การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 2 ข้อ

ข้อ 1 ให้อธิบายความแตกต่างของแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้โดยสังเขป

1.1 ลัทธิใต้ท้งกับลัทธิเซียวคัง

แนวคําตอบ

ลัทธิใต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติชั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาลที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

ลัทธิเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้าง รัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูก รัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

 

1.2 รัฐอิสลามกับรัฐมุสลิม

แนวคําตอบ

รัฐอิสลาม เป็นรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดําเนินงานด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอิสลาม ใช้รูปแบบการปกครองของอิสลาม และสร้างวิถีชีวิตของคนในรัฐ ให้ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของพระอัลเลาะห์ ซึ่งรัฐที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นรัฐอิสลาม คือ รัฐภายใต้การปกครอง สมัยพระนบีมุฮัมหมัดและคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ได้แก่ อาบูบัคร์ อุมาร์ อุธมาน และอาลี

รัฐมุสลิม เป็นรัฐที่เป็นจริงในโลก ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับรัฐอิสลาม แต่จะอนุโลมให้ใช้รูปแบบการปกครองแบบสากลได้ มีสภาปกติเหมือนทั่ว ๆ ไปที่เป็น ไม่ได้เคร่งครัดแบบรัฐอิสลาม แต่เนื้อหาอาจจะต้องสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามจะได้ไม่ขัดแย้งกัน เช่น ระบอบรัฐสภา (มาเลเซีย) ระบอบประธานาธิบดี (อียิปต์, ลิเบีย, อินโดนีเซีย) และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

 

1.3 ลัทธิบูชิโดกับลัทธิเม่งจื้อ

แนวคําตอบ

ลัทธิบูชิโด เป็นลัทธิชาตินิยมอย่างแรงกล้าของญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหลักจรรยาของชนชาติทหาร และเป็นหลักจริยธรรมของนักรบ โดยจะมีหน้าที่สําคัญดังนี้

1 ให้จงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิ

2 ทหารทุกคนต้องยอมตายแทนพระจักรพรรดิ

3 ทหารต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น

4 ชายญี่ปุ่นทุกคนต้องเป็นทหาร

5 ชาวญี่ปุ่นถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือเป็นลูกพระอาทิตย์

6 ประชาชนต้องเชื่อฟังทหาร ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่ภักดีต่อพระจักรพรรดิ ใครทําร้ายทหารเท่ากับทําร้ายพระจักรพรรดิ

ในปี พ.ศ. 2447 – 2448 ปรากฏว่าทหารของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิสามารถทําสงครามชนะ ประเทศรัสเซียได้ ทําให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศมหาอํานาจ และเกิดความรู้สึกว่าญี่ปุ่นก็สามารถเป็นมหาอํานาจ ทางตะวันออกได้เช่นเดียวกับมหาอํานาจทางตะวันตก ทําให้ชาวญี่ปุ่นต้องการเป็นมหาอํานาจแห่งเอเชียบูรพา ซึ่งความรักชาติได้กลายเป็นความหลงชาติ และทําให้บูชิโดกลายเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์

ลัทธิเม่งจื้อ ยอมรับสังคมศักดินาที่จัดระเบียบตามลําดับชั้น โดยในเรื่องของรัฐนั้นเม่งจื้อเห็นว่า นโยบายการปกครองของรัฐจะต้องมุ่งสู่การบรรลุคุณสมบัติทั้งสี่ของจิตมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยเมตตา ความซื่อสัตย์ นิติธรรมเนียม และสติปัญญา แนวคิดของลัทธิเม่งจื้อสามารถสรุปได้ดังนี้

1 ผู้ที่ปกครองด้วยคุณธรรม ผู้นั้นจักสามารถตั้งตนเป็นจอมจักรพรรดิราชได้สําเร็จ โดยไม่จําเป็นต้องมีอาณาเขตกว้างขวางอะไรมากมาเป็นขุมกําลัง

2 ผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน โดยประชาชนพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

3 รัฐที่ดีจะต้องให้ความสําคัญต่อเรื่องเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก

4 เน้นเรื่องการปกครองแบบธรรมานุภาพ โดยถือว่าประชาชนสําคัญที่สุด ประเทศชาติรองลงมา ผู้ปกครองมีความสําคัญน้อยที่สุด

 

1.4 ลัทธิทุ่งจื้อกับลัทธิเลี้ยงจื้อ

แนวคําตอบ

ลัทธิซุ่งจื้อ มีหลักการสําคัญดังนี้

1 สนับสนุนให้รัฐต่าง ๆ มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ต้องใช้คุณธรรมในการปกครอง และการปกครองนั้นจะต้องทําเพื่อประชาชน ไม่ใช่ทําเพื่อผู้ปกครอง

2 เมื่อมีกษัตริย์ผู้มีปรีชาญาณองค์แรกครองบัลลังก์ ย่อมมีชนชั้น กล่าวคือ “ถ้ามนุษย์ทุกคนมีอํานาจเท่ากัน รัฐก็ไม่สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ถ้าทุกคนยืนอยู่ในระดับเดียวกัน ย่อมไม่มีการปกครอง ตราบใดที่มีสวรรค์กับโลก ย่อมมีความแตกต่างระหว่างผู้เหนือกว่ากับผู้ด้อยกว่า”

3 ผู้ปกครองที่ฉลาดจะไม่พูดถึงวินัยที่ผิดพลาด หรือไม่ให้เหตุผลเกี่ยวกับการกระทําของเขาทั้งหมด แต่เขาจะใช้อํานาจหน้าที่แนะแนวทางแก่ประชาชน ใช้การประกาศย้ำเตือนและควบคุมโดยการลงโทษ

4 มีแนวคิดแบบนิติธรรมเนียม (Legalism) ซึ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุมพลเมืองทุกคน ไม่ได้มีแนวคิดแบบเผด็จการนิยม

5 เน้นการปกครองโดยกษัตริย์ที่มีคุณธรรม และเห็นว่าสมควรให้ผู้ที่มีความรู้และกิตติคุณเพียงพอเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าจะกําเนิดจากชนชั้นไพร่ก็ตาม

6 ผู้ปกครองที่มีคุณธรรมควรได้รับการสนับสนุนให้อยู่ต่อไป ส่วนผู้ปกครองที่ชั่วร้ายไม่ควรได้เป็นผู้ปกครองต่อไป ควรจะถูกโค่นบัลลังก์

ลัทธิเลี้ยงจื้อ ให้ความสําคัญกับปัจเจกบุคคล โดยเห็นว่ามนุษย์ควรคํานึงถึงผลประโยชน์ของตนเองให้มากที่สุด อย่าไปสนใจประโยชน์ต่อผู้อื่น ซึ่งประโยชน์ของตนเองในที่นี้ไม่ใช่การเกะกะระรานคนอื่น แต่หมายถึงการแสวงหาความสุขเฉพาะหน้า ไม่ใช่ความสุขในอนาคต ผู้ปกครองและนักการเมืองไม่จําเป็นต้องสละประโยชน์ของตนเองเพื่อผู้อื่น แต่ก็ต้องไม่เรียกร้องให้ผู้อื่นสละประโยชน์ของเขาเพื่อตนเองด้วย ประชาชนไม่ต้องทําอะไรให้กับรัฐบาล ส่วนรัฐบาลก็ไม่ต้องทําอะไรให้กับประชาชน ต่างคนต่างอยู่

 

1.5 ลัทธิขงจื้อกับลัทธิเต๋

แนวคําตอบ

ลัทธิขงจื้อ มีหลักการสําคัญดังนี้

1 ชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และอุดมคติทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง ต่างก็มีจุดศูนย์กลางที่ศีลธรรมเช่นเดียวกัน

2 ต่อต้านการปกครองที่กดขี่ทารุณ โดยกล่าวว่า “รัฐบาลที่กดขี่ทารุณนั้นร้ายยิ่งกว่าเสือเสียอีก”

3 กองทัพไม่สามารถสู้รบอย่างมีประสิทธิผลได้ถ้าทหารไม่รู้ว่าพวกเขาจะสู้ไปทําไม โดยกล่าวว่า “การนําประชาชนที่ไม่ได้รับการศึกษาไปสู่สงคราม ก็เท่ากับว่านําพวกเขาไปทิ้ง”

4 ให้ความสําคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก

5 การปกครองนั้นควรมีจุดมุ่งหมายในการนําสวัสดิการและความสุขมาสู่ประชาชนทั้งมวล โดยต้องมีผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารซึ่งไม่ใช่มาจากชาติกําเนิด ความร่ำรวยหรือตําแหน่ง แต่มาจากการได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

6 การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และจะต้องมีลักษณะ “คุ้มครองมากกว่าปกครอง”

7 การใช้อํานาจนั้นจะต้องคํานึงถึงคุณธรรม โดยกล่าวว่า “เมื่อผู้ปกครองเองทําถูกต้อง เขาย่อมมีอํานาจเหนือประชาชนโดยมิต้องออกคําสั่ง แต่เมื่อผู้ปกครองเองไม่ทําสิ่งที่ถูกต้อง คําสั่งทั้งปวงของเขาก็ใช้ไม่ได้เลย”

8 รากฐานของอาณาจักรคือรัฐ รากฐานของรัฐคือครอบครัว รากฐานของครอบครัวคือตัวเอง

 

ลัทธิเต๋า (เหลาจื้อ) มีหลักการสําคัญดังนี้

1 มีแนวคิดทางการเมืองการปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม โดยเชื่อว่า กฎธรรมชาติ เป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ดีกว่ากฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น และเห็นว่าสันติภาพที่แท้จริง เกิดขึ้นไม่ได้เนื่องจากมนุษย์ชอบผืนธรรมชาติ โดยพยายามกําหนดระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองหรือบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม

2 รัฐบาลชอบใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือทดลองนโยบายใหม่ ๆ ที่ตนเชื่อว่าจะได้ผลดี

กฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองนํามาใช้ไม่ได้ช่วยประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า ไม่จําเป็นต้องมาสร้างกฎเกณฑ์กฎหมายต่าง ๆ

3 ความเฉลียวฉลาดและสติปัญญาของมนุษย์เป็นภัยต่อสังคม เพราะมนุษย์ที่ยังไม่เข้าถึงแต่ชอบใช้ความเฉลียวฉลาดของตนไปในทางกอบโกยผลประโยชน์ให้ตนเอง ทุจริต และเบียดเบียนผู้อื่น

4 ไม่จําเป็นต้องมีโรงเรียน เพราะถ้ามนุษย์เรียนรู้กว้างขวางมาก ก็ยากที่จะห้ามคนเหล่านี้ให้ใช้สติปัญญาผลิตสิ่งแปลกใหม่หรือต่อสู้แข่งขันกันได้ โดยคนฉลาดนั้นย่อมรู้วิธีเลี้ยง กฎหมาย รัฐบาลก็ต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด และรัฐบาลก็อาจทําผิดกฎหมายเสียเอง

5 การปกครองควรทําให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมืองน้อย ๆ เพื่อให้ปกครองง่าย เพราะการมีคนมากเรื่องก็ยุ่งมาก มีคนน้อยเรื่องก็ยุ่งน้อย

6 นักปกครองที่ดีจะต้องปกครองแบบแม่ปกครองลูก ดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น และมีคุณธรรม

7 การปกครองที่ดีที่สุดเรียกว่า “บ้ออุ้ยยื่อตี” คือ การปกครองโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับประชาชนมากเกินไป ให้ทุกคนมีอิสระเสรีเต็มที่

8 ควรใช้ความนุ่มนวลในการปกครองประเทศ โดยกล่าวว่า “เมื่อปกครองประเทศด้วยความนุ่มนวล ประชาชนก็จะซื่อสัตย์และจริงใจ เมื่อปกครองประเทศด้วยความรุนแรง ประชาชนก็จะใช้เล่ห์กลและหลอกลวง

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

ก จงอธิบายถึงคุณธรรมของศาสนาพราหมณ์ที่มีผลต่อการสร้างเสริมลักษณะนิสัยและสร้างเสริมลักษณะประจําชาติที่ทําให้คนอินเดียมีระเบียบวินัย มีการกระทําในเรื่องต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในชีวิตที่ถูกกําหนดไว้มาให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

คุณธรรมของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่มีผลต่อการสร้างเสริมลักษณะนิสัยและสร้างเสริม ลักษณะประจําชาติที่ทําให้คนอินเดียมีระเบียบวินัย มีการกระทําในเรื่องต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในชีวิตที่กําหนดไว้ ตัวอย่างได้แก่ อาศรม 4 ธรรม กาม อรรถ ฯลฯ

อาศรม 4 เป็นการทําหน้าที่ของตนตามวัยหรือขั้นตอนของชีวิต ซึ่งประกอบด้วย

1 พรหมจารี คือ วัยเยาว์หรือวัยศึกษา (อายุ 0 – 25 ปี) ซึ่งมีหน้าที่ศึกษาหาความรู้และฝึกฝนความสามารถต่าง ๆ

2 คฤหัสถ์ คือ วัยผู้ใหญ่หรือวัยครองเรือน (อายุ 25 – 50 ปี) ซึ่งสําเร็จการศึกษาแล้วจึงควรมีเหย้ามีเรือน โดยมีหน้าที่ช่วยแบ่งเบาภาระของบิดามารดา และสร้างความมั่นคง ให้กับตนเองและครอบครัว โดยจะต้องทําหน้าที่นี้จนอายุ 50 ปี หรือจนกระทั่งบุตรของตนเข้าสู่วัยคฤหัสถ์แล้ว

3 วานปรัสถ์ คือ วัยสูงอายุ (อายุ 50 – 75 ปี) ซึ่งจะมอบทรัพย์มรดกให้ลูกหลาน แล้วไปทําหน้าที่บําเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เช่น เป็นครูอาจารย์ คิดสร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาสังคม โดยจะต้องทําหน้าที่นี้จนอายุ 75 ปี

4 สันยาสี คือ วัยชรา (อายุ 75 ปีขึ้นไป) ซึ่งต้องอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ เพื่อปฏิบัติธรรมนําไปสู่การหลุดพ้น โดยมีหน้าที่ต้องบําเพ็ญพรตและจาริกสั่งสอนผู้อื่นให้ประพฤติดีประพฤติชอบแสวงหาความหลุดพ้น ละเรื่องทางโลก

ธรรม เป็นการทําตามหน้าที่ มีความรับผิดชอบ หรือการสํานึกถูกผิด มีศีลธรรม โดยรัฐมีหน้าที่ ส่งเสริมธรรม ก็คือ ทําให้คนมีสํานึกถูกผิด มีศีลธรรม อุปถัมภ์บํารุงศาสนา จัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน บํารุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการต่าง ๆ และปลูกฝังจริยธรรมแก่ประชาชน

กาม เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในทางร่างกายหรือความสุขทางกาย โดยรัฐมีหน้าที่ ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความสุขด้านจิตใจที่ผ่านทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ความพึงพอใจในศิลปะ วรรณคดี ดนตรี ความรื่นเริง และความสุขทางกายอื่น ๆ

อรรถ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่งคั่งร่ำรวยและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยรัฐมีหน้าที่ ทํานุบํารุงให้เกิดความมั่งคั่งและความเจริญทางวัตถุ เช่น การค้า เกษตรกรรม การผลิต การรักษาทรัพยากร เป็นต้น

 

ข หากผู้ปกครองตามแนวคิดตะวันตกเน้นเรื่องความชอบธรรมในการเข้าสู่อํานาจ นักศึกษาคิดว่าผู้ปกครองในตะวันออกจะเน้นเรื่องใดในการเข้าสู่อํานาจ ให้อธิบายเฉพาะการเข้าสู่อํานาจของผู้ปกครองตามแนวคิดของพุทธศาสนาเท่านั้น

แนวคําตอบ

ในอัคคัญญสูตรของพุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเกิดคนและสังคม ปัญหาสังคมก็ย่อมตามมา ซึ่งปัญหาสังคมนี้จะมีสาเหตุมาจากกิเลสตัณหาของคนทําให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงและทําร้ายซึ่งกันและกัน ดังนั้น จึงต้องมีผู้เข้าไปจัดการแก้ไข เพื่อทําให้เกิดระบบการปกครอง เกิดรัฐและผู้มีอํานาจขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากคําสอน ตอนหนึ่งที่บรรยายไว้ว่า เมื่อเกิดการกั้นเขตเพื่อครอบครองข้าวสาลีแล้ว คนบางคนได้พยายามเข้าไปขโมยข้าวสาลี ในเขตของคนอื่น และเมื่อถูกจับได้ก็จะถูกลงโทษด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ตักเตือน ตบด้วยมือ ขว้างด้วยก้อนดิน ตีด้วยไม้ เป็นต้น

พวกขโมยที่ถูกจับได้นี้บางคนทําแล้วทําอีก ไม่รู้จักหลาบจํา บางคนรับปากว่าจะไม่ทําอีก แต่กลับทํา กลุ่มคนที่ครอบครองพื้นที่เหล่านั้นจึงประชุมกันเกี่ยวกับปัญหาการลักทรัพย์ การติเตียน การพูดปด และการทําร้ายที่เกิดขึ้น โดยมีมติว่าควรจะแต่งตั้งผู้มาทําหน้าที่ติเตียนคนที่ควรติ และขับไล่คนที่ควรขับไล่ โดยจะแบ่งส่วนข้าวสาลีให้เป็นค่าตอบแทน

หลังจากนั้นจึงมีการเลือกผู้มาทําหน้าที่เป็นหัวหน้าเพื่อปกครองคน คือ การทําหน้าที่ติเตียนคน ที่ควรติเตียนและขับไล่คนที่ทําผิดควรแก่การขับไล่ ซึ่งได้เกิดคํา 3 คําขึ้นมา คือ “มหาสมมุติ” (ผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง) “กษัตริย์” (ผู้เป็นใหญ่ในนา) และ “ราชา” (ผู้ทําความอิ่มใจสุขใจแก่ผู้อื่น) ซึ่งคําดังกล่าวนี้เป็นที่มาของคําว่า “ผู้ปกครอง” นั่นเอง

ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มคนในสังคมเป็นผู้เลือกและแต่งตั้งเขาเป็นหัวหน้า ซึ่งถือว่าเป็นคนธรรมดา ไม่ใช่มาจากสิ่งสูงส่งใด ๆ แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมหรือจริยธรรมมากกว่าผู้อื่นและเป็น ผู้ที่ประเสริฐในกลุ่มชนนั้น

ดังนั้นการเข้าสู่อํานาจของผู้ปกครองตามแนวคิดตะวันออกจึงเน้นในเรื่องหลักธรรม ทั้งนี้เพราะ ผู้ปกครองนั้นจะเปรียบเสมือนโคหัวหน้าฝูงข้ามแม่น้ำ ถ้าหัวหน้าฝูงว่ายคดเคี้ยว โคลูกน้องก็ว่ายน้ำคดเคี้ยวตามไปด้วย ถ้าหัวหน้าฝูงว่ายตรง โคลูกน้องก็ว่ายน้ำตรงด้วย ซึ่งหมายความว่าถ้าผู้ปกครองประเทศไม่ประพฤติธรรม ประชาชนก็จะไม่ประพฤติธรรมด้วย รัฐก็จะยากเข็ญ ในทางตรงกันข้ามหากผู้ปกครองประพฤติธรรม ประชาชนก็จะ ประพฤติธรรมด้วย รัฐก็จะเป็นสุข

Advertisement