การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2105 ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

มาร์กซ์, เลนิน และเมา เซ ตุง

1 “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมากระทั่งบัดนี้ ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น” คํากล่าวนี้เป็นของใคร

(1) เลนิน

(2) มาร์กซ์

(3) เมา เซ ตุง

(4) อันโตนิโอ กรัม

(5) จิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 หน้า 181 182, (คําบรรยาย) คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx) มองว่า “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมากระทั่งบัดนี้ ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น” โดย สรุปว่า การเป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิตหรือการถือครองเครื่องมือการผลิตที่แตกต่างกัน เป็นสาเหตุทําให้เกิดชนชั้น เกิดทรัพย์สินส่วนตัว และการแบ่งงานกันทํา ซึ่งเป็นมูลเหตุทําให้เกิดการปฏิปักษ์ระหว่างชนชั้น และในที่สุดชนชั้นก็จะต่อสู้กัน

2 ใครที่เป็นผู้นําของ “พรรคบอลเชวิค”

(1) เลนิน

(2) มาร์กซ์

(3) เมา เซ ตุง

(4) อันโตนิโอ กรัมซี่

(5) จิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 1 หน้า 200, (คําบรรยาย) เลนิน (Lenin) เป็นผู้นําของพรรคบอลเชวิค ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วมก่อตั้งพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยขึ้นในปี ค.ศ. 1893 โดยมีแกนนํา 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบอลเชวิค และกลุ่มเมนเชวิค จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1912 กลุ่มบอลเชวิคได้จัดการประชุมใหญ่ เฉพาะกลุ่มที่กรุงปราก เพื่อประกาศขับกลุ่มเมนเชวิคออกจากพรรค และประกาศตัวเป็นพรรคอิสระที่มีชื่อว่า พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (บอลเชวิค)

3 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นทัศนะที่ชัดเจนของ “มาร์กซ์”

(1) เน้นเรื่องจิตนิยม

(2) เน้นเรื่องธรรมชาตินิยม

(3) เน้นเรื่องวัตถุนิยม

(4) เน้นเรื่องศาสนานิยม

(5) เน้นเรื่องประวัติศาสตร์นิยม

ตอบ 3 หน้า 178 179, (คําบรรยาย) มาร์กซ์ ได้เน้นแนวคิดเรื่องวัตถุนิยม (Materialism) โดยเขาเห็นด้วยว่าประวัติศาสตร์มีการพัฒนาแบบความเป็นปฏิปักษ์ขัดแย้ง (Dialectic) แต่ไม่เห็นด้วย กับเฮเกลที่ว่า ประวัติศาสตร์เป็นผลพวงของการพัฒนาทางความคิด แต่ตรงกันข้ามกลับเห็นว่า ประวัติศาสตร์เป็นผลพวงมาจากการพัฒนาแบบ Dialectic ของวัตถุมากกว่า ดังนั้น ประวัติศาสตร์จึงมีความเป็นมาจากวัตถุนิยม มิใช่ของความคิด (จิตนิยม)

4 “ประวัติศาสตร์” ในทัศนะของ “มาร์กซ์” หมายถึง

(1) ประวัติศาสตร์มีความเป็นมาจากจิตนิยม

(2) ประวัติศาสตร์มีความเป็นมาจากธรรมชาตินิยม

(3) ประวัติศาสตร์มีความเป็นมาจากวัตถุนิยม

(4) ประวัติศาสตร์มีความเป็นมาจากศาสนานิยม

(5) ประวัติศาสตร์มีความเป็นมาจากปรัชญานิยม

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 “ทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้น” มีที่มาจากความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศใด

(1) ประเทศเยอรมนี

(2) ประเทศอังกฤษ

(3) ประเทศอเมริกา

(4) ประเทศสเปน

(5) ประเทศฝรั่งเศส

ตอบ 5 หน้า 175 ในช่วงที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศสหลายครั้งนั้น มาร์กซ์และเองเกลส์ได้ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง คําประกาศคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) ขึ้น โดยมาร์กซ์ได้ใช้ ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงนั้นส่งเสริม “ทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้น” จนเขาถูกรัฐบาลฝรั่งเศสเนรเทศออกจากกรุงบรัสเซล

6 ความทุกข์ยากของคนในทัศนะของ “มาร์กซ์” เกิดจากข้อใด

(1) การครอบครองปัจจัยการผลิตที่ไม่เท่าเทียมกัน

(2) การครอบครองกําลังอํานาจที่ไม่เท่าเทียมกัน

(3) การที่สังคมเปลี่ยนแปลงไปจากการมีแนวคิดจิตนิยมไปสู่วัตถุนิยม

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 1 หน้า 177, (คําบรรยาย) มาร์กซ์ เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นตัวการที่ทําให้คนจนต้องทุกข์ยากลําบาก และเป็นระบบที่เลวร้ายมากที่สุด ซึ่งความทุกข์ยากของคนจนนั้นจะเกิดจากการครอบครองปัจจัยการผลิตที่ไม่เท่าเทียมกัน นั่นคือ นายทุนจะเป็นผู้ถือครองปัจจัยการผลิต เช่น เครื่องจักร แรงงาน ฯลฯ ส่วนคนจนที่เคยเป็นช่างจะเปลี่ยนสภาพเป็นกรรมกรในโรงงานต้องทํางานหนัก แต่ได้ค่าจ้างน้อย เป็นสภาพที่น่าเวทนาและมีความเป็นอยู่อย่างลําบาก

7 ข้อใดที่มีผลต่อการจัดระบบสังคมตามทัศนะของ “มาร์กซ์”

(1) การเมือง

(2) เศรษฐกิจ

(3) สังคม

(4) วัฒนธรรม

(5) ขวัญ-กําลังใจ

ตอบ 2 หน้า 177 มาร์กซ์ เห็นว่า สิ่งที่เป็นตัวจัดระบบสังคมก็คือระบบเศรษฐกิจ โดยเขาเชื่อว่าเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดในการควบคุมสังคม การเมือง และความคิดของคน

8 ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นแนวคิดที่ทําให้คนจนต้องทุกข์ยากลําบากในทัศนะของ “มาร์กซ์”

(1) สังคมนิยม

(2) ชาตินิยม

(3) ทุนนิยม

(4) เชื้อชาตินิยม

(5) ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

9 “ความขัดแย้งเป็นที่มาของความก้าวหน้า” ในทัศนะของ “มาร์กซ์” เขาได้รับอิทธิพลในเรื่องนี้จากใคร

(1) เฮเกล

(2) อดัม สมิธ

(3) เดวิด ริคาร์โด

(4) ซัง ซิมองต์

(5) ชาร์ลส์ ฟูเรเย

ตอบ 1 หน้า 178 มาร์กซ์ ได้รับอิทธิพลทางความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสังคมมาจาก “กระบวนการวิภาษวิธี” หรือความเป็นปฏิปักษ์ขัดแย้งของเฮเกล โดยเขาเชื่อว่า ทุกอย่างในโลกนี้ มีความขัดแย้งกันในตัวมันเอง และความขัดแย้งนี้จะช่วยพัฒนาสังคมและประวัติศาสตร์ให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ

10 “Dialectic” ในทัศนะของ “มาร์กซ์” เป็นผลมาจาก

(1) การเมือง

(2) เศรษฐกิจ

(3) สังคม

(4) วัตถุ

(5) ความคิด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

11 “รูปแบบการดํารงชีวิต” อยู่ในส่วนที่ “มาร์กซ์” เรียกว่า

(1) รากฐานทางเศรษฐกิจ

(2) รากฐานของชีวิต

(3) โครงสร้างส่วนบน

(4) โครงสร้างส่วนล่าง

(5) ประวัติศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 179 มาร์กซ์ ได้จําแนกโครงสร้างของสังคมออกเป็น 2 ส่วน คือ

1 โครงสร้างส่วนบน (Superstructure) ได้แก่ สถาบันต่าง ๆ ในสังคม เช่น กฎหมาย ศาสนา ปรัชญา รัฐ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม รูปแบบการดํารงชีวิต ฯลฯ

 

2 โครงสร้างส่วนล่าง (Substructure) ซึ่งเป็นรากฐานของระบบการผลิตทางเศรษฐกิจหรือปัจจัยทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย รูปแบบการผลิต (วิธีการผลิต เครื่องมือการผลิต เช่น จอบ เสียม เครื่องจักร ฯลฯ) และความสัมพันธ์ทางการผลิต ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือการผลิต

12 “ชนชั้น” ในทัศนะของ “มาร์กซ์” เกิดจาก

(1) การถือครองเครื่องมือการผลิต

(2) การถือครองทรัพย์สินส่วนตัว

(3) การแบ่งงานกันทํา

(4) การต่อสู้ของมนุษย์

(5) การจ่ายค่าจ้างพอยังชีพ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

13 “ความรู้สึกแปลกแยก” (Alienation) คือ

(1) พัฒนาการในการทํางานของมนุษย์

(2) ความสนุกเพลิดเพลินในการทํางานของมนุษย์

(3) การผลิตเพื่อสร้างสรรค์

(4) การผลิตที่ลดคุณค่าของมนุษย์

(5) การผลิตที่เพิ่มคุณค่าของมนุษย์

ตอบ 4 หน้า 184 185 มาร์กซ์ อธิบายว่า ในสังคมทุนนิยมนั้น นอกจากจะเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยการกดขี่ทางชนชั้นแล้ว ยังเป็นสังคมของการผลิตที่ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือที่เรียกว่า “ความรู้สึกแปลกแยก” (Alienation) ซึ่งดูได้จากความจริงที่ว่า ยิ่งกรรมกรผลิตมาก กรรมกรก็ยิ่งจนลง และกรรมกรยิ่งมีชีวิตที่คุณค่าความเป็นมนุษย์ลดลง เมื่อสินค้าที่กรรมกรผลิตมีค่ามากขึ้น

14 ในช่วงที่ยังใช้การปกครองในรูปแบบ “เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ” “มาร์กซ์” บอกว่า

(1) กรรมกรจะได้ค่าจ้างตามความสามารถ

(2) กรรมกรจะได้ค่าจ้างตามความต้องการ

(3) กรรมกรจะไม่ได้ค่าจ้าง

(4) กรรมกรจะได้รับเฉพาะการปันส่วน

(5) กรรมกรจะได้รับเป็นมูลค่าหุ้น

ตอบ 2 หน้า 186 187 มาร์กซ์ กล่าวว่า ในช่วงที่ยังใช้การปกครองในรูปแบบ “เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ” หรือสังคมนิยมนั้น ความไม่เสมอภาคยังคงมีอยู่ กรรมกรจะได้ค่าจ้างตาม แรงงานที่ให้แก่สังคม แต่เมื่อสังคมพัฒนาไปนานพอ คือ มีการผลิตมากขึ้น คนทํางานอย่างสนุก ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ คนก็จะพอใจที่ได้รับค่าตอบแทนตามความต้องการของแต่ละคน ในขณะที่ทํางานเต็มความสามารถของแต่ละคน

15 สังคม “Communist” ตามทัศนะของ “มาร์กซ์” จะมีลักษณะตามข้อใด

(1) คนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

(2) การผลิตจะผลิตตามผลกําไร

(3) ระบบการผลิตจะก้าวหน้าที่สุด

(4) รัฐหรือรัฐบาลจะเข้มแข็งดูแลประชาชนมากขึ้น

(5) เกิดการรวมทุนมากขึ้น

ตอบ 3 หน้า 188, (คําบรรยาย) มาร์กซ์ เชื่อว่า ในสังคมคอมมิวนิสต์ (Communist) นั้น สมาคมผู้ผลิตจะดําเนินตามแผนงานตามความต้องการของสังคมในการผลิต โดยไม่คํานึงถึงส่วนตัว เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต เนื่องจากคนมีเสรีภาพในการผลิต ซึ่งจะพัฒนาระบบการผลิตจนก้าวหน้าที่สุด ทําให้คนไม่ต้องทํางานหนัก และมีเวลาว่างที่จะเพลิดเพลินกับชีวิต

16 การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองในประเทศรัสเซีย มีผลมาจาก

(1) ระบบการเมือง

(2) ระบบเศรษฐกิจ

(3) ระบบสังคม

(4) ระบบวัฒนธรรม

(5) ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 1 หน้า 202 การปฏิวัติในรัสเซียเกิดขึ้นจากสาเหตุสําคัญทางด้านระบบการเมือง คือการไม่พอใจต่อการปกครองของกษัตริย์ซาร์ ทําให้รัสเซียเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองประเทศจากระบบกษัตริย์มาเป็นระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ในที่สุด

17 ทฤษฎีที่ “เลนิน” สร้างขึ้นเพิ่มเติมจากแนวคิดมาร์กซ์

(1) ทฤษฎีวัตถุนิยม

(2) ทฤษฎีสงครามและสันติภาพ

(3) ทฤษฎีนักปฏิวัติอาชีพ

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 203, 205 – 205 เลนิน (Lenin) ได้สร้างทฤษฎีขึ้นเพิ่มเติมจากแนวคิดมาร์กซ์ เช่น ทฤษฎีสงครามและสันติภาพ ทฤษฎีนักปฏิวัติอาชีพ ทฤษฎีการปฏิวัติสังคมนิยม เป็นต้น

18 สิ่งที่ “เลนิน” เสนอคือข้อใด

(1) การปฏิวัติสังคมต้องเกิดในประเทศที่เป็นสังคมอุตสาหกรรม

(2) การปฏิวัติต้องเกิดจากสํานึกของชนชั้นกรรมาชีพเอง

(3) การปฏิวัติต้องเกิดในหลาย ๆ ประเทศพร้อมกัน

(4) การปฏิวัติจะนําไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์

(5) การพัฒนาไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์จะต้องใช้เวลานาน

ตอบ 5 หน้า 203, 206 207, 211 ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ ได้แก่

1 การปฏิวัติสังคมนิยมอาจเกิดขึ้นในประเทศที่ล้าหลังทางเศรษฐกิจก็ได้

2 ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องมีผู้ปลูกจิตสํานึกทางการเมืองให้

3 การปฏิวัติสามารถเกิดในประเทศเดียวก็ได้ ไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ

4 การปฏิวัติจะสําเร็จเมื่อมีการใช้ความรุนแรงโดยการใช้กําลังอาวุธ

5 การพัฒนาไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์จะต้องใช้เวลานาน เป็นต้น

19 สงครามในวิธีคิดของ “เลนิน” มีกี่ประเภท

(1) 1 ประเภท

(2) 2 ประเภท

(3) 3 ประเภท

(4) 4 ประเภท

(5) 5 ประเภท

ตอบ 2 หน้า 205, (คําบรรยาย) สงครามในวิธีคิดของเลนิน มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1 สงครามที่ยุติธรรม

2 สงครามที่ไร้ความยุติธรรม

โดยสงครามดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นมาจากการพัฒนาที่ไม่ทัดเทียมกันด้านเศรษฐกิจของระบอบทุนนิยม นั่นคือ การมีเครื่องมือการผลิตในครอบครอง

20 สงครามดังกล่าวเกิดขึ้นมาจาก

(1) การพัฒนาที่ไม่ทัดเทียมกันด้านการเมือง

(2) การพัฒนาที่ไม่ทัดเทียมกันด้านเศรษฐกิจ

(3) การพัฒนาที่ไม่ทัดเทียมกันด้านสังคม

(4) การพัฒนาที่ไม่ทัดเทียมกันด้านวัฒนธรรม

(5) การพัฒนาที่ไม่ทัดเทียมกันด้านการทหาร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

21 ประเทศจีนเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ในปีใด

(1) 1935

(2) 1939

(3) 1945

(4) 1949

(5) 1955

ตอบ 4 หน้า 222, 231, (คําบรรยาย) ประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1949 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะจากการต่อสู้แย่งชิงอํานาจกับพรรคก๊กมินตั้งอย่างเด็ดขาด และได้สถาปนาให้จีนเป็น “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ตั้งแต่นั้นมา

22 “ความรู้” ที่แท้จริงในทัศนะของ “เมา เซ ตุง” มีกี่อย่าง

(1) 1 อย่าง

(2) 2 อย่าง

(3) 3 อย่าง

(4) 4 อย่าง

(5) 5 อย่าง

ตอบ 2 หน้า 224 เมา เซ ตุง (Mao Tse Tung) เชื่อว่า ความรู้ที่แท้จริงมี 2 อย่าง คือ ความรู้เกี่ยวกับการผลิต และความรู้ของการต่อสู้ทางชนชั้น ส่วนความรู้ทางสังคมและทางวิทยาศาสตร์จะเป็นเพียงผลสะท้อนของความรู้ 2 อย่างดังกล่าวเท่านั้น

23 “ความขัดแย้ง” ในทัศนะของ “เมา เซ ตุง” มีกี่ประเภท

(1) 1 ประเภท

(2) 2 ประเภท

(3) 3 ประเภท

(4) 4 ประเภท

(5) 5 ประเภท ตอบ 2 หน้า 227 ในทัศนะของ เมา เซ ตุง นั่น ความขัดแย้งมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1 ความขัดแย้งที่มีลักษณะครอบจักรวาล

2 ความขัดแย้งที่มีลักษณะเฉพาะ

24 การปฏิวัติในจีน “เมา เซ ตุง” เพิ่มเติมในข้อใด

(1) เป็นการปฏิวัติเพื่อกําจัดชนชั้นนายทุน

(2) เป็นการปฏิวัติเพื่อกําจัดชนชั้นกระฎุมพี

(3) เป็นการปฏิวัติเพื่อกําจัดจักรวรรดินิยม

(4) เป็นการปฏิวัติเพื่อกําจัดชนชั้นรากหญ้า

(5) เป็นการปฏิวัติเพื่อกําจัดชนชั้นทุกชนชั้น

ตอบ 3 หน้า 229 เมา เซ ตุง อธิบายว่า การปฏิวัติในจีนมี 2 อย่าง คือ

1 การปฏิวัติชาติเพื่อกําจัดจักรวรรดินิยม

2 การปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อกําจัดเจ้าของที่ดินใหญ่ ๆ

25 “อํานาจมาจากปากกระบอกปืน” เป็นสิ่งที่ “เมา เซ ตุง”

(1) เรียนรู้จากการปฏิวัติขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1930 – 1940

(2) เรียนรู้จากการต่อสู้จีนระหว่างปี ค.ศ. 1966 1976

(3) เรียนรู้จากการวางแผนการพัฒนาประเทศในการก้าวกระโดดในปี ค.ศ. 1958

(4) เรียนรู้จากการที่ “เมา เซ ตุง” ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1935

(5) เรียนรู้จากการสร้างสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่ในปี ค.ศ. 1937

ตอบ 1 หน้า 232 “ทฤษฎีอํานาจมาจากปากกระบอกปืน” ของเมา เซ ตุง นั้นเป็นทฤษฎีที่เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิวัติจีนระหว่างปี ค.ศ. 1930 – 1940 ซึ่งเห็นว่าสงครามเป็นรูปแบบสูงสุดของการต่อสู้ และสงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสงครามเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้

 

สํานักอนุรักษนิยม (Conservative)

26 ทัศนะของ Hume ต่อความ “ยุติธรรม”

(1) การปฏิบัติต่อทุกคนตามกฎหมาย

(2) การปฏิบัติต่อทุกคนเหมือน ๆ กัน

(3) การปฏิบัติต่อทุกคนตามความเหมาะสม

(4) การยอมรับในทรัพย์สินส่วนบุคคล

(5) การให้กับทุก ๆ คนหรือไม่ให้ใครเลย

ตอบ 4 หน้า 91 ในทัศนะของ Hนme นั้น ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง การยอมรับในสิทธิการมีทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือกรรมสิทธิ์ส่วนตัว

27 Burke ไม่ต่อต้านการปฏิวัติในข้อใด

(1) การปฏิวัติในฝรั่งเศส

(2) การปฏิวัติในสวีเดน

(3) การปฏิวัติในสเปน

(4) การปฏิวัติในอังกฤษ

(5) การปฏิวัติในเยอรมนี

ตอบ 4 หน้า 94 95, 100, (คําบรรยาย) แม้ว่า Burke จะมีแนวคิดต่อต้านการปฏิวัติในฝรั่งเศส โซเวียต จีน และเยอรมนี้ก็ตาม แต่เขาก็เห็นด้วยกับการปฏิวัติอันเรื่องเกียรติในอังกฤษและ อเมริกา โดย Burke ได้ให้ทัศนะว่าถ้าในสถานการณ์จําเป็นจริง ๆ แล้วให้มีการปฏิวัติได้ แต่ต้องกระทําในรูปของวิวัฒนาการแบบค่อยเป็นค่อยไป

28 หลักการที่สํานักอนุรักษนิยมยึดถือ คือ

(1) หลักแห่งความเท่าเทียมกัน

(2) หลักคุณธรรม

(3) หลักเหตุผล

(4) หลักประสบการณ์

(5) หลักจริยธรรม

ตอบ 4 หน้า 85 – 86 หลักการสําคัญของนักคิดในสํานักอนุรักษนิยม (Hume และ Burke) ก็คือ การปฏิเสธที่จะยอมรับและเชื่อถือในหลักเหตุผลนิยม โดยหันมาให้ความสําคัญและสนับสนุน ลัทธิประจักษนิยม (Empiricism of Empirical Study) อันหมายถึง การยึดถือหลักประสบการณ์และการสังเกตเป็นสําคัญ

29 ข้อใดไม่ใช่ทัศนะของ Burke

(1) ความสามารถของคนไม่เท่ากัน

(2) ประชาชนไม่มีสิทธิต่อต้านรัฐบาล

(3) คัดค้าน “หลักเหตุผลนิยม”

(4) คัดค้านสิทธิที่เป็นนามธรรม

(5) ชนชั้นสูงจะเป็นผู้พิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ

ตอบ 2 หน้า 86, 96, 98, 100, (คําบรรยาย) ทัศนะของ Burke นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 3, 4 และ 5 แล้ว Burke ยังกล่าวอีกว่า เมื่อใดที่รัฐบาลใช้อํานาจไปในทางที่ผิดและนําความเดือดร้อนยุ่งเหยิงมาให้ประชาชนก็อาจปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลได้ นั่นคือ ประชาชนมีสิทธิที่จะต่อต้านรัฐบาลที่กดขี่นั่นเอง

30 รัฐที่ดีในทัศนะของ Hume

(1) รัฐประชาธิปไตย

(2) รัฐที่มีความเข้มแข็งมาก ๆ

(3) รัฐคณาธิปไตย

(4) รัฐเผด็จการที่เมตตาธรรม

(5) รัฐที่สร้างความยุติธรรมและสันติภาพ

ตอบ 5 หน้า 91 รัฐที่ดีในทัศนะของ Hume คือ รัฐที่มีหน้าที่ในการสร้างความยุติธรรมและสันติภาพกับความเป็นระเบียบในสังคมให้เกิดขึ้นได้

31 มาตรฐานทางศีลธรรมเกิดจาก

(1) กฎหมาย

(2) ศาสนา

(3) การเรียนรู้จากสังคมอื่น

(4) ความเป็นเหตุเป็นผลของมนุษย์

(5) ประสบการณ์ของมนุษย์

ตอบ 5 หน้า 88 89 นาย เห็นว่ามาตรฐานทางศีลธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ถูกกําหนดขึ้นมาจากประสบการณ์ของมนุษย์เอง ซึ่งประสบการณ์นี้จะเป็นเครื่องกําหนดว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรควรหลีกเลี่ยงอะไรควรรีบรับ ส่วนเหตุผลนั้นเป็นเรื่องที่นั่งคิดขึ้นมาและเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น

32 ข้อใดเป็นข้อสรุปของหน้าที่ “รัฐสภา” ในทัศนะของ Burke

(1) ออกกฎหมาย

(2) ควบคุมรัฐบาล

(3) ตั้งและถอดถอนรัฐบาล

(4) ตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

(5) เป็นตัวแทนผลประโยชน์และความดีทั่ว ๆ ไปของชาติ

ตอบ 5 หน้า 101 ในทัศนะของ Burke นั้น สมาชิกรัฐสภา (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับสมาชิกวุฒิสภา) แต่ละคนไม่ใช่เป็นผู้แทนของเขตเลือกตั้ง แต่ถือว่าเป็นตัวแทนของชาติและผลประโยชน์ของชาติ ดังนั้นรัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา) จึงต้องทําหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชาติโดยส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อท้องถิ่นแต่เพื่อความดีทั่ว ๆ ไปของชาติ 33 ในทัศนะของ David Hume “รากเหง้าความเป็นมาของรัฐ” มีที่มาจาก

(1) ความเป็นสัญญาประชาคม

(2) ประโยชน์ของมนุษย์

(3) ความสามารถของมนุษย์ในการคิด

(4) ความรู้สึกและสัญชาตญาณของมนุษย์

(5) การครอบครองและใช้กฎหมายบังคับ

ตอบ 2 หน้า 89 90 ในทัศนะของ Hume นั้น สังคมการเมืองหรือรัฐมีรากเหง้าความเป็นมาจาก

1 “ความจําเป็น” ของมนุษย์ที่จะต้องชํารงรักษาสังคมให้มีอยู่เพื่อความยุติธรรม

2 “ความโน้มเอียงตามธรรมชาติ” ที่จะแสวงหาผลประโยชน์ของมนุษย์

3 “นิสัย” ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยทําให้เกิดความเคยชินต่อการเคารพเชื่อฟัง

 

สํานักประโยชน์นิยม (The Utilitarians)

34 หลักคิดที่สําคัญของสํานักประโยชน์นิยม

(1) หลักเสรีภาพ

(2) หลักการอยู่อย่างพอเพียง

(3) หลักแห่งความเสมอภาค

(4) หลักประสบการณ์

(5) หลักความสุขสูงสุดของคนหมู่มาก

ตอบ 5 หน้า 138, 142, (คําบรรยาย) หลักคิดที่สําคัญของสํานักประโยชน์นิยมที่ได้นํามาใช้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ คือ “หลักการคํานึงถึงความสุขสูงสุดของคนหมู่มาก” หรือ“หลักประโยชน์สูงสุดของคนจํานวนมากที่สุด”

35 รูปแบบของ “รัฐ” ที่ดีที่ “Bentham” สนับสนุน

(1) อํามาตยาธิปไตย

(2) ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

(3) ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

(4) รัฐบาลสายกลาง

(5) รูปแบบใดก็ได้ที่มีกฎหมายที่ดี

ตอบ 3 หน้า 144 145 Bentham เห็นว่า รัฐทิดีนั้นควรปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเพราะเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน อีกทั้งยังต้องประกอบด้วยกฎหมายที่ดีและตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งหลักประโยชน์นิยมด้วย

36 ทัศนะของ Bentham ต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(1) ให้เลือกตั้งทุกปี

(2) ให้มีการเลือกตั้งทุก ๆ 2 ปี

(3) เลือกแบบแบ่งเขต ผสมแบบสัดส่วน

(4) ให้มีการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี

(5) ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจํานวนหนึ่งในสามทุก ๆ 2 ปี

ตอบ 1 หน้า 143 – 145, 152 Bentham ได้เสนอให้รัฐสภามีเพียงสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรโดยต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกปี ซึ่งประชากรเพศชายเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตั้ง และจัดให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรปีละครั้ง เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีเวลาพอเพียง ที่จะไปพบราษฎรในท้องถิ่นของตน ส่วนสภาซีเนตหรือวุฒิสภานั้นเขาเห็นว่าไม่มีความจําเป็นและควรยกเลิกไปเสีย

37 ทัศนะของ James Mitt ต่อธรรมชาติของมนุษย์

(1) มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน

(2) มนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพเท่ากัน

(3) มนุษย์ทุกคนมีเหตุผลเท่ากัน

(4) มนุษย์หวังประโยชน์สูงสุด

(5) มนุษย์มีเสรีภาพอันสมบูรณ์ถ่ายโอนมิได้

ตอบ 4 หน้า 150 151, (คําบรรยาย) ในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์นั้น James Mill เห็นว่า มนุษย์ทุกคนจะมุ่งแสวงหาผลประยชน์หรือความสุขให้มากที่สุดในชีวิต แต่มนุษย์ยังไม่สามารถปกครองตนเองได้ และในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ไม่ไว้วางใจการปกครองโดยคน ๆ เดียวหรือโดยกลุ่มคนเพราะกลัวเสียผลประโยชน์

38 “การห้ามแสดงความคิดเห็น ถือว่าเป็นการปล้นมนุษย์” เป็นทัศนะของใคร

(1) Jeremy Bentham

(2) James Mill

(3) John Stuart Mill

(4) Jeremy Bentham & James Mill

(5) James Mill & John Stuart Mill

ตอบ 3 หน้า 152, 157 – 159, 162 163 แนวความคิดที่สําคัญของ John Stuart Mill ได้แก่

1 เสนอให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้เท่าเทียมกับบุรุษ

2 บุคคลที่ทรยศต่อเพื่อนที่ไว้วางใจเขาย่อมมีโทษผิด

3 ประโยชน์เป็นเครื่องวัดความดีความชั่วของการกระทํา

4 ให้ความสําคัญในเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างมาก โดยเชื่อว่า “การห้ามแสดงความคิดเห็นถือว่าเป็นการปล้นมนุษย์” 5 การปกครองควรมี 2 ขั้นตอน คือ การปกครองโดยผ่านผู้แทน และการปกครองโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ

6 ให้ความสําคัญกับสิทธิของคนกลุ่มน้อย (Minority Right) โดยเสนอให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

7 ผลของการกระทําเป็นเครื่องตัดสินว่าการกระทํานั้นถูกหรือผิด ฯลฯ

39 การเลือกผู้แทน “แบบสัดส่วน เป็นทัศนะของใคร

(1) Jeremy Bentham

(2) James Mill

(3) John Stuart Mill

(4) Jeremy Bentham & James Mill

(5) James Mill & John Stuart Mill

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

40 นักคิดที่เสนอให้สิทธิสตรีเท่าเทียมบุรุษในการใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ

(1) Jeremy Bentham

(2) James Mill

(3) John Stuart Mill

(4) Jeremy Bentham & James Mill

(5) James Mill & John Stuart Mill

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

41 Jeremy Bentham และ James Mill มีชีวิตอยู่ในสังคมสมัยใด

(1) สังคมทาส

(2) สังคมศักดินา

(3) สังคมอุตสาหกรรม

(4) สังคมถึงอุตสาหกรรม

(5) สังคมทุนนิยม

ตอบ 3 หน้า 137 Jeremy Bentham และ James Mill มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 18 – 19 ซึ่งเป็นสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ ที่ส่งผลทําให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคมอังกฤษ คือ ชนชั้นกรรมกรหรือชนชั้นผู้ใช้แรงงาน มองเตสกิเออ (Montesquieu)

42 สาเหตุของการเกิด “สงคราม” ในทัศนะของมองเตสกิเออ

(1) เกิดเมื่อมนุษย์มีความขัดแย้งกัน

(2) เป็นสภาวะของมนุษย์ในธรรมชาติ

(3) เป็นภาวะสงครามของทุก ๆ คนต่อทุก ๆ คน

(4) มนุษย์โดยสัญชาตญาณชอบทําร้ายกัน

(5) เกิดขึ้นภายหลังเมื่อมนุษย์มีสังคมการเมืองแล้ว

ตอบ 5 หน้า 50 – 51 มองเตสกิเออ กล่าวถึงสภาวะสงครามว่าเกิดขึ้นหลังจากที่มนุษย์ได้เข้าสู่สังคมการเมืองหรือดํารงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นแล้ว ทําให้มนุษย์ลืมธรรมชาติของตนเสีย กล่าวคือ มนุษย์ได้ลืมความอ่อนแอ ความขี้ขลาด และความหวาดกลัวซึ่งเป็นสิ่งที่เคยมีอยู่ก่อน ดังนั้น สังคมจึงได้กลายเป็นเครื่องมือในการใช้กําลังของมนุษย์

43 มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติในทัศนะของมองเตสกิเออ

(1) ขี้ขลาดและหวาดกลัว

(2) รุกรานซึ่งกันและกัน

(3) มีความสงบสันติ

(4) มีความเสมอภาค

(5) มนุษย์คิดว่าตนเองเหนือกว่าบุคคลอื่น

ตอบ 1 หน้า 49 มองเตสกิเออ เห็นว่า มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์โลกที่มีความอ่อนแอ ขี้ขลาด และหวาดกลัวเป็นคุณสมบัติประจําตัว ดังนั้นจึงทําให้ไม่มีใครกล้าที่จะรุกรานซึ่งกันและกัน เพราะต่างคนต่างก็หวาดกลัวซึ่งกันและกัน โดยก่อนหน้าที่สังคมจะเกิดขึ้นนั้น แต่ละคนจะอยู่ อย่างโดดเดี่ยวและคิดว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่น

44 กฎเกณฑ์ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง

(1) State Law

(2) Civil Law

(3) Rule of Law

(4) Political Law

(5) International Law

ตอบ 4 หน้า 51 มองเตสกิเออ ได้จําแนกกฎหมายที่มนุษย์สร้างหรือบัญญัติขึ้นออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) คือ กฎเกณฑ์ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อกําหนด ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ

2 กฎหมายการเมือง (Political Law) คือ กฎเกณฑ์ที่ มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง (ประชาชน)

3 กฎหมายเอกชน (Civil Law) คือ กฎเกณฑ์ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน

45 วิธีการแยกอํานาจ (Separation of Power) เป็นผลดีในด้านใด

(1) การแบ่งงานกันทํา

(2) ประชาชนมีส่วนร่วม

(3) เกิดประสิทธิภาพการบริหาร

(4) การผ่อนปรนการใช้อํานาจ

(5) ด้านความมั่นคงของประเทศ

ตอบ 4 หน้า 58, 62, (คําบรรยาย) มองเตสกิเออ ได้เสนอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลสายกลางเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีหลักประกันในอิสรภาพทางการเมือง โดยจัดให้มีระบบการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) และระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลแห่งอํานาจขององค์กรทั้ง 3 ฝ่าย อันได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ซึ่งทัศนะดังกล่าวนี้จะเป็นผลดีในด้าน การผ่อนปรนการใช้อํานาจปกครอง และยังถือเป็นรากฐานของระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดีและระบบกึ่งประธานาธิบดีถึงรัฐสภาในปัจจุบัน

46 ความคิดการแยกอํานาจของมองเตสกิเออมาจากการศึกษาระบบการเมืองของประเทศใด

(1) ฝรั่งเศส

(2) อังกฤษ

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) สวิตเซอร์แลนด์

(5) กรีกโบราณ

ตอบ 2 หน้า 48 ความคิดทางการเมืองในเรื่องการแยกอํานาจที่มองเตสกิเออเสนอนั้น เป็นผลมาจากการศึกษาระบบการเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษในขณะนั้น ซึ่งมองเตสกิเออเข้าใจว่าเป็นระบบการแบ่งแยกอํานาจ แต่ในความเป็นจริงปรากฏว่ามองเตสกิเออเข้าใจผิดในเรื่องนี้

47 หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลแห่งอํานาจ (Check and Balance) ปัจจุบันใช้ในประเทศใด

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) เยอรมนี

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย

ตอบ 4 หน้า 62 หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลแห่งอํานาจ (Check and Balance) ที่มองเตสกิเออ เสนอนั้น นับว่าเป็นรากฐานที่สําคัญของระบบประธานาธิบดี (Presidential System) ที่มีใบอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน

48 การตรวจสอบภายในอํานาจตุลาการของรัฐบาลสายกลางสามารถกระทําได้โดยวิธีใด

(1) การแต่งตั้ง

(2) การคัดเลือก

(3) การเลือกตั้ง

(4) การสอบแข่งขัน

(5) การลงโทษตามกฎหมาย

ตอบ 3 หน้า 60 มองเตสกิเออ เห็นว่า การตรวจสอบภายในอํานาจตุลาการของรัฐบาลสายกลางนั้นสามารถกระทําได้โดยการเลือกตั้งผู้ทําหน้าที่ตุลาการและการให้ทําหน้าที่เป็นคราว ๆ ไป ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ได้อีกทางหนึ่ง

49 หลักยึดของรัฐบาลสายกลาง คือ

(1) กฎหมายที่ดี

(2) จริยธรรม

(3) เกียรติยศ

(4) เสรีภาพ

(5) อิสรภาพทางการเมือง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

50 ดินแดนขนาดกลางเหมาะสําหรับรัฐบาลรูปแบบใดในทัศนะของมองเตสกิเออ

(1) แบบสา

(2) แบบกษัตริย์

(3) แบบเผด็จการ

(4) แบบประชาธิปไตย

(5) แบบประธานาธิบดี

ตอบ 2 หน้า 61 มองเตสกิเออ ได้จําแนกรูปรัฐบาลตามหลักดินแดนออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 รัฐบาลแบบสาธารณรัฐ เป็นรูปการปกครองที่เหมาะสมกับดินแดนขนาดเล็ก

2 รัฐบาลแบบกษัตริย์ เป็นรูปการปกครองที่เหมาะสมกับดินแดนขนาดกลาง คือไม่กว้างใหญ่หรือเล็กจนเกินไป

3 รัฐบาลแบบเผด็จการหรือทรราช เป็นรูปการปกครองที่เหมาะสมกับดินแดนขนาดใหญ่

 

มาเคียเวลลี่

51 มาเคียเวลลี่ ผลิตงานชิ้นสําคัญ คือ

(1) Modern Machine

(2) The Fox

(3) The Prince

(4) Magna Carta

(5) The Element of Law

ตอบ 3 หน้า 1 – 2 มาเคียเวลลี เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ในประเทศอิตาลีเมื่อปี ค.ศ. 1469โดยเขาได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มทั้งในด้านการเมืองและบทละคร ได้แก่ ผู้ปกครองหรือมุขชน (The Prince), บทสนทนา (The Discourses) เป็นต้น ซึ่งงานเขียนส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี่นั้นเป็นผลิตผลในช่วงที่เขาตกอับหมดอํานาจวาสนาทางการเมือง

52 สาระสําคัญของงานเขียนทางการเมืองมุ่งเน้นในเรื่องใดเป็นพิเศษ

(1) รัฐในอุดมคติ

(2) วิธีการ (Means)

(3) จุดหมายปลายทาง (Ends)

(4) การใช้เล่ห์เหลี่ยม

(5) เสรีภาพของผู้ปกครอง

ตอบ 2 หน้า 2, (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี่ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่สําคัญที่สุดของยุคนวสมัย(Modern Time) โดยเขาเป็นเมธีคนแรกที่บุกเบิกการศึกษาวิชาปรัชญาการเมือง และได้เสนอทัศนะที่มีลักษณะผิดแผกไปจากลักษณะความคิดทางการเมือง (เชิงอุดมคติ) ในสมัยกลาง อย่างชัดเจน ซึ่งจะศึกษาและถ่ายทอดความคิดทางการเมืองในเชิงปรัชญาตามสภาพที่เป็นจริง นอกจากนี้งานเขียนทางการเมืองของเขาส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจเป็นพิเศษสําหรับผู้ปกครองในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาวิธีการ (Means) ที่สามารถปฏิบัติในการที่จะได้มาซึ่งอํานาจ

53 ในทัศนะมาเคียเวลลี่ ผู้ปกครองควรมีขันติเพื่อ

(1) ทบทวนท่าทีของศัตรู

(2) ข่มความรู้สึกที่แท้จริง

(3) รับฟังคําวิจารณ์โดยสุจริตใจ

(4) ให้เกิดความยําเกรง

(5) แสดงความเป็นราชสีห์

ตอบ 3 หน้า 5 ในทัศนะของมาเคียเวลลี่นั้น ผู้ปกครองควรมีขันติเพื่อยอมรับฟังคําวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตใจของเหล่าขุนนาง เพราะจะทําให้ได้ทราบถึงความเป็นไปที่แท้จริงของสถานการณ์ต่าง ๆ

54 หากการปฏิรูปหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่มีแนวโน้มต่อต้านคือ

(1) ทหาร

(2) ขุนนางอํามาตย์

(3) ผู้ที่ได้ประโยชน์จากแบบแผนเก่า

(4) ปัญญาชน

(5) เครือญาติ

ตอบ 3 หน้า 3 มาเคียเวลลี่ กล่าวว่า ผู้ที่ทําการปฏิรูปจะสร้างศัตรูหรือมีแนวโน้มถูกต่อต้านจากผู้ที่เคยได้รับผลประโยชน์จากแบบแผนเก่า ๆ ส่วนผู้ที่ได้ประโยชน์จากระเบียบใหม่ ๆ นั้นอาจจะ สนับสนุนผู้ปกครองคนใหม่ แต่การสนับสนุนนั้นยังหาความมั่นคงไม่ได้ อาจเป็นการสนับสนุนเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพราะยังไม่เชื่อในความมั่นคงของสิ่งใหม่รวมทั้งผู้ปกครองใหม่มากนัก

55 ตามทัศนะของมาเคียเวลลี่ ศัตรูโดยธรรมชาติสําหรับนักปฏิรูปคือ

(1) ทหารในระบอบเก่า

(2) เหล่าอํามาตย์ขุนนาง

(3) ผู้ที่ได้ประโยชน์จากแบบแผนเก่า

(4) ปัญญาชนประเภทอนุรักษนิยม

(5) อาณาจักรข้างเคียง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

56 มาเคียเวลลี่สอนว่าคนรอบข้างผู้ปกครองมักชอบ

(1) นินทาผู้ปกครอง

(2) เพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยิน

(3) แสดงความจงรักภักดีจนเกินเลย

(4) แสวงหาอามิสสินจ้าง

(5) มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย

ตอบ 2 หน้า 5 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า คนรอบข้างผู้ปกครอง (มุขบุรุษหรือมุขชน) ทั้งพวกขุนนางหรือข้าราชการมักชอบประจบสอพลอ ชอบเพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยินมากกว่าสิ่งที่ควรจะฟังหรือ ชอบปิดกั้นความจริงที่ผู้ปกครองควรจะทราบ ซึ่งหากผู้ปกครองค้นพบคุณสมบัติดังกล่าวนี้ในตัวข้าราชการผู้ใด ก็ควรที่จะลงโทษหรือกําจัดโดยเร็ว เพราะพวกนี้เองที่จะเป็นผู้ทําลายเสถียรภาพของผู้ปกครอง

57 มาเคียเวลลี่เชื่อว่าปัญหาของรูปแบบการปกครองเฉพาะ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย หรือ ประชาธิปไตย

(1) การไร้เมตตาธรรม

(2) การไม่มีนโยบายที่ชัดเจน

(3) การสนับสนุนตัวบุคคล

(4) การขาดเสถียรภาพ

(5) การเน้นแต่เพียงประสิทธิภาพ

ตอบ 4 หน้า 8 มาเคียเวลลี่ เชื่อว่า ระบบการปกครองเฉพาะแบบ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตยเป็นสิ่งดี แต่ระบบการปกครองเฉพาะแบบนี้ก็มีข้อบกพร่องที่สําคัญ คือ การขาดเสถียรภาพ และความดีของระบบก็มักจะถูกทําลายลงด้วยตัวของมันเองในเวลาไม่นานนัก

58 คําพูดใดเป็นแนวความคิดของมาเคียเวลลี่

(1) ไม่มีผู้ใดใหญ่ค้ำฟ้า

(2) มนุษย์ย่อมรู้จักความพอเหมาะพอดี

(3) ธรรมชาติสร้างให้คนคิดว่าไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจแสวงหาได้

(4) ความรักชาติเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อแผ่นดิน

(5) มนุษย์เป็นสัตว์การเมืองที่ไม่อาจปฏิเสธชุมชนการเมืองได้

ตอบ 3 หน้า 2 มาเคียเวลลี่ กล่าวว่า ความกระหายของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่รู้จักอิ่ม คนถูกสร้างมาโดยธรรมชาติให้คิดว่าไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจแสวงหาได้ แต่โดยโชคชะตาแล้วคนจะสมปรารถนาในบางสิ่งเท่านั้น ดังนั้นจิตของคนจึงมีความไม่พอใจชั่วนิรันดร์

59 วาทะสําคัญของมาเคียเวลลี่ คือ

(1) การปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน และของประชาชน

(2) ทหารแก่ไม่เคยตาย เพียงแต่เลือนหายไปจากความทรงจํา

(3) อนุสาวรีย์แห่งปรีชาชาญย่อมยืนนานกว่าอนุสาวรีย์แห่งอํานาจ

(4) อย่าถามว่าประเทศชาติจะทําอะไรให้ท่าน แต่ควรถามว่าท่านจะทําอะไรให้แก่ประเทศชาติ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) วาทะของบุคคลสําคัญ ๆ มีดังนี้

1 รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน – อับราฮัม ลินคอล์น

2 ทหารแก่ไม่เคยตาย เพียงแต่เลือนหายไปจากความทรงจํา – ดักลาส แมคอาร์เธอร์

3 อนุสาวรีย์แห่งปรีชาชาญย่อมยืนนานกว่าอนุสาวรีย์แห่งอํานาจ – ฟรานซิส เบคอน

4 อย่าถามว่าประเทศชาติจะทําอะไรให้ท่าน แต่ควรถามว่าท่านจะทําอะไรให้แก่ประเทศชาติ -จอห์น เอฟ เคนเนดี

60 ตามทัศนะของมาเคียเวลลี่ หนทางในการรักษาไว้ซึ่งอํานาจสําหรับผู้ที่ขึ้นสู่อํานาจด้วยการสืบสันตติวงศ์ คือ

(1) ใช้กําลังเข้าจัดการกับผู้แข็งข้อ

(2) การใช้เมตตาธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเสมอหน้ากัน

(3) การใช้นโยบายที่ถูกต้องในการปกครองประเทศ

(4) มีการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย

(5) การดําเนินรอยตามแบบแผนประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5 หน้า 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า สิ่งฉลาดที่ผู้ปกครองที่ขึ้นสู่บัลลังก์ด้วยการสืบสันตติวงศ์ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง คือ การรักษาแบบแผนประเพณีดั้งเดิมของประเทศไว้ อย่าพยายามเสี่ยงเปลี่ยนแปลง ขนบธรรมเนียมของเดิมเสียใหม่ ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมนั้นสนับสนุนการครองอํานาจอันชอบธรรมของผู้ปกครองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว

61 มุขบุรุษต้องมีคุณสมบัติของสุนัขจิ้งจอก เพราะ

(1) ต้องมีพรรคพวก

(2) ต้องมีความเฉลียวฉลาด

(3) ต้องมีความเย่อหยิ่ง

(4) ต้องรักษาสัจจะ

(5) ต้องทําร้ายผู้อื่นลับหลัง

ตอบ 2 หน้า 7 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครองหรือมุขบุรุษควรมีคุณสมบัติแห่งจิ้งจอกและราชสีห์รวมเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ ผู้ปกครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนัขจิ้งจอก และมีความเข้มแข็งอย่างราชสีห์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผู้ที่ตนปกครองได้นั่นเอง

62 ในทัศนะของมาเคียเวลลี่ มุขบุรุษต้องเล่นการเมืองเพื่อ

(1) รักษาไว้ซึ่งอํานาจของตนเอง

(2) เพื่อสร้างความชอบธรรม

(3) เพื่อขยายฐานอํานาจ

(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 9 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า การเมืองเป็นเรื่องของอํานาจ นักการเมืองปรารถนาที่จะได้มาหรือผดุงรักษาไว้ซึ่งอํานาจ ดังนั้นจุดประสงค์ที่ผู้ปกครองหรือมุขบุรุษต้องเข้ามาเล่นการเมืองก็เพื่อการรักษาไว้ซึ่งอํานาจของตนหรือเพื่อการเพิ่มขยายฐานอํานาจทางการเมืองโดยเฉพาะ

63 ทหารรับจ้างมีปัญหาเรื่องความสวามิภักดิ์ เพราะ

(1) ขาดประสิทธิภาพ

(2) ไม่ใช่คนท้องถิ่น

(3) เห็นแก่อามิสสินจ้าง

(4) ถูกแทรกแซงได้ง่าย

(5) ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน

ตอบ 3 หน้า 4 มาเคียเวลลี เห็นว่า กองทัพที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยทหารประจําการหรือทหารเกณฑ์ไม่ใช่ทหารรับจ้าง เพราะทหารเกณฑ์เท่านั้นที่จะมีความกล้าหาญและพร้อมจะสละชีวิตในสมรภูมิ ส่วนทหารรับจ้างมักจะมีปัญหาเรื่องความสวามิภักดิ์เนื่องจากเห็นแก่อามิสสินจ้างมากกว่าหน้าที่ ในสมรภูมิ ดังนั้นแทนที่จะส่งเสริมอํานาจผู้ปกครอง กลับจะทําลายอํานาจของผู้ปกครองในที่สุด

 

ฮอบส์

64 ในสภาวะธรรมชาติ ฮอบส์เชื่อว่าสังคมการเมือง

(1) ยังไม่เกิดขึ้น

(2) มีแต่การแก่งแย่งชิงดี

(3) ปราศจากกฎหมาย

(4) เต็มไปด้วยนักเลงการเมือง

(5) ขาดความเข้มแข็ง

ตอบ 1 หน้า 17 – 20 สภาวะธรรมชาติในทัศนะของฮอบส์ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็นสภาวะก่อนที่จะเกิดสังคมการเมือง หรือเป็นสภาวะที่ยังไม่มีผู้ปกครองที่มีอํานาจ ที่แท้จริงในบ้านเมือง โดยในสภาวะธรรมชาตินั้นทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพและมีอิสรภาพที่จะ ทําอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่เมื่อมีความต้องการในสิ่งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทําให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันแสวงหาอํานาจเหนือคนอื่นอยู่ร่ำไปจนนําไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองในที่สุด

65 ฮอบส์เชื่อว่ามนุษย์เราสมัครใจมอบอํานาจให้แก่ผู้อื่น เพราะ

(1) เป็นธรรมชาติของการเมือง

(2) ต้องการป้องกันตนเองจากภัยภายนอก

(3) เพื่อพิทักษ์เสรีภาพ

(4) เพื่อยุติความทะเยอทะยานของผู้มีอํานาจ

(5) เป็นความประสงค์ของพระเจ้า

ตอบ 2 หน้า 21 ฮอบส์ เชื่อว่า การที่มนุษย์สมัครใจยอมมอบอํานาจให้แก่ผู้อื่นนั้น เป็นเพราะว่ามนุษย์ต้องการป้องกันตนเองจากการรุกรานจากภายนอก และต้องการป้องกันไม่ให้มนุษย์ทําอันตรายต่อกันและกัน

66 ผลอะไรจะเกิดขึ้นตามมา หากผู้ปกครองถึงแก่กรรมลงภายหลังที่สัญญาประชาคมได้กระทําไปแล้ว

(1) สิ้นสุดสัญญา สังคม และรัฐ

(2) สัญญายังคงผูกมัดคู่สัญญา

(3) สัญญาที่ผูกมัดก็หมดโดยปริยาย

(4) เสียงข้างมากสามารถแก้ไขสัญญาเดิมได้

(5) เลือกตั้งผู้ปกครองใหม่แทนคนเก่า

ตอบ 1 หน้า 22 – 24 ฮอบส์ เห็นว่า การจัดตั้งรัฐเป็นผลมาจากการทําสัญญาประชาคม ซึ่งองค์อธิปัตย์จะมีฐานะเป็นคนธรรมดา (Natural Person) และเป็นคนสมมุติ (Artificial Person) โดยฮอบส์ ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกัน ดังนั้นถ้าไม่มีคนธรรมดา (ผู้ปกครองหรือองค์อธิปัตย์) ที่มีอํานาจบังคับใช้เจตนารมณ์แล้ว ก็ย่อมจะเป็นการสิ้นสุดสัญญา สังคม และรัฐ มนุษย์ก็จะกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติเหมือนเดิม

67 คําว่า “ความยุติธรรม และ อยุติธรรม” ใช้เกณฑ์อะไรเป็นเครื่องตัดสิน

(1) กฎหมาย

(2) ผลประโยชน์ส่วนรวม

(3) สัญญา

(4) ความสามัคคี

(5) ความชอบธรรม

ตอบ 3 หน้า 26 ในทัศนะของฮอบส์นั้น ความยุติธรรมหรืออยุติธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการทําสัญญาประชาคมแล้ว กล่าวคือ เมื่อได้ทําสัญญากันแล้ว ผู้ละเมิดสัญญาหรือ การไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็คือความอยุติธรรม ส่วนความยุติธรรมก็คือสิ่งที่ไม่อยุติธรรมหรือการปฏิบัติตามสัญญานั้นเอง

68 “สภาวะสงคราม” เกิดขึ้น ณ ที่ใด

(1) สภาพธรรมชาติ

(2) สังคมการเมือง

(3) สังคมบุพกาล

(4) สังคมสมัยใหม่

(5) สังคมเกิดจากสัญญา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

69 เมื่อทําสัญญาประชาคมแล้ว ผู้ใต้ปกครองสามารถทําอะไรได้บ้าง

(1) เปลี่ยนตัวผู้ปกครอง

(2) การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งคราว

(3) การไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นบางครั้ง

(4) การถอดถอนองค์อธิปัตย์

(5) การบอกเลิกสัญญาที่ทําไปแล้ว

ตอบ 5 หน้า 24, (คําบรรยาย) ฮอบส์ อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงหรือถอดถอนองค์อธิปัตย์นั้นแม้จะกระทํามิได้ แต่ประชาชนในฐานะผู้ใต้ปกครองก็มีสิทธิขัดขืนต่อองค์อธิปัตย์ได้ นั่นคือ เมื่อประชาชนตกอยู่ในสภาวะอันตรายเนื่องด้วยองค์อธิปัตย์จะทําลายชีวิตของตนเองแล้ว การใช้สิทธิตามธรรมชาติเพื่อการคุ้มครองตนเองของมนุษย์ย่อมกระทําได้ ทั้งนี้โดยการร่วมกันบอกเลิกสัญญาที่ทําไปแล้วเพื่อเริ่มต้นทําสัญญากันใหม่

70 ฮอบส์เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้น 2 ประการ คือ

(1) กิเลสและตัณหา

(2) ความอยากและความไม่อยาก

(3) การเคลื่อนไหวและการหยุดนิ่ง

(4) ความรุนแรงและความสงบ

(5) โลกียธรรมและโลกุตรธรรม

ตอบ 2 หน้า 16 ฮอบส์ เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นภายใน 2 ประเภท คือ

1 ความอยากหรือความต้องการ (Appetite/Desire)

2 ความไม่อยากหรือความไม่ต้องการ (Aversion)

นอกจากนี้ความรักหรือความเกลียด ความดีหรือความชั่ว ก็เป็นความรู้สึกที่เกิดจากแรงกระตุ้น

ทั้ง 2 ประเภทนี้เช่นเดียวกัน

 

ล็อค

71 ล็อคเห็นว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเกิดจาก

(1) การถ่ายโอนเป็นมรดกตกทอด

(2) การประกาศความเป็นเจ้าของ

(3) การยอมรับความเป็นเจ้าของของผู้ใดผู้หนึ่งโดยผู้อื่น

(4) การใช้แรงงานต่อสิ่งของนั้น ๆ

(5) การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามกฎหมาย

ตอบ 4 หน้า 34 ล็อค เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติในโลกนี้ทั้งหมดเป็นของทุกคน(ชาวโลกทั้งมวล) หรือทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน โดยแต่ละคนสามารถมีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนบุคคล (Private Property) ได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้ใช้แรงงานจาก ร่างกายเคลื่อนย้ายหรือเก็บเกี่ยวของสิ่งนั้น รวมทั้งในการสะสมทรัพย์สินก็จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นด้วย

72 ล็อคเห็นว่าสัญญาประชาคมเกิดขึ้นโดย

(1) ผู้ที่เข้มแข็งกว่าหยิบยื่นให้

(2) การตกลงทําสัญญาสันติภาพ

(3) อัตโนมัติตามสภาวะธรรมชาติ

(4) ความเกรงกลัวต่อภัยคุกคามจากภายนอก

(5) การยินยอมสมัครใจเพื่อการดํารงอยู่ร่วมกัน

ตอบ 5 หน้า 36 ล็อค เห็นว่า การทําสัญญาประชาคมเพื่อการดํารงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือประชาคมเดียวกันนั้น จะเป็นไปด้วยความสมัครใจหรือความยินยอมของทุกคน โดยทุกคนมุ่งหวังที่จะดํารงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัย และมีความสงบสุขในการใช้ทรัพย์สินของตน อย่างมั่นคง และเป็นความมั่นคงที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้ที่ไม่เข้าร่วม

73 “สภาวะสงคราม” ในทัศนะของล็อค หมายถึง

(1) ความขัดแย้งทําลายเสรีภาพ

(2) สงครามระหว่างรัฐ

(3) การใช้กําลังเข้ายึดอํานาจ

(4) สภาพที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามธรรมชาติ

(5) ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง

ตอบ 1 หน้า 35 ล็อค เห็นว่า ข้อบกพร่องของสภาวะธรรมชาติเป็นสาเหตุที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งจนกระทั่งนําไปสู่ “สภาวะสงคราม” ซึ่งจะทําลายเสรีภาพของมนุษย์ในที่สุด

74 หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนจะต้องทําอะไรในอันดับต่อไป

(1) ทําสัญญาก่อตั้งสังคมใหม่

(2) เลือกตั้งรัฐบาลใหม่

(3) ดูแลความปลอดภัยให้แก่ตนเอง

(4) ใช้สิทธิพิเศษ

(5) ใช้อํานาจสหพันธ์

ตอบ 2 หน้า 38, 43, (คําบรรยาย) ล็อค กล่าวว่า รัฐบาลกับสังคมไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสามารถกระทําได้โดยไม่กระทบต่อสังคม ดังนั้นหากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนต้องทําการ เลือกตั้งหรือสถาปนารัฐบาลขึ้นใหม่ ที่เรียกว่าเปลี่ยนความยินยอม ซึ่งต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากเท่านั้น

75 ผู้ที่ได้รับความยินยอมจากเสียงข้างมากของประชาชนตามหลักแห่งสัญญาประชาคม คือผู้ใด

(1) นิติบัญญัติ

(2) บริหาร

(3) ตุลาการ

(4) ทรัสตรี

(5) องค์อธิปัตย์

ตอบ 2 หน้า 36 – 38 ตามหลักการแห่งสัญญาประชาคมนั้น ล็อค อธิบายว่า การสถาปนารัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องของการให้ความยินยอมเช่นเดียวกับการสถาปนาสังคมการเมืองหรือรัฐ กล่าวคือ การสถาปนารัฐจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเอกฉันท์ ส่วนการสถาปนารัฐบาล(ฝ่ายบริหาร) นั้นจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเสียงข้างมากของประชาชน

76 ใครเป็นเจ้าของสรรพสิ่งที่มีอยู่โดยธรรมชาติในโลกนี้

(1) พระผู้เป็นเจ้า

(2) ชาวโลกทั้งมวล

(3) รัฐบาลของแต่ละประเทศ

(4) องค์การสหประชาชาติ

(5) ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

77 ทัศนะของล็อคต่อทรัพย์สิน

(1) ยอมรับทรัพย์สินส่วนบุคคล (Private Property)

(2) ต่อต้านทรัพย์สินส่วนบุคคล

(3) ทรัพย์สินส่วนบุคคลเกิดเมื่อมีกฎหมาย

(4) ทรัพย์สินส่วนบุคคลเกิดเมื่อมีสังคมการเมือง

(5) ทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นที่มาของความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

78 สภาวะแห่งความเสมอภาคในสภาวะธรรมชาติ หมายถึง ความเท่าเทียมกันในด้านใด

(1) ความเป็นมนุษย์

(2) ร่างกายและจิตใจ

(3) ความดีงาม

(4) ความมีเหตุผล

(5) สิทธิและอํานาจ

ตอบ 5 หน้า 33 ในทัศนะของล็อคนั้น มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติมีลักษณะที่สําคัญอยู่ 2 ประการ คือ

1 สภาวะแห่งเสรีภาพอันสมบูรณ์ หมายถึง ทุกคนมีอิสระเสรีอย่างเต็มเปี่ยมที่จะกระทําสิ่งใด ๆไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพย์สินหรือร่างกายของเขาตามที่เขาเห็นว่าเหมาะสมภายใต้กฎธรรมชาติ โดยไม่จําเป็นต้องขออนุญาตหรือขึ้นอยู่กับเจตจํานงของผู้อื่น

2 สภาวะแห่งความเสมอภาค หมายถึง ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในสิทธิและอํานาจ โดยที่ อํานาจและสิทธิทั้งหมดอยู่ที่บุคคลแต่ละคน เพราะฉะนั้นในฐานะเป็นมนุษย์ด้วยกัน จึงไม่มีผู้ใดมีอํานาจหรือสิทธิเหนือผู้อื่น

79 ข้อใดเป็นการแสดงออกโดยชัดแจ้ง (Express Consent) ในการทําสัญญาประชาคม

(1) การยอมอ่อนข้อต่อเสียงข้างน้อย

(2) การใช้สิทธิเลือกตั้ง

(3) การอาศัยอยู่ในสังคม

(4) การได้ประโยชน์จากสังคม

(5) การไม่มีความขัดแย้ง

ตอบ 2 หน้า 37 ล็อค เห็นว่า การให้ความยินยอมมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1 การให้ความยินยอมโดยชัดแจ้ง (Express Consent) เป็นการแสดงความสมัครใจหรือความยินยอมออกมาให้ปรากฏ โดยที่คนอื่นสามารถรู้เห็นได้ เช่น การยินยอมที่จะอยู่ร่วมกัน เป็นสังคม การยินยอมต่อเสียงของฝ่ายข้างมาก และการใช้สิทธิเลือกตั้ง

2 การให้ความยินยอมโดยปริยาย (Tacit Consent) จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอาศัยอยู่ในสังคมและได้รับประโยชน์จากสังคม เช่น บริการสาธารณะต่าง ๆ

80 รัฐบาลเกิดเมื่อใดในทัศนะของล็อค

(1) เมื่อมีสัญญาประชาคม

(2) เมื่อประชาชนเลือกตัวแทนไปทําหน้าที่นิติบัญญัติ

(3) เมื่อเสียงข้างมากในองค์กรนิติบัญญัติยกอํานาจสูงสุดให้แก่องค์กรอื่น

(4) เมื่อมีกฎหมาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 38 ล็อค เห็นว่า การสถาปนารัฐบาลนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อฝ่ายเสียงข้างมากในสังคมตกลงที่จะยกอํานาจสูงสุดให้แก่องค์กรหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญา แต่จะอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนทําหน้าที่ให้แก่สังคมเป็นส่วนรวม

81 ข้อใดเป็นแนวความคิดของล็อค

(1) คนคือสัตว์การเมือง

(2) มนุษย์เกิดมาพร้อมความป่าเถื่อน

(3) มนุษย์มีเหตุผลและมีเมตตาธรรม

(4) ไม่มีสังคมใดที่มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์

(5) ความเสมอภาคได้มาด้วยการต่อสู้

ตอบ 3 หน้า 33 ล็อค เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจําตัว คือ ความมีเหตุผลอันเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้วมนุษย์ยังมีความเมตตาธรรม ใฝ่สันติ และสุขุมรอบคอบอีกด้วย

 

รุสโซ

82 สิ่งซึ่งมนุษย์ได้มาทดแทนกับการสูญเสียความบริสุทธิ์และความดีงามในสังคมการเมืองนั้นคืออะไร

(1) ความเสมอภาค

(2) สันติภาพ

(3) เสรีภาพทางการเมือง

(4) ความปลอดภัย

(5) ความสมบูรณ์ทางจิตใจ

ตอบ 5 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า การเกิดสังคมการเมืองเป็นผลมาจากสัญชาตญาณของมนุษย์ที่ต้องการความสมบูรณ์โดยการอาศัยอยู่ร่วมกัน แม้ว่าจะมีส่วนทําลายความบริสุทธิ์ และความดีงามของมนุษย์ก็ตาม แต่สิ่งที่มนุษย์ได้รับการทดแทนจากการสูญเสียความบริสุทธิ์และความดีงามในสังคมการเมืองสมัยใหม่นั้นก็คือ ความสมบูรณ์ทางจิตใจ 83 “การเสียความบริสุทธิ์ของมนุษย์”

(1) สังคมธรรมชาติ

(2) สังคมการเมือง

(3) สังคมเมือง

(4) สังคมที่พัฒนาแล้ว

(5) สังคมบุพกาล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84 สิ่งที่ถือว่าเป็น “ความไม่เท่าเทียมกันในสภาวะธรรมชาติ”

(1) ร่างกาย

(2) เสรีภาพ

(3) ทรัพย์สิน

(4) ความเสมอภาค

(5) ความปลอดภัยในชีวิต ตอบ 1 หน้า 69, 75 สภาวะธรรมชาติในทัศนะของรุสโซนั้น เป็นสภาวะที่มีแต่สันติภาพมนุษย์มีเสรีภาพและความเสมอภาคอย่างบริบูรณ์เท่าเทียมกัน แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ ก็มีความไม่เท่าเทียมกันโดยธรรมชาติอยู่บ้างบางประการ เช่น ความแข็งแรงของร่างกาย ความมากน้อยของอายุ เพศ พละกําลัง ความสามารถของสติปัญญา เป็นต้น

85 มนุษย์สามารถสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่ต้องการความสมบูรณ์ได้โดยวิธีใด

(1) การแข่งขันระหว่างกัน

(2) การร่วมมือระหว่างกัน

(3) การดํารงชีพแบบต่างคนต่างอยู่

(4) การทําสัญญาประชาคม

(5) การทําอะไรตามใจปรารถนา

ตอบ 2 หน้า 69 รุสโซ อธิบายว่า ความสมบูรณ์นั้นมนุษย์หาได้จากการร่วมมือหรือการพึ่งพิงบุคคลอื่นดังนั้นการสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์ก็คือ การร่วมมือระหว่างกันนั่นเอง

86 แนวความคิดใดที่ไม่ใช่แนวคิดของรุสโซ

(1) สัญญาประชาคม

(2) เสรีภาพและความเสมอภาค

(3) เจตจํานงทั่วไป

(4) สุนัขจิ้งจอกกับราชสีห์

(5) ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 69 – 77, (คําบรรยาย) แนวความคิดที่สําคัญของรุสโซ ได้แก่

1 การเกิดระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว จะนําไปสู่ความไม่เสมอภาคในหมู่มนุษย์

2 มนุษย์เราเกิดมาย่อมใฝ่หาเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ

3 การปฏิเสธเสรีภาพ คือ การปฏิเสธในการแยกแยะสิ่งที่ผิดและสิ่งที่ถูก

4 มนุษย์เราเกิดมาถูกจองจําในอาณาจักรแห่งความคิด

5 คนจะยินดีอยู่ในรัฐมากขึ้นเมื่อมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายมากขึ้น

6 การทําสัญญาประชาคมจะก่อให้เกิดเสรีภาพ (แบบใหม่) และความเสมอภาคขึ้น

7 เจตจํานงทั่วไปคือเจตจํานงของคนทุกคน

8 ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ในทํานองว่าความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์จะทําให้คนหนีไกลออกไปจากธรรมชาติ เป็นต้น

87 ผู้เป็นเจ้าของหรือทรงไว้ซึ่งอํานาจอธิปไตยจะมีโอกาสใช้อํานาจนี้ของตนเมื่อใด

(1) เป็นรัฐบาล

(2) บัญญัติกฎหมาย

(3) ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

(4) เปลี่ยนแปลงรัฐบาล

(5) ทําสัญญาประชาคม

ตอบ 2 หน้า 78 รุสโซ เห็นวา อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งหมด (ประชาชนทั้งมวล) และประชาชนสามารถใช้อํานาจอธิปไตยนี้ได้โดยการทําหน้าที่บัญญัติกฎหมาย เพราะว่า ในการบัญญัติกฎหมายนั้นประชาชนมีอํานาจเต็มที่ไม่ต้องเชื่อฟังใคร

88 ข้อใดเป็นผลงานของรุสโซ

(1) Social Contract และ The Prince

(2) Emile และ Das Capital

(3) The Spirit of the Laws

(4) Confessions และ The Old Regime

(5) Social Contract และ Emile

ตอบ 5 หน้า 66 – 67 ผลงานที่สําคัญของรุสโซ ได้แก่

1 The Origin of Inequality

2 Political Economy

3 La Nouvelle Heloise

4 Social Contract

5 Emile

6 Confessions

7 Dialogues

8 Constitution for Corsica

9 Consideration on the Government of Poland

89 “มนุษย์ในสังคมอารยะเป็นทาสที่ถูกจองจําอยู่ในจักรวรรดิแห่งความคิด (The Empire of Opinion) ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง” ข้อความที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงอะไร

(1) ผลประโยชน์ส่วนรวม

(2) การคํานึงถึงผลประโยชน์ผู้อื่น

(3) การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

(4) การไม่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

(5) พฤติกรรมของเราถูกกําหนดโดยบุคคลอื่น

ตอบ 3 หน้า 72 ในทัศนะเกี่ยวกับความเป็นทาสนั้น รุสโซ เห็นว่า ทั้งผู้กดขี่และถูกกดขี่ต่างก็อยู่ในเครื่องพันธนาการเช่นกัน ซึ่งพวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และต่างก็ตกอยู่ในหลุมพราง ของกันและกัน นั่นคือ มนุษย์ในสังคมอารยะเป็นทาสที่ถูกจองจําอยู่ในจักรวรรดิแห่งความคิด (The Empire of Opinion) ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง

90 รุสโซเห็นว่าอุปสรรคสําคัญต่อการบรรลุเจตจํานงทั่วไป คือ

(1) สัญญาประชาคมที่บกพร่อง

(2) การมีผู้ปกครองที่ไม่เป็นธรรม

(3) การยึดมั่นในผลประโยชน์ส่วนตน

(4) การละเมิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว

(5) การใช้ความรุนแรงเข้าจัดการปัญหา

ตอบ 3 หน้า 75, 77 รุสโซ เห็นว่า เจตจํานงทั่วไปเป็นเจตจํานงที่แสดงออกเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือผลประโยชน์ของคนทุกคนเป็นหลัก ดังนั้นใครก็ตามที่มีความเห็นแตกต่างจาก เจตจํานงทั่วไปย่อมแสดงว่าเขาได้หลงผิดไป เพราะตกอยู่ภายใต้ผลประโยชน์ส่วนตัวครอบงํา ซึ่งรุสโซเรียกว่าเกิดเจตจํานงเฉพาะส่วนนั้นเอง

91 แนวความคิดเรื่อง “รัฐ” ของเฮเกล ในระยะต่อมาถูกนํามาตีความเพื่อสนับสนุนการเมืองการปกครอง ระบอบใดในสังคม

(1) อํานาจนิยม

(2) ประชาธิปไตยทางตรง

(3) ประชาธิปไตยทางอ้อม

(4) อภิชนาธิปไตย

(5) คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 132 133 ในปัจจุบันแนวความคิดเรื่องรัฐของเฮเกลนั้น มีอิทธิพลต่อระบบการเมืองของโลกพอสมควร โดยเฉพาะในประเทศกําลังพัฒนาที่ใช้ระบอบการปกครองแบบอํานาจนิยม

92 “รัฐธรรมนูญแห่งรัฐ

(1) เจตจํานงของกฎหมาย

(2) ที่มาแห่งอํานาจอธิปไตย

(3) ตัวแทนจิตวิสัย (Subject Spirit)

(4) ตัวแทนจิตโลก (World Spirit)

(5) การประนีประนอมผลประโยชน์

ตอบ 4 หน้า 122 เฮเกล อธิบายว่า รัฐธรรมนูญแห่งรัฐเป็นตัวแทนจิตโลก (World Spirit) และเป็นองค์อินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิต (Organism) ในกระบวนการพัฒนาอันเป็นการแสดงตัวของจิต (Idea) ซึ่งผู้ทําหน้าที่นิติบัญญัติที่ผ่านหรือตรากฎหมายออกมานั้น จะเป็นเพียงการดําเนินงานเพื่อให้รัฐธรรมนูญก้าวหน้าหรือพัฒนาไปสู่เป้าหมายของจิตโลกเท่านั้น 93 ความคิด (Idea) ของรัฐ แสดงให้เห็นได้โดยผ่านสถาบันใดของรัฐ

(1) กฎหมาย

(2) ผู้แทนราษฎร

(3) สภานิติบัญญัติ

(4) กฎหมายรัฐธรรมนูญ

(5) เจตจํานงทั่วไป ตอบ 4 หน้า 132 เฮเกล อธิบายว่า ความคิด (Idea) ของรัฐจะแสดงออกมาให้เห็นในกฎหมายรัฐธรรมนูญของแต่ละรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศ และประวัติศาสตร์โลก โดยเฉพาะ กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นถือได้ว่าเป็นสถาบันสูงสุดที่กําหนดรูปแบบของสถาบันการเมืองของแต่ละประเทศ

94 วิธีการใดที่สามารถแก้ไขความเสื่อมทราม (Corruption) อันเป็นผลจากการมีสันติภาพอันถาวร

(1) การทําสงคราม

(2) การเปลี่ยนระบบบริหาร

(3) การแก้ไขสนธิสัญญา

(4) การปฏิรูปโครงสร้าง

(5) การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเป็นครั้งคราว

ตอบ 1 หน้า 130 เฮเกล เห็นว่า สงครามระหว่างรัฐคือปัจจัยที่ทําให้เกิดการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเป็นเสมือนตัวเร่งไปสู่สภาวะใหม่ที่ดีกว่า โดยช่วยขจัดฝ่ายที่เก่าแก่และล้าสมัยให้หมดสิ้นไป แล้วเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เข้มแข็งกว่าเข้ามาแทนที่ นอกจากนี้การทําสงครามยังเป็นวิธีการที่สามารถแก้ไขความเสื่อมทราม (Corruption) อันเป็นผลจากการมีสันติภาพอันถาวรอีกด้วย

95 “รัฐ”

(1) จิตร่วม

(2) องค์อินทรีย์

(3) สิ่งที่มีเหตุผลสูงสุด

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 118 ในทัศนะของเฮเกลนั้น รัฐถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีเหตุผลสูงสุด (Supreme Rational) เพราะรัฐมีจุดมุ่งหมายเป็นของตนเองและมีเงื่อนไขของความเป็นจริงมากกว่าครอบครัวและ สังคมพลเรือน นอกจากนี้รัฐยังเป็นองค์อินทรีย์ (ส่วนรวม) ที่ประกอบขึ้นจากส่วนย่อย (สังคมพลเรือน) ทั้งหมด หรือเป็นจิตร่วมหรือจิตภววิสัย หรือเป็นจิตร่วมของประชาชาติที่แสดงออกถึงเจตนารมณ์ของสังคมทั้งหมดและครอบคลุมมนุษย์ผู้เป็นสมาชิกทุกคนด้วย

96 ภาวะผสมผสาน (Synthesis) ระหว่างความรักและการแข่งขันนั้นเป็นอะไร

(1) ความสุขที่ถาวร

(2) ความตื่นเต้นเร้าใจ

(3) ความมีเอกภาพ

(4) ความมีเหตุมีผล

(5) ความจงรักภักดี

ตอบ 4 หน้า 116 – 117, 121 ตามแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกลนั้น รัฐเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างครอบครัว (ความรัก) ซึ่งเป็น Thesis กับสังคมพลเรือน (การแข่งขัน) ซึ่งเป็น Antithesis ดังนั้นรัฐจึงถือได้ว่าเป็นภาวะผสมผสาน (Synthesis) ซึ่งมีความสมบูรณ์กว่า โดยจะมีเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินความสมบูรณ์นี้ก็คือ ความมีเหตุมีผลและ เสรีภาพ

 

ฟาสซิสต์และนาซี

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 97 – 100

(1) Irrationalism

(2) Nationalism

(3) Internationalism

(4) Social Darwinism

(5) Elitism

97 หลักการที่สําคัญในประเด็นใดต่อไปนี้ที่ฟาสซิสต์ต่างจากนาซี

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลัทธิฟาสซิสต์และลัทธินาซีมีหลักการสําคัญที่แตกต่างกันก็คือ หลักชาตินิยม (Nationalism) โดยลัทธิฟาสซิสต์จะเป็นชาตินิยมแบบธรรมดาที่สนับสนุนให้ประชาชน เกิดความรู้สึกรักชาติอย่างไม่มีเหตุผล เช่น การสนับสนุนให้รัฐบาลเป็นจักรวรรดินิยม ส่วนลัทธินาซีนั้นเป็นชาตินิยมแบบเชื้อชาติ โดยมีความเชื่ออย่างฝังแน่นที่ว่าอารยันเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าชาติอื่น

98 ความเชื่อที่ว่าอารยันเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

99 ลักษณะใดที่ไม่ปรากฏในลัทธิฟาสซิสต์

ตอบ 3 หน้า 301 302, (คําบรรยาย) หลักการพื้นฐานที่สําคัญของลัทธิฟาสซิสต์ มีดังนี้

1 หลักความไม่มีเหตุผล (Irrationalism) โดยมีความเชื่อที่ว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผลเป็นแรงผลักให้ดําเนินการใด ๆ เพื่อส่วนรวม

2 หลักชาตินิยมหรือความรักชาติ (Nationalism) โดยสนับสนุนให้ประชาชนสร้างความรู้สึกรักชาติอย่างไม่มีเหตุผล

3 หลักทฤษฎีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของ Charles Darwin ซึ่งเรียกว่า Social Darwinism

4 หลักว่าด้วยรัฐ (State)

5 หลักว่าด้วยเรื่องผู้นํา (Elitism)

6 หลักว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ (Economic)

100 ความเชื่อที่ว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผลเป็นแรงผลักให้ดําเนินการใด ๆ เพื่อส่วนรวม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 99. ประกอบ

Advertisement