การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 สนธิสัญญาฉบับใดมีความเกี่ยวข้องกับกําเนิดรัฐชาติสมัยใหม่

(1) สนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome)

(2) อนุสัญญาแห่งกรุงเวียนนา (Vienna Convention)

(3) สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty)

(4) สนธิสัญญาปารีส (Paris Treaty)

(5) สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia)

ตอบ 5 หน้า 79, (คําบรรยาย) พัฒนาการของรัฐซาติสมัยใหม่เกิดขึ้นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาเวสต์ฟาเสีย (Treaty of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 เพื่อยุติสงคราม 30 ปี ซึ่งส่งผลทําให้เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก และนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้รัฐแยกตัวเป็นอิสระจากศาสนจักรและมีอํานาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง

2 ข้อใดต่อไปนี้คือลักษณะพื้นฐานในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(1) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy)

(2) ปัจเจกบุคคล (Individual)

(3) องค์รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign Power)

(4) ความเป็นเอกราช (Independence)

(5) กลไกอํานาจกลาง (Central Body)

ตอบ 1 หน้า 2, 196 – 197 ลักษณะพื้นฐานสําคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน คือ มีลักษณะเป็นอนาธิปไตย (Anarchy) ที่ปราศจากองค์กรกลางที่มีอํานาจสูงสุดที่จะรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทําให้รัฐแต่ละรัฐจะต้องยึดถือการรักษาผลประโยชน์ของตนและเสริมสร้างฐานะแห่งอํานาจเป็นหลัก

3 ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของคําว่า “อนาธิปไตย”

(1) การจับกลุ่มแบ่งขั้วของประเทศด้อยพัฒนา

(2) การมีองค์รัฏฐาธิปัตย์ทําหน้าที่ปกป้องประชาชน

(3) การปกครองในระบอบประชาธิปไตย

(4) การได้รับเอกราชของประเทศโลกที่สาม

(5) การปราศจากซึ่งอํานาจสูงสุด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลประโยชน์แห่งชาติ

(1) ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเกียรติภูมิของชาติ

(2) สามารถนําไปสู่ความร่วมมือหรือความขัดแย้งก็ได้

(3) การแสวงหาความกินดีอยู่ดี

(4) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของชาติ

(5) เป็นวัตถุประสงค์ที่รัฐใช้ในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ตอบ 1 หน้า 24 – 30 ผลประโยชน์ของชาติ ถือเป็นสิ่งสําคัญลําดับแรกในการที่รัฐจะใช้ในการดําเนินนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งอาจนําไปสู่ความร่วมมือหรือความขัดแย้งก็ได้ โดยปัจจัยที่เป็นตัวกําหนดผลประโยชน์ของชาติ จะประกอบด้วย

1 ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ เช่น การสร้างดุลอํานาจในสมัยรัชกาลที่ 5 จะทําให้รักษาเอกราชไว้ได้ หรือการยื่นคําขาดของสหรัฐอเมริกาให้สหภาพโซเวียตถอนจรวดขีปนาวุธออกจากคิวบา

2 ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เช่น การมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศของญี่ปุ่น 3 การขยายอํานาจของประเทศ เช่น การล่าอาณานิคมของอังกฤษไปยังดินแดนต่าง ๆ

4 เกียรติภูมิของประเทศ เช่น การเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลก

5 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “รัฐ”

(1) ชุมชนที่จัดตั้งทางการเมืองที่ตั้งขึ้นอย่างถาวร

(2) การเป็นอิสระและปราศจากการควบคุมของรัฐอื่นภายในเขตแดนนั้น ๆ

(3) การเป็นรัฐโดยสมบูรณ์ต้องมีครบอย่างน้อย 3 องค์ประกอบขึ้นไป

(4) ห้วงอากาศเหนือพื้นดินถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ

(5) ประชากรของรัฐหนึ่ง ๆ อาจมีเชื้อชาติเดียวหรือหลายเชื้อชาติก็ได้

ตอบ 3 หน้า 20 – 21 รัฐ หมายถึง ชุมชนที่จัดตั้งทางการเมืองที่ตั้งขึ้นอย่างถาวร ซึ่งประกอบด้วยพลเมืองที่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีอํานาจอธิปไตยในการจัดการปกครอง เป็นอิสระ จากการควบคุมของรัฐอื่นภายในเขตแดนหนึ่ง ๆ และจะต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ จึงจะเป็นรัฐที่สมบูรณ์ได้ดังนี้

1 ประชากร ซึ่งอาจมีเชื้อชาติเดียวหรือหลายเชื้อชาติก็ได้

2 ดินแดน เช่น พื้นดิน พื้นน้ำ และห้วงอากาศ

3 รัฐบาล

4 อํานาจอธิปไตย

 

ตั้งแต่ข้อ 6 – 10 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD)

(2) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund)

(3) องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)

(4) องค์การสหประชาชาติ (United Nations)

(5) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization)

 

6 องค์การใดไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอบ 3 หน้า 139 140, (คําบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้น ในปี ค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษา ความมั่นคงและสร้างสันติภาพ พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ รวมทั้งการป้องกันการก่อ สงครามระหว่างประเทศ และการใช้การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธีแทนการใช้การรุกราน และการทําสงคราม โดยองค์การสันนิบาตชาติได้ยุติการทํางานลงในปี ค.ศ. 1941 และ ได้สิ้นสุดสภาพการเป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 โดยโอนทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดไปให้แก่องค์การสหประชาชาติในปัจจุบัน

7 ปัจจุบันคือธนาคารโลก (World Bank)

ตอบ 1 หน้า 170, 222 ธนาคารโลก (World Bank) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เพื่อช่วยฟื้นฟูประเทศที่เสียหายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในระยะแรกจะช่วยเหลือผ่านแผนการมาร์แชล (Marshal Plan) ตามแนวทางของสหรัฐอเมริกาที่เป็นผู้คิดแผนการนี้ขึ้น

8 ในอดีตทําหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประเทศที่เสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านแผนการมาร์แชล (Marshall Plan)

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

9 ในช่วงแรกของการก่อตั้งใช้ชื่อว่า “ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า” (General Agreement on Tariffs and Trade)

ตอบ 5 หน้า 174 175, (คําบรรยาย) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การที่มีพันธกิจในการส่งเสริมสนับสนุนการค้าเสรีระหว่างประเทศที่เป็นธรรม ซึ่งก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 โดยมีพัฒนาการมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย ภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATT) ซึ่งปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้ามาเป็นสมาชิก ได้แก่ อัฟกานิสถาน (29 กรกฎาคม ค.ศ. 2016) สําหรับประเทศไทยนั้นเข้ามาเป็นสมาชิกลําดับที่ 59 ของ WTO ซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง

10 องค์การระหว่างประเทศที่เปรียบเสมือน “แม่” ขององค์การระหว่างประเทศทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 163, 169 องค์การสหประชาชาติ (United Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและมีความสําคัญมากที่สุดภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย UN นี้ จะเปรียบเสมือน “แม่” ขององค์การระหว่างประเทศทั้งมวล เนื่องจากเป็นองค์การหลักที่มีกิจการหลากหลายด้าน และมีการก่อตั้งทบวงชํานาญการพิเศษเพื่อดําเนินงานต่าง ๆ จํานวนมาก

11 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(1) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

(2) บรรษัทข้ามชาติ (MNCs)

(3) องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch)

(4) นครวาติกัน (Vatican City)

(5) กลุ่มเบอร์ซาตู (United Front for the Independence of Pattani)

ตอบ 4 หน้า 19 – 22, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actor) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล, รัฐมนตรีต่างประเทศ, ทูต (เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต), กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลและกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น

2 ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประชาคมอาเซียน, องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น Greenpeace องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน, บรรษัทข้ามชาติหรือธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจหลายชาติ (MNCS/TNCs) เช่น บริษัท CP บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม AI Qaeda กลุ่ม PLC กลุ่มเบอร์ซาตู และกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ

ตั้งแต่ข้อ 12 – 17. จงใช้ตัวเลือกที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติดังต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) เกียรติภูมิของประเทศ

(2) การขยายอํานาจของประเทศ

(3) การรักษาสนธิสัญญาตามข้อกําหนดของมหาอํานาจ

(4) ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ

(5) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

12 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยในการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

13 การรักษาเอกราชในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นตัวอย่างของผลประโยชน์แห่งชาติด้านใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

14 การยื่นคําขาดของสหรัฐอเมริกาให้สหภาพโซเวียตถอนอาวุธจรวดออกจากคิวบาในวิกฤติการณ์คิวบา (Cuban Missile Crisis)

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

15 การพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศญี่ปุ่น

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

16 บทบาทของอังกฤษในการยึดครองอินเดียเป็นอาณานิคม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

17 การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพของประเทศต่าง ๆ ในการจัดแข่งขันกีฬาระดับโลก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

18 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ที่มาของการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ

(1) สภาพดินฟ้าอากาศ

(2) กลุ่มอิทธิพลในประเทศ

(3) ผู้มีอํานาจทางการเมือง

(4) ประชามติ

(5) ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการ

ตอบ 1 หน้า 31 ที่มาของการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่

1 ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของแนวนโยบายรัฐ

2 ผู้มีอํานาจทางการเมืองของประเทศ

3 ประชามติหรือกลุ่มอิทธิพลในประเทศ

19 นโยบายต่างประเทศที่มีเหตุผลหมายถึงนโยบายที่มีลักษณะใด

(1) การนํามาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของประเทศ

(2) การนํามาซึ่งผลประโยชน์แก่ประเทศให้ได้พอประมาณ

(3) การก้าวพ้นขอบเขตความสามารถของประเทศ

(4) การทุ่มเทค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าที่มี

(5) การยอมเข้าสู่ความเสี่ยงเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ

ตอบ 1 หน้า 32 นโยบายต่างประเทศที่ดี คือนโยบายที่มีเหตุผลและจะต้องนํามาซึ่งผลประโยชน์ของประเทศตนให้ได้มากที่สุด โดยนําไปสู่สันติภาพและความมั่นคงของประเทศในที่สุด

ตั้งแต่ข้อ 20. – 25, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) กําแพงภาษี (Tariff)

(2) การกีดกันทางการค้า (Boycott)

(3) การงดส่งสินค้าออกไปขาย (Embargo)

(4) การทุ่มสินค้า (Dumping)

(5) การปิดล้อมฝั่ง (Blockade)

 

20 เป็นตัวอย่างของเครื่องมือทางเศรษฐกิจในยามสงคราม

ตอบ 5 หน้า 57 การปิดล้อมฝั่ง (Blockade) เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในยามสงครามและมักใช้ควบคู่กับเครื่องมือทางด้านการทหาร ซึ่งวิธีการนี้จะดําเนินการโดยพยายามควบคุม ทรัพยากรที่สําคัญทางยุทธศาสตร์ เพื่อทําให้อีกฝ่ายอ่อนแอลงจากการขาดแคลนทรัพยากรที่มาจากภายนอกประเทศและต้องยอมแพ้ไปในที่สุด

21 การที่รัฐบาลห้ามนําสินค้าบางชนิดหรือทั้งหมดของประเทศหนึ่ง ๆ เข้ามาในประเทศ

ตอบ 2 หน้า 53 การกีดกันทางการค้า (Boycott) คือ การที่รัฐบาลห้ามนําสินค้าบางชนิดหรือทั้งหมดของประเทศที่รัฐบาลมุ่งกีดกันทางการค้าเข้าประเทศ แต่ถ้าหากรัฐบาลไม่ได้ทําการค้าโดยตรง กับประเทศที่ถูกกีดกันทางการค้าก็จะบังคับให้เอกชนที่ทําการค้ากับประเทศนั้นต้องขออนุญาตในการนําเข้าสินค้า หากฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษ

22 การเก็บภาษีเพื่อป้องกันสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศถูกกระทบจากการแข่งขันจากประเทศอื่น

ตอบ 1 หน้า 53 กําแพงภาษี (Tariff) หมายถึง การเก็บภาษีที่ส่งออกหรือนําเข้าประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐหรือเพื่อป้องกันสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศถูกกระทบกระเทือนจากการแข่งขันกับสินค้านําเข้าจากประเทศอื่น ๆ

23 การห้ามขายสินค้าบางประเภทหรือทั้งหมดไปยังประเทศใดประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศก็ได้

ตอบ 3 หน้า 54 การงดส่งสินค้าออกไปขาย (Embargo) เป็นการห้ามขายสินค้าบางประเภทหรือทั้งหมดไปยังประเทศ.ดประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศก็ได้ ซึ่งการงดสั่งสินค้าออกไปขายนี้ก็เพื่อสร้างความอ่อนแอให้แก่ประเทศนั้น จนทําให้ต้องหันมาขอความช่วยเหลือในที่สุด

24 ความพยายามในการควบคุมทรัพยากรเพื่อทําให้อีกฝ่ายอ่อนแอลงอันเนื่องมาจากไม่มีทรัพยากรจากนอกประเทศ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

25 การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาที่ถูกมากเพื่อกดดันให้คู่แข่งถอนตัวออกจากตลาด

ตอบ 4 หน้า 55 การทุ่มสินค้า (Dumping) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาถูกมากหรือขายในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิต เพื่อช่วยให้สินค้าที่ตกค้างอยู่สามารถขายยังต่างประเทศได้และอาจทําให้คู่แข่งขันต้องอ่อนแอลงจนต้องถอนตัวออกไปจากตลาด

26 ข้อใดสะท้อนลักษณะของยุคกลางในยุโรปได้อย่างชัดเจน

(1) มีอํานาจการปกครองแบบจักรวรรดิและศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม

(2) การเดินเรือเพื่อแสวงหาดินแดนใหม่

(3) เหตุผลเป็นมาตรวัดของสรรพสิ่ง

(4) กษัตริย์มีอํานาจสูงสุดในการปกครองดินแดน

(5) เมืองเป็นศูนย์กลางของการค้า

ตอบ 2 หน้า 78 หลังจากอาณาจักรโรมันล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ยุโรปก็เข้าสู่ยุคกลางหรือยุคมืด (Middle Age) โดยอํานาจของสถาบันทางศาสนามีเหนือกว่าสถาบันทางการเมือง และการปกครองจะเป็นแบบระบบศักดินา (Feudalism) ที่อํานาจตกอยู่ในมือขุนนางซึ่งในยุคนี้เองที่ยุโรปเริ่มมีการออกเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่ด้วยการเดินเรือ

27 สนธิสัญญาที่เป็นต้นกําเนิดรัฐสมัยใหม่เป็นผลจากสงครามอะไร

(1) สงครามสามสิบปี

(2) สงครามร้อยปี

(4) สงครามอังกฤษ-สเปน

(5) มหาสงคราม

ตอบ 1 หน้า 79 สงครามศาสนาเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1618 จนกลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อในยุโรปนานถึง 30 ปี จนถูกขนานนามว่า “สงคราม 30 ปี” และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1648 ด้วยการลงนาม ในสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Peace at Westphalia) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกําเนิดชุมชนทางการเมืองรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “รัฐ-ชาติ” (Nation-State)

28 ความขัดแย้งในเรื่องใดเป็นเหตุที่ทําให้เกิดรัฐสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1648

(1) ทรัพยากร

(2) ศาสนา

(3) แหล่งเพาะปลูกทางการเกษตร

(4) เส้นทางการค้าในแม่น้ำ

(5) มุมมองทางศิลปะ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

29 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(1) ระบบการผลิตแบบยังชีพ

(2) การใช้เครื่องจักรในการผลิต

(3) เริ่มต้นที่ฝรั่งเศส

(4) ใช้แรงงานจากสัตว์เป็นพื้นฐาน

(5) ใช้เวลาในการผลิตเพิ่มขึ้น

ตอบ 2 หน้า 79 การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบและวิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม

30 กลุ่มพันธมิตรไตรภาคี (Triple Alliance) ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่

(1) เยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี ออตโตมาน

(2) ออสเตรีย-ฮังการี ฝรั่งเศส สเปน

(3) อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส

(4) อังกฤษ รัสเซีย ออตโตมาน

(5) ฝรั่งเศส เซอร์เบีย อิตาลี

ตอบ 1 หน้า 82 83, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – 1918โดยมีสมรภูมิรบเฉพาะในยุโรป ซึ่งแตกต่างจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีสมรภูมิรบอยู่ทั่วโลก โดยสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 กลุ่ม คือ

1 กลุ่มพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี  ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย

2 กลุ่มสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

31 เหตุการณ์ในข้อใดเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 1 มากที่สุด

(1) เยอรมนีประกาศผนวกดินแดนสุเดนเตน

(2) การโจมตีอ่าวเพิร์ล

(3) ฝรั่งเศสรุกรานรัสเซีย

(4) การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

(5) การประกาศสงครามของออสเตรีย-ฮังการีต่อเซอร์เบีย

ตอบ 5 หน้า 83 สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เมื่ออาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี และพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ จากกาฟรีโล ปรินซิป เด็กหนุ่มชาวเซอร์เบีย ซึ่งวิกฤติการณ์ดังกล่าวนําไปสู่การประกาศสงคราม ของออสเตรีย-ฮังการีต่อเซอร์เบีย และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1

32 อาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ เป็นมกุฎราชกุมารของประเทศใด

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) ออตโตมาน

(4) ออสเตรีย-ฮังการี

(5) เซอร์เบีย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

33 สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงจากการประชุมสันติภาพเมื่อ ค.ศ. 1919 ที่ประเทศใด

(1) อังกฤษ

(2) เยอรมนี

(3) ฝรั่งเศส

(4) อิตาลี

(5) ออสเตรีย

ตอบ 3 หน้า 85, (คําบรรยาย) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ก็ได้มีการจัดประชุมสันติภาพที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1919 โดยผลการประชุมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ตกลง ให้จัดตั้งสันนิบาตชาติขึ้น เพื่อทําหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างรัฐ งบประมาณ ปัญหาเศรษฐกิจรวมทั้งสนธิสัญญาระหว่างรัฐ

34 ข้อใดไม่ใช่ประเทศที่อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied) ในสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) สหภาพโซเวียต

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) จีน

(5) อิตาลี

ตอบ 5 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945) เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา

2 ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

35 ประเทศที่เป็นผู้ประกาศวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา คือ

(1) จีน

(2) สหภาพโซเวียต

(3) อินโดนีเซีย

(4) อินเดีย

(5) ญี่ปุ่น

ตอบ 5 หน้า 86 ญี่ปุ่นเริ่มเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยการบุกแมนจูเรียในปี ค.ศ. 1931 และเสนอแผนการสถาปนา “วงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” (Prosperity of the East Asia) รวมไปถึงโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ในปี ค.ศ. 1941 และยกพลขึ้นบกในไทยและมลายา ซึ่งการกระทําของญี่ปุ่นครั้งนี้ถือเป็นการเปิดสงครามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เรียกว่า “สงครามมหาเอเชียบูรพา”

36 ประเทศใดไม่ได้เป็นผู้ยึดครองเยอรมนีหลังจากที่เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) จีน

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) อังกฤษ

(4) สหภาพโซเวียต

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 1 หน้า 87 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เยอรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนและถูกยึดครองโดยมหาอํานาจที่ร่วมสงครามทั้ง 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

 

ตั้งแต่ข้อ 37. – 39. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) สนธิสัญญาวอร์ซอ

(2) แผนการมาร์แชล

(3) สนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ

(4) ระบบโลกแบบสองขั้วอํานาจ

(5) การทูตปิงปอง

 

37 การสร้างกลุ่มพันธมิตรทางทหารของสหภาพโซเวียต

ตอบ 1 หน้า 88 ในช่วงของสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจแก่ยุโรปเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและขัดขวางการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ โดยการจัดตั้ง องค์การความร่วมมือทางทหารเพื่อการป้องกันร่วมกันหรือสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) ส่วนสหภาพโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกก็ได้ร่วมกันจัดตั้ง สภาเพื่อความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจร่วมกัน (COMECON) และองค์การร่วมมือทางทหารหรือสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) ขึ้น

38 การสร้างกลุ่มพันธมิตรทางทหารในยุโรปของสหรัฐอเมริกา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

39 การสานสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น

ตอบ 5 หน้า 89 ลักษณะการคานอํานาจของประเทศจีนในช่วงสงครามเย็น คือ การสานสัมพันธ์ติดต่อกับประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย “การทูตปิงปอง” (Pingpong Diplomacy) เนื่องจาก สหภาพโซเวียตถือเป็นภัยที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานั้น จีนจึงได้พยายามหาวิธีการคานอํานาจสหภาพโซเวียต

40 ข้อใดจับคู่ถูกต้อง

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1 – การประชุมที่เวียนนา

(2) สงครามสามสิบปี – สนธิสัญญาแวร์ซายส์

(3) สงครามเย็น – สันนิบาตชาติ

(4) สงครามโลกครั้งที่ 2 – สหประชาชาติ

(5) สงครามนโปเลียน – สนธิสัญญากรุงโรม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 41, 50,

หากข้อความใดถูกให้เลือกตอบ (1)

หากข้อความใดผิดให้เลือกตอบ (2)

 

41 นโยบายต่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อรักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์แห่งชาติ ตอบ 1 หน้า 207 นโยบายต่างประเทศ หมายถึง หลักการกว้าง ๆ ซึ่งรัฐหนึ่งวางไว้เพื่อกําหนดและควบคุมการกระทําของตนในสภาพแวดล้อมของสังคมระหว่างประเทศ โดยที่นโยบายต่างประเทศ มีจุดมุ่งหมายที่จะรักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่าง ๆ ดังนั้นนโยบายต่างประเทศ จึงเปรียบเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างอํานาจแห่งชาติกับผลประโยชน์แห่งชาติ ยิ่งรัฐมีอํานาจการต่อรองมากเท่าไหร่ก็จะนํามาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติมากเท่านั้น

42 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ เห็นว่า อาจแยกนโยบายต่างประเทศและนโยบายภายในได้อย่างชัดเจน

ตอบ 2 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ ได้เคยให้ความเห็นว่า ความเกี่ยวกันระหว่างนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐไม่สามารถแยกกันได้ เนื่องจากการดําเนินนโยบายต่างประเทศ ในปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางทหารเท่านั้น แต่ต้องอาศัยการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนประกอบสําคัญด้วย

43 ผู้กําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐต่าง ๆ คือ รัฐบาล

ตอบ 1 หน้า 210 ในรัฐต่าง ๆ ผู้ที่มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศก็คือ รัฐบาลซึ่งเป็นผู้แสดงบทบาทในการเมืองระหว่างประเทศในนามของรัฐ

44 ในกรณีที่รัฐมีการปกครองแบบรัฐสภาหรือแบบประธานาธิบดี ฝ่ายนิติบัญญัติมีบทบาทในการรับรองนโยบายต่างประเทศ

ตอบ 1 หน้า 210, (คําบรรยาย) การกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐที่มีการปกครองแบบรัฐสภาหรือประธานาธิบดีนั้น ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้มีบทบาทในการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐและฝ่ายนิติบัญญัติจะเป็นผู้ให้การรับรองโดยการลงมติไว้วางใจหรือไม่ต่อนโยบายของฝ่ายบริหาร

45 นโยบายต่างประเทศเพื่อการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมมักเป็นแนวนโยบายของรัฐขนาดเล็ก

ตอบ 2 หน้า 211 นโยบายเพื่อการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่างประเทศ หมายถึง นโยบายต่างประเทศที่จะพยายามรักษาสภาพการกระจายอํานาจและทรัพยากรธรรมชาติในสังคม ระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อชาติของตน โดยประเทศที่มักจะใช้นโยบายลักษณะนี้จะเป็นประเทศมหาอํานาจนั่นเอง

46 การดําเนินการทางการทูตและการเจรจาเป็นเครื่องมือทางสันติ (Peaceful Means) ของการดําเนินนโยบายต่างประเทศ

ตอบ 1 หน้า 212 เครื่องมือทางสันติ (Peaceful Means) หมายถึง การดําเนินการทางการทูตและการเจรจา ซึ่งเป็นความพยายามของรัฐที่จะใช้กลอุบายความเฉลียวฉลาด รอบคอบและความชํานาญทางการทูต เพื่อให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ของนโยบายต่างประเทศของรัฐ

47 มาตรการทางทหารเป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศด้วยเครื่องมือทางการใช้กําลัง (Use of Force) ตอบ 1 หน้า 214 เครื่องมือทางการใช้กําลัง (Use of Force) หมายถึง การใช้มาตรการทางทหารในการเข้าทําสงครามเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศ ซึ่งการใช้กําลังนี้จะเป็นมาตรการขั้นต่อเนื่องของวิธีการทางสันติ

48 การที่นายกรัฐมนตรีเนวิลล์ แชมเบอร์แลน ของอังกฤษ ยอมรับการครอบครองซูเดเทนโดยเยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นตัวอย่างนโยบายแห่งการเอาใจ (Appeasement Policy) อย่างหนึ่ง

ตอบ 1 หน้า 216 นโยบายแห่งการเอาใจ (Appeasement Policy) เป็นกลยุทธ์การดําเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่รัฐหนึ่งยินยอมให้รัฐที่เป็นเป้าหมายของนโยบายนี้ดําเนินการ อันไม่เป็นผลดีกับผลประโยชน์ของตนบางประการ ด้วยความหวังว่ารัฐที่เป็นเป้าหมายจะพอใจ และยุติการดําเนินการอันจะเกิดผลเสียอย่างรุนแรงกับผลประโยชน์ของรัฐนั้น เช่น การที่อังกฤษยอมรับการครอบครองซูเดเทนของเยอรมนีในสมัยของนายกรัฐมนตรีเนวิลล์ แชมเบอร์แลน

49 นโยบายรบและเจรจา (Hit and Talk Policy) เป็นการดําเนินนโยบายการใช้กําลังที่ไม่หวังผลของการใช้กําลังดังกล่าวต่อการเจรจาที่ดําเนินอยู่

ตอบ 2 หน้า 217 นโยบายรบและเจรจา (Hit and Talk Policy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศโดยการเอาชัยชนะในสนามรบไปต่อรองบนโต๊ะเจรจา โดยหวังว่าผลของการประชุมเจรจาจะออกมาในลักษณะที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายตนมากกว่าคู่กรณี

50 นโยบายการทูตเรือปืน (Gunboat Diplomacy) เป็นการใช้นโยบายของชาติที่อ่อนแอกว่าตอบโต้ชาติที่แข็งแกร่งกว่า

ตอบ 2 หน้า 219 นโยบายการทูตเรือปืน (Gunboat Diplomacy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศของชาติมหาอํานาจหรือชาติที่เข้มแข็งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทหาร ในการบีบบังคับให้ชาติที่อ่อนแอกว่าทําหรือไม่ทําการใด ๆ ตามความต้องการของตน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการรังแก ชาติที่อ่อนแอกว่า เช่น ฝรั่งเศสบีบบังคับให้ไทยยอมเสียดินแดนบางส่วนในอินโดจีนให้กับฝรั่งเศส เป็นต้น

51 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศ

(1) UN

(2) ASEAN

(3) WTO

(4) NATO

(5) Coca-Cola

ตอบ 5 หน้า 135 – 136 องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่น สันนิบาตชาติ (UN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC),องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU) เป็นต้น

2 องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU),อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การ สันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เป็นต้น ส่วน Coca-Cola ถือเป็นบรรษัทข้ามชาติ (Multi-National Cooperation : MNCS)

52 IGOs ย่อมาจาก

(1) International Governmertal Organizations

(2) Intra Government Organs

(3) International Non-Governmental Organizations

(4) Internet Government Organizations

(5) Intersection of Government Organizations

ตอบ 1 หน้า 135 136 ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (International Governmental Organizations : IGOs) หมายถึง สถาบันที่รัฐหรือตัวแทนของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดําเนินการด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการถาวร

2 องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (International Non-Governmental Organizations : INGOs) หมายถึง องค์การที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาล แต่เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง

53 INGOs ย่อมาจาก

(1) International Governmental Organizations

(2) Intra Government Organs

(3) International Non-Governmental Organizations

(4) Internet Government Organizations

(5) Intersection of Government Organizations

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

54 สหประชาชาติได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 2001

(2) 1980

(3) 1918

(4) 1995

(5) 1941

ตอบ 4 หน้า 163 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมด 51 ประเทศ และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด ( 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 55 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1946 และมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

55 สมาชิกก่อตั้งสหประชาชาติมีกี่ประเทศ

(1) 4

(2) 161

(3) 51

(4) 170

(5) 15

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

56 ประเทศใดที่เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเป็นประเทศล่าสุด

(1) ประเทศไทย

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) ติมอร์-เลสเต

(4) มอนเตเนโกร

(5) เซาท์ซูดาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

57 ประเทศใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ

(1) ประเทศไทย

(2) ไต้หวัน

(3) จีน

(4) มอนเตเนโกร

(5) เซาท์ซูดาน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

58 สหประชาชาติมีประเทศสมาชิกทั้งหมดที่ประเทศ

(1) 150

(2) 161

(3) 15

(4) 166

(5) 193

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

59 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายและหลักการของสหประชาชาติ

(1) ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน

(3) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติ

(4) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

(5) ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทํา

ตอบ 5 หน้า 141 142, 165 – 166 จุดมุ่งหมายและหลักการที่สําคัญขององค์การสหประชาชาติ มีดังนี้

1 ธํารงไว้เพื่อการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะดําเนินมาตรการร่วมกันเพื่อป้องกันการคุกคามสันติภาพโดยใช้สันติวิธี

2 สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน และควบคุมตรวจสอบรัฐบาลของแต่ละประเทศให้เคารพในสิทธิมนุษยชนของพลเมือง

3 พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

4 เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

 

60 ข้อใดคือตัวแสดงที่เป็นรัฐ

(1) นปช.

(2) สายการบิน Japan Airline

(3) พรรครีพับลิกัน

(4) จังหวัดลําปาง

(5) ประเทศเวียดนาม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

 

61 ข้อใดคือองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค

(1) League of Nations

(2) International Red Cross

(3) WTO

(4) UNEP

(5) ASEAN

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

62 ข้อใดไม่ใช่องค์กรของสหประชาชาติ

(1) WHO

(2) UNDP

(3) FAO

(4) GATT

(5) NATO

ตอบ 5 หน้า 168 – 169 หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ ได้แก่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก (World Court), โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), โครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ (UNEP), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), ธนาคารเพื่อการบูรณะ และพัฒนาระหว่างประเทศหรือธนาคารโลก (World Bank), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและเกษตร (FAO), องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO), ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) เป็นต้น

63 องค์การการค้าโลกมีพัฒนาการมาจากองค์การระหว่างประเทศองค์การใด

(1) GATT

(2) UNDP

(3) FAO

(4) UNEP

(5) NATO

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

64 สํานักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติตั้งอยู่ที่เมืองใด

(1) กรุงเทพ

(2) ลอนดอน

(3) ปารีส

(4) โตเกียว

(5) นิวยอร์ก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

65 ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์การก่อตั้งองค์การการค้าโลก

(1) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน

(3) ยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

(4) เป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

(5) กํากับการดําเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้า

ตอบ 2 หน้า 174 วัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งองค์การการค้าโลก มีดังนี้

1 เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

2 เพื่อกํากับการดําเนินการของประเทศ สมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1994 (GATT 1994)

3 เพื่อยุติหรือระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

4 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

66 WTO ย่อมาจากอะไร

(1) World Transfer Organization

(2) World Together Organization

(3) World Toilet Organization

(4) World Trade Organization

(5) Women Travel Organization

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

67 ASEAN มีประเทศสมาชิกทั้งหมดที่ประเทศ

(1) 4

(2)161

(3) 51

(4) 10

(5) 15

ตอบ 4 หน้า 180 – 181, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 โดยการลงนาม ในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ของประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) อาเซียนมีสมาชิก ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ (พม่า) และกัมพูชา ส่วนประเทศติมอร์-เลสเตอยู่ระหว่างขอเข้าเป็นสมาชิก

68 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกของ ASEAN

(1) ประเทศไทย

(2) เวียดนาม

(3) ติมอร์-เลสเต

(4) สิงคโปร์

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

69 องค์การสันนิบาตชาติเกิดขึ้นหลังสงครามใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามเวียดนาม

(3) สงครามโลกครั้งที่ 2

(4) สงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา

(5) สงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

70 องค์การสหประชาชาติเกิดขึ้นหลังสงครามใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามเวียดนาม

(3) สงครามโลกครั้งที่ 2

(4) สงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา

(5) สงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

71 ASEAN เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคใด

(1) อเมริกาเหนือ

(2) อเมริกาใต้

(3) ยุโรป

(4) เอเชียกลาง

(5) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

72 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างรัฐบาล

(1) ประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่งที่มีความเสมอภาคกัน

(2) ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

(3) รัฐเหล่านี้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ

(4) รัฐตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

(5) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

ตอบ 5 หน้า 159 ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มี 4 ประการ ดังนี้

1 ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) นั่นคือ สมาชิกต้องมีฐานะเป็นรัฐ เทานั้น เนื่องจากรัฐสมาชิกเหล่านี้จะมีอํานาจอธิปไตย เป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและ มีความเสมอภาคกันในการออกเสียง

2 ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก

3 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และ มุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ

4 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมี เครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

73 NATO เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคใด

(1) อเมริกาเหนือ

(2) อเมริกาใต้

(3) ยุโรป

(4) เอเชียกลาง

(5) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 3 หน้า 222, (คําบรรยาย) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรป ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เพื่อสร้างความมั่นคงและส่งเสริม ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2017) มีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม อังกฤษ เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี กรีซ ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส ตุรกี สหรัฐอเมริกา แคนาดา สเปน สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย บัลแกเรีย โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย โครเอเชีย และแอลเบเนีย

74 เลขาธิการสหประชาชาติในปัจจุบันคือใคร

(1) Dag Hammarskjold

(2) Antonio Guterres

(3) Boutros Boutros-Ghali

(4) Kofi Annan

(5) Ban Ki-Moon

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส (Antonio Guterres) ชาวโปรตุเกส เริ่มดํารงตําแหน่งในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

75 เลขาธิการสหประชาชาติในปัจจุบันมาจากประเทศใด

(1) ประเทศไทย

(2) เวียดนาม

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) สิงคโปร์

(5) โปรตุเกส

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

76 AEC จะรวมตัวอย่างเป็นทางการในเดือนอะไร

(1) มกราคม

(2) พฤษภาคม

(3) สิงหาคม

(4) กันยายน

(5) ธันวาคม

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2015 กลุ่มประเทศในอาเซียน (ASEAN) จะก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อย่างเป็นทางการ โดยประชาคมอาเซียนนี้จะประกอบด้วย 3 เสาหลักที่สําคัญ คือ

1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC)

2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

3 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)

77 องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคในข้อใดต่อไปนี้ที่กําลังอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนเพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคม

(1) NATO

(2) APEC

(3) ASEAN

(4) OAS

(5) WHO

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 องค์การระหว่างประเทศที่กําลังประสบปัญหาทางด้านการเงินและหนี้สินของประเทศสมาชิกได้แก่องค์การใด

(1) OAU

(2) OAS

(3) ASEAN

(4) SEATO

(5) EU

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันสหภาพยุโรป (EU) กําลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในเขตยูโรโซน หรือที่เรียกว่า วิกฤตการณ์ยูโรโซน ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินและ หนี้สาธารณะ โดยเริ่มต้นจากการเกิดภาวะเศรษฐกิจการเงินตกต่ําในกรีซ แล้วส่งผลกระทบลุกลาม ไปถึงภาวะเศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่อยู่ในเขตยูโรโซนด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน จึงทําให้เกิดความอ่อนแอต่อฐานะเศรษฐกิจการคลังในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอย่างมาก

79 เหตุผลหลักที่มีการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศในระดับโลกและระดับภูมิภาคเมื่อแรกเริ่มเกิดจากแรงผลักดันใดในข้อต่อไปนี้

(1) เพื่อใช้เป็นเวทีเจรจา

(2) เพื่อแสวงหาสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง

(3) เพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยน

(4) เพื่อถ่วงดุลอํานาจ

(5) เพื่อไม่ให้เกิดสงคราม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทในฐานะตัวแสดงบนเวทีโลกในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเหตุผลหลักของการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ก็คือ เพื่อแสวงหาสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงของมนุษยชาติ

80 องค์การระหว่างประเทศที่จัดอยู่ในประเภทเพื่อความมั่นคงและส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิกคือข้อใด

(1) ASEAN

(2) UNESCO

(3) FAO

(4) NATO

(5) AU

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

81 FTA หมายถึงข้อใด

(1) เขตเศรษฐกิจพิเศษ

(2) Free on Board

(3) เขตการค้าเสรี

(4) การมีภาษีอัตราเดียวกัน

(5) Free To At

ตอบ 3 (คําบรรยาย) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) หรือข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) เป็นความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป หรือเป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มประเทศที่ทําข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติกับประเทศนอกกลุ่ม นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเปิดเสรีด้านการบริการและการลงทุนด้วย

82 การเมืองระหว่างประเทศมีการศึกษาด้านใดบ้าง

(1) การค้า

(2) การทหาร

(3) การเมือง

(4) การธนาคาร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics) หรือเรียกว่าการเมืองระหว่างชาติ (Politics Among Nations) หรือการเมืองโลก (World or Global Politics) เป็นการศึกษาการเมืองและมิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ เช่น การค้า การทหาร การธนาคาร โดยให้ความสําคัญกับผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ ผลประโยชน์แห่งชาติอํานาจรัฐ และบทบาทของมหาอํานาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

83 อะไรคือตัวอย่างของโลกาภิวัตน์

(1) แมคโดนัล

(2) ฮัลโหลคิตตี้

(3) Facebook

(4) Line

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ยุคแรกของการเกิดโลกาภิวัตน์ (Globalization) คือ สมัยจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิพาเธีย และราชวงศ์ฮั่นที่สร้างเส้นทางสายไหมเพื่อติดต่อค้าขาย ส่วนโลกาภิวัตน์ ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่โลกไร้พรมแดนทั้งด้านภูมิศาสตร์และกาลเวลาเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 การเกิดโลกาภิวัตน์จะมีผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน การทหาร การขนส่ง การสื่อสาร เทคโนโลยี วัฒนธรรม และการพัฒนาสังคม เช่น

1 ทําให้เกิดการหลั่งไหลของสินค้าและบริการไปยังประเทศต่าง ๆ อย่างเสรี เช่น แมคโดนัล ฮัลโหลคิตตี้

2 ทําให้ผู้คนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวกทั่วโลกเสมือนไร้พรมแดน

3 ภาครัฐ ภาคเอกชน และปัจเจกบุคคลสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านช่องทางการสื่อสารทางไกล หรือที่เรียกว่า โลก Social Networks หรือโลก Social Media เช่น Facebook, Line

84 เศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความสําคัญกับการเมืองด้านใด

(1) การเจรจาและการทูต

(2) เหตุผลแห่งสงคราม

(3) การล่าอาณานิคม

(4) การพัฒนาที่ยั่งยืน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความสําคัญกับการเมืองในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 การเจรจาและการทูต

2 เหตุผลแห่งสงคราม

3 การล่าอาณานิคม

4 การพัฒนาที่ยั่งยืน

85 ข้อใดคือเป้าหมายของการศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ

(1) การเมืองในประเทศ

(2) การเมืองระหว่างประเทศ

(3) เศรษฐกิจภายในประเทศ

(4) เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics Economy : IPE) เป็นการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการเมืองกับเศรษฐศาสตร์ ระหว่างประเทศ โดยเกิดขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง ระหว่างประเทศจะให้ความสําคัญกับเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยครอบคลุมการศึกษา ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ หลักการค้าเสรี กลไกราคาในตลาดโลก การเจรจา ทางการค้าระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษาตัวแสดงในเวทีการเมืองโลกทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐ และตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ และองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs)

86 เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศศึกษาตัวแสดงในการเมืองโลกใดบ้าง

(1) บรรษัทข้ามชาติ

(2) รัฐ

(3) องค์การระหว่างประเทศ

(4) NGOs

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

87 ประเทศใดมีรายได้ต่อหัวของประชากรมากที่สุดในอาเซียน

(1) สิงคโปร์

(2) กัมพูชา

(3) เวียดนาม

(4) ลาว

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากการเปรียบเทียบประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่า

1 อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด

2 สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่มีความมั่นคงทางการเงินและมีรายได้

ต่อหัวประชากรมากที่สุด

3 ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกันยาวที่สุด

4 สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

88 ประเทศใดใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

(1) ไทย

(2) อินโดนีเซีย

(3) สิงคโปร์

(4) เวียดนาม

(5) ลาว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

89 ประเทศใดที่ได้รับอิสรภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประเทศล่าอาณานิคม

(1) ไทย

(2) จีน

(3) ญี่ปุ่น

(4) มาเลเซีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) มาเลเซีย ได้รับอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ดังนั้นจึงถือว่า วันที่ 31 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันชาติมาเลเซีย

90 ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมประเทศใดมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก

(1) รัสเซีย

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) อินเดีย

(4) อังกฤษ

(5) จีน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น อังกฤษถือเป็นประเทศมหาอํานาจทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองอันดับหนึ่งของโลก ทั้งนี้เนื่องจากอังกฤษมีสถานีการค้าและอาณานิคมทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา เอเชีย และแอฟริกา จนได้รับสมญานามว่าเป็นดินแดนแห่งพระอาทิตย์ไม่ตกดิน

91 จีนแพ้สงครามให้กับประเทศใดที่ทําให้เสียเกาะฮ่องกง

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) รัสเซีย

(3) ญี่ปุ่น

(4) อังกฤษ

(5) เยอรมนี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สงครามฝิ่น (The Opium War) เป็นสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์แมนจูช่วงปี ค.ศ. 1830 และยุติลงเนื่องจากกองทหารอังกฤษสามารถเอาชนะกองทัพ จีนได้ ทําให้จีนต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาไม่เสมอภาคฉบับแรกกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1842 เรียกว่า “สนธิสัญญาสันติภาพนานกิง” (The Treaty of Nanking) และถูกบีบบังคับให้ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่า 5 แห่งเพื่อให้คนอังกฤษได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

92 ญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคใด

(1) ยุคเอโดะ

(2) ยุคเมจิ

(3) ยุคซามูไร

(4) ยุคคามากุระ

(5) ยุคเฮอัน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในยุคเมจินั้น ญี่ปุ่นได้พัฒนาอุตสาหกรรมโดยเข้าไปจัดการกับอุตสาหกรรมหลายประเภทในลักษณะโครงการนําร่อง เช่น โรงงานทอผ้า โรงงานปั่นเส้นด้าย โรงงานน้ำตาล โรงงานเบียร์ เป็นต้น รวมทั้งนําเทคโนโลยีเครื่องจักรจากประเทศยุโรปตะวันตกมาใช้ และจ้างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศยุโรปตะวันตกมาถ่ายทอดความรู้อีกด้วย ซึ่งหลังจากญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมได้สําเร็จแล้วก็ทยอยขยายโรงงานต่าง ๆ ให้เอกชนรับไปดําเนินงานต่อไป

93 จีนรบกับญี่ปุ่นในช่วงราชวงศ์หมิงเพื่อช่วยประเทศใด

(1) เกาหลี

(2) ไทย

(3) เวียดนาม

(4) อิรัก

(5) อิหร่าน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในช่วงราชวงศ์หมิง เกาหลีซึ่งเป็นรัฐบรรณาการของจีนถูกญี่ปุ่นรุกรานจีนจึงส่งกําลังทหารเข้าไปช่วยเกาหลีรบกับญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะ ซึ่งสงครามในครั้งนั้นเรียกว่า สงครามอิมจิน

94 ประเทศใดเป็นพันธมิตรกับจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) ไต้หวัน

(2) เกาหลี

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

95 ติมอร์ตะวันออกได้รับอิสรภาพจากประเทศใด

(1) มาเลเซีย

(2) ออสเตรเลีย

(3) โปรตุเกส

(4) บรูไน

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ติมอร์ตะวันออก หรือติมอร์-เลสเต เป็นประเทศที่ถูกปกครองโดยอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ภายหลังจากที่โปรตุเกสเจ้าอาณานิคมเดิมถอนตัวออกไป โดยอินโดนีเซียได้รวม ติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศ และในปี ค.ศ. 1999 ติมอร์ตะวันออกได้รับอิสรภาพจากอินโดนีเซีย โดยประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002

96 ท่าเรือทวายมีทางไปจากจังหวัดใดในประเทศไทย

(1) ตาก

(2) เชียงราย

(3) ระนอง

(4) กาญจนบุรี

(5) ราชบุรี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ญี่ปุ่นมีข้อเสนอที่จะทําเส้นทางรถไฟจากประเทศไทยไปยังท่าเรือทวายในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับจังหวัดกาญจนบุรีของประเทศไทย โดยท่าเรือแห่งนี้จะเป็น ศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์และการค้าขนาดใหญ่ของอาเซียนในการเชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศอาเซียนไปยังประเทศตะวันออกกลาง ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา

97 จีนมีแผนสร้างทางรถไฟข้ามมาไทยผ่านทางจังหวัดใด

(1) หนองคาย

(2) เชียงราย

(3) เชียงใหม่

(4) นครพนม

(5) อุบลราชธานี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จีนมีแผนสร้างทางรถไฟจากประเทศลาวข้ามมาไทยโดยผ่านทางจังหวัดหนองคายซึ่งเส้นทางดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายแพนเอเชีย (The Pan-Asia Railway Network) ของจีนที่มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายทางรถไฟเชื่อมจีนตอนใต้สู่ภูมิภาคอาเซียน

98 ประเทศไทยส่งออกสินค้าอะไรที่ทํารายได้ให้กับประเทศมากที่สุด

(1) น้ำมัน

(2) ยางพารา

(3) อาหาร

(4) เครื่องนุ่งห่ม

(5) รถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) อุตสาหกรรมรถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วน ถือเป็นฐานอุตสาหกรรมสําคัญและสินค้าส่งออกที่ทํารายได้ให้กับประเทศไทยมากที่สุด โดยมีตลาดส่งออกที่สําคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย เป็นต้น

99 ประเทศใดมีปัญหาข้อพิพาทกับฟิลิปปินส์และเวียดนาม

(1) ญี่ปุ่น

(2) จีน

(3) อินโดนีเซีย

(4) บรูไน

(5) มาเลเซีย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจํานวนมหาศาล รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สําคัญ ซึ่งถูกล้อมรอบโดย 8 ประเทศชายฝั่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะอ้างสิทธิส่วนใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้จนทําให้เกิดปัญหาข้อพิพาท หรือความขัดแย้งกับบระเทศที่อยู่ล้อมรอบซึ่งล่าสุดก็คือ ฟิลิปปินส์และเวียดนาม โดยหมู่เกาะ ที่รัฐพิพาทมักอ้างสิทธิในการครอบครองนั้น มี 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands)

100 ประเทศใดมีข้อเสนอที่จะทําทางรถไฟให้ไทยไปทวายครั้งล่าสุด

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลีใต้

(4) เกาหลีเหนือ

(5) สิงคโปร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

 

Advertisement