POL3301 นโยบายสาธารณะ 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

(ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

ตั้งแต่ข้อ 1 – 5 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Ira Sharkansky

(2) Theodore Lowi

(3) Harold Lasswell

(4) David Easton

(5) Thomas R. Dye

 

1 ใครได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 3, 58 – 59 ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้น“การสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ”

2 ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ

ตอบ 1 หน้า 3 ไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น”

3 ใครชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพและเหตุผลทางการเมือง

ตอบ 5 หน้า 57, (คําบรรยาย) โทมัส อาร์.ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล ความสําคัญ)ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ

1 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด

2 เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหาทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน กา3 เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมืองมักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

 

4 ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

ตอบ 4 หน้า 3 เดวิด อิสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ ของสังคมส่วนรวม”

5 ใครเสนอให้จําแนกนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 5 – 6, (คําบรรยาย) ธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภท ((ของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)

2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)

3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่

(Re-Distributive Policy)

 

ตั้งแต่ข้อ 6. – 10. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Gross, Giacquinta and Bernstein

(2) Dale E. Richards

(3) Thomas B. Smith

(4) William Dunn

(5) Emanuel Wald

 

6 ใครเสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม

ตอบ 3 หน้า 171 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ได้เขียนบทความเรื่อง “The Policy Implementation Process” เพื่อเสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติ ในประเทศโลกที่สาม และได้ประยุกต์แนวความคิดเชิงระบบสําหรับใช้ในการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม ซึ่งเรียกตัวแบบนี้ว่า “A Model of the Policy Implementation Process”

7 ใครศึกษานวัตกรรมทางการสอนเเบบใหม่โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ

ตอบ 1 หน้า 62 กรอส, ไจแอคควินทา และเบิร์นสไตล์ (Gross, Giacquinta & Bernstein) ได้ศึกษาเรื่อง “Implementing Organizational Innovations : A Sociological Analysis of Planned Educational Change” ซึ่งเป็นการศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่สําหรับครู โดยให้ครูดําเนินการสอนตามความสนใจของนักเรียน และเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบนี้ว่า “Catalytic Role Model”

8 ใครสนใจในการวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 4 หน้า 72, (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่

1 เควด (E.S. Quade)

2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)

3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)

4 โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ฯลฯ

9 ใครศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

ตอบ 2 หน้า 66 67 เดล อ. ริชาร์ด (Dale E. Richards) ได้ศึกษาเรื่อง “From Teachers College to Comprehensive University” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของ Kent State University ซึ่งพัฒนาจากวิทยาลัยครูจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ สามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาเอก

10 ใครศึกษาแนวโน้มของการศึกษาการบริหารรัฐกิจ พบว่า แบ่งเป็นแบบธรรมเนียมทั่วไป และแบบนโยบายศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 56 Emanuel Wald ได้ศึกษาแนวโน้มของการศึกษาการบริหารรัฐกิจ พบว่าแนวคิดของการศึกษาการบริหารรัฐกิจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ แบบธรรมเนียมทั่วไป และแบบนโยบายศาสตร์

 

ตั้งแต่ข้อ 11. – 15. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

 

11 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด ตอบ 2 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรรเพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)

2 การตีความหรือแปลงนโยบาย ออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของ หน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street-Level Bureaucracy)

5 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

12 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 หน้า 23 – 25 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

13 การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 3 หน้า 25 – 26, (คําบรรยาย) ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรื่องนั้น ๆ เพื่อช่วย ประกอบการตัดสินใจของผู้กําหนดนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์

2 การกําหนดทางเลือก

3 การจัดทําร่างนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล  วัตถุประสงค์ แนวทางและมาตรการ การจัดลําดับทางเลือก และการหาข้อมูลประกอบ การพิจารณา

14 การจัดวาระในการพิจารณานโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 4 หน้า 49 – 50 ขั้นตอนการอนุมัติและประกาศนโยบาย (Policy Adoption) ประกอบด้วย

1 การจัดวาระในการพิจารณานโยบาย

2 การพิจารณาร่างนโยบาย

3 การอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

4 การประกาศนโยบาย

15 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

16 การเปรียบเทียบผลการดําเนินตามนโยบายกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด ๆ

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การประเมินผลนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 4 หน้า 229 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลการดําเนินตามนโยบายกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในทุกขั้นตอนของนโยบาย

17 ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ คือ

(1) วัตถุประสงค์ของนโยบายต้องชัดเจน

(2) มีส่วนร่วมของประชาชน

(3) มีทรัพยากรที่พอเพียง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ลักษณะของนโยบายที่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน

2 วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน สอดคล้องกัน และสามารถรับรู้ได้ง่าย

3 ความเป็นไปได้ทางการเมืองหรือการได้รับการสนับสนุนทางการเมือง

4 ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีหรือภารมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

5 ทรัพยากรที่พอเพียง

6 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติมีทัศนคติที่ดีต่อตัวนโยบาย ฯลฯ

ซึ่งหากไม่เป็นไปตามลักษณะปัจจัยดังกล่าวก็จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว

18 ปัจจัยที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว คือ

(1) ลักษณะของนโยบายไม่ชัดเจน

(2) มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

(3) ผู้ปฏิบัติมีทัศนคติในการต่อต้านนโยบาย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 17 ประกอบ

19 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอไว้ในแนวคิดในการประเมินนโยบายของเขา

(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล

(2) การกําหนดแผนงาน

(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด

(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 239 240 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการ ที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ ตอบแทนสูงสุด

2 กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์

3 กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ

4 กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

5 ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

20 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) Harold Lasswell อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวม

(2) Woodrow Wilson คิดว่าการเมืองกับการบริหารควรแยกออกจากกัน (3) Emanuel Wald ศึกษาว่านโยบายศาสตร์เป็นแนวโน้มหนึ่งของการศึกษาบริหารรัฐกิจ

(4) Yehezket Dror เน้นเรื่องผลของนโยบายและการประเมินผลของนโยบาย (5) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Policy Outputs

(2) Policy Formulation

(3) Policy Implementation

(4) Policy Process

(5) Policy Impacts

 

21 การแปลงนโยบายเป็นแผนงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

22 เรื่องใดเกี่ยวข้องกับการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปก่อให้เกิดผลตามนโยบาย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

23 การที่หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านได้รับเงิน 1 ล้านบาท เรียกว่าอะไร

ตอบ 1 หน้า 7, (คําบรรยาย) ผลผลิตของนโยบาย (Policy Outputs) คือ ขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงระดับต่าง ๆ ของการบริหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดมาจากการดําเนินงานในภาครัฐตามที่รัฐบาลต้องการให้เกิดขึ้น เช่น การที่หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านได้รับเงิน 1 ล้านบาท เป็นต้น

24 การมีนโยบายสร้างงานในชนบททําให้ประชาชนเรียนรู้วิธีการคอร์รัปชั่นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 5 หน้า 7 – 8, (คําบรรยาย) ผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) คือ ผลสะท้อนของการบริการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นทั้งทางบวกและทางลบก็ได้ หรือเป็นผลในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลทางอ้อมทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น เช่น นโยบายสร้างงานในชนบทมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดความเจริญในท้องถิ่น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือ ทําให้ประชาชนเรียนรู้วิธีการคอร์รัปชั่น เป็นต้น

25 การศึกษาปัญหาของท้องถิ่นและนํามาเป็นข้อมูลในการกําหนดนโยบายเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การบระเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

 

26 รูปแบบใดเกี่ยวข้องกับหลักเศรษฐศาสตร์มากที่สุด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (Cost – Benefit Analysis) เป็นเทคนิคที่ใช้วัดในกรณีที่ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นสามารถตีค่าออกมาในรูปของตัวเงินหรือเป็นเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ได้ โดยพิจารณาที่ผลประโยชน์สุทธิสูงสุด นั่นคือ ต้องตีค่าผลประโยชน์ที่ได้เป็นตัวเงิน เท่านั้น เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับหลักเศรษฐศาสตร์มากที่สุด และมักนิยมใช้วิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น นโยบายการสร้างเขื่อน เป็นต้น

27 รูปแบบใดเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด ตอบ 2 หน้า 233 234 ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีดังนี้

1 เป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

2 ช่วยทําให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหารในระยะยาว

 

28 การกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุมเป็นสิ่งสําคัญอยู่ในรูปแบบใด

ตอบ 2 หน้า 233, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง เป็นวิธีการที่มีความเคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)

2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการวัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว

3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling)จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization) การของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

29 การจับคู่ (Matching) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุมเป็นสิ่งสําคัญอยู่ในรูปแบบใด

ตอบ 3 หน้า 233, 236 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) มีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่หรือหน่วยการทดลองที่เกี่ยวข้อง ที่มีความคล้ายคลึงกัน ตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา จากนั้นสมาชิกของคู่จะถูกกําหนดให้เป็นกลุ่มทดลอง ในขณะที่สมาชิกของคู่เดียวกันจะถูกกําหนดให้เป็นกลุ่มควบคุม ทั้งนี้เพื่อให้ 2 กลุ่มมีความเท่าเทียมกันพอควรก่อนเริ่มดําเนินการ

30 รูปแบบใดของการทดลองเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงน้อยที่สุด

ตอบ 4 หน้า 233, 236 237, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design) เป็นทางเลือกสุดท้ายของการประเมิน นั่นคือ ถ้าผู้ประเมินไม่สามารถที่จะใช้การประเมินผลด้วยวิธีการทดลองและวิธีกึ่งทดลองได้ ก็จําเป็นต้องเลือกแบบหนึ่งแบบใดของการประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง ซึ่งการประเมินผลด้วยวิธีนี้มีจุดอ่อน คือ ผู้ประเมินไม่สามารถควบคุมปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ต้องมีคําอธิบายได้ จึงทําให้การประเมินผลมีความน่าเชื่อถือและแม่นตรงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการวิจัยประเมินผลด้วยวิธีอื่น ๆ

31 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ “ความรู้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ”

(1) ความรู้เกี่ยวกับการทําให้องค์การรัฐวิสาหกิจไม่ขาดทุน

(2) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลที่มาปฏิบัติหน้าที่

(3) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างผลกําไรให้หน่วยงานโดยไม่สนใจประชาชน

(4) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์การวางระบบของงาน

(5) ต้องใช้ความรู้ในการกําหนดนโยบายทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 60, ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดนโยบายของรัฐ มีดังนี้

1 ความรู้เกี่ยวกับการทําให้องค์การรัฐวิสาหกิจไม่ขาดทุน

2 ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลที่มาปฏิบัติหน้าที่

3 ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์การวางระบบของงานใหม่

4 ความรู้เกี่ยวกับการประสาน การส่งข่าวสารหรือข้อมูลที่ถูกต้อง

32 การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด

(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ

(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย

(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ

(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน

ตอบ 3 หน้า 74 แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ

1 แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุดที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

2 แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ

3 แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost – Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

33 การเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) มาตรฐาน

(2) เป้าหมายและคุณค่า

(3) การดําเนินนโยบาย

(4) วิธีการ

(5) การสร้างตัวแบบหรือทฤษฎี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

34 ข้อใดเป็นนโยบายในด้านการบริการและการท่องเที่ยว

(1) เพิ่มมาตรการอํานวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย

(2) ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

(3) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้า

(4) ส่งเสริมการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

(5) เป็นนโยบายในด้านการบริการและการท่องเที่ยวทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นโยบายการส่งเสริมด้านการบริการและการท่องเที่ยว ได้แก่

1 เร่งฟื้นฟูระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประตูทางผ่านหลักของการท่องเที่ยวในภูมิภาค

2 เพิ่มมาตรการอํานวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และป้องกันการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว

3 ยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการประชุม การสัมมนา และการแสดงสินค้าของภูมิภาค

4 เพิ่มความหลากหลายของการท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงเกษตรกรรม และการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ฯลฯ

35 รัฐบาลเร่งรัดดําเนินการเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่ในด้านใด

(1) นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง

(2) นโยบายการสร้างรายได้

(3) นโยบายการพัฒนาแรงงาน

(4) นโยบายด้านการศึกษา

(5) นโยบายเศรษฐกิจ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่

1 ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ

2 ด้านกีฬา

3 ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งรัฐบาลจะเร่งรัดดําเนินการเพื่อให้การป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด

4 ด้านครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ

5 ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส

36 นโยบายการสร้างรายได้ ครอบคลุมในเรื่องใดบ้าง

(1) ด้านการเกษตร

(2) ด้านอุตสาหกรรม

(3) ด้านการบริการ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นโยบายการสร้างรายได้ เป็นนโยบายที่รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันให้มีกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกระดับ โดยจะส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามศักยภาพของชุมชนในระดับฐานราก ซึ่งมีแนวนโยบายครอบคลุม 3 ด้าน คือ

1 ด้านการเกษตร

2 ด้านอุตสาหกรรม

3 ด้านการบริการและการท่องเที่ยว

37 ข้อใดถูกต้อง

(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง (2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่ปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ ติดต่อได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 61 – 62 การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

 

38 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกัน

(1) Elite Theory : การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี

(2) Group Theory : การหาสาเหตุและผลของนโยบาย

(3) Policy Process : ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในการกําหนดนโยบาย

(4) Policy Area Study : ศึกษาข้อปลีกย่อยในแต่ละแง่มุมของนโยบาย

(5) Descriptive Study : เป็นการพรรณนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 8 แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study) เป็นการศึกษาตามแนวทางที่มุ่งคิดค้นและสร้างเป็นตัวแบบหรือทฤษฎีของวิธีการศึกษานโยบายของรัฐ แล้วนําเอาตัวแบบ หรือทฤษฎีนั้น ๆ ไปใช้ในการศึกษาต่อไป เช่น ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory), ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นต้น

2 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) เป็นการศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอย่างแต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนําเอามาศึกษาและเปรียบเทียบกันดูโดยละเอียด

3 การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study) เป็นการศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของนโยบายไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกําหนดนโยบาย กระบวนการพัฒนา กระบวนการจัดตั้งองค์การ หรืออื่นใดก็ตาม

39 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

(1) วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

(2) แนวทางในการบรรลุผล

(3) ขั้นตอนหรือแผนงาน

(4) ทุนที่ใช้ในการดําเนินการ

(5) เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 10 – 12 องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

2 ลําดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ

3 แนวทางหรือหลักการในการบรรลุผลสําเร็จ

4 การกําหนดการกระทําต่าง ๆ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ฯลฯ

40 Policy Science หมายถึงอะไร

(1) ความรู้ในเรื่องของนโยบาย

(2) ความรู้ในการกําหนดนโยบาย

(3) ความรู้ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59 – 60 นโยบายศาสตร์ (Policy Science) หมายถึง การให้ความรู้ในเรื่องของนโยบาย (Policy-Issue Knowledge) และความรู้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ (Policy-Making Knowledge)

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

 

41 30 บาทรักษาทุกโรค เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวม มีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเลนไปสู่ทุกจังหวัด, นโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน, โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน, นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ,การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค, การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

42 การรณรงค์ให้มีน้ำใจต่อนักท่องเที่ยว เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม แต่ต้องการจูงใจและสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้สึกสํานึกที่ดี และมีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควรที่จะปฏิบัติตาม เช่น โครงการพลังแผ่นดิน โครงการเมืองน่าอยู่, โครงการถนนสีขาว, โครงการหน้าบ้านน่ามอง, นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ, นโยบายส่งเสริมให้มีน้ำใจต่อนักท่องเที่ยว และการรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

43 โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 6 (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ตามความจําเป็น เช่น การออกบัตรประกันสังคม, การออกบัตรสุขภาพ, นโยบายการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้, นโยบายการจํานําข้าว, นโยบาย เพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวัน, โครงการช่วยเหลือชาวสลัม, โครงการสงเคราะห์คนชรา, โครงการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, โครงการอาหารกลางวันแก่เด็กยากจน, กองทุนพัฒนาสตรี เป็นต้น หรือเป็นนโยบายที่ดึงเอาทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่งมาจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี (เช่น นโยบายการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า), นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

44 โครงการ “เมาไม่ขับ” เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 1 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่า ผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร (เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

45 การสร้างสนามบินหนองงูเห่า เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ หรือการสร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างเพื่อเป็น พื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้,การสร้างสนามบิน, การสร้างนิคมอุตสาหกรรม, การสร้างท่าเรือน้ำลึก, การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

 

ข้อ 46 – 50 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ตารางวิเคราะห์ปัญหา

(2) การทดลองทางสังคม

(3) การสร้างดัชนีสังคม

(4) การประเมินพัฒนาการ

(5) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์

 

46 การทําประชามติเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 5 หน้า 257, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์ เป็นวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อพิจารณาความรู้สึกและทัศนะที่เป็นอัตวิสัยของประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย ซึ่งจุดเด่นของวิธีการนี้อยู่ที่การพยายามดึงคุณค่าและความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แอบแฝงอยู่อันไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนออกมาให้เห็นชัดเจน เช่น การทําประชามติ เป็นต้น

47 การหาแนวทางในการแก้ปัญหาจราจร เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 1 หน้า 112, (คําบรรยาย) ตารางวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis Table) เป็นการวิเคราะห์ปัญหาโดยการจัดทําเป็นตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหา (ลักษณะของปัญหา) สาเหตุ (กลุ่มของสาเหตุ) และแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อต้องการให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา ได้ชัดเจนในตารางเดียวกัน ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมากที่สุด เช่น การหาแนวทางในการแก้ปัญหาจราจร เป็นต้น

48 การนํารูปแบบผู้ว่าบูรณาการ (CEOs) มาใช้ในการบริหารงาน เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 114, (คําบรรยาย) การทดลองทางสังคม (Social Experiment) เป็นการทดลองที่เน้นการนําเอานโยบายหนึ่งไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายเล็ก ๆ และประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตามนโยบายนั้นก่อนที่จะนํานโยบายไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายจริงทั้งหมด เช่น การนํารูปแบบผู้ว่าบูรณาการ (CEOS) มาใช้ในการบริหารในจังหวัดนําร่องก่อนที่จะ นําไปใช้จริงในจังหวัดต่าง ๆ เป็นต้น

49 การศึกษาสภาพต่าง ๆ ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ให้เป็นรูปธรรม เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 3 หน้า 114 การสร้างดัชนีสังคม (Social Indicator) คือ การสร้างค่าที่ใช้วัดสภาพต่าง ๆ อันเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลของนโยบายทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อบอกให้ทราบถึง สภาพปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยดัชนีสังคมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ดัชนีแบบปรนัย มีลักษณะเป็นรูปธรรมและให้ค่าทางตัวเลขได้

2 ดัชนีแบบอัตนัย มีลักษณะเป็นนามธรรม สังเกตไม่ได้ จับต้องไม่ได้ และให้ค่าทางตัวเลขค่อนข้างลําบาก

50 การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงานแต่ละวัน เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 4 หน้า 253 การประเมินพัฒนาการ เป็นการประเมินผลที่ออกแบบมาเพื่อประเมินการทํางานประจําวันของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเตือนให้ผู้นํานโยบาย ไปปฏิบัติได้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไม่ว่าจะโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม

51 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้แก่

(1) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

(2) สตรีในธุรกิจบริการทางเพศ

(3) คนพิการ ผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้ต้องขัง

(4) ผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

(5) ถูกทุกข้อ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากร “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

2 กลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศ และถูกประทุษร้าย

3 กลุ่มคนพิการ

4 กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง

5 กลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

6 กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท

7 กลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม

52 สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ขาดปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างรุนแรง

(2) รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากและคนไทยนิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

(3) ปัญหาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัญหาแรงงานฝีมือต่ำ

(5) ปัญหาด้านการส่งออก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีดังนี้

1 ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่

2 ระบบเศรษฐกิจและ การเมืองในลักษณะรวมศูนย์

3 ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ

4 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่มีค่านิยมทางวัตถุและสิ่งฟุ่มเฟือย รวมทั้งการนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น จนส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง

53 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าไหร่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(1) ร้อยละ 0.6

(2) ร้อยละ 0.5

(3) ร้อยละ 0.4

(4) ร้อยละ 0.3

(5) ร้อยละ 0.2

ตอบ 3 หน้า 433 434, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ดังนี้

1 มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

2 การส่งออกสินค้ามีการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี พ.ศ. 2549

3 เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9 7-8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี

4 เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ฯลฯ

54 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างจากแผ่นอื่น ๆ คือ

(1) มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

(2) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คํานึงถึงผลทางด้านสังคม

(3) สนใจเรื่องการกระจายรายได้

(4) เป็นแผนที่มีระยะเวลานาน 6 ปี

(5) เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 เป็นแผนที่มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2509 2 เป็นแผนที่กําหนดวัตถุประสงค์เดียว (Single Objective) คือ เร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

55 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษา โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่ากี่ปี

(1) 6 ปี

(2) 8 ปี

(3) 9 ปี

(4) 12 ปี

(5) 15 ปี

ตอบ 3 หน้า 434 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 5 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี พ.ศ. 2549 2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

56 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้ชี้นําในการพัฒนาการเกษตร

(4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของตลาดในระยะยาว

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทาง เศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่ดิน ของตนเอง ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้ชี้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

57 หลักการสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 คือข้อใด (1) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(2) การพัฒนาฝีมือแรงงาน

(3) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

(4) ความสุขมวลรวมประชาชาติ

(5) การลดอัตราการเกิดของประชากร

ตอบ 3 หน้า 428, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญานําทางในการพัฒนาและบริหารประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศ รอดพ้นจากวิกฤติ สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

58 “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงาน ก.พ.

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

59 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะเหตุใด

(1) ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติที่ต่อเนื่องมาจากแผนฯ 8

(2) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น

(3) ต้องพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) ต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(5) ต้องพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนชนบท

ตอบ 1 หน้า 431 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะจําเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิผล และเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติที่ต่อเนื่องมาจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

60 การปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่มุ่งให้ระบบราชการมีลักษณะอย่างไร

(1) ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้เน้นสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน

(2) เพิ่มจํานวนบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่

(3) ระบบราชการทํางานแยกส่วนกับภาคเอกชนโดยมุ่งแข่งขันกับภาคเอกชน

(4) ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่ ดังนี้

1 ปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานของระบบราชการจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กํากับดูแลและอำนวยความสะดวก

2 ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

3 ปรับระบบบริหารบุคคลและลดจํานวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจใหม่

4 ปรับระบบราชการให้สามารถทํางานร่วมกับภาคเอกชนได้ ฯลฯ

61 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา” ซึ่งหมายความว่า

(1) มีการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

(2) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

(3) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย

(4) มีปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 นั้น ก่อให้เกิด“ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจดี แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาค ระหว่างชนบทกับเมือง และระหว่างกลุ่มคนในสังคม ก็ยังเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทําให้มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติดและความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันก็มีการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเสื่อมโทรมทางสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง จึงนําไปสู่ข้อสรุปผลการพัฒนาที่ว่า แม้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับดี แต่สังคมมีปัญหา และการพัฒนาไม่ยั่งยืน

62 ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) มุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(2) มุ่งเน้นการปฏิรูปทางการศึกษา

(3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(4) เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา

(5) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ตอบ 5 หน้า 525, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯฉบับอื่น มีดังนี้

1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่าย จากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

63 วิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์

(2) ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณ

(3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างรุนแรง ความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง อย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้สาธารณะ และปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างเดิม

64 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่ประเทศไทยมีผลของการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่าเป้าหมายถึงสองเท่าตัว

(1) ฉบับที่ 6

(2) ฉบับที่ 7

(3) ฉบับที่ 8

(4) ฉบับที่ 9

(5) ฉบับที่ 10

ตอบ 1 หน้า 399 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ถึง 2 เท่าตัว นับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา

65 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากร ได้ผลตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน

(1) ฉบับที่ 2

(2) ฉบับที่ 3

(3) ฉบับที่ 4

(4) ฉบับที่ 5

(5) ฉบับที่ 6

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มีดังนี้

1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ คือ เพิ่มในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 7.0

2 การผลิตสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้

3 การลดอัตราการเพิ่มของประชากรเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นครั้งแรก โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี

4 การกระจายรายได้ยังทําได้ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบท ฯลฯ

66 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ประสบความสําเร็จอย่างสูงในเรื่องใด

(1) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเกินความคาดหมาย

(2) การลดปัญหาสังคมเมืองและปัญหาอาชญากรรม

(3) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(4) ความสมดุลของการพัฒนา

(5) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

67 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(5) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 หน้า 471 – 472, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ทําให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่าง จากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง

6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ

68 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ ตอบ 5 หน้า 485 487 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคต่าง ๆ

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

4 การป้องกันภัย จากการก่อการร้ายและอาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

5 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

69 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติมีอันดับเพิ่มสูงขึ้น โดยได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

70 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” มีลักษณะอย่างไร

(1) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความยั่งยืน

(2) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก

(3) ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข

(4) เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 452 453 วิสัยทัศน์ประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ การมุ่งพัฒนาสู่“สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” (Green and Happiness Society) โดยคนไทยมีคุณธรรม นําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบ บริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดํารงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

71 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญ ได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 หน้า 472 – 473 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

72 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม

(2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

73 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

74 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่สําคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา คือ

(1) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(2) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

(3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย

(4) การแพร่ระบาดของยาเสพติด

(5) กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาหลายประการ เช่น การกระจายอํานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น การปฏิรูปการบริหารจัดการ ภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กลไกตรวจสอบถ่วงดุล การปฏิรูปการศึกษาและการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การตื่นตัวของประชาสังคมในเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา เป็นต้น

75 “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ

(1) การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) การพัฒนาแบบองค์รวม

(4) การยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 431, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนด “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ด้วยการให้ความสําคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุขถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองและก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทันโดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

76 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญคือ

(1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะ และพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

(2) ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม

(3) การมุ่งปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญดังนี้

1 ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไกการทํางาน รวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

3 ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่รวดเร็ว ฯลฯ

77 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ให้คนมีคุณภาพ สุขภาพแข็งเเรง คิดเป็น ทําเป็น

(2) ให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) เพิ่มระดับการศึกษาภาคบังคับ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทําเป็น มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีวิธีคิด อย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อส่วนรวม รวมทั้งสามารถนําเทคโนโลยีสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานให้เกิดความสมดุล ในการยกระดับคุณภาพชีวิต

78 จุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในสังคมคือ

(1) ฉบับที่ 7

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 9

(4) ฉบับที่ 10

(5) ฉบับที่ 11

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

79 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่ คือ

(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

(3) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี

(5) ถูกทุกข้อ 1

ตอบ 5 หน้า 446 447 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่นั้น มี 5 บริบท ดังนี้

1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก

2 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5 การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี

80 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี

(2) แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8

(3) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย และเกาหลี

(4) มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 448 449 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 8.5 ปี ในปี พ.ศ. 2548

2 แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 ในปี พ.ศ. 2548

3 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ไต้หวัน และญี่ปุ่น

4 มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

5 คนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ 96.3 ในปี พ.ศ. 2548 ฯลฯ

81 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.7

(2) ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นลําดับที่ 20 ของโลก

(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 450 – 451 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี

2 ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นลําดับที่ 20 ของโลก

3 มีการพึ่งพิงการนําเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง

4 อัตราการว่างงานลดลง โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2

5 โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ

82 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เหลือพื้นที่ป่าร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

(3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง

(4) การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 451 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

3 คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น ฯลฯ

83 วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

(4) เศรษฐกิจพอเพียง

(5) การปฏิรูประบบราชการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

84 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร

(1) เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

(2) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

(3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี

(4) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 455, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้

1 เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

2 เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัย และพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน

3 ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

4 กําหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ฯลฯ

85 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันโดย

(1) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(3) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

(4) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(5) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรของโลก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศประการหนึ่ง คือ ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกสินค้าเกษตร รวมทั้งเป็นแหล่งแปรรูปสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง

86 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 7 ต่อปี

(2) ร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ร้อยละ 9 ต่อปี

(4) ร้อยละ 10 ต่อปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 421, (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่าประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 13.7 ของประชากรทั้งประเทศ ในปี พ.ศ. 2535

87 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ทําให้สัดส่วนของคนยากจนของประเทศไทย ลดลงเป็นอย่างมาก คือ

(1) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(2) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 11.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(3) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 12.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(4) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 13.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

88 ผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ

(1) มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคม

(2) มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

(3) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า ประปา

(4) คุณภาพชีวิตของคนในชนบทได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

(5) มีเป้าหมายการลดอัตราการเพิ่มของประชากร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1-2 คือ เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการลงทุนกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า และประปา แต่เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชนบทไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

89 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งออกและการกระจายรายได้

(3) การพัฒนาสังคม

(4) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จุดเด่นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญก็คือ การพัฒนาสังคม กล่าวคือเริ่มมีการวางแผนทางด้านสังคมโดยมีการกําหนดนโยบายด้านประชากรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลืออยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนและประเทศในระยะยาว รวมทั้งเพื่อให้การบริการในภาครัฐขยายตัวได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

90 วิกฤติที่เกิดขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 คือ

(1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

(2) วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก

(3) วิกฤติการณ์น้ำมัน

(4) วิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 นั้น ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ ความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศและวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง แต่สัมฤทธิผลของแผนพัฒนาฯฉบับนี้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็คือ การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

91 สภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ

(1) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

(2) เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี

(4) เศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สถานภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพ ที่เรียกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง 2,000 บาทต่อปี

3 เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ต่อปี

4 มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.5 ของแรงงานทั้งหมด

5 บริการพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีไม่เพียงพอ

6 ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

7 เศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร ฯลฯ

92 ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา คือ

(1) ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ปานกลาง

(2) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

(3) อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

(4) ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

(5) ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา มีดังนี้

1 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ

2 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3 อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูง

4 ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ

5 อัตราความเป็นเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

6 ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม ฯลฯ

93 การปฏิรูปการศึกษามีแนวทางอย่างไร

(1) ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

(2) พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครู

(3) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย

(4) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1 พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม

2 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น

3 ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพสูงและมีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

4 เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา ฯลฯ

94 การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตกําลังคนในระดับใด

(1) ระดับสูง

(2) ระดับกลาง

(3) ระดับตํานาน

(4) ระดับกลางและระดับต่ำ

(5) ทุกระดับ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แนวทางการเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปประการหนึ่ง คือ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับกลาง โดยผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิต กับความรู้พื้นฐาน รวมทั้งให้มีบริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานที่หลากหลายและทั่วถึง

95 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

(1) นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้

(2) การปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงระเบียบให้คนจนได้รับโอกาสมากขึ้น

(3) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

(4) ให้คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ดังนี้

1 นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนยากจน เป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง

2 เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

3 ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

4 ปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงกฎระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ

96 การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง

(1) การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลมากขึ้น

(2) การพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน (4) การมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนา

97 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุสําคัญคือ

(1) มีการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง

(2) แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

(3) ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

(4) ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก สาเหตุสําคัญ คือ

1 ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 มีการพึ่งพาวัตถุดิบ เงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ และไม่ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะ ให้สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง

4 ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

98 ประเทศใดเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

(1) รัสเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) จีน

(4) อินเดีย

(5) เกาหลี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันแนวโน้ม “ระบบภูมิภาคนิยม” มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงมีบทบาทต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมโลกใหม่ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกนั้น จะทําให้จีนกลายเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคเอเชีย

99 เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย คือ

(1) กระแสประชาธิปไตยในสังคมโลก

(2) ระบบเศรษฐกิจของโลกมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น

(3) กระแสโลกาภิวัตน์

(4) แนวโน้มของการพัฒนาสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่”

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้ว เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ยังได้แก่

1 การเปิดเสรีและการกีดกันทางการค้า

2 แนวโน้มระบบภูมิภาคนิยมมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น

3 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง

100 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

(1) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

(2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

(3) เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชน

(4) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประเทศไทยได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

1 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คํานึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการ

3 เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

POL3301 นโยบายสาธารณะ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

ตั้งแต่ข้อ 1 – 20 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ข้อ 1 และข้อ 2 ถูก

(2) ข้อ 1 ถูก ข้อ 2 ผิด

(3) ข้อ 1 ผิด ข้อ 2 ถูก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2 ผิด

(5) ไม่สามารถตัดสินใจได้

 

1 (1) Montjoy & O’Toole สนใจคล้ายกับ Stuart S. Nagel

(2) William Dunn สนใจในการวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 24, 33 – 72, 89 – 111), (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่

1 เควด (E.S. Quade)

2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)

3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)

4 โทมัส อาร์, ดาย (Thomas R. Dye)

5 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) ฯลฯ

ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่

1 กรอส (Gross)

2 ไจแอคควินทา (Giacquinta)

3 เบิร์นสไตล์ (Bernstein)

4 กรีนวูด (Greenwood)

5 แมน (Mann)

6 แมคลัฟลิน (McLaughlin)

7 เบอร์แมน (Berman)

8 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)

9 อีมิลี ไชมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine)

10 เพรสแมน (Pressman)

11 วิลดัฟสกี (Wildavsky)

12 มองจอย (Montjoy)

13 โอทูเล (O’Toole)

14 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ฯลฯ

 

2 (1) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนต่อความสําเร็จของนโยบาย

(2) การประเมินนโยบายจําเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อให้ผลการประเมินถูกต้อง ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 48 – 58, 73), (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ลักษณะของนโยบายที่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน

2 วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน สอดคล้องกัน และสามารถรับรู้ได้ง่าย

3 ความเป็นไปได้ทางการเมืองหรือการได้รับการสนับสนุนทางการเมือง

4 ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีหรือการมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

5 ทรัพยากรที่พอเพียง

6 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติมีทัศนคติที่ดีต่อตัวนโยบาย ฯลฯ

ซึ่งหากไม่เป็นไปตามลักษณะ ปัจจัยดังกล่าวก็จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว

ส่วนอีมิล เจ. โพซาวัค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emil J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อให้ผลการประเมิน ถูกต้อง และเพื่อตรวจสอบว่านโยบายนั้นจําเป็นและควรใช้หรือไม่ หรือจะดําเนินการต่อไป ตามที่วางไว้ได้หรือไม่ และช่วยแก้ปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่

3 (1) การประเมินผลในรูปแบบทดลอง จะต้องมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

(2) การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด  ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76 – 78), (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) เป็นวิธีการที่มีความ เคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุดด้วย โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)

2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการชี้วัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว

3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

 

4 (1) การจับคู่เป็นวิธีการสําคัญในการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(2) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76, 79, 81) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลองมีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่ที่มีลักษณะเหมือนกัน ส่วนการประเมินผลกระทบแบบไม่ใช้วิธีการวิจัยมี 4 รูปแบบ คือ

1 การเปรียบเทียบโครงการหลาย ๆ โครงการ

2 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

3 การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล

4 การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

 

5 (1) ทฤษฎีผู้นํา อธิบายว่า นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของมวลชน

(2) ทฤษฎีกลุ่มจะสะท้อนความต้องการของมวลชน

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 84 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีผู้นําหรือชนชั้นนํา (Elite Model/Theory) อธิบายว่า

1 สังคมถูกแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ โดยผู้นําซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม แต่มีอํานาจเป็นผู้จัดสรรคุณค่าของสังคมและกําหนดนโยบาย สาธารณะให้เป็นไปตามความต้องการหรือค่านิยมของตน ขณะที่ประชาชนหรือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนตัดสินใจในนโยบายสาธารณะด้วย

2 ผู้นําจะแสดงความสมานฉันท์กับค่านิยมพื้นฐานของระบบสังคมและพยายามสงวนรักษาระบบไว้

3 นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํามากกว่า

4 ผู้นํามีอิทธิพลต่อมวลชนมากกว่ามวลชนมีอิทธิพลต่อผู้นํา ฯลฯ

 

6 (1) ทฤษฎีกลุ่ม อธิบายว่า สังคมแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจและคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจคนกลุ่มน้อยจะจัดสรรคุณค่าของสังคม

(2) ทฤษฎีผู้นํา สะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

7 (1) สังคมถูกแบ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยเป็นผู้กําหนดนโยบายตามความต้องการหรือค่านิยมของตน คือ ทฤษฎีผู้นํา

(2) สถาบันของรัฐเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ คือ ทฤษฎีผู้นํา

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีสถาบันนิยม(Institutional Mode/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะอยู่ในฐานะเป็นผลผลิตของสถาบัน โดยที่สถาบันหรือหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเนื่องจากมีความชอบธรรม มีความเป็นสากล และมีการผูกขาดอํานาจบังคับ นั่นคือ เป็นการพยายามเชื่อมโยงโครงสร้างหน้าที่ของสถาบันรัฐบาลกับการกําหนดนโยบายสาธารณะเข้าด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นว่า สถาบันรัฐบาลเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเพราะเป็นอํานาจหน้าที่อันชอบธรรม ซึ่งทฤษฎีนี้จะสะท้อน ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะก็คือนโยบายของรัฐบาลนั่นเอง

8 (1) นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ได้มาจากการเจรจาต่อรองเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสถาบันนิยม

(2) สิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่สําคัญของทฤษฎีระบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 85 – 86), (คําบรรยาย) ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่มหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Equilibrium Model or Group Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับนโยบายสาธารณะ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิต ที่ได้มาจากการเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ

ส่วนตัวแบบ/ทฤษฎีระบบ (System Mode/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะเป็น ผลผลิตของระบบ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สําคัญ 5 ตัวแปร คือ

1 ปัจจัยนําเข้า (Inputs)

2 กระบวนการ (Process)

3 ปัจจัยนําออก/ผลผลิต (Outputs)

4 ข้อมูลป้อนกลับ/ผลสะท้อนกลับ (Feedback)

5 สิ่งแวดล้อม (Environment)

 

9 (1) ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีการตัดสินใจ

(2) แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นเนื้อหา

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 86, 88), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการตัดสินใจ แบ่งออกเป็น 3 ตัวแบบ คือ

1 ตัวแบบเหตุผลนิยมหรือตัวแบบยึดหลักเหตุผล

2 ตัวแบบส่วนเพิ่ม

3 ตัวแบบผสมผสาน

ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการควบคุม อธิบายว่า การวางแผนจะต้องมีการตรวจสอบอํานาจที่เข้าไปแทรกแซง ซึ่งสามารถจําแนกได้ 3 แนว คือ แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวคิดเชิงมนุษยนิยม และแนวคิดเชิงปฏิบัตินิยม

10 (1) ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

(2) แนวคิดเชิงมนุษยนิยมเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการควบคุม

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 87) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (Decision Centred Planning Theory) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านการทําหน้าที่ (Functional Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีเชิงกรรมวิธีที่มุ่งอธิบายกระบวนการและการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งทฤษฎีนี้ต่อมาก็พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการนํานโยบายไปปฏิบัติ

2 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านปทัสถาน (Normative Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนสังคมและการวางแผนสนับสนุน (ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ)

11 (1) การวางแผนที่มุ่งอธิบายกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นผลลัพธ์

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 87) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นเนื้อหาหรือทฤษฎีเชิงสาระ เป็นทฤษฎีที่ให้ความสําคัญกับเนื้อหาสาระเฉพาะเรื่องที่จะนํามาวางแผนเป็นอย่างมาก โดยมุ่งอธิบายรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหาที่เจาะลึกในแต่ละเรื่อง แต่ไม่สนใจเรื่องวิธีการ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น

12 (1) การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายเป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 12 – 13, 25) แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ

1 แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุดที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

2 แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ

3 แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน  (Cost-Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

ส่วนการที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการ เป็นขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation

13 (1) การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนอนุมัตินโยบาย

(2) การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 11) ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

14 (1) แผนงาน เป็นตัวแปรที่ Cook & Scioli เสนอไว้ในตัวแบบของเขา

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง เป็นรูปแบบที่แสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 81 82) คุกและซิโอลี (Cook & Scioli) สนใจศึกษาเรื่องผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) โดยได้เสนอตัวแบบในการวิเคราะห์ผลกระทบ ของนโยบาย (A Policy Impacts Model) ซึ่งมีองค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้

1 นโยบาย 2 แผนงาน 3 วัตถุประสงค์ 4 กิจกรรม 5 ผลกระทบ (ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ)

15 (1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 18) การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

16 (1) Ira Sharkansky ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 1 – 2, 15 – 16), (คําบรรยาย) ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ” ส่วนไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น”

17 (1) Harold Lasswell ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

(2) Theodore Lowi เสนอให้จําแนกนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3, 14), (คําบรรยาย) โทมัส อาร์ ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล ความสําคัญของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ

1 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด

2 เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหาทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบาย ไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน

3 เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมือง มักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

ส่วนธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหา สาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ

18 (1) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า โดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 1) เจมส์ แอนเดอร์สัน (James Anderson) กล่าวว่า“นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนา เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น”

ส่วนเดวิด อีสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม”

19 (1) Harold Lasswell ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์ ไ(2) กรอสและคณะ เสนอ Catalyptic Role Model

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 18 – 22, 36 – 41, 45 – 47) นักวิชาการต่างประเทศ รายการที่ศึกษาเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) มีดังนี้

1 กรอสและคณะ (Gross, Giacquinta & Bernstein) ศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่สําหรับครู โดยเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบ นอกจเสมอ การศึกษานี้ว่า “Catalytic Role Model”

2 กรีนวูดและคณะ (Greenwood, Mann & McLaughlin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลางในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลในระดับท้องถิ่น

3 เบอร์แมนและแมคลัฟลิน (Berman & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาความต่อเนื่องของนโยบายนวัตกรรมหลังจากที่ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสิ้นสุดลง

4 อีมิลี ไชมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ศึกษาการปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5 เดล อ. ริชาร์ด (Dale E. Richards) ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

6 เพรสแมนและวิลดฟสกี (Pressman & Wildavsky) ศึกษานโยบายการจ้างงานของชนกลุ่มน้อยที่เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้ชื่อ “Implementation” ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ)

20 (1) Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ

(2) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 1) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า“นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา” (ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ)

 

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

 

21 30 บาทรักษาทุกโรค เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาล อย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเลนไปสู่ทุกจังหวัด, นโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน, โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน, การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค, นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ, การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

22 โครงการเมาไม่ขับ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกัน ของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร(เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

23 โครงการหน้าบ้านน่ามอง เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม แต่ต้องการจูงใจและสนับสนุนหรือ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้สึกสํานึกที่ดี และมีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควรที่จะปฏิบัติตาม เช่น โครงการพลังแผ่นดิน,โครงการเมืองน่าอยู่, โครงการถนนสีขาว, โครงการหน้าบ้านน่ามอง, นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ, นโยบายส่งเสริมให้มีน้ำใจต่อนักท่องเที่ยว และ การรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

24 นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

25 นโยบายสร้างท่าเรือน้ำลึก เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-5301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ หรือการสร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้, การสร้างสนามบิน, การสร้างนิคมอุตสาหกรรม, การสร้างท่าเรือน้ำลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Economic Policy

(2) Education Policy

(3) Social Policy

(4) Administrative Policy

(5) Politic & Defence Policy

 

26 นโยบายการปฏิรูประบบราชการ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรองที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลังโครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

27 การช่วยชาวเขาให้มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านสังคม (Social Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม เช่น การประชาสงเคราะห์ (เช่น การช่วยเหลือชาวเขา คนชรา หรือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก) การประกันสังคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยกําหนดให้มีโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสุขศาลาในทุกอําเภอ การพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน โครงการตํารวจบ้าน เป็นต้น

28 โครงการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา เกี่ยวข้องกับนโยบายใด ๆ

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านการศึกษา(Education Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวางแนวทางและการจัดการศึกษาให้กับประชาชน ทั้งการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน เช่น การสร้างโรงเรียน โครงการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา นโยบายกําหนดให้ทุกคนต้องเรียนหนังสือ การแจกอุปกรณ์การเรียนแก่นักเรียน การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เป็นต้น

29 โครงการตํารวจบ้าน เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

30 โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้และการกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยให้ประชาชน ได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนอะไรที่ได้มาซึ่งรายได้หรือรายจ่าย และเมื่อจ่ายไปแล้วก็จะมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกันทําให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายจ่ายเงินให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน โครงการธงฟ้าราคาประหยัด โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การพักชําระหนี้ให้เกษตรกร การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นต้น

31 นักวิชาการคนใดมีความสนใจที่แตกต่างจากผู้อื่น

(1) Dale E. Richards

(2) Berman

(3) Stuart S. Nagel

(4) McLaughlin

(5) Greenwood

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

32 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เดล อี. ริชาร์ด ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ (2) Gross, Giacquinta & Bernstein ศึกษานวัตกรรมทางการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ

(3) กรีนวูดและคณะ ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ (4) Pressman & Wildavsky ศึกษาการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

(5) Thomas R. Dye ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17 และ 19 ประกอบ

33 Policy Science หมายถึงอะไร

(1) ความรู้ในเรื่องของนโยบาย

(2) ความรู้ในการกําหนดนโยบาย

(3) ความรู้ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 16 – 17) นโยบายศาสตร์ (Policy Science) หมายถึงการให้ความรู้ในเรื่องของนโยบาย (Policy-Issue Knowledge) และความรู้ในการกําหนด นโยบายของรัฐ (Policy-Making Knowledge)

34 องค์ประกอบของนโยบายตามแนวคิดของเควด (Quade) มีอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(2) วัตถุประสงค์ ทางเลือก กระบวนการ มาตรฐาน และค่านิยม

(3) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

(4) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(5) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 25) องค์ประกอบของการวิเคราะห์นโยบายตามแนวคิด ของเควด (E.S. Quade) มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์ (The Objective)

2 ทางเลือก (The Alternative)

3 ผลกระทบ (The Impact)

4 มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน (The Criteria)

5 ตัวแบบ (The Models)

35 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอไว้ในแนวคิดในการประเมินนโยบายของเขา

(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล

(2) การกําหนดแผนงาน

(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด

(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 82) สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด

2 กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์

3 กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ

4 กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

5 ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

36 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนโยบาย

(1) ต้องมีแผนงานรองรับ

(2) ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

(3) ต้องกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย

(5) ต้องเป็นเครื่องมือหรือกําหนดบรรทัดฐานในการทํางาน

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 2) ลักษณะของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 ต้องมีวัตถุประสงค์ขัดเจน เพื่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม

2 ต้องมีแผนงานรองรับ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

4 ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

5 ต้องเป็นเครื่องมือในการกําหนดแนวทางและบรรทัดฐานในการทํางาน

37 ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญในการศึกษานโยบาย

(1) นําความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไป

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

38 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

(1) วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

(2) แนวทางในการบรรลุผล

(3) ขั้นตอนหรือแผนงาน

(4) ทุนที่ใช้ในการดําเนินการ

(5) เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 6 – 7) องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

2 ลําดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ

3 แนวทางหรือหลักการในการบรรลุผลสําเร็จ

4 การกําหนดการกระทําต่าง ๆ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ฯลฯ )

39 ข้อใดถูกต้อง

(1) Scientific Reasons : การนําไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) Professional Reasons : การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) Political Reasons : การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) Policy Effects : ปัจจัยนําเข้าของนโยบาย เช่น ทรัพยากร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

40 การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด

(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ

(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย

(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ

(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

41 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกัน

(1) Elite Theory : การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี

(2) Group Theory : การหาสาเหตุและผลของนโยบาย

(3) Policy Process : ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในการกําหนดนโยบาย

(4) Policy Area Study : ศึกษาข้อปลีกย่อยในแต่ละแง่มุมของนโยบาย

(5) Descriptive Study : เป็นการพรรณนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 4 – 5) แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study) เป็นการศึกษาตามแนวทางที่มุ่งคิดค้นและสร้างเป็นตัวแบบหรือทฤษฎีของวิธีการศึกษานโยบายของรัฐ แล้วนําเอา ตัวแบบหรือทฤษฎีนั้น ๆ ไปใช้ในการศึกษาต่อไป เช่น ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory), ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นต้น

2 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) เป็นการศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอย่างแต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนําเอามาศึกษาและเปรียบเทียบกันดูโดยละเอียด

3 การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study) เป็นการศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของนโยบายไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกําหนดนโยบาย กระบวนการพัฒนา กระบวนการจัดตั้งองค์การ หรืออื่นใดก็ตาม

42 การเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) มาตรฐาน

(2) เป้าหมายและคุณค่า

(3) การดําเนินนโยบาย

(4) วิธีการ

(5) การสร้างตัวแบบหรือทฤษฎี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

43 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 12 – 13), (คําบรรยาย) ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)

2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street-Level Bureaucracy)

5 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

44 การแปลงนโยบายเป็นแผนงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Policy Outputs

(2) Policy Formulation

(3) Policy Implementation

(4) Policy Process

(5) Policy Impacts

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

45 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 11) ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation)ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณา เวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

46 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 การกําหนดเกณฑ์ในการวัดอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 13) ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

2 การกําหนดเกณฑ์วัดและวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน

3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน

4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

48 การกําหนดวิธีการในการรวบรวมข้อมูลและวิธีรายงาน อยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 ข้อใดไม่ใช่การวิจัยประเมินผล

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการวิจัยประเมินผลทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76) การวิจัยประเมินผลมีวิธีการที่สําคัญ 3 รูปแบบ คือ

1 การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design)

2 การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design)

3 การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design)

50 รูปแบบใดเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76 – 78) ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีดังนี้

1 เป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

2 ช่วยทําให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหารในระยะยาว

51 “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ

(1) การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) การพัฒนาแบบองค์รวม

(4) การยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนด “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ด้วยการให้ความสําคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนา อย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุข ถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองและก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของ ความเป็นไทย

52 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่สําคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมาคือ

(1) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(2) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

(3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย

(4) การแพร่ระบาดของยาเสพติด

(5) กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (สําคัญที่สุด) ทําให้เกิดการปฏิรูปภาคการเมืองและภาคสังคมที่สําคัญหลายประการ เช่น การกระจายอํานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง, ประชาสังคมมีความตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

2 สังคมไทยมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สั่งสมเป็นปึกแผ่นมายาวนาน

3 โครงสร้างสังคมไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเมืองมากขึ้น รวมถึงรูปแบบครัวเรือนส่วนใหญ่ก็เป็นครอบครัวเดี่ยว และมีการอยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้น 4 มีปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่สําคัญ เช่น การตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม,การแพร่ระบาดของยาเสพติด

53 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญคือ

(1) ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม

(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะและพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

(3) การมุ่งปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญ ดังนี้

1 ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไก การทํางานรวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

3 ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่รวดเร็ว ฯลฯ

54 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ให้คนมีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทําเป็น

(2) ให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) เพิ่มระดับการศึกษาภาคบังคับ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการสร้างคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง เป็นคนเก่ง คนดี คิดเป็น ทําเป็น มีระเบียบวินัยมีความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสามัคคีและรักชาติ ตลอดจนมีจิตสํานึกความเป็นไทย

55 จุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด (1) ฉบับที่ 7

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 9

(4) ฉบับที่ 10

(5) ฉบับที่ 11

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้ 1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วมในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

56 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่ คือ

(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

(3) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่นั้น มี 5 บริบท ดังนี้

1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก 2 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี

5 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

57 วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

(4) เศรษฐกิจพอเพียง

(5) การปฏิรูประบบราชการ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 7-3301-2 หน้า 138, 147) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว โดยมุ่งพัฒนาไปสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัว อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อม มีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดํารงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลก ได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

58 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 7 ต่อปี

(2) ร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ร้อยละ 9 ต่อปี

(4) ร้อยละ 10 ต่อปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-2 หน้า 103 104), (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่า ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ. 2535

59 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี

(2) แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8

(3) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย

(4) มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 1-3301-2 หน้า 135 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 ประเทศไทยมีการพัฒนาคนระดับกลาง และมีแนวโน้มการพัฒนาคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 8.5 ปี ในปี พ.ศ. 2548

3 แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 ในปี พ.ศ. 2548

4 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ได้แก่ มาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น

5 มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

6 คนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ 96.3 ในปี พ.ศ. 2548

7 สังคมไทยปรับตัวจากชนบทสู่เมืองอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ

60 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี

(2) ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นลําดับที่ 20 ในโลก

(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 128 129, 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ รในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2548 และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

2 ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นลําดับที่ 20 จากจํานวน 192 ประเทศในโลก

3 มีการพึ่งพิงการนําเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง

4 อัตราการว่างงานลดลง โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2

5 โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ

61 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เหลือพื้นที่ป่าร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

(3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง

(4) การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

3 คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น ฯลฯ

62 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร

(1) เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

(2) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

(3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี

(4) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อกรม

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้

1 เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

2 เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน

3 ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

4 กําหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ฯลฯ

63 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถ ในการแข่งขันโดย

(1) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอตสาหกรรมของโลก

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก(3) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

(4) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(5) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรของโลก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศประการหนึ่ง คือ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน โดยให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

64 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ทําให้สัดส่วนของคนยากจนของประเทศไทย ลดลงเป็นอย่างมาก คือ

(1) ร้อยละ 10.4

2) ร้อยละ 11.4

(3) ร้อยละ 12.4

(4) ร้อยละ 13.4

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 103 104), (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่า ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทย เพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ. 2535

65 ผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ

(1) มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคม

(2) มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

(3) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า ประปา

(4) คุณภาพชีวิตของคนในชนบทได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

(5) มีเป้าหมายการลดอัตราการเพิ่มของประชากร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการลงทุนกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า และประปา แต่เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชนบทไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

66 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งออกและการกระจายรายได้

(3) การพัฒนาสังคม

(4) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 40, 43, 50) จุดเด่นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญก็คือ การพัฒนาสังคม กล่าวคือ เริ่มมีการวางแผนทางด้านสังคมโดยมีการกําหนดนโยบายด้าน ประชากรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลืออยู่ที่ ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนและประเทศในระยะยาว รวมทั้งเพื่อให้การบริการในภาครัฐขยายตัวได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

67 วิกฤติที่เกิดขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 คือ

(1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

(2) วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก

(3) วิกฤติการณ์น้ำมัน

(4) วิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมือง

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 นั้น ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมืองและวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง แต่สัมฤทธิผลของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็คือ อัตราการเพิ่มของประชากร

68 สภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ

(1) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

(2) เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ต่อปี

(3) ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

(4) เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 2 – 3) สถานภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง 2,000 บาทต่อปี

3 เศรษฐกิจขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4 ต่อปี

4 มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.5 ของแรงงานทั้งหมด

5 บริการพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีไม่เพียงพอ

6 ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

7 เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร ฯลฯ

69 การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตกําลังคน ในระดับใด

(1) ระดับสูง

(2) ระดับกลาง

(3) ระดับต่ำ

(4) ระดับกลางและระดับต่ำ

(5) ทุกระดับ 1

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปประการหนึ่ง คือ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับกลาง โดยผสมผสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิต กับความรู้พื้นฐาน รวมทั้งให้มีการขยายบริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานอย่างทั่วถึง

70 การปฏิรูปการศึกษามีแนวทางอย่างไร

(1) ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

(2) พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครู

(3) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย

(4) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1 พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม

2 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น

3 ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพสูงและมีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

4 เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา ฯลฯ

71 ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา คือ

(1) ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ปานกลาง

(2) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

(3) อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

(4) ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

(5) ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 3) ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา มีดังนี้

1 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ

2 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3 อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูง

4 ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ

5 อัตราความเป็นเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

6 ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

72 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

(1) นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้

(2) การปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงระเบียบให้คนจนได้รับโอกาสมากขึ้น

(3) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

(4) ให้คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ดังนี้

1 นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนยากจนเป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง

2 เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจน สามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

3 ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

4 ปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงกฎระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ

73 การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง

(1) การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลมากขึ้น

(2) การพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน (4) การมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนา

74 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุสำคัญคือ

(1) มีการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง

(2) แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

(3) ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

(4) ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสาเหตุสําคัญ คือ

1 ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 มีการพึ่งพาวัตถุดิบ เงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษา

4 ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

75 ประเทศใดเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

(1) รัสเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) จีน

(4) อินเดีย

(5) เกาหลี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันแนวโน้ม “ระบบภูมิภาคนิยม” มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงมีบทบาทต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมโลกใหม่ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกนั้น จะทําให้จีนกลายเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคเอเชีย

76 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

(1) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

(2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

(3) เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชน

(4) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงเผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประเทศไทยได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

1 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คํานึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการ

3 เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

77 เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย คือ

(1) กระแสประชาธิปไตยในสังคมโลก

(2) กระแสโลกาภิวัตน์

(3) ระบบเศรษฐกิจของโลกมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น

(4) แนวโน้มของการพัฒนาสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่”

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้ว เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ได้แก่

1 การเปิดเสรีและการกีดกันทางการค้า

2 แนวโน้มระบบภูมิภาคนิยมมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น

3 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ประมาณการไว้

78 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้แก่

(1) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

(2) สตรีในธุรกิจบริการทางเพศ

(3) คนพิการ ผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้ต้องขัง

(4) ผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากร “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส”ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

2 กลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศ และถูกประทุษร้าย

3 กลุ่มคนพิการ

4 กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง

5 กลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

6 กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท

7 กลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม

79 สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ขาดปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างรุนแรง

(2) รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากและคนไทยนิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

(3) ปัญหาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัญหาแรงงานฝีมือต่ำ

(5) ปัญหาด้านการส่งออก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 111 – 113), (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีสาเหตุเกิดจากปัญหาโครงสร้างที่สะสมมานานซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ประกอบกับมีปัจจัยและตัวเร่งที่ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ ระบบเศรษฐกิจและการเมืองในลักษณะรวมศูนย์ ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่มีค่านิยมทางวัตถุและสิ่งฟุ่มเฟือย รวมทั้งการนิยมเดินทาง ไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งทําให้รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง ได้นําไปสู่ การที่รัฐบาลตัดสินใจประกาศขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พร้อมด้วยพันธะกรณีตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะต้องรักษาวินัยทางการเงินและการคลัง อย่างเคร่งครัด

80 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าเท่าใดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(1) ร้อยละ 0.6

(2) ร้อยละ 0.5

(3) ร้อยละ 0.4

(4) ร้อยละ 0.3

(5) ร้อยละ 0.2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ดังนี้

1 มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

2 การส่งออกสินค้ามีการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี พ.ศ. 2549

3 เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี

4 เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ฯลฯ

81 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างจากแผนอื่น ๆ คือ (1) มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

(2) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คํานึงถึงผลทางด้านสังคม

(3) สนใจเรื่องการกระจายรายได้

(4) เป็นแผนที่มีระยะเวลานาน 6 ปี

(5) เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 11 – 12,19), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 เป็นแผนที่มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2509

2 เป็นแผนที่กําหนดวัตถุประสงค์เดี่ยว (Single Objective) คือ เร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

82 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษาอย่างไร

(1) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ปี

(2) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ปี

(3) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี

(4) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 12 ปี

(5) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 ปี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 122 – 123) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี พ.ศ. 2549

2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

83 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้ชี้นําในการพัฒนาการเกษตร (4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301 -2 หน้า 97) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่ดินของตนเอง ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้ชี้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

84 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านอัตราเงินเฟ้ออย่างไร

(1) ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี

(2) ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

(3) ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี

(4) ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

(5) ไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

85 “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงาน ก.พ.

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

86 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะเหตุใด

(1) ต้องเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ

(2) ต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน

(3) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น

(4) ต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(5) ต้องพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนชนบท

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 130) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะจําเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิผล และเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

87 การปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่มุ่งให้ระบบราชการมีลักษณะอย่างไร

(1) ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้เน้นการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ

(2) เพิ่มจํานวนบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่

(3) ระบบราชการทํางานแยกส่วนกับภาคเอกชนโดยมุ่งแข่งขันกับภาคเอกชน

(4) ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่ ดังนี้

1 ปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานของระบบราชการจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กํากับดูแลและอํานวยความสะดวก

2 ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

3 ปรับระบบบริหารบุคคลและลดจํานวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจใหม่

4 ปรับระบบราชการให้สามารถทํางานร่วมกับภาคเอกชนได้ ฯลฯ

88 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา”หมายความว่า

(1) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง และมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

(2) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

(3) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย

(4) มีปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 นั้น ก่อให้เกิด“ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจดี แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาค ระหว่างชนบท กับเมือง และระหว่างกลุ่มคนในสังคม ก็ยังเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทําให้มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติดและความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งนําไปสู่ ปัญหาความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเสื่อมโทรม ทางสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง จึงนําไปสู่ข้อสรุปผลการพัฒนาที่ว่า แม้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับดี แต่สังคมมีปัญหา และการพัฒนาไม่ยั่งยืน

89 ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(2) มุ่งเน้นการปฏิรูปทางการศึกษา

(3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(4) เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา

(5) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้ 1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

90 วิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์

(2) ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณ

(3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างรุนแรง ความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง อย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณอยู่อย่างเดิม

91 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยมีผลของการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่าเป้าหมายถึงสองเท่าตัว

(1) ฉบับที่ 5

(2) ฉบับที่ 6

(3) ฉบับที่ 7

(4) ฉบับที่ 8

(5) ฉบับที่ 9

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 82), (คําบรรยาย) การพัฒนาตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ถึง 2 เท่าตัว นับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุด ของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา โดยที่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย เปิดกว้างเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น และโครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนจากเศรษฐกิจการเกษตรสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจของโลกเอื้ออํานวยต่อเศรษฐกิจไทยด้วย

92 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากรได้ผลตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน

(1) ฉบับที่ 4

(2) ฉบับที่ 5

(3) ฉบับที่ 6

(4) ฉบับที่ 7

(5) ฉบับที่ 8

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 55 – 56) ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มีดังนี้

1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ คือ เพิ่มในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 7.0 ต่อปี

2 การผลิตสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้

3 การลดอัตราการเพิ่มของประชากรเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นครั้งแรก โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี

4 การกระจายรายได้ยังทําได้ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบท ฯลฯ

93 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ประสบความสําเร็จอย่างสูงในเรื่องใด

(1) การลดปัญหาสังคมเมืองและปัญหาอาชญากรรม

(2) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(3) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเกินความคาดหมาย

(4) ความสมดุลของการพัฒนา

(5) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

94 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(5) ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 152 153), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ทําให้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อน ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง

6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศและปัญหาการก่อการร้าย

95 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 161 – 163) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

4 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

96 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 137) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทย และการอนาที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ มีอันดับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนในปี 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

97 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” มีลักษณะอย่างไร

(1) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความยั่งยืน

(2) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก

(3) ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข

(4) เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

98 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 153) การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

99 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม (2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

100 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี ) (Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก

และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

POL3301 นโยบายสาธารณะ S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ข้อใดถูกต้อง

(1) ทฤษฎีกลุ่ม อธิบายว่า คนกลุ่มน้อยจะจัดสรรคุณค่าของสังคม

(2) ทฤษฎีผู้นํา สะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํา

(3) สังคมแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจและคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยเป็นผู้กําหนดนโยบายตามความต้องการของตนเอง

(4) สถาบันของรัฐเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ คือ ทฤษฎีผู้นํา

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 84 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีผู้นําหรือ ชนชั้นนำ (Elite Model/Theory) อธิบายว่า

1 สังคมถูกแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ โดยผู้นําซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม แต่มีอํานาจเป็นผู้จัดสรรคุณค่าของสังคมและกําหนดนโยบายสาธารณะให้เป็นไปตามความต้องการหรือค่านิยมของตน ขณะที่ประชาชนหรือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนตัดสินใจในนโยบายสาธารณะด้วย

2 ผู้นําจะแสดงความสมานฉันท์กับค่านิยมพื้นฐานของระบบสังคมและพยายามสงวนรักษาระบบไว้

3 นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํามากกว่า

4 ผู้นํามีอิทธิพลต่อมวลชนมากกว่ามวลชนมีอิทธิพลต่อผู้นํา ฯลฯ

2 ข้อใดถูกต้อง

(1) นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ได้มาจากการเจรจาต่อรองเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสถาบันนิยม

(2) สิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่สําคัญของทฤษฎีระบบ

(3) ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีการตัดสินใจ

(4) แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นเนื้อหา

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 85 – 86), (คําบรรยาย) ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่มหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Equilibrium Model or Group Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับนโยบายสาธารณะ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิต ที่ได้มาจากการเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ส่วนตัวแบบ/ทฤษฎีระบบ (System Model/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะเป็น ผลผลิตของระบบโดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สําคัญ 5 ตัวแปร คือ

1 ปัจจัยนําเข้า (Inputs)

2 กระบวนการ (Process)

3 ปัจจัยนําออก/ผลผลิต (Outputs)

4 ข้อมูลป้อนกลับ/ผลสะท้อนกลับ (Feedback)

5 สิ่งแวดล้อม (Environment)

3 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (2) แนวคิดเชิงมนุษยนิยมเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการควบคุม

(3) ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีการตัดสินใจ

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 86 87 88), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการตัดสินใจ แบ่ง ออกเป็น 3 ตัวแบบ คือ

1 ตัวแบบเหตุผลนิยมหรือตัวแบบยึดหลักเหตุผล

2 ตัวแบบส่วนเพิ่ม

3 ตัวแบบผสมผสาน ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการควบคุม อธิบายว่า การวางแผนจะต้องมีการตรวจสอบอํานาจที่เข้าไปแทรกแซง ซึ่งสามารถจําแนกได้ 3 แนว คือ แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวคิดเชิงมนุษยนิยม และแนวคิดเชิงปฏิบัตินิยม ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (Decision-Centred Planning Theory) แบ่งออก เป็น 2 ประเภท คือ

1 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านการทําหน้าที่ (Functional Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีเชิงกรรมวิธีที่มุ่งอธิบายกระบวนการและการวางแผนอย่าง เป็นขั้นตอน ซึ่งทฤษฎีนี้ต่อมาก็พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการนํานโยบายไปปฏิบัติ

2 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านปทัสถาน (Normative Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็น ทฤษฎีการวางแผนสังคมและการวางแผนสนับสนุน

4 ข้อใดถูกต้อง

(1) Montjoy & O’Toole สนใจคล้ายกับ Stuart S. Nagel

(2) Ira Sharkansky ได้รับการยาย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(3) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา

(4) William Dunn สนใจในการวิเคราะห์นโยบาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 24, 33 – 72, 89 – 111), (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่

1 เควด (E.S. Quade)

2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)

3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)

4 โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye)

5 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) ฯลฯ

ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่

1 กรอส (Gross)

2 ไจแอคควินทา (Giacquinta)

3 เบิร์นสไตล์ (Bernstein)

4 กรีนวูด (Greenwood)

5 แมน (Mann)

6 แมคลัฟลิน (McLaughin)

7 เบอร์แมน (Berman)

8 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)

9 อีมิลี ไชมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine)

10 เพรสแมน (Pressman)

11 วิลดัฟสกี (Wildavsky)

12 มองจอย (Montjoy)

13 โอทูเล (OToole)

14 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ฯลฯ

5 ข้อใดถูกต้อง

(1) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนต่อความสําเร็จของนโยบาย

(2) การประเมินนโยบายจําเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อให้ผลการประเมินถูกต้อง (3) การประเมินผลในรูปแบบทดลอง จะต้องมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

(4) การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อที่ถูกต้อง คือ

1 ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนต่อความสําเร็จของนโยบาย

2 การประเมินนโยบายจําเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อให้ผลการประเมินถูกต้อง

3 การประเมินผลในรูปแบบทดลอง จะต้องมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

4 การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด

6 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

(2) การก่อตัวของนโยบาย

(3) การอนุมัตินโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 11) ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation)ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

7 ข้อใดถูกต้อง

(1) การจับคู่เป็นวิธีการสําคัญในการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(2) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(3) การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด

(4) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76, 79, 81) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลองมีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่ที่มีลักษณะ เป็นเหมือนกัน ส่วนการประเมินผลกระทบแบบไม่ใช้วิธีการวิจัยมี 4 รูปแบบ คือ

1 การเปรียบเทียบโครงการหลาย ๆ โครงการ

2 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

3 การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล

4 การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

8 ข้อใดถูกต้อง

(1) ทฤษฎีผู้นํา อธิบายว่า นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของมวลชน (2) ทฤษฎีกลุ่มจะสะท้อนความต้องการของมวลชน

(3) ทฤษฎีสถาบันนิยมให้ความสําคัญกับการเจรจาต่อรอง กรออกรางตลอดมลม(4) ทฤษฎีส่วนเพิ่ม เชื่อถือไม่ได้ ไม่ควรนํามาใช้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1ประกอบ

9 ข้อใดถูกต้อง

(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง (2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

(3) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นผลลัพธ์ (4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 18) การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

10 ข้อใดถูกต้อง

(1) การวางแผนที่มุ่งอธิบายกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(2) การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายเป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(3) การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 12 13, 25) แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ

1 แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุด เที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

2 แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ

3 แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost-Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย ส่วนการที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการ เป็นขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)

11 ข้อใดถูกต้อง

(1) แผนงาน เป็นตัวแปรที่ Cook & Scioli เสนอไว้ในตัวแบบของเขา

(2) Harold Lasswell ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

(3) Theodore Lowi เสนอให้จําแนกนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 81 – 82) คุกและซิโอลี (Cook & Scioli) สนใจศึกษาเรื่องผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) โดยได้เสนอตัวแบบในการวิเคราะห์ ผลกระทบของนโยบาย (A Policy Impacts Model) ซึ่งมีองค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้

1 นโยบาย 2 แผนงาน 3 วัตถุประสงค์ 4 กิจกรรม 5 ผลกระทบ

ส่วนธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระเละวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ

12 นักวิชาการคนใดมีความสนใจที่แตกต่างจากผู้อื่น

1) Dale E. Richards

(2) Berman acne

(3) Stuat S. Nagel

(4) McLaughiln

(5) Greenwood

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

13 ข้อใดถูกต้อง

(1) Harold Lasswell ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า โดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

(3) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 1 – 2, 15 – 16), (คําบรรยาย) ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ 61 (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ” ส่วน David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า โดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

14 ข้อใดถูกต้อง

(1) กรอสและคณะ เสนอ Catalytic Role Model

(2) Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่นการบริการสาธารณะ

(3) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 18 – 22, 36 – 41, 45 – 47) นักวิชาการต่างประเทศที่ศึกษาเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) มีดังนี้ 1 กรอสและคณะ (Gross, Giacquinta & Bernstein) ศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่ สําหรับครู โดยเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบการศึกษานี้ว่า “Catalytic Role Model” 2 กรีนวูดและคณะ (Greenwood, Mann & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลางในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลในระดับท้องถิ่น

3 เบอร์แมนและแมคลัฟลิน (Berman & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาความต่อเนื่องของนโยบายนวัตกรรมหลังจากที่ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสิ้นสุดลง

4 อีมิลี ไซมี โลวีไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Love Brizendine) ศึกษาการปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards) ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

6 เพรสแมนและวิลดฟสกี (Pressman & Wildavsky) ศึกษานโยบายการจ้างงานของชนกลุ่มน้อยที่เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้ชื่อ “Implementation” ฯลฯ ส่วนโทมัส อาร์ ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา” และส่วนไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การ ควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น”

15 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เดล อี. ริชาร์ด ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

(2) Gross, Giacquinta & Bernstein ศึกษานวัตกรรมทางการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ

(3) กรีนวูดและคณะ ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ (4) Pressman & Wildavsky ศึกษาการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

(5) Thomas R. Dye ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 14), (คําบรรยาย) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล ความสําคัญ) ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ 1 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด 2 เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหา

ทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบาย ไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน 3 เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมือง มักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

16 ข้อใดถูกต้อง

(1) สากล จริยวิทยานนท์ พบว่า การแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนสําคัญในการกําหนดความสําเร็จหรือล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ สนับสนุนการรวมสถาบันฝึกหัดครูเข้าเป็นสถาบันเดียวกัน

(3) อาคม ใจแก้ว ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

(4) ธงชัย สมครุฑ เปรียบเทียบตัวแบบการตัดสินใจของวิทยาลัยครูในประเทศไทย 6 แห่ง

(5) ปิยวดี ภูศรี ศึกษาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคในการพัฒนาชนบท

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 43) อาคม ใจแก้ว ได้ศึกษาเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จ” โดยมุ่งศึกษาถึง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จของการนํานโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะนโยบายส่งเสริมการศึกษาของชาวไทยมุสลิม ซึ่งพบว่า ความสําเร็จของการนํานโยบาย ไปปฏิบัติแยกออกเป็น 3 มิติ คือ

1 ความสําเร็จเชิงทัศนคติของเยาวชนไทยมุสลิมภายหลัง ที่ได้เข้าร่วมโครงการ

2 ความสําเร็จเชิงพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

3 ความสําเร็จเชิงพฤติกรรมการเรียนอิสลามศึกษา

17 Policy Science หมายถึงอะไร

(1) ความรู้ในเรื่องของนโยบาย

(2) ความรู้ในการกําหนดนโยบาย

(3) ความรู้ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 16 – 17) นโยบายศาสตร์ (Policy Science) หมายถึง การให้ความรู้ในเรื่องของนโยบาย (Policy-Issue Knowledge) และความรู้ในการกําหนด นโยบายของรัฐ (Policy-Making Knowledge)

18 ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญในการศึกษานโยบาย

(1) นําความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไป

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

19 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ พบว่า การแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนสําคัญในการกําหนดความสําเร็จหรือล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติการ

(2) ธงชัย สมครุฑ พบว่า มีการสนับสนุนในการรวมสถาบันฝึกหัดครูเข้าเป็นสถาบันอันหนึ่งอันเดียวกัน

(3) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

(4) ปิยวดี ภูศรี เปรียบเทียบตัวแบบการตัดสินใจของวิทยาลัยครูในประเทศไทย 6 แห่ง

(5) สากล จริยวิทยานนท์ ศึกษาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคในการพัฒนาชนบท

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301 – 1 หน้า 42) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ศึกษาเรื่อง “การปฏิบัตินโยบายสําหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนราธิวาส” โดยมุ่งวิเคราะห์ เฉพาะด้านการปฏิบัตินโยบายเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งพบว่า การแสวงหาผลประโยชน์ มีส่วนสําคัญต่อผลการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพราะเป็นปัจจัยที่ใช้กําหนดความสําเร็จหรือ แขนกลความล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ (ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ)

20 องค์ประกอบของนโยบายตามแนวคิดของเควด (Quade) มีอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(2) วัตถุประสงค์ ทางเลือก กระบวนการ มาตรฐาน และค่านิยม

(3) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

(4) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(5) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 25) องค์ประกอบของการวิเคราะห์นโยบายตามแนวคิด ของเควด (E.S. Quade) มีดังนี้

1วัตถุประสงค์ (The Objective) 2 ทางเลือก (The Alternative) 3 ผลกระทบ (The Impact) 4 มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน (The Criteria) 5 ตัวแบบ (The Models)

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Economic Policy

(2) Education Policy

(3) Social Policy

(4) Administrative Policy

(5) Politic & Defence Policy

 

21 การตัดถนนแยกเลนไปให้ทั่วถึงทุกจังหวัด เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาล อย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเลนไปสู่ทุกจังหวัด, นโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน, โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน, การจัดให้ มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค, การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

22 โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านสังคม (Social Policy)เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม เช่น โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การประชาสงเคราะห์ (เช่น การช่วยเหลือชาวเขา คนชรา หรือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก) การประกันสังคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยกําหนดให้มีโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสุขศาลาในทุกอําเภอ การพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน เป็นต้น

23 โครงการ “เมาไม่ขับ” เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด ๆ

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคน ต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกัน ของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร(เช่น โครงการเมาไม่ขับ, การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

24 นโยบายการปฏิรูประบบราชการ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative อิง Policy) เป็นนโยบายรองที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดัน การปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคลนโยบายการบริหารงานคลัง โครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

25 การช่วยชาวเขาให้มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 22

26 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอไว้ในแนวคิดในการประเมินนโยบายของเขา

(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล

(2) การกําหนดแผนงาน

(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด

(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข ri-3301-1 หน้า 82) สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล การ หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด

2 กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์

3 กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ

4 กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

5 ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

27 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

(1) วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

(2) แนวทางในการบรรลุผล

(3) ขั้นตอนหรือแผนงาน

(4) ทุนที่ใช้ในการดําเนินการ

(5) เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 6 – 7) องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

2 ลําดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ

3 แนวทางหรือหลักการในการบรรลุผลสําเร็จ

4 การกําหนดการกระทําต่าง ๆ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ฯลฯ

28 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนโยบาย

(1) ต้องมีแผนงานรองรับ

(2) ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

(3) ต้องกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย

(5) ต้องเป็นเครื่องมือหรือกําหนดบรรทัดฐานในการทํางาน

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-2301-1 หน้า 2) ลักษณะของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เพื่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม

2 ต้องมีแผนงานรองรับ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

4 ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

5 ต้องเป็นเครื่องมือในการกําหนดแนวทางและบรรทัดฐานในการทํางาน

29 ข้อใดถูกต้อง

(1) Scientific Reasons : การนําไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) Professional Reasons : การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) Political Reasons : การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) Policy Effects : ปัจจัยนําเข้าของนโยบาย เช่น ทรัพยากร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

30 การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด

(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ

(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย

(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ

(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10

31 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกัน

(1) Elite Theory : การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี

(2) Group Theory : การหาสาเหตุและผลของนโยบาย

(3) Policy Process : ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในการกําหนดนโยบาย

(4) Policy Area Study : ศึกษาข้อปลีกย่อยในแต่ละแง่มุมของนโยบาย

(5) Descriptive Study : เป็นการพรรณนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4 – 5) แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study) เป็นการศึกษาตามแนวทางที่มุ่งคิดค้นและสร้างเป็นตัวแบบหรือทฤษฎีของวิธีการศึกษานโยบายของรัฐ แล้วนําเอาตัวแบบหรือทฤษฎีนั้น ๆ ไปใช้ในการศึกษาต่อไป เช่น ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory), ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นต้น

2 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) เป็นการศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอย่างแต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนําเอามาศึกษา และเปรียบเทียบกันดูโดยละเอียด

3 การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study) เป็นการศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของนโยบายไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกําหนดนโยบาย กระบวนการพัฒนา กระบวนการ จัดตั้งองค์การ หรืออื่นใดก็ตาม

32 การเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) มาตรฐาน

(2) เป้าหมายและคุณค่า

(3) การดําเนินนโยบาย

(4) วิธีการ

(5) การสร้างตัวแบบหรือทฤษฎี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

33 การแปลงนโยบายเป็นแผนงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Policy Outputs

(2) Policy Formulation

(3) Policy Implementation

(4) Policy Process

(5) Policy Impacts

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 12 – 13), (คําบรรยาย) ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ(Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)

2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street Level Bureaucracy) 5 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

34 ข้อใดไม่ใช่การวิจัยประเมินผล

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการวิจัยประเมินผลทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76) การวิจัยประเมินผลมีวิธีการที่สําคัญ 3 รูปแบบ คือ

1 การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design)

2 การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design)

3 การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design)

35 รูปแบบใดเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76 – 78) ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีดังนี้

1 เป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด เ2 ช่วยทําให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหารในระยะยาว

36 การกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุมเป็นสิ่งสําคัญ อยู่ในรูปแบบใด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 77), (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองหรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง เป็นวิธีการที่มีความเคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)

2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการชี้วัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว

3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization)ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

37 ข้อใดไม่ใช่การประเมินด้วยวิธีวิจัย

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการประเมินด้วยวิธีวิจัยทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

38 ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนในเรื่องใด

(1) การวางแผนที่เน้นเนื้อหา

(2) การวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

(3) การวางแผนที่เน้นการควบคุม

(4) การวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(5) การวางแผนที่เน้นผลลัพธ์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

39 Pressman & Wildavsky เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Policy Output

(2) Policy Impact SPARES

(3) Policy Formulation

(4) Policy Process

(5) Policy Implementation

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

40 Thomas J. Cook & Frank P. Scioli เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Policy Output

(2) Policy Impact

(3) Policy Formulation

(4) Policy Process

(5) Policy Implementation

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 41. – 45. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

 

41 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

42 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

43 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

44 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ อยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

45 การกําหนดเกณฑ์ในการวัด อยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 13) ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Poly Evaluation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

2 การกําหนดเกณฑ์วัดและวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน

3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน

4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การประเมินผลแบบเป็นทางการ

(2) การประเมินพัฒนาการ

(3) เดลฟีเชิงนโยบาย

(4) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์

(5) การประเมินกระบวนการย้อนหลัง

46 การประเมินผลแบบทดลอง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301 – 1 หน้า 123 – 125) การประเมินผลแบบเป็นทางการ มี 4 รูปแบบ คือ

1 การประเมินพัฒนาการ

2 การประเมินกระบวนการย้อนหลัง

3 การประเมินผลแบบทดลอง

4 การประเมินผลลัพธ์ย้อนหลัง

47 ทัศนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 127), (คําบรรยาย) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์ เป็นวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อพิจารณาความรู้สึกและทัศนะที่เป็นอัตวิสัยของประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย ซึ่งจุดเด่นของวิธีการนี้ อยู่ที่การพยายามดึงคุณค่าและความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แอบแฝงอยู่อันไม่สามารถ เห็นได้ชัดเจนออกมาให้เห็นชัดเจน เช่น การทําประชามติ เป็นต้น

48 การทํางานประจําวันของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 124) การประเมินพัฒนาการ เป็นการประเมินผลรูปแบบหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อประเมินการทํางานประจําวันของผู้นํานโยบายไปป์บัติโดยเฉพาะ เป็นประโยชน์ในการเตือนให้ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติทราบถึงข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

49 การพิจารณาปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเมื่อนํานโยบายไปปฏิบัติ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 124) การประเมินกระบวนการย้อนหลังเป็นการ พิจารณาปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเมื่อนํานโยบายไปปฏิบัติ

50 การเน้นเอาข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงมาหาข้อสรุปเกี่ยวกับนโยบาย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 129), (คําบรรยาย) วิธีเดลฟาย (Delphi) หรือวิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) เป็นวิธีการที่เน้นการนําเอาข้อคิดและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มาเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย นั่นคือ ต้องอาศัยมติของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเกิดจากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาร่วมกันโดยทําซ้ําหลาย ๆ ขั้นตอน เพื่อให้ได้มา ซึ่งข้อสรุปอันน่าเชื่อถือ มีความเป็นไปได้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และนํามาใช้ประกอบการตัดสินใจ ในด้านต่าง ๆ ได้

51 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่ คือ

(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

(3) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่นั้น มี 5 บริบท ดังนี้

1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก 2 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี

5 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

52 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี

(2) แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 (3) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เกาหลี

(4) มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26

(5) ถูกทุกข้อ 2

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 135 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1  ประเทศไทยมีการพัฒนาคนระดับกลาง และมีแนวโน้มการพัฒนาคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 8.5 ปี ในปี พ.ศ. 2548

3 แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 ในปี พ.ศ. 2548

4 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ได้แก่ มาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น

5 มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

6 คนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ 96.3 ในปี พ.ศ. 2548

7 สังคมไทยปรับตัวจากชนบทสู่เมืองอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ

53 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี

(2) ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นลําดับที่ 20 ในโลก

(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 128 129, 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2548 และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

2 ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นลําดับที่ 20 จากจํานวน 192 ประเทศในโลก

3 มีการพึ่งพิงการนําเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง

4 อัตราการว่างงานลดลง โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2

5 โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ

54 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เหลือพื้นที่ป่าร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบรณ์ลง

(3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง

(4) การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

3 คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น ฯลฯ

55 วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

(4) เศรษฐกิจพอเพียง

(5) การปฏิรูประบบราชการ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 138, 147) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว โดยมุ่งพัฒนาไปสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อม ออกมามีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาลดํารงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

56 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่สําคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมาคือ

(1) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(2) การประกาศใช้รัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

(3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย

(4) การแพร่ระบาดของยาเสพติด

(5) กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (สําคัญที่สุด) ทําให้เกิดการปฏิรูปภาคการเมืองและภาคสังคมที่สําคัญหลายประการ เช่น การกระจายอํานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ประชาสังคมมีความตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

2 สังคมไทยมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สั่งสมเป็นปึกแผ่นมายาวนาน

3 โครงสร้างสังคมไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเมืองมากขึ้น รวมถึงรูปแบบครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว และมีการอยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้น

4 มีปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่สําคัญ เช่น การตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม การกลาโหม การแพร่ระบาดของยาเสพติด

57 “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ

(1) การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) การพัฒนาแบบองค์รวม

(4) การยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนด “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิต ของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ด้วยการให้ความสําคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนา อย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุขถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองและก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของ ความเป็นไทย

58 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญคือ

(1) ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม

(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะและพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

(3) การมุ่งปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญ ดังนี้

1 ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไก การทํางานรวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

3 ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่รวดเร็ว ฯลฯ

59 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ให้คนมีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทําเป็น

(2) ให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) เพิ่มระดับการศึกษาภาคบังคับ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการสร้างคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง เป็นคนเก่ง คนดี คิดเป็น ทําเป็น มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสามัคคีและรักชาติ ตลอดจนมีจิตสํานึกความเป็นไทย

60 จุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด (1) ฉบับที่ 7

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 98

(4) ฉบับที่ 10

(5) ฉบับที่ 11

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้

1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจาก ทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

61 ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา คือเ

(1) ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ปานกลาง

(2) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอตสาหกรรม

(3) อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

(4) ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

(5) ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 3) ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา มีดังนี้

1 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ

2 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3 อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูง

4 ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ

5 อัตราความเป็นเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

6 ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

62 การปฏิรูปการศึกษามีแนวทางอย่างไร

(1) ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

(2) พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครู

(3) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย

(4) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1 พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม

2 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น

3 ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพสูงและมีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

4 เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา ฯลฯ

63 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

(1) นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้

(2) การปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงระเบียบให้คนจนได้รับโอกาสมากขึ้น

(3) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

(4) ให้คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

(5) ถูกทุกข้อ 16

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ดังนี้

1 นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนยากจน เป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง

2 เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

3 ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

4 ปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงกฎระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ

64 การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตกําลังคน ในระดับใด

(1) ระดับสูง

(2) ระดับกลาง

(3) ระดับต่ำ

(4) ระดับกลางและระดับต่ำ

(5) ทุกระดับ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่ เปลี่ยนแปลงไปประการหนึ่ง คือ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับกลาง โดยผสมผสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิต กับความรู้พื้นฐาน รวมทั้งให้มีการขยายบริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานอย่างทั่วถึง

65 การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง

(1) การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลมากขึ้น

(2) การพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน (4) การมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด เป็น “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนา

66 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุสําคัญคือ

(1) มีการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง

(2) แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

(3) ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

(4) ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสาเหตุสําคัญ คือ

1 ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 มีการพึ่งพาวัตถุดิบ เงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

4 ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

67 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร

(1) เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

(2) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

(3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี

(4) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้

1 เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

2 เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัย และพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน

3 ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10 4. กําหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ฯลฯ

68 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันโดย

(1) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(3) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

(4) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(5) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรของโลก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศประการหนึ่ง คือ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน โดยให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่ง ผลิตอาหารสําคัญของโลก

69 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 7 ต่อปี

(2) ร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ร้อยละ 9 ต่อปี

(4) ร้อยละ 10 ต่อปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 103 104), (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่า ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทย เพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ. 2535

70 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ทําให้สัดส่วนของคนยากจนของประเทศไทย ลดลงเป็นอย่างมาก คือ

(1) ร้อยละ 10.4

(2) ร้อยละ 11.4

(3) ร้อยละ 12.4

(4) ร้อยละ 13.4

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

71 ผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1-2 คือ

(1) มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคม

(2) มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

(3) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า ประปา

(4) คุณภาพชีวิตของคนในชนบทได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

(5) มีเป้าหมายการลดอัตราการเพิ่มของประชากร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการลงทุนกระจายการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า และประปา แต่เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และ คุณภาพชีวิตของคนในชนบทไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

72 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับเรื่องใด (1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งออกและการกระจายรายได้

(3) การพัฒนาสังคม

(4) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข -3301-2 หน้า 40, 43, 50) จุดเด่นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญ ก็คือ การพัฒนาสังคม กล่าวคือ เริ่มมีการวางแผนทางด้านสังคมโดยมีการกําหนดนโยบายด้านประชากรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลืออยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนและประเทศในระยะยาว รวมทั้งเพื่อให้การบริการในภาครัฐขยายตัวได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

73 วิกฤติที่เกิดขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 คือ

(1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

(2) วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก

(3) วิกฤติการณ์น้ำมัน

(4) วิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมือง

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 นั้น ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมืองและวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลกับการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง แต่สัมฤทธิผลของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็คือ อัตราการเพิ่มของประชากร

74 สภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ

(1) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

(2) เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ต่อปี

(3) ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

(4) เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ 5

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 2 – 3) สถานภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง 2,000 บาทต่อปี

3 เศรษฐกิจขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4 ต่อปี

4 มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.5 ของแรงงานทั้งหมด

5 บริการพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีไม่เพียงพอ

6 ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

7 เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร ฯลฯ

75 ประเทศใดเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

(1) รัสเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) จีน

(4) อินเดีย

(5) เกาหลี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันแนวโน้ม “ระบบภูมิภาคนิยม” มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงมีบทบาทต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมโลกใหม่ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกนั้น จะทําให้จีนกลายเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคเอเชีย

76 เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย คือ

(1) กระแสประชาธิปไตยในสังคมโลก

(2) กระแสโลกาภิวัตน์

(3) ระบบเศรษฐกิจของโลกมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น

(4) แนวโน้มของการพัฒนาสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่”

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้ว เงื่อนไขและสถานการณ์เปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ยังได้แก่ 1 การเปิดเสรีและการกีดกันทางการค้า

2 แนวโน้มระบบภูมิภาคนิยมมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น

3 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ประมาณการไว้

77 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

(1) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

(2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

(3) เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชน

(4) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประเทศไทยได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

1 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คํานึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการ

3 เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะ ได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

78 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้แก่

(1) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

(2) สตรีในธุรกิจบริการทางเพศ

(3) คนพิการ ผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้ต้องขัง

(4) ผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากร “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส”ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

2 กลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศและถูกประทุษร้าย

3 กลุ่มคนพิการ

4 กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง

5 กลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

6 กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท

7 กลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม

79 สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ขาดปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างรุนแรง

(2) รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากและคนไทยนิยมไปทองเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

(3) ปัญหาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัญหาแรงงานฝีมือต่ำ

(5) ปัญหาด้านการส่งออก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 111 – 113), (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีสาเหตุเกิดจากปัญหาโครงสร้างที่สะสมมานานซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ประกอบกับมีปัจจัยและตัวเร่งที่ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ ระบบเศรษฐกิจและการเมืองในลักษณะรวมศูนย์ ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การบริโภคของคนไทยที่มีค่านิยมทางวัตถุและสิ่งฟุ่มเฟือย รวมทั้งการนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งทําให้รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง จึงได้นําไปสู่การที่รัฐบาลตัดสินใจประกาศขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พร้อมด้วย พันธะกรณีตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะต้องรักษาวินัยทางการเงินและการคลังอย่างเคร่งครัด

80 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าเท่าใดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(1) ร้อยละ 0.6

(2) ร้อยละ 0.5

(3) ร้อยละ 0.4

(4) ร้อยละ 0.3

(5) ร้อยละ 0.2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ดังนี้

1 มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

2 การส่งออกสินค้ามีการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี พ.ศ. 2549

3 เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 – 8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี

4 เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ฯลฯ

81 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะเหตุใด

(1) ต้องเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ

(2) ต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน

(3) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น

(4) ต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(5) ต้องพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนชนบท

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 130) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะจําเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิผล และเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

82 การปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่มุ่งให้ระบบราชการมีลักษณะอย่างไร

(1) ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้เน้นการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ

(2) เพิ่มจํานวนบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่

(3) ระบบราชการทํางานแยกส่วนกับภาคเอกชนโดยมุ่งแข่งขันกับภาคเอกชน

(4) ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่ ดังนี้

1 ปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานของระบบราชการจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กํากับดูแลและอํานวยความสะดวก

2 ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

3 ปรับระบบบริหารบุคคลและลดจํานวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจใหม่

4 ปรับระบบราชการให้สามารถทํางานร่วมกับภาคเอกชนได้ ฯลฯ

83 ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(2) มุ่งเน้นการปฏิรูปทางการศึกษา

(3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(4) เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา

(5) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 – 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้ 1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วมในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

84 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า

(1) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง และมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

(2) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

(3) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย

(4) มีปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 นั้น ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจดี แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาค ระหว่างชนบทกับเมือง และระหว่างกลุ่มคนในสังคม ก็ยังเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทําให้มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติดและความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งนําไปสู่ปัญหาความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเสื่อมโทรม ทางสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง จึงนําไปสู่ข้อสรุปผลการพัฒนาที่ว่า แม้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับดี แต่สังคมมีปัญหา และการพัฒนาไม่ยั่งยืน

85 วิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 คือ

(1) ปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์

(2) ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณ

(3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหา การขาดดุลงบประมาณอยู่อย่างเดิม

86 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยมีผลของการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่าเป้าหมายถึงสองเท่าตัว

(1) ฉบับที่ 5

(2) ฉบับที่ 6

(3) ฉบับที่ 7

(4) ฉบับที่ 8

(5) ฉบับที่ 97 )

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 82), (คําบรรยาย) การพัฒนาตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ถึง 2 เท่าตัว นับเป็นอัตราการขยายตัว เฉลี่ยสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา โดยที่โครงสร้างเศรษฐกิจไทยเปิดกว้างเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เปลี่ยนจากเศรษฐกิจการเกษตรสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจของโลกเอื้ออํานวย ต่อเศรษฐกิจไทยด้วย

87 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากรได้ผล ตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน

(1) ฉบับที่ 4

(2) ฉบับที่ 5

(3) ฉบับที่ 6

(4) ฉบับที่ 7

(5) ฉบับที่ 8

ตอบ 1(เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 55 – 56) ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มีดังนี้

1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ คือ เพิ่มในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 7.0

2 การผลิตสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้

3 อัตราการเพิ่มของประชากรเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นครั้งแรก โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี

4 การกระจายรายได้ยังทําได้ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบท ฯลฯ

88 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ประสบความสําเร็จอย่างสูงในเรื่องใด

(1) การลดปัญหาสังคมเมืองและปัญหาอาชญากรรม

(2) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(3) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเกินความคาดหมาย

(4) ความสมดุลของการพัฒนา

(5) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

89 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างจากแผนอื่น ๆ คือ

(1) มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

(2) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คํานึงถึงผลทางด้านสังคม

(3) สนใจเรื่องการกระจายรายได้

(4) เป็นแผนที่มีระยะเวลานาน 6 ปี

(5) เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 11 – 12, 19), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 เป็นแผนที่มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2509

2 เป็นแผนที่กําหนดวัตถุประสงค์เดียว (Single Objective) คือ เร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

90 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” มีลักษณะอย่างไร

(1) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความยั่งยืน

(2) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก

(3) ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข

(4) เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

(5) ถูกทุกข้อ 2

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

91 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 153) การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

92 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม (2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

93 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจาก โรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

94 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษาอย่างไร

(1) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ปี

(2) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ปี

(3) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี

(4) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 12 ปี

(5) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 ปี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 122 – 123) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี พ.ศ. 2549

2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

95 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้ชี้นําในการพัฒนาการเกษตร (4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 97) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิต ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความต้องการของตลาดในระยะยาว

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่ดินของตนเอง ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

96 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านอัตราเงินเฟ้ออย่างไร

(1) ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี

(2) ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

(3) ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี

(4) ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

(5) ไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

  1. “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงมหาดไทย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

98 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก (5) ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 152 153), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ ทําให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อน ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง

6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศและปัญหาการก่อการร้าย

99 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 161 163) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

4 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

100 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301 -2 หน้า 137) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ มีอันดับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนในปี 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

 

POL3301 นโยบายสาธารณะ S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301  นโยบายสาธารณะ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่สําคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมาคือ

(1) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(2) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

(3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย

(4) การแพร่ระบาดของยาเสพติด

(5) กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (สําคัญที่สุด) ทําให้เกิดการปฏิรูปภาคการเมืองและภาคสังคมที่สําคัญหลายประการ เช่น การกระจายอํานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ประชาสังคมมีความตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

2 สังคมไทยมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สั่งสมเป็นปึกแผ่นมายาวนาน

3 โครงสร้างสังคมไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเมืองมากขึ้น รวมถึงรูปแบบครัวเรือนส่วนใหญ่ก็เป็นครอบครัวเดียว และมีการอยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้น

4 มีปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่สําคัญ เช่น การตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม การแพร่ระบาดของยาเสพติด

2 “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ

(1) การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) การพัฒนาแบบองค์รวม

(4) การยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนด “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิต ของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ด้วยการ ให้ความสําคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนา อย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุข ถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองและก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

3 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญคือ

(1) ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม

(2) การมุ่งปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ

(3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะและพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญ ดังนี้

1 ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไกการทํางาน รวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

3 ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่รวดเร็ว ฯลฯ

4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ให้คนมีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทําเป็น

(2) ให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) เพิ่มระดับการศึกษาภาคบังคับ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการสร้างคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง เป็นคนเก่ง คนดี คิดเป็น ทําเป็น มีระเบียบวินัยมีความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสามัคคีและรักชาติ ตลอดจนมีจิตสํานึกความเป็นไทย

5 จุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนใน สังคมคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด

(1) ฉบับที่ 7

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 9

(4) ฉบับที่ 10

(5) ฉบับที่ 11

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้

1เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจาก ทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

6 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญ คือ

(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

(3) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่นั้น มี 5 บริบท ดังนี้

1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก 2 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี

5 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7 วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

(4) เศรษฐกิจพอเพียง

(5) การปฏิรูประบบราชการ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 138, 147) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว โดยมุ่งพัฒนาไปสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชน เข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดํารงไว้ซึ่งระบอบ สด มีกราะประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

8 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี

(2) แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8

(3) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เกาหลี

(4) มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 เอกสารหมายเลข n-3301 -2 หน้า 135 136, (คําบรรยาย) สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 ประเทศไทยมีการพัฒนาคนระดับกลาง และมีแนวโน้มการพัฒนาคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 8.5 ปี ในปี พ.ศ. 2548

3 แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 ในปี พ.ศ. 2548

4 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ได้แก่ มาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น

5 มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

6 คนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ 96.3 ในปี พ.ศ. 2548

7 สังคมไทยปรับตัวจากชนบทสู่เมืองอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ

9 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี

(2) ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นลําดับที่ 20 ในโลก

(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 128 129, 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2548และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

2 ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นลําดับที่ 20 จากจํานวน 192 ประเทศในโลก

3 มีการพึ่งพิงการนําเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง

4 อัตราการว่างงานลดลง โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2 เมตร

5 โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ

10 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เหลือพื้นที่ป่าร้อยละ 23 ของพื้นที่ประเทศ

(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

(3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง

(4) การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

3 คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น ฯลฯ

11 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร

(1) เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

(2) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

(3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี

(4) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้ 1 เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

2 เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน 3 ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10 – 20

4 กําหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ฯลฯ

12 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 ทําให้สัดส่วนของคนยากจนของประเทศไทย ลดลงเป็นอย่างมาก คือ

(1) ร้อยละ 10.4.

(2) ร้อยละ 11.4

(3) ร้อยละ 12.4

(4) ร้อยละ 13.4

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 103 – 104), (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่า ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทย เพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ. 2535

13 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันโดย

(1) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(3) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

(4) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(5) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรของโลก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถได้ ในการแข่งขันของประเทศประการหนึ่ง คือ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน โดยให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่ง ผลิตอาหารสําคัญของโลก

14 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 7 ต่อปี

(2) ร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ร้อยละ 9 ต่อปี

(4) ร้อยละ 10 ต่อปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

15 ผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ

(1) มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคม

(2) มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

(3) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า ประปา

(4) คุณภาพชีวิตของคนในชนบทได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

(5) มีเป้าหมายการลดอัตราการเพิ่มของประชากร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ คนที่เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการลงทุนกระจายการพัฒนาโครงสร้าง มีใจรัสพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า และประปา แต่เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชนบทไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น 30 มกราคม

16 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งออกและการกระจายรายได้

(3) การพัฒนาสังคม รายได้

(4) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-5301-2 หน้า 40, 43, 50) จุดเด่นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญก็คือ การพัฒนาสังคม กล่าวคือ เริ่มมีการวางแผนทางด้านสังคมโดยมีการกําหนดนโยบายด้าน ขายอะประชากรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลืออยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนและประเทศในระยะยาว รวมทั้งเพื่อให้การบริการในภาครัฐขยายตัวได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

17 วิกฤติที่เกิดขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 คือ

(1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

(2) วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก

(3) วิกฤติการณ์น้ำมัน

(4) วิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมือง

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 นั้น ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมืองและวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุล การค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง แต่สัมฤทธิผลของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็คือ อัตราการเพิ่มของประชากร

18 สภาพของประเทศไทยก่อนมีการเช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ

(1) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

(2) เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ต่อปี

(3) ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

(4) เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 2 3) สถานภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง 2,000 บาทต่อปี

3 เศรษฐกิจขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4 ต่อปี

4 มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.5 ของแรงงานทั้งหมด

5 บริการพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีไม่เพียงพอ

6 ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

7 เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร ฯลฯ

19 การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตกําลังคน ในระดับใด ๆ

(1) ระดับสูง

(2) ระดับกลาง

(3) ระดับต่ำ

(4) ระดับกลางและระดับต่ำ

(5) ทุกระดับ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปประการหนึ่ง คือ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับกลาง โดยผสมผสาน ผมเจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิต กับความรู้พื้นฐาน รวมทั้งให้มีการขยายบริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานอย่างทั่วถึง

20 ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา คือ

(1) ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ปานกลาง

(2) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

(3) อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

(4) ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

(5) ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5

ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา มีดังนี้

1 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ

2 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3 อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูง

4 ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ

5 อัตราความเป็นเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

6 ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

21 การปฏิรูปการศึกษามีแนวทางอย่างไร

(1) ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

(2) พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครู

(3) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย

(4) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1 พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม

2 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น

3 ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพสูงและมีความจําเป็น

4 เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา ฯลฯ

22 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

(1) นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้งาน

(2) การปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงระเบียบให้คนจนได้รับโอกาสมากขึ้น

(3) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

(4) ให้คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ดังนี้

1 นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนยากจน เป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง

2 เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจน สามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

3 ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

4 ปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงกฎระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ

23 การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง

(1) การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลมากขึ้น

(2) การพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ

(4) การมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนา จากการออกแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนา

24 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุสําคัญคือ

(1) มีการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง

(2) แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

(3) ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

(4) ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสาเหตุสําคัญ คือ

1 ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 มีการพึ่งพาวัตถุดิบ เงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

4 ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

25 ประเทศใดเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

(1) รัสเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) จีน

(4) อินเดีย

(5) เกาหลี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันแนวโน้ม “ระบบภูมิภาคนิยม” มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงมีบทบาทต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมโลกใหม่ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกนั้นจะทําให้จีนกลายเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคเอเชีย

26 เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย คือ

(1) กระแสประชาธิปไตยในสังคมโลก

(2) กระแสโลกาภิวัตน์

(3) ระบบเศรษฐกิจของโลกมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น

(4) แนวโน้มของการพัฒนาสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่”

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้ว เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ยังได้แก่

1 การเปิดเสรีและการกีดกันทางการค้า

2 แนวโน้มระบบภูมิภาคนิยมมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น

3 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ประมาณการไว้

27 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

(1) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

(2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

(3) เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชน

(4) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประเทศไทยได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

1เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คํานึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการ

3 เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

28 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้แก่

(1) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

(2) สตรีในธุรกิจบริการทางเพศ

(3) คนพิการ ผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้ต้องขัง

(4) ผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากร “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส”ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

2 กลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศ และถูกประทุษร้าย

3 กลุ่มคนพิการ

4 กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง

5 กลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

6 กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท

7 กลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม

29 สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ขาดปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างรุนแรง

(2) รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากและคนไทยนิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

(3) ปัญหาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัญหาแรงงานฝีมือต่ำ

(5) ปัญหาด้านการส่งออก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 111 – 113), (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีสาเหตุเกิดจากปัญหาโครงสร้าง ที่สะสมมานานซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ประกอบกับมีปัจจัยและตัวเร่งที่ก่อให้เกิด วิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ ระบบเศรษฐกิจและการเมืองในลักษณะ รวมศูนย์ ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่มีค่านิยมทางวัตถุและสิ่งฟุ่มเฟือย รวมทั้งการนิยมเดินทาง ไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งทําให้รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง ได้นําไปสู่ การที่รัฐบาลตัดสินใจประกาศขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พร้อมด้วยพันธะกรณีตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะต้องรักษาวินัยทางการเงินและการคลัง อย่างเคร่งครัด

30 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าเท่าใดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(1) ร้อยละ 0.6

(2) ร้อยละ 0.5

(3) ร้อยละ 0.4

(4) ร้อยละ 0.3

(5) ร้อยละ 0.2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ดังนี้

1มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

2 การส่งออกสินค้ามีการขยายตัวไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 6 ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี พ.ศ. 2549

3 เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7- 8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น

4 เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ฯลฯ

31 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างจากแผนอื่น ๆ คือ

(1) มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

(2) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คํานึงถึงผลทางด้านสังคม

(3) สนใจเรื่องการกระจายรายได้

(4) เป็นแผนที่มีระยะเวลานาน 6 ปี

(5) เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 11 – 12, 19), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 เป็นแผนที่มีระยะเวลา ยาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2509

2 เป็นแผนที่กําหนดวัตถุประสงค์เดียว(Single Objective) คือ เร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

32 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษาอย่างไร

(1) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ปี

(2) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ปี

(3) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี

(4) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 12 ปี

(5) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 ปี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 122 – 123) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ากว่า 9 ปี ในปีพ.ศ. 2549

2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่า ที่ร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

33 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้นําในการพัฒนาการเกษตร โดย

(4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-2 หน้า 97) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิต ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ 3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

34 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านอัตราเงินเฟ้ออย่างไร

(1) ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี

(2) ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

(3) ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี

(4) ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

(5) ไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30

35 “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงาน ก.พ.

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

36 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะเหตุใด

(1) ต้องเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ

(2) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น

(3) ต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน

(4) ต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(5) ต้องพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนชนบท

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 130) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะจําเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิผล และเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติพร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

37 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยมีผลของการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่า เป้าหมายถึงสองเท่าตัว

(1) ฉบับที่ 5

(2) ฉบับที่ 6

(3) ฉบับที่ 7

(4) ฉบับที่ 8

(5) ฉบับที่ 9

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพัฒนาตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ถึง 2 เท่าตัว และนับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา

38 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา”หมายความว่า

(1) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง และมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

(2) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

(3) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย

(4) มีปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 นั้น ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจดี แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาคชนบทกับเมือง และระหว่างกลุ่มคนในสังคม ก็ยังเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทําให้มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติดและความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งนําไปสู่ปัญหาความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเสื่อมโทรม ทางสภาพแวดล้อมอยางรุนแรง จึงนําไปสู่ข้อสรุปผลการพัฒนาที่ว่า แม้เศรษฐกิจขยายตัว ในระดับดี แต่สังคมมีปัญหา และการพัฒนาไม่ยั่งยืน

39 ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(2) มุ่งเน้นการปฏิรูปทางการศึกษา

(3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(4) เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา

(5) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้

1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจาก ทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วมในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

40 วิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์

(2) ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างรุนแรง ความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง อย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณอยู่อย่างเดิม

41 การปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่มุ่งให้ระบบราชการมีลักษณะอย่างไร

(1) ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้เน้นการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ

(2) เพิ่มจํานวนบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่

(3) ระบบราชการทํางานแยกส่วนกับภาคเอกชนโดยมุ่งแข่งขันกับภาคเอกชน

(4) ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่ ดังนี้

1 ปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานของระบบราชการจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กํากับดูแลและอํานวยความสะดวก

2 ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

3 ปรับระบบบริหารบุคคลและลดจํานวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจใหม่

4 ปรับระบบราชการให้สามารถทํางานร่วมกับภาคเอกชนได้ ฯลฯ

4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากร ได้ผลตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน

(1) ฉบับที่ 4

(2) ฉบับที่ 5

(3) ฉบับที่ 6

(4) ฉบับที่ 7

(5) ฉบับที่ 8

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 55 – 56) ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มีดังนี้

1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ คือ เพิ่มในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 7.0 ต่อปี

2 การผลิตสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้

3 การลดอัตราการเพิ่มของประชากร เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นครั้งแรก โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี

4 การกระจายรายได้ยังทําได้ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบท ฯลฯ

43 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ประสบความสําเร็จอย่างสูงในเรื่องใด

(1) การลดปัญหาสังคมเมืองและปัญหาอาชญากรรม

(2) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(3) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเกินความคาดหมาย

(4) ความสมดุลของการพัฒนา

(5) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 82), (คําบรรยาย) การพัฒนาตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ถึง 2 เท่าตัว นับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุด ของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา โดยที่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย เปิดกว้างเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น และโครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนจาก เศรษฐกิจการเกษตรสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจของโลกเอื้ออํานวย ต่อเศรษฐกิจไทยด้วย

44 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(5) ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-2 หน้า 152 153), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 รายได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ทําให้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อน ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง 6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศและปัญหาการก่อการร้าย

45 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 161 – 163) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

4 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

46 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 137) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ มีอันดับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนในปี 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

47 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” มีลักษณะอย่างไร

(1) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความยั่งยืน

(2) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก

(3) ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข

(4) เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

48 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 153) การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถ ในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

49 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม

(2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลเป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

50 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี(Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

 

ตั้งแต่ข้อ 51. = 70. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ข้อ 1 และข้อ 2

(2) ข้อ 1 ถูก ข้อ 2 ผิด

(3) ข้อ 1 ผิด ข้อ 2 ถูก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2 ผิด

(5) ไม่สามารถตัดสินใจได้

 

51 (1) ทฤษฎีกลุ่ม อธิบายว่า สังคมแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจและคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยจะจัดสรรคุณค่าของสังคม

(2) ทฤษฎีผู้นํา สะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํา

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 84 – 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีผู้นําหรือชนชั้นนํา (Elite Model/Theory) อธิบายว่า

1 สังคมถูกแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ โดยผู้นําซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม แต่มีอํานาจเป็นผู้จัดสรรคุณค่าของสังคมและกําหนดนโยบาย สาธารณะให้เป็นไปตามความต้องการหรือค่านิยมของตน ขณะที่ประชาชนหรือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนตัดสินใจในนโยบายสาธารณะด้วย

2 ผู้นําจะแสดงความสมานฉันท์กับค่านิยมพื้นฐานของระบบสังคมและพยายามสงวนรักษาระบบไว้

3 นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํามากกว่า

4 ผู้นํามีอิทธิพลต่อมวลชนมากกว่ามวลชนมีอิทธิพลต่อผู้นํา ฯลฯ

52 (1) สังคมถูกแบ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยเป็นผู้กําหนดนโยบายตามความต้องการหรือค่านิยมของตน คือ ทฤษฎีผู้นํา

(2) สถาบันของรัฐเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ คือ ทฤษฎีผู้นํา

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีสถาบันนิยม (6260 2 (Institutional Mode/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะอยู่ในฐานะเป็นผลผลิตของสถาบันโดยที่สถาบันหรือหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเนื่องจากมีความชอบธรรม มีความเป็นสากล มีการผูกขาดอํานาจบังคับ นั่นคือ เป็นการพยายามเชื่อมโยงโครงสร้างหน้าที่ของสถาบันรัฐบาลกับการกําหนดนโยบายสาธารณะเข้าด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นว่า สถาบันรัฐบาล เป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเพราะเป็นอํานาจหน้าที่อันชอบธรรม ซึ่งทฤษฎีนี้จะสะท้อนให้เห็นว่านโยบายสาธารณะก็คือนโยบายของรัฐบาลนั่นเอง

53 (1) นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ได้มาจากการเจรจาต่อรองเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสถาบันนิยม

(2) สิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่สําคัญของทฤษฎีระบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 85 – 86), (คําบรรยาย) ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่มหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Equilibrium Model or Group Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับนโยบายสาธารณะ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิต ที่ได้มาจากการเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ส่วนตัวแบบ/ทฤษฎีระบบ (System Model/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของระบบ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สําคัญ 5 ตัวแปร คือ

1 ปัจจัยนําเข้า (Inputs)

2 กระบวนการ (Process)

3 ปัจจัยนําออก/ผลผลิต (Outputs)

4 ข้อมูลป้อนกลับ/ผลสะท้อนกลับ (Feedback)

5 สิ่งแวดล้อม (Environment)

54 (1) ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีการตัดสินใจ

(2) แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นเนื้อหา

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0 3301-1 หน้า 86, 88), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการตัดสินใจ แบ่งออกเป็น 3 ตัวแบบ คือ

1 ตัวแบบเหตุผล นิยมหรือตัวแบบยึดหลักเหตุผล

2 ตัวแบบส่วนเพิ่ม

3 ตัวแบบผสมผสาน ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการควบคุม อธิบายว่า การวางแผนจะต้องมีการตรวจสอบอํานาจที่เข้าไปแทรกแซง ซึ่งสามารถจําแนกได้ 3 แนว คือ แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวคิดเชิงมนุษยนิยม และแนวคิดเชิงปฏิบัตินิยม

55 (1) ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

(2) แนวคิดเชิงมนุษยนิยมเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการควบคุม

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 37) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (Decision Centred Planning Theory) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านการทําหน้าที่ (Functional Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีเชิงกรรมวิธีที่มงอธิบายกระบวนการและการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งทฤษฎีนี้ต่อมาก็พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการนํานโยบายไปปฏิบัติ

2 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านปทัสถาน (Normative Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนสังคมและการวางแผนสนับสนุน (ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ)

56 (1) Montjoy & O’Toole สนใจคล้ายกับ Stuart S. Naget

(2) William Dunn สนใจในการวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 24, 33 – 72, 89 – 111), (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่

1 เควด (E.S. Quade)

2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)

3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)

4 โทมัส อาร์, ดาย (Tomas R. Dye)

5 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) ฯลฯ

ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่

1 กรอส (Gross)

2 ไจแอคควินทา (Glacquinta)

3 เบิร์นสไตล์ (Bernstein)

4 กรีนวูด (Greenwood)

5 แมน (Mann)

6 แมคลัฟลิน (McLaughin)

7 เบอร์แมน (Berman)

8 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)

9 อีมิลี ไชมี โลวีไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Love Brizendine)

10 เพรสแมน (Pressman)

11 วิลดฟสกี (Widavsky)

12 มองจอย (Montioy)

13 โอทูเล (OToole)

14 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ฯลฯ

57 (1) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนต่อความสําเร็จของนโยบาย

(2) การประเมินนโยบายจําเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อให้ผลการประเมินถูกต้อง ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 48 – 58, 73), (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ลักษณะของนโยบายที่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน

2 วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน สอดคล้องกัน และสามารถรับรู้ได้ง่าย

3 ความเป็นไปได้ทางการเมืองหรือการได้รับการสนับสนุนทางการเมือง

4 ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีหรือการมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

5 ทรัพยากรที่พอเพียง

6 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติมีทัศนคติที่ดีต่อตัวนโยบาย ฯลฯ ซึ่งหากไม่เป็นไปตามลักษณะ ปัจจัยดังกล่าวก็จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว

ส่วนอีมิล เจ. โพซาวัค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emit J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อให้ผลการประเมิน ถูกต้อง และเพื่อตรวจสอบว่านโยบายนั้นจําเป็นและควรใช้หรือไม่ หรือจะดําเนินการต่อไปตามที่วางไว้ได้หรือไม่ และช่วยแก้ปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่

58 (1) การประเมินผลในรูปแบบทดลอง จะต้องมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

(2) การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76 – 78), (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) เป็นวิธีการที่มีความ เคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุดด้วย โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)

2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการชี้วัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว

3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

59 (1) การจับคู่เป็นวิธีการสําคัญในการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(2) การวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผล

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76, 79, 81) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลองมีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่ที่มีลักษณะ เหมือนกัน ส่วนการประเมินผลกระทบแบบไม่ใช้วิธีการวิจัยมี 4 รูปแบบ คือ

1 การเปรียบเทียบโครงการหลาย ๆ โครงการ

2 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

3 การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล

4 การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

60 (1) ทฤษฎีผู้นํา อธิบายว่า นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของมวลชน

(2) ทฤษฎีกลุ่มจะสะท้อนความต้องการของมวลชน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 และ 53 ประกอบ

61 (1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 13 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 18) การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

62 (1) Ira Sharkansky ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 1 – 2, 15 – 16), (คําบรรยาย) ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ” ส่วนไอรา ซาร์แคนสกี้ ) (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น”

63 (1) การวางแผนที่มุ่งอธิบายกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นผลลัพธ์

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 87) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นเนื้อหาหรือทฤษฎีเชิงสาระเป็นทฤษฎีที่ให้ความสําคัญกับเนื้อหาสาระเฉพาะเรื่องที่จะนํามาวางแผนเป็นอย่างมาก โดยมุ่งอธิบายรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหาที่เจาะลึกในแต่ละเรื่อง แต่ไม่สนใจเรื่องวิธีการ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น

64 (1) การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายเป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 12 – 13, 25) แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ

1 แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุดที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

2 แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ

3 แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

ส่วนการที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการ เป็นขั้นตอนการนํา นโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)

65 (1) การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนอนุมัตินโยบาย

(2) การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 11) ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) Jut Us ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณา เวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

66 (1) แผนงาน เป็นตัวแปรที่ Cook & Scioli เสนอไว้ในตัวแบบของเขา

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง เป็นรูปแบบที่แสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรง

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 81 82) คุกและซิโอลี (Cook & Scioli) สนใจศึกษาเรื่องผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) โดยได้เสนอตัวแบบในการวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบาย (A Policy Impacts Model) ซึ่งมีองค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้

1 นโยบาย

2 แผนงาน

3 วัตถุประสงค์

4 กิจกรรม

5 ผลกระทบ (ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ)

67 (1) Harold Lasswell ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

(2) Theodore Lowi เสนอให้จําแนกนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3. 14), (คําบรรยาย) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล ความสําคัญ) ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ

1 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด

2 เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหาทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบาย ไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน

3 เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมืองมักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

ส่วนธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ

68 (1) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า โดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข ท-3301-1 หน้า 1) เจมส์ แอนเดอร์สัน (James Anderson) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนา เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น”

ส่วนเดวิด อีสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม”

69 (1) Harold Lasswell ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(2) กรอสและคณะ เสนอ Catalytic Role Model

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 18 – 22, 36 – 41, 45 – 47) นักวิชาการต่างประเทศที่ศึกษาเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) มีดังนี้

1 กรอสและคณะ (GIOSs, Giacquinta & Bernstein) ศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่สําหรับครู โดยเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบ การศึกษานี้ว่า “Catalytic Role Model”

2 กรีนวูดและคณะ (Greenwood, Mann & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลในระดับท้องถิ่น

3 เบอร์แมนและแมคลัฟลิน (Berman & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาความต่อเนื่องของนโยบายนวัตกรรมหลังจากที่ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสิ้นสุดลง

4 อีมิลี ไซมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Love Brizendine) ศึกษาการปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards) ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

6 เพรสแมนและวิลดัฟสกี (Pressman & Wildavsky) ศึกษานโยบายการจ้างงานของชนกลุ่มน้อยที่เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้ชื่อ “Implementation” ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ)

70 (1) Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ

(2) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 1) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า“นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา”  (ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ)

71 นักวิชาการคนใดมีความสนใจที่แตกต่างจากผู้อื่น

(1) Dale E. Richards

(2) Berman

(3) Stuart S. Nagel

(4) McLaughlin

(5) Greenwood

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

72 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เดล อี. ริชาร์ด ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ เป็นได้

(2) GrOSS, Giacquinta & Bernstein ศึกษานวัตกรรมทางการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ

(3) กรีนวูดและคณะ ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ (4) Pressman & Wildavsky ศึกษาการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

(5) Thomas R. Dye ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67 และ 69 ประกอบ

73 ข้อใดถูกต้อง

(1) สากล จริยวิทยานนท์ พบว่า การแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนสําคัญในการกําหนดความสําเร็จหรือล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) เจษฎา อุรพิพัฒนพงศ์ สนับสนุนการรวมสถาบันฝึกหัดครูเข้าเป็นสถาบันเดียวกัน

(3) อาคม ใจแก้ว ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

(4) ธงชัย สมครุฑ เปรียบเทียบตัวแบบการตัดสินใจของวิทยาลัยครูในประเทศไทย 6 แห่ง

(5) ปิยวดี ภูศรี ศึกษาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคในการพัฒนาชนบท

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-2301-1 หน้า 43) อาคม ใจแก้ว ได้ศึกษาเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติ และในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จ” โดยมุ่งศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จของการนํานโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะนโยบายส่งเสริมการศึกษาของชาวไทยมุสลิม ซึ่งพบว่า ความสําเร็จของการนํานโยบาย รลบขอไปปฏิบัติแยกออกเป็น 3 มิติ คือ

1 ความสําเร็จเชิงทัศนคติของเยาวชนไทยมุสลิมภายหลังที่ได้เข้าร่วมโครงการ

2 ความสําเร็จเชิงพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

3 ความสําเร็จเชิงพฤติกรรมการเรียนอิสลามศึกษา

74 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ พบว่า การแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนสําคัญในการกําหนดความสําเร็จหรือล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) ธงชัย สมครุฑ พบว่า มีการสนับสนุนในการรวมสถาบันฝึกหัดครูเข้าเป็นสถาบันอันหนึ่งอันเดียวกัน

(3) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

(4) ปิยวดี ภูศรี เปรียบเทียบตัวแบบการตัดสินใจของวิทยาลัยครูในประเทศไทย 6 แห่ง

(5) สากล จริยวิทยานนท์ ศึกษาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคในการพัฒนาชนบท

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 42) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ศึกษาเรื่อง “การปฏิบัตินโยบายสําหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนราธิวาส” โดยมุ่งวิเคราะห์ เฉพาะด้านการปฏิบัตินโยบายเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งพบว่า การแสวงหาผลประโยชน์ มีส่วนสําคัญต่อผลการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพราะเป็นปัจจัยที่ใช้กําหนดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ (ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ)

75 Policy Science หมายถึงอะไร

(1) ความรู้ในเรื่องของนโยบาย

(2) ความรู้ในการกําหนดนโยบาย

(3) ความรู้ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ 3

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 16 – 17) นโยบายศาสตร์ (Policy Science) หมายถึง การให้ความรู้ในเรื่องของนโยบาย (Policy-Issue Knowledge) และความรู้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ (Policy-Making Knowledge)

 

ตั้งแต่ข้อ 76 – 80 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Economic Policy

(2) Education Policy

(3) Social Policy

(4) Administrative Policy

(5) Politic & Defence Policy

 

76 การตัดถนนแยกเลนไปให้ทั่วถึงทุกจังหวัด เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเลนไปสู่ทุกจังหวัด นโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน, โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน, การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค, การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

77 โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบาย ที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ตาม ความจําเป็น เช่น การออกบัตรประกันสังคม, การออกบัตรสุขภาพ, นโยบายการแก้ปัญหา ชายแดนภาคใต้, นโยบายการจํานําข้าว, นโยบายเพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวัน, โครงการช่วยเหลือ ชาวสลัม, โครงการสงเคราะห์คนชรา, โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, โครงการอาหารกลางวัน แก่เด็กยากจน, กองทุนพัฒนาสตรี เป็นต้น หรือเป็นนโยบายที่ดึงเอาทรัพยากรจากประชาชน กลุ่มหนึ่งมาจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี (เช่น นโยบายการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า), นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

78 โครงการ “เมาไม่ขับ” เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร (เช่น โครงการเมาไม่ขับ, การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

79 นโยบายการปฏิรูประบบราชการเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรองที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลัง โครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

80 การช่วยชาวเขาให้มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านสังคม (Social Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม เช่น การประชาสงเคราะห์ (เช่น การช่วยเหลือชาวเขา คนชรา หรือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก) การประกันสังคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยกําหนดให้มีโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสุขศาลาในทุกอําเภอ การพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน เป็นต้น

81 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอไว้ในแนวคิดในการประเมินนโยบายของเขา

(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล

(2) การกําหนดแผนงาน

(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด

(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 82) สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการ หรือกระบวนการที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด

2 กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์

3 กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ

4 กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

5 ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

82 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนโยบาย

(1) ต้องมีแผนงานรองรับ

(2) ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

(3) ต้องกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย

(5) ต้องเป็นเครื่องมือหรือกําหนดบรรทัดฐานในการทํางาน

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 2) ลักษณะของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เพื่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม

2 ต้องมีแผนงานรองรับ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

4 ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

5 ต้องเป็นเครื่องมือในการกําหนดแนวทางและบรรทัดฐานในการทํางาน

83 ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญในการศึกษานโยบาย

(1) นําความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไป

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

84 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

(1) วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

(2) แนวทางในการบรรลุผล

(3) ขั้นตอนหรือแผนงาน

(4) ทุนที่ใช้ในการดําเนินการ

(5) เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 6 – 7) องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

2 ลําดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ

3 แนวทางหรือหลักการในการบรรลุผลสําเร็จ

4 การกําหนดการกระทําต่าง ๆ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ฯลฯ

85 องค์ประกอบของนโยบายตามแนวคิดของเควด (Quade) มีอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(2) วัตถุประสงค์ ทางเลือก กระบวนการ มาตรฐาน และค่านิยม

(3) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

(4) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(5) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 25) องค์ประกอบของการวิเคราะห์นโยบายตามแนวคิด ของเควด (E.S. Quacle) มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์ (The Objective)

2 ทางเลือก (The Alternative)

3 ผลกระทบ (The Impact)

4 มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน (The Criteria)

5 ตัวแบบ (The Models)

86 ข้อใดถูกต้อง

(1) Scientific Reasons : การนําไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) Professional Reasons : การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) Political Reasons : การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) Policy Effects : ปัจจัยนําเข้าของนโยบาย เช่น ทรัพยากร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

87 การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด

(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ

(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย

(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ

(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

88 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกัน

(1) Elite Theory : การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี

(2) Group Theory : การหาสาเหตุและผลของนโยบาย

(3) Policy Process : ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในการกําหนดนโยบาย

(4) Policy Area Study : ศึกษาข้อปลีกย่อยในแต่ละแง่มุมของนโยบาย

(5) Descriptive Study : เป็นการพรรณนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 4 – 5) แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study) เป็นการศึกษาตามแนวทางที่มุ่งคิดค้นและสร้างเป็นตัวแบบหรือทฤษฎีของวิธีการศึกษานโยบายของรัฐ แล้วนําเอาตัวแบบหรือทฤษฎีนั้น ๆ ไปใช้ในการศึกษาต่อไป เช่น ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory), ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นต้น

2 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) เป็นการศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอย่างแต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนําเอามาศึกษาและเปรียบเทียบกันดูโดยละเอียด

3 การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study) เป็นการศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกําหนดนโยบาย กระบวนการพัฒนา กระบวนการ จัดตั้งองค์การ หรืออื่นใดก็ตาม

89 การเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) มาตรฐาน

(2) เป้าหมายและคุณค่า

(3) การดําเนินนโยบาย

(4) วิธีการ

(5) การสร้างตัวแบบหรือทฤษฎี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

90 การแปลงนโยบายเป็นแผนงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Policy Outputs

(2) Policy Formulation

(3) Policy Implementation

(4) Policy Process

(5) Policy Impacts

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 12 – 13), (คําบรรยาย) ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)

2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street-Level Bureaucracy) 5 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

91 ข้อใดไม่ใช่การวิจัยประเมินผล

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการวิจัยประเมินผลทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76) การวิจัยประเมินผลมีวิธีการที่สําคัญ 3 รูปแบบ คือ

1 การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design)

2 การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design)

3 การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design)

92 รูปแบบใดเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

93 การกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุมเป็นสิ่งสําคัญ อยู่ในรูปแบบใด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

94 ข้อใดไม่ใช่การประเมินด้วยวิธีวิจัย

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการประเมินด้วยวิธีวิจัยทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

95 ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนในเรื่องใด

(1) การวางแผนที่เน้นเนื้อหา

(2) การวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

(3) การวางแผนที่เน้นการควบคุม

(4) การวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(5) การวางแผนที่เน้นผลลัพธ์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 96 – 100 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

96 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64 และ 90 ประกอบ

97 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

98 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

99 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่อยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

100 การกําหนดเกณฑ์ในการวัดอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 13) ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

2 การกําหนดเกณฑ์วัดและวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน

3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน

4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้าราชการท่านใดใช้นามแฝงในขบวนการเสรีไทยเขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง เพื่อเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ

(1) น.พ.ประเวศ วะสี

(2) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล

(3) นายจํากัด พลางกูร

(4) นายป่วย อึ้งภากรณ์

(5) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นายป่วย อึ้งภากรณ์ ได้ใช้นามแฝงสมัยเป็นเสรีไทยว่า เข้ม เย็นยิ่ง เขียนจดหมายจากประเทศอังกฤษถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อเรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอํานาจการปกครองอยู่ในขณะนั้นคืนรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนโดยเร็ว 2 กรณี 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีท่านใดต้องลาออก

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกกฤษณ์ สีวะรา

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร

(5) จอมพลถนอม กิตติขจร

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นถูกเรียกว่า “วันมหาวิปโยค” หรือ“วันมหาประชานิติ” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จนทําให้ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์นี้ทําให้เกิดแรงกดดันจากพลังทางการเมืองหลายฝ่ายจนทําให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

3 รัฐธรรมนูญฉบับใดถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ

(1) 2515

(2) 2517

(3) 2519

(4) 2520

(5) 2521

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร (นายทหารยังเตอร์ก) เป็นผู้ที่ขนานนามรัฐธรรมนูญฯ2521 ว่าเป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจากได้ให้อํานาจมากแก่วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง อีกทั้งยังไม่ได้แยกข้าราชการประจํา ออกจากข้าราชการการเมือง ทําให้ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งพบว่ามีลักษณะเป็นการประนีประนอมทางอํานาจระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจํา

4 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เนื่องจาก

(1) วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง

(2) วุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง

(3) ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้

(4) วุฒิสมาชิกเป็นนายกรัฐมนตรีได้

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 ผู้ที่ขนานนามว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ คือ

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร

(3) นายธงทอง จันทรางศุ

(4) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(5) นายชัยอนันต์ สมุทวณิช

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

6 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มเเข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

7 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอ คําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราบระชาธิปไตย”เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพกาติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

8 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทของกลุ่มอุดมการณ์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) อาร์พ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้าน การทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

9 ไลออนส์สากล โรตารี ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แค่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางาน ให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากลสมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ยุวสมาคม เจ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เขน ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์

เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

10 ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับ ของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ

(1) กระทรวง

(2) รากหญ้า

(3) ประธานหอการค้า

(4) กรม

(5) ทุกระดับ

ตอบ 5 หน้า 277, (คําบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ในระดับต่าง ๆ กัน เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ (ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือคนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

11 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

12 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมือง คนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลายสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ(สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

13 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืนโดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียวหรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

14 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวม ศูนย์(Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

15 อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และพาสซิสต์ จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือเป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้านทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

16 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์และนาซี) เช่น จีน สาวเวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

17 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมืองหรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

18 ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ปกรณ์ มหรรณพ

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อิทธิพร บุญประคอง

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มี 7 คน ประกอบด้วย ประธาน กกต.ได้แก่ นายอิทธิพร บุญประคอง และกรรมการอีก 6 คน ได้แก่ นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย, นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ และนายฐิติเชฎฐ์ นุชนาฏ

19 ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบขนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่องของสมาชิก

(1) สัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาโครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

20 พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ชอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

21 ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

22 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบ เสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สายใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ

2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

23 พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3, 5 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

24 การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้รมในการป้องกัน แก๊สน้ําตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

25 ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ

(1) นายซูฮาร์ต

(2) นางซูการ์โน บุตรี

(3) นายโจโก วิโดโด

(4) พลเอกปราโบโว สุเบียนโต

(5) นายบัมบัง ยูโตโยโน

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ นายโจโก วิโดโด (Joko Widodo)สังกัดพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียแห่งการต่อสู้ (PDI-P) ซึ่งได้เข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557

26 โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา(รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 102 – 103)

27 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้ง วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup detat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ(Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจและการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช. หลังการทํารัฐประหารปี 2557 คือ

(1) นายเทียนฉาย หอมนันท์

(2) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(3) นายกีระนันทน์ เทียนฉาย

(4) นายสุชา กีระนันทน์

(5) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช. หลังการทํารัฐประหารปี 2557 คือ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ โดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และนางทัศนา บุญทองเป็นรองประธานคนที่ 1 และ 2 ตามลําดับ

32 ข้อครหาใหญ่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติโดนวิจารณ์ในเดือนมีนาคม 2558 คือ

(1) การแต่งตั้งภรรยาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป

(2) การแต่งตั้งคนขับรถเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(3) การแต่งตั้งหัวคะแนนเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(4) การแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สื่อมวลชนได้เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีการแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและ ผู้ช่วยประจําตัว ซึ่งทําให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในการแต่งตั้งเครือญาติ ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ดังนั้นวิป สนช. และวิป สปช. จึงมีมติให้สมาชิกปรับเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยประจําตัวที่เป็นเครือญาติออกจากตําแหน่งทันที

33 ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกหรือไม่

(1) ยังมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ

(2) บังคับใช้เฉพาะสามจังหวัดภาคใต้

(3) บังคับใช้เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล

(4) บังคับใช้เฉพาะจังหวัดที่มีเสื้อแดง

(5) ยกเลิกไปแล้ว

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกาอัยการศึกที่ใช้บังคับทั่วประเทศตามประกาศของกองทัพบกฉบับที่ 1/2557 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 และตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 แต่กฎอัยการศึกในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งบังคับใช้ก่อนวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่จนถึง ปัจจุบัน ไม่ได้ถูกยกเลิกตามกฎอัยการศึกทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว

34 การสั่งยุบพรรคการเมืองเป็นไปตาม “หลักการพื้นฐาน” ว่าด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันหรือไม่

(1) เป็น หากพรรคการเมืองคอร์รัปชัน

(2) เป็น หากนํานโยบายที่ได้หาเสียงไว้ แต่คนกลุ่มหนึ่งคัดค้านว่าทําเพื่อสร้างคะแนนเสียง

(3) ไม่เป็น เพราะพรรคการเมืองเป็นของประชาชนที่มีอุดมการณ์หรือมีแนวคิดทางการเมืองร่วมกัน หากแต่การทําผิดของนักการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องดําเนินการตามกฎหมายเฉพาะบุคคล

(4) เป็น หากนักการเมืองทุจริตในการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสับยุบพรรคการเมืองถือว่าไม่เป็นไปตามหลักการพื้นฐานว่าด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองเป็นที่รวมของ ประชาชนที่มีอุดมการณ์หรือมีแนวความคิดทางการเมืองร่วมกัน แต่ถ้าหากนักการเมืองที่มีตําแหน่งในพรรคการเมืองกระทําผิดก็ต้องดําเนินการตามกฎหมายเฉพาะบุคคลนั้น

35 หากพรรคการเมืองตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นฝ่ายตรวจสอบหรือฝ่ายค้านเพียงอย่างเดียว นับได้ว่าเป็นไปตามหลักการพื้นฐานของระบบพรรคการเมืองในระบบประชาธิปไตยที่ถูกต้องหรือไม่

(1) ถูกต้อง เพราะมีความจําเป็นที่ต้องมีพรรคการเมืองฝ่ายค้านไว้ตรวจสอบรัฐบาล (2) ถูกต้อง เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการแสวงหาอํานาจในการปกครองประเทศ

(3) ไม่ถูกต้อง เพราะพรรคการเมืองต้องมีเป้าหมายสําคัญคือ การชนะการเลือกตั้งเพื่อเป็นรัฐบาล

(4) ไม่ถูกต้อง เพราะพรรคการน็องต้องมีความพร้อมในการเป็นทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน

(5) ถูกเฉพาะข้อ 3 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายตรวจสอบเพียงอย่างเดียวนั้นตามหลักการพื้นฐานของระบบพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแล้วถือว่าไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองต้องมีเป้าหมายสําคัญคือชนะการเลือกตั้งเพื่อเป็นรัฐบาล แต่ถ้า แพ้การเลือกตั้งก็ต้องพร้อมที่จะเป็นฝ่ายค้าน (ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ)

36 การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง คือ

(1) 14 ตุลาคม 2516

(2) 6 ตุลาคม 2519

(3) 26 มีนาคม 2524

(4) 17 – 20 พฤษภาคม 2535

(5) 13 – 20 พฤษภาคม 2553

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือ พฤษภาทมิฬอันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป การเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

37 ศัพท์ทางรัฐศาสตร์เรียกการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมืองว่า

(1) Salamandering

(2) Gerrymandering

(3) Psudo Electionman

(4) Idiocratic Commission

(5) Fraudmandering

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Gerymandering หมายถึง การบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคใดพรรคหนึ่ง เช่น กรณีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดโดยให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกันอยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ทําให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักวิชาการว่ามีการบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง

38 ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ

(1) นุรักษ์ มาประณีต

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) กฤษฎา บุญราช

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ นายนุรักษ์ มาประณีตซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557

39 บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ

(1) ดร.สมภพ โหตระกิตย์

(2) นายชัยวัฒน์ ฤชุพันธุ์

(3) นายมีชัย ฤชุพันธุ์

(4) นายไพศาล พืชมงคล

(5) นายธง แจ่มศรี

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งท่านได้เคยทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521, รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2534, รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549, รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 รวมทั้งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

40 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ

(1) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(2) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(3) นายชลชัย วิชิตพรเพชร

(4) นายไพบูลย์ นิติตะวัน

(5) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัยโดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และนายพีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานคนที่ 1 และ 2

41 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2016 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดใช้เงินในการ หาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ข่าว) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ผู้สมัครที่ใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด คือ นางฮิลลารี คลินตัน (Hilary Clinton) จากพรรคเดโมแครต (ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์) ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งประมาณ 200 ล้านดอลลาร์

42 Donald Trump เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก (2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพเชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

44 ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค

(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด

3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

45 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริม ผลประโยชน์ของชาติ”

46 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่แต่ไม่สามารถดําเนินธุ์ จกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

47 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่เดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social dontract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

49 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็น เรื่องปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และ นาซีที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมือง ที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

50 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ

1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

51 ชนชั้นนํา (Eite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

52 ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

53 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเสาทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1.5 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

54 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

55 หอการค้าสยาม (Siamese Charnber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสําคัญ

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก

(2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2486

56 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่ม เพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง คือกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความ – สามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้สมาคมนักเรียนเก่า เป็นต้น

57 หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

58 ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred w. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

59 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัย อนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ำซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการ ร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง แล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

60 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจน ในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

61 การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้ง เป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศ ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

62 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทะนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

63 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไท่ผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.อน ยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KfMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ“ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

64 ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพ ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ การเมือง ขณะเดียวกันก็มักพบว่ามีกลุ่มแนวคิดอนุรักษนิยมพยายามออกมาต่อต้านประชาธิปไตยดังกล่าว

65 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

66 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest GrCups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกัน ในแงใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลุ่ม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์ มีเป้าหมายที่จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

67 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

68 หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 10 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยื่น บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

69 การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่ (1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) ถึงศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่ถึงศาล เช่น การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. การรับรองหรือไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

70 พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งพ.ศ. 2560 นั้น คณะารรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3 การกําหนดเขตเลือกตั้ง

4 การกําหนดวันเลือกตั้ง และการเลื่อนการเลือกตั้ง

5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ ฯลฯ (ส่วนการเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งเป็นอํานาจของศาลฎีกา)

71 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ

2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน

3 มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอํานาจรัฐ

72 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เสนอนโยบาย

(2) ชี้ขาดข้อพิพาท

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหา และเสนอแนวทางแก้ไข

3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

4 จัดตั้งรัฐบาล

5 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

73 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลมชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ

2 ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องต้องกัน

3 ชวยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอด อํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง

4 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

5 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

6 ช่วยพัฒนาการเมือง

74 ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีจิตวิทยา

(2) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

(3) ทฤษฎีอุดมการณ์

(4) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

(5) ทฤษฎีระบบ

ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ทฤษฎีจิตวิทยา

2 ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

3 ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ

4 ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

5 ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน

6 ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ

7 ทฤษฎีว่าด้วยประติศาสตร์และสถานการณ์

75 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

76 พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริส ดูแวร์เช่ (Maurice Diverger) ได้แบ่งพรรคการเมืองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 พรรคชนชั้น (พรรคดั้งเดิม) เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

2 พรรคมวลชน

3 พรรคแบบผสม (พรรคกึ่งมวลชนถึงชนชั้น)

77 ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหาสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหนวยหรือเซลล์ (Celt) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79 ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus

(2) Branch

(3) Cts

(4) Militia

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ

1แบบคณะกรรมการ (Caucus)

2 แบบสาขา (Branch)

3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)

4 แบบทหาร (Militia)

80 ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่ สามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่าเป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

81 ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยังสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญสังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้งทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

82 พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

83 พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Militia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

84 ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

85 พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาล แล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

86 สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

87 ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

88 ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

(1) สหภาพแรงงาน

(2) สหภาพแรงงานไทย

(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย

(4) สหภาพกรรมกรกลาง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 310 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้

1 สหภาพกรรมกรกลาง

2 สหภาพกรรมกรชาติไทย

3 สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

89 จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์

(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลุ่ม

(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3 เท่านั้น

ตอบ 5 หน้า 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้

1 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

2 เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

3 เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

90 การใช้อิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลได้นําไปปฏิบัติ หากแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นกลุ่มดังกล่าวมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด คือลักษณะของ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอุดมการณ์

(4) ล็อบบี้ยิสต์

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 238 เกรแฮม วัดต้น (Graham Wooton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91 พรรคการเมืองชื่อโบว์น้ําเงินในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือ หลวงวิจิตวาทการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการเลือกตั้ง นคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ําเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

92 นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆจะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ จะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล

93 การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตยเป็นความคิดของ Robert Michels

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิป ตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบ คณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมือง ส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

95 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

96 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคําแนะนําของวุฒิสภา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

97 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

1 เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด

2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา

3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

4 เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยงหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

5 เป็นผู้ประกอบวิช ชีพอิสระ ฯลฯ

98 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

99 สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลาง ทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความ ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปีในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

100 เลขาธิการสํานักงานต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

 

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 เช่น คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

2 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

3 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

4 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็น เรื่องปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และ นาซีที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

5 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ

1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

6 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2016 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดใช้เงินในการหาเสียง เลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ข่าว) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016ผู้สมัครที่ใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด คือ นางฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) จากพรรคเดโมแครต (ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์) ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งประมาณ 200 ล้านดอลลาร์

7 Donald Trump เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึง ประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก (2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพ – เชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

9 ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดยการ

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค

(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด

3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

10 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

11 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4. 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์และนาซี) เช่น จีน ลาวเวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

12 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมืองหรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบอเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

13 ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. และกรรมการอีก 4 คน ได้แก่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร, นายประวิช รัตนเพียร, นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ และนายบุญส่ง น้อยโสภณ (กกต. ชุดนี้จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า กกต. ชุดใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560จะเข้ารับหน้าที่)

14 ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่อง.ของสมาชิก (1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาโครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

15 พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ขอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

16 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

17 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลาย สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

18 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืนโดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียวหรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

19 พรรคการเมืองในประเทศเผด็จการมีบทบาทอย่างไร

(1) ยึดหลักประชาชนเป็นใหญ่

(2) เป็นตัวแทนอุดมการณ์ของกลุ่มคนต่าง ๆ

(3) ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ

ตอบ 5 หน้า 24 ประเทศเผด็จการจะใช้พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือของบุคคลในรัฐบาลเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ และบงการการดําเนินงานของรัฐให้เป็นไปตามอุดมการณ์ที่ถูกกํากับไว้

20 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

21 ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่ง ประเทศเหล่านี้มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

22 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ

2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

23 พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3, 5 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

24 การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกันแก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

25 ประเทศมาเลเซียมีการเลือกตั้งตามกําหนดเวลาทุกครั้งนับตั้งแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2500การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2561 นี้ถือเป็นครั้งที่

(1) ครั้งที่ 10

(2) ครั้งที่ 11

(3) ครั้งที่ 12

(4) ครั้งที่ 13

(5) ครั้งที่ 14

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) การเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซียเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 14 นับตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2500 โดยผลจากการเลือกตั้งปรากฏว่า กลุ่มพรรคพันธมิตรฝ่ายค้าน “ปากาตัน ฮาราปัน” (Pakatan Harapan) ชนะการเลือกตั้ง และดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ได้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซีย

26 โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 102 – 103)

27 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ขอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแคล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup detat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ(Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพรรคการเมือง

(1) เป็นการรวมตัวของปัจเจกบุคคล

(2) มีแนวคิด อุดมการณ์

(3) แสวงหาอํานาจรัฐ

(4) นําเสนอนโยบายในการเลือกตั้ง

(5) ประกอบธุรกิจการค้า

ตอบ 5 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้

1เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ

2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน

3 มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

4.มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอํานาจรัฐ

32 พรรคการเมืองเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

(1) ศตวรรษที่ 16

(2) ศตวรรษที่ 17

(3) ศตวรรษที่ 18

(4) ศตวรรษที่ 19

(5) ศตวรรษที่ 20

ตอบ 4 หน้า 33 พรรคการเมืองในรูปแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นในประเทศยุโรปโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ก่อนแล้วขยายไปสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองใน ระยะเริ่มต้นนี้เป็นเพียงการรวมกลุ่มของพรรคสมาชิกสภาผู้แทนที่มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์ คล้ายคลึงกัน เช่น พวาเสรีนิยม พวกอนุรักษนิยม พวกสาธารณรัฐนิยม พวกประชาธิปไตยนิยม พวกนิยมกษัตริย์ เป็นต้น

33 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(2) ชี้ขาดข้อพิพาทในสังคม

(3) เสนอนโยบาย

(4) เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

(5) จัดตั้งรัฐบาล

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข

3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

4 จัดตั้งรัฐบาล

5 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

34 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ

(3) รักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน

(4) ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ

2 ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องต้องกัน

3 ช่วยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอด อํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง

4 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

5 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

6 ช่วยพัฒนาการเมือง

35 ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

36 ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาล แล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ)นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

37 ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

38 ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 2 หน้า 163 – 165 ระบบหลายพรรค เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองเป็นจํานวนมาก (ตั้งแต่ 3 พรรคขึ้นไป) แต่ละพรรคจะมีความสําคัญและ ได้รับความนิยมจากประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงทําให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สําพัง เพียงพรรคเดียว ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบหลายพรรคในปัจจุบัน เช่น ไทย ฝรั่งเศสเยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

39 พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ความคิดแบบใดที่ถูกจัดว่าเป็นพรรคเคร่งวินัย

(1) คอมมิวนิสต์

(2) เสรีนิยม

(3) อนุรักษนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 34 พรรคคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่เคร่งวินัยและยึดถือความซื่อสัตย์ของสมาชิกพรรคเป็นสิ่งสําคัญ ดังนั้นสมาชิกจึงต้องทํางานและปฏิบัติกิจกรรมตามกฎข้อบังคับของพรรคอย่างเคร่งครัด

40 พรรคการเมืองเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) อิตาลี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

 

41 ข้อใดคือความหมายของพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม

(1) บริหารงานโดยผู้นําพรรคจํานวนน้อย

(2) บริหารงานโดยผู้แทนสาขาพรรค

(3) พรรคที่มีสมาชิกจํานวนน้อย

(4) ไม่รับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกเป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 47, 50 – 52 พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม หมายถึง พรรคการเมืองที่ไม่มีการรับสมาชิกโดยตรง แต่มีสมาชิกที่เป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สหพันธ์ สหกรณ์ องค์การ สมาคม ชมรม ซึ่งคณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของพรรคนี้จะประกอบด้วยผู้แทนที่มาจากองค์การ ดังกล่าว โดยมีหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคและจัดการเรื่องทุนที่จะ ใช้หาเสียง พรรคการเมืองโดยทางอ้อมแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ พรรคสังคมนิยม พรรคคาทอลิกและพรรคชาวไร่ชาวนา

42 ข้อใดไม่ถูกจัดว่าเป็นพรรคการเมืองโดยอ้อม

(1) พรรคสังคมนิยม

(2) พรรคกรีน

(3) พรรคคาทอลิก

(4) พรรคชาวไร่ชาวนา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 พรรคการเมืองใดที่จัดโครงสร้างแบบมิลิเซีย

(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) พรรคแรงงานอังกฤษ

(4) พรรครีพับลิกัน

(5) พรรคฟาสซิสต์

ตอบ 5 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

44 ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองประเภทใดมีบทบาทแข็งขันมากที่สุด

(1) Militant

(2) Member

(3) Supporter

(4) Voter

(5) Sympathizer

ตอบ 1 หน้า 83 – 87 บทบาทของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองมีแตกต่างกัน ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากสุดไปหาน้อยสุดได้ดังนี้

1 ผู้ดําเนินงานพรรค (Nititant)

2 สมาชิกพรรค (Member)

3 ผู้สนับสนุน (Supporter or Sympathizer)

  1. ผู้เลือกตั้ง (Elector or Voter)

45 พรรคการเมืองที่มีชื่อย่อว่า CDบ เป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) เยอรมนี

ตอบ 5 หน้า 166 พรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศเยอรมนี มี 3 พรรค คือ

1 พรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU)

2 พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD)

3 พรรคฟรีเดโมแครตหรือเสรีประชาธิปไตย (FDP)

46 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มเเข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

47 ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนหนังสือหลายเล่ม หนึ่งในนั้น คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย

(3) รัฐ

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) ปากไก่และใบเรือ

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) หนังสือ “ปากไก่และใบเรือ” ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นงานเขียนด้านประวัติศาสตร์ที่ใช้พัฒนาการของวรรณกรรมในการเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านประวัติศาสตร์จากปลายอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์

48 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทของกลุ่มอุดมการณ์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม (1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้าน การทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

49 ไลออนส์สากล โรตารี ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน (1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 หน้า 315 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางาน ให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากลสมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึง ยุวสมาคม (เจ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

50 องค์การนิรโทษกรรมสากลถือเป็นกลุ่มผลักดันประเภท

(1) กลุ่มผลักดันจริง

(2) กลุ่มผลักดันเฉพาะกรณี

(3) กลุ่มผลักดันบางส่วน

(4) กลุ่มผลักดันมวลชน

(5) กลุ่มผลักดันแฝง

ตอบ 4 หน้า 253 – 255 กลุ่มผลักดันมวลชน (Mass Pressure Groups) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ของบุคคลต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างชาติ ต่างภาษา และต่างศาสนา ซึ่งมีเป้าหมายหรือมีอุดมการณ์ เหมือนกัน คือ ต้องการสันติภาพและต่อต้านวิธีแก้ปัญหาของมนุษย์ด้วยวิธีรุนแรง เช่น องค์การนิรโทษกรรมสากล ขบวนการต่อต้านการแบ่งแยกผิวในสหรัฐอเมริกาและแอฟริกา เป็นต้น

 

51 ชนชั้นนํา (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

52 ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1. 5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

53 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

54 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) อาจารย์

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

55 หอการค้าสยาม (Siamese Charmber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสําคัญ

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก (2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลง ในปี พ.ศ. 2486

56 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง คือกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความ สามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้สมาคมนักเรียนเก่าเป็นต้น

57 หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

58 ศ.ดร.เฟรดริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

59 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ําซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการ ร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง แล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

60 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคม โครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ 2540 ให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

 

61 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลุ่ม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups)จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์มีเป้าหมายที่ จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

62 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

63 หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยก็ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 10 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยืน บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

64 การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่ (1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) กึ่งศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่กึ่งศาล เช่น การมีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต.การรับรองหรือไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

65 พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 1 หน้า 329, 406, (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1การตรวจสอบคุณสมบัติ ของนักการเมือง

2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3 การกําหนดเขตเลือกตั้ง

4 การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ ลฯ

66 การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้ง เป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

67 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

68 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไทผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุนยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโคนล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ“ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

69 ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Lemocratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพ ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ การเมือง ขณะเดียวกันก็มักพบว่ามีกลุ่มแนวคิดอนุรักษนิยมพยายามออกมาต่อต้านประชาธิปไตยดังกล่าว

70 ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุม หรือมีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่าเป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

71 ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยั่งสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้งทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

72 พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

73 พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Nititia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

74 ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

75 พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

76 พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ค.มอริส ดูแวร์เช่ (Maurice Duverger) ได้แบ่งพรรคการเมืองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1พรรคชนชั้น (พรรคดั้งเดิม) เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

2 พรรคมวลชน

3 พรรคแบบผสม (พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้น)

77 ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหาสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมากการรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Cel) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79 ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus

(2) Branche

(3) Celle

(4) Militia

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ

1 แบบคณะกรรมการ (Caucus)

2 แบบสาขา (Branch)

3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)

4 แบบทหาร (Mistia)

80 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

 

81 สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

82 ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

83 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หัวหน้าพรรคการเมืองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง ทายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของ พรรคการเมืองต้องเป็นสมาชิกที่มีอายุ

(1) ไม่ต่ํากว่า 40 ปี

(2) ไม่ต่ำกว่า 35 ปี

(3) ไม่ต่ำกว่า 30 ปี

(4) ไม่ต่ำกว่า 25 ปี

(5) ไม่ต่ำกว่า 20 ปี

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 16 กําหนดให้ หัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง ทายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมืองต้องเป็นสมาชิกที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และมีวาระการดํารงตําแหน่งตามที่กําหนดในข้อบังคับแต่ต้องไม่เกินคราวละ 4 ปี

84 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 พรรคการเมืองต้องจัดให้มี การประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละกี่ครั้ง

(1) 1 ครั้ง

(2) 2 ครั้ง

(3) 3 ครั้ง

(4) 4 ครั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 37 กําหนดให้ พรรคการเมืองต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

85 ในการจัดตั้งพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 บุคคลซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกัน และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ต้องมี จํานวนกี่คนจึงอาจร่วมกันดําเนินการเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองได้

(1) 100 คน

(2) 200 คน

(3) 300 คน

(4) 400 คน

(5) ไม่น้อยกว่า 500 คน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 9 กําหนดให้ บุคคลซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกัน และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามจํานวนไม่น้อยกว่า 500 คนอาจร่วมกันดําเนินการเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองได้

86 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาเละนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

87 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เสนอนโยบาย

(2) ชี้ขาดข้อพิพาท

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

88 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

89 ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีจิตวิทยา

(2) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

(3) ทฤษฎีอุดมการณ์

(4) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

(5) ทฤษฎีระบบ

ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ทฤษฎีจิตวิทยา

2 ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

3 ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ

4 ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

5 ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน

6 ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ

7 ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

90 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

 

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคําแนะนําของวุฒิสภา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

92 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 เลขาธิการสํานักงานต้องเป็นผู้มีความเป็นกลาง ทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการเป็น ผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทาง การเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปี ในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

93 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

1 เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด

2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา

3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

4 เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

5 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

95 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหนวยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ

96 พรรคการเมืองขอโบว์แดงในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือ เจ้าพระยารามราฆพ ตอบ 1 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการเลือกตั้ง นคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ําเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

97 นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆจะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาล เข้ามาบริหารประเทศ จะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล การนํานโยบายมาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้นถือเป็นกระบวนการตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย

98 “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตยเป็นความคิดของ Vilfredo Parero

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบ คณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมือง ส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

99 การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

100 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมือง ประจําจังหวัดที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบในเขตเลือกตั้งนั้น

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 47 กําหนดให้ พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัดที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบใน เขตเลือกตั้งนั้น

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2016 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดใช้เงินในการ หาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ข่าว) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ผู้สมัครที่ใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด คือ นางฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) จากพรรคเดโมแครต (ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์) ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งประมาณ 200 ล้านดอลลาร์

2 Donald Trump เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

3 การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก (2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพเชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

4 ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Levelopment) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค

(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด

3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

5 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) สงเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

6 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 เช่น คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

7 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract)สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

9 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็น เรื่องปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และ นาซีที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

10 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ

1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

 

11 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

12 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลาย สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ(สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

13 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืน โดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียวหรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

14 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

15 อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้านทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

16 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์และนาซี) เช่น จีน ลาวเวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

17 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมืองหรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

18 ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. และกรรมการอีก 4 คน ได้แก่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร, นายประวิช รัตนเพียร, นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ และนายบุญส่ง น้อยโสภณ (กกต. ชุดนี้จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า กกต. ชุดใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 จะเข้ารับหน้าที่)

19 ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่องของสมาชิก

(1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาโครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

20 พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ชอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

 

21 ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่ง ประเทศเหล่านี้มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสาได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

22 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตาแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ

2 พวก Roundhead หรือพวก Whies เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

23 พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตตการเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3, 5 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

24 การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสร็จากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกัน แก๊สน้ําตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

25 ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ

(1) นายซูฮาร์โต

(2) นางซูการ์โน บุตรี

(3) นายโจโก วิโดโด

(4) พลเอกปราโบโว สุเบียนโต

(5) นายบัมบัง ยูโดโยโน

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ นายโจโกวิโดโด (Joko Widodo)สังกัดพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียแห่งการต่อสู้ (PDI-P) ซึ่งได้เข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557

26 โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 102 – 103)

27 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น การแสดง

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ(Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจและการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

 

31 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพรรคการเมือง

(1) เป็นการรวมตัวของปัจเจกบุคคล

(2) มีแนวคิด อุดมการณ์

(3) แสวงหาอํานาจรัฐ

(4) นําเสนอนโยบายในการเลือกตั้ง

(5) ประกอบธุรกิจการค้า

ตอบ 5 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ

2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน

3 มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอํานาจรัฐ

32 พรรคการเมืองเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

(1) ศตวรรษที่ 16

(2) ศตวรรษที่ 17

(3) ศตวรรษที่ 18

(4) ศตวรรษที่ 19

(5) ศตวรรษที่ 20

ตอบ 4 หน้า 33 พรรคการเมืองในรูปแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นในประเทศยุโรปโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ก่อนแล้วขยายไปสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองใน ระยะเริ่มต้นนี้เป็นเพียงการรวมกลุ่มของพรรคสมาชิกสภาผู้แทนที่มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์ คล้ายคลึงกัน เช่น พวาเสรีนิยม พวกอนุรักษนิยม พวกสาธารณรัฐนิยม พวกประชาธิปไตยนิยมพวกนิยมกษัตริย์ เป็นต้น

33 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(2) ชี้ขาดข้อพิพาทในสังคม

(3) เสนอนโยบาย

(4) เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

(5) จัดตั้งรัฐบาล

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข

3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

4 จัดตั้งรัฐบาล

5 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

34 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ

(3) รักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน

(4) ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ

2 ช่วยทําให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องต้องกัน 3 ช่วยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอด อํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง

4 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

5 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

6 ช่วยพัฒนาการเมือง

35 ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

36 ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาล แล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ)นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

37 ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

38 ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 2 หน้า 163 – 165 ระบบหลายพรรค เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองเป็นจํานวนมาก (ตั้งแต่ 3 พรรคขึ้นไป) แต่ละพรรคจะมีความสําคัญและ ได้รับความนิยมจากประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงทําให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ลําพัง เพียงพรรคเดียว ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบหลายพรรคในปัจจุบัน เช่น ไทย ฝรั่งเศสเยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

39 พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ความคิดแบบใดที่ถูกจัดว่าเป็นพรรคเคร่งวินัย

(1) คอมมิวนิสต์

(2) เสรีนิยม

(3) อนุรักษนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 34 พรรคคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่เคร่งวินัยและยึดถือความซื่อสัตย์ของสมาชิกพรรคเป็นสิ่งสําคัญ ดังนั้นสมาชิกจึงต้องทํางานและปฏิบัติกิจกรรมตามกฎข้อบังคับของพรรคอย่างเคร่งครัด

40 พรรคการเมืองเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) อิตาลี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

 

41 ข้อใดคือความหมายของพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม

(1) บริหารงานโดยผู้นําพรรคจํานวนน้อย

(2) บริหารงานโดยผู้แทนสาขาพรรค

(3) พรรคที่มีสมาชิกจํานวนน้อย

(4) ไม่รับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกเป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 47, 50 – 52 พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม หมายถึง พรรคการเมืองที่ไม่มีการรับสมาชิกโดยตรง แต่มีสมาชิกที่เป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สหพันธ์ สหกรณ์ องค์การ สมาคม ชมรม ซึ่งคณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของพรรคนี้จะประกอบด้วยผู้แทนที่มาจากองค์การดังกล่าว โดยมีหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคและจัดการเรื่องทุนที่จะ ใช้หาเสียง พรรคการเมืองโดยทางอ้อมนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ พรรคสังคมนิยม พรรคคาทอลิกและพรรคชาวไร่ชาวนา

42 ข้อใดไม่ถูกจัดว่าเป็นพรรคการเมืองโดยอ้อม

(1) พรรคสังคมนิยม

(2) พรรคกรีน

(3) พรรคคาทอลิก

(4) พรรคชาวไร่ชาวนา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 พรรคการเมืองใดที่จัดโครงสร้างแบบมิลิเซีย

(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) พรรคแรงงานอังกฤษ

(4) พรรครีพับลิกัน

(5) พรรคฟาสซิสต์

ตอบ 5 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

44 ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองประเภทใดมีบทบาทแข็งขันมากที่สุด

(1) Militant

(2) Member

(3) Supporter

(4) Voter

(5) Sympathizer

ตอบ 1 หน้า 83 – 87 บทบาทของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองมีแตกต่างกัน ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากสุดไปหาน้อยสุดได้ดังนี้

1 ผู้ดําเนินงานพรรค (Militant)

2 สมาชิกพรรค (Member)

3 ผู้สนับสนุน (Supporter or Sympathizer)

4 ผู้เลือกตั้ง (Elector or Voter)

45 พรรคการเมืองที่มีชื่อย่อว่า CDU เป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) เยอรมนี

ตอบ 5 หน้า 166 พรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศเยอรมนี มี 3 พรรค คือ

1 พรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU)

2 พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD)

3 พรรคพรีเดโมแครตหรือเสรีประชาธิปไตย (FDP)

46 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

47 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย”เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

48 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทของกลุ่มอุดมการณ์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม (1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาชลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชัน ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้าน การทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร, กลุ่มต่อต้านความรุนแรง, กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี, กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

49 ไลออนส์สากล โรตารี ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน (1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางาน ให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากลสมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ยุวสมาคม เจ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

50 ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ

(1) กระทรวง

(2) รากหญ้า

(3) ประธานหอการค้า

(4) กรม

(5) ทุกระดับ

ตอบ 5 หน้า 277, (คําบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ในระดับต่าง ๆ กัน เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ (ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือ คนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

 

51 ชนชั้นนํา (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

52 ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1,5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

53 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

54 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

55 หอการค้าสยาม (Siamese Channber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสําคัญ

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก (2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทในปี พ.ศ. 2486

56 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง คือกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความ สามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ สมาคมนักเรียนเก่าเป็นต้น

57 หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

58 ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred w. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

59 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคม โครงสร้างหลวม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ำซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการ ร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง แล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

60 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคม โครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ 2540 ให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

 

61 การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้ง เป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

62 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อาน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นิละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อาน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

63 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KIMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไท่ผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ“ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

64 ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพ ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ การเมือง ขณะเดียวกันก็มักพบว่ามีกลุ่มแนวคิดอนุรักษนิยมพยายามออกมาต่อต้านประชาธิปไตยดังกล่าว

65 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

66 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups)จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์มีเป้าหมายที่ จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

67 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

68 หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 100 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยืน บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

69 การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่

(1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) กึ่งศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่กึ่งศาลเช่น การมีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การพิจารณา แจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต.การรับรองหรือไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

70 พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 1 หน้า 329, 206, ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งพ.ศ. 2550 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3 การกําหนดเขตเลือกตั้ง

4 การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ ฯลฯ

 

71 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

72 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เสนอนโยบาย

(2) ชี้ขาดข้อพิพาท

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

73 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

74 ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีจิตวิทยา

(2) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

(3) ทฤษฎีอุดมการณ์

(4) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

(5) ทฤษฎีระบบ

ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ทฤษฎีจิตวิทยา

2 ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

3 ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ

4 ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

5 ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน

6 ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ

7 ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

75 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

76 พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริส ดูแวร์เช่ (Maurice Diverger) ได้แบ่งพรรคการเมืองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 พรรคชนชั้น (พรรคดั้งเดิม) เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

2 พรรคมวลชน

3 พรรคแบบผสม (พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้น)

77 ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหาสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Celt) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79 ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus

(2) Branch

(3) Celt

(4) Militia

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ

1 แบบคณะกรรมการ (Caucus)

2 แบบสาขา (Branch)

3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)

4 แบบทหาร (Militia)

80 ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุม หรือมีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่าเป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

 

81 ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยั่งสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้งทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

82 พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

83 พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Militia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

84 ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

85 พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

86 สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

87 ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 5 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

88 ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

(1) สหภาพแรงงาน

(2) สหภาพแรงงานไทย

(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย

(4) สหภาพกรรมกรกลาง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 310 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้

1 สหภาพกรรมกรกลาง

2 สหภาพกรรมกรชาติไทย

3 สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

89 จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์

(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3 เท่านั้น

ตอบ 5 หน้า 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้

1 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

2 เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

3 เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

90 การใช้อิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลได้นําไปปฏิบัติ หากแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นกลุ่มดังกล่าวมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด คือลักษณะของ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอุดมการณ์

(4) ล็อบบี้ยิสต์

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วัดตัน (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

 

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91 พรรคการเมืองขอโบว์น้ําเงินในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือหลวงวิจิตวาทการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการเลือกตั้ง นคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ำเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

92 นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆจะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาล เข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล การนํานโยบายมาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้นถือเป็นกระบวนการตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย 93 การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตยเป็นความคิดของ Robert Michels

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oigarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบ คณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมือง ส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

95 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) ส่งผลให้นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬ และเป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป การเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญฯ 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น ประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

96 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560มาตรา 8 และ 15 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

97 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560มาตรา 10 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

1เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด

2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา

3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

4 เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

5 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

98 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

99 สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560มาตรา 50, 54 และ 555 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็น ผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับ แต่งตั้ง มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปีในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

100 เลขาธิการสํานักงานต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้าราชการท่านใดใช้นามแฝงในขบวนการเสรีไทยเขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง เพื่อเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ

(1) พ.ประเวศ วะสี

(2) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล

(3) นายจํากัด พลางกูร

(4) นายป๋วย อึ้งภากรณ์

(5) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้ใช้นามแฝงสมัยเป็นเสรีไทยว่า เข้ม เย็นยิ่ง เขียนจดหมายจากประเทศอังกฤษถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อเรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอํานาจการปกครองอยู่ในขณะนั้นคืนรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนโดยเร็ว

2 กรณี 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีท่านใดต้องลาออก

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกกฤษณ์ สีวะรา

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร

(5) จอมพลถนอม กิตติขจร

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นถูกเรียกว่า “วันมหาวิปโยค” หรือ“วันมหาประชาปิติ” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จนทําให้ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์นี้ทําให้เกิดแรงกดดันจากพลังทางการเมืองหลายฝ่ายจนทําให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

3 รัฐธรรมนูญฉบับใดถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ

(1) 2515

(2) 2517

(3) 2519

(4) 2520

(5) 2521

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร (นายทหารยังเตอร์ก) เป็นผู้ที่ขนานนามรัฐธรรมนูญฯ2521 ว่าเป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจากได้ให้อํานาจมากแก่วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง อีกทั้งยังไม่ได้แยกข้าราชการประจํา ออกจากข้าราชการการเมือง ทําให้ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งพบว่ามีลักษณะเป็นการประนีประนอมทางอํานาจระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจํา

4 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เนื่องจาก

(1) วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง

(2) วุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง

(3) ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้

(4) วุฒิสมาชิกเป็นนายกรัฐมนตรีได้

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 ผู้ที่ขนานนามว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ คือ

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร

(3) นายธงทอง จันทรางศุ

(4) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(5) นายชัยอนันต์ สมุทวณิช

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

6 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหายุ่งยาก ในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

7 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์ ปราการ

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย”เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

8 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทของกลุ่มอุดมการณ์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้านการทดลอง นิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร, กลุ่มต่อต้านความรุนแรง, กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี,กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

9 ไลออนส์สากล โรตารี ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางานให้แก่ ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เขน สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากลสมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึง ยุวสมาคม (เอ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

10 ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ

(1) กระทรวง

(2) รากหญ้า

(3) ประธานหอการค้า

(4) กรม

(5) ทุกระดับ

ตอบ 5 หน้า 277, (คําบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ในระดับต่าง ๆ กัน เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ (ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือคนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

11 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมัน การสอน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

12 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลาย สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเขาเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ(สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

13 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืนโดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียวหรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

14 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์(Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้ จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

15 อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือเป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

16 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์และนาซี) เช่น จีน ลาว เวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

17 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมืองหรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

18 ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย นายศุภชัย สมเจริญประธาน กกต. และกรรมการอีก 4 คน ได้แก่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร, นายประวิช รัตนเพียร,นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ และนายบุญส่ง น้อยโสภณ

19 ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่องของสมาชิก

(1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาเครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

20 พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ชอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

21 ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่ เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสาได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

22 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ

2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

23 พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3,5 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

24 การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกัน แก๊สน้ําตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของ การชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

25 ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ

(1) นายซูฮาร์โต

(2) นางซูการ์โน บุตรี

(3) นายโจโก วิโดโด

(4) พลเอกปราโบโว สุเบียนโต

(5) นายบัมบัง ยูโดโยโน

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ นายโจโก วิโดโด (Joko Widodo)สังกัดพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียแห่งการต่อสู้ (PDI-P) ซึ่งได้เข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557

26 โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 102 – 103)

27 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ขาว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การ ที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 Coup d’etat จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะแดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจและการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช. หลังการทํารัฐประหารปี 2557 คือ

(1) นายเทียนฉาย หอมนันท์

(2) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(3) นายกีระนันทน์ เทียนฉาย

(4) นายสุชาติ กีระนันทน์

(5) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช. หลังการทํารัฐประหารปี 2557 คือ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ โดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และนางทัศนา บุญทองเป็นรองประธานคนที่ 1 และ 2 ตามลําดับ

32 ข้อครหาใหญ่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติโดนวิจารณ์ในเดือนมีนาคม 2558 คือ

(1) การแต่งตั้งภรรยาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป

(2) การแต่งตั้งคนขับรถเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(3) การแต่งตั้งหัวคะแนนเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(4) การแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สื่อมวลชนได้เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีการแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและ ผู้ช่วยประจําตัว ซึ่งทําให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในการแต่งตั้งเครือญาติ ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ดังนั้นวิป สนช. และวิป สปช. จึงมีมติให้สมาชิกปรับเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยประจําตัวที่เป็นเครือญาติออกจากตําแหน่งทันที

33 ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกหรือไม่

(1) ยังมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ

(2) บังคับใช้เฉพาะสามจังหวัดภาคใต้

(3) บังคับใช้เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล

(4) บังคับใช้เฉพาะจังหวัดที่มีเสื้อแดง

(5) ยกเลิกไปแล้ว

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกฎอัยการศึกที่ใช้บังคับทั่วประเทศตามประกาศของกองทัพบกฉบับที่ 1/2557 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 และตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 แต่กฎอัยการศึกในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งบังคับใช้ก่อนวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ยังคง มีผลบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ได้ถูกยกเลิกตามกฎอัยการศึกทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว

34 การสั่งยุบพรรคการเมืองเป็นไปตาม “หลักการพื้นฐาน” ว่าด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบันหรือไม่

(1) เป็น หากพรรคการเมืองคอร์รัปชั่น

(2) เป็น หากนํานโยบายที่ได้หาเสียงไว้ แต่คนกลุ่มหนึ่งคัดค้านว่าทําเพื่อสร้างกระบอกเสียง

(3) ไม่เป็น เพราะพรรคการเมืองเป็นของประชาชนที่มีอุดมการณ์หรือมีแนวคิดทางการเมืองร่วมกันหากแต่การทําผิดของนักการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องดําเนินการตามกฎหมายเฉพาะบุคคล

(4) เป็น หากนักการเมืองทุจริตในการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสั่งยุบพรรคการเมืองถือว่าไม่เป็นไปตามหลักการพื้นฐานว่าด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองเป็นที่รวมของ ประชาชนที่มีอุดมการณ์หรือมีแนวความคิดทางการเมืองร่วมกัน แต่ถ้าหากนักการเมืองที่มีตําแหน่งในพรรคการเมืองกระทําผิดก็ต้องดําเนินการตามกฎหมายเฉพาะบุคคลนั้น

35 หากพรรคการเมืองตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นฝ่ายตรวจสอบหรือฝ่ายค้านเพียงอย่างเดียว นับได้ว่าเป็นไปตามหลักการพื้นฐานของระบบพรรคการเมืองในระบบประชาธิปไตยที่ถูกต้องหรือไม่

(1) ถูกต้อง เพราะมีความจําเป็นที่ต้องมีพรรคการเมืองฝ่ายค้านไว้ตรวจสอบรัฐบาล (2) ถูกต้อง เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการแสวงหาอํานาจในการปกครองประเทศ

(3) ไม่ถูกต้อง เพราะพรรคการเมืองต้องมีเป้าหมายสําคัญคือ การชนะการเลือกตั้งเพื่อเป็นรัฐบาล

(4) ไม่ถูกต้อง เพราะพรรคการเมืองต้องมีความพร้อมในการเป็นทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน

(5) ถูกเฉพาะข้อ 3 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายตรวจสอบเพียงอย่างเดียวนั้นตามหลักการพื้นฐานของระบบพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแล้วถือว่าไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองต้องมีเป้าหมายสําคัญคือชนะการเลือกตั้งเพื่อเป็นรัฐบาล แต่ถ้าแพ้การเลือกตั้งก็ต้องพร้อมที่จะเป็นฝ่ายค้าน (ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ)

36 การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง คือ

(1) 14 ตุลาคม 2516

(2) 6 ตุลาคม 2519

(3) 26 มีนาคม 2524

(4) 17 – 20 พฤษภาคม 2535

(5) 13 – 20 พฤษภาคม 2553

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) ส่งผลให้นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬ และเป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป การเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญฯ 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

37 ศัพท์ทางรัฐศาสตร์เรียกการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมืองว่า

(1) Salamandering

(2) Gerrymandering

(3) Psudo Electionman

(4) Idiocratic Commission

(5) Fraudmandering

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Gerrymandering หมายถึง การบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคใดพรรคหนึ่ง เช่น กรณีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดโดยให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน อยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ทําให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักวิชาการว่ามีการบิดเบือนเขตเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง

38 ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ

(1) นุรักษ์ มาประณีต

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) กฤษฎา บุญราช

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ นายนุรักษ์ มาประณีตซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557

39 บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ

(1) ดร.สมภพ โหตระกิตย์

(2) นายชัยวัฒน์ ฤชุพันธุ์

(3) นายมีชัย ฤชุพันธุ์

(4) นายไพศาล พืชมงคล

(5) นายธง แจ่มศรี

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งท่านได้เคยทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฯ 2521, รัฐธรรมนูญฯ 2534,รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2549, รัฐธรรมนูญฯ 2550 รวมทั้งรัฐธรรมนูญฯ 2560

40 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ

(1) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(2) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(3) นายชลชัย วิชิตพรเพชร

(4) นายไพบูลย์ นิติตะวัน

(5) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัยโดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และนายพีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานคนที่ 1 และ 2

41 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2016 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดใช้เงินในการ หาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ข่าว) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016ผู้สมัครที่ใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด คือ นางฮิลลารี คลินตัน (Hilary Clinton) จากพรรคเดโมแครต (ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์) ส่วนโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งประมาณ 200 ล้านดอลลาร์

42 Donald Trump เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก (2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพเชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และ ศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

44 ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค

(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด

3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

45 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

46 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

47 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract)สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

49 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 230, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสารพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็น เรื่องปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และ นาซีที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

50 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบันให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ

1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

 

51 ชนชั้นนํา (Eite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

52 ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

53 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

54 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

55 หอการค้าสยาม (Siamese Charmber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสําคัญ เมื่อปีพ.ศ. 2476

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก (2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2486

56 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่ม เพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง คือกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความ สามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้สมาคมนักเรียนเก่า ฯลฯ

57 หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

58 ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจ การเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการ นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

59 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ำซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง แล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

60 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ 2540 ให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

 

61 การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 – 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้ง เป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

62 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 2.3 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

63 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไท่ผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุนยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ “ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

64 ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพ ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองขณะเดียวกันก็มักพบว่ามีกลุ่มแนวคิดอนุรักษนิยมพยายามออกมาต่อต้านประชาธิปไตยดังกล่าว

65 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

66 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแงใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลุ่ม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 237 กรมผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups)จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์มีเป้าหมายที่ จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

67 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

68 หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 10 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยื่น บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

69 การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่

(1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) กึ่งศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่กึ่งศาล เช่น การมีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. การรับรองหรือไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

70 พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 1 หน้า 329, 406, (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3 การกําหนดเขตเลือกตั้ง

4 การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ ฯลฯ

 

71 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์กร

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิดหรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน

3 มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล

72 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เสนอนโยบาย

(2) ชี้ขาดข้อพิพาท

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข

3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

4 จัดตั้งรัฐบาล

5 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

73 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ

2 ช่วยทําให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องต้องกัน

3 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

4 ช่วยพัฒนาการเมือง ฯลฯ

74 ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีจิตวิทยา

(2) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

(3) ทฤษฎีอุดมการณ์

(4) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

(5) ทฤษฎีระบบ

ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีจิตวิทยา ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ ทฤษฎีทางการจัดองค์การ ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ ฯลฯ

75 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

76 พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.ดูแวร์เช่ ได้แบ่งพรรคการเมืองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 พรรคชนชั้น (พรรคดั้งเดิม) เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

2 พรรคมวลชน

3 พรรคแบบผสม (พรรคกึ่งมวลชนถึงชนชั้น)

77 ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหาสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยย่อยหรือเซลล์ (Cell) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79 ข้อใดไม่ใช่องค์กรเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus

(2) Branch

(3) Cell

(4) Militia

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56 องค์กรเบื้องต้น (Basic Elements) ของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ

1 Caucus (แบบคณะกรรมการ)

2 Branch (แบบสาขา)

3 Celt (แบบหน่วยย่อยหรือแบบเซลล์)

4 Militia (แบบทหาร)

80 ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุม หรือมีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่าเป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

 

81 ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยั่งสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้งทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

82 พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค ซึ่งพรรคการเมืองลักษณะนี้จะพบได้ในพรรคการเมืองแบบฟาสซิสต์ เช่น พรรคนาซีของเยอรมัน ฯลฯ

83 พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์กรเบื้องต้นแบบ Militia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 หน้า 68 – 69 พรรคการเมืองที่มีการจัดองค์กรเบื้องต้นแบบ Militia (แบบทหาร) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองกําลังส่วนตัว (ของพรรค) ได้แก่ พรรคฟาสซิสต์ ซึ่งจะปรากฏในเยอรมันสมัยฮิตเลอร์และในอิตาลีสมัยมุสโสลินี

84 ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมือง ที่เป็น ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันในการเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียง ลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในปัจจุบัน ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เป็นต้น

85 พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 145, 147 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยพรรคการเมืองในประเทศ ที่มีระบบสองพรรค เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน ฯลฯ

86 สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

87 ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 5 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

88 ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

(1) สหภาพแรงงาน

(2) สหภาพแรงงานไทย

(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย

(4) สหภาพกรรมกรกลาง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 310 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้

1 สหภาพกรรมกรกลาง

2 สหภาพกรรมกรชาติไทย

3 สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

89 จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์

(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3 เท่านั้น

ตอบ 5 หน้า 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้

1 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

2 เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

3 เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

90 การใช้อิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลได้นําไปปฏิบัติ หากแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นกลุ่มดังกล่าวมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด คือลักษณะของ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอุดมการณ์

(4) ล็อบบี้ยิสต์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วัดต้น (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

 

ข้อ 91. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91 14 ตุลาคม 2516 เป็นการยุติบทบาทการเมืองฝ่ายประชาชนและทําให้เกิดความหวาดระแวงในสังคมไทยจนต้องมีการนิรโทษกรรมจึงผ่อนคลาย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่และกลุ่มที่รัฐให้ การสนับสนุนได้เข้าไปจับกุมและสังหารนักศึกษาและประชาชนภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งกําลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจร ออกนอกประเทศ จนทําให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นการ ยุติบทบาทของการเมืองแบบมีส่วนร่วมประชาชนและทําให้เกิดความหวาดระแวงในสังคมไทยจนต้องมีการนิรโทษกรรมเหตุการณ์จึงผ่อนคลาย

92 สโมสรไลออนส์นานาชาติเป็นกลุ่มอุดมการณ์ทางการเมือง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

93 การชุมนุมบนท้องถนนเป็นสิทธิในการแสดงความเห็นและมีส่วนร่วมทางการเมืองรูปแบบหนึ่งของสังคมประชาธิปไตย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐ/สังคมประชาธิปไตยถือว่าการชุมนุมบนท้องถนนเป็นสิทธิในการแสดงความเห็นและมีส่วนร่วมทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง เพราะรัฐ/สังคมประชาธิปไตยได้ให้สิทธิ พื้นฐานแก่ประชาชนในการชุมนุมทางการเมืองเพื่อแสดงความเห็นหรือเรียกร้องให้รัฐบาล ดําเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ตราบเท่าที่การกระทํานั้นเป็นไปอย่างสันติและไม่เกินขอบเขต ของกฎหมาย ซึ่งตรงกันข้ามกับรัฐ/สังคมเผด็จการที่ไม่สนับสนุนการชุมนุมบนท้องถนนเพราะถือว่าเป็นการแตกความสามัคคีและเป็นการสร้างความวุ่นวายให้กับสังคม

94 สิทธิการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยของคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดไม่ควรเท่าเทียมกัน เพราะคนกรุงเทพฯ มีความรู้มากกว่าคนต่างจังหวัด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยถือว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่จํากัดว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในเมืองหรือชนบท เพศใด ศาสนาใด การศึกษา ระดับใด ฐานะความเป็นอยู่เป็นอย่างไร โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนจะมีสิทธิคนละ1 เสียง (One Man One Vote) และคะแนนเสียงทุกคะแนนจะมีความสําคัญเท่ากัน

95 การเมืองแบบพ่อขุนอุปถัมภ์ หมายถึง ระบบอํานาจสการเมืองที่อยู่ในกลุ่มชนชั้นนํา ในขณะที่ประชาชนไม่มีอํานาจใด ๆ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ ได้ขนานนามการเมืองการปกครองของไทยในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ว่าเป็น “ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์” แบบเผด็จการ ซึ่งเป็นผลมาจาก มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองฯ 2502 ที่ให้อํานาจนายกรัฐมนตรีแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ในการใช้อํานาจทั้งอํานาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ดังนั้นจึงถือว่าการเมืองแบบ พ่อขุนอุปถัมภ์เป็นการเมืองที่มีฐานอํานาจคับแคบมาก เพราะอํานาจเด็ดขาดจะตกอยู่ที่ ตัวนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นฐานแห่งอํานาจเผด็จการ

96 พรรคการเมืองชื่อโบว์น้ําเงินในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือหลวงวิจิตวาทการ ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรด ให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการ เลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมี พรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ําเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

97 นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆ จะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมาก ในสภาแสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อ รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้ บรรลุผล การนํานโยบายมาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้นถือเป็นกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตยและถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย

98 การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก ไม่เป็นไปตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

99 “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตยเป็นความคิดของ Robert Michels

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบ คณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมือง ส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

100 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดเป็นลักษณะของพรรคการเมืองอเมริกัน

(1) มีการรวมตัวกันตามชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม

(2) มีการจัดองค์กรแบบรวมศูนย์

(3) มีการฝึกกองกําลังคอยอารักขาหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหาร

(4) มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 42 พรรคการเมืองอเมริกันมีลักษณะเป็นพรรคชนชั้นเหมือนในยุโรป คือ มีการจัดองค์กรแบบรวมศูนย์อํานาจไว้ที่ส่วนกลาง ไม่ต้องการสมาชิกจํานวนมากแต่ต้องการบุคคลที่มีชื่อเสียง โครงสร้างพรรคหลวม มีภารกิจทางการเมืองอย่างเดียวก็คือการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา โดยการส่งสมาชิกของพรรคเข้าสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษหรือมีความโดดเด่น ในเรื่องของการกําหนดระบบการเลือกตั้งชั้นต้น (System of Primary Election) หรือการทดสอบคะแนนเสียง (Prevoting) หรือการหยั่งเสียงก่อนเลือกผู้สมัครอีกด้วย

2 พรรคการเมืองใดเป็นพรรครัฐบาลอเมริกันในปัจจุบัน

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) พรรคการเมืองที่เป็นพรรครัฐบาลของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน (ปี 2559)คือ พรรคเดโมแครต ซึ่งมีนายบารัค โอบามา เป็นประธานาธิบดี (ส่วนพรรคการเมืองที่จะเป็น พรรครัฐบาลต่อจากพรรคเดโมแครต โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2560 เป็นต้นไป คือ พรรครีพับลิกัน ซึ่งมีนายโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี)

3 เหตุใดจึงต้องจํากัดวงเงินบริจาคให้แก่พรรคการเมือง

(1) เพื่อรักษาดุลยภาพทางสังคมระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ให้มีโอกาสเข้าถึงพรรคที่ตนชื่นชอบ

(2) เพื่อประกันความเป็นอิสระของพรรคการเมือง

(3) เพื่อป้องกันมิให้พรรคถูกครอบงําจากกลุ่มธุรกิจ

(4) เพื่อให้พรรคสามารถเลือกรับบริจาคจากกลุ่มที่สนับสนุนนโยบายอย่างเปิดเผย (5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญของการจํากัดวงเงินบริจาคให้แก่พรรคการเมืองก็คือ เพื่อป้องกันมิให้พรรคถูกครอบงําจากกลุ่มธุรกิจ ซึ่งต้องการเข้ามามีอํานาจต่อรองผลประโยชน์ภายในพรรคอันเป็นผลนําไปสู่การทําลายอุดมการณ์หรือนโยบายที่แท้จริงของพรรค

4 ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค

(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด

3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

5 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

6 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหารได้มีผลทําให้ รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภาสิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆทางการเมืองได้

7 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฏนั้นกดขี่เรา และทําให้เรามีเสรีภาพได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวดนั่นเอง

9 อุดมการณ์หรือแนวคิดใด้เชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) เสรีนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมืองสมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็น เรื่องปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และนาซี ที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

10 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ 1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างกระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

11 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาให้เยอรมันมีความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

12 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลาย สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันต์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ(สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

13 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืน โดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการ หรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่างสํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียว หรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความ สนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

14 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

15 อุดมการณ์คใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือเป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้านทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

16 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์และนาซี) เช่น จีน ลาว เวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

17 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมืองหรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

18 ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) นายศุภชัย สมเจริญ

(3) นายประวิช รัตนเพียร

(4) นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) นางอมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. และกรรมการอีก 4 คน ได้แก่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร, นายประวิช รัตนเพียร,นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ และนายบุญส่ง น้อยโสภณ

19 ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรค เพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่องของสมาชิก (1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษา โครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของสมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิกนั่นเอง

20 พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ชอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรคจะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

21 ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม-เสาเศรษฐกิจ-เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม -เสาประเพณี เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ-เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม-เสาธุรกิจ เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

22 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ ก

1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ

2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัส

23 พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) คอยเป็นรัฐบาล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

24 การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกัน แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

25 ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ

(1) นายซูฮาร์โต

(2) นางซูการ์โน บุตรี

(3) นายโจโก วิโดโด

(4) พลเอกปราโบโว สุเบียนโต

(5) นายบัมบัง ยูโดโยโน

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ นายโจโก วิโดโด (Joko Widodo)สังกัดพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียแห่งการต่อสู้ (PDI-P) ซึ่งได้เข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557

26 โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 หน้า 396 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 2550 มาตรา 4 บัญญัติว่า “วันเลือกตั้ง” คือ วันที่กําหนดให้เป็นวันเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว. แล้วแต่กรณี

27 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Reginne) หรือโครงสร้างของรัฐ แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดได้ยากกว่ารัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475

29 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจและการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือ

(1) ดร.สมภพ โหตระกิตย์

(2) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(3) พระพุทธะอิสระ

(4) นางสุชาดา กีระนันทน์

(5) นายธง แจ่มศรี

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นสภาที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ. 2557 มาตรา 27 มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ โดยมี นายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธาน ซึ่งปัจจุบันสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ถูกยุบไปแล้วตาม รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 38 โดยมีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทําหน้าที่แทน

32 ข้อครหาใหญ่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติโดนวิจารณ์ในเดือนมีนาคม 2558 คือ

(1) การแต่งตั้งภรรยาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป

(2) การแต่งตั้งคนขับรถเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(3) การแต่งตั้งหัวคะแนนเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(4) การแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สื่อมวลชนได้เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีการแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและ ผู้ช่วยประจําตัว ซึ่งทําให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในการแต่งตั้งเครือญาติ ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ดังนั้นวิป สนช. และวิป สปช. จึงมีมติให้สมาชิกปรับเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ และผู้ช่วยประจําตัวที่เป็นเครือญาติออกจากตําแหน่งทันที

33 ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกหรือไม่

(1) ยังมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ

(2) บังคับใช้เฉพาะสามจังหวัดภาคใต้

(3) บังคับใช้เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล

(4) บังคับใช้เฉพาะจังหวัดที่มีเสื้อแดง

(5) ยกเลิกไปแล้ว

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกฎอัยการศึกที่ใช้บังคับทั่วประเทศตามประกาศของกองทัพบกฉบับที่ 1/2557 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 และตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 แต่กฎอัยการศึกในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งบังคับใช้ก่อนวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ได้ถูกยกเลิกตามกฎอัยการศึกทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว

34 ปัจจุบันประเทศไทยยังมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อยู่หรือไม่

(1) มี และแยกไปบริหารในกระทรวงต่าง ๆ

(2) มี แต่พ้นหน้าที่ราชการเพราะเกษียณไปแล้ว

(3) หมดสภาพไปแล้ว แต่สามารถกลับคืนสู่อํานาจได้เมื่อจําเป็น

(4) หมดสภาพไปตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันประเทศไทยยังมี คสช. และสมาชิกของ คสช. ยังได้รับการแต่งตั้งให้ไปบริหารในกระทรวงต่าง ๆ เช่น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

35 ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2560 ตามโรดแม็ปของ คสช. หรือไม่ (1) ไม่รู้ไม่แน่นอน

(2) ไม่รู้ ต้องรอการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก่อน

(3) ไม่รู้ ต้องรอหัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรีหารือกันก่อน

(4) มีการเลือกตั้งในปี 2560

(5) เฉพาะข้อ 2 และ 4

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ตามโรดแม็ปของ คสช. ที่กําหนดจะให้มีการเลือกตั้งภายในปี 2560 นั้น ปัจจุบันยังไม่แน่นอนว่าจะมีการเลือกตั้งตามที่กําหนดไว้หรือไม่ เพราะต้องรอให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่เพิ่งผ่านประชามติไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ประกาศใช้ก่อน และรอให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเสร็จก่อนจึงจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้

36 การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง คือ

(1) 14 ตุลาคม 2516

(2) 6 ตุลาคม 2519

(3) 26 มีนาคม 2524

(4) 17 – 20 พฤษภาคม 2535

(5) 13 – 20 พฤษภาคม 2553

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ส่งผลให้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ต้องพ้นจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลพวงจากการ ยึดอํานาจดังกล่าวได้นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬ และการก่อตัวของกระแสปฏิรูปการเมืองและร่างรัฐธรรมนูญฯ 2540

37 ศัพท์ทางรัฐศาสตร์เรียกการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมืองว่า

(1) Salamandering

(2) Gerrymandering

(3) Psudo Electionman

(4) Idiocratic Commission

(5) Fraudmandering

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Gerrymandering หมายถึง การบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคใดพรรคหนึ่ง เช่น กรณีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มจังหวัดโดยให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน อยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ทําให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักวิชาการว่ามีการบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง

38 ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ

(1) นายนุรักษ์ มาประณีต

(2) นายศุภชัย สมเจริญ

(3) นายประวิช รัตนเพียร

(4) นายกฤษฎา บุญราช

(5) นางอมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ นายนุรักษ์ มาประณีตซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557

39 บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ

(1) ดร.สมภพ โหตระกิตย์

(2) พระยาอรรถการีย์นิพนธ์

(3) นายมีชัย ฤชุพันธุ์

(4) นายไพศาล พืชมงคล

(5) นายธง แจ่มศรี

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งท่านได้ทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฯ 2521, รัฐธรรมนูญฯ 2534, รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2549 และรัฐธรรมนูญฯ 2550

40 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ

(1) นายพรเพชร วิชิตชลชัย การประลอง

(2) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(3) พระพุทธะอิสระ

(4) นางสุชาดา กีระนันทน์

(5) นายธง แจ่มศรี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นรองประธานคนที่ 1 และนายพีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานคนที่ 2

41 ข้าราชการท่านใดใช้นามแฝงในขบวนการเสรีไทยเขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง เพื่อเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ

(1) น.พ.ประเวศ วะสี

(2) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล

(3) นายจํากัด พลางกูร

(4) นายป่วย อึ้งภากรณ์

(5) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้ใช้นามแฝง สมัยเป็นเสรีไทยว่า เข้ม เย็นยิง เขียนจดหมายจากประเทศอังกฤษถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อเรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอํานาจการปกครอง อยู่ในขณะนั้นคืนรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนโดยเร็ว

42 กรณี 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีท่านใดต้องลาออก

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกกฤษณ์ สีวะรา

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร

(5) จอมพลถนอม กิตติขจร

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นถูกเรียกว่า “วันมหาวิปโยค” หรือ “วันมหาประชาปิติ” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จนทําให้ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์นี้ทําให้เกิดแรงกดดันจากพลังทางการเมือง หลายฝ่ายจนทําให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

43 รัฐธรรมนูญฉบับใดถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ

(1) 2515

(2) 2517

(3) 2519

(4) 2520

(5) 2521

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร เป็นผู้ที่ขนานนามรัฐธรรมนูญฯ 2521 ว่าเป็น“ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจาก กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง ไม่ได้แยกข้าราชการประจําออกจากการเมือง ทําให้ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งพบว่ามีลักษณะเป็นการประนีประนอมทางอํานาจระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจํานั้นเอง

44 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เนื่องจาก (1) วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง

(2) วุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง

(3) ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้

(4) วุฒิสมาชิกเป็นนายกรัฐมนตรีได้

(5) เฉพาะข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

45 ผู้ที่ขนานนามว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ คือ

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร

(3) นายธงทอง จันทรางศุ

(4) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(5) นายชัยอนันต์ สมุทวณิช

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

46 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

47 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย”เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง อๆรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

48 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทของกลุ่มอุดมการณ์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้านการทดลอง นิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

49 ไลออนส์สากล โรตารี ปอเต็กตั้ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางานให้แก่ ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากล สมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ยุวสมาคม เจ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

50 ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ

(1) กระทรวง

(2) รากหญ้า

(3) ประธานหอการค้า

(4) กรม

(5) ทุกระดับ

ตอบ 5 หน้า 277, (คําบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ในระดับต่าง ๆ กัน เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ (ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือคนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

51 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิดเห็นหรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน 3 มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล

52 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เสนอนโยบาย

(2) ชี้ขาดข้อพิพาท

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข

3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับ องค์การของรัฐ

4 จัดตั้งรัฐบาล

5 เป็นพรรคฝ่ายค้าน

6 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามี ส่วนร่วมในทางการเมือง

53 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ

2 ช่วยทําให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องต้องกัน 3 ช่วยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอด อํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง

4 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

5 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

6 ช่วยพัฒนาการเมือง

54 ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีจิตวิทยา

(2) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

(3) ทฤษฎีอุดมการณ์

(4) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

(5) ทฤษฎีระบบ

ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ทฤษฎีจิตวิทยา

2 ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

3 ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ

4 ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

5 ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน

6 ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

7 ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ

55 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคการเมืองในประเทศตะวันตกและประเทศที่เป็นสังคมอุตสาหกรรมก้าวหน้า รวมทั้งญี่ปุ่น ได้เริ่มให้ความสําคัญต่ออุดมการณ์ของ พรรคการเมืองน้อยลง จึงทําให้พรรคการเมืองมีลักษณะเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ เนื่องจากพรรคการเมืองได้ปรับปรุงอุดมการณ์ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้นเพื่อหวังจะได้รับเลือกตั้งมากที่สุด

56 พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40 พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นรูปแบบพรรคการเมืองที่มีความเป็นมายาวนานที่สุดโดยเป็นพรรคการเมืองของชนชั้นสูงที่มีการรวมกลุ่มกันโดยมีบุคคลคนเดียวมีอิทธิพลเหนือทุกคน ซึ่งโดยมากมักจะเป็นกลุ่มขุนนางที่มีอํานาจในราชสํานักยุโรปโดยมีแม่ทัพเป็นผู้นํา ดังนั้นสมาชิก ของพรรคจึงประกอบไปด้วยบุคคลที่มีฐานะดีในสังคม มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลในทางเศรษฐกิจ เช่น ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์ มีเกียรติยศ มีทรัพย์สมบัติ ผู้มีอิทธิพลในวงการค้าและธุรกิจ เป็นต้น

57 ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 พรรคมวลชนแบบสังคมนิยม มีความมุ่งหมายที่จะรวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เนื่องจากจํานวนสมาชิกมีความหมายอย่างมากในการเป็นพลังสําคัญในการ ช่วยเหลือพรรคในการรณรงค์หาเสียงและการหาทุน

58 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 – 66 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Celt) เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1 แบบหน่วยโรงงาน (Workplace Cells) ประกอบด้วยสมาชิกของพรรคที่ทํางานประกอบกิจการแห่งเดียวกัน ซึ่งจะปรากฏอยู่ตามเมืองหรือนครใหญ่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่

2 แบบหน่วยท้องถิ่น (Area Celts) เป็นการรวมตัวกันโดยยึดภูมิลําเนา

59 ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus

(2) Branche

(3) Cell

(4) Militia

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ

1 แบบคณะกรรมการ (Caucus)

2 แบบสาขา (Branch)

3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)

4 แบบทหาร (Militia)

60 ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมหรือพรรคคอนเซอร์เวทีฟ (Conservative Party) ของอังกฤษ เป็นผู้ที่มีอํานาจอย่างมากในพรรค โดยจะอยู่ในตําแหน่งหัวหน้าพรรคตราบเท่าที่ สามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค หัวหน้าพรรคจะเป็นผู้คัดเลือก บุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่าเป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

61 ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยั่งเสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานหรือพรรคเลเบอร์ (Labour Party) ของอังกฤษนั้น ได้มาจากการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค ซึ่งการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะมีการแบ่งคะแนนเสียง ภายในพรรคออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1 ตัวแทนสาขาพรรค คิดคะแนนเป็นร้อยละ 30

2 ตัวแทนสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภา คิดคะแนนเป็นร้อยละ 30

3 ตัวแทนสหพันธ์แรงงาน คิดคะแนนเป็นร้อยละ 40

62 พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์ และพรรคนาซี

63 พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Militia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน ตอบ 2 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหาร (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิก ทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

64 ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครั้ง เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

65 พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 145, 147 – 143, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่ง 3 ได้แก่ มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชนในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาล แล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ ฟิจิ เป็นต้น

66 สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทยเพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ำซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง และก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะการรัฐประหารไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้และประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

67 ข้อใดคือหนึ่งในหลักหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 5 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

68 ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

(1) สหภาพแรงงาน

(2) สหภาพแรงงานไทย

(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย

(4) สหภาพกรรมกรกลาง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 310 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้

1 สหภาพกรรมกรกลาง

2 สหภาพกรรมกรชาติไทย

3 สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

69 ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์

(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้

1 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

2 เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

3 เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

70 การแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาลแต่ปฏิเสธความรับผิดชอบในองค์การของรัฐคือลักษณะของ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอุดมการณ์

(4) ลอบบี้ยิสต์

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วัดต้น (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

71 ชนชั้นนํา (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

72 ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1,5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

73 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผล้าดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1,5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

74 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

75 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก เมื่อปี พ.ศ.

(1) 2475

(2) 2476

(3) 2484

(4) 2486

(5) 2499

ตอบ 2 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2486

76 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง คือกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อส่งเสริมความสามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ สมาคมนักเรียนเก่า เป็นต้น

77 หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

78 ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว, ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

79 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

80 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ 2540 ให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

81 การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้งเป็น สหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครองประเทศ อยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

82 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

83 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไท่ผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้ง เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ“ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

84 ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพ ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองขณะเดียวกันก็มักพบว่ามีกลุ่มแนวคิดอนุรักษนิยมพยายามออกมาต่อต้านประชาธิปไตยดังกล่าว

85 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

86 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลุ่ม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 – 239, 244, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน(Pressure Groups) นั้น จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่ กลุ่มผลประโยชน์มีเป้าหมายที่จะนําปัญหาของตนไปสู่รัฐบาล หรือกระทําการเรียกร้อง ข้อเสนอของตนโดยผ่านสถาบันของรัฐบาลเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายสาธารณะกลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพล

87 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

88 หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 10 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยืน บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

89 การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่ (1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) กึ่งศาล

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5)ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่กึ่งศาลเช่น การมีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต.การรับรองหรือไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

90 พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 1 หน้า 329, 406, (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3 การกําหนดเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ

4 การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ ฯลฯ

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

 

91 14 ตุลาคม 2516 เป็นการยุติบทบาทของฝ่ายประชาชนและทําให้เกิดความหวาดระแวงในสังคมไทยจนต้องมีการนิรโทษกรรมจึงผ่อนคลาย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่และกลุ่มที่รัฐให้ การสนับสนุนได้เข้าไปจับกุมและสังหารนักศึกษาและประชาชนภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งกําลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจร ออกนอกประเทศ จนทําให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นการ ยุติบทบาทของการเมืองแบบมีส่วนร่วมประชาชนและทําให้เกิดความหวาดระแวงในสังคมไทยจนต้องมีการนิรโทษกรรมเหตุการณ์จึงผ่อนคลาย

92 สโมสรไลออนส์นานาชาติเป็นกลุ่มอุดมการณ์ทางการเมือง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

93 การชุมนุมบนท้องถนนเป็นสิทธิในการแสดงความเห็นและมีส่วนร่วมทางการเมืองรูปแบบหนึ่งของสังคมประชาธิปไตย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐ/สังคมประชาธิปไตยถือว่าการชุมนุมบนท้องถนนเป็นสิทธิในการแสดงความเห็นและมีส่วนร่วมทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง เพราะรัฐ/สังคมประชาธิปไตยได้ให้สิทธิ พื้นฐานแก่ประชาชนในการชุมนุมทางการเมืองเพื่อแสดงความเห็นหรือเรียกร้องให้รัฐบาล ดําเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ตราบเท่าที่การกระทํานั้นเป็นไปอย่างสันติและไม่เกินขอบเขต ของกฎหมาย ซึ่งตรงกันข้ามกับรัฐ/สังคมเผด็จการที่ไม่สนับสนุนการชุมนุมบนท้องถนนเพราะถือว่าเป็นการแตกความสามัคคีและเป็นการสร้างความวุ่นวายให้กับสังคม

94 สิทธิการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยของคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดไม่ควรเท่าเทียมกัน เพราะคนกรุงเทพฯ มีความรู้มากกว่าคนต่างจังหวัด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยถือว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่จํากัดว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในเมืองหรือชนบท เพศใด ศาสนาใด การศึกษา ระดับใด ฐานะความเป็นอยู่เป็นอย่างไร โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนจะมีสิทธิคนละ 1 เสียง (One Man One Vote) และคะแนนเสียงทุกคะแนนจะมีความสําคัญเท่ากัน การ

95 การเมืองแบบพ่อขุนอุปถัมภ์เป็นการเมืองที่มีฐานอํานาจในหมู่ชนชั้นนําเท่านั้น ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ ได้ขนานนามการเมืองการปกครองของไทยในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ว่าเป็น “ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์” แบบเผด็จการ ซึ่งเป็นผลมาจาก มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองฯ 2502 ที่ให้อํานาจนายกรัฐมนตรีแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ในการใช้อํานาจทั้งอํานาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ดังนั้นจึงถือว่าการเมืองแบบ พ่อขุนอุปถัมภ์เป็นการเมืองที่มีฐานอํานาจคับแคบมาก เพราะอํานาจเด็ดขาดจะตกอยู่ที่ ตัวนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นฐานแห่งอํานาจเผด็จการนั่นเอง

96 พรรคการเมืองชื่อโบว์น้ําเงินในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือหลวงวิจิตรวาทการ ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรด ให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการ เลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมี พรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ําเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

97 ความแตกต่างของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองมีข้อดีหรือมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆจะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน หากประชาชน ตัดสินใจเลือกนโยบายของพรรคการเมืองใดแสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้น เป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและ นํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล ดังนั้นการนํานโยบายมาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองจึงเป็นกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตยและถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย

98 การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก ไม่เป็นไปตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ

99 “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตยเป็นความคิดของ Robert Michels

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบ คณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมือง ส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

100 6 ตุลาคม 2519 เป็นวันที่เรียกว่าวันมหาประชาปิติ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 Vox Populi, Vox Dei หมายถึง

(1) เสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์

(2) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

(3) เสียงของประชาชนไม่ใช่เสียงสวรรค์

(4) เสียงสวรรค์ต้องอยู่เหนือประชาชน

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือหลักการสําคัญที่ว่า “อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน” (Popular Sovereignty) ซึ่งตรงกับคํากล่าวในภาษาลาตินว่า “Vox Populi, Vox Dei” หรือ “เสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์” กล่าวคือ ประชาชนมีอํานาจอธิปไตย และ มอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทําหน้าที่แทนตน ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอํานาจของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

2 ตัวอย่างผู้นําแบบบารมี (Charisma) ได้แก่

(1) บารัค โอบามา

(2) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

(3) สฤษดิ์ ธนะรัชต์

(4) จอห์น เอฟ. เคนเนดี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้นําแบบบารมี (Charisma) คือ ผู้นําที่ใช้บุคลิกภาพและความสามารถพิเศษของตนเป็นเครื่องมือกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ผู้อื่นทําตามด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งตัวอย่าง ของผู้นําแบบบารมี ได้แก่ บารัค โอบามา, จอห์น เอฟ. เคนเนดี้, อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้น

3 การสร้างระบบคุณธรรม (Merit System) เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบ (1) ระบบกองทัพ

(2) ภาคธุรกิจ

(3) การศึกษา

(4) ระบบราชการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การสร้างระบบคุณธรรม (Merit System) เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบราชการ โดยระบบคุณธรรมได้ถูกนํามาใช้ในระบบราชการไทยครั้งแรกในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ซึ่งประกอบด้วยหลักการสําคัญ 4 ประการ คือ หลักความสามารถ (Competence) หลักความเสมอภาค (Equality) หลักความมั่นคง(Security) และหลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

4 การปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่เกิดขึ้นในรัชสมัยของ

(1) รัชกาลที่ 4

(2) รัชกาลที่ 5

(3) รัชกาลที่ 6

(4) รัชกาลที่ 7 มกราคม

(5) รัชกาลที่ 8

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5) ซึ่งมีการปฏิรูปที่สําคัญ ๆ เช่น การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา ราชการแผ่นดินและสภาองคมนตรี การจัดตั้งเทศาภิบาล การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์การยกเลิกระบบจตุสดมภ์ การยกเลิกระบบไพร่และทาส เป็นต้น

5 นิยายข้อใดสะท้อนรัฐตํารวจได้ดี

(1) Animal Farm

(2) 1984

(3) 80 วันรอบโลก

(4) The Brave New World

(5) Lord of the Flies

ตอบ 2 (คําบรรยาย) จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) นักเขียนชาวอังกฤษ ได้แต่งนิยายเรื่อง “1984” เพื่อสะท้อนถึงรัฐตํารวจ (Police State) ซึ่งเป็นรัฐเผด็จการที่จับตาสอดส่องประชาชน ในรัฐ รวมทั้งข่มขู่ หรือทําร้าย หรือใช้กองกําลังสังหารคนที่มีความเห็นแตกต่าง

6 หลักการเรื่องธรรมาภิบาลประกอบด้วย

(1) โปร่งใส รวดเร็ว ประหยัด

(2) โปร่งใส รับผิดชอบ ไม่เชลียร์

(3) โปร่งใส รับผิดชอบ รวดเร็ว

(4) รับผิดชอบ คุณธรรม ประสิทธิภาพ

(5) โปร่งใส รับผิดชอบ ประสิทธิภาพ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐ (Good Governance) ประกอบด้วย

1 ความโปร่งใส (Transparency)

2 ความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Accountability)

3 ประสิทธิภาพ (Efficiency)

7 ผู้นําการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 สู่สยาม คือ

(1) นักเรียนนอกจากอเมริกา

(2) สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จากจีน

(3) พวกเก๊กเหม็ง

(4) คณะราษฎร

(5) กลุ่มซอยราชครู

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 สู่สยามเกิดจาก “คณะราษฎร”ซึ่งประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการ และพลเรือน ทําการยึดอํานาจการปกครองจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ กษัตริย์หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ รัฐธรรมนูญ หรือระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่ง ม.จ.วรรณไวทยากร เรียกการ เปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ว่า “การปฏิวัติ” ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)เรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ว่า “การอภิวัฒน์”

8 การสิ้นสุดอํานาจของคณะราษฎรอาจจะนับได้จาก

(1) รัฐประหาร พ.ศ. 2490

(2) การจี้จอมพล ป. บนเรือแมนฮัตตัน

(3) การระดมยิงไปฝ่ายกบฏวังหลวง

(4) การสังหารสี่รัฐมนตรีอีสาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ถือว่าเป็นการยุติบทบาทหรือสิ้นสุดอํานาจของ “คณะราษฎร” ในการเมืองไทยร่วมสมัย เมื่อกลุ่มทหารนอกราชการที่นําโดย จอมพลผิน ชุณหะวัณ ยึดอํานาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ (ซึ่งสืบอํานาจต่อจาก รัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์) โดยการรัฐประหารในครั้งนี้ถือเป็นการขจัดกลุ่มอํานาจเก่าของนายปรีดีให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง แม้จะมีความพยายามกลับมาทํากบฏวังหลวงในปี 2492 แต่ก็ไม่สําเร็จ

9 หัวหน้ากลุ่มซอยราชครู คือ

(1) หมอเหล็ง ศรีจันทร์

(2) จอมพลผิน ชุณหะวัณ

(3) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(4) หลวงวิจิตรวาทการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กลุ่มซอยราชครู ประกอบด้วย จอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้า, พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์, พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร และ ร.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นตัวแทนของอํานาจกลุ่มในการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งกลุ่มนี้ได้เข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยตั้งแต่การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490และสิ้นสุดอํานาจหลังการรัฐประหาร 16 กันยายน 2500

10 หลวงวิจิตรวาทการมีบทบาทสําคัญในการกําหนดนโยบาย

(1) ค่าเงินบาท

(2) ละครปลุกใจรักชาติ

(3) การต่อสู้กับฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์

(4) การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลี่ยง วัฒนปฤดา) เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการแต่งเพลงและละครปลุกใจให้ประชาชนเกิดความรักชาติตามนโยบายชาตินิยมในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยได้แต่งละครไว้ 24 เรื่อง และแต่งเพลงประมาณ 150 เพลง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันจนทุกวันนี้ เช่น ละครเรื่องเลือดสุพรรณ ศึกถลาง ราชมนู เจ้าหญิงแสนหวี น่านเจ้า และเพลงปลุกใจรักชาติ เช่น ตื่นเถิดชาวไทย รักเมืองไทย ใต้รมองเทย รักชาติ และต้นตระกูลไทยเป็นต้น

11 การรัฐประหารเดือนกันยายน พ.ศ. 2500 เป็นการสิ้นอํานาจของกลุ่มการเมืองใด (1) นายปรีดี พนมยงค์

(2) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(3) นายควง อภัยวงศ์

(4) ซอยราชครู

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

12 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พยายามแยกตัวเองออกจากยุคปฏิวัติโดยคณะราษฎรมาเป็นยุค

(1) อภิวัฒน์

(2) รัฐประหาร

(3) พัฒนา

(4) เลี้ยงสุกร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พยายามแยกตัวเองออกจากยุคปฏิวัติโดยคณะราษฎรมาเป็น “ยุคพัฒนา” โดยได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุงการบริหารและการพัฒนา ประเทศไว้มากมาย เช่น การออกกฎหมายเลิกการเสพและจําหน่ายผืนโดยเด็ดขาด กฎหมาย ปราบปรามพวกนักเลงอันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี และที่สําคัญที่สุดก็คือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาทําการศึกษา ค้นคว้าวิจัยจนกระทั่งได้จัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 2509)ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน

13 รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยครึ่งใบ หมายถึง

(1) ฉบับ 2521

(2) ฉบับ 2534

(3) ฉบับ 2540

(4) ฉบับ 2549

(5) ฉบับ 2557

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร เป็นผู้ที่ขนานนามรัฐธรรมนูญฯ 2521 ว่าเป็น“ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจาก กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง ไม่ได้แยกข้าราชการประจําออกจากการเมือง ทําให้ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งพบว่ามีลักษณะเป็นการประนีประนอมทางอํานาจระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจํานั่นเอง

14 ลักษณะ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว คือ

(1) การคงอํานาจของผู้นํากองทัพต่อ

(2) สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง

(3) นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง

(4) สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง

(5) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางส่วนมาจากการแต่งตั้ง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

15 การรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 มีลักษณะพิเศษคือ เป็นรัฐประหารเพื่อ

(1) เพื่อยืดอายุบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ

(2) เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็ว

(3) ขยายอายุราชการให้ทหารบางคน

(4) ยืดอายุสภานิติบัญญัติ

(5) ส้มร่างรัฐธรรมนูญ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้การนําของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ซึ่ง ทางคณะปฏิรูปฯ ได้ประกาศชัดว่า เป็นรัฐประหารเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็ว และได้แต่งตั้ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรี

16 รัฐบาลหอย หมายถึง รัฐบาลยุค

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

(5) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับฉายาว่า “รัฐบาลหอย” เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ได้รับการปกป้องจากทหารหรือมีทหารคอยคุ้มภัย ซึ่งเปรียบเสมือนเปลือกหอยคอยคุ้มครองตัวหอยนั้นเอง

17 หลัง 14 ตุลาคม 2516 พรรคการเมืองที่ถือสโลแกน “ขวาพิฆาตซ้าย” คือ

(1) พรรคประชาธิปัตย์

(2) พรรคสังคมนิยม

(3) พรรคก้าวหน้า

(4) พรรคชาติไทย

(5) พรรคมวลชน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลัง 11 ตุลาคม 2516 พรรคชาติไทยของ พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร(ยศในขณะนั้น) ได้ใช้คําขวัญ “ขวาพิฆาตซ้าย” ในการลงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519

18 ข้อใดเป็นปัจจัยที่ทําให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีความกล้าแข็งหลัง 14 ตุลาคม 2516

(1) การสังหารผู้นําชาวไร่ชาวนา

(2) การไล่ล่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

(3) การตั้งกลุ่มกระทิงแดง

(4) การสังหารประชาชนวันที่ 6 ตุลาคม 2519

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) มีความกล้าแข็ง หลัง 14 ตุลาคม 2516 คือ

1 การไล่ล่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง การสังหารผู้นําชาวไร่ชาวนา การกวาดจับนักศึกษาและกรรมกรจํานวนมาก)

2 การกล่าวหานักศึกษาและประชาชน ด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์

3 การคุกคามต่อขบวนการนักศึกษาและประชาชน โดยมีการตั้ง มวลชนหลายกลุ่มขึ้นมาต่อต้าน เช่น กลุ่มกระทิงแดง กลุ่มนวพล และกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน

4 การสังหารนักศึกษาและประชาชนเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ฯลฯ

19 นโยบายที่ 66/2523 ประกาศใช้ในสมัยรัฐบาล

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย(พ.ศ. 2523 – 2531) และในแต่ละสมัยก็พ้นจากตําแหน่งด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยสมัยแรกนั้น พล.อ.เปรม ได้ผลักดันนโยบาย “การเมืองนำการทหาร” ซึ่งปรากฏออกมา ในรูปนโยบาย 66/2523 และ 66/2525 เพื่อยุติการทําสงครามสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยกับฝ่ายรัฐบาล ผลพวงจากนโยบายดังกล่าวทําให้นักศึกษาที่หนีเข้าป่า ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เพื่อจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาล ได้มีโอกาสหวนมาเดินบนหนทางแห่งสันติภาพอีกครั้ง

20 นายกรัฐมนตรีท่านใดพ้นจากตําแหน่งด้วยการลาออกกลางสภาผู้แทนราษฎร

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่พ้นจากตําแหน่งด้วยการลาออกกลางสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากการที่รัฐบาลตัดสินใจเพิ่มราคาค่าน้ํามันตามราคาตลาดโลก ซึ่งทําให้หลายฝ่ายได้รับความเดือดร้อนและโจมตี

21 นายกรัฐมนตรีท่านใดพ้นจากตําแหน่งด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

22 นายกรัฐมนตรีท่านใดพ้นจากตําแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) ส่งผลให้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ต้องพ้นจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลพวงจากการ ยึดอํานาจดังกล่าวได้นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535หรือพฤษภาทมิฬ และการก่อตัวของกระแสปฏิรูปการเมืองและร่างรัฐธรรมนูญฯ 2540

23 มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เป็นการร่างตามอย่างของธรรมนูญการปกครองฉบับใด

(1) พ.ศ. 2502

(2) พ.ศ. 2511

(3) พ.ศ. 2517

(4) พ.ศ. 2521

(5) พ.ศ. 2540

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 44 ได้ให้อํานาจหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เหนืออํานาจของฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี) นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่งเป็นการร่างตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองฯ พ.ศ. 2502 ที่กําหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถใช้อํานาจได้ทั้งอํานาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการร่วมกัน

24 การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 กระทําโดยคณะ

(1) กปปส.

(2) รสช.

(3) คสช.

(4) คมช.

(5) คณะปฏิรูป

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

25 นายกรัฐมนตรีท่านใดกระทําการรัฐประหารยึดอํานาจจากรัฐบาลตัวเอง

(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(2) จอมพลถนอม กิตติขจร

(3) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) จอมพลถนอม กิตติขจร ทําการรัฐประหารยึดอํานาจจากรัฐบาลตัวเองเมื่อปลายปี พ.ศ. 2514 โดยมีสาเหตุสืบเนื่องจากการที่สมาชิกพรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอม ไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่จอมพลถนอมได้เคยสัญญาไว้ในช่วงการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 จึงทําให้ ส.ส. เหล่านี้ได้ต่างพากันเรียกร้องต่าง ๆ นานา บ้างก็ขู่ว่าจะลาออก เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้จอมพลถนอมหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรี ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ ในสภาฯ ได้จึงทําการยึดอํานาจตัวเอง โดยไม่มีชื่อเรียกคณะรัฐประหารในครั้งนี้โดยเฉพาะเหมือนการรัฐประหารที่เคยมีมาในอดีต แต่เรียกตัวเองเพียงแค่ว่า “คณะปฏิวัติ”

26 ความพยายามของนายปรีดี พนมยงค์ และคณะที่จะก่อรัฐประหาร คือกรณี

(1) กบฏวังหลวง

(2) กบฎแมนฮัตตัน

(3) กบฏเมษาฮาวาย

(4) กบฏแช่แข็งประเทศไทย

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 (คําบรรยาย) กบฏ (Rebellion) คือ ความพยายามยึดอํานาจหรือก่อการรัฐประหารที่ล้มเหลวซึ่งในประวัติศาสตร์ไทยมีกบฏที่สําคัญ ๆ เช่น กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ 2492) นําโดย นายปรีดี พนมยงค์ และคณะ, กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494) นําโดย น.อ.อานนท์ ปุณฑริกาภา และ น.ส.มนัส จารุภา, กบฏเมษาฮาวายหรือกบฏยังเตอร์ก (1-3 เมษายน 2524)นําโดย พล.อ.สัณฑ์ จิตรปฏิมา และกลุ่มทหารยังเตอร์ก เป็นต้น

27 นายกรัฐมนตรีท่านใดที่ต้องว่ายน้ำหนีจากการถูกจับเป็นตัวประกัน

(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(2) จอมพลถนอม กิตติขจร

(3) หลวงธํารงนาวาสวัสดิ์

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องว่ายน้ำหนีจากการถูกจับเป็นตัวประกันในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2494 โดย น.ต.มนัส จารุภา ได้จี้จับตัว จอมพล ป. ขณะเป็นประธานรับมอบเรือขุดแมนฮัตตันที่ท่าเรือราชวรดิษฐแล้วนําไปคุมขังไว้ที่ เรือหลวงศรีอยุธยา จนกระทั่งเครื่องบินกองทัพอากาศได้ทิ้งระเบิดใส่เรือหลวงจนอับปาง จอมพล ป. จึงว่ายน้ำหนีออกมาได้อย่างปลอดภัย

28 งานวิจัยเรื่อง “ทบทวนภูมิทัศน์ทางการเมืองไทย” พยายามอธิบายว่า

(1) วงจรอุบาทว์หมดจากการเมืองไทยแล้ว

(2) ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์เสื่อมลง

(3) มีคนชั้นกลางใหม่ในหัวเมือง

(4) อํามาตย์ไม่มีจริง

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) งานวิจัยเรื่อง “ทบทวนภูมิทัศน์ทางการเมืองไทย” โดย ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย,ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร และ รศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ อธิบายว่า มีคนชั้นกลางใหม่ในหัวเมือง (ชนบท) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง บุคคลเหล่านี้มีรายได้ประมาณ 4,000 – 10,000 บาท ต่อเดือน เป็นระดับรายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ จึงไม่ต้องพึ่งพาความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ทําให้ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ในชนบทนั้นเสื่อมลง

29 ผู้นําคณะรัฐประหารที่ก่อการรัฐประหารยึดอํานาจถึงสองครั้ง คือ

(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(2) จอมพลถนอม กิตติขจร

(3) หลวงธํารงนาวาสวัสดิ์

(4) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(5) พลเรือเอกสงัด ชลออยู่

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เป็นผู้นําคณะรัฐประหารที่ก่อการรัฐประหารยึดอํานาจถึงสองครั้ง คือ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ยึดอํานาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ยึดอํานาจรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ)

30 การรัฐประหารที่ล้มเหลว เรียกว่า

(1) คณะกู้ชาติ

(2) กบฎ

(3) สหาย

(4) ฮีโร่ป๊อปคอร์น

(5) คณะปฏิรูป

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

31 พลเอกสุจินดา คราประยูร ถูกโจมตีหลังรับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2535 ด้วยข้อหา

(1) ตระบัดสัตย์

(2) ทรยศชาติ

(3) งูเห่า

(4) พลิ้วไหวเหมือนสายน้ำ

(5) คืนความสุข

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2535 พรรคสามัคคีธรรม ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งเพื่อรองรับบทบาทของทหาร (คณะ รสช.) หลังรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ได้จํานวน ส.ส. ในสภามากที่สุด จึงเลือกนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรค เข้ารับตําแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากนายณรงค์ถูกสหรัฐอเมริกาขึ้นบัญชีดํา ไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ จึงเลือก พล.อ.สุจินดา คราประยูร เข้ารับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ทําให้พล.อ.สุจินดาถูกโจมตีว่า “ตระบัดสัตย์” เนื่องจากเคยยืนยันว่าจะไม่รับตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

32 ตัวแทนของอํานาจกลุ่มซอยราชครู ได้แก่

(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(2) จอมพลผิน ชุณหะวัณ

(3) พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร

(4) พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

33 การมีสมาชิกสภาผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อเป็นความพยายามจะแก้ปัญหาใด

(1) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(2) พ่อขุนอุปถัมภ์

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) ข้อ 4 และ 5

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ 2540 ให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

34 การปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 นําไปสู่ความพยายามแรกเพื่อเปิดทางสู่การร่างรัฐธรรมนูญด้วยการ

(1) แก้ไขรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.

(2) แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา

(3) แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ

(4) แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการทําประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ได้นําไปสู่ความพยายามแรกเพื่อเปิดทางสู่การร่างรัฐธรรมนูญฯ 2540 ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ 2534 มาตรา 211 ในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากหลายสาขาอาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ

35 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

36 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืนโดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียวหรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

37 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

38 อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

39 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์ และนาซี) เช่น จีน ลาว เวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

40 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2 ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมือง ที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็น บ้านเมือง หรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

41 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎนั้นกดขี่เรา และทําให้เรามีเสรีภาพได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใคร เสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวดนั่นเอง

42 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) เสรีนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และนาซี ที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

43 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ

1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

44 ประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ-เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม-เสาประเพณี-เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม-เสาระหว่างประเทศ-เสาการเมืองและความมั่นคง (4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม-เสาธุรกิจ-เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคม และวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

45 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาให้เยอรมันมีความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

46 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลาย สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้กล่าวถึงพรรคการเมืองในประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1770 ว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

47 การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 เกิดในยุค

(1) พล.อ.อาทิตย์ กําลังเอก

(2) นายชวน หลีกภัย

(3) นายบรรหาร ศิลปอาชา

(4) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

48 การประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 หน้า 396 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 2550 มาตรา 4 บัญญัติว่า “วันเลือกตั้ง” คือ วันที่กําหนดให้เป็นวันเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว. แล้วแต่กรณี

49 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

50 ในเดือนมีนาคม 2557 มีการเลือกตั้งมีสมาชิกวุฒิสภา แต่การรัฐประหารทําให้วุฒิสภา

(1) วุฒิสภาสิ้นสุดลง

(2) แปรสภาพเป็นสมัชชาแห่งชาติ

(3) แปรสภาพเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(4) แปรสภาพเป็นสภาปฏิรูป

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหารได้มีผลทําให้ รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภาสิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

ตั้งแต่ข้อ 51 – 80 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิดเอาเอง

 

51 จอมพลถนอม กิตติขจร ทํารัฐประหารตัวเองเมื่อปลายปี พ.ศ. 2511

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

52 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรมที่ประเทศญี่ปุ่น

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2507 ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

53 กรณี 14 ตุลาคม 2516 เป็นการยุติบทบาทการเมืองฝ่ายประชาชนและทําให้เกิดความหวาดระแวงในสังคมไทยจนต้องมีการนิรโทษกรรมจึงผ่อนคลาย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่และกลุ่มที่รัฐให้ การสนับสนุนได้เข้าไปจับกุมและสังหารนักศึกษาและประชาชนภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งกําลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจร ออกนอกประเทศ จนทําให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นการ ยุติบทบาทของการเมืองแบบมีส่วนร่วมประชาชนและทําให้เกิดความหวาดระแวงในสังคมไทยจนต้องมีการนิรโทษกรรมเหตุการณ์จึงผ่อนคลาย

54 วิทยุยานเกราะเป็นกลุ่มจัดตั้งทางการเมืองและปลุกความเกลียดชังนักศึกษาและประชาชนหลัง 14 ตุลาคม 2516

ตอบ 1 (คําบรรยาย) วิทยุยานเกราะเป็นกลุ่มจัดตั้งทางการเมืองและปลุกความเกลียดชังนักศึกษาและประชาชนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งวิทยุยานเกราะได้สร้างกระแสความเกลียดชังนักศึกษาและปลุกระดมให้กลุ่มกระทิงแดง นวพล และลูกเสือชาวบ้านสังหารนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอ้างว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์

55 รัฐเผด็จการไม่สนับสนุนการชุมนุมบนท้องถนน เพราะถือว่าเป็นการแตกความสามัคคีและเป็นการสร้างความวุ่นวาย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐประชาธิปไตยถือว่าการชุมนุมบนท้องถนนเป็นสิทธิในการแสดงความเห็นและมีส่วนร่วมทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง เพราะรัฐประชาธิปไตยได้ให้สิทธิพื้นฐานแก่ประชาชน ในการชุมนุมทางการเมืองเพื่อแสดงความเห็นหรือเรียกร้องให้รัฐบาลดําเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ ตราบเท่าที่การกระทํานั้นเป็นไปอย่างสันติและไม่เกินขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งตรงกันข้ามกับ รัฐเผด็จการที่ไม่สนับสนุนการชุมนุมบนท้องถนน เพราะถือว่าเป็นการแตกความสามัคคีและเป็นการสร้างความวุ่นวายให้กับสังคม

56 การสลายการชุมนุมในเหตุการณ์ความไม่สงบในเดือนพฤษภาคม 2535 ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 เกิดความรุนแรงขึ้นเพราะคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งนําโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ต้องการสืบทอดอํานาจโดยการตั้ง พรรคสามัคคีธรรม และให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. จึงทําให้เกิดการประท้วงและนําไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน เพื่อเรียกร้องให้ พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตําแหน่ง โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้รัฐบาลได้ใช้กําลังทหาร และตํารวจเข้าสลายการชุมนุมจนเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนผู้ชุมนุม ทําให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก และเหตุการณ์ได้สิ้นสุดเมื่อ พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

57 หนึ่งในหลักหกประการของคณะราษฎรคือจะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 5 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

58 พรรคชาติไทยเป็นพรรคการเมืองของกลุ่มนายบรรหาร ศิลปอาชา ตั้งแต่ยุคแรก ตอบ 2 (คําบรรยาย) พรรคชาติไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2517 โดยในยุคแรกนั้นเป็นพรรคการเมืองของกลุ่มซอยราชครูนําโดย พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร, พล.ต.ศิริ สิริโยธิน และพล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) ส่วนนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยตั้งแต่ปี 2537 จนกระทั่งพรรคถูกยุบในปี 2551 เนื่องจากกรณีทุจริตการเลือกตั้ง

59 การเมืองแบบพ่อขุนอุปถัมภ์เป็นการเมืองที่มีฐานอํานาจคับแคบมาก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ ได้ขนานนามการเมืองการปกครองของไทยในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ว่าเป็น “ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์” แบบเผด็จการ ซึ่งเป็นผลมาจาก มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองฯ 2502 ที่ให้อํานาจนายกรัฐมนตรีแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ในการใช้อํานาจทั้งอํานาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ดังนั้นจึงถือว่าการเมืองแบบ พ่อขุนอุปถัมภ์เป็นการเมืองที่มีฐานอํานาจคับแคบมาก เพราะอํานาจเด็ดขาดจะตกอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นฐานแห่งอํานาจเผด็จการนั่นเอง

60 การเมืองหลังพฤษภาคม 2535 ทําให้สังคมไทยแบ่งแยกกลุ่มการเมืองออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มพรรคเทพ-กลุ่มพรรคมาร

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเมืองในช่วงก่อนเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 นั้น ทําให้สังคมไทยแบ่งแยกกลุ่มการเมืองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพรรคเทพและกลุ่มพรรคมาร โดยกลุ่มพรรคเทพได้ประกาศตัว เป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ซึ่งประกอบด้วย 4 พรรคการเมือง คือ พรรคความหวังใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังธรรม และพรรคเอกภาพ ส่วนกลุ่มพรรคมารได้ให้การสนับสนุนการดํารงตําแหน่งดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย 5 พรรคการเมือง คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร

61 พรรคพลังธรรมเป็นพรรคที่ก่อตั้งเพื่อรองรับบทบาทของทหาร หลังรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

62 6 ตุลาคม 2519 เป็นวันที่เรียกว่าวันมหาประชาปิติ

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นถูกเรียกว่า “วันมหาวิปโยค” หรือ“วันมหาประชาปิติ” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จนทําให้ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์นี้ทําให้เกิดแรงกดดันจากพลังทางการเมืองหลายฝ่ายจนทําให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

63 แรงกดดันทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่งในความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่หากระบบการเมืองสนองตอบไม่ได้ จะเกิดการพังทลายทางการเมือง (Political Decay)

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดการพัฒนาการเมืองของแซมมวล ฮันติงตัน (Samuel Huntington) นั้น แรงกดดันทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้เกิดความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชน หากระบบการเมืองสนองตอบได้จะทําให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง (Political Stability) แต่หากระบบการเมืองสนองตอบไม่ได้จะทําให้เกิดการผุกร่อนทางการเมืองหรือ

การพังทลายทางการเมือง (Political Decay)

64 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 ได้มีการทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยและพรรคการเมืองเพื่อเป็นการเรียกว่าคณะเสือป่า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง กําหนดให้มี พรรคการเมือง 2 พรรค มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย

65 หัวหน้า คสช. มีอํานาจเหนือนายกรัฐมนตรี

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

66 ในการดําเนินการประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2559 มาตรา 39/1 กําหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการดําเนินการจัดให้มีการ ออกเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฯ 2559 ทั้งนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กําหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติ

67 ไม่เคยมีข่าวว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ตั้งลูกและภรรยาเป็นผู้ช่วยปฏิบัติงานเลย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สื่อมวลชนได้เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีการแต่งตั้งลูก ภรรยา และเครือญาติเป็นผู้ช่วย ปฏิบัติงานในตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยประจําตัว ซึ่งทําให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึง ความไม่เหมาะสม ดังนั้นวิป สนช. และวิป สปช. จึงมีมติให้สมาชิก สนช. และ สปช. ปรับเปลี่ยน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยประจําตัวที่เป็นลูก ภรรยา และเครือญาติออกจากตําแหน่งทันที

68 สมาชิกสภาปฏิรูปชุดแรกหมดสภาพไปแล้วเนื่องจากการล้มร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) สมาชิกสภาปฏิรูปชุดแรกหมดสภาพไปแล้วเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2558 เนื่องจากการล้มร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่งผลทําให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องพ้นจากตําแหน่งไปด้วย

69 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มีความมาตรา 44 ให้อํานาจหัวหน้า คสช. เหนือนายกรัฐมนตรี

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

70 สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบันมีวาระเหลืออีกเพียงหนึ่งปี

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบัน เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เพื่อทําหน้าที่รัฐสภา โดยวาระการดํารงตําแหน่ง จะเป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่เนื่องจากในปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อยู่ในขั้นตอนของการจัดทํา ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับ จึงไม่อาจสรุปได้ว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบันจะเหลือวาระการดํารงตําแหน่งอีกกี่ปี

71 ในทางทฤษฎีแล้ว การตั้งข้าราชการและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยุคปัจจุบันเป็นการย้อนทวนสู่การเมืองไทยยุคอํามาตยาธิปไตย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีแล้ว การตั้งข้าราชการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะรัฐมนตรียุคปัจจุบันนั้น เป็นการย้อนทวนสู่การเมืองยุคอํามาตยาธิปไตย (Bureaucratic Polity) ซึ่งจะเห็นได้จากสังคมไทยในอดีต เช่น ยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

72 ในยุครัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้มี พ.ร.บ. นิรโทษกรรมกรณี 6 ตุลาคม เพื่อการปรองดอง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในยุครัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้มี พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทําการรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เพื่อการปรองดอง ซึ่งมิใช่ครั้งแรกที่มีการนิรโทษกรรม ให้แก่ผู้กระทําการรัฐประหาร/ปฏิวัติเพื่อยึดอํานาจการปกครอง ในประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปัจจุบันมีการออก พ.ร.บ. เพื่อนิรโทษกรรมให้แก่ ผู้กระทําการรัฐประหาร/ปฏิวัติมาแล้วหลายครั้ง เช่น ยุครัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ นิรโทษกรรม แก่ผู้กระทําการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490, ยุครัฐบาลนายพจน์ สารสิน นิรโทษกรรมแก่ ผู้กระทําการรัฐประหาร 16 กันยายน 2500, ยุครัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทําการรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 เป็นต้น

73 ในทัศนะทางวิชาการ นักรัฐศาสตร์บางท่านเห็นว่าภาคราชการ โดยเฉพาะกองทัพไทยมีลักษณะเป็น “พรรคการเมือง” ที่มีความเป็นสถาบันการเมืองสูงกว่าหน่วยอื่น ๆ ตอบ 1 (คําบรรยาย) นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ภาคราชการโดยเฉพาะกองทัพไทยได้เข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยมาโดยตลอด จึงทําให้นักรัฐศาสตร์ บางท่านเห็นว่าภาคราชการ โดยเฉพาะกองทัพไทยมีลักษณะเป็น “พรรคการเมือง” ที่มี ความเป็นสถาบันการเมืองสูงกว่าหน่วยอื่น ๆ

74 ตามโรดแม็ปเดิมของ คสช. จะคืนอํานาจให้มีการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2558

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ตามโรดแม็ปเดิมของ คสช. นั้นจะคืนอํานาจให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในปี 2558 แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ เนื่องจากไม่สามารถร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้เสร็จตามแผนที่กําหนดไว้

75 อํานาจของ คสช. ก่อนมีรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มีสถานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) อํานาจของ คสช. ทั้งก่อนและหลังมีรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557มีสถานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign) คือ ผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

76 จากคําพิพากษาในหลายกรณี สะท้อนว่ามีการยอมรับว่ารัฏฐาธิปัตย์คือคณะรัฐประหาร

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากการรัฐประหารในหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมาของไทย และจากคําพิพากษาในหลาย ๆ กรณี สะท้อนว่ามีการยอมรับว่ารัฏฐาธิปัตย์คือคณะรัฐประหาร แม้แต่ศาลก็มิอาจก้าวล่วงไปพิจารณาพิพากษาเอาผิดแก่คณะรัฐประหารได้

77 ในทางทฤษฎี โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบันเป็นการเมืองแบบประชาธิปไตย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ในทางทฤษฎี โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบันมิใช่การเมืองแบบประชาธิปไตย เนื่องจากขาดโครงสร้างในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะเห็นได้จากการใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหาร (รัฐบาล) ซึ่งไม่มีความเชื่อมโยงกับ ประชาชน หากแต่เป็นอํานาจเบ็ดเสร็จของ คสช. เท่านั้น แม้จะมีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 3 ที่ระบุว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยแต่ในความเป็นจริงในรายละเอียดกลับไม่ได้เป็นดังที่กล่าวไว้

78 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันควบตําแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พ้นจากตําแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 โดยผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบัน คือ พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ดังนั้นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจึงมิได้ควบตําแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

79 สังคมไทยผ่านการรัฐประหารมาแล้วหลายครั้ง แต่ครั้งนี้มีความแตกต่างคือ หัวหน้าคณะรัฐประหารดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเอง

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สังคมไทยแม้จะผ่านการรัฐประหารมาแล้วหลายครั้ง แต่การรัฐประหารครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่หัวหน้าคณะรัฐประหารดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเอง หากนับการรัฐประหาร ตั้งแต่มีการรัฐประหารครั้งแรกเมื่อปี 2476 จนถึงการรัฐประหารครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 นั้น มีหัวหน้าคณะรัฐประหารที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเองถึง 4 ท่าน คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476), จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501), จอมพลถนอม กิตติขจร (รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514), และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557)

80 ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 จะมี ส.ส. ในระบบเขตได้เพียงเขตละหนึ่งคน ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2540 มาตรา 89 และ 102 กําหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) จํานวน 500 คน ประกอบด้วย ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อจํานวน 100 คน และ ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งจํานวน 400 คน ซึ่งการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบเขตนั้นให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เพียงเขตละหนึ่งคน

81 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีการยุบพรรคการเมืองหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ 82. ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ

83 ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ นาย

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) บุญส่ง น้อยโสภณ

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. และกรรมการอีก 4 คน ได้แก่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร, นายประวิช รัตนเพียร,นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ และนายบุญส่ง น้อยโสภณ

84 การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง คือ

(1) 14 ตุลาคม 2516

(2) 6 ตุลาคม 2519

(3) 26 มีนาคม 2524

(4) 17 – 20 พฤษภาคม 2535

(5) 13 – 20 พฤษภาคม 2553

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

85 ศัพท์ทางรัฐศาสตร์เรียกการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมืองว่า

(1) Salamandering

(2) Gerrymandering

(3) Psudo Electionman

(4) Stupidioelection Commission

(5) Fraudmandering

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Gerrymandering หมายถึง การบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคใดพรรคหนึ่ง เช่น กรณีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดโดยให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน อยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ทําให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักวิชาการว่ามีการบิดเบือนเขตเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง

86 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเปลี่ยนผู้นํา แต่ปฏิวัติเปลี่ยนโครงสร้างรัฐ

(2) รัฐประหารเปลี่ยนโครงสร้างรัฐ แต่ปฏิวัติเปลี่ยนผู้นํา

(3) รัฐประหารเป็นการเปลี่ยนชั่วคราว ปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนถาวร

(4) รัฐประหารเป็นการเปลี่ยนถาวร ปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนชั่วคราว

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วเปลี่ยนผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือโครงสร้างของรัฐ แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดได้ยากกว่ารัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475

87 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจและการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

88 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

89 ข้าราชการท่านใดใช้นามแฝงในขบวนการเสรีไทยเขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง เพื่อเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ

(1) น.พ.ประเวศ วะสี

(2) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล

(3) นายจํากัด พลางกูร

(4) นายป๋วย อึ้งภากรณ์

(5) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้ใช้นามแฝงสมัยเป็นเสรีไทยว่า เข้ม เย็นยิ่ง เขียนจดหมายจากประเทศอังกฤษถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อเรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอํานาจการปกครองอยู่ในขณะนั้นคืนรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนโดยเร็ว

90 กรณี 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีท่านใดต้องลาออก

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกกฤษณ์ สีวะรา

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร

(5) จอมพลถนอม กิตติขจร

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

91 การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้กําหนดให้มี ส.ส. เขต รวมทั้งสิ้นจํานวน

(1) 325 คน

(2) 350 คน

(3) 375 คน

(4) 400 คน

(5) 425 คน

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องจํานวนและสัดส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2550 แก้ไขเพิ่มเติม 2554 มาตรา 93 กําหนดให้มี ส.ส. จํานวน 500 คน ประกอบด้วย ส.ส. ระบบเขตเลือกตั้งจํานวน 375 คน และ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อจํานวน 125 คน (จากเดิมกําหนดให้ ส.ส. มีจํานวน 480 คน ประกอบด้วย ส.ส. ระบบเขตเลือกตั้งจํานวน 400 คน และ ส.ส. ระบบสัดส่วนจํานวน 80 คน)

92 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

93 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย”เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

94 ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

95 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ำซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง และก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะการรัฐประหารไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้นั่นเอง

96 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

97 ชนชั้นนํา (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาโครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Eite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิกนั่นเอง

98 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางานให้แก่ ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากล สมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ยุวสมาคม เจ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทยขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

99 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

100 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

WordPress Ads
error: Content is protected !!