PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 ในเซลล์ประสาทนิวโรน “เดนไดรท์” ทําหน้าที่อะไร

(1) นํากระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์

(2) เป็นผนังห่อหุ้มเซลล์

(3) กระตุ้นการทํางานของเซลล์

(4) นํากระแสประสาทออกนอกตัวเซลล์

(5) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์

ตอบ 1 หน้า 37 เดนไดรท์ (Dendrite) ในเซลล์ประสาทนิวโรน (Neuron) จะทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์ประสาท

2 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาด้านสรีรจิตวิทยา

(1) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทํางานของระบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรม

(2) เน้นการศึกษาเกี่ยวกับการทํางานของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ

(3) เชื่อว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ บุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาท

(4) เชื่อว่าการเคลื่อนไหว อารมณ์ การคิด เกิดจากการนําส่งกระแสประสาทไปทั่วร่างกาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 25, 27, (คําบรรยาย) สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การทํางานของระบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมที่สมดุล และอยู่รอดของชีวิต โดยเน้นศึกษาเกี่ยวกับการทํางานของสมอง/ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ เชื่อว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาทและเชื่อว่าการเคลื่อนไหว อารมณ์ และการคิด เกิดจากการนําส่งกระแสประสาทไปทั่วร่างกาย

3 กล้ามเนื้อชนิดใดทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ

(1) กระเพาะอาหาร

(2) กล้ามเนื้อลาย

(3) กล้ามเนื้อเรียบ

(4) กล้ามเนื้อหัวใจ

(5) กะบังลม

ตอบ 2 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกายเคลื่อนไหว ประกอบด้วย

1 กล้ามเนื้อลาย โดยจะทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ

2 กล้ามเนื้อเรียบ เช่น กระเพาะอาหาร กะบังลม ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ

3 กล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ

4 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่กําลังจะเกิดขึ้นเป็นการทํางานของ ระบบประสาทส่วนใด

(1) ระบบประสาทส่วนกลาง

(2) ระบบประสาทซิมพาเธติก

(3) ระบบโซมาติก

(4) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก

(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ

ตอบ 2 หน้า 34, 261 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic) เป็นระบบที่ไปกระตุ้นการทํางานของร่างกายในกรณีฉาเฉิน ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่กําลังจะเกิดขึ้น เช่น เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าที่ทําให้ตกใจกลัวและช็อก ทําให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายมีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนั่งของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ

5 สารสื่อประสาทชนิดใดที่ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว

(1) อะซีทิลโคลีน

(2) ซีโรโทนิน

(3) โดปามาย

(4) กาบา

(5) นอร์อิพิเนฟฟริน

ตอบ 3 หน้า 40 โดปามาย (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ถ้าเสื่อมหรือบกพร่องหรือผิดปกติจะเป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) คือ มีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ และยากลําบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ

6 อารมณ์เกิดจากการทํางานของสมองส่วนใด

(1) ไฮโปธาลามัส

(2) ธาลามัส

(3) ลิมปิก

(4) ซีรีบรัม

(5) ซีรีเบลลัม

ตอบ 2 หน้า 41 ธาลามัส (Thalamus) เป็นส่วนของสมองที่ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางการส่งกระแสประสาทมอเตอร์จากซีรีบรัมไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นศูนย์กลางการรับ กระแสประสาทสัมผัส (ยกเว้นสัมผัสกลิ่น) จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไปยังซีรีบรัม และเป็นศูนย์กลางควบคุมการเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ของบุคคล รวมทั้งการตื่นและการหลับ

7 การเต้นของหัวใจ การหายใจอยู่ภายใต้การทํางานของสมองส่วนใด

(1) ซีรีบรัม

(2) ซีรีเบลลัม

(3) ก้านสมอง

(4) ไขสันหลัง

(5) สมองส่วนกลาง

ตอบ 3 หน้า 43 ก้านสมอง (Brain Stem) เป็นแกนกลางของสมอง ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจ เช่น การเต้นของหัวใจ และการหายใจ ดังนั้น คนที่คอหักจึงตายเพราะหายใจไม่ออก เนื่องจากเส้นประสาทที่เชื่อมต่อระหว่างก้านสมองและกล้ามเนื้อซึ่งควบคุมการขยายตัวของช่องอกขาดออกจากกัน

8 ต่อมพิทูอิทารีหรือต่อมใต้สมองทําหน้าที่ผลิตฮอร์โมนชนิดใด

(1) เทสเทอสโตโรน

(2) โกรธฮอร์โมน

(3) คอร์ติซอล

(4) อินซูลิน

(5) โปรเจสเตอโรน

ตอบ 2 หน้า 45 ต่อมพิทูอิทารีหรือต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีความสําคัญที่สุดของร่างกาย เพราะสร้างฮอร์โมนหลายชนิดเพื่อไปควบคุมการทํางานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ โดยจะทําหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สําคัญ คือ โกร๊ธฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่ทําหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย

9 ฮอร์โมนอินซูลิน มีแหล่งกําเนิดมาจากที่ใด

(1) ต่อมแพนเครียส

(2) ต่อมใต้สมอง

(3) ต่อมหมวกไต

(4) ต่อมไทรอยด์

(5) ต่อมไทมัส

ตอบ 1 หน้า 49 ตับอ่อนหรือต่อมแพนเครียส (Pancreas) จะทําหน้าที่เป็นทั้งต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อโดยจะผลิตฮอร์โมนที่สําคัญคือ อินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดให้เข้มข้นพอดี ถ้าตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินในระดับต่ํา จะทําให้เกิดอาการของโรคเบาหวาน

10 การหาคําตอบของคําถามที่ว่า “ทําไมคนที่เห็นเหตุการณ์รถเสียอยู่กลางถนนจึงกลับเพิกเฉยไม่ให้ความช่วยเหลือ” สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทางจิตวิทยาข้อใด

(1) ศึกษา

(2) อธิบาย

(3) ทําความเข้าใจ

(4) ทํานาย

(5) ควบคุม

ตอบ 3 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา มี 4 ประการ ได้แก่

1 หาคําอธิบาย เช่น จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนน ฯลฯ

2 ทําความเข้าใจ เช่น การหาคําตอบของคําถามที่ว่าทําไมหรือเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ฯลฯ

3 ทํานาย (พยากรณ์) เช่น มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ผู้ประสบเหตุจะได้รับความช่วยเหลือ ฯลฯ

4 ควบคุมพฤติกรรม เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนนแล้วมีบุคคลถ่ายคลิปเก็บไว้ ฯลฯ

ข้อ 11 – 14 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) โครงสร้างของจิต

(2) หน้าที่ของจิต

(3) พฤติกรรมนิยม

(4) มนุษยนิยม

(5) จิตวิทยาคอกนิทิฟ

11 แนวคิดใดที่ให้ความสนใจศึกษา จิตสํานึก การใช้ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา

ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทิฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับความสามารถทางปัญญา ความรู้ การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไปและมีการ รวมความคิดของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ทั้งนี้พวกพฤติกรรมนิยมขนานแท้ก็ยังยอมรับแนวคิดพวกคอกนิทิฟเข้ามาแล้วเรียกว่า จิตวิทยาพฤติกรรมทางพุทธิปัญญา (Cognitive Behaviorism)

12 แนวคิดใดที่สนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก คือ การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ

ตอบ 1 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) สนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก 3 ลักษณะ คือ การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันอยู่ ในกลุ่มนี้ ก็คือ วิธีการสังเกต ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเองหรือเรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั้นเอง

13 แนวคิดใดที่มีความสนใจในการทํางานของจิตสํานึกและการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 9 – 10 กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) สนใจศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการทํางานของจิตสํานึกและการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องศึกษาให้รู้ว่าการคิด การรับรู้ นิสัย และอารมณ์ ช่วยในการปรับตัวของมนุษย์อย่างไร โดยเห็นว่าจิตของบุคคลจะต้องทําหน้าที่ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป

14 แนวคิดใดที่เน้นในเสรีภาพและความสามารถในการตัดสินใจเลือกวิธีการดําเนินชีวิต

ตอบ 4 หน้า 11 – 12 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanistic Psychology) เป็นพลังที่ 3 ทางจิตวิทยา (พลังที่ 1 และ 2 คือ จิตวิเคราะห์และพฤติกรรมนิยม) โดยกลุ่มนี้จะเน้นในเรื่องเสรีภาพ และความสามารถในการตัดสินใจเลือกวิธีการดําเนินชีวิต และสิ่งสําคัญที่สุดคือ มนุษย์ต้องการเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งเป็นความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้ถึงขีดสูงสุด

 

ข้อ 15 – 16 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การสังเกต

(2) การสํารวจ

(3) การทดลอง

(4) การทดสอบทางจิตวิทยา

(5) การศึกษาประวัติรายกรณี

 

15 เป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 13 การสังเกต (Observation) เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ตามที่เป็นจริง โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว แล้วจึงบันทึกรายละเอียดไว้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมากที่สุด

16 เป็นวิธีที่ใช้วัดลักษณะพฤติกรรมที่แอบแฝงอยู่ภายในตัวบุคคล

ตอบ 4 หน้า 14 การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Testing) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดลักษณะพฤติกรรมที่แอบแฝงอยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลพยายามปกปิดซ่อนเร้นไว้จะโดยรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม เช่น การศึกษาความสามารถทางสติปัญญาของเด็กที่มีความบกพร่องทาง การเรียนรู้ การวัดความถนัดและความสนใจ การตรวจลักษณะของบุคลิกภาพและอารมณ์ ฯลฯ

 

ข้อ 17 – 19 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) นักจิตวิทยาการศึกษา

(2) นักจิตวิทยาคลินิก

(3) นักจิตวิทยาสังคม

(4) นักจิตวิทยาพัฒนาการ

(5) นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

 

17 ใครทําหน้าที่วิเคราะห์และบําบัดทางจิต สําหรับผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิต และดูแลสุขภาพจิตของชุมชน

ตอบ 2 หน้า 16 นักจิตวิทยาคลินิกและบริการปรึกษา จะทําหน้าที่วิเคราะห์และบําบัดทางจิต ให้บริการปรึกษาปัญหาส่วนบุคคล ช่วยในเรื่องปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรม ทําวิจัยค้นคว้า สําหรับผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิตหรือปัญหาทางใจ และดูแลเกี่ยวกับสุขภาพจิตของชุมชน

18 ใครทําหน้าที่ปรึกษาสถานดูแลเด็กก่อนวัยเรียน จัดโครงการผู้สูงอายุ

ตอบ 4 หน้า 17 นักจิตวิทยาพัฒนาการ จะทําหน้าที่ในเรื่องพัฒนาการของเด็ก ผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุทํางานด้านคลินิกในกรณีเด็กมีปัญหายุ่งยาก ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสถานดูแลเด็กก่อนวัยเรียนจัดโครงการผู้สูงอายุ เละอื่น ๆ

19 ใครทําหน้าที่ศึกษามลภาวะของเสียง ฝูงชนแออัด ทัศนคติของคนเมืองที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์

ตอบ 5 หน้า 17 นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม จะทําหน้าที่ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ศึกษามลภาวะของเสียง ฝูงชนแออัด ทัศนคติของคนเมืองต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พื้นที่ของคนเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางอุตสาหกรรม โรงเรียน บ้าน และสถาปัตยกรรม

20 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรับรู้

(1) การรับรู้มีความซับซ้อนมากกว่ากระบวนการรับสัมผัส

(2) การรับรู้ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ แรงจูงใจ บุคลิกภาพของมนุษย์

(3) กระบวนการรับรู้กับการรับสัมผัสสามารถแยกจากกันได้อย่างชัดเจน

(4) การรับรู้เป็นกระบวนการที่เกิดต่อเนื่องจากการรับสัมผัส

(5) กระบวนการรับรู้มุ่งความสนใจเรื่องวัตถุนั้นคืออะไร

ตอบ 3 หน้า 57, 60, (คําบรรยาย) การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ ดังนั้นการรับรู้จึงเป็นกระบวนการที่เกิดต่อเนื่องมาจากการรับสัมผัส กระบวนการรับรู้จะมุ่งไปที่ความเข้าใจและมุ่งความสนใจเรื่องวัตถุนั้นคืออะไร โดยทั่วไป การศึกษาเรื่องการรับรู้มักมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนมากกว่าการศึกษากระบวนการ รับสัมผัส นอกจากนี้การรับรู้ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลด้านการเรียนรู้ แรงจูงใจ สิ่งแวดล้อม และ บุคลิกภาพของมนุษย์มากกว่ากระบวนการรับสัมผัส อย่างไรก็ตาม การศึกษาทั้งกระบวนการรับรู้และการรับสัมผัสนั้นยากที่จะแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาดชัดเจนได้

21 บริเวณเรตินามีเซลล์ประสาทชนิดใด

(1) โฟเวียกับโคนส์

(2) บูลกับแบ็ค

(3) แบ็คกับรอดส์

(4) รอดส์กับโคนส์

(5) โฟเวียกับรอดส์

ตอบ 4 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ

1 รอดส์ (Rods) มีลักษณะเป็นแท่งยาว และไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงสลัวในเวลากลางคืน

2 โคนส์ (Cones) มีลักษณะสั้น เป็นรูปกรวย และไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดีจึงเป็นเซลล์ที่รับแสงจ้าในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

 

22 ตาบอดสีของมนุษย์แบ่งได้เป็นกี่ประเภท

(1) แบ่งเป็น 3 ประเภท

(2) แบ่งเป็น 4 ประเภท

(3) แบ่งเป็น 5 ประเภท

(4) แบ่งเป็น 6 ประเภท

(5) ไม่มีการแบ่งเป็นประเภท

ตอบ 1 หน้า 63 – 64 ตาบอดสีเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของการเห็นสี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 Monochromatism เป็นอาการตาบอดสีหมดทุกสี โดยจะเห็นสีทุกสีเป็นสีเทา

2 Dichromatism เป็นอาการตาบอดสีชนิดที่สามารถมองเห็นสีได้เพียง 2 สีเท่านั้น คือพวกที่เห็นสีแดงเป็นสีดํา และพวกที่ไม่สามารถแยกสีเขียวและสีแดงออกจากกันได้

3 Trichromatism เป็นการเห็นสีครบทุกสีแต่เห็นสีนั้นอ่อนกว่าปกติ (ผิดปกติเพียงเล็กน้อย)

23 ปกติหูของมนุษย์สามารถรับฟังความดังของเสียงได้ไม่เกินเท่าใดที่ไม่เป็นอันตราย

(1) ไม่เกิน 30 db

(2) ไม่เกิน 60 db

(3) ไม่เกิน 80 db

(4) ไม่เกิน 90 db

(5) ไม่เกิน 110 db

ตอบ 3 หน้า 65 ความแรงของคลื่นเสียงมักวัดด้วยมาตราที่เรียกว่า “เดซิเบล” (Decibles : db) ซึ่งความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบลที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมีความสูงของ db มากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น โดยเสียงกระซิบจะมีระดับความดังประมาณ 20 db เสียงคุยปกติประมาณ 60 db และเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายแก่หูถ้าฟังนาน ๆ

24 ประสาทรับสัมผัสทางผิวกายของมนุษย์มีกี่ชนิด

(1) มี 6 ชนิด

(2) มี 5 ชนิด

(3) มี 4 ชนิด

(4) มี 3 ชนิด

(5) มี 2 ชนิด

ตอบ 3 หน้า 67 ใต้ผิวหนังของมนุษย์เราจะมีจุดรับสัมผัสมากมาย โดยจุดรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมีความไวต่อความรู้สึกที่มาสัมผัสแตกต่างกัน ซึ่งความรู้สึกที่มาสัมผัสผิวกายของมนุษย์นั้นมีจุดรับสัมผัสพื้นฐาน 4 ชนิด คือ ความกด ความอุ่น ความเย็น และความเจ็บปวด

25 การสัมผัสคีเนสเตซีสทํางานร่วมกับเครื่องรับสัมผัสใด

(1) หูตอนในและประสาทตา

(2) หูตอนกลางและประสาทตา

(3) ผิวกายและหูตอนใน

(4) ผิวกายและหูตอนกลาง

(5) หูตอนกลางและประสาทรับกลิ่น

ตอบ 1 หน้า 67 – 68 คีเนสเตซีส (Kinesthesis Sense) คือ ประสาทเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อรับสัมผัสต่าง ๆ ซึ่งการรับสัมผัสนี้จะช่วยบอกเราให้ทราบถึงการเคลื่อนไหว ของร่างกายว่าอยู่ในสภาพหรือตําแหน่งเช่นไร นอกจากนี้สัมผัสคีเนสเตซีสยังทํางานร่วมกับเครื่องรับสัมผัสเกี่ยวกับการทรงตัวที่มีอวัยวะรับสัมผัสอยู่ในหูตอนในและประสาทรับสัมผัสที่ตา เพื่อช่วยให้ร่างกายทั้งหมดทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ

26 ตัวอย่างใดอธิบายเกี่ยวกับการคงที่ของรูปร่าง

(1) สีของเสื้อผ้าที่อยู่ในร้านค้า

(2) รถที่จอดอยู่ในที่มืดสลัว

(3) องศาของการเปิดประตู

(4) ยืนอยู่บนตึกสูงแล้วมองลงมาด้านล่าง

(5) ถูกต้องทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 3 หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ (Constancy) เป็นธรรมชาติของเรื่องการรับรู้และการเห็นนั่นคือ การที่ตาเห็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ความเข้าใจในการรับรู้อยู่ในสภาพเดิม ซึ่งมี 3 ชนิด ได้แก่

1 การคงที่ของสี เช่น รถที่จอดอยู่ในที่มืดสลัวก็สามารถรับรู้หรือมองเห็นสีที่แท้จริงของรถได้

2 การคงที่ของขนาด เช่น ยืนอยู่บนตึกสูงแล้วมองลงมาด้านล่างก็สามารถรับรู้ขนาดของวัตถุได้

3 การคงที่ของรูปร่าง เช่น องศาของการเปิดประตูเห็นเพียงแค่ด้านเดียวก็สามารถรับรู้รูปร่างของวัตถุได้

27 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองเกี่ยวกับความลึกและระยะทาง

(1) ฟรอยด์กับแอดเลอร์

(2) สกินเนอร์กับวัตสัน

(3) เลอวินกับอดัม

(4) กิบสันกับวอล์ก

(5) แบนดูรา

ตอบ 4 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ ก็บสันและวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน) เด็กจะไม่กล้าคลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

28 นักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์มีความเชื่อเช่นใดในเรื่องของการรับรู้

(1) มนุษย์รับรู้ส่วนรวมมีความสําคัญมากกว่าส่วนย่อย

(2) มนุษย์รับรู้โลกไม่ตรงกับความเป็นจริง

(3) มนุษย์รับรู้สิ่งแวดล้อมภายนอกแบบผิวเผิน

(4) มนุษย์เลือกรับรู้ในสิ่งที่อยากจะรู้เท่านั้น

(5) ถูกต้องทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 1 หน้า 74 นักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์ (Gestalt) ได้ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษในเรื่องของการจัดหมวดหมู่ของการรับรู้ โดยพวกเขาเชื่อว่า มนุษย์มีการรับรู้ในลักษณะของส่วนรวมและเชื่อว่าการรับรู้ส่วนรวมมีความสําคัญมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย

29 ข้อใดคือการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกัน

(1) Telepathy

(2) Clairvoyance

(3) Precognition

(4) Extrasensory

(5) Perception

ตอบ 1 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

2 ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึงประสาทสัมผัส

3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

30 ข้อใดไม่ใช่สภาวะของร่างกายเมื่อออกจากสัมปชัญญะ

(1) การรู้ตัวและความจําแทบไม่มีเลย

(2) ขอบเขตหรือสภาวะแห่งตัวตนของเราชัดเจน

(3) การหักห้ามใจอยู่ในระดับต่ำ

(4) การรับรู้ความจริงถูกตัดขาดจากกัน

(5) การรับรู้ดูเข้มข้นและรุนแรงมาก

ตอบ 2 หน้า 90 สภาวะของร่างกายเมื่อออกจากสัมปชัญญะจะมีลักษณะดังนี้

1 การรู้ตัวและกระบวนการทางความนึกคิดมีอยู่ในระดับต่ำ ความจําก็แทบจะไม่มีเลย

2 ขอบเขตหรือสภาวะแห่งตัวตนของเราแทบจะไม่มีเลย (เส้นแบ่งเขตแดนไม่ชัดเจน) 3 การบังคับและการหักห้ามใจตนเองอยู่ในระดับต่ำ พฤติกรรมกับวิจารณญาณขาดช่วงจากกัน

4 การรับรู้ที่เกิดขึ้นกับสภาพความเป็นจริงมักจะตัดขาดออกจากกันหรือไม่เกี่ยวข้องกัน

5 การสัมผัสและการรับรู้มักจะมีลักษณะเข้มข้น จริงจัง และรุนแรงมาก

31 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของบุคคลที่ขาดการนอนหลับหลายวัน

(1) อ่อนล้าทางร่างกาย

(2) ปวดศีรษะอย่างหนัก

(3) รู้สึกมึนงง

(4) อาการประสาทหลอน

(5) การรับรู้ทางจิตใจผิดพลาด

ตอบ 2 หน้า 91 – 92 ลักษณะของบุคคลที่ขาดการนอนหลับหลายวัน คือ มีความอ่อนล้าทางร่างกายรู้สึกมึนงง มีสภาพการรับรู้ทางจิตใจที่ผิดพลาด และอาจจะมีอาการทางประสาทหลอนได้ ทั้งนี้ ถ้าการนอนหลับถูกขัดขวางไม่ให้เกิดขึ้นก็จะทําให้มีอาการสัปหงกเป็นพัก ๆ

32 การนอนหลับในระยะที่สี่ มีคลื่นสมองเป็นแบบใด

(1) บีตา

(2) แอลฟา

(3) เดลตา

(4) แกมมา

(5) ซิกมา

ตอบ 3 หน้า 93 การนอนหลับในระยะที่สี่ เป็นช่วงแห่งการหลับที่ลึกมาก (Deep Sleep) มักจะเกิดเมื่อการนอนผ่านเปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยในช่วงนี้คลื่นสมอง (EEG) จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตา (Delta) ล้วน ๆ ซึ่งผู้หลับจะไม่รู้ตัวและ “หลับไหล” จริง ๆ

33 โดยปกติมนุษย์จะฝันในระยะใดของการนอนหลับ

(1) ระยะที่ 1

(2) ระยะที่ 2

(3) ระยะที่ 3

(4) ระยะที่ 4

(5) ระยะที่ 5

ตอบ 1 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วงที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่ 1 หลังจากการนอนหลับผ่านระยะที่ 4 ไปแล้วและวกกลับมาระยะที่ 1 ใหม่

34 นักทฤษฎีคนใดที่กล่าวว่าความฝันเป็นการแสดงในลักษณะการทดแทนความสมดุลทางจิตใจ

(1) ฟรอยด์

(2) แอดเลอร์

(3) จุง

(4) อดัม

(5) ฮอบสันและแมคคาเลย์

ตอบ 3 หน้า 98 – 99 คาร์ล จุง (Carl Jung) นักจิตวิทยาชาวสวิส เชื่อว่า ความฝันจะทําหน้าที่ในลักษณะของการทดแทนหรือการชดเชยความ “ขาด” บางอย่างของผู้ฝัน เพื่อจุดมุ่งหมาย คือ ความสมดุลทางจิตใจของผู้ฝัน

35 สารระเหย ทินเนอร์ เป็นยาเสพติดประเภทใด

(1) กดประสาท

(2) กระตุ้นประสาท

(3) หลอนประสาท

(4) ผสมผสาน

(5) คลายประสาท

ตอบ 1 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ

1 ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ

2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ

3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ

4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

36 จากการศึกษาพบว่าการฝึกสมาธิช่วยในด้านจิตใจได้อย่างไร

(1) ลดอาการหงุดหงิด

(2) มีความจําดีขึ้น

(3) การรับรู้ดีขึ้น

(4) เบิกบานใจ

(5) มองโลกในแง่บวก

ตอบ 1 หน้า 112 จากการศึกษาพบว่าการฝึกสมาธิช่วยในด้านจิตใจได้ คือ ช่วยลดอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวลงได้มาก โดยสมาธิภาวนาจะช่วยทั้งด้านการเรียน อุปนิสัย และสํานึกทางคุณธรรม

37 ยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีน เป็นสารเสพติดประเภทใด

(1) กดประสาท

(2) กระตุ้นประสาท

(3) หลอนประสาท

(4) ผสมผสาน

(5) คลายประสาท

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

38 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

(1) รูปร่างหน้าตา

(2) โรคเบาหวาน

(3) ตาบอดสี

(4) สีของผิว

(5) ปวดศีรษะข้างเดียว

ตอบ 5 หน้า 122, 128 ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ รูปร่างหน้าตา (ลักษณะโครงสร้างของร่างกายและลักษณะใบหน้า) สีผิว สีผม สีตา ฯลฯ รวมทั้งกลุ่มเลือดและโรคภัยบางอย่างที่ถ่ายทอดกันทางสายเลือด เช่น เบาหวาน ตาบอดสี ลมบ้าหมู และโรคแพ้สารบางอย่าง ฯลฯ

39 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ฝาแฝดเหมือนอาจมีเพศแตกต่างกัน

(2) ฝาแฝดคล้ายอาจมีเพศแตกต่างกัน

(3) ฝาแฝดเหมือนเกิดจากสเปิร์ม 1 ตัว กับไข่ 1 ใบ

(4) ฝาแฝดคล้ายเกิดจากสเปิร์มมากกว่า 1 ตัว กับไข่มากกว่า 1 ใบ

(5) ฝาแฝดคล้ายอาจมีโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) ฝาแฝด Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1 ฝาแฝดเหมือนหรือแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิ 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ

2 ฝาแฝดคล้ายหรือแฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิมากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

40 ข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความต่อไปนี้ “บุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY”

(1) Endomorphy

(2) Ectomorphy

(3) Turner’s Syndrome

(4) Mesomorphy

(5) Klinefelter’s Syndrome

ตอบ 5 หน้า 128 บุคคลที่เกิดการผิดปกติในการถ่ายทอดโครโมโซมเพศ ทําให้มีเกินหรือขาดไปจากปกติ เช่น มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดเป็นอาการของโรคที่เรียกว่า Klinefelter’s Syndrome ซึ่งเกิดในเพศชาย จะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง กล่าวคือ มีหน้าอกใหญ่ และอวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ หรืออาจจะกลายเป็นโรคปัญญาอ่อนชนิดที่เรียกว่า Mongolism ได้

41 ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมก่อนเกิด

(1) การได้รับรังสี

(2) การบริโภคของแม่

(3) สุขภาพจิตของแม่

(4) สภาวะของ Rh Factor

(5) การบาดเจ็บทางระบบประสาท

ตอบ 5 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้

1 สุขภาพของแม่

2 สุขภาพจิตของแม่

3 การบริโภคของแม่

4 การได้รับรังสี

5 การได้รับเชื้อ AIDS

6 สภาวะของ Rh Factor

7 อายุของแม่

8 จํานวนทารกภายในครรภ์

42 ข้อใดคือสิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา

(1) ระดับการศึกษาของพ่อแม่

(2) กฎระเบียบและการปกครอง

(3) การอบรมเลี้ยงดู

(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่

(5) ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว

ตอบ 2 หน้า 136 สิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา มีดังนี้

1 กฎระเบียบและการปกครอง

2 ทัศนคติและบุคลิกภาพของครู

3 กลุ่มเพื่อนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

43 “เด็กสามารถจัดประเภทวัตถุและจัดลําดับวัตถุได้” ข้อความดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget

(1) Period of Concrete

(2) Preoperation

(3) Premoral

(4) Sensorimotor Period

(5) Period of Formal Operation

ตอบ 2 หน้า 143 – 144 พัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget ในขั้น Preoperation แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

1 Thought Period เป็นระยะที่เด็กถือตนเอง เป็นจุดศูนย์กลาง ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็นของคนอื่น

2 Intuitive Phase เป็นระยะที่เด็กเกิดความคิดรวบยอดมากขึ้น สามารถจัดประเภท/กลุ่มวัตถุเข้าเป็นหมวดหมู่และจัดลําดับวัตถุได้

44 “เด็กพุ่งความสนใจไปที่สิ่งแวดล้อมรอบตัว” พฤติกรรมดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความต้องการทางเพศ

(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก

(2) ขั้นแอบแฝง

(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก

(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์

(5) ขั้นอวัยวะเพศ

ตอบ 2 หน้า 145 พัฒนาการความต้องการทางเพศของ Freud ในขั้นแอบแฝง (Latency Stage) เป็นระยะที่เด็กจะพุ่งความสนใจไปสู่สิ่งแวดล้อมรอบตัว เพราะเป็นระยะที่เด็กเข้าโรงเรียน(อายุประมาณ 6 – 12 ขวบ) ดังนั้นจึงเป็นช่วงของการเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้อื่น

45 ข้อใดคือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการทางสังคมของ Erikson “ความเชื่อถือไว้วางใจ – ความระแวงไม่ไว้วางใจ”

(1) มีพลังควบคุมตนเองได้

(2) มีแรงผลักดันให้แสดงออกและมีความหวัง

(3) มีความเสียสละและความซื่อสัตย์

(4) มีความฉลาดรอบรู้และการเสียสละ

(5) มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน

ตอบ 2 หน้า 147 มีแรงผลักดันให้แสดงออกและมีความหวัง คือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการทางสังคมของ Erikson “ความเชื่อถือไว้วางใจ – ความระแวงไม่ไว้วางใจ” (Trust VS Mistrust)

46 พฤติกรรมในข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

(1) การทํากับข้าว

(2) การกะพริบตา

(3) การรําไทย

(4) การขี่จักรยาน

(5) การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน

ตอบ 5 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกระตุกมือหนเมื่อจับของร้อน ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การหายใจของมนุษย์ การว่ายน้ำของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

47 จากกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ (Pavlov) หลังจากที่เกิดการหยุดยั้งของพฤติกรรมแล้ว หากสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขกลับมาเกิดตามหลังสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขจะเกิดสิ่งใด

(1) การสรุปความเหมือนของสิ่งเร้า

(2) การแยกความแตกต่างของสิ่งเร้า

(3) สิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข

(4) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข

(5) การฟื้นกลับของพฤติกรรม

ตอบ 5 หน้า 172 173 ในกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ (Pavlov) หลังจากที่เกิดการหยุดยั้งของพฤติกรรมแล้ว หากสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขกลับมาเกิดตามหลังสิ่งเร้า ที่ไม่ได้วางเงื่อนไขจะเกิดการฟื้นกลับของพฤติกรรม (Spontaneous Recovery) ซึ่งก็คือ การฟื้นกลับคืนของการตอบสนองที่เคยเรียนรู้แล้ว

48 “เมื่อครบเวลา 30 วินาทีตามที่กําหนดแล้วเกิดพฤติกรรมจึงจะให้การเสริมแรง” ลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามตารางการเสริมแรงแบบใด

(1) แบบอัตราส่วนคงที่

(2) แบบต่อเนื่อง

(3) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน

(4) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน

(5) แบบช่วงเวลาคงที่

ตอบ 5 หน้า 177 การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval : FI) เป็นการให้แรงเสริมเมื่อถึงช่วงเวลาที่กําหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ทุก 30 วินาที ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี ฯลฯ

49 “หากประกอบของครบ 50 ชิ้นจึงจะได้รับเงินค่าจ้าง” ลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามตารางการเสริมแรงแบบใด

(1) แบบอัตราส่วนคงที่

(2) แบบช่วงเวลาคงที่

(3) แบบต่อเนื่อง

(4) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน

(5) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน

ตอบ 1 หน้า 176 การเสริมแรงแบบอัตราส่วนคงที่ (Fixed Ratio : FR) คือ การให้การเสริมแรงตามอัตราส่วนของการตอบสนองที่คงที่ โดยจะดูจํานวนครั้งของการตอบสนอง ซึ่งจะทําให้เกิดอัตราการตอบสนองสูงที่สุด เช่น คนงานได้รับค่าจ้างตามจํานวนชิ้นงานที่กําหนด ฯลฯ

50 “คุณครูชมที่น้องแสนดียกมือก่อนที่จะพูด หลังจากนั้นเมื่อน้องแสนดีต้องการจะตอบคําถามใด ๆ ในห้องเรียนน้องแสนดีจะยกมือก่อนตอบทุกครั้ง” การชมของคุณครูคืออะไร

(1) การเสริมแรงทางบวก

(2) การเสริมแรงทางลบ

(3) การลงโทษ

(4) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข

(5) การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข

ตอบ 1 หน้า 179, (คําบรรยาย) การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจหรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การกล่าวชมเมื่อทําความดี ฯลฯ

51 “สามารถเชื่อมโยงได้ทั้งกับผลกรรมที่จําเป็นต่อชีวิต และผลกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ นําไปแลกเปลี่ยนเป็นผลกรรมที่หลากหลายได้” คุณสมบัติที่กล่าวถึงนั้น เป็นคุณสมบัติของข้อใด

(1) การเสริมแรงทางบวก

(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ

(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ

(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม

(5) การป้อนกลับ

ตอบ 4 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงครอบคลุม หมายถึง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิที่เป็นอิสระจากการเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ และสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ได้ เช่น เงินไม่เพียงแต่สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางนําไปสู่สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ด้วย เช่น เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ สถานะ หรืออํานาจ เป็นต้น

52 อาหารซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต เป็นสิ่งเสริมแรงประเภทใด

(1) การเสริมแรงทางบวก

(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ

(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ

(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม

(5) การป้อนกลับ

ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นรางวัลตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพอใจและลดความไม่พึงพอใจลง หรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ความต้องการทางเพศ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต

53 ข้อใดถูกต้อง

(1) การลงโทษไม่เกี่ยวข้องกับความกลัว

(2) การลงโทษสามารถกระทําได้ทั้งขณะเกิดพฤติกรรม หลังเกิดพฤติกรรมโดยทันที (3) หากใช้การลงโทษจะต้องให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย

(4) การลงโทษมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

(5) การลงโทษกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว

ตอบ 2 หน้า 181 การลงโทษ หมายถึง การปรากฏของสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาหรือการนําสิ่งที่พึงปรารถนาออกไป จึงมีผลให้การตอบสนองลดลง โดยการลงโทษสามารถกระทําได้ ทั้งขณะเกิดพฤติกรรมและหลังเกิดพฤติกรรมโดยทันที

54 ข้อใดคือคุณสมบัติที่ไม่ถูกต้องของการเรียนรู้แฝง (Latent Learning)

(1) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน

(2) การเรียนรู้แฝงเกี่ยวข้องกับการคาดหวังผลที่จะได้รับ

(3) มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set)

(4) จะสังเกตเห็นการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจนเมื่อมีการให้ตัวเสริมแรง

(5) มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นสาเหตุสําคัญ

ตอบ 3 หน้า 183 184 การเรียนรู้แฝง (Latent Learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นสาเหตุหรือเป็นแรงขับที่สําคัญ จะสังเกตหรือปรากฏให้เห็นการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อมีการให้ตัวเสริมแรงหรือมีการให้แรงเสริม และการเรียนรู้แฝงเกี่ยวข้องกับการคาดหวังผลหรือคาดหมายรางวัลที่จะได้รับในอนาคต(ส่วนการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set) เป็นการเรียนรู้เพื่อจะเรียน)

55 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบความจําของมนุษย์

(1) มี 2 ระบบ คือ ความจําระยะสั้น ความจําระยะยาว

(2) มี 2 ระบบ คือ ความจําเหตุการณ์ ความจําความหมาย

(3) มี 3 ระบบ คือ ความจําเหตุการณ์ ความจําความหมาย ความจําระยะยาว

(4) มี 3 ระบบ คือ ความจําจากการรับสัมผัส ความจําระยะสั้น ความจําระยะยาว (5) มี 3 ระบบ คือ ความจําที่ติดตัว ความจําที่เกิดจากการเรียนรู้ ความจําแบบง่าย ตอบ 4 หน้า 195 – 196 นักจิตวิทยาได้แบ่งความจํา (Memory) ออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้

1 ความจําจากการรับสัมผัส เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ

2 ความจําระยะสั้น ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่จะเก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด

3 ความจําระยะยาว ทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรที่สามารถเก็บข้อมูลได้นานและไม่จํากัด

56 ระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ

(1) ความจําเหตุการณ์

(2) ความจําปฏิบัติการ

(3) ความจําระยะสั้น

(4) ความจําระยะยาว

(5) ความจําจากการรับสัมผัส

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

57 ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของหน่วยพื้นฐานของความคิด

(1) ความจํา

(2) จินตภาพ

(3) มโนทัศน์

(4) สัญลักษณ์

(5) ภาษา

ตอบ 1 หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของความคิด ประกอบด้วย จินตภาพ การตอบสนองทางกล้ามเนื้อมโนทัศน์ และภาษาหรือสัญลักษณ์

58 ความจําระยะสั้น (Shot-term memory) สามารถจําข้อมูลได้ที่หน่วย (1) 7+ 2 หน่วย

(2) 9 +2 หน่วย

(3) 18 หน่วย

(4) 0 – 5 หน่วย

(5) 0 – 28 หน่วย

ตอบ 1 หน้า 193, 198 มิลเลอร์ (Miller) ได้ศึกษาแบบทดสอบช่วงการจําตัวเลข (Digit-span Test)โดยเขาเห็นว่า ความจําระยะสั้นของคนปกติสามารถจําข้อมูลได้ประมาณ 7+2 หน่วย

59 ระบบความจําใดที่สามารถเก็บข้อมูลความจําได้นานและไม่จํากัด

(1) ความจําระยะสั้น

(2) ความจําปฏิบัติการ

(3) ความจําระยะยาว

(4) ความจําเชิงกระบวนวิธี

(5) ความจําจากการรับสัมผัส

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

60 ผู้ที่ทดลองเกี่ยวกับการจําคําที่ไม่มีความหมายและการลืม

(1) เอบบิงเฮาส์

(2) แบนดูรา

(3) วัตสัน

(4) ฟรอยด์

(5) พาฟลอฟ

ตอบ 1 หน้า 203 ผู้ที่ทดลองเกี่ยวกับการจําคําที่ไม่มีความหมายและการลืมในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน คือ เฮอร์แมน เอบบิงเฮาส์ (Herman Ebbinghaus)

61 องค์ประกอบที่สําคัญของความคิดสร้างสรรค์

(1) ความคิดกว้างขวาง

(2) ความคิดยืดหยุ่น

(3) ความคิดตื่นเต้น

(4) ความรอบคอบ

(5) ความคิดเฉพาะอย่าง

ตอบ 2 หน้า 211 องค์ประกอบที่สําคัญของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคล่อง ความคิดยืดหยุ่นและความคิดริเริ่ม ทั้งนี้ความคิดสร้างสรรค์นอกจากจะคิดได้หลากหลาย ใหม่ ๆ แปลก ๆ แล้วยังต้องเป็นความคิดที่มีความหมายหรือมีประโยชน์ และสามารถแก้ปัญหานั้น ๆ ได้ด้วย

62 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของการลืม

(1) การลืมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา

(2) ไม่สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้ออกมาใช้ได้

(3) ความล้มเหลวในการจําหรือการไม่สามารถจําได้

(4) การลืมคือการที่ไม่สามารถจําข้อมูลได้

(5) การลืมเกิดขึ้นโดยไม่มีกระบวนการรบกวน

ตอบ 5 หน้า 203 204 การลืมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา การลืมคือการที่ไม่สามารถจําข้อมูลได้หรือไม่สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้ออกมาใช้ได้ การลืมเป็นความล้มเหลวในการจําหรือการไม่สามารถจําได้ และการรบกวนมักเป็นสาเหตุสําคัญของการลืม

63 ข้อใดไม่ใช่วิธีการที่ใช้วัดความจํา

(1) การระลึกได้

(2) การจําได้

(3) การเรียนซ้ำ

(4) การทบทวน

(5) การบูรณาการใหม่

ตอบ 4 หน้า 201 วิธีการที่ใช้วัดความจํา มี 4 แบบ คือ การระลึกได้ (Recall), การจําได้ (Recognition),การเรียนซ้ำ (Relearning) และการบูรณาการใหม่ (Reintegration)

64 วิธีการแก้ปัญหาของบุคคลโดยฉับพลันทันใด สามารถรู้คําตอบได้ในทันที

(1) การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็น

(2) การแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา

(3) การแก้ปัญหาด้วยวิจารณญาณ

(4) การแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก

(5) การแก้ปัญหาโดยใช้ประสาทสัมผัส

ตอบ 1 หน้า 210 การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที เป็นวิธีการแก้ปัญหาของบุคคลโดยฉับพลันทันใด และสามารถรู้คําตอบได้ในทันที

65 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของแรงจูงใจ (Motive)

(1) สภาวะที่อยู่ภายนอกร่างกายที่เป็นพลัง

(2) สภาวะพลังงานที่หยุดนิ่ง

(3) ทําให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่ยุดพัก

(4) เป็นกระบวนการที่สิ้นสุด

(5) พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรม

ตอบ 5 หน้า 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

66 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการเกิดแรงจูงใจ

(1) ร่างกายเกิดความต้องการ

(2) ร่างกายเกิดแรงขับ

(3) ร่างกายลดแรงขับ

(4) ร่างกายแสดงพฤติกรรม

(5) ร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุล

ตอบ 5 หน้า 227 228 กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1 ความต้องการ (Needs)

2 แรงขับ (Drive)

3 การตอบสนอง (Response) หรือการแสดงพฤติกรรม

4 เป้าหมาย (Goal)

67 นักจิตวิทยาที่กล่าวถึงลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์

(1) พาฟลอฟ

(2) แบนดูรา

(3) โรเจอร์ส

(4) มาสโลว์

(5) วัตสัน

ตอบ 4 หน้า 229 230, 234 235 มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่แบ่งลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น 2 ระดับ ดังนี้คือ

1 ระดับความต้องพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง

2 ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น และความต้องการประจักษ์ตน

68 แรงจูงใจพื้นฐานเพื่อความอยู่รอดของชีวิตตรงกับข้อใด

(1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(2) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ

(3) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

(4) แรงจูงใจเพื่อการเรียนรู้

(5) แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีความเจ็บปวด

ตอบ 5 หน้า 239 – 243 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ (แรงจูงใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1 แรงจูงใจทางชีวภาพ (Biological Motive) เช่น ความหิว ความกระหาย ฯลฯ

2 แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive) เช่น ความต้องการทางเพศ ฯลฯ

3 แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตรายหรือเพื่อหลีกหนีความเจ็บปวด (Avoidance Motive)

69 แรงจูงใจทางชีวภาพ (Biological Motive) ตรงกับข้อใด

(1) ความหิว

(2) ความกระหาย

(3) ความต้องการทางเพศ

(4) ความต้องการหนีอันตราย

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 บุคคลมีความอิสระที่จะกระทําพฤติกรรม รู้ว่าตนต้องการอะไร ตรงกับทฤษฎีใด (1) ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล

(2) ทฤษฎีสัญชาตญาณ

(3) ทฤษฎีแรงขับ

(4) ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ

(5) ทฤษฎีความต้องการความสุขส่วนตัว

ตอบ 1 หน้า 245 ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล เชื่อว่า บุคคลมีอิสระที่จะกระทําพฤติกรรมใด ๆ ได้อย่างมีเหตุผล รู้ว่าตนต้องการอะไร ปรารถนาสิ่งใด และควรจะต้องตัดสินใจออกมาในลักษณะใด

71 ข้อใดคือความหมายของแรงขับ (Drive)

(1) ภาวะความตึงเครียดของร่างกาย

(2) ทําให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ

(3) ขจัดความเครียดออกจากร่างกาย

(4) พลังภายในร่างกาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 246 แรงขับ (Drive) เป็นภาวะความตึงเครียดของร่างกาย เป็นพลังภายในร่างกายที่ทําให้ร่างกายได้มีการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อขจัดความเครียดนั้นออกไปจากร่างกาย

72 พิมาลาถูกคนรักนอกใจจึงทําให้รู้สึกเจ็บปวดมากที่ตนถูกทอดทิ้ง ตรงกับข้อใด (1) ความต้องการทางร่างกาย

(2) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ

(3) ความต้องการความปลอดภัย

(4) ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง

(5) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

73 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข

(1) ส่วนใหญ่จะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบการกระทํา

(2) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นและสิ่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้

(3) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม

(4) สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 247, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนรู้แบบการกระทํา โดยที่บุคคลได้เรียนรู้จากสังคมและคนรอบข้างว่าปัจจัยใดบ้างควรเป็นสิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นและสิ่งเสริมแรงในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของแต่ละสังคม นอกจากนี้สิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลด้วย

74 การจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ตรงกับข้อใด

(1) การลองผิดลองถูก

(2) การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา

(3) การเรียนรู้แบบหยังเห็น

(4) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม

(5) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากสิ่งไม่มีชีวิต

ตอบ 4 หน้า 247 248 (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยมจะเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจเลียนแบบหรือเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว โดยตัวแบบจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของสังคม เช่น เปลี่ยนไปตามการจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ฯลฯ

75 อารมณ์ใดเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เมื่อบุคคลต้องเผชิญความพลัดพรากหรือล้มเหลว

(1) อารมณ์ทุกข์-ปวดร้าว

(2) อารมณ์โกรธ

(3) อารมณ์ดูถูก

(4) อารมณ์หวาดกลัว

(5) อารมณ์รู้สึกผิด

ตอบ 1 หน้า 257 อารมณ์ทุกข์ – ปวดร้าว (Distress-Anguish) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญหรือประสบกับความพลัดพรากหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในชีวิต

76 ข้อใดอธิบายถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดอารมณ์ของแบคเตอร์-ซิงเกอร์

(1) เชื่อว่าเมื่อถูกกระตุ้นอารมณ์จะเกิดขึ้นก่อน จากนั้นจึงเกิดการตอบสนองทางร่างกายตามมา

(2) เชื่อว่าอารมณ์เกิดขึ้นได้จากการคิดหาสาเหตุการตอบสนองต่อสถานการณ์นั้น (3) เชื่อว่าร่างกายต้องมีการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าก่อนจึงเกิดอารมณ์ขึ้นตามมา

(4) อธิบายว่าการเกิดอารมณ์เกี่ยวข้องกับสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ ทําให้บุคคลเกิดอารมณ์

(5) อธิบายว่าเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า อารมณ์และการตอบสนองทางร่างกายจะเกิดขึ้นพร้อมกัน

ตอบ 2 หน้า 267 – 269 ทฤษฎีของแชคเตอร์ ซึ่งเกอร์ (Schachter-Singer Theory) อธิบายว่าอารมณ์เกิดจากการแปลความปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติทางกายและการคิดหาสาเหตุของ การตอบสนองนั้น ๆ โดยอาการตอบสนองทางกายแบบเดียวกันนั้น อารมณ์อาจแตกต่างกัน จะขึ้นอยู่กับการตีความสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งมาเร้าให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้นการเร้าเพียงอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย

77 หน้าที่ใดเกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน “โกรธ” ตามแนวคิดของพลูทชิค

(1) ความร่วมมือ

(2) การปกป้อง

(3) การทําลาย

(4) การปรับตัว

(5) การรักษาการสูญเสีย

ตอบ 3 หน้า 272 หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน 8 ชนิด ตามแนวคิดของพลูทชิค (Plutchik) ได้แก่ กลัว – การปกป้อง, โกรธ – การทําลาย, รื่นเริง – ความร่วมมือ, รังเกียจ – การปฏิเสธ, ยอมรับ – การแพร่พันธุ์, เศร้า – การรักษาการสูญเสีย, ประหลาดใจ – การปรับตัว, คาดหวัง(อยากรู้อยากเห็น) – การสํารวจค้นหา

78 การพัฒนาทางอารมณ์ของมนุษย์จะสมบูรณ์ช่วงอายุประมาณเท่าใด

(1) 12 เดือน

(2) 18 เดือน

(3) 24 เดือน

(4) 28 เดือน

(5) 32 เดือน

ตอบ 3 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

79 อารมณ์ใดถือเป็นอารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์

(1) คาดหวัง

(2) รัก

(3) รื่นเริง

(4) เสียใจ

(5) เศร้าโศก

ตอบ 1 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) มี 4 ชนิด คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว

80 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยทางสรีรวิทยาที่ทําให้เกิดอารมณ์

(1) ระบบพาราซิมพาเธติกในร่างกายจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่กระตุ้นให้ต่อสู้หรือถอยหนี

(2) สมองส่วนไฮโปธาลามัส เมื่อถูกกระตุ้นจะทําให้เกิดอารมณ์เศร้า ซึม เฉื่อยชา (3) อารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมมากที่สุด คือ อารมณ์ตื่นเต้น

(4) อารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต

(5) การเกิดอารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสรีรวิทยา

ตอบ 4 หน้า 262 263 อารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมได้มากที่สุดคือ อารมณ์กลัวกับอารมณ์โกรธ โดยอารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต ส่วนอารมณ์โกรธจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน

81 ข้อใดไม่ใช่อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของเอ็กแมน

(1) เป็นสุข

(2) โกรธ

(3) เศร้า

(4) คาดหวัง

(5) ประหลาดใจ

ตอบ 4 หน้า 274 อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของเอ็กแมน (Ekman) มี 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข

82 ข้อใดอธิบายได้ถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับเครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) (1) วัดการเต้นของหัวใจได้

(2) วัดปริมาณเหงื่อตามร่างกายได้

(3) วัดคลื่นสมองได้

(4) วัดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้

(5) วัดระดับการทํางานของสมองส่วนต่าง ๆ เมื่อแสดงอารมณ์ได้

ตอบ 1 หน้า 263 เครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องมือจับเท็จที่ใช้วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนฝ่ามือ (GSR)

83 “โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม เป็นคํานิยามของใคร

(1) ฟรอยด์

(2) อัลพอร์ท

(3) แอดเลอร์

(4) ซุลลิแวน

(5) จุง

ตอบ 2 หน้า 284 อัลพอร์ท (Allport) กล่าวว่า บุคลิกภาพ คือ โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบจิตสรีระของมนุษย์นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุที่ทําให้บุคคลต้องปรับตัว และการปรับตัวที่ต่างกันของบุคคลแต่ละคนจะทําให้บุคลิกภาพต่างกันด้วย

84 ข้อใดเป็นแบบทดสอบการฉายภาพจิต

(1) Rorschach

(2) 16PE

(3) SCL-90

(4) MMPI

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 308 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามีความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดยให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1 แบบทดสอบรอร์ชาค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในรูปนั้นบ้าง

2 แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาบรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

85 แบบทดสอบชนิดใดที่ทดสอบโดยการให้ผู้รับการทดสอบเล่าเรื่องจากภาพ

(1) Rorschach

(2) 16PF

(3) TAT

(4) MMPI

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

86 มนุษย์มีอิสระที่จะตัดสินใจและกําหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ เป็นแนวคิดของนักทฤษฎีกลุ่มใด

(1) กลุ่มมนุษยนิยม

(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(3) กลุ่มพุทธิปัญญา

(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(5) กลุ่มที่แบ่งบุคลิกภาพตามประเภทและโครงสร้าง

ตอบ 1 หน้า 292 ทฤษฎีมนุษยนิยม เชื่อว่า มนุษย์ไม่ได้เป็นเหยื่อของสัญชาตญาณ มนุษย์มีอิสรภาพที่จะตัดสินใจและกําหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเองและสามารถรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้กระทําลงไป (ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ)

87 ปลามีรูปร่างผอมสูง จึงมีนิสัยขี้อาย กลัว ไม่กล้าแสดงออก และรักความสันโดษ เป็นการศึกษาบุคลิกภาพ ตามแนวคิดของใคร

(1) อัลพอร์ท

(2) เชลดอน

(3) คาร์เทล

(4) ฟรอยด์

(5) จุง

ตอบ 2 หน้า 129, 295 เซลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบายโกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ และกินจุ ฯลฯ )

2 รูปร่างผอมสูง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆรักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

ข้อ 88 – 92 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Id

(2) Ego

(3) Superego

(4) Unconscious

(5) Self-actualization

88 กระบวนการคิดที่ไม่สมเหตุสมผล ทํางานโดยยึดหลักความพึงพอใจ

ตอบ 1 หน้า 287 288, (คําบรรยาย) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ของฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งโครงสร้างของบุคลิกภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ

1 อิด (Id) เป็นสัญชาตญาณของจิตใต้สํานึกที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด โดยเป็นพลังจิตที่ขาดการขัดเกลา ไม่รับรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม มีกระบวนการคิดที่ไม่สมเหตุสมผล ทํางานโดยยึดหลัก ความพึงพอใจหรือทําตามความพึงพอใจของตัวเองโดยไม่สนใจกับความเป็นจริงภายนอก ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณในเรื่องเพศ ความก้าวร้าว และการทําลายล้าง

2 อีโก้ (Ego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทํางานโดยยึดหลักแห่งความเป็นจริง โดยร่วมกันไปกับกระบวนคิดอย่างมีเหตุผล จะแสดงออกอย่างไรจึงเป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับสังคม

3 ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของจิตใจที่ทําหน้าที่คล้ายกับมโนธรรมที่คอยตักเตือนให้บุคคลมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

89 เป็นความต้องการประจักษ์แจ้งในตน

ตอบ 5 หน้า 12, 292 293 (ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ) มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมที่มีความเชื่อในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่จะพัฒนาตัวเองให้ไปถึงจุดสูงสุดแห่งศักยภาพของเขา อันเป็นความต้องการที่จะประจักษ์แจ้งในตน (Self-actualization)หรือเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะให้ความสมบูรณ์และมีความหมายแก่ชีวิต

90 ส่วนของจิตใจที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินผิดชอบชั่วดี

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

91 ประสบการณ์ในอดีตที่เราลืมแล้วและไม่สามารถจําได้เลย

ตอบ 4 หน้า 289, (คําบรรยาย) จิตใต้สํานึก จิตไร้สํานึก (Unconscious) เป็นประสบการณ์บางอย่างในอดีตที่เราลืมไปแล้วและไม่สามารถจดจําได้เลย เกิดเมื่อบุคคลมีความขัดแย้งใจและเก็บกดความรู้สึกที่ไม่พึงปรารถนาไว้ไม่ให้แสดงออกมาในระดับของจิตสํานึก

92 ส่วนของจิตใจที่ทํางานโดยยึดหลักความเป็นจริง ร่วมไปกับการคิดโดยใช้เหตุผล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

93 สติปัญญาหมายถึงข้อใด

(1) ความสามารถในการแข่งขัน

(2) ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค

(3) ความสามารถในการปรับตัว

(4) ความสามารถในการเข้าใจตนเองและผู้อื่น

(5) ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม

ตอบ 5 หน้า 321 สติปัญญา (Intelligence) หมายถึง ความสามารถของแต่ละบุคคลในการที่จะคิดกระทํา หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้อย่างมีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ

94 ข้อใดไม่ใช่ตัวประกอบเฉพาะ S-factor ของสติปัญญา

(1) การใช้เหตุผล

(2) ศิลปะ

(3) ภาษา

(4) การใช้มือ

(5) การคํานวณ

ตอบ 1 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1 ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด

2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถเฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

95 ผู้ที่แนะนําทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย คือใคร

(1) ชาร์ล สเปียร์แมน

(2) ธีโอฟิล ไซมอน

(3) เทอร์สโตน

(4) เทอร์แมน

(5) ฟรานซิส กัลตัน

ตอบ 3 หน้า 325 – 326 เทอร์สโตนและกิลฟอร์ด (Thurstone and Guilford) เป็นผู้ที่แนะนําทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย (Multiple Factor Theory) โดยเทอร์สโตนอธิบายว่า ความสามารถ ขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามี 7 ชนิด คือ ความเข้าใจภาษา, ความสามารถ ใช้คําได้คล่องแคล่ว, ความสามารถในการใช้ตัวเลข, ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ, ความสามารถในการจํา, ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล ส่วนกิลฟอร์ด เชื่อว่า ตัวประกอบของสติปัญญามีถึง 120 ตัวประกอบ ใน 3 มิติ คือ มิติด้านเนื้อหา วิธีการ และผล โดยเขาเชื่อว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีสติปัญญาสูงด้วย

96 ข้อใดเป็นตัวประกอบหลายปัจจัยของกิลฟอร์ด

(1) ภาษา เนื้อหา วิธีการ

(2) ความจํา วิธีการ ผล

(3) เนื้อหา วิธีการ ผล

(4) การรับรู้ เนื้อหา วิธีการ

(5) เนื้อหา ความจํา การรับรู้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

97 สติปัญญาระดับอัจฉริยะ (Genius) คือระดับใด

(1) 90 – 110

(2) 111 – 120

(3) 121 – 140

(4) 140 ขึ้นไป

(5) 150 ขึ้นไป

ตอบ 4 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (I.Q.) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ I.Q. 71 – 20, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ I.Q. 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.Q. 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ I.Q. 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ 1.Q. 140 ขึ้นไป

98 ข้อใดเป็นองค์ประกอบการวัดสติปัญญาของเวคสเลอร์

(1) ความช่างสังเกต

(2) การใช้มโนภาพ

(3) ความรู้ทั่วไป

(4) ความสามารถใช้คํา

(5) การทํางานประสานกันระหว่างมือกับตา

ตอบ 3 หน้า 330 องค์ประกอบการวัดสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechsler) แบ่งข้อทดสอบออกเป็น 2 หมวด ดังนี้คือ

1 ข้อทดสอบเชิงภาษา ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 6 ชุด ได้แก่ ความรู้ทั่วไป ความเข้าใจเลขคณิต ความคล้ายกัน การจําช่วงตัวเลข และคําศัพท์

2 ข้อทดสอบแบบประกอบการ ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 5 ชุด ได้แก่ สัญลักษณ์ตัวเลขการเพิ่มรูปภาพ การออกแบบก้อนสี่เหลี่ยม การลําดับภาพ และการประกอบชิ้นส่วน

99 การวัดความสามารถทางสติปัญญาจะคํานวณตามข้อใด

(1) อายุสมองคูณด้วยอายุจริงตามปฏิทิน

(2) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองเละอายุจริงตามปฏิทิน

(3) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองเละอายุจริงตามปฏิทิน คูณด้วย 100

(4) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงตามปฏิทินและอายุสมอง

(5) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงตามปฏิทินและอายุสมอง คูณด้วย 100

ตอบ 3 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า I.Q.(Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = M.A. ) และ อายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = C.A.) คูณด้วย 100

100 แบบวัดสติปัญญาใดที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต

(1) Stanford-Binet

(2) WAIS

(3) WPPS1

(4) MMPI

(5) Progressive Matrices

ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตริซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคลในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต

101 ข้อใดคือคุณสมบัติของความเป็นมาตรฐาน

(1) มีความยากง่ายที่เหมาะสม

(2) การให้ผลคะแนนเหมือนเดิมไม่ว่าจะวัดกี่ครั้ง

(3) การวัดได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการวัด

(4) ความมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

(5) การให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน

ตอบ 4 หน้า 328 ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) หมายถึง ความมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ การตรวจให้คะแนนและการแปลความหมายของคะแนน ซึ่งนับเป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่จะต้องคํานึงถึงในการสร้างแบบทดสอบ

102 ข้อใดเป็นระยะห่างระหว่างบุคคลที่ใช้เมื่อเป็นการประชุมในบริษัท

(1) ระยะสนิทสนม

(2) ระยะส่วนตัว

(3) ระยะสังคม

(4) ระยะห่างไกล

(5) ระยะสาธารณะ

ตอบ 3 หน้า 378 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

1 ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะกับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ

2 ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษาให้คําปรึกษากับนักศึกษา ครูนั่งสอนนักเรียนอยู่ที่โต๊ะหน้าห้อง ฯลฯ มักเอื้อมมือ ” ถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ

3 ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ

4 ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

103 “ครูนั่งสอนนักเรียนอยู่ที่โต๊ะหน้าห้อง” เป็นระยะห่างระหว่างบุคคลระยะใด (1) ระยะสนิทสนม

(2) ระยะส่วนตัว

(3) ระยะสังคม

(4) ระยะห่างไกล

(5) ระยะสาธารณะ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 102 ประกอบ

104 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน

(1) ความใกล้ชิดทางกาย

(2) ความคล้ายคลึงกัน

(3) ความใจดี

(4) ความสามารถ

(5) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย

ตอบ 3 หน้า 380 381 ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน มีดังนี้

1 ความใกล้ชิดทางกาย

2 ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย

3 ความสามารถ

4 ความคล้ายคลึงกัน

105 “เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารแตกต่างกันระหว่างบุคคลและพฤติกรรมของกลุ่ม” จากข้อความดังกล่าวเป็นการบรรยายถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม

(1) สถานการณ์การเสนอแนะ

(2) สถานการณ์การคล้อยตาม

(3) สารชักจูง

(4) การอภิปรายกลุ่ม

(5) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

ตอบ 2 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ

1 สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำๆ โดยปราศจากการอธิบาย

2 สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม

3 การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น

  1. สารชักจูง เป็นข้อความที่มีการขัดเกลาคําพูดเป็นอย่างดีแล้ว และใช้การสื่อสารทางเดียว

5 การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่นเป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน

106 “คุณแพรวเสนอร้านอาหารที่ตนเองอยากทานโดยการพูดซ้ำ ๆ เพื่อให้แฟนเลือกร้านดังกล่าวสําหรับการทานอาหารเย็น” แสดงถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม

(1) สถานการณ์การเสนอแนะ

(2) สถานการณ์การคล้อยตาม

(3) สารชักจูง

(4) การอภิปรายกลุ่ม

(5) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 105 ประกอบ

107 “อํานาจมาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ” จากข้อความดังกล่าวหมายถึงอํานาจประเภทใด

(1) อํานาจในการให้รางวัล

(2) อํานาจในการบังคับ

(3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจตามการอ้างอิง

(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

ตอบ 4 หน้า 385 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม โดยอํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ

1 อํานาจในการให้รางวัล คือ การให้รางวัลแก่บุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้

2 อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม

3 อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม

4 อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ

5 อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับผู้ที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญ

108 “ตํารวจออกใบสั่งให้กับคนที่ขับรถฝ่าไฟแดง” พฤติกรรมดังกล่าวแสดงถึงอํานาจประเภทใด

(1) อํานาจในการให้รางวัล

(2) อํานาจในการบังคับ

3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจตามการอ้างอิง

(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 107 ประกอบ

109 ข้อใดตรงกับลักษณะ “การตัดสินใจล่วงหน้า สงสัย กลัว เกลียดอย่างไม่มีเหตุผล

(1) ความไม่ใส่ใจ

(2) อคติ

(3) เจตคติ

(4) พฤติกรรมก้าวร้าว

(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 2 หน้า 392 อคติ เป็นเจตคติทางลบหรือการตัดสินล่วงหน้า เกิดจากความสงสัย ความกลัว และความเกลียดอย่างไม่สมเหตุสมผล บ่อยครั้งที่เจตคติเกิดจากโครงสร้างของอํานาจทางสังคมซึ่งมักเป็นอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ เพศ หรืออายุ และนํามาสู่การแบ่งแยก

110 “คุณหยกมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นของตนเอง โดยไม่ใช้คําพูดทําร้ายผู้อื่น” พฤติกรรมดังกล่าวแสดงถึงพฤติกรรมอะไร

(1) พฤติกรรมการช่วยเหลือ

(2) พฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก

(3) พฤติกรรมก้าวร้าว

(4) พฤติกรรมเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 5 หน้า 396 397 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม เป็นพฤติกรรมของบุคคลที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น/ความรู้สึก/ความปรารถนาและความเชื่อของ ตนเองอย่างตรงไปตรงมา และเหมาะสมกับกาลเทศะ ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น โดยไม่ใช้คําพูดหรือกิริยาท่าทางทําร้ายผู้อื่น (ตรงข้ามกับพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการคุกคามสิทธิของตนเอง โดยไม่กล้าแสดงความคิด/ความรู้สึกและความเชื่อของตนออกมา ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จึงยอมให้ผู้อื่นคุกคามตนเอง)

111 การให้เหตุผลว่า “คนที่ปรับตัวดีคือมีสมดุลของอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้” มาจากแนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มใด

(1) จิตวิเคราะห์

(2) พฤติกรรมนิยม

(3) มนุษยนิยม

(4) จิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด

ตอบ 1 หน้า 343 นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ เห็นว่า คนที่ปรับตัวไม่ได้มีสาเหตุมาจากพลังอิโก้มีการพัฒนาที่อ่อนแอเกินไป ทําให้ไม่แกร่งพอที่จะสร้างความสมดุลระหว่างพลังอิดและซูเปอร์อิโก้ได้ ดังนั้นผู้ที่ปรับตัวดี คือ ผู้ที่มีการพัฒนาการที่สมดุลของอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้

112 ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีน้อยที่สุด

(1) ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น

(2) ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

(3) มีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น

(4) ต้องไม่ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

(5) ช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้น

ตอบ 3 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสมเป็นการปรับตัวของบุคคลที่เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของเขาเอง ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น

113 ตามแนวคิดของไฟด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) คนแบบใดมีความเครียดน้อยที่สุด

(1) คนที่มุ่งความสําเร็จ

(2) คนที่ไม่ชอบความเร่งรีบ

(3) คนที่เก็บกดอารมณ์ไม่แสดงออก

(4) คนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ

(5) คนที่ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเอง

ตอบ 2 หน้า 348, (คําบรรยาย) ไฟด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) ได้แบ่งกลุ่มคนตามลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 กลุ่ม A (Type A Personality) เป็นคนใจเร็ว ใจร้อน ชอบความก้าวหน้า การแข่งขันสูง มุ่งความสําเร็จ/ผลสัมฤทธิ์ ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเอง และชอบความสมบูรณ์แบบ

2 กลุ่ม B (Type B Personality) เป็นคนที่ไม่เร่งรีบ ผ่อนคลาย ทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือชอบทํางานที่ละอย่าง ซึ่งมีผลให้มีความเครียดน้อยที่สุด/ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

114 เมื่อเกิดความผิดพลาดในชีวิต บุคคลพูดกับตนเองว่า “ไม่เป็นไร พลาดครั้งนี้ยังมีครั้งหน้า” วิธีนี้ถือเป็น กลยุทธ์ในการลดความเครียดวิธีใด

(1) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น

(2) เรียนรู้การพูดให้ตนเองสบายใจ

(3) แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงพอใจ

(4) การใส่ใจดูแลตนเอง

(5) การหากิจกรรมเพื่อการผ่อนคลายความเครียด

ตอบ 2 หน้า 353 354 กลยุทธ์ในการลดความเครียด มีหลายวิธี ได้แก่

1 แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงใจ ทั้งบุคคลแวดล้อมและสถานที่แวดล้อมที่ถูกใจ

2 ใส่ใจดูแลตนเองให้ดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต อย่าจริงจังกับชีวิตมากเกินไป 3 รู้จักทํากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น ออกกําลังกาย ทําสวน เล่นดนตรี ฯลฯ 4 เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น อาหารพวกปลา ผัก ผลไม้ ฯลฯ

5 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ

6 เรียนรู้วิธีพูดให้ตนเองสบายใจ โดยพูดให้กําลังใจตนเอง เช่น ไม่เป็นไร ทําดีที่สุดแล้ว ฯลฯ

115 อาการทางกายใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคคล

(1) ท้องผูก

(2) ปัญญาอ่อน

(3) นอนไม่หลับ

(4) ไมเกรน

(5) ความดันโลหิตสูง

ตอบ 2 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือโรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ท้องร่วง ท้องผูก โรคหัวใจ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) ฯลฯ

116 ข้อใดอธิบายถูกต้องเกี่ยวกับ “กลไกป้องกันทางจิต” ที่ใช้ในการปรับตัว

(1) กลไกป้องกันทางจิตมักเกิดขึ้นในระดับจิตรู้สํานึก

(2) กลไกป้องกันทางจิตไม่สามารถใช้เพื่อหลีกเลี่ยงความกลัวต่าง ๆ ที่รบกวนจิตใจได้

(3) เป็นกลยุทธ์ที่มนุษย์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่คับข้องใจอย่างเหมาะสม

(4) การใช้กลไกทางจิตบ่อยเกินไปอาจนําไปสู่ภาวะโรคประสาทได้

(5) การใช้กลไกทางจิตช่วยปกปิด “จุดบอด” ของบุคลิกภาพได้

ตอบ 4 หน้า 357 กลไกป้องกันทางจิตมักเกิดขึ้นในระดับจิตใต้สํานึก เป็นกลยุทธ์ที่มนุษย์ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธความวิตกกังวลหรือความกลัวต่าง ๆ ที่มารบกวนจิตใจได้ การใช้กลไกป้องกันทางจิตมากหรือบ่อยเกินไปอาจนําไปสู่ภาวะของโรคประสาทได้ และการใช้กลไกป้องกันทางจิตโดยไม่ตระหนักว่าเรากําลังปกป้องตัวเองอยู่จะก่อให้เกิด “จุดบอด” ของบุคลิกภาพได้

117 “รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้กลไกป้องกันทางจิตประเภทใด

(1) การโยนความผิด

(2) การหาสิ่งทดแทน

(3) การเก็บกด

(4) การไม่รับรู้ความจริง

(5) การไม่นําความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง

ตอบ 1 หน้า 359 การโยนความผิด (Projection) เป็นการกล่าวโทษผู้อื่นในความผิดที่ตนเองกระทําเพื่อให้ความรู้สึกผิดของตนเองมีน้อยลง หรือเป็นการผลักความคิด/ความรู้สึกที่ไม่ดีที่ตนเองมี แต่เจ้าตัวไม่ยอมรับออกไปให้พ้นตัว โดยพูดว่าเป็นความคิดหรือความรู้สึกของคนอื่น ๆ แทนเข้าทํานอง “รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง”

118 ตามแนวคิดการปรับตัวทางร่างกายเมื่อเกิดความเครียดของเซลเย (Selye) ช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม เกิดขึ้นในขั้นตอนใด

(1) ขั้นระยะตื่นตัว

(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก

(3) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย

(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า

(5) ขั้นระยะถดถอย

ตอบ 2 หน้า 351 เซลเย (Selye) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียดพบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ

1 ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม

2 สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น

3 ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกายเกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-Out คือ ไปต่อไม่ได้

119 “หนีเสือปะจระเข้” เป็นความขัดแย้งใจชนิดใด

(1) Approach-Approach Conflicts

(2) Avoidance-Avoidance Conflicts

(3) Approach-Avoidance Conflicts

(4) Double Approach-Avoidance Conflicts

(5) Double Approach-Approach Conflicts

ตอบ 2 หน้า 361 – 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ

1 อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่

2 อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก

3 ทั้งรักและชัง (Approach-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกันจึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ

4 ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือกทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจหมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ำ แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ

120 ความขัดแย้งประเภทใดที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและ ทําอะไรไม่ถูก

(1) อยากได้ทั้งคู่

(2) อยากหนีทั้งคู่

(3) ทั้งรักและซัง

(4) ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 119 ประกอบ

 

 

PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 คําจํากัดความของบุคลิกภาพที่ว่า “โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม” เป็นคําจํากัดความของใคร

(1) ฟรอยด์

(2) แอดเลอร์

(3) อัลพอร์ท

(4) มาสโลว์

(5) เอริกสัน

ตอบ 3 หน้า 284 อัลพอร์ท (Alport) กล่าวว่า บุคลิกภาพ คือ โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของเอกัตบุคคลที่ทําให้เขามีเอกลักษณ์ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบจิตสรีระของมนุษย์นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุที่ทําให้บุคคลต้องปรับตัว และการปรับตัวที่ต่างกันของบุคคลแต่ละคนจะทําให้บุคลิกภาพต่างกันด้วย

2 ฟรอยด์กล่าวถึงบุคลิกภาพของมนุษย์ไว้อย่างไร

(1) บุคลิกภาพเกิดจากการวางเงื่อนไข

(2) บุคลิกภาพได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเท่านั้น

(3) การพัฒนาตัวตนไปสู่ความสมบูรณ์ต้องอาศัยความเข้าใจตนเองอย่างจริงแท้ (4) พฤติกรรมของมนุษย์ได้รับอิทธิพลมาจากจิตใต้สํานึก

(5) การเสริมแรงทางบวกจะทําให้เกิดพัฒนาการทางบุคลิกภาพ

ตอบ 4 หน้า 291 292, (คําบรรยาย) ฟรอยด์ (จิตวิเคราะห์) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์มาจากแรงจูงใจของจิตใต้สํานึกหรือได้รับอิทธิพลมาจากจิตใต้สํานึก โดยเน้นสัญชาตญาณทางเพศและความก้าวร้าวเป็นหลัก

3 ส่วนของบุคลิกภาพที่เป็นกระบวนการทํางานขั้นต้น (Primary Process) คือ

(1) Id

(2) Ego

(3) Superego

(4) Unconscious

(5) Conscious

ตอบ 1 หน้า 288 ส่วนของบุคลิกภาพที่เป็นกระบวนการทํางานขั้นต้น (Primary Process) คืออิด (Id) ที่ยึดแต่ความพึงพอใจเป็นหลักโดยไม่คํานึงถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนกระบวนการ ทํางานขั้นที่ 2 (Secondary Process) คือ อีโก้ (Ego) ที่ยึดหลักแห่งความเป็นจริงโดยร่วมกับกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล

4 ส่วนของจิตใจที่ฟรอยด์เปรียบเทียบว่าเหมือนส่วนยอดภูเขาน้ำแข็งที่ลอยพ้นน้ำคืออะไร

(1) Id

(2) Ego

(3) Superego

(4) Unconscious

(5) Conscious

ตอบ 5 หน้า 11, 289 ส่วนของจิตที่ฟรอยด์เปรียบเทียบว่าเหมือนส่วนยอดภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือน้ำหรือพ้นน้ำ คือ จิตสํานึก (Conscious), ส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ คือ จิตใต้สํานึก (Unconscious)และส่วนที่อยู่ปริ่มน้ำ คือ จิตก่อนสํานึก (Preconscious)

5 มนุษย์มีอิสรภาพที่จะตัดสินใจและกําหนดชะตาชีวิตของตนเอง เป็นแนวคิดในกลุ่มทฤษฎีใด

(1) จิตวิเคราะห์

(2) มนุษยนิยม

(3) เกสตัลท์

(4) พฤติกรรมนิยม

(5) ปัญญานิยม

ตอบ 2 หน้า 292 นักมนุษยนิยม มองว่า มนุษย์มีอิสรภาพที่จะตัดสินใจและกําหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเอง และสามารถ รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้กระทําลงไป

6 แนวคิดของเซลดอน (Sheldon) กล่าวว่า บุคคลที่มีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน ชอบกิน ๆ นอน ๆ คือ

(1) Endomorphy

(2) Mesomorphy

(3) Exsomorphy

(4) Suprememorphy

(5) Stablemorphy

ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) แบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบายโกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุหรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ

2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย เฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง  โมโหยากแต่หายช้า ไม่กล้าแสดงออก พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้งเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

7 การกล่าวว่า “คนไทยใจดี” “คนใต้รักพวกพ้อง” “คนเหนือพูดสุภาพ” เหล่านี้ถือว่าเป็นการแบ่งกลุ่มอุปนิสัย ในลักษณะใดตามทฤษฎีของอัลพอร์ท

(1) ลักษณะสามัญ

(2) ลักษณะเฉพาะเจาะจง

(3) ลักษณะแฝง

(4) ลักษณะประจําตัวดั้งเดิม

(5) ลักษณะพื้นผิว

ตอบ 1 หน้า 294 296 อัลพอร์ท (Allport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง เชื่อว่า การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน จะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกัน มีความคล้ายคลึงกันได้ เรียกว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือพูดจาสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยใจดี คนญี่ปุ่นมีระเบียบวินัย ฯลฯ

8 ตามทฤษฎีของฟรอยด์ หากบิดามารดาเคร่งครัดเข้มงวดต่อการขับถ่ายของเด็กช่วงอายุ 2 – 3 ปี บุคคลนั้น จะเติบโตมาโดยมีแนวโน้มบุคลิกภาพเช่นใด

(1) พูดคําหยาบ ปากจัด ชอบถากถาง

(2) ชอบกิน

(3) ติดบุหรี่หรือยาเสพติด

(4) เบี่ยงเบนทางเพศ

(5) จู้จี้เจ้าระเบียบ

ตอบ 5 หน้า 299 ขั้นพัฒนาการของฟรอยด์ในขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage) เกิดในช่วงอายุ 2 – 3 ปี ซึ่งเด็กจะมีศูนย์กลางความพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนัก เด็กจะพอใจที่ได้ปลดปล่อย หากในช่วงนี้บิดามารดาที่เคร่งครัดเข้มงวดกับเด็กมากเกินไปในเรื่องการขับถ่าย เมื่อเด็กโตขึ้น จะเกิดความขัดแย้งใจ มีแนวโน้มบุคลิกภาพที่จู้จี้เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดจนเกินเหตุ และบางครั้งอาจมีพฤติกรรมประเภทดื้อรั้นและดันทุรังได้

9 แบบทดสอบ MAPI คือแบบทดสอบกลุ่มใด

(1) แบบสอบถาม

(2) การสัมภาษณ์

(3) การสังเกต

(4) การฉายภาพจิต

(5) การกําหนดสถานการณ์

ตอบ 1 หน้า 304 – 308, 315 เครื่องมือที่ใช้วัดบุคลิกภาพของบุคคล มีดังนี้

1 การสัมภาษณ์

2 การสังเกตโดยตรง

3 การกําหนดสถานการณ์

4 การใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบทดสอบ MMPI, CPI และ 16 PF

5 การฉายภาพจิต ได้แก่ แบบทดสอบรอร์ชาค และ TAT

10 แบบทดสอบที่ให้ดูภาพหยดหมึกและให้ตอบว่าเหมือนอะไรคือแบบทดสอบใด

(1) TAT

(2) MMPI

(3) 16 PF

(4) Rorschach

(5) CPI

ตอบ 4 หน้า 308 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1 แบบทดสอบรอร์ช”ค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาตอบว่าภาพนั้นเหมือนอะไรหรือเขาเห็นอะไรในรูปนั้นบ้าง

2 แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาบรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

11 ใครคือผู้นิยามความหมายของสติปัญญา ดังนี้ “สติปัญญาเป็นความสามารถในการที่จะทํากิจกรรมต่าง ๆ ให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี”

(1) อัลเฟรด บิเนต

(2) เดวิด เวคสเลอร์

(3) จอร์จ สต๊อดดาร์ด

(4) โฮวาร์ด การ์ดเนอร์

(5) ฟรานซิสกัลตัน

ตอบ 3 หน้า 321 จอร์จ สต๊อดดาร์ด (George Stoddard) กล่าวว่า สติปัญญาเป็นความสามารถในการที่จะทํากิจกรรมต่าง ๆ ให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี อันได้แก่ กิจกรรมที่มีความสลับซับซ้อนที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ที่มีคุณค่าทางสังคม และที่ต้องใช้ความอดทน ฯลฯ

12 บุคคลที่พัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญาฉบับแรกคือ

(1) บิเนต์ และไซมอน

(2) เวคสเลอร์

(3) เทอร์แมน

(4) เทอร์สโตน และกิลฟอร์ด

(5) เมอร์ริล

ตอบ 1 หน้า 324, 336 อัลเฟรด บิเนต์ (Alfred Binet) และธีโอฟิล ไซมอน (Theophile Simon) ได้สร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญารายบุคคลขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1905 เพื่อแยกเด็กที่มีความผิดปกติทางสมองออกจากเด็กปกติ

13 จากทฤษฎีสองตัวประกอบของ สเปียร์แมน “G-factor” คืออะไร

(1) ความสามารถเฉพาะตัวของบุคคล

(2) ความสามารถใช้คําได้คล่องแคล่ว

(3) การใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไป และทุกคนมีเหมือนกันหมด

(4) ความสามารถในการจํา

(5) ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ

ตอบ 3 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1 ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด

2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

14 หากเด็กหญิงสมฤดีทําแบบทดสอบได้อายุสมอง 40 เดือน อายุจริงตามปฏิทินเท่ากับ 3 ปี เด็กหญิงสมฤดีจะมีคะแนนความสามารถทางสติปัญญา (IQ) เท่ากับ (หากมีเศษให้ปัดลง)

(1) 111

(2) 99

(3) 88

(4) 77

(5) 11

ตอบ 1

15 หากเด็กหญิงอมรรัตน์ทําแบบทดสอบได้คะแนนความสามารถทางสติปัญญา (IQ) เท่ากับ 95 แสดงว่า

(1) ปัญญาอ่อน

(2) ปัญญาคาบเส้น

(3) ปัญญาทึบ

(4) ปกติ

(5) ค่อนข้างฉลาด

ตอบ 4 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (I.O.) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้

1 ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70

2 คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ. 71 – 80

3 ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ I.Q. 81 – 90

4 เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.Q. 91 – 110 ซึ่งถือเป็นระดับปานกลาง

5 ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ I.Q. 111 – 120

6 ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140

7 อัจฉริยะ (Genius) มีระดับ I.Q. 140 ขึ้นไป

16 คุณสมบัติใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาตรฐาน (Standardization) ของแบบทดสอบ

(1) กําหนดเวลาที่แน่นอนในการทดสอบ

(2) กําหนดคําสั่งในการทดสอบไว้ชัดเจน

(3) แสดงตัวอย่างในการตอบ

(4) มีเกณฑ์ปกติ

(5) ทฤษฎีรองรับ

ตอบ 5 หน้า 328 329 ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) หมายถึง ความมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ การตรวจให้คะแนน และการแปลความหมายของคะแนน (การแปลผล) โดยแบบทดสอบที่มีมาตรฐานจะต้องมีลักษณะดังนี้

1 กําหนดเวลาในการทดสอบที่แน่นอน

2 กําหนดคําสั่งหรือคําแนะนําในการทดสอบไว้ชัดเจน

3 แสดงตัวอย่างในการตอบข้อสอบ

4 มีวิธีการให้คะแนนที่แน่นอน

5 มีเกณฑ์ปกติ (Norms) หรือค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนปกติทั่ว ๆ ไป

17 ข้อใดเป็นแบบทดสอบวัดสติปัญญาที่สามารถใช้ทดสอบเป็นรายกลุ่มได้

(1) Stanford-Binet

(2) WAIS

(3) WISC

(4) Standard PM

(5) WPPSI

ตอบ 4 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีพเมตริซีส (Progressive Matrices Test) เป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) มี 3 ฉบับ คือ Standard PM (ใช้กับผู้ใหญ่), Coloured PM (ใช้กับเด็ก) และ Advanced PM (ใช้กับผู้ใหญ่ที่ฉลาด) โดยแบบทดสอบทั้ง 3 ฉบับนี้ สามารถ

ใช้ทดสอบเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้

18 แบบทดสอบที่มีโครงสร้างที่วัดความสามารถด้านภาษา (Verbal) และการประกอบการ (Performance) คือ

(1) Stanford-Binet

(2) Coloured PM

(3) Advanced PM

(4) Standard PM

(5) WISC

ตอบ 5 หน้า 330, 333 แบบทดสอบสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechsler) มี 3 ฉบับคือ WAIS (ใช้กับผู้ใหญ่อายุ 16 – 75 ปี), WISC (ใช้กับเด็กอายุ 5 – 15 ปี) และ WPPSI (ใช้กับเด็ก อายุ 4 – 6 ปี) ซึ่งแบบทดสอบทั้ง 3 ฉบับนี้จะมีโครงสร้างเหมือนกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 เป็นแบบทดสอบที่วัดความสามารถเชิงภาษา (Verbal Scale) และหมวดที่ 2 เป็นแบบทดสอบประกอบการ (Performance Scale)

19 แบบทดสอบที่มีความเชื่อถือได้ (Reliability) คือลักษณะใด

(1) มีความคงที่ของคะแนน

(2) วัดในสิ่งที่ต้องการวัด

(3) มีแบบแผนในการทดสอบ

(4) มีคําสั่งในการทดสอบชัดเจน

(5) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครจะเป็นคนตรวจให้คะแนน

ตอบ 1 หน้า 328 ความเชื่อถือได้ (Reliability) เป็นความเที่ยงของแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน โดยแบบทดสอบที่ดีนั้นผู้รับการทดสอบจะต้องทําคะแนนได้ตรงกันทั้งสองครั้ง ในวันและเวลาต่างกัน

20 ข้อใดกล่าวผิด

(1) ผู้ทําแบบทดสอบสติปัญญาต้องชํานาญเกี่ยวกับเครื่องมือ

(2) ผู้รับการทดสอบสติปัญญาต้องให้ความร่วมมือ ผลการทดสอบจึงเที่ยงตรง

(3) สภาพแวดล้อมขณะทดสอบต้องสงบนิ่ง และมีสิ่งรบกวนน้อยที่สุด

(4) บุคคลทั่วไปสามารถซื้อแบบทดสอบสติปัญญามาฝึกฝนได้ด้วยตนเองได้ตามคู่มือแนะนํา

(5) ผู้รับการทดสอบที่มีความบกพร่องทางภาษาไม่สามารถทําแบบทดสอบสติปัญญาได้

ตอบ 4 หน้า 332 พื้นฐานสําคัญประการหนึ่งที่ผู้ใช้แบบทดสอบจะต้องมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ คือ การขายและการใช้แบบทดสอบจะกระทําได้แต่เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียงพอในการใช้ แบบทดสอบเท่านั้น (บุคคลทั่วไปจะไม่สามารถซื้อแบบทดสอบได้)

 

ข้อ 21 – 25 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ไม่รับรู้ความจริง

(2) การกล่าวโทษผู้อื่น

(3) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน

(4) การถอยหลังเข้าคลอง

(5) การชดเชยสิ่งที่ขาด

 

21 พรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งกล่าวว่าตนเองแพ้การเลือกตั้งเพราะอีกฝ่ายทุจริต ถือเป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

ตอบ 2 หน้า 357 – 358 การกล่าวโทษผู้อื่นด้วยการพยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเอง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาหน้าหรือภาพพจน์ของตัวเองเอาไว้ ถือเป็นกลไกป้องกันทางจิตที่ใช้กันอยู่เสมอ จัดเป็นการปรับอารมณ์อย่างหนึ่ง แต่ถ้าใช้มากไปก็อาจทําให้กลายเป็นคนที่ไม่กล้ายอมรับความจริงมีอะไรผิดพลาดก็โทษผู้อื่นหรือโทษสิ่งอื่นแทน

22 นายสมพรไม่เชื่อที่นายแพทย์แจ้งว่าบุตรของตนเสียชีวิตแล้ว ถือเป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

ตอบ 1 หน้า 359 การไม่รับรู้ความจริง (Denial) คือ การไม่ยอมรับหรือปฏิเสธความจริง เพราะสภาพจิตยอมรับไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยที่รู้ว่าตนเองเป็นโรคร้าย แต่ยอมรับสภาพความจริงไม่ได้ ก็จะปฏิเสธการเข้ารับการรักษา ฯลฯ ซึ่งฟรอยด์ถือว่าการปฏิเสธไม่รับรู้ความจริงนี้จัดเป็นกลไกทางจิตที่มีระดับความรุนแรงที่สุด

23 นางมยุรีร้องไห้สะอึกสะอื้นกับบุตร หลังพบว่าบุตรของตนสอบเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดังไม่ได้ ถือเป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

ตอบ 4 หน้า 359 การถอยหลังเข้าคลอง (Regression) เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่ใช้ในการปรับตัวของบุคคลที่รับสภาพปัจจุบันที่ถูกคุกคามไม่ได้ จึงถอยหลังไปแสดงพฤติกรรมเหมือนเด็ก ๆ อีกครั้งหนึ่ง ทั้งที่ผ่านพ้นช่วงพฤติกรรมนั้นมานานแล้ว เช่น การกระทืบเท้า การปิดประตูดังปัง การปัสสาวะรดที่นอน การพูดไม่ชัด การร้องไห้สะอึกสะอื้น ฯลฯ

24 ผู้อํานวยการกล่าวยินดีต้อนรับกับอธิบดีคนใหม่ที่เขาไม่ชอบขี้หน้า ถือเป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

ตอบ 3 หน้า 359 ปฏิกิริยากลบเกลื่อน (Reaction-formation) เป็นวิธีการที่บุคคลเก็บกดความรู้สึกที่แท้จริงไว้ และแสดงออกในทางตรงข้ามที่สังคมยอมรับ เช่น แม่ที่เกลียดลูกเลี้ยงของตนเอง แต่แกล้งแสดงออกด้วยความรัก ซึ่งเป็นการเสแสร้งไม่จริงใจ มีลักษณะปากหวานก้นเปรี้ยว หรือหน้าเนื้อใจเสือ ฯลฯ

25 นายสมศักดิ์กล่าวถึงตนเองว่าไม่หล่อแต่รวย ถือเป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

ตอบ 5 หน้า 358 การชดเชยสิ่งที่ขาด (Compensation) เป็นกลไกป้องกันทางจิตที่บุคคลใช้เพื่อชดเชยจุดอ่อนหรือปมด้อยของตัวเอง โดยหาจุดเด่นอื่นมาลบล้าง เช่น หน้าตาไม่หล่อแต่นิสัยดี ตาพิการแต่ร้องเพลงเก่ง ฯลฯ ถือเป็นวิธีการปรับอารมณ์ทางบวกมากกว่าวิธีอื่น

26 นายมนัสต้องเลือกลงทะเบียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาสถิติ ซึ่งตนเองไม่ถนัดทั้งสองวิชา แสดงว่า นายมนัสเผชิญกับความขัดแย้งแบบใด

(1) Approach-Approach Conflict

(2) Approach-Avoidance Conflict

(3) Avoidance-Avoidance Conflict

(4) Double Approach Avoidance Conflict

(5) Double Avoidance Conflict

ตอบ 3 หน้า 361 ความขัดแย้งใจแบบอยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflict) หรือแบบชัง-ชัง เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงพอใจทั้งคู่ เปรียบได้กับการหนีเสือปะจระเข้ เช่น ต้องเลือกลงทะเบียนระหว่างวิชาคณิตศาสตร์หรือวิชาสถิติซึ่งตนเองไม่ถนัดทั้ง 2 วิชา ไม่อยากเป็นทหารแต่ก็ไม่อยากหนีการเกณฑ์ทหาร ฯลฯ

27 ข้อใดกล่าวผิด

(1) สมศรีค่อย ๆ ทํางาน ไม่รีบร้อน ค่อยเป็นค่อยไป แสดงว่ามีบุคลิกภาพแบบ B (2) ความเครียดมิได้มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์

(3) ภาวะที่ร่างกายเตรียมเผชิญกับความเครียดคือปฏิกิริยาตื่นตระหนก

(4) มนุษย์มีความทนต่อแรงกดดันแตกต่างกัน

(5) อุปนิสัยส่วนตัวเป็นสาเหตุหนึ่งของความเครียด

ตอบ 2 หน้า 368 ความเครียด เป็นสภาวะที่บุคคลเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือเป็นอันตราย ความเครียดมักมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ เช่น มีโรคหลายชนิดที่มีสาเหตุมาจากความเครียด ดังนั้นการลดความเครียดจึงเป็นสิ่งจําเป็นในชีวิตประจําวันของมนุษย์

28 ข้อใดกล่าวผิด

(1) ความก้าวร้าวเป็นผลจากความคับข้องใจ

(2) หากมีความคับข้องใจบ่อย จะยิ่งมีการตอบสนองที่รุนแรง

(3) การฝันกลางวันเป็นการปรับตัวประเภทหนึ่ง

(4) ความคับข้องใจจะมากหรือน้อยไม่ขึ้นอยู่กับแรงขับ

(5) การใช้สิ่งมึนเมาหรือยาเสพติดเป็นวิธีการปรับตัวประเภทหนึ่ง

ตอบ 4 หน้า 355 ความก้าวร้าวเป็นผลมาจากความคับข้องใจ ถ้าแรงขับไปสู่เป้าหมายมีความรุนแรงมากเท่าใด ความคับข้องใจก็จะเพิ่มอย่างรุนแรงตามไปด้วย และถ้าเราถูกกระตุ้นให้คับข้องใจบ่อยครั้งเท่าใดก็จะยิ่งมีการตอบโต้ที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

29 ข้อใดไม่ใช่วิธีการลดความเครียดในชีวิตประจําวัน

(1) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

(2) เรียนรู้วิธีพูดให้ตัวเองสบายใจ

(3) แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พอใจ

(4) นอนหลับให้เพียงพอ

(5) รับประทานอาหารที่ชอบ

ตอบ 5 หน้า 351 353 วิธีการลดความเครียดในชีวิตประจําวัน มีดังนี้

1 แสวงหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งพอใจ

2 ใส่ใจดูแลตนเองให้ดี เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

3 รู้จักทํากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น นั่งสมาธิ ออกกําลังกาย เล่นดนตรี ฯลฯ

4 เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ปลา ผัก ผลไม้ ฯลฯ

5 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

6 เรียนรู้วิธีพูดให้ตนเองสบายใจ

30 โรคใดต่อไปนี้ไม่ได้มีสาเหตุจากความเครียด

(1) โรคกระเพาะ

(2) โรคไมเกรน

(3) โรคท้องร่วง

(4) โรคสมองพิการ

(5) โรคความดันโลหิตสูง

ตอบ 4 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือโรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคท้องร่วง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) เป็นต้น

31 ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับการรับรู้และการสัมผัส

(1) การรับรู้ไม่จําเป็นต้องอาศัยการรับสัมผัส

(2) การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส

(3) การสัมผัสเป็นกระบวนการแปลความหมายของการรับรู้

(4) การรับรู้และการสัมผัสเป็นกระบวนการที่ไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของบุคคล (5) การสัมผัสคือการที่สิ่งเร้ามากระทบความต้องการ แล้วจึงเกิดพฤติกรรม

ตอบ 2 หน้า 57, 60 ความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้ คือ การสัมผัสเป็นกระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอกมาสู่ระบบประสาทและเปลี่ยนเป็นการรับรู้ ส่วนการรับรู้เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการสัมผัส เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส

32 การรับรู้คุณสมบัติของสีต่าง ๆ คือสีแดง หรือเขียว หรือน้ำเงิน เกิดจากการทํางานของสิ่งใด

(1) ตัวสี (Hue)

(2) ความสว่าง

(3) ความบริสุทธิ์

(4) รอดส์

(5) โคนส์

ตอบ 1 หน้า 63 ส่วนใหญ่แล้วสีต่าง ๆ มีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ

1 ตัวสี (Hue) เช่น สีเขียว แดง ม่วง ฯลฯ

2 ความสว่างของสี (Brightness) หมายถึง สีเดียวกันอาจมีความสว่างต่างกัน 3 ความบริสุทธิ์ของสี (Saturation) หมายถึง สีที่อิ่มตัวเป็นสีบริสุทธิ์จะมีคลื่นแสงเดียวไม่มีคลื่นแสงอื่นเข้ามาปะปนให้เจือจางลงไป

33 บริเวณบนเรตินาของลูกตาที่ไม่มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกอยู่เลย เรียกว่าอะไร

(1) โฟเวีย (Fovea)

(2) จุดบอด (Blind Spot)

(3) ปมประสาท (Ganglion)

(4) ตุ๊กตา (Pupils)

(5) ประสาทตา (Optic Nerve)

ตอบ 2 หน้า 61, (คําบรรยาย) บริเวณเรตินาของลูกตาที่ไม่มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกอยู่เลยเรียกว่า จุดบอด (Blind Spot) ซึ่งเป็นจุดที่การมองเห็นไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย

34 “หน้าผามายา” เป็นการทดลองเกี่ยวกับอะไร

(1) ความลึก

(2) ความสูง

(3) ความเหมือน

(4) ความคล้ายคลึงกัน

(5) ความสว่าง

ตอบ 1 หน้า 72 จากการทดลองเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทางโดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า“หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใสกับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน) เด็กจะไม่กล้าคลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้ถือเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์อันเป็นลักษณะที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง

35 การล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เรียกว่าอะไร

(1) Telepathy

(2) Precognition

(3) Clairvoyance

(4) Illusion

(5) Hallucinations

ตอบ 2 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

2 ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส

3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

36 แนวโน้มที่จะรับรู้วัตถุสองอย่างที่กําลังเคลื่อนไหวมากกว่าส่วนอื่น ๆ ที่อยู่โดยรอบ

(1) Commonfate

(2) Closure

(3) Continuity

(4) Similarity

(5) Proximity

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การมองความเคลื่อนไหว (Commonfate) คือ แนวโน้มที่คนเรามักจะมองและรับรู้วัตถุสองอย่างที่กําลังเคลื่อนไหวมากกว่าส่วนอื่น ๆ ที่อยู่โดยรอบ

37 ในทางพุทธศาสนา การสัมผัสสามารถจะเข้ามาได้กี่ทาง ทางใดบ้าง

(1) 5 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย

(2) 5 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น และใจ

(3) 6 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และวิญญาณ

(4) 6 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และสมอง

(5) 6 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ตอบ 5 หน้า 57, 83, (คําบรรยาย) ในทางพุทธศาสนา เชื่อว่า การสัมผัสสามารถจะเข้ามาได้ 6 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ผิวหนัง) และใจ กล่าวคือ มนุษย์นั้นนอกจากจะสามารถรับรู้ได้ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้ว มนุษย์ยังสามารถรับรู้ได้โดยทางใจ (จิต) ซึ่งสามารถฝึกได้โดยใช้สติและสมาธิ

38 ระดับอุณหภูมิเท่าไรที่จะทําให้มนุษย์รับรู้ถึงความรู้สึกร้อนหรือความรู้สึกเย็น

(1) สูงหรือต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส

(2) สูงหรือต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส

(3) สูงหรือต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส

(4) สูงหรือต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส

(5) สูงหรือต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

ตอบ 3 หน้า 67 ความรู้สึกร้อนหรือความรู้สึกเย็นเกิดจากการที่ประสาทผิวหนังอบอุ่นและเย็นได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ซึ่งถ้าสิ่งที่มากระตุ้นมีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส จะทําให้เรารู้สึกร้อน แต่ถ้ามีอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะทําให้เรารู้สึกเย็น

39 หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงเรียกว่าอะไร

(1) ความถี่

(2) เฮิรตซ์

(3) กิโลเมตร

(4) เทรชโฮลด์

(5) เดซิเบล

ตอบ 5 หน้า 65 กระแสเสียงหรือคลื่นเสียง (Sound Wave) มีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ

1 ความถี่ (Frequency) ของคลื่นเสียง มีหน่วยวัดเป็นเฮิรตซ์ (Hertz : Hz)

2 ความแรง (Amplitude) ของคลื่นเสียง มีหน่วยวัดเป็นเดซิเบล (Decibel : dB)

40 ความแตกต่างระหว่างภาพลวงตากับภาพหลอน คือ

(1) ภาพลวงตาและภาพหลอนไม่ต่างกันเพราะเป็นการเห็นภาพของผู้ป่วยทางจิต (2) ภาพลวงตา – เห็นโดยปราศจากความเป็นจริง / ภาพหลอน – เห็นผิดไปจากความเป็นจริง

(3) ภาพลวงตา – เน้นเรื่องของผู้ป่วยทางจิต / ภาพหลอน – เน้นเรื่องของคนปกติที่เกิดขึ้นได้

(4) ภาพลวงตาและภาพหลอนต่างกันที่คุณสมบัติของสิ่งเร้าภายนอกที่มีผลต่อการรับรู้

(5) ภาพลวงตา – เห็นผิดไปจากความเป็นจริง / ภาพหลอน – เห็นโดยปราศจากความเป็นจริง

ตอบ 5 หน้า 76 77 ภาพลวงตา (Illusion) เป็นภาพที่เกิดจากการมองเห็นหรือการรับรู้ที่ผิดพลาดไปจากความเป็นจริง ซึ่งอาจเกิดจากขนาดเปรียบเทียบที่อยู่ต่างสิ่งแวดล้อมกัน การเกิดมุม หรือการตัดกันของเส้น การต่อเติมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป และสภาพบรรยากาศของธรรมชาติ ส่วนภาพหลอน (Hallucination) เป็นการมองเห็นภาพโดยปราศจากความเป็นจริง

41 เราสามารถออกจากสัมปชัญญะ โดยวิธีใดบ้าง

(1) การนอน การตื่น

(2) การนอน การนั่ง การยืน

(3) การนอน การสะกดจิต การใช้ยาเสพติด การสูญเสียพลังจิต

(4) การนอน การสะกดจิต การใช้ยาเสพติด การนั่งสมาธิภาวนา

(5) การนอน การสะกดจิต การใช้ยาเสพติด การถอดจิตใจ การนั่งสมาธิภาวนา การหมดสติ

ตอบ 4 หน้า 89 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคลออกจากสัมปชัญญะหรือขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การหมดสติ การสะกดจิต การใช้ยาเสพติด การดื่มสุรา และการนั่งสมาธิภาวนา ฯลฯ

42 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการนอน

(1) คนเราเมื่ออายุมากขึ้นจะนอนน้อยลง

(2) ปกติเราจะต้องนอนให้ครบ 8 ชั่วโมง เพื่อสุขภาพที่ดี

(3) มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่ปรับตัวในเรื่องของการนอนได้อย่างรวดเร็ว

(4) ยิ่งนอนมากเท่าไร ร่างกายที่ได้รับการพักผ่อนจะยิ่งสดชื่นมากขึ้นเท่านั้น

(5) เราสามารถนอนโดยที่ไม่ฝันได้

ตอบ 1 หน้า 92 อายุของบุคคลจะเป็นตัวกําหนดระยะเวลาของการนอน กล่าวคือ เด็กแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน ส่วนผู้ใหญ่จะใช้เวลานอนลดน้อยลงไปเป็นลําดับจนถึงวัยสูงอายุเช่น คนอายุ 50 ปี อาจนอนเพียง 6 ชั่วโมง ถ้าอายุสูงกว่านี้ชั่วโมงนอนก็จะลดน้อยลงไปอีก ฯลฯ

43 ในช่วงที่บุคคลเกิด REM หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของลูกตาขณะที่นอนหลับนั้น พบว่า ร้อยละ 85 ของบุคคลกําลังทําอะไรอยู่

(1) กําลังหลับลึก

(2) กําลังฝัน

(3) กําลังจะตื่น

(4) กําลังเครียด

(5) กําลังละเมอ

ตอบ 2 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังคงหลับอยู่ ซึ่งในช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วงที่บุคคลกําลังฝัน โดยนักจิตวิทยารู้ได้จากการที่เขาได้ปลุกผู้นอนในช่วงที่มี REM ขึ้นและพบว่าร้อยละ 85 กล่าวว่า เป็นช่วงที่เขากําลังอยู่ในความฝัน

44 ผู้ใดเชื่อว่าความฝันเกิดจากความคิดความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงกลางวัน

(1) Freud

(2) Adler

(3) Jung

(4) Hopson & McCarley

(5) Roger

ตอบ 2 หน้า 98, 115, (คําบรรยาย) แอดเลอร์ (Adler) เชื่อว่า ความฝันเป็นเรื่องราวของความคิดคํานึงรวมทั้งความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงเวลากลางวันแล้วจึงต่อเนื่องนําไปฝันในช่วงเวลากลางคืน

45 ยาเสพติดแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

(1) มี 2 กลุ่ม คือ กระตุ้นประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน

(2) มี 3 กลุ่ม คือ กด กระตุ้น และออกฤทธิ์ผสมผสาน

(3) มี 4 กลุ่ม คือ กด กระตุ้น หลอนประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน

(4) มี 5 กลุ่ม คือ กติ กระตุ้น หลอน บีบคั้นประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน

(5) มี 6 กลุ่ม คือ กด กระตุ้น ผลักดัน หลอน ปิดกั้นกระแสประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน

ตอบ 3 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ

1 ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝืน มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ

2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ

3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ

4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

46 การศึกษาทดลองเกี่ยวกับการฝันของมนุษย์โดย วิลเลียม ดีเมนท์ สรุปได้ว่า

(1) คนเราจะนอนหลับและฝันทุกคืน

(2) ไม่จําเป็นที่คนเราจะต้องฝันทุกคืน

(3) การฝันเป็นเรื่องของสรีรร่างกายไม่ใช่จิตสํานึก

(4) ความฝันเป็นการชดเชยทางจิต

(5) ความฝันเป็นเรื่องการทําความปรารถนาให้เป็นจริง

ตอบ 1 หน้า 97 การศึกษาทดลองเกี่ยวกับการฝันของมนุษย์โดยวิลเลียม ดีเมนท์ (William Dement) สรุปได้ว่า คนเราจะนอนหลับและต้องฝันทุกคืน ถ้าบุคคลที่นอนหลับแล้วถูกปลุกห้ามมิให้ฝันติดต่อกันหลายคืน จากนั้นเมื่อให้โอกาสได้นอนและมีความฝันเกิดขึ้นได้ตามปกติ พบว่าจะฝันมากกว่าปกติ คล้ายกับเป็นการฝันทดแทนการฝันที่ถูกรบกวนไม่ให้เกิดขึ้นในช่วงคืนแรก ๆ

47 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความฝัน

(1) คนบางคนไม่เคยฝันเลย

(2) คนเราต้องฝันทุกคืน

(3) เราจะจําความฝันได้ทุกครั้ง

(4) เมื่อฝันแปลว่าไม่ได้หลับ

(5) ฝันคือการเพ้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 ข้อใดถูกต้องที่สุดในเรื่องของการสะกดจิต

(1) บุคคลทุกคนสามารถฝึกให้สะกดจิตตนเองได้

(2) ผู้ที่ทําจิตบําบัดเพื่อแก้ไขบุคลิกภาพผิดปกติของผู้ป่วยคือเมสเมอร์

(3) การสะกดจิตเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ถูกสะกดจิตถูกบังคับเท่านั้น

(4) การสะกดจิตช่วยให้ความจําดีขึ้นกว่าวิธีการอื่น ๆ

(5) การสะกดจิตมีประโยชน์รักษาโรคได้อย่าง “ครอบจักรวาล”

ตอบ 1 หน้า 103 – 105 การสะกดจิต คือ การนําเอาพลังของจิตใต้สํานึกออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์โดยบุคคลทุกคนสามารถฝึกให้สะกดจิตตนเองได้ การสะกดจิตตัวเองจะช่วยปรับปรุงนิสัย และพัฒนาบุคลิกภาพได้ การสะกดจิตเกิดขึ้นได้ทั้งในกรณีที่ผู้ถูกสะกดจิตยินยอม ไม่ยินยอม (ถูกบังคับ) และโดยไม่รู้ตัว การสะกดจิตไม่สามารถช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น เพียงแต่ช่วยโน้มน้าวจิตใจให้สนใจที่จะจดจําเท่านั้น และการสะกดจิตไม่ได้มีประโยชน์รักษาโรคได้อย่างครอบจักรวาล ส่วนผู้ที่ทําจิตบําบัดเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของผู้ป่วยคือเอริกสัน

49 การสะกดจิต คือสิ่งใด

(1) การสร้างความเชื่อโดยผู้อื่น

(2) การสร้างความเชื่อซ้ำ ๆ ด้วยตนเอง

(3) การหลอกตัวเอง

(4) การข้ามมิติสัมปชัญญะ

(5) อาการหลอน

ตอบ 4 หน้า 88, 103 การสะกดจิต เป็นภาวะที่บุคคลก้าวข้ามออกมาจากมิติแห่งสัมปชัญญะตกอยู่ในภวังค์ (ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว) มีอาการเคลิบเคลิ้มคล้ายหลับชั่วขณะหนึ่ง แต่มิใช่เป็นภาวะของการนอนหลับ เพราะคลื่นสมอง (EEG) มิได้มีลักษณะเป็นคลื่นเดียวกันกับผู้ที่นอนหลับ แต่เป็นคลื่นลักษณะคล้ายกับผู้ที่ตื่นอยู่มากกว่า

50 บุหรี่จัดเป็นสารเสพติดประเภทใด

(1) ยากดประสาท

(2) ยากระตุ้นประสาท

(3) ยาหลอนประสาท

(4) ยาออกฤทธิ์ผสมผสาน

(5) ยาระงับประสาท

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

51 การเรียนรู้คืออะไร

(1) พฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณ

(2) พฤติกรรมที่เกิดจากพันธุกรรม

(3) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองจากพลังดิบ

(4) พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน

(5) พฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต

ตอบ 5 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต (พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนและสัญชาตญาณ) เช่น การเข้าแถวซื้อตั๋ว การรอขึ้นรถเมล์ ฯลฯ

52 การลองทําแบบทดสอบท้ายบท ทําให้รักรามมีความเข้าใจการเรียนวิชานั้นดีขึ้น พฤติกรรมนี้เกิดจาก สิ่งเสริมแรงประเภทใด

(1) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม

(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ

(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ

(4) การป้อนกลับ

(5) การเรียนรู้แฝง

ตอบ 4 หน้า 180 – 181 การป้อนกลับ (Feedback) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับผลของการตอบสนองซึ่งมีความสําคัญต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ เพราะทําให้บุคคลได้พัฒนาการกระทําของตนเอง และทําให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น โดยนักศึกษาสามารถทําการป้อนกลับให้แก่ตนเองได้ด้วย การลองทํากิจกรรมในแต่ละบทรวมทั้งแบบทดสอบท้ายบทด้วย ก็จะทําให้ทราบว่าตนเองสามารถเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใดก่อนที่จะเข้าสอบจริง ๆ

53 ข้อใดเป็น “สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ”

(1) อากาศ

(2) ความรัก

(3) อาหาร

(4) แร่ธาตุ

(5) น้ำดื่ม

ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ (Secondary Reinforcers) เป็นรางวัลที่ได้เรียนรู้มาแล้วได้แก่ เงิน เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ ความสําเร็จ ความรัก คะแนนสอบ ฯลฯ ซึ่งบางครั้ง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอาจมีค่าโดยตรง เพราะสามารถแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้ เช่น เงินหรือธนบัตรสามารถนําไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหาร น้ำ และอื่น ๆ ได้ ฯลฯ

54 “การลงโทษ” ตรงกับการกระทําในข้อใด

(1) นักโทษทําความดีจึงได้อภัยโทษ

(2) การเสียสิทธิ์ถ้าไม่ไปเลือกตั้ง

(3) นักเรียนทําความดีจึงไม่ต้องกวาดห้อง

(4) นักศึกษาขยันเรียนจึงสอบผ่าน

(5) ทุกคนต้องเข้าเรียนจนครบ 12 ปี

ตอบ 2 หน้า 181 การลงโทษ หมายถึง การปรากฎของสิ่งที่ไม่ชอบหรือไม่พึงปรารถนาและนําสิ่งที่ชอบหรือพึงปรารถนาออกไป จึงมีผลให้การตอบสนองลดลง เช่น การตี การเสียสิทธิ์ การสอบตก ฯลฯ

55 ข้อใดคือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบการกระทํา

(1) การหายใจของมนุษย์

(2) กระโดดเมื่อเหยียบโดนตะปู

(3) น้ำลายไหลเมื่อเห็นมะม่วงดอง

(4) การขับถ่าย

(5) การเข้าแถวซื้อตั๋ว

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

56 การลงโทษจะได้ผลดีที่สุดต่อเมื่อ

(1) ทําทันที

(2) ทําบ่อย ๆ

(3) ทําโทษในสิ่งที่กลัว

(4) ทําในสิ่งที่ไม่ชอบ

(5) ทําโทษในสิ่งที่ไม่เคยทํา

ตอบ 1 หน้า 181 182 การลงโทษจะได้ผลดีที่สุดนั้นจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้

1 เวลาในการลงโทษ กล่าวคือ ลงโทษในระหว่างที่ยังกระทําพฤติกรรมอยู่หรือลงโทษทันทีที่พฤติกรรมสิ้นสุดลง (ภายหลังแสดงพฤติกรรม)

2 ความคงที่ในการลงโทษ กล่าวคือ ลงโทษทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมนั้น ๆ

3 ความรุนแรงในการลงโทษ กล่าวคือ ลงโทษที่รุนแรงจะสามารถทําให้พฤติกรรมหยุดลงได้และต้องไม่เสริมแรงเพื่อระงับพฤติกรรม

57 การได้รางวัลเดือนละครั้งจากพ่อแม่ เป็นการเสริมแรงประเภทใด

(1) แบบอัตราส่วนคงที่ (Fixed Ratio-FR)

(2) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน (Variable Ratio-VR)

(3) แบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval-FI)

(4) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (Variable Interval-VI)

(5) แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ (Variable Fixed-VF)

ตอบ 3 หน้า 177 การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval : FI) เป็นการให้แรงเสริมเมื่อถึงช่วงเวลาที่กําหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกไตรมาส ทุกปี ฯลฯ

58 กระบวนการเรียนรู้นั้นนักจิตวิทยาเรียกว่าเป็นกระบวนการที่เกิดจากสิ่งใด

(1) การเกิดพฤติกรรม

(2) ความพร้อม

(3) การวางเงื่อนไข

(4) ความสนใจ

(5) การรับรู้

ตอบ 3 หน้า 170 กระบวนการเรียนรู้นั้นนักจิตวิทยาเรียกว่า การวางเงื่อนไข (Conditioning) ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่ต้องเรียนรู้ 2 สิ่ง คือ ลําดับเหตุการณ์ที่คาดหวังไว้ และการกระทําพฤติกรรมในเหตุการณ์นั้น ๆ โดยกระบวนการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานมี 2 อย่าง คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก และการวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

59 ผู้ที่กลัวงู ปลาไหล จิ้งเหลน ลักษณะเช่นนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบใด

(1) การหยุดยั้งพฤติกรรม

(2) การฟื้นกลับของพฤติกรรม

(3) การปรับพฤติกรรม

(4) การสรุปความเหมือน

(5) การแยกความแตกต่าง

ตอบ 4 หน้า 171, 173, 188 การสรุปความเหมือน (Generalization) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขไว้แล้ว (สิ่งเร้าที่เรียนรู้) หรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ซึ่งเป็นการขยายผลของการเรียนรู้ ไปยังสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่คล้ายกัน เช่น คนที่ถูกวางเงื่อนไขเกี่ยวกับงู (อาจจะถูกงูกัดโดยบังเอิญ) การเห็นงูจะกลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขที่ทําให้กลัว จากการสรุปความเหมือน นอกจากงูแล้ว อาจคาดได้ว่าคนคนนี้ จะกลัวสัตว์ทุกชนิดที่มีลักษณะคล้ายงูด้วย เช่น ปลาไหล จิ้งเหลน ฯลฯ

60 ในการทดลองการเรียนรู้ของพาฟลอฟ (Pavlov) “การที่สุนัขน้ำลายไหล” ถือเป็นอะไร

(1) สิ่งแวดล้อมภายใน (OCS)

(2) สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS)

(3) สิ่งเร้าภายนอก (OS)

(4) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข (CR)

(5) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (US)

ตอบ 4 หน้า 170 171 ในการทดลองกระบวนการเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของอีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) นั้น เสียงกระดิ่งจัดเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus : CS), ผงเนื้อจัดเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus : US), การหลั่งน้ำลายจากการเห็นผงเนื้อจัดเป็นการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Response : UR) เพราะไม่ต้องเรียนรู้ และการหลั่งน้ำลายจากการสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียว จัดเป็นการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Conditioned Response : CR) เพราะเกิดจากการเรียนรู้

61 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสรีรจิตวิทยา

(1) การศึกษาเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทส่วนกลาง

(2) การศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนปลาย

(3) การศึกษาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต

(4) การศึกษาเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ

(5) การศึกษาเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ

ตอบ 3 หน้า 25, 27 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อสภาวะแวดล้อม ทั้งนี้การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยการทํางานของระบบต่าง ๆที่สําคัญภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ

62 กลไกของระบบประสาทใด ที่กล้ามเนื้อเกิดการยืดหดตัว ก่อเกิดเป็นพฤติกรรมตามการสั่งการของระบบประสาทส่วนกลาง

(1) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง

(2) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท

(3) กลไกการรับรู้

(4) กลไกการรับสิ่งเร้า

(5) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน

ตอบ 1 หน้า 31 กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง (Effectors) หรืออวัยวะสําแดงผล ได้แก่ กล้ามเนื้อและระบบต่อมต่าง ๆ ที่รับคําสั่งจากสมอง/ระบบประสาทส่วนกลางให้ทํางานโต้ตอบต่อสิ่งเร้าทําให้เกิดการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ ปรากฏเป็นพฤติกรรมการตอบสนองที่เรารู้เห็น

63 พฤติกรรมถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบเศษแก้วอย่างทันที เป็นผลจากการทํางานของสิ่งใด

(1) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท

(2) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง

(3) กลไกการรับสิ่งเร้า

(4) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน

(5) วงจรปฏิกิริยาเฉียบพลัน

ตอบ 4 หน้า 31 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Simple Reflex Action) ถือว่าเป็นวงจรที่เล็กที่สุดของกลไกการตอบสนอง ซึ่งเป็นการแสดงออกทางร่างกายโดยอัตโนมัติโดยที่สมองไม่ต้องสั่งงาน แต่วงจรของกระแสประสาทจะผ่านเฉพาะไขสันหลังเท่านั้น คือ ทํางานภายใต้การสั่งการของ ไขสันหลัง เช่น การกะพริบตาเมื่อถูกลมพัด การถอยเท้าหนี้เมื่อเหยียบก้นบุหรี่ การชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน การดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ ฯลฯ

64 ข้อใดคือโครงสร้างที่พบในระบบประสาทส่วนกลาง

(1) สมองและระบบประสาทอัตโนมัติ

(2) สมองและไขสันหลัง

(3) ระบบประสาทอัตโนมัติและระบบประสาทโซมาติก

(4) ไขสันหลังและเส้นประสาทสมอง

(5) ไขสันหลังและระบบประสาทโซมาติก

ตอบ 2 หน้า 34 โครงสร้างของระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ดังนี้

1 ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย สมองและไขสันหลัง

2 ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย ระบบประสาทโซมาติกและระบบประสาทอัตโนมัติ

65 ระบบประสาทส่วนใดทําหน้าที่สั่งการให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายลงเมื่อผ่านพ้นจากสถานการณ์ ฉุกเฉินไปแล้ว

(1) ระบบประสาทส่วนปลาย

(2) ระบบประสาทส่วนกลาง

(3) ระบบประสาทนําคําสั่งทั่วไป

(4) ระบบประสาทซิมพาเธติก

(5) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก

ตอบ 5 หน้า 37; 261 ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก (Parasympathetic Nervous System) เป็นระบบประสาทอัตโนมัติที่ทําหน้าที่ทําให้ร่างกายผ่อนคลาย อยู่ในภาวะสงบและพักผ่อน มีการย่อยดี และความดันโลหิตต่ำ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นระบบประสาทที่ทําให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังอาการตกใจเมื่อผ่านพ้นจากสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการทํางานในอัตราเร่งมาแล้วหรือหลังจากเกิดอารมณ์เต็มที่แล้ว

66 ศูนย์ควบคุมการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อ คือสมองส่วนใด

(1) ก้านสมอง

(2) ไฮโปธาลามัส

(3) ธาลามัส

(4) ซีรีบรัม

(5) ไขสันหลัง

ตอบ 2 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็กแต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกายการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

67 หน่วยที่เล็กที่สุดในระบบประสาท คือข้อใด

(1) ใยประสาท

(2) เซลล์ประสาท

(3) เส้นประสาท

(4) สมอง

(5) ไขสันหลัง

ตอบ 2 หน้า 37 เซลล์ประสาทหรือนิวโรน (Nerve Celt หรือ Neuron) เป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับส่งกระแสประสาทที่ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน และเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาทในสมองของคนเรามีเซลล์ประสาทประมาณ 10 – 12 พันล้านเซลล์

68 ในเซลล์ประสาทนิวโรน ข้อใดทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์

(1) แอ็กซอน

(2) สารสื่อประสาท

(3) ตัวเซลล์

(4) เดนไดรท์

(5) เซลล์ค้ำจุน

ตอบ 4 หน้า 37 เดนไดรท์ (Dendrite) ในเซลล์ประสาทนิวโรน จะทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์ประสาท

69 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเรียบ

(1) ทํางานภายใต้การสั่งการของระบบประสาทอัตโนมัติ

(2) ทํางานนอกอํานาจจิตใจ

(3) พบได้ที่กล้ามเนื้อแขน ขา สะโพก

(4) ทําปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายใน

(5) บังคับให้กล้ามเนื้อชนิดนี้ทํางานตามที่เราต้องการไม่ได้

ตอบ 3 หน้า 32 กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) จะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ เพราะทํางานภายใต้การสั่งการหรือถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นเราจะบังคับให้กล้ามเนื้อชนิดนี้ ทํางานตามที่เราต้องการไม่ได้ และกล้ามเนื้อเรียบจะทําปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายใน(กล้ามเนื้อแขน ขา สะโพก เป็นกล้ามเนื้อลาย)

70 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ

(1) ผลิตของเหลวเพื่อการหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้น

(2) ทําหน้าที่รักษาสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ

(3) ผลิตฮอร์โมนผ่านทางกระแสโลหิตไปสู่อวัยวะเป้าหมาย

(4) ทําหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนมด้วย

(5) ทําหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย

ตอบ 1 หน้า 44 – 45 ต่อมไร้ท่อ เป็นต่อมที่ไม่มีท่อสําหรับให้ฮอร์โมนซึ่งเป็นสารเคมีที่ต่อมนี้ผลิตได้ผ่านทางกระแสโลหิตไปสู่อวัยวะเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อแต่ละชนิด จะทํางานไปพร้อม ๆ กันเพื่อรักษาภาวะสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ โดยหน้าที่ที่สําคัญ ของฮอร์โมน คือ ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนม (ส่วนการผลิต ของเหลวเพื่อการหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นเป็นหน้าที่ของต่อมมีท่อ)

ข้อ 71 – 73 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความจําระยะสั้น

(2) ความจําระยะยาว

(3) ความจําจากการรับสัมผัส

(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(5) ความจําคู่

 

71 คลังข้อมูลถาวร

ตอบ 2 หน้า 196 197, 199 ความจําระยะยาว (Long-term Memory) จะทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ โดยมีความสามารถไม่จํากัดในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ และจะเก็บข้อมูลไว้บนพื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ

1 การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ 2 การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย จําอุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ

72 เก็บเสียงก้องในหูไว้ได้

ตอบ 3 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอดข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคง อยู่ได้ครึ่งวินาที (2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

73 เก็บข้อมูลได้ประมาณ 7+ 2 หน่วย

ตอบ 1 หน้า 98 มิลเลอร์ (Miller) ได้ทดสอบช่วงการจําตัวเลข (Digit-Span Test) แล้วพบว่าโดยทั่วไปมนุษย์สามารถจําข้อมูลระยะสั้นได้ประมาณ 7 +2 หน่วย

74 การที่เราจดจําเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันเลี้ยงครบรอบวันเกิดของปีที่ผ่านมาได้ เป็นเพราะเราจัดเก็บข้อมูลไว้ ในส่วนใด

(1) ความจําคู่

(2) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(3) การจําเหตุการณ์ในความจําระยะยาว

(4) การจําความหมายในความจําระยะยาว

(5) ความจําจากการรับสัมผัส

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

75 การที่เราเคยเรียนวิชาแคลคูลัสไว้แล้ว และไม่ได้เรียนอีกเลย แต่เมื่อมาเรียนอีกครั้ง ทําให้เราสามารถทําความเข้าใจกับเนื้อหาวิชาได้เร็วยิ่งขึ้น ลักษณะนี้จัดว่าตรงกับข้อใด

(1) การบูรณาการใหม่

(2) การระลึกได้

(3) การพิจารณาได้

(4) การเรียนซ้ำ

(5) การจําได้

ตอบ 4 หน้า 202 การเรียนซ้ํา (Relearning) เป็นการวัดความจําในสิ่งที่เราเคยเรียนรู้มาแล้วแต่ไม่อาจระลึกหรือจําได้ แต่เมื่อให้เรียนซ้ำอีกครั้งก็ปรากฏว่าเราเรียนได้เร็วขึ้น และใช้เวลาเรียนน้อยกว่าเดิม ทั้งนี้เพราะได้เคยมีคะแนนสะสมไว้แล้ว

76 เมื่อเราเรียนทฤษฎีจิตวิทยามาก่อน แล้วมาเรียนทฤษฎีปรัชญา ปรากฏว่าทําให้เกิดการลืมเนื้อหาของ ทฤษฎีจิตวิทยาไป ลักษณะเช่นนี้ จัดว่าเป็นการลืมเพราะเหตุใด

(1) การเรียนรู้เดิมรบกวนการเรียนรู้ใหม่

(2) ข้อมูลเสื่อมสลายตามกาลเวลา

(3) การระงับ เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่นึกถึงบางอย่าง

(4) ข้อมูลไม่ได้ถูกบันทึกเพราะไม่ได้เป็นเรื่องราวที่บุคคลเลือกใส่ใจ

(5) การเรียนรู้ใหม่รบกวนการเรียนรู้เดิม

ตอบ 5 หน้า 204 การรบกวน (Interfere) เป็นสาเหตุสําคัญของการลืม มี 2 ประเภท คือ

1 Retroactive Inhibition คือ การเรียนรู้ใหม่รบกวนการเรียนรู้เดิม

2 Proactive Inhibition คือ การเรียนรู้เดิมรบกวนการเรียนรู้ใหม่

77 ข้อใดเป็นหน่วยความคิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแบ่งข้อมูลเป็นประเภท ๆ ที่มีความหมาย

(1) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ

(2) การหยั่งเห็นคําตอบทันที

(3) จินตภาพ

(4) มโนทัศน์

(5) ภาษา

ตอบ 4 หน้า 207 มโนทัศน์ (Concept) เป็นความคิดหรือคําพูดที่ใช้แทนประเภทของสิ่งของหรือเหตุการณ์ และเป็นเครื่องมือสําคัญในการคิดเพราะช่วยทําหน้าที่ในระดับนามธรรม การสร้างมโนทัศน์เป็นกระบวนการแบ่งข้อมูลเป็นประเภท ๆ ที่มีความหมาย เช่น สุนัข รถยนต์ ปากกา ข้าวแกง ข้าวหอมมะลิ ดอกมะลิ ตํารวจ กฎหมาย ประชาธิปไตย ฯลฯ

78 การที่ชาวเอสกิโมมีคําเรียกหิมะเกือบ 30 คํา แต่คนไทยมีคําเรียกหิมะเพียงคําเดียว ลักษณะนี้เกี่ยวข้องกับหน่วยพื้นฐานของการคิดในข้อใด

(1) ภาพตรงหน้า

(2) ภาษา

(3) การหยั่งเห็นคําตอบทันที

(4) จินตภาพ

(5) มโนทัศน์

ตอบ 2 หน้า 208 ภาษา (Language) ของแต่ละชาติมีผลต่อระบบการคิดของคนในชาติที่เป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ เช่น ในประเทศอาหรับมีคํามากกว่า 6,000 คําที่หมายถึงอูฐ และชาวเอสกิโม มีคําเกือบ 30 คําที่แปลว่าหิมะและน้ำแข็ง ขณะที่ชาวโฮปมีเพียงคําเดียวที่หมายถึงแมลง เครื่องบิน และนักบิน ฯลฯ

79 การแก้ปัญหาของนักศึกษาแพทย์เกี่ยวกับการฉายแสงเซลล์มะเร็ง ที่ทําโดยทบทวนความรู้เกี่ยวกับการฉายแสงแล้วเริ่มฉายแสงที่มีความเข้มน้อย ๆ ไปที่ละจุด จนควบคุมการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ จัดเป็นการแก้ปัญหา แบบใด

(1) แก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ

(2) แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที

(3) แก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร

(4) แก้ปัญหาจากการลองผิดลองถูก

(5) แก้ปัญหาจากการท่องจํา

ตอบ 1 หน้า 209 – 210 การแก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ ซึ่งเป็นการคิดในระดับสูง เช่น ดังเคอร์ (Duncker) ให้นักศึกษาแพทย์แก้ปัญหาเกี่ยวกับการฉายแสงเพื่อทําลายเซลล์มะเร็งที่ทําโดย ทบทวนความรู้เกี่ยวกับการฉายแสง แล้วเลือกคําตอบที่ถูกต้องเพียงคําตอบเดียว คือ เริ่มฉายแสง ที่มีความเข้มน้อย ๆ ไปที่ละจุด หรือหมุนร่างของคนป่วยไปเรื่อย ๆ ขณะฉายแสง เพื่อไม่ให้แสงไปทําลายเนื้อเยื่อดีรอบ ๆ เนื้อร้าย จนสามารถควบคุมการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้

80 ตั๊ก สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างหลากหลาย จัดว่าเป็นคุณสมบัติใดของความคิดสร้างสรรค์

(1) ความริเริ่ม

(2) ความมีตรรกะ

(3) การแสวงหาใคร่รู้

(4) ความคล่อง

(5) ความยืดหยุ่น

ตอบ 4 หน้า 211 คุณสมบัติของผู้มีความคิดสร้างสรรค์มีหลายประการ เช่น

1 ความคล่อง คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างหลากหลาย

2 ความยืดหยุ่น คือ สามารถเปลี่ยนวิธีคิดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้โดยไม่ยึดติดอยู่กับ ความคิดเดิม ๆ

3 ความคิดริเริ่ม คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะที่แปลกใหม่และไม่ธรรมดา

81 ข้อใดไม่ใช่ฝาแฝดเหมือน

(1) สเปิร์ม 1 ไข่ 1

(2) สเปิร์ม 1 ไข่ 2

(3) ฝาแฝดเพศเดียวกัน

(4) มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

(5) หน้าตาเหมือนกัน

ตอบ 2 หน้า 125 ฝาแฝดเหมือนหรือแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิ 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด)ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน มีหน้าตาเหมือนกัน มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

82 ยีนส์มีโครโมโซม

(1) 45

(2) 46

(3) 47

(4) 48

(5) 49

ตอบ 2 หน้า 125 ยีนส์อันเป็นลักษณะของบรรพบุรุษจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยผ่านทางโครโมโซมซึ่งบุคคลคนหนึ่งจะมีโครโมโซมอยู่ในตัว 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ โดยโครโมโซมเหล่านี้บุคคลจะได้รับมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม

83 สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรรับประทานในระหว่างตั้งครรภ์

(1) ทานอาหารที่มีไขมัน

(2) ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต

(3) ทานอาหารหมักดอง

(4) ทานอาหารที่มีโปรตีน

(5) รับประทานวิตามินซี

ตอบ 3 หน้า 132 สิ่งที่มารดาควรบริโภคในระยะตั้งครรภ์ ได้แก่ อาหารที่มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินบี 6 ปี 12 ซี ดี อี และเค ส่วนสิ่งที่ต้องห้ามสําหรับผู้มีครรภ์ ได้แก่ บุหรี่ แอลกอฮอล์และเครื่องหมักดอง

84 จากการศึกษาของโลวิ่งเจอร์ (LOevinger) พบว่า อิทธิพลของสติปัญญากับสิ่งแวดล้อมมีกี่เปอร์เซ็นต์

(1) สติปัญญา 50% สิ่งแวดล้อม 50%

(2) สติปัญญา 25% สิ่งแวดล้อม 75%

(3) สติปัญญา 75% สิ่งแวดล้อม 25%

(4) สติปัญญา 60% สิ่งแวดล้อม 40%

(5) สติปัญญา 40% สิ่งแวดล้อม 50%

ตอบ 3 หน้า 137 จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loevinger) พบว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา 75% และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล 25% นอกจากนี้ในด้านเกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกาย โดยเฉพาะรูปร่างและหน้าตามีผลมาจากพันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม

85 ข้อใดอธิบายสภาวะของ Rh Factor ผิด

(1) ระบบเลือดของมารดาเข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อน

(2) มีอาการแท้ง

(3) เกิดการต่อต้านระหว่างเลือดของมารดา

(4) เลือดของมารดาจะทําลายเลือดของลูก

(5) ระบบการทํางานจากแม่สู่ลูก

ตอบ 5 หน้า 133 สภาวะของ Rh Factor หมายถึง การที่ระบบเลือดของมารดามีสารบางอย่างที่เข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อนในครรภ์ ทําให้เกิดอาการแท้งหรือตายหลังคลอดได้ สภาวะนี้ จะมี 2 ประเภท คือ ประเภทบวกและประเภทลบ ซึ่งถ้าลูกมีสภาวะของเลือดตรงข้ามกับมารดา (เลือดบิดาเป็น Rh บวก ซึ่งเป็นลักษณะเด่น แต่เลือดมารดาเป็น Rh ลบ ซึ่งเป็นลักษณะด้อย ลูกจะมี Rh บวก ตามลักษณะเด่นซึ่งตรงข้ามกับมารดา) จะทําให้เกิดการต่อต้านขึ้น โดยเลือดของมารดาจะก่อปฏิกิริยาทําลายเลือดของลูก

86 คนที่มีลักษณะ Endomorphy จะมีลักษณะอารมณ์เป็นอย่างไร

(1) อารมณ์ดี

(2) โมโหยาก

(3) มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

(4) มีอารมณ์มั่นคง

(5) ดื้อดึง

ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) แบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบายโกรธง่ายหายเร็วขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ และกินจุ ฯลฯ

2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย เฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่งโมโหยากแต่หายช้า ไม่กล้าแสดงออก พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้งเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

87 สิ่งใดที่ทําให้ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

(1) การใช้รังสี X-Ray

(2) การใช้ยา

(3) การเกิดอุบัติเหตุ

(4) การเกิดโรคไทรอยด์

(5) โลหิต

ตอบ 3 หน้า 124, 132 ในสภาพการณ์ที่เป็นปกติโดยทั่วไป ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์เรานั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการใช้รังสีเอกซเรย์ (X-Ray) หรือการใช้ยาบางชนิด รวมทั้งการเกิดโรคจากต่อมไทรอยด์และระบบเลือดของมารดา

88 สภาวะใดที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา

(1) ความต้องการ

(2) แรงขับ

(3) แรงจูงใจ

(4) สิ่งเร้า

(5) การตอบสนอง

ตอบ 3 หน้า 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

89 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของแรงจูงใจ

(1) เข้าใจพฤติกรรมและควบคุมให้สามารถเลือกพฤติกรรมที่เหมาะสม

(2) เข้าใจพฤติกรรมและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นได้

(3) เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มสังคมให้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการได้

(4) บังคับมิให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

(5) เป็นแรงผลักดันทําให้มนุษย์แสวงหาอาหาร น้ำ อากาศ

ตอบ 5 หน้า 226 แรงจูงใจจะช่วยให้บุคคลได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ทําให้เข้าใจพฤติกรรมตนเองและควบคุมตนเองให้สามารถเลือกแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและบังคับมิให้ตนเองแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

2 เข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่นและช่วยให้ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นได้

3 เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มสังคมและจูงใจให้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการได้

90 ข้อใดไม่ใช่สิ่งเร้าระดับความต้องการทางด้านร่างกาย

(1) อาหาร

(2) เครื่องนุ่งห่ม

(3) บ้าน

(4) ยา

(5) การแต่งกาย

ตอบ 4 หน้า 229 232 ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) มี 5 ระดับ ดังนี้

1 ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น อาหาร น้ำ – เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย (บ้าน) เพศตรงข้าม (การแต่งกาย) ฯลฯ

2 ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย (Safety and Security Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น อาหารเสริม อุปกรณ์บริหารร่างกาย อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ ฯลฯ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น บัตรอวยพร ภาพวาด หนังโรแมนติก ความสามัคคี ฯลฯ

4 ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self-Esteem Needs) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น ตําแหน่ง – ถ้วยรางวัล โล่เกียรติยศ การประกาศเกียรติคุณ ปริญญาบัตร ฯลฯ

5 ความต้องการประจักษ์ตน (Self-Actualization) มีสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น งานที่พึงพอใจ สถานที่หรือสถานการณ์ที่สร้างให้บุคคลเกิดความสุขทางใจ ฯลฯ

91 ข้อใดไม่ใช่สิ่งเร้าระดับความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย

(1) อุบัติเหตุ

(2) อุปกรณ์บริหารร่างกาย

(3) โรคภัยไข้เจ็บ

(4) อาหารเสริม

(5) ความหิว

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

92 ข้อใดไม่ใช่สิ่งเร้าระดับความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ

(1) ได้บัตรอวยพร

(2) หนังโรแมนติก

(3) ภาพวาด

(4) มอบยาบํารุงร่างกาย

(5) ความสามัคคี

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

93 ข้อใดไม่ใช่ Process ที่ทําให้เกิดกระบวนการจูงใจ

(1) แรงขับ

(2) ความต้องการ

(3) การตอบสนอง

(4) เป้าหมาย

(5) ความหิว

ตอบ 5 หน้า 227 กระบวนการ (Process) ที่ทําให้เกิดแรงจูงใจ มี 4 องค์ประกอบ คือ ความต้องการ (Needs), แรงขับ (Drive), การตอบสนอง (Response) และเป้าหมาย (Goal)

94 สถานที่หรือสถานการณ์ที่สร้างให้บุคคลเกิดความสุขทางใจ อยู่ในสิ่งเร้าลําดับขั้นความต้องการตามแนวคิด ของมาสโลว์ (Maslow)

(1) ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง

(2) ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ

(3) ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น

(4) ความต้องการประจักษ์ตน

(5) ความต้องการทางด้านร่างกาย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

95 เมื่อเกิดอารมณ์เครียด ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในด้านใด

(1) การไหลเวียนโลหิต

(2) ระบบการย่อยอาหาร

(3) ระบบหายใจ

(4) ระบบการทํางานประสาทอัตโนมัติ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 260 261, (คําบรรยาย) เมื่อเกิดอารมณ์เครียดจะทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น การทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต ระบบการย่อยอาหาร และระดับฮอร์โมนในสมองลดต่ำลง ซึ่งจะเป็นผลทําให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเชื่องช้าลง ฯลฯ

96 สมองส่วนใดของร่างกายที่ควบคุมอารมณ์

(1) ซิมพาเธติก

(2) พาราซิมพาเธติก

(3) ธาลามัส

(4) ระบบประสาทลิมปิก

(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ

ตอบ 3 หน้า 41 ธาลามัส (Thalamus) เป็นสมองส่วนหน้าของร่างกายที่ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางการส่งกระแสประสาทมอเตอร์จากซีรีบรัมไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นศูนย์กลางรับกระแสประสาทสัมผัส (ยกเว้นสัมผัสกลิ่น) จากส่วนต่าง ๆ ไปยังซีรีบรัม และเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตื่นและหลับ

97 อารมณ์ใดที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากที่สุด

(1) อารมณ์รัก

(2) อารมณ์เกลียด

(3) อารมณ์กลัว

(4) อารมณ์เศร้า

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 262 จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดอารมณ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรม พบว่า ในบรรดาอารมณ์ทั้งหลายนั้น อารมณ์ที่จัดว่าสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายได้มากที่สุด ก็คือ อารมณ์กลัวและอารมณ์โกรธ

98 อารมณ์ใดก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต

(1) อารมณ์กลัว

(2) อารมณ์โกรธ

(3) อารมณ์หวาดระแวง

(4) อารมณ์เศร้า

(5) อารมณ์วิตกกังวล

ตอบ 1 หน้า 263 อารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลิน (Adrenalin) จากต่อมหมวกไตส่วนอารมณ์โกรธจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน (Nor-adrenalin)

99 หลังจากเกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออกนําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์ ตรงกับทฤษฎีของใคร (1) ทฤษฎีเจมส์-แลง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแทคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 1 หน้า 269 ข้อสรุปของทฤษฎีอารมณ์ต่าง ๆ มีดังนี้ คือ

1 ทฤษฎีเจมส์-แลง สรุปว่า หลังจากที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

2 ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด สรุปว่า การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อม ๆ กัน

3 ทฤษฎีแซคเตอร์-ซิงเกอร์ สรุปว่า การเร้าอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย ฯลฯ

100 การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์ จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อม ๆ กัน ตรงกับทฤษฎีของใคร

(1) ทฤษฎีเจมส์-แลง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแซคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

101 ข้อใดเป็นพฤติกรรมภายใน

(1) เอื้อมมือไปหยิบสิ่งของ

(2) ตักอาหารเข้าปาก

(3) ชอบอาชีพทหาร

(4) วิ่งไล่ตีสุนัข

(5) ให้ลูกดูดนม

ตอบ 3 หน้า 3, (คําบรรยาย) นักจิตวิทยามักจะสนใจศึกษาพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์โดยพฤติกรรมของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ

2 พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ความพอใจ ฯลฯ

102 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา

(1) การบรรยาย

(2) ทําความเข้าใจพฤติกรรม

(3) ควบคุมพฤติกรรม

(4) นําความรู้ ไปประยุกต์ใช้

(5) การกําหนดให้ผู้อื่นในทุกสิ่ง

ตอบ 5 หน้า 3, 5 – 7 จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงจิตวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย (บรรยาย) ทําความเข้าใจ ทํานาย (พยากรณ์) และควบคุมพฤติกรรม (โดยการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้)

103 กลุ่มใดเน้นว่า “สิ่งแวดล้อมมีความสําคัญยิ่งจะช่วยทําให้เข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์”

(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(3) กลุ่มมนุษยนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มหน้าที่ทางจิต

ตอบ 2 หน้า 10, (คําบรรยาย) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เน้นว่าสิ่งแวดล้อมมีความสําคัญมากที่สุดเพราะจะปั้นแต่งให้เด็กเป็นอะไรก็ได้ โดยสกินเนอร์ (Skinner) นักจิตวิทยาสมัยใหม่ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มนี้ กล่าวว่า “สิ่งแวดล้อมเป็นกุญแจสําคัญ การเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เราจะต้องพิจารณาว่า สิ่งแวดล้อมอะไรเกิดขึ้นต่ออินทรีย์ ก่อนและหลังการตอบสนองพฤติกรรมจะถูกปั้นและคงทนอยู่ได้ก็ด้วยสิ่งแวดล้อมเช่นนั้นแหละ…”

104 กลุ่มใดเน้นว่า “บุคลิกภาพของบุคคลได้พัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก”

(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต

(3) กลุ่มจิตวิทยาการรู้คิด

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

ตอบ 1 หน้า 11 กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เกิดจากแนวความคิดของฟรอยด์ (Freud) ซึ่งได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเนื่องมาจากการเก็บกดในวัยเด็ก

105 กลุ่มใดที่เน้นในเรื่อง “ปัญญา การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์”

(1) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

(2) กลุ่มมนุษยนิยม

(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ

(5) กลุ่มหน้าที่ทางจิต

ตอบ 4 หน้า 12 กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาในเรื่องของปัญญาการคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิตอื่น ๆ เพื่อนํามาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์

106 ข้อใดเกี่ยวข้องกับลักษณะ “การวิเคราะห์ทางจิตด้วยตนเองหรือ Introspection”

(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(2) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

(3) กลุ่มมนุษยนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาการรู้คิด

(5) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

ตอบ 2 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) สนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก 3 ลักษณะ คือ การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันอยู่ ในกลุ่มนี้ ก็คือ วิธีการสังเกต-ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเองหรือเรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั้นเอง

107 “การศึกษาอิทธิพลของการเล่นมือถือที่มีผลต่อการมีจริยธรรมตามสังคม” เป็นการศึกษาแบบใด

(1) การทดลอง

(2) การสังเกต

(3) การสํารวจ

(4) การทํา Case Study

(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

ตอบ 3 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาลักษณะบางลักษณะจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา โดยการออกแบบสอบถาม หรือโดยการสัมภาษณ์ และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งวิธีการสํารวจนี้ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น การสํารวจประชามติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การสํารวจอิทธิพล ของรายการโทรทัศน์ที่มีต่อพฤติกรรมการเลียนแบบ เป็นต้น

108 “การแสวงหาข้อเท็จจริง โดยการเฝ้ามองสถานการณ์ตามที่เป็นจริง” เป็นการศึกษาแบบใด

(1) การสังเกต

(2) การทดลอง

(3) การทํา Case Study

(4) การสํารวจ

(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

ตอบ 1 หน้า 13 การสังเกต (Observation) เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ตามที่เป็นจริง โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว แล้วจึงบันทึกรายละเอียดไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมากที่สุด

109 ข้อใดเป็นนักจิตวิทยาประยุกต์

(1) นักจิตวิทยาการทดลอง

(2) นักจิตวิทยาสังคม

(3) นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

(4) นักจิตวิทยาพัฒนาการ

(5) นักจิตวิทยาวิศวกรรม

ตอบ 5 หน้า 16 – 18, 20 จิตวิทยาในปัจจุบันมีหลายสาขา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 จิตวิทยาบริสุทธิ์ ได้แก่ จิตวิทยาการทดลอง

2 จิตวิทยาประยุกต์ ได้แก่ จิตวิทยาคลินิกและบริการให้คําปรึกษา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาผู้บริโภค จิตวิทยาโรงเรียน จิตวิทยาวิศวกรรม จิตวิทยาประจําศาล และจิตวิทยาทางการแพทย์

3 จิตวิทยาบริสุทธิ์และประยุกต์ ได้แก่ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม และจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

110 ข้อใดเป็นนักจิตวิทยาบริสุทธิ์และจิตวิทยาประยุกต์

(1) นักจิตวิทยาการศึกษา

(2) นักจิตวิทยาผู้บริโภค

(3) นักจิตวิทยาการทดลอง

(4) นักจิตวิทยาพัฒนาการ

(5) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 109 ประกอบ

111 ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับลักษณะของการรวมกลุ่ม

(1) มีการคล้อยตาม

(2) มีบทบาทเหมือนกัน

(3) มีการทํางานร่วมกัน

(4) มีค่านิยมเหมือนกัน

(5) ต้องมีโครงสร้างและความสามัคคี

ตอบ 5 หน้า 377 – 378 กลุ่มประกอบด้วยคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มาปฏิสัมพันธ์กัน โดยกลุ่มทุกกลุ่มจะมีลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ โครงสร้างของกลุ่มและความสามัคคีในกลุ่ม

112 ข้อใดตรงกับการแบ่งระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะส่วนตัว

(1) กล่าวสุนทรพจน์

(2) ใช้กับเพื่อน เอื้อมมือถึงกัน

(3) ใช้กับคู่รัก

(4) การบรรยาย

(5) การแข่งมวยปล้ำ

ตอบ 2 หน้า 378 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

1 ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะกับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว รวมทั้งการแข่งมวยปล้ำ ฯลฯ

2 ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษาให้คําปรึกษากับนักศึกษา มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ

3 ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยทางสังคมและธุรกิจ

4 ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

113 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเป็นมิตรกัน

(1) ติดต่อกันอยู่เสมอ

(2) มีหน้าตาดี

(3) ไม่ชอบโต้แย้ง

(4) มีอารมณ์ขัน

(5) มีความคล้ายคลึงกัน

ตอบ 3 หน้า 380 381 ปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเป็นมิตรกัน ได้แก่ ความใกล้ชิดทางกาย (ทําให้มีการติดต่อกันอยู่เสมอ) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย (เช่น มีหน้าตาดี มีอารมณ์ขัน) ความสามารถ ความคล้ายคลึงกัน และการเปิดเผยตนเอง

114 ข้อใดไม่ใช้วิธีการล้างสมองหรือการยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

(1) มีการอภิปรายกลุ่ม

(2) มีการสื่อสารข้อมูลซ้ำ ๆ

(3) ใช้การสื่อสารทางเดียว

(4) ใช้การสะกดจิต

(5) สร้างสถานการณ์ให้คล้อยตาม

ตอบ 4 หน้า 383 วิธีการล้างสมองหรือการยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น เป็นสถานการณ์ที่ใช้องค์ประกอบ 4 ลักษณะพร้อม ๆ กัน คือ สถานการณ์การเสนอแนะ (มีการสื่อสารข้อมูลซ้ำ ๆ) สถานการณ์การคล้อยตาม การอภิปรายกลุ่ม และการใช้สารชักจูงใจ (ใช้การสื่อสารทางเดียว)

115 “เมื่อนักเรียนทําคุณงามความดี ครูให้คะแนนจิตพิสัย” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด

(1) อํานาจการให้รางวัล

(2) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

(3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจการบังคับ

(5) อํานาจตามการอ้างอิง

ตอบ 1 หน้า 385 386 อํานาจในการให้รางวัล (Reward Power) คือ ความสามารถในการให้รางวัลแก่บุคคลที่สามารถแสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้ เช่น ครูให้รางวัลนักเรียนด้วยคะแนน หรือนายจ้างให้รางวัลลูกจ้างที่แสดงพฤติกรรมตามที่ตนต้องการในรูปของเงินเดือนและโบนัส เป็นต้น

116 ข้อใดตรงกับ “การสรุปพฤติกรรมจากประสบการณ์เดิม และทํานายพฤติกรรมอนาคตได้”

(1) เจตคติ

(2) การเกิดอคติ

(3) ค่านิยมของบุคคล

(4) อิทธิพลทางสังคม

(5) การแสดงพฤติกรรมได้เหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 388 เจตคติ เป็นความพร้อมที่จะตอบสนองต่อบุคคล วัตถุ สถานการณ์ หรือสถาบันทั้งในทางบวกและทางลบ ไม่ว่าจะเป็นรสนิยม มิตรภาพระหว่างบุคคล การไปออกเสียงเลือกตั้ง ความชอบและจุดมุ่งหมาย ล้วนเกี่ยวข้องกับเจตคติทั้งสิ้น ดังนั้นเจตคติจึงเป็นการสรุปพฤติกรรมจากประสบการณ์เดิม และทํานายหรือชี้นําพฤติกรรมในอนาคตได้

117 “ก้าวร้าวแบบทดแทน เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เราไม่ยอมรับ” เรียกว่าอะไร

(1) ความไม่ใส่ใจ

(2) พฤติกรรมก้าวร้าว

(3) อคติ

(4) เจตคติ

(5) เป็นพฤติกรรมปกติของมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 392 อคติเป็นรูปแบบหนึ่งของแพะรับบาปซึ่งเป็นความก้าวร้าวทดแทน คือ การที่บุคคลแสดงความก้าวร้าวต่อผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้ทําให้ตนเกิดความไม่พอใจโดยตรง ทั้งนี้อคติอาจเกิดขึ้นได้จากการมีประสบการณ์โดยตรงกับผู้ที่เราไม่ยอมรับ 118 “เด็กแสดงความก้าวร้าวตามตัวแบบที่เห็นในภาพยนตร์” ตรงกับลักษณะใด (1) สัญชาตญาณ

(2) เป็นอาการทางสมอง

(3) การเรียนรู้ทางสังคม

(4) ต้องการเป็นฮีโร่

(5) ต้องการได้รับการยอมรับ

ตอบ 3 หน้า 395 แนวคิดที่อธิบายสาเหตุของความก้าวร้าวที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งอธิบายว่า คนเราเรียนรู้ความก้าวร้าวจากผู้อื่น นั่นคือ ความก้าวร้าว เป็นการเรียนรู้ที่ได้เห็นจากตัวแบบไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อม

119 เพราะเหตุใด “เห็นคนขี่มอเตอร์ไซค์ล้ม แต่ไม่เข้าไปช่วยเหลือ”

(1) ความแล้งน้ำใจ

(2) ไม่รู้วิธีการช่วยเหลือ

(3) ไม่มีเวลาพอเพียง

(4) มีความรู้สึกแปลกแยก

(5) ไม่ไว้ใจในสถานการณ์

ตอบ 4 หน้า 395 เหตุผลที่ทําให้คนหลายคนไม่ให้ความช่วยเหลือคนที่ถูกรถชน ได้แก่ ความรู้สึกแปลกแยกของคนในเมือง มีคนอยู่ในเหตุการณ์หลายคนจึงเกิดการกระจายความรับผิดชอบ

120 ข้อใดเป็นพฤติกรรม “มีการยอมรับนับถือตนเองทั้งในเวลานั้นและเวลาต่อมา” (1) ความก้าวร้าว

(2) การกระจายความรับผิดชอบ

(3) การเรียนรู้ทางสังคม

(4) การกล้าแสดงออก

(5) การแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 5 หน้า 397 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม มีดังนี้

1 มีอารมณ์ที่เหมาะสม แน่นอน จริงใจ ถูกต้อง เชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะแสดงความรู้สึก

2 มีความรู้สึกเชื่อมั่น ยอมรับนับถือตนเองทั้งในเวลานั้นและเวลาต่อมา

3 รู้สึกเห็นคุณค่าที่ได้รับการยอมรับและอยากสนทนาด้วย

4 รู้สึกว่าเป็นผู้น่าศรัทธา ทําให้เกิดการยอมรับนับถือ

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อๆ

ข้อ 1 จงอธิบายความหมายของแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจต่อไปนี้

1.1ลัทธิชินโต

แนวคําตอบ

สัทธิชินโต เชื่อว่าจักรพรรดิ (มิกาโดหรือเทนโน) เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพหรือ พระอาทิตย์โดยไม่ขาดสาย พระจักรพรรดิเป็นผู้ที่ทรงอวตารมาจากพระอาทิตย์ พระราชอํานาจของพระจักรพรรดิ เป็นพระราชอํานาจที่ได้รับมอบหมายมาจากพระอาทิตย์ ชาวญี่ปุ่นถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือเป็นลูกพระอาทิตย์ ซึ่งความเคารพพระจักรพรรดิ ดังกล่าวเรียกว่า “ลัทธิมิกาโด” (Mikadoism)

ความที่ว่าพระจักรพรรดิมาจากสุริยเทพนี้เอง ทําให้การเมืองกับศาสนาแยกจากกันไม่ออก ดังนั้นระบบการปกครองของญี่ปุ่นจึงเป็นระบบที่เรียกว่า “ไซเซอิ-อิทชิ” ซึ่งแปลว่า “การรวมกันแห่งศาสนา และการปกครอง” โดยมีพระจักรพรรดิหรือเทนโนเป็นศูนย์รวม เป็นสัญลักษณ์ของชาติและความสามัคคีของ ประชาชน

 

1.2 รัฐอิสลาม

แนวคําตอบ

รัฐอิสลาม เป็นรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดําเนินงานด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอิสลาม ใช้รูปแบบการปกครองของอิสลาม และสร้างวิถีชีวิตของคนในรัฐ ให้ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของพระอัลเลาะห์ ซึ่งรัฐที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นรัฐอิสลาม คือ รัฐภายใต้การปกครอง สมัยพระนบีมุฮัมหมัดและคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ได้แก่ อาบูบัคร์ อมาร์ อุธมาน และอาลี

 

1.3 ลัทธิป้าเจ่ง

แนวคําตอบ

ลัทธิป้าเจ่ง (การปกครองแบบเดชานุภาพ) คือ การใช้อิทธิพลทางทหารและกําลังในการปกครอง ซึ่งการปกครองแบบนี้จะทําให้เกิดการเสียเลือดเนื้ออันเนื่องมาจากการรบพุ่งแย่งชิงอํานาจ

 

1.4 ลัทธิเซียวคัง

แนวคําตอบ

ลัทธิเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้างรัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือ เจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูกรัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

 

1.5 ลัทธิเต๋า

แนวคําตอบ

ลัทธิเต๋า (เหลาจื้อ) มีหลักการสําคัญดังนี้

1 เป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ดีกว่ากฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น

2 รัฐบาลชอบใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือทดลองนโยบายใหม่ ๆ ที่ตนเชื่อว่าจะได้ผลดีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองนํามาใช้ไม่ได้ช่วยประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า ไม่จําเป็นต้องมาสร้างกฎเกณฑ์กฎหมายต่าง ๆ

3 ความเฉลียวฉลาดและสติปัญญาของมนุษย์เป็นภัยต่อสังคม เพราะมนุษย์ที่ยังไม่เข้าถึงเต๋าชอบใช้ความเฉลียวฉลาดของตนไปในทางกอบโกยผลประโยชน์ให้ตนเอง ทุจริต และเบียดเบียนผู้อื่น

4 ไม่จําเป็นต้องมีโรงเรียน เพราะถ้ามนุษย์เรียนรู้กว้างขวางมาก ก็ยากที่จะห้ามคนเหล่านี้ให้ใช้สติปัญญาผลิตสิ่งแปลกใหม่หรือต่อสู้แข่งขันกันได้ โดยคนฉลาดนั้นย่อมรู้วิธีเลี่ยงกฎหมาย รัฐบาลก็ต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด และรัฐบาลก็อาจทําผิดกฎหมายเสียเอง

5 การปกครองควรทําให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมืองน้อย ๆ เพื่อให้ปกครองง่าย เพราะการมีคนมากเรื่องก็ยุ่งมาก มีคนน้อยเรื่องก็ยุ่งน้อย

6 นักปกครองที่ดีจะต้องปกครองแบบแม่ปกครองลูก ดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น และมีคุณธรรม

7 การปกครองที่ดีที่สุดเรียกว่า “บ้ออุ้ยยื่อตี่” คือ การปกครองโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับ

ประชาชนมากเกินไป ให้ทุกคนมีอิสระเสรีเต็มที่

8 ควรใช้ความนุ่มนวลในการปกครองประเทศ โดยกล่าวว่า “เมื่อปกครองประเทศด้วยความนุ่มนวล ประชาชนก็จะซื่อสัตย์และจริงใจ เมื่อปกครองประเทศด้วยความรุนแรง ประชาชนก็จะใช้เล่ห์กลและหลอกลวง

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก ศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองประเทศอินเดียอย่างไร

แนวคําตอบ

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ได้แบ่งสังคมอินเดียออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 พราหมณ์ (ชนชั้นนักบวช/ผู้ประกอบพิธี) เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องพระพรหมอันเป็น หลักการสูงสุด โดยจะทําหน้าที่เป็นครู (Guru) คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการให้ความรู้และปัญญาแก่สังคม ให้การศึกษาแก่ผู้อื่น ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อผู้อื่น โดยเชื่อกันว่าพราหมณ์เกิดจากปากของพระพรหม และมีสีขาวเป็นสีประจําวรรณะ

2 กษัตริย์หรือขัตติยะหรือราชันย์ (ชนชั้นนักรบ) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง มีหน้าที่รักษาความมั่นคง ของประเทศทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาในชั้นสูง ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเอง และทําบุญให้ทาน โดยเชื่อกันว่ากษัตริย์เกิดจากแขนของพระพรหม และมีสีแดงเป็นสีประจําวรรณะ

3 แพศย์หรือไวศยะ (ชนชั้นกสิกร/พ่อค้า) เป็นวรรณะที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจของอินเดียอย่างยิ่ง คือจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องเศรษฐกิจ มีหน้าที่สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจด้วย การประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขาย โดยเชื่อกันว่าแพศย์เกิดจากตะโพกของพระพรหม และมีสีเหลือง เป็นสีประจําวรรณะ

4 ศูทร (ชนชั้นกรรมกร/ทาส) เป็นผู้ทําหน้าที่ในด้านการใช้แรงงานและการให้บริการ เป็นพวกที่ทํางานเป็นคนงาน นายช่าง คนเลี้ยงวัวควาย คนไถนา ซึ่งต้องรับใช้ 3 ชนชั้นแรก เป็นชนชั้นที่ไม่มีสิทธิ เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านพระเวทและใช้อาวุธ โดยเชื่อกันว่าศูทรเกิดจากเท้าของพระพรหม และมีสีดําเป็นสีประจําวรรณะ

อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่มีต่อสังคมอินเดีย ได้แก่

1 ทําให้ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นสังคมปิด คือ เมื่อเกิดวรรณะใด วรรณะหนึ่งแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนหรือย้ายวรรณะได้ จึงทําให้เปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ได้

2 การทําหน้าที่ตามวรรณะทั้ง 4 นั้นถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการทําตามพระประสงค์ ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทําตามความจําเป็นของสังคม และไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจของสังคม รัฐ หรือผู้ปกครอง

3 วรรณะจะเป็นตัวกําหนดหน้าที่ของมนุษย์ ว่าใครทําหน้าที่อะไร และแต่ละหน้าที่ก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งสามารถลดความขัดแย้งและลดการฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงหน้าที่กัน

4 การแบ่งวรรณะถือเป็นการจัดระเบียบของสังคมที่ยอมรับว่ามนุษย์นั้นมีสถานะทาง สังคมสูง-ต่ำ ลดหลั่นกันตามลําดับ ทําให้มีการดูหมิ่นคนที่อยู่ในวรรณะต่ำกว่า

5 ระบบวรรณะนี้จะก่อให้เกิดความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ อาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ แหล่งที่อยู่อาศัย สังคม และศักดิ์ศรีของมนุษย์

6 ประชาชนจะผูกพันกับครอบครัว วรรณะ กลุ่มอาชีพ และหมู่บ้านมากกว่ารัฐ

7 มีกลุ่มประชาชนที่มิได้อยู่ในระบบสังคม คือ พวก “จัณฑาล” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูถูกเหยียดหยามหรือถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทางศาสนาของชุมชน ไม่สามารถจะสนทนาหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนในระบบได้ เป็นต้น

 

ข อคติ 4 ใช้แก้ปัญหาระบบอุปถัมภ์ของข้าราชการไทยอย่างไรในปัจจุบัน

แนวคําตอบ

หลักอคติ 4

อคติ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับความลําเอียง 4 ประการ ซึ่งมีผลกับการปกครองและผู้ปกครอง ไม่ควรประพฤติเป็นอย่างยิ่ง และสามารถนํามาใช้แก้ปัญหาระบบอุปถัมภ์ของข้าราชการไทยได้ดังนี้

1 ฉันทาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะชอบหรือความรักใคร่ กล่าวคือ แม้ความรักจะเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์อยู่ร่วมกันโดยปกติสุข แต่หากความรักทําให้จิตใจของเราไม่ตรง คิดเอนเอียง ความรักก็จะนําผลร้ายเข้ามาสู่ตัวเองได้ ดังนั้นผู้บังคับบัญชาจะต้องไม่อ้างเอาความรักใคร่หรือความชอบพอส่วนตัวของตนเองไป สร้างประโยชน์ให้ญาติพี่น้อง พวกพ้องและคนสนิท เมื่อมีความอคติ ใจไม่เป็นกลางก็จะมีการปฏิบัติต่อทุกคนไม่เหมาะสม เช่น การตัดสินความผิดทั้งที่รู้ว่าพรรคพวกของตนเองผิด แต่มิได้กระทําการลงโทษตามระเบียบวินัย ขององค์กร เป็นต้น

2 โทสาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะชังหรือความโกรธเกลียด กล่าวคือ ผู้บังคับบัญชาที่มีความลําเอียงเพราะความโกรธ ไม่ชอบหรือเกลียดชังนั้นมักจะทําการกลั่นแกล้ง ทําร้ายคนที่ตัวเองเกลียดชังโดยไม่แยกแยะเรื่องความถูกต้อง ระเบียบและกฎเกณฑ์ที่พึงปฏิบัติ หากตัดสินใจเพียงเพราะความโกรธเกลียดแล้ว ย่อมมีผลกระทบถึงผู้ที่ทําการตัดสินใจได้ เช่น ผู้บังคับบัญชาทําการกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ตนไม่ชอบเป็นการส่วนตัว เพียงเพราะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ทําให้มีอคติต่อกัน เมื่อถึงคราวพิจารณาความดีความชอบ กลับมองข้ามไป ทั้งที่เป็นสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาคนนั้นควรจะได้ เป็นต้น ดังนั้นการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้บริหารของผู้บังคับบัญชา ควรระมัดระวังในเรื่องการใช้อารมณ์ ต้องระงับอารมณ์โกรธและอารมณ์ไม่พอใจให้ได้

3 โมหาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะหลงหรือความโง่เขลา กล่าวคือ หาก ผู้บังคับบัญชามีความหลงผิด ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะความสะเพร่า ไม่มีการพิจารณาให้รอบคอบถี่ถ้วน ว่าสิ่งใดควร สิ่งใดมิควร หลงไปตามคําพูดที่กล่าวอ้าง ขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ทันทีที่ผู้บังคับบัญชาได้รับข้อมูลในทางที่ไม่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชาก็หลงเชื่อในสิ่งนั้น และเรียกมาลงโทษว่ากล่าวตักเตือน โดยมิได้มีการสอบสวนให้แน่ชัดถึงความถูกต้องของข้อมูล เป็นต้น ดังนั้นการกระทําทุกอย่างไม่ว่าจะแสดงออก ทางกาย วาจา ใจ ผู้บังคับบัญชาควรใช้สติปัญญาในการไตร่ตรอง รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่แท้จริง ใจต้องหนักแน่น มิหลงเชื่อในสิ่งที่งมงายที่คอยขัดขวางความเจริญขององค์กร

4 ภยาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ เกรงอิทธิพล กล่าวคือ ผู้บังคับบัญชาจะต้องมีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเด็ดขาดในการตัดสินใจ ไม่เกรงกลัวต่ออํานาจอิทธิพล ตั้งมั่นในความถูกต้อง เช่น หากผู้บังคับบัญชาใช้ระบบการปกครองแบบเสรี ขาดการควบคุมในการทํางาน เพียงเพราะเกรงว่า ลูกน้องจะไม่รัก หรือในกรณีที่ลูกน้องทําผิดก็ไม่กล้าลงโทษ เพราะกลัวว่าภัยจะมาถึงตัวเอง เป็นต้น ซึ่งความลําเอียงดังกล่าวถือได้ว่าเป็นตัวบั่นทอนความเชื่อถือ ความศรัทธาในการปกครองคนของผู้นํา หากเกิดขึ้นในตัวผู้นําเมื่อใดแล้ว ความเดือดร้อนก็จะตามมาอย่างแน่นอน

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง

ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ ๆ ละ 50 คะแนน

ข้อ 1. จงอธิบายความแตกต่างของแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้โดยสังเขป

1.1 ลัทธิเซียวคังกับลัทธิบูชิโด

แนวคําตอบ

ลัทธิเซียวดัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้างรัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูกรัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

ลัทธิบูชิโด เป็นลัทธิชาตินิยมอย่างแรงกล้าของญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหลักจรรยาของชนชาติทหาร และเป็นหลักจริยธรรมของนักรบ โดยจะมีหน้าที่สําคัญดังนี้

1 ให้จงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิ

2 ทหารทุกคนต้องยอมตายแทนพระจักรพรรดิ

3 ทหารต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น

4 ชายญี่ปุ่นทุกคนต้องเป็นทหาร

5 ชาวญี่ปุ่นถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือเป็นลูกพระอาทิตย์

6 ประชาชนต้องเชื่อฟังทหาร ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่ภักดีต่อพระจักรพรรดิ ใครทําร้ายทหารเท่ากับทําร้ายพระจักรพรรดิ

ในปี พ.ศ. 2447 – 2448 ปรากฏว่าทหารของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิสามารถทําสงครามชนะ ประเทศรัสเซียได้ ทําให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศมหาอํานาจ และเกิดความรู้สึกว่าญี่ปุ่นก็สามารถเป็นมหาอํานาจ ทางตะวันออกได้เช่นเดียวกับมหาอํานาจทางตะวันตก ทําให้ชาวญี่ปุ่นต้องการเป็นมหาอํานาจแห่งเอเชียบูรพา ซึ่งความรักชาติได้กลายเป็นความหลงชาติ และทําให้บูชิโดกลายเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์

 

1.2 ลัทธิป้าเจ่งกับลัทธิยิ้นเจ่ง

เม่งจื้อ แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1 การปกครองแบบเดชานุภาพ (ลัทธิป้าเจ่ง) คือ การใช้อิทธิพลทางทหารและกําลัง ในการปกครอง ซึ่งการปกครองแบบนี้จะทําให้เกิดการเสียเลือดเนื้ออันเนื่องมาจากการรบพุ่งแย่งชิงอํานาจ

2 การปกครองแบบธรรมานุภาพ (ลัทธิยิ้นเจ่ง) คือ การใช้คุณธรรมและความเมตตา กรุณาในการปกครอง เพราะสามารถทําให้บรรลุความสําเร็จได้ดีกว่า แม้จะมีเขตแดนเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยชี้ให้เห็นว่าผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน พร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

 

1.3 รัฐอิสลามกับรัฐมุสลิม

แนวคําตอบ

รัฐอิสลาม เป็นรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดําเนินงานด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอิสลาม ใช้รูปแบบการปกครองของอิสลาม และสร้างวิถีชีวิตของคนในรัฐ ให้ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของพระอัลเลาะห์ ซึ่งรัฐที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นรัฐอิสลาม คือ รัฐภายใต้การปกครอง สมัยพระนบีมุฮัมหมัดและคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ได้แก่ อาบูบัคร์ อุมาร์ อุธมาน และอาลี

รัฐมุสลิม เป็นรัฐที่เป็นจริงในโลก ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับรัฐอิสลาม แต่จะอนุโลมให้ใช้รูปแบบการปกครองแบบสากลได้ มีสภาปกติเหมือนทั่ว ๆ ไปที่เป็น ไม่ได้เคร่งครัดแบบรัฐอิสลาม แต่เนื้อหาอาจจะต้องสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม จะได้ไม่ขัดแย้งกัน เช่น ระบอบรัฐสภา (มาเลเซีย) ระบอบประธานาธิบดี (อียิปต์, ลิเบีย, อินโดนีเซีย) และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

 

1.4 ลัทธิขงจือกับลัทธิเต๋า

แนวคําตอบ

ลัทธิขงจื้อ มีหลักการสําคัญดังนี้

1 ชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และอุดมคติทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง ต่างก็มีจุดศูนย์กลางที่ศีลธรรมเช่นเดียวกัน

2 ต่อต้านการปกครองที่กดขี่ทารุณ โดยกล่าวว่า “รัฐบาลที่กดขี่ทารุณนั้นร้ายยิ่งกว่าเสือเสียอีก”

3 กองทัพไม่สามารถสู้รบอย่างมีประสิทธิผลได้ถ้าทหารไม่รู้ว่าพวกเขาจะสู้ไปทําไม โดยกล่าวว่า “การนําประชาชนที่ไม่ได้รับการศึกษาไปสู่สงคราม ก็เท่ากับว่านําพวกเขาไปทิ้ง”

4 ให้ความสําคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก

5 การปกครองนั้นควรมีจุดมุ่งหมายในการนําสวัสดิการและความสุขมาสู่ประชาชนทั้งมวล โดยต้องมีผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารซึ่งไม่ใช่มาจากชาติกําเนิด ความร่ำรวยหรือตําแหน่ง แต่มาจากการได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

  1. การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และจะต้องมีลักษณะ “คุ้มครองมากกว่าปกครอง”

7 การใช้อํานาจนั้นจะต้องคํานึงถึงคุณธรรม โดยกล่าวว่า “เมื่อผู้ปกครองเองทําถูกต้องเขาย่อมมีอํานาจเหนือประชาชนโดยมิต้องออกคําสั่ง แต่เมื่อผู้ปกครองเองไม่ทําสิ่งที่ถูกต้อง คําสั่งทั้งปวงของเขาก็ใช้ไม่ได้เลย”

8 รากฐานของอาณาจักรคือรัฐ รากฐานของรัฐคือครอบครัว รากฐานของครอบครัวคือตัวเอง

 

ลัทธิเต๋า (เหลาจื้อ) มีหลักการสําคัญดังนี้

1 มีแนวคิดทางการเมืองการปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม โดยเชื่อว่า กฎธรรมชาติเป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ดีกว่ากฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น

2 รัฐบาลชอบใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือทดลองนโยบายใหม่ ๆ ที่ตนเชื่อว่าจะได้ผลดีกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองนํามาใช้ไม่ได้ช่วยประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า ไม่จําเป็นต้องมาสร้างกฎเกณฑ์กฎหมายต่าง ๆ

3 ความเฉลียวฉลาดและสติปัญญาของมนุษย์เป็นภัยต่อสังคม เพราะมนุษย์ที่ยังไม่เข้าถึงเต๋าชอบใช้ความเฉลียวฉลาดของตนไปในทางกอบโกยผลประโยชน์ให้ตนเอง ทุจริต และเบียดเบียนผู้อื่น

4 ไม่จําเป็นต้องมีโรงเรียน เพราะถ้ามนุษย์เรียนรู้กว้างขวางมาก ก็ยากที่จะห้ามคนเหล่านี้ให้ใช้สติปัญญาผลิตสิ่งแปลกใหม่หรือต่อสู้แข่งขันกันได้ โดยคนฉลาดนั้นย่อมรู้วิธีเลี่ยงกฎหมาย รัฐบาลก็ต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด และรัฐบาลก็อาจทําผิดกฎหมายเสียเอง

5 การปกครองควรทําให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมืองน้อย ๆ เพื่อให้ปกครองง่าย เพราะการมีคนมากเรื่องก็ยุ่งมาก มีคนน้อยเรื่องก็ยังน้อย

6 นักปกครองที่ดีจะต้องปกครองแบบแม่ปกครองลูก ดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น และมีคุณธรรม

7 การปกครองที่ดีที่สุดเรียกว่า “บ้ออุ้ยยื่อตี่” คือ การปกครองโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับประชาชนมากเกินไป ให้ทุกคนมีอิสระเสรีเต็มที่

8 ควรใช้ความนุ่มนวลในการปกครองประเทศ โดยกล่าวว่า “เมื่อปกครองประเทศด้วยความนุ่มนวล ประชาชนก็จะซื่อสัตย์และจริงใจ เมื่อปกครองประเทศด้วยความรุนแรง ประชาชนก็จะใช้เล่ห์กลและหลอกลวง

 

 

1.5 ลัทธิธรรมชาตินิยมและลัทธิเสรีนิยมตามแนวคิดของเหลาจื้อ

แนวคําตอบ

ลัทธิธรรมชาตินิยมและลัทธิเสรีนิยม ตามแนวคิดของเหลาจื้อ

1 การพยายามทําสิ่งที่ฝืนธรรมชาติ เปรียบเสมือนกับการแกว่งเท้าหาเสี้ยน หาเหาใส่หัวตนเอง และสอนให้มนุษย์ปรับตนเข้ากับสภาพแวดล้อมได้โดยไม่สูญเสียอุดมคติของตนไป ดุจดังน้ำที่อยู่ในขวดก็ มีรูปดังขวด อยู่ในโอ่งก็มีรูปทรงดังโอ่ง แต่ความเป็นน้ำก็มิได้สูญหายไป

2 สังคมนั้นมีปัญหาก็เพราะมนุษย์ผืนธรรมชาติและเปรียบเทียบแข่งขันกัน ถ้าทุกคน ครองชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่เปรียบเทียบแข่งขันกัน ก็จะระงับปัญหาสังคมได้ คนในสังคมมักนิยมความร่ำรวย ชิงชังความยากจน แต่คนยิ่งรวยก็ยิ่งทุกข์เพราะความรวยไม่สามารถใช้ซื้อความทุกข์ใจได้ ยิ่งรวยยิ่งรู้สึกหวงแหน ทรัพย์สมบัติมากขึ้น เมื่อถึงคราววิบัติก็ทุกข์โศกมากกว่าคนที่ยากจน ดังนั้นสังคมจะสงบสุขได้ต่อเมื่อมนุษย์รู้จักพอ

3 กฎธรรมชาติเป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ดีกว่ากฎหมายที่มนุษย์บัญญัติ โดยเหลาจื้อเห็นว่า สันติภาพที่แท้จริงเกิดขึ้นไม่ได้ เนื่องจากมนุษย์ชอบฝืนธรรมชาติ โดยพยายามกําหนดระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมา ใช้เป็นเครื่องมือในการปกครอง

4 การปกครองเน้นเสรีนิยม คือการปกครองโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับประชาชนมากเกินไป ให้ ทุกคนมีอิสรเสรีเต็มที่ รัฐบาลอย่าไปก้าวก่ายเสรีภาพของประชาชน ประชาชนก็อย่าก้าวก่ายเสรีภาพซึ่งกันและกัน

5 เน้นการปกครองที่เรียกว่า “เซียวก๊กกั้วมิ้น” คือ การทําให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมือง น้อย ๆ เพื่อให้ปกครองง่าย เพราะการมีคนมากเรื่องก็ยุ่งมาก มีคนน้อยเรื่องก็ยุ่งน้อย ประเทศใหญ่ย่อมสิ้นเปลืองเศรษฐกิจมาก ประเทศเล็กย่อมสิ้นเปลืองเศรษฐกิจน้อย

6 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยประชาชนไม่รู้สึกว่าถูกปกครอง เพราะใช้การปกครอง แบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิธีการปกครองที่ดีที่สุด ส่วนรัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดย ใช้อํานาจกดขี่และยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัวของประชาชน จนทําให้ประชาชนไม่เป็นตัวของตัวเอง ถือว่า เป็นวิธีการปกครองที่เลวที่สุด

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก จงวิเคราะห์ถึงผลของระบบวรรณะที่มีต่อการเมืองการปกครองของประเทศอินเดียมาอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

ผลของระบบวรรณะที่มีต่อการเมืองการปกครองของประเทศอินเดีย

ระบบวรรณะจะเป็นตัวกําหนดหน้าที่ของคนอินเดีย ว่าใครทําหน้าที่อะไร และแต่ละหน้าที่ก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งทําให้สามารถลดความขัดแย้งและลดการฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงหน้าที่กัน โดยศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูได้แบ่งสังคมออกเป็น 4 วรรณะ ได้แก่ นั

1 พราหมณ์ (ชนชั้นนักบวช/ผู้ประกอบพิธี) เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องพระพรหมอันเป็น หลักการสูงสุด โดยจะทําหน้าที่เป็นครู (Guru) คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการให้ความรู้และปัญญาแก่สังคม ให้การศึกษาแก่ผู้อื่น ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อผู้อื่น

2 กษัตริย์หรือขัตติยะหรือราชันย์ (ชนชั้นนักรบ) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง มีหน้าที่รักษาความมั่นคงของประเทศทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาในชั้นสูง ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเอง และทําบุญให้ทาน

3 แพศย์หรือไวศยะ (ชนชั้นกสิกร/พ่อค้า) เป็นวรรณะที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจของอินเดียอย่างยิ่ง คือจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องเศรษฐกิจ มีหน้าที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วยการประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขาย

4 ศูทร (ชนชั้นกรรมกร/ทาส) เป็นผู้ทําหน้าที่ในด้านการใช้แรงงานและการให้บริการ เป็นพวกที่ทํางานเป็นคนงาน นายช่าง คนเลี้ยงวัวควาย คนไถนา ซึ่งต้องรับใช้ 3 ชนชั้นแรก เป็นชนชั้นที่ไม่มีสิทธิ เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านพระเวทและใช้อาวุธ

การทําหน้าที่ตามวรรณะทั้ง 4 นี้ถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการทําตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทําตามความจําเป็นของสังคม และไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจของสังคม รัฐ หรือผู้ปกครอง

ระบบวรรณะดังกล่าวนั้นทําให้ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นสังคมปิด คือ เมื่อเกิดวรรณะใดวรรณะหนึ่งแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนหรือย้ายวรรณะได้ จึงทําให้เปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ได้

ความเชื่อในเรื่องระบบวรรณะนี้มีอิทธิพลไม่เพียงแต่กําหนดความแตกต่างในด้านเชื้อชาติเท่านั้น แต่ยังทําให้เกิดความแตกต่างในด้านอาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ และแหล่งที่อยู่อาศัยด้วย กล่าวคือ ประชากรอินเดียไม่เกิน ร้อยละ 10 อยู่ใน 3 วรรณะแรก คือ วรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ ซึ่งมีอํานาจในสังคมและได้ทํางานราชการ มากกว่าร้อยละ 50

นอกจากนี้ยังมีวรรณะย่อยอีกประมาณ 3,000 วรรณะ เรียกว่า “โฌติ” (Jotis) ซึ่งทําให้เกิดความแตกแยกในสังคมฮินดู ความเชื่อทางศาสนาที่หลากหลายนี้เองเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองในประเทศอินเดีย และมีผลต่อแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่สําคัญหลายคน เช่น มหาตมะ คานธี (Mahatma Grandhi) ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องการใช้หลักอหิงสาและสัจจะในการปกครองหรือการ ต่อสู้ทางการเมือง เป็นต้น

 

ข คุณธรรม จริยธรรมของศาสนาพุทธ ถูกกําหนดให้มีผลต่อแนวคิดของชนชั้นต่ำที่จะนํามาใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองบ้านเมือง ให้นักศึกษายกคุณธรรมและจริยธรรมเหล่านั้นมาอธิบาย อย่างน้อยให้ยกมา 3 เรื่อง

แนวคําตอบ

คุณธรรมและจริยธรรมของศาสนาพุทธที่นํามาใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองบ้านเมือง ได้แก่

1 พรหมวิหาร 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักธรรมประจําใจของผู้เป็นใหญ่ ประกอบด้วย

1) เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข

2) กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

3) มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข ไม่ริษยา

4) อุเบกขา หมายถึง ความวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความรักและความชัง

2 สังคหวัตถุ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักการสงเคราะห์ ประกอบด้วย

1) ทาน หมายถึง การให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2) ปิยวาจา หมายถึง การมีวาจาสุภาพ ไพเราะ ซาบซึ้ง จริงใจ

3) อัตถจริยา หมายถึง การบําเพ็ญประโยชน์หรือทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4) สมานัตตตา หมายถึง การทําตนเสมอต้นเสมอปลาย หรือการวางตนให้เหมาะสม

3 ราชสังคหวัตถุ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักการสงเคราะห์ประชาชนของผู้ครองแผ่นดิน ประกอบด้วย

1) สัสสาเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบํารุงรักษาพืชพันธุ์ธัญญาหาร และส่งเสริมการเกษตร

2) ปุริสเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบํารุงรักษาข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ

3) สัมมาปาสะ หมายถึง ความรู้จักผูกน้ำใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ

4) วาชเปยะ วาจาเปยะ) หมายถึง ความมีวาจาอันดูดดื่มน้ำใจ คือ รู้จักพูด รู้จักปราศรัย วาจาไพเราะ สุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ในทางสามัคคี ทําให้เกิดความเข้าใจอันดี และเกิดความนิยมเชื่อถือ

 

 

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 2 ข้อ

ข้อ 1 ให้อธิบายความแตกต่างของแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้โดยสังเขป

1.1การปกครองแบบป้าเจ่งกับยิ้นเจ่ง

แนวคําตอบ

เม่งจื้อ แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1 การปกครองแบบเดชานุภาพ (ป้าเจ่ง) คือ การใช้อิทธิพลทางทหารและกําลังในการ ปกครอง ซึ่งการปกครองแบบนี้จะทําให้เกิดการเสียเลือดเนื้ออันเนื่องมาจากการรบพุ่งแย่งชิงอํานาจ

2 การปกครองแบบธรรมานุภาพ (ยิ้นเจ่ง) คือ การใช้คุณธรรมและความเมตตากรุณา ในการปกครอง เพราะสามารถทําให้บรรลุความสําเร็จได้ดีกว่า แม้จะมีเขตแดนเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยชี้ให้เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน พร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

 

1.2 รัฐอิสลามกับรัฐมุสลิม

แนวคําตอบ

รัฐอิสลาม เป็นรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดําเนินงานด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอิสลาม ใช้รูปแบบการปกครองของอิสลาม และสร้างวิถีชีวิตของคนในรัฐ ให้ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของพระอัลเลาะห์ ซึ่งรัฐที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นรัฐอิสลาม คือ รัฐภายใต้การปกครอง สมัยพระนบีมุฮัมหมัดและคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ได้แก่ อาบูบัคร์ อุมาร์ อุธมาน และอาลี

รัฐมุสลิม เป็นรัฐที่เป็นจริงในโลก ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับรัฐอิสลาม แต่จะอนุโลมให้ใช้รูปแบบการปกครองแบบสากลได้ มีสภาปกติเหมือนทั่ว ๆ ไปที่เป็น ไม่ได้เคร่งครัดแบบรัฐอิสลาม แต่เนื้อหาอาจจะต้องสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม จะได้ไม่ขัดแย้งกัน เช่น ระบอบรัฐสภา (มาเลเซีย) ระบอบประธานาธิบดี (อียิปต์, ลิเบีย, อินโดนีเซีย) และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

 

1.3 ลัทธิชินโตกับลัทธิไต้ท้ง

แนวคําตอบ

ลัทธิชินโต เชื่อว่าจักรพรรดิ (มิกาโดหรือเทนโน) เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพหรือพระอาทิตย์โดยไม่ขาดสาย พระจักรพรรดิเป็นผู้ที่ทรงอวตารมาจากพระอาทิตย์ พระราชอํานาจของพระจักรพรรดิ เป็นพระราชอํานาจที่ได้รับมอบหมายมาจากพระอาทิตย์ ชาวญี่ปุ่นถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือเป็นลูกพระอาทิตย์ ซึ่งความเคารพพระจักรพรรดิ ดังกล่าวเรียกว่า “ลัทธิมิกาโด” (Mikadoism)

ความที่ว่าพระจักรพรรดิมาจากสุริยเทพนี้เอง ทําให้การเมืองกับศาสนาแยกจากกันไม่ออก ดังนั้นระบบการปกครองของญี่ปุ่นจึงเป็นระบบที่เรียกว่า “ไซเซอิ-อิทชิ” ซึ่งแปลว่า “การรวมกันแห่งศาสนา และการปกครอง” โดยมีพระจักรพรรดิหรือเทนโนเป็นศูนย์รวม เป็นสัญลักษณ์ของชาติและความสามัคคีของประชาชน

ลัทธิไต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติชั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาลที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

 

1.4 หลักการปกครองที่ดีตามแนวคิดของขงจื้อกับเหลาจื้อ

แนวคําตอบ

หลักการปกครองที่ดีตามแนวคิดของขงจื้อ ได้แก่

1 การปกครองที่ดีควรมีจุดมุ่งหมายในการนําสวัสดิการและความสุขมาสู่ประชาชนทั้งมวล โดยต้องมีผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารซึ่งไม่ใช่มาจากชาติกําเนิด ความร่ำรวย หรือตําแหน่ง แต่มาจาก การได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

2 การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และจะต้องมีลักษณะ “คุ้มครอง มากกว่าปกครอง” รัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้

3 ผู้ปกครองที่ดีต้องมีคุณธรรม ต้องทําตนเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน และต้องคํานึงถึง ประโยชน์ของประชาชนเป็นสําคัญ

4 ผู้ปกครองประเทศต้องแก้ปัญหาภายในให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เท่าเทียมกัน และความขัดแย้งในสังคม

5 ผู้ปกครองควรใช้ปัญญาที่สุจริตเป็นเครื่องปกครองคน ไม่ควรใช้ความฉลาดแกมโกง ควรใช้ความกล้าหาญ หลีกเลี่ยงความทะเยอทะยาน ใช้ความเมตตากรุณา ละความโลภ ควรเป็นนักปราชญ์ ทําประโยชน์แก่ผู้ใต้ปกครอง เข้าใจความรู้สึกของผู้ใต้ปกครองและอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้ใต้ปกครอง

 

หลักการปกครองที่ดีตามแนวคิดของเหลาจื้อ ได้แก่

1 การปกครองที่ดีที่สุดคือการปกครองโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับประชาชนมากเกินไป ให้ทุกคน มีอิสระเสรีเต็มที่ รัฐบาลอย่าไปก้าวก่ายเสรีภาพของประชาชน ประชาชนก็อย่าก้าวก่ายเสรีภาพซึ่งกันและกัน การปกครองประเทศจะต้องไม่มีการทําร้ายซึ่งกันและกัน

2 ควรใช้ความนุ่มนวลในการปกครองประเทศ โดยกล่าวว่า “เมื่อปกครองประเทศด้วย ความนุ่มนวล ประชาชนก็จะซื่อสัตย์และจริงใจ เมื่อปกครองประเทศด้วยความรุนแรง ประชาชนก็จะใช้เล่ห์กล และหลอกลวง”

3 การปกครองควรทําให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมืองน้อย ๆ เพื่อให้ปกครองง่าย เพราะการ มีคนมากเรื่องก็ยุ่งมาก มีคนน้อยเรื่องก็ยังน้อย

4 ผู้ปกครองที่ดีจะต้องปกครองแบบแม่ปกครองลูก ดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น และมีคุณธรรม

5 ผู้ที่จะเป็นนักปกครองต้องมีดวงแก้ว 3 ดวง คือ ความเมตตา ความประหยัด และการไม่ทําอะไรเด่นล้ำหน้าประชาชน ซึ่งความเมตตาจะทําให้เป็นผู้มีความแกล้วกล้า ความประหยัดจะทําให้เป็นผู้มี โภคทรัพย์สมบูรณ์ และการไม่ทําอะไรเด่นล้ำหน้าประชาชนจะทําให้เป็นผู้นําประชาชนได้อย่างแท้จริง

6 ผู้ปกครองที่ดีจะต้องมีการพัฒนาตนเองให้ลดละกิเลส พึงรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งปวง มีชีวิตอยู่อย่างสมถะ รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน และประพฤติตนประดุจน้ำ

 

ข้อ 2. ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

ก ศาสนาพราหมณ์แบ่งสังคมมนุษย์เป็น 4 วรรณะ อะไรบ้าง และผลของการมีวรรณะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรต่อสังคมอินเดีย

แนวคําตอบ

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ได้แบ่งสังคมมนุษย์ออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 พราหมณ์ (ชนชั้นนักบวช/ผู้ประกอบพิธี) เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องพระพรหมอันเป็น หลักการสูงสุด โดยจะทําหน้าที่เป็นครู (Guru) คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการให้ความรู้และปัญญาแก่สังคม ให้ การศึกษาแก่ผู้อื่น ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อผู้อื่น โดยเชื่อกันว่าพราหมณ์เกิดจากปากของพระพรหม และมีสีขาวเป็นสีประจําวรรณะ

2 กษัตริย์หรือขัตติยะหรือราชันย์ (ชนชั้นนักรบ) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง มีหน้าที่รักษาความมั่นคง ของประเทศทั้งภายนอกและภายในนอกจากนี้ยังต้องศึกษาในชั้นสูง ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเอง และทําบุญให้ทาน โดยเชื่อกันว่ากษัตริย์เกิดจากแขนของพระพรหม และมีสีแดงเป็นสีประจําวรรณะ

3 แพศย์หรือไวศยะ (ชนชั้นกสิกร/พ่อค้า) เป็นวรรณะที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจของอินเดียอย่างยิ่ง คือจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องเศรษฐกิจ มีหน้าที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วย การประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขาย โดยเชื่อกันว่าแพศย์เกิดจากตะโพกของพระพรหม และมีสีเหลือง เป็นสีประจําวรรณะ

4 ศูทร (ชนชั้นกรรมกร/ทาส) เป็นผู้ทําหน้าที่ในด้านการใช้แรงงานและการให้บริการ เป็นพวกที่ทํางานเป็นคนงาน นายช่าง คนเลี้ยงวัวควาย คนไถนา ซึ่งต้องรับใช้ 3 ชนชั้นแรก เป็นชนชั้นที่ไม่มีสิทธิ เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านพระเวทและใช้อาวุธ โดยเชื่อกันว่าศูทรเกิดจากเท้าของพระพรหม และมีสีดําเป็นสีประจําวรรณะ

ผลของการมีวรรณะดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอินเดีย ดังนี้

1 ทําให้ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นสังคมปิด คือ เมื่อเกิดวรรณะใด วรรณะหนึ่งแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนหรือย้ายวรรณะได้ จึงทําให้เปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ได้

2 การทําหน้าที่ตามวรรณะทั้ง 4 นี้ถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการทําตามพระประสงค์ ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทําตามความจําเป็นของสังคม และไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจของสังคม รัฐ หรือผู้ปกครอง

3 วรรณะจะเป็นตัวกําหนดหน้าที่ของมนุษย์ ว่าใครทําหน้าที่อะไร และแต่ละหน้าที่ก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งสามารถลดความขัดแย้งและลดการฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงหน้าที่กัน

4 การแบ่งวรรณะถือเป็นการจัดระเบียบของสังคมที่ยอมรับว่ามนุษย์นั้นมีสถานะทาง สังคมสูง-ต่ำ ลดหลั่นกันตามลําดับ ทําให้มีการดูหมิ่นคนที่อยู่ในวรรณะต่ำกว่า

5 ประชาชนจะผูกพันกับครอบครัว วรรณะ กลุ่มอาชีพ และหมู่บ้านมากกว่ารัฐ

6 ระบบวรรณะนี้จะก่อให้เกิดความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ อาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ แหล่งที่อยู่อาศัย สังคม และศักดิ์ศรีของมนุษย์

7 มีกลุ่มประชาชนที่มิได้อยู่ในระบบสังคม คือ พวก “จัณฑาล” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการ ดูถูกเหยียดหยามหรือถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทางศาสนาของชุมชน ไม่สามารถจะ สนทนาหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนในระบบได้ เป็นต้น

 

ข จงยกคุณธรรมที่ควรมีอยู่ในตัวผู้ปกครองและนักการเมืองตามทัศนะของศาสนาพุทธมาโดยละเอียดอย่างน้อย 4 หัวข้อ

แนวคําตอบ

คุณธรรมของผู้ปกครองและนักการเมืองตามทัศนะของพุทธศาสนา ได้แก่

1 พรหมวิหาร 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักธรรมประจําใจของผู้เป็นใหญ่ ประกอบด้วย

1) เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข

2) กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

3) มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข ไม่ริษยา

4) อุเบกขา หมายถึง ความวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความรักและความชัง

 

2 สังคหวัตถุ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักการสงเคราะห์ ประกอบด้วย

1) ทาน หมายถึง การให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2) ปิยวาจา หมายถึง การมีวาจาสุภาพ ไพเราะ ซาบซึ้ง จริงใจ

3) อัตถจริยา หมายถึง การบําเพ็ญประโยชน์หรือทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4) สมานัตตตา หมายถึง การทําตนเสมอต้นเสมอปลาย หรือการวางตนให้เหมาะสม

3 ราชสังคหวัตถุ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักการสงเคราะห์ประชาชนของผู้ครองแผ่นดินประกอบด้วย

1) สัสสาเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบํารุงรักษาพืชพันธุ์ธัญญาหาร และส่งเสริมการเกษตร

2) ปุริสเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบํารุงรักษาข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ

3) สัมมาปาสะ หมายถึง ความรู้จักผูกน้ำใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ

4) วาชเปยะ (วาจาเปยะ) หมายถึง ความมีวาจาอันดูดดื่มน้ำใจ คือ รู้จักพูด รู้จักปราศรัย วาจาไพเราะ สุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์ในทางสามัคคีทําให้เกิดความเข้าใจอันดี และเกิดความนิยมเชื่อถือ

4 อคติ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับความลําเอียง 4 ประการ ซึ่งมีผลกับการปกครองและ ผู้ปกครองไม่ควรประพฤติเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่

1) ฉันทาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะชอบหรือความรักใคร่

2) โทสาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะชังหรือความโกรธเกลียด

3) โมหาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะหลงหรือความโง่เขลา

4) ภยาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ เกรงอิทธิพล

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 2 ข้อ

ข้อ 1 ให้อธิบายความแตกต่างของแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้โดยสังเขป

1.1 การปกครองแบบป้าเจ่งกับยิ้นเจ่ง

แนวคําตอบ

เม่งจื้อ แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1 การปกครองแบบเดชานุภาพ (ป้าเจ่ง) คือ การใช้อิทธิพลทางทหารและกําลังในการปกครอง ซึ่งการปกครองแบบนี้จะทําให้เกิดการเสียเลือดเนื้ออันเนื่องมาจากการรบพุ่งแย่งชิงอํานาจ

2 การปกครองแบบธรรมานุภาพ (ยิ้นเจ่ง) คือ การใช้คุณธรรมและความเมตตากรุณาในการปกครอง เพราะสามารถทําให้บรรลุความสําเร็จได้ดีกว่า แม้จะมีเขตแดนเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยชี้ให้เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน พร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

 

1.2 รัฐอิสลามกับรัฐมุสลิม

แนวคําตอบ

รัฐอิสลาม เป็นรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดําเนินงานด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอิสลาม ใช้รูปแบบการปกครองของอิสลาม และสร้างวิถีชีวิตของคนในรัฐ ให้ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของพระอัลเลาะห์ ซึ่งรัฐที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นรัฐอิสลาม คือ รัฐภายใต้การปกครอง สมัยพระนบีมุฮัมหมัดและคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ได้แก่ อาบูบัคร์ อุมาร์ อุธมาน และอาลี

รัฐมุสลิม เป็นรัฐที่เป็นจริงในโลก ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับรัฐอิสลาม แต่จะอนุโลมให้ใช้รูปแบบการปกครองแบบสากลได้ มีสภาปกติเหมือนทั่ว ๆ ไปที่เป็น ไม่ได้เคร่งครัดแบบรัฐอิสลาม แต่เนื้อหาอาจจะต้องสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม จะได้ไม่ขัดแย้งกัน เช่น ระบอบรัฐสภา (มาเลเซีย) ระบอบประธานาธิบดี (อียิปต์, ลิเบีย, อินโดนีเซีย) และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

 

1.3 สัทธิชินโตกับลัทธิไต้ทั้ง

แนวคําตอบ

ลัทธิชินโต เชื่อว่าจักรพรรดิ (มิกาโดหรือเทนโน) เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพหรือพระอาทิตย์โดยไม่ขาดสาย พระจักรพรรดิเป็นผู้ที่ทรงอวตารมาจากพระอาทิตย์ พระราชอํานาจของพระจักรพรรดิ เป็นพระราชอํานาจที่ได้รับมอบหมายมาจากพระอาทิตย์ ชาวญี่ปุ่นถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือเป็นลูกพระอาทิตย์ ซึ่งความเคารพพระจักรพรรดิ ดังกล่าวเรียกว่า “ลัทธิมิกาโด” (Mikadoism)

ความที่ว่าพระจักรพรรดิมาจากสุริยเทพนี้เอง ทําให้การเมืองกับศาสนาแยกจากกันไม่ออก ดังนั้นระบบการปกครองของญี่ปุ่นจึงเป็นระบบที่เรียกว่า “ไซเซอิ-อิทชิ” ซึ่งแปลว่า “การรวมกันแห่งศาสนาและการปกครอง” โดยมีพระจักรพรรดิหรือเทนโนเป็นศูนย์รวม เป็นสัญลักษณ์ของชาติและความสามัคคีของประชาชน

ลัทธิใต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติชั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาลที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

 

1.4 หลักการปกครองที่ดีตามแนวคิดของขงจื้อกับเหลาจื้อ

แนวคําตอบ

หลักการปกครองที่ดีตามแนวคิดของขงจื้อ ได้แก่

1 การปกครองที่ดีควรมีจุดมุ่งหมายในการนําสวัสดิการและความสุขมาสู่ประชาชนทั้งมวล โดยต้องมีผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารซึ่งไม่ใช่มาจากชาติกําเนิด ความร่ำรวย หรือตําแหน่ง แต่มาจากการได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

2 การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และจะต้องมีลักษณะ “คุ้มครอง มากกว่าปกครอง” รัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้

3 ผู้ปกครองที่ดีต้องมีคุณธรรม ต้องทําตนเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน และต้องคํานึงถึง ประโยชน์ของประชาชนเป็นสําคัญ

4 ผู้ปกครองประเทศต้องแก้ปัญหาภายในให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เท่าเทียมกัน และความขัดแย้งในสังคม

5 ผู้ปกครองควรใช้ปัญญาที่สุจริตเป็นเครื่องปกครองคน ไม่ควรใช้ความฉลาดแกมโกง ควรใช้ความกล้าหาญ หลีกเลี่ยงความทะเยอทะยาน ใช้ความเมตตากรุณา ละความโลภ ควรเป็นนักปราชญ์ ทําประโยชน์แก่ผู้ใต้ปกครอง เข้าใจความรู้สึกของผู้ใต้ปกครองและอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้ใต้ปกครอง

 

หลักการปกครองที่ดีตามแนวคิดของเหลาจื้อ ได้แก่

1 การปกครองที่ดีที่สุดคือการปกครองโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับประชาชนมากเกินไป ให้ทุกคน มีอิสระเสรีเต็มที่ รัฐบาลอย่าไปก้าวก่ายเสรีภาพของประชาชน ประชาชนก็อย่าก้าวก่ายเสรีภาพซึ่งกันและกัน การปกครองประเทศจะต้องไม่มีการทําร้ายซึ่งกันและกัน

2 ควรใช้ความนุ่มนวลในการปกครองประเทศ โดยกล่าวว่า “เมื่อปกครองประเทศด้วย ความนุ่มนวล ประชาชนก็จะซื่อสัตย์และจริงใจ เมื่อปกครองประเทศด้วยความรุนแรง ประชาชนก็จะใช้เล่ห์กล และหลอกลวง”

3 การปกครองควรทําให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมืองน้อย ๆ เพื่อให้ปกครองง่าย เพราะการ มีคนมากเรื่องก็ยุ่งมาก มีคนน้อยเรื่องก็ยังน้อย

4 ผู้ปกครองที่ดีจะต้องปกครองแบบแม่ปกครองลูก ดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น และมีคุณธรรม

5 ผู้ที่จะเป็นนักปกครองต้องมีดวงแก้ว 3 ดวง คือ ความเมตตา ความประหยัด และการไม่ทําอะไรเด่นล้ำหน้าประชาชน ซึ่งความเมตตาจะทําให้เป็นผู้มีความแกล้วกล้า ความประหยัดจะทําให้เป็นผู้มีโภคทรัพย์สมบูรณ์ และการไม่ทําอะไรเด่นล้ำหน้าประชาชนจะทําให้เป็นผู้นําประชาชนได้อย่างแท้จริง

6 ผู้ปกครองที่ดีจะต้องมีการพัฒนาตนเองให้ลดละกิเลส จึงรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งปวง มีชีวิตอยู่อย่างสมถะ รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน และประพฤติตนประดุจน้ำ

 

1.5 แนวคิดของซุงจื้อกับเอี้ยงจื้อ

แนวคําตอบ

ลัทธิซุ่งจื้อ มีหลักการสําคัญดังนี้

1 สนับสนุนให้รัฐต่าง ๆ มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ต้องใช้คุณธรรมในการปกครอง และการปกครองนั้นจะต้องทําเพื่อประชาชน ไม่ใช่ทําเพื่อผู้ปกครอง

2 เมื่อมีกษัตริย์ผู้มีปรีชาญาณองค์แรกครองบัลลังก์ ย่อมมีชนชั้น กล่าวคือ “ถ้ามนุษย์ทุกคนมีอํานาจเท่ากัน รัฐก็ไม่สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ถ้าทุกคนยืนอยู่ในระดับเดียวกัน ย่อมไม่มีการปกครอง ตราบใดที่มีสวรรค์กับโลก ย่อมมีความแตกต่างระหว่างผู้เหนือกว่ากับผู้ด้อยกว่า”

3 ผู้ปกครองที่ฉลาดจะไม่พูดถึงวินัยที่ผิดพลาด หรือไม่ให้เหตุผลเกี่ยวกับการกระทําของเขาทั้งหมด แต่เขาจะใช้อํานาจหน้าที่แนะแนวทางแก่ประชาชน ใช้การประกาศย้ำเตือนและควบคุมโดยการลงโทษ

4 มีแนวคิดแบบนิติธรรมเนียม (Legalism) ซึ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุมพลเมืองทุกคน ไม่ได้มีแนวคิดแบบเผด็จการนิยม

5 เน้นการปกครองโดยกษัตริย์ที่มีคุณธรรม และเห็นว่าสมควรให้ผู้ที่มีความรู้และกิตติคุณเพียงพอเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าจะกําเนิดจากชนชั้นไพร่ก็ตาม

6 ผู้ปกครองที่มีคุณธรรมควรได้รับการสนับสนุนให้อยู่ต่อไป ส่วนผู้ปกครองที่ชั่วร้ายไม่ควรได้เป็นผู้ปกครองต่อไป ควรจะถูกโค่นบัลลังก์

 

ลัทธิเอี้ยงจื้อ ให้ความสําคัญกับปัจเจกบุคคล โดยเห็นว่ามนุษย์ควรคํานึงถึงผลประโยชน์ของ ตนเองให้มากที่สุด อย่าไปสนใจประโยชน์ต่อผู้อื่น ซึ่งประโยชน์ของตนเองในที่นี้ไม่ใช่การเกะกะระรานคนอื่น แต่ หมายถึงการแสวงหาความสุขเฉพาะหน้า ไม่ใช่ความสุขในอนาคต ผู้ปกครองและนักการเมืองไม่จําเป็นต้องสละประโยชน์ของตนเองเพื่อผู้อื่น แต่ก็ต้องไม่เรียกร้องให้ผู้อื่นสละประโยชน์ของเขาเพื่อตนเองด้วย ประชาชนไม่ต้องทําอะไรให้กับรัฐบาล ส่วนรัฐบาลก็ไม่ต้องทําอะไรให้กับประชาชน ต่างคนต่างอยู่

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

ก ศาสนาพราหมณ์แบ่งสังคมมนุษย์เป็น 4 วรรณะ อะไรบ้าง และผลของการมีวรรณะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรต่อสังคมอินเดีย

แนวคําตอบ

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ได้แบ่งสังคมมนุษย์ออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 พราหมณ์ (ชนชั้นนักบวช/ผู้ประกอบพิธี) เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องพระพรหมอันเป็น หลักการสูงสุด โดยจะทําหน้าที่เป็นครู (Guru) คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการให้ความรู้และปัญญาแก่สังคม ให้การศึกษาแก่ผู้อื่น ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อผู้อื่น โดยเชื่อกันว่าพราหมณ์เกิดจากปากของพระพรหม และมีสีขาวเป็นสีประจําวรรณะ

2 กษัตริย์หรือขัตติยะหรือราชันย์ (ชนชั้นนักรบ) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง มีหน้าที่รักษาความมั่นคง ของประเทศทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาในชั้นสูง ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเอง และทําบุญให้ทาน โดยเชื่อกันว่ากษัตริย์เกิดจากแขนของพระพรหม และมีสีแดงเป็นสีประจําวรรณะ

3 แพศย์หรือไวศยะ (ชนชั้นกสิกร/พ่อค้า) เป็นวรรณะที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจของอินเดียอย่างยิ่ง คือจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องเศรษฐกิจ มีหน้าที่สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจด้วย การประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขาย โดยเชื่อกันว่าแพศย์เกิดจากตะโพกของพระพรหม และมีสีเหลือง เป็นสีประจําวรรณะ

4 ศูทร (ชนชั้นกรรมกร/ทาส) เป็นผู้ทําหน้าที่ในด้านการใช้แรงงานและการให้บริการ เป็นพวกที่ทํางานเป็นคนงาน นายช่าง คนเลี้ยงวัวควาย คนไถนา ซึ่งต้องรับใช้ 3 ชนชั้นแรก เป็นชนชั้นที่ไม่มีสิทธิ เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านพระเวทและใช้อาวุธ โดยเชื่อกันว่าศูทรเกิดจากเท้าของพระพรหม และมีสีดําเป็นสีประจําวรรณะ

ผลของการมีวรรณะดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอินเดีย ดังนี้

1 ทําให้ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นสังคมปิด คือ เมื่อเกิดวรรณะใดวรรณะหนึ่งแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนหรือย้ายวรรณะได้ จึงทําให้เปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ได้

2 การทําหน้าที่ตามวรรณะทั้ง 4 นี้ถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการทําตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทําตามความจําเป็นของสังคม และไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจของสังคม รัฐ หรือผู้ปกครอง

3 วรรณะจะเป็นตัวกําหนดหน้าที่ของมนุษย์ ว่าใครทําหน้าที่อะไร และแต่ละหน้าที่ก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งสามารถลดความขัดแย้งและลดการฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงหน้าที่กัน

4 การแบ่งวรรณะถือเป็นการจัดระเบียบของสังคมที่ยอมรับว่ามนุษย์นั้นมีสถานะทาง สังคมสูง-ต่ำ ลดหลั่นกันตามลําดับ ทําให้มีการดูหมิ่นคนที่อยู่ในวรรณะต่ำกว่า

5 ประชาชนจะผูกพันกับครอบครัว วรรณะ กลุ่มอาชีพ และหมู่บ้านมากกว่ารัฐ

6 ระบบวรรณะนี้จะก่อให้เกิดความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ อาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ แหล่งที่อยู่อาศัย สังคม และศักดิ์ศรีของมนุษย์

7 มีกลุ่มประชาชนที่มิได้อยู่ในระบบสังคม คือ พวก “จัณฑาล” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูถูกเหยียดหยามหรือถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทางศาสนาของชุมชน ไม่สามารถจะสนทนาหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนในระบบได้ เป็นต้น

 

ข จงยกคุณธรรมที่ควรมีอยู่ในตัวผู้ปกครองและนักการเมืองตามทัศนะของศาสนาพุทธมาโดยละเอียดอย่างน้อย 4 หัวข้อ

แนวคําตอบ

คุณธรรมของผู้ปกครองและนักการเมืองตามทัศนะของพุทธศาสนา ได้แก่

1 พรหมวิหาร 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักธรรมประจําใจของผู้เป็นใหญ่ ประกอบด้วย

1) เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข

2) กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

3) มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข ไม่ริษยา

4) อุเบกขา หมายถึง ความวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียง

ด้วยความรักและความซัง

2 สังคหวัตถุ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักการสงเคราะห์ ประกอบด้วย

1) ทาน หมายถึง การให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2) ปิยวาจา หมายถึง การมีวาจาสุภาพ ไพเราะ ซาบซึ้ง จริงใจ

3) อัตถจริยา หมายถึง การบําเพ็ญประโยชน์หรือทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4) สมานัตตตา หมายถึง การทําตนเสมอต้นเสมอปลาย หรือการวางตนให้เหมาะสม

3 ราชสังคหวัตถุ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักการสงเคราะห์ประชาชนของผู้ครองแผ่นดินประกอบด้วย

1) สัสสาเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบํารุงรักษาพืชพันธุ์ธัญญาหาร และส่งเสริมการเกษตร

2) ปุริสเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบํารุงรักษาข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ

 

3) สัมมาปาสะ หมายถึง ความรู้จักผูกน้ำใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ

4) วาชเปยะ (วาจาเปยะ) หมายถึง ความมีวาจาอันดูดดื่มน้ำใจ คือ รู้จักพูดรู้จักปราศรัย วาจาไพเราะ สุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์ในทางสามัคคี ทําให้เกิดความเข้าใจอันดี และเกิดความนิยมเชื่อถือ

4 อคติ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับความลําเอียง 4 ประการ ซึ่งมีผลกับการปกครองและ ผู้ปกครองไม่ควรประพฤติเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่

1) ฉันทาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะชอบหรือความรักใคร่

2) โทสาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะชังหรือความโกรธเกลียด

3) โมหาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะหลงหรือความโง่เขลา

4) ภยาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ เกรงอิทธิพล

 

POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 2 ข้อ

ข้อ 1 ให้อธิบายความแตกต่างของแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้โดยสังเขป

1.1 ลัทธิใต้ท้งกับลัทธิเซียวคัง

แนวคําตอบ

ลัทธิใต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติชั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาลที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

ลัทธิเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้าง รัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูก รัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

 

1.2 รัฐอิสลามกับรัฐมุสลิม

แนวคําตอบ

รัฐอิสลาม เป็นรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดําเนินงานด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอิสลาม ใช้รูปแบบการปกครองของอิสลาม และสร้างวิถีชีวิตของคนในรัฐ ให้ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของพระอัลเลาะห์ ซึ่งรัฐที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นรัฐอิสลาม คือ รัฐภายใต้การปกครอง สมัยพระนบีมุฮัมหมัดและคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ได้แก่ อาบูบัคร์ อุมาร์ อุธมาน และอาลี

รัฐมุสลิม เป็นรัฐที่เป็นจริงในโลก ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับรัฐอิสลาม แต่จะอนุโลมให้ใช้รูปแบบการปกครองแบบสากลได้ มีสภาปกติเหมือนทั่ว ๆ ไปที่เป็น ไม่ได้เคร่งครัดแบบรัฐอิสลาม แต่เนื้อหาอาจจะต้องสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามจะได้ไม่ขัดแย้งกัน เช่น ระบอบรัฐสภา (มาเลเซีย) ระบอบประธานาธิบดี (อียิปต์, ลิเบีย, อินโดนีเซีย) และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

 

1.3 ลัทธิบูชิโดกับลัทธิเม่งจื้อ

แนวคําตอบ

ลัทธิบูชิโด เป็นลัทธิชาตินิยมอย่างแรงกล้าของญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหลักจรรยาของชนชาติทหาร และเป็นหลักจริยธรรมของนักรบ โดยจะมีหน้าที่สําคัญดังนี้

1 ให้จงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิ

2 ทหารทุกคนต้องยอมตายแทนพระจักรพรรดิ

3 ทหารต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น

4 ชายญี่ปุ่นทุกคนต้องเป็นทหาร

5 ชาวญี่ปุ่นถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือเป็นลูกพระอาทิตย์

6 ประชาชนต้องเชื่อฟังทหาร ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่ภักดีต่อพระจักรพรรดิ ใครทําร้ายทหารเท่ากับทําร้ายพระจักรพรรดิ

ในปี พ.ศ. 2447 – 2448 ปรากฏว่าทหารของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิสามารถทําสงครามชนะ ประเทศรัสเซียได้ ทําให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศมหาอํานาจ และเกิดความรู้สึกว่าญี่ปุ่นก็สามารถเป็นมหาอํานาจ ทางตะวันออกได้เช่นเดียวกับมหาอํานาจทางตะวันตก ทําให้ชาวญี่ปุ่นต้องการเป็นมหาอํานาจแห่งเอเชียบูรพา ซึ่งความรักชาติได้กลายเป็นความหลงชาติ และทําให้บูชิโดกลายเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์

ลัทธิเม่งจื้อ ยอมรับสังคมศักดินาที่จัดระเบียบตามลําดับชั้น โดยในเรื่องของรัฐนั้นเม่งจื้อเห็นว่า นโยบายการปกครองของรัฐจะต้องมุ่งสู่การบรรลุคุณสมบัติทั้งสี่ของจิตมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยเมตตา ความซื่อสัตย์ นิติธรรมเนียม และสติปัญญา แนวคิดของลัทธิเม่งจื้อสามารถสรุปได้ดังนี้

1 ผู้ที่ปกครองด้วยคุณธรรม ผู้นั้นจักสามารถตั้งตนเป็นจอมจักรพรรดิราชได้สําเร็จ โดยไม่จําเป็นต้องมีอาณาเขตกว้างขวางอะไรมากมาเป็นขุมกําลัง

2 ผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน โดยประชาชนพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

3 รัฐที่ดีจะต้องให้ความสําคัญต่อเรื่องเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก

4 เน้นเรื่องการปกครองแบบธรรมานุภาพ โดยถือว่าประชาชนสําคัญที่สุด ประเทศชาติรองลงมา ผู้ปกครองมีความสําคัญน้อยที่สุด

 

1.4 ลัทธิทุ่งจื้อกับลัทธิเลี้ยงจื้อ

แนวคําตอบ

ลัทธิซุ่งจื้อ มีหลักการสําคัญดังนี้

1 สนับสนุนให้รัฐต่าง ๆ มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ต้องใช้คุณธรรมในการปกครอง และการปกครองนั้นจะต้องทําเพื่อประชาชน ไม่ใช่ทําเพื่อผู้ปกครอง

2 เมื่อมีกษัตริย์ผู้มีปรีชาญาณองค์แรกครองบัลลังก์ ย่อมมีชนชั้น กล่าวคือ “ถ้ามนุษย์ทุกคนมีอํานาจเท่ากัน รัฐก็ไม่สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ถ้าทุกคนยืนอยู่ในระดับเดียวกัน ย่อมไม่มีการปกครอง ตราบใดที่มีสวรรค์กับโลก ย่อมมีความแตกต่างระหว่างผู้เหนือกว่ากับผู้ด้อยกว่า”

3 ผู้ปกครองที่ฉลาดจะไม่พูดถึงวินัยที่ผิดพลาด หรือไม่ให้เหตุผลเกี่ยวกับการกระทําของเขาทั้งหมด แต่เขาจะใช้อํานาจหน้าที่แนะแนวทางแก่ประชาชน ใช้การประกาศย้ำเตือนและควบคุมโดยการลงโทษ

4 มีแนวคิดแบบนิติธรรมเนียม (Legalism) ซึ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุมพลเมืองทุกคน ไม่ได้มีแนวคิดแบบเผด็จการนิยม

5 เน้นการปกครองโดยกษัตริย์ที่มีคุณธรรม และเห็นว่าสมควรให้ผู้ที่มีความรู้และกิตติคุณเพียงพอเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าจะกําเนิดจากชนชั้นไพร่ก็ตาม

6 ผู้ปกครองที่มีคุณธรรมควรได้รับการสนับสนุนให้อยู่ต่อไป ส่วนผู้ปกครองที่ชั่วร้ายไม่ควรได้เป็นผู้ปกครองต่อไป ควรจะถูกโค่นบัลลังก์

ลัทธิเลี้ยงจื้อ ให้ความสําคัญกับปัจเจกบุคคล โดยเห็นว่ามนุษย์ควรคํานึงถึงผลประโยชน์ของตนเองให้มากที่สุด อย่าไปสนใจประโยชน์ต่อผู้อื่น ซึ่งประโยชน์ของตนเองในที่นี้ไม่ใช่การเกะกะระรานคนอื่น แต่หมายถึงการแสวงหาความสุขเฉพาะหน้า ไม่ใช่ความสุขในอนาคต ผู้ปกครองและนักการเมืองไม่จําเป็นต้องสละประโยชน์ของตนเองเพื่อผู้อื่น แต่ก็ต้องไม่เรียกร้องให้ผู้อื่นสละประโยชน์ของเขาเพื่อตนเองด้วย ประชาชนไม่ต้องทําอะไรให้กับรัฐบาล ส่วนรัฐบาลก็ไม่ต้องทําอะไรให้กับประชาชน ต่างคนต่างอยู่

 

1.5 ลัทธิขงจื้อกับลัทธิเต๋

แนวคําตอบ

ลัทธิขงจื้อ มีหลักการสําคัญดังนี้

1 ชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และอุดมคติทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง ต่างก็มีจุดศูนย์กลางที่ศีลธรรมเช่นเดียวกัน

2 ต่อต้านการปกครองที่กดขี่ทารุณ โดยกล่าวว่า “รัฐบาลที่กดขี่ทารุณนั้นร้ายยิ่งกว่าเสือเสียอีก”

3 กองทัพไม่สามารถสู้รบอย่างมีประสิทธิผลได้ถ้าทหารไม่รู้ว่าพวกเขาจะสู้ไปทําไม โดยกล่าวว่า “การนําประชาชนที่ไม่ได้รับการศึกษาไปสู่สงคราม ก็เท่ากับว่านําพวกเขาไปทิ้ง”

4 ให้ความสําคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก

5 การปกครองนั้นควรมีจุดมุ่งหมายในการนําสวัสดิการและความสุขมาสู่ประชาชนทั้งมวล โดยต้องมีผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารซึ่งไม่ใช่มาจากชาติกําเนิด ความร่ำรวยหรือตําแหน่ง แต่มาจากการได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

6 การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และจะต้องมีลักษณะ “คุ้มครองมากกว่าปกครอง”

7 การใช้อํานาจนั้นจะต้องคํานึงถึงคุณธรรม โดยกล่าวว่า “เมื่อผู้ปกครองเองทําถูกต้อง เขาย่อมมีอํานาจเหนือประชาชนโดยมิต้องออกคําสั่ง แต่เมื่อผู้ปกครองเองไม่ทําสิ่งที่ถูกต้อง คําสั่งทั้งปวงของเขาก็ใช้ไม่ได้เลย”

8 รากฐานของอาณาจักรคือรัฐ รากฐานของรัฐคือครอบครัว รากฐานของครอบครัวคือตัวเอง

 

ลัทธิเต๋า (เหลาจื้อ) มีหลักการสําคัญดังนี้

1 มีแนวคิดทางการเมืองการปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม โดยเชื่อว่า กฎธรรมชาติ เป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ดีกว่ากฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น และเห็นว่าสันติภาพที่แท้จริง เกิดขึ้นไม่ได้เนื่องจากมนุษย์ชอบผืนธรรมชาติ โดยพยายามกําหนดระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองหรือบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม

2 รัฐบาลชอบใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือทดลองนโยบายใหม่ ๆ ที่ตนเชื่อว่าจะได้ผลดี

กฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองนํามาใช้ไม่ได้ช่วยประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า ไม่จําเป็นต้องมาสร้างกฎเกณฑ์กฎหมายต่าง ๆ

3 ความเฉลียวฉลาดและสติปัญญาของมนุษย์เป็นภัยต่อสังคม เพราะมนุษย์ที่ยังไม่เข้าถึงแต่ชอบใช้ความเฉลียวฉลาดของตนไปในทางกอบโกยผลประโยชน์ให้ตนเอง ทุจริต และเบียดเบียนผู้อื่น

4 ไม่จําเป็นต้องมีโรงเรียน เพราะถ้ามนุษย์เรียนรู้กว้างขวางมาก ก็ยากที่จะห้ามคนเหล่านี้ให้ใช้สติปัญญาผลิตสิ่งแปลกใหม่หรือต่อสู้แข่งขันกันได้ โดยคนฉลาดนั้นย่อมรู้วิธีเลี้ยง กฎหมาย รัฐบาลก็ต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด และรัฐบาลก็อาจทําผิดกฎหมายเสียเอง

5 การปกครองควรทําให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมืองน้อย ๆ เพื่อให้ปกครองง่าย เพราะการมีคนมากเรื่องก็ยุ่งมาก มีคนน้อยเรื่องก็ยุ่งน้อย

6 นักปกครองที่ดีจะต้องปกครองแบบแม่ปกครองลูก ดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น และมีคุณธรรม

7 การปกครองที่ดีที่สุดเรียกว่า “บ้ออุ้ยยื่อตี” คือ การปกครองโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับประชาชนมากเกินไป ให้ทุกคนมีอิสระเสรีเต็มที่

8 ควรใช้ความนุ่มนวลในการปกครองประเทศ โดยกล่าวว่า “เมื่อปกครองประเทศด้วยความนุ่มนวล ประชาชนก็จะซื่อสัตย์และจริงใจ เมื่อปกครองประเทศด้วยความรุนแรง ประชาชนก็จะใช้เล่ห์กลและหลอกลวง

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

ก จงอธิบายถึงคุณธรรมของศาสนาพราหมณ์ที่มีผลต่อการสร้างเสริมลักษณะนิสัยและสร้างเสริมลักษณะประจําชาติที่ทําให้คนอินเดียมีระเบียบวินัย มีการกระทําในเรื่องต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในชีวิตที่ถูกกําหนดไว้มาให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

คุณธรรมของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่มีผลต่อการสร้างเสริมลักษณะนิสัยและสร้างเสริม ลักษณะประจําชาติที่ทําให้คนอินเดียมีระเบียบวินัย มีการกระทําในเรื่องต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในชีวิตที่กําหนดไว้ ตัวอย่างได้แก่ อาศรม 4 ธรรม กาม อรรถ ฯลฯ

อาศรม 4 เป็นการทําหน้าที่ของตนตามวัยหรือขั้นตอนของชีวิต ซึ่งประกอบด้วย

1 พรหมจารี คือ วัยเยาว์หรือวัยศึกษา (อายุ 0 – 25 ปี) ซึ่งมีหน้าที่ศึกษาหาความรู้และฝึกฝนความสามารถต่าง ๆ

2 คฤหัสถ์ คือ วัยผู้ใหญ่หรือวัยครองเรือน (อายุ 25 – 50 ปี) ซึ่งสําเร็จการศึกษาแล้วจึงควรมีเหย้ามีเรือน โดยมีหน้าที่ช่วยแบ่งเบาภาระของบิดามารดา และสร้างความมั่นคง ให้กับตนเองและครอบครัว โดยจะต้องทําหน้าที่นี้จนอายุ 50 ปี หรือจนกระทั่งบุตรของตนเข้าสู่วัยคฤหัสถ์แล้ว

3 วานปรัสถ์ คือ วัยสูงอายุ (อายุ 50 – 75 ปี) ซึ่งจะมอบทรัพย์มรดกให้ลูกหลาน แล้วไปทําหน้าที่บําเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เช่น เป็นครูอาจารย์ คิดสร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาสังคม โดยจะต้องทําหน้าที่นี้จนอายุ 75 ปี

4 สันยาสี คือ วัยชรา (อายุ 75 ปีขึ้นไป) ซึ่งต้องอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ เพื่อปฏิบัติธรรมนําไปสู่การหลุดพ้น โดยมีหน้าที่ต้องบําเพ็ญพรตและจาริกสั่งสอนผู้อื่นให้ประพฤติดีประพฤติชอบแสวงหาความหลุดพ้น ละเรื่องทางโลก

ธรรม เป็นการทําตามหน้าที่ มีความรับผิดชอบ หรือการสํานึกถูกผิด มีศีลธรรม โดยรัฐมีหน้าที่ ส่งเสริมธรรม ก็คือ ทําให้คนมีสํานึกถูกผิด มีศีลธรรม อุปถัมภ์บํารุงศาสนา จัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน บํารุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการต่าง ๆ และปลูกฝังจริยธรรมแก่ประชาชน

กาม เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในทางร่างกายหรือความสุขทางกาย โดยรัฐมีหน้าที่ ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความสุขด้านจิตใจที่ผ่านทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ความพึงพอใจในศิลปะ วรรณคดี ดนตรี ความรื่นเริง และความสุขทางกายอื่น ๆ

อรรถ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่งคั่งร่ำรวยและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยรัฐมีหน้าที่ ทํานุบํารุงให้เกิดความมั่งคั่งและความเจริญทางวัตถุ เช่น การค้า เกษตรกรรม การผลิต การรักษาทรัพยากร เป็นต้น

 

ข หากผู้ปกครองตามแนวคิดตะวันตกเน้นเรื่องความชอบธรรมในการเข้าสู่อํานาจ นักศึกษาคิดว่าผู้ปกครองในตะวันออกจะเน้นเรื่องใดในการเข้าสู่อํานาจ ให้อธิบายเฉพาะการเข้าสู่อํานาจของผู้ปกครองตามแนวคิดของพุทธศาสนาเท่านั้น

แนวคําตอบ

ในอัคคัญญสูตรของพุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเกิดคนและสังคม ปัญหาสังคมก็ย่อมตามมา ซึ่งปัญหาสังคมนี้จะมีสาเหตุมาจากกิเลสตัณหาของคนทําให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงและทําร้ายซึ่งกันและกัน ดังนั้น จึงต้องมีผู้เข้าไปจัดการแก้ไข เพื่อทําให้เกิดระบบการปกครอง เกิดรัฐและผู้มีอํานาจขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากคําสอน ตอนหนึ่งที่บรรยายไว้ว่า เมื่อเกิดการกั้นเขตเพื่อครอบครองข้าวสาลีแล้ว คนบางคนได้พยายามเข้าไปขโมยข้าวสาลี ในเขตของคนอื่น และเมื่อถูกจับได้ก็จะถูกลงโทษด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ตักเตือน ตบด้วยมือ ขว้างด้วยก้อนดิน ตีด้วยไม้ เป็นต้น

พวกขโมยที่ถูกจับได้นี้บางคนทําแล้วทําอีก ไม่รู้จักหลาบจํา บางคนรับปากว่าจะไม่ทําอีก แต่กลับทํา กลุ่มคนที่ครอบครองพื้นที่เหล่านั้นจึงประชุมกันเกี่ยวกับปัญหาการลักทรัพย์ การติเตียน การพูดปด และการทําร้ายที่เกิดขึ้น โดยมีมติว่าควรจะแต่งตั้งผู้มาทําหน้าที่ติเตียนคนที่ควรติ และขับไล่คนที่ควรขับไล่ โดยจะแบ่งส่วนข้าวสาลีให้เป็นค่าตอบแทน

หลังจากนั้นจึงมีการเลือกผู้มาทําหน้าที่เป็นหัวหน้าเพื่อปกครองคน คือ การทําหน้าที่ติเตียนคน ที่ควรติเตียนและขับไล่คนที่ทําผิดควรแก่การขับไล่ ซึ่งได้เกิดคํา 3 คําขึ้นมา คือ “มหาสมมุติ” (ผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง) “กษัตริย์” (ผู้เป็นใหญ่ในนา) และ “ราชา” (ผู้ทําความอิ่มใจสุขใจแก่ผู้อื่น) ซึ่งคําดังกล่าวนี้เป็นที่มาของคําว่า “ผู้ปกครอง” นั่นเอง

ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มคนในสังคมเป็นผู้เลือกและแต่งตั้งเขาเป็นหัวหน้า ซึ่งถือว่าเป็นคนธรรมดา ไม่ใช่มาจากสิ่งสูงส่งใด ๆ แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมหรือจริยธรรมมากกว่าผู้อื่นและเป็น ผู้ที่ประเสริฐในกลุ่มชนนั้น

ดังนั้นการเข้าสู่อํานาจของผู้ปกครองตามแนวคิดตะวันออกจึงเน้นในเรื่องหลักธรรม ทั้งนี้เพราะ ผู้ปกครองนั้นจะเปรียบเสมือนโคหัวหน้าฝูงข้ามแม่น้ำ ถ้าหัวหน้าฝูงว่ายคดเคี้ยว โคลูกน้องก็ว่ายน้ำคดเคี้ยวตามไปด้วย ถ้าหัวหน้าฝูงว่ายตรง โคลูกน้องก็ว่ายน้ำตรงด้วย ซึ่งหมายความว่าถ้าผู้ปกครองประเทศไม่ประพฤติธรรม ประชาชนก็จะไม่ประพฤติธรรมด้วย รัฐก็จะยากเข็ญ ในทางตรงกันข้ามหากผู้ปกครองประพฤติธรรม ประชาชนก็จะ ประพฤติธรรมด้วย รัฐก็จะเป็นสุข

PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 3. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความจําระยะสั้น

(2) ความจําระยะยาว

(3) ความจําจากการรับสัมผัส

(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(5) ความจําคู่

 

1 เก็บข้อมูลได้มากและไม่สูญหาย

ตอบ 2 หน้า 196 – 197, 199 ความจําระยะยาว (Long term, Memory) จะทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ โดยมีความสามารถไม่จํากัด ในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ และจะเก็บข้อมูลไว้บน พื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ

1 การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ 2 การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย จําอุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ

2 เก็บภาพติดตาไว้ได้

ตอบ 3 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคง อยู่ได้ครึ่งวินาที (1/2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

3 เป็นคลังข้อมูลชั่วคราว

ตอบ 1 หน้า 196 ความจําระยะสั้น (Short-term Memory) ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด โดยจะเก็บข้อมูลในลักษณะจินตภาพ ทั้งนี้ความจําระยะสั้น จะถูกรบกวนหรือถูกแทรกแซงได้ง่าย เป็นความจําที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราสับสนในการสนทนา เกี่ยวกับชื่อ วันที่ หมายเลขโทรศัพท์ และเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นอกจากนี้ยังเป็นความจําในส่วนที่ปฏิบัติงาน (Working Memory) การคิดเลขในใจ การจํารายการสั่งของที่จะซื้อ ฯลฯ

4 การที่เราจดจําเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยได้ เป็นเพราะเราจัดเก็บข้อมูลไว้ในส่วนใด

(1) ความจําคู่

(2) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(3) การจําเหตุการณ์ในความจําระยะยาว

(4) การจําความหมายในความจําระยะยาว

(5) ความจําจากการรับสัมผัส

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

5 การที่เราพยายามนึกชื่อดาราคนหนึ่ง ที่จําชื่อไม่ได้แต่จําหน้าได้ จนกระทั่งมีเพื่อนนํารูปถ่ายมาให้ดู จึงสามารถเรียกชื่อดาราได้อย่างถูกต้อง ลักษณะนี้จัดว่าตรงกับข้อใด

(1) การบูรณาการใหม่

(2) การระลึกได้

(3) การพิจารณาได้

(4) การเรียน

(4) การเรียนซ้ำ

(5) การจําได้

ตอบ 5 หน้า 202 การจําได้ (Recognition) เป็นการวัดความจําโดยมีสื่อกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ หรือการเห็นร่มก็จําได้ว่าเป็นร่มที่หายไปเมื่อสองเดือนที่แล้ว ฯลฯ การจําได้จะได้ผลดีถ้ามีรูปถ่ายหรือการได้เห็นสิ่งอื่น ๆ มาช่วย เช่น การที่ตํารวจนิยมให้พยานชี้ตัวผู้ต้องสงสัยจากภาพถ่ายหรือสเก็ตภาพให้พยานดู เป็นต้น

6 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการลืม

(1) การไม่ได้ลงรหัส

(2) ลงรหัสข้อมูลไว้แต่ไม่ครบถ้วน

(3) ถูกรบกวนด้วยข้อมูลใหม่

(4) เกิดการเก็บกด

(5) ข้อมูลเสื่อมสลายตามกาลเวลา

ตอบ 2 หน้า 204 205 สาเหตุของการลืม มีหลายประการ ได้แก่

1 การไม่ได้ลงรหัส

2 การเสื่อมสลายตามกาลเวลาเพราะการไม่ได้ใช้

3 การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ

4 การถูกรบกวนด้วยข้อมูลใหม่

5 การเก็บกด

7 เมื่อคิดเกี่ยวกับทะเล ก็ได้กลิ่นไอเค็มและได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ตรงกับหน่วยพื้นฐานความคิดข้อใด

(1) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ

(2) การหยั่งเห็นคําตอบทันที

(3) จินตภาพ

(4) มโนทัศน์

(5) ภาษา

ตอบ 3 หน้า 206 จินตภาพ (Images) หมายถึง ภาพในใจ รวมถึงความรู้สึกสัมผัสอื่น ๆ ด้วย เช่น เมื่อคิดเกี่ยวกับทะเลก็จะเห็นสีฟ้าครามสดใส ได้กลิ่นไอเค็ม และได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ฯลฯ

8 ข้อใดไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลกําลังคิด

(1) มีภาพตรงหน้า

(2) มีการใช้ภาษา

(3) มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

(4) มีภาพในใจ

(5) มีมโนทัศน์

ตอบ 1 หน้า 206 207 ในขณะที่บุคคลกําลังคิดจะต้องเกิดหน่วยพื้นฐานของความคิด ประกอบด้วย จินตภาพ (มีภาพในใจ) มีการตอบสนอง การเคลื่อนไหว) ของกล้ามเนื้อ มีมโนทัศน์ และมีการใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์

9 การที่เราสามารถแก้ปัญหาโจทย์สถิติ เพราะเราจํากฎการคํานวณและสูตรสถิตินั้นได้ เป็นการแก้ปัญหาลักษณะใด

(1) แก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ

(2) แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที

(3) แก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร

(4) แก้ปัญหาจากการคิดคําตอบที่เป็นไปได้หลาย ๆ คําตอบ

(5) แก้ปัญหาจากการคิดคุณสมบัติทั่วไปของคําตอบที่ถูก

ตอบ 3 หน้า 209 การแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร (Mechanical Solution) อาจทําโดยการลองผิดลองถูก หรือการท่องจํา และมีการนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหาโดยการท่องจํา หมายถึง การแก้ปัญหาได้เนื่องจากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เราได้เรียนรู้และท่องจําไว้แล้ว เช่น เราสามารถแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์หรือสถิติได้ เพราะเราจํากฏการคํานวณและสูตรต่าง ๆ ได้มาก ฯลฯ

10 ตาลสามารถเปลี่ยนวิธีคิดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้โดยไม่ยึดติดกับความคิดเดิม ๆ จัดว่าเป็น คุณสมบัติใดของความคิดสร้างสรรค์

(1) ความริเริ่ม

(2) ความมีตรรกะ

(3) การแสวงหาใคร่รู้

(4) ความคล่อง

(5) ความยืดหยุ่น

ตอบ 5 หน้า 211 ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวข้องกับวิธีการคิดเชิงกลไก การมองเห็นคําตอบได้ทันทีหรือขึ้นอยู่กับความเข้าใจ อาจอยู่ในรูปการอุปนัยหรือการนิรนัย อาจเป็นเชิงตรรกะหรือปราศจากเหตุผล รวมทั้งความคล่อง ความยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม ความคิดยืดหยุ่นอาจดูได้จากจํานวนครั้งที่เปลี่ยนวิธีคิดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้โดยไม่ยึดติดกับความคิดเดิม ๆ

11 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเรียนรู้

(1) สัญชาตญาณ

(2) สิ่งเสริมแรง

(3) การลงโทษ

(4) ประสาทสัมผัส

(5) ประสบการณ์ในอดีต

ตอบ 1 หน้า 167 168, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ ได้แก่ ประสบการณ์ในอดีตสภาพจิตใจในปัจจุบัน ประสาทสัมผัส การรับรู้ สิ่งเร้า สิ่งเสริมแรง การให้รางวัล การลงโทษและความคิดความเข้าใจ ฯลฯ

12 บุคคลใดค้นพบการเรียนรู้ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(1) อีวาน พาฟลอฟ

(2) บี.เอฟ. สกินเนอร์

(3) แบนดูรา

(4) วัตสัน

(5) โรเจอร์

ตอบ 1 หน้า 170 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ได้ค้นพบการเรียนรู้ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก โดยเขาได้ทําการทดลองวางผงเนื้อลงบนสิ้นสุนัข สุนัขก็จะหลั่งน้ำลายออกมา ซึ่งเป็นการตอบสนองแบบปฏิกิริยาสะท้อน (เป็นไปโดยอัตโนมัติ) ต่อมาเขาสั่นกระดิ่งและให้ผงเนื้อทันที สุนัขก็จะน้ำลายไหลออกมา สุดท้ายเขาสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียวก็ทําให้สุนัขน้ำลายไหลได้

13 ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ภาวะการหยุดยั้ง (Extinction) เกิดขึ้นเมื่อไร

(1) การให้ US ก่อนการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(2) การไม่ให้ UR หลังการให้ US หลาย ๆ ครั้ง

(3) การไม่ให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(4) การให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(5) การให้ CS ก่อนการให้ US หลาย ๆ ครั้ง

ตอบ 3 หน้า 171 172 ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ภาวะการหยุดยั้ง (Extinction) จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง (US : Unconditioned Stimulus คือ สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข เช่น ผงเนื้อ น้ำมะนาว ฯลฯ, CS : Conditioned Stimulus คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหรือสิ่งเร้าที่เรียนรู้ เช่น เสียงกระดิ่ง ฯลฯ)

14 ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

(1) การหายใจของมนุษย์

(2) การว่ายน้ำของปลา

(3) การร้องไห้ของเด็กแรกเกิด

(4) การปรบมือของเด็กเมื่อดีใจ

(5) การชักใยของแมงมุม

ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตาเมื่อแสงจ้า การไอหรือจาม ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะ ของเผ่าพันธุ์ เช่น การหายใจของมนุษย์ เด็กทารกดูดนมจากเต้ามารดา การก้าวเดินได้ครั้งแรกการยืนและเดินสีขาของสุนัข การว่ายน้ำของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

15 การโฆษณายาสีฟันโดยใช้ทันตแพทย์เป็นผู้แนะนําผลิตภัณฑ์ (Presenter) เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภค อาศัยการเรียนรู้แบบใด

(1) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(2) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

(3) การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ

(4) สรุปความเหมือน

(5) การปรับพฤติกรรม

ตอบ 3 หน้า 183, 189 การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ หมายถึง การเข้าใจ การรู้ การคาดหมาย การคาดหวัง และการใช้กระบวนการทางจิตระดับสูงอื่น ๆ นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงความจํา ความคิด การแก้ปัญหา รวมทั้งการใช้มโนทัศน์และภาษาในการเรียนรู้ โดยในสถานการณ์การ เรียนรู้ทั้งมนุษย์และสัตว์จะสร้างแผนที่เกี่ยวกับความคิดความเข้าใจซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์ แทนตัวขึ้นภายในความคิด

16 การฝึกสุนัขให้ยกขาเมื่อต้องการอาหาร แสดงถึงลักษณะการเรียนรู้แบบใด

(1) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น

(2) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

(3) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(4) การเรียนรู้โดยบังเอิญ

(5) การเรียนรู้แบบจดจํา

ตอบ 2 หน้า 174 การวางเงื่อนไขแบบการกระทําพัฒนาขึ้นโดย บี.เอฟ. สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ซึ่งเชื่อว่า การตอบสนองของอินทรีย์นั้น จะขึ้นอยู่กับความพร้อมที่ต้องการจะทําพฤติกรรม เป็นการตอบสนองที่ควบคุมได้ และมีหลักการเรียนรู้อยู่ว่าพฤติกรรมใดที่ทําแล้วได้รับรางวัล ก็มีแนวโน้มว่าจะกระทําพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก เช่น การฝึกสุนัขให้ดมกลิ่นหายาเสพติดหรือฝึกให้ยกขาเมื่อต้องการอาหาร หรือฝึกให้กระโดดลอดห่วง โดยมีการให้รางวัลแก่สุนัข ฯลฯ

17 มนุษย์สามารถควบคุมการทํางานของร่างกายที่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจได้ ลักษณะเช่นนี้ ใช้หลักการเรียนรู้แบบใด

(1) การเรียนรู้แฝง

(2) การเรียนรู้เพื่อจะเรียน

(3) การเรียนรู้ทักษะ

(4) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

(5) การป้อนกลับทางชีวะ

ตอบ 5 หน้า 185 นักจิตวิทยาพบว่ามนุษย์สามารถควบคุมการทํางานของร่างกายในส่วนที่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจได้ โดยใช้หลักการเรียนรู้แบบการป้อนกลับทางชีวะ ซึ่งใช้หลักคล้าย ๆ กับโยคะและพุทธศาสนา ทั้งนี้การทํางานของร่างกายเกือบทุกอย่าง สามารถอยู่ในอํานาจของจิตใจได้ถ้าให้การป้อนกลับหรือรางวัลตามหลักการเปลี่ยนแปลงการทํางานของส่วนนั้น

18 ข้อใดเป็น “สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ”

(1) คะแนนสอบ

(2) ความรัก

(3) อาหาร

(4) การยอมรับ

(5) ความสนใจ

ตอบ 3 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcers) เป็นสิ่งเสริมแรงที่เป็นธรรมชาติไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพึงพอใจและลดความไม่พึงพอใจลงหรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำ อาหาร ความต้องการทางเพศ เป็นต้น

19 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือสิ่งใด

(1) ให้รางวัล

(2) ลงโทษ

(3) เพิกเฉย

(4) ยับยั้ง

(5) หยุด

ตอบ 1 หน้า 179 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจหรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การให้ขนมแก่เด็กเมื่อเด็กทําความดี ฯลฯ ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การทําให้ความไม่สุขสบายหมดไป เช่น การกินยาแก้ปวดเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะ ฯลฯ

20 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการนําการลงโทษมาใช้ในการเรียนรู้

(1) การเสริมแรง เพื่อเพิ่มกําลังในการตอบสนอง

(2) การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง

(3) การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง

(4) การสร้างให้เกิดความเข้าใจ

(5) การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ

ตอบ 4 หน้า 182 องค์ประกอบของการนำการลงโทษมาใช้ในการเรียนรู้ มี 3 ประการ คือ

1 การเสริมแรง เพื่อเพิ่มกําลังในการตอบสนอง

2 การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง (เช่น การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ)

3 การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง

21 ข้อใดไม่สอดคล้องกับกฎของเมนเดล

(1) ยีนส์ถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง

(2) ร่างกายของคนเรามียีนส์ 400,000 ชนิด

(3) ยีนส์ที่มีลักษณะเด่น และยีนส์ที่มีลักษณะด้อย

(4) คนเป็นโรคเบาหวาน

(5) ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน

ตอบ 2 หน้า 122 – 124, 128 “กฎของเมนเดล” สามารถอธิบายการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ดังนี้

1 ยีนส์จะถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง

2 ร่างกายของคนเราจะมียีนส์อยู่ประมาณ 40,000 ชนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยีนส์ที่มีลักษณะเด่น และยีนส์ที่มีลักษณะด้อย

3 ยีนส์จะถ่ายทอดคุณลักษณะจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผม สีผิว รวมทั้งกลุ่มเลือด และโรคบางอย่าง (เบาหวาน ตาบอดสี) ฯลฯ

22 ข้อใดไม่ใช่ฝาแฝดเหมือน

(1) สเปิร์ม 1 ไข่ 1

(2) สเปิร์ม 1 ไข่ 2

(3) ฝาแฝดเพศเดียวกัน

(4) มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

(5) หน้าตาเหมือนกัน

ตอบ 2 หน้า 125 ฝาแฝดเหมือนหรือแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิ 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด)ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน มีหน้าตาเหมือนกัน มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

23 ยีนส์มีกี่โครโมโซม

(1) 45

(2) 46

(3) 47

(4) 48

(5) 49

ตอบ 2 หน้า 125 ยีนส์อันเป็นลักษณะของบรรพบุรุษจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยผ่านทางโครโมโซมซึ่งบุคคลคนหนึ่งจะมีโครโมโซมอยู่ในตัว 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ โดยโครโมโซมเหล่านี้บุคคลจะได้รับมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม

24 ข้อใดไม่สอดคล้องกับบุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY

(1) เพศชายมีหน้าอก

(2) อวัยวะเพศไม่ทํางาน

(3) เป็นโรคปัญญาอ่อน

(4) เพศหญิงมีลักษณะเป็นชาย

(5) มีโครโมโซม 46 ตัว

ตอบ 4 หน้า 128 บุคคลที่มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดในเพศชาย ซึ่งจะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง มีหน้าอกใหญ่ และอวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ และอาจกลายเป็นโรคปัญญาอ่อนชนิด Mongolism ได้

25 คนที่มีลักษณะ Endomorphy จะมีลักษณะอารมณ์เป็นอย่างไร

(1) อารมณ์ดี

(2) โมโหยาก

(3) มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

(4) มีอารมณ์มั่นคง

(5) ดื้อดึง

ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) แบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบาย โกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ ฯลฯ

2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย เฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า ไม่กล้าแสดงออก พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้งเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

26 สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรรับประทานในระหว่างตั้งครรภ์

(1) ทานอาหารที่มีไขมัน

(2) ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต

(3) ทานอาหารหมักดอง

(4) ทานอาหารที่มีโปรตีน

(5) รับประทานวิตามินซี

ตอบ 3 หน้า 132 สิ่งที่มารดาควรบริโภคในระยะตั้งครรภ์ ได้แก่ อาหารที่มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตวิตามินบี 6 ปี 12 ซี ดี อี และเค ส่วนสิ่งที่ต้องห้ามสําหรับผู้มีครรภ์ ได้แก่ บุหรี่ แอลกอฮอล์และเครื่องหมักดอง

27 จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loevinger) พบว่า อิทธิพลของสติปัญญากับสิ่งแวดล้อมมีกี่เปอร์เซ็นต์

(1) สติปัญญา 50% สิ่งแวดล้อม 50%

(2) สติปัญญา 25% สิ่งแวดล้อม 75%

(3) สติปัญญา 75% สิ่งแวดล้อม 25%

(4) สติปัญญา 60% สิ่งแวดล้อม 40%

(5) สติปัญญา 40% สิ่งแวดล้อม 50%

ตอบ 3 หน้า 137 จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loewinger) พบว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา 759% และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล 25% นอกจากนี้ในด้านเกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกาย โดยเฉพาะรูปร่างและหน้าตามีผลมาจากพันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม

28 ถ้าทารกมีการติดเชื้อหรือขาดออกซิเจนจะเกิดอะไรขึ้น

(1) ปากแหว่ง

(2) แขนขาไม่มี

(3) เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด

(4) มีความพิการในระบบอวัยวะสัมผัส

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 132 หากมีการติดเชื้อหรือขาดออกซิเจน อาจจะทําให้เด็กเกิดมาจมูกโหว่ ปากแหว่ง ตาบอด แขนขาไม่มี มีความพิการในระบบอวัยวะรับสัมผัส เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และอาจทําให้สติปัญญาต่ำ

29 สิ่งใดที่ทําให้ยืนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

(1) การใช้รังสี X-Ray

(2) การใช้ยา

(3) การเกิดอุบัติเหตุ

(4) การเกิดโรคไทรอยด์

(5) โลหิต

ตอบ 3 หน้า 124, 132 ในสภาพการณ์ที่เป็นปกติโดยทั่วไป ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์เรานั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการใช้รังสีเอกซเรย์ (X-Ray) หรือการใช้ยาบางชนิด รวมทั้งการเกิดโรคจากต่อมไทรอยด์และระบบเลือดของมารดา

30 ข้อใดอธิบายสภาวะของ Rh Factor ผิด

(1) ระบบเลือดของมารดาเข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อน

(2) มีอาการแท้ง

(3) เกิดการต่อต้านระหว่างเลือดของมารดา

(4) เลือดของมารดาจะทําลายเลือดของลูก

(5) ระบบการทํางานจากแม่สู่ลูก

ตอบ 5 สภาวะของ Rh Factor หมายถึง การที่ระบบเลือดของมารดามีสารบางอย่างที่เข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อนในครรภ์ ทําให้เกิดอาการแท้งหรือตายหลังคลอดได้ สภาวะนี้ จะมี 2 ประเภท คือ ประเภทบวกและประเภทลบ ซึ่งถ้าลูกมีสภาวะของเลือดตรงข้ามกับมารดา (เลือดบิดาเป็น Rh บวก ซึ่งเป็นลักษณะเด่น แต่เลือดมารดาเป็น Rh ลบ ซึ่งเป็นลักษณะด้อย ลูกจะมี Rh บวก ตามลักษณะเด่นซึ่งตรงข้ามกับมารดา) จะทําให้เกิดการต่อต้านขึ้น โดยเลือด ของมารดาจะก่อปฏิกิริยาทําลายเลือดของลูก

31 สรีรจิตวิทยา เป็นการศึกษาในเรื่องใด

(1) การศึกษาถึงแบบแผนพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงที่ของบุคคลที่แสดงออกให้เห็นในสถานการณ์ต่าง ๆ

(2) การศึกษาถึงการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรม

(3) การศึกษาถึงกระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอก

(4) การศึกษาถึงกระบวนการแปลความหมายสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ (5) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต

ตอบ 2 หน้า 25 สรีรจิตวิทยา เป็นการศึกษาถึงการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อสภาวะแวดล้อม

32 กลไกของระบบประสาทใด ที่ทําหน้าที่รับสัมผัสทั้งหลาย แปลงข้อมูลเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือสารเคมีและส่งต่อไปยังระบบประสาท

(1) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง

(2) กลไกการรับรู้

(3) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท

(4) กลไกการรับสิ่งเร้า

(5) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน

ตอบ 4 หน้า 31 กลไกการรับสิ่งเร้า (Receptors) คือ อวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง ซึ่งกลไกนี้จะทําหน้าที่รับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมแล้วแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือสารเคมี และส่งต่อไปยังระบบประสาท

33 กรณีใดไม่ได้เกิดจากวงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action)

(1) เปิดพัดลมเมื่อร้อน

(2) ชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน

(3) ถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่

(4) กะพริบตาเมื่อลมพัด

(5) ดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ

ตอบ 1 หน้า 31 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Simple Reflex Action) ถือว่าเป็นวงจรที่เล็กที่สุดของกลไกการตอบสนอง ซึ่งเป็นการแสดงออกทางร่างกายโดยอัตโนมัติโดยที่สมองไม่ต้องสั่งงาน แต่วงจรของกระแสประสาทจะผ่านเฉพาะไขสันหลังเท่านั้น คือ ทํางานภายใต้การสั่งการของ ไขสันหลัง เช่น การกะพริบตาเมื่อถูกลมพัด การถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่ การชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน การดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ ฯลฯ

34 ระบบประสาทใด ทําหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกาย

(1) ระบบประสาทส่วนปลาย

(2) ระบบประสาทส่วนกลาง

(3) ระบบประสาทนําคําสั่งทั่วไป

(4) ระบบประสาทซิมพาเธติก

(5) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก

ตอบ 2 หน้า 27, 34, 41 – 43, 52 – 53 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สําคัญที่สุดของระบบประสาท โดยทําหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควนคุมการทํางานของร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ ทําให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ ควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ การไหลเวียนของโลหิต การทํางานของต่อมไร้ท่อ การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมอารมณ์ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของความรู้สึกนึกคิด สติปัญญา ความคิดและความรัก ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์

35 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic Nervous System) ทําหน้าที่อะไร

(1) ควบคุมสมดุลระบบพลังงานของร่างกาย

(2) ผลิตฮอร์โมน

(3) ผลิตของเหลวส่งตามท่อไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

(4) ทําให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะสงบและพักผ่อนหลังอาการตกใจ

(5) สั่งการให้ร่างกายตื่นตัว เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

ตอบ 5 หน้า 34, 261 ระบบประสาทซิมพาเธติก เป็นระบบที่ไปกระตุ้นการทํางานของร่างกายในกรณีฉุกเฉิน ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เช่น เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าที่ทําให้ตกใจกลัวและช็อก ทําให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย มีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ

36 ไฮโปธาลามัสไม่ได้ทําหน้าที่ในเรื่องใด

(1) ควบคุมการหลับการตื่น

(2) ควบคุมความหิว ความกระหาย

(3) ควบคุมกล้ามเนื้อลาย

(4) ควบคุมการทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ

(5) ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

ตอบ 3 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็ก แต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกาย การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

37 ส่วนใดเกี่ยวข้องกับการทํางานของระบบประสาทน้อยที่สุด

(1) เซลล์ประสาท

(2) สารสื่อประสาท

(3) หัวใจ

(4) ไขสันหลัง

(5) สมอง ตอบ 3 หน้า 32, 34, 38, 52 ระบบประสาท เป็นระบบการทํางานที่สําคัญที่สุดของร่างกายประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทจํานวนมาก โดยภายในเส้นประสาท ประกอบด้วย เซลล์ประสาท กระแสประสาท และสารสื่อประสาท (หัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่ทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจและเป็นไปโดยอัตโนมัติ)

38 เดนไดรท์ ในเซลล์ประสาทนิวโรน ทําหน้าที่ในข้อใด

(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทได้ในเวลาเดียวกัน

(2) การนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์

(3) การนํากระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปสู่เซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง

(4) ทําหน้าที่กระตุ้นการทํางานของเซลล์ประสาทตัวถัดไป

(5) ทําหน้าที่ยับยั้งการทํางานของเซลล์ประสาทตัวถัดไป

ตอบ 2 หน้า 37 เดนไดรท์ (Dendrite) ในเซลล์ประสาทนิวโรน จะทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์ประสาท

39 กล้ามเนื้อส่วนใดที่ทํางานนอกอํานาจจิตใจ

(1) กล้ามเนื้อเรียบ

(2) กล้ามเนื้อลาย

(3) กล้ามเนื้อหัวใจ

(4) กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อลาย

(5) กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ

ตอบ 5 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกายเคลื่อนไหว ประกอบด้วย กล้ามเนื้อลาย (ทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ), กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจ (ทํางานนอกอํานาจจิตใจ)

40 ข้อใดไม่ใช่การทําหน้าที่ของต่อมไร้ท่อ

(1) ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย

(2) ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่

(3) ควบคุมระบบสืบพันธุ์

(4) ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

(5) ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย

ตอบ 4 หน้า 45 ต่อมไร้ท่อ เป็นต่อมที่ไม่มีท่อสําหรับให้สารเคมีที่ต่อมผลิตได้ผ่านไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งสารเคมีที่ผลิตโดยต่อมนี้เรียกว่า “ฮอร์โมน” ซึ่งมีความสําคัญต่อร่างกายและ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยหน้าที่สําคัญของฮอร์โมน ได้แก่ ควบคุม ระบบพลังงานของร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนม

41 สิ่งใดไม่ใช่องค์ประกอบของการรับรู้โดยตา

(1) Lens

(2) Cornea

(3) Eye Lid

(4) Papillae

(5) Fovea

ตอบ 4 หน้า 61, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการรับรู้โดยตา การมองเห็น) ได้แก่ เปลือกตาหรือหนังตา (Eye Lid), กระจกตาหรือคอร์เนีย (Cornea), แก้วตาหรือเลนส์ (Lens) ม่านตา (Iris), รูม่านตาหรือรูแสงหรือช่องตาดํา (Pupil), จอตาหรือเรตินา (Retina), โฟเวีย (Fovea), รอดส์ (Rods) และโคนส์ (Cones) ฯลฯ

42 ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้

(1) การรับรู้ไม่จําเป็นต้องอาศัยการรับสัมผัส

(2) การสัมผัสเป็นกระบวนการแปลความหมายของการรับรู้

(3) การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส

(4) การรับรู้ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ แต่การรับสัมผัสไม่ต้อง

(5) การรับสัมผัสต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ แต่การรับรู้ไม่ต้อง

ตอบ 3 หน้า 57, 60 ความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้ คือ การสัมผัสเป็นกระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอกมาสู่ระบบประสาทและเปลี่ยนเป็นการรับรู้ ส่วนการรับรู้ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการสัมผัส เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ

43 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับรอดส์และโคนส์

(1) รอดส์ทําหน้าที่รับแสงขาวดํา ส่วนโคนส์ทําหน้าที่รับแสงที่เป็นสี

(2) รอดส์ทําหน้าที่รับแสงที่เป็นสี ส่วนโคนส์ทําหน้าที่รับแสงขาวดํา

(3) รอดส์เป็นส่วนประกอบของหูชั้นนอก ส่วนโคนส์เป็นส่วนประกอบของหูชั้นใน

(4) รอดส์และโคนส์ สามารถทําให้การรับรู้รสชาติและกลิ่นเปลี่ยนไปได้

(5) รอดส์และโคนส์ ทําหน้าที่รักษาความสมดุลภายในร่างกาย

ตอบ 1 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ

1 รอดส์ (Rods) มีลักษณะเป็นแท่งยาว และไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงสลัวในเวลากลางคืน

2 โคนส์ (Cones) มีลักษณะสั้น เป็นรูปกรวย และไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดีจึงเป็นเซลล์ที่รับแสงจ้าในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

44 ข้อใดไม่ใช่ปรากฎการณ์คงที่

(1) ความคงที่ของสี

(2) ความคงที่ของขนาด

(3) ความคงที่ของรูปร่าง

(4) ความคงที่ของแสง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ เป็นการรับรู้เกี่ยวกับการเห็น กล่าวคือ การที่ตาเราเห็นเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุ แต่ความเข้าใจในการรับรู้ยังอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งมี 3 ชนิด ได้แก่ การคงที่ของสี ความคงที่ของขนาด และความคงที่ของรูปร่าง

45 แนวโน้มที่จะรับรู้วัตถุที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นกลุ่มเดียวกัน

(1) Closure

(2) Commonfate

(3) Similarity

(4) Continuity

(5) Proximity

ตอบ 3 หน้า 75 ความคล้ายคลึงกัน (Similarity) คือ แนวโน้มที่คนเรามักจะรับรู้วัตถุหรือสิ่งต่าง ๆที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นกลุ่มเป็นพวกหรือเป็นหมวดหมู่เดียวกันตามลักษณะที่ปรากฏ เช่น รูปร่าง สัณฐาน หรือสี ฯลฯ

46 การรับรู้แบบอภิธรรมดาที่เรียกว่า โทรจิต (Telepathy) เป็นการรับรู้อย่างไร

(1) การเห็นโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทางตา

(2) การเดินทางไปปรากฏกายในที่อื่นโดยไม่ต้องใช้พาหนะใด ๆ

(3) การล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

(4) การทําให้วัตถุหักงอโดยไม่ต้องใช้กายสัมผัส

(5) การล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นโดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

ตอบ 5 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

2 ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส

3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

47 ระดับอุณหภูมิเท่าไรที่จะทําให้มนุษย์รับรู้ถึงความรู้สึกร้อนหรือความรู้สึกเย็น

(1) สูงหรือต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส

(2) สูงหรือต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส

(3) สูงหรือต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส

(4) สูงหรือต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

(5) สูงหรือต่ำกว่า 45 องศาเซลเซียส

ตอบ 2 หน้า 67 ความรู้สึกร้อนหรือความรู้สึกเย็นเกิดจากการที่ประสาทผิวหนังอบอุ่นและเย็นได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ซึ่งถ้าสิ่งที่มากระตุ้นมีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส จะทําให้เรารู้สึกร้อน แต่ถ้ามีอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะทําให้เรารู้สึกเย็น

48 มนุษย์มีความไวต่อคลื่นเสียงในช่วงความถี่ระดับใด

(1) 1 – 200 Hz

(2) 2 – 500 Hz

(3) 10 – 1,000 Hz

(4) 16 – 20,000 Hz

(5) 1,000 – 1,000,000 Hz

ตอบ 4 หน้า 65 ปกติหูของมนุษย์จะมีความไวต่อเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 16 – 20,000 Hz แต่สัตว์บางชนิด เช่น ค้างคาว หรือปลาโลมา จะรับเสียงที่มีความถี่สูงกว่านี้ได้

49 ตามที่เฮนนิ่ง (Henning) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการรับกลิ่นของมนุษย์ ได้แบ่งกลิ่นเป็นกี่ชนิด

(1) 2 ชนิด คือ กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น

(2) 3 ชนิด คือ กลิ่นที่พึงพอใจ กลิ่นที่ไม่พึงพอใจ และกลิ่นที่ผ่อนคลาย

(3) 4 ชนิด คือ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นไหม้ กลิ่นเครื่องเทศ และกลิ่นผลไม้

(4) 5 ชนิด คือ กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น กลิ่นที่พึงพอใจ กลิ่นที่ไม่พึงพอใจ และกลิ่นที่ผ่อนคลาย

(5) 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น กลิ่นไหม้ ตอบ 5 หน้า 68 เฮนนิ่ง (Hanning) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้ทําการศึกษาและแบ่งกลิ่นออกเป็น 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น และกลิ่นไหม้

50 ข้อใดคือความหมายของสัมปชัญญะ

(1) การมีสติแน่วแน่

(2) การมีสมาธิแน่วแน่

(3) การที่จิตสํานึกไม่ทํางาน

(4) การรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่

(5) การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองและผู้อื่นกําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่

ตอบ 4 หน้า 89 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองกําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคล (อินทรีย์) ออกจากสัมปชัญญะหรือขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การหมดสติ การสะกดจิต การใช้สารเสพติด การดื่มสุรา ฯลฯ

51 คลื่นใดที่เครื่อง EEG ไม่สามารถตรวจพบในขณะที่เราหลับได้

(1) บีตา

(2) แอลฟา

(3) แกมมา

(4) เดลตา

(5) ธีตา

ตอบ 1 หน้า 93 เครื่องมือตรวจวัดคลื่นสมอง (Electroencephalograph : EEG) จะสามารถตรวจวัดคลื่นสมองได้ 3 ชนิด ซึ่งเกิดขึ้นใน 2 ช่วง ดังนี้

1 ในขณะที่เราหลับจะสามารถตรวจพบ คลื่นแอลฟา (Alpha) และคลื่นเดลตา (Delta)

2 ในช่วงตื่นจะตรวจพบคลื่นบีตา (Beta)

52 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการสะกดจิต

(1) ช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น

(2) ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ

(3) ทําให้คนธรรมดามีพลังพิเศษได้

(4) ช่วยลดความเจ็บปวดทางจิตใจ

(5) ช่วยให้เกิดความมุ่งมั่น

ตอบ 1, 3 หน้า 105, 116 ประโยชน์ของการสะกดจิต มีดังนี้

1 ช่วยให้บุคคลเกิดความมุ่งมั่นและชักจูงให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น แต่ไม่สามารถเปลี่ยนคนธรรมดาให้มีพลังพิเศษได้

2 ช่วยโน้มน้าวจิตใจของบุคคลให้สนใจที่จะจดจํา แต่ไม่สามารถช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น

3 ในทางการแพทย์ สามารถช่วยลดความเจ็บปวดของคนไข้ได้

4 ช่วยให้บุคคลเกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ

53 ข้อใดเป็นสภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM

(1) ความดันโลหิตเปลี่ยน

(2) หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ

(3) อารมณ์ไม่ปกติ

(4) กระแสไฟฟ้าบริเวณผิวหนังเพิ่ม

(5) กระแสไฟฟ้าบริเวณผิวหนังลด

ตอบ 2.3 หน้า 96 สภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM (ช่วงของการนอนหลับฝัน) คือ อารมณ์จะไม่ปกติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตและการหายใจจะยังไม่เข้าที่ดีนัก และร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย

54 อาการ Jet Lag คือภาวะใดของร่างกาย

(1) ร่างกายนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ

(2) สภาวะร่างกายขาดน้ำอย่างเพียงพอ

(3) สภาวะที่แบบแผนการนอนถูกรบกวน

(4) สภาวะที่บุคคลนอนดึกมากเกินไป

(5) สภาวะที่บุคคลนอนเร็วจนเกินไป

ตอบ 3 หน้า 92 นักเดินทางที่ต้องขึ้นเครื่องบินเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งมักจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า Jet Lag คือ ต้องปรับตัวกับเวลาของประเทศที่เดินทางไปถึงใหม่เนื่องจากแบบแผนการนอนตามธรรมชาติถูกรบกวน

55 ยาเสพติดประเภทใดออกฤทธิ์ผสมผสาน

(1) ฝิ่น

(2) เฮโรอีน

(3) กัญชา

(4) ยาบ้า

(5) กระท่อม

ตอบ 3 หน้า 110 กัญชาจัดเป็นยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจจะกดหรือกระตุ้นหรือหลอนประสาทร่วมกัน

56 ผู้ใดเชื่อว่าความฝันเกิดจากการแสดงออกของความต้องการในระดับจิตใต้สํานึก (1) Freud

(2) Adler

(3) Jung

(4) Hopson & McCarley

(5) Roger

ตอบ 1 หน้า 97 ฟรอยด์ (Freud) เป็นนักทฤษฎีความฝันในยุคแรก โดยเขาได้อธิบายความหมายของความฝันไว้ว่า ความฝันก็คือการแสดงออกของความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก

57 ระยะใดของการนอนหลับที่คลื่นสมองเริ่มปรากฏคลื่นเดลตา

(1) ระยะที่ 1

(2) ระยะที่ 2

(3) ระยะที่ 3

(4) ระยะที่ 4

(5) ระยะที่ 5

ตอบ 3 หน้า 93 จากการศึกษาพบว่าการนอนหลับในระยะที่ 3 และ 4 คลื่นสมองที่พบเรียกว่า เดลตา โดยในระยะที่ 3 จะเริ่มปรากฏคลื่นเดลตา ส่วนในระยะที่ 4 จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตาล้วน ๆ

58 ข้อความใดถูกต้องที่สุดในเรื่องการนอนหลับ

(1) ระยะที่หลับลึกที่สุดมีคลื่นสมองเรียกว่า แอสฟา (Alpha)

(2) ศูนย์ของการนอนหลับจะอยู่ที่ไขสันหลัง

(3) การเคลื่อนไหวของลูกตาเกิดขึ้นในช่วงมีคลื่นสมองเรียกว่า เดลตา (Delta)

(4) การนอนไม่หลับมาเป็นเวลาหลายวันอาจทําให้เป็นโรคจิตได้

(5) ความฝันจะเกิดในช่วงของการนอนหลับที่มี REM

ตอบ 5 หน้า 91, 93, 95 ศูนย์ของการนอนหลับจะอยู่ที่ก้านสมอง โดยการนอนหลับในระยะที่ 1 จะมีคลื่นสมองที่เรียกว่า แอลฟา (Alpha) เกิดขึ้นประปราย จะเป็นช่วงที่ลูกตาของผู้นอน มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) และความฝันจะเกิดขึ้น ในช่วงนี้ด้วย ระยะที่หลับลึกที่สุดจะมีคลื่นสมองที่เรียกว่า เดลตา (Delta) การนอนไม่หลับหรืออดนอนติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวันอาจทําให้มีอาการทางประสาทหลอนได้

59 ข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งที่พบว่า การฝึกสมาธิทําให้บุคคลมีการผ่อนคลายทางจิตใจ คือ

(1) ผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ จะมีคลื่นสมองบีตา

(2) ผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ จะมีคลื่นสมองแอลฟา

(3) ผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ จะมีคลื่นสมองเดลตา

(4) ผู้ที่ฝึกสมาธิ ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสูง

(5) ผู้ที่ฝึกสมาธิ ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าต่ำ

ตอบ 2. 4 หน้า 111 – 113 สมาธิ คือ ความแน่วแน่ของจิตใจ ซึ่งจะช่วยรักษาโรคที่เกิดจากจิตใจไม่สงบกังวล และเร่าร้อนได้ โดยผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ มักจะมีคลื่นสมองที่เรียกว่า คลื่นแอลฟา ทั้งนี้ วอลเลสและเบนสันได้ศึกษาแล้วพบว่า การนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาทําให้การหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสูงกว่าปกติถึง 4 เท่า

60 อารมณ์มีความสําคัญต่อเราในด้านใด

(1) ร่างกาย

(2) จิตใจ

(3) การแสดงออกทางสีหน้า

(4) การเคลื่อนไหวทางร่างกาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 255 อารมณ์มีความสําคัญต่อชีวิตของเราทั้งในด้านร่างกายและจิตใจเช่นเดียวกับอาหารที่มีความสําคัญต่อร่างกาย สุขภาพจิตของคนเราจะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการปรุงแต่งของอารมณ์ ชนิดต่าง ๆ แม้ว่าอารมณ์จะเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสและสังเกตให้เห็นได้อย่างชัดเจน แต่ก็อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมที่มิได้แสดงออกเป็นคําพูด เช่น การแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง และการเคลื่อนไหวทางร่างกาย ฯลฯ

61 เมื่อเกิดอารมณ์เครียด ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในด้านใด

(1) การไหลเวียนโลหิต

(2) ระบบการย่อยอาหาร

(3) ระบบหายใจ

(4) ระบบการทํางานประสาทอัตโนมัติ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 260 261, (คําบรรยาย) เมื่อเกิดอารมณ์เครียดจะทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น การทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต ระบบการย่อยอาหาร และระดับฮอร์โมนในสมองลดต่ำลง ซึ่งจะเป็นผลทําให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเชื่องช้าลง ฯลฯ

62 สมองส่วนใดของร่างกายที่ควบคุมอารมณ์

(1) ซิมพาเธติก

(2) พาราซิมพาเธติก

(3) ธาลามัส

(4) ระบบประสาทลิมบิก

(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ

ตอบ 3 หน้า 41 ธาลามัส (Thalamus) เป็นสมองส่วนหน้าของร่างกายที่ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางการส่งกระแสประสาทมอเตอร์จากซีรีบรัมไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นศูนย์กลางรับ กระแสประสาทสัมผัส (ยกเว้นสัมผัสกลิ่น) จากส่วนต่าง ๆ ไปยังซีรีบรัม และเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตื่นและหลับ

63 หลังจากเกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออกนําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์ ตรงกับทฤษฎีของใคร (1) ทฤษฎีเจมส์-แสง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแทคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 1 หน้า 269 ข้อสรุปของทฤษฎีอารมณ์ต่าง ๆ มีดังนี้ คือ

1 ทฤษฎีเจมส์-แลง สรุปว่า หลังจากที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

2 ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด สรุปว่า การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อม ๆ กัน

3 ทฤษฎีแชคเตอร์-ซิงเกอร์ สรุปว่า การเร้าอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย ฯลฯ

64 การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์ จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อม ๆ กัน ตรงกับทฤษฎีของใคร

(1) ทฤษฎีเจมส์-แสง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแชคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 การเร้าอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย ตรงกับทฤษฎีของใคร

(1) ทฤษฎีเจมส์-แสง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแทคเตอร์ ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

66 อารมณ์ใดเป็นอารมณ์แรกของมนุษย์

(1) อารมณ์โกรธ

(2) อารมณ์ตื่นเต้น

(3) อารมณ์เศร้า

(4) อารมณ์ตกใจ

(5) อารมณ์รื่นเริง

ตอบ 2 หน้า 271 เค. บริดเจส (K. Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้คือ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะ มากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้น อารมณ์โกรธ เกลียด และกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

67 อารมณ์พื้นฐานใดเกิดขึ้นเมื่อมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเหตุการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้ยเคย (1) อารมณ์ประหลาดใจ

(2) อารมณ์ยอมรับ

(3) อารมณ์โกรธ

(4) อารมณ์กลัว

(5) อารมณ์รื่นเริง

ตอบ 1 หน้า 272 อารมณ์ประหลาดใจเป็นอารมณ์พื้นฐานที่เกิดขึ้นเมื่อมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเหตุการณ์หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย จึงมีหน้าที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่

68 ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงลักษณะของอารมณ์

(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล

(2) อารมณ์เป็นความรู้สึกที่สงบนิ่ง

(3) อารมณ์เป็นความรู้สึกรุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน

(4) อารมณ์สามารถประเมินและแปลความหมายของสถานการณ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 255 256 อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ

1 อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล

2 อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป

3 อารมณ์มีความซับซ้อนกว่าความรู้สึกทางร่างกายอื่น ๆ โดยบุคคลจะมีการประเมินหรือแปล ความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเกิดอารมณ์นั้น ๆ

4 อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

69 ข้อใดบอกวิธีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ

(1) ให้เข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ หาความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์

(2) ยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น

(3) ปล่อยอารมณ์สลายออกไปกับสถานการณ์ต่าง ๆ

(4) อย่ากังวลกับสิ่งที่ทําผิดพลาดมาแล้ว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 276 มุกดา สุขสมาน ได้ให้แนวทางในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ ดังนี้

1 พยายามเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ หาความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และหาสาเหตุของอารมณ์นั้น ๆ เพื่อจะได้หาทางขจัดอารมณ์เหล่านั้นออกไป

2 ต้องยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้นและพยายามควบคุมอารมณ์ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตัวเรา

3 ทําให้อารมณ์นั้นสลายออกไปกับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่าปล่อยให้เป็นปัญหาใหญ่

4 อย่ากังวลกับสิ่งที่ทําผิดพลาดมาแล้ว พยายามปรับอารมณ์โดยอยู่กับปัจจุบัน ฯลฯ

70 อะไรไม่ใช่องค์ประกอบของกระบวนการเกิดแรงจูงใจ

(1) ความต้องการ

(2) เป้าหมาย

(3) แรงขับ

(4) การตอบสนอง

(5) ความหิว

ตอบ 5 หน้า 227 กระบวนการเกิดแรงจูงใจ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

1 ความต้องการ (Needs)

2 แรงขับ (Drive)

3 การตอบสนอง (Response)

4 เป้าหมาย (Goal)

71 สภาวะใดที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา

(1) ความต้องการ

(2) แรงขับ

(3) แรงจูงใจ

(4) สิ่งเร้า

(5) การตอบสนอง

ตอบ 3 หน้า 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

72 ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์

(1) ความกระหาย

(2) ความหิว

(3) ความต้องการสืบพันธุ์

(4) ความผาผลาญในร่างกาย

(5) ความต้องการหลีกหนีอันตราย

ตอบ 4 หน้า 233, 239 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอดของชีวิตแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1 แรงจูงใจทางชีวภาพ ได้แก่ ความหิว ความกระหาย

2 แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์

3 แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย

73 ข้อใดที่ทําให้คนเราแสดงพฤติกรรมการทํางานให้ดีสมบูรณ์และประสบความสําเร็จ

(1) แรงจูงใจพื้นฐาน

(2) แรงจูงใจภายใน

(3) แรงจูงใจภายนอก

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(5) แรงขับ

ตอบ 4 หน้า 233 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) เป็นความปรารถนาของบุคคลที่จะทําให้คนเราแสดงพฤติกรรมการทํางานให้ดีสมบูรณ์และประสบความสําเร็จ เมื่อบุคคลได้รับความสําเร็จและได้รางวัลจากสังคม บุคคลก็จะมีแรงจูงใจนี้ติดตัวไปตลอดได้

74 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของแรงจูงใจ

(1) ทําให้เข้าใจพฤติกรรมและควบคุมให้สามารถเลือกพฤติกรรมที่เหมาะสม

(2) เข้าใจพฤติกรรมและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นได้

(3) เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มสังคมให้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการได้

(4) ทําให้บังคับมิให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

(5) เป็นแรงผลักดันทําให้มนุษย์แสวงหาอาหาร น้ำ อากาศ

ตอบ 5 หน้า 226 แรงจูงใจจะช่วยให้บุคคลได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ทําให้เข้าใจพฤติกรรมตนเองและควบคุมตนเองให้สามารถเลือกแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและบังคับมิให้ตนเองแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

2 เข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่นและช่วยให้ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นได้

3 เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มสังคมและจูงใจให้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการได้

75 ข้อใดไม่ใช่ความต้องการทางด้านร่างกาย

(1) อาหาร

(2) เครื่องนุ่งห่ม

(3) บ้าน

(4) ยา

(5) การแต่งกาย

ตอบ 4 หน้า 231 ความต้องการทางด้านร่างกาย ได้แก่ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม บ้าน/ที่อยู่อาศัย การตกแต่งสถานที่ เพศตรงข้าม (การแต่งกายและพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ)

76 ข้อใดไม่ใช่ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย

(1) อุบัติเหตุ

(2) อุปกรณ์บริหารร่างกาย

(3) โรคภัยไข้เจ็บ

(4) อาหารเสริม

(5) ความหิว

ตอบ 5 หน้า 231 ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย ได้แก่ ยา อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ เครื่องป้องกันอันตราย อาหารเสริม ยาบํารุงร่างกาย ยาชูกําลัง อุปกรณ์บริหารร่างกาย อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ การเกิดภัยธรรมชาติ

77 แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้มนุษย์ต้องหาวิธีอยู่รอดของชีวิต

(1) แรงจูงใจพื้นฐาน

(2) แรงจูงใจภายใน

(3) แรงจูงใจภายนอก

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(5) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

78 แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนและแสดงพฤติกรรมให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น

(1) แรงจูงใจภายใน

(2) แรงจูงใจภายนอก

(3) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(5) แรงจูงใจพื้นฐาน

ตอบ 3 หน้า 234 แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive) เป็นแรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนและแสดงพฤติกรรมให้ตนเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น อันเป็นแรงจูงใจที่สังคมสร้างเงื่อนไข กระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการที่จะติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทั้งนี้เพราะคนเราต้องการ ที่จะได้รับความรัก การยอมรับ และเอาใจใส่จากบุคคลที่ตนเกี่ยวข้องด้วย

79 ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับลักษณะสําคัญของกลุ่ม

(1) มีการคล้อยตามกลุ่ม

(2) มีโครงสร้างและความสามัคคี

(3) นั่งรอรถประจําทาง

(4) มีค่านิยมเหมือนกัน

(5) มีบทบาทเหมือนกัน

ตอบ 2 หน้า 377 – 378 กลุ่มประกอบด้วยคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มาปฏิสัมพันธ์กัน โดยกลุ่มทุกกลุ่มจะมีลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ โครงสร้างของกลุ่มและความสามัคคีในกลุ่ม

80 ข้อใดตรงกับการแบ่งระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะสาธารณะ

(1) การฟังสุนทรพจน์

(2) การพูดระหว่างกลุ่มเพื่อน

(3) การพูดคุยของคู่รัก

(4) การสอนในชั้นเรียน

(5) การตกลงกันเพื่อทําการค้าร่วมกัน

ตอบ 1 หน้า 379, (คําบรรยาย) ระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะสาธารณะ คือ ระยะห่างตั้งแต่ 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น ต้องใช้เสียงพูดดังขึ้นอีก (หรือใช้เครื่องขยายเสียง) เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

81 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเป็นมิตรกัน

(1) ความใกล้ชิดทางกาย

(2) ความคล้ายคลึงกัน

(3) ความอาย

(4) ความมีเสน่ห์

(5) ความสามารถ

ตอบ 3 หน้า 380 381 ปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเป็นมิตรกัน ได้แก่ ความใกล้ชิดทางกาย ความมีเสน่ห์ ดึงดูดทางกาย ความสามารถ ความคล้ายคลึงกัน และการเปิดเผยตนเอง

82 ข้อใดไม่ใช่วิธีการล้างสมองหรือการยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

(1) การอภิปรายกลุ่ม

(2) สถานการณ์การเสนอแนะ

(3) เสริมให้การคล้อยตาม

(4) การใช้สารจูงใจ

(5) บังคับโดยการใช้กฎหมาย

ตอบ 5 หน้า 383 วิธีการล้างสมองหรือการยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น เป็นสถานการณ์ที่ใช้องค์ประกอบ 4 ลักษณะพร้อม ๆ กัน คือ สถานการณ์การเสนอแนะ สถานการณ์การคล้อยตาม การอภิปรายกลุ่มและการใช้สารชักจูงใจ

83 “เมื่อทําผิดต้องถูกลงโทษโดยการติดคุกตามความผิดของตน” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด

(1) อํานาจการให้รางวัล

(2) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

(3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจการบังคับ

(5) อํานาจตามการอ้างอิง

ตอบ 4 หน้า 386 อํานาจในการบังคับเป็นอํานาจที่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการลงโทษผู้ที่ไม่ยอมทําตามได้ ซึ่งอํานาจนี้มักเป็นพื้นฐานของกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม

84 ข้อใดตรงกับลักษณะพฤติกรรมที่เกิดจาก “ความเชื่อ อารมณ์ และการกระทํา”

(1) เจตคติ

(2) การคล้อยตามกลุ่ม

(3) ความก้าวร้าว

(4) อิทธิพลทางสังคม

(5) พฤติกรรมการแสดงออกเหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 374, 388 389 เจตคติเป็นความพร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ทั้งทางบวกและทางลบ เป็นลักษณะของพฤติกรรมที่เกิดจากความเชื่อ อารมณ์ และการกระทํา

85 ข้อใดตรงกับลักษณะ “การตัดสินใจล่วงหน้า สงสัย กลัว เกลียดอย่างไม่มีเหตุผล” (1) ความไม่ใส่ใจ

(2) อคติ

(3) เจตคติ

(4) พฤติกรรมก้าวร้าว

(5) การแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 2 หน้า 392 อคติ เป็นเจตคติทางลบหรือการตัดสินล่วงหน้า เกิดจากความสงสัย ความกลัว และความเกลียดอย่างไม่สมเหตุสมผล บ่อยครั้งที่เจตคติเกิดจากโครงสร้างของอํานาจทางสังคมซึ่งมักเป็นอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ เพศ หรืออายุ และนํามาสู่การแบ่งแยก

86 เด็กแสดงความก้าวร้าวตามการแสดงออกของผู้ใหญ่ ตรงกับลักษณะใด

(1) สัญชาตญาณ

(2) ลักษณะทางชีววิทยา

(3) ต้องการได้รับการยอมรับ

(4) การเรียนรู้ทางสังคม

(5) ความคับข้องใจ

ตอบ 4 หน้า 395 แนวคิดที่อธิบายสาเหตุของความก้าวร้าวซึ่งได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม โดยทฤษฎีนี้อธิบายว่าคนเราเรียนรู้ความก้าวร้าวจากผู้อื่น นั่นคือ ความก้าวร้าวเป็นการเรียนรู้ไม่ใช่สัญชาตญาณ

87 เพราะเหตุใด “เห็นคนถูกรถชน และนอนเลือดไหลอยู่กลางถนน แต่ไม่เข้าไปช่วย” (1) ไร้น้ำใจ

(2) ถูกห้ามไม่ให้เข้าไปช่วยเหลือ

(3) มีความรู้สึกแปลกแยก

(4) ไม่มีเวลาพอเพียง

(5) ไม่ไว้ใจในสถานการณ์

ตอบ 3 หน้า 395 เหตุผลที่ทําให้คนหลายคนไม่ให้ความช่วยเหลือคนที่ถูกรถชน ได้แก่ ความรู้สึกแปลกแยกของคนในเมือง มีคนอยู่ในเหตุการณ์หลายคนจึงเกิดการกระจายความรับผิดชอบ

88 ข้อใดเป็นพฤติกรรม “สามารถปฏิเสธการซื้อสินค้าจากผู้ขายได้อย่างมีเหตุผล”

(1) ความก้าวร้าว

(2) การกระจายความรับผิดชอบ

(3) การเรียนรู้ทางสังคม

(4) พฤติกรรมไม่เหมาะสม

(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 5 หน้า 396, 401 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม เป็นพฤติกรรมที่แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก ความปรารถนาและความเชื่อของตนอย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ต่อกัน เหมาะสมกับ กาลเทศะ ก่อประโยชน์แก่ตนเองและคู่สนทนาโดยคํานึงถึงสิทธิของทั้ง 2 ฝ่าย เน้นความเชื่อมั่น การเก็บอารมณ์ และการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ 89 – 93 จากแนวคิดเรื่องการปรับตัว จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(2) กลุ่มลูกศิษย์ฟรอยด์

(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(4) กลุ่มมนุษยนิยม

(5) กลุ่มเพื่อการอยู่รอด

 

89 คนที่จะปรับตัวได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเขา ถ้าเขามีการเรียนรู้ที่ดี เขาก็จะมีพฤติกรรมโต้ตอบออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน ตอบ 3 หน้า 344 กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) เชื่อในเรื่องของพฤติกรรมว่าเป็นสิ่งเรียนรู้ ดังนั้นคนที่จะปรับตัวได้ดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเขา ถ้าเขามีการเรียนรู้ที่ดี เขาก็จะสามารถมีพฤติกรรมที่โต้ตอบออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน

90 มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพจะอํานวย เรียกกระบวนการพัฒนานี้ว่าการประจักษ์ในตน

ตอบ 4 หน้า 344 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist) เชื่อว่า มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพจะอํานวย เรียกกระบวนการพัฒนาเข้าไปถึงที่สุดของศักยภาพนี้ว่า “การประจักษ์ในตน” ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมายของการงอกงามเติบโตที่แท้จริงของมนุษย์

91 มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง ตอบ 5 หน้า 344 กลุ่มของนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด (Existentialist) มองว่า มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง โดยมนุษย์จะไม่สามารถ โทษผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมว่าทําให้เขาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ได้เลย ใครก็ตามที่ก้าวพ้นออกมาจากความกลัว สามารถเอาชนะความรู้สึกของตัวเอง และเชื่อในเรื่องของเสรีภาพ จะเป็นผู้ที่ปรับตัวได้ดี

92 ผู้ที่ปรับตัวดีคือผู้ที่มีพัฒนาการที่สมดุลของ อิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้

ตอบ 1 หน้า 343 กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เห็นว่า คนที่ปรับตัวไม่ได้ มีสาเหตุมาจากพลังอีโก้ (Ego) มีการพัฒนาที่อ่อนแอเกินไป ทําให้ไม่แกร่งพอที่จะสร้างความสมดุลระหว่าง พลังอิด (Id) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) ได้ โดยเชื่อว่า ผู้ที่ปรับตัวดีคือผู้ที่มีการพัฒนาการที่สมดุลของอิด อีโก้ เเละซูเปอร์อีโก้

93 การปรับตัวจะดีได้นั้น บุคคลจะต้องสามารถพัฒนาตนเอง เสริมสร้างเอกลักษณ์ที่มั่นคง และสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับบุคคลรอบข้างได้

ตอบ 2 หน้า 344 กลุ่มลูกศิษย์ของฟรอยด์ (Neo-freudian) มีความเห็นว่า การปรับตัวจะดีได้นั้นบุคคลจะต้องสามารถพัฒนาตนเอง สร้างเสริมเอกลักษณ์ที่มั่นคง ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับบุคคลรอบข้างหรือคนอื่น ๆ ได้

94 ตามทฤษฎีปฏิกิริยาต่อความเครียดของเซลเย พฤติกรรมในตัวเลือกใดต่อไปนี้ อยู่ในขั้นตอนปฏิกิริยาตื่นตระหนก

(1) นายธรรมะอยู่ทํางานจนดึกเป็นเวลาติดต่อกันหลายสัปดาห์ทําให้เป็นลมขณะทํางานตอนเช้า

(2) หลังจากถูกคู่รักบอกเลิก นายมนัสก็เสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ

(3) นายรุ่งโรจน์เป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากตรากตรํากับการทํางานหนักมา 10 ปี

(4) นายกิตติดื่มสุราจนติด ภายหลังจากถูกไล่ออกจากงาน

(5) หลังทนายความอ่านพินัยกรรม นายรัตนพลทราบว่าตนเองไม่ได้สมบัติเลย จึงมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนและปวดศีรษะ

ตอบ 5 หน้า 351 ตามทฤษฎีปฏิกิริยาต่อความเครียดของเซลเย (Selye) ปฏิกิริยาตื่นตระหนก คือ เมื่อร่างกายเผชิญกับสิ่งรุกเร้าที่ทําให้เกิดความเครียด ต่อมไร้ท่อก็จะหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสโลหิต เพื่อรับสภาพการจู่โจม และทําให้ร่างกายมีความพร้อมเต็มที่ นอกจากนี้สภาวะทางกายอื่น ๆที่เกิดขึ้น คือ อาจทําให้บุคคลปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน และท้องปันป่วน ฯลฯ

95 ความรู้สึกที่บุคคลประสบเมื่อพยายามไปสู่จุดมุ่งหมายแต่ถูกขัดขวาง คือ

(1) ความเครียด

(2) ความกดดัน

(3) ความคับข้องใจ

(4) ความโกรธ

(5) ความเสียใจ

ตอบ 3 หน้า 355 ความคับข้องใจ (Frustration) คือ ความรู้สึกที่บุคคลประสบเมื่อพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง แต่ถูกขัดขวางด้วยอุปสรรคบางประการ

96 การปรับตัวโดยหันหายาเสพติดเป็นการปรับตัวแบบใด

(1) ความก้าวร้าว

(2) การฝันกลางวัน

(3) ความคับข้องใจ

(4) การถดถอย

(5) ความกดดัน

ตอบ 4 หน้า 356 การถดถอย สําหรับบุคคลบางคนนั้นเมื่อมีความคับข้องใจเกิดขึ้น เขาจะกลัวและไม่กล้าแสดงความก้าวร้าวออกมา แต่เขาจะใช้วิธีการถดถอยหรือหนีออกไปให้พ้น โดยอาจหมายถึงการหนีออกจากบ้าน หรือเป็นการหนีทางด้านจิตวิทยาซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ การแสดงความเฉยเมย การปรับโดยหันไปพึ่งสิ่งมึนเมาและการใช้สารเสพติดชนิดต่าง ๆ

97 นักศึกษาสอบตก แต่กล่าวหาว่าข้อสอบยากเกินไป เป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

(1) การหาสิ่งทดแทน

(2) การเข้าข้างตนเอง

(3) การชดเชยสิ่งที่ขาด

(4) การไม่นําอารมณ์เข้ามามีส่วนร่วม

(5) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน

ตอบ 2 หน้า 357 358 การเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) เป็นกลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) ที่บุคคลพยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเอง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาหน้าหรือภาพพจน์ ของตัวเองเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า “องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน” เช่น บ้านเล็กและคับแคบแต่ใกล้ที่ทํางาน นักศึกษาสอบตกแต่กล่าวหาว่าข้อสอบยากเกินไป ฯลฯ

98 ไม่อยากเป็นทหาร แต่ไม่อยากหนีการเกณฑ์ทหาร ถือเป็นความขัดแย้งแบบใด

(1) Approach-Approach Conflict

(2) Approach-Avoidance Conflict

(3) Avoidance-Avoidance Conflict

(4) Double Approach Avoidance Conflict

(5) Double Avoidance Conflict

ตอบ 3 หน้า 361 ความขัดแย้งใจแบบอยากหนีทั้งคู่หรือแบบชั่ง-ชัง (Avoidance-Avoidance Conflict) เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกสิ่งที่ไม่พึงพอใจทั้งคู่ เปรียบได้กับการหนีเสือปะจระเข้ เช่น ไม่อยากเป็นทหารแต่ก็ไม่อยากหนีการเกณฑ์ทหาร ต้องเลือกเรียนระหว่างฟิสิกส์หรือเคมีซึ่งไม่ถนัดทั้ง 2 วิชา ฯลฯ

99 ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยของสเปียร์แมน อธิบายว่าสติปัญญาแบ่งเป็นสององค์ประกอบได้แก่อะไรบ้าง

(1) G-factor และ L-factor

(2) G-factor และ S-factor

(3) S-factor และ L-factor

(4) G-factor และ C-factor

(5) C-factor และ L-factor

ตอบ 2 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1 ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด

2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

100 ข้อใดคือสมการที่ใช้ในการคํานวณคะแนนสติปัญญา (IQ)

(1) MA/CA X 100

(2) CANA x 100

(3) CAN100 x MA

(4) MAN100 x CA

(5) 100/MA XCA

ตอบ 1 หน้า 326 สมการที่ใช้ในการคํานวณคะแนนสติปัญญา (I.O.) คือ 1.Q. = 1.4 x 100 C.A. โดย M.A. = อายุสมองที่ได้จากการทําแบบทดสอบ

C.A. = อายุจริงตามปฏิทิน

101 คะแนน IQ ในข้อใดถือว่าเป็นบุคคลปัญญาอ่อน

(1) ต่ำกว่า 110

(2) ต่ำกว่า 100

(3) ต่ำกว่า 90

(4) ต่ำกว่า 80

(5) ต่ำกว่า 70

ตอบ 5 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (I.O.) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้

1 ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70

2 คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ. 71 – 80

3 ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ IQ. 81 – 90

4 เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.O. 91 – 110 ซึ่งถือเป็นระดับปานกลาง

5 ค่อนข้างฉลาด (Suoerior) มีระดับ I.Q. 111 – 120

6 ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140

7 อัจฉริยะ (Genius) มีระดับ I.O. 140 ขึ้นไป

102 แบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรง (Validity) มีลักษณะเช่นใด

(1) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นผู้วัด

(2) มีความคงที่ของคะแนน

(3) วัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด

(4) มีแบบแผนในการทดสอบ

(5) มีกําหนดเวลาในการทดสอบ

ตอบ 3 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้

1 ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครจะเป็นผู้วัด

2 ความเชื่อถือได้ (Reliability) มีความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง

3 ความเที่ยงตรง (Validity) วัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)

4 ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

103 หากวัดความสามารถทางสติปัญญาในครั้งนี้ IQ = 90 และวัดซ้ำในอีก 6 เดือนต่อมาปรากฏว่าได้ IQ = 90 เช่นเดิม ถือว่าการทดสอบทางสติปัญญานี้

(1) มีความเป็นปรนัย

(2) มีความเชื่อถือได้

(3) มีความเที่ยงตรง

(4) มีความเป็นมาตรฐาน

(5) มีการให้คะแนนที่แน่นอน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 102. ประกอบ

104 แบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญาฉบับใดที่สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุ 2 ปีได้

(1) SPM

(2) WAIS

(3) WISC

(4) WPPSI

(5) Stanford-Binet

ตอบ 5 หน้า 329 ลักษณะของแบบทดสอบ Stanford-Binet คือ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับสติปัญญาของเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึงผู้ใหญ่ที่ฉลาด

105 ข้อใดกล่าวผิด

(1) การใช้แบบทดสอบ IQ จะกระทําได้แต่เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอเท่านั้น

(2) ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเพศหญิงและชายมีความแตกต่างทางสติปัญญา

(3) ฐานะทางสังคมไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน

(4) ความแตกต่างทางเชื้อชาติไม่ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน

(5) ระดับสติปัญญาอาจเพิ่มหรือลดได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว

ตอบ 3 หน้า 332 – 334 การใช้แบบทดสอบ IQ จะกระทําได้แต่เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียงพอเท่านั้น โดยตัวแปรเกี่ยวกับระดับความสามารถทางสติปัญญา ได้แก่ ยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าเพศหญิง และชายใครมีสติปัญญาดีกว่ากัน ระดับสติปัญญาอาจเพิ่มหรือลดได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว ฐานะทางสังคมเป็นปัจจัยที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน และความแตกต่างทางเชื้อชาติไม่ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน

106 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของบุคลิกภาพตามแนวคิดของอัลพอร์ท (Alport)

(1) เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล

(2) เน้นการมองบุคลิกภาพในลักษณะของการเป็นหมวดหมู่

(3) ให้ความสําคัญของบุคลิกภาพในแง่ของสรีรชีวภาพ

(4) มองบุคลิกภาพในแง่ของการปรับตัว

(5) มองบุคลิกภาพว่าเกิดจากการวางเงื่อนไข

ตอบ 5 หน้า 283 ความหมายของบุคลิกภาพตามแนวคิดของอัดพอร์ท (Allport) แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ

1 เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล

2 เน้นการมองบุคลิกภาพในลักษณะของการเป็นหมวดหมู่

3 มองบุคลิกภาพในแง่ของการปรับตัว

4 เน้นการจัดบุคลิกภาพออกตามพัฒนาการเป็นลําดับขั้น

5 ให้ความสําคัญของบุคลิกภาพในแง่สรีรชีวภาพ

6 ประเภทจิปาถะ

107 นักทฤษฎีท่านใดที่เน้นบุคลิกภาพในด้านการพัฒนาตนไปสู่บุคลิกภาพที่สมบูรณ์

(1) ฟรอยด์

(2) แอดเลอร์

(3) อัลพอร์ท

(4) มาสโลว์

(5) เอริกสัน

ตอบ 2. 4 หน้า 285 นักทฤษฎีบุคลิกภาพกลุ่มที่เน้นทางด้านการพัฒนาตนไปสู่บุคลิกภาพที่สมบูรณ์ได้แก่ แอดเลอร์ โรเจอร์ และมาสโลว์ โดยพวกเขามีความเห็นใกล้เคียงกันว่า มนุษย์มีธรรมชาติ ที่จะแสวงหาความงอกงามเติบโตและพัฒนาตนไปสู่สภาวะที่สมบูรณ์ และความปรารถนานี้คือ สิ่งจูงใจให้เขามีพฤติกรรมและบุคลิกภาพต่าง ๆ

108 ข้อใดเป็นกระบวนการทํางานของ Superego

(1) สมถวิลหิวจึงเดินไปหาข้าวรับประทาน

(2) กฤษดาไม่พอใจที่สมชายเอาคลิปลับของเขาไปอัพลง Youtube จึงต่อยสมชาย

(3) พจมานรู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลแม่ให้ดี

(4) สุพินรู้สึกร้อนจึงเปิดแอร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 288 ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นกระบวนการทํางานของจิตใจที่ทําหน้าที่คล้ายมโนธรรมคอยตักเตือนให้บุคคลรู้จักละอายต่อบาป เกิดจากการอบรมสั่งสอน/ตักเตือนจากผู้เลี้ยงดูทําให้เรารู้จักบาปบุญคุณโทษ/ผิดชอบชั่วดี

109 วัตสัน (watson) มีความเชื่อว่า

(1) บุคลิกภาพเกิดจากการทํางานของ Id, Ego และ Superego

(2) พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

(3) โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระทําให้บุคคลมีเอกลักษณ์ในการปรับตัว

(4) มนุษย์มีธรรมชาติที่จะแสวงหาความงอกงามเติบโต และพัฒนาไปสู่สภาวะที่สมบูรณ์

(5) ระบบจิตสรีระของมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ตอบ 2 หน้า 289 290 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม มีนักทฤษฏิหลายคน เช่น

1 ธอร์นไดค์ (Thorndike) เชื่อในเรื่อง “กฎแห่งผล” กล่าวคือ ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดีพฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก แต่ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นจะหมดไป

2 วัตสัน (Watson) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

110 ใครเป็นผู้กล่าวถึง การประจักษ์ในตนเอง (Self Actualization)

(1) มาสโลว์ (Maslow)

(2) ฟรอยด์ (Freud)

(3) สกินเนอร์ (Skinner)

(4) อัลพอร์ท (Allport)

(5) จุง (Jung)

ตอบ 1 หน้า 293 มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่จะพัฒนาตัวเองให้ไปถึงจุดสูงสุดแห่งศักยภาพของเขา ซึ่งก็คือ “การประจักษ์ในตน”(Self Actualization)

111 พัฒนาการทางบุคลิกภาพในช่วง Oral Stage มีลักษณะเช่นใด

(1) เป็นช่วงวัย 2 – 3 ปี

(2) เป็นช่วงวัยที่จะได้รับความพึงพอใจจากการดูดดื่มหรือกิน

(3) เป็นช่วงวัยที่ชอบโต้เถียงผู้อื่น

(4) เป็นช่วงวัยที่เลียนแบบบทบาททางเพศจากพ่อหรือแม่

(5) เป็นช่วงวัยที่ชอบพูดเลียนเสียงผู้ใหญ่

ตอบ 2 หน้า 299 ขั้นพัฒนาการตามความเชื่อของฟรอยด์นั้น ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก (Oral Stage) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 18 เดือน เป็นช่วงที่เด็กได้รับความสุขจากการดูดกลืน หรือได้รับความพึงพอใจจากการกระตุ้นทางปาก 112 ข้อใดกล่าวถึงลักษณะสามัญ (Common Trait)

(1) คนไทยเป็นคนยิ้มง่าย

(2) สุพินเป็นคนขี้โมโห

(3) อัษฎาเป็นคนที่มีเสน่ห์

(4) มุจิราเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต

(5) อนิรุตเป็นคนเจ้าชู้

ตอบ 1 หน้า 294 – 296 อัลพอร์ท (Alport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง เชื่อว่า การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน จะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกัน มีความคล้ายคลึงกันได้ เรียกว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยยิ้มง่าย/ใจดี คนญี่ปุ่นมีระเบียบวินัย ฯลฯ

113 ข้อใดเป็นพฤติกรรมภายใน

(1) เอื้อมมือไปหยิบสิ่งของ

(2) ยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม

(3) คิดถึงแฟนด้วยความรัก

(4) วิ่งไล่ตีแมว

(5) กอดลูกด้วยความนุ่มนวล

ตอบ 3 หน้า 3, (คําบรรยาย) นักจิตวิทยามักจะสนใจศึกษาพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์โดยพฤติกรรมของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ

2 พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ความพอใจ ฯลฯ

114 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา

(1) บรรยายพฤติกรรม

(2) ทําความเข้าใจ

(3) ควบคุมพฤติกรรม

(4) นําความรู้ไปประยุกต์ใช้

(5) กําหนดตัวแปรอิสระทุกตัว

ตอบ 5 หน้า 3, 5 – 7 จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงจิตวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย (บรรยาย) ทําความเข้าใจ ทํานาย (พยากรณ์)และควบคุมพฤติกรรม (โดยการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้)

115 กลุ่มใดเน้นว่า “ส่วนรวมมีความสําคัญมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย”

(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(2) กลุ่มมนุษยนิยม

(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มหน้าที่ทางจิต

ตอบ 4 หน้า 11, 74 แม็ก เวิร์ธไทเมอร์ (Max Wertheimer) เป็นนักจิตวิทยาชาวเยอรมันกลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) ที่ได้ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษในเรื่องของ การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้ โดยเชื่อว่า มนุษย์มีการรับรู้ในลักษณะของส่วนรวม และการรับรู้ส่วนรวมมีความสําคัญมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย

116 กลุ่มใดเน้นว่า “อินทรีย์ต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้นจึงจะรอดได้”

(1) กลุ่มหน้าที่ของจิต

(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(3) กลุ่มจิตวิทยาการรู้คิด

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

ตอบ 1 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) เน้นว่าการปรับตัวของอินทรีย์เข้ากับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอดได้ โดยกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน (Darwin) ที่เชื่อว่าอินทรีย์จะมีวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอดสัตว์ทั้งหลายจะมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม

117 ข้อใดเกี่ยวข้องกับลักษณะ “การสังเกต ทดลอง รายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเอง”

(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(2) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

(3) กลุ่มมนุษยนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาการรู้คิด

(5) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

ตอบ 2 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) ให้ความสนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก 3 ลักษณะ คือ การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้ กันอยู่ในกลุ่มนี้ ก็คือ วิธีการสังเกต-ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเองหรือเรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั้นเอง

118 “การศึกษาที่กําหนดให้มีตัวแปรต้นและตัวแปรตาม” จัดเป็นวิธีการศึกษาแบบใด (1) การทดลอง

(2) การสังเกต

(3) การสํารวจ

(4) การทํา Case Study

(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

ตอบ 1 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นวิธีการศึกษาที่ทําให้วิชาจิตวิทยาได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง เพราะเป็นการศึกษาถึงเหตุและผล โดยผู้ทดลองจะสร้างเหตุการณ์ บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งเเวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม)

119 “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ Prompt Pay” จัดเป็นการศึกษาแบบใด

(1) การสังเกต

(2) การทดลอง

(3) การทํา Case Study

(4) การสํารวจ

(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

ตอบ 4 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาทางจิตวิทยาที่เน้นการศึกษาลักษณะบางลักษณะของบุคคลบางกลุ่มที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรที่ต้องการศึกษา ด้วยการออกแบบ สอบถามให้ตอบหรือโดยการสัมภาษณ์ และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ เช่น การสํารวจประชามติหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ฯลฯ

120 ข้อใดเป็นนักจิตวิทยาประยุกต์

(1) นักจิตวิทยาการทดลอง

(2) นักจิตวิทยาสังคม

(2) นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

(4) นักจิตวิทยาพัฒนาการ

(5) นักจิตวิทยาประจําศาล

ตอบ 5 หน้า 16 – 18, 20 จิตวิทยาในปัจจุบันมีหลายสาขา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 จิตวิทยาบริสุทธิ์ ได้แก่ จิตวิทยาการทดลอง

2 จิตวิทยาประยุกต์ ได้แก่ จิตวิทยาคลินิกและบริการให้คําปรึกษา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาผู้บริโภค จิตวิทยาโรงเรียน จิตวิทยาวิศวกรรม จิตวิทยาประจําศาล และจิตวิทยาทางการแพทย์

3 จิตวิทยาบริสุทธิ์และประยุกต์ ได้แก่ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม และจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

THA1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 “คนเสื้อลายเสือคนนั้นกําลังคนแกงอยู่หน้าบ้าน” จากข้อความไม่ปรากฏภาพสะท้อนลักษณะของภาษาไทยประเภทใด

(1) บอกพจน์

(2) มีคําลักษณนาม

(3) มีระบบเสียงสูงต่ำ

(4) คําคําเดียวมีหลายความหมาย

ตอบ 1 หน้า 2 (56256), 2 – 10 (H) ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะของภาษาไทยดังนี้

1 คําคําเดียวมีหลายความหมาย เช่น คน (น.) = มนุษย์, คน (ก.) = กวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน

2 มีคําลักษณนาม เช่น คนเสื้อลายเสือคนนั้น

3 มีระบบเสียงสูงต่ำ เช่น เสื้อ (เสียงโท), เสือ (เสียงจัตวา)

2 “พี่เห็นน้องสาวถ่ายภาพพลายชุมพลกําลังกินอ้อยหน้าร้านยายทอง” จากข้อความปรากฏคําบอกเพศกี่คํา

(1) 1 คํา

(2) 2 คํา

(3) 3 คํา

(4) 4 คํา

ตอบ 3 หน้า 2, 109 – 110, 112 (56256), 6 – 7, 97 98 (H) คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดงเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ลุง พลาย (ช้างตัวผู้) ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ชี สะใภ้ หญิง สาว นาง ป้า ย่า ยาย ดิฉัน พัง (ช้างตัวเมีย) ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ เมื่อต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษาคําโดด ก็จะต้องใช้คําบ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือนํามาประสมกันตามแบบ คําประสมบ้าง เช่น พี่ชาย น้องสาว เด็กผู้หญิง น้าชาย อาหญิง ฯลฯ (ข้อความข้างต้นปรากฏคําบอกเพศ 3 คํา ได้แก่ พี่เห็นน้องสาวถ่ายภาพพลายชุมพลกําลังกินอ้อยหน้าร้านยายทอง)

3 ข้อใดไม่สะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดชัดเจนที่สุด

(1) เขาไปไหนกันบ้าง

(2) คนไหนไม่ชอบดื่มไวน์บ้าง

(3) คนดีมีที่ไหนบ้างนะ

(4) ข้อไหนที่หนูทําไม่ได้บ้างคะ

ตอบ 2 หน้า 2, 5 – 6 (56255), 2 – 3 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดมีดังนี้

1 คําแต่ละคําต้องออกเสียงพยางค์เดียว และอาจเป็นคําควบกล้ำก็ได้

2 ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่คํายืมจากภาษาอื่น

3 มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

4 มีระบบวรรณยุกต์ ฯลฯ

(คําว่า “ไวน์” เป็นคํายืมมาจากภาษาอังกฤษ = Wine)

4 “ฝูงนกกําลังบินตรงมายังลุงสมาน” จากข้อความไม่ปรากฏภาพสะท้อนลักษณะของภาษาไทยประเภทใด

(1) บอกพจน์

(2) บอกกาล

(3) บอกเพศ

(4) บอกมาลา

ตอบ 4 หน้า 2 (56256), 2 – 10 (H) ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะของภาษาไทยดังนี้

1 บอกเพศ เช่น ลุง (ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ)

2 บอกพจน์ (จํานวน เช่น ฝูง (มีจํานวนมากกว่า 2 ขึ้นไป) = พวก หมู่

3 บอกกาล (เวลา) เช่น กําลัง (บอกปัจจุบัน)

5 ข้อใดเป็นสระเดี่ยวเสียงยาวทุกคํา

(1) น้ำตาลสด

(2) ผ้าผืนนี้

(3) เงินปากผี

(4) ตุ่มสามโคก

ตอบ 2 หน้า 8, 13 – 14 (56256), 17, 29 – 30 (H) เสียงสระในภาษาไทย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อี อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ และเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ เออ โอ ออ

2 สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ และเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอื้อ อัว อาว อาย (ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะถึงสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย/ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)

6 ข้อใดไม่ใช่สระหลัง

(1) แม่

(2) คุณ

(3) ถอน

(4) โหล

ตอบ 1 หน้า 9 – 10 (56256), 18 – 19 (H) สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ซึ่งจะต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระกลาง ได้แก่ อา คือ เออ อะ อี เออะ

2 สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ

3 สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ

7 ข้อใดเป็นสระเดี่ยว

(1) ร้าย

(2) รั้ว

(3) กฤช

(4) ส่วน

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) คําว่า “กฤช” อ่านว่า กริด (สระอิ)

8 “นกบินผ่านหน้าบ้านยายผม” จากข้อความมีสระเดี่ยวเสียงยาวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 0 เสียง

(2) 1 เสียง

(3) 2 เสียง

(4) 3 เสียง

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระเดี่ยวเสียงยาว 1 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่ สระอา = ผ่าน/หน้า/บ้าน/ยาย

9 ข้อใดไม่เป็นสระผสม

(1) สิว

(2) พวง

(3) เขลา

(4) ผม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

10 ข้อใดเป็นสระผสม

(1) โชว์

(2) ศิลป์

(3) ไมล์

(4) เล่ห์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

11 ข้อใดประกอบด้วยเสียงสระอือ + อา + อี

(1) เปลือย

(2) ป้าย

(3) เอี่ยว

(4) เหมือน

ตอบ 1 หน้า 14 (562568), 28 (H) คําว่า “เปลือย” ประกอบด้วย เอื้อ + ย หรือเป็นสระผสม 3 เสียง คือ ฮือ + อา + อี = เอือย

12 ข้อใดเป็นสระผสม 2 เสียง

(1) เฉื่อย

(2) เห็น

(3) กล้วย

(4) หลุยส์

ตอบ 4 หน้า 14 (56256), 28 (H) คําว่า “หลุยส์” ประกอบด้วย อุ + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียงคือ อุ + อิ = อุย

13 “แค่จูบเบาเบา ใครว่าไม่น่าสนใจ” จากข้อความมีสระผสมที่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 0 เสียง

(2) 1 เสียง

(3) 2 เสียง

(4) 3 เสียง

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระผสม 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 สระเอา = เบา

2 สระไอ (ไอ) = ใคร/ไม่/ใจ

14 รูปพยัญชนะในภาษาไทยลําดับที่ 7 ตรงกับข้อใด

(1) ฆ

(2) ง

(3) จ

(4) ช

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ง = รูปพยัญชนะตัวที่ 7 ในภาษาไทย นับเป็นพวกอักษรต่ำและใช้เป็นตัวสะกดในแม่กง

15 พยัญชนะต้นในข้อใดเป็นประเภทเสียงหนัก

(1) ร้อง

(2) ก่อน

(3) ฟ้า

(4) ห้าม

ตอบ 4 หน้า 19 – 21 (56255), 39 – 43 (H), (คําบรรยาย) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามรูปลักษณะของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้

1 พยัญชนะระเบิด หรือพยัญชนะกัก ได้แก่ ก ค (ข ฆ) จ ด (ฎ) ต (ฎ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ

2 พยัญชนะนาสิก ได้แก่ ง น (ณ) ม

3 พยัญชนะเสียดแทรก ได้แก่ ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)

4 พยัญชนะถึงเสียดแทรก ได้แก่ ช (ฉ ณ)

5 พยัญชนะกึ่งสระ ได้แก่ ย ว

6 พยัญชนะเหลว ได้แก่ ร ล

7 พยัญชนะเสียงหนัก ได้แก่ ห (ฮ) รวมทั้ง พยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)

16 พยัญชนะต้นในข้อใดเกิดที่ฐานเพดานอ่อน

(1) ปาก

(2) ซุง

(3) กอด

(4) (อ้วน)

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 (56255), 37 38 (H) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์(ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

1 ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ

2 ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง

3 ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร

4 ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ฎ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)

5 ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ย ภ) มวและริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)

17 ข้อใดไม่ใช่พยัญชนะเคียงกันมา

(1) ธรรมชาติ

(2) ศตวรรษ

(3) สงคราม

(4) มหาราช

ตอบ 3 หน้า 22 (56256), 44 (H), (คําบรรยาย) การออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา(การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียง ทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้หากคําใดที่มีเสียงสระอะ อา อิ อี อุ อู อยู่ตรงกลางคํา และพยางค์หน้าออกเสียงเต็มเสียงทุกคําก็ให้ถือว่า เป็นพยัญชนะคู่แบบเคียงกันมา เช่น ธรรมชาติ (ทํามะชาด), ศตวรรษ (สะตะวัด), มหาราช (มะหาราด) ฯลฯ

18 ข้อใดเป็นพยัญชนะนํากันมา

(1) ไกล

(2) สบาย

(3) ทะนาน

(4) อย่าง

ตอบ 4 หน้า 22 (56256), 40 (H) การออกเสียงแบบนํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็จะเปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี “ห” นํา เช่น หนาม อย่าง (หย่าง) ฯลฯ

19 ข้อใดเป็นพยัญชนะควบกันมา

(1) หลุม

(2) เสร็จ

(3) สว่าง

(4) พหูพจน์

ตอบ 2 หน้า 22 – 26 (56256), 44 – 49 (H) การออกเสียงแบบควบกันมา (อักษรควบ) คือพยัญชนะคู่ที่ออกเสียง 2 เสียงควบกล้ำไปพร้อมกัน แบ่งออกเป็น

1 อักษรควบกล้ำแท้ หรือเสียงกล้ำกันสนิท โดยเสียงทั้งสองร่วมเสียงสระและวรรณยุกต์เดียวกัน เช่น ไกล เพลง ใคร กลับ ฯลฯ

2 อักษรควบกล้ำไม่แท้ หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น สร้อย (ส้อย), เสร็จ (เส็ด) ฯลฯ

20 “ความจริงแล้วภาษาเริ่มต้นมาแต่สมัยกรีกเชียวนะ” จากข้อความไม่ปรากฏพยัญชนะคู่ประเภทใด

(1) เคียงกันมา

(2) ควบกันมา

(3) นํากันมา

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 17 18 และ 19 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฎพยัญชนะคู่ดังนี้

1 ควบกันมา ได้แก่ ควบกล้ำแท้ = ความ/กรีก และควบกล้ำไม่แท้ = จริง (จิง)

2 นํากันมา ได้แก่ สมัย (สะไหม)

21 ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกด 1 เสียง

(1) เพื่อเธอ

(2) กรุงเทพ

(3) ต้นกล้า

(4) เทครัว

ตอบ 3 หน้า 27 – 29 (56255), 50 – 53 (H) พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ

1 แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ

2 แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส

3 แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ

4 แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ฬ ญ

5 แม่กง ได้แก่ ง

6 แม่กม ได้แก่ ม

7 แม่เกย ได้แก่ ย

8 แม่เกอว ได้แก่ ว นอกจากนี้สระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ/ไอ (อัย) = แม่เกย และสระเอา (อาว) = แม่เกอว (คําว่า “ต้นกล้า” มีเสียงพยัญชนะสะกดเพียง 1 เสียง คือ แม่กน = ต้น และมีคําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด คือ กล้า)

22 ข้อใดไม่มีเสียงพยัญชนะสะกดทุกคํา

(1) เท้าแชร์

(2) ลําไย

(3) เสือหิว

(4) กิโล

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ) คําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ กิโล/แชร์/เสือ

23 ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็นทุกคํา

(1) ไตรมาส

(2) บรรเทา

(3) กฎเกณฑ์

(4) ทวงสิทธิ์

ตอบ 2 หน้า 28 (56256), 51 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 21 ประกอบ)ลักษณะของคําเป็นกับคําตายมีดังนี้

1 คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่ กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงยาวรวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)

2 คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงสั้น

24 “จะคอยเป็นกําลังใจให้เสมอนะคะ” จากข้อความปรากฎพยัญชนะสะกดกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 2 เสียง

(2) 3 เสียง

(3) 4 เสียง

(4) 5 เสียง

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฎพยัญชนะสะกด 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 แม่เกย = คอย/ใจ/ให้

2 แม่กน = เป็น

3 แม่กม = กํา

4 แม่กง = ลัง (ส่วนคําอื่นไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด)

25 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โท

(1) เล่น

(2) งก

(3) เป็น

(4) น้า

ตอบ 1 หน้า 33 – 37 (56255), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยจะมี 5 เสียง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก  เสียงโท  เสียงตรี และเสียง จัตวา ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ ให้ถูกต้อง เช่น คําว่า “เล่น” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก เป็นต้น (ส่วนคําว่า “งก/เป็น/น้า” = ตรี/สามัญ/ตรี)

26 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากข้ออื่น

(1) กว่า

(2) ถั่ว

(3) สุก

(4) ท่อ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) คําว่า “ท่อ” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์เอก)

27 ข้อใดมีวรรณยุกต์เสียงเดียวกัน

(1) แม่ครัว

(2) ทรงเกียรติ

(3) เข้าชื่อ

(4) เลิศล้ำ

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) คําว่า “เข้า/ชื่อ” มีเสียงวรรณยุกต์โททั้งคู่ (ส่วนคําว่า “แม่/ครัว” – โท/สามัญ, “ทรง/เกียรติ” = สามัญ/เอก, “เลิศ/ล้ำ” = โท/ตรี)

28 “คนไหนบ้างไม่เคยทําผิด” จากข้อความไม่ปรากฎวรรณยุกต์เสียงใด .

(1) ตรี

(2) จัตวา

(3) โท

(4) เอก

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ดังนี้

1 เสียงสามัญ = คน/เคย/ทํา

2 เสียงเอก = ผิด

3 เสียงโท = บ้าง/ไม่

4 เสียงจัตวา = ไหน

29 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างเสียงกัน

(1) เชื่อม เหล็ก

(2) สระ ไผ่

(3) แย้ง โจ๊ก

(4) เลือก กล้วย

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) คําว่า “เชื่อม/เหล็ก” มีเสียงวรรณยุกต์โท/เอก(ส่วนคําว่า “สระ/ไผ่” – เอก/เอก, “แย้ง/โจ๊ก” = ตรี/ตรี, “เลือก/กล้วย” = โท/โท)

30 “คนเก่งและดีเริ่มมีน้อยลงทุกวัน” จากข้อความมีวรรณยุกต์เสียงใดมากที่สุด (1) จัตวา

(2) โท

(3) เอก

(4) ตรี

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ดังนี้

1 เสียงสามัญ = คน/ดี/มี/ลง/วัน

2 เสียงเอก = เก่ง

3 เสียงโท = เริ่ม

4 เสียงตรี = และ/น้อย/ทุก

31 “การมองโลกในแง่บวกช่วยทําให้สุขภาพจิตดี” จากข้อความมีเสียงวรรณยุกต์กี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 5 เสียง

(2) 4 เสียง

(3) 3 เสียง

(4) 2 เสียง

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 เสียงสามัญ = การ/มอง/ใน/ทํา/ดี

2 เสียงเอก = บวก/สุข/ขะ/จิต

3 เสียงโท = โลก/แง่/ช่วย/ให้/ภาพ

32 ข้อใดเป็นความหมายแฝงบอกทิศทาง

(1) เข้า

(2) กรู

(3) ไหว

(4) รุม

ตอบ 1 หน้า 44 – 46 (56255), 62 (H) ความหมายแฝงบอกทิศทาง ได้แก่

1 ขึ้นบน เช่น ขึ้น ฟู พอง เขย่ง

2 ลงล่าง เช่น ลง ตก ดิ่ง หล่น

3 เข้าใน เช่น เข้า ฉีด อัด ยัด

4 ออกนอก เช่น ออก ขย้อน บ้วน ถม

5 ถอยหลัง เช่น ถอย ร่น ดึง

6 ก้าวหน้า เช่น ก้าว รุน ดุน ผลัก

7 เข้าใกล้ เช่น กราย เฉียด ประชิด

8 แยกไปคนละทาง เช่น ปะทุ ระเบิด เตลิด

33 “ข้อสอบภาษาไทยนี่ ขนมหวานชัด ๆ” จากข้อความคําที่ขีดเส้นใต้ปรากฏความหมายลักษณะใด

(1) ความหมายแฝง

(2) ความหมายอุปมา

(3) ความหมายสัมพันธ์กับเสียง

(4) การแยกเสียงแยกความหมาย

ตอบ 2 หน้า 48 – 49 (56256), 64 (H) คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1 คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ตุ๊กตา (นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก), เทวดา/นางฟ้า(ดี สวย), ขนมหวาน (ที่ทําได้ง่าย ที่ทําได้สะดวก) ฯลฯ

2 คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แมวนอนหวด (ซื่อจนเซ่อ), เพชรในตม (สิ่งมีค่าที่ซ่อนอยู่ แต่คนยังไม่เห็นความสําคัญ) ฯลฯ

34 “แผลจากมีดบาดยังมีขนาดไม่เท่ากับแผลของคนที่ถูกฆ่าปาดคอเลย” จากข้อความนี้ปรากฎการแยกเสียงแยกความหมายในลักษณะใด

(1) พยัญชนะสะกดต่างกัน

(2) เสียงสูงต่ำต่างกัน

(3) เสียงสั้นยาวต่างกัน

(4) พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน

ตอบ 4 หน้า 51, 53 (56256), 65 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกันบ้าง เช่น คําว่า “บาด – ปาด” (พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน “เสียง บ กับ ป”) = ใช้ของมีคมทําให้ แตกแยกออก ซึ่ง “บาด” เป็นการทําให้เป็นแผลด้วยของมีคม แต่ “ปาด” อาจลึกกว่า

35 “ถึงคนเสื้อสีขาว ๆ คนนั้นจะดูดุ๊ดุ แต่ก็ยอมให้พวกเราเช่าห้องนานเป็นปี ๆ นะ” จากข้อความไม่ปรากฏคําซ้ำที่มีความหมายในลักษณะใด

(1) แบบไม่เจาะจง

(2) แบบแยกเป็นส่วน ๆ

(3) แบบเปลี่ยนความหมายไปจากเดิม

(4) แบบเน้นน้ําหนักความหมาย

ตอบ 3 หน้า 76 – 80 (56255), 76 – 78 (H) คําซ้ำ คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายแตกต่างจากคําเดียว ซึ่งวิธีการสร้างคําซ้ำ ก็เหมือนกับการสร้างคําซ้อน แต่ใช้คําคําเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) กํากับ เช่น เสื้อสีขาว ๆ (คําซ้ำที่ซ้ำคําขยายนาม เพื่อแสดงความไม่เจาะจง), ดูดุ๊ดุ คําซ้ำที่เปลี่ยน เสียงวรรณยุกต์ที่คําต้นเป็นเสียงตรี เพื่อเน้นน้ำหนักความหมาย), นานเป็นปี ๆ (คําซ้ําที่แยกความหมายออกเป็นส่วน ๆ เมื่อมีคําว่า “เป็น” มาข้างหน้า) ฯลฯ

36 ข้อใดเป็นคําซ้อน

(1) อดทน

(2) สิ่งของ

(3) มั่วนิ่ม

(4) รัดตัว

ตอบ 1 หน้า 62 – 73 (56255), 67 – 74 (H) คําซ้อน คือ คําเดี่ยว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1 คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น อดทน กดดัน บาปบุญ ทอดทิ้ง ฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่น เช่น เงียบสงัด (ไทย + เขมร) ฯลฯ

2 คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น พับเพียบ (สระอะ + เอีย) ฯลฯ

37 ข้อใดไม่เป็นคําซ้อน

(1) กดดัน

(2) ทดลอง

(3) พับเพียบ

(4) บาปบุญ

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ) คําว่า “ทดลอง” = ลองทํา ลองให้ทํา ไม่ใช่คําซ้อนแต่เป็นคําประสม

38 ข้อใดไม่เป็นคําประสม

(1) ข้าวต้มกุ้ง

(2) แผงขายผัก

(3) แมวกินปลา

(4) หมวกกันน็อก

ตอบ 3 หน้า 80 – 89 (56256), 78 – 82 (H) คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมาย จํากัดเป็นนัยเดียว เช่น ข้าวต้มกุ้ง แผงขายผัก หมวกกันน็อก ทอดสะพาน ทอดน่อง ทอดผ้าป่า งานครัว งานช้าง งานบ้าน งานดี ฯลฯ (ส่วน “แมวกินปลา” ไม่ใช่คําประสม แต่เป็นประโยคที่ประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม)

39 ข้อใดไม่เป็นคําประสม

(1) ทอดทิ้ง

(2) ทอดสะพาน

(3) ทอดน่อง

(4) ทอดผ้าป่า

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 และ 38 ประกอบ

40 คําประสมในข้อใดมีโครงสร้างต่างจากข้ออื่น

(1) งานครัว

(2) งานช้าง

(3) งานบ้าน

(4) งานดี

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ) คําว่า “งานดี” เป็นคําประสมที่มีคําตัวตั้งเป็นคํานาม และคําขยายเป็นวิเศษณ์ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําตัวตั้งและคําขยายเป็นคํานามด้วยกันทั้งคู่)

41 ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียงทุกคํา

(1) มะม่วง ตะไคร้ ผักกระเฉด

(2) ตะปู ฉะฉาด ยะยิบยะยับ

(3) ตะเคียน กระดุม ระคาย

(4) ชะตา สมยอม ระคน

ตอบ 2 หน้า 93 – 95 (56255), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นคําที่กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่

1 “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง + มะม่วง, หมากนาว – มะนาว, หมากพร้าว มะพร้าว, เมื่อคืน – มะรืน

2 “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวขาบ – ตะขาบ,ตาปู – ตะปู, ต้นไคร้ – ตะไคร้, ต้นเคียน + ตะเคียน, ตัวปลิง – ตะปลิง

3 “สะ” เช่น สายคือ 9 สะดือ, สาวใภ้ – สะใภ้, สายดึง – สะดึง

4 “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น, ฉันนี้ – ฉะนี้, เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด

5 “ยะ/ระ/ละ” เช่น ยิบ ๆ ยับ ๆ – ยะยิบยะยับ, รื่น ๆ – ระรื่น, ลิบ ๆ – ละลิบ

6 “อะ” เช่น อันไร/อันใด > อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ – พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู – ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว เป็นต้น

42 ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมชนิดแบ่งคําผิดและเทียบแนวเทียบผิด

(1) นกกระยาง ตุ๊กกะตา

(2) ลูกกระเดือก กระดุกกระดิก

(3) ตกกะใจ กระชดกระช้อย

(4) กระเสือกกระสน กระวนกระวาย

ตอบ 3 หน้า 94 – 96 (56255), 84 – 86 (H) คําอุปสรรคเทียมชนิดแบ่งคําผิดและคําอุปสรรคเทียมชนิดเทียบแนวเทียบผิด อธิบายได้ดังนี้

1 ชนิดแบ่งคําผิด เกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน โดยการเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 1 เสียงในคําที่พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “ก” เช่น ตกใจ > ตกกะใจ,นกยาง – นกกระยาง, ตุ๊กตา – ตุ๊กกะตา, ลูกเดือก – ลูกกระเดือก ฯลฯ

2 ชนิดเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไปในคําซ้อน เพื่อเสียงทั้งที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียม ที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น ชดช้อย – กระชดกระช้อย, เสือกสน – กระเสือกกระสน, วนวาย -กระวนกระวาย, ฟัดเฟียด – กระฟัดกระเฟียด ฯลฯ

43 ข้อใดไม่ใช่คําอุปสรรคเทียมที่เลียนแบบภาษาเขมร

(1) มะรืน

(2) ระย่อ

(3) สะพรั่ง

(4) ชะดีชะร้าย

ตอบ 1 หน้า 96 – 98 (56255), 86 – 87 (H) อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ได้แก่

1 “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะชะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ประเดี๋ยว ,ปะติดปะต่อ, ประท้วง, ประหวั่น, พะรุงพะรัง, พะเยิบ, สมรู้, สมยอม, สมสู่, สะสาง, สะพรั่ง, สะสวย, สะพรึบ ฯลฯ

  1. ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า“ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขยี้, ขยํา, ปลูก, ปลง, ปลด, ปละ, ปราบ, ผละ, พร่ำ ฯลฯ

(ส่วนคําว่า “มะรืน” เป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียง) (ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ)

44 “หญิงสาวเดินกระฟัดกระเฟียดงอนชายหนุ่มไปนั่งอยู่คนเดียวใต้ต้นมะพร้าว” ประโยคที่ยกมานี้ปรากฏคําอุปสรรคเทียมชนิดใดบ้าง

(1) เทียบแนวเทียบผิดและกร่อนเสียง

(2) เทียบแนวเทียบผิดและแบ่งคําผิด

(3) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและกร่อนเสียง

(4) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและแบ่งคําผิด

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 41 และ 42 ประกอบ) ประโยคข้างต้นปรากฏคําอุปสรรคเทียมดังนี้

1 ชนิดเทียบแนวเทียบผิด ได้แก่ กระฟัดกระเฟียด

2 ชนิดกร่อนเสียง ได้แก่ มะพร้าว

45 “หลวงพระบางในกระแสการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงต้องถูกท้าทายอย่างมากว่า จะยืนหยัดความเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่คนลาวภาคภูมิใจไปได้อีกนานแค่ไหน” ข้อความที่ยกมาเป็นประโยคชนิดใด

(1) คําสั่ง

(2) บอกเล่า

(3) คําถาม

(4) ขอร้องหรือชักชวน

ตอบ 2 หน้า 103 – 104 (56256), 90 – 91, 93 – 94 (H) ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา ซึ่งอาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ เช่น ไปแล้วจ้า, ไม่ได้ไปค่ะ ฯลฯ แต่บางครั้งประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร/อะไร/ที่ไหน/เมื่อไหร่/อย่างไร” อาจใช้ ในประโยคบอกเล่าก็ได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ได้ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ไปไหนก็ไป ฯลฯ

46 “ความรักดูจะเป็นเรื่องสําคัญที่คงอยู่คู่มนุษยชาติ หากแต่อํานาจและพลังความรักนั้นเป็นแรงขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์” ข้อความที่ยกมานี้เป็นประโยคชนิดใด

(1) คําสั่ง

(2) ขอร้องหรือชักชวน

(3) คําถาม

(4) บอกเล่า

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 “ที่ควรสังวรก็คือ อย่ามัวแต่อ่านหรือฟังอย่างเดียว ควรมีการปฏิบัติควบคู่กันไปด้วยอย่างจริงจัง”ข้อความที่ยกมานี้เป็นประโยคชนิดใด

(1) คําสั่ง

(2) ขอร้องหรือชักชวน

(3) คําถาม

(4) บอกเล่า

ตอบ 1 หน้า 102 (56256), 91 – 92 (H) ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่งมักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้ เช่น ห้ามรับประทาน เป็นต้น

48 ประโยคในข้อใดไม่มีกรรม

(1) เด็ก ๆ กําลังเล่นฟุตบอล

(2) คนเดินอย่างพร้อมเพรียง

(3) คนเข้าแถวซื้อของอย่างเป็นระเบียบ

(4) พนักงานเตือนผู้โดยสารให้นั่งประจําที่

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โครงสร้างประโยคในภาษาไทย แบ่งออกเป็น

1 ประโยค 2 ส่วน คือ ประธาน + กริยา (อาจจะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น คนเดินอย่างพร้อมเพรียง ฯลฯ

2 ประโยค 3 ส่วน คือ ประธาน + กริยา + กรรม (อาจจะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น เด็ก ๆ กําลังเล่นฟุตบอล, คนเข้าแถวซื้อของอย่างเป็นระเบียบ, พนักงานเตือนผู้โดยสาร ให้นั่งประจําที่ ฯลฯ

49 ประโยคในข้อใดไม่มีส่วนขยายกริยา

(1) สุดากินอาหารอย่างอร่อย

(2) สายพิณอยากกินอาหารแปลก ๆ

(3) สมชายชอบกินอาหารเพื่อสุขภาพ

(4) อาหารจานเด็ดปรุงโดยพ่อครัวฝีมือดี

ตอบ 4 หน้า 105 – 106 (56256), 95 – 96 (H) ภาคขยายแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1 ส่วนขยายประธานหรือผู้กระทํา และส่วนขยายกรรมหรือผู้ถูกกระทํา เรียกว่า คุณศัพท์ เช่น นักร้องหนุ่ม (ขยายประธาน) ร้องเพลงบุพเพสันนิวาส (ขยายกรรม) เป็นต้น

2 ส่วนขยายกริยา เรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตําแหน่งอยู่หน้าคํากริยาหรือหลังคํากริยาก็ได้ เช่น สุดากินอาหารอย่างอร่อยสายพิณอยากกินอาหารแปลก ๆ/สมชายชอบกินอาหารเพื่อสุขภาพ (ขยายกริยา “กิน” ทั้งหมด) เป็นต้น

50 คํากริยาใดทําหน้าที่เสมือนคํานาม

(1) ช้าเป็นเต่าคลาน

(2) ดีชั่วอยู่ที่ตัวทํา

(3) นอนหลับทับสิทธิ์

(4) หวานเป็นลมขมเป็นยา

ตอบ 3 หน้า 108 – 109 (56256), 98 (H) คํากริยาที่ทําหน้าที่เป็นคํานาม เช่น หาบดีกว่าคอน,นอนดีกว่านั่ง, นอนหลับทับสิทธิ์, รักแท้แพ้เงิน, ความรักสีดํา ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําวิเศษณ์ที่ทําหน้าที่อย่างนาม)

51 ประโยคในข้อใดมีส่วนขยายประธานและส่วนขยายกรรม

(1) นักร้องวัยรุ่นเต้นอย่างสนุก

(2) นักร้องเสียงทองร้องเพลงเพราะ

(3) นักร้องหนุ่มร้องเพลงบุพเพสันนิวาส

(4) นักร้องสาวเสียงใสกําลังร้องเพลง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

52 “นักเทนนิสชายเดี่ยวคว้าชัยได้แล้ว” คํานามในประโยคนี้บอกให้รู้อะไรบ้าง

(1) บอกคําลักษณนาม

(2) บอกคําแสดงเพศ

(3) บอกคําแสดงพจน์

(4) บอกคําแสดงเพศและคําแสดงพจน์

ตอบ 4 หน้า 108 – 110 (56256), 6 – 7 (H) คํานามในประโยคข้างต้นบอกลักษณะของภาษาไทยดังต่อไปนี้

1 บอกคําแสดงเพศ เช่น ชาย (ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ)

2 บอกคําแสดงพจน์ (จํานวน) เช่น เดี่ยว (จํานวนหนึ่ง หรือเอกพจน์)

53 “ผม” ในข้อใดแสดงความเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 ไม่ชัดเจน

(1) ผมอิ่มแล้ว

(2) ผมเปียกแล้ว

(3) ผมไปล่ะ

(4) ผมกลับก่อน

ตอบ 2 หน้า 112 (56256), 99 (H) สรรพนามบุรุษที่ : คือ คําที่ใช้แทนตัวผู้พูดเอง เช่น ฉัน ดิฉัน อิฉัน ผม กระผม ข้าพเจ้า เรา ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คํานามอื่น ๆ แทนตัวผู้พูดเพื่อแสดง ความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่ ใช้ตําแหน่งเครือญาติ เช่น พ่อ แม่ ฯลฯ ใช้ตําแหน่งในการงาน เช่น ครู หัวหน้า ฯลฯ หรือใช้ชื่อของผู้พูดเอง เช่น นิ้ว นุช ฯลฯ (ส่วนคําว่า “ผม” ในตัวเลือก ข้อ 2 เป็นคํานาม – ในที่ขึ้นอยู่บนศีรษะ)

54 คําสรรพนามในข้อใดแสดงความไม่เฉพาะเจาะจง

(1) อะไรที่ชอบ

(2) อยากทําอะไรบ้าง

(3) ทําอะไรอยู่

(4) อยากทําอะไรก็ตามใจ

ตอบ 4 หน้า 111, 116 – 113 (56256), 99 (H) สรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่“ใคร/อะไร/ใด/ไหน” ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกคําถาม แต่สรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจงจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะ เจาะจงว่าเป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม เช่น อยากทําอะไรก็ตามใจ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสรรพนามที่บอกคําถาม)

55 ข้อใดมีคําสรรพนามแสดงความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ

(1) ใครก็ได้

(2) คนนี้ใช่เลย

(3) ต่างคนต่างมา

(4) คนที่พูดถึงมาแล้ว

ตอบ 3 หน้า 111, 118 119 (56256), 99 – 100 (H) สรรพนามที่บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆได้แก่ คําว่า “ต่าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนทํากริยาเดียวกัน แต่ไม่ได้ทําพร้อมกัน เช่น ต่างคน ต่างมา), “บ้าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนแยกกันทํากริยาคนละอย่าง เช่น บ้างยืนบ้างนั่ง), “กัน” (ใช้แทนนามที่ต่างก็ทํากริยาเดียวกัน เกี่ยวข้องกัน เช่น มาด้วยกันไปด้วยกัน)

56 กริยาในข้อใดมีกรรมมารับ

(1) ม้าวิ่งเร็ว

(2) นกร้องเพลง

(3) สุนัขเห่าเสียงดัง

(4) แมววิ่งซุกซน

ตอบ 2 หน้า 105 (56256), 95 (H) ภาคแสดงหรือกริยา เป็นส่วนที่แสดงกิริยาอาการหรือการกระทําของภาคประธาน ซึ่งตามธรรมดากริยาจะมีตําแหน่งอยู่หลังประธาน และอยู่หน้ากรรม เช่น นกร้องเพลง (กริยาที่มีกรรมมารับ) ฯลฯ แต่กริยานั้นจะไม่มีกรรมก็ได้ เช่น ม้าวิ่งเร็ว/สุนัขเห่าเสียงดัง/แมววิ่งซุกซน (ประธาน + กริยา + ส่วนขยายกริยา โดยไม่มีกรรม) ฯลฯ

57 ไม่ควรใช้คํากริยา “ถูก” ในความหมายว่าถูกกระทํากับข้อใด

(1) ผู้ตัดสินถูกคนดูโห่ไล่

(2) ทีมฟุตบอลถูกคนดูตําหนิ

(3) ทีมวอลเลย์บอลถูกชื่นชม

(4) คนดูถูกเจ้าหน้าที่ห้ามส่งเสียงดัง

ตอบ 3 หน้า 126 (56256) ในภาษาไทยไม่นิยมใช้คํากริยา “ถูก” แสดงกรรมวาจก นอกจากจะใช้ในเรื่องไม่ดีเท่านั้น เช่น ผู้ตัดสินถูกคนดูโห่ไล่, ทีมฟุตบอลถูกคนดูตําหนิ, คนดูถูกเจ้าหน้าที่ห้าม ส่งเสียงดัง ฯลฯ หากเป็นเรื่องที่จะละคํากริยา “ถูก” หรือไม่ก็ใช้คําอื่นหรือเปลี่ยนรูปประโยคเป็นอย่างอื่นไป เช่น ทีมวอลเลย์บอลถูกชื่นชม – ทีมวอลเลย์บอลได้รับการชื่นชม ฯลฯ

58 ข้อใดใช้คํากริยาการีต

(1) ฉันจะไปดูคอนเสิร์ต

(2) ฉันจะไปซอยผม

(3) ฉันจะไปเดินเล่น

(4) ฉันจะไปซื้อของ

ตอบ 2 หน้า 128 (56256), (คําบรรยาย) คํากริยาธรรมดาที่มีความหมายเป็นการีต (ทําให้) เป็นคําที่กําหนดขึ้นเป็นพิเศษ และมีความหมายเฉพาะเป็นที่รู้กัน ซึ่งดูเหมือนว่าประธานเป็นผู้กระทํากริยานั้นเอง แต่ที่จริงแล้วประธานเป็นผู้ถูกกระทํา เช่น ไปดูหมอ (ที่จริงคือ ให้หมอดูโชคชะตา ให้ตน), ไปตรวจโรค (ที่จริงคือ ให้หมอยาตรวจโรคให้ตน), ไปตัดเสื้อทําผม (ที่จริงคือ ให้ช่างตัดเสื้อและทําผมให้ตน), ไปทําฟัน (ที่จริงคือ ให้หมอฟันทําฟันให้ตน) ฯลฯ

59 ข้อใดไม่ใช้คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้

(1) ดินดําน้ำชุ่ม

(2) ลักเล็กขโมยน้อย

(3) เหลือกินเหลือใช้

(4) มากหมอมากความ

ตอบ 1 หน้า 132 133 (56256), 102 (H) คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้ (ประมาณคุณศัพท์)หรือคําคุณศัพท์บอกจํานวนประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิด หน่อย ครบ พอ เกิน เหลือ ขาด ถ้วน ครบถ้วน หมด หลาย ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ทั้ง ฯลฯ

60 ข้อใดใช้คําคุณศัพท์แสดงคําถาม

(1) เหตุใดจึงมาช้า

(2) บอกก่อนได้ไหม

(3) คนอะไรใจร้ายจัง

(4) ของใครใครก็รัก

ตอบ 1 หน้า 135 – 137 (56256), 102 (H) คุณศัพท์ที่เป็นคําถาม ได้แก่ ใด อะไร ไหน ไร ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับคุณศัพท์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง แต่คุณศัพท์ที่เป็นคําถามจะใช้ถามคําถาม และต้องมีนามมาข้างหน้า เช่น เหตุใดจึงมาช้า ฯลฯ

61 ข้อใดใช้คํากริยาวิเศษณ์แสดงภาวะ

(1) เขาถามถึงเธอเสมอ

(2) เขานั่งห่างจากเธอ

(3) เขานอนตื่นสาย

(4) เขามาแน่นอน

ตอบ 4 หน้า 138 (56256), 103 (H) กริยาวิเศษณ์แสดงภาวะ ได้แก่ แน่นอน สะดวก ง่ายดาย ง่วงงุน เด็ดขาด ซึ่งจะต้องวางไว้หลังกริยาที่ไปขยาย เช่น เขามาแน่นอน ฯลฯ

62 “คนที่อ่อนแอย่อมแพ้อุปสรรคง่าย ๆ ส่วนคนที่เข้มแข็งย่อมไม่ยอมแพ้” ข้อความที่ยกมานี้ใช้คําสันธานชนิดใดเชื่อมประโยค

(1) เชื่อมความขัดแย้งกัน

(2) เชื่อมความเปรียบเทียบกัน

(3) เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผล

(4) เชื่อมความตอนหนึ่งที่กล่าวยังไม่จบ

ตอบ 4 หน้า 157 – 158 (56256), 107 (H) คําสันธานเชื่อมความตอนหนึ่งที่กล่าวยังไม่จบกับอีกตอนหนึ่งที่เริ่มต้นกล่าว เป็นคําสันธานเชื่อมความที่เป็นคนละเรื่อง แยกกันคนละส่วนแต่มีความเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ส่วน, ฝ่าย, อนึ่ง, อีกประการหนึ่ง

63 “คนเรานอกจากมีปัญญาแล้ว ยังต้องมีความคิดอีกด้วย” ข้อความที่ยกมานี้ใช้คําสันธานชนิดใด เชื่อมประโยค

(1) แบ่งรับแบ่งสู้

(2) รวมเข้าด้วยกัน

(3) เป็นเหตุเป็นผลกัน

(4) ให้ได้เนื้อความสละสลวย

ตอบ 1 หน้า 156 157 (56256), 107 (H) คําสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ได้แก่ ถ้า, ถ้า…ก็, ถ้า…จึง, ถ้าหากว่า, แม้…แต่, แม้ว่า, เว้นแต่, นอกจาก

64 “ความเชื่อเรื่องกรรม ถ้าเชื่อให้ถูกทางก็จะเป็นการดี” ข้อความที่ยกมานี้เชื่อมด้วยคําสันธานชนิดใด

(1) แบ่งรับแบ่งสู้

(2) เปรียบเทียบ

(3) รวมเข้าด้วยกัน

(4) เป็นเหตุเป็นผล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 ข้อใดไม่สามารถใช้คําบุรพบทอื่นแทนได้

(1) พูดจากันด้วยดี

(2) เดินทางด้วยเครื่องบิน

(3) กินข้าวตามด้วยผลไม้

(4) ติดต่อด้วยโทรศัพท์

ตอบ 1 หน้า 144 145 (56256) คําบุรพบท “ด้วยดิ” กับ “โดยดี” ถึงแม้จะมีความหมายคล้ายกันแต่บางกรณีก็ใช้แทนกันไม่ได้ เช่น พูดจากันด้วยดี (พูดกันด้วยอัธยาศัยไมตรี), พูดจากันโดยดี (ยอมพูดจาปรึกษาหารือ หรือประนีประนอมกันเมื่อเกิดการขัดแย้ง) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นสามารถใช้คําบุรพบท “โดย” แทน “ด้วย” ได้)

66 ข้อความในข้อใดไม่สามารถละบุรพบทได้

(1) เราควรทําความดีด้วยตัวของเราเอง

(2) เราควรเปิดรับทุกอย่างชนิดที่ไม่มีอคติแต่ต้น

(3) เขาไม่ใส่ใจในการศึกษาเล่าเรียนเลยแม้แต่น้อย

(4) รากฐานทุกศาสนามักวางอยู่บนความเชื่อและความศรัทธา

ตอบ 3 หน้า 143 144, 147 (56256), 104 – 106 (H) คําบุรพบทจะไม่สําคัญมากเท่ากับคํานามคํากริยา และคําวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบทที่อาจละได้ แต่ความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ แต่บุรพบทบางคําก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง หากจะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมาย ต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นละบุรพบท “ของ, ที่, และ” ได้ดังนี้ เราควรทําความดีด้วยตัวเราเอง เราควรเปิดรับทุกอย่างชนิดไม่มีอคติแต่ต้น, รากฐานทุกศาสนามักวางอยู่บนความเชื่อ ความศรัทธา)

67 ข้อใดไม่ใช่คําอุทาน

(1) ตายแล้วทําไปได้ยังไง

(2) ตายกันไปข้างหนึ่งล่ะ

(3) ตายจริงจําแทบไม่ได้เลย

(4) ตายจริงฉันลืมกระเป๋าตังค์

ตอบ 2 หน้า 158 – 160 (56256), 109 (H) คําอุทาน คือ คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆซึ่งคําอุทานบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอน แล้วแต่การออกเสียง และสถานการณ์ เช่น คําว่า “บ๊ะ” แสดงอารมณ์ไม่พอใจหรือประหลาดใจ, “เฮ้ย/อุ้ย/อุ้ยตาย/ ตายแล้ว/ตายจริง/ต๊ายตาย” แสดงอารมณ์ตกใจหรือแปลกใจ, “โธ่ถัง/โธ่/โถ” แสดงอารมณ์เสียใจ, “เออนะ/เออน่า” แสดงคํารับอย่างรู้สึกรําคาญ เป็นต้น

68 ข้อใดคือคําลักษณนามของ “ไม้จิ้มฟัน”

(1) ซี่

(2) ซีก

(3) อัน

(4) ไม้

ตอบ 3 หน้า 160 – 165 (56256), 109 110 (H) คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดคํานามที่อยู่ข้างหน้า คําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (กรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่น ไม้จิ้มฟัน/ชิงช้า (อัน), พระโกศ (องค์), แตร/ช่อฟ้า/ปั้นจั่น (ตัว) เป็นต้น

69 ข้อใดคือลักษณนามของ “พระโกศ”

(1) ใบ

(2) ลูก

(3) องค์

(4) พระโกศ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 คําใดใช้ลักษณนามต่างจากคําอื่น ๆ

(1) แตร

(2) ชิงช้า

(3) ช่อฟ้า

(4) ปั้นจัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

ข้อ 71 – 80. ให้นักศึกษาเลือกคําราชาศัพท์ที่ถูกต้องที่สุด เติมในช่องว่างที่เว้นไว้

“ประชาชนทุกสาขาอาชีพนําแจกันดอกไม้มา 71. พร้อมกับลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ให้ทรงหายจาก 72. สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 73. ต่อปวงชนชาวไทย พระองค์ 74. กับ 75. มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และ 76. ต่องานมรดกและวัฒนธรรมไทย มาโดยตลอด พระองค์ 77. ในงานศิลปาชีพ ทรงเป็นพุทธมามกะ และ 78. ศาสนาต่าง ๆ ในการนี้ประชาชนจึงพร้อมใจกันถวายพระพรให้ทรงมี 79. แข็งแรงสมบูรณ์พ้นจากโรคภัย มี 80. ยืนนาน”

71 (1) ถวาย

(2) ทรงถวาย

(3) ทูลเกล้าฯ ถวาย

(4) น้อมเกล้าฯ ถวาย

ตอบ 3 หน้า 176 (56256), 116 (H) ทูลเกล้าฯ ถวาย = ถวายสิ่งของขนาดเล็ก (ของที่ยกได้) หรือ ถวายสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้, ทูลเกล้าฯ ถวายมาลัยข้อพระกรทูลเกล้าฯ ถวายเงิน ฯลฯ (ส่วนคําว่า “น้อมเกล้าฯ ถวาย” = ถวายสิ่งของขนาดใหญ่ (ของที่ยกขึ้นไม่ได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น น้อมเกล้าฯ ถวายพระพร ฯลฯ)

72 (1) ประชวร

(2) พระประชวร

(3) พระอาการพระประชวร

(4) พระอาการประชวร

ตอบ 4 พระอาการประชวร = สภาพเจ็บป่วย อาการป่วย

73 (1) ทรงเมตตา

(2) ทรงมีพระเมตตา

(3) ทรงพระเมตตา

(4) เมตตา

ตอบ 3 หน้า 173 (56256), 113 (H), (คําบรรยาย) ตามหลักเกณฑ์การเติมคําว่า “ทรง” หน้ากริยาราชาศัพท์นั้น จะเติม “ทรง” หน้าคํานามหรือคํากริยาสามัญเพื่อทําให้คํานั้นเป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงงาน (ทํางาน), ทรงทะนุบํารุง ซ่อมแซมรักษา อุดหนุนให้เจริญขึ้น) ฯลฯ และเติม “ทรง” หน้านามราชาศัพท์เพื่อทําให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระเมตตา (มีความเมตตา) ฯลฯ แต่ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น สนพระราชหฤทัย รับสั่ง โปรดเสด็จฯ พระราชทาน ทอดพระเนตร ฯลฯ

74 (1) เสด็จฯ ไปทรงงาน

(2) เสด็จฯ ทรงงาน

(3) เสด็จไปทรงงาน

(4) เสด็จทรงงาน

ตอบ 1 เสด็จฯ (เสด็จพระราชดําเนิน) – เดินทางโดยยานพาหนะ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระราชวงศ์ลําดับ 2 ดังนั้นในที่นี้จึงควรใช้ว่า เสด็จฯ ไปทรงงาน (ส่วนคําว่า “เสด็จ”ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นเจ้าฟ้าลงมา)

75 (1) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร

(2) พระบาทสมเด็จพระปรมินทร

(3) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทร

(4) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทร

ตอบ 2 พระนามที่ถูกต้อง คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

76 (1) มีพระกรุณาธิคุณ

(2) มีพระมหากรุณาธิคุณ

(3) ทรงมีพระกรุณาธิคุณ

(4) ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ

ตอบ 2 หน้า 117 (H) คํากริยา มี/เป็น เมื่อใช้เป็นราชาศัพท์มีข้อสังเกตดังนี้

1 หากคําที่ตามหลัง มี/เป็น เป็นนามราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติม “ทรง” หน้าคํากริยา มี/เป็น อีก เช่น มีพระมหากรุณาธิคุณ = มีพระคุณที่ใหญ่หลวง ใช้กับพระมหากษัตริย์พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 ฯลฯ

2 หากคําที่ตามหลัง มีเป็น เป็นคําสามัญ ให้เติม “ทรง” หน้าคํากริยา มี/เป็น เพื่อทําให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงมีลูกสุนัข, ทรงเป็นประธาน ฯลฯ(ส่วนคําว่า “พระกรุณาธิคุณ” ใช้กับเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช)

77 (1) สนใจ

(2) สนพระทัย

(3) สนพระฤทัย

(4) สนพระราชหฤทัย

ตอบ 4 สนพระราชหฤทัย = สนใจ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 (ส่วนคําว่า “สนพระทัย” ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าลงมา จนถึงพระอนุวงศ์ชั้น หม่อมเจ้า)

78 (1) บํารุง

(2) ทะนุบํารุง

(3) ทรงทะนุบํารุง

(4) ได้ทะนุบํารุง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

79 (1) พลานามัย

(2) พระอนามัย

(3) พระพลานามัย

(4) พระพลาอนามัย

ตอบ 3 พระพลานามัย = สุขภาพ

80 (1) ชนมายุ

(2) พระชนมายุ

(3) ชนมพรรษา

(4) พระชนมพรรษา

ตอบ 4 พระชนมพรรษา = อายุ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 (ส่วนคําว่า “พระชนมายุ” ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าลงมา จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)

ข้อ 81 – 90 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม โดยให้สัมพันธ์กับข้อความที่ให้อ่าน

วิทยาศาสตร์ พบว่า พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว หากแต่น่าจะเป็นดินฟ้าอากาศ ต่างหากที่ลิขิตให้มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพต่าง ๆ กัน ตลอดจนสุขภาพเมื่อตอนเติบโตขึ้นด้วย

หนังสือพิมพ์ “เดอะซันเดย์ เทเลกราฟ” ชื่อดังของอังกฤษรายงานว่า คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัย เฮิร์ทฟอร์ดเชียร์ของอังกฤษศึกษา พบว่า ฤดูเกิดมีอิทธิพลลิขิตนิสัยสันดานคนต่าง ๆ กัน

อย่างเช่น ผู้หญิงทางซีกโลกเหนือที่เกิดในเดือนพฤษภาคมมักจะเป็นคนใจร้อน ในขณะที่ผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ร่วง เดือนพฤศจิกายน จะเป็นคนช่างพินิจพิจารณา ขณะที่ถ้าเป็นชายเกิดในฤดูใบไม้ผลิ จะเป็นคนที่มีความอดกลั้นต่างกับผู้ที่เกิดในฤดูหนาว

ผู้ที่เกิดตรงกับฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นคนแข็งแรงว่องไว เหมาะกับจะเป็นนักฟุตบอล ส่วนผู้ที่เกิด ในฤดูใบไม้ผลิก็จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี มีฝีไม้ลายมือดีในการเล่นหมากรุก

ในทํานองเดียวกัน ผู้ที่เกิดช่วงระหว่างเดือนกันยายนและธันวาคมมักจะเป็นคนที่อาจเกิด มีอาการหวาดกลัวหรือหวาดผวาสุดขีด พร้อมทั้งกําลังมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่า ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและ ต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง

ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน หัวหน้าคณะ กล่าวว่า “ท่านอาจพอจะคาดได้ว่า ตัวการเป็น เพราะอุณหภูมินั่นเอง ดังนั้นผลหลายอย่างจะกลับกันอยู่ในซีกโลกทั้งสอง” พร้อมกันนั้นศาสตราจารย์จอห์น อีเกิล มหาวิทยาลัยอะเบอร์ดีน ยังให้ความเห็นว่า “ตัวการใหญ่มีอยู่ 2 ตัว คือ อาหารกับความแปรผัน ของโภชนาการ และโรคภัยไข้เจ็บที่ซุกอยู่ในฤดูหนาว นอกจากนั้นสาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม

อย่างอื่นก็มีส่วนด้วย ดังนั้นฤดูกาลในการเกิดเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น”

81 ข้อความที่อ่านจัดเป็นวรรณกรรมประเภทใด

(1) บทความ

(2) บทรายงานข่าว

(3) สรุปผลงานวิจัย

(4) สรุปผลการค้นคว้า

ตอบ 1 (คําบรรยาย) บทความ คือ งานเขียนที่มีการนําเสนอข้อมูลที่ได้มาจากเอกสารทางวิชาการหรือผลงานการวิจัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นเพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ และมีการสรุปให้เห็นความสําคัญของเรื่อง พร้อมทั้งเสนอข้อคิดให้ผู้อ่านนําไปพิจารณา

82 โวหารการเขียนเป็นแบบใด

(1) บรรยาย

(2) อภิปราย

(3) อธิบาย

(4) พรรณนา

ตอบ 3 หน้า 72 (54351), (คําบรรยาย) โวหารเชิงอธิบาย คือ โวหารที่ใช้ในการชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลแต่เพียงด้านเดียว อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ โดยมีการชี้แจงแสดงเหตุและผล การยกตัวอย่างประกอบ การเปรียบเทียบ และการจําแนกแจกแจง เช่น การอธิบายความหมายของคํา กฎเกณฑ์ ทฤษฎีและวิธีการต่าง ๆ

83 น้ำเสียงของคณะผู้วิจัยเป็นอย่างไร

(1) มั่นใจ

(2) ลังเล

(3) ภาคภูมิใจ

(4) คาดคะเน

ตอบ 4 น้ำเสียงของคณะผู้วิจัยจากข้อความที่อ่านเป็นแบบคาดคะเน หรือคาดหมายว่าน่าจะเป็นเช่นนั้นโดยส่วนใหญ่

84 ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด

(1) เรียบง่าย

(2) สับสนวกวน

(3) สละสลวย

(4) กระชับรัดกุม

ตอบ 1 หน้า 58 (54351) ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ๆชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการขบคิดมากนัก

85 เหตุใดจึงจําแนกบุคลิกและสุขภาพของแต่ละคนตามฤดูใบไม้ร่วงใบไม้ผลิ ฯลฯ

(1) เพราะธรรมชาติมีอิทธิพลต่อชีวิต

(2) เพราะคณะวิจัยเป็นชาวอังกฤษ

(3) เพราะเป็นที่คุ้นเคยต่อชีวิตประจําวัน

(4) เพราะธรรมชาติส่งผลต่อความเป็นอยู่

ตอบ 1 จากข้อความ วิทยาศาสตร์ พบว่า พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว หากแต่น่าจะเป็นดินฟ้าอากาศต่างหากที่ลิขิตให้มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพต่าง ๆ กัน ตลอดจนสุขภาพเมื่อตอนเติบโตขึ้นด้วย

86 ยังมีสิ่งใดอีกที่แสดงอิทธิพลของฤดูกาลนอกเหนือจากบุคลิกและสุขภาพ

(1) รสนิยม

(2) โรคภัยไข้เจ็บ

(3) อาหารการกิน

(4) การกีฬา

ตอบ 2 จากข้อความ… ในทํานองเดียวกัน ผู้ที่เกิดช่วงระหว่างเดือนกันยายนและธันวาคมมักจะเป็นคนที่อาจเกิดมีอาการหวาดกลัวหรือหวาดผวาสุดขีด พร้อมทั้งกําลังมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่า ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน หัวหน้าคณะ กล่าวว่า “ท่านอาจพอจะคาดได้ว่า ตัวการเป็นเพราะอุณหภูมินั้นเอง ดังนั้นผลหลายอย่างจะกลับกันอยู่ในซีกโลกทั้งสอง”

87 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยหลักในการกําหนดบุคลิกและสุขภาพ

(1) ฤดูกาลในการเกิด

(2) โรคภัยในบางฤดู

(3) ความเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการ

(4) กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 จากข้อความ…. ตัวการใหญ่มีอยู่ 2 ตัว คือ อาหารกับความแปรผันของโภชนาการ และโรคภัยไข้เจ็บที่ซุกอยู่ในฤดูหนาว นอกจากนั้นสาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นก็มีส่วนด้วย ดังนั้นฤดูกาลในการเกิดเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น

88 ผู้วิจัยค้นพบว่าเกิดในฤดูกาลใดส่งผลดีต่อสุขภาพ

(1) ต้นฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ร่วง

(2) ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิ

(3) ฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ

(4) ต้นฤดูใบไม้ร่วงและต้นฤดูใบไม้ผลิ

ตอบ 2 จากข้อความ ผู้ที่เกิดตรงกับฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นคนแข็งแรงว่องไว เหมาะกับจะเป็นนักฟุตบอลส่วนผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ผลิก็จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี มีฝีไม้ลายมือดีในการเล่นหมากรุก

89 “ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง” ข้อความนี้ผลวิเคราะห์ เป็นเนื่องจากสาเหตุใด

(1) อุณหภูมิ

(2) อาหาร

(3) สิ่งแวดล้อม

(4) ความเครียด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

90 ข้อใดคือใจความสําคัญของเรื่องที่อ่าน

(1) สิ่งสําคัญที่ทําให้คนแตกต่างกัน คือ อาหารและโรคภัยไข้เจ็บ

(2) สาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมมีส่วนทําให้คนแตกต่างกัน

(3) ดินฟ้าอากาศลิขิตมนุษย์ให้มีบุคลิกภาพและสุขภาพที่แตกต่างกัน

(4) พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว แต่มนุษย์นั้นลิขิตตัวเอง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ คือ ข้อความที่เป็นตอนนํา ซึ่งเป็นส่วนที่มีความหมายครอบคลุมข้อความทั้งหมดในย่อหน้า หรือเป็นส่วนที่มีความหมายเด่นชัดและมีน้ำหนักมากที่สุด โดยจะกล่าวถึงสาระสําคัญของเนื้อความในย่อหน้านั้นทั้งหมด อาจจะมีตําแหน่งอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนปลายของย่อหน้าก็ได้ (เรื่องที่อ่านมีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นย่อหน้า) (ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ)

ข้อ 91 – 94 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) เขม็ดแขม่ ประสีประสา ตาหลับขับตานอน

(2) แพแตก ทอดสะพาน งงเป็นไก่ตาแตก

(3) พุ่งหอกเข้ารก กินน้ำใต้ศอก ตําข้าวสารกรอกหม้อ

(4) เฒ่าหัวงู ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

91 ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิตมีดังนี้

1 สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น แพแตก (ครอบครัวที่แตกแยกย้าย กันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต), ทอดสะพาน (แสดงกิริยา ท่าทางเป็นทํานองอยากติดต่อด้วย), งงเป็นไก่ตาแตก (งงมากจนทําอะไรไม่ถูก), เฒ่าหัวงู (คนแก่เจ้าเล่ห์) เป็นต้น

2 คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจให้ นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น พุ่งหอกเข้ารก (ทําพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมาย), กินน้ำใต้ศอก (จําต้องยอมเป็นรองเขา), ตําข้าวสารกรอกหม้อ (หาแค่ให้พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ),ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง (พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา) เป็นต้น

3 สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจหรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ (อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจหรือผู้ที่กําลังโกรธจัด) เป็นต้น

92 ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อใดไม่ปรากฏว่ามีสํานวน คําพังเพย หรือสุภาษิตเลย

ตอบ 1 หน้า 74 (56256) คําว่า “เขม็ดแขม่” (ก.) = รู้จักใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้, “ประสีประสา” (น.) = วิสัย เรื่องราว ความเป็นไป, “อดตาหลับขับตานอน”(เป็นคําซ้อน 6 คํา ที่ทําหน้าที่เป็นกริยา) = สู้ทนอดนอน

94 ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

95 ข้อใดมีความหมายว่า “เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ”

(1) เนื้อเต่ายําเต่า

(2) ฝนตกขี้หมูไหล

(3) น้ำลดตอผุด

(4) บนข้าวผี ตีข้าวพระ

ตอบ 3 น้ำลดตอผุด = เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ (ส่วนเนื้อเต่ายำเต่า = นําเอาทรัพย์สิน ในส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีก โดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม, ฝนตกขี้หมูไหล = พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน, บนข้าวผี ตีข้าวพระ = ขอร้องให้มีสางเทวดาช่วยเหลือโดยจะแก้บนเมื่อประสบผลสําเร็จเล้ว)

96 “ลางเนื้อชอบลางยา” มีความหมายตรงกับข้อใด

(1) ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างเพื่อป้องกันตัวเอง

(2) คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนใช้ประโยชน์ไม่ได้

(3) คนที่อาละวาดพาลหาเรื่อง ทําให้วุ่นวายไปหมด

(4) ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง

ตอบ 4 ลางเนื้อชอบลางยา = ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง

97 ข้อใดมีคําที่สะกดไม่ถูกต้อง

(1) ต๊ายตาย ชีวิตดี๊ดี

(2) ไปบ๊อยบ่อย เขาจ๊นจน

(3) ฉันช๊อบชอบ กินอิ๊มอิ่ม

(4) ผ้าเก๊าเก่า ตัวโต๊โต

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ฉันช๊อบชอบ ซึ่งที่ถูกต้องคือ ฉันช้อบชอบ

98 ข้อใดสะกดถูกทุกคํา

(1) สังเกต จตุรัส เซ็นต์ชื่อ

(2) ไอศกรีม จัดสรร กะทัดรัด

(3) แมลงสาบ ลําใย กระทันหัน

(4) ปิกนิก ผัดเวร โลกาภิวัฒน์

ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ จตุรัส เซ็นต์ชื่อ ลําใย กระทันหัน ผัดเวร โลกาภิวัฒน์ซึ่งที่ถูกต้องคือ จัตุรัส เซ็นชื่อ ลําไย กะทันหัน ผลัดเวร โลกาภิวัตน์

99 ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด

(1) ผาสุข คุ้กกี้ นัยตา

(2) พังทลาย เกล็ดปลา รื่นรมย์

(3) เบญจเพส บังสกุล กะเพรา

(4) อานิสงส์ รื่นรมย์ บิณฑบาต

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผาสุข คุ้กกี้ นัยตา บังสุกุล ซึ่งที่ถูกต้องคือ ผาสุก คุกกี้ นัยน์ตา บังสุกุล

100 ข้อใดสะกดผิดทุกคํา

(1) มุกตลก สัมมนา พะแนง

(2) ไม่ไยดี พรางตา มัธยัสถ์

(3) เบรค ถั่วพลู โน๊ตเพลง

(4) จลาจล ไท้เก๊ก บิดพลิ้ว

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ เบรค ถั่วพลู โน๊ตเพลง ซึ่งที่ถูกต้องคือ เบรก ถั่วพู โน้ตเพลง

101 ข้อใดมีคําที่สะกดผิดสลับกับคําที่สะกดถูก

(1) วิ่งผลัด ผัดเวร ใบไม้ผลัดใบ ผลัดแป้งแต่งหน้า

(2) ผลัดหนี้ ผัดผ่อน ผัดเปลี่ยน ผัดวันประกันพรุ่ง

(3) ผลัดผ้า ผลัดเวร ผัดหนี้ ผัดแป้งแต่งหน้า

(4) ผลัดเปลี่ยน ข้าวผัด ผลัดผ้า ทหารเกณฑ์ผลัดสอง

ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผัดเวร ผลัดแป้งแต่งหน้า ผลัดหนี้ ผัดเปลี่ยน

ซึ่งที่ถูกต้องคือ ผลัดเวร ผัดแป้งแต่งหน้า ผัดหนี้ ผลัดเปลี่ยน

102 เด็กวัยรุ่น……………..เกเร ลั่น…………………ปืนใส่คู่อริ

(1) เกกมะเหรก ไก

(2) เกมะเรก ไกล่

(3) เกมะเหรก ไก

(4) เกกมะเรก ไกล่

ตอบ 1 คําว่า “เกกมะเหรก” = เกเร, “ไก” = ที่สําหรับเหนี่ยวให้ลูกกระสุนลั่นออกไป เช่น ไกหน้าไม้ ไกปืน (ส่วนคําว่า “ไกล่” = ทา ไล้, “เกมะเรก/เกมะเหรก/เกกมะเรก” เป็นคําที่เขียนผิด)

103 เจ้าหน้าที่กําลัง…………. เพื่อทํา………..

(1) ลาดยางถนน ถนนลาดยาง

(2) ราดยางถนน ถนนราดยาง

(3) ราดยางถนน ถนนลาดยาง

(4) ลาดยางถนน ถนนราดยาง

ตอบ 3 คําว่า “ราดยางถนน” = อาการที่เทยางมะตอยที่ผสมกับหินหรือทรายให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรียรายไปทั่วเพื่อทําถนน, “ถนนลาดยาง” = ใช้เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทราย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

104 พ่อเหวี่ยงแหลงในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว………. พอจับปลาได้ก็รีบขอด……….

(1) กราก เกร็ดปลา

(2) กลาด เกล็ดปลา

(3) กราด เกร็ดปลา

(4) กราก เกล็ดปลา

ตอบ 4 คําว่า “กราก” = รวดเร็ว เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก, “เกล็ดปลา” = ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลี่ยมกันห่อหุ้มตัวปลา (ส่วนคําว่า “กลาด” = ดาษดื่น, “กราด” = กวดให้แน่น เช่น กราดลิ่ม, “เกร็ดปลา” เป็นคําที่เขียนผิด)

105 วันนี้ฝนตก……….ข้าว………. คงสดชื่นขึ้นมาได้

(1) ปอย ๆ นาปรัง

(2) ปรอย ๆ นาปรัง

(3) ปอย ๆ นานาปลัง

(4) ปรอย ๆ อานาปลัง

ตอบ 2 คําว่า “ปรอย ๆ” = ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง”= นาที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

106 ร่างเธอสูง…………………มีคุณสมบัติ………………..

(1) เพียว เพียบพร้อม

(2) เพรียว เพียบพร้อม

(3) เพียว เพรียบพร้อม

(4) เพรียว เพรียบพร้อม

ตอบ 2 คําว่า “เพรียว” = เปรียว ฉลวย เรียว เช่น รูปร่างสูงเพรียว, “เพียบพร้อม” = เต็มเปี่ยมครบทุกอย่าง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

107 การศึกษายุค………….ต้องสร้างคนให้มี……………กว้างไกล

(1) โลกาภิวัตน์ วิสัยทัศน์

(2) โลกาภิวัฒน์ วิสัยทัศน์

(3) โลกาภิวัฒน์ โลกทัศน์

(4) โลกาภิวัตน์ ทัศนวิสัย

ตอบ 1 คําว่า “โลกาภิวัตน์” = การแพร่กระจายไปทั่วโลก, “วิสัยทัศน์” = การมองการณ์ไกล(ส่วนคําว่า “โลกาภิวัฒน์” เป็นคําที่เขียนผิด, “โลกทัศน์” = การมองโลก การรู้จักโลก, “ทัศนวิสัย” = ระยะทางไกลที่สุด ซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร)

108 ผู้ใหญ่บ้าน………….และชาวบ้าน…………..เงินสร้างอาคาร………….

(1) กํานัล เรียไร เอนกประสงค์

(2) กํานัล เรียราย อเนกประสงค์

(3) กํานัน เรี่ยไร อเนกประสงค์

(4) กํานัน เรี่ยราย เอนกประสงค์

ตอบ 3 คําว่า “กํานัน” = ตําแหน่งพนักงานฝ่ายปกครอง ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตตําบล, “เรี่ยไร” = ขอร้องให้ช่วยออกเงินทําบุญตามสมัครใจ, “อเนกประสงค์” -ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างแล้วแต่ความต้องการ (ส่วนคําว่า “กํานัล” = การให้ของกันด้วยความนับถือ, “เรี่ยราย” = กระจายเกลื่อนไป, “เอนกประสงค์” เป็นคําที่เขียนผิด)

ข้อ 109. – 113. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ใช้คํากํากวม

(2) ใช้คําผิดความหมาย

(3) ใช้คําฟุ่มเฟือย

(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ

109 “แม่ค้าขายไก่ตายในตลาดสด” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 1 หน้า 11 (54351) การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วยทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําที่แวดล้อมอยู่เป็น เครื่องช่วยกําหนดความหมาย เช่น แม่ค้าขายไก่ตายในตลาดสด (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไข ให้มีความหมายที่แน่ชัดลงไป โดยใช้ถ้อยคําแวดล้อมเสียใหม่เป็น แม่ค้าขายไก่ถูกคนร้ายฆ่าตายในตลาดสด

110 “บ้านของผู้คนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 หน้า 18 – 19, 39 (54351) การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็นจะทําให้คําโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย แม้จะตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น บ้านของผู้คนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็นบ้านตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (คําว่า “บ้าน” = สิ่งที่คนปลูกสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย)

111 “มหาวิทยาลัยแห่งนี้เต็มไปด้วยสุนัขจรจัด” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 38 (54351) การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การทําให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และ ไม่เคอะเขิน เช่น มหาวิทยาลัยแห่งนี้เต็มไปด้วยสุนัขจรจัด (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น สุนัขจรจัดอยู่เต็มมหาวิทยาลัยแห่งนี้

112 “ในป่าแห่งนี้มีประชากรผึ้งอยู่เป็นจํานวนมาก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 10 – 11 (54351) การใช้คําในการพูดและเขียนต้องรู้จักเลือกคํามาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม คือ จะต้องมีความรู้ว่าคําที่จะนํามาใช้นั้นมีความหมายว่าอย่างไร ใช้แล้วเหมาะสม ไม่ผิดความหมาย และจะเป็นที่เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงไร เช่น ในป่าแห่งนี้มีประชากรผึ้ง อยู่เป็นจํานวนมาก (ใช้คําไม่ถูกต้อง หรือใช้คําผิดความหมาย) จึงควรแก้ไขเป็น ในป่าแห่งนี้ มีฝูงผึ้งอยู่เป็นจํานวนมาก (คําว่า “ฝูง” = พวก หมู่ ซึ่งสามารถใช้กับสัตว์ได้ (ยกเว้นช้าง) เช่น ฝูงมด ฝูงผึ้ง ฝูงควาย ฯลฯ ส่วนคําว่า “ประชากร” = หมู่คน หมู่พลเมือง)

113 “บัณฑิตผู้มีความรู้และความคิดต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 110 ประกอบ) ประโยคจากโจทย์ข้างต้นที่ว่า บัณฑิตผู้มีความรู้และความคิดต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็น บัณฑิตต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี (คําว่า “บัณฑิต” = ผู้ทรงความรู้ ผู้มีปัญญา)

ข้อ 114 – 116 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ใช้คําไม่ชัดเจน

(2) ใช้คําขัดแย้งกัน

(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ

(4) วางส่วนขยายผิดที่

 

114 “คุณยายค่อย ๆ เดินออกไปอย่างรวดเร็ว” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 41 (54351) การใช้คําขัดแย้งกัน คือ การใช้คําที่ทําให้เนื้อความขัดกัน หรือใช้คําที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น คุณยายค่อย ๆ เดินออกไปอย่างรวดเร็ว (ใช้คําขัดแย้งกัน) จึงควรแก้ไขเป็น คุณยายรีบเดินออกไปอย่างรวดเร็ว (คําว่า “ค่อย ๆ” – ช้า ๆ ส่วนคําว่า “รวดเร็ว” = เร็วไว)

115 “ขยะถูกกําจัดออกไปจากสวนสาธารณะ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 57 เละ 111 ประกอบ) ประโยคจากโจทย์ข้างต้นที่ว่า ขยะถูกกําจัดออกไปจากสวนสาธารณะ (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น สวนสาธารณะกําจัดขยะออกไป

116 “มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยจํานวนมาก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 37 (54351) การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ คือ การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะถ้าหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือ มีความหมายไม่ตรงกับที่เราต้องการ เช่น มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยจํานวนมาก (วางส่วนขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขเป็น มีนักศึกษาจํานวนมากลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย

117 คําว่า “พัน พันธ์ พันธุ์ พรรณ” เป็นคําประเภทใด

(1) คําพ้องรูป

(2) คําพ้องเสียง

(3) คําพ้องรูปและคําพ้องเสียง

(4) คําพ้องความหมาย

ตอบ 2 หน้า 14 (54351) คําพ้องเสียง คือ คําที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายและการเขียน(รูป) ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเวลาเขียนจึงต้องเขียนให้ถูกต้อง เพราะถ้าหากเขียนผิด ความหมาย ก็จะผิดไปด้วย เช่น คําว่า “พัน” = เรียกจํานวน 10 ร้อย, “พันธ์” = ผูก มัด ตรึง, “พันธุ์” = พวกพ้อง เชื้อสาย วงศ์วาน, “พรรณ” = สีของผิว ชนิด เช่น พรรณพืช เป็นต้น

118 คําว่า “คลินิก ออกซิเจน สปาเกตตี” เป็นคําประเภทใด

(1) คําทับศัพท์

(2) คําศัพท์แปลกใหม่

(3) คําศัพท์บัญญัติ

(4) คําไทยประเภทคําสร้างใหม่

ตอบ 1 หน้า 123 – 125 (H), (คําบรรยาย) คําทับศัพท์ คือ คําภาษาต่างประเทศที่นํามาใช้ในภาษาไทย โดยมีการถ่ายเสียงให้ใกล้เคียงภาษาเดิมมากที่สุด และถอดอักษรในภาษาเดิม พอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ แล้วเขียนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศใช้ของราชบัณฑิตยสถาน เช่น คลินิก (Clinic), ออกซิเจน (Oxygen), สปาเกตตี (Spaghetti) ฯลฯ

119 ข้อใดใช้ภาษาไม่เป็นทางการ

(1) เมื่อใด

(2) เท่าไหร่

(3) เหตุใด

(4) อย่างไร

ตอบ 2 หน้า 6 – 7 (54351) ระดับของคําในภาษาไทยมีศักดิ์ต่างกัน เวลานําไปใช้ก็ใช้ในที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาใช้คําให้เหมาะสม กล่าวคือ

1 คําที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาแบบแผน หรือภาษาเขียนของทางราชการ เช่น เมื่อใด เหตุใด อย่างไร เท่าไร ฯลฯ

2 คําที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาพูด หรือการเขียนจดหมายส่วนตัวถึงบุคคลที่สนิทสนมกัน ซึ่งในบางครั้งก็มักจะตัดคําให้สั้นลง เช่น เมื่อไหร่เท่าไหร่ มหาลัย คณะวิศวะ นายก ฯลฯ

120 การศึกษาลักษณะภาษาไทย เพื่อประโยชน์อย่างไร

(1) สอบได้ตามที่มุ่งหมาย

(2) ความรู้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

(3) เพิ่มประสบการณ์ให้มากขึ้น

(4) ใช้ภาษาได้ถูกต้องและเหมาะสม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประโยชน์ในการศึกษาลักษณะภาษาไทย คือ เพื่อให้มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องและเหมาะสม เป็นประโยชน์ในการศึกษาและในชีวิตประจําวัน

THA1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย S/60

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1 – 2 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ป้าขนนมข้นหวานลงจากตึก

(2) สาวน้อยตกน้ำหลังจากถูกปาบอล

(3) เขาบอกผมว่า ข้อสอบยากมาก

(4) ต้นไม้ทับชายคาบ้านหนู

 

1 ข้อใดไม่มีคําบอกเพศ

ตอบ 4 หน้า 2, 109 – 110, 112 (56256), 6 – 7, 97 – 98 (H) คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดงเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ลุง ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ ชี สะใภ้ หญิง สาว นาง ป้า ย่า ยาย ดิฉัน ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ หากเราต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษาคําโดดจะต้องใช้คําที่บ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือประสมกันตามแบบคําประสมบ้าง เช่น พี่สาว น้องชาย เด็กสาว น้าชาย อาหญิง ลูกชาย หลานสาว เพื่อนหญิง เพื่อนชาย ฯลฯ

2 ข้อใดสะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ

ตอบ 1 หน้า 2, 33 – 37 (56256), 10, 55 – 60 (H) ระบบเสียงสูงต่ำ (เสียงวรรณยุกต์) ในภาษาไทยคือ การกําหนดเสียงสูงต่ำไว้ตายตัวในคําแต่ละคํา เพื่อต้องการแยกความหมาย โดยให้เสียงหนึ่ง มีความหมายอย่างหนึ่ง หากเปลี่ยนเสียงความหมายก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย เช่น ขน (เสียงจัตวา) = เอาสิ่งของจํานวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง, ข้น (เสียงโท) = ลักษณะของเหลวที่มีการรวมตัวกันแน่นเข้า ไม่ใส เป็นต้น

3 ข้อใดสะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดทุกคํา

(1) โต๊ะจีนต้องมีหูฉลามนะ

(2) ของคาวหวานอยู่ในตู้กับข้าว

(3) แดงห้อยพระไว้ที่คอทุกครั้ง

(4) ปลาดุกฟูขายมากในร้านอาหาร

ตอบ 3 หน้า 2, 5 – 6 (56256), 2 – 3 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดด มีดังนี้

1 คําแต่ละคําต้องออกเสียงพยางค์เดียว และอาจเป็นคําควบกล้ำก็ได้

2 ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่คํายืมจากภาษาอื่น

3 มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

4 มีระบบวรรณยุกต์ ฯลฯ

(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําที่ไม่ได้ออกเสียงพยางค์เดียว = ฉลาม, ตู้กับข้าว และมีตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา = อาหาร)

4 ข้อใดมีอัตราเสียงสั้นยาวที่เหมือนกับคําว่า “บางกะปิ”

(1) คนบ้านนอก

(2) วิทยุ

(3) ถมทะเล

(4) รูปธรรม

ตอบ 4 หน้า 15 – 16, 40 – 12, 90 91 (56256), 33 – 34, 60 – 61, 80 81 (H) อัตราในการออกเสียงสั้นยาวตามภาษาพูดมาตรฐานจะใช้มาตราวัดความยาวของเสียง คือ สระเสียงสั้นจะออกเสียง 1 มาตรา สระเสียงยาวออกเสียง 2 มาตรา นอกจากนี้ถ้าเป็นคําหลายพยางค์หรือ คําประสม มักจะลงเสียงเน้นที่พยางค์ท้าย (ออกเสียงยาว 2 มาตรา) ส่วนคําที่ไม่ได้ลงเสียงเน้น ก็มักจะสั้นลง (ออกเสียงสั้น 1 มาตรา) หากเป็นคําเดี่ยวที่มีจังหวะเว้นระหว่างคํา น้ำหนักเสียง จะเสมอกัน เช่น คําว่า “บางกะปิ” กับ “รูปธรรม” มีอัตราเสียงสั้นยาวที่เหมือนกัน คือ เป็นคํา หลายพยางค์จึงลงเสียงเน้นที่พยางค์ท้ายออกเสียง 2 มาตรา ส่วนพยางค์แรกเป็นสระเสียงยาวออกเสียง 2 มาตรา และพยางค์กลางเป็นสระเสียงสั้นออกเสียง 1 มาตรา

5 ข้อใดเป็นสระเดี่ยว

(1) ข้าว

(2) ใกล้

(3) แทรก

(4) เชื่อม

ตอบ 3 หน้า 8, 13 – 14 (56256), 17, 24 – 30 (H) เสียงสระในภาษาไทย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะและเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ เออ โอ ออ

2 สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอและเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอือ อัว อาว อาย (ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย/ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)

6 ข้อใดเป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น

(1) พฤกษ์

(2) เปิด

(3) ฤกษ์

(4) น้า

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

7 “เธอควรทําข้อสอบอย่างตั้งใจ” จากข้อความมีสระเดี่ยวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) (1) 3 เสียง

(2) 4 เสียง

(3) 5 เสียง

(4) 6 เสียง

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระเดี่ยว 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 สระเออ = เธอ

2 สระอะ = ทํา/ตั้ง

3 สระออ = ข้อ/สอบ

4 สระอา = อย่าง

8 ข้อใดไม่ใช่สระหลัง

(1) อบ

(2) ชุ่ม

(3) เพลิน

(4) คอย

ตอบ 3 หน้า 9 – 10 (56256), 18 – 19 (H) สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ซึ่งจะต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระกลาง ได้แก่ อา อือ เออ อะ อึ เออะ

2 สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ

3 สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ

9 ข้อใดเป็นสระผสม 2 เสียงทุกคํา

(1) เช็ค เงิน

(2) เผย ตัว

(3) แก้ว เล็ก

(4) เที่ยว ด้วย

ตอบ 2 หน้า 12, 14 (56256), 23 – 24, 27 (H) คําว่า “เผย” และ “ตัว” ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะถึงสระ จึงอาจพิจารณาได้ดังนี้

1 เผย อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น เออ + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียงก็ได้ เช่น เออ + อี = เอย

2 ตัว อาจเป็นตัวสะกด ว เช่น อัว +ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียงก็ได้ เช่น อู + อา = อัว

10 ข้อใดมีเสียงสระอะ

(1) ไทย

(2) กลอน

(3) เลี้ยว

(4) เมือก

ตอบ 1 หน้า 14 (56256), 24, 27 (H) คําว่า “ไทย” ลงท้ายด้วย ย ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น อะ + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียงก็ได้ เช่น อะ + อิ = ไอ

11 ข้อใดเป็นสระผสม 3 เสียง

(1) โอ๊ย

(2) ร้าย

(3) จอย

(4) ป่วย

ตอบ 4 หน้า 14 (56256), 24, 30 (H) คําว่า “ป่วย” ลงท้ายด้วย ย ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น อัว + ย หรือเป็นสระผสม 3 เสียงก็ได้เช่น อู + อา + อี = อวย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสระผสม 2 เสียง)

12 “แสงชาวบ้านดอนเลือกเข้าเรียนคณะมนุษย์” จากข้อความไม่ปรากฏสระผสมเสียงใด

(1) อา + อู

(2) อือ + อา

(3) อิ + อะ

(4) อะ + อุ

ตอบ 3 หน้า 11 – 14 (56255), 21, 23 – 24 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏสระผสม 2 เสียง ดังต่อไปนี้

1 อา + ว (อา + อู) : อาว เช่น ชาว

2 อือ + อา = เอือ เช่น เลือก

3 อะ + ว (อะ + อุ) = เอา เช่น เข้า

4 อี + อา = เอีย เช่น เรียน

13 ข้อใดเป็นพยัญชนะเสียงหนัก

(1) เสียด

(2) แหก

(3) เปียก

(4) โอ่ง

ตอบ 2 หน้า 19 – 21 (56255), 39 – 43 (H), (คําบรรยาย) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามรูปลักษณะ ของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้

1 พยัญชนะระเบิด หรือพยัญชนะกัก ได้แก่ ก ค (ข ฆ) จ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ

2 พยัญชนะนาสิก ได้แก่ ง น (ณ) ม

3 พยัญชนะเสียดแทรก ได้แก่ ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)

4 พยัญชนะกึ่งเสียดแทรก ได้แก่ ช (ฉ ณ)

5 พยัญชนะกึ่งสระ ได้แก่ ย ว

6 พยัญชนะเหลว ได้แก่ รล

7 พยัญชนะเสียงหนัก ได้แก่ ห (ฮ) รวมทั้งพยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)

14 ข้อใดไม่ใช่พยัญชนะเหลวทุกคํา

(1) ตอบรับ

(2) ลองมุข

(3) ไม่เรียบ

(4) ยากมาก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

15 ข้อใดเป็นพยัญชนะเกิดที่ฐานเพดานอ่อนทุกคํา

(1) เขาฆ่าคนโง่ก่อน

(2) ยายซื้อเสื้อเชิ้ต

(3) เต่านอนที่ท่าน้ำ

(4) แมวว่าฟ้าผอมไป

ตอบ 1 หน้า 17 – 18 (56256), 37 – 38 (H) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์(ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

1 ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ

2 ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง

3 ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร

4 ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)

5 ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ผ ภ) ม  ว และริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)

ข้อ 16 – 17 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

“ขนมโก๋ของสหกรณ์บ้านสร้างออกอากาศขายผ่านวิทยุชุมชนทุกวัน”

16 จากข้อความไม่ปรากฏพยัญชนะคู่ลักษณะใด

(1) นํากันมา

(2) เคียงกันมา

(3) ควบกันมา

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 21 – 26 (56256), 44 – 49 (H) พยัญชนะคู่ คือ พยัญชนะต้นที่มาด้วยกัน 2 เสียงซึ่งจะมีอยู่ 3 ลักษณะดังนี้

1 เคียงกันมา (เรียงพยางค์) คือ แต่ละเสียงจะออกเสียงเต็มเสียง และไม่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน เช่น สหกรณ์ (สะหะกอน), วิทยุ (วิดทะยุ), พรรณนา (พันนะนา), นพเก้า (นบพะเก้า), ซอมซ่อ (ซอมมะซ่อ), ฉบับพิมพ์ (ฉะบับพิม) เป็นต้น

2 นํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยพยัญชนะตัวหน้าออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็เปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียง เหมือนกับเสียงที่มี ห นํา เช่น ขนม (ขะหนม), ไถล (ถะไหล), ปลัด (ปะหลัด), ฉนวน (ฉะหนวน) เป็นต้น

3 ควบกันมา (อักษรควบ) แบ่งออกเป็น อักษรควบกล้ำแท้หรือเสียงกล้ำกันสนิท เช่นเกล้า ตรง, กล้อง, ขว้าง เป็นต้น และอักษรควบกล้ำไม่แท้หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น สร้าง (ส้าง), แสร้ง (แส้ง), ทรุด (ซุด) เป็นต้น

17 จากข้อความมีพยัญชนะนํากันมากี่คํา

(1) ไม่ปรากฏคํา

(2) 1 คํา

(3) 2 คํา

(4) คํา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

18 ข้อใดเป็นพยัญชนะเคียงกันมาทุกคํา

(1) สรรพสิ่ง สนอง

(2) นายบ้าน สนมเอก

(3) พรรณนา นพเก้า

(4) วันพุธ เขนย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

19 ข้อใดเป็นพยัญชนะควบกันมา นํากันมา และเคียงกันมา ตามลําดับ

(1) เกล้า ไถล ซอมซ่อ

(2) จริต สมาน กาฬโรค

(3) เปล่า ขโมย นิติศาสตร์

(4) แคล้ว สภาพ ปฏิทิน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

20 ข้อใดไม่มีคําที่เป็นอักษรนํา

(1) ปลัดขิก

(2) ขนมปัง

(3) ฉนวนไฟ

(4) ฉบับพิมพ์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

21 ข้อใดเป็นคําควบกล้ำไม่แท้ทุกคํา

(1) ตรง กล้อง

(2) อย่า ขว้าง

(3) แสร้ง ทรุด

(4) แสลง หลวง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

22 ข้อใดมีพยัญชนะสะกด 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) พระ คุณ เจ้า

(2) ชื่น ชั่ว กัลป์

(3) เด็ก ใจ แข็ง

(4) กา น้ำ เสีย

ตอบ 3 หน้า 27 – 29 (56256), 50 – 53 (H) พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ

1 แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ

2 แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส

3 แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ

4 แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ฬ ญ

5 แม่กง ได้แก่ ง

6 แม่กม ได้แก่ ม

7 แม่เกย ได้แก่ ย

8 แม่เกอว ได้แก่ ว

นอกจากนี้สระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ/ใอ (อัย) = แม่เกย และสระเอา (อาว) = แม่เกอว (คําว่า “เด็ก ใจ แข็ง” มีพยัญชนะสะกด 3 เสียงที่ไม่ซ้ำกัน ได้แก่ แม่กก = เด็ก, แม่เกย = ใจ และแม่กง = แข็ง ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีพยัญชนะสะกดไม่ครบ 3 เสียง)

23 ข้อใดมีพยัญชนะสะกดประเภทนาสิกทุกคํา

(1) ดุจดั่ง

(2) คนช้ำ

(3) แคล้วคลาด

(4) ตอบโจทย์

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 13 และ 22 ประกอบ) พยัญชนะสะกดหรือพยัญชนะท้ายคําประเภทนาสิก (เสียงออกมาทางจมูก) คือ พยัญชนะสะกดแม่กง กน กม เช่น คําว่า “คนช้ำ” มีพยัญชนะสะกดประเภทนาสิกทุกคํา ได้แก่ แม่กน = คน และแม่กม = ช้ำ

24 “เพราะครูเสียงดังเกินไปจึงทําให้ทุกคนรู้สึกกลัว” จากข้อความมีคําเป็นกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 2 เสียง

(2) 3 เสียง

(3) 4 เสียง

(4) 5 เสียง

ตอบ 4 หน้า 28 (56256), 51 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 22 ประกอบ)ลักษณะของคําเป็นกับคําตาย มีดังนี้

1 คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงยาว รวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)

2 คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงสั้น (ข้อความข้างต้นมีคําเป็น 5 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) คือ แม่กง = เสียง/ดัง/จึง, แม่กน = เกิน/คน,แม่กม = ทํา, แม่เกย = ไป/ให้ และแม่เกอว = กลัว)

25 “คนคดโกงควรได้รับการประณามจากสังคมเป็นอย่างยิ่ง”

จากข้อความปรากฏคําประเภทใดมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) คําตาย เสียงยาว

(2) คําเป็น เสียงยาว

(3) คําตาย เสียงสั้น

(4) คําเป็น เสียงสั้น

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 24 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏคําเป็น เสียงสั้นมากที่สุดจํานวน 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 แม่กน = คน (สระ โอะ)/เป็น (สระเอะ)

2 แม่กง = สัง (สระอะ)/ยิ่ง (สระอิ)

3 แม่เกย = ได้ (สระไอ)

4 แม่กม – คม (สระโอะ)

26 ข้อใดมีคําเป็น 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) พ่อ นัก รบ

(2) ลวก หอย จุ๊บ

(3) ครรภ์ อ่อนเพลีย

(4) ความ ถูก ต้อง

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 24 ประกอบ) คําว่า “ความ ถูก ต้อง” มีคําเป็นจํานวน 2 เสียง(ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 แม่กม = ความ

2 แม่กง = ต้อง

27 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เอก

(1) ศักดิ์

(2) ภพ

(3) เฒ่า

(4) แท่ง

ตอบ 1 หน้า 33 – 37 (56256), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก , เสียงโท , เสียงตรี  และเสียง จัตวา  ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ ถูกต้อง เช่น คําว่า “ศักดิ์” เป็นพยัญชนะเสียงสูง (ข ฉ ถ ผ ฝ ส ศ ห) ที่มีตัวสะกดเป็นคําตาย (แม่กก) และใช้สระเสียงสั้น (สระอะ) จึงผันได้ 2 เสียง คือ เสียงเอก (ไม่มีรูปวรรณยุกต์) และเสียงโท (ใช้ไม้โท) เป็นต้น ส่วนคําว่า “ภพ เฒ่า แท่ง” = ตรี โท โท)

28 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์สามัญ เอก ตรี ตามลําดับ

(1) ดํา บอก เก็บ

(2) คง ซัด โป๊ะ

(3) เตรียม ฝัก ถั่ว

(4) นาย ดื่ม น้ำ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ) คําว่า “นาย ดื่ม น้ำ” มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ เอก และตรี ตามลําดับ (ส่วนคําว่า “ดํา บอก เก็บ” = สามัญ เอก เอก, “คง ซัด โป๊ะ” = สามัญ ตรี ตรี,“เตรียม ฝัก ถั่ว” = สามัญ เอก เอก)

29 “เธอต้องเข้าเรียนทุกครั้งเพื่อพัฒนาความเข้าใจ” จากข้อความปรากฎวรรณยุกต์เสียงใดมากที่สุด

(1) เอก

(2) โท

(3) ตรี

(4) สามัญ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้ 1 เสียงสามัญ = เธอ/เรียน/นา/ความ/ใจ

2 เสียงโท = ต้อง/เข้า/เพื่อ

3 เสียงตรี = ทุก/ครั้ง/พัฒ

4 เสียงเอก = ฒะ

30 ข้อใดมีวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง

(1) ข้อสอบยากรึเปล่าคะ ทุกคน

(2) ทําได้กับได้ทําน่ะมันต่างกัน

(3) เห็นนะว่าแอบดูเพื่อนอยู่

(4) จงอย่าลืมฝนรหัสชัด ๆ

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ) ข้อความ “เห็นนะว่าแอบดูเพื่อนอยู่” มีวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง ดังนี้

1 เสียงสามัญ = ดู

2 เสียงเอก = แอบ/อยู่

3 เสียงโท = ว่า/เพื่อน

4 เสียงตรี = นะ

5 เสียงจัตวา = เห็น

31 ข้อใดเป็นความหมายแฝงที่บอกลักษณะต่างจากข้ออื่น

(1) ตะคอก

(2) ตะโกน

(3) ตะเบ็ง

(4) ตะบิดตะบอย

ตอบ 4 หน้า 44, 47 (56256), 62 – 63 (H) ความหมายแฝงบอกอาการที่กระทําอย่างช้า ๆ หรือชักช้า ได้แก่ คําว่า “ตะบิดตะบอย” = ทําให้ชักช้า, “โอ้เอ้” = ชักช้า, เนิบนาบ” = ช้า ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นความหมายแฝงของคํากริยาที่ใช้กับเสียงดัง ได้แก่ คําว่า “ตะคอก” = ขู่ตวาดเสียงดัง, “ตะโกน” = ออกเสียงดังกว่าปกติให้ได้ยิน, “ตะเบ็ง” = กลั้นใจเปล่งเสียงให้ดัง)

32 คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นความหมายแฝงเพื่อบอกทิศทาง

(1) นักเลงกรูเข้าไปกระทืบเหยื่อ

(2) ธนเดชผลุนผลันออกไปจากบ้าน

(3) จันทราถอยหลังรับลูกบอล

(4) เข้มวิ่งหนีตํารวจหน้าตลาด

ตอบ 3 หน้า 44 – 46 (56256), 62 (H) ความหมายแฝงบอกทิศทาง ได้แก่

1 ขึ้นบน เช่น ขึ้น ฟู พอง เขย่ง

2 ลงล่าง เช่น ลง ตก ดิ่ง หล่น

3 เข้าใน เช่น เข้า ฉีด อัด ยัด

4 ออกนอก เช่น ออก ขย้อน บ้วน ถ่ม

5 ถอยหลัง เช่น ถอย รุ่น ดึง

6 ก้าวหน้า เช่น ก้าว รุน ดุน ผลัก

7 เข้าใกล้ เช่น กราย เฉียด ประชิด

8 แยกไปคนละทาง เช่น ปะทุ ระเบิด เตลิด

33 ข้อใดมีคําอุปมา

(1) หนุ่มใหญ่ตกเรือกลางทะเล

(2) เพชรในตมเกิดขึ้นในวิชาภาษาไทย

(3) เรือจ้างพบมากในคลองแสนแสบ

(4) แม่พิมพ์ลายกุหลาบสีขาวลงบนผ้า

ตอบ 2 หน้า 48 – 49 (56256), 64 (H) คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1 คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ตุ๊กตา (นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก), เทวดา/นางฟ้า(ดี สวย), เจว็ด (มีแต่ตําแหน่ง ไม่มีอํานาจ ไม่มีใครนับถือ) ฯลฯ

2 คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แมวนอนหวด (ซื่อจนเซ่อ), เพชรในตม (สิ่งมีค่าที่ซ่อนอยู่ แต่คนยังไม่เห็นความสําคัญ) ฯลฯ

34 ข้อใดสะท้อนลักษณะการแยกเสียงแยกความหมายที่พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกันชัดเจนที่สุด

(1) นักดําน้ำลึกระดับโลกกําลังสึกออกมา

(2) นายแดงลูกโทนของบ้านชอบโยนลูกบอลขึ้นฟ้า

(3) ชมพู่อยากพบทหารที่รบอยู่ชายแดนมากเหลือเกิน

(4) พอแง้มประตูออกมาก็เห็นมะลิเริ่มแย้มกลีบบาน

ตอบ 4 หน้า 51, 53 – 54 (56256), 65 – 66 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกัน ได้แก่ คําว่า “แย้ม – แง้ม” (พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน “เสียง ย กับ ง”) = เปิดแต่น้อย แต่ใช้ต่างกัน คือ แง้มมักใช้กับประตูและหน้าต่าง ส่วนแย้มใช้กับดอกไม้ที่บานแต่น้อย ๆ

35 ข้อใดมีคําประสมน้อยที่สุด

(1) หนุ่มใหญ่ดึงผมหงอกกลางแม่น้ำ

(2) สะพานแขวนสร้างขึ้นมาหลายร้อยปีแล้ว

(3) คนรักของผมเป็นหลานสาวนายพลครับ

(4) การตั้งใจทําความดีมักสร้างความสุขให้แก่ตนเอง

ตอบ 2 หน้า 80 – 89 (56256), 78 – 82 (H) คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมาย จํากัดเป็นนัยเดียว เช่น หนุ่มใหญ่ ผมหงอก แม่น้ำ สะพานแขวน คนรัก นายพล ตั้งใจ ความดี ความสุข เป็นต้น

36 ข้อใดเป็นคําประสม

(1) บ้านนอก

(2) คอยท่า

(3) แปดเปื้อน

(4) สาปแช่ง

ตอบ 1 หน้า 82 83 (56256), (ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ) คําประสมที่ใช้เป็นคํานาม โดยมีคําตัวตั้งเป็นคํานาม และคําขยายเป็นบูรพบท เช่น คําว่า “บ้านนอก” = เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป เขตที่อยู่นอกตัวเมืองห่างไกลความเจริญ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําซ้อน)

37 “ขนมจันอับซื้อขายกันมากในร้านยาจีนแถวเยาวราช” จากข้อความมีคําประสมกี่คํา

(1) ไม่ปรากฏคํา

(2) 1 คํา

(3) 2 คํา

(4) 3 คํา

ตอบ 3 หน้า 78 – 79 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีคําประสม 2 คํา คือ คําประสมที่ใช้เป็นคํานาม ซึ่งจะใช้เป็นชื่อเรียกสิ่งต่าง ๆ ที่มีความหมายจํากัด โดยมีคําตัวตั้ง เป็นคํานาม และคําขยายเป็นอะไรก็ได้ไม่จํากัด ได้แก่

1 “ขนมจันอับ” = ชื่อขนมหวานอย่างแห้งของจีน

2 “ร้านยาจีน” – ร้านขายยาและสมุนไพรจีน

38 ข้อใดมีคําซ้อน 1 คํา

(1) คัดเลือก ทุบตี

(2) โดดเดี่ยว เร้นลับ

(3) โหดร้าย ผิดถูก

(4) เลวทราม ปรับทุกข์

ตอบ 4 หน้า 62 – 73 (56256), 67 – 74 (H) คําซ้อน คือ คําเดียว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1 คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น คัดเลือก ทุบตี โดดเดี่ยว เร้นลับ โหดร้าย ผิดถูก เลวทราม ลูกหลาน เนื้อตัว อบรมฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่น เช่น เงียบสงัด (ไทย + เขมร) ฯลฯ

2 คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น มอมแมม (สระออ + แอ) ฯลฯ

39 ข้อใดไม่มีคําซ้อนเพื่อความหมาย

(1) ลูกค้าสั่งซื้อปลาร้าผ่านพ่อค้า

(2) ลูกหลานเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัด

(3) เนื้อตัวเขาดูสกปรกมอมแมม

(4) เขาเข้าอบรมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

40 “ของชําร่วยมีไว้แจกคนที่มาร่วมงานแต่งเท่านั้น” ข้อความนี้มีคําประสมคํา

(1) 0 คํา

(2) 1 คํา

(3) 2 คํา

(4) 3 คํา

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีคําประสม 2 คํา ได้แก่

1 “ของชําร่วย” = ของตอบแทนผู้มาช่วยงาน เช่น งานแต่งงาน งานศพ ฯลฯ

2 “งานแต่ง” = งานแต่งงาน ซึ่งเป็นการทําพิธีให้ชายหญิงอยู่กินเป็นผัวเมียตามประเพณี

41 คําในข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันทุกคํา

(1) กระโตกกระตาก กระโชกกระชาก กระชุ่มกระชวย

(2) กระดุกกระดิก กระยึกกระยัก กระเสือกกระสน

(3) กระอักกระอ่วน กระอ้อมกระแอ้ม กระชึกกระชัก

(4) กะหลุกกะหลิก กระอิดกระเอื้อน กระดักกระเดี้ย

ตอบ 2 หน้า 95 (56256), 85 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 2 เสียงในคําซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้น และหน้าพยางค์ท้าย ซึ่งมีเสียงเสมอกันและเป็นคําที่สะกดด้วย “ก” เหมือนกัน ได้แก่

1 ดุกดิก – กระดุกกระดิก

2 ยึกยัก – กระฝึกกระยัก

3 เสือกสน – กระเสือกกระสน

4 โตกตาก – กระโตกกระตาก

5 โชกชาก – กระโชกกระชาก

6 อักอ่วน – กระอักกระอ่วน

7 ชึกชัก – กระชึกกระชัก

8 หลุกหลิก – กะหลุกกะหลิก

9 ดักเดี้ย – กระดักกระเดี้ย

10 โดกเดก – กระโดกกระเดก ฯลฯ

42 คําในข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเลียนแบบภาษาเขมรทั้ง 2 คํา

(1) ระคาย ปราบ

(2) ระย่อ สะใภ้

(3) ละเลาะ ฉะเฉื่อย

(4) ชีปะขาว นกกระจอก

ตอบ 1 หน้า 96 – 98 (56255), 86 – 87 (H) อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ได้แก่

1 “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะดีชะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ประเดี๋ยว,  ปะติดปะต่อ, ประท้วง, ประหวั่น, พะรุงพะรัง, พะเยิบ, สมรู้, สมยอม, สมสู่, สะสาง, สะพรั่ง,สะสวย, สะพรึบ ฯลฯ

2 ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า “ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขยี้, ขยํา, ปลุกปลง, ปลด, ปละ, ปราบ, ผละ, พร่ำ ฯลฯ

43 “น้องโบว์เดินกระต้วมกระเตี้ยมจนหกกะล้ม” ประโยคนี้มีคําอุปสรรคเทียมชนิดใด

(1) กร่อนเสียงและแบ่งคําผิด

(2) เทียบแนวเทียบผิดและแบ่งคําผิด

(3) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและกร่อนเสียง

(4) เทียบแนวเทียบผิดและเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน

ตอบ 2 หน้า 94 – 96 (56255), 84 – 86 (H) ประโยคข้างต้นมีคําอุปสรรคเทียม ดังนี้

1 อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไปในคําซ้อนเพื่อเสียงทั้งที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น ต้วมเตี้ยม + กระต้วมกระเตี้ยม

2 อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิด จะเกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน โดยการเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 1 เสียงในคําที่พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “ก” เช่น หกล้ม + หกกะล้ม

44 คําในข้อใดเป็นอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียงทุกคํา

(1) ตะวัน ตะไคร้ ระย่อ

(2) ฉะฉาด ชะพลู สะพรั่ง

(3) ตะขาบ ละลิบ ฉะนี้

(4) มะรืน ระรื่น ระคาย

ตอบ 3 หน้า 93 – 95 (56256), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นคําที่กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่

1 “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง – มะม่วง, -หมากนาว – มะนาว, หมากพร้าว – มะพร้าว, เมื่อรืน – มะรืน

2 “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวขาบ + ตะขาบ,ตาวัน – ตะวัน, ต้นไคร้ – ตะไคร้, ตัวโขง – ตะโขง, ตัวปลิง – ตะปลิง

3 “สะ” เช่น สายดือ – สะดือ, สาวใภ้ – สะใภ้, สายดึง – สะดึง

4 “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น, ฉันนี้ – ฉะนี้, เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด

5 “ยะ/ระ/ละ” เช่น ยิบ ๆ ยับ ๆ + ยะยิบยะยับ, รื่น ๆ – ระรื่น, ลิบ ๆ – ละลิบ

6 “อะ” เช่น อันไร/อันใด – อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง

สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ – พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู -ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว เป็นต้น

ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําอุปสรรคเทียมที่ เลียนแบบภาษาเขมร ได้แก่ ระย่อ สะพรั่ง ระคาย) (ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ)

45 ข้อใดเป็นประโยคบอกเล่า

(1) ไปได้แล้ว

(2) ไปแล้วจ้า

(3) ไปไหนมาจ๊ะ

(4) ไปด้วยกันหน่อยนะ

ตอบ 2 หน้า 103 104 (56256), 90 – 91, 93 – 94 (H) ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา อาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ เช่น ไปแล้วจ้า, ไม่ได้ไปค่ะ ฯลฯ แต่บางครั้งประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร/อะไร/ที่ไหน/เมื่อไหร่/อย่างไร” อาจใช้ ในประโยคบอกเล่าได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ไปไหนก็ไป ฯลฯ

46 ข้อใดเป็นประโยคคําสั่ง

(1) ยารักษาแผลสด

(2) โปรดดูคําเตือนบนฉลากก่อนใช้ยา

(3) ยาใช้สําหรับภายนอก ห้ามรับประทาน

(4) ยานี้อาจทําให้ง่วงซึม ควรงดขับขี่ยวดยาน

ตอบ 3 หน้า 102 (56256), 91 – 92 (H) ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่ง มักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้ เช่น ห้ามรับประทาน เป็นต้น

47 ข้อใดไม่ใช่ประโยคคําถาม

(1) ไปไหนดี

(2) ไปไหนมา

(3) ไปไหนก็ไป

(4) ไปไหนล่ะ

ตอบ 3 หน้า 102 103 (56256), 93 – 94 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 45ประกอบ) ประโยคคําถามคือ ประโยคที่ต้องการคําตอบ อาจมีคําแสดงคําถาม ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ทําไม เมื่อไร อย่างไร หรือ หรือเปล่า หรือไม่ ไหม บ้าง ฯลฯ เช่น ไปไหนดี, ไปไหนมา, ไปไหนล่ะ เป็นต้น

48 ประโยคในข้อใดไม่มีกรรม

(1) ลูกค้าสอบถามวิธีการใช้สินค้า

(2) พนักงานต้อนรับลูกค้าอย่างสุภาพ

(3) เจ้าหน้าที่บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว

(4) ประชาชนชื่นชอบเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โครงสร้างประโยคในภาษาไทย แบ่งออกเป็น

1 ประโยค 2 ส่วน คือ ประธาน + กริยา (จะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น ลูกค้าสอบถามวิธีการใช้สินค้า, เด็ก ๆ เล่นซุกซน, ชายสูงอายุเดินอย่างเชื่องช้า, หญิงสาวยิ้มอย่างมีเลศนัย ฯลฯ

2 ประโยค 3 ส่วน คือ ประธาน + กริยา + กรรม (จะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น พนักงานต้อนรับลูกค้าอย่างสุภาพ, เจ้าหน้าที่บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว, ประชาชนชื่นชอบเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ, ชายหนุ่มมองหญิงสาวอย่างมีไมตรี ฯลฯ

49 ประโยคในข้อใดไม่มีส่วนขยายกริยา

(1) สมศรีร้องเพลงเพราะ

(2) สมบัติชอบเล่นกีต้าร์

(3) สมชายสีไวโอลิน

(4) สมหวังยืนเดียวดาย

ตอบ 3 หน้า 105 106 (56.256), 96 (H) ส่วนขยายกริยา เรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตําแหน่งอยู่หน้าคํากริยาหรืออยู่หลังคํากริยาก็ได้ เช่น สมศรีร้องเพลงเพราะ (ขยายกริยา “ร้อง”), สมบัติชอบเล่นกีต้าร์ (ขยายกริยา “เล่น”), สมหวังยืนเดียวดาย (ขยายกริยา “ยืน”) ฯลฯ (ส่วนประโยค “สมชายสีไวโอลิน” ประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม)

50 ประโยคในข้อใดมีกรรมของประโยค

(1) เด็ก ๆ เล่นซุกซน

(2) ชายสูงอายุเดินอย่างเชื่องช้า

(3) หญิงสาวยิ้มอย่างมีเลศนัย

(4) ชายหนุ่มมองหญิงสาวอย่างมีไมตรี

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

51 คํานามในข้อใดแสดงเพศเดียวกันชัดเจนทั้งสองคํา

(1) พ่อโทรศัพท์ไปหาผู้ใหญ่บ้าน

(2) ผู้จัดการบริษัทเดินทางไปพบ ร.อ.วิชัย

(3) เจ้าหน้าที่สอบถามข้อมูลจากป้า

(4) ร.ต.อ.วิทยาได้รับโทรศัพท์จากชายลึกลับ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ) คํานามในตัวเลือกข้อ 4 แสดงเพศเดียวกัน (เพศชาย) ชัดเจนทั้ง 2 คํา ได้แก่

1 ร.ต.อ.วิทยา = ร้อยตํารวจเอก ซึ่งเป็นยศของตํารวจ

2 ชาย

52 ข้อใดมีคํานาม

(1) หวานอมขมกลืน

(2) หยิกแกมหยอก

(3) หยิกเล็บเจ็บเนื้อ

(4) หลงใหลได้ปลื้ม

ตอบ 3 หน้า 108 (56256), 97 (H) คํานาม คือ คําที่ใช้เรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งที่เป็นรูปธรรมและเป็นนามธรรม ทั้งชื่อเฉพาะเจาะจงและไม่เฉพาะเจาะจง เช่น คน หมู หมา โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ บางทีคํานามนั้นก็ใช้เป็นสํานวนได้ เช่น หยิกเล็บเจ็บเนื้อ (มีคํานาม “เล็บ/เนื้อ”) เป็นต้น

53 ข้อใดเป็นคําสรรพนามไม่จําเพาะเจาะจง

(1) เขาเปลี่ยนไปเพราะอะไร

(2) อย่างไรก็ตามเราควรเชื่อใจกัน

(3) ไปเที่ยวไหนมา

(4) กลับมาเมื่อไหร่แน่

ตอบ 2 หน้า 111, 116 – 118 (56256), 99 (H) สรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่“ใคร อะไร ใด ไหน” ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกคําถาม แต่สรรพนามที่บอก ความไม่เฉพาะเจาะจงจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่า เป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม เช่น อย่างไรก็ตามเราควรเชื่อใจกัน อย่างไร = อย่างใด อย่างไหน) ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสรรพนามที่บอกคําถาม)

54 ข้อใดไม่ใช่สรรพนามบอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ

(1) มาด้วยกันไปด้วยกัน

(2) คนนี้ชอบร้อง คนนั้นชอบเต้น

(3) บ้างยืนบ้างนั่ง

(4) ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตากิน

ตอบ 2 หน้า 111, 118 – 119 (56256), 99 – 100 (H) สรรพนามที่บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆได้แก่ คําว่า “ต่าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนทํากริยาเดียวกัน แต่ไม่ได้ทําพร้อมกัน เช่น ต่างคน ต่างก้มหน้าก้มตากิน), “บ้าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนแยกกันทํากริยาคนละอย่าง เช่น บ้างยืน บ้างนั่ง), “กัน” (ใช้แทนนามที่ต่างก็ทํากริยาเดียวกัน เกี่ยวข้องกัน เช่น มาด้วยกันไปด้วยกัน)

55 ข้อใดไม่ใช่คําสรรพนามบุรุษที่ 2

(1) คุณสมชายลาป่วยครับ

(2) คุณสมบัติจะรับประทานอะไรดี

(3) คุณสมศรีมีอะไรให้ผมช่วยบ้างครับ

(4) คุณสมรขับรถตรงไปอีก 100 เมตร ครับ

ตอบ 1 หน้า 112 – 113 (56256), 99 (H) สรรพนามบุรุษที่ 2 คือ คําที่ใช้แทนตัวผู้ที่พูดด้วย เช่น คุณ เธอ ท่าน เรา เจ้า แก เอ็ง ถึง ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คํานามอื่น ๆ แทนตัวผู้ที่พูดด้วย เพื่อแสดงความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่

1 ใช้ตําแหน่งเครือญาติแทน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ตา ยาย ฯลฯ

2 ใช้ตําแหน่งหน้าที่แทน เช่น ครู อาจารย์ หัวหน้า ฯลฯ

3 ใช้เรียกบรรดาศักดิ์แทน เช่น ท่านขุน คุณหลวง เจ้าคุณ คุณหญิง ฯลฯ

4 ใช้ชื่อผู้พูดทั้งชื่อเล่นชื่อจริงแทน เช่น คุณสมบัติ คุณสมศรี คุณสมร นุช แดง ฯลฯ

(ส่วนตัวเลือกข้อ 1 คําว่า “คุณสมชาย” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่พูดถึง)

56 ข้อใดเป็นคํากริยาที่มีกรรมมารับ

(1) คนเดินเร็ว

(2) คนพูดเสียงดัง

(3) คนวิ่งเป็นกลุ่ม ๆ

(4) คนขี่จักรยานแข่งกัน

ตอบ 4 หน้า 105 (56256), 95 (H) ภาคแสดงหรือกริยา เป็นส่วนที่แสดงกิริยาอาการหรือการกระทําของภาคประธาน ซึ่งตามธรรมดาจะมีตําแหน่งอยู่หลังประธาน และอยู่หน้ากรรม เช่น คนขี่ จักรยานแข่งกัน (กริยาที่มีกรรมมารับ) ฯลฯ แต่กริยานั้นจะไม่มีกรรมก็ได้ เช่น คนเดินเร็ว/คนพูดเสียงดัง/คนวิ่งเป็นกลุ่ม ๆ (มีเฉพาะกริยา + ส่วนขยายกริยา โดยไม่มีกรรม) ฯลฯ

57 คําว่า “ได้” ในข้อใดเป็นคํากริยาแท้

(1) เขาดีใจที่ได้พบเธอ

(2) เขาได้ซื้อหนังสือให้เธอ

(3) ไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย

(4) เขาภูมิใจที่ได้ทําความดี

ตอบ 3 หน้า 121 – 123 (56256), 100 101 (H) คําว่า “ได้” เป็นทั้งคํากริยาแท้และคํากริยาช่วย ถ้าเป็นกริยาแท้จะออกเสียงชัดเต็มที่และหมายถึง ได้รับ ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมา เช่น ไม่มีอะไรที่ได้ มาง่าย ฯลฯ แต่ถ้าเป็นกริยาช่วยจะบอกอดีต เสียงจะเบาและสั้นกว่า เช่น เขาดีใจที่ได้พบเธอเขาได้ซื้อหนังสือให้เธอ, เขาภูมิใจที่ได้ทําความดี ฯลฯ

58 คําข้อใดมีคํากริยาแสดงความเป็นการีต

(1) ฉันจะไปตลาด

(2) ฉันจะกินขนมหวาน

(3) ฉันจะอ่านหนังสือ

(4) ฉันจะไปทําผม

ตอบ 4 หน้า 128 (56256), (คําบรรยาย) คํากริยาธรรมดาที่มีความหมายเป็นการีต (ทําให้) เป็นคําที่กําหนดขึ้นเป็นพิเศษ และมีความหมายเฉพาะเป็นที่รู้กัน ซึ่งดูเหมือนว่าประธานเป็นผู้กระทํากริยานั้นเอง แต่ที่จริงแล้วประธานเป็นผู้ถูกกระทํา เช่น ไปดูหมอ (ที่จริงคือ ให้หมอดูโชคชะตา ให้ตน), ไปตรวจโรค (ที่จริงคือ ให้หมอยาตรวจโรคให้ตน), ไปตัดเสื้อทําผม (ที่จริงคือ ให้ช่างตัดเสื้อและทําผมให้ตน), ไปทําฟัน (ที่จริงคือ ให้หมอฟันทําฟันให้ตน) ฯลฯ

59 “ต้นเหตุแห่งความทุกข์ของคนเรา ล้วนมีที่มาจากตัวเองทั้งสิ้น” คําที่ขีดเส้นใต้เป็นคําคุณศัพท์ชนิดใด

(1) บอกจํานวนนับไม่ได้

(2) บอกความแบ่งแยก

(3) บอกจํานวนนับได้

(4) บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง

ตอบ 1 หน้า 132 133 (56256), 102 (H) คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้ (ประมาณคุณศัพท์)หรือคําคุณศัพท์บอกจํานวนประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิด หน่อย ครบ พอ เกิน เหลือ ขาด ถ้วน ครบถ้วน หมด หลาย ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ทั้ง ฯลฯ

60 ข้อใดเป็นคํากริยาวิเศษณ์บอกประมาณ

(1) คิดถึงเหลือเกิน

(2) ต่างคนต่างอยู่

(3) จะไปหาอยู่ที่เดียว

(4) พูดจริงนะเธอ

ตอบ 1 หน้า 139 (56256), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิดหน่อย มากมาย เหลือเกิน พอ ครบ ขาด หมด สิ้น แทบ เกือบ จวน เสมอ บ่อย ฯลฯ ซึ่งคําเหล่านี้ ต้องวางอยู่หลังคํากริยา เช่น คิดถึงเหลือเกิน ฯลฯ

61 “เขามาแน่นอน” เป็นคํากริยาวิเศษณ์ชนิดใด

(1) บอกเวลา

(2) บอกภาวะ

(3) บอกอาการ

(4) บอกความชี้เฉพาะ

ตอบ 2 หน้า 138 (56256), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกภาวะ ได้แก่ แน่นอน สะดวก ง่ายดาย ง่วงงุน เด็ดขาด เช่น เขามาแน่นอน ฯลฯ

62 ข้อใดสามารถละบุรพบทได้

(1) พี่อยู่บ้านกับน้อง

(2) เขามาจากต่างจังหวัด

(3) บ้านของฉันอยู่ไกล

(4) เหรียญทองดีกว่าเหรียญเงิน

ตอบ 3 หน้า 143 – 144, 147 148 (56256), 104 – 106 (H) คําบุรพบทไม่สําคัญมากเท่ากับคํานาม คํากริยา และคําวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบท ที่อาจละได้แต่ความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ เช่น บ้านของฉันอยู่ไกล – บ้านฉันอยู่ไกล ฯลฯ แต่บุรพบทบางคําก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง หากจะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมายต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นไม่สามารถละบุรพบท “กับ, จาก, กว่า” ได้)

ข้อ 63 – 65 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

“ภายในห้องนอนที่บ้าน บนเตียงโลหะที่ใครก็อาจคุ้นตาเพราะผลิตขึ้นมาสําหรับผู้ป่วย แม่ได้ลุกขึ้นนั่งโดยไม่สนใจกับสายของเครื่องช่วยหายใจ”

63 ข้อความนี้มีคําบุรพบทกี่คํา

(1) 3 คํา

(2) 4 คํา

(3) 5 คํา

(4) 6 คํา

ตอบ 4 หน้า 142 – 152 (56256), 104 – 106 (H) ข้อความข้างต้นมีคําบุรพบททั้งหมด 6 คํา ได้แก่ ภายในห้องนอนที่บ้าน บนเตียงโลหะที่ใครก็อาจคุ้นตาเพราะผลิตขึ้นมาสําหรับผู้ป่วย แม่ได้ลุกขึ้นนั่งโดยไม่สนใจกับสายของเครื่องช่วยหายใจ

64 ข้อความนี้ไม่ปรากฏคําบุรพบทชนิดใด

(1) นําหน้าคําที่บอกสถานที่

(2) นําหน้าคําที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้

(3) นําหน้าคําที่แสดงความเป็นเจ้าของ

(4) นําหน้าคําที่เกี่ยวกับการให้หรือการรับ

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏคําบุรพบท 4 ชนิด ดังนี้

1 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่บอกสถานที่ ได้แก่ ภายใน, ที่, บน

2 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่เกี่ยวกับการให้หรือการรับ ได้แก่ สําหรับ

3 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่เป็นเครื่องประกอบหรือเครื่องเกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ กับ

4 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่แสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ ของ

65 ข้อความนี้เชื่อมด้วยคําสันธานชนิดใด

(1) คล้อยตามกัน

(2) เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน

(3) เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน

(4) บอกความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้

ตอบ 3 หน้า 156 (56256), 106 (H) คําสันธานที่เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่ เพราะ เพราะว่า, ด้วย, ด้วยว่า, เหตุว่า, อาศัยที่, ค่าที่, เพราะฉะนั้น ดังนั้น จึง, เลย, เหตุฉะนี้

66 คําอุทานใดมาจากคําภาษาอังกฤษ

(1) วัย

(2) เว้ย

(3) ว้าว

(4) โว้ย

ตอบ 3 หน้า 158 – 160 (56.256), 109 (H) คําอุทาน หมายถึง คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอน แล้วแต่การออกเสียงและสถานการณ์ เช่น คําว่า “ว้าว” มาจากคําภาษาอังกฤษคือ “Wow” ซึ่งเป็นคําอุทานแสดงความยินดี หรือประหลาดใจ เป็นต้น

67 ข้อใดคือคําลักษณนามของพราหมณ์

(1) รูป

(2) คน

(3) องค์

(4) พราหมณ์

ตอบ 2 หน้า 160 – 165 (56256), 109 – 110 (H) คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดคํานามที่อยู่ข้างหน้าคําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบการเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (กรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่น พราหมณ์ (คน), อุโบสถ/โบสถ์ (หลัง), ตรายาง (อัน), พัด/ไม้พาย/กรรไกร (เล่ม), รุ้งกินน้ำ (ตัว) เป็นต้น

68 ข้อใดคือคําลักษณนามของอุโบสถ

(1) แห่ง

(2) สถานที่

(3) อุโบสถ

(4) หลัง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

69 คําใดไม่ได้ใช้ลักษณนามว่า “เล่ม”

(1) ตรายาง

(2) พัด

(3) ไม้พาย

(4) กรรไกร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

70 ข้อใดคือลักษณนามของรุ้งกินน้ำ

(1) สาย

(2) เส้น

(3) ตัว

(4) รุ้งกินน้ำ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

ข้อ 71 – 80 ให้นักศึกษาเลือกคําราชาศัพท์ที่ถูกต้องเติมในช่องว่าง

เนื่องใน 71. 72. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฒมหาเถร) ซึ่งเป็นโอกาสอันสําคัญอีกวาระหนึ่งที่ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้ แสดงความกตัญญูกตเวทีรําลึกถึง 73. อันใหญ่หลวงของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฒมหาเถร) โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 74. สมเด็จพระ ญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒมหาเถร) เป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันศุกร์ เดือน 5 แรม 1 ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. 1351 ตรงกับวันที่ 21 เมษายน 2532 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับเป็นพระสังฆราช 75. ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุต

พระองค์ได้ 76. 77. อันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประชาชนอย่าง ต่อเนื่องและยาวนานตลอด 78. ด้วยพระวิริยอุตสาหะ เพื่อเกื้อกูลประโยชน์แก่มหาชน เป็นผู้มีพระจริยวัตรอันงามพิสุทธิ์สมควรที่ชาวไทยจักได้เจริญรอยตาม 79. สืบสาน 80. นานาประการ และยึดถือพระจริยวัตรเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนสืบไป

71 (1) งาน

(2) พิธี

(3) พระราชพิธี

(4) งานพระราชพิธี

ตอบ 3 พระราชพิธี = งานพิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงจัดขึ้น ส่วนคําว่า “งาน” = สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา,“พิธี” = งานที่จัดขึ้นตามลัทธิความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณี, “งานพระราชพิธี”เป็นคําฟุ่มเฟือย)

72 (1) เพลิงศพ

(2) เพลิงพระศพ

(3) พระราชทานเพลิงศพ

(4) พระราชทานเพลิงพระศพ

ตอบ 4 หน้า 111, 113 (H) พระราชทานเพลิงพระศพ = ให้ไฟจุดพระศพ ซึ่งในที่นี้เป็นงานศพที่พระมหากษัตริย์ทรงจัดให้ จึงต้องใช้คําว่า “พระราชทานเพลิง” = ให้ไฟ นอกจากนี้สมเด็จพระสังฆราชเป็นบุคคลที่ต้องใช้ราชาศัพท์ในระดับพระองค์เจ้าจึงต้องใช้คําว่า “พระศพ” =ร่างคนที่ตายแล้ว

73 (1) พระคุณ

(2) พระกรุณาคุณ

(3) พระกรุณาธิคุณ

(4) พระมหากรุณาธิคุณ

ตอบ 3 พระกรุณาธิคุณ = พระคุณอันยิ่งที่มีความกรุณา ซึ่งจะใช้กับเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช (ส่วนคําว่า “พระคุณ” – บุญคุณ, “พระกรุณาคุณ” = พระคุณที่มีความกรุณา “พระมหากรุณาธิคุณ” = พระคุณที่ใหญ่หลวง มักจะใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2)

74 (1) ทรงโปรดสถาปนา

(2) ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา

(3) ทรงโปรดฯ สถาปนา

(4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา

ตอบ 4 หน้า 113 (H) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา = มีความกรุณาและพอพระราชหฤทัยยกย่องหรือแต่งตั้งให้สูงขึ้น ใช้กับพระมหากษัตริย์ ซึ่งในที่นี้คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช

75

(1) องค์

(2) พระองค์

(3) รูป

(4) พระรูป

ตอบ 2 หน้า 174 (56256) คําสรรพนามราชาศัพท์ที่ใช้แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3) ได้แก่

1 พระองค์ ใช้แทนพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้า และเหนือขึ้นไป รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราช (จะไม่ใช้คําว่า “พระองค์ท่าน” ซึ่งเป็นภาษาปาก)

2 ทูลกระหม่อม ใช้แทนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าที่มีพระราชชนนีเป็นอัครมเหสี

3 เสด็จ ใช้แทนเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นลูกเธอและหลานเธอ ซึ่งมีพระอัยกาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

4 ท่าน ใช้แทนเจ้านายทั่วไป ขุนนาง พระสงฆ์ ฯลฯ

76 (1) ทรงประกอบ

(2) ประกอบ

(3) ทรงสร้าง

(4) สร้าง

ตอบ 3 หน้า 173 (56256), 113 (H), (คําบรรยาย) ตามหลักเกณฑ์การเติมคําว่า “ทรง” หน้ากริยาราชาศัพท์นั้น จะเติม “ทรง” หน้าคํานามหรือคํากริยาสามัญเพื่อทําให้คํานั้นเป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงสร้างคุณูปการ (สร้างคุณความดี) ฯลฯ และเติม “ทรง” หน้านามราชาศัพท์เพื่อทําให้เป็น กริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระกรุณา (มีความกรุณา) ฯลฯ แต่ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น พระราชทาน เสด็จฯ รับสั่ง โปรด ฯลฯ

77 (1) คุณ

(2) พระคุณ

(3) คุณูปการ

(4) พระคุณูปการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 (1) ชนม์ชีพ

(2) พระชนม์ชีพ

(3) ชนมายุ

(4) พระชนมายุ

ตอบ 2 พระชนม์ชีพ = ชีวิต (ส่วนคําว่า “ชนม์ชีพ/ชนมายุ” จะต้องเติมคําว่า “พระ” นําหน้าเพื่อให้เป็นราชาศัพท์, “พระชนมายุ” = อายุ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2)

79 (1) ยุคลบาท

(2) เบื้องยุคลบาท

(3) พระยุคลบาท

(4) เบื้องพระยุคลบาท

ตอบ 4 เบื้องพระยุคลบาท = ทางเท้าทั้งคู่ ซึ่งในที่นี้จะหมายถึง เดินตามรอยเท้า หรือประพฤติตามแบบอย่างพระจริยวัตรอันงดงามนั้น

80 (1) กรณียกิจ

(2) พระกรณียกิจ

(3) พระราชกรณียกิจ

(4) พระมหากรณียกิจ

ตอบ 2 พระกรณียกิจ = ภารกิจ ซึ่งจะใช้กับเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช (ส่วนคําว่า “กรณียกิจ” = กิจที่พึงทํา, “พระราชกรณียกิจ” = ภารกิจ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระราชวงศ์ลําดับ 2 “พระมหากรณียกิจ” ไม่มีที่ใช้)

ข้อ 81 – 90 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

เราคงจะสังเกตได้นะครับว่า ทุกวันนี้คนไทยให้ความสําคัญกับประเด็นด้าน “ความเป็นไทย” มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปบรรยายให้กับครูทั่วประเทศในประเด็นด้านเอกลักษณ์แห่งชาติ ซึ่งหลากหลายคนเมื่อถามไปว่า

ความเป็นไทยคืออะไร? หรือความเป็นไทยเป็นอย่างไร?

สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือ เสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือ ศิลปวัฒนธรรมไทย

ทั้งนี้ในมุมมองของผม ความเป็นไทยนั้นต้องศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เข้าใจที่มาและ ที่ไปของเชื้อชาติและความดิ้นรนของบรรพบุรุษหลายร้อยปีกว่าจะสามารถสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น ดั่งทุกวันนี้

การที่เราจะเข้าใจประวัติศาสตร์ได้ผู้ศึกษามีความจําเป็นต้องมีทักษะในการเรียนรู้ และ ที่สําคัญก็คือ เข้าใจการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

คือ อ่านออกเขียนได้ แต่เท่านี้ยังไม่พอ ผมขอเพิ่มเติมไว้ด้วยว่าต้องสามารถใช้ภาษาไทยได้ อย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน

เราคงต้องยอมรับว่าภาษาไทยในวันนี้ผิดเพี้ยนและแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะมีคําศัพท์แปลก ๆ ออกมาแบบที่ตั้งตัวไม่ติด อาทิ เดี๋ยวนี้ได้รับเอสเอ็มเอสแปลก ๆ ประมาณว่า ใช้ภาษาไทยแบบวัยรุ่น อาทิ จิ่งดิ แปลว่า จริงเหรอ มาแว้ว แปลว่า มาแล้ว หรือ ชิมิ ชิมิ ซึ่งมีความหมาย ออกมาเป็น ใช่ไหมใช่ไหม

บางทีคุยกับเด็กรุ่นใหม่เวลาเห็นผู้หญิงสวยก็พูดออกมาว่า “โอ้โฮแหล่มจริง ๆ เธอคนนั้น ห่านมาก ๆ” แปลว่า เธอคนนั้นสุดยอด สวยจริง ๆ

แต่ที่ฮิตล่าสุดคือ พูดแบบเหวงเหวง ซึ่งไม่รู้ว่าอ้างอิงจากใคร แต่มีความหมายสะท้อนถึง ความไม่ชัดเจน ไม่ตรงประเด็น โหวงเหวง นั่นแหละครับ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างการใช้ภาษาไทยในสังคมยุคปัจจุบัน แต่จะว่าไปแล้วแทบจะทุกสังคมและทุกวัฒนธรรมย่อมมีความผิดเพี้ยนทางด้านภาษาอยู่แล้ว

เพียงแต่จะมากหรือน้อยก็เท่านั้นเอง

เพราะภาษามีความเป็นพลวัตของตัวเอง ต้องทันตามบริบทของสังคม และปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้คนในสังคม

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ภาษาไทยจะผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ประเด็นที่ผมต้องการนําเสนอ คือ แก่นของความเป็นภาษาไทยจะถูกทําลายและละเลยไปมากกว่านี้หรือไม่

สุดท้ายเราคงได้แต่หวังว่าภาษาไทยที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการควรที่จะได้รับการดํารงรักษาให้ลูกหลานในอนาคตได้สืบทอดต่อไป มิใช่ค่อย ๆ ถูกกลืนด้วยแนวทางและการใช้ศัพท์ใหม่ ๆ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดําเนินไปทรง อภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คําไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดํารัสตอนหนึ่งความว่า “เราโชคดีที่มีภาษาของ ตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษา ให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คํามาประกอบประโยคนับเป็นปัญหาที่สําคัญ

ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคําของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สําหรับคําใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจําเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคําที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คําเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของวันภาษาไทยแห่งชาติได้แลเห็นว่าเป็นวันที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อกระตุ้น และปลุกจิตสํานึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสําคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือ ร่วมใจทํานุบํารุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

สังคมไทยในปัจจุบันอยู่ท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม และไม่ใช่วัฒนธรรมของประเทศไทยเราอย่างเดียว แต่เป็นวัฒนธรรมต่างแดน เราคงบอกไม่ได้ว่า ห้ามให้ คนรุ่นใหม่บริโภควัฒนธรรมของเขา

แต่คําถามสําคัญก็คือ เราจะสามารถทําให้คนรุ่นใหม่แลเห็นถึงความสําคัญของความเป็นไทย ได้อย่างไร เพราะบางที่มันเป็นเรื่องยากในการดํารงรักษาภาษาไทยให้ดี มันเป็นความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เราบริโภคทุกวัน กับสิ่งที่เราควรระลึกถึง ซึ่งเป็นเรื่องของการสร้างความสมดุลระหว่างโลกที่เปลี่ยนแปลง กับความสวยงามในอดีต เอาแค่นักร้องบางคนเมื่อก่อนร้องเพลงไทยชัดมากเสียเหลือเกิน

แต่เดี๋ยวนี้ต้องลากเสียงจะได้ฟังแล้วเนียน ซึ่งบางทีมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะขนาดบทความ ของผมชิ้นนี้ก็ยังมีการใช้ภาษาที่แตกต่างและอาจจะไม่มีในพจนานุกรมก็ได้ แต่อย่างน้อยสิ่งสําคัญอยู่ที่การเข้าใจความสําคัญของภาษาไทย การใช้ภาษาไทยอย่างถูกวิธี

81 โวหารการเขียนเป็นแบบใด

(1) บรรยาย

(2) อธิบาย

(3) อภิปราย

(4) พรรณนา

ตอบ 3 หน้า 74 (54351), (คําบรรยาย) โวหารเชิงอภิปราย คือ โวหารที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็นซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ โดยผู้เขียนจะแสดงทัศนะรอบด้านทั้งในด้านบวกและลบ เพื่อโน้มน้าว จิตใจผู้อ่านให้คล้อยตามความคิดเห็นนั้น ๆ จนนําไปสู่ข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเก็บไปคิด

82 ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด

(1) ภาษาเขียน

(2) ภาษาพูด

(3) ภาษาปาก

(4) ทั้งข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 หน้า 58 (54351) ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ๆชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาขบคิดมากนัก แต่จะมีการใช้ภาษาพูดและภาษาปากเป็นส่วนใหญ่

83 ข้อความที่ให้อ่านเป็นวรรณกรรมประเภทใด

(1) ข่าว

(2) บทความ

(3) เรียงความ

(4) ปาฐกถา

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปาฐกถา หมายถึง งานเขียนที่แสดงความคิดเห็นโดยคนคนเดียว หรืออาจจะเป็นความรู้และความคิดที่ได้มาจากวิทยากรเพียงคนเดียว

84 จุดประสงค์ที่ผู้เขียนนําเสนอคืออะไร

(1) ให้ความรู้

(2) ให้ความรู้และความรู้สึก

(3) ให้ข้อมูลและความคิด

(4) วิเคราะห์และวิจารณ์

ตอบ 3 ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในการนําเสนอ คือ ให้ข้อมูลและแสดงความคิดของตนเองเกี่ยวกับประเด็นเรื่องความเป็นไทยและการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

85 คําใดใช้ผิดจากความหมายเดิมได้

(1) ซึ่งเป็นสิ่งดี

(2) ตระหนักถึง

(3) แลเห็นว่า

(4) ประมาณว่า

ตอบ 4 ประมาณ = กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจํานวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่น ราคาประมาณ 800 บาท ฯลฯ แต่ในปัจจุบันได้นําไปใช้ผิดจากความหมายเดิม และกลายเป็นคําฟุ่มเฟือยไป ซึ่งหากตัดออกก็ไม่ทําให้ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม ดังข้อความ สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือเสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือศิลปวัฒนธรรมไทย

86 สารัตถะสําคัญของเรื่องคืออะไร

(1) ภาษาไทยสําคัญกว่าธงชาติไทย

(2) ภาษาไทยสําคัญกว่าศิลปวัฒนธรรมไทย

(3) การใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักภาษาและกาลเทศะเป็นเรื่องควรคํานึง

(4) ความสําคัญของความเป็นไทยท่ามกลางอิทธิพลวัฒนธรรมต่างชาติเป็นเรื่องสําคัญ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวคิดหลัก (Theme) คือ สารัตถะ แก่นเรื่อง หรือสาระสําคัญของเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งจะสื่อถึงผู้อ่าน เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อเรื่อง โดยจะมีใจความครอบคลุมรายละเอียด ทั้งหมดและมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งแนวคิดหลักหรือสารัตถะสําคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ การใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักภาษาและกาลเทศะเป็นเรื่องควรคํานึง

87 ข้อความที่ให้อ่านเป็นผลงานของผู้ใด

(1) เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล

(2) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน

(3) เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล และอาจารย์ผู้บรรยาย

(4) ไม่มีข้อมูลของผู้เขียน

ตอบ 4 ข้อความที่ให้อ่านไม่มีข้อมูลของผู้เขียน ทําให้ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นผลงานของใคร

88 ข้อความใดไม่ถูกต้อง

(1) ทุกภาษาย่อมมีความผิดเพี้ยน

(2) ภาษาต้องเปลี่ยนตามบริบทของสังคม

(3) วันภาษาไทยแห่งชาติ คือ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505

(4) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทย

ตอบ 3 จากข้อความ วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เสด็จพระราชดําเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คําไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

89 คําตอบของผู้รับฟังคําบรรยาย เรื่องเอกลักษณ์ไทยเป็นอย่างไร

(1) ถูกต้อง 50%

(2) ถูกต้องเกินครึ่ง

(3) แตกต่างจากทัศนะของผู้บรรยาย

(4) แตกต่างจากความเชื่อที่สืบต่อกันมา

ตอบ 3 จากข้อความ…. ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปบรรยายให้กับครูทั่วประเทศในประเด็นด้านเอกลักษณ์แห่งชาติ ซึ่งหลากหลายคนเมื่อถามไปว่า ความเป็นไทยคืออะไร? หรือความเป็นไทยเป็น อย่างไร? สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือ เสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งนี้ในมุมมองของผม ความเป็นไทยนั้นต้องศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เข้าใจที่มาและที่ไปของเชื้อชาติและความดิ้นรนของบรรพบุรุษหลายร้อยปีกว่าจะสามารถสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นดั่งทุกวันนี้

90 ภาษาไทยในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเรื่องใดบ้าง

(1) ความหมายและการออกเสียง

(2) โครงสร้างของประโยค

(3) การสะกดการันต์

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 จากข้อความ… เราคงต้องยอมรับว่าภาษาไทยในวันนี้ผิดเพี้ยนและแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะมีคําศัพท์แปลก ๆ ออกมาแบบที่ตั้งตัวไม่ติด อาทิ ชิมิ ชิมิ ซึ่งมีความหมาย ออกมาเป็น ใช่ไหมใช่ไหม… ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน… เอาแค่นักร้องบางคนเมื่อก่อนร้องเพลงไทยชัดมากเสียเหลือเกิน แต่เดี๋ยวนี้ต้องลากเสียงจะได้ฟังแล้วเนียน

ข้อ 91 – 94 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) นกสองหัว คงเส้นคงวา พูดเป็นต่อยหอย

(2) ได้ทีขี่แพะไล่ เชือดไก่ให้ลิงดู ได้คืบจะเอาศอก

(3) กินน้ำกินท่า ได้หน้าลืมหลัง ได้ฤกษ์ได้ยาม

(4) ได้หน้าได้ตา งมเข็มในมหาสมุทร เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด

91 ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้

1 สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น นกสองหัว (คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วย ทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังเพื่อประโยชน์ตน), คงเส้นคงวา (เสมอต้นเสมอปลาย), พูดเป็นต่อยหอย (พูดฉอด ๆ ไม่หยุดปาก), ได้หน้าได้ตา (ได้เกียรติ ได้ชื่อเสียง) เป็นต้น

2 คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจ ให้นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น ได้ทีขี่แพะไล่ (ซ้ำเติมเมื่อผู้อื่นเพลี่ยงพล้ำลง), เชือดไก่ให้ลิงดู (ทําโทษเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง), ได้คืบจะเอาศอก (ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว), งมเข็มในมหาสมุทร (ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้) เป็นต้น ไป

3 สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจหรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด (ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย) เป็นต้น

92 ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อใดไม่ปรากฏว่ามีสํานวน คําพังเพย หรือสุภาษิตเลย

ตอบ 3 คําในตัวเลือกข้อ 3 ไม่ใช่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต แต่เป็นคํากิริยาที่มีสัมผัสคล้องจองกัน

94 ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

95 ข้อใดมีความหมายว่า “ไม่ถูกกัน”

(1) ศรศิลป์ไม่กินกัน

(2) ศิษย์นอกครู

(3) ศึกหน้านาง

(4) ศึกเสือเหนือใต้

ตอบ 1 ศรศิลป์ไม่กินกัน = ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ชอบหน้ากัน (ส่วนศิษย์นอกครู = ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคําสั่งสอนของครูบาอาจารย์, ศึกหน้านาง = การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตนหมายปอง, ศึกเสือเหนือใต้ = สงคราม)

96 “หมาเห่าใบตองแห้ง” มีความหมายตรงกับข้อใด

(1) คนที่ลอบทําร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นลับหลัง

(2) คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่งแต่ไม่กล้าจริง

(3) คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนใช้ประโยชน์ไม่ได้

(4) คนที่อาละวาดพาลหาเรื่องทําให้วุ่นวายไปหมด

ตอบ 2 หมาเห่าใบตองแห้ง = คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่งแต่ไม่กล้าจริง

97 “หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น” ตรงกับข้อใด

(1) น้ำลดตอผุด

(2) เนื้อเต่ายําเต่า

(3) ทํานาบนหลังคน

(4) ดีดลูกคิดรางแก้ว

ตอบ 3 ทํานาบนหลังคน = หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น (ส่วนน้ำลดตอผุด = เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ, เนื้อเต่ายําเต่า = นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม, ดีดลูกคิดรางแก้ว = คิดถึงผลที่จะได้อยู่ทางเดียว)

98 ข้อใดมีคําที่สะกดผิดปรากฏอยู่ด้วย

(1) อเนก ผาสุก อาเพศ

(2) ตระเวน ถั่วพู โลกาภิวัตน์

(3) เกล็ดปลา โน้ตบุ๊ค อานิสงส์

(4) ผลัดผ้า อาเจียน ผุดลุกผุดนั่ง

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ โน้ตบุ๊ค ซึ่งที่ถูกต้องคือ โน้ตบุ๊ก

99 ข้อใดสะกดถูกทุกคํา

(1) บังสุกุล ปฏิสันถาร ปิกนิก

(2) อนุญาติ กระทันหัน ผัดผ่อน

(3) กระเพรา กร้าวร้าว เครื่องยนต์

(4) โครงการ เครื่องลาง เซ็นติเมตร

ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ อนุญาติ กระทันหัน กระเพรา กร้าวร้าว เครื่องลาง เซ็นติเมตร ซึ่งที่ถูกต้องคือ อนุญาต กะทันหัน กะเพรา ก้าวร้าว เครื่องราง เซนติเมตร

100 ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด

(1) เค้ก คุ้กกี้ กะเพรา

(2) งมงัม บังสุกุล โครงการณ์

(3) ไนต์คลับ กะเพรา เครื่องยนต์

(4) ถั่วพู กะโหลก ตกล่องปล่องชิ้น

ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ คุ้กกี้ จึมงัม โครงการ ซึ่งที่ถูกต้องคือ คุกกี้ จึมงํา โครงการ

101 ข้อใดมีคําที่สะกดผิดสลับกับคําที่สะกดถูก

(1) รื่นรมย์ สีสัน โน๊ตดนตรี ปราณีต

(2) คลินิก จตุรัส เกล็ดปลา ภาพยนต์

(3) ลายเซ็นต์ ผาสุข เผอเรอ ละเอียดละออ

(4) อนุญาติ ปิกนิก กระเพรา มาตรฐาน

ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ โน้ตดนตรี ปราณีต จตุรัส ภาพยนต์ ลายเซ็นต์

ผาสุข ละเอียดละออ อนุญาติ กระเพรา

ซึ่งที่ถูกต้องคือ โน้ตดนตรี ประณีต จัตุรัส ภาพยนตร์ ลายเซ็น

ผาสุก ละเอียดลออ อนุญาต กะเพรา

102 ข้อใดเขียนคําผิดทุกคํา

(1) เสื้อเชิ้ต ขนมคุกกี้ เครื่องสําอาง กระทะ

(2) พู่ระหง วิ่งผัด รสชาติ บ้านจัดสรร

(3) ผาสุก ดาดฟ้า จึมงัม เหลวไหล

(4) จตุรัส อนุญาติ โน้ตดนตรี รื่นรมณ์

ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ เสื้อเชิ้ต วิ่งผัด จึมงัม จตุรัส อนุญาติ โน้ตดนตรี รื่นรมณ์

ซึ่งที่ถูกต้องคือ เสื้อเชิ้ต วิ่งผลัด จึมงํา จัตุรัส อนุญาต โน้ตดนตรี รื่นรมย์

103 ข้อใดใช้คําถูกต้อง

(1) นําไม้ลวกไปลวกน้ำร้อน

(2) คนงานกําลังขุดรอกคูคลอง ก็เห็นงูกําลังลอกคราบ

(3) เราไม่ควรร่วงล้ำเข้าไปเก็บของที่ร่วงหล่นในบ้านคนอื่น

(4) เขานําลวดมากั้น แล้วบอกว่าค่าผ่านประตู 10 บาทรวด

ตอบ 4 คําว่า “ลวด” = โลหะที่เอามารีดเป็นเส้น, “รวด” = เสมอเท่ากันหมด (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้คําผิด จึงควรแก้ไขเป็น นําไม้รวกไปลวกน้ำร้อน, คนงานกําลังขุดลอกคูคลอง ก็เห็นงูกําลังลอกคราบ, เราไม่ควรล่วงล้ำเข้าไปเก็บของที่ร่วงหล่นในบ้านคนอื่น)

  1. พระธรรมทูต……………….พุทธศาสนาไปทั่วโลก

(1) แผ่

(2) แพร่

(3) เผยแผ่

(4) เผยแพร่

ตอบ 3 คําว่า “เผยแผ่” = ทําให้ขยายออกไป เช่น เผยแผ่พระศาสนา (ส่วนคําว่า “แผ่” = คลี่ขยายกระจายออกไปให้มีลักษณะแบนราบหรือกว้างกว่าเดิม เช่น แผ่อาณาเขต, “แพร่” = กระจายออกไป แผ่ออกไป เช่น แพร่ข่าว แพร่เชื้อโรค, “เผยแพร่” – โฆษณาให้แพร่หลาย)

105 ฉันยินดีจะ ………….. ค่าเสียหายให้คุณ

(1) ชดใช้

(2) ชดเชย

(3) ทดแทน

(4) ตอบแทน

ตอบ 1 คําว่า “ชดใช้” = ใช้ค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไปก่อนแล้ว ให้ทดแทนสิ่งที่ใช้หรือเสียไป เช่น ชดใช้ค่าเสียหาย (ส่วนคําว่า “ชดเชย” = ใช้แทนสิ่งที่เสียไป เพิ่มเติม, “ทดแทน” = ตอบแทน ชดใช้หรือชดเชยสิ่งที่เสียไป, “ตอบแทน” = ทําทดแทนแก่ผู้ทําก่อน)

106 การเตรียมงานไม่ดี จะทําให้เกิดความ ………. ขึ้นมาได้

(1) ขุกขัก

(2) ขุกขลัก

(3) ขลุกขลัก

(4) ขรุกขรัก

ตอบ 3 คําว่า “ขลุกขลัก” = ติดกุกกักอยู่ในที่แคบ ติดขัด ไม่สะดวก เสียงดังอย่างก้อนดินกลิ้งอยู่ในหม้อหรือในไห (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

107 คุณขอ…………….เงินมาหลายครั้งแล้ว ครั้งนี้ผมไม่ยอมให้ …………… อีกแล้ว

(1) ผัด ผัด

(2) ผัด ผลัด

(3) ผลัด ผัด

(4) ผลัด ผลัด

ตอบ 1 คําว่า “ผัด” = ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวัน ผัดหนี้ ส่วนคําว่า “ผลัด” = เปลี่ยนแทนที่ เช่น ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร ผลัดใบ ผลัดขน

108 คนป่วยอยู่ในอาการ…………………….เต็มที่

(1) ล่อแล่

(2) ร่อแร่

(3) ล่อยแล่

(4) ร่อยแร่

ตอบ 2 คําว่า “ร่อแร่” = อาการหนักจวนตาย เช่น อยู่ในอาการร่อแร่ (ส่วนคําว่า “ล่อแล่” = พูดไม่ชัดพูดไม่ได้ความ, “ล่อยแล่, ร่อยแร่” เป็นคําที่เขียนผิด)

109 ผู้ร้าย………. ไม่ยอมให้ตํารวจจับตัวไป

(1) ขัดเขิน

(2) ขัดข้อง

(3) ขัดขืน

(4) ขัดขวาง

ตอบ 3 คําว่า “ขัดขืน” = ไม่ประพฤติตาม ไม่ทําตาม (ส่วนคําว่า “ขัดเขิน” = กระดากอาย, “ขัดข้อง”= ไม่ยอมให้ทํา ไม่ตกลงด้วย ติดขัด, “ขัดขวาง” = ทําให้ไม่สะดวก ทําให้ติดขัด)

110 วัยรุ่นไทยมักจะ…………….และ …………… นักร้องจากประเทศเกาหลี

(1) คั่งไคล้ หลงไหล

(2) คั่งไคร้ หลงใหล

(3) คลั่งไคล้ หลงไหล

(4) คลั่งไคล้ หลงใหล

ตอบ 4 คําว่า “คลั่งไคล้” = หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หมกมุ่นอยู่กับงานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง,“หลงใหล” = คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หลงใหลนักร้องหรือดาราดัง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

111 วันนี้ฝนตก ………… ข้าว ………… คงสดชื่นขึ้นมาได้

(1) ปอย ๆ นาปลัง

(2) ปอย ๆ นาปรัง

(3) ปรอย ๆ นาปรัง

(4) ปรอย ๆ นาปลัง

ตอบ 3 คําว่า “ปรอย ๆ” = ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง” = นาที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

112 ข้อใดมีคําผิดอยู่ในประโยค

(1) สมชายเรี่ยรายเงินไปสร้างศาลาการเปรียญ

(2) สมชาติมีบ้านจัดสรรอยู่ใกล้กับสถานกงสุล

(3) สมพรชอบกินขนมคุกกี้กับขนมเค้กจนตัวอ้วนตุ๊ต๊ะ

(4) สมศรีใส่เสื้อสีสันฉูดฉาดและแต่งหน้าด้วยเครื่องสําอางราคาแพง

ตอบ 1 ประโยคในตัวเลือกข้อ 1 ใช้คําผิด จึงควรแก้ไขเป็น สมชายเรี่ยไรเงินไปสร้างศาลาการเปรียญ(คําว่า “เรี่ยไร” = ขอร้องให้ช่วยออกเงินทําบุญตามสมัครใจ ส่วนคําว่า “เรี่ยราย” = กระจาย เกลื่อนไป)

 

ข้อ 113 – 116 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ใช้คําพุ่มเฟือย

(2) ใช้คําขยายผิดที่

(3) ใช้คํากํากวม

(4) ใช้คําผิดความหมาย

 

113 “เขาทําลายไทย” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 หน้า 11 (54351) การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วยเพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําที่แวดล้อมอยู่เป็นเครื่องช่วย กําหนดความหมาย เช่น เขาทําลายไทย (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไขให้มีความหมายแน่ชัดลงไป โดยใช้ถ้อยคําแวดล้อมเสียใหม่เป็น เขาทําลายประเทศไทย/เขาทําศิลปะรูปลายไทย

114 “วันนี้ฉันมาคนเดียวไม่มีใครเป็นเพื่อน” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 1 หน้า 18 – 19, 39 (54351) การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็นจะทําให้คําโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย แม้จะตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น วันนี้ฉันมาคนเดียวไม่มีใครเป็นเพื่อน (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็นวันนี้ฉันมาคนเดียว

115 “นางแบบลูกครึ่งคนนี้พูดภาษาไทยไม่แข็งแรง” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 10 – 11 (54351) การใช้คําในการพูดและเขียนต้องรู้จักเลือกคํามาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม คือ ต้องมีความรู้ว่าคําที่จะนํามาใช้นั้นมีความหมายว่าอย่างไร ใช้แล้วเหมาะสม ไม่ผิดความหมาย และจะเป็นที่เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงไร เช่น นางแบบลูกครึ่งคนนี้พูดภาษาไทยไม่แข็งแรง ใช้คําไม่ถูกต้อง หรือใช้คําผิดความหมาย) จึงควรแก้ไขเป็น นางแบบลูกครึ่งคนนี้พูดภาษาไทยไม่คล่อง (คําว่า “แข็งแรง” = มีกําลังมาก ส่วนคําว่า “คล่อง” =สะดวก ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง)

116 “ฉันทํารายงานส่งอาจารย์เรื่องละครไทยน้ำเน่าหรือน้ำดี” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 37 (54351) การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ คือ การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะถ้าหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือมีความหมายไม่ตรงกับที่เราต้องการ เช่น ฉันทํารายงานส่งอาจารย์เรื่องละครไทยน้ำเน่าหรือน้ำดี (ใช้คําขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขเป็น ฉันทํารายงานเรื่องละครไทยน้ำเน่าหรือน้ำดีส่งอาจารย์

 

ข้อ 117 – 120 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) วางส่วนขยายไม่ถูกต้อง

(2) ใช้คําขัดแย้งกัน

(3) ใช้คําไม่เป็นเหตุเป็นผล

(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ

 

117 “ห้องสอบที่เต็มไปด้วยนักศึกษา” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 38 (54351) การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และ ไม่เคอะเขิน เช่น ห้องสอบที่เต็มไปด้วยนักศึกษา (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น นักศึกษาอยู่เต็มห้องสอบ

118 “อาหารถูกทําให้เย็นด้วยการนําไปแช่ตู้เย็น” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 126 (56256), (ดูคําอธิบายข้อ 117 ประกอบ) ประโยคข้างต้นใช้สํานวนต่างประเทศเพราะในภาษาไทยไม่นิยมใช้คํากริยา “ถูก” แสดงกรรมวาจก นอกจากจะใช้ในเรื่องที่ไม่ดี เท่านั้น หากเป็นเรื่องดีมักจะละคํากริยา “ถูก” ไว้ หรือไม่ก็ใช้คําอื่นหรือเปลี่ยนรูปประโยคเป็นอย่างอื่นไป จึงควรแก้ไขเป็น อาหารเย็นเพราะนําไปแช่ตู้เย็น

119 “ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างหนัก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 41 (54351) การใช้คําขัดแย้งกัน คือ การใช้คําที่ทําให้เนื้อความขัดกัน หรือใช้คําที่มีความหมายตรงข้าม เช่น ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างหนัก (ใช้คําขัดแย้งกัน) จึงควรแก้ไขเป็นฝนตกลงมาอย่างหนัก (คําว่า “ค่อย ๆ” – ช้า ๆ ส่วนคําว่า “หนัก” = แรง)

120 “มีตึกเรียนในมหาวิทยาลัยหลายหลังที่ไม่ได้ใช้งาน” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 116 ประกอบ) ประโยคข้างต้นวางส่วนขยายไม่ถูกต้อง จึงควรแก้ไขเป็นในมหาวิทยาลัยมีตึกเรียนหลายหลังที่ไม่ได้ใช้งาน

WordPress Ads
error: Content is protected !!