การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2105 ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

มาร์กซ์, เลนิน และเมา เซ ตุง

1 ชนชั้นกลางเกิดขึ้นจากการขยายตัวของ

(1) การเมือง

(2) เศรษฐกิจ

(3) สังคม

(4) วัฒนธรรม

(5) อุตสาหกรรม

ตอบ 5 หน้า 172 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) อธิบายว่า ในช่วงปี ค.ศ. 1815 – 1848 เยอรมนีกําลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ คือ สังคมกําลังพัฒนาจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคม อุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ผลจากการขยายตัวของระบบอุตสาหกรรมได้ทําให้มีชนชั้นกลางเกิดขึ้น ซึ่งชนชั้นกลางนี้ก็คือพวกพ่อค้า พวกนี้ต่อมายกระดับจากการเป็นพ่อค้าไปเป็นนักอุตสาหกรรมที่มีความมั่งคั่ง และเป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องการเมืองมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ

2 ความเป็นชนชั้นกลางวัดได้จาก

(1) ความสนใจในการเมืองมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ

(2) ความสนใจในเศรษฐกิจมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ

(3) ความสนใจในสังคมมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ

(4) ความสนใจในวัฒนธรรมมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ

(5) ความสนใจในอุตสาหกรรมมากกว่าชนชั้นอื่น ๆ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3 แนวคิด “อนุรักษนิยม” ก่อนปี ค.ศ. 1848 มีอิทธิพลมาจากข้อใด

(1) ชนชั้นกลาง

(2) ชนชั้นสูง

(3) กลุ่มศาสนา

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 3 หน้า 173 สถานการณ์ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1848 การเมืองพัฒนาล้าหลังกว่าทางเศรษฐกิจกล่าวคือ ยังไม่มีพรรคการเมือง ไม่มีรัฐธรรมนูญ และคนมีความคิดทางการเมืองแตกต่างกัน ออกไป โดยชนชั้นฟิวดัลและกลุ่มศาสนาจะมีแนวความคิดอนุรักษนิยม ส่วนชนชั้นกลางจะมีแนวความคิดแบบเสรีนิยม

4 นักคิดจากประเทศใดต่อไปนี้ที่มีอิทธิพลต่อ Kart Marx ในการที่จะช่วยแก้ปัญหาคนจน

(1) ประเทศอังกฤษ

(2) ประเทศฝรั่งเศส

(3) ประเทศอิตาลี

(4) ประเทศสวีเดน

(5) ประเทศสหรัฐอเมริกา

ตอบ 2 หน้า 173 Kart Mar. ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของนักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ซัง ซิมองต์ (Saint Simon) ในการที่จะช่วยแก้ปัญหาคนจน โดยมีผลต่อการกําหนดทัศนะในการมองโลกของ Marx ตั้งแต่เด็ก ซึ่งก็คือการให้ “ความสนใจต่อชนชั้นที่ยากจน” ในสังคมนั่นเอง

5 ผู้ที่มีอิทธิพลต่อ Kart Marx ในเรื่อง “Dialectic Process”

(1) Friedrich Engels

(2) George Wilhelm Friedrich Hegel

(3) Ludwig Feuerbach

(4) Adam Smith

(4) David Ricardo

ตอบ 2 หน้า 174, 178, (คําบรรยาย) Kart Marx ได้รับอิทธิพลทางความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสังคมมาจากกระบวนการวิภาษวิธี (Dialectic Process) หรือความเป็นปฏิปักษ์ขัดแย้งของจอร์จ วิลเลียม – ฟรีดริช เฮเกล (George Wilhelm Friedrich Hegel) โดยเขาเชื่อว่า ทุกอย่างในโลกนี้ มีความขัดแย้งกันในตัวมันเอง และความขัดแย้งนั้นมีรากมาจากความคิดแบบวัตถุนิยม

6 “การต่อสู้ทางชนชั้น” เป็นทฤษฎี Marx ใช้สถานการณ์ของประเทศใด

(1) ประเทศอังกฤษ

(2) ประเทศฝรั่งเศส

(3) ประเทศอิตาลี

(4) ประเทศเบลเยียม

(5) ประเทศสหรัฐอเมริกา

ตอบ 2 หน้า 175 ในช่วงที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศสหลายครั้งนั้น Marx และ Engels ได้ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง คําประกาศคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) ขึ้นในปี ค.ศ. 1848 โดย Marx ได้ใช้ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงนั้นส่งเสริมทฤษฎี “การต่อสู้ทางชนชั้น” จนเขาถูกรัฐบาลฝรั่งเศสเนรเทศออกจากกรุงบรัสเซล

7 “คําประกาศคอมมิวนิสต์” เกิดขึ้นในปี

(1) ค.ศ. 1818

(2) ค.ศ. 1836

(3) คศ. 1848

(4) ค.ศ. 1865

(5) ค.ศ. 1883

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ ภาพ

8 สิ่งที่เป็นตัวจัดระบบสังคม ในทัศนะของ Mark

(1) ระบบสังคม

(2) ระบบเศรษฐกิจ

(3) ระบบการเมือง

(4) ระบบความเชื่อ

(5) ระบบวัฒนธรรม ตอบ 2 หน้า 177 Marx เห็นว่า สิ่งที่เป็นตัวจัดระบบสังคมก็คือระบบเศรษฐกิจ โดยเขาเชื่อว่าเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดในการควบคุมสังคม การเมือง และความคิดของคน

9 ระบบที่ Marx ระบุว่า เป็นระบบที่เลวร้าย คือ

(1) บุพกาล

(2) ทาส

(3) ศักดินา

(4) ทุนนิยม

(5) คอมมิวนิสต์

ตอบ 4 หน้า 177 Max เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นระบบที่เลวร้ายมากที่สุด โดยดูได้จากประวัติศาสตร์การเกิดและวิธีการทํางานของระบบทุนนิยมที่ทําลายความเป็นมนุษย์ ซึ่งทั้งประวัติศาสตร์และวิธีการทํางานของระบบนี้ Marx ใช้เป็นพื้นฐานในการทํานายอนาคตของโลก คือ ผลสุดท้ายสังคมทุนนิยมจะทําลายตัวเอง และสุดท้ายสังคมจะพัฒนาเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมาชิกทุกคนเสมอภาคและมีเสรีภาพอย่างแท้จริง ๆ

10 Marx เชื่อว่า ทุกอย่างในโลกมีความขัดแย้งในตัวเอง โดย Marx เชื่อว่า ความขัดแย้งนั้นมีรากมาจาก

(1) วัตถุนิยม

(2) จิตนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ชาตินิยม

(5) เชื้อชาตินิยม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

11 สิ่งใดต่อไปนี้ที่ Marx เรียกว่าโครงสร้างส่วนบน

(1) ศาสนา

(2) รัฐบาล

(3) รูปแบบการผลิต

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 179, (คําบรรยาย) Marx ได้จําแนกโครงสร้างของสังคมออกเป็น 2 ส่วน คือ

1 โครงสร้างส่วนบน (Superstructure) ได้แก่ สถาบันต่าง ๆ ในสังคม เช่น กฎหมาย ศาสนา รัฐบาล ศีลธรรม การเมือง ปรัชญา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม ฯลฯ

2 โครงสร้างส่วนล่าง (Substructure) ซึ่งเป็นรากฐานของระบบการผลิตทางเศรษฐกิจหรือปัจจัยทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย รูปแบบการผลิต (วิธีการผลิต เครื่องมือการผลิต เช่น จอบ เสียม เครื่องจักร แรงงาน ฯลฯ) และความสัมพันธ์ทางการผลิต ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือการผลิต

12 “ความรู้สึกแปลกแยก” หมายถึง

(1) กรรมกรยิ่งผลิตมากยิ่งมีความสุขมาก

(2) กรรมกรยิ่งผลิตมากยิ่งมีพลังมากขึ้น

(3) กรรมกรยิ่งทํางานยิ่งชื่นชมการผลิต

(4) กรรมกรยิ่งผลิตยิ่งมั่งคั่ง

(5) กรรมกรยิ่งผลิตยิ่งไร้ค่า

ตอบ 5 หน้า 184 185, คําบรรยาย) Max อธิบายว่า ในสังคมทุนนิยมนั้น นอกจากจะเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยการกดขี่ทางชนชั้นแล้วยังเป็นสังคมของการผลิตที่ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือที่เรียกว่า “ความรู้สึกแปลกแยก” (Alienation) ซึ่งดูได้จากความจริงที่ว่า ยิ่งกรรมกรผลิตมาก กรรมกรก็ยิ่งจนลง และกรรมกรยิ่งมีชีวิตที่คุณค่าความเป็นมนุษย์ลดลง กล่าวคือ กรรมกรยิ่งผลิตยิ่งไร้ค่า

13 “เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ” หมายถึง

(1) ประชาธิปไตย

(2) สังคมนิยม

(3) ชาตินิยม

(4) เชื้อชาตินิยม

(5) ภูมิภาคนิยม

ตอบ 2 หน้า 186, (คําบรรยาย) ในแนวคิดของ Marx นั้น “เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ” หมายถึง การปกครองแบบสังคมนิยมหรืออํานาจนิยมแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีเป้าหมาย 2 ประการ คือ

1 กวาดล้างโครงสร้างระบบนายทุน

2 สร้างสถาบันทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมาแทนที่

14 ในสังคมใดที่กรรมกรจะได้รับค่าจ้างตามแรงงาน

(1) สังคมบุพกาล

(2) สังคมทาส

(3) สังคมศักดินา

(4) สังคมทุนนิยม

(5) สังคมคอมมิวนิสต์

ตอบ 4 หน้า 180 – 188, (คําบรรยาย) Mark อธิบายวา สังคมจะมีการพัฒนาเป็นยุค ๆ ทั้งหมด 5 ยุค ตามรูปแบบการผลิต ได้แก่

1 ยุคสังคมดึกดําบรรพ์ (สังคมบุพกาล) เป็นสังคมที่ไม่มีเครื่องมือการผลิต

2 ยุคสังคมทาส เป็นสังคมที่มนุษย์เริ่มมีเครื่องมือการผลิต มีการสะสมผลผลิต มีทรัพย์สินส่วนตัวและเริ่มมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นนายทาสที่เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต และชนชั้นทาสที่ไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต 3 ยุคสังคมศักดินาหรือฟิวดัล เป็นสังคมที่มีเครื่องมือการผลิตที่ก้าวหน้า มีการใช้เครื่องจักร

4 ยุคสังคมทุนนิยม เป็นสังคมที่กดขี่ทางชนชั้นและลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของกรรมกร ซึ่งทําให้แรงงานกลายเป็นสินค้า และเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้กรรมกรมีความรู้สึกแปลกแยก กับการดํารงชีวิตมากที่สุด ในขณะที่ทํางานตามความสามารถและพอใจที่จะรับค่าจ้างตามแรงงานหรือตามความต้องการของแต่ละคน

5 ยุคสังคมคอมมิวนิสต์ เป็นสังคมที่ไร้ชนชั้นหรือไม่มีความแตกต่างระหว่างชนชั้น เพราะสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ทุกคนทํางานเต็มที่ตามความสามารถและพอใจที่จะรับค่าตอบแทนตามความจําเป็นของตนเอง

15 สิ่งใดต่อไปนี้ที่ Kart Marx ปฏิเสธไม่ยอมรับ

(1) ความเป็นชนชั้น

(2) สังคมคอมมิวนิสต์

(3) สังคมทุนนิยม

(4) ศาสนา

(5) มูลค่าส่วนเกิน

ตอบ 4 หน้า 196 Marx ปฏิเสธไม่ยอมรับศาสนา เพราะเชื่อว่าศาสนาเป็นสิ่งมัวเมาเหมือนยาเสพติดที่ทําให้คนอยู่แต่ในโลกจินตนาการ และลืมความเป็นจริงในโลก

16 Lenin ระบุว่า

(1) พลังสําคัญในการปฏิวัติคือ กรรมกรเท่านั้น

(2) ต้องสร้างนักปฏิวัติอาชีพ

(3) การปฏิวัติต้องเกิดขึ้นครั้งละหลาย ๆ ประเทศ

(4) จิตสํานึกทางการเมืองเกิดขึ้นเองได้

(5) สาเหตุของการปฏิวัติต้องเกิดจากเรื่องเศรษฐกิจ

ตอบ 2 หน้า 200, 203, 206 207 Lenin ระบุว่า “การปฏิวัติสังคมนิยม” จะสําเร็จได้ต้องมีเงื่อนไขดังนี้

1 ต้องสร้างนักปฏิวัติอาชิพมาทําหน้าที่เป็นผู้นําในการปฏิวัติและปลุกจิตสํานึกทางการเมืองให้

2 พลังสําคัญในการปฏิวัติคือ ชนชั้นกรรมาชีพ (กรรมกร) และชาวนาชาวไร่เข้าร่วมด้วย

3 เกิดขึ้นในประเทศเดียวก็ได้ ไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในหลายประเทศ

4 เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขทางการเมือง ไม่จําเป็นต้องมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

17 Lenin ระบุว่า

(1) พรรคเป็นตัวแทนของกรรมกร

(2) พรรคเป็นผู้นําของกรรมกร

(3) พรรคเป็นตัวแทนของนายทุน

(4) พรรคต้องใช้ความรุนแรงตลอดเวลา

(5) พรรคต้องปล่อยให้สมาชิกทุกคนสามารถวิพากษ์วิจารณ์พรรคได้ตลอดเวลา

ตอบ 2 หน้า 203 – 204 Lenin ระบุว่า พรรคต้องดําเนินตามหลักการ “ศูนย์กลางประชาธิปไตย” (Democratic Centralism) นั่นคือ นโยบายของพรรคต้องมีการกําหนดโดยให้มีการถกเถียง อย่างอิสระโดยสมาชิกทุกคน และเมื่อนโยบายได้ถูกกําหนดแล้ว ทุกคนจะต้องทําตาม ห้ามมิให้ มีการวิจารณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อทําให้พรรคมีลักษณะเป็นการรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิก ดังนั้นพรรคจึงมีฐานะเป็นผู้นําของกรรมกร แต่มิได้เป็นตัวแทนของกรรมกร

18 สิ่งที่ทําให้เกิด “สงคราม” ในทัศนะของ Lenin

(1) การพัฒนาที่ไม่เท่ากันของระบอบการเมือง

(2) การพัฒนาที่ไม่เท่ากันของระบบทุนนิยม

(3) การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันด้านการศึกษา

(4) การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันด้านวัฒนธรรม

(5) การพัฒนาทางสติปัญญาที่ไม่เท่ากันของคนในสังคม

ตอบ 2 หน้า 205 Lenin เชื่อว่า หากสังคมอยู่ในยุคทุนนิยม สงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสงครามเป็นผลมาจากการมีเครื่องมือการผลิตไว้ในครอบครอง นั่นคือ การพัฒนาที่ไม่เท่ากันของระบบทุนนิยมจะทําให้เกิดสงครามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

19 การพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมในทัศนะของ Lenin

(1) ระบบบุพกาล

(2) ระบบทาส

(3) ระบบศักดินา

(4) ระบบคอมมิวนิสต์

(5) ระบบจักรวรรดินิยม

ตอบ 5 หน้า 210 211 ทฤษฎีจักรวรรดินิยม เป็นแนวคิดของ Lenin ที่ถูกนํามาประยุกต์ใช้ในการศึกษาโครงสร้างที่ไม่เท่าเทียมกันของระบบเศรษฐกิจและการเมือง โดย Lenin อธิบายว่า ทําไมจึงไม่มีการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพในประเทศทุนนิยมที่เจริญเต็มที่ ซึ่งคําตอบก็คือ ในระบบทุนนิยมนั้นจะมีการสร้างวิธีการลดความรุนแรงของความขัดแย้งในสังคมทุนนิยมลง โดยการส่งความขัดแย้งไปยังอาณานิคมทั่วโลก ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมก็คือระบบจักรวรรดินิยมนั่นเอง

20 การปฏิวัติในจีนของ Mao Tse Tung มีวัตถุประสงค์เพื่อ

(1) กําจัดนายทุน

(2) ล้มล้างจักรวรรดินิยม

(3) ล้มล้างพวกปฏิกิริยา

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 229 เมา เซ ตุง (Mao Tse Tung) อธิบายว่า เป้าหมายของการปฏิวัติจีน คือ การล้มล้างการปกครองของจักรวรรดินิยมต่างชาติและพวกปฏิกิริยา แต่มิได้ทําลายส่วนหนึ่งของลัทธิทุนนิยมซึ่งสามารถใช้ต่อต้านจักรวรรดินิยมและระบบฟิวดัล

21 ประสบการณ์จากการปฏิวัติในจีนในระหว่างปี 1930 – 1940 ทําให้ Mao สร้างสิ่ง

(1) สงครามกองโจร

(2) อํานาจมาจากปากกระบอกปืน

(3) การปฏิวัติโลก

(4) ประชาธิปไตยแบบใหม่

(5) ระบบเศษ 3 ส่วน 4

ตอบ 2 หน้า 232 “อํานาจมาจากปากกระบอกปืน” เป็นทฤษฎีที่ Mao เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิวัติในจีนระหว่างปี ค.ศ. 1930 – 1940 โดยเห็นว่าสงครามเป็นรูปแบบสูงสุดของการต่อสู้ และสงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสงครามเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม

22 ประสบการณ์การทําสงครามกับญี่ปุ่น ทําให้ Mao เรียนรู้ยุทธวิธีในข้อใด

(1) สงครามกองโจร

(2) อํานาจมาจากปากกระบอกปืน

(3) การปฏิวัติโลก

(4) ประชาธิปไตยแบบใหม่

(5) ระบบเศษ 3 ส่วน 4

ตอบ 1 หน้า 232 Miao ได้เสนอยุทธวิธีในการทําสงครามปฏิวัติเพื่อปลดแอกขึ้นมาใหม่ เรียกว่า “สงครามกองโจร” ซึ่งเป็นสงครามนอกแบบที่ไม่มีการประกาศเป็นทางการ ไม่มีอาณาเขตที่แน่นอนตายตัวในการจู่โจม โดยเขาได้เรียนรู้ยุทธวิธีนี้มาจากการทําสงครามกับญี่ปุ่น

23 เครื่องมือสําคัญในการสร้างคนของ Mao

(1) การใช้ศิลปะ

(2) การใช้วัฒนธรรม

(3) การใช้การเมือง

(4) การใช้เศรษฐกิจ

(5) การใช้การศึกษา

ตอบ 5 หน้า 236 Miao เห็นว่า การพัฒนาสังคมนิยมคือการเน้นความสําคัญของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และการศึกษาอย่างกว้าง ๆ ที่ต้องการใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างคนขึ้นมาใหม่ในสังคมจีน ดังนั้นจึงสนับสนุนให้มีการศึกษาแบบใหม่ที่เน้นการลงมือปฏิบัติ

24 Mao ระบุว่า ความขัดแย้ง มี 2 ประเภท 1 ในนั้นคือ

(1) ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับศัตรู

(2) ความขัดแย้งในหมู่ประชาชนกับสังคม

(3) ความขัดแย้งในการพัฒนาพลังการผลิต

(4) ความขัดแย้งระหว่างสังคมกับธรรมชาติ

(5) ความขัดแย้งทุกประการที่เกิดขึ้นในโลก

ตอบ 1 หน้า 227 228 Mao เห็นว่า ในสังคมจีนนั้นมีความขัดแย้งอยู่ 2 ประเภท คือ ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับศัตรู และความขัดแย้งในหมู่ประชาชน โดยความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับศัตรูจะเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน ส่วนความขัดแย้งในหมู่ประชาชนจะไม่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน

25 Mao เชื่อว่า ประวัติศาสตร์เป็นการแสดงออกถึง

(1) การต่อสู้ระหว่างชนชั้น

(2) ความล้าหลังของการพัฒนาสังคมที่จีน

(3) การกระทําของคนที่พยายามชนะธรรมชาติ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 หน้า 224 225 Miao เชื่อว่า ประวัติศาสตร์เป็นการแสดงออกถึงการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างชนชั้นผู้กดขี่กับชนชั้นผู้ถูกกดขี่ และเป็นการแสดงถึงการต่อสู้ระหว่างจิตนิยมกับวัตถุนิยมด้วย อีกทั้งยังเป็นการกระทําของคนที่พยายามชนะธรรมชาติ เนื่องจากคนจําเป็นต้องต่อสู้เพื่อความ อยู่รอด

 

มองเตสกิเออ (Montesquieu)

26 มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติในทัศนะของ Montesquieu

(1) โหดร้าย ก้าวร้าว ไม่มีกฎเกณฑ์

(2) รักเสรีภาพ อ่อนโยน มีเมตตา

(3) ทําร้ายซึ่งกันและกัน

(4) สะสมทรัพย์และอํานาจ

(5) อ่อนแอ ขี้ขลาด และหวาดกลัว

ตอบ 5 หน้า 49 มองเตสกิเออ เห็นว่า มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์โลกที่มีความอ่อนแอ ขี้ขลาด และหวาดกลัวเป็นคุณสมบัติประจําตัว ดังนั้นจึงทําให้ไม่มีใครกล้าที่จะรุกรานซึ่งกันและกัน เพราะต่างคนต่างก็หวาดกลัวซึ่งกันและกัน โดยก่อนหน้าที่สังคมจะเกิดขึ้นนั้น แต่ละคนจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวและคิดว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่น

27 การเกิดสังคมการเมืองในทัศนะของ Montesquieu

(1) มนุษย์ต้องการความเสมอภาค

(2) มนุษย์ต้องการการปกครองที่มีความเป็นธรรม

(3) มนุษย์ต้องการสันติภาพ

(4) มนุษย์ต้องการความสุขความสมหวัง

(5) มนุษย์ต้องการความปลอดภัย

ตอบ 3 หน้า 50 Montesquieu เห็นว่า การเกิดสังคมการเมืองนั้นขึ้นอยู่กับกฎธรรมชาติ 4 ประการ คือ

1 มนุษย์ต้องการสันติภาพ

2 มนุษย์ต้องการแสวงหาสิ่งที่จะมาบําบัดความต้องการของตน

3 มนุษย์ต้องการคบหาสมาคมกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

4 มนุษย์ต้องการที่จะดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม

28 การแยกอํานาจ (Separation of Power) เป็นผลดีในด้านใด

(1) การผ่อนปรนการใช้อํานาจ

(2) ประชาชนมีส่วนร่วม

(3) แบ่งงานกันทํา

(4) เกิดประสิทธิภาพการบริหาร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 58, 62, (คําบรรยาย) Montesquieu ได้เสนอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลสายกลางเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีหลักประกันในอิสรภาพทางการเมือง โดยจัดให้มีระบบการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) และระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลแห่งอํานาจขององค์กรทั้ง 3 ฝ่าย อันได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ซึ่งทัศนะดังกล่าวนี้จะเป็นผลดีในด้าน การผ่อนปรนการใช้อํานาจปกครอง และยังถือเป็นรากฐานของระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดีและระบบกึ่งประธานาธิบดีในปัจจุบัน

29 องค์กรหรือสถาบันใดที่จะช่วยตรวจสอบและจํากัดอํานาจการบริหารที่ป้องกันการใช้อํานาจเกินขอบเขต

(1) กองทัพ

(2) ขุนนาง

(3) นิติบัญญัติ

(4) รัฐธรรมนูญ

(5) กฎหมายการเมือง

ตอบ 2 หน้า 53, 60 ในทัศนะของ Montesquieu นั้น สถาบันตัวกลางในรัฐบาลแบบกษัตริย์หมายถึง สถาบันที่อยู่ระหว่างกษัตริย์กับประชาชน ซึ่งก็คือบรรดาขุนนางและข้าราชการ โดยจะคอยช่วยเหลือกษัตริย์ในการบริหารงาน รวมทั้งยังเป็นสถาบันที่ช่วยตรวจสอบและจํากัดอํานาจบริหารของกษัตริย์ไม่ให้ใช้อํานาจนอกเหนือจากที่กฎหมายกําหนด

30 รูปแบบรัฐบาลของ Montesquieu คือ

(1) รัฐบาลแบบประชาธิปไตย

(2) รัฐบาลแบบสาธารณรัฐ

(3) รัฐบาลสายกลาง

(4) รัฐบาลแบบอภิชนาธิปไตย

(5) รูปแบบใด ๆ ที่ก่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

ตอบ 3 หน้า 57, (คําบรรยาย) Montesquieu เห็นว่า รูปแบบการปกครองหรือรูปแบบรัฐบาลที่ดีที่สุดคือ รัฐบาลสายกลาง (Moderate Government) ซึ่งการสถาปนารัฐบาลสายกลางขึ้นมาจะช่วย ให้เกิดความมั่นคงในสังคมขึ้นมาได้ เพราะรัฐบาลสายกลางจะยึดถือหลักการแห่งอิสรภาพหรือเสรีภาพของประชาชนเป็นหลักการสําคัญ

31 หลักการ Check and Balance สอดคล้องกับข้อใด

(1) การเลือกตั้งวุฒิสภา

(2) การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา

(3) สภาผู้แทน-สภาขุนนาง

(4) การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล

(5) การมีส่วนร่วมทางการเมือง

ตอบ 3 หน้า 58, (คําบรรยาย) ในทัศนะของ Montesquieu นั้น การตรวจสอบและถ่วงดุลแห่งอํานาจ (Check and Balance) คือ การให้แต่ละอํานาจสามารถตรวจสอบการทํางานของกันและกันได้ และอํานาจที่แยกให้แต่ละองค์กรใช้นั้นต่างมีฐานะเท่ากัน โดยอํานาจหนึ่งจะถอดถอนอีกอํานาจหนึ่งไม่ได้ ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้จะสอดคล้องกับการใช้อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาผู้แทน-สภา ขุนนาง) ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ

32 ในทัศนะของ Montesquieu อะไรเป็นสาเหตุของความเสื่อมของรัฐบาลแบบประชาธิปไตย

(1) ทหารเข้าแทรกแซง

(2) ประชาชนนอนหลับทับสิทธิ

(3) ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมากเกินไป

(4) ปล่อยให้มีความเสมอภาคกันจนไม่มีขอบเขต

(5) ความไม่สามารถรักษาเสียงข้างมากในสภาไว้ได้

ตอบ 4 หน้า 56 Montesquieu กล่าวว่า สําหรับรัฐบาลประชาธิปไตยนั้น หากปล่อยให้มีความเสมอภาคกันจนไม่มีขอบเขตแล้ว รัฐบาลแบบนี้ก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะต่างคนต่างก็ทําตามความต้องการของตน ความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นตามมา 33 ในทัศนะของ Montesquieu อะไรเป็นหลักการของรัฐบาลแบบสาธารณรัฐ (Republic)

(1) หลักเกียรติยศ

(2) หลักคุณธรรม

(3) หลักความยุติธรรม

(4) หลักความถูกต้อง

(5) หลักความเสมอภาค

ตอบ 2 หน้า 53 – 54 Montesquieu ได้แยกหลักการของรัฐบาลตามธรรมชาติของรัฐบาลไว้ดังนี้

1 หลักการของรัฐบาลแบบสาธารณรัฐ (Republic) คือ คุณธรรม

2 หลักการของรัฐบาลแบบกษัตริย์ (Monarchy) คือ เกียรติยศ

3 หลักการของรัฐบาลแบบเผด็จการ (Despotism) คือ ความกลัว

34 ผู้ใช้อํานาจของ “องค์กรบริหาร” ในทัศนะของ Montesquieu

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) ประธานาธิบดี

(3) นายกรัฐมนตรี

(4) ตัวแทนของประชาชน

(5) กษัตริย์โดยความช่วยเหลือของขุนนาง

ตอบ 5 หน้า 59 – 60 Montesquieu ได้แบ่งผู้ใช้อํานาจของรัฐบาลสายกลางออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 องค์กรนิติบัญญัติ เป็นอํานาจที่ใช้โดยสภา 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและสภาสูง

2 องค์กรบริหาร เป็นอํานาจที่ใช้โดยกษัตริย์ด้วยความช่วยเหลือของขุนนาง

3 องค์กรตุลาการ เป็นอํานาจที่ใช้โดยองค์กรที่ไม่ถาวร หรือตุลาการ

 

สํานักอนุรักษนิยม (Conservative)

35 ทัศนะของ Home เกี่ยวกับรัฐที่ดี

(1) รัฐบาลที่ไม่แทรกแซงกิจการของเอกชน

(2) รัฐที่ยอมรับมติจากประชาชน

(3) รัฐที่สร้างสันติภาพ ความเป็นระเบียบ และผดุงความยุติธรรม

(4) รัฐที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย

(5) รัฐที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากที่สุด

ตอบ 3 หน้า 91 รัฐที่ดีในทัศนะของ Hume คือ รัฐที่มีหน้าที่ในการสร้างความยุติธรรมและสันติภาพกับความเป็นระเบียบในสังคมให้เกิดขึ้นได้

36 ผู้พิทักษ์สันติภาพได้ดีที่สุดในทัศนะของ Burke

(1) ผู้มีความรู้สูง

(2) ชนชั้นสูง

(3) รัฐบาล

(4) กฎหมาย

(5)ประชาชนทุกคน

ตอบ 2 หน้า 100, (คําบรรยาย) Burke เห็นว่า ชนชั้นสูงจะเป็นผู้พิทักษ์สันติภาพหรือเสรีภาพได้ที่ที่สุด และช่วยปกป้องสังคมให้ปราศจากระบบเผด็จการอํานาจนิยม (Authoritarianism) หรือเผด็จการแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ควบคู่ไปกับช่วยป้องกันระบบทรราชที่มีคนนิยมอยู่ใน ขณะนั้นได้อีกด้วย

37 ทัศนะของ Hume มนุษย์มีความจําเป็นที่จะต้องธำรงรักษาสังคมไว้เพื่ออะไร

(1) เสรีภาพ

(2) ความยุติธรรม

(3) ความเสมอภาค

(4) จริยธรรม

(5) ภราดรภาพ

ตอบ 2 หน้า 89 – 90 ในทัศนะของ Hume นั้น รัฐหรือสังคมการเมืองมีรากเหง้าความเป็นมาจาก

1 “ความจําเป็น” ของมนุษย์ที่จะต้องธํารงรักษาสังคมให้มีอยู่เพื่อความยุติธรรม

2 “ความโน้มเอียงตามธรรมชาติ” ที่จะแสวงหาผลประโยชน์ของมนุษย์

3 “นิสัย” ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยทําให้เกิดความเคยชินต่อการเคารพเชื่อฟัง

38 Hume ให้ความหมาย “ความยุติธรรม” (Justice) ไว้ว่าอย่างไร

(1) ความทัดเทียมกันทางเศรษฐกิจ

(2) ความทัดเทียมกันด้านสังคม

(3) ความเท่าเทียมกันในด้านการเมือง

(4) การยอมรับในทรัพย์สินส่วนบุคคล

(5) การที่รัฐต้องปฏิบัติต่อประชาชนเท่าเทียมกัน

ตอบ 4 หน้า 91 ในทัศนะของ Hume นั้น ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง การยอมรับในสิทธิการมีทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือกรรมสิทธิ์ส่วนตัว

39 ทัศนะของ Hume ต่อมาตรฐานทางศีลธรรม

(1) ความรู้สึกจะบอกมาตรฐานทางศีลธรรม

(2) มนุษย์มีเหตุผลเพื่อประโยชน์ตน

(3) ประสบการณ์ของมนุษย์จะกําหนดมาตรฐานทางศีลธรรม

(4) ศาสนาจะกําหนดมาตรฐานทางศีลธรรม

(5) กฎหมายคือส่วนสําคัญของศีลธรรม

ตอบ 3 หน้า 88 – 89 Hume เห็นว่า มาตรฐานทางศีลธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ถูกกําหนดขึ้นมาจากประสบการณ์ของมนุษย์เอง ซึ่งประสบการณ์นี้จะเป็นเครื่องกําหนดว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรควรหลีกเลี่ยง อะไรควรรีบรับ ส่วนเหตุผลนั้นเป็นเรื่องที่นั่งคิดขึ้นมาและเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น

40 ทัศนะของ Burke ต่อสิทธิของมนุษย์

(1) มนุษย์มีสิทธิตั้งแต่เกิด

(2) เป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานให้

(3) สิทธิเกิดขึ้นเมื่อมีกฎหมาย

(4) สิทธิไม่สามารถถ่ายโอนได้

(5) การปฏิวัติเป็นการละเมิดสิทธิมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 98, (คําบรรยาย) Burke เห็นว่า สิทธิของมนุษย์นั้นจะเกิดขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายโดยสิทธิการปกครองตนเองอาจเคยมีอยู่ในสภาวะแรกเริ่ม แต่มิใช่สิทธิทางสังคม เพราะเมื่อคนเข้ามาสู่สังคมการเมืองแล้วสิทธิแรกเริ่มจะถูกทิ้งไป

41 ที่อยู่เบื้องหลังหรือเป็นที่มาของประเพณีและสถาบันต่าง ๆ ในทัศนะของ Burke

(1) กฎหมาย

(2) ความรู้ความสามารถ

(3) ความเท่าเทียมกัน

(4) ภูมิปัญญาของสังคม

(5) ประโยชน์ของมนุษย์

ตอบ 5 หน้า 97, (คําบรรยาย) Burke เห็นว่า สถาบันต่าง ๆ ที่คนก่อตั้งขึ้นมานั้นเป็นการก่อตั้งขึ้นมาจากขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้าเป็นระเบียบ ทีละเล็กทีละน้อยต่อเนื่องกับอดีต โดยที่มีผลประโยชน์ของคนส่วนรวมเป็นพลังผลักดันให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกันในการกําหนดโครงสร้างของสังคมการเมืองที่ซับซ้อน หรือโครงสร้างของประเพณีและสถาบันต่าง ๆ ขึ้นมา

42 สํานักอนุรักษนิยมให้ความสําคัญในเรื่องใดเป็นที่สุด

(1) หลักเสรีภาพ

(2) หลักกฎหมาย

(3) หลักแห่งเสรีภาพ

(4) ดุลยภาพของสังคม

(5) หลักแห่งความเสมอภาค

ตอบ 4 หน้า 97, (คําบรรยาย) นักอนุรักษนิยมโดยเฉพาะ Burke จะให้ความสําคัญแก่ดุลยภาพของสังคมมากที่สุด โดยเขาเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงและการปฏิวัติอาจทําลายดุลยภาพของโครงสร้างทางสังคมให้พินาศเสื่อมสูญลงได้

สํานักประโยชน์นิยม (The Utilitarians)

43 ทัศนะของ Bentham ต่อสิทธิของคนกลุ่มน้อย

(1) สิทธิของคนกลุ่มน้อยจะต้องถูกทดแทนเมื่อมีการละเมิดไม่ว่าในกรณีใด

(2) รัฐบาลต้องรับฟังเสียงและสิทธิของคนส่วนน้อยอย่างตั้งใจ

(3) สิทธิของบุคคลต้องได้รับการปกป้อง

(4) สิทธิอาจถูกจํากัดเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของคนหมู่มาก

(5) สิทธิของคนส่วนน้อยจะถูกละเมิดมิได้

ตอบ 4 หน้า 144, (คําบรรยาย) ในเรื่องสิทธิของคนกลุ่มน้อย (Minority Right) นั้น Bentham เห็นว่าถ้าผลประโยชน์สูงสุดถูกกระทบกระเทือน ก็อาจจํากัดสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชนลงได้ แม้จะต้องละเมิดสิทธิของคนกลุ่มน้อยก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของคนหมู่มากนั่นเอง ซึ่งทัศนะในเรื่องนี้ของ Bentham จะสอดคล้องต้องกันกับของ James Mill นั่นคือ ทั้งสองคนไม่ได้ให้ความสําคัญแก่สิทธิของคนกลุ่มน้อย

44 ผู้ไม่ได้ให้ความสําคัญแก่สิทธิของคนกลุ่มน้อย (Minority Right)

(1) Bentham

(2) James Mill

(3) John Stuart Mill

(4) Bentham & James Mill

(5) James Mill & John Stuart Mill

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

45 ทัศนะของ Jeremy Bentham ต่อสิทธิ์

(1) สิทธิติดตัวมาตั้งแต่มนุษย์เกิดมา

(2) มีกฎหมายจึงมีสิทธิ

(3) เมื่อมีสังคมจึงมีสิทธิ

(4) สิทธิมีอยู่แล้วในธรรมชาติ

(5) สิทธิเกิดเมื่อมีการทําสัญญา

ตอบ 2 หน้า 142 Bentham คัดค้านหลักสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยเขาเห็นว่า สิทธิของมนุษย์นั้นเป็นสิทธิที่ได้มาโดยกฎหมาย กล่าวคือ มีกฎหมายจึงมีสิทธิ ไม่ใช่สิทธิที่ได้มาโดยธรรมชาติ หรือโดยกําเนิดตามที่ชอบอ้างกันแต่อย่างใด 46 หลักคิดที่สําคัญของสํานักประโยชน์นิยม

(1) หลักเสรีภาพ

(2) หลักเหตุผล

(3) หลักประชาธิปไตย

(4) หลักประสบการณ์

(5) หลักความสุขสูงสุดของคนจํานวนมากที่สุด

ตอบ 5 หน้า 138, 142, (คําบรรยาย) หลักคิดที่สําคัญของสํานักประโยชน์นิยมที่ได้นํามาใช้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ คือ “หลักความสุขสูงสุดของคนจํานวนมากที่สุด” หรือ“หลักประโยชน์สูงสุดของคนจํานวนมากที่สุด”

47 “ระบบผู้แทนเป็นทางออกของทุกปัญหา” เป็นทัศนะของใคร

(1) Bentham

(2) James Mill

(3) John Stuart Mill

(4) Bentham & James Mill

(5) James Mill & John Stuart Mill

ตอบ 2 หน้า 150 – 152 แนวความคิดที่สําคัญของ James Mill ได้แก่

1 จุดมุ่งหมายปลายทางของรัฐบาลก็คือ ความสุขมากที่สุดของประชากรจํานวนมากที่สุด

2 ระบบผู้แทน เป็นระบบยิ่งใหญ่ที่ค้นพบได้ในสมัยใหม่ เป็นระบบที่สามารถยุติความลําบากและข้อยุ่งยากทั้งปวง รวมทั้งเป็นทางออกของทุกปัญหาด้วย

3 ผู้แทนราษฎรทุกคนต้องมีสองสถานะ คือ เป็นผู้แทนซึ่งต้องใช้อํานาจเหนือผู้อื่น และเป็นสมาชิกของชุมชน

4 นิยมการปกครองโดยชนชั้นกลางเช่นเดียวกันกับ Aristotle ฯลฯ

48 ผู้เสนอให้มีการเลือกผู้แทน “แบบสัดส่วน

(1) Bentham

(2) James Mill

(3) John Stuart Mill

(4) Bentham & James Mill

(5) James Mill & John Stuart Mill

ตอบ 3 หน้า 152, 159, 161 – 163 แนวความคิดที่สําคัญของ John Stuart Mitt ได้แก่

1 เสนอให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้เท่าเทียมกับบุรุษ

2 ให้ความสําคัญในเรื่องเสรีภาพ (Liberty) ส่วนบุคคลอย่างมาก โดยเชื่อว่า “การห้ามแสดงความคิดเห็น ถือว่าเป็นการปล้นมนุษย์”

3 จุดหมายปลายทางของรัฐบาลก็คือ การทําให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น

4 ให้ความสําคัญแก่สิทธิของคนกลุ่มน้อย (Minority Right) โดยเสนอให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ฯลฯ

49 James Mill กําหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ดังนี้

(1) อายุ 18 ปีขึ้นไป

(2) อายุ 20 ปีขึ้นไป

(3) อายุ 40 ปีขึ้นไป

(4) ผู้มีอาชีพ และมีทรัพย์สิน

(5) ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป มีอาชีพ และมีทรัพย์สิน

ตอบ 5 หน้า 152 James Mill ได้กําหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ 3 ประการ คือ

1 ต้องเป็นชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

2 ต้องเป็นผู้ที่มีอาชีพ

3 ต้องเป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน

50 ผู้ที่เสนอให้รัฐสภามีเพียงสภาเดียวคือใคร

(1) Bentham

(2) James Mill

(3) John Stuart Mill

(4) James Mitt & John Stuart Mitt

(5) ทุกคน

ตอบ 1 หน้า 143 – 145, 152 Bentham ได้เสนอให้รัฐสภามีเพียงสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรโดยต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกปี ซึ่งประชากรเพศชายเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตั้ง และจัดให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรปีละครั้ง เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีเวลาพอเพียง ที่จะไปพบราษฎรในท้องถิ่นของตน ส่วนสภาซีเนตหรือวุฒิสภานั้นเขาเห็นว่าไม่มีความจําเป็นและควรยกเลิกไปเสีย

 

มาเคียเวลลี่

51 มาเคียเวลลี่ ถูกจัดให้เป็นนักปราชญ์คนแรกของยุค

(1) ยุคโบราณ

(2) ยุคกลาง

(3) ยุคนวสมัย

(4) ยุคปฏิรูป

(5) ยุคสงครามกลางเมือง

ตอบ 3 หน้า 2, (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี่ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคนวสมัย (Modern Time)” โดยเขาเป็นเมธีคนแรกที่บุกเบิกการศึกษาวิชาปรัชญาการเมือง และได้เสนอ ทัศนะที่มีลักษณะผิดเผกไปจากลักษณะความคิดทางการเมือง (เชิงอุดมคติ) ในสมัยกลางอย่าง ชัดเจน ซึ่งจะศึกษาและถ่ายทอดความคิดทางการเมืองในเชิงปรัชญาตามสภาพที่เป็นจริง นอกจากนี้งานเขียนทางการเมืองของเขาส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจเป็นพิเศษสําหรับผู้ปกครอง ในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาวิธีการ (Means) ที่สามารถปฏิบัติในการที่จะได้มาซึ่งอํานาจ

52 ในผลงานเรื่อง The Prince ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นว่า

(1) การจูงใจมวลชนเป็นภารกิจที่ยากที่สุด

(2) การรักษาไว้ซึ่งอํานาจยากเสียยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอํานาจ

(3) เมตตาธรรมของผู้ปกครองเท่านั้นที่จะครองโลก

(4) ภูมิปัญญาของผู้นําเปรียบเสมือนเข็มทิศของสังคม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 9, (คําบรรยาย) ในหนังสือเรื่อง The Prince นั้น มาเคียเวลลี่เห็นว่าเป้าหมายของการเมืองก็คือ การรักษาหรือเพิ่มอํานาจการเมืองโดยเฉพาะ ซึ่งในการที่จะทําให้บรรลุเป้าหมายนี้ มาเคียเวลลี่ยอมรับวิธีการทุกอย่าง แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่มาเคียเวลลี่ สนใจมากที่สุดก็คือ ทําอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถรักษาอํานาจไว้ได้ ทั้งนี้เพราะการรักษาไว้ซึ่งอํานาจเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอํานาจเสียอีก

53 ความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์เป็นเหตุให้เกิด

(1) สันติภาพ

(2) ความรู้รักสามัคคี

(3) รัฐ

(4) การใช้กําลังอํานาจ

(5) กลุ่มการเมือง

ตอบ 3 หน้า 2 – 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า “รัฐ” หรือสังคมการเมืองนั้นมิได้เกิดจากธรรมชาติหรือการบันดาลของพระเจ้า แต่มีรากฐานมาจากความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์ที่ไม่สามารถพิทักษ์ตนเองให้พ้นจากความก้าวร้าวของบุคคลอื่นได้ต่างหาก

54 ตามทัศนะของมาเคียเวลลี่ ศัตรูโดยธรรมชาติสําหรับนักปฏิรูป คือ

(1) ทหารในระบอบเก่า

(2) ผู้ที่ได้ประโยชน์จากแบบแผนเก่า

(3) เหล่าอํามาตย์ขุนนาง

(4) ปัญญาชนประเภทอนุรักษนิยม

(5) อาณาจักรข้างเคียง

ตอบ 2 หน้า 3 มาเคียเวลลี่ กล่าวว่า ผู้ที่ทําการปฏิรูปจะสร้างศัตรูหรือมีแนวโน้มถูกต่อต้านจากผู้ที่เคยได้รับผลประโยชน์จากแบบแผนเก่า ๆ ส่วนผู้ที่ได้ประโยชน์จากระเบียบใหม่ ๆ นั้นอาจจะสนับสนุนผู้ปกครองคนใหม่ แต่การสนับสนุนนั้นยังหาความมั่นคงไม่ได้ อาจเป็นการสนับสนุนเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพราะยังไม่เชื่อในความมั่นคงของสิ่งใหม่รวมทั้งผู้ปกครองใหม่มากนัก

55 มาเคียเวลลี่ สอนว่าคนรอบข้างผู้ปกครองมักชอบ

(1) นินทาผู้ปกครอง

(2) เพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยิน

(3) มีนิสัยสุร่ยสุร่าย

(4) แสวงหาอามิสสินจ้าง

(5) แสดงความจงรักภักดีจนเกินเลย

ตอบ 2 หน้า 5 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า คนรอบข้างผู้ปกครอง (มุขบุรุษหรือมุขชน) ทั้งพวกขุนนางหรือข้าราชการมักชอบประจบสอพลอ ชอบเพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยินมากกว่าสิ่งที่ควรจะฟัง หรือชอบปิดกั้นความจริงที่ผู้ปกครองควรจะทราบ ซึ่งหากผู้ปกครองค้นพบคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ในตัวข้าราชการผู้ใด ก็ควรที่จะลงโทษหรือกําจัดโดยเร็ว เพราะพวกนี้เองที่จะเป็นผู้ทําลายเสถียรภาพของผู้ปกครอง

56 มาเคียเวลลี่ เห็นว่าผู้ที่ได้อํานาจมาด้วยการสืบสันตติวงศ์ย่อม

(1) ปกครองอย่างเป็นธรรม

(2) มีแนวโน้มจะขยายอาณาจักรได้ง่ายกว่าผู้อื่น

(3) มีศักยภาพในการบําบัดทุกข์บํารุงสุข

(4) มีขนบธรรมเนียมประเพณีรองรับความชอบธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า สิ่งฉลาดที่ผู้ปกครองที่ขึ้นสู่บัลลังก์ด้วยการสืบสันตติวงศ์ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง คือ การรักษาแบบแผนประเพณีดั้งเดิมของประเทศไว้ อย่าพยายามเสี่ยง เปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมของเดิมเสียใหม่ ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียม ประเพณีเดิมนั้นสนับสนุนการครองอํานาจอันชอบธรรมของผู้ปกครองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว

57 มาเคียเวลลี่ เห็นว่ากลุ่มคนที่จะเป็นอันตรายต่อมุขบุรุษ คือ

(1) ประชาชนหัวแข็ง

(2) คนยากจน

(3) ปัญญาชน

(4) คนต่างด้าว

(5) ขุนนางข้าราชการรอบข้าง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

58 มาเคียเวลลี่ เชื่อว่าผู้ปกครองควรมีความเด็ดขาดมากกว่าความเมตตา เนื่องจาก

(1) ความเด็ดขาดทําให้เกิดความยําเกรง

(2) ความอ่อนแอแสดงให้เห็นถึงความโลเล

(3) ความเด็ดขาดเป็นคุณสมบัติของผู้ชาย

(4) ความอ่อนแอเป็นคุณสมบัติของอิสตรีเพศ

(5) ไม่ควรมีเหตุผลกับผู้อยู่ใต้ปกครอง

ตอบ 1 หน้า 6 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครองต้องมีความเมตตาและความเด็ดขาดควบคู่กันไป จะมีแต่เพียงความเมตตาไม่ได้ เพราะความเมตตาหมายถึงความอ่อนแอ ซึ่งอาจทําให้เกิดความยุ่งเหยิง ตามมา ดังนั้นด้วยพันธะหน้าที่ผู้ปกครองจึงต้องใช้ความเด็ดขาดมากกว่าความเมตตา เพื่อทําให้ประชาชนเกิดความยําเกรงและเชื่อฟังไม่กระด้างกระเดื่อง รวมทั้งเพื่อรักษาผู้ที่ถูกปกครองให้มีเอกภาพและซื่อสัตย์ต่อผู้ปกครองด้วย

59 ผลสําเร็จของการแย่งชิงอํานาจในรูปของการปราบดาภิเษกหรือปฏิวัติมาจากข้อใด

(1) ความร่วมมือจากประชาชน

(2) ความช่วยเหลือของขุนนางหรือข้าราชการ

(3) ความร่วมมือจากกองทัพประชาชน

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 3 มาเคียเวลลี เห็นว่า การได้อํานาจมาด้วยวิธีการปราบดาภิเษกหรือการปฏิวัติอาจจะเป็นผลมาจากการสนับสนุนของกลุ่มขุนนาง (ข้าราชการ) หรือประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ แต่เมื่อได้อํานาจมาแล้วหากผู้ปกครองต้องการความมั่นคงในอํานาจ ก็จําต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะสิ่งที่ประชาชนต้องการมีเพียงสิ่งเดียวคือ อิสรภาพหรือเสรีภาพจากการกดขี่ข่มเหง ซึ่งต่างจากกลุ่มขุนนางที่ต้องการกดขี่ข่มเหงประชาชนเพื่อมุ่งแข่งอํานาจกับผู้ปกครองเสมอ

60 “อํานาจบังคับ”

(1) สังคมการเมือง

(2) ผู้ปกครอง

(3) การปราบดาภิเษก

(4) กองทัพ

(5) เสรีภาพผู้ปกครอง

ตอบ 1 หน้า 2 – 3, (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี่ เห็นว่า หากไม่มีอํานาจใดมาบังคับให้มนุษย์มีความเกรงกลัวได้แล้ว มนุษย์ก็มักจะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมหรือธรรมชาติอันชั่วร้ายอยู่เสมอ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่รัฐหรือสังคมการเมืองจะสามารถนํามาใช้เป็นมาตรการควบคุมความเห็นแก่ตัวอันเป็นธรรมชาติที่ชั่วร้ายของมนุษย์ได้ก็คือ การใช้อํานาจบังคับ

61 “ความยําเกรงของประชาชน” เป็นผลที่เกิดจาก

(1) ความรอบคอบ

(2) ความรัก

(3) ความเด็ดขาด

(4) การปราบดาภิเษก

(5) คุณสมบัติของสุนัขจิ้งจอกและราชสีห์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

62 “กฎหมาย”

(1) เมตตาธรรม

(2) เสรีภาพของรัฐบาล

(3) เสรีภาพของผู้ปกครอง

(4) ขนบธรรมเนียมประเพณี

(5) สาธารณรัฐ

ตอบ 2 หน้า 9 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า การปกครองด้วยกฎหมายจะสร้างเสถียรภาพของรัฐ (รัฐบาล)และควบคุมผู้ปกครองไม่ให้ใช้อํานาจเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับกลุ่มของตนเพียงกลุ่มเดียว

 

ฮอบส์

63 ฮอบส์ เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้น 2 ประการ คือ

(1) กิเลสและตัณหา

(2) ความอยากและความไม่อยาก

(3) การเคลื่อนไหวและการหยุดนิ่ง

(4) ความรุนแรงและความสงบ

(5) โลกียธรรมและโลกุตรธรรม

ตอบ 2 หน้า 16 ฮอบส์ เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นภายใน 2 ประเภท คือ

1 ความอยากหรือความต้องการ (Appetite/Desire)

2 ความไม่อยากหรือความไม่ต้องการ (Aversion) นอกจากนี้ความรักหรือความเกลียดความดีหรือความชั่ว ก็เป็นความรู้สึกที่เกิดจากแรงกระตุ้นทั้ง 2 ประเภทนี้เช่นเดียวกัน

64 เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทําแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาได้แก่

(1) รัฐ

(2) รัฐบาล

(3) สังคม

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 22, 38, (คําบรรยาย) ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทําขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียวสังคม รัฐ และรัฐบาลก็จะเกิดขึ้นตามมาทันที เพราะสังคม รัฐ และรัฐบาลเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้น การล้มล้างรัฐบาลจึงเป็นการกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติตามเดิม เนื่องจากฮอบส์ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกันนั้นเอง

65 “อํานาจอธิปไตย” อันเป็นผลมาจากการทําสัญญาประชาคมเป็นของใครโดยเฉพาะ

(1) ประชาชน

(2) สภาผู้แทนราษฎร

(3) คณะรัฐมนตรี

(4) คู่สัญญา

(5) บุคคลที่สาม

ตอบ 5 หน้า 21 – 22, 24 ฮอบส์ เห็นว่า อํานาจร่วม (Common Power) หรือการก่อตั้งรัฏฐาธิปัตย์นั้นเป็นผลมาจากการทําสัญญาประชาคมระหว่างคนทุกคนที่เป็นคู่สัญญากัน โดยเห็นพ้องต้องกัน ที่จะมอบอํานาจและสละสิทธิตามธรรมชาติของตนให้แก่บุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญา แต่จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์หรือรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้ใช้อํานาจร่วมหรืออํานาจอธิปไตย โดยอํานาจ อธิปไตยนี้ถือเป็นอํานาจเด็ดขาดขององค์อธิปัตย์ ดังนั้นการล้มล้างหรือการเปลี่ยนแปลงองค์อธิปัตย์จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนไม่ทําหรือกระทําไม่ได้

66 “องค์อธิปัตย์” คือใคร

(1) พระมหากษัตริย์

(2) สภาผู้แทนราษฎร

(3) เลวิเอทัน

(4) ประชาชน

(5) เจตจํานงทั่วไป

ตอบ 1 หน้า 22, 24 – 25, 27 ในทัศนะของฮอบส์นั้น องค์อธิปัตย์หรือกษัตริย์จะทําหน้าที่เป็นผู้บริหารประเทศ โดยการใช้อํานาจทางการเมืองพิเศษที่เด็ดขาดและสูงสุด เพื่อควบคุมผู้ใต้ปกครองในสังคมมิให้ละเมิดสัญญา แต่ลักษณะการใช้อํานาจขององค์อธิปัตย์ก็มีขอบเขตหรือเงื่อนไขที่จะไม่ทําอันตรายต่อชีวิตของผู้ใต้ปกครอง

67 การล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงองค์อธิปัตย์ ฮอบส์กล่าวไว้อย่างไร

(1) ใช้มติเสียงข้างมากก็พอ

(2) ต้องใช้มติเอกฉันท์จึงจะชอบธรรม

(3) ต้องให้ลงมติถอดถอนโดยคู่สัญญา

(4) ต้องกระทําเมื่อมีการละเมิดสัญญา

(5) เป็นสิ่งที่ประชาชนไม่ทํา

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

68 สิ่งที่มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติแข่งขันกันแสวงหาได้แก่สิ่งใด

(1) ความสมบูรณ์

(2) อํานาจ

(3) อาหาร

(4) สันติภาพ

(5) ความสุขในปัจจุบัน

ตอบ 2 หน้า 17 – 20 สภาวะธรรมชาติในทัศนะของฮอบส์ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็นสภาวะก่อนที่จะเกิดสังคมการเมือง หรือเป็นสภาวะที่ยังไม่มีผู้ปกครองที่มีอํานาจ ที่แท้จริงในบ้านเมือง โดยในสภาวะธรรมชาตินั้นทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพ และมีอิสรภาพที่จะทําอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่เมื่อมีความต้องการในสิ่งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทําให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันแสวงหาอํานาจเหนือคนอื่นอยู่ร่ําไป จนนําไปสู่“สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองในที่สุด

69 ในการทําสัญญาประชาคม ผู้ใดคือผู้ที่ไม่ถูกผูกมัดโดยสัญญา

(1) องค์อธิปัตย์

(2) ผู้แทนราษฎร

(3) ประชาชน

(4) ผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง

(5) ผู้ที่ไม่ได้ร่วมทําความตกลง

ตอบ 1 หน้า 24 ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมของฮอบส์นั้น องค์อธิปัตย์จะทําหน้าที่เป็นเพียงผู้รับมอบอํานาจตามที่คู่สัญญาหรือประชาชนทั้งหลายได้ตกลงกันไว้ ดังนั้นองค์อธิปัตย์จึงไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามหรือรับผิดชอบต่อคู่สัญญา ซึ่งในเมื่อเป็นผู้ที่อยู่นอกเหนือสัญญาแล้วก็จะไม่มีการกระทําใด ๆ ขององค์อธิปัตย์ที่จะถือว่าเป็นการละเมิดสัญญาหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าองค์อธิปัตย์จะทําอะไรก็ไม่มีความผิดนั่นเอง

 

ล็อค

70 นอกจากความมีเหตุผลแล้ว ล็อคเชื่อว่ามนุษย์ยังมี

(1) ความเมตตาและการใฝ่สันติ

(2) ความเฉลียวฉลาดและการชิงไหวชิงพริบ

(3) ความดุร้ายและการแก่งแย่งชิงดี

(4) ความซื่อสัตย์และความตรงไปตรงมา

(5) ความฝันและจินตนาการอันสูงส่ง

ตอบ 1 หน้า 33 ล็อค เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจําตัว คือ ความมีเหตุผลอันเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้วมนุษย์ยังมีความเมตตาธรรม ใฝ่สันติ และสุขุมรอบคอบอีกด้วย

71 ล็อคได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ในประเทศ

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) อิตาลี

(3) ฝรั่งเศส

(4) เยอรมนี

(5) ฮอลแลนด์

ตอบ 5 หน้า 31 – 32 ล็อค เป็นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ในประเทศฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กําเนิดแนวความคิดเสรีนิยม นอกจากนี้แนวความคิดของเขายังมีอิทธิพลและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักคิด ทั้งมองเตสกิเออ, รุสโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และนักคิดร่วมสมัยในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

72 ความมีเหตุผลของมนุษย์ ล็อคเชื่อว่าเกิดจาก

(1) พระผู้เป็นเจ้า

(2) การมีปัญญา

(3) ประสบการณ์

(5) การเอาตัวรอด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

73 ระบบการเมืองตามทฤษฎีสัญญาประชาคมสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบใดมากที่สุด

(1) รัฐสภา

(2) ประธานาธิบดี

(3) ถึงประธานาธิบดี

(4) กึ่งรัฐสภา

(5) แบบผสมระหว่าง 1 กับ 2

ตอบ 1 หน้า 38 – 41, (คําบรรยาย) ตามหลักสัญญาประชาคมของล็อคนั้น เมื่อมนุษย์ตัดสินใจเข้ามาใช้ร่วมกันในสังคมการเมืองแล้ว สิ่งแรกที่จําเป็นต้องดําเนินการคือ การสถาปนาองค์กรที่ใช้อํานาจ นิติบัญญัติขึ้นมาเพื่อวางแนวทางในการดําเนินงานหรือกําหนดนโยบายให้ฝ่ายบริหารนําไปปฏิบัติ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงไม่มีอิสระที่จะทําอะไรตามเจตจํานงของตน ทั้งนี้เพราะการใช้อํานาจของฝ่ายบริหารนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติกําหนดขึ้น ซึ่งจากหลักการดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบรัฐสภามากที่สุด

74 เมื่อสัญญาได้กระทํากันแล้ว สิทธิ์ในทรัพย์สินถูกเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะอย่างไร

(1) มีความมั่นคงกว่าเดิม

(2) มีความมั่นคงน้อยกว่าเดิม

(3) เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล

(4) กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลกลายเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม

(5) กลายเป็นที่มาแห่งสิทธิในทรัพย์สิน

ตอบ 1 หน้า 36 ล็อค เห็นว่า การทําสัญญาประชาคมเพื่อการดํารงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือประชาคมเดียวกันนั้น จะเป็นไปด้วยความสมัครใจหรือความยินยอมของทุกคน โดยทุกคนมุ่งหวังที่จะดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัย และมีความสงบสุขในการใช้ทรัพย์สินของตนอย่างมั่นคง และเป็นความมั่นคงที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้ที่ไม่เข้าร่วมหรือมีความมั่นคงกว่าเดิม

75 หลักการใดที่ถือว่าเป็นรากฐานของสังคมและรัฐบาล

(1) ความยินยอม

(2) ความกินดีอยู่ดี

(3) เสรีภาพ

(4) ความเสมอภาค

(5) ความเป็นระเบียบ

ตอบ 1 หน้า 36 – 38 ตามหลักการแห่งสัญญาประชาคมนั้น ล็อค อธิบายว่า การสถาปนารัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องของการให้ความยินยอมเช่นเดียวกับการสถาปนาสังคมการเมืองหรือรัฐ กล่าวคือ การสถาปนารัฐจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเอกฉันท์ ส่วนการสถาปนา รัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) นั้นจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเสียงข้างมากของประชาชน

76 ข้อใดเป็นแนวความคิดของล็อค

(1) มนุษย์ย่อมเห็นแก่ตัวโดยกําเนิด

(2) มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลและเมตตาธรรม

(3) ความโหดร้ายทารุณเป็นคุณสมบัติของมนุษย์

(4) ความเสมอภาคเป็นเรื่องเพ้อฝัน

(5) ไม่มีสังคมใดที่มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

77 สภาวะแห่งเสรีภาพอันสมบูรณ์ คือ

(1) คนมีอิสระอย่างเต็มเปี่ยม

(2) สิ่งที่เกิดขึ้นในอุดมคติ

(3) การที่สังคมมีกฎหมายสมบูรณ์

(4) เมื่อทุกคนเท่ากัน

(5) ภาวะที่ปราศจากสงคราม

ตอบ 1 หน้า 33 ในทัศนะของล็อคนั้น มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติมีลักษณะที่สําคัญอยู่ 2 ประการ คือ

1 สภาวะแห่งเสรีภาพอันสมบูรณ์ หมายถึง ทุกคนมีอิสระเสรีอย่างเต็มเปี่ยมที่จะกระทําสิ่งใด ๆไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพย์สินหรือร่างกายของเขาตามที่เขาเห็นว่าเหมาะสมภายใต้กฎธรรมชาติโดยไม่จําเป็นต้องขออนุญาตหรือขึ้นอยู่กับเจตจํานงของผู้อื่น

2 สภาวะแห่งความเสมอภาค หมายถึง ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในสิทธิและอํานาจ โดยที่อํานาจและสิทธิทั้งหมดอยู่ที่บุคคลแต่ละคน เพราะฉะนั้นในฐานะเป็นมนุษย์ด้วยกัน จึงไม่มีผู้ใดมีอํานาจหรือสิทธิเหนือผู้อื่น

78 ที่มาของทรัพย์สินส่วนบุคคล (Private Property)

(1) กฎหมาย

(2) ร่างกายมนุษย์

(3) แรงงาน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2

ตอบ 5 หน้า 34 ล็อค เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติในโลกนี้ทั้งหมดเป็นของเขา(ชาวโลกทั้งมวล) หรือทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน โดยแต่ละคนสามารถมีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนบุคคล (Private Property) ได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้ใช้แรงงานจากร่างกาย เคลื่อนย้ายหรือเก็บเกี่ยวของสิ่งนั้น รวมทั้งในการสะสมทรัพย์สินก็จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นด้วย

79 หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนจะต้องทําอะไรในอันดับต่อไป

(1) ทําสัญญาก่อตั้งสังคมใหม่

(2) เลือกตั้งรัฐบาลใหม่

(3) ใช้สิทธิพิเศษ

(4) ใช้อํานาจสหพันธ์

(5) ดูแลความปลอดภัยให้แก่ตนเอง

ตอบ 2 หน้า 38, 43, (คําบรรยาย) ล็อค กล่าวว่า รัฐบาลกับสังคมไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสามารถกระทําได้โดยไม่กระทบต่อสังคม ดังนั้นหากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนต้องทําการเลือกตั้งหรือสถาปนารัฐบาลขึ้นใหม่ ที่เรียกว่าเปลี่ยนความยินยอม ซึ่งต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากเท่านั้น

80 ข้อใดเป็นการแสดงออกโดยชัดแจ้ง (Express Consent) ในการทําสัญญาประชาคม

(1) การไม่มีความขัดแย้ง

(2) การอาศัยอยู่ในสังคม

(3) การใช้สิทธิเลือกตั้ง

(4) การได้ประโยชน์จากสังคม

(5) การยอมอ่อนข้อต่อเสียงข้างน้อย

ตอบ 3 หน้า 37 ล็อค เห็นว่า การให้ความยินยอมมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1 การให้ความยินยอมโดยชัดแจ้ง (Express Consent) เป็นการสดงความสมัครใจหรือความยินยอมออกมาให้ปรากฏ โดยที่คนอื่นสามารถรู้เห็นได้ เช่น การยินยอมที่จะอยู่ ร่วมกันเป็นสังคม การยินยอมต่อเสียงของฝ่ายข้างมาก และการใช้สิทบเลือกตั้ง

2 การให้ความยินยอมโดยปริยาย (Tacit Consent) จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอาศัยอยู่ในสังคมและได้รับประโยชน์จากสังคม เช่น บริการสาธารณะต่าง ๆ

81 รัฐบาลเกิดเมื่อใดในทัศนะของล็อค

(1) เมื่อมีสัญญาประชาคม

(2) เมื่อประชาชนเลือกตัวแทนไปทําหน้าที่นิติบัญญัติ

(3) เมื่อเสียงข้างมากในองค์กรนิติบัญญัติยกอํานาจสูงสุดให้แก่องค์กรอื่น

(4) เมื่อมีกฎหมาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 38 ล็อค เห็นว่า การสถาปนารัฐบาลนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อฝ่ายเสียงข้างมากในสังคมตกลงที่จะยกอํานาจสูงสุดให้แก่องค์กรหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญา แต่จะอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนทําหน้าที่ให้แก่สังคมเป็นส่วนรวม

 

รุสโซ

82 การที่มนุษย์ห่างไกลธรรมชาติ สิ่งที่เขาได้รับนั้นคืออะไร

(1) ความเจริญก้าวหน้า

(2) ความมีเหตุผล

(3) ความยุติธรรม

(4) ความอุดมสมบูรณ์

(5) การสูญเสียความบริสุทธิ์

ตอบ 5 หน้า 66 รุสโซ ได้ชี้ให้เห็นถึงความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ในทํานองว่าความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์จะทําให้คนหนีไกลออกไปจากธรรมชาติ และถ้ามนุษย์ยิ่งห่างไกล ธรรมชาติมากเท่าใด ก็ยิ่งทําให้ความบริสุทธิ์และคุณงามความดีซึ่งเป็นคุณสมบัติประจําตัวของ มนุษย์ลดน้อยลงมากเท่านั้น

83 “ความไม่สมบูรณ์”

(1) สังคมธรรมชาติ

(2) สังคมการเมือง

(3) สังคมเมือง

(4) สังคมอุตสาหกรรม

(5) สังคมบุพกาล

ตอบ 1 หน้า 69 รุสโซ เชื่อว่า สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มีแต่สันติภาพ ความเสมอภาค และเสรีภาพอย่างบริบูรณ์ โดยมนุษย์จะต่างคนต่างอยู่และไม่มีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่การมีชีวิตอยู่ อย่างโดดเดี่ยวในสังคมธรรมชาติย่อมจะหาความสมบูรณ์ได้ยาก เพราะว่าความสมบูรณ์นั้นมนุษย์หาได้จากการร่วมมือกับผู้อื่นหรือการพึ่งพิงบุคคลอื่นเท่านั้น

84 “ผลที่ตามมาจากการทําสัญญาประชาคม

(1) ความรู้สึกที่ไม่ถูกกดขี่โดยกฎหมาย

(2) ความรู้สึกที่ไม่ถูกกดขี่จากองค์อธิปัตย์

(3) การมีอิสรภาพทางการเมือง

(4) การมีหลักประกันความปลอดภัย

(5) การมีหลักประกันการใช้ทรัพย์สิน

ตอบ 1 หน้า 73 – 76 รุสโซ เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นจากการทําสัญญาประชาคมมี 2 ประการ ได้แก่

1 เสรีภาพ (แบบใหม่) อันเกิดจากการออกกฎหมายมาใช้บังคับตนเอง ซึ่งทําให้ทุกคนมีความรู้สึกว่าไม่ถูกกดขี่จากกฎหมาย

2 ความเสมอภาค เป็นภาวะที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน นับตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตยหรือเจตจํานงทั่วไป และการเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย

85 แนวความคิดใดที่ไม่ใช่แนวคิดของรุสโซ

(1) สัญญาประชาคม

(2) เสรีภาพและความเสมอภาค

(3) เจตจํานงทั่วไป

(4) สุนัขจิ้งจอกกับราชสีห์

(5) ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 69 – 77, (คําบรรยาย) แนวความคิดที่สําคัญของรุสโซ ได้แก่

1 การเกิดระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว จะนําไปสู่ความไม่เสมอภาคในหมู่มนุษย์

2 มนุษย์เราเกิดมาย่อมใฝ่หาเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ

3 การปฏิเสธเสรีภาพ คือ การปฏิเสธในการแยกแยะสิ่งที่ผิดและสิ่งที่ถูก

4 มนุษย์เราเกิดมาถูกจองจําในอาณาจักรแห่งความคิด

5 คนจะยินดีอยู่ในรัฐมากขึ้นเมื่อมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายมากขึ้น

6 การทําสัญญาประชาคมจะก่อให้เกิดเสรีภาพ (แบบใหม่) และความเสมอภาคขึ้น

7 เจตจํานงทั่วไปคือเจตจํานงของคนทุกคน

8 ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ในทํานองว่าความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์จะทําให้คนหนีไกลออกไปจากธรรมชาติ เป็นต้น

86 “เสรีภาพแบบใหม่” อันหมายถึงการเคารพเชื่อฟังเจตจํานงของตนเองนั้นเกิดขึ้นจากอะไร

(1) การเคารพกฎหมายที่ดี

(2) การเชื่อฟังเจตจํานงทั่วไป

(3) การใช้เหตุผลกํากับการกระทํา

(4) การใช้สิทธิเลือกตั้ง

(5) การกระทํานอกเหนือจากที่กฎหมายห้าม

ตอบ 2 หน้า 78 รุสโซ เชื่อว่า เสรีภาพแบบใหม่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนทุกคนเป็นผู้มีส่วนในการบัญญัติกฎหมายหรือการร่วมกันแสดงเจตจํานงทั่วไป และขณะเดียวกันก็เคารพกฎหมายหรือเชื่อฟังเจตจํานงทั่วไปที่ตนเองเป็นผู้บัญญัติขึ้น

87 มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งเขาได้ถูกพันธนาการด้วย “โซ่ตรวน” ข้อความที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงอะไร

(1) สัญญาประชาคม

(2) อารยธรรมของมนุษย์

(3) อํานาจรัฐบาล

(4) รัฐบาลทรราช

(5) ความรับผิดชอบและเหตุผล

ตอบ 2 หน้า 67, 71 – 72 จากคํากล่าวข้างต้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของสังคมสมัยใหม่ซึ่งความเป็นอิสระหรือภาวะที่เป็นเสรีนั้นได้ถูกทําลายลงโดยสถาบันการปกครองและอารยธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องพันธนาการหรือโซ่ตรวนบันทอนเสรีภาพของมนุษย์ในลักษณะที่แฝงมาในรูปอื่น เช่น กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ปทัสถานของสังคม ข้อบังคับต่าง ๆ เป็นต้น

88 การที่จะบังคับบุคคลที่หลงผิดให้เป็นอิสระ เกิดขึ้นได้ในกรณีใดบ้าง

(1) การถูกครอบงําโดยผลประโยชน์ส่วนตัว

(2) การถูกครอบงําโดยผลประโยชน์ส่วนรวม

(3) การถูกบังคับให้ไปเลือกตั้ง

(4) การถูกบังคับให้ไปใช้อํานาจอธิปไตย

(5) ผู้ที่บุคคลถูกบังคับไม่ให้เสพยาเสพติด

ตอบ 4 หน้า 75, 77 – 78 รุสโซ เห็นว่า เจตจํานงทั่วไปเป็นเจตจํานงที่แสดงออกเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือผลประโยชน์ของคนทุกคนเป็นหลัก ดังนั้นใครก็ตามที่มีความเห็นแตกต่างจาก เจตจํานงทั่วไปย่อมแสดงว่าเขาได้หลงผิดไป เพราะตกอยู่ภายใต้ผลประโยชน์ส่วนตัวครอบงํา จนเกิดเป็นเจตจํานงเฉพาะส่วนขึ้น ทั้งนี้บุคคลที่หลงผิดจะต้องถูกบังคับให้ยอมรับและเชื่อฟัง เจตจํานงทั่วไป โดยการให้ไปใช้อํานาจอธิปไตยหรือไปร่วมกันทําหน้าที่บัญญัติกฎหมายในสภาราษฎร เพราะการเคารพกฎหมายบ้านเมืองจะทําให้ทุกคนมีเสรีภาพอย่างแท้จริง

89 “กฎหมาย”

(1) เสรีภาพ

(2) สันติภาพ

(3) เจตจํานงทั่วไป

(4) เจตจํานงของคนทั้งหมด

(5) ความเสมอภาค ตอบ 3 หน้า 74 รุสโซ เห็นว่า การที่ทุกคนมาแสดงเจตจํานงเพื่อบัญญัติกฎหมายเพื่อใช้บังคับในสังคมนี้เอง ที่ทําให้กฎหมายของสังคมนั้นกลายเป็นตัวแทนของเจตจํานงของสังคมหรือ เจตจํานงทั่วไป ซึ่งเราสามารถจะเห็นเจตจํานงทั่วไปได้ก็โดยดูจากกฎหมายที่มวลสมาชิกเป็นผู้ออกนั่นเอง

90 รุสโซ เห็นว่าอุปสรรคสําคัญต่อการบรรลุเจตจํานงทั่วไป คือ

(1) สัญญาประชาคมที่บกพร่อง

(2) การมีผู้ปกครองที่ไม่เป็นธรรม

(3) การยึดมั่นในผลประโยชน์ส่วนตน

(4) การละเมิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว

(5) การใช้ความรุนแรงเข้าจัดการปัญหา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

 

เฮเกล

91 แนวความคิดใดของเฮเกลที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการศึกษาเรื่องอํานาจทางการเมืองการปกครอง

(1) รัฐ

(2) ครอบครัว

(3) พระเจ้า

(4) องค์อธิปัตย์

(5) สังคมเข้มแข็ง

ตอบ 1 หน้า 116, 121 ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ “รัฐ” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของปรัชญาการเมืองของเฮเกล โดยเขาเห็นว่ารัฐควรเป็นสถาบันที่มีอํานาจสูงสุดในสังคม ทั้งนี้เพราะรัฐเป็นผู้ทําให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมืองปรากฏเป็นจริงขึ้นมาในสังคม

92 เหตุผลใดที่เฮเกลใช้ในการสนับสนุนความคิดที่ว่า รัฐควรเป็นสถาบันที่มีอํานาจสูงสุดในสังคม

(1) รัฐเป็นผู้ทําให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมืองเป็นจริงขึ้นมา

(2) การเปลี่ยนแปลงสังคมแบบรุนแรงและถอนรากถอนโคน

(3) ความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล

(4) รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

(5) รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้น

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93 ข้อใดเป็นคําอธิบายการเกิดขึ้นของรัฐที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกล

(1) ครอบครัวเป็น Thesis, รัฐเป็น Antithesis, ก่อให้เกิดสังคมพลเรือนซึ่งเป็น Synthesis

(2) รัฐเป็นการผสมผสาน (Synthesis) ระหว่างครอบครัวกับสังคมพลเรือน

(3) ครอบครัวเป็น Antithesis ต่อสังคมพลเรือน ทําให้จําเป็นต้องสถาปนารัฐขึ้นมา

(4) สังคมพลเรือนเป็น Synthesis อันเป็นผลมาจากการปะทะขัดแย้งกันระหว่างรัฐกับครอบครัว

(5) รัฐเป็น Antithesis ทั้งต่อครอบครัวและสังคมพลเรือน

ตอบ 2 หน้า 116 117, 121 ตามแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกลนั้น รัฐเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างครอบครัว (ความรัก) ซึ่งเป็น Thesis กับสังคมพลเรือน (การแข่งขัน) ซึ่งเป็น Antithesis ดังนั้นรัฐจึงถือได้ว่าเป็นภาวะผสมผสาน (Synthesis) ซึ่งมีความสมบูรณ์กว่าคือ มีเหตุมีผลและเสรีภาพมากกว่านั้นเอง

  1. ตามแนวความคิดเรื่องจิตนิยม (Idealism) เฮเกลแบ่งความเป็นจริงออกเป็น 2 ส่วน อะไรบ้าง

(1) สสารกับอสสาร

(2) จิตกับกาย

(3) จิตกับวัตถุ

(4) ตัวตนและไม่ใช่ตัวตน

(5) กายภาพกับชีวภาพ

ตอบ 1 หน้า 110 ในเรื่องจิตนิยม (Idealism) นั้น เฮเกล เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นจริงจะมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน ได้แก่

1 สสาร คือ เป็นวัตถุ มองเห็น และจับต้องได้

2 อสสาร คือ ไม่เป็นวัตถุ มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้

95 อะไรเป็นเหตุที่ทําให้เฮเกลได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาคนสําคัญในสํานัก “จิตนิยม”

(1) เน้นความสําคัญของ “จิต” ว่าเป็นต้นกําเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงในโลก

(2) เน้นสิ่งที่มองเห็นไม่ได้ว่าอยู่เหนือสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา

(3) “อรูป” สําคัญกว่า “รูป”

(4) เน้น “เนื้อหา” มากกว่า “รูปแบบ”

(5) อธิบายเรื่องรัฐว่าเป็นอสสาร

ตอบ 1 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) เฮเกล ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปรัชญาเมธีคนสําคัญในสํานักจิตนิยม ทั้งนี้เพราะเขาได้ให้ความสําคัญในเรื่องของจิตเป็นอย่างมาก โดยเห็นว่าจิตนั้นเป็นต้นกําเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในโลก

96 ข้อใดเป็นการอธิบาย “การเปลี่ยนแปลง (Becoming)” ในทัศนะของเฮเกล

(1) ทุกสิ่งมีสภาวะที่เป็นอยู่ (Being) กับสภาวะที่ยังไม่ได้เป็น (Not Being) อยู่ในตัวของมันเอง

(2) ทุกสิ่งมีสภาวะที่ “ปฏิเสธ” (Negation) กับสภาวะธรรมชาติ

(3) ทุกสิ่งเป็น “สภาวะขัดแย้ง” กับประวัติศาสตร์

(4) ทุกสิ่งเป็นพลวัตและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

(5) ทุกสิ่งมีเหตุผล แต่ขัดแย้งกันเองเสมอ

ตอบ 1 หน้า 111 เฮเกล อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลง (Becoming) หมายถึง การเปลี่ยนสภาพหรือสถานภาพของสรรพสิ่งทั้งหลายจากที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพอื่น ซึ่งแตกต่างไปจากเดิม กล่าวคือ เขาเห็นว่าทุกสิ่งจะมีสภาวะที่เป็นอยู่ (Being) กับสภาวะที่ยังไม่ได้เป็น (Not Being) อยู่ภายในตัวของมันเองในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงทําให้เกิดการขัดแย้งระหว่างลักษณะทั้งสองขึ้น ซึ่งการขัดแย้งนี้ก็จะนําไปสู่การผสมผสานเกิดเป็นสิ่งใหม่หรือสภาวะใหม่ที่ดีกว่าของเดิม

97 ปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาประเทศได้แก่ข้อใด

(1) สงครามระหว่างรัฐ

(2) ความสงบภายใน

(3) แผนพัฒนาประเทศ

(4) การระดมทุนภายในประเทศ

(5) การระดมทุนภายนอกประเทศ

ตอบ 1 หน้า 130 เฮเกล เห็นว่า สงครามระหว่างรัฐคือปัจจัยที่ทําให้เกิดการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเป็นเสมือนตัวเร่งไปสู่สภาวะใหม่ที่ดีกว่า โดยช่วยขจัดฝ่ายที่เก่าแก่และล้าสมัยให้หมดสิ้นไป แล้วเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เข้มแข็งกว่าเข้ามาแทนที่ นอกจากนี้การทําสงครามยังเป็นวิธีการที่สามารถแก้ไขความเสื่อมทราม (Corruption) อันเป็นผลจากการมีสันติภาพอันถาวรอีกด้วย

98 ลักษณะใดที่ไม่ปรากฏในลัทธิฟาสซิสต์

(1) Irrationalism

(2) Social Darwinism

(3) Internationalism

(4) Elitism

(5) Nationalism

ตอบ 3 หน้า 301 302, (คําบรรยาย) หลักการพื้นฐานที่สําคัญของลัทธิฟาสซิสต์ มีดังนี้

1 หลักความไม่มีเหตุผล (Irrationalism) โดยมีความเชื่อที่ว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผลเป็นแรงผลักให้ดําเนินการใด ๆ เพื่อส่วนรวม

2 หลักชาตินิยมหรือความรักชาติ (Nationalism) โดยสนับสนุนให้ประชาชนสร้างความรู้สึกรักชาติอย่างไม่มีเหตุผล

3 หลักทฤษฎีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของ Charles Darwin ซึ่งเรียกว่า Social Darwinism

4 หลักว่าด้วยรัฐ (State)

5 หลักว่าด้วยเรื่องผู้นํา (Elitism)

6 หลักว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ (Economic)

99 ความเชื่อที่ว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผลเป็นแรงผลักให้ดําเนินการใด ๆ เพื่อส่วนรวม

(1) Internationalism

(2) Nationalism

(3) Irrationalism

(4) Social Darwinism

(5) Elitism

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

100 ความเชื่อที่ว่าอารยันเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่

(1) Irrationalism

(2) Nationalism

(3) Internationalism

(4) Social Darwinism

(5) Elitism

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลัทธิฟาสซิสต์และลัทธินาซีมีหลักการสําคัญที่แตกต่างกันก็คือ หลักชาตินิยม(Nationalism) โดยลัทธิฟาสซิสต์จะเป็นชาตินิยมแบบธรรมดาที่สนับสนุนให้ประชาชน เกิดความรู้สึกรักชาติอย่างไม่มีเหตุผล เช่น การสนับสนุนให้รัฐบาลเป็นจักรวรรดินิยม ฯลฯ ส่วนลัทธินาซีนั้นเป็นชาตินิยมแบบเชื้อชาติ โดยมีความเชื่ออย่างฝังแน่นที่ว่าอารยันเป็นชนชาติ ที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าชาติอื่น

Advertisement