การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 1101  การเมืองและการปกครองไทย

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 5. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) Rule by Law

(2) Abraham Lincoln

(3) Compromise

(4) Public Spirit

(5) Indirect Election

1 ประชาชนเป็นเจ้าของรัฐบาล

ตอบ 2 หน้า 16 – 17 Abraham Lincoln อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ให้คํานิยามไว้ว่า “รัฐบาลประชาธิปไตย คือ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” ทั้งนี้ รัฐบาลของประชาชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของรัฐบาล, รัฐบาลโดยประชาชน หมายถึง ประชาชนมีสิทธิเป็นผู้ปกครองและรัฐบาลเพื่อประชาชน หมายถึง รัฐบาลต้องมีจุดประสงค์เพื่อความผาสุกของประชาชน

2 การรู้จักประนีประนอม

ตอบ 3 หน้า 20 – 22 วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยมีลักษณะดังนี้

1 เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล

2 การรู้จักประนีประนอม (Compromise)

3 มีระเบียบวินัย

4 มีความสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม (Public Spirit) โดยคนในสังคมมีความรู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของประเทศและประเทศเป็นของคนทุกคน

3 ประเทศเป็นของทุกคน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาจัดเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม(Indirect Election) ด้วยการใช้ระบบการลงคะแนนเป็น 2 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นแรกผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะทําการเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ขั้นต่อมาคณะผู้เลือกตั้งจึงจะทําการเลือกตั้งประธานาธิบดี

5 การปกครองแบบประชาธิปไตย

ตอบ 1 หน้า 16 การปกครองแบบประชาธิปไตย คือ รูปการปกครองที่ยึดถืออํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน โดยประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้นจําเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เพราะประชาธิปไตยคือการปกครองโดยกฎหมาย (Rule by Law)

ข้อ 6. – 10. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) Politics

(2) Authority

(3) Aristotle

(4) ราชาธิปไตย

(5) ทุชนาธิปไตย

6 การแข่งขันเพื่อแสวงหาอํานาจ

ตอบ 1 หน้า 1 การเมือง (Politics) หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการแข่งขันเพื่อการแสวงหาอํานาจการใช้อํานาจ และผลประโยชน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งสังคมหรือส่วนใหญ่ของสังคม

7 การเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

ตอบ 4 หน้า 3, 3 – 6 (S) ราชาธิปไตย (Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบเทวสิทธิ์ ([Divine Right) ในสมัยอยุธยา ซึ่งอาจเรียกว่า เป็นการปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ที่อํานาจอธิปไตยจะอยู่ที่กษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว อันเป็นรูปแบบการปกครองของไทยในสมัยรัชกาลที่ 1 – 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งการปกครองแบบราชาปราชญ์ (Philosopher King) ตามแนวคิดของเพลโต

8 อํานาจของข้าราชการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อํานาจหน้าที่ (Authority) เป็นอํานาจที่เกิดจากตําแหน่งหน้าที่อย่างเป็นทางการตามสายงานในการบริหาร หรือมีสิทธิตามกฎหมายโดยชอบธรรมที่จะออกคําสั่งและกําหนดให้บุคคลปฏิบัติตาม เช่น อํานาจของข้าราชการตามสายการบังคับบัญชา ฯลฯ

9 ปรมาจารย์ทางทฤษฎีการเมืองชาวกรีก

ตอบ 3 หน้า 2, 17 (S) อริสโตเติล (Aristotle) เป็นปรมาจารย์ทางทฤษฎีการเมืองชาวกรีก และถือเป็นบิดาวิชาการปกครองเปรียบเทียบ ได้ใช้เกณฑ์ในการแบ่งประเภทรูปแบบการปกครองคือ จํานวนผู้มีอํานาจ (ผู้ปกครอง) และจุดมุ่งหมายในการปกครอง

10 ทรราช

ตอบ 5 หน้า 2 – 3, 3 – 4 (S) ทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) คือ ระบอบการปกครองที่อํานาจอธิปไตยอยู่ที่คน ๆ เดียว โดยมีจุดมุ่งหมายในการปกครองเพื่อผู้ปกครองหรือเพื่อหา ผลประโยชน์ให้กับตนเอง ดังนั้นจึงเป็นรูปแบบการปกครองโดยเผด็จการที่ฉ้อฉลหรือกดขี่ข่มเหงประชาชน อันเป็นการปกครองแบบ “ทํานาบนหลังคน” หรือ “ขูดเลือดขูดเนื้อประชาชน”

ข้อ 11. – 15. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) สิทธิ

(2) เสรีภาพ

(3) ความเสมอภาค

(4) หลักเหตุผลนิยม

(5) Public Spirit

11 ความสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

12 เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้ที่สามารถพูดจากันรู้เรื่อง

ตอบ 4 หน้า 20 – 21, 23 (S), (คําบรรยาย) หลักการแห่งเหตุผล/หลักเหตุผลนิยม (Rationalism)คือ การยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนต่างก็มีเหตุผลของการกระทําใด ๆ เพราะประชาธิปไตยเชื่อว่า มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผลสามารถพูดจากันรู้เรื่อง โดยประชาธิปไตยจะดําเนินไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อ มีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกต้องที่แท้จริง เช่น การยอมรับในข้อสรุปที่ได้จากการอภิปรายของสมาชิก เป็นต้น

13 ความสามารถที่จะกระทําการใด ๆ ได้ดังใจโดยไม่ละเมิดกฎหมาย

ตอบ 2 หน้า 12 เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ ได้ตามความปรารถนาแต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ ต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น

14 การบังคับใช้กฎหมาย Double Standard จะต้องไม่มี

ตอบ 3 หน้า 14 – 15, (คําบรรยาย) ความเสมอภาค (Equality) คือ การได้รับการปฏิบัติจากรัฐและกฎหมายโดยปราศจากความลําเอียงหรือเลือกปฏิบัติ โดยในระบอบประชาธิปไตยมีหลัก แห่งความเสมอภาค 5 ประการ คือ ความเสมอภาคทางการเมือง ความเสมอภาคทางกฎหมาย (คือ เมื่อกระทําผิดจะต้องใช้กฎหมายและการลงโทษอย่างเดียวกัน จะต้องไม่มีการบังคับใช้ กฎหมายแบบ 2 มาตรฐานหรือ Double Standard) ความเสมอภาคในโอกาส ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ และความเสมอภาคทางสังคม

15 เป็นอํานาจอันชอบธรรมในการกระทําใด ๆ ของสมาชิกของสังคม

ตอบ 1 หน้า 12 – 13 สิทธิ (Right) คือ อํานาจอันชอบธรรมหรือความสามารถหรือโอกาสที่จะกระทําหรือไม่กระทําการใด ๆ ได้โดยชอบธรรม สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ โดยธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมาย ดังนั้นอํานาจอื่นหรือแม้กระทั่งอํานาจของรัฐจะก้าวก่ายสิทธิของบุคคลไม่ได้

ข้อ 16. – 20. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) อํานาจนิยม

(2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์

(3) คอมมิวนิสต์

(4) สังคมนิยม

(5) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

16 ลงโทษรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืน

ตอบ 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) คือ การที่รัฐบาลใช้อํานาจควบคุมประชาชนอย่างเคร่งครัดและสิ้นเชิงในทุกด้าน แทบจะไม่มีเสรีภาพใด ๆ เลยในการกระทําตามใจปรารถนา โดยจะลงโทษอย่างรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืน

17 เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์

ตอบ 2 หน้า 3, 25 สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy คือ ระบอบการปกครองที่อํานาจอธิปไตยหรืออํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศอยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว

18 ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐ รัฐบ่งให้ประชาชนทุกคนกินและใช้เท่า ๆ กัน

ตอบ 3 หน้า 8, (คําบรรยาย) คอมมิวนิสต์ (Communism) คือ ลัทธิที่ต้องการให้รัฐเข้าถือกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือการผลิตทั้งหมด รวมทั้งการจัดระเบียบในการดําเนินชีวิตให้กับประชาชน โดยทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐ รัฐแบ่งให้ประชาชนทุกคนกินและใช้เท่า ๆ กัน

19 ให้ประชาชนมีทรัพย์สินเป็นของตนบ้าง

ตอบ 4 หน้า 8, (คําบรรยาย) สังคมนิยม (Socialism) คือ ลัทธิที่รัฐจะเข้าควบคุมด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่จะยินยอมให้ประชาชนมีทรัพย์สินเป็นของตนได้บ้าง

20 รัฐคุมด้านการเมืองเป็นหลัก

ตอบ 1 หน้า 6, (คําบรรยาย) อํานาจนิยม (Authoritarianism) คือ การที่รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนพอสมควร โดยเฉพาะเสรีภาพทางด้านสังคมและการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ แต่รัฐจะเข้าควบคุมด้านการเมืองเป็นหลัก

21 สํานักนายกรัฐมนตรี

(1) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

(2) จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ

(3) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาฯ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 371, 373 สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งการจัดตั้งหรือยุบส่วนราชการเหล่านี้ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ โดยสํานักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาฯ

22 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทําหน้าที่

(1) รัฐสภา

(2) สภาผู้แทนราษฎร

(3) วุฒิสภา

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 6 กําหนดให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกิน 220 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และมีอายุไม่ต่ํากว่า 40 ปี ตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

23 ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ

(1) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(2) นายอลงกรณ์ พลบุตร

(3) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(4) นายพีระศักดิ์ พอจิต

(5) ร้อยเอกทินพันธ์ นาคะตะ

ตอบ 5 (ข่าว) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คน โดยมีร้อยเอกทินพันธ์ นาคะตะ เป็นประธาน มีนายอลงกรณ์ พลบุตร และนางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณเป็นรองประธานคนที่ 1 และ 2 ตามลําดับ

24 ใครเป็นประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับกําลังจะประกาศใช้

(1) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(2) นายชาติชาย ณ เชียงใหม่

(3) นายพีระศักดิ์ พอจิต

(4) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

(5) นายมีชัย ฤชุพันธุ์

ตอบ 5 (ข่าว) ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับกําลังจะประกาศใช้ (6 เมษายน 2560) คือนายมีชัย ฤชุพันธุ์

25 ข้าราชการการเมือง

(1) เป็นฝ่ายกําหนดนโยบาย

(2) ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง

(3) ไม่มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 364 365 ข้าราชการการเมือง คือ บุคคลซึ่งรับราชการในตําแหน่งที่รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบาย เป็นฝ่ายกําหนดนโยบายในการบริหารประเทศหรือนโยบายสาธารณะ และคอยควบคุมฝ่ายข้าราชการประจําให้ปฏิบัติตามนโยบายที่วางไว้ โดยข้าราชการการเมือง เข้าดํารงตําแหน่งตามวิถีทางของการเมืองหรือเหตุผลทางการเมือง และออกจากตําแหน่งตาม วาระหรือมีวาระในการดํารงตําแหน่ง ทั้งนี้ข้าราชการการเมืองส่วนใหญ่กฎหมายไม่ได้กําหนด ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง มีเพียงบางตําแหน่งเท่านั้นที่จะต้องสังกัดพรรคการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี (ต้องมาจาก ส.ส. ที่ต้องสังกัดพรรคการเมือง) ฯลฯ

26 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) กฎกระทรวงมหาดไทย

(5) ประกาศกระทรวงมหาดไทย

ตอบ 1 หน้า 402, 409 กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้

1 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

2 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตอําเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

27 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการใดในการจัดการปกครอง

(1) รวมอํานาจ

(2) แบ่งอํานาจ

(3) กระจายอํานาจ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 359 – 360, 371, 401, 433 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1 ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอํานาจปกครอง

2 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอํานาจปกครอง

3 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอํานาจปกครอง

28 หน่วยการปกครองใดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค

(1) กรุงเทพมหานคร

(2) เมืองพัทยา

(3) จังหวัดภูเก็ต

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 402 กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคไว้ 2 ระดับ คือ จังหวัด และอําเภอ

29 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจํานวนกี่คน

(1) 1 คน

(2) 2 คน

(3) ไม่เกิน 3 คน

(4) ไม่เกิน 4 คน

(5) ไม่เกิน 5 คน

ตอบ 2 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 10 กําหนดให้ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธาน สนช. 1 คน และเป็นรองประธาน สนช. ไม่เกิน 2 คน ตามมติของ สนช.

30 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ

(1) ประธานวุฒิสภา

(2) ประธานรัฐสภา

(3) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(4) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(5) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ตอบ 4 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 19 วรรค 4 กําหนดให้ การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

31 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนปัจจุบัน ได้แก่

(1) นายอําพล กิตติอําพล

(2) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(3) นายเทียนฉาย กระตินันทน์

(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(5) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

ตอบ 4 (ข่าว) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 1 และนายพีรศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 2

32 ระบบอุปถัมภ์ในการรับบุคคลเข้าทํางานในวงราชการ อาจกล่าวได้ว่ายึดหลักการที่สําคัญใด

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) นิยมรับราชการ

(3) ความไว้วางใจ

(4) ประเพณีวัฒนธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 363, (คําบรรยาย) ถึงแม้ว่าการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการจะใช้หลักการตามระบบคุณธรรม (Merit System) คือ ยึดถือความรู้ความสามารถ โดยกําหนดเงินเดือนตาม ความสามารถและความรับผิดชอบ แต่ในทางปฏิบัติ การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการหรือ การให้ความดีความชอบนั้น ยังมีไม่น้อยที่เป็นไปตามระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) คือ ยังมีการเล่นพรรคเล่นพวกกันอยู่ แต่อาจกล่าวอ้างได้ว่ายึดถือหลักการความไว้วางใจ

33 นายอําเภอ

(1) สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

(2) มีฐานะสูงกว่าหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ในอําเภอ

(3) เป็นตําแหน่งเท่ากับปลัดเทศบาล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 409 นายอําเภอเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอําเภอโดยมีปลัดอําเภอและหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ในอําเภอนั้นเป็นผู้ช่วยเหลือนายอําเภอ

34 ในระบบรัฐสภาของไทยเท่าที่ผ่านมา ผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ได้แก่

(1) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(2) ประธานรัฐสภา

(3) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(4) นายกรัฐมนตรี

(5) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ตอบ 4 หน้า 163 – 165, (คําบรรยาย) ในระบบรัฐสภาไทยเท่าที่ผ่านมานั้น โดยปกติผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ประธานรัฐสภา (มีรัฐธรรมนูญเพียง 3 ฉบับ หลังสุดเท่านั้นที่กําหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รัฐธรรมนูญฯ 2534, 2540 และ 2550) ส่วนผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี ได้แก่ นายกรัฐมนตรี

35 ข้อใดเป็นหลักการสําคัญของการปกครองท้องถิ่น

(1) เป็นการปกครองชุมชนหนึ่งชุมชนใดโดยเฉพาะ

(2) มีหน่วยการปกครองมีสถานะเป็นนิติบุคคล

(3) อยู่ในกํากับของรัฐบาลกลาง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 433 – 435, (คําบรรยาย) การปกครองท้องถิ่นโดยทั่วไปมีลักษณะหรือหลักการสําคัญ ดังนี้

1 เป็นการปกครองชุมชนหรือท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งของประเทศ

2 มีองค์การหรือหน่วยการปกครองที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแยกไปต่างหากจากรัฐบาลกลาง โดยมีรายได้เป็นของตนเอง และมีอํานาจในการจัดเก็บภาษี 4 ประเภท คือ ภาษีอากรฆ่าสัตว์ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่

3 มีการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ดําเนินงาน (ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ)

4 มีอิสระในการดําเนินกิจการของท้องถิ่น (ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนด และอยู่ในกํากับดูแลหรือการควบคุมของรัฐบาลกลาง)

36 กรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎร เท่าที่ผ่านมา

(1) ตั้งตามสัดส่วนของจํานวน ส.ส. ของแต่ละพรรค

(2) บุคคลภายนอกเป็นกรรมาธิการสามัญได้

(3) เป็นการตั้งขึ้นมาปฏิบัติงานเฉพาะกิจเท่านั้น

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 198 – 199, (คําบรรยาย) กรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎร ถือเป็นกรรมาธิการถาวรประจําสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยบุคคลที่เป็น ส.ส. เท่านั้น ไม่สามารถตั้งบุคคลภายนอก เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการได้ โดยจะต้องตั้งให้มีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับสัดส่วนจํานวน ส.ส. ของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ส่วนประธานของแต่ละคณะก็จะมีจํานวนตามสัดส่วนจํานวน ส.ส. ของแต่ละพรรคทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน

37 เกี่ยวกับพรรคการเมืองไทย ระบบหลายพรรคที่ผ่านมาทําให้

(1) เกิดรัฐบาลผสม

(2) รัฐบาลมีเสถียรภาพอย่างมาก

(3) แต่ละพรรคมุ่งดําเนินบทบาทเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสําคัญ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 299 ระบบหลายพรรคในบรรยากาศทางการเมืองไทยที่ผ่านมาทําให้

1 เกิดรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคใดมีเสียงข้างมากเด็ดขาดพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว

2 แต่ละพรรคมุ่งดําเนินบทบาทเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มเป็นสําคัญมากกว่าส่วนรวม 3 รัฐบาลขาดเสถียรภาพและต้องล้มบ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการขัดแย้งขึ้นระหว่างสมาชิกของพรรคต่าง ๆ ที่ร่วมรัฐบาล

38 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

(1) ปกติมีได้จํานวนไม่เกิน 2 คน

(2) มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

(3) อายุเกิน 60 ปีก็เป็นได้

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 423 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมาจากการคัดเลือกของผู้ใหญ่บ้านและกํานันแห่งท้องที่นั้น มีอายุไม่เกิน 60 ปี (เช่นเดียวกับผู้ใหญ่บ้าน) ปกติจะมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองได้จํานวนไม่เกิน 2 คน แต่ถ้าจําเป็นต้องมีมากกว่านี้หรือจําเป็นต้องมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบต้องขออนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย

39 ข้าราชการการเมืองแตกต่างจากข้าราชการประจําในสาระสําคัญ

(1) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(2) ต้องสังกัดพรรคการเมือง

(3) การมีสัญชาติไทยโดยการเกิดในประเทศไทย

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

40 จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของวัดธรรมกาย

(1) นนทบุรี

(2) ปทุมธานี

(3) กรุงเทพมหานคร

(4) สระบุรี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (ข่าว) วัดธรรมกาย เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ 20 ก.พ. 2513 ตั้งอยู่ที่ตําบลคลองสาม อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

41 การปกครองลักษณะใดในสมัยสุโขทัยต่อไปนี้ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับการปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยา

(1) ระบบศักดินา

(2) อยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมและมอญ

(3) การเผชิญหน้ากับชาวยุโรปและตะวันตก

(4) การสืบสันตติวงศ์

(5) การปกครองแบบพ่อปกครองลูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การปกครองที่มีลักษณะเช่นเดียวกันทั้งในสมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ คือ การสืบราชสันตติวงศ์ โดยในกฎมณเฑียรบาลได้ระบุลําดับรัชทายาท ที่จะสืบราชบัลลังก์ไว้

42 สมัยสุโขทัยมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือรวมถึงทางด้านการค้าขาย “ระหว่างประเทศ” ประเทศใด

(1) จีน มลายู ลังกา มอญ

(2) อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว

(3) จีน อินเดีย มลายู

(4) อินเดีย ลาว จีน เขมร

(5) เปอร์เซีย อินเดีย พม่า มลายู

ตอบ 1 หน้า 28 ในสมัยสุโขทัยนอกจากจะมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือแล้วก็ยังมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ เช่น จีน มลายู ลังกา และมอญ โดยมีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษี “จกอบ” หรือภาษีศุลกากร เพื่อต้องการให้พ่อค้ามีความสนใจในการทําการค้า

43 ในสมัยกรุงสุโขทัยได้รับความเชื่อและผสมกันระหว่างลัทธิใด

(1) ความเชื่อทางคติพราหมณ์ ฮินดู คริสต์ อิสลาม

(2) ความเชื่อในเรื่องภูตผีปีศาจ วิญญาณ คติพราหมณ์และพุทธ

(3) ความเชื่อในเรื่องภูตผีปีศาจ เวทมนตร์และคาถา

(4) ความเชื่อระหว่างคติพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ

(5) ความเชื่อในคริสต์ศาสนา พุทร อิสลาม

ตอบ 2 หน้า 28 ในสมัยสุโขทัยระบบความเชื่อจะเป็นรูปผสมระหว่างลัทธิพราหมณ์ รวมกับความเชื่อถือในภูตผีปีศาจ วิญญาณ และความเชื่อตามคติแห่งพุทธศาสนา

44 “ราชวงศ์อู่ทอง” มีความสําคัญในฐานะผู้ปกครองของไทยในสมัยใด

(1) อาณาจักรทราวดี

(2) อาณาจักรสุโขทัย

(3) อาณาจักรศรีอยุธยา

(4) อาณาจักรธนบุรี

(5) อาณาจักรรัตนโกสินทร์

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันปกครอง 5 ราชวงศ์ ดังนี้

1 ราชวงศ์อู่ทอง

2 ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

3 ราชวงศ์สุโขทัย

4 ราชวงศ์ปราสาททอง

5 ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

45 การปกครองแบบหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัย สั่งการอยู่ที่ใด

(1) เมืองเอก

(2) เมืองหลวง

(3) เมืองชั้นใน

(4) เมืองชั้นนอก

(5) เมืองประเทศราช

ตอบ 2 หน้า 26 การปกครองแบบหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยนั้น ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง และแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 หัวเมืองชั้นใน 2 หัวเมืองชั้นนอก 3 หัวเมืองประเทศราช

46 การถวายฎีกาหรือร้องทุกข์ของราษฎรโดยตรงกับพระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ ของไทยในสมัยใด

(1) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(2) สมัยกรุงธนบุรี

(3) สมัยกรุงศรีอยุธยา

(4) สมัยสุโขทัย

(5) ก่อนสุโขทัย

ตอบ 4 หน้า 27 ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีสิทธิถวายฎีกาหรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์หรือพ่อขุน โดยในสมัยพ่อขุนรามคําแหงได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าใครต้องการถวายฎีกาก็ไปสั่นกระดิ่ง แล้วพระองค์ก็จะออกมาไต่สวนและชําระความให้

47 ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 – 2031) ได้มีการปรับปรุงแยกระบบบริหารขึ้นใหม่ โดยแยกการบริหารราชการออกเป็นฝ่ายต่างๆ คือ

(1) นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ

(2) สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

(3) ทหารบก เรือ อากาศ

(4) กษัตริย์ ขุนนาง ไพร่

(5) ทหาร และพลเรือน

ตอบ 5 หน้า 29 ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 – 2031) ได้ปรับปรุงระบบบริหารขึ้นใหม่โดยแยกการบริหารราชการออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ด้านพลเรือน (บริหารกิจการเกี่ยวกับเมือง วัง คลัง และนา) ส่วนสมุหกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบด้านการทหารและการป้องกันประเทศ

48 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงให้มีการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่งคือ

(1) สมุหกลาโหมและสมุหทัย

(2) สมุหทัยและสมุหกระทรวงกลาโหม

(3) สมุห์บัญชีและสมุหมาตรา

(4) สมุหนายกและสมุหกลาโหม

(5) สมุหเสนาบดีและสมุหนายก

ตอบ 4 หน้า 33 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูประบบการปกครองด้วยการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมภ์ โดยแบ่งการบริหารราชการ ออกเป็น 12 กระทรวง เช่น เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตํารวจและราชทัณฑ์,ยุติธรรม จัดการเรื่องชําระคดีและการศาล, ยุทธนาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องการทหาร ฯลฯ

49 เมืองหรือนครบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 จัดการเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) ตํารวจและราชทัณฑ์

(2) ตํารวจและทหาร

(3) ผู้ที่ทําการกู้เอกราชจากพระเจ้าบุเรงนอง

(4) พลเรือนและทหาร

(5) ทหารเรือและทหารอากาศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

50 สงครามระหว่างไทยกับพม่า ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและได้ยุติลงตรงกับสมัยรัชกาลที่เท่าใด ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(1) สมัยรัชกาลที่ 1

(2) สมัยรัชกาลที่ 2

(3) สมัยรัชกาลที่ 3

(4) สมัยรัชกาลที่ 4

(5) สมัยรัชกาลที่ 5

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างไทย (สยาม) กับพม่าในอดีตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นไปในด้านสงคราม โดยไทยกับพม่าทําสงครามกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ แต่สงครามได้ยุติหรือสิ้นสุดลงในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากพม่าแพ้สงครามและตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

51 ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1993) ได้มีการตรากฎมณเฑียรบาลครั้งแรกในเรื่องใด

(1) ฐานันดรศักดิ์ของพระราชวงศ์ มเหสี โอรส ธิดา

(2) ฐานันดรศักดิ์ของพระราชวงศ์

(3) ฐานันดรศักดิ์ของพระราชวงศ์ ขุนนาง ไพร่ ทาส

(4) ฐานันดรศักดิ์ของพระราชวงศ์ ไพร่ ทาส

(5) ฐานันดรศักดิ์ของพระราชวงศ์ ไพร่ ทาส นางกํานัล

ตอบ 1 หน้า 30 ในปี พ.ศ. 1993 พระบรมไตรโลกนาถได้ทรงตรากฎมณเฑียรบาลขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อกําหนดลําดับฐานันดรศักดิ์ของพระราชวงศ์ มเหสี ตลอดถึงโอรสและธิดาอันกําเนิดจากพระชายาต่าง ๆ นอกจากนี้กฎหมายว่าด้วยศักดินาก็ถือกําเนิดขึ้นในรัชสมัยนี้เช่นกัน

52 “กบฏผู้มีบุญ” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคใดของไทย

(1) ภาคเหนือ

(2) ภาคอีสาน

(3) ภาคใต้

(4) ภาคตะวันออก

(5) ภาคกลาง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กบฏที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 – 2453) ได้แก่

1 กบฏ ร.ศ. 102 (พ.ศ. 2426)

2 กบฎผีบุญหรือกบฏผู้มีบุญ (ทางภาคอีสาน) พ.ศ. 2444

3 กบฏเงี่ยวเมืองแพร่ (ทางภาคเหนือ) พ.ศ. 2445

4 กบฎแขก (ทางภาคใต้) พ.ศ. 2445

53 เสนาบดีกระทรวงทุกกระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีฐานะเท่าเทียมกัน และเมื่อมีการประชุมร่วมกัน เรียกว่าอย่างไร

(1) เสนาบดีกระทรวง

(2) เสนาบดีทบวง

(3) เสนาบดีสภา

(4) เสนาบดีรัฐสภา

(5) เสนาบดีกระทรวงรัฐสภา

ตอบ 3 หน้า 33, (ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ) เสนาบดีกระทรวงทุกกระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5มีฐานะเท่าเทียมกันและประชุมร่วมกันเป็น “เสนาบดีสภา” (Council of State) ทําหน้าที่เป็น ที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่กษัตริย์มอบหมาย เพราะอํานาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของกษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

54 วันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีความสําคัญต่อประเทศไทยอย่างไร

(1) วันประกาศเลิกทาส

(2) วันที่ประเทศไทยได้เอกราช

(3) วันประกาศใช้กฎอัยการศึก

(4) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกที่ไม่มีคําว่า “ชั่วคราว”

(5) วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 41 การปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งสําคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย เพราะเป็นการล้มเลิกระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย

55 การให้สมญานามว่า “รัฐบาลหอย” ควรตรงกับนายกรัฐมนตรีท่านใด

(1) นายบรรหาร ศิลปอาชา

(2) นายชวน หลีกภัย

(3) นายควง อภัยวงศ์

(4) นายทวี บุณยเกตุ

(5) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในแต่ละยุคมักจะถูกตั้งฉายาตามบุคลิกหรือตามผลงานของผู้นําแต่ละคน เช่น จอมพล “ผ้าขาวม้าแดง” หมายถึง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, “รัฐบาลหอย” หมายถึง รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร, “รัฐบาลลืมเปลือกหอย” หมายถึง รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน, “รัฐบาลชิงแก่” หมายถึง รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ฯลฯ

56 คําใดในภาษาอังกฤษต่อไปนี้ที่ตรงกับความหมายของ “การปฏิวัติ”

(1) Reform

(2) Revolution

(3) Reconstruction

(4) Coup d’etat

(5) Reengineering

ตอบ 2 หน้า 62, 45 (S) คําว่า “กบฏ ปฏิวัติ และรัฐประหาร” จะมีความหมายเหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กําลังอาวุธโดยทหารยึดอํานาจทางการเมือง แต่จะมีความหมายแตกต่างกันในด้านผล ของการใช้กําลังความรุนแรงนั้น กล่าวคือ หากทําการไม่สําเร็จจะเรียกว่า “กบฏ” (Rebellion), หากทําการสําเร็จและเป็นแต่เพียงการเปลี่ยนรัฐบาล (เปลี่ยนผู้ถืออํานาจรัฐหรือผู้คุมอํานาจ ทางการเมือง) จะเรียกว่า “รัฐประหาร” (Coup d’etat) แต่หากรัฐบาลใหม่ได้ทําการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมูลฐานของระบอบการปกครองก็จะเรียกว่า “ปฏิวัติ” (Revolution)

57 เค้าโครงเศรษฐกิจเกี่ยวข้องโดยตรงกับบุคคลใดต่อไปนี้

(1) นายปรีดี พนมยงค์

(2) นายชวน หลีกภัย

(3) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(4) จอมพลถนอม กิตติขจร

(5) นายทวี บุณยเกตุ

ตอบ 1 หน้า 46, 59 – 60 (S) คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)จัดทําเค้าโครงเศรษฐกิจซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “สมุดปกเหลือง” เพื่อดําเนินการด้านเศรษฐกิจ ของชาติให้เป็นไปตามอุดมการณ์ที่คณะราษฎรประกาศไว้ในวันยึดอํานาจ

58 สมาคมคณะราษฎร มีหลักการหรือแนวทางไปตามความหมายข้อใดต่อไปนี้

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) พรรคการเมือง

(3) ศาสนา

(4) องค์กรอิสระ

(5) สถานเริงรมย์

ตอบ 2 หน้า 288 พรรคการเมืองไทยพรรคแรกทางพฤตินัย คือ “สมาคมคณะราษฎร” ที่จัดตั้งขึ้นโดย“คณะราษฎร” คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แม้จะไม่ระบุว่าเป็นพรรคการเมือง แต่ก็มี เจตจํานง/มีหลักการหรือแนวทางเช่นเดียวกับพรรคการเมืองโดยทั่วไป คือ ประสงค์จะเข้ารับผิดชอบ ในการบริหารประเทศ ดังนั้นคณะราษฎรจึงมีลักษณะเป็นพรรคการเมือง ส่วนพรรคการเมืองไทยพรรคแรกตามนิตินัย คือ “พรรคก้าวหน้า” ซึ่งริเริ่มจัดตั้งขึ้นโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

59 “กบฏยังเตอร์ก” 1 เมษายน 2524 มีบุคคลที่เป็นแกนนําสําคัญต่อไปนี้

(1) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

(2) นายอานันท์ ปันยารชุน

(3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(4) พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา

(5) พลเอกอาทิตย์ กําลังเอก

ตอบ 4 หน้า 73 กลุ่มทหารที่พยายามยึดอํานาจจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (นายกรัฐมนตรี)เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2524 ได้แก่ นายทหารระดับคุมกําลังกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้บังคับการกรม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของ “ยังเตอร์ก” ได้รวมตัวกันเคลื่อนกําลังทหารเข้ามายึดกรุงเทพฯ และประกาศทําการปฏิวัติโดยมีพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ แต่กระทําการไม่สําเร็จ จึงเรียกว่า “กบฏยังเตอร์ก”

60 นโยบายประชานิยมเข้มข้นควรตรงกับรัฐบาลใดต่อไปนี้

(1) รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์

(2) รัฐบาลพันตํารวจโททักษิณ ชินวัตร

(3) รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน

(4) รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

(5) รัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐบาลพันตํารวจโททักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2544 – 2549) มีนโยบายประชานิยมเข้มข้นที่ทําให้ได้รับความนิยมจากประชาชนจนสามารถชนะการเลือกตั้งทั่วไปได้เป็นรัฐบาล พรรคเดียวในปี พ.ศ. 2548 โดยเฉพาะนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคที่ถือว่าประสบผลสําเร็จมากที่สุด

61 สํานักนายกรัฐมนตรี

(1) จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ

(2) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

(3) นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาฯ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

62 ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถือว่าการเลือกตั้งมีความสําคัญเพราะ

(1) เป็นกระบวนการสรรหาผู้ปกครองโดยสันติวิธี

(2) เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับอํานาจทางการเมือง

(3) ทําให้คนต่างท้องถิ่นอาจร่วมมือทางการเมืองได้

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 325 การเลือกตั้งเป็นกระบวนการสรรหาผู้ปกครองหรือรัฐบาลโดยสันติวิธี และมีคุณประโยชน์ 2 ประการ คือ

1 สร้างความชอบธรรมให้กับอํานาจทางการเมือง รัฐบาลหรือ ผู้ปกครองที่มาจากการเลือกตั้งสามารถและมีสิทธิกระทําการต่าง ๆ ในนามประชาชนได้อย่างเต็มที่ เพราะได้รับอํานาจโดยความนิยมจากประชาชน

2 เป็นกลไกแห่งการสืบทอดอํานาจโดยสันติ

63 บทบาทและพฤติกรรมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ส่วนใหญ่ในบรรยากาศการเมืองไทยมักเป็นดังนี้

(1) เป็นที่รวมของบุคคลซึ่งมุ่งสนับสนุนอํานาจหรืออิทธิพลทางการเมืองของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

(2) จะต่อรองด้านผลประโยชน์หรือตําแหน่งมากกว่านโยบาย

(3) ส่วนมากพรรคมีลักษณะสอดคล้องกับหลักสากลของความเป็นพรรคการเมือง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 291 บทบาทและพฤติกรรมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ส่วนใหญ่ในบรรยากาศการเมืองไทยอาจสรุปได้ว่า “เป็นที่รวมของบุคคลซึ่งมุ่งจะสนับสนุนอํานาจหรืออิทธิพลทางการเมืองของ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง” ซึ่งจะเห็นได้จากการรวมตัวกันเป็นรัฐบาลของพรรคการเมืองต่าง ๆมักจะต่อรองกันทางด้านผลประโยชน์หรือตําแหน่งมากกว่านโยบาย

64 การรับบุคคลเข้ารับราชการในระบบราชการไทย ยึดหลักการบริหารงานบุคคลตามระบบใด

(1) ระบบอุปถัมภ์

(2) ระบบรวมอํานาจ

(3) ระบบแบ่งอํานาจ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

65 ข้าราชการประจํา

(1) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(2) เป็นฝ่ายนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) ต้องสังกัดพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 364, (คําบรรยาย) ข้าราชการประจํา คือ บุคคลที่รับราชการในตําแหน่งต่าง ๆซึ่งรับผิดชอบงานประจําของกระทรวง ทบวง กรม โดยจะเป็นฝ่ายนํานโยบายไปปฏิบัติหรือ ดําเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และข้าราชการประจําจะรับราชการเป็นอาชีพ ต่อเนื่องกันไป (ไม่มีวาระในการดํารงตําแหน่ง) ซึ่งโดยปกติแล้วจะออกจากราชการเมื่อครบ เกษียณอายุราชการคือ 60 ปี โดยข้าราชการประจําสามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ แต่ไม่สามารถดํารงตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองได้ (พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 มาตรา 21)

66 ตําแหน่งกํานันปัจจุบัน

(1) มาจากการเลือกตั้ง

(2) ต้องเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย

(3) อายุเกิน 60 ปีไม่ได้

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 417 ตําแหน่งกํานันในปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งของราษฎรในตําบลนั้น โดยกํานันต้องเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย และต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี

67 ในระบบรัฐสภาไทยเท่าที่ผ่านมา ผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ได้แก่

(1) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(2) ประธานรัฐสภา

(3) นายกรัฐมนตรี

(4) ประธานองคมนตรี

(5) ประธานวุฒิสภา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

68 ผู้ทําหน้าที่เป็นประธานสภาฯ ชั่วคราวในการประชุมครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่

(1) ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งมากครั้งที่สุด

(2) หัวหน้าพรรคที่มี ส.ส. มากที่สุด

(3) ส.ส. ที่มีคะแนนเสียงสูงสุด

(4) แล้วแต่มติที่ประชุมจะให้สมาชิกคนใดคนหนึ่ง

(5) ส.ส. ที่อาวุโสที่สุด

ตอบ 5 หน้า 197 ในการประชุมครั้งแรกของสภา สมาชิกที่อาวุโสที่สุดของสภาจะทําหน้าที่เป็นประธานสภาชั่วคราว เพื่อดําเนินการเลือกประธานสภา 1 คน และรองประธานสภา 1 คนหรือมากกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

69 พรรคการเมืองต่างจากกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มการเมืองอื่นตรงที่

(1) มีการกําหนดนโยบาย

(2) มีการจดทะเบียน

(3) ต้องมี ส.ส.

(4) มีความต้องการเป็นรัฐบาล

(5) ต้องมีบัญชีรายรับ-รายจ่าย

ตอบ 4 หน้า 287 ลักษณะสําคัญที่สุดที่ทําให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มผลประโยชน์หรือชมรมทางการเมืองอื่น ๆ คือ พรรคการเมืองต้องมีจุดประสงค์ที่จะได้อํานาจทางการเมือง ต้องมีความปรารถนาหรือมีความต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนํานโยบายของพรรคไปปฏิบัติให้เป็นจริง

70 การแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมกระทําโดยการพิจารณาของ

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

(3) คณะกรรมการตุลาการ (กต.)

(4) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

(5) ปลัดกระทรวงยุติธรรม

ตอบ 3 หน้า 259 260 หลักประกันสําหรับผู้พิพากษาที่จะสามารถมีอิสระในการวินิจฉัยคดีโดยปราศจากอิทธิพลของฝ่ายอื่นที่จะเข้ามาแทรกแซงบีบบังคับเปลี่ยนคําพิพากษา คือ การกําหนดให้มีคณะกรรมการตุลาการ (กต.) เป็นองค์กรอิสระดําเนินการให้ความเห็นชอบ เกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตําแหน่ง และเลื่อนเงินเดือนผู้พิพากษา ดังนั้นการให้คุณให้โทษกับผู้พิพากษาจึงขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตุลาการ

71 ความรับผิดชอบของรัฐมนตรีของการเมืองในระบบรัฐสภา

(1) ต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน

(2) ต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี

(3) ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ได้รับเลือกเข้ามา

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 185, (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี มี 2 รูปแบบ คือ ต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน และต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี (รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 178)

72 ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินสวนใดใช้หลักการกระจายอํานาจปกครอง

(1) ส่วนกลาง

(2) ส่วนท้องถิ่น

(3) ส่วนภูมิภาค

(4) ส่วนท้องที่

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

73 เอ็นจีโอ (Non-Government Organization) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ประเภท

(1) กลุ่มรัฐวิสาหกิจ

(2) กลุ่มมาตุภูมิ

(3) กลุ่มต่อต้านรัฐบาล

(4) กลุ่มสหภาพแรงงาน

(5) กลุ่มอาสาสมัคร

ตอบ 5 หน้า 314 315 กลุ่มผลประโยชน์ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มที่มาจากถิ่นหรือสถาบันเดียวกัน เช่น สมาคมชาวเหนือ ฯลฯ 2 กลุ่มอาสาสมัคร เป็นกลุ่มที่มีบทบาททางการเมืองมากกว่ากลุ่มอื่น เช่น เอ็นจีโอ ฯลฯ

3 กลุ่มอาชีพ เป็นกลุ่มที่บทบาทมีผลกระทบต่อสาธารณะมาก เช่น หอการค้าไทย ฯลฯ

74 ตําแหน่งปลัดจังหวัด

(1) สังกัดกรมการปกครอง

(2) มีฐานะสูงกว่าหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ในจังหวัดนั้น

(3) จังหวัดหนึ่งอาจมีหลายคนก็ได้

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 405 ปลัดจังหวัด เป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกการปกครองของจังหวัด มีฐานะเท่าเทียมกับหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆในจังหวัดนั้นทุกประการ โดยเป็นผู้รับผิดชอบในงานของกรมการปกครองในจังหวัดนั้น

75 ระบบหลายพรรคในบรรยากาศการเมืองไทยที่ผ่านมาทําให้

(1) รัฐบาลขาดเสถียรภาพ

(2) เกิดรัฐบาลผสม

(3) แต่ละพรรคมุ่งดําเนินบทบาทเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสําคัญ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

76 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ. 2557 ต้อง

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

(3) อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

77 ตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ. 2557 สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน

(1) 250 คน

(2) ไม่เกิน 250 คน

(3) ไม่เกิน 220 คน

(4) 220 คน

(5) 300 คน

ตอบ 2 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 28 กําหนดให้ สภาปฏิรูปแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกิน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําให้หัวหน้า คสช. ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

78 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ. 2557 ทําหน้าที่

(1) สภาผู้แทนราษฎร

(2) วุฒิสภา

(3) รัฐสภา

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

79 ตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ. 2550 การยุบสภาให้ตราเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกฤษฎีกา

(3) พระราชกําหนด

(4) ประกาศของ กกต.

(5) ประกาศของนายกรัฐมนตรี

ตอบ 2 รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2 กําหนดให้ การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทําโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกําหนดวันเลือกตั้ง ส.ส. ใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร (นั่นคือ จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ภายในเวลา 45 – 60 วัน)

80 การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ครั้งล่าสุด กําหนดให้มีกี่กระทรวง

(1)18 กระทรวง

(2) 20 กระทรวง

(3) 2 กระทรวง

(4) 22 กระทรวง

(5) 19 กระทรวง

ตอบ 2 หน้า 387 388 การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ครั้งล่าสุดเป็นไปตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยมาตรา 5 ได้กําหนดให้มีกระทรวงและส่วนราชการที่มี ฐานะเป็นกระทรวงจํานวน 20 กระทรวง

81 รัฐธรรมนูญคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ

(1) การเงินของประเทศ

(2) การปกครองประเทศ

(3) การใช้อํานาจของสถาบันการเมืองต่าง ๆ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 กับ 3

ตอบ 5 หน้า 81 รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกําหนดรูปแบบและหลักการในการจัดการปกครองประเทศ การใช้อํานาจของผู้ปกครองหรือสถาบันการเมืองต่าง ๆการสืบต่ออํานาจ ตลอดจนขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

82 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยประกาศใช้เมื่อ

(1) 24 มิถุนายน 2475

(2) 27 มิถุนายน 2475

(3) 10 ธันวาคม 2475

(4) 9 พฤษภาคม 2489

(5) 9 พฤศจิกายน 2490

ตอบ 2 หน้า 83 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย (พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวพ.ศ. 2475) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ดังนั้นจึงเกิดขึ้นหลังจากเกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 เพียง 3 วันเท่านั้น โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้กําหนดให้รัฐสภามีสภาเดียว เรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนราษฎรชั่วคราวที่มาจากการแต่งตั้งจํานวน 70 คน

83 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย กําหนดให้รัฐสภามีสภาเดียวเรียกว่าสภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนราษฎรชั่วคราว ที่มาจากการแต่งตั้ง จํานวน

(1) 50 คน

(2) 60 คน

(3) 70 คน

(4) 80 คน

(5) 90 คน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 82, ประกอบ

84 “ประธานคณะกรรมการราษฎร” หมายถึง

(1) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(2) ประธานวุฒิสภา

(3) ประธานองคมนตรี

(4) นายกรัฐมนตรี

(5) คณะรัฐมนตรี

ตอบ 4 หน้า 83 – 85, 159 160 ธรรมนูญการปกครองฯ 2475 ได้เรียกตําแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารว่า“ประธานคณะกรรมการราษฎร” และเรียกคณะบริหารว่า “คณะกรรมการราษฎร” แต่ต่อมา นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือ รัฐธรรมนูญฯ 2475 เป็นต้นมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็เปลี่ยนมาเรียกตําแหน่งดังกล่าวว่า “นายกรัฐมนตรี” และ “คณะรัฐมนตรี” ตามลําดับ

85 รัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับใด ที่มีลักษณะให้ความสําคัญแก่ฝ่ายบริหารกว้างขวางมาก

(1) ฉบับที่ 3 ปี 2489

(2) ฉบับที่ 5 ปี 2492

(3) ฉบับที่ 7 ปี 2502

(4) ฉบับที่ 8 ปี 2511

(5) ฉบับที่ 17 ปี 2549

ตอบ 3 หน้า 92 – 93, 71 (S) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 (ธรรมนูญการปกครองฯ 2502) ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการมากที่สุดของไทย เพราะมีการให้อํานาจอย่างกว้างขวางมากแก่ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี ที่นอกจากจะมีอํานาจบริหารแล้วยังสามารถใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจตุลาการ ในบางกรณีได้ โดยระบุไว้ในมาตรา 17 ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจสั่งการหรือกระทําการใด ๆ ได้ ดังนั้นจึงถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญแบบเผด็จการ

86 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”

(1) ฉบับที่ 3 ปี 2489

(2) ฉบับที่ 7 ปี 2502

(3) ฉบับที่ 9 ปี 2515

(4) ฉบับที่ 12 ปี 2521

(5) ฉบับที่ 16 ปี 2540

ตอบ 5 หน้า 100, 114 รัฐธรรมนูญฯ 2540 (ฉบับที่ 16) เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างและแสดงความคิดเห็นมากที่สุด จนได้รับสมญาว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 และถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

87 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ปี 2550 จะระบุว่า

(1) ประธานองคมนตรีจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

(2) ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

(3) ประธานวุฒิสภาจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

(4) นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

(5) คณะรัฐมนตรีทุกคนจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

ตอบ 4 หน้า 183 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 (รัฐธรรมนูญฯ 2550) มาตรา 171 กําหนดให้ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้ (ซึ่งเป็นข้อบังคับใหม่ที่กําหนดไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับนี้)

88 “อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” คือ

(1) การคัดเลือกเพื่อหาประธานองคมนตรี

(2) การคัดเลือกเพื่อหาประธานสภาผู้แทนราษฎร

(3) การคัดเลือกเพื่อหาประธานวุฒิสภา

(4) การคัดเลือกเพื่อหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่

(5) การคัดเลือกเพื่อหาผู้สําเร็จราชการ

ตอบ 4 หน้า 35, 150 151 รัชกาลที่ 6 ได้ทรงบัญญัติกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ขึ้นใข้ นับเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ได้วางลําดับสิทธิในการสืบราชสมบัติของกษัตริย์ ซึ่งแต่เดิมนั้นมักจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นในกรณีที่กษัตริย์ไม่มีโอรสหรือมิได้แสดงพระประสงค์ว่า จะมอบให้ผู้ใดเป็นรัชทายาท โดยในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นส่วนใหญ่วิธีคัดเลือกกษัตริย์จะใช้ วิธีการแบบ “อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” คือ การประชุมของบรรดาพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสนาบดี และพระเถระชั้นราชาคณะ

89 พระราชอํานาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ จะระบุไว้ว่าหากพระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอํานาจดังกล่าวจะทรงยับยั้งได้ภายในเวลากี่วันในช่วงแรก

(1) 30 วัน

(2) 45 วัน

(3) 60 วัน

(4) 75 วัน

(5) 90 วัน

ตอบ 5 หน้า 152 – 153 พระราชอํานาจในการยับยั้งร่าง พ.ร.บ. พระมหากษัตริย์ทรงกระทําได้ 2 วิธี คือ

1 พระราชทานคืนมาให้สภาพิจารณาใหม่ภายในเวลาที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว้ ปกติรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่กําหนดไว้ 90 วัน (ช่วงแรก) ถ้าสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด ให้นายกฯ นําร่าง พ.ร.บ. นั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้ง เมื่อพระองค์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน (ช่วงหลัง) ให้นายกฯ นํา พ.ร.บ. นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระองค์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว (รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 151)

2 เก็บไว้เฉย ๆ จนครบกําหนดซึ่งเท่ากับว่าทรงไม่เห็นชอบด้วย

90 การเสด็จออกเยี่ยมประชาชนในต่างจังหวัดจะถือว่าเป็นพระราชกรณียกิจด้านใด (1) พิธีการ

(2) สังคมสงเคราะห์

(3) การปกครอง

(4) เพื่อพระราชทานคําเตือน

(5) ในด้านสิทธิที่จะได้รับทราบเรื่องต่าง ๆ

ตอบ 3 หน้า 154 พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ อาจจําแนกออกได้เป็น 3 ด้าน คือ

1 พิธีการ โดยทรงเป็นองค์ประธานในพิธีการสําคัญต่าง ๆ ของชาติ

2 สังคมสงเคราะห์ โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อช่วยเหลือกิจการสาธารณกุศล

3 การปกครอง โดยการเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัดเพื่อให้มีขวัญและกําลังใจดี

91 จํานวนของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ปี 2550

(1) 14 + 15

(2) 1 + 22

(3) 1 + 35

(4) 1 + 40

(5) 1 + 45

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

92 หน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่สําคัญที่สุดคือ

(1) การควบคุมการประชุมของฝ่าย ส.ส. และ ส.ว.

(2) ออกกฎหมายที่เรียกว่าพระราชบัญญัติ

(3) บริหารราชการแผ่นดิน เข้ามา

(4) ตั้งกระทู้ถาม ส.ส. หรือ ส.ว. ในทุกเรื่อง

(5) ตรวจสอบการทํางานขององคมนตรี ตอบ 3 หน้า 169 หน้าที่ที่สําคัญที่สุดของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี คือ วางนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน โดยเมื่อเข้ารับตําแหน่งต้องแถลงนโยบายต่อสภา และถ้าไม่ปฏิบัติตามนโยบายหรือ ปฏิบัติตามนโยบายแล้วล้มเหลวหรือไม่ได้ผล สมาชิกสภาก็มีสิทธิตั้งกระทู้ถามหรือขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจได้

93 ความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีมีกี่รูปแบบ

(1) 1 รูปแบบ

(2) 2 รูปแบบ

(3) 3 รูปแบบ

(4) 4 รูปแบบ

(5) 5 รูปแบบ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

94 นายกรัฐมนตรีที่จะสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้แก่รัฐบาลได้เป็นอย่างดีในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะมาจาก

(1) ข้าราชการครู

(2) ข้าราชการตํารวจ

(3) ข้าราชการทหาร

(4) ข้าราชการพลเรือน

(5) พลเรือน

ตอบ 3 หน้า 171, (คําบรรยาย) นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 80 ปีประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 29 คน แม้นายกฯ ส่วนใหญ่จะเป็นพลเรือนอยู่ถึง 20 คน แต่ถ้าเทียบอายุหรือระยะเวลาในการดํารงตําแหน่งจะพบว่า รัฐบาลที่มีพลเรือนเป็นนายกฯ มักจะขาดเสถียรภาพ ผิดกับรัฐบาลที่มีข้าราชการทหารเป็นนายกฯ ที่มักจะอยู่ได้นานจนสามารถสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้แก่รัฐบาลได้เป็นอย่างดี

95 การแทรกแซงทางการเมืองของไทย มักจะเกิดขึ้นจากข้อใดเป็นประจํา

(1) ต่างประเทศเข้ามาล้วงลูก

(2) นักการเมืองไทยเองที่เข้ามาแทรกแซง

(3) มือที่มองไม่เห็นเข้ามาแทรกแซง

(4) อํามาตย์เก่าเข้ามาแทรกแซง

(5) ทหารเข้ามาแทรกแซง

ตอบ 5 หน้า 172 ปัญหาของการแทรกแซงทางการเมืองในประเทศไทยมักจะเกิดขึ้นมาจากข้าราชการทหารมากที่สุด เพราะทหารมีกองกําลังติดอาวุธและรวมตัวกันเป็นกองทัพ จึงสามารถเข้าแทรกแซงทางการเมืองได้ด้วยวิธีการก่อรัฐประหารยึดอํานาจจากรัฐบาลที่มา จากการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตย และทําให้ระบบการเมือง ของไทยไม่พัฒนา เกิดการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรแห่งความชั่วร้าย

96 กระทรวงยุติธรรม ตั้งขึ้นในสมัยใด

(1) สุโขทัย

(2) อยุธยา

(3) กรุงธนบุรี

(4) รัตนโกสินทร์ช่วง ร.1 – ร.4

(5) รัตนโกสินทร์ช่วง ร.5

ตอบ 5 หน้า 33, 255 กระทรวงยุติธรรมตั้งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2434

97 ศาลสถิตยุติธรรมจะแบ่งการพิจารณาคดีเมื่อมีการกระทําผิดเกิดขึ้นออกเป็นกี่ชั้น

(1) 1 ชั้น

(2) 2 ชั้น

(3) 3 ชั้น

(4) 4 ชั้น

(5) 5 ชั้น

ตอบ 3 หน้า 255 ศาลสถิตยุติธรรมจะแบ่งการพิจารณาคดีเมื่อมีการกระทําผิดเกิดขึ้นออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

98 คณะกรรมการตุลาการ (กต.) คือ

(1) หลักประกันสําหรับผู้พิพากษาในการวินิจฉัยคดีโดยไม่มีอิทธิพลอื่นเข้ามาแทรกแซง

(2) องค์กรอิสระดําเนินการให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการแต่งตั้ง ย้าย ฯลฯ ผู้พิพากษา (3) คณะกรรมการเลือกตั้ง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 กับ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

99 พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ พ.ศ. 2489 จะใช้บังคับที่จังหวัด (1) พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี

(2) นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี

(3) สตูล นราธิวาส ยะลา ปัตตานี

(4) ตรัง นราธิวาส สงขลา ปัตตานี

(5) สงขลา นราธิวาส ยะลา ปัตตานี

ตอบ 3 หน้า 261 ปกติผู้ที่อยู่ในประเทศเดียวกันย่อมได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองด้วยกฎหมายฉบับเดียวกัน แต่สําหรับประเทศไทยได้มีการยกเว้นในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ คือ สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ พ.ศ. 2489 ออกใช้บังคับในคดีแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกของคนไทยอิสลาม เพราะในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าวนั้นประชาชนส่วนใหญ่ประมาณกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม

100 ในการใช้บังคับกฎหมายอิสลาม จะตัดสินตามเกณฑ์แห่งศาสนาได้ก็ต่อเมื่อ

(1) โจทก์มิได้นับถือศาสนาอิสลามแต่จําเลยนับถือศาสนาอิสลาม

(2) โจทก์นับถือศาสนาอิสลามแต่จําเลยมิได้นับถือศาสนาอิสลาม

(3) คู่กรณีต่างก็มิได้เป็นอิสลามิกชน

(4) คู่กรณีต่างก็เป็นอิสลามิกชนทั้งคู่

(5) ไม่มีเกณฑ์แล้วแต่จะเลือกใช้

ตอบ 4 หน้า 261 คดีแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกจะตัดสินตามเกณฑ์แห่งศาสนาอิสลามได้ก็ต่อเมื่อคู่กรณีเป็นอิสลามิกชนทั้งคู่ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้นับถือศาสนาอิสลามแล้วก็ห้ามมิให้ถือเกณฑ์ แห่งศาสนาอิสลามบังคับคดี และให้บังคับใช้เฉพาะในอาณาเขต 4 จังหวัดภาคใต้เท่านั้น

Advertisement