POL3314 การบริหารชุมชนเมือง S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง

คําสั่ง ข้อสอบมี 6 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 3 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1 จงให้นิยามหรือความหมายของคําว่า “เมือง” และ “ชุมชนเมือง” พร้อมทั้งระบุเหตุผลของการเกิดชุมชนเมืองมาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้

– การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (เช่น บ้านเรือน) มีสิ่ง อํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า ถนน)

– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ใน ระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม

– เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง

– เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี

– เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน

– เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/อุปโภคอย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

ชุมชนเมือง (Urban Community) หมายถึง ชุมชนที่ประกอบไปด้วยคนทุกสถานะทั้งคน รวยและคนจนรวมกันอยู่อย่างแออัดในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนแตกต่างจากสังคมในชนบท และเนื่องจากการที่ชุมชนเมืองจะประกอบไปด้วยผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีจํานวนจํากัด คนในชุมชนเมืองจึงมักจะ มีความเป็นอยู่หนาแน่น จนกระทั่งเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งมักจะมีปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น

 

เหตุผลของการเกิดชุมชนเมือง

1 ในแง่การผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรม เมืองหลายเมืองได้กลายมาเป็นเมืองมหานคร โดยมีจุดเริ่มและก่อกําเนิดมาจากบทบาทในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจหรือเป็นเมืองหลวง (เช่น กรุงเทพฯ, จากาตาร์, เม็กซิโก ซิตี้ ฯลฯ) หรือเป็นเมืองใหญ่ริมชายฝั่งทะเล (เขน กัลกัตตา เซาเปาโล, เซี่ยงไฮ้ ฯลฯ) ซึ่งการ รวมตัวเป็นชุมชนหนาแน่นเป็นกลุ่มก้อนดังกล่าวจะช่วยเอื้อให้เกิดความประหยัดหรือการขาดแคลนในด้าน แรงงาน วิทยาการความรู้ การบริการธุรกิจการเงิน การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทาง เศรษฐกิจและการขนส่ง

2 ในทางสังคมวิทยานั้น พบว่าการรวมกันเข้าเป็นชุมชนเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ และ สิ่งแวดล้อมในสังคมเป็นตัวกําหนด ซึ่งแนวโน้มการตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หมู่บ้าน เมือง นคร ตามลําดับ เป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการและกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การบริการ การค้า การลงทุน ประกอบการ การดําเนินกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ที่มีทั้งแรงผลักแรงดันระหว่างชุมชนเมืองกับชุมชนชนบท ดังนั้นความต้องการเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมืองจึงเป็นความคาดหวังว่า จะมีชีวิตที่ดีกว่าของมนุษย์

3 ความเป็นชุมชนเมืองไม่มีหลักเกณฑ์ของจํานวนเลขที่แน่ชัดมากําหนดว่ามีจํานวน เท่าใด สิ่งนี้จะแปรตามหรือขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศจะกําหนดขึ้น เช่น การพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสองชุมชน

หากชุมชนหนึ่งมีประชากรเป็น 50 เท่าของอีกชุมชนหนึ่ง จะถือว่าชุมชนนั้นเป็นชุมชนเมือง ส่วนอีกชุมชนหนึ่ง เป็นชุมชนชนบท เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงวิเคราะห์สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก พร้อมกับอธิบายถึงผลกระทบอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง 5 ข้อ

แนวคําตอบ

สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

สถานการณ์ในปัจจุบันของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโลกนั้นเป็นลักษณะการอยู่อาศัยในโลกแห่ง ชุมชนเมือง (Urban World) กล่าวคือ ปัจจุบันประชากรโลก (World Population) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้น จะมีอัตราการเข้ามาอยู่อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้ กลายเป็นชุมชนเมืองไปร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กําหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2011 เป็นวันที่ประชากรโลก มีจํานวนครบ 7 พันล้านคน ซึ่งเรียกว่า “Day of 7 billion” และในปัจจุบันนี้จํานวนประชากรโลกก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหาร และน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกัน มลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการในการ อยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการอยู่ อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลนและ ทรัพยากรสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ

ผลกระทบอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

1 ปริมาณความต้องการน้ำจืด (fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผล กระทบต่อปริมาณน้ำจืดที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้เพราะมนุษย์จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไป เรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ําจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆแล้วก็กลั่นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 75

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึงปี ค.ศ. 2050 โดยมีการคาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี ค.ศ. 2050 จะมีน้ำจืดเหลือเพียง 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำจืดในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศ ก็จะประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็จะเกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้นั่นเอง

2 ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมีระบบนิเวศ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้ก็เกิดปัญหาความเดือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปีที่ผ่าน มานี้ สิ่งมีชีวิตได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 เท่าของอัตราปกติ โดยที่มนุษย์มิใช่เป็นเพียงพยาน ผู้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นเหตุของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว

3 การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่ง เรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เองด้วย

4 การประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ เพิ่มขึ้นมาก จาก 19 ล้านตัน มาเป็น 83 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี ค.ศ. 1988 เป็นต้นมา อัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี ค.ศ. 1996 ลดลงเหลือ 16 กิโลกรัมต่อคน อย่างไรก็ตาม การจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวนเพิ่มมากขึ้นและยังมีการใช้ ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ําในปัจจุบันนี้มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก และอีกไม่นานมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหารเหล่านี้ รับประทานกันได้น้อยลงและยากขึ้น

5 งานหรือการมีงานทํา (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โลกมีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าคือ จาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 พันล้านคน จากข้อมูลขององค์การแรงงานสากล (The United Nations International Labor Organization : LO) ได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานกว่า 1 พันล้านคน หรือ 30% ของคน ในวัยแรงงาน และในช่วงอีกครึ่งศตวรรษต่อไปจะมีคนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงาน ที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาในประเทศกําลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะประเทศ เหล่านั้นมีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่ง งานที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงาน เป็นต้น

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึง “เมือง” ในทางทฤษฎีของศาสตร์สาขาต่าง ๆ มา 3 ทฤษฎี พร้อมทั้งอธิบายขยายความโดยละเอียดในแต่ละทฤษฎี ?

แนวคําตอบ

ทฤษฎีและแนวความคิดของศาสตร์สาขาต่าง ๆ

1 แนวความคิดในทางเศรษฐศาสตร์

กระบวนการในการเกิดขึ้นของเมืองในทางเศรษฐศาสตร์จะเกี่ยวโยงกับกระบวนการ ทางโครงสร้างของสังคมที่ก่อให้เกิดพลวัต หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจ จากเศรษฐกิจชนบทไปเป็นเศรษฐกิจเมืองในแง่ของการแปลงสภาพ ประชากร กระบวนการผลิต และสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจชนบทไปสู่ฐานะของเศรษฐกิจเมือง เช่น

1 การใช้แรงงานเข้มแข็งขึ้นและมีความเป็นปัจเจกภาพสูง

2 มีการกระจุกตัวของแรงงานมากขึ้น

3 มีความชํานาญในการผลิตสินค้าและบริการค่อนข้างสูง

4 มีการพึ่งพาต่อกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลอย่างใกล้ชิด

5 มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และลักษณะของการประกอบการในระดับสูง 6 ความหนาแน่นของประชากรทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งสําคัญที่จะเกิดขึ้นในแง่ความเป็นเมือง คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมเนื่องจากการ เกิดความชํานาญ การแบ่งงานกันทําตามความสามารถเฉพาะการใช้ทุนเข้มข้นในการผลิตและใช้เทคโนโลยี ตลอดจนประดิษฐกรรมที่ทันสมัย ทําให้เกิดการพัฒนาอุตสาหารรมและกระบวนการเกิดเป็นเมืองซึ่งเป็น กระบวนการที่ควบคู่กัน

2 แนวความคิดของนักสังคมวิทยา

ในทางสังคมวิทยา มองว่าระบบชุมชนเป็นระบบของปัจจัย 3 ประการที่เกี่ยวข้องกัน คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Areas) การปะทะสังสรรค์กันทางสังคม (Social Interaction) และ ความผูกพันรวมกัน (Common Ties, กล่าวคือ ในสังคมนั้นจะประกอบด้วยบุคคลที่มีการปะทะสังสรรค์กันทาง สังคมในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และมีความผูกพันร่วมกันในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง

ผลผลิตของชุมชนหรือสังคม ซึ่งได้แก่

– การกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization)

– การควบคุมทางสังคม (Social Control)

– การมีส่วนร่วมในสังคม (Social Participation)

– การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (Mutual Support)

– การผลิต การบริโภค และการกระจายสินค้าและบริการภายในชุมชน

(Production-Consumption-Distribution)

 

ในแง่ของจิตใจและวัฒนธรรมนั้น คนจะมีความรู้สึกในความเป็นคนถิ่นนั้นถิ่นนี้ ทั้งนี้ เพราะเกิดความรู้สึกมั่นคงในการมีที่ยึดเหนียวด้านจิตใจ (Community Sentiment) ที่เกิดจากการหล่อหลอม ทางค่านิยมของกฎเกณฑ์และเป้าหมายรวมกัน ซึ่งกระบวนการของคนในสังคมหรือชุมชนโดยลักษณะธรรมชาติ ดังกล่าวก็คือ ความเป็นเมืองนั่นเอง

3 แนวความคิดของนักมานุษยวิทยา

นักมานุษยวิทยา มองว่ากระบวนการสร้างความเป็นเมือง (Urbanization) เป็นรูป หนึ่งของกระบวนการปรับตัวของมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากชุมชนเมืองเป็นรูปแบบที่สําคัญที่มนุษย์ได้พัฒนาขึ้น การปรับตัวจึงเป็นความสําเร็จอย่างหนึ่งของกลุ่ม และความสําเร็จนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ว่าจะเป็นไปได้ดีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องอาศัยความกลมกลืนกันระหว่างปัจจัยในด้านต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “บ่มในเชิงนิเวศวิทยา” (Ecological Complex) ซึ่งจะประกอบด้วย

1 ปัจจัยด้านประชากร (Population) โดยมีปัจจัยด้านโครงสร้างของประชากรที่มีผลต่อกระบวนการเป็นเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้จะชี้ให้เห็นมิติของประชากรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนการกระจายตัวหรือโครงสร้างซึ่งประกอบด้วยลักษณะของคนในแต่ละช่วงอายุ เช่น คุณภาพการศึกษา ทักษะการทํางาน อาชีพ จํานวน การพัฒนา และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของคนในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งจะส่งผล ถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ

2 ปัจจัยด้านการจัดองค์กร (Organization) โดยมีมิติที่จะพิจารณาได้ในเรื่องนี้ ได้แก่ แบบขององค์กร สภาพแวดล้อม จํานวนสมาชิก ความสามารถ ผู้นํา เทคโนโลยีที่ใช้ ตลอดจนความร่วมมือ ร่วมใจตามแนวคิดของประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อสภาพของชุมชนและสังคมนั้น ๆ

3 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อ สังคมและชุมชนในแง่ของพฤติกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรมในแต่ละระดับนั้นอาจพิจารณาปัจจัยแวดล้อมทางด้าน ธรรมชาติ และปัจจัยแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือพิจารณาในแง่ปัจจัยเอื้อหรือไม่เอื้อต่อชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ

4 ปัจจัยด้านเทคนิควิทยาการ (Technology) เป็นปัจจัยสําคัญที่มนุษย์จะสามารถ เอาชนะธรรมชาติได้ และสามารถแข่งขันท่ามกลางภาวะที่จํากัดในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ ประดิษฐกรรม และนวัตกรรมของสังคม

 

ข้อ 4 จงอธิบายการบริหารหรือจัดการชุมชนเมืองตั้งแต่เริ่มมีแนวคิด อุดมการณ์ ไปสู่การปฏิบัติ ว่ามีหลักการ และวิธีการอะไรอย่างไร พร้อมตัวอย่างโดยสังเขป ?

แนวคําตอบ

การบริหารชุมชนเมืองมุ่งที่จะเสนอแนวคิดและวิธีการปฏิบัติในการบริหารชุมชนเมือง โดยมี วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการบริหารเพื่อตอบสนองต่อผู้อยู่อาศัยในชุมชนนั้น ๆ เป็นหลัก จึงจําเป็นต้องศึกษา ฮ์ในแง่ของประเด็นปัญหาและบริบทของปัญหาทั้งในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับสากล ตลอดจนแนวทาง ในการพัฒนาชุมชนเมือง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาในเชิงระบบทั้งในด้านปัญหาและข้อเรียกร้อง ของชุมชนเมืองในฐานะปัจจัยนําเข้า (Input) ตลอดจนความจําเป็นและแนวทางของกิจกรรมในฐานะปัจจัยนําออก (Output) และศึกษาผลกระทบของการบริหารชุมชนเมือง โดยจะศึกษาทั้งตัวองค์กรหรือสถาบันหลักที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ในการบริหารชุมชนเมือง หรือศึกษาแยกย่อยไปที่ประเด็นรายละเอียดหรือเนื้อหาสาระในชุมชนเมือง ดังนั้นการบริหารชุมชนเมืองจึงมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่การกําหนดเป้าหมายการวางแผน การบริหารและลงมือปฏิบัติ จนบังเกิดผล ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้

การบรรลุภารกิจและความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง

การบริหารชุมชนเมืองสมัยใหม่ไม่ใช่เป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการตระหนักใน ความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง โดยชาวชุมชนเองเท่านั้นที่จะนําไปสู่ความสําเร็จในการบริหารชุมชนเมือง กล่าวคือ เมืองที่ประชาชนมีความสนใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมของส่วนรวม รวมไปถึงการตรวจสอบ ติดตามการทํางานของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในลักษณะการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) ระบบการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนสําคัญในการกําหนดแนวทางและวิธีการ ซึ่งอาจได้รับการ สนับสนุนจากภายนอกจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมเพราะได้สร้างให้เกิดความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง ของชาวชุมชนเมืองโดยแท้จริง โดยจะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่สําคัญหลายด้าน เช่น

1 ด้านเกียรติภูมิและสิทธิของประชาชน (Right and Dignity) คือ การให้ สาธารณชนได้ตัดสินใจบริหารงานอย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติและความสําเอียง ตลอดจนบริหารงานโดย ยึดหลักกฎหมาย และต้องพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบผ่านกระบวนการกลไกการปกครอง ทั้งนี้เพื่อเอื้อประโยชน์ แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยสามารถตรวจสอบการบริหารนั้นได้ซึ่งเป็นการให้สิทธิและคํานึงถึงศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของชาวเมือง

2 ด้านความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) คือ การ บริหารงานนั้นต้องอยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนในทุกขั้นตอนของการดําเนินงาน ทั้งการอาศัยการมีส่วนร่วม ของประชาชน หรือบริหารงานบนพื้นฐานความต้องการของประชาชน ซึ่งการบริหารงานนั้นจะต้องเป็นไปโดย เปิดเมย ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ในขณะที่ทุกฝ่ายต่างก็มีความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

3 ด้านความมีประสิทธิผล (Effectiveness) คือ การบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย หรือสามารถบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาและเสนอทางออกให้กับประชาชนได้ รวมทั้งต้องบริหารงานด้วยความ คุ้มค่าคือ การใช้ทุนน้อยแต่สามารถบรรลุมาตรฐานด้านต่าง ๆ ตามที่ประชาชนชาวเมืองต้องการ โดยมุ่งสร้าง หรือยกระดับมาตรฐานชีวิตของประชาชน หรือตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของคนในด้านต่าง ๆ ได้อย่าง ครบถ้วนและเพียงพอ เช่น ความต้องการอาหารที่เพียงพอ อากาศที่บริสุทธิ์ น้ําสะอาดเพื่อการบริโภค ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม ที่น่าพอใจ ความต้องการมีสุขภาพอนามัยที่ดี เป็นต้น

จุดเริ่มต้นในการบริหารชุมชนเมือง

การบริหารชุมชนเมืองจะเริ่มต้นที่การวางแผน และการมีแผนเพื่อให้เป้าหมายที่มนุษย์ ต้องการอยู่ในสังคมชุมชนเมืองได้รับการตอบสนอง ซึ่งในการบริหารชุมชนเมือ นิยมเรียกโดยรวมว่า “แผนหรือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง” ภายใต้ชื่อที่หลากหลาย เช่น แผนพัฒนา (Development Plan), แผนเมือง (Urban Plan), แผนแม่บท (Master Plan), แผนทั่วไป (General Plan) เป็นต้น แต่การบริหารชุมชนเมืองมักจะเน้นหนัก แผนกายภาพที่เรียกว่า ผังเมือง (City Pian) และแผนจัดการการเจริญเติบโต (Growth Management Plan)

การบริหารชุมชนเมืองที่ดีจะมีแผนภารกิจ (Action Plan) หรือแนวทางที่ชัดเจนเพื่อ มารองรับกิจกรรมการบริหารชุมชนเมืองให้ได้ผล เช่น

1 การออกแบบเมือง (Urban Design) เป็นการสร้างวิสัยทัศน์ของเมืองหรือ สร้างสรรค์ให้เกิดสภาพเมืองที่พึงปรารถนา โดยคํานึงถึงปัจจัยที่สําคัญในด้านความสวยงามน่าชวนมอง คุณค่า ด้านจิตใจ เอกลักษณ์ที่โดดเด่น และศักยภาพดั้งเดิมเป็นสําคัญ ซึ่งถือเป็นขั้นการผลักดันให้เกิดแนวคิดและ วิสัยทัศน์ของคนในชุมชน

– การทําให้เป้าหมายหรือแนวคิดของการออกแบบเมือง ปรากฏออกมาเป็น รูปธรรมที่สวยงามให้คนภายนอกมองเห็นได้นั้น ต้องมีการวางภูมิทัศน์ของเมือง (Cityscape) ด้วยการสร้าง รูปลักษณ์ของเมืองตามที่ได้รับเอาแนวคิดต่าง ๆ มาใช้กําหนดเป็นทิศทางและลักษณะของเมือง ซึ่งจะปรากฎ ออกมาเป็นแนวทางในการก่อสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย ที่สาธารณะ ถนนหนทาง และที่ตั้งของสิ่งอํานวยความ สะดวกในเมือง เป็นต้น

2 แผนเมือง (City Plan) จะชี้ให้เห็นถึงแนวคิดพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของ เมืองนั้น ๆ ไปสู่ทิศทางที่ต้องการ โดยส่วนร่วมก็จะมีแนวคิดพื้นฐานเพื่อสร้างให้เมืองนั้นมีความสะดวกสบายน่าอยู่ อาศัย หรือสร้างให้ผู้คนมีความหวังและสามารถมองไปในอนาคตได้ ซึ่งแผนเมืองนี้อาจจะกําหนดเป็นแผนแม่บท หรือแผนหลัก (Master Plan) ที่จะเป็นกรอบหรือแนวทางไปสู่การวางแผนปฏิบัติ หรือนโยบายในการวางแผน เมือง (City Planning Politics) ต่อไป ซึ่งได้แก่

1) แผนในภาพรวม อาจจะต้องอาศัยทิศทางและความสอดคล้องในระดับ กว้าง เช่น แผนภูมิภาคหรือแผนระดับประเทศที่ต้องอาศัยความเกี่ยวพันและการตัดสินใจและความร่วมมือจาก หน่วยงานอื่นไม่เฉพาะเมืองนั้นเมื่องเดียว

2) การผังเมืองและการวางแผนการใช้พื้นที่ ดําเนินการโดยอาศัยกฎหมาย การผังเมืองและการบริหารงานในเชิงนโยบาย จนกลายเป็นผังเมืองรวม (Comprehensive Plan) หรือผังเมือง เฉพาะ (Specific Plan)

– ผังเมืองรวม คือ แผนที่แสดงการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นบนพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของท้องถิ่นในอนาคต

– ตั้งเมืองเฉพาะ เป็นผังที่จัดทําขึ้นหลังจากมีผังเมืองรวม มีความละเอียดมากกว่าผังเมืองรวม และจะจัดทําในพื้นที่บางส่วนของผังเมืองรวม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสําคัญสูง หรือมีความจําเป็นสูงที่จะต้องสงวนรักษา เช่น พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ พื้นที่ที่มีคุณค่าทางสภาพแวดล้อม หรือพื้นที่ธุรกิจการค้า เป็นต้น

3 การวางแผนด้านอื่น ๆ เป็นการวางแผนที่อาจผสมผสานการวางแผนในเชิง กายภาพและในเชิงการบริหาร เช่น การวางแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจ, การวางแผนทิศทางการเจริญเติบโต ของเมือง, การวางแผนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

 

ข้อ 5 จงอภิปรายปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาเมืองในสังคมที่กําลังพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรม 3 – 5 ประเด็นปัญหา ?

แนวคําตอบ

ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเมือง

1 ปัญหาการจราจร มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้นภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ำของเวลาการทํางาน เพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการ เชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัดอยู่แล้ว

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้งขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางลัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

2 ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทาง

อากาศ และมลพิษทางเสียง ปัญหามลพิษทางน้ํา มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การบําบัดน้ำเสีย

– การจํากัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

– การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางน้ำแก่ประชาชน

– การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ

– การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสํารวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ปัญหามลพิษทางอากาศ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ

– สํารววและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เป็นประจํา

– ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด ทําได้โดยการเปลี่ยนชนิดของ เชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับ ความสําคัญของอากาศบริสุทธิ์ และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนให้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ และเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ปัญหามลพิษทางเสียง มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์

– การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ บังคับ

– การกําหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกําหนดผังเมือง

– การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย

– การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

3 ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัด มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ย้ายไปอยู่ชานเมืองโดยการเช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของรัฐบาล

– มีการควบคุมความหนาแน่นของประชากร

– ส่งเสริมหรือขยายความเจริญออกไปสู่จุดอื่น ๆ ของประเทศ อย่างที่เรียกกันว่า“สร้างเมืองใหม่” หรือ “ชุมชนใหม่”

– มีการกําหนดผังเมืองและควบคุมการใช้ที่ดิน เช่น ไม่ให้มีการสร้างอาคารพาณิชย์หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในย่านที่อยู่อาศัย

– รัฐควรส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสําหรับประชากรที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

– ควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชนให้สอดคล้องกับผังเมือง

4 ปัญหาด้านความปลอดภัยของประชาชน มีแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้

– ให้มีอาสาสมัคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจรร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจในการช่วยเหลือเบื้องต้นในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่ายชุมชน

– มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจรอาสาตํารวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตํารวจ

– ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีรายได้พอเพียง เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมปัญหาการลักทรัพย์ เป็นต้น

5 ปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ใช้นโยบายสาธารณูปโภคเป็นเครื่องมือควบคุมทางผังเมือง เช่น ลดอัตราสาธารณูปโภคในเขตที่กําหนด หรือกําหนดเขตที่ไม่จ่ายสาธารณูปโภค

– ให้มีการวางนโยบายระบบบริการสาธารณูปโภคในเมือง ให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางโดยลงทุนค่าบริการให้น้อยที่สุด แต่ให้ทั่วถึงประชาชนมากที่สุด

 

ข้อ 6 การจัดการภัยพิบัติมีความสําคัญอย่างไร จงอธิบายการจัดการอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนเมืองมาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

ความสําคัญของการจัดการภัยพิบัติ

การจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่การเตรียมการก่อนเกิดเหตุ การรับมือในภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์ ช่วยชีวิตและฟื้นฟูบูรณะหลังเหตุการณ์ ซึ่งในอดีตการจัดการภัยพิบัติมักเน้น เรื่องการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันแนวโน้มของการจัดการภัยพิบัตินั้นจะมีลักษณะของการ เตรียมการเชิงรุกมากขึ้น โดยดําเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินที่จะ เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ รวมทั้งมีมาตรการที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเป็นการวางแผน เพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ตั้งแต่ก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างเกิดภัยพิบัติ และหลังจากที่เกิดภัยพิบัติแล้ว

แนวทางในการจัดการปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับชุมชนเมือง สรุปได้ดังนี้

1 การวางแผนบริหารจัดการอุทกภัย

ชุมชนเมืองมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจําทุกๆ ปี เนื่องจากชุมชนเมืองส่วนใหญ่ มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นทางผ่านของแม่น้ำและลําคลองจํานวนมาก และได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวเมืองทําให้กลายเป็นแหล่งธุรกิจและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการไหลและการระบายน้ำออกจากพื้นที่ แม้ปริมาณน้ำที่เกิดจากฝนตกหนักในเขตพื้นที่ตัวเมืองจะมีการท่วมขังอยู่บ่อยครั้งก็ตาม ด้วยสรรพกําลังและความสามารถในการระบายน้ำของหน่วยงานที่มีอยู่ก็ย่อมจะทําให้คลี่คลายไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากเป็น ลักษณะของมวลน้ํามหาศาลที่ไหลบ่ามาจากนอกพื้นที่โดยเฉพาะผ่านทางลําคลองที่มีอยู่รอบด้าน ก็จะเป็นการยากที่จะสามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ จึงจําเป็นต้องนําไปสู่การกําหนดนโยบายและการวางแผนการจัดการ ปัญหาอุทกภัยและภัยพิบัติในด้านต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ แนวทางการป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม ในการรับมือ การเตรียมความพร้อมสําหรับการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงแผนการจัดการหลังจากเกิด ภัยพิบัติทั้งในระยะเร่งดวนและระยะยาว เช่น การดําเนินการลอกท่อระบายน้ําในเขตชุมชน ขุดลอกคูคลอง แหล่งน้ำสาธารณะ รวมทั้งกําจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่อุทกภัยได้อย่าง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน เป็นต้น

2 การสร้างคันกั้นน้ำถาวร

พื้นที่ที่ติดแม่น้ำส่วนใหญ่ยังไม่มีแนวคันกั้นน้ำที่ได้มาตรฐาน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง สําคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ดํารงชีวิตและอาศัยอยู่ริมแม่น้ำ อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่มีงบประมาณมหาศาลและยังส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจํานวนมาก ซึ่งจะต้องมีการสํารวจ ผลกระทบที่จะเกิดต่อชุมชน รวมถึงจะต้องเป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจผ่านทางการทําประชาพิจารณ์ และการตรวจสอบความโปร่งใสในการดําเนินการทุกขั้นตอนเสียก่อน เพราะอาจกลายเป็นปัญหากับ ท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงได้

3 การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

การแก้ไขปัญหากับภัยน้ำท่วมนั้นมีความจําเป็นในการสร้างความร่วมมือกับองค์กร ภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อผนึกกําลังต่อสู้กับมวลน้ำที่มีปริมาณมหาศาลที่พร้อมจะเข้าโจมตีเมือง นั่นคือการขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการในจังหวัด เพื่อดําเนินการฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการเตรียมรับมือกับสาธารณภัยในเขตพื้นที่จังหวัด รวมไปถึงการขอความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่สําคัญ เช่น เครื่องสูบน้ำ อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

นอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ภาคเอกชนนับเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาท สําคัญในการสนับสนุนยุทธปัจจัยในการต่อสู้กับมวลน้ำที่มีปริมาณมหาศาลนี้ ด้วยการสนับสนุนหลายช่องทาง เช่น บริจาคทราย ถุงบรรจุกระสอบทราย เป็นต้น รวมไปถึงสื่อมวลชนที่มีการติดตามและรายงานสถานการณ์ ช่วงเกิดภัยน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง มีการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

การสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการบริหารจัดการน้ำนั้น แม้จะมีระบบ บริหารจัดการที่ดีเพียงใด ย่อมบรรลุผลได้ยาก หากไม่สามารถจัดการคนได้ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการความขัดแย้ง และการเฝ้าระวังการพังคันกั้นน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างมากในการสร้างความเข้าใจระหว่างพื้นที่ประสบภัยกับ พื้นที่เหนือแนวคันกั้นน้ำ รวมถึงการมีมิตรไมตรีที่ดีของผู้อยู่เหนือแนวคันกั้นน้ําในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการสร้างสิ่งอํานวยความสะดวก เช่น สะพาน การจัดส่งอาหารยาและเวชภัณฑ์ กรณีที่ประชาชนไม่ย้ายเข้าศูนย์อพยพ

นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครหรือกลุ่มจิตอาสาจํานวนมากที่จะเข้าร่วมช่วยเหลือ ทั้งใน เรื่องการกรอกกระสอบทราย การทําอาหาร หรือการจัดกิจกรรมคลายเครียดในศูนย์พักพิงนั้นด้วย

4 การจัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราว

การจัดเตรียม ศูนย์พักพิงเพื่อรองรับกับผู้ประสบภัยจะต้องคํานึงถึงวิถีชีวิตความรู้สึกที่มี ต่อชุมชน และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ด้วยเป็นสําคัญ โดยมีแนวทางปฏิบัติที่สําคัญ คือ การตั้งศูนย์ พักพิงขนาดเล็กในพื้นที่ขึ้น นอกจากจะทําให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังทําให้การบริการมีความใกล้ชิดเป็นกันเอง สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของคนในแต่ละพื้นที่เป็นสําคัญ โดยอาจจะอาศัยสถานที่ที่มีความเป็นสาธารณะและผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ เช่น โรงเรียน วัด มัสยิด อาคารหน่วยงาน ราชการในพื้นที่ เป็นต้น

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง

คําสั่ง ข้อสอบมี 10 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1 จงอภิปรายถึงสภาวะปัจจุบันของการอยู่อาศัยของประชากรโลก รวมทั้งแนวโน้มการอยู่อาศัยของประชากรโลกในชุมชนเมืองมาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

สภาวะปัจจุบันของการอยู่อาศัยของประชากรโลก

ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา พบว่าการเปลี่ยนแปลงของประชากรในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นผลของภาวะเจริญพันธุ์มากกว่าภาวะการตายหรือการย้ายถิ่น กล่าวคือ อัตราการเพิ่มที่มีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้เพราะภาวะเจริญพันธุ์มีแนวโน้มลดลง แต่ในปัจจุบันการย้ายถิ่นกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยพื้นที่พัฒนามากจะเป็นพื้นที่รับประชากรเข้า (เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ) ส่วนพื้นที่พัฒนาน้อยก็จะเป็นพื้นที่ส่งประชากรออก (เช่น เอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา) ซึ่งคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะสูงถึง 8.1 พันล้านคน โดยมีการกระจายตัวเหมือนเดิม ยกเว้นแอฟริกาและยุโรปเท่านั้นที่เปลี่ยนไป นั่นคือ แอฟริกามีสัดส่วนประชากรเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 17 ส่วนยุโรปกลับมีสัดส่วนประชากรลดลงจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 8 เท่านั้น

ความหนาแน่นของประชากรโลกคิดเป็น 51 คนต่อตารางกิโลเมตร แต่เนื่องจากการกระจายตัวของประชากรในแต่ละพื้นที่นั้นไม่เท่ากัน จึงมีผลทําให้ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไปด้วย เอเชียซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรมากที่สุดก็จะมีความหนาแนนของประชากรสูงที่สุดด้วยคือ 130 คนต่อ ตารางกิโลเมตร สูงกว่าความหนาแน่นของโลกมากกว่า 2 เท่า และสูงกว่าพื้นที่ถัดไปคือแอฟริกาเกือบ 4 เท่า รองลงมาจากแอฟริกาคือ ยุโรป ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรตํากว่าแอฟริกาเพียงเล็กน้อย คือ 32 และ 34 คนต่อตารางกิโลเมตร ตามลําดับ ถัดลงไปคือ ลาตินอเมริกา/แคริบเบียน และอเมริกาเหนือ ส่วนโอเชียเนียม ความหนาแน่นของประชากรต่ำที่สุดเพียง 4 คนต่อตารางกิโลเมตรเท่านั้น

แนวโน้มการอยู่อาศัยของประชากรโลกในชุมชนเมือง

ปัจจุบันประชากรโลกอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองมากกว่าชนบท ซึ่งพบว่าปี ค.ศ. 2007 คือปีแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรชุมชนเมืองมีจํานวนมากกว่าประชากรชนบท โดยตลอดระยะเวลากว่า 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดการพัฒนาเข้าสู่ความเป็นเมืองอย่างรวดเร็วและยังคงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความแตกต่างอย่างมากด้านโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างเขตเมืองและเขตชนบท เป็นปัจจัยสําคัญที่ผลักดันให้ ประชากรจํานวนมหาศาลจากชนบทหนีความยากจน โดยการเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่เข้าสู่เขตเมืองเพื่อตั้งถิ่นฐาน และมีชีวิตที่ดีกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงทางประชากรดังกล่าวส่งผลให้เมืองใหญ่และชุมชนเมืองขยายตัวอย่าง รวดเร็ว ซึ่งได้มีการประมาณว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จํานวนเมืองใหญ่และประชากรที่อาศัยในเขตเมืองจะเพิ่มขึ้นอีก หลายเท่าตัว จนอาจเกินศักยภาพของผู้บริหารนครจะรองรับหรือตอบสนองความต้องการของประชากรเมืองได้

กระแสการย้ายถิ่นที่นับวันจะเติบโตขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มอย่างรวดเร็วของประชากรโลก จากการคาดประมาณของโครงการประชากรแห่งสหประชาชาติ พบว่า เนื่องจากอัตราเพิ่มประชากรโลกช่วงปี ค.ศ. 1985 1990 เป็นประมาณร้อยละ 1.7 ต่อปี ประชากรโลาจะยังคงเพิ่มจํานวนประมาณ 90 ล้านคนต่อปี

แต่ในอนาคต จํานวนอาจจะต่ำกว่านี้แต่ก็เพียงเล็กน้อย เนื่องจากอัตราเพิ่มประชากรจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลง โดยที่ช่วงปี ค.ศ. 2020 2025 คาดว่าอัตราเพิ่มจะลดลงเป็นร้อยละ 1.0

ปัจจุบันประชากรเมืองทั่วโลกมีจํานวนเพิ่มขึ้นประมาณ 60 ล้านคนต่อปี ด้วยอัตราเพิ่มขึ้นที่ สูงกว่าอัตราเพิ่มประชากรในเขตชนบทถึง 3 เท่า และประชากรเมืองเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 3 ของประชากรโลก เมื่อปี ค.ศ. 1960 เป็นประมาณร้อยละ 47 หรือประมาณ 2.3 พันล้านคน ในปี ค.ศ. 1999 โดยสัดส่วนประชากรที่ อาศัยในเขตเมืองของประเทศกําลังพัฒนาเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากร้อยละ 22 เป็นร้อยละ 40 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 ขณะที่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61 เป็นเพียงประมาณร้อยละ 76 ในช่วงเวลา เดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการคาดประมาณว่าภายในปี ค.ศ. 2020 ประชากรโลกจํานวนกว่าครึ่งหรือประมาณ 3.6 พันล้านคน จะตั้งถิ่นฐานในเขตเมือง และที่เหลืออีกจํานวนประมาณ 3 พันล้านคน อยู่ในเขตชนบท

 

ข้อ 2 จงวิเคราะห์ถึงผลกระทบในเชิงปัญหาจากการเพิ่มของประชากรโลกมาสัก 5 ข้อ พร้อมกับเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรม

แนวคําตอบ

ผลกระทบอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

1 ปริมาณความต้องการน้ำจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำจืดที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้เพราะมนุษย์จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ำจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆแล้วก็กลั้นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 75 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึงปี ค.ศ. 2050 โดยมีการคาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี ค.ศ. 2050 จะมีน้ำจืดเหลือเพียง 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำจืดในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศ ก็จะประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็จะเกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้นั่นเอง

แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ จะต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและ สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น สร้างนิสัยและพฤติกรรมในการใช้น้ำที่มีสํานึกต่อส่วนรวม และจะต้องช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรน้ำจืดที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้สามารถดํารงอยู่ได้อย่างสมดุลของระบบนิเวศ และพอเพียงต่อการนํามาใช้ประโยชน์ของมนุษย์ในอนาคต

2 ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้ก็ เกิดปัญหาความเดือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปีที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 เท่าของอัตราปกติ โดยที่มนุษย์มิใช่เป็นเพียงพยาน ผู้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นเหตุของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว

แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ จะต้องมีการจัดสรรและเลือกใช้อย่างเป็นระบบที่ เหมาะสมสําหรับการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต ไม่เกิดการสูญเสียทรัพยากร ชีวภาพอย่างสูญเปล่า เช่น ปลูกฝังจิตสํานึกของประชาชนในชุมชน เข้าใจถึงความสําคัญของความหลากหลาย ทางชีวภาพ มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ผสมผสานให้เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการควบคุมดูแล

โดยรัฐจําเป็นต้องออกกฎหมายคุ้มครองหรือมีการทําข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการควบคุมดูแล การค้าขายนําเข้าและส่งออกสายพันธุ์พืชและสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เป็นต้น

3 การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่ง เรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบให้น้ําแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เองด้วย

แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ จะต้องมีมาตรการในการลดก๊าซ CO ในภาคคมนาคม และขนส่ง มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเอื้อกับอุตสาหกรรมที่เป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซ CO2 รัฐบาลควร มีนโยบายสนับสนุนหรือแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ มีการใช้พลังงานทดแทนและ พลังงานหมุนเวียน และควรมีการนําเทคโนโลยีสะอาด (Green Technology) มาใช้มากขึ้น เช่น พลังงานจาก แสงอาทิตย์ พลังงานจากน้ำ พลังงานจากลม พลังงานจากชีวมวล เป็นต้น

4 การประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำทาง ทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ เพิ่มขึ้นมาก จาก 19 ล้านตัน มาเป็น 83 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี ค.ศ. 1988 เป็นต้นมา อัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี ค.ศ. 1996 ลดลงเหลือ 16 กิโลกรัมต่อคน อย่างไรก็ตาม การจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวนเพิ่มมากขึ้นและยังมีการใช้ ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ำในปัจจุบันนี้มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก และอีกไม่นานมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหารเหล่านี้ รับประทานกันได้น้อยลงและยากขึ้น

แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ จะต้องมีมาตรการเพื่อควบคุมการทําประมงนอกน่านน้ำ มีการกําหนดเขตการประมง เขตฤดูปลาวางไข่ และเขตรักษาพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ รัฐจะต้องออกกฎหมายห้าม การประมงโดยเครื่องมือทําลายล้างชนิดต่าง ๆ เช่น อวนรุน อวนลาก การระเบิดปลา เป็นต้น โดยให้ชาวประมง หันมาใช้เครื่องมือที่ไม่ทําลายแทน มีการกําหนดความสามารถในการจับสัตว์น้ำของชาวประมงและชนิดของ เครื่องมือทําการประมงที่ชัดเจน กฎหมายควรกําหนดบทบัญญัติในเรื่องการห้ามครอบครองเครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายต่อพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์น้ำอย่างรุนแรง จากเดิมที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะจับกุมได้ก็ต่อเมื่อมีการลงมือ ทําการประมงแล้วเท่านั้น อีกทั้งจะต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับประเทศ รวมไปถึงการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสุขอนามัยสัตว์น้ำด้วย

5 งานหรือการมีงานทํา (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้าง งานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โลกมีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าคือ จาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 พันล้านคน จากข้อมูลขององค์การแรงงานสากล (The United Nations International Labor Organization : LO) ได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานกว่า 1 พันล้านคน หรือ 30% ของคนในวัยแรงงาน และในช่วงอีกครึ่งศตวรรษต่อไปจะมีคนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงาน ที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาในประเทศกําลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะประเทศ เหล่านั้นมีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่ง งานที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงาน

แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ จะต้องมีการใช้นโยบายการคลังและนโยบายการเงินโดย การจัดทํางบประมาณแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการจ้างงานอีกครั้ง หรือใช้มาตรการทางด้านภาษี โดยการลดภาษี เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการบริโภคของภาคประชาชนเพิ่มขึ้น และยังจะส่งผลดีต่อการลงทุนและ การจ้างงาน นอกจากนี้รัฐบาลควรมีนโยบายการศึกษาเพื่อวางแผนการศึกษาให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษา และต้องกําหนดโครงสร้างการศึกษาให้เหมาะสมกับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ให้การศึกษาที่ ตรงกับความต้องการของตลาดและความจําเป็นของประเทศ เป็นต้น

 

ข้อ 3 เมืองและชุมชนเมือง คืออะไร มีคุณลักษณะที่สําคัญอย่างไร จงอธิบายโดยละเอียด ?

แนวคําตอบ

เมือง (City/Urban มีความหมายดังนี้

– การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (เช่น บ้านเรือน) มีสิ่ง อํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า ถนน)

– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ใน ระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม

– เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง

– เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี

– เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน

– เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/อุปโภคอย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

ชุมชนเมือง (Urban Community) หมายถึง ชุมชนที่ประกอบไปด้วยคนทุกสถานะทั้งคน รวยและคนจนรวมกันอยู่อย่างแออัดในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนแตกต่างจากสังคมในชนบท และเนื่องจากการที่ชุมชนเมืองจะประกอบไปด้วยผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีจํานวนจํากัด คนในชุมชนเมืองจึงมักจะ มีความเป็นอยู่หนาแน่น จนกระทั่งเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งมักจะมีปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น

คุณลักษณะที่สําคัญ

1 ในฐานะที่เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย ถือเป็นบทบาทโดยทั่วไปของเมืองหรือชุมชนเมือง เพราะเมื่อประชาชนเลือกที่จะอยู่อาศัยในเมืองนั้น ๆ แล้ว เมืองจึงไม่อาจปฏิเสธบทบาทตามความคาดหวังของผู้ ที่อยู่อาศัย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ของเมืองจะต้องดําเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข ซึ่งกิจกรรมหลักก็คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่ดิน่ารื่นรมย์ การสร้างให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์แก่เมือง การสร้างกิจกรรมทางสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้คน และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างได้ผล

2 ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค ได้แก่ ความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่จะให้เมืองเป็นศูนย์กลางการติดต่อ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น ประเทศไทยต้องการให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น

3 ในฐานะที่เป็นเมืองนําการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศต่าง ๆ จะใช้ เมืองมหานครซึ่งมีศักยภาพในทางเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรม การขนส่ง และการบริการในสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว เป็นตัวช่วยให้เกิดการขยายตัวในทางเศรษฐกิจ หรือเหนี่ยวนําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

4 ในฐานะเป็นเมืองนานาชาติ จากการเป็นเมืองนานาชาติจะเป็นไปเพื่อรองรับความ ต้องการของมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของโลก นอกจากนี้ฐานะที่ ได้เปรียบของเมืองในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศยิ่งจะเอื้อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันได้ ในลักษณะนี้ เมืองมหานครของหลาย ๆ ประเทศจะมีการเชื่อมสัมพันธ์ในกิจกรรมที่สนใจร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อประโยชน์ ในทางเศรษฐกิจ เช่น การเป็นเมืองท่า เมืองพี่เมืองน้อง เมืองพันธมิตร เป็นต้น

 

ข้อ 4 จงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นต่อการพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization Development) ในโลกปัจจุบันมาพอสังเขป ? แนวคําตอบ

ความสัมพันธ์ของประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นต่อการพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization Development) ในโลกปัจจุบัน

สถานการณ์ในปัจจุบันของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโลกนั้นเป็นลักษณะการอยู่อาศัยในโลกแห่ง ชุมชนเมือง (Urban World) กล่าวคือ ปัจจุบันประชากรโลก (World Population) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้น จะมีอัตราการเข้ามาอยู่อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้ กลายเป็นชุมชนเมืองไปร้อยเปอร์เซ็นต์เล้ว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่าง แท้จริง

องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กําหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2011 เป็นวันที่ประชากรโลก มีจํานวนครบ 7 พันล้านคน ซึ่งเรียกว่า “Day of 7 Billion” และในปัจจุบันนี้จํานวนประชากรโลกก็มีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหาร และน้ําสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกัน

มลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการอยู่ อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลนและ ทรัพยากรสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ

จากแนวโน้มของประชากรที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มของการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองที่เพิ่มมากเช่นกัน จะเห็นได้ว่าพื้นที่ชุมชนเมืองจะต้องรับภาระหนักในปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อสังคมและคุณภาพชีวิต เช่น ปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความแออัด มลภาวะ ขาดการบริการขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการกระจายโอกาสในด้านต่าง ๆ ไปสู่ประชากรโดยรวม โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและมาตรฐานในการ ใช้ชีวิตซึ่งควรจะมีในสังคมเมือง ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมของชาตินั้น ๆ

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 5 ขอให้ท่านอธิบายชุมชนเมืองโดยอาศัยกรอบแนวคิดทฤษฎีชุมชนเมือง (Urban Theory) มา 3 ทฤษฎีหรือ 3 กรอบแนวคิด ?

แนวคําตอบ

นักวิชาการที่สนใจศึกษาเมืองและความเป็นเมือง และได้รวบรวมจนกลายเป็นทฤษฎีชุมชนเมือง (Urban Theory) ซึ่งนักวิชาการที่สําคัญ มีดังนี้

1 George Simmel มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Culture of the Metropolis” ซึ่งวิเคราะห์ถึงกระบวนการ และธรรมชาติของสินค้าและการแลกเปลี่ยน

2) ให้ความสนใจมหานครที่ทันสมัยและเป็นวัฒนธรรมของชุมชนเมืองโดยทั่วไป

3) ในปี ค.ศ. 1903 เขียนหนังสือชื่อ “The Metropolis and Mental Life” พบว่า แรงกดดันจากมหานครรุนแรงเกินกว่าหรือมิอาจชดเชยด้วยเสรีภาพที่เกิดในเมืองเล็ก ๆ

4) มหานคร (Metropolis) จะเป็นที่รวมหนาแน่นและบูรณาการทั้งมิติของพื้นที่

(Space) และเวลา (Time)

– ความเป็นไปได้ในการดําเนินกิจกรรมและหน้าที่ของคนในชุมชนเมืองมหานครในต้นศตวรรษที่ 20 วิธีหนึ่งคือ จําเป็นต้องใช้นาฬิกาแบบพกพา

(Pocket Watch)

– คนในเมืองอยู่ภายใต้แรงกดดันในที่มีความตรงต่อเวลา

5) ปัจจัยสําคัญในการแลกเปลี่ยนในเมืองสมัยใหม่ คือ เงิน อํานาจที่แฝงเร้น การบูรณาการความหลากหลายของหน้าที่ให้มีความเป็นไปได้

6) คนที่มั่งคั่ง (Wealth) เท่านั้นจะสร้างความมั่นคงในสินค้าหรือบริการได้ โดย

ไม่จําเป็นต้องใช้กําลังไปบังคับหรือจูงใจด้วยอุดมการณ์เช่นในอดีต หรือมีความ เป็นอิสระ แต่ความสัมพันธ์จะอยู่ที่ปัจจัยสําคัญคือ เงิน และเงินสามารถเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของผู้คนให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด

2 Walter Benjamin มีทัศนะเกี่ยวกับเมืองคล้ายกับ George Simmel ซึ่งแนวทาง การศึกษาของเขาสนใจที่จะวิเคราะห์ในเชิงปรัชญา การสนทนาถึงธรรมชาติของสัจจะ ศีลธรรม และเงื่อนไขในการ ดํารงอยู่ของมนุษย์ นอกจากนี้เขายังสนใจศึกษาในเชิงวิภาษวิธีที่รู้จักในนาม การวิพากษ์เชิงลึก (Immanent Critique)

Walter Benjamin เขียนหนังสือชื่อ “The Exegetical City” ซึ่งมีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับ ทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เมืองมหานครเป็นปัจจัยกระตุ้นสําคัญต่อความคิดของเขาที่สะท้อนออกมาในเรื่องของธรรมชาติของประสบการณ์ของมนุษย์

2) สนใจศึกษาเมืองเนเปิลส์ (Naples) ในประเทศอิตาลี พบว่า

– จะมีศิลปะหรือการออกแบบเพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่มีมาแต่ก่อนหน้านั้นอยู่ตลอดเวลา หรือเป็นเรื่องของพลวัตในการออกแบบศิลปะของเมือง คือ การไม่มีที่สิ้นสุดในกฎเกณฑ์หรือวิถีชีวิตของเมือง

– มีคุณลักษณะที่เรียกว่า “Porosity” ของตึกรามและบริเวณส่วนตัวส่วนรวม

– เมืองเนเปิลส์ เป็นเมืองที่กําลังพัฒนามากกว่าเมืองใด ๆ ในยุโรป เมืองเป็นโลกความเป็นจริงของชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะของชนชั้นกลาง

3) เมืองมอสโคว์จะคล้ายกับเมืองเนเปิลส์มาก วิถีชีวิตของคนในเมืองจะสบาย ๆไม่เคร่งครัดด้วยกฎระเบียบแบบในเบอร์ลิน

3 Henri Lefebvre มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Production of City

2) สนใจเชิงสหวิชาทั้งวรรณกรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การวางแผน และกําหนดนโยบาย ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ Kart Marx เมืองเป็นระบบย่อย (Sub-System) ของระบบสังคมที่วิวัฒนาการมาสู่ระบบทุนนิยม (จากปฏิสัมพันธ์ ในเครือข่ายการค้า ความคิด การเกษตรกรรมจากชนบทมาสู่เมือง กฎหมาย ระบบการคลัง ฯลฯ)

– ระบบที่มีการจัดการดังกล่าวอาจนําไปสู่ความล้มเหลวได้ ดังนั้นจึงไม่มีระบบใดที่มีอยู่จริงหรือจะใช้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

3) เขียนหนังสือชื่อ “The Right to the City” (สิทธิที่มีต่อเมือง) มองชุมชนเมือง เป็นที่รวมของทุกสิ่ง และการทดลองในสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในเมือง

– หนังสือนี้มีอิทธิพลต่อนักคิดหนุ่มสาวทั้งสถาปนิก นักวางแผน นักการเมืองนักวิชาการ ซึ่งส่งผลต่อรายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองของพื้นที่ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองกับเศรษฐกิจสังคมอื่น ๆ

4) มองคล้าย Marx ในแง่ที่ว่า เมือง คือ ที่ที่จะใช้คุณค่าและเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนในคุณค่าตลอดจนการรวมคุณค่าเข้าด้วยกัน

5) เมืองเป็นระบบที่เป็นทางการในเชิงความสัมพันธ์ของการผลิต หรือในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์ และวัตถุดิบ ซึ่งคุณค่าในการแลกเปลี่ยน คือ ราคาของสินค้าที่ผลิตเพื่อค้าขาย โดยอาศัยปัจจัยการผลิตในเชิงทุนนิยม

6) ในขณะที่มีการใช้ทุนมากขึ้นจึงมีการแปลงทั้งขนาดและพื้นที่ให้เป็นไปในเชิงการค้ามากขึ้น

7) การแบ่งแยกการใช้แรงงานที่เกิดขึ้นในช่วงยุคต้นทุนนิยม ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ขยายขอบเขตออกไปเหนือเมือง เป็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในขณะที่จะเกิดความแตกต่างระหว่างคนที่มั่งคั่งกับคนจนอย่างสุดขั้ว

8) ด้วยอํานาจและการพิชิตชัยชนะของระบบตลาดหรือทุนนิยมดังกล่าว เมืองจึงเป็นศูนย์กลางของการทํางานในเชิงพาณิชย์และผู้เสียเปรียบทางสังคมที่อยู่อย่างกระจายโดยรอบ โดยไม่สามารถเข้าถึงความมั่งคั่งนั้นได้

9) เรียกเมืองในเชิงทุนนิยมนั้นว่า “สังคมของระบบโครงสร้างที่ได้มีการกําหนดหรือควบคุมการบริโภคไว้แล้ว หรือต่อมานิยมเรียกสังคมผู้บริโภค (Consumer Society)”

10) ตามเหตุผลดังกล่าวสิทธิของผู้บริโภคก็ไม่ได้มีกันทุกคน และการบริโภคก็ไม่ใช่ในเชิงสินค้าหรือการบริการเท่านั้น แต่ยังต้องการสิ่งอื่น ๆ เช่น สุนทรียภาพสัญลักษณ์ ฯลฯ

11) ด้วยเหตุที่เมืองพยายามที่จะรวมเอาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บริการในเชิงการค้า ดังนั้นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ วิถีชีวิตต่าง ๆ จึงไม่อาจเหลืออยู่ต่อไป หรือยากที่จะเข้าใจ หรือเป็นเพียงการเก็บไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูในพิพิธภัณฑ์

12) แนวคิดดังกล่าวเกิดความตระหนักไปทั่วโลกในการศึกษาชุมชนเมืองให้เข้าใจถึงสิ่งที่แตกต่างและรากฐานที่มาของเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในเชิงประวัติศาสตร์

13) แนวคิดของเขายังกระตุ้นให้เกิดการตระหนักในเรื่องของอิทธิพลของทั้งความเป็นชนบท และเมืองในระบบทุนนิยมในหมู่นักวางแผน

 

ข้อ 6 การผังเมือง (City Planning) คืออะไร มีคุณค่า ความหมาย ความสําคัญอย่างไรต่อการบริหารชุมชนเมือง หากปราศจากสิ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น ?

แนวคําตอบ

การผังเมือง (City Planning) มีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1 การวางแผนการเจริญเติบโตล่วงหน้าระยะยาว เพื่อให้เมืองนั้นสามารถดํารงอยู่อย่างยั่งยืน ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีความสมดุลในระบบนิเวศของเมือง

2 การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีเหตุผลโดยการวางกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อสร้าง ความมั่นใจให้คนในชุมชนเมืองมีชีวิตที่ดี มีคุณค่าในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตในชุมชนเมืองนั้น และเพื่อให้เมือง และการดําเนินกิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

คุณค่าของการผังเมือง

1 ส่งเสริมให้เมืองพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้องและมีระเบียบ

2 เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง

3 เสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง

ความสําคัญของการผังเมืองต่อการบริหารชุมชนเมือง

1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง มีระเบียบ ทั้งนี้เนื่องจาก การบริหารชุมชนเมืองจะมีหลักแนวคิด ปรัชญาที่ได้นํามาใช้ในการวางแผน เช่น เรื่องการตอบสนองความเป็นอยู่ที่ดี เรื่องการพัฒนาอย่างสมดุล หรือแผนการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งในขั้นที่จําเป็นที่ต้องขับเคลื่อนเมืองไปสู่อนาคตก็จําเป็นที่จะต้องอาศัยแผนเป็นเครื่องกําหนดทิศทาง ดังนั้นก็ต้องอาศัย หลักการแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการด้วยเช่นกัน เช่น การออกแบบเมือง จัดการทางด้านสถาปัตยกรรมหรือ ภูมิสถาปัตย์ จัดการทางด้านวิศวกรรมโยธา วิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ตลอดจนมิติทางด้านรัฐศาสตร์ก็ตาม ก็ควรนับเข้ารวมอยู่ในด้านการวางแผนด้วยก็จะทําให้เกิดความครอบคลุมรอบด้าน

2 เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรที่จะมีความ สมดุล กล่าวคือ ในเมืองควรจะมีความสมดุลทั้งในด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม รวมตลอดทั้งพัฒนา ทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมด้วย

3 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง ประโยชน์สาธารณะนั้น ก็จะได้จากการวางแผนที่ดี ซึ่งก็หมายถึง ในรายละเอียดของแผนนั้นจะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์กับการเดินทางการศึกษา สําหรับประชาชนที่ต้องการศึกษา สําหรับประชาชนที่ทํางาน ทําธุรกิจ ถ้าเมืองมีการวางแผนไปในทิศทาง ที่ถูกต้องทุกฝ่ายก็จะได้ประโยชน์จากการบริหารเหล่านั้นร่วมกัน

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่มีการผังเมือง

1 ลดพื้นที่ทําการเกษตร ทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ

2 นําไปสู่การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว (Private Transport) และเพิ่มจํานวนรถยนต์ส่วนตัวโดยไม่จําเป็น ซึ่งจะนํามาสู่ความแออัดของการจราจร ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียง และทัศนียภาพ

3 เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

4 นําไปสู่ปัญหาการขาดสายใยทางสังคม (Social Fabric)

5 พื้นที่ชายเมืองที่เคยเป็นปอดของเมืองและแหล่งทัศนียภาพของเมืองที่สร้างความรื่นรมย์จะหดหายไป เป็นต้น

 

ข้อ 7 จงนําเสนอกรอบความคิดตลอดจนแนวทางในการจัดการปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับชุมชนเมืองมาโดยละเอียด ?

แนวคําตอบ

กรอบความคิด

อุทกภัย เป็นหนึ่งในสาธารณภัย โดยคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (2552) ได้ให้ความหมายของอุทกภัยว่าหมายถึง เหตุการณ์ที่มีน้ำท่วมพื้นดินสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งมีสาเหตุจากมี ปริมาณน้ำฝนมากจนทําให้มีปริมาณน้ำฝนส่วนเกินมาเติมปริมาณน้ำผิวดินที่มีอยู่ตามสภาพปกติ จนเกินขีด ความสามารถการระบายน้ำของแม่น้ำลําคลอง และยังมีสาเหตุมาจากการกระทําของมนุษย์ โดยการปิดกันการไหล ของน้ำตามธรรมชาติ ทั้งเจตนาและไม่เจตนา จนเป็นอันตรายต่อชีวิตทรัพย์สินของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

การเกิดอุทกภัยโดยปัจจัยหลักจากธรรมชาติ แบ่งได้ 3 กรณี คือ

1 น้ำจากฟ้า ซึ่งอาจเป็นลักษณะฝน หิมะ ละอองหรือลูกเห็บ

2 น้ำจากแหล่งเก็บกักน้ำ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ โดยมีการระบายน้ำส่วนเกิน ในปริมาณมากทิ้งไปเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อแหล่งน้ำดังกล่าว หรือเกิดเขื่อนฟังอ่างเก็บน้ำแตก จนทําให้เกิดน้ำหลากขึ้น

3 น้ำท่วมจากน้ำทะเลหนุน เกิดจากระดับน้ำทะเลยกตัวสูงในช่วงน้ำขึ้นแล้วท่วมพื้นที่

โดยตรง และน้ำทะเลไหลย้อนเข้าสู่ลําน้ำ เพิ่มระดับน้ำในลําน้ำจนเอ่อท่วมพื้นที่สองฝั่ง

แนวทางในการจัดการปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับชุมชนเมือง สรุปได้ดังนี้

1 การวางแผนบริหารจัดการอุทกภัย

ชุมชนเมืองมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจําทุก ๆ ปี เนื่องจากชุมชนเมืองส่วนใหญ่ มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นทางผ่านของแม่น้ำและลําคลองจํานวนมาก และได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวเมืองทําให้ กลายเป็นแหล่งธุรกิจและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการไหลและการระบายน้ําออกจากพื้นที่ แม้ปริมาณน้ำที่เกิดจากฝนตกหนักในเขตพื้นที่ตัวเมืองจะมีการท่วมขังอยู่บ่อยครั้งก็ตาม ด้วยสรรพกําลังและ ความสามารถในการระบายน้ําของหน่วยงานที่มีอยู่ก็ยอมจะทําให้คลี่คลายไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากเป็นลักษณะของมวลน้ำมหาศาลที่ไหลบ่ามาจากนอกพื้นที่โดยเฉพาะผ่านทางลําคลองที่มีอยู่รอบด้าน ก็จะเป็นการยากที่จะสามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ จึงจําเป็นต้องนําไปสู่การกําหนดนโยบายและการวางแผนการจัดการ ปัญหาอุทกภัยและภัยพิบัติในด้านต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ แนวทางการป้องกันและลดผลกระทบการเตรียมความพร้อม ในการรับมือ การเตรียมความพร้อมสําหรับการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงแผนการจัดการหลังจากเกิด ภัยพิบัติทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว เช่น การดําเนินการลอกท่อระบายน้ำในเขตชุมชน ขุดลอกคูคลองแหล่งน้ำสาธารณะ รวมทั้งกําจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่อุทกภัยได้อย่าง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน เป็นต้น

2 การสร้างคันกั้นน้ำถาวร

พื้นที่ที่ติดแม่น้ำส่วนใหญ่ยังไม่มีแนวคันกั้นน้ำที่ได้มาตรฐาน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง สําคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ดํารงชีวิตและอาศัยอยู่ริมแม่น้ำ อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่มีงบประมาณมหาศาลและยังส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจํานวนมาก ซึ่งจะต้องมีการสํารวจ ผลกระทบที่จะเกิดต่อชุมชน รวมถึงจะต้องเป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนรวมในการตัดสินใจผ่านทางการทําประชาพิจารณ์ และการตรวจสอบความโปร่งใสในการดําเนินการทุกขั้นตอนเสียก่อน เพราะอาจกลายเป็นปัญหากับ ท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงได้

3 การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

การแก้ไขปัญหากับภัยน้ำท่วมนั้นมีความจําเป็นในการสร้างความร่วมมือกับองค์กร ภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อผนึกกําลังต่อสู้กับมวลน้ำที่มีปริมาณมหาศาลที่พร้อมจะเข้า โจมตีเมือง นั่นคือ การขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการในจังหวัด เพื่อดําเนินการ ฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการเตรียมรับมือกับสาธารณภัยในเขตพื้นที่จังหวัด รวมไปถึงการขอความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่สําคัญ เช่น เครื่องสูบน้ำ อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น

นอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ภาคเอกชนนับเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาท สําคัญในการสนับสนุนยุทธปัจจัยในการต่อสู้กับมวลน้ำที่มีปริมาณมหาศาลนี้ ด้วยการสนับสนุนหลายช่องทาง เช่น บริจาคทราย ถุงบรรจุกระสอบทราย เป็นต้น รวมไปถึงสื่อมวลชนที่มีการติดตามและรายงานสถานการณ์ ช่วงเกิดภัยน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง มีการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

การสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการบริหารจัดการน้ำนั้น แม้จะมีระบบ บริหารจัดการที่ดีเพียงใด ย่อมบรรลุผลได้ยาก หากไม่สามารถจัดการคนได้ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการความขัดแย้ง และการเฝ้าระวังการทั้งคันกั้นน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างมากในการสร้างความเข้าใจระหว่างพื้นที่ประสบภัยกับ พื้นที่เหนือแนวคันกั้นน้ำ รวมถึงการมีมิตรไมตรีที่ดีของผู้อยู่เหนือแนวคันกั้นน้ำในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการสร้างสิ่งอํานวยความสะดวก เช่น สะพาน การจัดส่งอาหารยาและเวชภัณฑ์ กรณีที่ประชาชนไม่ย้ายเข้าศูนย์อพยพ

นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครหรือกลุ่มจิตอาสาจํานวนมากที่จะเข้าร่วมช่วยเหลือ ทั้งใน เรื่องการกรอกกระสอบทราย การทําอาหาร หรือการจัดกิจกรรมคลายเครียดในศูนย์พักพิงนั้นด้วย

4 การจัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราว

การจัดเตรียมศูนย์พักพิงเพื่อรองรับกับผู้ประสบภัยจะต้องคํานึงถึงวิถีชีวิตความรู้สึกที่มี ต่อชุมชน และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่เป็นสําคัญ โดยมีแนวทางปฏิบัติที่สําคัญ คือ การตั้งศูนย์พักพิง ขนาดเล็กในพื้นที่ขึ้น นอกจากจะทําให้การบริหารจัดการความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังทําให้การบริการมี ความใกล้ชิด เป็นกันเอง สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของคนในแต่ละพื้นที่เป็นสําคัญ โดยอาจจะอาศัยสถานที่ที่ มีความเป็นสาธารณะและผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ เช่น โรงเรียน วัด มัสยิด อาคารหน่วยงานราชการใน พื้นที่ เป็นต้น

 

ข้อ 8 จงอธิบายถึงปรัชญาและกรอบแนวคิดการบริหารชุมชนเมือง ตลอดจนแนวทางในการบริหารชุมชนเมืองใด ๆ มาโดยสังเขป แต่ให้เห็นเป็นรูปธรรม ?

แนวคําตอบ

การบริหารชุมชนเมืองใด ๆ นั้น ควรที่จะต้องคํานึงถึงปรัชญาทางการบริหาร กรอบแนวคิด ด้านการบริหาร แนวทางในการบริหาร ตลอดจนการวางแผนการบริหาร

ปรัชญาทางการบริหาร

ปรัชญาทางการบริหาร คือ การที่ต้องเข้าใจว่าเมืองนั้นคือที่อยู่อาศัยของมนุษย์ และมนุษย์เข้ามาอยู่ในเมืองเพราะเห็นว่าเมืองนั้นสามารถตอบสนองความต้องการของตนได้มากกว่าชนบท ดังนั้นปรัชญาทางการบริหารนั้นก็ต้องยึดถือหลักการว่า เมืองนั้นจะตอบสนองความจําเป็นพื้นฐานของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ให้ได้ ซึ่งปรัชญาทางการบริหารนั้น ประกอบด้วย

1 ความเข้าใจในระบบนิเวศ คือ การเข้าใจในระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในบริเวณชุมชนเมืองนั้นโดยยึดเอาผู้อยู่อาศัยหรือคนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งต้องทําให้ระบบนิเวศของเมืองมีความสมดุลกัน

และตระหนักว่าในระบบนิเวศของเมืองนั้นถือว่าทุกหน่วยของสิ่งมีชีวิต (ไม่ว่าจะเป็นคน, พืช, สัตว์) และสิ่งไม่มีชีวิต \ (เช่น ที่ดิน, ภูมิอากาศ, โครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น) มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และมีผลซึ่งกันและกันทั้งโดยทางตรง หรือทางอ้อม และมองว่าทุก ๆ ส่วนในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน

2 ต้องตอบสนองปัจจัยพื้นฐาน คือ เมืองจะต้องตอบสนองความจําเป็นพื้นฐานในเรื่อง ของปัจจัย 4 ซึ่งได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม หรือสามารถตอบสนองในเรื่องความต้องการ ตามลําดับขั้นของมนุษย์ 5 ลําดับขั้นได้ คือ

1) ความต้องการทางด้านกายภาพ/ชีวภาพ

2) ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต

3) ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม

4) ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน

5) ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งไว้

 

3 พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ/สังคม/จิตวิทยา คือ การเข้าใจพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม/จิตวิทยา ในชุมชนเมืองนั้นว่าเป็นอย่างไร

พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ/สังคม/จิตวิทยา ได้แก่

– ลักษณะโครงสร้างประชากร

– ลักษณะความคิด/ความเชื่อ/ค่านิยม

– ลักษณะการทํางานเป็นทีม/เด่นคนเดียว

– ลักษณะอาชีพที่นิยม

– ลักษณะวัฒนธรรม/ประเพณี

– ลักษณะชอบอยู่โดด เป็นหมู่พวก/เป็นย่าน

– ลักษณะชีวิตเป็นแบบอยู่นิ่ง/ผจญภัย/ขอบแข่งขัน/ประกอบการ เป็นต้น

4 ศักยภาพดั้งเดิม คือ การเข้าใจในลักษณะทางกายภาพและคุณค่าทางความคิดที่สามารถนํามาบูรณาการและพัฒนาได้ กล่าวคือ ในลักษณะทางกายภาพจะต้องเข้าใจถึง

– ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของชุมชนเมืองว่าเป็นลักษณะใด เป็นแบบแหล่ง/ย่าน/ ปากน้ำ/ปากอ่าว/ศูนย์กลางทางทะเล เป็นต้น

– โครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งได้แก่ เป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค/ท่าเรือน้ำลึก

โครงการการพัฒนา หรือในทางด้านประวัติศาสตร์ คือ การฟื้นฟูประเพณีตามแต่ โบราณ หรือการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

สําหรับด้านคุณค่าทางความคิดนั้นจะต้องคํานึงถึงจิตวิญญาณ เป้าหมายเจตจํานงหรือ วิสัยทัศน์ทางการพัฒนาในแง่ต่าง ๆ ตลอดจนการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ แล้วนํามาเผยแพร่และนําไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น

5 บทบาทของเมือง คือ การวางตําแหน่งของเมือง และการกําหนดบทบาทของเมืองว่าจะเป็นเมืองในลักษณะใด เช่น การเน้นบทบาทของเมืองที่จะเป็นเมืองอุตสาหกรรม เมืองท่องเที่ยว เมืองพาณิชยกรรม หรือเมืองสําหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น

6 แนวคิดความยั่งยืน คือ การพัฒนาให้มีความยั่งยืน และไม่ผลักภาระไปให้คนรุ่นหลัง เป็นการพัฒนาอย่างสมดุลที่คํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ อย่างครอบคลุมทุก ๆ ด้าน คือ ต้องพัฒนาทางด้านสังคม ทางด้าน การศึกษา ทางด้านการเมือง การขนส่ง ไม่ใช่เน้นพัฒนาทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว หรือพัฒนาทางด้าน ความทันสมัยอย่างเดียว

กรอบด้านการบริหาร ในการบริหารชุมชนเมืองใด ๆ จะต้องคํานึงถึงกรอบทางด้านการบริหาร ดังนี้

1 ทางด้านเศรษฐกิจ คือ กิจกรรมในทางเศรษฐกิจของเมืองนั้น เมืองควรจะเป็นแหล่ง

– ตลาด/แหล่งแรงงาน/แหล่งสร้างแรงงาน

– แหล่งผลิต/จําหน่ายจ่ายแจก/แลกเปลี่ยน

– ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค/ประเทศ/โลก

 

2 ทางด้านสังคม คือ การคํานึงถึงคนที่อยู่ในเมืองต้อง

– อยู่อย่างผาสุกบนความเท่าเทียมกัน

– มีกิจกรรมทางสังคม/มีสวัสดิการความปลอดภัย/มีเกียรติภูมิ/มีส่วนร่วม

 

3 ทางด้านการเมือง ในการบริหารชุมชนเมืองจะต้องคํานึงถึงทางด้านการเมือง คือ

1) การเมืองขององค์กรการบริหาร

– อาจแบ่งได้เป็น 3 ระบบ คือ ระบอบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี และ ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี

– ระบบการเมืองในฐานะที่ช่วยเหลือ/การให้อิสระในการบริหารงาน

2) การเมืองในฐานะความเป็นพลเมือง (ในประชาคมเมือง)

– ขบวนการเคลื่อนไหวพื้นฐาน หรือ Basic Movement

– ประชาสังคม (Civil Society)

– ธรรมาภิบาล (Good Governance) สาระสําคัญในการปฏิบัติงานหรือแนวทางในการบริหาร

การปฏิบัติงานหรือการบริหารชุมชนเมือง ซึ่งถือเป็นฝีมือของผู้บริหารและความสําเร็จโดยรวม ของคนในเมืองนั้น โดยมุ่งตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนนั้นเป็นหลัก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสําคัญ 3 ประการ ดังนี้

1 เกียรติภูมิ คือ การทําให้ประชาชนรู้สึกว่าตนมีเกียรติภูมิ สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ตนเองเป็นคนท้องถิ่นนั้น

2 ความรับผิดชอบ คือ การที่คํานึงถึงว่าตัวเองมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง ถ้าทํางาน ผิดพลาดควรรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือมีการปรับปรุงแก้ไข

3 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ แผนงานต้องบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใช้จ่ายเงินของภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้จากประชาชนอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

การวางแผนการบริหารงาน

– การนําเอาปรัชญา/ระบบวิธีคิดมาวางแผน

– การจัดวางระบบความสัมพันธ์ของโครงสร้างเบื้องบน (Super Structure)

– วางแผนทางด้านสังคม/เศรษฐกิจ

– วางแผนการใช้พื้นที่ในการปฏิบัติคือการใช้ผังเมือง

 

ข้อ 9 ปัญหาของการจัดการจราจรและการขนส่งในชุมชนเมืองอยู่ที่ไหนอย่างไร ? แนวคําตอบ

ปัญหาของการจัดการจราจรและการขนส่งในชุมชนเมือง

1 ปัญหาการให้บริการขนส่ง เป็นปัญหาที่มีผลทําให้การบริการขนส่งไม่บรรลุผล มีอุปสรรค หรือปรากฏในลักษณะความไม่แน่นอนในการบริการ (Unreliable Service) ซึ่งได้แก่ ปัญหาความแออัด ปัญหาความจุ ของการขนส่งไม่เหมาะสม ปัญหาราคาการขนส่งที่แพง ปัญหาความปลอดภัย ปัญหาความสะดวกสบาย เป็นต้น

2 ปัญหาผลกระทบภายนอกจากการจราจรและการขนส่ง เช่น ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียง ทัศนะที่มองเห็น (Visual Intrusion) ภาพสถานที่ ยานยนต์ ตลอดจนสิ่งอํานวยความสะดวกที่มีสภาพไม่น่าดู หรือไม่เป็นระเบียบสวยงาม หรืออาจเป็นผลกระทบด้านราคาที่ดินสูงขึ้น และผลกระทบต่อโครงสร้างสังคมและ ชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วไม่เหมาะสมที่เกิดจากการจราจรและการขนส่ง

3 ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งเอง เป็นปัญหาที่กลับมาสร้างความยุ่งยากให้กับ การจราจรและการขนส่งในเมือง ซึ่งได้แก่ การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วทําให้การบริการไม่มีประสิทธิภาพ จนผู้ใช้ไม่นิยมใช้บริการจึงต้องเลิกกิจการไป หรือเมืองที่ขยายตัวจากการอพยพเข้ามาอยู่อาศัย จากชนบทส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองอย่างไม่สิ้นสุด จนในที่สุดก็ส่งผลต่อขีดความสามารถในการ ให้บริการ เช่น ปัญหาการขนส่งผู้โดยสารที่อยู่ตามชานเมืองและจังหวัดเขตติดต่อกรุงเทพฯ ปัญหาการกระจาย ความเจริญ รายได้ การพัฒนาอุตสาหกรรม การใช้รถยนต์ส่วนตัว การใช้ที่ดิน ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

 

ข้อ 10 จงอธิบายถึงแนวทางการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและการขนส่งในชุมชนเมืองที่มีและใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มาโดยละเอียด ?

แนวคําตอบ

ยอดพล ธนาบริบูรณ์ ได้รวบรวมระบบวิธีการและเทคนิคในการจัดการจราจรและการขนส่ง ที่ใช้ในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก รวมประมาณ 66 วิธีการ โดยจําแนกได้เป็น 6 มาตรการใหญ่ ๆ ได้แก่

1 การสร้างข้อจํากัดในการจราจร (Traffic Constrain Techniques) มี 12 วิธีการ เช่น เลขคู่และเลขคี, ระบบเซลล์จราจร, ภาษีผู้ใช้, ถนนคนเดิน เป็นต้น

2 การปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะ (Public Transportation Improvement Techniques) มี 25 วิธีการ เช่น ถนนสําหรับรถบัสเท่านั้น, ทางรถบัส, ลําดับความสําคัญการขนส่งที่สัญญาณไฟ จราจร, กลยุทธ์การจัดการการขนส่งพิเศษ, ตัวรวมกัน, รถบัสสองชั้น, Superbus เป็นต้น

3 การใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง (Peak-Period Dispersion Techniques) มี 3 วิธีการ เช่น การย้ายชั่วโมงทํางาน, สัปดาห์ทํางานที่สั้นลง เป็นต้น

4 การร่วมเดินทางไปด้วยกัน (Ride Sharing Techniques) มี 5 วิธีการ เช่น การ รวมกลุ่มกันใช้รถคันเดียว, โปรแกรมการใช้รถร่วมกัน เป็นต้น

5 มาตรการควบคุมการจอดรถ (Parking Control Techniques) มี 17 วิธีการ เช่น จอดแล้วโดยสารระบบขนส่งสาธารณะ (Park and Ride), ภาษีที่จอดรถ, ที่จอดรถผู้โดยสาร เป็นต้น

6 มาตรการควบคุมการใช้ที่ดิน (Land Use Control Techniques) มี 4 วิธีการ เช่น การย้ายโรงเรียนออกนอกตัวเมือง, เมืองใหม่, การย้ายอาคารผู้โดยสาร เป็นต้น

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง

คําสั่ง ข้อสอบมี 10 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1 จงอธิบายผลกระทบจากการเพิ่มของประชากรโลกต่อสังคมโลก มาโดยสังเขปพร้อมทั้งระบุด้วยว่าจะแก้ไขผลกระทบเหล่านั้นได้อย่างไร ?

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก มีดังนี้

1 ด้านแหล่งน้ำจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำจืด เพราะว่ามนุษย์ก็จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้ เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ำจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆ แล้วก็กลั่นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดน้อยลง 74% ตั้งแต่ปี 1950 และคาดการณ์ว่าจะถึงปี 2050 ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศก็ประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็เกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้ด้วย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะประสบกับปัญหาปริมาณน้ำลดน้อยถอยลง ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคที่จะส่งไปยังประชากรก็ลดลงด้วย ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่าแหล่งน้ำจืดเพื่อการบริโภคอุปโภคจะมี ปัญหาส่งผลกระทบต่อน้ำเพื่อการชลประทาน และอัตราของน้ำเฉลี่ยต่อคนก็จะลดน้อยถอยลง

2 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมี ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและ สัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหล่านี้ก็เกิดปัญหาความเดือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปี ที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไป 100 – 1000 เท่า ซึ่งนอกจากภัยธรรมชาติแล้วยังเกิดจากมนุษย์ ที่ทําลายด้วย อย่างในพื้นที่ชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์อาจเคยมีนกเป็ดน้ำ สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ นับวันก็จะลดน้อยถอยลงและสูญพันธุ์ไป รวมทั้งสัตว์ป่าบางชนิดก็จะสูญพันธุ์ไปด้วย เช่น กูปรี ละมั่ง เลียงผา จามรี เป็นต้น

3 ด้านการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่งเรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบทําให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เราเองด้วย

4 ด้านการประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ เพิ่มขึ้นมากจาก 19 ล้านตัน มาเป็น 88 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี 1988 เป็นต้นมาอัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี 1996 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ลดลงถึง 16 กิโลกรัม/คน ลดลง ประมาณ 9% อย่างไรก็ตามการจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ก็ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวน เพิ่มมากขึ้นและยังมีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ำในปัจจุบันนี้มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก อีกหน่อยมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหารเหล่านี้รับประทานกันน้อยลงและยากขึ้น

5 ด้านการมีงานทําหรือการจ้างงาน (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้มีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว ประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานของโลกจาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 2.7 พันล้านคน องค์การแรงงาน ระหว่างประเทศได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานถึง 1 พันล้านคน พอถึงครึ่งศตวรรษที่ 21 นี้ (ประมาณปี 2050) จะมี คนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงานที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง และส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นปัญหาในสังคมที่กําลังพัฒนา เพราะว่ามีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และก็เข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่งงานที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงานเสียอีก

6 ด้านพื้นที่การเพาะปลูก (Cropland) ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาอัตราการเพิ่มประชากรโลกมีจํานวนมากกว่าพื้นที่การเพาะปลูกต่าง ๆ พื้นที่การเพาะปลูกโดยเฉลี่ยต่อจํานวนประชากรที่มีจํานวนลดน้อยถอยลง ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังแหล่งอาหาร ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าอาหารหรือตลาดอาหารต่าง ๆ ด้วย หากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกก็ยิ่งทําให้พื้นที่เพาะปลูกและผลิตผลมีจํานวนลดน้อยลงไป

7 ด้านป่าไม้ (Forests) การที่มีจํานวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นทําให้เกิดการบุกรุกตัดไม้ ทําลายพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เพื่อการเพาะปลูกต่าง ๆ ที่อยู่อาศัย และการขยายตัว ของเมือง เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่ป่ามีจํานวนลดน้อยลง และพื้นที่ป่าต่อประชากรหนึ่งคนก็ลดลงด้วย โดยเฉพาะ ในประเทศกําลังพัฒนา แต่ก็มีบางพื้นที่ที่มีจํานวนป่าเพิ่มขึ้นคือ ยุโรป และรัสเซีย

8 ด้านที่อยู่อาศัย (Housing) การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกมีแนวโน้มเติบโตและรวดเร็วมาก ความต้องการที่อยู่อาศัยหรือการสร้างบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยก็เพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาโดยทั่วไปของมนุษย์ที่ต้องการ มีที่อยู่อาศัยคือ ที่อยู่อาศัยมักจะมีราคาสูงมากอย่างเช่นในเมือง ที่ดินก็จะมีราคาแพงมากส่งผลให้บ้านก็มีราคาแพง ตามไปด้วย ซึ่งคนที่มีรายได้น้อยในสังคมเมืองก็หาซื้อได้ลําบาก จึงจําเป็นต้องอยู่อาศัยในที่มีพอดํารงชีพได้ ซึ่งก็มักจะเป็นแหล่งชุมชนแออัด ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหา ความแออัด แหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

9 ด้านพลังงาน (Energy) ในช่วง 200 กว่าปีมานี้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ก็เริ่มมีการใช้พลังงานต่าง ๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น จากเดิมที่ใช้พื้น ถ่านกลายมาเป็นใช้น้ํามัน ก๊าซ ฯลฯ และยิ่งมี การพัฒนาอุตสาหกรรม พัฒนาเมืองและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งพัฒนาความทันสมัยในด้านต่าง ๆ แล้ว ก็ยิ่งมีความต้องการที่จะใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันและก๊าซมาก แต่ไม่ค่อย พัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานใต้ผืนพิภพ พลังงานลม เป็นต้น ก็เพิ่งจะเริ่มมีการตื่นตัวในการพัฒนาไม่กี่ปีมานี้เอง ซึ่งความเป็นเมืองนี้เองที่เป็นศูนย์กลางทําให้มีการใช้พลังงาน อย่างมาก ความต้องการในการใช้พลังงานของประชากรโลกก็มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากว่าประเทศกําลังพัฒนา ก็มักจะพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีการใช้พลังงานเป็นอย่างมากด้วย ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ก๊าช และน้ำมัน ซึ่งได้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่มีความต้องการใช้พลังงานมาก ก็ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานชีวมวลด้วย จากที่เคยปลูกพืชเพื่อการบริโภคก็ต้องปลูกพืชเพื่อผลิตเป็นพลังงาน เช่น การปลูกอ้อย มันสําปะหลัง และข้าวโพด ฯลฯ เพื่อนําไปผลิตเป็นพลังงานที่เรียกกันว่า ไบโอดีเซล เป็นต้น

10 ด้านการสร้างชุมชนเมืองหรือพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization) ประชากรโลก มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกันมลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการ ในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการอยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 2 พฤติกรรมและการกระทําของมนุษย์ในโลกยุคปัจจุบันในลักษณะที่จะก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสังคมในเชิงความผิดบาป (Sin) มีอะไร อย่างไร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 1 – 2, 8), (คําบรรยาย)

พฤติกรรมและการกระทําของมนุษย์ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสังคมใน เชิงความผิดบาปจากแนวโน้มของประชากรที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มของการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองที่เพิ่มมากเช่นกัน จะเห็นได้ว่าพื้นที่ชุมชนเมืองจะต้องรับภาระหนักในปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อสังคมและคุณภาพชีวิต ไปจนถึงพฤติกรรมและการกระทําของมนุษย์ในโลกยุคปัจจุบันในลักษณะที่จะก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสังคมใน เชิงความผิดบาป (Sin) เช่น ปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ ปัญหาอัตราการตายของทารกแรกคลอด ปัญหาโรคร้ายแรง ปัญหาสุขภาพกายและ สุขภาพจิต ความแออัด มลภาวะ ขาดการบริการขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการกระจายโอกาสในด้านต่าง ๆ ไปสู่ ประชากรโดยรวม โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและมาตรฐานในการใช้ชีวิตซึ่งควรจะมีในสังคมเมือง ซึ่งจะส่งผลต่อ ภาพรวมของซาตินั้น ๆ

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น

เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 3 จงอธิบายให้เข้าใจว่าเมือง และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมืองคืออะไร อย่างไร ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 34 – 39, 55)

นิยามและการเกิดขึ้นมาของเมืองหรือชุมชนเมือง เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้ คือ

– การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (อันได้แก่ บ้านเรือน)

มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า และถนน เป็นต้น)

– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ในระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม

– เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรม การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและ ป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอัน ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/ อุปโภคอย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งเคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

Urban คือ เมืองหรือชุมชนเมือง (Urban Community) คือ ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มี สาระสําคัญหรือจุดร่วมของความเป็นเมือง อันได้แก่ ความเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ความหนาแน่น วิถีชีวิต หรือในแง่ของการเมืองการบริหาร เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง

ความสัมพันธ์ของการรวมตัวในแง่การผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรม อาจเป็นเครื่องบ่ง บอกถึงระบบของการก่อกําเนิดเป็นชุมชนเมืองนั้น ๆ ได้ เช่น ชุมชนที่รวมตัวกันหนาแน่นจนเกิดปริมาณมากพอ ในแง่ของการบริโภค ซึ่งโดยปกติเฉพาะอย่างยิ่งเมืองหลายเมืองที่กลายมาเป็นมหานครในปัจจุบันมักจะมีจุดเริ่มต้น และก่อกําเนิดมาจากการมีบทบาทในการเป็นศูนย์กลางในทางเศรษฐกิจ หรือเป็นเมืองหลวง หรือเป็นเมืองใหญ่ ริมชายฝั่งทะเล ซึ่งการรวมตัวเป็นชุมชนหนาแน่นเป็นกลุ่มก้อนดังกล่าวช่วยเอื้อให้เกิดความประหยัดหรือการขาดแคลนในด้านแรงงาน วิทยาการความรู้ การบริการธุรกิจการเงิน การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย และการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการขนส่ง

ทํานองเดียวกันในทางสังคมวิทยา การรวมตัวกันเข้าเป็นชุมชนเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ และ สิ่งแวดล้อมในสังคมเป็นตัวกําหนด ซึ่งแนวโน้มการตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หมู่บ้าน เมือง และนคร ตามลําดับนั้น เป็นผลสืบเนื่องจากความต้องการและกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การบริการ การค้า การ ลงทุนประกอบการ การดําเนินกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ดังนั้นมนุษย์จึงมีความต้องการหรือความคาดหวังที่จะ เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่เห็นว่าจะมีชีวิตที่ดีและเหมาะสมกว่า

 

ข้อ 4 จงอธิบายกรอบความคิดเชิงทฤษฎีที่สําคัญ ๆ ที่สามารถอธิบายความเป็นเมืองในแง่มุมต่าง ๆ มาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 63 – 65)

สาเหตุหรือจุดกําเนิดของความเป็นสังคม ชุมชน และเมือง มีหลายปัจจัยที่นักคิดของศาสตร์ สาขาต่าง ๆ ต่างก็อธิบายหรืออ้างเหตุผลในเชิงวิชาการตามแนวทางของตน เช่น

แนวความคิดเชิงทฤษฎีของสํานักสังคมวิทยา

ในทางสังคมวิทยา อธิบายว่า ระบบชุมชนเป็นระบบของปัจจัย 3 ประการที่เกี่ยวข้องกัน คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Areas) การปะทะสังสรรค์กันทางสังคม (Social Interaction) และความผูกพันร่วมกัน (Common Ties)

นั่นคือในสังคมนั้นจะประกอบด้วยบุคคลที่มีการปะทะสังสรรค์กันทางสังคมในพื้นที่ทาง ภูมิศาสตร์และมีความผูกพันร่วมกันในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง ดังนั้นผลผลิตของชุมชนหรือสังคม คือ

– การกล่อมเกลา ทางสังคม (Socialization)

– การควบคุมทางสังคม (Social Control)

– การมีส่วนร่วมในสังคม (Social Participation)

– การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (Mutual Support)

– ทุนทางสังคม (Social Capital)

– การผลิต การบริโภค และการกระจายสินค้าและบริการภายในชุมชน (Production,Consumption, Distribution)

ในแง่ของจิตใจและวัฒนธรรม คนจะมีความรู้สึกในความเป็นคนถิ่นนั้นถิ่นนี้เพราะเกิด ความรู้สึกมั่งคงในการมีที่ยึดเหนี่ยวด้านจิตใจ (Community Sentiment) ที่เกิดจากการหล่อหลอมทางค่านิยม ของกฎเกณฑ์และเป้าหมายร่วมกัน

กระบวนการของคนในสังคมหรือชุมชนโดยลักษณะธรรมชาติดังกล่าว คือ ความเป็นเมือง ในทัศนะของนักสังคมวิทยา

 

ข้อ 5 จงอธิบายปรัชญา อุดมการณ์ ระบบวิธีการ ตลอดจนเป้าหมายของการบริหารชุมชนเมืองมาให้กระจ่างชัด ?

แนวคําตอบ (หน้า 128 – 129), (คําบรรยาย)

แนวคิดและวิธีการในการบริหารชุมชนเมืองใด ๆ นั้น ควรที่จะต้องมีการคํานึงถึงปรัชญาทางการบริหาร กรอบด้านการบริหาร แนวทางในการบริหาร ตลอดจนขั้นการวางแผนการบริหาร

ปรัชญาทางการบริหาร

ปรัชญาทางการบริหาร คือ การที่ต้องเข้าใจว่าเมืองนั้นคือที่อยู่อาศัยของมนุษย์ และมนุษย์เข้ามาอยู่ในเมืองเพราะเห็นว่าเมืองนั้นสามารถตอบสนองความต้องการของตนได้มากกว่าชนบท ดังนั้นปรัชญาทางการบริหารนั้นก็ต้องยึดถือหลักการว่า เมืองนั้นจะตอบสนองความจําเป็นพื้นฐานของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ให้ได้ ซึ่งปรัชญาทางการบริหารนั้น ประกอบด้วย

1 ความเข้าใจในระบบนิเวศ คือ การเข้าใจในระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในบริเวณชุมชนเมืองนั้นโดยยึดเอาผู้อยู่อาศัยหรือคนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งต้องทําให้ระบบนิเวศของเมืองมีความสมดุลกัน

และตระหนักว่าในระบบนิเวศของเมืองนั้นถือว่าทุกหน่วยของสิ่งมีชีวิต (ไม่ว่าจะเป็นคน, พืช, สัตว์) และสิ่งไม่มีชีวิต \ (เช่น ที่ดิน, ภูมิอากาศ, โครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น) มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และมีผลซึ่งกันและกันทั้งโดยทางตรง หรือทางอ้อม และมองว่าทุก ๆ ส่วนในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน

2 ต้องตอบสนองปัจจัยพื้นฐาน คือ เมืองจะต้องตอบสนองความจําเป็นพื้นฐานในเรื่อง ของปัจจัย 4 ซึ่งได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม หรือสามารถตอบสนองในเรื่องความต้องการ ตามลําดับขั้นของมนุษย์ 5 ลําดับขั้นได้ คือ

1) ความต้องการทางด้านกายภาพ/ชีวภาพ

2) ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต

3) ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม

4) ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน

5) ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งไว้

 

3 พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ/สังคม/จิตวิทยา คือ การเข้าใจพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม/จิตวิทยา ในชุมชนเมืองนั้นว่าเป็นอย่างไร

พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ/สังคม/จิตวิทยา ได้แก่

– ลักษณะโครงสร้างประชากร

– ลักษณะความคิด/ความเชื่อ/ค่านิยม

– ลักษณะการทํางานเป็นทีม/เด่นคนเดียว

– ลักษณะอาชีพที่นิยม

– ลักษณะวัฒนธรรม/ประเพณี

– ลักษณะชอบอยู่โดด เป็นหมู่พวก/เป็นย่าน

– ลักษณะชีวิตเป็นแบบอยู่นิ่ง/ผจญภัย/ขอบแข่งขัน/ประกอบการ เป็นต้น

4 ศักยภาพดั้งเดิม คือ การเข้าใจในลักษณะทางกายภาพและคุณค่าทางความคิดที่สามารถนํามาบูรณาการและพัฒนาได้ กล่าวคือ ในลักษณะทางกายภาพจะต้องเข้าใจถึง

– ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของชุมชนเมืองว่าเป็นลักษณะใด เป็นแบบแหล่ง/ย่าน/ ปากน้ำ/ปากอ่าว/ศูนย์กลางทางทะเล เป็นต้น

– โครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งได้แก่ เป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค/ท่าเรือน้ำลึก

โครงการการพัฒนา หรือในทางด้านประวัติศาสตร์ คือ การฟื้นฟูประเพณีตามแต่ โบราณ หรือการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

สําหรับด้านคุณค่าทางความคิดนั้นจะต้องคํานึงถึงจิตวิญญาณ เป้าหมายเจตจํานงหรือ วิสัยทัศน์ทางการพัฒนาในแง่ต่าง ๆ ตลอดจนการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ แล้วนํามาเผยแพร่และนําไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น

5 บทบาทของเมือง คือ การวางตําแหน่งของเมือง และการกําหนดบทบาทของเมืองว่าจะเป็นเมืองในลักษณะใด เช่น การเน้นบทบาทของเมืองที่จะเป็นเมืองอุตสาหกรรม เมืองท่องเที่ยว เมืองพาณิชยกรรม หรือเมืองสําหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น

6 แนวคิดความยั่งยืน คือ การพัฒนาให้มีความยั่งยืน และไม่ผลักภาระไปให้คนรุ่นหลัง เป็นการพัฒนาอย่างสมดุลที่คํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ อย่างครอบคลุมทุก ๆ ด้าน คือ ต้องพัฒนาทางด้านสังคม ทางด้าน การศึกษา ทางด้านการเมือง การขนส่ง ไม่ใช่เน้นพัฒนาทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว หรือพัฒนาทางด้าน ความทันสมัยอย่างเดียว

กรอบด้านการบริหาร ในการบริหารชุมชนเมืองใด ๆ จะต้องคํานึงถึงกรอบทางด้านการบริหาร ดังนี้

1 ทางด้านเศรษฐกิจ คือ กิจกรรมในทางเศรษฐกิจของเมืองนั้น เมืองควรจะเป็นแหล่ง

– ตลาด/แหล่งแรงงาน/แหล่งสร้างแรงงาน

– แหล่งผลิต/จําหน่ายจ่ายแจก/แลกเปลี่ยน

– ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค/ประเทศ/โลก

 

2 ทางด้านสังคม คือ การคํานึงถึงคนที่อยู่ในเมืองต้อง

– อยู่อย่างผาสุกบนความเท่าเทียมกัน

– มีกิจกรรมทางสังคม/มีสวัสดิการความปลอดภัย/มีเกียรติภูมิ/มีส่วนร่วม

 

3 ทางด้านการเมือง ในการบริหารชุมชนเมืองจะต้องคํานึงถึงทางด้านการเมือง คือ

1) การเมืองขององค์กรการบริหาร

– อาจแบ่งได้เป็น 3 ระบบ คือ ระบอบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี และ ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี

– ระบบการเมืองในฐานะที่ช่วยเหลือ/การให้อิสระในการบริหารงาน

2) การเมืองในฐานะความเป็นพลเมือง (ในประชาคมเมือง)

– ขบวนการเคลื่อนไหวพื้นฐาน หรือ Basic Movement

– ประชาสังคม (Civil Society)

– ธรรมาภิบาล (Good Governance) สาระสําคัญในการปฏิบัติงานหรือแนวทางในการบริหาร

การปฏิบัติงานหรือการบริหารชุมชนเมือง ซึ่งถือเป็นฝีมือของผู้บริหารและความสําเร็จโดยรวม ของคนในเมืองนั้น โดยมุ่งตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนนั้นเป็นหลัก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสําคัญ 3 ประการ ดังนี้

1 เกียรติภูมิ คือ การทําให้ประชาชนรู้สึกว่าตนมีเกียรติภูมิ สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ตนเองเป็นคนท้องถิ่นนั้น

2 ความรับผิดชอบ คือ การที่คํานึงถึงว่าตัวเองมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง ถ้าทํางาน ผิดพลาดควรรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือมีการปรับปรุงแก้ไข

3 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ แผนงานต้องบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใช้จ่ายเงินของภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้จากประชาชนอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

การวางแผนการบริหารงาน

– การนําเอาปรัชญา/ระบบวิธีคิดมาวางแผน

– การจัดวางระบบความสัมพันธ์ของโครงสร้างเบื้องบน (Super Structure)

– วางแผนทางด้านสังคม/เศรษฐกิจ

– วางแผนการใช้พื้นที่ในการปฏิบัติคือการใช้ผังเมือง

 

ข้อ 6 จงอภิปรายปัญหาอุปสรรคตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาของเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครหรือเมืองที่เราอยู่อาศัย โดยเฉพาะจําเป็นต้องยกตัวอย่างแบบเจาะลึกให้เห็นเป็นรูปธรรมเป็นด้าน ๆ ไป ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 265 – 279)

การบริหารชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

ในสภาวการณ์ปัจจุบันกรุงเทพมหานครกําลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติของเมือง (Urban Crisis) อันเนื่องมาจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาสภาวะแวดล้อม เสื่อมโทรม ปัญหามลพิษทางน้ํา ทางอากาศ ฝุ่นละออง หรือปัญหาชุมชนแออัด ซึ่งกรุงเทพฯ ในฐานะหน่วยงาน หลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้เร่งรัดดําเนินการแก้ไขมาโดยตลอด แต่เนื่องจากกรุงเทพฯ มีข้อจํากัดในการดําเนินการ หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ อัตรากําลังคน กฎหมาย และความเกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่น ทําให้ การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพโดยกรุงเทพฯ ฝ่ายเดียวได้

– แนวทางแก้ปัญหาสําคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ ประชาชนเข้ามามีบทบาทร่วมในการพัฒนากรุงเทพฯ มากขึ้นตามหลักการที่ว่า ผู้มีส่วนร่วมสร้างปัญหาควรมี ส่วนในการแก้ไขปัญหาด้วย ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของประเทศต่าง ๆ ว่าจะทําให้การพัฒนาเมือง สามารถบรรลุผลสําเร็จได้ และนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

หลักการพื้นฐานของประชาคมเมือง คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกฝ่ายในกรุงเทพฯ ให้ได้มีโอกาสพบปะกันเป็นประจํา หรือสร้างความรู้สึกรักท้องถิ่นร่วมกัน การรับรู้ปัญหา การตระหนักต่อ สถานการณ์ปัญหาร่วมกัน โดยร่วมดําเนินการจัดระบบการแก้ไขปัญหาตามสถานภาพของตน ไม่ผลักภาระให้ เป็นของฝ่ายใดหรือหน่วยงานใด แต่ต้องยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะต้องรับผิดชอบ ร่วมกัน

สภาพปัญหาการบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ดังนี้

1 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก

– กทม. ไม่มีอิสระและไม่มีอํานาจเพียงพอเด็ดขาดในการบริหารงานให้เป็นไปตาม อํานาจหน้าที่ที่ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 บัญญัติไว้ เนื่องจากอํานาจหน้าที่บางอย่างได้มีกฎหมายกําหนดไว้ให้หน่วยงานราชการส่วนกลางดําเนินการเอง

2 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน

– ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรภายใน กทม.

– การขาด ความชัดเจนในด้านอํานาจหน้าที่ของกทม.

– ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าฯ กทม. กับสภา กทม. ยังไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

– ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่าย กทม. กับประชาคม โดยยังไม่มีการเปิดโอกาสให้ประชาคมต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานเท่าที่ควร

– ความสัมพันธ์ระหว่าง กทม. กับรัฐบาลที่ยังไม่ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

– ระบบบริหารจัดการบริการสาธารณะของ กทม. ซึ่งจะไม่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางแต่ภาครัฐจะกําหนดรูปแบบการให้บริการแก่ประชาชน (Inward Looking)

– ระบบการจัดเก็บรายได้ยังจัดเก็บได้ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนด และการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางไม่เหมาะสม

แนวทางการปรับปรุงการบริหารชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

1 เน้นการจัดโครงสร้างองค์กรแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสภาพแวดล้อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว

2 กําหนดบทบาท พันธกิจของ กทม. ให้ชัดเจน สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักการบริหารราชการที่ดี

3 จัดองค์กรการบริหารราชการ กทม. ให้มีขนาดเหมาะสมกับภารกิจ และมีการนําเทคโนโลยีและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ทดแทนการขยายหน่วยงานและบุคลากร

4 ให้มีระบบการบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์ โดยมีการวางยุทธศาสตร์และแผนการบริหารราชการของ กทม. และให้ทุกหน่วยงานจัดทําแผนปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนการบริหารราชการของ กทม. โดยมีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

5 ให้มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติราชการในทุกระดับ

6 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารราชการของ กทม.

ปัญหาและแนวทางแก้ไข มีดังนี้

1 ปัญหาการจราจรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้นภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ําของเวลาการทํางานเพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ

– การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น

– จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ

– ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัดอยู่แล้ว

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้งขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางลัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

2 ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง

ปัญหามลพิษทางน้ำมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การบําบัดน้ำเสีย

– การจํากัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

– การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางน้ำแก่ประชาชน

– การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ

– การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสํารวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ

ปัญหามลพิษทางอากาศมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ

– สํารวจและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เป็นประจํา

– ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด ทําได้โดยการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับ ความสําคัญของอากาศบริสุทธิ์ และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนให้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ และเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ปัญหามลพิษทางเสียงมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์

– การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ บังคับ

– การกําหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกําหนดผังเมือง

– การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย

– การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

3 ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัดมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ย้ายไปอยู่ชานเมืองโดยการเช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของรัฐบาล

– มีการควบคุมความหนาแน่นของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

– ส่งเสริมหรือขยายความเจริญออกไปสู่จุดอื่น ๆ ของประเทศ อย่างที่เรียกกันว่า“สร้างเมืองใหม่” หรือ “ชุมชนใหม่”

– มีการกําหนดผังเมืองและควบคุมการใช้ที่ดิน เช่น ไม่ให้มีการสร้างอาคารพาณิชย์หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในย่านที่อยู่อาศัย

– รัฐควรส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสําหรับประชากรที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

– ควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชนให้สอดคล้องกับผังเมือง

4 ปัญหาด้านความปลอดภัยของประชาชนมีแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้

– ให้มีอาสาสมัครทั้ง 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจในการช่วยเหลือเบื้องต้นในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่ายชุมชน

– ปราบปรามผู้กระทําผิดอย่างจริงจัง

– มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจรอาสาตํารวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตํารวจ ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีรายได้พอเพียง เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการลักทรัพย์ เป็นต้น

– จัดให้มีอาสาสมัครกรุงเทพมหานครตามเขตและโรงพยาบาลเพื่ออํานวยความสะดวกในการติดต่อและช่วยประสานงานหรือดูแลความปลอดภัย

5 ปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ใช้นโยบายสาธารณูปโภคเป็นเครื่องมือควบคุมทางผังเมือง เช่น ลดอัตราสาธารณูปโภคในเขตที่กําหนด หรือกําหนดเขตที่ไม่จ่ายสาธารณูปโภค

– ป้องกันคนอพยพเข้ากรุงเทพมหานคร โดยดึงดูดคนให้ไปอยู่ในชุมชนใหม่หรือเมืองใหม่

– ให้มีการวางนโยบายระบบบริการสาธารณูปโภคในเมือง ให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางโดยลงทุนค่าบริการให้น้อยที่สุด แต่ให้ทั่วถึงประชาชนมากที่สุด

 

ข้อ 7 จงวิเคราะห์ความสําคัญความจําเป็นของการจัดการการจราจรและการขนส่งในเมือง ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 241 – 244, 253)

ความสําคัญของการจัดการการจราจรและการขนส่งในชุมชนเมือง

ในชุมชนเมืองนั้น การขนส่งและการเดินทางติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นความจําเป็นของพลเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากชุมชนเมืองมีกิจกรรมของผู้คนมากเท่าใด ความจําเป็นในการติดต่อสื่อสาร การเดินทางและการขนส่งย่อมจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทั้งนี้ถ้าหากมีการติดต่อ การเดินทางและการขนส่งที่ดีและมีประสิทธิภาพก็จะยิ่งส่งเสริมให้กิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการเดินทาง การติดต่อสื่อสารและการขนส่งเป็นทั้งกระบวนการและเป้าหมายอย่างหนึ่งของการบริหารชุมชนเมืองที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยลักษณะดังกล่าวเมืองที่มีชีวิตจะเป็นเมือง ที่ผู้คนสามารถดําเนินกิจกรรมได้อย่างไม่มีสิ้นสุดโดยมีโครงข่ายการติดต่อสื่อสาร การจราจร และการขนส่ง เป็นตัวเชื่อมโยงให้เกิดกิจกรรมและสามารถเดินทางถึงกันอย่างสมบูรณ์

ปัญหาการจราจรและการขนส่งในเมือง

1 ปัญหาการให้บริการขนส่ง เป็นปัญหาที่มีผลทําให้การบริการขนส่งไม่บรรลุผล มี อุปสรรคหรือมีความไม่แน่นอนในการบริการ เช่น ปัญหาความแออัด ปัญหาความจุของการขนส่งไม่เหมาะสม ปัญหาราคาการขนส่งที่แพง ปัญหาความปลอดภัย และปัญหาความสะดวกสบาย

2 ปัญหาผลกระทบภายนอกจากการจราจรขนส่ง เช่น ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียง ทัศนะที่มองเห็นที่มีสภาพไม่น่าดูหรือไม่เป็นระเบียบสวยงาม ปัญหาด้านราคาที่ดินสูงขึ้น และผลกระทบต่อ โครงสร้างสังคมและชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

3 ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งเอง เช่น ปัญหาการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร อย่างรวดเร็วทําให้การบริการขนส่งไม่มีประสิทธิภาพ จนผู้ใช้ไม่นิยมใช้บริการจึงต้องเลิกกิจการไป ปัญหาการขนส่ง ผู้โดยสารที่อยู่ตามชานเมืองและจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับเมืองหลวง ปัญหาการกระจายความเจริญ รายได้ การพัฒนาอุตสาหกรรม การใช้รถยนต์ส่วนตัว การใช้ที่ดิน และปัญหาเศรษฐกิจ สังคมอื่น ๆ

อย่างไรก็ตามปัญหาหลักของการขนส่งในเมืองใหญ่มีผลมาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ

1 การเพิ่มขึ้นของประชากรในเมือง

2 การเพิ่มขึ้นของรถยนต์ส่วนบุคคลอย่างไม่ได้สัดส่วนกับจํานวนถนน

3 ปัญหาความล่าช้าในการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน

แนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรและการขนส่งในเมือง มีดังนี้

– สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้นภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ําของเวลาการทํางานเพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ

– การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น

– จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ

– ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัดอยู่

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้งขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางจัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

 

ข้อ 8 จงอธิบายการผังเมือง และความเกี่ยวข้องกับการบริหารชุมชนเมืองว่าเป็นอย่างไรโดยละเอียด ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 134, 148, 230 – 233), (คําบรรยาย)

ความหมายของการผังเมือง (City Planning) มีดังนี้

1 คือ การวางแผนการเจริญเติบโตล่วงหน้าระยะยาวเพื่อให้เมืองนั้นสามารถดํารงอยู่อย่าง ยั่งยืน ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีความสมดุลในระบบนิเวศของเมือง

2 คือ การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีเหตุผลโดยการวางกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อสร้าง ความมั่นใจให้คนในชุมชนเมืองมีชีวิตที่ดี มีคุณค่าในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตในชุมชนเมืองนั้น และเพื่อให้เมือง และการดําเนินกิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสําคัญของการผังเมืองต่อการบริหารชุมชนเมือง

1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง มีระเบียบ ทั้งนี้เนื่องจาก การบริหารชุมชนเมืองจะมีหลักแนวคิด ปรัชญาที่ได้นํามาใช้ในการวางแผน เช่น เรื่องการตอบสนองความเป็นอยู่ ที่ดี เรื่องการพัฒนาอย่างสมดุล หรือแผนการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งในขั้น ที่จําเป็นที่ต้องขับเคลื่อนเมืองไปสู่อนาคตก็จําเป็นที่จะต้องอาศัยแผนเป็นเครื่องกําหนดทิศทาง ดังนั้นก็ต้องอาศัย หลักการแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการด้วยเช่นกัน เช่น การออกแบบเมือง จัดการทางด้านสถาปัตยกรรมหรือ ภูมิสถาปัตย์ จัดการทางด้านวิศวกรรมโยธา วิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ตลอดจนมิติทางด้าน รัฐศาสตร์ก็ตาม ก็ควรนับเข้ารวมอยู่ในด้านการวางแผนด้วยก็จะทําให้เกิดความครอบคลุมรอบด้าน

2 เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรที่จะมีความ สมดุลก็คือ ในเมืองควรจะมีความสมดุลทั้งในด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม รวมตลอดทั้งพัฒนา ทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมด้วย

3 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง ประโยชน์สาธารณะนั้น ก็จะได้จากการวางแผนที่ดี ซึ่งก็หมายถึง ในรายละเอียดของแผนนั้นจะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์กับการเดินทาง การศึกษา สําหรับประชาชนที่ต้องการศึกษา สําหรับประชาชนที่ทํางาน ทําธุรกิจ ถ้าเมืองมีการวางแผนไปในทิศทาง ที่ถูกต้องทุกฝ่ายก็จะได้ประโยชน์จากการบริหารเหล่านั้นร่วมกัน

ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการขยายขอบเขตของชุมชนเมืองอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) โดยที่ไม่มีการผังเมือง ดังนี้

1 ลดพื้นที่ทําการเกษตร ทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ

2 นําไปสู่การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว (Private Transport) และเพิ่มจํานวนรถยนต์ส่วนตัวโดยไม่จําเป็น ซึ่งจะนํามาสู่ความแออัดของการจราจร ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียง และทัศนียภาพ

3 เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

4 นําไปสู่ปัญหาการขาดสายใยทางสังคม (Social Fabric)

5 พื้นที่ชายเมืองที่เคยเป็นปอดของเมืองและแหล่งทัศนียภาพของเมืองที่สร้างความ

รื่นรมย์และไม่ไกลนักจะหดหายไป

 

ข้อ 9 การจัดการขยะแบบ Zero Waste คืออะไร ทําได้อย่างไร ควรจะทําหรือไม่เพราะเหตุใด ?

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

การจัดการขยะแบบ Zero Waste

ขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) เป็นแนวคิดของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ซึ่ง เป็นแนวคิดในการส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด และลดขยะให้เหลือน้อยที่สุด โดยใช้หลักการ 3Rs (Reduce-Reuse-Recycle) รวมทั้งการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ให้สามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้

หัวใจสําคัญของแนวคิดขยะเหลือศูนย์ คือ การจัดการขยะที่ต้นทาง คือเน้นการลดขยะ การใช้ซ้ำ และการคัดแยกเพื่อนํากลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล ก่อนนําไปกําจัด ซึ่งแตกต่างจากการจัดการขยะใน ปัจจุบันที่เน้นการกําจัดหรือจัดการขยะที่ปลายทาง มากกว่าการแก้ไขที่ต้นทาง

ขั้นตอนสู่การจัดการขยะเหลือศูนย์ คือ หลักการ 3Rs (Reduce-Reuse-Recycle) มีดังนี้

1 Reduce คือ ลดการใช้ เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก ใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดมือแทนการ ใช้กระดาษทิชชู ใช้ปิ่นโตหรือกล่องข้าวแทนกล่องโฟม ทานอาหารที่ร้านแทนการซื้อกลับบ้าน พกกระติกน้ำแทนการซื้อน้ำจากขวดพลาสติก นํากระติกไปให้แม่ค้าใส่กาแฟแทนการรับแก้วแบบใช้แล้วทิ้ง เลือกซื้อสินค้าที่มีบรรจุ ภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เลือกร้านที่ใช้กล่องบรรจุอาหารที่ทํามาจากชานอ้อยแทนร้านที่ใช้กล่องโฟม ไม่ซื้อสินค้าเกินความจําเป็น เป็นต้น ซึ่งการ Reduce (ลดการใช้) คือ จุดเริ่มต้นที่สําคัญที่สุดของการจัดการ ขยะให้เหลือศูนย์ (ให้เหลือน้อยที่สุด)

2 Reuse คือ การใช้ซ้ำ การนําสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด เช่น การนํา ขวดแก้วมาใช้ซ้ำ นํากระดาษมาใช้ให้ครบทั้ง 2 หน้า ล้างช้อนพลาสติกเพื่อนํากลับมาใช้ใหม่ ล้างกล่องคุกกี้มาใช้เป็นกล่องใส่ของ ซ่อมรองเท้าที่ขาด นําเสื้อผ้าเก่าไปเย็บกระเป๋า ทําสิ่งประดิษฐ์จากของเหลือใช้ นําขวดน้ำพลาสติกไปเป็นภาชนะปลูกผัก เลือกสินค้าที่สามารถใช้ได้แทนสินค้าที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ถ่านไฟฉายแบบชาร์ตไฟได้

3 Recycle คือ การนํากลับมาใช้ใหม่ การคัดแยกขยะที่สามารถรีไซเคิล เช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ หมุนเวียนกลับไปเข้าสู่กระบวนการผลิต ผ่านกระบวนการแปรรูป เพื่อนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น กระดาษใช้แล้วนําไปผลิตเป็นกระดาษรีไซเคิล กล่องนมนําไปผลิตเป็นแผ่นกรีนบอร์ด กระป๋องอลูมิเนียมนําไปผลิตขาเทียม ขวดน้ำพลาสติกนําไปผลิตเป็นเส้นใยสําหรับทําเสื้อกันหนาวหรือพรม เหล็กนําไปผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง นําขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ เช่น ทําน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ผลิตแก๊สชีวภาพ

หัวใจสําคัญที่จะทําให้เกิดการรีไซเคิลได้ คือ การคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง แล้วนําไป ขายให้ร้านรับซื้อของเก่าหรือซาเล้ง ซึ่งจะนําไปขายต่อให้โรงงานรีไซเคิลอีกที ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิด การคัดแยกขยะ ได้แก่ ธนาคารขยะรีไซเคิล ตลาดนัดขยะรีไซเคิล ตลาดนัดสินค้ารีไซเคิลมือสอง ผ้าป่าขยะรี ไซเคิล ขยะแลกไข่หรือขยะแลกของ เป็นต้น

นอกจากนี้ ถังขยะโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ

1 ถังขยะมีพิษ (สีเทา ฝาแดง)

2 ถังขยะย่อยสลาย (สีเขียว)

3 ถังขยะรีไซเคิล (สีเหลือง)

4 ถังขยะทั่วไป (สีฟ้า)

ซึ่งการทิ้งตามประเภทถังขยะเหล่านี้ จะทําให้ง่ายต่อการนําไปกําจัดต่อไป บางคนอาจจะคิด ว่าแค่แยกขยะจะช่วยอะไรได้มากมาย แต่ความจริงแล้วการแยกขยะก่อนทิ้งมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งเป็นการ ประหยัดงบประมาณของประเทศ ขยะอันตรายก็ได้รับการกําจัดอย่างถูกวิธี ลดปัญหาหรือมลพิษต่าง ๆ ที่จะ เกิดขึ้นตามมา ซึ่งหากทุกคนเริ่มต้นที่การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้อง นําไปกําจัดให้มีปริมาณน้อยลง และเป็นการลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

ข้อ 10 จงอธิบายถึงกรอบแนวคิดทฤษฎีชุมชนเมือง (Urban Theory) มา 3 ทฤษฎีหรือกรอบแนวคิดพร้อมทั้งวิพากษ์ทฤษฎีที่ยกมาว่า ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 59 – 60), (คําบรรยาย)

นักวิชาการที่สนใจศึกษาเมืองและความเป็นเมือง และได้รวบรวมจนกลายเป็นทฤษฎี ชุมชนเมือง (Urban Theory) ซึ่งนักวิชาการที่สําคัญ มีดังนี้

1 George Simmel มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Culture of the Metropolis” ซึ่งวิเคราะห์ถึงกระบวนการและธรรมชาติของสินค้าและการแลกเปลี่ยน

2) ให้ความสนใจมหานครที่ทันสมัยและเป็นวัฒนธรรมของชุมชนเมืองโดยทั่วไป

3) ในปี ค.ศ. 1903 เขียนหนังสือชื่อ “The Metropolis and Mental Life” พบว่า แรงกดดันจากมหานครรุนแรงเกินกว่าหรือมิอาจชดเชยด้วยเสรีภาพที่เกิดในเมืองเล็ก ๆ

4) มหานคร (Metropolis) จะเป็นที่รวมหนาแน่นและบูรณาการทั้งมิติของพื้นที่ (Space) และเวลา (Time)

– ความเป็นไปได้ในการดําเนินกิจกรรมและหน้าที่ของคนในชุมชนเมืองมหานครในต้นศตวรรษที่ 20 วิธีหนึ่งคือ จําเป็นต้องใช้นาฬิกาแบบพกพา (Pocket Watch)

– คนในเมืองอยู่ภายใต้แรงกดดันในที่มีความตรงต่อเวลา

5) ปัจจัยสําคัญในการแลกเปลี่ยนในเมืองสมัยใหม่ คือ เงิน อํานาจที่แฝงเร้นการบูรณาการความหลากหลายของหน้าที่ให้มีความเป็นไปได้

6) คนที่มั่งคั่ง (Wealth) เท่านั้นจะสร้างความมั่นคงในสินค้าหรือบริการได้ โดยไม่จําเป็นต้องใช้กําลังไปบังคับหรือจูงใจด้วยอุดมการณ์เช่นในอดีต หรือมีความ เป็นอิสระ แต่ความสัมพันธ์จะอยู่ที่ปัจจัยสําคัญคือ เงิน และเงินสามารถเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของผู้คนให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด

2 Walter Benjamin มีทัศนะเกี่ยวกับเมืองคล้ายกับ George Simmel ซึ่งแนวทาง การศึกษาของเขาสนใจที่จะวิเคราะห์ในเชิงปรัชญา การสนทนาถึงธรรมชาติของสัจจะ ศีลธรรม และเงื่อนไขในการ ดํารงอยู่ของมนุษย์ นอกจากนี้เขายังสนใจศึกษาในเชิงวิภาษวิธีที่รู้จักในนาม การวิพากษ์เชิงลึก (Immanent Critique)

Walter Benjamin เขียนหนังสือชื่อ “The Exegetical City” ซึ่งมีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับ ทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เมืองมหานครเป็นปัจจัยกระตุ้นสําคัญต่อความคิดของเขาที่สะท้อนออกมาในเรื่องของธรรมชาติของประสบการณ์ของมนุษย์

2) สนใจศึกษาเมืองเนเปิลส์ (Naples) ในประเทศอิตาลี พบว่า

– จะมีศิลปะหรือการออกแบบเพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่มีมาแต่ก่อนหน้านั้น

อยู่ตลอดเวลา หรือเป็นเรื่องของพลวัตในการออกแบบศิลปะของเมือง คือการไม่มีที่สิ้นสุดในกฎเกณฑ์หรือวิถีชีวิตของเมือง

– มีคุณลักษณะที่เรียกว่า “Porosity” ของตึกรามและบริเวณส่วนตัวส่วนรวม

– เมืองเนเปิลส์ เป็นเมืองที่กําลังพัฒนามากกว่าเมืองใด ๆ ในยุโรป เมืองเป็นโลกความเป็นจริงของชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะของชนชั้นกลาง

3) เมืองมอสโคว์จะคล้ายกับเมืองเนเปิลส์มาก วิถีชีวิตของคนในเมืองจะสบาย ๆไม่เคร่งครัดด้วยกฎระเบียบแบบในเบอร์ลิน

3 Henri Lefebvre มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Production of City”

2) สนใจเชิงสหวิชาทั้งวรรณกรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การวางแผน และกําหนดนโยบาย ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ Karl Marx เมืองเป็นระบบย่อย (Sub-system) ของระบบสังคมที่วิวัฒนาการมาสู่ระบบทุนนิยม (จากปฏิสัมพันธ์ ในเครือข่ายการค้า ความคิด การเกษตรกรรมจากชนบทมาสู่เมือง กฎหมาย ระบบการคลัง ฯลฯ)

– ระบบที่มีการจัดการดังกล่าวอาจนําไปสู่ความล้มเหลวได้ ดังนั้นจึงไม่มี

ระบบใดที่มีอยู่จริงหรือจะใช้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

3) เขียนหนังสือชื่อ “The Right to the City” (สิทธิที่มีต่อเมือง) มองชุมชนเมือง เป็นที่รวมของทุกสิ่ง และการทดลองในสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในเมือง

– หนังสือนี้มีอิทธิพลต่อนักคิดหนุ่มสาวทั้งสถาปนิก นักวางแผน นักการเมืองนักวิชาการ ซึ่งส่งผลต่อรายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองของพื้นที่ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองกับเศรษฐกิจสังคมอื่น ๆ

4) มองคล้าย Marx ในแง่ที่ว่า เมือง คือ ที่ที่จะใช้คุณค่าและเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนในคุณค่าตลอดจนการรวมคุณค่าเข้าด้วยกัน

5) เมืองเป็นระบบที่เป็นทางการในเชิงความสัมพันธ์ของการผลิต หรือในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์ และวัตถุดิบ ซึ่งคุณค่าใน การแลกเปลี่ยน คือ ราคาของสินค้าที่ผลิตเพื่อค้าขาย โดยอาศัยปัจจัยการผลิตในเชิงทุนนิยม

6) ในขณะที่มีการใช้ทุนมากขึ้นจึงมีการแปลงทั้งขนาดและพื้นที่ให้เป็นไปในเชิงการค้ามากขึ้น

7) การแบ่งแยกการใช้แรงงานที่เกิดขึ้นในช่วงยุคต้นทุนนิยม ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ขยายขอบเขตออกไปเหนือเมือง เป็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในขณะที่จะเกิดความแตกต่างระหว่างคนที่มั่งคั่งกับคนจนอย่างสุดขั้ว

8) ด้วยอํานาจและการพิชิตชัยชนะของระบบตลาดหรือทุนนิยมดังกล่าว เมืองจึงเป็นศูนย์กลางของการทํางานในเชิงพาณิชย์และผู้เสียเปรียบทางสังคมที่อยู่อย่างกระจายโดยรอบ โดยไม่สามารถเข้าถึงความมั่งคั่งนั้นได้

9) เรียกเมืองในเชิงทุนนิยมนั้นว่า “สังคมของระบบโครงสร้างที่ได้มีการกําหนดหรือควบคุมการบริโภคไว้แล้ว หรือต่อมานิยมเรียกสังคมผู้บริโภค (Consumer

Society)”

10) ตามเหตุผลดังกล่าวสิทธิของผู้บริโภคก็ไม่ได้มีกันทุกคน และการบริโภคก็ไม่ใช่ในเชิงสินค้าหรือการบริการเท่านั้น แต่ยังต้องการสิ่งอื่น ๆ เช่น สุนทรียภาพสัญลักษณ์ ฯลฯ

11) ด้วยเหตุที่เมืองพยายามที่จะรวมเอาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บริการในเชิงการค้า ดังนั้นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ วิถีชีวิตต่าง ๆ จึงไม่อาจเหลืออยู่ต่อไป หรือยากที่จะเข้าใจ หรือเป็นเพียงการเก็บไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูในพิพิธภัณฑ์

12) แนวคิดดังกล่าวเกิดความตระหนักไปทั่วโลกในการศึกษาชุมชนเมืองให้เข้าใจถึงสิ่งที่แตกต่างและรากฐานที่มาของเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในเชิงประวัติศาสตร์

13) แนวคิดของเขายังกระตุ้นให้เกิดการตระหนักในเรื่องของอิทธิพลของทั้งความเป็นชนบท และเมืองในระบบทุนนิยมในหมู่นักวางแผน

 

ความสําคัญของเมืองหรือชุมชนเมือง มีดังนี้

1 ในฐานะที่เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย หน้าที่นี้ถือเป็นบทบาทโดยทั่วไปของเมืองหรือ ชุมชนเมือง เพราะเมื่อประชาชนเลือกที่จะอยู่อาศัยในเมืองนั้น ๆ แล้ว เมืองจึงไม่อาจปฏิเสธบทบาทตามความคาดหวังของผู้ที่อยู่อาศัย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ของเมืองจะต้องดําเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข ซึ่งกิจกรรมหลักได้แก่

การสร้างสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยที่ดีน่ารื่นรมย์, การสร้างให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์แก่เมือง, การสร้างกิจกรรมทางสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้คน, การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างได้ผล

2 ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค ได้แก่ ความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่ จะให้เมืองเป็นศูนย์กลางการติดต่อ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น ประเทศไทยต้องการให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3 ในฐานะเป็นเมืองนานาชาติ จากการเป็นเมืองนานาชาติจะเป็นไปเพื่อรองรับความ ต้องการของมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของโลก นอกจากนี้ฐานะที่ได้เปรียบ ของเมืองในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศยิ่งจะเอื้อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันได้ ในลักษณะนี้เมืองมหานคร ของหลาย ๆ ประเทศจะมีการเชื่อมสัมพันธ์ในกิจกรรมที่สนใจร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น การเป็นเมืองท่า เมืองพี่เมืองน้อง เมืองพันธมิตร เป็นต้น

4 ในฐานะที่เป็นเมืองนําการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศต่าง ๆ จะใช้ เมืองมหานครซึ่งมีศักยภาพในทางเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรม การขนส่ง และการบริการในสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว เป็นตัวช่วยให้เกิดการขยายตัวในทางเศรษฐกิจ หรือเหนี่ยวนําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง

คําสั่ง ข้อสอบมี 8 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1 จากคํากล่าวที่ว่าในปัจจุบัน “ปัญหาของโลกก็คือปัญหาของเมือง” ขอให้ท่านจงอธิบาย ขยายความว่ามันมีความหมายว่าอย่างไร และทําไมจึงมีคํากล่าวเช่นนั้น ? แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 182 – 187)

ปัญหาของสังคมโลกคือปัญหาของชุมชนเมือง

มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหาร และน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัยมีการควบคุมป้องกันมลพิษ ตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน แต่เนื่องจากความต้องการในการอยู่อาศัย ของประชาชนในชุมชนเมืองมีมากประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ส่งผลให้สภาวะแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนเกิดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมในเมือง

การวิเคราะห์ปัญหาของสังคมโลกในปัจจุบัน นอกจากจะพิจารณาปัจจัยรอบด้านในเชิงระบบ แล้วก็อาจพิจารณาปัญหาโดยจําแนกแยกส่วนวิเคราะห์ หรือการขีดวงจํากัดในการพิจารณาและแก้ไขปัญหาด้วยก็ได้ ซึ่งชุมชนเมืองเป็นระบบของสังคมหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในแง่รับ และในแง่ส่งผลต่อปัจจัยใน ส่วนย่อย หรือส่วนใหญ่ที่เป็นสิ่งแวดล้อมของระบบเมือง ในขณะเดียวกันภายในระบบของเมืองเองก็มีปฏิสัมพันธ์ ที่ส่งผลและรับผลซึ่งกันและกันด้วย

สถานการณ์ที่เป็นปัญหาสําคัญของโลก มี 5 ประการ คือ

1 ความยากจนข้นแค้นท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องความจนนี้ Macawber ได้ให้ ทัศนะไว้ในลักษณะการกําหนดระดับ/ขนาดหรือเกณฑ์มาตรฐานแบ่งความไม่จนออกจากความจนว่า ความจนอาจมี ปัจจัยที่สําคัญเป็นเครื่องบ่งชี้ ได้แก่ในด้านเศรษฐกิจ เช่น ความไม่มีอํานาจและต้องพึ่งพาผู้อื่น ขัดสนหรือจนในแง่ ของสุขภาพอนามัย การได้รับการศึกษาอย่างไม่พอเพียง การไม่มีความสะอาดของที่อยู่อาศัย ความเป็นส่วนตัว หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เป็นต้น

คนจนในเมือง (Urban Poor) หรือคนระดับล่าง (Urban Underclass) คือ กลุ่มประชากร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองตามย่านต่าง ๆ ซึ่งตกอยู่ในภาวะความยากจนมาช้านาน โดดเดี่ยวจากสังคม ผืนวิถี ของปทัสถานและค่านิยมอันดีงามของสังคมและเป็นผู้ที่สิ้นหวัง

2 ความทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ ดิน และสารเคมี หรือปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่ เป็นอาหารและเพื่อเป็นพลังงาน หรือควรที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อใช้ในระยะยาวและเพื่อการศึกษาวิจัย

3 ปัญหาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป็นปัญหาในเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ ใน สังคมและชุมชน โดยต้องพิจารณาปัญหาทั้งระบบในภาพรวมทั้งประเทศหรือโลก เช่น ปัญหาการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ปัญหาความแออัดแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

4 ปัญหาการเสื่อมศรัทธาในสถาบันต่าง ๆ เป็นปัญหาเชิงระบบของชุมชนที่เปลี่ยนแปลง และการขยายตัวโดยขาดทิศทาง เช่น ปัญหาการปฏิเสธค่านิยมแบบดั้งเดิม การแยกตัวของคนรุ่นหนุ่มสาว การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เป็นต้น

5 ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเงิน และการจ้างงานต่าง ๆ อาจจําแนกสาเหตุหลักได้ 2 ประการ คือ

– การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร ได้ก่อให้เกิดปัญหาความต้องการในการบริโภค การขาดแคลนทรัพยากร และสิ่งจําเป็นพื้นฐาน เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน เป็นต้น

– การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ก่อให้เกิดความ ต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานชีวิตให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรเกินความจําเป็นพื้นฐานของตน อย่างสิ้นเปลืองด้วย

 

ข้อ 2 สถานการณ์ประชากรล้นโลกได้เกิดปัญหาหรือผลกระทบมากมาย จงอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอวิธีแก้ไขปัญหาจากผลกระทบดังกล่าวในบริบทไทย เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม ?

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก มีดังนี้

1 ด้านแหล่งน้ำจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำจืด เพราะว่ามนุษย์ก็จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้ เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ำจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆ แล้วก็กลั่นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดน้อยลง 74% ตั้งแต่ปี 1950 และคาดการณ์ว่าจะถึงปี 2050 ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศก็ประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็เกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้ด้วย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะประสบกับปัญหาปริมาณน้ำลดน้อยถอยลง ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคที่จะส่งไปยังประชากรก็ลดลงด้วย ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่าแหล่งน้ำจืดเพื่อการบริโภคอุปโภคจะมี ปัญหาส่งผลกระทบต่อน้ำเพื่อการชลประทาน และอัตราของน้ำเฉลี่ยต่อคนก็จะลดน้อยถอยลง

2 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมี ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและ สัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหล่านี้ก็เกิดปัญหาความเดือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปี ที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไป 100 – 1000 เท่า ซึ่งนอกจากภัยธรรมชาติแล้วยังเกิดจากมนุษย์ ที่ทําลายด้วย อย่างในพื้นที่ชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์อาจเคยมีนกเป็ดน้ำ สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ นับวันก็จะลดน้อยถอยลงและสูญพันธุ์ไป รวมทั้งสัตว์ป่าบางชนิดก็จะสูญพันธุ์ไปด้วย เช่น กูปรี ละมั่ง เลียงผา จามรี เป็นต้น

3 ด้านการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่งเรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบทําให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เราเองด้วย

4 ด้านการประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ เพิ่มขึ้นมากจาก 19 ล้านตัน มาเป็น 88 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี 1988 เป็นต้นมาอัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี 1996 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ลดลงถึง 16 กิโลกรัม/คน ลดลง ประมาณ 9% อย่างไรก็ตามการจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ก็ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวน เพิ่มมากขึ้นและยังมีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ำในปัจจุบันนี้มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก อีกหน่อยมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหารเหล่านี้รับประทานกันน้อยลงและยากขึ้น

5 ด้านการมีงานทําหรือการจ้างงาน (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้มีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว ประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานของโลกจาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 2.7 พันล้านคน องค์การแรงงาน ระหว่างประเทศได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานถึง 1 พันล้านคน พอถึงครึ่งศตวรรษที่ 21 นี้ (ประมาณปี 2050) จะมี คนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงานที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง และส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นปัญหาในสังคมที่กําลังพัฒนา เพราะว่ามีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และก็เข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่งงานที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงานเสียอีก

6 ด้านพื้นที่การเพาะปลูก (Cropland) ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาอัตราการเพิ่มประชากรโลกมีจํานวนมากกว่าพื้นที่การเพาะปลูกต่าง ๆ พื้นที่การเพาะปลูกโดยเฉลี่ยต่อจํานวนประชากรที่มีจํานวนลดน้อยถอยลง ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังแหล่งอาหาร ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าอาหารหรือตลาดอาหารต่าง ๆ ด้วย หากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกก็ยิ่งทําให้พื้นที่เพาะปลูกและผลิตผลมีจํานวนลดน้อยลงไป

7 ด้านป่าไม้ (Forests) การที่มีจํานวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นทําให้เกิดการบุกรุกตัดไม้ ทําลายพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เพื่อการเพาะปลูกต่าง ๆ ที่อยู่อาศัย และการขยายตัว ของเมือง เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่ป่ามีจํานวนลดน้อยลง และพื้นที่ป่าต่อประชากรหนึ่งคนก็ลดลงด้วย โดยเฉพาะ ในประเทศกําลังพัฒนา แต่ก็มีบางพื้นที่ที่มีจํานวนป่าเพิ่มขึ้นคือ ยุโรป และรัสเซีย

8 ด้านที่อยู่อาศัย (Housing) การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกมีแนวโน้มเติบโตและรวดเร็วมาก ความต้องการที่อยู่อาศัยหรือการสร้างบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยก็เพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาโดยทั่วไปของมนุษย์ที่ต้องการ มีที่อยู่อาศัยคือ ที่อยู่อาศัยมักจะมีราคาสูงมากอย่างเช่นในเมือง ที่ดินก็จะมีราคาแพงมากส่งผลให้บ้านก็มีราคาแพง ตามไปด้วย ซึ่งคนที่มีรายได้น้อยในสังคมเมืองก็หาซื้อได้ลําบาก จึงจําเป็นต้องอยู่อาศัยในที่มีพอดํารงชีพได้ ซึ่งก็มักจะเป็นแหล่งชุมชนแออัด ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหา ความแออัด แหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

9 ด้านพลังงาน (Energy) ในช่วง 200 กว่าปีมานี้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ก็เริ่มมีการใช้พลังงานต่าง ๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น จากเดิมที่ใช้พื้น ถ่านกลายมาเป็นใช้น้ํามัน ก๊าซ ฯลฯ และยิ่งมี การพัฒนาอุตสาหกรรม พัฒนาเมืองและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งพัฒนาความทันสมัยในด้านต่าง ๆ แล้ว ก็ยิ่งมีความต้องการที่จะใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันและก๊าซมาก แต่ไม่ค่อย พัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานใต้ผืนพิภพ พลังงานลม เป็นต้น ก็เพิ่งจะเริ่มมีการตื่นตัวในการพัฒนาไม่กี่ปีมานี้เอง ซึ่งความเป็นเมืองนี้เองที่เป็นศูนย์กลางทําให้มีการใช้พลังงาน อย่างมาก ความต้องการในการใช้พลังงานของประชากรโลกก็มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากว่าประเทศกําลังพัฒนา ก็มักจะพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีการใช้พลังงานเป็นอย่างมากด้วย ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ก๊าช และน้ำมัน ซึ่งได้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่มีความต้องการใช้พลังงานมาก ก็ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานชีวมวลด้วย จากที่เคยปลูกพืชเพื่อการบริโภคก็ต้องปลูกพืชเพื่อผลิตเป็นพลังงาน เช่น การปลูกอ้อย มันสําปะหลัง และข้าวโพด ฯลฯ เพื่อนําไปผลิตเป็นพลังงานที่เรียกกันว่า ไบโอดีเซล เป็นต้น

10 ด้านการสร้างชุมชนเมืองหรือพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization) ประชากรโลก มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกันมลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการ ในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการอยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

 

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 3 “ทุกวันนี้ ถิ่นฐานและความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกที่ทุกแห่งในโลก ได้ถูกถักทอด้วยวิถีชีวิตของความเป็นเมืองไปจนหมดสิ้น” ขอให้ท่านจงอธิบาย ขยายความ พร้อมทั้งยกตัวอย่าง จากข้อความดังกล่าวมาให้เข้าใจ ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 1 – 2, 8), (คําบรรยาย)

สถานการณ์ของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในปัจจุบันกับการพัฒนาชุมชนเมืองหรือการ สร้างบ้านแปลงเมือง (Urbanization Development)

ในปัจจุบันสถานการณ์ของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโลกนั้นเป็นลักษณะการอยู่อาศัยในโลก แห่งชุมชนเมือง (Urban World) กล่าวคือ ปัจจุบันประชากรโลก (World Population) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้นจะมีอัตราการเข้ามาอยู่อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้กลายเป็น ชุมชนเมืองไปร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

องค์การสหประชาชาติ (UN : United Nations) ได้กําหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม 2011 เป็นวันที่ ประชากรโลกมีจํานวนครบ 7 พันล้านคน ซึ่งเรียกว่า “Day of 7 Billion” และในปัจจุบันนี้จํานวนประชากรโลกก็มี แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกัน มลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการใน การอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการ อยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

จากแนวโน้มของประชากรที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มของการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองที่เพิ่ม มากเช่นกัน จะเห็นได้ว่าพื้นที่ชุมชนเมืองจะต้องรับภาระหนักในปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อสังคมและคุณภาพชีวิต เช่น ปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความแออัด มลภาวะ ขาดการบริการขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการกระจายโอกาสในด้านต่าง ๆ ไปสู่ประชากรโดยรวม โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและมาตรฐานในการ ใช้ชีวิตซึ่งควรจะมีในสังคมเมือง ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมของชาตินั้น ๆ

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบันได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงเมืองและความเป็นเมืองตามกรอบแนวคิดทฤษฎีชุมชนเมือง (Urban Theory) มาพอให้ผู้อ่านได้เข้าใจสังเขป พร้อมทั้งชี้ด้วยว่าแต่ละทฤษฎีสามารถอธิบายได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใด ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 59 – 60), (คําบรรยาย)

นักวิชาการที่สนใจศึกษาเมืองและความเป็นเมือง และได้รวบรวมจนกลายเป็นทฤษฎี ชุมชนเมือง (Urban Theory) ซึ่งนักวิชาการที่สําคัญ มีดังนี้

1 George Simmel มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Culture of the Metropolis” ซึ่งวิเคราะห์ถึงกระบวนการและธรรมชาติของสินค้าและการแลกเปลี่ยน

2) ให้ความสนใจมหานครที่ทันสมัยและเป็นวัฒนธรรมของชุมชนเมืองโดยทั่วไป

3) ในปี ค.ศ. 1903 เขียนหนังสือชื่อ “The Metropolis and Mental Life” พบว่า แรงกดดันจากมหานครรุนแรงเกินกว่าหรือมิอาจชดเชยด้วยเสรีภาพที่เกิดในเมืองเล็ก ๆ

4) มหานคร (Metropolis) จะเป็นที่รวมหนาแน่นและบูรณาการทั้งมิติของพื้นที่ (Space) และเวลา (Time)

– ความเป็นไปได้ในการดําเนินกิจกรรมและหน้าที่ของคนในชุมชนเมืองมหานครในต้นศตวรรษที่ 20 วิธีหนึ่งคือ จําเป็นต้องใช้นาฬิกาแบบพกพา (Pocket Watch)

– คนในเมืองอยู่ภายใต้แรงกดดันในที่มีความตรงต่อเวลา

5) ปัจจัยสําคัญในการแลกเปลี่ยนในเมืองสมัยใหม่ คือ เงิน อํานาจที่แฝงเร้นการบูรณาการความหลากหลายของหน้าที่ให้มีความเป็นไปได้

6) คนที่มั่งคั่ง (Wealth) เท่านั้นจะสร้างความมั่นคงในสินค้าหรือบริการได้ โดยไม่จําเป็นต้องใช้กําลังไปบังคับหรือจูงใจด้วยอุดมการณ์เช่นในอดีต หรือมีความ เป็นอิสระ แต่ความสัมพันธ์จะอยู่ที่ปัจจัยสําคัญคือ เงิน และเงินสามารถเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของผู้คนให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด

2 Walter Benjamin มีทัศนะเกี่ยวกับเมืองคล้ายกับ George Simmel ซึ่งแนวทาง การศึกษาของเขาสนใจที่จะวิเคราะห์ในเชิงปรัชญา การสนทนาถึงธรรมชาติของสัจจะ ศีลธรรม และเงื่อนไขในการ ดํารงอยู่ของมนุษย์ นอกจากนี้เขายังสนใจศึกษาในเชิงวิภาษวิธีที่รู้จักในนาม การวิพากษ์เชิงลึก (Immanent Critique)

Walter Benjamin เขียนหนังสือชื่อ “The Exegetical City” ซึ่งมีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับ ทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เมืองมหานครเป็นปัจจัยกระตุ้นสําคัญต่อความคิดของเขาที่สะท้อนออกมาในเรื่องของธรรมชาติของประสบการณ์ของมนุษย์

2) สนใจศึกษาเมืองเนเปิลส์ (Naples) ในประเทศอิตาลี พบว่า

– จะมีศิลปะหรือการออกแบบเพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่มีมาแต่ก่อนหน้านั้น

อยู่ตลอดเวลา หรือเป็นเรื่องของพลวัตในการออกแบบศิลปะของเมือง คือการไม่มีที่สิ้นสุดในกฎเกณฑ์หรือวิถีชีวิตของเมือง

– มีคุณลักษณะที่เรียกว่า “Porosity” ของตึกรามและบริเวณส่วนตัวส่วนรวม

– เมืองเนเปิลส์ เป็นเมืองที่กําลังพัฒนามากกว่าเมืองใด ๆ ในยุโรป เมืองเป็นโลกความเป็นจริงของชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะของชนชั้นกลาง

3) เมืองมอสโคว์จะคล้ายกับเมืองเนเปิลส์มาก วิถีชีวิตของคนในเมืองจะสบาย ๆไม่เคร่งครัดด้วยกฎระเบียบแบบในเบอร์ลิน

3 Henri Lefebvre มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Production of City”

2) สนใจเชิงสหวิชาทั้งวรรณกรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การวางแผน และกําหนดนโยบาย ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ Karl Marx เมืองเป็นระบบย่อย (Sub-system) ของระบบสังคมที่วิวัฒนาการมาสู่ระบบทุนนิยม (จากปฏิสัมพันธ์ ในเครือข่ายการค้า ความคิด การเกษตรกรรมจากชนบทมาสู่เมือง กฎหมาย ระบบการคลัง ฯลฯ)

– ระบบที่มีการจัดการดังกล่าวอาจนําไปสู่ความล้มเหลวได้ ดังนั้นจึงไม่มี

ระบบใดที่มีอยู่จริงหรือจะใช้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

3) เขียนหนังสือชื่อ “The Right to the City” (สิทธิที่มีต่อเมือง) มองชุมชนเมือง เป็นที่รวมของทุกสิ่ง และการทดลองในสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในเมือง

– หนังสือนี้มีอิทธิพลต่อนักคิดหนุ่มสาวทั้งสถาปนิก นักวางแผน นักการเมืองนักวิชาการ ซึ่งส่งผลต่อรายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองของพื้นที่ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองกับเศรษฐกิจสังคมอื่น ๆ

4) มองคล้าย Marx ในแง่ที่ว่า เมือง คือ ที่ที่จะใช้คุณค่าและเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนในคุณค่าตลอดจนการรวมคุณค่าเข้าด้วยกัน

5) เมืองเป็นระบบที่เป็นทางการในเชิงความสัมพันธ์ของการผลิต หรือในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์ และวัตถุดิบ ซึ่งคุณค่าใน การแลกเปลี่ยน คือ ราคาของสินค้าที่ผลิตเพื่อค้าขาย โดยอาศัยปัจจัยการผลิตในเชิงทุนนิยม

6) ในขณะที่มีการใช้ทุนมากขึ้นจึงมีการแปลงทั้งขนาดและพื้นที่ให้เป็นไปในเชิงการค้ามากขึ้น

7) การแบ่งแยกการใช้แรงงานที่เกิดขึ้นในช่วงยุคต้นทุนนิยม ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ขยายขอบเขตออกไปเหนือเมือง เป็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในขณะที่จะเกิดความแตกต่างระหว่างคนที่มั่งคั่งกับคนจนอย่างสุดขั้ว

8) ด้วยอํานาจและการพิชิตชัยชนะของระบบตลาดหรือทุนนิยมดังกล่าว เมืองจึงเป็นศูนย์กลางของการทํางานในเชิงพาณิชย์และผู้เสียเปรียบทางสังคมที่อยู่อย่างกระจายโดยรอบ โดยไม่สามารถเข้าถึงความมั่งคั่งนั้นได้

9) เรียกเมืองในเชิงทุนนิยมนั้นว่า “สังคมของระบบโครงสร้างที่ได้มีการกําหนดหรือควบคุมการบริโภคไว้แล้ว หรือต่อมานิยมเรียกสังคมผู้บริโภค (Consumer

Society)”

10) ตามเหตุผลดังกล่าวสิทธิของผู้บริโภคก็ไม่ได้มีกันทุกคน และการบริโภคก็ไม่ใช่ในเชิงสินค้าหรือการบริการเท่านั้น แต่ยังต้องการสิ่งอื่น ๆ เช่น สุนทรียภาพสัญลักษณ์ ฯลฯ

11) ด้วยเหตุที่เมืองพยายามที่จะรวมเอาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บริการในเชิงการค้า ดังนั้นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ วิถีชีวิตต่าง ๆ จึงไม่อาจเหลืออยู่ต่อไป หรือยากที่จะเข้าใจ หรือเป็นเพียงการเก็บไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูในพิพิธภัณฑ์

12) แนวคิดดังกล่าวเกิดความตระหนักไปทั่วโลกในการศึกษาชุมชนเมืองให้เข้าใจถึงสิ่งที่แตกต่างและรากฐานที่มาของเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในเชิงประวัติศาสตร์

13) แนวคิดของเขายังกระตุ้นให้เกิดการตระหนักในเรื่องของอิทธิพลของทั้งความเป็นชนบท และเมืองในระบบทุนนิยมในหมู่นักวางแผน

 

ความสําคัญของเมืองหรือชุมชนเมือง มีดังนี้

1 ในฐานะที่เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย หน้าที่นี้ถือเป็นบทบาทโดยทั่วไปของเมืองหรือ ชุมชนเมือง เพราะเมื่อประชาชนเลือกที่จะอยู่อาศัยในเมืองนั้น ๆ แล้ว เมืองจึงไม่อาจปฏิเสธบทบาทตามความคาดหวังของผู้ที่อยู่อาศัย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ของเมืองจะต้องดําเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข ซึ่งกิจกรรมหลักได้แก่

การสร้างสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยที่ดีน่ารื่นรมย์, การสร้างให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์แก่เมือง, การสร้างกิจกรรมทางสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้คน, การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างได้ผล

2 ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค ได้แก่ ความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่ จะให้เมืองเป็นศูนย์กลางการติดต่อ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น ประเทศไทยต้องการให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3 ในฐานะเป็นเมืองนานาชาติ จากการเป็นเมืองนานาชาติจะเป็นไปเพื่อรองรับความ ต้องการของมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของโลก นอกจากนี้ฐานะที่ได้เปรียบ ของเมืองในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศยิ่งจะเอื้อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันได้ ในลักษณะนี้เมืองมหานคร ของหลาย ๆ ประเทศจะมีการเชื่อมสัมพันธ์ในกิจกรรมที่สนใจร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น การเป็นเมืองท่า เมืองพี่เมืองน้อง เมืองพันธมิตร เป็นต้น

4 ในฐานะที่เป็นเมืองนําการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศต่าง ๆ จะใช้ เมืองมหานครซึ่งมีศักยภาพในทางเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรม การขนส่ง และการบริการในสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว เป็นตัวช่วยให้เกิดการขยายตัวในทางเศรษฐกิจ หรือเหนี่ยวนําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

ข้อ 5 จงอธิบาย “เมือง” และ “ชุมชนเมือง” ในมิติต่าง ๆ มาโดยละเอียด เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความเข้าใจอย่างกระจ่างชัด ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 39, 55)

นิยามและการเกิดขึ้นมาของเมืองหรือชุมชนเมือง เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้ คือ

– การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (อันได้แก่ บ้านเรือน) มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า และถนน เป็นต้น)

– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ในระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม

– เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง

– เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรม การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี

– เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน

– เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/อุปโภคอย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

Urban คือ เมืองหรือชุมชนเมือง (Urban Community) คือ ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสาระสําคัญหรือจุดร่วมของความเป็นเมือง อันได้แก่ ความเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ความหนาแน่น วิถีชีวิต หรือในแง่ของการเมืองการบริหาร เป็นต้น

 

ข้อ 6 “การผังเมือง” คืออะไร และมีความสําคัญเช่นไรต่อการอยู่อาศัยเป็นบ้านเป็นเมืองของมวลมนุษยชาติ จงตอบด้วยว่าถ้าหากมีหรือไม่มีการบังคับใช้ผังเมืองจะเกิดผลอะไร อย่างไร จงวิเคราะห์ ยกตัวอย่างให้ชัดเจน ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 134, 148, 230 233), (คําบรรยาย)

ความหมายของการผังเมือง (City Planning) มีดังนี้

1 คือ การวางแผนการเจริญเติบโตล่วงหน้าระยะยาวเพื่อให้เมืองนั้นสามารถดํารงอยู่อย่าง ยั่งยืน ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีความสมดุลในระบบนิเวศของเมือง

2 คือ การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีเหตุผลโดยการวางกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อสร้าง ความมั่นใจให้คนในชุมชนเมืองมีชีวิตที่ดี มีคุณค่าในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตในชุมชนเมืองนั้น และเพื่อให้เมือง และการดําเนินกิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสําคัญของการผังเมืองต่อการบริหารชุมชนเมือง

1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง มีระเบียบ ทั้งนี้เนื่องจาก การบริหารชุมชนเมืองจะมีหลักแนวคิด ปรัชญาที่ได้นํามาใช้ในการวางแผน เช่น เรื่องการตอบสนองความเป็นอยู่ ที่ดี เรื่องการพัฒนาอย่างสมดุล หรือแผนการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งในขั้น ที่จําเป็นที่ต้องขับเคลื่อนเมืองไปสู่อนาคตก็จําเป็นที่จะต้องอาศัยแผนเป็นเครื่องกําหนดทิศทาง ดังนั้นก็ต้องอาศัย หลักการแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการด้วยเช่นกัน เช่น การออกแบบเมือง จัดการทางด้านสถาปัตยกรรมหรือ ภูมิสถาปัตย์ จัดการทางด้านวิศวกรรมโยธา วิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ตลอดจนมิติทางด้าน รัฐศาสตร์ก็ตาม ก็ควรนับเข้ารวมอยู่ในด้านการวางแผนด้วยก็จะทําให้เกิดความครอบคลุมรอบด้าน

2 เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรที่จะมีความ สมดุลก็คือ ในเมืองควรจะมีความสมดุลทั้งในด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม รวมตลอดทั้งพัฒนา ทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมด้วย

3 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง ประโยชน์สาธารณะนั้น ก็จะได้จากการวางแผนที่ดี ซึ่งก็หมายถึง ในรายละเอียดของแผนนั้นจะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์กับการเดินทาง การศึกษา สําหรับประชาชนที่ต้องการศึกษา สําหรับประชาชนที่ทํางาน ทําธุรกิจ ถ้าเมืองมีการวางแผนไปในทิศทาง ที่ถูกต้องทุกฝ่ายก็จะได้ประโยชน์จากการบริหารเหล่านั้นร่วมกัน

ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการขยายขอบเขตของชุมชนเมืองอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) โดยที่ไม่มีการผังเมือง ดังนี้

1 ลดพื้นที่ทําการเกษตร ทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ

2 นําไปสู่การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว (Private Transport) และเพิ่มจํานวนรถยนต์ส่วนตัวโดยไม่จําเป็น ซึ่งจะนํามาสู่ความแออัดของการจราจร ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียง และทัศนียภาพ

3 เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

4 นําไปสู่ปัญหาการขาดสายใยทางสังคม (Social Fabric)

5 พื้นที่ชายเมืองที่เคยเป็นปอดของเมืองและแหล่งทัศนียภาพของเมืองที่สร้างความ

รื่นรมย์และไม่ไกลนักจะหดหายไป

 

ข้อ 7 ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร กําลังเผชิญกับปัญหาตลอดจนสิ่งท้าทายอะไร อย่างไร หากมีส่วนรับผิดชอบการบริหาร กทม. ท่านจะมีแนวนโยบายอะไร อย่างไร มารองรับสถานการณ์ที่ว่าจงตอบอย่างมีเหตุมีผล ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 265 279)

การบริหารชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

ในสภาวการณ์ปัจจุบันกรุงเทพมหานครกําลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติของเมือง (Urban Crisis) อันเนื่องมาจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาสภาวะแวดล้อม เสื่อมโทรม ปัญหามลพิษทางน้ํา ทางอากาศ ฝุ่นละออง หรือปัญหาชุมชนแออัด ซึ่งกรุงเทพฯ ในฐานะหน่วยงาน หลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้เร่งรัดดําเนินการแก้ไขมาโดยตลอด แต่เนื่องจากกรุงเทพฯ มีข้อจํากัดในการดําเนินการ หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ อัตรากําลังคน กฎหมาย และความเกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่น ทําให้ การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพโดยกรุงเทพฯ ฝ่ายเดียวได้

– แนวทางแก้ปัญหาสําคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ ประชาชนเข้ามามีบทบาทร่วมในการพัฒนากรุงเทพฯ มากขึ้นตามหลักการที่ว่า ผู้มีส่วนร่วมสร้างปัญหาควรมี ส่วนในการแก้ไขปัญหาด้วย ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของประเทศต่าง ๆ ว่าจะทําให้การพัฒนาเมือง สามารถบรรลุผลสําเร็จได้ และนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

หลักการพื้นฐานของประชาคมเมือง คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกฝ่ายในกรุงเทพฯ ให้ได้มีโอกาสพบปะกันเป็นประจํา หรือสร้างความรู้สึกรักท้องถิ่นร่วมกัน การรับรู้ปัญหา การตระหนักต่อ สถานการณ์ปัญหาร่วมกัน โดยร่วมดําเนินการจัดระบบการแก้ไขปัญหาตามสถานภาพของตน ไม่ผลักภาระให้ เป็นของฝ่ายใดหรือหน่วยงานใด แต่ต้องยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะต้องรับผิดชอบ ร่วมกัน

สภาพปัญหาการบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ดังนี้

1 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก

– กทม. ไม่มีอิสระและไม่มีอํานาจเพียงพอเด็ดขาดในการบริหารงานให้เป็นไปตาม อํานาจหน้าที่ที่ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 บัญญัติไว้ เนื่องจากอํานาจหน้าที่บางอย่างได้มีกฎหมายกําหนดไว้ให้หน่วยงานราชการส่วนกลางดําเนินการเอง

2 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน

– ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรภายใน กทม.

– การขาด ความชัดเจนในด้านอํานาจหน้าที่ของกทม.

– ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าฯ กทม. กับสภา กทม. ยังไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

– ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่าย กทม. กับประชาคม โดยยังไม่มีการเปิดโอกาสให้ประชาคมต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานเท่าที่ควร

– ความสัมพันธ์ระหว่าง กทม. กับรัฐบาลที่ยังไม่ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

– ระบบบริหารจัดการบริการสาธารณะของ กทม. ซึ่งจะไม่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางแต่ภาครัฐจะกําหนดรูปแบบการให้บริการแก่ประชาชน (Inward Looking)

– ระบบการจัดเก็บรายได้ยังจัดเก็บได้ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนด และการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางไม่เหมาะสม

แนวทางการปรับปรุงการบริหารชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

1 เน้นการจัดโครงสร้างองค์กรแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสภาพแวดล้อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว

2 กําหนดบทบาท พันธกิจของ กทม. ให้ชัดเจน สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักการบริหารราชการที่ดี

3 จัดองค์กรการบริหารราชการ กทม. ให้มีขนาดเหมาะสมกับภารกิจ และมีการนําเทคโนโลยีและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ทดแทนการขยายหน่วยงานและบุคลากร

4 ให้มีระบบการบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์ โดยมีการวางยุทธศาสตร์และแผนการบริหารราชการของ กทม. และให้ทุกหน่วยงานจัดทําแผนปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนการบริหารราชการของ กทม. โดยมีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

5 ให้มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติราชการในทุกระดับ

6 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารราชการของ กทม.

ปัญหาและแนวทางแก้ไข มีดังนี้

1 ปัญหาการจราจรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้นภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ําของเวลาการทํางานเพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ

– การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น

– จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ

– ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัดอยู่แล้ว

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้งขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางลัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

2 ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง

ปัญหามลพิษทางน้ำมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การบําบัดน้ำเสีย

– การจํากัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

– การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางน้ำแก่ประชาชน

– การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ

– การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสํารวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ

ปัญหามลพิษทางอากาศมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ

– สํารวจและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เป็นประจํา

– ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด ทําได้โดยการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับ ความสําคัญของอากาศบริสุทธิ์ และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนให้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ และเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ปัญหามลพิษทางเสียงมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์

– การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ บังคับ

– การกําหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกําหนดผังเมือง

– การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย

– การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

3 ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัดมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ย้ายไปอยู่ชานเมืองโดยการเช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของรัฐบาล

– มีการควบคุมความหนาแน่นของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

– ส่งเสริมหรือขยายความเจริญออกไปสู่จุดอื่น ๆ ของประเทศ อย่างที่เรียกกันว่า“สร้างเมืองใหม่” หรือ “ชุมชนใหม่”

– มีการกําหนดผังเมืองและควบคุมการใช้ที่ดิน เช่น ไม่ให้มีการสร้างอาคารพาณิชย์หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในย่านที่อยู่อาศัย

– รัฐควรส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสําหรับประชากรที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

– ควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชนให้สอดคล้องกับผังเมือง

4 ปัญหาด้านความปลอดภัยของประชาชนมีแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้

– ให้มีอาสาสมัครทั้ง 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจในการช่วยเหลือเบื้องต้นในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่ายชุมชน

– ปราบปรามผู้กระทําผิดอย่างจริงจัง

– มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจรอาสาตํารวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตํารวจ ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีรายได้พอเพียง เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการลักทรัพย์ เป็นต้น

– จัดให้มีอาสาสมัครกรุงเทพมหานครตามเขตและโรงพยาบาลเพื่ออํานวยความสะดวกในการติดต่อและช่วยประสานงานหรือดูแลความปลอดภัย

5 ปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ใช้นโยบายสาธารณูปโภคเป็นเครื่องมือควบคุมทางผังเมือง เช่น ลดอัตราสาธารณูปโภคในเขตที่กําหนด หรือกําหนดเขตที่ไม่จ่ายสาธารณูปโภค

– ป้องกันคนอพยพเข้ากรุงเทพมหานคร โดยดึงดูดคนให้ไปอยู่ในชุมชนใหม่หรือเมืองใหม่

– ให้มีการวางนโยบายระบบบริการสาธารณูปโภคในเมือง ให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางโดยลงทุนค่าบริการให้น้อยที่สุด แต่ให้ทั่วถึงประชาชนมากที่สุด

 

ข้อ 8 การพัฒนาการขนส่งไปสู่ความยั่งยืน (Sustainable Transportation Development) คืออะไร มีเหตุผลความจําเป็นอย่างไรสําหรับความอยู่รอดของเมืองโดยเฉพาะเมืองใหญ่ที่มีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่นซึ่งล้วนต้องการการเดินทางหรือการขนส่ง ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 248), (คําบรรยาย)

การพัฒนาการขนส่งในชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation Development) คือ การพัฒนาการขนส่งในชุมชนเมืองให้มีความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือ การขนส่งระบบราง (Urban Rail-Mass Transportation) ซึ่งเป็นการขนส่งที่มีความจําเป็นโดยเฉพาะสําหรับเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เนื่องจาก สามารถเคลื่อนย้ายคนได้ทีละมาก ๆ สะดวก ปลอดภัย และประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์หรือการขนส่งทางถนน การขนส่งระบบรางอาจมีได้ในหลายลักษณะ เช่น ระบบรถไฟ รถไฟฟ้า ทั้งยกระดับพื้นผิวหรือใต้ดิน เป็นต้น

การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน สามารถทําได้ใน 3 ลักษณะ ดังนี้

1 ใช้การขนส่งที่สะอาด

– เลือกใช้เชื้อเพลิงและยานยนต์ที่มีมาตรฐาน

– ตรวจสอบและบํารุงรักษาเครื่องยนต์

– ใช้ตัวชี้วัดที่ดีขึ้นในส่วนของการขนส่งอย่างยั่งยืน

2 เพิ่มการเข้าถึง

– ใช้กฎหมายกําหนดความเร็วของยานยนต์, การจอดรถ

– ควบคุมการใช้ที่ดินและการรักษาพื้นที่สีเขียว

– การวางแผนเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคม

3 เลือกใช้การขนส่งที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

– เฝ้าระวังตําแหน่งที่มีการขนส่งคับคั่ง

– ศึกษาทางเลือกในการจัดระบบการขนส่ง

 

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง

คําสั่ง ข้อสอบมี 8 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1 จงอธิบายนิยามของ “เมือง” ตลอดจนชุมชนเมืองในมิติต่าง ๆ มาโดยละเอียดและครอบคลุม ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 39, 55)

นิยามและการเกิดขึ้นมาของเมืองหรือชุมชนเมือง เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้ คือ

– การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (อันได้แก่ บ้านเรือน) มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า และถนน เป็นต้น)

– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ในระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม

– เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง

– เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรม การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี

– เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน

– เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/อุปโภคอย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

Urban คือ เมืองหรือชุมชนเมือง (Urban Community) คือ ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสาระสําคัญหรือจุดร่วมของความเป็นเมือง อันได้แก่ ความเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ความหนาแน่น วิถีชีวิต หรือในแง่ของการเมืองการบริหาร เป็นต้น

 

ข้อ 2 ขอให้ท่านจงอธิบาย ขยายความ พร้อมทั้งยกตัวอย่างมาให้เข้าใจ จากข้อความที่ว่า “ทุกวันนี้ ถิ่นฐานและความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกที่ทุกแห่ง ได้ถูกถักทอด้วยวิถีชีวิตของความเป็นเมืองไปจนหมดสิ้น” ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 1 – 2, 8), (คําบรรยาย)

สถานการณ์ของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในปัจจุบันกับการพัฒนาชุมชนเมืองหรือการ สร้างบ้านแปลงเมือง (Urbanization Development)

ในปัจจุบันสถานการณ์ของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโลกนั้นเป็นลักษณะการอยู่อาศัยในโลก แห่งชุมชนเมือง (Urban World) กล่าวคือ ปัจจุบันประชากรโลก (World Population) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้นจะมี อัตราการเข้ามาอยู่อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้กลายเป็น ชุมชนเมืองไปร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

องค์การสหประชาชาติ (UN : United Nations) ได้กําหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม 2011 เป็นวันที่ ประชากรโลกมีจํานวนครบ 7 พันล้านคน ซึ่งเรียกว่า “Day of 7 Billon” และในปัจจุบันนี้จํานวนประชากรโลกก็มี แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกัน มลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการใน การอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการ อยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

จากแนวโน้มของประชากรที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มของการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองที่เพิ่ม มากเช่นกัน จะเห็นได้ว่าพื้นที่ชุมชนเมืองจะต้องรับภาระหนักในปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อสังคมและคุณภาพชีวิต เช่น ปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความแออัด มลภาวะ ขาดการบริการขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการกระจายโอกาสในด้านต่าง ๆ ไปสู่ประชากรโดยรวม โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและมาตรฐานในการ ใช้ชีวิตซึ่งควรจะมีในสังคมเมือง ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมของชาตินั้น ๆ

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 3 สถานการณ์ปัญหาประชากรล้นโลก (Over Population Problems) ได้เกิดผลกระทบอะไรอย่างไรบ้าง ให้ระบุมา 5 ประการ และถ้าหากเป็นเช่นนั้นท่านจะช่วยบรรเทาเบาบางปัญหาหรือผลกระทบดังกล่าวได้อย่างไร จงเสนอแนะแนวทางมาโดยละเอียด ?

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก มีดังนี้

1 ด้านแหล่งน้ำจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำจืด เพราะว่ามนุษย์ก็จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้ เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ำจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆ แล้วก็กลั่นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดน้อยลง 74% ตั้งแต่ปี 1950 และคาดการณ์ว่าจะถึงปี 2050 ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศก็ประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็เกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้ด้วย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะประสบกับปัญหาปริมาณน้ำลดน้อยถอยลง ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคที่จะส่งไปยังประชากรก็ลดลงด้วย ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่าแหล่งน้ำจืดเพื่อการบริโภคอุปโภคจะมี ปัญหาส่งผลกระทบต่อน้ำเพื่อการชลประทาน และอัตราของน้ำเฉลี่ยต่อคนก็จะลดน้อยถอยลง

2 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมี ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและ สัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหล่านี้ก็เกิดปัญหาความเดือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปี ที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไป 100 – 1000 เท่า ซึ่งนอกจากภัยธรรมชาติแล้วยังเกิดจากมนุษย์ ที่ทําลายด้วย อย่างในพื้นที่ชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์อาจเคยมีนกเป็ดน้ำ สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ นับวันก็จะลดน้อยถอยลงและสูญพันธุ์ไป รวมทั้งสัตว์ป่าบางชนิดก็จะสูญพันธุ์ไปด้วย เช่น กูปรี ละมั่ง เลียงผา จามรี เป็นต้น

3 ด้านการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่งเรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบทําให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เราเองด้วย

4 ด้านการประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ เพิ่มขึ้นมากจาก 19 ล้านตัน มาเป็น 88 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี 1988 เป็นต้นมาอัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี 1996 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ลดลงถึง 16 กิโลกรัม/คน ลดลง ประมาณ 9% อย่างไรก็ตามการจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ก็ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวน เพิ่มมากขึ้นและยังมีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ำในปัจจุบันนี้มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก อีกหน่อยมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหารเหล่านี้รับประทานกันน้อยลงและยากขึ้น

5 ด้านการมีงานทําหรือการจ้างงาน (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้มีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว ประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานของโลกจาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 2.7 พันล้านคน องค์การแรงงาน ระหว่างประเทศได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานถึง 1 พันล้านคน พอถึงครึ่งศตวรรษที่ 21 นี้ (ประมาณปี 2050) จะมี คนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงานที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง และส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นปัญหาในสังคมที่กําลังพัฒนา เพราะว่ามีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และก็เข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่งงานที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงานเสียอีก

6 ด้านพื้นที่การเพาะปลูก (Cropland) ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาอัตราการเพิ่มประชากรโลกมีจํานวนมากกว่าพื้นที่การเพาะปลูกต่าง ๆ พื้นที่การเพาะปลูกโดยเฉลี่ยต่อจํานวนประชากรที่มีจํานวนลดน้อยถอยลง ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังแหล่งอาหาร ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าอาหารหรือตลาดอาหารต่าง ๆ ด้วย หากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกก็ยิ่งทําให้พื้นที่เพาะปลูกและผลิตผลมีจํานวนลดน้อยลงไป

7 ด้านป่าไม้ (Forests) การที่มีจํานวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นทําให้เกิดการบุกรุกตัดไม้ ทําลายพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เพื่อการเพาะปลูกต่าง ๆ ที่อยู่อาศัย และการขยายตัว ของเมือง เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่ป่ามีจํานวนลดน้อยลง และพื้นที่ป่าต่อประชากรหนึ่งคนก็ลดลงด้วย โดยเฉพาะ ในประเทศกําลังพัฒนา แต่ก็มีบางพื้นที่ที่มีจํานวนป่าเพิ่มขึ้นคือ ยุโรป และรัสเซีย

8 ด้านที่อยู่อาศัย (Housing) การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกมีแนวโน้มเติบโตและรวดเร็วมาก ความต้องการที่อยู่อาศัยหรือการสร้างบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยก็เพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาโดยทั่วไปของมนุษย์ที่ต้องการ มีที่อยู่อาศัยคือ ที่อยู่อาศัยมักจะมีราคาสูงมากอย่างเช่นในเมือง ที่ดินก็จะมีราคาแพงมากส่งผลให้บ้านก็มีราคาแพง ตามไปด้วย ซึ่งคนที่มีรายได้น้อยในสังคมเมืองก็หาซื้อได้ลําบาก จึงจําเป็นต้องอยู่อาศัยในที่มีพอดํารงชีพได้ ซึ่งก็มักจะเป็นแหล่งชุมชนแออัด ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหา ความแออัด แหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

9 ด้านพลังงาน (Energy) ในช่วง 200 กว่าปีมานี้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ก็เริ่มมีการใช้พลังงานต่าง ๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น จากเดิมที่ใช้พื้น ถ่านกลายมาเป็นใช้น้ํามัน ก๊าซ ฯลฯ และยิ่งมี การพัฒนาอุตสาหกรรม พัฒนาเมืองและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งพัฒนาความทันสมัยในด้านต่าง ๆ แล้ว ก็ยิ่งมีความต้องการที่จะใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันและก๊าซมาก แต่ไม่ค่อย พัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานใต้ผืนพิภพ พลังงานลม เป็นต้น ก็เพิ่งจะเริ่มมีการตื่นตัวในการพัฒนาไม่กี่ปีมานี้เอง ซึ่งความเป็นเมืองนี้เองที่เป็นศูนย์กลางทําให้มีการใช้พลังงาน อย่างมาก ความต้องการในการใช้พลังงานของประชากรโลกก็มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากว่าประเทศกําลังพัฒนา ก็มักจะพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีการใช้พลังงานเป็นอย่างมากด้วย ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ก๊าช และน้ำมัน ซึ่งได้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่มีความต้องการใช้พลังงานมาก ก็ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานชีวมวลด้วย จากที่เคยปลูกพืชเพื่อการบริโภคก็ต้องปลูกพืชเพื่อผลิตเป็นพลังงาน เช่น การปลูกอ้อย มันสําปะหลัง และข้าวโพด ฯลฯ เพื่อนําไปผลิตเป็นพลังงานที่เรียกกันว่า ไบโอดีเซล เป็นต้น

10 ด้านการสร้างชุมชนเมืองหรือพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization) ประชากรโลก มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกันมลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการ ในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการอยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงเมืองและความเป็นเมืองตามกรอบแนวคิดทฤษฎีชุมชนเมือง (Urban Theory) มาพอให้ผู้อ่านได้เข้าใจสังเขป พร้อมทั้งชี้ด้วยว่าแต่ละทฤษฎีสามารถอธิบายได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใด ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 59 – 60), (คําบรรยาย)

นักวิชาการที่สนใจศึกษาเมืองและความเป็นเมือง และได้รวบรวมจนกลายเป็นทฤษฎี ชุมชนเมือง (Urban Theory) ซึ่งนักวิชาการที่สําคัญ มีดังนี้

  1. George Simmel มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Culture of the Metropolis” ซึ่งวิเคราะห์ถึงกระบวนการและธรรมชาติของสินค้าและการแลกเปลี่ยน

2) ให้ความสนใจมหานครที่ทันสมัยและเป็นวัฒนธรรมของชุมชนเมืองโดยทั่วไป

3) ในปี ค.ศ. 1903 เขียนหนังสือชื่อ “The Metropolis and Mental Life” พบว่า แรงกดดันจากมหานครรุนแรงเกินกว่าหรือมิอาจชดเชยด้วยเสรีภาพที่เกิดในเมืองเล็ก ๆ

4) มหานคร (Metropolis) จะเป็นที่รวมหนาแน่นและบูรณาการทั้งมิติของพื้นที่ (Space) และเวลา (Time)

– ความเป็นไปได้ในการดําเนินกิจกรรมและหน้าที่ของคนในชุมชนเมืองมหานครในต้นศตวรรษที่ 20 วิธีหนึ่งคือ จําเป็นต้องใช้นาฬิกาแบบพกพา (Pocket Watch)

– คนในเมืองอยู่ภายใต้แรงกดดันในที่มีความตรงต่อเวลา

5) ปัจจัยสําคัญในการแลกเปลี่ยนในเมืองสมัยใหม่ คือ เงิน อํานาจที่แฝงเร้นการบูรณาการความหลากหลายของหน้าที่ให้มีความเป็นไปได้

6) คนที่มั่งคั่ง (Wealth) เท่านั้นจะสร้างความมั่นคงในสินค้าหรือบริการได้ โดยไม่จําเป็นต้องใช้กําลังไปบังคับหรือจูงใจด้วยอุดมการณ์เช่นในอดีต หรือมีความ เป็นอิสระ แต่ความสัมพันธ์จะอยู่ที่ปัจจัยสําคัญคือ เงิน และเงินสามารถเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของผู้คนให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด

2 Walter Benjamin มีทัศนะเกี่ยวกับเมืองคล้ายกับ George Simmel ซึ่งแนวทาง การศึกษาของเขาสนใจที่จะวิเคราะห์ในเชิงปรัชญา การสนทนาถึงธรรมชาติของสัจจะ ศีลธรรม และเงื่อนไขในการ ดํารงอยู่ของมนุษย์ นอกจากนี้เขายังสนใจศึกษาในเชิงวิภาษวิธีที่รู้จักในนาม การวิพากษ์เชิงลึก (Immanent Critique)

Walter Benjamin เขียนหนังสือชื่อ “The Exegetical City” ซึ่งมีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับ ทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เมืองมหานครเป็นปัจจัยกระตุ้นสําคัญต่อความคิดของเขาที่สะท้อนออกมาในเรื่องของธรรมชาติของประสบการณ์ของมนุษย์

2) สนใจศึกษาเมืองเนเปิลส์ (Naples) ในประเทศอิตาลี พบว่า

– จะมีศิลปะหรือการออกแบบเพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่มีมาแต่ก่อนหน้านั้น

อยู่ตลอดเวลา หรือเป็นเรื่องของพลวัตในการออกแบบศิลปะของเมือง คือการไม่มีที่สิ้นสุดในกฎเกณฑ์หรือวิถีชีวิตของเมือง

– มีคุณลักษณะที่เรียกว่า “Porosity” ของตึกรามและบริเวณส่วนตัวส่วนรวม

– เมืองเนเปิลส์ เป็นเมืองที่กําลังพัฒนามากกว่าเมืองใด ๆ ในยุโรป เมืองเป็นโลกความเป็นจริงของชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะของชนชั้นกลาง

3) เมืองมอสโคว์จะคล้ายกับเมืองเนเปิลส์มาก วิถีชีวิตของคนในเมืองจะสบาย ๆไม่เคร่งครัดด้วยกฎระเบียบแบบในเบอร์ลิน

3 Henri Lefebvre มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Production of City”

2) สนใจเชิงสหวิชาทั้งวรรณกรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การวางแผน และกําหนดนโยบาย ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ Karl Marx เมืองเป็นระบบย่อย (Sub-system) ของระบบสังคมที่วิวัฒนาการมาสู่ระบบทุนนิยม (จากปฏิสัมพันธ์ ในเครือข่ายการค้า ความคิด การเกษตรกรรมจากชนบทมาสู่เมือง กฎหมาย ระบบการคลัง ฯลฯ)

– ระบบที่มีการจัดการดังกล่าวอาจนําไปสู่ความล้มเหลวได้ ดังนั้นจึงไม่มี

ระบบใดที่มีอยู่จริงหรือจะใช้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

3) เขียนหนังสือชื่อ “The Right to the City” (สิทธิที่มีต่อเมือง) มองชุมชนเมือง เป็นที่รวมของทุกสิ่ง และการทดลองในสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในเมือง

– หนังสือนี้มีอิทธิพลต่อนักคิดหนุ่มสาวทั้งสถาปนิก นักวางแผน นักการเมืองนักวิชาการ ซึ่งส่งผลต่อรายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองของพื้นที่ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองกับเศรษฐกิจสังคมอื่น ๆ

4) มองคล้าย Marx ในแง่ที่ว่า เมือง คือ ที่ที่จะใช้คุณค่าและเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนในคุณค่าตลอดจนการรวมคุณค่าเข้าด้วยกัน

5) เมืองเป็นระบบที่เป็นทางการในเชิงความสัมพันธ์ของการผลิต หรือในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์ และวัตถุดิบ ซึ่งคุณค่าใน การแลกเปลี่ยน คือ ราคาของสินค้าที่ผลิตเพื่อค้าขาย โดยอาศัยปัจจัยการผลิตในเชิงทุนนิยม

6) ในขณะที่มีการใช้ทุนมากขึ้นจึงมีการแปลงทั้งขนาดและพื้นที่ให้เป็นไปในเชิงการค้ามากขึ้น

7) การแบ่งแยกการใช้แรงงานที่เกิดขึ้นในช่วงยุคต้นทุนนิยม ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ขยายขอบเขตออกไปเหนือเมือง เป็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในขณะที่จะเกิดความแตกต่างระหว่างคนที่มั่งคั่งกับคนจนอย่างสุดขั้ว

8) ด้วยอํานาจและการพิชิตชัยชนะของระบบตลาดหรือทุนนิยมดังกล่าว เมืองจึงเป็นศูนย์กลางของการทํางานในเชิงพาณิชย์และผู้เสียเปรียบทางสังคมที่อยู่อย่างกระจายโดยรอบ โดยไม่สามารถเข้าถึงความมั่งคั่งนั้นได้

9) เรียกเมืองในเชิงทุนนิยมนั้นว่า “สังคมของระบบโครงสร้างที่ได้มีการกําหนดหรือควบคุมการบริโภคไว้แล้ว หรือต่อมานิยมเรียกสังคมผู้บริโภค (Consumer

Society)”

10) ตามเหตุผลดังกล่าวสิทธิของผู้บริโภคก็ไม่ได้มีกันทุกคน และการบริโภคก็ไม่ใช่ในเชิงสินค้าหรือการบริการเท่านั้น แต่ยังต้องการสิ่งอื่น ๆ เช่น สุนทรียภาพสัญลักษณ์ ฯลฯ

11) ด้วยเหตุที่เมืองพยายามที่จะรวมเอาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บริการในเชิงการค้า ดังนั้นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ วิถีชีวิตต่าง ๆ จึงไม่อาจเหลืออยู่ต่อไป หรือยากที่จะเข้าใจ หรือเป็นเพียงการเก็บไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูในพิพิธภัณฑ์

12) แนวคิดดังกล่าวเกิดความตระหนักไปทั่วโลกในการศึกษาชุมชนเมืองให้เข้าใจถึงสิ่งที่แตกต่างและรากฐานที่มาของเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในเชิงประวัติศาสตร์

13) แนวคิดของเขายังกระตุ้นให้เกิดการตระหนักในเรื่องของอิทธิพลของทั้งความเป็นชนบท และเมืองในระบบทุนนิยมในหมู่นักวางแผน

ความสําคัญของเมืองหรือชุมชนเมือง มีดังนี้

1 ในฐานะที่เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย หน้าที่นี้ถือเป็นบทบาทโดยทั่วไปของเมืองหรือ ชุมชนเมือง เพราะเมื่อประชาชนเลือกที่จะอยู่อาศัยในเมืองนั้น ๆ แล้ว เมืองจึงไม่อาจปฏิเสธบทบาทตามความคาดหวังของผู้ที่อยู่อาศัย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ของเมืองจะต้องดําเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข ซึ่งกิจกรรมหลักได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยที่ดีน่ารื่นรมย์, การสร้างให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ เป็นประโยชน์แก่เมือง, การสร้างกิจกรรมทางสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้คน, การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างได้ผล

2 ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค ได้แก่ ความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่ จะให้เมืองเป็นศูนย์กลางการติดต่อ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น ประเทศไทยต้องการให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3 ในฐานะเป็นเมืองนานาชาติ จากการเป็นเมืองนานาชาติจะเป็นไปเพื่อรองรับความ ต้องการของมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของโลก นอกจากนี้ฐานะที่ได้เปรียบของเมืองในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศยิ่งจะเอื้อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันได้ในลักษณะนี้ เมืองมหานครของหลาย ๆ ประเทศจะมีการเชื่อมสัมพันธ์ในกิจกรรมที่สนใจร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อประโยชน์ ในทางเศรษฐกิจ เช่น การเป็นเมืองท่า เมืองพี่เมืองน้อง เมืองพันธมิตร เป็นต้น

4 ในฐานะที่เป็นเมืองนําการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศต่าง ๆ จะใช้ เมืองมหานครซึ่งมีศักยภาพในทางเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรม การขนส่ง และการบริการในสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว เป็นตัวช่วยให้เกิดการขยายตัวในทางเศรษฐกิจ หรือเหนี่ยวนําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

ข้อ 5 ในยุคปัจจุบันมักจะมีคํากล่าวที่ว่า “ปัญหาของโลกคือปัญหาของเมือง” ขอให้ท่านจงอธิบาย ขยายความว่ามันมีความหมายว่าอย่างไร และทําไมจึงมีคํากล่าวเช่นนั้น

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 182 – 187)

ปัญหาของสังคมโลกคือปัญหาของชุมชนเมือง

มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหาร และน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัยมีการควบคุมป้องกันมลพิษ ตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน แต่เนื่องจากความต้องการในการอยู่อาศัย ของประชาชนในชุมชนเมืองมีมากประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ส่งผลให้สภาวะแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนเกิดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมในเมือง

การวิเคราะห์ปัญหาของสังคมโลกในปัจจุบัน นอกจากจะพิจารณาปัจจัยรอบด้านในเชิงระบบ แล้วก็อาจพิจารณาปัญหาโดยจําแนกแยกส่วนวิเคราะห์ หรือการขีดวงจํากัดในการพิจารณาและแก้ไขปัญหาด้วยก็ได้ ซึ่งชุมชนเมืองเป็นระบบของสังคมหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในแง่รับ และในแง่ส่งผลต่อปัจจัยใน ส่วนย่อย หรือส่วนใหญ่ที่เป็นสิ่งแวดล้อมของระบบเมือง ในขณะเดียวกันภายในระบบของเมืองเองก็มีปฏิสัมพันธ์ ที่ส่งผลและรับผลซึ่งกันและกันด้วย

 

สถานการณ์ที่เป็นปัญหาสําคัญของโลก มี 5 ประการ คือ

1 ความยากจนข้นแค้นท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องความจนนี้ Macawber ได้ให้ ทัศนะไว้ในลักษณะการกําหนดระดับ/ขนาดหรือเกณฑ์มาตรฐานแบ่งความไม่จนออกจากความจนว่า ความจนอาจมี ปัจจัยที่สําคัญเป็นเครื่องบ่งชี้ ได้แก่ในด้านเศรษฐกิจ เช่น ความไม่มีอํานาจและต้องพึ่งพาผู้อื่น ขัดสนหรือจนในแง่ ของสุขภาพอนามัย การได้รับการศึกษาอย่างไม่พอเพียง การไม่มีความสะอาดของที่อยู่อาศัย ความเป็นส่วนตัว หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เป็นต้น

คนจนในเมือง (Urban Poor) หรือคนระดับล่าง (Urban Underclass) คือ กลุ่มประชากร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองตามย่านต่าง ๆ ซึ่งตกอยู่ในภาวะความยากจนมาช้านาน โดดเดี่ยวจากสังคม ผืนวิถี ของปทัสถานและค่านิยมอันดีงามของสังคมและเป็นผู้ที่สิ้นหวัง

2 ความทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ ดิน และสารเคมี หรือปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่ เป็นอาหารและเพื่อเป็นพลังงาน หรือควรที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อใช้ในระยะยาวและเพื่อการศึกษาวิจัย

3 ปัญหาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป็นปัญหาในเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ ใน สังคมและชุมชน โดยต้องพิจารณาปัญหาทั้งระบบในภาพรวมทั้งประเทศหรือโลก เช่น ปัญหาการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ปัญหาความแออัดแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

4 ปัญหาการเสื่อมศรัทธาในสถาบันต่าง ๆ เป็นปัญหาเชิงระบบของชุมชนที่เปลี่ยนแปลง และการขยายตัวโดยขาดทิศทาง เช่น ปัญหาการปฏิเสธค่านิยมแบบดั้งเดิม การแยกตัวของคนรุ่นหนุ่มสาว การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เป็นต้น

5 ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเงิน และการจ้างงานต่าง ๆ อาจจําแนกสาเหตุหลักได้ 2 ประการ คือ

– การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร ได้ก่อให้เกิดปัญหาความต้องการในการบริโภค การขาดแคลนทรัพยากร และสิ่งจําเป็นพื้นฐาน เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน เป็นต้น

– การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ก่อให้เกิดความ ต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานชีวิตให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรเกินความจําเป็นพื้นฐานของตน อย่างสิ้นเปลืองด้วย

 

ข้อ 6 การผังเมือง (City Planning) คืออะไร และมีความสําคัญเช่นไรต่อการอยู่อาศัยเป็นบ้านเป็นเมืองของมวลมนุษยชาติ หากไม่มีผังเมืองจะเกิดผลอย่างไร จงยกตัวอย่างให้ชัดเจน ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 134, 148, 230 – 233), (คําบรรยาย)

ความหมายของการผังเมือง (City Planning) มีดังนี้

1 คือ การวางแผนการเจริญเติบโตล่วงหน้าระยะยาวเพื่อให้เมืองนั้นสามารถดํารงอยู่อย่าง ยั่งยืน ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีความสมดุลในระบบนิเวศของเมือง

2 คือ การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีเหตุผลโดยการวางกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อสร้าง ความมั่นใจให้คนในชุมชนเมืองมีชีวิตที่ดี มีคุณค่าในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตในชุมชนเมืองนั้น และเพื่อให้เมือง และการดําเนินกิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสําคัญของการผังเมืองต่อการบริหารชุมชนเมือง

1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง มีระเบียบ ทั้งนี้เนื่องจาก การบริหารชุมชนเมืองจะมีหลักแนวคิด ปรัชญาที่ได้นํามาใช้ในการวางแผน เช่น เรื่องการตอบสนองความเป็นอยู่ ที่ดี เรื่องการพัฒนาอย่างสมดุล หรือแผนการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งในขั้น ที่จําเป็นที่ต้องขับเคลื่อนเมืองไปสู่อนาคตก็จําเป็นที่จะต้องอาศัยแผนเป็นเครื่องกําหนดทิศทาง ดังนั้นก็ต้องอาศัย หลักการแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการด้วยเช่นกัน เช่น การออกแบบเมือง จัดการทางด้านสถาปัตยกรรมหรือ ภูมิสถาปัตย์ จัดการทางด้านวิศวกรรมโยธา วิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ตลอดจนมิติทางด้าน รัฐศาสตร์ก็ตาม ก็ควรนับเข้ารวมอยู่ในด้านการวางแผนด้วยก็จะทําให้เกิดความครอบคลุมรอบด้าน

2 เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรที่จะมีความ สมดุลก็คือ ในเมืองควรจะมีความสมดุลทั้งในด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม รวมตลอดทั้งพัฒนา ทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมด้วย

3 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง ประโยชน์สาธารณะนั้น ก็จะได้จากการวางแผนที่ดี ซึ่งก็หมายถึง ในรายละเอียดของแผนนั้นจะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์กับการเดินทาง การศึกษา สําหรับประชาชนที่ต้องการศึกษา สําหรับประชาชนที่ทํางาน ทําธุรกิจ ถ้าเมืองมีการวางแผนไปในทิศทาง ที่ถูกต้องทุกฝ่ายก็จะได้ประโยชน์จากการบริหารเหล่านั้นร่วมกัน

ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการขยายขอบเขตของชุมชนเมืองอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) โดยที่ไม่มีการผังเมือง ดังนี้

1 ลดพื้นที่ทําการเกษตร ทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ

2 นําไปสู่การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว (Private Transport) และเพิ่มจํานวนรถยนต์ส่วนตัวโดยไม่จําเป็น ซึ่งจะนํามาสู่ความแออัดของการจราจร ปัญหามลพิษทางอากาศเสียง และทัศนียภาพ

3 เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

4 นําไปสู่ปัญหาการขาดสายใยทางสังคม (Social Fabric)

5 พื้นที่ชายเมืองที่เคยเป็นปอดของเมืองและแหล่งทัศนียภาพของเมืองที่สร้างความรื่นรมย์และไม่ไกลนักจะหดหายไป

 

ข้อ 7 การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation Development) คืออะไร มีเหตุผลความจําเป็นอย่างไรสําหรับความอยู่รอดของเมืองต่าง ๆ จงอธิบายให้เข้าใจอย่างชัดเจน ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 248), (คําบรรยาย)

การพัฒนาการขนส่งในชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation Development) คือ การพัฒนาการขนส่งในชุมชนเมืองให้มีความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือ การขนส่งระบบราง (Urban Rail -Mass Transportation) ซึ่งเป็นการขนส่งที่มีความจําเป็นโดยเฉพาะสําหรับเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เนื่องจาก สามารถเคลื่อนย้ายคนได้ทีละมาก ๆ สะดวก ปลอดภัย และประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์หรือการขนส่งทางถนน การขนส่งระบบรางอาจมีได้ในหลายลักษณะ เช่น ระบบรถไฟ รถไฟฟ้า ทั้งยกระดับพื้นผิวหรือใต้ดิน เป็นต้น

การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน สามารถทําได้ใน 3 ลักษณะ ดังนี้

1 ใช้การขนส่งที่สะอาด

– เลือกใช้เชื้อเพลิงและยานยนต์ที่มีมาตรฐาน

– ตรวจสอบและบํารุงรักษาเครื่องยนต์

– ใช้ตัวชี้วัดที่ดีขึ้นในส่วนของการขนส่งอย่างยั่งยืน

2 เพิ่มการเข้าถึง

– ใช้กฎหมายกําหนดความเร็วของยานยนต์, การจอดรถ

– ควบคุมการใช้ที่ดินและการรักษาพื้นที่สีเขียว

– การวางแผนเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคม

3 เลือกใช้การขนส่งที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

– เฝ้าระวังตําแหน่งที่มีการขนส่งคับคั่ง

– ศึกษาทางเลือกในการจัดระบบการขนส่ง

 

ข้อ 8 จากการที่ท่านสัมผัสกับสังคมเมืองของกรุงเทพมหานครมาไม่มากก็น้อยแล้วนั้น จงระบุปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมสัก 3 – 5 ประเด็นปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทาง วิธีการแก้ไขอย่างมีเหตุมีผล ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 265 – 279)

การบริหารชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

ในสภาวการณ์ปัจจุบันกรุงเทพมหานครกําลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติของเมือง (Urban Crisis) อันเนื่องมาจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาสภาวะแวดล้อม เสื่อมโทรม ปัญหามลพิษทางน้ํา ทางอากาศ ฝุ่นละออง หรือปัญหาชุมชนแออัด ซึ่งกรุงเทพฯ ในฐานะหน่วยงาน หลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้เร่งรัดดําเนินการแก้ไขมาโดยตลอด แต่เนื่องจากกรุงเทพฯ มีข้อจํากัดในการดําเนินการ หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ อัตรากําลังคน กฎหมาย และความเกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่น ทําให้ การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพโดยกรุงเทพฯ ฝ่ายเดียวได้

– แนวทางแก้ปัญหาสําคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ ประชาชนเข้ามามีบทบาทร่วมในการพัฒนากรุงเทพฯ มากขึ้นตามหลักการที่ว่า ผู้มีส่วนร่วมสร้างปัญหาควรมี ส่วนในการแก้ไขปัญหาด้วย ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของประเทศต่าง ๆ ว่าจะทําให้การพัฒนาเมือง สามารถบรรลุผลสําเร็จได้ และนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

หลักการพื้นฐานของประชาคมเมือง คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกฝ่ายในกรุงเทพฯ ให้ได้มีโอกาสพบปะกันเป็นประจํา หรือสร้างความรู้สึกรักท้องถิ่นร่วมกัน การรับรู้ปัญหา การตระหนักต่อ สถานการณ์ปัญหาร่วมกัน โดยร่วมดําเนินการจัดระบบการแก้ไขปัญหาตามสถานภาพของตน ไม่ผลักภาระให้ เป็นของฝ่ายใดหรือหน่วยงานใด แต่ต้องยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะต้องรับผิดชอบ ร่วมกัน

สภาพปัญหาการบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ดังนี้

1 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก

– กทม. ไม่มีอิสระและไม่มีอํานาจเพียงพอเด็ดขาดในการบริหารงานให้เป็นไปตาม อํานาจหน้าที่ที่ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 บัญญัติไว้ เนื่องจากอํานาจหน้าที่บางอย่างได้มีกฎหมายกําหนดไว้ให้หน่วยงานราชการส่วนกลางดําเนินการเอง

2 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน

– ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรภายใน กทม.

– การขาด ความชัดเจนในด้านอํานาจหน้าที่ของกทม.

– ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าฯ กทม. กับสภา กทม. ยังไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

– ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่าย กทม. กับประชาคม โดยยังไม่มีการเปิดโอกาสให้ประชาคมต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานเท่าที่ควร

– ความสัมพันธ์ระหว่าง กทม. กับรัฐบาลที่ยังไม่ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

– ระบบบริหารจัดการบริการสาธารณะของ กทม. ซึ่งจะไม่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางแต่ภาครัฐจะกําหนดรูปแบบการให้บริการแก่ประชาชน (Inward Looking)

– ระบบการจัดเก็บรายได้ยังจัดเก็บได้ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนด และการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางไม่เหมาะสม

แนวทางการปรับปรุงการบริหารชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

1 เน้นการจัดโครงสร้างองค์กรแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสภาพแวดล้อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว

2 กําหนดบทบาท พันธกิจของ กทม. ให้ชัดเจน สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักการบริหารราชการที่ดี

3 จัดองค์กรการบริหารราชการ กทม. ให้มีขนาดเหมาะสมกับภารกิจ และมีการนําเทคโนโลยีและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ทดแทนการขยายหน่วยงานและบุคลากร

4 ให้มีระบบการบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์ โดยมีการวางยุทธศาสตร์และแผนการบริหารราชการของ กทม. และให้ทุกหน่วยงานจัดทําแผนปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนการบริหารราชการของ กทม. โดยมีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

5 ให้มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติราชการในทุกระดับ

6 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารราชการของ กทม.

ปัญหาและแนวทางแก้ไข มีดังนี้

1 ปัญหาการจราจรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้นภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ําของเวลาการทํางานเพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ

– การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น

– จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ

– ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัดอยู่แล้ว

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้งขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางลัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

2 ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง

ปัญหามลพิษทางน้ำมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การบําบัดน้ำเสีย

– การจํากัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

– การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางน้ำแก่ประชาชน

– การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ

– การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสํารวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ

ปัญหามลพิษทางอากาศมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ

– สํารวจและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เป็นประจํา

– ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด ทําได้โดยการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับ ความสําคัญของอากาศบริสุทธิ์ และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนให้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ และเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ปัญหามลพิษทางเสียงมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์

– การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ บังคับ

– การกําหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกําหนดผังเมือง

– การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย

– การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

3 ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัดมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ย้ายไปอยู่ชานเมืองโดยการเช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของรัฐบาล

– มีการควบคุมความหนาแน่นของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

– ส่งเสริมหรือขยายความเจริญออกไปสู่จุดอื่น ๆ ของประเทศ อย่างที่เรียกกันว่า“สร้างเมืองใหม่” หรือ “ชุมชนใหม่”

– มีการกําหนดผังเมืองและควบคุมการใช้ที่ดิน เช่น ไม่ให้มีการสร้างอาคารพาณิชย์หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในย่านที่อยู่อาศัย

– รัฐควรส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสําหรับประชากรที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

– ควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชนให้สอดคล้องกับผังเมือง

4 ปัญหาด้านความปลอดภัยของประชาชนมีแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้

– ให้มีอาสาสมัครทั้ง 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจในการช่วยเหลือเบื้องต้นในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่ายชุมชน

– ปราบปรามผู้กระทําผิดอย่างจริงจัง

– มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจรอาสาตํารวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตํารวจ ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีรายได้พอเพียง เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการลักทรัพย์ เป็นต้น

– จัดให้มีอาสาสมัครกรุงเทพมหานครตามเขตและโรงพยาบาลเพื่ออํานวยความสะดวกในการติดต่อและช่วยประสานงานหรือดูแลความปลอดภัย

5 ปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ใช้นโยบายสาธารณูปโภคเป็นเครื่องมือควบคุมทางผังเมือง เช่น ลดอัตราสาธารณูปโภคในเขตที่กําหนด หรือกําหนดเขตที่ไม่จ่ายสาธารณูปโภค

– ป้องกันคนอพยพเข้ากรุงเทพมหานคร โดยดึงดูดคนให้ไปอยู่ในชุมชนใหม่หรือเมืองใหม่

– ให้มีการวางนโยบายระบบบริการสาธารณูปโภคในเมือง ให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางโดยลงทุนค่าบริการให้น้อยที่สุด แต่ให้ทั่วถึงประชาชนมากที่สุด

 

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง

คําสั่ง ข้อสอบมี 7 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1 จงอธิบายผลกระทบจากการเพิ่มของประชากรโลกต่อสังคมโลกมาโดยสังเขปสัก 5 ข้อ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจะแก้ไขผลกระทบเหล่านั้นได้อย่างไร

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก มีดังนี้

1 ด้านแหล่งน้ำจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำจืด เพราะว่ามนุษย์ก็จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้ เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ำจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆ แล้วก็กลั่นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดน้อยลง 74% ตั้งแต่ปี 1950 และคาดการณ์ว่าจะถึงปี 2050 ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศก็ประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็เกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้ด้วย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะประสบกับปัญหาปริมาณน้ำลดน้อยถอยลง ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคที่จะส่งไปยังประชากรก็ลดลงด้วย ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่าแหล่งน้ำจืดเพื่อการบริโภคอุปโภคจะมี ปัญหาส่งผลกระทบต่อน้ำเพื่อการชลประทาน และอัตราของน้ำเฉลี่ยต่อคนก็จะลดน้อยถอยลง

2 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมี ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและ สัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหล่านี้ก็เกิดปัญหาความเดือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปี ที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไป 100 – 1000 เท่า ซึ่งนอกจากภัยธรรมชาติแล้วยังเกิดจากมนุษย์ ที่ทําลายด้วย อย่างในพื้นที่ชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์อาจเคยมีนกเป็ดน้ำ สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ นับวันก็จะลดน้อยถอยลงและสูญพันธุ์ไป รวมทั้งสัตว์ป่าบางชนิดก็จะสูญพันธุ์ไปด้วย เช่น กูปรี ละมั่ง เลียงผา จามรี เป็นต้น

3 ด้านการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่งเรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบทําให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เราเองด้วย

4 ด้านการประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ เพิ่มขึ้นมากจาก 19 ล้านตัน มาเป็น 88 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี 1988 เป็นต้นมาอัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี 1996 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ลดลงถึง 16 กิโลกรัม/คน ลดลง ประมาณ 9% อย่างไรก็ตามการจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ก็ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวน เพิ่มมากขึ้นและยังมีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ำในปัจจุบันนี้มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก อีกหน่อยมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหารเหล่านี้รับประทานกันน้อยลงและยากขึ้น

5 ด้านการมีงานทําหรือการจ้างงาน (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้มีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว ประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานของโลกจาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 2.7 พันล้านคน องค์การแรงงาน ระหว่างประเทศได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานถึง 1 พันล้านคน พอถึงครึ่งศตวรรษที่ 21 นี้ (ประมาณปี 2050) จะมี คนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงานที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง และส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นปัญหาในสังคมที่กําลังพัฒนา เพราะว่ามีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และก็เข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่งงานที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงานเสียอีก

6 ด้านพื้นที่การเพาะปลูก (Cropland) ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาอัตราการเพิ่มประชากรโลกมีจํานวนมากกว่าพื้นที่การเพาะปลูกต่าง ๆ พื้นที่การเพาะปลูกโดยเฉลี่ยต่อจํานวนประชากรที่มีจํานวนลดน้อยถอยลง ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังแหล่งอาหาร ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าอาหารหรือตลาดอาหารต่าง ๆ ด้วย หากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกก็ยิ่งทําให้พื้นที่เพาะปลูกและผลิตผลมีจํานวนลดน้อยลงไป

7 ด้านป่าไม้ (Forests) การที่มีจํานวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นทําให้เกิดการบุกรุกตัดไม้ ทําลายพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เพื่อการเพาะปลูกต่าง ๆ ที่อยู่อาศัย และการขยายตัว ของเมือง เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่ป่ามีจํานวนลดน้อยลง และพื้นที่ป่าต่อประชากรหนึ่งคนก็ลดลงด้วย โดยเฉพาะ ในประเทศกําลังพัฒนา แต่ก็มีบางพื้นที่ที่มีจํานวนป่าเพิ่มขึ้นคือ ยุโรป และรัสเซีย

8 ด้านที่อยู่อาศัย (Housing) การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกมีแนวโน้มเติบโตและรวดเร็วมาก ความต้องการที่อยู่อาศัยหรือการสร้างบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยก็เพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาโดยทั่วไปของมนุษย์ที่ต้องการ มีที่อยู่อาศัยคือ ที่อยู่อาศัยมักจะมีราคาสูงมากอย่างเช่นในเมือง ที่ดินก็จะมีราคาแพงมากส่งผลให้บ้านก็มีราคาแพง ตามไปด้วย ซึ่งคนที่มีรายได้น้อยในสังคมเมืองก็หาซื้อได้ลําบาก จึงจําเป็นต้องอยู่อาศัยในที่มีพอดํารงชีพได้ ซึ่งก็มักจะเป็นแหล่งชุมชนแออัด ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหา ความแออัด แหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

9 ด้านพลังงาน (Energy) ในช่วง 200 กว่าปีมานี้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ก็เริ่มมีการใช้พลังงานต่าง ๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น จากเดิมที่ใช้พื้น ถ่านกลายมาเป็นใช้น้ํามัน ก๊าซ ฯลฯ และยิ่งมี การพัฒนาอุตสาหกรรม พัฒนาเมืองและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งพัฒนาความทันสมัยในด้านต่าง ๆ แล้ว ก็ยิ่งมีความต้องการที่จะใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันและก๊าซมาก แต่ไม่ค่อย พัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานใต้ผืนพิภพ พลังงานลม เป็นต้น ก็เพิ่งจะเริ่มมีการตื่นตัวในการพัฒนาไม่กี่ปีมานี้เอง ซึ่งความเป็นเมืองนี้เองที่เป็นศูนย์กลางทําให้มีการใช้พลังงาน อย่างมาก ความต้องการในการใช้พลังงานของประชากรโลกก็มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากว่าประเทศกําลังพัฒนา ก็มักจะพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีการใช้พลังงานเป็นอย่างมากด้วย ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ก๊าช และน้ำมัน ซึ่งได้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่มีความต้องการใช้พลังงานมาก ก็ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานชีวมวลด้วย จากที่เคยปลูกพืชเพื่อการบริโภคก็ต้องปลูกพืชเพื่อผลิตเป็นพลังงาน เช่น การปลูกอ้อย มันสําปะหลัง และข้าวโพด ฯลฯ เพื่อนําไปผลิตเป็นพลังงานที่เรียกกันว่า ไบโอดีเซล เป็นต้น

10 ด้านการสร้างชุมชนเมืองหรือพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization) ประชากรโลก มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกันมลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการ ในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการอยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

ข้อ 2 “ทุกวันนี้ ถิ่นฐานและความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกที่ทุกแห่ง ได้ถูกถักทอด้วยความเป็นเมืองไปจนหมดสิ้น” จงอธิบายขยายความข้อความดังกล่าวมาพอสังเขป

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 1 – 2, 8), (คําบรรยาย)

สถานการณ์ของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในปัจจุบันกับการพัฒนาชุมชนเมืองหรือการ สร้างบ้านแปลงเมือง (Urbanization Development)

ในปัจจุบันสถานการณ์ของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโลกนั้นเป็นลักษณะการอยู่อาศัยในโลก แห่งชุมชนเมือง (Urban World) กล่าวคือ ปัจจุบันประชากรโลก (World Population) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้นจะมีอัตราการเข้ามาอยู่อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้กลายเป็น ชุมชนเมืองไปร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

องค์การสหประชาชาติ (UN : United Nations) ได้กําหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม 2011 เป็นวันที่ ประชากรโลกมีจํานวนครบ 7 พันล้านคน ซึ่งเรียกว่า “Day of 7 Billion” และในปัจจุบันนี้จํานวนประชากรโลกก็มี แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกัน มลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการใน การอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการ อยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

จากแนวโน้มของประชากรที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มของการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองที่เพิ่ม มากเช่นกัน จะเห็นได้ว่าพื้นที่ชุมชนเมืองจะต้องรับภาระหนักในปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อสังคมและคุณภาพชีวิต เช่น ปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความแออัด มลภาวะ ขาดการบริการขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการกระจายโอกาสในด้านต่าง ๆ ไปสู่ประชากรโดยรวม โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและมาตรฐานในการ ใช้ชีวิตซึ่งควรจะมีในสังคมเมือง ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมของชาตินั้น ๆ

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบันได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 3 คํากล่าวที่ว่า “ปัญหาของโลกคือปัญหาของเมือง” มีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายขยายความ ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 182 187)

ปัญหาของสังคมโลกคือปัญหาของชุมชนเมือง

มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหาร และน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัยมีการควบคุมป้องกันมลพิษ ตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน แต่เนื่องจากความต้องการในการอยู่อาศัย ของประชาชนในชุมชนเมืองมีมากประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ส่งผลให้สภาวะแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนเกิดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมในเมือง

การวิเคราะห์ปัญหาของสังคมโลกในปัจจุบัน นอกจากจะพิจารณาปัจจัยรอบด้านในเชิงระบบ แล้วก็อาจพิจารณาปัญหาโดยจําแนกแยกส่วนวิเคราะห์ หรือการขีดวงจํากัดในการพิจารณาและแก้ไขปัญหาด้วยก็ได้ ซึ่งชุมชนเมืองเป็นระบบของสังคมหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในแง่รับ และในแง่ส่งผลต่อปัจจัยใน ส่วนย่อย หรือส่วนใหญ่ที่เป็นสิ่งแวดล้อมของระบบเมือง ในขณะเดียวกันภายในระบบของเมืองเองก็มีปฏิสัมพันธ์ ที่ส่งผลและรับผลซึ่งกันและกันด้วย

 

สถานการณ์ที่เป็นปัญหาสําคัญของโลก มี 5 ประการ คือ

1 ความยากจนข้นแค้นท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องความจนนี้ Macawber ได้ให้ ทัศนะไว้ในลักษณะการกําหนดระดับ/ขนาดหรือเกณฑ์มาตรฐานแบ่งความไม่จนออกจากความจนว่า ความจนอาจมี ปัจจัยที่สําคัญเป็นเครื่องบ่งชี้ ได้แก่ในด้านเศรษฐกิจ เช่น ความไม่มีอํานาจและต้องพึ่งพาผู้อื่น ขัดสนหรือจนในแง่ ของสุขภาพอนามัย การได้รับการศึกษาอย่างไม่พอเพียง การไม่มีความสะอาดของที่อยู่อาศัย ความเป็นส่วนตัว หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เป็นต้น

คนจนในเมือง (Urban Poor) หรือคนระดับล่าง (Urban Underclass) คือ กลุ่มประชากร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองตามย่านต่าง ๆ ซึ่งตกอยู่ในภาวะความยากจนมาช้านาน โดดเดี่ยวจากสังคม ผืนวิถี ของปทัสถานและค่านิยมอันดีงามของสังคมและเป็นผู้ที่สิ้นหวัง

2 ความทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ ดิน และสารเคมี หรือปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่ เป็นอาหารและเพื่อเป็นพลังงาน หรือควรที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อใช้ในระยะยาวและเพื่อการศึกษาวิจัย

3 ปัญหาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป็นปัญหาในเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ ใน สังคมและชุมชน โดยต้องพิจารณาปัญหาทั้งระบบในภาพรวมทั้งประเทศหรือโลก เช่น ปัญหาการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ปัญหาความแออัดแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

4 ปัญหาการเสื่อมศรัทธาในสถาบันต่าง ๆ เป็นปัญหาเชิงระบบของชุมชนที่เปลี่ยนแปลง และการขยายตัวโดยขาดทิศทาง เช่น ปัญหาการปฏิเสธค่านิยมแบบดั้งเดิม การแยกตัวของคนรุ่นหนุ่มสาว การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เป็นต้น

5 ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเงิน และการจ้างงานต่าง ๆ อาจจําแนกสาเหตุหลักได้ 2 ประการ คือ

– การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร ได้ก่อให้เกิดปัญหาความต้องการในการบริโภค การขาดแคลนทรัพยากร และสิ่งจําเป็นพื้นฐาน เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน เป็นต้น

– การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ก่อให้เกิดความ ต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานชีวิตให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรเกินความจําเป็นพื้นฐานของตน อย่างสิ้นเปลืองด้วย

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงกรอบแนวคิดทฤษฎีชุมชนเมือง (Urban Theory) มา 3 ทฤษฎีหรือกรอบแนวคิด พร้อมทั้งวิพากษ์ทฤษฎีฯ ที่ยกมาว่า ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร ?

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

นักวิชาการที่สนใจศึกษาเมืองและความเป็นเมือง และได้รวบรวมจนกลายเป็นทฤษฎี ชุมชนเมือง (Urban Theory) ซึ่งนักวิชาการที่สําคัญ มีดังนี้

1 George Simmel มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Culture of the Metropolis” ซึ่งวิเคราะห์ถึงกระบวนการและธรรมชาติของสินค้าและการแลกเปลี่ยน

2) ให้ความสนใจมหานครที่ทันสมัยและเป็นวัฒนธรรมของชุมชนเมืองโดยทั่วไป

3) ในปี ค.ศ. 1903 เขียนหนังสือชื่อ “The Metropolis and Mental Life” พบว่า แรงกดดันจากมหานครรุนแรงเกินกว่าหรือมิอาจชดเชยด้วยเสรีภาพที่เกิดในเมืองเล็ก ๆ

4) มหานคร (Metropolis) จะเป็นที่รวมหนาแน่นและบูรณาการทั้งมิติของพื้นที่ (Space) และเวลา (Time)

– ความเป็นไปได้ในการดําเนินกิจกรรมและหน้าที่ของคนในชุมชนเมืองมหานครในต้นศตวรรษที่ 20 วิธีหนึ่งคือ จําเป็นต้องใช้นาฬิกาแบบพกพา (Pocket Watch)

– คนในเมืองอยู่ภายใต้แรงกดดันในที่มีความตรงต่อเวลา

5) ปัจจัยสําคัญในการแลกเปลี่ยนในเมืองสมัยใหม่ คือ เงิน อํานาจที่แฝงเร้นการบูรณาการความหลากหลายของหน้าที่ให้มีความเป็นไปได้

6) คนที่มั่งคั่ง (Wealth) เท่านั้นจะสร้างความมั่นคงในสินค้าหรือบริการได้ โดยไม่จําเป็นต้องใช้กําลังไปบังคับหรือจูงใจด้วยอุดมการณ์เช่นในอดีต หรือมีความ เป็นอิสระ แต่ความสัมพันธ์จะอยู่ที่ปัจจัยสําคัญคือ เงิน และเงินสามารถเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของผู้คนให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด

2 Walter Benjamin มีทัศนะเกี่ยวกับเมืองคล้ายกับ George Simmel ซึ่งแนวทาง การศึกษาของเขาสนใจที่จะวิเคราะห์ในเชิงปรัชญา การสนทนาถึงธรรมชาติของสัจจะ ศีลธรรม และเงื่อนไขในการ ดํารงอยู่ของมนุษย์ นอกจากนี้เขายังสนใจศึกษาในเชิงวิภาษวิธีที่รู้จักในนาม การวิพากษ์เชิงลึก (Immanent Critique)

Walter Benjamin เขียนหนังสือชื่อ “The Exegetical City” ซึ่งมีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับ ทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เมืองมหานครเป็นปัจจัยกระตุ้นสําคัญต่อความคิดของเขาที่สะท้อนออกมาในเรื่องของธรรมชาติของประสบการณ์ของมนุษย์

2) สนใจศึกษาเมืองเนเปิลส์ (Naples) ในประเทศอิตาลี พบว่า

– จะมีศิลปะหรือการออกแบบเพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่มีมาแต่ก่อนหน้านั้น

อยู่ตลอดเวลา หรือเป็นเรื่องของพลวัตในการออกแบบศิลปะของเมือง คือการไม่มีที่สิ้นสุดในกฎเกณฑ์หรือวิถีชีวิตของเมือง

– มีคุณลักษณะที่เรียกว่า “Porosity” ของตึกรามและบริเวณส่วนตัวส่วนรวม

– เมืองเนเปิลส์ เป็นเมืองที่กําลังพัฒนามากกว่าเมืองใด ๆ ในยุโรป เมืองเป็นโลกความเป็นจริงของชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะของชนชั้นกลาง

3) เมืองมอสโคว์จะคล้ายกับเมืองเนเปิลส์มาก วิถีชีวิตของคนในเมืองจะสบาย ๆไม่เคร่งครัดด้วยกฎระเบียบแบบในเบอร์ลิน

3 Henri Lefebvre มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Production of City”

2) สนใจเชิงสหวิชาทั้งวรรณกรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การวางแผน และกําหนดนโยบาย ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ Karl Marx เมืองเป็นระบบย่อย (Sub-system) ของระบบสังคมที่วิวัฒนาการมาสู่ระบบทุนนิยม (จากปฏิสัมพันธ์ ในเครือข่ายการค้า ความคิด การเกษตรกรรมจากชนบทมาสู่เมือง กฎหมาย ระบบการคลัง ฯลฯ)

– ระบบที่มีการจัดการดังกล่าวอาจนําไปสู่ความล้มเหลวได้ ดังนั้นจึงไม่มี

ระบบใดที่มีอยู่จริงหรือจะใช้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

3) เขียนหนังสือชื่อ “The Right to the City” (สิทธิที่มีต่อเมือง) มองชุมชนเมือง เป็นที่รวมของทุกสิ่ง และการทดลองในสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในเมือง

– หนังสือนี้มีอิทธิพลต่อนักคิดหนุ่มสาวทั้งสถาปนิก นักวางแผน นักการเมืองนักวิชาการ ซึ่งส่งผลต่อรายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองของพื้นที่ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองกับเศรษฐกิจสังคมอื่น ๆ

4) มองคล้าย Marx ในแง่ที่ว่า เมือง คือ ที่ที่จะใช้คุณค่าและเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนในคุณค่าตลอดจนการรวมคุณค่าเข้าด้วยกัน

5) เมืองเป็นระบบที่เป็นทางการในเชิงความสัมพันธ์ของการผลิต หรือในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์ และวัตถุดิบ ซึ่งคุณค่าใน การแลกเปลี่ยน คือ ราคาของสินค้าที่ผลิตเพื่อค้าขาย โดยอาศัยปัจจัยการผลิตในเชิงทุนนิยม

6) ในขณะที่มีการใช้ทุนมากขึ้นจึงมีการแปลงทั้งขนาดและพื้นที่ให้เป็นไปในเชิงการค้ามากขึ้น

7) การแบ่งแยกการใช้แรงงานที่เกิดขึ้นในช่วงยุคต้นทุนนิยม ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ขยายขอบเขตออกไปเหนือเมือง เป็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในขณะที่จะเกิดความแตกต่างระหว่างคนที่มั่งคั่งกับคนจนอย่างสุดขั้ว

8) ด้วยอํานาจและการพิชิตชัยชนะของระบบตลาดหรือทุนนิยมดังกล่าว เมืองจึงเป็นศูนย์กลางของการทํางานในเชิงพาณิชย์และผู้เสียเปรียบทางสังคมที่อยู่อย่างกระจายโดยรอบ โดยไม่สามารถเข้าถึงความมั่งคั่งนั้นได้

9) เรียกเมืองในเชิงทุนนิยมนั้นว่า “สังคมของระบบโครงสร้างที่ได้มีการกําหนดหรือควบคุมการบริโภคไว้แล้ว หรือต่อมานิยมเรียกสังคมผู้บริโภค (Consumer Society)”

10) ตามเหตุผลดังกล่าวสิทธิของผู้บริโภคก็ไม่ได้มีกันทุกคน และการบริโภคก็ไม่ใช่ในเชิงสินค้าหรือการบริการเท่านั้น แต่ยังต้องการสิ่งอื่น ๆ เช่น สุนทรียภาพสัญลักษณ์ ฯลฯ

11) ด้วยเหตุที่เมืองพยายามที่จะรวมเอาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บริการในเชิงการค้า ดังนั้นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ วิถีชีวิตต่าง ๆ จึงไม่อาจเหลืออยู่ต่อไป หรือยากที่จะเข้าใจ หรือเป็นเพียงการเก็บไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูในพิพิธภัณฑ์

12) แนวคิดดังกล่าวเกิดความตระหนักไปทั่วโลกในการศึกษาชุมชนเมืองให้เข้าใจถึงสิ่งที่แตกต่างและรากฐานที่มาของเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในเชิงประวัติศาสตร์

13) แนวคิดของเขายังกระตุ้นให้เกิดการตระหนักในเรื่องของอิทธิพลของทั้งความเป็นชนบท และเมืองในระบบทุนนิยมในหมู่นักวางแผน

 

ความสําคัญของเมืองหรือชุมชนเมือง มีดังนี้

1 ในฐานะที่เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย หน้าที่นี้ถือเป็นบทบาทโดยทั่วไปของเมืองหรือ ชุมชนเมือง เพราะเมื่อประชาชนเลือกที่จะอยู่อาศัยในเมืองนั้น ๆ แล้ว เมืองจึงไม่อาจปฏิเสธบทบาทตามความคาดหวังของผู้ที่อยู่อาศัย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ของเมืองจะต้องดําเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข ซึ่งกิจกรรมหลักได้แก่

การสร้างสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยที่ดีน่ารื่นรมย์, การสร้างให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์แก่เมือง, การสร้างกิจกรรมทางสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้คน, การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างได้ผล

2 ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค ได้แก่ ความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่ จะให้เมืองเป็นศูนย์กลางการติดต่อ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น ประเทศไทยต้องการให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3 ในฐานะเป็นเมืองนานาชาติ จากการเป็นเมืองนานาชาติจะเป็นไปเพื่อรองรับความ ต้องการของมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของโลก นอกจากนี้ฐานะที่ได้เปรียบ ของเมืองในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศยิ่งจะเอื้อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันได้ ในลักษณะนี้เมืองมหานคร ของหลาย ๆ ประเทศจะมีการเชื่อมสัมพันธ์ในกิจกรรมที่สนใจร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น การเป็นเมืองท่า เมืองพี่เมืองน้อง เมืองพันธมิตร เป็นต้น

4 ในฐานะที่เป็นเมืองนําการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศต่าง ๆ จะใช้ เมืองมหานครซึ่งมีศักยภาพในทางเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรม การขนส่ง และการบริการในสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว เป็นตัวช่วยให้เกิดการขยายตัวในทางเศรษฐกิจ หรือเหนี่ยวนําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

ข้อ 5 การผังเมือง (City Planning) คืออะไร และมีความสําคัญเช่นไรต่อการบริหารเมือง ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 134, 148, 230 – 233), (คําบรรยาย)

ความหมายของการผังเมือง (City Planning) มีดังนี้

1 คือ การวางแผนการเจริญเติบโตล่วงหน้าระยะยาวเพื่อให้เมืองนั้นสามารถดํารงอยู่อย่างยั่งยืน ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีความสมดุลในระบบนิเวศของเมือง

2 คือ การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีเหตุผลโดยการวางกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อสร้าง ความมั่นใจให้คนในชุมชนเมืองมีชีวิตที่ดี มีคุณค่าในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตในชุมชนเมืองนั้น และเพื่อให้เมือง และการดําเนินกิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสําคัญของการผังเมืองต่อการบริหารชุมชนเมือง

1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง มีระเบียบ ทั้งนี้เนื่องจาก การบริหารชุมชนเมืองจะมีหลักแนวคิด ปรัชญาที่ได้นํามาใช้ในการวางแผน เช่น เรื่องการตอบสนองความเป็นอยู่ ที่ดี เรื่องการพัฒนาอย่างสมดุล หรือแผนการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งในขั้น ที่จําเป็นที่ต้องขับเคลื่อนเมืองไปสู่อนาคตก็จําเป็นที่จะต้องอาศัยแผนเป็นเครื่องกําหนดทิศทาง ดังนั้นก็ต้องอาศัย หลักการแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการด้วยเช่นกัน เช่น การออกแบบเมือง จัดการทางด้านสถาปัตยกรรมหรือ ภูมิสถาปัตย์ จัดการทางด้านวิศวกรรมโยธา วิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ตลอดจนมิติทางด้าน รัฐศาสตร์ก็ตาม ก็ควรนับเข้ารวมอยู่ในด้านการวางแผนด้วยก็จะทําให้เกิดความครอบคลุมรอบด้าน

2 เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรที่จะมีความ สมดุลก็คือ ในเมืองควรจะมีความสมดุลทั้งในด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม รวมตลอดทั้งพัฒนา ทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมด้วย

3 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง ประโยชน์สาธารณะนั้น ก็จะได้จากการวางแผนที่ดี ซึ่งก็หมายถึง ในรายละเอียดของแผนนั้นจะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์กับการเดินทาง การศึกษา สําหรับประชาชนที่ต้องการศึกษา สําหรับประชาชนที่ทํางาน ทําธุรกิจ ถ้าเมืองมีการวางแผนไปในทิศทาง ที่ถูกต้องทุกฝ่ายก็จะได้ประโยชน์จากการบริหารเหล่านั้นร่วมกัน

ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการขยายขอบเขตของชุมชนเมืองอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) โดยที่ไม่มีการผังเมือง ดังนี้

1 ลดพื้นที่ทําการเกษตร ทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ

2 นําไปสู่การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว (Private Transport) และเพิ่มจํานวนรถยนต์ส่วนตัวโดยไม่จําเป็น ซึ่งจะนํามาสู่ความแออัดของการจราจร ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียง และทัศนียภาพ

3 เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

4 นําไปสู่ปัญหาการขาดสายใยทางสังคม (Social Fabric)

5 พื้นที่ชายเมืองที่เคยเป็นปอดของเมืองและแหล่งทัศนียภาพของเมืองที่สร้างความรื่นรมย์และไม่ไกลนักจะหดหายไป

 

ข้อ 6 จงอภิปรายปัญหาของการบริหารชุมชนเมืองในสังคมที่กําลังพัฒนามาให้มาให้เห็นเป็นรูปธรรม 3 – 5 ประเด็นปัญหา พร้อมทั้งระบุแนวทางการแก้ไขโดยละเอียด ? แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 197 – 199), (คําบรรยาย)

ปัญหาของการบริหารชุมชนเมืองโดยทั่วไป มีดังนี้

1 ปัญหาในเชิงการบริหารงาน เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง อํานาจในการบริหารงาน ระบบและวิธีการบริหารงาน ตลอดจนโครงสร้างความสัมพันธ์ของอํานาจในการบริหารงานจากส่วนกลางและ การตัดสินใจในแต่ละระดับซึ่งเกี่ยวโยงมาถึงการปฏิบัติงานในรายละเอียด เช่น การงบประมาณ การคลัง เป็นต้น

2 ปัญหาในเชิงกายภาพ เป็นปัญหาที่ผู้บริหารชุมชนเมืองจําเป็นต้องอาศัยการลงทุน ก่อสร้างและการพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกตามมาตรฐานของเมือง เช่น การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ระบบ การขนส่ง

3 ปัญหาเมืองที่ขาดการวางแผน (Urban Plan) เป็นปัญหาที่เกิดจากการขาดการวางแผน การใช้ที่ดิน และการวางระบบกิจกรรมของเมือง เช่น การกําหนดสถานที่หรือย่านที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม สถานีตํารวจ เกษตรกรรม ฯลฯ

4 ปัญหาความเสื่อมของใจกลางเมืองหรือย่านใจกลางธุรกิจ (Central Business District : CBD) เป็นปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไม่จํากัด การมีที่อยู่อาศัยอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น เกิดสลัมในเมือง ตลอดจนการขาดการดูแลแก้ไขปรับปรุงสภาวะต่าง ๆ ให้สมบูรณ์

5 ปัญหาความแออัด (Congestion) เป็นปัญหาที่ทําให้เกิดความไม่สะดวกในการดําเนินกิจกรรม การได้รับการสนองตอบอย่างไม่เพียงพอและเหมาะสม เช่น การจราจรที่แออัด บ้านเรือนที่อยู่อาศัยที่แออัด การสร้างอาคารต่อสัดส่วนที่ดินไม่ถูกต้อง

6 ปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmental Problem) เป็นปัญหาที่มักจะมีผลมาจากการ ที่เมืองขาดการวางแผนการใช้ที่ดิน การขาดทุนทางสังคม ความเสื่อมของเมืองอันเนื่องมาจากจํานวนประชากร และการวางระบบกิจกรรมกับพื้นที่ไม่สมดุลกัน และความแออัด เช่น ปัญหามลพิษทางดิน น้ำ อากาศ เสียง และ สายตา ฯลฯ ซึ่งถือเป็นปัญหาด้านสังคมที่จะส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตของประชาชน

7 ปัญหาขยะ (Refuse Problem) ถือเป็นปัญหาใหญ่ของชุมชนเมืองที่เกิดความไม่สมดุล ในระบบนิเวศระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย โดยปัญหาขยะนี้จะส่งผลทั้งภายในชุมชนเมืองเอง และกระทบ ต่อภายนอกซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของระบบ

8 ปัญหาโอกาสในทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องและมีปฏิกิริยา ระหว่างกัน เช่น เมืองที่ขาดความสมดุลในการผลิตและการกระจายการใช้ทรัพยากร จะก่อให้เกิดปัญหาช่องว่าง ระหว่างคนจน หรือเกิดปัญหาความไม่สมดุลต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาทางจิต ฯลฯ

ตัวอย่างปัญหาและแนวทางแก้ไข มีดังนี้

1 ปัญหาการจราจรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้นภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ําของเวลาการทํางานเพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ

– การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น

– จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ

– ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัดอยู่แล้ว

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้งขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางลัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

2 ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง ปัญหามลพิษทางน้ำมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

การบําบัดน้ำเสีย

– การจํากัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

– การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางน้ำแก่ประชาชน

– การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ

– การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสํารวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ปัญหามลพิษทางอากาศมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ

– สํารวจและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เป็นประจํา

– ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด ทําได้โดยการเปลี่ยนชนิดของ

เชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับความสําคัญของอากาศบริสุทธิ์ และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนให้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ และเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ปัญหามลพิษทางเสียงมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์

– การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ บังคับ

– การกําหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกําหนดผังเมือง

– การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย

– การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

3 ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัดมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ย้ายไปอยู่ชานเมืองโดยการเช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของรัฐบาล

– มีการควบคุมความหนาแน่นของประชากร

– ส่งเสริมหรือขยายความเจริญออกไปสู่จุดอื่น ๆ ของประเทศ อย่างที่เรียกกันว่า“สร้างเมืองใหม่” หรือ “ชุมชนใหม่”

– มีการกําหนดผังเมืองและควบคุมการใช้ที่ดิน เช่น ไม่ให้มีการสร้างอาคารพาณิชย์หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในย่านที่อยู่อาศัย

– รัฐควรส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสําหรับประชากรที่มีรายได้ต่ำและ

รายได้ปานกลาง

– ควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชนให้สอดคล้องกับผังเมือง

4 ปัญหาด้านความปลอดภัยของประชาชนมีแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้

– ให้มีอาสาสมัคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจรร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจในการช่วยเหลือเบื้องต้นในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่ายชุมชน

– ปราบปรามผู้กระทําผิดอย่างจริงจัง

– มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจรอาสาตํารวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตํารวจ

– ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีรายได้พอเพียง เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม

ปัญหาการลักทรัพย์ เป็นต้น

5 ปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ใช้นโยบายสาธารณูปโภคเป็นเครื่องมือควบคุมทางผังเมือง เช่น ลดอัตราสาธารณูปโภคในเขตที่กําหนด หรือกําหนดเขตที่ไม่จ่ายสาธารณูปโภค

– ให้มีการวางนโยบายระบบบริการสาธารณูปโภคในเมือง ให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางโดยลงทุนค่าบริการให้น้อยที่สุด แต่ให้ทั่วถึงประชาชนมากที่สุด

 

ข้อ 7 การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation Development) คืออะไร จําเป็นเช่นไรสําหรับเมืองใหญ่ จงอธิบาย ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 248), (คําบรรยาย)

การพัฒนาการขนส่งในชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation Development) คือ การพัฒนาการขนส่งในชุมชนเมืองให้มีความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือ การขนส่งระบบราง (Urban Rail -Mass Transportation) ซึ่งเป็นการขนส่งที่มีความจําเป็นโดยเฉพาะสําหรับเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เนื่องจาก สามารถเคลื่อนย้ายคนได้ทีละมาก ๆ สะดวก ปลอดภัย และประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์หรือการขนส่งทางถนน การขนส่งระบบรางอาจมีได้ในหลายลักษณะ เช่น ระบบรถไฟ รถไฟฟ้า ทั้งยกระดับพื้นผิวหรือใต้ดิน เป็นต้น

การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน สามารถทําได้ใน 3 ลักษณะ ดังนี้

1 ใช้การขนส่งที่สะอาด

– เลือกใช้เชื้อเพลิงและยานยนต์ที่มีมาตรฐาน

– ตรวจสอบและบํารุงรักษาเครื่องยนต์

– ใช้ตัวชี้วัดที่ดีขึ้นในส่วนของการขนส่งอย่างยั่งยืน

2 เพิ่มการเข้าถึง

– ใช้กฎหมายกําหนดความเร็วของยานยนต์, การจอดรถ

– ควบคุมการใช้ที่ดินและการรักษาพื้นที่สีเขียว

– การวางแผนเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคม

3 เลือกใช้การขนส่งที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

– เฝ้าระวังตําแหน่งที่มีการขนส่งคับคั่ง

– ศึกษาทางเลือกในการจัดระบบการขนส่ง

 

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง

คําสั่ง ข้อสอบมี 8 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1 ทําไมจึงเกิดปัญหาเมื่อประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น (Over Population) ปัญหาที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้างให้ระบุมา 5 ประการ อีกทั้งจงเสนอแนะแนวทางการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าว ?

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก มีดังนี้

1 ด้านแหล่งน้ำจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำจืด เพราะว่ามนุษย์ก็จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้ เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ำจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆ แล้วก็กลั่นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดน้อยลง 74% ตั้งแต่ปี 1950 และคาดการณ์ว่าจะถึงปี 2050 ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศก็ประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็เกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้ด้วย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะประสบกับปัญหาปริมาณน้ำลดน้อยถอยลง ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคที่จะส่งไปยังประชากรก็ลดลงด้วย ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่าแหล่งน้ำจืดเพื่อการบริโภคอุปโภคจะมี ปัญหาส่งผลกระทบต่อน้ำเพื่อการชลประทาน และอัตราของน้ำเฉลี่ยต่อคนก็จะลดน้อยถอยลง

2 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมี ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและ สัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหล่านี้ก็เกิดปัญหาความเดือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปี ที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไป 100 – 1000 เท่า ซึ่งนอกจากภัยธรรมชาติแล้วยังเกิดจากมนุษย์ ที่ทําลายด้วย อย่างในพื้นที่ชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์อาจเคยมีนกเป็ดน้ำ สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ นับวันก็จะลดน้อยถอยลงและสูญพันธุ์ไป รวมทั้งสัตว์ป่าบางชนิดก็จะสูญพันธุ์ไปด้วย เช่น กูปรี ละมั่ง เลียงผา จามรี เป็นต้น

3 ด้านการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่งเรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบทําให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เราเองด้วย

4 ด้านการประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ เพิ่มขึ้นมากจาก 19 ล้านตัน มาเป็น 88 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี 1988 เป็นต้นมาอัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี 1996 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ลดลงถึง 16 กิโลกรัม/คน ลดลง ประมาณ 9% อย่างไรก็ตามการจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ก็ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวน เพิ่มมากขึ้นและยังมีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ำในปัจจุบันนี้มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก อีกหน่อยมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหารเหล่านี้รับประทานกันน้อยลงและยากขึ้น

5 ด้านการมีงานทําหรือการจ้างงาน (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้มีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว ประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานของโลกจาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 2.7 พันล้านคน องค์การแรงงาน ระหว่างประเทศได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานถึง 1 พันล้านคน พอถึงครึ่งศตวรรษที่ 21 นี้ (ประมาณปี 2050) จะมี คนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงานที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง และส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นปัญหาในสังคมที่กําลังพัฒนา เพราะว่ามีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และก็เข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่งงานที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงานเสียอีก

6 ด้านพื้นที่การเพาะปลูก (Cropland) ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาอัตราการเพิ่มประชากรโลกมีจํานวนมากกว่าพื้นที่การเพาะปลูกต่าง ๆ พื้นที่การเพาะปลูกโดยเฉลี่ยต่อจํานวนประชากรที่มีจํานวนลดน้อยถอยลง ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังแหล่งอาหาร ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าอาหารหรือตลาดอาหารต่าง ๆ ด้วย หากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกก็ยิ่งทําให้พื้นที่เพาะปลูกและผลิตผลมีจํานวนลดน้อยลงไป

7 ด้านป่าไม้ (Forests) การที่มีจํานวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นทําให้เกิดการบุกรุกตัดไม้ ทําลายพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เพื่อการเพาะปลูกต่าง ๆ ที่อยู่อาศัย และการขยายตัว ของเมือง เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่ป่ามีจํานวนลดน้อยลง และพื้นที่ป่าต่อประชากรหนึ่งคนก็ลดลงด้วย โดยเฉพาะ ในประเทศกําลังพัฒนา แต่ก็มีบางพื้นที่ที่มีจํานวนป่าเพิ่มขึ้นคือ ยุโรป และรัสเซีย

8 ด้านที่อยู่อาศัย (Housing) การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกมีแนวโน้มเติบโตและรวดเร็วมาก ความต้องการที่อยู่อาศัยหรือการสร้างบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยก็เพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาโดยทั่วไปของมนุษย์ที่ต้องการ มีที่อยู่อาศัยคือ ที่อยู่อาศัยมักจะมีราคาสูงมากอย่างเช่นในเมือง ที่ดินก็จะมีราคาแพงมากส่งผลให้บ้านก็มีราคาแพง ตามไปด้วย ซึ่งคนที่มีรายได้น้อยในสังคมเมืองก็หาซื้อได้ลําบาก จึงจําเป็นต้องอยู่อาศัยในที่มีพอดํารงชีพได้ ซึ่งก็มักจะเป็นแหล่งชุมชนแออัด ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหา ความแออัด แหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

9 ด้านพลังงาน (Energy) ในช่วง 200 กว่าปีมานี้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ก็เริ่มมีการใช้พลังงานต่าง ๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น จากเดิมที่ใช้พื้น ถ่านกลายมาเป็นใช้น้ํามัน ก๊าซ ฯลฯ และยิ่งมี การพัฒนาอุตสาหกรรม พัฒนาเมืองและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งพัฒนาความทันสมัยในด้านต่าง ๆ แล้ว ก็ยิ่งมีความต้องการที่จะใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันและก๊าซมาก แต่ไม่ค่อย พัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานใต้ผืนพิภพ พลังงานลม เป็นต้น ก็เพิ่งจะเริ่มมีการตื่นตัวในการพัฒนาไม่กี่ปีมานี้เอง ซึ่งความเป็นเมืองนี้เองที่เป็นศูนย์กลางทําให้มีการใช้พลังงาน อย่างมาก ความต้องการในการใช้พลังงานของประชากรโลกก็มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากว่าประเทศกําลังพัฒนา ก็มักจะพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีการใช้พลังงานเป็นอย่างมากด้วย ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ก๊าช และน้ำมัน ซึ่งได้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่มีความต้องการใช้พลังงานมาก ก็ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานชีวมวลด้วย จากที่เคยปลูกพืชเพื่อการบริโภคก็ต้องปลูกพืชเพื่อผลิตเป็นพลังงาน เช่น การปลูกอ้อย มันสําปะหลัง และข้าวโพด ฯลฯ เพื่อนําไปผลิตเป็นพลังงานที่เรียกกันว่า ไบโอดีเซล เป็นต้น

10 ด้านการสร้างชุมชนเมืองหรือพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization) ประชากรโลก มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกันมลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการ ในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการอยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 2 จงอธิบาย ขยายความ พร้อมทั้งยกตัวอย่างจากข้อความดังกล่าวมาพอสังเขป : “ทุกวันนี้ ถิ่นฐานและความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกที่ทุกแห่ง ได้ถูกถักทอด้วยวิถีชีวิตของความเป็นเมืองไปจนหมดสิ้น” ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 1 – 2, 8), (คําบรรยาย)

สถานการณ์ของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในปัจจุบันกับการพัฒนาชุมชนเมืองหรือการ สร้างบ้านแปลงเมือง (Urbanization Development)

ในปัจจุบันสถานการณ์ของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโลกนั้นเป็นลักษณะการอยู่อาศัยในโลก แห่งชุมชนเมือง (Urban World) กล่าวคือ ปัจจุบันประชากรโลก (World Population) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้นจะมี อัตราการเข้ามาอยู่อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้กลายเป็น ชุมชนเมืองไปร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

องค์การสหประชาชาติ (UN : United Nations) ได้กําหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม 2011 เป็นวันที่ ประชากรโลกมีจํานวนครบ 7 พันล้านคน ซึ่งเรียกว่า “Day of 7 Billon” และในปัจจุบันนี้จํานวนประชากรโลกก็มี แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกัน มลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการใน การอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการ อยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

จากแนวโน้มของประชากรที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มของการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองที่เพิ่ม มากเช่นกัน จะเห็นได้ว่าพื้นที่ชุมชนเมืองจะต้องรับภาระหนักในปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อสังคมและคุณภาพชีวิต เช่น ปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความแออัด มลภาวะ ขาดการบริการขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการกระจายโอกาสในด้านต่าง ๆ ไปสู่ประชากรโดยรวม โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและมาตรฐานในการ ใช้ชีวิตซึ่งควรจะมีในสังคมเมือง ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมของชาตินั้น ๆ

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงเมืองและความเป็นเมืองตามกรอบแนวคิดทฤษฎีชุมชนเมือง (Urban Theory) มาพอให้ผู้อ่านได้เข้าใจสังเขป พร้อมทั้งชี้ด้วยว่าแต่ละทฤษฎีสามารถอธิบายได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 59 – 60), (คําบรรยาย)

นักวิชาการที่สนใจศึกษาเมืองและความเป็นเมือง และได้รวบรวมจนกลายเป็นทฤษฎี ชุมชนเมือง (Urban Theory) ซึ่งนักวิชาการที่สําคัญ มีดังนี้

  1. George Simmel มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Culture of the Metropolis” ซึ่งวิเคราะห์ถึงกระบวนการและธรรมชาติของสินค้าและการแลกเปลี่ยน

2) ให้ความสนใจมหานครที่ทันสมัยและเป็นวัฒนธรรมของชุมชนเมืองโดยทั่วไป

3) ในปี ค.ศ. 1903 เขียนหนังสือชื่อ “The Metropolis and Mental Life” พบว่า แรงกดดันจากมหานครรุนแรงเกินกว่าหรือมิอาจชดเชยด้วยเสรีภาพที่เกิดในเมืองเล็ก ๆ

4) มหานคร (Metropolis) จะเป็นที่รวมหนาแน่นและบูรณาการทั้งมิติของพื้นที่ (Space) และเวลา (Time)

– ความเป็นไปได้ในการดําเนินกิจกรรมและหน้าที่ของคนในชุมชนเมืองมหานครในต้นศตวรรษที่ 20 วิธีหนึ่งคือ จําเป็นต้องใช้นาฬิกาแบบพกพา (Pocket Watch)

– คนในเมืองอยู่ภายใต้แรงกดดันในที่มีความตรงต่อเวลา

5) ปัจจัยสําคัญในการแลกเปลี่ยนในเมืองสมัยใหม่ คือ เงิน อํานาจที่แฝงเร้นการบูรณาการความหลากหลายของหน้าที่ให้มีความเป็นไปได้

6) คนที่มั่งคั่ง (Wealth) เท่านั้นจะสร้างความมั่นคงในสินค้าหรือบริการได้ โดยไม่จําเป็นต้องใช้กําลังไปบังคับหรือจูงใจด้วยอุดมการณ์เช่นในอดีต หรือมีความ เป็นอิสระ แต่ความสัมพันธ์จะอยู่ที่ปัจจัยสําคัญคือ เงิน และเงินสามารถเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของผู้คนให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด

2 Walter Benjamin มีทัศนะเกี่ยวกับเมืองคล้ายกับ George Simmel ซึ่งแนวทาง การศึกษาของเขาสนใจที่จะวิเคราะห์ในเชิงปรัชญา การสนทนาถึงธรรมชาติของสัจจะ ศีลธรรม และเงื่อนไขในการ ดํารงอยู่ของมนุษย์ นอกจากนี้เขายังสนใจศึกษาในเชิงวิภาษวิธีที่รู้จักในนาม การวิพากษ์เชิงลึก (Immanent Critique)

Walter Benjamin เขียนหนังสือชื่อ “The Exegetical City” ซึ่งมีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับ ทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เมืองมหานครเป็นปัจจัยกระตุ้นสําคัญต่อความคิดของเขาที่สะท้อนออกมาในเรื่องของธรรมชาติของประสบการณ์ของมนุษย์

2) สนใจศึกษาเมืองเนเปิลส์ (Naples) ในประเทศอิตาลี พบว่า

– จะมีศิลปะหรือการออกแบบเพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่มีมาแต่ก่อนหน้านั้น

อยู่ตลอดเวลา หรือเป็นเรื่องของพลวัตในการออกแบบศิลปะของเมือง คือการไม่มีที่สิ้นสุดในกฎเกณฑ์หรือวิถีชีวิตของเมือง

– มีคุณลักษณะที่เรียกว่า “Porosity” ของตึกรามและบริเวณส่วนตัวส่วนรวม

– เมืองเนเปิลส์ เป็นเมืองที่กําลังพัฒนามากกว่าเมืองใด ๆ ในยุโรป เมืองเป็นโลกความเป็นจริงของชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะของชนชั้นกลาง

3) เมืองมอสโคว์จะคล้ายกับเมืองเนเปิลส์มาก วิถีชีวิตของคนในเมืองจะสบาย ๆไม่เคร่งครัดด้วยกฎระเบียบแบบในเบอร์ลิน

3 Henri Lefebvre มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Production of City”

2) สนใจเชิงสหวิชาทั้งวรรณกรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การวางแผน และกําหนดนโยบาย ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ Karl Marx เมืองเป็นระบบย่อย (Sub-system) ของระบบสังคมที่วิวัฒนาการมาสู่ระบบทุนนิยม (จากปฏิสัมพันธ์ ในเครือข่ายการค้า ความคิด การเกษตรกรรมจากชนบทมาสู่เมือง กฎหมาย ระบบการคลัง ฯลฯ)

– ระบบที่มีการจัดการดังกล่าวอาจนําไปสู่ความล้มเหลวได้ ดังนั้นจึงไม่มี

ระบบใดที่มีอยู่จริงหรือจะใช้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

3) เขียนหนังสือชื่อ “The Right to the City” (สิทธิที่มีต่อเมือง) มองชุมชนเมือง เป็นที่รวมของทุกสิ่ง และการทดลองในสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในเมือง

– หนังสือนี้มีอิทธิพลต่อนักคิดหนุ่มสาวทั้งสถาปนิก นักวางแผน นักการเมืองนักวิชาการ ซึ่งส่งผลต่อรายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองของพื้นที่ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองกับเศรษฐกิจสังคมอื่น ๆ

4) มองคล้าย Marx ในแง่ที่ว่า เมือง คือ ที่ที่จะใช้คุณค่าและเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนในคุณค่าตลอดจนการรวมคุณค่าเข้าด้วยกัน

5) เมืองเป็นระบบที่เป็นทางการในเชิงความสัมพันธ์ของการผลิต หรือในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์ และวัตถุดิบ ซึ่งคุณค่าใน การแลกเปลี่ยน คือ ราคาของสินค้าที่ผลิตเพื่อค้าขาย โดยอาศัยปัจจัยการผลิตในเชิงทุนนิยม

6) ในขณะที่มีการใช้ทุนมากขึ้นจึงมีการแปลงทั้งขนาดและพื้นที่ให้เป็นไปในเชิงการค้ามากขึ้น

7) การแบ่งแยกการใช้แรงงานที่เกิดขึ้นในช่วงยุคต้นทุนนิยม ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ขยายขอบเขตออกไปเหนือเมือง เป็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในขณะที่จะเกิดความแตกต่างระหว่างคนที่มั่งคั่งกับคนจนอย่างสุดขั้ว

8) ด้วยอํานาจและการพิชิตชัยชนะของระบบตลาดหรือทุนนิยมดังกล่าว เมืองจึงเป็นศูนย์กลางของการทํางานในเชิงพาณิชย์และผู้เสียเปรียบทางสังคมที่อยู่อย่างกระจายโดยรอบ โดยไม่สามารถเข้าถึงความมั่งคั่งนั้นได้

9) เรียกเมืองในเชิงทุนนิยมนั้นว่า “สังคมของระบบโครงสร้างที่ได้มีการกําหนดหรือควบคุมการบริโภคไว้แล้ว หรือต่อมานิยมเรียกสังคมผู้บริโภค (Consumer

Society)”

10) ตามเหตุผลดังกล่าวสิทธิของผู้บริโภคก็ไม่ได้มีกันทุกคน และการบริโภคก็ไม่ใช่ในเชิงสินค้าหรือการบริการเท่านั้น แต่ยังต้องการสิ่งอื่น ๆ เช่น สุนทรียภาพสัญลักษณ์ ฯลฯ

11) ด้วยเหตุที่เมืองพยายามที่จะรวมเอาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บริการในเชิงการค้า ดังนั้นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ วิถีชีวิตต่าง ๆ จึงไม่อาจเหลืออยู่ต่อไป หรือยากที่จะเข้าใจ หรือเป็นเพียงการเก็บไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูในพิพิธภัณฑ์

12) แนวคิดดังกล่าวเกิดความตระหนักไปทั่วโลกในการศึกษาชุมชนเมืองให้เข้าใจถึงสิ่งที่แตกต่างและรากฐานที่มาของเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในเชิงประวัติศาสตร์

13) แนวคิดของเขายังกระตุ้นให้เกิดการตระหนักในเรื่องของอิทธิพลของทั้งความเป็นชนบท และเมืองในระบบทุนนิยมในหมู่นักวางแผน

ความสําคัญของเมืองหรือชุมชนเมือง มีดังนี้

1 ในฐานะที่เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย หน้าที่นี้ถือเป็นบทบาทโดยทั่วไปของเมืองหรือ ชุมชนเมือง เพราะเมื่อประชาชนเลือกที่จะอยู่อาศัยในเมืองนั้น ๆ แล้ว เมืองจึงไม่อาจปฏิเสธบทบาทตามความคาดหวังของผู้ที่อยู่อาศัย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ของเมืองจะต้องดําเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข ซึ่งกิจกรรมหลักได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยที่ดีน่ารื่นรมย์, การสร้างให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ เป็นประโยชน์แก่เมือง, การสร้างกิจกรรมทางสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้คน, การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างได้ผล

2 ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค ได้แก่ ความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่ จะให้เมืองเป็นศูนย์กลางการติดต่อ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น ประเทศไทยต้องการให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ข้อ 4. จงอธิบายนิยาม “เมือง” ในมิติต่าง ๆ มาโดยละเอียดและครอบคลุมซึ่งอาจฉีกแนวจากหลักการที่มีมาก่อนด้วยก็ได้ ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 39, 55)

นิยามและการเกิดขึ้นมาของเมืองหรือชุมชนเมือง เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้ คือ

– การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (อันได้แก่ บ้านเรือน) มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า และถนน เป็นต้น)

– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ในระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม – เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง

เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรม การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน

– เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/

อุปโภคอย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

Urban คือ เมืองหรือชุมชนเมือง (Urban Community) คือ ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มี สาระสําคัญหรือจุดร่วมของความเป็นเมือง อันได้แก่ ความเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ความหนาแน่น วิถีชีวิต หรือในแง่ของการเมืองการบริหาร เป็นต้น

 

ข้อ 5 คํากล่าวที่ว่า “ปัญหาของโลกคือปัญหาของเมือง” มีความหมายว่าอย่างไร และทําไมจึงมีคนกล่าวเช่นนั้น จงอธิบายขยายความ

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 182 – 187)

ปัญหาของสังคมโลกคือปัญหาของชุมชนเมือง

มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหาร และน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัยมีการควบคุมป้องกัน มลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน แต่เนื่องจากความต้องการใน การอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมากประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ส่งผลให้สภาวะแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนเกิดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมในเมือง

การวิเคราะห์ปัญหาของสังคมโลกในปัจจุบัน นอกจากจะพิจารณาปัจจัยรอบด้านในเชิงระบบ แล้วก็อาจพิจารณาปัญหาโดยจําแนกแยกส่วนวิเคราะห์ หรือการขีดวงจํากัดในการพิจารณาและแก้ไขปัญหาด้วยก็ได้ ซึ่งชุมชนเมืองเป็นระบบของสังคมหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในแง่รับ และในแง่ส่งผลต่อปัจจัยใน ส่วนย่อย หรือส่วนใหญ่ที่เป็นสิ่งแวดล้อมของระบบเมือง ในขณะเดียวกันภายในระบบของเมืองเองก็มีปฏิสัมพันธ์ ที่ส่งผลและรับผลซึ่งกันและกันด้วย

สถานการณ์ที่เป็นปัญหาสําคัญของโลก มี 5 ประการ คือ

1 ความยากจนข้นแค้นท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ ในเรื่องความจนนี้ Macawber ได้ให้ ทัศนะไว้ในลักษณะการกําหนดระดับ/ขนาดหรือเกณฑ์มาตรฐานแบ่งความไม่จนออกจากความจนว่า ความจนอาจมีปัจจัยที่สําคัญเป็นเครื่องบ่งชี้ ได้แก่ ในด้านเศรษฐกิจ เช่น ความไม่มีอํานาจและต้องพึ่งพาผู้อื่น ขัดสนหรือจนในแง่ ของสุขภาพอนามัย การได้รับการศึกษาอย่างไม่พอเพียง การไม่มีความสะอาดของที่อยู่อาศัย ความเป็นส่วนตัว หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เป็นต้น

คนจนในเมือง (Urban Poor) หรือคนระดับล่าง (Urban Underclass) คือ กลุ่มประชากร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองตามย่านต่าง ๆ ซึ่งตกอยู่ในภาวะความยากจนมาช้านาน โดดเดี่ยวจากสังคม ฝืนวิถี ของปทัสถานและค่านิยมอันดีงามของสังคมและเป็นผู้ที่สิ้นหวัง

2 ความทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ ดิน และสารเคมี หรือปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่ เป็นอาหารและเพื่อเป็นพลังงาน หรือควรที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อใช้ในระยะยาวและเพื่อการศึกษาวิจัย

3 ปัญหาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป็นปัญหาในเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ ใน สังคมและชุมชน โดยต้องพิจารณาปัญหาทั้งระบบในภาพรวมทั้งประเทศหรือโลก เช่น ปัญหาการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ปัญหาความแออัดแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

4 ปัญหาการเสื่อมศรัทธาในสถาบันต่าง ๆ เป็นปัญหาเชิงระบบของชุมชนที่เปลี่ยนแปลง และการขยายตัวโดยขาดทิศทาง เช่น ปัญหาการปฏิเสธค่านิยมแบบดั้งเดิม การแยกตัวของคนรุ่นหนุ่มสาว การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เป็นต้น

5.ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเงิน และการจ้างงานต่าง ๆ อาจจําแนกสาเหตุหลักได้ 2 ประการ คือ

– การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร ได้ก่อให้เกิดปัญหาความต้องการในการบริโภค การขาดแคลนทรัพยากร และสิ่งจําเป็นพื้นฐาน เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน เป็นต้น

– การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ก่อให้เกิดความ ต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานชีวิตให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรเกินความจําเป็นพื้นฐานของตน อย่างสิ้นเปลืองด้วย

 

ข้อ 6 การผังเมือง (City Planning) คืออะไร และมีความสําคัญเช่นไรต่อการอยู่อาศัยเป็นบ้านเป็นเมืองของมวลมนุษยชาติ หากไม่มีผังเมืองจะเกิดผลอย่างไร จงยกตัวอย่างให้ชัดเจน

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 134, 148, 230 – 233), (คําบรรยาย)

ความหมายของการผังเมือง (City Planning) มีดังนี้

1 คือ การวางแผนการเจริญเติบโตล่วงหน้าระยะยาวเพื่อให้เมืองนั้นสามารถดํารงอยู่อย่าง ยั่งยืน ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีความสมดุลในระบบนิเวศของเมือง

2 คือ การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีเหตุผลโดยการวางกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อสร้าง ความมั่นใจให้คนในชุมชนเมืองมีชีวิตที่ดี มีคุณค่าในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตในชุมชนเมืองนั้น และเพื่อให้เมือง และการดําเนินกิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสําคัญของการผังเมืองต่อการบริหารชุมชนเมือง

1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง มีระเบียบ ทั้งนี้เนื่องจาก การบริหารชุมชนเมืองจะมีหลักแนวคิด ปรัชญาที่ได้นํามาใช้ในการวางแผน เช่น เรื่องการตอบสนองความเป็นอยู่ ที่ดี เรื่องการพัฒนาอย่างสมดุล หรือแผนการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งในขั้น ที่จําเป็นที่ต้องขับเคลื่อนเมืองไปสู่อนาคตก็จําเป็นที่จะต้องอาศัยแผนเป็นเครื่องกําหนดทิศทาง ดังนั้นก็ต้องอาศัย หลักการแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการด้วยเช่นกัน เช่น การออกแบบเมือง จัดการทางด้านสถาปัตยกรรมหรือ ภูมิสถาปัตย์ จัดการทางด้านวิศวกรรมโยธา วิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ตลอดจนมิติทางด้าน รัฐศาสตร์ก็ตาม ก็ควรนับเข้ารวมอยู่ในด้านการวางแผนด้วยก็จะทําให้เกิดความครอบคลุมรอบด้าน

2 เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรที่จะมีความ สมดุลก็คือ ในเมืองควรจะมีความสมดุลทั้งในด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม รวมตลอดทั้งพัฒนา ทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมด้วย

3 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง ประโยชน์สาธารณะนั้น ก็จะได้จากการวางแผนที่ดี ซึ่งก็หมายถึง ในรายละเอียดของแผนนั้นจะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์กับการเดินทาง การศึกษา สําหรับประชาชนที่ต้องการศึกษา สําหรับประชาชนที่ทํางาน ทําธุรกิจ ถ้าเมืองมีการวางแผนไปในทิศทาง ที่ถูกต้องทุกฝ่ายก็จะได้ประโยชน์จากการบริหารเหล่านั้นร่วมกัน

ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการขยายขอบเขตของชุมชนเมืองอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) โดยที่ไม่มีการผังเมือง ดังนี้

1 ลดพื้นที่ทําการเกษตร ทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ

2 นําไปสู่การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว (Private Transport) และเพิ่มจํานวนรถยนต์ส่วนตัวโดยไม่จําเป็น ซึ่งจะนํามาสู่ความแออัดของการจราจร ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียง และทัศนียภาพ

3 เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

4 นําไปสู่ปัญหาการขาดสายใยทางสังคม (Social Fabric)

5 พื้นที่ชายเมืองที่เคยเป็นปอดของเมืองและแหล่งทัศนียภาพของเมืองที่สร้างความรื่นรมย์และไม่ไกลนักจะหดหายไป

 

ข้อ 7 จงอภิปรายปัญหาของการบริหารชุมชนเมืองกรณีกรุงเทพมหานคร อย่างเป็นรูปธรรมสัก 3 – 5 ประเด็นปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทาง วิธีการแก้ไขอย่างยั่งยืน ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 265 – 279)

การบริหารชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

ในสภาวการณ์ปัจจุบันกรุงเทพมหานครกําลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติของเมือง (Urban Crisis) อันเนื่องมาจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาสภาวะแวดล้อม เสื่อมโทรม ปัญหามลพิษทางน้ํา ทางอากาศ ฝุ่นละออง หรือปัญหาชุมชนแออัด ซึ่งกรุงเทพฯ ในฐานะหน่วยงาน หลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้เร่งรัดดําเนินการแก้ไขมาโดยตลอด แต่เนื่องจากกรุงเทพฯ มีข้อจํากัดในการดําเนินการ หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ อัตรากําลังคน กฎหมาย และความเกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่น ทําให้ การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพโดยกรุงเทพฯ ฝ่ายเดียวได้

– แนวทางแก้ปัญหาสําคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ ประชาชนเข้ามามีบทบาทร่วมในการพัฒนากรุงเทพฯ มากขึ้นตามหลักการที่ว่า ผู้มีส่วนร่วมสร้างปัญหาควรมี ส่วนในการแก้ไขปัญหาด้วย ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของประเทศต่าง ๆ ว่าจะทําให้การพัฒนาเมือง สามารถบรรลุผลสําเร็จได้ และนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

หลักการพื้นฐานของประชาคมเมือง คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกฝ่ายในกรุงเทพฯ ให้ได้มีโอกาสพบปะกันเป็นประจํา หรือสร้างความรู้สึกรักท้องถิ่นร่วมกัน การรับรู้ปัญหา การตระหนักต่อ สถานการณ์ปัญหาร่วมกัน โดยร่วมดําเนินการจัดระบบการแก้ไขปัญหาตามสถานภาพของตน ไม่ผลักภาระให้ เป็นของฝ่ายใดหรือหน่วยงานใด แต่ต้องยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะต้องรับผิดชอบ ร่วมกัน

สภาพปัญหาการบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ดังนี้

1 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก

– กทม. ไม่มีอิสระและไม่มีอํานาจเพียงพอเด็ดขาดในการบริหารงานให้เป็นไปตาม อํานาจหน้าที่ที่ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 บัญญัติไว้ เนื่องจากอํานาจหน้าที่บางอย่างได้มีกฎหมายกําหนดไว้ให้หน่วยงานราชการส่วนกลางดําเนินการเอง

2 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน

– ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรภายใน กทม.

– การขาด ความชัดเจนในด้านอํานาจหน้าที่ของกทม.

– ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าฯ กทม. กับสภา กทม. ยังไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

– ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่าย กทม. กับประชาคม โดยยังไม่มีการเปิดโอกาสให้ประชาคมต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานเท่าที่ควร

– ความสัมพันธ์ระหว่าง กทม. กับรัฐบาลที่ยังไม่ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

– ระบบบริหารจัดการบริการสาธารณะของ กทม. ซึ่งจะไม่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางแต่ภาครัฐจะกําหนดรูปแบบการให้บริการแก่ประชาชน (Inward Looking)

– ระบบการจัดเก็บรายได้ยังจัดเก็บได้ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนด และการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางไม่เหมาะสม

แนวทางการปรับปรุงการบริหารชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

1 เน้นการจัดโครงสร้างองค์กรแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสภาพแวดล้อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว

2 กําหนดบทบาท พันธกิจของ กทม. ให้ชัดเจน สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักการบริหารราชการที่ดี

3 จัดองค์กรการบริหารราชการ กทม. ให้มีขนาดเหมาะสมกับภารกิจ และมีการนําเทคโนโลยีและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ทดแทนการขยายหน่วยงานและบุคลากร

4 ให้มีระบบการบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์ โดยมีการวางยุทธศาสตร์และแผนการบริหารราชการของ กทม. และให้ทุกหน่วยงานจัดทําแผนปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนการบริหารราชการของ กทม. โดยมีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

5 ให้มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติราชการในทุกระดับ

6 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารราชการของ กทม.

ปัญหาและแนวทางแก้ไข มีดังนี้

1 ปัญหาการจราจรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้นภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ําของเวลาการทํางานเพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ

– การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น

– จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ

– ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัดอยู่แล้ว

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้งขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางลัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

2 ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง

ปัญหามลพิษทางน้ำมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การบําบัดน้ำเสีย

– การจํากัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

– การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางน้ำแก่ประชาชน

– การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ

– การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสํารวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ

ปัญหามลพิษทางอากาศมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ

– สํารวจและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เป็นประจํา

– ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด ทําได้โดยการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับ ความสําคัญของอากาศบริสุทธิ์ และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนให้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ และเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ปัญหามลพิษทางเสียงมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์

– การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ บังคับ

– การกําหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกําหนดผังเมือง

– การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย

– การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

3 ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัดมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ย้ายไปอยู่ชานเมืองโดยการเช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของรัฐบาล

– มีการควบคุมความหนาแน่นของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

– ส่งเสริมหรือขยายความเจริญออกไปสู่จุดอื่น ๆ ของประเทศ อย่างที่เรียกกันว่า“สร้างเมืองใหม่” หรือ “ชุมชนใหม่”

– มีการกําหนดผังเมืองและควบคุมการใช้ที่ดิน เช่น ไม่ให้มีการสร้างอาคารพาณิชย์หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในย่านที่อยู่อาศัย

– รัฐควรส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสําหรับประชากรที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

– ควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชนให้สอดคล้องกับผังเมือง

4 ปัญหาด้านความปลอดภัยของประชาชนมีแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้

– ให้มีอาสาสมัครทั้ง 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจในการช่วยเหลือเบื้องต้นในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่ายชุมชน

– ปราบปรามผู้กระทําผิดอย่างจริงจัง

– มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจรอาสาตํารวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตํารวจ ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีรายได้พอเพียง เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการลักทรัพย์ เป็นต้น

– จัดให้มีอาสาสมัครกรุงเทพมหานครตามเขตและโรงพยาบาลเพื่ออํานวยความสะดวกในการติดต่อและช่วยประสานงานหรือดูแลความปลอดภัย

5 ปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ใช้นโยบายสาธารณูปโภคเป็นเครื่องมือควบคุมทางผังเมือง เช่น ลดอัตราสาธารณูปโภคในเขตที่กําหนด หรือกําหนดเขตที่ไม่จ่ายสาธารณูปโภค

– ป้องกันคนอพยพเข้ากรุงเทพมหานคร โดยดึงดูดคนให้ไปอยู่ในชุมชนใหม่หรือเมืองใหม่

– ให้มีการวางนโยบายระบบบริการสาธารณูปโภคในเมือง ให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางโดยลงทุนค่าบริการให้น้อยที่สุด แต่ให้ทั่วถึงประชาชนมากที่สุด

 

ข้อ 8 การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation Development) หมายความคืออะไร จําเป็นเช่นไรสําหรับเมืองต่าง ๆ จงอธิบายให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 248), (คําบรรยาย)

การพัฒนาการขนส่งในชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation Development) คือ การพัฒนาการขนส่งในชุมชนเมืองให้มีความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือ การขนส่งระบบราง (Urban Rail-Mass Transportation) ซึ่งเป็นการขนส่งที่มีความจําเป็นโดยเฉพาะสําหรับเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เนื่องจาก สามารถเคลื่อนย้ายคนได้ทีละมาก ๆ สะดวก ปลอดภัย และประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์หรือการขนส่งทางถนน การขนส่งระบบรางอาจมีได้ในหลายลักษณะ เช่น ระบบรถไฟ รถไฟฟ้า ทั้งยกระดับพื้นผิวหรือใต้ดิน เป็นต้น

การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน สามารถทําได้ใน 3 ลักษณะ ดังนี้

1 ใช้การขนส่งที่สะอาด

– เลือกใช้เชื้อเพลิงและยานยนต์ที่มีมาตรฐาน

– ตรวจสอบและบํารุงรักษาเครื่องยนต์

– ใช้ตัวชี้วัดที่ดีขึ้นในส่วนของการขนส่งอย่างยั่งยืน

2 เพิ่มการเข้าถึง

– ใช้กฎหมายกําหนดความเร็วของยานยนต์, การจอดรถ

– ควบคุมการใช้ที่ดินและการรักษาพื้นที่สีเขียว

– การวางแผนเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคม

3 เลือกใช้การขนส่งที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

– เฝ้าระวังตําแหน่งที่มีการขนส่งคับคั่ง

– ศึกษาทางเลือกในการจัดระบบการขนส่ง

 

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง

คําสั่ง ข้อสอบมี 7 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1 การเพิ่มของประชากรโลกในปัจจุบันซึ่งมีอยู่ถึง 7,500 ล้านคนได้ส่งผลให้เกิดอะไรอย่างไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่าง

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก มีดังนี้

1 ด้านแหล่งน้ำจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำจืด เพราะว่ามนุษย์ก็จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้ เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ำจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆ แล้วก็กลั่นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดน้อยลง 74% ตั้งแต่ปี 1950 และคาดการณ์ว่าจะถึงปี 2050 ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศก็ประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็เกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้ด้วย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะประสบกับปัญหาปริมาณน้ำลดน้อยถอยลง ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคที่จะส่งไปยังประชากรก็ลดลงด้วย ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่าแหล่งน้ำจืดเพื่อการบริโภคอุปโภคจะมี ปัญหาส่งผลกระทบต่อน้ำเพื่อการชลประทาน และอัตราของน้ำเฉลี่ยต่อคนก็จะลดน้อยถอยลง

2 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมี ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและ สัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหล่านี้ก็เกิดปัญหาความเดือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปี ที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไป 100 – 1000 เท่า ซึ่งนอกจากภัยธรรมชาติแล้วยังเกิดจากมนุษย์ ที่ทําลายด้วย อย่างในพื้นที่ชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์อาจเคยมีนกเป็ดน้ำ สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ นับวันก็จะลดน้อยถอยลงและสูญพันธุ์ไป รวมทั้งสัตว์ป่าบางชนิดก็จะสูญพันธุ์ไปด้วย เช่น กูปรี ละมั่ง เลียงผา จามรี เป็นต้น

3 ด้านการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่งเรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบทําให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เราเองด้วย

4 ด้านการประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ เพิ่มขึ้นมากจาก 19 ล้านตัน มาเป็น 88 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี 1988 เป็นต้นมาอัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี 1996 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ลดลงถึง 16 กิโลกรัม/คน ลดลง ประมาณ 9% อย่างไรก็ตามการจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ก็ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวน เพิ่มมากขึ้นและยังมีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ำ

ในปัจจุบันนี้มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก อีกหน่อยมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหารเหล่านี้รับประทานกันน้อยลงและยากขึ้น

5 ด้านการมีงานทําหรือการจ้างงาน (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้มีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว ประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานของโลกจาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 2.7 พันล้านคน องค์การแรงงาน ระหว่างประเทศได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานถึง 1 พันล้านคน พอถึงครึ่งศตวรรษที่ 21 นี้ (ประมาณปี 2050) จะมี คนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงานที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง และส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นปัญหาในสังคมที่กําลังพัฒนา เพราะว่ามีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และก็เข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่งงานที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงานเสียอีก

6 ด้านพื้นที่การเพาะปลูก (Cropland) ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาอัตราการเพิ่มประชากรโลกมีจํานวนมากกว่าพื้นที่การเพาะปลูกต่าง ๆ พื้นที่การเพาะปลูกโดยเฉลี่ยต่อจํานวนประชากรที่มีจํานวนลดน้อยถอยลง ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังแหล่งอาหาร ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าอาหารหรือตลาดอาหารต่าง ๆ ด้วย หากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกก็ยิ่งทําให้พื้นที่เพาะปลูกและผลิตผลมีจํานวนลดน้อยลงไป

7 ด้านป่าไม้ (Forests) การที่มีจํานวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นทําให้เกิดการบุกรุกตัดไม้ ทําลายพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เพื่อการเพาะปลูกต่าง ๆ ที่อยู่อาศัย และการขยายตัว ของเมือง เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่ป่ามีจํานวนลดน้อยลง และพื้นที่ป่าต่อประชากรหนึ่งคนก็ลดลงด้วย โดยเฉพาะ ในประเทศกําลังพัฒนา แต่ก็มีบางพื้นที่ที่มีจํานวนป่าเพิ่มขึ้นคือ ยุโรป และรัสเซีย

8 ด้านที่อยู่อาศัย (Housing) การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกมีแนวโน้มเติบโตและรวดเร็วมาก ความต้องการที่อยู่อาศัยหรือการสร้างบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยก็เพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาโดยทั่วไปของมนุษย์ที่ต้องการ มีที่อยู่อาศัยคือ ที่อยู่อาศัยมักจะมีราคาสูงมากอย่างเช่นในเมือง ที่ดินก็จะมีราคาแพงมากส่งผลให้บ้านก็มีราคาแพง ตามไปด้วย ซึ่งคนที่มีรายได้น้อยในสังคมเมืองก็หาซื้อได้ลําบาก จึงจําเป็นต้องอยู่อาศัยในที่มีพอดํารงชีพได้ ซึ่งก็มักจะเป็นแหล่งชุมชนแออัด ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหา ความแออัด แหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

9 ด้านพลังงาน (Energy) ในช่วง 200 กว่าปีมานี้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ก็เริ่มมีการใช้พลังงานต่าง ๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น จากเดิมที่ใช้พื้น ถ่านกลายมาเป็นใช้น้ํามัน ก๊าซ ฯลฯ และยิ่งมี การพัฒนาอุตสาหกรรม พัฒนาเมืองและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งพัฒนาความทันสมัยในด้านต่าง ๆ แล้ว ก็ยิ่งมีความต้องการที่จะใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันและก๊าซมาก แต่ไม่ค่อย พัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานใต้ผืนพิภพ พลังงานลม เป็นต้น ก็เพิ่งจะเริ่มมีการตื่นตัวในการพัฒนาไม่กี่ปีมานี้เอง ซึ่งความเป็นเมืองนี้เองที่เป็นศูนย์กลางทําให้มีการใช้พลังงาน อย่างมาก ความต้องการในการใช้พลังงานของประชากรโลกก็มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากว่าประเทศกําลังพัฒนา ก็มักจะพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีการใช้พลังงานเป็นอย่างมากด้วย ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ก๊าช และน้ำมัน ซึ่งได้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่มีความต้องการใช้พลังงานมาก ก็ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานชีวมวลด้วย จากที่เคยปลูกพืชเพื่อการบริโภคก็ต้องปลูกพืชเพื่อผลิตเป็นพลังงาน เช่น การปลูกอ้อย มันสําปะหลัง และข้าวโพด ฯลฯ เพื่อนําไปผลิตเป็นพลังงานที่เรียกกันว่า ไบโอดีเซล เป็นต้น

10 ด้านการสร้างชุมชนเมืองหรือพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization) ประชากรโลก มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกันมลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการ ในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการอยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายและความสําคัญของ “เมือง” และ “ชุมชนเมือง” ต่อสังคมมนุษย์โลกมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 39, 55, 59 – 60)

นิยามและการเกิดขึ้นมาของเมืองหรือชุมชนเมือง เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้ คือ

– การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (อันได้แก่ บ้านเรือน) มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า และถนน เป็นต้น)

– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ในระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม

– เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง

– เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรม การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี

– เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน

– เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/อุปโภคอย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

Urban คือ เมืองหรือชุมชนเมือง (Urban Community) คือ ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสาระสําคัญหรือจุดร่วมของความเป็นเมือง อันได้แก่ ความเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ความหนาแน่น วิถีชีวิต หรือในแง่ของการเมืองการบริหาร เป็นต้น

ความสําคัญของเมืองหรือชุมชนเมือง มีดังนี้

1 ในฐานะที่เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย หน้าที่นี้ถือเป็นบทบาทโดยทั่วไปของเมืองหรือ ชุมชนเมือง เพราะเมื่อประชาชนเลือกที่จะอยู่อาศัยในเมืองนั้น ๆ แล้ว เมืองจึงไม่อาจปฏิเสธบทบาทตามความคาดหวังของผู้ที่อยู่อาศัย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ของเมืองจะต้องดําเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข ซึ่งกิจกรรมหลักได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่ดีน่ารื่นรมย์ การสร้างให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์แก่เมือง การสร้างกิจกรรมทางสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้คนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างได้ผล

2 ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค ได้แก่ ความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่จะให้เมืองเป็นศูนย์กลางการติดต่อ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น ประเทศไทยต้องการให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3 ในฐานะเป็นเมืองนานาชาติ จากการเป็นเมืองนานาชาติจะเป็นไปเพื่อรองรับความ ต้องการของมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของโลก นอกจากนี้ฐานะที่ได้เปรียบของเมืองในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศยิ่งจะเอื้อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันได้ ในลักษณะนี้ เมืองมหานครของหลาย ๆ ประเทศจะมีการเชื่อมสัมพันธ์ในกิจกรรมที่สนใจร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อประโยชน์ ในทางเศรษฐกิจ เช่น การเป็นเมืองท่า เมืองพี่เมืองน้อง เมืองพันธมิตร เป็นต้น

4 ในฐานะที่เป็นเมืองน้ำการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศต่าง ๆ จะใช้ เมืองมหานครซึ่งมีศักยภาพในทางเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรม การขนส่ง และการบริการในสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว เป็นตัวช่วยให้เกิดการขยายตัวในทางเศรษฐกิจ หรือเหนี่ยวนําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

ข้อ 3 คํากล่าวในยุคร่วมสมัยที่ว่า “ปัญหาของสังคมโลกคือปัญหาของสังคมเมือง” คืออะไร อย่างไรจงอธิบาย ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 182 – 187)

ปัญหาของสังคมโลกคือปัญหาของชุมชนเมือง

มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหาร และน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัยมีการควบคุมป้องกันมลพิษ ตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน แต่เนื่องจากความต้องการในการอยู่อาศัย ของประชาชนในชุมชนเมืองมีมากประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ส่งผลให้สภาวะแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนเกิดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมในเมือง

การวิเคราะห์ปัญหาของสังคมโลกในปัจจุบัน นอกจากจะพิจารณาปัจจัยรอบด้านในเชิงระบบ แล้วก็อาจพิจารณาปัญหาโดยจําแนกแยกส่วนวิเคราะห์ หรือการขีดวงจํากัดในการพิจารณาและแก้ไขปัญหาด้วยก็ได้ ซึ่งชุมชนเมืองเป็นระบบของสังคมหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในแง่รับ และในแง่ส่งผลต่อปัจจัยใน ส่วนย่อย หรือส่วนใหญ่ที่เป็นสิ่งแวดล้อมของระบบเมือง ในขณะเดียวกันภายในระบบของเมืองเองก็มีปฏิสัมพันธ์ ที่ส่งผลและรับผลซึ่งกันและกันด้วย

 

สถานการณ์ที่เป็นปัญหาสําคัญของโลก มี 5 ประการ คือ

1 ความยากจนข้นแค้นท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องความจนนี้ Macawber ได้ให้ ทัศนะไว้ในลักษณะการกําหนดระดับ/ขนาดหรือเกณฑ์มาตรฐานแบ่งความไม่จนออกจากความจนว่า ความจนอาจมี ปัจจัยที่สําคัญเป็นเครื่องบ่งชี้ ได้แก่ในด้านเศรษฐกิจ เช่น ความไม่มีอํานาจและต้องพึ่งพาผู้อื่น ขัดสนหรือจนในแง่ ของสุขภาพอนามัย การได้รับการศึกษาอย่างไม่พอเพียง การไม่มีความสะอาดของที่อยู่อาศัย ความเป็นส่วนตัว หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เป็นต้น

คนจนในเมือง (Urban Poor) หรือคนระดับล่าง (Urban Underclass) คือ กลุ่มประชากร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองตามย่านต่าง ๆ ซึ่งตกอยู่ในภาวะความยากจนมาช้านาน โดดเดี่ยวจากสังคม ผืนวิถี ของปทัสถานและค่านิยมอันดีงามของสังคมและเป็นผู้ที่สิ้นหวัง

2 ความทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ ดิน และสารเคมี หรือปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่ เป็นอาหารและเพื่อเป็นพลังงาน หรือควรที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อใช้ในระยะยาวและเพื่อการศึกษาวิจัย

3 ปัญหาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป็นปัญหาในเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ ใน สังคมและชุมชน โดยต้องพิจารณาปัญหาทั้งระบบในภาพรวมทั้งประเทศหรือโลก เช่น ปัญหาการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ปัญหาความแออัดแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

4 ปัญหาการเสื่อมศรัทธาในสถาบันต่าง ๆ เป็นปัญหาเชิงระบบของชุมชนที่เปลี่ยนแปลง และการขยายตัวโดยขาดทิศทาง เช่น ปัญหาการปฏิเสธค่านิยมแบบดั้งเดิม การแยกตัวของคนรุ่นหนุ่มสาว การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เป็นต้น

5 ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเงิน และการจ้างงานต่าง ๆ อาจจําแนกสาเหตุหลักได้ 2 ประการ คือ

– การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร ได้ก่อให้เกิดปัญหาความต้องการในการบริโภค การขาดแคลนทรัพยากร และสิ่งจําเป็นพื้นฐาน เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน เป็นต้น

– การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ก่อให้เกิดความ ต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานชีวิตให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรเกินความจําเป็นพื้นฐานของตน อย่างสิ้นเปลืองด้วย

ข้อ 4 จงอธิบายเมืองและชุมชนเมือง โดยอาศัยกรอบความคิดเชิงทฤษฎี ไม่ว่าจากศาสตร์สาขาใดมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

นักวิชาการที่สนใจศึกษาเมืองและความเป็นเมือง และได้รวบรวมจนกลายเป็นทฤษฎี ชุมชนเมือง (Urban Theory) ซึ่งนักวิชาการที่สําคัญ มีดังนี้

  1. George Simmel มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Culture of the Metropolis” ซึ่งวิเคราะห์ถึงกระบวนการและธรรมชาติของสินค้าและการแลกเปลี่ยน

2) ให้ความสนใจมหานครที่ทันสมัยและเป็นวัฒนธรรมของชุมชนเมืองโดยทั่วไป

3) ในปี ค.ศ. 1903 เขียนหนังสือชื่อ “The Metropolis and Mental Life” พบว่า แรงกดดันจากมหานครรุนแรงเกินกว่าหรือมิอาจชดเชยด้วยเสรีภาพที่เกิดในเมืองเล็ก ๆ

4) มหานคร (Metropolis) จะเป็นที่รวมหนาแน่นและบูรณาการทั้งมิติของพื้นที่ (Space) และเวลา (Time)

– ความเป็นไปได้ในการดําเนินกิจกรรมและหน้าที่ของคนในชุมชนเมืองมหานครในต้นศตวรรษที่ 20 วิธีหนึ่งคือ จําเป็นต้องใช้นาฬิกาแบบพกพา (Pocket Watch)

– คนในเมืองอยู่ภายใต้แรงกดดันในที่มีความตรงต่อเวลา

5) ปัจจัยสําคัญในการแลกเปลี่ยนในเมืองสมัยใหม่ คือ เงิน อํานาจที่แฝงเร้นการบูรณาการความหลากหลายของหน้าที่ให้มีความเป็นไปได้

6) คนที่มั่งคั่ง (Wealth) เท่านั้นจะสร้างความมั่นคงในสินค้าหรือบริการได้ โดยไม่จําเป็นต้องใช้กําลังไปบังคับหรือจูงใจด้วยอุดมการณ์เช่นในอดีต หรือมีความ เป็นอิสระ แต่ความสัมพันธ์จะอยู่ที่ปัจจัยสําคัญคือ เงิน และเงินสามารถเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของผู้คนให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด

2 Walter Benjamin มีทัศนะเกี่ยวกับเมืองคล้ายกับ George Simmel ซึ่งแนวทาง การศึกษาของเขาสนใจที่จะวิเคราะห์ในเชิงปรัชญา การสนทนาถึงธรรมชาติของสัจจะ ศีลธรรม และเงื่อนไขในการ ดํารงอยู่ของมนุษย์ นอกจากนี้เขายังสนใจศึกษาในเชิงวิภาษวิธีที่รู้จักในนาม การวิพากษ์เชิงลึก (Immanent Critique)

Walter Benjamin เขียนหนังสือชื่อ “The Exegetical City” ซึ่งมีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับ ทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เมืองมหานครเป็นปัจจัยกระตุ้นสําคัญต่อความคิดของเขาที่สะท้อนออกมาในเรื่องของธรรมชาติของประสบการณ์ของมนุษย์

2) สนใจศึกษาเมืองเนเปิลส์ (Naples) ในประเทศอิตาลี พบว่า

– จะมีศิลปะหรือการออกแบบเพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่มีมาแต่ก่อนหน้านั้น

อยู่ตลอดเวลา หรือเป็นเรื่องของพลวัตในการออกแบบศิลปะของเมือง คือการไม่มีที่สิ้นสุดในกฎเกณฑ์หรือวิถีชีวิตของเมือง

– มีคุณลักษณะที่เรียกว่า “Porosity” ของตึกรามและบริเวณส่วนตัวส่วนรวม

– เมืองเนเปิลส์ เป็นเมืองที่กําลังพัฒนามากกว่าเมืองใด ๆ ในยุโรป เมืองเป็นโลกความเป็นจริงของชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะของชนชั้นกลาง

3) เมืองมอสโคว์จะคล้ายกับเมืองเนเปิลส์มาก วิถีชีวิตของคนในเมืองจะสบาย ๆไม่เคร่งครัดด้วยกฎระเบียบแบบในเบอร์ลิน

3 Henri Lefebvre มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Production of City”

2) สนใจเชิงสหวิชาทั้งวรรณกรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การวางแผน และกําหนดนโยบาย ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ Karl Marx เมืองเป็นระบบย่อย (Sub-system) ของระบบสังคมที่วิวัฒนาการมาสู่ระบบทุนนิยม (จากปฏิสัมพันธ์ ในเครือข่ายการค้า ความคิด การเกษตรกรรมจากชนบทมาสู่เมือง กฎหมาย ระบบการคลัง ฯลฯ)

– ระบบที่มีการจัดการดังกล่าวอาจนําไปสู่ความล้มเหลวได้ ดังนั้นจึงไม่มี

ระบบใดที่มีอยู่จริงหรือจะใช้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

3) เขียนหนังสือชื่อ “The Right to the City” (สิทธิที่มีต่อเมือง) มองชุมชนเมือง เป็นที่รวมของทุกสิ่ง และการทดลองในสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในเมือง

– หนังสือนี้มีอิทธิพลต่อนักคิดหนุ่มสาวทั้งสถาปนิก นักวางแผน นักการเมืองนักวิชาการ ซึ่งส่งผลต่อรายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองของพื้นที่ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองกับเศรษฐกิจสังคมอื่น ๆ

4) มองคล้าย Marx ในแง่ที่ว่า เมือง คือ ที่ที่จะใช้คุณค่าและเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนในคุณค่าตลอดจนการรวมคุณค่าเข้าด้วยกัน

5) เมืองเป็นระบบที่เป็นทางการในเชิงความสัมพันธ์ของการผลิต หรือในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์ และวัตถุดิบ ซึ่งคุณค่าใน การแลกเปลี่ยน คือ ราคาของสินค้าที่ผลิตเพื่อค้าขาย โดยอาศัยปัจจัยการผลิตในเชิงทุนนิยม

6) ในขณะที่มีการใช้ทุนมากขึ้นจึงมีการแปลงทั้งขนาดและพื้นที่ให้เป็นไปในเชิงการค้ามากขึ้น

7) การแบ่งแยกการใช้แรงงานที่เกิดขึ้นในช่วงยุคต้นทุนนิยม ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ขยายขอบเขตออกไปเหนือเมือง เป็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในขณะที่จะเกิดความแตกต่างระหว่างคนที่มั่งคั่งกับคนจนอย่างสุดขั้ว

8) ด้วยอํานาจและการพิชิตชัยชนะของระบบตลาดหรือทุนนิยมดังกล่าว เมืองจึงเป็นศูนย์กลางของการทํางานในเชิงพาณิชย์และผู้เสียเปรียบทางสังคมที่อยู่อย่างกระจายโดยรอบ โดยไม่สามารถเข้าถึงความมั่งคั่งนั้นได้

9) เรียกเมืองในเชิงทุนนิยมนั้นว่า “สังคมของระบบโครงสร้างที่ได้มีการกําหนดหรือควบคุมการบริโภคไว้แล้ว หรือต่อมานิยมเรียกสังคมผู้บริโภค (Consumer

Society)”

10) ตามเหตุผลดังกล่าวสิทธิของผู้บริโภคก็ไม่ได้มีกันทุกคน และการบริโภคก็ไม่ใช่ในเชิงสินค้าหรือการบริการเท่านั้น แต่ยังต้องการสิ่งอื่น ๆ เช่น สุนทรียภาพสัญลักษณ์ ฯลฯ

11) ด้วยเหตุที่เมืองพยายามที่จะรวมเอาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บริการในเชิงการค้า ดังนั้นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ วิถีชีวิตต่าง ๆ จึงไม่อาจเหลืออยู่ต่อไป หรือยากที่จะเข้าใจ หรือเป็นเพียงการเก็บไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูในพิพิธภัณฑ์

12) แนวคิดดังกล่าวเกิดความตระหนักไปทั่วโลกในการศึกษาชุมชนเมืองให้เข้าใจถึงสิ่งที่แตกต่างและรากฐานที่มาของเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในเชิงประวัติศาสตร์

13) แนวคิดของเขายังกระตุ้นให้เกิดการตระหนักในเรื่องของอิทธิพลของทั้งความเป็นชนบท และเมืองในระบบทุนนิยมในหมู่นักวางแผน

ข้อ 5 นโยบายเมืองและการผังเมือง (City Planning) คืออะไร และมีความหมายและความสําคัญเช่นไรต่อการบริหารชุมชนเมือง

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 134, 148), (คําบรรยาย)ความหมายของการผังเมือง (City Planning) มีดังนี้

1 คือ การวางแผนการเจริญเติบโตล่วงหน้าระยะยาวเพื่อให้เมืองนั้นสามารถดํารงอยู่อย่าง ยั่งยืน ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีความสมดุลในระบบนิเวศของเมือง

2 คือ การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีเหตุผลโดยการวางกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อสร้าง ความมั่นใจให้คนในชุมชนเมืองมีชีวิตที่ดี มีคุณค่าในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตในชุมชนเมืองนั้น และเพื่อให้เมือง และการดําเนินกิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสําคัญของการผังเมืองต่อการบริหารชุมชนเมือง

1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง มีระเบียบ ทั้งนี้เนื่องจาก การบริหารชุมชนเมืองจะมีหลักแนวคิด ปรัชญาที่ได้นํามาใช้ในการวางแผน เช่น เรื่องการตอบสนองความเป็นอยู่ ที่ดี เรื่องการพัฒนาอย่างสมดุล หรือแผนการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งในขั้น ที่จําเป็นที่ต้องขับเคลื่อนเมืองไปสู่อนาคตก็จําเป็นที่จะต้องอาศัยแผนเป็นเครื่องกําหนดทิศทาง ดังนั้นก็ต้องอาศัย หลักการแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการด้วยเช่นกัน เช่น การออกแบบเมือง จัดการทางด้านสถาปัตยกรรมหรือ ภูมิสถาปัตย์ จัดการทางด้านวิศวกรรมโยธา วิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ตลอดจนมิติทางด้าน รัฐศาสตร์ก็ตาม ก็ควรนับเข้ารวมอยู่ในด้านการวางแผนด้วยก็จะทําให้เกิดความครอบคลุมรอบด้าน

2 เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรที่จะมีความ สมดุลก็คือ ในเมืองควรจะมีความสมดุลทั้งในด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม รวมตลอดทั้งพัฒนา ทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมด้วย

3 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง ประโยชน์สาธารณะนั้น ก็จะได้จากการวางแผนที่ดี ซึ่งก็หมายถึง ในรายละเอียดของแผนนั้นจะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์กับการเดินทาง การศึกษา สําหรับประชาชนที่ต้องการศึกษา สําหรับประชาชนที่ทํางาน ทําธุรกิจ ถ้าเมืองมีการวางแผนไปในทิศทาง ที่ถูกต้องทุกฝ่ายก็จะได้ประโยชน์จากการบริหารเหล่านั้นร่วมกัน

ข้อ 6 จงอภิปรายถึงปัญหาของเมืองและการบริหารชุมชนเมืองของสังคมที่กําลังพัฒนามาให้เข้าใจโดยละเอียด พร้อมทั้งยกตัวอย่างด้วย ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 197 199)

ปัญหาของการบริหารชุมชนเมืองโดยทั่วไป มีดังนี้

1 ปัญหาในเชิงการบริหารงาน เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง อํานาจในการบริหารงาน ระบบและวิธีการบริหารงาน ตลอดจนโครงสร้างความสัมพันธ์ของอํานาจในการบริหารงานจากส่วนกลางและ การตัดสินใจในแต่ละระดับซึ่งเกี่ยวโยงมาถึงการปฏิบัติงานในรายละเอียด เช่น การงบประมาณ การคลัง เป็นต้น

2 ปัญหาในเชิงกายภาพ เป็นปัญหาที่ผู้บริหารชุมชนเมืองจําเป็นต้องอาศัยการลงทุน ก่อสร้าง และการพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกตามมาตรฐานของเมือง เช่น การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ระบบ การขนส่ง

3 ปัญหาเมืองที่ขาดการวางแผน (Urban Plan) เป็นปัญหาที่เกิดจากการขาดการวางแผน การใช้ที่ดิน และการวางระบบกิจกรรมของเมือง เช่น การกําหนดสถานที่หรือย่านที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม สถานีตํารวจ เกษตรกรรม ฯลฯ

4 ปัญหาความเสื่อมของใจกลางเมืองหรือย่านใจกลางธุรกิจ (Central Business District : CBD) เป็นปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไม่จํากัด การมีที่อยู่อาศัยอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น เกิดสลัมในเมือง ตลอดจนการขาดการดูแลแก้ไขปรับปรุงสภาวะต่าง ๆ ให้สมบูรณ์

5 ปัญหาความแออัด (Congestion) เป็นปัญหาที่ทําให้เกิดความไม่สะดวกในการดําเนิน กิจกรรม การได้รับการสนองตอบอย่างไม่เพียงพอและเหมาะสม เช่น การจราจรที่แออัด บ้านเรือนที่อยู่อาศัยที่แออัด การสร้างอาคารต่อสัดส่วนที่ดินไม่ถูกต้อง

6 ปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmental Problem) เป็นปัญหาที่มักจะมีผลมาจากการ ที่เมืองขาดการวางแผนการใช้ที่ดิน การขาดทุนทางสังคม ความเสื่อมของเมืองอันเนื่องมาจากจํานวนประชากร และการวางระบบกิจกรรมกับพื้นที่ไม่สมดุลกัน และความแออัด เช่น ปัญหามลพิษทางดิน น้ำ อากาศ เสียง และ สายตา ฯลฯ ซึ่งถือเป็นปัญหาด้านสังคมที่จะส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตของประชาชน

7 ปัญหาขยะ (Refuse Problem) ถือเป็นปัญหาใหญ่ของชุมชนเมืองที่เกิดความไม่สมดุล ในระบบนิเวศระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย โดยปัญหาขยะนี้จะส่งผลทั้งภายในชุมชนเมืองเอง และกระทบ ต่อภายนอกซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของระบบ

8 ปัญหาโอกาสในทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องและ มีปฏิกิริยาระหว่างกัน เช่น เมืองที่ขาดความสมดุลในการผลิตและการกระจายการใช้ทรัพยากร จะก่อให้เกิดปัญหา ช่องว่างระหว่างคนจน หรือเกิดปัญหาความไม่สมดุลต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาทางจิต ฯลฯ

ข้อ 7 การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation Development) คืออะไร จําเป็นอย่างไร จงอธิบาย

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 248), (คําบรรยาย)

การพัฒนาการขนส่งในชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation Development) คือ การพัฒนาการขนส่งในชุมชนเมืองให้มีความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือ การขนส่งระบบราง (Urban Rail -Mass Transportation) ซึ่งเป็นการขนส่งที่มีความจําเป็นโดยเฉพาะสําหรับเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เนื่องจาก สามารถเคลื่อนย้ายคนได้ทีละมาก ๆ สะดวก ปลอดภัย และประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์หรือการขนส่งทางถนน การขนส่งระบบรางอาจมีได้ในหลายลักษณะ เช่น ระบบรถไฟ รถไฟฟ้า ทั้งยกระดับพื้นผิวหรือใต้ดิน เป็นต้น

การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน สามารถทําได้ใน 3 ลักษณะ ดังนี้

1 ใช้การขนส่งที่สะอาด

– เลือกใช้เชื้อเพลิงและยานยนต์ที่มีมาตรฐาน

– ตรวจสอบและบํารุงรักษาเครื่องยนต์

– ใช้ตัวชี้วัดที่ดีขึ้นในส่วนของการขนส่งอย่างยั่งยืน

2 เพิ่มการเข้าถึง

– ใช้กฎหมายกําหนดความเร็วของยานยนต์, การจอดรถ

– ควบคุมการใช้ที่ดินและการรักษาพื้นที่สีเขียว

– การวางแผนเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคม

3 เลือกใช้การขนส่งที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

– เฝ้าระวังตําแหน่งที่มีการขนส่งคับคั่ง

– ศึกษาทางเลือกในการจัดระบบการขนส่ง

PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดจัดเป็นพฤติกรรมภายใน

(1) กอดลูกด้วยความเอ็นดู

(2) ส่งข้อความทางไลน์กับคนรัก

(3) คาดหวังให้น้องได้เรียนต่อสูง ๆ

(4) ขับรถอย่างถูกต้องตามวินัยจราจร

(5) อ่านหนังสืออย่างหนักเพื่อเตรียมตัวสอบ

ตอบ 3 หน้า 3, (คําบรรยาย) พฤติกรรมของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การอ่าน การเขียน การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ

2 พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อมโดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน การคาดหวัง ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ฯลฯ

2 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา

(1) บรรยายพฤติกรรม

(2) ล่วงรู้ความคิดของผู้อื่นได้แม้ไม่ต้องพูด

(3) ควบคุมพฤติกรรม

(4) ประยุกต์ใช้ความรู้กับชีวิตประจําวัน

(5) ทําความเข้าใจการเกิดขึ้นของพฤติกรรม

ตอบ 4 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา มี 4 ประการ ดังนี้

1 หาคําอธิบาย เช่น บรรยายพฤติกรรมว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุฉุกเฉินบนถนน ฯลฯ

2 ทําความเข้าใจ เช่น ให้เหตุผลว่าทําไมหรือเพราะอะไรจึงเกิดพฤติกรรมเช่นนั้นขึ้นมา ฯลฯ

3 ทํานาย (พยากรณ์) เช่น สามารถคาดการณ์หรือล่วงรู้ความคิดของผู้อื่นได้แม้ไม่ต้องพูด ฯลฯ

4 ควบคุมพฤติกรรม เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนนแล้วมีคนถ่ายคลิปเก็บไว้ ฯลฯ

3 “องค์ประกอบของจิตสํานึก ประกอบด้วย การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ” เป็นแนวคิดของ จิตวิทยากลุ่มใด

(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต

(3) กลุ่มโครงสร้างของจิต

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่ม จิตวิเคราะห์

ตอบ 3 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) สนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึกประกอบด้วย การรับสัมผัส (Sensation) ความรู้สึก (Feeling) และมโนภาพ (Image) ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มนี้ ก็คือ วิธีการสังเกต-ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเอง หรือเรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั่นเอง

4 “การทํางานของจิตสํานึกที่เน้นการปรับตัว” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด

(1) กลุ่มโครงสร้างของจิต

(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต

(3) กลุ่มมนุษยนิยม

(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(5) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

ตอบ 2 หน้า 9 – 10 กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) สนใจศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการทํางานของจิตสํานึกและการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องศึกษาให้รู้ว่าการคิด การรับรู้ นิสัย และอารมณ์ ช่วยในการปรับตัวของมนุษย์อย่างไร โดยเห็นว่าจิตของบุคคลจะต้องทําหน้าที่ ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป

5 “การรับรู้บ้านทั้งหลัง แตกต่างจากการรับรู้วัสดุที่ประกอบเป็นบ้าน เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย” เป็นแนวคิด ของจิตวิทยากลุ่มใด

(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต

(3) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มมนุษยนิยม

ตอบ 4 หน้า 11 กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) เกิดจากแนวความคิดของนักจิตวิทยา ชาวเยอรมันคือ เวิร์ธไทเมอร์ (Wertheimer) ซึ่งกล่าวว่า การแยกแยะประสบการณ์ทางจิตออก เป็นส่วน ๆ ตามองค์ประกอบการรับรู้และการสัมผัส หรือการวิเคราะห์พฤติกรรมออกเป็นสิ่งเร้า และการตอบสนองเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องในการศึกษาทางจิตวิทยา โดยพฤติกรรมและประสบการณ์ ทางจิตจะต้องพิจารณาเป็นส่วนรวมแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะการแยกออกเป็นส่วนย่อยจะทําให้ได้ความหมายไม่สมบูรณ์ เช่น การรับรู้บ้านทั้งหลัง จะมีความหมายมากกว่าและแตกต่างจากการรับรู้วัสดุที่ประกอบเป็นบ้าน เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย ฯลฯ

6 “เน้นจิตใต้สํานึกที่เป็นแหล่งสะสมแรงขับ แรงปรารถนาที่ซ่อนเร้น” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด

(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(3) กลุ่มมนุษยนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ

ตอบ 2 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกตในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ำแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นแหล่งสะสมของความคิด แรงขับ แรงกระตุ้น และความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น

7 “เน้นกระบวนการประมวลผลข้อมูล เช่น ความคิด ภาษา การแก้ปัญหา” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด

(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต

(3) กลุ่มมนุษยนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ

ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับความสามารถทางปัญญาโดยเน้นกระบวนการประมวลผลข้อมูล เช่น ความรู้ ความคิด การใช้ ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิตอื่น ๆ

8 “ผสมผสานหลายแนวความคิดทางจิตวิทยาเพื่ออธิบายพฤติกรรม” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด

(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(2) กลุ่มมนุษยนิยม

(3) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มจิตวิทยาเอคเคล็กติก (Eclectic Psychology)

ตอบ 5 หน้า 12 ปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไป และมีการรวมความคิดเข้าด้วยกันกลายมาเป็นกลุ่มจิตวิทยาเอคเคล็กติก (Eclectic Psychology) คือ ผสมผสานหลายแนวความคิดทางจิตวิทยาเข้าด้วยกันเพื่ออธิบายพฤติกรรมมนุษย์

9 ศูนย์ควบคุมการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อ คือสมองส่วนใด

(1) ไฮโปธาลามัส

(2) ธาลามัส

(3) ซีรีบรัม

(4) ก้านสมอง

(5) ไขสันหลัง

ตอบ 1 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็กแต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและ ระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมการหลับ การยืน ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ และอุณหภูมิในร่างกาย ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย

 

ข้อ 10 – 11 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่าเป็นวิธีการศึกษาทางจิตวิทยาประเภทใด

(1) การสังเกต

(2) การสํารวจ

(3) การทดลอง

(4) การทดสอบทางจิตวิทยา

(5) การศึกษาประวัติรายกรณี

 

10 การศึกษาเชิงเหตุและผล และควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อน

ตอบ 3 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นการศึกษาเชิงเหตุและผล โดยผู้ทดลองเป็นผู้สร้างเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษา ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม) ทั้งนี้ผู้ทดลองจะต้องแน่ใจว่าได้ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนไว้แล้ว

11 ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของบุตรหลาน

ตอบ 2 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาลักษณะบางลักษณะจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา โดยการออกแบบสอบถามหรือ โดยการสัมภาษณ์และนําคําตอบหรือความคิดเห็นที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งวิธีการสํารวจนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น การสํารวจประชามติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ฯลฯ

12 การศึกษาถึงการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนอง ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม จัดเป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อใด

(1) จิตวิทยาบุคลิกภาพ

(2) สรีรจิตวิทยา

(3) การรับสัมผัส

(4) การเรียนรู้

(5) การรับรู้

ตอบ 2 หน้า 25, 27 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยการทํางานของระบบต่าง ๆที่สําคัญภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ

13 กลไกของระบบประสาทใดที่ทําหน้าที่แปลการสัมผัสจากอวัยวะรับสัมผัส ทําให้เกิดการรับรู้ที่สมอง และ สั่งการต่อไปยังอวัยวะสําแดงผล

(1) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง

(2) กลไกการรับรู้

(3) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท

(4) กลไกการรับสิ่งเร้า

(5) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน

ตอบ 3 หน้า 31 กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท ได้แก่ เซลล์ประสาท (Nerve Cells) รับข้อมูลสู่สมอง โดยทําหน้าที่แปลการสัมผัสจากอวัยวะรับสัมผัส ทําให้เกิดการรับรู้ที่สมอง และสั่งการต่อไปยังอวัยวะที่สําแดงผล

14 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเรียบ

(1) ทําปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายใน

(2) ทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ

(3) พบได้ที่กล้ามเนื้อแขน ขา สะโพก

(4) ทํางานภายใต้การสั่งการของระบบประสาทอัตโนมัติ

(5) บังคับให้กล้ามเนื้อชนิดนี้ทํางานตามที่เราต้องการไม่ได้

ตอบ 3 หน้า 32 กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) จะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ เพราะทํางานภายใต้การสั่งการหรือถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นเราจะบังคับให้กล้ามเนื้อเรียบ ทํางานตามที่เราต้องการไม่ได้ และกล้ามเนื้อเรียบจะทําปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายใน (กล้ามเนื้อแขน ขา สะโพก เป็นกล้ามเนื้อลาย)

15 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action) ภายใต้การสั่งการจากอะไร

(1) ไขสันหลัง

(2) หัวใจ

(3) สมอง

(4) ต่อมมีท่อ

(5) ต่อมไร้ท่อ

ตอบ 1 หน้า 31 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Simple Reflex Action) เป็นวงจรที่เล็กที่สุดของกลไกการตอบสนอง ซึ่งเป็นการแสดงออกทางร่างกายโดยอัตโนมัติโดยที่สมองไม่ต้องสั่งงาน แต่วงจรของกระแสประสาทจะผ่านเฉพาะไขสันหลังเท่านั้น คือ จะทํางานภายใต้การสั่งการของไขสันหลัง เช่น การกะพริบตาเมื่อถูกลมพัด การถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่ การชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน การดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ ฯลฯ

16 ระบบประสาทส่วนกลางทําหน้าที่อะไร

(1) นํากระแสประสาทจากสมองและไขสันหลังไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

(2) เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกาย

(3) ผลิตฮอร์โมน

(4) ควบคุมสมดุลระบบพลังงานของร่างกาย

(5) ผลิตของเหลวส่งตามท่อไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ตอบ 2 หน้า 34, (คําบรรยาย : ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลังถือเป็นส่วนสําคัญที่สุดของระบบประสาท โดยทําหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการ และศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกาย เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกนึกคิด สติปัญญา ความคิดและความรัก ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์

17 ระบบประสาทส่วนใดทําหน้าที่สั่งการให้ร่างกายตื่นตัว เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

(1) ระบบประสาทส่วนกลาง

(2) ระบบประสาทส่วนปลาย

(3) ระบบประสาทซิมพาเธติก

(4) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก

(5) ระบบประสาทนําคําสั่งทั่วไป

ตอบ 3 หน้า 34 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic Nervous System) เป็นระบบประสาทที่ทําให้ร่างกายมีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลงม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯซึ่งระบบนี้จะทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

18 หน่วยที่เล็กที่สุดในระบบประสาท คือข้อใด

(1) เซลล์ประสาท

(2) เส้นประสาท

(3) ใยประสาท

(4) ไขสันหลัง

(5) สมอง

ตอบ 1 หน้า 37 – 38 เซลล์ประสาทหรือนิวโรน (Nerve Cell หรือ Neuron) เป็นหน่วยพื้นฐานการทํางานที่เล็กที่สุดของระบบประสาท และเป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับส่งกระแสประสาทที่ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน ซึ่งในสมองของคนเราจะมีเซลล์ประสาทประมาณ 10 – 12 พันล้านเซลล์ โดยเซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันทุกเซลล์ ดังนี้

1 ตัวเซลล์ (Cell Body) ทําหน้าที่เป็นผนังห่อหุ้มเซลล์อีกชั้นหนึ่ง

2 เดนไดรท์ (Dendrite) ทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์ประสาท

3 แอ็กซอน (Axon) ทําหน้าที่นําคําสั่งหรือนํากระแสประสาทออกจากเซลล์ประสาทไปสู่เดนไดรท์ของเซลล์ประสาทตัวอื่น

19 ในเซลล์ประสาทนิวโรน ข้อใดทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์

(1) แอ็กซอน

(2) เดนไดรท์

(3) ตัวเซลล์

(4) เซลล์ค้ำจุน

(5) สารสื่อประสาท

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

20 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ

(1) ผลิตของเหลวเพื่อการหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้น

(2) ทําหน้าที่รักษาสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ

(3) ผลิตฮอร์โมนผ่านทางกระแสโลหิตไปสู่อวัยวะเป้าหมาย

(4) ทําหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ํานมด้วย

(5) ทําหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย

ตอบ 1 หน้า 44 – 45 ต่อมไร้ท่อ (Endocrine Gland) เป็นต่อมที่ผลิตฮอร์โมนแล้วส่งโดยอาศัยการดูดซึมผ่านทางกระแสโลหิตไปสู่อวัยวะเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ แต่ละชนิดจะทํางานไปพร้อม ๆ กันเพื่อรักษาภาวะสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ โดยหน้าที่ ที่สําคัญของฮอร์โมน คือ ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ ในร่างกาย ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนม (การผลิตของเหลวเพื่อการหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นเป็นหน้าที่ของต่อมมีท่อ)

 

ข้อ 21 – 23 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความจําระยะสั้น

(2) ความจําระยะยาว

(3) ความจําจากการรับสัมผัส

(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(5) ความจําคู่

 

21 เก็บข้อมูลจากความหมายและความสําคัญ

ตอบ 2 หน้า 196 197, 199 ความจําระยะยาว (Long-term Memory) จะทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ โดยมีความสามารถไม่จํากัด ในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ และจะเก็บข้อมูลไว้บน พื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ

1 การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ 2 การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย จําอุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ

22 เก็บข้อมูลได้ประมาณ 2 วินาทีหรือน้อยกว่านี้

ตอบ 3 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูสในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคง อยู่ได้ครึ่งวินาท (2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

23 เมื่อจําหมายเลขโทรศัพท์ไว้แล้ว แต่โทรไปสายไม่ว่าง ทําให้ลืมหมายเลข

ตอบ 1 หน้า 196 ความจําระยะสั้น (Short-term Memory) ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด โดยจะเก็บข้อมูลในลักษณะจินตภาพ ทั้งนี้ความจําระยะสั้น จะถูกรบกวนหรือถูกแทรกแซงได้ง่าย เช่น เมื่อจําหมายเลขโทรศัพท์ไว้แล้วเดินไปโทรศัพท์ แต่สายไม่ว่าง พอจะโทรใหม่อีกทีเราก็อาจจะลืมหมายเลขโทรศัพท์ไปแล้ว ฯลฯ

24 การที่เราจดจําวิธีการคํานวณเพื่อซื้อของ-ทอนเงินได้ เป็นเพราะเราจัดเก็บข้อมูลไว้ในส่วนใด

(1) การจําเหตุการณ์ในความจําระยะยาว

(2) การจําความหมายในความจําระยะยาว

(3) ความจําจากการรับสัมผัส

(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(5) ความจําคู่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

25 การที่เราสามารถนึกชื่อดาราคนหนึ่งได้ถูกต้องทันทีโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งชี้แนะ ลักษณะนี้จัดว่าตรงกับข้อใด

(1) การจําได้

(2) การระลึกได้

(3) การพิจารณาได้

(4) การเรียนซ้ำ

(5) การบูรณาการใหม่

ตอบ 2 หน้า 201 202, 218 การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริงโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งชี้แนะหรือสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นให้จําได้ เช่น ข้อสอบอัตนัย การท่องอาขยาน ฯลฯ ซึ่งบุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงต้นและท้ายได้ดีที่สุด

26 เมื่อเราเรียนทฤษฎีจิตวิทยามาก่อน แล้วมาเรียนทฤษฎีปรัชญา ปรากฏว่าทําให้เกิดการลืมเนื้อหาของทฤษฎีจิตวิทยาไป ลักษณะเช่นนี้ จัดว่าเป็นการลืมเพราะเหตุใด (1) การเรียนรู้เดิมรบกวนการเรียนรู้ใหม่

(2) การเรียนรู้ใหม่รบกวนการเรียนรู้เดิม

(3) ข้อมูลเสื่อมสลายตามกาลเวลา

(4) การระงับ เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่นึกถึงบางอย่าง

(5) ข้อมูลไม่ได้ถูกบันทึกเพราะไม่ได้เป็นเรื่องราวที่บุคคลเลือกใส่ใจ

ตอบ 2 หน้า 204 การรบกวน (Interfere) เป็นสาเหตุสําคัญของการลืม มี 2 ประเภท คือ

1 Retroactive Inhibition คือ การเรียนรู้ใหม่รบกวนการเรียนรู้เดิม

2 Proactive Inhibition คือ การเรียนรู้เดิมรบกวนการเรียนรู้ใหม่

27 ข้อใดเป็นหน่วยความคิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแบ่งข้อมูลเป็นประเภท ๆ ที่มีความหมาย

(1) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ

(2) การหยั่งเห็นคําตอบทันที

(3) จินตภาพ

(4) มโนทัศน์

ตอบ 4 หน้า 207 มโนทัศน์ (Concept) เป็นความคิดหรือคําพูดที่ใช้แทนประเภทของสิ่งของหรือเหตุการณ์ และเป็นเครื่องมือสําคัญในการคิดเพราะช่วยทําหน้าที่ในระดับนามธรรม การสร้างมโนทัศน์เป็นกระบวนการแบ่งข้อมูลเป็นประเภท ๆ ที่มีความหมาย เช่น สุนัข รถยนต์ ปากกา ข้าวแกง ข้าวหอมมะลิ ดอกมะลิ ตํารวจ กฎหมาย ประชาธิปไตย ฯลฯ

28 การที่ชาวเอสกิโมมีคําเรียกหิมะเกือบ 30 คํา แต่คนไทยมีคําเรียกหิมะเพียงคําเดียว ลักษณะนี้เกี่ยวข้องกับ หน่วยพื้นฐานของการคิดในข้อใด

(1) ภาพตรงหน้า

(2) ภาษา

(3) การหยังเห็นคําตอบทันที

(4) จินตภาพ

(5) มโนทัศน์

ตอบ 2 หน้า 208 ภาษา (Language) ของแต่ละชาติมีผลต่อระบบการคิดของคนในชาติที่เป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ เช่น ในประเทศอาหรับมีคํามากกว่า 6,000 คําที่หมายถึงอูฐ และชาวเอสกิโมมีคําเกือบ 30 คําที่แปลว่าหิมะและน้ำแข็ง ฯลฯ

29 การแก้ปัญหาของนักศึกษาแพทย์เกี่ยวกับการฉายแสงเซลล์มะเร็ง ที่ทําโดยทบทวนความรู้เกี่ยวกับการฉายแสงแล้วเริ่มฉายแสงที่มีความเข้มน้อย ๆ ไปที่ละจุด จนควบคุมการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ จัดเป็นการแก้ปัญหา แบบใด

(1) แก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ

(2) แก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร

(3) แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที

(4) แก้ปัญหาจากการท่องจํา

(5) แก้ปัญหาจากการลองผิดลองถูก

ตอบ 1 หน้า 209 210 การแก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ ซึ่งเป็นการคิดในระดับสูง เช่น ดังเคอร์ (Duncker) ให้นักศึกษาแพทย์แก้ปัญหาเกี่ยวกับการฉายแสงเพื่อทําลายเซลล์มะเร็งที่ทําโดยทบทวนความรู้เกี่ยวกับการฉายแสง แล้วเลือกคําตอบที่ถูกต้องเพียงคําตอบเดียว คือ เริ่มฉายแสง ที่มีความเข้มน้อย ๆ ไปที่ละจุด หรือหมุนร่างของคนป่วยไปเรื่อย ๆ ขณะฉายแสง เพื่อไม่ให้แสงไปทําลายเนื้อเยื่อดีรอบ ๆ เนื้อร้าย จนสามารถควบคุมการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้

30 ตั๊ก สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างหลากหลาย จัดว่าเป็นคุณสมบัติใดของความคิดสร้างสรรค์

(1) ความริเริ่ม

(2) ความคล่อง

(3) ความยืดหยุ่น

(4) ความมีตรรกะ

(5) การแสวงหาใคร่รู้

ตอบ 2 หน้า 211 คุณสมบัติของผู้มีความคิดสร้างสรรค์มีหลายประการ เช่น

1 ความคล่อง คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างหลากหลาย

2 ความยืดหยุ่น คือ สามารถเปลี่ยนวิธีคิดได้โดยไม่ยึดติดอยู่กับความคิดเดิม ๆ

3 ความคิดริเริ่ม คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะที่แปลกใหม่

 

ข้อ 31 – 35 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์

(2) ทฤษฎีโครงสร้างของจิต

(3) ทฤษฎีมนุษยนิยม

(4) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

(5) ทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง

 

31 สัญชาตญาณแห่งความตายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

ตอบ 1 หน้า 287 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณ 2 ประเภทที่ติดตัวมาแต่กําเนิด คือ

1 สัญชาตญาณแห่งการดํารงชีวิต เป็นสัญชาตญาณการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย

2 สัญชาตญาณแห่งความตาย เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

32 ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก

ตอบ 4 หน้า 289 291 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยบุคลิกภาพของมนุษย์เกิดจากผลแห่งการกระทําของเขา เช่น ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก ฯลฯ

33 พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

34 ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมนําไปสู่การพัฒนาเรื่อง Self Concept

ตอบ 3 หน้า 292 ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humantistic Theory) เชื่อว่า ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมจะนําไปสู่การพัฒนาเรื่องอัตมโนทัศน์ (Self Concept) โดยพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่องอัตมโนทัศน์ของตัวเราเอาไว้

35 การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันจะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้

ตอบ 5 หน้า 296 อัลพอร์ท (Allport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง (Type and Trait Theory)เชื่อว่า เราสามารถจัดแบ่งกลุ่มลักษณะอุปนิสัยของคนออกเป็นหมวดหมู่ได้ โดยนําเอาลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน และจากการศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคม เดียวกัน เราสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้ เรียกลักษณะนี้ว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยใจดี ฯลฯ

36 จากการทดลองของบิคแมนที่ให้หน้าม้าแต่งตัวดีและแต่งตัวไม่ดีแกล้งลืมเหรียญไว้ในตู้โทรศัพท์สาธารณะแล้วย้อนกลับไปถามคนที่กําลังใช้โทรศัพท์เพื่อขอเหรียญคืน จัดเป็นการทดลองที่ได้ข้อสรุปในเรื่องใด

(1) ปทัสถานกลุ่ม

(2) การคล้อยตาม

(3) การขัดแย้งกันทางบทบาท

(4) อิทธิพลของบทบาททางสังคม

(5) อิทธิพลของสถานภาพทางสังคม

ตอบ 5 หน้า 377 จากการทดลองของบิคแมน (Bickman) ดังกล่าวข้างต้น ได้ข้อสรุปว่า สถานภาพทางสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล โดยพบว่า มีคนถึง 77% ที่คืนเหรียญให้กับหน้าม้าที่แต่งตัวดี และมีเพียง 38% เท่านั้นที่คืนเหรียญให้กับหน้าม้าที่แต่งตัวไม่ดี

37 “ครูฝ่ายปกครองที่ต้องลงโทษลูกชายตนเองเพราะเกเรหนีโรงเรียน” จัดเป็นบริบททางสังคมลักษณะใด

(1) การเชื่อฟัง

(2) ปทัสถานกลุ่ม

(3) การคล้อยตาม

(4) การขัดแย้งระหว่างบทบาท

(5) ตําแหน่งของบุคคลในกลุ่ม

ตอบ 4 หน้า 377 ถ้าบุคคลมีบทบาทที่ขัดแย้งกัน 2 บทบาทขึ้นไปก็จะเกิดความอึดอัดหรือคับข้องใจขึ้น เช่น ครูฝ่ายปกครองที่ต้องลงโทษลูกชายตนเองเพราะเกเรหนีโรงเรียน หรือตํารวจที่ต้องจับ ลูกชายตนเองที่ค้ายาเสพติด หรือประธานบริษัทที่ต้องไล่ลูกสาวออกจากงานเพราะทุจริต ฯลฯ ก็จะเกิดความขัดแย้งระหว่างบทบาทของพ่อและบทบาทของผู้รักษากฎหมายหรือกฎระเบียบ

38 ข้อใดตรงกับการแบ่งระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะส่วนตัว

(1) การฟังสุนทรพจน์

(2) การพูดคุยของประธานบริษัทสองบริษัทที่ตกลงทําการค้าร่วมกัน

(3) การฟังคําบรรยาย

(4) การพูดคุยกันระหว่างเพื่อน

(5) การพูดคุยกันของคู่รัก

ตอบ 4 หน้า 378 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

1 ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะกับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ

2 ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษา ครูนังสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ

3 ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ

4 ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การฟังคําบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

39 “เรามักพอใจคําชมจากคนแปลกหน้ามากกว่าเพื่อน และเสียใจกับคําตําหนิของเพื่อนมากกว่าคนแปลกหน้า”ตรงกับความต้องการการเข้ากลุ่มในข้อใด

(1) ทฤษฎีผลได้-ผลเสีย

(2) ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม

(3) ทฤษฎีการเปรียบเทียบทางสังคม

(4) ความคล้ายคลึงกัน

(5) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย

ตอบ 1 หน้า 381 382 ทฤษฎีผลได้-ผลเสีย ของอรอนสันและลินเดอร์ อธิบายว่า คนเราจะรู้สึกพอใจเมื่อได้รับคําชมจากคนแปลกหน้ามากกว่าจากเพื่อนหรือคู่สมรส เพราะรู้สึกว่าได้มากกว่าและจะรู้สึกว่าสูญเสียหรือเสียใจกับคําตําหนิของเพื่อนหรือคู่สมรสมากกว่าจากคนแปลกหน้า

40 “เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยปราศจากคําอธิบาย” ข้อความดังกล่าวแสดงถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม

(1) สถานการณ์การเสนอแนะ

(2) การอภิปรายกลุ่ม

(3) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

(4) สถานการณ์การคล้อยตาม

(5) สารชักจูง

ตอบ 1 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ

1 สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยปราศจากการอธิบาย

2 สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม

3 การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น

4 สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว

5 การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน

 

41 การทดลองเรื่องการคล้อยตามของแอช (Asch) ที่ให้กลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบเส้นตรงมาตรฐานกับเส้นเปรียบเทียบที่เป็นตัวเลือก พบว่าในข้อต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการคล้อยตาม

(1) ขนาดของกลุ่ม

(2) มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ

(3) ต้องการการยอมรับจากคนอื่นมาก

(4) ความเป็นเอกฉันท์ของกลุ่ม

(5) กลุ่มที่มีความสําคัญกับตนน้อย

ตอบ 5 หน้า 383 – 385 จากการทดลองของแอช (Asch) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการคล้อยตาม ได้แก่

1 ปัจจัยส่วนบุคคล โดยคนที่คล้อยตามผู้อื่นได้ง่ายมักมีลักษณะดังนี้คือ ต้องการการยอมรับจากผู้อื่นมาก มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ต้องการความแน่นอน และมักมีความกระวนกระวายใจ

2 ปัจจัยด้านกลุ่ม โดยขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ดังนี้คือ กลุ่มมีความสําคัญกับตนมาก ขนาดของกลุ่มและความเป็นเอกฉันท์ของกลุ่ม

42 นายปิยะมีเจตคติต่อวัดว่า “เราควรไปวัดทุกวันอาทิตย์ เพื่อการฝึกสมาธิและการปฏิบัติธรรม” แสดงให้เห็น ถึงองค์ประกอบของเจตคติด้านใด

(1) องค์ประกอบทางความเชื่อ

(2) องค์ประกอบทางจิตใต้สํานึก

(3) องค์ประกอบทางการกระทํา

(4) องค์ประกอบทางอารมณ์

(5) องค์ประกอบทางการรับรู้และสัมปชัญญะ

ตอบ 3 หน้า 389 เจตคติ มีองค์ประกอบสําคัญ 3 อย่าง คือ

1 องค์ประกอบทางความเชื่อ จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ/ความคิด/ความเข้าใจที่มีต่อที่หมายทางเจตคติ เช่น มีเจตคติต่อวัดว่า “วัดเป็นสถานที่ที่ช่วยให้จิตใจสงบ ปลอดโปร่ง”,“วัดเป็นที่พึ่งทางจิตใจ” ฯลฯ

2 องค์ประกอบทางอารมณ์ จะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกที่มีต่อที่หมายทางเจตคติ

3 องค์ประกอบทางการกระทํา จะเกี่ยวข้องกับการกระทํา/พฤติกรรมที่มีต่อที่หมายทางเจตคติ เช่น มีเจตคติต่อวัดว่า “เราควรไปวัดทุกวันอาทิตย์ เพื่อการฝึกสมาธิและการปฏิบัติธรรม”,“วัยรุ่นปัจจุบันมักใช้คอมพิวเตอร์นานกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน” ฯลฯ

43 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความก้าวร้าว

(1) การเรียนรู้ทางสังคม

(2) สัญชาตญาณ

(3) การกระจายความรับผิดชอบ

(4) ความคับข้องใจ

(5) ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน

ตอบ 3 หน้า 393 – 395 สาเหตุของความก้าวร้าว มี 4 ประการ ดังนี้

1สัญชาตญาณ

2 ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน

3 ความคับข้องใจ

4 การเรียนรู้ทางสังคม

44 ในขั้นตอนการแสดงพฤติกรรมการช่วยเหลือที่ถูกต้อง เมื่อเรียงลําดับแล้ว ขั้นตอนที่ขาดหายไปคือข้อใด “สังเกตเห็นถึงสถานการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ

> ………………………………. > รับรู้ว่าตนควรรับผิดชอบ > รู้วิธีการช่วยเหลือ

(1) เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือ

(2) แปลความว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน

(3) เตรียมใจให้พร้อมสําหรับการช่วยเหลือ

(4) ตั้งสติสัมปชัญญะเพื่อการช่วยเหลือ

(5) หาเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อการช่วยเหลือ

ตอบ 2 หน้า 395 ลาตาเน่และดาร์เลย์ เห็นว่า พฤติกรรมการช่วยเหลือมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ

1 สังเกตเห็นเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ

2 แปลความว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน

3 คิดว่าเป็นสิ่งที่ตนควรรับผิดชอบ

4 รู้วิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม

45 นายเมธกล้าบอกแม่ค้าอย่างตรงไปตรงมาเมื่อแม่ค้าหยิบของที่ไม่ได้ต้องการมาส่งให้และคิดเงิน การแสดงพฤติกรรมของนายเมธตรงกับข้อใด

(1) การกระจายความรับผิดชอบ

(2) การเรียนรู้ทางสังคม

(3) พฤติกรรมก้าวร้าว

(4) พฤติกรรมการไม่กล้าแสดงออก

(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 5 หน้า 396 397 “พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม ได้แก่ การมีอารมณ์ที่เหมาะสม แน่นอน จริงใจ ถูกต้อง เชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น ความปรารถนา และความเชื่อของตนเองอย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงสิทธิส่วนบุคคล คือ เคารพทั้งสิทธิของตนเองและผู้อื่นด้วย

46 ข้อใดคือความต้องการขั้นที่ 3 ของทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (1) ความต้องการทางด้านร่างกาย

(2) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ

(3) ความต้องการความปลอดภัย

(4) ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ

(5) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง

ตอบ 2 หน้า 229 230 231 235, (คําบรรยาย) ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) ได้แบ่งลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ จํานวน 5 ขั้น ดังนี้

1 ระดับความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 1 ความต้องการทางร่างกายและขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง

2 ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น และขั้นที่ 5 ความต้องการประจักษ์ตน (ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้หรืออย่างแท้จริง) ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสูงสุด

47 แบบทดสอบชนิดใดที่ทดสอบโดยการให้ผู้รับการทดสอบดูภาพหยดหมึก

(1) Rorschach

(2) 16PF

(3) TAT

(4) MAMPI

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 308 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามีความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1 แบบทดสอบรอร์ชาค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร

2 แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาบรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

48 การประเมินบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาในข้อใดเรียกว่า การฉายภาพจิต

(1) ใช้แบบทดสอบ MMPI

(2) ให้ดูภาพหยดหมึกแล้วถามว่าเหมือนอะไร

(3) พูดคุยโดยตั้งคําถามทางอ้อม

(4) แอบสังเกตการณ์ผ่านกล้องวิดีโอ

(5) ให้ผู้รับการทดสอบเข้าไปในสถานการณ์จําลองที่สร้างขึ้น

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 ตามแนวคิดพัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ ขันใดที่เหมาะสมต่อการฝึกเรื่องการควบคุมการขับถ่าย ให้กับเด็ก

(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก

(2) ขั้นอวัยวะเพศ

(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก

(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์

(5) ขั้นแอบแฝง

ตอบ 3 หน้า 145, 299, (คําบรรยาย) พัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ในขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก(Anal Stage) เกิดในช่วงอายุ 2 – 3 ปี ซึ่งเด็กจะมีศูนย์กลางความพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนักและการขับถ่าย เด็กจะพอใจที่ได้ปลดปล่อย ดังนั้นจึงเป็นขั้นที่เหมาะสมต่อการฝึกเรื่องการควบคุม การขับถ่าย แต่หากในช่วงนี้บิดามารดาเคร่งครัดกับเด็กมากเกินไปในเรื่องการขับถ่าย เมื่อเด็กโตขึ้นจะเกิดความขัดแย้งใจ เป็นบุคลิกภาพที่รู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดจนเกินเหตุและบางครั้งอาจมีพฤติกรรมประเภทคือรันและดันทุรังได้

50 นายธีร์มีบุคลิกภาพและมีพฤติกรรมการแสดงออกเหมือนผู้หญิง เกิดจากการหยุดชะงักของพัฒนาการขั้นใด

(1) ขั้นปาก

(2) ขั้นทวารหนัก

(3) ขั้นอวัยวะเพศ

(4) ขั้นแอบแฝง

(5) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์

ตอบ 3 หน้า 145, 299, (คําบรรยาย) พัฒนาการความต้องการทางเพศของ Freud ในขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) เกิดกับเด็กอายุราว 3 – 5 ปี ในระยะนี้เด็กจะมีความพึงพอใจที่จะได้ลูบคลํา อวัยวะเพศของตนเอง เด็กจะมีความรู้สึกรักใคร่มีบุคลิกภาพและมีพฤติกรรมการแสดงออก เหมือนพ่อแม่เพศตรงข้ามกับตน และจะอิจฉาพ่อแม่เพศเดียวกันกับตน ซึ่งถ้าเกิดความขัดแย้งใจ ก็อาจจะมีผลทําให้เด็กชายเกิดปมที่เรียกว่า ปมเอดิปุส (Oedious Conflict หรือ Oedipus Complex) ส่วนเด็กหญิงก็จะเกิดปมอิเล็กตร้า (Electra Conflict)

 

ข้อ 51 – 53 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคําถามว่าเป็นคํานิยามของใคร

(1) อัลเฟรด บิเนต

(2) เดวิด เวคลเลอร์

(3) จอร์จ สต๊อดดาร์ด

(4) ฟรานซิส กัลตัน

(5) โฮวาร์ด การ์ดเนอร์

 

51 สติปัญญาเป็นความสามารถที่จะคิด วินิจฉัย และรู้จักประมาณตนเอง ตลอดจนความสามารถที่จะปรับตัวเพื่อให้บรรลุสิ่งที่ตนได้ตั้งใจไว้

ตอบ 1 หน้า 321 เป็นคํานิยามของอัลเฟรด บิเนต์ (Alfred Binet)

52 สติปัญญาเป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการที่จะติดอย่างมีเหตุผล หรือกระทําทุก ๆ สิ่งอย่างมีจุดมุ่งหมาย ตลอดจนมีความสามารถที่จะปฏิบัติตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบ 2 หน้า 321 เป็นคํานิยามของเดวิด เวคสเลอร์ (David Wechsler)

53 สติปัญญาเป็นความสามารถในการที่จะทํากิจกรรมต่าง ๆ ให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ตอบ 3 หน้า 321 เป็นคํานิยามของจอร์จ สต๊อดดาร์ด (George Stoddard)

54 ถ้าข้อสอบ PSY 1001 มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ ข้อสอบนี้ขาดคุณสมบัติข้อใด

(1) ความเป็นปรนัย

(2) ความเชื่อถือได้

(3) ความแม่นยํา

(4) ความเที่ยงตรง

(5) ความเป็นมาตรฐาน

ตอบ 4 หน้า 328 ความเที่ยงตรง (Validity) นับเป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด นั่นคือ แบบทดสอบจะต้องสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัดได้ ได้แก่ ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและทฤษฎีที่ให้ ผู้ทรงคุณวุฒิจทําการประเมินแล้ว หรือความเที่ยงตรงที่ได้จากการคํานวณหาค่าสหสัมพันธ์ ระหว่างแบบทดสอบกับเกณฑ์ที่ใช้ในการทํานายหรือกับการทดสอบอื่น ๆ หรือระหว่าง แบบทดสอบใหม่กับแบบทดสอบเก่าที่ผู้สร้างเดิมได้หาค่าความเที่ยงตรงไว้แล้ว

55 ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยของสเปียร์แมน แบ่งสติปัญญาออกเป็นสององค์ประกอบ ได้แก่

(1) G-factor และ L-factor

(2) G-factor และ S-factor

(3) S-factor และ L-factor

(4) G-factor และ C-factor

(5) C-factor และ L-factor

ตอบ 2 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1 ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด

2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

56 ข้อใดคือสมการที่ใช้ในการคํานวณคะแนนสติปัญญา (IQ)

(1) MANCA x 100

(2) CA/MA x 100

(3) CN100 X MA

(4) AMAW100 x CA

(5) 100/AA x CA

ตอบ 1 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า IQ (Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = AMA) และอายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = CA) คูณ 100 ดังสมการ NAA/CA x 100

57 คะแนน IQ ในข้อใดจัดอยู่ในระดับปกติ (Average)

(1) 90 109

(2) 80 – 89

(3) 70 – 79

(4) 60 – 69

(5) 50 – 59

ตอบ 1 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ IQ ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ IQ 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ IQ 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ IQ 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ IQ 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ IQ 140 ขึ้นไป

58 แบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญาฉบับใดที่สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุ 2 ปีได้

(1) SPM

(2) WAIS

(3) WISC

(4) WPPSI

(5) Stanford-Binet

ตอบ 5 หน้า 329 ลักษณะของแบบทดสอบ Stanford-Binet คือ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับสติปัญญาของเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึงผู้ใหญ่ที่ฉลาด 59 แบบทดสอบวัดสติปัญญาแบบใดไม่ใช่การโต้ตอบคําถามด้วยภาษา

(1) Stanford- Binet

(2) WAIS

(3) WISC

(4) WPPSI

(5) Progressive Matrices

ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตริซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคลในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต และเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล

60 ข้อใดกล่าวผิด

(1) การใช้แบบทดสอบ IQ จะกระทําได้แต่เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอเท่านั้น (2) ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเพศหญิงและชายมีความแตกต่างทางสติปัญญา

(3) ฐานะทางสังคมไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน

(4) ความแตกต่างทางเชื้อชาติไม่ได้ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน (5) ระดับสติปัญญาอาจเพิ่มหรือลดได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว

ตอบ 3 หน้า 332 334 การขายและใช้แบบทดสอบ IQ จะกระทําได้แต่เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียงพอในการใช้แบบทดสอบเท่านั้น เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าเพศหญิงและชายใครจะมี สติปัญญาดีกว่ากัน, ฐานะทางสังคมเป็นปัจจัยหรือตัวแปรที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน, ความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่ได้ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกันและระดับสติปัญญาของคนเราอาจจะเพิ่มหรือลดก็ได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว

61 “การปรับตัวของมนุษย์พัฒนาไปตามศักยภาพของบุคคลที่เอื้ออํานวย” เป็นแนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มใด

(1) จิตวิเคราะห์

(2) มนุษยนิยม

(3) จิตวิทยาเกสตัลท์

(4) พฤติกรรมนิยม

(5) กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด

ตอบ 2 หน้า 344 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist) มีแนวคิดว่า การปรับตัวของมนุษย์พัฒนาไปตามศักยภาพของบุคคลที่เอื้ออํานวย ซึ่งเชื่อว่า มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพ จะอํานวย เรียกกระบวนการพัฒนาเข้าไปถึงที่สุดของศักยภาพนี้ว่า “การประจักษ์ในตน”ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมายของการงอกงามเติบโตที่แท้จริงของมนุษย์

62 ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีน้อยที่สุด

(1) ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น

(2) ช่วยให้เกิดประโยชน์กับชีวิตมากขึ้น

(3) มีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น

(4) ต้องไม่ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

(5) ช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความแตกต่างกันได้ดีขึ้น

ตอบ 3 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสมเป็นการปรับตัวของบุคคลที่เป็นไปในทิศทางที่ช่วยให้เกิดประโยชน์กับชีวิตมากขึ้น ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เชื่อมั่นใน ตนเองมากขึ้น และช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความแตกต่างกันได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนอกจากนี้ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น

63 ตามแนวคิดของไฟด์แมนและโรเซนแมน คนแบบใดมีความเครียดน้อยที่สุด

(1) ฟ้าชอบเข้มงวดกับตัวเอง

(2) ภัทรชอบความเสียง

(3) ตึกชอบการแข่งขัน

(4) มินชอบความสมบูรณ์แบบ

(5) เป้ชอบทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไป

ตอบ 5 หน้า 348, (คําบรรยาย) ไฟด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) ได้แบ่ง กลุ่มคนตามลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 กลุ่ม A (Type A Personality) เป็นคนใจเร็ว ใจร้อน ชอบความก้าวหน้า การแข่งขันสูง เก็บกดไม่แสดงอารมณ์ มุ่งความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเองมักเป็นคนเข้มงวด ขอบเสียงและชอบความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีผลให้มีความเครียดมากที่สุด

2 กลุ่ม B (Type B Personality) เป็นคนที่ไม่เร่งรีบ ผ่อนคลาย ทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไปชอบทํางานที่ละอย่าง ซึ่งมีผลให้มีความเครียดน้อยที่สุดและไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

64 อาการทางกายใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคคล

(1) นอนไม่หลับ

(2) ท้องผูก

(3) ไมเกรน

(4) ปัญญาอ่อน

(5) ความดันโลหิตสูง

ตอบ 4 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือโรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ท้องร่วง ท้องผูก โรคหัวใจ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) ฯลฯ

65 ตามแนวคิดของเซลเย (Selye) ภาวะที่หมดพลัง (Burn-out) เกิดขึ้นในขั้นตอนใด

(1) ขั้นระยะตื่นตัว

(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก

(3) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย

(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า

(5) ขั้นระยะถดถอย

ตอบ 4 หน้า 351 เซลเย (Selye) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียดพบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ

1 ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม

2 สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น

3 ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกาย เกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-out คือ หมดพลัง ไปต่อไม่ได้

66 “ม่อนรู้สึกเครียดจากปัญหาในที่ทํางาน จึงออกไปเดินบริเวณสวนสาธารณะเพื่อผ่อนคลาย” เป็นกลยุทธ์ ในการลดความเครียดด้วยวิธีใด

(1) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น

(2) เรียนรู้การพูดให้ตนเองสบายใจ

(3) แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงพอใจ

(4) การใส่ใจดูแลตนเอง

(5) การทํากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด

ตอบ 3 หน้า 351 353 กลยุทธ์ในการลดความเครียด ได้แก่

1 แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงพอใจ เช่น เดินเล่นบริเวณสวนสาธารณะ

2 ใส่ใจดูแลตนเองให้ดี เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

3 รู้จักทํากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น นั่งสมาธิ ออกกําลังกาย เล่นดนตรี ฯลฯ

4 เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ปลา ผัก ผลไม้ ฯลฯ

5 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

6 เรียนรู้วิธีพูดให้ตนเองสบายใจ

67 ข้อใดอธิบายถูกต้องเกี่ยวกับ “กลไกป้องกันทางจิต” ที่ใช้ในการปรับตัว

(1) ใช้เพื่อจัดการกับความคับข้องใจ

(2) ใช้เพื่อจัดการกับความขัดแย้งภายในใจ

(3) เป็นกลไกที่เกิดขึ้นในระดับจิตรู้สํานึก

(4) เป็นกลไกที่เกิดจากการทําหน้าที่ของอิด

(5) เป็นกลไกที่ไม่สามารถลดความวิตกกังวลลงได้

ตอบ 1 หน้า 357, 368 กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) เป็นกลไกที่ใช้ในการจัดการกับความคับข้องใจของบุคคล เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อบิดเบือนหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธสถานการณ์ที่ทําให้ เกิดความวิตกกังวล จะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลงได้ แม้ว่าการใช้กลไกป้องกัน ทางจิตจะสามารถรักษาความสมดุลของสภาพทางจิตใจไว้ได้ระดับหนึ่งก็ตาม แต่ถ้าใช้มากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลิกภาพได้ ซึ่งจะนําไปสู่ภาวะของโรคประสาทได้ในที่สุด

68 การดาลืมความชอกช้ำที่เคยได้รับจากความรักครั้งแรกไปแล้ว

(1) การไม่รับรู้ความจริง

(2) การเก็บกด

(3) การโยนความผิด

(4) การชดเชยสิ่งที่ขาด

(5) การถอยหลังเข้าคลอง

ตอบ 2 หน้า 358 การเก็บกด (Repression) เป็นกลวิธีที่บุคคลใช้เพื่อลืมเหตุการณ์ที่อยากจะลืมไม่ต้องการจดจํา เป็นวิธีการที่จะทําให้แรงกระตุ้นที่ไม่พึงปรารถนาหลุดออกไปจากอีโก้หรือ จิตสํานึก ซึ่งจะสามารถป้องกันตนเองจากความสะเทือนใจได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นเหตุการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นในวัยเด็กหรือความทรงจําที่เจ็บปวด

69 “แม่เลี้ยงแสดงออกว่ารักลูกเลี้ยงอย่างมาก ทั้งที่ในใจรู้สึกเกลียด” เป็นกลไกป้องกันทางจิตแบบใด

(1) การมีปฏิกิริยากลบเกลื่อน

(2) การโยนความผิดเข้าตัวเอง

(3) การหาสิ่งทดแทน

(4) การไม่รับรู้ความจริง

(5) การไม่นําความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง

ตอบ 1 หน้า 359 ปฏิกิริยากลบเกลื่อน (Reaction-formation) เป็นวิธีการที่บุคคลเก็บกดความรู้สึกที่แท้จริงเอาไว้ และแสดงออกในทางตรงข้ามกับที่สังคมยอมรับ เช่น แม่เลี้ยงที่เกลียดลูกเลี้ยงของตนเอง แต่แกล้งแสดงออกว่ารักลูกเลี้ยงอย่างมาก ซึ่งเป็นการเสแสร้งไม่จริงใจ มีลักษณะปากหวานก้นเปรี้ยวหรือหน้าเนื้อใจเสือ ฯลฯ

70 “กะทิอยากกินบุฟเฟต์กับเพื่อน ๆ มาก แต่ก็กลัวอ้วน” เป็นความขัดแย้งใจประเภทใด

(1) อยากได้ทั้งคู่

(2) อยากหนีทั้งคู่

(3) ทั้งรักและยัง

(4) ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 361 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ

1 อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก

2 อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“หนีเสือปะจระเข้ คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก

3 ทั้งรักและชัง (Approach-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกันจึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ

4 ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือกทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจหมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ำ แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ

71 ข้อใดไม่ใช่สัมผัสพื้นฐาน 4 ชนิด

(1) ความร้อน

(2) ความเย็น

(3) ความอุ่น

(4) ความกด

(5) ความเจ็บปวด

ตอบ 1 หน้า 67 ใต้ผิวหนังของมนุษย์เราจะมีจุดรับสัมผัสมากมาย โดยจุดรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมีความไวต่อความรู้สึกที่มาสัมผัสแตกต่างกัน ซึ่งความรู้สึกที่มาสัมผัสผิวกายของมนุษย์นั้นมีจุดรับสัมผัสพื้นฐาน 4 ชนิด คือ ความกด ความอุ่น ความเย็น และความเจ็บปวด

72 ข้อใดไม่ใช่รสพื้นฐานของมนุษย์

(1) เปรี้ยว

(2) หวาน

(3) เค็ม

(4) เผ็ด

(5) ขม

ตอบ 4 หน้า 68 รสพื้นฐานที่มนุษย์รับรู้โดยทั่วไปมี 4 รส คือ รสขม รสหวาน รสเปรี้ยว และรสเค็มส่วนรสอื่น ๆ เช่น รสเผ็ดนั้น เกิดจากการผสมกันของรสพื้นฐานเหล่านี้

73 ตามที่เฮนนิ่ง (Henning) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการรับกลิ่นของมนุษย์ ได้แบ่งกลิ่นเป็นกี่ชนิด

(1) 2 ชนิด คือ กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น

(2) 3 ชนิด คือ กลิ่นที่พึงพอใจ กลิ่นที่ไม่พึงพอใจ และกลิ่นที่ผ่อนคลาย

(3) 4 ชนิด คือ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นไหม้ กลิ่นเครื่องเทศ และกลิ่นผลไม้

(4) 5 ชนิด คือ กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น กลิ่นที่พึงพอใจ กลิ่นที่ไม่พึงพอใจ และกลิ่นที่ผ่อนคลาย

(5) 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น และกลิ่นไหม้

ตอบ 5 หน้า 68 เฮนนิ่ง (Henning) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้ทําการศึกษาและแบ่งกลิ่นออกเป็น 5 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น และกลิ่นไหม้

74 ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้

(1) การสัมผัสต้องอาศัยจิตใต้สํานึก

(2) การรับรู้ไม่จําเป็นต้องอาศัยการรับสัมผัส

(3) การสัมผัสเป็นกระบวนการแปลความหมายของการรับรู้

(4) การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส

(5) การสัมผัสก่อให้เกิดการเรียนรู้ แต่การรับรู้ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้

ตอบ 4 หน้า 57, 60 ความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้ คือ การสัมผัสเป็นกระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอกมาสู่ระบบประสาทและเปลี่ยนเป็นการรับรู้ ส่วนการรับรู้เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการสัมผัส จึงเป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส

75 องค์ประกอบใดไม่ได้อยู่ในกระบวนการรับรู้

(1) ระบบประสาท

(2) สิ่งเร้า

(3) แรงขับ

(4) พฤติกรรม

(5) ประสาทสัมผัส

ตอบ 3 หน้า 57, 59 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ โดยการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต การเรียนรู้ สภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ ซึ่งกระบวนการรับรู้นี้จัดเป็นขั้นตอนสําคัญอย่างยิ่งก่อนการแสดงพฤติกรรมโต้ตอบของมนุษย์ในทุกรูปแบบ

76 ตาบอดสีแบบ Monochromatism เป็นอาการตาบอดสีแบบใด

(1) เห็นได้เพียงสองสี

(2) บอดหมดทุกสี

(3) บอดสีเขียว

(4) บอดสีแดง

(5) เห็นสีผิดปกติเพียงเล็กน้อย

ตอบ 2 หน้า 63 – 64 ตาบอดสีเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของการเห็นสี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 Monochromatism เป็นอาการตาบอดสีหมดทุกสี โดยจะเห็นสีทุกสีเป็นสีเทา

2 Dichromatism เป็นอาการตาบอดสีชนิดที่สามารถมองเห็นสีได้เพียง 2 สีเท่านั้น คือพวกที่เห็นสีแดงเป็นสีดํา และพวกที่ไม่สามารถแยกสีเขียวและสีแดงออกจากกันได้

3 Trichromatism เป็นการเห็นสีครบทุกสีแต่เห็นสีนั้นอ่อนกว่าปกติ (ผิดปกติเพียงเล็กน้อย)

77 หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงเรียกว่าอะไร

(1) กิโลเมตร

(2) ความถี่

(3) เดซิเบล

(4) เฮิรตซ์

(5) เทรชโฮลด์

ตอบ 3 หน้า 65 ความแรงของคลื่นเสียงมักวัดด้วยมาตราที่เรียกว่า “เดซิเบล” (Decibles : db) ซึ่งความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบลที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมีความสูงของ db มากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น โดยเสียงกระซิบจะมีระดับความดังประมาณ 20 db เสียงคุยปกติประมาณ 60 db และเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายแก่หูถ้าฟังนาน ๆ

78 “หน้าผามายา” เป็นการทดลองเกี่ยวกับอะไร

(1) ความเหมือน

(2) ความลึก

(3) ความสูง

(4) ความสว่าง

(5) ความคล้ายคลึงกัน

ตอบ 2 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสันและวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน) เด็กจะไม่กล้าคลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

79 ข้อใดไม่ใช่การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้โดยนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์

(1) ภาพและพื้น

(2) หลักความคล้ายคลึงกัน

(3) หลักความใกล้ชิดกัน

(4) การรับรู้ภาพ 3 มิติ

(5) การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์

ตอบ 4 หน้า 74 – 76 การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้โดยนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์ (Gestalt) ได้แก่ ภาพและพื้น การต่อเติมให้สมบูรณ์ ความคล้ายคลึงกัน ความใกล้ชิดกัน และความต่อเนื่อง

80 ข้อใดคือการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่น

(1) ประสาททิพย์

(2) อภิธรรมดา

(3) อ่านจิต

(4) โทรจิต

(5) การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า

ตอบ 4 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

2 ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึงประสาทสัมผัส

3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

81 สัมปชัญญะ หมายถึง

(1) การมีสติ

(2) การรู้ว่าตนเองคิดอะไรอยู่

(3) การรู้ว่าผู้อื่นคิดอะไรอยู่

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 89 – 90, 115 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองกําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคล (อินทรีย์) ออกจากสัมปชัญญะหรือ ขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การฝัน การหมดสติ การสะกดจิต การใช้สารเสพติดการดื่มสุรา การใช้ยาหรือสารเคมี และการนั่งสมาธิเจริญภาวนา

82 ข้อใดคือระยะเวลาที่เหมาะสมในการนอนหลับ

(1) ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

(2) 6 ชั่วโมง

(3) 7 ชั่วโมง

(4) 48 ชั่วโมง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 92 โดยทั่ว ๆ ไปคนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนระหว่าง 7 – 8 ชั่วโมงต่อคืน แต่การกําหนดให้ตายตัวลงไปว่าควรจะเป็นกี่ชั่วโมงอย่างชัดเจนนั้นคงเป็นสิ่งที่ทําได้ยาก เพราะมนุษย์แต่ละคน มีความแตกต่างกันในการนอน สําหรับคนบางคนนอนเพียง 5 ชั่วโมง ก็ดูจะเป็นสิ่งที่พอเพียงสําหรับเขา แต่สําหรับคนอื่น ๆ อาจจะใช้เวลานอนถึง 11 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกพอเพียงก็ได้

83 ข้อใดเป็นสภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM

(1) ความดันโลหิตนิ่ง

(2) อารมณ์ไม่ปกติ

(3) ผิวหนังเย็นชา

(4) ร่างกายกระตุก

(5) หัวใจเต้นสม่ำเสมอ

ตอบ 2 หน้า 96 สภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM (ช่วงของการนอนหลับฝัน) คือ อารมณ์จะยังไม่ปกติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตและการหายใจจะยังไม่เข้าที่ดีนัก ร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย และมักจะไม่เกิดการเปลี่ยนท่านอน

84 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการสะกดจิต

(1) ช่วยให้เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น

(2) ช่วยให้เกิดความมุ่งมั่น

(3) ทําให้คนธรรมดามีพลังพิเศษได้

(4) ช่วยลดความเจ็บปวด

(5) ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ

ตอบ 3 หน้า 105, 116 ประโยชน์ของการสะกดจิต มีดังนี้

1 ช่วยให้บุคคลเกิดความมุ่งมั่นและชักจูงให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนคนธรรมดาให้มีพลังพิเศษได้

2 ช่วยโน้มน้าวจิตใจของบุคคลให้สนใจที่จะจดจํา แต่ไม่สามารถช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น

3 ในทางการแพทย์ สามารถช่วยลดความเจ็บปวดของคนไข้ได้

4 ช่วยให้บุคคลเกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ ฯลฯ

85 สภาวะใดเป็นสภาวะที่บุคคลออกจากสัมปชัญญะ

(1) การเจริญภาวนา

(2) การใช้ยาเสพติด

(3) การสะกดจิต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

86 สภาวะที่เรียกว่า Sleep Deprivation Psychosis คืออะไร

(1) อาการหลับไม่สนิท

(2) สภาพจิตที่ฟุ้งซ่าน ทําให้นอนไม่หลับ

(3) อาการละเมอขณะนอนหลับ

(4) สภาพจิตที่กระหายการนอนหลับ

(5) อาการกระตุกก่อนการนอนหลับ

ตอบ 4 หน้า 91 นักจิตวิทยาได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับผู้ที่ไม่มีโอกาสได้นอนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันพบว่า จะมีสภาพทางจิตที่กระหายการนอนหลับเป็นอย่างยิ่ง (Sleep Deprivation Psychosis) ซึ่งอาจส่งผลทําให้บุคคลนั้นเกิดความอ่อนล้าทางร่างกาย มึนงง และมีสภาพการรับรู้ทางจิตใจที่ผิดพลาด รวมทั้งอาจมีอาการประสาทหลอนได้

87 ระยะการนอนหลับใดที่เกิดปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ

(1) ระยะที่ 1

(2) ระยะที่ 2

(3) ระยะที่ 3

(4) ระยะที่ 4

(5) ระยะที่ 5

ตอบ 1 หน้า 93 ระยะที่ 1 ของการนอนหลับ เป็นระยะต้นของการที่บุคคลเพิ่งหลับ หัวใจจะเต้นช้าลงกล้ามเนื้อทุกส่วนเริ่มผ่อนคลาย บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ เช่น มีการกระตุกเล็กน้อยคล้ายสะดุ้ง คลื่นสมองจะมีลักษณะสั้น ไม่สม่ําเสมอ คลื่นแอลฟาจะมีบ้างประปราย

88 ผู้ใดเชื่อว่าความฝันเกิดจากความคิด ความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงกลางวัน

(1) Freud

(2) Adler

(3) Jung

(4) Hopson & McCarley

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 98, 115, (คําบรรยาย) แอดเลอร์ (Adler) เชื่อว่า ความฝันเป็นเรื่องราวของความคิดคํานึงรวมทั้งความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงเวลากลางวันแล้วจึงต่อเนื่องนําไปฝันในช่วงเวลากลางคืน

89 ข้อใดไม่ใช่ชนิดของการสะกดจิตที่กล่าวในบทเรียน

(1) การสะกดจิตตนเอง

(2) การสะกดจิตโดยผู้อื่นยินยอม

(3) การสะกดจิตหมู่

(4) การสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่ยินยอม

(5) การสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่รู้ตัว

ตอบ 3 หน้า 103 – 104 การสะกดจิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1 การสะกดจิตตนเอง

2 การสะกดจิตผู้อื่น แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การสะกดจิตโดยผู้อื่นยินยอม การสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่ยินยอม และการสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่รู้ตัว

90 ยาเสพติดประเภทใดออกฤทธิ์ผสมผสาน

(1) เฮโรอื่น

(2) กัญชา

(3) ยาบ้า

(4) ฝิ่น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ

1 ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ

2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ

3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ

4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

91 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเรียนรู้

(1) สัญชาตญาณ

(2) สิ่งเสริมแรง

(3) การลงโทษ

(4) ประสาทสัมผัส

(5) ประสบการณ์ในอดีต

ตอบ 1 หน้า 167 168, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ ได้แก่ ประสบการณ์ในอดีต สภาพจิตใจในปัจจุบัน ประสาทสัมผัส การรับรู้ สิ่งเร้า สิ่งเสริมแรง การให้รางวัล การลงโทษ และความคิดความเข้าใจ ฯลฯ

92 ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

(1) การหายใจของมนุษย์

(2) การว่ายน้ำของปลา

(3) การชักใยของแมงมุม

(4) การร้องไห้ของเด็กแรกเกิด

(5) การปรบมือของเด็กเมื่อดีใจ

ตอบ 5 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตาเมื่อแสงจ้า การไอหรือจาม ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การหายใจของมนุษย์ การร้องไห้ของเด็กแรกเกิด การก้าวเดินครั้งแรกของเด็ก การยืนและเดินสี่ขาของสุนัข การว่ายน้ำของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

93 บุคคลใดค้นพบการเรียนรู้ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(1) อีวาน พาฟลอฟ

(2) แบนดูรา

(3) โรเจอร์

(4) วัตสัน

(5) บี.เอฟ. สกินเนอร์

ตอบ 1 หน้า 170 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ได้ค้นพบการเรียนรู้ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก โดยเขาได้ทําการทดลองวางผงเนื้อลงบนลิ้นสุนัข สุนัขก็จะหลั่งน้ำลายออกมา ซึ่งเป็นการตอบสนองแบบปฏิกิริยาสะท้อน (เป็นไปโดยอัตโนมัติ) ต่อมาเขาสั่นกระดิ่งและให้ผงเนื้อทันทีสุนัขก็จะน้ำลายไหลออกมา สุดท้ายเขาสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียวก็ทําให้สุนัขน้ำลายไหลได้

94 ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ภาวะการหยุดยั้ง (Extinction) เกิดขึ้นเมื่อไร

(1) การให้ US ก่อนการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(2) การไม่ให้ UR หลังการให้ US หลาย ๆ ครั้ง

(3) การไม่ให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(4) การให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(5) การให้ CS ก่อนการให้ US หลาย ๆ ครั้ง

ตอบ 3 หน้า 171 172 ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ภาวะการหยุดยั้ง (Extinction)จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ให้US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง US : unconditioned Stimulus คือ สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข เช่น ผงเนื้อ น้ำมะนาว ฯลฯ CS:Conditioned Stimulus คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหรือสิ่งเร้าที่เรียนรู้ เช่น เสียงกระดิ่ง ฯลฯ

95 การฝึกสุนัขให้ยกขาเมื่อต้องการอาหาร แสดงถึงลักษณะการเรียนรู้แบบใด

(1) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น

(2) การเรียนรู้แบบจดจํา

(3) การเรียนรู้โดยบังเอิญ

(4) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(5) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

ตอบ 5 หน้า 174 การวางเงื่อนไขแบบการกระทําพัฒนาขึ้นโดย บี.เอฟ. สกินเนอร์ (B.E. Skinner) ซึ่งเชื่อว่า การตอบสนองของอินทรีย์นั้น จะขึ้นอยู่กับความพร้อมที่ต้องการจะทําพฤติกรรม เป็นการตอบสนองที่ควบคุมได้ และมีหลักการเรียนรู้อยู่ว่าพฤติกรรมใดที่ทําแล้วได้รับรางวัล ก็มีแนวโน้มว่าจะกระทําพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก เช่น การฝึกสุนัขให้ดมกลิ่นหายาเสพติดหรือฝึกให้ยกขาเมื่อต้องการอาหาร หรือฝึกให้กระโดดลอดห่วง โดยมีการให้รางวัลแก่สุนัข ฯลฯ

96 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือสิ่งใด

(1) ให้รางวัล

(2) ลงโทษ

(3) เพิกเฉย

(4) ยับยั้ง

(5) หยุด

ตอบ 1 หน้า 179 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจหรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การให้ขนมแก่เด็กเมื่อเด็กทําความดี ฯลฯ ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การทําให้ความไม่สุขสบาย หมดไป เช่น การกินยาแก้ปวดเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะ ฯลฯ

97 ข้อใดเป็น “สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ”

(1) คะแนนสอบ

(2) ความรัก

(3) อาหาร

(4) ความสนใจ

(5) การยอมรับ

ตอบ 3 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcers) เป็นสิ่งเสริมแรงที่เป็นธรรมชาติไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพึงพอใจและลดความไม่พึงพอใจลงหรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำอาหาร และความต้องการทางเพศ ฯลฯ

98 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการนําการลงโทษมาใช้ในการเรียนรู้

(1) การสร้างให้เกิดความเข้าใจ

(2) การเสริมแรง เพื่อเพิ่มกําลังในการตอบสนอง

(3) การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง

(4) การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ

(5) การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง

ตอบ 1 หน้า 182 องค์ประกอบของการนําการลงโทษมาใช้ในการเรียนรู้ มี 3 ประการ คือ

1 การเสริมแรง เพื่อเพิ่มกําลังในการตอบสนอง

2 การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง (เช่น การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ)

3 การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง

99 การโฆษณายาสีฟันโดยใช้ทันตแพทย์เป็นผู้แนะนําผลิตภัณฑ์ (Presenter) เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภค อาศัยการเรียนรู้แบบใด

(1) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(2) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

(3) การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ

(4) การสรุปความเหมือน

(5) การปรับพฤติกรรม

ตอบ 3 หน้า 183, 189 การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ หมายถึง การเข้าใจ การรู้ การคาดหมาย การคาดหวัง และการใช้กระบวนการทางจิตระดับสูงอื่น ๆ นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงความจํา ความคิด การแก้ปัญหา รวมทั้งการใช้มโนทัศน์และภาษาในการเรียนรู้ โดยในสถานการณ์การเรียนรู้จะสร้างแผนที่การคิดการเข้าใจซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์แทนตัวขึ้นภายในความคิด

100 มนุษย์สามารถควบคุมการทํางานของร่างกายที่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจได้ ลักษณะเช่นนี้ใช้หลักการเรียนรู้แบบใด

(1) การเรียนรู้แฝง

(2) การเรียนรู้เพื่อจะเรียน

(3) การป้อนกลับทางชีวะ

(4) การเรียนรู้ทักษะ

(5) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

ตอบ 3 หน้า 185 นักจิตวิทยาพบว่ามนุษย์สามารถควบคุมการทํางานของร่างกายในส่วนที่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจได้ โดยใช้หลักการเรียนรู้แบบการป้อนกลับทางชีวะ ซึ่งใช้หลักคล้าย ๆ กับโยคะและพุทธศาสนา ทั้งนี้การทํางานของร่างกายเกือบทุกอย่างสามารถอยู่ในอํานาจของจิตใจได้ถ้าให้การป้อนกลับหรือรางวัลตามหลักการเปลี่ยนแปลงการทํางานของส่วนนั้น

101 ข้อความใดไม่ถูกต้อง

(1) พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมไม่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของบุคคล

(2) จุดมุ่งหมายในการศึกษาพัฒนาการ คือ เพื่อเข้าใจพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคล

(3) พัฒนาการเป็นการศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงของอินทรีย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

(4) การศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ทําให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทุกด้านของบุคคล (5) การศึกษาพัฒนาการของบุคคลต้องศึกษาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจึงทําให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

ตอบ 1 หน้า 121 – 122 พัฒนาการเป็นการศึกษาถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงของอินทรีย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา จุดมุ่งหมายประการหนึ่งในการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ คือ เพื่อเข้าใจพัฒนาการ และพฤติกรรมของบุคคล ทําให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทุกด้านของบุคคล โดยต้องศึกษาและ ประมวลพิจารณาจากทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจึงทําให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งนี้ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมจะร่วมกันมีบทบาทในพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของบุคคล

102 ข้อใดไม่สอดคล้องกับกฎของเมนเดล

(1) ยีนส์ถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง

(2) ร่างกายของคนเรามียืนส์ 400,000 ชนิด

(3) ยีนส์ที่มีลักษณะเด่น และยีนส์ที่มีลักษณะด้อย

(4) โรคเบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรม

(5) พันธุกรรมถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน

ตอบ 2 หน้า 122 – 124, 128 “กฎของเมนเดล” สามารถอธิบายการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ดังนี้

1 ยีนส์จะถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง

2 ร่างกายของคนเราจะมียีนส์อยู่ประมาณ 40,000 ชนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยีนส์ที่มี ลักษณะเด่น และยืนส์ที่มีลักษณะด้อย

3 ยีนส์จะถ่ายทอดคุณลักษณะจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผม สีผิว รวมทั้งกลุ่มเลือด และโรคบางอย่าง (เบาหวาน ตาบอดสี) ฯลฯ

103 สิ่งใดที่ทําให้ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

(1) การใช้รังสี X-Ray

(2) การใช้ยา

(3) เคมีบําบัด

(4) การเกิดอุบัติเหตุ

(5) การเกิดโรคไทรอยด์

ตอบ 4 หน้า 124, 132 133 ในสภาพการณ์ที่เป็นปกติโดยทั่วไป ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการใช้รังสีเอกซเรย์ (X-Ray) การใช้เคมีบําบัดหรือการใช้ยาบางชนิด รวมทั้งการเกิดโรคจากต่อมไทรอยด์และระบบเลือดของมารดา

104 ข้อใดไม่ใช่ฝาแฝดเหมือน

(1) สเปิร์ม 1 ไข่ 1

(2) สเปิร์ม 1 ไข่ 2

(3) ฝาแฝดเพศเดียวกัน

(4) มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

(5) หน้าตาเหมือนกัน

ตอบ 2 หน้า 125 ฝาแฝดเหมือนหรือแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิ 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด)ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน มีหน้าตาเหมือนกัน มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ

105 คนที่มีลักษณะ Endomorphy จะมีลักษณะอารมณ์

(1)มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

(2) อารมณ์ดี

(3) โมโหยาก

(4) อารมณ์มั่งคง

(5) เอาใจตนเป็นใหญ่

ตอบ 2 หน้า 129, 295 เซลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบายโกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ หรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ

2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆรักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาใจตนเป็นใหญ่ ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

106 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะพัฒนาการของมนุษย์

(1) เกิดขึ้นเอง

(2) เป็นอัตราที่ไม่เหมือนกัน

(3) ไม่ต่อเนื่องกัน

(4) มีทิศทางที่แน่นอน

(5) พัฒนาการแต่ละช่วงอายุไม่เป็นอัตราเดียวกัน

ตอบ 3 หน้า 140 – 141, (คําบรรยาย) ลักษณะพัฒนาการของมนุษย์ มีดังนี้

1 เกิดขึ้นเองในลักษณะที่ต่อเนื่องกัน (Continuity)

2 เป็นไปตามแบบฉบับของมันเอง (Sequence)

3 เกิดเป็นอัตราที่ไม่เหมือนกัน (Ratio)

4 มีทิศทางที่แน่นอนและเกิดเป็นทิศทางเฉพาะ (Developmental Direction)

5 พัฒนาการแต่ละช่วงอายุไม่เป็นอัตราเดียวกัน

107 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีพัฒนาการทางเพศของฟรอยด์

(1) Oral Stage ความพึงพอใจอยู่ที่ปาก

(2) Anal Stage ความพึงพอใจอยู่ที่ระบบขับถ่าย

(3) Phallic Stage สนใจอวัยวะเพศ, เด็กผู้ชายจะรักพ่อ และเด็กผู้หญิงจะรักแม่

(4) Latency Stage เป็นวัยที่เด็กกําลังเข้าโรงเรียน

(5) Genital Stage เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น

ตอบ 3 หน้า 145, 299, (คําบรรยาย) ทฤษฎีพัฒนาการทางเพศของฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งพัฒนาการตามลักษณะความเปลี่ยนแปลงซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการทางเพศ โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้

1 ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก (Oral Stage) เป็นระยะที่ทารกใช้ปากหาความสุขและความพึงพอใจ

2 ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage) โดยเด็กจะได้รับความพึงพอใจในการขับถ่าย

3 ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) เด็กจะเกิดความสนใจและพึงพอใจอวัยวะเพศของตนเองโดยเด็กหญิงและเด็กชายจะรักใคร่ผูกพันกับพ่อหรือแม่ที่เป็นเพศตรงกันข้ามกับตนเอง

4 ขั้นแอบแฝง (Latency Stage) เป็นวัยที่เด็กกําลังเข้าโรงเรียน จึงเป็นระยะของการเรียนรู้

5 ขั้นการมีเพศสัมพันธ์ (Genital Stage) เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น

108 ความต้องการได้รับตําแหน่งและการได้รับรางวัลประกาศเกียรติยศ อยู่ในลําดับขั้นความต้องการใดตามแนวคิดของมาสโลว์ (Maslow)

(1) ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs)

(2) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs)

(3) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs)

(4) ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self Esteem Needs)

(5) ความต้องการประจักษ์ตน (Self-Actualization Needs)

ตอบ 4 หน้า 231 สิ่งเร้าที่มากระตุ้นบุคคลเพื่อให้เกิดความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น ได้แก่ ตําแหน่ง เครื่องหมายการแบ่งชั้น/การแข่งขันบังคับบัญชา เครื่องแบบ การประกาศเกียรติคุณ ถ้วยรางวัล โล่เกียรติยศ ใบปริญญา เครื่องหมายคุณวุฒิ ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ)

109 ข้อใดไม่ใช่ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ

(1) สร้างความสามัคคี

(2) ภาพวาด

(3) ได้บัตรอวยพร

(4) หนังโรแมนติก

(5) มอบยาบํารุงร่างกาย

ตอบ 5 หน้า 231 สิ่งเร้าที่มากระตุ้นบุคคลเพื่อให้เกิดความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ได้แก่ สิ่งของที่แสดงถึงสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างบุคคล (เช่น บัตรอวยพร ของขวัญ ภาพวาด ฯลฯ) สื่อที่แสดงความรักความเข้าใจ (เช่น เพลง หนังสือโรแมนติก ภาพยนตร์หรือบทกวีความรัก ฯลฯ)กิจกรรม/สถานการณ์ที่สร้างความสามัคคี ความผูกพัน ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ)

110 ข้อใดไม่ใช่ความต้องการทางด้านร่างกาย

(1) การแต่งกาย

(2) ยา

(3) บ้าน

(4) อาหาร

5) เครื่องนุ่งห่ม

ตอบ 2 หน้า 231 สิ่งเร้าที่มากระตุ้นบุคคลเพื่อให้เกิดความต้องการทางด้านร่างกาย ได้แก่ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย (บ้าน) การตกแต่งสถานที่ เพศตรงข้าม (การแต่งกายและพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ) ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ)

111 อารมณ์ในข้อใดไม่แสดงออกทางใบหน้าตามหลักของพอล เอ็กแมน

(1) เสียใจ

(2) โกรธ

(3) ทุกข์

(4) สุข

(5) ร้องไห้

ตอบ 3 หน้า 274 อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของพอล เอ็กแมน (Paul Ekman)มี 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข

112 ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์

(1) ความกระหาย

(2) ความหิว

(3) ความต้องการหลีกหนีอันตราย

(4) ความต้องการสืบพันธุ์

(5) ความเผาผลาญในร่างกาย

ตอบ 5 หน้า 233, 239 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ (เพื่อความอยู่รอดของชีวิต) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1 แรงจูงใจทางชีวภาพ/สรีรวิทยา (Biological Motive) เช่น ความหิว ความกระหาย ฯลฯ

2 แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive) เช่น ความต้องการทางเพศ ฯลฯ

3 แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย (Avoidance Motive)

113 แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้มนุษย์ต้องหาวิธีอยู่รอด

(1) แรงจูงใจพื้นฐาน

(2) แรงจูงใจภายใน

(3) แรงจูงใจภายนอก

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(5) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 112 ประกอบ

114 แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ตรงกับข้อใด (1) แรงจูงใจภายใน

(2) แรงจูงใจภายนอก

(3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

(5) แรงจูงใจที่นอกเหนือการควบคุม

ตอบ 4 หน้า 234 แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive) เป็นแรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนและแสดงพฤติกรรมให้ตนเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น อันเป็นแรงจูงใจที่สังคมสร้างเงื่อนไข กระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการที่จะติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทั้งนี้เพราะคนเราต้องการที่จะได้รับความรักจากผู้อื่น ต้องการการยอมรับและเอาใจใส่จากบุคคลที่ตนเกี่ยวข้องด้วย

115 อารมณ์ที่เกิดขึ้นแรกสุดในวัยทารกคืออารมณ์ใด

(1) อารมณ์อิจฉาริษยา

(2) อารมณ์ตื่นเต้น

(3) อารมณ์รําคาญ

(4) อารมณ์โกรธ

(5) อารมณ์อยากรู้อยากเห็น

ตอบ 2 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

116 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง

(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล

(2) การแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป

(3) อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

(4) อารมณ์เป็นพฤติกรรมภายนอกและเกิดจากความคิดเฉพาะอย่าง

(5) อารมณ์เป็นวิธีการที่สามารถระบายความรู้สึกได้

ตอบ 4 หน้า 255 – 256, (คําบรรยาย) อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ

1 อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง แต่อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล

2 อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่แตกต่างไปจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป ดังนั้นอารมณ์จึงเป็นวิธีการที่บุคคลสามารถนํามาใช้เพื่อระบายความรู้สึกได้

3 บุคคลจะมีการประเมินหรือแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์ 1 อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

117 กระบวนการจูงใจ ตรงกับใด

(1) ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง สิ่งเร้า เป้าหมาย

(2) สิ่งเร้า แรงขับ การตอบสนอง ความต้องการ เป้าหมาย

(3) สิ่งเร้า ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง เป้าหมาย

(4) เป้าหมาย สิ่งเร้า แรงขับ ความต้องการ การตอบสนอง

(5) ความต้องการ แรงขับ ความเครียด การตอบสนอง การแสดงผล

ตอบ 3 หน้า 227 228 กระบวนการเกิดแรงจูงใจ มีขั้นตอนและองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

1 Input (ปัจจัยนําเข้า) ได้แก่ สิ่งเร้า, การเรียนรู้และประสบการณ์

2 Process (กระบวนการ) ได้แก่ ความต้องการ, แรงขับ และการตอบสนอง

3 Output (ปัจจัยนําออก) ได้แก่ เป้าหมาย

118 อารมณ์กลัวจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระในข้อใด

(1) การหายใจช้าลง

(2) ก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน

(3) กล้ามเนื้ออ่อนแรง

(4) ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะลดลง

(5) ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะเพิ่มขึ้น

ตอบ 4 หน้า 262 263 อารมณ์กลัวจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามบริเวณต่าง ๆ ดังนี้ การหายใจจะถี่ขึ้น ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะลดลง มีความตึงเครียดของกล้ามเนื้อสูงมาก และจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต

119 ทฤษฎีใดอธิบายว่าร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าก่อนการเกิดอารมณ์

(1) เจมส์-แลง

(2) แคนนอน-บาร์ด

(3) แชคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) คาร์รอล-อิซาร์ด

(5) มาสโลว์-เมอร์เรย์

ตอบ 1 หน้า 265, 269 ทฤษฎีของเจมส์ แลง (James-Lang Theory) อธิบายว่า ร่างกายของคนเราจะต้องแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าเป็นอันดับแรกก่อน แล้วอารมณ์จึงจะเกิดตามมา ทั้งนี้ ประสบการณ์ทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย โดยหลังจาก ที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรมแล้วจะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

120 ทฤษฎีใดเน้นว่า “อารมณ์จะเกี่ยวข้องกับการตีความหมายของสถานการณ์ที่แต่ละคนได้เผชิญ”

(1) เจมส์-แลง

(2) แคนนอน-บาร์ด

(3) แชคเตอร์ – ซิงเกอร์

(4) คาร์รอล-อิซาร์ด

(5) มาสโลว์-เมอร์เรย์

ตอบ 3 หน้า 267 – 269 ทฤษฎีของแชคเตอร์-ซิงเกอร์ (Schachter-Singer Theory) อธิบายว่า อารมณ์เกิดจากการแปลความปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติทางกายและการคิดหาสาเหตุของ การตอบสนองนั้น ๆ โดยอาการตอบสนองทางกายแบบเดียวกันนั้น อารมณ์อาจแตกต่างกัน จะขึ้นอยู่กับการตีความสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งมาเร้าให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้นการเร้า เพียงอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย

 

PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดเป็นขีดจํากัดที่ไม่สามารถนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง

(1) ขาดห้องทดลองทางจิตวิทยา

(2) ขาดเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

(3) เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มีราคาแพง

(4) เนื่องจากขัดต่อหลักศีลธรรมและมนุษยธรรม

(5) ถูกหมดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 5 ขีดจํากัดที่ไม่สามารถนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางจิตวิทยาได้ทุกเรื่อง คือ

1 เนื่องจากขัดต่อหลักศีลธรรมและมนุษยธรรม ทําให้มีขีดจํากัดในการปฏิบัติเชิงทดลอง

2 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับสัตว์ทดลองที่ว่าสัตว์มีความคิด ความรู้สึก และแรงจูงใจเช่นเดียวกับมนุษย์ ทําให้มีขีดจํากัดในการนําสัตว์มาทําการทดลอง

2 การหาคําตอบของคําถามที่ว่า “มีรถเสียอยู่กลางถนน แต่บุคคลที่ยืนอยู่บนฟุตบาทกลับเพิกเฉยไม่ได้ให้ ความช่วยเหลือ” สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทางจิตวิทยาข้อใด

(1) ศึกษา

(2) อธิบาย

(3) ทําความเข้าใจ

(4) ทํานาย

(5) ควบคุม

ตอบ 3 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา มี 4 ประการ ได้แก่

1 หาคําอธิบาย เช่น จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนน ฯลฯ

2 ทําความเข้าใจ เช่น การหาคําตอบของคําถามที่ว่าทําไมหรือเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ฯลฯ

3 ทํานาย (พยากรณ์) เช่น มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ผู้ประสบเหตุจะได้รับความช่วยเหลือ ฯลฯ

4 ควบคุมพฤติกรรม เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนนแล้วมีบุคคลถ่ายคลิปเก็บไว้ ฯลฯ

ข้อ 3 – 5 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) พฤติกรรมนิยม

(2) หน้าที่ของจิต

(3) จิตวิเคราะห์

(4) โครงสร้างของจิต

(5) จิตวิทยาคอกนิทิฟ

3 แนวคิดใดเน้นเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข

ตอบ 1 หน้า 10 วัตสัน (Watson) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กล่าวว่า จิตวิทยาที่แท้จริงคือการศึกษาพฤติกรรม ไม่ใช่ศึกษาเฉพาะจิตสํานึก ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธ เรื่องจิตโดยสิ้นเชิง และรับแนวความคิดเรื่องการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข โดยเน้นสังเกตดูพฤติกรรมการตอบสนองแล้วบันทึกซึ่งจะทําให้ได้หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

4 แนวคิดใดกล่าวว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ำแข็ง ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึกเป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้นแม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้

ตอบ 3 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกดในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ำแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น

5 แนวคิดใดที่สนใจศึกษาการคิด จิตสํานึก การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต

ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทิฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับความสามารถทางปัญญา ความรู้ การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิต ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไปและมีการ รวมความคิดของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ทั้งนี้พวกพฤติกรรมนิยมขนานแท้ก็ยังยอมรับแนวคิดพวกคอกนิทิฟเข้ามาแล้วเรียกว่า จิตวิทยาพฤติกรรมทางพุทธิปัญญา (Cognitive Behaviorism)

ข้อ 6 – 8 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การสังเกต

(2) การสํารวจ

(3) การทดลอง

(4) การทดสอบทางจิตวิทยา

(5) การศึกษาประวัติรายกรณี

 

6 วิธีใดที่ใช้ศึกษาประชามติเกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ

ตอบ 2 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาลักษณะบางลักษณะจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา โดยการออกแบบสอบถามหรือ โดยการสัมภาษณ์และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งวิธีการสํารวจนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น การสํารวจประชามติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น

7 วิธีใดที่ใช้ศึกษาพฤติกรรมที่บุคคลพยายามปกปิดซ่อนเร้นไว้จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม

ตอบ 4 หน้า 14 การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Testing) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดลักษณะพฤติกรรมที่แอบแฝงอยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลพยายามปกปิดซ่อนเร้นไว้จะโดยรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม เช่น การศึกษาความสามารถทางสติปัญญาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การวัดความถนัดและความสนใจ การตรวจลักษณะของบุคลิกภาพและอารมณ์ ฯลฯ

8 วิธีใดที่เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริง โดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์ตามที่เป็นจริง แล้วบันทึกรายละเอียดไว้

ตอบ 1 หน้า 13 การสังเกต (Observation) เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยการเฝ้ามองปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ตามที่เป็นจริง โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว แล้วบันทึกรายละเอียดไว้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมากที่สุด

ข้อ 9 – 10 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม

(2) นักจิตวิทยาผู้บริโภค

(3) นักจิตวิทยาสังคม

(4) นักจิตวิทยาวิศวกรรม

(5) นักจิตวิทยาการทดลอง

 

9 ใครทําหน้าที่วิจัยและออกแบบเครื่องจักร เครื่องควบคุม และรถยนต์

ตอบ 4 หน้า 17 นักจิตวิทยาวิศวกรรม จะทําหน้าที่วิจัยประยุกต์ในด้านการออกแบบเครื่องจักรเครื่องควบคุม เครื่องบิน เครื่องยนต์ ฯลฯ เพื่อธุรกิจในวงการอุตสาหกรรมและวงการทหาร

10 ใครทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณา

ตอบ 2 หน้า 16 นักจิตวิทยาผู้บริโภค จะทําหน้าที่วิจัยและทดสอบเรื่องบรรจุภัณฑ์และการโฆษณาการวิจัยตลาด เพื่อศึกษาอุปนิสัยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ และการสํารวจประชามติเกี่ยวกับสินค้า

11 พฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ บุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาท เป็นการศึกษา เกี่ยวกับเรื่องใด

(1) สรีรจิตวิทยา

(2) พันธุศาสตร์

(3) ประสาทวิทยา

(4) จิตวิทยา

(5) เซลล์วิทยา

ตอบ 1 หน้า 25, 27, (คําบรรยาย) สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การทํางานของระบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมที่สมดุล และอยู่รอดของชีวิต โดยเน้นศึกษาเกี่ยวกับการทํางานของสมอง/ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ เชื่อว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ การรับรู้ และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากการทํางานของระบบประสาทและเชื่อว่าการเคลื่อนไหว อารมณ์ และการคิด เกิดจากการนําส่งกระแสประสาทไปทั่วร่างกาย

12 สมองและไขสันหลังควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อชนิดใด

(1) กล้ามเนื้อลาย

(2) กล้ามเนื้อเรียบ

(3) กล้ามเนื้อหัวใจ

(4) กระเพาะอาหาร

(5) กะบังลม

ตอบ 1 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกายเคลื่อนไหว ประกอบด้วย

1 กล้ามเนื้อลาย โดยจะทํางานอยู่ภายใต้อํานาจจิตใจ กล่าวคือ อยู่ภายใต้การบังคับควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง อันได้แก่ สมองและไขสันหลัง

2 กล้ามเนื้อเรียบ เช่น กระเพาะอาหาร กะบังลม ฯลฯ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ

3 กล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ

13 ระบบประสาทส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความรู้สึกร้อน-เย็น

(1) ระบบประสาทส่วนกลาง

(2) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก

(3) ระบบประสาทซิมพาเธติก

(4) ระบบประสาทโซมาติก

(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ

ตอบ 4 หน้า 34 ระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System) ประกอบด้วย เส้นประสาทสมองจํานวน 12 คู่ และเส้นประสาทไขสันหลังจํานวน 31 คู่ โดยเส้นประสาทเหล่านี้จะรับ การกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกผ่านผิวหนัง กล้ามเนื้อ และข้อต่าง ๆ เข้าสู่ไขสันหลังและสมองทําให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ร้อน เย็น เจ็บ ปวด เป็นต้น

14 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเซลล์ประสาทนิวโรน

(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาท

(2) เป็นหน่วยการทํางานพื้นฐานของระบบประสาทที่เล็กที่สุด

(3) หากได้รับความเสียหายจะไม่สามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้

(4) เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีตัวเซลล์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย

(5) มีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์

ตอบ 3 หน้า 37 เซลล์ประสาทนิวโรน (Neuron) เป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทที่ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน เป็นหน่วยพื้นฐานการทํางานที่เล็กที่สุดของระบบประสาท มีการเพิ่มจํานวนได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ตัวอ่อนยังอยู่ในครรภ์ และจะหยุดเพิ่มจํานวนหลังคลอดแล้ว ถ้าเซลล์ประสาทชํารุดจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ประสาทตายไปจะไม่เกิดเซลล์ประสาทใหม่อีก เซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันทุกเซลล์

15 สารสื่อประสาทชนิดใดที่ถูกสังเคราะห์โดยปลายประสาทซิมพาเธติก

(1) อะซีทิลโคลีน

(2) ซีโรโทนิน

(3) โดปามาย

(4) กาบา

(5) นอร์อิพิเนฟฟริน

ตอบ 5 หน้า 39 นอร์อิพิเนฟฟริน (Norepinephrin) เป็นสารสื่อประสาทชนิดที่ถูกสังเคราะห์โดยปลายประสาทซิมพาเธติก มีผลต่อเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับผลของอะซีทิลโคลีนที่ผลิตที่ปลายประสาทพาราซิมพาเธติก

16 สมองส่วนใดควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อเรียบ

(1) ก้านสมอง

(2) ไขสันหลัง

(3) ซีรีเบลลัม

(4) ซีรีบรัม

(5) สมองส่วนกลาง

ตอบ 3 หน้า 43 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนท้าย โดยจะทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะภายใน ควบคุมการทํางานของเซลล์ประสาทในไขสันหลังทําให้การทรงตัวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้าซีรีเบลลัมถูกทําลายจะทําให้เสียการทรงตัว ฯลฯ

17 การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติอยู่ภายใต้การทํางานของสมองส่วนใด

(1) ไฮโปธาลามัส

(2) ธาลามัส

(3) ลิมบิก

(4) ซีรีบรัม

(5) ซีรีเบลลัม

ตอบ 1 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็กแต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกายการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

18 ฮอร์โมนชนิดใดที่กระตุ้นการให้ร่างกายเกิดการเจริญเติบโตและกระตุ้นต่อมน้ำนม (1) คอร์ติซอล

(2) เทสเทอสโตโรน

(3) โปรเจสเตอโรน

(4) โกรัธฮอร์โมน

(5) อินซูลิน

ตอบ 4 หน้า 45 โกรธฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่ทําหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกายและกระตุ้นต่อมน้ำนม

19ฮอร์โมนคอร์ติซอล มีแหล่งกําเนิดมาจากที่ใด

(1)ต่อมแพนเครียส

(2) ต่อมใต้สมอง

(3) ต่อมหมวกไต

(4) ต่อมไทรอยด์

(5) ต่อมไทมัส

ตอบ 3 หน้า 48 ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) จะทําหน้าที่สร้างฮอร์โมนสําคัญ 4 ชนิด ได้แก่ อัลโดสเตอโรน (Aldosterone), คอร์ติซอล (Cortisol), แอดรีนาลิน (Adrenalin) และนอร์แอดรีนาลิน (Nor-drenalin)

20 การแปลความหมายจากสิ่งที่มากระทบอวัยวะร่างกายเรียกว่าอะไร

(1) การสัมผัส

(2) การจําได้

(3) การเรียนรู้

(4) การรับรู้

(5) ประสบการณ์

ตอบ 4 หน้า 57, 60 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสหรือประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต การเรียนรู้ และสภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ

21 โคนส์เป็นเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่ใด

(1) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางวัน

(2) เป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน

(3) เป็นเซลล์รับแสงจ้ามาก

(4) เป็นเซลล์รับแสงสลัว ๆ

(5) เป็นเซลล์รับแสงสีเข้ม

ตอบ 1 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ

1 รอดส์ (Rods) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางคืน

2 โคนส์ (Cones) เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดี จึงเป็นเซลล์รับแสงในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

22 หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงคือข้อใด

(1) กิโลเมตร

(2) เดซิเบล

(3) แอพิจูด

(4) เมกกะ

(5) เฮิรตซ์

ตอบ 2 หน้า 65 ความแรงของคลื่นเสียงมักวัดด้วยมาตราที่เรียกว่า “เดซิเบล” (Decibles : (db) ซึ่งความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบลที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมีความสูงของ db มากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น โดยเสียงกระซิบจะมีระดับความดังประมาณ 20 db เสียงคุยปกติประมาณ 60 db และเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายแก่หูถ้าฟังนาน ๆ

23 ทฤษฎีคุมด่านเชื่อว่าอวัยวะใดเป็นที่รวมประสาททั้งหมดที่ส่งไปยังสมอง

(1) หัวใจ

(2) กะโหลก

(3) ไขสันหลัง

(4) ท้ายทอย

(5) กระเพาะอาหาร

ตอบ 3 หน้า 67 ทฤษฎีคุมด่าน (Gate Control Theory) เป็นทฤษฎีการเจ็บปวดที่เชื่อว่า ไขสันหลังเป็นที่รวมของประสาทใหญ่น้อยที่จะส่งไปยังสมองและที่มาจากกล้ามเนื้อและผิวหนังอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากบุคคลมีอาการกลัวความเจ็บปวดในสมอง จะทําให้เกิดกระแสประสาทไปเร้าด่านที่ไขสันหลังทําให้ท่านเปิดและส่งกระแสที่เจ็บปวดไปยังสมองได้

24 หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย จะเกิดอะไรขึ้น

(1) ไม่รับรู้อุณหภูมิจากภายนอก

(2) การทรงตัวทําได้ลําบาก

(3) ไม่สามารถระงับความเจ็บปวดได้

(4) มีอาการเวียนหัวตลอดเวลา

(5) กล้ามเนื้อกระตุกตลอดเวลา

(5) กล้ามเนื้อกระตุกตลาด

ตอบ 2 หน้า 67 68 สัมผัสคีเนสเตซีส (Kinesthesis Sense) จะทํางานร่วมกับเครื่องรับสัมผัสเกี่ยวกับการทรงตัวที่มีอวัยวะรับสัมผัสอยู่ในหูตอนในและประสาทรับสัมผัสที่ตา เพื่อช่วยให้ร่างกายทั้งหมดทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ หากสัมผัสคีเนสเตซีสเสีย การทรงตัวจะทําได้ลําบาก

25 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเรื่องความลึกและระยะทางคืออะไร

(1) เขาวงกต

(2) กล่องอาหาร

(3) หน้าผามายา

(4) บ่อน้ำจําลอง

(5) ภูเขาจําลอง

ตอบ 3 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสันและวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน) เด็กจะไม่กล้าคลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้

26 หากว่าเราชูหนังสือให้เพื่อนดู เพื่อนเราเห็นแค่สันหนังสือเท่านั้น แต่ก็บอกได้ว่าเป็นหนังสือ

(1) การคงที่ของสี

(2) การคงที่ของขนาด

(3) การคงที่ของรูปร่าง

(4) การคงที่ของรูปแบบ

(5) การคงที่ของน้ำหนัก

ตอบ 3 หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ (Constancy) ในเรื่องการรับรู้และการเห็น มี 3 ชนิด คือ

1 การคงที่ของสี เช่น รถที่จอดอยู่ในที่มืดสลัวก็สามารถรับรู้หรือมองเห็นสีที่แท้จริงของรถได้

2 การคงที่ของขนาด เช่น ยืนอยู่บนตึกสูงแล้วมองลงมาด้านล่างก็สามารถรับรู้ขนาดของวัตถุได้

3 การคงที่ของรูปร่าง เช่น การเห็นแค่สันหนังสือเราก็ยังรับรู้ได้ว่าเป็นหนังสือไม่เปลี่ยนแปลง

27 ข้อใดคือการล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

(1) Telepathy

(2) Clairvoyance

(3) Precognition

(4) Extrasensory

(5) Perception

ตอบ 3 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

  1. ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส

3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

28 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวคิดของนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์

(1) ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส

(2) ภาพไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน

(3) ภาพสองนัย

(4) พื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังไม่ได้รับความสนใจ

(5) ถ้าความสนใจเปลี่ยนจุดอื่นจะกลายเป็นภาพได้

ตอบ 2 หน้า 74 – 75 คุณลักษณะของความเป็นภาพและพื้นตามแนวความคิดของนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์ (Gestalt) คือ ภาพเป็นสิ่งเด่นที่ตาสัมผัส ลอยออกมาจากพื้น มีรูปร่างชัดเจนและมี ขอบเขตแน่นอน ส่วนพื้นเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังภาพ ไม่มีขอบเขตจํากัด ถ้าความสนใจเปลี่ยนไปจุดอื่นก็จะกลายเป็นภาพได้ (ภาพสองนัยเป็นภาพที่มองเห็นสลับกันได้ทั้งภาพและพื้น)

29 ข้อใดหมายถึงอาการของ “Jet Lag”

(1) นอนไม่เพียงพอเพราะทํางานหนัก

(2) นอนไม่หลับไม่คุ้นชินกับสถานที่

(3) อาการกรนขณะหลับ

(4) แบบแผนการนอนถูกรบกวน

(5) ขณะหลับมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ

ตอบ 4 หน้า 92 นักเดินทางที่ต้องขึ้นเครื่องบินเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งมักจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า Jet Lag คือ ต้องปรับตัวกับเวลาของประเทศที่เดินทางไปถึงใหม่เนื่องจากแบบแผนการนอนตามธรรมชาติถูกรบกวน

30 ระยะการนอนหลับใดที่เกิดปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ

(1) ระยะที่ 1

(2) ระยะที่ 2

(3) ระยะที่ 3

(4) ระยะที่ 4

(5) ระยะที่ 5

ตอบ 1 หน้า 93 ระยะที่ 1 ของการนอนหลับ เป็นระยะต้นของการที่บุคคลเพิ่งหลับ หัวใจจะเต้นช้าลงกล้ามเนื้อทุกส่วนเริ่มผ่อนคลาย บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ เช่น มีการกระตุกเล็กน้อยคล้ายสะดุ้ง คลื่นสมองจะมีลักษณะสั้น ไม่สม่ำเสมอ คลื่นแอลฟาจะมีบ้างประปราย

31 โดยปกติมนุษย์ฝันในแต่ละคืนประมาณกี่ครั้งและมีความยาวเท่าใด

(1) 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ 15 นาที

(2) 1 – 2 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที

(3) 3- 4 ครั้ง ๆ ละ 5 นาที

(4) 4 – 5 ครั้ง ๆ ละ 25 นาที

(5) 6 – 7 ครั้ง ๆ ละ 10 นาที

ตอบ 4 หน้า 95 ในบางช่วงของการนอนหลับ ลูกตาของผู้นอนจะมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) ทั้ง ๆ ที่ยังหลับอยู่ โดยช่วงที่มี REM เกิดขึ้นนี้เอง เป็นช่วงที่บุคคลกําลังฝัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บุคคลนอนหลับในระยะที่หนึ่ง หลังผ่านช่วงที่สีไปแล้ว และวกกลับมาระยะที่หนึ่งใหม่) โดยทั่วไปคนเราจําเป็นต้องนอนหลับและฝันทุกคืน แต่ละคืนจะฝันประมาณ 4 – 5 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะฝันยาวประมาณ 25 นาที

32 กาแฟ เป็นยาเสพติดประเภทใด

(1) กดประสาท

(2) กระตุ้นประสาท

(3) หลอนประสาท

(4) คลายประสาท

(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน

ตอบ 2 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ

1 ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ

2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ

3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ

4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา

33 ข้อใดไม่ใช่สภาวะของร่างกายในการฝึกสมาธิจากการทดลองของวอลเลสและเบนสัน

(1) อัตราการเผาผลาญในร่างกายมากขึ้น

(2) มีการหายใจเข้าออกช้าลง

(3) ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง

(4) การถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง

(5) ปริมาณสารแลคเทตในเลือดลดลง

ตอบ 1 หน้า 112 วอลเลสและเบนสัน (Wallace & Benson) ได้ทําการศึกษาสภาวะของร่างกายในการฝึกสมาธิ พบว่าการนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอย่างเห็นได้ชัด เช่น อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลง มีการหายใจเข้าออกช้าลง ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลงการถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และปริมาณสารแลคเทต (Lactate) ในเลือดลดลง

34 กัญชา เป็นยาเสพติดประเภทใด

(1) กดประสาท

(2) กระตุ้นประสาท

(3) หลอนประสาท

(4) คลายประสาท

(5) ออกฤทธิ์ผสมผสาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

35 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ “ฝาแฝดคล้าย” (Fraternal Twins)

(1) มีโครโมโซมเหมือนกัน

(2) ฝาแฝดอาจคลอดออกมาแล้วมีเพศที่แตกต่างกัน

(3) เกิดจากสเปิร์ม (Sperm) 2 ตัว

(4) มีกระบวนการแบ่งตัวแบบเป็นอิสระออกจากกัน

(5) เกิดจากการตกไข่ (Egg) 2 ใบ

ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) ฝาแฝด Twins) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1 ฝาแฝดเหมือน/แฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ (Egg) 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์ม (Sperm) 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด) ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน โดยมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ

2 ฝาแฝดคล้าย/แฝดเทียม (Fraternal Twins) เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ ผสมกับอสุจิหรือสเปิร์มมากกว่า 1 ตัว เซลล์แบ่งตัวเป็นอิสระจากกัน (เกิดเซลล์ปฏิสนธิพร้อมกันมากกว่า 1 เซลล์) ฝาแฝดคล้ายจึงอาจมีเพศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ (เหมือนกับพี่น้องท้องเดียวกัน) โดยอาจมียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

36 ข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความต่อไปนี้ “บุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY”

(1) Endomorphy

(2) Ectomorphy

(3) Turner’s Syndrome

(4) Mesomorphy

(5) Klinefelter’s Syndrome

ตอบ 5 หน้า 128 บุคคลที่เกิดการผิดปกติในการถ่ายทอดโครโมโซมเพศ ทําให้มีเกินหรือขาดไปจากปกติ เช่น มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดเป็นอาการของโรคที่เรียกว่า Klinefelter’s Syndrome ซึ่งเกิดในเพศชาย จะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง กล่าวคือ มีหน้าอกใหญ่ และ อวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ หรืออาจจะกลายเป็นโรคปัญญาอ่อนชนิดที่เรียกว่า Mongolism ได้

37 แนวคิดของเชลดอน (Sheldon) กล่าวว่า บุคคลที่มีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน ชอบกิน ๆ นอน ๆ คือ

(1) Endomorphy

(2) Mesomorphy

(3) Exsomorphy

(4) Suprememorphy

(5) Stablemorphy

ตอบ 1 หน้า 129, 295 เซลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบายโกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ หรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ

2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆรักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้งเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

38 ข้อใดไม่ใช่สภาพแวดล้อมก่อนเกิด

(1) จํานวนทารกภายในครรภ์

(2) การบริโภคของแม่

(3) สุขภาพจิตของแม่

(4) ระดับการศึกษาของพ่อแม่

(5) การได้รับรังสี

ตอบ 4 หน้า 131 – 133 สภาพแวดล้อมก่อนเกิด มีดังนี้

1 สุขภาพของแม่

2 สุขภาพจิตของแม่

3 การบริโภคของแม่

4 การได้รับรังสี

5 การได้รับเชื้อ AIDS

6 สภาวะของ Rh Factor (ในระบบเลือด)

7 อายุของแม่

8 จํานวนทารกภายในครรภ์

39 ข้อใดไม่ใช่สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว

(1) กฎระเบียบและการปกครอง

(2) ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

(3) การอบรมเลี้ยงดู

(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่

(5) จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด

ตอบ 1 หน้า 135 – 136 สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว มีดังนี้

1 ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

2 การอบรมเลี้ยงดูและบรรยากาศในครอบครัว

3 การเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่

4 จํานวนพี่น้องและลําดับการเกิด

5 ระดับการศึกษาของพ่อแม่ ฯลฯ )

40 ข้อใดคือสิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา

(1) กฎระเบียบและการปกครอง

(2) ระดับการศึกษาของพ่อแม่

(3) การอบรมเลี้ยงดู

(4) การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่

(5) ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว

ตอบ 1 หน้า 136 สิ่งแวดล้อมภายในสถาบันการศึกษา มีดังนี้

1 กฎระเบียบและการปกครอง

2 ทัศนคติและบุคลิกภาพของครู

3 กลุ่มเพื่อนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

41 “เด็กมีลักษณะถือตนเองเป็นศูนย์กลาง” ข้อความดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget

(1) Period of Format Operation

(2) Preoperation

(3) Premoral

(4) Sensorimotor Period

(5) Period of Concrete

ตอบ 2 หน้า 143 144 พัฒนาการความคิดความเข้าใจ (Cognitive Development) ของ Piaget ในขั้น Preoperation แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

1 Thought Period เป็นระยะที่เด็กถือตนเอง เป็นจุดศูนย์กลาง ไม่สามารถรับรู้ความคิดเห็นของคนอื่น

2 Intuitive Phase เป็นระยะที่เด็กเกิดความคิดรวบยอดมากขึ้น สามารถจัดประเภท/กลุ่มวัตถุเข้าเป็นหมวดหมู่และจัดลําดับวัตถุได้

42 พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

(1) การหายใจ

(2) การกะพริบตา

(3) การเรอ

(4) การขี่จักรยาน

(5) การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน

ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตา การหายใจ การกระตุกมือหนีเมื่อจับของร้อน ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การว่ายน้ำของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

43 “เด็กมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้าม” พฤติกรรมดังกล่าวตรงกับขั้นใดของพัฒนาการความต้องการทางเพศ (Psychosexual Stages)

(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก

(2) ขั้นอวัยวะเพศ

(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก

(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์

(5) ขึ้นแอบแฝง

ตอบ 2 หน้า 145, 299 พัฒนาการความต้องการทางเพศของ Freud ในขั้นอวัยวะเพศ (Phatic Stage)เกิดกับเด็กอายุ 3 – 5 ปี ในระยะนี้เด็กจะมีความพึงพอใจที่จะได้ลูบคลําอวัยวะเพศของตนเอง เด็กจะมีความรู้สึกรักใคร่พ่อแม่เพศตรงข้ามกับตน และจะอิจฉาพ่อแม่เพศเดียวกันกับตน ซึ่งถ้าเกิดความขัดแย้งใจก็อาจจะมีผลทําให้เด็กชายเกิดปมที่เรียกว่า ปมเอดิปุส (Oedipus Conflict หรือ Oedipus Complex) ส่วนเด็กหญิงก็จะเกิดปมอิเล็กตร้า (Electra Conflict)

44 จากขั้นพัฒนาการทางสังคม (Psychosocial Stages) ของ Erikson ข้อใดคือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการ“ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative VS. Guilt)

(1) มีพลังควบคุมตนเองได้

(2) มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน

(3) ได้ความรักและความผูกพัน

(4) ได้ความฉลาดรอบรู้และการเสียสละ

(5) มีการทํางานที่เหมาะสมและมีความสามารถ

ตอบ 2 หน้า 147 มีแนวทางและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติตน คือผลที่ได้จากขั้นพัฒนาการทางสังคมของ Erikson ขั้นพัฒนาการทางจิตใจ “ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด” (Initiative Vs. Guilt)

45 จากกระบวนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov) การตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus : CS) เรียกว่า เกิดกระบวนการใด

(1) การสรุปความเหมือนของสิ่งเร้า

(2) การแยกความแตกต่างของสิ่งเร้า

(3) การหยุดยั้งของพฤติกรรม

(4) สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข

(5) การฟื้นกลับของพฤติกรรม

ตอบ 1 หน้า 173, 188 การสรุปความเหมือน (Generalization) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่น ๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขไว้แล้วหรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัล ส่วนการแยก ความแตกต่าง (Discrimination) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเฉพาะที่วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้าที่ได้รับรางวัลเท่านั้น แต่จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขไว้หรือสิ่งเร้าที่ไม่ได้รับรางวัล

46 คูปองที่ใช้แลกซื้ออาหารในศูนย์อาหาร เป็นสิ่งเสริมแรงประเภทใด

(1) การเสริมแรงทางบวก

(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ

(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ

(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม

(5) การป้อนกลับ

ตอบ 4 หน้า 180, (คําบรรยาย) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม หมายถึง สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิที่เป็นอิสระจากการเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ และสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ได้ เช่น เงินหรือสิ่งที่ใช้แทนเงิน (บัตรเครดิต บัตรเดบิต คูปองแลกซื้อที่ใช้แทนเงินสด) ไม่เพียงแต่สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งเสริมแรงปฐมภูมิได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางนําไปสู่สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิอื่น ๆ ด้วย เช่น เกียรติ ความสนใจ การยอมรับ สถานะ หรืออํานาจ เป็นต้น

47 “คุณดินมีอาการปวดศีรษะ จึงทานยาแก้ปวด ทําให้อาการปวดศีรษะหายไป หลังจากนั้นทุกครั้งที่คุณดินปวดศีรษะ คุณดินจะทานยาแก้ปวดทุกครั้ง” อาการปวดศีรษะที่หายไป คืออะไร

(1) การเสริมแรงทางบวก

(2) การเสริมแรงทางลบ

(3) การลงโทษ

(4) การตอบสนองที่วางเงื่อนไข

(5) การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข

ตอบ 2 หน้า 179, (คําบรรยาย) การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) จะทําให้การตอบสนองเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นการทําให้ความไม่สุขสบายหมดไป เช่น การกินยาแก้ปวด ทุกครั้งเพื่อระงับอาการปวด การขึ้นสะพานลอยข้ามถนนทุกครั้งเพราะกลัวอุบัติเหตุ ฯลฯ

48 “เป็นปัจจัยที่จําเป็นต่อชีวิต ไม่จําเป็นต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยา” คุณสมบัติที่กล่าวถึงนั้นเป็นคุณสมบัติของข้อใด

(1) การเสริมแรงทางบวก

(2) สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ

(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ

(4) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม

(5) การป้อนกลับ

ตอบ 2 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นรางวัลตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพอใจและลดความไม่พึงพอใจลง หรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ความต้องการทางเพศ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต

49 “พนักงานจะได้รับเงินเดือนในวันที่ 25 ของทุกเดือน” ลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามตารางการเสริมแรง แบบใด

(1) แบบอัตราส่วนคงที่

(2) แบบต่อเนื่อง

(3) แบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน

(4) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน

(5) แบบช่วงเวลาคงที่

ตอบ 5 หน้า 177 การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่คงที่ (Fixed Interval : FI) เป็นการให้แรงเสริมเมื่อถึงช่วงเวลาที่กําหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ทุก 30 วินาที ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี ฯลฯ

50 ข้อใดถูกต้อง

(1) การลงโทษมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง

(2) การลงโทษไม่เกี่ยวข้องกับความกลัว

(3) การลงโทษไม่ได้กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว

(4) หากใช้การลงโทษจะต้องไม่ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย

(5) การลงโทษสามารถกระทําได้ทั้งขณะเกิดพฤติกรรม หลังเกิดพฤติกรรมโดยทันที หรือหลังเกิดพฤติกรรมไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง

ตอบ 1 หน้า 181 182 การลงโทษจะมีผลให้การเกิดพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง โดยการลงโทษจะได้ผลดีที่สุด ถ้าเกิดขึ้นระหว่างที่ยังกระทําพฤติกรรมนั้นอยู่หรือทันทีที่พฤติกรรมนั้นสิ้นสุดลง (เวลาในการลงโทษ) และควรเกิดขึ้นทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมนั้น (ความคงที่ในการลงโทษ) หากใช้การลงโทษจะต้องให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาร่วมด้วย ทั้งนี้การลงโทษจะ ทําให้เกิดผลข้างเคียง คือ เกิดการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัว กระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าวและเรียนรู้ที่จะตอบสนองด้วยการหนีและหลีกเลี่ยง

51 ข้อใดคือคุณสมบัติที่ไม่ถูกต้องของการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn)

(1) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเสริมแรงที่ชัดเจน

(2) ต้องผ่านการเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง

(3) มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set)

(4) ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น

(5) ปัญหาที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน

ตอบ 1 หน้า 184, (คําบรรยาย) การเรียนรู้เพื่อที่จะเรียน (Learning to Learn) เป็นผลของการคิดการเข้าใจที่มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้ (Learning Set) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ต้องผ่านการ จากการแก้ไขปัญหาหลายครั้ง ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น โดยปัญหาต่างให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนมักจะเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน

52 ข้อใดคือลักษณะของความจําระยะสั้น (Shot-term Memory)

(1) สามารถจําข้อมูลได้ 9+ 2 หน่วย

(2) ข้อมูลจะเก็บในลักษณะของเหตุการณ์

(3) มีพื้นที่เก็บข้อมูลได้ไม่จํากัด

(4) เป็นคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด

(5) เก็บข้อมูลได้เป็นช่วงเวลานาน

ตอบ 4 หน้า 195 196 นักจิตวิทยาได้แบ่งความจํา (Memory) ออกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้

1 ความจําจากการรับสัมผัส เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ

2 ความจําระยะสั้น ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด เป็นระบบความจําที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรกได้ง่าย หากไม่ทบทวนจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า

3 ความจําระยะยาว ทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรที่สามารถเก็บข้อมูลได้นานและไม่จํากัด

53 ระยะเวลาคงอยู่ของการได้ยินเสียงก้องในหู (Echo)

(1) 0.5 วินาที

(2) 2 วินาที

(3) 18 วินาที

(4) 24 ชั่วโมง

(5) 48 ชั่วโมง

ตอบ 2 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคงอยู่ ได้ครึ่งวินาที (0.5 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

54 ระบบความจําที่หากไม่ทบทวน จะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ข้อมูลเก่า

(1) ความจําระยะสั้น (Shot term Memory)

(2) ความจําระยะยาว (Long-term Memory)

(3) ความจําเหตุการณ์ (Episodic Memory)

(4) ความจําความหมาย (Semantic Memory)

(5) ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory)

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

55 การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้

(1) การระลึกได้ (Recall)

(2) การจําได้ (Recognition)

(3) การเก็บ (Retention)

(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)

(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)

ตอบ 1 หน้า 201 – 202, 213 การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริงโดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบอัตนัย การท่องอาขยาน ฯลฯ ทั้งนี้บุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงต้นและท้ายได้ดีที่สุด

56 บุคคลจะจําสําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงใดได้ดีที่สุด

(1) ช่วงต้นและท้าย

(2) ช่วงต้น

(3) ช่วงกลาง

(4) ช่วงท้าย

(5) ทุกช่วง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

57 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหน่วยพื้นฐานของการคิด

(1) จินตภาพ (Image)

(2) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response)

(3) ความมีเหตุผล (Reasoning)

(4) มโนทัศน์ (Concept)

(5) ภาษา (Language)

ตอบ 4 หน้า 206 หน่วยพื้นฐานของการคิด (Basic Units of Thought) ประกอบด้วย จินตภาพ  (Image) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ (Muscular Response) มโนทัศน์ (Concept) และภาษาหรือสัญลักษณ์ (Language or Symbols)

58 การลืมเกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่าง

(1) การหาเหตุผล (Rationalization)

(2) การเลียนแบบ (Identification)

(3) การเก็บกด (Repression)

(4) การถดถอย (Regression)

(5) การทดแทน (Sublimation)

ตอบ 3 หน้า 205, (คําบรรยาย) การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมที่เกิดขึ้นจากการที่มีแรงจูงใจพิเศษที่ต้องการจะลืมบางสิ่งบางอย่างในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวด ความอาย สิ่งที่ไม่ชอบไม่น่ารื่นรมย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บกดให้อยู่ในระดับจิตใต้สํานึก

59 ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

(1) สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง

(2) นิยามปัญหาให้กว้าง

(3) ให้เวลาสําหรับขั้นพัก

(4) หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม

(5) นิยามปัญหาให้เฉพาะเจาะจง

ตอบ 5 หน้า 215 216 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้

1 สร้างบรรยากาศที่ถูกต้อง

2 นิยามปัญหาให้กว้าง

3 ให้เวลาสําหรับขั้นพัก

4 หาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ให้พร้อม ฯลฯ

60 ความจําที่มีอยู่กระตุ้นให้เกิดความจําอื่น ๆ ตามมา

(1) การระลึกได้ (Recall)

(2) การจําได้ (Recognition)

(3) การเก็บ (Retention)

(4) การเรียนซ้ำ (Relearning)

(5) การบูรณาการใหม่ (Reintegration)

ตอบ 5 หน้า 203 การบูรณาการใหม่ (Reintegration) หมายถึง การที่ความจําที่มีอยู่กระตุ้นให้เกิดความจําอื่น ๆ ตามมา เรียกได้ว่า ประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใหม่จากสิ่งที่สะสมไว้ แม้เพียงสิ่งเดียว เช่น ไปพบภาพเมื่อครั้งไปเที่ยวเชียงใหม่เข้าก็กระตุ้นให้นึกถึงภาพการเดินทางและความสนุกสนานที่เกิดขึ้นบนรถไฟ นึกถึงความเหนื่อยล้าเมื่อเดินขึ้นดอยสุเทพ ฯลฯ

61 วิธีการแก้ปัญหาของบุคคลโดยฉับพลันทันใด สามารถรู้คําตอบได้ในทันที

(1) การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็น

(2) การแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา

(3) การแก้ปัญหาด้วยวิจารณญาณ

(4) การแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก

(5) การแก้ปัญหาโดยการเลียนแบบ

ตอบ 1 หน้า 210 การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที เป็นวิธีการแก้ปัญหาของบุคคลโดยฉับพลันทันใด และสามารถรู้คําตอบได้ในทันที

62 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของแรงจูงใจ (Motive)

(1) สภาวะพลังงานที่หยุดนิ่ง

(2) สภาวะที่อยู่ภายนอกร่างกายที่เป็นพลัง

(3) เป็นกระบวนการที่สิ้นสุด

(4) พลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลเสดงพฤติกรรม

(5) ทําให้ร่างกายอยู่ในสภาวะหยุดพัก

ตอบ 4 หน้า 223, 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง กระบวนการที่สร้างหรือสภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นพลังในตัวบุคคลที่ทําให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

63 นักจิตวิทยาที่กล่าวถึงลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์

(1) พาฟลอฟ

(2) แบนดูรา

(3) โรเจอร์ส

(4) มาสโลว์

(5) วัตสัน

ตอบ 4 หน้า 229 230, 234 235, (คําบรรยาย) มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่แบ่งลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ จํานวน 5 ขั้น ดังนี้คือ

1 ระดับความต้องพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกายและขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง

2 ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ, ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น และขั้นที่ 5 ซึ่ง เป็นความต้องการขั้นสูงสุด คือ ความต้องการประจักษ์ตน (ความต้องการที่จะเข้าใจตนเอง อย่างถ่องแท้หรืออย่างแท้จริง)

64 แรงจูงใจมีที่มาจากองค์ประกอบใด

(1) ความต้องการ

(2) ความสมบูรณ์

(3) ความมีเหตุผล

(4) ความฉลาด

(5) สติปัญญา

ตอบ 1 หน้า 227 228 กระบวนการของการเกิดแรงจูงใจ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1 ความต้องการ (Needs)

2 แรงขับ (Drive)

3 การตอบสนอง (Response) หรือการแสดงพฤติกรรม

4 เป้าหมาย (Goal)

65 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการของบุคคลที่เกิดจากสิ่งเร้า

(1) สิ่งเร้านั้นต้องมีอิทธิพลต่อบุคคล

(2) สิ่งเร้าเดียวกันอาจทําให้คนต้องการต่างกัน

(3) สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน

(4) สิ่งเร้าเดียวกันมีอิทธิพลต่อบุคคลทุกคน

(5) เวลาเปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคลแล้ว

ตอบ 4 หน้า 229 ความต้องการของบุคคลเกิดจากสิ่งเร้า ซึ่งสิ่งเร้านั้นจะต้องมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การจูงใจบุคคลต้องเร้าด้วยสิ่งเร้าที่ต่างกันตามความต้องการของบุคคลนั้น สิ่งเร้า เดียวกันอาจทําให้คนต้องการต่างกัน สิ่งเร้าต่างกันอาจทําให้คนต้องการเหมือนกัน เมื่อเวลาเปลี่ยนไป สิ่งเร้าเดิมอาจไม่ส่งผลต่อบุคคล และสิ่งเร้าที่เราไม่ได้ในอดีตอาจจูงใจได้ในปัจจุบัน

66 ข้อใดคือความต้องการขั้นสูงสุดของทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

(1) ความต้องการความปลอดภัย

(2) ความต้องการทางด้านร่างกาย

(3) ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ

(4) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ

(5) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

67 ข้อใดคือทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของเมอร์เรย์

(1) ความต้องการทางด้านร่างกาย

(2) ความต้องการความปลอดภัย

(3) ความต้องการที่จะยอมแพ้

(4) ความต้องการสืบเผ่าพันธุ์

(5) ความต้องการที่จะเข้าใจคนอื่น

ตอบ 3 หน้า 235 – 237 เมอร์เรย์ (Murray) ได้แบ่งประเภทของความต้องการไว้ 20 ประการ เช่น ความต้องการที่จะเอาชนะด้วยการแสดงความก้าวร้าว, ความต้องการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ความต้องการที่จะยอมแพ้, ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง, ความต้องการความสนุกสนาน,ความต้องการความสําเร็จ, ความต้องการแยกตนเองออกจากผู้อื่น ฯลฯ

68 ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์

(1) แรงจูงใจทางชีวภาพ

(2) แรงจูงใจทางสรีรวิทยา

(3) แรงจูงใจใฝ่อํานาจ

(4) แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์

(5) แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย

ตอบ 3 หน้า 239 – 243 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ (แรงจูงใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1 แรงจูงใจทางชีวภาพ/ทางสรีรวิทยา (Biological Motive) เช่น ความหิว ความกระหาย ฯลฯ

2 แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive) เช่น ความต้องการทางเพศ ฯลฯ

3 แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย (Avoidance Motive)

69 แรงจูงใจทางชีวภาพ (Biological Motive) ตรงกับข้อใด

(1) ความหิว

(2) ความกระหาย

(3) ความต้องการทางเพศ

(4) ความต้องการหนีอันตราย

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 บุคคลมีความอิสระที่จะกระทําพฤติกรรม รู้ว่าตนต้องการอะไร ตรงกับทฤษฎีใด

(1) ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล

(2) ทฤษฎีสัญชาตญาณ

(3) ทฤษฎีแรงขับ

(4) ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ

(5) ทฤษฎีความต้องการความสุขส่วนตัว

ตอบ 1 หน้า 245 ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล เชื่อว่า บุคคลมีอิสระที่จะกระทําพฤติกรรมใด ๆ ได้อย่างมีเหตุผล รู้ว่าตนต้องการอะไร ปรารถนาสิ่งใด และควรจะต้องตัดสินใจออกมาในลักษณะใด

71 ข้อใดคือความหมายของแรงขับ (Drive)

(1) ภาวะความตึงเครียดของร่างกาย

(2) ทําให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ

(3) ขจัดความเครียดออกจากร่างกาย

(4) พลังภายในร่างกาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 246 แรงขับ (Drive) เป็นภาวะความตึงเครียดของร่างกาย เป็นพลังภายในร่างกายที่ทําให้ร่างกายได้มีการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อขจัดความเครียดนั้นออกไปจากร่างกาย

72 การจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ตรงกับข้อใด

(1) การลองผิดลองถูก

(2) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยม

(3) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น

(4) การเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากสิ่งไม่มีชีวิต

(5) การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา

ตอบ 2 หน้า 247 – 248, (คําบรรยาย) แรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบจากค่านิยมจะเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจเลียนแบบหรือเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว โดยตัวแบบจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของสังคม เช่น เปลี่ยนไปตามการจัดเรทผู้ชมสําหรับรายการโทรทัศน์ ฯลฯ

73 อารมณ์ใดมีลักษณะคล้ายอารมณ์ที่เย็นชามากที่สุด

(1) อารมณ์ทุกข์ ปวดร้าว

(2) อารมณ์โกรธ

(3) อารมณ์ดูถูก

(4) อารมณ์รู้สึกผิด

(5) อารมณ์หวาดกลัว

ตอบ 3 หน้า 257 – 258 คาร์รอล อิซาร์ด (Carroll Izard) ได้จําแนกอารมณ์ออกเป็น 10 ประเภท คือ

1 Interest-Excitement (สนใจ ตื่นเต้น) เป็นอารมณ์ที่ช่วยทําให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการที่จะเรียนรู้และต้องใช้ความพยายามในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น อยากเรียนสูง ๆ

2 Joy (รื่นเริง) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดสภาวะของความเชื่อมั่น มองว่าโลกนี้ช่างน่าอยู่เหลือเกิน

3 Surprise (ประหลาดใจ) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าในระบบประสาท

4 Distress-Anguish (เสียใจ-เจ็บปวด) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องประสบกับความพลัดพราก หรือเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต

5 Anger-Rage (โกรธ-เดือดดาล) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพบกับการขัดขวางหรืออุปสรรค

6 Disgust (รังเกียจ) เป็นอารมณ์อันเกิดจากการกระทบกับสัมผัสที่ไม่พึงปรารถนา 7 Contempt-Scorn (ดูถูกเหยียดหยาม) เป็นอารมณ์ที่อาจเกิดผสมระหว่างอารมณ์โกรธกับอารมณ์ขยะแขยง จัดเป็นอารมณ์ที่มีลักษณะที่เย็นชา

8 Fear-Terror (กลัว-สยองขวัญ) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลกําลังเผชิญอยู่กับสิ่งที่ตนไม่สามารถจะเข้าใจได้ หรือเกิดความไม่แน่ใจในภัยอันตรายที่กําลังจะมาถึง

9 Shame Sin Shyness-Humiliation (อับอายขายหน้า) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลถูกลงโทษ เพราะไม่ประพฤติตามกฎเกณฑ์ของสังคม

10 Guilt (รู้สึกผิด) เป็นอารมณ์ที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความวิตกกังวลและความอาย

74 อารมณ์ใดเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ความพลัดพรากหรือล้มเหลว

(1) อารมณ์ทุกข์ ปวดร้าว

(2) อารมณ์โกรธ

(3) อารมณ์ดูถูก

(4) อารมณ์รู้สึกผิด

(5) อารมณ์หวาดกลัว

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

75 อารมณ์ใดไม่ใช่อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์

(1) ตื่นตระหนก

(2) คาดหวัง

(3) เดือดดาล

(4) หวาดกลัว

(5) เศร้าโศก

ตอบ 5 หน้า 259 อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของจาค แพงค์เซปป์ (Jaak Panksepp) มี 4 ชนิด ไป คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว

76 ข้อใดอธิบายไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของเครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph)

(1) วัดการเปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจได้

(2) วัดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตได้

(3) วัดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองได้

(4) วัดการเปลี่ยนแปลงของการหายใจได้

(5) วัดระดับความชื้นของฝ่ามือได้

ตอบ 3 หน้า 262 263 เครื่อง “โพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นเครื่องมือจับเท็จที่ใช้วัดและบันทึกการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจและอุณหภูมิหรือความชื้นหรือแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนฝ่ามือ (GSR)

77 การพัฒนาทางอารมณ์ของมนุษย์จะสมบูรณ์ช่วงอายุประมาณเท่าใด

(1) 12 เดือน

(2) 18 เดือน

(3) 24 เดือน

(4) 28 เดือน

(5) 32 เดือน

ตอบ 3 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

78 หน้าที่ใดเกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน “กลัว” ตามแนวคิดของพลูทชิค

(1) การปฏิเสธ

(2) การปกป้อง

(3) การทําลาย

(4) การปรับตัว

(5) การรักษาการสูญเสีย

ตอบ 2 หน้า 272 หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พื้นฐาน 8 ชนิด ตามแนวคิดของพลูทชิค (Plutchik) ได้แก่ กลัว – การปกป้อง, โกรธ – การทําลาย, รื่นเริง – ความร่วมมือ, รังเกียจ – การปฏิเสธ ยอมรับ – การแพร่พันธุ์, เศร้า – การรักษาการสูญเสีย, ประหลาดใจ – การปรับตัว, คาดหวัง (อยากรู้อยากเห็น) – การสํารวจค้นหา

79 ข้อใดเป็นอารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของเอ็กแมน

(1) ว้าวุ่น

(2) เบื่อหน่าย

(3) คาดหวัง

(4) ยอมรับ

(5) ประหลาดใจ

ตอบ 5 หน้า 274 อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของพอล เอ็กแมน (Paul Ekman) มี 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข

ข้อ 80 – 84 จงตอบคําถามโดยพิจารณาจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์

(2) ทฤษฎีโครงสร้างของจิต

(3) ทฤษฎีมนุษยนิยม

(4) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

(5) ทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง

 

80 สัญชาตญาณแห่งความตายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

ตอบ 1 หน้า 287 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณ 2 ประเภทที่ติดตัวมาแต่กําเนิด คือ

1 สัญชาตญาณแห่งการดํารงชีวิต เป็นสัญชาตญาณการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย

2 สัญชาตญาณแห่งความตาย เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง

81 ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก

ตอบ 4 หน้า 289 – 291 วัตสัน (Watson) นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยบุคลิกภาพ ของมนุษย์เกิดจากผลแห่งการกระทําของเขา เช่น ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีกและจะกระทําบ่อยขึ้น ฯลฯ

82 พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจาการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่องอัตมโนทัศน์ของตัวเราเอาไว้

ตอบ 3 หน้า 291 293 โรเจอร์ส (Rogers) นักทฤษฎีมนุษยนิยม (Humantistic Theory) กล่าวว่า พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจาการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่องอัตมโนทัศน์ (Self Concept) ของตัวเราเอาไว้

83 พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

84 การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันจะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้

ตอบ 5 หน้า 296 อัลพอร์ท (Allport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง (Type and Trait Theory)เชื่อว่า เราสามารถจัดแบ่งกลุ่มลักษณะอุปนิสัยของคนออกเป็นหมวดหมู่ได้ โดยนําเอาลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน และจากการศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคม เดียวกัน เราสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้ เรียกลักษณะนี้ว่าลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยใจดี ฯลฯ

85 ตามแนวคิดพัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ “ปมเอดิปุส” ที่เชื่อว่าเด็กชายจะรักแม่และอิจฉาพ่อ เกิดขึ้นในขั้นใด

(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก

(2) ขั้นอวัยวะเพศ

(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก

(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์

(5) ขั้นแอบแฝง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

  1. โบวี่มีบุคลิกภาพที่รู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดเกินเหตุ และดันทุรัง เกิดจากการหยุดชะงักของพัฒนาการในขั้นใด

(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก

(2) ขั้นอวัยวะเพศ

(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก

(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์

(5) ขั้นแอบแฝง

ตอบ 3 หน้า 299 ขั้นพัฒนาการของฟรอยด์ในขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage) เกิดในช่วงอายุ 2 – 3 ปี ซึ่งเด็กจะมีศูนย์กลางความพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนัก เด็กจะพอใจที่ได้ปลดปล่อย หากในช่วงนี้บิดามารดาที่เคร่งครัดกับเด็กมากเกินไปในเรื่องการขับถ่าย เมื่อเด็กโตขึ้นจะเกิด ความขัดแย้งใจ เป็นบุคลิกภาพที่รู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดจนเกินเหตุ และบางครั้งอาจมีพฤติกรรมประเภทดื้อรั้นและดันทุรังได้

87 แบบทดสอบชนิดใดที่ทดสอบโดยการให้ผู้รับการทดสอบเล่าเรื่องจากภาพ

(1) Rorschach

(2) 16PF

(3) TAT

(4) MMPI

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 308 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามีความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1 แบบทดสอบรอร์ขาค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร

2 แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาบรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ

88 การประเมินบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาในข้อใดที่เรียกว่า การฉายภาพจิต

(1) ใช้แบบทดสอบ AMPT

(2) ให้ดูภาพหยดหมึกแล้วถามว่าภาพนั้นเหมือนอะไร

(3) แอบสังเกตการณ์ผ่านกล้องวิดีโอ

(4) พูดคุยในสภาพผ่อนคลาย และตั้งคําถามทางอ้อม

(5) จําลองสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง แล้วให้ผู้รับการทดสอบเข้าไปในเหตุการณ์นั้น

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

89 ข้อใดเป็นสูตรของการคํานวณ I.Q.

(1) อายุสมองคุณด้วยอายุจริง

(2) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองและอายุจริง

(3) อัตราส่วนระหว่างอายุสมองและอายุจริง คูณ 100

(4) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงและอายุสมอง

(5) อัตราส่วนระหว่างอายุจริงและอายุสมอง คูณ 100

ตอบ 3 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า I.Q.(Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = M.A. ) และ อายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = C.A.) คูณด้วย 100

90 เด็กชายอ๋อยมี I.Q. เท่ากับ 100 นับว่าเขามีระดับสติปัญญาเป็นอย่างไร

(1) ปัญญาทึบ

(2) เกณฑ์ปกติ

(3) ค่อนข้างฉลาด

(4) ฉลาดมาก

(5) อัจฉริยะ

ตอบ 2 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (I.Q.) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ.71 – 80, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ I.Q. 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.Q. 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ IQ. 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ IQ. 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ I.O. 140 ขึ้นไป

91 ตัวประกอบทั่วไปที่เรียกว่า G-factor ของทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยเน้นความสามารถเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) การใช้เหตุผล

(2) ความเข้าใจภาษา

(3) การคํานวณ

(4) ความไวในการรับรู้

(5) ความสามารถในการจํา

ตอบ 1 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด

2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

92 ข้อใดเป็นส่วนประกอบของสติปัญญาตามทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัยของเทอร์สโตน

(1) ความสามารถในการช่างสังเกต

(2) ความสามารถในด้านศิลปะ

(3) ความสามารถใช้มือ

(4) ความสามารถใช้คําได้คล่องแคล่ว

(5) ความสามารถในการประสานกันระหว่างมือและตา

ตอบ 4 หน้า 325 – 326 เทอร์สโตนและกิลฟอร์ด (Thurstone and Guilford) เป็นผู้ที่แนะนําทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัย (Multiple Factor Theory) โดยเทอร์สโตนอธิบายว่า ความสามารถขั้นพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของสติปัญญามี 7 ชนิด คือ ความเข้าใจภาษา, ความสามารถ ใช้คําได้คล่องแคล่ว, ความสามารถในการใช้ตัวเลข, ความสามารถในการมองเห็นภาพมิติ, ความสามารถในการจํา, ความไวในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และความสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล ส่วนกิลฟอร์ด เชื่อว่า ตัวประกอบของสติปัญญามีถึง 120 ตัวประกอบ ใน 3 มิติ คือ มิติด้านเนื้อหา วิธีการ และผล โดยเขาเชื่อว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะมีสติปัญญาสูงด้วย

93 ความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบหมายถึงอะไร

(1) เป็นแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน

(2) เป็นแบบทดสอบที่วัดในสิ่งที่ต้องการวัด

(3) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน

(4) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

(5) ทดสอบภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ตอบ 1 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้

1 ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน

2 ความเชื่อถือได้ (Reliability) จะต้องให้ความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง

3 ความเที่ยงตรง (Validity) จะต้องวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)

4 ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) จะต้องมีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

94 ความเป็นปรนัยของแบบทดสอบหมายถึงอะไร

(1) มีเกณฑ์ปกติหรือค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนปกติ

(2) เป็นแบบทดสอบที่วัดในสิ่งที่ต้องการวัด

(3) เป็นแบบทดสอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน

(4) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

(5) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นคนตรวจให้คะแนน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ

95 แบบทดสอบสติปัญญาของ Wechsler แบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่อะไร

(1) ความสามารถเชิงภาษาและเชิงคํานวณ

(2) ความสามารถเชิงคํานวณและเชิงเหตุผล

(3) ความสามารถเชิงเหตุผลและเชิงภาษา

(4) ความสามารถเชิงภาษาและไม่ใช้ถ้อยคําภาษา

(5) ความสามารถเชิงภาษาและแบบประกอบการ

ตอบ 5 หน้า 330 องค์ประกอบของแบบทดสอบการวัดสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechsler)แบ่งข้อทดสอบออกเป็น 2 หมวด ดังนี้คือ

1 ข้อทดสอบเชิงภาษา ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 6 ชุด ได้แก่ ความรู้ทั่วไป ความเข้าใจเลขคณิต (ความสามารถเชิงคํานวณ) ความคล้ายคลึงกัน การจําช่วงตัวเลข และคําศัพท์

2 ข้อทดสอบแบบประกอบการ ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 5 ชุด ได้แก่ สัญลักษณ์ตัวเลขการเติมรูปภาพ การออกแบบก้อนสี่เหลี่ยม การลําดับภาพ และการประกอบชิ้นส่วน

96 ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการทดสอบแบบประกอบการของแบบทดสอบสติปัญญาของ Wechsler

(1) ความคล้ายคลึงกัน

(2) การจําช่วงตัวเลข

(3) การลําดับภาพ

(4) ความสามารถเชิงคํานวณ

(5) การทํางานประสานกันระหว่างมือและตา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

97 แบบทดสอบชนิดใดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล

(1) WAIS

(2) TAT Test

(3) Stanford-Binet Test

(4) WPPSI

(5) Progressive Matrices Test

ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตริซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคลในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต และเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล

98 ข้อใดไม่ใช่ข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา

(1) ผู้ใช้แบบทดสอบต้องปฏิบัติตามคําอธิบายในคู่มือ

(2) ผู้ทดสอบต้องมีความชํานาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้

(3) สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องปราศจากสิ่งรบกวน

(4) ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือและมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ

(5) แบบทดสอบสติปัญญาเป็นแบบทดสอบที่ไม่จําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบ

ตอบ 5 หน้า 331 332, (คําบรรยาย) ข้อควรคํานึงหรือข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา มีดังนี้

1 ผู้ทดสอบต้องมีความรู้และความชํานาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้ จะต้องเตรียมตัวและฝึกใช้เครื่องมือก่อนทําการทดสอบ หรือฝึกซ้อมใช้แบบทดสอบก่อนการใช้งานจริง 2 ผู้รับการทดสอบต้องให้ความร่วมมือ และมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ

3 สภาพแวดล้อมขณะทําการทดสอบต้องทําในสถานที่เงียบสงบปราศจากสิ่งรบกวน 4 การซื้อขายและการใช้แบบทดสอบต้องอยู่ในความควบคุมและมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ซื้อหรือผู้นําแบบทดสอบไปใช้ และผู้ใช้แบบทดสอบต้องปฏิบัติตามคําอธิบายในคู่มือ

99 ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เพศชายสามารถทําแบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาด้านใดดีกว่าเพศหญิง

(1) ด้านภาษา

(2) ด้านเสมียน

(3) ด้านการวางแผน

(4) ด้านการบัญชี

(5) ด้านการแสดง

ตอบ 2 หน้า 333 จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า เด็กชายในระดับมัธยมศึกษาสามารถทําคะแนนแบบทดสอบวัดระดับสติปัญญาได้ดีกว่าเด็กหญิงในแบบทดสอบย่อยด้านประกอบการที่ต้องอาศัยความคล่องแคล่วในเชิงเสมียนและความสามารถเชิงจักรกล ส่วนเด็กหญิงจะทําคะแนนได้ดีกว่าในแบบทดสอบย่อยด้านภาษา

100 การให้เหตุผลว่า “ผู้ที่ปรับตัวได้คือผู้ที่ก้าวข้ามความกลัว และยืนหยัดกับการเผชิญความเป็นจริงของชีวิตได้” เป็นแนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มใด

(1) จิตวิเคราะห์

(2) พฤติกรรมนิยม

(3) กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด

(4) มนุษยนิยม

(5) จิตวิทยาเกสตัลท์

ตอบ 3 หน้า 344 กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด (Existentialist) มองว่า มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง โดยมนุษย์จะไม่สามารถโทษผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อมว่าทําให้เขาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ได้เลย ใครก็ตามที่ก้าวพ้นออกมาจากความกลัวและยืนหยัดอยู่กับความเชื่อและเผชิญกับความเป็นจริงของชีวิตได้ จะเป็นผู้ที่ปรับตัวได้ดี

101 ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีมากที่สุด

(1) ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้นได้

(2) ช่วยให้สามารถควบคุมผู้อื่นได้

(3) ช่วยให้มีความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ สูงขึ้น

(4) ช่วยให้มีสติปัญญาสูงขึ้น

(5) ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตาจากบุคคลอื่นได้

ตอบ 1 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสม่เป็นการปรับตัวของบุคคลที่ทําให้ชีวิตของเขาดีขึ้นทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยให้เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความหลากหลายดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ต้อง ไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น

102 “การที่จะต้องทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งสําเร็จภายในเวลาที่จํากัด” เป็นความหมายของ

(1) ความคับข้องใจ

(2) ความก้าวร้าว

(3) ความกดดัน

(4) ความขัดแย้งใจ

(5) ความคาดหวัง

ตอบ 3 หน้า 347 ความกดดัน หมายถึง การที่จะต้องทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สําเร็จภายในเวลาที่จํากัดโดยเฉพาะในภาวะหน้าวหน้าขวานที่จะต้องทํางานภายใต้เส้นตายที่ขีดไว้

103 ตามแนวคิดของไฟด์แมนและโรเซนแมน คนแบบใดมีความเครียดมากที่สุด

(1) คนที่ทําอะไรค่อยเป็นค่อยไป

(2) คนที่ไม่ชอบความเร่งรีบ

(3) คนที่เก็บกดไม่แสดงอารมณ์

(4) คนที่ไม่ชอบการแข่งขัน

(5) คนที่ไม่ชอบสร้างบรรทัดฐานให้กับตนเอง

ตอบ 3 หน้า 348, (คําบรรยาย) ไฟด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) ได้แบ่งกลุ่มคนตามลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 กลุ่ม A (Type A Personality) เป็นคนใจเร็ว ใจร้อน ชอบความก้าวหน้า การแข่งขันสูงเก็บกดไม่แสดงอารมณ์ มุ่งความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเองมักเป็นคนเข้มงวด และชอบความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีผลให้มีความเครียดมากที่สุด

2 กลุ่ม B (Type B Personality) เป็นคนที่ไม่เร่งรีบ ผ่อนคลาย ทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไปชอบทํางานที่ละอย่าง ซึ่งมีผลให้มีความเครียดน้อยที่สุดและไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

104 อาการทางกายใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคคล

(1)ท้องผูก

(2) ปัญญาอ่อน

(3) สมองเสื่อม

(4) ภาวะโรคจิต

(5) ภาวะตาบอดสี

ตอบ 1 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือโรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ท้องร่วง ท้องผูก โรคหัวใจ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) ฯลฯ

105 ตามแนวคิดการปรับตัวทางร่างกายเมื่อเกิดความเครียดของเซลเย (Selye) “หากปล่อยให้เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการดําเนินชีวิต อาจส่งผลให้สุขภาพทรุดหนักหรือพังได้” เกิดขึ้นในขั้นตอนใด

(1) ขั้นระยะตื่นตัว

(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก

(3) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย

(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า

(5) ขั้นระยะถดถอย

ตอบ 4 หน้า 351 เซลเย (Selye) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียดพบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ

1 ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม 2 สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น

3 ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกาย เกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-Out คือ ไปต่อไม่ได้ 106 ข้อใดอธิบายไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “กลไกป้องกันทางจิต” ที่ใช้ในการปรับตัว

(1) กลไกป้องกันทางจิตช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลงได้

(2) กลไกป้องกันทางจิตเป็นกลไกที่ใช้ในการจัดการกับความคับข้องใจของบุคคล

(3) การใช้กลไกป้องกันทางจิตไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะของโรคประสาท

(4) การใช้กลไกป้องกันทางจิตมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลิกภาพได้

(5) การใช้กลไกป้องกันทางจิตเป็นกลยุทธ์ที่ใช้บิดเบือนหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทําให้เกิดความวิตกกังวล

ตอบ 3 หน้า 357 กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) เป็นกลไกที่ใช้ในการจัดการกับความคับข้องใจของบุคคล เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อบิดเบือนหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธสถานการณ์ที่ทําให้ เกิดความวิตกกังวล จะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลงได้ แม้ว่าการใช้กลไก ป้องกันทางจิตจะสามารถรักษาความสมดุลของสภาพทางจิตใจไว้ได้ระดับหนึ่งก็ตาม แต่ถ้าใช้มากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลิกภาพได้ ซึ่งจะนําไปสู่ภาวะของโรคประสาทได้ในที่สุด

107 การหาแพะรับบาป น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้กลไกทางจิตชนิดใด

(1) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน

(2) การเก็บกด

(3) การเลียนแบบ

(4) การหาสิ่งทดแทน

(5) การไม่รับรู้ความจริง

ตอบ 4 หน้า 358 การหาสิ่งทดแทน (Displacement) เป็นกลไกป้องกันทางจิตเมื่อเกิดความคับข้องใจกับบุคคลที่เป็นสาเหตุ แต่ถ้าไม่สามารถแสดงออกกับผู้นั้นได้โดยตรง ก็จะหาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมาเป็นแพะรับบาป เช่น โกรธเจ้านาย กลับบ้านก็มาด่าว่าภรรยาหรือเตะหมาแทน ฯลฯ

108 “หนีเสือปะจระเข้” เป็นความขัดแย้งใจชนิดใด

(1) Approach-Approach Conflicts

(2) Avoidance-Avoidance Conflicts de

(3) Approach-Avoidance Conflicts

(4) Double Approach-Avoidance Conflicts

(5) Double Approach-Approach Conflicts

ตอบ 2 หน้า 361 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ

1 อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก

2 อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“หนีเสือปะจระเข้” คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก

3 ทั้งรักและชัง (Approach-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกันจึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ

4 ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือกทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจหมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ำ แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ

109 ความขัดแย้งใดที่ก่อให้เกิดภาวะ “เป้าหมายหนึ่งอาจลดความดึงดูดลงไปได้ หากเข้าใกล้อีกเป้าหมายหนึ่ง”

(1) อยากได้ทั้งคู่

(2) อยากหนีทั้งคู่

(3) ทั้งรักและชัง

(4) ทั้งขอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 108 ประกอบ

110 วิธีการใดเกี่ยวข้องกับการจัดการความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ

(1) ควรรีบจัดการแก้ปัญหาที่เกิดความคับข้องใจให้เร็วที่สุด

(2) เมื่อแก้ไขความขัดแย้งแล้วต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นด้วย

(3) ต้องตระหนักว่ามีทางที่ถูกต้องเพียงทางเดียวเท่านั้นในการแก้ปัญหา

(4) การตัดสินใจอาศัยการวิเคราะห์ ไม่จําเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นก่อน

(5) ปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเราเองเท่านั้น ไม่ควรให้ผู้อื่นรู้ หรือไม่จําเป็นต้องสอบถามจากผู้อื่น

ตอบ 2 หน้า 364 365 วิธีการแก้ไขความขัดแย้งใจอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1 อย่ารีบร้อนในการตัดสินใจ เมื่อมีความคับข้องใจเกิดขึ้น

2 ก่อนการตัดสินใจสิ่งใดควรลองไป “สัมผัส” กับสถานการณ์นั้นเสียก่อน

3 พยายามหาทางเลือกอื่นเท่าที่จะหาได้เพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด อาจถามจากผู้รู้แหล่งต่าง ๆ

4 ถ้าการเลือกของเรายังผิดพลาดก็ต้องทําใจยอมรับ และรับผิดชอบในสิ่งที่เราได้ทําลงไป

111 ข้อใดเป็นระยะห่างระหว่างบุคคลที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน

(1) ระยะสนิทสนม

(2) ระยะส่วนตัว

(3) ระยะสังคม

(4) ระยะห่างไกล

(5) ระยะสาธารณะ

ตอบ 2 หน้า 378 – 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

1 ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะกับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ

2 ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษา ครูนั่งสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ

3 ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ

4 ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

112 “หนิงปรึกษาคุณแม่เรื่องการเรียน” เป็นระยะห่างระหว่างบุคคลระยะใด

(1) ระยะสนิทสนม

(2) ระยะส่วนตัว

(3) ระยะสังคม

(4) ระยะห่างไกล

(5) ระยะสาธารณะ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 111 ประกอบ

113 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน

(1) ความสามารถ

(2) ความใกล้ชิดทางกาย

(3) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย

(4) ความมีน้ำใจ

(5) ความคล้ายคลึงกัน

ตอบ 4 หน้า 380 381 ปัจจัยที่ดึงดูดใจให้คนเป็นมิตรกัน มีดังนี้

1 ความใกล้ชิดทางกาย

2 ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย

3 ความสามารถ

4 ความคล้ายคลึงกัน

114 “เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยไม่มีการอธิบาย” จากข้อความดังกล่าวแสดงถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม

(1) สถานการณ์การเสนอแนะ

(2) การอภิปรายกลุ่ม

(3) สถานการณ์การคล้อยตาม

(4) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

(5) สารชักจูง

ตอบ 1 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ

1 สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยปราศจากการอธิบาย

2 สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม

3 การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น

4 สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว

5 การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน

115 “คุณปั้นนําเสนอนโยบายซึ่งได้ผ่านการขัดเกลาภาษามาเป็นอย่างดีเพื่อให้เพื่อน ๆ ประทับใจและเลือกเขาเป็นประธานนักเรียน” จากข้อความดังกล่าวแสดงถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม

(1) สถานการณ์การเสนอแนะ

(2) สถานการณ์การคล้อยตาม

(3) การอภิปรายกลุ่ม

(4) สารชักจูง

(5) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 114 ประกอบ

116 “เมื่อทําผิดต้องถูกลงโทษโดยการติดคุกตามความผิดของตน” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด

(1) อํานาจในการให้รางวัล

(2) อํานาจในการบังคับ

(3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจตามการอ้างอิง

(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

ตอบ 2 หน้า 385 386 อํานาจ (Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อํานาจทางสังคมมี 5 ประเภท คือ

1 อํานาจในการให้รางวัล คือ การให้รางวัลแก่บุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามที่ปรารถนาได้

2 อํานาจในการบังคับ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม

3 อํานาจตามกฎหมาย เกิดจากการยอมรับให้บุคคลเป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคม

4 อํานาจตามการอ้างอิง เป็นอํานาจที่มาจากการที่บุคคลนั้นได้รับการเคารพนับถือ

5 อํานาจตามความเชี่ยวชาญ เป็นการยอมรับนับถือผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ

117 “คุณหมอได้รับการยอมรับนับถือจากคนไข้” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด

(1) อํานาจในการให้รางวัล

(2) อํานาจในการบังคับ

(3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจตามการอ้างอิง

(5) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 115 ประกอบ

118 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเจตคติและอคติ

(1) ประกอบด้วย ความเชื่อ การกระทํา และอารมณ์

(2) อคติเป็นเจตคติทางลบ

(3) สื่อมวลชนไม่มีส่วนในการสร้างเจตคติ

(4) การเกลี้ยกล่อมชักจูงเป็นการเปลี่ยนเจตคติโดยการให้ข้อมูล

(5) สถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกันเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดอคติระหว่างกลุ่ม

ตอบ 3 หน้า 389 393 เจตคติ มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ความเชื่อ อารมณ์ และการกระทําสื่อมวลชนทุกแขนงโดยเฉพาะโทรทัศน์มีผลหรือมีส่วนในการเกิดหรือสร้างเจตคติอย่างมาก, การเกลี้ยกล่อมชักจูงเป็นการพยายามเปลี่ยนเจตคติโดยการให้ข้อมูล, อคติเป็นเจตคติทางลบ,สถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดอคติระหว่างกลุ่มขึ้น

119 “คุณป้อมรู้สึกเสียหน้าและรู้สึกโกรธจากคําพูดของคุณตู่ คุณป้อมมีความคิดว่าถ้ามีโอกาสจะหาทางเอาคืนคุณตู่ให้ได้” ลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะของผู้ที่ถูกกระทําจากพฤติกรรมในข้อใด

(1) พฤติกรรมเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

(2) พฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก

(3) พฤติกรรมก้าวร้าว

(4) พฤติกรรมการช่วยเหลือ

(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 3 หน้า 397 ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักจะมีความรู้สึกชอบความตรงไปตรงมาค่อนข้างมากมีความรู้สึกเหยียดหยามเป็นบางครั้ง อาจรู้สึกผิดในเวลาต่อมา รู้สึกเจ็บปวด รู้สึกถูกทําร้ายจิตใจ รู้สึกเสียหน้า รู้สึกเสียศักดิ์ศรี รู้สึกโกรธ และจะหาทางแก้แค้นหรือเอาคืนถ้ามีโอกาส

120 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก

(1) ผู้ถูกกระทํามีความรู้สึกถูกทําร้าย

(2) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีพฤติกรรมปฏิเสธตนเอง

(3) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีความรู้สึกเหยียดหยามผู้ถูกกระทํา

(4) ผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมีความรู้สึกชอบความตรงไปตรงมา

(5) บุคคลที่สามรู้สึกว่าผู้แสดงพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกเป็นผู้น่าศรัทธา

ตอบ 2 หน้า 397 (ดูคําอธิบายข้อ 117 ประกอบ) ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออกมักจะมีอารมณ์ไม่เหมาะสม ซ่อนเร้นปิดบัง ปฏิเสธตนเอง มีการไตร่ตรอง และมีความรู้สึกเด่นกว่าเหนือกว่า

WordPress Ads
error: Content is protected !!