การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 การก่อตั้งเกิดเป็นระบบรัฐชาติสมัยใหม่มีต้นกําเนิดจากข้อใด

(1) สนธิสัญญาปารีส

(2) สนธิสัญญาแวร์ซายส์

(3) สนธิสัญญากรุงโรม

(4) สนธิสัญญาเวียนนา

(5) สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย

ตอบ 5 หน้า 11, (คําบรรยาย) พัฒนาการของรัฐชาติสมัยใหม่เกิดขึ้นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 เพื่อยุติสงคราม 30 ปี ซึ่งส่งผลทําให้ เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก และนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้รัฐแยกตัวเป็นอิสระจากศาสนจักรและมีอํานาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง

2 หนังสือเรื่อง Leviathan เป็นผลงานของใคร

(1) วอลแตร์

(2) จอห์น ล็อค

(3) โธมัส ฮอบส์

(4) คาร์ล มาร์กซ์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) ผลงานของนักคิดทางการเมือง มีดังนี้

1 มาเคียเวลลี (Machiavelli) เขียนหนังสือเรื่อง “The Prince”

2 โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เขียนหนังสือเรื่อง “Leviathan”

3 รุสโซ (Rousseau) เขียนหนังสือเรื่อง “Social Contract” หรือ “สัญญาประชาคม

4 คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx) เขียนหนังสือเรื่อง “The Communist Manifesto”

  1. ฮันติงตัน (Hantington) เขียนหนังสือเรื่อง “The Clash of Civilization” หรือ“การปะทะทางอารยธรรม”

3 รัฐชาติใดเป็นชาติแรกที่ไม่ได้ปกครองด้วยระบบกษัตริย์/เจ้า

(1) รัสเซีย

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) จีน

(5) ตุรกี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข P-2200-2 หน้า 67), (คําบรรยาย) การปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 ถือเป็นเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดประเทศใหม่ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ยึดมั่นในเสรีภาพและ ความเสมอภาคของบุคคล โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกานี้ถือเป็นชาติแรกที่ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์

4 ช่วงเวลาใดเกิดขึ้นก่อนข้ออื่น ๆ

(1) การปฏิรูปศาสนา

(2) การปฏิรูปวัฒนธรรม

(3) การฟื้นฟูการค้า

(4) อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

(5) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ตอบ 4 หน้า 10 จากโจทย์สามารถลําดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากก่อนไปหลังได้ดังนี้คืออาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ การปฏิรูปศาสนา การปฏิรูปวัฒนธรรมและการฟื้นฟูการค้า

5 สงครามใดไม่เกี่ยวข้องกับสงครามเย็น

(1) สงครามติมอร์

(2) สงครามเกาหลี

(3) สงครามเวียดนาม

(4) สงครามอัฟกานิสถาน

(5) สงครามนิการากัว

ตอบ 1 หน้า 71 – 75 สงครามเย็น (Cold War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากการที่มหาอํานาจ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างอ้างอุดมการณ์ทางการเมืองจนกลายเป็นสาเหตุของ ความขัดแย้งระหว่างประเทศจนก่อให้เกิดสงครามในเขตพื้นที่หรือภูมิภาคต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ อิทธิพลของ 2 ประเทศ ได้แก่ สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามโซเวียต-อัฟกานิสถานสงครามนิการากัว เป็นต้น

6 ข้อใดไม่ถูกแบ่งแยกอันเนื่องจากสงครามเย็น

(1) เบอร์ลิน

(2) เกาหลี

(3) เยอรมนี

(4) เวียดนาม

(5) ยูโกสลาเวีย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การล่มสลายของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1995 ภายหลังที่สงครามเย็นสิ้นสุดลงเมื่อปี ค.ศ. 1991 โดยการล่มสลายนี้เกิดจากสงครามกลางเมืองที่มี ลักษณะของความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวเซิร์บและชาวโครแอต ซึ่งผลจากการล่มสลายนี้ได้ทําให้เกิดประเทศต่าง ๆ เช่น โครเอเชีย สโลวีเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มาซิโดเนีย

7 ผู้นําการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ คือใคร

(1) โจวเอินไหล

(2) เจียงไคเช็ค

(3) เติ้งเสี่ยวผิง

(4) เหมาเจ๋อตุง

(5) จ้าวจ่อหยาง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหมาเจ๋อตุง หรือประธานเหมา เป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนโดยสามารถยึดอํานาจจากเจียงไคเช็ค จนสถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” และทําให้จีนยึดถือระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาจนถึงปัจจุบัน

8 ผู้ใดเป็นผู้นําการพัฒนาจีนตามแนวทาง 4 ทันสมัย

(1) เหมาเจ๋อตุง

(2) เติ้งเสี่ยวผิง

(3) โจวเอินไหล

(4) เจียงไคเช็ค

(5) จ้าวจ่อหยาง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เติ้งเสียวผิง เป็นผู้นํานโยบาย 4 ทันสมัย (Four Modernization) มาพัฒนาประเทศจีนให้มีความทันสมัยแบบตะวันตก โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา 4 ด้าน คือ การเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการทหาร

9 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายความทันสมัยตามนโยบาย 4 ทันสมัยของจีน

(1) อุตสาหกรรม

(2) อวกาศ

(3) การเกษตร

(4) วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี

(5) การทหาร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

10 แนวคิดแบบปะทะทางอารยธรรมเป็นของผู้ใด

(1) คาร์ล มาร์กซ์

(2) ฮันติงตัน

(3) อดัม สมิธ

(4) ฟูกุยามา

(5) รุสโซ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

11 ข้อใดไม่พึงปรารถนาในการมีความร่วมมือระหว่างประเทศ

(1) กติกา

(2) กาฝาก

(3) ผลประโยชน์เปรียบเทียบ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 83, 89 สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาหรืออุปสรรคของการดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศ มีดังนี้

1 การโกง ซึ่งเป็นผลจากความหวาดระแวงว่าผู้อื่นพยายามหาช่องทางหาประโยชน์เข้าตัวเองให้มากที่สุด จึงอาจพยายามโกงไว้ก่อน

2 ผลประโยชน์เปรียบเทียบ คือ การคํานึงถึงผลได้โดยเปรียบเทียบ (Relative Gains) กับผู้อื่นว่าได้มากหรือน้อยกว่า (ทํามากได้มาก ทําน้อยได้น้อย) แทนที่จะคํานึงเพียงแค่ ผลที่ได้รับ (Absolute Gains) จากการเข้าร่วมความร่วมมือ

3 การมีกาฝาก (Free-Riders) หรือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากความร่วมมือโดยไม่ต้องร่วมยินยอมรับหรือทําตามกติกาข้อผูกมัดอย่างเป็นทางการ

12 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความร่วมมือแบบระบอบ

(1) เป็นเวทีการเจรจา

(2) ไม่จําเป็นต้องมีบรรทัดฐาน

(3) มีความคาดหวังด้านพฤติกรรม

(4) ต้องมีกฎระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร

(5) พัฒนาจากธรรมเนียมปฏิบัติ

ตอบ 2 หน้า 84 การดําเนินความร่วมมือแบบระบอบนั้นจําเป็นต้องมีกฏเกณฑ์หรือบรรทัดฐานที่เป็นที่เข้าใจหรือยอมรับกัน หรือเป็นเสมือนกติกาแนวทางให้รัฐ องค์การระหว่างประเทศและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐทั้งหลายทํางานเพื่อประโยชน์ในประเด็นความสนใจร่วมกันได้

13 หนังสือเรื่อง “The Prince” เป็นผลงานของใคร

(1) มาเคียเวลลี

(2) โธมัส ฮอบส์

(3) รุสโซ

(4) จอห์น ล็อค

(5) อดัม สมิธ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

14 พัฒนาการของรัฐชาติสมัยใหม่เป็นผลงานจากข้อใด

(1) สงครามครูเสด

(2) สงคราม 30 ปี

(3) สงคราม 100 ปี

(4) การตั้งอาณาจักรรัสเซีย

(5) การตั้งอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

15 ข้อใดจัดเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตย

(1) สงครามเอกราชสหรัฐกับการปฏิวัติรัสเซีย

(2) สงครามนโปเลียนกับสงครามเอกราชสหรัฐ

(3) การปฏิวัติฝรั่งเศสกับการปฏิวัติรัสเซีย

(4) สงครามเอกราชสหรัฐกับการปฏิวัติฝรั่งเศส

(5) สงครามนโปเลียนกับการปฏิวัติรัสเซีย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข P-2200-2 หน้า 67) หลังจากการประกาศเอกราชของอเมริกาในปีค.ศ. 1776 ได้เป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1789 แต่การปฏิวัติใน ครั้งนี้ยังไม่ประสบความสําเร็จ เนื่องจากถูกปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ยึดอํานาจจาก พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จนกระทั่งสงครามนโปเลียนสิ้นสุดลงในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฝรั่งเศส จึงเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยของทั้ง 2 ประเทศ เกิดจากเหตุการณ์สงครามเอกราชของสหรัฐอเมริกา และสงครามนโปเลี่ยนของฝรั่งเศส

16 ใครที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติรัสเซีย

(1) สตาลิน

(2) มาราต์

(3) คาร์ล มาร์กซ์

(4) เลนิน

(5) ทรอตสกี้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิวัติรัสเซียเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1917 หลังจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้สละราชสมบัติจนทําให้เกิดการแย่งชิงอํานาจระหว่างรัฐบาลเฉพาะกาลและพรรคบอลเชวิค ภายใต้การนําของวลาดีมีร์ เลนิน ซึ่งยึดถืออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ของคาร์ล มาร์กซ์ เป็นหลัก โดยเลนินสามารถแย่งชิงอํานาจการปกครองได้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสหภาพโซเวียต ต่อมาภายหลังเลนินเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1924 ก็ได้เกิดการแย่งชิงอํานาจกันอีกครั้งระหว่าง สตาลินกับลีออน ทรอตสกี้ แต่สุดท้ายสตาลินเป็นฝ่ายชนะจึงได้ขึ้นเป็นผู้นําและพัฒนาประเทศ

จนเป็นมหาอํานาจของโลกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์

17 การปฏิวัติฝรั่งเศสเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) วันกายฟอว์ค

(2) วันชูมัน

(3) วันบัสตีย์

(4) บอสตันที่ปาร์ตี้

(5) 4 กรกฎาคม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) วันบัสตีย์ ถือเป็นวันชาติของฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีโดยเป็นวันที่รําลึกถึงการครบรอบการโจมตีคุกบัสตีย์ อันเป็นการแสดงสัญลักษณ์การลุกฮือของชาติสมัยใหม่ที่เป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสจนนําไปสู่การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

18 เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นหลังข้ออื่นทั้งหมด

(1) ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ (The Great Depression)

(2) ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

(3) สงครามโลกครั้งที่ 1

(4) การปฏิวัติรัสเซีย

(5) สงครามนโปเลียน

ตอบ 1 หน้า 11 จากโจทย์สามารถลําดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากก่อนไปหลังได้ดังนี้คือ ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ค.ศ. 1750) สงครามนโปเลียน (ค.ศ. 1803) สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914)การปฏิวัติรัสเซีย (ค.ศ. 1917) และยุคเศรษฐกิจตกต่ำ (ค.ศ. 1930)

19 ข้อใดเป็นผลที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) ธนาคารโลก

(2) องค์การการค้าโลก

(3) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

(4) สหประชาชาติ

(5) สันนิบาตชาติ

ตอบ 5 หน้า 11, 101, (คําบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษาความมั่นคง และสร้างสันติภาพ พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ รวมทั้งการป้องกันการก่อสงครามระหว่าง ประเทศ และการใช้การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธีแทนการใช้การรุกรานและการทําสงคราม โดยองค์การสันนิบาตชาติได้ยุติการทํางานลงในปี ค.ศ. 1941 และได้สิ้นสุดสภาพการเป็น องค์การระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 โดยโอนทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดไปให้แก่องค์การสหประชาชาติในปัจจุบัน

20 ตําแหน่งกษัตริย์ของจักรวรรดิรัสเซียมีชื่อเรียกเฉพาะว่าอะไร

(1) ไกเซอร์

(2) ชาห์

(3) ซาร์

(4) ข่าน

(5) ซีซาร์

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ซาร์ ( Sar, Czar) เป็นชื่อเรียกเฉพาะของตําแหน่งกษัตริย์ของจักรวรรดิรัสเซียโดยมีรากศัพท์มาจากคําว่า ซีซาร์ (Ceasar) ซึ่งเป็นชื่อตําแหน่งกษัตริย์ของจักรวรรดิโรมัน

21 ข้อใดไม่ใช่แหล่งอารยธรรมหลัก ๆ ในอดีตกาล

(1) แถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก

(2) แถบเอเชียใต้

(3) แถบเอเชียตะวันออก

(4) แถบอเมริกาเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข P-2200-2 หน้า 49 – 57) ในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์โลก ก่อนที่จะมีรัฐชาติเกิดขึ้นนั้น จะต้องทําความเข้าใจเรื่องอารยธรรมที่สําคัญของมนุษยชาติก่อน เนื่องจาก เป็นวิวัฒนาการทางการเมืองที่สําคัญของมนุษย์ที่จะพัฒนารวมตัวกันจนเป็นรัฐชาติในปัจจุบัน ซึ่งอารยธรรมหลัก ๆ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นรัฐชาตินั้น ได้แก่ อารยธรรมอินเดีย (แถบเอเชียใต้) อารยธรรมจีน (แถบเอเชียตะวันออก), อารยธรรมอียิปต์ (แถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก),อารยธรรมกรีกและโรมัน (แถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก)

  1. นักคิดใดไม่ใช่นักคิดทางการเมืองและปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อการสร้างอารยธรรมตะวันออก

(1) มูฮัมหมัด

(2) อริสโตเติล

(3) ขงจื้อ

(4) พระพุทธเจ้า

(5) เหล่าจื้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นักคิดทางการเมืองและปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อการสร้างอารยธรรมตะวันออกเช่น มูฮัมหมัด พระพุทธเจ้า ขงจื้อ เหล่าจื้อ ส่วนนักคิดทางการเมืองและปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อ การสร้างอารยธรรมตะวันตก เช่น โสเครตีส เพลโต อริสโตเติล เป็นต้น

23 โลกาภิวัตน์ในอดีตมีความแตกต่างกับปัจจุบันในแง่ใดบ้าง

(1) ความกว้างขวาง

(2) ความรวดเร็ว

(3) ความหลากหลาย

(4) ความเข้มข้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) โลกาภิวัตน์ (Globalization) คือ กระบวนการเชื่อมเป็นหนึ่งกันทางประวัติศาสตร์สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มสร้างอารยธรรม โดยโลกาภิวัตน์ในอดีต และปัจจุบันมีความเหมือนกันในแง่ที่ว่า เป็นกระบวนการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ฯลฯ แต่ก็มีลักษณะที่แตกต่าง กับปัจจุบันในแง่ของความกว้างขวาง ความรวดเร็ว ความหลากหลาย และความเข้มข้นในการเชื่อมโยงกิจกรรมดังกล่าว ใน

24 อารยธรรมใดเคยเป็นจุดศูนย์กลางเศรษฐกิจและการเมืองกว่า 2,000 ปี ก่อนอารยธรรมตะวันตก

(1) อารยธรรมญี่ปุ่น

(2) อารยธรรมเกาหลี

(3) อารยธรรมเขมร

(4) อารยธรรมไทย

(5) อารยธรรมจีน

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข P-2200-2 หน้า 52 – 53) อารยธรรมจีน เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห โดยหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรของจีนที่เก่าแก่ที่สุด คือ ซิกิ่งหรือคัมภีร์คีตาคาถาและซูกิ่งหรือคัมภีร์ประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่สุดที่ขงจื้อรวบรวมไว้

25 อารยธรรมตะวันตกทําให้โลกเปลี่ยนไปในเรื่องอะไรบ้าง

(1) การเปลี่ยนแปลงทางการผลิต

(2) การเปลี่ยนแปลงทางการค้า

(3) การเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง

(4) การเปลี่ยนแปลงทางความคิด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อารยธรรมตะวันตก เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นแถบซีกโลกตะวันตกซึ่งมีมาช้านานทั้งอารยธรรมอียิปต์ และอารยธรรมกรีกโรมัน โดยมีพัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัยจนเกิดความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางความคิด การปกครอง การผลิต การค้า เทคโนโลยี การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น ๆ

26 การล่าเมืองขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ส่งผลต่ออารยธรรมตะวันออกอย่างไร

(1) ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของระบอบการปกครองดั้งเดิม

(2) ส่งผลให้เกิดการอพยพตั้งถิ่นฐานใหม่

(3) ส่งผลให้มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

(4) ส่งผลให้อารยธรรมตะวันตกรุ่งเรือง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การล่าเมืองขึ้นของประเทศตะวันตกในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ส่งผลต่ออารยธรรมตะวันออก ดังนี้

1 ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของระบอบการปกครองดั้งเดิม

2 ส่งผลให้เกิดการอพยพตั้งถิ่นฐานใหม่

3 ส่งผลให้มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

4 ส่งผลให้อารยธรรมตะวันตกรุ่งเรือง

27 โลกาภิวัตน์ในวันนี้มีผลในด้านใดบ้าง

(1) มีการพัฒนาของประเทศในตะวันออกและส่วนอื่นของโลก

(2) เกิดการพัฒนาการเชื่อมโยงกันทางด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

(3) ทําให้เกิดระบบการค้าข้ามชาติ

(4) ทําให้เกิดความขัดแย้งทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลของโลกาภิวัตน์ในวันนี้ ได้แก่

1 มีการพัฒนาของประเทศในตะวันออกและส่วนอื่น ๆ ของโลก

2 เกิดการพัฒนาการเชื่อมโยงกันทางด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

3 ทําให้เกิดระบบการค้าข้ามชาติ

4 ทําให้เกิดความร่วมมือและความขัดแย้งทางสังคมเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ฯลฯ

28 ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีกรอบข้อตกลงจะเป็นไปด้วยดี ควรมีลักษณะตามข้อใด

(1) จํานวนประเทศสมาชิกไม่เกิน 30 ประเทศ

(2) จํานวนประเทศสมาชิกมากที่สุดเท่าที่ทําได้

(3) จํานวนประเทศสมาชิกน้อย

(4) ต้นทุนสูง

(5) มี Hegemon

ตอบ 3 หน้า 82 – 83, (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่สนับสนุนให้ความร่วมมือระหว่างประเทศดําเนินไปได้ด้วยดีและยั่งยืน มีดังนี้

1 ความร่วมมือที่มีกรอบข้อตกลงอย่างเป็นทางการหรือเป็น ลายลักษณ์อักษรชัดเจนควรมีประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกจํานวนน้อย

2 จํานวนประเทศ ที่เข้ามาร่วมมือต้องขึ้นอยู่กับสภาพกรณีหรือธรรมชาติของปัญหาความร่วมมือนั้น

3 มีต้นทุนความร่วมมือต่ำ และผลตอบแทนไม่สูง ซึ่งหมายความว่าผลตอบแทนของความร่วมมือ ระหว่างประเทศอาจต่ำได้เนื่องจากต้นทุนต่ำนั่นเอง

4 การป้องกันไม่ให้มีกาฝาก (Free-Riders) หรือผู้ที่ได้ประโยชน์จากความร่วมมือโดยไม่ต้องร่วมยินยอมรับหรือทําตามกติกาข้อผูกมัดอย่างเป็นทางการ

29 องค์การการค้าโลก (WTO) จัดเป็นระบอบประเภทใด

(1) ระบอบแบบเป็นนัย

(2) ระบอบเพียงตัวอักษร

(3) ระบอบเต็มรูปแบบ

(4) ระบอบจากการกําหนดบังคับ

(5) ระบอบแบบไม่เป็นทางการ

ตอบ 3 หน้า 86 ระบอบเต็มรูปแบบ (Full-Blown Regime) คือ ระบอบที่มีทั้งข้อตกลงหรือกฎกติกาอย่างเป็นทางการ และมีความคาดหวังต่อการบังคับใช้การปฏิบัติตามกฎกติกานั้น เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นต้น

30 ความร่วมมือเป็นพันธมิตรต่างจากความร่วมมือแบบการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition) ตามลักษณะในข้อใด

(1) มีความเป็นทางการกว่า

(2) การสลายตัวได้

(3) เป้าหมายกว้างกว่า

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 87, (คําบรรยาย) ความร่วมมือแบบพันธมิตร (Alliance) คือ กลุ่มผสมผสานของรัฐที่เข้ามาร่วมทํางานประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยความร่วมมือ แบบพันธมิตรนั้นจะมีช่วงระยะเวลาที่ยาว มีความเป็นทางการมาก และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กว้างกว่าความร่วมมือแบบการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition)

31 ข้อใดไม่ใช่กลไกการทํางานที่เหมาะสมของความร่วมมือแบบพันธมิตร

(1) ป้องปราม

(2) ป้องกัน

(3) ชิงดึงเข้าพวก

(4) อุดมการณ์ช่วยยึดเหนี่ยว

(5) ถือคติศัตรูของศัตรูคือมิตร

ตอบ 5 หน้า 88 ความร่วมมือกันเป็นพันธมิตรเพียงเพื่อต้องการต่อต้านศัตรูคนเดียวกัน หรือถือคติว่า“ศัตรูของศัตรูคือมิตร” ถือเป็นกลไกการทํางานที่ไม่เหมาะสมในการร่วมมือแบบพันธมิตรเพราะการร่วมมือในลักษณะนี้อาจล่มสลายไปได้เมื่อหมดภัยคุกคาม

32 การเมืองโลกมีประเด็นอะไรที่ครอบคลุมบ้าง

(1) ประวัติศาสตร์

(2) สังคมวัฒนธรรม

(3) เศรษฐกิจการค้า

(4) ความมั่นคง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics) หรือเรียกว่า การเมืองระหว่างชาติ (Politics Among Nations) หรือการเมืองโลก (World or Global Politics) เป็นการศึกษาผ่านมุมมองของสํานักสัจนิยม (Realism) ซึ่งจะเน้นศึกษาการเมืองและมิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ เช่น เศรษฐกิจการค้า การทหารความมั่นคง การธนาคาร ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม โดยให้ความสําคัญกับผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ ผลประโยชน์แห่งชาติ อํานาจรัฐ และบทบาทของมหาอํานาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

33 เราจะใช้หน่วยวิเคราะห์อะไรในการทําความเข้าใจประวัติศาสตร์โลกก่อนที่จะมีรัฐชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(1) ศาสนา

(2) ภาษา

(3) อารยธรรม

(4) เชื้อชาติ

(5) เทคโนโลยี

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

34 กระบวนการเชื่อมเป็นหนึ่งกันทางประวัติศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อใด

(1) จักรวรรดิโรมัน

(2) จักรวรรดิโมริยะ

(3) จักรวรรดิฮัน

(4) จักรวรรดิเปอร์เซีย

(5) ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสร้างอารยธรรม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

35 หลังยุคสงครามเย็นประเทศไทยไม่ได้ดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบใด

(1) Alliance

(2) Non-alignment

(3) Neutralism

(4) Neutrality

(5) Ally

ตอบ 4 หน้า 30 – 33, 37 – 38, (คําบรรยาย) นโยบายต่างประเทศที่ประเทศไทยนํามาใช้ในยุคหลังสงครามเย็น (ค.ศ. 1991 – ปัจจุบัน) ได้แก่ นโยบายพันธมิตร (Atty) นโยบายสัมพันธมิตร (Alliance) และนโยบายความเป็นกลางแบบไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (Non-alignment or Neutralism) ส่วนนโยบายต่างประเทศที่ยังไม่เคยนํามาใช้ ก็คือ นโยบายความเป็นกลางตามกฎหมายระหว่างประเทศ (Neutrality) และนโยบายสันโดษหรืออยู่อย่างโดดเดี่ยว (Isolation)

36 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่การรุกรานทางอ้อมของรัฐ

(1) สหรัฐอเมริกากีดกันสินค้านําเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

(2) สหรัฐอเมริกาห้ามเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์

(3) สาธารณรัฐประชาชนจีนห้ามนําเข้าถ่านหินจากเกาหลีเหนือเพื่อกดดันให้เกาหลีเหนือเข้าสู่โต๊ะการเจรจาหกฝ่ายในโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 45, (คําบรรยาย) การรุกรานโดยทางอ้อม หมายถึง การกระทําที่ไม่ใช้กําลังทหารเข้าจัดการรัฐอื่นโดยตรง แต่จะใช้วิธีการอื่นที่เป็นการต่อต้านอํานาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความเป็นเอกราชทางการเมือง และอิสรภาพของรัฐอื่น ได้แก่ การโค่นล้มรัฐบาล, การสนับสนุน รัฐประหาร, การโฆษณาชวนเชื่อ, การเข้าแทรกแซงทางการเมือง เช่น การใช้อํานาจเพื่อกดดันและ บีบบังคับให้รัฐอื่นปฏิบัติตามความต้องการของตน), การเข้าแทรกแซงหรือแซงชั่นทางเศรษฐกิจ (เช่น การไม่ซื้อขายสินค้า การไม่เข้าไปลงทุน ฯลฯ) และการสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ฝ่ายกบฏในรัฐอื่น

37 มาตราใดในกฎบัตรสหประชาชาติที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดการกับการรุกรานโดยตรงของรัฐ

(1) มาตรา 12

(2) มาตรา 51

(3) มาตรา 39

(4) มาตรา 41

(5) มาตรา 42

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ มาตรา 12 เป็นมาตราที่กําหนดรูปแบบการทําหน้าที่ของสมัชชาในกรณีคณะมนตรีความมั่นคงกําลังปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับข้อพิพาทหรือสถานการณ์ ใด ๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยคณะมนตรีความมั่นคงจะต้องแจ้งให้สมัชชาทราบทันทีที่หยุด ดําเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว ส่วนมาตรา 39 – 51 จะเป็นหมวดที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการด้านการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน

38 สงครามในอิรักในช่วงไม่กี่ปีมานี้เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

(1) ความต้องการรวมดินแดนของรัฐ

(2) ความต้องการปลดปล่อยชาติให้เป็นอิสระจากการปกครองของต่างชาติ

(3) ความต้องการแบ่งแยกดินแดนของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

(4) ความต้องการแบ่งแยกดินแดนของรัฐ

(5) ความต้องการสนับสนุนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติของรัฐ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) สงครามในอิรักครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2016 เป็นสงครามที่เกิดจากความต้องการแบ่งแยกดินแดนของกลุ่มไอเอสที่ขยายอิทธิพลมาจากซีเรีย โดยสงครามในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจาก ที่นักรบกลุ่มไอเอสยึดเมืองโมซุลของอิรัก ทําให้รัฐบาลอิรักและพันธมิตรชาติตะวันตกต้องร่วมกันปฏิบัติการปลดปล่อยเมืองโมซุลจากการยึดครองของกลุ่มไอเอส

39 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่สมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) (1) โปแลนด์

(2) โครเอเชีย

(3) ตุรกี

(4) เซอร์เบีย

(5) สโลวีเนีย

ตอบ 4 หน้า 38, (คําบรรยาย) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรป ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เพื่อสร้างความมั่นคงและส่งเสริม ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี กรีซ ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส ตุรกี สหรัฐอเมริกา แคนาดา สเปน สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย บัลแกเรีย โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย โครเอเชีย และแอลเบเนีย

40 ข้อใดเป็นชื่อขบวนการก่อการร้ายในฟิลิปปินส์

(1) MNLF

(2) Abu Nidal

(3) Hamas

(4) ETA

(5) Hezbollah

ตอบ 1 หน้า 4, 59, (คําบรรยาย) ขบวนการ/กลุ่มก่อการร้าย (Terrorist) เป็นตัวแสดงในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีบทบาทสําคัญมากในช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งตัวอย่าง ของขบวนการก่อการร้าย ได้แก่ 1 กลุ่ม AL Qaeda ในอัฟกานิสถาน 2 กลุ่ม Abu Nidal ในอิสราเอล 3 กลุ่ม IS หรือ ISIS ในอิรักและซีเรีย 4 กลุ่ม Hezbollah ในเลบานอน 5 กลุ่ม PLO และกลุ่ม Hamas ในปาเลสไตน์ 6 กลุ่ม ETA ในสเปน 7 กลุ่ม JI ในอินโดนีเซีย 8 กลุ่ม Abu Sayyaf, กลุ่ม MNLF และกลุ่ม MILF ในฟิลิปปินส์ 9 กลุ่ม Bersatu, กลุ่ม BRN และกลุ่ม PULO ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ฯลฯ

41 สงครามในข้อเลือกข้อใดเป็นสงครามลงมือโจมตีก่อน (Preemptive War)

(1) สงครามอ่าวเปอร์เซีย

(2) สงครามอิรัก

(3) สงครามเกาหลี

(4) สงครามเวียดนาม

(5) สงครามอิรัก-อิหร่าน

ตอบ 2 หน้า 48, (คําบรรยาย) สงครามลงมือโจมตีก่อน (Preemptive War) หมายถึง สงครามที่เกิดจากรัฐหนึ่งรัฐใดได้รับแรงกดดันทางการเมืองหรือทางยุทธศาสตร์อย่างมากมายจนไม่สามารถอดทนต่อไปได้ จึงใช้กําลังเข้าโจมตีรัฐที่สร้างแรงกดดันหรือรัฐปรปักษ์นั้น ๆ ก่อน เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม ได้แก่ สงครามอิรัก (2003) เป็นต้น

42 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ประเทศกําลังพัฒนา (Developing Country)

(1) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(2) อินโดนีเซีย

(3) ลาว

(4) เวียดนาม

(5) ไทย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การแบ่งประเทศโดยพิจารณาจากระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สามารถแบ่งได้ดังนี้

1 ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี แคนาดาออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เป็นต้น

2 ประเทศกําลังพัฒนา เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย เป็นต้น

3 ประเทศด้อยพัฒนา เช่น กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ (พม่า) อัฟกานิสถาน เป็นต้น

43 ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2017 กองทัพอิหร่านได้ซ้อมรบบริเวณช่องแคบฮอร์บุซอ่าวโอมาน ช่องแคบมันเดบและพื้นที่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย เพื่อแสดงถึงแสนยานุภาพของกองทัพอิหร่านในช่วงที่ ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกามีความตึงเครียดระหว่างกัน การซ้อมรบดังกล่าวของอิหร่าน เป็นการกระทําแบบใด

(1) สงครามเย็น (Cold War) ระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกา

(2) สงครามทางการเมือง

(3) สงครามจิตวิทยา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 54 – 58, 62 – 54 สงครามทางการเมือง (Political Warfare) เป็นวิธีการที่รัฐนํามาใช้เพื่อสร้างความอ่อนแอหรือสร้างแรงกดดันต่อรัฐอื่น โดยวิธีการที่มักนิยมนํามาใช้ ได้แก่ การบ่อนทําลาย การก่อวินาศกรรม การปิดกั้นเส้นทางเดินเรือ การแซงชั่น การแสดง แสนยานุภาพทางทหาร (เช่น การซ้อมรบ การสาธิตอาวุธยุทโธปกรณ์) เป็นต้น ส่วนสงครามจิตวิทยา (Psychological Warfare) เป็นกิจกรรมทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางทหารของรัฐใดรัฐหนึ่ง เพื่อสร้างอิทธิพลต่อความคิดเห็นและการกระทําของผู้อื่น หรือรัฐอื่น ๆ โดยเครื่องมือสําคัญที่นิยมนํามาใช้มี 2 ประเภท คือ 1 การโฆษณาชวนเชื่อ เช่น การแจกใบปลิว, การเผยแพร่ข่าวทางวิทยุและโทรทัศน์, การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัย, การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบทุกข์ภัยในประเทศต่าง ๆการแสดงแสนยานุภาพทางทหาร (เช่น การซ้อมรบ การสาธิตกําลังอาวุธ) เป็นต้น

2 การก่อการร้ายระหว่างประเทศ ดังนั้นการซ้อมรบดังกล่าวของอิหร่านจึงถือเป็นการกระทําทั้งแบบสงครามทางการเมืองและสงครามทางจิตวิทยา

44 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actor)

(1) Donald Trump

(2) IMF

(3) Al Qaeda

(4) PLO

(5) Greenpeace

ตอบ 1 หน้า 3 – 4, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actor) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล, รัฐมนตรีต่างประเทศ, ทูต (เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต), กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุล และกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น

2 ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น Greenpeace, บรรษัทข้ามชาติหรือธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจหลายชาติ (MNCs/TNCS) เช่น บริษัท CP บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม Al Qaeda กลุ่ม PLC และกลุ่มเชื้อชาติ

45 การทดสอบยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2017 จัดได้ว่าเป็นการกระทําแบบใด

(1) การทําสงครามเย็น (Cold War) ระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐอเมริกา

(2) การก่อการร้ายของเกาหลีเหนือต่อสหรัฐอเมริกา

(3) การทําสงครามทางการเมืองของเกาหลีเหนือต่อสหรัฐอเมริกา

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทดสอบยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2017 จัดเป็นการทําสงครามทางการเมืองของเกาหลีเหนือต่อสหรัฐอเมริกา เพื่อตอบโต้ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีนโยบายที่แข็งกร้าวต่อเกาหลีเหนือ (ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ)

46 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศระดับสากล

(1) WHO

(2) UNESCO

(3) IMF

(4) EU

(5) WTO

ตอบ 4 หน้า 3, 93, 96, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่น สันนิบาตชาติ (LAN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออก (OPEC), องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU), องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นต้น

2 องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU),อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การสันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เป็นต้น

47 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่องค์การที่ไม่ใช่รัฐบาลหรือเอ็นจีโอ (NGO)

(1) Amnesty International

(2) BBC

(3) Greenpeace

(4) The International Red Cross

(5) Human Rights Watch

ตอบ 2 หน้า 3 – 4, 94 องค์การที่ไม่ใช่รัฐบาลหรือองค์การพัฒนาเอกชน (NGO) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (INGO) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนโดยไม่หวังผลกําไร และเน้นอุดมการณ์ที่เห้ความสําคัญกับภาคประชาชนเป็นหลัก โดยองค์การประเภทนี้จะได้รับ เงินช่วยเหลือจากแหล่งเงินอุดหนุนไม่ว่าจากภายในหรือต่างประเทศ มีอาสาสมัครทํางาน มีระเบียบวาระเป็นของตนในการกําหนดทิศทางและนโยบายเพื่อมุ่งบริการสาธารณประโยชน์ เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International), องค์การกาชาดสากล (The International Red Cross), กรีนพีซ (Greenpeace) เป็นต้น

48 ประเทศที่อยู่ในข้อเลือกข้อใดที่ไม่สามารถดําเนินนโยบายสันโดษหรือนโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยว (Isolation)

(1) เวียดนาม

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) แทนซาเนีย

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 30 – 31, (คําบรรยาย) เงื่อนไขสําคัญที่ทําให้รัฐหนึ่งรัฐใดสามารถเลือกดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบสันโดษหรืออยู่อย่างโดดเดียว (Isolation) ได้ มีดังนี้

1 ต้องมีขีดความสามารถทางทหารในการป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากการคุกคามจากภายนอก

2 ต้องพึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจโดยไม่ต้องพึ่งพารัฐอื่น

3 ต้องมีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสมสําหรับป้องกันการรุกรานจากภายนอก ซึ่งปัจจุบันประเทศที่ไม่สามารถดําเนินนโยบายต่างประเทศแบบสันโดษหรืออยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศโลกที่สาม เช่น ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา แทนซาเนีย ฯลฯ และประเทศในยุโรปบางประเทศ เช่น กรีซ เป็นต้น

49 ในปัจจุบันประเทศใดไม่ได้ดํารงความเป็นกลางตามกฎหมายระหว่างประเทศ

(1) ลาว

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) สวีเดน

(4) ออสเตรีย

(5) มัลต้า

ตอบ 1 หน้า 32 ประเทศที่ดํารงความเป็นกลางตามกฎหมายระหว่างประเทศจะดํารงความเป็นกลางอยู่ได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยอมรับจากประเทศอื่น ๆ โดยประเทศอื่นนั้นจะต้องไม่ละเมิดบูรณภาพ แห่งดินแดนและยอมรับในสิทธิอื่น ๆ ของประเทศที่เป็นกลาง ความเป็นกลางจะสิ้นสุดลงเมื่อ ประเทศนั้นเข้าร่วมสงครามกับประเทศหนึ่งประเทศใดหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่เป็นคู่สงคราม หรือ เมื่อประเทศนั้นถูกประเทศอื่นละเมิดดินแดน ซึ่งปัจจุบันประเทศที่ดําเนินนโยบายความเป็นกลางตามกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และมัลต้า

50 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่การทําสงครามจิตวิทยาของรัฐ

(1) สหรัฐอเมริกาให้เงินสามล้านบาทช่วยเหลือจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ของไทยที่เกิดปัญหาน้ำท่วม

(2) จีนไม่ซื้อถ่านหินจากเกาหลีเหนือเพื่อแซงชั่นเกาหลีเหนือจากการที่เกาหลีเหนือมีการทดลองขีปนาวุธ

(3) สหรัฐอเมริกาทําการแซงชั่นทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียเพื่อกดดันให้รัสเซียยกเลิกการสนับสนุนฝ่ายกบฏในภูมิภาคตะวันตกของยูเครน

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

51 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกในรัฐโลกที่สอง (The Second World State)

(1) สโลวีเนีย

(2) ลิทัวเนีย

(3) รัสเซีย

(4) สโลวัก

(5) ฮังการี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในยุคหลังสงครามเย็นมีการแบ่งรัฐต่าง ๆ ในโลกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1 รัฐโลกที่หนึ่ง คือ รัฐที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและมีระบบเศรษฐกิจแบบการตลาดซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส สโลวีเนีย เป็นต้น

2 รัฐโลกที่สอง คือ รัฐที่กําลังจะเปลี่ยนไปเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด หรือเรียกว่า กลุ่มรัฐหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งได้แก่ประเทศอดีตสหภาพโซเวียต เช่น รัสเซีย ยูเครน คาซัคสถาน ลิทัวเนีย และประเทศยุโรปตะวันออก เช่น โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐสโลวัก สโลวาเกีย) เป็นต้น

3 กลุ่มรัฐโลกที่สาม คือ รัฐที่ไม่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครองเป็นของตนเองโดยเฉพาะแต่จะนําเอาระบบเศรษฐกิจและการปกครองของรัฐโลกที่หนึ่งและรัฐโลกที่สองมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับประเทศของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่อยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกาและลาตินอเมริกา เช่น เกาหลีเหนือ คิวบา อินเดีย ไทย กัมพูชา เป็นต้น

52 ข้อเลือกข้อใดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทําให้สงครามเย็น (Cold War) ระหว่างกลุ่มตะวันตกและ กลุ่มตะวันออกสิ้นสุดลง

(1) การจัดตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช

(2) Perestroika

(3) Glasnost

(4) รัฐบอลติกไม่เข้าร่วมในเครือจักรภพรัฐเอกราช

(5) ประเทศในยุโรปตะวันออกเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต

ตอบ 4 หน้า 75 – 77, (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สงครามเย็น (Cold War) ระหว่างกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออกสิ้นสุดลง มีดังนี้

1 มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต (USSR) ได้ประกาศใช้นโยบายเปเรสตรอยก้า (Perestroika) และนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost)ทั้งในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกในปี ค.ศ. 1986

2 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียตจนทําให้กลุ่มตะวันออกล่มสลายลง

3 องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ประกาศยุบตัวเองอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1991

4 การประกาศจัดตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช (CIS) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งถือเป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้สหภาพโซเวียตล่มสลายโดยสิ้นเชิง และทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

53 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกของอาเซียนบวกแปด (ASEAN + 8)

(1) ญี่ปุ่น 2

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) รัสเซีย

(4) อินเดีย

(5) ปากีสถาน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อาเซียน + 8 (ASEAN + 8) ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศและประเทศคู่เจรจาอีก 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย

54 ข้อเลือกข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมทางทหาร (Military Industrial Complex)

(1) นายทหารระดับสูง

(2) นักวิทยาศาสตร์

(3) กรรมกรในโรงงานผลิตอาวุธ

(4) นายหน้าค้าอาวุธ

(5) ประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรี

ตอบ 5 หน้า 53 กลุ่มอุตสาหกรรมทางทหาร (Military Industrial Complex) ได้แก่

1 เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ

2 กรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ

3 นายหน้าค้าอาวุธ

4 เจ้าหน้าที่ทางทหารระดับสูง

5 นักวิทยาศาสตร์

55 อะไรคือวัตถุประสงค์หลักของกลุ่มไอเอสในการทําสงครามกับอิรักและซีเรีย

(1) ความต้องการแบ่งแยกดินแดน

(2) ความต้องการปลดปล่อยชาติให้เป็นอิสระจากการปกครองของต่างชาติ

(3) ความต้องการรวมดินแดนจัดตั้งรัฐเอกราช

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ไอเอส (IS) หรือไอซิส (ISIS) เป็นกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงที่แยกกลุ่มมาจากอัล เคด้า หรืออัลกออิดะห์ (AH Qaeda) ซึ่งปัจจุบันไอเอสกําลังทําสงครามอยู่กับอิรักและ ซีเรีย โดยมีเป้าหมายเพื่อแบ่งแยกดินแดนบางส่วนในอิรักและซีเรีย รวมทั้งดินแดนในเลแวนท์ ซึ่งประกอบด้วยประเทศเลบานอน อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน ไซปรัส และภาคใต้ของตุรกีเพื่อจัดตั้งรัฐอิสลาม (ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ)

56 ในปัจจุบันขบวนการในข้อเลือกข้อใดยังคงใช้สงครามกองโจรต่อสู้กับรัฐต่างประเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช

(1) SWAPO

(2) Hamas

(3) MPLA

(4) Polisario

(5) UNITA

ตอบ 4 หน้า 49, (คําบรรยาย) ปัจจุบันขบวนการโปลิซาริโอ (Polisario) ยังคงปฏิบัติการโดยใช้สงครามนอกแบบหรือสงครามกองโจรต่อสู้กับรัฐบาลโมร็อกโก เพื่อให้ดินแดนซาฮาราตะวันตกของพวกตนเป็นเอกราชจากรัฐบาลโมร็อกโก

57 ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนในปัญหาภูมิภาคตะวันออกของยูเครนซึ่งเกิดขึ้นจากการที่กลุ่มกบฏต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากยูเครนโดยมีรัสเซียให้การสนับสนุนจนกระทั่งเกิดสงครามระหว่างยูเครน และกลุ่มกบฏเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

(1) ความต้องการรวมดินแดนของยูเครน

(2) ความต้องการรวมดินแดนของรัสเซีย

(3) ความต้องการปลดปล่อยชาติให้เป็นอิสระจากกลุ่มกบฏ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สงครามระหว่างยูเครนและกลุ่มกบฏนั้นเกิดขึ้นจากรัสเซียต้องการรวมดินแดนในแคว้นโดเนตสก์และลูฮานสก็ซึ่งอยู่บริเวณภาคตะวันออกของยูเครนเข้ากับรัสเซีย โดยสงครามนี้ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 และได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 9,000 คน

58 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกของเครือจักรภพรัฐเอกราช (The Commonwealth of Independent : States : CIS)

(1) ลัตเวีย

(2) ยูเครน

(3) คาซัคสถาน

(4) จอร์เจีย

(5) เบลารุส

ตอบ 1 หน้า 76 – 77, (คําบรรยาย) เครือจักรภพรัฐเอกราช (The Commonwealth of Independent States :CIS) จัดตั้งขึ้นในดินแดนแถบยูเรเซีย (Urasia) เมื่อปี ค.ศ. 1991 โดยคําประกาศแห่ง อัสมา อตา ซึ่งมีสมาชิกเป็นประเทศเกิดใหม่ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต 12 ประเทศ ได้แก่ เบลารุส ยูเครน รัสเซีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มอลโดวา ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และจอร์เจีย (ส่วนอีก 3 ประเทศ คือ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก)

59 ความขัดแย้งระหว่างเหนือและใต้เกี่ยวข้องกับข้อเลือกข้อใด

(1) G-8

(2) G-5

(3) G-77

(4) G-10

(5) G-20

ตอบ 3 หน้า 42, (คําบรรยาย) ความขัดแย้งระหว่างเหนือและใต้ เป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่ม 7 (Group of 7 : G-7) ของรัฐที่ร่ำรวยหรือรัฐเหนือ (The North States) กับกลุ่ม 77 (Group of 77 : G-77) ของรัฐที่ยากจนหรือรัฐใต้ (The South States) โดยกลุ่ม 77 ได้ใช้ที่ประชุมการค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNCTAD) เป็นเวที ในการต่อรองเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมทางการค้าจากกลุ่ม 7

60 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่สงครามแบบจํากัด

(1) สงครามเวียดนาม

(2) สงครามในซีเรีย

(3) สงครามเกาหลี

(4) สงครามอ่าวเปอร์เซีย

(5) สงครามฟอล์กแลนด์

ตอบ 2 หน้า 48, (คําบรรยาย) สงครามแบบจํากัด (Limited War) หมายถึง สงครามที่คู่ต่อสู้จํากัดจํานวนอาวุธ ชนิดอาวุธ จํานวนทหาร ขอบเขตของสมรภูมิ (สนามรบ) และความมุ่งหมาย ทางการเมืองหรือวัตถุประสงค์ทางทหารในการต่อสู้ ได้แก่ สงครามเกาหลี (1950 – 1953) สงครามเวียดนาม (1954 1975) สงครามอิรัก-อิหร่าน (1980 1988) สงครามฟอล์กแลนด์ (1982) สงครามอ่าวเปอร์เซีย (1991) สงครามอัฟกานิสถาน (2001) สงครามอิรัก (2003)และสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์

61 อะไรคือสาเหตุสําคัญของการก่อการร้ายของขบวนการก่อการร้ายอัล เคด้า (At Qaeda)

(1) ความต้องการก่อตั้งรัฐใหม่

(2) ความต้องการล้างแค้นจักรวรรดินิยม

(3) ความต้องการล้างแค้นมหาอํานาจ

(4) ความต้องการให้ดินแดนของพวกตนมีการปกครองอย่างอิสระ

(5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หรือสาเหตุสําคัญที่ทําให้ขบวนการก่อการร้ายอัล เคด้า หรืออัลกออิดะห์ (At Qaeda) ปฏิบัติการก่อการร้ายไปทั่วโลก มี 2 ประการ คือ

1 เพื่อต้องการล้างแค้นพวกจักรวรรดินิยม และรัฐบาลของประเทศอิสลามที่เข้าข้างหรือสนับสนุนพวกจักรวรรดินิยม

2 เพื่อต้องการยุติปัญหาปาเลสไตน์โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ขึ้น

62 ประเทศใดไม่ได้เป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ

(1) รัสเซีย

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) ฝรั่งเศส

(4) สหราชอาณาจักร

(5) สหภาพยุโรป

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศที่จัดเป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ (Economic Power) ในยุคหลังสงครามเย็น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร แคนาดา และอิตาลี โดยประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจใหญ่เป็น อันดับหนึ่งของโลก คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาตามลําดับ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีนญี่ปุ่น เยอรมนี ฯลฯ (ส่วนรัสเซียเป็นมหาอํานาจทางการเมืองและการทหาร)

63 อาเซียนบวกหก (ASEAN + 6) เกี่ยวข้องกับข้อเลือกข้อใด

(1) TPP

(2) East Asia Summit

(3) RCEP

(4) JTEPA

(5) Asian Bond

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อาเซียน + 6 (ASEAN + 6) เกิดจากการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เพื่อจัดตั้ง เขตการค้าเสรี ซึ่งประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา อีก 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และ นิวซีแลนด์

64 ข้อเลือกข้อใดไม่ปรากฏอยู่ในโครงสร้างขององค์การระหว่างประเทศ

(1) สภาคองเกรส

(2) สํานักงานเลขาธิการ

(3) คณะมนตรี

(4) สภาบริหาร

(5) สมัชชาใหญ่

ตอบ 1 หน้า 96 – 97 โครงสร้างขององค์การระหว่างประเทศ ประกอบด้วย

1 องค์กรถาวรอย่างน้อย 1 องค์กร โดยมีสํานักงานตั้งอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ

2 พนักงานประจําซึ่งสังกัดสํานักงานเลขาธิการ (Secretary)

3 วัตถุประสงค์ระยะยาว ข้อตกลง รวมถึงปัญหาระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่นํามาอภิปรายในการประชุมสามัญประจําปีซึ่งถูกกําหนดให้มีขึ้นเป็นประจําอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4 สภาบริหาร (Executive Council) หรือคณะมนตรี (Council)

5 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ (Assembly)

6 เลขาธิการ เป็นผู้ดําเนินการตามแผนปฏิบัติการที่จัดทําขึ้นโดยสภาบริหาร

65 องค์กรใดในสหประชาชาติเป็นผู้วินิจฉัยว่าสมควรใช้มาตรา 42 (มาตรการใช้กําลังอาวุธ) จัดการกับประเทศผู้รุกราน

(1) สมัชชา

(2) คณะมนตรีความมั่นคง

(3) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

(4) เลขาธิการ

(5) ศาลโลก

ตอบ 2 หน้า 44, (คําบรรยาย) กฎบัตรสหประชาชาติ กําหนดให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นผู้พิจารณาว่าการคุกคามสันติภาพและการละเมิดสันติภาพ หรือการรุกรานได้เกิดขึ้นแล้ว หรือไม่ หรือพิจารณาว่าการกระทําของรัฐหนึ่งรัฐใดเป็นการรุกรานหรือไม่ตามมาตรา 39 และ มีอํานาจในการวินิจฉัยหรืออนุมัติให้ใช้มาตรการตามมาตรา 41 (มาตรการไม่ใช้กําลังอาวุธ) และมาตรา 42 (มาตรการใช้กําลังอาวุธ คือ สงคราม) เป็นเครื่องมือจัดการลงโทษกับรัฐหรือประเทศผู้รุกรานให้หยุดพฤติกรรมการรุกรานรัฐอื่น

66 ประเทศใดถือเป็นประเทศล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ

(1) มอนเตเนโกร

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) โบลิเวีย

(4) ซูดานใต้

(5) จีน

ตอบ 4 หน้า 102, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ โบลิเวีย ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

67 วันใดที่ถือว่าเสมือนเป็นวันสหประชาชาติ

(1) 24 มกราคม

(2) 24 พฤษภาคม

(3) 24 กันยายน

(4) 24 ตุลาคม

(5) 24 ธันวาคม

ตอบ 4 หน้า 102, 104 องค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยการลงนามร่วมกันในกฎบัตรสหประชาชาติ ระหว่างประเทศมหาอํานาจของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน กับประเทศอื่น ๆ ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ 24 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันสหประชาชาติ”

68 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับองค์การสหประชาชาติ

(1) ปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร

(2) กฎบัตรแอตแลนติก

(3) ปฏิญญาสหประชาชาติ

(4) ปฏิญญามอสโคว์

(5) ปฏิญญากรุงโรม

ตอบ 5 หน้า 102 – 104 ในเรื่องภูมิหลังขององค์การสหประชาชาตินั้น ได้ระบุถึงข้อตกลงและปฏิญญาสําคัญที่นําไปสู่การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติไว้ดังนี้

1 ปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร (Inter-Allied Declaration)

2 กฏบัตรแอตแลนติก (Atlantic Charter)

3 ปฏิญญาสหประชาชาติ (Declaration of United Nations)

4 ปฏิญญามอสโคว์ (Moscow Declaration)

5 ข้อตกลงยัลต้า (Yalta Agreement) ฯลฯ

69 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายของสหประชาชาติ

(1) การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

(2) สิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก

(3) เป็นเวทีเจรจาทางการค้าการเมืองระหว่างประเทศ

(4) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

(5) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

ตอบ 3 หน้า 104 105 จุดมุ่งหมายและหลักการที่สําคัญขององค์การสหประชาชาติ มีดังนี้

1 ธํารงไว้เพื่อการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะดําเนินมาตรการร่วมกันป้องกันการคุกคามสันติภาพโดยใช้สันติวิธี

2 สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน และควบคุมตรวจสอบรัฐบาลของแต่ละประเทศ ให้เคารพในสิทธิมนุษยชนของพลเมือง เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพความยุติธรรม และสันติภาพในโลก

3 พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

4 เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

70 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกมีสํานักงานอยู่ ณ ประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) ฝรั่งเศส

(4) เนเธอร์แลนด์

(5) สวีเดน

ตอบ 4 หน้า 107, (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice :ICU) หรือศาลโลก (World Court) เป็นองค์กรตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่ ในการตัดสินคดีระหว่างรัฐกับรัฐ โดยมีองค์คณะผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกของสมัชชา และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจํานวน 15 คน และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

71 ประเทศใดในตะวันออกกลางไม่เคยเกิดอาหรับสปริง

(1) เยเมน

(2) อียิปต์

(3) ซีเรีย

(4) ลิเบีย

(5) เลบานอน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การปฏิวัติดอกมะลิ (Jasmine Revolution) หรืออาหรับสปริง (Arab Spring)เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนลุกฮือออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ครองอํานาจมาช้านาน เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในประเทศแถบตะวันออกกลาง และ แอฟริกาทางตอนเหนือ เช่น ตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย ซีเรีย เยเมน เป็นต้น

72 ประเทศใดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ซึ่งมีผลทําให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ที่อ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้

(1) กัมพูชา

(2) ฟิลิปปินส์

(3) เวียดนาม

(4) มาเลเซีย

(5) บรูไน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจํานวนมหาศาล รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สําคัญ ซึ่งถูกล้อมรอบโดย 8 ประเทศชายฝั่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม โดยปัญหาของประเทศเหล่านี้มักเกิดจากการอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะกรรมสิทธิ์ ในการครอบครอง 2 หมู่เกาะสําคัญ คือ หมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) ซึ่งมีผลทําให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์

73 วิกฤติการณ์คิวบาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 1959

(2) 1960

(3) 1961

(4) 1962

(5) 1963

ตอบ 4 หน้า 41 – 42, (คําบรรยาย) วิกฤติการณ์คิวบา เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้ไปติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในคิวบา ทําให้สหรัฐอเมริกาเกิดความหวาดกลัวว่าการติดตั้งขีปนาวุธจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของ สหรัฐอเมริกา จึงปิดล้อมคิวบาทางทะเลและยื่นคําขาดให้สหภาพโซเวียตถอนขีปนาวุธออกจาก คิวบามิฉะนั้นจะบุกคิวบาและทําลายขีปนาวุธเสียเอง วิกฤติการณ์ครั้งนี้สิ้นสุดลงโดยการเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ทําให้สหภาพโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยสันติ

74 ในปี ค.ศ. 2017 สมาชิกของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (NAM) มีกี่สมาชิก

(1) 120

(2) 121

(3) 122

(4) 188

(5) 184

ตอบ 1 หน้า 36 – 37, (คําบรรยาย) ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (NAM) ก่อตั้งขึ้นโดยมีการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 120 ประเทศ เช่น อียิปต์ ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ คิวบา ปาเลสไตน์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีเหนือ อินเดีย ปากีสถาน อิรัก อิหร่าน ศรีลังกา ซิมบับเว ไทย เป็นต้น

75 องค์การระหว่างประเทศหมายถึงอะไร

(1) บริษัทที่ดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ

(2) องค์การที่ใช้ระบบโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

(3) สถาบันที่รัฐต่าง ๆ ตั้งแต่สองรัฐจัดตั้งเพื่อดําเนินการด้านต่าง ๆ

(4) องค์การที่จัดตั้งขึ้นมาจากการปรึกษาหารือกันระหว่างรัฐบาลของรัฐต่าง ๆ

(5) รัฐที่เป็นสมาชิกห้ามมาจากภูมิภาคเดียวกัน

ตอบ 3 หน้า 94, (คําบรรยาย) ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (International Governmental Organizations : IGO) หมายถึง สถาบันที่รัฐหรือตัวแทนของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดําเนินการด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการถาวร

2 องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (International Non-Governmental Organizations : INGO) หมายถึง องค์การที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาล แต่เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง

76 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ลักษณะองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล

(1) ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

(2) ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง

(3) ได้รับการรับรองจากมติมหาชนในชาติสมาชิก

(4) รัฐนั้น ๆ ต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีเอกราชและอิสระ

(5) เป็นกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

ตอบ 3 หน้า 95, (คําบรรยาย) ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มี 4 ประการ ดังนี้

1 ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) นั่นคือ สมาชิกต้องมีฐานะเป็นรัฐเท่านั้น เนื่องจากรัฐสมาชิกเหล่านี้จะมีอํานาจอธิปไตย เป็นหน่วยทางการเมืองที่มีเอกราชและอิสระ และมีความเสมอภาคกันในการออกเสียง

2 ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก

3 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และมุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ

4 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

77 รายชื่อในข้อเลือกข้อใดไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศระดับสากล

(1) OPEC

(2) IMF

(3) World Bank

(4) EU

(5) ข้อ 1 และ 4

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

78 อาชีพใดที่ไม่ได้อยู่ในข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพในประชาคมอาเซียน

(1) แพทย์

(2) พยาบาล

(3) วิศวกร

(4) นักปกครอง

(5) นักบัญชี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ (Mutual Recognition Arrangement : MRA) ในประชาคมอาเซียน เป็นข้อตกลงเพื่ออํานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ของประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเสรีใน 7 สาขาอาชีพ คือ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก นักสํารวจ นักบัญชี ทันตแพทย์ และแพทย์

79 คําขวัญ (Motto) ในปัจจุบันของอาเซียนคือ

(1) หนึ่งประเทศ หนึ่งผลิตภัณฑ์

(2) ร่วมมือกันพัฒนา พาอาเซียนพ้นภัย

(3) หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งชุมชน

(4) ต่างวิสัยทัศน์ แต่เป็นหนึ่งในอัตลักษณ์

(5) หลายวิสัยทัศน์ หลากอัตลักษณ์ หนึ่งชุมชน

ตอบ 3 หน้า 125 126, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 ภายใต้คําขวัญคือ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม (ชุมชน) (One Vision, One Identity, One Community) ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ (พม่า) และกัมพูชา

80 อะไรคือจุดมุ่งหมายหลักของเอเปค (APEC)

(1) เพื่อร่วมเป็นตลาดเดียว

(2) มีการเคลื่อนย้ายแรงงานของประเทศสมาชิกอย่างเสรี

(3) เป็นเวทีการเจรจาการค้าระหว่างสมาชิก

(4) เน้นการรวมกลุ่มด้านการค้าแบบปิด (Trade Bloc)

(5) เป็นเวทีปรึกษาหารือเรื่องการค้าระหว่างประเทศ

ตอบ 5 หน้า 133 – 134, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค (APEC) มีดังนี้

1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัวทาง การค้าและเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

2 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบ การค้าหลายฝ่าย หรือระบบการค้าแบบเปิด

3 เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการบริการ

4 เพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการค้าของสมาชิก แต่ไม่ใช่เวทีในการเจรจาหรือยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างสมาชิก

81 อาเซียน (ASEAN) ยังไม่ได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีกับประเทศใด

(1) อินเดีย

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) สหภาพยุโรป

(4) เกาหลีใต้

(5) ข้อ 1, 3 และ 4

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเทศที่อาเซียนได้เจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ โครงการ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ (ส่วนการจัดตั้งและเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปนั้นอยู่ระหว่างการเจรจา)

82 เลขาธิการอาเซียน (ASEAN) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 จนถึงปัจจุบันมาจากประเทศใด

(1) มาเลเซีย

(2) เวียดนาม

(3) สิงคโปร์

(4) อินโดนีเซีย

(5) กัมพูชา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สํานักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเลขาธิการอาเซียนในฐานะหัวหน้าสํานักงานจะมีวาระการดํารงตําแหน่ง คราวละ 5 ปี ซึ่งปัจจุบันมีนายเล เลือง มินห์ (Le Luong Minh) ชาวเวียดนาม เป็นเลขาธิการ โดยดํารงตําแหน่งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 สําหรับประเทศไทยเคยมีบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียน 2 ท่าน คือ นายแผน วรรณเมธี และนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

83 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้องค์การระหว่างประเทศเป็นตัวแสดงที่มีความสําคัญในยุคปัจจุบัน

(1) รัฐไม่สามารถแก้ไขตามลําพังได้เพียงรัฐเดียว

(2) รัฐต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

(3) รัฐมหาอํานาจต้องการใช้เป็นเครื่องมือในการหาผลประโยชน์

(4) ลักษณะการพึ่งพาของรัฐเป็นแบบซับซ้อน

(5) การเติบโตของสังคมข่าวสาร

ตอบ 3 หน้า 94, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศระหว่างรัฐหรือระดับรัฐบาล ถือเป็นตัวแสดงที่สูงกว่ารัฐในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นตัวแสดงที่มีความสําคัญในยุคปัจจุบัน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันมีลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างซับซ้อน จนทําให้ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในบางประเด็นหรือบางกรณีไม่สามารถบรรลุผล สําเร็จหรือนําไปสู่การแก้ไขปัญหาได้โดยลําพังเพียงรัฐเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือในกรอบขององค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับสากลและระดับภูมิภาคมาช่วยในการแก้ไขปัญหา รายงานระหว่างประเทศให้สําเร็จลุล่วง

84 ข้อใดไม่ใช่หน่วยงานที่ดูแลระบอบด้านเศรษฐกิจ

(1) WTO

(2) EU

(3) World Bank

(4) NPT

(5) IMF

ตอบ 4 หน้า 84, (คําบรรยาย) ตัวอย่างของระบอบระหว่างประเทศ ได้แก่

1 ระบอบด้านการค้าระหว่างประเทศ มีหน่วยงานที่ดูแลคือ องค์การการค้าโลก (WTO)

2 ระบอบด้านสุขภาพระหว่างประเทศ มีหน่วยงานที่ดูแลคือ องค์การอนามัยโลก (WHO)

3 ระบอบด้านอาวุธนิวเคลียร์ อยู่ภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) และมีหน่วยงานที่ดูแลคือ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)

4 ระบอบด้านเศรษฐกิจ มีหน่วยงานที่ดูแลคือ องค์การการค้าโลก (WTO), ธนาคารโลก (World Bank), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), สหภาพยุโรป (EU), การประชุม การค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNCTAD) เป็นต้น

85 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เกี่ยวกับข้อเลือกข้อใดมากที่สุด

(1) การพิทักษ์รักษาทรัพยากรระหว่างประเทศ

(2) การร่วมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

(3) ข้อตกลงการควบคุมการล่าปลาวาฬ

(4) การรักษาเมืองเกียวโตให้เป็นมรดกโลก

(5) การแก้ปัญหามลภาวะจากจีนที่พัดไปญี่ปุ่น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่กําหนดให้ประเทศภาคีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ในตรัสออกไซด์ ไฮโดรฟลูออไรคาร์บอน เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน และซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ขึ้นสู่บรรยากาศของโลก เพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน

86 ประเทศใดไม่ใช่สมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคงประเภทความถาวรในปัจจุบัน (1) รัสเซีย

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) เยอรมนี

(4) สหราชอาณาจักร

(5) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 3 หน้า 106 – 107, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2 สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในวาระคราวละ 2 ปี

87 เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันคือใคร

(1) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

(2) นายโคฟี อันนัน

(3) นายอันโตนิโอ กูแตร์เรซ

(4) นายโดนัลด์ ทรัมป์

(5) นายวลาดิเมียร์ ปูติน

ตอบ 3 หน้า 107, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายอันโตนิโอ กูแตร์เรซ (Antonio Guterres) ชาวโปรตุเกส ซึ่งเริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

88 ประธานธนาคารโลกคนปัจจุบันคือใคร

(1) นายบัน คีมูน

(2) นายปาสกัล ลามี

(3) นายจิม ยอง คิม

(4) นายไมค์ มัวร์

(5) นายศุภชัย พานิชภักดิ์

ตอบ 3 หน้า 114, (คําบรรยาย) ประธานธนาคารโลกคนปัจจุบัน คือ นายจิม ยอง คิม Jim Yong Kim) ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี ซึ่งนับเป็นประธานธนาคารโลกคนแรกที่มาจากสาขาอาชีพการแพทย์

89 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียน

(1) ประชาคมอาเซียน 2020

(2) การรวมศูนย์บริหารราชการหนึ่งเดียว

(3) ประชาคมเศรษฐกิจ

(4) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

(5) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1997 อาเซียนได้ประกาศ “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) เพื่อผลักดันให้เกิดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) ภายในปี ค.ศ. 2020 แต่ต่อมาอาเซียนได้ร่นระยะเวลาการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เสร็จเร็วขึ้นเป็นภายในปี ค.ศ. 2015

90 ข้อเลือกข้อใดมักถูกมองว่าเป็นปัญหาของกฎบัตรอาเซียน

(1) ไม่มีบทบาทด้านการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน

(2) ยึดหลักฉันทามติและไม่แทรกแซงกิจการภายในประเทศสมาชิก

(3) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

(4) มีกลไกในการระงับข้อพิพาทระหว่างสมาชิก

(5) การรับประเทศติมอร์เลสเตเข้าร่วมเป็นสมาชิก

ตอบ 2 หน้า 129, (คําบรรยาย) กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน ของอาเซียน โดยประเด็นที่มักถูกมองว่าเป็นปัญหาสําคัญของกฎบัตรอาเซียน ก็คือ การยึดหลัก ฉันทามติและไม่แทรกแซงกิจการภายในประเทศสมาชิกตามหลักการ “The ASEAN Way”

91 ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี

(1) การประนีประนอม

(2) การเจรจา

(3) การไกล่เกลี่ย

(4) การใช้กองกําลังทางทหาร

(5) การเข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ตอบ 4 หน้า 138 139, (คําบรรยาย) กระบวนการแก้ปัญหาหรือระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยสันติวิธีตามหมวด 6 ของสหประชาชาติ มี 6 วิธี คือ

1 การเจรจา

2 การไต่สวน

3 การไกล่เกลี่ย

4 การประนีประนอม

5 การตั้งอนุญาโตตุลาการ

6 การเข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

92 ประเทศใดที่ไม่อาจกล่าวได้ว่ายึดถือความเป็นกลางตามกฎหมายระหว่างประเทศ (Neutrality) ในปัจจุบัน

(1) ออสเตรีย

(2) สวีเดน

(3) สวิตเซอร์แลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) มัลต้า

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

93 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการรับรองสภาพความเป็นรัฐ

(1) การกระทําซึ่งรัฐกล่าวยืนยันสภาพหน่วยสังคมทางการเมืองใหม่ที่เป็นอิสระ

(2) รัฐถือเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ

(3) การติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างรัฐจะกระทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองสภาพความเป็นรัฐแล้ว

(4) รัฐนั้นได้เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง แต่ยังไม่อาจให้การรับรองในรูปกฎหมาย

(5) การรับรองโดยนิตินัยเป็นการรับรองต่อสภาพความถูกต้องของรัฐว่ามีผลถูกต้องตามกฎหมาย

ตอบ 2 หน้า 137 138 การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่าง ๆ จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองสภาพความเป็นรัฐแล้ว ซึ่งการรับรองสภาพความเป็นรัฐ คือ การกระทําซึ่งรัฐกล่าวยืนยันสภาพหน่วยสังคมทางการเมืองใหม่ที่เป็นอิสระ มีความสามารถที่จะปฏิบัติพันธะและหน้าที่ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และมีเจตนาที่จะถือว่าหน่วยสังคมทางการเมืองนั้นเป็นสมาชิก ของสังคมระหว่างประเทศ โดยการรับรองสภาพความเป็นรัฐแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การรับรองโดยพฤตินัย หรือการรับรองตามข้อเท็จจริง เป็นการรับรองสภาพความเป็นรัฐ แบบชั่วคราว โดยรัฐต่าง ๆ ยังสงสัยในลักษณะบางประการของรัฐใหม่ จึงเพียงแต่ให้ความ ยินยอมหรือรับรองว่ารัฐนั้นได้เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง แต่ยังไม่อาจให้การรับรองในรูป กฎหมายได้

2 การรับรองโดยนิตินัย หรือการรับรองตามกฎหมาย เป็นการรับรองต่อสภาพความถูกต้องของรัฐแบบเป็นทางการและถาวรว่ามีผลถูกต้องตามกฎหมาย

94 เพราะเหตุใดองค์การระหว่างประเทศจึงเป็นตัวแสดงที่สําคัญในระบบระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน

(1) เพราะรัฐต่าง ๆ ต้องการแย่งชิงให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ

(2) ต้องอาศัยความร่วมมือในกรอบขององค์การระหว่างประเทศในการเจรจาด้านต่าง ๆ

(3) ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในบางกรณีนั้นสามารถแก้ไขปัญหาโดยรัฐเดียวเพียงลําพัง

(4) รัฐแต่ละรัฐต้องการประเทศที่มีอํานาจเหนือกว่ามาปกป้องคุ้มครอง

(5) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันมีลักษณะพึ่งพาอาศัยกันและกันอย่างซับซ้อน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

95 องค์การระหว่างประเทศใดต่อไปนี้ไม่มีลักษณะการเป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลก

(1) องค์การสหประชาชาติ

(2) สันนิบาตชาติ

(3) องค์การการค้าโลก

(4) สหภาพยุโรป

(5) องค์การอาหารและการเกษตรโลก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

96 องค์การการค้าโลก (WTO) และรัฐสมาชิก WTO มีพันธกิจร่วมส่งเสริมสนับสนุน

(1) การค้าเสรีระหว่างประเทศ

(2) การค้าระหว่างประเทศที่เป็นธรรม

(3) การค้ามนุษย์อย่างถูกกฎหมาย

(4) การตั้งกําแพงการค้าระหว่างประเทศ

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 116 – 117, (คําบรรยาย) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การที่มีพันธกิจในการส่งเสริมสนับสนุนการค้าเสรีระหว่างประเทศที่เป็นธรรม ซึ่งก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 โดยมีพัฒนาการมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย ภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATT) ซึ่งปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้ามาเป็นสมาชิก ได้แก่ อัฟกานิสถาน (29 กรกฎาคม ค.ศ. 2016) สําหรับประเทศไทยนั้นเข้ามาเป็นสมาชิกลําดับที่ 59 ของ WTO ซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง

97 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป

(1) การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติฝรั่งเศส

(2) ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป

(3) ประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป

(4) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป

(5) สนธิสัญญามาสทริชท์

ตอบ 1 หน้า 123, (คําบรรยาย) สหภาพยุโรป (European Union : EU) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1993 โดยสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) ซึ่งเป็นการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป ประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป และ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) สหภาพยุโรปมีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ โดยประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด คือ โครเอเชีย (1 กรกฎาคม ค.ศ. 2013)

98 ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับองค์การระหว่างประเทศระหว่างรัฐ

(1) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับสากลและภูมิภาค

(2) เป็นตัวแสดงที่สูงกว่ารัฐในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจัดตั้ง

(3) เป็นสถาบันที่รัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 รัฐ ร่วมกันจัดตั้งขึ้น

(4) เป็นองค์การที่ภาครัฐเปิดให้บริษัทเอกชนเข้าไปมีบทบาท

(5) เป็นเครื่องมือที่ให้แก้ปัญหาในกรณีที่รัฐเดียวไม่สามารถกระทําได้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75 และ 83 ประกอบ

99 ข้อเลือกข้อใดไม่ได้เป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ

(1) สนธิสัญญา

(2) ข้อตกลงระหว่างประเทศ

(3) คําพิพากษาของศาลฎีกาหรือศาลสูงในประเทศสมาชิก

(4) จารีตประเพณีระหว่างประเทศ

(5) หลักกฎหมายทั่วไป

ตอบ 3 หน้า 135 136, (คําบรรยาย) ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1 ลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศข้อตกลงระหว่างประเทศ และคําพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก

2 ลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป

100 ในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อเลือกข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) ประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะนิติบุคคล

(2) กฎหมายระหว่างประเทศก่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมแห่งรัฐ

(3) ได้มาจากการรวมกระบวนการทางนิติบัญญัติในชาติสมาชิก

(4) เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐที่เกิดกรณีขัดแย้งกัน

(5) กฎหมายระห่างประเทศไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction)

ตอบ 3 หน้า 135 – 137 กฎหมายระหว่างประเทศ มีลักษณะดังนี้

1 เป็นเครื่องกําหนดหลักเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงทําให้ประเทศมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะนิติบุคคล

2 ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมแห่งรัฐ

3 เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐที่เกิดกรณีขัดแย้งกัน

4 การได้มาของกฎหมายระหว่างประเทศนั้นไม่ได้ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติหรืออํานาจส่วนกลางใด ๆ แต่มาจากจารีตประเพณีปฏิบัติและข้อตกลงต่าง ๆ ที่ได้ลงนามเห็นชอบโดยแต่ละรัฐ

5 ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้สังคมระหว่างรัฐมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย คือ ไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา

Advertisement