POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ

1 จงอธิบายความหมายดังต่อไปนี้

1.1 คุณสมบัติของพระจักรพรรดิ / ผู้ปกครองประเทศ

แนวคําตอบ

พระจักรพรรดิหรือผู้ปกครองประเทศในลัทธิชินโตนั้น จะต้องมีคุณสมบัติและคุณธรรมที่สําคัญ คือ มีศีลธรรม ปัญญา ความยุติธรรม ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ ความนอบน้อม ความอ่อนโยน และการบําเพ็ญประโยชน์

1.2 ทัศนะของลัทธิเต๋า ในเรื่องของรัฐบาล 3 แบบ

แนวคําตอบ

ตามทัศนะของลัทธิเต๋ (เหลาจื้อ) นั้น รัฐบาลมี 3 แบบ คือ

1 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยไม่ก้าวก่ายชีวิตประชาชน ประชาชนไม่รู้สึกว่าถูกปกครองเพราะใช้การปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครอง

2 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยการสร้างความดีให้ประชาชนเห็น เพื่อให้ประชาชนรักซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีรองลงมาจากแบบที่ 1

3 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยใช้อํานาจกดขี่และยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัวของประชาชน จนทําให้ประชาชนไม่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่เลวที่สุด

1.3 แนวคิดของขงจื้อ ลัทธิเซียวคัง

แนวคําตอบ

ลัทธิขงจื้อ มีแนวคิดที่สําคัญดังนี้

1 ชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และอุดมคติทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง ต่างก็มีจุดศูนย์กลางที่ศีลธรรมเช่นเดียวกัน

2 ต่อต้านการปกครองที่กดขี่ทารุณ โดยกล่าวว่า “รัฐบาลที่กดขี่ทารุณนั้นร้ายยิ่งกว่าเสือเสียอีก”

3 กองทัพไม่สามารถสู้รบอย่างมีประสิทธิผลได้ถ้าทหารไม่รู้ว่าพวกเขาจะสู้ไปทําไม โดยกล่าวว่า “การนําประชาชนที่ไม่ได้รับการศึกษาไปสู่สงคราม ก็เท่ากับว่านําพวกเขาไปทิ้ง”

4 ให้ความสําคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก

5 การปกครองนั้นควรมีจุดมุ่งหมายในการนําสวัสดิการและความสุขมาสู่ประชาชนทั้งมวล โดยต้องมีผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารซึ่งไม่ใช่มาจากชาติกําเนิด ความร่ำรวยหรือตําแหน่ง แต่มาจากการได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

6 การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และจะต้องมีลักษณะ “คุ้มครองมากกว่าปกครอง”

7 การใช้อํานาจนั้นจะต้องคํานึงถึงคุณธรรม โดยกล่าวว่า “เมื่อผู้ปกครองเองทําถูกต้อง เขาย่อมมีอํานาจเหนือประชาชนโดยมิต้องออกคําสั่ง แต่เมื่อผู้ปกครองเองไม่ทําสิ่งที่ถูกต้อง คําสั่งทั้งปวงของเขาก็ใช้ไม่ได้เลย”

8 รากฐานของอาณาจักรคือรัฐ รากฐานของรัฐคือครอบครัว รากฐานของครอบครัวคือตัวเอง

ลัทธิเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้างรัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูกรัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

1.4 การปกครองแบบพ่อป

แนวคําตอบ

การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นแนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานมาจากการปกครองแบบครอบครัว โดยมีลักษณะสําคัญคือ กษัตริย์กับประชาชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน และประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้โดยตรงต่อกษัตริย์ เป็นลักษณะการปกครองที่ปรากฏในชุมชนที่ยังไม่มีระบบราชการที่เป็นแบบแผน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์นั้นเปรียบเสมือนพ่อ ส่วนราษฎรในปกครองเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน ครอบครัว ตัวอย่างเช่น ในอาณาจักรสุโขทัยและล้านนา เป็นต้น

1.5 นิกายสุหนี่มีความแตกต่างจากนิกายชีอะฮ์ อย่างไร ?

แนวคําตอบ

นิกายสุหนี่ เป็นกลุ่มอนุรักษนิยมที่เคร่งครัดเป็นอย่างมากในคําสอนตามพระคัมภีร์อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คัมภีร์มิสคาต (จารีต) ที่นับถือกันมาแต่เดิม โดยถือว่าผู้ที่สืบทอดตําแหน่งประมุขทางศาสนาและการปกครอง แทนพระนบีมุฮัมหมัด ซึ่งเรียกว่า คอลีฟะฮ์หรือกาหลิบ

กายสุหนี่ เห็นว่าศาสนาอิสลามมีฐานะ 2 อย่าง คือ เป็นศาสนาที่พระอัลลอฮ์ทรงประทานให้ และเป็นการเมืองกับกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์และเจตนารมณ์ในเรื่องผลประโยชน์สาธารณะของชุมชน โดยส่วนรวม ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะสวมหมวกสีขาวเป็นสัญลักษณ์ นับถือกันมากในประเทศตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกา

นิกายชีอะฮ์ เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับความเป็นคอลีฟะฮ์ของอาบูบัคร์ โอมาร์ และโอธมาน โดยเห็นว่าผู้ที่สมควรได้รับตําแหน่งประมุขต่อจากพระนบีมุฮัมหมัด คือ อาลี เพราะได้รับการแต่งตั้งจากพระนบีมุฮัมหมัด หลังจากไปแสวงบุญที่เมืองเมกกะครั้งสุดท้าย อาลีจึงเป็นอิหม่ามคนแรก ซึ่งอิหม่ามก็คือผู้นําในการสวดของชาวมุสลิม มีบทบาทเป็นผู้นําทางจิตวิญญาณ และเป็นผู้แทนของพระอัลลอฮ์ จึงปลอดจากบาป

นิกายชีอะฮ์ เห็นว่าภาวะผู้นําทางการเมืองของชุมชนมุสลิมเป็นหน้าที่พื้นฐานทางศาสนา ความชอบธรรมทางการเมืองมาจากความชอบธรรมทางศาสนา ซึ่งมาจากพระอัลลอฮ์และสื่อผ่านทางศาสดาพยากรณ์ อํานาจทางการเมืองมาจากภาวะผู้นําทางจิตวิญญาณ คอลีฟะฮ์เป็นเพียงผู้ปกครอง แต่อิหม่ามจะเป็นผู้นํา

ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะสวมหมวกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ นับถือกันมากในประเทศอิหร่าน อิรัก อัฟกานิสถาน ซีเรีย และอินเดีย นิกายชีอะฮ์นี้ได้แตกแยกออกไปอีกหลายนิกายที่สําคัญคือ นิกายเจ้าเซนหรือมะหงุ่น

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู มีผลต่อการเมืองการปกครองในประเทศต่าง ๆ ในแถบตะวันออก อย่างไร ?

แนวคําตอบ

อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ที่มีผลต่อการเมืองการปกครองในประเทศแถบตะวันออก จะเห็นได้จากแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อย่างเช่น มหาตมะ คานธี

แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของมหาตมะ คานธี

1 การศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า คานธี เห็นว่า ศาสนาต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง และการเมืองต้องใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ผู้ที่เป็นนักการเมืองต้องมีศีลธรรม

2 การมีอุดมการณ์ คานธี เน้นว่าการกระทําของมนุษย์ควรมีอุดมการณ์ เพราะเป็นเป้าหมายในการดําเนินชีวิต คนที่ไม่มีอุดมการณ์เปรียบได้กับเรือที่ไม่มีหางเสือ ซึ่งเรือที่ไม่มีหางเสือหรือไม่มีเข็มทิศ ย่อมเดินทางไปโดยไม่มีจุดหมาย เหมือนกับการทํางานที่ไม่มีเป้าหมายหรืออุดมการณ์ก็ย่อมปราศจากประโยชน์

3 ศาสนากับการพัฒนาตนเองและสังคม คานธี เห็นว่า การพัฒนาสังคมและประเทศชาติจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนมีการพัฒนาตนเองก่อน และการที่จะพัฒนาตนเองได้ก็ต้องมีศาสนา

4 การใช้หลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์ คานธี เห็นว่า นักประชาธิปไตยที่แท้จริงคือผู้ที่ใช้วิธีการของอหิงสาเข้ามาปกป้องอิสรภาพของตนเอง ของประเทศชาติ และของมนุษยชาติทั้งมวล ซึ่งการรักษาสัจจะและยึดหลักอหิงสานั้นจะต้องมีความกล้าด้วย คือ ถ้าผู้ปกครองกระทําผิด ผู้ใต้ปกครองจะต้องกล้าแสดงความเห็นและให้คําแนะนําแก่ผู้ปกครองนั้น พร้อมกับเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้วย

5 การเสียสละ คานธี เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดีนอกจากจะต้องมีอหิงสธรรมแล้วต้องมีความเสียสละ และต้องเป็นความเสียสละอย่างมีความสุขด้วย ความเสียสละที่แท้จริงจะต้องให้ความปีติแก่ผู้เสียสละ เพราะการเสียสละเป็นการกระทําที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวผู้เสียสละโดยหวังที่จะให้ผู้อื่นเห็นใจในการเสียสละของตน เป็นบุคคลที่น่าสงสารที่สุด

6 ความเสมอภาคและความเป็นธรรม สืบเนื่องมาจากระบบวรรณะและการถูกกดขี่ทางเพศในสังคมอินเดีย โดยคานธีได้เสนอแนวคิดที่ส่งเสริมความเสมอภาคขึ้นมา และกล่าวถึงการดูถูกเหยียดหยามในหมู่มนุษย์ว่า การกระทําสองประการของมนุษย์ในขณะเดียวกันย่อมไปด้วยกันไม่ได้ กล่าวคือ บูชาพระเป็นเจ้า แต่ก็เหยียดหยามเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และพยายามชี้ให้เห็นว่าการให้ความเป็นธรรมแก่มนุษย์นั้นต้องให้ทั้งคนดีและคนชั่ว

7 วิธีการทํางานและการตัดสินใจ คานธี ชี้ให้เห็นในเรื่องของการทํางานว่า ถ้ามัวแต่คิดถึงความมากมายใหญ่โตของการงาน เราจะเกิดความสับสนและทําอะไรไม่ได้เลย ตรงข้าม หากเราจับงานขึ้นมาทําทันที เราจะพบว่าแม้ใหญ่เท่าภูเขางานก็จะค่อยลดน้อยลง ทุกวัน ๆ แล้วในที่สุดก็จะสําเร็จลงได้ ส่วนในเรื่องของการตัดสินใจนั้น ถ้าหากว่ามีความจําเป็นที่จะต้องมีการตัดสินใจแล้ว ก็ควรจะตัดสินใจด้วยความรอบคอบเป็นที่สุดแล้วปฏิบัติตนไปตามนั้นโดยไม่มีการท้อถอย

8 การมีระเบียบวินัย คานธี เน้นว่าในการกระทําใด ๆ ก็ตาม สิ่งสําคัญที่จะต้องยึดก็คือระเบียบวินัย เพราะระเบียบวินัยจะทําให้เราควบคุมตนเองได้ ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนักปกครองรับใช้ประชาชนจึงจําเป็นต้องมีระเบียบวินัยเพื่อควบคุมตนเองและผู้ใต้ปกครอง

สําหรับกรณีประเทศไทยนั้น ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการเมือง การปกครองของไทย โดยปรากฏออกมาในรูปพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระราชา แม้ว่าคนไทยจะนับถือพุทธศาสนา แต่ก็เชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ เชื่อในวรรณะกษัตริย์เช่นเดียวกับ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งจะเห็นว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยมีพราหมณ์ปุโรหิตประจําราชสํานัก อีกทั้งยังเชื่อว่ากษัตริย์ทุกพระองค์เป็นอวตารของพระนารายณ์ โดยจะเห็นได้จากพระนามของพระมหากษัตริย์ไทย บางพระองค์มีคําว่า “ราม” หรือ “นารายณ์” เช่น พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระรามาธิบดี พระราเมศวร พระนารายณ์มหาราช และพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์แม้จะมีพระนามเฉพาะแล้วก็ยังเรียกกันว่า พระรามที่ 1 จนถึงพระรามที่ 9 นอกจากนี้ ตราแผ่นดินของไทยก็ยังใช้ตรา “ครุฑ” ซึ่งเป็นพาหนะของพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

 

ข พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการปกครองของประเทศต่าง ๆ ในแถบตะวันออก อย่างไร ?

แนวคําตอบ

พุทธศาสนา ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน คําสอนทางพุทธศาสนาก็ได้เผยแผ่ ไปยังประเทศต่าง ๆ และมีอิทธิพลต่อแนวคิด วิถีชีวิต และระบบสังคมในประเทศเหล่านั้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบตะวันออกหลายประเทศ เช่น อินเดีย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา จีน เกาหลี เป็นต้น

พุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 2 นิกายที่สําคัญ คือ

1 นิกายหินยานหรือเถรวาทเป็นนิกายที่มีอิทธิพลอยู่ในประเทศฝ่ายใต้ ได้แก่ อินเดีย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา เป็นต้น

2 นิกายมหายานหรืออาจริยวาท เป็นนิกายที่มีอิทธิพลอยู่ในประเทศฝ่ายเหนือ ได้แก่ การจัดการอาหาร จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น

กรณีประเทศอินเดีย

พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองอย่างเห็นได้ชัดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงยึดธรรมาธิปไตยเป็นหลักในการปกครองประเทศ และทรงส่งเสริมการเมืองแบบพุทธ คืออยู่เหนือ ลัทธิที่เต็มไปด้วยความโลภ (ลัทธิทุนนิยม) ความเกลียดชัง (ลัทธิคอมมิวนิสต์) และความหลง (ลัทธิเผด็จการ) โดยทรงมีพระราชกรณียกิจซึ่งมีลักษณะเด่นดังต่อไปนี้

1 เน้นการปกครองแบบบิดากับบุตร โดยมีข้าราชการเป็นพี่เลี้ยงประชาชน

2 เน้นการถือประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหน้าที่สําคัญที่สุด

3 เน้นความยุติธรรมและความฉับไวในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

4 เน้นการจัดให้มีเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งสอนธรรม คอยดูแลแนะนําประชาชนเกี่ยวกับความประพฤติและการดํารงชีวิตอย่างทั่วถึง ตลอดจนวางระบบข้าราชการควบคุมเป็นชั้น ๆ

5 มีการตั้งธรรมมหาอํามาตย์เพื่อตรวจสอบความประพฤติของข้าราชการ และชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม เป็นต้น

กรณีประเทศศรีลังกา

พุทธศาสนาได้เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลเมื่อพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พระสหายพระเจ้าอโศก มหาราช ทรงรับเป็นพุทธมามกะ โดยนิกายที่เข้าไปตอนนั้นเป็นนิกายเถรวาท ซึ่งรับถ่ายทอดมาจากอินเดีย โดยการนํามาเผยแผ่ของพระมหินทเถระและพระนางสังฆมิตตาเถรี ซึ่งเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาของ พระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาจึงเข้าไปมีอิทธิพลต่อแนวคิดและการตัดสินใจของกษัตริย์ลังกาตั้งแต่นั้นมา โดยในสมัยพระเจ้าปรักกมพาหุมหาราช ได้มีการเผยแผ่พุทธศาสนาไปยังประเทศต่าง ๆ ด้วย เช่น พม่า ไทย ลาว เป็นต้น

กรณีประเทศไทย

พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงยึดแนวทางพุทธศาสนาเป็นหลักในการปกครอง จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “ธรรมิกราช” หรือ “ธรรมราชา” ซึ่งหมายถึงพระราชาผู้มีความชาญฉลาดในการปกครองทางธรรม อันได้แก่ พระเจ้าเม็งรายมหาราช พระเจ้ากือนา พระเจ้าติโลกราช พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช หรือพระเมืองแก้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพระร่วง พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระเจ้ามหาธรรมราชาลิไท พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ รัชกาลที่ 4, 5 และ 9 เป็นต้น

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ทรงประกาศอย่างชัดเจนว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาได้อย่างชัดเจน

กรณีประเทศจีน

พุทธศาสนาได้แผ่เข้าไปมีบทบาทต่อการเมืองการปกครองของประเทศจีนอย่างชัดเจนมากที่สุด ในรัชสมัยของพระเจ้าเหลียงบูเต้ จนได้รับสมญานามว่าเป็น “อโศกของจีน” เพราะพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เสวยมังสวิรัติอย่างเคร่งครัด และทรงออกกฎหมายห้ามฆ่าสัตว์ทั่วประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ในตอนกลางสมัยราชวงศ์ถัง พระนางบูเช็กเทียนขึ้นครองราชย์ก็ได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามากที่สุด ควบคู่กับการปกครอง ประเทศอย่างดีที่สุด

กรณีประเทศทิเบต

พุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลต่อประชาชนมากจนทําให้ประเทศทิเบตนั้นได้รับการกล่าวขานว่า เป็นเมืองพระ (พุทธนคร) ทั้งนี้เพราะมีพลเมืองหรือประชาชนครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นพระ เรียกว่า “ลามะ” ซึ่งรวมถึงรัฐบาลที่เป็นพระ และมีประมุขของประเทศที่เป็นทั้งพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระสังฆราชในองค์เดียวกัน เรียกว่า “องค์ดาไลลามะ” หรือที่ชาวทิเบตเรียกว่า “กยันโปรินโปเช” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แบ่งภาคลงมา เมื่อองค์ดาไลลามะสิ้นพระชนม์ รัฐบาลก็จะมีหน้าที่แสวงหาเด็กศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากดวงพระวิญญาณ ขององค์ดาไลลามะองค์เก่าที่สิ้นพระชนม์มาสถาปนาขึ้นเป็นองค์ดาไลลามะแทน

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ

ข้อ 1 ให้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้โดยสังเขป

1.1 รัฐมุสลิม

แนวคําตอบ

รัฐมุสลิม เป็นรัฐที่เป็นจริงในโลก ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับรัฐอิสลาม แต่จะอนุโลมให้ใช้รูปแบบการปกครองแบบสากลได้ มีสภาปกติเหมือนทั่วๆไปที่เป็น ไม่ได้เคร่งครัดแบบรัฐอิสลาม แต่เนื้อหาอาจจะต้องสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม จะได้ไม่ขัดแย้งกัน เช่น ระบอบรัฐสภา (มาเลเซีย) ระบอบประธานาธิบดี (อียิปต์, ลิเบีย, อินโดนีเซีย) และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

1.2 ลัทธิไต้ท้ง

แนวคําตอบ

ลัทธิใต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติขั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนดีมีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาลที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

1.3 การปกครองแบบยิ้นเจ่ง

แนวคําตอบ

การปกครองแบบยิ้นเจ่ง (ธรรมานุภาพ) คือ การใช้คุณธรรมและความเมตตากรุณาในการปกครอง เพราะสามารถทําให้บรรลุความสําเร็จได้ดีกว่า แม้จะมีเขตแดนเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยชี้ให้เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเทานั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน พร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

1.4 สมบัติพระจักรพรรดิ 3 อย่างในลัทธิชินโต

แนวคําตอบ

ความเป็นพระจักรพรรดิในลัทธิชินโตนั้นจะต้องมีสมบัติ 3 อย่าง คือ

1 กระจก หมายถึง ศีลธรรมและความบริสุทธิ์

2 ดาบ หมายถึง ความฉลาดและความเที่ยงธรรม

3 รัตนมณี หมายถึง ความเชื่อฟังและความนอบน้อม

1.5 รัฐบาล 3 แบบตามลัทธิเต๋า

แนวคําตอบ

ตามทัศนะของลัทธิเต๋า (เหลาจื้อ) นั้น รัฐบาลมี 3 แบบ คือ

1 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยไม่ก้าวก่ายชีวิตประชาชน ประชาชนไม่รู้สึกว่าถูกปกครอง เพราะใช้การปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีที่สุด

2 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยการสร้างความดีให้ประชาชนเห็น เพื่อให้ประชาชนรัก ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีรองลงมาจากแบบที่ 1

3 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยใช้อํานาจกดขี่และยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัวของประชาชน จนทําให้ประชาชนไม่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่เลวที่สุด

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก จงอธิบายถึงอิทธิพลของแนวคิดและจริยธรรมของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ที่มีผลต่อการเมืองตะวันออก มาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

อิทธิพลของแนวคิดและจริยธรรมของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ที่มีผลต่อการเมืองตะวันออก จะเห็นได้จากแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อย่างเช่น มหาตมะ คานธี

แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของมหาตมะ คานธี

1 การศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า คานธี เห็นว่า ศาสนาต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองและการเมืองต้องใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ผู้ที่เป็นนักการเมืองต้องมีศีลธรรม

2 การมีอุดมการณ์ คานธี เน้นว่าการกระทําของมนุษย์ควรมีอุดมการณ์ เพราะเป็นเป้าหมายในการดําเนินชีวิต คนที่ไม่มีอุดมการณ์เปรียบได้กับเรือที่ไม่มีหางเสือ ซึ่งเรือ ที่ไม่มีหางเสือหรือไม่มีเข็มทิศ ย่อมเดินทางไปโดยไม่มีจุดหมาย เหมือนกับการทํางานที่ไม่มีเป้าหมายหรืออุดมการณ์ก็ยอมปราศจากประโยชน์

3 ศาสนากับการพัฒนาตนเองและสังคม คานธี เห็นว่า การพัฒนาสังคมและประเทศชาติจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนมีการพัฒนาตนเองก่อน และการที่จะพัฒนาตนเองได้ก็ต้องมีศาสนา

4 การใช้หลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์ คานธี เห็นว่า นักประชาธิปไตยที่แท้จริงคือผู้ที่ใช้วิธีการของอหิงสาเข้ามาปกป้องอิสรภาพของตนเอง ของประเทศชาติ และของมนุษยชาติทั้งมวล ซึ่งการรักษาสัจจะและยึดหลักอหิงสานั้นจะต้องมีความกล้าด้วย คือ ถ้าผู้ปกครองกระทําผิด ผู้ใต้ปกครองจะต้องกล้าแสดงความเห็นและให้คําแนะนําแก่ผู้ปกครองนั้น พร้อมกับเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้วย

5 การเสียสละ คานธี เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดีนอกจากจะต้องมือหิงสธรรมแล้วต้องมีความเสียสละ และต้องเป็นความเสียสละอย่างมีความสุขด้วย ความเสียสละที่แท้จริงจะต้องให้ความปีติแก่ผู้เสียสละ เพราะการเสียสละเป็นการกระทําที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว ผู้เสียสละโดยหวังที่จะให้ผู้อื่นเห็นใจในการเสียสละของตน เป็นบุคคลที่น่าสงสารที่สุด

6 ความเสมอภาคและความเป็นธรรม สืบเนื่องมาจากระบบวรรณะและการถูกกดขี่ทางเพศในสังคมอินเดีย โดยคานธีได้เสนอแนวคิดที่ส่งเสริมความเสมอภาคขึ้นมา และกล่าวถึงการดูถูกเหยียดหยามในหมู่มนุษย์ว่า การกระทําสองประการของมนุษย์ในขณะเดียวกันย่อมไปด้วยกันไม่ได้ กล่าวคือ บูชาพระเป็นเจ้า แต่ก็เหยียดหยามเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และพยายามชี้ให้เห็นว่าการให้ความเป็นธรรมแก่มนุษย์นั้นต้องให้ทั้งคนดีและคนชั่ว

7 วิธีการทํางานและการตัดสินใจ คานธี ชี้ให้เห็นในเรื่องของการทํางานว่า ถ้ามัวแต่คิดถึงความมากมายใหญ่โตของการงาน เราจะเกิดความสับสนและทําอะไรไม่ได้เลย ตรงข้ามหากเราจับงานขึ้นมาทําทันที เราจะพบว่าแม้ใหญ่เท่าภูเขางานก็จะค่อยลดน้อยลง ทุกวัน ๆ แล้วในที่สุดก็จะสําเร็จลงได้ ส่วนในเรื่องของการตัดสินใจนั้น ถ้าหากว่ามี ความจําเป็นที่จะต้องมีการตัดสินใจแล้ว ก็ควรจะตัดสินใจด้วยความรอบคอบเป็นที่สุด แล้วปฏิบัติตนไปตามนั้นโดยไม่มีการท้อถอย

8 การมีระเบียบวินัย คานธี เน้นว่าในการกระทําใด ๆ ก็ตาม สิ่งสําคัญที่จะต้องยึดก็คือระเบียบวินัย เพราะระเบียบวินัยจะทําให้เราควบคุมตนเองได้ ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนักปกครอง รับใช้ประชาชนจึงจําเป็นต้องมีระเบียบวินัยเพื่อควบคุมตนเองและผู้ใต้ปกครอง

สําหรับกรณีประเทศไทยนั้น ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการเมือง การปกครองของไทย โดยปรากฏออกมาในรูปพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระราชา แม้ว่าคนไทยจะนับถือพุทธศาสนา แต่ก็เชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ เชื่อในวรรณะกษัตริย์เช่นเดียวกับ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งจะเห็นว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยมีพราหมณ์ปุโรหิตประจําราชสํานัก อีกทั้ง ยังเชื่อว่ากษัตริย์ทุกพระองค์เป็นอวตารของพระนารายณ์ โดยจะเห็นได้จากพระนามของพระมหากษัตริย์ไทย บางพระองค์มีคําว่า “ราม” หรือ “นารายณ์” เช่น พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระรามาธิบดี พระราเมศวร

พระนารายณ์มหาราช และพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์แม้จะมีพระนามเฉพาะแล้วก็ยังเรียกกันว่า พระรามที่ 1 จนถึงพระรามที่ 9 นอกจากนี้ ตราแผ่นดินของไทยก็ยังใช้ตรา “ครุฑ” ซึ่งเป็นพาหนะของพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

ข จงอธิบายถึงแนวคิดเรื่องการเกิดรัฐในศาสนาพุทธ มาพอเข้าใจ

แนวคําตอบ

แนวคิดเรื่องการเกิด “รัฐ” ในศาสนาพุทธนั้น จะเห็นได้จากคําสอนในอัคคัญญสูตรซึ่ง ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเกิดคนและสังคม ปัญหาสังคมย่อมตามมา มีการแข่งขันแย่งชิงและทําร้ายซึ่งกันและกัน ดังนั้น จึงต้องมีผู้เข้าไปจัดการแก้ไข ทําให้เกิดระบบการปกครอง เกิดรัฐและผู้มีอํานาจขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากคําสอนตอนหนึ่ง ที่บรรยายไว้ว่า เมื่อมีการกั้นเขตเพื่อครอบครองข้าวสาลีแล้ว คนบางคนได้พยายามเข้าไปขโมยข้าวสาลีในเขต ของคนอื่น เมื่อถูกจับได้ก็ถูกลงโทษด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ตักเตือน ตบด้วยมือ ขว้างด้วยก้อนหิน ตีด้วยไม้ เป็นต้น แต่พวกขโมยที่ถูกจับได้นี้บางคนทําแล้วทําอีก ไม่รู้จักหลาบจํา บางคนรับปากว่าจะไม่ทําอีกแต่กลับทํา กลุ่มคนที่ครอบครองพื้นที่เหล่านั้นจึงประชุมกันเกี่ยวกับปัญหาการลักทรัพย์ การติเตียน การพูดปด และการทําร้ายที่เกิดขึ้น โดยมีมติว่าควรจะแต่งตั้งคนทําหน้าที่ติเตียนคนที่ควรติ และขับไล่คนที่ควรขับไล่ โดยพวกเขาจะแบ่งส่วนข้าวสาลี ให้เป็นค่าตอบแทน

หลังจากนั้นจึงมีการเลือกคนเป็นหัวหน้าเพื่อปกครองคน คือการทําหน้าที่ติเตียนคนที่ควรติเตียน และขับไล่คนที่ทําผิดควรแก่การขับไล่ ซึ่งทําให้เกิดคํา 3 คําขึ้นมา คือ “มหาสมมุติ” (ผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง), “กษัตริย์” (ผู้เป็นใหญ่แห่งนา) และ “ราชา” (ผู้ทําตามความอิ่มใจสุขใจแก่ผู้อื่น)

ดังนั้นมหาสมมุติหรือกษัตริย์หรือราชาจึงเป็นบุคคลที่มาจากกลุ่มคนในสังคมเป็นผู้เลือก และแต่งตั้งเขาเป็นหัวหน้า ซึ่งถือว่าเป็นคนธรรมดา ไม่ใช่มาจากสิ่งสูงส่งใด ๆ แต่เป็นผู้ที่มีจริยธรรมหรือคุณธรรม มากกว่าผู้อื่นและเป็นผู้ที่ประเสริฐในกลุ่มชนชั้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การเกิดปัญหาสังคมนั้นเป็นที่มาของการปกครองระบบกษัตริย์นั่นเอง

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างลัทธิและนิกายดังต่อไปนี้

1.1 นิกายสุหนี่กับนิกายชีอะฮ์

แนวคําตอบ

นิกายสุหนี่ เป็นกลุ่มอนุรักษนิยมที่เคร่งครัดเป็นอย่างมากในคําสอนตามพระคัมภีร์อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คัมภีร์มิสคาต จารีต) ที่นับถือกันมาแต่เดิม โดยถือว่าผู้ที่สืบทอดตําแหน่งประมุขทางศาสนาและการปกครอง แทนพระนบีมุฮัมหมัด ซึ่งเรียกว่า คอลีฟะฮ์หรือกาหลิบ

นิกายสุหนี่ เห็นว่าศาสนาอิสลามมีฐานะ 2 อย่าง คือ เป็นศาสนาที่พระอัลลอฮ์ทรงประทานให้ และเป็นการเมืองกับกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฏเกณฑ์และเจตนารมณ์ในเรื่องผลประโยชน์สาธารณะของชุมชน โดยส่วนรวม ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะสวมหมวกสีขาวเป็นสัญลักษณ์ นับถือกันมากในประเทศตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกา

นิกายชิอะฮ์ เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับความเป็นคอลีฟะฮ์ของอาบูบัคร์ โอมาร์ และโอธมาน โดยเห็นว่าผู้ที่สมควรได้รับตําแหน่งประมุขต่อจากพระนบีมุฮัมหมัด คือ อาลี เพราะได้รับการแต่งตั้งจากพระนบีมุฮัมหมัด หลังจากไปแสวงบุญที่เมืองเมกกะครั้งสุดท้าย อาลีจึงเป็นอิหม่ามคนแรก ซึ่งอิหม่ามก็คือผู้นําในการสวดของชาวมุสลิม มีบทบาทเป็นผู้นําทางจิตวิญญาณ และเป็นผู้แทนของพระอัลลอฮ์ จึงปลอดจากบาป

นิกายชีอะฮ์ เห็นว่าภาวะผู้นําทางการเมืองของชุมชนมุสลิมเป็นหน้าที่พื้นฐานทางศาสนา ความชอบธรรมทางการเมืองมาจากความชอบธรรมทางศาสนา ซึ่งมาจากพระอัลลอฮ์และสื่อผ่านทางศาสดาพยากรณ์ อํานาจทางการเมืองมาจากภาวะผู้นําทางจิตวิญญาณ คอลีฟะฮ์เป็นเพียงผู้ปกครอง แต่อิหม่ามจะเป็นผู้นํา

ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะสวมหมวกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ นับถือกันมากในประเทศอิหร่าน อิรัก อัฟกานิสถาน ซีเรีย และอินเดีย นิกายชีอะฮ์นี้ได้แตกแยกออกไปอีกหลายนิกายที่สําคัญคือ นิกายเจ้าเซนหรือมะหงุ่น

1.2 ลัทธิเซียวคังกับพ่อปกครองลูก

แนวคําตอบ

ลัทธิเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้างรัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูก รัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

 

1.3 ลัทธิป้าเจ่งกับลัทธิยิ้นเจ่ง

แนวคําตอบ

เม่งจื้อ แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1 การปกครองแบบเดชานุภาพ (ป้าเจ่ง) คือ การใช้อิทธิพลทางทหารและกําลังในการปกครอง ซึ่งการปกครองแบบนี้จะทําให้เกิดการเสียเลือดเนื้ออันเนื่องมาจากการรบพุ่งแย่งชิงอํานาจ

2 การปกครองแบบธรรมานุภาพ (ยิ้นเจ่ง) คือ การใช้คุณธรรมและความเมตตากรุณา ในการปกครอง เพราะสามารถทําให้บรรลุความสําเร็จได้ดีกว่า แม้จะมีเขตแดนเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยชี้ให้เห็นว่าผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน พร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

1.4 ลัทธิบัคจื้อกับลัทธิชินโต

แนวคําตอบ

ลัทธิบัคจื้อ เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์อยู่ภายใต้การควบคุมของพระเจ้าและผีสางเทวดา พระเจ้าเป็นผู้ให้รางวัลแก่ผู้ทําดีและลงโทษผู้ทําชั่ว ผู้ทําดีเป็นผู้ที่ทําตามเจตนารมณ์ของพระเจ้า คือแผ่ความรักให้แก่คนอื่นและกระทําการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ผู้ทําชั่วเป็นผู้ที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระเจ้า คือไม่รักคนอื่นและทําลายหักล้างประโยชน์ของกันและกัน การทําตามเจตนารมณ์ของพระเจ้าดังกล่าวเรียกว่า “เทียนจี่”

ลัทธิบัคจื้อ เห็นว่าคนเรามิอาจมีความสุขอยู่ได้คนเดียวในขณะที่สังคมพังพินาศ เพราะคนเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม บัคจื้อเรียกหลักการนี้ว่า “หลักแผ่ความรักร่วมกันและมีผลประโยชน์สัมพันธ์กัน” (เกียมเชียงไอ่เกาเชียงหลี) หลักการดังกล่าวนี้จะส่งเสริมให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ลดความขัดแย้งทางสังคม และก่อให้เกิดความร่วมมือกันในการทํางานต่าง ๆ มากขึ้น

ลัทธิชินโต สอนให้เชื่อฟังคําสอนของเทพเจ้าทั้งหลาย และทําหน้าที่ของตนให้บริบูรณ์ด้วย ความซื่อสัตย์ภายใต้การปกป้องคุ้มครองของวิญญาณบรรพบุรุษ ผู้นับถือศาสนาชินโตจึงต้องประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา บูชาเทพเจ้า และวิญญาณบรรพบุรุษ ส่วนเรื่องจริยธรรมที่สอนไว้ ได้แก่ ให้พูดความจริง ให้เว้นจากความตะกละตะกลามและความละโมบโลภมาก ไม่ให้ทําร้ายผู้อื่น ให้กล้าหาญ ให้เว้นจากความโกรธเคือง ให้เว้นจากกิริยาท่าทางที่แสดงความโกรธเคือง อย่าเป็นคนริษยา เป็นต้น

ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าจักรพรรดิของตน ซึ่งเรียกว่า “มิกาโด” หรือ “เทนโน” เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพหรือพระอาทิตย์โดยไม่ขาดสาย พระจักรพรรดิเป็นผู้ที่ทรงอวตารมาจากพระอาทิตย์ พระราชอํานาจของพระจักรพรรดิเป็นพระราชอํานาจที่ได้รับมอบหมายมาจากพระอาทิตย์ ชาวญี่ปุ่นถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือเป็นลูกพระอาทิตย์ ซึ่งความเคารพพระจักรพรรดิดังกล่าวเรียกว่า “ลัทธิมิกาโด” (Mikadoism)

ความที่ว่าพระจักรพรรดิมาจากสุริยเทพนี้เอง ทําให้การเมืองกับศาสนาแยกจากกันไม่ออก ดังนั้นระบบการปกครองของญี่ปุ่นจึงเป็นระบบที่เรียกว่า “ไซเซอิ-อิทชิ” ซึ่งแปลว่า “การรวมกันแห่งศาสนาและการปกครอง” โดยมีพระจักรพรรดิหรือเทนโนเป็นศูนย์รวม เป็นสัญลักษณ์ของชาติและความสามัคคีของประชาชน

1.5 กลุ่มที่ 3 กับลัทธิเต๋า

แนวคําตอบ

แนวความคิดเกี่ยวกับจริยธรรมการเมืองในลัทธิปรัชญาจีน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 เป็นพวกที่พยายามฟื้นฟูลัทธิธรรมเนียมการปกครองแบบเก่าให้รุ่งโรจน์ เรียกว่า พวกอนุรักษนิยม ได้แก่ ขงจื้อ เม่งจื้อ

กลุ่มที่ 2 เป็นพวกที่ไม่เห็นด้วยกับลัทธิธรรมเนียมการปกครองแบบเก่า ต้องการที่จะปรับปรุง ให้เหมาะสมกับกาลสมัย ได้แก่ บัคจื้อ

กลุ่มที่ 3 เป็นพวกที่ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับสังคมมากเกินไป เพราะจะทําให้ยุ่งไม่รู้จักจบ เห็นว่าควรจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่ เหลาจื้อ

ลัทธิเต๋า (เหลาจื้อ) มีหลักการสําคัญดังนี้

1 มีแนวคิดทางการเมืองการปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม โดยเชื่อว่า กฎ ธรรมชาติเป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ดีกว่ากฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น

2 รัฐบาลชอบใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือทดลองนโยบายใหม่ ๆ ที่ตนเชื่อว่าจะได้ผลดี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองนํามาใช้ไม่ได้ช่วยประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นการปล่อยให้เป็นไปตาม ธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า ไม่จําเป็นต้องมาสร้างกฎเกณฑ์กฎหมายต่าง ๆ

3 ความเฉลียวฉลาดและสติปัญญาของมนุษย์เป็นภัยต่อสังคม เพราะมนุษย์ที่ยังไม่เข้าถึงเต่ชอบใช้ความเฉลียวฉลาดของตนไปในทางกอบโกยผลประโยชน์ให้ตนเอง ทุจริต และเบียดเบียนผู้อื่น

4 ไม่จําเป็นต้องมีโรงเรียน เพราะถ้ามนุษย์เรียนรู้กว้างขวางมาก ก็ยากที่จะห้ามคนเหล่านี้ ให้ใช้สติปัญญาผลิตสิ่งแปลกใหม่หรือต่อสู้แข่งขันกันได้ โดยคนฉลาดนั้นย่อมรู้วิธีเลี่ยงกฎหมาย รัฐบาลก็ต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด และรัฐบาลก็อาจทําผิดกฎหมายเสียเอง

5 การปกครองควรทําให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมืองน้อย ๆ เพื่อให้ปกครองง่าย เพราะการ มีคนมากเรื่องก็ยุ่งมาก มีคนน้อยเรื่องก็ยังน้อย

6 นักปกครองที่ดีจะต้องปกครองแบบแม่ปกครองลูก ดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น และมีคุณธรรม

7 การปกครองที่ดีที่สุดเรียกว่า “บ้ออุ้ยยื่อตี่” คือ การปกครองโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับประชาชน มากเกินไป ให้ทุกคนมีอิสรเสรีเต็มที่

8 ควรใช้ความนุ่มนวลในการปกครองประเทศ โดยกล่าวว่า “เมื่อปกครองประเทศด้วย ความนุ่มนวล ประชาชนก็จะซื่อสัตย์และจริงใจ เมื่อปกครองประเทศด้วยความรุนแรง ประชาชนก็จะใช้เล่ห์กล และหลอกลวง

 

ข้อ 2 อธิบายแนวคิดต่อไปนี้มาโดยละเอียด

2.1 แนวคิดทัศนะศาสนาพราหมณ์ในความคิดของนักศึกษา ?

แนวคําตอบ

แนวคิดทัศนะศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่มีลักษณะแบบ “เทวนิยม” หรือ “พหุเทวนิยม” คือ เป็นศาสนาที่มีความเชื่อในเรื่องของการมีพระผู้เป็นเจ้า และภูตผีปีศาจ เทวดา เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุมากกว่า 4,000 ปี จึงเป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดา และไม่อาจสืบค้นหาหลักฐานได้ว่าใครเป็นผู้ก่อตั้งศาสนา

พระเจ้าสูงสุดของชาวฮินดู มี 3 องค์ รวมเรียกว่า “ตรีมูรติ” คือ

1 พระพรหม ผู้สร้างทุกสิ่งในจักรวาล

2 พระวิษณุ (พระนารายณ์) ผู้รักษาทุกสิ่งในจักรวาล

3 พระอิศวร (พระศิวะ) ผู้ทําลายทุกสิ่งในจักรวาล

ตามคําสอนของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูนั้นมีความเชื่อที่สําคัญ คือเรื่องพระพรหม โดยการอธิบายเรื่องพระพรหมนั้นมี 2 แนว คือ

1 แนวเอกเทวนิยม (Monotheism) จะเชื่อในเรื่องเทพองค์เดียว คือ พระพรหม โดย อธิบายว่า พระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด เป็นอปรพรหมหรือพระอิศวรซึ่งสร้างและทําลายโลกได้ กล่าวคือ จะมองว่า พระพรหมนั้นมีรูปร่างมีตัวมีตนเหมือนมนุษย์ แต่จะสมบูรณ์แบบกว่ามนุษย์

2 แนวเอกนิยม (Monism) หรือแนวสัมบูรณนิยม (Absolutism) จะเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยอธิบายว่า พระพรหมเป็นสิ่งแท้จริงสูงสุดและเป็นหนึ่ง ถือว่าเป็นแนวที่มองว่า พระพรหมเป็นสภาวะ ๆ หนึ่ง ที่ไม่เหมือนมนุษย์ เรียกว่า ปรพรหม (The Absolute) ซึ่งมีลักษณะ 3 ประการ คือ

(1) สัต หมายถึง ความมีอยู่จริง

(2) จิต หมายถึง วิญญาณบริสุทธิ์

(3) อานันทะ หมายถึง ความสุขสูงสุด

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ได้แบ่งสังคมอินเดียออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 พราหมณ์ (ชนชั้นนักบวช/ผู้ประกอบพิธี) เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องพระพรหมอันเป็นหลักการ สูงสุด โดยจะทําหน้าที่เป็นครู (Guru) คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการให้ความรู้และปัญญาแก่สังคม ให้การศึกษา แก่ผู้อื่น ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อผู้อื่น โดยเชื่อกันว่าพราหมณ์เกิดจากปากของพระพรหม และมีสีขาว เป็นสีประจําวรรณะ

2 กษัตริย์หรือขัตติยะหรือราชันย์ (ชนชั้นนักรบ) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง มีหน้าที่รักษาความมั่นคงของประเทศทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาในชั้นสูง ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเอง และทําบุญให้ทาน โดยเชื่อกันว่ากษัตริย์เกิดจากแขนของพระพรหม และมีสีแดงเป็นสีประจําวรรณะ

3 แพศย์หรือไวศยะ (ชนชั้นกสิกร/พ่อค้า) เป็นวรรณะที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจของอินเดียอย่างยิ่ง คือจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องเศรษฐกิจ มีหน้าที่สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจด้วย การประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขาย โดยเชื่อกันว่าแพศย์เกิดจากตะโพกของพระพรหม และมีสีเหลือง เป็นสีประจําวรรณะ

4 ศูทร (ชนชั้นารรมกร/ทาส) เป็นผู้ทําหน้าที่ในด้านการใช้แรงงานและการให้บริการ เป็นพวกที่ทํางานเป็นคนงาน นายช่าง คนเลี้ยงวัวควาย คนไถนา ซึ่งต้องรับใช้ 3 ชนชั้นแรก เป็นชนชั้นที่ไม่มีสิทธิ เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านพระเวทและใช้อาวุธ โดยเชื่อกันว่าศูทรเกิดจากเท้าของพระพรหม และมีสีดําเป็นสีประจําวรรณะ

อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่มีต่อสังคมอินเดีย ได้แก่

1 ทําให้ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นสังคมปิด คือ เมื่อเกิดวรรณะใด วรรณะหนึ่งแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนหรือย้ายวรรณะได้ จึงทําให้เปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ได้

2 การทําหน้าที่ตามวรรณะทั้ง 4 นั้นถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการทําตามพระประสงค์ ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทําตามความจําเป็นของสังคม และไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจของสังคม รัฐ หรือผู้ปกครอง

3 วรรณะจะเป็นตัวกําหนดหน้าที่ของมนุษย์ ว่าใครทําหน้าที่อะไร และแต่ละหน้าที่ก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งสามารถลดความขัดแย้งและลดการฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงหน้าที่กัน

4 การแบ่งวรรณะถือเป็นการจัดระเบียบของสังคมที่ยอมรับว่ามนุษย์นั้นมีสถานะทาง สังคมสูง-ต่ำ ลดหลั่นกันตามลําดับ ทําให้มีการดูหมิ่นคนที่อยู่ในวรรณะต่ำกว่า

5 ระบบวรรณะนี้จะก่อให้เกิดความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ อาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ แหล่งที่อยู่อาศัย สังคม และศักดิ์ศรีของมนุษย์

6 ประชาชนจะผูกพันกับครอบครัว วรรณะ กลุ่มอาชีพ และหมู่บ้านมากกว่ารัฐ

7 มีกลุ่มประชาชนที่มิได้อยู่ในระบบสังคม คือ พวก “จัณฑาล” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการ ดูถูกเหยียดหยามหรือถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทางศาสนาของชุมชน ไม่สามารถจะสนทนาหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนในระบบได้ เป็นต้น

 

2.2 แนวคิดทัศนะศาสนาพุทธที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของประเทศไทย ?

แนวคําตอบ

แนวคิดทัศนะศาสนาพุทธที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของประเทศไทย

พุทธศาสนา เริ่มเป็นที่ยอมรับของคนไทยในพุทธศตวรรษที่ 6 สมัยอาณาจักรอ้ายลาว โดยกษัตริย์ไทยองค์แรกที่นับถือพุทธศาสนาก็คือ ขุนหลวงเม้า ในดินแดนสุวรรณภูมินี้มีการสันนิษฐานกันว่า เริ่มมีการรับพุทธศาสนาเข้ามาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ซึ่งมีอาณาจักรอยู่ระหว่างพม่ากับขอม โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตอนใต้ แผ่คลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงภาคใต้บริเวณเมืองนครศรีธรรมราช โดยเชื่อกันว่าเมืองหลวงของ ทวาราวดี คือ จังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน พุทธศาสนาในอาณาจักรทวาราวดีมีทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน แต่นิกายเถรวาทรุ่งเรืองกว่า

นับตั้งแต่การสร้างบ้านแปลงเมืองจนกระทั่งกลายมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบันจะพบว่า พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อชนชาติไทยและแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองของไทย พระมหากษัตริย์ไทยหลายองค์ ทรงยึดแนวคิดทางพุทธศาสนาเป็นหลักในการปกครองประเทศ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “ธรรมมิกราช” หรือ “ธรรมราชา” ซึ่งหมายถึง พระราชาผู้มีความชาญฉลาดในการปกครองทางธรรม อันได้แก่ พระเจ้าเม็งรายมหาราช พระเจ้ากือนา พระเจ้าติโลกราช พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชหรือพระเมืองแก้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพระร่วง พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระเจ้ามหาธรรมราชาลิไท พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) เป็นต้น

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ทรงประกาศอย่างชัดเจนว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งสะท้อนให้ เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาได้อย่างชัดเจน และจะเห็นได้ว่า พุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับการเมืองการปกครองไทยมาโดยตลอด ศาสนจักร และอาณาจักรมีความเกี่ยวข้องกันมาก ท่ามกลางการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางของการปกครองประเทศไทย

 

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 4 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงหลักแนวคิดของศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองทั้งในตะวันออกและในโลกกว้าง

แนวคําตอบ

หลักแนวคิดของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองตะวันออก

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูในปัจจุบันมีอิทธิพลอย่างมากในประเทศอินเดีย โดยมีผู้นับถือศาสนา ฮินดูมากกว่าร้อยละ 80 ของประชากรอินเดียทั้งหมด ชาวฮินดูส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่แถบเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศอินเดีย เพราะมีความเชื่อว่าการปฏิบัติตามหลักศาสนาฮินดูจะกระทําได้ในประเทศอินเดียเท่านั้น และการข้ามทะเลดําจะทําให้ไม่บริสุทธิ์ รวมทั้งไม่สามารถเป็นชาวฮินดูได้ต่อไป แต่การที่ชาวฮินดูย้ายถิ่นไปอยู่ในประเทศ อื่น ๆ ในระยะหลังนั้นเนื่องมาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจมากที่สุด ปัจจุบันประเทศที่มีชาวฮินดูจํานวนมาก ได้แก่ อินเดีย เนปาล มาเลเซีย และกายานา

นิกายที่ใหญ่ที่สุดในศาสนาฮินดูมี 2 นิกาย คือ  1 นิกายไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะ 2 นิกาย ไวษณวะ ซึ่งนับถือพระวิษณุ โดยจะมีความเชื่อที่สําคัญคือ ความเชื่อในเรื่องกรรมและการเกิดใหม่ เชื่อเรื่องธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ทางศาสนา และเชื่อเรื่องระบบวรรณะ ซึ่งระบบวรรณะนี้มีอิทธิพลทําให้เกิดความแตกต่างในด้าน เชื้อชาติ อาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ และแหล่งที่อยู่อาศัยด้วย

ประชากรอินเดียไม่เกินร้อยละ 10 จะอยู่ในสามวรรณะแรก คือ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ และวรรณะแพศย์ ซึ่งจะมีอํานาจในสังคม และประชากรสามวรรณะนี้ก็ได้ทํางานเป็นข้าราชการมากกว่าร้อยละ

นอกจากนี้ยังมีวรรณะย่อยอีกประมาณ 3,000 วรรณะ เรียกว่า โฌติ (Jotis) ซึ่งทําให้เกิดความแตกแยกในสังคมฮินดู ความเชื่อทางศาสนาที่หลากหลายนี้เองเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิด ปัญหาทางการเมืองในประเทศอินเดีย

ศาสนาฮินดูมีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่สําคัญ ได้แก่ มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) และ ยวาหร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru)

ตัวอย่างแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของมหาตมะ คานธี มีดังนี้

1 เน้นการศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า

2 เน้นการมีอุดมการณ์

3 เน้นศาสนากับการพัฒนาตนเองและสังคม

4 เน้นการใช้หลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์

5 เน้นการเสียสละ

6 เน้นความเสมอภาคและความเป็นธรรม

7 เน้นวิธีการทํางานและการตัดสินใจ

8 เน้นการมีระเบียบวินัย

 

ตัวอย่างแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของ ยวาหร์ลาล เนห์รู มีดังนี้

เนห์รู เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่มั่งคั่งและได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยอินเดีย โดยได้ให้เห็นว่าสาระสําคัญของศาสนาฮินดูก็คือ “จงมีชีวิตอยู่และจงให้ผู้อื่นมีชีวิตอยู่ด้วย (to live and let live)”

เนห์รู มีแนวความคิดแตกต่างจากคานธีหลายอย่าง เช่น ไม่เห็นด้วยที่คานธีนําศาสนามาผสมผสานกับการเมือง เห็นว่าการทําสัตยาเคราะห์ใช้ได้ผลในบางสถานการณ์เท่านั้น และเชื่อว่าอินเดียต้องมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมและสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ในขณะที่คานธีเน้นการทําสัตยาเคราะห์และไม่ใช้ความรุนแรง เน้นการปั่นด้าย การทําหัตถกรรมในครัวเรือน และคัดค้านการใช้เครื่องจักรสมัยใหม่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามคานธีก็คิดว่าเนห์รูเป็นทายาททางการเมืองของเขา

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงแนวคิดเรื่องรัฐและอํานาจในทัศนะของพุทธศาสนาว่า มีรากเหง้าเกิดจากอะไร มาให้ เข้าใจโดยชัดเจน

แนวคําตอบ

แนวคิดเรื่องรัฐและอํานาจในทัศนะของพุทธศาสนา

ในอัคคัญญสูตรชี้ให้เห็นว่า เมื่อเกิดคนและสังคม ปัญหาสังคมย่อมตามมา มีการแข่งขันแย่งชิงและทําร้ายซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงต้องมีผู้เข้าไปจัดการแก้ไข ทําให้เกิดระบบการปกครอง เกิดรัฐและผู้มีอํานาจขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากคําสอนตอนหนึ่งที่บรรยายไว้ว่า เมื่อมีการกั้นเขตเพื่อครอบครองข้าวสาลีแล้ว คนบางคนได้พยายามเข้าไปขโมยข้าวสาลีในเขตของคนอื่น เมื่อถูกจับได้ก็ถูกลงโทษด้วยวิธีการต่าง ๆ

พวกขโมยที่ถูกจับได้นี้บางคนทําแล้วทําอีก ไม่รู้จักหลาบจํา บางคนรับปากว่าจะไม่ทําอีกแต่กลับทํา กลุ่มคนที่ครอบครองพื้นที่เหล่านั้นจึงประชุมกันเกี่ยวกับปัญหาการลักทรัพย์ การติเตียน การพูดปด และการทําร้ายที่เกิดขึ้น โดยมีมติว่าควรจะแต่งตั้งคนทําหน้าที่ติเตียนคนที่ควรติ และขับไล่คนที่ควรขับไล่ โดยพวกเขาจะแบ่งส่วนข้าวสาลีให้เป็นค่าตอบแทน

หลังจากนั้นจึงมีการเลือกคนเป็นหัวหน้าเพื่อปกครองคน คือการทําหน้าที่ติเตียนคนที่ควรติเตียน และขับไล่คนที่ทําผิดควรแก่การขับไล่ ซึ่งทําให้เกิดคํา 3 คําขึ้นมา คือ

1 มหาสมมุติ แปลว่า ผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง

2 กษัตริย์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งนา

3 ราชา แปลว่า ผู้ทําความอิ่มใจสุขใจแก่ผู้อื่น

ดังนั้นมหาสมมุติหรือกษัตริย์หรือราชา จึงเป็นคนที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มคนในสังคมเป็นผู้เลือก และแต่งตั้งเขาเป็นหัวหน้า ซึ่งถือว่าเป็นคนธรรมดา ไม่ใช่มาจากสิ่งสูงส่งใดๆ แต่เป็นผู้ที่มีจริยธรรมหรือคุณธรรม มากกว่าผู้อื่นและเป็นผู้ที่ประเสริฐในกลุ่มชนนั้น

ปัญหาของสังคมเป็นที่มาของการปกครองในระบบกษัตริย์ ซึ่งการปกครองดังกล่าวจะดีหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของพระราชาและบริวารด้วย ในจักกวัตติสูตรและมหาสุทัสสนสูตรได้กล่าวถึงบุญญาธิการ ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิที่มีบริวารดี คือ รัตนะ 7 ประการ ได้แก่

1 จักกรัตนะ คือ จักรแก้วที่มีลักษณะเหมือนลูกล้อรถ ประกอบด้วยกํา กง และดุม ซึ่งหมุนไปหยุด ณ ประเทศใด ผู้ปกครองประเทศนั้นจะเข้ามาสวามิภักดิ์ หมายความว่าพระราชาที่มีจักรแก้วเมื่อ ทรงไปที่ไหนก็จะพระราชทานพระบรมราโชวาทให้คนประพฤติธรรม ดังนั้นจักรแก้วจึงหมายถึงธรรมจักร ซึ่งหมุนไปที่ใดย่อมทําให้คนทั้งหลายประพฤติธรรม

2 หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว ซึ่งเป็นช้างเผือกแสนรู้ สีขาวปลอด และเหาะได้ ชื่ออุโบสถ หมายความว่าผู้ปกครองควรมีช้างที่ดีเป็นพาหนะในการเดินทาง

3 อัสสรัตนะ คือ ม้าแก้วสีขาวล้วน ศีรษะดําเหมือนกา มีผมเป็นพวงเหมือนหญ้าปล้อง และเหาะได้ ชื่อวลาหก หมายความว่าผู้ปกครองจําเป็นต้องมีม้าที่ดีเป็นพาหนะในการเดินทาง เพราะการเดินทาง สมัยก่อนทุรกันดาร และยังต้องใช้ในการออกรบด้วย

4 มณีรัตนะ คือ แก้วมณี ซึ่งเป็นแก้วไพฑูรย์เนื้องาม ทรงแปดเหลี่ยม เจียระไนเป็นอย่างดี และแวววาวสุกใสสว่างมาก หมายความว่าผู้ปกครองควรมีเครื่องประดับที่มีค่าและสวยงามเหมาะกับเป็นเครื่องบรรณาการเพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ

5 อิตถีรัตนะ คือ นางแก้วผู้เป็นหญิงงาม ร่างไม่สูงไม่เตี้ย ไม่ผอมไม่อ้วน ไม่ดําไม่ขาว ผิวพรรณดี สัมผัสนุ่มนวล กลิ่นกายหอม บุคลิกน่าเลื่อมใส เปรียบได้กับผู้ปกครองประเทศที่ต้องมีภริยาที่ดีมีคุณธรรม จึงจะส่งเสริมให้ผู้ปกครองก้าวหน้าในการทํางานต่อไปได้

6 คหปติรัตนะ คือ คฤหบดีแก้วหรือขุนคลังแก้ว ซึ่งมีตาทิพย์สามารถทอดพระเนตรเห็น ขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของได้ จึงช่วยจัดการทรัพย์สินได้อย่างดีเลิศ ถ้าเปรียบกับสมัยปัจจุบันก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะต้องเป็นคนที่มีความสามารถและมีวิสัยทัศน์ที่ดีเยี่ยมในทางเศรษฐกิจ จึงจะทําให้การบริหารการคลังดําเนินไปอย่างราบรื่น และสามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้

7 ปริณายกรัตนะ คือ ปริณายกแก้วหรือขุนพลแก้ว ซึ่งเป็นบัณฑิต เป็นนักปราชญ์ มีความสามารถและเข้มแข็ง ทําหน้าที่ถวายคําแนะนํา ซึ่งขุนพลุในที่นี้หมายถึงนักรบด้วย หมายความว่าพระราชาควรมี นักรบที่ดีเป็นบริวารจึงจะทําให้ประเทศชาติมีความมั่นคงและพัฒนาได้ โดยนักรบที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1) ฉลาด หมายถึง มีการศึกษาดีจนมีความรอบรู้ เทียบได้กับภิกษุผู้มีศีล

2) ยิงไกล หมายถึง ทรงปัญญาและมีวิสัยทัศน์ เทียบได้กับภิกษุผู้เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริง ไม่ยึดถือขันธ์ 5

3) ยิ่งไว หมายถึง มองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง เทียบได้กับภิกษุผู้รู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง

4) ทําลายกายใหญ่ หมายถึง ไม่เห็นแก่ตัว และไม่ยึดตนเป็นใหญ่ เทียบได้กับภิกษุผู้ทําลายอวิชชาได้

รัตนะทั้ง 7 ประการนี้เปรียบเสมือนสมบัติและบริวารที่ดีพร้อมทุกอย่างของพระราชา ถ้าพระราชาองค์ใดมีสมบัติและบริวารที่ดีพร้อมดังกล่าวก็จะช่วยส่งเสริมให้การปกครองราชอาณาจักรดําเนินไปได้อย่างราบรื่น และมีโอกาสขยายพระราชอํานาจได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม อํานาจสูงสุดตามแนวคิดทางพุทธศาสนา ก็คือ อํานาจทางธรรม ดังพุทธธรรมที่ว่า “โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในปฐพี การไปสู่สวรรค์ และความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง”

การมีบริวารที่ดีนั้นมีความสําคัญอย่างยิ่ง โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า บุคคลในโลกมี 4 จําพวก คือ

1 คนอสูร มีอสูรเป็นบริวาร หมายถึง คนไม่ดีและมีคนไม่ดีเป็นบริวาร

2 คนอสูร มีเทวดาเป็นบริวาร หมายถึง คนไม่ดีแต่มีคนดีเป็นบริวาร

3 คนเทวดา มีอสูรเป็นบริวาร หมายถึง คนดีแต่มีคนไม่ดีเป็นบริวาร

4 คนเทวดา มีเทวดาเป็นบริวาร หมายถึง คนดีและมีคนดีเป็นบริวาร ซึ่งบุคคลประเภทนี้ ว่า ถือว่าเป็นบุคคลที่ประเสริฐที่สุด

แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองนั้น พุทธศาสนามีคําสอนที่สําคัญเรื่องอธิปไตยหรือความ เป็นใหญ่ 3 ประการ คือ

1 อัตตาธิปไตย หมายถึง การถือตนเป็นใหญ่ คือ ยึดถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ และเชื่อว่าความเห็นของตนถูกต้องเหมาะสมที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการปกครองที่คน ๆ เดียวใช้อํานาจ อธิปไตยของปวงชนตามอําเภอใจเพื่อประโยชน์ส่วนตน แต่หากเป็นการปกครองที่ผู้บริหารหรือคณะรัฐบาลใช้ อํานาจอธิปไตยที่ปวงชนมอบหมายมาตามอําเภอใจ เพื่อประโยชน์ส่วนตนกับเพื่อพวกพ้องเป็นเกณฑ์ ก็จะเป็นการปกครองแบบ “คณาธิปไตย” ซึ่งเป็นรูปการปกครองที่แสดงให้เห็นว่ามีความคิดแบบเผด็จการ

2 โลกาธิปไตย หมายถึง การถือโลกเป็นใหญ่ คือ ยึดถือความคิดเห็นของคนส่วนมากเป็นใหญ่ และเชื่อว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ถูกต้องเหมาะสมที่สุด ซึ่งถือเป็นคําสอนที่สอดคล้องกับรูปแบบ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน โดยการปกครองแบบประชาธิปไตยก็คือ ระบอบการปกครองที่ใช้ อํานาจอธิปไตยของปวงชนเพื่อปวงชนอย่างแท้จริง แต่หากมีจุดมุ่งหมายเพื่อผู้ปกครองและพวกพ้อง ก็จะถือว่า เป็นกบฏต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ได้มีจิตวิญญาณเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

3 ธัมมาธิปไตย หมายถึง การถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ยึดถือสัจธรรม หลักความถูกต้อง และการมีเหตุผลเป็นใหญ่ โดยจะใช้หลักธรรมในการวิเคราะห์และตัดสินใจ

ในอธิปไตยทั้ง 3 ประการนี้ พุทธศาสนา เน้นว่าธัมมาธิปไตยเหมาะสมและดีที่สุดที่จะนํามาใช้ ในการปกครอง เพราะการยึดความเห็นส่วนตัวเป็นใหญ่ (อัตตาธิปไตย) และการยึดความเห็นของคนส่วนใหญ่เป็นใหญ่ (โลกาธิปไตย) อาจเป็นไปในทางที่ผิดหรือเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวกของตนโดยไม่ถูกต้องตาม ทํานองคลองธรรมก็ได้

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงจริยธรรมของผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองในทัศนะของศาสนาอิสลามมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

จริยธรรมของผู้ปกครองและนักการเมืองในทัศนะของศาสนาอิสลาม มีดังนี้

1 ต้องทํางานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

2 ต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชนและบริการประชาชน

3 ต้องทํางานรับผิดชอบตามหน้าที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน

4 ต้องปกครองตามพระคัมภีร์อัลกุรอาน

5 การพิจารณากฎหมายต้องปรึกษาประชาชน ฟังเสียงประชาชน หรือหารือกับประชาชนก่อน

6 ให้ปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรม ใช้หลักเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์

นอกจากนี้ ศาสนาอิสลามยังเห็นว่า การปกครองด้วยความยุติธรรมนั้นถือว่าเป็นจริยธรรม ที่สําคัญสําหรับผู้ปกครองอย่างหนึ่ง ดังคําสอนที่ว่า “บุคคลที่เป็นที่รักยิ่งของพระอัลลอฮ์ และเป็นผู้ที่ใกล้ชิด พระองค์ในวันคืนชีพ คือ ผู้นําที่มีความยุติธรรม” โดยการให้ความยุติธรรมนั้น ผู้ปกครองจะต้องให้ความยุติธรรม แม้กระทั่งแก่คนชั่ว ซึ่งจะเห็นได้จากคําสอนตอนหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า “ท่านนบีมุฮัมหมัด ได้กล่าวว่า คําวิงวอนของ ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น เป็นที่ยอมรับแม้ว่าเขาจะเป็นคนชั่วก็ตาม”

จริยธรรมของผู้ใต้ปกครองและประชาชนในทัศนะของศาสนาอิสลาม มีดังนี้

1 ยึดมั่นในพระอัลลอฮ์และปฏิบัติตามพระคัมภีร์อัลกุรอาน

2 เชื่อฟังผู้ปกครองที่เลือกตั้งไป

3 เชื่อฟังผู้ปกครองในสิ่งที่ดีตามพระคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษ

4 ห้ามก่อการกบฏหรือต่อต้านผู้ปกครอง

5 ให้ยึดมั่นและรักษาความยุติธรรม

 

ข้อ 4 จงอธิบายศัพท์ดังต่อไปนี้มาให้เข้าใจ คาดหวังคําตอบข้อละ 3 – 5 บรรทัดขึ้นไป

4.1 ลัทธิไต้ท้ง

แนวคําตอบ

ลัทธิไต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติขั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาล ที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

4.2 ลัทธิเซียวคัง

แนวคําตอบ

ลัทธิเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้างรัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูกรัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

 

4.3 บ้ออุ้ยยื่อตี่

แนวคําตอบ

บ้ออุ้ยยื่อตี่ เป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด ตามแนวคิดของเหลาจื้อ คือ การปกครองโดย ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับประชาชนมากเกินไป ให้ทุกคนมีอิสรเสรีเต็มที่ รัฐบาลอย่าไปก้าวก่ายเสรีภาพของประชาชน ประชาชนก็อย่าก้าวก่ายเสรีภาพซึ่งกันและกัน การปกครองประเทศจะต้องไม่มีการทําร้ายซึ่งกันและกัน

4.4 ลัทธิมิกาโด

แนวคําตอบ

ลัทธิมิกาโด (Mikadoism) ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าจักรพรรดิของตน ซึ่งเรียกว่า “มิกาโด” หรือ “เทนโน” เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพหรือพระอาทิตย์โดยไม่ขาดสาย พระจักรพรรดิเป็นผู้ที่ทรงอวตารมาจาก พระอาทิตย์ พระราชอํานาจของพระจักรพรรดิเป็นพระราชอํานาจที่ได้รับมอบหมายมาจากพระอาทิตย์ ชาวญี่ปุ่น ถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือ เป็นลูกพระอาทิตย์ ซึ่งความเคารพพระจักรพรรดิดังกล่าวเรียกว่า “ลัทธิมิกาโด” (Mikadoism)

ความที่ว่าพระจักรพรรดิมาจากสุริยเทพนี้เอง ทําให้การเมืองกับศาสนาแยกจากกันไม่ออก ดังนั้นระบบการปกครองของญี่ปุ่นจึงเป็นระบบที่เรียกว่า “ไซเซอิ-อิทชิ” ซึ่งแปลว่า “การรวมกันแห่งศาสนาและ การปกครอง” โดยมีพระจักรพรรดิหรือเทนโนเป็นศูนย์รวม เป็นสัญลักษณ์ของชาติและความสามัคคีของประชาชน

 

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ ๆ ละ 50 คะแนน

ข้อ 1 ให้อธิบายความแตกต่างของแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้โดยสังเขป (50 คะแนน)

1.1 รัฐอิสลามกับลัทธิบูชิโด

แนวคําตอบ

รัฐอิสลาม เป็นรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดําเนินงานด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอิสลาม ใช้รูปแบบการปกครองของอิสลาม และสร้างวิถีชีวิตของคนในรัฐ ให้ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของพระอัลเลาะห์ ซึ่งรัฐที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นรัฐอิสลาม คือ รัฐภายใต้การปกครอง สมัยพระนบีมุฮัมหมัดและคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ได้แก่ อาบูบัคร์ อุมาร์ อุธมาน และอาลี

ลัทธิบูชิโด เป็นลัทธิชาตินิยมอย่างแรงกล้าของญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหลักจรรยาของชนชาติทหาร และเป็นหลักจริยธรรมของนักรบ โดยจะมีหน้าที่สําคัญดังนี้

1 ให้จงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิ

2 ทหารทุกคนต้องยอมตายแทนพระจักรพรรดิ

3 ทหารต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น

4 ชายญี่ปุ่นทุกคนต้องเป็นทหาร

5 ชาวญี่ปุ่นถือว่าพระจักรพรรดิเป็นหัวหน้าครอบครัวของคนทั้งชาติ และถือว่าคนญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดียวกันทั้งหมด คือเป็นลูกพระอาทิตย์

6 ประชาชนต้องเชื่อฟังทหาร ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่ภักดีต่อพระจักรพรรดิ ใครทําร้ายทหารเท่ากับทําร้ายพระจักรพรรดิ

ในปี พ.ศ. 2447 – 2448 ปรากฏว่าทหารของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิสามารถทําสงครามชนะ ประเทศรัสเซียได้ ทําให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศมหาอํานาจ และเกิดความรู้สึกว่าญี่ปุ่นก็สามารถเป็นมหาอํานาจ ทางตะวันออกได้เช่นเดียวกับมหาอํานาจทางตะวันตก ทําให้ชาวญี่ปุ่นต้องการเป็นมหาอํานาจแห่งเอเชียบูรพา ซึ่งความรักชาติได้กลายเป็นความหลงชาติ และทําให้บูชิโดกลายเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์

1.2 ลัทธิไต้ทั้งกับรัฐเซียวคัง

แนวคําตอบ

ลัทธิใต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติชั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาลที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

รัฐเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้าง รัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือ เจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูก รัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติ เฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

1.3 การปกครองแบบป้าเจ่งกับยินเจ่ง

แนวคําตอบ

เม่งจื้อ แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1 การปกครองแบบเดชานุภาพ (ป้าเจ่ง) คือ การใช้อิทธิพลทางทหารและกําลังในการปกครอง ซึ่งการปกครองแบบนี้จะทําให้เกิดการเสียเลือดเนื้ออันเนื่องมาจากการรบพุ่งแย่งชิงอํานาจ

2 การปกครองแบบธรรมานุภาพ (ยินเจ่ง) คือ การใช้คุณธรรมและความเมตตากรุณา ในการปกครอง เพราะสามารถทําให้บรรลุความสําเร็จได้ดีกว่า แม้จะมีเขตแดนเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยชี้ให้เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงจะได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชน พร้อม ที่จะต่อสู้เพื่อผู้ปกครองของตนในสงครามได้

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก ระบบวรรณะมีผลกระทบต่อการเมืองการปกครองในประเทศอินเดียอย่างไร จงอธิบายให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

ผลกระทบของระบบวรรณะที่มีต่อการเมืองการปกครองของประเทศอินเดีย

ระบบวรรณะจะเป็นตัวกําหนดหน้าที่ของคนอินเดีย ว่าใครทําหน้าที่อะไร และแต่ละหน้าที่ก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งทําให้สามารถลดความขัดแย้งและลดการฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงหน้าที่กัน โดยศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูได้แบ่งสังคมออกเป็น 4 วรรณะ ได้แก่

1 พราหมณ์ (ชนชั้นนักบวช/ผู้ประกอบพิธี) เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องพระพรหมอันเป็น หลักการสูงสุด โดยจะทําหน้าที่เป็นครู (Guru) คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการให้ความรู้และปัญญาแก่สังคม ให้ การศึกษาแก่ผู้อื่น ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อผู้อื่น

2 กษัตริย์หรือขัตติยะหรือราชันย์ (ชนชั้นนักรบ) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง มีหน้าที่รักษาความมั่นคง ของประเทศทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาในชั้นสูง ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเอง และทําบุญให้ทาน

3 แพศย์หรือไวศยะ (ชนชั้นกสิกร/พ่อค้า) เป็นวรรณะที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจของอินเดียอย่างยิ่ง คือจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องเศรษฐกิจ มีหน้าที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วย การประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขาย

4 ศูทร (ชนชั้นกรรมกร/ทาส) เป็นผู้ทําหน้าที่ในด้านการใช้แรงงานและการให้บริการ เป็นพวกที่ทํางานเป็นคนงาน นายช่าง คนเลี้ยงวัวควาย คนไถนา ซึ่งต้องรับใช้ 3 ชนชั้นแรก เป็นชนชั้นที่ไม่มีสิทธิ เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านพระเวทและใช้อาวุธ

การทําหน้าที่ตามวรรณะทั้ง 4 นี้ถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการทําตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทําตามความจําเป็นของสังคม และไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจของสังคม รัฐ หรือผู้ปกครอง

ระบบวรรณะดังกล่าวนั้นทําให้สังคมอินเดียเกิดความเกลียดชังระหว่างวรรณะ และยังส่งผล ให้มีลักษณะเป็นสังคมปิด คือ เมื่อเกิดวรรณะใดวรรณะหนึ่งแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนหรือย้ายวรรณะได้

ระบบวรรณะในอินเดีย จึงเป็นสถาบันที่มีโครงสร้างและกลไกการทํางานเป็นระเบียบชัดเจน และ มีความละเอียดซับซ้อนเป็นอย่างมาก โดยมีลักษณะเป็นทั้งจารีตและเป็นเสมือนกฎหมาย เนื่องจากเป็นบรรทัดฐานที่ กําหนดให้คนในสังคมทําตามต่อกันมาอย่างเข้มงวดและรุนแรง ในแง่ที่ว่ามีการกําหนดบทลงโทษไว้ และมี สถาบันกลางที่ใช้อํานาจบังคับให้เป็นไปตามกฏที่กําหนดไว้ ดังนั้นระบบชนชั้นวรรณะจึงถูกฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรม ของชาวอินเดียมาอย่างช้านาน ทั้งในด้านสังคมและการเมือง แม้จะมีกฎหมายออกมาห้ามการเลือกปฏิบัติก็ตาม แต่ ด้วยความเชื่อที่ฝังลึกในเรื่องวรรณะนี้จึงไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย แม้กฎหมายเปลี่ยนไป แต่อคติต่อคนต่าง วรรณะนั้นฝังรากลึก โดยเฉพาะการเลือกปฏิบัติต่อคนวรรณะศูทรและวรรณะจัณฑาล ก็ไม่สามารถทําให้หมดไปได้

ความเชื่อในเรื่องระบบวรรณะนี้ยังสร้างให้เกิดความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ อาชีพ ภาษา เผ่าพันธุ์ และแหล่งที่อยู่อาศัยด้วย โดยพบว่าประชากรอินเดียไม่เกินร้อยละ 10 อยู่ใน 3 วรรณะแรก คือ วรรณะ พราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ จะมีอํานาจในสังคมและได้ทํางานราชการมากกว่าร้อยละ 50

นอกจากนี้ยังมีวรรณะย่อยอีกประมาณ 3,000 วรรณะ เรียกว่า “โณติ” (Jotis) ซึ่งทําให้เกิดความแตกแยกในสังคมฮินดู ความเชื่อทางศาสนาที่หลากหลายนี้เองเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิด ปัญหาทางการเมืองในประเทศอินเดีย และส่งผลต่อแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่สําคัญหลายคน เช่น มหาตมะ คานธี (Mahatma Grandhi) ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องการใช้หลักอหิงสาและสัจจะในการปกครองหรือการต่อสู้ ทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เป็นต้น

ข ในศาสนาพุทธมีคําสอนหลายหมวดที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ปกครอง ให้นักศึกษายกตัวอย่างคุณธรรมและจริยธรรมดังกล่าวมา 4 หมวด พร้อมทั้งอธิบายความหมาย ให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ปกครองในทัศนะของพุทธศาสนา ได้แก่

1 พรหมวิหาร 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักธรรมประจําใจของผู้เป็นใหญ่ ประกอบด้วย

1) เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข

2) กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

3) มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข ไม่ริษยา

4) อุเบกขา หมายถึง ความวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความรักและความชัง

2 สังคหวัตถุ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักการสงเคราะห์ ประกอบด้วย

1) ทาน หมายถึง การให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2) ปิยวาจา หมายถึง การมีวาจาสุภาพไพเราะ ซาบซึ้ง จริงใจ

3) อัตถจริยา หมายถึง การบําเพ็ญประโยชน์หรือทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4) สมานัตตตา หมายถึง การทําตนเสมอต้นเสมอปลาย หรือการวางตนให้เหมาะสม

3 ราชสังคหวัตถุ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักการสงเคราะห์ประชาชนของผู้ครองแผ่นดินประกอบด้วย

1) สัสสาเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบํารุงรักษาพืชพันธุ์ธัญญาหาร และส่งเสริมการเกษตร

2) ปุริสเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบํารุงรักษาข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดี และมีความสามารถ

3) สัมมาปาสะ หมายถึง ความรู้จักผูกน้ำใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ

4) วาชเปยะ (วาจาเปยะ) หมายถึง ความมีวาจาอันดูดดื่มน้ำใจ คือ รู้จักพูด รู้จักปราศรัย วาจาไพเราะ สุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์ในทางสามัคคี ทําให้เกิดความเข้าใจอันดี และเกิดความนิยมเชื่อถือ

4 อคติ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับความลําเอียง 4 ประการ ซึ่งมีผลกับการปกครองและผู้ปกครองไม่ควรประพฤติเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่

1) ฉันทาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะชอบหรือความรักใคร่

2) โทสาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะขังหรือความโกรธเกลียด

3) โมหาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะหลงหรือความโง่เขลา

4) ภยาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ เกรงอิทธิพล

 

POL2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ ๆ ละ 50 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายความแตกต่างของแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจดังต่อไปนี้ (50 คะแนน)

1.1 ลัทธิใต้ท้งกับรัฐอิสลาม

แนวคําตอบ

ลัทธิไต้ท้ง เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติสูงสุด เป็นอุดมคติทางการเมืองในรูปสากลนิยม ซึ่งเป็นเหมือนรัฐในอุดมคติ ไม่มีการแบ่งชาติขั้นวรรณะ ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีชาติเพียงชาติเดียวคือมนุษยชาติ ประชาชนทุกคนมีงานทํา มีความเสมอภาคด้านความเป็นอยู่ เด็ก คนชรา และคนทุพพลภาพได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีการคัดเลือกประชาชนที่เป็นคนที่มีความสามารถเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองโดยพรรคหรือคณะใด ๆ รัฐบาล ที่เลือกมานี้มีรัฐบาลเดียวคือรัฐบาลโลก ถ้าทําได้ตามนี้ก็จะทําให้เกิด “มหาสันติสุข” (ไท้เพ้ง)

รัฐอิสลาม เป็นรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองประเทศและประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดําเนินงานด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอิสลาม ใช้รูปแบบการปกครองของอิสลาม และสร้างวิถีชีวิตของคนในรัฐ ให้ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของพระอัลเลาะห์ ซึ่งรัฐที่พอจะอนุโลมได้ว่าเป็นรัฐอิสลาม คือ รัฐภายใต้การปกครอง สมัยพระนบีมุฮัมหมัดและคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ ได้แก่ อาบูบัคร์ อมาร์ อุธมาน และอาลี

 

1.2 รัฐบาล 3 แบบกับการปกครองแบบลัทธิขงจื้อ

แนวคําตอบ

ตามทัศนะของเหลาจื้อนั้น รัฐบาลมี 3 แบบ คือ

1 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยไม่ก้าวก่ายชีวิตประชาชน ประชาชนไม่รู้สึกว่าถูกปกครองเพราะใช้การปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีที่สุด

2 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยการสร้างความดีให้ประชาชนเห็น เพื่อให้ประชาชนรัก ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีรองลงมาจากแบบที่ 1

3 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยใช้อํานาจกดขี่และยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัวของประชาชน จนทําให้ประชาชนไม่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่เลวที่สุด

การปกครองแบบลัทธิขงจื้อ มีหลักการสําคัญดังนี้

1 การปกครองนั้นควรมีจุดมุ่งหมายในการนําสวัสดิการและความสุขมาสู่ประชาชนทั้งมวลโดยต้องมีผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารซึ่งไม่ใช่มาจากชาติกําเนิด ความร่ำรวยหรือตําแหน่ง แต่มาจากการได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

2 การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และจะต้องมีลักษณะ “คุ้มครองมากกว่าปกครอง”

3 การใช้อํานาจนั้นจะต้องคํานึงถึงคุณธรรม โดยกล่าวว่า “เมื่อผู้ปกครองเองทําถูกต้อง เขาย่อมมีอํานาจเหนือประชาชนโดยมิต้องออกคําสั่ง แต่เมื่อผู้ปกครองเองไม่ทําสิ่งที่ถูกต้อง คําสั่งทั้งปวงของเขาก็ใช้ไม่ได้เลย”

4 รากฐานของอาณาจักรคือรัฐ รากฐานของรัฐคือครอบครัว รากฐานของครอบครัวคือตัวเอง

 

1.3 การทําสงครามแบบบัคจื้อกับการทําสงครามแบบบูชิโด

แนวคําตอบ

การทําสงครามแบบบัคจื้อ

1 ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมเกิดจากความเห็นแก่ตัว และขยายออกไปเป็นความเห็นแก่ครอบครัวของตนและเห็นแก่ประเทศชาติของตนตามลําดับ ซึ่งจะเป็นที่มาของสงคราม

2 บัคจื้อต่อต้านการแสวงหาอํานาจของรัฐต่าง ๆ โดยการทําสงคราม เพราะสงครามเปรียบเสมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก และสงครามก็เปรียบเสมือนงานศพ

3 การทําสงครามรุกรานบ้านเมืองอื่นก็เหมือนกับการปล้นบ้านคนอื่นนั่นเอง เป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม ไม่ควรจะได้รับการสดุดีว่าเป็นวีรกรรม

4 บัคจื้อเรียกนักรุกรานเหล่านี้ว่า “นักโทษของมนุษยชาติ” และจะเรียกหลักการต่อต้านสงครามนี้ว่า “ฮุยกง”

5 เน้นหลักการแผ่ความรักร่วมกัน นั่นคือ ถ้ารักตัวเอง ต้องรักคนอื่นด้วย ถ้ารักครอบครัวของตัวเอง ต้องรักครอบครัวคนอื่นด้วย และถ้ารักประเทศชาติของตัวเอง ต้องรักประเทศชาติคนอื่นด้วย

การทําสงครามแบบบูชิโด

1 ส่งเสริมให้คนญี่ปุ่นมีจิตใจกล้าหาญ จนกลายเป็นลัทธิชาตินิยมรุนแรง

2 เป็นหลักจรรยาของชนชาติทหารและเป็นหลักจริยธรรมของนักรบ คือ ชายญี่ปุ่นทุกคนต้องเป็นทหาร ให้จงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิ ต้องมีความกล้าหาญ ยอมตายแทนพระจักรพรรดิ และต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น

3 เชื่อว่าชาวญี่ปุ่นมีความสูงส่งและศักดิ์ศรีเหนือกว่าชนชาติอื่น เพราะเป็นลูกหลานของเทพเจ้า มีความชอบที่จะปกครองชาติอื่น ๆ

4 ประชาชนต้องเชื่อฟังทหาร ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่ภักดีต่อพระจักรพรรดิ ใครทําร้ายทหารเท่ากับทําร้ายพระจักรพรรดิ

5 ส่งเสริมให้สมเด็จพระจักรพรรดิเป็นผู้ปกครองโลก เพราะเป็นผู้สืบสายมาจากโลกสวรรค์

6 มนุษยชาติทั้งหลายจะพ้นอันตรายได้ต่อเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากอาณาจักรญี่ปุ่น

7 การสงครามเป็นบิดาของการสร้างและเป็นมารดาของวัฒนธรรม สงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นสิ่งที่เข้ากันได้กับความคิดที่ว่าอํานาจเป็นธรรม

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก. การเมืองของประเทศอินเดียได้รับอิทธิพลมาจากระบบวรรณะในอินเดียอย่างไร

แนวคําตอบ

อิทธิพลของระบบวรรณะที่มีต่อการเมืองของประเทศอินเดีย

ระบบวรรณะจะเป็นตัวกําหนดหน้าที่ของคนอินเดีย ว่าใครทําหน้าที่อะไร และแต่ละหน้าที่ก็จะไม่ก้าวก่ายกัน ซึ่งทําให้สามารถลดความขัดแย้งและลดการฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงหน้าที่กัน โดยศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูได้แบ่งสังคมออกเป็น 4 วรรณะ ได้แก่

1 พราหมณ์ (ชนชั้นนักบวช/ผู้ประกอบพิธี) เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องพระพรหมอันเป็นหลักการสูงสุด โดยจะทําหน้าที่เป็นครู Guru) คือ เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการให้ความรู้และปัญญาแก่สังคม ให้การศึกษาแก่ผู้อื่น ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเองและเพื่อผู้อื่น

2 กษัตริย์หรือขัตติยะหรือราชันย์ (ชนชั้นนักรบ) ซึ่งเป็นชนชั้นสูง มีหน้าที่รักษาความ มั่นคงของประเทศทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาในชั้นสูง ทําพิธีบูชาต่าง ๆ ของตนเอง และทําบุญให้ทาน

3 แพศย์หรือไวศยะ (ชนชั้นกสิกร/พ่อค้า) เป็นวรรณะที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจของอินเดียอย่างยิ่ง คือจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องเศรษฐกิจ มีหน้าที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วย การประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขาย

4 ศูทร (ชนชั้นกรรมกร/ทาส) เป็นผู้ทําหน้าที่ในด้านการใช้แรงงานและการให้บริการ เป็นพวกที่ทํางานเป็นคนงาน นายช่าง คนเลี้ยงวัวควาย คนไถนา ซึ่งต้องรับใช้ 3 ชนชั้นแรก เป็นชนชั้นที่ไม่มีสิทธิ เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านพระเวทและใช้อาวุธ

การทําหน้าที่ตามวรรณะทั้ง 4 นี้ถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการทําตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทําตามความจําเป็นของสังคม และไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจของสังคม รัฐ หรือผู้ปกครอง

ในเรื่องของการเมืองการปกครองนั้น รัฐมีจุดมุ่งหมายที่สําคัญ 3 ด้าน ได้แก่

1 ธรรม คือ รัฐมีหน้าที่ทําให้คนมีสํานึกถูกผิด มีศีลธรรม อุปถัมภ์บํารุงศาสนา และจัด สวัสดิการต่าง ๆ แก่ประชาชน “ธรรม” ในฤคเวทหมายถึงกฎหมาย การลงโทษผู้กระทําผิดจะมีการแยกตาม วรรณะ ศูทรซึ่งเป็นวรรณะต่ำสุดจะถูกลงโทษสูงสุด ไม่มีการแยกความยุติธรรม ศาสนา และกฎหมายออกจากกัน

2 อรรถ คือ รัฐมีหน้าที่ทํานุบํารุงให้เกิดความเจริญทางวัตถุ เช่น การค้า เกษตรกรรม การผลิต การรักษาทรัพยากร เป็นต้น โดยรัฐจะทําหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน

3 กาม คือ รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความสุขด้านประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ความพึงพอใจในศิลปะ วรรณคดี ดนตรี ความรื่นเริงและความสุขทางกายอื่น ๆ

 

ข คําสอนในพระพุทธศาสนาคือ พรหมวิหาร 4 กับอคติ 4 มีความสัมพันธ์กับผู้บริหารอย่างไร

แนวคําตอบ

หลักพรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับหลักธรรมประจําใจของผู้เป็นใหญ่ ประกอบด้วย

1 เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กล่าวคือ ผู้บริหารควรใช้หลักเมตตากับผู้ใต้บังคับบัญชา มีความปรารถนาดีที่จะให้บุคลากรอย่างจริงใจ มีการเสริมสร้างและป้องกันการกระทําผิด วินัยที่จะเกิดขึ้นในการทํางาน และปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

2 กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ กล่าวคือ ผู้บริหารต้องให้ ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และดําเนินการให้ความรู้ฝึกอบรมการสร้างขวัญและกําลังใจในอันที่จะเสริมสร้าง และพัฒนาเจตคติจิตสํานึกและพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา หมั่นสังเกตตรวจสอบดูแลเอาใจใส่และขจัดเหตุ ตามควรแก่กรณี ส่งเสริมความร่วมมือร่วมใจความสามัคคีกลมเกลียวและปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาโดย ความตั้งใจดี

3 มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข ไม่ริษยา กล่าวคือ ผู้บริหารควรมีความชื่นชม ยินดีกับความสําเร็จของผู้อื่น ส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าโดยไม่อคติและไม่อิจฉาหรือเกรงว่าจะได้ดีกว่าตนเอง ผู้บริหารต้องมีความยินดีและส่งเสริมสนับสนุนให้รางวัลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รักษาวินัย ในการทํางาน สร้างแนวทางการยอมรับบุคลากรตัวอย่างของหน่วยงานที่รักษาระเบียบวินัยที่ดี

4 อุเบกขา หมายถึง การวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความรัก และความชัง กล่าวคือ ผู้บริหารควรพิจารณาบุคลากรด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และมีใจเป็นกลางในการรับฟัง ความคิดเห็นของบุคลากรทุกฝ่าย จะทําให้กระบวนการบริหารงานเป็นไปตามเป้าหมาย ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการดําเนินงานในหน่วยงานหรือองค์กร

หลักอคติ 4

อคติ 4 คือ คําสอนเกี่ยวกับความลําเอียง 4 ประการ ซึ่งมีผลกับการปกครองและผู้ปกครอง ไม่ควรประพฤติเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วย

1 ฉันทาคติ หมายถึง ความสําเอียงเพราะชอบหรือความรักใคร่ กล่าวคือ แม้ความรักจะเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์อยู่ร่วมกันโดยปกติสุข แต่หากความรักทําให้จิตใจของเราไม่ตรง คิดเอนเอียง ความรักก็จะนํา ผลร้ายเข้ามาสู่ตัวเองได้ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องไม่อ้างเอาความรักใคร่หรือความชอบพอส่วนตัวของตนเองไปสร้าง ประโยชน์ให้ญาติพี่น้อง พวกพ้องและคนสนิท เมื่อมีความอคติ ใจไม่เป็นกลางก็จะมีการปฏิบัติต่อทุกคนไม่เหมาะสม เช่น การตัดสินความผิดทั้งที่รู้ว่าพรรคพวกของตนเองผิด แต่มิได้กระทําการลงโทษตามระเบียบวินัยขององค์กร เป็นต้น

2 โทสาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะชังหรือความโกรธเกลียด กล่าวคือ ผู้บริหารที่มีความสําเอียงเพราะความโกรธ ไม่ชอบหรือเกลียดชังนั้นมักจะทําการกลั่นแกล้ง ทําร้ายคนที่ตัวเองเกลียดชังโดย ไม่แยกแยะเรื่องความถูกต้อง ระเบียบและกฎเกณฑ์ที่พึงปฏิบัติ หากตัดสินใจเพียงเพราะความโกรธเกลียดแล้ว ย่อม มีผลกระทบถึงผู้ที่ทําการตัดสินใจได้ เช่น ผู้บริหารทําการกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ตนไม่ชอบเป็นการส่วนตัว เพียงเพราะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ทําให้มีอคติต่อกัน เมื่อถึงคราวพิจารณาความดีความชอบ กลับมองข้ามไป ทั้งที่เป็นสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาคนนั้นควรจะได้ เป็นต้น ดังนั้นการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้บริหาร ควรระมัดระวังในเรื่อง การใช้อารมณ์ ต้องระงับอารมณ์โกรธและอารมณ์ไม่พอใจให้ได้

3 โมหาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะหลงหรือความโง่เขลา กล่าวคือ หากผู้บริหาร มีความหลงผิด ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะความสะเพร่า ไม่มีการพิจารณาให้รอบคอบถี่ถ้วน ว่าสิ่งใดควร สิ่งใดมิควร หลงไปตามคําพูดที่กล่าวอ้าง ขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ทันทีที่ผู้บริหารได้รับข้อมูลในทาง ที่ไม่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชา ก็หลงเชื่อในสิ่งนั้น และเรียกมาลงโทษว่ากล่าวตักเตือน โดยมิได้มีการสอบสวนให้แน่ชัด ถึงความถูกต้องของข้อมูล เป็นต้น ดังนั้นการกระทําทุกอย่างไม่ว่าจะแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ผู้บริหารควรใช้ สติปัญญาในการไตร่ตรอง รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่แท้จริง ใจต้องหนักแน่น มิหลงเชื่อในสิ่งที่งมงายที่คอยขัดขวาง ความเจริญขององค์กร

4 ภยาคติ หมายถึง ความลําเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ เกรงอิทธิพล กล่าวคือ ผู้บริหาร จะต้องมีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเด็ดขาดในการตัดสินใจ ไม่เกรงกลัวต่ออํานาจอิทธิพล ตั้งมั่นในความถูกต้อง เช่น ผู้บริหารใช้ระบบการปกครองแบบเสรี ขาดการควบคุมในการทํางาน เพียงเพราะเกรงว่าลูกน้องจะไม่รัก หรือในกรณีที่ลูกน้องทําผิดก็ไม่กล้าลงโทษ เพราะกลัวว่าภัยจะมาถึงตัวเอง เป็นต้น ซึ่งความลําเอียงดังกล่าวถือได้ว่าเป็น ตัวบั่นทอนความเชื่อถือ ความศรัทธาในการปกครองคนของผู้นํา หากเกิดขึ้นในตัวผู้นําเมื่อใดแล้ว ความเดือดร้อน ก็จะตามมาอย่างแน่นอน

 

POL2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

(1) การบริหารและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในองค์การ

(2) การสรรหาคัดเลือกบุคคล

(3) การบริหารและการบรรจุแต่งตั้งบุคคลในองค์การ

(4) การพัฒนาและการประเมินผลการปฏิบัติงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) หมายถึง การบริหารและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในองค์การ นับตั้งแต่การสรรหาคัดเลือกบุคคล มาปฏิบัติงาน การบรรจุแต่งตั้ง การให้ค่าตอบแทน การพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงานตลอดถึงการให้พ้นจากงาน

ตั้งแต่ข้อ 2 – 8 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หลักความเสมอภาค

(2) หลักความสามารถ

(3) หลักความมั่นคง

(4) หลักความเป็นกลางทางการเมือง

(5) หลักการกระจายอํานาจ

 

2 การเปิดโอกาสให้มีการสอบแข่งขันเพื่อเข้ารับราชการสะท้อนถึงหลักการใด

ตอบ 1 หน้า 3 หลักความเสมอภาค (Equality) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติและมีพื้นฐานความรู้ตามที่กําหนดไว้มีสิทธิที่จะสมัครเข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการได้ทุกคน โดย ไม่คํานึงถึงความแตกต่างในเรื่องชาติตระกูล ศาสนา เป็นการให้โอกาสแก่ผู้มีสิทธิ์อย่างเท่าเทียมกัน และในการกําหนดเงินเดือนหรือค่าตอบแทนของข้าราชการก็ควรยึดหลักความเสมอภาคเช่นกัน กล่าวคือ งานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเหมือนกันหรือระดับเดียวกันควรด้รับเงินเดือน

หรือค่าตอบแทนเท่ากัน

3 งานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเหมือนกันควรได้รับค่าตอบแทนเท่ากันสอดคล้องกับหลักการในข้อใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการควรยึดหลักการในข้อใด

ตอบ 2 หน้า 4 หลักความสามารถ (Competence) หมายถึง การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการหรือการแต่งตั้งบุคคลเข้าดํารงตําแหน่งใด ๆ จะต้องยึดหลักความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นสําคัญ โดยต้องพยายามหาทางคัดเลือกเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตําแหน่ง (put the right mar on the right job)

5 “out the right man on the right job” สะท้อนให้เห็นถึงหลักการในข้อใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

6 หลักประกันแก่ผู้จะมาทํางานราชการสามารถยึดเป็นอาชีพได้สะท้อนถึงหลักการในข้อใด

ตอบ 3 หน้า 4 หลักความมั่นคง (Security) หมายถึง การให้หลักประกันแก่ผู้ที่จะมาทํางานราชการว่าจะมี ว่าจะมีความมั่นคงในชีวิต สามารถยึดราชการเป็นอาชีพได้ตราบเท่าที่ยังมีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติราชการ มีความประพฤติดี มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ราชการ โดยให้มีเงินเดือน เพียงพอกับการครองชีพ และให้สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการประกัน มิให้ข้าราชการถูกกลั่นแกล้งหรือถูกออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ทั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการ ได้มีกําลังใจที่จะปฏิบัติราชการให้บังเกิดผลดีที่สุด ไม่ต้องกังวลในการหาเลี้ยงชีพหรือถูกกลั่นแกล้งในทางที่ไม่เป็นธรรม

7 การให้สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลส่งเสริมให้เกิดหลักการในข้อใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 ข้าราชการต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลไม่ว่าตนจะชอบหรือไม่ก็ตามสะท้อนถึงหลักการข้อใด

ตอบ 4 หน้า 4 – 5 หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality) หมายถึง ข้าราชการประจําต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลไม่ว่าตนจะชอบหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ก็เพราะว่าตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นถือว่านโยบายของรัฐบาลเป็นการ แสดงออกโดยปริยายถึงความต้องการหรือเจตนารมณ์ของประชาชน ดังนั้นไม่ว่ารัฐบาลชุดใด เข้ามาบริหารประเทศ ข้าราชการประจําต้องปฏิบัติตามนโยบายนั้น ๆ อย่างเต็มความสามารถจะละเลยเพิกเฉยมิได้

9 การพัฒนาการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยเริ่มต้นมาจากเรื่องราวในช่วงใด

(1) การต้องการแก้ไขปัญหาของมนุษย์โบราณ

(2) ความต้องการแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรมนุษย์จากเจโทร

(3) ความต้องการแก้ไขปัญหาของมนุษย์ยุคอารยธรรมตะวันตก

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 5 – 6 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยเริ่มต้นเกิดจากโมเสส (Mosses) พบปัญหาการใช้ทรัพยากรมนุษย์ และได้รับคําแนะการแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรมนุษย์จากเจโทร (Jetro) ซึ่งเป็นพ่อตา ดังนี้ “ต้องสอนให้คนงานรู้จักเชื่อฟังคําสั่ง เคารพและปฏิบัติตามกฎ และข้อบังคับอย่างเคร่งครัด จะต้องสาธิตให้ดูว่าเส้นทางที่จะต้องเดินไปจะไปทางไหน และ ภารกิจของงานที่จะต้องปฏิบัติมีอะไรบ้าง นอกเหนือจากนั้นจะต้องคัดเลือกเอาแต่บุคคลที่มีความเก่งทุกคน ตลอดจนนักปกครองที่เก่งด้วย”

10 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์ตามข้อใด

(1) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ

(2) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางสังคม

(3) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง

(4) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางการลงทุน

(5) เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์

ตอบ 1 หน้า 6 – 7 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดยในสมัยนี้ได้มีการรวบรวมคนจํานวนมากมาทํางาน ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่เนื่องจากการขาดการเอาใจใส่ดูแลจากนายจ้าง ทําให้คนงานไม่พอใจในสภาพการทํางานที่เป็นอยู่

11 ข้อใดคือความหมายของการสรรหา

(1) กระบวนการในการพิจารณาเลื่อนระดับ

(2) กระบวนการในการค้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่ง

(3) กระบวนการในการดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 5 หน้า 56 – 58 การสรรหา (Recruitment) หมายถึง กระบวนการในการดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ หรือค้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่งให้สนใจสมัคร เข้าร่วมงานกับองค์กร ซึ่งแหล่งที่ใช้ในการสรรหาบุคคล มี 2 แหล่ง คือ

1 การสรรหาบุคคลจากภายในองค์การ

2 การสรรหาบุคคลจากภายนอกองค์การ

12 แหล่งที่ใช้ในการสรรหาประกอบไปด้วยกี่แหล่ง

(1) 1

(2) 2

(3) 3

(4) 4

(5) 5

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 ข้อเสียของการสรรหาบุคคลภายในคือข้อใด

(1) ประหยัดค่าใช้จ่าย

(2) ลดขวัญและกําลังใจ

(3) ขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 57 58 ข้อเสียของการสรรหาบุคคลจากภายในองค์การ มีดังนี้

1 ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์ในการประเมินโอกาส การแก้ปัญหาและการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางธุรกิจ

2 ไม่สามารถสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมเข้าปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งงานที่มีความต้องการบุคลากรได้

3 ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรขึ้นภายในองค์การ

ตั้งแต่ข้อ 14 – 22 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การสัมภาษณ์เบื้องต้น

(2) การให้กรอกใบสมัครงาน

(3) การทดสอบ

(4) การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน

(5) การตรวจร่างกาย

 

14 การคัดเลือกในข้อใดเน้นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อดูความเหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อดูความเหมาะสมของผู้สมัครงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุดในการคัดเลือก บุคคลเข้าทํางาน โดยวิธีการนี้จะช่วยให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของ องค์การหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือ มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้การสัมภาษณ์จะกระทําสําเร็จได้ต้องใช้ความเป็นศิลปะมากกว่าความเป็นศาสตร์

15 Application Blank หมายถึงข้อใด

ตอบ 2 หน้า 65 การให้กรอกใบสมัครงาน Application Blank) เป็นการให้ผู้สมัครงานกรอกข้อมูลส่วนตัวลงในแบบฟอร์มใบสมัคร เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางาน เป็นต้น

16 การคัดเลือกในข้อใดเป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมมากที่สุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

17 ข้อใดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือก

ตอบ 5 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธบุคคลที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทํางานด้วย

18 ข้อใดเป็นขั้นตอนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิเสธบุคคลที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

19 ข้อใดเป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบประวัติของผู้สมัครที่กรอกไว้ในใบสมัคร ตอบ 4 หน้า 64, 66 – 67 การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน (Background Investigation) เป็นขั้นตอนตรวจสอบประวัติของผู้สมัครที่กรอกไว้ในใบสมัคร ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าการทํางาน ต่าง ๆ ที่แล้วมา หรือข้อมูลต่าง ๆ ของผู้สมัครที่ได้กรอกไว้ในใบสมัคร ตลอดจนสิ่งที่ได้รับฟังจากการสัมภาษณ์ถูกต้องหรือไม่

20 ข้อใดเป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความสามารถของพนักงานว่าตรงกับลักษะงานหรือไม่

ตอบ 3 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความสามารถของพนักงานว่าตรงกับลักษะงานหรือไม่ เช่น การทดสอบความถนัด ทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น

21 Employment Test หมายถึงข้อใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

22 การคัดเลือกในขั้นตอนใดจะกระทําสําเร็จต้องใช้ความเป็นศิลปะมากกว่าศาสตร์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 23 – 26 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หลักการจายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(2) หลักการจ้างงานตลอดชีพ

(3) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น

(4) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม

(5) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

 

23 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Henri Fayol ตอบ 5 (คําบรรยาย) Henri Fayol เสนอหลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ ประกอบด้วย

1 การแบ่งงานกันทํา

2 อํานาจและความรับผิดชอบ

3 ความมีวินัย

4 เอกภาพของการบังคับบัญชา

5 เอกภาพของการอํานวยการ

6 การให้รางวัลตอบแทนแก่บุคลากร

7 ความมั่นคงของคนทํางาน

8 ความรัก/ความสามัคคีของหมู่คณะ ฯลฯ

24 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ George Elton Mayo

ตอบ 4 (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้เสนอหลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม โดยเห็นว่ากลุ่มนั้นเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดปริมาณผลผลิตของคนงานในองค์การ ไม่ใช่ปัจจัยด้านกายภาพและพฤติกรรมของคนงาน

25 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ A.H. Maslow ตอบ 3 หน้า 149 150 A.H. Maslow ได้เสนอหลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น โดยเห็นว่าความต้องการของบุคคลจะเรียงเป็นลําดับขั้นตอนตามความสําคัญ เมื่อความต้องการระดับต่ำ ได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลจะให้ความสนใจกับความต้องการระดับสูงต่อไป ซึ่งความต้องการ ของบุคคลมี 5 ขั้น ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ

2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย

3 ความต้องการความรัก

4 ความต้องการยกย่อง

5 ความต้องการความสําเร็จด้วยตนเอง

 

26 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Frederick w. Taylor

ตอบ 1 (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เสนอหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดดังนี้

1 การมุ่งแสวงหาวิธีการทํางานที่ดีที่สุด (One Best Way) ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การสังเกต การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปผลตลอดจนการสร้างตัวแบบจําลอง (Model) ของสิ่งที่ทําการศึกษา

2 การสร้างแรงจูงใจในการทํางานให้กับพนักงานหรือผู้ใช้แรงงาน โดยอาศัยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเพียงประการเดียว นั่นคือ เน้นการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนในรูปตัวเงินเป็นหลัก หรือการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น ฯลฯ

ตั้งแต่ข้อ 27 – 30 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความต้องการทางกายภาพ

(2) ความต้องการความรัก

(3) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย

(4) ความต้องการยกย่อง

(5) ความต้องการความสําเร็จด้วยตนเอง

 

27 การที่แดงขยันมาทํางานเช้าทุกวัน ส่งผลให้แต่งได้รับการขึ้นเงินเดือน ตอบ 1 หน้า 150 ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานเพื่อความมีชีวิตอยู่รอด เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม การพักผ่อน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มยารักษาโรค เงิน เป็นต้น

28 ดําได้รับการสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าห้องจากเพื่อน ๆ

ตอบ 4 หน้า 150 ความต้องการยกย่อง เป็นความต้องการให้คนอื่นยกย่อง ให้เกียรติ และเห็นความสําคัญ เช่น ดําได้รับการสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าห้องจากเพื่อน ๆ เป็นต้น

29 แม้จะไม่ได้รับโบนัสในปีนี้แต่พนักงานทุกคนก็ดีใจที่ไม่มีการปลดใครออก

ตอบ 3 หน้า 150, (คําบรรยาย) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย เป็นความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และมีความมั่นคงในการดํารงอยู่ เช่น การไม่ถูกไล่ออกจากงาน เป็นต้น

30 รุ่งรู้สึกดีใจที่ความพยายามตั้งใจเรียนส่งผลให้สําเร็จการศึกษาตามที่วางไว้

ตอบ 5 หน้า 150, (คําบรรยาย) ความต้องการความสําเร็จด้วยตนเอง เป็นความต้องการทําในสิ่งที่ตนสามารถจะทําได้ เป็นการสนองต่อความพอใจของตนเอง ความต้องการนี้เพื่อกระทําในสิ่งที่ เหมาะสมกับตนเองของมนุษย์แต่ละคนและเป็นความต้องการเพื่อการบรรลุสมความปรารถนาของ ตนเอง ให้ตนเองได้กระทําในสิ่งที่ตนเองมีศักยภาพพอที่จะทําได้ เช่น รุ่งรู้สึกดีใจที่ความพยายามตั้งใจเรียนส่งผลให้สําเร็จการศึกษาตามที่วางไว้ เป็นต้น

 

31 การฝึกอบรม หมายถึงข้อใด

(1) กรรมวิธีในการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการทํางาน

(2) กรรมวิธีในการเพิ่มสมรรถภาพในการทํางาน

(3) กรรมวิธีการลดขั้นตอนการทํางาน

(4) กรรมวิธีการรักษาบุคลากร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 120 การฝึกอบรม คือ กรรมวิธีในการเพิ่มสมรรถภาพในการทํางานทั้งในด้านความคิดการกระทํา ความสามารถ ความรู้ ความชํานาญ และการแสดงออก

ตั้งแต่ข้อ 32 – 40 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง

(2) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ

(3) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด

(4) การฝึกอบรมแบบจําลอง

(5) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา

 

32 “On-the-Job Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 1 หน้า 126 127, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training) เป็นการฝึกอบรมที่ให้พนักงานได้สัมผัสกับสิ่งที่ใช้ในการทํางานจริง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้แพร่หลาย ในทุกวงการธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นวิธีการฝึกอบรมที่ก่อให้เกิดความคุ้นเคยกับอุปกรณ์เครื่องมือ สถานที่ บรรยากาศ รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ สําหรับดําเนินการให้ลูกจ้างใหม่มีประสบการณ์การทํางานเหมือนกับลูกจ้างเก่า หรือฝึกอบรมซูเปอร์ไวเซอร์ให้มีประสบการณ์ไปทําหน้าที่นิเทศพนักงานได้เป็นอย่างดี

33 “Apprenticeship Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 3 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ

1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ

2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ

34 “Orientation Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 2 หน้า 127 – 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะ ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํา เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้ ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น

35 “Case Study Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 5 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาถือเป็นวิธีการที่มุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเหมาะสําหรับการฝึกอบรมผู้บริหาร

36 การฝึกอบรมในข้อใดเน้นการฝึกอบรมความรู้ ทักษะในด้านฝีมือ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

37 การฝึกอบรมในข้อใดใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

38 การฝึกอบรมในข้อใดเป็นที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

39 การฝึกอบรมในข้อใดให้พนักงานได้สัมผัสกับสิ่งที่ใช้ในการทํางานจริง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

40 การฝึกอบรมในข้อใดมุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้  ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 41 – 50 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

(2) การออกแบบงาน (Job Design)

(3) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

(4) การกําหนดคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)

(5) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

 

41 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (F qual Work for Equal Pay)

ตอบ 3 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนด เงินเดือนหรือคาตอบแทนที่ยุติธรรมกับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity)ในการกําหนดเงินเดือนหรือค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน

42 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน ตอบ 2 หน้า 16 การออกแบบงาน (Job Design) ที่ดีนั้น จะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถรวมทั้งสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย

43 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

ตอบ 5 หน้า 14 – 17 ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) สามารถนําไปใช้ประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ ได้หลายลักษณะ เช่น การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือกบุคคล การฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล การประเมินผลการทํางาน การประเมินค่างาน การกําหนด ค่าตอบแทน การส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน การออกแบบงาน (Job Design) เป็นต้น

44 ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร อุปกรณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงานและเนื้อหาของงาน

ตอบ 5 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้

1 กิจกรรมของงาน

2 พฤติกรรมของบุคคล

3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน

4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน

5 เนื้อหาของงาน

6 ความต้องการบุคลากร

45 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

46 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ

ตอบ 4 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) เป็นการกําหนดรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่าง เพื่อให้งานประสบความสําเร็จ เช่น วุฒิการศึกษา เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก เป็นต้น ซึ่งข้อมูล ที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานนี้จะพิจารณาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skit) และความสามารถ (Abilities)

47 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง

ตอบ 1 หน้า 12 – 13 คําบระยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานนี้จะพิจารณาจากงาน (Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)

48 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในข้อใดที่ใช้ในการกําหนดฐานเงินเดือน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

49 การระบุในส่วนของอายุ ส่วนสูง และน้ำหนัก แสดงถึงข้อใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

50 การระบุถึงรายละเอียดของเนื้องาน แสดงถึงคุณสมบัติใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 51 – 60 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักแนวคิดเรื่องใด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(1) หลักการเสริมประสิทธิภาพ

(2) หลักพิทักษ์คุณธรรม

(3) หลักระบบค่าตอบแทน

(4) หลักจริยธรรมและวินัย

(5) การกระจายอํานาจ

 

51 คณะกรรมการมีมติลงโทษให้ไล่ออกข้าราชการที่ลวนลามลูกจ้าง

ตอบ 4 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักจริยธรรมและวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติออกจากกัน เป็นคนละส่วนอย่างชัดเจน

2 กําหนดให้ส่วนราชการแต่ละแห่งเป็นผู้กําหนดข้อบังคับ ว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อใช้บังคับเฉพาะข้าราชการในสังกัดส่วนราชการนั้นเท่านั้น

3 กําหนดให้ข้าราชการบางตําแหน่งต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังดํารงตําแหน่ง ฯลฯ

52 กกต. ตรวจสอบคุณสมบัติของ ส.ส. ก่อนการรับรองผลการเลือกตั้ง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

53 มีการตรวจสอบกรณีรองนายกรัฐมนตรีสวมใส่เครื่องประดับมูลค่าสูง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

54 การให้ผู้กํากับสถานีในพื้นที่ต้องยุติหน้าที่และย้ายไปประจําส่วนกลาง ตอบ 2 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักพิทักษ์คุณธรรมตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งตุลาการและเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ของข้าราชการในกรณีที่ข้าราชการถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับบัญชา (เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย) อย่างไม่เป็นธรรม

2 การจัดให้มีศาลปกครองรับเรื่องด้านการบริหารงานบุคคล

3 การให้พนักงาน/ข้าราชการที่ถูกกล่าวหาต้องยุติหน้าที่หรือย้ายไปประจําส่วนราชการเป็นการชั่วคราว “ลฯ

55 มีนโยบายให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยและรองอธิการบดีแสดงบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังดํารงตําแหน่ง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

56 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมบรรจุแต่งตั้งข้าราชการได้ ตอบ 5 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักการกระจายอํานาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด เป็นผู้มีอํานาจ สั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ เช่น อธิบดีมีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้ชํานาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ช่วยงานในท้องถิ่น เป็นต้น

2 กําหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด ดําเนินการจัดสอบแข่งขันเพื่อเลือกสรรบุคคลบรรจุเข้ารับราชการได้เอง

3 การให้อํานาจในการแต่งตั้งหรือโอนย้ายบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงได้ เช่น การแต่งตั้งโฆษก คสช. ไปดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

57 การกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกตรวจสอบจากองค์กรภายนอก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการเสริมประสิทธิภาพตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ

2 กําหนดให้มีแบบฟอร์มการทํารายงานหลัง/กลับจากการฝึกอบรมของหน่วยงานรัฐ

3 กําหนดให้มีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกหลายองค์กร เช่น ป.ป.ช.,กกต.,จังหวัด และองค์กรวิชาชีพ ฯลฯ

58 ให้ข้าราชการต้องไปเพิ่มพูนความรู้ เข้าฝึกอบรมเป็นประจํา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

59 มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ

ตอบ 3 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักระบบค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 การจําแนกกลุ่มข้าราชการเป็น 4 กลุ่มใหญ่ (Cluster) และกําหนดบัญชีเงินเดือนเป็น 4 บัญชี ซึ่งแต่ละบัญชีใช้เฉพาะสําหรับตําแหน่งแต่ละประเภท

2 กําหนดให้มีเงินเพิ่มใหม่อีก 2 ประเภท คือ ตามพื้นที่และตามสายงาน

3 กําหนดให้เพิ่มค่าตอบแทนบุคคลที่มีใบรับรองการมีวุฒิการศึกษาเพิ่มที่ตรงตามหน้าที่

4 กําหนดให้ข้าราชการทุกระดับต้องถูกประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบ 360 องศา เพื่อนํามาใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

5 การเบิกค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ มีการกําหนดให้ต้องเบิกยานอกบัญชีหลัก

6 มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ ฯลฯ

60 การจําแนกกลุ่มข้าราชการเป็น 4 กลุ่ม (Cluster)

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายแนวคิดทฤษฎีประชาธิปไตยประเด็นใดซึ่งมีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

(1) Liberty

(2) Majority Rule

(3) Transparency

(4) Participation

(5) Accountability

 

61 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความโปร่งใส (Transparency) คือ การดําเนินการที่เปิดเผยตรงไปตรงมาประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎีประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 เป็นต้น

62 ชาวบ้านคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทําให้ภาครัฐต้องชะลอโครงการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนจากทุกกลุ่มอาชีพและทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการนโยบายและการบริหาร เพื่อที่จะร่วมกันกําหนดทิศทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนหรือของประเทศ ตลอดจน มีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมฟังและการทํา ประชาพิจารณ์ การทําประชามติ การถอดถอนผู้ใช้อํานาจรัฐ การเสนอร่างกฎหมาย หรืออื่น ๆ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎีประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น ชาวบ้านคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทําให้ภาครัฐต้องชะลอโครงการ เป็นต้น

63 ในการดําเนินการนโยบายใด ๆ ต้องมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ ในการดําเนินการใด ๆ บุคคล หน่วยงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่และผลการกระทํา ของตนเองที่มีต่อสาธารณชน รวมทั้งมีการกําหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน

64 ศาลมีคําสั่งให้ลงโทษข้าราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการจํานําข้าว

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority Rule) คือ การปกครองโดยใช้จํานวนเป็นเกณฑ์ตัดสินการออกกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหา หรือการตัดสินใจในนโยบายต่าง ๆ ซึ่งต้อง เป็นไปตามความเห็นชอบของเสียงข้างมาก ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎี ประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น ศาลมีคําสั่งให้ลงโทษข้าราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการจํานําข้าว เป็นต้น

65 โครงการสร้างเขื่อนต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เสรีภาพ (Liberty) คือ ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ สามารถดําเนินชีวิตได้ตามความปรารถนา แต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ จะต้องไม่ละเมิด กฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎี ประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น โครงการสร้างเขื่อนต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใด

(1) ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์

(2) โครงสร้างประชากร

(3) ปัจจัยระหว่างประเทศ

(4) ทรัพยากรธรรมชาติ

(5) นวัตกรรมเทคโนโลยี

 

66 ประเทศไทยถูกจัดลําดับให้เป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ในระดับ Tier 2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจัยระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลกระทบต่อการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือภาพลักษณ์ของประเทศ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น ประเทศไทยถูกจัดลําดับให้เป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ในระดับ Tier 2 เป็นต้น

67 ในอนาคตต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โครงสร้างประชากร เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลทางด้านจํานวนประชากรโครงสร้างทางอายุ (เช่น วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกําลังศึกษา วัยทํางาน วัยเกษียณอายุวัยชรา) นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสัดส่วนของเพศ (ชาย : หญิง) สัดส่วนของอายุ (เด็ก : วัยทํางาน : คนโสด : ผู้สูงอายุ) จํานวนผู้อยู่ในวัยแรงงาน อัตราการเจริญพันธุ์ การเกิด การตาย การอพยพย้ายถิ่น ตลอดจนจํานวนบุคคลในครอบครัวหนึ่ง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัย สิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น ในอนาคตต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น

68 การออกกฎหมายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องคํานึงถึงความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ (ได้แก่สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) ภูมิอากาศ และองค์ประกอบ เชิงธรณีวิทยา รวมถึงภูมิหลังความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ ความศรัทธา การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ความขัดแย้ง หรือทักษะความชํานาญของแต่ละกลุ่มบุคคล เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือแต่ละประเทศ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น การออกกฎหมาย ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องคํานึงถึงความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม เป็นต้น

69 แนวโน้มจะใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนเงินสด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการเทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่ออํานวย ความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อม ในเรื่องนี้ เช่น การที่หน่วยราชการใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่สแกนผ่านคอมพิวเตอร์แทนการใช้กระดาษ การใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนเงินสด เป็นต้น

70 การผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะสร้างจากพลังงานถ่านหิน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ ดิน สัตว์ป่า น้ำ เป็นต้น ถือเป็นปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการดํารงชีวิต ของมนุษย์ การรู้จักนําเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จะช่วยให้เกิดความอยู่ดีกินดีแก่ประชากร สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานการใช้อย่างชาญฉลาด ประหยัด และเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น การผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะสร้างจากพลังงานถ่านหิน การขุดเจาะบ่อน้ํามันน้อยลงเพราะปริมาณน้ำมันใต้ดินมีจํากัด การสัมปทานเหมืองแร่เพื่อการส่งออกลดลง เป็นต้น

 

71 ข้อใดคือขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

(1) 4P

(2) 3P

(3) 3R

(4) 4M

(5) BSC

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ขอบเขต/กระบวนการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 3 R คือ

1 Recruit คือ การสรรหาคัดเลือก

2 Retain คือ การรักษาคนไว้ในองค์การ

3 Retire คือ การเลิกจ้าง

72 กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์สิ้นสุดที่เรื่องใด

(1) Reject

(2) Recruit

(3) Reused

(4) Retire

(5) Return

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

73 กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์เริ่มต้นที่เรื่องใด

(1) Retain

(2) Recruit

(3) Reused

(4) Retire

(5) Return

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

74 “อัตราการลาออกลดลง” เป็นเป้าหมายของเรื่องใด

(1) การจูงใจ

(2) การประเมินค่างาน

(3) การรักษาคนไว้ในองค์การ

(4) การสรรหา

(5) การเลื่อนตําแหน่ง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การรักษาคนไว้ในองค์การ (Retain) คือ การสร้างแรงจูงใจให้คนทํางานอยู่กับองค์การยาวนานหรือพยายามลดอัตราการลาออกของคนให้น้อยลง ทั้งนี้เพื่อ

1 คงความต่อเนื่องในการทํางาน

2 รักษาประสิทธิผลขององค์การ

3 ลดความสิ้นเปลืองในการสรรหาคัดเลือกและฝึกอบรม

4 รักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์การ ฯลฯ

75 “พอเริ่มจะรู้งานก็ไปเสียแล้ว” ข้อความดังกล่าวสะท้อนเรื่องใด

(1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

(2) การฝึกอบรม

(3) การจูงใจ .

(4) การรักษาคนไว้ในองค์การ

(5) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

76 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลของการรักษากําลังคน

(1) ลดความสิ้นเปลืองในการสรรหา

(2) คงความต่อเนื่องในการทํางาน

(3) รักษาชื่อเสียงองค์การ

(4) รักษาภาพลักษณ์องค์การ

(5) สร้างความจงรักภักดี

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

77 ทําไมต้องรักษากําลังคนไว้กับองค์การ

(1) ลดความสิ้นเปลืองในการสรรหา

(2) คงความต่อเนื่องในการทํางาน

(3) ลดความสิ้นเปลืองในการฝึกอบรม

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

78 การรักษากําลังคนไว้กับองค์การมีความสําคัญเพราะเหตุใด

(1) รักษาความต่อเนื่องในการทํางาน

(2) รักษาประสิทธิผลขององค์การ

(3) ความสะดวกในการประเมินผลการทํางาน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

79 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุที่คนเลือกอยู่กับองค์การ

(1) ชื่อเสียงขององค์การ

(2) ค่าตอบแทน

(3) วัฒนธรรมองค์การ

(4) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

(5) เป็นไปได้ทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ค่าตอบแทนเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานที่สามารถจูงใจและรักษาคนให้อยู่กับองค์การ ดังนั้นการที่คนจะอยู่กับองค์การยาวนาน ไม่ลาออกไปหางานใหม่ทําจึงไม่ใช่เพราะ เรื่องค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ความมั่นคงของงาน โอกาสและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ชื่อเสียงขององค์การวัฒนธรรมองค์การ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

 

80 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาคนไว้กับองค์การ

(1) ค่าตอบแทนเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐาน

(2) ค่าตอบแทนที่สูงสามารถจูงใจและรักษาคน

(3) คนอยู่กับองค์การไม่ใช่เฉพาะเรื่องค่าตอบแทน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

81 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินค่างาน

(1) การตีค่างาน ประสิทธิภาพในงาน กับค่าตอบแทนที่ควรจะจ่าย

(2) การประเมินคุณค่าของงานเทียบกับค่าตอบแทนที่ควรจะจ่าย

(3) การประเมินคุณค่าว่างานใดควรได้ค่าตอบแทนเท่าใด

(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 75, (คําบรรยาย) การประเมินค่างาน หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ ตีค่างานประเมินหรือเปรียบเทียบคุณค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน หรือประสิทธิภาพในงานกับค่าตอบแทนที่ควรจะจ่าย หรือเป็นการประเมินคุณค่าว่างานใด ควรได้ค่าตอบแทนเท่าใด ซึ่งแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินค่างาน ได้แก่ การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ใบพรรณนาหน้าที่งาน (Job Description) คุณสมบัติตําแหน่ง (Job Specification) และประเภทของตําแหน่งต่าง ๆ ในองค์การ

82 ข้อใดคือลักษณะของการประเมินค่างาน

(1) งานแบบเดียวกันมีค่าเท่ากันในทุก ๆ องค์การ

(2) ปัจจัยในการทํางานแบบเดียวกันมีค่าเท่ากันในทุก ๆ องค์การ

(3) การตีค่างานขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานในแต่ละองค์การ

(4) ความรับผิดชอบแบบเดียวกัน การตีค่างานเหมือนกันในทุกองค์การ (5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การตีค่างานนั้นขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานในแต่ละองค์การ ดังนั้นในองค์การต่าง ๆ ที่มีงานแบบเดียวกัน หรือมีปัจจัยในการทํางาน เช่น ทักษะ ความชํานาญ ความพยายามความรับผิดชอบ หรือสภาพการทํางานแบบเดียวกัน การตีค่างานอาจไม่เหมือนกันก็ได้

83 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเงินค่างาน

(1) งานแบบเดียวกันมีคาเท่ากันทุก ๆ องค์การ

(2) ปัจจัยในการทํางานแบบเดียวกันมีค่าเท่ากัน

(3) การตีค่างานขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานในแต่ละองค์การ

(4) ความรับผิดชอบแบบเดียวกัน การตีค่างานเหมือนกัน

(5) ทักษะแบบเดียวกัน มีค่าเท่ากัน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 ในการประเมินค่างานต้องใช้ข้อมูลจากที่ใด

(1) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

(2) ใบพรรณนาหน้าที่งาน (Job Description)

(3) คุณสมบัติตําแหน่ง (Job Specification)

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43 และ

81 ประกอบ

85 ข้อใดคือแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินค่างาน

(1) ใบพรรณนาหน้าที่งาน (Job Description)

(2) คุณสมบัติตําแหน่ง (Job Specification)

(3) ประเภทของตําแหน่งต่าง ๆ ในองค์การ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 86 – 95 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Job Analysis

(2) Job Ranking

(3) Job Classification

(4). Point Rating

(5) Factor Comparison

 

86 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยจัดลําดับความสําคัญ ความยากง่ายของงาน

ตอบ 2 หน้า 76 – 7 การเรียงลําดับ (Job Ranking) เป็นวิธีดั้งเดิมหรือเก่าแก่ที่สุด ซึ่งไม่เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่หรือองค์การที่มีโครงสร้างซับซ้อน สาระสําคัญของวิธีนี้คือ การนําเอางานที่มีอยู่ ทั้งหมดมาจัดลําดับความสําคัญจากงานที่ง่ายที่สุดไปยังงานที่ยากที่สุด โดยใช้การเปรียบเทียบ เป็นคู่ ๆ แล้วตัดสินใจว่างานใดสําคัญหรือยากกว่า จึงเป็นวิธีที่มีข้อโต้แย้งในเรื่องมาตรฐานที่ใช้ตัดสินความสําคัญของงาน

87 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยจัดกลุ่มตามลักษณะ/ปัจจัยของงาน ตอบ 3 หน้า 77 การจัดระดับงาน (Job Classification/Grading Method) เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยจัดกลุ่มตามลักษณะ/ปัจจัยของงาน กล่าวคือ งานที่มีลักษณะของความยากง่ายเหมือนกัน จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งปัจจัยที่กําหนดความยากง่ายของงาน ได้แก่ ความรู้ความสามารถความชํานาญ ความรับผิดชอบ และสภาพการทํางาน

88 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยตีค่าเป็นคะแนนตามแต่ละปัจจัยที่ใช้ ตอบ 4 หน้า 78, (คําบรรยาย) การให้คะแนน (Point Rating) เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยตีค่าเป็นคะแนนตามแต่ละปัจจัยที่ใช้ เช่น งานธุรการ ให้คะแนนการศึกษาร้อยละ 20 ประสบการณ์ ร้อยละ 25 ความยุ่งยากในงานร้อยละ 35 ความรับผิดชอบร้อยละ 15 และสภาพการทํางาน ร้อยละ 5 เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน สํานักงาน ก.พ. นําไปใช้ในการประเมินค่างานของข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน

89 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยใช้วิธีเชิงปริมาณเทียบปัจจัยในงาน ตอบ 5 หน้า 78 79 การเปรียบเทียบปัจจัย (Factor Comparison) เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยใช้วิธีเชิงปริมาณเทียบปัจจัยในงาน ซึ่งเป็นวิธีที่ซับซ้อน ต้นทุนสูง แต่มีความน่าเชื่อถือกว่า วิธีการอื่น ๆ ข้อดีของวิธีนี้ คือ เหมาะสําหรับการกําหนดมาตรฐานเฉพาะงานของแต่ละองค์การและสามารถเปรียบเทียบค่างานแต่ละงานได้แน่นอนว่าแต่ละงานมีค่าตีเป็นเงินเท่าไร

90 เป็นวิธีที่ใช้ในการประเมินค่างานของข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

91 ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการประเมินค่างาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43 และ 81 ประกอบ

92 เป็นวิธีการประเมินค่างานที่ไม่เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

93 เป็นวิธีการประเมินค่างานที่ซับซ้อน ต้นทุนสูง แต่มีความน่าเชื่อถือ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

94 เป็นวิธีการประเมินค่างานดั้งเดิม ที่ง่าย แต่มีข้อโต้แย้งเรื่องมาตรฐาน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

95 สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน สํานักงาน ก.พ. นําไปใช้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

96 ข้อใดไม่ใช่ประเภทของสิ่งจูงใจในองค์การ

(1) Intrinsic Rewards

(2) Extrinsic Rewards

(3) Non-Financial Rewards

(4) Official Rewards

(5) Accomplishment

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเภทของสิ่งจูงใจในองค์การ มีดังนี้

1 รางวัลที่เป็นตัวเงิน (Financial Rewards) หรือรางวัลภายนอก (Extrinsic Rewards) เช่น เงินเดือน/ค่าจ้าง ค่าคอมมิชชั่น โบนัส หุ้นปันผล เป็นต้น

2 รางวัลที่ไม่เป็นตัวเงิน (Non-Financial Rewards) หรือรางวัลภายใน (Intrinsic Rewards) เช่น ประกันชีวิต สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล วันหยุดพักผ่อนประจําปี ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความสําเร็จในงาน (Accomplishment) เป็นต้น

97 ข้อใดไม่ใช่ Financial Rewards

(1) เงินเดือน

(2) ค่าคอมมิชชั่น

(3) โบนัส

(4) สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล

(5) หุ้นปันผล

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

98 ข้อใดคือความยุติธรรมภายนอกของการบริหารเงินเดือนและค่าจ้าง (1) การปรับตามค่าแรงขั้นต่ำ

(2) การปรับตามค่าครองชีพ

(3) การปรับตามอัตราเงินเฟ้อ

(4) การสํารวจเงินเดือน/ค่าจ้าง

(5) ถูกทุกข้อ ตอบ 5 หน้า 82, (คําบรรยาย) ความยุติธรรมภายนอกของการบริหารเงินเดือนและค่าจ้าง หมายถึง เงินเดือนและค่าจ้างที่กําหนดจะต้องสอดคล้องกับการจ้างงานในตลาดแรงงาน ซึ่งพิจารณาจากค่าแรงขั้นต่ำ ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ การสํารวจเงินเดือน/ค่าจ้างในตลาดแรงงาน เป็นต้น

99 ข้อใดคือปัจจัยที่ลดความไม่พึงพอใจของพนักงาน (Hygiene Factors)

(1) เงินเดือน/ค่าจ้าง

(2) โบนัส

(3) ประกันชีวิต

(4) รถประจําตําแหน่ง

(5) ห้องทํางานส่วนตัว

ตอบ 1 หน้า 156, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการทํางานตามทฤษฎีของ Herzberg ประกอบด้วย

1 ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่ลดความไม่พึงพอใจของ พนักงานในการทํางาน เช่น เงินเดือน/ค่าจ้าง สภาพการทํางาน (เช่น โต๊ะทํางาน คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ) นโยบายและการบริหารงาน การควบคุมบังคับบัญชา เป็นต้น

2 ปัจจัยกระตุ้น (Motivator Factors) เป็นปัจจัยเพิ่มแรงจูงใจแก่พนักงานในการทํางาน เช่น การยอมรับนับถือ ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ (เช่น โบนัส ประกันชีวิต รถประจําตําแหน่ง ห้องทํางานส่วนตัว) เป็นต้น

100 ข้อใดคือปัจจัยเพิ่มแรงจูงใจแก่พนักงาน (Motivation Factors)

(1) โต๊ะทํางาน

(2) ห้องทํางานส่วนตัว

(3) เครื่องปรับอากาศ

(4) คอมพิวเตอร์

(5) เงินเดือน/ค่าจ้าง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

 

POL2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ตั้งแต่ข้อ 1 – 5 ปรากฏการณ์ต่อไปนี้อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องใด

(1) Liberty

(2) Majority Rule

(3) Transparency

(4) Participation

(5) Accountability

 

1 ในการดําเนินการนโยบายใด ๆ ต้องมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ บุคคล ตลอดจนผู้ประกอบอาชีพการงานต่าง ๆ จะต้องรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่และผลการกระทําของตนเอง รวมทั้ง องค์การหรือหน่วยงานที่ตนเองสังกัด ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น ในการดําเนินการนโยบายใด ๆ ต้องมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน เป็นต้น

2 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความโปร่งใส (Transparency) คือ การดําเนินการที่เปิดเผยตรงไปตรงมา ประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ฯลฯ

3 ก่อนจะมีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ชาวบ้านต้องสามารถให้ความเห็นและคัดค้านได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนจากทุกกลุ่มอาชีพและทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการนโยบายและการบริหาร เพื่อที่จะร่วมกันกําหนดทิศทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนหรือของประเทศ ตลอดจน มีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมฟังและการทํา ประชาพิจารณ์ การทําประชามติ การถอดถอนผู้ใช้อํานาจรัฐ การเสนอร่างกฎหมาย หรืออื่น ๆ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์คืนกลับต่อประชาชนในเรื่องนี้ เช่น การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐต้องเปิดโอกาสให้ชาวบ้านสามารถให้ความเห็นและคัดค้านได้ เป็นต้น

4 ในการดําเนินการตามโครงการประชารัฐ ชุมชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการผลิตน้ำดื่มของชุมชน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority Rule) คือ การปกครองโดยใช้จํานวนเป็นเกณฑ์ตัดสินการออกกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหา หรือการตัดสินใจในนโยบายต่าง ๆ ซึ่งต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของเสียงข้างมาก ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิด ประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น การที่ชุมชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการผลิตน้ำดื่มของชุมชนตามโครงการประชารัฐที่รัฐบาลกําหนดไว้ เป็นต้น

5 โครงการสร้างเขื่อนต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เสรีภาพ (Liberty) คือ ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ สามารถดําเนินชีวิตได้ตามความปรารถนา แต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ จะต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น โครงการสร้างเขื่อนต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 6 – 15 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักแนวคิดเรื่องใดตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(1) หลักการเสริมประสิทธิภาพ

(2) หลักพิทักษ์คุณธรรม

(3) หลักระบบค่าตอบแทน

(4) หลักจริยธรรมและวินัย

(5) การกระจายอํานาจ

 

6 มีการออกกฎห้ามมิให้ข้าราชการไปดูงานในประเทศยุโรป

ตอบ 4 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักจริยธรรมและวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติออกจากกันเป็นคนละส่วนอย่างชัดเจน

2 กําหนดให้ส่วนราชการแต่ละแห่งเป็นผู้กําหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อใช้บังคับเฉพาะข้าราชการในสังกัดส่วนราชการนั้นเท่านั้น

3 กําหนดให้ข้าราชการบางตําแหน่งต้องแจ้งทรัพย์สินก่อนและหลังรับตําแหน่ง ฯลฯ

7 การเบิกค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการมีการกําหนดให้ต้องเบิกยานอกบัญชีหลัก

ตอบ 3 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักระบบค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 การจําแนกกลุ่มอาชีพเป็น 4 กลุ่มใหญ่ (Cluster) และกําหนดบัญชีเงินเดือนเป็น 4 บัญชี ซึ่งแต่ละบัญชีใช้เฉพาะสําหรับตําแหน่งแต่ละประเภท

2 กําหนดให้มีเงินเพิ่มใหม่อีก 2 ประเภท คือ ตามพื้นที่และตามสายงาน

3 กําหนดให้เพิ่มค่าตอบแทนบุคคลที่มีใบรับรองการมีวุฒิการศึกษาเพิ่มที่ตรงตามหน้าที่

4 กําหนดให้ข้าราชการทุกระดับต้องถูกประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบ 360 องศา เพื่อนํามาใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

5 การเบิกค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการมีการกําหนดให้ต้องเบิกยานอกบัญชีหลัก

6 มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ ฯลฯ

8 ตั้งคณะกรรมการสอบข้าราชการที่ลวนลามลูกจ้าง

ตอบ 2 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักพิทักษ์คุณธรรมตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งตุลาการและเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการในกรณีที่ข้าราชการถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับบัญชา (เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย) อย่างไม่เป็นธรรม

2 การจัดให้มีศาลปกครองรับเรื่องด้านการบริหารงานบุคคล

3 การให้พนักงาน/ข้าราชการที่ถูกกล่าวหาต้องยุติหน้าที่หรือย้ายไปประจําส่วนราชการเป็นการชั่วคราว ฯลฯ

9 การให้ผู้กํากับการสถานีตํารวจในพื้นที่ต้องยุติหน้าที่และย้ายไปประจําส่วนกลางเป็นการชั่วคราว

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

10 การจําแนกกลุ่มข้าราชการเป็น 4 กลุ่ม (Cluster)

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

 

11 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมบรรจุแต่งตั้งข้าราชการได้ ตอบ 5 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักการกระจายอํานาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ เช่น อธิบดีมีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้ชํานาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ช่วยงานในท้องถิ่น เป็นต้น

2 กําหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด ดําเนินการจัดสอบแข่งขันเพื่อเลือกสรรบุคคลบรรจุเข้ารับราชการได้เอง

3 การให้อํานาจในการแต่งตั้งหรือโอนย้ายบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงได้ เช่น การแต่งตั้งโฆษก คสช. ไปดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

12 การกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกตรวจสอบจากองค์กรภายนอก เช่น สตง., ป.ป.ช.

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการเสริมประสิทธิภาพตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ

2 กําหนดให้มีแบบฟอร์มการทํารายงานหลัง/กลับจากการฝึกอบรมของหน่วยงานรัฐ

3 กําหนดให้มีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกหลายองค์กร เช่น ป.ป.ช., กกต., จังหวัด และองค์กรวิชาชีพ ฯลฯ

13 ให้ข้าราชการต้องไปเพิ่มพูนความรู้ เข้าฝึกอบรมเป็นประจําตลอดช่วงระยะเวลาที่รับราชการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

14 มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

15 มีนโยบายให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยและรองอธิการบดีแสดงบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังดํารงตําแหน่ง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

ข้อ 16 – 25 ต่อไปนี้อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องใดที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

(1) ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์

(2) โครงสร้างประชากร

(3) ปัจจัยระหว่างประเทศ

(4) ทรัพยากรธรรมชาติ

(5) นวัตกรรมเทคโนโลยี

 

16 ประเทศไทยถูกจัดลําดับให้เป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ในระดับ Tier

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจัยระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลกระทบต่อการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือภาพลักษณ์ของประเทศ ตัวอย่างที่ อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ประเทศไทยถูกจัดลําดับให้เป็นประเทศ ที่มีการค้ามนุษย์ในระดับ Tier 3 เวทีการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซมครั้งที่ 9 ให้ความสําคัญ ในเรื่องการป้องกันมากกว่าปราบปรามการค้ามนุษย์ แรงงานพม่าต้องขึ้นทะเบียนแรงงาน ต่างด้าว เป็นต้น

17 ในอนาคตต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โครงสร้างประชากร เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลทางด้านจํานวนประชากรโครงสร้างทางอายุ (เช่น วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกําลังศึกษา วัยทํางาน วัยเกษียณอายุ วัยชรา เป็นต้น) นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสัดส่วนของเพศ (ชาย : หญิง) สัดส่วนของอายุ เด็ก : วัยทํางาน : คนโสด : ผู้สูงอายุ) จํานวนผู้อยู่ในวัยแรงงาน อัตราการเจริญพันธุ์ การเกิด การตาย การอพยพย้ายถิ่น ตลอดจนจํานวนบุคคลในครอบครัวหนึ่ง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ในอนาคตต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น

18 การออกกฎหมายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องคํานึงถึงความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ ได้แก่ สถานที่ตั้งขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) ภูมิอากาศ และองค์ประกอบเชิงธรณีวิทยา รวมถึงภูมิหลังความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลทําให้เกิดความเชื่อ ความศรัทธา การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ความขัดแย้ง หรือทักษะความชํานาญ ของแต่ละกลุ่มบุคคล เชื้อชาติ/เผ่าพันธุ์ หรือแต่ละประเทศสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่ อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การออกกฎหมายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องคํานึงถึงความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม เป็นต้น

19 แนวโน้มจะใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนเงินสด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่อ , อํานวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัย สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น แนวโน้มจะใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนเงินสดหน่วยราชการใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่สแกนผ่านคอมพิวเตอร์แทนการใช้กระดาษ เป็นต้น

20 การผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะผลิตจากพลังงานถ่านหิน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว เพื่อที่จะหยุดการบุกรุกทําลายทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่าง ๆ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ ดิน สัตว์ป่า น้ำและช่วยดูแลรักษาทรัพยากรเหล่านี้ให้คงสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อม ของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะผลิตจากพลังงานถ่านหิน การขุดเจาะบ่อน้ำมันน้อยลงเพราะปริมาณน้ำมันใต้ดินมีจํากัด การสัมปทานเหมืองแร่เพื่อการส่งออกลดลง เป็นต้น

 

21 การขุดเจาะบ่อน้ำมันน้อยลงเพราะปริมาณน้ำมันใต้ดินมีจํากัด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

22 เวทีการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซมครั้งที่ 9 ให้ความสําคัญในเรื่องการป้องกันมากกว่าปราบปรามการค้ามนุษย์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

23 หน่วยราชการใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่สแกนผ่านคอมพิวเตอร์แทนการใช้กระดาษ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

24 แรงงานพม่าต้องขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

25 การสัมปทานเหมืองแร่เพื่อการส่งออกลดลง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องการลงทุนเรื่องใด

(1) การฟื้นฟูสุขภาพ

(2) การป้องกันโรค

(3) ความจําเป็นพื้นฐาน

(4) ความรู้ในฐานะพลเมือง

(5) การรักษาโรค

 

26 การประกาศให้สุนัขตามบ้านมารับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การป้องกันโรค หมายถึง พฤติกรรมที่มุ่งป้องกันสุขภาพไม่ให้เกิดความเจ็บป่วยหรือโรคต่าง ๆ เช่น การฉีดวัคซีน การตรวจสุขภาพประจําปี การดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง อยู่เสมอ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะหรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค เช่น เรื่องน้ำดื่ม อาหาร อากาศ สารเคมี และการกําจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย แมลงนําโรค ตัวอย่างที่อธิบายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การประกาศให้สุนัขตามบ้านมารับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

27 การกําหนดหลักสูตรโตไปไม่โกงในระดับประถมศึกษา

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความรู้ในฐานะพลเมือง เป็นความรู้ที่จําเป็นสําหรับการดํารงชีวิตในฐานะพลเมืองของรัฐ เช่น ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของรัฐ ความรู้ในขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม ความรู้ในภาษา ความรู้ในอาชีพ ตัวอย่างที่อธิบาย ถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การกําหนดหลักสูตรโตไปไม่โกงในระดับประถมศึกษา เป็นต้น

28 การให้ขยายบริการรถเมล์ รถไฟฟรี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความจําเป็นพื้นฐาน เป็นความจําเป็นในปัจจัยพื้นฐานสําหรับการดํารงชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ อากาศ น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การขยายบริการรถเมล์ รถไฟฟรี เป็นต้น

29 การขยายหน่วยบริการไตเทียมให้กับบริษัทเอกชนเป็นผู้ดําเนินการ ตอบ 1 (คําบรรยาย) การฟื้นฟูสุขภาพ หมายถึง กระบวนการดูแลสุขภาพและฟื้นฟูร่างกายและจิตใจภายหลังได้รับการรักษาพยาบาล รวมถึงพฤติกรรมดูแลสุขภาพภายหลังการเจ็บป่วย ตัวอย่าง ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การขยายหน่วยบริการไตเทียมให้กับบริษัทเอกชนเป็นผู้ดําเนินการ เป็นต้น

30 การทดลองให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ติดเชื้อ HIV

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การรักษาโรค หมายถึง การให้การรักษาเมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือเยียวยาให้หายจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การทดลองให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ติดเชื้อ HIV เป็นต้น

 

31 Personnel Administration หมายถึงข้อใด

(1) การบริหารรัฐกิจ

(2) การบริหารธุรกิจ

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์

(5) การบริหารคน

ตอบ 3 หน้า 1 – 2, 189 การบริหารงานบุคคล (Personnel Administration) หมายถึง การบริหารงานที่เกี่ยวกับตัวบุคคลหรือตัวเจ้าหน้าที่ในองค์การ นับตั้งแต่การสรรหาคนทํางาน การรับสมัคร การสอบไล่ การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การโอน การย้าย การฝึกอบรม การประเมินผล การปฏิบัติงาน การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนชั้นเลื่อนตําแหน่ง การกําหนดชั้นและ ตําแหน่งตามหน้าที่ปริมาณงานและความรับผิดชอบ การกําหนดอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดสวัสดิการ การปกครองบังคับบัญชาและการดําเนินการทางวินัย การให้พ้นจากงาน และการช่วยเหลืออํานวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนการให้สินน้ำใจ รางวัล บําเหน็จบํานาญหรือเงินสมนาคุณเมื่อออกจากงาน

32 ข้อใดเป็นคําอธิบายความหมายของ Personnel Administration

(1) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

(2) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ

(3) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาและคัดเลือกบุคคล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 33 – 38 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(2) หลักการจ้างงานตลอดชีพ

(3) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ชั้น 1

(4) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม

(5) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

 

33 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Max Weber ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) ของ Max Weber มีดังนี้

1 การมีแบบฟอร์มที่เป็นระเบียบเดียวกัน เช่น การกําหนดให้นักศึกษาปริญญาโททุกคนมีการตัดเสื้อรุ่นให้เป็นแบบฟอร์มเดียวกัน เป็นต้น

2 การมีเครื่องหมาย เครื่องแบบ หรือสีสัญลักษณ์ขององค์การ เช่น การกําหนดให้กํานันและผู้ใหญ่บ้านมีเครื่องแบบของราชการสวมใส่ เป็นต้น

3 มีการจําแนกตําแหน่งตามชั้นยศทางวิชาการ

4 ยึดกฎหมาย กฎระเบียบ วินัย และข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด

5 มีลําดับชั้นการบังคับบัญชา ลําดับชั้นยศ และลําดับความรับผิดชอบ

6 หลักการจ้างงานตลอดชีพ เป็นอาชีพที่มั่นคง ผลตอบแทนด้านการเงินแน่นอนเมื่อปลดเกษียณแล้วก็จะได้รับบําเหน็จหรือบํานาญ ฯลฯ

34 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Frederick W. Taylor

ตอบ 1 (คําบรรยาย) แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ของFrederick W. Taylor มีดังนี้

1 การมุ่งแสวงหาวิธีการทํางานที่ดีที่สุด (One Best Way) ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั่นคือ การสังเกต การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปผลตลอดจนการสร้างตัวแบบจําลอง (Model) ของสิ่งที่ทําการศึกษา

2 การสร้างแรงจูงใจในการทํางานให้กับพนักงานหรือผู้ใช้แรงงาน หรือผู้ประกอบการ โดยอาศัยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเพียงประการเดียว นั่นคือ เน้นการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนในรูปตัวเงินเป็นหลัก หรือหลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น ฯลฯ

35 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Henri Fayol  ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ ของ Henri Fayol มีดังนี้

1 การแบ่งงานกันทํา (Division of Work)

2 อํานาจและความรับผิดชอบ (Authority & Responsibility) 3 ความมีวินัย (Discipline)

4 เอกภาพของการบังคับบัญชา (Unity of Command)

5 เอกภาพของการอํานวยการ (Unity of Direction)

6 ผลประโยชน์ทั่วไปสําคัญกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว (General Interest)

7 การให้รางวัลตอบแทนแก่บุคลากร (Remuneration)

8 การรวมอํานาจที่เหมาะสม (Centralization)

9 สายการบังคับบัญชา (Hierarchy)

10 การจัดระเบียบ (Order)

11 หลักความยุติธรรม (Equity)

12 ความมั่นคงของคนทํางาน (Stability of Tenure of Personnel)

13 ความคิดริเริ่ม (Initiative)

14 ความรัก/ความสามัคคีของหมู่คณะ (Esprit de Corps)

36 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ George Elton Mayo

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ ของ George Elton Mayo มีดังนี้

1 เน้นหลักการทํางาน การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคลากรแบบเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม เช่น การแต่งตั้งนายตํารวจไปรับผิดชอบคดีต้องใช้ทีมงานเดียวกัน

2 กลุ่มจะเป็นผู้กําหนดคุณลักษณะของสมาชิก มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน แบบแผนหรือพิธีการของกลุ่ม ตลอดจนกําหนดผลผลิตของสมาชิกทั้งโดยการทบทวนมาตรฐานงานและการเตรียมแผนงาน

3 ความสัมพันธ์ในกลุ่มจะทําให้สมาชิกกลุ่มเกิดความพอใจในเป้าหมายขององค์การและวิธีการทํางานร่วมกัน จนนําไปสู่การกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การให้เหมาะสมกับการดําเนินงานมากขึ้น เช่น ความพยายามปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ

4 หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม ปัจจัยด้านปทัสถานทางสังคมเป็นตัวกําหนดปริมาณผลผลิตของคนงานในองค์การ ไม่ใช่ปัจจัยด้านกายภาพและพฤติกรรมของคนงาน

37 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ A.H. Maslow ตอบ 3 หน้า 149 – 150 ทฤษฎีความต้องการตามลําดับขั้นของ Abraham Maslow มีดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ

2 ความต้องการความปลอดภัย

3 ความต้องการ ความรักและการมีส่วนเป็นเจ้าของ

4 ความต้องการที่ได้รับการยกย่องนับถือ

5 ความต้องการความสําเร็จในชีวิตที่เกิดจากตนเอง

38 ข้อใดคือหลักการในการจูงใจคนงานของ Frederick W. Taylor

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

39 การจัดเรื่องแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การประเมินผลการปฏิบัติงานของคนในองค์การ

(2) การวางแผนกําลังคน

(3) การจัดการเรื่องสหภาพแรงงาน

(4) การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แรงงานสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายนี้ได้มีผลกระทบต่อกระบวนการบริหาร กระบวนการดําเนินธุรกิจของนายจ้าง ซึ่งจะมีผลต่อการทํางานและความเป็นอยู่ของลูกจ้าง รวมทั้งมีผลต่อสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศชาติด้วย การจัดเรื่องแรงงานสัมพันธ์จึงเกี่ยวข้องกับการจัดการเรืองสหภาพแรงงาน

40 ข้อใดไม่จัดว่าเป็นบทบาทหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล

(1) คิดค้นวิธีการในการระบุตําแหน่ง

(2) กําหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน

(3) ระบุความต้องการของตลาดเกี่ยวกับสินค้า

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล ได้แก่

1 คิดค้นวิธีการในการระบุตําแหน่ง

2 กําหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน เป็นต้น

 

41 ข้อใดไม่จัดเป็นภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล

(1) การกําหนดนโยบาย

(2) การวางแผนกําลังคน

(3) การวัดประเมิน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล ได้แก่

1 การวางแผนกําลังคน

2 การสรรหาและคัดเลือก

3 การส่งเสริมทักษะแก่สมาชิกในองค์การ เป็นต้น

42 ข้อใดไม่จัดเป็นภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล

(1) การสรรหาและคัดเลือก

(2) การส่งเสริมทักษะแก่สมาชิกในองค์การ

(3) การพิจารณาความดี ความชอบของสมาชิก

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 43 – 50 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การสัมภาษณ์เบื้องต้น

(2) การให้กรอกใบสมัครงาน

(3) การทดสอบ

(4) การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน

(5) การตรวจร่างกาย

43 การคัดเลือกในข้อใดเน้นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อดูความเหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อดูความเหมาะสมของผู้สมัครงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุดในการคัดเลือก บุคคลเข้าทํางาน โดยวิธีการนี้จะช่วยให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการขององค์การหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือ มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้การสัมภาษณ์จะกระทําสําเร็จได้ต้องใช้ความเป็นศิลปะมากกว่าความเป็นศาสตร์

44 Application Blank หมายถึงข้อใด

ตอบ 2 หน้า 65 การให้กรอกใบสมัครงาน (Application Blank) เป็นการให้ผู้สมัครงานกรอกข้อมูลส่วนตัวลงในแบบฟอร์มใบสมัคร เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางาน เป็นต้น

45 การคัดเลือกในข้อใดเป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมมากที่สุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

46 ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือก

ตอบ 5 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทํางานด้วย

47 ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิเสธบุคคลที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบประวัติของผู้สมัครที่กรอกไว้ในใบสมัคร

ตอบ 4 หน้า 66 – 67 การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน จัดเป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบประวัติของผู้สมัครที่กรอกไว้ในใบสมัคร เพื่อที่จะช่วยให้ทราบว่าการทํางานต่าง ๆ ที่แล้วมา หรือ ข้อมูลต่าง ๆ ของผู้สมัครที่ได้กรอกไว้ในใบสมัคร ตลอดจนสิ่งที่ได้รับฟังจากการสัมภาษณ์ว่ามีความถูกต้อง

49 ข้อใดจัดเป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความสามารถของพนักงานว่าตรงกับลักษะงานหรือไม่

ตอบ 3 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความสามารถของพนักงานว่าตรงกับลักษะงานหรือไม่ เช่น การทดสอบความถนัด ทักษะสติปัญญา (I.O.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น

50 Employment Test หมายถึงข้อใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

 

51 การฝึกอบรม หมายถึงข้อใด

(1) กรรมวิธีในการเพิ่มสมรรถภาพในการทํางาน

(2) กรรมวิธีในการส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจในการทํางาน

(3) กรรมวิธีการลดขั้นตอนการทํางาน

(4) กรรมวิธีการรักษาบุคลากร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 120 Civil Serie Assembly #he United States and Canada ได้ให้ความหมายไว้ว่า การฝึกอบรม คือ กรรมวิธีในการที่จะเพิ่มสมรรถภาพในการทํางานทั้งในด้านความคิด การกระทํา ความสามารถ ความรู้ ความชํานาญ และการแสดงออก

ตั้งแต่ข้อ 52 – 60 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training)

(2) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)

(3) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training)

(4) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training)

(5) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)

 

52 “On-the-Job Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 1 หน้า 126 – 127, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the– Job Training)เป็นการฝึกอบรมที่ให้พนักงานได้สัมผัสกับสิ่งที่ใช้ในการทํางานจริง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้แพร่หลาย ในทุกวงการธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นวิธีการฝึกอบรมที่ก่อให้เกิดความคุ้นเคยกับอุปกรณ์เครื่องมือ สถานที่ บรรยากาศ รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ สําหรับดําเนินการให้ลูกจ้างใหม่มีประสบการณ์การทํางานเหมือนกับลูกจ้างเก่า หรือฝึกอบรมซูเปอร์ไวเซอร์ให้มีประสบการณ์ไปทําหน้าที่นิเทศพนักงานได้เป็นอย่างดี

53 “Apprenticeship Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 3 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprentice: hip Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพ ต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ

1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ

2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้าเป็นต้น

54 “Orientation Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 2 หน้า 127 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะนํา ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํางาน เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน เงื่อนไข การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้หมดไป ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และเป็นประโยชน์ต่อองค์การในท้ายที่สุด

55 “Case Study Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 5 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางการแก้ ปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็น.ทคนิคที่นิยมใช้ ในการฝึกอบรมผู้บริหาร ที่มุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

56 การฝึกอบรมในข้อใดเน้นการฝึกอบรมความรู้ ทักษะในด้านฝีมือ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

57 การฝึกอบรมในข้อใดใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

58 การฝึกอบรมในข้อใดเป็นที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

59 การฝึกอบรมในข้อใดให้พนักงานได้สัมผัสกับสิ่งที่ใช้ในการทํางานจริง ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

60 การฝึกอบรมในข้อใดมุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)

(2) สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market)

(3) ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining)

(4) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)

(5) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)

 

61 ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

ตอบ 5 หน้า 85, (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถ ดํารงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น

62 รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอํานาจกําหนดค่าจ้าง ตอบ 3 หน้า 86, (คําบรรยาย) อํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อํานาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้างเกี่ยวกับการกําหนดค่าจ้าง และเงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน ซึ่งหากสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไร พลังอํานาจการเจรจาต่อรองในการกําหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

64 ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน

ตอบ 1 หน้า 85 – 86, (คําบรรยาย) ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึง ความสามารถของนายจ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษัท มักจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน เป็นต้น

65 บริษัทหลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ 3 วุฒิปริญญาตรี

ตอบ 4 หน้า 84 85, (คําบรรยาย) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆ ไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่ายตามอัตราค่าจ้างขององค์การ อื่น ๆ ที่จ่ายให้แก่พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือทํางานประเภทเดียวกัน เช่น บริษัท หลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการ ระดับ 3 หรือระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น .

ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ใบสมัครงาน Application Blank)

(2) การสัมภาษณ์ (Interview)

(3) การตรวจร่างกาย (Physical Check)

(4) การทดสอบ (Employment Test)

(5) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)

 

66 เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 64, 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่นิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์หรือ ผู้สมัครได้พูดคุยและซักถามข้อมูลของกันและกัน จึงทําให้สามารถที่จะวัดพฤติกรรม บุคลิกภาพ ประสบการณ์ วิสัยทัศน์ อารมณ์และจิตใจของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี

67 เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

68 การสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

69 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

70 เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 71 – 75 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน

(2) ผู้ใต้บังคับบัญชา

(3) ประเมินตนเอง

(4) ผู้บังคับบัญชา

(5) เพื่อนร่วมงาน

 

71 มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้บุคคลภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมิน เช่น มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาคการศึกษา, การประเมินผลการทํางานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อ ซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลการให้บริการของพนักงาน เป็นต้น

72 การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ต้องทําในสายการบังคับบัญชา ทั้งนี้เพราะผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมาก ในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น

73 ผู้ประเมินบางคนมักไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความเป็นจริง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่มีข้อดี คือ สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร เคยมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชา หรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาออกมาดีเกินความเป็นจริง

74 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกันต่างประเมินซึ่งกันและกัน โดยมักจะใช้กับกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่มีความคุ้นเคยกัน ทํางานร่วมกันมานานพอสมควร และงานที่ทําจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

75 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 76 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

(2) การออกแบบงาน (Job Design)

(3) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

(4) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)

(5) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

 

76 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)

ตอบ 3 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนด ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมกับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) ในการกําหนดค่าจ้างและผลตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน

77 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน ตอบ 2 หน้า 16 การออกแบบงาน Job Design) ที่ดินอกจากจะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว ยังสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการ ทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย

78 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

ตอบ 5 หน้า 14 – 17 ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้

1 ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน (Job Design)

2 ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

3 ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

4 ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

5 ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทํางาน

6 ใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดค่าตอบแทน ฯลฯ

79 ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน

ตอบ 5 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้

1 กิจกรรมของงาน (Work Activities)

2 พฤติกรรมของบุคคล (Human Behavior)

3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน (Machine, Tool, Equipment and Work Aids Used)

4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards)

5 เนื้อหาของงาน Job Context)

6 ความต้องการบุคลากร (Personnel Requirements)

80 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

 

81 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ

ตอบ 4 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่างเพื่อให้งาน ประสบความสําเร็จ เช่น การกําหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานได้มาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities)

82 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง

ตอบ 1 หน้า 12 – 13 คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลักหน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานได้มาจากงาน (Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)

83 เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน

ตอบ 5 หน้า 11 ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ กล่าวว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้จะทําให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชํานาญ และความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทํางานนั้นให้สําเร็จลงได้

84 ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

85 ได้ข้อมูลมาจากงาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์

(2) พ.ร.บ. เงินทดแทน

(3) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน

(4) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

(5) พ.ร.บ. ประกันสังคม

 

86 ค่าชดเชยกรณีออกจากงาน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงานที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติต่อลูกจ้าง และรัฐให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยสาระสําคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ การกําหนดวันและเวลาทํางาน วันหยุด วันลา การพักงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทํางานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานและค่าล่วงเวลา ในวันหยุด การใช้แรงงานหญิงและแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานหรือเลิกจ้าง เป็นต้น

87 การเบิกเงินกรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางาน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นเพื่อทําหน้าที่จ่ายเงินทดแทนแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันเนื่องมาจากการทํางาน โดยกําหนดให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงิน

ทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ลูกจ้างและรัฐบาลไม่ต้องจ่าย

88 ผู้ประกันตนเบิกเงินค่าคลอดบุตร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กําหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมในกรณีดังต่อไปนี้

1 กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทํางาน

2 กรณีคลอดบุตร

3 กรณีสงเคราะห์บุตร

4 กรณีชราภาพ

5 กรณีว่างงาน

89 สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้าง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับกับวิสาหกิจเอกชนในปัจจุบัน โดยจะกําหนดสาระสําคัญเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกําหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การปิดงานและการนัดหยุดงาน ตลอดจนการกระทําอันไม่เป็นธรรม

90 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพฯ วันละ 300 บาท

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95 สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด

(1) กําหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน

(2) กําหนดตัวผู้ประเมิน

(3) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

(4) กําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน

(5) กําหนดวิธีการประเมิน

 

91 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางานถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน

ตอบ 5 หน้า 166 – 167, (คําบรรยาย) การกําหนดวิธีการประเมินมีหลายวิธีแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ ดังนี้

1 การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่มการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ

2 การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อดทน สุภาพ หรือเจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น

92 การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง

ตอบ 3 หน้า 167, (คําบรรยาย) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการนําผลการวิเคราะห์รายงานจากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับ ผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น

93 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์

ตอบ 4 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน เป็นการบอกถึงเหตุผลและความจําเป็นของการประเมินผลว่ามีการประเมินไปเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ ผู้ถูกประเมินและผู้ทําการประเมินทราบถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของการประเมิน ก่อนทําการประเมิน เช่น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น

94 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน

ตอบ 2 หน้า 166, (คําบรรยาย) การกําหนดตัวผู้ประเมิน เป็นการกําหนดตัวผู้ที่จะทําการประเมินให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ถูกประเมิน ซึ่งปกติตัวผู้ประเมินมักจะได้แก่ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง ลูกค้า ตนเอง และเพื่อนร่วมงาน เช่น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

95 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 96 – 100 เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด

(1) การดําเนินการทางวินัย

(2) การเยียวยา

(3) การส่งเสริมให้มีวินัย

(4) การดูแล

(5) การป้องกัน

 

96 การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์

ตอบ 2 หน้า 175 – 176, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การเยียวยา” หมายถึง การแก้ไขและบํารุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง เยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น

97 ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่

ตอบ 5 หน้า 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การป้องกัน” หมายถึง การกระทําในทางที่จะขจัดเหตุที่ทําให้ข้าราชการกระทําผิดวินัย ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง คอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะกระทําผิดวินัยให้เกิดความกลัว เช่น ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่ เป็นต้น

98 การเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ

ตอบ 4 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การดูแล” หมายถึงการสอดส่องกํากับตรวจตรา โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน หรือการเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น

99 ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ

100 อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การดําเนินการทางวินัยในขั้นตอนการสั่งลงโทษ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบ การพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

POL2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ปรากฏการณ์ข้อใดเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

(1) หมายจับธัมมชโยสร้างตึกไม่ได้แจ้ง

(2) กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ลุยจับขอทานตรวจสุขภาพส่งกลับภูมิลําเนา (3) วิทยาลัยอาหารโรงแรมดุสิตธานีเปิดอบรมนักท่องเที่ยวต่างชาติ

(4) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อัดรัฐบาลใช้ ม.44 เกินตัว

(5) สองนักธรณีวิทยาเสียชีวิตเนื่องจากอุโมงค์ถล่มทับ

ตอบ 2 หน้า 194 195, (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ในภาครัฐ เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแลคนในด้านต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ความมั่นคง และคุณภาพชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ (ก่อนเกิด) จนถึงหลังการตาย ตัวอย่าง ที่อธิบายปรากฏการณ์ในเรื่องนี้ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ลุยจับขอทานตรวจสุขภาพส่งกลับภูมิลําเนา เป็นต้น

2 ปรากฏการณ์ข้อใดเป็นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาคเอกชน

(1) หมายจับธัมมชโยสร้างตึกไม่ได้แจ้ง

(2) กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ลุยจับขอทานตรวจสุขภาพส่งกลับภูมิลําเนา

(3) วิทยาลัยอาหารโรงแรมดุสิตธานีเปิดอบรมนักท่องเที่ยวต่างชาติ

(4) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อัดรัฐบาลใช้ ม.44 เกินตัว

(5) สองนักธรณีวิทยาเสียชีวิตเนื่องจากอุโมงค์ถล่มทับ

ตอบ 5 หน้า 195, (คําบรรยาย) การบริหารจัดการงานบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจเอกชนเป็นการจัดการคนในหน่วยงานนอกภาครัฐ เริ่มตั้งแต่การวางแผนกําลังคน การจัดหาบุคคล เข้าทํางาน ซึ่งประกอบด้วยการสรรหา การคัดเลือก และการบรรจุแต่งตั้ง) การประเมินผล การปฏิบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การหมุนเวียนงาน การรักษาวินัยในการทํางาน การรักษาสุขภาพและความปลอดภัยในการทํางาน จนกระทั่งการให้พ้นออกไปจากองค์กร ตัวอย่างที่อธิบายปรากฏการณ์ในเรื่องนี้ เช่น การให้ความช่วยเหลือแก่สองนักธรณีวิทยาที่เสียชีวิตเนื่องจากอุโมงค์ถล่มทับของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในฐานะนายจ้าง เป็นต้น

3 ปัจจุบันนี้อัตราการเกิดของประชากรไทยอยู่ในระดับเท่าไหร่

(1) 3.3%

(2) 2.4%

(3) 1.0%

(4) 0.96

(5) 0.4%

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจุบันนี้อัตราการเกิดของประชากรไทยอยู่ในระดับ 0.4% (ปี 2558) ส่งผลให้ไทยเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ (ผู้มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) โดยคาดว่าประชากรกลุ่มผู้สูงอายุมีจํานวนประมาณ 14 ล้านคน

4 ยุคผู้สูงอายุของไทยจะมีผู้สูงอายุจํานวนกี่ล้านคน

(1) 10 ล้านคน

(2) 12 ล้านคน

(3) 14 ล้านคน

(4) 15 ล้านคน

(5) 16 ล้านคน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5 ข้อใดต่อไปนี้เป็นสิ่งที่รัฐสร้างความมั่นคงให้กับประชากร (พลเมือง)

(1) การตรวจสอบการบุกรุกทําลายป่าสงวน

(2) การทําประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ

(3) การจัดตั้งกองทุนเงินออมแห่งชาติ

(4) กรุงเทพมหานครยกเลิกหาบเร่ยึดคืนทางเท้า

(5) การออกกฎหมายให้คดีทุจริตคอร์รัปชั่นไม่มีอายุความ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสร้างความมั่นคง เป็นการให้ผลประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคมเพื่อคุ้มครองชีวิตในรูปของกฎหมาย กองทุนการออม และประกันแบบต่าง ๆ เช่น ประกันการว่างงาน ประกันรายได้ ประกันสังคม ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ และประกันภัยตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ในเรื่องนี้ เช่น การจัดตั้งกองทุนเงินออมแห่งชาติ เป็นต้น

6 ข้อใดต่อไปนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลจึงมอบให้กับประชากร (พลเมือง) อย่างเสมอหน้าเท่าเทียมกัน

(1) กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

(2) สินค้าที่จําเป็นต่อการดํารงชีพ

(3) เส้นทางคมนาคมที่สะดวกและปลอดภัย

(4) การเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

(5) ช่องทางการสื่อสาร คลื่นการสื่อสาร

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การบริการสินค้าและให้บริการ เป็นการให้บริการสินค้าและบริการของรัฐในด้านสาธารณูปโภคและสารารณูปการแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น การบริการด้านการศึกษา การบริการด้านสุขภาพ การบริการด้านคมนาคม การจัดหาสินค้าที่จําเป็นต่อการดํารงชีพราคาประหยัดในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ตัวอย่างเช่น การขายสินค้าธงฟ้าของกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

7 กรณีการดําเนินคดีกับ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เป็นการเกี่ยวข้องกับองค์กรกลางการบริหารงานบุคคล องค์กรใด

(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(2) คณะกรรมการข้าราชการตํารวจ

(3) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในพระองค์

(4) คณะกรรมการข้าราชการตุลาการ

(5) คณะกรรมการข้าราชการยุติธรรม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) กรณีการดําเนินคดีกับ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ในคดีบุกรุกป่าอุทยานแห่งชาติทับลานและคดีทุจริตต่อหน้าที่ราชการ เป็นการเกี่ยวข้องกับองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของบุคคลดังกล่าว

8 “ค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดิน” เป็นค่ายที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใด

(1) เน้นจริยธรรมให้กับเยาวชนช่วงปิดเทอม

(2) เน้นทัศนคติให้เยาวชนไทยต่อต้านการคอร์รัปชั่น

(3) เป็นศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน

(4) เป็นศูนย์บําบัดยาเสพติดอย่างถาวร

(5) เป็นศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพของผู้ประสบภัยทางถนน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) “ค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดิน” ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ําแก้ว อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นศูนย์บําบัดยาเสพติดอย่างถาวร มุ่งเน้นในการช่วยเหลือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพัฒนาผู้ติดยาเสพติดให้กลับมาใช้งวิตอย่างปกติกายในสังคมได้

9 โครงการ “คนกล้าคืนถิ่น” เป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใด ๆ

(1) สามารถเลือกวิถีอาชีพที่พึ่งตนเองได้

(2) น้อมนำ ตามรอยของศาสตร์พระราชา

(3) ค้นหาตัวเอง เกิดแรงบันดาลใจ เรียนรู้พัฒนาตนเอง

(4) สมาร์ท ฟาร์มเบอร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงการ “คนกล้าคืนถิ่น” เป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้

1 สามารถเลือกวิถีอาชีพที่พึ่งตนเองได้

2 น้อมนํา ตามรอยของศาสตร์พระราชา

3 ค้นหาตัวเอง เกิดแรงบันดาลใจ เรียนรู้ พัฒนาตนเอง

4 สมาร์ทฟาร์มเมอร์

10 ปัญหาทางการแพทย์ของไทยปัจจุบันนี้เกิดกับบัณฑิตแพทย์ที่จบการศึกษาใหม่และเข้ารับราชการ ประสบกับปัญหาใดมากที่สุด

(1) การบรรจุในถิ่นที่ไกล กันดาร

(2) ขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย

(3) ไม่ได้รับเงินเดือนเกินกว่า 10 เดือน

(4) มีการขอโอนโยกย้ายมาก

(5) ไม่มาทํางานใช้หนี้ตามสัญญาก่อนเข้าศึกษา

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันปัญหาระบบการแพทย์ของไทยที่เกิดกับบัณฑิตแพทย์ที่จบการศึกษาใหม่และเข้ารับราชการ คือ การที่รัฐไม่ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่แพทย์ที่บรรจุใหม่เกินกว่า 10 เดือนซึ่งกําลังจะสร้างปัญหาการเกิดสมองไหลของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนตามมา

 

ตั้งแต่ข้อ 11 – 15 เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องใดต่อไปนี้

(1) Drive

(2) Instinct

(3) Fear

(4) Needs

(5) Wants

 

11 “จุมพล” สารภาพยอมรับบ้านพักหรู 13 ไร่ ที่รุกอุทยานฯ เป็นของตัวเองจริง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) Wants หมายถึง ความต้องการในสิ่งที่ไม่จําเป็น หรือไม่ใช่ความจําเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เพราะถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เราต้องการ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ตาย ซึ่งส่วนใหญ่ มักเป็นความต้องการในสิ่งที่ฟุ่มเฟือย สวยงาม และหรูหรา ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึง ธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น “จุมพล” สารภาพยอมรับบ้านพักหรู 13 ไร่ที่รุกอุทยานฯเป็นของตัวเองจริง เป็นต้น

12 เกิดการโต้แย้งระหว่างฝ่ายกู้ชีพกับสมาชิกธรรมกายเรื่องการเสียชีวิตของลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย

ตอบ 2 หน้า 192, (คําบรรยาย) สัญชาตญาณ (Instinct) เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยอัตโนมัติเมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้น หรือสิ่งใดก็ตามที่ติดตัวมาแต่กําเนิดและมีแนวโน้มที่จะทําให้เกิดพฤติกรรมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นพิเศษ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึง ธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น เกิดการโต้แย้งระหว่างฝ่ายกู้ชีพกับสมาชิกธรรมกายเรื่องการเสียชีวิตของลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย เป็นต้น

13 ศิษย์วัดพระธรรมกายยกป้าย “We Needs Food” ไว้เหนือตึกสูงในเขตวัดพระธรรมกาย

ตอบ 4 หน้า 192, (คําบรรยาย) Needs หมายถึง ความต้องการในสิ่งที่จําเป็นต้องมีสําหรับการดํารงชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ ความต้องการปัจจัยสีหรือปัจจัยพื้นฐาน เช่น อากาศ น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดํารงชีพ ตลอดจนความมั่นคงปลอดภัย ในชีวิต ทรัพย์สิน และหน้าที่การงาน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ ในเรื่องนี้ เช่น ศิษย์วัดพระธรรมกายยกป้าย “We Needs Food” ไว้เหนือตึกสูงในเขตวัดพระธรรมกาย เป็นต้น

14 กอ.รมน. ภาค 4 ประณามการฆ่าเด็กและสตรีของคนร้ายที่รือเสาะ ตอบ 3 หน้า 192, (คําบรรยาย) ความกลัว (Fear) เป็นอารมณ์ ความรู้สึก หรือสภาวะที่บุคคลไม่พึงปรารถนา ไม่ต้องการ ไม่อยากประสบพบเจอในสิ่งที่ไม่ดีแก่ตน เช่น กลัวตาย กลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กลัวการเปลี่ยนแปลงในชีวิต กลัวความผิด ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น กอ.รมน.ภาค 4 ประณามการฆ่าเด็กและสตรีของคนร้ายที่รือเสาะ เป็นต้น

15 ข่าวเรื่องข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งข่มขืนหลานสาววัย 11 ขวบจนตั้งครรภ์

ตอบ 1 หน้า 191, (คําบรรยาย) แรงขับ (Drive) เป็นภาวะความเครียดอันเกิดจากความต้องการของมนุษย์ซึ่งจะผลักดันให้คนเราแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จะตอบสนอง ความต้องการของตน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ข่าวเรื่องข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งข่มขืนหลานสาววัย 11 ขวบจนตั้งครรภ์ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 16 – 20 เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงบริบทของมนุษย์ซึ่งมีอิทธิพลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

(1) ภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ

(2) เชื้อชาติ/พันธุกรรม

(3) นโยบายทางการเมือง

(4) นวัตกรรมทางการแพทย์

(5) เทคโนโลยีทางการสื่อสาร

 

16 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ใช้การจี้หลอดลมด้วยความร้อนรักษาโรคหืดขั้นรุนแรง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) นวัตกรรมทางการแพทย์ คือ การนําสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรค ตัวอย่าง ที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ใช้การจี้หลอดลมด้วยความร้อนรักษาโรคหืดขั้นรุนแรง เป็นต้น

17 การค้นพบระบบดาวพระเคราะห์ใหม่ ซึ่งมีดาวบริวาร 7 ดวง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เทคโนโลยีทางการสื่อสารและนวัตกรรม เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือความคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้ง สิ่งประดิษฐ์และวิธีการมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วย ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่ออํานวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่าง ที่อธิบายถึงอิทธิพลของบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การค้นพบระบบดาวพระเคราะห์ใหม่ซึ่งมีดาวบริวาร 7 ดวง เป็นต้น

18 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติขอบริจาคโลหิตหมู่พิเศษเร่งด่วน เนื่องจากเป็นหมู่โลหิตที่หายากในคนไทย 1,000 คน พบเพียง 3 คนเท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เชื้อชาติ/พันธุกรรม เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามทักษะ ความชํานาญความสามารถ หรือลักษณะโครงสร้างร่างกายของมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ แต่ละเผ่าพันธุ์ที่มี ความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม แนวคิด วิถีการดําเนินชีวิต กีฬา หรือยุทธวิธีในการต่อสู้ ตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ขอบริจาคโลหิตหมู่พิเศษเร่งด่วน เนื่องจากเป็นหมู่โลหิตที่หายากในคนไทย 1,000 คน พบเพียง 3 คนเท่านั้น เป็นต้น

19 รมว.กระทรวงยุติธรรมและผลการประชุมผู้แทนจาก 16 ประเทศวางแผนปฏิบัติการ “สามเหลี่ยมทองคํา”

ตอบ 3 (คําบรรยาย) นโยบายทางการเมือง เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับแนวทางกิจกรรม การกระทํา หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทําการตัดสินใจและกําหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นําให้มี กิจกรรมหรือการกระทําต่าง ๆ เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กําหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทําโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดําเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ สะท้อนถึงบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น รมว.กระทรวงยุติธรรมแถลงผลการประชุมผู้แทนจาก 16 ประเทศวางแผนปฏิบัติการ “สามเหลี่ยมทองคํา” เป็นต้น 20 การเสียชีวิตของ 2 นักธรณีวิทยาจากอุโมงค์ถล่มเพราะการวางอุโมงค์ระบายน้ำอยู่ในระดับรอยเลื่อนของเปลือกโลกแม่แตง

ตอบ 1 หน้า 196, (คําบรรยาย) ภูมิประเทศ ได้แก่ สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) และภูมิอากาศ (ได้แก่ เขตอากาศหนาว ร้อน ร้อนชื้น ฯลฯ) เป็นปัจจัยที่สะท้อนถึง องค์ประกอบเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สภาพทางธรณีวิทยา ตลอดจนสภาพความร้อน หนาว ของแต่ละพื้นที่ และมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต สุขภาพ อาชีพ วัฒนธรรม ความเชื่อ อุปนิสัย พฤติกรรม และประวัติศาสตร์พัฒนาการของแต่ละเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ สะท้อนถึงบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การเสียชีวิตของ 2 นักธรณีวิทยาจากอุโมงค์ถล่ม เพราะการวางอุโมงค์ระบายน้ําอยู่ในระดับรอยเลื่อนของเปลือกโลกแม่แตง เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงความเกี่ยวข้องของแนวคิดในเรื่องระบบราชการ (Bureaucracy) ในเรื่องใด

(1) Formalization

(2) Specialization

(3) Ranking System

(4) Professional

(5) Standardization

 

21 หน่วยงานบําบัดน้ำเสียกําหนดให้มีเกณฑ์วัด ISO 14000 ของทุกโรงงานอุตสาหกรรม

ตอบ 5 หน้า 202, (คําบรรยาย) การมีมาตรฐาน(Standardization) คือ การมีตัวชี้วัดมาตรฐานมีคู่มือในการทํางาน เละมีการประเมินตามตัวชี้วัด ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายแนวคิด ระบบราชการในเรื่องนี้ เช่น หน่วยงานบําบัดน้ำเสียกําหนดให้มีเกณฑ์วัด ISO 14000 ของทุกโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

22 นายกฯ รมต. เตือนให้ทุกจังหวัดต้องมียุทธศาสตร์ของตนเองเฉพาะพื้นที่

ตอบ 2 หน้า 202, (คําบรรยาย) ความชํานาญพิเศษ (Specialization) คือ การบรรจุ แต่งตั้ง และเลื่อนขั้น การจัดกลุ่มงาน Cluster ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายแนวคิดระบบราชการในเรื่องนี้ เช่น นายกฯ รมต. เตือนให้ทุกจังหวัดต้องมียุทธศาสตร์ของตนเองเฉพาะพื้นที่ เป็นต้น

23 นายกแพทยสภาเปิดตัวคณะผู้บริหารแพทยสภาชุดใหม่

ตอบ 4 หน้า 202, (คําบรรยาย) ความเป็นวิชาชีพ (Professional) คือ การมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ได้รับการฝึกอบรมหรือการศึกษาตรงตาม สาขาที่ประกอบวิชาชีพ โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องอุทิศเวลาให้กับวิชาชีพ ยึดมั่นในเกณฑ์ของ การประกอบวิชาชีพ ตลอดจนมีความเป็นอิสระในการประกอบวิชาชีพ ตัวอย่างปรากฏการณ์ ที่อธิบายแนวคิดระบบราชการในเรื่องนี้ เช่น นายกแพทยสภาเปิดตัวคณะผู้บริหารแพทยสภา ชุดใหม่ เป็นต้น

24 มีข้อเรียกร้องให้เรียกพระอุปัชฌาย์มาช่วยดูแลพระที่มาร่วมในวัดพระธรรมกาย

ตอบ 3 หน้า 202, (คําบรรยาย) ลําดับชั้นยศ (Ranking System) คือ ลําดับตําแหน่งและความรับผิดชอบตามสายการบังคับบัญชา โดยผู้มีลําดับชั้นยศสูงกว่าย่อมมีอํานาจในการสั่งการและควบคุมดูแล ผู้มีลําดับชั้นยศต่ำกว่าลดหลั่นกันไปตามสายการบังคับบัญชา ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบาย แนวคิดระบบราชการในเรื่องนี้ เช่น มีข้อเรียกร้องให้เรียกพระอุปัชฌาย์มาช่วยดูแลพระที่มาร่วมในวัดพระธรรมกาย เป็นต้น

25 การกําหนดให้มีเครื่องแบบของผู้ปฏิบัติงาน นักเรียนและนักศึกษา ตอบ 1 หน้า 202, (คําบรรยาย) ความเป็นทางการ (Formalization) คือ การกําหนดกฎเกณฑ์ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นทางการ มีการติดต่อสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้ง มีเครื่องแบบหรือใช้แบบฟอร์มแบบเดียวกัน ตัวอย่างที่อธิบายแนวคิดระบบราชการในเรื่องนี้ เช่น การกําหนดให้มีเครื่องแบบของผู้ปฏิบัติงาน นักเรียนและนักศึกษา เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงความเกี่ยวข้องกับแนวคิดในเรื่องวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติในเรื่องใด

(1) เน้นความร่วมมือในแนวระนาบ

(2) พัฒนาตามทักษะของเชื้อชาติ

(3) พัฒนามนุษย์ให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ

(4) ใช้วิธีการสร้างความร่วมมือในภูมิภาค

(5) การพัฒนาคนต้องเน้นความสมัครใจ

 

26 เจ้าหน้าที่ศุลกากรและตํารวจของไทยต้องประสานกับอินเดียเพื่อจับกุมกระบวนการค้าเนื้อวัวเถื่อน ข้ามแดนในภาคเหนือของไทย

ตอบ 4 หน้า 203, (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นการสร้างความร่วมมือ/การสร้างเครือข่ายในภูมิภาคเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีการระดมความร่วมมือในระดับภูมิภาคเดียวกัน โดยอาศัย ความร่วมมือในระดับประเทศหรือในระดับกลุ่ม/องค์การระหว่างประเทศที่อยู่ในภูมิภาคของ ทวีปหรือของโลกเดียวกัน จึงทําให้เกิดการสร้างเครือข่ายความช่วยเหลือและความร่วมมือที่จะ นําไปสู่การสร้างกฎกติกา ข้อตกลง และสนธิสัญญาในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการลดความขัดแย้งและ การเผชิญหน้ากันระหว่างบรรดาประเทศต่าง ๆ ตลอดจนทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรม และแรงงานระหว่างกัน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น เจ้าหน้าที่ศุลกากรและ ตํารวจของไทยต้องประสานกับอินเดียเพื่อจับกุมกระบวนการค้าเนื้อวัวเถื่อนข้ามแดนในภาคเหนือของไทย เป็นต้น

27 โครงการประชารัฐได้ผู้นําทั้งในภาครัฐ เอกชน ให้ความร่วมมือดําเนินการ

ตอบ 1 หน้า 203 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นความร่วมมือในแนวระนาบ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นการประสานความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายในสถานะ ที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน ภาคประชาชน และภาค NGOs โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันกําหนดแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่าง บูรณาการและเป็นองค์รวม ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น โครงการประชารัฐได้ผู้นําทั้งในภาครัฐ เอกชน ให้ความร่วมมือดําเนินการ เป็นต้น

28 รัฐส่งเสริมให้คนที่นราธิวาสถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างเรือกอและให้กับเยาวชน

ตอบ 2 หน้า 203, (คําบรรยาย) การพัฒนาตามทักษะ ความชํานาญ/เชี่ยวชาญของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามทักษะ ความชํานาญ ความสามารถ หรือลักษณะโครงสร้าง ร่างกายของมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ แต่ละเผ่าพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม แนวคิด วิถีการดําเนินชีวิต กีฬา หรือยุทธวิธี ในการต่อสู้ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางของ องค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น รัฐส่งเสริมให้คนที่นราธิวาสถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างเรือกอและให้กับเยาวชน เป็นต้น

29 ศาลจังหวัดภูเก็ตตัดสินให้ชาวเลได้สิทธิในที่ดินชายหาดราไวย์คืน ตอบ 3 หน้า 203, (คําบรรยาย) การพัฒนามนุษย์ให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นการพัฒนาเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างถาวร โดยไม่แยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติอันเป็นแหล่งสร้างอาชีพ และอุปนิสัยของคนในแต่ละพื้นที่ หรือเป็นการพัฒนาให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติตามลักษณะ ๆ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของเขาอย่างสันติและเกื้อกูลกัน โดยเสริมสร้างจิตสํานึกและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงความสําคัญของธรรมชาติ ตัวอย่าง ปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น ศาลจังหวัดภูเก็ตตัดสินให้ชาวเลได้สิทธิในที่ดินชายหาดราไวย์คืน เป็นต้น

30 การรับทุนอานันทมหิดลทุกสาขา ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดให้ผู้รับทุนต้องกลับมารับราชการ

ตอบ 5 หน้า 203, (คําบรรยาย) การพัฒนาคนต้องเน้นความสมัครใจ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สนับสนุน ส่งเสริม หรือจูงใจให้คนร่วมมือด้วยความสมัครใจ มิใช่การบังคับขู่เข็น โดยมุ่งชี้แนะ ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตัวอย่าง ปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ เช่น การรับทุนอานันทมหิดลทุกสาขา ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดให้ผู้รับทุนต้องกลับมารับราชการ เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 31 – 40 เป็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใดดังต่อไปนี้

(1) การศึกษาพื้นฐาน

(2) การศึกษาวิชาชีพ

(3) การศึกษาอุดมศึกษา

(4) กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเสริมอาชีพ

(5) ด้านสิ่งแวดล้อม (น้ำเสีย, ป่าไม้, ดิน)

 

31 โครงการพระดาบส

ตอบ 2 หน้า 200, (คําบรรยาย) การศึกษาวิชาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และเป็นหลักประกันสังคม โดยส่วนใหญ่มักจัดขึ้นโดยกระทรวงแรงงานเพื่อพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถประกอบอาชีพได้ ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น โครงการพระดาบส โครงการฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก เป็นต้น

32 โครงการพัฒนาพิกุลทอง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงการพระราชดําริที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านสิ่งแวดล้อม (น้ำเสีย ป่าไม้ ดิน) ได้แก่ โครงการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส โครงการแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี โครงการอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี โครงการห้วยองคต จ.กาญจนบุรี เป็นต้น

33 โครงการแหลมผักเบี้ย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

34 โครงการดอยคํา

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โครงการพระราชดําริที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเสริมอาชีพ ได้แก่ โครงการดอยคํา และโครงการชั่งหัวมัน เป็นต้น

35.โครงการโรงเรียน ตชด.

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โครงการพระราชดําริที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องการศึกษาพื้นฐาน ได้แก่ โครงการโรงเรียน ตชด. เป็นต้น

36 โครงการฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

37 โครงการชั่งหัวมัน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

38 โครงการอ่าวคุ้งกระเบน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

39 โครงการห้วยองคต

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

40 ทุนอานันทมหิดล

ตอบ 3 หน้า 200, (คําบรรยาย) การศึกษาอุดมศึกษา เป็นการศึกษาที่เรียนภายหลังจากจบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาหรือการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา และการศึกษาระดับปริญญา ตรี โท เอก) การศึกษาอุดมศึกษานี้ รัฐบาลไม่ได้ให้เงินอุดหนุนและไม่ได้มีการบังคับให้เรียน แต่เป็นความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการ เรียนในระดับที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในสาขาวิชาการเฉพาะทางให้มีความชํานาญ ยิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงต้องใช้ทุนตัวเองในการเรียน ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมและการจัดสรรทุน ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูง ๆ มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ทุนอานันทมหิดล เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์คืนกลับต่อประชาชนในเรื่องใด

(1) เน้นการกระจาย

(2) เน้นการมีส่วนร่วม

(3) ให้ความสําคัญกับทางเลือกของปัจเจกชน

(4) การประกันความมั่นคง

(5) ให้การอนุเคราะห์ช่วยเหลือ

 

41 ครม. มีมติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปทํา EIA ของโรงไฟฟ้ากระบี่

ตอบ 2 หน้า 24, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนจากทุกกลุ่มอาชีพและทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการนโยบาย และการบริหาร เพื่อที่จะร่วมกันกําหนดทิศทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนหรือของประเทศ ตลอดจนมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเข้าร่วมฟังและการทําประชาพิจารณ์ การทําประชามติ การถอดถอนผู้ใช้อํานาจรัฐ การเสนอร่างกฎหมาย หรืออื่น ๆ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์ คืนกลับต่อประชาชนในเรื่องนี้ เช่น ครม. มีมติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปทํา EIA ของโรงไฟฟ้ากระบี่เป็นต้น

42 องค์กรปกครองท้องถิ่นมีสิทธิที่จะขอดูแลโรงพยาบาลชุมชนในท้องถิ่นของตนเองได้

ตอบ 3 หน้า 204, (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์ (Provision) คืนกลับต่อประชาชน ในเรื่องการให้ความสําคัญกับทางเลือกของปัจเจกชน (Individual Choice) ตัวอย่างเช่น องค์กรปกครองท้องถิ่นมีสิทธิที่จะขอดูแลโรงพยาบาลชุมชนในท้องถิ่นของตนเองได้ เป็นต้น

43 ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีแต่ละท่านไปดูแลช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมในภาคใต้จังหวัดละ 1 ท่าน

ตอบ 1 หน้า 204, (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์ (Provision) คืนกลับต่อประชาชน ในเรื่องการเน้นการกระจายมากกว่าแจกจ่าย ซึ่งประชาชนต้องได้รับ ความช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีแต่ละท่านไปดูแลช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมในภาคใต้จังหวัดละ 1 ท่าน เป็นต้น

44 กรุงเทพมหานครดําเนินการให้แม่ค้าที่ถูกยึดพื้นที่ทางเท้าคืนจากการวางจําหน่ายสินค้า ไปรวมตัวกันจําหน่ายในพื้นที่อื่นแทน

ตอบ 5 หน้า 204, (คําบรรยาย) การอนุเคราะห์ช่วยเหลือ เป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนในยามจําเป็นเพื่อให้มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น กรณีประสบภัยทางธรรมชาติ ไม่มีที่ทํากิน ไม่มีที่อยู่อาศัย ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์ คืนกลับต่อประชาชนในเรื่องนี้ เช่น กรุงเทพมหานครดําเนินการให้แม่ค้าที่ถูกยึดพื้นที่ทางเท้า คืนจากการวางจําหน่ายสินค้า ไปรวมตัวกันจําหน่ายในพื้นที่อื่นแทน เป็นต้น

45 รัฐบาลเปิดให้มีการจดทะเบียนคนจนใหม่แทนที่ข้อมูลเก่าที่จดทะเบียนไว้เดิมเพื่อการให้ความช่วยเหลือได้อย่างถาวร

ตอบ 4 หน้า 204, (คําบรรยาย) การประกันความมั่นคง เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของประชาชนซึ่งจะทําให้ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องรายได้ หน้าที่การงาน รวมถึงความปลอดภัยในชีวิต ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์คืนกลับต่อประชาชนในเรื่องนี้ เช่น รัฐบาลเปิดให้มีการจดทะเบียนคนจนใหม่แทนที่ข้อมูลเก่าที่จดทะเบียนไว้เดิมเพื่อการให้ความช่วยเหลือได้อย่างถาวร เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรม (Merit System) ในเรื่องใดต่อไปนี้

(1) ความรู้ความสามารถ (Capacity)

(2) ความเชื่อถือศรัทธา (Creditial)

(3) ความอาวุโส (Seniority)

(4) ความเป็นตัวแทน (Representation)

(5) ความมีจริยธรรม (Ethic)

 

46 การทุจริตในการสอบเข้าในตําแหน่งนายสิบตํารวจ

ตอบ 1 หน้า 201 (คําบรรยาย) ความรู้ความสามารถ (Capacity) คือ การมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคคล โดยเน้นการบรรจุแต่งตั้งตามวุฒิการศึกษาและความชํานาญเฉพาะด้าน และมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น การทุจริตในการสอบเข้าในตําแหน่งนายสิบตํารวจ เป็นต้น

47 บรรดาศิษย์วัดพระธรรมกายจากต่างจังหวัดต่างเดินทางเข้ามาร่วมในบริเวณรอบวัดพระธรรมกาย

ตอบ 2 หน้า 201, (คําบรรยาย) ความเชื่อถือศรัทธา (Creditial) คือ การที่บุคคล กลุ่มบุคคล องค์การหรือสถาบันได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากการรักษาคําพูด การยึดถือกฎระเบียบและวินัยใน การปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม รวมทั้ง การมีความรู้ความสามารถอย่างดีเลิศในสาขาอาชีพต่าง ๆ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึง ความมีคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น บรรดาศิษย์วัดพระธรรมกายจากต่างจังหวัดต่างเดินทางเข้ามาร่วมในบริเวณรอบวัดพระธรรมกาย เป็นต้น

48 สื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมพิสูจน์การเสียชีวิตของพยาบาลหญิงพร้อมกับ DSI และศิษย์วัดพระธรรมกาย

ตอบ 5 หน้า 201, (คําบรรยาย) จริยธรรม (Ethic) คือ มาตรฐานของวิชาชีพ หรือหลักความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละสาขาวิชาชีพกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก ซึ่งอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างปรากฏการณ์ ที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น สื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมพิสูจน์การเสียชีวิตของพยาบาลหญิงพร้อมกับ DSI และศิษย์วัดพระธรรมกาย เป็นต้น

49 มหาดไทยมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดําเนินการนําประชาชนมากราบพระบรมศพตามโควต้าของสัดส่วนประชากรของจังหวัด

ตอบ 4 หน้า 201, (คําบรรยาย) ความเป็นตัวแทน(Representation) คือ การมีบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ หรือสถาบัน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ แทนกลุ่มคนในสังคม ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรมในเรื่องนี้ เช่น มหาดไทยมอบให้ผู้ว่า ราชการจังหวัดดําเนินการนําประชาชนมากราบพระบรมศพตามโควต้าของสัดส่วนประชากรของจังหวัด เป็นต้น

50 ศาลอุทธรณ์แก้-ให้คุกธาริต-ชา เชาวน์ คนละ 2 ปี ในคดีโยกย้ายอดีตผู้บัญชาการสํานักคดีทรัพย์สินทางปัญญา เพราะเป็นอํานาจของปลัดกระทรวง

ตอบ 3 หน้า 201, (คําบรรยาย) ความอาวุโส (Seniority) คือ การบรรจุแต่งตั้ง ตลอดจนการเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่งจะเป็นไปตามอายุและเวลางาน ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรม ในเรื่องนี้ เช่น ศาลอุทธรณ์แก้-ให้คุกธาริต-ชาญเชาวน์ คนละ 2 ปี ในคดีโยกย้ายอดีตผู้บัญชาการสํานักคดีทรัพย์สินทางปัญญา เพราะเป็นอํานาจของปลัดกระทรวง เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 51 – 55 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training) (2) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)

(3) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) (4) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training)

(5) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)

 

51 แจ้งถึงเงื่อนไขการจ้างงาน

ตอบ 2 หน้า 127 – 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะนํา ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํางาน เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน เงื่อนไข การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้หมดไป ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และเป็นประโยชน์ต่อองค์การในท้ายที่สุด

52 ใช้ฝึกอบรมนักบิน

ตอบ 4 หน้า 140 141, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เครื่องมือและกระบวนการที่เป็นแบบจําลอง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในการทํางานจริง เช่น การฝึกอบรมนักบินหรือการฝึกอบรมผู้ใช้เครื่องจักรกลขนาดหนัก เป็นต้น

53 ต้องมีการแนะนําประวัติขององค์การ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

54 บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า

ตอบ 3 หน้า 139 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) nเป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ

1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ

2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่าง สถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า เป็นต้น

55 เป็นเทคนิคที่นิยมใช้อบรมผู้บริหาร

ตอบ 5 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางการ แก้ไขปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการฝึกอบรมผู้บริหาร

ตั้งแต่ข้อ 56 – 60 สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด

(1) กําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน

(2) กําหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน

(3) กําหนดตัวผู้ประเมิน

(4) กําหนดวิธีการประเมิน

(5) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

 

56 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์

ตอบ 1 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน เป็นการบอกถึงเหตุผลและความจําเป็นของการประเมินผลว่ามีการประเมินไปเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ ผู้ถูกประเมินและผู้ทําการประเมินทราบถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของการประเมิน ก่อนทําการประเมิน เช่น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น

57 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ

ตอบ 3 หน้า 166, (คําบรรยาย) การกําหนดตัวผู้ประเมิน เป็นการกําหนดตัวผู้ที่จะทําการประเมิน ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ถูกประเมิน ซึ่งปกติตัวผู้ประเมินมักจะได้แก่ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง ลูกค้า ตนเอง และเพื่อนร่วมงาน เช่น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

58 การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง

ตอบ 5 หน้า 167, (คําบรรยาย) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการนําผลการวิเคราะห์รายงานจากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ ไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับ ผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น

59 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

60 รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน ตอบ 4 หน้า 166 167, (คําบรรยาย) การกําหนดวิธีการประเมินมีหลายวิธีแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ดังนี้

1 การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่ม การปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ

2 การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อดทน สุภาพ หรือเจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ตําแหน่งประเภทบริหาร

(2) ตําแหน่งประเภทอํานวยการ

(3) ตําแหน่งประเภทวิชาการ

(4) ตําแหน่งประเภททั่วไป

(5) ตําแหน่งประเภทผสม

 

61 ระดับปฏิบัติการ

ตอบ 3 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้

1 ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ

4 ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโสและระดับทักษะพิเศษ

62 ระดับชํานาญงาน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 ระดับปฏิบัติงาน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

64 ระดับชํานาญการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

  1. อธิบดี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง

2 รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และรองปลัดกระทรวง

3 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ได้แก่ อธิบดี

4 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เป็นต้น

5 ผู้ว่าราชการจังหวัด

6 เอกอัครราชทูต ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ)

 

ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ผู้บังคับบัญชา

(2) เพื่อนร่วมงาน

(3) ประเมินตนเอง

(4) ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน

(5) ผู้ใต้บังคับบัญชา

 

66 ผู้ประเมินบางคนมักไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความเป็นจริง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่มีข้อดี คือ สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับ ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร เคยมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชา หรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาออกมาดีเกินความเป็นจริง

67 มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้บุคคลภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมิน เช่น มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละ ภาคการศึกษา, การประเมินผลการทํางานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อ ซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลการให้บริการของพนักงาน เป็นต้น

68 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกันต่างประเมินซึ่งกันและกัน โดยมักจะใช้กับกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่มีความคุ้นเคยกัน ทํางานร่วมกันมานานพอสมควร และงานที่ทําจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

69 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ต้องทําในสายการบังคับบัญชาทั้งนี้เพราะผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมาก ในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 71 – 75 เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด

(1) การดูแล

(2) การป้องกัน

(3) การเยียวยา

(4) การส่งเสริมให้มีวินัย

(5) การดําเนินการทางวินัย

 

71 การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์

ตอบ 3 หน้า 175 176, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การเยียวยา” หมายถึงการแก้ไขและบํารุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง เยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น

72 อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การดําเนินการทางวินัยในขั้นตอนการสั่งลงโทษ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ – ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

73 การเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ ตอบ 1 หน้า 174 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การดูแล” หมายถึงการสอดส่องกํากับตรวจตรา โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้อง ตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน หรือการเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น

74 ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่

ตอบ 2 หน้า 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การป้องกัน” หมายถึง การกระทําในทางที่จะขจัดเหตุที่ทําให้ข้าราชการกระทําผิดวินัย ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องคอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะกระทําผิดวินัยให้เกิดความกลัว เช่น ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่ เป็นต้น

75 ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 76 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

(2) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

(3) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)

(4) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

(5) การออกแบบงาน (Job Design)

 

76 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ

ตอบ 3 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่างเพื่อให้งาน ประสบความสําเร็จ เช่น การกําหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานได้มาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities)

77 ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน

ตอบ 1 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้

1 กิจกรรมของงาน (Work Activities)

2 พฤติกรรมของบุคคล (Human Behavior)

3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน (Machine, Tool, – Equipment and Work Aids Used)

4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards)

5 เนื้อหาของงาน (Jcb Context)

6 ความต้องการบุคลากร (Personnel Requirements)

78 เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน

ตอบ 1 หน้า 11 ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ กล่าวว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้จะทําให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชํานาญ และความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทํางานนั้นให้สําเร็จลงได้

79 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

ตอบ 1 หน้า 14 – 17 ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้

1 ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน (Job Design)

2 ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

3 ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

4 ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

5 ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทํางาน

6 ใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดค่าตอบแทน ฯลฯ

80 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน ตอบ 5 หน้า 16 การออกแบบงาน (Job Design) ที่ดี นอกจากจะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว ยังสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย

 

81 ได้ข้อมูลมาจากงาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่

ตอบ 2 หน้า 12 – 13 คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานได้มาจากงาน (Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)

82 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

83 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)

ตอบ 4 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนด ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมกับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) ในการกําหนดค่าจ้างเละผลตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน

84 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

85 ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ใบสมัครงาน (Application Blank)

(2) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)

(3) การทดสอบ (Employment Test)

(4) การสัมภาษณ์ (Interview)

(5) การตรวจร่างกาย (Physical Check)

 

86 เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ

ตอบ 4 หน้า 64, 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่นิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์หรือ ผู้สมัครได้พูดคุยและซักถามข้อมูลของกันและกัน จึงทําให้สามารถที่จะวัดพฤติกรรม บุคลิกภาพประสบการณ์ วิสัยทัศน์ อารมณ์และจิตใจของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี

87 การสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป

ตอบ 2 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นขั้นตอนการกลั่นกรองบุคคลที่เห็นได้ชัดว่ามีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะกระทําโดยการสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป หรือให้กรอกข้อมูลเบื้องต้น ณ ห้องรับใบสมัคร ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น

88 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน

ตอบ 5 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทํางานด้วย

89 เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

90 เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้

ตอบ 3 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้สมัครที่เกี่ยวข้องและจําเป็นสําหรับการทํางาน เช่น ความถนัด ทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) พ.ร.บ. เงินทดแทน

(2) พ.ร.บ. ประกันสังคม

(3) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์

(4) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน

(5) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

 

91 ค่าชดเชยกรณีออกจากงาน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงานที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติต่อลูกจ้าง และรัฐให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยสาระสําคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ การกําหนดวันและเวลาทํางาน วันหยุด วันลา การพักงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทํางานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานและค่าล่วงเวลา ในวันหยุด การใช้แรงงานหญิงและแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานหรือเลิกจ้าง เป็นต้น

92 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นวันละ 300 บาท

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้าง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับกับวิสาหกิจเอกชนในปัจจุบัน โดยจะกําหนดสาระสําคัญเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกําหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การปิดงานและการนัดหยุดงาน ตลอดจนการกระทําอันไม่เป็นธรรม

94 ผู้ประกันตนเบิกเงินค่าคลอดบุตร

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กําหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมในกรณีดังต่อไปนี้

1 กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทํางาน

2 กรณีคลอดบุตร

3 กรณีสงเคราะห์บุตร

4 กรณีชราภาพ

5 กรณีว่างงาน

95 การเบิกเงินกรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้น เพื่อทําหน้าที่จ่ายเงินทดแทนแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือ ตายอันเนื่องมาจากการทํางาน โดยกําหนดให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ลูกจ้างและรัฐบาลไม่ต้องจ่าย

ตั้งแต่ข้อ 96 – 100 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market)

(2) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)

(3) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)

(4) ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)

(5) ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining)

96 สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอํานาจกําหนดค่าจ้าง ตอบ 5 หน้า 86, (คําบรรยาย) อํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อํานาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้างเกี่ยวกับการกําหนดค่าจ้างและ เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน ซึ่งหากสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไรพลังอํานาจการเจรจาต่อรองในการกําหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

97 ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

ตอบ 3 หน้า 85, (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถ ดํารงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ, รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น

98 ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน

ตอบ 4 หน้า 85 – 86, (คําบรรยาย) ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึง ความสามารถของนายอ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษัท มักจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน เป็นต้น

99 บริษัทหลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ 3 วุฒิปริญญาตรี

ตอบ 2 หน้า 84 – 85, (คําบรรยาย) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆ ไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่ายตามอัตราค่าจ้างขององค์การ อื่น ๆ ที่จ่ายให้แก่พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือทํางานประเภทเดียวกัน เช่น บริษัท หลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ 3 หรือระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น

100 รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

 

 

POL2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อความใดต่อไปนี้เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

(1) กรุ๊ปทัวร์หลอกให้ลูกทัวร์ชาวจีนซื้อสินค้าด้อยคุณภาพ

(2) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รุดเยี่ยมชุมชนคนไร้บ้าน

(3) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐแจกของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

(4) บัณฑิตรัฐศาสตร์ นําประสบการณ์งานบริษัทที่เคยทําไปทําเกษตรที่บ้านเกิดในยุคดิจิตอล

(5) คนไทยนิยมกินเจมากขึ้นในปัจจุบัน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ในภาครัฐ เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแลคนในด้านต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ความมั่นคง และคุณภาพชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ (ก่อนเกิด) จนถึงหลังการตาย ตัวอย่างที่อธิบาย ความหมายในเรื่องนี้ เช่น ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รุดเยี่ยมชุมชนคนไร้บ้าน เป็นต้น

2 ข้อใดต่อไปนี้เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคเอกชน

(1) กรุ๊ปทัวร์หลอกให้ลูกทัวร์ชาวจีนซื้อสินค้าด้อยคุณภาพ

(2) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รุดเยี่ยมชุมชนคนไร้บ้าน

(3) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐแจกของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

(4) บัณฑิตรัฐศาสตร์ นําประสบการณ์งานบริษัทที่เคยทําไปทําเกษตรที่บ้านเกิดในยุคดิจิตอล

(5) คนไทยนิยมกินเจมากขึ้นในปัจจุบัน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจเอกชน เป็นภาระหน้าที่ขององค์การที่จะพัฒนาคนโดยให้ความสําคัญกับเรื่องการฝึกอบรมที่มุ่งเสริมเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และ ความสามารถในการทํางานให้แก่พนักงาน เพื่อพัฒนาให้พนักงานสามารถปรับตัวให้สอดคล้อง กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในการทํางานได้ง่ายขึ้น เตรียมพร้อมกับการเติบโตไปตามสายอาชีพ และมีศักยภาพที่จะสร้างสรรค์ผลงานตามเป้าหมายและกลยุทธ์ที่องค์การต้องการ ตัวอย่างที่อธิบายความหมายในเรื่องนี้ เช่น กรุ๊ปทัวร์หลอกให้ลูกทัวร์ชาวจีนซื้อสินค้าด้อยคุณภาพ เป็นต้น

3 ที่ประชุมมหาเถรสมาคมมีมติต่ออายุกรรมการมหาเถร 8 รูป อีก 2 ปี เป็นประเด็นในเรื่องใด

(1) ศีลธรรม

(2) จริยธรรม

(3) คุณธรรม

(4) จรรยาบรรณ

(5) วัฒนธรรม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) จริยธรรม (Ethic) คือ มาตรฐานของวิชาชีพ หรือหลักความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละสาขาวิชาชีพกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก ซึ่งอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการในเรื่องนี้ เช่น ที่ประชุมมหาเถรสมาคมมีมติต่ออายุกรรมการมหาเถร 8 รูป อีก 2 ปี เป็นต้น

4 จํานวนประชากรชาวไทยผู้มีสิทธิและลงทะเบียนใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีจํานวนประมาณเท่าใด

(1) 8 ล้านคน

(2) 10 ล้านคน

(3) 28 ล้านคน

(4) 38 ล้านคน

(5) 48 ล้านคน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นหลักประกันสุขภาพสําหรับประชากรชาวไทยที่ไม่ได้รับสิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการข้าราชการ สิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิอื่น ๆ จากรัฐ ให้ได้รับบริการสาธารณสุขทั้งการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จําเป็นต่อสุขภาพและการดํารงชีวิตตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยปัจจุบันมีประชากรชาวไทยผู้มีสิทธิและลงทะเบียนใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณ 48 ล้านคน

5 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายและเสนอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด คือ

(1) คดียาเสพติดไม่กําหนดอายุความ

(2) มีมาตรการประหารชีวิตผู้ค้ารายใหญ่

(3) เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย

(4) สร้างมาตรฐานการบําบัด

(5) แยกผู้ต้องขังคดียาเสพติดออกจากผู้ต้องขังโทษอื่น ๆ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอนโยบายให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดโดยการเปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย ซึ่งจะเริ่มดําเนินการในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

6 ข้อใดต่อไปนี้เป็นจุดแข็งซึ่งกัมพูชามีมากกว่าไทยโดยเฉพาะในยุคปี พ.ศ. 2570

(1) เป็นแบตเตอรี่ของกลุ่มประเทศอาเซียน

(2) มีจํานวนผู้สูงอายุมีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่า

(3) มีจํานวนแรงงานที่เชี่ยวชาญอาชีวะมากกว่า

(4) มีจํานวนประชากรวัยต่ำกว่า 35 ปีมากกว่าไทย

(5) มีจํานวนกําลังทหารมากกว่าไทย

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จุดแข็งของประเทศกัมพูชา คือ การมีจํานวนประชากรวัยหนุ่มสาวอายุต่ำกว่า 35 ปี มากกว่าประเทศไทยโดยเฉพาะในยุคปี พ.ศ. 2570 ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศไทยที่มีผู้สูงอายุจํานวนมากและจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2570

7 สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้ดําเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นประจําปี 2559 ด้วยวิธีใด

(1) นําอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไปช่วยแนะแนวการสอบเข้าอุดมศึกษา

(2) เพิ่มมหาวิทยาลัยให้เป็นพี่เลี้ยงโรงเรียน

(3) นํานักศึกษามหาวิทยาลัยอาสาพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่น

(4) ตั้งค่ายอาสาร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงเรียน

(5) ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ดําเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นประจําปี 2559 โดยให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ทั่วประเทศทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้แก่โรงเรียนในท้องถิ่นโดยมุ่งเน้นโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาส ทั้งนี้เพื่อพัฒนา และยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่เหมาะสม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ

8 “ดรุณบรรณาลัย” เป็นชื่อที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงพระราชทานให้เป็นศูนย์กลางมีเป้าหมายอะไร

(1) ส่งเสริมอาชีพเด็กวัยเรียน

(2) ศูนย์รวมอาสาสมัครของนักเรียนอาชีวะ

(3) ศูนย์รวมฝึกช่างของโรงเรียนพระดาบส

(4) เป็นห้องสมุดสําหรับเด็กปฐมวัย

(5) เป็นที่ปฏิบัติงานของนักเรียนจิตอาสาสาธารณะ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) “ดรุณบรรณาลัย” เป็นชื่อห้องสมุดสําหรับเด็กปฐมวัยซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชทานชื่อเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 โดยห้องสมุด แห่งนี้เป็นห้องสมุดสําหรับเด็กปฐมวัยแห่งแรกที่จะให้บริการส่งเสริมการอ่านแก่เด็กปฐมวัยปกติและกลุ่มพิเศษ ซึ่งจัดสร้างขึ้นโดยมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กและสถาบันราชานุกูล

9 ดานังเกมส์ ณ ประเทศเวียดนาม ประเทศใดได้เหรียญทองมากที่สุด

(1) ไทย

(2) กัมพูชา

(3) มาเลเซีย

(4) เวียดนาม

(5) เมียนมาร์

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแข่งขันกีฬาเอเชียนบีชเกมส์ครั้งที่ 5 หรือดานังเกมส์ ที่เมืองดานังประเทศเวียดนาม เป็นการแข่งขันกีฬาชายหาดระดับทวีปเอเชีย ซึ่งจัดขึ้นโดยสภาโอลิมปิก แห่งเอเซียระหว่างวันที่ 24 กันยายน – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยมีประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน ทั้งหมด 43 ประเทศ ซึ่งประเทศที่ได้เหรียญทองมากที่สุด คือ เวียดนาม รองลงมาคือ ไทย และจีน ตามลําดับ

10 เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในปัจจุบันนี้ คือใคร

(1) นางเบญจวรรณ สร่างนิทร

(2) นางชุติมา หาญเผชิญ

(3) นางเมธินี เทพมณี

(4) นายปรีชา วัชราภัย

(5) นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์

ตอบ 3 (คําบรรยาย) เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน คือ นางเมธินี เทพมณี ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

 

ตั้งแต่ข้อ 11 – 15 ต่อไปนี้สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องใด

(1) ความกลัวตาย

(2) ความต้องการ

(3) สัญชาตญาณ

(4) แรงขับทางเพศ

(5) ความเชื่อ

 

11 ตํารวจจับกุมเด็กแว้น 72 คน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แรงขับทางเพศ (Sex Drive) เป็นแรงขับที่ผลักดันให้บุคคลเริ่มสนใจเพศตรงข้ามและสนใจในกิจกรรมแห่งการสร้างสัมพันธภาพ อันนําไปสู่การแสดงออกถึงพฤติกรรมต่าง ๆตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ตํารวจจับกุมเด็กแว้น 72 คน เป็นต้น

12 กรมอุทยานแจกผ้ายันต์รุ่นรักธรรมชาติเพื่อชีวิต

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความเชื่อ เป็นความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมที่ยึดมั่นและยอมรับในสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจจะมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ โดยจะส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลหรือ กลุ่มชนที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น กรมอุทยานแจกผ้ายันต์รุ่นรักธรรมชาติเพื่อชีวิต เป็นต้น

13 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเพื่อรายได้เพิ่มขึ้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความต้องการ (Needs) เป็นความต้องการในสิ่งที่จําเป็นต้องมีสําหรับการดํารงชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ ความต้องการปัจจัยสี่หรือปัจจัยพื้นฐาน เช่น อากาศ น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดํารงชีพ ตลอดจนความมั่นคงปลอดภัย ในชีวิต ทรัพย์สิน และหน้าที่การงาน ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเพื่อรายได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น

14 หมอตําแยพยายามตบก้นให้เด็กเกิดใหม่ร้องหลังคลอดจากครรภ์มารดา

ตอบ 3 (คําบรรยาย) สัญชาตญาณ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยอัตโนมัติเมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้น หรือสิ่งใดก็ตามที่ติดตัวมาแต่กําเนิดและมีแนวโน้มที่จะทําให้เกิดพฤติกรรม ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นพิเศษ ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น หมอตําแยพยายามตบก้นให้เด็กเกิดใหม่ร้องหลังคลอดจากครรภ์มารดา เป็นต้น

15 ชาวมุสลิมที่อยู่บนเรือซึ่งชนเสาปูนใต้น้ำแย่งชิงกันออกจากเรือจนลืมช่วยเด็ก ทําให้เด็กเสียชีวิตหลายคน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความกลัว เป็นอารมณ์ ความรู้สึก หรือสภาวะที่บุคคลไม่พึงปรารถนา ไม่ต้องการไม่อยากประสบพบเจอในสิ่งที่ไม่ดีแก่ตน เช่น กลัวตาย กลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กลัวการเปลี่ยนแปลงในชีวิต กลัวความผิด ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ชาวมุสลิมที่อยู่บนเรือซึ่งชนเสาปูนใต้น้ำแย่งชิงกันออกจากเรือจนลืมช่วยเด็ก ทําให้เด็กเสียชีวิตหลายคน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความกลัวตายของมนุษย์ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 16 – 20 ต่อไปนี้เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องใด

(1) การช่วยเหลือ

(2) การคุ้มครอง

(3) การประกันสิทธิ

(4) การประกันความมั่นคง

(5) การบริการสินค้าและให้บริการ

 

16 กรมป้องกันสาธารณภัยนําเรือยางไปแจกให้ อบต. ที่ถูกน้ำท่วม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การช่วยเหลือ เป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนในยามจําเป็นเพื่อให้มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น กรณีประสบภัยทางธรรมชาติ ไม่มีที่ทํากิน ไม่มีที่อยู่อาศัย ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องนี้ เช่น กรมป้องกันสาธารณภัยนําเรือยางไปแจกให้ อบต. ที่ถูกน้ำท่วม เป็นต้น

17 การขายสินค้าธงฟ้าของกระทรวงพาณิชย์

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การบริการสินค้าและให้บริการ เป็นการให้บริการสินค้าและบริการของรัฐในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น การบริการด้านการศึกษา การบริการด้านสุขภาพ การบริการด้านคมนาคม การจัดหาสินค้าราคาประหยัดในยามเศรษฐกิจ ตกต่ำ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องนี้ เช่นการขายสินค้าธงฟ้าของกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

18 การจ่ายค่ารักษาให้กรณีประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การคุ้มครอง เป็นการคุ้มครองชีวิตของบุคคล รวมทั้งปกป้องรักษาไม่ให้บุคคลเกิดความเจ็บป่วยหรือเกิดความเสียหายใด ๆ ต่อชีวิตและร่างกาย ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบาย ถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องนี้ เช่น การจ่ายค่ารักษาให้กรณีประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถ เป็นต้น

19 การรับบุตรของทหารที่เสียชีวิตในราชการทหารเข้ารับราชการของกระทรวงกลาโหม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประกันความมั่นคง เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของบุคคล ซึ่งจะทําให้บุคคลไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องรายได้ หน้าที่การงาน รวมถึงความปลอดภัยในชีวิต ตัวอย่าง ปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องนี้ เช่น การรับบุตร ของทหารที่เสียชีวิตในราชการทหารเข้ารับราชการของกระทรวงกลาโหม เป็นต้น

20 การจ่ายเบี้ยคนชราและคนพิการ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การประกันสิทธิ เป็นการประกันในสิทธิต่าง ๆ ที่ประชาชนควรได้รับจากรัฐซึ่งเป็นไปตามกฎหมายหรือนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐมอบให้ประชาชนในฐานะพลเมืองของรัฐ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องนี้ เช่น การจ่ายเบี้ยคนชราและคนพิการ เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติข้อใดดังต่อไปนี้

(1) เน้นความสมัครใจ

(2) ให้ความสําคัญกับความร่วมมือจากส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น

(3) ระมัดระวังประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมนุษยชาติ

(4) เน้นความชํานาญ/เชี่ยวชาญตามเชื้อชาติเผ่าพันธุ์

(5) การพัฒนามนุษย์ตลอดชีพ

 

21 โรงเรียนประถมศึกษาสําหรับผู้สูงอายุ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพัฒนามนุษย์ตลอดชีพ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง วัยชรา เพื่อให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสามารถดํารงชีวิตได้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น โรงเรียนประถมศึกษาสําหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น

22 ครม. ส่วนหน้าทั้ง 13 คน มาจากผู้เคยปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่ให้ความสําคัญกับความร่วมมือจากส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นการประสานความร่วมมือในระดับแนวดิ่งหรือองค์การ ต่างระดับกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการกําหนดแนวทางในการพัฒนาและแก้ปัญหา ต่าง ๆ อย่างบูรณาการและเป็นองค์รวม ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น ครม. ส่วนหน้าทั้ง 13 คน มาจาก

ผู้เคยปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น

23 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับปราชญ์ท้องถิ่นถ่ายทอดการสร้างเรือกอและให้เยาวชน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นทักษะ ความชํานาญ/เชียวชาญตามเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามท้าษะ ความชํานาญ ความสามารถ หรือลักษณะโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ แต่ละเชื้อชาติ แต่ละเผ่าพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม แนวคิด วิถีการดําเนินชีวิต กีฬา หรือยุทธวิธีในการต่อสู้ ตัวอย่าง ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับปราชญ์ท้องถิ่นถ่ายทอดการสร้างเรือกอและให้เยาวชน เป็นต้น

24 นักศึกษาวิชาทหาร (รด.) สามารถนํากิจกรรมจิตอาสาสาธารณะไปทดแทนชั่วโมงการฝึกที่ตนขาดฝึกได้ไม่เกิน 16 ชั่วโมง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นความสมัครใจ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สนับสนุน ส่งเสริมหรือจูงใจให้คนร่วมมือด้วยความสมัครใจ มิใช่การบังคับขู่เข็น โดยมุ่งชี้แนะให้เห็นถึงประโยชน์ ที่จะได้รับจากการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น นักศึกษาวิชาทหาร (รด.) สามารถนํากิจกรรมจิตอาสาสาธารณะไปทดแทนชั่วโมงการฝึกที่ตนขาดฝึกได้ไม่เกิน 16 ชั่วโมงเป็นต้น

25 การนํานาฏศิลป์โขนไทยไปจดสิทธิบัตรอาจนําไปสู่ความขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นความระมัดระวังประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมนุษยชาติเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องคํานึงถึงภูมิหลัง ความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของแต่ละเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดความขัดแย้งหรือ นําไปสู่ความร่วมมือระหว่างเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ได้ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น การนํานาฏศิลป์โขนไทยไปจดสิทธิบัตรอาจนําไปสู่ความขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องการลงทุนเรื่องใด

(1) ความรู้ในฐานะพลเมือง

(2) การป้องกันโรค

(3) การฟื้นฟูสุขภาพ

(4) การรักษาโรค

(5) ความจําเป็นพื้นฐาน

 

26 การขยายวงเงินให้กับผู้ล้างไต

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การรักษาโรค หมายถึง การให้การรักษาเมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือเยียวยาให้หายจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การขยายวงเงินให้กับผู้ล้างไต เป็นต้น 27 การอนุมัติวงเงินกู้ให้กับการกู้เงินซื้อบ้านประชารัฐ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความจําเป็นพื้นฐาน เป็นความจําเป็นในปัจจัยพื้นฐานสําหรับการดํารงชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ อากาศ น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตัวอย่างที่อธิบายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การอนุมัติวงเงินกู้ให้กับการกู้เงินซื้อบ้านประชารัฐ เป็นต้น

28 การกําหนดให้นําหลักสูตรกฏจราจรไว้ในประถมต้น

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความรู้ในฐานะพลเมือง เป็นความรู้ที่จําเป็นสําหรับการดํารงชีวิตในฐานะพลเมืองของรัฐ เช่น ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของรัฐ ความรู้ในขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม ความรู้ในภาษา ความรู้ในอาชีพ ตัวอย่างที่อธิบาย ถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การกําหนดให้นําหลักสูตรกฎจราจรไว้ในประถมต้น เป็นต้น

29 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้กับผู้สูงอายุฟรี

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การป้องกันโรค หมายถึง พฤติกรรมที่มุ่งป้องกันสุขภาพไม่ให้เกิดความเจ็บป่วยหรือโรคต่าง ๆ เช่น การฉีดวัคซีน การตรวจสุขภาพประจําปี การดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง อยู่เสมอ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะหรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค เช่น เรื่องน้ําดื่ม อาหาร อากาศ สารเคมี และการกําจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย แมลงนําโรค ตัวอย่างที่อธิบายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้กับ ผู้สูงอายุฟรี เป็นต้น

30 การขยายศูนย์กายภาพบําบัดศูนย์สิรินธรในกระทรวงสาธารณสุข

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การฟื้นฟูสุขภาพ หมายถึง กระบวนการดูแลสุขภาพและฟื้นฟูร่างกายและจิตใจภายหลังได้รับการรักษาพยาบาล รวมถึงพฤติกรรมดูแลสุขภาพภายหลังการเจ็บป่วย ตัวอย่าง ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การขยายศูนย์กายภาพบําบัดศูนย์สิรินธรในกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 31 – 40 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักแนวคิดเรื่องใดตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(1) การกระจายอํานาจ

(2) หลักการเสริมประสิทธิภาพ

(3) หลักพิทักษ์คุณธรรม

(4) หลักระบบค่าตอบแทน

(5) หลักจริยธรรมและวินัย

 

31 คสช. ใช้ ม.44 ยุติการทํางานของพนักงานข้าราชการองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม 72 คน

ตอบ 3 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักพิทักษ์คุณธรรมตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งตุลาการ และเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการ ในกรณีที่ข้าราชการถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับบัญชา (เช่น การแต่งตั้ง โยกย้าย) อย่างไม่เป็นธรรม

2 การจัดให้มีศาลปกครองรับเรื่องด้านการบริหารงานบุคคล

3 การให้พนักงาน/ข้าราชการที่ถูกกล่าวหาต้องยุติหน้าที่หรือย้ายไปประจําส่วนราชการเป็นการชั่วคราว ฯลฯ

32 การแต่งตั้งโฆษก คสช. พลตรีสรรเสริญ แก้วกําเนิด ไปดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์

ตอบ 1 หน้า 207, (คําบรรยาย) การกระจายอํานาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ เช่น อธิบดีมีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้ชํานาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ช่วยงานในท้องถิ่น เป็นต้น

2 กําหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับ จังหวัด ดําเนินการจัดสอบแข่งขันเพื่อเลือกสรรบุคคลบรรจุเข้ารับราชการได้เอง

3 การให้อํานาจ ในการแต่งตั้งหรือโอนย้ายบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงได้ เช่น การแต่งตั้งโฆษก คสช. ไปดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

33 การกําหนดให้เพิ่มค่าตอบแทนบุคคลที่มีใบรับรองการมีวุฒิการศึกษาเพิ่มที่ตรงตามหน้าที่

ตอบ 4 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักระบบค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 การจําแนกกลุ่มอาชีพเป็น 4 กลุ่มใหญ่ (Cluster) และกําหนดบัญชีเงินเดือนเป็น 4 บัญชี ซึ่งแต่ละบัญชีใช้เฉพาะสําหรับตําแหน่งแต่ละประเภท

2 กําหนดให้มีเงินเพิ่มใหม่อีก 2 ประเภท คือ ตามพื้นที่และตามสายงาน

3 กําหนดให้เพิ่มค่าตอบแทนบุคคลที่มีใบรับรองการมีวุฒิการศึกษาเพิ่มที่ตรงตามหน้าที่

4 กําหนดให้ข้าราชการทุกระดับต้องถูกประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบ 360 องศา เพื่อนํามาใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ฯลฯ

34 การกําหนดให้มีแบบฟอร์มการทํารายงานหลัง/กลับจากฝึกอบรมของหน่วยงานรัฐ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการเสริมประสิทธิภาพตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ในประเทศหรือต่างประเทศ

2 กําหนดให้มีแบบฟอร์มการทํารายงานหลัง/กลับจากการฝึกอบรม ของหน่วยงานรัฐ

3 กําหนดให้มีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกหลายองค์กร เช่น ป.ป.ช. กกต., จังหวัด และองค์กรวิชาชีพ ฯลฯ

35 การให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ช่วยงานในท้องถิ่นได้

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

36 การกําหนดข้อห้ามปฏิบัติของข้าราชการบางสายอาชีพ

ตอบ 5 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักจริยธรรมและวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติออกจากกันเป็นคนละส่วนอย่างชัดเจน

2 กําหนดให้ส่วนราชการแต่ละแห่งเป็นผู้กําหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อใช้บังคับเฉพาะข้าราชการในสังกัดส่วนราชการนั้นเท่านั้น

3 กําหนดให้ข้าราชการบางตําแหน่งต้องแจ้งทรัพย์สินก่อนและหลังรับตําแหน่ง ฯลฯ

37 การกําหนดให้มีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกหลายองค์กร เช่น ป.ป.ช., กกต., จังหวัด และองค์กรวิชาชีพ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

38 การกําหนดให้ข้าราชการทุกระดับต้องถูกประเมินแบบ 360 องศา

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

39 การกําหนดให้ข้าราชการบางตําแหน่งต้องแจ้งทรัพย์สินก่อนและหลังรับตําแหน่ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

40 การให้ข้าราชการที่ถูกข้อกล่าวหาต้องยุติหน้าที่และย้ายไปประจําส่วนกลางเป็นการชั่วคราว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 50 เป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับบริบทของมนุษย์ในเรื่องใด

(1) ภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ

(2) ประวัติศาสตร์

(3) นโยบายของรัฐ

(4) IT, ICT

(5) วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

 

  1. น้ำท่วมกรุงเทพทุกครั้งที่มีฝนตกหนัก

ตอบ 1 หน้า 196, (คําบรรยาย) ภูมิประเทศ ได้แก่ สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) และภูมิอากาศ (ได้แก่ เขตอากาศหนาว ร้อน ร้อนชื้น ฯลฯ) เป็นปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต สุขภาพ อาชีพ วัฒนธรรม ความเชื่อ อุปนิสัย พฤติกรรม และประวัติศาสตร์ พัฒนาการของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับบริบท ของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น น้ำท่วมกรุงเทพทุกครั้งที่มีฝนตกหนัก, การรื้อถอนสถานที่พักของ ชาวเขาเผ่าม้งที่เขาภูทับเบิก เป็นต้น

42 การจัดให้มีหมู่บ้านชาวญวนอยู่รวมกันในที่รัฐกําหนด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประวัติศาสตร์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิหลัง ความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลทําให้เกิดความเชื่อ ความศรัทธา การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ความขัดแย้ง หรือทักษะความชํานาญของแต่ละกลุ่มบุคคล เชื้อชาติ/เผ่าพันธุ์ หรือแต่ละประเทศสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับบริบท ของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การจัดให้มีหมู่บ้านชาวญวนอยู่รวมกันในที่รัฐกําหนด, การเผาบ้านชาวกะเหรี่ยงที่ชายแดนไทย-พม่า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น

43 การเปลี่ยนแนวคิดให้มีกฎหมายคู่ชีวิต (พ.ร.บ. คู่ชีวิต)

ตอบ 3 (คําบรรยาย) นโยบายรัฐบาล เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับแนวทางกิจกรรม การกระทํา หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทําการตัดสินใจและกําหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นําให้มีกิจกรรม หรือการกระทําต่าง ๆ เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กําหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทํา โครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดําเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและความต้องการของ ประชาชนผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับบริบทของมนุษย์ ในเรื่องนี้ เช่น การเปลี่ยนแนวคิดให้มีกฎหมายคู่ชีวิต (พ.ร.บ. คู่ชีวิต), การยอมรับให้สตรีมีคํานําหน้านามได้ 2 แบบ คือ นางสาว หรือนาง เป็นต้น

44 การยอมรับให้สตรีมีคํานําหน้านามได้ 2 แบบ คือ นางสาว หรือนาง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

45 การรื้อถอนสถานที่พักของชาวเขาเผ่าม้งที่เขาภูทับเบิก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

46 การเผาบ้านชาวกะเหรี่ยงที่ชายแดนไทย-พม่า จังหวัดกาญจนบุรี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

47 การประดิษฐ์ Robot ช่วยดูแลผู้สูงอายุ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นองค์ความรู้ที่นําเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การประดิษฐ์ Robot ช่วยดูแลผู้สูงอายุ, การนํา Stem Cell มาใช้เพื่อยืดอายุ Human Cell เป็นต้น

48 การกําหนดเป้าหมายนําประเทศไทยไปสู่สังคม 4.0

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เทคโนโลยี เช่น IT, ICT เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่ออํานวย ความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ เกี่ยวกับบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การกําหนดเป้าหมายนําประเทศไทยไปสู่สังคม 4.0, การเป็นแบตเตอรี่ให้กับกลุ่มประเทศอาเซียนของประเทศลาว เป็นต้น

49 การนํา Stem Cell มาใช้เพื่อยืดอายุ Human Cell

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

50 การเป็นแบตเตอรี่ให้กับกลุ่มประเทศอาเซียนของประเทศลาว

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 51 – 60 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) (2) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

(3) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

(4) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

(5) การออกแบบงาน (Job Design)

 

51 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ

ตอบ 1 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่างเพื่อให้งาน ประสบความสําเร็จ เช่น การกําหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบ ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานได้มาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities)

  1. ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน

ตอบ 3 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้

1 กิจกรรมของงาน (Work Activities)

2 พฤติกรรมของบุคคล (Human Behavior)

3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน (Machine, Tool, Equipment and Work Aids Used)

4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards)

5 เนื้อหาของงาน (Job Context)

6 ความต้องการบุคลากร (Personnel Requirements)

53 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน

ตอบ 5 หน้า 16 การออกแบบงาน (Job Design) ที่ดี นอกจากจะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว ยังสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย

54 เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน

ตอบ 3 หน้า 11 ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ กล่าวว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึงกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้จะทําให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชํานาญและความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทํางานนั้นให้สําเร็จลงได้

55 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

ตอบ 2 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนดค่าตอบแทนที่ยุติธรรม กับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) ในการกําหนดค่าจ้างและผลตอบแทน ให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน

56 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

ตอบ 3 หน้า 14 – 17 ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้

1 ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน (Job Design)

2 ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

3 ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

4 ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

5 ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทํางาน

6 ใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดค่าตอบแทน ฯลฯ

57 ได้ข้อมูลมาจากงาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่

ตอบ 4 หน้า 12 – 13 คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานได้มาจากงาน(Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)

58 ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

59 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

60 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด

(1) กําหนดตัวผู้ประเมิน

(2) กําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน

(3) กําหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน

(4) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

(5) กําหนดวิธีการประเมิน

 

61 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน

ตอบ 1 หน้า 166, (คําบรรยาย) การกําหนดตัวผู้ประเมิน เป็นการกําหนดตัวผู้ที่จะทําการประเมินให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ถูกประเมิน ซึ่งปกติตัวผู้ประเมินมักจะได้แก่ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง ลูกค้า ตนเอง และเพื่อนร่วมงาน เช่น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

62 การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง ) ตอบ 4 หน้า 167, (คําบรรยาย) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการนําผลการวิเคราะห์รายงานจากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับ ผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น

63 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์

ตอบ 2 หน้า 163 164, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน เป็นการบอกถึงเหตุผลและความจําเป็นของการประเมินผลว่ามีการประเมินไปเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ ผู้ถูกประเมินและผู้ทําการประเมินทราบถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของการประเมิน ก่อนทําการประเมิน เช่น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น

64 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางานถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นตีกัน

ตอบ 5 หน้า 166 167, (คําบรรยาย) การกําหนดวิธีการประเมินมีหลายวิธีแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ดังนี้

1 การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่มการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ

2 การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อด ทน สุภาพ หรือเจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น

65 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ตําแหน่งประเภททั่วไป

(2) ตําแหน่งประเภทผสม

(3) ตําแหน่งประเภทอํานวยการ

(4) ตําแหน่งประเภทวิชาการ

(5) ตําแหน่งประเภทบริหาร

 

66 ระดับชํานาญงาน

ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้

1 ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ

4 ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ

67 ระดับชํานาญการ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

68 ระดับปฏิบัติการ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

69 ระดับปฏิบัติงาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

70 อธิบดี

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง

2 รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และรองปลัดกระทรวง

3 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ได้แก่ อธิบดี

4 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เป็นต้น

5 ผู้ว่าราชการจังหวัด

6 เอกอัครราชทูต ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ)

 

ตั้งแต่ข้อ 71 – 75 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การทดสอบ (Employment Test)

(2) การสัมภาษณ์ (Interview)

(3) การตรวจร่างกาย (Physical Check)

(4) ใบสมัครงาน (Application Blank)

(5) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)

 

71 เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 64, 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่นิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์หรือ ผู้สมัครได้พูดคุยและซักถามข้อมูลของกันและกัน จึงทําให้สามารถที่จะวัดพฤติกรรม บุคลิกภาพประสบการณ์ วิสัยทัศน์ อารมณ์และจิตใจของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี

72 เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้

ตอบ 1 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้สมัครที่เกี่ยวข้องและจําเป็นสําหรับการทํางาน เช่น ความถนัด ทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น

73 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน

ตอบ 3 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทํางานด้วย

74 การสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป

ตอบ 5 หน้า 64 65, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นขั้นตอนการกลั่นกรองบุคคลที่เห็นได้ชัดว่ามีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะ กระทําโดยการสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป หรือให้กรอกข้อมูลเบื้องต้น ณ ห้องรับใบสมัคร ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น

75 เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 76 – 80 เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด

(1) การเยียวยา

(2) การดูแล

(3) การดําเนินการทางวินัย

(4) การส่งเสริมให้มีวินัย

(5) การป้องกัน

 

76 การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์

ตอบ 1 หน้า 175 – 176, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การเยียวยา” หมายถึงการแก้ไขและบํารุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง เยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น

77 การเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ

ตอบ 2 หน้า 174 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การดูแล” หมายถึงการสอดส่องกํากับตรวจตรา โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน หรือการเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น

78 อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่กรณีขายหุ้นชิน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การดําเนินการทางวินัยในขั้นตอนการสั่งลงโทษ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ – ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ํากว่าปลดออก

79 ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

80 ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่

ตอบ 5 หน้า 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การป้องกัน” หมายถึง การกระทําในทางที่จะขจัดเหตุที่ทําให้ข้าราชการกระทําผิดวินัย ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง คอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะกระทําผิดวินัยให้เกิดความกลัว เช่น ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่ เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 81 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) ผู้บังคับบัญชา

(3) ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน

(4) เพื่อนร่วมงาน

(5) ประเมินตนเอง

 

81 มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้บุคคลภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมินเช่น มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละ ภาคการศึกษา, การประเมินผลการทํางานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อ ซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลการให้บริการของพนักงาน เป็นต้น

82 ผู้ประเมินบางคนมักไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความเป็นจริง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่มีข้อดี คือ สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับ ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร เคยมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชา หรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาออกมาดีเกินความเป็นจริง

83 การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน ตอบ 2 (คําบรรยาย) การให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ต้องทําในสายการบังคับบัญชา ทั้งนี้เพราะผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมาก ในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น

84 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกันต่างประเมินซึ่งกันและกัน โดยมักจะใช้กับกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่มีความคุ้นเคยกัน ทํางานร่วมกันมานานพอสมควร และงานที่ทําจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

85 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)

(2) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)

(3) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training)

(4) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training)

(5) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training)

 

86 ต้องมีการแนะนําประวัติขององค์การ

ตอบ 2 หน้า 127 – 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะนํา ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํางาน เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน เงื่อนไข การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้หมดไป ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดี ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และเป็นประโยชน์ต่อองค์การในท้ายที่สุด

87 ใช้ฝึกอบรมนักบิน

ตอบ 3 หน้า 140 – 141, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เครื่องมือและกระบวนการที่เป็นแบบจําลอง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในการทํางานจริง เช่น การฝึกอบรมนักบินหรือการฝึกอบรมผู้ใช้เครื่องจักรกลขนาดหนัก เป็นต้น

88 บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า

ตอบ 5 หน้า 139 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ

1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ

2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า เป็นต้น

89 เป็นเทคนิคที่นิยมใช้อบรมผู้บริหาร

ตอบ 1 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางการ แก้ไขปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการฝึกอบรมผู้บริหาร

90 แจ้งถึงเงื่อนไขการจ้างงาน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)

(2) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)

(3) ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining)

(4) ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)

(5) สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market)

 

91 ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

ตอบ 1 หน้า 85, (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถ ดํารงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ําให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น

92 ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน

ตอบ 4 หน้า 85 – 86, (คําบรรยาย) ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึง ความสามารถของนายจ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษัท มักจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารบางเห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน เป็นต้น 93 สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอํานาจกําหนดค่าจ้าง

ตอบ 3 หน้า 86, (คําบรรยาย) อํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อํานาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้างเกี่ยวกับการกําหนดค่าจ้างและ เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน ซึ่งหากสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไรพลังอํานาจการเจรจาต่อรองในการกําหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

94 รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

95 บริษัทหลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี

ตอบ 2 หน้า 84 – 85, (คําบรรยาย) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆ ไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่ายตามอัตราค่าจ้างขององค์การ อื่น ๆ ที่จ่ายให้แก่พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือทํางานประเภทเดียวกัน เช่น บริษัท หลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 96 – 100 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน

(2) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์

(3) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

(4) พ.ร.บ. เงินทดแทน

(5) พ.ร.บ. ประกันสังคม

 

96 ค่าชดเชยกรณีออกจากงาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงานที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติต่อลูกจ้าง และรัฐให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยสาระสําคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ การกําหนดวันและเวลาทํางาน วันหยุด วันลา การพักงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทํางานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานและค่าล่วงเวลา ในวันหยุด การใช้แรงงานหญิงและแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานหรือเลิกจ้าง เป็นต้น

97 การเบิกเงินกรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางาน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้น เพื่อทําหน้าที่จ่ายเงินทดแทนแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือ ตายอันเนื่องมาจากการทํางาน โดยกําหนดให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ลูกจ้างและรัฐบาลไม่ต้องจ่าย

98 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ําในกรุงเทพฯ วันละ 300 บาท

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ

99 ผู้ประกันตนเบิกเงินค่าคลอดบุตร

ตอบ. 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กําหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมในกรณีดังต่อไปนี้

1 กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทํางาน

2 กรณีคลอดบุตร

3 กรณีสงเคราะห์บุตร

4 กรณีชราภาพ

5 กรณีว่างงาน

100 สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้าง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับกับวิสาหกิจเอกชนในปัจจุบัน โดยจะกําหนดสาระสําคัญเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกําหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การปิดงานและการนัดหยุดงาน ตลอดจน การกระทําอันไม่เป็นธรรม

 

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!