานะของหนี้สาธารณะต่อผู้ใด

(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

(2) นายกรัฐมนตรี

(3) คณะรัฐมนตรี

(4) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

(5) อธิบดีกรมบัญชีกลาง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

9 ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ

(1) หนี้ของรัฐบาล

(2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

(3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน

(4) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 8, 45) หนี้สาธารณะ มีลักษณะดังนี้

1 หนี้ที่รัฐบาลกู้ตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ

2 หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ําประกันและไม่ค้ําประกัน แต่ไม่รวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐไม่ได้ค้ำประกัน

3 หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

10 การกู้เงินรายใหม่เพื่อชําระหนี้เดิม การแปลงหนี้ หรือการชําระหนี้ก่อนถึงกําหนดชําระ เรียกว่าอะไร

(1) การต่อสัญญาหนี้สาธารณะ

(2) การขยายอายุหนี้สาธารณะ

(3) การปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ

(4) การผ่อนผันหนี้สาธารณะ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้สาธารณะ มีดังนี้

1 เพื่อการพัฒนาประเทศ หรือเรียกว่า “หนี้ที่ก่อให้เกิดมูลค่าตอบแทน” (Reproductive Debt) เป็นการกู้เงินมาลงทุนในโครงการสาธารณะเพื่อพัฒนาประเทศให้เกิดความก้าวหน้า เช่น ร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบการคมนาคมของรัฐบาล

2 เพื่อการสงคราม หรือเรียกว่า “หนี้ที่ไม่สร้างสรรค์” (Dead Weigh Debt) เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตอะไร

3 เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือ การกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อและเงินฝืด

4 เพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุล คือ การกู้เงินมาเพื่อตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจําปี

5 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการชําระหนี้ คือ การกู้หนี้ใหม่มาชําระหนี้เก่า (Refinance) เช่น การกู้เงินที่ดอกเบี้ยถูกมาชําระหนี้เงินกู้ที่ดอกเบี้ยแพง ฯลฯ

11 กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะ คือข้อใด

(1) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2545

(2) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2546

(3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2547

(4) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548

(5) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2550

ตอบ 4 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ประกาศบังคับใช้ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

12 ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ

(1) ตั๋วเงินคลัง

(2) ตั๋วสัญญาใช้เงิน

(3) พันธบัตร

(4) บัตรเงินฝาก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ คือ

1 ตั๋วเงินคลัง 2 ตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 พันธบัตร

13 ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทย อยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร

(1) 10

(2) 15

(3) 20

(4) 40

(5) 60

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของ GDP

14 ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง

(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินหกเดือน

(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินสิบสองเดือน

(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป

(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบแปดเดือนขึ้นไป

(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ยี่สิบสี่เดือนขึ้นไป

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป

15 ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด

(1) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ

(2) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

(3) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ

(4) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ

(5) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กระทรวงการคลังกู้เงินได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

1 ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้

2 พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

3 ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ

4 ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ

5 พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

16 นักเศรษฐศาสตร์คนใดเสนอว่าภาระของหนี้สาธารณะเกิดขึ้นข้ามช่วงอายุของคน

(1) Tobin

(2) Ricardo

(3) Buchanan

(4) Stieglitz

(5) Schumpeter

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 47) James Buchanan เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอว่าภาระของหนี้สาธารณะเกิดขึ้นข้ามช่วงอายุของคน

17 พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะประกาศบังคับใช้ในรัฐบาลใด

(1) ชวน หลีกภัย

(2) ชวลิต ยงใจยุทธ

(3) ทักษิณ ชินวัตร

(4) อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

18 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปีใด

(1) ปี พ.ศ. 2542

(2) ปี พ.ศ. 2543

(3) ปี พ.ศ. 2544

(4) ปี พ.ศ. 2545

(5) ปี พ.ศ. 2546

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 48) สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2542 เป็นหน่วยงานภายใต้สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง

19 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ

(1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

(2) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม

(3) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง

(4) การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 54) บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ คือ

1 การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน 2 การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง

3 การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า

20 ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน

(1) เหรียญกษาปณ์

(2) เช็ค

(3) ตั๋วแลกเงิน

(4) บัตรเครดิต

(5) ศิลปวัตถุ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 54) เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น

21 คําในข้อใดหมายถึงนโยบายการเงิน

(1) Fiscal Policy

(2) Monetary Policy

(3) Financial Policy

(4) Public Policy

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 8, 54), (คําบรรยาย) นโยบายการเงิน (Monetary Policy)หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การกําหนดอัตราดอกเบี้ย การควบคุมการปล่อยสินเชื่อของ สถาบันการเงิน การควบคุมการให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน การออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆทางการเงิน เป็นต้น

22 การดําเนินนโยบายการเงินไม่มีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเรื่องใด

(1) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(2) เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ

(3) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

(4) การจ้างงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 54 – 55) การดําเนินนโยบายการเงินใด ๆ ก็ตามต่างก็มีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และ การจ้างงาน

23 ECB เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด

(1) ธนาคารกลางแห่งอังกฤษ

(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์

(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป

(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา

(5) ธนาคารกลางแห่งเอเชีย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 55) ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลกได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น

24 ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน

(1) การควบคุมปริมาณเงิน

(2) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย

(3) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ

(4) การเก็บภาษีศุลกากร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 55 – 56) เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ยและการควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ

25 หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย

(1) กระทรวงพาณิชย์

(2) กระทรวงการคลัง

(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(4) ธนาคารกรุงไทย

(5) คณะกรรมการนโยบายการเงิน

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 57 – 58) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้

1 ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร

2 กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย

3 บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย

4 เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน

5 กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน

6 บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ

26 ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน

(1) มุ่งหากําไรสูงสุด

(2) หลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดการเงิน

(3) มีอิสระจากฝ่ายการเมือง

(4) มีอํานาจเด็ดขาด

(5) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 55) หน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลนโยบายการเงิน ก็คือ การ ธนาคารกลาง ซึ่งมีลักษณะที่สําคัญที่สุดในการดําเนินนโยบายทางการเงิน คือ มีอิสระจากฝ่ายการเมืองนั้นเอง

27 ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

(1) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล

(2) นายประทิน สันติประภพ

(3) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

(4) นายวิรไท สันติประภพ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นายวิรไท สันติประภพซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

28 ธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปีใด

(1) ปี พ.ศ. 2480

(2) ปี พ.ศ. 2485

(3) ปี พ.ศ. 2490

(4) ปี พ.ศ. 2495

(5) ปี พ.ศ. 2500

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

29 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย

(1) ออกธนบัตร

(2) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย

(3) ผลิตเหรียญกษาปณ์

(4) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

30 ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร

(1) ร้อยละ 1.0 ต่อปี

(2) ร้อยละ 1.5 ต่อปี

(3) ร้อยละ 2.0 ต่อปี

(4) ร้อยละ 2.5 ต่อปี

(5) ร้อยละ 3.0 ต่อปี

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 ต่อปี ซึ่งยังคงเดิมไว้ตลอดทั้งปี 2561

31 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน

(1) เสถียรภาพและความมั่นคง

(2) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล

(3) การบริหารความเสี่ยงที่ดี

(4) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 60) เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินคือ

1 เสถียรภาพและความมั่นคง 2 การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล

3 การบริหารความเสี่ยงที่ดี 4 ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน

32 ความต้องการถือเงินของภาคครัวเรือน เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากข้อใด

(1) ความต้องการจับจ่ายใช้สอย

(2) การสร้างความมั่นคง

(3) การสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 54) เงินเป็นสิ่งสําคัญและมีบทบาทอย่างสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากลักษณะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของเงินนั่นเอง ซึ่งทําให้ภาคครัวเรือนเกิดความต้องการถือเงินเมื่อมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย

33 FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด

(1) ธนาคารกลางแห่งฝรั่งเศส

(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์

(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป

(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา

(5) ธนาคารกลางแห่งแอฟริกา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

34 ตามแนวคิดแบบสังคมนิยมเบ็ดเสร็จ กลไกในการจัดสรรทรัพยากร ได้แก่

(1) กลไกราคา

(2) การวางแผนจากส่วนกลาง

(3) ระบบสัมปทาน

(4) การวิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 1) แนวคิดแบบสังคมนิยมเบ็ดเสร็จ รัฐเท่านั้นที่มีหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรของสังคม รัฐใช้การวางแผนจากส่วนกลาง ประชาชนที่อยู่ในวัยทํางานล้วนเป็นลูกจ้างรัฐ ทํางานให้กับรัฐบาล

35 ข้อใดเป็น “นโยบายการเงิน”

(1) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย

(2) การควบคุมสินเชื่อ

(3) การกําหนดอัตราลดหย่อนภาษี

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

36 แนวคิดในการศึกษาการคลังสาธารณะที่ศึกษาเพื่อค้นหา “ระบบที่ควรจะเป็น” เรียกว่า

(1) Optimal Theory

(2) Normative Approach

(3) Positive Economic

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 1) แนวคิดในการศึกษาการคลังสาธารณะแบบ Normative Approach/Optimal Theory มีดังนี้

1 ศึกษากฎเกณฑ์ที่ทําให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อค้นหา “ระบบที่ควรจะเป็น”

2 ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ควรปรับระบบภาษีอากรเป็นเช่นใด ฯลฯ

37 ข้อใดเป็นสินค้าเอกชน

(1) ข้าว

(2) ถนน

(3) การอํานวยความยุติธรรม

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 2, 11 – 13) สินค้าเอกชน (Private Goods) เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค และแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ เป็นสินค้าและบริการที่ ประชาชนทุกคนสามารถซื้อมาใช้เป็นการส่วนตัวได้ โดยจะมีมูลค่าที่สามารถวัดได้ด้วยกลไก ราคา (Price Mechanism) คือ วัดด้วยปริมาณสินค้าและความต้องการบริโภคของคนทั่วไปเช่น ข้าว เป็นต้น

38 ความสามารถในการเสียภาษีของประชาชน พิจารณาได้จาก

(1) ความร่วมมือของประชาชน

(2) อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

(3) ความเป็นธรรมของระบบภาษี

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 3) ความสามารถในการเสียภาษีของประชาชน พิจารณาได้จากรายได้ประชาชาติ (National Income) อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และระดับการค้าขายระหว่างประเทศ

39 “เงินกองทุนน้ำมัน” เป็นภาษีลักษณะใด

(1) General Tax

(2) Earmarked Tax

(3) Corporate Income Tax

(4) Value-Added Tax

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 3 – 4) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะการใช้เงินภาษี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1 ภาษีเพื่อการใช้จ่ายทั่วไป (General Tax) เป็นภาษีอากรส่วนใหญ่ที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชนเพื่อนําเข้าเป็นงบประมาณรายได้ แล้วตั้งจ่ายไปตามงบประมาณรายจ่ายประจําปี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า ภาษีสรรพสามิต และภาษีศุลกากร เป็นต้น

2 ภาษีเพื่อการใช้จ่ายเฉพาะอย่าง (Earmarked Tax) เป็นภาษีอากรที่รัฐบาลจัดเก็บเป็นรายได้สําหรับใช้จ่ายในกิจการหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นการเฉพาะ มิได้นําเข้าเป็นงบประมาณรายได้สําหรับใช้จ่ายเป็นการทั่วไป เช่น เงินกองทุนน้ำมัน ภาษีประกันสังคม เป็นต้น

40 ภาษีประเภทใดที่มีลักษณะเป็นการจัดเก็บภาษีซ้ำ

(1) ภาษีทรัพย์สิน

(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(3) ภาษีสินค้าขาเข้า

(4) ภาษีเงินได้

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 6, 23) ฐานภาษีที่เกี่ยวกับความมั่งคั่ง พิจารณาจากรายได้หรือประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่บุคคลได้ครอบครองอยู่ มักเรียกว่า ภาษีทรัพย์สิน ซึ่งมี ลักษณะเป็นการจัดเก็บภาษีซ้ํา (Double Taxation)

41 ตัวอย่างของงบประมาณที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะกับการวางแผนวางโครงการของ หน่วยงาน

(1) Program Budget

(2) Zero-Base Budget

(3) Performance Budget

(4) Line-Item Budget

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 93 – 94, 97, 101 – 102), (คําบรรยาย)งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณ ตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับ หลักเหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตาม โครงสร้างแผนงานหรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่ จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับโครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการ วางแผนวางโครงการของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวบ่งชี้หรือวัดความสําเร็จตามเป้าหมาย ของแผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล และที่สําคัญระบบนี้จะต้องมีการ จัดทําแผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย

42 ระบบงบประมาณแบบใดให้ความสําคัญอย่างมากที่ “การจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย”

(1) Program Budget

(2) Zero-Base Budget

(3) Performance Budget

(4) Line-Item Budget

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 87 – 88, 90 – 92), (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้าน การควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัยนําเข้า” (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น ดังนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการ พิจารณาตามคู่มือการจําแนกประเภทหรือแบ่งแยกตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียมงบประมาณก็จะต้องมีการกําหนดยอด วงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Mudding Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย

43 ระบบงบประมาณแบบใดให้ความสําคัญที่ “การจําแนกเงินออกตามหน่วยงาน”

(1) Program Budget

(2) PPBS

(3) Performance Budget

(4) Line-Item Budget

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44 ระบบงบประมาณแบบใดที่ให้ความสําคัญที่การจัดทํา Program Structure และการวางแผนระยะยาว

(1) Program Budget

(2) PPBS

(3) Performance Budget

(4) Line-Item Budget

(5) Zero-Base Budget

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

45 การแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวด เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์……………….. เป็นการจําแนกงบประมาณที่เรียกว่า

(1) Agencies Classification

(2) Objective Classification

(3) Functional Classification

(4) Objects of Expenditure Classification

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

46 เทคนิคที่สําคัญของการจัดเตรียมงบประมาณแบบ PPBS ได้แก่

(1) Incrementalism

(2) Zero-Base Budget

(3) Program Analysis

(4) System Analysis

(5) ทั้งข้อ 3 และ 4

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

47 เทคนิคที่สําคัญของการกําหนดยอดวงเงินของงบประมาณแบบแสดงรายการ ได้แก่

(1) Incrementalism

(2) Zero-Base Budget

(3) Program Analysis

(4) System Analysis

(5) ทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

48 ใน “วงจรงบประมาณ” ข้อใดต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังสุด

(1) วงเงินงบประมาณ

(2) เงินจัดสรร

(3) เงินประจํางวด

(4) การเทียบราคากลาง

(5) การพิจารณาวาระที่ 1

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 7, 78 – 79, 83 – 85) เงินจัดสรร (Budget Allotment) หมายถึง เงินประจํางวดที่ได้รับอนุมัติแล้วยกมาตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด คลังอําเภอ หรือที่ กรมบัญชีกลาง โดยจะเป็นเครื่องมือของกรมบัญชีกลางในการควบคุมการเบิกจ่ายเงิน ซึ่งจะให้มี การเบิกจ่ายเฉพาะเมื่อถึงเวลาจะต้องจ่ายจริง และผู้บริหารหน่วยงานทําฎีกาอนุมัติเบิกจ่ายมาเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังสุดในวงจรงบประมาณ

49 ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Traditional Budget

(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Incrementalism

(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ

(3) มีคู่มือจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย

(4) ทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

50 ตามแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบเสรีนิยม “กิจกรรมที่เอกชนจัดทําแล้วประชาชนอาจเสียประโยชน์” ได้แก่

(1) บริการด้านสาธารณสุข

(2) บริการการป้องกันประเทศ

(3) การช่วยเหลือคนว่างงาน

(4) กิจการไฟฟ้า

(5) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 72) กิจกรรมบางอย่างรัฐจะต้องเข้าไปควบคุมมาตรฐานเพื่อความถูกต้องเหมาะสม เพราะถ้าปล่อยให้เอกชนจัดทําโดยเสรีแล้วอาจทําให้ประชาชน เสียประโยชน์ได้ เช่น บริการด้านการศึกษา (การจัดการศึกษาภาคบังคับ) บริการด้านสาธารณสุข (การป้องกันโรคติดต่อ การให้ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขขั้นมูลฐาน) เป็นต้น

51 ปัจจัยสําคัญที่จะสนับสนุนการหดตัวของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่

(1) ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

(2) การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ

(3) การเพิ่มราคาขายปลีกน้ํามัน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะสนับสนุนหรือมีผลต่อการหดตัวของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่

1 ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

2 การลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ

3 การเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมัน

4 การเพิ่มอัตราภาษีอากร ฯลฯ

52 เครื่องมือในการควบคุมให้ส่วนราชการต่าง ๆ ใช้จ่ายงบประมาณของตนได้ทันปีงบประมาณ

(1) ยอดวงเงิน

(2) เงินประจํางวด

(3) เงินจัดสรร

(4) คู่มือจําแนกประเภทและชนิดการใช้จ่าย

(5) การตรวจการจ้าง

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 84 – 85) เงินประจํางวด (Apportionment) หมายถึงเงินที่จะจัดสรรให้กับส่วนราชการหนึ่ง ๆ ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งในกรณีของประเทศไทย การกําหนดระยะเวลาของเงินประจํางวดนั้นจะเป็นอํานาจของสํานักงบประมาณ โดยจะมีการ ใช้เงินประจํางวดเป็นเครื่องมือในการบริหารงบประมาณเพื่อควบคุมส่วนราชการต่าง ๆ ให้ปฏิบัติงานตามแผนที่กําหนด และสามารถนําเงินไปใช้ตามแผนงานได้ตลอดปีงบประมาณ

53 วิธีการงบประมาณแบบใดที่ให้ความสําคัญกับ “Inputs” ของหน่วยงาน

(1) แบบแผนงาน

(2) แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

(3) แบบโครงการ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

54 ข้อใดเป็นคุณสมบัติของ “งบประมาณแผ่นดิน”

(1) เป็นกฎหมาย

(2) เป็นเงื่อนไขการเป็นรัฐบาล

(3) เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 63 – 66), (คําบรรยาย) คุณสมบัติหรือลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดินซึ่งแตกต่างจากงบประมาณเอกชน มีดังนี้

1 เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงินได้ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่ประมาณการ เอาไว้ก็ได้

2 เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ

3 เป็นเครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สําคัญของงบประมาณแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ

5 การกําหนดรายรับ มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ

6 มีกระบวนการจัดทํางบประมาณที่มีลักษณะกระจายอํานาจ

7 ลักษณะการเป็นเจ้าของ โดยมีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง

8 มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา

9 การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

55 ข้อแตกต่างระหว่างงบประมาณเอกชนกับงบประมาณแผ่นดิน ได้แก่

(1) เป็นแผนทางการเงิน

(2) เป็นกฎหมาย

(3) วิธีการจัดหารายได้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

56 ระยะเวลาของการ “ใช้จ่ายเงินตามที่กําหนดไว้ในปีงบประมาณ” เรียกว่า

(1) การควบคุม

(2) การบริหารงบประมาณ

(3) การอนุมัติงบประมาณ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 83), (คําบรรยาย) การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณคือ ระยะเวลาของการใช้จ่ายเงินตามที่กําหนดไว้ในปีงบประมาณ ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ที่จะต้องหาหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อควบคุมให้การใช้จ่ายเงินของโครงการต่าง ๆ เป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

57 ทุกข้อจัดเป็น “เงินนอกงบประมาณแผ่นดิน” ยกเว้น

(1) เงินรายได้ของกองทุนหมุนเวียน

(2) งบรายได้ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

(3) งบประมาณของเทศบาล

(4) งบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

(5) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 7) เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าซึ่งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหามาได้เองด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นเงินที่แยกออกจากความเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ (เช่น งบประมาณของ ขสมก.) เงินช่วยเหลือ จากต่างประเทศ เงินกู้ยืมทั้งในและต่างประเทศ งบประมาณของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (ได้แก่ งบประมาณของ อบต. อบจ. เทศบาล กทม. และเมืองพัทยา) งบรายได้ (เงินรายได้)ของสถาบันการศึกษา และงบรายได้ (เงินรายได้) ของสถาบันสาธารณสุข

58 ลักษณะที่เรียกว่าเป็น “ศูนย์รวมเงิน” ได้แก่

(1) ดําเนินการภายใต้กฏข้อบังคับเดียวกัน

(2) การจัดเตรียมถูกรวบรวมโดยสํานักงบประมาณ

(3) อนุมัติเพียงครั้งเดียวในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 67), (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะเป็น“ศูนย์รวมเงิน” ของเผ่นดิน หมายความว่า ในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ จะต้องมีการบูรณาการ แผนทางการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ ให้เป็นแผนเดียวกัน มีการอนุมัติงบประมาณเพียง ครั้งเดียว และไม่มีการจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม โดยกระบวนการงบประมาณของ ส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องดําเนินไปภายใต้กฎข้อบังคับเดียวกัน ใช้บทบัญญัติเดียวกัน และมีสถาบันหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในขั้นตอนต่าง ๆ ของการบริหารงบประมาณเดียวกัน

59 ตามรัฐธรรมนูญรอบของการ “อนุมัติ” งบประมาณแผ่นดินของไทย มีระยะเวลาประมาณกี่เดือน

(1) 2 เดือน

(2) 4 เดือน

(3) 6 เดือน

(4) 8 เดือน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 78 79) ระยะเวลาของการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆเกี่ยวกับงบประมาณเผ่นดิน เรียกว่า วงจรงบประมาณ (Budget Cycle) ซึ่งถือเป็นช่วงเวลา ที่ยาวนานที่สุด โดยวงจรงบประมาณของประเทศไทยนั้นจะใช้เวลาประมาณ 22 เดือน ประกอบด้วยกิจกรรมหรือการกระทํา 3 ขั้นตอน คือ การจัดเตรียมประมาณ 6 – 7 เดือน การอนุมัติประมาณ 3 – 4 เดือน และการควบคุมหรือการบริหารเป็นเวลา 12 เดือน

60 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีวงเงินประมาณเท่าไร

(1) 1.8 ล้านล้านบาท

(2) 2.7 ล้านล้านบาท

(3) 2.9 ล้านล้านบาท

(4) 12.7 ล้านล้านบาท

(5) 22.3 ล้านล้านบาท

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลได้ดําเนินนโยบายการจัดทํางบประมาณแบบขาดดุลโดยได้กําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจํานวน 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดยที่มีรายการในส่วนของรายจ่ายประจําและรายจ่ายลงทุนมีจํานวนลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน และมีวงเงินขาดดุลเป็นจํานวน 450,000 ล้านบาท

61 “กรมบัญชีกลาง” เป็นหน่วยงานในสังกัดใด

(1) สํานักนายกรัฐมนตรี

(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(3) กระทรวงการคลัง

(4) เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

(5) ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) กรมบัญชีกลาง เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่ดําเนินเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ด้านการเงินการคลังและการบัญชีรวมทั้งระบบการตรวจสอบภายในของส่วนราชการเพื่อให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ เป็นต้น

62 ที่เรียกว่า “Cost-push Inflation” เกิดจาก

(1) ความต้องการบริโภคมีมาก

(2) น้ำมันขึ้นราคา

(3) มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การที่ปริมาณเงินในมือของประชาชนน้อย แต่ราคาสินค้าแพงขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจากปัญหาเงินเฟ้อด้านอุปทาน คือ เกิดจากต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น (Cost-push Inflation) เช่น น้ํามันขึ้นราคา มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะวัตถุดิบและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิตมีราคาแพง จึงทําให้ผู้ผลิตจําเป็นจะต้องเพิ่มราคาสินค้าและบริการขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นควรใช้มาตรการเพื่อแก้ปัญหา ดังนี้ 1 ลดอัตราภาษีสําหรับวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เช่น การลดราคาน้ำมัน

2 ลดอัตราภาษีสินค้าสําเร็จรูป

3 จัดหาแหล่งเงินกู้ให้เอกชนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ฯลฯ

63 สถาบันที่ทําหน้าที่ “กําหนดระยะเวลาของเงินประจํางวด”

(1) กรมบัญชีกลาง

(2) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(4) สํานักนายกรัฐมนตรี

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

64 หลักที่ว่างบประมาณแผ่นดินต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน หมายความว่าอย่างไร

(1) งบประมาณอาจกําหนดให้ 1 ปีงบประมาณมีระยะเวลา 24 เดือนก็ได้

(2) ปีงบประมาณอาจเริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้ แต่ต้องมีระยะเวลาแน่นอน

(3) ปีงบประมาณต้องเท่ากันกับบปฏิทินเสมอ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 68), (คําบรรยาย) หลักที่ว่า “งบประมาณแผ่นดินต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน” หมายความว่า งบประมาณอาจกําหนดให้ 1 ปีงบประมาณมีระยะเวลา 6 เดือน 1 ปี (12 เดือน) หรือ 2 ปี (24 เดือน) ก็ได้ แต่จะต้องเป็นเช่นนั้นทุก ๆ ปี และอาจจะ เริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้

65 ลักษณะในการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินโดยหลักการแล้ว

(1) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการขายสินค้าและบริการ

(2) รายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย

(3) สามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ

(4) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากร

(5) ทั้งข้อ 2 และ 4

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 65) ลักษณะการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินนั้น โดยหลักการแล้วสามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับได้ เนื่องจากรัฐบาล มีแหล่งของรายรับที่กว้างขวาง และมีอํานาจในการออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีอากรจาก ประชาชนและก่อหนี้สาธารณะ ในขณะที่เอกชนจะมีรายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย เพราะ เอกชนมีแหล่งรายรับที่จํากัด และขึ้นอยู่กับความสามารถในการหารายได้จากการขายสินค้าและบริการของตนเป็นสําคัญ

66 ข้อใดไม่ใช่แหล่งรายรับของรัฐบาล

(1) ภาษีอากร

(2) เงินคงคลัง

(3) เงินกู้ของรัฐบาลจากต่างประเทศ

(4) ดอกเบี้ย

(5) การขายหุ้นของรัฐบาล

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-5300 หน้า 17) แหล่งรายรับของรัฐบาล ได้แก่ ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ การกู้เงิน การใช้เงินคงคลัง และอื่น ๆ เช่น การขายหุ้น เป็นต้น

67 ภาษีในข้อใดไม่จัดเป็นภาษีทางตรง

(1) ภาษีมรดก

(2) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(4) ภาษีน้ำมัน

(5) ภาษีทรัพย์สิน

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 19) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1 ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้หรือผลักภาระได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก เป็นต้น

2 ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ ภาษีการขายทั่วไป ภาษีการใช้จ่ายอากรมหรสพ ค่าใบอนุญาต เป็นต้น

68 ภาษีศุลกากรจัดเป็นภาษีประเภทใด

(1) ภาษีทางอ้อม

(2) ภาษีทางตรง

(3) ภาษีบาป

(4) ภาษีมูลฐาน

(5) ภาษีต้องห้าม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

69 ค่าของกลางที่ยึดมาจากคดีจัดเป็นรายได้ประเภทใดของรัฐ

(1) รายได้จากภาษีอากร

(2) รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ

(3) รายได้จากรัฐพาณิชย์

(4) รายได้จากเงินคงคลัง

(5) รายได้จากรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 20) รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ เป็นรายได้ที่เกิดจากการบริหารงานของรัฐบาล เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าบริการ ค่าเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าของกลางที่ยึดมาจากคดีต่าง ๆ เป็นต้น

70 ข้อใดเป็นลักษณะของภาษีทางอ้อม

(1) ผู้เสียภาษีเป็นผู้รับภาระภาษี

(2) มีผลต่อผู้ชําระภาษีโดยตรง

(3) จัดเก็บจากฐานรายได้

(4) ผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้

(5) ไม่เพิ่มต้นทุนสินค้า

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

71 ผลกําไรจากการค้าขาย เป็นฐานภาษีของภาษีชนิดใด

(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(2) ภาษีศุลกากร

(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

(4) ภาษีการขาย

(5) ภาษีสรรพสามิต

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 4 – 6) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (รายได้) เป็นการนําเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภาษีบุคคลธรรมดา) มี “เงินได้หรือรายได้สุทธิ” เป็นฐานภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภาษีนิติบุคคล) มี “กําไรสุทธิ” เป็นฐานภาษีภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สินมี “มูลค่าเพิ่ม” เป็นฐานภาษี เป็นต้น

2 ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน เป็นการนําเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมรดก ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นต้น

3 ภาษีที่เก็บจากโภคภัณฑ์ เป็นการนําเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐาน ในการประเมินภาษี เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร (มี “มูลค่าการนําเข้า” เป็นฐานภาษี) ภาษีการค้า ภาษีการขาย ภาษีการใช้จ่าย เป็นต้น

72 โครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย มีลักษณะอย่างไร

(1) โครงสร้างแบบถดถอย

(2) โครงสร้างแบบสัดส่วน

(3) โครงสร้างแบบพื้นฐาน

(4) โครงสร้างแบบเร่งรัด

(5) โครงสร้างแบบก้าวหน้า

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 23) โครงสร้างอัตราภาษีแบบก้าวหน้า หมายถึง อัตราภาษีส่วนเพิ่มมีค่าสูงกว่าอัตราภาษีโดยเฉลี่ย เช่น โครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย เป็นต้น

73 สินค้าในข้อใดไม่ใช่สินค้าสาธารณะที่สมบูรณ์

(1) ห้องสมุดสาธารณะ

(2) การดําเนินนโยบายต่างประเทศ

(3) การป้องกันประเทศ

(4) การทําความสะอาดถนนสาธารณะ

(5) การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 2, 11 – 13) สินค้าสาธารณะ (Collective Goods หรือ Public Goods) หรือสินค้าที่ไม่อาจแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ คือ สินค้าและบริการ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปการสาธารณูปโภคที่มีประโยชน์ต่อคนส่วนรวม ไม่เป็นปรปักษ์ในการ บริโภค ซึ่งรัฐเป็นผู้ดําเนินการโดยอาศัยกฎหมายและรายได้จากภาษีอากรของประชาชน เป็นสินค้าและบริการที่มุ่งอรรถประโยชน์สูงสุดของระบบเศรษฐกิจ และไม่อาจใช้กลไกราคา เป็นเครื่องวัดมูลค่าได้ เช่น บริการป้องกันประเทศ บริการรักษาความสงบภายใน การสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การอํานวยความยุติธรรม การควบคุมน้ําท่วม การจัดแสงสว่าง ในทางเดินสาธารณะ การดําเนินนโยบายต่างประเทศ การทําความสะอาดถนนสาธารณะการควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

74 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของสินค้าสาธารณะ

(1) ไม่สามารถกีดกันผู้อื่นไม่ให้ใช้สินค้านั้นได้

(2) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค

(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า

(4) ใช้กลไกราคากีดกันผู้อื่นในการใช้สินค้านั้นได้

(5) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75 รายได้จากภาษีสามารถคิดได้จากสิ่งใด

(1) จํานวนภาษีคูณด้วยฐานภาษี

(2) จํานวนผู้เสียภาษีคูณด้วยอัตราภาษี

(3) อัตราภาษีคูณด้วยโครงสร้างภาษี

(4) ฐานภาษีคูณด้วยอัตราภาษี

(5) โครงสร้างภาษีคูณด้วยฐานภาษี

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 23) อัตราภาษี หมายถึง อัตราที่กฎหมายภาษีอากรฉบับนั้นกําหนดให้เสียค่าภาษีอากรตามที่ระบุไว้ในกฎหมายภาษีอากร ในการกําหนดว่ารายได้ภาษีจากภาษีจะมีมูลค่าเท่าใด สามารถคํานวณได้จากฐานภาษีคูณด้วยอัตราภาษี

76 Free-Rider Problem คือปัญหาในลักษณะใด

(1) การมีผู้บริโภคแย่งกันบริโภคสินค้าสาธารณะจํานวนมาก

(2) การได้รับประโยชน์จากการที่บางคนยอมจ่ายเงินเพื่อให้มีสินค้าโดยที่ตนเองไม่ยอมจ่าย

(3) การรอรับประโยชน์และความช่วยเหลือจากภาครัฐโดยไม่ยินยอมจ่ายเงินใด ๆ

(4) การแก่งแย่งกันในการเข้าใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการสาธารณะ

(5) การเข้าใช้สินค้าสาธารณะจนทําให้บุคคลอื่นที่เข้าใช้ไม่ทันไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 12) ปัญหาการบริโภคโดยไม่จ่าย (Free-Rider Problem) คือ ปัญหาในลักษณะการได้รับประโยชน์จากการที่บางคนยอมจ่ายเงินเพื่อให้มีสินค้าและบริการโดยที่ตนเองไม่ยอมจ่าย

77 กลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสมกับการนํามาจัดบริการสาธารณะแบบแท้ คือกลไกในข้อใด

(1) ใช้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมมาสนับสนุนการจัดบริการ

(2) ใช้การจัดเก็บค่าใช้บริการมาสนับสนุนการจัดบริการ

(3) ใช้ภาษีมาสนับสนุนการจัดบริการ

(4) ใช้เงินกู้มาสนับสนุนการจัดบริการ

(5) ใช้เงินคงคลังมาสนับสนุนการจัดบริการ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 21) กลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสมกับการนํามาจัดบริการสาธารณะแบบแท้ คือใช้ภาษีมาสนับสนุนการจัดบริการ ซึ่งภาษีเป็นเครื่องมือหลักในการ แลกเปลี่ยนระหว่างรัฐและเอกชน มีลักษณะดังนี้

1 ประชาชนแสดงความต้องการผ่านเวทีสาธารณะ ประชาชนเลือกตั้งรัฐบาลเข้ามาเป็นตัวแทนในการจัดบริการสาธารณะที่ต้องการ

2 รัฐนําเงินภาษีมาจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชนทุกคนโดยไม่เก็บค่าบริการ

3 รัฐเก็บภาษีจากประชาชนทุกคนเป็นการทั่วไปตามความสามารถในการเสียภาษี

78 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของตลาดภาครัฐที่ใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐและเอกชน

(1) ประชาชนเลือกตั้งรัฐบาลเข้ามาเป็นตัวแทนในการจัดบริการสาธารณะที่ต้องการ

(2) ประชาชนแสดงความต้องการผ่านเวทีสาธารณะ

(3) รัฐนําเงินภาษีมาจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชนทุกคนโดยไม่เก็บค่าบริการ

(4) รัฐจํากัดการให้บริการสาธารณะโดยใช้กลไกราคามาเป็นเครื่องมือ

(5) รัฐจัดเก็บภาษีจากประชาชนทุกคนเป็นการทั่วไปตามความสามารถในการเสียภาษี

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

79 ฐานภาษีที่เกี่ยวกับความมั่งคั่งพิจารณาจากสิ่งใด

(1) รายได้ของบุคคล

(2) ผลกําไรของบริษัท

(3) รายได้จากทรัพย์สินที่ครอบครองอยู่

(4) การบริโภค

(5) การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

80 ภาษีมรดกมีวิธีการประเมินภาษีอย่างไร

(1) ประเมินตามจํานวน

(2) ประเมินตามการใช้จ่าย

(3) ประเมินตามผลกําไร

(4) ประเมินตามปริมาณ

(5) ประเมินตามมูลค่า

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

81 คํากล่าว “Taxes are the price of Democracy” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งใด

(1) ภาษีกับกลไกราคา

(2) ภาษีกับประชาธิปไตย

(3) ภาษีกับการใช้จ่าย

(4) การใช้จ่ายในระบอบประชาธิปไตย

(5) การใช้จ่ายกับภาระภาษี

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 24) หลักการจัดเก็บภาษีในระบอบประชาธิปไตยประชาชนต้องจ่ายภาษีให้กับรัฐเพื่อนําไปใช้จัดบริการสาธารณะต่าง ๆ ให้กับตน ดังคํากล่าว “Taxes are the price of Democracy” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาษีกับประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี

82 ภาษีที่ทํารายได้ให้กับภาครัฐมีลักษณะอย่างไร

(1) ฐานภาษีแคบ ทํารายได้ได้มาก

(2) ฐานภาษีแคบ ขยายตัวได้เร็ว

(3) ฐานภาษีเหมาะสม ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

(4) ฐานภาษีกว้าง ขยายตัวได้เร็ว

(5) ฐานภาษีกว้าง ขยายตัวได้ช้า

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 24) ภาษีที่ดีควรเป็นภาษีที่สามารถทํารายได้ให้กับรัฐได้ เช่น เป็นภาษีที่มีฐานภาษีกว้าง รวมถึงการขยายตัวได้รวดเร็วตามความเจริญเติบโตของ เศรษฐกิจประเทศ ซึ่งจะทําให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นจากภาษีอากรโดยไม่ต้องเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีจากประชาชน

83 ภาษีที่จัดเก็บจากประชาชนต้องได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ เป็นหลักการพื้นฐานในการ จัดเก็บภาษีเรื่องใด

(1) การทํารายได้ที่พอเพียง

(2) หลักความยินยอมของประชาชน

(3) หลักความแน่นอน คงเส้นคงวา

(4) หลักความเสมอภาค

(5) หลักความไม่ซับซ้อน

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 25) หลักความยินยอมของประชาชน ภาษีทุกชนิดที่จัดเก็บจากประชาชนต้องได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ จึงจะทําให้การบริหารการจัดเก็บภาษีทําได้ง่ายขึ้น

84 การเปลี่ยนแปลงภาษีบ่อย ๆ ไม่มีความแน่นอน คงเส้นคงวา อาจส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ในข้อใด

(1) การยินยอมเสียภาษีโดยสมัครใจ

(2) การยินยอมเสียภาษีในสภาวะจํายอม

(3) การยินยอมเสียภาษีด้วยความเกรงกลัว

(4) การต่อต้านภาษี

(5) การทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 26) การเปลี่ยนแปลงภาษีบ่อย ๆ ไม่มีความแน่นอนคงเส้นคงวา อาจส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์การต่อต้านภาษี (Tax Revolt) ขึ้นได้

85 หลักการที่ว่า “ผู้ที่มีรายได้เท่ากันต้องเสียภาษีเท่ากัน” เป็นหลักความเสมอภาคในรูปแบบใด

(1) หลักความเสมอภาคตามแนวนอน

(2) หลักความเสมอภาคในแนวตั้ง

(3) หลักความเสมอภาคในแนวดิ่ง

(4) หลักความเสมอภาคภายใน

(5) หลักความเสมอภาคเชิงเปรียบเทียบ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 26) หลักความเสมอภาคตามแนวนอน (Horizontal Equity) มีสาระสําคัญว่า ผู้ที่มีรายได้เท่ากันต้องเสียภาษีเท่ากัน

86 สาเหตุในข้อใดทําให้เกิดความซับซ้อนในระบบภาษี

(1) การจัดเก็บภาษีโดยหน่วยงานเดียว

(2) การมีโครงสร้างภาษีทางตรงในสัดส่วนที่สูง

(3) การจัดเก็บภาษีอัตราเดียวกันทั่วประเทศ

(4) การมีข้อลดหย่อนทางภาษีไม่มาก

(5) การจัดเก็บภาษีร่วมกัน

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 26) ความซับซ้อนของระบบภาษีและการหารายได้ของรัฐอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น รัฐบาลจัดเก็บภาษีหลายประเภท หลายอัตรา มีข้อลดหย่อนที่ซับซ้อน หรือมีโครงสร้างภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูง และมีการจัดเก็บภาษีร่วมกัน

87 ภาษีที่เป็นกลาง (Neutral) มีลักษณะอย่างไร

(1) ไม่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจทางการเมืองของบุคคล

(2) ไม่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจทางสังคมของบุคคล

(3) ไม่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของบุคคล

(4) ไม่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของบุคคล

(5) ไม่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ภาษีที่เป็นกลาง (Neutral) คือ การไม่มีอิทธิพลของภาษีต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ หรือการไม่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของบุคคล

88 พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย

(1) การเสียภาษีโดยภาระจํายอม

(2) การเสียภาษีโดยสมัครใจ

(3) การเลี่ยงภาษี

(4) การหนีภาษี

(5) การต่อต้านภาษี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 27) พฤติกรรมการเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance)เป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย และส่งผลโดยตรงให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

89 กรมสรรพากรไม่ได้จัดเก็บภาษีชนิดใด

(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

(4) ภาษีนําเข้า-ส่งออก

(5) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 30) กรมสรรพากร ทําหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรดังนี้

1 ภาษีเงินได้ (ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล)

2 ภาษีการค้าภายในหรือภาษีการขายทั่วไป

3 อากรมหรสพ

4 อากรแสตมป์

5 อากรรังนกอีแอ่น

6 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

7 ภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยทางเครื่องบิน

8 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

90 บุคคลใดไม่มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต

(1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรม

(2) ผู้ประกอบกิจการให้คําปรึกษา

(3) ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ

(4) ผู้นําเข้ารถยนต์

(5) เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 38) บุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต มีดังนี้

1 ผู้ประกอบอุตสาหกรรม

2 ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ

3 ผู้นําเข้าซึ่งสินค้า เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

4 เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน

5 ผู้ดัดแปลงรถยนต์ ฯลฯ

91 เอกสารที่ใช้เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้า/บริการ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ คือเอกสารชนิดใด

(1) บิลเงินสด

(2) ใบสําคัญรับเงิน

(3) ใบกํากับภาษี

(4) ใบเสร็จรับเงิน

(5) ใบส่งของ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 36) ใบกํากับภาษี คือ เอกสารที่ใช้เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้า/บริการ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ

92 นางสาวมีนาเป็นเจ้าของบริษัท มีนาสไตล์ จํากัด ประกอบธุรกิจจําหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่น ส่งจําหน่ายภายในประเทศ นอกจากนี้นางสาวมีนายังมีรายได้จากการให้เช่าคอนโดมิเนียมชื่อดังใจกลางกรุงเทพมหานครอีก หนึ่งทาง นางสาวมีนาต้องเสียภาษีชนิดใด

(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีศุลกากร

(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีศุลกากร

(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีสรรพสามิต

(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงอย่างเดียว

(5) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 30, 33 – 35) ภาษีเงินได้ (Income Tax)แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีเงินได้ที่เก็บจากบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีเงินได้ที่เก็บจากบริษัทจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล บริษัทมหาชนจํากัด มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ และกิจการอื่น ๆ ที่กําหนดตามประมวลรัษฎากร

93 เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใด

(1) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน

(2) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม

(3) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม

(4) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม

(5) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 31) เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลใด ๆที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีใด ๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี

94 ข้อใดไม่ใช่เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

(1) เงินเดือน

(2) เงินบํานาญ

(3) เงินค่าจ้าง

(4) เบี้ยประชุม

(5) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 31) เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น

1 เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ

2 เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า

3 เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง ฯลฯ

95 นายมหาเศรษฐีไม่ประกอบอาชีพใด ๆ แต่มีรายได้จากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทอภิมหึมามหาทรัพย์นายมหาเศรษฐีต้องเสียภาษีใดหรือไม่

(1) ไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากไม่ได้ประกอบอาชีพ

(2) ไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากเงินปันผลไม่ได้เกิดจากการจ้างแรงงาน

(3) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเนื่องจากเงินปันผลจัดเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร

(4) เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเนื่องจากเป็นรายได้จากบริษัท ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล

(5) เสียทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 32) เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผลเงินส่วนแบ่งกําไร เงินสดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนหุ้น ไม่ว่าจะเป็น 1 เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกําไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม 2 เงินโบนัสที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ดูคําอธิบายข้อ 92. และ 93. ประกอบ)

96 บุคคลในข้อใดมีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ตามประมวลรัษฎากร

(1) นายอนาวิลเป็นผู้รับเหมาสร้างโครงการบ้านจัดสรรรายใหญ่

(2) นางสาวอนีญาเป็นศัลยแพทย์ประจําโรงพยาบาลจังหวัดภูเก็ต

(3) นายอัจฉริยะเป็นทนายความชื่อดังรับว่าความทั่วราชอาณาจักร

(4) นางอัจฉราเป็นนายหน้าขายประกันวินาศภัย

(5) นายอนาทรเป็นสถาปนิกชื่อดังแห่งบริษัทอินดีไซน์

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 32) เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้ ไม่ว่าจะเป็น 1 ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด

2 เงินอุดหนุนในงานที่ทํา เบี้ยประชุม บําเหน็จ โบนัส ฯลฯ

97 นายอันดาเป็นนักแต่งเพลงอิสระ รายได้หลักมาจากการขายลิขสิทธิ์เพลง นายอันดาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากมีเงินได้พึงประเมินประเภทใดตามประมวลรัษฎากร

(1) เงินได้ประเภทที่ 1

(2) เงินได้ประเภทที่ 2

(3) เงินได้ประเภทที่ 3

(4) เงินได้ประเภทที่ 4

(5) เงินได้ประเภทที่ 5

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 32) เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรมนิติกรรมอย่างอื่น หรือคําพิพากษาของศาล

98 สินค้าที่บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ต้องเสียภาษีชนิดใด

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ภาษีศุลกากร

(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

(4) ภาษีสรรพสามิต

(5) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 38) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสีย ต่อสุขภาพ และศีลธรรมอันดีงาม มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับ ผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ

99 สินค้าและบริการที่รัฐควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ควรมีลักษณะอย่างไร

(1) Price-Excludable

(2) Non-Rival Consumption

(3) Zero Marginal Cost

(4) Common Consumption

(5) Non-Excludable

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 40) สินค้าและบริการสาธารณะที่รัฐควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ควรมีลักษณะดังนี้

1 Price-Excludable คือ เลือกซื้อได้ตามความต้องการของแต่ละคน

2 Rival – Consumption คือ ประโยชน์จากการบริโภคเกิดขึ้นเฉพาะตัวและการบริโภคส่งผลให้ประโยชน์ของสินค้าลดลง

3 Non-Zero Marginal Cost คือ ต้นทุนการจัดบริการเพิ่มขึ้นเมื่อมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น

 

100 การจัดบริการของรัฐที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสังคม ควรมีแนวทางในการกําหนดอัตราค่าบริการอย่างไร

(1) กําหนดอัตราค่าบริการตามกลไกตลาด

(2) กําหนดอัตราค่าบริการตามสภาวะเศรษฐกิจ

(3) กําหนดอัตราค่าบริการในระดับเดียวกันกับต้นทุนทางบัญชี

(4) กําหนดอัตราค่าบริการสูงกว่าต้นทุนทางบัญชี

(5) กําหนดอัตราค่าบริการตํากว่าต้นทุนทางบัญชี

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-3300 หน้า 42), (คําบรรยาย) กรณีการจัดบริการของรัฐก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม รัฐควรกําหนดอัตราค่าบริการต่ํากว่าต้นทุนทางบัญชีและจัดสรร เงินอุดหนุนชดเชยส่วนที่ขาดทุน แต่ถ้าการจัดบริการของรัฐก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสังคม รัฐควรกําหนดอัตราค่าบริการสูงกว่าต้นทุนทางบัญชีและนําเงินส่วนที่ต่างไปอุดหนุนชดเชย ผู้ที่ได้รับความเสียหาย

Advertisement