การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 1101 การเมืองและการปกครองไทย

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ระยะเวลาการดํารงตําแหน่งของกํานัน

(1) 4 ปี

(2) 5 ปี

(3) อยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 60 ปี

(4) อยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 55 ปี

(5) อยู่ในตําแหน่งตลอดชีวิต

ตอบ 3 พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 11) มาตรา 14 และมาตรา 31 กําหนดให้ กํานั้นต้องออกจากตําแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้

1 เมื่อต้องออกจาก ผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากมีอายุครบ 60 ปี หรือตาย หรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ฯลฯ

2 ยุบตําบลที่ปกครอง

3 ถูกปลดออกหรือไล่ออกจากตําแหน่ง ฯลฯ

 

2 ต่อไปนี้เป็นลักษณะสําคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น ยกเว้น

(1) ต้องมีชุมชน

(2) จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากรัฐบาลกลาง

(3) มีการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ดําเนินงาน

(4) มีอํานาจในการจัดเก็บภาษีทุกประเภท

(5) ต้องมีอิสระในการดําเนินกิจการของท้องถิ่น

ตอบ 4 หน้า 433 – 435, (คําบรรยาย) การปกครองท้องถิ่นโดยทั่วไปมีลักษณะหรือหลักการสําคัญ ดังนี้

1 เป็นการปกครองชุมชนหรือท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งของประเทศ

2 มีองค์การหรือหน่วยการปกครองที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแยกไปต่างหากจากรัฐบาลกลาง โดยมีรายได้เป็นของตนเอง และมีอํานาจในการจัดเก็บภาษี 4 ประเภท คือ ภาษีอากรฆ่าสัตว์ ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่

3 มีการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ดําเนินงาน (ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ)

4 มีอิสระในการดําเนินกิจการของท้องถิ่น (ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนด และอยู่ในกํากับดูแลหรือการควบคุมของรัฐบาลกลาง)

3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดใด มีจํานวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมากที่สุด

(1) กรุงเทพมหานคร

(2) เชียงใหม่

(3) อุบลราชธานี

(4) นครราชสีมา

(5) ระนอง

ตอบ 4 หน้า 358, 440 สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ตามตัวเลือก (ยกเว้น กทม.) มีจํานวนมากน้อยตามลําดับดังนี้

1 นครราชสีมา (มีราษฎรเกิน 2 ล้านคน) มี ส.อบจ. ได้ 48 คน

2 เชียงใหม่และอุบลราชธานี (มีราษฎรเกิน 1.5 ล้านคน แต่ไม่เกิน 2 ล้านคน) มี ส.อบจ. ได้ 42 คน

3 ระนอง (มีราษฎรไม่เกิน 5 แสนคน) มี ส.อบจ. ได้ 24 คน

4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยรูปแบบใดเป็นรูปแบบพิเศษ

(1) อบต.

(2) เทศบาล

(3) ภูเก็ต

(4) เกาะสมุย

(5) พัทยา

ตอบ 5 หน้า 439, 465, 477 ปัจจุบันรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย มี 5 รูป ดังนี้

1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

2 เทศบาล

3 กรุงเทพมหานคร (กทม.)

4 เมืองพัทยา

5 องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) โดยกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาเป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ

 

5 การจัดตั้งอําเภอต้องตราเป็นกฎหมายอะไร

(1) พระราชกฤษฎีกา

(2) พระราชบัญญัติ

(3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย

(4) กฎกระทรวง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 402, 409 กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้

1 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

2 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตอําเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

6 ปลัดอําเภอเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานใด

(1) สํานักนายกรัฐมนตรี

(2) กรมการปกครอง

(3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

(4) กรมการพัฒนาชุมชน

(5) ไม่สังกัดหน่วยงานใด

ตอบ 2 หน้า 409, (คําบรรยาย) ปลัดอําเภอและนายอําเภอเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย (นายอําเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอําเภอ โดยมีปลัดอําเภอและหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆในอําเภอนั้นเป็นผู้ช่วยเหลือนายอําเภอ)

7 สํานักนายกรัฐมนตรีเป็นส่วนที่เทียบส่วนราชการใด

(1) กรม

(2) กระทรวง

(3) สํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี

(4) สํานักงานปลัดกระทรวง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 372 373 สํานักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง แต่มีลักษณะพิเศษกว่ากระทรวงอื่น ๆ โดยจะแบ่งส่วนราชการออกเป็นสํานักและสํานักงานต่าง ๆ ซึ่งมีนายกฯ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และมีรองนายกฯ หรือรัฐมนตรีประจําสํานักนายกฯ หรือมีทั้งรองนายกฯ และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกฯ เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการตามที่นายกฯ มอบหมาย

8 เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นข้าราชการ

(1) ข้าราชการประจํา

(2) ข้าราชการฝ่ายการเมือง

(3) ข้าราชการพิเศษ

(4) ข้าราชการกรณีพิเศษ

(5) ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ

ตอบ 2 หน้า 365 366 ตําแหน่งข้าราชการการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ฯลฯ

9 การกําหนดโครงสร้างเทศบาลของไทยในปัจจุบันมีลักษณะและรูปแบบใด

(1) รัฐสภา

(2) ประธานาธิบดี

(3) แบบผสมรัฐสภาและประธานาธิบดี

(4) แบบมีสภา

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 448, 450, 462 การกําหนดโครงสร้างการจัดองค์การและการบริหารเทศบาลของไทยในปัจจุบัน มีลักษณะและรูปแบบการปกครองแบบประธานาธิบดี (Presidential System) คือ มีนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยใช้หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation) ตามแบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

10 ปัจจุบันใครดํารงตําแหน่งรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(1) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(2) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

(3) นายวิษณุ เครืองาม

(4) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (ข่าว) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 1และนายพรศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 2

11 ผู้รับผิดชอบสูงสุดของฝ่ายบริหารในเทศบาลมีตําแหน่งเรียกว่าอะไร

(1) ปลัดเทศบาล

(2) ประธานสภา

(3) นายกเทศมนตรี

(4) ผู้อํานวยการสํานัก

(5) ผิดทุกข้อ 1

ตอบ 3 หน้า 450 – 454, 461 โครงสร้างการจัดองค์การและการบริหารเทศบาล แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สภาเทศบาล มีประธานสภาเทศบาลเป็นผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบสูงสุด

2 ฝ่ายบริหาร มีนายกเทศมนตรีเป็นผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบสูงสุด

12 รองนายกเทศมนตรี เทศบาลขนาดใหญ่แต่งตั้งได้จํานวนไม่เกินกี่คน

(1) 5 คน

(2) 4 คน

(3) 3 คน

(4) 2 คน

(5) คน

ตอบ 2 หน้า 448, 453 นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ตามจํานวนดังต่อไปนี้

1 เทศบาลตําบล (เทศบาลขนาดเล็ก) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 2 คน

2 เทศบาลเมือง (เทศบาลขนาดกลาง) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน

3 เทศบาลนคร (เทศบาลขนาดใหญ่) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 4 คน

13 แนวความคิดในการจัดระบบราชการในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้นําแบบอย่างมาจากที่ใดของโลก

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) ยุโรป

(3) ญี่ปุ่น

(4) เกาหลีใต้

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 363, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดระบบราชการของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์(ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน) ได้นําแบบอย่างมาจากยุโรป โดยมีหลักหรือลักษณะ ในการจัดองค์การและการบริหาร ดังนี้

1 มีการจัดหน่วยราชการเป็นระดับ โดยมีสายงานอํานาจหน้าที่และการบังคับบัญชาเป็นระดับเชื่อมโยงจากบนสู่ล่าง

2 ยึดถือกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเป็นหลักปฏิบัติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้งานเป็น ระเบียบแบบแผนเดียวกัน

3 มีการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญ หรือพยายามแบ่งงานเป็นสัดส่วนกัน

4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการตามระบบคุณธรรม

14 เทศบาลขนาดใหญ่ที่สุด มีจํานวนสมาชิกสภาได้กี่คน

(1) 12 คน

(2) 16 คน

(3) 18 คน

(4) 20 คน

(5) 24 คน

ตอบ 5 หน้า 448, 450 สมาชิกสภาเทศบาล มีจํานวนตามขนาดของเทศบาล ดังนี้

1 เทศบาลตําบล (เทศบาลขนาดเล็ก) มีสมาชิกสภาจํานวน 12 คน

2 เทศบาลเมือง (เทศบาลขนาดกลาง) มีสมาชิกสภาจํานวน 18 คน

3 เทศบาลนคร (เทศบาลขนาดใหญ่) มีสมาชิกสภาจํานวน 24 คน

15 จํานวนสมาชิกสภาเขต กฎหมายกําหนดให้มีได้ไม่เกินกี่คน

(1) 7 คน

(2) 8 คน

(3) 9 คน

(4) 10 คน

(5) ไม่จํากัดจํานวน

ตอบ 5 หน้า 473 สภาเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรในเขต โดยมีจํานวนอย่างน้อยเขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 1 แสนคน ให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คนต่อจํานวนราษฎรทุก 1 แสนคน เศษของ 1 แสนคน ถ้าถึง 5 หมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็น 1 แสน (กฎหมายไม่ได้จํากัดจํานวนไว้ว่าให้มีได้ไม่เกินกี่คน)

16 จํานวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล กฎหมายกําหนดให้มีได้อย่างน้อยกี่คน

(2) 6 คน

(3) 8 คน

(4) 10 คน

(5) ไม่จํากัดจํานวน

ตอบ 2 หน้า 485 สภาองค์การบริหารส่วนตําบล ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 คน ในกรณีเขตองค์การบริหารส่วนตําบลใดมีเพียง 1 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกจํานวน 6 คน และถ้ามีเพียง 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 3 คน (รวมเป็น 6 คน) ดังนั้นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลจึงมีอย่างน้อยจํานวน 6 คน

17 ข้อใดเป็นหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)

(1) บริหารจัดการ อบต

(2) วางนโยบาย

(3) อนุมัติ/อนุญาต

(4) ควบคุมฝ่ายบริหาร

(5ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 486 สภาองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) มีอํานาจหน้าที่หลัก 3 ประการ ดังนี้

1 ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตําบล

2 พิจารณาและให้ความเห็นชอบข้อบังคับตําบล ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจําปีและร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

3 ควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร

18 ใครเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญที่ คสช. แต่งตั้งขึ้นร่างเสร็จเรียบร้อยและถูกคว่ำไปเรียบร้อยแล้ว

(1) นายมีชัย ฤชุพันธ์

(2) นายวิษณุ เครืองาม

(3) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(4) นายอลงกรณ์ พลบุตร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 (ข่าว) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ คสช. แต่งตั้งขึ้นจํานวน 36 คน แต่เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วกลับถูกสภาปฏิรูปแห่งชาติลงมติคว่ำร่างด้วยคะแนน 135 ต่อ 105 เสียง เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2558

19 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คนปัจจุบันคือใคร

(1) พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา

(2) ม.ล.ปนัดดา ดิศกล

(3) พล.อ.ธีรชัย นาควานิช

(4) นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (ข่าว), นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2557

20 ประธาน คสช. คือใคร

(1) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง

(2) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

(3) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา

(4) พล.อ.ประวิทย์ วงศ์สุวรรณ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (ข่าว) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย เป็นหัวหน้า คสช.

ข้อ 21. – 25. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) Politics

(2) Government

(3) Aristotle

(4) ราชาธิปไตย

(5) ทุชนาธิปไตย

21 การแข่งขันเพื่อแสวงหาอํานาจ

ตอบ 1 หน้า 1, การเมือง (Politics) หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการแข่งขันเพื่อการแสวงหาอํานาจ การใช้อํานาจ และผลประโยชน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งสังคมหรือส่วนใหญ่ของสังคม

22 การเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

ตอบ 4 หน้า 3, 3 – 6 (S) ราชาธิปไตย (Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบเทวสิทธิ์ (Divine Right) ในสมัยอยุธยา ซึ่งอาจเรียกว่า เป็นการปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ที่อํานาจอธิปไตยจะอยู่ที่กษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว อันเป็นรูปแบบการปกครองของไทยในสมัยรัชกาลที่ 1 – 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งการปกครองแบบราชาปราชญ์ (Philosopher King) ตามแนวคิดของเพลโต

23 การวางระเบียบกฎเกณฑ์สําหรับสังคม เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข

ตอบ 2 หน้า 1 การปกครอง (Government) หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารวางระเบียบกฎเกณฑ์สําหรับสังคมเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข โดยมุ่งที่เรื่องวิธีการใช้อํานาจอธิปไตยเพื่อการบําบัดทุกข์บํารุงสุขของประชาชน

24 ปรมาจารย์ทางทฤษฎีการเมืองชาวกรีก

ตอบ 3 หน้า 2, 17 (S) อริสโตเติล (Aristotle) เป็นปรมาจารย์ทางทฤษฎีการเมืองชาวกรีก และถือเป็นบิดาวิชาการปกครองเปรียบเทียบ ได้ใช้เกณฑ์ในการแบ่งประเภทรูปแบบการปกครองคือ จํานวนผู้มีอํานาจ (ผู้ปกครอง) และจุดมุ่งหมายในการปกครอง

25 ทรราช

ตอบ 5 หน้า 2 – 3, 3 – 4 (S) ทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) คือ ระบอบการปกครองที่อํานาจอธิปไตยอยู่ที่คน ๆ เดียว โดยมีจุดมุ่งหมายในการปกครองเพื่อผู้ปกครองหรือเพื่อหา ผลประโยชน์ให้กับตนเอง ดังนั้นจึงเป็นรูปแบบการปกครองโดยเผด็จการที่ฉ้อฉลหรือกดขี่ข่มเหงประชาชน อันเป็นการปกครองแบบ “ทํานาบนหลังคน” หรือ “ขูดเลือดขูดเนื้อประชาชน”

ข้อ 26 – 30. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) ราชาธิปไตย

(2) ทรราช

(3) อภิชนาธิปไตย

(4) คณาธิปไตย

(5) ประชาธิปไตย

26 รูปแบบการปกครองของไทยสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม

ตอบ 4 หน้า 2 – 3, 3 – 4 (S) คณาธิปไตย (Oligarchy) คือ ระบอบการปกครองโดยคณะบุคคลซึ่งผู้ปกครองเป็นกลุ่มเผด็จการที่ทําเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพรรคพวกเป็นสําคัญ เป็นรูปแบบการปกครองที่มักจะเกิดจากรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติหรือรัฐประหารยึดอํานาจ เช่น รูปแบบการปกครองของไทยภายใต้คณะผู้นําทหารในสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม-ประภาส และจอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม ฯลฯ

27 รูปแบบการปกครองที่ผู้นําเผด็จการปกครองขูดรีดประชาชน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

28 รูปแบบการปกครองที่คณะผู้นําทําเพื่อประโยชน์ของทวยราษฎร์

ตอบ 3 หน้า 2 – 4, 3 – 4 (S) อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คือ ระบอบการปกครองโดยคณะบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษหรือมีคุณภาพเหนือกว่าชนส่วนใหญ่ เช่น กลุ่มขุนนาง พวกเชื้อสายราชวงศ์ หรือชนชั้นสูง กลุ่มปัญญาชนคนมีความรู้ หรือกลุ่มชนที่ได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชน ฯลฯ โดยมีจุดมุ่งหมายในการปกครองเพื่อประชาชน ดังนั้นจึงเป็นลัทธิการเมืองที่ให้ความสําคัญกับ ชนชั้นสูงของสังคมและเป็นรูปแบบการปกครองที่คณะผู้ปกครองทําเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน หรือทวยราษฎร์ ถือเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดโดยคณะผู้ปกครอง

29 รูปแบบการปกครองของไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

30 รูปแบบการปกครองของไทยยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

ตอบ 5 หน้า 11 – 12, 16, 79, คําบรรยาย) ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่ยึดหลักว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนหรืออํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของ ประชาชนหรือเป็นการปกครองโดยประชาชน (การปกครองที่คนหมู่มากเป็นผู้ใช้อํานาจอธิปไตย) โดยรัฐบาลจะใช้อํานาจปกครองน้อยที่สุดเฉพาะเรื่องที่จําเป็นเท่านั้น ดังนั้นประชาธิปไตย จึงมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ให้ความสําคัญกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เชื่อในหลักการ แห่งกฎหมายและหลักการแห่งความเสมอภาค รวมทั้งคํานึงถึงหลักศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ หรือหลักสิทธิมนุษยชน (ยึดถือสิทธิในการปกครองตนเอง) เช่น ระบอบการเมืองการปกครอง ของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมทั้งระบอบการเมือง ที่เป็นผลมาจากการปฏิวัติ 2475 ของไทย และระบอบการเมืองการปกครองของประเทศไทยในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ฯลฯ

ข้อ 31 – 35 ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) สิทธิ

(2) เสรีภาพ

(3) ความเสมอภาค

(4) หลักเหตุผลนิยม

(5) Public Spirit

 

31 ความสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

ตอบ 5 หน้า 22 Public Spirit หมายถึง ความสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ซึ่งจะเกิดขึ้นจากความรู้สึกของคนในสังคมว่า ตนเป็นเจ้าของประเทศและประเทศเป็นของคนทุกคน การ ประพฤติตนให้เป็นพลเมืองดี ได้แก่ การช่วยกันดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวมหรือสาธารณสมบัติ

32 เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้ที่สามารถพูดจากันรู้เรื่อง

ตอบ 4 หน้า 20 – 21, 23 (S), (คําบรรยาย) หลักการแห่งเหตุผล/หลักเหตุผลนิยม (Rationalism) คือ การยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนต่างก็มีเหตุผลของการกระทําใด ๆ เพราะประชาธิปไตยเชื่อว่า มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผลสามารถพูดจากันรู้เรื่อง โดยประชาธิปไตยจะดําเนินไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อ มีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกต้องที่แท้จริง เช่น การยอมรับในข้อสรุปที่ได้จากการอภิปรายของสมาชิก เป็นต้น

33 ความสามารถที่จะกระทําการใด ๆ ได้ดั่งใจโดยไม่ละเมิดกฎหมาย

ตอบ 2 หน้า 12 เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ ได้ตามความปรารถนาแต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ ต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น

34 การบังคับใช้กฎหมาย Double Standard จะต้องไม่มี

ตอบ 3 หน้า 14 – 15, (คําบรรยาย) ความเสมอภาค (Equality) คือ การได้รับการปฏิบัติจากรัฐและกฎหมายโดยปราศจากความลําเอียงหรือเลือกปฏิบัติ โดยในระบอบประชาธิปไตยมีหลัก แห่งความเสมอภาค 5 ประการ คือ ความเสมอภาคทางการเมือง ความเสมอภาคทางกฎหมาย (คือ เมื่อกระทําผิดจะต้องใช้กฎหมายและการลงโทษอย่างเดียวกัน จะต้องไม่มีการบังคับใช้ กฎหมายแบบ 2 มาตรฐานหรือ Double Standard) ความเสมอภาคในโอกาส ความเสมอภาค ทางเศรษฐกิจ และความเสมอภาคทางสังคม

35 เป็นอํานาจอันชอบธรรมในการกระทําใด ๆ ของสมาชิกของสังคม

ตอบ 1 หน้า 12 – 13 สิทธิ (Right) คือ อํานาจอันชอบธรรมหรือความสามารถหรือโอกาสที่จะกระทําหรือไม่กระทําการใด ๆ ได้โดยชอบธรรม สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ โดยธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมาย ดังนั้นอํานาจอื่นหรือแม้กระทั่งอํานาจของรัฐจะก้าวก่ายสิทธิของบุคคลไม่ได้

ข้อ 36 – 40, ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) เสรีนิยม

(2) สังคมนิยม

(3) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(4) อํานาจนิยม

(5) ชาตินิยม

36 ลัทธิที่ให้เสรีภาพเฉพาะด้านเศรษฐกิจสังคม แต่จํากัดเสรีภาพทางการเมือง

ตอบ 4 หน้า 6 – 7 อํานาจนิยม (Authoritarianism) คือ การที่รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนพอสมควร โดยเฉพาะเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่จะจํากัดเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งเป็นลักษณะการใช้อํานาจของรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร เช่น รัฐบาลทหารของไทยการปกครองในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ

37 ยึดมั่นในแนวคิดเรื่อง “เชื่อผู้นําชาติพ้นภัย”

ตอบ 3 หน้า 6, 66 (S) เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) คือ การที่รัฐบาลหรือผู้ปกครองใช้อํานาจควบคุมประชาชนอย่างเคร่งครัดแทบจะสิ้นเชิงในทุกด้าน ทั้งเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นจึงเป็นระบบของการใช้อํานาจการเมืองเข้าแทรกแซงวิถีชีวิตของ คนในสังคม เช่น ระบบฟาสซิสต์ของอิตาลี ระบบนาซีของเยอรมัน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือราชาธิปไตย และรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ใช้อํานาจเด็ดขาดโดยยึดมั่นในแนวคิด“ผู้นําถูกต้องเสมอ” ดังคําขวัญ “เชื่อผู้นําชาติพ้นภัย” เพื่อปลุกใจราษฎรให้เชื่อมั่นรัฐบาล ฯลฯ

38 ความเป็นอยู่ของประชาชนด้านเศรษฐกิจสังคมมีรัฐเป็นผู้ดูแล

ตอบ 2 หน้า 8, 8 (S) สังคมนิยม (Socialism) คือ ลัทธิทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะเข้ามาควบคุมและกํากับดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านเศรษฐกิจหลักของประเทศ อันเป็นลัทธิ เศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่ารัฐต้องเข้ามาควบคุมและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่สําคัญ ของสังคม และเป็นลัทธิเศรษฐกิจที่ยึดหลักแห่งความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกันมากกว่า หลักเสรีภาพ เช่น ระบบหรือแนวคิดเรื่องรัฐวิสาหกิจ ระบบเศรษฐกิจของสังคมเวียดนามและจีนยุคปัจจุบัน ฯลฯ

39 แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อในเรื่อง “ไร้พรมแดน”

ตอบ 5 หน้า 9, (คําบรรยาย) ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) คือ ลัทธิหรืออุดมการณ์ที่เน้นหรือให้ความสําคัญกับเรื่องของความมั่นคงและความเป็นเอกภาพของชาติ เชื่อและศรัทธาในพวกพ้อง และดินแดนเดียวกัน เน้นเรื่องความรักความผูกพันและความสมานฉันท์ต่อกันของคนในชาติ เชื่อว่าคนเราเกิดมาต่างก็เป็นหนี้ต่อบ้านเมืองของเราเอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อ ในเรื่องสากลนิยม/ไร้พรมแดนที่ให้ความสําคัญในเรื่องผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติมากกว่า ผลประโยชน์ของชาติใดชาติหนึ่ง นอกจากนี้ลัทธิชาตินิยมยังเชื่อว่ารัฐกับมนุษย์ไม่แตกต่างกัน เพราะถ้าไม่มีมนุษย์ก็ไม่มีรัฐ และรัฐจะอยู่ไม่ได้ถ้ามนุษย์ในรัฐไม่ช่วยกันปกป้องรักษารัฐของตน ดังนั้นลัทธิชาตินิยมจึงต้องการให้สมาชิกทุกคนเชื่อฟังคําสั่งของรัฐโดยปราศจากเงื่อนไข

40 รัฐที่ใช้อํานาจในการปกครองน้อยที่สุด 3

ตอบ 1 หน้า 6, 7 – 8 (S) เสรีนิยม (Liberalism) เป็นระบอบเศรษฐกิจการเมืองที่เน้นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มีลักษณะการใช้อํานาจแบบอิสระนิยม อันเป็นต้นแบบของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย โดยมองว่ารัฐที่ดีคือรัฐที่ใช้อํานาจในการปกครองและกํากับดูแลน้อยที่สุดทั้งนี้รัฐบาลจะเข้าควบคุมหรือรักษากฎเกณฑ์เฉพาะส่วนที่จําเป็นเท่านั้น

41 รัฐธรรมนูญคือ

(1) กฎหมายที่กําหนดรูปแบบและหลักการในการจัดการปกครอง

(2) กฎหมายที่ว่าด้วยการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

(3) กฎหมายที่กําหนดถึงการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในภาคใต้ (4) กฎหมายที่กําหนดถึงความเป็นประชาธิปไตย

(5) กฎหมายที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย

ตอบ 1 หน้า 81 รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกําหนดรูปแบบและหลักการในการจัดการปกครองประเทศ การใช้อํานาจของผู้ปกครองหรือสถาบันการเมืองต่าง ๆการสืบต่ออํานาจ ตลอดจนขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

42 รัฐธรรมนูญจะประกาศใช้ใน

(1) ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น

(2) ประเทศที่เป็นเผด็จการ

(3) ประเทศที่เป็นได้ทั้งประชาธิปไตยและเผด็จการ

(4) ประเทศที่มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(5) ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองของประเทศนั้น ๆ

ตอบ 3 หน้า 82 ตามทฤษฎีแล้ว รัฐอธิปไตยทุกรัฐจะมีรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักหรือกติกาที่กําหนดแนวทางสําหรับการที่รัฐจะใช้อํานาจปกครองราษฎร ดังนั้นการมีรัฐธรรมนูญ จึงมิได้หมายความว่ารัฐนั้นเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการก็มีรัฐธรรมนูญเช่นกัน

43 “สาระ” ของรัฐธรรมนูญคือ

(1) จะกล่าวถึงสิทธิโดยธรรมชาติของประชาชนในรัฐทุก ๆ รัฐ

(2) จะกล่าวถึงสัญชาตญาณของประชาชนในรัฐ

(3) จะกล่าวถึงการทําสัญญากันระหว่างรัฐกับประชาชน

(4) จะกล่าวถึงการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล

(5) จะกล่าวถึงการกําหนดขั้นตอนและวิธีการแก้ไขกฎหมายธรรมดาต่าง ๆ

ตอบ 5 หน้า 175 (S) ในรายละเอียดและเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะมีบทบัญญัติที่กล่าวถึง กระบวนการหรือขั้นตอนและวิธีการออกหรือตราและแก้ไขกฎหมายเอาไว้ ซึ่งในการยกร่างกฎหมายแต่ละฉบับจะต้องอ้างอิงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับอํานาจของการออกกฎหมายไว้เสมอ เพราะการออกกฎหมายของรัฐแต่ละฉบับจะกระทําโดยละเมิดรัฐธรรมนูญไม่ได้

44 รัฐธรรมนูญของไทยฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อ

(1) 3 วัน หลังจากเกิดการปฏิวัติ 2475

(2) 4 วัน หลังจากเกิดการปฏิวัติ 2475

(3) 5 วัน หลังจากเกิดการปฏิวัติ 2475

(4) 6 วัน หลังจากเกิดการปฏิวัติ 2475

(5) 7 วัน หลังจากเกิดการปฏิวัติ 2475

ตอบ 1 หน้า 83 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย (พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ดังนั้นจึงเกิดขึ้นหลังจากเกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 เพียง 3 วันเท่านั้น โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้กําหนดให้รัฐสภามีสภาเดียวเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนราษฎรชั่วคราวที่มาจากการแต่งตั้งจํานวน 70 คน

45 จํานวนของรัฐธรรมนูญของไทยในปัจจุบัน

(1) 15 ฉบับ

(2) 16 ฉบับ

(3) 17 ฉบับ

(4) 18 ฉบับ

(5) 19 ฉบับ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วรวมทั้งสิ้น 19 ฉบับ โดยเป็นรัฐธรรมนูญที่ตั้งใจประกาศใช้เป็นการถาวร 11 ฉบับ และตั้งใจประกาศใช้เป็นการชั่วคราว 8 ฉบับ โดยรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นฉบับที่ 19 คือ รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557

46 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่ระบุว่าให้มี “สภาเดียว” เป็นฉบับแรก

(1) ฉบับชั่วคราว ปี 2475

(2) ฉบับถาวร ปี 2475

(3) ฉบับถาวร ปี 2489

(4) ฉบับถาวร ปี 2540

(5) ฉบับชั่วคราว ปี 2549

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ

47 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2489 จะเป็นฉบับแรกที่

(1) มีการระบุถึงการมีสภาเดียว

(2) มีการระบุถึงสมาชิกสภาประเภท 1 ว่าต้องมาจากประชาชนเลือกตั้งเข้ามา

(3) มีการระบุให้แยกข้าราชการประจําออกจากข้าราชการการเมือง

(4) มีอายุการใช้ยาวนานถึง 14 ปี

(5) มีฉายาว่า “รัฐธรรมนูญใต้ทุ่ม”

ตอบ 3 หน้า 86 – 87 รัฐธรรมนูญฯ 2489 (ฉบับที่ 3) มีลักษณะสําคัญคือ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีบทบัญญัติแยกข้าราชการประจําออกจากข้าราชการการเมือง และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ “รัฐสภา” จากสภาเดียว (ตามรัฐธรรมนูญฯ 2475) ไปเป็นสภาคู่ (2 สภา) ได้แก่

1 สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยตรง

2 พฤฒิสภา (วุฒิสภา) ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยอ้อม

48 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่กําหนดอํานาจหน้าที่ให้ฝ่ายบริหารคือ คณะรัฐมนตรีมีอํานาจกว้างขวางสามารถใช้อํานาจได้ทั้งอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจตุลาการในบางกรณีได้ โดยระบุไว้ใน ม.17

(1) ฉบับที่ 4 ปี พ.ศ. 2490

(2) ฉบับที่ 5 ปี พ.ศ. 2492

(3) ฉบับที่ 6 ปี พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495

(4) ฉบับที่ 7 ปี พ.ศ. 2502

(5) ฉบับที่ 17 ปี พ.ศ. 2549

ตอบ 4 หน้า 92 – 93, 71 (S) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 (ธรรมนูญการปกครองฯ 2502) ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการมากที่สุดของไทย เพราะมีการให้อํานาจอย่างกว้างขวางมากแก่ฝ่ายบริหาร คือคณะรัฐมนตรี ที่นอกจากจะมีอํานาจบริหารแล้วยังสามารถใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจตุลาการ ในบางกรณีได้ โดยระบุไว้ในมาตรา 17 ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจสั่งการหรือกระทําการใด ๆ ได้ ดังนั้นจึงถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญแบบเผด็จการ

49 “ประธานคณะกรรมการราษฎร” หมายถึง

(1) ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(2) ประธานสมาชิกพฤฒิสภา

(3) ประธานสมาชิกวุฒิสภา

(4) คณะรัฐมนตรี

(5) นายกรัฐมนตรี

ตอบ 5 หน้า 83 – 85, 159 – 160 ธรรมนูญการปกครองฯ 2475 ได้เรียกตําแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารว่า “ประธานคณะกรรมการราษฎร” และเรียกคณะบริหารว่า “คณะกรรมการราษฎร” แต่ต่อมา นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือ รัฐธรรมนูญฯ 2475 เป็นต้นมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็เปลี่ยนมาเรียกตําแหน่งดังกล่าวว่า “นายกรัฐมนตรี” และ “คณะรัฐมนตรี” ตามลําดับ

50 พระมหากษัตริย์ในสมัยใดที่มีบทบาทเป็น “เจ้าชีวิต” ของราษฎร

(1) สมัยก่อนสุโขทัย

(2) สมัยสุโขทัย

(3) สมัยอยุธยา

(4) สมัยกรุงธนบุรี

(5) สมัยปัจจุบัน

ตอบ 3 หน้า 29, 147, (คําบรรยาย) ในการเปลี่ยนแปลงบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทย จากการเป็น“พ่อขุน” มาอยู่ในฐานะเป็น “เจ้าชีวิต” ของราษฎรนั้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนในสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นกษัตริย์ตามแบบเทวสิทธิ์ (Divine Right) ทรงมีพระราชอํานาจเด็ดขาดสูงสุดล้นพ้นสามารถที่จะกําหนดชะตาชีวิตของผู้อยู่ใต้ปกครองได้

51 พระมหากษัตริย์ของประเทศไทย

(1) ทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ

(2) มีพระราชอํานาจในการบริหารประเทศโดยตรง

(3) มีพระราชอํานาจในการออกกฎหมายโดยตรง

(4) มีพระราชอํานาจในการสั่งการด้านตุลาการโดยตรง

(5) ทรงมีทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 1 หน้า 156 แม้ว่าพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยจะมิได้ทรงมีพระราชอํานาจโดยตรงอย่างแท้จริงในกิจกรรมการเมืองการปกครอง แต่ความสําคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์และประโยชน์ ที่ได้รับจากการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ก็มีนับเป็นอเนกประการ โดยพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศ

52 ตําแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” เริ่มมีครั้งแรกในรัชสมัย

(1) รัชกาลที่ 2

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

(5) รัชกาลที่ 6

ตอบ 4 หน้า 151 ในปี พ.ศ. 2435 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนาตําแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นตําแหน่งรัชทายาทที่จะได้ทรงสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป

53 ประเทศไทยถวายสิทธิของพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนี้

(1) สิทธิที่จะเลือกพระราชธิดาขึ้นสืบสันตติวงศ์โดยพระองค์เอง

(2) สิทธิที่จะเลือกผู้รับสนองพระบรมราชโองการโดยพระองค์เอง

(3) สิทธิที่จะรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ

(4) สิทธิที่จะกระทําการสิ่งใดก็ได้ในประเทศ

(5) สิทธิที่จะใช้สิทธิทางการเมืองในด้านต่าง ๆ

ตอบ 3 หน้า 151 – 152 สิทธิของพระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่

1 สิทธิที่จะให้คําเตือน

2 สิทธิที่จะได้รับทราบเรื่องราวต่าง ๆ

3 สิทธิที่จะพระราชทานคําปรึกษาหารือ

4 สิทธิที่จะสนับสนุน

54 พระมหากษัตริย์ไทยทรง

(1) มีอํานาจไม่จํากัด (Unlimited Monarchy)

(2) มีอํานาจจํากัด (Limited Monarchy)

(3) ไม่มีอํานาจเลย

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 151, 55 (S), (คําบรรยาย) พระมหากษัตริย์ของไทยในสมัยปัจจุบัน (นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา) ทรงมีอํานาจจํากัด (Limited Monarchy) และเป็นพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

55 พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในด้านใดที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ

(1) พระราชอํานาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ

(2) พระราชอํานาจในการขอให้ลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

(3) พระราชอํานาจในการแต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 152 – 153 พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่

1 พระราชอํานาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ

2 พระราชอํานาจในการขอให้ลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

3 พระราชอํานาจในการแต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน

56 ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ที่จะต้องทรงตั้งไว้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเรียกว่า

(1) คณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์

(2) คณะองคมนตรี

(3) คณะอภิรัฐมนตรี

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 87 – 90, 155 คณะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ที่จะต้องทรงตั้งไว้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเริ่มมีครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฯ 2490 (ฉบับที่ 4) ซึ่งเรียกว่า “คณะอภิรัฐมนตรี”และเปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็น “คณะองคมนตรี” ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฯ 2492 เป็นต้นมา

  1. พรรคการเมืองได้รับการกล่าวถึงอย่างเปิดเผยและถูกต้องตามรัฐธรรมนูญฉบับปีใด

(1) 2475

(2) 2489

(3) 2490

(4) 2492

(5) 2502

ตอบ 2 หน้า 287 – 288 พรรคการเมืองได้รับการกล่าวถึงอย่างเปิดเผยและถูกต้องในทางนิตินัยเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฯ 2489 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการตั้งคณะพรรคการเมือง…ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย”

58 พรรคการเมืองของไทยในอดีตคือ

(1) พรรคเด่นพรรคเดียว

(2) ระบบ

2 พรรค

(3) ระบบหลายพรรค

(4) ระบบรัฐบาลผสม

(5) ระบบรัฐบาลเสียงข้างมาก

ตอบ 1 หน้า 292 ในอดีตนั้นระบบพรรคการเมืองไทยเรียกได้ว่าเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว(One Dominant Party) เพราะมีกลุ่มการเมืองเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มข้าราชการประจํา โดยเฉพาะทหารที่แม้จะไม่ได้จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยเปิดเผย แต่สามารถเข้าครอบงํา และคุมอํานาจทางการเมืองได้ จึงทําให้มีการวิเคราะห์ว่าเมืองไทยปกครองแบบอํามาตยาธิปไตย (Bureaucratic Oligarchy) คือ ข้าราชการเป็นผู้คุมอํานาจทางการเมือง

59 หน้าที่สําคัญของพรรคการเมืองไทยคือ

(1) ดําเนินการในการเลือกตั้งเพื่อเข้าเป็นรัฐบาล

(2) รวบรวมค้นหาเสียงส่วนใหญ่ของมหาชน

(3) สนับสนุนอํานาจหรืออิทธิพลทางการเมืองของบุคคลหรือคณะบุคคล

(4) สนับสนุนเรื่องเงินค่าใช้จ่ายแก่สมาชิกพรรค

(5) รวบรวมหรือดึงตัวอดีต ส.ส. ที่มีชื่อเสียงให้เข้ามาสังกัดในพรรคตนเอง

ตอบ 3 หน้า 291 หน้าที่สําคัญของพรรคการเมืองไทย คือ การสนับสนุนอํานาจหรืออิทธิพลทางการเมืองของบุคคลหรือคณะบุคคล เช่น การก่อตั้งพรรคเสรีมนังคศิลาก็เพื่อที่จะสนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม และคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ฯลฯ

60 พรรคการเมืองไทยมีลักษณะโครงสร้าง

(1) มีฐานรองรับจากประชาชนจํานวนมาก

(2) สมาชิกสามารถเปลี่ยนพรรคได้ตามอัธยาศัย

(3) นักการเมืองมีอุดมการณ์มากกว่าเรื่องผลประโยชน์

(4) ขาดการมีฐานรองรับจากประชาชนจํานวนมาก

(5) สมาชิกมีระเบียบวินัยมาก

ตอบ 4 หน้า 292 ลักษณะโครงสร้างของพรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ คือ ขาดฐานรองรับจากประชาชนการจัดโครงสร้างพรรคการเมืองจะเน้นเฉพาะในเมืองหลวง มีพรรคการเมืองน้อยพรรคมาก ที่มีสาขาแผ่ขยายอยู่ในภูมิภาค ดังนั้นปัญหาหลักของระบบพรรคการเมืองไทยที่ผ่านมา คือขาดฐานสนับสนุนอย่างแท้จริงจากประชาชนในท้องถิ่น

61 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นใช้หลักการใดในการจัดการปกครอง

(1) แบ่งแยกอํานาจ

(2) รวมอํานาจ

(3) กระจายอํานาจ

(4) ดุลอํานาจ

(5) แบ่งปันอํานาจ

ตอบ 3 หน้า 359 360, 371, 401, 433 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1 ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอํานาจปกครอง

2 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอํานาจปกครอง

3 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอํานาจปกครอง

62 พรรคการเมืองแรกทางพฤตินัยของไทย คือพรรค

(1) กิจสังคม

(2) สหชีพ

(3) ประชาธิปัตย์

(4) คณะราษฎร

(5) ก้าวหน้า

ตอบ 4 หน้า 288 พรรคการเมืองไทยพรรคแรกทางพฤตินัย คือ “สมาคมคณะราษฎร” ที่จัดตั้งขึ้นโดย“คณะราษฎร” คณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แม้จะไม่ระบุว่าเป็นพรรคการเมือง แต่ก็มี เจตจํานง/มีหลักการหรือแนวทางเช่นเดียวกับพรรคการเมืองโดยทั่วไป คือ ประสงค์จะเข้ารับผิดชอบ ในการบริหารประเทศ ดังนั้นคณะราษฎรจึงมีลักษณะเป็นพรรคการเมือง ส่วนพรรคการเมืองไทยพรรคแรกตามนิตินัย คือ “พรรคก้าวหน้า” ซึ่งริเริ่มจัดตั้งขึ้นโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

63 การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ครั้งล่าสุด กําหนดให้มีกี่กระทรวง

(1) 20 กระทรวง

(2) 21 กระทรวง

(3) 22 กระทรวง

(4) 23 กระทรวง

(5) 35 กระทรวง

ตอบ 1 หน้า 387 388 การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ครั้งล่าสุดเป็นไปตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยมาตรา 5 ได้กําหนดให้มีกระทรวงและส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงจํานวน 20 กระทรวง

64 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจํานวนกี่คน

(1) 1 คน

(2) 2 คน

(3) ไม่เกิน 3 คน

(4) ไม่เกิน 4 คน

(5) ไม่เกิน 5 คน

ตอบ 2 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 10 กําหนดให้ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธาน สนช. 1 คน และเป็นรองประธาน สนช. ไม่เกิน 2 คน ตามมติของ สนช.

65 กระทรวงมหาดไทย

(1) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

(2) จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ

(3) ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บังคับบัญชาฯ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 371, 378 สําน้านายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งการจัดตั้งหรือยุบส่วนราชการเหล่านี้ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ โดยแต่ละกระทรวงจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาฯ

66 สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทําหน้าที่

(1) สภาผู้แทนราษฎร

(2) วุฒิสภา

(3) รัฐสภา

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 6 กําหนดให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกิน 220 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และมีอายุไม่ต่ํากว่า 40 ปี ตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

67 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคือ

(1) ร้อยเอกทินพันธ์ นาคะตะ

(2) นายเทียนฉาย กีระตินันทน์

(3) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(5) นายอลงกรณ์ พลบุตร

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

68 คุณสมบัติของสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคือ

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

(3) ต้องไม่เป็นข้าราชการประจํา

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (ข่าว) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2558 มาตรา 39/2 ทําหน้าที่ศึกษาและปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน สืบต่อจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ถูกยุบไปตามมาตรา 39/1 โดยสมาชิก สปท. มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับสมาชิก สปช. คือ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

69 การเมืองไทยเท่าที่ผ่านมา เคยมีการลงประชามติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมาแล้วกี่ครั้ง

(1) 1 ครั้ง

(2) 2 ครั้ง

(3) 3 ครั้ง

(4) 4 ครั้ง

(5) 5 ครั้ง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเมืองไทยที่ผ่านมาเคยมีการลงประชามติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว 2 ครั้ง คือ ลงประชามติให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญฯ 2550 และ 2559

70 ใครเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติครั้งล่าสุด

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(3) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

(4) ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ

(5) ประธานศาลฎีกา

ตอบ 3 (ข่าว) คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติครั้งล่าสุด มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานฯ และมีกรรมการอื่นอีก 20 คน ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

71 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกฤษฎีกา

(3) พระราชกําหนด

(4) กฎกระทรวงมหาดไทย

(5) ประกาศกระทรวงมหาดไทย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

72 ข้าราชการประจํา

(1) เป็นฝ่ายปฏิบัติตามนโยบาย

(2) ไม่มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(3) อาจเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 364, (คําบรรยาย) ข้าราชการประจํา คือ บุคคลที่รับราชการในตําแหน่งต่าง ๆ ซึ่งรับผิดชอบงานประจําของกระทรวง ทบวง กรม โดยจะเป็นฝ่ายนํานโยบายไปปฏิบัติหรือดําเนินงานให้เป็นไป ตามนโยบายของรัฐบาล และข้าราชการประจําจะรับราชการเป็นอาชีพต่อเนื่องกันไป (ไม่มีวาระ ในการดํารงตําแหน่ง) ซึ่งโดยปกติแล้วจะออกจากราชการเมื่อครบเกษียณอายุราชการคือ 60 ปี โดย ข้าราชการประจําสามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ แต่ไม่สามารถดํารงตําแหน่งใด ๆในพรรคการเมืองได้ (พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 มาตรา 21)

73 นายอําเภอ

(1) สังกัดกรมการปกครอง

(2) มีฐานะในทางบริหารสูงกว่าหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ในอําเภอนั้น

(3) เป็นตําแหน่งในการบังคับบัญชาต่ำกว่าปลัดจังหวัด

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

74 กรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรประเภทใดไม่อาจตั้งบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็น ส.ส. เป็นกรรมาธิการได้

(1) กรรมาธิการสามัญ

(2) กรรมาธิการเต็มสภา

(3) กรรมาธิการวิสามัญ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 198 199, (คําบรรยาย) กรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎร ถือเป็นกรรมาธิการถาวรประจําสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยบุคคลที่เป็น ส.ส. เท่านั้น ไม่สามารถตั้งบุคคลภายนอก เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการได้ โดยจะต้องตั้งให้มีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับสัดส่วนจํานวน ส.ส. ของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ส่วนประธานของแต่ละคณะก็จะมีจํานวนตามสัดส่วนจํานวน ส.ส. ของแต่ละพรรคทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน

75 หน่วยการปกครองใดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค

(1) เมืองพัทยา

(2) เทศบาลนครเชียงใหม่

(3) จังหวัดนนทบุรี

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 402, (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบันกําหนดให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคไว้ 2 ระดับ คือ จังหวัด และอําเภอ

76 พรรคการเมืองส่วนใหญ่ของการเมืองไทยเท่าที่ผ่านมาตั้งขึ้นโดย

(1) การสนับสนุนจากกลุ่มต่าง ๆ

(2) มีอุดมการณ์เป็นหลัก

(3) รวมบุคคลเพื่อหวังชนะเลือกตั้ง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 293 299, (คําบรรยาย) พรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่คัดเลือกและรวบรวมสมาชิกเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งโดยเพ่งเล็งโอกาสที่จะชนะการเลือกตั้งมากกว่าเพ่งเล็งอุดมการณ์ โดยนักการเมืองไทยส่วนใหญ่จะไม่ยึดนโยบายพรรคในการหาเสียง มักจะวางตนเป็นอิสระ ไม่รักษาวินัยพรรค และมองการย้ายพรรคเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ซึ่งจะเห็น ได้จากการเปลี่ยนพรรคหรือย้ายพรรคมักเป็นไปอย่างกว้างขวางในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง

77 การเรียกร้องของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มักกดดันที่

(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(2) ข้าราชการประจํา

(3) รัฐบาล

(4) ประชาชน

(5) พรรคการเมือง

ตอบ 3 หน้า 318, (คําบรรยาย) การเรียกร้องหรือดําเนินการต่าง ๆ ของกลุ่มผลประโยชน์ ส่วนใหญ่มักจะเพ่งเล็งหรือกดดันไปที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมากกว่าฝ่ายอื่น โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีมักจะเป็นศูนย์กลางของการเรียกร้อง

78 การรับบุคคลเข้ารับราชการตามระบบคุณธรรมเป็นผลจากการ

(1) นิยมเข้ารับราชการ

(2) เน้นประเพณีวัฒนธรรม

(3) ยึดถือความไว้วางใจ

(4) เป็นมรดกทางการเมือง

(5) ถือความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์

ตอบ 5 หน้า 363, (คําบรรยาย) ถึงแม้ว่าการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการจะใช้หลักการตามระบบคุณธรรม (Merit System) คือ ยึดถือความรู้ความสามารถ โดยกําหนดเงินเดือนตาม ความสามารถและความรับผิดชอบ แต่ในทางปฏิบัติ การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการหรือ การให้ความดีความชอบนั้น ยังมีไม่น้อยที่เป็นไปตามระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) คือ ยังมีการเล่นพรรคเล่นพวกกันอยู่ แต่อาจกล่าวอ้างได้ว่ายึดถือหลักการความไว้วางใจ

79 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใด (1) ฉบับที่ 16

(2) ฉบับที่ 17

(3) ฉบับที่ 18

(4) ฉบับที่ 19

(5) ฉบับที่ 20

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

80 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่เท่าใด

(1) 26

(2) 27

(3) 28

(4) 29

(5) 30

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

81 คําใดในภาษาอังกฤษต่อไปนี้ที่ตรงกับความหมายของ “การปฏิรูป”

(1) Reform

(2) Revolution

(3) Reconstruction

(4) Retire

(5) Relative

ตอบ 1 หน้า 12 (S), (คําบรรยาย) Reform หมายถึง การปฏิรูป (การเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุงแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป) เช่น การปฏิรูปการเมือง (Political Reform), การปฏิรูปสังคม (Social Reform), การปฏิรูปที่ดิน Land Reform) เป็นต้น

82 “สมุดปกเหลือง” ที่ทําร่างขึ้นโดยนายปรีดี พนมยงค์ เป็นเค้าโครงเกี่ยวกับเรื่องใดต่อไปนี้

(1) ทางเศรษฐกิจ

(2) ทางการเมือง

(3) ทางสังคม

(4) ทางวัฒนธรรม

(5) ทางการปกครอง

ตอบ 1 หน้า 46, 59 – 60 (S) คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)จัดทําเค้าโครงเศรษฐกิจซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “สมุดปกเหลือง” เพื่อดําเนินการด้านเศรษฐกิจของชาติให้เป็นไปตามอุดมการณ์ที่คณะราษฎรประกาศไว้ในวันยึดอํานาจ

83 สมาคมคณะราษฎร มีหลักการหรือแนวทางตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) พรรคการเมือง

(3) ศาสนา

(4) องค์กรอิสระ

(5) สถานเริงรมย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

84 รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ถูกกล่าวถึงว่าเป็นรัฐบาลอะไร

(1) รัฐบาลลืมเปลือกหอย

(2) รัฐบาลปลาดิบ

(3) รัฐบาลเงา

(4) รัฐบาลหอย

(5) รัฐบาลเปลือกถั่ว

ตอบ 4 (คําบรรยาย) นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในแต่ละยุคมักจะถูกตั้งฉายาตามบุคลิกหรือตามผลงานของผู้นําแต่ละคน เช่น จอมพล “ผ้าขาวม้าแดง” หมายถึง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, “รัฐบาลหอย” หมายถึง รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร, “รัฐบาลลืมเปลือกหอย” หมายถึง รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน, “รัฐบาลขิงแก่” หมายถึง รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ฯลฯ

85 รัฐประหาร พ.ศ. 2490 ควรเกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้

(1) นายบรรหาร ศิลปอาชา

(2) พลตํารวจเอกเผ่า ศรียานนท์

(3) หลวงวิจิตรวาทการ

(4) นายพจน์ สารสิน

(5) นายชวน หลีกภัย

ตอบ 2 หน้า 64, 178, 69 (S), (คําบรรยาย) คณะนายทหารบกที่นําโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม, พลตํารวจเอกเผ่า ศรียานนท์, จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ ได้ทําการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 และยกเลิกรัฐธรรมนูญฯ 2489 โดยอ้างเหตุผลว่าการดําเนินงานของ รัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธํารงฯ) และรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2489แก้ไขภาวะวิกฤติของบ้านเมืองในขณะนั้นไม่ได้

86 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยมีการปกครองแบบใด

(1) แบบราชาธิปไตย / แบบปิตุลาธิปไตย

(2) แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบบิดาปกครองบุตร / แบบราชาธิปไตย

(3) แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบเทวสิทธิ์ / แบบราชาธิปไตย / แบบประชาธิปไตย

(4) แบบประชาธิปไตย / แบบอนาธิปไตย

(5) แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ / แบบประชาธิปไตย

ตอบ 5 หน้า 41, 45 (S) จากประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงก่อนการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทย มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาโดยตลอด ดังนั้นการปฏิวัติ 2475 จึงเป็นการ เปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะเป็นการล้มเลิกระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้วเปลี่ยนมาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย

87 สมัยสุโขทัยมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือ ทางด้านการค้ายังมีการค้าขายติดต่อกับ “ต่างประเทศ ประเทศใด

(1) มลายู

(2) อินเดีย

(3) ศรีลังกา

(4) เปอร์เซีย

(5) กัมพูชา

ตอบ 1 หน้า 28 ในสมัยกรุงสุโขทัยนอกจากจะมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือแล้วก็ยังมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ เช่น จีน มลายู ลังกา และมอญ โดยมีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษี “จกอบ” หรือภาษีศุลกากร เพื่อต้องการให้พ่อค้ามีความสนใจในการทําการค้า

88 “การปกครองแบบหัวเมือง” ในสมัยกรุงสุโขทัย เรียกชื่ออื่นว่าชื่ออะไร

(1) การปกครองส่วนกลาง

(2) การปกครองส่วนภูมิภาค

(3) การปกครองแบบอิสระ

(4) การปกครองแบบไม่อิสระ

(5) การปกครองแบบกระจายอํานาจ

ตอบ 2 หน้า 26 การปกครองแบบหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยนั้นศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง และแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 หัวเมืองชั้นใน

2 หัวเมืองชั้นนอก

3 หัวเมืองประเทศราช

89 “พระเจ้าอู่ทอง” มีความสําคัญในฐานะผู้ปกครองของไทยในสมัยใด

(1) อาณาจักรทราวดี

(2) อาณาจักรสุโขทัย

(3) อาณาจักรศรีอยุธยา

(4) อาณาจักรธนบุรี

(5) อาณาจักรรัตนโกสินทร์

ตอบ 3 หน้า 28 – 29 พระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีได้ทรงวางระบบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบ “จตุสดมภ์” ตามแบบของขอม โดยมีกษัตริย์ เป็นผู้อํานวยการปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดําเนินการเกี่ยวกับกิจการทั้ง 4 คือ เมือง วัง คลัง และนา

90 การปกครองหัวเมืองในสมัยสุโขทัย ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการอยู่ที่ใด

(1) เมืองเอก

(2) เมืองหลวง

(3) เมืองชั้นใน

(4) เมืองชั้นนอก

(5) เมืองประเทศราช

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

91 ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีสิทธิถวายฎีกาหรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพ่อขุน โดยในสมัยพ่อขุนรามมีอุปกรณ์ชนิดใดต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ราษฎรมาถวายฎีกา

(1) ฆ้อง

(2) ระฆัง

(3) ลูกตุ้ม

(4) กระดิ่ง

(5) โหม่ง

ตอบ 4 หน้า 27 ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีสิทธิถวายฎีกาหรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพ่อขุน โดยในสมัยพ่อขุนรามคําแหงได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าใครต้องการจะถวายฎีกาก็ไปสั่นกระดิ่งแล้วพระองค์ก็จะออกมาไต่สวนและชําระความให้

92 สมัยกรุงศรีอยุธยา ไทยเสียกรุงฯ ครั้งที่ 1 ให้กับกษัตริย์แห่งกรุงหงสาวดีพระองค์ใด

(1) พระเจ้าตะเบงชะเวตี้

(2) พระเจ้าอาชาติศัตรู

(3) พระเจ้าอังวะ

(4) พระเจ้ามังละ

(5) พระเจ้าบุเรงนอง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ประเทศไทยเสียกรุงฯ ครั้งที่ 1 ให้กับพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งกรุงหงสาวดี (พม่า) ในปี พ.ศ. 2112

93 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงให้มีการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่งคือ

(1) สมุหกลาโหมและสมุหทัย

(2) สมุหทัยและสมุหกระทรวงกลาโหม

(3) สมุห์บัญชีและสมุหมาตรา

(4) สมุหนายกและสมุหกลาโหม

(5) สมุหเสนาบดีและสมุหนายก

ตอบ 4 หน้า 33 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูประบบการปกครองด้วยการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมภ์ โดยแบ่งการบริหารราชการ ออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง โดยกระทรวงที่ตั้งขึ้นมีทั้งหมด 12 กระทรวง เช่น เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับ เรื่องตํารวจและราชทัณฑ์, ยุติธรรม จัดการเรื่องชําระคดีและการศาล, ยุทธนาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องการทหาร ฯลฯ

94 เมืองหรือนครบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 จัดการเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) ตํารวจและราชทัณฑ์

(2) ตํารวจและทหาร

(3) ทหารเรือและทหารอากาศ

(4) พลเรือนและทหาร

(5) ผู้ที่ทําการกู้เอกราชจากพระเจ้าบุเรงนอง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ

95 สงครามระหว่างไทยกับพม่า ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยายุติลงตรงกับสมัยรัชกาลที่เท่าใด

(1) สมัยรัชกาลที่ 1

(2) สมัยรัชกาลที่ 2

(3) สมัยรัชกาลที่ 3

(4) สมัยรัชกาลที่ 4

(5) สมัยรัชกาลที่ 5

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างไทย (สยาม) กับพม่าในอดีตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นไปในด้านสงคราม โดยไทยกับพม่าทําสงครามกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ แต่สงครามได้ยุติหรือสิ้นสุดลงในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากพม่าแพ้สงครามและตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

96 “คณะราษฎร” ประกอบไปด้วยบุคคลกลุ่มใดต่อไปนี้

(1) ทหารบก ทหารเรือ พลเรือน

(2) ทหารอากาศ ทหารบก ทหารเรือ

(3) ตํารวจ ทหาร พลเรือน

(4) ตํารวจ ทหารบก ทหารเรือ พลเรือน

(5) ตํารวจ ทหาร นักการเมือง

ตอบ 1 หน้า 41, 43 – 44, 62, 45 – 46 (S), 55 (S) คณะราษฎร อันประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือและพลเรือน ภายใต้การนําของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ร่วมกันลงมือทําการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เพื่อยึดอํานาจการปกครองจากรัชกาลที่ 7 ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติ

ที่แท้จริงเพียงครั้งเดียวในประเทศไทย

97 “กบฎผีบุญ” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคใดของไทย

(1) ภาคเหนือ

(2) ภาคอีสาน

(3) ภาคใต้

(4) ภาคตะวันออก

(5) ภาคกลาง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กบฏที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 – 2453) ได้แก่

1 กบฎ ร.ศ. 102 (พ.ศ. 2426)

2 กบฏผีบุญหรือกบฏผู้มีบุญ (ทางภาคอีสาน) พ.ศ. 2444

3 กบฏเงี่ยวเมืองแพร่ (ทางภาคเหนือ) พ.ศ. 2445 4. กบฎแขก (ทางภาคใต้) พ.ศ. 2445

98 เสนาบดีกระทรวงทุกกระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีฐานะเท่าเทียมกัน และเมื่อมีการประชุมร่วมกัน เรียกว่าอย่างไร

(1) เสนาบดีกระทรวง

(2) เสนาบดีทบวง

(3) เสนาบดีสภา

(4) เสนาบดีรัฐสภา

(5) เสนาบดีกระทรวงรัฐสภา

ตอบ 3 หน้า 33, (ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ) เสนาบดีกระทรวงทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกันและประชุมร่วมกันเป็น “เสนาบดีสภา” (Council of State) ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและ ช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่กษัตริย์มอบหมาย เพราะอํานาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของกษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

99 วันที่ 27 มิถุนายน 2475 มีความสําคัญต่อประเทศไทยอย่างไร

(1) วันประกาศเลิกทาส

(2) วันที่ประเทศไทยได้เอกราช

(3) วันประกาศกฎอัยการศึก

(4) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก

(5) วันชาติไทย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ

100 การให้สมญานามว่า “รัฐบาลลืมเปลือกหอย” ควรตรงกับนายกรัฐมนตรีท่านใด

(1) นายบรรหาร ศิลปอาชา

(2) นายชวน หลีกภัย

(3) นายควง อภัยวงศ์

(4) นายทวี บุณยเกตุ

(5) นายอานันท์ ปันยารชุน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

Advertisement