การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 2 ข้อ

ข้อ 1 อธิบายเรื่องรูปแบบของรัฐมาให้เข้าใจ กรณีประเทศไทยภายใต้รัฐธรรมนูญทุกฉบับใช้รูปแบบรัฐในแบบใด

แนวคําตอบ (หน้า 5 – 9, 12, 31), (คําบรรยาย)

รัฐธรรมนูญของทุกประเทศจะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ กําหนดรูปแบบการปกครองและรูปแบบของรัฐไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ เพื่อเป็นการกําหนดเป้าหมายที่ชัดเจนของการจัดโครงสร้างทางการเมืองการปกครองภายใต้อุดมการณ์ที่พึงประสงค์ และเพื่อจัดระเบียบการปกครองของจังหวัดต่าง ๆ ที่มารวมอยู่เป็นประเทศนั้น ๆ

ในทางรัฐศาสตร์ รูปแบบของรัฐแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1 รัฐเดี่ยว (Unitary State)

2 รัฐรวม (Compound State) แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบย่อย คือ

2.1 สมาพันธรัฐ (Confederation State)

2.2 สหพันธรัฐ (Federation State)

คําอธิบายถึงลักษณะของแต่ละรูปแบบของรัฐ กล่าวคือ

1 รัฐเดี่ยว (Unitary State)

หลักเกณฑ์หรือลักษณะสําคัญของรัฐเดี่ยว มีดังนี้

1 อํานาจบริหาร รัฐเดี่ยวจะมีการรวมศูนย์อํานาจ (Centralization) ทางการเมืองการปกครอง อยู่ที่ส่วนกลางหรือเมืองหลวงหรือรัฐบาลของประเทศเพียงแห่งเดียว โดยมีการรวมเอาคําสั่ง คําบังคับบัญชา และ คําวินิจฉัยไว้ที่ส่วนกลาง หรืออํานาจการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของหน่วยงานที่สําคัญ เช่น กระทรวงต่าง ๆ) กําลังทหาร และตํารวจจะอยู่ที่ส่วนกลาง

2 อํานาจนิติบัญญัติ รัฐเดี่ยวในการบัญญัติกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาจะมีผลบังคับใช้กับพลเมืองหรือประชาชนทั้งประเทศ กล่าวคือ ทุกจังหวัดทั่วประเทศจะใช้กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาเหมือนกันหมด เพราะการออกกฎหมายโดยผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งไม่ใช่กฎหมายที่นํามาใช้บังคับแต่ในจังหวัดของ ผู้แทนนั้น ๆ แต่ถือว่าร่วมกันเสนอกฎหมาย และมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ

3 การปกครองส่วนภูมิภาคอันหมายถึงจังหวัดต่าง ๆ นั้น อํานาจยังขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ดังจะเห็นได้จากตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย

4 การปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคปัจจุบัน อาจได้รับการกระจายอํานาจจากส่วนกลางมากขึ้น แต่ก็ยังขึ้นต่อส่วนกลาง กล่าวคือ ในรัฐเดี่ยวอาจมีการกระจายอํานาจ แต่การกระจายอํานาจจะไม่มาก จนทําให้ท้องถิ่นเป็นอิสระ

ตัวอย่างประเทศที่ใช้รูปแบบรัฐเดี่ยว ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ตุรกี และสาธารณรัฐอาหรับแห่งอียิปต์ เป็นต้น

2 รัฐรวม (Compound State)

รัฐรวม เป็นการรวมรัฐต่าง ๆ มารวมกันเพื่อให้เป็นรัฐขนาดใหญ่ เพื่อจะได้มีพลังอํานาจใน การต่อรอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบย่อย คือ

1 การรวมรัฐในลักษณะสมาพันธรัฐ เป็นการรวมรัฐอย่างหลวม ๆ โดยแต่ละรัฐยังคงมีอํานาจอธิปไตยของรัฐอยู่

2 การรวมรัฐในลักษณะสหพันธรัฐที่เรียกว่า “สหรัฐ” เป็นการรวมรัฐต่าง ๆ โดยการมอบอํานาจอธิปไตยบางส่วนของรัฐสมาชิกให้กับรัฐบาลกลาง โดยรัฐบาลกลางมักจะได้รับมอบอํานาจอธิปไตย ในเรื่องที่สําคัญ ๆ ดังนี้

(1) การติดต่อต่างประเทศ

(2) กําลังทางทหารในการป้องกันประเทศ

(3) สกุลเงินตราของประเทศ

ตัวอย่างประเทศที่เคยใช้รูปแบบสมาพันธรัฐในอดีต แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบสหพันธรัฐแล้ว ได้แก่ สมาพันธรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1776 – 1787) สมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ (ค.ศ. 1815 – 1848) และสมาพันธรัฐเยอรมนี (ค.ศ. 1815 – 1866)

ในปัจจุบันเนื่องจากรูปแบบสมาพันธรัฐได้ถูกยกเลิกไปแล้ว จึงทําให้รัฐรวมคงมีแต่รูปแบบ สหพันธรัฐเท่านั้น

การรวมตัวของรัฐต่าง ๆ เพื่อเป็นรัฐรวมในรูปแบบสหพันธรัฐนั้น มักจะรวมกันโดยมีรัฐธรรมนูญ เป็นกติกาทางการเมืองที่ตกลงร่วมกันในการก่อตั้งเป็นสหพันธรัฐ สําหรับดินแดนหรือรัฐที่มารวมกันเป็นสมาชิกของ สหพันธรัฐนั้น อาจมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ในประเทศแคนาดา แอฟริกาใต้ และอาร์เจนตินา เรียกว่า Province (มณฑล), ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เรียกว่า Canton (ก๊งตอง), ในอดีตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เรียกว่าLander (มลรัฐ) นอกนั้นก็เรียกกันว่า “รัฐ” (State) ทั้งสิ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย มาเลเซีย เป็นต้น

หลักเกณฑ์หรือลักษณะสําคัญของสหพันธรัฐ มีดังนี้

1 อํานาจบริหาร สหพันธรัฐจะมีการกระจายอํานาจปกครอง (Decentralization) รัฐบาลกลางจะเป็นผู้ใช้อํานาจอธิปไตยภายนอกและสงวนอํานาจที่สําคัญไว้ เช่น อํานาจในเรื่องการทหาร การต่างประเทศ และการคลัง ในขณะที่รัฐต่าง ๆ หรือจังหวัดต่าง ๆ หรือมลรัฐต่าง ๆ หรือทั้งตองต่าง ๆ (แล้วแต่จะเรา ของแต่ละประเทศเหล่านั้น) ก็มีอํานาจอธิปไตยภายในเกือบจะสมบูรณ์ โดยมีอํานาจในการปกครองตนเอง มีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐโดยตรงจากประชาชน มีอํานาจในการออกกฎหมาย อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการภายในรัฐของตน

2 อํานาจนิติบัญญัติ แต่ละรัฐสามารถมีกฎหมายของตนเองได้ กล่าวคือ แต่ละรัฐมีอํานาจในการออกกฎหมายขึ้นบังคับใช้ได้เอง ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละรัฐ (ตัวอย่างเช่น บางรัฐอาจห้ามดื่มเหล้า ห้ามสูบบุหรี่) ทั้งนี้กฎหมายของแต่ละรัฐจะขัดกับรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดไม่ได้ โดยจะมีองค์กรตรวจสอบกฎหมายไม่ให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ (ประเทศเยอรมนีให้ศาลรัฐธรรมนูญทําหน้าที่นี้ ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาจะให้ศาลยุติธรรมมาทําหน้าที่นี้)

3 รัฐสภาจะเป็นระบบสภาคู่หรือระบบสองสภา (Bicameral System) เสมอ คือ ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา โดยสภาที่สองหรือวุฒิสภาจะทําหน้าที่เป็นสภาผู้แทนของรัฐ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา สภาผู้แทนของรัฐคือ สภาซีเนต (Senate) มาจากการเลือกตั้งทั้ง 50 รัฐ รัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน, ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สภาผู้แทนของรัฐคือ สภาบุนเดสรัต (Bundesrat) มาจากการเลือกตั้ง ทั้ง 16 มลรัฐ แต่ละมลรัฐมีจํานวนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กของมลรัฐ โดยกําหนดว่า มลรัฐหนึ่ง มีได้ระหว่าง 3 – 6 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั้ง 16 มลรัฐ รวมเป็น 68 คน

4 อํานาจของส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นจะเป็นไปตามหลักที่ว่า อํานาจของรัฐสมาชิกเป็น อํานาจหลัก ส่วนอํานาจของรัฐบาลกลางเป็นอํานาจที่กําหนดให้ ซึ่งถือว่าตรงข้ามกับรูปแบบรัฐเดียว

ตัวอย่างประเทศที่ใช้รูปแบบสหพันธรัฐในปัจจุบัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สมาพันธรัฐ สวิตเซอร์แลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แคนาดา มาเลเซีย อินเดีย เป็นต้น

การที่รัฐธรรมนูญของประเทศหนึ่งประเทศใดจะกําหนดให้ใช้รูปแบบรัฐเดียวหรือรูปแบบ สหพันธรัฐนั้น ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของภูมิประเทศที่มีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก และความพร้อมในการถูกเก็บภาษี เพื่อนํามาเลี้ยงตัวเองภายในท้องถิ่น และความรู้ทางด้านการเมืองการปกครองของประชาชนในประเทศนั้น ๆ

กรณีประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ ลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น 18 ฉบับ ซึ่งรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับกําหนดให้ใช้รูปแบบรัฐเป็นแบบรัฐเดียว (Unitary State) โดยบัญญัติว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรหนึ่งเดียวจะแบ่งแยกมิได้” ยกเว้นพระราชบัญญัติธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ที่มิได้กําหนดเรื่องรูปแบบของรัฐไว้ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญทุกฉบับยังกําหนดรูปแบบการปกครองไว้ว่า “ให้ใช้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” โดยรัฐธรรมนูญทุกฉบับห้ามเปลี่ยนแปลง แก้ไขรูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครองโดยเด็ดขาด

 

ข้อ 2 อธิบายหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาให้เข้าใจ กรณีประเทศไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันใช้รูปแบบของระบอบประชาธิปไตยในระบบใด

แนวคําตอบ (หน้า 48 – 50), (เอกสารหมายเลข P-2102 หน้า 9 – 12), (คําบรรยาย)

ระบอบการปกครองในปัจจุบัน มี 3 ระบอบ คือ

1 ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือระบอบราชาธิปไตย (Absolute Monarchy)

2 ระบอบอํานาจนิยม (Authoritarianism) หรือระบอบเผด็จการ (Dictatorship) โดยแบ่งเป็น เผด็จการฝ่ายซ้าย เรียกว่า ระบอบคอมมิวนิสต์ และเผด็จการฝ่ายขวา เรียกว่า ระบอบฟาสซิสต์ (ทหาร)

3 ระบอบประชาธิปไตย (Democracy)

ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะระบอบประชาธิปไตย

แนวคิดของระบอบประชาธิปไตย

1 ทฤษฎีอํานาจอธิปไตยของปวงชน (Popular Sovereignty) ของจอห์น ล็อค (John Locke)

2 ทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) ของรุสโซ (Jean Jacques Roussean)

คําว่า “ประชาธิปไตย” (Democracy) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คํา คือ คําว่า “Demos” แปลว่า ประชาชน (People) ราษฎร หรือพลเมืองกับคําว่า “Kratos, Kratien” แปลว่า ปกครอง (to Rule) หรืออํานาจ ดังนั้นความหมายของประชาธิปไตยจึงหมายถึง การปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตย โดยผ่านการเลือกตั้ง (Election) แบบอิสรเสรี เสมอภาค และลงคะแนนลับ

หลักการสําคัญพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีดังนี้

1 หลักอํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตย (อํานาจสูงสุด) เป็นของประชาชน การปกครองที่เป็นประชาธิปไตยจะต้องตั้งอยู่บนหลักการหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่ถือว่าอํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน โดยผ่านการเลือกตั้ง (Election) ลักษณะดังกล่าวนี้จะมีวิธีการปกครองที่แสดงออกให้เห็นว่าประชาชน สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ สามารถควบคุมและตรวจสอบการทํางานของรัฐบาลได้ ตลอดจนสามารถเปลี่ยนแปลง และถอดถอนรัฐบาลได้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ประชาชนสามารถเลือกตั้งประธานาธิบดี หรือเปลี่ยนแปลง ประธานาธิบดีได้ทุก 4 ปี หรือประชาชนญี่ปุ่นที่สามารถเลือกผู้แทนราษฎรเพื่อไปจัดตั้งรัฐบาลในเวลาไม่เกิน 4 ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าในหลักการอํานาจสูงสุดเป็นของประชาชนนี้ประชาชนต้องมี “อํานาจการตัดสินใจขั้นสุดท้าย” คือ ประชาชนอาจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางนิติบัญญัติและบริหารของรัฐ และการตัดสินใจของประชาชนถือว่าเป็นที่สิ้นสุดเด็ดขาด

2 หลักสิทธิ (Right) หน้าที่ (Duty) เสรีภาพ (Liberty) และความเสมอภาค (Equality)ของประชาชน

เป็นหลักการที่ถือว่ามนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพมาตั้งแต่เกิด และต่อมาถูกจํากัดโดยกฎหมายหรือ กฎเกณฑ์ของสังคมภายหลัง ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ยึดถือการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงได้มีกฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ เช่น การบัญญัติในรัฐธรรมนูญเรืองเสรีภาพในการแสดงออกไม่ว่าจะเป็น ด้านความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์โฆษณา การรวมกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมือง การเลือกตั้ง และการใช้สิทธิ ทางการเมือง ซึ่งในกรณีของสิทธิเสรีภาพนี้มีข้อสังเกตก็คือ เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยนั้นมิใช่เป็นเสรีภาพ ที่จะทําอะไรได้ทุกอย่างโดยไม่มีขอบเขต แต่เป็นเสรีภาพที่มีขอบเขตภายใต้กฎหมายที่บุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพ ของตนนั้นจะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นด้วย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นการจลาจล ซึ่งในหลักประกันสิทธิ เสรีภาพต่าง ๆ นี้จะรวมทั้งความเสมอภาคทางการเมือง เพราะเสรีภาพที่ประชาชนมีเท่า ๆ กันก็จะก่อให้เกิด ความเสมอภาคทางการเมือง คือ การที่แต่ละคนมีสิทธิและหน้าที่ที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมืองเท่า ๆ กัน โดยในระบอบประชาธิปไตยถือว่าแต่ละคนมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้ปกครอง หรือผู้แทน ประชาชนเท่ากันตามหลัก One Man One Vote และสําหรับหลักการนี้ยังจะต้องประกอบด้วย การที่ประชาชน จะต้องรู้จักหน้าที่ของพลเมืองในการดําเนินการต่าง ๆ ตามกฎหมายในระบอบประชาธิปไตยด้วย เช่น การมีหน้าที่ ในการเสียภาษีในอัตราที่เท่าเทียมกับคนอื่นซึ่งอยู่ในเกณฑ์รายได้และสถานภาพอื่นพอ ๆ กัน

3 หลักกฎหมายสูงสุด หรือหลักการปกครองโดยกฎหมาย หรือหลักนิติรัฐ หรือ หลักนิติธรรม (Rule of Law) การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะเป็นการปกครองที่ไม่ยึดตัวบุคคล แต่ยึดหลักการ เป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งหลักการอย่างหนึ่งของการปกครองระบอบนี้ก็คือ การยึดถือกฎหมายเป็นหลักสูงสุดในการปกครอง ที่ถือว่าประชาชนเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกคน หรือเรียกว่าเป็นการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติรัฐห อ หลักนิติธรรมที่ประชาชนทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ ซึ่งหลักการสูงสุดของกฎหมายนี้ ยังรวมไปถึงการที่ศาลหรือกระบวนการยุติธรรมมีความเป็นอิสระในการพิจารณาคดีต่าง ๆ อันแสดงให้เห็นถึงว่า ศาลสามารถจะเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้กับประชาชน หรือเป็นที่พึ่งของประชาชนภายในประเทศได้ นั่นคือ ในการตัดสินลงโทษจะใช้กระบวนการยุติธรรม มิใช่ตัดสินโดยบุคคลใดหรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ตลอดจนรวมถึงการ มีหลักกฎหมายที่มีการควบคุมมิให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วย โดยองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัด ต่อรัฐธรรมนูญนี้อาจจะเป็นองค์กรการเมือง ศาลยุติธรรมธรรมดาหรือศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษก็ได้ ทั้งนี้สุดแล้วแต่แนวความคิดเห็นและประเพณีนิยมทางการเมืองของแต่ละประเทศ เพื่อให้ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญซึ่งวางหลักแห่งกฎหมายและหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้รับการปฏิบัติและเกิดผลอย่างจริงจัง

4 หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) โดยคํานึงถึงเสียงข้างน้อย (Minority Right) หมายความว่า พรรคเสียงข้างมากทําหน้าที่เป็นผู้ปกครองหรือรัฐบาล และพรรคเสียงข้างน้อยทําหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ในระบอบประชาธิปไตยถือว่าฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านมีความสําคัญเท่ากัน เพราะต่างก็เป็นตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเช่นเดียวกัน และกลุ่มฝ่ายค้านก็สามารถเป็นรัฐบาลได้ในวันข้างหน้า นอกจากนี้คําว่า หลักเสียงข้างมากยังเป็นข้อยุติในปัญหาต่าง ๆ สําหรับระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย ดังนั้นการตัดสินใจทั้งหลาย ของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยจึงต้องใช้หลักการเสียงข้างมาก เพราะถือว่ามนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลอยู่ในตัว และเสียงการตัดสินใจโดยคนหมู่มากนั้นย่อมถูกต้องกว่าการตัดสินใจโดยคน ๆ เดียว แต่ในขณะเดียวกันการใช้ เสียงข้างมากก็จะคํานึงถึงเสียงข้างน้อยด้วย โดยการเคารพและไม่ละเมิดสิทธิของเสียงข้างน้อย รวมทั้งยังยอมรับให้ ฝ่ายเสียงข้างน้อยได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแสดงความต้องการของตนด้วย

5 หลักสันติวิธี เป็นหลักการที่เชื่อว่าพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยรู้จักใช้เหตุผล ไม่ทําอะไรตามอารมณ์และความรู้สึก และไม่ทําอะไรเอาแต่ใจตนเองโดยไม่คํานึงถึงคนอื่น นอกจากนี้ยังยอมรับว่า คนเราจะเหมือนกันไม่ได้ อาจมีการขัดแย้ง ต้องมีการเจรจา และประนีประนอม ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ยึดถือการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงดําเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ โดยสันติวิธีด้วยการไม่ใช้กําลังความรุนแรง เช่น การเจรจา การประนีประนอม การใช้กลไกการเลือกตั้ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในทุก ๆ กลุ่ม ป้องกันการสูญเสียเลือดเนื้อและบาดเจ็บล้มตาย

โดยสรุปแล้ว การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะเป็นการปกครองที่ถือหลักการว่าประชาชน เป็นเจ้าของอํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตยในการดําเนินการปกครองประเทศ โดยตั้งอยู่บนหลักการสําคัญพื้นฐาน อย่างน้อย 5 ประการดังกล่าว

การปกครองดังกล่าวนี้ได้มีวิธีการปกครองที่หลายประเทศนําไปกําหนดเป็นรูปแบบการปกครอง ของประเทศตน ซึ่งรูปแบบของระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ หรือ 3 ระบบ ได้แก่

1 ระบบรัฐสภา (Parliamentarianism/Parliamentary System) โดยมีประเทศอังกฤษเป็นแม่แบบ

2 ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบ

3 ระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา (Semi-Presidential and Semi-Parliamentary System) โดยมีประเทศฝรั่งเศสเป็นแม่แบบ

กรณีประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ ลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น 18 ฉบับ โดยรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 (ฉบับปัจจุบัน) คือ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ทั้งนี้รัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับกําหนดให้ใช้รูปแบบของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ

หมายเหตุ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 (ฉบับที่ 16) และรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 18) เป็นประชาธิปไตยแบบสวิตเซอร์แลนด์ คือ เป็นประชาธิปไตยการเมืองภาคพลเมือง เช่น มีประชามติหรือมติมหาชน (Referendum) ส่วนฉบับอื่น ๆ นั้น บางฉบับอาจมีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยแบบไทย ๆ หรือกึ่งเผด็จการ เรียกว่า Authoritarian Democracy

 

ข้อ 3 อธิบายศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ต่อไปนี้

การศึกษาวิชาหลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองนั้น มีศัพท์ทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้ที่ นักศึกษาควรทราบตามหลักวิชารัฐศาสตร์ ดังต่อไปนี้

3.1 Civil War

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Civil War สงครามกลางเมือง) หมายถึง สงครามที่เกิดจากการต่อสู้ด้วยกําลังอาวุธของกลุ่มต่าง ๆ ในรัฐเดียวกันที่มีความคิดเห็น ค่านิยม ความเชื่อ ศาสนา หรือเชื้อชาติต่างกัน หรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งกัน

ตัวอย่างสงครามกลางเมืองที่สําคัญ เช่น

– สงครามกลางเมืองกรีก (431 – 404 B.C.) ระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา

– สงครามกลางเมืองอเมริกา (ค.ศ. 1861 – 1865) ระหว่างรัฐเหนือกับรัฐใต้

– สงครามกลางเมืองสเปน (ค.ศ.1936 1939) ระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปนที่ 2

ฯลฯ

3.2 Uprising

แนวคําตอบ (หน้า 97), (เอกสารหมายเลข P-2102 หน้า 25), (คําบรรยาย)

Uprising (การจลาจลทางการเมือง) หมายถึง การที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งลุกฮือขึ้นมาเพื่อต่อต้าน (Standing up against) ผู้ปกครอง/ผู้ใช้อํานาจรัฐ หรือรัฐธรรมนูญในเวลานั้น โดยไม่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามา เกี่ยวข้องแต่เป็นเรื่องของอุดมการณ์เท่านั้น ซึ่งจะนําโดยกลุ่มปัญญาชน นิสิต นักศึกษา และนักวิชาการ จากนั้น ประชาชนบางกลุ่มก็จะเข้ามาร่วมสนับสนุนในอุดมการณ์นั้น และเมื่อรัฐบาลยอมทําตามอุดมการณ์ที่กลุ่มต้องการ แล้วก็จะยุติการจลาจลลง

ตัวอย่างเหตุการณ์การจลาจลทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมี 2 ครั้ง คือ

– เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งเรียกว่า “วันมหาวิปโยค”

– เหตุการณ์วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ในสมัยพลเอกสุจินดา คราประยูรเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกว่า “พฤษภาทมิฬ”

 

3.3 Coup d’e tat

แนวคําตอบ (หน้า 64), (เอกสารหมายเลข P-2102 หน้า 25), (คําบรรยาย)

Coup d’e tat (การทํารัฐประหาร) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ โดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งปราศจากการมีส่วนร่วมจากประชาชน เป็นการเปลี่ยนมือผู้ใช้อํานาจรัฐหรือผู้ใช้อํานาจปกครองหรือเปลี่ยน ตัวบุคคลเท่านั้น แต่ระบบเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมืองยังคงเหมือนเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง จึงถือว่าขาดหลักความชอบธรรม (Legitimacy)

จะเห็นได้ว่าประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยและประเทศด้อยพัฒนา ผู้นําของประเทศ นิยมแย่งชิงอํานาจกันเองด้วยวิธีการทํารัฐประหาร โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย ผู้ยึดอํานาจมักเป็นทหารและภายหลังยึดอํานาจเสร็จแล้ว ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมือง ก็ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ใช้อํานาจรัฐเท่านั้น

กรณีประเทศไทย นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า มีการยึดอํานาจรัฐด้วยกําลังบ่อยครั้ง ซึ่งมีทั้งกระทําสําเร็จและไม่สําเร็จ การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จของไทยเกือบ ทุกครั้งเรียกว่า “รัฐประหาร” เพราะเป็นการแย่งชิงอํานาจกันเองในหมู่ผู้ปกครอง แต่ผู้ยึดอํานาจจะเรียกตัวเองว่า “คณะปฏิวัติ”

สําหรับการทํารัฐประหารครั้งล่าสุดของไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายใต้การนําของ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งได้ทําการยึดอํานาจจากรัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540

3.4 Revolution

แนวคําตอบ (หน้า 64), (เอกสารหมายเลข P-2102 หน้า 24 – 25), (คําบรรยาย)

Revolution (การปฏิวัติ) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสังคมแบบใหม่ สร้างกฎหมายใหม่ และเพื่อสนองอุดมการณ์แบบใหม่ ซึ่งมีหลักการที่สั้นที่สุดก็คือ “สิ่งที่เคยถูกต้องและดีงามในอดีต หรือสิ่งที่ถูกต้องในวันนี้ ไม่จําเป็นเสมอไปที่จะต้องเป็นหลักสัจธรรมสําหรับปัจจุบันหรืออนาคต” แต่การปฏิวัติที่จะเกิดความชอบธรรม (Legitimacy) จะต้องมีประชาชนเข้าร่วมอยู่ด้วยพร้อมกับผู้นํา

ตัวอย่างของการปฏิวัติใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกที่อาจกล่าวได้ว่ามีความชอบธรรม ได้แก่

– การปฏิวัติในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789

– การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ. 1917

– การปฏิวัติในจีน ค.ศ. 1949

กรณีประเทศไทย การยึดอํานาจรัฐที่พอจะอนุโลมให้เรียกว่า “การปฏิวัติ” นั้นมีเพียงครั้งเดียว คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพราะเป็นเหตุการณ์ที่คณะราษฎรได้ทําการ ยึดอํานาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองใหม่จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ในระบบรัฐสภา แบบอังกฤษ แต่ก็ไม่ได้มีประชาชนเข้าร่วมด้วย

สําหรับเหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นี้ ไม่ใช่การทํารัฐประหาร และก็ไม่ใช่การปฏิวัติโดยสิ้นเชิง แต่ที่ถูกต้องทางรัฐศาสตร์ควรเรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475” ซึ่ง 1 ในคณะราษฎร หรือผู้ก่อการคือ นายปรีดี พนมยงค์ เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “การอภิวัตน์การปกครอง พ.ศ. 2475”

3.5 Amendment

แนวคําตอบ (หน้า 30 – 31), (คําบรรยาย)

Amendment (การแก้ไขรัฐธรรมนูญ) หมายถึง เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้ใช้บังคับไปในระยะเวลานานพอสมควรแล้ว ก็ควรจะมีการแก้ไข หมายความว่า อาจจะยกเลิกบางมาตรา หรือใส่เพิ่มเติมเข้าไป ในมาตราที่ไม่เคยมีก็ได้โดยหลักการทั่วไปมีอยู่ว่าอาจแก้ไขบางส่วน หรือแก้ไขทั้งฉบับก็ย่อมทําได้ นั่นคือ สามารถแก้ไขกี่มาตราก็ได้ ภายใต้เงื่อนไขของเวลาที่กําหนด ทั้งนี้เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีความทันสมัย เหมาะสมกับสภาพ ความเป็นจริงของบ้านเมือง หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศและของโลกในเวลานั้น

บางคนโดยทั่วไปแล้ว รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเกือบทุกประเทศในโลกจะมีหมวดว่าด้วยการแก้ไข บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

กรณีประเทศไทย รัฐธรรมนูญของไทยจะมีการจํากัดอํานาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังจะเห็น ได้จากรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับที่ห้ามแก้ไขในเรื่องรูปแบบรัฐซึ่งเป็นแบบรัฐเดียว (Unitary State) และรูปแบบ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 ยังได้กําหนดเงื่อนไขของเวลาการห้ามแก้ไขก่อน 5 ปี หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

อนึ่ง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีปรากฏภายใต้รัฐธรรมนูญในอดีตทั้ง 17 ฉบับ เกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การบัญญัติให้ประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อขอเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดสิทธิและเสรีภาพ นอกเหนือจากญัตติการขอแก้ไขจะมาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (สมาชิกรัฐสภา) จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา และเมื่อผ่าน ขั้นตอนนี้แล้ว ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในการพิจารณา แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ ดังนี้

วาระที่ 1 เรียกว่าขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

วาระที่ 2 เรียกว่าขั้นพิจารณาเรียงลําดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอแก้ไขด้วย และการออกเสียงลงคะแนนในวาระนี้ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ

วาระที่ 3 เรียกว่าขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

ทั้งนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ของไทยในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งได้มีการแก้ไขในเรื่องของ จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการทําหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ

Advertisement