การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา PCL 1101 การเมืองและการปกครองไทย

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดเป็นลักษณะพิเศษของการปาครองไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา

(1) ระบบไพร่ ทาส

(2) ประชาธิปไตย

(3) มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

(4) มีการประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษา

(5) เป็นการปกครองในระบบรัฐสภา

ตอบ 1 หน้า 32, (คําบรรยาย) ลักษณะพิเศษของการปกครองไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็คือระบบไพร่และทาส โดยการแบ่งแยกชนชั้นมีลักษณะที่เห็นเด่นชัด ซึ่งอยุธยามี 3 ชนชั้น ได้แก่

1 กษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนางระดับสูง

2 ผู้ดี ผู้มีฐานะ และขุนนาง ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป

3 ไพร่ ผู้ถือศักดินาต่ํากว่า 400 ไร่ รวมทั้งทาส

2 สมัยสุโขทัยมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือ ทางด้านการค้านั้นยังมีการค้าขายติดต่อกับ “ต่างประเทศ ประเทศใด

(1) มลายู

(2) ฝรั่งเศส

(3) อังกฤษ

(4) สเปน

(5) โปรตุเกส

ตอบ 1 หน้า 28 ในสมัยกรุงสุโขทัยนอกจากจะมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือแล้วก็ยังมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ เช่น จีน มลายู ลังกา และมอญ โดยมีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษี “จกอบ” หรือภาษีศุลกากร เพื่อต้องการให้พ่อค้ามีความสนใจในการทําการค้า

3 “การปกครองระบบกินเมือง” ถูกยกเลิกและเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ระบบว่าราชการเมือง” ในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 2

(3) รัชกาลที่ 3

(4) รัชกาลที่ 4

(5) รัชกาลที่ 5

ตอบ 5 หน้า 34, (คําบรรยาย) รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค/การปกครองหัวเมืองด้วยการออก พ.ร.บ. ปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ซึ่งเป็นผลทําให้มีการจัดตั้งมณฑล เมือง (จังหวัด) อําเภอ และหมู่บ้าน จึงทําให้ “การปกครองระบบกินเมือง” ที่มีเจ้าเมืองเป็น ผู้ปกครองถูกยกเลิก และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ระบบว่าราชการเมือง” โดยการแต่งตั้งข้าราชการจากกระทรวงมหาดไทยที่กรุงเทพฯ มาเป็นผู้ปกครอง

4 “ราชวงศ์พระร่วง” มีความสําคัญตรงกับสมัยใด

(1) อาณาจักรทวาราวดี

(2) อาณาจักรสุโขทัย

(3) อาณาจักรศรีอยุธยา

(4) อาณาจักรธนบุรี

(5) อาณาจักรรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 25 อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรแรกของชาติไทย ซึ่งสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1781 โดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต้นราชวงศ์พระร่วง ได้ประกาศตนเป็นอิสระจากขอมที่ยึดครองดินแดนแถบนั้นอยู่ในสมัยนั้น (กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงปกครองสุโขทัยติดต่อกัน 6 พระองค์)

5 การปกครองหัวเมืองในสมัยสุโขทัย ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการอยู่ที่ใด

(1) เมืองเอก

(2) เมืองหลวง

(3) เมืองชั้นใน

(4) เมืองชั้นนอก

(5) เมืองประเทศราช

ตอบ 2 หน้า 26 การปกครองแบบหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยนั้น ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง และแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 หัวเมืองชั้นใน

2 หัวเมืองชั้นนอก

3 หัวเมืองประเทศราช

6 การถวายฎีกาหรือร้องทุกข์ของราษฎรโดยตรงกับพระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ ของไทยในสมัยใด

(1) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(2) สมัยกรุงธนบุรี

(3) สมัยกรุงศรีอยุธยา

(4) สมัยสุโขทัย

(5) ก่อนสุโขทัย

ตอบ 4 หน้า 27 ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีสิทธิถวายฎีกาหรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์หรือพ่อขุน โดยในสมัยพ่อขุนรามคําแหงได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าใครต้องการถวายฎีกาก็ไปสั่นกระดิ่ง แล้วพระองค์ก็จะออกมาไต่สวนและชําระความให้

7 กษัตริย์ที่ทรงกอบกู้เอกราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้กับพม่าครั้งที่ 1 ตรงกับพระมหากษัตริย์พระองค์ใด

(1) พระมหินทราธิราชย์

(2) พระนารายณ์มหาราช

(3) พระนเรศวรมหาราช

(4) พระมหาธรรมราชา

(5) พระเจ้าตากสิน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ไทยเสียกรุงให้กับพม่า 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปี พ.ศ. 2127 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปีเดียวกัน

8 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงให้มีการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่งคือ

(1) สมุหกลาโหมและสมุหทัย

(2) สมุหทัยและสมุหกระทรวงกลาโหม

(3) สมุห์บัญชีและสมุหมาตรา

(4) สมุหนายกและสมุหกลาโหม

(5) สมุหเสนาบดีและสมุหนายก

ตอบ 4 หน้า 32 – 33 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังคงใช้รูปการปกครองแบบกรุงศรีอยุธยาอยู่เพิ่งจะมีการปฏิรูประบบราชการในทุก ๆ ด้านเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ทรงยกเลิก จตุสดมภ์และตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่ง คือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม โดยแบ่งการ บริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละ กระทรวง ซึ่งกระทรวงที่ตั้งขึ้นมีทั้งหมด 12 กระทรวง เช่น เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตํารวจและราชทัณฑ์, ยุติธรรม จัดการเรื่องชําระคดีและการศาล ฯลฯ

9 เมืองทดลองประชาธิปไตยที่มีการเรียกว่า “ดุสิตธานี” เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใด

(1) รัชกาลที่ 2

(2) รัชกาลที่ 4

(3) รัชกาลที่ 6

(4) รัชกาลที่ 8

(5) ทุกรัชกาล

ตอบ 3 หน้า 43, 49 – 50 (S) รัชกาลที่ 6 ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไทเพื่อจําลองรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง กําหนดให้มี พรรคการเมือง 2 พรรค มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย

10 การปกครองแบบทศพิธราชธรรมเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

(1) สมัยสุโขทัย

(2) สมัยอยุธยา

(3) สมัยกรุงธนบุรี

(4) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(5) สมัยรัชกาลที่ 5

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การปกครองแบบทศพิธราชธรรมเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย ทั้งนี้ทศพิธราชธรรม คือ จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจําพระองค์ (คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง) มี 10 ประการ ได้แก่ ทาน (การให้), ศีล (การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย), บริจาค (การเสียสละ), อาชชวะ (ความซื่อตรง), มัททวะ (ความอ่อนโยน), ตบะ (การข่มกิเลส), อักโกธะ (ความไม่โกรธ), อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน), ขันติ (ความอดทน)และอวีโรธนะ (ความไม่คลาดจากธรรม)

11 “คณะราษฎร” เกี่ยวข้องกับเรื่องใดต่อไปนี้

(1) คณะยึดอํานาจการปกครอง พ.ศ. 2475

(2) คณะยึดอํานาจการปกครอง พ.ศ. 2476

(3) คณะชาติ พ.ศ. 2476

(4) คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)

(5) คณะปฏิวัติ พ.ศ. 2502

ตอบ 1 หน้า 43 – 44 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 กลุ่มทหารและพลเรือนซึ่งเรียกชื่อกลุ่มว่า“คณะราษฎร” ภายใต้การนําของ พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ยึดอํานาจการปกครอง จากรัชกาลที่ 7 แล้วทําการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

12 “กบฏแขก” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคใดของไทย

(1) ภาคใต้

(2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(3) ภาคเหนือ

(4) ภาคกลาง

(5) ภาคตะวันออก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) กบฏที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 2453) ได้แก่

1 กบฎ ร.ศ. 102 (พ.ศ. 2426)

2 กบฎผีบุญหรือกบฏผู้มีบุญ (ทางภาคอีสาน) พ.ศ. 2444

3 กบฏเงี่ยวเมืองแพร่ (ทางภาคเหนือ) พ.ศ. 2465

4 กบฏแขก (ทางภาคใต้) พ.ศ. 2445

13 ระบบราชการของไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 2

(3) รัชกาลที่ 3

(4) รัชกาลที่ 4

(5) รัชกาลที่ 5

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

14 วันที่ 10 ธันวาคม 2475 มีความสําคัญต่อประเทศไทยอย่างไร

(1) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1

(2) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2

(3) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3

(4) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4

(5) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5

ตอบ 2 หน้า 84 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (รัฐธรรมนูญฯ 2475) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และยังเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกที่ไม่มีคําว่า “ชั่วคราว”

15 การให้สมญานามว่า “รัฐบาลลืมเปลือกหอย” ควรตรงกับนายกรัฐมนตรีท่านใด

(1) นายบรรหาร ศิลปอาชา

(2) นายชวน หลีกภัย

(3) นายควง อภัยวงศ์

(4) นายทวี บุณยเกตุ

(5) นายอานันท์ ปันยารชุน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในแต่ละยุคมักจะถูกตั้งฉายาตามบุคลิกหรือตามผลงานของผู้นําแต่ละคน เช่น จอมพล “ผ้าขาวม้าแดง” หมายถึง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, “รัฐบาลหอย” หมายถึง รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร, “รัฐบาลลืมเปลือกหอย” หมายถึง รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน, “มีดโกนอาบน้ําผึ้ง” หมายถึง นายชวน หลีกภัย, “รัฐบาลขิงแก่” หมายถึง รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์, “ดีแต่พูด” หมายถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฯลฯ

16 คําใดในภาษาอังกฤษต่อไปนี้ที่ตรงกับความหมายของ “การปฏิวัติ”

(1) Reformism

(2) Revolution

(3) Reconstruction

(4) Retire

(5) Rebellion

ตอบ 2 หน้า 62, 45 (S) คําว่า “กบฏ ปฏิวัติ และรัฐประหาร” จะมีความหมายเหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กําลังอาวุธโดยทหารยึดอํานาจทางการเมือง แต่จะมีความหมายแตกต่างกันในด้านผล ของการใช้กําลังความรุนแรงนั้น กล่าวคือ หากทําการไม่สําเร็จจะเรียกว่า “กบฏ” (Rebellion), หากทําการสําเร็จและเป็นแต่เพียงการเปลี่ยนรัฐบาล (เปลี่ยนผู้ถืออํานาจรัฐหรือผู้คุมอํานาจ ทางการเมือง) จะเรียกว่า “รัฐประหาร” (Coup d’etat) แต่หากรัฐบาลใหม่ทําการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมูลฐานของระบอบการปกครองก็จะเรียกว่า “ปฏิวัติ” (Revolution)

17 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกี่ยวข้องกับข้อใดต่อไปนี้

(1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1

(2) โครงการทางหลวงชนบท

(3) การยึดอํานาจรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์

(4) โครงการต่อต้านภัยแล้ง

(5) การปราบกบฏพระเจ้าอนุวงศ์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี

18 สมาคมคณะราษฎร มีหลักการหรือแนวทางตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) มีแนวคิดร่วมกันในชื่อของกลุ่มผลประโยชน์

(2) พรรคการเมืองแบบพฤตินัย

(3) ศาสนาเพื่อการแบ่งปัน

(4) องค์กรประชาชน

(5) สมาคมเพื่อรวมตัวของประชาชนเพื่อสร้างกลุ่มคัดค้านรัฐบาล

ตอบ 2 หน้า 288 พรรคการเมืองไทยพรรคแรกทางพฤตินัย คือ “สมาคมคณะราษฎร” ที่จัดตั้งขึ้นโดย“คณะราษฎร” คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แม้จะไม่ระบุว่าเป็นพรรคการเมือง แต่ก็มี เจตจํานง/มีหลักการหรือแนวทางเช่นเดียวกับพรรคการเมืองโดยทั่วไป คือ ประสงค์จะเข้ารับผิดชอบ ในการบริหารประเทศ ดังนั้นคณะราษฎรจึงมีลักษณะเป็นพรรคการเมือง ส่วนพรรคการเมืองไทยพรรคแรกตามนิตินัย คือ “พรรคก้าวหน้า” ซึ่งริเริ่มจัดตั้งขึ้นโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

19 บุคคลใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับคําว่า “เชื่อผู้นําชาติพ้นภัย”

(1) พระยาพหลพลพยุหเสนา

(2) นายปรีดี พนมยงค์

(3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(4) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

(5) นายชวน หลีกภัย

ตอบ 3 หน้า 66 (S) จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีนโยบายสําคัญ คือ เน้นลัทธิชาตินิยม โดยมีหลักการสําคัญคือ รัฐบาลต้องมีอํานาจเด็ดขาด เพื่อนําประเทศไปสู่ความเจริญ และความมีอํานาจ โดยพยายามปลุกใจราษฎรให้รักชาติและเชื่อมั่นในรัฐบาล ดังคําขวัญในยุคนั้นที่ว่า “เชื่อผู้นําชาติพ้นภัย”

20 รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้

(1) จอมพลผิน ชุณหะวัณ และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์

(2) นายพจน์ สารสิน, นายชวน หลีกภัย และนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

(3) นายปรีดี พนมยงค์, นายแนบ พหลโยธิน และจอมพล ป. พิบูลสงคราม

(4) พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตํารวจ

(5) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ตอบ 4 หน้า 77, (คําบรรยาย) รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นการยึดอํานาจการปกครองโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่มีกําลังพลจากทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ และตํารวจ ภายใต้การนําของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปต่างประเทศ

21 พรรคการเมืองมีส่วนสําคัญต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพราะ

(1) สร้างพลังให้อุดมการณ์

(2) ทําให้คนต่างถิ่นสามารถร่วมมือทางการเมืองได้

(3) สร้างเสถียรภาพให้รัฐบาล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 287 พรรคการเมืองมีส่วนสําคัญต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นที่สร้างพลังให้กับอุดมการณ์ เป็นที่ ๆ อาจค้นหาเสียงส่วนใหญ่ของมหาชน และเป็นสถาบันที่ทําให้ประชาชนต่างท้องถิ่นสามารถร่วมมือกันทางการเมืองได้

22 ตําแหน่งนายอําเภอในการปกครองส่วนภูมิภาค

(1) สังกัดกรมการปกครอง

(2) มีฐานะสูงกว่าหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ในอําเภอ

(3) เป็นตําแหน่งที่มีระดับเท่ากับปลัดเทศบาล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 409 นายอําเภอเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอําเภอโดยมีปลัดอําเภอและหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ในอําเภอนั้นเป็นผู้ช่วยเหลือนายอําเภอ

23 ข้อใดเป็นหลักการสําคัญของการปกครองท้องถิ่น

(1) เป็นการปกครองชุมชนใดชุมชนหนึ่งโดยเฉพาะ

(2) มีหน่วยการปกครองเป็นนิติบุคคล

(3) อยู่ในกํากับของรัฐบาลส่วนกลาง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 433 435, (คําบรรยาย) การปกครองท้องถิ่นโดยทั่วไปมีลักษณะหรือหลักการสําคัญ ดังนี้

1 เป็นการปกครองชุมชนหรือท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งของประเทศ

2 มีองค์การหรือหน่วยการปกครองที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแยกไปต่างหากจากรัฐบาลกลางโดยมีรายได้เป็นของตนเอง และมีอํานาจในการจัดเก็บภาษี 4 ประเภท คือ ภาษีอากรฆ่าสัตว์ ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่

3 มีการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ดําเนินงาน (ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ)

4 มีอิสระในการดําเนินกิจการของท้องถิ่น (Autonomy) ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดและอยู่ในกํากับดูแลหรือการควบคุมของรัฐบาลกลาง

24 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน ได้แก่

(1) นายอําพล กิตติอําพล

(2) นายสมพร เทพสิทธา

(3) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(4) นายพีรศักดิ์ พอจิต

(5) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

ตอบ 3 (ขาว) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และนายพรศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานฯ คนที่ 1 และ 2

25 ระบบคุณธรรมในการบริหารราชการไทย เป็นผลจากการ

(1) นิยมรับราชการ

(2) ถือความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์

(3) ยึดถือความไว้วางใจ

(4) เน้นประเพณีวัฒนธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคุณธรรม (Merit System) หมายถึง ระบบที่มีการคัดเลือกบุคคลเข้าทํางาน โดยถือเกณฑ์ความรู้ความสามารถของบุคคล หรือความเหมาะสมระหว่างคุณสมบัติของบุคคลกับลักษณะงานเป็นสิ่งสําคัญ

26 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกฤษฎีกา

(3) พระราชกําหนด

(4) กฎกระทรวงมหาดไทย

(5) ประกาศกระทรวงมหาดไทย

ตอบ 1 หน้า 402, 409 กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้

1 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

2 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตอําเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

27 พรรคการเมืองพรรคแรกทางนิตินัยของไทยคือพรรค

(1) กิจสังคม

(2) ก้าวหน้า

(3) สหชีพ

(4) คณะราษฎร

(5) ประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

28 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีวาระในการดํารงตําแหน่งคราวละกี่ปี

(1) 2 ปี

(2) 3 ปี

(3) 4 ปี

(4) 5 ปี

(5) 6 ปี

ตอบ 3 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญฯ 2560 (ประกาศใช้ 6 เมษายน 2560) มาตรา 99 กําหนดให้ อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกําหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง และมาตรา 100 กําหนดให้ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง

29 พรรคการเมืองไทยเท่าที่ผ่านมาส่วนใหญ่จัดตั้งขึ้นโดย

(1) การสนับสนุนจากกลุ่มต่าง ๆ

(2) มีอุดมการณ์เป็นหลัก

(3) รวมบุคคลเพื่อหวังชนะเลือกตั้ง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 299 พรรคการเมืองไทยเท่าที่ผ่านมาส่วนใหญ่จัดตั้งขึ้นโดยไม่มีอุดมการณ์เป็นหลักแต่เป็นการรวมตัวกันของบุคคลเพื่อหวังที่จะชนะการเลือกตั้งเป็นจุดมุ่งหมายที่สําคัญ ซึ่งก็ เป็นสาเหตุที่ทําให้พรรคการเมืองไทยขาดเสถียรภาพ เพราะสมาชิกพรรคมักมีความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์อยู่เสมอ

30 ประธานสภาผู้แทนราษฎรในการเมืองไทย

(1) จะต้องมาจากพรรคที่มี ส.ส. มากที่สุด

(2) ต้องลาออกจากพรรคเพื่อวางตนเป็นกลาง

(3) ปกติเมื่อได้รับเลือกให้เป็นแล้วจะเป็นตลอดวาระ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 197 – 198, (คําบรรยาย) ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรในการเมืองไทยจะมาจาก ส.ส.ของพรรคการเมืองใดก็ได้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ปกติเมื่อได้รับเลือกให้ มาดํารงตําแหน่งแล้วจะทําหน้าที่ตลอดวาระของสภาฯ โดยจะต้องวางตัวให้เที่ยงธรรมและ ดําเนินการประชุมอย่างเป็นกลาง แม้ว่าจะสังกัดพรรคการเมืองฝ่ายใดก็ตาม ทั้งนี้ทั้งประธาน และรองประธานสภาฯ จะยังคงเป็น ส.ส. ที่ต้องสังกัดพรรคการเมือง เพราะถ้าลาออกจากสมาชิกพรรคการเมืองจะทําให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 101 (8)

31 สํานักนายกรัฐมนตรี

(1) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

(2) จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ

(3) เป็นศูนย์กลางของคณะรัฐมนตรี

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 371, 373 สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งการจัดตั้งหรือยุบส่วนราชการเหล่านี้ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ โดยสํานักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาฯ

32 ข้าราชการการเมือง

(1) เป็นฝ่ายกําหนดนโยบาย

(2) ต้องสังกัดพรรคการเมือง

(3) ไม่มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2 นาย

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 364 365 ข้าราชการการเมือง คือ บุคคลซึ่งรับราชการในตําแหน่งที่รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบายเป็นฝ่ายกําหนดนโยบายในการบริหารประเทศหรือนโยบายสาธารณะ และ คอยควบคุมฝ่ายข้าราชการประจําให้ปฏิบัติตามนโยบายที่วางไว้ โดยข้าราชการการเมือง เข้าดํารงตําแหน่งตามวิถีทางของการเมืองหรือเหตุผลทางการเมือง และออกจากตําแหน่งตาม วาระหรือมีวาระในการดํารงตําแหน่ง ทั้งนี้ข้าราชการการเมืองส่วนใหญ่กฎหมายไม่ได้กําหนด ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง มีเพียงบางตําแหน่งเท่านั้นที่จะต้องสังกัดพรรคการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี (ต้องมาจาก ส.ส. ที่ต้องสังกัดพรรคการเมือง) ฯลฯ

หมายเหตุ รัฐธรรมนูญฯ 2560 ไม่ได้ระบุให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง (ส.ส.)

33 หน่วยการปกครองใดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค

(1) เมืองพัทยา

(2) เทศบาลนครเชียงใหม่

(3) จังหวัดนนทบุรี

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 402 กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคไว้ 2 ระดับ คือ จังหวัด และอําเภอ

34 กรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรประเภทใดอาจตั้งบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ให้เป็นกรรมาธิการได้

(1) กรรมาธิการสามัญ

(2) กรรมาธิการวิสามัญ

(3) กรรมาธิการเต็มสภา

(4) กรรมาธิการร่วมกัน

(5) กรรมาธิการครึ่งสภา

ตอบ 2 หน้า 199 คณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร เป็นคณะกรรมาธิการที่สภาฯ ตั้งขึ้นชั่วคราว โดยอาจตั้งบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็น ส.ส. เข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการด้วยได้ และ ไม่จําเป็นต้องตั้งให้มีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับสัดส่วนของจํานวน ส.ส. ของแต่ละพรรคการเมือง เหมือนคณะกรรมาธิการสามัญก็ได้ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญนี้จะทําหน้าที่เฉพาะกิจเท่านั้น คือ ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ และเมื่อพิจารณาเรื่องนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะสลายตัวไป (รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129)

35 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กําหนดให้มีนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกจํานวน

(1) 30 คน

(2) ไม่เกิน 30 คน

(3) 35 คน

(4) ไม่เกิน 35 คน

(5) 36 คน

ตอบ 4 รัฐธรรมนูญฯ 2560 (รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน) มาตรา 158 กําหนดให้ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน

36 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่เท่าใด

(1) 25

(2) 26

(3) 27

(4) 28

(5) 29

ตอบ 5 (ข่าว) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย โดยเข้ารับตําแหน่งหลังจากก่อการรัฐประหารยึดอํานาจจากรัฐบาลประชาธิปไตย

37 กลุ่มผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตั้งขึ้นเพื่อ

(1) รวบรวมบุคคลเพื่อหวังชนะเลือกตั้ง

(2) มีอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นหลัก

(3) สนับสนุนนโยบายรัฐบาล

(4) โน้มน้าวนโยบายรัฐบาลเพื่อกลุ่มของตน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 313 กลุ่มผลประโยชน์ คือ กลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเพราะมีอาชีพหรือมีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน และมีความต้องการโน้มน้าวให้นโยบายของรัฐบาลตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มของตน หรือต้องการให้รัฐบาลมีนโยบายสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่ม

38 รัฐธรรมนูญฉบับก่อนฉบับปัจจุบัน ได้กําหนดให้ผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี คือ

(1) ประธานรัฐสภา

(2) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(3) ประธานวุฒิสภา

(4) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(5) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ตอบ 4 รัฐธรรมนูญฉบับก่อนฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 19 วรรค 4 กําหนดให้ การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

39 สภาปฏิรูปแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนฉบับปัจจุบันทําหน้าที่

(1) สภาผู้แทนราษฎร

(2) วุฒิสภา

(3) รัฐสภา

(4) ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 สภาปฏิรูปแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนฉบับปัจจุบันมีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง การบริหาร ราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม พลังงาน ฯลฯ (รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 27 และ 31)

40 ปัจจุบันมีการกําหนดให้ผู้ใหญ่บ้านอยู่ในตําแหน่งคราวละกี่ปี

(1) 2 ปี

(2) 3 ปี

(3) 4 ปี

(4) 5 ปี

(5) ไม่มีวาระอยู่จนเกษียณอายุครบ 60 ปี

ตอบ 5 หน้า 421 422 ผู้ใหญ่บ้านมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ไม่มีฐานะเป็นข้าราชการโดยผู้ใหญ่บ้านมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในหมู่บ้านนั้น ๆ และจะอยู่ในตําแหน่งจนอายุครบ 60 ปี

41 รัฐธรรมนูญคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ

(1) การเงินของประเทศ

(2) การปกครองประเทศ

(3) การใช้อํานาจของสถาบันการเมืองต่าง ๆ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 กับ 3

ตอบ 5 หน้า 81 รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกําหนดรูปแบบและหลักการในการจัดการปกครองประเทศ การใช้อํานาจของผู้ปกครองหรือสถาบันการเมืองต่าง ๆการสืบต่ออํานาจ ตลอดจนขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

42 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยประกาศใช้เมื่อ

(1) 24 มิถุนายน 2475

(2) 27 มิถุนายน 2475

(3) 10 ธันวาคม 2475

(4) 9 พฤษภาคม 2489

(5) 9 พฤศจิกายน 2490

ตอบ 2 หน้า 83 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย (พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวพ.ศ. 2475) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ดังนั้นจึงเกิดขึ้นหลังจากเกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 เพียง 3 วันเท่านั้น โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้กําหนดให้รัฐสภามีสภาเดียวเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนราษฎรชั่วคราวที่มาจากการแต่งตั้งจํานวน 70 คน

43 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย กําหนดให้รัฐสภามสภาเดียวเรียกว่าสภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนราษฎร ชั่วคราวที่มาจากการแต่งตั้งจํานวน

(1) 50 คน

(2) 60 คน

(3) 70 คน

(4) 80 คน

(5) 90 คน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

44 “ประธานคณะกรรมการราษฎร” หมายถึง

(1) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(2) ประธานวุฒิสภา

(3) ประธานองคมนตรี

(4) นายกรัฐมนตรี

(5) คณะรัฐมนตรี

ตอบ 4 หน้า 83 – 85, 159 – 160 ธรรมนูญการปกครองฯ 2475 ได้เรียกตําแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารว่า“ประธานคณะกรรมการราษฎร” และเรียกคณะบริหารว่า “คณะกรรมการราษฎร” แต่ต่อมา นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือ รัฐธรรมนูญฯ 2475 เป็นต้นมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็เปลี่ยนมาเรียกตําแหน่งดังกล่าวว่า “นายกรัฐมนตรี” และ “คณะรัฐมนตรี” ตามลําดับ

45 รัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับใดที่มีลักษณะให้ความสําคัญแก่ฝ่ายบริหารกว้างขวางมาก

(1) ฉบับที่ 3 ปี 2489

(2) ฉบับที่ 5 ปี 2492

(3) ฉบับที่ 7 ปี 2502

(4) ฉบับที่ 8 ปี 2511

(5) ฉบับที่ 17 ปี 2549

ตอบ 3 หน้า 92 – 93, 71 (S) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 (ธรรมนูญการปกครองฯ 2502) ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการมากที่สุดของไทย เพราะมีการให้อํานาจอย่างกว้างขวางมากแก่ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี ที่นอกจากจะมีอํานาจบริหารแล้วยังสามารถใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจตุลาการ ในบางกรณีได้ โดยระบุไว้ในมาตรา 17 ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจสั่งการหรือกระทําการใด ๆ ได้ดังนั้นจึงถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญแบบเผด็จการ

46 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”

(1) ฉบับที่ 3 ปี 2489

(2) ฉบับที่ 7 ปี 2502

(3) ฉบับที่ 9 ปี 2515

(4) ฉบับที่ 12 ปี 2521

(5) ฉบับที่ 16 ปี 2540

ตอบ 5 หน้า 100, 114 รัฐธรรมนูญฯ 2540 (ฉบับที่ 16) เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างและแสดงความคิดเห็นมากที่สุด จนได้รับสมญาว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 และถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

47 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ปี 2550 จะระบุว่า

(1) ประธานองคมนตรีจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

(2) ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

(3) ประธานวุฒิสภาจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

(4) นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

(5) คณะรัฐมนตรีทุกคนจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้

ตอบ 4 หน้า 183 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญฯ 2550) มาตรา 171 กําหนดให้ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้ (ซึ่งเป็นข้อบังคับใหม่ที่กําหนดไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับนี้)

48 “อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” คือ

(1) การคัดเลือกเพื่อหาประธานองคมนตรี

(2) การคัดเลือกเพื่อหาประธานสภาผู้แทนราษฎร

(3) การคัดเลือกเพื่อหาประธานวุฒิสภา

(4) การคัดเลือกเพื่อหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่

(5) การคัดเลือกเพื่อหาผู้สําเร็จราชการ

ตอบ 4 หน้า 35, 150 – 151 รัชกาลที่ 6 ได้ทรงบัญญัติกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์พ.ศ. 2467 ขึ้นใช้ นับเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ได้วางลําดับสิทธิในการสืบราชสมบัติของกษัตริย์ ซึ่งแต่เดิมนั้นมักจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นในกรณีที่กษัตริย์ไม่มีโอรสหรือมิได้แสดงพระประสงค์ ว่าจะมอบให้ผู้ใดเป็นรัชทายาท โดยในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นส่วนใหญ่วิธีการคัดเลือกเพื่อหา พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะใช้วิธีการแบบ “อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” คือ การประชุมของบรรดาพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เสนาบดี และพระเถระชั้นราชาคณะ

49 พระราชอํานาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ จะระบุไว้ว่าหากพระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอํานาจดังกล่าวจะทรงยับยั้งได้ภายในเวลากี่วันในช่วงแรก

(1) 30 วัน

(2) 45 วัน

(3) 60 วัน

(4) 75 วัน

(5) 90 วัน

ตอบ 5 หน้า 152 153 พระราชอํานาจในการยับยั้งร่าง พ.ร.บ. พระมหากษัตริย์ทรงกระทําได้ 2 วิธี คือ

1 พระราชทานคืนมาให้สภาพิจารณาใหม่ภายในเวลาที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว้ ปกติรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่กําหนดไว้ 90 วัน (ช่วงแรก) ถ้าสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด ให้นายกฯ นําร่าง พ.ร.บ.นั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้ง เมื่อพระองค์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน (ช่วงหลัง) ให้นายกฯ นํา พ.ร.บ.นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระองค์ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว (รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146)

2 เก็บไว้เฉย ๆ จนครบกําหนดซึ่งเท่ากับว่าทรงไม่เห็นชอบด้วย

50 การเสด็จออกเยี่ยมประชาชนในต่างจังหวัดจะถือว่าเป็นพระราชกรณียกิจด้านใด (1) พิธีการ

(2) สังคมสงเคราะห์

(3) การปกครอง

(4) เพื่อพระราชทานคําเตือน

(5) ในด้านสิทธิที่จะได้รับทราบเรื่องต่าง ๆ

ตอบ 3 หน้า 154 พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ อาจจําแนกออกได้เป็น 3 ด้าน คือ

1 พิธีการ โดยทรงเป็นองค์ประธานในพิธีการสําคัญต่าง ๆ ของชาติ

2 สังคมสงเคราะห์ โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อช่วยเหลือกิจการสาธารณกุศล

3 การปกครอง โดยการเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัดเพื่อให้มีขวัญและกําลังใจดี

51 จํานวนของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ปี 2550

(1) 1 + 15

(2) 1 + 22

(3) 1 + 35

(4) 1 + 40

(5) 1 + 45

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

52 หน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่สําคัญที่สุดคือ

(1) การควบคุมการประชุมของฝ่าย ส.ส. และ ส.ว.

(2) ออกกฎหมายที่เรียกว่าพระราชบัญญัติ

(3) บริหารราชการแผ่นดิน

(4) ตั้งกระทู้ถาม ส.ส. หรือ ส.ว. ในทุกเรื่อง

(5) ตรวจสอบการทํางานขององคมนตรี

ตอบ 3 หน้า 169 หน้าที่ที่สําคัญที่สุดของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี คือ วางนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน โดยเมื่อเข้ารับตําแหน่งต้องแถลงนโยบายต่อสภา และถ้าไม่ปฏิบัติตามนโยบายหรือ ปฏิบัติตามนโยบายแล้วล้มเหลวหรือไม่ได้ผล สมาชิกสภาก็มีสิทธิตั้งกระทู้ถามหรือขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจได้

53 ความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีมีกี่รูปแบบ

(1) 1 รูปแบบ

(2) 2 รูปแบบ

(3) 3 รูปแบบ

(4) 4 รูปแบบ

(5) 5 รูปแบบ

ตอบ 2 หน้า 185, (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี มี 2 รูปแบบ คือ ต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อ รัฐสภาในการกําหนดนโยบายและดําเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี (รัฐธรรมนูญฯ2560 มาตรา 164 วรรค 2)

54 นายกรัฐมนตรีที่จะสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้แก่รัฐบาลได้เป็นอย่างดีในประเทศไทย ส่วนใหญ่ มักจะมาจาก

(1) ข้าราชการครู

(2) ข้าราชการตํารวจ

(3) ข้าราชการทหาร

(4) ข้าราชการพลเรือน

(5) พลเรือน

ตอบ 3 หน้า 171, (คําบรรยาย) นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 20 ปีประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 29 คน แม้นายกฯ ส่วนใหญ่จะเป็นพลเรือนอยู่ถึง 20 คน แต่ถ้าเทียบอายุหรือระยะเวลาในการดํารงตําแหน่งจะพบว่า รัฐบาลที่มีพลเรือนเป็นนายกฯ มักจะขาดเสถียรภาพ ผิดกับรัฐบาลที่มีข้าราชการทหารเป็นนายกฯ ที่มักจะอยู่ได้นานจนสามารถสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้แก่รัฐบาลได้เป็นอย่างดี

55 การแทรกแซงทางการเมืองของไทย มักจะเกิดขึ้นจากข้อใดเป็นประจํา

(1) ต่างประเทศเข้ามาล้วงลูก

(2) นักการเมืองไทยเองที่เข้ามาแทรกแซง

(3) มือที่มองไม่เห็นเข้ามาแทรกแซง

(4) อํามาตย์เก่าเข้ามาแทรกแซง

(5) ทหารเข้ามาแทรกแซง

ตอบ 5 หน้า 172 ปัญหาของการแทรกแซงทางการเมืองในประเทศไทยมักจะเกิดขึ้นมาจากข้าราชการทหารมากที่สุด เพราะทหารมีกองกําลังติดอาวุธและรวมตัวกันเป็นกองทัพ จึงสามารถเข้าแทรกแซงทางการเมืองได้ด้วยวิธีการก่อรัฐประหารยึดอํานาจจากรัฐบาลที่มา จากการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตย และทําให้ระบบการเมืองของไทยไม่พัฒนา เกิดการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรแห่งความชั่วร้าย

56 กระทรวงยุติธรรม ตั้งขึ้นในสมัยใด

(1) สุโขทัย

(2) อยุธยา

(3) กรุงธนบุรี

(4) รัตนโกสินทร์ช่วง ร.1 – ร.4

(5) รัตนโกสินทร์ช่วง ร.5

ตอบ 5 หน้า 33, 255 กระทรวงยุติธรรมตั้งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบการปกครอง ในปี พ.ศ. 2434 (ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ)

57 ศาลสถิตยุติธรรมจะแบ่งการพิจารณาคดีเมื่อมีการกระทําผิดเกิดขึ้นออกเป็นกี่ชั้น

(1) 1 ชั้น

(2) 2 ชั้น

(3) 3 ชั้น

(4) 4 ชั้น

(5) 5 ชั้น

ตอบ 3 หน้า 255 ศาลสถิตยุติธรรมจะแบ่งการพิจารณาคดีเมื่อมีการกระทําผิดเกิดขึ้นออกเป็น 3 ชั้นคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

58 คณะกรรมการตุลาการ (กต.) คือ

(1) หลักประกันสําหรับผู้พิพากษาในการวินิจฉัยคดีโดยไม่มีอิทธิพลอื่นเข้ามาแทรกแซง

(2) องค์กรอิสระดําเนินการให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการแต่งตั้ง ย้าย ฯลฯ ผู้พิพากษา

(3) คณะกรรมการเลือกตั้ง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 กับ 3

ตอบ 4 หน้า 259 260 หลักประกันสําหรับผู้พิพากษาที่จะสามารถมีอิสระในการวินิจฉัยคดีโดยปราศจากอิทธิพลของฝ่ายอื่นที่จะเข้ามาแทรกแซงบีบบังคับให้เปลี่ยนคําพิพากษา คือ การกําหนดให้มีคณะกรรมการตุลาการ (กต.) เป็นองค์กรอิสระดําเนินการให้ความเห็นชอบ เกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตําแหน่ง และเลื่อนเงินเดือนของผู้พิพากษาดังนั้นการให้คุณให้โทษกับผู้พิพากษาจึงขึ้นอยู่กับคุณะกรรมการตุลาการ

59 พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ พ.ศ. 2489 จะใช้บังคับที่จังหวัด

(1) พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี

(2) นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี

(3) สตูล นราธิวาส ยะลา ปัตตานี

(4) ตรัง นราธิวาส สงขลา ปัตตานี

(5) สงขลา นราธิวาส ยะลา ปัตตานี

ตอบ 3 หน้า 261 ปกติผู้ที่อยู่ในประเทศเดียวกันย่อมได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองด้วยกฎหมายฉบับเดียวกัน แต่สําหรับประเทศไทยได้มีการยกเว้นในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ คือ สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ พ.ศ. 2489 ออกใช้บังคับในคดีแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกของคนไทยอิสลาม เพราะในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าวนั้นประชาชนส่วนใหญ่ประมาณกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม

60 ในการใช้บังคับกฎหมายอิสลาม จะตัดสินตามเกณฑ์แห่งศาสนาได้ก็ต่อเมื่อ

(1) โจทก์มิได้นับถือศาสนาอิสลามแต่จําเลยนับถือศาสนาอิสลาม

(2) โจทก์นับถือศาสนาอิสลามแต่จําเลยมิได้นับถือศาสนาอิสลาม

(3) คู่กรณีต่างก็มิได้เป็นอิสลามิกชน

(4) คู่กรณีต่างก็เป็นอิสลามิกชนทั้งคู่

(5) ไม่มีเกณฑ์แล้วแต่จะเลือกใช้

ตอบ 4 หน้า 261 คดีแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกจะตัดสินตามเกณฑ์แห่งศาสนาอิสลามได้ก็ต่อเมื่อคู่กรณีเป็นอิสลามิกชนทั้งคู่ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้นับถือศาสนาอิสลามแล้วก็ห้ามมิให้ถือเกณฑ์แห่งศาสนาอิสลามบังคับคดี และให้บังคับใช้เฉพาะในอาณาเขต 4 จังหวัดภาคใต้เท่านั้น

61 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน คือ

(1) นายวิษณุ เครืองาม

(2) พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา

(3) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโน

(4) นายมีชัย ฤชุพันธ์

(5) น.พ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์

ตอบ 5 (ข่าว) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน คือ น.พ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559

62 รัฐธรรมนูญไทยฉบับ พ.ศ. 2560 ประกาศใช้ตั้งแต่

(1) 6 เมษายน 2560

(2) 6 พฤษภาคม 2560

(3) 6 มิถุนายน 2560

(4) 4 กรกฎาคม 2560

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

 

63 นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศจะจัดให้มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญไทยฉบับ พ.ศ. 2560 เมื่อใด

(1) ปี 2560

(2) ปี 2561

(3) ปี 2562

(4) ปี 2563

(5) ปี 2564

ตอบ 2 (ข่าว) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ภายในปี พ.ศ. 2561

64 หลักการทั่วไปในการกระจายอํานาจข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ต้องมีชุมชน

(2) เป็นนิติบุคคล

(3) ผู้บริหารมาจากการแต่งตั้ง

(4) Autonomy

(5) ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

65 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับระบบราชการไทย

(1) นําแนวคิดของ Max Weber มาใช้

(2) นําแบบอย่างมาจากยุโรป

(3) ในสมัยสุโขทัยมีตําแหน่งลูกขุน

(4) เวียง วัง คลัง นา ประกาศใช้ครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 29, 363, (คําบรรยาย) ระบบราชการไทยนําแนวคิดของ Max Weber มาใช้ และนําแบบอย่างมาจากยุโรป โดยในสมัยสุโขทัยมีตําแหน่งลูกขุน ส่วนจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา)ประกาศใช้ครั้งแรกในสมัยอยุธยาตอนต้น (สมัยพระเจ้าอู่ทอง)

 

ข้อ 66 – 70 ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) ราชาธิปไตย

(2) ทรราช

(3) อภิชนาธิปไตย

(4) คณาธิปไตย

(5) ประชาธิปไตย

 

66 รูปแบบการปกครองของไทยสมัยจอมพลสฤษดิ์

ตอบ 4 หน้า 2 – 3, 3 – 4 (S) คณาธิปไตย (Oigarchy) คือ ระบอบการปกครองโดยคณะบุคคลซึ่งผู้ปกครองเป็นกลุ่มเผด็จการที่ทําเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพรรคพวกเป็นสําคัญ เป็นรูปแบบการปกครองที่มักจะเกิดจากรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติหรือรัฐประหารยึดอํานาจ เช่น รูปแบบการปกครองของไทยภายใต้คณะผู้นําทหารในสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาจอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม-ประภาส และจอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม ฯลฯ

67 รูปแบบการปกครองที่ผู้นําเผด็จการปกครองขูดรีดประชาชน

ตอบ 2 หน้า 2 – 3, 3 – 4 (S) ทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) คือ ระบอบการปกครองที่อํานาจอธิปไตยอยู่ที่คนๆ เดียว โดยมีจุดมุ่งหมายในการปกครองเพื่อผู้ปกครองหรือเพื่อหา ผลประโยชน์ให้กับตนเอง ดังนั้นจึงเป็นรูปแบบการปกครองโดยเผด็จการที่ฉ้อฉลหรือกดขี่ข่มเหงประชาชน อันเป็นการปกครองแบบ “ทํานาบนหลังคน” หรือ “ขูดเลือดขูดเนื้อประชาชน”

68 รูปแบบการปกครองที่คณะผู้นําทําเพื่อประโยชน์ของทวยราษฎร์

ตอบ 3 หน้า 2 – 4, 3 – 4 (S) อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คือ ระบอบการปกครองโดยคณะบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษหรือมีคุณภาพเหนือกว่าชนส่วนใหญ่ เช่น กลุ่มขุนนาง พวกเชื้อสายราชวงศ์ หรือชนชั้นสูง กลุ่มปัญญาชนคนมีความรู้ หรือกลุ่มชนที่ได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชน ฯลฯ โดยมีจุดมุ่งหมายในการปกครองเพื่อประชาชน ดังนั้นจึงเป็นลัทธิการเมืองที่ให้ความสําคัญกับ ชนชั้นสูงของสังคมและเป็นรูปแบบการปกครองที่คณะผู้ปกครองทําเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน หรือทวยราษฎร์ ถือเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดโดยคณะผู้ปกครอง

69 รูปแบบการปกครองของไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ตอบ 1 หน้า 3, 3 – 6 (S) ราชาธิปไตย (Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบเทวสิทธิ์ (Divine Right) ในสมัยอยุธยา ซึ่งอาจเรียกว่า เป็นการปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ที่อํานาจอธิปไตยจะอยู่ที่กษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว อันเป็นรูปแบบการปกครองของไทยในสมัยรัชกาลที่ 1 – 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งการปกครองแบบราชาปราชญ์ (Philosopher King) ตามแนวคิดของเพลโต

70 รูปแบบการปกครองของไทยยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี – ตอบ 5 หน้า 11 – 12, 16, 79, (คําบรรยาย) ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่ยึดหลักว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนหรืออํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของ ประชาชนหรือเป็นการปกครองโดยประชาชน (การปกครองที่คนหมู่มากเป็นผู้ใช้อํานาจอธิปไตย) โดยรัฐบาลจะใช้อํานาจปกครองน้อยที่สุดเฉพาะเรื่องที่จําเป็นเท่านั้น ดังนั้นประชาธิปไตย จึงมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ให้ความสําคัญกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เชื่อในหลักการ แห่งกฎหมายและหลักการแห่งความเสมอภาค รวมทั้งคํานึงถึงหลักศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ หรือหลักสิทธิมนุษยชน (ยึดถือสิทธิในการปกครองตนเอง) เช่น ระบอบการเมืองการปกครอง ของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมทั้งระบอบการเมือง ที่เป็นผลมาจากการปฏิวัติ 2475 ของไทย และระบอบการเมืองการปกครองของประเทศไทยในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ฯลฯ

ข้อ 71- 75 ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) สิทธิ

(2) เสรีภาพ

(3) ความเสมอภาค

(4) หลักเหตุผลนิยม

(5) Public Spirit

 

71 ความสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

ตอบ 5 หน้า 20 – 22 วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย มีลักษณะสําคัญดังนี้

1 เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล

2 มีระเบียบวินัย

3 การรู้จักประนีประนอม (Compromise) ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้แพ้รู้ชนะ เช่น ยอมรับผลของการเลือกตั้ง ฯลฯ

4 มีความสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม (Public Spirit) โดยคนในสังคมมีความรู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของประเทศและประเทศเป็นของคนทุกคน

72 เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้ที่สามารถพูดจากันรู้เรื่อง

ตอบ 4 หน้า 20 – 21, 23 (S), (คําบรรยาย) หลักการแห่งเหตุผล/หลักเหตุผลนิยม (Rationalism) คือ การยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนต่างก็มีเหตุผลของการกระทําใด ๆ เพราะประชาธิปไตยเชื่อว่า มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผลสามารถพูดจากันรู้เรื่อง โดยประชาธิปไตยจะดําเนินไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อ มีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกต้องที่แท้จริง เช่น การยอมรับในข้อสรุปที่ได้จากการอภิปรายของสมาชิก เป็นต้น

73 ความสามารถที่จะกระทําการใด ๆ ได้ดั่งใจโดยไม่ละเมิดกฎหมาย

ตอบ 2 หน้า 12 เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ ได้ตามความปรารถนาแต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ ต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น

74 การบังคับใช้กฎหมาย Double Standard จะต้องไม่มี

ตอบ 3 หน้า 14 – 15, (คําบรรยาย) ความเสมอภาค (Equality) คือ การได้รับการปฏิบัติจากรัฐและกฎหมายโดยปราศจากความลําเอียงหรือเลือกปฏิบัติ โดยในระบอบประชาธิปไตยมีหลัก แห่งความเสมอภาค 5 ประการ คือ ความเสมอภาคทางการเมือง ความเสมอภาคทางกฎหมาย (คือ เมื่อกระทําผิดจะต้องใช้กฎหมายและการลงโทษอย่างเดียวกัน จะต้องไม่มีการบังคับใช้ กฎหมายแบบ 2 มาตรฐานหรือ Double Standard) ความเสมอภาคในโอกาส ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ และความเสมอภาคทางสังคม

75 เป็นอํานาจอันชอบธรรมในการกระทําใด ๆ ของสมาชิกของสังคม

ตอบ 1 หน้า 12 – 13 สิทธิ (Right) คือ อํานาจอันชอบธรรมหรือความสามารถหรือโอกาสที่จะกระทําหรือไม่กระทําการใด ๆ ได้โดยชอบธรรม สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ โดยธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมาย ดังนั้นอํานาจอื่นหรือแม้กระทั้งอํานาจของรัฐจะก้าวก่าย สิทธิของบุคคลไม่ได้

 

ข้อ 76 – 80 ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) เสรีนิยม

(2) สังคมนิยม

(3) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(4) อํานาจนิยม

(5) ชาตินิยม

76 ลัทธิที่ให้เสรีภาพเฉพาะด้านเศรษฐกิจสังคม แต่จํากัดเสรีภาพทางการเมือง

ตอบ 4 หน้า 6 – 7 อํานาจนิยม (Authoritarianism) คือ การที่รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนพอสมควร โดยเฉพาะเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่จะจํากัดเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งเป็นลักษณะการใช้อํานาจของรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร เช่น รัฐบาลทหารของไทยการปกครองในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ

77 ยึดมั่นในแนวคิดเรื่อง “เชื่อผู้นําชาติพ้นภัย”

ตอบ 3 หน้า 6, 66 (S) เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) คือ การที่รัฐบาลหรือผู้ปกครองใช้อํานาจควบคุมประชาชนอย่างเคร่งครัดแทบจะสิ้นเชิงในทุกด้าน ทั้งเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยจะลงโทษอย่างรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืน ดังนั้นจึงเป็นระบบของ การใช้อํานาจทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม เช่น ระบบฟาสซิสต์ของ อิตาลี ระบบนาซีของเยอรมัน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบราชาธิปไตย และ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ใช้อํานาจเด็ดขาดโดยยึดมั่นในแนวคิด “ผู้นําถูกต้องเสมอ” ดังคําขวัญ “เชื่อผู้นําชาติพ้นภัย” เพื่อปลุกใจราษฎรให้เชื่อมั่นรัฐบาล ฯลฯ

78 ความเป็นอยู่ของประชาชนด้านเศรษฐกิจสังคมมีรัฐเป็นผู้ดูแล

ตอบ 2 หน้า 8, 8 (S) สังคมนิยม (Socialism) คือ ลัทธิทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะเข้ามาควบคุมและกํากับดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านเศรษฐกิจหลักของประเทศ อันเป็นลัทธิเศรษฐกิจ ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่ารัฐต้องเข้ามาควบคุมและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่สําคัญของสังคม แต่จะยินยอมให้ประชาชนมีทรัพย์สินเป็นของตนเองได้บ้าง และเป็นลัทธิเศรษฐกิจที่ยึดหลัก แห่งความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกันมากกว่าหลักเสรีภาพ เช่น ระบบหรือแนวคิดเรื่อง รัฐวิสาหกิจ ระบบเศรษฐกิจของสังคมเวียดนามและจีนยุคปัจจุบัน ฯลฯ

79 แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อในเรื่อง “ไร้พรมแดน”

ตอบ 5 หน้า 9, (คําบรรยาย) ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) คือ ลัทธิหรืออุดมการณ์ที่เน้นหรือให้ความสําคัญกับเรื่องของความมั่นคงและความเป็นเอกภาพของชาติ เชื่อและศรัทธาในพวกพ้อง และดินแดนเดียวกัน เน้นเรื่องความรักความผูกพันและความสมานฉันท์ต่อกันของคนในชาติ เชื่อว่าคนเราเกิดมาต่างก็เป็นหนี้ต่อบ้านเมืองของเราเอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อ ในเรื่องสากลนิยม/ไร้พรมแดนที่ให้ความสําคัญในเรื่องผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติมากกว่า ผลประโยชน์ของชาติใดชาติหนึ่ง นอกจากนี้ลัทธิชาตินิยมยังเชื่อว่ารัฐกับมนุษย์ไม่แตกต่างกัน เพราะถ้าไม่มีมนุษย์ก็ไม่มีรัฐ และรัฐจะอยู่ไม่ได้ถ้ามนุษย์ในรัฐไม่ช่วยกันปกป้องรักษารัฐของตนดังนั้นลัทธิชาตินิยมจึงต้องการให้สมาชิกทุกคนเชื่อฟังคําสั่งของรัฐโดยปราศจากเงื่อนไข

80 รัฐที่ใช้อํานาจในการปกครองน้อยที่สุด

ตอบ 1 หน้า 6, 7 – 8 (S) เสรีนิยม (Liberalism) เป็นระบอบเศรษฐกิจการเมืองที่เน้นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มีลักษณะการใช้อํานาจแบบอิสระนิยม อันเป็นต้นแบบของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย โดยมองว่ารัฐที่ดีคือรัฐที่ใช้อํานาจในการปกครองและกํากับดูแลน้อยที่สุด ทั้งนี้รัฐบาลจะเข้าควบคุมหรือรักษากฎเกณฑ์เฉพาะส่วนที่จําเป็นเท่านั้น

81 สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นส่วนราชการเช่นเดียวกับ

(1) ทบวง

(2) กรม

(3) กระทรวง

(4) สํานักงานเลขานุการกรม

(5) กอง

ตอบ 2 หน้า 392 สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์

82 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหารเป็นข้าราชการ

(1) ข้าราชการประจํา

(2) ข้าราชการฝ่ายการเมือง

(3) ข้าราชการพิเศษ

(4) ข้าราชการกรณีพิเศษ

(5) ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ

ตอบ 1 หน้า 364 366 ข้าราชการประจํา ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน (เช่น รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ฯลฯ) ข้าราชการทหาร และข้าราชการของหน่วยการปกครองท้องถิ่น (ส่วนข้าราชการการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ฯลฯ)

83 กรม/สํานักงานใด ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการไม่ได้ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

(1) สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

(2) สํานักงาน ก.พ.

(3) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

(4) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ

(5) สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

ตอบ 3 หน้า 376, 389, 398 ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สํานักพระราชวัง, สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, สํานักงานตํารวจแห่งชาติ, สํานักข่าวกรองแห่งชาติ, สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.), สํานักงบประมาณ, สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ (สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

84 การปกครองส่วนภูมิภาค หมายถึง

(1) การมอบอํานาจ

(2) การแบ่งอํานาจ

(3) การจัดสรรอํานาจ

(4) การรวมอํานาจ

(5) การกระจายอํานาจ

ตอบ 2 หน้า 359 360, 37:, 401, 433 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1 ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอํานาจปกครอง

2 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอํานาจปกครอง

3 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอํานาจปกครอง

85 ระยะเวลาการดํารงตําแหน่งของกํานัน

(1) 4 ปี

(2) 5 ปี

(3) อยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 60 ปี

(4) อยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 55 ปี

(5) อยู่ในตําแหน่งตลอดชีวิต

ตอบ 3 หน้า 417 ตําแหน่งกํานันในปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งของราษฎรในตําบลนั้น โดยกํานันต้องเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย และจะอยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 60 ปี

86 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยรูปแบบใดเป็นรูปแบบพิเศษ

(1) อบต.

(2) เทศบาล

(3) ภูเก็ต

(4) พัทยา

(5) เกาะสมุย

ตอบ 4 หน้า 439, 465, 477 ปัจจุบันรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย มี 5 รูป ดังนี้

1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

2 องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)

3 เทศบาล

4 กรุงเทพมหานคร (กทม.)

5 เมืองพัทยา โดยกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาเป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ

87 ขณะนี้ประเทศไทย จัดให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดจํานวนเท่าใด

(1) 77 จังหวัด

(2) 75 จังหวัด

(3) 74 จังหวัด

(4) 76 จังหวัด

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 439, (คําบรรยาย) องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดตั้งขึ้นทุกจังหวัด ๆ ละ 1 แห่ง โดย ในปัจจุบันประเทศไทยมีจังหวัดทั้งหมด 77 จังหวัด (บึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 77) แต่มีองค์การ บริหารส่วนจังหวัดจํานวน 76 จังหวัด (ยกเว้น กทม.ที่เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ)

88 ใครเป็นรองนายกรัฐมนตรีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

(1) นายมีชัย ฤชุพันธ์

(2) นายพีระศักดิ์ พอจิต

(3) นายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ

(4) นายวิษณุ เครืองาม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (ข่าว) รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีทั้งหมด 6 คน ได้แก่

1 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

2 พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร

3 นายวิษณุ เครืองาม

4 พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย

5 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง

6 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

89 การจัดตั้งจังหวัดต้องตราเป็นกฎหมายอะไร

(1) พระราชกฤษฎีกา

(2) พระราชบัญญัติ

(3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย

(4) กฎกระทรวง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

90 ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าราชการประจําสังกัดหน่วยงานใด

(1) สํานักนายกรัฐมนตรี

(2) กระทรวงมหาดไทย

(3) กระทรวงศึกษาธิการ

(4) กรมการปกครอง

(5) ไม่สังกัดหน่วยงานใด

ตอบ 2 หน้า 404 ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นข้าราชการสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และทําหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดนั้น

91 การกําหนดโครงสร้างเมืองพัทยาของไทยในปัจจุบันมีลักษณะและรูปแบบใด (1) รัฐสภา

(2) แบบมีสภา

(3) ประธานาธิบดี

(4) แบบผสมรัฐสภาและประธานาธิบดี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 450, 467, 478, (คําบรรยาย) การกําหนดโครงสร้างการจัดองค์การและการบริหารเมืองพัทยาของไทยในปัจจุบันนั้น มีลักษณะและรูปแบบการปกครองแบบประธานาธิบดี (Presidential System) เหมือนกับโครงสร้างของเทศบาลและกรุงเทพมหานคร กล่าวคือ มีหัวหน้าฝ่ายบริหาร นายกเมืองพัทยา นายกเทศมนตรี ผู้ว่าฯ กทม.) และสมาชิกสภา ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยใช้หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation)ตามแบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

92 ปัจจุบันประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือใคร

(1) นายวิษณุ เครืองาม

(2) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโน

(3) นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

93 ผู้บริหารสูงสุดในสภาเทศบาล มีตําแหน่งเรียกว่าอะไร

(1) ประธานสภา

(2) ปลัดเทศบาล

(3) นายกเทศมนตรี

(4) ผู้อํานวยการสํานัก

(5) ประธานรัฐสภา

ตอบ 1 หน้า 450 – 454, 461 โครงสร้างการจัดองค์การและการบริหารเทศบาล แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สภาเทศบาล มีประธานสภาเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหรือผู้บริหารสูงสุด

2 ฝ่ายบริหาร มีนายกเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบหรือผู้บริหารสูงสุด

94 รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนคร แต่งตั้งได้จํานวนไม่เกินกี่คน

(1) 5 คน

(2) 4 คน

(3) 3 คน

(4) 2 คน

(5) 1 คน

ตอบ 2 หน้า 448, 453 นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ตามจํานวนดังต่อไปนี้

1 เทศบาลตําบล (เทศบาลขนาดเล็ก) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 2 คน

2 เทศบาลเมือง (เทศบาลขนาดกลาง) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน

3 เทศบาลนคร (เทศบาลขนาดใหญ่) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 4 คน

95 กรุงรัตนโกสินทร์ การปฏิรูประบบราชการไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

(1) ร.3

(2) ร.4

(3) ร.5

(4) ร.6

(5) ร.9

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

96 หน้าที่หลักของเมืองพัทยาที่แตกต่างไปจากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตําบล คืออะไร

(1) การรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย

(2) การประสานงานกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่นอื่น

(3) สร้างถนน สะพาน

(4) การจัดการท่องเที่ยว

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยทั่วไปจะไม่แตกต่างกัน โดยอาจจะแตกต่างกันบ้างในหน้าที่รองหรือในรายละเอียดปลีกย่อย ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 250 กําหนดให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่และอํานาจดูแลและจัดทํา บริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการ พัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

97 เทศบาลขนาดกลาง มีจํานวนสมาชิกสภาได้ไม่เกินกี่คน

(1) 10 คน

(2) 12 คน

(3) 16 คน

(4) 18 คน

(5) 24 คน

ตอบ 4 หน้า 448, 450 สมาชิกสภาเทศบาล มีจํานวนตามขนาดของเทศบาล ดังนี้

1 เทศบาลตําบล เป็นเทศบาลขนาดเล็ก มีสมาชิกสภาจํานวน 12 คน

2 เทศบาลเมือง เป็นเทศบาลขนาดกลาง มีสมาชิกสภาจํานวน 18 คน

3 เทศบาลนคร เป็นเทศบาลขนาดใหญ่ มีสมาชิกสภาจํานวน 24 คน

98 รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล กฎหมายกําหนดให้แต่งตั้งได้ไม่เกินกี่คน

(1) 2 คน

(2) 3 คน

(3) 4 คน

(4) 5 คน

(5) 6 คน

ตอบ 1 หน้า 489 นายกองค์การบริหารส่วนตําบลอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของ องค์การบริหารส่วนตําบลตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลมอบหมายได้ไม่เกิน 2 คน (พ.ร.บ. สภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2547 มาตรา 58/3)

99 ขณะนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคการเมืองใด

(1) เพื่อไทย

(2) ประชาธิปัตย์

(3) ชาติไทยพัฒนา

(4) ไม่สังกัดพรรค

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) เป็นข้าราชการประจําดังนั้นจึงไม่ต้องสังกัดพรรคการเมืองใด (ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ)

100 ข้อใดเป็นอํานาจของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

(1) ตราข้อบัญญัติเทศบาล

(2) อนุมัติหรือไม่อนุมัติงบประมาณ

(3) วางนโยบาย

(4) ควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 442 443 อํานาจหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีดังนี้

1 กําหนดหรือวางนโยบาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบจ.

2 สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบจ.

3 วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบจ. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ฯลฯ

 

Advertisement