POL2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ข้อความใดต่อไปนี้ตรงกับความหมายของคําว่า “การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์” ในภาคเอกชน

(1) การกําหนดเกณฑ์การขอตําแหน่งวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัย

(2) การตรวจสอบรถโบราณของวัดปากน้ฎโดย DSI

(3) การกําหนดคุณสมบัติของตัวแทนกลุ่มอาชีพในการสมัคร ส.ว.

(4) การเข้มงวดบทบาทของพระอุปัชฌาย์ให้มีมากขึ้น

(5) การจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การบริหารจัดการงานบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจเอกชน เป็นการจัดการคนในหน่วยงานนอกภาครัฐ เริ่มตั้งแต่การวางแผนกําลังคน การจัดหาบุคคลเข้าทํางาน (ซึ่งประกอบด้วยการสรรหา การคัดเลือก และการบรรจุแต่งตั้ง) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การหมุนเวียนงาน การรักษาวินัยในการทํางาน จนกระทั่งการให้พ็นออกไปจากองค์กร ตัวอย่างที่อธิบายความหมายในเรื่องนี้ เช่น การจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น

2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้มีการจัดสอบคัดเลือกครูโดยใช้ข้อสอบเดียวกันทั่วประเทศ เป็นหลักการในเรื่องใด

(1) ความยุติธรรม

(2) ความมีมาตรฐานเดียวกัน

(3) ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

(4) ความน่าเชื่อถือ

(5) ความเที่ยงตรง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้มีการจัดสอบคัดเลือกครูโดยใช้ข้อสอบเดียวกันทั่วประเทศ โดยให้สถาบันทดสอบทางการศึกษา แห่งชาติ (สทศ.) เป็นผู้ออกข้อสอบ ทั้งนี้เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยที่ผ่านมา การสอบคัดเลือกครูจะจ้างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ออกข้อสอบ ทําให้ข้อสอบในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาไม่เหมือนกัน และข้อสอบก็มีมาตรฐานที่ไม่เหมือนกัน

3 กรณี ดร.เซปิง ซึ่งไม่ใช่แพทย์ศัลยกรรมความงามทําผิดกฎหมายการโฆษณาเกินจริง สะท้อนถึงธรรมชาติ ของมนุษย์ในเรื่องใด

(1) ความกลัวตาย

(2) ความเห็นแก่ตัว

(3) การเป็นสัตว์สังคม

(4) ความต้องการการสื่อสาร

(5) การมีแรงขับทางเพศ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความเห็นแก่ตัว เป็นพฤติกรรมที่ยึดถือแต่ผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลักโดยไม่คํานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม จึงทําให้เป็นคนที่ไม่มีน้ําใจ ขาดความรับผิดชอบ สนใจแต่เฉพาะเรื่องของตัวเอง ชอบเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ชอบเบียดเบียน และสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น อยากได้อยากมี และไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น กรณี ดร.เซปิง ซึ่งไม่ใช่แพทย์ศัลยกรรม ความงามทําผิดกฎหมายการโฆษณาเกินจริง เป็นต้น

4 ข้อความใดต่อไปนี้ตรงกับความหมายของคําว่า “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” ในภาครัฐ

(1) การกําหนดเกณฑ์การขอตําแหน่งวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัย

(2) การตรวจสอบรถโบราณของวัดปากน้ฎโดย DSI

(3) การกําหนดคุณสมบัติของตัวเเทนกลุ่มอาชีพในการสมัคร ส.ว.

(4) การเข้มงวดบทบาทของพระอุปัชฌาย์ให้มีมากขึ้น

(5) การจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ในภาครัฐ เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแลคนในด้านต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ความมั่นคง และคุณภาพชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ (ก่อนเกิด) จนถึงหลังการตาย ตัวอย่างที่อธิบายความหมายในเรื่องนี้ เช่น การเข้มงวดบทบาทของพระอุปัชฌาย์ให้มีมากขึ้น เป็นต้น

5 ตํารวจแถลงผลการจับกุมแก๊ง “โจ๋วัยรุ่น 5 วิ” ใช้ขวานชิงรถจักรยานยนต์ สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ ในเรื่องใด

(1) ความกลัวตาย

(2) ความเห็นแก่ตัว

(3) การเป็นสัตว์สังคม

(4) ความต้องการการสื่อสาร

(5) การมีแรงขับทางเพศ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความต้องการการสื่อสาร เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อทําให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายและเกิดการตอบสนอง ซึ่งอาจจะเป็นในทางบวกหรือทางลบก็ได้ ตัวอย่างที่สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ตํารวจแถลงผลการจับกุมแก๊ง “โจวัยรุ่น 5วิ” ใช้ขวานชิงรถจักรยานยนต์ เป็นต้น

6 การเสนอชื่อพระราชาคณะขึ้นทูลเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระสังฆราช เป็นการปฏิบัติตามข้อกําหนดในเรื่องใด

(1) กฎหมายทั่วไป

(2) กฎหมายด้านการปกครอง

(3) พ.ร.บ. คณะสงฆ์และกฎหมายมหาเถรสมาคม

(4) ขนบธรรมเนียมประเพณี

(5) กฎหมายรัฐธรรมนูญ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเสนอชื่อพระราชาคณะขึ้นทูลเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระสังฆราช เป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ซึ่งกําหนดให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดทางสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

7 ปัญหาที่บริษัทการบิน “นกแอร์” ประสบเป็นปัญหาในเรื่องใด .

(1) การขาดแคลนบุคลากร

(2) เงื่อนไขในการปฏิบัติงานของนักบิน

(3) เงื่อนไขในเรื่องอุปกรณ์การบิน

(4) คุณภาพของบุคลากร

(5) ค่าตอบแทนต่ำ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 บริษัทการบิน “นกแอร์” ประสบปัญหาการขาดแคลนนักบิน ทําให้ต้องประกาศหยุดบินตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 10 มีนาคม โดยมีการคาดการณ์ กันว่าบริทนกแอร์จะต้องสูญเงินจากการหยุดบินนี้กว่า 150 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าชดเชยส่วนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้โดยสาร

8 อาชีพใดที่ได้รับแรงกดดันทางวิชาชีพสูงในประเทศไทย

(1) ครู – อาจารย์

(2) ฝ่ายตุลาการ

(3) ฝ่ายการเงิน การบัญชี

(4) ตํารวจ ทหาร

(5) แพทย์ พยาบาล

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ครูและอาจารย์ เป็นอาชีพที่ได้รับแรงกดดันทางวิชาชีพสูงในประเทศไทยทั้งนี้เนื่องจากครูและอาจารย์บางคนบางกลุ่มมักมีพฤติกรรมละเมิดจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น ทุจริตคอร์รัปชั่น ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ลงโทษเด็กเกินกว่าเหตุ ใช้วาจาและแสดงกิริยาไม่เหมาะสมในโรงเรียน ใช้เวลาในการทําผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะจนไม่มีเวลาสอนหรือเตรียมการสอนอย่างเต็มที่ เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของวิชาชีพครูในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

9 หลักสูตร “พลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย” ใช้เพื่อพัฒนาบุคคลประเภทใด

(1) นักศึกษาวิชาทหาร (รด.)

(2) นักศึกษาอาชีวะ

(3) เยาวชนผู้เข้าค่ายรักษาการติดยา

(4) เยาวชนผู้เข้าศูนย์คุมประพฤติ

(5) นักเรียนนักศึกษาทั่ว ๆ ไป

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักสูตร “พลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย” จัดขึ้นเพื่อใช้พัฒนาประชาชนและนักเรียนนักศึกษาทั่ว ๆ ไปให้มีความรู้ความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

10 รัฐบาลไทยกําหนดนโยบายการจัดสวัสดิการสังคมทั่วประเทศผ่านเรื่องใดดังต่อไปนี้

(1) กฎหมายประกันสังคม

(2) พ.ร.บ. การออมแห่งชาติ

(3) แผนยุทธศาสตร์สวัสดิการฯ

(4) แผนปฏิบัติการความมั่นคงทรัพยากรมนุษย์

(5) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐบาลไทยกําหนดนโยบายการจัดสวัสดิการสังคมทั่วประเทศผ่าน พ.ร.บ.การออมแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระหรืออยู่นอกระบบบําเหน็จบํานาญของรัฐ หรือกองทุนเอกชนที่มีนายจ้างจ่ายสมทบแล้วซึ่งคาดว่ามีอยู่กว่า 30 ล้านคน ได้ออมเงินเพื่อใช้ ในยามเกษียณ โดยรัฐจะช่วยจ่ายสมทบให้ส่วนหนึ่ง และเมื่อผู้ออมมีอายุครบ 60 ปี ก็จะได้รับ เงินบํานาญเป็นรายเดือนตลอดชีพ ซึ่งถือเป็นการสร้างหลักประกันให้กับชีวิตในยามที่ไม่มีรายได้ประจํา และเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

 

ตั้งแต่ข้อ 11 – 15 ปรากฏการณ์ต่อไปนี้อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องใด

(1) Equity

(2) Majority Rule

(3) Balance of Power

(4) Liberty

(5) Accountability

 

11 การนําร่างรัฐธรรมนูญมาทําประชาพิจารณ์

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority Rule) คือ การปกครองโดยใช้จํานวนเป็นเกณฑ์ตัดสินการออกกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหา หรือการตัดสินใจในนโยบายต่าง ๆ ซึ่งต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของเสียงข้างมาก ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น การนําร่างรัฐธรรมนูญมาทําประชาพิจารณ์ เป็นต้น

12 การฟ้องอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในคดีจํานําข้าว

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ บุคคล ตลอดจนผู้ประกอบอาชีพการงานต่าง ๆ จะต้องรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่และผลการกระทําของตนเอง รวมทั้ง องค์การหรือหน่วยงานที่ตนเองสังกัด ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น การฟ้องอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในคดีจํานําข้าว เป็นต้น

13 การเปิดรับนักเรียนหญิงให้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรอาสารักษาดินแดน (รด.) ได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเสมอภาค (Equity) คือ การมีพันธะเท่ากันต้องได้รับสิทธิเท่าเทียมกันโดยห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางเพศ ศาสนา กลุ่มหรือสถาบัน ภาคนิยม การสมรส และชาติวุฒิ ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิด ประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น การเปิดรับนักเรียนหญิงให้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรอาสารักษาดินแดน (รด.) ได้ เป็นต้น

14 การออก พ.ร.บ. คู่ชีวิตให้เพศเดียวกันทําการสมรสกันได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เสรีภาพ (Liberty) คือ ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ สามารถดําเนินชีวิตได้ตามความปรารถนา แต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ จะต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือ ไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น การออก พ.ร.บ. คู่ชีวิตให้เพศเดียวกันทําการสมรสกันได้ เป็นต้น 15 ข้อเสนอให้มีสภาสื่อสารมวลชน เพื่อตรวจสอบสื่อและเพื่อให้สื่อตรวจสอบฝ่ายการเมืองอย่างบริสุทธิ์ใจ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ดุลยภาพของอํานาจ (Balance of Power) คือ การตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อํานาจซึ่งกันและกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ รวมถึงการมี องค์กรอิสระหรือองค์กรกลางในการทําหน้าที่ตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ หรือทําหน้าที่อย่างอื่น ตามที่กฎหมายกําหนด ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น ข้อเสนอให้มีสภาสื่อสารมวลชน เพื่อตรวจสอบสื่อและเพื่อให้สื่อตรวจสอบฝ่ายการเมืองอย่างบริสุทธิ์ใจ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 16 – 20 ปรากฏการณ์ต่อไปนี้อธิบายถึงอิทธิพลของบริบทของมนุษย์ในเรื่องใดดังต่อไปนี้

(1) ภูมิอากาศ / ภูมิประเทศ

(2) ประวัติศาสตร์

(3) นโยบายของรัฐ

(4) วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

(5) เทคโนโลยี / นวัตกรรม

 

16 ทันตแพทย์หญิงหนีการใช้ทุนการศึกษารัฐบาลไทย

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรค ซึ่งในปัจจุบันการวิจัยและพัฒนาทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศไทยยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาองค์ความรู้ จากต่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่จะสร้างองค์ความรู้ ทางด้านนี้ รวมทั้งการนําองค์ความรู้ที่พัฒนาแล้วมาใช้ รัฐบาลจึงต้องเพิ่มบุคลากรด้านนี้โดยให้ทุน ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ซึ่งกรณีของทันตแพทย์หญิงดลฤดี จําลองราษฎร์ ก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่ได้รับทุนให้ไปศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามโครงการพัฒนาของรัฐบาล

17 ข้อเสนอให้มีการขุดคอคอดกระขององคมนตรีท่านหนึ่ง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) นโยบายรัฐบาล เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับแนวทางกิจกรรม การกระทํา หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทําการตัดสินใจและกําหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นําให้มีกิจกรรม หรือการกระทําต่าง ๆ เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กําหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทํา โครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดําเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและความต้องการของ ประชาชนผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง ตัวอย่างที่อธิบายถึงอิทธิพลของบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ข้อเสนอให้มีการยุดคอคอดกระขององคมนตรีท่านหนึ่ง เป็นต้น

18 องค์การอนามัยโลกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีไวรัสซิการะบาด ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภูมิอากาศ ได้แก่ เขตอากาศหนาว ร้อน ร้อนชื้น ฯลฯ) และภูมิประเทศ ได้แก่ สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต อาชีพ การแต่งกาย อุปนิสัย และสุขภาพของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงอิทธิพลของบริบทของ มนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น องค์การอนามัยโลกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีไวรัสซิการะบาด เป็นต้น

19 มาเลเซียยอมรับคนไทยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เข้าทํางานในมาเลย์ได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประวัติศาสตร์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิหลัง ความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลทําให้เกิดความเชื่อ ความศรัทธา การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ความขัดแย้ง หรือทักษะความชํานาญของแต่ละกลุ่มบุคคล เชื้อชาติ/เผ่าพันธุ์ หรือแต่ละประเทศสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่อธิบายถึงอิทธิพลของบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น มาเลเซียยอมรับคนไทยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เข้าทํางานในมาเลย์ได้ เป็นต้น

20 พลังงานจากแสงแดดช่วยให้ชนเผ่าตามชายแดนมีโอกาสได้เรียนรู้มากขึ้น

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่อ อํานวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงอิทธิพล ของบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น พลังงานจากแสงแดดช่วยให้ชนเผ่าตามชายแดนมีโอกาสได้เรียนรู้มากขึ้น เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงองค์ประกอบของมนุษย์ในเรื่องใดดังต่อไปนี้

(1) กล้ามเนื้อ

(2) โครงกระดูก

(3) ระบบในร่างกาย

(4) จิตภาพ

(5) บุคลิกภาพ

 

21 การเสียชีวิตของพระเอกปอ ทฤษฎี เกิดจากเรื่องใดล้มเหลว

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปอ ทฤษฎี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 เนื่องจากการติดเชื้อไข้เลือดออกชนิดรุนแรงจนทําให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายล้มเหลว เช่น เกิดภาวะไตวาย ตับวายปอดติดเชื้อและมีลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น

22 การกินฮอร์โมนของเด็กวัยรุ่นเพื่อลดการเกิดสิวบนใบหน้า มีผลให้ส่วนใดของร่างกายไม่เพิ่มขึ้นตามวัย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิวบนใบหน้าของเด็กวัยรุ่นเกิดจากฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชายที่มีปริมาณมากจนทําให้เกิดอาการ Androgenization คือ ทําให้หน้ามันและเป็นสิว จึงทําให้ เด็กวัยรุ่นนิยมกินฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนเพื่อลดการเกิดสิวบนใบหน้าแต่การกินฮอร์โมนดังกล่าวกลับมีผลทําให้กล้ามเนื้อของเด็กวัยรุ่นไม่เพิ่มขึ้นตามวัย

23 การฆ่าตัวตายของตํารวจส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เกิดจากสภาวะเรื่องใดเสียไป

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จิตภาพ (Psychology) คือ สภาวะจิตใจ กระบวนการความคิด และพฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อมโดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัด และการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ ได้แก่ การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ฯลฯ ตัวอย่างที่อธิบายถึงองค์ประกอบของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การฆ่าตัวตายของตํารวจส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เกิดจากปัญหาด้านจิตภาพหรือสภาวะด้านจิตใจที่เสียไป เป็นต้น

24 การติดโรคไวรัสซิกาของหญิงตั้งครรภ์จะมีผลโดยตรงต่อส่วนใดของทารกในครรภ์มารดา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โรคไวรัสซิกา เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสตระกูลฟลาวิไวรัส (Flavivirus) ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดงซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อนี้จะไม่มีอาการรุนแรงจนถึงแก่

ความตาย แต่มีอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากทําให้ทารกในครรภ์มีกะโหลกศีรษะเล็กกว่าปกติ

25 การนิยมใช้บริการของคลินิกเสริมความงามกลางห้าง เพราะช่วยเสริมเรื่องใดให้กับบุคคล

ตอบ 5 (คําบรรยาย) บุคลิกภาพ (Personality) คือ กระบวนการสร้างหรือการจัดส่วนประกอบของแต่ละคนทั้งภายในและภายนอก (จิตและร่างกาย) หรือเป็นภาพรวมของกายภาพและจิตภาพ ของมนุษย์ ซึ่งมีอิทธิพลในการกําหนดหรือตัดสินพิจารณาลักษณะพฤติกรรมและความนึกคิดของ บุคคลนั้นในแต่ละสาขาอาชีพ ตัวอย่างที่อธิบายถึงองค์ประกอบของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การนิยมใช้บริการของคลินิกเสริมความงามกลางห้าง เพราะช่วยเสริมบุคลิกภาพให้กับบุคคล เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามลักษณะใดดังต่อไปนี้

(1) กลุ่มผู้ด้อยโอกาส

(2) เน้นปัญหาเร่งด่วนของมนุษยชาติ

(3) เน้นความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(4) เน้นการไม่แยกคนออกจากธรรมชาติ

(5) เน้นการพัฒนาคนตามทักษะของเชื้อชาติ

 

26 ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมานักเรียนไทยรับทุนไปศึกษาต่อระดับโทและเอกไม่ต่ํากว่า 5 พันคน แต่ไม่กลับมาใช้ทุนประมาณ 1,500 คน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการพัฒนาที่ระดมการมีส่วนร่วมในแนวระนาบ ไม่ว่าจะเป็นรัฐ เอกชน ชุมชน ประชาชน และ NGOs โดยทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันกําหนดแนวทางในการพัฒนาและแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างบูรณาการ และเป็นองค์รวม ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมานักเรียนไทยรับทุนไปศึกษาต่อระดับโทและเอก ไม่ต่ำกว่า 5 พันคน แต่กลับมาใช้ทุนประมาณ 1,500 คน เป็นต้น

27 ข้อเสนอให้สร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง คนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มที่มีอํานาจการตัดสินใจทางการเมืองน้อย หรือถูกชักจูงให้คล้อยตามอํานาจเงินหรืออํานาจ ของกลุ่มผู้นําได้ง่าย ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้หญิงหรือสตรี กลุ่มผู้ยากไร้ในชนบท กลุ่มผู้พิการ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมโอกาสในการดูแลคุณภาพชีวิต การจ้างงานที่มีรายได้ บทบาทการเป็นผู้นํา การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และการพัฒนาทักษะเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น ข้อเสนอให้ สร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง คนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท เป็นต้น

28 ข้อเรียกร้องขอพื้นที่ริมทะเลคืนจากนายทุนของชาวเลที่หาดราไวย์ ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นการไม่แยกคนออกจากธรรมชาติ เป็นการพัฒนาเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างถาวร โดยไม่แยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติอันเป็นแหล่งสร้างอาชีพ และอุปนิสัยของคนในแต่ละพื้นที่ หรือเป็นการพัฒนาให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติตามลักษณะ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของเขาอย่างสันติและเกื้อกูลกัน โดยเสริมสร้างจิตสํานึกและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงความสําคัญของธรรมชาติ ตัวอย่างที่อธิบายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น ข้อเรียกร้องขอพื้นที่ริมทะเลคืนจากนายทุนของชาวเลที่หาดราไวย์ เป็นต้น

29 โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดรับสตรีเข้าเรียนหลักสูตรดูแลคนแก่

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นการแก้ปัญหาเร่งด่วนของมนุษยชาติ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาหลักหรือปัญหาเร่งด่วนของประชาคมโลก ซึ่งได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาการขาดแคลนอาหาร ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในกลุ่มเด็ก และเยาวชน ปัญหาเด็กเกิดใหม่มีอัตราลดลง ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาการขาดทักษะความรู้ ปัญหาการทํางานแบบ ชนชั้น ฯลฯ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดรับสตรีเข้าเรียนหลักสูตรดูแลคนแก่ เป็นต้น

30 กรมอุทยานจ้างชนเผ่าเป็นพนักงานดูแลรักษาป่ามากกว่าคนไทยในพื้นราบ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพัฒนาคนตามทักษะของเชื้อชาติ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามทักษะความชํานาญ ความสามารถ หรือลักษณะโครงสร้างร่างกายของมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ แต่ละเผ่าพันธุ์ ที่มีความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม แนวคิด วิถีการดําเนินชีวิต กีฬา หรือยุทธวิธีในการต่อสู้ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น กรมอุทยานจ้างชนเผ่าเป็นพนักงานดูแลรักษาป่ามากกว่าคนไทยในพื้นราบ เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 31 – 35 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิติใดดังต่อไปนี้

(1) การลงทุนในบริบท

(2) การลงทุนในตัวมนุษย์

(3) การใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม

(4) การใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

(5) การให้ประโยชน์คืนกลับ

 

31 รัฐบาลมีนโยบายให้ผู้จบการศึกษาได้ทํางานตรงกับความรู้ที่เรียนมา – ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์ให้ตรงกับความรู้ความสามารถ ทักษะ ความชํานาญ หรือคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละบุคคล ตัวอย่างที่อธิบาย ถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิตินี้ เช่น รัฐบาลมีนโยบายให้ผู้จบการศึกษาได้ทํางานตรงกับความรู้ที่เรียนมา เป็นต้น

32 ศาลเล็งตรวจสุขภาพจิตของผู้พิพากษาประจําปี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม เป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์โดยเน้นการบํารุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ให้อยู่กับองค์การยาวนาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย ในการทํางาน ซึ่งจะส่งผลทําให้เกิดขวัญกําลังใจในการทํางาน และทําให้ประสิทธิภาพในการ ทํางานเพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิตินี้ เช่น ศาลเล็งตรวจสุขภาพจิตของผู้พิพากษาประจําปี เป็นต้น

33 กฎหมายให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุญาตให้สร้างคอนโดมิเนียมในชุมชนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การลงทุนในบริบท เป็นการลงทุนที่ให้ความสําคัญกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของมนุษย์เป็น อย่างมากจึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้มีการดูแลรักษา ฟื้นฟู และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ในมิตินี้ เช่น กฎหมายให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุญาตให้สร้างคอนโดมิเนียมในชุมชนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล เป็นต้น

34 องค์การปกครองท้องถิ่นจัดงบประมาณให้แจกนมแก่สตรีที่ฝากครรภ์ ณ สถานีอนามัยของตําบลได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การลงทุนในตัวมนุษย์ (Investment) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ความสําคัญกับเรื่องต่อไปนี้

1 สุขภาพ (Health) เป็นการลงทุนเกี่ยวกับการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ เช่น องค์การปกครองท้องถิ่นจัดงบประมาณให้แจกนมแก่สตรีที่ฝากครรภ์ ณ สถานีอนามัยของ ตําบล เป็นต้น

2 การศึกษา (Education) เป็นการลงทุนเกี่ยวกับการส่งเสริมความรู้ภาคบังคับหรือความรู้พื้นฐานในการดํารงชีวิต ความรู้ด้านอาชีพ และความรู้ด้านจิตภาพหรือศาสนา เช่น การจัดหลักสูตรวิชาชีพให้คนว่างงาน เป็นต้น

3 สุขอนามัย (Hygiene) เป็นการลงทุนเกี่ยวกับสุขาภิบาลหรือความสะอาดของสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้แก่ประชาชน เช่น การขุดบ่อน้ำบาดาลให้กับชุมชนในหมู่บ้าน เป็นต้น

35 รัฐบาลแจกหนังสือเช่าที่ทํากินให้ชาวบ้านอุทัยธานีฟรี 30 ปี

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การให้ประโยชน์คืนกลับ (Provision) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ความสําคัญกับเรื่องต่อไปนี้

1 การเข้าถึงสินค้าและบริการของรัฐในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการได้อย่างเท่าเทียมกัน

2 การจ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับค่าครองชีพตามสภาวะเศรษฐกิจ

3 การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนในยามจําเป็นเพื่อให้มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น กรณีประสบภัยทางธรรมชาติ ไม่มีที่ทํากิน ไม่มีที่อยู่อาศัย เป็นต้น

4 การให้สวัสดิการสังคมเพื่อคุ้มครองและสร้างความมั่นคงในชีวิตในรูปของกฎหมายและการประกันแบบต่าง ๆ เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข, พ.ร.บ. คู่ชีวิตฉบับร่างของประชาชน, ประกันการว่างงาน, ประกันรายได้, ประกันสังคม,ประกันชีวิต, ประกันอุบัติเหตุ, ประกันสุขภาพ และประกันภัย

ตั้งแต่ข้อ 36 – 40 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิตระบบคุณธรรม (Merit System) เรื่องใดดังต่อไปนี้

(1) หลักความรู้ความสามารถ

(2) หลักความเชื่อถือศรัทธา

(3) หลักจริยธรรม

(4) หลักคุณธรรม

(5) หลักความเป็นตัวแทน

 

36 “ประยุทธ์” โดดอุ้ม “มีชัย” ยืนยันร่าง รธน. ได้คณะทํางานที่มีความสามารถและสกัดคนโกงเข้าสู่อํานาจได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักความรู้ความสามารถ (Capacity) คือ การมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคคล โดยเน้นการบรรจุแต่งตั้งตามวุฒิการศึกษาและความชํานาญเฉพาะด้าน และมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิด ระบบคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น “ประยุทธ์” โดดอุ้ม “มีชัย” ยืนยันร่าง รธน. ได้คณะทํางานที่มี ความสามารถและสกัดคนโกงเข้าสู่อํานาจได้ เป็นต้น

37 นายทหารชั้นผู้ใหญ่บางคนยืนยันว่าที่ต้องปฏิรูปวงการตํารวจเพราะมีการซื้อขายตําแหน่งกันจริง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักความเชื่อถือศรัทธา (Creditial) คือ การที่บุคคล กลุ่มบุคคล องค์การหรือสถาบันได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากการรักษาคําพูด การยึดถือกฎระเบียบและวินัยในการ ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม รวมทั้งการมีความรู้ ความสามารถอย่างดีเลิศในสาขาอาชีพต่าง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวคิดระบบคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น นายทหารชั้นผู้ใหญ่บางคนยืนยันว่าที่ต้องปฏิรูปวงการตํารวจเพราะมีการซื้อขายตําแหน่งกันจริง เป็นต้น

38 พฤติกรรมของผู้พิพากษาสตรีท่านหนึ่งที่ปรากฏในสื่อสังคมทําให้ประชาชนมีข้อกังวลเกี่ยวกับความเที่ยงของคําตัดสินคดีในอดีต

ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักจริยธรรม (Ethic) คือ มาตรฐานของวิชาชีพ หรือหลักความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละสาขาวิชาชีพกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก ซึ่งอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดระบบคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น พฤติกรรมของผู้พิพากษาสตรีท่านหนึ่งที่ปรากฏในสื่อสังคมทําให้ประชาชนมีข้อกังวลเกี่ยวกับความเที่ยงของคําตัดสินคดีในอดีต เป็นต้น

39 กฎหมายที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนควรได้รับความเห็นชอบหรือผ่านการพิจารณาของสภาเยาวชนระดับจังหวัด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักความเป็นตัวแทน (Representative) คือ การมีบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การหรือสถาบัน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ แทนกลุ่มคนในสังคม ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดระบบคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น กฎหมาย ที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนควรได้รับความเห็นชอบหรือผ่านการพิจารณาของสภาเยาวชนระดับจังหวัด เป็นต้น

40 กฎหมายที่ระบุโทษแก่ผู้ที่พบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุแล้วไม่เข้าช่วยเหลือมีเป้าหมายเพื่อรักษาหลักการใด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักคุณธรรม (Merit) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กระทําแล้วเป็นคุณประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดระบบคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น กฎหมายที่ระบุโทษแก่ผู้ที่พบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุแล้วไม่เข้าช่วยเหลือ เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักแนวคิดเรื่องใดตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(1) การวางหลักการจัดระเบียบความสามารถ

(2) การกระจายอํานาจ

(3) วางมาตรการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

(4) ปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและการเกษียณอายุ

(5) ปรับปรุงระบบจรรยาและวินัย

 

41 อดีตอธิบดีกรมการปกครองร้องต่อคณะกรรมการคุณธรรมกรณีถูกสั่งย้าย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวางมาตรการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งเป็นองค์กร ถึงตุลาการและเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ของข้าราชการในกรณีที่ข้าราชการถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับบัญชา (เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย) อย่างไม่เป็นธรรม

2 การจัดให้มีศาลปกครองรับเรื่องด้านการ บริหารงานบุคคล ฯลฯ

42 การบรรจุผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ระดับอธิบดีมีอํานาจบรรจุได้ ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกระจายอํานาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หรือกรม เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ เช่น อธิบดีมีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้ชํานาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น

2 กําหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด ดําเนินการจัดสอบแข่งขันเพื่อเลือกสรรบุคคลบรรจุเข้ารับราชการได้เอง

3 การให้อํานาจโอนย้ายบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงได้ ฯลฯ

43 เน้นการตรวจสอบทั้งความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะในวิชาชีพ ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวางหลักการจัดระเบียบความสามารถตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้การสรรหาข้าราชการเน้นการตรวจสอบทั้งความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะในวิชาชีพ

2 การให้ทางราชการได้ประโยชน์จากการมีข้าราชการที่มีความรู้และความสามารถ ฯลฯ

44 กําหนดจําแนกกลุ่มอาชีพออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและการเกษียณอายุตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 การจําแนกกลุ่มอาชีพเป็น 4 กลุ่มใหญ่ (Cluster) และกําหนดบัญชีเงินเดือนเป็น 4 บัญชี ซึ่งแต่ละบัญชีใช้เฉพาะสําหรับตําแหน่งแต่ละประเภท

2 กําหนดให้มีเงินเพิ่มใหม่อีก 2 ประเภท คือ ตามพื้นที่และตามสายงาน

3 กําหนดให้สามารถขยายเวลารับราชการหรือเวลาทํางานไปจนถึง 65 ปี หรือ 70 ปี ได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะงาน ฯลฯ

45 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การปรับปรุงระบบจรรยาและวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติออกจากกันเป็นคนละส่วนอย่างชัดเจน

2 กําหนดให้ส่วนราชการแต่ละแห่งเป็นผู้กําหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อใช้ :บังคับเฉพาะข้าราชการในสังกัดส่วนราชการนั้นเท่านั้น ฯลฯ

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงหลักการในการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทยในเรื่องใดดังต่อไปนี้

(1) การศึกษาพื้นฐาน

(2) การศึกษาวิชาชีพ

(3) การศึกษาตามอัธยาศัย

(4) การศึกษาอุดมศึกษา

(5) การศึกษาของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส

46 การตั้งกองทุนให้กู้ยืมและการจัดสรรทุนให้ศึกษาต่อในระดับสูง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การศึกษาอุดมศึกษา เป็นการศึกษาที่เรียนภายหลังจากจบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาหรือการศึกษาระดับประกาศนียบัตร หรืออนุปริญญา และการศึกษาระดับปริญญา (ตรี โท เอก) การศึกษาอุดมศึกษานี้รัฐบาลไม่ได้ ให้เงินอุดหนุนและไม่ได้มีการบังคับให้เรียน แต่เป็นความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการเรียนในระดับ ที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในสาขาวิชาการเฉพาะทางให้มีความชํานาญยิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงต้องใช้ทุนตัวเองในการเรียน ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมและการจัดสรรทุนในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูง ๆ มากขึ้น

47 การจัดเงินอุดหนุนให้กับโรงเรียนเอกชนตามจํานวนการจ้างครูผู้สอน ตอบ 1 (คําบรรยาย) การจัดเงินอุดหนุนให้กับโรงเรียนเอกชนเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กําหนดให้รัฐต้องจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่โรงเรียนเอกชนเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเท่าเทียมกันกับโรงเรียนรัฐ

48 การจัดให้มีการศึกษาตามความสนใจของผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ ตอบ 5 (คําบรรยาย) การศึกษาของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่กลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย วัฒนธรรม รวมถึงผู้ที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ได้แก่ คนพิการ ชาวเขา ผู้เร่ร่อน ผู้ต้องขัง ฯลฯ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความเสมอภาคทางการศึกษา

49 โครงการจัดเตรียมความพร้อมให้กับข้าราชการก่อนการเกษียณ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาวิชาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพโดยส่วนใหญ่มักจัดขึ้นโดยกระทรวงแรงงานเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถประกอบอาชีพได้ ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการในการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทยในเรื่องนี้ เช่น โครงการจัดเตรียมความพร้อมให้กับข้าราชการก่อนการเกษียณ เป็นต้น

50 รัฐจัดให้มีการรับรองเทียบโอนได้กรณี Home School

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการในการจัดระบบการศึกษาของประเทศไทยในเรื่องนี้ เช่น รัฐจัดให้มีการรับรองเทียบโอนได้กรณี Home School เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 51 – 55 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ตําแหน่งประเภทวิชาการ

(2) ตําแหน่งประเภทบริหาร

(3) ตําแหน่งประเภททั่วไป

(4) ตําแหน่งประเภทอํานวยการ

(5) ตําแหน่งประเภทผสม

 

51 ระดับปฏิบัติการ

ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้

1 ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ

4 ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ

52 ระดับปฏิบัติงาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

53 ระดับชํานาญงาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

54 ระดับชํานาญการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

55 อธิบดี ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง

2 รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และรองปลัดกระทรวง

3 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ได้แก่ อธิบดี

4 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เป็นต้น

5 ผู้ว่าราชการจังหวัด

6 เอกอัครราชทูต ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ)

ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) (2) สภาพตลาดแรงงาน (Condit on of Labor Market)

(3) ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining)

(4) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)

(5) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)

56 ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

ตอบ 5 หน้า 85 (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถ ดํารงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำรัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น

57 รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอํานาจกําหนดค่าจ้าง ตอบ 3 หน้า 86, (คําบรรยาย) อํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อํานาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้างเกี่ยวกับการกําหนดค่าจ้างและ เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน ซึ่งหากสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไร พลังอํานาจการเจรจาต่อรองในการกําหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

59 ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน

ตอบ 1 หน้า 85 – 86, (คําบรรยาย) ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึง ความสามารถของนายจ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษัท มักจะได้รับผลกระทบ โดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน เป็นต้น

60 บริษัทหลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี

ตอบ 4 หน้า 84 85, (คําบรรยาย) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆ ไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่ายตามอัตราค่าจ้างขององค์การ อื่น ๆ ที่จ่ายให้แก่พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือทํางานประเภทเดียวกัน เช่น บริษัท หลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ใบสมัครงาน (Application Blank)

(2) การสัมภาษณ์ (Interview)

(3) การตรวจร่างกาย (Physical Check)

(4) การทดสอบ (Employment Test)

(5) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)

 

61 เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 64, 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่นิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์หรือ ผู้สมัครได้พูดคุยและช้าถามข้อมูลของกันและกัน จึงทําให้สามารถที่จะวัดพฤติกรรม บุคลิกภาพประสบการณ์ วิสัยทัศน์ อารมณ์และจิตใจของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี

62 เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 การสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป

ตอบ 5 หน้า 64 65, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นขั้นตอนการกลั่นกรองบุคคลที่เห็นได้ชัดว่ามีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะกระทําโดยการสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป หรือให้กรอกข้อมูลเบื้องต้น ณ ห้องรับใบสมัคร ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น

64 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน

ตอบ 3 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้าม เข้ามาทํางานด้วย

65 เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้

ตอบ 4 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้สมัครที่เกี่ยวข้องและจําเป็นสําหรับการทํางาน เช่น ความถนัดทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น ”

 

ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน

(2) ผู้ใต้บังคับบัญชา

(3) ประเมินตนเอง

(4) ผู้บังคับบัญชา

(5) เพื่อนร่วมงาน

 

66 มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้บุคคลภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมินท เช่น มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละ ภาคการศึกษา, การประเมินผลการทํางานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลการให้บริการของพนักงาน เป็นต้น

67 การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ต้องทําในสายการบังคับบัญชาทั้งนี้เพราะผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมาก ในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น

68 ผู้ประเมินบางคนมักไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความเป็นจริง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่มีข้อดี คือ สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการ ติดต่อสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร เคยมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชา หรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาออกมาดีเกินความเป็นจริง

69 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกันต่างประเมินซึ่งกันและกัน โดยมักจะใช้กับกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่มีความคุ้นเคยกัน ทํางานร่วมกันมานานพอสมควร และงานที่ทําจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

70 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 71 – 75 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) (2) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training) (3) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training)

(4) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)

(5) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)

 

71 ใช้ฝึกอบรมนักบิน

ตอบ 3 หน้า 140 – 141, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เครื่องมือและกระบวนการที่เป็นแบบจําลองซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในการทํางานจริง เช่น การฝึกอบรมนักบินหรือการฝึกอบรมผู้ใช้เครื่องจักรกลขนาดหนัก เป็นต้น

72 แจ้งถึงเงื่อนไขการจ้างงาน

ตอบ 4 หน้า 127 – 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะนํา ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํางาน เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน เงื่อนไข การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้หมดไป ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และเป็นประโยชน์ต่อองค์การในท้ายที่สุด

73 บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า

ตอบ 1 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ

1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ

2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะซ่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า เป็นต้น

74 ต้องมีการแนะนําประวัติขององค์การ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

75 เป็นเทคนิคที่นิยมใช้อบรมผู้บริหาร

ตอบ 5 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางการ แก้ไขปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ ในการฝึกอบรมผู้บริหาร

ตั้งแต่ข้อ 76 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

(2) การออกแบบงาน (Job Design)

(3) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

(4) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)

(5) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

76 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)

ตอบ 3 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนดค่าตอบแทนที่ยุติธรรมกับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity)ในการกําหนดค่าจ้างและผลตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน

77 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานตอบ 2 หน้า 16 การออกแบบงาน (Job Design) ที่ดี นอกจากจะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว ยังสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย

78 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

ตอบ 5 หน้า 14 – 17 ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้

1 ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน (Job Design)

2 ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

3 ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

4 ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

5 ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทํางาน

6 ใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดค่าตอบแทน ฯลฯ

79 ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน

ตอบ 5 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้

1 กิจกรรมของงาน (Work Activities)

2 พฤติกรรมของบุคคล (Human Behavior)

3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน (Machine, Tool, Equipment and Work Aids Used)

4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards)

5 เนื้อหาของงาน (Job Context)

6 ความต้องการบุคลากร (Personnel Requirements)

80 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

 

81 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ

ตอบ 4 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่างเพื่อให้งาน ประสบความสําเร็จ เช่น การกําหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบ ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานมาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities)

82 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง

ตอบ 1 หน้า 12 – 13 คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานได้มาจากงาน (Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)

83 เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน

ตอบ 5 หน้า 11 ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ กล่าวว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้จะทําให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชํานาญและความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทํางานนั้นให้สําเร็จลงได้

84 ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

85 ได้ข้อมูลมาจากงาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์

(2) พ.ร.บ. เงินทดแทน

(3) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน

(4) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

(5) พ.ร.บ. ประกันสังคม

 

86 ค่าชดเชยกรณีออกจากงาน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงานที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติต่อลูกจ้าง และรัฐให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยสาระสําคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ การกําหนดวันและเวลาทํางาน วันหยุด วันลา การพักงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทํางานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานและค่าล่วงเวลา ในวันหยุด การใช้แรงงานหญิงและแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานหรือเลิกจ้าง เป็นต้น

87 การเบิกเงินกรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางาน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้น เพื่อทําหน้าที่จ่ายเงินทดแทนแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือ ตายอันเนื่องมาจากการทํางาน โดยกําหนดให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ลูกจ้างและรัฐบาลไม่ต้องจ่าย

88 ผู้ประกันตนเบิกเงินค่าคลอดบุตร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กําหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมในกรณีดังต่อไปนี้

1 กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทํางาน

2 กรณีคลอดบุตร

3 กรณีสงเคราะห์บุตร

4 กรณีชราภาพ

5 กรณีว่างงาน

89 สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้าง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับกับวิสาหกิจเอกชนในปัจจุบัน โดยจะกําหนดสาระสําคัญเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกําหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การปิดงานและการนัดหยุดงาน ตลอดจนการกระทําอันไม่เป็นธรรม

90 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพฯ วันละ 300 บาท

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95 สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด

(1) กําหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน

(2) กําหนดตัวผู้ประเมิน

(3) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

(4) กําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน

(5) กําหนดวิธีการประเมิน

 

91 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางานถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน

ตอบ 5 หน้า 166 – 167, (คําบรรยาย) การกําหนดวิธีการประเมินมีหลายวิธีแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ดังนี้

1 การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่มการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ

2 การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อดทน สุภาพ หรือเจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น

92 การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง

ตอบ 3 หน้า 167, (คําบรรยาย) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการนําผลการวิเคราะห์รายงานจากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับ ผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเต็ม ของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น

93 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์

ตอบ 4 หน้า 163 164, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน เป็นการบอกถึงเหตุผลและความจําเป็นของการประเมินผลว่ามีการประเมินไปเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ ผู้ถูกประเมินและผู้ทําการประเมินทราบถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของการประเมิน ก่อนทําการประเมิน เช่น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น

94 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน

ตอบ 2 หน้า 166, (คําบรรยาย) การกําหนดตัวผู้ประเมิน เป็นการกําหนดตัวผู้ที่จะทําการประเมินให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ถูกประเมิน ซึ่งปกติตัวผู้ประเมินมักจะได้แก่ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างานผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง ลูกค้า ตนเอง และเพื่อนร่วมงาน เช่น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

95 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 96 – 100 เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด

(1) การดําเนินการทางวินัย

(2) การเยียวยา

(3) การส่งเสริมให้มีวินัย

(4) การดูแล

(5) การป้องกัน

 

96 การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์

ตอบ 2 หน้า 175 176, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การเยียวยา” หมายถึง การแก้ไขและบํารุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง เยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น

97 ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่

ตอบ 5 หน้า 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การป้องกัน” หมายถึง การกระทําในทางที่จะขจัดเหตุที่ทําให้ข้าราชการกระทําผิดวินัย ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง คอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะกระทําผิดวินัยให้เกิดความกลัว เช่น ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่ เป็นต้น

98 การเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ

ตอบ 4 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การดูแล” หมายถึง การสอดส่องกํากับตรวจตรา โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้อง ตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน หรือการเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น

99 ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ

100 อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่กรณีขายหุ้นชิน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การดําเนินการทางวินัยในขั้นตอนการสั่งลงโทษ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบ การพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

POL2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 เรื่องใดต่อไปนี้เป็นประเด็นในความหมายของคํา “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ”

(1) เครือข่ายสลัม 4 ภาค ยื่นเรื่องต่อ คสช. ให้แก้ปัญหาที่อยู่อาศัย

(2) กระทรวงการต่างประเทศขอความร่วมมือไปยังรัฐบาลตุรกี

(3) ตํารวจสากลตอบกลับว่าได้รับคําร้องของไทยแล้ว

(4) ชาวบ้านกินยาเบื่อหนูประท้วงรัฐบาล

(5) สามยี่ปั๊วใหญ่ขายลอตเตอรี่ต้องยื่นบัญชีเสียภาษี

ตอบ 4 (คําบรรยาย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ในภาครัฐ เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแลคนในด้านต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ความมั่นคง และคุณภาพชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ (ก่อนเกิด) จนถึงหลังการตาย ตัวอย่างประเด็นปัญหา การที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในเรื่องนี้ เช่น ชาวบ้านกินยาเบื่อหนูประท้วงรัฐบาล เป็นต้น

2 สาเหตุของการอพยพลี้ภัยของประชากรกว่าล้านคนจากยุโรปตะวันออกไปยังยุโรปตะวันตก เนื่องจาก สาเหตุใด

(1) การสู้รบภายในประเทศ

(2) คุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่และการมีงานทํา

(3) การปฏิวัติรัฐประหารและการมีงานทํา

(4) สงครามและความยากจน

(5) ความยากจนและภัยทางธรรมชาติ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การอพยพลี้ภัยของประชากรกว่าล้านคนจากยุโรปตะวันออกไปยังยุโรปตะวันตกเป็นวิกฤติการณ์ผู้อพยพในยุโรปที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา โดยมีสาเหตุมาจากภัยสงครามและความยากจน ซึ่งผู้อพยพมีทั้งที่มาจากแอฟริกา เช่น ไนจีเรีย ซูดาน โซมาเลีย และจากตะวันออกกลาง เช่น ซีเรีย อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อีรัก เป็นต้น

3 รางวัลโนเบลด้านสันติภาพปี 2015 ได้แก่บุคคลใด . .

(1) นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมนี

(2) บาทหลวงชาวเอริเทรียนผู้ช่วยผู้ลี้ภัย

(3) รมว.ต่างประเทศอิหร่าน และ รมว.ต่างประเทศสหรัฐอเมริกา

(4) นายแพทย์ชาวคองโก

(5) สํานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก , (คําบรรยาย) รางวัลโนเบลด้านสันติภาพปี 2015 ได้แก่ กลุ่มสานเสวนาสี่ฝ่ายแห่งชาติตูนิเซีย (Tunisia’s National Dialogue Quartet) ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการมีส่วนร่วมในการสร้างประชาธิปไตยช่วงการปฏิวัติตูนิเซีย

4 กฏหมายประกันสังคมกําหนดเวลาให้ทายาทผู้ประกันตนต้องดําเนินการยื่นเรื่องขอรับสิทธิประโยชน์ ภายในเวลาเท่าใด

(1) 6 เดือน

(2) 1 ปี

(3) 2 ปี

(4) 3 ปี

(5) ทันทีที่รับรู้เรื่องการเสียชีวิตของผู้ประกันตน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ในกรณีผู้ประกันตนเสียชีวิตทายาทผู้ประกันตนต้องดําเนินการยื่นเรื่องขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี โดยจะได้รับ – สิทธิประโยชน์ทดแทนดังนี้

1 เงินค่าทําศพ จํานวน 40,000 บาท

2 เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 3 – 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 1.5 เดือน  หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย

5 เรื่องใดต่อไปนี้เป็นประเด็นในความหมายของคํา “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจ”

(1) อาร์ เข้าพิธีบวชเพื่ออุทิศให้ผู้ถูกรถชนตาย

(2) มารดาขอเอกสารการรักษาบุตรที่เสียชีวิตไปจาก ร.พ.เอกชน .

(3) เอสเอ็มอีแบงก์ร่วมกับกระทรวงวิทย์ฯ จัดงานสุดยอด SME

(4) เชียงใหม่แบรนด์บุกตลาดเพื่อนบ้านก้าวเข้าสู่ AEC :

(5) ผู้ประกอบการ OTOP เชียงใหม่เน้นพนักงานขายสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ .

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจเอกชน เป็นภาระหน้าที่ขององค์การที่จะพัฒนาคนโดยให้ความสําคัญกับเรื่องการฝึกอบรมที่มุ่งเสริมเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และ ความสามารถในการทํางานให้แก่พนักงาน เพื่อพัฒนาให้พนักงานสามารถปรับตัวให้สอดคล้อง กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในการทํางานได้ง่ายขึ้น เตรียมพร้อมกับการเติบโตไปตามสายอาชีพ และมีศักยภาพที่จะสร้างสรรค์ผลงานตามเป้าหมายและกลยุทธ์ที่องค์การต้องการ ตัวอย่าง ที่อธิบายความหมายในเรื่องนี้ เช่น ผู้ประกอบการ OTOP เชียงใหม่เน้นพนักงานขายสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เป็นต้น

6 เรื่องใดต่อไปนี้เป็นประเด็นในความหมายของคํา “การบริหารจัดการงานบุคคล”

(1) อาร์ เข้าพิธีบวชเพื่ออุทิศให้ผู้ถูกรถชนตาย

(2) มารดาขอเอกสารการรักษาบุตรที่เสียชีวิตไปจาก ร.พ.เอกชน

(3) เอสเอ็มอีแบงก์ร่วมกับกระทรวงวิทย์ฯ จัดงานสุดยอด SME

(4) เชียงใหม่แบรนด์บุกตลาดเพื่อนบ้านก้าวเข้าสู่ AEC

(5) ผู้ประกอบการ OTOP เชียงใหม่เน้นพนักงานขายสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การบริหารงานบุคคลหรือการจัดการงานบุคคล (HRM) เป็นการจัดการคนตั้งแต่เริ่มเข้ามาทํางานในองค์กรจนกระทั่งพ้นจากองค์กรไป ซึ่งถือเป็นหน้าที่ภารกิจของ องค์กรที่จะต้องจัดการงานบุคคลเริ่มตั้งแต่การวางแผนกําลังคน การจัดหาบุคคลเข้าทํางาน (ซึ่งประกอบด้วยการสรรหา การคัดเลือก และการบรรจุแต่งตั้ง) การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การหมุนเวียนงาน การรักษาวินัยในการทํางาน จนถึงการให้พ้นจาก งานหรือพ้นจากองค์กรไป ตัวอย่างที่อธิบายความหมายในเรื่องนี้ เช่น ผู้ประกอบการ OTOP เชียงใหม่เน้นพนักงานขายสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ)

7 ข้อความต่อไปนี้ตรงกับหลักการเรื่องใด “โจรสองแควไม่กลัวบาปงัดตู้ศาลหลักเมือง”

(1) คุณธรรม

(2) จริยธรรม

(3) ศีลธรรม

(4) คติธรรม

(5) วัฒนธรรม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศีลธรรม เป็นความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ หรือเป็นหลักความประพฤติที่ดีสําหรับบุคคลพึงปฏิบัติ ตัวอย่างที่อธิบายหลักการในเรื่องนี้ เช่น โจรสองแควไม่กลัวบาปงัดตู้ศาลหลักเมือง เป็นต้น

8 โครงการ “ปั่นเพื่อแม่” ตรงกับหลักการเรื่องใดดังต่อไปนี้

(1) คุณธรรม

(2) จริยธรรม

(3) ศีลธรรม

(4) คติธรรม

(5) วัฒนธรรม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คุณธรรม เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กระทําแล้วเป็นคุณประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ตัวอย่างที่อธิบายหลักการในเรื่องนี้ เช่น การเข้าร่วมโครงการปั่นเพื่อแม่/ปั่นเพื่อพ่อการกตัญญูรู้คุณบิดามารดา เป็นต้น

9 สถานการณ์ประชากรโลกในปัจจุบันนี้มีประมาณ 7.02 พันล้านคน ในจํานวนนี้ยังคงมีผู้ดําเนินชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจนประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 5

(2) ร้อยละ 10

(3) ร้อยละ 15

(4) ร้อยละ 20

(5) สูงกว่าร้อยละ 20

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ธนาคารโลกได้ออกรายงานเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ว่าสถานการณ์ประชากรโลกในปัจจุบันนี้มีประมาณ 7.02 พันล้านคน ซึ่งในจํานวนนี้ยังคงมีผู้ดําเนินชีวิตต่ํากว่า เส้นความยากจนประมาณ 702 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรโลกทั้งหมดโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเอเชีย แอฟริกา และภูมิภาคซับซาฮารา

10 ประเด็นเรื่องใดที่นายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวไว้ในการประชุมใหญ่สมัชชา UN ครั้งที่ 70 ที่ USA

(1) ความเท่าเทียมของสตรี และเศรษฐกิจพอเพียง

(2) ความเท่าเทียมของสตรี และกลุ่มคนด้อยโอกาส

(3) เศรษฐกิจพอเพียง และการป้องกันโลกร้อน

(4) การจัดให้มีการเลือกตั้งในไทย

(5) การดูแลสิ่งแวดล้อม และการป้องกันการค้ามนุษย์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวไว้ในการประชุมใหญ่สมัชชา UN ครั้งที่ 70 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) ในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมของสตรี และเศรษฐกิจพอเพียง

 

ตั้งแต่ข้อ 11 – 15 เรื่องใดดังต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษยชาติ

(1) สัญชาตญาณ

(2) Sex Drive

(3) สัตว์สังคม

(4) ความอยากรู้อยากเห็น

(5) การชอบเลียนแบบพฤติกรรม

 

11 การต่อต้านนโยบาย Single Gateway ของคนไทย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สัญชาตญาณ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยอัตโนมัติเมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้น หรือสิ่งใดก็ตามที่ติดตัวมาแต่กําเนิดและมีแนวโน้มที่จะทําให้เกิดพฤติกรรมใน ลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นพิเศษ ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษยชาติในเรื่องนี้ เช่น การต่อต้านนโยบาย Single Gateway ของคนไทย เป็นต้น

12 การรวมกลุ่มชาวบ้านเข้าทําลายโรงพักอําเภอถลาง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) มนุษย์เป็นสัตว์สังคม หมายถึง มนุษย์จะมีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่ามีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันในหมู่มวลสมาชิก ทั้งนี้เพราะมนุษย์จําเป็นต้องติดต่อสื่อสาร หรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ต้องอยู่ร่วมกัน มีการพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนแนวคิดหรือทัศนะ ระหว่างกัน และต้องพึ่งพาอาศัยกันตลอดเวลา ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษยชาติในเรื่องนี้ เช่น การรวมกลุ่มของชาวบ้านเข้าทําลายโรงพักอําเภอถลาง เป็นต้น

13 เทศกาลถือศีลกินเจคึกคักทําให้ราคาผักสูงขึ้น

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การชอบเลียนแบบพฤติกรรม เป็นพฤติกรรมเอาอย่างภายใต้กระบวนการที่ถูกเร้าและชี้แนะซึ่งเกิดจากการสังเกตพฤติกรรมที่เห็นจากคนหรือสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างที่อธิบายถึง ธรรมชาติของมนุษยชาติในเรื่องนี้ เช่น เทศกาลถือศีลกินเจคึกคักทําให้ราคาผักสูงขึ้น เป็นต้น

14 นโยบายการท่องเที่ยวไทยเน้นด้านวัฒนธรรมมากกว่าการให้บริการทางเพศ ตอบ 2 (คําบรรยาย) Sex Drive เป็นแรงขับที่ผลักดันให้บุคคลเริ่มสนใจเพศตรงข้าม และสนใจในกิจกรรมแห่งการสร้างสัมพันธภาพ อันนําไปสู่การแสดงออกถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างที่ อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษยชาติในเรื่องนี้ เช่น นโยบายการท่องเที่ยวไทยเน้นด้านวัฒนธรรมมากกว่าการให้บริการทางเพศ เป็นต้น

15 วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปี ถือว่าเป็นวันค้นพบโลกใหม่ คือแผ่นดินทวีปอเมริกา สาเหตุจากธรรมชาติของมนุษย์

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความอยากรู้อยากเห็น เป็นอารมณ์ความต้องการ ความสงสัย และความสนใจอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ เช่น การสํารวจตรวจสอบ การสืบเสาะ การค้นหา การสังเกต และการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ อันถือเป็น แรงจูงใจสําคัญในการศึกษาหาความรู้ของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษยชาติ ในเรื่องนี้ เช่น วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปี ถือว่าเป็นวันค้นพบโลกใหม่ คือแผ่นดินทวีปอเมริกาสาเหตุจากธรรมชาติของมนุษย์ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 16 – 20 เป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใด ซึ่งเป็นองค์ประกอบของมนุษย์

(1) โครงสร้าง

(2) กล้ามเนื้อ

(3) กระบวนการ

(4) ภาพลักษณ์

(5) Habit Pattern

 

16 การทําโฆษณาโดยเน้นให้ดาราหรือนักร้องดังในเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์แล้วถ่ายคลิปส่งเข้า Social Media

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภาพลักษณ์ (Image) คือ องค์รวมของความเชื่อ ความคิด และความประทับใจที่บุคคลมีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งอาจเป็นบุคคล องค์กร หรือสถาบัน ซึ่งการมีภาพลักษณ์ที่ดี จะส่งผลต่อชื่อเสียง และความเชื่อถือศรัทธาในตัวบุคคล องค์กร หรือสถาบันนั้น ๆ ตัวอย่าง ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การทําโฆษณาโดยเน้นให้

ดาราหรือนักร้องดังในเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์แล้วถ่ายคลิปส่งเข้า Social Media เป็นต้น

17 การเสริมบุคลิกของเด็กวัยรุ่นเกาหลีโดยการผ่าตัดเสริมกระดูกให้สูงขึ้น

ตอบ 1 (คําบรรยาย) กระดูก เป็นส่วนประกอบที่สําคัญของโครงสร้างร่างกายมนุษย์ โดยความสูงของคนเรานั้นเป็นผลมาจากความยาวของกระดูก ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้เมื่อร่างกายได้รับ สารอาหารจําพวกโปรตีนอย่างเพียงพอ รวมทั้งการออกกําลังกาย เช่น การกระโดดเอื้อมแตะ การว่ายน้ำ เป็นต้น แต่การแพทย์สมัยใหม่ได้นําการผ่าตัดกระดูกมาช่วยเพิ่มความสูงให้กับร่างกาย ซึ่งจะช่วยทําให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น

18 การศึกษาเพื่อสร้างหัวใจเทียม ไตเทียม เป็นส่วนหนึ่งของวงการแพทย์สมัยใหม่ ๆ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) กระบวนการทํางานของร่างกาย คือ การทํางานร่วมกันของระบบอวัยวะต่าง ๆในร่างกาย เช่น ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย เป็นต้น โดยมีระบบประสาท ควบคุมและประสานการทํางานของระบบอวัยวะทั้งหมด ถ้าระบบอวัยวะเหล่านี้ทําหน้าที่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพจะทําให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงและดํารงชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ตัวอย่าง ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การศึกษาเพื่อสร้างหัวใจเทียม ไตเทียม เป็นส่วนหนึ่งของวงการแพทย์สมัยใหม่ เป็นต้น

19 การฉีด Stem Celt เข้าสู่ร่างกายมนุษย์นําไปสู่การขยายอายุของคนไข้ด้วยการสร้าง Cell ใหม่ ๆ แทนที่ส่วนที่ใช้การไม่ได้แล้ว

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Stem Cell คือ เซลล์ชนิดพิเศษที่พบได้ในทุกช่วงเวลาของการเจริญเติบโตในสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่จํากัดและสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ได้เกือบ ทุกชนิดในร่างกาย โดยการแพทย์สมัยใหม่ได้นํา Stem Cell มาใช้ในการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ เพื่อทดแทนเซลล์ที่เสื่อมสภาพในร่างกายมนุษย์ เช่น เซลล์ผิวหนัง สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อและเซลล์เม็ดเลือดเพื่อทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น

20 การฉายภาพโฆษณาสินค้าบ่อย ๆ เป็นการตอกย้ำให้มนุษย์มีความเคยชินนําไปสู่การปฏิบัติตามต่อไป

ตอบ 5 (คําบรรยาย) Habit Pattern คือ รูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ปรากฏซ้ำ ๆ กันบ่อย ๆ จนเกิดเป็นความเคยชิน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การฉายภาพโฆษณาสินค้าบ่อย ๆ เป็นการตอกย้ำให้มนุษย์มีความเคยชินนําไปสู่การปฏิบัติตามต่อไป เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 21 – 30 เป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ในวิชาทฤษฎีบริหารรัฐกิจเรื่องใด

(1) ทฤษฎีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

(2) ทฤษฎีหลักการพื้นฐานของการจัดการ

(3) ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์

(4) ทฤษฎีทรัพยากรมนุษย์

(5) ทฤษฎีสมัยใหม่

 

21 แนวคิดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเรื่อง Single Gateway ตอน 5 (คําบรรยาย) ทฤษฎีสมัยใหม่หรือทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Modern Organization Theory) มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังนี้

1 การให้ความสําคัญกับคุณภาพมากกว่าปริมาณ เช่น การลดอัตรากําลังบุคลากรระดับกลางขององค์การให้น้อยลง

2 การบริหารจัดการโดย นําเอาระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในองค์การ เช่น แนวคิด ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเรื่อง Single Gateway, บริษัทไทยคม ขอพระราชทานนาม ดาวเทียมจึงได้ชื่อ “ดาวเทียมไทยคม”

3 การสร้างเครือข่ายหรือสายใยของการสื่อสาร

4 การปฏิบัติงานทางเลือกในการให้และรับบริการในด้านต่าง ๆ ฯลฯ

22 การให้โอกาสแก่สตรีที่ท้องแก่ได้สอบบรรจุครูผู้ช่วยแม้ว่าจะเพิ่งคลอดบุตร ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทฤษฎีทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Theory) เป็นแนวคิดที่มุ่งวิเคราะห์พฤติกรรมและบุคลิกภาพของบุคคลในทุกระดับ โดยจะศึกษาเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ และหาสิ่งจูงใจให้ตรงกับความต้องการหรือความปรารถนาของเขา เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม หรือไปยับยั้งพฤติกรรม หรือไปกําหนดพฤติกรรมที่แสดงออกมาให้บรรลุเป้าหมาย ตัวอย่าง ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีบริหารรัฐกิจในเรื่องนี้ เช่น การจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม, การให้โอกาสแก่สตรีที่ท้องแก่ได้สอบบรรจุครูผู้ช่วยแม้ว่าจะเพิ่งคลอดบุตร, การเรียกร้องให้รัฐบาลไม่ให้นักศึกษาที่ต่อต้านรัฐต้องขึ้นศาลทหาร เป็นต้น

23 ความพยายามปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ตอบ 3 (คําบรรยาย) ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Organization Theory) มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังนี้

1 เน้นหลักการทํางาน การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคลากร แบบเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม เช่น การแต่งตั้งนายตํารวจไปรับผิดชอบคดีต้องใช้ทีมงานเดียวกัน

2 กลุ่มจะเป็นผู้กําหนดคุณลักษณะของสมาชิก มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน แบบแผนหรือพิธีการของกลุ่ม ตลอดจนกําหนดผลผลิตของสมาชิกทั้งโดยการทบทวนมาตรฐานงาน และการเตรียม แผนงาน

3 ความสัมพันธ์ในกลุ่มจะทําให้สมาชิกกลุ่มเกิดความพอใจในเป้าหมายขององค์การ และวิธีการทํางานร่วมกัน จนนําไปสู่การกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การให้เหมาะสม กับการดําเนินงานมากขึ้น เช่น ความพยายามปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ

24 รัฐบาลกําหนดให้งานพัฒนาแต่ละด้านมีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพชัดเจน เพื่อทําหน้าที่ประสานงาน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทฤษฎีหลักการพื้นฐานของการจัดการ (The Principle of Management Theory) ของ Gulick ที่เรียกว่า POSDCORB มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังนี้

1 การวางแผนหรือการกําหนดสิ่งที่ต้องการและวิธีการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ 2 การจัดตั้งหน่วยงานด้านบุคคล

3 การจัดคนให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแต่งตั้งนางสาวไทย เป็นทูตทางวัฒนธรรมประจําองค์การสากล

4 การกําหนดตําแหน่งหน้าที่หรือกลุ่มงานออกมา ในรูปของจํานวนและระดับตําแหน่งที่จะมีในหน่วยงานนั้น ๆ

5 การประสานงานกับ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน หรือการตั้งผู้ประสานงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รัฐบาล กําหนดให้งานพัฒนาแต่ละด้านมีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพชัดเจน เพื่อทําหน้าที่ประสานงาน

6 การจัดฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นําสําหรับผู้บริหาร

7 การมีภาวะผู้นําที่สามารถ ชี้นําการปฏิบัติงานของคนงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา

8 การรายงานผลการปฏิบัติงาน เช่น การกําหนดให้ข้าราชการที่ไปดูงานต่างประเทศเมื่อกลับมาแล้วต้องทํารายงานผลการดูงาน

9 การจัดสรรงบประมาณเพื่อการใช้จ่ายให้ถูกต้อง ทันเวลา และคุ้มค่า ฯลฯ

25 โครงการ “ชั่งหัวมัน”

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ทฤษฎีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Theory) มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังนี้ 1 การมุ่งแสวงหาวิธีการทํางานที่ดีที่สุด (One Best Way) ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การสังเกต การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และสรุปผล ตลอดจนการสร้างตัวแบบจําลอง (Model) ของสิ่งที่ทําการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ ได้มาซึ่งผลผลิตสูงสุด โดยเสียเวลาและค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด เช่น โครงการ “ชั่งหัวมัน”

2 การนําเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

3 มีการสร้างเกณฑ์ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของงาน เช่น การกําหนดเกณฑ์มาตรฐาน วัดผลงานหรือ ISO

4 การสร้างแรงจูงใจในการทํางานให้กับพนักงานโดยอาศัยปัจจัยทางด้าน เศรษฐกิจเพียงประการเดียว นั่นคือ เน้นการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนในรูปตัวเงินเป็นหลัก เช่น การกําหนดอัตราเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา

5 การรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานเพื่อต่อรองกับนายจ้าง ฯลฯ

26 การกําหนดอัตราเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

27 การแต่งตั้งนางสาวไทยเป็นทูตทางวัฒนธรรมประจําองค์การสากล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

28 การแต่งตั้งนายตํารวจไปรับผิดชอบคดีต้องใช้ทีมงานเดียวกัน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

29 การเรียกร้องให้รัฐบาลไม่ให้นักศึกษาที่ต่อต้านรัฐต้องขึ้นศาลทหาร

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

30 บริษัทไทยคม ขอพระราชทานนามดาวเทียมจึงได้ชื่อ “ดาวเทียมไทยคม”

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 31 – 40 เป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใด

(1) ด้านสุขภาพร่างกาย

(2) ด้านสุขาภิบาล

(3) ด้านทักษะ

(4) ด้านสุขภาพจิต

(5) ด้านทัศนคติ

 

31 การให้ความรู้เกี่ยวกับ รธน. ทําให้ประชาชนยอมรับ/ไม่ยอมรับ รธน.

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การลงทุนทรัพยากรมนุษย์ในด้านทัศนคติ เป็นการดําเนินกิจกรรมเพื่อให้บุคคลมีความรู้ ความเข้าใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปในทิศทางที่ดี มองและรับรู้สิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยปัจจัยที่ทําให้บุคคลมีทัศนคติไปใน ทิศทางใดทิศทางหนึ่งนั้นเกิดจากประสบการณ์หรือการเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ทั้งจาก ครอบครัว สถานศึกษา เพื่อน รัฐบาล สื่อมวลชน ฯลฯ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ การลงทุนในด้านนี้ เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับ รธน. ทําให้ประชาชนยอมรับ/ไม่ยอมรับ รธน. คสช. เรียกนักเขียนการ์ตูนไปปรับแนวคิด เป็นต้น

32 การเพิ่มทุนการศึกษาให้กลุ่มนักเรียนอาชีวะ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การลงทุนทรัพยากรมนุษย์ในด้านทักษะ เป็นการดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ทักษะความชํานาญให้กับตัวมนุษย์ ซึ่งได้แก่ การให้ทุนการศึกษา การฝึกอบรม การส่งไปศึกษาดูงาน ฯลฯ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในด้านนี้ เช่น การเพิ่มทุนการศึกษาให้กลุ่มนักเรียนอาชีวะ, การลดภาษีให้กับบริษัทที่ทําการฝึกอบรมพนักงานของตนประจําปีนั้น ๆ เป็นต้น

33 คสช. เรียกนักเขียนการ์ตูนไปปรับแนวคิด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

34 สภาพปัญหาที่ตํารวจมักจะยิงตัวตายระหว่างปฏิบัติหน้าที่

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การลงทุนทรัพยากรมนุษย์ในด้านสุขภาพจิต (จิตภาพ) เป็นการลงทุนที่ให้ความสําคัญกับเรื่องสภาวะจิตใจ กระบวนการความคิด และพฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตได้ โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อมโดยการฝึกอบรม การสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัด และการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ ได้แก่ การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ฯลฯ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในด้านนี้ เช่น สภาพปัญหาที่ตํารวจมักจะยิงตัวตายระหว่างปฏิบัติหน้าที่, การกําหนดให้ข้าราชการสามารถลางานไปรักษาศีลได้ปีละ 10 วัน เป็นต้น

35 การอนุมัติงบประมาณให้ชุมชนขุดบ่อน้ําสะอาดเพื่อบริโภค

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การลงทุนทรัพยากรมนุษย์ในด้านสุขาภิบาล เป็นการลงทุนเกี่ยวกับความสะอาดของสิ่งแวดล้อม และการจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้แก่ประชาชน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในด้านนี้ เช่น การอนุมัติงบประมาณให้ชุมชนขุดบ่อน้ำสะอาดเพื่อบริโภค การศึกษาเรื่องสัมพันธภาพระหว่างชุมชนกับเพื่อนและโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เป็นต้น

36 การลงทุนอุปกรณ์ด้านกีฬาให้นักเรียนระดับประถมศึกษา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การลงทุนทรัพยากรมนุษย์ในด้านสุขภาพร่างกาย (กายภาพ) เป็นการลงทุนเกี่ยวกับการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนได้บริโภคสินค้าดีและมีประโยชน์ต่อโครงสร้างและระบบการทํางาน ของร่างกาย ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในด้านนี้ เช่น การลงทุนอุปกรณ์ด้านกีฬาให้นักเรียนระดับประถมศึกษา, โครงการ Bike for Dad เป็นต้น

37 โครงการ Bike for Dad

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

38 การศึกษาเรื่องสัมพันธภาพระหว่างชุมชนกับเพื่อนและโรงไฟฟ้าของ กฟผ.

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

39 การลดภาษีให้กับบริษัทที่ทําการฝึกอบรมพนักงานของตนประจําปีนั้น ๆ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

40 การกําหนดให้ข้าราชการสามารถลางานไปรักษาศีลได้ปีละ 10 วัน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 50 เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ UN ในเรื่องใด

(1) เน้นความสําคัญในเชิงภูมิรัฐศาสตร์

(2) การถ่ายทอดทักษะของมนุษย์เป็นไปตามเชื้อชาติ

(3) การพัฒนาในเชิงความร่วมมือทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง

(4) การให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและปัญหาเร่งด่วน

(5) การพัฒนาโดยเน้นการสร้างเครือข่ายในภูมิภาค

 

41 การระดมความช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยจากประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันตก ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพัฒนาโดยเน้นการสร้างเครือข่ายในภูมิภาค เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีการระดมความร่วมมือในระดับภูมิภาคเดียวกัน โดยอาศัยความร่วมมือในระดับประเทศหรือ ในระดับกลุ่ม/องค์การระหว่างประเทศที่อยู่ในภูมิภาคของทวีปหรือของโลกเดียวกัน จึงทําให้เกิดการสร้างเครือข่ายความช่วยเหลือและความร่วมมือที่จะนําไปสู่การสร้างกฎกติกา ข้อตกลง และสนธิสัญญาในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการลดความขัดแย้งและการเผชิญหน้ากันระหว่างบรรดา ประเทศต่าง ๆ ตลอดจนทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรม และแรงงาน ระหว่างกัน ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น การระดมความช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยจากประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันตก, การสร้างความร่วมมือจากประเทศต้นทาง กลางทาง และปลายทางของปัญหาการค้ามนุษย์ เป็นต้น

42 การสร้างความร่วมมือจากประเทศต้นทาง กลางทาง และปลายทางของปัญหาการค้ามนุษย์

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 การขอความช่วยเหลือด้าน IT จากต่างประเทศเพื่อตรวจหาผู้วางระเบิด ณ สี่แยกราชประสงค์

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาในเชิงความร่วมมือทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นการประสานความร่วมมือขององค์การทั้งองค์การในระดับเดียวกัน และองค์การในต่างระดับกัน ซึ่งจะทําให้เกิดความร่วมมือในการกําหนดแนวทางในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างบูรณาการและเป็นองค์รวม ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น การขอความช่วยเหลือด้าน IT จาก ต่างประเทศเพื่อตรวจหาผู้วางระเบิด ณ สี่แยกราชประสงค์, การสร้างสมัชชาพลเมืองในหลาย ๆ จังหวัดของประเทศไทย เป็นต้น

44 การให้ประเทศที่อยู่เหนือแม่น้ำโขงเป็นประธานเปิดประชุม เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม/น้ำแล้งในลุ่มแม่น้ำโขง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นความสําคัญในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ(ได้แก่ สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) ภูมิอากาศ และองค์ประกอบ เชิงธรณีวิทยา รวมถึงภูมิหลังความเป็นมาหรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพล ทําให้เกิดความเชื่อ ความศรัทธา การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ความขัดแย้ง หรือทักษะความชํานาญของแต่ละกลุ่มบุคคล เชื้อชาติ/เผ่าพันธุ์ หรือแต่ละประเทศสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น การให้ประเทศที่อยู่เหนือแม่น้ำโขงเป็นประธานเปิดประชุม เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม/น้ำแล้งในลุ่มแม่น้ำโขง, การทบทวนการปลูกพืชไร่ของคนในที่สูงในจังหวัดน่าน เป็นต้น

45 การยอมรับความสามารถของกลุ่มแม่บ้านจากประเทศฟิลิปปินส์เข้าทํางานในญี่ปุ่น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นการถ่ายทอดทักษะของมนุษย์เป็นไปตามเชื้อชาติ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามทักษะ ความชํานาญ ความสามารถ หรือลักษณะโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ แต่ละเชื้อชาติ แต่ละเผ่าพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม แนวคิด วิถีการดําเนินชีวิต กีฬา หรือยุทธวิธีในการต่อสู้ ตัวอย่างที่ อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น การยอมรับความสามารถ ของกลุ่มแม่บ้านจากประเทศฟิลิปปินส์เข้าทํางานในญี่ปุ่น, แรงงานจากไทยทยอยไปขายแรงงานด้านก่อสร้างในสิงคโปร์ เป็นต้น

46 แรงงานจากไทยทยอยไปขายแรงงานด้านก่อสร้างในสิงคโปร์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 การยอมรับการแต่งกายแบบคลุมศีรษะและปิดใบหน้าของสตรีในการเข้าพิธีที่กรุงเมกกะ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มที่มีอํานาจการตัดสินใจทางการเมืองน้อย หรือถูกชักจูงให้คล้อยตามอํานาจเงินหรือ อํานาจของกลุ่มผู้นําได้ง่าย ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้หญิงหรือสตรี กลุ่มผู้ยากไร้ในชนบท กลุ่มผู้พิการ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมโอกาสในการดูแลคุณภาพชีวิต การจ้างงานที่มีรายได้ บทบาทการเป็นผู้นํา การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และการพัฒนาทักษะเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ UN ในเรื่องนี้ เช่น การยอมรับ การแต่งกายแบบุคลุมศีรษะและปิดใบหน้าของสตรีในการเข้าพิธีที่กรุงเมกกะ เป็นต้น

48 สถิติของไทยในปัจจุบันมีสตรีในภาวะเจริญพันธุ์ที่ให้กําเนิดบุตรลดลงจากเฉลี่ย 6 คน เป็น 1.6 คน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นการแก้ปัญหาเร่งด่วนของมนุษย์ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาหลักหรือปัญหาเร่งด่วนของประชาคมโลก ซึ่งได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาการขาดแคลนอาหาร ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในกลุ่มเด็ก และเยาวชน ปัญหาเด็กเกิดใหม่มีอัตราลดลง ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาการขาดทักษะความรู้ ปัญหาการทํางานแบบชนชั้น ฯลฯ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิด ของ UN ในเรื่องนี้ เช่น สถิติของไทยในปัจจุบันมีสตรีในภาวะเจริญพันธุ์ที่ให้กําเนิดบุตรลดลงจากเฉลี่ย 6 คน เป็น 1.6 คน เป็นต้น

49 การทบทวนการปลูกพืชไร่ของคนในที่สูงในจังหวัดน่าน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ

50 การสร้างสมัชชาพลเมืองในหลาย ๆ จังหวัดของประเทศไทย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 51 – 55 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)

(2) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)

(3) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training)

(4) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training)

(5) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training)

 

51 ต้องมีการแนะนําประวัติขององค์การ

ตอบ 1 หน้า 127 – 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะนํา ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํางาน เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน เงื่อนไข การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้หมดไป ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และเป็นประโยชน์ต่อองค์การในท้ายที่สุด

52 เป็นเทคนิคที่นิยมใช้อบรมผู้บริหาร

ตอบ 2 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวหางการ แก้ไขปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการฝึกอบรมผู้บริหาร

53 แจ้งถึงเงื่อนไขการจ้างงาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

54 ใช้ฝึกอบรมนักบิน

ตอบ 4 หน้า 140 – 141, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เครื่องมือและกระบวนการที่เป็นแบบจําลอง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในการทํางานจริง เช่น การฝึกอบรมนักบินหรือการฝึกอบรมผู้ใช้เครื่องจักรกลขนาดหนัก เป็นต้น

55 บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า

ตอน 5 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ

1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ

2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่าง สถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การสัมภาษณ์ (Interview)

(2) ใบสมัครงาน (Application Blank)

(3) การตรวจร่างกาย (Physical Check)

(4) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)

(5) การทดสอบ (Employment Test)

56 เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ

ตอบ 1 หน้า 64, 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ (Interview) นับว่าเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่นิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ หรือผู้สมัครได้พูดคุยและซักถามข้อมูลของกันและกัน จึงทําให้สามารถที่จะวัดพฤติกรรมบุคลิกภาพ ประสบการณ์ วิสัยทัศน์ อารมณ์และจิตใจของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี

57 การสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป

ตอบ 4 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นขั้นตอนการกลั่นกรองบุคคลที่เห็นได้ชัดว่ามีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะ กระทําโดยการสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป หรือให้กรอกข้อมูลเบื้องต้น ณ ห้องรับใบสมัคร ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น

58 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน

ตอบ 3 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) นับว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเลยว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ก็เพื่อปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทํางานด้วย

59 เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้

ตอบ 5 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้สมัครที่เกี่ยวข้องและจําเป็นสําหรับการทํางาน เช่น ความถนัด ทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น

60 เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด

(1) กําหนดตัวผู้ประเมิน

(2) กําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน

(3) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

(4) กําหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน

(5) กําหนดวิธีการประเมิน

 

61 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ

ตอบ 1 หน้า 166, (คําบรรยาย) การกําหนดตัวผู้ประเมิน เป็นการกําหนดตัวผู้ที่จะทําการประเมินให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ถูกประเมิน ซึ่งปกติตัวผู้ประเมินมักจะได้แก่ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง ลูกค้า ตนเอง และเพื่อนร่วมงาน เช่น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

62 รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางานถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน

ตอบ 5 หน้า 166 167, (คําบรรยาย) การกําหนดวิธีการประเมินมีหลายวิธีแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ดังนี้

1 การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่ม การปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ

2 การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อดทน สุภาพ หรือ เจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น

63 การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง ตอบ 3 หน้า 167, (คําบรรยาย) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการนําผลการวิเคราะห์รายงานจากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับ ผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น

64 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์

ตอบ 2 หน้า 163 164, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน เป็นการบอกถึงเหตุผลและความจําเป็นของการประเมินผลว่ามีการประเมินไปเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ ผู้ถูกประเมินและผู้ทําการประเมินทราบถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของการประเมิน ก่อนทําการประเมิน เช่น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น

65 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด

(1) การเยียวยา

(2) การดูแล

(3) การดําเนินการทางวินัย

(4) การป้องกัน

(5) การส่งเสริมให้มีวินัย

 

66 อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่กรณีขายหุ้นชิน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การดําเนินการทางวินัยในขั้นตอนการสั่งลงโทษ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

67 ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน

ตอบ 2 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การดูแล” หมายถึงการสอดส่องกํากับตรวจตรา โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน หรือการเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น

68 ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่

ตอบ 4 หน้า 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การป้องกัน” หมายถึง การกระทําในทางที่จะขจัดเหตุที่ทําให้ข้าราชการกระทําผิดวินัย ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง คอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะกระทําผิดวินัยให้เกิดความกลัว เช่น ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่ เป็นต้น

69 การเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

70 การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์

ตอบ 1 หน้า 175 – 176, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การเยียวยา” หมายถึง การแก้ไขและบํารุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง เยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 71 – 75 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน

(2) พร.บ. เงินทดแทน

(3) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

(4) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์

(5) พ.ร.บ. ประกันสังคม

 

71 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ําในกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นวันละ 300 บาท

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงานที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติต่อลูกจ้าง และรัฐให้ความคุ้มครองตามกฎหมายโดยสาระสําคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ การกําหนดวันและเวลาทํางาน วันหยุด วันลา การพักงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทํางานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานและค่าล่วงเวลา ในวันหยุด การใช้แรงงานหญิงและแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานหรือเลิกจ้าง เป็นต้น

72 สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้าง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับกับวิสาหกิจเอกชนในปัจจุบัน โดยจะกําหนดสาระสําคัญเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกําหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การปิดงานและการนัดหยุดงานตลอดจนการกระทําอันไม่เป็นธรรม

73 การเบิกเงินกรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางาน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นเพื่อทําหน้าที่จ่ายเงินทดแทนแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันเนื่องมาจากการทํางาน โดยกําหนดให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ลูกจ้างหรือคนงานและรัฐบาลไม่ต้องจ่าย

74 ค่าชดเชยกรณีออกจากงาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

75 ผู้ประกันตนเบิกเงินค่าคลอดบุตร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กําหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมในกรณีดังต่อไปนี้

1 กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทํางาน .

2 กรณีคลอดบุตร

3 กรณีสงเคราะห์บุตร

4 กรณีชราภาพ

5 กรณีว่างงาน

 

ตั้งแต่ข้อ 76 – 80 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ตําแหน่งประเภททั่วไป

(2) ตําแหน่งประเภทผสม

(3) ตําแหน่งประเภทบริหาร

(4) ตําแหน่งประเภทอํานวยการ

(5) ตําแหน่งประเภทวิชาการ

 

76 ระดับชํานาญการ

ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้

1 ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ

ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ

4 ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ

77 อธิบดี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง

2 รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และรองปลัดกระทรวง

3 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ได้แก่ อธิบดี

4 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เป็นต้น

5 ผู้ว่าราชการจังหวัด

6 เอกอัครราชทูต ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ)

78 ระดับปฏิบัติงาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

79 ระดับชํานาญงาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

80 ระดับปฏิบัติการ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 81 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน

(2) ผู้บังคับบัญชา

(3) ผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) ประเมินตนเอง

(5) เพื่อนร่วมงาน

 

81 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกันต่างประเมินซึ่งกันและกัน โดยมักจะใช้กับกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่มีความคุ้นเคยกัน ทํางานร่วมกันมานานพอสมควร และงานที่ทําจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

82 มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้บุคคลภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมิน เช่น มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละ ภาคการศึกษา, การประเมินผลการทํางานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลการให้บริการของพนักงาน เป็นต้น

83 การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน ตอบ 2 (คําบรรยาย) การให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ต้องทําในสายการบังคับบัญชาทั้งนี้เพราะผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมาก ในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือน เพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น

84 ผู้ประเมินบางคนมักไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความเป็นจริง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่มีข้อดี คือ สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการ ติดต่อสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร เคยมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชา หรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาออกมาดีเกินความเป็นจริง

85 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining)

(2) สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market)

(3) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)

(4) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)

(5) ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)

 

86 บริษัทหลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ 3 วุฒิปริญญาตรี

ตอบ 4 หน้า 84 85, (คําบรรยาย) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆ ไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่ายตาม อัตราค่าจ้างขององค์การอื่น ๆ ที่จ่ายให้แก่พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือทํางาน ประเภทเดียวกัน เช่น บริษัทหลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ 3 วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น

87 ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

ตอบ 3 หน้า 85, (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถ ดํารงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ,รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น

88 รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

89 ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน

ตอบ 5 หน้า 85 – 86, (คําบรรยาย) ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึงความสามารถของนายจ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษ มักจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงการแข่งข์ ทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน เป็นต้น

90 สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอํานาจกําหนดค่าจ้าง

ตอบ 1 หน้า 86, (คําบรรยาย) อํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อํานาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้างเกี่ยวกับการกําหนดค่าจ้างและเงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน ซึ่งหากสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไรพลังอํานาจการเจรจาต่อรองในการกําหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

 

ตั้งแต่ข้อ 91 – 100 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

(2) การออกแบบงาน (Job Design)

(3) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

(4) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

(5) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)

91 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน

ตอบ 2 หน้า 16 การออกแบบงาน (Job Design) ที่ดี นอกจากจะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว ยังสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย

92 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

ตอบ 4 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนด ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมกับงาน ตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity)ในการกําหนดค่าจ้างและผลตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน

93 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง

ตอบ 3 หน้า 12 – 13 คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานได้มาจากงาน Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)

94 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

ตอบ 1 หน้า 14 – 17 ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้

1 ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน (Job Design)

2 ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

3 ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

4 ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

5 ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทํางาน

6 ใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดค่าตอบแทน ฯลฯ

 

95 ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ มาตรฐาน การปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน

ตอบ 1 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้

1 กิจกรรมของงาน Work Activities)

2 พฤติกรรมของบุคคล (Human Behavior)

3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน (Machine, Tool, Equipment and Work Aids Used)

4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards)

5 เนื้อหาของงาน (Job Context)

6 ความต้องการบุคลากร (Personnel Requirements)

96 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

97 ได้ข้อมูลมาจากงาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ

98 ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่างเพื่อให้งาน ประสบความสําเร็จ เช่น การกําหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบ ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานมาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities)

99 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ

100 เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน

ตอบ 1 หน้า 11 ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ กล่าวว่า “การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้จะทําให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชํานาญ และความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทํางานนั้นให้สําเร็จลงได้”

POL3302 การวางแผนในภาครัฐ 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดมิใช่ภารกิจที่สําคัญในการประเมินโครงการ

(1) การวิเคราะห์ความอยู่รอดของโครงการ

(2) การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ

(3) การคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ

(4) การทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้

(5) การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นว่าโครงการเหมาะสมที่สุดหรือยัง

ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ มีความหมายเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 เป็นการศึกษาถึงโอกาสความสําเร็จในการดําเนินโครงการ โดยการวิเคราะห์และประเมินหาความเชื่อมั่นว่าตัวโครงการที่ร่างเสร็จแล้วนั้นมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติ ได้จริงหรือไม่ เช่น การวิเคราะห์หรือการคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการการวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ เป็นต้น

2 เป็นการศึกษาทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้ โดยการวิเคราะห์จําแนกแยกแยะเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยและผลที่คาดว่าจะได้รับ หากมีการนําโครงการไปดําเนินการหรือ นําไปปฏิบัติจริง พร้อมกับศึกษาว่าผลที่คาดว่าจะได้รับหรือผลที่จะเกิดขึ้นนั้นเหมาะสมมีคุณค่า มีประโยชน์ สมควรแก่การลงทุนดําเนินโครงการต่อไปหรือไม่

2 สถาบันที่มีหน้าที่ริเริ่มกําหนดนโยบายและมีอํานาจอิทธิพลต่อนโยบายมาก คือ

(1) สถาบันทหาร

(2) สถาบันศาล

(3) สถาบันทางรัฐสภา

(4) สถาบันการปกครอง

(5) สถาบันการปกครองท้องถิ่น

ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบหรือทฤษฎีสถาบัน (Institution Mode/Theory) เชื่อว่านโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ เก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นนโยบายสาธารณะ ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไปตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบัน การปกครอง ตัวอย่างสถาบันการปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันรัฐสภา สถาบันบริหาร (เช่น นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ สถาบันตุลาการ (เช่น ศาล) และสถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

3 การส่งมอบงานตึก 12 ชั้น คณะรัฐศาสตร์

(1) Policy Formulation

(2) Policy Analysis

(3) Policy Evaluation

(4) Policy Implementation

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนของการแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรี ให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา/การตระเตรียม วิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

4 คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporalty Linked Actions” เป็นของใคร

(1) José Villamil

(2) ดร.อมร รักษาสัตย์

(3) Albert Waterston

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 1 หน้า 25 Jose Villamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporally Linkec Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการตัดสินใจแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”

5 ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน

(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป

(2) แผนระยะสั้น 3 ปี

(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี

(4) แผนระยะสั้น 4 ปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ระยะเวลา (Time Span) อาจจําแนกได้ดังนี้

1 แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ

3 แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

6 TP. หมายถึง

(1) เวลาที่ผ่านไป

(2) Target Planning

(3) Team Planning

(4) การทํางานเป็นทีม

(5) ทฤษฎีการวางแผน

ตอบ 3 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) มากที่สุด ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน

2 ร่วมกันมองไปในอนาคต (Vision/Scenario)

3 ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4 ร่วมกันกําหนดทางเดินหรือแผนกลยุทธ์ (Strategies) ที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

5 ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้ 6 ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ ซึ่งเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วัน หรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan

7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ได้มีจุดเริ่มต้นที่ใด

(1) เมื่อ Max Weber ได้ศึกษาระบบราชการ

(2) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

(3) เมื่อ Mayo ได้ทดลองค้นคว้าที่เรียกว่า Hawthorne Study

(4) เมื่อมีกลุ่มนักทฤษฎีสมัยใหม่

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็นการศึกษารายกรณี และมีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของ วิชาการหลายสาขามาศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

8 ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก คือ

(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง

(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)

(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Value)

(4) ข้อมูลทุกประเภท

(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการของดิน

ตอบ 3 หน้า 11 ข้อมูลในการวางนโยบายหรือแผน อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ และภูมิศาสตร์

2 ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่น ความเชื่อถือของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

9 นักวิชาการที่กล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ คือ

(1) Harry Harty

(2) Walter SE TRATE

(3) Thomas R. Dye

(4) William Dunne med

(5) Theodore Poister

ตอบ 5 หน้า 16 Theodora Poister กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ ดังนั้นจําเป็นต้องมีการศึกษาอย่างจริงจังถึงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาของนโยบายกับผลกระทบทั้งปวงที่จะเกิดขึ้น”

10 แบบอะไรที่ถูกต้องในการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของนโยบายหรือแผน

(1) แผนการรายงาน

(2) แผนตรวจงาน

(3) แผนประเมินผลงาน

(4) แบบวิธีทดลอง

(5) แบบการวัดประสิทธิภาพ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายนั้นตรงกับ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 แบบธรรมดาหรือแบบที่ไม่ใช่วิธีการทดลอง

2 แบบวิธีกึ่งทดลอง

3 แบบวิธีทดลอง

11 นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด

(1) ให้ประโยชน์กับสังคม

(2) ให้คํานึงถึงรัฐสภา

(3) ประโยชน์โดยทั่วไป

(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด

(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

12 ความเป็นธรรมของนโยบายสามารถวัดได้อย่างไร

(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม

(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน

(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน

(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย

(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณาหรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการ ที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

13 เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐจะเป็นอย่างไร

(1) มีขนาดเล็กลง

(2) คงที่เหมือนเดิม

(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา

(4) มีขนาดใหญ่โตล้ําหน้าเวลา

(5) มีขนาดจะเล็กลงหรือจะโตขึ้นเป็นไปตามจํานวนประชากร

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 Randall Ripley และ Grace Franklin กล่าวว่า ในการนํานโยบายไปปฏิบัตินั้นมีประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติต้องทําความเข้าใจอยู่ 5 ประการ ได้แก่

1 มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมากมาย

2 มีความต้องการหลากหลายต่อนโยบาย

3 ธรรมชาติของนโยบายมักจะมีขนาดที่ใหญ่โตขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป

4 ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในหลายระดับ หลายสังกัด และหลายหน่วยเสมอ

5 มีปัจจัยมากมายที่นโยบายไม่สามารถควบคุมได้

14 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีรูปร่างและรูปแบบหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้

1 มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง

2 มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ

3 มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด

4 มีรูปเป็นสัญญา

5 มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

15 ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักรัฐศาสตร์

(2) นักสังคมวิทยา

(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์

(4) นักวิทยาศาสตร์

(5) นักเศรษฐศาสตร์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

16 ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว

(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป

(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด

(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน

(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มีความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ำลง ตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมันที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผนที่แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ)

17 Controlled Environment หมายถึง

(1) ภาวะทางธรรมชาติ

(2) ค่านิยมของคนในภาคใต้ของประเทศไทย

(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 12 สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ ในนโยบาย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

2 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ/ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น

18 แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด (1) แผนรายปี

(2) แผนงบประมาณ

(3) แผนการเงิน

(4) แผนโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก

19 ใครกล่าวว่านโยบายคือ “สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา”

(1) Thomas R. Dye

(2) David Easton

(3) Woodrow Wilson

(4) William Dunn

(5) ดร.อมร รักษาสัตย์

ตอบ 1 หน้า 1 Thomas R. Dye กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือกิจกรรมหรือสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา และเกี่ยวข้องกับเหตุผลว่าทําไมจึงเลือกเช่นนั้น”

20 ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่แตกต่างจากแผนอื่น

(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน

(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน

(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม

(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

(5) เป็นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นการวางแผนที่ยังคงน้อมนําและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา อย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดทิศทาง การพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

21 หน่วยงานใดมีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน

(1) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท

(2) กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม

(3) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

(4) สํานักงาน ก.พ.

(5) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศของไทย หรือที่เรียกว่า “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ”

22 นักวิชาการที่กล่าวว่า การวางแผนจะมีลักษณะร่วมกันหลายประการ เช่น ต้องมองล่วงหน้า มีการเลือกสรรต้องเตรียมวิธีการกระทําฯ คือใคร

(1) เนรู

(2) วิลลามิล

(3) วอเตอร์สตัน

(4) ดรอ

(5) เลอ เบรอตัน

ตอบ 3 หน้า 25 Albert Waterston กล่าวว่า “การวางแผนทุกชนิดจะต้องมีลักษณะร่วมกัน หลายประการ เช่น ต้องประกอบด้วยการมองล่วงหน้า (Looking Ahead) ต้องมีทางเลือก (Making Choices) และหากเป็นไปได้ต้องจัดเตรียมวิธีการกระทํา (Actions) ที่แน่นอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรืออย่างน้อยที่สุดต้องกําหนดข้อจํากัด (Setting Limits) ที่อาจจะเกิดจากการกระทําดังกล่าวไว้ด้วย”

23 การวางแผนแบบใดที่เป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน

(1) ทุกแบบของการวางแผน

(2) Integrated Public Investment Planning

(3) Comprehensive Planning

(4) Project-by-Project Planning

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 3 หน้า 29, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบสมบูรณ์แบบหรือประสมประสานหรือแผนรวม (Comprehensive Planning) เป็นการวางแผนที่กล่าวถึงเป้าหมายที่ต้องการก่อนเป็นอันดับแรก โดยเริ่มจากการสร้างเเบบจําลองการเจริญเติบโต (Growth Model) ของแผนก่อน ซึ่งเป็น การคํานวณอัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวังไว้ในรูปของการบริโภค เงินออม การลงทุน การนําเข้า-ส่งออก การจ้างงาน ความต้องการ (Demand) และความสามารถในการตอบสนอง (Supply) ของภาครัฐและภาคเอกชนรวมกัน โดยการวางแผนในรูปแบบนี้จะมีการวางแผน ทั้งแบบ Forward และ Backward และมีการกล่าวถึงบทบาทของภาคเอกชนไว้อย่างครบถ้วน จึงนับว่าเป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน และเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่หน่วยงานวางแผน มีความชํานาญแล้ว อย่างไรก็ตาม การวางแผนแบบนี้ยังไม่มีประเทศใดสามารถทําได้อย่าง สมบูรณ์แบบ ประเทศที่ใช้การวางแผนแบบนี้ได้ดีที่สุดก็มีเพียงประเทศกลุ่มสังคมนิยม (ซึ่งมีลักษณะการคุมอํานาจจากส่วนกลางมากที่สุด)

24 ปัญหาชนิดใดที่ต้องใช้ทักษะในการมองการณ์ไกลเป็นพิเศษ จึงจะวางแผนได้

(1) ปัญหาแก้ไข

(2) ปัญหาพัฒนา

(3) ปัญหาป้องกัน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 25, (คําบรรยาย) ปัญหาของแผน อาจจําแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1 ปัญหาแก้ไข คือ ปัญหาที่ปรากฏผลเสียหายให้เห็นอยู่แล้ว จึงต้องรีบวางแผนหาทางแก้ไข ซึ่งปัญหาชนิดนี้มักจะแก้ไขได้ง่ายที่สุด

2 ปัญหาป้องกัน คือ ปัญหาที่ยังไม่ปรากฏผลเสียหายขึ้น ในขณะวางแผน แต่สามารถรู้ได้ว่าหากไม่รีบวางแผนแก้ไขก็จะปรากฏผลเสียหายในอนาคตได้

3 ปัญหาพัฒนา คือ ปัญหาที่ไม่ปรากฏผลเสียหายทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ต้องมีการวางแผน เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งนักวางแผนต้องใช้ความสามารถในการมองการณ์ไกลมากเป็นพิเศษ

25 แผนที่มีลักษณะ Ease of Control จะแสดงให้เห็นได้อย่างไร

(1) เห็นได้จากการผ่านขั้นตอนของแผนอย่างครบถ้วนไม่ข้ามขั้นตอน

(2) เห็นได้จากการกําหนดที่มีเหตุผลและเป็นจริงในทางปฏิบัติ

(3) เห็นได้จากการมีมาตรฐานสําหรับการปฏิบัติอย่างชัดเจน

(4) เห็นได้จากการจัดทีมผู้วางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ

(5) เห็นได้จากการจัดทีมผู้ปฏิบัติตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบ 3 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนที่มีลักษณะง่ายในการควบคุม (Ease of Control) หมายถึง แผนที่มีมาตรฐานสําหรับการวัดและการปฏิบัติอย่างชัดเจน และโดยทั่วไปหากเป็นแผนที่มีลักษณะง่ายในการดําเนินการ (Ease of Implementation) ก็จะมีลักษณะง่ายในการควบคุมด้วย

26 กล่าวโดยสรุปขั้นตอนในการวางแผนอาจจําแนกได้ 3 ขั้นตอนสําคัญ ได้แก่ การเก็บรวบรวมประมวลข้อมูลการลงมือวางแผน และอะไร

(1) การวิเคราะห์ข้อมูล

(2) การปฏิบัติตามแผน

(3) การประเมินผลแผน

(4) การขออนุมัติใช้แผน

(5) การตระเตรียมที่จะวางแผน

ตอบ 5 หน้า 29 – 30 อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าขั้นตอนที่สําคัญในการวางแผนนั้น มี 3 ขั้นตอน คือ

1 การตระเตรียมการที่จะวางแผน เป็นการกําหนดเค้าโครงกลยุทธ์ของแผน โดยการกําหนดวัตถุประสงค์และแนวทางของแผน

2 การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ความถูกต้องของงานในขั้นตระเตรียมการ

3 การลงมือวางแผน เป็นการเขียนแผนให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ควรจะเป็นของแผน

27 ข้อมูลที่นับว่ามีอิทธิพลหรือเป็นกลไกสําคัญในการวางแผน ได้แก่ ข้อมูลทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษาอิทธิพลของธรรมชาติ และอะไร

(1) กลุ่มผลประโยชน์ .

(2) พรรคการเมือง

(3) ศาสนาและความเชื่อ

(4) กลไกราคา

(5) ความร่วมมือระหว่างองค์การที่เกี่ยวข้อง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อมูลที่นับว่ามีอิทธิพลหรือเป็นกลไกสําคัญในการวางแผน ได้แก่ ข้อมูลทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา อิทธิพลของธรรมชาติ ศาสนาและความเชื่อ เป็นต้น

28 การวางแผนอาจทําได้ 3 วิธี วิธีที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่หน่วยวางแผนเริ่มมีการสะสมข้อมูล ได้พอประมาณ คือวิธีใด

(1) Project-by-Project Planning

(2) Integrated Public Investment Planning

(3) Comprehensive Planning

(4) Aggregative Planning

(5) Global Planning

ตอบ 2 หน้า 28, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบประสานการลงทุนภาคสาธารณะ (Integrated Public Investment Planning) เป็นการวางแผนที่เริ่มต้นด้วยการประมาณการรายได้หรือรายรับของ ประเทศก่อน โดยคํานึงถึงการลงทุนของภาครัฐเป็นหลักว่าการลงทุนไปนั้นจะมีรายรับเท่าไรแล้ว จึงไปกําหนดรายจ่ายทีหลัง โดยที่การลงทุนนั้นจะต้องคํานึงถึงภาวะเศรษฐกิจทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกประเทศด้วย ซึ่งการวางแผนในรูปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง (ความไม่พอดี) ของการวางแผนแบบรายโครงการ (Program-by-Program or Project-by-Project Planning) เช่น การกําหนดงบประมาณของแต่ละโครงการที่มักกําหนดสูงเกินกว่า ความเป็นจริง ความขัดแย้งกันของโครงการทั้งหลายโดยเฉพาะในเรื่องของความไม่ลงตัวของ วงเงินงบประมาณ รวมถึงความไม่มีเอกภาพและการขาดทิศทางที่ชัดเจนในการกําหนดเป้าหมาย ของแผน ซึ่งเป็นการวางแผนที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่หน่วยงานเริ่มมีการสะสมข้อมูลได้พอประมาณแล้ว 29 การวางแผนแบบรายโครงการถือเป็นการวางแผนในกระสวน (Pattern) ชนิดใด

(1) Bottom-up Process

(2) Top-down Process

(3) Comprehensive Planning

(4) Aggregative Planning

(5) Global Planning

ตอบ 1 หน้า 28, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบรายโครงการ (Program-by-Program or Project-by Project Planning) เป็นเทคนิควิธีการวางแผนพัฒนารูปแบบแรก โดยเป็นการวางแผนในกระสวน ที่เรียกว่า “Bottom-up Process” กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้กําหนดให้หน่วยปฏิบัติการใน ระดับล่างร่างโครงการของตนเสนอขึ้นมา โดยที่ไม่ได้มีการกําหนดรายรับรายจ่ายก่อนว่าเป็นเท่าไร แต่จะมากําหนดหลังจากหน่วยงานย่อยต่าง ๆ เสนอโครงการขึ้นมาแล้ว เพื่อรวบรวมโครงการ เหล่านั้นรวมเป็นแผนเดียวกัน (แผนรวมของชาติ) ซึ่งวิธีการวางแผนในรูปแบบนี้จะไม่กล่าวถึง บทบาทของภาคเอกชนไว้เลย และใช้หลักการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด แต่จะเหมาะสําหรับการวางแผน ในภาวะขาดแคลนข้อมูลหรือขาดความชํานาญในการวางแผน เช่น การวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 เพราะหน่วยงานวางแผนยังมีข้อมูลไม่เพียงพอและเป็นการวางแผนที่สะดวกที่สุด เป็นต้น

30 วิธีการวางแผนทั้งหลายอาจจําแนกเป็นขั้นตอนในการวางแผนได้ 2 ระยะ คือ การวางแผนกลยุทธ์กับอะไร

(1) การวางแผนรวม

(2) การวางแผนบริหาร

(3) การวางแผนดําเนินการ

(4) การวางแผนสังคม

(5) การวางแผนพัฒนา

ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) กระบวนการวางแผน/โครงการ อาจจําแนกได้เป็น 2 ระยะ คือ

1 การวางแผน/โครงการกลยุทธ์ (Strategic Planning) มีเป้าหมายที่สําคัญที่สุด คือ การกําหนดกรอบเค้าโครง ทิศทางและแนวทางสําคัญของแผน/โครงการอย่างกว้าง หรือคราว ๆ ซึ่งประกอบด้วยงานที่ต้องทําหลายอย่าง เช่น การคัดเลือกข้อมูล วัตถุประสงค์ ภารกิจ และแนวทางกลยุทธ์ รวมทั้งการคาดคะเนแนวโน้ม เพื่อนําไปสู่การวิเคราะห์หาทางเลือกหรือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด (The Best Alternative)

2 การวางแผน/โครงการดําเนินการ (Operational Planning) เป็นการนําเอาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดมากําหนดรายละเอียดในวิธีการปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจําเป็นต้องรู้ให้ครบถ้วน

ตั้งแต่ข้อ 31 – 35 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

หากสรุปว่ากระบวนการของแผนประกอบด้วยกระบวนการ ได้แก่

(1) กําหนดปัญหา

(2) ตั้งเป้าหมาย

(3) ศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

(4) ลงมือวางแผน

(5) ประเมินผล

 

  1. ขั้นตอนใดที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (คําบรรยาย) อาจสรุปได้ว่ากระบวนการของแผน ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้

1 กําหนดปัญหา

2 การตั้งเป้าหมาย/วัตถุประสงค์

3 การศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

4 ลงมือวางแผน เป็นการลงมือเขียนแผนให้ถูกต้อง โดยหน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการนี้

5 การประเมินแผน เป็นกระบวนการ ที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์ โดยการศึกษาวิเคราะห์แผนว่ามีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนําไป ปฏิบัติได้จริงหรือไม่ จากนั้นจึงนําเสนอแผนให้ผู้มีอํานาจพิจารณาอนุมัติ เพื่อนําแผนไปปฏิบัติ

6 การนําแผนไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

7 การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการที่ทําให้ทราบถึงผลสําเร็จและเก็บเป็นข้อมูลสะสม เพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

32 หน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

33 กระบวนการใดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญหลายสาขามากที่สุด

ตอบ 4 หน้า 27 งานวางแผนเป็นงานระดับกลุ่ม ดังนั้นการลงมือวางแผนจึงต้องประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขามาร่วมกันสร้างแผน โดยมีนักวางแผนเป็นผู้ประสานให้การวางแผนไปสู่จุดหมายร่วมกันขององค์การได้

34 กระบวนการใดทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

35 กระบวนการใดทําให้ได้รับข้อมูลสะสมเพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 36 – 40 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Alternative

(2) Social Analysis

(3) Feasibility Study

(4) Financial Analysis

(5) Process

 

36 การวิเคราะห์ประเมินโครงการไม่ใช่ราชการ

ตอบ 4 หน้า 40 การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านการเงิน (Financial Analysis) เป็นแนวทางการประเมินโครงการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่ได้รับ (Cost-Benefit) เพื่อดูว่าโครงการที่จัดทําขึ้นมานั้นมีลักษณะคุ้มทุนหรือไม่

37 สอดคล้องเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม

ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านสังคม (Social Analysis)จะพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้

1 ความเหมาะสมสอดคล้องต้องกันระหว่างแนวทางของโครงการกับปัจจัยทางสังคม เช่น ศาสนา การศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม – กฎหมาย การเมืองและการปกครอง เป็นต้น

2 โอกาสที่สังคมจะยอมรับ/สนับสนุน หรือต่อต้าน/คัดค้านโครงการ

38 ประเมินดู Cost-Benefit

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

39 กระบวนการต่าง ๆ ทางวิชาการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กระบวนการ (Process) หมายถึง ขั้นตอนวิธีปฏิบัติ หรือกิจกรรมการดําเนินงานที่กระทําอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

40 ทางเลือกในการวางแผน โครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ทางเลือก (Alternative) หมายถึง มาตรการหรือแนวทางการดําเนินงานที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ซึ่งอาจมีหลายทางเลือกในการบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Integration

(2) Dynamic

(3) Subjectivity

(4) Artificiatity

(5) ปัญหามีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจน

 

41 เป็นปัญหาที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว

ตอบ 4 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality) หมายถึง ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นที่ยอมรับหรือตระหนักได้ของคนบางกลุ่มบางหมู่ในขณะที่บางกลุ่มอาจไม่ยอมรับก็ได้

42 ทางราชการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ไม่มีที่ทําการต้องเช่าอาคารเอกชนเป็นที่ทําการชั่วคราว

ตอบ 5 หน้า 10 ปัญหาที่มีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจนแน่นอน (Well-Structured Problem) หมายถึง ปัญหาที่มีผลลัพธ์แน่นอน มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย มีทางออกในการแก้ไขปัญหาเพียงไม่กี่ทางเลือก (1 – 3 ทาง) ซึ่งแต่ละทางเลือกสามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือกได้ชัดเจน ไม่เป็นที่ถกเถียงกันได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหาในการจัดสร้างที่ทําการของหน่วยงานหรือองค์การ เป็นต้น

43 การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) หมายถึง การที่ปัญหาได้แปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

44 จะกําหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องพิจารณาผลกระทบด้านเทคนิค การเมือง สังคม

ตอบ 1 หน้า 9 ปัญหาทั้งหลายมักมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration) อยู่เสมอ ดังนั้นในการพิจารณาปัญหาของนโยบายจึงพิจารณาเพียงด้านหนึ่งด้านใดเป็นเอกเทศไม่ได้ เช่น ในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจะพิจารณาเพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ได้ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยทางด้านการเมือง สังคม หรืออื่น ๆ อีกตามแต่สถานการณ์ที่เผชิญอยู่

45 การมีความหมายในตัวของปัญหาเอง

ตอบ 3 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้น ต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้หรือผู้กําหนดนโยบายว่าจะสามารถรับรู้หรือ ตระหนักได้ถึงความเป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่งความเป็นอัตนัยของปัญหานี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพราะปัญหาที่คนคนหนึ่งตระหนักได้อาจเป็นปัญหาที่คนอื่น ๆ อาจยังไม่ตระหนักถึงก็ได้

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Action Oriented

(2) Problem Solving

(3) Efficiency and Time Oriented

(4) Clear Objective

(5) Continuous

 

46 ถือหลักประหยัด ประโยชน์และตรงเวลา

ตอบ 3 หน้า 21 – 22 ลักษณะทั่ว ๆ ไปของแผน มีดังนี้

1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอนาคต (Future Oriented)

2 มีไว้เพื่อให้มีการปฏิบัติตามมา (Action Oriented)

3 เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือองค์การ (Organizational Oriented)

4 มีการแก้ปัญหาหรือข้อขัดแย้ง (Problem Solving Oriented)

5 ถือหลักประหยัด ประโยชน์และตรงเวลา (Economical/Efficiency and Time Oriented)

6 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดแจ้ง ตรงประเด็น (Clear Objective)

7 มีความต่อเนื่อง (Continuous) และปรับปรุงได้ (Dynamics) ฯลฯ

47 แผนต้องมีความต่อเนื่อง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 แผนมีไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามมา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

49 ต้องสร้างวัตถุประสงค์ให้ตรงประเด็น

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

50 เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการแก้ไขปัญหา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

51 การวางแผนเชิง “ยุทธศาสตร์” มีที่มาจากวงการใด

(1) วิทยาศาสตร์

(2) การทหาร

(3) การแพทย์

(4) การวิจัย

(5) การเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ที่มาของการวางแผนกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ มีดังนี้

1 ข้อเสนอของธนาคารโลก (World Bank) และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ แห่งสหรัฐอเมริกา (USAID)

2 การวางแผนทางการทหาร

3 เครื่องมือทางการบริหารจัดการของภาคเอกชน

52 ข้อใดคือที่มาของการวางแผนกลยุทธ์

(1) ข้อเสนอของ World Bank

(2) ข้อเสนอของ USAID

(3) เครื่องมือทางการบริหารของเอกชน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

53 ท่านจะหาเจตนารมณ์หรือเป้าหมายสูงสุดแห่งรัฐได้จากที่ใด

(1) คําแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี

(2) แผนบริหารราชการแผ่นดิน

(3) รัฐธรรมนูญ

(4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(5) ยุทธศาสตร์กระทรวง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศซึ่งกําหนดรูปแบบและหลักการในการจัดระเบียบการปกครอง ขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนเจตนารมณ์หรือเป้าหมายสูงสุดแห่งรัฐ

54 ท่านจะหาแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศได้จากที่ใด

(1) รัฐธรรมนูญ

(2) แผนบริหารราชการแผ่นดิน

(3) คําแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี

(4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(5) ยุทธศาสตร์กระทรวง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

55 การวางแผนกลยุทธ์สัมพันธ์กับระบบงบประมาณแบบใด

(1) ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ

(2) ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

(3) ระบบงบประมาณแบบแผนงานโครงการ

(4) ระบบงบประมาณแบบฐานศูนย์

(5) ระบบงบประมาณแบบสะสม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การวางแผนกลยุทธ์สัมพันธ์กับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance-Based Budgeting) ซึ่งเป็นระบบงบประมาณที่ให้ความสําคัญต่อ ความสําเร็จตามเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ของแผนงาน รวมทั้งให้ความสําคัญต่อการบ่งชีหรือการวัดผลที่เกิดจากการทํางาน ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

56 การวางแผนกลยุทธ์ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดใด

(1) Ideal Type of Bureaucracy

(2) Rational Theory

(3) New Public Administration

(4) New Public Management

(5) Blue Ocean Strategy

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนกลยุทธ์ มีดังนี้

1 การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM)

2 Reinventing Government ของ David Osborne & Ted Gaebler)

3 การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

4 ทฤษฎีระบบ (System Theory)

57 ข้อใดตรงที่สุดเกี่ยวกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์

(1) รัฐชี้นํามากกว่าลงมือทําเอง

(2) รัฐที่เน้นกลไกการตลาด

(3) การมีมาตรฐานและระบบการวัดผลการทํางานที่ชัดเจน

(4) การแบ่งหน่วยงานย่อยเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

(5) การมุ่งเน้นแสวงหากําไร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การมีมาตรฐานและระบบการวัดผลการทํางานที่ชัดเจน ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการวางแผนกลยุทธ์ เพราะเป็นสิ่งที่บอกว่าหน่วยงานปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ในแผนหรือไม่

58 ข้อใดตรงกับ Mission-Driven Government รัฐที่มุ่งขับเคลื่อนด้วยภารกิจ

(1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

(2) การกําหนดวิสัยทัศน์

(3) การกําหนดพันธกิจ

(4) การกําหนดตัวชี้วัด

(5) การประเมินผล

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐที่มุ่งขับเคลื่อนด้วยภารกิจ (Mission-Driven Government) เป็นการกําหนดภารกิจหรือพันธกิจให้ชัดเจน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

59 ภาพที่องค์การหวังหรือฝันจะเป็น คืออะไร

(1) วัตถุประสงค์

(2) พันธกิจ

(3) ยุทธศาสตร์

(4) วิสัยทัศน์

(5) ตัวชี้วัด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพที่องค์การหวังหรือฝันจะเป็น เป็นการกําหนดทิศทางขององค์การในอนาคต เช่น เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) มุ่งผลิตบัณฑิตในอุดมคติไทยที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อ สร้างสรรค์สังคมไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

60 ข้อใดตรงกับ Result-Oriented Government รัฐที่มุ่งเน้นผลการดําเนินงาน

(1) มุ่งเน้นเฉพาะผลผลิต (Output)

(2) มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome)

(3) การคํานึงถึงว่าผู้รับบริการจะได้อะไร

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 รายการ

(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐที่มุ่งเน้นผลการดําเนินงาน (Result-Oriented Government) หมายถึง การมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome) หรือการคํานึงถึงว่าผู้รับบริการ/ประชาชนจะได้อะไร

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 71 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การกําหนดวิสัยทัศน์

(2) การกําหนดพันธกิจ

(3) การกําหนดเป้าประสงค์

(4) การกําหนดกลยุทธ์

(5) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

(6) การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ

(7) การควบคุมกลยุทธ์

 

61 ข้อใดเรียงลําดับกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ถูกต้อง

(1) 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7

(2) 4, 1, 2, 3, 5, 6, 7

(3) 4, 1, 2, 5, 3, 6, 7

(4) 5, 4, 1, 2, 3, 6, 7

(5) 5, 1, 2, 3, 4, 6, 7

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ มี 7 ขั้นตอน ดังนี้

1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

2 การกําหนดวิสัยทัศน์

3 การกําหนดพันธกิจ

4 การกําหนดเป้าประสงค์

5 การกําหนดกลยุทธ์

6 การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ

7 การควบคุมกลยุทธ์

62 PEST Analysis

(1) 4

(2) 5

(3) 6

(4) 7

(5) 1 ตอบ 2 (คําบรรยาย) เครื่องมือวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ มีดังนี้

1 2’S 4’M

2 7’S

3 PMQA

4 PEST Analysis

5 STEPP Model

6 Five-Forces Model D

7 SWOT Analysis

63 ข้อใดคือขั้นตอนที่บอกถึงกิจกรรมที่องค์การจะต้องทํา

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกําหนดพันธกิจหรือภารกิจ (Mission) คือ การบอกถึงกิจกรรมที่องค์การจะต้องทํา เช่น จัดเก็บภาษีให้ได้ตามประมาณการ เป็นต้น

64 “จัดเก็บภาษีให้ได้ตามประมาณการ” ประโยคดังกล่าวเป็นการกําหนดอะไร

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 ข้อใดเป็นสิ่งที่บอกว่า “ใคร” ได้ประโยชน์จากการกระทําขององค์การ

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การกําหนดเป้าประสงค์ (Goat) คือ การบอกว่า “ใคร” ได้ประโยชน์จากการกระทําหรือการดําเนินตามพันธกิจขององค์การ เช่น ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ชายแดน และพื้นที่เฉพาะอื่น ๆ มีโอกาสได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น

66 “เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) มุ่งผลิตบัณฑิตในอุดมคติไทยที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ประโยคดังกล่าวคือการกําหนดอะไร

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

67 “ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ชายแดน และพื้นที่เฉพาะอื่น ๆ มีโอกาสได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต” ประโยคดังกล่าวคือการกําหนดอะไร

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

68 การกําหนดทิศทางขององค์การ อยู่ในขั้นตอนใด

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

69 “การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและอัตราการเกิดของประชากรลดลง ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีจํานวนนักศึกษาลดลง” ประโยคดังกล่าวจะปรากฏอยู่ในขั้นตอนใด

(1) 1

(2) 2

(3) 3 มกราคม

(4) 4 มกราคม

(5) 5

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม คือ การประเมินสถานภาพขององค์การ โดยการพิจารณาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้ทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อนําไปประกอบในการกําหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์การต่อไป

70 การกําหนดรายละเอียด/กิจกรรม หรือโครงการ คือขั้นตอนใด ๆ

(1) 3

(2) 4

(3) 5

(4) 6

(5) 7

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือ กระบวนการแปลงกลยุทธ์ไปสู่แผนการดําเนินงานกําหนดรายละเอียด/กิจกรรม หรือโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดําเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

71 การติดตามประเมินผล คือขั้นตอนใด

(1) 3

(2) 4

(3) 5

(4) 6

(5) 7

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การควบคุมกลยุทธ์ คือ การติดตามประเมินผลการดําเนินงานทั้งหมดตามแผนกลยุทธ์ที่กําหนดไว้ว่าการดําเนินงานบรรลุผลสําเร็จตามแผนมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องอาศัยการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปฏิบัติจริงกับผลการดําเนินงานที่ตั้งเป้าหมายไว้ หากปรากฏ ผลที่ได้จากการดําเนินงานจริงต่ํากว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน ผู้บริหารก็จะต้องหาทาง

ปรับปรุงแก้ไขต่อไป

72 ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

(1) PEST Analysis

(2) SWOT Analysis

(3) STEPP Model

(4) 7’S

(5) QQCT

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

73 ข้อใดคือปัจจัยในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน

(1) Strengths, Weaknesses

(2) Strengths, Social

(3) Strengths, Politics

(4) Opportunities, Treats

(5) Opportunities, Technology

ตอบ 1 (คําบรรยาย) SWOT Analysis เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การซึ่งประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ขององค์การ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

2 การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Treats) ขององค์การ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

74 ข้อใดคือปัจจัยในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

(1) Strengths, Weaknesses

(2) Strengths, Social

(3) Strengths, Politics

(4) Opportunities, Treats

(5) Opportunities, Technology

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

75 โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง วิเคราะห์สภาพแวดล้อมว่า

1 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มผู้เข้ารับบริการมากขึ้นส่งผลให้หน่วยงานได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น

2 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มผู้เข้ารับบริการมากขึ้นส่งผลให้บริการได้ไม่ทั่วถึง

การวิเคราะห์ดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

(1) ถูกต้อง เพราะสมเหตุสมผล

(2) ถูกต้อง เพราะสถานการณ์เป็นเช่นนั้น

(3) ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐมีงบประมาณจํากัด

(4) ไม่ถูกต้อง เพราะขัดแย้งกันเอง กําหนดทิศทางกลยุทธ์ได้ยาก

(5) ถูกทั้งข้อ 3 และ 4

ตอบ 4 (คําบรรยาย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะขัดแย้งกันเองทําให้กําหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์การได้ยาก

76 ตัวบ่งชี้ความสําเร็จในการดําเนินงาน หมายถึงอะไร

(1) ผลผลิต

(2) ผลลัพธ์

(3) กลุ่มเป้าหมาย

(4) ตัวชี้วัด

(5) ต้นทุน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัด คือ ตัวบ่งชี้ความสําเร็จในการดําเนินงาน ซึ่งคุณสมบัติของตัวชี้วัดที่ดีมีดังนี้

1 Validity คือ สมเหตุสมผล อธิบายได้

2 Availability คือ ความมีอยู่ของข้อมูล

3 Reliability คือ ความเชื่อถือได้

4 Sensitivity คือ ความเคลื่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง

77 ข้อใดคือคุณสมบัติของตัวชี้วัดที่ดี

(1) Validity

(2) Availability

(3) Reliability

(4) Sensitivity

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 กรมควบคุมมลพิษกําหนดตัวชี้วัดว่า “ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนทั่วประเทศมีค่าไม่เกิน 0.025 มก./ลบ.ม. ตลอดปี” การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานใด

(1) มาตรฐานเชิงนโยบาย

(2) เกณฑ์สัมบูรณ์

(3) มาตรฐานเชิงวิทยาศาสตร์

(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) มาตรฐานเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Criteria) เป็นการกําหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดโดยใช้ค่ากลางซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เช่น กรมควบคุมมลพิษ กําหนดตัวชี้วัดว่า “ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนทั่วประเทศมีค่าไม่เกิน 0.025 มก./ ลบ.ม. ตลอดปี” เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 79 – 84 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Impact

(2) Output

(3) Outcome

(4) QQCT

(5) 2Q2T1P

 

79 ข้อใดเรียงลําดับระดับของตัวชี้วัดจากใหญ่ไปเล็กได้ถูกต้อง

(1) 1, 2, 3

(2) 1, 3, 2

(3) 2, 3, 1

(4) 3, 2, 1

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระดับของตัวชี้วัดเรียงลําดับจากใหญ่ไปเล็กได้ดังนี้

1 ผลกระทบ (Impact) เป็นตัวชี้วัดระดับรัฐบาลและกระทรวง

2 ผลลัพธ์ (Outcome) เป็นตัวชี้วัดระดับกรม

3 ผลผลิต (Output) เป็นตัวชี้วัดระดับสํานัก (หน่วยปฏิบัติ)

80 ข้อใดคือตัวชี้วัดระดับกรม

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

 

81 ข้อใดคือตัวชี้วัดระดับกระทรวง

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

82 ข้อใดคือเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับกระทรวง

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 5 (คําบรรยาย) 2Q2T1P เป็นเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับรัฐบาล กระทรวง และกรมซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

1 Quantity (ปริมาณ)

2 Quality (คุณลักษณะ)

3 Time (เวลา)

4 Target Group (กลุ่มเป้าหมาย)

5 Place (สถานที่)

83 ข้อใดคือเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับกรม

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 ข้อใดคือเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับสํานัก (หน่วยปฏิบัติ)

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 4 (คําบรรยาย) QQCT เป็นเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับสํานัก (หน่วยปฏิบัติ)ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

1 Quantity (ปริมาณ)

2 Quality (คุณลักษณะ)

3 Cost (ต้นทุน)

4 Time (เวลา)

 

85 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโครงการ

(1) งานสร้างสรรค์

(2) งานประจํา

(3) งานซับซ้อน

(4) งานเชี่ยวชาญเฉพาะ

(5) งานจํากัดเวลา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของโครงการ มีดังนี้

1 เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง และความท้าทายบางอย่าง

2 มีข้อจํากัดด้านเวลา/มีระยะเวลาที่แน่นอน

3 เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

4 มีความซับซ้อน

5 ต้องใช้ความร่วมมือหลากหลายสาขาเพื่อการเปลี่ยนแปลง

6 ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

7 มีความชัดเจนแน่นอนสูง

8 ต้องใช้ทรัพยากร

9 ขนาดและความซับซ้อนขึ้นอยู่กับงบประมาณ วัตถุประสงค์ กําลังคน ความเสี่ยงของเส้นตาย

10 ต้องการความเป็นองค์การในการขับเคลื่อน

86 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของโครงการ

(1) งานที่ท้าทาย ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นเรื่องใหม่ ๆ มีระยะเวลาที่แน่นอน

(2) งานสร้างสรรค์ ต้องใช้ความร่วมมือหลากหลายสาขาเพื่อการเปลี่ยนแปลง มีระยะเวลาที่แน่นอน

(3) งานที่มีความซับซ้อน มีการลงทุนสูง ใช้ความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ไม่กําหนดระยะเวลา

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

87 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโครงการภาครัฐ

(1) รัฐเป็นเจ้าของโครงการ

(2) มาจากสภาพปัญหาของสังคม

(3) มีผลกระทบต่อสังคมสูง

(4) มีผลตอบแทนสูง

(5) ใช้เงินภาษี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของโครงการภาครัฐ มีดังนี้

1 รัฐเป็นเจ้าของโครงการ

2 มาจากปัญหาข้อเรียกร้องของประชาชนหรือสภาพปัญหา ของสังคม

3 เป็นประโยชน์สาธารณะ

4 มีระยะเวลาแน่นอน

5 ใช้เงินภาษี

6 ประเมินผลตอบแทนยาก

7 มีผลกระทบต่อสังคมสูง

88 ข้อใดคือขอบเขตและคุณภาพของการบริหารโครงการ

(1) เวลา ต้นทุน แผนงาน

(2) เวลา ต้นทุน นโยบาย

(3) เวลา ต้นทุน หนี้ ความเสี่ยง

(4) เวลา ต้นทุน กําไร ความเสี่ยง

(5) เวลา ต้นทุน ความพร้อมของทรัพยากร ความเสี่ยง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขอบเขตและคุณภาพของการบริหารโครงการ มีองค์ประกอบดังนี้

1 เวลา (Time)

2 ต้นทุน (Cost)

3 ความพร้อมของทรัพยากร (Resource Availability)

4 ความเสี่ยง (Risk)

89 ข้อใดถูกต้อง

(1) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการมีเสถียรภาพสูงและคล่องตัว

(2) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการประหยัด มีประสิทธิภาพ

(3) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการมักขาดการประสานงาน ไม่คล่องตัว (4) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการประสานงานได้รวดเร็วคล่องตัว

(5) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการมีต้นทุนสูง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การจัดโครงสร้างแบบดั้งเดิม (Traditional Bureaucracy) เป็นการจัดโครงการที่อยู่ในโครงสร้างเดิมแบบราชการ โดยจัดโครงสร้างตามหน้าที่ (Function) ตามกลุ่มงาน ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งข้อดีของการจัดโครงสร้างแบบนี้คือ ประหยัด ไม่ต้องปรับโครงสร้างใหม่ มีผู้รับผิดชอบชัดเจน และมีความเป็นเจ้าของผลงานชัดเจน ส่วนข้อจํากัดคือ ขาดการประสานงานไม่คล่องตัว และไม่เหมาะสมกับโครงการขนาดใหญ่หรือซับซ้อน

90 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างแบบโครงการ

(1) จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะหรือแยกออกมาจากโครงสร้างเดิม

(2) โครงสร้างเป็นแบบแนวราบ มีความคล่องตัว

(3) มีทรัพยากรเป็นของตัวเอง

(4) ประหยัด มีประสิทธิภาพ

(5) สนับสนุนการทํางานเป็นทีม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การจัดโครงสร้างแบบโครงการ (Project Organization) เป็นการจัดโครงสร้างขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะหรือแยกออกมาจากโครงสร้างเดิม โดยเน้นโครงสร้างแบบแนวราบและ เน้นการทํางานเป็นทีม ซึ่งข้อดีของการจัดโครงสร้างแบบนี้คือ มีความคล่องตัวและสะดวก ในการบริหารจัดการมุ่งเน้นผลลัพธ์ และมีทรัพยากรเป็นของตัวเอง ส่วนข้อจํากัดคือ สิ้นเปลืองทรัพยากรหากมีโครงการจํานวนมาก

91 ประยุทธ์มีตําแหน่งวิศวกร ประจําสํานักสํารวจวิศวกรรมและธรณีวิทยาประวิตรตําแหน่งนักบัญชีประจํากองการเงินและบัญชี, อนุพงษ์ ประจําสํานักกฎหมายและที่ดิน สังกัดกรมชลประทาน ทั้งสามคน เป็นคณะทํางานในโครงการออกแบบเขื่อน… ลักษณะที่กล่าวมาเป็นการจัดโครงสร้างโครงการแบบใด

(1) โครงสร้างแบบราชการ งานว่า

(2) โครงสร้างตามแนวตั้ง

(3) โครงสร้างแบบโครงการ

(4) โครงสร้างแบบราบ

(5) โครงสร้างแบบแมทริกซ์

ตอบ 5 (คําบรรยาย การจัดโครงสร้างแบบแมทริกซ์ (Matrix Organization) เป็นการจัดโครงสร้างที่ผสมระหว่างโครงสร้างแบบเดิมกับโครงสร้างแบบโครงการ โดยใช้กําลังคนในโครงสร้างเดิม มาร่วมในโครงการโดย ม่ละทิ้งหน้าที่เดิม ซึ่งในภาครัฐของไทยมักใช้วิธีการตั้งเป็นคณะกรรมการ โดยมีองค์ประกอบจากหน่วยงานต่าง ๆ ข้อดีของการจัดโครงสร้างแบบนี้คือ ประสานงานได้รวดเร็วและประหยัด ส่วนข้อจํากัดคือ ขาดความเป็นเจ้าของผลงาน

92 ข้อใดคือข้อจํากัดของการจัดโครงสร้างการบริหารโครงการแบบแมทริกซ์ (1) ประสานงานล่าช้า

(2) สิ้นเปลือง

(3) ไม่เหมาะกับโครงการขนาดใหญ่

(4) ขาดความเป็นเจ้าของผลงาน

(5) ลําดับชั้นการบังคับบัญชาสูง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อใดเรียงลําดับวงจรชีวิตโครงการได้ถูกต้อง

(1) สํารวจสถานะ วางแผน ดําเนินการ สิ้นสุดโครงการ

(2) กําหนดโครงการ วางแผน ดําเนินการ สิ้นสุดโครงการ

(3) วางแผนกําลังคน สํารวจสถานะ ดําเนินการ สิ้นสุดโครงการ

(4) รายงานสถานะโครงการ วางแผน ดําเนินการ สินสุดโครงการ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วงจรชีวิตโครงการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

1 การกําหนดโครงการ

2 การวางแผน

3 การดําเนินการ ซึ่งเป็นขั้นที่มีระดับความพยายามสูงสุด

4 การสิ้นสุดโครงการ

94 วงจรชีวิตขั้นใดมีระดับความพยายามสูงสุด

(1) สํารวจสภาพแวดล้อม

(2) กําหนดโครงการ

(3) วางแผน

(4) ดําเนินการ

(5) สิ้นสุดโครงการ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ

95 ผลสําเร็จจากการดําเนินกิจกรรมของโครงการเป็นผลสําเร็จในระดับใด

(1) Input

(2) Impact

(3) Outcome

(4) Output

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลสําเร็จจากการดําเนินกิจกรรมของโครงการ เป็นผลสําเร็จในระดับผลผลิต (Output)

96 ชุดรวมของบรรดาโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์เดียวกัน คืออะไร (1) Mega Project

(2) Program

(3) Policy

(4) Indicator HEBB

(5) Planning

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนงาน (Program) คือ ชุดรวมของบรรดาโครงการ (Project) ต่าง ๆที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์เดียวกัน

97 ข้อใดคือหัวข้อแรกในการเขียนโครงการ

(1) ความเป็นมาและความสําคัญ

(2) ชื่อโครงการ

(3) วัตถุประสงค์ของโครงการ

(4) เป้าหมาย

(5) วิธีดําเนินการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเขียนโครงการแบบบรรยาย เป็นการเขียนบรรยายรายละเอียดและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในโครงการไล่เรียงไปตามลําดับ ดังนี้

1 ชื่อโครงการ

2 ความเป็นมาและความสําคัญ

3 วัตถุประสงค์

4 เป้าหมาย

5 กิจกรรม/วิธีดําเนินการ

6 ทรัพยากร/งบประมาณที่ใช้ดําเนินโครงการ

7 ระยะเวลาดําเนินการ

8 หน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบ

9 อื่น ๆ

98 ข้อใดไม่ใช่หลักในการเขียนวัตถุประสงค์โครงการ

(1) สั้น กระชับ

(2) เขียนเป็นรายข้อ

(3ไม่ควรเกิน 3 ข้อ

(4) เรียงตามความสําคัญมากไปน้อย

(5) เรียงตามความสําคัญน้อยไปมาก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักในการเขียนวัตถุประสงค์โครงการ มีดังนี้

1 เขียนเป็นรายข้อว่าทําเพื่ออะไร

2 เรียงลําดับตามความสําคัญจากมากไปน้อย

3 เขียนสั้นกระชับได้ใจความ

4 ไม่ควรมีมากเกินไป ส่วนใหญ่ไม่เกิน 3 ข้อ

99 การเขียนแผนผัง/ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมในโครงการกับระยะเวลามักเขียนในรูปแบบใด

(1) Grand Chart

(2) Growth Chartered

(3) Gantt Chart

(4) Great Chart

(5) Grace Chart

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Gantt Chart คือ แผนผัง/ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมในโครงการกับระยะเวลาดําเนินการ ซึ่งจะทําให้ทราบจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานในแต่ละขั้นตอน

100 ข้อใดคือการประเมินเพื่อหาความจําเป็นหรือความต้องการของโครงการ (1) Pre-evaluation

(2) Post-evaluation

(3) Ongoing-evaluation

(4) Monitoring

(5) Strategic Assessment

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประเมินผลก่อนเริ่มโครงการ (Pre-evaluation) เป็นการประเมินเพื่อหาความจําเป็นหรือความต้องการของโครงการ (Need Assessment) และการประเมิน ความเป็นไปได้ของโครงการ (Project Appraisal/Project Feasibility Study)

 

 

POL3302 การวางแผนในภาครัฐ S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ปัญหาโครงสร้างของปัญหาไม่ชัดเจน หมายถึง

(1) จํานวนบุคลากรที่เข้ามาบริหารนโยบาย

(2) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(3) ลักษณะในทางภูมิศาสตร์

(4) ค่านิยมของคนในสังคม

(5) วัสดุอุปกรณ์ที่จะนํามาใช้กับนโยบาย

ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน (Ill-Structured Problem) หมายถึง ปัญหาที่เป็นค่านิยมของคนในสังคม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้คนจํานวนมาก เป็นปัญหาที่มีทางออกได้หลายหนทาง โดยแต่ละหนทางไม่สามารถมองเห็นผลประโยชน์ได้ชัดเจนจึงเป็นที่ถกเถียงกันได้และมีผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน

2 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเน้นหลักในด้านใดบ้าง

(1) เศรษฐกิจ การจัดการ เทคโนโลยี

(2) สังคม เศรษฐกิจ การเมือง

(3) เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเมือง

(4) ผลตอบแทน สิ่งแวดล้อม การเมือง

(5) การเงิน การคลัง เทคโนโลยี และการจัดการ

ตอบ 1 หน้า 42 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) มักจะประเมินเพียงตัวแปรหลัก ๆ ดังนี้

1 ด้านเศรษฐกิจ ความคุ้มทุนหรือผลตอบแทนของโครงการ (นิยมประเมินในด้านนี้เป็นประจํา)

2 ด้านการบริหารหรือการจัดการ

3 ด้านเทคนิค เช่น สถานที่ตั้ง วัตถุดิบ และเทคโนโลยีของโครงการ

4 ด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ

3 การทํา Feasibility ของโครงการมีจุดมุ่งหมายสําคัญเพื่อสิ่งใด

(1) เพื่อดูความพร้อมของโครงการ

(2) เพื่อประเมินผลที่เกิดจากโครงการ

(3) เพื่อตระเตรียมการแก้ปัญหาแต่เนิ่น ๆ

(4) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของโครงการ

(5) เพื่อประเมินโอกาสในการบรรลุผลสําเร็จของโครงการ

ตอบ 5 หน้า 40 – 42, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงการ (Program/Project Analysis) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์และประเมินโครงการในระบบปิด ซึ่งจะให้ความสําคัญกับปัจจัยภายในองค์การ/โครงการเป็นหลัก โดยจะนําเอาโครงการที่มีอยู่ทั้งหมดมาทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงข้อดีข้อด้อยของแต่ละโครงการ เพื่อเลือกเอาโครงการที่ดีที่สุด ซึ่งเหมาะสําหรับโครงการที่ไม่เร่งด่วน

2 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์และประเมินโครงการในระบบเปิด ซึ่งจะให้ความสําคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่มากระทบ โครงการโดยจะนําเอาโครงการที่ได้เลือกสรรไว้แล้วเพียงโครงการเดียวมาทําการศึกษาถึง ความเป็นไปได้ เพื่อประเมินโอกาสในการบรรลุผลสําเร็จของโครงการว่ามีโอกาสที่จะประสบผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด ซึ่งมักจะใช้ในกรณีที่เป็นโครงการเร่งด่วน

4 ข้อใดมิใช่ภารกิจที่สําคัญในการประเมินโครงการ

(1) การวิเคราะห์ความอยู่รอดของโครงการ

(2) การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ

(3) การคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ

(4) การทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้

(5) การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นว่าโครงการเหมาะสมที่สุดหรือยัง

ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ มีความหมายเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 เป็นการศึกษาถึงโอกาสความสําเร็จในการดําเนินโครงการ โดยการวิเคราะห์และประเมินหาความเชื่อมั่นว่าตัวโครงการที่ร่างเสร็จแล้วนั้นมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติ ได้จริงหรือไม่ เช่น การวิเคราะห์หรือการคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ,การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ

2 เป็นการศึกษาทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้ โดยการวิเคราะห์จําแนกแยกแยะ เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยและผลที่คาดว่าจะได้รับ หากมีการนําโครงการไปดําเนินการหรือ นําไปปฏิบัติจริง พร้อมกับศึกษาว่าผลที่คาดว่าจะได้รับหรือผลที่จะเกิดขึ้นนั้นเหมาะสมมีคุณค่า มีประโยชน์ สมควรแก่การลงทุนดําเนินโครงการต่อไปหรือไม่

5 การกําหนดโครงการ หมายถึงอะไร

(1) การศึกษาหาความสมบูรณ์ของโครงการที่ร่างเสร็จแล้ว

(2) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) การตรวจสอบข้อมูลของโครงการ

(4) การตรวจสอบผลของการดําเนินโครงการที่ผ่านไปแล้ว

(5) การตรวจสอบความสามารถของผู้ร่างโครงการซ้ำอีกครั้ง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกําหนดโครงการ หมายถึง การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ หรือการเสาะหาลู่ทางการลงทุนที่ดีและมีความเป็นไปได้ เช่น โครงการงทุนของภาคเอกชนที่มีแววว่า จะสามารถทํากําไร หรือให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่า และถ้าเป็นโครงการลงทุนของภาครัฐ ก็เป็นโครงการลงทุนที่มีศักยภาพและความสําคัญสูงต่อการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการและโอกาสในการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ของประเทศ เป็นต้น

6 สถาบันที่มีหน้าที่ริเริ่มกําหนดนโยบายและมีอํานาจอิทธิพลต่อนโยบายมาก คือ

(1) สถาบันทหาร

(2) สถาบันศาล

(3) สถาบันทางรัฐสภา

(4) สถาบันการปกครอง

(5) สถาบันการปกครองท้องถิ่น

ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบหรือทฤษฎีสถาบัน (Institution Mode/Theory) เชื่อว่านโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ ก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นนโยบายสาธารณะ ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไปตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบัน การปกครอง ตัวอย่างสถาบันการปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันรัฐสภา สถาบันบริหาร (เช่น นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ สถาบันตุลาการ (เช่น ศาล) และสถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

7 การส่งมอบงานตึก 12 ชั้น คณะรัฐศาสตร์

(1) Policy Formulation

(2) Policy Analysis

(3) Policy Evaluation

(4) Policy Implementation

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนของการแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของ คณะรัฐมนตรีให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา/ การตระเตรียมวิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

8 คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporally Linked Actions” เป็นของใคร

(1) José Villamil

(2) ดร.อมร รักษาสัตย์

(3) Albert Waterston

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 1 หน้า 25 José Villamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporalty Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการตัดสินแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”

9 ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน

(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป

(2) แผนระยะสั้น 3 ปี

(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี

(4) แผนระยะสั้น 4 ปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ระยะเวลา (Time Span) อาจจําแนกได้ดังนี้

1 แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ

3 แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

10 TP. หมายถึง

(1) เวลาที่ผ่านไป

(2) Target Planning

(3) Team Planning

(4) การทํางานเป็นทีม

(5) ทฤษฎีการวางแผน

ตอบ 3 หน้า 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) มากที่สุด ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน

2 ร่วมกันมองไปในอนาคต (Vision/Scenario)

3 ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4 ร่วมกันกําหนดทางเดินหรือแผนกลยุทธ์ (Strategies) ที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

5 ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้

6 ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ ซึ่งเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วัน หรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan

11 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ได้มีจุดเริ่มต้นที่ใด

(1) เมื่อ Max Weber ได้ศึกษาระบบราชการ

(2) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

(3) เมื่อ Mayo ได้ทดลองค้นคว้าที่เรียกว่า Howthorne Study (4) เมื่อมีกลุ่มนักทฤษฎีสมัยใหม่

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็นการศึกษารายกรณี และ มีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของวิชาการหลายสาขามาศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

12 ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก คือ

(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง

(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)

(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Value)

(4) ข้อมูลทุกประเภท

(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการของดิน

ตอบ 3 หน้า 11 ข้อมูลในการวางนโยบายหรือแผน อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ และภูมิศาสตร์

2 ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่นเชื่อถือของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

13 นักวิชาการที่กล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ คือ

(1) Harry Harty RARE

(2) Walter

(3) Thomas R. Dye

(4) William Dunn

(5) Theodore Poister

ตอบ 5 หน้า 16 Theodore Poister กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ ดังนั้นจําเป็นต้องมีการศึกษาอย่างจริงจังถึงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาของนโยบายกับผลกระทบทั้งปวงที่จะเกิดขึ้น”

14 แบบอะไรที่ถูกต้องในการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของนโยบายหรือแผน

(1) แผนการรายงาน

(2) แผนตรวจงาน

(3) แผนประเมินผลงาน

(4) แบบวิธีทดลอง

(5) แบบการวัดประสิทธิภาพ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายนั้นตรงกับ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 แบบธรรมดาหรือแบบที่ไม่ใช่วิธีการทดลอง

2 แบบวิธีกึ่งทดลอง

3 แบบวิธีทดลอง

15 นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด

(1) ให้ประโยชน์กับสังคม

(2) ให้คํานึงถึงรัฐสภา

(3) ประโยชน์โดยทั่วไป

(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด

(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

16 ความเป็นธรรมของนโยบายสามารถวัดได้อย่างไร

(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม

(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน

(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน

(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย

(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณาหรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

17 เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐจะเป็นอย่างไร

(1) มีขนาดเล็กลง

2) คงที่เหมือนเดิม

(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา

(4) มีขนาดใหญ่โตล้ำหน้าเวลา

(5) มีขนาดจะเล็กลงหรือจะโตขึ้นเป็นไปตามจํานวนประชากร

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 Randall Ripley และ Grace Franklin กล่าวว่า ในการนํานโยบายไปปฏิบัตินั้นมีประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติต้องทําความเข้าใจอยู่ 5 ประการ ได้แก่

1 มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมากมาย

2 มีความต้องการหลากหลายต่อนโยบาย

3 ธรรมชาติของนโยบายมักจะมีขนาดที่ใหญ่โตขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป4 ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในหลายระดับ หลายสังกัด และหลายหน่วยเสมอ

5 มีปัจจัยมากมายที่นโยบายไม่สามารถควบคุมได้

18 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีหลายรูปร่างและหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้

1 มีรูปร่างเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง

2 มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ

3 มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด

4 มีรูปเป็นสัญญา

5 มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือของรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

19 ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักรัฐศาสตร์

(2) นักสังคมวิทยา

(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์

(4) นักวิทยาศาสตร์

(5) นักเศรษฐศาสตร์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

20 ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว

(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป

(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด

(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน

(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มีความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ำลง ตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผน ที่แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า

21 Controlled Environment หมายถึง

(1) ภาวะทางธรรมชาติ

(2) ค่านิยมของคนในภาคใต้ของประเทศไทย

(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 12 สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

2 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ/ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น

22 แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด

(1) แผนรายปี

(2) แผนงบประมาณ

(3) แผนการเงิน

(4) แผนโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก

23 ใครกล่าวว่านโยบายคือ “สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา”

(1) Thomas R. Dye

(2) David Easton

(3) Woodrow Wilson

(4) William Dunn

(5) ดร.อมร รักษาสัตย์

ตอบ 1 หน้า 1 Thomas R. Dye กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือกิจกรรมหรือสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา และเกี่ยวข้องกับเหตุผลว่าทําไมจึงเลือกเช่นนั้น”

24 ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่แตกต่างจากแผนอื่น

(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน

(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน

(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม

(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

(5) เป็นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นการวางแผนที่ยังคงน้อมนําและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่าง มีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

25 หน่วยงานใดมีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน

(1) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท

(2) กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม

(3) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

(4) สํานักงาน ก.พ.

(5) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบันการกําหนดนโยบายสาธารณะและการวางแผนพัฒนาประเทศของไทยจะอยู่ในความรับผิดชอบของ “สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

หากสรุปว่ากระบวนการของแผนประกอบด้วยกระบวนการ ได้แก่

(1) กําหนดปัญหา

(2) ตั้งเป้าหมาย

(3) ศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

(4) ลงมือวางแผน

(5) ประเมินผล

 

26 ขั้นตอนใดที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (คําบรรยาย) อาจสรุปได้ว่ากระบวนการของแผน ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้

1 กําหนดปัญหา

2 การตั้งเป้าหมาย/วัตถุประสงค์

3 การศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

4 ลงมือวางแผน เป็นการลงมือเขียนแผนให้ถูกต้อง โดยหน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการนี้

5 การประเมินแผน เป็นกระบวนการที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์ โดยการศึกษาวิเคราะห์ แผนว่ามีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ จากนั้นจึงนําเสนอแผนให้ ผู้มีอํานาจพิจารณาอนุมัติ เพื่อนําแผนไปปฏิบัติ

6 การนําแผนไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

7 การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการที่ทําให้ทราบถึงผลสําเร็จและเก็บเป็นข้อมูลสะสม เพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

27 หน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

28 กระบวนการใดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญหลายสาขามากที่สุด

ตอบ 4 หน้า 27 งานวางแผนเป็นงานระดับกลุ่ม ดังนั้นการลงมือวางแผนจึงต้องประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขามาร่วมกันสร้างแผน โดยมีนักวางแผนเป็นผู้ประสานให้การวางแผนไปสู่จุดหมายร่วมกันขององค์การได้

29 กระบวนการใดทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

30 กระบวนการใดทําให้ได้รับข้อมูลสะสมเพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 31 – 35 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Alternative

(2) Social Analysis

(3) Feasibility Study

(4) Financial Analysis

(5) Process

 

31 การวิเคราะห์ประเมินโครงการไม่ใช่ราชการ

ตอบ 4 หน้า 40 การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านการเงิน (Financial Analysis) เป็นแนวทางการประเมินโครงการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายกับ ผลประโยชน์ที่ได้รับ (Cost-Benefit) เพื่อดูว่าโครงการที่จัดทําขึ้นมานั้นมีลักษณะคุ้มทุนหรือไม่

32 สอดคล้องเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม

ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านสังคม (Social Analysis)จะพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้

1 ความเหมาะสมสอดคล้องต้องกันระหว่างแนวทางของโครงการกับปัจจัยทางสังคม เช่น ศาสนา การศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม กฎหมาย การเมืองและการปกครอง เป็นต้น

2 โอกาสที่สังคมจะยอมรับ/สนับสนุน หรือต่อต้าน/คัดค้านโครงการ

33 ประเมินดู Cost – Benefit

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

34 กระบวนการต่าง ๆ ทางวิชาการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กระบวนการ (Process) หมายถึง ขั้นตอนวิธีปฏิบัติ หรือกิจกรรมการดําเนินงานที่กระทําอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

35 ทางเลือกในการวางแผน โครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ทางเลือก (Alternative) หมายถึง มาตรการหรือแนวทางการดําเนินงานที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ซึ่งอาจมีหลายทางเลือกในการบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ

 

ตั้งแต่ข้อ 36 – 40 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Looking Ahead

(2) Making Choices

(3) Actions

(4) Setting Limits

(5) Desired end State

 

36 การนําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

37 Vision ตอบ 1 หน้า 25 Albert Waterston กล่าวว่า “การวางแผนทุกชนิดจะต้องมีลักษณะร่วมกันหลายประการ เช่น ต้องประกอบด้วยการมองล่วงหน้า (Looking Ahead) ต้องมีทางเลือก (Making Choices) และหากเป็นไปได้ต้องจัดเตรียมวิธีการกระทํา (Actions) ที่แน่นอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรืออย่างน้อยที่สุดต้องกําหนดข้อจํากัด (Setting Limits) ที่อาจจะเกิดจากการกระทําดังกล่าวไว้ด้วย”

38 จะต้องมีทางเลือก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

39 การจัดเตรียมวิธีการกระทํา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

40 การกําหนดข้อจํากัด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Targets

(2) Vision

(3) Obstructions

(4) Strategies

(5) Tactics

 

41 การมองไปในอนาคต

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

42 การที่หน่วยงานตกลงกําหนดเป้าหมาย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

43 ข้อจํากัดที่เกิดขึ้นในอนาคต

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

44 กําหนดทางเดินที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

45 การร่วมกันกําหนดกลวิธีให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การระบุปัญหา

(2) การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

(3) การออกแบบทางเลือกนโยบาย

(4) การวิเคราะห์ทางเลือก

(5) การทดสอบทางเลือก

46 การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้เทคนิควิเคราะห์ และการประยุกต์ทั้งหลายเป็นระบบ

ตอบ 5 หน้า 14 การทดสอบทางเลือก คือ การทบทวนความเหมาะสมของขั้นตอนและข้อมูลที่ใช้ทั้งทางด้านหลักการ เหตุผลทางเลือกนโยบาย คุณภาพและปริมาณของข้อมูลว่ายังพอเพียง และดีอยู่ ตลอดจนตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ เทคนิควิธีวิเคราะห์และการประยุกต์ทั้งหลายว่าเป็นระบบและสอดคล้องต้องกันอย่างแท้จริง

47 กําหนดทางเลือกซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และรวบรวมทางเลือกทุก ๆ ทางเลือกให้ครบถ้วน

ตอบ 3 หน้า 13 การออกแบบทางเลือกนโยบาย คือ การใช้ความรู้ ประสบการณ์ของผู้กําหนดนโยบายร่วมกับข้อมูลที่รวบรวมและการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ เพื่อกําหนดว่าทางเลือกซึ่งเป็นแนวทาง ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้นควรเป็นทางเลือกใดบ้าง โดยพิจารณาว่ามีทางเลือกใดที่สามารถ ปฏิบัติตามแล้วให้ผลสําเร็จดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้บ้าง ซึ่งในขั้นนี้ต้องรวบรวมทางเลือกทุก ๆ ทางเลือกที่เป็นไปได้ให้ครบถ้วน

48 ศึกษาถึงความเหมาะสมระหว่างทางเลือกกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งศึกษาถึงประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย

ตอบ 4 หน้า 14 การวิเคราะห์ทางเลือก คือ การนําเอาทางเลือกที่มีทั้งหมดมาทําการศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในเเต่ละทางเลือกทีละทางเลือก เช่น ศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ศึกษาถึงความเหมาะสมระหว่างทางเลือกกับสถานการณ์แวดล้อม ศึกษาถึงผลประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียของแต่ละทางเลือก ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด

49 ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพที่แท้จริง หรือข้อมูลภาคสนาม หรือข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิเพื่อจะทราบปัญหา

ตอบ 1 หน้า 12 การระบุปัญหา คือ การศึกษาว่าอะไรคือปัญหา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริงหรือข้อมูลภาคสนามหรือข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ หรือข้อมูล ทุติยภูมิ เพื่อที่จะทราบปัญหาและจําแนกว่าปัญหาใดเร่งด่วนกว่า มีสาเหตุจากอะไร และ ประชาชนรับรู้เพียงใด ดังนั้นโดยสรุป การระบุปัญหาก็คือ การศึกษาวิเคราะห์เพื่อกําหนด ปัญหาที่ถูกต้องและศึกษาค่านิยมที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับปัญหาเพื่อกําหนดแนวทางของนโยบายที่เหมาะสมกับความเป็นจริงต่อไป

50 ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย รวมทั้งการยอมรับต่อนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 13 การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย คือการศึกษาข้อจํากัดด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ข้อมูล

2 ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย

3 การรับรู้และการยอมรับต่อนโยบาย

4 สิ่งแวดล้อมทั่วไป

 

ตั้งแต่ข้อ 51 – 55 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Integration

(2) Dynamic

(3) Subjectivity

(4) Artificiality

(5) ปัญหามีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจน

 

51 เป็นปัญหาที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว

ตอบ 4 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality) หมายถึง ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นที่ยอมรับหรือตระหนักได้ของคนบางกลุ่มบางหมู่ในขณะที่บางกลุ่มอาจไม่ยอมรับก็ได้

52 ทางราชการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ไม่มีที่ทําการต้องเช่าอาคารเอกชนเป็นที่ทําการชั่วคราว

ตอบ 5 หน้า 10 ปัญหาที่มีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจนแน่นอน (Well-Structured Problem) หมายถึง ปัญหาที่มีผลลัพธ์แน่นอน มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย มีทางออกในการแก้ไขปัญหา เพียงไม่กี่ทางเลือก  (1 – 3 ทาง) ซึ่งแต่ละทางเลือกสามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือก ได้ชัดเจน ไม่เป็นที่ถกเถียงกันได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหาในการจัดสร้างที่ทําการของหน่วยงานหรือองค์การ เป็นต้น

53 การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) สูง หมายถึง การที่ปัญหาได้แปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

54 จะกําหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องพิจารณาผลกระทบด้านเทคนิค การเมือง สังคม

ตอบ 1 หน้า 9 ปัญหาทั้งหลายมักมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration) อยู่เสมอ ดังนั้น ในการพิจารณาปัญหาของนโยบายจึงพิจารณาเพียงด้านหนึ่งด้านใดเป็นเอกเทศไม่ได้ เช่น ในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจะพิจารณาเพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ได้ จะต้อง พิจารณาถึงปัจจัยทางด้านการเมือง สังคม หรืออื่น ๆ อีกตามแต่สถานการณ์ที่เผชิญอยู่

55 การมีความหมายในตัวของปัญหาเอง

ตอบ 3 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) สูง หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้นต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้หรือผู้กําหนดนโยบายว่าจะสามารถรับรู้ หรือตระหนักได้ถึงความเป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่งความเป็นอัตนัยของปัญหานี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพราะปัญหาที่คนคนหนึ่งตระหนักได้อาจเป็นปัญหาที่คนอื่น ๆ อาจยังไม่ตระหนักถึงก็ได้

 

ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การก่อรูปของนโยบาย

(2) การกำหนดนโยบาย

(3) การวิเคราะห์นโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย

 

56 คํานึงถึงแนวทางการปฏิบัติที่มีศักยภาพอันนําไปสู่การตอบสนองในปัญหาของนโยบายได้

ตอบ 2 หน้า 8, 16, (คําบรรยาย) การกําหนดนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์

2 การกําหนดทางเลือก ได้แก่ การวิเคราะห์ทางเลือกนโยบาย (Policy Alternative) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงแนวทางปฏิบัติที่มีศักยภาพอันนําไปสู่การตอบสนองในปัญหาของนโยบายได้ โดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit) เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

3 การจัดทําร่างนโยบาย เพื่อนําเสนอพิจารณาขออนุมัติ/ไม่อนุมัติและประกาศเป็นนโยบายต่อไป

57 การวิเคราะห์ข่าวสารในด้านความรู้เกี่ยวกับสภาพการณ์ หรือเงื่อนไขก่อนจะมีนโยบาย

ตอบ 1 หน้า 8, 16, (คําบรรยาย) การก่อรูปของนโยบาย (Policy Formation) เป็นขั้นตอนที่ผู้กําหนดนโยบายต้องทําความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยสําคัญในการกําหนดนโยบาย ก่อนที่จะ เริ่มกําหนดนโยบาย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้ ได้แก่ ปัญหาของนโยบาย สิ่งแวดล้อมของนโยบาย และขั้นตอนในการกําหนดนโยบาย โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์สภาพปัญหา ของนโยบาย (Policy Problem) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข่าวสารในด้านความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์หรือเงื่อนไขก่อนจะมีนโยบาย

58 เป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกแล้วของนโยบาย

ตอบ 3 หน้า 16, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) มีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์ผลของนโยบาย (Policy Outcomes) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกแล้วของนโยบาย

59 การวิเคราะห์ในแง่มุมที่ต้องอาศัยการประเมินและการพยากรณ์เป็นเครื่องมืออย่างมาก

ตอบ 4 หน้า 16 – 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่ทําให้เกิดผลลัพธ์ของนโยบายขึ้น โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์แนวปฏิบัติ ของนโยบาย (Policy Action) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงแนวทางหรือชุดของแนวทางที่เลือกสรร มาจากทางเลือกของนโยบายว่ามีความเหมาะสมจริงหรือไม่ ซึ่งการวิเคราะห์ในแง่มุมนี้ ต้องอาศัยการประเมินและการพยากรณ์เป็นเครื่องมืออย่างมาก

60 การวิเคราะห์ระดับความสามารถในการบรรลุถึงคุณค่าในการตอบสนองความต้องการของนโยบาย

ตอบ 5 หน้า 16, 20, (คําบรรยาย) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย (Policy Evaluation)เป็นการศึกษาผลของการปฏิบัติตามนโยบายว่าเป็นอย่างไร โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์ผลสัมพัทธ์ของนโยบาย (Policy Performance) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ระดับ ความสามารถในการบรรลุถึงคุณค่าในการตอบสนองความต้องการของนโยบาย อันหมายถึง ผลลัพธ์ของนโยบายที่ทําให้กลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมายได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่จึงแสดงว่านโยบายประสบความสําเร็จแล้ว

 

61 “การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ โครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการตลาด มีดังนี้

1 การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม

2 ศึกษาสภาพความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ

62 “การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการเงิน มีดังนี้

1 การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ

2 การวิเคราะห์การใช้จ่ายทางการเงินล่วงหน้า ฯลฯ

63 “การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกัน” เป็นการประเมิน โครงการในด้านใด

(1) การประเมินโครงการในภาพรวม

(2) การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม

(3) การประเมินด้านการตลาด

(4) การประเมินด้านการเงิน

(5) การประเมินด้านการจัดการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประเมินโครงการในภาพรวม (Project Appraisal) คือ

1 การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกัน  โครงการนี้เหมาะสมกว่าหรือไม่

2 โครงการที่เสนอจะสามารถดําเนินการให้สําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งจะบรรลุจุดมุ่งหมายของแผนงาน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานระดับสูงมากน้อยเพียงใด

64 EIA คืออะไร

(1) การวิเคราะห์ผลกระทบทั่วไปของโครงการ

(2) การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ

(3) หลักการประเมินผลโครงการ

(4) หลักการบริหารงบประมาณโครงการ

(5) การจัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการดําเนินโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Environmental Impact Assessment : EIA คือ การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการในภาพรวม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการตามบรรทัดฐานที่กําหนด

65 ข้อใดเป็นวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคม

(1) การจัดทําประชาพิจารณ์

(2) การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

(3) การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

(4) การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคมอย่างกว้างขวาง อาจทําได้โดยวิธีดังนี้

1 การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

2 การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

3 การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

4 การจัดทําประชาพิจารณ์

66 ความต้องการของผู้รับบริการจากองค์การภาครัฐในปัจจุบันเป็นอย่างไร

(1) ความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

(2) ความต้องการมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

(3) ความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

(4) บางครั้งความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

1 ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน ซึ่งหน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้ การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ และควรมีการจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

2 ความต้องการของลูกค้าและผู้รับบริการมีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบางครั้งความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

3 ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่าด้วย

4 การใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ามีความจําเป็นและสําคัญมากขึ้น ควรคํานึงถึงเรื่องความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้ และผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

5 การเพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการให้บริการลูกค้า

6 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

7 การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์

8 การเผชิญกับภาวะวิกฤติและความเสี่ยงต่าง ๆ

67 การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านการจัดการ

(2) ด้านเทคนิค

(3) ด้านการตลาด

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านเทคนิค คือ เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ อันจําเป็นต่อการทํางานในแต่ละกิจกรรมให้สมบูรณ์

68 กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่องใด

(1) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) ทรัพย์สินทางปัญญา

(3) สิทธิมนุษยชน

(4) ธรรมาภิบาล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่อง ดังนี้ 1 ทรัพย์สินทางปัญญา

2 สิทธิมนุษยชน

3 ธรรมาภิบาล

4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

69 ทรัพยากรในการบริหารงานภาครัฐมีลักษณะอย่างไรในปัจจุบัน

(1) ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้นมาก

(2) การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่า

(3) ทรัพยากรมีลักษณะคงที่เหมือนเช่นในอดีต

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

70 ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่ข้อใด

(1) การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

(3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

(4) การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่

1 การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

2 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

4 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

 

71 สิ่งที่จําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการ คือข้อใด

(1) ข้อมูล

(2) เวลา

(3) ค่าใช้จ่าย

(4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการก็คือเวลา เพราะแต่ละโครงการจะมีระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาเสร็จสิ้นโครงการที่แน่นอน

72 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่องใด

(1) องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

(2) มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

(3) มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

(4) มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่อง ดังนี้

1 มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

2 มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

3 องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

4 มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

73 โครงการประเภท “ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา” ได้แก่ข้อใด

(1) การใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น

(2) การแก้ไขปัญหาครอบครัว

(3) การจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

(4) การแก้ไขปัญหาส่วนตัว

(5) การสร้างอาคารสํานักงานใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเภทของโครงการ จําแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 โครงการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหา เช่น โครงการ One Stop Service เป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว และการจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

2 โครงการริเริ่มหรือนวัตกรรม เช่น การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่การสร้างอาคารสํานักงานใหม่ การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต และการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรใหม่

3 โครงการวิจัยและพัฒนา มีลักษณะเป็นโครงการใหม่หรือโครงการบุกเบิก อาจใช้ชื่อเรียกว่าโครงการนําร่อง (Plot Project) หรือเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

74 โครงการประเภท “ริเริ่มหรือนวัตกรรม” ได้แก่ข้อใด

(1) การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต

(2) การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่

(3) การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่

(4) การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรใหม่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

75 โครงการประเภท “วิจัยและพัฒนา” มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นโครงการบุกเบิก

(2) เป็นโครงการนําร่อง

(3) เป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

76 ขั้นตอนแรกของการวางแผนโครงการ คือ

(1) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(2) การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

(3) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

(4) การคิดค้นทางเลือก

(5) การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนโครงการ มีดังนี้

1 การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทําให้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ และสามารถประเมิน สถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

2 การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

3 การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย คือ การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

4 การเสนอเพื่อพิจารณา จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

5 การคิดค้นทางเลือก เป็นขั้นตอนที่ต้องทํารายละเอียด 6W 2H

6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือก โดยการใช้ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมาพิจารณา

7การเสนอเพื่อพิจารณาอีกรอบหนึ่ง จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

8 การจัดทําข้อเสนอโครงการ

77 เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

(1) เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

(2) เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

(3) เพื่อกําหนดจุดเริ่มต้นโครงการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

1 เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในโครงการมีความเป็นไปได้ที่จะประสบผลสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หรือไม่

2 เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

3 เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

78 ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่

(1) ด้านเทคนิค การจัดการ

(2) ด้านการตลาด การเงิน

(3) ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

(4) ด้านสิ่งแวดล้อม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่ 1 การศึกษาด้านเทคนิคหรือด้านวิชาการ

2 การศึกษาด้านการจัดการ

3 การศึกษาด้านการตลาด

4 การศึกษาด้านการเงิน

5 การศึกษาด้านเศรษฐกิจ

6 การศึกษาด้านสังคมและการเมือง

7 การศึกษาด้านสภาพแวดล้อมและสภาวะนิเวศ

79 ข้อใดคือเครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค (1) บรรทัดฐานด้านเวลา

(2) บรรทัดฐานด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

(3) บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค มีดังนี้

1 บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

2 บรรทัดฐานด้านเวลา

3 บรรทัดฐานด้านการเงิน

4 บรรทัดฐานด้านประสิทธิผล

80 สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

(1) หน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้

(2) ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน

(3) การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ

(4) ควรจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

81 สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ

(1) สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก

(2) สภาพแวดล้อมไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป

(3) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงมาก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก และไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป ซึ่งลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํามักจะมีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

82 ลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํา คือ

(1) ไม่จําเป็นต้องมีทักษะใด ๆ

(2) มีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

(3) มีทักษะรอบด้านในการทํางานให้สําเร็จ

(4) มีทักษะในการตัดสินใจ

(5) มีทักษะในด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ควรประเมินความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้

(2) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงช้า จึงควรลงทุนในด้านเทคโนโลยี

(3) ควรคํานึงถึงผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

84 ลักษณะเฉพาะที่สําคัญของโครงการ คือ

(1) ผลลัพธ์ของโครงการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

(2) ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศ แตกต่างจากงานประจํา

(3) มีองค์การรับผิดชอบโดยเฉพาะ

(4) องค์การที่รับผิดชอบทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของโครงการ มีดังนี้

1 ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศหรือมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากงานประจํา

2 มีองค์การรับผิดชอบในการจัดการ โดยเฉพาะ และทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

3 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหาร และทีมงานโครงการต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่าง ๆ เสมอ

4 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารโครงการต้องคํานึงถึงข้อจํากัดด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และคุณภาพตามที่กําหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการ

5 ในการจัดการโครงการ จําเป็นต้องเน้นความสําคัญของการบูรณาการกับองค์การหลักหรือหน่วยงานหลักของเจ้าของโครงการ

85 เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร

(2) วัตถุประสงค์ ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร

(3) วัตถุประสงค์ บุคลากรที่รับผิดชอบ ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ

(4) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ

(5) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากรอายุโครงการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากร และอายุโครงการ

86 ขั้นตอนสุดท้ายของวงจรโครงการของภาครัฐ คือ

(1) การอนุมัติโครงการ

(2) การลงทุนในโครงการ

(3) การส่งมอบงานโครงการ

(4) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(5) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1 การวางแผน การประเมิน และการจัดทําข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย 1.1 การกําหนดแนวคิดโครงการ เช่น การกําหนดเงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR)

1.2 การศึกษาความเป็นไปได้และประเมินโครงการ ซึ่งมีประโยชน์เพื่ออนุมัติโครงการให้มีการดําเนินการต่อไปได้หรือไม่

1.3 การจัดทําข้อเสนออันเป็นรายละเอียด หรือการออกแบบโครงการ

2 การคัดเลือก การอนุมัติ และการเตรียมความพร้อม

3 การปฏิบัติการ การควบคุม การยุติและส่งมอบ เช่น การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นการทํางานของผู้จัดโครงการและผู้ร่วมงาน

4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เช่น การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ

87 ข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (TOR) พัฒนามาจากข้อใด

(1) แนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน จะถูกกําหนดโดยเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งการกําหนดแนวคิดโครงการจะเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการ ของภาคเอกชน รวมถึงข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (Terms of Reference : TOR) ก็พัฒนามาจากแนวคิดโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของกิจการ

88 ขั้นตอนแรกของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(2) การเตรียมความพร้อมของโครงการ

(3) การกําหนด TOR

(4) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(5) การออกแบบโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

89 สิ่งที่จําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น คือ

(1) การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง

(2) การประมวลสถานการณ์แวดล้อม

(3) การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่นคือ การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง และการกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์ไว้อย่างชัดเจน

90 การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐ คือ

(1) การจัดทําแผนการดําเนินงานล่วงหน้า

(2) การจัดทําแนวทางการประเมินผล

(3) การจัดทําแผนกําลังคน

(4) การจัดทําแผนการเงิน

(5) การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐคือ การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

91 การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็นอะไรบ้าง (1) เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ

(3) ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

(4) ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็น ดังนี้

1 เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

3 ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

4 ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

92 การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติเป็นการทํางานของผู้ใด

(1) ปลัดกระทรวง

(2) อธิบดี

(3) ผู้จัดการโครงการ

(4) ข้าราชการระดับล่าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

93 การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(2) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(3) การบริหารโครงการ

(4) การปรับปรุงนโยบายและแผนงาน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

94 ปัญหา “การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน” เป็นปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาทั่วไป

(2) ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

(3) ปัญหาในเชิงป้องกัน

(4) ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น ปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน ปัญหาน้ำท่วม

2 ปัญหาในเชิงป้องกัน

3 ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

95 การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยวิธีใด

(1) วิเคราะห์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้

(2) คาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น

(3) ใช้วิธีการหยั่งรู้

(4) สอบถามผู้บริหารระดับสูง

(5) สอบถามผู้ปฏิบัติงาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้ เพื่อยืนยันความชัดเจนของปัญหาในอดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาดูว่า เป็นปัญหาอะไร เป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือเป็นปัญหาในเชิงป้องกัน หรือเป็นปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

96 6W 2H คืออะไร

(1) เทคนิคการวางแผนโครงการ

(2) เทคนิคการประเมินผลโครงการ

(3) เทคนิคการริเริ่มโครงการ

(4) การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ

(5) เทคนิคการตรวจรับโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) 6W 2H คือ การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นการตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้

1 Why (จะทําทําไม) คือ การอธิบายถึงหลักการและเหตุผล ของโครงการ การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ (ได้แก่ SMART Principle) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา ด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน

2 What (จะทําอะไร) คือ การระบุกิจกรรมหลักที่ต้องทํา

3 When (จะทําเมื่อไหร่) คือ การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ 4 Where (จะทําที่ไหน) คือ การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

5 Who (จะทําโดยใคร) คือ การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

6 Whom (จะทําเพื่อใคร) คือ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผล

7 How (จะทําอย่างไร) คือ กฎระเบียบ เทคโนโลยีและมาตรการปฏิบัติงาน

8 How Much (จะจ่ายเท่าไหร่) คือ งบประมาณ ค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม

97 การตอบคําถาม “ทําไม” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา

(4) การระบุตัวชี้วัดด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

98 SMART Principle เป็นหลักการในเรื่องใด

(1) การกําหนดคุณสมบัติผู้รับผิดชอบโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การกําหนดรายละเอียดของโครงการ

(4) การกําหนดหลักการการประเมินผลโครงการ

(5) การกําหนดคุณภาพของโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

99 การตอบคําถาม “อะไร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

100 การตอบคําถาม “ใคร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

101 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงในการวางแผนโครงการจะให้ผลลัพธ์อะไร

(1) รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ

(2) สามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

(3) สามารถทราบถึงความสําเร็จของการดําเนินงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

102 การกําหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผนโครงการ คือข้อใด

(1) การกําหนดบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

(2) การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

(3) การกําหนดตัวชี้วัดของผลการปฏิบัติงาน

(4) การกําหนดระยะเวลาการดําเนินงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

103 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกในการแก้ไขปัญหา จะใช้ข้อมูลอะไรมาพิจารณา

(1) ข้อมูลภายในองค์การที่รับผิดชอบดําเนินงานโครงการ

(2) ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) ข้อมูลจากการสํารวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(4) ข้อมูลจากความคิดเห็นของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

104 “ความคิดสร้างสรรค์” จําเป็นสําหรับขั้นตอนใด

(1) การวิเคราะห์โครงการ

(2) การคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา

(3) การริเริ่มโครงการ

(4) การดําเนินโครงการ

(5) การประเมินผลโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การใช้ความคิดสร้างสรรค์ จําเป็นสําหรับขั้นตอนการคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1 ความรู้ที่ประมวลจากประสบการณ์ หรือเป็นความรู้ตามสัญชาตญาณของเรา ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่าเป็น “ชั่วโมงบิน”

2 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ เช่น การเรียนรู้จากการสอนงาน การให้คําแนะนําการสาธิต การฝึกอบรม การวิจัยและการพัฒนาในองค์การ

3 การเรียนรู้จากผู้อื่น เช่น เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา การศึกษาดูงาน

4 การเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ เช่น การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกองค์การ

105 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ ได้แก่อะไร

(1) การฝึกอบรม

(2) การสอนงาน

(3) การให้คําแนะนํา

(4) การสาธิต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 104 ประกอบ

106 การเรียนรู้จากผู้อื่น จะเรียนรู้ในเรื่องใด

(1) เรียนรู้ความล้มเหลมขององค์การประเภทเดียวกัน

(2) เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา

(3) การศึกษาดูงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5)  ข้อ 2 และ ข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 104 ประกอบ

107 ปัญหา “การบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด”อาจมีสาเหตุมาจากข้อใด

(1) พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน

(2) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

(3) ขั้นตอนการทํางานเยิ่นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

(4) ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาการบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด มีสาเหตุดังนี้

1 พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะ ในการปฏิบัติงาน

2 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

3 ขั้นตอนการทํางานเยิ่นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

4 ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

108 การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมเรื่องใด

(1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) ค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ

(3) ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ

(4) เงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมถึงเรื่องค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ อัตราเงินเฟ้อ และเงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ เพราะงบประมาณโครงการมีจํากัดตามวงเงินที่กําหนดไว้

109 ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ข้อใด

(1) องค์การการค้าโลก

(2) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

(3) องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่

1 องค์การการค้าโลก

2 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

3 องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

110 ผลประโยชน์ของโครงการจะพิจารณาอย่างไร

(1) พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

(2) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่เป็นตัวเงิน

(3) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ของโครงการ จะพิจารณาในเรื่องดังนี้

1 พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

2 พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

111 ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ

(1) การจัดการโครงการของสํานักงานโครงการ

(2) การจัดทําแผนดําเนินงาน

(3) การจัดตั้งองค์กรโครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ การจัดทําแผนดําเนินงาน (Operation Plan) มีการจัดตั้งองค์กรโครงการ มีการจัดการโครงการของ สํานักงานโครงการ และมีผู้จัดการโครงการ (Project Manager) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก รวมถึงการควบคุมงาน เป็นต้น

112 ข้อใดเป็นขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการที่เรียงลําดับถูกต้อง

(1) การส่งผลงาน การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(2) การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(3) การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การส่งผลงาน

(4) การตรวจรับงาน การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน

(5) การปิดโครงการ การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การตรวจการจ้าง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการ เรียงลําดับได้ดังนี้

1 การตรวจรับงาน

2 การปิดโครงการ

3 การตรวจการจ้าง

4 การส่งผลงาน

113 บันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด

(1) การกําหนด TOR

(2) การวางแผนโครงการ

(3) การวิเคราะห์โครงการ

(4) การตัดสินใจลงทุนในโครงการ

(5) การดําเนินงานโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วงจรโครงการของภาคเอกชน มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดแนวคิดโครงการ

2 การวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการ

3 การดําเนินงานโครงการ

4 การยุติและส่งมอบโครงการ

114 ข้อความในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนเหมือนกับภาคเอกชน

(2) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

(3) แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

(4) โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน

(5) นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างโครงการขององค์การภาครัฐกับภาคเอกชน มีดังนี้

1 วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

2 แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

3 โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน 4 นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ

5 โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนไม่เหมือนกับภาคเอกชน

115 ในการบริหารโครงการ ผู้บริหารควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ข้อจํากัดด้านเวลา

(2) ค่าใช้จ่าย

(3) คุณภาพของงาน

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

116 ข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) ผลผลิตของโครงการแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ

(2) การบริหารโครงการต้องบูรณาการกับองค์การหลักที่เป็นเจ้าของโครงการ (3) ผู้บริหารโครงการต้องบริหารงานภายใต้วงเงินงบประมาณที่ได้รับ

(4) การบริหารโครงการต้องมีความยืดหยุ่นด้านเวลา

(5) การบริหารโครงการต้องกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในการบริหารหรือการจัดการโครงการต้องมีการกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน และผลผลิตของโครงการต้องแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ (ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ)

117 ข้อความใดที่ถูกต้อง

(1) งานโครงการมีบริบทคงที่ งานประจํามีบริบทยืดหยุ่น

(2) งานโครงการมีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก งานประจํามีลักษณะเฉพาะ

(3) งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว งานประจําค่อยเป็นค่อยไป

(4) งานโครงการเน้นประสิทธิภาพ งานประจําเน้นประสิทธิผล

(5) งานโครงการต่อเนื่องไม่สิ้นสุด งานประจํามีจุดเริ่มต้นและแล้วเสร็จ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความเตกต่างระหว่างงานโครงการกับงานประจํา มีดังนี้

1 ขอบข่ายงาน งานโครงการจะมีลักษณะเฉพาะ ส่วนงานประจํามีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก

2 เวลา งานโครงการมีจุดเริ่มต้นและจุดเสร็จสิ้นโครงการแน่นอน ส่วนงานประจําต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

3 การเปลี่ยนแปลง งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่วนงานประจําค่อยเป็นค่อยไป

4 แนวโน้ม งานโครงการไม่คํานึงถึงความสมดุล ส่วนงานประจําคํานึงถึงความสมดุล

5 วัตถุประสงค์ งานโครงการเน้นที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง ส่วนงานประจําเน้นที่ความเท่าเทียมกัน

6 ทรัพยากร งานโครงการจํากัดตามวงเงินที่กําหนด ส่วนงานประจําเพิ่มเติมได้ถ้าจําเป็น

7 บริบท งานโครงการมีบริบทยืดหยุ่น ส่วนงานประจํามีบริบทคงที่

8 ผลลัพธ์ งานโครงการเน้นที่ประสิทธิผล ส่วนงานประจําเน้นประสิทธิภาพ

9 ทีมงาน งานโครงการประสานกันด้วยจุดมุ่งหมาย ส่วนงานประจําประสานกันด้วยบทบาท

118 วงจรโครงการของภาคเอกชน แบ่งออกเป็นงานสําคัญกขั้นตอน

(1) 3 ขั้นตอน

(2) 4 ขั้นตอน

(3) 5 ขั้นตอน

(4) 6 ขั้นตอน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 113 ประกอบ

119 การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน กําหนดโดยผู้ใด

(1) เจ้าของกิจการ

(2) ผู้บริหารสูงสุด

(3) ผู้บริหารระดับกลาง

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

120 จุดศูนย์กลางของวงจรโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด

(1) การกําหนดแนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

POL3302 การวางแผนในภาครัฐ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ของแผนจะคุมอย่างไร

(1) คุมให้เสร็จตรงตามเวลา

(2) คุมให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่ตั้งไว้

(3) คุมให้ใกล้ชิดทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ

(4) คุมให้เกิดผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ของแผน

(5) คุมให้บุคลากรทุกคนทํางานอย่างเต็มความสามารถ

ตอบ 4 หน้า 44, (คําบรรยาย) การควบคุมแผน/โครงการ โดยทั่วไปมักจะกระทําใน 3 ด้าน คือ

1 ควบคุมเวลา (Time Control) คือ คุมให้เสร็จตรงตามเวลาที่ได้วางแผน/โครงการไว้ โดยใช้เทคนิค PERT

2 ควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost Control) เป็นการ คุมรายจ่ายของแผน/โครงการให้อยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ โดยใช้เทคนิค PPBS

3 ควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน (Quality Control) เป็นการคุมให้เกิดผลงานตรงตาม วัตถุประสงค์ของแผน/โครงการอย่างครบถ้วนและเคร่งครัด เทคนิคที่ใช้อาจกระทําได้ โดยการกําหนดมาตรฐาน (Standard) ของงาน

2 ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน

(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป

(2) แผนระยะสั้น 3 ปี

(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี

(4) แผนระยะสั้น 4 ปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ระยะเวลา (Time Span) อาจจําแนกได้ดังนี้

1 แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ

3 แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

3 คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporally Linked Actions” เป็นของใคร

(1) José Villamil

(2) ดร.อมร รักษาสัตย์

(3) Albert Waterston

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 1 หน้า 25 José Villamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporally Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการตัดสินแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”

4 TP. หมายถึง

(1) เวลาที่ผ่านไป

(2) Target Planning

(3) Team Planning

(4) การทํางานเป็นทีม

(5) ทฤษฎีการวางแผน

ตอบ 3 หน้า 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) มากที่สุด ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน

2 ร่วมกันมองไปในอนาคต (Vision/Scenario)

3 ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4 ร่วมกันกําหนดทางเดินหรือแผนกลยุทธ์ (Strategies) ที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

5 ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้ 6 ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ ซึ่งเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วันหรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan

5 แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด (1) แผนรายปี

(2) แผนงบประมาณ

(3) แผนการเงิน

(4) แผนโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก

6 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีหลายรูปร่างและหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้

1 มีรูปร่างเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง

2 มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ

3 มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด

4 มีรูปเป็นสัญญา

5 มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือของรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

7 ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว

(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป

(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด

(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน

(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มีความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ําลง ตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผนที่แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า

8 Controlled Environment หมายถึง

(1) ภาวะทางธรรมชาติ

(2) ค่านิยมของคนในภาคใต้ของประเทศไทย

(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 12 สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ ในนโยบาย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

2 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ/ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น

9 การวางแผนแบบประสมประสาน มีขั้นตอนสําคัญอยู่ที่ใด

(1) การเก็บข้อมูลที่กว้างขวาง

(2) การวิเคราะห์สถานการณ์แบบก้าวหน้า

(3) การทําแบบจําลอง (Model) ของแผน

(4) การสร้างเศรษฐกิจของแผน

(5) การขออนุมัติหลักการของแผนก่อนเขียนแผนขั้นตอนสุดท้าย

ตอบ 3 หน้า 29, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบสมบูรณ์แบบหรือประสมประสานหรือแผนรวม(Comprehensive Planning) เป็นการวางแผนที่กล่าวถึงเป้าหมายที่ต้องการก่อนเป็นอันดับแรก โดยเริ่มจากการสร้างแบบจําลองการเจริญเติบโต (Growth Model) ของแผนก่อน ซึ่งเป็น การคํานวณอัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวังไว้ในรูปของการบริโภค เงินออม การลงทุน การนําเข้า-ส่งออก การจ้างงาน ความต้องการ (Demand) และความสามารถในการตอบสนอง (Supply) ของภาครัฐและภาคเอกชนรวมกัน โดยการวางแผนในรูปแบบนี้จะมีการวางแผน ทั้งแบบ Forward และBackward และมีการกล่าวถึงบทบาทของภาคเอกชนไว้อย่างครบถ้วน จึงนับว่าเป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน และเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่หน่วยงานวางแผน มีความชํานาญแล้ว อย่างไรก็ตาม การวางแผนแบบนี้ยังไม่มีประเทศใดสามารถทําได้อย่าง สมบูรณ์แบบ ประเทศที่ใช้การวางแผนแบบนี้ได้ดีที่สุดก็มีเพียงประเทศกลุ่มสังคมนิยม (ซึ่งมีลักษณะการคุมอํานาจจากส่วนกลางมากที่สุด)

10 Bazi จําแนกกิจกรรมการนําโครงการไปปฏิบัติเป็น 3 กระบวนการ ข้อใดไม่ใช่กระบวนการทั้ง 3 นั้น

(1) เขียนโครงการอีกครั้ง

(2) วิเคราะห์โครงการอีกครั้ง

(3) เริ่มต้นการทํางาน

(4) กําหนดรูปแบบการทํางาน

(5) ไม่มีคําตอบที่ถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 42 – 43 Baz ได้แบ่งกระบวนการปฏิบัติงานตามโครงการออกเป็น 3 กิจกรรม คือ

1 การวิเคราะห์โครงการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง (Project Reappraisal)

2 การเริ่มต้นทํางาน (Action Initiation)

3 การกําหนดรูปแบบการทํางาน ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ แบบเน้นพิธีการ และแบบเน้นการปฏิบัติงาน

ข้อ 11 – 15 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคนิควิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ให้เลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กัน

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การกําหนดนโยบาย

(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) การประเมินผลนโยบาย

(5) การสิ้นสุดของนโยบาย

 

11 การวิจัยประเมินผล

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เทคนิควิธีการวิเคราะห์นโยบายที่ควรนํามาใช้วิเคราะห์นโยบายในช่วงต่าง ๆอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้

1 ในช่วงการก่อตัวของนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การระดมสมอง เทคนิคพยากรณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติและเนื้อหา

2 ในช่วงการกําหนดนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการตัดสินใจ และการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

3 ในช่วงการนํานโยบายไปปฏิบัติ เทคนิคที่ใช้คือ การวิเคราะห์ข่ายงาน การบริหารคุณภาพ เช่น การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์/ผลสําเร็จ

4 ในช่วงการประเมินผลนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การวิจัยประเมินผล

5 ในช่วงการสิ้นสุดของนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การจัดสร้างองค์การใหม่ เป็นต้น

12 การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์/ผลสําเร็จ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 การวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

14 การระดมสมอง/เทคนิคพยากรณ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

15 การสร้างองค์การใหม่

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

 

ข้อ 16 – 20 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลนโยบายสาธารณะ ให้เลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กัน

(1) Output Monitoring

(2) Process Monitoring

(3) Efficiency Measurement

(4) Effectiveness Evaluation

(5) Feasibility Study

 

16 มุ่งเน้นในการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายและผลผลิตที่ได้รับ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิภาพ (Efficiency Measurement) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าเมื่อดําเนินการตามนโยบายเสร็จแล้ว ได้ผลคุ้มค่าหรือไม่ ประหยัดหรือไม่ มีต้นทุนต่อหน่วยเท่าใด ซึ่งกระทําได้โดยการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่าย (Cost) ทั้งหมดกับผลผลิตหรือผลตอบแทน (Benefit) ที่ได้รับ ไม่ได้

17 ผลลัพธ์ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายนั้นตรงกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่

18 การวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของนโยบายคือ การศึกษาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของนโยบาย โดยมุ่งศึกษาหาคําตอบว่านโยบายมีโอกาสประสบผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด

19 การตรวจสอบผลการดําเนินงานว่าได้รับผลผลิต ซึ่งแสดงออกมาในรูปของหน่วยวัดต่าง ๆ ตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกํากับติดตามผลผลิต (Output Monitoring) ของนโยบาย คือ การตรวจสอบผลการดําเนินงานของนโยบายว่าได้รับผลผลิต ซึ่งแสดงออกมาในรูปของหน่วยวัดต่าง ๆ ตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่

20 การตรวจสอบการดําเนินกิจกรรมว่าเป็นไปตามแผนการดําเนินงานหรือไม่ ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกํากับติดตามการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนงาน (Activity/Process Monitoring) คือ การตรวจสอบการดําเนินกิจกรรมของนโยบายในแต่ละขั้นตอนว่า เป็นไปตามแผนการดําเนินงานหรือไม่

ข้อ 21 – 25 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Integration

(2) Dynamic

(3) Subjectivity

(4) Artificiality

(5) ปัญหามีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจน

21 เป็นปัญหาที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว

ตอบ 4 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality) หมายถึง ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นที่ยอมรับหรือตระหนักได้ของคนบางกลุ่มบางหมู่ในขณะที่บางกลุ่มอาจไม่ยอมรับก็ได้

22 ทางราชการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ ไม่มีที่ทําการต้องเช่าอาคารเอกชนเป็นที่ทําการชั่วคราว

ตอบ 5 หน้า 10 ปัญหาที่มีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจนแน่นอน (Well-Structured Problem) หมายถึงปัญหาที่มีผลลัพธ์แน่นอน มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย มีทางออกในการแก้ไขปัญหาเพียงไม่กี่ทางเลือก (1 – 3 ทาง) ซึ่งแต่ละทางเลือกสามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือกได้ชัดเจน ไม่เป็นที่ถกเถียงกันได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหาในการจัดสร้างที่ทําการของหน่วยงานหรือองค์การ เป็นต้น

23 การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) สูง หมายถึง การที่ปัญหาได้แปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

24 จะกําหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องพิจารณาผลกระทบด้านเทคนิค การเมือง สังคม

ตอบ 1 หน้า 9 ปัญหาทั้งหลายมักมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration) อยู่เสมอ ดังนั้นในการพิจารณาปัญหาของนโยบายจึงพิจารณาเพียงด้านหนึ่งด้านใดเป็นเอกเทศไม่ได้ เช่น ในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจะพิจารณาเพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ได้ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยทางด้านการเมือง สังคม หรืออื่น ๆ อีกตามแต่สถานการณ์ที่เผชิญอยู่

25 การมีความหมายในตัวของปัญหาเอง

ตอบ 3 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) สูง หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้นต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้หรือผู้กําหนดนโยบายว่าจะสามารถรับรู้ หรือตระหนักได้ถึงความเป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่งความเป็นอัตนัยของปัญหานี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพราะปัญหาที่คนคนหนึ่งตระหนักได้อาจเป็นปัญหาที่คนอื่น ๆ อาจยังไม่ตระหนักถึงก็ได้

ข้อ 26 – 30 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่าง ๆ ที่ร่วมกัน

(2) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) ความเป็นไปได้ทางการเมือง

(4) ลักษณะของหน่วยงานที่นํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การมีทรัพยากรที่เพียงพอ

 

26 ความเห็นพ้องต้องกันระหว่างรัฐบาลกับเอกชน นโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเอกชนด้วยดีจะได้รับความสําเร็จได้ดีกว่า

ตอบ 3 หน้า 19 นโยบายที่มีความเป็นไปได้ทางการเมือง ควรมีลักษณะดังนี้

1 มีความเห็นพ้องต้องกันระหว่างรัฐบาลกับเอกชน ซึ่งนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเอกชนด้วยดีจะได้รับความสําเร็จได้ดีกว่า

2 ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน เช่น ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง สื่อมวลชนกลุ่มชนชั้นนํา และกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ในสังคม เป็นต้น

27 ความสามารถของผู้นํา ผู้นําที่เข้มแข็งจะเป็นปัจจัยผลักดันให้นโยบายประสบความสําเร็จได้มากกว่าเพราะสามารถระดมความสนับสนุนจากฝ่ายต่าง ๆ ได้มากกว่า

ตอบ 4 หน้า 19 ลักษณะของหน่วยงานที่เอื้อต่อความสําเร็จในการนํานโยบายไปปฏิบัติได้แก่

1 มีการจัดองค์การที่ดี คือ มีระดับชั้นการบังคับบัญชาน้อย และแต่ละชั้นมีผู้ใต้บังคับบัญชามาก

2 ความสามารถของผู้นํา คือ ผู้นําที่เข้มแข็งจะเป็นปัจจัยผลักดันให้นโยบายประสบความสําเร็จได้มากกว่า เพราะสามารถระดมความสนับสนุนจากฝ่ายต่าง ๆ ได้มากกว่า

28 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติที่ไม่มีผลประโยชน์ทั้งทางบวกหรือทางลบกับนโยบาย เช่น ไม่กระทบต่อค่านิยม ศักดิ์ศรี อํานาจ และพฤติกรรมของตนเอง

ตอบ 2 หน้า 20 ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติที่ไม่มีผลประโยชน์ทั้งทางบวกหรือทางลบกับนโยบาย เช่น ไม่กระทบต่อค่านิยม ศักดิ์ศรี อํานาจ และพฤติกรรมของตนเอง ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผล ต่อความสําเร็จของนโยบาย เนื่องจากผู้นําที่มีทัศนคติดังกล่าวจะจริงใจและตั้งใจปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด โดยไม่ต้องกังวลกับผลประโยชน์และสถานะความต้องการของตนเองแต่อย่างใด

29 การนํานโยบายไปปฏิบัติต้องใช้หน่วยงานหลายหน่วย หลายระดับ หลายสังกัด ดังนั้นกลไกหน่วยงานจะเกี่ยวข้องกัน

ตอบ 1 หน้า 20 ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่าง ๆ ที่ร่วมกันนํานโยบายไปปฏิบัติ คือ ในการนํานโยบายไปปฏิบัตินั้นจะต้องใช้หน่วยงานหลายหน่วย หลายระดับ และหลายสังกัด ดังนั้นกลไก ความสัมพันธ์เหล่านี้ เช่น จํานวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จํานวนจุดตัดสินใจ ความสัมพันธ์ดั้งเดิม ของหน่วยงานทั้งหลาย รวมถึงการเข้าแทรกแซงของหน่วยงานระดับบน ล้วนมีผลต่อความสําเร็จของนโยบายทั้งสิ้น

30 การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และจํานวนเพียงพอ รวมทั้งมีงบประมาณและสถานที่พร้อม

ตอบ 5 หน้า 19 การมีทรัพยากรที่เพียงพอ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และจํานวนเพียงพอ รวมทั้งมีงบประมาณและสถานที่พร้อม ถือเป็น อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความสําเร็จของนโยบาย อีกทั้งยังเป็นดัชนีวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีด้วย

31 ใครคือผู้มีหน้าที่กําหนดนโยบายมากที่สุด

(1) ปลัดกระทรวง

(2) อธิบดี

(3) ผู้อํานวยการกองวิชาการ

(4) หัวหน้างาน

(5) ผู้อํานวยการสํานัก

ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) เนื่องจากนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องในระดับองค์การ ฉะนั้นผู้มีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะจะต้องเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์การ (Top-Level Administrator) เท่านั้น ซึ่งผู้มีตําแหน่งสูงกว่าย่อมมีอํานาจในการกําหนดนโยบายมากกว่า ผู้มีตําแหน่งน้อยกว่า ทั้งนี้หากมีตําแหน่งเท่ากัน ตําแหน่งที่จะกําหนดนโยบายมากกว่าย่อมเป็นตําแหน่งที่เกี่ยวกับนโยบาย แผน และโครงการ

32 ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักรัฐศาสตร์

(2) นักสังคมวิทยา

(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์

(4) นักวิทยาศาสตร์

(5) นักเศรษฐศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็นการศึกษารายกรณี และมีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของวิชาการหลายสาขา มาศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

33 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะแนวคิดในการวิเคราะห์

(1) คําตอบซ้ำ

(2) ต้องใช้หลายวิธี

(3) ต้องใช้หลักเหตุผล

(4) เป็นสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์

(5) เพื่อประโยชน์ในทางการเมือง

ตอบ 4 หน้า 15 – 16 แนวคิดในการวิเคราะห์นโยบายมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 เป็นสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์

2 ใช้วิธีการหลายวิธี

3 เป็นการใช้เหตุผล

4 มุ่งผลิตและแปรสภาพข่าวสาร

5 ข่าวสารที่ได้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในสภาพความเป็นจริงทางการเมือง

34 อาจารย์ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า ลักษณะของนโยบายที่มีแนวโน้มจะประสบความสําเร็จเป็นอย่างไร

(1) มีข้อมูลยืนยันชัดเจน

(2) เห็นผลได้ในระยะยาว

(3) ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

(4) เห็นผลได้ในระยะสั้น

(5) มีข้อมูลจํานวนมาก

ตอบ 1 หน้า 18 ศ.ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า ลักษณะของนโยบายที่มีแนวโน้มจะประสบความสําเร็จ ควรมีลักษณะดังนี้

1 เป็นนโยบายที่ไม่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป

2 การเห็นผลได้ชัดเจนของนโยบาย

3 การมีข้อมูลที่ยืนยันได้ชัดเจน เป็นต้น

35 ความเป็น Dynamic ของปัญหาคืออะไร

(1) การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม

(2) การเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันของปัญหา

(3) การที่ปัญหามีความหมายในตัวของปัญหาเอง

(4) การที่ปัญหาไม่มีตัวตนของปัญหาเอง

(5) การมีปัญหาหลายปัญหาในเวลาเดียวกัน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

36 เพราะเหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่าการศึกษานโยบายสาธารณะเป็นเหตุผลในเชิงวิชาชีพ

(1) วิชานโยบายสาธารณะเป็นวิชาชีพ

(2) เพราะมีการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย

(3) เพราะวิชานโยบายสาธารณะได้ฝึกคนให้เป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน (4) เพราะวิชานโยบายสาธารณะให้ความสําคัญในเรื่องของความสําเร็จในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) Thomas R. Dye เห็นว่า เหตุผลในการศึกษานโยบายสาธารณะ มี 3 ประการ คือ

1 เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ คือ การทําความเข้าใจถึงเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย

2 เหตุผลเชิงวิชาชีพ คือ เป็นการนํานโยบายไปใช้แก้ปัญหาในทางปฏิบัติ

3 เหตุผลทางการเมือง คือ การดัดแปลงนโยบายเพื่อนํามาใช้ให้บรรลุเป้าหมายที่ถูกต้องทางการเมือง

37 ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงน้อยคือ

(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง

(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)

(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Values)

(4) ข้อมูลทุกประเภท

(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงสร้างของดิน

ตอบ 2 หน้า 11 ข้อมูลในการวางนโยบายหรือแผน อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ และภูมิศาสตร์

2 ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่นเชื่อถือของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

38 กระบวนการใดเป็นกระบวนการที่นับว่ามีอิทธิพลต่อทุกกระบวนการมากที่สุด

(1) การวางโครงการ

(2) การนําโครงการไปปฏิบัติ

(3) การวิเคราะห์โครงการ

(4) การประเมินผลโครงการ

(5) การประเมินโครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการของแผน/โครงการนั้น กระบวนการหรือขั้นตอนที่ใช้ข้อมูลมากที่สุดและมีอิทธิพลต่อทุก ๆ กระบวนการมากที่สุดก็คือ การวางแผน/โครงการ เพราะโดยทั่วไปแล้ว การที่แผน/โครงการจะประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวนั้น จะขึ้นอยู่กับกระบวนการหรือขั้นตอน ที่ว่านี้เป็นสําคัญ กล่าวคือ ถ้าวางแผน/โครงการได้ดีมีรายละเอียดครอบคลุม มีการเก็บข้อมูล อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ย่อมส่งผลให้การวางโครงการมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ และประเมิน การนําไปปฏิบัติ ตลอดจนการประเมินผลสามารถทําได้โดยง่าย และโอกาสที่แผน/โครงการนั้นจะประสบความสําเร็จก็จะมีสูง

39 ดร.สมพร แสงชัย กล่าวว่า การพิจารณาสภาพแวดล้อมนั้นต้องพิจารณาอะไรบ้าง

(1) พิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ

(2) พิจารณาปัญหา

(3) พิจารณาความต้องการของประชาชน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 37 – 39 ดร.สมพร แสงชัย กล่าวว่า กระบวนการวางโครงการมีขั้นตอนสําคัญ ๆ 8 ขั้นตอน ดังนี้

1 การพิจารณาสภาพแวดล้อมและเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อศึกษาปัญหา (จําเป็นที่สุด)ความต้องการของประชาชน รวมถึงนโยบาย แผน หน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตลอดจนความจําเป็นที่จะต้องมีการร่างหรือวางโครงการ

2 การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

3 การหาทางเลือกหรือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด (The Best Alternative)

4 การจัดทําโครงการหรือการลงมือร่างโครงการหรือการเขียนโครงการตามทางเลือกหรือวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งประกอบด้วย การกําหนดเป้าหมายให้ละเอียด, การระบุชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ (Project Manager) และการจัดทําโครงการปฏิบัติหรือการจัดทํา “Project Programming

5 เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ (โดยทั่วไปกระบวนการวางโครงการจะสิ้นสุดที่ขั้นตอนนี้)

6 เสนอของบประมาณ

7 นําโครงการไปปฏิบัติ

8 ประเมินผลโครงการ

40 การถาม What เพื่อหาคําตอบอะไร

(1) ค้นหาปัญหา

(2) ค้นหาวิธีแก้ปัญหา

(3) ค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหา

(4) ผิดทุกข้อ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 39 การวางโครงการตามแนวดั้งเดิมหรือประเพณีนิยม (Traditional Model) จะประกอบด้วยการตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้

1 What – การค้นหาปัญหาหรือวิธีแก้ปัญหา จนเกิดทางเลือกต่าง ๆ

2 When – การระบุเวลาที่ควรแก้ไขปัญหา

3 Where – การกําหนดสถานที่และขอบเขตของโครงการ

4 Why – การระบุถึงความต้องการ

5 How – การกําหนดวิธีแก้ไขปัญหาหรือวิธีการดําเนินงาน

6 Who – บุคคลหรือองค์การที่ต้องรับผิดชอบในกระบวนการของโครงการ

41 ข้อใดไม่ใช่ปัญหาอุปสรรคในการประเมินนโยบายสาธารณะ

(1) กลัวว่าข้อมูลบางอย่างที่ได้รับจากการประเมินผลอาจจะถูกบิดเบือนและปรุงแต่ง

(2) เป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นและไม่มีประโยชน์

(3) เกิดการต่อต้านจากบุคคลต่าง ๆ

(4) ไม่มีระเบียบทางราชการให้ประเมินได้

(5) กลัวว่าการประเมินอาจจะนําไปสู่การยกเลิกสิ้นสุดนโยบาย

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัญหาและอุปสรรคในการประเมินผลนโยบายสาธารณะ ได้แก่

1 คิดว่าการประเมินผลเป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นและไม่มีประโยชน์

2 ผู้ถูกประเมินผลมักจะวิตกกังวลว่าอาจทําให้ตนเสียประโยชน์

3 มองว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ

4 กลัวว่าการประเมินผลอาจทําให้นโยบายต้องสิ้นสุดลง (ไม่ทําต่อ)

5 ผู้ถูกประเมินผลมักจะมองว่าการประเมินผลเป็นการจับผิดกัน ดังนั้นจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับผู้ประเมิน เป็นต้น

42 ข้อใดไม่ใช่ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) พรรคการเมือง

(3) สื่อมวลชน

(4) นักวิชาการ

(5) รัฐสภา

ตอน 5 หน้า 3, (คําบรรยาย) ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างเป็นทางการ ได้แก่ รัฐสภา รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และศาล เป็นต้น

2 ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มนักวิชาการ สื่อมวลชน เป็นต้น

43 ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่แตกต่างจากแผนอื่น

(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน

(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน

(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม

(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

(5) เป็นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นการวางแผนที่ยังคงน้อมนําและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่าง มีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

44 การศึกษาเพื่อรู้อาการของปัญหาต้องอาศัยองค์ประกอบอะไรของผู้กําหนดนโยบาย

(1) ความอดทน

(2) ความพากเพียร

(3) ภาวะผู้นํา

(4) ความคิดริเริ่ม

(5) ความละเอียดรอบคอบ

ตอบ 4 หน้า 11 การกําหนดสาเหตุและอาการของปัญหานี้จําเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความรู้ ความชํานาญ ประสบการณ์ และความคิดริเริ่มของผู้วางนโยบายอย่างมากจึงจะ ทําให้นโยบายสมบูรณ์ที่สุดได้ และหากสามารถกําหนดสาเหตุและอาการของปัญหาได้ชัดเจน แล้วก็จะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย

45 ความเป็นธรรมของนโยบายวัดได้อย่างไร

(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม

(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน

(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน

(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย

(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณาหรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

46 ใครได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์”

(1) Harold Lasswell

(2) Dwight Waldo

(3) Herbert Simon

(4) Thomas R. Dye

(5) Woodrow Wilson

ตอบ 1 (คําบรรยาย) Harold LasSwell ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ซึ่งเป็นผู้ที่ผสมผสานแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ ปรัชญาและสังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน

47 ขั้นตอนกระบวนการนโยบายประกอบด้วยอะไร

(1) วิเคราะห์นโยบาย กําหนดนโยบาย ติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) การกําหนดนโยบาย การวิเคราะห์นโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย

(3) การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบายการกําหนดนโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบาย การกําหนดนโยบาย การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย

(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติ การติดตามประเมินผลนโยบาย การกําหนดนโยบาย การวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 2 หน้า 8, (คําบรรยาย) กระบวนการของนโยบาย (Processes of Policy) ประกอบด้วยกระบวนการที่สําคัญเรียงตามลําดับ ดังนี้

1 การกําหนดนโยบาย (Policy Formulation or Policy Making)

2 การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)

4 การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย (Policy Evaluation)

48 นโยบายตามตัวแบบผู้นําจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด

(1) ให้ประโยชน์กับสังคม

(2) ให้กับผู้ด้อยโอกาส

(3) ประชาชนโดยทั่วไป

(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด

(5) ผู้ใต้บังคับบัญชา

ตอบ 4 หน้า 3 ตัวแบบหรือทฤษฎีผู้นํา (Elite Model/Theory) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ คือ แนวทางที่สะท้อนค่านิยมที่เลือกสรรแล้วของผู้นําหรือกลุ่มผู้นํา โดยไม่จําเป็นต้องสนใจว่า สาธารณชนจะพึงพอใจหรือไม่ ซึ่งนโยบายที่ออกมาก็มักจะให้ประโยชน์แก่ผู้นําและผู้ใกล้ชิดเอง ดังนั้นสถานการณ์ที่จะเกิดนโยบายตามตัวแบบนี้ได้ จึงต้องเป็นสถานการณ์ที่ผู้นํามีอํานาจ สูงมากในทางการเมืองหรือทางสังคม เช่น การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในภาวะการปฏิวัติ/รัฐประหาร เป็นต้น

49 การระบุอาการของปัญหาเป็นการอธิบายถึงปรากฏการณ์ของปัญหา พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงประจักษ์พยาน เพื่อยืนยันอะไร

(1) ลักษณะของปัญหา

(2) ความมีอยู่จริงของปัญหา

(3) จุดเด่นของปัญหา

(4) ความไม่มีอยู่จริงของปัญหา

(5) วิธีแก้ไขปัญหา

ตอบ 2 หน้า 11 การกําหนดอาการของปัญหา เป็นการอธิบายถึงปรากฏการณ์ของปัญหา พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงประจักษ์พยานเพื่อยืนยันถึง “ความมีอยู่จริงของปัญหา” โดยปัญหาที่มีอาการอยู่มากก็จะแสดงว่าเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง หรือมีความเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการแก้ไขก่อน

50 คํากล่าวที่กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายเป็นสาขาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งใช้วิธีการมากมายหลายวิธีในการค้นหาแสดงเหตุผล เพื่อที่จะผลิตและเปลี่ยนสภาพของข่าวสารที่เกี่ยวกับนโยบาย”

(1) William Dunn

(2) James Wilde RESTERAUSED

(3) Dumear Macrae

(4) Mel Dubnick

(5) ของทุกคนที่กล่าวมา

ตอบ 1 หน้า 15 William Dunn กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายเป็นสาขาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์ซึ่งใช้วิธีการมากมายหลายวิธี ในการค้นหาแสดงเหตุผลเพื่อที่จะผลิตและเปลี่ยนสภาพของข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย”

51 เราสามารถรับรู้นโยบายสาธารณะได้จากสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ ยกเว้น

(1) ระเบียบข้อบังคับขององค์การ

(2) แผนงานและโครงการ

(3) คําสั่งของผู้บังคับบัญชา

(4) กฎหมาย

(5) การตรวจงานของสํานักงบประมาณ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

52 แนวล่าสุดในการศึกษานโยบายสาธารณะคือแนวใด

(1) กระบวนการทางนโยบาย

(2) การวิเคราะห์นโยบาย

(3) เนื้อหาสาระของนโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การประเมินนโยบาย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการตามลําดับ ดังนี้

1 การศึกษาเนื้อหาทางด้านนโยบายสาธารณะ (Policy-Issue Knowledge)

2 การศึกษากระบวนการทางนโยบายสาธารณะ (Policy Process)

3 การศึกษาแนวทางการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (Policy Analysis)

53 คํากล่าวที่ว่านโยบายหมายถึง “การตัดสินใจขั้นต้นที่กําหนดแนวทางทั่วไปอย่างกว้าง ๆ เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้” เป็นของผู้ใด

(1) Thomas R. Dye

(2) William T. Greenwood

(3) ดร.กระมล ทองธรรมชาติ

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 2 หน้า 1 William T. Greenwood กล่าวว่า “นโยบาย (Policy) หมายถึง การตัดสินใจขั้นต้นที่กําหนดแนวทางทั่วไปอย่างกว้าง ๆ เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้”

54 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผนงาน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

55 เหตุใดรัฐสภาเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ

(1) ผู้แทนราษฎรในรัฐสภามาจากประชาชน

(2) รัฐสภามีหน้าที่ออกกฎหมาย

(3) รัฐสภาไม่ใช่ผู้กําหนดนโยบาย

(4) เป็นอํานาจของรัฐสภาในการบริหารประเทศ

(5) เฉพาะประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางที่รัฐกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อประโยชน์สุขของสังคม โดยนโยบายสาธารณะจะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน เช่น เป็นกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ สัญญา แผนงาน เป็นต้น ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงอาจมี ที่มาจากสถาบันที่มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน เช่น นโยบายสาธารณะอาจจะถูกกําหนดมาจากรัฐสภา เนื่องจากรัฐสภามีหน้าที่ออกกฎหมาย เป็นต้น

ข้อ 56 – 60 เป็นคําถามเกี่ยวข้องกับลักษณะของตัวแบบในแนวการอธิบายนโยบาย

(1) Elite Model

(2) Group Model

(3) Institution Model

(4) System Model

(5) Incremental Model

 

56 เป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง

ตอบ 3 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบหรือทฤษฎีสถาบัน (Institution Mode/Theory) เชื่อว่านโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ เก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นนโยบายสาธารณะ ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันการปกครองแล้ว เท่านั้น ตัวอย่างสถาบันการปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันรัฐสภา สถาบันบริหาร (เช่น นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ สถาบันตุลาการ (เช่น ศาล) และสถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

57 แสวงหาลู่ทางในการประนีประนอมเพื่อทําให้เกิดดุลยภาพของการแข่งขัน ตอบ 2 หน้า 4 – 5 ตัวแบบหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Mode/Theory) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเป็นข้อตกลง หรือเป็นผลผลิตที่เกิดจากดุลยภาพระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็ ดิ้นรนต่อสู้/แข่งขันกัน เพื่อเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลตอบสนองความต้องการของกลุ่มตนเอง หรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอํานาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ ในขณะที่ระบบการเมืองจะมี หน้าที่ในการจัดการความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม โดยการกําหนดกฎและกติกาในการต่อสู้แข่งขัน การเจรจาต่อรอง การประนีประนอม การตกลงแบ่งปัน และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และนําข้อตกลงหรือข้อประนีประนอมที่ได้มากําหนดเป็นนโยบาย

58 ไม่จําเป็นต้องสนใจว่าสาธารณชนจะพึงพอใจหรือไม่

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

59 ใช้ในภาวะการปฏิวัติรัฐประหาร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

60 ต่างดิ้นรนแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอํานาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

61 “การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ โครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการตลาด มีดังนี้

1 การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม

2 ศึกษาสภาพความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ

62 “การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการเงิน มีดังนี้

1 การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ

2 การวิเคราะห์การใช้จ่ายทางการเงินล่วงหน้า ฯลฯ

63 “การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกัน” เป็นการประเมิน โครงการในด้านใด

(1) การประเมินโครงการในภาพรวม

(2) การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม

(3) การประเมินด้านการตลาด

(4) การประเมินด้านการเงิน

(5) การประเมินด้านการจัดการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประเมินโครงการในภาพรวม (Project Appraisal) คือ

1 การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกันโครงการนี้เหมาะสมกว่าหรือไม่

2 โครงการที่เสนอจะสามารถดําเนินการให้สําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งจะบรรลุจุดมุ่งหมายของแผนงาน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานระดับสูงมากน้อยเพียงใด

64 EIA คืออะไร

(1) การวิเคราะห์ผลกระทบทั่วไปของโครงการ

(2) การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ

(3) หลักการประเมินผลโครงการ

(4) หลักการบริหารงบประมาณโครงการ

(5) การจัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการดําเนินโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Environmental Impact Assessment : EIA คือ การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการในภาพรวม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการตามบรรทัดฐานที่กําหนด

65 ข้อใดเป็นวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคม

(1) การจัดทําประชาพิจารณ์

(2) การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

(3) การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

(4) การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคมอย่างกว้างขวาง อาจทําได้โดยวิธีดังนี้

1 การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

2 การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

3 การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

4 การจัดทําประชาพิจารณ์

66 ความต้องการของผู้รับบริการจากองค์การภาครัฐในปัจจุบันเป็นอย่างไร

(1) ความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

(2) ความต้องการมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

(3) ความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

(4) บางครั้งความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

1 ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน ซึ่งหน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้ การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ และควรมีการจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

2 ความต้องการของลูกค้าและผู้รับบริการมีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบางครั้งความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

3 ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่าด้วย

4 การใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ามีความจําเป็นและสําคัญมากขึ้น ควรคํานึงถึงเรื่องความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้ และผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

5 การเพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการให้บริการลูกค้า

6 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

7 การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์

8 การเผชิญกับภาวะวิกฤติและความเสี่ยงต่าง ๆ

67 การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านการจัดการ

(2) ด้านเทคนิค

(3) ด้านการตลาด

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5ข้อ 1 – 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านเทคนิค คือ เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ อันจําเป็นต่อการทํางานในแต่ละกิจกรรมให้สมบูรณ์

68 กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่องใด

(1) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) ทรัพย์สินทางปัญญา

(3) สิทธิมนุษยชน

(4) ธรรมาภิบาล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่อง ดังนี้ การ

1 ทรัพย์สินทางปัญญา

2 สิทธิมนุษยชน

3 ธรรมาภิบาล

4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

69 ทรัพยากรในการบริหารงานภาครัฐมีลักษณะอย่างไรในปัจจุบัน

(1) ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้นมาก

(2) การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่า

(3) ทรัพยากรมีลักษณะคงที่เหมือนเช่นในอดีต

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

70 ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่ข้อใด

(1) การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

(3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

(4) การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่

1 การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

2 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

4 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

71 สิ่งที่จําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการ คือข้อใด

(1) ข้อมูล

(2) เวลา

(3) ค่าใช้จ่าย

(4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการก็คือเวลา เพราะแต่ละโครงการจะมีระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาเสร็จสิ้นโครงการที่แน่นอน

72 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่องใด

(1) องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

(2) มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

(3) มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

(4) มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่อง ดังนี้

1 มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

2 มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

3 องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

4 มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

73 โครงการประเภท “ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา” ได้แก่ข้อใด

(1) การใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น

(2) การแก้ไขปัญหาครอบครัว

(3) การจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

(4) การแก้ไขปัญหาส่วนตัว

(5) การสร้างอาคารสํานักงานใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเภทของโครงการ จําแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 โครงการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหา เช่น โครงการ One Stop Service เป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว และการจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

2 โครงการริเริ่มหรือนวัตกรรม เช่น การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ การสร้างอาคารสํานักงานใหม่ การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต และการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรใหม่

3 โครงการวิจัยและพัฒนา มีลักษณะเป็นโครงการใหม่หรือโครงการบุกเบิก อาจใช้ชื่อเรียกว่าโครงการนําร่อง (Pilot Project) หรือเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

74 โครงการประเภท “ริเริ่มหรือนวัตกรรม” ได้แก่ข้อใด

(1) การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต

(2) การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่

(3) การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ยบาย

(4) การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรใหม่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

75 โครงการประเภท “วิจัยและพัฒนา” มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นโครงการบุกเบิก

(2) เป็นโครงการนําร่อง

(3) เป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

76 ขั้นตอนแรกของการวางแผนโครงการ คือ

(1) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(2) การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

(3) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

(4) การคิดค้นทางเลือก

(5) การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนโครงการ มีดังนี้

1 การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทําให้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ และสามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

2 การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

3 การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย คือ การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

4 การเสนอเพื่อพิจารณา จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

5 การคิดค้นทางเลือก เป็นขั้นตอน ที่ต้องทํารายละเอียด 6W 2H

6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือก โดยการใช้ข้อมูล จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมาพิจารณา

7การเสนอเพื่อพิจารณาอีกรอบหนึ่ง จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

8 การจัดทําข้อเสนอโครงการ

77 เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

(1) เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

(2) เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

(3) เพื่อกําหนดจุดเริ่มต้นโครงการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

1 เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในโครงการมีความเป็นไปได้ที่จะประสบผลสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หรือไม่

2 เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

3 เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

78 ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่

(1) ด้านเทคนิค การจัดการ

(2) ด้านการตลาด การเงิน

(3) ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

(4) ด้านสิ่งแวดล้อม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่

1 การศึกษาด้านเทคนิคหรือด้านวิชาการ

2 การศึกษาด้านการจัดการ

3 การศึกษาด้านการตลาด

4 การศึกษาด้านการเงิน

5 การศึกษาด้านเศรษฐกิจ

6 การศึกษาด้านสังคมและการเมือง

7 การศึกษาด้านสภาพแวดล้อมและสภาวะนิเวศ

79 ข้อใดคือเครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค

(1) บรรทัดฐานด้านเวลา

(2) บรรทัดฐานด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

(3) บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค มีดังนี้

1 บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

2 บรรทัดฐานด้านเวลา

3 บรรทัดฐานด้านการเงิน

4 บรรทัดฐานด้านประสิทธิผล

80 สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

(1) หน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้

(2) ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน

(3) การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ

(4) ควรจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

81 สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ

(1) สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก

(2) สภาพแวดล้อมไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป

(3) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงมาก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก และไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป ซึ่งลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํามักจะมีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

82 ลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํา คือ

(1) ไม่จําเป็นต้องมีทักษะใด ๆ

(2) มีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

(3) มีทักษะรอบด้านในการทํางานให้สําเร็จ

(4) มีทักษะในการตัดสินใจ

(5) มีทักษะในด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ควรประเมินความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้

(2) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงช้า จึงควรลงทุนในด้านเทคโนโลยี

(3) ควรคํานึงถึงผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

84 ลักษณะเฉพาะที่สําคัญของโครงการ คือ

(1) ผลลัพธ์ของโครงการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

(2) ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศ แตกต่างจากงานประจํา

(3) มีองค์การรับผิดชอบโดยเฉพาะ

(4) องค์การที่รับผิดชอบทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของโครงการ มีดังนี้

1 ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศ หรือมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากงานประจํา

2 มีองค์การรับผิดชอบในการจัดการโดยเฉพาะ และทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

3 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารและทีมงานโครงการต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่าง ๆ เสมอ

4 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารโครงการต้องคํานึงถึงข้อจํากัดด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และคุณภาพตามที่กําหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการ

5 ในการจัดการโครงการ จําเป็นต้องเน้นความสําคัญของการบูรณาการกับองค์การหลักหรือหน่วยงานหลักของเจ้าของโครงการ

85 เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร (2) วัตถุประสงค์ ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร

(3) วัตถุประสงค์ บุคลากรที่รับผิดชอบ ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ (4) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ

(5) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากรอายุโครงการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากร และอายุโครงการ

86 ขั้นตอนสุดท้ายของวงจรโครงการของภาครัฐ คือ

(1) การอนุมัติโครงการ

(2) การลงทุนในโครงการ

(3) การส่งมอบงานโครงการ

(4) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(5) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1 การวางแผน การประเมิน และการจัดทําข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย

1.1 การกําหนดแนวคิดโครงการ เช่น การกําหนดเงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR)

1.2 การศึกษาความเป็นไปได้และประเมินโครงการ ซึ่งมีประโยชน์เพื่ออนุมัติโครงการให้มีการดําเนินการต่อไปได้หรือไม่

1.3 การจัดทําข้อเสนออันเป็นรายละเอียด หรือการออกแบบโครงการ

2 การคัดเลือก การอนุมัติ และการเตรียมความพร้อม

3 การปฏิบัติการ การควบคุม การยุติและส่งมอบ เช่น การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นการทํางานของผู้จัดโครงการและผู้ร่วมงาน

4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เช่น การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ

87 ข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (TOR) พัฒนามาจากข้อใด

(1) แนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน จะถูกกําหนดโดยเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งการกําหนดแนวคิดโครงการจะเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการ ของภาคเอกชน รวมถึงข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (Terms of Reference : TOR) ก็พัฒนามาจากแนวคิดโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของกิจการ

88 ขั้นตอนแรกของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(2) การเตรียมความพร้อมของโครงการ

(3) การกําหนด TOR

(4) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(5) การออกแบบโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

89 สิ่งที่จําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น คือ

(1) การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง

(2) การประมวลสถานการณ์แวดล้อม

(3) การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น คือ การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง และการกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์ไว้อย่างชัดเจน

90 การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐ คือ

(1) การจัดทําแผนการดําเนินงานล่วงหน้า

(2) การจัดทําแนวทางการประเมินผล

(3) การจัดทําแผนกําลังคน นะ

(4) การจัดทําแผนการเงิน

(5) การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐคือ การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

91 การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็นอะไรบ้าง

(1) เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ

(3) ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

(4) ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็น ดังนี้

1 เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

3 ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

4 ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

92 การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติเป็นการทํางานของผู้ใด

(1) ปลัดกระทรวง

(2) อธิบดี

(3) ผู้จัดการโครงการ

(4) ข้าราชการระดับล่าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

93 การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(2) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(3) การบริหารโครงการ

(4) การปรับปรุงนโยบายและแผนงาน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

94 ปัญหา “การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน” เป็นปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาทั่วไป

(2) ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

(3) ปัญหาในเชิงป้องกัน

(4) ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น ปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน ปัญหาน้ำท่วม

2 ปัญหาในเชิงป้องกัน

3 ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

95 การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยวิธีใด

(1) วิเคราะห์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้

(2) คาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น

(3) ใช้วิธีการหยั่งรู้

(4) สอบถามผู้บริหารระดับสูง

(5) สอบถามผู้ปฏิบัติงาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้ เพื่อยืนยันความชัดเจนของปัญหาในอดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาดูว่า เป็นปัญหาอะไร เป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือเป็นปัญหาในเชิงป้องกัน หรือเป็นปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

96 6W 2H คืออะไร

(1) เทคนิคการวางแผนโครงการ

(2) เทคนิคการประเมินผลโครงการ

(3) เทคนิคการริเริ่มโครงการ

(4) การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ

(5) เทคนิคการตรวจรับโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) 6W 2H คือ การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นการตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้

1 Why (จะทําทําไม) คือ การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของ โครงการ การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ SMART Principle) การระบุตัวชีวัดด้านเวลา ด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน 2 What (จะทําอะไร) คือ การระบุกิจกรรมหลักที่ต้องทํา

3 When (จะทําเมื่อไหร่) คือ การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

4 Where (จะทําที่ไหน) คือ การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

5 Who (จะทําโดยใคร) คือ การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

6 Whom (จะทําเพื่อใคร) คือ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผล

7 How (จะทําอย่างไร) คือ กฎระเบียบ เทคโนโลยีและมาตรการปฏิบัติงาน

8 How Much (จะจ่ายเท่าไหร่) คือ งบประมาณ ค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม

97 การตอบคําถาม “ทําไม” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา

(4) การระบุตัวชี้วัดด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

98 SMART Principle เป็นหลักการในเรื่องใด

(1) การกําหนดคุณสมบัติผู้รับผิดชอบโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การกําหนดรายละเอียดของโครงการ

(4) การกําหนดหลักการการประเมินผลโครงการ

(5) การกําหนดคุณภาพของโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

99 การตอบคําถาม “อะไร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

100 การตอบคําถาม “ใคร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

101 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงในการวางแผนโครงการจะให้ผลลัพธ์อะไร

(1) รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ

(2) สามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

(3) สามารถทราบถึงความสําเร็จของการดําเนินงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

102 การกําหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผนโครงการ คือข้อใด

(1) การกําหนดบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

(2) การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

(3) การกําหนดตัวชี้วัดของผลการปฏิบัติงาน

(4) การกําหนดระยะเวลาการดําเนินงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

103 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกในการแก้ไขปัญหา จะใช้ข้อมูลอะไรมาพิจารณา

(1) ข้อมูลภายในองค์การที่รับผิดชอบดําเนินงานโครงการ

(2) ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) ข้อมูลจากการสํารวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(4) ข้อมูลจากความคิดเห็นของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

104 “ความคิดสร้างสรรค์” จําเป็นสําหรับขั้นตอนใด

(1) การวิเคราะห์โครงการ

(2) การคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา

(3) การริเริ่มโครงการ

(4) การดําเนินโครงการ

(5) การประเมินผลโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การใช้ความคิดสร้างสรรค์ จําเป็นสําหรับขั้นตอนการคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1 ความรู้ที่ประมวลจากประสบการณ์ หรือเป็นความรู้ตามสัญชาตญาณของเรา ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่าเป็น “ชั่วโมงบิน”

2 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ เช่น การเรียนรู้จากการสอนงาน การให้คําแนะนํา การสาธิต การฝึกอบรม การวิจัยและการพัฒนาในองค์การ

3 การเรียนรู้จากผู้อื่น เช่น เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา การศึกษาดูงาน

4 การเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ เช่น การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกองค์การ

105 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ ได้แก่อะไร

(1) การฝึกอบรม

(2) การสอนงาน

(3) การให้คําแนะนํา

(4) การสาธิต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 104 ประกอบ

106 การเรียนรู้จากผู้อื่น จะเรียนรู้ในเรื่องใด

(1) เรียนรู้ความล้มเหลวขององค์การประเภทเดียวกัน

(2) เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา

(3) การศึกษาดูงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 104 ประกอบ

107 ปัญหา “การบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด”อาจมีสาเหตุมาจากข้อใด

(1) พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน

(2) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

(3) ขั้นตอนการทํางานเยิ่นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

(4) ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาการบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด มีสาเหตุดังนี้

1 พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน

2 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

3 ขั้นตอนการทํางานเป็นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

4 ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

108 การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมเรื่องใด

(1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) ค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ

(3) ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ

(4) เงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมถึงเรื่องค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ อัตราเงินเฟ้อ และเงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ เพราะงบประมาณโครงการมีจํากัดตามวงเงินที่กําหนดไว้

109 ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ข้อใด

(1) องค์การการค้าโลก

(2) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

(3) องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่

1 องค์การการค้าโลก

2 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

3 องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

110 ผลประโยชน์ของโครงการจะพิจารณาอย่างไร

(1) พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

(2) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่เป็นตัวเงิน

(3) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ของโครงการ จะพิจารณาในเรื่องดังนี้

1 พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

2 พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

111 ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ

(1) การจัดการโครงการของสํานักงานโครงการ

(2) การจัดทําแผนดําเนินงาน

(3) การจัดตั้งองค์กรโครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ การจัดทําแผนดําเนินงาน (Operation Plan) มีการจัดตั้งองค์กรโครงการ มีการจัดการโครงการของ สํานักงานโครงการ และมีผู้จัดการโครงการ (Project Manager) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก รวมถึงการควบคุมงาน เป็นต้น

112 ข้อใดเป็นขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการที่เรียงลําดับถูกต้อง

(1) การส่งผลงาน การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(2) การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(3) การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การส่งผลงาน

(4) การตรวจรับงาน การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน

(5) การปิดโครงการ การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การตรวจการจ้าง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการ เรียงลําดับได้ดังนี้

1 การตรวจรับงาน

2 การปิดโครงการ

3 การตรวจการจ้าง

4 การส่งผลงาน

113 บันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด (1) การกําหนด TOR

(2) การวางแผนโครงการ

(3) การวิเคราะห์โครงการ

(4) การตัดสินใจลงทุนในโครงการ

(5) การดําเนินงานโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วงจรโครงการของภาคเอกชน มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดแนวคิดโครงการ

2 การวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการ 3 การดําเนินงานโครงการ

4 การยุติและส่งมอบโครงการ

114 ข้อความในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนเหมือนกับภาคเอกชน

(2) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

(3) แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

(4) โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน (5) นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างโครงการขององค์การภาครัฐกับภาคเอกชน มีดังนี้

1 วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

2 แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

3 โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน

4 นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ

5 โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนไม่เหมือนกับภาคเอกชน

115 ในการบริหารโครงการ ผู้บริหารควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ข้อจํากัดด้านเวลา

(2) ค่าใช้จ่าย

(3) คุณภาพของงาน

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

116 ข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) การบริหารโครงการต้องมีความยืดหยุ่นด้านเวลา

(2) การบริหารโครงการต้องกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน

(3) การบริหารโครงการต้องบูรณาการกับองค์การหลักที่เป็นเจ้าของโครงการ (4) ผู้บริหารโครงการต้องบริหารงานภายใต้วงเงินงบประมาณที่ได้รับ

(5) ผลผลิตของโครงการแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการบริหารหรือการจัดการโครงการต้องมีการกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน และผลผลิตของโครงการต้องแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ (ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ)

117 ข้อความใดที่ถูกต้อง

(1) งานโครงการมีบริบทคงที่ งานประจํามีบริบทยืดหยุ่น

(2) งานโครงการมีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก งานประจํามีลักษณะเฉพาะ

(3) งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว งานประจําค่อยเป็นค่อยไป

(4) งานโครงการเน้นประสิทธิภาพ งานประจําเน้นประสิทธิผล

(5) งานโครงการต่อเนื่องไม่สิ้นสุด งานประจํามีจุดเริ่มต้นและแล้วเสร็จ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างงานโครงการกับงานประจํา มีดังนี้

1 ขอบข่ายงาน งานโครงการจะมีลักษณะเฉพาะ ส่วนงานประจํามีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก

2 เวลา งานโครงการมีจุดเริ่มต้นและจุดเสร็จสิ้นโครงการแน่นอน ส่วนงานประจําต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

3 การเปลี่ยนแปลง งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่วนงานประจําค่อยเป็นค่อยไป

4 แนวโน้ม งานโครงการไม่คํานึงถึงความสมดุล ส่วนงานประจําคํานึงถึงความสมดุล

5 วัตถุประสงค์ งานโครงการเน้นที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง ส่วนงานประจําเน้นที่ความเท่าเทียมกัน

6 ทรัพยากร งานโครงการจํากัดตามวงเงินที่กําหนด ส่วนงานประจําเพิ่มเติมได้ถ้าจําเป็น

7 บริบท งานโครงการมีบริบทยืดหยุ่น ส่วนงานประจํามีบริบทคงที่

8 ผลลัพธ์ งานโครงการเน้นที่ประสิทธิผล ส่วนงานประจําเน้นประสิทธิภาพ

9 ทีมงาน งานโครงการประสานกันด้วยจุดมุ่งหมาย ส่วนงานประจําประสานกันด้วยบทบาท

118 วงจรโครงการของภาคเอกชน แบ่งออกเป็นงานสําคัญกี่ขั้นตอน

(1) 3 ขั้นตอน

(2) 4 ขั้นตอน

(3) 5 ขั้นตอน

(4) 6 ขั้นตอน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 113 ประกอบ

119 การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน กําหนดโดยผู้ใด

(1) เจ้าของกิจการ

(2) ผู้บริหารสูงสุด

(3) ผู้บริหารระดับกลาง

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน จะถูกกําหนดโดยเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งการกําหนดแนวคิดโครงการจะเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการ ของภาคเอกชน รวมถึงข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (Terms of Reference : TOR) ก็พัฒนามาจากแนวคิดโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของกิจการ

120 จุดศูนย์กลางของวงจรโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด

(1) การกําหนดแนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 119 ประกอบ

POL3302 การวางแผนในภาครัฐ S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

(1) เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

(2) เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

(3) เพื่อกําหนดจุดเริ่มต้นโครงการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คือ

1 เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในโครงการมีความเป็นไปได้ที่จะประสบผลสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หรือไม่

2 เพื่อประเมินว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่

3 เพื่อกําหนดรายละเอียดในการวางแผนดําเนินงาน

2 ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่

(1) ด้านเทคนิค การจัดการ

(2) ด้านการตลาด การเงิน

(3) ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

(4) ด้านสิ่งแวดล้อม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่

1 การศึกษาด้านเทคนิคหรือด้านวิชาการ

2 การศึกษาด้านการจัดการ

3 การศึกษาด้านการตลาด

4 การศึกษาด้านการเงิน

5 การศึกษาด้านเศรษฐกิจ

6 การศึกษาด้านสังคมและการเมือง

7 การศึกษาด้านสภาพแวดล้อมและสภาวะนิเวศ

3 ข้อใดคือเครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค

(1) บรรทัดฐานด้านเวลา

(2) บรรทัดฐานด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

(3) บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เครื่องชี้วัดความสําเร็จในการจัดการโครงการในระดับจุลภาค มีดังนี้

1 บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ

2 บรรทัดฐานด้านเวลา

3 บรรทัดฐานด้านการเงิน

4 บรรทัดฐานด้านประสิทธิผล

4 สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

(1) หน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้

(2) ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน

(3) การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ

(4) ควรจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

1 ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน ซึ่งหน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้ การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ และควรมีการจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

2 ความต้องการของลูกค้าและผู้รับบริการมีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบางครั้งความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

3 ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่าด้วย

4 การใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ามีความจําเป็นและสําคัญมากขึ้น ควรคํานึงถึงเรื่องความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้ และผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

5 การเพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการให้บริการลูกค้า

6 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

7 การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์

8 การเผชิญกับภาวะวิกฤติและความเสี่ยงต่าง ๆ

5 สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ

(1) สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก

(2) สภาพแวดล้อมไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป

(3) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงมาก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก และไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป ซึ่งลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํามักจะมีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

6 ลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํา คือ

(1) ไม่จําเป็นต้องมีทักษะใด ๆ

(2) มีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

(3) มีทักษะรอบด้านในการทํางานให้สําเร็จ

(4) มีทักษะในการตัดสินใจ

(5) มีทักษะในด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

7 การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ควรประเมินความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้

(2) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงช้า จึงควรลงทุนในด้านเทคโนโลยี

(3) ควรคํานึงถึงผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

8 ลักษณะเฉพาะที่สําคัญของโครงการ คือ

(1) ผลลัพธ์ของโครงการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

(2) ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศ แตกต่างจากงานประจํา

(3) มีองค์การรับผิดชอบโดยเฉพาะ

(4) องค์การที่รับผิดชอบทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของโครงการ มีดังนี้

1 ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศหรือมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากงานประจํา

2 มีองค์การรับผิดชอบในการจัดการ โดยเฉพาะ และทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว 3 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหาร และทีมงานโครงการต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่าง ๆ เสมอ

4 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารโครงการต้องคํานึงถึงข้อจํากัดด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และคุณภาพตามที่กําหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการ

5 ในการจัดการโครงการ จําเป็นต้องเน้นความสําคัญของการบูรณาการกับองค์การหลักหรือหน่วยงานหลักของเจ้าของโครงการ

9 “การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ โครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการตลาด มีดังนี้

1 การพิจารณาสภาพความต้องการสินค้าหรือบริการโดยรวม

2 ศึกษาสภาพความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ

10 “การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ” เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านสิ่งแวดล้อม

(2) ด้านการเงิน

(3) ด้านเทคนิค

(4) ด้านการตลาด

(5) ด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านการเงิน มีดังนี้

1 การพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ

2 การวิเคราะห์การใช้จ่ายทางการเงินล่วงหน้า ฯลฯ

11 “การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกัน” เป็นการประเมิน โครงการในด้านใด

(1) การประเมินโครงการในภาพรวม

(2) การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม

(3) การประเมินด้านการตลาด

(4) การประเมินด้านการเงิน

(5) การประเมินด้านการจัดการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประเมินโครงการในภาพรวม (Project Appraisal) คือ

1 การเปรียบเทียบความเหมาะสมของโครงการกับโครงการอื่น ๆ ประเภทเดียวกันโครงการนี้เหมาะสมกว่าหรือไม่

2 โครงการที่เสนอจะสามารถดําเนินการให้สําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งจะบรรลุจุดมุ่งหมายของแผนงาน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานระดับสูงมากน้อยเพียงใด

12 EIA คืออะไร

(1) การวิเคราะห์ผลกระทบทั่วไปของโครงการ

(2) การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ

(3) หลักการประเมินผลโครงการ

(4) หลักการบริหารงบประมาณโครงการ

(5) การจัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการดําเนินโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Environmental Impact Assessment : EIA คือ การประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมของโครงการในภาพรวม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการตามบรรทัดฐานที่กําหนด

13 ข้อใดเป็นวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคม

(1) การจัดทําประชาพิจารณ์

(2) การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

(3) การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

(4) การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคมอย่างกว้างขวาง อาจทําได้โดยวิธีดังนี้

1 การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

2 การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

3 การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

4 การจัดทําประชาพิจารณ์

14 ความต้องการของผู้รับบริการจากองค์การภาครัฐในปัจจุบันเป็นอย่างไร

(1) ความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

(2) ความต้องการมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

(3) ความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

(4) บางครั้งความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

15 การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการในด้านใด

(1) ด้านการจัดการ

(2) ด้านเทคนิค

(3) ด้านการตลาด

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านเทคนิค คือ เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และวิทยาการของขั้นตอนต่าง ๆ อันจําเป็นต่อการทํางานในแต่ละกิจกรรมให้สมบูรณ์

16 กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่องใด

(1) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) ทรัพย์สินทางปัญญา

(3) สิทธิมนุษยชน

(4) ธรรมาภิบาล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่อง ดังนี้

1 ทรัพย์สินทางปัญญา

2 สิทธิมนุษยชน

3 ธรรมาภิบาล

4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

17 ทรัพยากรในการบริหารงานภาครัฐมีลักษณะอย่างไรในปัจจุบัน

(1) ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้นมาก

(2) การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่า

(3) ทรัพยากรมีลักษณะคงที่เหมือนเช่นในอดีต

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

18 ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่ข้อใด

(1) การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

(3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

(4) การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่

1 การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

2 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

4 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

19 สิ่งที่จําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการ คือข้อใด

(1) ข้อมูล

(2) เวลา

(3) ค่าใช้จ่าย

(4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการก็คือเวลา เพราะแต่ละโครงการจะมีระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาเสร็จสิ้นโครงการที่แน่นอน

20 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่องใด

(1) องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

(2) มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

(3) มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

(4) มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่อง ดังนี้

1 มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

2 มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

3 องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

4 มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

21 โครงการประเภท “ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา” ได้แก่ข้อใด

(1) การใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น

(2) การแก้ไขปัญหาครอบครัว

(3) การจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

(4) การแก้ไขปัญหาส่วนตัว

(5) การสร้างอาคารสํานักงานใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเภทของโครงการ จําแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 โครงการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหา เช่น โครงการ One Stop Service เป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว และการจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

2 โครงการริเริ่มหรือนวัตกรรม เช่น การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่การสร้างอาคารสํานักงานใหม่ การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต และการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรใหม่

3 โครงการวิจัยและพัฒนา มีลักษณะเป็นโครงการใหม่หรือโครงการบุกเบิก อาจใช้ชื่อเรียกว่าโครงการนําร่อง (Pilot Project) หรือเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

22 โครงการประเภท “ริเริ่มหรือนวัตกรรม” ได้แก่ข้อใด

(1) การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต

(2) การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่

(3) การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่

(4) การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรใหม่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

23 โครงการประเภท “วิจัยและพัฒนา” มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นโครงการบุกเบิก

(2) เป็นโครงการนําร่อง

(3) เป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

24 ขั้นตอนแรกของการวางแผนโครงการ คือ

(1) การจัดทําข้อเสนอโครงการ การ

(2) การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

(3) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

(4) การคิดค้นทางเลือก

(5) การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนโครงการ มีดังนี้

1 การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทําให้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ และสามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริง ได้อย่างถูกต้อง

2 การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

3 การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย คือ การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

4 การเสนอเพื่อพิจารณา จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

5 การคิดค้นทางเลือก เป็นขั้นตอนที่ต้อง ทํารายละเอียด 6W 2H

6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือก โดยการใช้ข้อมูลจากผล การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมาพิจารณา

7 การเสนอเพื่อพิจารณาอีกรอบหนึ่ง จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

8 การจัดทําข้อเสนอโครงการ

25 ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ข้อใด (1) องค์การการค้าโลก

(2) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

(3) องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่

1 องค์การการค้าโลก

2 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

3 องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

26 ผลประโยชน์ของโครงการจะพิจารณาอย่างไร

(1) พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

(2) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่เป็นตัวเงิน

(3) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ของโครงการ จะพิจารณาในเรื่องดังนี้

1 พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

2 พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

27 ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ

(1) การจัดการโครงการของสํานักงานโครงการ

(2) การจัดทําแผนดําเนินงาน

(3) การจัดตั้งองค์กรโครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ การจัดทําแผนดําเนินงาน (Operation Plan) มีการจัดตั้งองค์กรโครงการ มีการจัดการโครงการของ สํานักงานโครงการ และมีผู้จัดการโครงการ (Project Manager) เป็นผู้รับผิดชอบหลักรวมถึงการควบคุมงาน เป็นต้น

28 ข้อใดเป็นขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการที่เรียงลําดับถูกต้อง

(1) การส่งผลงาน การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(2) การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(3) การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การส่งผลงาน

(4) การตรวจรับงาน การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน

(5) การปิดโครงการ การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การตรวจการจ้าง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการ เรียงลําดับได้ดังนี้

1 การตรวจรับงาน

2 การปิดโครงการ

3 การตรวจการจ้าง

4 การส่งผลงาน

29 บันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด (1) การกําหนด TOR

(2) การวางแผนโครงการ

(3) การวิเคราะห์โครงการ

(4) การตัดสินใจลงทุนในโครงการ

(5) การดําเนินงานโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วงจรโครงการของภาคเอกชน มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดแนวคิดโครงการ

2 การวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการ

3 การดําเนินงานโครงการ

4 การยุติและส่งมอบโครงการ

30 ข้อความในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนเหมือนกับภาคเอกชน

(2) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

(3) แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

(4) โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน (5) นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างโครงการขององค์การภาครัฐกับภาคเอกชน มีดังนี้

1 วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

2 แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

3 โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน

4 นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ

5 โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนไม่เหมือนกับภาคเอกชน

31 ในการบริหารโครงการ ผู้บริหารควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ข้อจํากัดด้านเวลา

(2) ค่าใช้จ่าย

(3) คุณภาพของงาน

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

32 ข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) ผลผลิตของโครงการแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ

(2) การบริหารโครงการต้องบูรณาการกับองค์การหลักที่เป็นเจ้าของโครงการ (3) ผู้บริหารโครงการต้องบริหารงานภายใต้วงเงินงบประมาณที่ได้รับ

(4) การบริหารโครงการต้องมีความยืดหยุ่นด้านเวลา

(5) การบริหารโครงการต้องกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในการบริหารหรือการจัดการโครงการต้องมีการกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน และผลผลิตของโครงการต้องแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ (ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ) 33 ข้อความใดที่ถูกต้อง

(1) งานโครงการมีบริบทคงที่ งานประจํามีบริบทยืดหยุ่น

(2) งานโครงการมีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก งานประจํามีลักษณะเฉพาะ

(3) งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว งานประจําค่อยเป็นค่อยไป

(4) งานโครงการเน้นประสิทธิภาพ งานประจําเน้นประสิทธิผล

(5) งานโครงการต่อเนื่องไม่สิ้นสุด งานประจํามีจุดเริ่มต้นและแล้วเสร็จ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความเตกต่างระหว่างงานโครงการกับงานประจํา มีดังนี้

1 ขอบข่ายงาน งานโครงการจะมีลักษณะเฉพาะ ส่วนงานประจํามีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก

2 เวลา งานโครงการมีจุดเริ่มต้นและจุดเสร็จสิ้นโครงการแน่นอน ส่วนงานประจําต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

3 การเปลี่ยนแปลง งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่วนงานประจําค่อยเป็นค่อยไป

4 แนวโน้ม งานโครงการไม่คํานึงถึงความสมดุล ส่วนงานประจําคํานึงถึงความสมดุล

5 วัตถุประสงค์ งานโครงการเน้นที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง ส่วนงานประจําเน้นที่ความเท่าเทียมกัน

6 ทรัพยากร งานโครงการจํากัดตามวงเงินที่กําหนด ส่วนงานประจําเพิ่มเติมได้ถ้าจําเป็น

7 บริบท งานโครงการมีบริบทยืดหยุ่น ส่วนงานประจํามีบริบทคงที่

8 ผลลัพธ์ งานโครงการเน้นที่ประสิทธิผล ส่วนงานประจําเน้นประสิทธิภาพ

9 ทีมงาน งานโครงการประสานกันด้วยจุดมุ่งหมาย ส่วนงานประจําประสานกันด้วยบทบาท

34 วงจรโครงการของภาคเอกชน แบ่งออกเป็นงานสําคัญที่ขั้นตอน

(1) 3 ขั้นตอน

(2) 4 ขั้นตอน

(3) 5 ขั้นตอน

(4) 6 ขั้นตอน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

35 การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน กําหนดโดยผู้ใด

(1) เจ้าของกิจการ

(2) ผู้บริหารสูงสุด.

(3) ผู้บริหารระดับกลาง

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน จะถูกกําหนดโดยเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งการกําหนดแนวคิดโครงการจะเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการ ของภาคเอกชน รวมถึงข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (Terms of Reference : TOR) ก็พัฒนา มาจากแนวคิดโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของกิจการ

36 จุดศูนย์กลางของวงจรโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด

(1) การกําหนดแนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

37 เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร (2) วัตถุประสงค์ ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร

(3) วัตถุประสงค์ บุคลากรที่รับผิดชอบ ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ (4) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ

(5) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากรอายุโครงการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากร และอายุโครงการ

38 ขั้นตอนสุดท้ายของวงจรโครงการของภาครัฐ คือ

(1) การอนุมัติโครงการ

(2) การลงทุนในโครงการ

(3) การส่งมอบงานโครงการ

(4) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(5) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1 การวางแผน การประเมิน และการจัดทําข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย

1.1 การกําหนดแนวคิดโครงการ เช่น การกําหนดเงื่อนไขของโครงการ (Terms of -Reference : TOR)

1.2 การศึกษาความเป็นไปได้และประเมินโครงการ ซึ่งมีประโยชน์เพื่ออนุมัติโครงการให้มีการดําเนินการต่อไปได้หรือไม่

1.3 การจัดทําข้อเสนออันเป็นรายละเอียด หรือการออกแบบโครงการ

2 การคัดเลือก การอนุมัติ และการเตรียมความพร้อม

3 การปฏิบัติการ การควบคุม การยุติและส่งมอบ เช่น การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นการทํางานของผู้จัดโครงการและผู้ร่วมงาน

4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เช่น การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ

39 ข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (TOR) พัฒนามาจากข้อใด

(1) แนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

40 ขั้นตอนแรกของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(2) การเตรียมความพร้อมของโครงการ

(3) การกําหนด TOR

(4) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(5) การออกแบบโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

41 สิ่งที่จําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น คือ

(1) การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง

(2) การประมวลสถานการณ์แวดล้อม

(3) การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น คือ การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง และการกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์ไว้อย่างชัดเจน

42 การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐ คือ

(1) การจัดทําแผนการดําเนินงานล่วงหน้า

(2) การจัดทําแนวทางการประเมินผล

(3) การจัดทําแผนกําลังคน

(4) การจัดทําแผนการเงิน

(5) การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐคือ การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

43 การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็นอะไรบ้าง

(1) เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ

(3) ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

(4) ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็น ดังนี้

1 เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

3 ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

4 ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

44 การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติเป็นการทํางานของผู้ใด

(1) ปลัดกระทรวง

(2) อธิบดี

(3) ผู้จัดการโครงการ

(4) ข้าราชการระดับล่าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

45 การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(2) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(3) การบริหารโครงการ

(4) การปรับปรุงนโยบายและแผนงาน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

46 ปัญหา “การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน” เป็นปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาทั่วไป

(2) ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

(3) ปัญหาในเชิงป้องกัน

(4) ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น ปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน ปัญหาน้ำท่วม

2 ปัญหาในเชิงป้องกัน

3 ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

47 การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยวิธีใด

(1) วิเคราะห์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้

(2) คาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น

(3) ใช้วิธีการหยั่งรู้

(4) สอบถามผู้บริหารระดับสูง

(5) สอบถามผู้ปฏิบัติงาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้ เพื่อยืนยันความชัดเจนของปัญหาในอดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาดูว่า เป็นปัญหาอะไร เป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือเป็นปัญหาในเชิงป้องกัน หรือเป็นปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

48 6W 2H คืออะไร

(1) เทคนิคการวางแผนโครงการ

(2) เทคนิคการประเมินผลโครงการ

(3) เทคนิคการริเริ่มโครงการ

(4) การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ

(5) เทคนิคการตรวจรับโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) 6W 2H คือ การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นการตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้

1 Why (จะทําทําไม) คือ การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของ โครงการ การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ SMART Principle) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา ด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน 2 What (จะทําอะไร) คือ การระบุกิจกรรมหลักที่ต้องทํา

3 When (จะทําเมื่อไหร่) คือ การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

4 Where (จะทําที่ไหน) คือ การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

5 Who (จะทําโดยใคร) คือ การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

6 Whom (จะทําเพื่อใคร) คือ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผล

7 How (จะทําอย่างไร) คือ กฎระเบียบ เทคโนโลยีและมาตรการปฏิบัติงาน

8 How Much (จะจ่ายเท่าไหร่) คือ งบประมาณ ค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม

49 การตอบคําถาม “ทําไม” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา

(4) การระบุตัวชี้วัดด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

50 SMART Principle เป็นหลักการในเรื่องใด

(1) การกําหนดคุณสมบัติผู้รับผิดชอบโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การกําหนดรายละเอียดของโครงการ

(4) การกําหนดหลักการการประเมินผลโครงการ

(5) การกําหนดคุณภาพของโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

51 การตอบคําถาม “อะไร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

52 การตอบคําถาม “ใคร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

(2) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(3) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(4) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(5) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

53 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงในการวางแผนโครงการจะให้ผลลัพธ์อะไร

(1) รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ

(2) สามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

(3) สามารถทราบถึงความสําเร็จของการดําเนินงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

54 การกําหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผนโครงการ คือข้อใด

(1) การกําหนดบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

(2) การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

(3) การกําหนดตัวชี้วัดของผลการปฏิบัติงาน

(4) การกําหนดระยะเวลาการดําเนินงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

55 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกในการแก้ไขปัญหา จะใช้ข้อมูลอะไรมาพิจารณา

(1) ข้อมูลภายในองค์การที่รับผิดชอบดําเนินงานโครงการ

(2) ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) ข้อมูลจากการสํารวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(4) ข้อมูลจากความคิดเห็นของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

56 “ความคิดสร้างสรรค์” จําเป็นสําหรับขั้นตอนใด

(1) การวิเคราะห์โครงการ

(2) การคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา

(3) การริเริ่มโครงการ

(4) การดําเนินโครงการ

(5) การประเมินผลโครงการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การใช้ความคิดสร้างสรรค์ จําเป็นสําหรับขั้นตอนการคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1 ความรู้ที่ประมวลจากประสบการณ์ หรือเป็นความรู้ตามสัญชาตญาณของเรา ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่าเป็น “ชั่วโมงบิน”

2 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ เช่น การเรียนรู้จากการสอนงาน การให้คําแนะนํา ก ารสาธิต การฝึกอบรม การวิจัยและการพัฒนาในองค์การ

3 การเรียนรู้จากผู้อื่น เช่น เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา การศึกษาดูงาน

4 การเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ เช่น การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกองค์การ

57 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ ได้แก่อะไร

(1) การฝึกอบรม

(2) การสอนงาน

(3) การให้คําแนะนํา

(4) การสาธิต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 การเรียนรู้จากผู้อื่น จะเรียนรู้ในเรื่องใด

(1) เรียนรู้ความล้มเหลวขององค์การประเภทเดียวกัน

(2) เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา

(3) การศึกษาดูงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

59 ปัญหา “การบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด”อาจมีสาเหตุมาจากข้อใด

(1) พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน

(2) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

(3) ขั้นตอนการทํางานเยิ่นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

(4) ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาการบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด มีสาเหตุดังนี้

1 พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะ ในการปฏิบัติงาน

2 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

3 ขั้นตอนการทํางานเป็นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

4 ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

60 การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมเรื่องใด

(1) อัตราเงินเฟ้อ

(2) ค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ

(3) ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ

(4) เงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมถึงเรื่องค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ อัตราเงินเฟ้อ และเงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ เพราะงบประมาณโครงการมีจํากัดตามวงเงินที่กําหนดไว้

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

หากสรุปว่ากระบวนการของแผนประกอบด้วยกระบวนการ ได้แก่

(1) กําหนดปัญหา

(2) ตั้งเป้าหมาย

(3) ศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

(4) ลงมือวางแผน

(5) ประเมินผล

 

61 ขั้นตอนใดที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (คําบรรยาย) อาจสรุปได้ว่ากระบวนการของแผน ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้

1 กําหนดปัญหา

2 การตั้งเป้าหมาย/วัตถุประสงค์

3 การศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

4 ลงมือวางแผน เป็นการลงมือเขียนแผนให้ถูกต้อง โดยหน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการนี้

5 การประเมินแผน เป็นกระบวนการที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์ โดยการศึกษาวิเคราะห์แผนว่า มีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ จากนั้นจึงนําเสนอแผนให้ผู้มีอํานาจ พิจารณาอนุมัติ เพื่อนําแผนไปปฏิบัติ

6 การนําแผนไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดผลงาน ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

7 การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการที่ทําให้ทราบถึงผลสําเร็จและเก็บเป็นข้อมูลสะสม เพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

62 หน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 กระบวนการใดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญหลายสาขามากที่สุด

ตอบ 4 หน้า 27 งานวางแผนเป็นงานระดับกลุ่ม ดังนั้นการลงมือวางแผนจึงต้องประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขามาร่วมกันสร้างแผน โดยมีนักวางแผนเป็นผู้ประสานให้การวางแผนไปสู่จุดหมายร่วมกันขององค์การได้

64 กระบวนการใดทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

65 กระบวนการใดทําให้ได้รับข้อมูลสะสมเพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

66 การกําหนดโครงการ หมายถึงอะไร

(1) การศึกษาหาความสมบูรณ์ของโครงการที่ร่างเสร็จแล้ว

(2) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) การตรวจสอบข้อมูลของโครงการ

(4) การตรวจสอบผลของการดําเนินโครงการที่ผ่านไปแล้ว

(5) การตรวจสอบความสามารถของผู้ร่างโครงการซ้ำอีกครั้ง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกําหนดโครงการ หมายถึง การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ หรือการเสาะหาลู่ทางการลงทุนที่ดีและมีความเป็นไปได้ เช่น โครงการงทุนของภาคเอกชนที่มีแววว่าจะสามารถทํากําไร หรือให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่า และถ้าเป็นโครงการลงทุนของภาครัฐ ก็เป็นโครงการลงทุนที่มีศักยภาพและความสําคัญสูงต่อการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการและโอกาสในการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ของประเทศ เป็นต้น

67 สถาบันที่มีหน้าที่ริเริ่มกําหนดนโยบายและมีอํานาจอิทธิพลต่อนโยบายมาก คือ

(1) สถาบันทหาร

(2) สถาบันศาล

(3) สถาบันทางรัฐสภา

(4) สถาบันการปกครอง

(5) สถาบันการปกครองท้องถิ่น

ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบหรือทฤษฎีสถาบัน (Institution Model/Theory) เชื่อว่านโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ ก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นนโยบายสาธารณะ ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไปตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบัน การปกครอง ตัวอย่างสถาบันการปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันรัฐสภา สถาบันบริหาร (เช่น นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ สถาบันตุลาการ (เช่น ศาล) และสถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

68 การส่งมอบงานตึก 12 ชั้น คณะรัฐศาสตร์

(1) Policy Formulation

(2) Policy Analysis

(3) Policy Evaluation

(4) Policy Implementation

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนของการแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของ คณะรัฐมนตรีให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา/ การตระเตรียมวิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ที่กําหนดไว้

ตั้งแต่ข้อ 69 – 73 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Alternative

(2) Social Analysis

(3) Feasibility Study

(4) Financial Analysis

(5) Process

69 การวิเคราะห์ประเมินโครงการไม่ใช่ราชการ

ตอบ 4 หน้า 40 การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านการเงิน (Financial Analysis) เป็นแนวทางการประเมินโครงการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่ได้รับ (Cost-Benefit) เพื่อดูว่าโครงการที่จัดทําขึ้นมานั้นมีลักษณะคุ้มทุนหรือไม่

70 สอดคล้องเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม

ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านสังคม (Social Analysis)จะพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้

1 ความเหมาะสมสอดคล้องต้องกันระหว่างแนวทาง ของโครงการกับปัจจัยทางสังคม เช่น ศาสนา การศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม กฎหมาย การเมืองและการปกครอง เป็นต้น

2 โอกาสที่สังคมจะยอมรับ/สนับสนุน หรือต่อต้าน/คัดค้านโครงการ

71 ประเมินดู Cost-Benefit

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

72 กระบวนการต่าง ๆ ทางวิชาการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กระบวนการ (Process) หมายถึง ขั้นตอนวิธีปฏิบัติ หรือกิจกรรมการดําเนินงานที่กระทําอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

73 ทางเลือกในการวางแผนโครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ทางเลือก (Alternative) หมายถึง มาตรการหรือแนวทางการดําเนินงานที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ซึ่งอาจมีหลายทางเลือกในการบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ

ตั้งแต่ข้อ 74 – 78 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Looking Ahead

(2) Making Choices

(3) Actions

(4) Setting Limits

(5) Desired end State

 

74 การนําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

ตอบ 5 หน้า 25 Jose Villamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporally Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการ ตัดสินแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”

75 Vision

ตอบ 1

หน้า 25 Albert Waterston กล่าวว่า “การวางแผนทุกชนิดจะต้องมีลักษณะร่วมกัน หลายประการ เช่น ต้องประกอบด้วยการมองล่วงหน้า (Looking Ahead) ต้องมีทางเลือก (Making Choices) และหากเป็นไปได้ต้องจัดเตรียมวิธีการกระทํา (Actions) ที่แน่นอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรืออย่างน้อยที่สุดต้องกําหนดข้อจํากัด (Setting Limits) ที่อาจจะ เกิดจากการกระทําดังกล่าวไว้ด้วย”

76 จะต้องมีทางเลือก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

77 การจัดเตรียมวิธีการกระทํา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

78 การกําหนดข้อจํากัด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

79 คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporally Linked Actions” เป็นของใคร

(1) José Villamil

(2) ดร.อมร รักษาสัตย์

(3) Albert Waterston

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

80 ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน

(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป

(2) แผนระยะสั้น 3 ปี

(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี

(4) แผนระยะสั้น 4 ปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ระยะเวลา (Time Span) อาจจําแนกได้ดังนี้

1 แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ

3 แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

81 TP. หมายถึง

(1) เวลาที่ผ่านไป

(2) Target Planning

(3) Team Planning

(4) การทํางานเป็นทีม

(5) ทฤษฎีการวางแผน

ตอบ 3 หน้า 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) มากที่สุด ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน

2 ร่วมกันมองไปในอนาคต (Vision/Scenario)

3 ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4 ร่วมกันกําหนดทางเดินหรือแผนกลยุทธ์ (Strategies) ที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

5 ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้ 6 ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ ซึ่งเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วันหรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan

ตั้งแต่ข้อ 82 – 86 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Targets

(2) Vision

(3) Obstructions

(4) Strategies

(5) Tactics

 

82 การมองไปในอนาคต

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 การที่หน่วยงานตกลงกําหนดเป้าหมาย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

84 ข้อจํากัดที่เกิดขึ้นในอนาคต

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

85 กําหนดทางเดินที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

86 การร่วมกันกําหนดกลวิธีให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 87 – 91 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การระบุปัญหา

(2) การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

(3) การออกแบบทางเลือกนโยบาย

(4) การวิเคราะห์ทางเลือก

(5) การทดสอบทางเลือก

 

87 การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้เทคนิควิเคราะห์ และการประยุกต์ทั้งหลายเป็นระบบ

ตอบ 5 หน้า 14 การทดสอบทางเลือก คือ การทบทวนความเหมาะสมของขั้นตอนและข้อมูลที่ใช้ทั้งทางด้านหลักการ เหตุผลทางเลือกนโยบาย คุณภาพและปริมาณของข้อมูลว่ายังพอเพียงและดีอยู่ ตลอดจนตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ เทคนิควิธีวิเคราะห์และการประยุกต์ทั้งหลายว่าเป็นระบบและสอดคล้องต้องกันอย่างแท้จริง

88 กําหนดทางเลือกซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และรวบรวมทางเลือกทุก ๆ ทางเลือกให้ครบถ้วน

ตอบ 3 หน้า 13 การออกแบบทางเลือกนโยบาย คือ การใช้ความรู้ ประสบการณ์ของผู้กําหนดนโยบายร่วมกับข้อมูลที่รวบรวมและการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ เพื่อกําหนดว่าทางเลือกซึ่งเป็นแนวทาง ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้นควรเป็นทางเลือกใดบ้าง โดยพิจารณาว่ามีทางเลือกใดที่สามารถ ปฏิบัติตามแล้วให้ผลสําเร็จดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้บ้าง ซึ่งในขั้นนี้ต้องรวบรวมทางเลือกทุก ๆ ทางเลือกที่เป็นไปได้ให้ครบถ้วน

89 ศึกษาถึงความเหมาะสมระหว่างทางเลือกกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งศึกษาถึงประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย

ตอบ 4 หน้า 14 การวิเคราะห์ทางเลือก คือ การนําเอาทางเลือกที่มีทั้งหมดมาทําการศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในแต่ละทางเลือกที่ละทางเลือก เช่น ศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ศึกษาถึงความเหมาะสมระหว่างทางเลือกกับสถานการณ์แวดล้อม ศึกษาถึงผลประโยชน์ข้อดี ข้อเสียของแต่ละทางเลือก ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด

90 ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพที่แท้จริง หรือข้อมูลภาคสนาม หรือข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิเพื่อจะทราบปัญหา

ตอบ 1 หน้า 12 การระบุปัญหา คือ การศึกษาว่าอะไรคือปัญหา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริงหรือข้อมูลภาคสนามหรือข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ หรือข้อมูล ทุติยภูมิ เพื่อที่จะทราบปัญหาและจําแนกว่าปัญหาใดเร่งด่วนกว่า มีสาเหตุจากอะไร และ ประชาชนรับรู้เพียงใด ดังนั้นโดยสรุป การระบุปัญหาก็คือ การศึกษาวิเคราะห์เพื่อกําหนด ปัญหาที่ถูกต้องและศึกษาค่านิยมที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับปัญหาเพื่อกําหนดแนวทางของ นโยบายที่เหมาะสมกับความเป็นจริงต่อไป

91 ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย รวมทั้งการยอมรับต่อนโยบาย ตอบ 2 หน้า 13 การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย คือการศึกษาข้อจํากัดด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ข้อมูล

2 ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย

3 การรับรู้และการยอมรับต่อนโยบาย

4 สิ่งแวดล้อมทั่วไป

92 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ได้มีจุดเริ่มต้นที่ใด

(1) เมื่อ Max Weber ได้ศึกษาระบบราชการ

(2) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

(3) เมื่อ Mayo ได้ทดลองค้นคว้าที่เรียกว่า Howthorne Study

(4) เมื่อมีกลุ่มนักทฤษฎีสมัยใหม่

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็นการศึกษารายกรณี และ มีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของวิชาการหลายสาขามาศึกษาวิเคราะห์ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

93 ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก คือ

(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง

(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)

(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Value)

(4) ข้อมูลทุกประเภท

(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการของดิน

ตอบ 3 หน้า 11 ข้อมูลในการวางนโยบายหรือแผน อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ว่า เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ และภูมิศาสตร์

2 ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่นเชื่อถือของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

94 นักวิชาการที่กล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ คือ

(1) Harry Harty

(2) Walter

(3) Thomas R. Dye

(4) William Dunn

(5) Theodore Poister

ตอบ 5 หน้า 16 Theodore Poister กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายมีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ ดังนั้นจําเป็นต้องมีการศึกษาอย่างจริงจังถึงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาของนโยบายกับผลกระทบทั้งปวงที่จะเกิดขึ้น”

95 แบบอะไรที่ถูกต้องในการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของนโยบายหรือแผน

(1) แผนการรายงาน

(2) แผนตรวจงาน

(3) แผนประเมินผลงาน

(4) แบบวิธีทดลอง

(5) แบบการวัดประสิทธิภาพ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายนั้นตรงกับ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 แบบธรรมดาหรือแบบที่ไม่ใช้วิธีการทดลอง

2 แบบวิธีกึ่งทดลอง

3 แบบวิธีทดลอง

96 นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด

(1) ให้ประโยชน์กับสังคม

(2) ให้คํานึงถึงรัฐสภา

(3) ประโยชน์โดยทั่วไป

(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด

(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

97 ความเป็นธรรมของนโยบายสามารถวัดได้อย่างไร

(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม

(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน

(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน

(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย

(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณาหรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

98 เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐจะเป็นอย่างไร

(1) มีขนาดเล็กลง

(2) คงที่เหมือนเดิม

(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา

(4) มีขนาดใหญ่โตล้ำหน้าเวลา

(5) มีขนาดจะเล็กลงหรือจะโตขึ้นเป็นไปตามจํานวนประชากร

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 Randall Ripley และ Grace Franklin กล่าวว่า ในการนํานโยบายไปปฏิบัตินั้นมีประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติต้องทําความเข้าใจอยู่ 5 ประการ ได้แก่

1 มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมากมาย

2 มีความต้องการหลากหลายต่อนโยบาย

3 ธรรมชาติของนโยบายมักจะมีขนาดที่ใหญ่โตขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป

4 ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในหลายระดับ หลายสังกัด และหลายหน่วยเสมอ

5 มีปัจจัยมากมายที่นโยบายไม่สามารถควบคุมได้

99 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีหลายรูปร่างและหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้

1 มีรูปร่างเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง

2 มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ

3 มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด

4 มีรูปเป็นสัญญา

5 มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรี หรือของรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

100 ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักรัฐศาสตร์

(2) นักสังคมวิทยา

(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์

(4) นักวิทยาศาสตร์

(5) นักเศรษฐศาสตร์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

 

101 ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว

(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป

(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด

(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน

(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มีความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ำลงตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผนที่แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า

102 Controlled Environment หมายถึง

(1) ภาวะทางธรรมชาติ

(2) ค่านิยมของคนในภาคใต้ของประเทศไทย

(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 12 สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น 2 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ/ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น 103 แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด

(1) แผนรายปี

(2) แผนงบประมาณ

(3) แผนการเงิน

(4) แผนโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก

ตั้งแต่ข้อ 104 – 108 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Integration

(2) Dynamic

(3) Subjectivity

(4) Artificiality

(5) ปัญหามีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจน

 

104 เป็นปัญหาที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว

ตอบ 4 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality) หมายถึง ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นที่ยอมรับหรือตระหนักได้ของคนบางกลุ่มบางหมู่ในขณะที่บางกลุ่มอาจไม่ยอมรับก็ได้

105 ทางราชการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ไม่มีที่ทําการต้องเช่าอาคารเอกชนเป็นที่ทําการชั่วคราว

ตอบ 5 หน้า 10 ปัญหาที่มีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจนแน่นอน (Well-Structured Problem) หมายถึง ปัญหาที่มีผลลัพธ์แน่นอน มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย มีทางออกในการแก้ไขปัญหา เพียงไม่กี่ทางเลือก (1 – 3 ทาง) ซึ่งแต่ละทางเลือกสามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือก ได้ชัดเจน ไม่เป็นที่ถกเถียงกันได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหาในการจัดสร้างที่ทําการของหน่วยงาน หรือองค์การ เป็นต้น

106 การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม

ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) สูง หมายถึง การที่ปัญหาได้แปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

107 จะกําหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องพิจารณาผลกระทบด้านเทคนิค การเมือง สังคม

ตอบ 1 หน้า 9 ปัญหาทั้งหลายมักมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration) อยู่เสมอ ดังนั้นในการพิจารณาปัญหาของนโยบายจึงพิจารณาเพียงด้านหนึ่งด้านใดเป็นเอกเทศไม่ได้ เช่น ในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจะพิจารณาเพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ได้ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยทางด้านการเมือง สังคม หรืออื่น ๆ อีกตามแต่สถานการณ์ที่เผชิญอยู่

108 การมีความหมายในตัวของปัญหาเอง

ตอบ 3 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) สูง หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้นต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้หรือผู้กําหนดนโยบายว่าจะสามารถรับรู้ หรือตระหนักได้ถึงความเป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่งความเป็นอัตนัยของปัญหานี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพราะปัญหาที่คนคนหนึ่งตระหนักได้อาจเป็นปัญหาที่คนอื่น ๆ อาจยังไม่ตระหนักถึงก็ได้

109 ใครกล่าวว่านโยบายคือ “สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา”

(1) Thomas R. Dye

(2) David Easton

(3) Woodrow Wilson

(4) William Dunn

(5) ดร.อมร รักษาสัตย์

ตอบ 1 หน้า 1 Thomas R. Dye กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือกิจกรรมหรือสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา และเกี่ยวข้องกับเหตุผลว่าทําไมจึงเลือกเช่นนั้น”

110 ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่แตกต่างจากแผนอื่น

(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน

(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน

(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม

(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

(5) เป็นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นการวางแผนที่ยังคงน้อมนําและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่าง มีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคงมั่งคั่ง ยั่งยืน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

111 หน่วยงานใดมีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน

(1) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท

(2) กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม

(3) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

(4) สํานักงาน ก.พ.

(5) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบันการกําหนดนโยบายสาธารณะและการวางแผนพัฒนาประเทศของไทยจะอยู่ในความรับผิดชอบของ “สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่ข้อ 112 – 116 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การก่อรูปของนโยบาย

(2) การกําหนดนโยบาย

(3) การวิเคราะห์นโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย

 

112 คํานึงถึงแนวทางการปฏิบัติที่มีศักยภาพอันนําไปสู่การตอบสนองในปัญหาของนโยบายได้

ตอบ 2 หน้า 8, 16, (คําบรรยาย) การกําหนดนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์

2 การกําหนดทางเลือก ได้แก่ การวิเคราะห์ทางเลือกนโยบาย (Policy Alternative) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงแนวทางปฏิบัติที่มีศักยภาพอันนําไปสู่การตอบสนองในปัญหาของนโยบายได้ โดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit) เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

3 การจัดทําร่างนโยบาย เพื่อนําเสนอพิจารณาขออนุมัติ/ไม่อนุมัติและประกาศเป็นนโยบายต่อไป

113 การวิเคราะห์ข่าวสารในด้านความรู้เกี่ยวกับสภาพการณ์ หรือเงื่อนไขก่อนจะมีนโยบาย

ตอบ 1 หน้า 8, 16, (คําบรรยาย) การก่อรูปของนโยบาย (Policy Formation) เป็นขั้นตอนที่ผู้กําหนดนโยบายต้องทําความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยสําคัญในการกําหนดนโยบาย ก่อนที่จะ เริ่มกําหนดนโยบาย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้ ได้แก่ ปัญหาของนโยบาย สิ่งแวดล้อมของนโยบาย และขั้นตอนในการกําหนดนโยบาย โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์สภาพปัญหา ของนโยบาย (Policy Problem) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข่าวสารในด้านความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์หรือเงื่อนไขก่อนจะมีนโยบาย

114 เป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกแล้วของนโยบาย

ตอบ 3 หน้า 16, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) มีจุดสําคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเป็นสําคัญ โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์ผลของนโยบาย (Policy Outcomes) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกแล้วของนโยบาย

115 การวิเคราะห์ในแง่มุมที่ต้องอาศัยการประเมินและการพยากรณ์เป็นเครื่องมืออย่างมาก

ตอบ 4 หน้า 16 – 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่ทําให้เกิดผลลัพธ์ของนโยบายขึ้น โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์แนวปฏิบัติ ของนโยบาย (Policy Action) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงแนวทางหรือชุดของแนวทางที่เลือกสรร มาจากทางเลือกของนโยบายว่ามีความเหมาะสมจริงหรือไม่ ซึ่งการวิเคราะห์ในแง่มุมนี้ต้องอาศัยการประเมินและการพยากรณ์เป็นเครื่องมืออย่างมาก

116 การวิเคราะห์ระดับความสามารถในการบรรลุถึงคุณค่าในการตอบสนองความต้องการของนโยบาย

ตอบ 5 หน้า 16, 20, (คําบรรยาย) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย (Policy Evaluation)เป็นการศึกษาผลของการปฏิบัติตามนโยบายว่าเป็นอย่างไร โดยอาจมีการใช้เทคนิควิธี เช่น การวิเคราะห์ผลสัมพัทธ์ของนโยบาย (Policy Performance) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ระดับ ความสามารถในการบรรลุถึงคุณค่าในการตอบสนองความต้องการของนโยบาย อันหมายถึง ผลลัพธ์ของนโยบายที่ทําให้กลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมายได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่จึงแสดงว่านโยบายประสบความสําเร็จแล้ว

117 ปัญหาโครงสร้างของปัญหาไม่ชัดเจน หมายถึง

(1) จํานวนบุคลากรที่เข้ามาบริหารนโยบาย

(2) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(3) ลักษณะในทางภูมิศาสตร์

(4) ค่านิยมของคนในสังคม

(5) วัสดุอุปกรณ์ที่จะนํามาใช้กับนโยบาย

ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน (Ill-Structured Problem) หมายถึง ปัญหาที่เป็นค่านิยมของคนในสังคม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้คนจํานวนมาก เป็นปัญหา ที่มีทางออกได้หลายหนทาง โดยแต่ละหนทางไม่สามารถมองเห็นผลประโยชน์ได้ชัดเจนจึงเป็นที่ถกเถียงกันได้และมีผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน

118 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเน้นหลักในด้านใดบ้าง

(1) เศรษฐกิจ การจัดการ เทคโนโลยี

(2) สังคม เศรษฐกิจ การเมือง

(3) เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเมือง

(4) ผลตอบแทน สิ่งแวดล้อม การเมือง

(5) การเงิน การคลัง เทคโนโลยี และการจัดการ

ตอบ 1 หน้า 42 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) มักจะประเมินเพียงตัวแปรหลัก ๆ ดังนี้

1 ด้านเศรษฐกิจ ความคุ้มทุนหรือผลตอบแทนของโครงการ (นิยมประเมินในด้านนี้เป็นประจํา)

2 ด้านการบริหารหรือการจัดการ

3 ด้านเทคนิค เช่น สถานที่ตั้ง วัตถุดิบ และเทคโนโลยีของโครงการ

4 ด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ

119 การทํา Feasibility ของโครงการมีจุดมุ่งหมายสําคัญเพื่อสิ่งใด

(1) เพื่อดูความพร้อมของโครงการ

(2) เพื่อประเมินผลที่เกิดจากโครงการ

(3) เพื่อตระเตรียมการแก้ปัญหาแต่เนิ่น ๆ

(4) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของโครงการ

(5) เพื่อประเมินโอกาสในการบรรลุผลสําเร็จของโครงการ

ตอบ 5 หน้า 40 – 42, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงการ (Program/Project Analysis) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์และประเมินโครงการในระบบปิด ซึ่งจะให้ความสําคัญกับปัจจัยภายในองค์การ/โครงการเป็นหลัก โดยจะนําเอาโครงการที่มีอยู่ทั้งหมดมาทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงข้อดีข้อด้อยของแต่ละโครงการ เพื่อเลือกเอาโครงการที่ดีที่สุด ซึ่งเหมาะสําหรับโครงการที่ไม่เร่งด่วน

2 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์และประเมินโครงการในระบบเปิด ซึ่งจะให้ความสําคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่มากระทบ โครงการโดยจะนําเอาโครงการที่ได้เลือกสรรไว้แล้วเพียงโครงการเดียวมาทําการศึกษาถึง ความเป็นไปได้ เพื่อประเมินโอกาสในการบรรลุผลสําเร็จของโครงการว่ามีโอกาสที่จะ ประสบผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด ซึ่งมักจะใช้ในกรณีที่เป็นโครงการเร่งด่วน

120 ข้อใดมิใช่ภารกิจที่สําคัญในการประเมินโครงการ

(1) การวิเคราะห์ความอยู่รอดของโครงการ

(2) การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ

(3) การคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ

(4) การทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้

(5) การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นว่าโครงการเหมาะสมที่สุดหรือยัง

ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ มีความหมายเป็น 2 ลักษณะ คือ

1 เป็นการศึกษาถึงโอกาสความสําเร็จในการดําเนินโครงการ โดยการวิเคราะห์และประเมินหาความเชื่อมั่นว่าตัวโครงการที่ร่างเสร็จแล้วนั้นมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติ ได้จริงหรือไม่ เช่น การวิเคราะห์หรือการคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ

2 เป็นการศึกษาทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้ โดยการวิเคราะห์จําแนกแยกแยะ เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยและผลที่คาดว่าจะได้รับ หากมีการนําโครงการไปดําเนินการหรือ นําไปปฏิบัติจริง พร้อมกับศึกษาว่าผลที่คาดว่าจะได้รับหรือผลที่จะเกิดขึ้นนั้นเหมาะสม มีคุณค่า มีประโยชน์ สมควรแก่การลงทุนดําเนินโครงการต่อไปหรือไม่

POL3302 การวางแผนในภาครัฐ 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจําคือ

(1) สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก

(2) สภาพแวดล้อมไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป

(3) สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงมาก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมของการบริหารงานประจํา คือ สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก และไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป ซึ่งลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจํามักจะมีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

2 ลักษณะของผู้ปฏิบัติงานในงานประจําคือ

(1) มีทักษะเก่งงานด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

(2) มีทักษะรอบด้านในการทํางานให้สําเร็จ

(3) ไม่จําเป็นต้องมีทักษะใด ๆ

(4) ต้องมีทักษะในการตัดสินใจ

(5) ต้องมีทักษะในด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

3 สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

(1) ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน

(2) หน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้

(3) การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ

(4) ควรจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานการณ์ที่ผู้บริหารองค์การภาครัฐต้องเผชิญอยู่เสมอ ได้แก่

1 ปัญหาทางการบริหารมีความสลับซับซ้อน ซึ่งหน่วยงานเดียวไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการบริหารได้ การละเลยการแก้ไขปัญหาจะนําความเสียหายมาสู่องค์การ และควรมีการจัดหน่วยงานโครงการเข้ามารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา

2 ความต้องการของลูกค้าและผู้รับบริการมีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบางครั้งความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

3 ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่าด้วย

4 การใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ามีความจําเป็นและสําคัญมากขึ้น ควรคํานึงถึงเรื่องความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้ และผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

5 การเพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการให้บริการลูกค้า

6 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

7 การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์

8 การเผชิญกับภาวะวิกฤติและความเสี่ยงต่าง ๆ

4 ความต้องการของผู้รับบริการจากองค์การภาครัฐในปัจจุบันเป็นอย่างไร

(1) มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

(2ความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

(3) ความต้องการเกินกว่าความสามารถในการตอบสนองของภาครัฐ

(4) บางครั้งความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 ทรัพยากรในการบริหารงานภาครัฐมีลักษณะอย่างไรในปัจจุบัน

(1) ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้นมาก

(2) การใช้ทรัพยากรควรคํานึงถึงมูลค่า

(3) ทรัพยากรมีลักษณะคงที่เหมือนเช่นในอดีต

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

6.การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ควรประเมินความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะใช้

(2) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงช้า จึงควรลงทุนในด้านเทคโนโลยี

(3) ควรคํานึงถึงผลกระทบที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

7 การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่องใด

(1) มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

(2) มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

(3) องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

(4) มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การแข่งขันระหว่างกิจการต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความเข้มข้นมากในเรื่อง ดังนี้

1 มีตลาดใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก

2 มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารมวลชนมากขึ้น

3 องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น

4 มีกติกาหรือข้อตกลงใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามมากขึ้น

8 ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ข้อใด

(1) องค์การการค้าโลก

(2) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

(3) องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้มีบทบาทใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ได้แก่

1 องค์การการค้าโลก

2 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจข้ามชาติ

3 องค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

9 กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่องใด

(1) ทรัพย์สินทางปัญญา

(2) สิทธิมนุษยชน

(3) ธรรมาภิบาล

(4) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กติกาใหม่ในการแข่งขันระหว่างประเทศได้แก่เรื่อง ดังนี้

1 ทรัพย์สินทางปัญญา

2 สิทธิมนุษยชน

3 ธรรมาภิบาล

4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

10 โครงการประเภท “ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา” ได้แก่ข้อใด

(1) การแก้ไขปัญหาครอบครัว

(2) การจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

(3) การแก้ไขปัญหาส่วนตัว

(4) การสร้างอาคารสํานักงานใหม่

(5) การใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเภทของโครงการ จําแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 โครงการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหา เช่น โครงการ One Stop Service เป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว และการจัดหน่วยบริการประชาชนนอกสถานที่ทํางาน

2 โครงการริเริ่มหรือนวัตกรรม เช่น การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ การสร้างอาคารสํานักงานใหม่ การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต และการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรใหม่

3 โครงการวิจัยและพัฒนา มีลักษณะเป็นโครงการใหม่หรือโครงการบุกเบิก อาจใช้ชื่อเรียกว่าโครงการนําร่อง (Pilot Project) หรือเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

11 โครงการประเภท “ริเริ่มหรือนวัตกรรม” ได้แก่ข้อใด

(1) การเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่

(2) การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่

(3) การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรใหม่

(4) การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

12 โครงการประเภท “วิจัยและพัฒนา” มีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นโครงการบุกเบิก

(2) เป็นโครงการนําร่อง

(3) เป็นโครงการค้นคว้าทดลอง

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

13 ลักษณะเฉพาะที่สําคัญของโครงการคือ

(1) ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศ แตกต่างจากงานประจํา

(2) มีองค์การรับผิดชอบโดยเฉพาะ

(3) องค์การที่รับผิดชอบทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

(4) ผลลัพธ์ของโครงการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของโครงการ มีดังนี้

1 ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศ หรือมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากงานประจํา

2 มีองค์การรับผิดชอบในการจัดการโดยเฉพาะ และทําหน้าที่เป็นการชั่วคราว

3 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารและทีมงานโครงการต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่าง ๆ เสมอ

4 ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารโครงการต้องคํานึงถึงข้อจํากัดด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และคุณภาพตามที่กําหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการ

5 ในการจัดการโครงการ จําเป็นต้องเน้นความสําคัญของการบูรณาการกับองค์การหลักหรือหน่วยงานหลักของเจ้าของโครงการ

14 ผลประโยชน์ของโครงการจะพิจารณาอย่างไร

(1) พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

(2) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่เป็นตัวเงิน

(3) พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ของโครงการ จะพิจารณาในเรื่องดังนี้

1 พิจารณาว่าผลประโยชน์เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใด

2 พิจารณาเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้

15 ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่ข้อใด

(1) การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

(3) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

(4) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงในการบริหารโครงการ ได้แก่

1 การต่อต้านและคัดค้านโครงการ

2 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

4 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

16 สิ่งที่จําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการ คือข้อใด (1) เวลา

(2) ค่าใช้จ่าย

(3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(4) ข้อมูล

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นที่สุดสําหรับการประเมินความไม่แน่นอนในการบริหารโครงการก็คือเวลา เพราะแต่ละโครงการจะมีระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาเสร็จสิ้นโครงการที่แน่นอน

17 ในการบริหารโครงการ ผู้บริหารควรคํานึงถึงเรื่องอะไร

(1) ข้อจํากัดด้านเวลา

(2) ค่าใช้จ่าย

(3) คุณภาพของงาน

(4) ข้อ 1 – 3

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

18 ข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) การบริหารโครงการต้องบูรณาการกับองค์การหลักที่เป็นเจ้าของโครงการ

(2) ผู้บริหารโครงการต้องบริหารงานภายใต้วงเงินงบประมาณที่ได้รับ

(3) การบริหารโครงการต้องมีความยืดหยุ่นด้านเวลา

(4) การบริหารโครงการต้องกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน

(5) ผลผลิตของโครงการแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในการบริหารหรือการจัดการโครงการต้องมีการกําหนดตัวบุคคล องค์การ หรือระบบงานล่วงหน้าอย่างชัดเจน และผลผลิตของโครงการต้องแตกต่างจากผลผลิตที่มีอยู่เดิมขององค์การ (ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ)

19 ข้อความใดที่ถูกต้อง

(1) งานโครงการมีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก งานประจํามีลักษณะเฉพาะ

(2) งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว งานประจําค่อยเป็นค่อยไป

(3) งานโครงการมีบริบทคงที่ งานประจํามีบริบทยืดหยุ่น

(4) งานโครงการเน้นประสิทธิภาพ งานประจําเน้นประสิทธิผล

(5) งานโครงการต่อเนื่องไม่สิ้นสุด งานประจํามีจุดเริ่มต้นและแล้วเสร็จ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างงานโครงการกับงานประจํา มีดังนี้

1 ขอบข่ายงาน งานโครงการจะมีลักษณะเฉพาะ ส่วนงานประจํามีลักษณะทําซ้ำแล้วซ้ำอีก

2 เวลา งานโครงการมีจุดเริ่มต้นและจุดเสร็จสิ้นโครงการแน่นอน ส่วนงานประจําต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

3 การเปลี่ยนแปลง งานโครงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่วนงานประจําค่อยเป็นค่อยไป

4 แนวโน้ม งานโครงการไม่คํานึงถึงความสมดุล ส่วนงานประจําคํานึงถึงความสมดุล

5 วัตถุประสงค์ งานโครงการเน้นที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง ส่วนงานประจําเน้นที่ความเท่าเทียมกัน

6 ทรัพยากร งานโครงการจํากัดตามวงเงินที่กําหนด ส่วนงานประจําเพิ่มเติมได้ถ้าจําเป็น

7 บริบท งานโครงการมีบริบทยืดหยุ่น ส่วนงานประจํามีบริบทคงที่

8 ผลลัพธ์ งานโครงการเน้นที่ประสิทธิผล ส่วนงานประจําเน้นประสิทธิภาพ

9 ทีมงาน งานโครงการประสานกันด้วยจุดมุ่งหมาย ส่วนงานประจําประสานกันด้วยบทบาท

20 วงจรโครงการของภาคเอกชน แบ่งออกเป็นงานสําคัญกขั้นตอน

(1) 3 ขั้นตอน

(2) 4 ขั้นตอน

(3) 5 ขั้นตอน

(4) 6 ขั้นตอน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วงจรโครงการของภาคเอกชน มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดแนวคิดโครงการ

2 การวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการ

3 การดําเนินงานโครงการ

4 การยุติและส่งมอบโครงการ

21 การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน กําหนดโดยผู้ใด

(1) เจ้าของกิจการ

(2) ผู้บริหารสูงสุด

(3) ผู้บริหารระดับกลาง

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การกําหนดแนวคิดโครงการของภาคเอกชน จะถูกกําหนดโดยเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งการกําหนดแนวคิดโครงการจะเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการ ของภาคเอกชน รวมถึงข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (Terms of Reference : TOR) ก็พัฒนามาจากแนวคิดโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของกิจการ

22 จุดศูนย์กลางของวงจรโครงการของภาคเอกชน คือข้อใด

(1) การกําหนดแนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

23 ข้อกําหนดเงื่อนไขโครงการ (TOR) พัฒนามาจากข้อใด

(1) แนวคิดโครงการ

(2) การดําเนินโครงการ

(3) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(4) การควบคุมงาน

(5) การส่งมอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

24 ขั้นตอนสุดท้ายของวงจรโครงการของภาคเอกชนคือข้อใด

(1) การกําหนดแนวคิดโครงการ

(2) การยุติและส่งมอบโครงการ

(3) การดําเนินงานโครงการ

(4) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(5) การควบคุมงานโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

25 ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชนคือ

(1) การจัดทําแผนดําเนินงาน

(2) การจัดตั้งองค์กรโครงการ

(3) การควบคุมงาน

(4) การจัดการโครงการของสํานักงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนสําคัญในการดําเนินโครงการของภาคเอกชน คือ การจัดทําแผนดําเนินงาน (Operation Plan) มีการจัดตั้งองค์กรโครงการ มีการจัดการโครงการของสํานักงานโครงการ และ มีผู้จัดการโครงการ (Project Manager) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก รวมถึงการควบคุมงาน เป็นต้น

26 ข้อใดเป็นขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการที่เรียงลําดับถูกต้อง

(1) การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(2) การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การส่งผลงาน

(3) การส่งผลงาน การตรวจการจ้าง การตรวจรับงาน การปิดโครงการ

(4) การตรวจรับงาน การปิดโครงการ การตรวจการจ้าง การส่งผลงาน

(5) การปิดโครงการ การส่งผลงาน การตรวจรับงาน การตรวจการจ้าง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ขั้นตอนการยุติและส่งมอบโครงการ เรียงลําดับได้ดังนี้

1 การตรวจรับงาน

2 การปิดโครงการ

3 การตรวจการจ้าง

4 การส่งผลงาน

27 บันไดขั้นแรกที่มีผลต่อความสําเร็จของโครงการของภาคเอกชนคือข้อใด

(1) การกําหนด TOR

(2) การวางแผนโครงการ

(3) การวิเคราะห์โครงการ

(4) การตัดสินใจลงทุนในโครงการ

(5) การดําเนินงานโครงการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

28 ข้อความในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

(2) แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน (3) โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน

(4) นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ

(5) โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนเหมือนกับภาคเอกชน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างโครงการขององค์การภาครัฐกับภาคเอกชน มีดังนี้

1 วงจรโครงการขององค์การภาครัฐสลับซับซ้อนกว่าของภาคเอกชน

2 แนวคิดของโครงการขององค์การภาครัฐมีที่มาที่หลากหลายกว่าของภาคเอกชน

3 โครงการขององค์การภาครัฐทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสาธารณชน

4 นโยบายของภาครัฐเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ

5 โครงการขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนไม่เหมือนกับภาคเอกชน (ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ)

29 ขั้นตอนแรกของวงจรโครงการขององค์การภาครัฐ ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การเตรียมความพร้อมของโครงการ

(2) การกําหนด TOR

(3) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(4) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(5) การออกแบบโครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) วงจรโครงการขององค์การภาครัฐ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1 การวางแผน การประเมิน และการจัดทําข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย

1.1 การกําหนดแนวคิดโครงการ เช่น การกําหนดเงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR)

1.2 การศึกษาความเป็นไปได้และประเมินโครงการ ซึ่งมีประโยชน์เพื่ออนุมัติโครงการให้มีการดําเนินการต่อไปได้หรือไม่

1.3 การจัดทําข้อเสนออันเป็นรายละเอียด หรือการออกแบบโครงการ

2 การคัดเลือก การอนุมัติ และการเตรียมความพร้อม

3 การปฏิบัติการ การควบคุม การยุติและส่งมอบ เช่น การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นการทํางานของผู้จัดโครงการและผู้ร่วมงาน

4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เช่น การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ

30 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมีประโยชน์อย่างไร

(1) เพื่อควบคุมการบริหารโครงการ

(2) เพื่อทราบแหล่งที่มาของทรัพยากร

(3) เพื่อการตัดสินใจลงทุนโครงการ

(4) เพื่ออนุมัติโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร

(2) วัตถุประสงค์ บุคลากรที่รับผิดชอบ ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ

(3) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประมาณการทรัพยากร อายุโครงการ

(4) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร

(5) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากรอายุโครงการ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เงื่อนไขของโครงการ (Terms of Reference : TOR) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์เป้าหมาย ทางเลือกในการดําเนินงาน ประมาณการทรัพยากร แหล่งที่มาของทรัพยากร และอายุโครงการ

32 ขั้นตอนสุดท้ายของวงจรโครงการของภาครัฐคือ

(1) การลงทุนในโครงการ

(2) การส่งมอบงานโครงการ

(3) การอนุมัติโครงการ

(4) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(5) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

33 สิ่งที่จําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่นคือ

(1) การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง

(2) การประมวลสถานการณ์แวดล้อม

(3) การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นสําหรับข้อเสนอโครงการด้านการก่อสร้างที่แตกต่างจากโครงการชนิดอื่น ๆ คือ การจัดทําพิมพ์เขียวการก่อสร้าง และการกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน มาตรฐานของอุปกรณ์ไว้อย่างชัดเจน

34 การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐคือ

(1) การจัดทําแผนการดําเนินงานล่วงหน้า

(2) การจัดทําแนวทางการประเมินผล

(3) การจัดทําแผนกําลังคน

(4) การจัดทําแผนการเงิน

(5) การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเตรียมความพร้อมที่สําคัญของโครงการขององค์การภาครัฐคือ การจัดทําแผนดําเนินงาน แผนเงิน และแผนกําลังคน

35 การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็นอะไรบ้าง

(1) เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ

(3) ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

(4) ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการภาครัฐ ต้องตรวจสอบประเด็น ดังนี้

1 เหตุผลความจําเป็นของโครงการ

2 วัตถุประสงค์ของโครงการ

3 ความสอดคล้องของโครงการกับแผนพัฒนาประเทศ

4 ความเหมาะสมของการศึกษาความเป็นไปได้

36 การนําโครงการขององค์การภาครัฐไปปฏิบัติเป็นการทํางานของผู้ใด

(1) ปลัดกระทรวง

(2) อธิบดี

(3) ผู้จัดการโครงการ

(4) ข้าราชการระดับล่าง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

37 การวัดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

(2) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

(3) การบริหารโครงการ

(4) การปรับปรุงนโยบายและแผนงาน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

38 ปัญหา “การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน” เป็นปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาทั่วไป

(2) ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

(3) ปัญหาในเชิงป้องกัน

(4) ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 ปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น ปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน ปัญหาน้ำท่วม

2 ปัญหาในเชิงป้องกัน

3 ปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

39 การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยวิธีใด

(1) วิเคราะห์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้

(2) คาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น

(3) ใช้วิธีการหยั่งรู้

(4) สอบถามผู้บริหารระดับสูง

(5) สอบถามผู้ปฏิบัติงาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา จะทําได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้ เพื่อยืนยันความชัดเจนของปัญหาในอดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาดูว่าเป็นปัญหาอะไร เป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือเป็นปัญหาในเชิงป้องกัน หรือเป็นปัญหาที่ต้องการสร้างโอกาสในการพัฒนา

40 6W 2H คืออะไร

(1) เทคนิคการวางแผนโครงการ

(2) เทคนิคการประเมินผลโครงการ

(3) เทคนิคการริเริ่มโครงการ

(4) การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ

(5) เทคนิคการตรวจรับโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) 6W 2H คือ การจัดวางรายละเอียดของวิธีการวางแผนโครงการ ซึ่งเป็นการตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้

1 Why (จะทําทําไม) คือ การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของ โครงการ การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ (ได้แก่ SMART Principle) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา ด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน

2 What (จะทําอะไร) คือ การระบุกิจกรรมหลักที่ต้องทํา

3 When (จะทําเมื่อไหร่) คือ การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

4 Where (จะทําที่ไหน) คือ การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

5 Who (จะทําโดยใคร) คือ การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

6 Whom (จะทําเพื่อใคร) คือ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผล

7 How (จะทําอย่างไร) คือ กฎระเบียบ เทคโนโลยีและมาตรการปฏิบัติงาน

8 How Much (จะจ่ายเท่าไหร่) คือ งบประมาณ ค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม

41 การตอบคําถาม “ทําไม” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การอธิบายถึงหลักการและเหตุผลของโครงการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การระบุตัวชี้วัดด้านเวลา

(4) การระบุตัวชี้วัดด้านปริมาณงานและคุณภาพของงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

42 SMART Principle เป็นหลักการในเรื่องใด

(1) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

(3) การกําหนดหลักการการประเมินผลโครงการ

(4) การกําหนดคุณภาพของโครงการ

(5) การกําหนดคุณสมบัติผู้รับผิดชอบโครงการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

43 การตอบคําถาม “อะไร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(2) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(3) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(4) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

(5) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

44 การตอบคําถาม “ใคร” ในกระบวนการวางแผนโครงการรวมถึงขั้นตอนใด

(1) การอธิบายหลักการและเหตุผลของโครงการ

(2) การกําหนดกรอบเวลาในการดําเนินโครงการ

(3) การคาดการณ์กําลังคนที่ต้องการ

(4) การระบุกิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย

(5) การพิจารณาสถานที่ดําเนินโครงการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

45 “ความคิดสร้างสรรค์” จําเป็นสําหรับขั้นตอนใด

(1) การคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา

(2) การริเริ่มโครงการ

(3) การดําเนินโครงการ

(4) การประเมินผลโครงการ

(5) การวิเคราะห์โครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การใช้ความคิดสร้างสรรค์ จําเป็นสําหรับขั้นตอนการคิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1 ความรู้ที่ประมวลจากประสบการณ์ หรือเป็นความรู้ตามสัญชาตญาณของเรา ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่าเป็น “ชั่วโมงบิน”

2 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ เช่น การเรียนรู้จากการสอนงาน การให้คําแนะนําการสาธิต การฝึกอบรม การวิจัยและการพัฒนาในองค์การ

3 การเรียนรู้จากผู้อื่น เช่น เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา การศึกษาดูงาน

4 การเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ เช่น การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกองค์การ

46 “ชั่วโมงบิน” หมายถึงอะไร

(1) การเรียนรู้

(2) การปรับตัว

(3) ประสบการณ์

(4) การสอนงาน

(5) การให้คําแนะนํา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ ได้แก่อะไร

(1) การสอนงาน

(2) การให้คําแนะนํา

(3) การสาธิต

(4) การฝึกอบรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

48 การเรียนรู้จากผู้อื่น จะเรียนรู้ในเรื่องใด

(1) เรียนรู้ความล้มเหลวขององค์การประเภทเดียวกัน

(2) เรียนรู้ความสําเร็จของกิจการชั้นนํา

(3) การศึกษาดูงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

49 ขั้นตอนแรกของการวางแผนโครงการคือ

(1) การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

(2) การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

(3) การจัดทําข้อเสนอโครงการ

(4) การคิดค้นทางเลือก

(5) การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนโครงการ มีดังนี้

1 การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทําให้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ และสามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริง ได้อย่างถูกต้อง

2 การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

3 การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย คือ การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

4 การเสนอเพื่อพิจารณา จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

5 การคิดค้นทางเลือก เป็นขั้นตอนที่ต้อง ทํารายละเอียด 6W 22H

6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือก โดยการใช้ข้อมูลจากผล การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมาพิจารณา

7 การเสนอเพื่อพิจารณาอีกรอบหนึ่ง จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

8 การจัดทําข้อเสนอโครงการ

50 ปัญหา “การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน” อาจมีสาเหตุมาจากข้อใด

(1) ฝนตก น้ำท่วมถนน

(2) ขาดระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ

(3) ขาดการควบคุมประเภทรถและปริมาณรถ

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน มีสาเหตุดังนี้

1 ขาดระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ

2 ขาดการควบคุมประเภทรถและปริมาณรถ

3 ขาดการจัดระเบียบชุมชนตามมาตรการด้านผังเมือง

4 ขาดการจัดระบบวิศวกรรมจราจร

51 โครงการที่จะแก้ไขปัญหา “การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน” ได้แก่ข้อใด

(1) โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน

(2) โครงการจัดระเบียบชุมชนตามมาตรการด้านผังเมือง

(3) โครงการปรับปรุงระบบการควบคุมปริมาณและประเภทรถ

(4) โครงการจัดระบบวิศวกรรมจราจร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงการที่จะแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน ได้แก่

1 โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน

2 โครงการจัดระเบียบชุมชนตามมาตรการด้านผังเมือง

3 โครงการปรับปรุงระบบการควบคุมปริมาณและประเภทรถ

4 โครงการจัดระบบวิศวกรรมจราจร หากสาเหตุของปัญหาคือการขาดการจัดระบบวิศวกรรมที่ดีก็ต้องแก้ด้วยโครงการนี้

52 หากสาเหตุของปัญหา “การจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน” คือการขาดการจัดระบบวิศวกรรมจราจรที่ดี โครงการที่จะแก้ปัญหาควรเป็นโครงการใด

(1) โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน

(2) โครงการจัดระเบียบชุมชนตามมาตรการด้านผังเมือง

(3) โครงการปรับปรุงระบบการควบคุมปริมาณและประเภทรถ

(4) โครงการจัดระบบวิศวกรรมจราจร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

53 ปัญหา “การบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด”อาจมีสาเหตุมาจากข้อใด

(1) พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน

(2) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

(3) ขั้นตอนการทํางานเยิ่นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

(4) ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาการบริการประชาชนด้านการจดทะเบียนและการขออนุญาตล่าช้ากว่ากําหนดและมีความผิดพลาด มีสาเหตุดังนี้

1 พนักงานใหม่ขาดการอบรมให้มีทักษะในการปฏิบัติงาน

2 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ชํารุด ซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย

3 ขั้นตอนการทํางานเยิ่นเย้อ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่

4 ขาดคู่มือและคําแนะนําประชาชนในการมาขอรับบริการ

54 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงในการวางแผนโครงการจะให้ผลลัพธ์อะไร

(1) รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ

(2) สามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง

(3) สามารถทราบถึงความสําเร็จของการดําเนินงาน

(4) ข้อ 1 และข้อ 2

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

55 การกําหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผนโครงการคือข้อใด

(1) การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

(2) การกําหนดตัวชี้วัดของผลการปฏิบัติงาน

(3) การกําหนดระยะเวลาการดําเนินงานโครงการ

(4) การกําหนดบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

56 การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกในการแก้ไขปัญหา จะใช้ข้อมูลอะไรมาพิจารณา

(1) ข้อมูลภายในองค์การที่รับผิดชอบดําเนินงานโครงการ

(2) ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(3) ข้อมูลจากการสํารวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(4) ข้อมูลจากความคิดเห็นของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

57 หลักเกณฑ์ของการวิเคราะห์โครงการต่อไปนี้ ข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

(1) ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ของประเทศ

(2) ความเหมาะสมทางด้านกายภาพ

(3) ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน

(4) ความเป็นอิสระจากโครงการอื่น

(5) ความเหมาะสมทางด้านการบริหารโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักเกณฑ์ของการวิเคราะห์โครงการ มีดังนี้

1 ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ของประเทศ

2 ความเหมาะสมทางด้านกายภาพ

3 ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน

4 ความเหมาะสมทางด้านการบริหารโครงการ

5 ความสัมพันธ์กับโครงการอื่น

58 การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมเรื่องใด

(1) ค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ

(2) ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ

(3) อัตราเงินเฟ้อ

(4) เงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพิจารณาความเหมาะสมในการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ ควรครอบคลุมถึงเรื่องค่าดอกเบี้ยระหว่างการดําเนินโครงการ ค่าภาษีนําเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ อัตราเงินเฟ้อ และเงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินโครงการ เพราะงบประมาณโครงการมีจํากัดตามวงเงินที่กําหนดไว้

59 EIA คืออะไร

(1) หลักการประเมินผลโครงการ

(2) หลักการบริหารงบประมาณโครงการ

(3) การประเมินผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโครงการ

(4) การจัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการดําเนินโครงการ

(5) การวิเคราะห์ผลกระทบทั่วไปของโครงการ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Environmental Impact Assessment : EIA คือ การประเมินผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโครงการในภาพรวม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการตามบรรทัดฐาน ที่กําหนด

60 การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคมอย่างกว้างขวางอาจทําได้โดยวิธีใด

(1) การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

(2) การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

(3) การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

(4) การจัดทําประชาพิจารณ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาสังคมอย่างกว้างขวาง อาจทําได้โดยวิธีดังนี้

1 การประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน

2 การสํารวจความต้องการของคนในชุมชน

3 การจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็นจากประชาชน

4 การจัดทําประชาพิจารณ์

61 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ของแผนจะคุมอย่างไร

(1) คุมให้เสร็จตรงตามเวลา

(2) คุมให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่ตั้งไว้

(3) คุมให้ใกล้ชิดทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ

(4) คุมให้เกิดผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ของแผน

(5) คุมให้บุคลากรทุกคนทํางานอย่างเต็มความสามารถ

ตอบ 4 หน้า 44, (คําบรรยาย) การควบคุมแผน/โครงการ โดยทั่วไปมักจะกระทําใน 3 ด้าน คือ

1 ควบคุมเวลา (Time Control) คือ คุมให้เสร็จตรงตามเวลาที่ได้วางแผน/โครงการไว้โดยใช้เทคนิค PERT

2 ควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost Control) เป็นการคุมรายจ่ายของแผน/โครงการให้อยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ โดยใช้เทคนิค PPBS

3 ควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน (Quality Control) เป็นการคุมให้เกิดผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ของแผน/โครงการอย่างครบถ้วนและเคร่งครัด เทคนิคที่ใช้อาจกระทําได้โดยการกําหนดมาตรฐาน (Standard) ของงาน

62 ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน

(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป

(2) แผนระยะสั้น 3 ปี

(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี

(4) แผนระยะสั้น 4 ปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ระยะเวลา (Time Span) อาจจําแนกได้ดังนี้

1 แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ

3 แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

63 คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporalty Linked Actions” เป็นของใคร

(1) José Villamil

(2) ดร.อมร รักษาสัตย์

(3) Albert Waterston

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 1 หน้า 25 José Villamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporalty Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการตัดสินแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”

64 TP. หมายถึง

(1) เวลาที่ผ่านไป

(2) Target Planning

(3) Team Planning

(4) การทํางานเป็นทีม

(5) ทฤษฎีการวางแผน

ตอบ 3 หน้า 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) มากที่สุด ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน

2 ร่วมกันมองไปในอนาคต (Vision/Scenario)

3 ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4 ร่วมกันกําหนดทางเดินหรือแผนกลยุทธ์ (Strategies) ที่จะต้องไปสู่เป้าหมายให้ได้

5 ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้

6 ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ ซึ่งเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วัน หรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan

65 แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด

(1) แผนรายปี

(2) แผนงบประมาณ

(3) แผนการเงิน

(4) แผนโครงการ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก

66 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีหลายรูปร่างและหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้

1 มีรูปร่างเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง

2 มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ

3 มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด

4 มีรูปเป็นสัญญา

5 มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือของรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

67 ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว

(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป

(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ

(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด

(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน

(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มีความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ําลง ตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผนที่แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า

68 Controlled Environment หมายถึง

(1) ภาวะทางธรรมชาติ

(2) ค่านิยมของคนในภาคใต้ของประเทศไทย

(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย

(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 12 สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ ในนโยบาย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

2 สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ/ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น

69 การวางแผนแบบประสมประสาน มีขั้นตอนสําคัญอยู่ที่ใด

(1) การเก็บข้อมูลที่กว้างขวาง

(2) การวิเคราะห์สถานการณ์แบบก้าวหน้า

(3) การทําแบบจําลอง (Model) ของแผน

(4) การสร้างเศรษฐกิจของแผน

(5) การขออนุมัติหลักการของแผนก่อนเขียนแผนขั้นตอนสุดท้าย

ตอบ 3 หน้า 29, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบสมบูรณ์แบบหรือประสมประสานหรือแผนรวม(Comprehensive Planning) เป็นการวางแผนที่กล่าวถึงเป้าหมายที่ต้องการก่อนเป็นอันดับแรก โดยเริ่มจากการสร้างเเบบจําลองการเจริญเติบโต (Growth Model) ของแผนก่อน ซึ่งเป็น การคํานวณอัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวังไว้ในรูปของการบริโภค เงินออม การลงทุน การนําเข้า-ส่งออก การจ้างงาน ความต้องการ (Demand) และความสามารถในการตอบสนอง (Supply) ของภาครัฐและภาคเอกชนรวมกัน โดยการวางแผนในรูปแบบนี้จะมีการวางแผน ทั้งแบบ Forward และ Backward และมีการกล่าวถึงบทบาทของภาคเอกชนไว้อย่างครบถ้วน จึงนับว่าเป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน และเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่หน่วยงานวางแผน มีความชํานาญแล้ว อย่างไรก็ตาม การวางแผนแบบนี้ยังไม่มีประเทศใดสามารถทําได้อย่าง สมบูรณ์แบบ ประเทศที่ใช้การวางแผนแบบนี้ได้ดีที่สุดก็มีเพียงประเทศกลุ่มสังคมนิยม(ซึ่งมีลักษณะการคุมอํานาจจากส่วนกลางมากที่สุด)

70 Bazi จําแนกกิจกรรมการนําโครงการไปปฏิบัติเป็น 3 กระบวนการ ข้อใดไม่ใช่กระบวนการทั้ง 3 นั้น

(1) เขียนโครงการอีกครั้ง

(2) วิเคราะห์โครงการอีกครั้ง

(3) เริ่มต้นการทํางาน

(4) กําหนดรูปแบบการทํางาน

(5) ไม่มีคําตอบที่ถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 42 – 43 Bazi ได้แบ่งกระบวนการปฏิบัติงานตามโครงการออกเป็น 3 กิจกรรม คือ

1 การวิเคราะห์โครงการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง (Project Reappraisal)

2 การเริ่มต้นทํางาน (Action Initiation)

3 การกําหนดรูปแบบการทํางาน ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ แบบเน้นพิธีการ และแบบเน้นการปฏิบัติงาน

 

ข้อ 71 – 75 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคนิควิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ให้เลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กัน

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การกําหนดนโยบาย

(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) การประเมินผลนโยบาย

(5) การสิ้นสุดของนโยบาย

 

71 การวิจัยประเมินผล

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เทคนิควิธีการวิเคราะห์นโยบายที่ควรนํามาใช้วิเคราะห์นโยบายในช่วงต่าง ๆอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้

1 ในช่วงการก่อตัวของนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การระดมสมอง เทคนิคพยากรณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติและเนื้อหา

2 ในช่วงการกําหนดนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการตัดสินใจ และการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

3 ในช่วงการนํานโยบายไปปฏิบัติ เทคนิคที่ใช้คือ การวิเคราะห์ข่ายงาน การบริหารคุณภาพ เช่น การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์/ผลสําเร็จ

4 ในช่วงการประเมินผลนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การวิจัยประเมินผล

5 ในช่วงการสิ้นสุดของนโยบาย เทคนิคที่ใช้คือ การจัดสร้างองค์การใหม่ เป็นต้น

72 การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์/ผลสําเร็จ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

73 การวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

74 การระดมสมอง/เทคนิคพยากรณ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

75 การสร้างองค์การใหม่

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

ข้อ 76 – 80 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลนโยบายสาธารณะ ให้เลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กัน

(1) Output Monitoring

(2) Process Monitoring

(3) Efficiency Measurement

(4) Effectiveness Evaluation

(5) Feasibility Study

76 มุ่งเน้นในการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายและผลผลิตที่ได้รับ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิภาพ (Efficiency Measurement) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าเมื่อดําเนินการตามนโยบายเสร็จแล้ว ได้ผลคุ้มค่าหรือไม่ ประหยัดหรือไม่ มีต้นทุนต่อหน่วยเท่าใด ซึ่งกระทําได้โดยการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่าย (Cost) ทั้งหมดกับผลผลิตหรือผลตอบแทน (Benefit) ที่ได้รับ

77 ผลลัพธ์ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของนโยบาย คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายนั้นตรงกับ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่

78 การวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของนโยบาย คือ การศึกษาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของนโยบาย โดยมุ่งศึกษาหาคําตอบว่านโยบายมีโอกาสประสบผลสําเร็จมากน้อยเพียงใด

79 การตรวจสอบผลการดําเนินงานว่าได้รับผลผลิต ซึ่งแสดงออกมาในรูปของหน่วยวัดต่าง ๆ ตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกํากับติดตามผลผลิต (Output Monitoring) ของนโยบาย คือ การตรวจสอบผลการดําเนินงานของนโยบายว่าได้รับผลผลิต ซึ่งแสดงออกมาในรูปของหน่วยวัดต่าง ๆ ตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่

80 การตรวจสอบการดําเนินกิจกรรมว่าเป็นไปตามแผนการดําเนินงานหรือไม่

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกํากับติดตามการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนงาน (Activity/Process Monitoring) คือ การตรวจสอบการดําเนินกิจกรรมของนโยบายในแต่ละขั้นตอนว่าเป็นไปตามแผนการดําเนินงานหรือไม่

 

ตั้งแต่ข้อ 81 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Integration

(2) Dynamic

(3) Subjectivity

(4) Artificiality

(5) ปัญหามีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจน

 

81 เป็นปัญหาที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว

ตอบ 4 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality) หมายถึง ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างหรือลักษณะใด ๆ อย่างแน่ชัดว่าคือปัญหา ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีปัญหาแล้ว ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นที่ยอมรับหรือตระหนักได้ของคนบางกลุ่มบางหมู่ในขณะที่บางกลุ่มอาจไม่ยอมรับก็ได้

82 ทางราชการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ ไม่มีที่ทําการต้องเช่าอาคารเอกชนเป็นที่ทําการชั่วคราว

ตอบ 5 หน้า 10 ปัญหาที่มีตัวตนและมีโครงสร้างชัดเจนแน่นอน (Well-Structured Problem) หมายถึงปัญหาที่มีผลลัพธ์แน่นอน มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย มีทางออกในการแก้ไขปัญหาเพียงไม่กี่ทางเลือก (1 – 3 ทาง) ซึ่งแต่ละทางเลือกสามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือกได้ชัดเจน ไม่เป็นที่ถกเถียงกันได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหาในการจัดสร้างที่ทําการของหน่วยงานหรือองค์การ เป็นต้น

83 การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) สูง หมายถึง การที่ปัญหาได้แปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

84 จะกําหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องพิจารณาผลกระทบด้านเทคนิค การเมือง สังคม ตอบ 1 หน้า 9 ปัญหาทั้งหลายมักมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration) อยู่เสมอ ดังนั้นในการพิจารณาปัญหา ของนโยบายจึงพิจารณาเพียงด้านหนึ่งด้านใดเป็นเอกเทศไม่ได้ เช่น ในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจะพิจารณาเพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ได้ จะต้อง พิจารณาถึงปัจจัยทางด้านการเมือง สังคม หรืออื่น ๆ อีกตามแต่สถานการณ์ที่เผชิญอยู่

85 การมีความหมายในตัวของปัญหาเอง

ตอบ 3 หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) สูง หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้นต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้หรือผู้กําหนดนโยบายว่าจะสามารถรับรู้ หรือตระหนักได้ถึงความเป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่งความเป็นอัตนัยของปัญหานี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพราะปัญหาที่คนคนหนึ่งตระหนักได้อาจเป็นปัญหาที่คนอื่น ๆ อาจยังไม่ตระหนักถึงก็ได้

ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่าง ๆ ที่ร่วมกัน

(2) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) ความเป็นไปได้ทางการเมือง

(4) ลักษณะของหน่วยงานที่นํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การมีทรัพยากรที่เพียงพอ

 

86 ความเห็นพ้องต้องกันระหว่างรัฐบาลกับเอกชน นโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเอกชนด้วยดีจะได้รับความสําเร็จได้ดีกว่า

ตอบ 3 หน้า 19 นโยบายที่มีความเป็นไปได้ทางการเมือง ควรมีลักษณะดังนี้

1 มีความเห็นพ้องต้องกันระหว่างรัฐบาลกับเอกชน ซึ่งนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเอกชนด้วยดีจะได้รับความสําเร็จได้ดีกว่า

2 ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน เช่น ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง สื่อมวลชน กลุ่มชนชั้นนํา และกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ในสังคม เป็นต้น

87 ความสามารถของผู้นํา ผู้นําที่เข้มแข็งจะเป็นปัจจัยผลักดันให้นโยบายประสบความสําเร็จได้มากกว่าเพราะสามารถระดมความสนับสนุนจากฝ่ายต่าง ๆ ได้มากกว่า ตอบ 4 หน้า 19 ลักษณะของหน่วยงานที่เอื้อต่อความสําเร็จในการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่

1 มีการจัดองค์การที่ดี คือ มีระดับชั้นการบังคับบัญชาน้อย และแต่ละชั้นมีผู้ใต้บังคับบัญชามาก

2 ความสามารถของผู้นํา คือ ผู้นําที่เข้มแข็งจะเป็นปัจจัยผลักดันให้นโยบายประสบความสําเร็จได้มากกว่า เพราะสามารถระดมความสนับสนุนจากฝ่ายต่าง ๆ ได้มากกว่า

88 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติที่ไม่มีผลประโยชน์ทั้งทางบวกหรือทางลบกับนโยบาย เช่น ไม่กระทบต่อค่านิยม ศักดิ์ศรี อํานาจ และพฤติกรรมของตนเอง

ตอบ 2 หน้า 20 ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติที่ไม่มีผลประโยชน์ทั้งทางบวกหรือทางลบกับนโยบาย เช่น ไม่กระทบต่อค่านิยม ศักดิ์ศรี อํานาจ และพฤติกรรมของตนเอง ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผล ต่อความสําเร็จของนโยบาย เนื่องจากผู้นําที่มีทัศนคติดังกล่าวจะจริงใจและตั้งใจปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด โดยไม่ต้องกังวลกับผลประโยชน์และสถานะความต้องการของตนเองแต่อย่างใด

89 การนํานโยบายไปปฏิบัติต้องใช้หน่วยงานหลายหน่วย หลายระดับ หลายสังกัด ดังนั้นกลไกหน่วยงานจะเกี่ยวข้องกัน

ตอบ 1 หน้า 20 ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่าง ๆ ที่ร่วมกันนํานโยบายไปปฏิบัติ คือ ในการนํานโยบายไปปฏิบัตินั้นจะต้องใช้หน่วยงานหลายหน่วย หลายระดับ และหลายสังกัด ดังนั้นกลไก ความสัมพันธ์เหล่านี้ เช่น จํานวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จํานวนจุดตัดสินใจ ความสัมพันธ์ดั้งเดิม ของหน่วยงานทั้งหลาย รวมถึงการเข้าแทรกแซงของหน่วยงานระดับบน ล้วนมีผลต่อ ความสําเร็จของนโยบายทั้งสิ้น

90 การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และจํานวนเพียงพอ รวมทั้งมีงบประมาณและสถานที่พร้อม

ตอบ 5 หน้า 19 การมีทรัพยากรที่เพียงพอ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และจํานวนเพียงพอ รวมทั้งมีงบประมาณและสถานที่พร้อม ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความสําเร็จของนโยบาย อีกทั้งยังเป็นดัชนีวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีด้วย

 

91 ใครคือผู้มีหน้าที่กําหนดนโยบายน้อยที่สุด

(1) ปลัดกระทรวง

(2) อธิบดี

(3) ผู้อํานวยการกองวิชาการ

(4) หัวหน้างาน

(5) ผู้อํานวยการสํานัก

ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) เนื่องจากนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องในระดับองค์การ ฉะนั้นผู้มีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะจะต้องเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์การ (Top-Level Administrator) เท่านั้น ซึ่งผู้มีตําแหน่งสูงกว่าย่อมมีอํานาจในการกําหนดนโยบายมากกว่า ผู้มีตําแหน่งน้อยกว่า ทั้งนี้หากมีตําแหน่งเท่ากัน ตําแหน่งที่จะกําหนดนโยบายมากกว่าย่อมเป็นตําแหน่งที่เกี่ยวกับนโยบาย แผน และโครงการ

92 ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักรัฐศาสตร์

(2) นักสังคมวิทยา

(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์

(4) นักวิทยาศาสตร์

(5) นักเศรษฐศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็นการศึกษา รายกรณี และมีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของวิชาการหลายสาขา มาศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

93 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะแนวคิดในการวิเคราะห์

(1) เพื่อประโยชน์ในทางการเมือง

(2) ต้องใช้หลายวิธี

(3) ต้องใช้หลักเหตุผล

(4) เป็นสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์

(5) เพื่อประโยชน์ในทางการเมือง

ตอบ 4 หน้า 15 – 16 แนวคิดในการวิเคราะห์นโยบายมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 เป็นสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์

2 ใช้วิธีการหลายวิธี

3 เป็นการใช้เหตุผล

4 มุ่งผลิตและแปรสภาพข่าวสาร

5 ข่าวสารที่ได้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในสภาพความเป็นจริงทางการเมือง

94 อาจารย์ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า ลักษณะของนโยบายที่มีแนวโน้มจะประสบความสําเร็จเป็นอย่างไร

(1) มีข้อมูลยืนยันชัดเจน

(2) เห็นผลได้ในระยะยาว

(3) ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

(4) เห็นผลได้ในระยะสั้น

(5) มีข้อมูลจํานวนมาก

ตอบ 1 หน้า 18 ศ.ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า ลักษณะของนโยบายที่มีแนวโน้มจะประสบความสําเร็จ ควรมีลักษณะดังนี้

1 เป็นนโยบายที่ไม่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป

2 การเห็นผลได้ชัดเจนของนโยบาย

3 การมีข้อมูลที่ยืนยันได้ชัดเจน เป็นต้น

95 ความเป็น Dynamic ของปัญหาคืออะไร

(1) การที่ปัญหาอาจแปรเปลี่ยนลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม (2) การเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันของปัญหา

(3) การที่ปัญหามีความหมายในตัวของปัญหาเอง

(4) การที่ปัญหาไม่มีตัวตนของปัญหาเอง

(5) การมีปัญหาหลายปัญหาในเวลาเดียวกัน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

96 เพราะเหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่าการศึกษานโยบายสาธารณะเป็นเหตุผลในเชิงวิชาชีพ

(1) วิชานโยบายสาธารณะเป็นวิชาชีพ

(2) เพราะมีการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย

(3) เพราะวิชานโยบายสาธารณะได้ฝึกคนให้เป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน

(4) เพราะวิชานโยบายสาธารณะให้ความสําคัญในเรื่องของความสําเร็จในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) Thomas R. Dye เห็นว่า เหตุผลในการศึกษานโยบายสาธารณะ มี 3 ประการ คือ

1 เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ คือ การทําความเข้าใจถึงเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย

2 เหตุผลเชิงวิชาชีพ คือ เป็นการนํานโยบายไปใช้แก้ปัญหาในทางปฏิบัติ

3 เหตุผลทางการเมือง คือ การดัดแปลงนโยบายเพื่อนํามาใช้ให้บรรลุเป้าหมายที่ถูกต้องทางการเมือง

97 ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงน้อยคือ

(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง

(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)

(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Values)

(4) ข้อมูลทุกประเภท

(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงสร้างของดิน

ตอบ 2 หน้า 11 ข้อมูลในการวางนโยบายหรือแผน อาจจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงเช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ และภูมิศาสตร์

2 ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่นเชื่อถือของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

98 กระบวนการใดเป็นกระบวนการที่นับว่ามีอิทธิพลต่อทุกกระบวนการมากที่สุด

(1) การวางโครงการ

(2) การนําโครงการไปปฏิบัติ

(3) การวิเคราะห์โครงการ

(4) การประเมินผลโครงการ

(5) การประเมินโครงการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการของแผน/โครงการนั้น กระบวนการหรือขั้นตอนที่ใช้ข้อมูลมากที่สุดและมีอิทธิพลต่อทุก ๆ กระบวนการมากที่สุดก็คือ การวางแผน/โครงการ เพราะโดยทั่วไปแล้ว การที่แผน/โครงการจะประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวนั้น จะขึ้นอยู่กับกระบวนการหรือขั้นตอน ที่ว่านี้เป็นสําคัญ กล่าวคือ ถ้าวางแผน/โครงการได้ดีมีรายละเอียดครอบคลุม มีการเก็บข้อมูล อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ย่อมส่งผลให้การวางโครงการมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ และประเมิน การนําไปปฏิบัติ ตลอดจนการประเมินผลสามารถทําได้โดยง่าย และโอกาสที่แผน/โครงการนั้นจะประสบความสําเร็จก็จะมีสูง

99 ดร.สมพร แสงชัย กล่าวว่า การพิจารณาสภาพแวดล้อมนั้นต้องพิจารณาอะไรบ้าง

(1) พิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ

(2) พิจารณาปัญหา

(3) พิจารณาความต้องการของประชาชน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 37 – 39 ดร.สมพร แสงชัย กล่าวว่า กระบวนการวางโครงการมีขั้นตอนสําคัญ ๆ 8 ขั้นตอนดังนี้

1 การพิจารณาสภาพแวดล้อมและเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อศึกษาปัญหา (จําเป็นที่สุด) ความต้องการของประชาชน รวมถึงนโยบาย แผน หน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนความจําเป็นที่จะต้องมีการร่างหรือวางโครงการ

2 การกําหนดวัตถุประสงค์และ เป้าหมาย

3 การหาทางเลือกหรือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด (The Best Alternative)

4 การจัดทําโครงการหรือการลงมือร่างโครงการหรือการเขียนโครงการตามทางเลือกหรือวิธีการ ที่ดีที่สุด ซึ่งประกอบด้วย การกําหนดเป้าหมายให้ละเอียด, การระบุชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ (Project Manager) และการจัดทําโครงการปฏิบัติหรือการจัดทํา “Project Programming”

5 เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ (โดยทั่วไปแล้วกระบวนการวางโครงการจะสิ้นสุดลงที่ขั้นตอนนี้)

6 เสนอของบประมาณ

7 นําโครงการไปปฏิบัติ

8 ประเมินผลโครงการ

100 การถาม What เพื่อหาคําตอบอะไร

(1) ค้นหาปัญหา

(2) ค้นหาวิธีแก้ปัญหา

(3) ค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหา

(4) ผิดทุกข้อ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 39 การวางโครงการตามแนวดั้งเดิมหรือประเพณีนิยม (Traditional Model)จะประกอบด้วยการตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้

1 What – การค้นหาปัญหาหรือวิธีแก้ปัญหา จนเกิดทางเลือกต่าง ๆ

2 When – การระบุเวลาที่ควรแก้ไขปัญหา

3 Where – การกําหนดสถานที่และขอบเขตของโครงการ

4 Why – การระบุถึงความต้องการ

5 How – การกําหนดวิธีแก้ไขปัญหาหรือวิธีการดําเนินงาน

6 Who – บุคคลหรือองค์การที่ต้องรับผิดชอบในกระบวนการของโครงการ

101 ข้อใดไม่ใช่ปัญหาอุปสรรคในการประเมินนโยบายสาธารณะ

(1) กลัวว่าข้อมูลบางอย่างที่ได้รับจากการประเมินผลอาจจะถูกบิดเบือนและปรุงแต่ง

(2) เป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นและไม่มีประโยชน์

(3) เกิดการต่อต้านจากบุคคลต่าง ๆ

(4) ไม่มีระเบียบทางราชการให้ประเมินได้

(5) กลัวว่าการประเมินอาจจะนําไปสู่การยกเลิกสิ้นสุดนโยบาย

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัญหาและอุปสรรคในการประเมินผลนโยบายสาธารณะ ได้แก่

1 คิดว่าการประเมินผลเป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นและไม่มีประโยชน์

2 ผู้ถูกประเมินผลมักจะวิตกกังวลว่าอาจทําให้ตนเสียประโยชน์

3 มองว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ

4 กลัวว่าการประเมินผลอาจทําให้นโยบายต้องสิ้นสุดลง (ไม่ทําต่อ)

5 ผู้ถูกประเมินผลมักจะมองว่าการประเมินผลเป็นการจับผิดกัน ดังนั้นจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับผู้ประเมิน เป็นต้น

102 ข้อใดไม่ใช่ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ (Unofficial Policy-Makers)

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) พรรคการเมือง

(3) สื่อมวลชน

(4) นักวิชาการ

(5) รัฐสภา

ตอบ 5 หน้า 3, (คําบรรยาย) ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างเป็นทางการ ได้แก่ รัฐสภา รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และศาล เป็นต้น

2 ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มนักวิชาการ สื่อมวลชน เป็นต้น

103 ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่แตกต่างจากแผนอื่น

(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน

(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน

(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม

(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

(5) เป็นการพัฒนาคนและเศรษฐกิจพอเพียง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 – ฉบับที่ 10 โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ควบคู่ไปกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” และ “สร้างสมดุลการพัฒนา” ที่เชื่อมโยงกันในทุกมิติอย่างบูรณาการและเป็นองค์รวม พร้อมทั้ง ได้กําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยมุ่งพัฒนาไปสู่ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”

104 การศึกษาเพื่อรู้อาการของปัญหาต้องอาศัยองค์ประกอบอะไรของผู้กําหนดนโยบาย

(1) ความอดทน

(2) ความพากเพียร

(3) ภาวะผู้นํา

(4) ความคิดริเริ่ม

(5) ความละเอียดรอบคอบ

ตอบ 4 หน้า 11 การกําหนดสาเหตุและอาการของปัญหานี้จําเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความรู้ ความชํานาญ ประสบการณ์ และความคิดริเริ่มของผู้วางนโยบายอย่างมากจึงจะทําให้นโยบายสมบูรณ์ที่สุดได้ และหากสามารถกําหนดสาเหตุและอาการของปัญหาได้ชัดเจนแล้วก็จะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย

105 ความเป็นธรรมของนโยบายวัดได้อย่างไร

(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม

(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน

(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน

(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย

(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณาหรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

106 ใครได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์”

(1) Harold Lasswell

(2) Dwight Waldo

(3) Herbert Simon

(4) Thomas R. Dye

(5) Woodrow Wilson

ตอบ 1 (คําบรรยาย) Harold Lasswell ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ซึ่งเป็นผู้ที่ผสมผสานแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ ปรัชญาและสังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน

107 ขั้นตอนกระบวนการนโยบายประกอบด้วยอะไร

(1) วิเคราะห์นโยบาย กําหนดนโยบาย ติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) การกําหนดนโยบาย การวิเคราะห์นโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย

(3) การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบายการกําหนดนโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบาย การกําหนดนโยบาย การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย

(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติ การติดตามประเมินผลนโยบาย การกําหนดนโยบาย การวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 2 หน้า 8, (คําบรรยาย) กระบวนการของนโยบาย (Processes of Policy) ประกอบด้วยกระบวนการที่สําคัญเรียงตามลําดับ ดังนี้

1 การกําหนดนโยบาย (Policy Formulation or Policy Making)

2 การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)

4 การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย (Policy Evaluation)

108 นโยบายตามตัวแบบผู้นําจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด

(1) ให้ประโยชน์กับสังคม

(2) ให้กับผู้ด้อยโอกาส

(3) ประชาชนโดยทั่วไป

(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด

(5) ผู้ใต้บังคับบัญชา

ตอบ 4 หน้า 3 ตัวแบบหรือทฤษฎีผู้นํา (Elite Mode/Theory) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ คือ แนวทางที่สะท้อนค่านิยมที่เลือกสรรแล้วของผู้นําหรือกลุ่มผู้นํา โดยไม่จําเป็นต้องสนใจว่า สาธารณชนจะพึงพอใจหรือไม่ ซึ่งนโยบายที่ออกมาก็มักจะให้ประโยชน์แก่ผู้นําและผู้ใกล้ชิดเอง ดังนั้นสถานการณ์ที่จะเกิดนโยบายตามตัวแบบนี้ได้ จึงต้องเป็นสถานการณ์ที่ผู้นํามีอํานาจ สูงมากในทางการเมืองหรือทางสังคม เช่น การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในภาวะการปฏิวัติ/รัฐประหาร เป็นต้น

109 การระบุอาการของปัญหาเป็นการอธิบายถึงปรากฏการณ์ของปัญหา พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงประจักษ์พยาน เพื่อยืนยันอะไร

(1) ลักษณะของปัญหา

(2) ความมีอยู่จริงของปัญหา

(3) จุดเด่นของปัญหา

(4) ความไม่มีอยู่จริงของปัญหา

(5) วิธีแก้ไขปัญหา

ตอบ 2 หน้า 11 การกําหนดอาการของปัญหา เป็นการอธิบายถึงปรากฏการณ์ของปัญหา พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงประจักษ์พยานเพื่อยืนยันถึง “ความมีอยู่จริงของปัญหา” โดยปัญหาที่มีอาการอยู่มากก็จะแสดงว่าเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง หรือมีความเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการแก้ไขก่อน

110 คํากล่าวที่กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายเป็นสาขาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งใช้วิธีการมากมายหลายวิธีในการค้นหาแสดงเหตุผล เพื่อที่จะผลิตและเปลี่ยนสภาพของข่าวสารที่เกี่ยวกับนโยบาย”

(1) William Dunn

(2) James Wilde

(3) Dumear Macrae

(4) Mel Dubnick

(5) ของทุกคนที่กล่าวมา

ตอบ 1 หน้า 15 William Dunn กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายเป็นสาขาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์ซึ่งใช้วิธีการมากมายหลายวิธี ในการค้นหาแสดงเหตุผลเพื่อที่จะผลิตและเปลี่ยนสภาพของ ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย”

111 เราสามารถรับรู้นโยบายสาธารณะได้จากสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ ยกเว้น

(1) กฎหมาย

(2) แผนงานและโครงการ

(3) คําสั่งของผู้บังคับบัญชา

(4) การตรวจงานของสํานักงบประมาณ

(5) ระเบียบข้อบังคับขององค์การ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

112 แนวล่าสุดในการศึกษานโยบายสาธารณะคือแนวใด

(1) กระบวนการทางนโยบาย

(2) การวิเคราะห์นโยบาย

(3) เนื้อหาสาระของนโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) การประเมินนโยบาย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการตามลําดับ ดังนี้

1 การศึกษาเนื้อหาทางด้านนโยบายสาธารณะ (Policy-Issue Knowledge) 2 การศึกษากระบวนการทางนโยบายสาธารณะ (Policy Process)

3 การศึกษาแนวทางการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (Policy Analysis)

113 คํากล่าวที่ว่านโยบายหมายถึง “การตัดสินใจขั้นต้นที่กําหนดแนวทางทั่วไปอย่างกว้าง ๆ เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้” เป็นของผู้ใด

(1) Thomas R. Dye

(2) William T. Greenwood

(3) ดร.กระมล ทองธรรมชาติ

(4) William Dunn

(5) Gulick and Urwick

ตอบ 2 หน้า 1 William T. Greenwood กล่าวว่า “นโยบาย (Policy) หมายถึง การตัดสินใจขั้นต้นที่กําหนดแนวทางทั่วไปอย่างกว้าง ๆ เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้”

114 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด

(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ

(2) มีรูปเป็นแบบแผนงาน โครงการ

(3) มีรูปเป็นประกาศ

(4) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นไป

(5) มีรูปแบบเป็นสัญญา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

115 เหตุใดรัฐสภาเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ

(1) ผู้แทนราษฎรในรัฐสภามาจากประชาชน

(2) รัฐสภามีหน้าที่ออกกฎหมาย

(3) รัฐสภาไม่ใช่ผู้กําหนดนโยบาย

(4) เป็นอํานาจของรัฐสภาในการบริหารประเทศ

(5) เฉพาะประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางที่รัฐกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อประโยชน์สุขของสังคม โดยนโยบายสาธารณะจะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน เช่น เป็นกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ สัญญา แผนงาน เป็นต้น ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงอาจมี ที่มาจากสถาบันที่มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน เช่น นโยบายสาธารณะอาจจะถูกกําหนดมาจากรัฐสภา เนื่องจากรัฐสภามีหน้าที่ออกกฎหมาย เป็นต้น

ข้อ 116 – 120 เป็นคําถามเกี่ยวข้องกับลักษณะของตัวแบบในแนวการอธิบายนโยบาย

(1) Elite Model

(2) Group Model

(3) Institution Model

(4) System Model

(5) Incremental Model

 

116 เป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง

ตอบ 3 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบหรือทฤษฎีสถาบัน (Institution Mode/Theory) เชื่อว่านโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ ก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นนโยบายสาธารณะ ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันการปกครองแล้ว เท่านั้น ตัวอย่างสถาบันการปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันรัฐสภา สถาบันบริหาร (เช่น นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ สถาบันตุลาการ (เช่น ศาล) และสถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

117 แสวงหาลู่ทางในการประนีประนอมเพื่อทําให้เกิดดุลยภาพของการแข่งขัน

ตอบ 2 หน้า 4 – 5 ตัวแบบหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Mode/Theory) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเป็นข้อตกลง หรือเป็นผลผลิตที่เกิดจากดุลยภาพระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็ ดิ้นรนต่อสู้/แข่งขันกัน เพื่อเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลตอบสนองความต้องการของกลุ่มตนเอง หรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอํานาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ ในขณะที่ระบบการเมืองจะมี หน้าที่ในการจัดการความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม โดยการกําหนดกฎและกติกาในการต่อสู้แข่งขัน การเจรจาต่อรอง การประนีประนอม การตกลงแบ่งปัน และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และนําข้อตกลงหรือข้อประนีประนอมที่ได้มากําหนดเป็นนโยบาย

118 ไม่จําเป็นต้องสนใจว่าสาธารณชนจะพึงพอใจหรือไม่

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 108 ประกอบ

119 ใช้ในภาวะการปฏิวัติรัฐประหาร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 108 ประกอบ

120 ต่างดิ้นรนแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอํานาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 117 ประกอบ

 

POL3313 การบริหารการพัฒนา S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงความเป็นมาของกระแสแนวคิดการบริหารการพัฒนาในอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมนําเสนอถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิดหลักในการศึกษาการบริหารการพัฒนา ได้แก่ สํานักคิดดังเดิม สํานักคิดระบบ และสํานักคิดนิเวศวิทยา มาพอสังเขป

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 5 – 11, 27 – 40)

ความเป็นมาของการบริหารการพัฒนา

1 ความเป็นมาของการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรม

ช่วงทศวรรษ 1930 ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลก (The Great Depression) ทําให้ประธานาธิบดีโรสเวลท์ (Roosevelt) ของสหรัฐอเมริกา ต้องหันมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในประเทศ โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงปรัชญาและการปฏิบัติงาน โดยรัฐบาลกลางได้ใช้ความริเริ่มใน การพัฒนาโครงการพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งมีการออกกฎหมายเพื่อปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ทั้งในด้านการเงิน ระบบ ภาษี และสวัสดิการทางสังคม

1 การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมจึงเกิดขึ้นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ถือได้ว่าเป็นการวางรากฐานของการบริหารการพัฒนา และนับว่าเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแก่ประเทศอื่น ๆ ในเรื่องการ กําหนดหน้าที่ทั้งหลายขององค์การในการบริหารให้บรรลุผลสําเร็จ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือประเทศในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสภาพของสงคราม โดยช่วยเหลือผ่านแผนการมาร์แชล (Marshall Plan) ในปี ค.ศ. 1947 จุดมุ่งหมายหลัก คือให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งนําโดย สหภาพโซเวียต ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสําเร็จทําให้ยุโรปฟื้นตัว และมีความเจริญก้าวหน้าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในเวลาต่อมา

องค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ได้มี บทบาทอย่างสําคัญในการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการแก่ประเทศด้อยพัฒนาและกําลัง พัฒนา โดยมิได้คํานึงถึงอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นหลัก ดังเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ขณะเดียวกันประเทศตะวันตกที่เจริญแล้วก็ได้เข้าไปช่วยเหลือประเทศกําลังพัฒนาอื่น ๆ ในเอเชีย แอฟริกา และ อเมริกาใต้ด้วย

นอกจากนี้ องค์การเอกชนก็ได้เข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกําลังพัฒนา เช่น มูลนิธิฟอร์ด มูลนิธิรอกกี้เฟลเลอร์ เป็นต้น ซึ่งเหตุผลก็เพราะว่าระบบภาษีของสหรัฐอเมริกาส่งเสริมทําให้เกิดมูลนิธิเอกชนเพื่อทําประโยชน์แก่สังคม

2 ความเป็นมาของการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นศาสตร์

ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 กลุ่มนักวิชาการชาวอเมริกันที่สนใจการบริหารเปรียบเทียบ ได้ ร่วมกันจัดตั้งสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์อเมริกัน (American Society for Public Administration : ASPA ขึ้น และภายในสมาคมนี้ก็ได้จัดตั้งกลุ่มย่อยขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า กลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (Comparative Administration Group : CAS) ซึ่งหมายความว่าในระยะเวลานี้สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้ แยกตัวออกจากสาขาวิชารัฐศาสตร์แล้ว

ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 และ 1965 กลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (CAG) ได้รับเงินอุดหนุน จากมูลนิธิฟอร์ดรวมกันเป็นเงิน 500,000 ดอลลาร์ มาใช้ในการวิจัย และเขียนตําราในด้านการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ โดยในระยะแรกของกิจกรรมการวิจัยมีจุดเน้นหนักที่การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ แต่ต่อมาเงินทุน การวิจัยได้เปลี่ยนจุดเน้นมาที่สาขาย่อยคือ สาขาการบริหารการพัฒนา

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า รากฐานความรู้ของการบริหารการพัฒนา (Development Administration : DA) ก็คือ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration : CPA) นั่นเอง แต่วิชา DA จะมีจุดเน้นที่แตกต่างไปจากวิชา CPA ก็คือ DA นั้นจะให้ความสําคัญเกี่ยวกับการประยุกต์ มากกว่า CPA

เพราะฉะนั้นวิชา DA ในฐานะที่เป็นสาขาย่อยของ CPA จึงได้แยกตัวออกมาจากวิชา CPA และ DA ก็ได้มีความเจริญก้าวหน้า มีผลงานการวิจัยและตําราเกิดขึ้นมากมายจนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่ง ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือการบริหารรัฐกิจในช่วงกลางทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา

สําหรับนักวิชาการกลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (CAS) นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการชาว อเมริกันที่เคยไปเป็นที่ปรึกษาแก่ประเทศกําลังพัฒนาในด้านการบริหารรัฐกิจ และได้พบว่าความรู้ส่วนหนึ่งของ วิชารัฐประศาสนศาสตร์ที่เกิดจากการศึกษาในประเทศที่พัฒนานั้น ส่วนหนึ่งสามารถนํามาใช้ได้ แต่อีกส่วนหนึ่ง ก็ไม่สามารถนํามาใช้ได้ในประเทศกําลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะสภาพการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ กําลังพัฒนานั้นมีความแตกต่างไปจากประเทศที่พัฒนาแล้วโดยสิ้นเชิง

กล่าวโดยสรุป วิชาการบริหารการพัฒนา (DA) เป็นวิชาที่มีรากฐานมาจากวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ (CPA) และเป็นผลมาจากการศึกษาของนักวิชาการกลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (CAG) นั่นเอง

แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

1 แนวการศึกษาแบบเก่าหรือดั่งเดิม (Traditional Administration)

การศึกษาแบบเก่า จะเน้นศึกษาด้านโครงสร้าง หลักเกณฑ์ ตลอดจนกระบวนการในการ บริหารงานขององค์การที่รับผิดชอบต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการศึกษาในแนวนี้จึงเน้นถึงสมรรถนะในการบริหาร ขององค์การของรัฐบาล พยายามที่จะขจัดปัญหาและอุปสรรคในการบริหาร เพื่อที่จะแก้ไขและปรับปรุงกลไก ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อที่จะได้สนองตอบต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

เพราะฉะนั้น การศึกษาการบริหารการพัฒนาในแนวความคิดนี้จึงเกี่ยวพันอยู่กับการ วางแผน การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ การบริหารงานบุคคล ตลอดจนระบบการศึกษาอัน เป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจ

2 แนวการศึกษาแบบระบบ (System Approach)

การศึกษาแบบระบบ จะมองการพัฒนาว่าเป็นระบบ (เปิด) ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น เป้าหมายของการพัฒนาจึงขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน

Saul M. Katz เป็นผู้ที่นําเอาแนวการศึกษาแบบระบบมาใช้ในการศึกษาการบริหารการพัฒนา โดยมองว่า การพัฒนาเป็นระบบ ซึ่งมีกระบวนการที่มีทิศทาง และมุ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้ เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ และในสังคมระบบราชการจะเป็นตัวแทนที่สําคัญในการที่จะดําเนินการให้ กระบวนการพัฒนาประเทศบรรลุถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้

ดังนั้น ระบบการพัฒนาจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน เงิน วัสดุอุปกรณ์ พฤติกรรม และการ จัดสรรเงิน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการในด้านกลวิธีการและเทคนิคในการที่จะทํางานให้บรรลุผลสําเร็จ ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ หรืออาจกล่าวได้ว่าระบบการพัฒนาเป็นระบบที่สนองตอบต่อความต้องการในด้าน เทคนิคและวิธีการในการดําเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

3 แนวการศึกษาแบบภาวะนิเวศ (Ecological Approach)

การศึกษาภาวะนิเวศ หมายถึง การบริหารงานแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่าง ระบบบริหารกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจและสังคม ตัวอย่างเช่น

แนวความคิดในการบริหารการพัฒนาแบบภาวะนิเวศของ Edward W. Weidner เห็นว่า การบริหารการพัฒนา จะมีลักษณะที่สําคัญ 4 ประการ คือ

1 การเจริญเติบโตที่มีทิศทาง (Directional Growth)

2 การเปลี่ยนแปลงระบบ (System Change)

3 การวางแผนหรือจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลง (Planning or Intended Change)

4 การเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า (Planned Change)

จากลักษณะของการบริหารการพัฒนาทั้ง 4 ประการ ได้นํามาเป็นหลักในการจัดแบ่ง ประเภทของการบริหารการพัฒนาออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การบริหารการพัฒนาแบบอุดมการณ์ (The Ideal Planned) เป็นกระบวนการวางแผน เพื่อความเจริญเติบโตในทิศทางของการสร้างชาติ ความทันสมัยและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบ และมีการกําหนดโครงการพัฒนาต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อนําไปปฏิบัติให้บังเกิดผล เช่น การบริหารการพัฒนาโครงการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ, การจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติของไทย เป็นต้น

2 การบริหารการพัฒนาที่ให้ผลระยะสั้น (The Short-run Payoff : Planned Directional Growth with no System Change) เป็นกระบวนการวางแผนเพื่อความเจริญเติบโตในทิศทางที่ต้องการ แต่จะ ไม่สนใจเปลี่ยนแปลงระบบสังคม โดยการบริหารการพัฒนาในลักษณะนี้ จะเห็นผลได้รวดเร็ว และสามารถขอ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังทําให้รัฐบาลเกิดเสถียรภาพ เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลง ระบบสังคมนั่นเอง เช่น การอนุมัติเงินกู้จากเจบิคในการลงทุนสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เป็นต้น

3 การบริหารการพัฒนาที่ให้ผลในระยะยาว (The Long-run Payoff : Planned System Change with no Directional Growth) เป็นกระบวนการวางแผนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ แต่จะ ไม่มีทิศทางของการเจริญเติบโต ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปได้ทั้งในทางบวกและทางลบ เช่น การปฏิรูปกฎหมาย ภาษีและที่ดิน, การแบ่งส่วนแบ่งรายได้จากภาษีธุรกิจสุราเพื่อช่วยเหลือผู้พิการมากขึ้น, การปรับปรุงระบบ จําแนกตําแหน่งของข้าราชการไทยจากระบบซีเป็นระบบแท่ง เป็นต้น

4 การบริหารการพัฒนาที่สนองตอบต่อสภาพแวดล้อม (Environmental Stimulus : Unplanned Directional Growth with System Change) ไม่ได้มีการวางแผนระยะยาวเอาไว้ ทั้งนี้เพราะว่า กลุ่มที่มีอํานาจคัดค้านหรือสนับสนุนเพื่อต้องการสนองตอบต่อสภาพแวดล้อมบางอย่าง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลง ระบบอาจเกิดขึ้นได้ในระบบราชการโดยมีลักษณะเป็นการชั่วคราว ถ้าระบบราชการนั้นเห็นว่ามีเงื่อนไขที่สามารถ ทําได้

5 การบริหารการพัฒนาในทางปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ (Pragmatism : Unplanned Directional Growth with no System Change) ส่วนใหญ่แล้วประเทศที่กําลังพัฒนาจะมีความเจริญเติบโต ไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดการพัฒนาได้ โดยที่ไม่ต้องมีการวางแผนและการเปลี่ยนแปลงระบบหรือเปลี่ยนแปลง เพียงเล็กน้อย เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

6 การบริหารการพัฒนาแบบวิกฤตการณ์ (Crisis : Unplanned System Change with no Directional Growth) เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบและเกิดการเจริญเติบโตแบบไม่มีการวางแผนและกําหนด ทิศทางเอาไว้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงมักเป็นการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ซึ่งคล้ายกับเป็น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น สงคราม ความอดอยาก โรคระบาด ปัญหาคนอพยพเข้าประเทศ ปัญหาช้างเร่ร่อน น้ําท่วม ฝนแล้ง และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น

7 การบริหารการพัฒนาที่ล้มเหลว (Failure : Planning with no Growth or System Change) เป็นการวางแผนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบ และไม่มีการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงถือว่าล้มเหลว

8 การไม่มีการบริหารการพัฒนา (Static Society : No Plans, No Change) อาจพบได้ ในสังคมบางส่วนของประเทศที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ต้องการพัฒนา

กล่าวโดยสรุปแล้ว ในการบริหารการพัฒนานั้น จะขึ้นอยู่กับกลุ่มชนชั้นผู้นําและผู้ที่มีอํานาจ ในการกําหนดนโยบายที่จะเลือกวิถีทางออกของการพัฒนาประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นรูปผสมของ การบริหารการพัฒนาชนิดที่ 1 – 6 ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลลัพธ์ในระยะเวลาที่สั้น และแนวโน้มที่เป็น ที่น่าสังเกตคือในการมุ่งพัฒนาประเทศนั้น หน่วยงานราชการต้องการวิธีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีแผน หรือ การเปลี่ยนแปลงที่มีแผนแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงความแตกต่างของความหมายของ DA และ AD พร้อมวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในการนําไปสู่การบริหารการพัฒนา

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31 – 34)

การบริหารการพัฒนา (Development Administration : DA)

การบริหารการพัฒนา เป็นการปรับกระบวนการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของโครงการรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า เราต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลก่อนว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไร แล้วจึงนํา การบริหารเข้ามาช่วยปฏิบัติการให้สําเร็จผลตามจุดมุ่งหมายนั้น

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารงานของรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ และสังคม ตามนโยบายของรัฐที่ได้กําหนดไว้แล้ว โดยนักบริหารการพัฒนาจะต้องทํางานเป็นตัวนําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดําเนินการตามนโยบาย แผน และโครงการต่าง ๆ ที่ กําหนดขึ้นโดยรัฐบาล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่ทําให้การเปลี่ยนแปลงสําเร็จตามเป้าหมาย

สรุป การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goal Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว

จากการที่มีผู้เสนอทัศนะเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาการ บริหาร หรือการเพิ่มพูนสมรรถนะของระบบบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ เช่น Fred W. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนามีความหมายสําคัญ 2 ประการ คือ

1 การบริหารโครงการพัฒนา หรือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่องค์การขนาดใหญ่โดยเฉพาะ องค์การของรัฐนํามาใช้ในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนที่กําหนดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมรรถนะทางการบริหาร

การพัฒนาการบริหารต้องอาศัยกระบวนการทางการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ทาง การเมืองที่คอยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการบริหาร หรือการที่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการนํานโยบายในการ พัฒนาการบริหารต่อข้าราชการและประชาชน จึงมีความจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการบริหารให้มีความทันสมัย หรือมีการปฏิรูประบบการบริหารเสียใหม่

การพัฒนาการบริหาร (Administrative Development : AD or Development of Administration 😀 of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การ การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารให้มีสมรรถนะ (Capabilities) หรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม สําหรับการพัฒนาประเทศ

จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการบริหารไม่ใช่การปรับปรุง องค์การหรือการปรับปรุงนวัตกรรมขององค์การ แต่จะมีขอบข่ายที่กว้างขวางมากกว่า คือเน้นการเปลี่ยนแปลง ทางด้านโครงสร้าง เปลี่ยนแปลงกระบวนการในการทํางานและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับปฏิบัติการ ดังนั้นการปรับปรุงองค์การและนวัตกรรมองค์การจึงเป็นเพียงส่วน หนึ่งของการพัฒนาการบริหาร

 

ข้อ 3 จงวิเคราะห์ถึงพัฒนาการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีประเด็นความแตกต่างอย่างไรบ้าง และสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนทัศน์ของการบริหารการพัฒนาของไทยอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบมาพอสังเขป

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 162 – 300), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 72 – 89)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย

ประเทศไทยขอให้ธนาคารโลกส่งคณะผู้แทนเข้ามาสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สรุปว่า คณะสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลกเดิน ทางเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2501 และได้ จัดทํารายงานขึ้นมาฉบับหนึ่งเรียกว่า A Public Development Program for Thailand แม้จะไม่ได้เป็น แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริงที่รัฐบาลไทยรับรองเป็นทางการก็ตาม แต่เป็นการศึกษาปัญหาและแนวทางการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างละเอียด

คณะสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลก ได้คํานวณปริมาณเงินที่รัฐบาลอาจจัดหามาได้ ในระหว่างปี พ.ศ. 2501 – 2506 และแนะวิธีการจัดสรรเงิน ตลอดจนกําหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้รายจ่ายนั้นได้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด รายงานฉบับนี้จึงอาจใช้เป็นหลักใน การดําเนินงานวางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจของชาติได้เป็นอย่างดี

ข้อเสนอของคณะสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลกที่นับว่ามีความสําคัญเป็นอย่าง มากต่อการจัดเตรียมงานวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ ข้อเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งหน่วยงาน วางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจระดับชาติขึ้นเป็นการถาวร โดยมอบหมายให้ทําหน้าที่ศึกษา ติดตาม วิจัยสภาวะ เศรษฐกิจ และให้มีหน้าที่จัดทําแผนพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศ การดําเนินงานของหน่วยงานวางแผน พัฒนาเศรษฐกิจระดับชาตินี้ให้อยู่ในความรับผิดชอบของเลขาธิการ และให้จัดตั้งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ แห่งชาติ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509) เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504 โดยเป็นแผนพัฒนาฯ ฉบับเดียวที่มีระยะเวลาใช้งาน 6 ปี ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเฉพาะการลงทุนสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Facilities) เช่น ถนน รถไฟ เขื่อน ไฟฟ้า ประปา ระบบชลประทาน ระบบโทรคมนาคม และสาธารณูปการอื่น ๆ เป็นต้น แต่มิได้กล่าวถึงแผนงาน ด้านการพัฒนาสังคมเลย (ด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่มีคําว่า “และสังคม” ต่อท้ายชื่อแผน เหมือนแผนพัฒนาฯ ฉบับ อื่น ๆ) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวได้ทําให้เกิดปัญหาช่องว่างของการกระจายรายได้ และ ปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514) แนวทางการพัฒนา ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลักเหมือนกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 แต่ได้เริ่มพูดถึงความสําคัญของการ กระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเขตทุรกันดารและห่างไกลความเจริญ – และเริ่มพูดถึงเรื่องการพัฒนาสังคมบ้างเล็กน้อย

ข้อสังเกต แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 จะมุ่งเน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้านการลงทุนและกระจายการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน รถไฟ เขื่อน ไฟฟ้า ประปา ระบบชลประทาน ระบบโทรคมนาคม และ สาธารณูปการอื่น ๆ เป็นต้น แต่การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว ทําให้เกิดปัญหาซ่องว่างของการกระจายรายได้ และปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519) ยังคงมุ่งเน้นการ พัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ให้ความสําคัญกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น และให้ความสําคัญกับการ พัฒนาสังคม การลดอัตราการเพิ่มประชากร และการกระจายรายได้ควบคู่กันไปด้วย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524) เกิดวิกฤตการณ์ ทางการเงินระหว่างประเทศ วิกฤตการณ์น้ํามัน ภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งปัญหาฝนแล้งและน้ําท่วม ทําให้รัฐบาลต้อง หันมาให้ความสําคัญต่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับนี้จึงเป็นเพียงการเร่งบูรณะและ ปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักของชาติ อย่างไรก็ตามพบว่า การพัฒนามักตกอยู่กับคนรวยมากกว่าคนจน โดยมีคนจนมาก ๆ อยู่ในชนบทห่างไกลเป็นจํานวนถึง 11.5 ล้านคน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) ได้ปรับเปลี่ยน ปรัชญาและทิศทางการพัฒนาใหม่ โดยมุ่งพัฒนาในพื้นที่ยากจนหรือด้อยพัฒนาเป็นอันดับแรก นอกจากนั้นยัง เริ่มเปลี่ยนวิธีการวางแผนจากรายโครงการมาเป็นการจัดทําแผนงาน (Programming) โดยเฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและการพัฒนาชายฝั่งทะเล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) เศรษฐกิจไทยมี การขยายตัวในระดับสูง เน้นวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เริ่มให้ความสําคัญมาก ขึ้นต่อการสนับสนุนการวางแผนจากระดับล่างขึ้นมาข้างบน และให้ความสําคัญต่อการปรับปรุงการบริหารและ ทบทวนบทบาทของรัฐในการบริหารประเทศ สังคมไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปสู่ความเป็นสังคมเมือง มากขึ้น ทําให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่แบบไทยดั้งเดิมต้องปรับเปลี่ยน เน้นการดําเนินชีวิตในรูปแบบสมัยใหม่ เน้นการบริการพื้นฐานที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539) เนื่องจากการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของไทยขยายตัวมากขึ้น รัฐบาลจึงปรับแนวคิดไปสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน โดยมุ่งรักษาระดับความเจริญเติบโตในระดับที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ทําให้ประเทศไทย พ้นจากการถูกจัดให้เป็นประเทศยากจน เข้าสู่ประเทศที่กําลังพัฒนา แต่การเติบโตดังกล่าวยังอยู่บนพื้น ฐานความไม่สมดุลของการพัฒนา เพราะมีปัญหาความเหลื่อมล้ําของการกระจายรายได้ และผลประโยชน์ ระหว่างภาคระหว่างชนบทกับเมืองและระหว่างกลุ่มคนในสังคม ดังนั้นแม้เศรษฐกิจจะขยายตัวแต่สังคมยังมีปัญหา การพัฒนาจึงไม่ยั่งยืน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544) เป็นจุดเปลี่ยน สําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศและเป็นแผนปฏิรูปความคิดและคุณค่าใหม่ของสังคมไทยที่ให้ความสําคัญ กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งเน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และกําหนดให้เศรษฐกิจ เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนา แบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ในปีแรกของแผนพัฒนาฯ ประเทศไทยต้องประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทําให้ต้องมีการปรับแผน โดยเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การลดผลกระทบต่อการพัฒนาคนและ สังคม และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) ได้อันเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นปรัชญา นําทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็น ศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยยึดหลักทางสายกลางเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจาก วิกฤต สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยังยืน ภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ประเทศไทย ยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจํากัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้น โดยยังคงอันเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 และให้ ความสําคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดําเนินการในทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้ง สร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการ ดําเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2558) มีแนวคิดที่ ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 – 10 โดยยังคงยึดหลักการปฏิบัติตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ ขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วนทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งใน ระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความ เสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้จัดทําขึ้นใน ช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดกัน มากขึ้น โดยได้น้อมนําหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานําทางในการพัฒนาประเทศ ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 – 11 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้ อย่างมั่นคงเกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศสู่ความ สมดุลและยั่งยืน

ในการจัดทําแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ครั้งนี้ได้จัดทําบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็น การปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้นได้ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเพื่อร่วมกัน กําหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทํารายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

หลักการสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะมุ่งบรรลุเป้าหมายในระยะ 5 ปี ที่จะสามารถต่อยอดในระยะต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา ระยะยาวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีหลักการสําคัญของแผนพัฒนาฯ ดังนี้

1 ยึด “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อให้เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการ บริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี

2 ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสําหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบ ต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม

3 ยึด “วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มาเป็นกรอบของวิสัยทัศน์ประเทศไทยใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

4 ยึด “เป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579” ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาเป็นกรอบในการกําหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปีแรก และเป้าหมายในระดับย่อยลงมา โดยที่เป้าหมายและ ตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายที่ยั่งยืน

5 ยึด “หลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ําและขับเคลื่อนการเจริญเติบโต จากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนพื้นฐานของการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม”

6 ยึด “หลักการนําไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน 5 ปี ที่ต่อยอดไปสู่ ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเป้าหมายระยะยาว” จากการที่แผนพัฒนาฯ เป็นกลไกเชื่อมต่อในลําดับแรกที่จะกํากับและส่งต่อ แนวทางการพัฒนาและเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้เกิดการปฏิบัติในทุกระดับและในแต่ละด้านอย่าง สอดคล้องกัน

POL3313 การบริหารการพัฒนา 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายถึงสํานักคิดที่นําเสนอแนวคิดการบริหารการพัฒนา ว่ามีแนวทางการพัฒนาอย่างไรบ้าง

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 4 – 6, 11 – 12)

Edward w. Weidner ได้พูดถึง การบริหารการพัฒนาว่าเป็นโครงการเปลี่ยนแปลงโดยมี การวางแผนไว้แล้ว (Programs of Planned Change) จึงควรทําความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง (Change) มีอยู่ 3 ชนิด คือ

1 การเจริญเติบโต (Growth) เป็นการเปลี่ยนแปลงความสามารถของคุณสมบัติในตัวของผู้กระทําเอง หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับของการกระทําการ (Growth Involves Changes in Performance Level)

2 การพัฒนา (Development) เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวกระทําการใหม่ หรือเป็นการ เปลี่ยนระบบที่กระทําการ (Change in the System Which Performs)

3 การแปลงรูป (Transformation) เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของตัวกระทําการ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ (Change in Environmental Factors)

Edward w. Weidner ได้รวบรวมแนวความคิดของนักวิชาการที่ให้ความหมายของการ พัฒนา ว่าอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1 กลุ่มแรก เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของความเจริญเติบโต (Growth) ซึ่งหมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงในผลที่ได้ (Output) ของระบบโดยมีปริมาณผลที่ได้สูงขึ้นกว่าเดิม

2 กลุ่มที่สอง เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในระบบที่กระทําการ (System Change หรือ Action Oriented) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบสังคมหรือระบบบริหารในประเทศที่ ลังพัฒนา เป็นต้น

3 กลุ่มที่สาม เห็นว่า การพัฒนาเป็นการปฏิบัติการโดยมีจุดมุ่งหมาย (Goal Orientation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความทันสมัย

4 กลุ่มที่สี่ เห็นว่า การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า (Planned Change) แนวคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ เห็นว่า การพัฒนาที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้นจะต้อง มีการวางแผนระดับชาติ และมีการนําไปปฏิบัติโดยผู้ปฏิบัติงาน

กล่าวโดยสรุป การพัฒนา หมายถึง การทําให้เกิดความเจริญเติบโต และเพิ่มอัตราให้สูงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบ เพื่อให้ระบบมีความสามารถในการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการ ตัดสินใจหรือกําหนดนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพ และความพอใจแก่คนส่วนใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการ หรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ

การพัฒนาและการทําให้ทันสมัย

การพัฒนาและการทําให้ทันสมัยไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เพียงแต่การพัฒนามีขอบเขต กว้างกว่าการทําให้ทันสมัย การพัฒนาเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทาง วัตถุ เนื่องจากชาวตะวันตกเชื่อกันว่าการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) และเป็น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่บางครั้งมนุษย์สามารถกําหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

การพัฒนาเป็นวิธีการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงโดยตรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม การพัฒนาเป็นวิธีการที่รัฐทุนนิยมพึ่งพาใช้เป็นเครื่องมือที่ทําให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ปรารถนา ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หมายถึงความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อให้ทัดเทียมกับ อารยประเทศ ดังนั้นนโยบายและแนวคิดของนักวิชาการในสังคมตะวันตกทําให้เกิดแรงผลักดัน

ความสัมพันธ์ของการพัฒนาระหว่างประเทศตะวันตก และเป็นประเทศที่กําลังพัฒนา การ พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับบุคคล สังคม วัฒนธรรม และระยะเวลา เช่น

1 การพัฒนามีลักษณะแบบวิวัฒนการ (Evolution) มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทีละเล็ก ทีละน้อย นักสังคมศาสตร์และนักสังคมวิทยาในศตวรรษที่ 19 ใช้คําว่า การพัฒนาในความหมายนี้อธิบายถึงที่มา ของมนุษย์ เพราะมีความเชื่อว่ามนุษย์เคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากที่แห่งหนึ่งไปสู่ที่อีกแห่งหนึ่งในทิศทางเดียวกัน การ เคลื่อนย้ายถิ่นฐานนี้จะทําให้ชีวิตมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความแตกต่างกันทั้งวัตถุ และวัฒนธรรม การพัฒนาในลักษณะนี้จึงอาจหมายถึงความก้าวหน้า

2 การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change) นักสังคมศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 มองการพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะการพัฒนามีลักษณะเป็นกลางมากกว่าความก้าวหน้า และสนใจที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์

3 การพัฒนาเป็นแนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์ (Economic) นักเศรษฐศาสตร์ให้ความ สนใจเรื่องการพัฒนาเพราะสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้รายได้ประชาชาติ แนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์มองการพัฒนาว่า มีความหมายเกี่ยวกับความเป็นอุตสาหกรรม ความทันสมัย และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

4 การพัฒนาเป็นการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) เป็นเรื่องที่ภาครัฐเข้ามาเกี่ยว ข้องในการรับผิดชอบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างคุณภาพ เป็นต้น

5 การพัฒนาเป็นแนวความคิดขัดแย้งทางสังคม (Social Conflict) เมื่อมีการพัฒนา ย่อมจะมีผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผลที่ตามมาความขัดแย้งย่อมจะเกิดขึ้นการพัฒนาประเทศแบบสังคมนิยมใช้ ทฤษฎีความขัดแย้งมาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบ สั่งคมไทยมีความเชื่อว่า การพัฒนาเป็นกระบวนการ วิวัฒนาการตามธรรมชาติ

การพัฒนามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น คน วัสดุ การจัดการ แต่ปัญหาการพัฒนาในทุกด้านจะสําเร็จได้ ถ้าการพัฒนาคนได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยมนุษย์เป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่สุดของการพัฒนา

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างการบริหารการพัฒนากับการพัฒนาการบริหารมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31 – 34)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนาเป็นการปรับกระบวนการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของโครงการรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า เราต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลก่อนว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไร แล้วจึงนํา การบริหารเข้ามาช่วยปฏิบัติการให้สําเร็จผลตามจุดมุ่งหมายนั้น

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารงานของรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ และสังคม ตามนโยบายของรัฐที่ได้กําหนดไว้แล้ว โดยนักบริหารการพัฒนาจะต้องทํางานเป็นตัวนําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดําเนินการตามนโยบาย แผน และโครงการต่าง ๆ ที่ กําหนดขึ้นโดยรัฐบาล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่ทําให้การเปลี่ยนแปลงสําเร็จตามเป้าหมาย

สรุป การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว

จากการที่มีผู้เสนอทัศนะเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาการ บริหาร หรือการเพิ่มพูนสมรรถนะของระบบบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ เช่น Fred w. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนามีความหมายสําคัญ 2 ประการ คือ

1 การบริหารโครงการพัฒนา หรือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่องค์การขนาดใหญ่โดยเฉพาะ องค์การของรัฐนํามาใช้ในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนที่กําหนดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมรรถนะทางการบริหาร

การพัฒนาการบริหารต้องอาศัยกระบวนการทางการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ทาง การเมืองที่คอยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการบริหาร หรือการที่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการนํานโยบายในการ พัตนาการบริหารต่อข้าราชการและประชาชน จึงมีความจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการบริหารให้มีความทันสมัย หรือมีการปฏิรูประบบการบริหารเสียใหม่

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารให้มีสมรรถนะ (Capabilities) หรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม สําหรับการพัฒนาประเทศ

จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการบริหารไม่ใช่การปรับปรุง องค์การหรือการปรับปรุงนวัตกรรมขององค์การ แต่จะมีขอบข่ายที่กว้างขวางมากกว่า คือเน้นการเปลี่ยนแปลง ทางด้านโครงสร้าง เปลี่ยนแปลงกระบวนการในการทํางานและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับปฏิบัติการ ดังนั้นการปรับปรุงองค์การและนวัตกรรมองค์การจึงเป็นเพียงส่วน หนึ่งของการพัฒนาการบริหาร

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงสาเหตุของการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 43 – 45)

สาเหตุการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

Goodwin Watson จําแนกสาเหตุของการต่อต้านไว้ 2 ลักษณะ คือ การต่อต้านเกี่ยวกับ บุคลิกภาพส่วนบุคคล และการต่อต้านเกี่ยวกับระบบสังคม

การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคม มีสาเหตุสําคัญ 5 ประการ คือ

1 การยินยอมโอนอ่อนผ่อนตามปทัสถาน หรือกฎเกณฑ์ของระบบ

2 ความผูกพันของระบบแกะวัฒนธรรมที่มองเห็นว่ามีลักษณะส่วนรวมพิเศษที่เกิดจาก ความสัมพันธ์ของระบบรอง ๆ ผลพลอยได้จากทัศนะนี้ก็คือ ความคิดที่ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบใด ก็ ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อระบบอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงใดก็ตามย่อมมีทั้งแง่ดีและแง่เสีย

3 เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่ ผลประโยชน์ใด ๆ ก็ตามถ้าทําให้คนรู้สึกว่าถูก คุกคาม จะเกิดความรู้สึกต่อต้านขึ้น

4 ส่วนที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในระบบ เช่น สถาบันที่ยอมรับนับถือมานาน หรือการ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับ ศีลธรรม และจริยธรรมย่อมจะเกิดการต่อต้านขึ้น

5 ความรู้สึกต่อต้านบุคคลภายนอก การรู้สึกไม่เป็นมิตรกับบุคคลแปลกหน้า พฤติกรรมนี้ จะเห็นได้จากระบบสังคมแบบจารีตประเพณี

Goodwin Watson ได้เสนอข้อสรุป 12 ประการในประเด็นใหญ่ ๆ 3 เรื่อง คือ ประเด็นที่ 1 ใครเป็นตัวนําในการเปลี่ยนแปลง

1 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าสมาชิกคนสําคัญของระบบรู้สึกว่าโครงการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นผลงานของตน ไม่ใช้โครงการที่ก่อตั้งและดําเนินโดยบุคคลภายนอก

2 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่และชัดเจนจาก เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของระบบ

ประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงประเภทใด

3 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีผลเป็นการลด มากกว่าจะเพิ่มภาระในปัจจุบัน

4 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการนั้นสอดคล้องกับค่านิยมและอุดมคติซึ่งผู้อยู่ในวงการ ยอมรับนับถือมาช้านาน

5 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการนั้น ๆ เสนอประสบการณ์ใหม่ที่ดึงดูดความสนใจ บรรดาผู้อยู่ในวงการ

6 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการรู้สึกว่ามีอํานาจอิสระและสวัสดิภาพ หรือความ มั่นคงของตนไม่ถูกคุกคาม

ประเด็นที่ 3 เปลี่ยนแปลงอย่างไร

7 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการได้มีโอกาสเข้าร่วมใช้วิจารณญาณขั้นต้น ซึ่ง นําไปสู่ขั้นตกลงเห็นพ้องว่าปัญหาเบื้องต้นคืออะไร และรู้สึกว่ามีความสําคัญเพียงใด

8 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการนั้นเป็นที่ยอมรับโดยฉันทานุมัติของกลุ่ม

9 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าฝ่ายสนับสนุนโครงการสามารถเข้าใจฝ่ายคัดค้าน ยอมรับข้อ คัดค้านที่มีน้ําหนัก และลงมือผ่อนคลายความหวาดหวั่นที่ไม่มีผล

10 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าเปิดโอกาสให้มีการสะท้อนทัศนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการ และการให้ความกระจ่างเพิ่มเติม มีการตระหนักว่ามีความเข้าใจผิดหรือการแปลเจตนารมณ์ผิดเกี่ยวกับการริเริ่ม การสร้างสรรค์ใด ๆ เกิดขึ้น

11 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการมีการยอมรับความสนับสนุน ความศรัทธา และ ความเชื่อมั่นในความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

12 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้ามีการปรับปรุงและตรวจสอบโครงการอยู่เสมอ ถ้ามีหลักฐาน ว่าการกระทําเช่นนั้นเหมาะสม

POL3313 การบริหารการพัฒนา 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายความแตกต่าง แนวคิดและหลักการของการบริหารการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31 – 34)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนา เป็นการปรับกระบวนการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของโครงการรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า เราต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลก่อนว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไร แล้วจึงนําการบริหารเข้ามาช่วยปฏิบัติการให้สําเร็จผลตามจุดมุ่งหมายนั้น

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารงานของรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคม ตามนโยบายของรัฐที่ได้กําหนดไว้แล้ว โดยนักบริหารการพัฒนาจะต้องทํางานเป็นตัวนําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดําเนินการตามนโยบาย แผน และโครงการต่าง ๆ ที่ กําหนดขึ้นโดยรัฐบาล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สําคัญ

สรุป การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว

จากการที่มีผู้เสนอทัศนะเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาการ บริหาร หรือการเพิ่มพูนสมรรถนะของระบบบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ เช่น Fred w. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนามีความหมายสําคัญ 2 ประการ คือ

1 การบริหารโครงการพัฒนา หรือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่องค์การขนาดใหญ่โดยเฉพาะ องค์การของรัฐนํามาใช้ในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนที่กําหนดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมรรถนะทางการบริหาร

การพัฒนาการบริหารต้องอาศัยกระบวนการทางการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ทาง การเมืองที่คอยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการบริหาร หรือการที่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการนํานโยบายในการ พัฒนาการบริหารต่อข้าราชการและประชาชน จึงมีความจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการบริหารให้มีความทันสมัย หรือมีการปฏิรูประบบการบริหารเสียใหม่

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารให้มีสมรรถนะ (Capabilities) หรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม สําหรับการพัฒนาประเทศ

จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการบริหารไม่ใช่การปรับปรุง องค์การหรือการปรับปรุงนวัตกรรมขององค์การ แต่จะมีขอบข่ายที่กว้างขวางมากกว่า คือเน้นการเปลี่ยนแปลง ทางด้านโครงสร้าง เปลี่ยนแปลงกระบวนการในการทํางานและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับปฏิบัติการ ดังนั้นการปรับปรุงองค์การและนวัตกรรมองค์การจึงเป็นเพียงส่วน หนึ่งของการพัฒนาการบริหาร

 

ข้อ 2 การบริหารการพัฒนาหมายถึงอะไร มีคุณลักษณะร่วม 4 ประการ อะไรบ้าง และมีความแตกต่างกับการบริหารรัฐวิสาหกิจอย่างไร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 22)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และ มีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว ซึ่งการบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะ ร่วมกันอยู่ 4 ประการ คือ

1 การบริหารการพัฒนามีความหมายที่บ่งชี้สภาพภูมิศาสตร์ (Geographical) แม้ว่าการบริหารการพัฒนาจะมีบ่อเกิดในประเทศที่เจริญแล้วคือสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ได้รับการนํามาประยุกต์ ในประเทศกําลังพัฒนาเสียเป็นส่วนใหญ่ และประเทศที่กําลังพัฒนานี้มักจะมีสถานที่ตั้งอยู่ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา

2 การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือผลลัพธ์ที่ได้มาจากสิ่งอื่น ๆ (Derivative) หมายถึง การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือเกิดจากองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม

3 การบริหารการพัฒนาเป็นกระบวนการของความเคลื่อนไหวจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง นั่นก็คือ จากสภาพด้อยพัฒนาไปสู่สภาพกําลังพัฒนา และจากสภาพกําลังพัฒนาไปสู่สภาพการพัฒนาแล้ว และเป้าหมายสุดท้าย คือการพัฒนาประเทศ

4 การบริหารการพัฒนา มีความหมายที่บ่งชี้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติภารกิจ ที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับภารกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอะไรบ้าง หากประเทศที่กําลังพัฒนาประสงค์จะ เจริญรอยตามประเทศที่เจริญแล้ว จําเป็นต้องปฏิบัติภารกิจทางการบริหารเพื่อให้มีระบบมากขึ้น

ความแตกต่างระหว่างการบริหารการพัฒนากับการบริหารรัฐกิจ

1 Edward w. Weidner เห็นว่า การบริหารการพัฒนา จะเน้นการพัฒนามากกว่าการ บริหาร

2 George Gant เห็นว่า การบริหารรัฐกิจ จะเน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็น ภารกิจแรกของรัฐบาล และเป็นพื้นฐานของการบริหารการพัฒนา

3 Fred w. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนาแตกต่างจากการบริหารรัฐกิจและการ บริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ เพราะองค์ความรู้จากสองวิชาหลังยังไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ เกิดขึ้นในประเทศที่กําลังพัฒนาได้

นอกจากนี้ Riggs ยังเห็นอีกว่า การบริหารการพัฒนามีวัตถุประสงค์ ขอบเขต และ ความสลับซับซ้อนมากกว่าการบริหารรัฐกิจและการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ ยิ่งไปกว่านั้น การบริหารการพัฒนา ยังต้องมีการแบ่งแยกหน้าที่ทางด้านโครงสร้าง และภารกิจที่สลับซับซ้อน ซึ่งจะต้องอาศัยการประสานงานเป็นอย่าง มากด้วย

4 Hahn Beer Lee เห็นว่า นักบริหารการพัฒนาแตกต่างจากนักบริหาร กล่าวคือ นัก บริหารการพัฒนาจะต้องแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่นักบริหารทั่วไปจะต้องคอยแก้ปัญหาพื้น ๆ หรืองาน ประจํา และนักบริหารการพัฒนาจะมีค่านิยมของการพัฒนาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ ในขณะที่ นักบริหารทั่วไปจะไม่คํานึงถึงเกี่ยวกับเรื่องนี้

5 อนันต์ เกตุวงศ์ เห็นว่า การบริหารรัฐกิจ เป็นการบริหารงานประจําในองค์การที่มี ลักษณะเป็นการรักษาสิ่งที่มีอยู่ให้ดําเนินต่อไปได้เท่านั้น ส่วนการบริหารการพัฒนาต้องอาศัยทั้งความคิดริเริ่ม การ ประดิษฐ์คิดค้น และการสร้างสรรค์ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่งานบริหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงงานด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่กําลังเปลี่ยนแปลงด้วย

กล่าวโดยสรุป การบริหารการพัฒนา ซึ่งประกอบไปด้วย การพัฒนาการบริหาร และการ บริหารเพื่อพัฒนานั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงและสัมพันธ์กับการบริหารรัฐกิจในแง่บ่อเกิดแห่งความรู้ และการ นําเอาองค์ความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อลดความทุกข์ยากของคนที่อยู่ในองค์การและนอกองค์การ

 

ข้อ 3 จงอธิบายองค์ประกอบของ “การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) ด้านโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรม ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการบริหารมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 51 – 58, 94 – 99)

องค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) มีดังนี้

การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างจะมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อพฤติกรรม การทํางานของคนในองค์การ คือ เป็นทั้งสาเหตุและผลลัพธ์ของความไม่มีประสิทธิภาพของการบริหาร ซึ่งการที่ แต่ละองค์การมีโครงสร้างที่แตกต่างกันทําให้พฤติกรรมของคนในองค์การ ตลอดจนสัมฤทธิ์ผลแตกต่างกันด้วย กล่าวคือ โดยรูปแบบทั่วไปแล้วองค์การส่วนใหญ่จะจัดรูปแบบการบริหารแบบพีระมิด คือ ผู้ที่อยู่บนสุดมีจํานวนน้อย แต่จะมีอํานาจในการตัดสินใจมากที่สุด

สําหรับแนวคิดในการจัดองค์กรยุคใหม่ คือ การจัดในรูปแบบองค์การแนวราบเป็นแบบแมทริกซ์ หรือหากสามารถใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยอาจจะสามารถก้าวเข้าสู่ยุคการจัดองค์กรยุคข้อมูล ข่าวสารแบบ Internal Market เช่น การตั้งผู้ว่า CEO มิใช่เป็นการลดอํานาจหรือก้าวก่ายการทํางานของท้องถิ่น ผู้ว่าฯ จะเป็นแกนประสานการพัฒนาระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

การพัฒนากระบวนการทางการบริหาร องค์การแต่ละแห่งมักจะมีโครงสร้างที่ไม่แตกต่างกัน มากนัก แต่ระบบการทํางานหรือกระบวนการทํางานในองค์การจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งกระบวนการในการทํางานนี้ จะมีตัวแปรหลายตัวแปร ได้แก่ กระบวนการทํางานของผู้บริหาร คือ การวางแผนงาน วิธีการสั่งงาน การจัดกําลังคน การจัดงบประมาณ การมอบหมายงาน การกํากับควบคุมงาน วิธีการประสานงาน การตัดสินใจ และการสือข้อความ นอกจากนั้นในองค์การยังมีหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ในการบริหารงานด้านบุคคล หน้าที่การบริหารงานด้านการเงินการคลัง ฯลฯ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการ ทํางานของคนในองค์การ เช่น องค์การใดใช้บุคคลเป็นผู้กํากับดูแลตรวจสอบการทํางานมากกว่าที่จะใช้กฎหมาย แต่เพียงอย่างเดียว การเบี่ยงเบนจากเป้าหมายใหญ่จะลดน้อยลง เป็นต้น

การพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในระบบบริหาร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลเป็น การเปลี่ยนแปลงที่ยากกว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือกระบวนการทํางาน และต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่ ซับซ้อนกว่าการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวที่อยู่ในระดับที่ต่างกัน (โดยเฉพาะตัวแปร เชิงจิตวิทยาสังคม) นับตั้งแต่ตัวแปรของปัจเจกชน เช่น ทัศนคติ การรับรู้ แรงจูงใจ ภูมิหลังของครอบครัว บุคลิกภาพ ส่วนตัว ตัวแปรกลุ่ม เช่น ผู้นําค่านิยมกลุ่ม ความขัดแย้ง การสื่อสารภายในกลุ่ม จนถึงตัวแปรขององค์การและ สังคมภายนอกองค์การ เช่น ระบบการให้รางวัลและระบบการลงโทษขององค์การ ความคาดหวังที่องค์การมีต่อบุคคล บรรยากาศการทํางาน ตลอดจนสถานการณ์ภายนอก ต่างก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนกําหนดพฤติกรรมการทํางานของมนุษย์ แทบทั้งสิ้น ดังนั้นในการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงตัวแปรแต่ละตัวจึงต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการเปลี่ยนแปลง ในด้านอื่น ๆ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหาร

จากการศึกษาของวรเดช จันทรศร พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการปฏิรูป การบริหาร หรือปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลนั้น มีอย่างน้อย 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป ยิ่งขอบข่ายของการปฏิรูปมีความกว้างเพียงใด โอกาสที่แผนการ ปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็ยิ่งจะมีน้อยลง ขณะเดียวกันโอกาสที่จะได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย ก็มีน้อยลงด้วย เพราะขอบข่ายการปฏิรูปที่กว้างขวางจําเป็นต้องได้รับการยอมรับหรือได้รับการสนับสนุนทาง การเมืองอย่างเต็มที่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นไปได้ยากในประเทศที่กําลังพัฒนา เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นําใช้อํานาจ อย่างเบ็ดเสร็จ โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะมีมากขึ้นด้วย เช่น การปฏิรูป ระบบราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศนโยบายการปฏิรูประบบราชการเป็นนโยบายหนึ่ง ภายใต้นโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เป็นต้น

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุผล ยิ่งแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้การเปลี่ยนแปลง บรรลุผลรวดเร็วเพียงใด โอกาสที่แผนหรือข้อเสนอนั้นจะได้รับการยอมรับก็จะมีน้อยลง (ยกเว้นในกรณีวิกฤติ) ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเท่าใดก็จะทําให้เกิดการต่อต้านมากขึ้น เพราะเวลาที่จะสร้างความเข้าใจให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะน้อยลงด้วย ทําให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงหรือสูญเสียผลประโยชน์ จึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว เช่น กรณีการต่อต้าน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดในการนํา กฎหมายฉบับนี้มาใช้จึงขาดการสร้างความเข้าใจกับประชาชน หรือกรณีการนําวิธีตัดแต้มใบขับขี่มาใช้จัดระเบียบ การจราจรของตํารวจ ต้องเร่งการประชาสัมพันธ์ และการแก้ปัญหาของอุปกรณ์ที่ใช้ในการดําเนินการ

แต่ถ้าแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบช้า เนิ่นนานมากขึ้น โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกันโอกาสที่จะนําแผนการปฏิรูปไป ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีน้อยลง เพราะเวลาที่เนิ่นนานออกไปจะทําให้ได้รับการมองจากฝ่ายปฏิบัติว่ามี ความสําคัญน้อยไม่เร่งด่วน เว้นเสียแต่ว่ามีผู้นําที่ตั้งใจจริง และสนับสนุนแผนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องก็จะทําให้ โอกาสที่แผนจะบรรลุผลมีมากขึ้นด้วย

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป การขาดความชัดเจนในวัตถุประสงค์ ของแผน ทําให้เกิดความยากลําบากในการปฏิบัติ ยากต่อการควบคุมตรวจสอบและประเมินความก้าวหน้าของแผน เช่น กรณีของแผนการบริหารเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้เริ่มแผนการปฏิรูป ระบบบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ได้ระบุเป้าหมายไว้กว้าง ๆ ไม่ชัดเจน และที่มาของ นโยบายแผนงาน และโครงการที่ติดตามอีกหลายเรื่อง เช่น นโยบายการจัดตั้งองค์กรการบริหารเหนือระดับจังหวัด คือ ศูนย์อํานวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพราะเหตุที่เป้าหมายในการปฏิรูปไม่ชัดเจนจึง ทําให้ไม่ได้รับการต่อต้าน แต่มีผลทําให้การปฏิบัติยากต่อการบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากขาดการกําหนดตัวชี้วัด ความมีสัมฤทธิผลของแผนที่มีความชัดเจนด้วย

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป ถ้าหากเป้าหมายย่อยในแผนการ ปฏิรูปมีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้น ขณะเดียวกันโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็มีสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าหากวัตถุประสงค์ย่อย ในแผนการปฏิรูปไม่มีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับ และนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะลดลงด้วย เช่น แผนการปฏิรูประบบบริหารของจังหวัดชายแดนภาคใต้

มีกิจกรรมย่อยมากมาย แต่ละกิจกรรมนั้นต่างก็มีวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งมีทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก และมีทั้งที่ห่างไกลจากเป้าหมายหลัก ฉะนั้นจึงยากต่อการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามแผน

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หมายถึง การนําเครื่องใช้หรือ วิธีการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในองค์การ เช่น การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ หรือการพัฒนาองค์การให้เข้าใจในระบบสารสนเทศ แต่เครื่องมือที่ซับซ้อนยากแก่ความเข้าใจทําให้การยอมรับน้อยลง และโอกาสที่จะได้รับการนํานโยบายไปปฏิบัติให้ บรรลุเป้าหมายยิ่งน้อยลงด้วย และยิ่งเป็นวิธีการที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมและพฤติกรรมดั้งเดิมของผู้ปฏิบัติงาน ก็ยิ่งไม่ได้รับการยอมรับมากขึ้น เช่น แผนการปฏิรูประบบการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัย ด้วยการเสนอให้มี การประเมินความรู้ความสามารถของอาจารย์เป็นช่วงเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี วิธีการเช่นนี้ขัดแย้งกับพฤติกรรมของ คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน จึงไม่ได้รับการยอมรับและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงที่จะผลักดัน นโยบายนี้ก็ยากที่จะสําเร็จลงได้

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป หากต้องใช้ทรัพยากรมากเท่าใด โอกาสที่แผนการปฏิรูป จะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะน้อยลงด้วย เพราะการที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ จึง อาจเกิดการต่อต้านได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลมีทรัพยากรมากเพียงพอไม่ต้องแย่งชิงกัน โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับ การยอมรับและนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย เช่น กรณีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทําการ ปฏิรูปการคลังเป็นจุดเริ่มต้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับแผ่นดินจึงมีทรัพยากรที่มากเพียงพอที่จะนําไปใช้ในการวางแผน ปฏิรูประบบบริหารในส่วนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น

7 กิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป แผนการปฏิรูปที่มีกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามประเมินผลมากเพียงใด โอกาสที่แผนนั้นจะได้รับ การยอมรับและถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะมีมากขึ้น กิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม เช่น จํานวน หลักสูตรฝึกอบรมที่จัดให้ข้าราชการ จํานวนบุคคลที่ถูกสับเปลี่ยนตําแหน่ง จํานวนบุคคลที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ทํางานใหม่ จํานวนเงินที่ใช้ จํานวนวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อใหม่ จํานวนกฎระเบียบที่ถูกยกเลิก

กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนการปฏิรูปสามารถควบคุม และตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนการปฏิรูปได้ และยิ่งมีกิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง มากเท่าใด โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงก็มีมากเท่านั้น เช่น ในองค์กรทหาร บุคคลที่เข้ารับราชการทหารจะต้องผ่าน การฝึกอบรมตั้งแต่ปีแรก และเป็นช่วง ๆ ตามหลักสูตรต่าง ๆ จนใกล้เกษียณอายุ หรือหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร เป็นต้น

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป การพิจารณาแต่กิจกรรมการนําเข้าเพื่อวัดความสําเร็จของแผนนั้นอาจทําให้ผู้ปฏิบัติละเลยความสําเร็จตาม วัตถุประสงค์หลักของการปฏิรูป ฉะนั้นจําเป็นจะต้องกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของผลลัพธ์การดําเนินการทั้งใน ด้านปริมาณและคุณภาพ และควรเป็นตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น จํานวนคนมารับบริการ เวลาเฉลี่ยที่ประชาชน ต้องใช้ในการติดต่อราชการแต่ละเรื่อง ความพอใจของประชาชนผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดผลผลิต Output ของแผนการปฏิรูปนี้เป็นเรื่องที่กําหนดยาก อาจถูกโต้แย้งได้ง่าย ฉะนั้นโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะน้อยลง เพราะวัดสัมฤทธิผลยาก แต่หากได้รับการยอมรับ แล้วโอกาสที่แผนจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะสูงขึ้น การกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนการปฏิรูปใน เชิงปริมาณเช่นนี้ เป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้าใจในการนํานโยบายไปปฏิบัติ เช่น แผนการปฏิรูป การทํางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)

9 การสร้างการมีส่วนร่วม ในแผนการปฏิรูปจําเป็นจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในขั้นตอนการยอมรับแผนและในขั้นตอนของการนําไปปฏิบัติ การเปิดโอกาสให้ช่วยกันคิดกันทําจะทําให้ โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับสูงขึ้น และการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันจะทําให้การนําแผนการปฏิรูปไปปฏิบัติ มีโอกาสบังเกิดผลสําเร็จสูงขึ้นด้วย เช่น กรณีตํารวจตระเวนชายแดนระดมสรรพกําลังหยุดยั้งยาเสพติด เป็นต้น

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป ยิ่งแผนการปฏิรูปได้มีโอกาสถูก ทดลองหรือสาธิตมากเพียงใด โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับก็จะมีสูงขึ้น และโอกาสที่จะได้มีการนําไปปฏิบัติ ให้บังเกิดผลก็จะมีสูงขึ้นด้วย เพราะการทดลองจะช่วยให้ทราบถึงผลกระทบของแผน ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ทั้งในกระบวนการยอมรับและในกระบวนการของการนําไปปฏิบัติให้น้อยลงได้ เช่น กรณีการทดลองใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน กรณีการทดลองจัดตั้งสถานีตํารวจนครบาลจนขยายผลและนํามาใช้เต็มรูปแบบในปัจจุบัน

 

ข้อ 4 Edward W. Weidner ได้รวบรวมแนวความคิดของนักวิชาการที่ให้ความหมายของการพัฒนาอาจแบ่งเป็น 4 กลุ่ม อะไรบ้าง และการพัฒนามีความแตกต่างจากการทําให้ทันสมัยอย่างไร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 5 – 6, 11 – 12)

ความหมายของการพัฒนา Edward w. Weidner ได้รวบรวมแนวความคิดของนักวิชาการ ที่ให้ความหมายของการพัฒนา ว่าอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1 กลุ่มแรก เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของความเจริญเติบโต (Growth) ซึ่งหมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงในผลที่ได้ (Output) ของระบบโดยมีปริมาณผลที่ได้สูงขึ้นกว่าเดิม

2 กลุ่มที่สอง เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในระบบที่กระทําการ (System Change หรือ Action Oriented) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบสังคมหรือระบบบริหารในประเทศที่ กําลังพัฒนา เป็นต้น

3 กลุ่มที่สาม เห็นว่า การพัฒนาเป็นการปฏิบัติการโดยมีจุดมุ่งหมาย (Goal Orientation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความทันสมัย

4 กลุ่มที่สี่ เห็นว่า การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า (Planned Change) แนวคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ เห็นว่า การพัฒนาที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้นจะต้อง มีการวางแผนระดับชาติ และมีการนําไปปฏิบัติโดยผู้ปฏิบัติงาน

กล่าวโดยสรุป การพัฒนา หมายถึง การทําให้เกิดความเจริญเติบโต และเพิ่มอัตราให้สูงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบ เพื่อให้ระบบมีความสามารถในการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการ ตัดสินใจหรือกําหนดนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพ และความพอใจแก่คนส่วนใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการ หรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ

การพัฒนาและการทําให้ทันสมัย

การพัฒนาและการทําให้ทันสมัยไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เพียงแต่การพัฒนามีขอบเขต กว้างกว่าการทําให้ทันสมัย การพัฒนาเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทาง วัตถุ เนื่องจากชาวตะวันตกเชื่อกันว่าการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) และเป็น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่บางครั้งมนุษย์สามารถกําหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

การพัฒนาเป็นวิธีการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงโดยตรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม การพัฒนาเป็นวิธีการที่รัฐทุนนิยมพึ่งพาใช้เป็นเครื่องมือที่ทําให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ปรารถนา ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หมายถึงความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อให้ทัดเทียมกับ อารยประเทศ ดังนั้นนโยบายและแนวคิดของนักวิชาการในสังคมตะวันตกทําให้เกิดแรงผลักดัน

ความสัมพันธ์ของการพัฒนาระหว่างประเทศตะวันตก และเป็นประเทศที่กําลังพัฒนา การ พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับบุคคล สังคม วัฒนธรรม และระยะเวลา เช่น

1 การพัฒนามีลักษณะแบบวิวัฒนการ (Evolution) มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทีละเล็ก ทีละน้อย นักสังคมศาสตร์และนักสังคมวิทยาในศตวรรษที่ 19 ใช้คําว่า การพัฒนาในความหมายนี้อธิบายถึงที่มา ของมนุษย์ เพราะมีความเชื่อว่ามนุษย์เคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากที่แห่งหนึ่งไปสู่ที่อีกแห่งหนึ่งในทิศทางเดียวกัน การ เคลื่อนย้ายถิ่นฐานนี้จะทําให้ชีวิตมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความแตกต่างกันทั้งวัตถุ และวัฒนธรรม การ พัฒนาในลักษณะนี้จึงอาจหมายถึงความก้าวหน้า

2 การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change) นักสังคมศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 มองการพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะการพัฒนามีลักษณะเป็นกลางมากกว่าความก้าวหน้า และ สนใจที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์

3 การพัฒนาเป็นแนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์ (Economic) นักเศรษฐศาสตร์ให้ความ สนใจเรื่องการพัฒนาเพราะสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้รายได้ประชาชาติ แนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์มองการพัฒนาว่า มีความหมายเกี่ยวกับความเป็นอุตสาหกรรม ความทันสมัย และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

4 การพัฒนาเป็นการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) เป็นเรื่องที่ภาครัฐเข้ามาเกี่ยว ข้องในการรับผิดชอบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างคุณภาพ เป็นต้น

5 การพัฒนาเป็นแนวความคิดขัดแย้งทางสังคม (Social Conflict) เมื่อมีการพัฒนา ย่อมจะมีผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผลที่ตามมาความขัดแย้งย่อมจะเกิดขึ้นการพัฒนาประเทศแบบสังคมนิยมใช้ ทฤษฎีความขัดแย้งมาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบ สังคมไทยมีความเชื่อว่า การพัฒนาเป็นกระบวนการ วิวัฒนาการตามธรรมชาติ

การพัฒนามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น คน วัสดุ การจัดการ แต่ปัญหา การพัฒนาในทุกด้านจะสําเร็จได้ ถ้าการพัฒนาคนได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยมนุษย์เป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่สุดของการพัฒนา

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!