การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 “เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” เป็นยุทธศาสตร์ที่นําเสนอโดยประเทศใด

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) บราซิล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” (21 Century Maritime Silk Route Economic Belt) เป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่นําเสนอโดยนายสี จิ้นผิง (Xi Jinping) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ รวมถึงการค้าการลงทุนระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับประเทศในแถบภูมิภาคมหาสมุทรได้แก่ อาเซียน โอเชียเนีย แอฟริกาเหนือ แปซิฟิก รวมถึงมหาสมุทรอินเดีย

2 ใครเป็นผู้เขียนคัมภีร์พิชัยสงครามของจีน

(1) ขงจื้อ

(2) หานเฟยจื่อ

(3) โจโฉ

(4) สวินจือ

(5) ซุนจือ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ซุนจือ หรือซุนวู เป็นผู้เขียนคัมภีร์พิชัยสงครามของจีนเมื่อราว 600 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งนับว่าเป็นคัมภีร์ยุทธศาสตร์ทางทหารที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน ปัจจุบันยุทธศาสตร์ในคัมภีร์ได้ถูกประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางทั้งในวงการธุรกิจและการเมืองโดยยุทธศาสตร์ที่สําคัญ เช่น รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เป็นต้น

3 นักปรัชญาเมธีของจีนท่านใดที่เน้นสอนเรื่องจริยธรรมและการสร้างระเบียบทางสังคม

(1) ขงจื้อ

(2) หานเฟยจื่อ

(3) โจโฉ

(4) ซุนจือ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 53, (คําบรรยาย) ขงจื้อ เป็นนักปรัชญาเมธีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจีนในยุคโบราณและได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปกครองและนักบริหารที่สามารถสั่งสอนให้คนประพฤติชอบ ซึ่งหลักการของขงจื้อจะมุ่งเน้นการสอนเรื่องปรัชญามากกว่าศาสนา และเน้นการสอนเรื่อง จริยธรรมและการสร้างระเบียบทางสังคม ซึ่งผลงานชิ้นสําคัญของเขาก็คือ ตํารับขงจื้อ (The Analects of Confucius) นับว่าเป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดของจีน

4 สมมุติฐานที่ว่า การปกป้องตนเองเเละความมั่นคงในระดับภูมิภาค สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่าในระดับสากล เป็นแนวคิดในข้อใด

(1) แนวคิดสากลนิยม

(2) แนวคิดภูมิภาคนิยม

(3) แนวคิดศาสนานิยม

(4) แนวคิดพรรคพวกนิยม

(5) แนวคิดท้องถิ่นนิยม

ตอบ 2 หน้า 134 แนวคิดภูมิภาคนิยม (Regionalism) ยึดมั่นต่อข้อสมมุติฐานที่ว่า การป้องกันตนเองและความมั่นคงในระดับภูมิภาคนั้น สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่าในระดับสากล ด้วยข้อสมมุติฐานนี้เอง พวก Regionalism จึงเน้นให้ภูมิภาคต่าง ๆ ควรที่จะจัดระบบการ ป้องกันตนเองเป็นสัดเป็นส่วน เพราะเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อความมั่นคงปลอดภัย เนื่องจาก เมื่อเกิดการรุกรานขึ้นประเทศที่อยู่ภายนอกภาคพื้นหรือนอกข่ายจากการรุกรานคงไม่ประสงค์ที่จะช่วยเหลือหรือเข้ามาพัวพันกับวิกฤติการณ์นั้น ๆ

5 ประเทศใดที่ได้รับอิสรภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สองจากประเทศล่าอาณานิคม

(1) ไทย

(2) จีน

(3) ญี่ปุ่น

(4) มาเลเซีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) มาเลเซีย ได้รับอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ดังนั้น ไป จึงถือว่าวันที่ 31 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันชาติมาเลเซีย

6 จีนแพ้สงครามให้กับประเทศใดที่ทําให้เสียเกาะฮ่องกง

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) รัสเซีย

(3) ญี่ปุ่น

(4)อังกฤษ

(5) เยอรมนี

ตอบ 4 หน้า 54, (คําบรรยาย) สงครามฝิ่น (The Opium War) เป็นสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษซึ่งเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์แมนจูช่วงปี ค.ศ. 1830 และยุติลงเนื่องจากกองทหารอังกฤษ สามารถเอาชนะกองทัพจีนได้ ทําให้จีนต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาไม่เสมอภาคฉบับแรกกับ อังกฤษในปี ค.ศ. 1842 เรียกว่า “สนธิสัญญาสันติภาพนานกิง” (The Treaty of Nanking) และถูกบีบบังคับให้ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่า 5 แห่งเพื่อให้คนอังกฤษได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

7 ญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคราชวงศ์ใด

(1) ยุคเอโดะ

(2) ยุคเมจิ

(3) ยุคซามูไร

(4) ยุคคามากุระ

(5) ยุคเฮอัน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในยุคเมจินั้น ญี่ปุ่นได้พัฒนาอุตสาหกรรมโดยเข้าไปจัดการกับอุตสาหกรรมหลายประเภทในลักษณะโครงการนําร่อง เช่น โรงงานทอผ้า โรงงานในเส้นด้าย โรงงานน้ำตาล โรงงานเบียร์ เป็นต้น รวมทั้งนําเทคโนโลยีเครื่องจักรจากประเทศยุโรปตะวันตกมาใช้ และ จ้างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศยุโรปตะวันตกมาถ่ายทอดความรู้อีกด้วย ซึ่งหลังจากญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมได้สําเร็จแล้วก็ทยอยขยายโรงงานต่าง ๆ ให้เอกชนรับไปดําเนินงานต่อไป

8 จีนรบกับญี่ปุ่นในช่วงราชวงศ์หมิงเพื่อช่วยประเทศใด

(1) เกาหลี

(2) ไทย

(3) เวียดนาม

(4) อิรัก

(5) อิหร่าน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในช่วงราชวงศ์หมิง เกาหลีซึ่งเป็นรัฐบรรณาการของจีนถูกญี่ปุ่นรุกราน จีนจึงส่งกําลังทหารเข้าไปช่วยเกาหลีรบกับญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะ ซึ่งสงครามในครั้งนั้นเรียกว่าสงครามอิมจิน

9 สองมหาอํานาจในช่วงสงครามเย็นหมายถึงข้อใด

(1) จีน และสหภาพโซเวียต

(2) สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

(3) จีน และสหรัฐอเมริกา

(4) องค์การสันนิบาตชาติ และสหประชาชาติ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 79, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1947 – 1991 (ตําราบางเล่มระบุว่าสงครามเย็นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1945 – 1991) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากการที่มหาอํานาจ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างอ้างอุดมการณ์ของชาติตน จนกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ และทําให้ประเทศต่าง ๆ ในโลก ต้องแบ่งออกเป็น 2 ขั้วหรือ 2 ค่าย คือ ค่ายโลกเสรีประชาธิปไตยหรือค่ายตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา และค่ายโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์หรือค่ายตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต

10 ประเทศใดที่เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเป็นประเทศล่าสุด

(1) ไทย

(2) สวิตเซอร์แลนด์

(3) ติมอร์-เลสเต

(4) มอนเตเนโกร

(5) เซาท์ซูดาน

ตอบ 5 หน้า 22 – 29, 33 – 34, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2สิ้นสุดลง โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมด 51 ประเทศ และมีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2016) สหประชาชาติมีสมาชิก ทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 55 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1946 และมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

11 ข้อใดคือเป้าหมายของการศึกษาเศรษฐศาสตร์ทางการเมืองระหว่างประเทศ

(1) การเมืองในประเทศ

(2) การเมืองระหว่างประเทศ

(3) เศรษฐกิจภายในประเทศ

(4) เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics Economy : IPE) เป็นการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการเมืองกับเศรษฐศาสตร์ ระหว่างประเทศ โดยเกิดขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง ระหว่างประเทศจะให้ความสําคัญกับเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยครอบคลุมการศึกษา ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ หลักการค้าเสรี กลไกราคาในตลาดโลก การเจรจา ทางการค้าระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษาตัวแสดงในเวทีการเมืองโลกทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐ และตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ และองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs)

12 เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศศึกษาตัวแสดงในการเมืองโลกใดบ้าง

(1) บรรษัทข้ามชาติ

(2) รัฐ

(3) NGOs

(4) องค์การระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 องค์การระดับภูมิภาคที่มีบทบาทริเริ่มเพื่อให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจสังคมและทางการเมืองแต่กําลังประสบปัญหาทางด้านการเงินและหนี้สินของประเทศสมาชิกได้แก่องค์การใด

(1) OAU

(2) OAS

(3) ASEAN

(4) SEATO

(5) EU

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันสหภาพยุโรป (EU) กําลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในเขตยูโรโซน หรือที่เรียกว่า วิกฤตการณ์ยูโรโซน ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินและ หนี้สาธารณะ โดยเริ่มต้นจากการเกิดภาวะเศรษฐกิจการเงินตกต่ําในกรีซ แล้วส่งผลกระทบลุกลาม ไปถึงภาวะเศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่อยู่ในเขตยูโรโซนด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน จึงทําให้เกิดความอ่อนแอต่อฐานะเศรษฐกิจการคลังในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอย่างมาก

14 เหตุผลหลักที่มีการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศในระดับโลกและระดับภูมิภาคเมื่อแรกเริ่มเกิดจากแรงผลักดันใดในข้อต่อไปนี้

(1) เพื่อใช้เป็นเวทีเจรจา

(2) เพื่อแสวงหาสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง

(3) เพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยน

(4) เพื่อถ่วงดุลอํานาจ

(5) เพื่อไม่ให้เกิดสงคราม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทในฐานะตัวแสดงบนเวทีโลกในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเหตุผลหลักของการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค ก็คือ เพื่อแสวงหาสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงของมนุษยชาติ

15 องค์การระหว่างประเทศที่จัดอยู่ในประเภทเพื่อความมั่นคงและส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิกคือข้อใด

(1) ASEAN

(2) UNESCO

(3) FAO

(4) NATO

(5) AU

ตอบ 4 หน้า 176 – 177, (คําบรรยาย) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรป ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เพื่อสร้างความมั่นคงและส่งเสริม ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2016) มีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม อังกฤษ เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี กรีซ ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส ตุรกี สหรัฐอเมริกา แคนาดา สเปน สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย บัลแกเรีย โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนียโครเอเชีย และแอลเบเนีย

16 ประเทศไทยเคยมีบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียนซึ่งเป็นใครต่อไปนี้

(1) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

(2) นายกษิต ภิรมย์

(3) นายธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร

(4) พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ

(5) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สํานักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเลขาธิการอาเซียนในฐานะหัวหน้าสํานักงานจะมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งปัจจุบันมีนายเอ เลือง มินห์ (Le Lu’o’ng Minh) ชาวเวียดนาม เป็นเลขาธิการ สําหรับ ประเทศไทยเคยมีบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียน 2 ท่าน คือ นายแผน วรรณเมธีและนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

17 ใครคือผู้ที่ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน

(1) เล เลือง มินห์

(2) สุรินทร์ พิศสุวรรณ

(3) H.R. Darsono

(4) Ong Keng Yong

(5) Datuk Ali Bin Abdullah

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

18 เพลงประจําอาเซียนคือเพลงอะไร

(1) The ASEAN Unity

(2) The ASEAN Soul

(3) The ASEAN Together

(4) The ASEAN Blood

(5) The ASEAN Way

ตอบ 5 (คําบรรยาย) The ASEAN Way เป็นเพลงประจําอาเซียน ซึ่งประพันธ์ทํานองโดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ และนายสําเภา ไตรอุดม คําร้องโดยนายพยอม วลัยพัชราโดยเพลงนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพลงประจําอาเซียนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008

19 กฎหมายระหว่างประเทศมีกี่ประเภท

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (Public International Law)

2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International Law)

20 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด

(1) ลาว ไทย เวียดนาม

(2) พม่า เวียดนาม กัมพูชา

(3) สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย

(4) ญี่ปุ่น พม่า กัมพูชา

(5) มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม

ตอบ 4 หน้า 168 169, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 โดยการลงนาม ในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ของประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2016) อาเซียนมีสมาชิก ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ (พม่า) และกัมพูชา

21 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ชื่อสนามบินในประเทศอาเซียน

(1) Wattay International Airport

(2) O.R. Tambo International Airport

(3) Ninoy Aquino International Airport

(4) Changi International Airport

(5) Noi Bai International Airport

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ชื่อสนามบินในประเทศอาเซียน ได้แก่

1 Wattay International Airport ของประเทศลาว

2 Ninoy Aquino International Airport ของประเทศฟิลิปปินส์

3 Changi International Airport ของประเทศสิงคโปร์

4 Noi Bai Internat onal Airport ของประเทศเวียดนาม

ส่วน O.R. Tambo International Airport เป็นสนามบินของประเทศแอฟริกาใต้(ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ)

22 NATO เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคใด

(1) อเมริกาเหนือ

(2) อเมริกาใต้

(3) ยุโรป

(4) เอเชียกลาง

(5) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

23 ประเทศสมาชิกอาเซียนใดที่มีขนาดเล็กที่สุดแต่มีความมั่นคงทางการเงินมากที่สุด

(1) ลาว

(2) บรูไน

(3) ไทย

(4) มาเลเซีย

(5) สิงคโปร์

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จากการเปรียบเทียบประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่า

1 อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด

2 สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่มีความมั่นคงทางการเงินและมีรายได้ ต่อหัวประชากรมากที่สุด

3 ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกันยาวที่สุด

4 สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

24 ประเทศใดมีรายได้ต่อหัวของประชากรมากที่สุดในอาเซียน

(1) สิงคโปร์

(2) กัมพูชา

(3) เวียดนาม

(4) ลาว

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

25 ประเทศใดใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

(1) ไทย

(2) อินโดนีเซีย

(3) สิงคโปร์

(4) เวียดนาม

(5) ลาว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

26 ค่าจ้างแรงงาน 300 บาท มีผลเช่นไรกับการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียน

(1) แรงงานไทยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

(2) แรงงานไร้ฝีมือจากภายนอกเข้ามาน้อยลง

(3) แรงงานมีความขัดแย้งกันมากขึ้น

(4) แรงงานไร้ฝีมือในอาเซียนเข้ามาทํางานในประเทศไทยมากขึ้น

(5) ประเทศไทยต้องจ้างแรงงานไทยมากขึ้น

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลของการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ได้ทําให้แรงงานไร้ฝีมือในอาเซียนเข้ามาทํางานในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานจาก 3 ประเทศหลัก คือ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ซึ่งแรงงานเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของกิจการหลายประเภท โดยเฉพาะงาน ที่มีลักษณะ 3 D คือ สกปรก (Dirty) ยากลําบาก (Difficult) และอันตราย (Dangerous) เช่น งานในเรือประมงทะเล งานก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งเป็นงานที่แรงงานไทยไม่นิยมทํา

27 สิ่งใดเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน

(1) กฎบัตรอาเซียน

(2) ปฏิญญาอาเซียน

(3) วิสัยทัศน์อาเซียน

(4) สัญลักษณ์อาเซียน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของอาเซียน โดยทําให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทํางานมากขึ้น รวมทั้งทําให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคลและเป็นองค์การระหว่างรัฐบาล

  1. อาเซียน + 6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

(1) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และศรีลังกา (2) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

(3) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และรัสเซีย

(4) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีเหนือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

(5) ประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน บราซิล ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ ตอบ 2 (คําบรรยาย) อาเซียน + 6 (ASEAN + 6) เกิดจากการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เพื่อจัดตั้ง เขตการค้าเสรี ซึ่งประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา อีก 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ (ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ)

29 BRICS เป็นการรวมกลุ่มของประเทศขั้วอํานาจใหม่ประกอบด้วยประเทศใด

(1) บังกลาเทศ รัสเซีย อินโดนีเซีย จีน แอฟริกาใต้

(2) บังกลาเทศ รัสเซีย อินเดีย จีน สิงคโปร์

(3) บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้

(4) บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน สิงคโปร์

(5) บราซิล รัสเซีย อินโดนีเซีย จีน แอฟริกาใต้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) BRICS เป็นคําศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยนายจิม โอนีลล์ (Jim O’Neil) หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจโลกจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เพื่อใช้เรียกกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ เป็นศูนย์อํานาจใหม่แทนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G 7 โดยประเทศในกลุ่ม BRICS นั้น ประกอบด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้(South Africa)

30 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างรัฐบาล

(1) ประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่งที่มีความเสมอภาคกัน

(2) ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

(3) รัฐเหล่านี้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ

(4) รัฐตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

(5) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มี 4 ประการ ดังนี้

1 ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) นั่นคือ สมาชิกต้องมีฐานะเป็นรัฐ เท่านั้น เนื่องจากรัฐสมาชิกเหล่านี้จะมีอํานาจอธิปไตย เป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและมีความเสมอภาคกันในการออกเสียง

2 ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก

3 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และ มุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ

4 รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

31 กลุ่ม BRICS มีความสําคัญอย่างไรในเวทีเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ

(1) เป็นกลุ่มประเทศขนาดเล็กที่มีทรัพยากรมั่งคั่ง

(2) เป็นกลุ่มหรือเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีศักยภาพเป็นศูนย์อํานาจใหม่

(3) เป็นกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่ส่งออกสินค้าใหญ่ที่สุดของโลก

(4) เป็นกลุ่มประเทศที่กระจัดกระจายอยู่ในทวีปต่าง ๆ ของโลกและมีทรัพยากรหลากหลาย

(5) เป็นกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่มีประชากรมากที่สุด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

32 ติมอร์ตะวันออก (ติมอร์-เลสเตในปัจจุบัน) ได้รับอิสรภาพจากประเทศใด

(1) มาเลเซีย

(2) ออสเตรเลีย

(3) โปรตุเกส

(4) บรูไน

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ติมอร์ตะวันออก หรือติมอร์-เลสเต เป็นประเทศที่ถูกปกครองโดยอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ภายหลังจากที่โปรตุเกสเจ้าอาณานิคมเดิมถอนตัวออกไป โดยอินโดนีเซีย ได้รวมติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศ และในปี ค.ศ. 1999 ติมอร์ตะวันออก ได้รับอิสรภาพจากอินโดนีเซีย โดยประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002

33 ท่าเรือทวายอยู่ใกล้จังหวัดใดในประเทศไทย

(1) ตาก

(2) เชียงราย

(3) ระนอง

(4) กาญจนบุรี

(5) ราชบุรี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ญี่ปุ่นมีข้อเสนอที่จะทําเส้นทางรถไฟจากประเทศไทยไปยังท่าเรือทวายในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับจังหวัดกาญจนบุรีของประเทศไทย โดยท่าเรือแห่งนี้จะเป็น ศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์และการค้าขนาดใหญ่ของอาเซียนในการเชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศอาเซียนไปยังประเทศตะวันออกกลาง ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา

34 จีนมีแผนสร้างทางรถไฟข้ามมาไทยผ่านทางจังหวัดใด

(1) หนองคาย

(2) เชียงราย

(3) เชียงใหม่

(4) นครพนม

(5) อุบลราชธานี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จีนมีแผนสร้างทางรถไฟจากประเทศลาวข้ามมาไทยโดยผ่านทางจังหวัดหนองคาย ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายแพนเอเชีย (The Pan-Asia Railway Network) ของจีนที่มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายทางรถไฟเชื่อมจีนตอนใต้สู่ภูมิภาคอาเซียน

35 ประเทศไทยส่งออกสินค้าอะไรที่ทํารายได้ให้กับประเทศมากที่สุด

(1) น้ำมัน

(2) ยางพารา

(3) อาหาร

(4) เครื่องนุ่งห่ม

(5) รถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน (ค.ศ. 2016) รถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วน ถือเป็นสินค้าส่งออกที่ทํารายได้ให้กับประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกจํานวน 699,594.4 ล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกที่สําคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบียเป็นต้น

36 ประเทศใดมีปัญหาข้อพิพาทกับฟิลิปปินส์และเวียดนาม

(1) ญี่ปุ่น

(2) จีน

(3) อินโดนีเซีย

(4) บรูไน

(5) มาเลเซีย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจํานวนมหาศาล รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สําคัญ ซึ่งถูกล้อมรอบโดย 8 ประเทศชายฝั่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะอ้างสิทธิ์ส่วนใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้จนทําให้เกิดปัญหาข้อพิพาท หรือความขัดแย้งกับประเทศที่อยู่ล้อมรอบซึ่งล่าสุดก็คือ ฟิลิปปินส์และเวียดนาม โดยหมู่เกาะ ที่รัฐพิพาทมักอ้างสิทธิ์ในการครอบครองนั้น มี 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly

Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands)

37 ประเทศใดมีข้อเสนอที่จะทําทางรถไฟให้ไทยไปทวายครั้งล่าสุด

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลีใต้

(4) เกาหลีเหนือ

(5) สิงคโปร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

38 นายกคนปัจจุบันของญี่ปุ่นต้องการจะเปลี่ยนแปลงกฎหมายในด้านใด

(1) การแต่งงาน

(2) การค้า

(3) การใช้กําลังทหาร

(4) สิ่งแวดล้อม

(5) แรงงานต่างด้าว

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่น มีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการใช้กําลังทหาร โดยเสนอรัฐสภาให้มีการแก้ไขกฎหมาย จัดตั้งกระทรวงการป้องกันประเทศ เพื่อเปิดทางให้กองกําลังป้องกันตนเองมีบทบาทมากขึ้น เช่น สามารถใช้กําลังทหารได้หากประเทศพันธมิตรของญี่ปุ่นถูกโจมตีด้วยอาวุธ สามารถเข้าร่วม ปฏิบัติการทางทหารในต่างแดนได้โดยไม่จําเป็นต้องเข้าร่วมกับกองกําลังรักษาสันติภาพของ สหประชาชาติเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญที่สุดของญี่ปุ่น เนื่องจากตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นได้ถูกจํากัดสิทธิในการใช้กองกําลังป้องกันตนเอง

39 วันใดเป็นวันครบรอบ 70 ปี การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา

(1) 5 สิงหาคม 2558

(2) 6 สิงหาคม 2558

(3) 7 สิงหาคม 2558

(4) 8 สิงหาคม 2558

(5) 9 สิงหาคม 2558

ตอบ 2 หน้า 74, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการหลังสหรัฐอเมริกาได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) จํานวน 2 ลูก โดยทิ้งลูกแรกที่เมืองฮิโรชิมาในวันที่ 6 สิงหาคม และลูกที่ 2 ที่เมืองนางาซากในวันที่ 9 สิงหาคม โดยในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ถือเป็นการครบรอบ 70 ปีของการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น

40 องค์การสันนิบาตชาติเกิดขึ้นหลังสงครามใด

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1

(2) สงครามเวียดนาม

(3) สงครามโลกครั้งที่ 2

(4) สงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา

(5) สงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถาน

ตอบ 1 หน้า 33, 73, 75 – 76, (คําบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับโลกที่มีวัตถุประสงค์หลายด้าน ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษาความมั่นคงและ สร้างสันติภาพ พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ รวมทั้งการป้องกันการก่อสงครามระหว่างประเทศ และการใช้การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธีแทนการใช้การรุกรานและการทําสงคราม โดยองค์การสันนิบาตชาติได้ยุติการทํางานลงในปี ค.ศ. 1941 และได้สิ้นสุดสภาพการเป็น องค์การระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 โดยโอนทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดไปให้แก่องค์การสหประชาชาติในปัจจุบัน

41 ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของจีนชื่ออะไร

(1) เจียง เจ๋อหมิง

(2) หู จิ่นเทา

(3) สี จิ้นผิง

(4) เหวิน เจียเป่า

(5) หลี่ หยวนเฉา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

42 ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ปัจจุบันมีชื่อว่าอะไร

(1) ประธานาธิบดีดูเตอร์เต

(2) ประธานาธิบดีโคราซอน อากีโน

(3) ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส

(4) ประธานาธิบดีอาโรโย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฟิลิปปินส์ คือ นายโรดริโก ดูเตอร์เต (Rodrigo :Duterte) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2016

43 ประเทศไทยเป็นสมาชิกของอาเซียนเมื่อไหร่

(1) 1932

(2) 1945

(3) 1967

(4) 1983

(5) 2000

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

44 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกผู้จัดตั้งอาเซียน

(1) ไทย

(2) พม่า

(3) อินโดนีเซีย

(4) ฟิลิปปินส์

(5) มาเลเซีย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

45 สํานักงานใหญ่เลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ในประเทศใด

(1) ไทย

(2) สิงคโปร์

(3) เวียดนาม

(4) อินโดนีเซีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

46 ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่ม ASEAN Plus Three

(1) เกาหลีใต้

(2) มองโกเลีย

(3) ญี่ปุ่น

(4) จีน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ASEAN Plus Three หรือ ASEAN + 3 เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศจากเอเชียตะวันออกอีก 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค เอเชียตะวันออก และนําไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asian Community)ในอนาคต (ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ)

47 ประเทศญี่ปุ่นและจีนมีข้อพิพาทเกี่ยวกับหมู่เกาะอะไร

(1) หมู่เกาะเซนกากุ หรือหมู่เกาะเตียวหยู

(2) หมู่เกาะไหหลํา

(3) หมู่เกาะฮาวาย

(4) หมู่เกาะสแปรทลีย์

(5) หมู่เกาะพีพี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับหมู่เกาะเซนกากุ (ในภาษาญี่ปุ่น) หรือหมู่เกาะเตียวหยู (ในภาษาจีน) ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อน ในทะเลจีนตะวันออก โดยต่างฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของหมู่เกาะดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 จนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศมาจนถึงปัจจุบัน

48 ผู้นําเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน มีชื่อว่าอะไร

(1) จริงแท้จริง

(2) Deja Vu

(3) Kim Hyun Sun

(4) Kim Jong IL

(5) Kim Jong Un

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้นําเกาหลีเหนือคนปัจจุบันคือ นายคิม จอง อึน (Kim Jong Un) ซึ่งเป็นบุตรชายของนายคิม จอง อิล (Kim Jong II) อดีตผู้นําเกาหลีเหนือ โดยเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2011

49 นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในปัจจุบันมีชื่อว่าอะไร

(1) อิคคิวซัง

(2) Honda Suzuki

(3) ชินโซ อาเบะ

(4) ทาโร่ฮานามิ

(5) โตกุกาว่าอิเอยาสึ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

50 ประเทศใดบ้างถือว่าเป็นมหาอํานาจในเอเชียแปซิฟิก

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) Australia

(3) รัสเซีย

(4) จีน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เอเชียแปซิฟิก เป็นภูมิภาคของโลกที่อยู่ในหรืออยู่ใกล้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสตราเลเซีย และโอเชียเนีย ซึ่งอาจรวมไปถึงเอเชียใต้ รัสเซีย และประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกด้วย โดยประเทศมหาอํานาจใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นเป็นต้น

51 ประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศองค์การใด

(1) ASEAN

(2) UN

(3) APEC

(4) World Bank Sei

(5) African Union

ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ในปัจจุบัน เช่น สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IME), องค์การการค้าโลก (WTO), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), อาเซียน (ASEAN), การประชุมการค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNCTAD),กลุ่ม 77 (G-77), กลุ่มหรือขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (NAM) เป็นต้น

52 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศ

(1) UN

(2) ASEAN

(3) WTO

(4) NATO

(5) Coca-Cola

ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่นสันนิบาตชาติ (LN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออก (OPEC), องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU) เป็นต้น

2 องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU),อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การ สันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เป็นต้น

53 IGOs ย่อมาจาก

(1) International Governmental Organizations

(2) Intra Government Organs

(3) International Non-Governmental Organizations

(4) Internet Government Organizations

(5) Intersection of Government Organizations

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (International Governmental Organizations :IGOs) หมายถึง สถาบันที่รัฐหรือตัวแทนของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดําเนินการด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการถาวร

2 องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (International Non-Governmental Organizations : ENGOs) หมายถึง องค์การที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาล แต่เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง

54 INGOs ย่อมาจาก

(1) International Governmental Organizations

(2) Intra Government Organs

(3) International Non-Governmental Organizations

(4) Internet Government Organizations

(5) Intersection of Government Organizations

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

55 สหประชาชาติได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 2001

(2) 1980

(3) 1918

(4) 1945

(5) 1941

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

56 สมาชิกก่อตั้งสหประชาชาติมีกี่ประเทศ

(1) 4

(2) 161

(3) 51

(4) 170

(5) 15

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

57 สหประชาชาติมีประเทศสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ

(1) 150

(2) 161

(3) 15

(4) 166

(5) 193

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

58 องค์การการค้าโลกมีพัฒนาการมาจากองค์การระหว่างประเทศองค์การใด

(1) GATT

(2) UNDP

(3) FAO

(4) UNEP

(5) NATO

ตอบ 1 (คําบรรยาย) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การที่มีบทบาทในการสร้างกฎเกณฑ์หรือระเบียบการค้าโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 ปราม โดยมีพัฒนาการมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATT) ซึ่งปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2016) มีสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้ามาเป็นสมาชิก ได้แก่ อัฟกานิสถาน (29 กรกฎาคม ค.ศ. 2016)สำหรับประเทศไทยนั้นเข้ามาเป็นสมาชิกลําดับที่ 59 ของ WTO ซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง

59 สํานักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติตั้งอยู่ที่เมืองใด

(1) กรุงเทพ

(2) ลอนดอน

(3) ปารีส

(4) โตเกียว

(5) นิวยอร์ก

ตอบ 5 คําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

60 ข้อใดไม่ใช่วัตกประงค์การก่อตั้งองค์การการค้าโลก

(1) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน

(3) ยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

(4) เป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

(5) กํากับการดําเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้า ตอบ 2 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งองค์การการค้าโลก มีดังนี้

1 เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

2 เพื่อกํากับการดําเนินการของประเทศ สมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1994 (GATT 1994)

3 เพื่อยุติหรือระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

4 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

61 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกของ ASEAN

(1) ไทย

(2) เวียดนาม

(3) ติมอร์-เลสเต

(4) สิงคโปร์

(5) อินโดนีเซีย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

62 สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในยุโรปที่ส่งผลให้เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นนั้นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 1645

(2) 1646

(3) 1647

(4) 1648

(5) 1649

ตอบ 4 หน้า 19 – 20, 49, (คําบรรยาย) วิวัฒนาการทางด้านการเมืองได้เปลี่ยนจากชนเผ่าไปสู่การเป็นรัฐชาติ (Nation-State) ภายหลังการเกิดสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในยุโรปเมื่อปี ค.ศ. 1548 ซึ่งส่งผลทําให้เกิดคําว่า “รัฐชาติ” ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกและนับเป็นจุดเริ่มต้นที่รัฐแยกตัวเป็นอิสระจากศาสนจักรและมีอํานาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง

63 สงครามใดที่จีนถูกบังคับให้ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ

(1) สงครามฝัน

(2) สงครามนานกิง

(3) สงครามแยงซีเกียง

(4) สงครามสายแพรไหม

(5) สงครามปักกิ่ง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

64 อารยธรรมอียิปต์โบราณเกิดขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำใด

(1) ลุ่มแม่น้ำไนล์

(2) ลุ่มแม่น้ำอเมซอน

(3) ลุ่มแม่น้ำแดง

(4) ลุ่มทะเลสาบแคสเปี้ยน

(5) ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส

ตอบ 1 หน้า 56, (คําบรรยาย) อารยธรรมอียิปต์โบราณเกิดขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำไนล์ (The Nile River)โดยเชื่อกันว่าสาเหตุสําคัญที่ทําให้อียิปต์ในอดีตมีความยิ่งใหญ่นั้น ก็เนื่องมาจากมีแม่น้ำไนล์ ไหลผ่าน ซึ่งได้นําความชุ่มชื้นและความอุดมสมบูรณ์มาสู่อียิปต์ ทําให้ชาวอียิปต์สามารถร่วมกันสร้างอารยธรรมและจัดตั้งเป็นประเทศขึ้นได้อย่างมั่นคง

65 การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของฝรั่งเศสจากระบอบกษัตริย์เป็นระบอบสาธารณรัฐนั้น เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) พระเจ้าหลุยส์ที่ 13

(2) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14

(3) พระเจ้าหลุยส์ที่ 15

(4) พระเจ้าหลุยส์ที่ 16

(5) พระเจ้าหลุยส์ที่ 17

ตอบ 4 หน้า 67, (คําบรรยาย) สภาพสังคมของประเทศฝรั่งเศสหลังจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 สิ้นพระชนม์ลง และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นปกครองประเทศนั้น ชาวฝรั่งเศสไม่มีความเสมอภาค ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะชาวนา เนื่องจากได้รับการบีบคั้นจากขุนนางเจ้าของที่นาและ การเก็บภาษี จึงทําให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นในปี ค.ศ. 1789 เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบกษัตริย์หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบสาธารณรัฐ

66 ประเทศใดที่เป็นผู้แพ้สงครามโลกทั้งครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

(1) เยอรมนี

(2) ฮังการี

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) รัสเซีย

ตอบ 1 หน้า 73, 76 – 78, (คําบรรยาย) เยอรมนี เป็นประเทศที่แพ้สงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง ซึ่งผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่าให้เยอรมนีต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) ที่กําหนดให้เยอรมนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่าปฏิกรรมสงครามจํานวนมากและต้องเสีย ดินแดนหลายแห่ง ส่วนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทําให้เยอรมนี้ต้องถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออก

67 กําแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นถูกทุบทําลายลงในปี ค.ศ. ใด

(1) 1989

(2) 1990

(3) 1991

(4) 1992

(5) 1993

ตอบ 2 หน้า 82 กําแพงเบอร์ลิน (The Berlin Wal) เป็นสัญลักษณ์สําคัญของสงครามเย็นที่สหภาพโซเวียตสร้างขึ้นในเยอรมนีเมื่อปี ค.ศ. 1961 เพื่อใช้เป็นแนวกั้นระหว่างเบอร์ลินตะวันตก และเบอร์ลินตะวันออก โดยมีความยาวประมาณ 27 ไมล์ หรือประมาณ 40 กิโลเมตร ทั้งนี้กําแพงเบอร์ลินได้ถูกทุบทําลายลงเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1990

68 ประธานาธิบดีคนใดของ USSR ที่มีบทบาทสําคัญในการยุติสงครามเย็น

(1) กอร์บาชอฟ

(2) ครุสซอฟ

(3) สตาลิน

(4) เลนิน

(5) อัลโดปอฟ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลง มีดังนี้

1 มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต (USSR)ได้ประกาศใช้นโยบายเปเรสตรอยก้า (Perestroika) และนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost)ทั้งในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกในปี ค.ศ. 1986

2 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียตจนทําให้กลุ่มตะวันออกล่มสลายลง

3 องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ประกาศยุบตัวเองอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1991

4 การประกาศจัดตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช (CIS) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งถือเป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้สหภาพโซเวียตล่มสลายโดยสิ้นเชิง และทําให้สงครามเย็นสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

69 สนธิสัญญาเบาว์ริงที่ทําให้ประเทศสยามเสียเปรียบชาติตะวันตกที่เรียกว่า “การเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเกิดขึ้นในรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 3

(2) รัชกาลที่ 4

(3) รัชกาลที่ 5

(4) รัชกาลที่ 6

(5) รัชกาลที่ 7

ตอบ 2 หน้า 91, (คําบรรยาย) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงเริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยประเทศสยาม (ไทย) ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าเสรีอันเป็นระเบียบใหม่ของโลกในยุคลัทธิ จักรวรรดินิยมกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1855 เรียกว่า “สนธิสัญญาเบาวาง” (Bowring Treaty) ซึ่งผลก็คือ สยามสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ก็ทําให้สยามถูกจํากัดอัตราภาษีขาเข้า และต้อง เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและคนในบังคับ สนธิสัญญาฉบับนี้ใช้บังคับนานกว่า 70 ปี จนกระทั่งมีการแก้ไขค่อย ๆ ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

70 ชาติโปรตุเกสฝรั่งชาติแรกที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือที่ติดต่อกับอินเดียในยุคเปิดประเทศนั้น ได้ตั้งรกรากแห่งแรกที่เมืองใด

(1) เชนไน

(2) เดลี

(3) บอมเบย์

(4) เมืองกัว

(5) มัทราช

ตอบ 4 หน้า 51 โปรตุเกสเป็นฝรั่งหรือชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกชาติแรกที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับอินเดียในปี ค.ศ. 1498 โดยตั้งรกรากแห่งแรกที่เมืองกัว (Goa) เพื่อเป็นสถานีการค้าและศูนย์กลางในการขยายกิจการการค้าต่อไปยังเมืองอื่น ๆ ในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ จีน และญี่ปุ่น จึงทําให้เมืองกัวของอินเดียได้รับสมญานามจากชาวยุโรปว่าเป็น “ลิสบอนตะวันออก” (Lisbon of the East)

71 หมู่เกาะใดที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้

(1) หมู่เกาะสแปรทลีย์

(2) หมู่เกาะพาราเซล

(3) หมู่เกาะสุรินทร์

(4) หมู่เกาะฮาวาย

(5) หมู่เกาะสแปรทลีย์, หมู่เกาะพาราเซล

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

72 ประเทศใดเป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้งธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank).

(1) ญี่ปุ่น

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) รัสเซีย

(5) เกาหลีใต้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) เป็นสถาบันการเงินในระดับระหว่างประเทศซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเสนอความช่วยเหลือด้านการเงิน และแหล่งเงินทุนทางเลือกให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนําไปลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

73 ประเทศใดไม่ได้อยู่ในเอเชียตะวันออก (East Asia)

(1) สิงคโปร์

(2) ญี่ปุ่น

(3) ทิเบต

(4) เกาหลีเหนือ

(5) เกาหลีใต้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เอเชียตะวันออก (East Asia) เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 6,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 15% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย โดยประเทศที่มีพื้นที่ อยู่ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ไต้หวัน มองโกเลีย และทิเบต (ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ)

74 Triple Alliance ในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือข้อใด

(1) ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี บัลแกเรีย

(2) ตุรกี ฮังการี เยอรมนี รัสเซีย

(3) ฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซีย อเมริกา

(4) อิตาลี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี

(5) ออสเตรีย ฮังการี เยอรมนี ตุรกี บัลแกเรีย

ตอบ 5 หน้า 68, คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 1918 โดยมีสมรภูมิรบเฉพาะในยุโรป ซึ่งแตกต่างจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีสมรภูมิรบอยู่ทั่วโลก โดยสงครามโลก ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนีออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย

2 กลุ่มสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

75 ผู้ให้คําจํากัดความของคําว่า “สงครามเย็น” (Cold War) คือใคร

(1) เฮอร์เบิร์ต สโวป

(2) รุสเวลท์

(3) นิกสัน

(4) เคนเนดี

(5) คาร์เตอร์

ตอบ 1 หน้า 79 – 80 เฮอร์เบิร์ต ไบยาร์ด สโวป เป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันที่ให้คําจํากัดความของคําว่า “สงครามเย็น” (Cold War) โดยเขาเห็นว่า สงครามเย็นหรือสงครามอุดมการณ์ เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่มโลกเสรีกับกลุ่มโลกคอมมิวนิสต์เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในโลก โดยใช้การต่อสู้ทางจิตวิทยาแต่ไม่ใช้กําลังทางทหาร

76 มนุษย์กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในอินเดีย คือ

(1) ปัญจาบ

(2) จัณฑาล

(3) ซิกส์

(4) ดราวิเดียน

(5) อารยัน

ตอบ 4 หน้า 50 พวกดราวิเดียนหรือมิลักขะหรือทราวิทเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ําสินธุหรืออินดัส ณ มณฑลปัญจาบตะวันตก โดยสันนิษฐานกันว่า เป็นมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงปลายยุคหินใหม่ซึ่งมีเชื้อสายนิโกร ดังนั้นจึงถือว่าชนเผ่านี้ เป็นชาวพื้นเมืองเดิมของอินเดียที่ได้สร้างอารยธรรมอินเดียหรืออารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นอารยธรรมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ

77 อารยธรรมซึ่งถือว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ คืออารยธรรมอะไร

(1) จีน

(2) อินเดีย

(3) อินคา

(4) โรมัน

(5) ยุโรป

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 ASEAN + 3 คือข้อใด

(1) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย

(2) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์

(3) ASEAN + จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

(4) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา

(5) ASEAN + ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

79 ประเทศใดใน ASEAN ที่มีประชากรมากที่สุด

(1) กัมพูชา

(2) เวียดนาม

(3) มาเลเซีย

(4) อินโดนีเซีย

(5) ไทย

ตอบ 4 คําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

80 คัมภีร์ใดของอินเดียที่มีความเก่าแก่ที่สุด

(1) คัมภีร์ปัญจาบ

(2) คัมภีร์บาลี-สันสกฤต

(3) คัมภีร์ฮารัปปา

(4) คัมภีร์ดราวิเดียน

(5) คัมภีร์ฤคเวท

ตอบ 5 หน้า 51 คัมภีร์ฤคเวท (Rigveda) ถือเป็นคัมภีร์ที่มีความเก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดของอินเดีย นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นวรรณคดีชิ้นแรกของพวกอินโดอารยัน โดยจะมีเนื้อหา ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพวกอารยันในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดระเบียบแบบแผนของการเมืองการปกครอง การแบ่งชนชั้นทางสังคม เป็นต้น

81 ลัทธิทรูแมนของสหรัฐอเมริกาเป็นนโยบายที่ให้ความสําคัญในด้านใด

(1) การค้าเสรี

(2) ต่อต้านนิวเคลียร์

(3) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

(4) ต่อต้านคอมมิวนิสต์

(5) ลดจํานวนประชากร

ตอบ 4 หน้า 81, (คําบรรยาย) ลัทธิหรือหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ของสหรัฐอเมริกาเป็นนโยบายที่ประกาศโดยประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman) ในปี ค.ศ. 1947 เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งการประกาศหลักการทรูแมนนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างแท้จริงที่ก่อให้เกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต

82 การค้าแบบเสรีเป็นแนวคิดของใคร

(1) Franklin Roosevelt

(2) Margaret Thatcher

(3) Adam Smith

(4) Joseph Stalin

(5) Woodrow Wilson

ตอบ 3 หน้า 64 อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นนักเศรษฐศาสตร์แนวคิดเสรีนิยมที่เสนอแนวคิด“การค้าระหว่างประเทศแบบเสรี” โดยเขาเชื่อว่า ถ้าปล่อยให้ตลาดภายในประเทศและตลาดการค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีจะทําให้ทุกประเทศได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

83 ระบบวรรณะ (Caste System) ในอินเดียเกิดจากเหตุผลข้อใดของชนเผ่าอารยัน

(1) เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี

(2) เพื่อรักษาความบริสุทธิของสายเลือด

(3) เพื่อแยกให้เห็นชัดถึงแต่ละสายเลือด

(4) เพื่อง่ายต่อการเกณฑ์แรงงาน

(5) เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง

ตอบ 2 หน้า 50 ในระยะที่พวกอินโดอารยันหรืออริยกะเริ่มอพยพรุกรานเข้ามาสู่อินเดียในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ และเกิดการต่อสู้กับพวกดราวิเดียนซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมนั้น พวกอินโดอารยัน บางส่วนได้มีการปะปนทางสายเลือดกับพวกดราวิเดียนและรับเอาขนบธรรมเนียมบางประการไว้ จึงเกรงว่าพวกตนจะถูกกลืนโดยพวกดราวิเดียน ดังนั้นพวกอินโดอารยันจึงได้สร้างระบบวรรณะ (Caste System) ขึ้น เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของสายเลือดชนเผ่าอารยันไว้

84 อะไรเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) ฐานทัพเรือที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ถ้าโจมตี

(2) ถูกญี่ปุ่นโจมตีที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

(3) ญี่ปุ่นต้องการปิดล้อมเอเชียอาคเนย์

(4) ประธานาธิบดีถูกสังหาร

(5) เรือบรรทุกสินค้าถูกโจมตี

ตอบ 1 หน้า 78, (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ช้าที่สุดโดยตัดสินใจเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 หลังจากที่ญี่ปุ่นบุกโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกาที่หมู่เกาะฮาวาย

85 สนธิสัญญาอะไรที่ทําให้เยอรมนี้ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่ 1

(1) ปรัสเซล

(2) เวสต์ฟาเลีย

(3) เฮลซิงกิ

(4) เจนีวา

(5) แวร์ซายส์

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

86 ประเทศใดเป็นประเทศแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(1) Italy

(2) Germany

(3) United Kingdom

(4) Spain

(5) France

ตอบ 3 หน้า 61, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 จนถึงศตวรรษที่ 19 เป็นการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการผลิตในขั้นมูลฐานจากวิธีการผลิตที่ใช้มือมาเป็นการใช้เครื่องจักร ในระบบโรงงาน ซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร (United Kingdom) เป็นแห่งแรกและทําให้อังกฤษเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลก

87 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกมีสํานักงานอยู่ ณ ประเทศใด

(1) เนเธอร์แลนด์

(2) ฝรั่งเศส

(3) สวิตเซอร์แลนด์

(4) สวีเดน

(5) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICU) หรือศาลโลก (World Court) เป็นองค์กรตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่ใน การตัดสินคดีระหว่างรัฐกับรัฐ โดยมีองค์คณะผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกของสมัชชาและ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจํานวน 15 คน และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

88 ระบบวรรณะในอินเดีย วรรณะใดที่มีสถานะทางสังคมสูงที่สุด

(1) วรรณะศูทร

(2) วรรณะกษัตริย์

(3) วรรณะแพศย์

(4) วรรณะไวศย์

(5) วรรณะพราหมณ์

ตอบ 5 หน้า 51, (คําบรรยาย) ระบบวรรณะในอินเดีย แบ่งออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 วรรณะพราหมณ์ ทําหน้าที่ทางศาสนา ถือว่าเป็นวรรณะที่มีสถานะทางสังคมสูงที่สุด

2 วรรณะกษัตริย์ ทําหน้าที่เป็นนักรบ

3 วรรณะแพศย์หรือวศย์ ทําหน้าที่เป็นพ่อค้า กสิกร และช่างฝีมือ

4 วรรณะศูทรหรือทัสยุ ทําหน้าที่เป็นผู้ใช้แรงงาน ถือเป็นวรรณะที่มีสถานะทางสังคมต่ำที่สุด

89 “การปฏิวัติอเมริกา” ก่อให้เกิดประเทศใหม่ที่ยึดถือหลักเสรีภาพทางการเมืองเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด

(1) 1775

(2) 1776

(3) 1777

(4) 1778

(5) 1779

ตอบ 2 หน้า 67 การปฏิวัติเพื่อประกาศเอกราชและจัดตั้งรัฐใหม่ขึ้นเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 ถือเป็นแนวคิดสําคัญในการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจาก ได้ก่อให้เกิดประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหม่ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ยึดถือ หลักเสรีภาพและความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมี รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทในการใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหาร และมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาจะมาจากการเลือกตั้ง

90 ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค

(1) ส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัวทางการค้าและเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลก (2) พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย

(3) ลดอุปสรรคทางการค้าและการบริการ

(4) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเจรจาด้านการค้าของสมาชิก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค (APEC) มีดังนี้

1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัวทางการค้าและเศรษฐกิจทั้งใน ระดับภูมิภาคและระดับโลก

2 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย หรือระบบ การค้าแบบเปิด

3 เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการบริการ

4 เพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการค้าของสมาชิก แต่ไม่ใช่เวทีในการเจรจาหรือยุติข้อพิพาท ทางการค้าระหว่างสมาชิก

91 วาระการดํารงตําแหน่งของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติมีกําหนดกี่ปี

(1) 3 ปี

(2) 4 ปี

(3) 5 ปี

(4) 6 ปี

(5) 7 ปี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายบัน คี-มูน (Ban Ki-Moon) ชาวเกาหลีใต้ จะครบวาระการดํารงตําแหน่งในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2016 ส่วนเลขาธิการองค์การ สหประชาชาติคนต่อไป คือ นายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส (Antonio Guterres) ชาวโปรตุเกสจะเริ่มดํารงตําแหน่งในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

92 ประเทศใดในยุโรปที่รัชกาลที่ 5 ไม่ได้เสด็จประพาสในรัชสมัยของพระองค์

(1) รัสเซีย

(2) ฟินแลนด์

(3) เบลเยี่ยม

(4) สเปน

(5) เยอรมนี

ตอบ 2 หน้า 92 93 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เสด็จประพาสประเทศในยุโรปในปี พ.ศ. 2440 เช่น รัสเซีย เบลเยียม สเปน โปรตุเกส และ เยอรมนี ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์แรกที่เสด็จประพาสยุโรปเพื่อเชื่อม สัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตกต่าง ๆ พร้อมกับนําเอาศิลปวิทยาการและความรู้ใหม่ ๆ กลับมา พัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ดังนั้นในสมัยของพระองค์ จึงได้รับการยกย่องจากชาติตะวันตกว่า ประเทศสยามได้รับการทํานุบํารุงอย่างดีที่สุดในกลุ่มประเทศแถบเอเชียอาคเนย์

93 “ระบอบศักดินา” เป็นระบอบการปกครองและเศรษฐกิจของยุโรปในสมัยกลาง ถืออะไรเป็นเครื่องวัด สถานะทางสังคมของบุคคลในยุคนั้น

(1) ตําแหน่งในราชสํานัก

(2) ตําแหน่งทางทหาร

(3) การสะสมทองคํา

(4) การถือครองที่ดิน

(5) ตําแหน่งที่กษัตริย์พระราชทานให้

ตอบ 4 หน้า 60 ระบอบศักดินา (Feudalism) เกิดขึ้นในยุโรปสมัยกลางช่วงศตวรรษที่ 9 – 18 โดยระบอบศักดินาในยุคนี้ถือเป็นระบอบการปกครอง การทหาร เศรษฐกิจ และระบบสังคม ที่สําคัญของยุโรป ซึ่งจะกําหนดฐานะ สิทธิ หน้าที่ และสถานะทางสังคมของบุคคลโดยถือที่ดินที่ครอบครองอยู่เป็นเกณฑ์

94 ข้อใดคือองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค

(1) League of Nations

(2) International Red Cross

(3) WTO

(4) UNEP

(5) ASEAN

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

95 ความร่วมมือระหว่างรัฐทางเศรษฐกิจนั้นมีกลุ่มรัฐที่ “ได้เปรียบ” และรัฐที่ “เสียเปรียบ” เป็นแนวคิดของ สํานักใด

(1) เสรีนิยมแบบอุดมคติ

(2) โครงสร้างนิยม

(3) เสรีนิยมใหม่

(4) สัจนิยมแบบดั้งเดิม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 17 สาระสําคัญของการศึกษาของสํานักโครงสร้างนิยม (Structuralism) มีดังนี้

1 พัฒนามาจากแนวคิดของสํานักมาร์กซิสต์ (Marxism) ที่โจมตีระบบทุนนิยมหรือรู้จักกันในนาม สํานักมาร์กซิสต์ใหม่ (Neo-Marxism)

2 ท่ามกลางความร่วมมือระหว่างรัฐทางเศรษฐกิจนั้น มีกลุ่มรัฐที่ “ได้เปรียบ และรัฐที่ “เสียเปรียบ” เพราะความไม่เท่าเทียมกันของประเทศที่มั่งมี (The Have) กับประเทศที่ยากไร้ (The Have-Nots)

3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหนือ-ใต้ (North-South Relations)

4 ศึกษาเกี่ยวกับ “การพัฒนา” และ “ความด้อยพัฒนา”

96 ทักษะและสมรรถนะที่จําเป็นของนักการทูต ได้แก่

(1) มีความรู้ภาษาต่างประเทศ

(2) มีความรอบรู้

(3) มีความรอบคอบ

(4) มีความสามารถในการประสานงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 2 ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จําเป็นของนักการทูต มีดังนี้

1 มีความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ในประเทศไทยและในโลก

2 มีความรอบคอบและรอบรู้

3 มีความสามารถในการประสานงาน

4 มีความสามารถในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุและมีผล

5 มีความรู้ภาษาต่างประเทศ ฯลฯ

97 งานเขียนของใครไม่ได้สะท้อนความคิดแบบสัจนิยม (Realism)

(1) ทูซีดีเดส

(2) มาเคียวเวลลี

(3) มอร์เกนธอร์

(4) รุสโซ

(5) หานเฟยจือ

ตอบ 4 หน้า 14 – 15 รุสโซ (Rousseau) เป็นนักอุดมคตินิยมที่มีแนวคิดแตกต่างจากแนวคิดสัจนิยมโดยเขาได้กล่าวไว้ในหนังสือ “สัญญาประชาคม” (Social Contract) ว่า “มนุษยชาติร่วมมือกัน ในกิจการของสังคมเพราะพวกเขาตระหนักว่า อุปสรรคหรือความยากลําบากมีความยิ่งใหญ่มากกว่าทรัพยากรหรือพละกําลังของปัจเจกชนเพียงลําพัง”

98 ขอบเขตของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครอบคลุมเนื้อหาวิชา

(1) ประวัติศาสตร์การทูต

(2) การเมืองระหว่างประเทศ

(3) ภูมิภาคศึกษา

(4) กฎหมายระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ขอบเขตของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครอบคลุมเนื้อหาวิชา ดังนี้

1 ประวัติศาสตร์การทูต

2 การเมืองระหว่างประเทศ

3 กฎหมายระหว่างประเทศ

4 องค์การระหว่างประเทศ

5 เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

6 ภูมิภาคศึกษา

99 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบหลังสมัยใหม่

(1) การศึกษาแบบดั้งเดิม

(2) การศึกษาโครงสร้างหน้าที่ของสังคม

(3) การศึกษาแบบแผนปฏิบัติทางการทูต

(4) การศึกษาเพื่อนําไปสู่การปลดปล่อยพันธนาการทางความคิด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 6 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบหลังสมัยใหม่ เป็นการศึกษาโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีเชิงวิพากษ์เพื่อหาคําตอบว่าความมั่นคงทางทหาร หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือ ความมั่นคงทางชีวิตที่เป็นสิ่งสําคัญในการดําเนินนโยบายต่างประเทศในโลกยุคหลังสงครามเย็น ซึ่งทฤษฎีเชิงวิพากษ์นั้นมีลักษณะเด่นที่สําคัญ คือ ท้าทายโครงสร้างของอํานาจในระบบปัจจุบัน ส่งเสริมกระบวนการทางสังคมเพื่อที่จะโค่นล้มโครงสร้างที่ไม่ยุติธรรมในปัจจุบัน นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปลดปล่อยพันธนาการทางความคิดเชิงทฤษฎีและโครงสร้างทางสังคม เป็นต้น

100 คํากล่าวใดสะท้อนแนวคิดแบบสัจนิยม (Realism)

(1) น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า

(2) ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร

(3) ถ้อยทีถ้อยอาศัย

(4) แกว่งเท้าหาเสี้ยน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 4 งานด้านการทูตสะท้อนแนวคิดสัจนิยม (Realism) ดังคํากล่าวที่ว่า “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวรในการเมืองระหว่างประเทศ” แม้จะมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติทางการทูตในลักษณะ ของความร่วมมือ แต่รัฐทั้งหลายก็ไม่ได้มีความจริงใจต่อกันในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนักการทูตจะใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามที่ชาติตนต้องการ เช่น การติดสินบน ข้าราชการสํานัก ยั่วยุให้การสนับสนุนทางการเมืองแก่พวกที่ต่อต้านรัฐบาลในประเทศที่ตนไปสังกัดอยู่ เป็นต้น

101 ข้อใดเป็นลักษณะการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบสมัยใหม่

(1) ความเป็นวิชาเชิงปัญญา

(2) การหาคําอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุความขัดแย้ง

(3) แนวทางการศึกษาที่สําคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – ทศวรรษที่ 1980

(4) ได้รับอิทธิพลจากการศึกษาแนวพฤติกรรมศาสตร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบสมัยใหม่ เป็นแนวทางการศึกษาที่สําคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – ทศวรรษที่ 1980 โดยนักวิชาการได้ใช้ แนวทางการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์เพื่อหาคําตอบว่า อะไรคือสาเหตุที่ทําให้นานาชาติ เข้าร่วมกันทําความขัดแย้งครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ความพยายามนี้ส่งผลเป็นความเปลี่ยนแปลงในวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เข้าสู่ความเป็น “วิชาเชิงปัญญา”

102 ตามแนวคิดการสร้างทางสังคมของมนุษย์ การเมืองโลกนั้นถูกสร้างขึ้นจากอะไร (1) ความเชื่อ

(2) วาทกรรม

(3) สัญลักษณ์

(4) ภาษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 6-7 Alexander Wendt เสนอแนวคิดที่ท้าทายการอธิบายโลกในแนวทางการศึกษาแบบสมัยใหม่ โดยกล่าวว่า อํานาจทางการเมืองนั้นเป็นประดิษฐกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการสร้างทางสังคมของมนุษย์ การเมืองโลกไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากความเชื่อ ภาษา วาทกรรม สัญญาณ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายของมนุษย์ภายในรัฐ

103 ข้อใดไม่ใช่การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

(1) กฎหมายว่าด้วยการโอนสัญชาติ

(2) กฎบัตรสหประชาชาติ

(3) กฎหมายทะเล

(4) เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 9 – 10 การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ มีการศึกษาแยกย่อยดังนี้

1 แผนกคดีเมือง คือ การศึกษาเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เช่น เอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต กฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายทะเล สนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็นต้น

2 แผนกคดีบุคคล คือ การศึกษาเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนของรัฐ เช่น กฎหมายว่าด้วยการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายว่าด้วยการโอนสัญชาติ เป็นต้น

3 แผนกคดีอาญา คือ การศึกษาเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เช่น ข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศ กฎหมายลงโทษอาชญากรสงคราม เป็นต้น

104 ระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ

(1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

(2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

(3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

(4) ประวัติศาสตร์การทูต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 103. ประกอบ

105 การประชุม G 20 ในปี ค.ศ. 2016 จัดขึ้นที่เมือง

(1) หังโจว

(2) ซัวเถา

(3) เชี่ยเหมิน

(4) เซี่ยงไฮ้

(5) เทียนสิน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประชุม G 20 ในปี ค.ศ. 2016 จัดขึ้นที่เมืองหังโจว สาธารณรัฐประชาชนจีนโดยมีประเด็นหลักคือ การหารือนโยบายส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน ในระยะยาวภายใต้กรอบ “Towards an Innovative, Invigorated, Interconnected and Inclusive world Economy” เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังหดตัวและซบเซาอันเนื่องมาจากผลกระทบของปัจจัยทางการเมืองและสังคมในหลายประเทศ

106 การศึกษาที่เน้นถึงนโยบายที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ในการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ เป็นการศึกษาแนวทางใด

(1) แนวนโยบาย

(2) แนวประวัติศาสตร์

(3) แนวภูมิการเมือง

(4) แนวศึกษาเรื่องอํานาจ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 12 การศึกษาแนวนโยบาย (Policy Orientation) เป็นการศึกษาที่เน้นถึงนโยบายที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ในการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ นโยบายในการ จัดตั้งองค์การระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพในการขจัดกรณีพิพาทและป้องกันภัยสงคราม รวมทั้งนโยบายปรับปรุงกฎหมายระหว่างประเทศให้มีผลบังคับดีกว่าเดิม ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ มีข้อบกพร่อง คือ นักวิชาการมักมองข้ามต้นกําเนิดของพฤติกรรมของรัฐ รวมทั้งสภาพความเป็นจริงของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

107 การศึกษาที่มุ่งเน้นค้นหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน การพัฒนาของชุมชนระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีต่อกัน เป็นการศึกษาแนวทางใด

(1) แนวดุลแห่งอํานาจ

(2) แนวประวัติศาสตร์

(3) แนวภูมิการเมือง

(4) แนวจิตวิทยาและวัฒนธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 12 การศึกษาแนวประวัติศาสตร์ (Historical Approach) หรือแนวประเพณี (Traditional Approach) เป็นวิธีการศึกษาซึ่งเก่าแก่ที่สุด การศึกษาตามแนวนี้มุ่งเน้นค้นหาข้อเท็จจริงและ หลักฐานเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ระหว่างประเทศ การพัฒนาของชุมชน ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีต่อกัน โดยวิธีสังเกตสภาพความเป็นจริงที่ได้เกิดขึ้นจากหลักศิลาจารึก เอกสารเก่าแก่ หรือสิ่งอื่น ๆ

108 ข้อใดไม่ใช่สมมุติฐานของการศึกษาแนวทางสัจนิยม

(1) ประเทศต่าง ๆ มีความขัดแย้งกันด้านผลประโยชน์

(2) การเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มพูนอํานาจ

(3) การเมืองเป็นเรื่องของการแสดงอํานาจ

(4) นโยบายต่างประเทศกําหนดโดยความร่วมมือและมาตรฐานด้านคุณธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 14 สมมุติฐานของการศึกษาแนวทางสัจนิยม (Realist Approach) มีดังนี้

1 ประเทศต่าง ๆ มักจะมีความขัดแย้งกันด้านผลประโยชน์

2 ผลประโยชน์ของประเทศที่แตกต่างกัน อาจนําไปสู่สงครามหรือความขัดแย้งรูปแบบอื่น ๆ

3 อํานาจของประเทศหนึ่งใดเป็นสิ่งสําคัญที่จะกําหนดผลลัพธ์ของความขัดแย้ง รวมทั้งอิทธิพลของรัฐหนึ่งรัฐใดต่อประเทศอื่น ๆ

4 การเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มพูนอํานาจ รักษาอํานาจ หรือการแสดงอํานาจ

109 ข้อใดเป็นสาระสําคัญของการศึกษาของสํานักอุดมคตินิยม

(1) เน้นผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ

(2) เน้นการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจ

(3) เน้นศึกษาองค์การระหว่างประเทศ

(4) เน้นศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 16 สาระสําคัญของการศึกษาของสํานักอุดมคตินิยม (Idealism) หรือเสรีนิยมแบบอุดมคติ (Utopian Liberalism) มีดังนี้

1 เน้นให้ความสําคัญกับผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ เช่น องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ

2 เน้นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ

3 เน้นมิติความร่วมมือกันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

4 เน้นศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ

5 เน้นศึกษาองค์การระหว่างประเทศ

110 สํานักเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศเกี่ยวโยงกับข้อใด

(1) แนวคิดของสํานักมาร์กซิสต์ใหม่

(2) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหนือ-ใต้

(3) การศึกษาเกี่ยวกับ “การพัฒนา” และความ “ด้อยพัฒนา”

(4) การศึกษาเรื่องนโยบายการค้าเสรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 17, (คําบรรยาย) การศึกษาของสํานักเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศจะเน้นศึกษานโยบายการค้าเสรีซึ่งเป็นแนวคิดของสํานักเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Liberalism) รวมทั้งศึกษาแนวคิดโครงสร้างนิยม (Structuralism) ซึ่งเป็นแนวคิดของสํานักมาร์กซิสต์ใหม่ (Neo-Marxism) โดยแนวคิดโครงสร้างนิยมจะเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหนือ-ใต้ (North-South Relations) และศึกษาเกี่ยวกับ “การพัฒนา” และความ “ด้อยพัฒนา” (ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ)

111 ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission)

(1) จีน

(2) ลาว

(3) ไทย

(4) กัมพูชา

(5) เวียดนาม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) นับเป็นองค์การระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สําคัญที่สุดในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีพัฒนาการ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการประสานงานเพื่อการสํารวจลุ่มแม่น้ำโขง ตอนล่าง” จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1995 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างทั้งหมด 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว ไทยกัมพูชา และเวียดนาม

112 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายและหลักการของสหประชาชาติ

(1) ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน

(3) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติ

(4) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

(5) ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทํา

ตอบ 5 หน้า 33, 35, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายและหลักการที่สําคัญขององค์การสหประชาชาติ มีดังนี้

1 ธํารงไว้เพื่อการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะดําเนินมาตรการร่วมกัน – เพื่อป้องกันการคุกคามสันติภาพโดยใช้สันติวิธี

2 สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน และควบคุมตรวจสอบรัฐบาลของแต่ละประเทศให้เคารพในสิทธิมนุษยชนของพลเมือง

3 พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล

4 เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

113 ข้อใดไม่ได้มีฐานะเป็น “รัฐ”

(1) เกาหลีใต้

(2) เกาหลีเหนือ

(3) ฮ่องกง

(4) สิงคโปร์

(5) นครรัฐวาติกัน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ฮ่องกง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่ได้มีฐานะเป็น “รัฐ” เช่นเดียวกับมาเก๊า โดยฮ่องกงถือเป็นเขตบริหารพิเศษซึ่งจะมีอิสระในการปกครองตนเอง สามารถดําเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การพาณิชย์ ฯลฯ ได้ตามระบบเสรี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงที่สาธารณรัฐประชาชนจีนให้กับอังกฤษหลังจากอังกฤษคืนเอกราชให้ ฮ่องกง โดยฮ่องกงจะเป็นเขตบริหารพิเศษไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 เจนไปถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2047 หลังจากนั้นฮ่องกงจะเปลี่ยนมาใช้การปกครองแบบเมืองอื่น ๆของสาธารณรัฐประชาชนจีน

114 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสันนิบาตชาติ

(1) ก่อตั้งก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

(2) เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับโลก

(3) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลายด้าน

(4) ใช้การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี

(5) มีเป้าหมายในการพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

115 ข้อใดเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ

(1) สนธิสัญญา

(2) อนุสัญญา

(3) จารีตประเพณี

(4) ข้อตกลงระหว่างประเทศ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1 ลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศข้อตกลงระหว่างประเทศ และคําพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก

2 ลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป

116 ข้อใดหมายถึงรัฐที่ประกอบด้วยหลายชนชาติ

(1) แคนาดา

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) สวิตเซอร์แลนด์

(4) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 21, (คําบรรยาย) รัฐที่ประกอบด้วยหลายชนชาติ (Multi-Ethnic States) เช่น สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น เป็นรัฐที่จะต้องพยายามเปลี่ยนแปลงจิตใจพลเมืองให้มีความจงรักภักดีต่อรัฐ เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมต่อรัฐ อันจะก่อให้เกิดการเป็นรัฐที่สมบูรณ์ได้

117 ในปัจจุบันประเทศใดใช้งบประมาณทางการทหารสูงที่สุดในโลก

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) รัสเซีย

(4) ฝรั่งเศส

(5) สหราชอาณาจักร

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) จากข้อมูลการจัดอันดับของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) ในปี ค.ศ. 2016 พบว่า ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณทางการทหารจํานวน 5.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นงบประมาณทางการทหารที่สูงที่สุดในโลก รองลงมา ตามลําดับ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) อินเดีย ฝรั่งเศส ฯลฯ

118 ในปัจจุบันประเทศใดมีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) รัสเซีย

(4) ฝรั่งเศส

(5) สหราชอาณาจักร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเทศที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก คือ รัสเซีย ซึ่งมีพื้นที่กว่า 17,000,000 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึง 1 ใน 8 รองลงมาตามลําดับ ได้แก่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน บราซิล ออสเตรเลีย อินเดีย ฯลฯ

119 ประเทศใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ

(1) ไทย

(2) ไต้หวัน

(3) จีน

(4) มอนเตเนโกร

(5) เซาท์ซูดาน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

120 ข้อใดเป็นองค์การระหว่างประเทศที่จีนมีบทบาทนําในการก่อตั้ง

(1) Asian Development Bank

(2) International Monetary Fund

(3) International Civil Aviation Organization

(4) World Tourism Organization

(5) Asian Infrastructure Investment Bank

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

Advertisement