การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1001 วัฒนธรรมและศาสนา

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 วัฒนธรรม คือ

(1) สิ่งที่มนุษย์คิด เชื่อ สร้าง และสังคมยอมรับว่าดีมีประโยชน์

(2) วิถีชีวิตของมนุษย์และสังคมที่สืบเนื่องกันมา

(3) ความเจริญทางจิตใจ วัตถุ และสังคม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 7 – 10, (คําบรรยาย) ความหมายของ “วัฒนธรรม” มีดังนี้

1 คือ สิ่งที่มนุษย์คิด เชื่อ สร้าง และสังคมยอมรับว่าดีมีประโยชน์ เช่น การสวดมนต์ข้ามปี การนอนอาบแดด การสร้างเรือหาปลา กระท่อมชาวเล ฯลฯ แต่วัฒนธรรมจะไม่รวมถึง สิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เห็นว่าเป็นสิ่งไม่ดี รวมทั้งพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาติญาณหรือพฤติกรรมตามธรรมชาติ (สัตว์และพืช) เช่น หาดทราย-สายลม แสงแดด ปลา ฯลฯ

2 คือ วิถีชีวิตของมนุษย์และสังคมที่สืบเนื่องกันมา เป็นมรดกของสังคม

3 คือ ความเจริญทางจิตใจ วัตถุ และสังคม ทั้งนี้ในวัฒนธรรมทุกชนชาตินั้นย่อมแสดงถึงสัญลักษณ์ความเจริญ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ นวัตกรรม และภูมิปัญญาของคนในชาตินั้นเป็นต้น

2 ข้อใดเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม

(1) ภูมิปัญญา

(2) เอกลักษณ์

(3) นวัตกรรม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

3 ข้อใดไม่เป็นวัฒนธรรม

(1) หาดทราย-สายลม

(2) นอนอาบแดด

(3) เรือหาปลา

(4) กระท่อมชาวเล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

4 วัฒนธรรมสําคัญมากเพราะ

(1) ดํารงเชื้อชาติ

(2) ทําให้เป็นมนุษย์

(3) แสดงถึงความเจริญ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 5, 12, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมมีความสําคัญ ดังนี้

1 ดํารงเชื้อชาติ โดยจะเป็นกระจกเงาที่ส่องความเป็นมาของชนชาตินั้น ๆ เช่น ชาวอิสราเอล รักษาวัฒนธรรมมากกว่า 3,000 ปี, ชาวมอญสืบต่อวัฒนธรรมมาเกือบพันปี, ชาวเขาดํารงพิธีกรรมความเชื่อมาหลายร้อยปี

2 ทําให้คนเป็นมนุษย์ เพื่อปกปิดสัญชาตญาณธรรมชาติ อันเป็นสัญชาตญาณดิบ เช่น ไม่กินทันทีแม้กระหายอยากจะกิน แต่ต้องรอให้ถึงเวลากิน และกินอย่างมีระเบียบตามรูปแบบแห่งวัฒนธรรม

3 แสดงถึงความเจริญของชาติ สัญลักษณ์ ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของคนในชาติ เป็นต้น

5 ข้อใดเป็นอารยธรรม

(1) ฟุตบอล

(2) เลขอารบิค

(3) โทรศัพท์มือถือ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมกับอารยธรรมมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วขยายตัวขึ้นหรือเจริญแพร่หลายไปเป็นอารยธรรม หรืออารยธรรม เป็นความเจริญงอกงามที่เกิดจากการรวมตัวของวัฒนธรรม ดังนั้นอารยธรรมจึงมีลักษณะของ ความเป็นสากล หรือเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่ยอมรับนําไปใช้จนเป็นสากล เช่น การปกครองระบอบประชาธิปไตย, กีฬาโอลิมปิก, กีตาร์, เปียโน, ไวโอลิน, โทรศัพท์มือถือ, เลขอารบิค, รถยนต์, เครื่องบิน, การประกวดนางงามจักรวาล, การแข่งขันชิงแชมป์ฟุตบอลโลก, เครื่องหมายกาชาดสีแดง, 1 มกราคมเป็นวันปีใหม่, วันวาเลนไทน์, วันแรงงาน, เพลง Happy Birthday, เสื้อครุยปริญญา, ชุดสูท, การจัดงาน World Expo ฯลฯ

6 ภูมิปัญญาไทย ได้แก่

(1) กังหันน้ำชัยพัฒนา

(2) ต้มยํากุ้ง

(3) นวดแผนไทย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภูมิปัญญาไทย คือ การใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวความคิดทางสังคม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติ ความเป็นสังคม อันมีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคม และทําให้ได้รู้หรือเข้าใจความเป็นมาของ ชนชาติไทยในอดีตมากขึ้น โดยภูมิปัญญาไทยนั้นจะมีอยู่ในทุกวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมหลวง และเอกลักษณ์ เช่น เรือนไทย วัดไทย ผ้าไทย (การใช้พืชย้อมผ้า ผ้าขาวม้า ผ้าไหม) คําไทย (พ่อ แม่ พี่ น้อง) อาหารไทย (ต้มยํากุ้ง) ยาไทย (ยาหอมแก้ลม) ดนตรีไทย นวดแผนไทย กังหันน้ำชัยพัฒนา รถตุ๊ก ๆ ฯลฯ

7 เอกลักษณ์ไทย ได้แก่

(1) รักในหลวง

(2) ไม่เป็นไร-ให้อภัย

(3) ไหว้

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 63 – 64, 67 – 68, (คําบรรยาย) ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ได้แก่ เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ รักพระเจ้าอยู่หัว (รักในหลวง) สุภาพอ่อนน้อม ลักษณะการไหว้ ยิ้มแย้มเป็นมิตร ยิ้มสู้-ยิ้มได้เมื่อภัยมา มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจบุญ เมตตากรุณา โอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือ ผู้ทุกข์ยาก สนุกสนาน ลืมง่าย มักให้อภัยเสมอ โกรธไม่นาน ซึ่งคนไทยให้อภัยจนชอบพูดติดปากเสมอว่า “ไม่เป็นไร”

8 สัญลักษณ์ไทย ได้แก่

(1) ธงไตรรงค์

(2) ตราครุฑ

(3) พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สัญลักษณ์ของประเทศไทย ได้แก่

1 ธงไตรรงค์ (ธงชาติไทย)

2 ตราครุฑ

3 พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9

4 เรือสุพรรณหงส์

5 ศาลาไทย

6 ช้างไทย

7 อักษรไทย เป็นต้น

9 วัฒนธรรมพื้นบ้านภาคอีสาน ข้อใดไม่ใช่

(1) แห่ผีตาโขน

(2) แห่นางแมวขอฝน

(3) ประเพณีชิงเปรต

(4) พิธีบายศรีสู่ขวัญ

ตอบ 3 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมราษฎร์หรือวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมพื้นบ้านแต่ละภาค มีดังนี้

1 ภาคเหนือ เช่น การแอ่วสาว การไหว้ผี การผูกข้อมือ การจุดโคมลอย การฟ้อนเล็บ สะล้อ ซอ ซึง เปิงมาง ฯลฯ

2 ภาคกลาง เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงอีแซว เพลงลูกทุ่ง เพลงรําวง นิทานพื้นบ้าน ลิเก ลําตัด

รํากลองยาว การรําถวาย การทําบุญตักบาตรวันสงกรานต์ที่สนามหลวง ฯลฯ 3 ภาคอีสาน เช่น การผิดผี การไหว้ผีปู่ย่า การรําผีฟ้า การไล่ผีปอบ การแห่ผีตาโขน การแห่นางแมวขอฝน การแห่บั้งไฟ พิธีบายศรีสู่ขวัญ รําซิ่ง การตีโปงลาง ฯลฯ

4 ภาคใต้ เช่น ประเพณีชิงเปรต ประเพณีเพลงบอก การสวดโอ้เอ้วิหารราย หนังตะลุง ลิเกป่า ลิเกตันหยง รํามโนราห์ ฯลฯ

10 วัฒนธรรมหลวง ข้อใดไม่ใช่

(1) พิธีแรกนาขวัญ

(2) พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

(3) พิธีบายศรีสู่ขวัญ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 180 – 182, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมหลวง ได้แก่ พิธีแรกนาขวัญ (พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ) พิธีโล้ชิงช้า การแสดงโขนหน้าพระเมรุ การขับร้องเห่เรือสุพรรณหงส์ เพลงสรรเสริญ พระบารมี การอภัยโทษ พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พิธีสมรสพระราชทาน เป็นต้น(ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ)

11 ประชาชนจํานวนมากตั้งใจว่า “จะทําความดีตามรอยพระบรมราโชวาทรัชกาลที่ 9” จัดเป็นวัฒนธรรม

(1) สหธรรม

(2) วัตถุธรรม

(3) เนติธรรม

(4) คติธรรม

ตอบ 4 หน้า 99 – 102, 104 (คําบรรยาย) วัฒนธรรมคติธรรม เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจเกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาบรรณ อันเป็นหลักหรือแนวทางดําเนินชีวิตที่ดีที่ควรยึดถือและควรปฏิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของความเชื่อและคตินิยมทางศาสนา เช่น ประชาชนจํานวนมาก ตั้งใจว่า “จะทําความดีตามรอยพระบรมราโชวาทรัชกาลที่ 9” หรือ “เดินตามรอยพ่อ” ของรัชกาลที่ 9, คนไทยรักในหลวง, พุทธสุภาษิต (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กฎแห่งกรรม) คนดีผีคุ้ม), สุภาษิตคติเตือนใจเกี่ยวกับการงาน (หนักเอาเบาสู้ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง), สุภาษิตคติเตือนใจในการคบมิตร (เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก), สุภาษิตคติเตือนใจ ในการประพฤติ (ไม่เป็นไร, น้ำร้อนปลาเป็น-น้ำเย็นปลาตาย บวชก่อนเบียด) และคติธรรมสอนหญิง (รักนวลสงวนตัว)

12 ข้อใดเป็นโครงการในพระราชดําริของรัชกาลที่ 9

(1) แก้มลิง

(2) แกล้งดิน

(3) ชั่งหัวมัน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โครงการในพระราชดําริของรัชกาลที่ 9 ได้แก่ แก้มลิง แกล้งดิน ชั่งหัวมัน ฝนหลวง ฝายชะลอน้ำ หญ้าแฝก ฯลฯ

13 รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์เพลงจํานวนมาก ข้อใดไม่ใช่

(1) ชะตาชีวิต

(2) ชะตาฟ้า

(3) แสงเทียน

(4) ใกล้รุ่ง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9 ได้แก่ ชะตาชีวิต แสงเทียน ใกล้รุ่ง อาทิตย์อับแสง ยามเย็น ยามค่ำ สายฝน สายลม ลมหนาว ฝัน รัก แผ่นดินของเรา เราสู้ พรปีใหม่ ฯลฯ

14 รัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดแห่งชาติในปี 2560

(1) 28 กรกฎาคม

(2) 26 ตุลาคม

(3) 5 ธันวาคม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะรัฐมนตรีประกาศให้วันที่ 26 ตุลาคม 2560 เป็นวันหยุดราชการ เนื่องด้วยเป็นวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในงานพระราชพิธี

15 วัฒนธรรมเนติธรรมไทย ถ้าเมาแล้วขับจะถูกลงโทษ ข้อใดไม่ใช่

(1) ยึดใบขับขี่

(2) ยึดบัตรประจําตัวประชาชน

(3) คุมประพฤติ

(4) ปรับ

ตอบ 2 หน้า 106 – 109, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางเนติธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายกฎมณเฑียรบาล สิทธิหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ จารีตประเพณี ข้อห้าม ทางศาสนา และหมายความรวมถึงพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษ กระบวนการลงโทษ และกระบวนการพิจารณาความลงโทษด้วย เช่น วัฒนธรรมเนติธรรมของไทย ได้แก่ เมาไม่ขับ ถ้าเมาแล้วขับจะถูกยึดใบขับขี่ จับปรับและคุมประพฤติ, การที่รัฐบาลประกาศขยายเวลาใช้ พระราชกําหนดแรงงานที่มีบทลงโทษแรงงานผิดกฎหมาย ไปถึงสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2560 และเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป เป็นต้น

16 วัฒนธรรมเนติธรรมไทย รัฐประกาศขยายเวลาใช้ พระราชกําหนดแรงงานที่มีบทลงโทษแรงงานผิดกฎหมาย ไปถึง

(1) 1 พฤศจิกายน 2560

(2) 1 ธันวาคม 2560

(3) 1 มกราคม 2561

(4) 1 กุมภาพันธ์ 2561

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

17 พิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยวัฒนธรรม

(1) คติธรรม

(2) สหธรรม

(3) วัตถุธรรม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ตามราชพงศาวดารเรียกว่า“งานพระเมรุ” ซึ่งมีที่มาจาก พระเมรุมาศหรือพระเมรุ อันเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้าง ขึ้นเนื่องในพระราชพิธีสําคัญ ทั้งนี้พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยวัฒนธรรมคติธรรม สหธรรม และวัตถุธรรม

18 พิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ชั้นสูง ณ ท้องสนามหลวงจะมีการแสดงทุกครั้ง

(1) รําอวยพร

(2) ละครชาตรี

(3) โขน

(4) ลิเก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) โขน เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อยมีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและสืบต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้โขนในสมัย โบราณนั้นถือเป็นการละเล่นของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ ใช้สําหรับแสดงในงานพระราชพิธีเท่านั้น (เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ชั้นสูง) ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากรมีหน้าที่ในการจัดแสดง

19 วัฒนธรรมคติธรรม ได้แก่

(1) กฎแห่งกรรม

(2) น้ำร้อนปลาเป็น-น้ำเย็นปลาตาย

(3) บวชก่อนเบียด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

20 วัฒนธรรมคติธรรม ข้อใดไม่ใช่

(1) สําเนียงส่อภาษา-กิริยาส่อสกุล

(2) คนไทยรักในหลวง

(3) ไม่เป็นไร

(4) เดินตามรอยพ่อ

ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมสหธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับสังคมส่วนรวม ครอบครัวสาธารณชนและประเทศชาติ ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่นท้องถิ่น การแข่งขันกีฬา และจรรยามารยาทหรือกิริยามารยาทต่าง ๆ ในสังคม เช่น การที่ประชาชนจํานวนมาก มีจิตอาสาเก็บคัดแยกขยะในช่วงเวลาถวายบังคมพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ที่สนามหลวง, การรู้จักกาลเทศะดังคําพังเพยที่กล่าวว่า “สําเนียงส่อภาษา-กิริยาส่อสกุล”, การลุกให้เด็ก คนชรา หญิงมีครรภ์นั่งในรถเมล์, การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก, เทศกาลสงกรานต์, วันสตรีสากล, เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ การ Countdown การจุดพลุ) เป็นต้น(ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ)

21 วัฒนธรรมสหธรรม ได้แก่

(1) การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

(2) เทศกาลสงกรานต์

(3) วันสตรีสากล

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

22 เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ข้อใดไม่เป็นวัฒนธรรมสหธรรม

(1) Countdown

(2) จุดพลุ

(3) ซื้อหวยเลขท้ายปี พ.ศ.

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

23 วัฒนธรรมไทย ข้อใดจัดเป็นความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา

(1) ผีปอป-ผีฟ้า

(2) พระสยามเทวาธิราช

(3) เจ้าป่าเจ้าเขา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมของชาวไทยนั้น แต่เดิมมีความเชื่อมาจากการนับถือผีสาง-เทวดาตามลัทธิวิญญาณนิยม (เช่น ผีปอป-ผีฟ้า เจ้าป่าเจ้าเขา พระสยามเทวาธิราช ฯลฯ) ต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียก็รับเอาคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มานับถือ (เช่น เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์ แม่พระธรณีบีบมวยผมที่ท้องสนามหลวง พระเมรุมาศ ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ฯลฯ) และเมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ ชาวไทยก็ศรัทธาเลื่อมใสพุทธศาสนามากจนยอมรับเป็นศาสนาประจําชาติ แต่ชาวไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ละทิ้งความเชื่อเรื่องผีสางเทวดาและคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

24 วัฒนธรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

(1) เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์

(2) แม่พระธรณีบีบมวยผมที่ท้องสนามหลวง

(3) พระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

25 ข้อใดมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรศรีวิชัย

(1) จตุคามรามเทพ

(2) พระพุทธสิหิงค์

(3) พระปฐมเจดีย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 69 – 71, (คําบรรยาย) อาณาจักรศรีวิชัย เป็นอาณาจักรใหญ่ที่เจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมและวัฒนธรรมอย่างสูง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของดินแดนสุวรรณภูมิ โดยศิลปวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง และเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ โบราณสถานวัดพระมหาธาตุ นอกจากนี้ยังมีศิลปะการแสดงที่ได้รับ อิทธิพลมาจากอินเดีย เช่น หนังใหญ่ หนังตะลุง อิทธิพลความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เช่น จตุคามรามเทพ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ เช่น ประเพณีกินเจ ประเพณีชิงเปรต ฯลฯ

26 ข้อใดมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรทวาราวดี

(1) จตุคามรามเทพ

(2) พระพุทธสิหิงค์

(3) พระปฐมเจดีย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 72 – 73 อาณาจักรทวาราวดี เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมและวัฒนธรรมอย่างสูงในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันได้แก่ บริเวณจังหวัดนครปฐม (พระปฐมเจดีย์) ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ไทรโยค แควใหญ่ และแควน้อย โดยชนชาติมอญครอบครองอาณาจักรนี้มาช้านาน ต่อมาเมื่ออาณาจักรทวาราวดีอ่อนแอลงจึง ได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทยและมีการผสมกลมกลืนของวัฒนธรรม โดยส่วนใหญ่ แล้ววัฒนธรรมของอาณาจักรทวาราวดีนั้นได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งที่สําคัญคือการรับคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธ

27 ข้อใดมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย

(1) จตุคามรามเทพ

(2) พระพุทธสิหิงค์

(3) พระปฐมเจดีย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 82 83 ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคําแหง อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญสูงสุด และได้ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่ออกไปมาก มีการทําสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรทางเหนือของ พญามังรายและพญางําเมือง จนถึงกับทําสัญญาเป็นพระสหายร่วมสาบาน นอกจากนี้ พ่อขุนรามคําแหงยังได้เจริญพระราชไมตรีกับศรีลังกาจนได้รับมอบพระพุทธรูปที่งดงามล้ำค่ามากองค์หนึ่งให้แก่ประเทศไทย คือ “พระพุทธสิหิงค์”

28 ข้อใดไม่อยู่ในปัญญาสชาดก

(1) สังข์ทอง

(2) พระรถ-เมรี

(3) อิเหนา

(4) มโนราห์

ตอบ 3 หน้า 78 – 81 ปัญญาสชาดก ชาดก 50 เรื่อง) คือ วรรณกรรมพุทธศาสนานอกพระไตรปิฎกในสมัยอาณาจักรล้านนา ซึ่งถือเป็นต้นกําเนิดของวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น สุธนชาดก (พระสุธน-มโนราห์), รถเสนชาดก (พระรถเสน-เมรี-นางสิบสอง) และสุวัณณสังขชาดก(สังข์ทอง-รจนา) เป็นต้น ส่วนอิเหนาและพระอภัยมณี เป็นวรรณกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์)

29 วัฒนธรรมความเชื่อของฮินดูมีเทพเจ้าสูงสุด 3 องค์ รวมเรียกว่า

(1) ตรีเทพ

(2) ตรีเอกานุภาพ

(3) ตรีมูรติ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 24, 273 – 275 ชาวอินเดียมีวัฒนธรรมความเชื่อว่าเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดูมี 3 องค์ รวมเรียกว่า “ตรีมูรติ” ได้แก่

1 พระพรหม ผู้สร้างทุกสิ่งในจักรวาล พระพรหมมี 4 หน้า (4 พักตร์) โดยมีพระสุรัสวดีเป็นพระมเหสี

2 พระวิษณุ (พระนารายณ์) ผู้รักษาทุกสิ่งในจักรวาล พระวิษณุมี 4 มือ (4 กร)โดยมีพระลักษมีเป็นพระมเหสี

3 พระอิศวร (พระศิวะ) ผู้ทําลายทุกสิ่งในจักรวาล พระอิศวรมี 3 ตา (3 เนตร) ซึ่งตาที่สามอยู่ที่หน้าผาก โดยมีพระอุมาเทวี (เจ้าแม่ทุรคา เจ้าแม่กาลี) เป็นพระมเหสี และมีพระโอรส 2 พระองค์ คือ พระพิฆเนศ และพระขันทกุมาร

30 วัฒนธรรมอินเดียแบ่งชนชั้นอย่างเคร่งครัดโดยใช้เป็นตัวกําหนด

(1) สัญชาติ

(2) ชาติกําเนิด

(3) ฐานะทางเศรษฐกิจ

(4) ระดับการศึกษา

ตอบ 2 หน้า 24 – 25 วัฒนธรรมอินเดียแบ่งชนชั้นอย่างเคร่งครัดโดยใช้ชาติกําเนิดเป็นตัวกําหนดโดยชาวฮินดูเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้แบ่งชั้นวรรณะของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนต้องยอมรับต่อฐานะ แห่งชาติกําเนิดของตนที่พระพรหมกําหนดให้ โดยปฏิบัติตนดํารงชีวิตไปตามฐานะวรรณะของ ตนในสังคม เช่น คนในวรรณะสูงก็จะแบ่งแยกไม่คบหาสมาคม มั่วสุมกับคนวรรณะต่ำ,อาชีพการงานก็ต้องทําจํากัดเฉพาะที่คนวรรณะต่ำควรทํา เป็นต้น

31 วรรณะจัณฑาลถูกจํากัดโดยศาสนาในเรื่องใด

(1) อาชีพการงาน

(2) การแต่งงาน

(3) ฐานะทางสังคม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 24 – 25, 267, (คําบรรยาย) คนในวรรณะจัณฑาลในสังคมและวัฒนธรรมอินเดียมีสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น ทุกข์ยาก ลําบาก ทํางานหนัก รายได้น้อย โดยวรรณะจัณฑาล ถูกจํากัดโดยศาสนาในหลายเรื่อง เช่น อาชีพการงาน มักเป็นอาชีพที่ต่ำ ลําบาก และคนทั่วไป ไม่อยากจะทํากัน ได้แก่ กวาดถนน เก็บขยะ ล้างส้วม สัปเหร่อ ฯลฯ, การแต่งงาน, ฐานะทาง สังคมต่ำสุด และรัฐบาลก็พยายามแยกคนพวกนี้ออกจากสิทธิเสรีภาพอันพึงมีทางกฎหมายไม่ให้ทัดเทียมกับคนวรรณะอื่น ๆ ในสังคม

32 มารดาของมหาตมะ คานธี สอนว่าเมื่อคานธีถูกตัวจัณฑาลให้ล้างมลทินโดยเอามือเช็ดที่

(1) พื้นดิน

(2) ต้นไม้ใหญ่

(3) ผ้าเช็ดเท้า

(4) ผู้นับถือศาสนาอื่น

ตอบ 4 หน้า 26, (คําบรรยาย) ท่านมหาตมะ คานธี ในวัยเด็กมักจะไปถูกต้องตัวเด็กวรรณะจัณฑาลอยู่บ่อย ๆ ขณะไปโรงเรียน มารดาของท่านจึงสอนวิธีชําระล้างมลทินแบบย่อโดยให้ท่านเอามือ ไปเช็ดคนนอกศาสนาหรือคนนับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น พวกมุสลิม ฯลฯ ก็จะถือว่าทําให้มลทินหมดไปจากตัวแล้ว

33 อาบน้ำล้างบาปในแม่น้ำคงคาทําวันใดได้ผลมากที่สุด

(1) ศิวาราตรี

(2) วันที่เกิดสุริยคราส

(3) วันที่เกิดจันทรคราส

(4) วันเกิดตนเอง

ตอบ 1 หน้า 26, 284 วันศิวาราตรี เป็นวันที่ชาวฮินดูทําพิธีบวงสรวงบูชาและทําพลีกรรมแก่พระศิวะซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ของพุทธศาสนา และนอกจากนี้ชาวฮินดูยังมี ความเชื่อว่า การอาบน้ำล้างบาปในแม่น้ำคงคาจะศักดิ์สิทธิ์และได้ผลมากที่สุดถ้าหากได้อาบในวันศิวาราตรีนี้

34 ประเทศใดได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย

(1) มาเลเซีย

(2) อินโดนีเซีย

(3) เนปาล

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23, 51, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลครอบคลุมและเป็นแม่แบบวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า มอญ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย (เกาะบาหลี) มาเลเซีย จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เนปาล เป็นต้น โดยวัฒนธรรมอินเดียนั้นจะเข้ามามี อิทธิพลต่อวัฒนธรรมชาติต่าง ๆ โดยผ่านทางศาสนามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ พิธีกรรมการบูชาเทพเจ้า และอื่น ๆ

35 “วันศิวาราตรี” ตรงกับวัน

(1) วิสาขบูชา

(2) อาสาฬหบูชา

(3) มาฆบูชา

(4) วันลอยกระทง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

36 ชาวอินดูจะไม่…..ในแม่น้ำคงคา

(1) ทิ้งศพเด็ก

(2) ทิ้งเถ้ากระดูก

(3) อาบน้ำ-ซักผ้า

(4) ทิ้งขยะ

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 31, 287 ศรัทธาของชาวฮินดูที่มีต่อแม่น้ำคงคานั้น ได้ฝังลึกอยู่ในสายเลือดตั้งแต่บรรพบุรุษสืบทอดนับถือมาจนถึงปัจจุบัน โดยพวกเขาถือว่า แม่น้ำคงคานั้นเปรียบเสมือน มารดาผู้ให้ชีวิตและความอุดมสมบูรณ์หล่อเลี้ยงชาวอินเดียทั้งประเทศตลอดมาหลายพันปี ดังนั้นชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูทุกคนจึงใช้แม่น้ำคงคานี้สําหรับทําพิธีล้างบาป อาบน้ำ ซักผ้า ทิ้งศพเด็ก ทิ้งเถ้ากระดูก (ของมนุษย์เท่านั้น) นําไปผสมทําพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ใช้น้ำทําเป็นน้ำมนต์ดื่มกินเพื่อเป็นสิริมงคลและรักษาโรค

37 วัฒนธรรมอินเดียกินหมากเป็นของว่างและแจกหมากในการสิ้นสุด

(1) งานเลี้ยงฉลอง

(2) งานเผาศพ

(3) งานแข่งขันกีฬา

(4) งานพิธีบูชาเทพเจ้า

ตอบ 1 หน้า 34 – 35 วัฒนธรรมอินเดียเรื่องอาหารการบริโภคนั้น ชาวอินเดียถือเป็นแหล่งต้นตํารับของวัฒนธรรมการกินหมาก โดยธรรมเนียมปฏิบัติในการรับประทานอาหารในครอบครัวอินเดีย จะรับประทานพร้อมกันทั้งครอบครัว เมื่อรับประทานเสร็จล้างมือแล้วมักจะเคี้ยวหมากล้างปาก ซึ่งในการเลี้ยงอาหารต่าง ๆ เมื่อมีการนําถาดใส่หมากพลูมาเสิร์ฟ ก็แสดงว่าการรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงฉลองสิ้นสุดลงแล้ว

38 วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย ได้แก่

(1) ศาสนา

(2) สถาบันกษัตริย์

(3) เทศกาลประเพณี

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59, 163, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย ได้แก่ ศาสนา (พราหมณ์-ฮินดู) สถาบันกษัตริย์ สัญลักษณ์ราชวงศ์จักรี) เทศกาลประเพณี (เทศกาลสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง) วรรณกรรม (รามเกียรติ์) พิธีกรรม เทพเจ้า ภาษา อาหาร เป็นต้น

39 ประเทศอินเดียให้วัน…เป็นวันหยุดราชการ

(1) วันบูชาเจ้าแม่กาลี

(2) วันบูชาเจ้าแม่ทุรคา

(3) วันบูชาพระแม่อุมา

(4) วันบูชาพระแม่คงคา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เจ้าแม่ทุรคา เป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวี ซึ่งเป็นที่นับถือของคนอินเดียมากจนให้วันบูชาเจ้าแม่ทุรคาเป็นวันหยุดราชการเพื่อทําพิธีเฉลิมฉลองให้เจ้าแม่ทุรคา เรียกว่า เทศกาลนวราตรีคุเซราห์ ส่วนในประเทศไทยงานฉลองนี้จะมีขึ้นประจําทุกปีที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี(วัดแขกสีลม) โดยมีการแห่ไปตามท้องถนนในเวลากลางคืนด้วยดอกดาวเรืองและสิ่งบูชาต่าง ๆ

40 สตรีอินเดียได้ดํารงตําแหน่งสําคัญหลายตําแหน่ง… ข้อใดไม่ใช่

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) หัวหน้าพรรคการเมือง

(3) ประธานสภาผู้แทน ๆ

(4) นางงามโลก

ตอบ 3 หน้า 28, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันสังคมอินเดียได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้นตามลําดับโดยสตรีได้รับการศึกษาและมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมบุรุษหลายประการตามกฎหมาย ทําให้ สตรีมีสิทธิได้เป็นผู้นําทางการเมือง ธุรกิจ และสังคมต่าง ๆ ได้ดํารงตําแหน่งสําคัญหลายตําแหน่ง เช่น นางอินทิรา คานธี เป็นสตรีฮินดูที่เคยดํารงตําแหน่งสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย, เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง เป็นนางงามโลก เป็นต้น

41 ชนชาติใดไม่เคยปกครองอาณาจักรจีน

(1) มองโกล

(2) แมนจู

(3) ทิเบต

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) ประเทศจีนในสมัยโบราณมีชนเผ่าต่าง ๆ มากมาย เช่น เผ่าไทย มองโกล ทิเบต จีน แมนจู แม้ว เติร์ก เป็นต้น ต่อมาชนชาติมองโกลได้พยายามรวบรวม ดินแดนและชนเผ่าต่าง ๆ ไว้เป็นอาณาจักรเดียวกันได้ แต่ก็ยังยึดครองชนเผ่าจีนได้ไม่หมด ต่อมาชนชาติแมนจูเรืองอํานาจยกทัพมาตีได้ชนชาติจีนและรวบรวมอาณาจักรจีนเป็น อาณาจักรเดียวในพื้นแผ่นดินอันกว้างใหญ่นี้ จวบจนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าแมนจูเป็นชนชาติที่เคยปกครองอาณาจักรยาวนานที่สุด

42 วัฒนธรรมทางจิตใจของจีน ข้อใดไม่ใช่

(1) ขยัน อดทน

(2) แก้แค้น พยาบาท

(3) ชอบการค้า

(4) เชื่อผี-เทวดา

ตอบ 2 หน้า 38 วัฒนธรรมทางจิตใจของชาวจีนนั้น ชาวจีนมีนิสัยกตัญญ ชอบทําการค้า ขยันมานะอดทน และมีอัธยาศัยอ่อนน้อมต่อลูกค้า นอกจากนี้ชาวจีนยังมีคตินิยมในการดํารงชีวิต เป็นลักษณะเฉพาะของตน มีปรัชญาและความเชื่อของตนเอง นับถือผีสางเทวดา วิญญาณ บรรพบุรุษ วีรชนและสัตว์ต่าง ๆ มีระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆมานานหลายพันปี

43 วัฒนธรรมจีนที่แสดงถึงความกตัญญ ได้แก่

(1) เทศกาลเชงเม้ง

(2) เทศกาลกินเจ-แห่เจ้า

(3) เทศกาลไหว้พระจันทร์

(4) ล้างป่าช้า

ตอบ 1 หน้า 41, 44, คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางจิตใจของจีนที่แสดงถึงความกตัญญ ได้แก่

1 สร้างฮวงซุ้ย (สุสาน) ฝังศพอย่างดี โดยชาวจีนเชื่อว่าหลุมฝังศพของบรรพบุรุษ เป็นที่สถิตแห่งดวงวิญญาณ นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวงศ์ตระกูล

2 เทศกาลเชงเม้ง คือ ไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ

3 เซ่นไหว้วันตรุษจีน โดยชาวจีนจะเตรียมอาหารอย่างดีไว้เซ่นไหว้บรรพบุรุษ และเทพเจ้าต่าง ๆ

4 ทําพิธีกงเต๊กงานศพ ซึ่งเป็นการทําบุญให้แก่ผู้ตายหรือบรรพบุรุษ โดยมีการสวดและเผากระดาษที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน มีคนรับใช้ เป็นต้น

44 วรรณกรรมอมตะจีนที่มีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนา คือ

(1) คัมภีร์อี้จิง

(2) สามก๊ก

(3) ไซอิ๋ว

(4) ซุนหวู่

ตอบ 3 หน้า 39 เมื่อพุทธศาสนานิกายมหายานเผยแผ่เข้ามาในประเทศจีน ความเชื่อในเรื่องพระโพธิสัตว์ก็เข้ามามีอิทธิพลต่อความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีน เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นความเชื่อเรื่อง ปีศาจ ผีสาง เทวดา เซียนเพิ่มขึ้นมา ทําให้เกิดตํานานเทพนิยาย และนิทานพื้นเมืองเกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าวมากมายซึ่งที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ ตํานานเรื่อง “ไซอิ๋ว”

45 เมื่อชาวจีนตั้งถิ่นฐานชุมชนเจริญแล้วก็จะสร้าง… ข้อใดก่อน

(1) โรงรับจํานํา

(2) โรงเจ

(3) โรงน้ำชา

(4) ศาลเจ้า

ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) เมื่อชาวจีนตั้งถิ่นฐานชุมชนเจริญแล้ว ชาวจีนไม่ว่าจะอยู่ในดินแดนใดในโลก สิ่งแรกที่ชาวจีนจะสร้าง คือ ศาลเจ้า เพื่อทําพิธีตามความเชื่อหลักของวัฒนธรรม ของชนชาติจีน นอกจากนี้แล้วก็จะมีสุสานแห่งบรรพบุรุษ โรงเจ (โรงทาน) โรงรับจํานํา โรงงิ้ว และโรงน้ำชา เป็นต้น

46 วัฒนธรรมจีนเมื่อพบกันจะทักกันว่า

(1) รวยหรือยัง

(2) กินข้าวหรือยัง

(3) ค้าขายดีไหม

(4) มีลูกกี่คนแล้ว

ตอบ 2 หน้า 47 ตามวัฒนธรรมจีนนั้นคนจีนเมื่อพบปะกันในสมัยก่อนจะทักทายกันว่า “เจี๊ยะฮ้อ”คือ กินข้าวหรือยัง ทั้งนี้เพราะเขาถือว่า ปากท้องเป็นเรื่องสําคัญ สติปัญญาอยู่ที่ท้องถ้าท้องอิ่มก็เกิดสติปัญญา และกองทัพเดินด้วยท้อง

47 ธงชาติของประเทศจีนมีดาวดวง

(1) 3

(2) 5

(3) 7

(4) 9

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ธงชาติจีนเป็นพื้นสีแดง มีดาวสีเหลืองจํานวน 5 ดวง (เป็นดาวดวงใหญ่ 1 ดวง และดวงเล็ก 4 ดวง) ซึ่งเรียงกันคล้ายกับลักษณะแผนที่จีน โดยมีความหมายว่า มีความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันของจีนทั้งประเทศ ภายใต้การนําของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่วนดาวที่เป็นสีเหลือง จะหมายถึงชาวจีนเป็นกลุ่มคนผิวเหลืองนั่นเอง

48 ประเทศจีนปกครองแบบ 1 ประเทศ…ระบบ

(1) 1 ระบบมีประเทศเดียว

(2) 2 ระบบ (จีน + เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) (3) 3 ระบบ (จีน + เขตบริหารพิเศษฮ่องกงฯ + เขตบริหารพิเศษมาเก๊าฯ) (4) 2 ระบบ (จีน + ไต้หวัน)

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเทศจีนปกครองแบบ 1 ประเทศ 2 ระบบ (One Country, Two Systems) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มโดย เติ้ง เสี่ยวผิง เพื่อการรวมประเทศจีนระหว่างต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยเขาเสนอว่าจะมีเพียงจีนเดียว แต่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน สามารถมีระบบเศรษฐกิจและการเมืองแบบทุนนิยมได้

49 วัฒนธรรมอาหารของชาติที่ได้รับวัฒนธรรมจีน แต่ไม่กินเนื้อสุนัข

(1) เกาหลี

(2) ญี่ปุ่น

(3) เวียดนาม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอาหารของจีนนั้น ชาวจีนนิยมกินเนื้อสุนัขมานานแล้ว เพราะเชื่อว่าเนื้อสุนัขจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นและทนต่ออากาศหนาวได้ และยังพบว่ามีวัฒนธรรมอาหารของชาติอื่น ๆ ที่กินเนื้อสุนัขอย่างชาวจีน ได้แก่ เกาหลี เวียดนาม ทั้งนี้ยกเว้น ญี่ปุ่น ที่ไม่กินเนื้อสุนัข

50 วัฒนธรรมเนติธรรมของจีนปัจจุบันผู้กระทําผิดฆ่าหมีแพนด้ามีโทษสูงสุด คือ

(1) ประหารชีวิต

(2) จําคุกตลอดชีวิต

(3) จําคุก 50 ปี

(4) จําคุก 20 ปี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) วัฒนธรรมเนติธรรมของจีนนั้น ในปัจจุบันกฎหมายในประเทศจีนมีความรุนแรงมากขึ้น โดยผู้ที่กระทําผิดด้วยการฆ่าคน ฆ่าหมีแพนด้า และตั้งซ่องโสเภณีจะมีโทษสูงสุด คือ ประหารชีวิต

51 ประเทศญี่ปุ่นมี….น้อยมาก

(1) อาหารจากทะเล

(2) พื้นที่เพาะปลูก

(3) ประชากรสูงอายุ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 48 ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะพื้นที่เป็นหมู่เกาะน้อยใหญ่มากมาย ตั้งอยู่ในเขตอากาศอบอุ่น มี 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง มีประชากรรวมมากกว่า ร้อยล้านคน แต่มีพื้นที่เพาะปลูกน้อยเพียงประมาณ 17% ของพื้นที่ทั้งหมด

52 ชาวญี่ปุ่นมี….สูงมาก

(1) ชาตินิยม

(2) เจริญทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์

(3) ประชากรสูงอายุ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 48, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีความเป็นชาตินิยมสูงมากที่สุดชาติหนึ่งในโลก ซึ่งนับเป็นวัฒนธรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติ

2 มีความเจริญทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์สูงมากในโลก

3 มีประชากรสูงอายุสูงมาก ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะมีอายุขัยเฉลี่ยถึง 82 ปี ถือว่ามีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลก

53 วัฒนธรรมความเชื่อชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าจักรพรรดิองค์แรกสืบเชื้อสายจาก

(1) สุริยเทพ

(2) สุริยเทพี

(3) เทพนกกระเรียน

(4) เทพีแห่งดวงจันทร์

ตอบ 2 หน้า 49, 235 วัฒนธรรมความเชื่อของชาวญี่ปุ่นนั้น ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น ก็คือ สมเด็จพระจักรพรรดิยิมมูหรือยิมมูเทนโน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพอะมะเตระสุ โดยจุติที่เกาะคิวชูพร้อมกับเพชร 1 เม็ด (หรือดวงแก้ว) ดาบ และกระจก เป็นของวิเศษสําคัญประจําตัวติดตัวมาจากสวรรค์ด้วย

54 วัฒนธรรมความเชื่อญี่ปุ่นเกี่ยวกับเทพเจ้า วิญญาณ พลังในธรรมชาติ ได้แก่

(1) ศาลเจ้า

(2) โทริ

(3) กามิ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 50 วัฒนธรรมทางคติธรรมความเชื่อของชาวญี่ปุ่น บรรพบุรุษชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า ผีสาง-เทวดา วิญญาณทั้งหลาย ซึ่งเชื่อว่าสิงสถิตอยู่ในธรรมชาติ เช่น วิญญาณภูเขา วิญญาณต้นไม้ วิญญาณแม่น้ำลําธาร โดยวิญญาณต่าง ๆ เหล่านี้เรียกว่า“กามิ” (KAMI) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในญี่ปุ่น และตั้งศาลเจ้ามีรูป “โทริ” (TDRI) อันถือว่าเป็นประตูวิญญาณ

55 ข้อใดเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบูชิโด

(1) ฮาราคีรี

(2) ซามูไร

(3) มิกาเซ่

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 51, (คําบรรยาย) อิทธิพลของลัทธิบูชิโดที่มีต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้แก่

1 วิถีทางแห่งนักรบซามูไร คือ “ยอมตายอย่างมีเกียรติดีกว่าอยู่อย่างไร้เกียรติ”

2 พิธีกรรมฆ่าตัวตายที่เรียกว่า “ฮาราคีรี”

3 การสละชีวิตตนเองของนักบินโดยการ ขับเครื่องบินพุ่งชนฝ่ายตรงข้ามให้ระเบิดไปพร้อมกันที่เรียกว่า “กามิกาเซ่”

4 ซามูไรไร้สังกัดหรือโรนิน ได้พัฒนาการมาเป็น “ยากูซ่า” ในปัจจุบัน เป็นต้น

56 ญี่ปุ่นได้รับวัฒนธรรมจากชนชาติ

(1) จีน

(2) อินเดีย

(3) เกาหลี

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 51 วัฒนธรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ มากมายหลายชาติ เช่น จีน อินเดีย เกาหลี ฮอลันดา โปรตุเกส ฯลฯ

57 วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ชาวโลกยอมรับและรู้จักกันทั่วมีมาก แต่ข้อใดไม่ใช่

(1) ชาเขียว

(2) อาหารญี่ปุ่น

(3) ยากูซ่า

(4) โดเรมอน

ตอบ 3 หน้า 53 – 55, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ชาวโลกยอมรับและรู้จักกันทั่วโลก ได้แก่ การเขียนหนังสือการ์ตูนและการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน (เช่น โดเรมอน) ชาเขียว อาหารญี่ปุ่น การทําดาบซามูไร การจัดสวนญี่ปุ่น ฯลฯ

58 วัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่น ไม่กิน…

(1) ไข่ดิบ

(2) เลือดดิบ

(3) ปลาดิบ

(4) เนื้อวัวดิบ

ตอบ 2 หน้า 55, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมในการบริโภคนั้น ชาวญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมในการดํารงชีวิตแบบเรียบง่าย กินอาหารตามสภาพธรรมชาติ ปรุงแต่งน้อย นิยมกินผักดิบ เนื้อดิบ (เช่น เนื้อวัวดิบ เนื้อวาฬดิบ) ปลาดิบ ไข่ดิบ (ไม่กินเลือดดิบ เนื้อหมาดิบ) กินข้าวปั้นก้อน ๆใช้จานไม้และไม้ไผ่ และบริโภคอาหารด้วยมือ

59 สุภาษิตญี่ปุ่น “ใช้กุ้งตก ”

(1) ปลากะพง

(2) ปลาทูน่า

(3) ปลาไหล

(4) ปลาหมึก

ตอบ 1 หน้า 55 – 56 ชาวญี่ปุ่นนิยมกินปลาซีบรีม ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายปลากะพงแดงมากโดยปลานี้จะมีสีสดใส มีรสเป็นเลิศ ชาวญี่ปุ่นจึงยกให้เป็นราชาแห่งปลา และมีความเชื่อว่าเป็น ปลามงคลล้ำค่า ขาดไม่ได้ในงานมงคลต่าง ๆ เป็นปลาที่นิยมกินกันมากที่สุดตั้งแต่สมัยโบราณ จนมีคติธรรมหรือคําพังเพยเปรียบเทียบเกี่ยวกับปลาชนิดนี้ว่า “ถึงเน่าก็เน่าอย่างปลากะพง” คือ ถึงอดโซก็โซอย่างเสือ และ “ใช้กุ้งตกปลากะพง” คือ ยอมเสียกําเพื่อเอากอบ

60 ปี 2560 จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงประกาศว่าจะ….

(1) บริจาคราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ประเทศ

(2) สละราชสมบัติ

(3) ทรงออกบวช

(4) เสด็จประพาสภูเขาไฟฟูจิ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 รัฐบาลญี่ปุ่นให้การรับรองกฎหมายที่จะเปิดทางให้สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะสละราชสมบัติ ซึ่งจะถือเป็นการสละราชสมบัติ ของจักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 200 ปี ทั้งนี้สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ อาจทรงสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน 2562 โดยมกุฎราชกุมารนารุฮิโตะ จะทรงขึ้นครองราชย์ต่อในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562

61 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผู้ปฏิบัติโยคะมีความสัมพันธ์กับข้อใด

(1) โอม

(2) พระอิศวร

(3) พระศิวะ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 265 การปฏิบัติตามหลักปรัชญาโยคะ คือ การเพ่งจิตเพื่อไม่ให้จิตมีอารมณ์หวั่นไหวฝึกจิตให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกาย โดยการเพ่งจิตให้แน่วแน่อยู่กับพระอิศวร (พระศิวะ) ทําให้ จิตสะอาดบริสุทธิ์ ควบคุมจิตได้ไม่ให้มีความหวั่นไหวสั่นคลอนแม้จะต้องพบกับอารมณ์แปรปรวน ทั้งนี้เพราะตั้งจิตมั่นอยู่กับพระอิศวรผู้ทรงพระนามว่าปรณพหรือโอม ดังนั้นเมื่อภาวนาว่า “โอม”ก็จะสามารถป้องกันอุปสรรคในการปฏิบัติโยคะได้

62 มีความเชื่อทางศาสนาว่า พราหมณ์เกิดจาก…ของพระพรหม

(1) ดวงตา

(2) จมูก

(3) ปาก

(4) หัวใจ

ตอบ 3 หน้า 266 267 ระบบชนชั้นวรรณะของศาสนาฮินดู แบ่งคนออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 วรรณะพราหมณ์ เป็นวรรณะสูงที่เกิดจากปากหรือศีรษะของพระพรหม

2 วรรณะกษัตริย์ เป็นวรรณะสูงที่เกิดจากอกและแขนของพระพรหม

3 วรรณะแพศย์ เป็นวรรณะกลางที่เกิดจากตะโพกและขาของพระพรหม

4 วรรณะศูทร เป็นวรรณะต่ําที่เกิดจากเท้าของพระพรหม

63 พระวิษณุนารายณ์ไม่ได้ประทับที่

(1) เกษียรสมุทร

(2) ทะเลน้ำนม

(3) วิมานฉิมพลี

(4) สะดือทะเล

ตอบ 3 หน้า 274 พระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู โดยชาวฮินดูเชื่อว่าพระวิษณุเป็นเทพเจ้าแห่งการรักษา มี 4 กร ทรงประทับอยู่ในเกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม) ณ สะดือทะเล ทรงบรรทมหลับอยู่นิรันดรบนขดของพญานาคนามว่า อนันตนาคราช เรียกว่า“นารายณ์บรรทมสินธุ์”

64 ผู้เผากามเทพไหม้เป็นจุลไป คือ

(1) พระพิฆเนศ

(2) พระศิวะ

(3) พระนารายณ์

(4) พระพรหม

ตอบ 2 หน้า 275 พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู ซึ่งจะบําเพ็ญตบะนั่งสมาธิ บนยอดเขาไกรลาส โดยชาวฮินดูเชื่อว่าพระศิวะเป็นเทพเจ้าแห่งการทําลาย พระองค์มีตาที่สาม อยู่ที่หน้าผากและตานี้จะหลับปิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากตาที่สามนี้เปิดลืมขึ้นเมื่อใดก็จะเกิด ไฟไหม้สิ่งที่อยู่ตรงหน้าพระองค์เป็นจุลไป ทั้งนี้มีตํานานฮินดูเล่าว่าพระองค์ถูกกามเทพแผลงศรจึงลืมตาที่สามขึ้น ทําให้กามเทพไหม้เป็นจุลไปและตายลง

65 นารายณ์ 10 ปาง พระนารายณ์อวตารเป็นครึ่งคนครึ่ง

(1) เสือ

(2) สิงห์

(3) นาค

(4) นก

ตอบ 2 หน้า 278 – 280, (คําบรรยาย) ชาวฮินดผู้นับถือนิกายไวษณวะ มีความเชื่อว่า พระนารายณ์(พระวิษณุ) ลงมาจุติยังโลก เพื่อปราบอธรรมและช่วยเหลือมนุษย์ 10 ครั้ง เรียกว่า พระนารายณ์อวตาร 10 ปาง ได้แก่

1 บ่างมัตสยา (ปลา)

2 ปางกูรมะ (เต่า)

3 ปางวราหะ (หมูป่า)

4 ปางนรสิงห์ (ครึ่งคนครึ่งสิงโต)

5 ปางวามนะ (คนค่อม)

6 ปางภาราสูราม (พราหมณ์)

7 ปางทศราชาราม (พระราม)

8 ปางกฤษณะ (พระกฤษณะ)

9 ปางพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้า/เจ้าชายสิทธัตถะ)

10 ปางกัลกี (พระกัสก/พระศรีอริยเมตไตรย)

66 พาหนะของพญามัจจุราช คือ

(1) กระบือ

(2) โค

(3) ม้า

(4) เสือ

ตอบ 1 หน้า 288 289, (คําบรรยาย) สัตว์ที่เป็นพาหนะของเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ได้แก่ วัว (โค) เป็นพาหนะของพระศิวะ, พญาครุฑและพญานาคเป็นพาหนะของพระวิษณุ (พระนารายณ์), หงส์เป็นพาหนะของพระพรหม, นกยูงเป็นพาหนะของพระสุรัสวดี, หนูเป็นพาหนะของพระพิฆเนศ, สิงโตเป็นพาหนะของพระแม่ทุรคาและพระแม่กาลี, ควาย (กระบือ) เป็นพาหนะของพญายม (พญามัจจุราช) และข้างเอราวัณ (ช้าง 3 เศียร) เป็นพาหนะของพระอินทร์ ซึ่งสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู

67 ฆ่าพราหมณ์บาปเท่ากับฆ่า

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) โค

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 288 ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าวัว (โค) และพราหมณ์ถูกสร้างขึ้นโดยพระพรหมในวันเดียวกันจึงมีความศักดิ์สิทธิ์เท่ากัน ดังนั้นการฆ่าวัวจึงบาปเท่า ๆ กับการฆ่าพราหมณ์ และการรับประทานเนื้อวัวนั้นชาวฮินดูถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายยิ่งกว่าการรับประทานเนื้อมนุษย์ วัวจึงเป็น สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวฮินดู และทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากวัวล้วนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

68 ศาสนาเชนถือว่าการตายที่บริสุทธิ์ คือ ตายเพราะ

(1) เผาตัวตาย

(2) ทรมานร่างกายจนตาย

(3) กลั้นใจตายในน้ำ

(4) กระโดดจากที่สูงตาย

ตอบ 2 หน้า 338, (คําบรรยาย) ชาวเชนเชื่อว่าความตายโดยการทรมานร่างกายจนตายด้วยการอดอาหารเป็นความตายที่บริสุทธิ์ และถือเป็นการบําเพ็ญเพียรเพื่อตัดกิเลสและสะสมบุญ

69 ศาสนาใดไม่มีชั้นวรรณะ

(1) พุทธ

(2) เชน

(3) ซิกข์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 312 313, (คําบรรยาย) พุทธศาสนา เป็นศาสนาแรกที่เชื่อว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันจะต่างกันก็ตรงกรรมที่สั่งสมมา ดังนั้นจึงปฏิเสธเรื่องการแบ่งชั้นวรรณะของมนุษย์ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น คุณภาพของคนอยู่ที่ความดี มนุษย์ทุกคนไม่ว่าเพศใด อายุเท่าใด เกิดในชาติตระกูลใด มีฐานะยากดีมีจนต่างกันอย่างไร ก็สามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้

70 ผู้นับถือศาสนาซิกข์คนแรกมีความสัมพันธ์เป็นของศาสดา

(1) มารดา

(2) พี่สาว

(3) ภรรยา

(4) ธิดา 2 วัน

ตอบ 2 หน้า 342 คุรุนานัก ผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ (ศาสดาองค์ที่ 1 ของศาสนาซิกข์) มีพี่สาวคนหนึ่งชื่อนานกี (แปลว่า หลานตา) ซึ่งรักท่านคุรุนานักมากจึงได้เอาชื่อของตนไปตั้งชื่อให้แก่น้องชายว่า “นานัก” และคงเป็นเพราะว่ารักน้องชายมากนี้เอง ต่อมานางนานกีจึงได้สมัครเป็นชาวซิกข์คนแรกด้วย

71 ผู้นับถือศาสนาซิกข์จะไม่ใช้เสื้อผ้าสี …..

(1) ขาว

(2) เขียว

(3) แดง

(4) ดํา

ตอบ 3 หน้า 348 349 ครูโควินทสิงห์ (ศาสดาองค์ที่ 10 ของศาสนาซิกข์) ได้ให้ศีล 21 ข้อ ซึ่งเป็นศีลประจําชีวิตที่ศิษย์ของท่านทุกคนถือปฏิบัติ เช่น

1 มี “ก 5 ประการ” ไว้กับตน คือ เกศ กังฆา กฉา กรา และกฤปาน

2 ห้ามใช้สีแดง เพราะเป็นสีที่หมายถึงความรัก ความเมตตา ซึ่งขัดต่อนิสัยนักรบ

3 ให้ใช้คําว่า “สิงห์” ต่อท้ายตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

4 ห้ามเปลือยศีรษะ นอกจากเวลาอาบน้ำ

5 ห้ามตัดหรือโกนผม หนวด และเครา

6 ให้ถือว่าการขี่ม้า ฟันดาบ และมวยปล้ำ เป็นกิจที่ต้องทําอยู่เป็นนิจ ฯลฯ

72 พระพุทธเจ้าไม่ปฏิเสธเรื่องใด

(1) พรหมลิขิต

(2) ชั้นวรรณะ

(3) อาบน้ำล้างบาป

(4) ผีสางเทวดา

ตอบ 4 หน้า 290, 294, 310 – 313 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม มีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 ไม่นับถือบูชาผีสาง-เทวดา หรือเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด (แต่ก็มิได้ปฏิเสธในเรื่องผีสาง-เทวดาหรือเทพเจ้า เพียงแต่สอนว่าไม่ใช่ทางนําไปสู่การหลุดพ้น)

2 เชื่อเรื่องกรรมลิขิต โดยปฏิเสธเรื่อง “พรหมลิขิต” ของศาสนาฮินดู

3 เชื่อว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน โดยปฏิเสธเรื่อง “การแบ่งชั้นวรรณะ” ของศาสนาฮินดู

4 เชื่อเรื่องบุญ-บาป โดยปฏิเสธเรื่อง “การอาบน้ําล้างบาป” ของศาสนาฮินดู เป็นต้น

73 พระโพธิธรรมา (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) คิดวิทยายุทธกําลังภายใน คือ

(1) กังฟู

(2) ไท้เก็ก

(3) หมัดเมา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 308 พระโพธิธรรมา (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ได้นําวิธีการฝึกสมาธิจิตไปดัดแปลงเป็นการฝึกวิทยายุทธกําลังภายในของจีน ซึ่งเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เรียกว่า “กังฟู” โดยเชื่อว่า การฝึกกังฟูจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงสมบูรณ์ มีพละกําลังเข้มแข็งเกินกว่าธรรมดาและด้วยเหตุนี้เองที่ทําให้พระมหายานในจีนนิยมฝึกวิทยายุทธกําลังภายในสืบต่อมา

74 ผู้สามารถบรรลุธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนา ได้แก่

(1) เด็ก

(2) ผู้หญิง

(3) คนชรา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

75 สังเวชนียสถาน 4 แห่งที่ชาวพุทธควรไปแสวงบุญ ข้อใดไม่ใช่

(1) สถานที่ตรัสรู้

(2) สถานที่ปฐมเทศนา

(3) สถานที่ปรินิพพาน

(4) สถานที่ถวายพระเพลิง

ตอบ 4 หน้า 320 – 325 สังเวชนียสถาน 4 แห่ง ที่พุทธศาสนิกชนผู้เปี่ยมด้วยศรัทธาควรจะไปแสวงบุญทําการบูชาสักการะด้วยความเคารพเลื่อมใส คือ

1 ลุมพินีวัน เป็นสถานที่ประสูติ

2 พุทธคยา เป็นสถานที่ตรัสรู้

3 สารนาถ (ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน) เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา

4 กุสินารา (กุสินคร) เป็นสถานที่ปรินิพพาน

76 “กวนอิม” แปลว่า

(1) ผู้มีเมตตา

(2) ผู้ได้ยินเสียง

(3) ผู้เห็นทั่วหล้า

(4) ผู้มีพันกร

ตอบ 2 หน้า 307 พุทธศาสนานิกายมหายานในจีนจะนับถือศรัทธาพระโพธิสัตว์เด่นกว่าพระพุทธเจ้าโดยเรียกชื่อพระโพธิสัตว์ว่า “พระอวโลกิเตศวร” ซึ่งมี 6 ปาง โดยปางสําคัญที่ชาวพุทธมหายาน นับถือมากที่สุด คือ ปางที่เป็นพระกวนอิม ซึ่ง “กวนอิม” แปลว่า “ผู้ได้ยินเสียง” อันหมายถึงผู้ได้ยินเสียงสวดอ้อนวอนจากสัตว์โลก

77 “ดาโต๊ะยุติธรรม” มีหน้าที่พิจารณาคดี 4 จังหวัดภาคใต้ที่ใช้กฎหมายอิสลาม อายุตั้งแต่ ….

(1) 25 ปี

(2) 30 ปี

(3) 35 ปี

(4) 40 ปี

ตอบ 1 หน้า 410 411, (คําบรรยาย) ดาโต๊ะยุติธรรม เป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยและชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามในคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของศาลชั้นต้นใน 4 จังหวัดภาคใต้ โดยตําแหน่งดาโต๊ะยุติธรรมนั้น คัดเลือกจากอิสลามศาสนิกชนผู้มีคุณสมบัติ

1 มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

2 มีภูมิรู้ในศาสนาอิสลามพอที่จะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

3 มีความรู้ภาษาไทยอ่านออกเขียนได้

78 ศาสนายูดาห์ (ยิว) มีอายุยาวนานร่วมสมัยกับศาสนาใด

(1) พราหมณ์-ฮินดู

(2) กรีกโบราณ

(3) อียิปต์โบราณ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 359, (คําบรรยาย) ศาสนาที่มีอายุยาวนานร่วมสมัยกัน ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนายูดาห์ (ยิว) ศาสนากรีกโบราณ ศาสนาอียิปต์โบราณ ศาสนาอินคาโบราณ เป็นต้น

79 “บัญญัติ 10 ประการ” เป็นโองการของพระเจ้า ผู้นํามาประกาศแก่ชาวอิสราเอล คือ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 2 หน้า 364 365 โมเสสมีบทบาทสําคัญต่อประชาชนชาวอิสราเอล คือ

1 ช่วยให้ชาวอิสราเอลพ้นจากความเป็นทาสของอียิปต์

2 เป็นผู้รับโองการจากพระเจ้าเรียกว่า “บัญญัติ 10 ประการ” แล้วนํามาประกาศแก่ ชาวอิสราเอล โดยโมเสสได้สลักลงในแผ่นศิลา 2 แผ่น ให้ชาวอิสราเอลถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้วจะพบดินแดนแห่งสัญญา แต่ถ้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแล้วพระเจ้าก็จะลงโทษ

80 สัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์คือเชิงเทียนมี…..ก้าน

(1) 7 ก้าน

(2) 5 ก้าน

(3) 3 ก้าน

(4) 2 ก้าน

ตอบ 1 หน้า 371 สัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์ คือ เชิงเทียน ซึ่งมีที่ตั้งเทียน 7 ก้าน เรียงกัน

81 เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าศาสดาอับราฮัมจะยอมฆ่าของตน (1) ภรรยา

(2) บุตร

(3) พี่น้อง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 361 ศาสดาอับราฮัม เป็นผู้มีความเคารพนับถือศรัทธาต่อพระเจ้าองค์เดียวสูงสุดโดยอับราฮัมได้พิสูจน์ในความจงรักภักดีและศรัทธาต่อพระเจ้าสูงสุดด้วยการยอมฆ่าบุตรของตน ซึ่งตนรอคอยอยากได้มานานเมื่อพระเจ้าสั่งให้ทํา ดังนั้นพระเจ้าจึงเห็นใจอับราฮัมไม่ให้ฆ่าบุตรและยังประทานพรให้แก่อับราฮัมและลูกหลานชนชาติอิสราเอลทั้งปวง

82 พรที่พระเจ้าประทานให้ชาวอิสราเอล ได้แก่

(1) ให้กล้าหาญที่สุด

(2) ให้ฉลาดกว่า

(3) ให้ปกครองโลก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 361 พระเจ้าประทานพรให้แก่อับราฮัมและลูกหลานชนชาติอิสราเอลทั้งปวงว่าชาวอิสราเอลทั้งหลายจะอยู่ทั่วไปในโลกดุจดวงดาวบนท้องฟ้า ลูกหลานอิสราเอลจะมีมากมาย ดุจเม็ดทรายในทะเลทราย ชาวอิสราเอลจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่า และที่สําคัญจะประทาน “ดินแดนแห่งสัญญา” (The Promised Land) ให้ชาวอิสราเอลได้อยู่อาศัยสร้างบ้านเมืองที่ถาวรและอุดมสมบูรณ์

83 ชาวอิสราเอลติดต่อกับพระเจ้าได้ โดย

(1) ผ่านนักบวช

(2) สวดมนต์

(3) บูชายัญ

(4) ไปแสวงบุญ

ตอบ 2 หน้า 360, (คําบรรยาย) ชาวอิสราเอล เชื่อว่าพระเจ้าทรงติดต่อกับมนุษย์โดยทรงแสดงอภินิหารให้เห็น ส่วนมนุษย์จะติดต่อกับพระเจ้าได้ด้วยการสวดมนต์และการบําเพ็ญภาวนา โดยพระเจ้าทรงประทานโองการโดยผ่านทางศาสดา ได้แก่ อับราฮัม โมเสส และพระเมสสิอาห์ (Messiah หรือผู้ช่วยให้รอด) ซึ่งพระเจ้าจะส่งมาโปรดช่วยเหลือชาวอิสราเอลเมื่อมีความทุกข์ อย่างหนัก โดยเดินทางมายังโลกในรูปร่างของมนุษย์

84 “The Chosen People” คือ

(1) ชาวฮิบรู

(2) ชาวอิสราเอล

(3) ชาวยิว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 368 369, (คําบรรยาย) ศาสดาอับราฮัมของศาสนายูดาห์ เป็นผู้ประกาศให้ชายผู้นับถือพระเจ้าองค์เดียว (ชาวอิสราเอลหรือชาวยิวหรือชาวฮิบรู) ทุกคนต้องทําการขริบปลายอวัยวะเพศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่ยืนยันว่าชนชาติอิสราเอลเป็นชนชาติแรกที่พระเจ้าทรงเลือก (The Chosen People) และยังถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญากับพระเจ้า โดยอับราฮัมถือเป็นผู้ที่ขริบปลายอวัยวะเพศคนแรก

85 ชาวอิสราเอลผู้เคร่งศาสนาจะเขียนคําสอนของไว้ที่เสาประตูเข้าบ้าน

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 369 370 ชาวอิสราเอลผู้เคร่งศาสนาจะเขียนคําสอนของโมเสสไว้ที่เสาประตูบ้านและบนประตูบ้าน โดยทุกครั้งที่เข้ามาข้างในหรือออกไปภายนอก ชาวอิสราเอลจะใช้ปลายนิ้วมือ 2 นิ้ว แตะที่เมซูซ่าห์ (หีบเล็ก ๆ ซึ่งบรรจุข้อความสําคัญ 2 ข้อ จากคัมภีร์ดิวตีโรโนมีข้อหนึ่ง และจากคําพูดของโมเสสข้อหนึ่ง) แล้วก็จูบ วิธีนี้จะทําให้ชาวอิสราเอลมีสติระลึกถึงพระเจ้าได้ทันทีทั้งเวลาออกไปและเข้ามา

86 อับราฮัมสอนไม่ให้ชาวอิสราเอลกินอาหารข้อใด

(1) เกาเหลาต้มเลือดหมู

(2) ลาบไข่มดแดง

(3) ยําไข่เต่า

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 370, (คําบรรยาย) ศาสนายูดาห์ มีข้อห้ามในเรื่องการรับประทานอาหาร คืออาหารที่รับประทานได้ประเภทเนื้อสัตว์ต้องเป็นสัตว์ประเภทเคี้ยวอาหาร เคี้ยวเอื้อง ถ้าเป็นปลาต้องเป็นปลาที่มีครีบและหาง (เช่น ปลาแซมอน ปลาช่อน) ถ้าเป็นสัตว์ปีกต้องฆ่าตามวิธีที่กําหนดไว้ และเนื้อสัตว์ที่ฆ่าต้องเอาเลือดออกให้หมด นอกจากนี้อับราฮัมยังห้ามชาวอิสราเอลไม่ให้กินเนื้อหมู เนื้อหมา ปลาหมึก ปลาไหล และกุ้ง เพราะเป็นสัตว์ที่กินของสกปรก

87 พระเยซูถูกทหารโรมันลงโทษตรึงกางเขนเพราะพระองค์ประกาศว่าเป็น (1) Messiah

(2) Son of God

(3) King of the kings

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 372, 375 – 379 385 พระเยซูทรงประกาศว่า พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้า (Son of God) เป็นผู้มาไถ่บาปช่วยเหลือชาวยิวและมวลมนุษย์หรือพระคริสต์ (Christ) หรือพระเมสสิอาห์ (Messiah หรือพระผู้ช่วยให้รอด) และพระองค์คือกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวงในโลก (King of the kings) ซึ่งคําประกาศดังกล่าวไม่ตรงกับที่ชาวยิวหวังไว้ เพราะพระองค์เป็นคนธรรมดาสามัญไม่ใช่กษัตริย์ จริง ๆ ไม่มีกองทัพอันเกรียงไกรแล้วจะปลดปล่อยช่วยเหลือชาวยิวได้อย่างไร ทําให้ชาวยิว บางส่วนไม่เชื่อและไม่พอใจในพระองค์ จึงได้วางแผนใส่ร้ายและยุยงให้ผู้สําเร็จราชการโรมันจับพระองค์มาลงโทษด้วยการตรึงกางเขน

88 Pope องค์ปัจจุบัน พระนามว่า

(1) เดวิด

(2) จอห์น

(3) ฟรานซิส

(4) โจเซฟ

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พระสันตะปาปา (Pope) องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (Francis) เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 มีพระนามเดิมว่า คอร์เค มาเรียว เบร์โกเกลียว ซึ่งนับเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกจากทวีปอเมริกาและคณะเยสุอิต

89 พระเยซูบอกว่าพระองค์มาโปรด “คนบาป” ซึ่งเปรียบเหมือน

(1) คนป่วย

(2) คนมีปมด้อย

(3) คนที่เป็นบริวารซาตาน

(4) คนหนักแผ่นดิน

ตอบ 1 หน้า 376 พระเยซูเสด็จไปในท่ามกลางคนจนและคนต่ำต้อย โดยรักษาคนเจ็บป่วย ปลอบโยน ผู้โศกเศร้า และนําความหวังมาสู่จิตใจของคนผู้สํานึกผิด และเมื่อพระเยซูถูกต่อว่าที่มาคลุกคลี กับคนบาป พระเยซูกล่าวว่า “บุคคลผู้สบายดีก็ไม่ต้องการหมอ แต่หมอจําเป็นสําหรับผู้เจ็บป่วย ข้าพเจ้ามาไม่ใช่เพื่อคนบุญ แต่มาเพื่อคนบาป เพื่อจะได้สํานึกผิด”

90 ศาสนาโซโรอัสเตอร์ถือว่าการกระทําใดบาปที่สุด

(1) ลักขโมย

(2) ปล้น

(3) พูดเท็จโกหก

(4) โกง

ตอบ 3 หน้า 423 – 424 ศาสดาของศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้สั่งสอนไม่ให้คนโกหก กล่าวเท็จเป็นพยานเท็จ และประณามผู้โกหก กล่าวเท็จอย่างมากว่าบาปที่สุด จนเป็นกฎบัญญัติให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของศาสนานี้

91 ชาวโซโรอัสเตอร์ทําพิธีศพ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับ ….

(1) นกอินทรี

(2) นกแร้ง

(3) นกเหยี่ยว

(4) นกอีกา

ตอบ 2 หน้า 421, 425 – 426 คติความเชื่อของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ได้แก่

1 การบูชาไฟ และเซ่นสังเวยพระเจ้าด้วยเหล้าศักดิ์สิทธิ์

2 การทําพิธีศพโดยนําศพไปวางทิ้งบนหอสูง เรียกว่า “หอคอยแห่งความสงบ” แล้วปล่อยให้นกแร้งมาจิกกินเป็นอาหาร

3 การมี “สะพานแห่งการแก้แค้น” เพื่อนําวิญญาณที่ดีไปสู่สวรรค์ และนําวิญญาณเลวลงนรก เป็นต้น

92 ปัจจุบันผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์อาศัยอยู่ในประเทศ…

(1) อินเดีย

(2) อินโดนีเซีย

(3) อิรัก

(4) อียิปต์

ตอบ 1 หน้า 419, 428 429 ในสมัยโบราณศาสนาโซโรอัสเตอร์เดิมเป็นศาสนาประจําชาติของชาวเปอร์เซีย แต่ปัจจุบันอาณาจักรเปอร์เซียกลายเป็นประเทศอิหร่านและนับถือศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจําชาติ ทําให้ชาวเปอร์เซียที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาอยู่ในประเทศของตนไม่ได้ ต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ในดินแดนต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง และส่วนใหญ่อพยพไปตั้งถิ่นฐานรวมกลุ่มกัน อยู่มากเป็นชนกลุ่มน้อยและเรียกตัวเองว่า ชาวปาร์ซี (Parsee หรือ Parsi) ซึ่งในปัจจุบันผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ส่วนใหญ่นั้นตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในนครบอมเบย์ ประเทศอินเดีย

93 วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องแพะรับบาปเป็นของ

(1) ชาวอิสราเอล

(2) ชาวคริสต์

(3) ชาวมุสลิม

(4) ชาวซิกข์

ตอบ 1 หน้า 367 368 เทศกาลยมคัปปูร์ (Yom-Kippur) เป็นเทศกาลที่ชาวอิสราเอลทําพิธีสํานึกบาปหรือเรียกว่า 10 วันแห่งการล้างบาป โดยชาวอิสราเอลจะปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดทําการอดอาหาร ในตอนกลางวัน ทําจิตใจให้สงบระงับ ไม่ทําบาปใดเลย และในการทําพิธีสํานึกบาปนี้ ชาวอิสราเอล จะทําพิธีเป็นว่าได้ยกบาปไปไว้ที่แพะ (ตัวผู้) ให้แพะรับบาปแล้วไล่แพะเข้าป่าพาเอาบาปของชาวอิสราเอลไปเสีย

94 ศาสนาใดไม่มีนักบวช

(1) อิสลาม

(2) ซิกข์

(3) โปรเตสแตนต์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศาสนาที่ไม่มีนักบวช ได้แก่

1 ศาสนาอิสลาม

2 ศาสนาซิกข์

3 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์

95 ศาสนาใดมีนักบวชเปลือยกาย

(1) ฮินดู

(2) เชน

(3) ซิกข์

(4) โซโรอัสเตอร์

ตอบ 2 หน้า 338, 340, (คําบรรยาย) พระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชนไม่ให้มีนักบวชหญิงและปฏิเสธการปฏิบัติธรรมของสตรี โดยเห็นว่า “สตรีเพศเป็นเหตุแห่งบาป” และเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสทั้งหลาย ซึ่งนิกายทิคัมพรในศาสนาเชนนั้นเชื่อว่าสตรีไม่สามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้ อีกทั้งนักบวชในนิกายนี้ต้องเปลือยกาย ดังนั้นหากสตรีเพศต้องเปลือยกายอาจจะทําให้นักบวชชายเกิดกิเลสได้

96 ผู้ประกาศให้ชายผู้นับถือพระเจ้าองค์เดียวต้องขริบปลายอวัยวะเพศ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

97 “หอคอยแห่งความสงบ” คือ สถานที่ของศาสนาที่บูชาไฟ

(1) สวดมนต์

(2) บูชาพระเจ้า

(3) ทําศพ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

98 “สตรีเป็นเหตุแห่งบาป” เป็นคําสอนของศาสดา

(1) อับราฮัม

(2) คุรุนานัก

(3) มหาวีระ

(4) โมเสส

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

99 ผู้นับถือศาสนาใดกินมังสวิรัติ

(1) ฮินดู

(2) ซิกข์

(3) เชน

(4) โซโรอัสเตอร์

ตอบ 3 หน้า 337 จากการที่ผู้นับถือศาสนาเชน (รวมทั้งศาสดาและนักบวช) ต้องรักษาศีลข้อแรก(ไม่ฆ่าและไม่ทําร้ายสิ่งมีชีวิตใด ๆ ด้วยคําพูด ความคิด หรือการกระทําแม้ในการป้องกันตนเอง) และมีความเชื่อในอหิงสาอย่างแนบแน่นอยู่ในจิตใจนั้น จึงทําให้ชาวเชนสมถะพอเพียงและกลายเป็นนักมังสวิรัติ ไม่กินเนื้อสัตว์และไม่ดื่มนมจากสัตว์ตลอดชีวิต แม้ในเวลาที่เป็นปัญหาแห่งสุขภาพเพื่อมีชีวิตอยู่รอดก็ตาม

100 “สุวรรณวิหาร” เป็นศาสนสถานที่สําคัญของศาสนาใด

(1) ฮินดู

(2) ซิกข์

(3) เชน

(4) โซโรอัสเตอร์

ตอบ 2 หน้า 346 คุรุอรชุน (ศาสดาองค์ที่ 5 ของศาสนาซิกข์) เป็นผู้สร้าง “สุวรรณวิหาร” หรือ“หริมณเฑียร” ขึ้นกลางสระอมฤต ซึ่งเป็นวิหารหรือวัดที่สวยงามมาก มีประตูสี่ด้าน ไม่มีรูปเคารพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นสีทองอร่ามไปทั่วทั้งวิหารทั้งภายนอกและภายใน ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และ ถือเป็นศาสนสถานที่สําคัญที่สุดของศาสนาซิกข์

Advertisement